SlideShare a Scribd company logo
1 of 4
Download to read offline
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๒ --
เสด็จยังโรงพยาบาลแมคคอมิค
แม้สมเด็จพระบรมราชชนกจะทรงพระราชทานกําลังกาย กําลังทรัพย์มหาศาลให้กับศิริราช
พยาบาล แต่เมื่อแสดงพระราชประสงค์จะทรงทําหน้าที่แพทย์ประจําบ้าน (Internship) แผนกเด็ก ที่
โรงพยาบาลศิริราช โดยมีพระราชหัตถเลขามาก่อนที่จะเสด็จนิวัติประเทศไทย ทางการกลับมิอาจจะรับ
ได้ เนื่องด้วยพระฐานันดรศักดิ์อันสูงยิ่ง (พระยศเจ้าฟ้าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอผู้ทรงดํารงตําแหน่งรัช
ทายาทของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗) ทําให้โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์มิกล้ารับท่านในตําแหน่งแพทย์ประจําบ้านที่ต้องสัมผัสรักษาคนไข้ทั่วๆ ไป และต้องรับคําสั่งจาก
แพทย์สามัญที่อาวุโสมากกว่าตามอายุงานและสายบังคับบัญชา๑๐๕
ทรงระลึกถึงโรงพยาบาลแมคคอร์มิค๑๐๖
เชียงใหม่ ที่ทรงเสด็จไปทําพิธีเปิดโรงพยาบาลสมัยดํารง
ดํารงตําแหน่งข้าหลวงสํารวจการศึกษาทั่วไป ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ทั้งยังทรงมีความ
สนิทสนมกับผู้อํานวยการโรงพยาบาลดังกล่าวมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อคราว
เสด็จมณฑลภาคเหนือเป็นครั้งแรก จึงทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากที่เคยมุ่งมั่นจะ
ทํางานในโรงพยาบาลศิริราชเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ โดย
เริ่มทํางานในฐานะแพทย์ประจําบ้านในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒๑๐๗
และ
ประทับในตึกเล็กๆ ร่วมอยู่กับครอบครัว ดร. อี.ซี คอร์ท ผู้อํานวยการโรงพยาบาล
ในขณะนั้น ทรงมีมหาดเล็กรับใช้เพียงคนเดียว ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับผู้ป่วย
ในโรงพยาบาลเยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญผู้หนึ่ง ทรงรักษาผู้ป่วยทุกคน ทุกฐานะ
ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงพระประวัติในช่วงนี้แล้ว น่าจะถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดาแพทย์ชนบท
ทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ว่าการที่หมอเจ้าฟ้าผู้สูงศักดิ์แต่มิทรงติดยึดในอิสริยยศใดๆ มุ่งแต่จะปฏิบัติรักษา
ผู้ป่วยทั่วไปอย่างเท่าเทียมทุกชั้นวรรณะด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตากรุณา ถึงขั้นว่า
ยอมเสด็จไปรักษายังสถานที่ใดๆ ก็ได้ในผืนแผ่นดิน โดยไม่ติดอยู่กับความสะดวกสบายส่วนพระองค์ สมกับ
๑๐๕
นพ. อี ซี คอร์ท ได้บันทึกถึงเหตุผลดังกล่าวปรากฏในหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดตึก “มหิดล” โรงพยาบาลแมคคอมิค วัน
อังคารที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ความว่า “ทูลกระหม่อมทรงพะประสงค์จะรับตําแหน่งนายแพทย์แห่งโรงพยาบาลศิริราช
หรือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เจ้าหน้าที่แห่งโรงพยาบาลทั้งสองนั้นไม่สามารถจะอนุวรรตน์ตามพระประสงค์ได้ทั้งนี้
เพราะเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งแก่นายแพทย์ผู้ช่วยซึ่งเป็นรัชทายาทแห่งประเทศในขณะเดียวกัน”
๑๐๖
รพ. แมคคอมิค ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยเศรษฐีใจบุญชาวอเมริกัน ชื่อ Mrs. MacCormick และมีนายแพทย์ อี ซี คอร์ท ที่
ชาวบ้านเรียกขานว่าพ่อเลี้ยงคอร์ท เป็นผู้อํานวยการ โดยในระยะแรกนั้นได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดแพทย์ขึ้นใน
ภาคเหนือ ทํานองว่าเป็นแพทย์ชุมชน และได้เลิกการดําเนินการลงภายหลังที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์เข้ามาสํารวจกิจการด้าน
การแพทย์ในสยาม
๑๐๗
มีข้อสับสนเรื่องวันเริ่มงานใน รพ. แมคคอมิค เล็กน้อยเพราะปรากฏในบันทึกของ นพ. อี ซี คอร์ท ว่า “เมื่อ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ.
๑๙๒๙ ทูลกระหม่อมจึงรับหน้าที่เป็นแพทย์ประจําโรงพยาบาล และประทับร่วมอยู่ในบ้านของข้าพเจ้า”
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๓ --
พระนาม “มหิดล” ที่แปลว่าผืนแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ ความไม่ถือพระองค์นี้ยังปรากฏให้เห็นชัดอีกครั้งเวลาที่
ทรงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค ที่ทรงลงนามในเวชระเบียนเพียงชื่อ M.Songkla เท่านั้น
ทรงประทับในห้องชั้นบนของที่พักซึ่ง หมอคอร์ทจัดให้ โดยสองสามีภรรยาเจ้าของบ้านอาศัยอยู่
ชั้นล่าง ทรงออกตรวจหอผู้ป่วยทุกเช้า ก่อนเสด็จกลับมารับประทานมื้อเช้าง่ายๆ ซึ่งมักประกอบด้วย ไข่ไก่
ข้าวโอ๊ต และกาแฟร่วมกับเจ้าบ้านก่อนจะออกตรวจแผนกผู้ป่วยนอกร่วมกันอีกครั้ง ระหว่างทางเดินก็ตรัส
“Good morning” กับบรรดาผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับหมอคอร์ทซึ่งเป็นผู้นําตรวจ๑๐๘
ทรงให้การ
รักษาผู้ป่วยนอกด้วยความขยันขันแข็งจนเลยเที่ยงอยู่บ่อยๆ เนื่องจากยังมีผู้ป่วยรอตรวจ จนทําให้พนักงาน
อื่นๆ ในโรงพยาบาลพลอยขยันตามพระองค์ไปด้วย๑๐๙
นอกจากนั้น ความไม่ถือองค์ก็เป็นที่ประทับใจชาว
เหนือเป็นอย่างมาก เล่าว่าในการออกตรวจหอผู้ป่วยนั้นหากมีผู้ป่วย (ซึ่งอาจจะไม่รู้จักพระองค์ท่าน) ร้องขอ
หม้อนอนถ่าย ก็ทรงหาให้เหมือนกัน แต่มักมีผู้รับเป็นธุระจัดให้เสียก่อน
หมอเจ้าฟ้าแห่งล้านนา
หมอจันทร์แดง เมธา ซึ่งเป็นแพทย์ประจําอยู่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ ในช่วงเวลา
ดังกล่าวได้บันทึกความทรงจําของชาวเชียงใหม่ ที่มีต่อพระองค์ท่านในครั้งนั้นไว้ว่า “...ผูปวยที่นี่จะแตงตัว
๑๐๘
เวลาออกตรวจ โปรดดําเนินเคียงคู่กับหมอคอร์ท ไม่โปรดเดินนํา และทรงตรัสอย่างสุภาพกับทุกคน ด้วยการใช้สรรพ
นาม “ฉัน” “คุณ” “เธอ” เสมอ ทรงเพลิดเพลินคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยโดยไม่ถือองค์และพร้อมจะเรียนรู้คําศัพท์พื้นบ้านใหม่ ๆ
ที่เป็นภาษาท้องถิ่น คําว่า “ขี้เต้อ” “กิ้วต้อง” แต่หากคําใดเข้าใจยากนักก็จะทรงเรียกนพ. จินดา สิงหเนตร เข้ามาช่วย
แปล
๑๐๙
น่าเสียดายว่าเอกสารเวชระเบียน ลายพระหัตถ์ ระบุพระนามแพทย์เจ้าของไข้ M.Songkla ได้ถูกทําลายไปอย่างน่า
เสียดายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และโรงพยาบาลแมคคอมิคได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ เพราะหาก
เอกสารเหล่านั้นยังถูกเก็บไว้ก็จะเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นสําคัญชั้นยอด
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๔ --
สกปรกมอมแมมไมเหมือนผูปวยกรุงเทพฯ บางคนบาดแผลมีกลิ่นแรง เด็กๆ รองเสียงดัง แตพระองคทาน
ไมรังเกียจประการใด พระองคทานทรงใชหูฟงตรวจดวยความตั้งพระทัย ทรงตรวจไปถามผูปวยไปตางๆ
นานา แตการตรัสถามและคําตอบที่พระองคทานไดรับเกิดการขลุกขลัก เพราะผูปวยไมเขาใจภาษากลาง
และพระองคทานก็ไมเขาพระทัยในภาษาเหนือ
.... เทาที่สังเกตดูพระองคจะสนใจผูปวยอยางจริงจัง อยางผูปวยที่มีปญหาทางลําไสก็จะสง
Stool to Lab ทันทีและพระองคทานจะไมคอยรับผล Lab จากเจาหนาที่ พระองคจะเสด็จไปดูที่หอง
Labโดยพระองคเอง พระองคทานทรง
Microscope เอง แลวพระองคจะ
รักษาผูปวยเอง ในรายที่พระองคทาน
สงสัยปวยเปนวัณโรค พระองคจะนํา
Sputum ไปยอมสีทําเอง เพราะเครื่อง
X-Ray และเจาหนาที่ไมเปนผูเชี่ยวชาญ
พระองคทานจึงไมอาศัยผลจากการ X-
Ray ดานการผาตัด พระองคทานจะเขา
รวมหองผาตัดกับหมอคอรท เสมอ”
ด้วยความที่โรงพยาบาลแมค
คอมิคมีบุคลากรน้อย ผนวกกับทรงมี
ความรู้ทางห้องปฏิบัติการที่ได้ศึกษามา
จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงตรวจ
ผู้ป่วยอย่างละเอียดลออ และทรงทดลอง
วินิจฉัยผลเลือดจากสไลด์เลือด จากการ
ตรวจกลุ่มเลือด ตลอดจนตรวจอุจจาระ
ปัสสาวะ ด้วยพระองค์เอง ทรงทุ่มเทพระ
วรกายจนเป็นที่กล่าวขานว่าในตอน
กลางคืนก่อนบรรทมจะเสด็จออกตรวจ
คนไข้ทุกๆ เตียงพร้อมไฟฉายหนึ่งดวง
เสมอ และพร้อมจะเสด็จออกตรวจผู้ป่วย
ได้เสมอแม้จะถูกตามหลังจากบรรทมไปแล้ว หรือหากคืนใดแพทย์ขาด มีคนไข้ด่วนก็จะเสด็จออกตรวจ
แทนทุกครั้ง
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๕ --
ครั้งหนึ่งเมื่อเด็กชายบุญยิ่ง นักเรียนโรงเรียนปริ้นซ์รอยัล ถูกกระสุนปืนลั่นเข้ารักแร้ ถูกเส้นเลือด
ใหญ่ ต้องมีการถ่ายเลือด ทรงประกาศหาผู้บริจาคเลือดและทรงทดสอบความเข้ากันได้ของหมู่เลือด แม้กับ
พระโลหิตพระองค์เอง๑๑๐
แต่ต่อมาเด็กผู้นั้นก็ตายด้วยโลหิตเป็นพิษ เพราะแผลเป็นพิษจากกระสุนค้างอยู่
ภายใน ทรงรับสั่งว่าถ้ามีเอกซเรย์ ผู้ป่วยก็จะไม่ตาย จึงทรงพระราชทานเงิน ๓,๐๐๐ ดอลลาร์ เพื่อซื้อเครื่อง
X-rays และปรารภว่าจะขยายโรงพยาบาลให้กว้างขวางขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชาวเชียงใหม่
ต่างพากันขนานพระนามพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า” หรือ “หมอน้อย” (เรียกตามรูปพระวรกาย) ๑๑๑
ด้วย
ความรักใคร่เทิดทูน
ทรงปฎิบัติหน้าที่แพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอมิคด้วยความสุขสําราญพระหฤทัย ดังมีบันทึกจด
หมายถึงหลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ความว่า “ที่นี่สนุกดีมาก มี case ต่างๆ น่าดูมาก ....... “
๑๑๐
บางเอกสารเช่นบันทึกรายงานของ นพ.ทองรัก ลีรพันธ์ ระบุว่า ทรงพระกรุณาให้พระโลหิตแก่เด็กชายบุญยิ่งด้วย
๑๑๑
ความไม่ถือองค์ ทําให้ผู้คนมักเรียกนามพระองค์ตามความสนิทสนม เช่น ครอบครัวหมอคอร์ทเรียกพระองค์ว่า “ด็อกเต
อร์มหิดล” คนไข้อนุโลมเรียกตามรูปพระวรกายว่า “หมอน้อย” หรือเรียก “หมอเจ้าฟ้า” จนกระทั่งครั้งหนึ่งเมื่อทรงเสด็จคุ้ม
เจ้าดารารัศมี มีผู้ไม่รู้จักพระองค์ได้สอบถามกับมอคอร์ทว่า “พ่อเลี้ยงคอร์ทนั่นใคร” ก็ทรงแนะนําพระองค์เองว่า “พ่อเลี้ยง
แดง” พร้อมกับทรงพระสรวล

More Related Content

Viewers also liked

19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรมสุรพล ศรีบุญทรง
 
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯสุรพล ศรีบุญทรง
 
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...สุรพล ศรีบุญทรง
 
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่งสุรพล ศรีบุญทรง
 
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมันสุรพล ศรีบุญทรง
 
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาลสุรพล ศรีบุญทรง
 
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรสสุรพล ศรีบุญทรง
 
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย เจ้าฟ้าทหารเรือ
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย  เจ้าฟ้าทหารเรือ04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย  เจ้าฟ้าทหารเรือ
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย เจ้าฟ้าทหารเรือสุรพล ศรีบุญทรง
 
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvardสุรพล ศรีบุญทรง
 
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สุรพล ศรีบุญทรง
 
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติสุรพล ศรีบุญทรง
 

Viewers also liked (11)

19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
19 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงเปี่ยมด้วยอุเบกขาธรรม
 
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
11 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งสมเด็จพระพี่นางฯ
 
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
16 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระประสูติกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ...
 
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
17 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
 
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
03 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาการทหารในอังกฤษและเยอรมัน
 
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
20 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงวางโครงการพัฒนาวชิรพยาบาล
 
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
 
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย เจ้าฟ้าทหารเรือ
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย  เจ้าฟ้าทหารเรือ04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย  เจ้าฟ้าทหารเรือ
04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย เจ้าฟ้าทหารเรือ
 
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard
06 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงศึกษาที่ harvard
 
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก  บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
 
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
01 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย อุภโตสุชาติ
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์คสุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 

21 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย หมอเจ้าฟ้าแห่งล้านนา

  • 1. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๒ -- เสด็จยังโรงพยาบาลแมคคอมิค แม้สมเด็จพระบรมราชชนกจะทรงพระราชทานกําลังกาย กําลังทรัพย์มหาศาลให้กับศิริราช พยาบาล แต่เมื่อแสดงพระราชประสงค์จะทรงทําหน้าที่แพทย์ประจําบ้าน (Internship) แผนกเด็ก ที่ โรงพยาบาลศิริราช โดยมีพระราชหัตถเลขามาก่อนที่จะเสด็จนิวัติประเทศไทย ทางการกลับมิอาจจะรับ ได้ เนื่องด้วยพระฐานันดรศักดิ์อันสูงยิ่ง (พระยศเจ้าฟ้าสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอผู้ทรงดํารงตําแหน่งรัช ทายาทของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗) ทําให้โรงพยาบาลศิริราชและโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์มิกล้ารับท่านในตําแหน่งแพทย์ประจําบ้านที่ต้องสัมผัสรักษาคนไข้ทั่วๆ ไป และต้องรับคําสั่งจาก แพทย์สามัญที่อาวุโสมากกว่าตามอายุงานและสายบังคับบัญชา๑๐๕ ทรงระลึกถึงโรงพยาบาลแมคคอร์มิค๑๐๖ เชียงใหม่ ที่ทรงเสด็จไปทําพิธีเปิดโรงพยาบาลสมัยดํารง ดํารงตําแหน่งข้าหลวงสํารวจการศึกษาทั่วไป ในปี พ.ศ.๒๔๖๘ ทั้งยังทรงมีความ สนิทสนมกับผู้อํานวยการโรงพยาบาลดังกล่าวมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ เมื่อคราว เสด็จมณฑลภาคเหนือเป็นครั้งแรก จึงทรงเปลี่ยนพระราชหฤทัยจากที่เคยมุ่งมั่นจะ ทํางานในโรงพยาบาลศิริราชเสด็จไปโรงพยาบาลแมคคอร์มิค จังหวัดเชียงใหม่ โดย เริ่มทํางานในฐานะแพทย์ประจําบ้านในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๒๑๐๗ และ ประทับในตึกเล็กๆ ร่วมอยู่กับครอบครัว ดร. อี.ซี คอร์ท ผู้อํานวยการโรงพยาบาล ในขณะนั้น ทรงมีมหาดเล็กรับใช้เพียงคนเดียว ทรงใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลเยี่ยงแพทย์ธรรมดาสามัญผู้หนึ่ง ทรงรักษาผู้ป่วยทุกคน ทุกฐานะ ซึ่งเมื่อพิจารณาถึงพระประวัติในช่วงนี้แล้ว น่าจะถือเป็นแรงบันดาลใจให้กับบรรดาแพทย์ชนบท ทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ว่าการที่หมอเจ้าฟ้าผู้สูงศักดิ์แต่มิทรงติดยึดในอิสริยยศใดๆ มุ่งแต่จะปฏิบัติรักษา ผู้ป่วยทั่วไปอย่างเท่าเทียมทุกชั้นวรรณะด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตากรุณา ถึงขั้นว่า ยอมเสด็จไปรักษายังสถานที่ใดๆ ก็ได้ในผืนแผ่นดิน โดยไม่ติดอยู่กับความสะดวกสบายส่วนพระองค์ สมกับ ๑๐๕ นพ. อี ซี คอร์ท ได้บันทึกถึงเหตุผลดังกล่าวปรากฏในหนังสือที่ระลึกพิธีเปิดตึก “มหิดล” โรงพยาบาลแมคคอมิค วัน อังคารที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ ความว่า “ทูลกระหม่อมทรงพะประสงค์จะรับตําแหน่งนายแพทย์แห่งโรงพยาบาลศิริราช หรือโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แต่เจ้าหน้าที่แห่งโรงพยาบาลทั้งสองนั้นไม่สามารถจะอนุวรรตน์ตามพระประสงค์ได้ทั้งนี้ เพราะเป็นการยากที่เจ้าหน้าที่จะออกคําสั่งแก่นายแพทย์ผู้ช่วยซึ่งเป็นรัชทายาทแห่งประเทศในขณะเดียวกัน” ๑๐๖ รพ. แมคคอมิค ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยเศรษฐีใจบุญชาวอเมริกัน ชื่อ Mrs. MacCormick และมีนายแพทย์ อี ซี คอร์ท ที่ ชาวบ้านเรียกขานว่าพ่อเลี้ยงคอร์ท เป็นผู้อํานวยการ โดยในระยะแรกนั้นได้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดแพทย์ขึ้นใน ภาคเหนือ ทํานองว่าเป็นแพทย์ชุมชน และได้เลิกการดําเนินการลงภายหลังที่มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์เข้ามาสํารวจกิจการด้าน การแพทย์ในสยาม ๑๐๗ มีข้อสับสนเรื่องวันเริ่มงานใน รพ. แมคคอมิค เล็กน้อยเพราะปรากฏในบันทึกของ นพ. อี ซี คอร์ท ว่า “เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้ว ในวันที่ ๑ พฤษภาคม ค.ศ. ๑๙๒๙ ทูลกระหม่อมจึงรับหน้าที่เป็นแพทย์ประจําโรงพยาบาล และประทับร่วมอยู่ในบ้านของข้าพเจ้า”
  • 2. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๓ -- พระนาม “มหิดล” ที่แปลว่าผืนแผ่นดินอันยิ่งใหญ่ ความไม่ถือพระองค์นี้ยังปรากฏให้เห็นชัดอีกครั้งเวลาที่ ทรงปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงพยาบาลแมคคอมิค ที่ทรงลงนามในเวชระเบียนเพียงชื่อ M.Songkla เท่านั้น ทรงประทับในห้องชั้นบนของที่พักซึ่ง หมอคอร์ทจัดให้ โดยสองสามีภรรยาเจ้าของบ้านอาศัยอยู่ ชั้นล่าง ทรงออกตรวจหอผู้ป่วยทุกเช้า ก่อนเสด็จกลับมารับประทานมื้อเช้าง่ายๆ ซึ่งมักประกอบด้วย ไข่ไก่ ข้าวโอ๊ต และกาแฟร่วมกับเจ้าบ้านก่อนจะออกตรวจแผนกผู้ป่วยนอกร่วมกันอีกครั้ง ระหว่างทางเดินก็ตรัส “Good morning” กับบรรดาผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่เช่นเดียวกับหมอคอร์ทซึ่งเป็นผู้นําตรวจ๑๐๘ ทรงให้การ รักษาผู้ป่วยนอกด้วยความขยันขันแข็งจนเลยเที่ยงอยู่บ่อยๆ เนื่องจากยังมีผู้ป่วยรอตรวจ จนทําให้พนักงาน อื่นๆ ในโรงพยาบาลพลอยขยันตามพระองค์ไปด้วย๑๐๙ นอกจากนั้น ความไม่ถือองค์ก็เป็นที่ประทับใจชาว เหนือเป็นอย่างมาก เล่าว่าในการออกตรวจหอผู้ป่วยนั้นหากมีผู้ป่วย (ซึ่งอาจจะไม่รู้จักพระองค์ท่าน) ร้องขอ หม้อนอนถ่าย ก็ทรงหาให้เหมือนกัน แต่มักมีผู้รับเป็นธุระจัดให้เสียก่อน หมอเจ้าฟ้าแห่งล้านนา หมอจันทร์แดง เมธา ซึ่งเป็นแพทย์ประจําอยู่โรงพยาบาลแมคคอร์มิค เชียงใหม่ ในช่วงเวลา ดังกล่าวได้บันทึกความทรงจําของชาวเชียงใหม่ ที่มีต่อพระองค์ท่านในครั้งนั้นไว้ว่า “...ผูปวยที่นี่จะแตงตัว ๑๐๘ เวลาออกตรวจ โปรดดําเนินเคียงคู่กับหมอคอร์ท ไม่โปรดเดินนํา และทรงตรัสอย่างสุภาพกับทุกคน ด้วยการใช้สรรพ นาม “ฉัน” “คุณ” “เธอ” เสมอ ทรงเพลิดเพลินคลุกคลีอยู่กับผู้ป่วยโดยไม่ถือองค์และพร้อมจะเรียนรู้คําศัพท์พื้นบ้านใหม่ ๆ ที่เป็นภาษาท้องถิ่น คําว่า “ขี้เต้อ” “กิ้วต้อง” แต่หากคําใดเข้าใจยากนักก็จะทรงเรียกนพ. จินดา สิงหเนตร เข้ามาช่วย แปล ๑๐๙ น่าเสียดายว่าเอกสารเวชระเบียน ลายพระหัตถ์ ระบุพระนามแพทย์เจ้าของไข้ M.Songkla ได้ถูกทําลายไปอย่างน่า เสียดายในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ และโรงพยาบาลแมคคอมิคได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเสรีเริงฤทธิ์ เพราะหาก เอกสารเหล่านั้นยังถูกเก็บไว้ก็จะเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ชิ้นสําคัญชั้นยอด
  • 3. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๔ -- สกปรกมอมแมมไมเหมือนผูปวยกรุงเทพฯ บางคนบาดแผลมีกลิ่นแรง เด็กๆ รองเสียงดัง แตพระองคทาน ไมรังเกียจประการใด พระองคทานทรงใชหูฟงตรวจดวยความตั้งพระทัย ทรงตรวจไปถามผูปวยไปตางๆ นานา แตการตรัสถามและคําตอบที่พระองคทานไดรับเกิดการขลุกขลัก เพราะผูปวยไมเขาใจภาษากลาง และพระองคทานก็ไมเขาพระทัยในภาษาเหนือ .... เทาที่สังเกตดูพระองคจะสนใจผูปวยอยางจริงจัง อยางผูปวยที่มีปญหาทางลําไสก็จะสง Stool to Lab ทันทีและพระองคทานจะไมคอยรับผล Lab จากเจาหนาที่ พระองคจะเสด็จไปดูที่หอง Labโดยพระองคเอง พระองคทานทรง Microscope เอง แลวพระองคจะ รักษาผูปวยเอง ในรายที่พระองคทาน สงสัยปวยเปนวัณโรค พระองคจะนํา Sputum ไปยอมสีทําเอง เพราะเครื่อง X-Ray และเจาหนาที่ไมเปนผูเชี่ยวชาญ พระองคทานจึงไมอาศัยผลจากการ X- Ray ดานการผาตัด พระองคทานจะเขา รวมหองผาตัดกับหมอคอรท เสมอ” ด้วยความที่โรงพยาบาลแมค คอมิคมีบุคลากรน้อย ผนวกกับทรงมี ความรู้ทางห้องปฏิบัติการที่ได้ศึกษามา จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทรงตรวจ ผู้ป่วยอย่างละเอียดลออ และทรงทดลอง วินิจฉัยผลเลือดจากสไลด์เลือด จากการ ตรวจกลุ่มเลือด ตลอดจนตรวจอุจจาระ ปัสสาวะ ด้วยพระองค์เอง ทรงทุ่มเทพระ วรกายจนเป็นที่กล่าวขานว่าในตอน กลางคืนก่อนบรรทมจะเสด็จออกตรวจ คนไข้ทุกๆ เตียงพร้อมไฟฉายหนึ่งดวง เสมอ และพร้อมจะเสด็จออกตรวจผู้ป่วย ได้เสมอแม้จะถูกตามหลังจากบรรทมไปแล้ว หรือหากคืนใดแพทย์ขาด มีคนไข้ด่วนก็จะเสด็จออกตรวจ แทนทุกครั้ง
  • 4. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๕ -- ครั้งหนึ่งเมื่อเด็กชายบุญยิ่ง นักเรียนโรงเรียนปริ้นซ์รอยัล ถูกกระสุนปืนลั่นเข้ารักแร้ ถูกเส้นเลือด ใหญ่ ต้องมีการถ่ายเลือด ทรงประกาศหาผู้บริจาคเลือดและทรงทดสอบความเข้ากันได้ของหมู่เลือด แม้กับ พระโลหิตพระองค์เอง๑๑๐ แต่ต่อมาเด็กผู้นั้นก็ตายด้วยโลหิตเป็นพิษ เพราะแผลเป็นพิษจากกระสุนค้างอยู่ ภายใน ทรงรับสั่งว่าถ้ามีเอกซเรย์ ผู้ป่วยก็จะไม่ตาย จึงทรงพระราชทานเงิน ๓,๐๐๐ ดอลลาร์ เพื่อซื้อเครื่อง X-rays และปรารภว่าจะขยายโรงพยาบาลให้กว้างขวางขึ้น ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ชาวเชียงใหม่ ต่างพากันขนานพระนามพระองค์ว่า “หมอเจ้าฟ้า” หรือ “หมอน้อย” (เรียกตามรูปพระวรกาย) ๑๑๑ ด้วย ความรักใคร่เทิดทูน ทรงปฎิบัติหน้าที่แพทย์ที่โรงพยาบาลแมคคอมิคด้วยความสุขสําราญพระหฤทัย ดังมีบันทึกจด หมายถึงหลวงนิตย์เวชชวิศิษฐ์ความว่า “ที่นี่สนุกดีมาก มี case ต่างๆ น่าดูมาก ....... “ ๑๑๐ บางเอกสารเช่นบันทึกรายงานของ นพ.ทองรัก ลีรพันธ์ ระบุว่า ทรงพระกรุณาให้พระโลหิตแก่เด็กชายบุญยิ่งด้วย ๑๑๑ ความไม่ถือองค์ ทําให้ผู้คนมักเรียกนามพระองค์ตามความสนิทสนม เช่น ครอบครัวหมอคอร์ทเรียกพระองค์ว่า “ด็อกเต อร์มหิดล” คนไข้อนุโลมเรียกตามรูปพระวรกายว่า “หมอน้อย” หรือเรียก “หมอเจ้าฟ้า” จนกระทั่งครั้งหนึ่งเมื่อทรงเสด็จคุ้ม เจ้าดารารัศมี มีผู้ไม่รู้จักพระองค์ได้สอบถามกับมอคอร์ทว่า “พ่อเลี้ยงคอร์ทนั่นใคร” ก็ทรงแนะนําพระองค์เองว่า “พ่อเลี้ยง แดง” พร้อมกับทรงพระสรวล