SlideShare a Scribd company logo
1 of 19
Download to read offline
ชื่อโครงการวิจัย
ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
The Satisfaction of Students toward Academic Service Centre: Faculty of
Social Science Wat Raikhing, Royal Temple, Sampran, Nakhonpathom
 
 
โดย
พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล
การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากวัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ปีการศึกษา ๒๕๕๖
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๓
ก. ลักษณะโครงการ
โครงการวิจัยใหม่
ข. องค์ประกอบในการจัดทําโครงการวิจัย
๑. ผู้รับผิดชอบ
ที่ปรึกษาโครงการ
พระราชวิริยาลังการ
รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
พระวิสุทธิภัทรธาดา
ประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
ผศ. ประสิทธิ์ ทองอุ่น
อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ หน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง
ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน
อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC)
บางนา กรุงเทพฯ
ผู้ทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย
พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล
อาจารย์ประจําหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และอาจารย์
ประจําหลักสูตร ภาควิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๔
๒. ประเภทการวิจัย
การวิจัยเชิงปริมาณ
๓. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทําการวิจัย
การจัดการเชิงพุทธ/รัฐประศาสนศาสตร์
๔. คําสําคัญ (Keywords) ของโครงการวิจัย  
  ความพึงพอใจ/ นิสิตนักศึกษา/ อาคารสถานที่/ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
 
๕. ความสําคัญและที่มาของปัญหาที่ทําการวิจัย
จากวัตถุประสงค์ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่
จะผลิตบัณฑิตอย่างบูรณาการเพื่อรับใช้สังคมในมิติใหม่ทางการศึกษา จึงจําเป็นต้องให้บัณฑิต
ตระหนักรู้ตนเองและสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตาม
หลักพุทธธรรม1
ดังนั้น หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.
สามพราน จังหวัดนครปฐม อันหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช
วิทยาลัยจึงตั้งปณิธานที่จะมุ่งผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางพุทธศาสนา เป็นผู้ใฝ่
รู้ เป็นผู้ใฝ่คิด เป็นผู้มีปฎิปทาน่าเลื่อมใส เป็นผู้นําด้านจิตใจและปัญญา และ เป็นผู้มีศรัทธา
อุทิศตนเพื่อพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม2
 
จากปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ปี พ.ศ.
๒๕๔๙ เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และในปีพ.ศ. ๒๕๕๒
เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ3
ความทราบนั้น นอกจาก
บทบาทของผู้สอน ผู้เรียน แล้ว องค์ประกอบทางกายภาพทางอาคารสถานที่ได้มีการปรับปรุง
ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนการสอนดังกล่าว เพื่อรองรับระดับประกาศนียบัตร
หลักสูตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) และนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยฯทั้ง
๑
คู่มือนิสิตนักศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๖.(พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, ผศ.บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งที่1.
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม :
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕: ๑๕
๒
Ibid/เรื่องเดียวกัน: ๒๓
๓
Ibid/เรื่องเดียวกัน: ๒๑
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๕
สองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์
ประกอบด้วยทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดังนั้นการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษา
บรรพชิต และ นิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์ที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพรานจังหวัดนครปฐม จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนากายภาพ
ของหน่วยฯ
หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมมี
พันธกิจสําคัญ ๕ ด้านคือ (๑)เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้รอบด้าน มีคุณธรรมจริยธรรม มี
มนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผลเพื่อให้สามารถ
ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (๒) ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านพุทธศาสนาและ
ปรัชญา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้าง
เครือข่ายร่วมกับองค์กรและสถาบันต่างๆเพื่อผลิตบุคคลากรทางการวิจัยให้เป็นมาตรฐานสากล
(๓) เน้นบริการทางวิชาการทางพุทธศาสนาและปรัชญาแบบสหวิทยาการ รวมทั้งส่งเสริมการ
เรียนรู้และให้ความร่วมมืออันดีกับสังคม (๔) ส่งเสริมการศึกษาและทะนุบํารุงพระพุทธศาสนา
ศิลปวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการดํารงความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยการอยู่รวมกัน
อย่างมีเอกลักษณ์และมีศักดิ์ศรี เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ให้เกิด
ขึ้นกับตัวบุคคล องค์กรและสังคม และ (๕)ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ และการ
บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรให้ก้าวเท่าทันยุคสมัยโดยยึดหลักการบริหารจัดการ
อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักพุทธธรรมและหลักธรรมาภิบาล4
 
กว่า ๘ ปีที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายบริการ เชื่อว่ามีการใช้ประโยชน์ จากอาคาร
และสถานที่ของหน่วยฯ เกี่ยวกับอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง
คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา สํานักหอสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์
คอมพิวเตอร์บริการ โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้องประชุมและห้องสัมมนา
ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบ
สาธารณูปโภค และการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ ทั้งสภาพอาคารและสถานที่ของ
หน่วยฯ น่าจะเป็นไปตามแผนงาน แต่นิสิตนักศึกษาบรรพชิตและนิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์เป็น
ผู้ใช้บริการอาคารและสถานที่จริงหาใช่ฝ่ ายบริหารและฝ่ ายบริการไม่ จึงจําเป็นต้อง
ทําการศึกษาวิจัยความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาว่ามีการใช้ประโยชน์
จากอาคารและสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และ สภาพอาคารและสถานที่มีความ
๔
Ibid/เรื่องเดียวกัน:๒๓ - ๒๔
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๖
พร้อมและสมบูรณ์ทุกด้านจริงหรือไม่ และระดับความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาบรรพชิต
และ นิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์อยู่ในระดับใด
ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้
อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.
สามพราน จังหวัดนครปฐม ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับ
สภาพและความต้องการของทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์ และสนับสนุน
หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าใน
อนาคตตามพระวิสัยทัศน์แห่งพุทธองค์ที่ทรงประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา
๖. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
๖.๑. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัด
ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๖.๒. เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๖.๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย
วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๗. ขอบเขตการวิจัย
ขอบเขตด้านประชากร 
๗.๑ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตรการ
บริหารกิจการคณะสงฆ์(ป.บส.) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัด
ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมโดยแยกเป็นสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่ม
การเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์
ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และ
สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ โดยใช้จํานวนประชากรทั้งหมดจํานวน ๒๕๒ รูป/คน (ที่มา: งาน
ทะเบียนและวัดผล ๑ กันยายน ๒๕๕๖)  
๗.๒ ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมถึงเรื่องความพึงพอใจต่อการ
ใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม ได้แก่ สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่
และความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่ ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๗
๗.๒.๑) ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลพื้นฐานของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ เพศ ชั้นปี
คณะและสาขาวิชาที่สังกัดสภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่
และ 
๗.๒.๒) ตัวแปรตาม คือ ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่หน่วย
วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม 
 
๘. นิยามศัพท์เฉพาะ
๘.๑.   ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกส่วนบุคคลในเชิงบวกของนิสิตนักศึกษาที่
มีต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
(พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ. นครปฐม ความรู้สึกพึงพอใจจะมีมากหรือน้อยนั้น จะ
ขึ้นอยู่กับความต้องการของบุคคลและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการศึกษานี้
หมายถึงความพึงพอใจต่อแผนผังและแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ รวม ๑๙ รายการ
สํารวจ และ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพรานจังหวัดนครปฐม รวม ๕๙ รายการ
สํารวจจากทั้งเก้าด้านปัจจัย
๘.๒. อาคาร หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อการ
เรียนรู้ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ.
นครปฐม ประกอบด้วย อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
บรมราชกุมารี
๘.๓. สถานที่ หมายถึง สิ่งที่จัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน
ตามหลักสูตร และมาตรฐานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษารวมถึงมุ่งสนองความสะดวกและ
ความต้องการของนิสิตนักศึกษาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
๙.๑. ได้ข้อมูลพื้นฐานของการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
๙.๒. ทราบความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๘
๙.๓. นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและ
สถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน
จ. นครปฐม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งาน
๑๐. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย
บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้
ทําการศึกษาค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบใน
การศึกษาดังนี้
๑). หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ ๒). ความสําคัญของการบริหารงานอาคาร
สถานที่ ๓). การจัดการอาคารสถานศึกษา ๔). การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ๕). การ
บํารุงรักษาอาคารสถานที่ และ ๖). งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
๑๑. ทฤษฎี และ สมมุติฐาน
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการ
ของทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์และสนับสนุนหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
ที่เปิดสอนในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าในอนาคตตามพระวิสัยทัศน์
แห่งพุทธองค์ที่ทรงประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา มจร.วัดไร่ขิง โมเดล จึงให้
ความสําคัญ กับอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และ
ห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ โรง
อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้องประชุมและห้องสัมมนา ห้องกิจกรรม สถานออก
กําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค และการรักษา
ความปลอดภัยภายในหน่วยฯอันเป็นองค์ประกอบทางกายภาพสําคัญเหมาะสําหรับสร้างธรรม
ทายาทตามจิตศรัทธาในองค์พระศาสดา
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๙
๑๒. กรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย
๑๓. วิธีดําเนินการวิจัย
การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ
โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๑๓.๑ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ.
นครปฐม ทั้งสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-
อาทิตย์คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และ
หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์(ป.บส.)ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ
วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ จํานวน ๒๕๒ รูป/คน โดยจําแนกเป็น บรรพชิตและคฤหัสถ์ (ที่มา :
งานทะเบียนและวัดผล ๑ กันยายน ๒๕๕๖) ดังแสดงในรายละเอียดต่อไปนี้
ความพึงพอใจต่อการใช้
อาคารและสถานที่ของ
หน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สาม
พราน จ. นครปฐม
ก. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง
 สถานภาพ
 เพศ
 ชั้นปี
 สาขาวิชาที่สังกัด
ข. องค์ประกอบทางกายภาพของหน่วยฯ
 อาคารเรียน อาคารประกอบ
 ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ
 บริเวณสถานศึกษา
 ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ และศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
 โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
 ห้องประชุมและห้องสัมมนา
 ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ
 การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค
 การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๐
การจัดสัดส่วนตามกลุ่มการเรียน
ลําดับ คณะ จํานวนประชากรการวิจัยทั้งหมด
๑ กลุ่มการเรียนภาคปกติ ๑๑๒
๒ กลุ่มการเรียนภาคเสาร์-อาทิตย์ ๑๔๐
รวมจํานวนนักศึกษาทั้งสิ้น ๒๕๒
๑๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
๑. การสร้างเครื่องมือและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ
๑.๑ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น โดยศึกษาจากทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่
เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ
๑.๒ สร้างเครื่องมือโดยการศึกษาหลักการสร้างแบบสอบถามและ
แบบตรวจรายการโดยกําหนดประเด็นและขอบเขตคําถามด้วยการจัดหมวดหมู่ให้สอดคล้อง
กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย
๑.๓ ทําการ Try out โดยแจกแบบสอบถามกับนิสิตนักศึกษาหน่วย
วิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมที่
จํานวน ๒๕๒ ชุด ของแบบสอบถาม
๑.๔ ปรับปรุงเครื่องมือ แล้วนําไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูล
๒. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน
ได้แก่
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ ชั้นปี สาขาวิชา
และคณะที่สังกัด ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจรายการ (Check List)
ส่วนที่ ๒ สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคาร
และสถานที่ ใช้คําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๓ ระดับ ได้แก่ สภาพ
สมบูรณ์ใช้การได้ดี สภาพไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้และควรปรับปรุงแก้ไข การใช้ประโยชน์
มี ๓ ระดับ คือ การใช้ประโยชน์ในระดับมาก น้อย และไม่มีการใช้ประโยชน์ 
ส่วนที่ ๓ ความพึงพอใจในการใช้อาคารสถานที่ ใช้คําถามแบบ
มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะ ใช้แบบเติมคํา ดังตัวอย่างข้างล่างนี้ 
 
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๑
ตัวอย่างแบบสอบถาม 
ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม
คําชี้แจง - โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด  
๑. สถานภาพ ( ) บรรพชิต ( ) คฤหัสถ์
๒. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง
๓.ชั้นปี ( ) ชั้นปีที่ ๑ ( ) ชั้นปีที่ ๒ ( ) ชั้นปีที่ ๓
( ) หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.)
๔. สาขาวิชาที่สังกัด ( ) การจัดการเชิงพุทธ ( ) รัฐประศาสนศาสตร์
ส่วนที่ ๒ แผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่
คําชี้แจง-โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด 
รายการ
การใช้ประโยชน์
สภาพการใช้
งานจริง
มาก
น้อย
ไม่ใช้
ใช้การได้ดี
พอใช้
ควรปรับปรุง
๑.ผังบริเวณสถานศึกษา
๒.สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา
๓.อาคารเรียน
๔.ห้องเรียน
๕.สํานักงานให้บริการนักศึกษา เช่น สํานักทะเบียน การเงิน
๖.ห้องประชุมและห้องสัมมนา
๗.ห้องสมุด
๘.ห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
๙.ห้องกิจกรรมหรือบริเวณสําหรับการทํากิจกรรมนิสิตนักศึกษา
๑๐.ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน
๑๑.ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา
๑๒.ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล
๑๓.โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม
๑๔.ห้องนํ้าห้องส้วม
๑๕.สวนหย่อมสถานพักผ่อน/พื้นที่สีเขียว
๑๖.ที่จอดรถ
๑๘.อื่นๆ (ระบุ)……………………
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๒
ส่วนที่ ๓ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย
วิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.
สามพราน จ. นครปฐม
คําชี้แจง โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยที่
๕ หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด ๔ หมายถึง พึงพอใจมาก ๓ หมายถึง พึงพอใจปานกลาง
๒ หมายถึง พึงพอใจน้อย ๑ หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด 
รายการ 
ระดับความพึงพอใจ
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
ก. อาคารเรียน
๑. การจัดทําแผนผังอาคาร
๒. การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร
๓. การจัดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในอาคารเรียน
๔. ความสะดวกในการใช้ประโยชน์
๕. ห้องนํ้าห้องส้วมสําหรับนักศึกษา
ข. ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ
๖. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
๗. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง
๘.ห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา
๙.โต๊ะเก้าอี้มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ
๑๐. ห้องเรียนมีตารางการใช้อย่างชัดเจน
๑๑. บรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้
๑๒. สื่ออุปกรณ์ที่สะดวกต่อการเรียนการสอน
๑๓. การจัดโต๊ะหมู่บูชาเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรม
ค. บริเวณสถานศึกษา
๑๔. การจัดทําแผนที่ตั้งบริเวณสถานศึกษา
๑๕. สถานที่พักผ่อน
๑๖. พื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์
๑๗. เครื่องหมายแสดงการจราจรภายในสถานศึกษา
๑๘. การบํารุงรักษาพื้นที่และบริเวณสวนและสนามให้ร่มรื่น
๑๙. การปรับปรุงภูมิทัศน์
ง. ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ
๒๐. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๓
ส่วนที่ ๓ (ต่อ)
รายการ 
ระดับความพึงพอใจ
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
๒๑. ความสะดวกในการค้นหาหนังสือและสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด
๒๒. ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด
๒๓. ความทันสมัยของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด
๒๔. จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุด
๒๕. การจัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุด
๒๖. ห้องสมุดมีความสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย
๒๗. มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา
๒๘. ความเพียงพอของจํานวนคอมพิวเตอร์
๒๙. ความรวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ต
๓๐.ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์
จ. โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร
๓๑. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
๓๒. การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด
๓๓. การจัดโต๊ะ เก้าอี้ภายในโรงอาหาร
ฉ. ห้องประชุมและห้องสัมมนา
๓๔. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
๓๕.ห้องประชุมและห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับ
การจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
๓๖.ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา
๓๗. ห้องประชุมและห้องสัมมนามีความสะอาดเป็นระเบียบ
๓๘. สิ่งอํานวยความสะดวกมีประสิทธิภาพมีความทันสมัย และมีจํานวน เพียงพอต่อ
การใช้งาน
๓๙. ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์
๔๐. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม
ช. ห้องกิจกรรม
๔๑. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
๔๒. การจัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งอํานวยความสะดวก
๔๓. ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และการใช้บริการ
๔๔. การจัดบรรยากาศภายในห้องที่เอื้อต่อการใช้บริการ
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๔
ส่วนที่ ๓ (ต่อ)
รายการ 
ระดับความพึงพอใจ
๕ ๔ ๓ ๒ ๑
๔๕. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง
ซ. การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ
๔๖. การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด
๔๗. การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนในเวลาว่าง
๔๘. การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ
๔๙. ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน 
๕๐. การจัดการไฟฟ้าภายในอาคาร เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม
๕๑. การจัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา
๕๒. การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์บอร์ด
ประชาสัมพันธ์
ฐ. การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ
๕๓. มีระบบป้ องกันเพลิงไหม้และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ อย่างเพียงพอ
๕๔. การให้บริการของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
๕๕. ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยในหน่วยวิทยบริการสร้างความมั่นใจ ใน
ความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา
ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะ
สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม
ปัญหา อุปสรรค
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะอื่นๆ
...........................................................................................................................................................................
...........................................................................................................................................................................
๓. การเก็บรวมรวมข้อมูล
ผู้วิจัยจะขอความร่วมมือจากหน่วยวิทยบริการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
จากนิสิตนักศึกษา ผู้วิจัยทําการเก็บข้อมูลเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเที่ยงตรง ซึ่งผู้วิจัยได้
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๕
ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จากนั้นตรวจสอบความถูกต้อง
ครบถ้วนของข้อมูลเพื่อนําไปวิเคราะห์ และแปรผลต่อไป
๔. การวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม มาทําการ
วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิจัยดังนี้
๑. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ข้อมูลพื้นฐานของจํานวน
ประชากรทั้งหมด สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และ
ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage)
ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้
เป็นสถิติเบื้องต้นในการอภิปรายผล 
๒. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้เป็นสถิติในการทดสอบ
ความแตกต่างของเพศนักศึกษาโดยใช้สถิติ t-test และใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
(One – way Analysis of Variance) สําหรับชั้นปีและสาขาวิชาที่สังกัด หลังจากนั้นทําการ
ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Square Difference (LSD). 
๓. เกณฑ์การให้คะแนน 
   ก. สภาพการใช้อาคารและสถานที่ 
สมบูรณ์ใช้การได้ดี คะแนนเท่ากับ  ๒
ไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้ คะแนนเท่ากับ  ๑
ควรปรับปรุงแก้ไข คะแนนเท่ากับ  ๐
ข. การแปรผลสภาพการใช้อาคารและสถานที่5
ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑-๒.๐๐ = สภาพการใช้งานสมบูรณ์ใช้การได้ดี
ค่าเฉลี่ย ๐.๕๐-๑.๕๐ = สภาพการใช้งานไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้
ค่าเฉลี่ย ๐.๐๐-๐.๔๙ = สภาพการใช้งานควรปรับปรุงแก้ไข
ค. เกณฑ์การให้คะแนนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่
ใช้ประโยชน์ในระดับมาก คะแนนเท่ากับ  ๒
ใช้ประโยชน์ในระดับน้อย คะแนนเท่ากับ  ๑
๕
สมบูรณ์ สุริยวงศ์และคณะ,( ๒๕๔๔).ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ศูนย์
ส่งเสริมวิชาการ.
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๖
ไม่มีการใช้ประโยชน์ คะแนนเท่ากับ  ๐
ง. การแปรผลการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่6
ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑-๒.๐๐ = ระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย ๐.๕๐-๑.๕๐ = ระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย ๐.๐๐-๐.๔๙ = ไม่มีการใช้ประโยชน์ 
จ. เกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจ
พึงพอใจมากที่สุด คะแนนเท่ากับ  ๕
พึงพอใจมาก คะแนนเท่ากับ  ๔ 
พึงพอใจปานกลาง คะแนนเท่ากับ  ๓ 
พึงพอใจน้อย คะแนนเท่ากับ  ๒
พึงพอใจน้อยที่สุด คะแนนเท่ากับ  ๑
 
ฉ. การแปรผลความพึงพอใจ7
ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ – ๕.๐๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด
ค่าเฉลี่ย ๓.๕๑ – ๔.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก
ค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ – ๓.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง
ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑ – ๒.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย
ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ – ๑.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด
๑๔. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย 
พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, ผศ. (๒๕๕๖). คู่มือนิสิต นักศึกษา พุทธศักราช ๒๕๕๖.
พิมพ์ครั้งที่1. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง
อ.สามพราน จ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  
สมบูรณ์ สุริยวงศ์และคณะ, ( ๒๕๔๔).ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ:
สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
๖
Ibid/เรื่องเดียวกัน
๗
Ibid/เรื่องเดียวกัน
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๗
๑๕. งบประมาณของโครงการวิจัย
๑) หมวดค่าตอบแทน
- ค่าตอบแทนนักวิจัย จํานวน ๑ รูป..............................................................
- ค่าจ้างผู้ช่วยชั่วคราว ๑ คน .......................................................................
- บาท
- บาท
๒) หมวดค่าใช้จ่าย
( ๒.๑) การเตรียมการ
- ค่าจัดทําร่างแบบสอบถาม / แบบสังเกตประมาณ .......................
- ค่าจัดทําแก้ไขแบบสอบถามฉบับจริงประมาณ ..........................
- ค่าใช้จ่ายนักวิจัยในการทดลองเครื่องมือ ....................................
๑,๒๐๐ บาท
๑,๒๐๐ บาท
๒,๕๐๐ บาท
(๒.๒) การเก็บรวบรวมข้อมูล
- ค่าจัดทําแบบสอบถาม / แบบสังเกตการณ์ จํานวน ๒๕๒ ชุด ๆ
ละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ...................................................................
- ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลและการสังเกตพฤติกรรมการใช้
อาคารสถานที่- ค่าเบี้ยเลี้ยงจํานวน ๒ รูป /คน ๕ วัน ๆ ละ
๒๐๐ บาท.......................................................................................
๒,๕๒๐ บาท
๑,๐๐๐ บาท
(๒.๓) วิเคราะห์ข้อมูล
- ค่าจ้างเหมาลงรหัสและบันทึกข้อมูลจํานวน ๒๕๒ ชุด ๆ ละ ๕
บาท เป็นเงิน .................................................................................
- ค่าวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเงิน ........................................................
๑,๒๕๐ บาท
๑,๒๕๐ บาท
(๒.๔) การจัดทํารายงานวิจัย
- ค่าจ้างพิมพ์รายงานความก้าวหน้า ๓ ครั้ง จํานวน ๑๐๐ หน้า ๆ
ละ ๑ บาท เป็นเงิน ........................................................................
- จัดทําร่างรายงานการวิจัย จํานวน ๒๕๐ หน้า เป็นเงิน .............
- ค่าจัดทําแก้ไขรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตามข้อเสนอของ
คณะกรรมการ................................................................................
- ค่าจัดทํารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ๒๐ เล่มๆละ ๓๕๐ บาท
เป็นเงิน ..........................................................................................
๓๐๐ บาท
๒๕๐ บาท
๒๕๐ บาท
๗,๐๐๐ บาท
๓.) หมวดค่าวัสดุ
- วัสดุสํานักงาน .......................................................................................
- ค่าถ่ายเอกสาร ...........................................................................................
๕๒๐ บาท
๕๐๐ บาท
รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๐,๐๐๐บาท
๑๖. ระยะเวลาที่ทําการวิจัย
  ๕ เดือน นับจากวันเสนอโครงการจัดทําวิจัย
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๘
แผนปฏิบัติการวิจัยโครงสร้างเป็นรายเดือนดังรายละเอียดต่อไปนี้
๑) เดือนที่ ๑ นับจากวันที่เสนอโครงการ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๘
พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ดําเนินการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและวางแผนการวิจัย
กําหนดตัวแปรเพื่อสร้างเครื่องมือ
๒) เดือนที่ ๒ ถึงเดือนที่ ๓ นับจากวันที่ ๙ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗
ดําเนินการสร้างเครื่องมือ ทดลองใช้ ปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูล
ภาคสนาม
๓) เดือนที่ ๔ ถึงเดือนที่ ๕ นับจากวันที่ ๑๐ มกราคม ถึงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗
ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แปรผลข้อมูล และจัดทํารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์
๑๗. ผลสําเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ 
สามารถค้นพบองค์ความรู้ที่เป็นเครื่องมือสําหรับการบริหารจัดการอาคารและสถานที่
ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระ
อารามหลวง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยนําองค์ความรู้ที่ค้นพบมาบริหารจัดการเพื่อ
พัฒนาให้ได้ตามกรอบมาตรฐานสถานการศึกษาระดับอุดมศึกษา และยกฐานะหน่วยวิทย
บริการขึ้นสู่ระดับมหาวิทยาลัยในอนาคตสืบต่อไป
ผู้เสนอโครงการ
( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล )
ผู้เสนอโครงวิจัยและผู้วิจัย
หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๙
๑๘. คํารับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบและข้อกําหนดในการรับทุนวิจัย
ขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยทุกประการ
( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล )
ผู้จัดทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
๑๙. คํารับรองของผู้รับรอง
( พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์)
ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร.
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
๒๐. คําอนุมัติผู้อนุมัติ  
 
(พระราชวิริยาลังการ) 
เจ้าอาวาส
รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม
๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง
พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๖๐
ประวัติผู้ทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย
ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) : พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล
ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) : Phramaha Yota Chaiworamankul
หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน : ๓-๓๑๐๓-๐๐๕๔๑-๔๘-๓
ตําแหน่งปัจจุบัน: อาจารย์ประจําหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และอาจารย์ประจําหลักสูตร ภาควิชา
รัฐศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
หน่วยงานและสถานที่อยู่ : หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา
ลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ๕๑/๒ เทศบาลเมืองตําบลไร่ขิง อําเภอสาม
พราน จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์๗๓๒๑๐
โทร.๐๘๒ ๐๕๒๙๗๙๐ Email : Yota_b26@hotmail.com & Facebook
ประวัติการศึกษา
คุณวุฒิ พธบ. (ภาษาอังกฤษ) B.A. Major in English
พธม. (พุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ) (M.A.) International
Program Major in Buddhist Studies
Doctorate Candidate – Assumption University (ABAC) Graduate
School of Philosophy and Religion Studies, Major in Philosophy
(Ph.D.)
สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ  
ภาษาอังกฤษ 
ภาษาเขมร  
______________________ 

More Related Content

Viewers also liked

การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4Yota Bhikkhu
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลYota Bhikkhu
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Yota Bhikkhu
 
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯYota Bhikkhu
 
7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and genderYota Bhikkhu
 
Course syllabus english for management
Course syllabus english for managementCourse syllabus english for management
Course syllabus english for managementYota Bhikkhu
 
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาYota Bhikkhu
 
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์Yota Bhikkhu
 
Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Yota Bhikkhu
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5Yota Bhikkhu
 
การฟัง 4
การฟัง 4การฟัง 4
การฟัง 4Yota Bhikkhu
 
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000Yota Bhikkhu
 

Viewers also liked (14)

Introduction 6
Introduction 6Introduction 6
Introduction 6
 
การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4การฟังอย่างตั้งใจ 4
การฟังอย่างตั้งใจ 4
 
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาลพุทธศาสนาหลังพุทธกาล
พุทธศาสนาหลังพุทธกาล
 
Advance english 1[1]
Advance english 1[1]Advance english 1[1]
Advance english 1[1]
 
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
0.ปก คัดย่อ-กิติกรรมฯ-สารบัญ ฯลฯ
 
7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender7. t test ตัวแปร status and gender
7. t test ตัวแปร status and gender
 
Course syllabus english for management
Course syllabus english for managementCourse syllabus english for management
Course syllabus english for management
 
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนาประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
ประวัติความสำคัญของพระพุทธศาสนา
 
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์รหัสวิชา 407 313  ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
รหัสวิชา 407 313 ภาษาอังกฤษสำหรับนักรัฐศาสตร์
 
Advance english 3[1]
Advance english 3[1]Advance english 3[1]
Advance english 3[1]
 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพูด 5
 
การฟัง 4
การฟัง 4การฟัง 4
การฟัง 4
 
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
พระวินัย แนวคิดเกี่ยวกับวินัย000
 
Globalisation 8
Globalisation 8Globalisation 8
Globalisation 8
 

Similar to 8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)

2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์Yota Bhikkhu
 
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝัน
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝันแก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝัน
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝันPrawwe Papasson
 
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...dnavaroj
 
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณี
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณีวาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณี
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณีplai_surapon
 
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...Mayko Chan
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1nakaenoi
 
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิตmahaoath พระมหาโอ๊ท
 
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสChu Ching
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศPa'rig Prig
 
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์rpg26
 
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์rpg26
 
เผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานเผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานNunnaphat Chadajit
 
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕ครูต๋อง ฉึก ฉึก
 
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงานแบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงานSaranpattara Jace
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra speerapit
 

Similar to 8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ) (20)

2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
2554 ค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ชมรมอีสาน พระนครเหนือ
 
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยความพึงพอใจ ฉบับสมบูรณ์
 
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝัน
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝันแก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝัน
แก้ไขชื่อโครงการเป็นแต้มสีเติมฝัน
 
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
รายละเอียดโครงการ(ค่ายแสงเทียน 24)
 
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา  โรงเรีย...
บทความ บทความ การเปลี่ยนแปลงทักษะของนักเรียนในโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา โรงเรีย...
 
Teachercom c
Teachercom cTeachercom c
Teachercom c
 
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณี
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณีวาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณี
วาสสาร(พิกุลสาร)โรงเรียนปราจีนกัลยาณี
 
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
ทักษะพนฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมศิลปสรางสรรคจากวั...
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1
 
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต
2553 โครงการค่ายเปิดแสงแต้มสี ม รังสิต
 
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาสชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
ชื่อโครงการจัดทำโครงการคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาสร้างเสริมปัญญาให้เด็กด้อยโอกาส
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์
วิจัยในชั้นเรียนครูชัยวัฒน์
 
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์
การไตร่ตรองของครูชัยวัฒน์
 
เผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงานเผยแพร่ผลงาน
เผยแพร่ผลงาน
 
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕
โครงการโรงเรียน และนักเรียน ดีเด่น ด้านคุณธรรม จริยธรรม ปี ๕๕
 
Organization intelligence2
Organization intelligence2Organization intelligence2
Organization intelligence2
 
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงานแบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
แบบฟอร์มเขียนโครงร่างโครงงาน
 
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยนโครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
โครงการพ ฒนาผ _เร_ยน
 
Supattra s
Supattra sSupattra s
Supattra s
 

8. โครงงานวิจัยความพึงพอใจ มจร.ไร่ขิง (ตัวที่ขออนุมัติ)

  • 1. ชื่อโครงการวิจัย ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม The Satisfaction of Students toward Academic Service Centre: Faculty of Social Science Wat Raikhing, Royal Temple, Sampran, Nakhonpathom     โดย พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากวัดไร่ขิง พระอารามหลวง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา ๒๕๕๖
  • 2. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๓ ก. ลักษณะโครงการ โครงการวิจัยใหม่ ข. องค์ประกอบในการจัดทําโครงการวิจัย ๑. ผู้รับผิดชอบ ที่ปรึกษาโครงการ พระราชวิริยาลังการ รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง พระวิสุทธิภัทรธาดา ประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ผศ. ประสิทธิ์ ทองอุ่น อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ หน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง ดร. ประกอบ ไชยบุญทัน อาจารย์ประจําผู้ชํานาญการพิเศษ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) บางนา กรุงเทพฯ ผู้ทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล อาจารย์ประจําหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหา จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และอาจารย์ ประจําหลักสูตร ภาควิชารัฐศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ
  • 3. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๔ ๒. ประเภทการวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณ ๓. สาขาวิชาการและกลุ่มวิชาที่ทําการวิจัย การจัดการเชิงพุทธ/รัฐประศาสนศาสตร์ ๔. คําสําคัญ (Keywords) ของโครงการวิจัย     ความพึงพอใจ/ นิสิตนักศึกษา/ อาคารสถานที่/ หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม   ๕. ความสําคัญและที่มาของปัญหาที่ทําการวิจัย จากวัตถุประสงค์ของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ จะผลิตบัณฑิตอย่างบูรณาการเพื่อรับใช้สังคมในมิติใหม่ทางการศึกษา จึงจําเป็นต้องให้บัณฑิต ตระหนักรู้ตนเองและสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีศักยภาพเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมตาม หลักพุทธธรรม1 ดังนั้น หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จังหวัดนครปฐม อันหนึ่งของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราช วิทยาลัยจึงตั้งปณิธานที่จะมุ่งผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีความเป็นเลิศทางพุทธศาสนา เป็นผู้ใฝ่ รู้ เป็นผู้ใฝ่คิด เป็นผู้มีปฎิปทาน่าเลื่อมใส เป็นผู้นําด้านจิตใจและปัญญา และ เป็นผู้มีศรัทธา อุทิศตนเพื่อพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม2   จากปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ที่เปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบริหารกิจการคณะสงฆ์ ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และในปีพ.ศ. ๒๕๕๒ เปิดหลักสูตรพุทธศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ3 ความทราบนั้น นอกจาก บทบาทของผู้สอน ผู้เรียน แล้ว องค์ประกอบทางกายภาพทางอาคารสถานที่ได้มีการปรับปรุง ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับการเรียนการสอนดังกล่าว เพื่อรองรับระดับประกาศนียบัตร หลักสูตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) และนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยฯทั้ง ๑ คู่มือนิสิตนักศึกษาพุทธศักราช ๒๕๕๖.(พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, ผศ.บรรณาธิการ) พิมพ์ครั้งที่1. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๕: ๑๕ ๒ Ibid/เรื่องเดียวกัน: ๒๓ ๓ Ibid/เรื่องเดียวกัน: ๒๑
  • 4. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๕ สองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประกอบด้วยทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ดังนั้นการศึกษาความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษา บรรพชิต และ นิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์ที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพรานจังหวัดนครปฐม จึงมีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนากายภาพ ของหน่วยฯ หน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมมี พันธกิจสําคัญ ๕ ด้านคือ (๑)เน้นการผลิตบัณฑิตให้มีความรู้รอบด้าน มีคุณธรรมจริยธรรม มี มนุษยสัมพันธ์ มีความรับผิดชอบ สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุมีผลเพื่อให้สามารถ ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  (๒) ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าวิจัยด้านพุทธศาสนาและ ปรัชญา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาตัวบุคคล สังคมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้าง เครือข่ายร่วมกับองค์กรและสถาบันต่างๆเพื่อผลิตบุคคลากรทางการวิจัยให้เป็นมาตรฐานสากล (๓) เน้นบริการทางวิชาการทางพุทธศาสนาและปรัชญาแบบสหวิทยาการ รวมทั้งส่งเสริมการ เรียนรู้และให้ความร่วมมืออันดีกับสังคม (๔) ส่งเสริมการศึกษาและทะนุบํารุงพระพุทธศาสนา ศิลปวัฒนธรรมการมีส่วนร่วมในการดํารงความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยการอยู่รวมกัน อย่างมีเอกลักษณ์และมีศักดิ์ศรี เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ให้เกิด ขึ้นกับตัวบุคคล องค์กรและสังคม และ (๕)ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ และการ บริหารเพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลากรให้ก้าวเท่าทันยุคสมัยโดยยึดหลักการบริหารจัดการ อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักพุทธธรรมและหลักธรรมาภิบาล4   กว่า ๘ ปีที่ผ่านมา ทั้งฝ่ายบริหารและฝ่ายบริการ เชื่อว่ามีการใช้ประโยชน์ จากอาคาร และสถานที่ของหน่วยฯ เกี่ยวกับอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้อง คอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา สํานักหอสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์ คอมพิวเตอร์บริการ โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้องประชุมและห้องสัมมนา ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบ สาธารณูปโภค และการรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ ทั้งสภาพอาคารและสถานที่ของ หน่วยฯ น่าจะเป็นไปตามแผนงาน แต่นิสิตนักศึกษาบรรพชิตและนิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์เป็น ผู้ใช้บริการอาคารและสถานที่จริงหาใช่ฝ่ ายบริหารและฝ่ ายบริการไม่ จึงจําเป็นต้อง ทําการศึกษาวิจัยความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาว่ามีการใช้ประโยชน์ จากอาคารและสถานที่อย่างมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ และ สภาพอาคารและสถานที่มีความ ๔ Ibid/เรื่องเดียวกัน:๒๓ - ๒๔
  • 5. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๖ พร้อมและสมบูรณ์ทุกด้านจริงหรือไม่ และระดับความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาบรรพชิต และ นิสิตนักศึกษาคฤหัสถ์อยู่ในระดับใด ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้ อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จังหวัดนครปฐม ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานเพื่อให้สอดคล้องกับ สภาพและความต้องการของทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์ และสนับสนุน หลักสูตรระดับอุดมศึกษาที่เปิดสอนในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าใน อนาคตตามพระวิสัยทัศน์แห่งพุทธองค์ที่ทรงประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา ๖. วัตถุประสงค์ของการวิจัย ๖.๑. เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัด ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๖.๒. เพื่อศึกษาสภาพการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๖.๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๗. ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านประชากร  ๗.๑ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรหลักสูตรการ บริหารกิจการคณะสงฆ์(ป.บส.) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีของหน่วยวิทยบริการ มจร. วัด ไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐมโดยแยกเป็นสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่ม การเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์-อาทิตย์ ประกอบด้วยบรรพชิตและคฤหัสถ์ ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ โดยใช้จํานวนประชากรทั้งหมดจํานวน ๒๕๒ รูป/คน (ที่มา: งาน ทะเบียนและวัดผล ๑ กันยายน ๒๕๕๖)   ๗.๒ ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้ครอบคลุมถึงเรื่องความพึงพอใจต่อการ ใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทยบริการ วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม ได้แก่ สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่ ซึ่งตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 
  • 6. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๗ ๗.๒.๑) ตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลพื้นฐานของนิสิตนักศึกษา ได้แก่ เพศ ชั้นปี คณะและสาขาวิชาที่สังกัดสภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และ  ๗.๒.๒) ตัวแปรตาม คือ ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่หน่วย วิทยบริการ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม    ๘. นิยามศัพท์เฉพาะ ๘.๑.   ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกส่วนบุคคลในเชิงบวกของนิสิตนักศึกษาที่ มีต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนักศึกษาหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ. นครปฐม ความรู้สึกพึงพอใจจะมีมากหรือน้อยนั้น จะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของบุคคลและปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการศึกษานี้ หมายถึงความพึงพอใจต่อแผนผังและแผนการใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ รวม ๑๙ รายการ สํารวจ และ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพรานจังหวัดนครปฐม รวม ๕๙ รายการ สํารวจจากทั้งเก้าด้านปัจจัย ๘.๒. อาคาร หมายถึง อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ใช้ในการเรียนการสอน และเพื่อการ เรียนรู้ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง) อ.สามพราน จ. นครปฐม ประกอบด้วย อาคารหอสมุดประชาชนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา บรมราชกุมารี ๘.๓. สถานที่ หมายถึง สิ่งที่จัดทําขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน ตามหลักสูตร และมาตรฐานสถานศึกษาระดับอุดมศึกษารวมถึงมุ่งสนองความสะดวกและ ความต้องการของนิสิตนักศึกษาในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๙. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ๙.๑. ได้ข้อมูลพื้นฐานของการใช้ประโยชน์ของอาคารและสถานที่ของหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ๙.๒. ทราบความพึงพอใจในการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม
  • 7. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๘ ๙.๓. นําข้อมูลที่ได้มาใช้เป็นแนวทางปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการใช้อาคารและ สถานที่ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งาน ๑๐. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเรื่องความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วยวิทย บริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ผู้ศึกษาได้ ทําการศึกษาค้นคว้าเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกรอบใน การศึกษาดังนี้ ๑). หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ ๒). ความสําคัญของการบริหารงานอาคาร สถานที่ ๓). การจัดการอาคารสถานศึกษา ๔). การใช้ประโยชน์อาคารสถานที่ ๕). การ บํารุงรักษาอาคารสถานที่ และ ๖). งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ๑๑. ทฤษฎี และ สมมุติฐาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อการใช้งานให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการ ของทายาททางธรรมและทายาททางโลกแห่งพุทธองค์และสนับสนุนหลักสูตรระดับอุดมศึกษา ที่เปิดสอนในปัจจุบันและหลักสูตรอื่นที่จําเป็นและก้าวไกลกว่าในอนาคตตามพระวิสัยทัศน์ แห่งพุทธองค์ที่ทรงประจักษ์แสดงไว้เมื่อ ๒, ๕๕๖ ปีที่ผ่านมา มจร.วัดไร่ขิง โมเดล จึงให้ ความสําคัญ กับอาคารเรียน อาคารประกอบ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และ ห้องบริการต่างๆบริเวณสถานศึกษา ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ ศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ โรง อาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ห้องประชุมและห้องสัมมนา ห้องกิจกรรม สถานออก กําลังกาย และนันทนาการ การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค และการรักษา ความปลอดภัยภายในหน่วยฯอันเป็นองค์ประกอบทางกายภาพสําคัญเหมาะสําหรับสร้างธรรม ทายาทตามจิตศรัทธาในองค์พระศาสดา
  • 8. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๔๙ ๑๒. กรอบแนวความคิดของโครงการวิจัย ๑๓. วิธีดําเนินการวิจัย การศึกษาเรื่อง ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ ๑๓.๑ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ คือ นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ของหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม ทั้งสองกลุ่มการเรียน คือ กลุ่มการเรียนปกติ และกลุ่มการเรียนภาคสมทบเสาร์- อาทิตย์คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และ หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์(ป.บส.)ประจําปีการศึกษา ๒๕๕๖ ณ วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๖ จํานวน ๒๕๒ รูป/คน โดยจําแนกเป็น บรรพชิตและคฤหัสถ์ (ที่มา : งานทะเบียนและวัดผล ๑ กันยายน ๒๕๕๖) ดังแสดงในรายละเอียดต่อไปนี้ ความพึงพอใจต่อการใช้ อาคารและสถานที่ของ หน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สาม พราน จ. นครปฐม ก. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง  สถานภาพ  เพศ  ชั้นปี  สาขาวิชาที่สังกัด ข. องค์ประกอบทางกายภาพของหน่วยฯ  อาคารเรียน อาคารประกอบ  ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ  บริเวณสถานศึกษา  ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อฯ และศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ  โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร  ห้องประชุมและห้องสัมมนา  ห้องกิจกรรม สถานออกกําลังกาย และนันทนาการ  การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภค  การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยฯ
  • 9. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๐ การจัดสัดส่วนตามกลุ่มการเรียน ลําดับ คณะ จํานวนประชากรการวิจัยทั้งหมด ๑ กลุ่มการเรียนภาคปกติ ๑๑๒ ๒ กลุ่มการเรียนภาคเสาร์-อาทิตย์ ๑๔๐ รวมจํานวนนักศึกษาทั้งสิ้น ๒๕๒ ๑๓.๒ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ๑. การสร้างเครื่องมือและการหาประสิทธิภาพของเครื่องมือ ๑.๑ ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น โดยศึกษาจากทฤษฎี เอกสาร และงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือ ๑.๒ สร้างเครื่องมือโดยการศึกษาหลักการสร้างแบบสอบถามและ แบบตรวจรายการโดยกําหนดประเด็นและขอบเขตคําถามด้วยการจัดหมวดหมู่ให้สอดคล้อง กับวัตถุประสงค์ของการวิจัย ๑.๓ ทําการ Try out โดยแจกแบบสอบถามกับนิสิตนักศึกษาหน่วย วิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐมที่ จํานวน ๒๕๒ ชุด ของแบบสอบถาม ๑.๔ ปรับปรุงเครื่องมือ แล้วนําไปใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ๒. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ ๑ ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ ชั้นปี สาขาวิชา และคณะที่สังกัด ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบตรวจรายการ (Check List) ส่วนที่ ๒ สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคาร และสถานที่ ใช้คําถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๓ ระดับ ได้แก่ สภาพ สมบูรณ์ใช้การได้ดี สภาพไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้และควรปรับปรุงแก้ไข การใช้ประโยชน์ มี ๓ ระดับ คือ การใช้ประโยชน์ในระดับมาก น้อย และไม่มีการใช้ประโยชน์  ส่วนที่ ๓ ความพึงพอใจในการใช้อาคารสถานที่ ใช้คําถามแบบ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ๕ ระดับ ได้แก่ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด ส่วนข้อเสนอแนะ ใช้แบบเติมคํา ดังตัวอย่างข้างล่างนี้   
  • 10. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๑ ตัวอย่างแบบสอบถาม  ส่วนที่ ๑ ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม คําชี้แจง - โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด   ๑. สถานภาพ ( ) บรรพชิต ( ) คฤหัสถ์ ๒. เพศ ( ) ชาย ( ) หญิง ๓.ชั้นปี ( ) ชั้นปีที่ ๑ ( ) ชั้นปีที่ ๒ ( ) ชั้นปีที่ ๓ ( ) หลักสูตรประกาศนียบัตร (ป.บส.) ๔. สาขาวิชาที่สังกัด ( ) การจัดการเชิงพุทธ ( ) รัฐประศาสนศาสตร์ ส่วนที่ ๒ แผนการใช้ประโยชน์และสภาพการใช้งานจริงกับอาคารสถานที่ คําชี้แจง-โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด  รายการ การใช้ประโยชน์ สภาพการใช้ งานจริง มาก น้อย ไม่ใช้ ใช้การได้ดี พอใช้ ควรปรับปรุง ๑.ผังบริเวณสถานศึกษา ๒.สภาพพื้นที่บริเวณสถานศึกษา ๓.อาคารเรียน ๔.ห้องเรียน ๕.สํานักงานให้บริการนักศึกษา เช่น สํานักทะเบียน การเงิน ๖.ห้องประชุมและห้องสัมมนา ๗.ห้องสมุด ๘.ห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ ๙.ห้องกิจกรรมหรือบริเวณสําหรับการทํากิจกรรมนิสิตนักศึกษา ๑๐.ห้องปฏิบัติการ / โรงฝึกงาน/พื้นที่แสดงผลงาน ๑๑.ห้องแนะแนว/ศูนย์ให้คําปรึกษาแนะนํา ๑๒.ห้องพยาบาล/จุดให้บริการด้านการพยาบาล ๑๓.โรงอาหาร/จุดบริการอาหารเครื่องดื่ม ๑๔.ห้องนํ้าห้องส้วม ๑๕.สวนหย่อมสถานพักผ่อน/พื้นที่สีเขียว ๑๖.ที่จอดรถ ๑๘.อื่นๆ (ระบุ)……………………
  • 11. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๒ ส่วนที่ ๓ ความพึงพอใจต่อการใช้อาคารและสถานที่ของนิสิตนักศึกษาหน่วย วิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม คําชี้แจง โปรดเขียนเครื่องหมาย (√) ลงหน้าข้อความที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงมากที่สุด โดยที่ ๕ หมายถึง พึงพอใจมากที่สุด ๔ หมายถึง พึงพอใจมาก ๓ หมายถึง พึงพอใจปานกลาง ๒ หมายถึง พึงพอใจน้อย ๑ หมายถึง พึงพอใจน้อยที่สุด  รายการ  ระดับความพึงพอใจ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ก. อาคารเรียน ๑. การจัดทําแผนผังอาคาร ๒. การจัดระบบแสงสว่างภายในอาคาร ๓. การจัดสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในอาคารเรียน ๔. ความสะดวกในการใช้ประโยชน์ ๕. ห้องนํ้าห้องส้วมสําหรับนักศึกษา ข. ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการห้องคอมพิวเตอร์ และห้องบริการต่างๆ ๖. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี ๗. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง ๘.ห้องเรียนมีจํานวนโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา ๙.โต๊ะเก้าอี้มีการจัดวางอย่างเป็นระเบียบ ๑๐. ห้องเรียนมีตารางการใช้อย่างชัดเจน ๑๑. บรรยากาศทางวิชาการที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ๑๒. สื่ออุปกรณ์ที่สะดวกต่อการเรียนการสอน ๑๓. การจัดโต๊ะหมู่บูชาเพื่อสร้างการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณธรรม ค. บริเวณสถานศึกษา ๑๔. การจัดทําแผนที่ตั้งบริเวณสถานศึกษา ๑๕. สถานที่พักผ่อน ๑๖. พื้นที่จอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ ๑๗. เครื่องหมายแสดงการจราจรภายในสถานศึกษา ๑๘. การบํารุงรักษาพื้นที่และบริเวณสวนและสนามให้ร่มรื่น ๑๙. การปรับปรุงภูมิทัศน์ ง. ห้องสมุดและห้องผลิตสื่อศูนย์คอมพิวเตอร์บริการ ๒๐. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี
  • 12. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๓ ส่วนที่ ๓ (ต่อ) รายการ  ระดับความพึงพอใจ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ๒๑. ความสะดวกในการค้นหาหนังสือและสิ่งพิมพ์ในห้องสมุด ๒๒. ความหลากหลายของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด ๒๓. ความทันสมัยของหนังสือและเอกสารในห้องสมุด ๒๔. จํานวนหนังสือและเอกสารในห้องสมุด ๒๕. การจัดหนังสือ สื่อโสตทัศน์ วัสดุ อุปกรณ์ ภายในสํานักหอสมุด ๒๖. ห้องสมุดมีความสะอาด และเป็นระเบียบเรียบร้อย ๒๗. มีโต๊ะเก้าอี้เพียงพอกับนิสิตนักศึกษา ๒๘. ความเพียงพอของจํานวนคอมพิวเตอร์ ๒๙. ความรวดเร็วของระบบอินเทอร์เน็ต ๓๐.ประสิทธิภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ จ. โรงอาหารหรือสถานที่รับประทานอาหาร ๓๑. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี ๓๒. การจัดวัสดุ อุปกรณ์ และการรักษาความสะอาด ๓๓. การจัดโต๊ะ เก้าอี้ภายในโรงอาหาร ฉ. ห้องประชุมและห้องสัมมนา ๓๔. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี ๓๕.ห้องประชุมและห้องสัมมนามีจํานวนเพียงพอต่อการใช้งาน และ สามารถรองรับ การจัดกิจกรรมประเภทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ๓๖.ความพร้อมของห้องประชุมและห้องสัมมนา ๓๗. ห้องประชุมและห้องสัมมนามีความสะอาดเป็นระเบียบ ๓๘. สิ่งอํานวยความสะดวกมีประสิทธิภาพมีความทันสมัย และมีจํานวน เพียงพอต่อ การใช้งาน ๓๙. ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ ๔๐. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้องประชุม ช. ห้องกิจกรรม ๔๑. มีแสงสว่างเพียงพอและระบายอากาศที่ดี ๔๒. การจัดวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์และสิ่งอํานวยความสะดวก ๔๓. ความสะดวกในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และการใช้บริการ ๔๔. การจัดบรรยากาศภายในห้องที่เอื้อต่อการใช้บริการ
  • 13. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๔ ส่วนที่ ๓ (ต่อ) รายการ  ระดับความพึงพอใจ ๕ ๔ ๓ ๒ ๑ ๔๕. การรักษาความสะอาดและการบํารุงรักษาห้อง ซ. การจัดสภาพแวดล้อมและระบบสาธารณูปโภคของหน่วยวิทยบริการ ๔๖. การดูแลรักษาห้องนํ้า ห้องส้วมให้สะอาด ๔๗. การจัดที่นั่งให้นักศึกษาพักผ่อนในเวลาว่าง ๔๘. การมีถังขยะที่แยกตามประเภทขยะ ๔๙. ระบบระบายนํ้าตามแนวถนน  ๕๐. การจัดการไฟฟ้าภายในอาคาร เครื่องปรับอากาศ หรือพัดลม ๕๑. การจัดนํ้าเพื่อบริโภคในสถานศึกษา ๕๒. การจัดระบบติดต่อสื่อสารภายในสถานศึกษา เช่น ระบบโทรศัพท์บอร์ด ประชาสัมพันธ์ ฐ. การรักษาความปลอดภัยภายในหน่วยวิทยบริการ ๕๓. มีระบบป้ องกันเพลิงไหม้และสัญญาณเตือนภัยต่างๆ อย่างเพียงพอ ๕๔. การให้บริการของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ๕๕. ระบบการดูแลรักษาความปลอดภัยในหน่วยวิทยบริการสร้างความมั่นใจ ใน ความปลอดภัยให้แก่นักศึกษา ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะ สังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จังหวัดนครปฐม ปัญหา อุปสรรค ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ข้อเสนอแนะอื่นๆ ........................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................................... ๓. การเก็บรวมรวมข้อมูล ผู้วิจัยจะขอความร่วมมือจากหน่วยวิทยบริการเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล จากนิสิตนักศึกษา ผู้วิจัยทําการเก็บข้อมูลเอง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเที่ยงตรง ซึ่งผู้วิจัยได้
  • 14. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๕ ทําการเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือน พฤศจิกายน ๒๕๕๖ จากนั้นตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของข้อมูลเพื่อนําไปวิเคราะห์ และแปรผลต่อไป ๔. การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยนําข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถาม มาทําการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสําเร็จรูป โดยใช้สถิติในการวิจัยดังนี้ ๑. สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ข้อมูลพื้นฐานของจํานวน ประชากรทั้งหมด สภาพการใช้อาคารและสถานที่ การใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ และ ระดับความพึงพอใจต่อการใช้อาคารสถานที่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ใช้ เป็นสถิติเบื้องต้นในการอภิปรายผล  ๒. สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ใช้เป็นสถิติในการทดสอบ ความแตกต่างของเพศนักศึกษาโดยใช้สถิติ t-test และใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – way Analysis of Variance) สําหรับชั้นปีและสาขาวิชาที่สังกัด หลังจากนั้นทําการ ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี Least Square Difference (LSD).  ๓. เกณฑ์การให้คะแนน     ก. สภาพการใช้อาคารและสถานที่  สมบูรณ์ใช้การได้ดี คะแนนเท่ากับ  ๒ ไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้ คะแนนเท่ากับ  ๑ ควรปรับปรุงแก้ไข คะแนนเท่ากับ  ๐ ข. การแปรผลสภาพการใช้อาคารและสถานที่5 ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑-๒.๐๐ = สภาพการใช้งานสมบูรณ์ใช้การได้ดี ค่าเฉลี่ย ๐.๕๐-๑.๕๐ = สภาพการใช้งานไม่สมบูรณ์แต่พอใช้การได้ ค่าเฉลี่ย ๐.๐๐-๐.๔๙ = สภาพการใช้งานควรปรับปรุงแก้ไข ค. เกณฑ์การให้คะแนนการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่ ใช้ประโยชน์ในระดับมาก คะแนนเท่ากับ  ๒ ใช้ประโยชน์ในระดับน้อย คะแนนเท่ากับ  ๑ ๕ สมบูรณ์ สุริยวงศ์และคณะ,( ๒๕๔๔).ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ศูนย์ ส่งเสริมวิชาการ.
  • 15. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๖ ไม่มีการใช้ประโยชน์ คะแนนเท่ากับ  ๐ ง. การแปรผลการใช้ประโยชน์อาคารและสถานที่6 ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑-๒.๐๐ = ระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๐.๕๐-๑.๕๐ = ระดับการใช้ประโยชน์อยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย ๐.๐๐-๐.๔๙ = ไม่มีการใช้ประโยชน์  จ. เกณฑ์การให้คะแนนความพึงพอใจ พึงพอใจมากที่สุด คะแนนเท่ากับ  ๕ พึงพอใจมาก คะแนนเท่ากับ  ๔  พึงพอใจปานกลาง คะแนนเท่ากับ  ๓  พึงพอใจน้อย คะแนนเท่ากับ  ๒ พึงพอใจน้อยที่สุด คะแนนเท่ากับ  ๑   ฉ. การแปรผลความพึงพอใจ7 ค่าเฉลี่ย ๔.๕๑ – ๕.๐๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๓.๕๑ – ๔.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ – ๓.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย ๑.๕๑ – ๒.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อย ค่าเฉลี่ย ๑.๐๐ – ๑.๕๐ = ความพึงพอใจอยู่ในระดับน้อยที่สุด ๑๔. เอกสารอ้างอิงของโครงการวิจัย  พระมหาบุญเลิศ อินทปญโญ, ผศ. (๒๕๕๖). คู่มือนิสิต นักศึกษา พุทธศักราช ๒๕๕๖. พิมพ์ครั้งที่1. หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   สมบูรณ์ สุริยวงศ์และคณะ, ( ๒๕๔๔).ระเบียบวิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ. ๖ Ibid/เรื่องเดียวกัน ๗ Ibid/เรื่องเดียวกัน
  • 16. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๗ ๑๕. งบประมาณของโครงการวิจัย ๑) หมวดค่าตอบแทน - ค่าตอบแทนนักวิจัย จํานวน ๑ รูป.............................................................. - ค่าจ้างผู้ช่วยชั่วคราว ๑ คน ....................................................................... - บาท - บาท ๒) หมวดค่าใช้จ่าย ( ๒.๑) การเตรียมการ - ค่าจัดทําร่างแบบสอบถาม / แบบสังเกตประมาณ ....................... - ค่าจัดทําแก้ไขแบบสอบถามฉบับจริงประมาณ .......................... - ค่าใช้จ่ายนักวิจัยในการทดลองเครื่องมือ .................................... ๑,๒๐๐ บาท ๑,๒๐๐ บาท ๒,๕๐๐ บาท (๒.๒) การเก็บรวบรวมข้อมูล - ค่าจัดทําแบบสอบถาม / แบบสังเกตการณ์ จํานวน ๒๕๒ ชุด ๆ ละ ๑๐ บาท เป็นเงิน ................................................................... - ค่าใช้จ่ายในการเก็บข้อมูลและการสังเกตพฤติกรรมการใช้ อาคารสถานที่- ค่าเบี้ยเลี้ยงจํานวน ๒ รูป /คน ๕ วัน ๆ ละ ๒๐๐ บาท....................................................................................... ๒,๕๒๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท (๒.๓) วิเคราะห์ข้อมูล - ค่าจ้างเหมาลงรหัสและบันทึกข้อมูลจํานวน ๒๕๒ ชุด ๆ ละ ๕ บาท เป็นเงิน ................................................................................. - ค่าวิเคราะห์ข้อมูล เป็นเงิน ........................................................ ๑,๒๕๐ บาท ๑,๒๕๐ บาท (๒.๔) การจัดทํารายงานวิจัย - ค่าจ้างพิมพ์รายงานความก้าวหน้า ๓ ครั้ง จํานวน ๑๐๐ หน้า ๆ ละ ๑ บาท เป็นเงิน ........................................................................ - จัดทําร่างรายงานการวิจัย จํานวน ๒๕๐ หน้า เป็นเงิน ............. - ค่าจัดทําแก้ไขรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ตามข้อเสนอของ คณะกรรมการ................................................................................ - ค่าจัดทํารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ๒๐ เล่มๆละ ๓๕๐ บาท เป็นเงิน .......................................................................................... ๓๐๐ บาท ๒๕๐ บาท ๒๕๐ บาท ๗,๐๐๐ บาท ๓.) หมวดค่าวัสดุ - วัสดุสํานักงาน ....................................................................................... - ค่าถ่ายเอกสาร ........................................................................................... ๕๒๐ บาท ๕๐๐ บาท รวมค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ๒๐,๐๐๐บาท ๑๖. ระยะเวลาที่ทําการวิจัย   ๕ เดือน นับจากวันเสนอโครงการจัดทําวิจัย
  • 17. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๘ แผนปฏิบัติการวิจัยโครงสร้างเป็นรายเดือนดังรายละเอียดต่อไปนี้ ๑) เดือนที่ ๑ นับจากวันที่เสนอโครงการ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึงวันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ดําเนินการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยและวางแผนการวิจัย กําหนดตัวแปรเพื่อสร้างเครื่องมือ ๒) เดือนที่ ๒ ถึงเดือนที่ ๓ นับจากวันที่ ๙ พฤศจิกายน ถึงวันที่ ๙ มกราคม ๒๕๕๗ ดําเนินการสร้างเครื่องมือ ทดลองใช้ ปรับปรุงคุณภาพของเครื่องมือ และเก็บรวบรวมข้อมูล ภาคสนาม ๓) เดือนที่ ๔ ถึงเดือนที่ ๕ นับจากวันที่ ๑๐ มกราคม ถึงวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๗ ดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูล แปรผลข้อมูล และจัดทํารายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ๑๗. ผลสําเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับ  สามารถค้นพบองค์ความรู้ที่เป็นเครื่องมือสําหรับการบริหารจัดการอาคารและสถานที่ ในหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระ อารามหลวง อําเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยนําองค์ความรู้ที่ค้นพบมาบริหารจัดการเพื่อ พัฒนาให้ได้ตามกรอบมาตรฐานสถานการศึกษาระดับอุดมศึกษา และยกฐานะหน่วยวิทย บริการขึ้นสู่ระดับมหาวิทยาลัยในอนาคตสืบต่อไป ผู้เสนอโครงการ ( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล ) ผู้เสนอโครงวิจัยและผู้วิจัย หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
  • 18. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๕๙ ๑๘. คํารับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบและข้อกําหนดในการรับทุนวิจัย ขอรับรองว่าจะปฏิบัติตามระเบียบข้อกําหนดในการรับทุนวิจัยทุกประการ ( พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล ) ผู้จัดทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖ ๑๙. คํารับรองของผู้รับรอง ( พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์) ผู้อํานวยการหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖ ๒๐. คําอนุมัติผู้อนุมัติ     (พระราชวิริยาลังการ)  เจ้าอาวาส รองประธานกรรมการบริหารหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ. สามพราน จ. นครปฐม ๘/ตุลาคม/๒๕๕๖
  • 19. โครงการวิจัย:  ความพึงพอใจของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มจร. วัดไร่ขิง พระอารามหลวง อ.สามพราน จ. นครปฐม/ ๑๖๐ ประวัติผู้ทําโครงการวิจัยและผู้วิจัย ชื่อ – นามสกุล (ภาษาไทย) : พระมหาโยตะ ชัยวรมันกุล ชื่อ – นามสกุล (ภาษาอังกฤษ) : Phramaha Yota Chaiworamankul หมายเลขบัตรประจําตัวประชาชน : ๓-๓๑๐๓-๐๐๕๔๑-๔๘-๓ ตําแหน่งปัจจุบัน: อาจารย์ประจําหน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง และอาจารย์ประจําหลักสูตร ภาควิชา รัฐศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ หน่วยงานและสถานที่อยู่ : หน่วยวิทยบริการคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬา ลงกรณราชวิทยาลัย วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ๕๑/๒ เทศบาลเมืองตําบลไร่ขิง อําเภอสาม พราน จังหวัดนครปฐม รหัสไปรษณีย์๗๓๒๑๐ โทร.๐๘๒ ๐๕๒๙๗๙๐ Email : Yota_b26@hotmail.com & Facebook ประวัติการศึกษา คุณวุฒิ พธบ. (ภาษาอังกฤษ) B.A. Major in English พธม. (พุทธศาสนา หลักสูตรนานาชาติ) (M.A.) International Program Major in Buddhist Studies Doctorate Candidate – Assumption University (ABAC) Graduate School of Philosophy and Religion Studies, Major in Philosophy (Ph.D.) สาขาวิชาการที่มีความชํานาญพิเศษ   ภาษาอังกฤษ  ภาษาเขมร   ______________________