SlideShare a Scribd company logo
1 of 58
Download to read offline
115
116
117
Abstract :
	 - Identity is an abstract term and most researchers believe that identity can be explained into three differ-
ent dimensions: enlightenment subject, sociological subject and post – modern subject. On the whole, identity is the
ongoing process in which a person interacts with the environment from different perspectives and this helps form the
multiple identities of each individual. When identity is applied to the integrity of a nation – state, it comes to the national
identity. National identity can be defined in terms of political forces. The population is politically socialized to form attitudes
to support the whole political system and the nation – state. National identity is also closely related to the enactment
of constitution of every country. Nevertheless, in this research, national identity was investigated through Educational
Policy of The Kingdom of Thailand. The citizens of the same national identity have the shared understandings of the
geopolitical concept of their living place, nationalism, aspirations, emotion, feelings, beliefs, the common belonging and
mutual trust among citizens based on their traditions, customs, rituals, history, the same imagination of the own nation
– state, the same values, ideals, moral principles, the use of national language for communication and the portray of
the media for social attachment. The researcher investigated though Education Policy from 19th century in the reign of
King Chulalongkorn the Great to the present King Bhumiphol the Great and found with great pleasure that Buddhism
have been the fundamental component in directing national identity as the King is the prominently iconic personalization.
All of the Kings in Thailand practice as Buddhist Kings. The concept of Royal Hegemony on Buddhist philosophy is the
great model to follow. Buddhist philosophy which His Majesty the King Bhumiphol has been performing is translated into
practice “Philosophy of Self-sufficient Economy” and becomes the distinguished national identity of the Thai people.
Key-Words: - National Identity, Educational Policy, Royal Hegemony, Iconic Personalizaion, Self-sufficient Economy
118
1. Introduction
	 National identity has been a discussion topic in the educational context. In this research, there will be a deep
discussion about this issue in details. First of all, the term “identity” and its relations with national identity will be fully
discussed. Besides, the meaning of “Thainess” will be discussed and be used to show how it has complicated the
meaning of national identity among the people of Thailand. Lastly, the researcher will explain how national identity can
be implemented in the educational policy. According to the new educational reform “Learning to Live Together” promoted
by the National Council of Education of Thailand, national identity has been highly promoted as one of the key values
and attitudes. It is stated that “national identity, a positive spirit, perseverance, respect for others, and commitment to
society and nation are the five values and attitudes regarded as paramount to the Thais’ personal development, and it
is hoped that the Thais “will have a deeper understanding of the history, culture, natural and human environments of
Thailand, and strengthen their national identity.” According to Somboon (1991), national identity created by education
has the following purposes and is comprised of the following perspectives or features: civic nationalism, cosmopolitan
nationalism, cultural nationalism, and Kingship Institution nationalism (The citizens not only show their love for their
nation – state, but they also show their loyalty to Kingship Institution, show their belief in the role of the royal family and
democracy. They also implement any projects for “making merit with the King”.) This implies that national identity is not
confined to one identity only and it is determined by various perspectives and features.
	 In the past decades, the world is under great changes and globalization has played an important role in changing
the whole world so rapidly. A lot of scholars (Mok and Chan, 2002; Spring 2001; Pires – O’Brien, 2000) have a consensus
agreement on its impacts on the economic and educational developments of all the communities in the world. These
challenges cannot be avoided and all the people have to equip themselves to face those challenges. But a problem
arises and some of the scholars (Pike, 2000) are worried that globalization will pose a threat to the existence of national
identity. People will ignore their own national identity because they need to learn more about “global knowledge” to be
more competitive and to meet the international standards of the world. Scholars like Hall, Held and McGrew (1994)
remarked that national identity is used to unite people together in a defined area culturally and politically as a force to
defend the competitive forces of other nation – states.
	 When identity is applied to the integrity of a nation – state, it comes to the discussion about national identity.
According to Friedman (1994) and Wilborg (2000), national identity can be defined in terms of political forces. The
population is politically socialised to form attitudes to support the whole political system and the nation – state. (Fairbrother,
2003) National identity is also closely related to the enactment of constitution of every country. By referring to one of
the western thinkers, Rousseau (1712 – 1778), who believed that people could be grouped together to have the same
identity and the political will in the same community. The constitutive principles play an important role in the formation
of national identity because it can represent the collective self understanding of the community (Parekh, 1999). But the
political sense of view may lead to the phenomenon that someone can determine who is included and who is excluded
by the national boundaries and it is criticized that inclusion is not entirely voluntary (Dittmer and Kim, 1993).
	 What is more, another component of national identity refers to how the citizens in a defined area identify
themselves to be. Simply speaking, the citizens of a place can have collective belonging by referring to emotional
symbols of the singing of the national anthem, the flag, national ceremonies, rituals and monuments to dead heroes
(Parekh, 1999). In addition, the scholars, Banks (1997) believe that national identity can be viewed from an individual
119
point of view. Each individual applies his knowledge to constitute the formation of national identity. A person always
observes, learns and acquires different kinds of information from different sources to become part of the background
knowledge. Through critical thinking and logical thinking, each individual can give reasons to make a decision to show
who s/he is in the community. In this respect, national identity is not a fixed item but a process of identifications and it
is changing all the time.
Education in Thailand
	 Education in Thailand can be said to have begun in the 13th century when Sukhothai was Thailand’s capital.
In 1283, one of Sukhothai’s kings, Ramkamhaeng the Great created the first Thai alphabet, using as its basis the Mon
and Khmer scripts which had, in turn, been derived from a South Indian script. He employed for the first time the new
alphabet in his stone inscription of 1292 at Sukhothai. Throughout the Kingdom of Sukhothai, two levels of education
existed :- Education provided by the Royal Institution of Instruction (Rajabundit) to princes and sons of nobles and edu-
cation provided by the Buddhist monks to commoners. After the fall of Ayutthaya in 1767, and following a brief Thonburi
Period, the capital city of Bangkok was founded in 1728 by King Rama I (1782-1809), the first King of the present Chakri
Dynasty. He made an impact on the development of public education by reforming the Buddhist Church.
	 During the early Bangkok period, a number of treaties were concluded with foreign powers, mostly in the form of
a Treaty of Friendship and Commerce. Since English became the lingua franca of the Far East, King Rama IV realized
that the kind of education provided by the monastery and the court was not adequate for future government officials.
For this reason, he commanded that measures be taken to modernize the education of the country and a good
knowledge of English would form a part of the new educational requirements, as it had become a necessary key to further
knowledge as well as a medium of communication with foreigners. The policy of educational modernization was further
pursued by King Rama V (1868-1910). Recognizing the need for better-trained personnel in royal and governmental
services, he opened a school in the palace to educate young princes and the sons of nobles in 1871. This was the first
Thai school in the modern sense as it had its own school building, lay teachers and a time-table.
	
	 In 1871, immediately after the setting-up of the first school, the Command Declaration on Schooling was issued
for this purpose. Although, it is interesting to note that the Command Declaration on Schooling signifies the advent of
a formal education in the reign of King Rama V, the fact remains that the education system at that time was essentially
for the elite. In 1887, King Rama V established the Department of Education to oversee the Kingdom’s education and
religious affairs. At the time of its inception, the Department had under its jurisdiction, 34 schools in the metropolitan and
provincial areas, 81 teachers and 1,994 citizens, including 4 other advanced schools in the metropolis. It is worth noting
that the implicit significance of the establishment of the Department of Education lies not in the scope of its responsibili-
ties but in the fact that education in Thailand was on its way to being a planned enterprise, more systematic than ever
before, and that education also had its own spokesman to speak for its worthy cause. In 1898, the first Education Plan
was launched. It was divided into 2 parts: the first concerned with education in the Bangkok area while the second with
education in the provinces. The most significant feature of this Education Plan was that the educational organization had
covered all levels namely; pre-primary, primary, secondary and technical education up to higher education. The 1902
the National System of Education in Siam retained all the education levels of the 1898 Plan and reshaped them into 2
categories; namely, general education and professional or technical education. Another feature of this plan was that a
variety of age limits for admission was imposed to motivate graduation within a scheduled duration.
120
	 In 1921, the Compulsory Primary Education Act was proclaimed. The Year 1932 heralded a period of historical
change in Thailand as a constitutional monarchy system replaced the traditional system of absolute monarchy. The first
National Education Scheme was thus devised whereby individual educational ability regardless of sex, social background
or physical conditions would be formally recognized.
	 In 1960, compulsory education was extended to 7 years. In addition, special provisions were, for the first time,
made for disabled children, who were originally exempted from compulsory education, so that they might be given
some form of basic education, regardless of their handicaps. In 1977, Thailand’s educational system was changed from
a 4-3-3-2 structure to a 6-3-3 system wherein six years of compulsory primary education is followed by three years of
lower secondary school and by another three years of upper secondary schooling, which is still in use nowadays.
	 From the year 1977 right through to the present day, it can accurately be said that all of the efforts made by the
Ministry of Education have been geared towards one direction, which is to provide educational services as a means for
a better quality of life and society. The meaning of “a better quality of life and society” is analyzed in the term of “national
identity” throughout this research.
2. Problem Formulation
	 Qualitative research is used in this study. Obviously, the Thai nation-state has used various ways to strengthen,
consolidate and vitalize its ruling by using education to transmit the importance of good civic personality to the citizens.
The concept of good civic personality is regarded by the researcher as national identity and the researcher would like
to answer what the Thai nation-state implanted the spirit of national identity through the education policies from the first
policy to the present one. Civic education on the whole can really help facilitate the understanding of citizens towards
national identity and its content includes “knowledge, values, attitudes, group identifications necessary for a political
community as well as its members, knowledge of history, the structure of political institutions at both the national and
local levels, loyalty to the nation, positive attitudes political authority, fundamental socio – political beliefs and values,
obedience to laws and social norms, sense of political efficacy, and interest and skills concerning political participation.
But different school authorities interpret the meaning of civic education in a different way. Some only focus a lot on
substantial knowledge (such as history and geography) and cognitive domains (such as critical thinking) and the concept
of taking action and affective domain (such as values and attitudes) are neglected in the curriculum. Added to this, the
researcher questioned the feasibility of national identity education by focusing only on the cultural identity. According
to the “Learning to Live Together” consultation paper, the citizens are required to “have a deeper understanding of the
history, culture, natural and human environments of Thailand” in order to “strengthen their national identity” and to
cultivate “a sense of national identity through understanding elements of Thai history and culture, (e.g. history, arts,
scientific and technological development, achievements of outstanding Thai Heroes and Heroines).
3. Problem Solution
	 National Identity is broadly defined as the composite of outstanding features and characteristics of Thai society
and people that differentiates Thailand from other countries, and which has helped the Thai people to move forward, while
maintaining their “Thainess,” despite external influences and threats throughout history. In the early days of Thai history,
education was primarily provided by the religious, domestic and royal institutions. Buddhist monks gave basic education
121
to boys in classes set up within the compounds of monasteries, while children of the royal household and from families
of the nobility were educated in order to serve in the court and govern in the provinces. While the girl commoners got
education by their parents at their home. During the reign of King Rama V (1868-1910) there was increased recognition
of the need for educated people to staff the growing bureaucracy. As a result, the Thai education system was modernized
and made more accessible to the general public. This began with the 1898 Education Proclamation, which was strongly
influenced by the British system and in which two educational paths were stipulated: the academic and the vocational.
	 The researcher found that during the reign of King Chulalongkorn or Rama V and King Vajiravudh, or Rama
VI of Thailand, described Thai society as founded upon, and held together by three fundamental institutions or pillars,
namely, the Nation, Religion, and Monarchy. These three institutions, particularly with their positive and outstanding traits,
as well as their mutually supportive roles and responsibilities, have significantly contributed to Thailand’s unity, security,
and development through the ages. The concept of good civic personality was invested to the Thainess.
	 The proclamation of the new Constitution in 1997 has made a dramatic change in education. The main objective
in education plan is to produce Thai citizens who are of high quality both academically and professionally, equipped with
knowledge and skills needed for national development. Moreover, Thai higher education has to contribute to economic,
social and environmental stability, be able to solve critical problems of the country and become center of education for
the neighboring countries through instruction of institutions that are autonomous, efficient and adjustable to the world
changes. The discourse of “Goodness, Virtue and Happiness” is the foremost Thai identity. Nonetheless, kingship institu-
tion is the immense model, which the Thai place on their head with great respect. This is what the researcher uses the
term “Royal Hegemony” to explain this phenomenon.
	 Thailand is now a constitutional monarchy and a country aspiring to become a newly developed society, but the
traditional principles of righteous Buddhist kingship, and kingly virtues, remain of paramount importance to the present
monarchy. His Majesty has displayed, and continues to display, a profound understanding of constitutional kingship,
as well as the traditional sources and symbols of Thai monarchal tradition. The significance of his reign relates to three
main themes: the well-being of his subjects, the security and stability of his nation, and national unity. These three main
themes are constructed by Self-sufficient Philosophy, which is underlined by Buddhist Philosophy.
4. Conclusion
	 The development of Thai national identity has been transforming through the passing time, nevertheless Bud-
dhist philosophy is the central inspiration to form the Thainess deep inside their spirit. Buddhism gained wide acceptance
because its emphasis on tolerance and individual initiative complemented the Thais’ cherished sense of inner freedom.
Fundamentally, Buddhism is an empirical way of life. The discourse of national heroes or heroines have been focus-
ing on Kingship Institution, consequently the Kings are iconic persons for the Thai citizens. As the Buddhist King, his
Majesty the King Bhumiphol embarked early in his reign on a journey to know his subjects, and, in the process, allowed
them to get close and know him. At the same time, he used his time wisely to accumulate “constitutional” experience
and has an acute grasp of constitutional rule, but remains detached from politics, playing a non-partisan role in the country’s
politicalprocess and development. The fact that the King has persevered in activities for the long-lasting benefit of the Thai
people, has very much endeared him to his subjects--so much so that the Thais, in general, willingly and unreservedly,
122
accord him the confidence and trust no other monarch in our history, or indeed, in the world, has ever enjoyed. Without
His Majesty’s guiding hand, the Thai would not be what they are today, a nation which has consistently demonstrated
its inner strength, political resilience, social harmony, and economic dynamism, traits which have enabled the Thais to
survive many a threat and misfortune in their long history. His philosophy “Self-sufficient Economy” derived from Buddhist
philosophy is the reflection of identity of the Thai identity.
References:
[1]
Banks, J. A. Educating Citizens in a Multicultural Society. New York, Teachers College Press., 1997.
[2]
Dittmer, L. and Kim, S. S. China’s Quest for National Identity. USA, Cornell University Press., 1993.
[3]
Fairbrother, G. P. Towards Critical Patriotism: Student Resistance to Political Education in Hong Kong and China. 	
	 Hong Kong, Hong Kong University Press., 2003.
[4]
Friedman, J. Cultural Identity and Global Process. London, SAGE., 1994.
[5]
Hall, S., Held, D., and McGrew, T. Modernity and Its Futures. Cambridge. The Open University.,1994.
[6]
Mok, K. H., and Chan, L. C. Globalization and Education: The Quest for Quality Education in Hong Kong.
	 Hong Kong, Hong Kong University Press, 2002.
[7]
Parekh, B. Defining National Identity in a Multicultural Society. In Matimer, E. (ed.). People, Nation and State: The 	
	 Meaning of Ethnicity and Nationalism. London, I. B. Tauris., 1991
[8]
Pike, G. Global Education and the National Identity: In Pursuit of Meaning. Theory Into Practice. 39, 2, 64 – 74., 	
	 2000.
[9]
Pires – O’Brien, J. The Misgivings of Globalization. Contemporary Review. 277, 1618, 264 – 72, 2000.
[10]
Somboon,T. The Influence of Foreign Education on the Thai Educational Scheme (BE. 2441-2464), Master Thesis, 	
	 Chulalongkorn University, 1994.
[11]
Spring, J. Globalisation and Educational Rights: An Intercivilization Analysis. New Jersey, Lawrence Erlbaum, 2001.
[12]
Wiborg, S. Political and Cultural Nationlism in Education. The Ideas of Rousseau and Herder Concerning National 	
	 Education. Comparative Education. 36, 2, 235 – 243., 2000.
123
บทคัดย่อ
	 บทความนี้สรุปบทความนี้เป็นสรุปของรายงานเบื้องต้นการวิจัยตามเอกสารอ้างอิง ซึ่งได้ศึกษาการปฏิรูประบบราชการ
ภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษาทางทฤษฎีและได้ผลสรุปในการที่จะนำไปเป็นองค์ความรู้ฐานราก
เพื่อพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการปฏิบัติต่อไป
1. บทนำ
	 บทความนี้เป็นสรุปของรายงานเบื้องต้นการวิจัยตามเอกสารอ้างอิง ซึ่งได้ศึกษาการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2
และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษาทางทฤษฎีและได้ผลสรุปในการที่จะนำไปเป็นองค์ความรู้ฐานรากเพื่อพัฒนา
และนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้การปฏิรูปทั้ง 2 ระบบได้มีการศึกษา โดยเครือข่ายสถานปฏิบัติการวิจัย ANW
ร่วมกับพันธมิตรเพื่อสหพันธ์อินฟอร์แมติกส์แห่งประเทศไทย(Federation of Thai Informatics Alliance: FTIA) โดยได้รับ
การสนับสนุนจากเครือข่ายการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของสำนักงาน
คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) งานวิจัยนี้ยังไม่ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์แต่ก็มีความก้าวหน้ามากพอที่เป็นเนื้อหาในการนำเสนอ
ของการวิจัยนี้
	 การวิจัยได้ศึกษาทางทฤษฎีเพื่อดำเนินการปฏิรูประบบภาครัฐของประเทศไทยที่ต่อเนื่อง และคู่ขนานไปกับการปฏิรูป
ระบบราชการภาคที่ 1 ซึ่งกำลังดำเนินการโดยรัฐบาลผ่านสำนักงาน กพร. โดยที่มีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา
จักรไทย ฉบับปี 2540 ซึ่งในการพัฒนาจะเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการจัดองค์กรใหม่เพื่อลดความซ้ำซ้อน
และสร้างหน่วยงานใหม่ เพื่อให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ชัดเจนขึ้น โดยเพิ่มหน่วยงานระดับกระทรวงจาก 14 กระทรวง เป็น
20 กระทรวง และมีมาตรการติดตามและประเมินผลการทำงานของระบบราชการในระดับกรมและเทียบเท่า และขนาดเดียวกันก็มี
การพัฒนาระบบจูงใจให้ทำงานให้ได้ผลดีขึ้น โดยใช้ระบบโบนัส
124
2. ทำไมจึงต้องมีการปฏิรูประบบราชการภาคที่สอง
	 2.1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงไปมาก
		 การปฏิรูประบบราชการภาคที่2เป็นผลมาจากการศึกษาเพื่อพัฒนาให้สามารถรองรับระบบและการเปลี่ยนแปลง
โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะสามารถรองรับโครงสร้างงานของภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับยกร่าง พ.ศ. 2550ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่จะพัฒนาระบบราชการให้ตอบสนอง
แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐดังรายละเอียดใน2.2การปฏิรูประบบราชการภาคที่2เน้นที่เป้าหมายสูงสุดที่มีลักษณะเป็น“ประชาชน
เป็นศูนย์กลางเน้นใช้ความรู้เป็นฐาน และมุ่งผลงาน (Citizen Centric Knowledge Based and Results Oriented :CKRO)” โดย
ได้ใช้มิติทางเทคโนโลยีในหลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อินฟอร์แมติกส์ ซึ่งใช้ประโยชน์จากกฎ
ของมัว ในการที่จะใช้คุณสมบัติของอินฟอร์เมติกที่มีความสามารถที่จะทำให้ระบบ “มีขนาดเล็กลง ทำงานเร็วขึ้น และดีขึ้น
ราคาถูกลงมีการทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้นระบบมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นและสามารถใช้เป็นสะพานสู่ความรู้(SmallerFaster
Better Cheaper Better Connected More Intelligent and the Bridge to Knowledge) ทั้งนี้ในแง่ของเทคโนโลยีมีการประยุกต์ใช้
และพัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมที่อิงการให้บริการซึ่งต่างจากระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่จัดระบบ
ตามสายงานขององค์กรของรัฐที่เป็นลักษณะลำดับขั้นจากกระทรวงเป็นกรม เป็นกอง และแผนกเป็นต้น โดยที่ระบบในการปฏิรูป
ระบบราชการภาคที่ 2 จะเน้นที่การให้บริการเป็นหลักซึ่งจะมองระบบในแนวราบมิใช่แนวดิ่งในแบบเดิมโดยอาศัยสถาปัตยกรรม
อิงบริการ(Service Oriented Architecture: SOA) ซึ่งต่อเชื่อมการให้บริการ ตัวอย่างเช่น การให้บริการระบบสารบรรณ และระบบ
การจัดการเอกสารจัดเป็นบริการเดียวทั้งระบบของภาครัฐ (ทั้ง 20 กระทรวง) โดยประยุกต์ใช้ผลการศึกษาในการปฏิรูประบบ
รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่างๆ[ดังในเอกสารอ้างอิง] โดยเฉพาะต้นแบบของระบบสถาปัตยกรรมการปฏิรูประบบราชการ
กลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้โดยมีระบบจำลองหรือระบบจำลองอ้างอิง (Reference Model :RM)5ระบบ คือระบบจำลอง
อ้างอิงผลการทำงานระบบจำลองอ้างอิงภารกิจ ระบบจำลองอ้างอิงองค์ประกอบการให้บริการ ระบบจำลองอ้างอิงข้อมูล และระบบ
จำลองอ้างอิงเทคโนโลยีซึ่งทั้ง5 ระบบจำลองอ้างอิงประกอบกันเป็นสถาปัตยกรรมระบบภาครัฐของรัฐบาลไทย(ThaiGovernment
Enterprise Architecture :TGEA)
	
	 2.2  ความคาดหวังของประชาชนมีสูงขึ้นในหลายมิติโดยเฉพาะบริการจากภาครัฐและสิทธิและเสรีภาพในแง่ของ
ประเภท ปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสามารถดูได้จากเสียงสะท้อนของบทกำหนดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พศ. 2550 ที่กำลังรอ
การลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 นี้ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับ:
	 	 2.2.1สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยความเสมอภาคสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลสิทธิในกระบวนการ
ยุติธรรมสิทธิในทรัพย์สินสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ
บุคคลและสื่อมวลชนซึ่งโดยสรุปกำหนดว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการพูดการเขียนการพิมพ์การโฆษณา
และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
เฉพาะ และคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์
สาธารณะโดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง
วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมรวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนิน
การสื่อมวลชนสาธารณะ
	 	 2.2.2 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี
ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษา
ทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
และบุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ
ย่อมได้รับความคุ้มครอง
125
	 	 2.2.3สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ
ทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน ฯลฯ
	 	 2.2.4. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสา
ธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค
ย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย ฯลฯ
	 	 2.2.5 สิทธิชุมชน บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือ
ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา
และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนฯลฯ
	 2.3  แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
	 	 2.3.1แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราชอธิปไตย
และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็น และเพียงพอ
เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบ
ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ
	 	 2.3.2 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราช
การแผ่นดินโดยเน้น:
			 - บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน
โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน
เหมาะสม แก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนใน
พื้นที่ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและ
สาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความ
พร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
			 - พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่
ของรัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริม
ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ
			 - จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไป
อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน
	 	 2.3.3แนวนโยบายด้านศาสนาสังคมการสาธารณสุขการศึกษาและวัฒนธรรม รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์
และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ
สังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการ
ศึกษา ให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุน
การกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยฯลฯ
	 	 2.3.4 แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมาย
และการยุติธรรม ในแง่ของการดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง
126
ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนและจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวน
การยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ การจัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุง
และพัฒนากฎหมายของประเทศ
	 	 2.3.5 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ
และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี
รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
	 	 2.3.6 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียง รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดย สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัย
กลไก ตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การจัดให้มีสาธารณูปโภค สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม
จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ ควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเสถียรภาพ
และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย
เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจการพาณิชยนาวี การขนส่งทางราง รวมทั้ง
การดำเนินการตามระบบบริหารจัดการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศฯลฯ
	 	 2.3.7 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยรัฐต้องดำเนินการ กำหนด
หลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ
วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน
กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่าง
ทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร ฯลฯ
		 2.3.8 แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน รัฐต้องดำเนินการตามแนวน
โยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน รวมทั้ง ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่
รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน
ฯลฯ
	 	 2.3.9แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วม
ของประชาชนดังต่อไปนี้
	 ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น
	 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ
และสังคม
	 ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ส่งเสริมให้ประชาชน
มีความเข้มแข็งในทางการเมือง ฯลฯ
	 2.4 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม
รัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้
	 2.5 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน
	 2.6 การบริหาร การเงิน การคลัง และงบประมาณ
	 2.7 การบริหาร ระบบศาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร
127
	 2.8.การบริหารองค์กรตามรัฐธรรมนูญ  องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ4องค์กรคือ   คณะกรรมการการเลือกตั้ง    
ผู้ตรวจการแผ่นดิน   คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน   
	 2.9 การบริหาร องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญประกอบด้วย สามองค์กรคือ องค์กรอัยการ  และ คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  
	 2.10การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบทรัพย์สิน   การถอดถอนจากตำแหน่งรวมทั้งการดำเนินคดี
อาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
	 2.11การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลัก
แห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก
ในการจัดทำบริการสาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ
จัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้อง
เป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ผลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น
พบว่าระบบดังกล่าวเมื่อนำมาเชื่อมกับระบบอินฟอร์เมติกทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์แล้วจะทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลใน
การดำเนินงานของระบบภาครัฐ การประหยัด โปร่งใส และเป็นธรรมโดยทำงานที่ใช้แบบจำลองการให้บริการคล้าย Google
3. การปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 และผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย
	 เป็นการปฏิรูปที่ทำให้รัฐทำภารกิจในข้อ
	 2.3.3 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นมากและเป็นส่วนย่อยที่สำคัญเพราะสามารถเสริมการปฏิรูประบบ
ราชการภาคที่ 2 ในฐานะที่เป็นตัวช่วย (Enabler)ตัวเชื่อม (Linkage) และตัวเร่ง (Catalyst)
	 การปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 เป็นการศึกษาเพื่อดำเนินการทางทฤษฎี ซึ่งเมื่อนำมาใช้ดำเนินการจะต่อเชื่อมและคู่ขนาน
กับการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 1 ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 1 ได้เน้นลงจนถึงระดับสถานการศึกษาโดยในระดับอุดมศึกษา
มีสถานศึกษาอยู่กว่า260 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน ทางด้านอาชีวศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษาในระดับวิทยาลัยของภาครัฐ
กว่า 440 แห่ง ซึ่งรวมของภาคเอกชนอีกต่างหากสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามากกว่า
30,000 แห่ง และใช้ สำนักงาน สมศ. ในการรับรองและพัฒนามาตรฐานการศึกษาซึ่งในการดำเนินงานยังมิได้เน้นลงไปที่
กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยที่การปฏิรูปการศึกษาภาคที่2เน้นที่การปฏิรูปการเรียนรู้และวิจัยรวมทั้ง
การบริหารและธุรการซึ่งอาศัยเทคโนโลยีและองค์ความรู้อินฟอร์เมติกด้านสถาปัตยกรรมอิงบริการซึ่งจะมีการให้บริการที่มีลักษณะ
เดียวกันร่วมกันทั้งกระทรวงศึกษาและทั้งทุกหน่วยงานรัฐบาลตามระบบการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 ซึ่งวิธีนี้จะเกิด
การประหยัดอย่างมหาศาลเพราะลดความซ้ำซ้อนในการบริหารไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและ
อุดมศึกษาก็ใช้บริการร่วมกันเมื่อเทียบกับปัจจุบันแต่ละหน่วยงานก็ให้บริการที่แยกกันอยู่
	 จุดเน้น คือ อินฟอร์แมติกก็ถูกพัฒนาให้เป็นสะพานสู่ความรู้โดยได้มีการใช้อินฟอร์เมติกเชื่อมกลุ่มบูรณาการ
ศาสตร์อัจฉริยะ (Integrated Intelligent Systems:I3)สำหรับศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ที่ลู่เข้าหากันหรือลู่เข้ารวมกัน ตัวอย่างเช่น
การใช้อินฟอร์เมติกเพื่อเป็นสะพานสู่ความรู้เชื่อมการเรียนรู้และวิจัย(Integrated Intelligent System for Learning and Research
Network:I3LearN)ซึ่งในแง่ปฏิบัติก็จะมีการเชื่อมการเรียนรู้ในทุกระดับคือประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา
เข้ากับทรัพยากรการเรียนรู้และองค์กรการวิจัยซึ่งในแง่ของการจัดองค์กรในปัจจุบันก็จะต้องมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง
กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานต่างๆของภาครัฐที่ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้
ตัวอย่างเช่น สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาทหาร (กระทรวงกลาโหม) เป็นต้น
128
	 การจัดการหลักสูตรก็จะใช้หลักการ SOA เพื่อให้แต่ละหลักสูตรเป็นหลักสูตรแห่งชาติมิใช่หลักสูตรของแต่ละสถาบัน
อุดมศึกษาโดยองค์กรวิชาการและวิชาชีพจะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดหลักสูตรวิธีนี้คุณภาพบัณฑิตจะมีเอกภาพมากขึ้น
เมื่อมองในระดับชาติและการบริหารหลักสูตรจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นมาก คณาจารย์จะมีเวลาว่างจากการสอน
เพื่อทำงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมมากขึ้นในระดับการศึกษาพื้นฐานและอาชีวะศึกษาก็ใช้หลักการเดียวกันจะแก้ปัญหาการขาดแคลน
ครูอาจารย์ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งพัฒนาประบวนการสอนภาษาอังกฤษทำให้มีหลักสูตรนานาชาติหรือสองภาษาได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น
ทั้งนี้การพัฒนาการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความก้าวหน้าทั้งทางด้าน
ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์จากศาสตร์อินฟอร์เมติกร่วมกับศาสตร์ด้านวิศวกรรมระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เน้นการจำลองแบบและ
การจำลองสถานการณ์รวมทั้งความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบวิศวกรรมซอฟแวร์แบบสถาปัตยกรรมที่ใช้ระบบจำลองแบบ
(Model Driven Architecture: MDA)ที่ทำให้สามารถทำให้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อทำงานกับระบบขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
และมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น
4. สรุป
	 บทความนี้ได้นำเสนอสรุปงานภาคทฤษฎีของด้านการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2
โดยใช้สถาปัตยกรรม Thai Government Enterprise Architecture (TGEA) กับผลกระทบต่อทิศทางอุดมศึกษาไทยในแง่ของ
การบริหารและธุรการ คือจะมีการบูรณาการมากขึ้นเป็นหนึ่งเดียวตามหลักการของ Service Oriented Architecture(SOA) รวมทั้ง
การบริหารวิชาการคือหลักสูตรและวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมเพื่อให้อุดมศึกษาไทยมีประสิทธิภาพประสิทธิผล รวมทั้งมีเอกภาพ
เรื่องคุณภาพและมาตรฐานมากขึ้น และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (Intellectual Infrastructure)
หลัก ของชาติ เพื่อนำชาติไปสู่ความเป็นสังคมอุดมปัญญา
129
เอกสารอ้างอิง
“กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” เอกสารสรุปจากผลงานวิจัย เพื่อการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษา ภาคที่ 2 		
	 ของประเทศไทย ANW-E-Book กันยายน 2550
“Informatics for Integrated Intelligent Engineering Science and Systems Laboratory :I3SSL” วีระพันธ์ มุสิกสาร 		
	 เอกสารวิชาการสนทนาประสา มอ และเวทีปัญญาภาคใต้ ครั้งที่ 2/2550 เรื่อง “การปฏิรูประบบราชการไทยภาคที่ 2 	
	 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 และการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนา 14 จังหวัดภาคใต้” 17 สิงหาคม 2550 	
	 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่
ACM International Conference Proceeding Series; Vol. 128 Proceedings of the 2000 annual national conference on 	
	 Digital government research 2000 May 15 - 17, 2000
President’s information technology advisory committee (PITAC): subcommittee on transforming the government David 	
	 Cooper, Bo EwaldPages: 1 – 8
Sharon S. Dawes, Peter A. Bloniarz, Kristine L. Kelly, Patricia D. FletcherBuilding a digital government for the 21st 	
	 century Pages: 1 – 39
ACM International Conference Proceeding Series; Vol. 89 Proceedings of the 2005 national conference on Digital gov	
	 ernment research 2005, Atlanta, Georgia May 15 - 18, 2005
Anthony M. Cresswell, Theresa A. Pardo, Sharon S. Dawes, US-European union collaboration on digital government 	
	 research: developing new models Pages: 131 – 132
ACM International Conference Proceeding Series Proceedings of the 1st international conference on Scalable information
systems 2006, Hong Kong May 30 - June 01, 2006
Trevor Wood-Harper, Othman Ibrahim, Norafida Ithnin, An interconnected success factor approach for service func	
	 tional in Malaysian electronic government Pages: 446 – 450
Vassilios Peristeras, Konstantinos Tarabanis, Governance enterprise architecture (GEA): domain models for
	 e-governance Pages: 471 – 479
Queensland Nigel Martin, Shirley Gregor, Dennis Hart, Using a common architecture in Australian e-Government: the 	
	 case of smart service Pages: 516 – 525
David Lazer, Kevin Esterling, Michael Neblo, Jane Fountain, Ines Mergel, Curt Ziniel Connecting to Congress Pages: 	
	 193 - 194Pdf (151 KB)
132
กำหนดมาตรฐานใหม่ชื่อว่า ISO
26000 ขึ้นมา โดยให้ความสำคัญกับ
ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม
หรือ CSR, Corporate Social Re-
sponsibility ไว้ค่อนข้างมาก (จริงๆ
แล้ว ISO ให้ความสำคัญต่อเรื่อง
จรรยาบรรณมาตั้งแต่ ISO 9000 และ
ISO 14000 แล้ว เพียงแต่ไม่เด่นชัด
เท่าครั้งนี้) และสำหรับในเมืองไทยนั้น
การบังคับใช้มาตรการจรรยาบรรณ
ในกลไกภาครัฐฯ ก็ได้รับการกระตุ้น
และดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล
พตท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งที่ตัวรัฐบาล
เองก็มีข้ออันพึงสงสัยได้ในเรื่อง การ
ประพฤติผิดจริยธรรมอย่างถูกต้อง
ตามกฏหมาย
	 ฉนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสดี
ที่เราจะได้มาศึกษาทำความเข้าใจ
ร่วมกันถึงสิ่งที่กำลังเป็นกระแสสังคม
อยู่ในขณะนี้ เพื่อการดำเนินชีวิตที่
สอดคล้องต่อสภาพที่เป็นจริง ในขณะเดียวกัน ก็น่าจะใช้เป็นโอกาสย้อนกลับมาศึกษาพิจารณาตนเองว่า สภาพสังคมดั้งเดิม
ของไทยเรานั้นแท้จริงแล้วอ่อนด้อยในเรื่องจรรยาบรรณจนกระทั่งต้องให้ค่านิยมของสังคมตะวันตกเข้ามากำหนดชี้นำทิศทางการ
พัฒนาเชียวหรือ ? ถ้าไม่ใช่ ทำไมประเทศไทยจึงมีชื่อเสียงไม่ดีนักในเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น จนถึงขนาดเป็นเหตุสำคัญอัน
นำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙
	 ในทางตรงกันข้าม อาจจะต้องตั้งคำถามใหม่ขึ้นในใจทุกคนว่า การสร้างมาตรฐานจรรยาบรรณให้ปรากฏไว้ในกระดาษ
รายงานผลการประเมิน (SAR) เพื่อให้ดูดี เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรได้มีโบนัสมากๆ นั้นเพียงพอแล้วหรือสำหรับสังคมไทย ?
ถ้าไม่ใช่ ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนจากการตามกระแสจรรยาบรรณุวัตร ไปเป็นการปลุก/ปลูกฝังความดีความงามแบบสังคมพุทธ
ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่อง ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม และจริยธรรม ไว้ในจิตใจของผู้คนทุกระดับของสังคม จนอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง
ว่าเป็นการสร้าง จรรยาบรรณภิวัฒน์ แทน
2. คำจำกัดความของ “จรรยาบรรณ”
	 คำว่า จรรยาบรรณ นั้น หากยึดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่
ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก  โดยอาจ	
เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” ซึ่งแม้จะให้ความหมายสอดรับกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่าEthics(มีรากศัพท์จากภาษากรีก
etos = custom and habits ) ที่เรารับมาใช้ในความหมายของ Professional Ethics แต่ก็ไม่ถึงกับตรงความหมายเสียทีเดียวนัก
ยังคงมีการเหลื่อมความหมายระหว่างคำศัพท์ทั้งสองนี้อยู่ค่อนข้างมาก เพราะคำว่า Ethics อาจถูกนำไปใช้ในความหมายอื่นๆ
ได้ด้วยนอกเหนือไปจากเรื่องจรรยาบรรณ
	 เช่น หากใช้ระบุชื่อสาขาวิชา Ethics จะหมายถึงวิชา “จริยศาสตร์” ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิชาปรัชญา และมีหัวใจสำคัญ
อยู่ที่การใช้สติปัญญาตรรกะความเชื่อค่านิยมของสังคมและกระบวนวิธีทางปรัชญาในการศึกษาตีความ/โต้แย้งถึงคุณค่าการกระทำ
133
ของมนุษย์โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานแต่ไม่ได้ตัดสินว่าถูกหรือผิด เช่น การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการขายบริการทางเพศของนักศึกษา
การทำการุณฆาตหรือการทำแท้งนั้น ในทางจริยศาสตร์จะหลีกเลี่ยงตัดสินความถูกความผิดซึ่งนักจริยศาสตร์ระบุว่าการตัดสินถูก/
ผิด ดี/ชั่ว บาป/บุญ นั้นเป็นเรื่องของ Moral ไม่ใช่เรื่องของ Ethics (คำว่า moral มีรากศัพท์จากภาษาละติน mores = manner
andcustoms นี้มักได้รับการแปลว่าศีลธรรมจรรยาหรือจริยธรรมแต่ก็คงให้ความหมายได้ไม่ตรงนักเช่นเดียวกับการแปลEthics
ว่า จรรยาบรรณ )
	 การใช้คำว่า Ethics ในเชิงจริยศาสตร์นั้น ปราชญ์ตะวันตกให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม แม้ว่าจะมีกฎหมาย
ระเบียบข้อบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามและคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ ตลอดจนมีความเชื่อทางศาสนาจารีตประเพณีและขนบธรรมเนียม
ชี้นำให้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่หากมีความขัดแย้งทางคุณค่าการกระทำ จะทำอย่างไร ? เช่น ถูกกล่าวหาว่าฆ่าคนตาย ทั้งที่
คนใกล้ตัวอันเป็นที่รักเป็นคนทำ จะยอมรับเพราะความรักก็เข้าข่ายมุสาวาท จึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทางจริยศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์
ตัดสิน คำว่า Ethics ในความหมายของจริยศาสตร์จึงแตกต่างจาก Ethics ที่แปลว่าจรรยาบรรณ นอกจากนี้ หากคำว่า Ethics
ถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น ก็จะสื่อถึงความนัยที่ต่างออกไปได้อีก เช่น หากนำไปประกอบกับคำว่าองค์กรเป็น Organizational Ethics
ก็น่าจะแปลว่า จริยธรรมองค์กร มากกว่าที่จะแปลว่า จรรยาบรรณองค์กร
	 ตรงกันข้ามกับความพยายามบัญญัติศัพท์ให้ตรงกับความหมายของ
ศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เดิมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การกระทำความดีความงาม
ในภาษาไทยนั้นมีมาก และครอบคลุมความนัยได้หลากหลายกว่าภาษาอังกฤษมากนัก
เช่น เรามีคำว่า มนุษยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ทศพิธราชธรรม โลกบาลธรรม
(หิริ โอตตัปปะ) พรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) สาราณียธรรม
(เครื่องสนับสนุนให้เกิดสามัคคีในหมู่กัลยาณมิตร) อปริหานิยธรรม (ธรรมที่จะทำ
ให้ไม่เสื่อม) ฯลฯ เพราะสังคมไทยในวิถีพุทธ มีความเชื่อในลักษณะจิตตนิยม (Spiri-
tualism) มุ่งเน้นการสร้างความดีความงามมาจากส่วนในของจิตใจ มิใช่การบังคับ
ใช้กฏหมายซึ่งเป็นการสร้างความดีจากปัจจัยภายนอกตามหลักความเชื่อเชิง
วัตถุนิยม (Materialism) หรือเชิงทุนนิยม (Capitaism) ที่ได้รับการเชิดชูชื่นชม
กันเป็นอย่างมากในสังคมตะวันตก
	 อย่างไรก็ตาม การให้ความหมายของคำศัพท์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ
หรือภาษาไทย ล้วนแปรผันไปได้ตามกาลเวลาและสภาพสังคม ในอดีตไทยเรารับเอา
คำศัพท์จากภาษาสันสกฤต และบาลีของอินเดียเข้ามาเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น รับเอาคำว่า “นิติศาสตร์” อันมีรากมาจากคำเดียวกับ
คำว่า“นีติ”ที่แปลว่าการนำหรือ“นายก” ที่แปลว่าผู้นำเข้ามาในความหมายว่า“ศาสตร์แห่งการนำ” และรับเอาคำว่า“ธรรมศาสตร์”
เข้ามาในความหมายของ “ศาสตร์ว่าด้วยกฏหมาย” แต่เมื่อสังคมไทยเปิดรับ กระแสการเรียนรู้และพัฒนาจากชาติตะวันตก
จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ให้มีความหมายใกล้เคียง กับคำศัพท์ภาษาอังกฤษขึ้น ใช้มีการบัญญัติศัพท์ว่า รัฐศาสตร์ขึ้นมาเทียบ
กับคำว่าPoliticsแทนที่จะใช้คำว่านิติศาสตร์ซึ่งคลุมความหมายของการปกครองอยู่แล้วแล้วก็เลยเปลี่ยนเอาคำว่านิติศาสตร์ไปใช้ใน
ความหมายเดิมของธรรมศาสตร์แทน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเพื่อเลี่ยง การใช้คำซ้ำกับคำว่า “ธรรมวินัย” อันหมายถึงธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้วซึ่งเป็นศัพท์เดิมที่ใช้มาแต่สมัยพุทธกาล(คำว่าธรรมวินัยเทียบได้กับคำว่า“สัตถุศาสน์”ที่แปลว่าคำสอนสั่งของ
พระศาสดาอันพึงเล่าเรียน หรือ “ปริยัติธรรมในพุทธศาสนา” ซึ่งไม่ตรงนักกับคำว่า “Religious” ที่มุ่งเน้นไปที่ความเชื่อมากกว่า)
	 ที่สำคัญ คำว่าจรรยาบรรณในความหมายของEthics ก็เพิ่งจะได้รับการนำมาใช้ได้ไม่นานเท่าใดนักไล่ๆกับการรับวิธีการ
ศึกษาแบบชาติตะวันตกเข้ามาในประเทศสยามโดยเริ่มใช้กับจรรยาบรรณแพทย์จรรยาบรรณครู และจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์
ก่อน และกว่าจะมีการระบุเรื่องจรรยาบรรณไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ก็ต้องใช้เวลานานกว่า
หกสิบปี (ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑) ก่อนหน้านี้เวลาระบุเรื่องการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง
เหมาะสมเรามักจะเรียกว่า“วินัย”หรือ“ธรรม” เช่นวินัยสงฆ์ธรรมวินัยคิหิวินัย(หรือฆราวาสธรรมซึ่งเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์
เลือกที่จะใช้คำว่า “วินัยชาวพุทธ” หรือ “ธรรมนูญแห่งชีวิต”) ฯลฯ
การสร้างมาตรฐาน
จรรยาบรรณกระดาษ
ไว้ในรายงานผล
การประเมิน (SAR)
เพื่อให้องค์กร
ได้มีโบนัสมากๆ
เพียงพอแล้วหรือ
สำหรับสังคมไทย ?
134
	 หลักฐานที่จะช่วยยืนยันว่า สังคมไทยหรือราชการไทยตีความคำว่า จรรยาบรรณ แตกต่างไปจากเรื่องคุณธรรมและ
จริยธรรม ได้แก่การที่ ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2537 ข้อ 1 ได้กำหนดให้ “ข้าราชการ
พลเรือนพึงพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม” อันส่อให้เห็นว่า คุณธรรม ที่หมายความว่า สภาพคุณงามความดี การยึดมั่น
ในความถูกต้องดีงามและจริยธรรมที่หมายความว่าคุณความดีที่เป็นข้อประพฤติปฎิบัติ นั้นเป็นสำนึกเป็นคุณความดีที่ต้องส่งเสริม
อบรม และพัฒนาขึ้นให้เกิดในจิตใจ มิใช่กฏกติกา ที่ประมวลขึ้นเป็นหลักยึดถือปฏิบัติเช่นจรรยาบรรณ
3. จรรยาบรรณวิชาชีพ
	 เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพ จึงขอนำเอาข้อกำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน
โดยทั่วไปในสังคมอุดมศึกษามานำเสนอ โดยมีข้อสังเกตว่า บางครั้งข้อกำหนดกฏหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณก็อาจจะส่งผล
ให้เกิดการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ จึงมักต้องมีการกล่าวอ้างประกอบไปในตัวกฎ ข้อบังคับเหล่านั้น
ด้วยเสมอว่า มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้อาจ
กระทำการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นอกจากนั้น เมื่อมีการบัญญัติ
ข้อบังคับว่าด้วย จรรยาบรรณออกมามากๆ อาจส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละรายต้องถูกกำกับไว้ด้วยจรรยาบรรณมาก
กว่าหนึ่งอย่าง ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์แพทย์ที่ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ และกลับมาสอนในมหาวิทยาลัย
ของรัฐ จะต้องถูกกำกับไว้ด้วย จรรยาบรรณวิชาชีพอย่างน้อย 7 ประเภท ได้แก่ จรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณวิศวกร
จรรยาบรรณอาจารย์ จรรยาบรรณ ข้าราชการพลเรือน จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ และ วินัยข้าราชการ
(ที่ว่าอย่างน้อย เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยยังมีการร่างข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณอาจารย์ และจรรยาบรรณบุคลากรของตนเอง
แยกออกมาต่างหากจากจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน อีกทั้งเวลาพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการก็ยังต้องมีการนำเอากติกา เรื่อง
จรรยาบรรณเข้ามาประกอบด้วย)
	 3.1  จรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร  
	 สมาคมวิชาชีพวิศวกรรม แห่งสหรัฐอเมริกา (National Society of Professional Engineers, NSPE, http://www.ifmbe.
org/) ได้ทำประกาศร่างสำหรับการปฎิญญาณตนของวิศวกร (Code of Ethics and pledge) ไว้ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1954
ดังนี้
	 “ในฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมข้าพเจ้าขออุทิศความรู้ และ ทักษะ ในวิชาชีพ เพื่อความ ก้าวหน้า  และ สมบูรณ์
พูนสุข ของมนุษยชาติ  ข้าพเจ้าขอปฎิญาณ  ในการปฎิบัติตนอย่างเต็มกำลัง  ในการมีส่วนร่วมในพหุชนอันสัตย์ซื่อ ในการดำรงชีพ
สอดคล้องกับกฏของมนุษย์ผู้เจริญในการประกอบการงานด้วยมาตรฐานสูงสุดแห่งวิชาชีพ  ในการมุ่งให้บริการมากกว่าที่จะมุ่งกำไร  
มุ่งเกียรติยศ และยืนหยัดในวิชาชีพ มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน  และ มุ่งประโยชน์ของสังคมโดยรวมเป็นสำคัญ  ข้าพเจ้าในฐานะ
มนุษย์ผู้ต่ำต้อย  ขอถวายสัตย์ปฎิญาน ไว้ต่อพระบาท พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงชี้นำ”  
	 โดยประเด็นสำคัญซึ่งสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา  ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ  มีดังนี้  
		 • ต้องยึดหลัก ความปลอดภัย สุขภาพ และความอยู่ดีกินดีของสังคม เป็นสำคัญ
		 • ต้องให้บริการเฉพาะในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญ
		 • ต้องนำเสนอข้อคิดเห็นสู่สาธารณะโดยปราศจากอคติ และมุ่งเสนอความจริง
		 • ต้องปฎิบัติต่อนายจ้าง และลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
		 • ต้องไม่ล่อลวง ฉ้อฉล
		 • ต้องปฎิบัติตนอย่างมีเกียรติ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และสร้างชื่อเสียงโดยเคารพกฎหมาย
	 สำหรับจรรยาบรรณวิศวกรของไทยเรานั้น เป็นไปตาม ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม
และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 โดยอาศัยอำนาจตามความ
ในมาตรา 8(6) (ซ) มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)

More Related Content

More from สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoสุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์คสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่นสุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 

National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)

  • 1. 115
  • 2. 116
  • 3. 117 Abstract : - Identity is an abstract term and most researchers believe that identity can be explained into three differ- ent dimensions: enlightenment subject, sociological subject and post – modern subject. On the whole, identity is the ongoing process in which a person interacts with the environment from different perspectives and this helps form the multiple identities of each individual. When identity is applied to the integrity of a nation – state, it comes to the national identity. National identity can be defined in terms of political forces. The population is politically socialized to form attitudes to support the whole political system and the nation – state. National identity is also closely related to the enactment of constitution of every country. Nevertheless, in this research, national identity was investigated through Educational Policy of The Kingdom of Thailand. The citizens of the same national identity have the shared understandings of the geopolitical concept of their living place, nationalism, aspirations, emotion, feelings, beliefs, the common belonging and mutual trust among citizens based on their traditions, customs, rituals, history, the same imagination of the own nation – state, the same values, ideals, moral principles, the use of national language for communication and the portray of the media for social attachment. The researcher investigated though Education Policy from 19th century in the reign of King Chulalongkorn the Great to the present King Bhumiphol the Great and found with great pleasure that Buddhism have been the fundamental component in directing national identity as the King is the prominently iconic personalization. All of the Kings in Thailand practice as Buddhist Kings. The concept of Royal Hegemony on Buddhist philosophy is the great model to follow. Buddhist philosophy which His Majesty the King Bhumiphol has been performing is translated into practice “Philosophy of Self-sufficient Economy” and becomes the distinguished national identity of the Thai people. Key-Words: - National Identity, Educational Policy, Royal Hegemony, Iconic Personalizaion, Self-sufficient Economy
  • 4. 118 1. Introduction National identity has been a discussion topic in the educational context. In this research, there will be a deep discussion about this issue in details. First of all, the term “identity” and its relations with national identity will be fully discussed. Besides, the meaning of “Thainess” will be discussed and be used to show how it has complicated the meaning of national identity among the people of Thailand. Lastly, the researcher will explain how national identity can be implemented in the educational policy. According to the new educational reform “Learning to Live Together” promoted by the National Council of Education of Thailand, national identity has been highly promoted as one of the key values and attitudes. It is stated that “national identity, a positive spirit, perseverance, respect for others, and commitment to society and nation are the five values and attitudes regarded as paramount to the Thais’ personal development, and it is hoped that the Thais “will have a deeper understanding of the history, culture, natural and human environments of Thailand, and strengthen their national identity.” According to Somboon (1991), national identity created by education has the following purposes and is comprised of the following perspectives or features: civic nationalism, cosmopolitan nationalism, cultural nationalism, and Kingship Institution nationalism (The citizens not only show their love for their nation – state, but they also show their loyalty to Kingship Institution, show their belief in the role of the royal family and democracy. They also implement any projects for “making merit with the King”.) This implies that national identity is not confined to one identity only and it is determined by various perspectives and features. In the past decades, the world is under great changes and globalization has played an important role in changing the whole world so rapidly. A lot of scholars (Mok and Chan, 2002; Spring 2001; Pires – O’Brien, 2000) have a consensus agreement on its impacts on the economic and educational developments of all the communities in the world. These challenges cannot be avoided and all the people have to equip themselves to face those challenges. But a problem arises and some of the scholars (Pike, 2000) are worried that globalization will pose a threat to the existence of national identity. People will ignore their own national identity because they need to learn more about “global knowledge” to be more competitive and to meet the international standards of the world. Scholars like Hall, Held and McGrew (1994) remarked that national identity is used to unite people together in a defined area culturally and politically as a force to defend the competitive forces of other nation – states. When identity is applied to the integrity of a nation – state, it comes to the discussion about national identity. According to Friedman (1994) and Wilborg (2000), national identity can be defined in terms of political forces. The population is politically socialised to form attitudes to support the whole political system and the nation – state. (Fairbrother, 2003) National identity is also closely related to the enactment of constitution of every country. By referring to one of the western thinkers, Rousseau (1712 – 1778), who believed that people could be grouped together to have the same identity and the political will in the same community. The constitutive principles play an important role in the formation of national identity because it can represent the collective self understanding of the community (Parekh, 1999). But the political sense of view may lead to the phenomenon that someone can determine who is included and who is excluded by the national boundaries and it is criticized that inclusion is not entirely voluntary (Dittmer and Kim, 1993). What is more, another component of national identity refers to how the citizens in a defined area identify themselves to be. Simply speaking, the citizens of a place can have collective belonging by referring to emotional symbols of the singing of the national anthem, the flag, national ceremonies, rituals and monuments to dead heroes (Parekh, 1999). In addition, the scholars, Banks (1997) believe that national identity can be viewed from an individual
  • 5. 119 point of view. Each individual applies his knowledge to constitute the formation of national identity. A person always observes, learns and acquires different kinds of information from different sources to become part of the background knowledge. Through critical thinking and logical thinking, each individual can give reasons to make a decision to show who s/he is in the community. In this respect, national identity is not a fixed item but a process of identifications and it is changing all the time. Education in Thailand Education in Thailand can be said to have begun in the 13th century when Sukhothai was Thailand’s capital. In 1283, one of Sukhothai’s kings, Ramkamhaeng the Great created the first Thai alphabet, using as its basis the Mon and Khmer scripts which had, in turn, been derived from a South Indian script. He employed for the first time the new alphabet in his stone inscription of 1292 at Sukhothai. Throughout the Kingdom of Sukhothai, two levels of education existed :- Education provided by the Royal Institution of Instruction (Rajabundit) to princes and sons of nobles and edu- cation provided by the Buddhist monks to commoners. After the fall of Ayutthaya in 1767, and following a brief Thonburi Period, the capital city of Bangkok was founded in 1728 by King Rama I (1782-1809), the first King of the present Chakri Dynasty. He made an impact on the development of public education by reforming the Buddhist Church. During the early Bangkok period, a number of treaties were concluded with foreign powers, mostly in the form of a Treaty of Friendship and Commerce. Since English became the lingua franca of the Far East, King Rama IV realized that the kind of education provided by the monastery and the court was not adequate for future government officials. For this reason, he commanded that measures be taken to modernize the education of the country and a good knowledge of English would form a part of the new educational requirements, as it had become a necessary key to further knowledge as well as a medium of communication with foreigners. The policy of educational modernization was further pursued by King Rama V (1868-1910). Recognizing the need for better-trained personnel in royal and governmental services, he opened a school in the palace to educate young princes and the sons of nobles in 1871. This was the first Thai school in the modern sense as it had its own school building, lay teachers and a time-table. In 1871, immediately after the setting-up of the first school, the Command Declaration on Schooling was issued for this purpose. Although, it is interesting to note that the Command Declaration on Schooling signifies the advent of a formal education in the reign of King Rama V, the fact remains that the education system at that time was essentially for the elite. In 1887, King Rama V established the Department of Education to oversee the Kingdom’s education and religious affairs. At the time of its inception, the Department had under its jurisdiction, 34 schools in the metropolitan and provincial areas, 81 teachers and 1,994 citizens, including 4 other advanced schools in the metropolis. It is worth noting that the implicit significance of the establishment of the Department of Education lies not in the scope of its responsibili- ties but in the fact that education in Thailand was on its way to being a planned enterprise, more systematic than ever before, and that education also had its own spokesman to speak for its worthy cause. In 1898, the first Education Plan was launched. It was divided into 2 parts: the first concerned with education in the Bangkok area while the second with education in the provinces. The most significant feature of this Education Plan was that the educational organization had covered all levels namely; pre-primary, primary, secondary and technical education up to higher education. The 1902 the National System of Education in Siam retained all the education levels of the 1898 Plan and reshaped them into 2 categories; namely, general education and professional or technical education. Another feature of this plan was that a variety of age limits for admission was imposed to motivate graduation within a scheduled duration.
  • 6. 120 In 1921, the Compulsory Primary Education Act was proclaimed. The Year 1932 heralded a period of historical change in Thailand as a constitutional monarchy system replaced the traditional system of absolute monarchy. The first National Education Scheme was thus devised whereby individual educational ability regardless of sex, social background or physical conditions would be formally recognized. In 1960, compulsory education was extended to 7 years. In addition, special provisions were, for the first time, made for disabled children, who were originally exempted from compulsory education, so that they might be given some form of basic education, regardless of their handicaps. In 1977, Thailand’s educational system was changed from a 4-3-3-2 structure to a 6-3-3 system wherein six years of compulsory primary education is followed by three years of lower secondary school and by another three years of upper secondary schooling, which is still in use nowadays. From the year 1977 right through to the present day, it can accurately be said that all of the efforts made by the Ministry of Education have been geared towards one direction, which is to provide educational services as a means for a better quality of life and society. The meaning of “a better quality of life and society” is analyzed in the term of “national identity” throughout this research. 2. Problem Formulation Qualitative research is used in this study. Obviously, the Thai nation-state has used various ways to strengthen, consolidate and vitalize its ruling by using education to transmit the importance of good civic personality to the citizens. The concept of good civic personality is regarded by the researcher as national identity and the researcher would like to answer what the Thai nation-state implanted the spirit of national identity through the education policies from the first policy to the present one. Civic education on the whole can really help facilitate the understanding of citizens towards national identity and its content includes “knowledge, values, attitudes, group identifications necessary for a political community as well as its members, knowledge of history, the structure of political institutions at both the national and local levels, loyalty to the nation, positive attitudes political authority, fundamental socio – political beliefs and values, obedience to laws and social norms, sense of political efficacy, and interest and skills concerning political participation. But different school authorities interpret the meaning of civic education in a different way. Some only focus a lot on substantial knowledge (such as history and geography) and cognitive domains (such as critical thinking) and the concept of taking action and affective domain (such as values and attitudes) are neglected in the curriculum. Added to this, the researcher questioned the feasibility of national identity education by focusing only on the cultural identity. According to the “Learning to Live Together” consultation paper, the citizens are required to “have a deeper understanding of the history, culture, natural and human environments of Thailand” in order to “strengthen their national identity” and to cultivate “a sense of national identity through understanding elements of Thai history and culture, (e.g. history, arts, scientific and technological development, achievements of outstanding Thai Heroes and Heroines). 3. Problem Solution National Identity is broadly defined as the composite of outstanding features and characteristics of Thai society and people that differentiates Thailand from other countries, and which has helped the Thai people to move forward, while maintaining their “Thainess,” despite external influences and threats throughout history. In the early days of Thai history, education was primarily provided by the religious, domestic and royal institutions. Buddhist monks gave basic education
  • 7. 121 to boys in classes set up within the compounds of monasteries, while children of the royal household and from families of the nobility were educated in order to serve in the court and govern in the provinces. While the girl commoners got education by their parents at their home. During the reign of King Rama V (1868-1910) there was increased recognition of the need for educated people to staff the growing bureaucracy. As a result, the Thai education system was modernized and made more accessible to the general public. This began with the 1898 Education Proclamation, which was strongly influenced by the British system and in which two educational paths were stipulated: the academic and the vocational. The researcher found that during the reign of King Chulalongkorn or Rama V and King Vajiravudh, or Rama VI of Thailand, described Thai society as founded upon, and held together by three fundamental institutions or pillars, namely, the Nation, Religion, and Monarchy. These three institutions, particularly with their positive and outstanding traits, as well as their mutually supportive roles and responsibilities, have significantly contributed to Thailand’s unity, security, and development through the ages. The concept of good civic personality was invested to the Thainess. The proclamation of the new Constitution in 1997 has made a dramatic change in education. The main objective in education plan is to produce Thai citizens who are of high quality both academically and professionally, equipped with knowledge and skills needed for national development. Moreover, Thai higher education has to contribute to economic, social and environmental stability, be able to solve critical problems of the country and become center of education for the neighboring countries through instruction of institutions that are autonomous, efficient and adjustable to the world changes. The discourse of “Goodness, Virtue and Happiness” is the foremost Thai identity. Nonetheless, kingship institu- tion is the immense model, which the Thai place on their head with great respect. This is what the researcher uses the term “Royal Hegemony” to explain this phenomenon. Thailand is now a constitutional monarchy and a country aspiring to become a newly developed society, but the traditional principles of righteous Buddhist kingship, and kingly virtues, remain of paramount importance to the present monarchy. His Majesty has displayed, and continues to display, a profound understanding of constitutional kingship, as well as the traditional sources and symbols of Thai monarchal tradition. The significance of his reign relates to three main themes: the well-being of his subjects, the security and stability of his nation, and national unity. These three main themes are constructed by Self-sufficient Philosophy, which is underlined by Buddhist Philosophy. 4. Conclusion The development of Thai national identity has been transforming through the passing time, nevertheless Bud- dhist philosophy is the central inspiration to form the Thainess deep inside their spirit. Buddhism gained wide acceptance because its emphasis on tolerance and individual initiative complemented the Thais’ cherished sense of inner freedom. Fundamentally, Buddhism is an empirical way of life. The discourse of national heroes or heroines have been focus- ing on Kingship Institution, consequently the Kings are iconic persons for the Thai citizens. As the Buddhist King, his Majesty the King Bhumiphol embarked early in his reign on a journey to know his subjects, and, in the process, allowed them to get close and know him. At the same time, he used his time wisely to accumulate “constitutional” experience and has an acute grasp of constitutional rule, but remains detached from politics, playing a non-partisan role in the country’s politicalprocess and development. The fact that the King has persevered in activities for the long-lasting benefit of the Thai people, has very much endeared him to his subjects--so much so that the Thais, in general, willingly and unreservedly,
  • 8. 122 accord him the confidence and trust no other monarch in our history, or indeed, in the world, has ever enjoyed. Without His Majesty’s guiding hand, the Thai would not be what they are today, a nation which has consistently demonstrated its inner strength, political resilience, social harmony, and economic dynamism, traits which have enabled the Thais to survive many a threat and misfortune in their long history. His philosophy “Self-sufficient Economy” derived from Buddhist philosophy is the reflection of identity of the Thai identity. References: [1] Banks, J. A. Educating Citizens in a Multicultural Society. New York, Teachers College Press., 1997. [2] Dittmer, L. and Kim, S. S. China’s Quest for National Identity. USA, Cornell University Press., 1993. [3] Fairbrother, G. P. Towards Critical Patriotism: Student Resistance to Political Education in Hong Kong and China. Hong Kong, Hong Kong University Press., 2003. [4] Friedman, J. Cultural Identity and Global Process. London, SAGE., 1994. [5] Hall, S., Held, D., and McGrew, T. Modernity and Its Futures. Cambridge. The Open University.,1994. [6] Mok, K. H., and Chan, L. C. Globalization and Education: The Quest for Quality Education in Hong Kong. Hong Kong, Hong Kong University Press, 2002. [7] Parekh, B. Defining National Identity in a Multicultural Society. In Matimer, E. (ed.). People, Nation and State: The Meaning of Ethnicity and Nationalism. London, I. B. Tauris., 1991 [8] Pike, G. Global Education and the National Identity: In Pursuit of Meaning. Theory Into Practice. 39, 2, 64 – 74., 2000. [9] Pires – O’Brien, J. The Misgivings of Globalization. Contemporary Review. 277, 1618, 264 – 72, 2000. [10] Somboon,T. The Influence of Foreign Education on the Thai Educational Scheme (BE. 2441-2464), Master Thesis, Chulalongkorn University, 1994. [11] Spring, J. Globalisation and Educational Rights: An Intercivilization Analysis. New Jersey, Lawrence Erlbaum, 2001. [12] Wiborg, S. Political and Cultural Nationlism in Education. The Ideas of Rousseau and Herder Concerning National Education. Comparative Education. 36, 2, 235 – 243., 2000.
  • 9. 123 บทคัดย่อ บทความนี้สรุปบทความนี้เป็นสรุปของรายงานเบื้องต้นการวิจัยตามเอกสารอ้างอิง ซึ่งได้ศึกษาการปฏิรูประบบราชการ ภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษาทางทฤษฎีและได้ผลสรุปในการที่จะนำไปเป็นองค์ความรู้ฐานราก เพื่อพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการปฏิบัติต่อไป 1. บทนำ บทความนี้เป็นสรุปของรายงานเบื้องต้นการวิจัยตามเอกสารอ้างอิง ซึ่งได้ศึกษาการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 ซึ่งเป็นการศึกษาทางทฤษฎีและได้ผลสรุปในการที่จะนำไปเป็นองค์ความรู้ฐานรากเพื่อพัฒนา และนำไปประยุกต์ใช้ในระบบการปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้การปฏิรูปทั้ง 2 ระบบได้มีการศึกษา โดยเครือข่ายสถานปฏิบัติการวิจัย ANW ร่วมกับพันธมิตรเพื่อสหพันธ์อินฟอร์แมติกส์แห่งประเทศไทย(Federation of Thai Informatics Alliance: FTIA) โดยได้รับ การสนับสนุนจากเครือข่ายการวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการของสำนักงาน คณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) งานวิจัยนี้ยังไม่ได้แล้วเสร็จสมบูรณ์แต่ก็มีความก้าวหน้ามากพอที่เป็นเนื้อหาในการนำเสนอ ของการวิจัยนี้ การวิจัยได้ศึกษาทางทฤษฎีเพื่อดำเนินการปฏิรูประบบภาครัฐของประเทศไทยที่ต่อเนื่อง และคู่ขนานไปกับการปฏิรูป ระบบราชการภาคที่ 1 ซึ่งกำลังดำเนินการโดยรัฐบาลผ่านสำนักงาน กพร. โดยที่มีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรไทย ฉบับปี 2540 ซึ่งในการพัฒนาจะเน้นที่การเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยการจัดองค์กรใหม่เพื่อลดความซ้ำซ้อน และสร้างหน่วยงานใหม่ เพื่อให้มีความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ชัดเจนขึ้น โดยเพิ่มหน่วยงานระดับกระทรวงจาก 14 กระทรวง เป็น 20 กระทรวง และมีมาตรการติดตามและประเมินผลการทำงานของระบบราชการในระดับกรมและเทียบเท่า และขนาดเดียวกันก็มี การพัฒนาระบบจูงใจให้ทำงานให้ได้ผลดีขึ้น โดยใช้ระบบโบนัส
  • 10. 124 2. ทำไมจึงต้องมีการปฏิรูประบบราชการภาคที่สอง 2.1. สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปได้เปลี่ยนแปลงไปมาก การปฏิรูประบบราชการภาคที่2เป็นผลมาจากการศึกษาเพื่อพัฒนาให้สามารถรองรับระบบและการเปลี่ยนแปลง โดยอาศัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 21 ซึ่งจะสามารถรองรับโครงสร้างงานของภาครัฐตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2540 และฉบับยกร่าง พ.ศ. 2550ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่จะพัฒนาระบบราชการให้ตอบสนอง แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐดังรายละเอียดใน2.2การปฏิรูประบบราชการภาคที่2เน้นที่เป้าหมายสูงสุดที่มีลักษณะเป็น“ประชาชน เป็นศูนย์กลางเน้นใช้ความรู้เป็นฐาน และมุ่งผลงาน (Citizen Centric Knowledge Based and Results Oriented :CKRO)” โดย ได้ใช้มิติทางเทคโนโลยีในหลายรูปแบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี อินฟอร์แมติกส์ ซึ่งใช้ประโยชน์จากกฎ ของมัว ในการที่จะใช้คุณสมบัติของอินฟอร์เมติกที่มีความสามารถที่จะทำให้ระบบ “มีขนาดเล็กลง ทำงานเร็วขึ้น และดีขึ้น ราคาถูกลงมีการทำงานเป็นเครือข่ายมากขึ้นระบบมีความเฉลียวฉลาดมากขึ้นและสามารถใช้เป็นสะพานสู่ความรู้(SmallerFaster Better Cheaper Better Connected More Intelligent and the Bridge to Knowledge) ทั้งนี้ในแง่ของเทคโนโลยีมีการประยุกต์ใช้ และพัฒนาสถาปัตยกรรมของระบบที่พัฒนามาจากสถาปัตยกรรมที่อิงการให้บริการซึ่งต่างจากระบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่จัดระบบ ตามสายงานขององค์กรของรัฐที่เป็นลักษณะลำดับขั้นจากกระทรวงเป็นกรม เป็นกอง และแผนกเป็นต้น โดยที่ระบบในการปฏิรูป ระบบราชการภาคที่ 2 จะเน้นที่การให้บริการเป็นหลักซึ่งจะมองระบบในแนวราบมิใช่แนวดิ่งในแบบเดิมโดยอาศัยสถาปัตยกรรม อิงบริการ(Service Oriented Architecture: SOA) ซึ่งต่อเชื่อมการให้บริการ ตัวอย่างเช่น การให้บริการระบบสารบรรณ และระบบ การจัดการเอกสารจัดเป็นบริการเดียวทั้งระบบของภาครัฐ (ทั้ง 20 กระทรวง) โดยประยุกต์ใช้ผลการศึกษาในการปฏิรูประบบ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศต่างๆ[ดังในเอกสารอ้างอิง] โดยเฉพาะต้นแบบของระบบสถาปัตยกรรมการปฏิรูประบบราชการ กลางของประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้โดยมีระบบจำลองหรือระบบจำลองอ้างอิง (Reference Model :RM)5ระบบ คือระบบจำลอง อ้างอิงผลการทำงานระบบจำลองอ้างอิงภารกิจ ระบบจำลองอ้างอิงองค์ประกอบการให้บริการ ระบบจำลองอ้างอิงข้อมูล และระบบ จำลองอ้างอิงเทคโนโลยีซึ่งทั้ง5 ระบบจำลองอ้างอิงประกอบกันเป็นสถาปัตยกรรมระบบภาครัฐของรัฐบาลไทย(ThaiGovernment Enterprise Architecture :TGEA) 2.2 ความคาดหวังของประชาชนมีสูงขึ้นในหลายมิติโดยเฉพาะบริการจากภาครัฐและสิทธิและเสรีภาพในแง่ของ ประเภท ปริมาณและคุณภาพ ซึ่งสามารถดูได้จากเสียงสะท้อนของบทกำหนดของร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พศ. 2550 ที่กำลังรอ การลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ในวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2550 นี้ คือ ส่วนที่เกี่ยวกับ: 2.2.1สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยความเสมอภาคสิทธิและเสรีภาพส่วนบุคคลสิทธิในกระบวนการ ยุติธรรมสิทธิในทรัพย์สินสิทธิและเสรีภาพในการประกอบอาชีพโดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของ บุคคลและสื่อมวลชนซึ่งโดยสรุปกำหนดว่าบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นการพูดการเขียนการพิมพ์การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นการจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะ และคลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคมเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์ สาธารณะโดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระองค์กรหนึ่งทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรมรวมทั้งต้องจัดให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนิน การสื่อมวลชนสาธารณะ 2.2.2 สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษา ทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ และบุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง
  • 11. 125 2.2.3สิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขและสวัสดิการจากรัฐ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการ ทางสาธารณสุขที่เหมาะสม และได้มาตรฐาน ฯลฯ 2.2.4. สิทธิในข้อมูลข่าวสารและการร้องเรียน บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารสา ธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภค ย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย ฯลฯ 2.2.5 สิทธิชุมชน บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือ ฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืนฯลฯ 2.3 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ 2.3.1แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐรัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราชอธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยจำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและเพื่อการพัฒนาประเทศ 2.3.2 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการบริหารราช การแผ่นดินโดยเน้น: - บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ จัดระบบการบริหารราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ให้มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เหมาะสม แก่การพัฒนาประเทศ และสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด เพื่อประโยชน์ของประชาชนใน พื้นที่ กระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการของท้องถิ่นได้เอง ส่งเสริมให้องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ พัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและ สาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศรวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความ พร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น - พัฒนาระบบงานภาครัฐ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ ของรัฐควบคู่ไปกับการปรับปรุงรูปแบบและวิธีการทำงานเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริม ให้หน่วยงานของรัฐใช้หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการ - จัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่น เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไป อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน 2.3.3แนวนโยบายด้านศาสนาสังคมการสาธารณสุขการศึกษาและวัฒนธรรม รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์ และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น ทั้งต้องส่งเสริมความเข้าใจอันดีและความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและ สังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการ ศึกษา ให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย ส่งเสริมและสนับสนุน การกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชนองค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยฯลฯ 2.3.4 แนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมาย และการยุติธรรม ในแง่ของการดูแลให้มีการปฏิบัติและบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างถูกต้องรวดเร็วเป็นธรรมและทั่วถึง
  • 12. 126 ส่งเสริมการให้ความช่วยเหลือและให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชนและจัดระบบงานราชการและงานของรัฐอย่างอื่นในกระบวน การยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพ การจัดให้มีกฎหมายเพื่อจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปกฎหมายที่ดำเนินการเป็นอิสระเพื่อปรับปรุง และพัฒนากฎหมายของประเทศ 2.3.5 แนวนโยบายด้านการต่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ และพึงถือหลักในการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ 2.3.6 แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินการตามแนวปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านเศรษฐกิจโดย สนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีและเป็นธรรมโดยอาศัย กลไก ตลาด และสนับสนุนให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน การจัดให้มีสาธารณูปโภค สนับสนุนให้มีการใช้หลักคุณธรรม จริยธรรม และหลักธรรมาภิบาล ควบคู่กับการประกอบกิจการ ควบคุมให้มีการรักษาวินัยการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนเสถียรภาพ และความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้มีความเป็นธรรมและสอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพเศรษฐกิจและสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย เพื่อใช้ในการผลิตสินค้า บริการ และการประกอบอาชีพ ส่งเสริมและสนับสนุน กิจการพาณิชยนาวี การขนส่งทางราง รวมทั้ง การดำเนินการตามระบบบริหารจัดการขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศฯลฯ 2.3.7 แนวนโยบายด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม โดยรัฐต้องดำเนินการ กำหนด หลักเกณฑ์การใช้ที่ดินให้ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยให้คำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ทั้งผืนดิน ผืนน้ำ วิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น และการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และกำหนดมาตรฐานการใช้ที่ดินอย่างยั่งยืน กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่าง ทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น รวมทั้งจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสมแก่การเกษตร ฯลฯ 2.3.8 แนวนโยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน รัฐต้องดำเนินการตามแนวน โยบายด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญาและพลังงาน รวมทั้ง ส่งเสริมการประดิษฐ์หรือการค้นคิดเพื่อให้เกิดความรู้ใหม่ รักษาและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นและภูมิปัญญาไทย ส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน ฯลฯ 2.3.9แนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนรัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านการมีส่วนร่วม ของประชาชนดังต่อไปนี้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองการวางแผนพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม ส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐทุกระดับ ส่งเสริมให้ประชาชน มีความเข้มแข็งในทางการเมือง ฯลฯ 2.4 การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาทุกคนมีสิทธิตั้งกระทู้ถาม รัฐมนตรีในเรื่องใดเกี่ยวกับงานในหน้าที่ได้ 2.5 การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน 2.6 การบริหาร การเงิน การคลัง และงบประมาณ 2.7 การบริหาร ระบบศาล ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร
  • 13. 127 2.8.การบริหารองค์กรตามรัฐธรรมนูญ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ4องค์กรคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน 2.9 การบริหาร องค์กรอื่นตามรัฐธรรมนูญประกอบด้วย สามองค์กรคือ องค์กรอัยการ และ คณะกรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 2.10การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐการตรวจสอบทรัพย์สิน การถอดถอนจากตำแหน่งรวมทั้งการดำเนินคดี อาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.11การบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐจะต้องให้ความเป็นอิสระแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามหลัก แห่งการปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานหลัก ในการจัดทำบริการสาธารณะและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาในพื้นที่ท้องถิ่นใดมีลักษณะที่จะปกครองตนเองได้ย่อมมีสิทธิ จัดตั้งเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องทำเท่าที่จำเป็นและมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ชัดเจนสอดคล้องและเหมาะสมกับรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยต้อง เป็นไปเพื่อการคุ้มครองประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นหรือประโยชน์ของประเทศเป็นส่วนรวม ผลที่ได้จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่าระบบดังกล่าวเมื่อนำมาเชื่อมกับระบบอินฟอร์เมติกทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์แล้วจะทำให้เกิดประสิทธิภาพประสิทธิผลใน การดำเนินงานของระบบภาครัฐ การประหยัด โปร่งใส และเป็นธรรมโดยทำงานที่ใช้แบบจำลองการให้บริการคล้าย Google 3. การปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 และผลกระทบต่ออุดมศึกษาไทย เป็นการปฏิรูปที่ทำให้รัฐทำภารกิจในข้อ 2.3.3 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดีขึ้นมากและเป็นส่วนย่อยที่สำคัญเพราะสามารถเสริมการปฏิรูประบบ ราชการภาคที่ 2 ในฐานะที่เป็นตัวช่วย (Enabler)ตัวเชื่อม (Linkage) และตัวเร่ง (Catalyst) การปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 เป็นการศึกษาเพื่อดำเนินการทางทฤษฎี ซึ่งเมื่อนำมาใช้ดำเนินการจะต่อเชื่อมและคู่ขนาน กับการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 1 ซึ่งการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 1 ได้เน้นลงจนถึงระดับสถานการศึกษาโดยในระดับอุดมศึกษา มีสถานศึกษาอยู่กว่า260 แห่ง ทั้งภาครัฐและเอกชน ทางด้านอาชีวศึกษา ประกอบด้วยสถานศึกษาในระดับวิทยาลัยของภาครัฐ กว่า 440 แห่ง ซึ่งรวมของภาคเอกชนอีกต่างหากสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีทั้งระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษามากกว่า 30,000 แห่ง และใช้ สำนักงาน สมศ. ในการรับรองและพัฒนามาตรฐานการศึกษาซึ่งในการดำเนินงานยังมิได้เน้นลงไปที่ กระบวนการเรียนรู้ในห้องเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนโดยที่การปฏิรูปการศึกษาภาคที่2เน้นที่การปฏิรูปการเรียนรู้และวิจัยรวมทั้ง การบริหารและธุรการซึ่งอาศัยเทคโนโลยีและองค์ความรู้อินฟอร์เมติกด้านสถาปัตยกรรมอิงบริการซึ่งจะมีการให้บริการที่มีลักษณะ เดียวกันร่วมกันทั้งกระทรวงศึกษาและทั้งทุกหน่วยงานรัฐบาลตามระบบการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 ซึ่งวิธีนี้จะเกิด การประหยัดอย่างมหาศาลเพราะลดความซ้ำซ้อนในการบริหารไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและ อุดมศึกษาก็ใช้บริการร่วมกันเมื่อเทียบกับปัจจุบันแต่ละหน่วยงานก็ให้บริการที่แยกกันอยู่ จุดเน้น คือ อินฟอร์แมติกก็ถูกพัฒนาให้เป็นสะพานสู่ความรู้โดยได้มีการใช้อินฟอร์เมติกเชื่อมกลุ่มบูรณาการ ศาสตร์อัจฉริยะ (Integrated Intelligent Systems:I3)สำหรับศาสตร์ที่มีองค์ความรู้ที่ลู่เข้าหากันหรือลู่เข้ารวมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้อินฟอร์เมติกเพื่อเป็นสะพานสู่ความรู้เชื่อมการเรียนรู้และวิจัย(Integrated Intelligent System for Learning and Research Network:I3LearN)ซึ่งในแง่ปฏิบัติก็จะมีการเชื่อมการเรียนรู้ในทุกระดับคือประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษาและอุดมศึกษา เข้ากับทรัพยากรการเรียนรู้และองค์กรการวิจัยซึ่งในแง่ของการจัดองค์กรในปัจจุบันก็จะต้องมีการเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและหน่วยงานต่างๆของภาครัฐที่ดำเนินการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ ตัวอย่างเช่น สำนักงานกองทุนส่งเสริมการวิจัย (สกว.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) หรือศูนย์วิจัยและพัฒนาทหาร (กระทรวงกลาโหม) เป็นต้น
  • 14. 128 การจัดการหลักสูตรก็จะใช้หลักการ SOA เพื่อให้แต่ละหลักสูตรเป็นหลักสูตรแห่งชาติมิใช่หลักสูตรของแต่ละสถาบัน อุดมศึกษาโดยองค์กรวิชาการและวิชาชีพจะมีบทบาทมากขึ้นในการกำหนดหลักสูตรวิธีนี้คุณภาพบัณฑิตจะมีเอกภาพมากขึ้น เมื่อมองในระดับชาติและการบริหารหลักสูตรจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้นมาก คณาจารย์จะมีเวลาว่างจากการสอน เพื่อทำงานวิจัยพัฒนาและนวัตกรรมมากขึ้นในระดับการศึกษาพื้นฐานและอาชีวะศึกษาก็ใช้หลักการเดียวกันจะแก้ปัญหาการขาดแคลน ครูอาจารย์ได้เป็นอย่างดีรวมทั้งพัฒนาประบวนการสอนภาษาอังกฤษทำให้มีหลักสูตรนานาชาติหรือสองภาษาได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ทั้งนี้การพัฒนาการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 จะสำเร็จได้ต้องอาศัยความก้าวหน้าทั้งทางด้าน ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์จากศาสตร์อินฟอร์เมติกร่วมกับศาสตร์ด้านวิศวกรรมระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เน้นการจำลองแบบและ การจำลองสถานการณ์รวมทั้งความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบวิศวกรรมซอฟแวร์แบบสถาปัตยกรรมที่ใช้ระบบจำลองแบบ (Model Driven Architecture: MDA)ที่ทำให้สามารถทำให้พัฒนาระบบซอฟต์แวร์เพื่อทำงานกับระบบขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพประสิทธิผลมากขึ้น 4. สรุป บทความนี้ได้นำเสนอสรุปงานภาคทฤษฎีของด้านการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 โดยใช้สถาปัตยกรรม Thai Government Enterprise Architecture (TGEA) กับผลกระทบต่อทิศทางอุดมศึกษาไทยในแง่ของ การบริหารและธุรการ คือจะมีการบูรณาการมากขึ้นเป็นหนึ่งเดียวตามหลักการของ Service Oriented Architecture(SOA) รวมทั้ง การบริหารวิชาการคือหลักสูตรและวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมเพื่อให้อุดมศึกษาไทยมีประสิทธิภาพประสิทธิผล รวมทั้งมีเอกภาพ เรื่องคุณภาพและมาตรฐานมากขึ้น และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา (Intellectual Infrastructure) หลัก ของชาติ เพื่อนำชาติไปสู่ความเป็นสังคมอุดมปัญญา
  • 15. 129 เอกสารอ้างอิง “กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้” เอกสารสรุปจากผลงานวิจัย เพื่อการปฏิรูประบบราชการภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษา ภาคที่ 2 ของประเทศไทย ANW-E-Book กันยายน 2550 “Informatics for Integrated Intelligent Engineering Science and Systems Laboratory :I3SSL” วีระพันธ์ มุสิกสาร เอกสารวิชาการสนทนาประสา มอ และเวทีปัญญาภาคใต้ ครั้งที่ 2/2550 เรื่อง “การปฏิรูประบบราชการไทยภาคที่ 2 และการปฏิรูปการศึกษาภาคที่ 2 และการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนา 14 จังหวัดภาคใต้” 17 สิงหาคม 2550 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่ ACM International Conference Proceeding Series; Vol. 128 Proceedings of the 2000 annual national conference on Digital government research 2000 May 15 - 17, 2000 President’s information technology advisory committee (PITAC): subcommittee on transforming the government David Cooper, Bo EwaldPages: 1 – 8 Sharon S. Dawes, Peter A. Bloniarz, Kristine L. Kelly, Patricia D. FletcherBuilding a digital government for the 21st century Pages: 1 – 39 ACM International Conference Proceeding Series; Vol. 89 Proceedings of the 2005 national conference on Digital gov ernment research 2005, Atlanta, Georgia May 15 - 18, 2005 Anthony M. Cresswell, Theresa A. Pardo, Sharon S. Dawes, US-European union collaboration on digital government research: developing new models Pages: 131 – 132 ACM International Conference Proceeding Series Proceedings of the 1st international conference on Scalable information systems 2006, Hong Kong May 30 - June 01, 2006 Trevor Wood-Harper, Othman Ibrahim, Norafida Ithnin, An interconnected success factor approach for service func tional in Malaysian electronic government Pages: 446 – 450 Vassilios Peristeras, Konstantinos Tarabanis, Governance enterprise architecture (GEA): domain models for e-governance Pages: 471 – 479 Queensland Nigel Martin, Shirley Gregor, Dennis Hart, Using a common architecture in Australian e-Government: the case of smart service Pages: 516 – 525 David Lazer, Kevin Esterling, Michael Neblo, Jane Fountain, Ines Mergel, Curt Ziniel Connecting to Congress Pages: 193 - 194Pdf (151 KB)
  • 16.
  • 17.
  • 18. 132 กำหนดมาตรฐานใหม่ชื่อว่า ISO 26000 ขึ้นมา โดยให้ความสำคัญกับ ประเด็นความรับผิดชอบต่อสังคม หรือ CSR, Corporate Social Re- sponsibility ไว้ค่อนข้างมาก (จริงๆ แล้ว ISO ให้ความสำคัญต่อเรื่อง จรรยาบรรณมาตั้งแต่ ISO 9000 และ ISO 14000 แล้ว เพียงแต่ไม่เด่นชัด เท่าครั้งนี้) และสำหรับในเมืองไทยนั้น การบังคับใช้มาตรการจรรยาบรรณ ในกลไกภาครัฐฯ ก็ได้รับการกระตุ้น และดำเนินการมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พตท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งที่ตัวรัฐบาล เองก็มีข้ออันพึงสงสัยได้ในเรื่อง การ ประพฤติผิดจริยธรรมอย่างถูกต้อง ตามกฏหมาย ฉนั้นจึงน่าจะเป็นโอกาสดี ที่เราจะได้มาศึกษาทำความเข้าใจ ร่วมกันถึงสิ่งที่กำลังเป็นกระแสสังคม อยู่ในขณะนี้ เพื่อการดำเนินชีวิตที่ สอดคล้องต่อสภาพที่เป็นจริง ในขณะเดียวกัน ก็น่าจะใช้เป็นโอกาสย้อนกลับมาศึกษาพิจารณาตนเองว่า สภาพสังคมดั้งเดิม ของไทยเรานั้นแท้จริงแล้วอ่อนด้อยในเรื่องจรรยาบรรณจนกระทั่งต้องให้ค่านิยมของสังคมตะวันตกเข้ามากำหนดชี้นำทิศทางการ พัฒนาเชียวหรือ ? ถ้าไม่ใช่ ทำไมประเทศไทยจึงมีชื่อเสียงไม่ดีนักในเรื่องของการทุจริตคอรัปชั่น จนถึงขนาดเป็นเหตุสำคัญอัน นำไปสู่การรัฐประหารในวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ในทางตรงกันข้าม อาจจะต้องตั้งคำถามใหม่ขึ้นในใจทุกคนว่า การสร้างมาตรฐานจรรยาบรรณให้ปรากฏไว้ในกระดาษ รายงานผลการประเมิน (SAR) เพื่อให้ดูดี เพื่อให้ผู้บริหารองค์กรได้มีโบนัสมากๆ นั้นเพียงพอแล้วหรือสำหรับสังคมไทย ? ถ้าไม่ใช่ ทำอย่างไรจึงจะเปลี่ยนจากการตามกระแสจรรยาบรรณุวัตร ไปเป็นการปลุก/ปลูกฝังความดีความงามแบบสังคมพุทธ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่อง ศีลธรรม จรรยา คุณธรรม และจริยธรรม ไว้ในจิตใจของผู้คนทุกระดับของสังคม จนอาจจะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่าเป็นการสร้าง จรรยาบรรณภิวัฒน์ แทน 2. คำจำกัดความของ “จรรยาบรรณ” คำว่า จรรยาบรรณ นั้น หากยึดตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หมายถึง “ประมวลความประพฤติที่ ผู้ประกอบอาชีพ การงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้นเพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียงและฐานะของสมาชิก โดยอาจ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้” ซึ่งแม้จะให้ความหมายสอดรับกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่าEthics(มีรากศัพท์จากภาษากรีก etos = custom and habits ) ที่เรารับมาใช้ในความหมายของ Professional Ethics แต่ก็ไม่ถึงกับตรงความหมายเสียทีเดียวนัก ยังคงมีการเหลื่อมความหมายระหว่างคำศัพท์ทั้งสองนี้อยู่ค่อนข้างมาก เพราะคำว่า Ethics อาจถูกนำไปใช้ในความหมายอื่นๆ ได้ด้วยนอกเหนือไปจากเรื่องจรรยาบรรณ เช่น หากใช้ระบุชื่อสาขาวิชา Ethics จะหมายถึงวิชา “จริยศาสตร์” ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของวิชาปรัชญา และมีหัวใจสำคัญ อยู่ที่การใช้สติปัญญาตรรกะความเชื่อค่านิยมของสังคมและกระบวนวิธีทางปรัชญาในการศึกษาตีความ/โต้แย้งถึงคุณค่าการกระทำ
  • 19. 133 ของมนุษย์โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐานแต่ไม่ได้ตัดสินว่าถูกหรือผิด เช่น การศึกษาวิเคราะห์เรื่องการขายบริการทางเพศของนักศึกษา การทำการุณฆาตหรือการทำแท้งนั้น ในทางจริยศาสตร์จะหลีกเลี่ยงตัดสินความถูกความผิดซึ่งนักจริยศาสตร์ระบุว่าการตัดสินถูก/ ผิด ดี/ชั่ว บาป/บุญ นั้นเป็นเรื่องของ Moral ไม่ใช่เรื่องของ Ethics (คำว่า moral มีรากศัพท์จากภาษาละติน mores = manner andcustoms นี้มักได้รับการแปลว่าศีลธรรมจรรยาหรือจริยธรรมแต่ก็คงให้ความหมายได้ไม่ตรงนักเช่นเดียวกับการแปลEthics ว่า จรรยาบรรณ ) การใช้คำว่า Ethics ในเชิงจริยศาสตร์นั้น ปราชญ์ตะวันตกให้ความเห็นว่าเป็นสิ่งจำเป็นของสังคม แม้ว่าจะมีกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับเพื่อให้ปฏิบัติตามและคุ้มครองสิทธิของมนุษย์ ตลอดจนมีความเชื่อทางศาสนาจารีตประเพณีและขนบธรรมเนียม ชี้นำให้ปฏิบัติตามอยู่แล้ว แต่หากมีความขัดแย้งทางคุณค่าการกระทำ จะทำอย่างไร ? เช่น ถูกกล่าวหาว่าฆ่าคนตาย ทั้งที่ คนใกล้ตัวอันเป็นที่รักเป็นคนทำ จะยอมรับเพราะความรักก็เข้าข่ายมุสาวาท จึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทางจริยศาสตร์มาช่วยวิเคราะห์ ตัดสิน คำว่า Ethics ในความหมายของจริยศาสตร์จึงแตกต่างจาก Ethics ที่แปลว่าจรรยาบรรณ นอกจากนี้ หากคำว่า Ethics ถูกนำไปใช้ในบริบทอื่น ก็จะสื่อถึงความนัยที่ต่างออกไปได้อีก เช่น หากนำไปประกอบกับคำว่าองค์กรเป็น Organizational Ethics ก็น่าจะแปลว่า จริยธรรมองค์กร มากกว่าที่จะแปลว่า จรรยาบรรณองค์กร ตรงกันข้ามกับความพยายามบัญญัติศัพท์ให้ตรงกับความหมายของ ศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เดิมที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง การกระทำความดีความงาม ในภาษาไทยนั้นมีมาก และครอบคลุมความนัยได้หลากหลายกว่าภาษาอังกฤษมากนัก เช่น เรามีคำว่า มนุษยธรรม คุณธรรม จริยธรรม ทศพิธราชธรรม โลกบาลธรรม (หิริ โอตตัปปะ) พรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) สาราณียธรรม (เครื่องสนับสนุนให้เกิดสามัคคีในหมู่กัลยาณมิตร) อปริหานิยธรรม (ธรรมที่จะทำ ให้ไม่เสื่อม) ฯลฯ เพราะสังคมไทยในวิถีพุทธ มีความเชื่อในลักษณะจิตตนิยม (Spiri- tualism) มุ่งเน้นการสร้างความดีความงามมาจากส่วนในของจิตใจ มิใช่การบังคับ ใช้กฏหมายซึ่งเป็นการสร้างความดีจากปัจจัยภายนอกตามหลักความเชื่อเชิง วัตถุนิยม (Materialism) หรือเชิงทุนนิยม (Capitaism) ที่ได้รับการเชิดชูชื่นชม กันเป็นอย่างมากในสังคมตะวันตก อย่างไรก็ตาม การให้ความหมายของคำศัพท์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ หรือภาษาไทย ล้วนแปรผันไปได้ตามกาลเวลาและสภาพสังคม ในอดีตไทยเรารับเอา คำศัพท์จากภาษาสันสกฤต และบาลีของอินเดียเข้ามาเสียเป็นส่วนใหญ่ เช่น รับเอาคำว่า “นิติศาสตร์” อันมีรากมาจากคำเดียวกับ คำว่า“นีติ”ที่แปลว่าการนำหรือ“นายก” ที่แปลว่าผู้นำเข้ามาในความหมายว่า“ศาสตร์แห่งการนำ” และรับเอาคำว่า“ธรรมศาสตร์” เข้ามาในความหมายของ “ศาสตร์ว่าด้วยกฏหมาย” แต่เมื่อสังคมไทยเปิดรับ กระแสการเรียนรู้และพัฒนาจากชาติตะวันตก จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ให้มีความหมายใกล้เคียง กับคำศัพท์ภาษาอังกฤษขึ้น ใช้มีการบัญญัติศัพท์ว่า รัฐศาสตร์ขึ้นมาเทียบ กับคำว่าPoliticsแทนที่จะใช้คำว่านิติศาสตร์ซึ่งคลุมความหมายของการปกครองอยู่แล้วแล้วก็เลยเปลี่ยนเอาคำว่านิติศาสตร์ไปใช้ใน ความหมายเดิมของธรรมศาสตร์แทน ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าเพื่อเลี่ยง การใช้คำซ้ำกับคำว่า “ธรรมวินัย” อันหมายถึงธรรมวินัยที่ ตถาคตประกาศแล้วซึ่งเป็นศัพท์เดิมที่ใช้มาแต่สมัยพุทธกาล(คำว่าธรรมวินัยเทียบได้กับคำว่า“สัตถุศาสน์”ที่แปลว่าคำสอนสั่งของ พระศาสดาอันพึงเล่าเรียน หรือ “ปริยัติธรรมในพุทธศาสนา” ซึ่งไม่ตรงนักกับคำว่า “Religious” ที่มุ่งเน้นไปที่ความเชื่อมากกว่า) ที่สำคัญ คำว่าจรรยาบรรณในความหมายของEthics ก็เพิ่งจะได้รับการนำมาใช้ได้ไม่นานเท่าใดนักไล่ๆกับการรับวิธีการ ศึกษาแบบชาติตะวันตกเข้ามาในประเทศสยามโดยเริ่มใช้กับจรรยาบรรณแพทย์จรรยาบรรณครู และจรรยาบรรณนักหนังสือพิมพ์ ก่อน และกว่าจะมีการระบุเรื่องจรรยาบรรณไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน ปี พ.ศ.๒๕๓๕ ก็ต้องใช้เวลานานกว่า หกสิบปี (ระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑) ก่อนหน้านี้เวลาระบุเรื่องการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง เหมาะสมเรามักจะเรียกว่า“วินัย”หรือ“ธรรม” เช่นวินัยสงฆ์ธรรมวินัยคิหิวินัย(หรือฆราวาสธรรมซึ่งเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ เลือกที่จะใช้คำว่า “วินัยชาวพุทธ” หรือ “ธรรมนูญแห่งชีวิต”) ฯลฯ การสร้างมาตรฐาน จรรยาบรรณกระดาษ ไว้ในรายงานผล การประเมิน (SAR) เพื่อให้องค์กร ได้มีโบนัสมากๆ เพียงพอแล้วหรือ สำหรับสังคมไทย ?
  • 20. 134 หลักฐานที่จะช่วยยืนยันว่า สังคมไทยหรือราชการไทยตีความคำว่า จรรยาบรรณ แตกต่างไปจากเรื่องคุณธรรมและ จริยธรรม ได้แก่การที่ ข้อบังคับ ก.พ. ว่าด้วยจรรยาบรรณของข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2537 ข้อ 1 ได้กำหนดให้ “ข้าราชการ พลเรือนพึงพัฒนาตนเองให้มีคุณธรรม จริยธรรม” อันส่อให้เห็นว่า คุณธรรม ที่หมายความว่า สภาพคุณงามความดี การยึดมั่น ในความถูกต้องดีงามและจริยธรรมที่หมายความว่าคุณความดีที่เป็นข้อประพฤติปฎิบัติ นั้นเป็นสำนึกเป็นคุณความดีที่ต้องส่งเสริม อบรม และพัฒนาขึ้นให้เกิดในจิตใจ มิใช่กฏกติกา ที่ประมวลขึ้นเป็นหลักยึดถือปฏิบัติเช่นจรรยาบรรณ 3. จรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้เข้าใจถึงลักษณะของจรรยาบรรณวิชาชีพ จึงขอนำเอาข้อกำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพพื้นฐาน ซึ่งเป็นที่ยอมรับกัน โดยทั่วไปในสังคมอุดมศึกษามานำเสนอ โดยมีข้อสังเกตว่า บางครั้งข้อกำหนดกฏหมายเกี่ยวกับจรรยาบรรณก็อาจจะส่งผล ให้เกิดการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามรัฐธรรมนูญ จึงมักต้องมีการกล่าวอ้างประกอบไปในตัวกฎ ข้อบังคับเหล่านั้น ด้วยเสมอว่า มาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 39 และมาตรา 50 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้อาจ กระทำการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย นอกจากนั้น เมื่อมีการบัญญัติ ข้อบังคับว่าด้วย จรรยาบรรณออกมามากๆ อาจส่งผลให้ผู้ประกอบวิชาชีพแต่ละรายต้องถูกกำกับไว้ด้วยจรรยาบรรณมาก กว่าหนึ่งอย่าง ยกตัวอย่างเช่น อาจารย์แพทย์ที่ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ และกลับมาสอนในมหาวิทยาลัย ของรัฐ จะต้องถูกกำกับไว้ด้วย จรรยาบรรณวิชาชีพอย่างน้อย 7 ประเภท ได้แก่ จรรยาบรรณแพทย์ จรรยาบรรณวิศวกร จรรยาบรรณอาจารย์ จรรยาบรรณ ข้าราชการพลเรือน จรรยาบรรณนักวิจัย จรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์ และ วินัยข้าราชการ (ที่ว่าอย่างน้อย เพราะแต่ละมหาวิทยาลัยยังมีการร่างข้อบังคับว่าด้วยจรรยาบรรณอาจารย์ และจรรยาบรรณบุคลากรของตนเอง แยกออกมาต่างหากจากจรรยาบรรณข้าราชการพลเรือน อีกทั้งเวลาพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการก็ยังต้องมีการนำเอากติกา เรื่อง จรรยาบรรณเข้ามาประกอบด้วย) 3.1 จรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร สมาคมวิชาชีพวิศวกรรม แห่งสหรัฐอเมริกา (National Society of Professional Engineers, NSPE, http://www.ifmbe. org/) ได้ทำประกาศร่างสำหรับการปฎิญญาณตนของวิศวกร (Code of Ethics and pledge) ไว้ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ปี ค.ศ. 1954 ดังนี้ “ในฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมข้าพเจ้าขออุทิศความรู้ และ ทักษะ ในวิชาชีพ เพื่อความ ก้าวหน้า และ สมบูรณ์ พูนสุข ของมนุษยชาติ ข้าพเจ้าขอปฎิญาณ ในการปฎิบัติตนอย่างเต็มกำลัง ในการมีส่วนร่วมในพหุชนอันสัตย์ซื่อ ในการดำรงชีพ สอดคล้องกับกฏของมนุษย์ผู้เจริญในการประกอบการงานด้วยมาตรฐานสูงสุดแห่งวิชาชีพ ในการมุ่งให้บริการมากกว่าที่จะมุ่งกำไร มุ่งเกียรติยศ และยืนหยัดในวิชาชีพ มากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน และ มุ่งประโยชน์ของสังคมโดยรวมเป็นสำคัญ ข้าพเจ้าในฐานะ มนุษย์ผู้ต่ำต้อย ขอถวายสัตย์ปฎิญาน ไว้ต่อพระบาท พระผู้เป็นเจ้า ผู้ทรงชี้นำ” โดยประเด็นสำคัญซึ่งสมาคมวิชาชีพวิศวกรรมแห่งสหรัฐอเมริกา ได้ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ มีดังนี้ • ต้องยึดหลัก ความปลอดภัย สุขภาพ และความอยู่ดีกินดีของสังคม เป็นสำคัญ • ต้องให้บริการเฉพาะในสาขาที่มีความเชี่ยวชาญ • ต้องนำเสนอข้อคิดเห็นสู่สาธารณะโดยปราศจากอคติ และมุ่งเสนอความจริง • ต้องปฎิบัติต่อนายจ้าง และลูกค้าด้วยความซื่อสัตย์สุจริต • ต้องไม่ล่อลวง ฉ้อฉล • ต้องปฎิบัติตนอย่างมีเกียรติ มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรม และสร้างชื่อเสียงโดยเคารพกฎหมาย สำหรับจรรยาบรรณวิศวกรของไทยเรานั้น เป็นไปตาม ข้อบังคับสภาวิศวกรว่าด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพวิศวกรรม และการประพฤติผิดจรรยาบรรณ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ พ.ศ.2543 โดยอาศัยอำนาจตามความ ในมาตรา 8(6) (ซ) มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ.2542 มีรายละเอียดดังต่อไปนี้