SlideShare a Scribd company logo
1 of 93
Download to read offline
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง
การศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม
โดย
ว่าที่ร้อยเอกชาญวิทย์ หาญรินทร์
โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัย
จากงบประมาณเงินรายได้ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยนครพนม
หัวข้อวิจัย การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้
รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยนครพนม
ชื่อผู้วิจัย ว่าที่ ร.อ.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
คณะ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
ปีการศึกษา 2555
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยใช้รูปแบบซิปปาให้มี
ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตร
ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3
ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555
สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จานวน 33 คน ได้มา
โดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปา จานวน 9 แผน แบบทดสอบวัด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.21 ถึง
0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้จานวน 20
ข้อ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent
Samples)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. แผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.70/83.67
2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง
การศึกษา เท่ากับ 0.7391 แสดงว่านักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 0.7391 หรือ
คิดเป็นร้อยละ 73.91
3. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทาง
สถิติที่ระดับ .05
4. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅ = 4.54 )
Title. The development of learning outcomes, innovation and technology
education courses by using CIPPA model for third year students of
Bachelor of Education course Nakhon Phanom University.
Researcher Chanwit Hanrin
Faculty Liberal Arts And science Nakhon Phanom University
Year 2012
ABSTRACT
The Purposes of this research were to ; 1) Development Plan Department of
Innovation and Information Technology in Education of Students in Year 3 Bachelor of
Education courses form the following criteria for effective CIPPA model 75/75. 2) Index to
study the effectiveness of the Plan by using CIPPA model. 3) To compare the achievement
of students in Year 3 between before and after Learn. and 4) To the satisfaction of the third
year students have to learn. The sample used in this study 3rd year students Semester 2
year course Bachelor of Early Childhood Education Degree in 2012. Faculty of Arts and
Sciences. Nakhon Phanom University, 33 people were selected by random cluster (Cluster
Sampling). The discriminative power and from 0.21 to 0.84 and the confidence of both the
0.87 and the satisfaction of students with learning 20 items with the discriminative power
and from 0.30 to 0.67 and the value of faith. both strongly version 0.93 was used in data
analysis were percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing and t-test
(Dependent Samples).
The results of the research were as follows:
1. Plan the Information Technology and Innovation Department of Education
effective as 89.70/83.67.
2. Effectiveness Index Plan Innovation and Technology Education Department was
0.7391, indicating that students with higher test scores after school classes at 0.7391 or 73.91
percent.
3. Third year students with high academic achievement posttest than pretest
statistically significant at the .05 level.
4. Third year students are satisfied with their learning at the highest level
( ̅ = 4.54 )
Keywords: development , learning outcomes, CIPPA model
บทที่ 1
บทนา
ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา
สังคมยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรากฐานสาคัญในการพัฒนาที่มีบทบาทต่อทุก
สถาบันการศึกษา ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้และการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรอุดมศึกษาใน
มหาวิทยาลัย ผู้เรียนจาเป็นต้องแสวงหาความรู้และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสารเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง ระบบการเรียนการสอนโดย
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐานนั้นช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถใน
การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ของผู้เรียนในสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้บทบาทของความรู้และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้
เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่ายุคเศรษฐกิจแห่งความรู้ หรือ knowledge economy เพราะเป็น
ความรู้ทั้งกลไกและผลิตผลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (สันติ วิจักขณาลัญฉ์. 2544 : 35) การเรียนรู้ควร
สอดคล้องกับสภาพจริงและเป็นกระบวนการที่ทาให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ด้วย
ตนเอง และมีความกระตือรือร้นที่ขวนขวายหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานและคุณภาพชีวิตของตน ปัจจุบันมี
การนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นและจะมากขึ้นเป็น
ลาดับ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (อมรวิชช์ นาครทรรพ.
2540 : 22) และเมื่อดูสาระสาคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ
ที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 66 กาหนดให้ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา ฉะนั้นสถานศึกษาและรัฐจะต้องเปิดโอกาสและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ใช้สิทธิ์ของเขาอย่างเต็มที่
ขณะที่มาตรา 67 ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และมาตรา
68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐจาเป็นต้อง
ส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่(สานักนายกรัฐมนตรี. 2545)
ดังนั้นการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาในการเรียนรู้ การ
แสวงหาความรู้ เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งความสามารถในการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ทักษะการรู้สารสนเทศ (information literacy) เป็นทักษะ
การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การมีทักษะการรู้
สารสนเทศ จึงเป็นเสมือนการเป็นผู้มีปัญญา มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ จึงมีการ
กาหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศของผู้เรียนแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการรู้สารสนเทศตาม
มาตรฐานโดยทักษะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะในการระบุความต้องการ ค้นหา วิเคราะห์และใช้สารสนเทศ
เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทางานและการตัดสินใจ เป็นทักษะสาคัญในการรู้วิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
(น้าทิพย์ วิภาวิน. 2550 : 81)การรู้สารสนเทศมีความสาคัญ และถือเป็นสมรรถนะหลักของบุคคลในศตวรรษที่
21 ซึ่งมีข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศ เป็นหัวใจสาคัญและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือ
ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคม ทั้งสังคมโลกและสังคมไทย เป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อบุคคลและองค์กรทั้งทางบวกและทางลบ ในประเทศพัฒนา เช่นสหรัฐอเมริกา แคนาดา
เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ การรู้ สารสนเทศได้รับความสาคัญในระดับชาติอย่าง
ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน มีความตื่นตัวในการสอนการศึกษา ค้นคว้าวิจัยเรื่องการรู้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง
ในระดับสากล (ชุติมา สัจจานันท์. 2550 : 27)
การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนนั้นไม่สามารถที่จะทาได้ง่ายเสียทุกอย่างต้องมีการ
วางแผนมีขั้นตอนซึ่งสิ่งที่อาจารย์ควรคานึงก็คือการนาเทคโนโลยีมาใช้ต้องดูขนาดของชั้นเรียนและ
ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนที่สามารถจะรับรู้ได้ขั้นต้นเสียก่อน เริ่มแรกอาจารย์อาจจะหากิจกรรมต่าง ๆ
ที่มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างง่าย ๆ และที่สาคัญกิจกรรมที่อาจารย์จัดนี้ก็ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร และมี
เป้าหมายในกิจกรรมนั้นด้วย จึงจะบรรลุความสาเร็จ การที่อาจารย์จะบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอนได้อย่าง
มีประสิทธิภาพนั้นอาจมีหลาย ๆ แบบ เช่น จัดทาให้แต่ละหน่วยย่อยของการสอนมีการนาเทคโนโลยีรวมเข้า
ไปด้วยใช้ข้อมูลให้เหมาะสมกับกระบวนการสอนในเนื้อหาต่าง ๆรวมทั้งทักษะที่ต้องการในแต่ละเรื่อง จัดให้มี
เวลาเพียงพอในการวางแผนการสอนในเนื้อหาต่าง ๆจัดให้มีเวลาเพียงพอในการวางแผนการสอนและร่วมมือ
กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถแนะนาและเสนอแนะเทคโนโลยีใหม่ต่าง ๆ ให้กับอาจารย์ได้
จัดระบบการจัดการดูแลการทากิจกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนในชั้นเรียนได้เมื่อนาเทคโนโลยีมาใช้ จัดแผนการ
สอนสารองเตรียมพร้อมสาหรับแผนหลักหากไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้จัดสิ่งแวดล้อมส่งเสริมต่อบรรยากาศ
ในการทางานและการเรียนของผู้เรียนจัดเนื้อหาสอดคล้องตามหลักสูตร มาตรฐานสาระที่กาหนด ตระหนักถึง
ความสาคัญของแต่ละกิจกรรม โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้ความรู้และมีความเชี่ยวชาญขึ้น (แจ่มจันทร์ ทองสา.
2546 : 42-44)
ดังนั้น การจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้คนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้ง
ร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีทักษะในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสามารถใน
การแก้ปัญหา ทาให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญ
ก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร โดยการนาเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดาเนิน
การจัดการศึกษา เพื่อเตรียมคน เตรียมเยาวชนสู่โลกใหม่ที่กาลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะเป็นกาลัง
สาคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมากการศึกษายุคใหม่เริ่มหันมาทบทวนตัวเอง และบทบาทของตัวเอง
อย่างน้อยที่สุดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสาคัญ 3 สิ่งคือ เนื้อหา สื่อ และวิธีการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนหรือครู
ผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสอนแบบเดิม ๆ มาปรับเปลี่ยนให้รู้เท่าทัน และสามารถ
ดัดแปลง ประยุกต์เอาคลังข้อมูลมหาศาล ที่อยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ
เรียนการสอน (โชติกา เรืองแจ่ม. 2548 : 1-2)
โดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนจะมีในการเรียนรู้อยู่ในตัวเอง บทบาทของผู้สอนจึงเป็นเพียงผู้ให้ความ
สะดวกแก่ผู้เรียน กล่าวคือ ประการแรก ผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้กับ
ผู้เรียน ประการที่สอง ผู้สอนต้องให้ความกระจ่างชัดต่อผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียน ประการที่
สาม ผู้สอนต้องจัดระบบและจัดหาแหล่งข้อมูลและการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ประการที่สี่ ผู้สอนต้องให้ความ
สมดุลระหว่างภาวะทางปัญญาและอารมณ์ของผู้เรียนและประการสุดท้ายคือการแบ่งปันความรู้สึก ความ
คิดเห็น และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนแต่ไม่ควรไปครอบงา จะเห็นได้ว่าการเรียนของผู้ที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา
ต้องการใช้ปัญญาตนเองเข้าตัดสินใจและริเริ่มทาสิ่งที่ตนสนใจ ผู้สอนจึงไม่ควรเป็นผู้ชี้นาแก่ผู้เรียน การศึกษา
ค้นคว้าด้วยตนเองจึงเป็นวิธีการหนึ่งสาหรับผู้เรียนในระดับนี้โดยมอบหมายงานให้ ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้เรียน
วางแผนทางานด้วยตนเองด้วยการกาหนดกรอบเวลาทางาน เตรียมการ ค้นคว้า และจัดทา โดยที่ผู้สอนมี
หน้าที่ให้ข้อแนะนาอานวยความสะดวก และชี้แนะข้อมูลแก่ผู้เรียน (Roger. 1984 : 110)
ปัญหาที่ยังคงพบอยู่ในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยเราคือการที่ผู้เรียนยังขาดนิสัยในการ
ค้นคว้า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากวิธีการสอนของอาจารย์ที่ป้อนแต่ความรู้ให้จนดูเหมือนห้องเรียนเท่านั้นที่เป็น
แหล่งเรียนรู้ จากการศึกษาการจัดลาดับความสาคัญของสาระที่จาเป็นสาหรับนักศึกษาครูในสังคมสารสนเทศ
กลับพบว่าประเด็นที่นิสิตนักศึกษาครูให้ความสาคัญน้อยที่สุดคือการค้นหาข่าวสาร (อุทุมพร จามรมาน.
2549 : 119)การพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ใฝ่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นบทบาทสาคัญประการหนึ่งของ
สถาบันอุดมศึกษา จะเห็นได้ว่าสถาบันแต่ละแห่งมุ่งสอนให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณคิดเป็น ทาเป็น
และฝึกการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ออกไปเป็นพลเมืองที่ดี และจรรโลงสังคม ดังนั้นการรู้สารสนเทศ
จึงเป็นกุญแจสาคัญที่จะนาไปสู่จุดมุ่งหมายนี้ ทักษะการรู้สารสนเทศจะทาให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่าง
กว้างขวาง โดยไม่จากัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้นนักศึกษาสามารถเรียนตามความสนใจของตนเองโดยไม่
จากัดเวลาและสถานที่ (สุจิน บุตรดีสุวรรณ. 2550 : 73)ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่มีความสาคัญที่สุดของการ
เรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อตัวผู้เรียน จะทาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมาก
ขึ้น จึงมีผู้คิดค้นรูปแบบการเรียนการสอนหลายรูปแบบในการช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน
ซึ่งการสอนแต่ละรูปแบบก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันออกไปทาให้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการ
เรียนการสอนได้หลากหลาย ชั้นเรียนควรจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนโครงสร้างของสังคม และผู้เรียน
ควรจะมีโอกาสใช้ห้องเรียนเป็นห้องทดลองในการใช้ชีวิตในสังคม กล่าวคือ ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ทักษะทาง
สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนทักษะการแก้ปัญหาและอื่น ๆ (สมพันธ์
วงษ์ดี. 2544 : 10)การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็น
กิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและ
สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จาเป็นต่อ
การดารงชีวิต และนาความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคมและชีวิตประจาวัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิด
การเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 11-23)ทิศนา แขมมณี (2547 : 25) กล่าวว่า รูปแบบ
การเรียนการสอน คือ แบบแผนที่กาหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอน ให้เป็นไปอย่างมี
ระบบระเบียบ
ผู้วิจัยเชื่อว่าหากมีการนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดซิปปาซึ่งเป็นกระบวนการสอนอีก
รูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่และเน้นกระบวนการกลุ่ม และเป็นวิธีสอนที่มีความเหมาะสม
ที่จะนามาใช้ทดลองสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นโดยเฉพาะวิชานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนรู้
การออกแบบ และการสร้างนวัตกรรม อีกทั้งยังเป็นวิชาชีพครูบังคับที่นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตทุก
สาขาวิชาต้องเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษารายวิชาอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการ
เรียนได้เร็วขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในรายวิชานี้ย่อมจะส่งผลดีต่อการแสวงหา
ความรู้ในวิชาอื่น ๆ ผู้วิจัยสนใจและตระหนักถึงความสาคัญดังกล่าวจึงได้นารูปแบบการเรียนการสอนตาม
แนวคิดซิปปามาทดลองใช้ในรายวิชานี้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนารายวิชา
อื่น ๆต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป
ปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
75/75
2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม
3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
โดยใช้รูปแบบซิปปา
4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการเรียนวิชา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปา
สมมติฐานในการวิจัย
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ได้แก่ นักศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคปกติ หลักสูตร
ครุศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนมที่เรียนวิชานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จานวน 3 ห้อง ได้แก่ ห้อง 3/1
จานวน 33 คน และห้อง 3/2 จานวน 43 คนและห้อง 3/3 จานวน 31 คน รวม 107 คน
2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่
นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และ
วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ห้อง 3/1 จานวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random
Sampling)
3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบซิปปา
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ
4. เนื้อหาวิชา
เนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จานวน 9 บท รวม 9 แผน
จานวน 64 ชั่วโมง ดังนี้
บทที่ 1 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยี และนวัตกรรม มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง
บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง
บทที่ 3 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 1
แผน จานวน 8 ชั่วโมง
บทที่ 4 แหล่งการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง
บทที่ 5 การผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง
บทที่ 6 การออกแบบ การสร้าง และการนานวัตกรรมไปใช้ มี 1 แผน จานวน 12 ชั่วโมง
บทที่ 7 พัฒนาการของสื่อการสอน มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง
บทที่ 8 การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง
บทที่ 9 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้แผนการเรียนการสอนรายวิชารายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตาม
รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมที่มีประสิทธิภาพ
2. ทาให้ทราบถึงผลการสอนรายวิชารายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตาม
แนวคิดซิปปาสาหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม
3. เป็นแนวทางสาหรับอาจารย์ และผู้ที่สนใจการพัฒนาการสอนนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
มหาวิทยาลัยนครพนมในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป
นิยามศัพท์เฉพาะ
1. การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง การสร้าง
รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา หมายถึง โครงสร้างของการจัดการเรียนการสอนที่มีขั้นตอน
ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ได้ซิปปา เป็นหลักการซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นหลักในการ
จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้
วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่รองศาสตราจารย์
ทิศนา แขมมณีได้นาเสนอไว้และได้มีการนาไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดาเนินการ 7
ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม หมายถึง การดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วย
ให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่าง
หลากหลาย ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง การแสวงหาความรู้ข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจาก
แหล่งข้อมูลหรือ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คาแนะนาเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง
ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ ขั้นที่ 3 การศึกษาทาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่
กับความรู้เดิม หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทาความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หา มาได้
ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้
กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจาเป็นต้อง
อาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นที่
ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความ เข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของ
ตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้
ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมกัน ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุป
ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียน
จดจาสิ่งที่ เรียนรู้ได้ง่าย ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ หรือการแสดงผลงานหากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่ได้มีการปฏิบัติ
หมายถึง ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการ
ช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้าหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หาก
ต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ขั้นที่ 7 การ
ประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนาความรู้ความเข้าใจไปใช้ใน
สถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชานาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจา
ในเรื่องนั้น ๆ หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนาเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มี
การนาเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นามารวมแสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน
ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of knowledge)
ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Interaction) และฝึกฝนทักษะ
กระบวนการต่าง ๆ (Process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทา
กิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทาง
สังคม อย่างเหมาะสมอันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว (Active) สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอน
ทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนาความรู้ไปใช้ (application) จึง
ทาให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
4. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการกาหนดแนวทาง
ในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
ตามแนวคิดซิปปาของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมประกอบด้วยแนวคิดและ
ทฤษฎี หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน
5. แนวคิดซิปปา หมายถึง แนวคิดหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยให้
ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือ
การกระทาต่าง ๆ ซึ่งตอบสนองต่อความพร้อมในการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ
ซึ่งเป็นทักษะที่จาเป็นต่อการดารงชีวิต เช่นกระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการ
แก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาตนเอง และสามารถนาความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยขั้นตอนการดาเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิมขั้นที่
2 การแสวงหาความรู้ใหม่ขั้นที่ 3 การศึกษาทาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับ
ความรู้เดิมขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ขั้นที่ 6
การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงานขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
6. วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง วิชาชีพครูบังคับของนักศึกษา
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง
การศึกษา
7. นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม หมายถึง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา
การศึกษาปฐมวัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชานวัตกรรม
และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555
8. ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัย
นครพนม ที่มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาในวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางการศึกษา
9. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ค่าคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบวิชานวัตกรรมและ
เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม
ในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือภาษาไทย
หนังสือภาษาอังกฤษ วารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง
นาเสนอตามลาดับดังนี้
1. รูปแบบการเรียนการสอน
1.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
1.2 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน
1.3 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
1.4 การจัดทาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
1.5 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. การออกแบบการเรียนการสอน
3. แนวคิดซิปปา
3.1 ความหมายของแนวคิดซิปปา
3.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา
4. เนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
5.1 งานวิจัยภายในประเทศ
5.2 งานวิจัยต่างประเทศ
1. รูปแบบการเรียนการสอน
1.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน
ทิศนา แขมมณี (2547 : 25) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือ
ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี
หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ โดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอน
โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ เข้าไปช่วยทาให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไป
ตามหลักการที่ยึดถือ
ประยูร บุญใช้ (2544 : 10) สรุปนิยามว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง แบบแผน
แสดงการจัดโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ
เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้
Joyce and Weil (1996 : 105-106) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนคือ แผน (plan) หรือ
แบบ (pattern) ที่เราสามารถใช้เพื่อการสอนโดยตรงในห้องเรียน หรือการสอนกลุ่มย่อย หรือเพื่อ
จัดสื่อการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน และหลักสูตรรายวิชา ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้แนวทางในการออกแบบการเรียนการสอน
ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับสารสนเทศ ความคิด ทักษะ คุณค่า แนวทางการคิด และแนวทางในการ
แสดงออกของผู้เรียน
สรุป รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง โครงสร้างของการจัดการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนที่
ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน
การที่จะทาให้การจัดการเรียนการสอนกลายเป็นรูปแบบได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการจัด
องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งมีความจาเป็นอย่างมากที่ต้องคานึงถึงทฤษฎีและ
หลักการ สภาพการณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบสาคัญของรูปแบบการเรียนการสอนมีดังนี้
(ทิศนา แขมมณี , 2547 : 27)
1. มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของ
รูปแบบการสอนนั้น ๆ
2. มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ
หลักการที่ยึดถือ
3. มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบ
ให้สามารถนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้น ๆ
4. มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้
กระบวนการเรียนการสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ประยูร บุญใช้ (2544 : 35) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบร่วมที่
สาคัญซึ่งผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนควรคานึงถึง ดังนี้
ประยูร บุญใช้ (2544 : 35) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบร่วมที่
สาคัญซึ่งผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนควรคานึงถึง ดังนี้
1. หลักการของรูปแบบ เป็นส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิดของทฤษฎีที่รองรับรูปแบบ
การสอน หลักการของรูปแบบการสอนจะเป็นตัวชี้นาการกาหนด จุดประสงค์ เนื้อหากิจกรรม และขั้นตอนการ
ดาเนินการในรูปแบบการสอน
2. จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน เป็นส่วนที่ระบุถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจาก
การใช้รูปแบบการสอน
3. เนื้อหาเป็นส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน
เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของรูปแบบการสอน
4. กิจกรรมและขั้นตอนการดาเนินการเป็นส่วนที่ระบุถึงวิธีการปฏิบัติในขั้นตอนหนึ่งๆเมื่อนา
รูปแบบไปใช้
5. การวัดและการประเมินผล เป็นส่วนที่ประเมินถึงประสิทธิผลของรูปแบบการสอน
Kemp (1971 : 128) กาหนดระบบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
1. กาหนดหัวข้อที่จะสอนและเขียนจุดประสงค์ทั่วไป
2. ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน
3. ระบุจุดประสงค์ของการสอน โดยเน้นว่าจะต้องเขียนออกมาในลักษณะของจุดประสงค์เชิง
พฤติกรรม
4. กาหนดเนื้อหาวิชาที่เอื้ออานวย สนับสนุนจุดประสงค์ในแต่ละข้อ
5. ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถก่อนสอน
6. เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสาหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนาเนื้อหาวิชาไปสู่
จุดประสงค์ที่วางไว้
7. บริการสนับสนุน ประสานงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่วัสดุ
อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ และดาเนินการไปตามแผนการที่กาหนดไว้
8. ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด
9. การปรับปรุงแก้ไข พิจารณาดูว่าควรจะได้รับการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอน
หรือไม่
จากองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน และระบบการเรียนการสอนข้างต้นสามารถสรุป
องค์ประกอบที่จะนามาใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนได้ดังนี้
1. แนวคิดทฤษฎี หมายถึง แนวคิดหลักที่ยึดถือและรองรับในการนามากาหนดแนวทางของ
รูปแบบ
2. หลักการ หมายถึง ส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิดของทฤษฎีที่รองรับรูปแบบและจะ
เป็นตัวชี้นาการกาหนดวัตถุประสงค์
3. วัตถุประสงค์ หมายถึง ส่วนที่ระบุความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น จากการใช้รูปแบบ
4. เนื้อหา หมายถึง ส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
5. กระบวนการเรียนการสอน หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดาเนินการตามขั้นตอน
6. การวัดและการประเมินผล หมายถึง ส่วนที่ระบุถึงการวัดและประเมินถึงผลของรูปแบบ
การเรียนการสอน
ทิศนา แขมมณี (2547 : 35) กล่าวไว้ว่า การที่การจัดการเรียนการสอนจะกลายเป็นรูปแบบได้นั้น
จะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งในการจัดระบบต้องคานึงถึงทฤษฎีและ
หลักการ รวมทั้งสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.3 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการ
เรียนการสอนให้เป็นระบบ ตามขั้นตอนดังนี้ (ทิศนา แขมมณี , 2547 : 25-30 และ Joyce and Weil , 1996)
1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
2. นาแนวคิดสาคัญของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มากาหนดองค์ประกอบที่สาคัญและ
จาเป็นของรูปแบบการเรียนการสอน รวมทั้งทิศทาง และรายละเอียดขององค์ประกอบทั้งหมดแล้วนาไปสร้าง
รูปแบบการเรียนการสอน
3. ประเมินรูปแบบ เชิงทฤษฎี เชิงปฏิบัติการ
4. การปรับปรุงรูปแบบ
2. การออกแบบการเรียนการสอน
Gary R. Morrison Jerrold E. Kemp, Steven M. Ross (2001 : 204) กล่าวว่า การออกแบบการ
เรียนการสอน (Instructional Design) คือ การวางแผนพัฒนา ประเมินและจัดการกับกระบวนการเรียนการ
สอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ
Richey , R. (1986 : 109) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนถือเป็นศาสตร์แห่งการ
สร้างสรรค์ของกระบวนการพัฒนา การประเมิน และการบารุงรักษาที่ละเอียด และมีการระบุที่เฉพาะเจาะจง
เพื่อเอื้อให้การเรียนการสอนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวิชาหน่วยเล็กหรือหน่วยใหญ่
Seel and Glasgow (1990 : 305) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการ
แก้ปัญหาในการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์เงื่อนไขในการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ
Steven J. McGriff (2000 : 264-265) การออกแบบการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนดังนี้
1. การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ กาหนดภารกิจสาคัญของงาน กาหนดวัตถุประสงค์การเรียน การ
วิเคราะห์ผู้เรียน
2. การออกแบบ (Design) ได้แก่ การเลือกวิธีการเรียนการสอน การเลือกเนื้อหาและสื่อการสอน
กาหนดกลยุทธการเรียนการสอน ทบทวนวิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบัน
3. การพัฒนา (Development) ได้แก่ พัฒนากิจกรรมการเรียนรูปแบบการฝึกที่มีปฏิสัมพันธ์ การ
ประเมินผล การผลิตสื่อการเรียนการสอน
4. การนาไปใช้ (Implementation) ได้แก่ การรับรองการใช้บทเรียนด้วยการประเมินความก้าวหน้า
และการประเมินสรุปการใช้บทเรียน
5. การประเมินผล (Evaluation) ได้แก่ การประเมินระหว่างการเรียนการสอน และการประเมินผล
สรุปของการเรียนการสอน
สรุป การออกแบบการเรียนการสอน คือ การวางแผนพัฒนา ประเมิน และจัดการกับกระบวนการ
เรียนการสอนทุกประเภทอย่างมีระบบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายการออกแบบการเรียนการ
สอนต้องคานึงถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และออกแบบให้สอดคล้องกัน รูปแบบการออกแบบการเรียน
การสอนจึงมีความสาคัญ เนื่องจากช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง
1.4 การจัดทาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
นิคม ชมพูหลง (2545 ก : 22) ให้ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
หลักสูตรท้องถิ่นว่า หมายถึง เนื้อหาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ได้จากการวิเคราะห์อธิบาย
รายวิชา จากหลักสูตรแม่บท แล้วปรับเพิ่มเนื้อหาให้สอดคล้องกับอาชีพอุตสาหกรรมย่อย ที่เกิดจากภูมิ
ปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึง
ความสามารถ ตามจุดประสงค์ของแต่ละแผน
ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 357) ได้ให้ความหมายของแผนการสอนว่า
แผนการสอน หมายถึง ลาดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกาหนดไว้เป็น
แนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2543 : 1) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน
หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชา
หนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาจัดการเรียนการสอนไปสู่
จุดประสงค์การเรียนรู้จุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรืองและคณะ (2545 : 53) ได้ให้ความหมายของแผนการจัด
การเรียนรู้ (Lesson Plan) คือ การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์
อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่
หลักสูตรกาหนด แผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับ
บทเรียน (Lesson Plan)
กรมวิชาการ (2545 : 126) ได้ให้ความหมายและความสาคัญ ว่า เป็นการวางแผนวิธีสอน
จัดลาดับ ขั้นตอนการสอนที่ดี มีจุดมุ่งหมายปลายทางที่ชัดเจน ทาให้ผู้สอนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น
สอนได้ตรงตามเป้าหมาย ที่วางไว้ ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุ
จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่คาดหวัง เป็นหลักฐานการทางานที่ชี้ชัด เพราะกาหนดบทบาทของผู้สอน และ
ผู้เรียน รวมทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในตัวผู้เรียนไว้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน
เป็นการกาหนดวัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนช่วยให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ได้น่าสนใจ เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง ของผู้สอนว่า สอนได้ครบตามขั้นตอนและบรรลุจุดประสงค์การ
เรียนรู้ที่กาหนดไว้หรือไม่ ควรปรับปรุง แก้ไขอย่างไร ใช้ประโยชน์ในการสอนซึ่งกันและกัน เป็นผลงานทาง
วิชาการที่แสดงถึงความชานาญการ และความเชี่ยวชาญของผู้สอน
แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการสอนที่ครูเคยทา แต่การที่เปลี่ยนมาใช้
คาว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เพราะต้องการเน้นบทบาทครูที่เป็นผู้จัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
สรุปว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การวางแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า
อย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการ
เรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลอย่างชัดเจน เพื่อผู้เรียนบรรลุผลสู่จุดหมายตามที่
หลักสูตรกาหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
มีผู้ให้ความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545 : 289) ได้สรุปความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรม การ
เรียนรู้ ไว้ดังนี้
การวางแผนการสอนเป็นงานสาคัญของครูผู้สอน การสอนจะประสบความสาเร็จด้วยดี
หรือไม่ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการวางแผนการสอนเป็นสาคัญประการหนึ่ง
การวางแผนการสอนจึงมีความสาคัญหลายประการ ดังนี้
1. ทาให้ผู้สอน สอนด้วยความมั่นใจ เมื่อเกิดความมั่นใจในการสอน ย่อมจะ
สอนด้วยความคล่องแคล่วเป็นไปตามลาดับขั้นตอนอย่างราบรื่นไม่ติดขัดเพราะมี การเตรียมการ
ทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว การสอนก็จะดาเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์
2. เพื่อให้เป็นการสอนที่มีคุณค่า คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปเพราะผู้สอนสอนอย่างมีแผนมี
เป้าหมาย และมีทิศทางในการสอนมิใช่สอนอย่างเลื่อนลอย ผู้เรียนก็จะได้รับความรู้ ความคิด เจตคติ เกิด
ทักษะ และเกิดประสบการณ์ใหม่ตามที่ผู้สอนได้วางแผนไว้
ทาให้การเรียน การสอนที่มีคุณค่า
3. เพื่อให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร ทั้งนี้เพราะ ในการวางแผน การ
สอนผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาสาระที่จะสอน การจัดกิจกรรมการเรียน
การสอน การใช้สื่อการสอน การวัดผลประเมินผล แล้วจัดทาออกมาเป็น แผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เมื่อผู้สอนสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ย่อมจะทาให้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรง
ตามจุดหมายและทิศทางของหลักสูตร
4. ทาให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ดีกว่าการสอนที่ไม่มี การ
วางแผน เนื่องจากในการวางแผนการสอน ผู้สอนต้องวางแผนอย่างรอบคอบในทุกองค์ประกอบของการสอน
รวมทั้งการจัดเวลา สถานที่ และสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ
ซึ่งจะเอื้ออานวยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวกและง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการวางแผนการสอนที่รอบคอบและ
ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ผลการสอนย่อมจะสาเร็จได้ดีกว่าการไม่วางแผนการสอน
5. ทาให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความทรงจาสามารถนามาใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป
ทาให้ไม่เกิดความซ้าซ้อน และเป็นแนวทางในการทบทวนหรือออกข้อสอบเพื่อวัดผลประเมินผลผู้เรียนได้
นอกจากนี้ทาให้ผู้สอนมีเอกสารไว้ให้แนวทางแก่ผู้ที่เข้าสอนแทนในกรณีจาเป็น เมื่อผู้สอนไม่สามารถเข้าสอน
ได้ ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกัน
6. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและแก่วิชาที่เรียนทั้งนี้เพราะผู้สอนสอนด้วย
ความพร้อม เป็นความพร้อมทางด้านจิตใจ และความพร้อมทางด้านวัตถุ ความพร้อมทางด้านจิตใจ คือ
ความมั่นใจในการสอนเพราะผู้สอนได้เตรียมการสอนไว้อย่างพร้อมเพรียงเมื่อผู้สอนเกิดความพร้อมในการสอน
ย่อมสอนด้วยความกระจ่าง ทาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทเรียนอันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่
ดีต่อผู้สอนและแก่วิชาที่เรียน
นิคม ชมพูหลง (2545 ก : 180) ได้สรุปความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรม
การเรียนรู้ไว้ดังนี้
1. เป็นการวางแผนและการเตรียมล่วงหน้า เป็นการนาเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ สื่อ
เทคโนโลยี ตลอดจนจิตวิทยาการสอนมาผสมผสาน ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
2. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร เทคนิคการเรียน
การสอน การเลือกใช้สื่อ การวัดผลประเมินผล ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จาเป็น
3. เป็นคู่มือการสอนสาหรับตัวครูผู้สอน และผู้สอนแทน นาไปปฏิบัติ การ
สอนอย่างมั่นใจ
4. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ที่
จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
5. เป็นหลักฐานแสดงความเชี่ยวชาญของครูผู้สอน ซึ่งสามารถนาไปเสนอ
เป็นผลงานทางวิชาการได้
ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 357) ได้สรุปความสาคัญของแผนจัดกิจกรรมการเรียนการ
สอนไว้ดังนี้
1. ช่วยให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรที่มี
อยู่ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่
2. ช่วยให้ครูผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนาทางผู้เรียนในการเรียน การ
สอน
3. ช่วยให้การจัดกิจกรรมเป็นไปอย่างเหมาะสม
4. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน
5. ช่วยให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตนเอง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีนากิจกรรมการเรียน
การสอนดาเนินไปอย่างราบรื่น
6. ช่วยให้ผู้สอนมีโอกาสเตรียมสื่อการสอนทดลองใช้ก่อนดาเนินการสอนจริง
7. ช่วยให้มีการประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับบทเรียน
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร

More Related Content

What's hot

การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาbtusek53
 
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้Thamonwan Kottapan
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอrainacid
 
แบบทดสอบ รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
แบบทดสอบ  รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัยแบบทดสอบ  รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
แบบทดสอบ รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัยศุภเชษฐ์ สีหาราช
 
งานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมงานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมsomjit003
 
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาParitat Pichitmal
 
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้Thamonwan Kottapan
 
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)chawisa_22
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Kittipun Udomseth
 
Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27khon Kaen University
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...khon Kaen University
 
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทNGamtip
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 

What's hot (20)

การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษาการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
การจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา
 
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
การเลือกใช้สื่อและวิธีการจัดการเรียนรู้
 
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอสื่อนวตกรรมนำเสนอ
สื่อนวตกรรมนำเสนอ
 
แบบทดสอบ รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
แบบทดสอบ  รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัยแบบทดสอบ  รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
แบบทดสอบ รายวิชา 0503101 เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการศึกษาร่วมสมัย
 
งานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรมงานนำเสนอนวัตกรรม
งานนำเสนอนวัตกรรม
 
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษาบทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
บทที่ 7 นวัตกรรมการศึกษา
 
บทที่ 3
บทที่ 3บทที่ 3
บทที่ 3
 
บทที่ 10
บทที่ 10บทที่ 10
บทที่ 10
 
No3
No3No3
No3
 
บทที่ 6new
บทที่ 6newบทที่ 6new
บทที่ 6new
 
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
บทที่10ประเมินคุณภาพสื่อการสอนและสื่อการเรียนรู้
 
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)
Ppt นวัตกรรม2(กลุ่ม)
 
Chapter1
Chapter1Chapter1
Chapter1
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3
 
Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27Introduction to innovation 2013 10-27
Introduction to innovation 2013 10-27
 
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
201 702 utilization management of media and educational innovation mco3 dr-ta...
 
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
นวัตกรรมการศึกษา 7 ประเภท
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
 

Viewers also liked

นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์kruchanon2555
 
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้นNoppakhun Suebloei
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อKruthai Kidsdee
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์Supicha Ploy
 
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Aon Onuma
 
เผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบเผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบkrupornpana55
 
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอน
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอนไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอน
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอนkrupornpana55
 
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียงหลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียงkrupornpana55
 
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม 4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม krupornpana55
 
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการkrupornpana55
 
สื่อ ประกอบบทเรียน
สื่อ ประกอบบทเรียนสื่อ ประกอบบทเรียน
สื่อ ประกอบบทเรียนkrupornpana55
 
ปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาวปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาวkrupornpana55
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56krupornpana55
 
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.krupornpana55
 
1ปกเอกสารประกอบ
1ปกเอกสารประกอบ1ปกเอกสารประกอบ
1ปกเอกสารประกอบkrupornpana55
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์krupornpana55
 
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเอง
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเองผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเอง
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเองkrupornpana55
 

Viewers also liked (20)

นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
นวัตกรรม เรื่อง ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์
 
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้นสื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
สื่อการสอน คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
 
บทคัดย่อ
บทคัดย่อบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
 
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 
Cai
CaiCai
Cai
 
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
เผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบเผยแพร่รูปแบบ
เผยแพร่รูปแบบ
 
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอน
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอนไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอน
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการแนวนอน
 
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียงหลักปรัชญา ศก พอเพียง
หลักปรัชญา ศก พอเพียง
 
4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม 4รายงานนวีตกรรม
4รายงานนวีตกรรม
 
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
ไฟล์วิเคราะห์หลักสูตรหน่วยบูรณาการ
 
สื่อ ประกอบบทเรียน
สื่อ ประกอบบทเรียนสื่อ ประกอบบทเรียน
สื่อ ประกอบบทเรียน
 
ปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาวปกซ๊ดีแบบยาว
ปกซ๊ดีแบบยาว
 
1ปก
1ปก1ปก
1ปก
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
3คำสั่งร่วมสร้างสรรค์ ท.ศ.
 
1ปกเอกสารประกอบ
1ปกเอกสารประกอบ1ปกเอกสารประกอบ
1ปกเอกสารประกอบ
 
29หลัก 3 rs
29หลัก 3 rs29หลัก 3 rs
29หลัก 3 rs
 
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
ไฟล์กิจกรรมสร้างสรรค์
 
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเอง
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเองผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเอง
ผลงานที่ภาคภูมิใจของตนเอง
 

Similar to การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร

The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57Kongkrit Pimpa
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra speerapit
 
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...พัน พัน
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์JeeraJaree Srithai
 
โครงร่างงานวิจัย 59
โครงร่างงานวิจัย 59โครงร่างงานวิจัย 59
โครงร่างงานวิจัย 59Khemjira_P
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์mina612
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...Wichit Chawaha
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...Wichit Chawaha
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...Wichit Chawaha
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...Wichit Chawaha
 
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ Panita Wannapiroon Kmutnb
 

Similar to การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร (20)

The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
 
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57วิจัยในชั้นเรียน ปี57
วิจัยในชั้นเรียน ปี57
 
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
The Blended Learning Model using Collaborative and Case-based Learning to Cre...
 
บทที่6
บทที่6บทที่6
บทที่6
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...
การวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง การใช้ เว็บไซต์ เรียนรู้ Ict กับครูทรงศักดิ์ เพิ่มป...
 
9
99
9
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
 
โครงร่างงานวิจัย 59
โครงร่างงานวิจัย 59โครงร่างงานวิจัย 59
โครงร่างงานวิจัย 59
 
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
Effects of Integrated Learning using Social Media with e-Learning. [NEC2012]
 
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
Development of Web-based Training on Social Network for Learning and Teaching...
 
Teachercom c
Teachercom cTeachercom c
Teachercom c
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
 
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
The Development of a Knowledge Creation Model using Action Learning and Colla...
 
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
Is pre
Is preIs pre
Is pre
 

การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสำหร

  • 1. การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง การศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม โดย ว่าที่ร้อยเอกชาญวิทย์ หาญรินทร์ โครงการวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนการวิจัย จากงบประมาณเงินรายได้ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
  • 2. หัวข้อวิจัย การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้ รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม ชื่อผู้วิจัย ว่าที่ ร.อ.ชาญวิทย์ หาญรินทร์ คณะ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ปีการศึกษา 2555 บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตโดยใช้รูปแบบซิปปาให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ระหว่างก่อนและหลังเรียน 4)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม จานวน 33 คน ได้มา โดยการสุ่มแบบกลุ่ม(Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปา จานวน 9 แผน แบบทดสอบวัด ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จานวน 40 ข้อ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.84 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนรู้จานวน 20 ข้อ มีค่าอานาจจาแนกรายข้อ ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.67 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test (Dependent Samples)
  • 3. ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. แผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา มีประสิทธิภาพเท่ากับ 89.70/83.67 2. ดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง การศึกษา เท่ากับ 0.7391 แสดงว่านักศึกษามีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เท่ากับ 0.7391 หรือ คิดเป็นร้อยละ 73.91 3. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสาคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด ( ̅ = 4.54 )
  • 4. Title. The development of learning outcomes, innovation and technology education courses by using CIPPA model for third year students of Bachelor of Education course Nakhon Phanom University. Researcher Chanwit Hanrin Faculty Liberal Arts And science Nakhon Phanom University Year 2012 ABSTRACT The Purposes of this research were to ; 1) Development Plan Department of Innovation and Information Technology in Education of Students in Year 3 Bachelor of Education courses form the following criteria for effective CIPPA model 75/75. 2) Index to study the effectiveness of the Plan by using CIPPA model. 3) To compare the achievement of students in Year 3 between before and after Learn. and 4) To the satisfaction of the third year students have to learn. The sample used in this study 3rd year students Semester 2 year course Bachelor of Early Childhood Education Degree in 2012. Faculty of Arts and Sciences. Nakhon Phanom University, 33 people were selected by random cluster (Cluster Sampling). The discriminative power and from 0.21 to 0.84 and the confidence of both the 0.87 and the satisfaction of students with learning 20 items with the discriminative power and from 0.30 to 0.67 and the value of faith. both strongly version 0.93 was used in data analysis were percentage, mean and standard deviation. Hypothesis testing and t-test (Dependent Samples). The results of the research were as follows: 1. Plan the Information Technology and Innovation Department of Education effective as 89.70/83.67. 2. Effectiveness Index Plan Innovation and Technology Education Department was 0.7391, indicating that students with higher test scores after school classes at 0.7391 or 73.91 percent. 3. Third year students with high academic achievement posttest than pretest statistically significant at the .05 level. 4. Third year students are satisfied with their learning at the highest level ( ̅ = 4.54 ) Keywords: development , learning outcomes, CIPPA model
  • 5. บทที่ 1 บทนา ความเป็นมาและความสาคัญของปัญหา สังคมยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นรากฐานสาคัญในการพัฒนาที่มีบทบาทต่อทุก สถาบันการศึกษา ตลอดจนกระบวนการเรียนรู้และการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตรอุดมศึกษาใน มหาวิทยาลัย ผู้เรียนจาเป็นต้องแสวงหาความรู้และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องรู้จักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคมอย่างต่อเนื่อง ระบบการเรียนการสอนโดย ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นฐานนั้นช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถใน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น ซึ่งเป็นคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนในสังคมปัจจุบัน นอกจากนี้บทบาทของความรู้และเทคโนโลยีในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคนี้ ซึ่งเรียกว่ายุคเศรษฐกิจแห่งความรู้ หรือ knowledge economy เพราะเป็น ความรู้ทั้งกลไกและผลิตผลของการเติบโตทางเศรษฐกิจ (สันติ วิจักขณาลัญฉ์. 2544 : 35) การเรียนรู้ควร สอดคล้องกับสภาพจริงและเป็นกระบวนการที่ทาให้ผู้เรียนได้พัฒนาการคิดวิเคราะห์ การแสวงหาความรู้ด้วย ตนเอง และมีความกระตือรือร้นที่ขวนขวายหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อพัฒนางานและคุณภาพชีวิตของตน ปัจจุบันมี การนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนมากขึ้นและจะมากขึ้นเป็น ลาดับ โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (อมรวิชช์ นาครทรรพ. 2540 : 22) และเมื่อดูสาระสาคัญของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 66 กาหนดให้ผู้เรียนมีสิทธิ์ได้รับการพัฒนาขีดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อ การศึกษา ฉะนั้นสถานศึกษาและรัฐจะต้องเปิดโอกาสและจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้ใช้สิทธิ์ของเขาอย่างเต็มที่ ขณะที่มาตรา 67 ระบุว่ารัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และมาตรา 68 ให้มีการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า รัฐจาเป็นต้อง ส่งเสริมการศึกษาด้านเทคโนโลยีให้แก่ผู้เรียนอย่างเต็มที่(สานักนายกรัฐมนตรี. 2545) ดังนั้นการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาจึงเป็นการส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาในการเรียนรู้ การ แสวงหาความรู้ เพื่อให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งความสามารถในการสืบค้นหาข้อมูลที่ต้องการ ทักษะการรู้สารสนเทศ (information literacy) เป็นทักษะ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป็นทักษะพื้นฐานของการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ การมีทักษะการรู้ สารสนเทศ จึงเป็นเสมือนการเป็นผู้มีปัญญา มีความสามารถในการค้นคว้า แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ จึงมีการ กาหนดมาตรฐานการรู้สารสนเทศของผู้เรียนแต่ละระดับเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีทักษะการรู้สารสนเทศตาม
  • 6. มาตรฐานโดยทักษะการรู้สารสนเทศเป็นทักษะในการระบุความต้องการ ค้นหา วิเคราะห์และใช้สารสนเทศ เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทางานและการตัดสินใจ เป็นทักษะสาคัญในการรู้วิธีการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (น้าทิพย์ วิภาวิน. 2550 : 81)การรู้สารสนเทศมีความสาคัญ และถือเป็นสมรรถนะหลักของบุคคลในศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีข้อมูล ข่าวสาร หรือสารสนเทศ เป็นหัวใจสาคัญและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพลังขับเคลื่อนหรือ ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนในสังคม ทั้งสังคมโลกและสังคมไทย เป็นเหตุปัจจัยที่ก่อให้เกิด ผลกระทบต่อบุคคลและองค์กรทั้งทางบวกและทางลบ ในประเทศพัฒนา เช่นสหรัฐอเมริกา แคนาดา เนเธอร์แลนด์ ฟินแลนด์ ออสเตรเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ การรู้ สารสนเทศได้รับความสาคัญในระดับชาติอย่าง ต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน มีความตื่นตัวในการสอนการศึกษา ค้นคว้าวิจัยเรื่องการรู้สารสนเทศอย่างกว้างขวาง ในระดับสากล (ชุติมา สัจจานันท์. 2550 : 27) การบูรณาการเทคโนโลยีกับการเรียนการสอนนั้นไม่สามารถที่จะทาได้ง่ายเสียทุกอย่างต้องมีการ วางแผนมีขั้นตอนซึ่งสิ่งที่อาจารย์ควรคานึงก็คือการนาเทคโนโลยีมาใช้ต้องดูขนาดของชั้นเรียนและ ความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนที่สามารถจะรับรู้ได้ขั้นต้นเสียก่อน เริ่มแรกอาจารย์อาจจะหากิจกรรมต่าง ๆ ที่มีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องอย่างง่าย ๆ และที่สาคัญกิจกรรมที่อาจารย์จัดนี้ก็ต้องสอดคล้องกับหลักสูตร และมี เป้าหมายในกิจกรรมนั้นด้วย จึงจะบรรลุความสาเร็จ การที่อาจารย์จะบูรณาการเทคโนโลยีกับการสอนได้อย่าง มีประสิทธิภาพนั้นอาจมีหลาย ๆ แบบ เช่น จัดทาให้แต่ละหน่วยย่อยของการสอนมีการนาเทคโนโลยีรวมเข้า ไปด้วยใช้ข้อมูลให้เหมาะสมกับกระบวนการสอนในเนื้อหาต่าง ๆรวมทั้งทักษะที่ต้องการในแต่ละเรื่อง จัดให้มี เวลาเพียงพอในการวางแผนการสอนในเนื้อหาต่าง ๆจัดให้มีเวลาเพียงพอในการวางแผนการสอนและร่วมมือ กับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีซึ่งสามารถแนะนาและเสนอแนะเทคโนโลยีใหม่ต่าง ๆ ให้กับอาจารย์ได้ จัดระบบการจัดการดูแลการทากิจกรรมต่าง ๆ ของผู้เรียนในชั้นเรียนได้เมื่อนาเทคโนโลยีมาใช้ จัดแผนการ สอนสารองเตรียมพร้อมสาหรับแผนหลักหากไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้จัดสิ่งแวดล้อมส่งเสริมต่อบรรยากาศ ในการทางานและการเรียนของผู้เรียนจัดเนื้อหาสอดคล้องตามหลักสูตร มาตรฐานสาระที่กาหนด ตระหนักถึง ความสาคัญของแต่ละกิจกรรม โดยมีเป้าหมายให้ผู้เรียนได้ความรู้และมีความเชี่ยวชาญขึ้น (แจ่มจันทร์ ทองสา. 2546 : 42-44) ดังนั้น การจัดการศึกษาทั้งในปัจจุบันและอนาคต เพื่อให้คนได้รับการพัฒนาให้มีความพร้อมทั้ง ร่างกาย สติปัญญา คุณธรรม จริยธรรม อารมณ์ มีทักษะในกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมีความสามารถใน การแก้ปัญหา ทาให้สามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตเพื่อให้สอดคล้องกับความเจริญ ก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านการสื่อสาร โดยการนาเอาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อดาเนิน การจัดการศึกษา เพื่อเตรียมคน เตรียมเยาวชนสู่โลกใหม่ที่กาลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเพราะเป็นกาลัง สาคัญในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมากการศึกษายุคใหม่เริ่มหันมาทบทวนตัวเอง และบทบาทของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสาคัญ 3 สิ่งคือ เนื้อหา สื่อ และวิธีการจัดการเรียนรู้ ผู้เรียนหรือครู ผู้สอนเองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาทจากการสอนแบบเดิม ๆ มาปรับเปลี่ยนให้รู้เท่าทัน และสามารถ
  • 7. ดัดแปลง ประยุกต์เอาคลังข้อมูลมหาศาล ที่อยู่บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการ เรียนการสอน (โชติกา เรืองแจ่ม. 2548 : 1-2) โดยธรรมชาติของมนุษย์ทุกคนจะมีในการเรียนรู้อยู่ในตัวเอง บทบาทของผู้สอนจึงเป็นเพียงผู้ให้ความ สะดวกแก่ผู้เรียน กล่าวคือ ประการแรก ผู้สอนจะต้องสร้างบรรยากาศการเรียนการสอนที่เหมาะสมให้กับ ผู้เรียน ประการที่สอง ผู้สอนต้องให้ความกระจ่างชัดต่อผู้เรียนถึงวัตถุประสงค์และเนื้อหาการเรียน ประการที่ สาม ผู้สอนต้องจัดระบบและจัดหาแหล่งข้อมูลและการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน ประการที่สี่ ผู้สอนต้องให้ความ สมดุลระหว่างภาวะทางปัญญาและอารมณ์ของผู้เรียนและประการสุดท้ายคือการแบ่งปันความรู้สึก ความ คิดเห็น และประสบการณ์ให้แก่ผู้เรียนแต่ไม่ควรไปครอบงา จะเห็นได้ว่าการเรียนของผู้ที่อยู่ในระดับอุดมศึกษา ต้องการใช้ปัญญาตนเองเข้าตัดสินใจและริเริ่มทาสิ่งที่ตนสนใจ ผู้สอนจึงไม่ควรเป็นผู้ชี้นาแก่ผู้เรียน การศึกษา ค้นคว้าด้วยตนเองจึงเป็นวิธีการหนึ่งสาหรับผู้เรียนในระดับนี้โดยมอบหมายงานให้ ซึ่งเป็นช่องทางให้ผู้เรียน วางแผนทางานด้วยตนเองด้วยการกาหนดกรอบเวลาทางาน เตรียมการ ค้นคว้า และจัดทา โดยที่ผู้สอนมี หน้าที่ให้ข้อแนะนาอานวยความสะดวก และชี้แนะข้อมูลแก่ผู้เรียน (Roger. 1984 : 110) ปัญหาที่ยังคงพบอยู่ในการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยเราคือการที่ผู้เรียนยังขาดนิสัยในการ ค้นคว้า ซึ่งอาจเป็นผลมาจากวิธีการสอนของอาจารย์ที่ป้อนแต่ความรู้ให้จนดูเหมือนห้องเรียนเท่านั้นที่เป็น แหล่งเรียนรู้ จากการศึกษาการจัดลาดับความสาคัญของสาระที่จาเป็นสาหรับนักศึกษาครูในสังคมสารสนเทศ กลับพบว่าประเด็นที่นิสิตนักศึกษาครูให้ความสาคัญน้อยที่สุดคือการค้นหาข่าวสาร (อุทุมพร จามรมาน. 2549 : 119)การพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ใฝ่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นบทบาทสาคัญประการหนึ่งของ สถาบันอุดมศึกษา จะเห็นได้ว่าสถาบันแต่ละแห่งมุ่งสอนให้นักศึกษาคิดอย่างมีวิจารณญาณคิดเป็น ทาเป็น และฝึกการเรียนรู้อย่างเป็นระบบเพื่อที่จะให้ออกไปเป็นพลเมืองที่ดี และจรรโลงสังคม ดังนั้นการรู้สารสนเทศ จึงเป็นกุญแจสาคัญที่จะนาไปสู่จุดมุ่งหมายนี้ ทักษะการรู้สารสนเทศจะทาให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่าง กว้างขวาง โดยไม่จากัดเฉพาะในห้องสี่เหลี่ยมเท่านั้นนักศึกษาสามารถเรียนตามความสนใจของตนเองโดยไม่ จากัดเวลาและสถานที่ (สุจิน บุตรดีสุวรรณ. 2550 : 73)ผู้เรียนเป็นองค์ประกอบที่มีความสาคัญที่สุดของการ เรียนการสอน การจัดการเรียนการสอนที่สนองตอบต่อตัวผู้เรียน จะทาให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมาก ขึ้น จึงมีผู้คิดค้นรูปแบบการเรียนการสอนหลายรูปแบบในการช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียน ซึ่งการสอนแต่ละรูปแบบก็มีวัตถุประสงค์ในการใช้แตกต่างกันออกไปทาให้สามารถนาไปประยุกต์ใช้ในการ เรียนการสอนได้หลากหลาย ชั้นเรียนควรจะเป็นเสมือนกระจกเงาที่สะท้อนโครงสร้างของสังคม และผู้เรียน ควรจะมีโอกาสใช้ห้องเรียนเป็นห้องทดลองในการใช้ชีวิตในสังคม กล่าวคือ ผู้เรียนควรได้เรียนรู้ทักษะทาง สังคม การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนทักษะการแก้ปัญหาและอื่น ๆ (สมพันธ์ วงษ์ดี. 2544 : 10)การจัดการเรียนรู้แบบซิปปา เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ เป็น กิจกรรมการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและ สิ่งแวดล้อม ผู้เรียนมีโอกาสเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จาเป็นต่อ การดารงชีวิต และนาความรู้ไปใช้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งในสังคมและชีวิตประจาวัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเกิด
  • 8. การเรียนรู้เพิ่มเติมขึ้นเรื่อย ๆ (ทิศนา แขมมณี. 2548 : 11-23)ทิศนา แขมมณี (2547 : 25) กล่าวว่า รูปแบบ การเรียนการสอน คือ แบบแผนที่กาหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอน ให้เป็นไปอย่างมี ระบบระเบียบ ผู้วิจัยเชื่อว่าหากมีการนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดซิปปาซึ่งเป็นกระบวนการสอนอีก รูปแบบหนึ่งที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ใหม่และเน้นกระบวนการกลุ่ม และเป็นวิธีสอนที่มีความเหมาะสม ที่จะนามาใช้ทดลองสอนเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนให้สูงขึ้นโดยเฉพาะวิชานวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการเรียนรู้ การออกแบบ และการสร้างนวัตกรรม อีกทั้งยังเป็นวิชาชีพครูบังคับที่นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตทุก สาขาวิชาต้องเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการศึกษารายวิชาอื่น ๆ ที่จะช่วยให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ของการ เรียนได้เร็วขึ้น ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพในรายวิชานี้ย่อมจะส่งผลดีต่อการแสวงหา ความรู้ในวิชาอื่น ๆ ผู้วิจัยสนใจและตระหนักถึงความสาคัญดังกล่าวจึงได้นารูปแบบการเรียนการสอนตาม แนวคิดซิปปามาทดลองใช้ในรายวิชานี้ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการพัฒนารายวิชา อื่น ๆต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย 1. พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิป ปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2. เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แผนจัดการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา โดยใช้รูปแบบซิปปา 4. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตที่มีต่อการเรียนวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซิปปา สมมติฐานในการวิจัย
  • 9. นักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ขอบเขตของการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. ประชากร ได้แก่ นักศึกษานักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ภาคปกติ หลักสูตร ครุศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนมที่เรียนวิชานวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จานวน 3 ห้อง ได้แก่ ห้อง 3/1 จานวน 33 คน และห้อง 3/2 จานวน 43 คนและห้อง 3/3 จานวน 31 คน รวม 107 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ห้อง 3/1 จานวน 33 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) 3. ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรอิสระ ได้แก่ รูปแบบซิปปา ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความพึงพอใจ 4. เนื้อหาวิชา เนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา จานวน 9 บท รวม 9 แผน จานวน 64 ชั่วโมง ดังนี้ บทที่ 1 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีเทคโนโลยี และนวัตกรรม มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง บทที่ 2 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง บทที่ 3 การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง บทที่ 4 แหล่งการเรียนรู้ และเครือข่ายการเรียนรู้ มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง บทที่ 5 การผลิตและใช้สื่อการเรียนการสอน มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง บทที่ 6 การออกแบบ การสร้าง และการนานวัตกรรมไปใช้ มี 1 แผน จานวน 12 ชั่วโมง บทที่ 7 พัฒนาการของสื่อการสอน มี 1 แผน จานวน 4 ชั่วโมง บทที่ 8 การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรม มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง
  • 10. บทที่ 9 การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน มี 1 แผน จานวน 8 ชั่วโมง ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้แผนการเรียนการสอนรายวิชารายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตาม รูปแบบซิปปาสาหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมที่มีประสิทธิภาพ 2. ทาให้ทราบถึงผลการสอนรายวิชารายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาตาม แนวคิดซิปปาสาหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม 3. เป็นแนวทางสาหรับอาจารย์ และผู้ที่สนใจการพัฒนาการสอนนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมในรายวิชาอื่น ๆ ต่อไป นิยามศัพท์เฉพาะ 1. การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง การสร้าง รูปแบบการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 2. รูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา หมายถึง โครงสร้างของการจัดการเรียนการสอนที่มีขั้นตอน ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ได้ซิปปา เป็นหลักการซึ่งสามารถนาไปใช้เป็นหลักในการ จัดกิจกรรมเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA” นี้สามารถใช้ วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย ซึ่งอาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ รูปแบบหนึ่งที่รองศาสตราจารย์ ทิศนา แขมมณีได้นาเสนอไว้และได้มีการนาไปทดลองใช้แล้วได้ผลดี ประกอบด้วยขั้นตอนการดาเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิม หมายถึง การดึงความรู้เดิมของผู้เรียนในเรื่องที่จะเรียน เพื่อช่วย ให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม ของตน ซึ่งผู้สอนอาจใช้วิธีการต่าง ๆ ได้อย่าง หลากหลาย ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ หมายถึง การแสวงหาความรู้ข้อมูลความรู้ใหม่ของผู้เรียนจาก
  • 11. แหล่งข้อมูลหรือ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ซึ่งครูอาจจัดเตรียมมาให้ผู้เรียนหรือให้คาแนะนาเกี่ยวกับแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ผู้เรียนไปแสวงหาก็ได้ ขั้นที่ 3 การศึกษาทาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่ กับความรู้เดิม หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นที่ผู้เรียนจะต้องศึกษาและทาความเข้าใจกับข้อมูล/ความรู้ที่หา มาได้ ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายของข้อมูล/ประสบการณ์ใหม่ๆโดยใช้กระบวนการต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น ใช้ กระบวนการคิด และกระบวนการกลุ่มในการอภิปรายและสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลนั้น ๆ ซึ่งจาเป็นต้อง อาศัยการเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นที่ ผู้เรียนอาศัยกลุ่มเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ความ เข้าใจของตน รวมทั้งขยายความรู้ความเข้าใจของ ตนให้กว้างขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได้แบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนแก่ผู้อื่น และได้รับประโยชน์จากความรู้ ความเข้าใจของผู้อื่นไปพร้อมกัน ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นของการสรุป ความรู้ที่ได้รับทั้งหมดทั้งความรู้เดิมและความรู้ใหม่ และจัดสิ่งที่เรียนให้เป็นระบบระเบียบเพื่อช่วยให้ผู้เรียน จดจาสิ่งที่ เรียนรู้ได้ง่าย ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ หรือการแสดงผลงานหากข้อความรู้ที่ได้เรียนรู้มาไม่ได้มีการปฏิบัติ หมายถึง ขั้นนี้จะเป็นขั้นที่ช่วยให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงผลงานการสร้างความรู้ ของตนให้ผู้อื่นรับรู้ เป็นการ ช่วยให้ผู้เรียนได้ตอกย้าหรือตรวจสอบความเข้าใจของตนและส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ความคิดสร้างสรรค์แต่หาก ต้องมีการปฏิบัติตามข้อความรู้ที่ได้ ขั้นนี้จะเป็นขั้นปฏิบัติ และมีการแสดงผลงานที่ได้ปฏิบัติด้วย ขั้นที่ 7 การ ประยุกต์ใช้ความรู้ หมายถึง ขั้นนี้เป็นขั้นของการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนการนาความรู้ความเข้าใจไปใช้ใน สถานการณ์ต่าง ๆ ที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความชานาญ ความเข้าใจ ความสามารถในการแก้ปัญหาและความจา ในเรื่องนั้น ๆ หลังจากประยุกต์ใช้ความรู้ อาจมีการนาเสนอผลงานจากการประยุกต์อีกครั้งก็ได้ หรืออาจไม่มี การนาเสนอผลงานในขั้นที่ 6 แต่นามารวมแสดงในตอนท้ายหลังขั้นการประยุกต์ใช้ก็ได้เช่นกัน ขั้นตอนตั้งแต่ขั้นที่1-6 เป็นกระบวนการของการสร้างความรู้ (Construction of knowledge) ซึ่งครูสามารถจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนมีโอกาสปฏิสัมพันธ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน (Interaction) และฝึกฝนทักษะ กระบวนการต่าง ๆ (Process learning) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนช่วยให้ผู้เรียนได้ทา กิจกรรมหลากหลายที่มีลักษณะให้ผู้เรียนได้มีการเคลื่อนไหวทางกาย ทางสติปัญญา ทางอารมณ์ และทาง สังคม อย่างเหมาะสมอันช่วยให้ผู้เรียนตื่นตัว (Active) สามารถรับรู้และเรียนรู้ได้อย่างดี จึงกล่าวได้ว่าขั้นตอน ทั้ง 6 มีคุณสมบัติตามหลักการ CIPP ส่วนขั้นตอนที่ 7 เป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนนาความรู้ไปใช้ (application) จึง ทาให้รูปแบบนี้มีคุณสมบัติครบตามหลัก CIPPA 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง คะแนนทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 4. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่ใช้ในการกาหนดแนวทาง ในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนรายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ตามแนวคิดซิปปาของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมประกอบด้วยแนวคิดและ ทฤษฎี หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน
  • 12. 5. แนวคิดซิปปา หมายถึง แนวคิดหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางโดยให้ ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเอง มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติหรือ การกระทาต่าง ๆ ซึ่งตอบสนองต่อความพร้อมในการเรียนรู้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเป็นทักษะที่จาเป็นต่อการดารงชีวิต เช่นกระบวนการแสวงหาความรู้ กระบวนการคิด กระบวนการ แก้ปัญหา กระบวนการกลุ่ม กระบวนการพัฒนาตนเอง และสามารถนาความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างมีประสิทธิภาพประกอบด้วยขั้นตอนการดาเนินการ 7 ขั้นตอน ดังนี้ขั้นที่ 1 การทบทวนความรู้เดิมขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่ขั้นที่ 3 การศึกษาทาความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่ และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับ ความรู้เดิมขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่มขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/ หรือการแสดงผลงานขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้ 6. วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา หมายถึง วิชาชีพครูบังคับของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทาง การศึกษา 7. นักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม หมายถึง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชา การศึกษาปฐมวัย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ที่ลงทะเบียนเรียนวิชานวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 8. ความพึงพอใจ หมายถึงความรู้สึกของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิตมหาวิทยาลัย นครพนม ที่มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปาในวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษา 9. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ค่าคะแนนที่ได้จากการทาแบบทดสอบวิชานวัตกรรมและ เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยนครพนม ในการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
  • 13. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลที่เป็นหนังสือภาษาไทย หนังสือภาษาอังกฤษ วารสาร บทความ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเว็บไซต์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่ง นาเสนอตามลาดับดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอน 1.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน 1.2 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน 1.3 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 1.4 การจัดทาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 1.5 การหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2. การออกแบบการเรียนการสอน 3. แนวคิดซิปปา 3.1 ความหมายของแนวคิดซิปปา 3.2 การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบซิปปา 4. เนื้อหาวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 5. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 5.1 งานวิจัยภายในประเทศ 5.2 งานวิจัยต่างประเทศ 1. รูปแบบการเรียนการสอน 1.1 ความหมายของรูปแบบการเรียนการสอน ทิศนา แขมมณี (2547 : 25) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง สภาพหรือ ลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่จัดขึ้นอย่างเป็นระบบระเบียบ ตามหลักปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อต่าง ๆ โดยมีการจัดกระบวนการหรือขั้นตอนในการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ เข้าไปช่วยทาให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไป ตามหลักการที่ยึดถือ ประยูร บุญใช้ (2544 : 10) สรุปนิยามว่า รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง แบบแผน
  • 14. แสดงการจัดโครงสร้างและองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใช้ในการพัฒนาผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการ เรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ Joyce and Weil (1996 : 105-106) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนคือ แผน (plan) หรือ แบบ (pattern) ที่เราสามารถใช้เพื่อการสอนโดยตรงในห้องเรียน หรือการสอนกลุ่มย่อย หรือเพื่อ จัดสื่อการเรียนการสอน ซึ่งรวมถึง หนังสือ ภาพยนตร์ เทปบันทึกเสียง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ช่วยสอน และหลักสูตรรายวิชา ซึ่งแต่ละรูปแบบจะให้แนวทางในการออกแบบการเรียนการสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับสารสนเทศ ความคิด ทักษะ คุณค่า แนวทางการคิด และแนวทางในการ แสดงออกของผู้เรียน สรุป รูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง โครงสร้างของการจัดการเรียนการสอนที่มีขั้นตอนที่ ชัดเจน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.2 องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน การที่จะทาให้การจัดการเรียนการสอนกลายเป็นรูปแบบได้นั้น ต้องผ่านกระบวนการจัด องค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งมีความจาเป็นอย่างมากที่ต้องคานึงถึงทฤษฎีและ หลักการ สภาพการณ์ต่าง ๆที่เกี่ยวข้อง องค์ประกอบสาคัญของรูปแบบการเรียนการสอนมีดังนี้ (ทิศนา แขมมณี , 2547 : 27) 1. มีปรัชญา ทฤษฎี หลักการ แนวคิด หรือความเชื่อที่เป็นพื้นฐานหรือเป็นหลักของ รูปแบบการสอนนั้น ๆ 2. มีการบรรยายและอธิบายสภาพหรือลักษณะของการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับ หลักการที่ยึดถือ 3. มีการจัดระบบ คือ มีการจัดองค์ประกอบและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของระบบ ให้สามารถนาผู้เรียนไปสู่เป้าหมายของระบบหรือกระบวนการนั้น ๆ 4. มีการอธิบายหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีสอนและเทคนิคการสอนต่าง ๆ อันจะช่วยให้ กระบวนการเรียนการสอนนั้น ๆ เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ประยูร บุญใช้ (2544 : 35) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบร่วมที่ สาคัญซึ่งผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนควรคานึงถึง ดังนี้ ประยูร บุญใช้ (2544 : 35) กล่าวว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยทั่วไปมีองค์ประกอบร่วมที่ สาคัญซึ่งผู้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนควรคานึงถึง ดังนี้ 1. หลักการของรูปแบบ เป็นส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิดของทฤษฎีที่รองรับรูปแบบ การสอน หลักการของรูปแบบการสอนจะเป็นตัวชี้นาการกาหนด จุดประสงค์ เนื้อหากิจกรรม และขั้นตอนการ ดาเนินการในรูปแบบการสอน 2. จุดประสงค์ของรูปแบบการสอน เป็นส่วนที่ระบุถึงความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้นจาก การใช้รูปแบบการสอน
  • 15. 3. เนื้อหาเป็นส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะใช้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ของรูปแบบการสอน 4. กิจกรรมและขั้นตอนการดาเนินการเป็นส่วนที่ระบุถึงวิธีการปฏิบัติในขั้นตอนหนึ่งๆเมื่อนา รูปแบบไปใช้ 5. การวัดและการประเมินผล เป็นส่วนที่ประเมินถึงประสิทธิผลของรูปแบบการสอน Kemp (1971 : 128) กาหนดระบบการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้ 1. กาหนดหัวข้อที่จะสอนและเขียนจุดประสงค์ทั่วไป 2. ศึกษาคุณลักษณะของผู้เรียน 3. ระบุจุดประสงค์ของการสอน โดยเน้นว่าจะต้องเขียนออกมาในลักษณะของจุดประสงค์เชิง พฤติกรรม 4. กาหนดเนื้อหาวิชาที่เอื้ออานวย สนับสนุนจุดประสงค์ในแต่ละข้อ 5. ทดสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถก่อนสอน 6. เลือกกิจกรรมและแหล่งวิชาการสาหรับการเรียนการสอนเพื่อจะนาเนื้อหาวิชาไปสู่ จุดประสงค์ที่วางไว้ 7. บริการสนับสนุน ประสานงานในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเงิน บุคลากร อาคารสถานที่วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และสื่อต่าง ๆ และดาเนินการไปตามแผนการที่กาหนดไว้ 8. ประเมินผลการเรียนของผู้เรียนว่าบรรลุตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้เพียงใด 9. การปรับปรุงแก้ไข พิจารณาดูว่าควรจะได้รับการแก้ไขปรับปรุงแผนการเรียนการสอน หรือไม่ จากองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอน และระบบการเรียนการสอนข้างต้นสามารถสรุป องค์ประกอบที่จะนามาใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนได้ดังนี้ 1. แนวคิดทฤษฎี หมายถึง แนวคิดหลักที่ยึดถือและรองรับในการนามากาหนดแนวทางของ รูปแบบ 2. หลักการ หมายถึง ส่วนที่กล่าวถึงความเชื่อและแนวคิดของทฤษฎีที่รองรับรูปแบบและจะ เป็นตัวชี้นาการกาหนดวัตถุประสงค์ 3. วัตถุประสงค์ หมายถึง ส่วนที่ระบุความคาดหวังที่ต้องการให้เกิดขึ้น จากการใช้รูปแบบ 4. เนื้อหา หมายถึง ส่วนที่ระบุถึงเนื้อหาที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน 5. กระบวนการเรียนการสอน หมายถึง กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดาเนินการตามขั้นตอน 6. การวัดและการประเมินผล หมายถึง ส่วนที่ระบุถึงการวัดและประเมินถึงผลของรูปแบบ การเรียนการสอน
  • 16. ทิศนา แขมมณี (2547 : 35) กล่าวไว้ว่า การที่การจัดการเรียนการสอนจะกลายเป็นรูปแบบได้นั้น จะต้องผ่านการจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ให้เป็นระบบเสียก่อน ซึ่งในการจัดระบบต้องคานึงถึงทฤษฎีและ หลักการ รวมทั้งสภาพการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.3 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน หมายถึง การจัดองค์ประกอบต่าง ๆ ของรูปแบบการ เรียนการสอนให้เป็นระบบ ตามขั้นตอนดังนี้ (ทิศนา แขมมณี , 2547 : 25-30 และ Joyce and Weil , 1996) 1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2. นาแนวคิดสาคัญของข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มากาหนดองค์ประกอบที่สาคัญและ จาเป็นของรูปแบบการเรียนการสอน รวมทั้งทิศทาง และรายละเอียดขององค์ประกอบทั้งหมดแล้วนาไปสร้าง รูปแบบการเรียนการสอน 3. ประเมินรูปแบบ เชิงทฤษฎี เชิงปฏิบัติการ 4. การปรับปรุงรูปแบบ 2. การออกแบบการเรียนการสอน Gary R. Morrison Jerrold E. Kemp, Steven M. Ross (2001 : 204) กล่าวว่า การออกแบบการ เรียนการสอน (Instructional Design) คือ การวางแผนพัฒนา ประเมินและจัดการกับกระบวนการเรียนการ สอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ Richey , R. (1986 : 109) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนถือเป็นศาสตร์แห่งการ สร้างสรรค์ของกระบวนการพัฒนา การประเมิน และการบารุงรักษาที่ละเอียด และมีการระบุที่เฉพาะเจาะจง เพื่อเอื้อให้การเรียนการสอนทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นวิชาหน่วยเล็กหรือหน่วยใหญ่ Seel and Glasgow (1990 : 305) กล่าวว่า การออกแบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการ แก้ปัญหาในการเรียนการสอนโดยการวิเคราะห์เงื่อนไขในการเรียนรู้ อย่างเป็นระบบ Steven J. McGriff (2000 : 264-265) การออกแบบการเรียนการสอนมี 5 ขั้นตอนดังนี้ 1. การวิเคราะห์ (Analysis) ได้แก่ กาหนดภารกิจสาคัญของงาน กาหนดวัตถุประสงค์การเรียน การ วิเคราะห์ผู้เรียน 2. การออกแบบ (Design) ได้แก่ การเลือกวิธีการเรียนการสอน การเลือกเนื้อหาและสื่อการสอน กาหนดกลยุทธการเรียนการสอน ทบทวนวิธีการเรียนการสอนที่ใช้ในปัจจุบัน 3. การพัฒนา (Development) ได้แก่ พัฒนากิจกรรมการเรียนรูปแบบการฝึกที่มีปฏิสัมพันธ์ การ ประเมินผล การผลิตสื่อการเรียนการสอน 4. การนาไปใช้ (Implementation) ได้แก่ การรับรองการใช้บทเรียนด้วยการประเมินความก้าวหน้า และการประเมินสรุปการใช้บทเรียน 5. การประเมินผล (Evaluation) ได้แก่ การประเมินระหว่างการเรียนการสอน และการประเมินผล สรุปของการเรียนการสอน
  • 17. สรุป การออกแบบการเรียนการสอน คือ การวางแผนพัฒนา ประเมิน และจัดการกับกระบวนการ เรียนการสอนทุกประเภทอย่างมีระบบ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมายการออกแบบการเรียนการ สอนต้องคานึงถึงส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และออกแบบให้สอดคล้องกัน รูปแบบการออกแบบการเรียน การสอนจึงมีความสาคัญ เนื่องจากช่วยให้ผู้ออกแบบสามารถออกแบบการเรียนการสอนได้อย่างถูกต้อง 1.4 การจัดทาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ นิคม ชมพูหลง (2545 ก : 22) ให้ความหมายของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่นว่า หมายถึง เนื้อหาและแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ได้จากการวิเคราะห์อธิบาย รายวิชา จากหลักสูตรแม่บท แล้วปรับเพิ่มเนื้อหาให้สอดคล้องกับอาชีพอุตสาหกรรมย่อย ที่เกิดจากภูมิ ปัญญาท้องถิ่น ซึ่งจะทาให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถแสดงพฤติกรรมที่บ่งบอกถึง ความสามารถ ตามจุดประสงค์ของแต่ละแผน ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 357) ได้ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง ลาดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกาหนดไว้เป็น แนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2543 : 1) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทาเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชา หนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบ และเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาจัดการเรียนการสอนไปสู่ จุดประสงค์การเรียนรู้จุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณัฐวุฒิ กิจรุ่งเรืองและคณะ (2545 : 53) ได้ให้ความหมายของแผนการจัด การเรียนรู้ (Lesson Plan) คือ การเตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ และเป็นลายลักษณ์ อักษร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งให้บรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ หลักสูตรกาหนด แผนการจัดการเรียนรู้มี 2 ระดับ ได้แก่ ระดับหน่วยการเรียน (Unit Plan) และระดับ บทเรียน (Lesson Plan) กรมวิชาการ (2545 : 126) ได้ให้ความหมายและความสาคัญ ว่า เป็นการวางแผนวิธีสอน จัดลาดับ ขั้นตอนการสอนที่ดี มีจุดมุ่งหมายปลายทางที่ชัดเจน ทาให้ผู้สอนเกิดความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น สอนได้ตรงตามเป้าหมาย ที่วางไว้ ช่วยให้การจัดการเรียนการสอนดาเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุ จุดมุ่งหมายของหลักสูตรที่คาดหวัง เป็นหลักฐานการทางานที่ชี้ชัด เพราะกาหนดบทบาทของผู้สอน และ ผู้เรียน รวมทั้งพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในตัวผู้เรียนไว้ชัดเจน เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน เป็นการกาหนดวัสดุ อุปกรณ์และกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนช่วยให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ได้น่าสนใจ เป็นเครื่องมือประเมินตนเอง ของผู้สอนว่า สอนได้ครบตามขั้นตอนและบรรลุจุดประสงค์การ เรียนรู้ที่กาหนดไว้หรือไม่ ควรปรับปรุง แก้ไขอย่างไร ใช้ประโยชน์ในการสอนซึ่งกันและกัน เป็นผลงานทาง วิชาการที่แสดงถึงความชานาญการ และความเชี่ยวชาญของผู้สอน
  • 18. แผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง แผนการสอนที่ครูเคยทา แต่การที่เปลี่ยนมาใช้ คาว่า แผนการจัดการเรียนรู้ เพราะต้องการเน้นบทบาทครูที่เป็นผู้จัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ สรุปว่า แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ การวางแผนที่เป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า อย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีจุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการ เรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลอย่างชัดเจน เพื่อผู้เรียนบรรลุผลสู่จุดหมายตามที่ หลักสูตรกาหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ ความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีผู้ให้ความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์ (2545 : 289) ได้สรุปความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรม การ เรียนรู้ ไว้ดังนี้ การวางแผนการสอนเป็นงานสาคัญของครูผู้สอน การสอนจะประสบความสาเร็จด้วยดี หรือไม่ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับการวางแผนการสอนเป็นสาคัญประการหนึ่ง การวางแผนการสอนจึงมีความสาคัญหลายประการ ดังนี้ 1. ทาให้ผู้สอน สอนด้วยความมั่นใจ เมื่อเกิดความมั่นใจในการสอน ย่อมจะ สอนด้วยความคล่องแคล่วเป็นไปตามลาดับขั้นตอนอย่างราบรื่นไม่ติดขัดเพราะมี การเตรียมการ ทุกอย่างไว้พร้อมแล้ว การสอนก็จะดาเนินไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสมบูรณ์ 2. เพื่อให้เป็นการสอนที่มีคุณค่า คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปเพราะผู้สอนสอนอย่างมีแผนมี เป้าหมาย และมีทิศทางในการสอนมิใช่สอนอย่างเลื่อนลอย ผู้เรียนก็จะได้รับความรู้ ความคิด เจตคติ เกิด ทักษะ และเกิดประสบการณ์ใหม่ตามที่ผู้สอนได้วางแผนไว้ ทาให้การเรียน การสอนที่มีคุณค่า 3. เพื่อให้เป็นการสอนที่ตรงตามหลักสูตร ทั้งนี้เพราะ ในการวางแผน การ สอนผู้สอนต้องศึกษาหลักสูตรทั้งด้านจุดประสงค์การสอน เนื้อหาสาระที่จะสอน การจัดกิจกรรมการเรียน การสอน การใช้สื่อการสอน การวัดผลประเมินผล แล้วจัดทาออกมาเป็น แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้เมื่อผู้สอนสอนตามแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ย่อมจะทาให้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตรง ตามจุดหมายและทิศทางของหลักสูตร 4. ทาให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ดีกว่าการสอนที่ไม่มี การ วางแผน เนื่องจากในการวางแผนการสอน ผู้สอนต้องวางแผนอย่างรอบคอบในทุกองค์ประกอบของการสอน รวมทั้งการจัดเวลา สถานที่ และสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งจะเอื้ออานวยให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยสะดวกและง่ายขึ้น ดังนั้น เมื่อมีการวางแผนการสอนที่รอบคอบและ ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ผลการสอนย่อมจะสาเร็จได้ดีกว่าการไม่วางแผนการสอน 5. ทาให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความทรงจาสามารถนามาใช้เป็นแนวทางในการสอนต่อไป ทาให้ไม่เกิดความซ้าซ้อน และเป็นแนวทางในการทบทวนหรือออกข้อสอบเพื่อวัดผลประเมินผลผู้เรียนได้
  • 19. นอกจากนี้ทาให้ผู้สอนมีเอกสารไว้ให้แนวทางแก่ผู้ที่เข้าสอนแทนในกรณีจาเป็น เมื่อผู้สอนไม่สามารถเข้าสอน ได้ ผู้เรียนได้รับความรู้และประสบการณ์ที่ต่อเนื่องกัน 6. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ดีต่อผู้สอนและแก่วิชาที่เรียนทั้งนี้เพราะผู้สอนสอนด้วย ความพร้อม เป็นความพร้อมทางด้านจิตใจ และความพร้อมทางด้านวัตถุ ความพร้อมทางด้านจิตใจ คือ ความมั่นใจในการสอนเพราะผู้สอนได้เตรียมการสอนไว้อย่างพร้อมเพรียงเมื่อผู้สอนเกิดความพร้อมในการสอน ย่อมสอนด้วยความกระจ่าง ทาให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจอย่างชัดเจนในบทเรียนอันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดเจตคติที่ ดีต่อผู้สอนและแก่วิชาที่เรียน นิคม ชมพูหลง (2545 ก : 180) ได้สรุปความสาคัญของแผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้ไว้ดังนี้ 1. เป็นการวางแผนและการเตรียมล่วงหน้า เป็นการนาเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ สื่อ เทคโนโลยี ตลอดจนจิตวิทยาการสอนมาผสมผสาน ประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ 2. ส่งเสริมให้ครูผู้สอนค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร เทคนิคการเรียน การสอน การเลือกใช้สื่อ การวัดผลประเมินผล ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องที่จาเป็น 3. เป็นคู่มือการสอนสาหรับตัวครูผู้สอน และผู้สอนแทน นาไปปฏิบัติ การ สอนอย่างมั่นใจ 4. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลการเรียนการสอน และการวัดผลประเมินผล ที่ จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน 5. เป็นหลักฐานแสดงความเชี่ยวชาญของครูผู้สอน ซึ่งสามารถนาไปเสนอ เป็นผลงานทางวิชาการได้ ภพ เลาหไพบูลย์ (2542 : 357) ได้สรุปความสาคัญของแผนจัดกิจกรรมการเรียนการ สอนไว้ดังนี้ 1. ช่วยให้ผู้สอนจัดการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมโดยใช้ทรัพยากรที่มี อยู่ให้ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ 2. ช่วยให้ครูผู้สอนมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนในการนาทางผู้เรียนในการเรียน การ สอน 3. ช่วยให้การจัดกิจกรรมเป็นไปอย่างเหมาะสม 4. ช่วยให้ผู้สอนเข้าใจชัดเจนเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่สอน 5. ช่วยให้ผู้สอนมีความเชื่อมั่นในตนเอง แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีนากิจกรรมการเรียน การสอนดาเนินไปอย่างราบรื่น 6. ช่วยให้ผู้สอนมีโอกาสเตรียมสื่อการสอนทดลองใช้ก่อนดาเนินการสอนจริง 7. ช่วยให้มีการประเมินผลการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมกับบทเรียน