SlideShare a Scribd company logo
1 of 29
Download to read offline
บทที่ ๒
การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
 
การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ
คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้ทําการศึกษา
ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาดังนี้ 
๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่
๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา
๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่
๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่
๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๒. ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง 
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ ณ ตําบลไร่ขิง
อําเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม เป็นหน่วยวิทยบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ที่เกิดจากปณิธานของพระเดชพระคุณ
พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส ผู้ดําริเริมก่อตั้งด้วยจุดมุ่งหมายต้องการจัดการศึกษาใน
ระดับอุดมศึกษา ให้แก่พระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นและด้วย
ความตั้งใจอันมุ่งมั่นของท่านพระเดชพระคุณ พระราชวิริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงองค์ปัจจุบัน
รองประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการ ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของท่านผู้ดําริก่อตั้ง
หน่วยวิทยบริการ ด้วยการผลักดันให้เกิดวิทยาลัยสงฆ์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม
หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เป็นสถาบันการเรียนรู้ยุคใหม่ที่พร้อมผลิต
บัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ ความชํานาญในแต่ละวิชาชีพ สร้างคนดี มีคุณภาพ คุณธรรม
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๘ 
จริยธรรม และ ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่
ทรงคุณค่าของสังคมไทย๑
 
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นสถาบันแห่งการ
เรียนรู้ยุคใหม่มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งมีความรู้ ทักษะ ความชํานาญ ในแต่ละ
สาขาวิชา สร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยบัณฑิตต้อง
เป็นบุคคลที่มุ่งมั่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อนําความรู้ ความสามารถ เป็นกําลัง
สําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา
บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม”
๒.๑. ๑ วัตถุประสงค์ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง๒
 
๑. เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต, มีคุณธรรม, จริยธรรม, บูรณาการความรู้
ทางวิชาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อย่างมีคุณภาพ  เพื่อสนองงานคณะสงฆ์ และ
ช่วยเหลือสังคมในระดับทองถิ่น, ระดับชาติ และระดับนานาชาติ
๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ทํางาน
วิจัยเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ สังคม และประเทศชาติ
๓ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้เผยแผ่
พระพุทธศาสนาและบริการวิชาการด้านพุทธศาสนาแก่สังคม
๔ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้
ตระหนักและเห็นความสําคัญในการทนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ 
๕ เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน
เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม โดยอาศัยความรู้ทางพุทธศาสนาเป็นรากฐานสําคัญ
                                                            
๑
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง, อ. สามพราน, จ. นครปฐม,
๒๕๕๖.
๒
ibid/เรื่องเดียวกัน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๙ 
๒.๑.๒ คณะและสาขาวิชาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม๓
๑.   คณะสังคมศาสตร์
ก. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
ข. การจัดการเชิงพุทธ
ค. ประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.)
๒.๑.๓ อาคารและสถานที่
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้ใช้อาคาร
หอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น
โดยใช้ชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี ประกอบไปด้วย
ห้องสมุดและห้องเรียนที่ทันสมัยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอน
และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียบพร้อม มีหน่วยงานส่งเสริมทางด้านวิชาการเช่น สํานักหอสมุดที่
เป็นศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบของ หนังสือวารสาร วีดิทัศน์ ดิสก์เก็ตเทปคาสเซ็ทที่มีระบบ
การสื่อสาร มีฐานข้อมูลในรูปของซีดีรอมและออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายในอาคารยัง
ประกอบไปด้วยห้องประชุมและห้องสัมมนาเพื่อรองรับการจัดงาน และ กิจกรรมประเภทต่างๆ ที่
สามารถบรรจุนักศึกษาได้มากกว่า ๕๐๐ คน
นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้วทางหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง ได้ปรับปรุงขยายห้องเรียนภายในอาคารตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สกอ.
หรือสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทํากิจกรรมทางวิชาการ และการ
พัฒนาศักยภาพที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นําผู้ตามที่ดี ทางหน่วยวิทยบริการจึงได้จัดเตรียมสถานที่ให้
เพียงพอเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการศึกษาค้นคว้า และการปฏิบัติจริง
ภายในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ยังจัดให้มีสวนพักผ่อน
หน้าอาคารเรียนภายใต้แมกไม้บรรยากาศที่ร่มรื่นจัดภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่ การเรียนรู้ให้แก่
                                                            
๓
ibid/เรื่องเดียวกัน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๐ 
นักศึกษาทุกตารางนิ้ว ในพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม
หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๒.๑.๔ การตรวจรับรองมาตรฐานหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๘๑ กําหนดให้มีกฎหมาย
เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีผล
บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ในหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน
คุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๙ ได้กําหนดให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ
การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่
๑๑๗ ตอนที่ ๙๙ก เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน
๒๕๔๓โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทําการ
ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคํานึงถึงความมุ่ง
หมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย
การศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
ในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
สาธารณชน นอกจากนี้ได้กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก
ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒
ใช้บังคับในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จําเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการ
บริหารหรือดําเนินกิจการต่างๆ ที่ต้องมีการดําเนินงานให้เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สําคัญ
ประการหนึ่งคือ การประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงาน
ที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้อง
ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดําเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้ าหมายอย่างมีคุณภาพและ
ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมิน
คุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทําให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง
รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษา
และภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๑ 
ตลอดเวลาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้รับการตรวจรับรอง
มาตรฐานโดยสํานักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระดับ
สถาบันระดับกลุ่มสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ตั้งแต่วันที่ ๒๕
สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา 
๒.๒.   ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่ 
 
การบริหารงานอาคารสถานที่ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดําเนินงานอาคาร
สถานที่ ร่วมกับบุคลากรในหน่วยวิทยบริการให้บรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้ ประเภทและขอบข่าย
ของงานอาคารสถานที่ การที่ผู้บริหารจะสามารถบริหารงานอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น
จําเป็นที่จะต้องทราบขอบข่ายของงานว่า ครอบคลุมถึง ลักษณะงานใดบ้าง โดยทั่วไปแล้วงานอาคาร
สถานที่จะมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะงาน ๕ อย่าง ดังต่อไปนี้
๑. การจัดสร้างอาคารสถานที่ อันรวมถึงการวางผังบริเวณที่ตั้งอาคาร การควบคุมการ
ก่อสร้าง การตกแต่งจัดระเบียบ ให้เป็นไปตามหลักการจัดอาคารสถานที่ของโรงเรียนตลอดจนการรื้อ
ถอนอาคารสถานที่
๒. การใช้อาคารสถานที่ หมายถึง การกําหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิด
ประโยชน์ใช้สอยมากที่สุดต่อการเรียนการสอนโดยตรง ต่อการเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนของ
นักเรียน และต่อชุมชน
๓. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ การประดับตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คง
สภาพเดิม หรือ เพิ่มเติมเพื่อให้ประโยชน์ โดยคุ้มค่าที่สุด
๔.   การควบคุมดูแลอาคารสถานที่ คือ การควบคุมดูแลโดยทั่วไป เป็นการกํากับติดตาม
ผลการใช้ การบํารุงรักษา การตกแต่ง รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานอาคารสถานที่ให้เป็นไปตาม
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง
๕. การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่ เป็นการดําเนินการประเมินผลการใช้เพื่อการ
ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดําเนินงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด และเพื่อ
เก็บข้อมูลสําหรับการวางแผนดําเนินงานอาคารสถานที่ของปีถัดไป
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๒ 
งานอาคารสถานที่เป็นปัจจัยที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สถานศึกษาดําเนินงานได้โดยสะดวก
ผู้บริหารจึงจําเป็นต้องให้ความสําคัญต่องานด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ ภายในสถานศึกษา อาคาร
สถานที่ของสถานศึกษาจึงเป็นแหล่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครูผู้สอน
ให้เป็นแหล่งถ่ายทอดวิทยาการของชุมชน งานบริหารอาคารสถานที่จึงเป็นงานที่สําคัญที่ผู้บริหาร
ต้องพิจารณาพินิจวิเคราะห์และบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด สําหรับงานบริหารอาคารสถานที่
สามารถแยกพิจารณาได้๕ ส่วนดังนี้ ๔
 
 
๒.๒.๑. อาคารเรียน
อาคารเรียนควรใช้ได้ดีทุกฤดูกาล ถูกสุขลักษณะ จํานวนและขนาดของอาคาร
พอเหมาะกับนักเรียนนักศึกษา การบริหารอาคารควรคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอย ไม่มุ่งเอาแต่ความ
สวยงามเป็นหลัก แต่งมุ่งไปในทางประโยชน์ใช้สอยที่จะเกิดผลดีแก่การเรียนการสอน ความสะดวก
และความปลอดภัย อาคารเรียนควรดัดแปลงได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผนังกั้นห้องหรือวัสดุอุปกรณ์
ที่เกี่ยวกับตัวอาคารต้องดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมได้ง่าย มีแสงสว่างพอสมควร ผู้บริหารจะต้องคํานึง
ก่อนก่อสร้างเพื่อให้ขยายอาคารได้สะดวกทั้งแนวตั้งและแนวนอน บรรยากาศภายในอาคารต้อง
เหมือนบ้าน ร่มรื่น ผนังทาสีเย็นตา พื้นไม่ลื่น โต๊ะเก้าอี้ใช้สะดวก เหมาะสําหรับที่จะศึกษาเล่าเรียน
ทุกอย่างต้องทนทานต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่หรือเครื่องใช้ไม้สอย และต้องสมบูรณ์
แบบ ควรมีอาคารและเครื่องใช้ไม้สอยสมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้ควรคํานึงถึงความปลอดภัยให้แก่
นักเรียนนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นฝาผนัง ลูกกรงระเบียงหรือบริเวณบันไดควรสร้างให้มั่นคงแข็งแรง
และปลอดภัยเป็นพิเศษเพื่อป้ องกันนักเรียนนักศึกษาตกหล่นลงไปได้รับอันตรายในการออกแบบ
อาคารถาวร นอกจากจะคํานึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้างและความสะดวกสบายในการใช้อาคาร
แล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงอายุการใช้งานของอาคารนั้นๆ ด้วยว่า มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะใช้งาน
ด้วยความปลอดภัยได้เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อพิจารณาถึงค่าของเงิน ค่าเสื่อมราคาของอาคาร ความ
ยุ่งยากในการซ่อมแซม และอุปสรรคต่อการใช้งานแล้ว อาคารที่มีอายุใช้งานได้ตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ ปี
โดยไม่ต้องทําการซ่อมแซมขนาดใหญ่ถือได้ว่าค่อนข้างประหยัด แต่จะให้ดีอายุการใช้งานของอาคาร
                                                            
๔
กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๓ 
ควรอยู่ระหว่าง ๓๐ ถึง ๕๐ ปี และจะถือว่าประหยัดที่สุด คือ ออกแบบและก่อสร้างให้อาคารนั้นๆ มี
อายุการใช้งานเกิน ๕๐ ปีขึ้นไป๕
 
 
๒.๒.๒. ห้องเรียน
การจัดห้องเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ห้องเรียนควรเป็นห้องใหญ่
หรือกว้าง เพื่อความสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้เพื่อจัดเป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียน
การสอน ถ้าเป็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องติดกัน ควรทําฝาเลื่อนเพื่อเหมาะแก่การทําห้องให้กว้าง การ
จัดห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ทุกด้าน ควรจัดอุปกรณ์ในการทํากิจกรรมหรือหนังสืออ่าน
ประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทํากิจกรรมหรือติดรูปภาพและผลงาน
ต่างๆ ไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ควรจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง
กายภาพ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนนักศึกษา
เป็นอันมาก อาจารย์ผู้สอนมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น คอยให้คําแนะนําในการ
อ่านหนังสือ ค้นคว้า แก้ปัญหา และผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนไม่ให้เครียด เป็นกันเอง
กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน การจัดห้องเรียนเพื่อ
เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษารู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นห้องเรียน
โต๊ะ ม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง กระดาน แปรงลบกระดาน ฝาผนัง เพดาน มุมห้อง รวมทั้งถังขยะต้อง
หมั่นทิ้ง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้
ทบวงมหาวิทยาลัยได้กําหนดเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับห้องบรรยายและห้องสัมมนา (ห้อง
ขนาดเล็กที่ใช้ติว) ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) ดังนี้๖
 
ห้องบรรยายขนาดความจุ ๓๐๐ คน ๐.๙ ตารางเมตร ต่อคน
ห้องบรรยายขนาดความจุ ๒๐๐ คน ๐.๙ ตารางเมตร ต่อคน
ห้องบรรยายขนาดความจุ ๑๐๐ คน ๑.๐ ตารางเมตร ต่อคน
ห้องบรรยายขนาดความจุ ๕๐ คน ๑.๑ ตารางเมตร ต่อคน
                                                            
๕
อรุณชัย ชัยเสรี, (๒๕๓๔). การวิบัติของอาคาร สาเหตุและการแก้ไข. กรุงเทพฯ: บริษัทเอเชียเพรส จํากัด.
๖
สํานักนโยบายและแผนอุดมศึกษา, (๒๕๓๗). เกณฑ์มาตรฐานกลางสําหรับการจัดทําโครงการพัฒนา
การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในช่วงแผนพัฒนา ระยะที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ ) ทบวงมหาวิทยาลัย.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๔ 
ห้องบรรยายขนาดความจุ ๒๕ คน ๑.๕ ตารางเมตร ต่อคน
ห้องสัมมนาหรือห้องติวขนาดความจุ ๓๐ คน ๑.๘ ตารางเมตร ต่อคน
๒.๒.๓. ห้องพิเศษ 
ห้องพิเศษมีความสําคัญต่อการเรียนการสอนมาก เพราะเป็นที่จัดกิจกรรมการเรียน
การสอนไว้เป็นพิเศษ รวมทั้งห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่สนับสนุนการสอน ห้องดังกล่าวจึงควรจัดให้มี
วัสดุ อุปกรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้สถานศึกษาควรจัดให้มีห้องพยาบาล ห้องสมุด ห้องดนตรี ห้อง
พัสดุ ห้องธุรการ ฯลฯ เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
๒.๒.๔. อาคารประกอบ
อาคารประกอบ หมายถึงอาคารที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ห้องประชุมหรือโรง
อาหาร สถานศึกษาบางแห่งอาจใช้รวมกันดังนั้นควรมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อระบายกลิ่นได้ดี โรง
ฝึกงานควรสร้างให้ห่างไกลจากอาคารเรียนพอสมควร เพื่อจะได้ไม่มีเสียงรบกวนในห้องเรียน
ห้องนํ้าห้องส้วมควรมีจํานวนห้องมากพอกับจํานวนผู้ใช้งาน โดยเฉลี่ยส้วมชาย 1 ที่ต่อผู้เรียน ๔๐ คน
ส้วมหญิง ๑ ที่ต่อผู้เรียน ๒๕ คน และที่ปัสสาวะชาย ๑ ที่ต่อผู้เรียน ๓๐ คน ถ้ามีจํานวนน้อยก็
จัดระบบใช้ให้ทั่วกัน 
 
๒.๒.๕. บริเวณสถานศึกษา
บริเวณสถานศึกษามีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าตัวอาคาร ปัจจุบันบริเวณสถานศึกษา
มีปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มจํานวนอาคารเรียน และจํานวนผู้เรียน บริเวณโรงเรียนจึงควรจัดให้เกิด
ประโยชน์ และการใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด และ ควรปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม
โดยเฉพาะหน้าอาคารเรียน บริเวณที่จัดเป็นที่พักผ่อน ควรมีจํานวนม้านั่งให้เพียงพอ บริเวณสนาม
กีฬา ถ้าเป็นไปได้ควรแยกสนามกีฬาแต่ละประเภทแยกออกจากกัน เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน
กล่าวโดยสรุป ความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่เป็นเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ได้คิดค้น
ขึ้น เพื่อกําหนดอนาคตของการจัดการ การบริการ และประสานงานของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลให้
ดําเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมอย่างมีกระบวนการบริหาร คือ การศึกษา สภาพ
ปัญหาและความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการประเมินผล ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๕ 
ที่ผู้บริหารต้องพินิจวิเคราะห์ถึงการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของ
ผู้เรียน และการสอนของผู้สอน รวมทั้งเป็นแหล่งวิชาการแก่ชุมชนด้วย
เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน (๒๕๔๖)๗
ได้อธิบายความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่จะมี
ประสิทธิภาพได้ จะต้องดําเนินตามขั้นตอนทั้ง ๔ ของกระบวนการ คือ การศึกษาสภาพปัจจุบันของ
ปัญหา และความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการประเมินผล เช่นเดียวกับการ
บริหารงานอื่นๆ ดังนี้
๑.   ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในเบื้องต้นของการบริหารงานอาคาร
สถานที่ ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนแรกของกระบวนการการบริหาร โดยรวบรวม
ข้อมูลด้านอาคารสถานที่จากระบบข้อมูลของสถานศึกษา และหาข้อมูลหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง
อย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบด้วยข้อมูล ๓ ประเภท คือ
๑.๑ สภาพปัจจุบันของอาคารสถานที่ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น จํานวนอาคาร
สิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้ว พื้นที่บริเวณโรงเรียน สภาพพื้นที่ จํานวนผู้เรียน และจํานวนบุคลากร
๑.๒ แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เช่น การเพิ่มหรือลดของจํานวนนักเรียน
งบประมาณที่คาดว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันถึงสถานศึกษาด้วย
๑.๓ ปัญหา และข้อจํากัด ซึ่งได้จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อจํากัดพื้นที่
ข้อจํากัดด้านงบประมาณ หรือปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดําเนินงาน เมื่อได้ข้อมูล และปัญหาก็นํามา
วิเคราะห์นํามาวิเคราะห์ โดยให้บุคลากรสถานศึกษามีส่วนร่วมเพื่อสรุปเป็นความเป็นความต้องการ
ของสถานศึกษาที่จะแก้ปัญหา หรือพัฒนาด้านอาคารสถานที่เพื่อดําเนินการขั้นต่อไป
๒. การวางแผน เมื่อรู้ความต้องการด้านอาคารสถานที่ว่าจะแก้ปัญหา หรือพัฒนา
อย่างไร แค่ไหน จากการปฏิบัติในขั้นตอนที่ 1 แล้วก็เริ่มดําเนินขั้นตอนที่ ๒ คือ จัดให้มีการวางแผน
และเขียนโครงการ เพื่อแก้ปัญหา หรือ เพื่อบรรลุความต้องการด้านอาคารสถานที่นั้นๆ ในการ
วางแผนด้านอาคารสถานที่ ผู้บริหารต้องคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
                                                            
๗
เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน, (๒๕๔๖).ปัญหาและความต้องการด้านอาคารสถานที่โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม
สามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สํานักงานบัณฑิตศึกษา
สถาบันราชภัฏเลย
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๖ 
๒.๑ ให้บุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากรในชุมชนซึ่งมีส่วนร่วมในการใช้
ประโยชน์ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่ ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการวางแผนด้าน
อาคารสถานที่
๒.๒ ในการวางแผนด้านอาคารสถานที่ จะต้องให้อาคารสถานที่นั้นๆ สามารถใช้
ประโยชน์ได้หลายทาง หรือจะเป็นแบบอเนกประสงค์ก็ทําได้ การพัฒนาอาคารสถานที่นั้นๆ ก็จะ
ได้ผลผลคุ้มค่ากับการลงทุน
๒.๓ เป็นการอํานวยประโยชน์ต่อการพัฒนาของผู้เรียนในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด
คือ ให้ประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอนโดยตรง และส่งเสริมสนับสนุนการเรียน
การสอน และกล่อมเกลาลักษณะนิสัยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยทางอ้อม
๓.   การดําเนินงานตามแผน ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารต้องกํากับ ติดตาม และควบคุมดูแล
ให้การดําเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในขั้นตอนที่ ๒ การดําเนินงานด้านอาคารสถานที่จะดําเนิน
ไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพพอสมควร หากผู้บริหารยึดแนวทางในการปฏิบัติงานดังนี้
๓.๑ ปลูกฝังให้บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ
ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อการดําเนินงานของสถานศึกษา
๓.๒ ให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบต่อการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ในส่วนที่
สามารถจะทําได้ซึ่งจะช่วยปลูกฝังนิสัยการทํางาน และเกิดความภาคภูมิใจในสถานศึกษาของตน
๓.๓ ปลูกฝังให้ชุมชนตระหนักว่า สถานศึกษาเป็นสมบัติของชุมชน และให้ชุมชนมี
ส่วนร่วมในการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่เท่าที่จะเป็นไปได้ ในขึ้นตอนนี้ผู้บริหารต้องให้
บุคลากรหลายๆ ฝ่ายมีส่วนร่วมในการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ด้วย
๔. การประเมินผลการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะช่วยให้
ผู้บริหารได้ทราบว่าการดําเนินงานเป็นไปตามแผนและดําเนินไปด้วยดีเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางการ
ปรับปรุงแก้ไขในระหว่างการดําเนินงาน และเป็นข้อมูลสําหรับการพิจารณาวางแผนดําเนินงานในปี
ถัดไป การประเมินผลงานด้านอาคารสถานที่ต้องทําเป็นระยะๆ และสมํ่าเสมอตามระยะเวลาที่
กําหนดไว้ในแผนงาน โดยใช้เทคนิควิธีการสําคัญต่างๆ เช่น การทําตารางกําหนดเวลาประเมินไว้
อย่างชัดเจนในแต่ละโครงการ การทําตารางกําหนดการใช้อาคาร สถานที่และบันทึกผล มีการตรวจ
ดูแลอย่างสมํ่าเสมอ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบแล้ว
รายงานผล ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา กล่าวโดยสรุป กระบวนการในการบริการงานอาคาร
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๗ 
สถานที่ เป็นส่วนสําคัญที่ให้การบริหารงานด้านนี้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลได้ดีอีกวิธีหนึ่ง
เพราะจุดเริ่มต้นจะต้องมีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ มีการวางแผน มีการดําเนินงานตาม
แผน และมีการประเมินผล จึงจะสามารถนํากลับไปใช้ได้ 
 
๒.๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา 
 
การจัดอาคารสถานที่ควรคํานึงถึงสภาพเดิมของบริเวณให้มาก ซึ่งสภาพเหล่านี้หากได้รับ
การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือตกแต่งให้สวยงาม และเอื้อประโยชน์ได้เหมาะสมและการจัดสร้าง
อาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่มีอยู่แล้ว จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและกําลังคน กําลังงาน ทั้งจะมี
ส่วนปลูกฝังการรักธรรมชาติ อันเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
๒.๓.๑. นโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคารสถานที่ของกระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคาร สถานที่ เพื่อปรับเปลี่ยน
งานด้านอาคารสถานที่ทุกแห่งในสังกัด ซึ่งมีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า ๑๐ ปี ให้มีสภาพความ
พร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้ ๘
 
๑. บริเวณโรงเรียนดําเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ตั้งโรงเรียน
ทั้งหมด พื้นที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่ ขึ้นไปหรือมีพื้นที่ประมาณ ๑๐ ตารางวาต่อนักเรียน 1 คน มีการจัดทํา
แผนที่ตั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ สวนหย่อม แปลงเกษตร สระนํ้า สนามกีฬาต่างๆ เต็มรูปแบบมี
การออกแบบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นสวยงาม มีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ อนุรักษ์
และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๒. อาคารเรียนเป็นอาคารเรียนตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ จะต้อง
เป็นอาคารสถานที่ก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน ซึ่งมีขนาดห้องเรียนได้มาตรฐาน อย่างน้อย กว้าง ๗
เมตร ยาว ๙ เมตร ถูกสุขลักษณะ จํานวนห้องเพียงพอกับจํานวนนักเรียน สะดวก ปลอดภัย แสงสว่าง
เพียงพอ สามารถดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง มีการปรับปรุง ตกแต่ง ทาสีตัวอาคารใหม่ให้
เป็นปัจจุบัน มีป้ายประกาศ ป้ ายนิเทศไว้เหมาะสม การวางแผนใช้อาคารสถานที่ การทําแผนจัดสร้าง
รื้อถอนอาคารสถานที่ รวมทั้งการใช้อาคารสถานที่ ให้คุ้มค่ากับสภาพของโรงเรียนและชุมชน
                                                            
๘
กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๘ 
๓. อาคารประกอบเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น อาคารอเนกประสงค์ โรง
ฝึกงาน โรงอาหาร ห้องส้วม เรือนเพาะชํา รั้ว ถังเก็บนํ้าฝน ฯลฯ ก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวร
สะอาด สะดวก ปลอดภัย อยู่ในสถานที่เหมาะสม มีการปรับปรุงตกแต่งทาสีสวยงาม และเหมาะกับ
ประโยชน์ใช้สอย การวางแผนการใช้ประโยชน์ของอาคารประกอบ การทําแนวสร้าง และรื้อถอน
อาคารประกอบรวมทั้งการใช้อาคารประกอบให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
๔. การจัดโรงเรียนและสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบัน เป็นการบํารุงรักษาอาคาร
สถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยการซ่อมแซมตกแต่งทาสี ให้สวยงาม
มีสภาพใหม่อยู่เสมอ ใช้การได้ดีตลอดเวลา
๕. การสุขาภิบาลเป็นการทําให้โรงเรียนสะอาด ถูกสุขลักษณะ ปราศจากฝุ่น
ละออง และมลภาวะ มีที่กําจัดขยะมูลฝอย มีนํ้าดื่ม นํ้าใช้สําหรับนักเรียนตลอดปี มีการจัดอาหาร
กลางวันให้นักเรียนรับประทานที่สะอาด ปลอดภัย และเพียงพอ
๖. ห้องสมุด หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กควรจัดเป็นมุมหนังสือภายใน
ห้องเรียนต่างๆ และหากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีห้องเรียนหรืออาคารเพียงพอควรจัดแยกต่างหาก
โดยเฉพาะจัดให้สะอาดสวยงาม มีการจัดหนังสือเข้าห้องสมุดให้เหมาะสมกับจํานวนนักเรียน และ
สภาพโรงเรียนมีการซ่อมแซม บํารุงรักษาหนังสือที่ชํารุด มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ใช้ห้องสมุด
เป็นประจํา ให้นักเรียนได้ใช้บริการห้องสมุด
๗. ห้องคอมพิวเตอร์ ควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้โดยเฉพาะกิจกรรมการ
เรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก อาคารและห้องไม่เพียงพอให้ใช้
ร่วมกับห้องพิเศษอื่นๆ เช่น ใช้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทางภาษา ต้องสะอาด ปราศจากฝุ่นละออง และ
มีการติดตั้งพัดลมให้เย็นสบายเพื่อการบํารุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์
๘. ห้องปฏิบัติการทางภาษาควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการ
สอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้การสอนผ่านเครื่องเสียง เทป วิดีโอ โดยผ่านหูฟัง ต้องจัดให้
สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง ติดตั้งพัดลมให้เย็นสบาย มีโต๊ะนั่งเรียน และหูฟังที่พอเพียงกับผู้เรียน
๙. ห้องแนะแนว ต้องเป็นห้องเพื่อจัดกิจกรรมแนะแนว หากไม่มีห้องที่
เพียงพอก็สามารถจัดรวมกับห้องพิเศษอื่นๆ ได้ เช่น จัดรวมกับห้องพยาบาล ห้องสมุดหรือห้อง
สหกรณ์ ฯลฯ แต่ต้องเป็นมุมสงบ เพื่อความสะดวกในการให้คําปรึกษาแก่นักเรียน
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๙ 
๑๐. ห้องพยาบาล หากโรงเรียนขนาดเล็กอาคารไม่พอ สามารถใช้ร่วมกับห้อง
อื่นได้ แต่ต้องเงียบสงบเพราะเป็นส่วนที่บุคลากรต้องได้รับการปฐมพยาบาล และพักผ่อน จึงต้อง
สะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเทได้ดี มีป้ายนิเทศโปสเตอร์ เกี่ยวกับสุขภาพ ห้องนํ้า ห้องส้วม อยู่ในห้อง
เดียวกัน
๑๑. สนามกีฬา จัดให้มีสนามกีฬาเพียงพอกับความต้องการและเหมาะสม เช่น
สนามฟุตบอล วอลเลย์บอล สนามเด็กเล่น ตลอดทั้งจัดให้มีเครื่องเล่นภายในสนามที่เหมาะสม
๑๒. ห้องพิเศษอื่นๆ ควรจัดให้มีห้องพิเศษอื่นๆ ตามสภาพ และตามศักยภาพ
ของสถานศึกษา เช่น ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์สื่อ และอุปกรณ์ ห้องจริยธรรม ฯลฯ 
 
๒.๓.๒. การบริหารอาคารสถานศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษานับว่าเป็นสิ่งที่จําเป็น เพื่อ
เป็นข้อสนเทศในการบริหารจัดการอาคารสถานที่ ข้อมูลแรกที่ควรทราบคือผังบริเวณหลัก เพื่อจะได้
ทราบว่าแต่ละหลังเป็นอาคารอะไรบ้าง ใช้เรียนหรือบริการแก่ผู้เรียนในเรื่องอะไร มีความสูงกี่ชั้น มี
ทางขึ้นลงใดบ้าง ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคาร เช่น โทรศัพท์ภายใน ระบบป้ องกันเพลิงไหม้และ
สัญญาณเตือนภัยต่างๆ เป็นต้น๙
การทําแผนภูมิแนะนําการใช้อาคารสถานที่ เป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง
ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การตรวจสอบ การซ่อมบํารุง และการประเมินผล การใช้งานใน
ระยะที่สมควร เพื่อจัดให้มีการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งแผนภูมิ
เกี่ยวกับอาคารสถานที่ที่สําคัญ มีดังนี้๑๐
 
๑. แผนภูมิบริเวณสถานศึกษา ลักษณะของแผนภูมิจะทําให้ทราบถึงขนาด
ของที่ดิน ทิศทางและจํานวนอาคารตลอดจนหน้าที่ของอาคารแต่ละห้องอย่างชัดเจน รวมทั้งทางเชื่อม
ระหว่างอาคาร บริเวณที่รถบริการจะมาส่งของ เป็นต้น 
๒. แผนภูมิของอาคาร อาคารแต่ละหลังจะต้องแสดงแผนภูมิไว้ที่โถงบันได
หรือ บริเวณหน้าหน้าลิฟต์เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ห้องที่เปิดสอนวิชาเฉพาะแปลนอาคารทุกชั้น จะ
แสดงรวมไว้ ที่ชั้นล่าง เพื่อทําให้ผู้มาเยือนสามารถมองหาห้องที่ต้องการได้ทันที และในแต่ละชั้น
                                                            
๙
ibid/เรื่องเดียวกัน
๑๐
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษาหน่วย
ที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๐ 
ควรติดตั้งแบบแปลนของชั้นนั้นไว้ต่างหากอีกด้วย แผนภูมิแต่ละชั้นนอกจากจะบอกถึง ทางเดิน ทาง
เชื่อม บันได ห้องนํ้า และห้องต่างๆ แล้วจะบอกทางหนีไฟไว้ให้ด้วย โดยบางอาคารอาจเรียกว่า
“ทางออกฉุกเฉิน” อาคารบางหลังอาจบอกถึงที่ตั้งของเครื่องดับเพลิงเคมี หรืออาจระบุตําแหน่งสาย
ดับเพลิง ซึ่งมักจะติดตั้งไว้ใกล้ห้องบันไดหรือลิฟต์ สําหรับอาคารขนาดใหญ่จะบอกตําแหน่งห้อง
สวิทช์ตัดไฟฟ้าไว้ในแต่ละชั้น เพื่อสะดวกแก่การแก้ไขเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ เป็นต้น สําหรับเลขที่ประจํา
ห้อง นิยมใช้เลขที่ของอาคารเป็นตัวแรก ส่วนตัวที่สองเป็นเลขที่ของชั้น ส่วนเลขสุดท้ายจะเป็นตัว
เลขที่ห้อง เพื่อสะดวกแก่การค้นหา
๓ แผนภูมิการใช้อุปกรณ์ในอาคาร ส่วนมากแล้วเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ
นอกจากจะมีการสาธิตการใช้งานแล้ว บริษัทผู้ผลิตจะให้แผนภูมิการใช้งานมาด้วย เช่น เครื่องย่อ
ขยายเอกสาร เครื่องขยายเสียง โทรศัพท์ภายใน เป็นต้น แผนภูมิเหล่านี้จะต้องติดไว้ใกล้กับอุปกรณ์
เครื่องใช้ทุกชิ้น เพื่อความสะดวกในกรณีที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบไม่มาทํางาน คนอื่นจะสามารถ
ดําเนินการแทนได้
๒.๓.๓. การควบคุมตรวจสอบอาคารสถานศึกษาเป็นงานที่ต้องทําต่อเนื่องจากการบริหาร
อาคารสถานศึกษา โดยเป็นงานของคณะทํางานที่ผู้บริหารตั้งขึ้นเพื่อดูแลการใช้งานอาคารสถานที่
เป็นรายวัน รายสัปดาห์ โดยงานแรกต้องทําเอกสารเพื่อควบคุมการใช้อาคารเพื่อการศึกษาในขั้นต้น
ว่าการใช้ห้องต่างๆ นั้น สามารถดําเนินการใช้ได้ตามแผนอัตรากําลังอาคารที่ได้เสนอไว้ก่อนการ
ก่อสร้างสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร เช่น ห้องเรียนจะใช้งานให้ได้ถึง ๙๐เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้ง
สัปดาห์ และห้องทดลองวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการฝึกงานนั้น กําหนดไว้ว่าจะใช้งานได้ถึง ๗๕
เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งสัปดาห์ ได้มีการจัดตารางสอนให้ใช้ห้องได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้คณะทํางาน
ต้องสร้างแบบฟอร์มขึ้นมา เพื่อวัดความถี่ของการใช้งานห้องเรียน ห้องทดลองและห้องบริการทุก
ห้อง สิ่งที่จําเป็นในการตรวจสอบอาคารสถานศึกษามีดังนี้๑๑
๑. การตรวจสอบการใช้อาคาร สถานศึกษาจะต้องมีแปลนอาคารทุกชั้น ซึ่ง
แสดงแผนผังห้องเรียน ห้องประกอบทุกห้อง และมีการกําหนดเลขที่ไว้อย่างครบถ้วน เพื่อสะดวกใน
                                                            
๑๑ 
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษา
หน่วยที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๑ 
การกรอกแบบฟอร์มในการตรวจสอบการใช้งานจริงของห้องทุกห้องเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อให้
ผู้บริหารทราบว่าอัตราการใช้ห้องนั้นทําได้ตํ่าหรือสูงกว่าเกณฑ์อย่างไร
๒. การตรวจสอบมาตรฐานอาคาร ในการออกแบบอาคารสถานศึกษาจําเป็นที่
จะต้องยึดเกณฑ์มาตรฐานของสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๒๔ไว้เป็นแบบฉบับ เนื่องจากเกณฑ์
มาตรฐานระบุให้ห้องเรียน ห้องทดลอง หรือห้องบริการจะต้องออกแบบตามขนาดเนื้อที่ต่อคนให้
เหมาะสม
๓. การตรวจสอบทั่วไป เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่จะต้องเดิน
ตรวจอาคารสถานที่ โดยทั่วๆ ไปอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ ซึ่งเป็นวิธีการ
ให้ผู้อื่นได้ช่วยตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย การตรวจสอบด้านสาธารณูปโภค เช่น การใช้นํ้า การใช้
ไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งที่ควรทําเพื่อเป้าหมายของการประหยัดค่าใช้จ่ายรายเดือน 
 
๒.๓.๔. การประเมินผลอาคารสถานศึกษา เมื่ออาคารสถานศึกษาได้ใช้งานตามระยะเวลาอัน
สมควรแล้ว จะต้องมีการศึกษาข้อดีข้อเสียของการใช้งานว่าแนวคิดของการวางผังหลัก การออกแบบ
อาคารเรียน อาคารประกอบ ฯลฯ ว่าส่งผลดี หรือควรจะพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง หรือเพื่อจะได้
ข้อมูลที่จะนําไปใช้ในโอกาสที่จะสร้างอาคารใหม่ต่อไป วิธีการประเมินขึ้นอยู่กับความต้องการวัดผล
เกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการประเมิน โดยจะต้องมีการสร้างเครื่องมือในการประเมินสําหรับผู้สอน
ผู้เรียน ผู้ดูแลรักษา และผู้มีหน้าทีเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยผลที่ได้จะได้นํามาเฉลี่ยความเที่ยงตรง
ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้จะพัฒนาบนพื้นฐานของสาระสําคัญในเรื่องปริมาณจากอัตราส่วน
ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อที่อาคาร ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อรายหัวของผู้เรียน จํานวนตารางเมตรของ
อาคารของแต่ละประเภทอาคาร ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ตลอดจนอายุการใช้งานของอาคารในแง่
ของเศรษฐกิจ เป็นต้น บางครั้งอาจสร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินผลงานออกแบบของสถาปนิกในแง่
ของประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้อาจได้ผลในแง่ของการเปลี่ยนแนวคิด ของการวางผังบริเวณสถานศึกษา
ในอนาคต ซึ่งสถานศึกษาส่วนมากมักจะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนที่ดิน การยอมใช้อาคารทางสูงจะขึ้น
ได้สูงกี่ชั้น จึงจะไม่เกิดอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนห้องของผู้เรียน ในบางครั้งอาจประเมินผล
ในแง่ที่ว่าผลงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นตรงตามเป้าหมายที่คณะทํางานได้วางไว้แต่ต้นหรือไม่
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๒ 
การประเมินการใช้ประโยชน์อาคารและสิ่งอํานวยประโยชน์ที่สร้างขึ้น มีขั้นตอนดังนี้๑๒
๑. จะต้องสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้
๒. มีกระบวนการในการประเมิน
๓. รวบรวมข้อมูลจากผลการประเมิน
๔. ป้อนข้อมูลให้ผู้ใช้ประโยชน์จากผลการประเมินนั้น
การเลือกวิธีการประเมิน สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การใช้แบบสํารวจ การสังเกต การ
สัมภาษณ์ การวัดทัศนคติ เป็นต้น ส่วนระยะเวลาของการประเมินนั้นจะขึ้นอยู่กับ ความต้องการของ
ผู้บริหารที่จะต้องการ ความถี่อย่างไร เช่น ประเมินผลการทํางานของสถาปนิก ประเมินเพียงครั้งเดียว
ก็จะทราบผล แต่การประเมินเพื่อทราบมาตรฐานการใช้อาคารต้องทําหลายครั้ง บุคคลที่จะทํางานนี้
อาจตั้งเป็นคณะบุคคล หรือในรูปของกรรมการ ได้ผลจากการประเมิน จะช่วยชี้ปัญหาของความไม่
สะดวก ความไม่ปลอดภัย อาคารไม่เอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการเรียน เป็นต้น
ในการการวัดประสิทธิภาพของการใช้อาคารนั้นบางครั้งจําเป็นต้องอาศัยการคํานวณอัตรา
การใช้ห้อง (Room Utilization) ด้วย ซึ่งหมายถึง ค่าคํานวณได้เป็นร้อยละของอัตราส่วนระหว่าง
จํานวนเวลาที่ใช้ห้องใน ๑ สัปดาห์ กับจํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน ๑ สัปดาห์ โดยใช้
สูตรดังนี้๑๓
 
 
จํานวนคาบที่ใช้ห้องจริงใน 1 สัปดาห์
อัตราการใช้ห้อง =  X ๑๐๐ 
จํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน สัปดาห์
การจัดบริเวณเพื่อการเรียนรู้นับเป็นสิ่งสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวางแผน
งานด้านอาคารสถานที่ได้เตรียมแผนไว้แต่แรกต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีในอนาคต มีการยืดหยุ่น
ตั้งแต่ผังบริเวณหลักรวมถึงตัวอาคาร ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน้าที่ใช้สอยให้ มากขึ้น
                                                            
๑๒
กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐.
๑๓
สํานักนโยบายและแผนอุดมศึกษา, (๒๕๓๗). เกณฑ์มาตรฐานกลางสําหรับการจัดทําโครงการพัฒนา
การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในช่วงแผนพัฒนา ระยะที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ )ทบวงมหาวิทยาลัย.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๓ 
การพัฒนาให้บริเวณโรงเรียนเกิดความงามเกิดจากความแตกต่างจากการปลูกต้นไม้ประดับ การจัด
สระนํ้า และสนามหญ้าในระยะแรก แต่ในระยะหลังนี้ การออกแบบอาคาร ทางเท้า และบริเวณ
พักผ่อน จะมีความคล้องจองกันไปหมด โดยต้องยอมรับว่า อาคารเองก็คืองานประติมากรรมชิ้นหนึ่ง
ซึ่งแฝงไว้ทั้งความงามและประโยชน์ใช้สอยรวมอยู่ด้วยกัน ดังนั้น การจัดภายในอาคารในสมัย
ปัจจุบันจึงพยายามให้เกิดความสัมพันธ์กับภายนอก กล่าวคือ งามทั้งอาคาร สวยทั้งการจัดภายใน และ
เหมาะสมเข้ากันได้กับธรรมชาติของต้นไม้ ใบหญ้าโดยรอบอาคาร จึงกล่าวได้ว่า สถาปนิกได้จัด
สิ่งแวดล้อมที่ดีสําหรับการเรียนการสอน ในการจัดการด้านระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม สิ่ง
ที่ควรพิจารณา มีดังนี้๑๔
๑. ระบบสาธารณูปโภค เป็นเรื่องที่สถานศึกษาจะต้องมีรายจ่ายทุกเดือน การจัดระบบ
ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ที่ดี หมายถึง การควบคุมรายจ่ายเพื่อการนี้โดยทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าควร
มีการติดมิเตอร์เพื่อควบคุมการใช้กระแสไฟฟ้าแต่ละอาคาร เพื่อให้ทราบปริมาณไฟฟ้าว่าอาคารแต่ละ
หลังมีการใช้ไฟฟ้ ามากน้อยอย่างไร การใช้นํ้าประปาก็เช่นกัน ควรมีการติดมิเตอร์เพื่อวัดการใช้นํ้า
ทุกอาคาร สําหรับโทรศัพท์จะมีการแยกระบบโทรศัพท์เพื่อการสื่อสารภายในและโทรศัพท์ภายนอก
อาจมีการควบคุมการใช้โทรศัพท์ทางไกลโดยได้มีการกําหนดเครื่องที่ใช้โทรศัพท์ทางไกลได้เฉพาะ
เครื่องที่จําเป็น ในการโทรศัพท์แต่ละครั้งจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์ม
จํานวนคาบที่ใช้ห้องจริงใน ๑ สัปดาห์
จํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน l สัปดาห์ แสดงระยะเวลาการพูด และสถานที่
ติดต่อสําหรับการส่งโทรสารจะมีเอกสารบันทึกการส่งอยู่ในเครื่องอยู่แล้วจึงทราบได้ว่า มีการใช้วัน
ละกี่ครั้ง หากสถานศึกษาที่ใช้ระบบประปาบาดาล จะมีค่าใช้จ่ายค่าเครื่องสูบนํ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งค่า
ซ่อมและดูแลเครื่องสูบ ท่อจ่ายนํ้า ซึ่งควรมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
๒. สิ่งแวดล้อม สิ่งที่จะเอื้ออํานวยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี
เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้มากขึ้น ได้แก่ การถ่ายเทอากาศ การควบคุมเสียงรบกวน แสงสว่าง
และการใช้สีที่เหมาะสม
๒.๑. การถ่ายเทอากาศ โดยปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะอยู่ประมาณ ๓๕-
๓๗ องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนจะมีผลให้หลอดเลือดขยายตัว เหงื่อออก การรับรู้ และความจําจะ
                                                            
๑๔
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษา
หน่วยที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๔ 
ลดลง อาจทําให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด กล้ามเนื้อในร่างกายอาจเกิดความเครียดได้ การจัดอาคารให้มี
อากาศถ่ายเท ได้สะดวก จึงเป็นเรื่องจําเป็น โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ให้มากพอที่จะกรองก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่นละออง เพื่อให้สถานศึกษามีอากาศที่ดี อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเรียน
และการสอน การติด พัดลมดูดอากาศออกจากห้องเรียนจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายเทอากาศ
เป็นไปได้มากขึ้น
๒.๒. การควบคุมเสียงรบกวน ห้องเรียนควรมีเสียงรบกวนไม่เกิน ๓๕ เดซิเบล
ห้องประชุมเสียงไม่ควรเกิน ๓๐ เดซิเบล และห้องทํางานเสียงรบกวนไม่ควรเกิน ๕๐ เดซิเบล ถ้าดัง
มากกว่านี้จะเกิดความรําคาญ ความเครียด อาจทําให้เกิดอาการปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทํางาน
การใช้วัสดุดูดซับเสียงบริเวณผนังและเพดานห้องจะช่วยลดเสียงสะท้อน สถานศึกษาบางแห่ง ยอม
จ่ายค่าติดเครื่องปรับอากาศเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงรบกวน แต่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
๒.๓. แสงสว่าง ระดับความสว่างหรือความเข้มของแสง เพื่อให้การอ่านหนังสือ
การมองดูกระดานได้ชัดเจน มีการกําหนดความสว่างไว้เช่น การเขียนหนังสือต้องการความสว่าง ๑๔
ฟุตแรงเทียน ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเข้มของแสงจากความสว่างของเทียนมาตรฐาน ๑ เล่ม ตกลง บน
พื้นห่างจากเทียน ๑ ฟุต ดังจะได้แสดงความต้องการความสว่างบริเวณต่างๆ ดังนี้
- ห้องเรียน ห้องสมุด ความต้องการความสว่าง ๓๐-๗๐ ฟุตแรงเทียน
- ห้องปฏิบัติการ ความต้องการความสว่าง ๑๐๐ ฟุตแรงเทียน
- ห้องธุรการ ความต้องการความสว่าง ๓๐-๑๕๐ ฟุตแรงเทียน
- ห้องคหกรรม ความต้องการความสว่าง ๑๕๐ ฟุตแรงเทียน
- ห้องครัว ความต้องการความสว่าง ๕๐ ฟุตแรงเทียน 
 
ความสว่างของห้องเรียนในปัจจุบัน ต้องการเครื่องปรับแสงได้ เช่น การสอนด้วยภาพสไลด์
การฉายวิดีโอ เครื่องฉายภาพ อาจต้องการลดความสว่างลงไป เพื่อให้ผู้เรียนได้ดูจอภาพได้ชัดเจนขึ้น
๒.๔. สี ในการใช้สีที่ใช้ในสถานศึกษามีผลกระทบที่สําคัญมากเพราะสีจะสร้าง
ปฏิกิริยาต่อผู้เรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น สีบางประเภทจะทําให้เกิดความสุข ความสดชื่น ความสงบ
ความน่ากลัว สีสามารถกระตุ้นอารมณ์ของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี การพิจารณาในการใช้สีใน
สถานศึกษาจึงเป็นเรื่องค่อนข้างสําคัญทีเดียว ไม่ควรใช้สีแก่จัดหรือเข้มจัดภายในห้องเรียน จะทําให้
เกิดความรู้สึกบีบรัด น่ารําคาญ และอาจรบกวนสายตา การใช้สีที่ตัดกัน จะเกิดแสงสะท้อนไม่เท่ากัน
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม
2.บทที่.2 บทวรรณกรรม

More Related Content

What's hot

แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย
แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วยแนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย
แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วยWanwisa Tana
 
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่Yota Bhikkhu
 
โครงร่างโครงงาน No.2_10
โครงร่างโครงงาน No.2_10โครงร่างโครงงาน No.2_10
โครงร่างโครงงาน No.2_10Thananchanok
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญThitiwat Paisan
 
โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นMathawat
 
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2Tepporn Chimpimol
 
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดrisa021040
 
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1ตอบโจทย์ปัญหา PBL1
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1Hathaichon Nonruongrit
 
โครงงานคอมอาเซียน
โครงงานคอมอาเซียนโครงงานคอมอาเซียน
โครงงานคอมอาเซียนDp' Warissara
 
โครงงานคอมอาเซ ยน
โครงงานคอมอาเซ ยนโครงงานคอมอาเซ ยน
โครงงานคอมอาเซ ยนmsntomon2
 
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...Napadon Yingyongsakul
 

What's hot (20)

แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย
แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วยแนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย
แนวข้อสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
ความหลากหลายทางชีวภาพ มคอ.3 2/2557
 
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
4.บทที่ 4 ผลวิจัย-ตารางแผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
 
Test58
Test58Test58
Test58
 
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
งานนำเสนอวิจัย(แฟ้มงาน)
 
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
ม.ค.อ.3เหตุการณ์โลกฯ 2 52557(2558)
 
โครงร่างโครงงาน No.2_10
โครงร่างโครงงาน No.2_10โครงร่างโครงงาน No.2_10
โครงร่างโครงงาน No.2_10
 
2559 project
2559 project2559 project
2559 project
 
สมุดบันทึกล่าสุด
สมุดบันทึกล่าสุดสมุดบันทึกล่าสุด
สมุดบันทึกล่าสุด
 
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญกคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
กคศอนุมัติวิทยาฐานะเชี่ยวชาญ
 
โรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้นโรคสมาธิสั้น
โรคสมาธิสั้น
 
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2
จดหมายข่าว สภาคณาจารย์ ฉบับ2
 
6บทที่2
6บทที่2 6บทที่2
6บทที่2
 
มคอ3
มคอ3มคอ3
มคอ3
 
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุดความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
ความพึงพอใจในการใช้บริการห้องสมุด
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1ตอบโจทย์ปัญหา PBL1
ตอบโจทย์ปัญหา PBL1
 
โครงงานคอมอาเซียน
โครงงานคอมอาเซียนโครงงานคอมอาเซียน
โครงงานคอมอาเซียน
 
โครงงานคอมอาเซ ยน
โครงงานคอมอาเซ ยนโครงงานคอมอาเซ ยน
โครงงานคอมอาเซ ยน
 
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...
หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการคัดเลือกผู้ประกอบอาชีพทางการศึกษาเพื่อรับรางวัลหน...
 

Viewers also liked

Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Yota Bhikkhu
 
การฟัง 4
การฟัง 4การฟัง 4
การฟัง 4Yota Bhikkhu
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5Yota Bhikkhu
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลYota Bhikkhu
 
การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4Yota Bhikkhu
 
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาYota Bhikkhu
 
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์Yota Bhikkhu
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Yota Bhikkhu
 
Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Yota Bhikkhu
 
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯYota Bhikkhu
 
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)Yota Bhikkhu
 
Course syllabus english for management
Course syllabus english for managementCourse syllabus english for management
Course syllabus english for managementYota Bhikkhu
 
Advance english 5[1]
Advance english 5[1]Advance english 5[1]
Advance english 5[1]Yota Bhikkhu
 
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000Yota Bhikkhu
 
7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and genderYota Bhikkhu
 

Viewers also liked (17)

Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Advance english 3[1]
Advance english 3[1]
 
การฟัง 4
การฟัง 4การฟัง 4
การฟัง 4
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
 
การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4
 
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
 
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]
 
Advance english 2[1]
Advance english 2[1]Advance english 2[1]
Advance english 2[1]
 
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
 
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)
8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)
 
Introduction 6
Introduction 6Introduction 6
Introduction 6
 
Course syllabus english for management
Course syllabus english for managementCourse syllabus english for management
Course syllabus english for management
 
Advance english 5[1]
Advance english 5[1]Advance english 5[1]
Advance english 5[1]
 
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
 
7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender
 
Globalisation 8
Globalisation 8Globalisation 8
Globalisation 8
 

Similar to 2.บทที่.2 บทวรรณกรรม

ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Librru Phrisit
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..Lib Rru
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra speerapit
 
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนา
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนาหลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนา
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนาmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาokTophit Sampootong
 
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาokธวัช บุตรศรี
 
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECModel FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECssuserf6586a
 
โครงสร้างรายวิชา
โครงสร้างรายวิชาโครงสร้างรายวิชา
โครงสร้างรายวิชาparinya poungchan
 
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจ
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจหนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจ
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจทับทิม เจริญตา
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพkoyrattanasri
 
05 พันธะไอออนิก
05 พันธะไอออนิก05 พันธะไอออนิก
05 พันธะไอออนิกkruannchem
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรมkaewta242524
 
โครงงาน คอม เชต
โครงงาน   คอม    เชตโครงงาน   คอม    เชต
โครงงาน คอม เชตThanasak Inchai
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒Manas Panjai
 
Lesson plans
Lesson plansLesson plans
Lesson planskruwaeo
 

Similar to 2.บทที่.2 บทวรรณกรรม (20)

ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
ประวัติอไ..
ประวัติอไ..ประวัติอไ..
ประวัติอไ..
 
บทที่ 2 wee
บทที่ 2 weeบทที่ 2 wee
บทที่ 2 wee
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนา
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนาหลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนา
หลักสูตรปริญญาโทวิปสสนาภาวนา
 
20 บรรณานุกรม f
20 บรรณานุกรม f20 บรรณานุกรม f
20 บรรณานุกรม f
 
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
 
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
7ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับวิชาการศึกษาok
 
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcECModel FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
Model FinalcaceWCWCWECWCWCWcewCcwcewCCEWcEC
 
โครงสร้างรายวิชา
โครงสร้างรายวิชาโครงสร้างรายวิชา
โครงสร้างรายวิชา
 
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจ
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจหนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจ
หนึ่งแสนครูดีทับทิมและศุภกิจ
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
 
เอกสารโบราณอีสาน
เอกสารโบราณอีสานเอกสารโบราณอีสาน
เอกสารโบราณอีสาน
 
1
1 1
1
 
05 พันธะไอออนิก
05 พันธะไอออนิก05 พันธะไอออนิก
05 พันธะไอออนิก
 
บรรณานุกรม
บรรณานุกรมบรรณานุกรม
บรรณานุกรม
 
โครงงาน คอม เชต
โครงงาน   คอม    เชตโครงงาน   คอม    เชต
โครงงาน คอม เชต
 
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
ข้อสอบ O net ภาษาไทย ม.๓ ชุด ๒
 
Lesson plans
Lesson plansLesson plans
Lesson plans
 

2.บทที่.2 บทวรรณกรรม

  • 1. บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง    การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ คณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้ทําการศึกษา ค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบในการศึกษาดังนี้  ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ๒. ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่ ๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา ๔. การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ๕. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ ๖. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ๒. ๑. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง  หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ ณ ตําบลไร่ขิง อําเภอ สามพราน จังหวัด นครปฐม เป็นหน่วยวิทยบริการการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย คณะสังคมศาสตร์ที่เกิดจากปณิธานของพระเดชพระคุณ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส ผู้ดําริเริมก่อตั้งด้วยจุดมุ่งหมายต้องการจัดการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา ให้แก่พระภิกษุสามเณรและบุคคลทั่วไปได้มีโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้นและด้วย ความตั้งใจอันมุ่งมั่นของท่านพระเดชพระคุณ พระราชวิริยาลังการ เจ้าอาวาสวัดไร่ขิงองค์ปัจจุบัน รองประธานคณะกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการ ต้องการสานต่อเจตนารมณ์ของท่านผู้ดําริก่อตั้ง หน่วยวิทยบริการ ด้วยการผลักดันให้เกิดวิทยาลัยสงฆ์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง เป็นสถาบันการเรียนรู้ยุคใหม่ที่พร้อมผลิต บัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีทักษะความรู้ ความชํานาญในแต่ละวิชาชีพ สร้างคนดี มีคุณภาพ คุณธรรม
  • 2. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๘  จริยธรรม และ ส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญในภาษาต่างประเทศเพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่ ทรงคุณค่าของสังคมไทย๑   หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง เป็นสถาบันแห่งการ เรียนรู้ยุคใหม่มีความมุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้เป็นคนเก่งมีความรู้ ทักษะ ความชํานาญ ในแต่ละ สาขาวิชา สร้างคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข โดยบัณฑิตต้อง เป็นบุคคลที่มุ่งมั่นจะเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา เพื่อนําความรู้ ความสามารถ เป็นกําลัง สําคัญในการพัฒนาประเทศชาติ ดังปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า “จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม” ๒.๑. ๑ วัตถุประสงค์ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง๒   ๑. เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต, มีคุณธรรม, จริยธรรม, บูรณาการความรู้ ทางวิชาการพระพุทธศาสนากับศาสตร์สมัยใหม่อย่างมีคุณภาพ  เพื่อสนองงานคณะสงฆ์ และ ช่วยเหลือสังคมในระดับทองถิ่น, ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ๒. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ทํางาน วิจัยเพื่อพัฒนาคณะสงฆ์ สังคม และประเทศชาติ ๓ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้เผยแผ่ พระพุทธศาสนาและบริการวิชาการด้านพุทธศาสนาแก่สังคม ๔ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนิสิต ให้ ตระหนักและเห็นความสําคัญในการทนุบํารุงศิลปะและวัฒนธรรมในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ  ๕ เพื่อผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิต นําความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจําวัน เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม โดยอาศัยความรู้ทางพุทธศาสนาเป็นรากฐานสําคัญ                                                              ๑ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง, อ. สามพราน, จ. นครปฐม, ๒๕๕๖. ๒ ibid/เรื่องเดียวกัน
  • 3. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๙  ๒.๑.๒ คณะและสาขาวิชาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม๓ ๑.   คณะสังคมศาสตร์ ก. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ข. การจัดการเชิงพุทธ ค. ประกาศนียบัตร การบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ปบ.ส.) ๒.๑.๓ อาคารและสถานที่ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้ใช้อาคาร หอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี เป็นอาคารเรียน ๔ ชั้น โดยใช้ชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาบรมราชกุมารี ประกอบไปด้วย ห้องสมุดและห้องเรียนที่ทันสมัยมีห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชาที่พร้อมด้วยอุปกรณ์ในการสอน และสิ่งอํานวยความสะดวกที่เพียบพร้อม มีหน่วยงานส่งเสริมทางด้านวิชาการเช่น สํานักหอสมุดที่ เป็นศูนย์ทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบของ หนังสือวารสาร วีดิทัศน์ ดิสก์เก็ตเทปคาสเซ็ทที่มีระบบ การสื่อสาร มีฐานข้อมูลในรูปของซีดีรอมและออนไลน์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ภายในอาคารยัง ประกอบไปด้วยห้องประชุมและห้องสัมมนาเพื่อรองรับการจัดงาน และ กิจกรรมประเภทต่างๆ ที่ สามารถบรรจุนักศึกษาได้มากกว่า ๕๐๐ คน นอกจากอาคารเรียนที่ทันสมัยแล้วทางหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ได้ปรับปรุงขยายห้องเรียนภายในอาคารตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ สกอ. หรือสํานักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาทํากิจกรรมทางวิชาการ และการ พัฒนาศักยภาพที่แสดงออกถึงความเป็นผู้นําผู้ตามที่ดี ทางหน่วยวิทยบริการจึงได้จัดเตรียมสถานที่ให้ เพียงพอเพื่อรองรับนักศึกษาในการเรียนรู้ในรูปแบบบูรณาการการศึกษาค้นคว้า และการปฏิบัติจริง ภายในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ยังจัดให้มีสวนพักผ่อน หน้าอาคารเรียนภายใต้แมกไม้บรรยากาศที่ร่มรื่นจัดภูมิทัศน์ สิ่งแวดล้อมที่เหมาะแก่ การเรียนรู้ให้แก่                                                              ๓ ibid/เรื่องเดียวกัน
  • 4. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๐  นักศึกษาทุกตารางนิ้ว ในพื้นที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอาราม หลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๒.๑.๔ การตรวจรับรองมาตรฐานหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๘๑ กําหนดให้มีกฎหมาย เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ จึงได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ซึ่งมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๔๐ เป็นต้นมา ในหมวด ๖ ว่าด้วยมาตรฐานและการประกัน คุณภาพการศึกษา มาตรา ๔๙ ได้กําหนดให้มีสํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ การศึกษา เรียกโดยย่อว่า "สมศ." มีฐานะเป็นองค์การมหาชน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๙๙ก เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๔๓ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๔๓โดยให้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเกณฑ์และวิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทําการ ประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา โดยคํานึงถึงความมุ่ง หมาย หลักการ และแนวทางการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กําหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วย การศึกษาแห่งชาติ โดยให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้ง ในทุก ๕ ปี นับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ สาธารณชน นอกจากนี้ได้กําหนดไว้ในบทเฉพาะกาลว่าจะต้องจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายนอก ของสถานศึกษาทุกแห่ง ภายในหกปีนับตั้งแต่วันที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ใช้บังคับในการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพนั้น จําเป็นต้องใช้หลักการบริหารจัดการ เช่นเดียวกับการ บริหารหรือดําเนินกิจการต่างๆ ที่ต้องมีการดําเนินงานให้เป็นระบบครบวงจรโดยมีขั้นตอนที่สําคัญ ประการหนึ่งคือ การประเมินผลเพื่อให้ได้ข้อมูลย้อนกลับ อันจะสะท้อนให้เห็นถึงผลการดําเนินงาน ที่ผ่านมาว่าบรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้เพียงใด รวมทั้งมีจุดอ่อนหรือปัญหาในเรื่องใดบ้างที่ต้อง ปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การวางแผนและการดําเนินงานระยะต่อไปบรรลุเป้ าหมายอย่างมีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ จึงจําเป็นที่จะต้องให้ความสําคัญกับการประเมินผล โดยเฉพาะการประเมิน คุณภาพภายนอกจากหน่วยงานที่เป็นกลาง เพราะจะทําให้เกิดกลไกในการตรวจสอบอย่างจริงจัง รวมทั้งกระตุ้นให้หน่วยงานที่จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชาติถึงหน่วยงานที่เล็กที่สุด คือสถานศึกษา และภายในห้องเรียนต้องมีการประเมินตนเองเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
  • 5. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๑  ตลอดเวลาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิงพระอารามหลวง ได้รับการตรวจรับรอง มาตรฐานโดยสํานักงานรับรองมาตรฐาน และ ประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน) ระดับ สถาบันระดับกลุ่มสาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นมา  ๒.๒.   ความสําคัญของการบริหารงานอาคารสถานที่    การบริหารงานอาคารสถานที่ หมายถึง การที่ผู้บริหารใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ดําเนินงานอาคาร สถานที่ ร่วมกับบุคลากรในหน่วยวิทยบริการให้บรรลุเป้ าหมายที่กําหนดไว้ ประเภทและขอบข่าย ของงานอาคารสถานที่ การที่ผู้บริหารจะสามารถบริหารงานอาคารสถานที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จําเป็นที่จะต้องทราบขอบข่ายของงานว่า ครอบคลุมถึง ลักษณะงานใดบ้าง โดยทั่วไปแล้วงานอาคาร สถานที่จะมีขอบข่ายครอบคลุมลักษณะงาน ๕ อย่าง ดังต่อไปนี้ ๑. การจัดสร้างอาคารสถานที่ อันรวมถึงการวางผังบริเวณที่ตั้งอาคาร การควบคุมการ ก่อสร้าง การตกแต่งจัดระเบียบ ให้เป็นไปตามหลักการจัดอาคารสถานที่ของโรงเรียนตลอดจนการรื้อ ถอนอาคารสถานที่ ๒. การใช้อาคารสถานที่ หมายถึง การกําหนดวางแผนการใช้อาคารสถานที่ให้เกิด ประโยชน์ใช้สอยมากที่สุดต่อการเรียนการสอนโดยตรง ต่อการเกิดการเรียนรู้นอกห้องเรียนของ นักเรียน และต่อชุมชน ๓. การบํารุงรักษาอาคารสถานที่ การประดับตกแต่งและซ่อมแซมอาคารสถานที่ให้คง สภาพเดิม หรือ เพิ่มเติมเพื่อให้ประโยชน์ โดยคุ้มค่าที่สุด ๔.   การควบคุมดูแลอาคารสถานที่ คือ การควบคุมดูแลโดยทั่วไป เป็นการกํากับติดตาม ผลการใช้ การบํารุงรักษา การตกแต่ง รวมถึงการควบคุมการปฏิบัติงานอาคารสถานที่ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและแบบแผนของทางราชการ ที่เกี่ยวข้อง ๕. การประเมินผลการใช้อาคารสถานที่ เป็นการดําเนินการประเมินผลการใช้เพื่อการ ปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงแนวทางการดําเนินงานด้านนี้ให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์สูงสุด และเพื่อ เก็บข้อมูลสําหรับการวางแผนดําเนินงานอาคารสถานที่ของปีถัดไป
  • 6. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๒  งานอาคารสถานที่เป็นปัจจัยที่สําคัญอย่างหนึ่งที่ช่วยให้สถานศึกษาดําเนินงานได้โดยสะดวก ผู้บริหารจึงจําเป็นต้องให้ความสําคัญต่องานด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านอื่นๆ ภายในสถานศึกษา อาคาร สถานที่ของสถานศึกษาจึงเป็นแหล่งที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนและการสอนของครูผู้สอน ให้เป็นแหล่งถ่ายทอดวิทยาการของชุมชน งานบริหารอาคารสถานที่จึงเป็นงานที่สําคัญที่ผู้บริหาร ต้องพิจารณาพินิจวิเคราะห์และบริหารให้เกิดประโยชน์สูงสุด สําหรับงานบริหารอาคารสถานที่ สามารถแยกพิจารณาได้๕ ส่วนดังนี้ ๔     ๒.๒.๑. อาคารเรียน อาคารเรียนควรใช้ได้ดีทุกฤดูกาล ถูกสุขลักษณะ จํานวนและขนาดของอาคาร พอเหมาะกับนักเรียนนักศึกษา การบริหารอาคารควรคํานึงถึงประโยชน์ใช้สอย ไม่มุ่งเอาแต่ความ สวยงามเป็นหลัก แต่งมุ่งไปในทางประโยชน์ใช้สอยที่จะเกิดผลดีแก่การเรียนการสอน ความสะดวก และความปลอดภัย อาคารเรียนควรดัดแปลงได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นผนังกั้นห้องหรือวัสดุอุปกรณ์ ที่เกี่ยวกับตัวอาคารต้องดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมได้ง่าย มีแสงสว่างพอสมควร ผู้บริหารจะต้องคํานึง ก่อนก่อสร้างเพื่อให้ขยายอาคารได้สะดวกทั้งแนวตั้งและแนวนอน บรรยากาศภายในอาคารต้อง เหมือนบ้าน ร่มรื่น ผนังทาสีเย็นตา พื้นไม่ลื่น โต๊ะเก้าอี้ใช้สะดวก เหมาะสําหรับที่จะศึกษาเล่าเรียน ทุกอย่างต้องทนทานต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นอาคารสถานที่หรือเครื่องใช้ไม้สอย และต้องสมบูรณ์ แบบ ควรมีอาคารและเครื่องใช้ไม้สอยสมบูรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้ควรคํานึงถึงความปลอดภัยให้แก่ นักเรียนนักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นฝาผนัง ลูกกรงระเบียงหรือบริเวณบันไดควรสร้างให้มั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยเป็นพิเศษเพื่อป้ องกันนักเรียนนักศึกษาตกหล่นลงไปได้รับอันตรายในการออกแบบ อาคารถาวร นอกจากจะคํานึงถึงความแข็งแรงของโครงสร้างและความสะดวกสบายในการใช้อาคาร แล้ว ยังจะต้องคํานึงถึงอายุการใช้งานของอาคารนั้นๆ ด้วยว่า มีความมั่นคงแข็งแรงพอที่จะใช้งาน ด้วยความปลอดภัยได้เป็นเวลานานเท่าใด เมื่อพิจารณาถึงค่าของเงิน ค่าเสื่อมราคาของอาคาร ความ ยุ่งยากในการซ่อมแซม และอุปสรรคต่อการใช้งานแล้ว อาคารที่มีอายุใช้งานได้ตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๓๐ ปี โดยไม่ต้องทําการซ่อมแซมขนาดใหญ่ถือได้ว่าค่อนข้างประหยัด แต่จะให้ดีอายุการใช้งานของอาคาร                                                              ๔ กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐.
  • 7. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๓  ควรอยู่ระหว่าง ๓๐ ถึง ๕๐ ปี และจะถือว่าประหยัดที่สุด คือ ออกแบบและก่อสร้างให้อาคารนั้นๆ มี อายุการใช้งานเกิน ๕๐ ปีขึ้นไป๕     ๒.๒.๒. ห้องเรียน การจัดห้องเรียนควรให้ยืดหยุ่นได้ตามความเหมาะสม ห้องเรียนควรเป็นห้องใหญ่ หรือกว้าง เพื่อความสะดวกในการโยกย้ายโต๊ะเก้าอี้เพื่อจัดเป็นรูปร่างต่างๆ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอน ถ้าเป็นห้องเล็กๆ หลายๆ ห้องติดกัน ควรทําฝาเลื่อนเพื่อเหมาะแก่การทําห้องให้กว้าง การ จัดห้องเรียนเพื่อเสริมสร้างความรู้ทุกด้าน ควรจัดอุปกรณ์ในการทํากิจกรรมหรือหนังสืออ่าน ประกอบที่น่าสนใจไว้ตามมุมห้อง เพื่อนักเรียนจะได้ค้นคว้าทํากิจกรรมหรือติดรูปภาพและผลงาน ต่างๆ ไว้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ควรจัดห้องเรียนให้มีสภาพแวดล้อมที่ดี ได้แก่ สภาพแวดล้อมทาง กายภาพ สติปัญญา อารมณ์และสังคม ซึ่งมีอิทธิพลต่อความเป็นอยู่และการเรียนของนักเรียนนักศึกษา เป็นอันมาก อาจารย์ผู้สอนมีส่วนช่วยเสริมสร้างสภาพแวดล้อมให้ดีได้ เช่น คอยให้คําแนะนําในการ อ่านหนังสือ ค้นคว้า แก้ปัญหา และผู้สอนควรสร้างบรรยากาศในห้องเรียนไม่ให้เครียด เป็นกันเอง กับผู้เรียน ให้ผู้เรียนรู้สึกมีความปลอดภัย สะดวกสบายเหมือนอยู่ที่บ้าน การจัดห้องเรียนเพื่อ เสริมสร้างลักษณะนิสัยที่ดีงาม ปลูกฝังให้นักเรียนนักศึกษารู้จักรักษาความสะอาด ตั้งแต่พื้นห้องเรียน โต๊ะ ม้านั่ง ขอบประตูหน้าต่าง กระดาน แปรงลบกระดาน ฝาผนัง เพดาน มุมห้อง รวมทั้งถังขยะต้อง หมั่นทิ้ง เพื่อไม่ให้มีกลิ่นเหม็นและเป็นบ่อเกิดของเชื้อโรคได้ ทบวงมหาวิทยาลัยได้กําหนดเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับห้องบรรยายและห้องสัมมนา (ห้อง ขนาดเล็กที่ใช้ติว) ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษา ระยะที่ ๘ (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๔) ดังนี้๖   ห้องบรรยายขนาดความจุ ๓๐๐ คน ๐.๙ ตารางเมตร ต่อคน ห้องบรรยายขนาดความจุ ๒๐๐ คน ๐.๙ ตารางเมตร ต่อคน ห้องบรรยายขนาดความจุ ๑๐๐ คน ๑.๐ ตารางเมตร ต่อคน ห้องบรรยายขนาดความจุ ๕๐ คน ๑.๑ ตารางเมตร ต่อคน                                                              ๕ อรุณชัย ชัยเสรี, (๒๕๓๔). การวิบัติของอาคาร สาเหตุและการแก้ไข. กรุงเทพฯ: บริษัทเอเชียเพรส จํากัด. ๖ สํานักนโยบายและแผนอุดมศึกษา, (๒๕๓๗). เกณฑ์มาตรฐานกลางสําหรับการจัดทําโครงการพัฒนา การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในช่วงแผนพัฒนา ระยะที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ ) ทบวงมหาวิทยาลัย.
  • 8. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๔  ห้องบรรยายขนาดความจุ ๒๕ คน ๑.๕ ตารางเมตร ต่อคน ห้องสัมมนาหรือห้องติวขนาดความจุ ๓๐ คน ๑.๘ ตารางเมตร ต่อคน ๒.๒.๓. ห้องพิเศษ  ห้องพิเศษมีความสําคัญต่อการเรียนการสอนมาก เพราะเป็นที่จัดกิจกรรมการเรียน การสอนไว้เป็นพิเศษ รวมทั้งห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่สนับสนุนการสอน ห้องดังกล่าวจึงควรจัดให้มี วัสดุ อุปกรณ์ครบถ้วน นอกจากนี้สถานศึกษาควรจัดให้มีห้องพยาบาล ห้องสมุด ห้องดนตรี ห้อง พัสดุ ห้องธุรการ ฯลฯ เพื่ออํานวยความสะดวกให้แก่นักเรียนนักศึกษา รวมทั้งบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ๒.๒.๔. อาคารประกอบ อาคารประกอบ หมายถึงอาคารที่ใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ห้องประชุมหรือโรง อาหาร สถานศึกษาบางแห่งอาจใช้รวมกันดังนั้นควรมีลักษณะโปร่งโล่ง เพื่อระบายกลิ่นได้ดี โรง ฝึกงานควรสร้างให้ห่างไกลจากอาคารเรียนพอสมควร เพื่อจะได้ไม่มีเสียงรบกวนในห้องเรียน ห้องนํ้าห้องส้วมควรมีจํานวนห้องมากพอกับจํานวนผู้ใช้งาน โดยเฉลี่ยส้วมชาย 1 ที่ต่อผู้เรียน ๔๐ คน ส้วมหญิง ๑ ที่ต่อผู้เรียน ๒๕ คน และที่ปัสสาวะชาย ๑ ที่ต่อผู้เรียน ๓๐ คน ถ้ามีจํานวนน้อยก็ จัดระบบใช้ให้ทั่วกัน    ๒.๒.๕. บริเวณสถานศึกษา บริเวณสถานศึกษามีความสําคัญไม่น้อยไปกว่าตัวอาคาร ปัจจุบันบริเวณสถานศึกษา มีปัญหาเกี่ยวกับการเพิ่มจํานวนอาคารเรียน และจํานวนผู้เรียน บริเวณโรงเรียนจึงควรจัดให้เกิด ประโยชน์ และการใช้งานให้คุ้มค่าที่สุด และ ควรปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสวยงาม โดยเฉพาะหน้าอาคารเรียน บริเวณที่จัดเป็นที่พักผ่อน ควรมีจํานวนม้านั่งให้เพียงพอ บริเวณสนาม กีฬา ถ้าเป็นไปได้ควรแยกสนามกีฬาแต่ละประเภทแยกออกจากกัน เพื่อความสะดวกของผู้ใช้งาน กล่าวโดยสรุป ความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่เป็นเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ได้คิดค้น ขึ้น เพื่อกําหนดอนาคตของการจัดการ การบริการ และประสานงานของบุคคล หรือกลุ่มบุคคลให้ ดําเนินการเกี่ยวกับอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมอย่างมีกระบวนการบริหาร คือ การศึกษา สภาพ ปัญหาและความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการประเมินผล ซึ่งเป็นเรื่องสําคัญ
  • 9. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๕  ที่ผู้บริหารต้องพินิจวิเคราะห์ถึงการใช้ประโยชน์จากอาคารสถานที่ที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ของ ผู้เรียน และการสอนของผู้สอน รวมทั้งเป็นแหล่งวิชาการแก่ชุมชนด้วย เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน (๒๕๔๖)๗ ได้อธิบายความสําคัญของการบริหารอาคารสถานที่จะมี ประสิทธิภาพได้ จะต้องดําเนินตามขั้นตอนทั้ง ๔ ของกระบวนการ คือ การศึกษาสภาพปัจจุบันของ ปัญหา และความต้องการ การวางแผน การดําเนินการตามแผน และการประเมินผล เช่นเดียวกับการ บริหารงานอื่นๆ ดังนี้ ๑.   ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการในเบื้องต้นของการบริหารงานอาคาร สถานที่ ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามขั้นตอนแรกของกระบวนการการบริหาร โดยรวบรวม ข้อมูลด้านอาคารสถานที่จากระบบข้อมูลของสถานศึกษา และหาข้อมูลหลายๆ ด้านที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง อย่างน้อยที่สุดจะต้องประกอบด้วยข้อมูล ๓ ประเภท คือ ๑.๑ สภาพปัจจุบันของอาคารสถานที่ และทรัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น จํานวนอาคาร สิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้ว พื้นที่บริเวณโรงเรียน สภาพพื้นที่ จํานวนผู้เรียน และจํานวนบุคลากร ๑.๒ แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เช่น การเพิ่มหรือลดของจํานวนนักเรียน งบประมาณที่คาดว่าจะได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ในท้องถิ่นซึ่งเกี่ยวพันถึงสถานศึกษาด้วย ๑.๓ ปัญหา และข้อจํากัด ซึ่งได้จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อจํากัดพื้นที่ ข้อจํากัดด้านงบประมาณ หรือปัญหาอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการดําเนินงาน เมื่อได้ข้อมูล และปัญหาก็นํามา วิเคราะห์นํามาวิเคราะห์ โดยให้บุคลากรสถานศึกษามีส่วนร่วมเพื่อสรุปเป็นความเป็นความต้องการ ของสถานศึกษาที่จะแก้ปัญหา หรือพัฒนาด้านอาคารสถานที่เพื่อดําเนินการขั้นต่อไป ๒. การวางแผน เมื่อรู้ความต้องการด้านอาคารสถานที่ว่าจะแก้ปัญหา หรือพัฒนา อย่างไร แค่ไหน จากการปฏิบัติในขั้นตอนที่ 1 แล้วก็เริ่มดําเนินขั้นตอนที่ ๒ คือ จัดให้มีการวางแผน และเขียนโครงการ เพื่อแก้ปัญหา หรือ เพื่อบรรลุความต้องการด้านอาคารสถานที่นั้นๆ ในการ วางแผนด้านอาคารสถานที่ ผู้บริหารต้องคํานึงถึงสิ่งต่อไปนี้                                                              ๗ เปี่ยมศักดิ์ เหล่าอัน, (๒๕๔๖).ปัญหาและความต้องการด้านอาคารสถานที่โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรม สามัญศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา สํานักงานบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏเลย
  • 10. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๖  ๒.๑ ให้บุคลากรในสถานศึกษา และบุคลากรในชุมชนซึ่งมีส่วนร่วมในการใช้ ประโยชน์ และมีส่วนร่วมรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่ ได้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการวางแผนด้าน อาคารสถานที่ ๒.๒ ในการวางแผนด้านอาคารสถานที่ จะต้องให้อาคารสถานที่นั้นๆ สามารถใช้ ประโยชน์ได้หลายทาง หรือจะเป็นแบบอเนกประสงค์ก็ทําได้ การพัฒนาอาคารสถานที่นั้นๆ ก็จะ ได้ผลผลคุ้มค่ากับการลงทุน ๒.๓ เป็นการอํานวยประโยชน์ต่อการพัฒนาของผู้เรียนในด้านต่างๆ ให้มากที่สุด คือ ให้ประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมด้านการเรียนการสอนโดยตรง และส่งเสริมสนับสนุนการเรียน การสอน และกล่อมเกลาลักษณะนิสัยให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรโดยทางอ้อม ๓.   การดําเนินงานตามแผน ในขั้นตอนนี้ผู้บริหารต้องกํากับ ติดตาม และควบคุมดูแล ให้การดําเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในขั้นตอนที่ ๒ การดําเนินงานด้านอาคารสถานที่จะดําเนิน ไปโดยราบรื่น และมีประสิทธิภาพพอสมควร หากผู้บริหารยึดแนวทางในการปฏิบัติงานดังนี้ ๓.๑ ปลูกฝังให้บุคลากรในสถานศึกษามีความรู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ซึ่งต้องมีความรับผิดชอบต่อการดําเนินงานของสถานศึกษา ๓.๒ ให้ผู้เรียนมีส่วนรับผิดชอบต่อการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ในส่วนที่ สามารถจะทําได้ซึ่งจะช่วยปลูกฝังนิสัยการทํางาน และเกิดความภาคภูมิใจในสถานศึกษาของตน ๓.๓ ปลูกฝังให้ชุมชนตระหนักว่า สถานศึกษาเป็นสมบัติของชุมชน และให้ชุมชนมี ส่วนร่วมในการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่เท่าที่จะเป็นไปได้ ในขึ้นตอนนี้ผู้บริหารต้องให้ บุคลากรหลายๆ ฝ่ายมีส่วนร่วมในการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ด้วย ๔. การประเมินผลการดําเนินงานด้านอาคารสถานที่ เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จะช่วยให้ ผู้บริหารได้ทราบว่าการดําเนินงานเป็นไปตามแผนและดําเนินไปด้วยดีเพียงใด เพื่อเป็นแนวทางการ ปรับปรุงแก้ไขในระหว่างการดําเนินงาน และเป็นข้อมูลสําหรับการพิจารณาวางแผนดําเนินงานในปี ถัดไป การประเมินผลงานด้านอาคารสถานที่ต้องทําเป็นระยะๆ และสมํ่าเสมอตามระยะเวลาที่ กําหนดไว้ในแผนงาน โดยใช้เทคนิควิธีการสําคัญต่างๆ เช่น การทําตารางกําหนดเวลาประเมินไว้ อย่างชัดเจนในแต่ละโครงการ การทําตารางกําหนดการใช้อาคาร สถานที่และบันทึกผล มีการตรวจ ดูแลอย่างสมํ่าเสมอ และให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผล เช่น การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบแล้ว รายงานผล ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา กล่าวโดยสรุป กระบวนการในการบริการงานอาคาร
  • 11. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๗  สถานที่ เป็นส่วนสําคัญที่ให้การบริหารงานด้านนี้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลได้ดีอีกวิธีหนึ่ง เพราะจุดเริ่มต้นจะต้องมีการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ มีการวางแผน มีการดําเนินงานตาม แผน และมีการประเมินผล จึงจะสามารถนํากลับไปใช้ได้    ๒.๓. การจัดการอาคารสถานศึกษา    การจัดอาคารสถานที่ควรคํานึงถึงสภาพเดิมของบริเวณให้มาก ซึ่งสภาพเหล่านี้หากได้รับ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง หรือตกแต่งให้สวยงาม และเอื้อประโยชน์ได้เหมาะสมและการจัดสร้าง อาคารให้เหมาะสมกับสภาพที่มีอยู่แล้ว จะเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายและกําลังคน กําลังงาน ทั้งจะมี ส่วนปลูกฝังการรักธรรมชาติ อันเป็นคุณสมบัติที่พึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ๒.๓.๑. นโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคารสถานที่ของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการได้กําหนดแนวนโยบายการปฏิรูปการศึกษาด้านอาคาร สถานที่ เพื่อปรับเปลี่ยน งานด้านอาคารสถานที่ทุกแห่งในสังกัด ซึ่งมีอายุการใช้งานเฉลี่ยไม่ตํ่ากว่า ๑๐ ปี ให้มีสภาพความ พร้อมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยมีแนวปฏิบัติดังนี้ ๘   ๑. บริเวณโรงเรียนดําเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ตั้งโรงเรียน ทั้งหมด พื้นที่ไม่น้อยกว่า ๖ ไร่ ขึ้นไปหรือมีพื้นที่ประมาณ ๑๐ ตารางวาต่อนักเรียน 1 คน มีการจัดทํา แผนที่ตั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ สวนหย่อม แปลงเกษตร สระนํ้า สนามกีฬาต่างๆ เต็มรูปแบบมี การออกแบบ และปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นสวยงาม มีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม และใช้พื้นที่บริเวณโรงเรียนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ๒. อาคารเรียนเป็นอาคารเรียนตามมาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ จะต้อง เป็นอาคารสถานที่ก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทน ซึ่งมีขนาดห้องเรียนได้มาตรฐาน อย่างน้อย กว้าง ๗ เมตร ยาว ๙ เมตร ถูกสุขลักษณะ จํานวนห้องเพียงพอกับจํานวนนักเรียน สะดวก ปลอดภัย แสงสว่าง เพียงพอ สามารถดัดแปลงใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง มีการปรับปรุง ตกแต่ง ทาสีตัวอาคารใหม่ให้ เป็นปัจจุบัน มีป้ายประกาศ ป้ ายนิเทศไว้เหมาะสม การวางแผนใช้อาคารสถานที่ การทําแผนจัดสร้าง รื้อถอนอาคารสถานที่ รวมทั้งการใช้อาคารสถานที่ ให้คุ้มค่ากับสภาพของโรงเรียนและชุมชน                                                              ๘ กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐.
  • 12. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๘  ๓. อาคารประกอบเป็นสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น อาคารอเนกประสงค์ โรง ฝึกงาน โรงอาหาร ห้องส้วม เรือนเพาะชํา รั้ว ถังเก็บนํ้าฝน ฯลฯ ก่อสร้างด้วยวัสดุที่คงทนถาวร สะอาด สะดวก ปลอดภัย อยู่ในสถานที่เหมาะสม มีการปรับปรุงตกแต่งทาสีสวยงาม และเหมาะกับ ประโยชน์ใช้สอย การวางแผนการใช้ประโยชน์ของอาคารประกอบ การทําแนวสร้าง และรื้อถอน อาคารประกอบรวมทั้งการใช้อาคารประกอบให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ๔. การจัดโรงเรียนและสถานศึกษาให้เป็นปัจจุบัน เป็นการบํารุงรักษาอาคาร สถานที่ อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ โดยการซ่อมแซมตกแต่งทาสี ให้สวยงาม มีสภาพใหม่อยู่เสมอ ใช้การได้ดีตลอดเวลา ๕. การสุขาภิบาลเป็นการทําให้โรงเรียนสะอาด ถูกสุขลักษณะ ปราศจากฝุ่น ละออง และมลภาวะ มีที่กําจัดขยะมูลฝอย มีนํ้าดื่ม นํ้าใช้สําหรับนักเรียนตลอดปี มีการจัดอาหาร กลางวันให้นักเรียนรับประทานที่สะอาด ปลอดภัย และเพียงพอ ๖. ห้องสมุด หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็กควรจัดเป็นมุมหนังสือภายใน ห้องเรียนต่างๆ และหากเป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ มีห้องเรียนหรืออาคารเพียงพอควรจัดแยกต่างหาก โดยเฉพาะจัดให้สะอาดสวยงาม มีการจัดหนังสือเข้าห้องสมุดให้เหมาะสมกับจํานวนนักเรียน และ สภาพโรงเรียนมีการซ่อมแซม บํารุงรักษาหนังสือที่ชํารุด มีการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ใช้ห้องสมุด เป็นประจํา ให้นักเรียนได้ใช้บริการห้องสมุด ๗. ห้องคอมพิวเตอร์ ควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้โดยเฉพาะกิจกรรมการ เรียนการสอนคอมพิวเตอร์เป็นพิเศษ หากเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก อาคารและห้องไม่เพียงพอให้ใช้ ร่วมกับห้องพิเศษอื่นๆ เช่น ใช้ร่วมกับห้องปฏิบัติการทางภาษา ต้องสะอาด ปราศจากฝุ่นละออง และ มีการติดตั้งพัดลมให้เย็นสบายเพื่อการบํารุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ ๘. ห้องปฏิบัติการทางภาษาควรเป็นห้องที่ปรับปรุงขึ้นใช้เฉพาะกิจกรรมการ สอนภาษาต่างประเทศ เนื่องจากต้องใช้การสอนผ่านเครื่องเสียง เทป วิดีโอ โดยผ่านหูฟัง ต้องจัดให้ สะอาด ปราศจากฝุ่นละออง ติดตั้งพัดลมให้เย็นสบาย มีโต๊ะนั่งเรียน และหูฟังที่พอเพียงกับผู้เรียน ๙. ห้องแนะแนว ต้องเป็นห้องเพื่อจัดกิจกรรมแนะแนว หากไม่มีห้องที่ เพียงพอก็สามารถจัดรวมกับห้องพิเศษอื่นๆ ได้ เช่น จัดรวมกับห้องพยาบาล ห้องสมุดหรือห้อง สหกรณ์ ฯลฯ แต่ต้องเป็นมุมสงบ เพื่อความสะดวกในการให้คําปรึกษาแก่นักเรียน
  • 13. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๑๙  ๑๐. ห้องพยาบาล หากโรงเรียนขนาดเล็กอาคารไม่พอ สามารถใช้ร่วมกับห้อง อื่นได้ แต่ต้องเงียบสงบเพราะเป็นส่วนที่บุคลากรต้องได้รับการปฐมพยาบาล และพักผ่อน จึงต้อง สะอาด สวยงาม อากาศถ่ายเทได้ดี มีป้ายนิเทศโปสเตอร์ เกี่ยวกับสุขภาพ ห้องนํ้า ห้องส้วม อยู่ในห้อง เดียวกัน ๑๑. สนามกีฬา จัดให้มีสนามกีฬาเพียงพอกับความต้องการและเหมาะสม เช่น สนามฟุตบอล วอลเลย์บอล สนามเด็กเล่น ตลอดทั้งจัดให้มีเครื่องเล่นภายในสนามที่เหมาะสม ๑๒. ห้องพิเศษอื่นๆ ควรจัดให้มีห้องพิเศษอื่นๆ ตามสภาพ และตามศักยภาพ ของสถานศึกษา เช่น ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ศูนย์สื่อ และอุปกรณ์ ห้องจริยธรรม ฯลฯ    ๒.๓.๒. การบริหารอาคารสถานศึกษา ข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษานับว่าเป็นสิ่งที่จําเป็น เพื่อ เป็นข้อสนเทศในการบริหารจัดการอาคารสถานที่ ข้อมูลแรกที่ควรทราบคือผังบริเวณหลัก เพื่อจะได้ ทราบว่าแต่ละหลังเป็นอาคารอะไรบ้าง ใช้เรียนหรือบริการแก่ผู้เรียนในเรื่องอะไร มีความสูงกี่ชั้น มี ทางขึ้นลงใดบ้าง ตลอดจนอุปกรณ์ที่ใช้ในอาคาร เช่น โทรศัพท์ภายใน ระบบป้ องกันเพลิงไหม้และ สัญญาณเตือนภัยต่างๆ เป็นต้น๙ การทําแผนภูมิแนะนําการใช้อาคารสถานที่ เป็นสิ่งที่จําเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการควบคุม การตรวจสอบ การซ่อมบํารุง และการประเมินผล การใช้งานใน ระยะที่สมควร เพื่อจัดให้มีการปรับปรุงพัฒนาอาคารสถานที่ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งแผนภูมิ เกี่ยวกับอาคารสถานที่ที่สําคัญ มีดังนี้๑๐   ๑. แผนภูมิบริเวณสถานศึกษา ลักษณะของแผนภูมิจะทําให้ทราบถึงขนาด ของที่ดิน ทิศทางและจํานวนอาคารตลอดจนหน้าที่ของอาคารแต่ละห้องอย่างชัดเจน รวมทั้งทางเชื่อม ระหว่างอาคาร บริเวณที่รถบริการจะมาส่งของ เป็นต้น  ๒. แผนภูมิของอาคาร อาคารแต่ละหลังจะต้องแสดงแผนภูมิไว้ที่โถงบันได หรือ บริเวณหน้าหน้าลิฟต์เพื่อสะดวกต่อการค้นหา ห้องที่เปิดสอนวิชาเฉพาะแปลนอาคารทุกชั้น จะ แสดงรวมไว้ ที่ชั้นล่าง เพื่อทําให้ผู้มาเยือนสามารถมองหาห้องที่ต้องการได้ทันที และในแต่ละชั้น                                                              ๙ ibid/เรื่องเดียวกัน ๑๐ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษาหน่วย ที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 
  • 14. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๐  ควรติดตั้งแบบแปลนของชั้นนั้นไว้ต่างหากอีกด้วย แผนภูมิแต่ละชั้นนอกจากจะบอกถึง ทางเดิน ทาง เชื่อม บันได ห้องนํ้า และห้องต่างๆ แล้วจะบอกทางหนีไฟไว้ให้ด้วย โดยบางอาคารอาจเรียกว่า “ทางออกฉุกเฉิน” อาคารบางหลังอาจบอกถึงที่ตั้งของเครื่องดับเพลิงเคมี หรืออาจระบุตําแหน่งสาย ดับเพลิง ซึ่งมักจะติดตั้งไว้ใกล้ห้องบันไดหรือลิฟต์ สําหรับอาคารขนาดใหญ่จะบอกตําแหน่งห้อง สวิทช์ตัดไฟฟ้าไว้ในแต่ละชั้น เพื่อสะดวกแก่การแก้ไขเมื่อเกิดไฟฟ้าดับ เป็นต้น สําหรับเลขที่ประจํา ห้อง นิยมใช้เลขที่ของอาคารเป็นตัวแรก ส่วนตัวที่สองเป็นเลขที่ของชั้น ส่วนเลขสุดท้ายจะเป็นตัว เลขที่ห้อง เพื่อสะดวกแก่การค้นหา ๓ แผนภูมิการใช้อุปกรณ์ในอาคาร ส่วนมากแล้วเมื่อมีการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ นอกจากจะมีการสาธิตการใช้งานแล้ว บริษัทผู้ผลิตจะให้แผนภูมิการใช้งานมาด้วย เช่น เครื่องย่อ ขยายเอกสาร เครื่องขยายเสียง โทรศัพท์ภายใน เป็นต้น แผนภูมิเหล่านี้จะต้องติดไว้ใกล้กับอุปกรณ์ เครื่องใช้ทุกชิ้น เพื่อความสะดวกในกรณีที่เจ้าหน้าที่รับผิดชอบไม่มาทํางาน คนอื่นจะสามารถ ดําเนินการแทนได้ ๒.๓.๓. การควบคุมตรวจสอบอาคารสถานศึกษาเป็นงานที่ต้องทําต่อเนื่องจากการบริหาร อาคารสถานศึกษา โดยเป็นงานของคณะทํางานที่ผู้บริหารตั้งขึ้นเพื่อดูแลการใช้งานอาคารสถานที่ เป็นรายวัน รายสัปดาห์ โดยงานแรกต้องทําเอกสารเพื่อควบคุมการใช้อาคารเพื่อการศึกษาในขั้นต้น ว่าการใช้ห้องต่างๆ นั้น สามารถดําเนินการใช้ได้ตามแผนอัตรากําลังอาคารที่ได้เสนอไว้ก่อนการ ก่อสร้างสถานศึกษาหรือไม่อย่างไร เช่น ห้องเรียนจะใช้งานให้ได้ถึง ๙๐เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้ง สัปดาห์ และห้องทดลองวิทยาศาสตร์และห้องปฏิบัติการฝึกงานนั้น กําหนดไว้ว่าจะใช้งานได้ถึง ๗๕ เปอร์เซ็นต์ของเวลาทั้งสัปดาห์ ได้มีการจัดตารางสอนให้ใช้ห้องได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้คณะทํางาน ต้องสร้างแบบฟอร์มขึ้นมา เพื่อวัดความถี่ของการใช้งานห้องเรียน ห้องทดลองและห้องบริการทุก ห้อง สิ่งที่จําเป็นในการตรวจสอบอาคารสถานศึกษามีดังนี้๑๑ ๑. การตรวจสอบการใช้อาคาร สถานศึกษาจะต้องมีแปลนอาคารทุกชั้น ซึ่ง แสดงแผนผังห้องเรียน ห้องประกอบทุกห้อง และมีการกําหนดเลขที่ไว้อย่างครบถ้วน เพื่อสะดวกใน                                                              ๑๑  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษา หน่วยที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • 15. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๑  การกรอกแบบฟอร์มในการตรวจสอบการใช้งานจริงของห้องทุกห้องเป็นรายสัปดาห์ ทั้งนี้เพื่อให้ ผู้บริหารทราบว่าอัตราการใช้ห้องนั้นทําได้ตํ่าหรือสูงกว่าเกณฑ์อย่างไร ๒. การตรวจสอบมาตรฐานอาคาร ในการออกแบบอาคารสถานศึกษาจําเป็นที่ จะต้องยึดเกณฑ์มาตรฐานของสํานักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๒๔ไว้เป็นแบบฉบับ เนื่องจากเกณฑ์ มาตรฐานระบุให้ห้องเรียน ห้องทดลอง หรือห้องบริการจะต้องออกแบบตามขนาดเนื้อที่ต่อคนให้ เหมาะสม ๓. การตรวจสอบทั่วไป เจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบด้านอาคารสถานที่จะต้องเดิน ตรวจอาคารสถานที่ โดยทั่วๆ ไปอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อความสะอาดเรียบร้อยของสถานที่ ซึ่งเป็นวิธีการ ให้ผู้อื่นได้ช่วยตรวจสอบอีกทางหนึ่งด้วย การตรวจสอบด้านสาธารณูปโภค เช่น การใช้นํ้า การใช้ ไฟฟ้า ก็เป็นสิ่งที่ควรทําเพื่อเป้าหมายของการประหยัดค่าใช้จ่ายรายเดือน    ๒.๓.๔. การประเมินผลอาคารสถานศึกษา เมื่ออาคารสถานศึกษาได้ใช้งานตามระยะเวลาอัน สมควรแล้ว จะต้องมีการศึกษาข้อดีข้อเสียของการใช้งานว่าแนวคิดของการวางผังหลัก การออกแบบ อาคารเรียน อาคารประกอบ ฯลฯ ว่าส่งผลดี หรือควรจะพัฒนาเพิ่มเติมอย่างไรบ้าง หรือเพื่อจะได้ ข้อมูลที่จะนําไปใช้ในโอกาสที่จะสร้างอาคารใหม่ต่อไป วิธีการประเมินขึ้นอยู่กับความต้องการวัดผล เกี่ยวกับเนื้อหาที่ต้องการประเมิน โดยจะต้องมีการสร้างเครื่องมือในการประเมินสําหรับผู้สอน ผู้เรียน ผู้ดูแลรักษา และผู้มีหน้าทีเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา โดยผลที่ได้จะได้นํามาเฉลี่ยความเที่ยงตรง ในการประเมิน เครื่องมือที่ใช้จะพัฒนาบนพื้นฐานของสาระสําคัญในเรื่องปริมาณจากอัตราส่วน ระหว่างผู้เรียนกับเนื้อที่อาคาร ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต่อรายหัวของผู้เรียน จํานวนตารางเมตรของ อาคารของแต่ละประเภทอาคาร ประโยชน์ที่ควรจะได้รับ ตลอดจนอายุการใช้งานของอาคารในแง่ ของเศรษฐกิจ เป็นต้น บางครั้งอาจสร้างเครื่องมือ เพื่อประเมินผลงานออกแบบของสถาปนิกในแง่ ของประโยชน์ใช้สอย ทั้งนี้อาจได้ผลในแง่ของการเปลี่ยนแนวคิด ของการวางผังบริเวณสถานศึกษา ในอนาคต ซึ่งสถานศึกษาส่วนมากมักจะมีปัญหาเรื่องขาดแคลนที่ดิน การยอมใช้อาคารทางสูงจะขึ้น ได้สูงกี่ชั้น จึงจะไม่เกิดอุปสรรคต่อการเคลื่อนย้ายเปลี่ยนห้องของผู้เรียน ในบางครั้งอาจประเมินผล ในแง่ที่ว่าผลงานก่อสร้างที่เกิดขึ้นตรงตามเป้าหมายที่คณะทํางานได้วางไว้แต่ต้นหรือไม่
  • 16. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๒  การประเมินการใช้ประโยชน์อาคารและสิ่งอํานวยประโยชน์ที่สร้างขึ้น มีขั้นตอนดังนี้๑๒ ๑. จะต้องสร้างเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ ๒. มีกระบวนการในการประเมิน ๓. รวบรวมข้อมูลจากผลการประเมิน ๔. ป้อนข้อมูลให้ผู้ใช้ประโยชน์จากผลการประเมินนั้น การเลือกวิธีการประเมิน สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การใช้แบบสํารวจ การสังเกต การ สัมภาษณ์ การวัดทัศนคติ เป็นต้น ส่วนระยะเวลาของการประเมินนั้นจะขึ้นอยู่กับ ความต้องการของ ผู้บริหารที่จะต้องการ ความถี่อย่างไร เช่น ประเมินผลการทํางานของสถาปนิก ประเมินเพียงครั้งเดียว ก็จะทราบผล แต่การประเมินเพื่อทราบมาตรฐานการใช้อาคารต้องทําหลายครั้ง บุคคลที่จะทํางานนี้ อาจตั้งเป็นคณะบุคคล หรือในรูปของกรรมการ ได้ผลจากการประเมิน จะช่วยชี้ปัญหาของความไม่ สะดวก ความไม่ปลอดภัย อาคารไม่เอื้ออํานวยประโยชน์ต่อการเรียน เป็นต้น ในการการวัดประสิทธิภาพของการใช้อาคารนั้นบางครั้งจําเป็นต้องอาศัยการคํานวณอัตรา การใช้ห้อง (Room Utilization) ด้วย ซึ่งหมายถึง ค่าคํานวณได้เป็นร้อยละของอัตราส่วนระหว่าง จํานวนเวลาที่ใช้ห้องใน ๑ สัปดาห์ กับจํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน ๑ สัปดาห์ โดยใช้ สูตรดังนี้๑๓     จํานวนคาบที่ใช้ห้องจริงใน 1 สัปดาห์ อัตราการใช้ห้อง =  X ๑๐๐  จํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน สัปดาห์ การจัดบริเวณเพื่อการเรียนรู้นับเป็นสิ่งสําคัญมากขึ้นเป็นลําดับ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวางแผน งานด้านอาคารสถานที่ได้เตรียมแผนไว้แต่แรกต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะมีในอนาคต มีการยืดหยุ่น ตั้งแต่ผังบริเวณหลักรวมถึงตัวอาคาร ซึ่งพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มหน้าที่ใช้สอยให้ มากขึ้น                                                              ๑๒ กรมสามัญศึกษา: กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๔๐. ๑๓ สํานักนโยบายและแผนอุดมศึกษา, (๒๕๓๗). เกณฑ์มาตรฐานกลางสําหรับการจัดทําโครงการพัฒนา การศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในช่วงแผนพัฒนา ระยะที่ ๘ (พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔ )ทบวงมหาวิทยาลัย.
  • 17. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๓  การพัฒนาให้บริเวณโรงเรียนเกิดความงามเกิดจากความแตกต่างจากการปลูกต้นไม้ประดับ การจัด สระนํ้า และสนามหญ้าในระยะแรก แต่ในระยะหลังนี้ การออกแบบอาคาร ทางเท้า และบริเวณ พักผ่อน จะมีความคล้องจองกันไปหมด โดยต้องยอมรับว่า อาคารเองก็คืองานประติมากรรมชิ้นหนึ่ง ซึ่งแฝงไว้ทั้งความงามและประโยชน์ใช้สอยรวมอยู่ด้วยกัน ดังนั้น การจัดภายในอาคารในสมัย ปัจจุบันจึงพยายามให้เกิดความสัมพันธ์กับภายนอก กล่าวคือ งามทั้งอาคาร สวยทั้งการจัดภายใน และ เหมาะสมเข้ากันได้กับธรรมชาติของต้นไม้ ใบหญ้าโดยรอบอาคาร จึงกล่าวได้ว่า สถาปนิกได้จัด สิ่งแวดล้อมที่ดีสําหรับการเรียนการสอน ในการจัดการด้านระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม สิ่ง ที่ควรพิจารณา มีดังนี้๑๔ ๑. ระบบสาธารณูปโภค เป็นเรื่องที่สถานศึกษาจะต้องมีรายจ่ายทุกเดือน การจัดระบบ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ที่ดี หมายถึง การควบคุมรายจ่ายเพื่อการนี้โดยทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ไฟฟ้าควร มีการติดมิเตอร์เพื่อควบคุมการใช้กระแสไฟฟ้าแต่ละอาคาร เพื่อให้ทราบปริมาณไฟฟ้าว่าอาคารแต่ละ หลังมีการใช้ไฟฟ้ ามากน้อยอย่างไร การใช้นํ้าประปาก็เช่นกัน ควรมีการติดมิเตอร์เพื่อวัดการใช้นํ้า ทุกอาคาร สําหรับโทรศัพท์จะมีการแยกระบบโทรศัพท์เพื่อการสื่อสารภายในและโทรศัพท์ภายนอก อาจมีการควบคุมการใช้โทรศัพท์ทางไกลโดยได้มีการกําหนดเครื่องที่ใช้โทรศัพท์ทางไกลได้เฉพาะ เครื่องที่จําเป็น ในการโทรศัพท์แต่ละครั้งจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์ม จํานวนคาบที่ใช้ห้องจริงใน ๑ สัปดาห์ จํานวนคาบที่ควรใช้ห้องได้อย่างเต็มที่ใน l สัปดาห์ แสดงระยะเวลาการพูด และสถานที่ ติดต่อสําหรับการส่งโทรสารจะมีเอกสารบันทึกการส่งอยู่ในเครื่องอยู่แล้วจึงทราบได้ว่า มีการใช้วัน ละกี่ครั้ง หากสถานศึกษาที่ใช้ระบบประปาบาดาล จะมีค่าใช้จ่ายค่าเครื่องสูบนํ้าเพิ่มขึ้น รวมทั้งค่า ซ่อมและดูแลเครื่องสูบ ท่อจ่ายนํ้า ซึ่งควรมีการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ ๒. สิ่งแวดล้อม สิ่งที่จะเอื้ออํานวยให้ผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ดี เพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้มากขึ้น ได้แก่ การถ่ายเทอากาศ การควบคุมเสียงรบกวน แสงสว่าง และการใช้สีที่เหมาะสม ๒.๑. การถ่ายเทอากาศ โดยปกติอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์จะอยู่ประมาณ ๓๕- ๓๗ องศาเซลเซียส ถ้าอากาศร้อนจะมีผลให้หลอดเลือดขยายตัว เหงื่อออก การรับรู้ และความจําจะ                                                              ๑๔ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, (๒๕๓๗). ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรการศึกษา หน่วยที่ ๑๓ -๑๕ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
  • 18. พระมหาโยตะ ปยุตฺโต (ชัยวรมันกุล) บทที่ ๒ การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง / ๒๔  ลดลง อาจทําให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด กล้ามเนื้อในร่างกายอาจเกิดความเครียดได้ การจัดอาคารให้มี อากาศถ่ายเท ได้สะดวก จึงเป็นเรื่องจําเป็น โดยเฉพาะการปลูกต้นไม้ให้มากพอที่จะกรองก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ และฝุ่นละออง เพื่อให้สถานศึกษามีอากาศที่ดี อุณหภูมิเหมาะสมต่อการเรียน และการสอน การติด พัดลมดูดอากาศออกจากห้องเรียนจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้การถ่ายเทอากาศ เป็นไปได้มากขึ้น ๒.๒. การควบคุมเสียงรบกวน ห้องเรียนควรมีเสียงรบกวนไม่เกิน ๓๕ เดซิเบล ห้องประชุมเสียงไม่ควรเกิน ๓๐ เดซิเบล และห้องทํางานเสียงรบกวนไม่ควรเกิน ๕๐ เดซิเบล ถ้าดัง มากกว่านี้จะเกิดความรําคาญ ความเครียด อาจทําให้เกิดอาการปวดศีรษะ ขาดสมาธิในการทํางาน การใช้วัสดุดูดซับเสียงบริเวณผนังและเพดานห้องจะช่วยลดเสียงสะท้อน สถานศึกษาบางแห่ง ยอม จ่ายค่าติดเครื่องปรับอากาศเพื่อลดปัญหาเรื่องเสียงรบกวน แต่จะต้องจ่ายค่าไฟฟ้าสูงขึ้น ๒.๓. แสงสว่าง ระดับความสว่างหรือความเข้มของแสง เพื่อให้การอ่านหนังสือ การมองดูกระดานได้ชัดเจน มีการกําหนดความสว่างไว้เช่น การเขียนหนังสือต้องการความสว่าง ๑๔ ฟุตแรงเทียน ซึ่งเป็นหน่วยวัดความเข้มของแสงจากความสว่างของเทียนมาตรฐาน ๑ เล่ม ตกลง บน พื้นห่างจากเทียน ๑ ฟุต ดังจะได้แสดงความต้องการความสว่างบริเวณต่างๆ ดังนี้ - ห้องเรียน ห้องสมุด ความต้องการความสว่าง ๓๐-๗๐ ฟุตแรงเทียน - ห้องปฏิบัติการ ความต้องการความสว่าง ๑๐๐ ฟุตแรงเทียน - ห้องธุรการ ความต้องการความสว่าง ๓๐-๑๕๐ ฟุตแรงเทียน - ห้องคหกรรม ความต้องการความสว่าง ๑๕๐ ฟุตแรงเทียน - ห้องครัว ความต้องการความสว่าง ๕๐ ฟุตแรงเทียน    ความสว่างของห้องเรียนในปัจจุบัน ต้องการเครื่องปรับแสงได้ เช่น การสอนด้วยภาพสไลด์ การฉายวิดีโอ เครื่องฉายภาพ อาจต้องการลดความสว่างลงไป เพื่อให้ผู้เรียนได้ดูจอภาพได้ชัดเจนขึ้น ๒.๔. สี ในการใช้สีที่ใช้ในสถานศึกษามีผลกระทบที่สําคัญมากเพราะสีจะสร้าง ปฏิกิริยาต่อผู้เรียนในรูปแบบต่างๆ เช่น สีบางประเภทจะทําให้เกิดความสุข ความสดชื่น ความสงบ ความน่ากลัว สีสามารถกระตุ้นอารมณ์ของเด็กๆ ได้เป็นอย่างดี การพิจารณาในการใช้สีใน สถานศึกษาจึงเป็นเรื่องค่อนข้างสําคัญทีเดียว ไม่ควรใช้สีแก่จัดหรือเข้มจัดภายในห้องเรียน จะทําให้ เกิดความรู้สึกบีบรัด น่ารําคาญ และอาจรบกวนสายตา การใช้สีที่ตัดกัน จะเกิดแสงสะท้อนไม่เท่ากัน