SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
Download to read offline
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๖ --
ทรงพระประชวรครั้งสุดท้าย (งานทางโลกไม่มีเวลาสําเร็จได้..)
ในระหว่างที่ประทับที่เชียงใหม่ สุขภาพของพระองค์ก็ยังทรงทรุดหนักลงไปเรื่อยๆ ทรงมีอาการ
พระโลหิตจาง และตรวจพบโปรตีนไข่ขาว (Albumin) ในพระบังคนเบาเสมอ ต่อมา ต้องเสด็จกลับ
กรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๗๒ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จกรมพระยาภานุ
พันธ์วงศ์วรเดช แล้วทรงพระประชวรจนต้องเสด็จเข้ารับการตรวจจากศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล ที่
โรงพยาบาลศิริราช โดยมีเรื่องเล่าว่านายแพทย์ผู้หนึ่งพบกับพระองค์ที่ท่าเรือศิริราช ทรงหิ้วขวดสิ่งส่งตรวจ
ของผู้ป่วยที่มีชิ้นลําไส้ของผู้ป่วยบิดอยู่ภายใน เมื่อทรงทักทายแล้วก็รับสั่งว่าไม่ใครสบายวานช่วยพาไปพบ
นพ. โนเบิล ด้วย
หลังจากเสด็จกลับจากโรงพยาบาลศิริราช ต้องประทับในพระตําหนักวังสระปทุมโดยไม่ได้เสด็จ
ออกจากวังอยู่นานถึง ๔ เดือน ต้องเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศิริราชคือ และศาสตราจารย์ดับบลิว เอช
เปอร์กินส์ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล เข้าไปถวายการรักษาเป็นระยะๆ
แรกๆ นั้น อาการพระวักกะที่ไม่ปกติกลับดีขึ้น แล้วกลับทรุดลงด้วยพระยกนะเป็นพิษ ทรงมีพระราชหฤทัย
ห่วงงานที่คั่งค้างอยู่มาก ดังมีรับสั่งต่อพระศักดาพลรักษ์ที่มาทูลลาอุปสมบทว่า “น้อม ฉันจะตายก็ไม่เสียดาย
ชีวิต ฉันทําพินัยกรรมไว้เรียบร้อยแล้ว แต่งานฉันที่กําลังทําอยู่ยังไม่เสร็จ”
โดยพินัยกรรมที่ทรงรับสั่ง คือ ขอให้ผู้ที่รับมรดกบําเพ็ญกุศลถวายโดยบริจาคเงิน ๕๐๐,๐๐๐
บาท แด่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายในกําหนด ๒๕ ปี เพื่อตั้งเป็นทุนหาผลประโยชน์บํารุงการศึกษา
แพทย์ การศึกษาสุขาภิบาล การศึกษาพยาบาลและปรุงยา ส่วนทางฝั่งศิริราชพยาบาลนั้น เมื่อ ดร. เอลลิส
ได้เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ก็รับสั่งว่าจะทรงเพิ่มเงิน และที่ดินให้อีก ทั้งที่ทรงพระวรกายทรุดโทรมลง
ไปตามลําดับ ประหนึ่งว่าจะทอดพระเนตรเห็นมรณะมาถึงยังเบื้องพระพักตร ดังจดหมายที่ ดร.เอลลิส มีไป
ยัง ดร. เพียร์ซ ในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ความว่า
“Prince Songkla is going along with perhaps a slight lose each
day in general condition. The liver cavity is filling again and they
expect to tap again tomorrow. The outlook is not favorable and
yet he has the power of reaching with the least let-up of the
liver.”
และในวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒
“Prince Songkla is just about holding to his general
condition. He is eating fairly well and the liver abscess,
which is definitely amoebic, is not giving trouble at
present. Dr. Noble does not feel that the immediate
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๗ --
condition is alarming but he does not see how there can
be a final recovery, owing to the general condition. Some of
us will not give up hope yet.”
ทั้งยังมีโทรเลขของศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล ที่กรมราชเลขาธิการ ได้ส่งไปถวายรายงาน
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ทรงประทับอยู่ ณ บาหลี ในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.
๒๔๗๒ เวลา ๑๒.๑๕ น. ความว่า
“During the past 24 hours there has been a further
expansion of the inflammatory process in the liver. There is
fever and a rapid pulse . His Royal Highness’s condition is
not satisfactory.”
T.P. Noble
เล่ากันว่าเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทรา
วาสได้ไปเฝ้าเยี่ยม ทรงรับสั่งกับสมเด็จฯว่า “ข้าพเจ้าจะตายก็ไม่เสียดายต่อชีวิต แต่เสียดายว่างานที่กําลังทําค้าง
อยู่นี้ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ทูลตอบว่า “ถวายพระพร งานทางโลกไม่มีเวลาสําเร็จได้”
ธ เสด็จด้าวแดนสวรรค์
หลังจากนั้นไม่นาน พระอาการก็ทรุดหนักลง แพทย์ประจําพระองค์คือศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล
และศาสตราจารย์ดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ถวายการเจาะพระยกน (ตับ) ได้หนองออกมาจํานวนมาก สุดท้าย
วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. ก็เสด็จทิวงคต สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ๘
เดือน ๒๓ วัน จากพระอาการบวมน้ําที่พระปับผาสะ (ปอด) และพระหทัย (หัวใจ) วาย ยังความโศกสลด
พระทัยอย่างยิ่งต่อพระชายาม่ายวัย ๒๙ พรรษา ที่ต้องประคับประคองเลี้ยงดูพระธิดา และพระโอรสซึ่งล้วน
ทรงพระเยาว์มีพระชนมายุเพียง ๖ พรรษา ๔ พรรษา และ ๒ พรรษา ตามลําพัง๑๑๒
ดังบันทึกของคุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท ระบุถึงเหตุการณ์ไว้ว่า
๑๑๒
ครอบครัวราชสกุลมหิดล ทรงประทับยู่ในกรุงเทพหลังงานพระราชทานเพลิงศพ จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๖
จึงพร้อมกันเสด็จไปอาศัยอยู่ที่เมืองโลซานน์อีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ และรัฐบาลสยามในขณะนั้นได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล
เสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ จึงทรงย้ายพระราชฐานไปอยู่ที่พระตําหนักวัฒนา วิลล่า (Villa Vadhana) เมืองพุยยี่
(Pully) เพื่อให้สมฐานะของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม แต่กว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ จะ
เสด็จนิวัติพระนครหลังจากการขึ้นครองราชย์ ก็ล่วงเข้าวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๑
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๘ --
“...บายวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนนีฯ เพื่อเสด็จออกจากหองเพื่อทรง
พักผอน ทูลกระหมอมกําลังบรรทมหลับ ขาพเจาเฝาถวายพัดอยูหนาแทนบรรทม หมอมเจาหญิงจันทรนิภา เท
วกุล ประทับที่หองถัดไป ทูลกระหมอมลืมพระเนตรขึ้นและทรงเรียกขาพเจา “จํานง ฉันหายใจไมออก”
ขาพเจาจับชีพจรพระองคทาน และเดินออมเตียงไปอีกขาง คุกเขาลงกราบทูลวา หมอมฉันจะยกเตียงขึ้น
ถวายอ็อกซิยเจน ขาพเจารีบออกมาเชิญทานหญิงจันทรนิภาเขาไป ขาพเจาเปดทออ็อกซิยเจนใหทนหญิงทรง
ถือไวที่พระนาสิก แลวออกมากราบบังคมทูลสมเด็จพระราชชนนีฯ นําเสด็จเขาไปทรงถวายอ็อกซิยเจนแลวก็
รีบลงบันไดมาบอกคุณเจากรมใหเรียกหมอดวน และสงคนไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวสาฯ ซึ่งประทับอีก
วังหนึ่งถัดไป
ขาพเจากลับมาดูพระอาการและเตรียมยาฉีดไวใหหมอ ตรวจดูทออ็อกซิยเจนดูทานอนและจับชีพจร
ปรากฏวาชีพจรเร็วและเบาลง ทูลกระหมอมทรงหายพระทัยดวยความลําบาก ในขณะนั้น สมเด็จพระพันวัสสาฯ
ก็เสด็จขึ้นมา โดยมีหมอโนเบิลตามเขามาแกไขทันที สมเด็จพระพันวัสสาฯ พระพักตรสงบแมจะทรงตก
พระทัยมาก ประทับอยูใกลพระแทนทูลกระหมอม พระเนตรของทูลกระหมอมปรอยและลืมขึ้น รูสึกวาจะทรงไม
เห็นอะไรแลว ในทันทีนั้นก็เสด็จทิวงคต สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงคุกพระชงคลง ยื่นพระหัตถออกไปปด
เปลือกพระเนตรทูลกระหมอม แลวซบพระพักตรลง ขาพเจาเห็นเหตุการณนี้แลวใจหาย เปนครั้งแรกที่ทําให
ขาพเจารูสึกซึ้งถึงความรักและเมตตาระหวางแมและลูก ...”
ส่วนบันทึกในจดหมายที่ ดร.เอลลิส มีไปยัง ดร. เพียร์ซ ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ระบุ
ว่า
“H.R.H. Prince Songkla passed away rather suddenly at
4:45 p.m. September 24 , although he had been failing distinctly
for two or three days. The actual end was due to oedema of
the lungs, mainly, and cardiac failure. For a number of days
previously, his liver had been enlarging very considerably, and
with his fever and pulse rate they did not dare aspirate.
Dr. Noble was fortunately present and did everything in the
way of stimulation that could be done, but the end was so
quick that the Prince’s mother, by hurrying from her house
in the same compound, arrived only a couple of minutes
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๙ --
before the end. The body has, of course, been put in an urn
and is lying in state in one of the palace. Madam Songkla is
from their accounts almost dazed and can hardly believe that
it is true.”
การเสด็จทิวงคตของพระองค์ยังนําความเศร้าสลดมาสู่พระประยูรญาติ ข้าราชบริพาร ตลอดจน
พสกนิกรที่มีโอกาสรู้จักพระองค์ทุกคน๑๑๓
เช่น ศ.ดร.เอลลิส ได้บันทึกไว้ในตอนท้ายของบทความเรื่องพระ
กรณียกิจปฏิบัติของพระองค์ว่า
การที่ทรงอุบัติมาในโลกนี้ ทําใหโลกนี้ไดดีขึ้นเปนแนแท
พระมหาบุรุษของเรานี้ไดทรงอุบัติมา และเสด็จละโลกไปเสียแลว
And so our great man come and go.
Hail and Farewell !!
A.G. Ellis M.D.
ส่วน นพ. อี ซี คอร์ท ก็บันทึกไว้ว่า ”นอกจากทรงพระเมตตาบริจาคทรัพย์เป็นทาน
อย่างใหญ่หลวงแล้ว ยังไม่พอพระทัยยังประทานพระองค์เองเป็นสาธารณทานอีก
ด้วยจนสิ้นพระชนม์ “
ในขณะที่ หมอจันทร์แดง เมธา เล่าถึงความรู้สึกของบุคลากรในโรงพยาบาลแมคคอร์มิคว่า “,,,
ต่อมาพระองค์ท่านได้เสด็จไปประกอบพระราชกิจ ที่กรุงเทพฯ และหลังจากนั้นทางเชียงใหม่ได้ข่าวว่าพระองค์ท่านทรง
ประชวรและหมอคอร์ท รีบเดินทางไปเฝ้าต่อมาภรรยาหมอคอร์ทได้เดินร้องไห้เข้าหอผู้ป่วยยื่นโทรเลขให้และบอกว่า
พระองค์ท่านได้สวรรคตเสียแล้ว พวกเราเศร้าโศกเสียใจกันมาก ไว้ทุกข์อยู่นาน”
แต่ที่น่าประทับใจ และน่าจะแทนความอาดูรในการสิ้นไปแห่งพระองค์ท่านได้เป็นอย่างดี เห็นจะ
ได้แก่ บทพระนิพนธ์ของพระบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อคราวทรงวางพวงมาลาที่พระศพ
เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ ความว่า
๑๑๓
พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๙ เล่าไว้ในหนังสือ “สารสินสวามิภักดิ์” ว่า “ คืนก่อนวันที่จะสวรรคต ผมไปนั่ง
คอยฟังพระอาการประชวรอยู่ตลอดทั้งคืน ผมอยู่คอยจนกระทั่งสวรรคต หลังจากที่ได้ถวายนํ้าสรงพระศพที่พระบาทแล้ว ผม
สับสนไปหมด บอกไม่ถูกว่ารู้สึกอย่างไร มันหนักหน่วงใหญ่หลวง มันเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในชีวิตของผม
หลังจากที่พ่อตายไป พระองค์ท่านเป็นเจ้านายที่ผมเคารพรักและผูกพันมากที่สุด ผมไม่เคยลืมพระอัธยาศัย และพระจริยา
วัตรที่งดงามของพระองค์ท่าน ผมใช้เวลาอยู่นานกว่าจะยอมรับได้ว่าไม่มีทูลกระหม่อมแดงอีกต่อไปแล้ว”
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๐ --
อาดูรทูลกระหม่อมฟ้า มหิดลฯ เจ้าเอย
อดุลเดชดังสุคนธ์ อบด้าว
คุณะมาแมกสากล โลกเลื่อง นิรันทร์ฤา
องค์ละลิบนราธิปร้าว อุระสะท้อน ถวิลถึง
เจ้าฟ้าหายากเพี้ยง หาเพ็ชร ม่วงพ่อ
ทูลกระหม่อมมหิดลเม็ด เขื่องซ้ํา
โอ้ควรหรือด่วนเสด็จ ศิวะโลก เสียรา
สยามะชาติประยูรญาติช้ํา วิโยคเศร้าเสียดาย แสนฮือ
ลุถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ บรรจบครบรอบ
๑๐๐ วันหลังจากทรงเสด็จทิวงคต จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้
จัดการบําเพ็ญพระราชกุศลศตมวาร และอัญเชิญพระศพไป
พระราชทานเพลิงที่พระเมรุท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๖ มีนาคม
พ.ศ. ๒๔๗๒
พระเวสสันดรในโลกแห่งความเป็นจริง
ทาน และ จาคะ ที่ท่านได้กระทําให้แก่สังคมสยามนั้นมี
อยู่มากมายมหาศาล ทั้งที่อยู่ในรูปวัตถุ สิ่งของ และที่อยู่ใน
รูปการสละเวลา และความสุขสบายส่วนพระองค์ เช่น เมื่อทรง
รับเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการติดต่อกับมูลนิธิร็อคกี้เฟล
เลอร์เพื่อจัดวางรากฐานการอุดมศึกษาขึ้นในประเทศไทย ก็ต้อง
ทรงเสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยอาศัยยานพาหนะตามแต่
จะมีให้ใช้ได้ในยุคสมัยนั้น ทําให้พระสุขภาพที่ไม่แข็งแรงมาตั้งแต่วัยเยาต้องเสื่อมทรุดลง และบางครั้งก็ต้อง
จากพระชายา ตลอดจนราชโอรส ราชธิดา ไปในเวลานานๆ ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน
จึงปรากฏว่าไม่มีพระโอรส และพระธิดา พระองค์ใดได้ประสูติในสยามอันเป็นแผ่นดินแห่งบรรพบุรุษของ
พระองค์เลย
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๑ --
ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี ที่ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ และวงการศึกษา หลังจากการ
ได้รับคําชักชวนจากสมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงพระราชทานทรัพย์ให้แก่สาธารณประโยชน์เป็นเงิน
ประมาณ ๑ ล้าน ๔ แสนบาท (ซึ่งหากเทียบเป็นตัวเงินตามมาตรฐานค่าครองชีพปัจจุบัน ราชทรัพย์ที่ทรง
ประทานให้กับวงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีนับหลายพันล้านบาท) และยังทรงพระราชทานทุนเพื่อการศึกษา
และค้นคว้าในต่างประเทศให้กับนักเรียนทุนไม่น้อยกว่า ๓๔ ทุน๑๑๔
ทรงเลือกที่จะดํารงพระชนม์ชีพด้วยความประหยัดและอดออม เพื่อสงวนเวลา และพระราชทรัพย์
ที่ทรงมีอยู่แทบทั้งหมดให้กับการปูพื้นฐานด้านการอุดมศึกษา และการแพทย์ไทย เช่นดังพระราชดํารัสที่
ทรงประทานให้กับนักศึกษาแพทย์ สวัสดิ์ แดงสว่าง ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของ
เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ...” คุณูปการที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงกระทําไว้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตา
สาธารณชนโดยทั่วไปทั้งในระดับชาติ และระดับสากล องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม
แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศพระเกียรติคุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น” ของโลกในปี พ.ศ.๒๕๓๕
ทรงเปรียบเสมือนพระเวสสันดรในโลกแห่งความเป็นจริง ด้วยทรงบําเพ็ญจาคะอันยิ่งใหญ่ บริจาค
ทรัพย์สินทุกอย่างที่ทรงมีไว้ให้แก่แผ่นดินสยาม แม้เมื่อได้รับพระราชทานทรัพย์เพื่อการปลูกตําหนักจากล้น
เกล้ารัชกาลที่ ๖ ก็ยังทรงพระราชทานทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่ศิริราช เพื่อสร้างตึกผู้ป่วย ทรงอุทิศพระ
๑๑๔
นอกจากพระราชทรัพย์ส่วนที่ได้ประทานให้แก่ ศิริาช จุฬาลงกรณมหาวิทยลัย และบรรดาองค์กรทางการแพทย์
ทั้งหลายแล้ว ยังทรงบริจากเงินหนึ่งแสนบาทให้กับกรมประมงเพื่อใช้นการส่งคนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ตลอดจนได้
พระราชทานทุนสําหรับจ้างครูต่างประเทศจํานวน ๑ ทุนให้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนอีกด้วย
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๒ --
วรกายเผาผลาญเทียนไขแห่งพระชนม์ชีพให้มอดไหม้ลงในช่วงเวลาเพียง ๓๘ พรรษา เพื่อการวัฒนาอย่าง
สถาพรของวงการศึกษา การแพทย์ และการสาธารณสุขของไทย
ในมหาชาติชาดก ชูชกขอพระราชทานพระนางมัทรี และกัณหา-ชาลีมาแล้ว ยังมีวันถวายคืน แต่
ชูชกประเทศไทยทุกวันนี้ ขอพระราชทาน พระชายา พระโอรส และพระราชธิดา มาบําเพ็ญราชกิจจน
สิ้นพระชนม์ไปแล้วถึง ๓ พระองค์ กระทั่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชอันเป็นที่รัก
ของปวงชนชาวไทย ยังทรงงานหนักมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
พระเกียรติยศหลังเสด็จทิวงคต
หลังจากเสด็จทิวงคต ทรงได้รับการสถาปนาให้ดํารงพระอิสริยยศ และได้รับการเชิดชูพระ
เกียรติยศ ดังต่อไปนี้
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมเด็จเจ้า
ฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมหลวง
สงขลานครินทร์” ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ และจัดให้มีงานพระเมรุถวายพระเพลิง
พระศพในปี พ.ศ. ๒๔๗๓
 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชอิสริยยศ เป็น
"สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์" ในวันที่ ๒๕
มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗
 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ
เฉลิมพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา จารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระมหิตลาธิเบ
ศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ทรงฐานันดรศักดิ์ เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า
เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓
 องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตามนัยมติคณะ
กรรมการบริหารในสมัยประชุมครั้งที่ ๑๓๒ และ ๑๓๖ ได้มีมติให้ร่วมกับประเทศไทยในการ
เฉลิมพระเกียรติ ของพระองค์ในฐานะที่เป็นบุคคลสําคัญของโลก เนื่องในวโรกาสมหามงคล
สมัยวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ (ทรงเป็นชาวไทยคน
แรกที่ได้รับเกียรติจาก UNESCO ในตําแหน่งนี้
 ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ บรรดาอาจารย์ของสถาบันการศึกษาทางสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งมี
อยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ สถาบัน คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรร
มาธิราช และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีมติพร้อมเพรียงในความประสงค์ขอ
พระราชทานสมัญญา สมเด็จพระราชบิดาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็น "พระบิดา
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๓ --
แห่งการสาธารณสุขไทย" อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า
กัลยาณิวัฒนา ได้ทรงรับสั่งให้ใช้พระราชสมัญญาเป็น "องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย"
 นอกจากจะทรงได้รับการถวายสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์สมัยใหม่" และ “องค์
บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” แล้ว ยังทรงได้รับการถวายสมัญญานามเป็น “พระบิดาแห่ง
การสังคมสงเคราะห์ของไทย” และ “พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ําของ
ไทย” อีกด้วย
การถวายสักการบูชา
สําหรับผู้ที่อ่านเรื่องราวของสมเด็จฯ พระมหาชนกมาถึงบทนี้ ย่อมล้วนตระหนักถึงพระมหา
กรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่มีต่อปวงชนชาวไทย ซึ่งหากประสงค์จะทําการกราบไหว้ถวายบูชาต่อพระรูปสักการะ
ย่อมสามารถกระทําได้ ณ สถานที่สําคัญๆ ซึ่งได้มีหล่อพระบรมรูป จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ ได้แก่บรรดา
สถาบันอุดมศึกษา มูลนิธิ หรือ องค์กรที่มีการนําพระนามของพระองค์ท่านไปใช้เป็นชื่อองค์กร ตลอดจนใน
คณะแพทยศาสตร์ของทุกสถาบันอุดมศึกษา แต่หากประสงค์จะถวายสักการะต่อพระสรีรางคาร ก็อาจจะ
เดินทางไปถวายสักการะได้ใน ๒ สถานที่ คือ เจดีย์รังษีวัฒนา
สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเจดีย์
ราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม
โดยเจดีย์รังษีวัฒนาในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหา
สีมารามราชวรวิหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขยอดสถูปบุโม
เสคสีทองนั้น ภายในบรรจุไว้ด้วยพระอัฐิและพระสรีรางคารพระ
ราชโอรส พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕ กับสมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี ทุกพระองค์ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิ
บดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า
สมมติวงษ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธํารงฤทธิ์, สมเด็จพระราช
ปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร,
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา, สมเด็จ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ, สมเด็จพระมหิต
ลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม)
พระราชธิดาองค์สุดท้อง ตลอดจนได้มีการบรรจุไว้ด้วยพระอัฐิและพระสรีรางคารของสมเด็จพระศรีนคริน
ทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ไว้ด้วย
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๔ --
ส่วนพระสถูปเจดีย์ราชสกุลมหิดล ที่วัดปทุมวนารามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน้ามุขด้านทิศตะวันออก
ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม สมเด็จพระศรีสวรินทิ
ราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรง
สร้างไว้ สืบเนื่องจากครั้งที่สมเด็จฯ พระบรมราช
ชนก ทรงพระประชวรครั้งสุดท้าย ได้กราบทูลกับ
สมเด็จพระมารดา ว่าถ้าสิ้นพระชนม์ให้แบ่งอัฐิและ
อังคารของพระองค์ไปไว้ในวัดปทุมวนารามฯ
ความว่า "สังวาลย์และลูกๆ จะได้มาหาโดยสะดวก"
เพราะเกรงว่าพระ
ชายา และพระราชโอรส พระราชธิดา จะไม่สะดวกในการเข้าไปกราบพระ
อัฐิของพระองค์ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือสุสานหลวง โดยสมเด็จ
พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงบรรจุพระทนต์ของพระองค์ไว้ด้วย โดยมีพระ
ราชดํารัสว่า "เอาไว้เป็นเพื่อนลูกแดง”
นอกจากพระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่ง ของ สมเด็จฯ พระบรม
ราชชนก ที่บรรจุเมื่อปี ๒๔๗๒และพระทนต์ของ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา
บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่บรรจุเมื่อปี ๒๔๗๒ แล้ว ต่อมายังได้
บรรจุพระทนต์ของ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวง
เพชรบุรี ราชสิรินทร ในปี ๒๔๘๑ และบรรจุหนังส่วนพระเศียรของ
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในวันที่ ๑๘ กันยายน
๒๕๓๘ ตลอดจนพระอัฐิส่วนหนึ่งของพระโสณิ (สะโพก) ของ สมเด็จพระศรี
นครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๘ อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม สําหรับพุทธศาสนิกชน การถวายบูชาเพื่อแสดงถึง
ความมีกตเวทิตาคุณอันทรงคุณค่าสูงสุดคือการปฏิบัติบูชา ด้วยการน้อมนํา
แนวพระราชปฏิบัติ แนวพระราชดําริ ตลอดจนพระราชดํารัสมาใช้เป็น
แนวทางยึดถือปฏิบัติและดําเนินชีวิต เช่น การมีกตัญญูรักใคร่ต่อบุพการี การมีเมตตากรุณาต่อเพื่อน
มนุษย์โดยไม่เลือกชนชั้นหรือเชื้อชาติ การเสียสละบริจาคทรัพย์สมบัติโดยไม่หวงแหน การมัธยัสถ์อดออม
รู้จักใช้สอยอย่างประหยัด การใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาแบบปฏิบัติจริงตลอดชีวิต การมุ่งมั่นกระทําสิ่งใดล้วนตั้งใจทํา
จริงทําแบบถวายชีวิต การยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในที่ทั้งปวง การยังความมั่นคงแห่งจิตใจไว้ได้แม้
ร่างกายจะถูกรุมเร้าด้วยโรคร้าย (ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว) จนแม้กระทั่งเมื่อต้องเผชิญต่อมรณะที่กรายใกล้
เข้ามาก็สามารถคงสติสัมปชัญญะไว้ได้เสมอ ฯลฯ
ตราประจําราชสกุลมหิดล
เดิมเป็นตราประจําพระองค์
สมเด็จฯ พระบรมราชชนก
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๕ --
บรรณานุกรม (ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ)
๑. มหาวิทยาลัยมหิดล เทิดพระนามมหิดล เนื่องในโอกาส “๔๐ ปี พระราชทานนาม
มหาวิทยาลัยมหิดล” ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด
(มหาชน) ISBN 978-974-11-1072-8
๒. สภาอาจารย์ศิริราช สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, คณะ
แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ ไพศาลศิลป์การพิมพ์ ๒๕๒๖
๓. พระราชประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล http://www.princemahidolaward.org/
biography. th.php
๔. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล http://www.princemahidolaward.org/
๕. พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ พระนคร: อุดม, ๒๔๙๔
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๖ --
๖. สมภพ จันทรประภา, สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ, โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๑๔
๗. ๗๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐)
๘. ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว, ศ.ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา, ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ, นอ.
ดํารงศักดิ์ ห้าวเจริญ, การแสดงปาฐกถา เรื่อง สมเด็จพระบรมราชชนกกับการพัฒนา
ประเทศ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ
พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก วันเสาร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๕ ณ
หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๙. ศ.นพ. ประเวศ วะสี, ใน สาธารณสุขชุมชน : ประวัติศาสตร์และความทรงจํา, การสัมมนา
ผู้รู้เห็นประวัติศาสตร์ระบบสุขภาพไทย ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑,
สํานักวิจัยสังคมและสุขภาพ, ๒๕๕๒, หน้า ๒๓
๑๐. ดร. เอ ยี เอลลิส บทความเฉลิมพระเกียรติ พระกรณียกิจปฏิบัติของ สมเด็จพระราชบิดา
เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสขลานครินทร์ (C.P.H., M.D.) ที่ทรงอุปการะการแพทย์
ในกรุงสยาม มหาวิทยาลัยมหิดล เทิดพระนามมหิดล เนื่องในโอกาส “๔๐ ปี พระราชทาน
นามมหาวิทยาลัยมหิดล” ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด
(มหาชน) ISBN 978-974-11-1072-8 หน้า ๑๒๐ – ๑๕๑
๑๑. คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท, พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก, สารศิริราช ปี
ที่ ๓๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๒ หน้า ๑๔๘๘ – ๑๔๙๕
๑๒. พลตรีพระศักดาพลรักษ์, น้ําพระทัยของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานค
รินทร, สุนทรพจน์ในวันมหิดล แสดง ณ หอประชุมแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช
พยาบาล บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๖ หน้า ๕๓๘ -
๕๔๖
๑๓. ศ. หลวงพิณพากย์พิทยาเภท, “ทูลกระหม่อมฯ” รําลึก , บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๖
ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๗ หน้า ๓๙๓ - ๓๙๗
๑๔. พันตรี นิตย์ เวชชวิศิษฎ์ , ทูลกระหม่อมฯ สมเด็จพระราชบิดาฯ ผู้ทรงพระกรุณาธิคุณและ
พระเมตตาธิคุณอันล้นพ้น บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๙ กันยายน
๒๕๐๕ หน้า ๕๖๔ - ๕๗๐
๑๕. พ.อ. ศ. หลวงวาจวิทยาวัฒฑน์ , “ทูลกระหม่อม” สุนทรพจน์ในวันมหิดล ๒๕๐๖ แสดง
ณ หอประชุมแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่
๑๖ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๗ หน้า ๕๔๑ - ๕๔๕
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๗ --
๑๖. ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร , พระกรณียกิจบางอย่างของสมเด็จพระราชบิดาฯ ที่ข้าพเจ้ายังจํา
ได้ สารศิริราช ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๘ หน้า ๔๑๖ – ๔๑๙
๑๗. ศ.นพ. แดง กาญจนารัณย์ , ทูลกระหม่อมฯ ในความทรงจํา สารศิริราช ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๙
กันยายน ๒๔๙๘ หน้า ๔๑๓ – ๔๑๖
๑๘. นพ. ประพนธ์ เสรีรัตน์, ศ.นพ. ฝน แสงสิงแก้ว , ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์ สารศิริราช
ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๔ หน้า ๕๓๖ – ๕๔๒
๑๙. นพ. จํารัส ศิริสัมพันธ์ , พระจริยาวัตร และน้ําพระทัยของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรม
หลวงสงขลานครินทร สารศิริราช ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๑ หน้า ๙๔๐ -
๙๕๔
๒๐. คณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสืองานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราช
สมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก , ๑๐๐ ปี สมเด็จพระ
มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (โรงพิมพ์ อัมรินทร์ พรินติ้ง พ.ศ.
๒๕๓๕)
๒๑. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, แม่เล่าให้ฟัง, พระราชประวัติสมเด็จพระ
ศรีนครินทราบรมราชชนนี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๓ – ๒๔๘๑ , กระทรวงศึกษาธิการ, อัม
รินทร์การพิมพ์ ๒๕๒๕
๒๒. ศ.นพ. อวย เกตุสิงห์ “ศิริราชที่ทูลกระหม่อมทรงเหยียบครั้งแรก” ชุมนุมพระนิพนธ์และ
บทความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระราชบิดา, รวบรวมพิมพ์โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล วันมหิดล ๒๔ กันยายน ๒๕๐๘ หน้า ๔๙๑ – ๔๙๖
๒๓. ศ. นพ. อดุล วิเชียรเจริญ “พระบุคลิกภาพของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก : ๑๐๐ ปี
สมเด็จพระบรมราชชนก” สารศิริราช ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม ๒๕๓๕
๒๔. นิมิตร นามชัย "เมื่อสมเด็จย่าเสด็จอเมริกา ในปี 2460" ต่วยตูน ปักษ์แรก เดือน
กันยายน พ.ศ.2541 หน้า ๑๗
๒๕. วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย “สารสินสวามิภักดิ์” isbn 974-87845-6-8 สํานักพิมพ์ กายมารุต
พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน ๒๕๔๓
๒๖. ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล “พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข หนังสือพระราชประวัติและพระ
ราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” โรงพิมพ์กรุงเทพ (๑๙๘๔) พ.ศ.
๒๕๔๑
๒๗. นพ.มนตรี กันตะบุตร “พระกรณียกิจของ “ หมอเจ้าฟ้า ” แพทยสารทหารอากาศ ปีที่ ๗
ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๐๑ ๓๑๙-๓๒๖

More Related Content

More from สุรพล ศรีบุญทรง

การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

22 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงประชวรในครั้งอวสาน

  • 1. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๖ -- ทรงพระประชวรครั้งสุดท้าย (งานทางโลกไม่มีเวลาสําเร็จได้..) ในระหว่างที่ประทับที่เชียงใหม่ สุขภาพของพระองค์ก็ยังทรงทรุดหนักลงไปเรื่อยๆ ทรงมีอาการ พระโลหิตจาง และตรวจพบโปรตีนไข่ขาว (Albumin) ในพระบังคนเบาเสมอ ต่อมา ต้องเสด็จกลับ กรุงเทพฯ ในวันที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๗๒ เพื่อเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงสมเด็จกรมพระยาภานุ พันธ์วงศ์วรเดช แล้วทรงพระประชวรจนต้องเสด็จเข้ารับการตรวจจากศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล ที่ โรงพยาบาลศิริราช โดยมีเรื่องเล่าว่านายแพทย์ผู้หนึ่งพบกับพระองค์ที่ท่าเรือศิริราช ทรงหิ้วขวดสิ่งส่งตรวจ ของผู้ป่วยที่มีชิ้นลําไส้ของผู้ป่วยบิดอยู่ภายใน เมื่อทรงทักทายแล้วก็รับสั่งว่าไม่ใครสบายวานช่วยพาไปพบ นพ. โนเบิล ด้วย หลังจากเสด็จกลับจากโรงพยาบาลศิริราช ต้องประทับในพระตําหนักวังสระปทุมโดยไม่ได้เสด็จ ออกจากวังอยู่นานถึง ๔ เดือน ต้องเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากศิริราชคือ และศาสตราจารย์ดับบลิว เอช เปอร์กินส์ หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ และ ศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล เข้าไปถวายการรักษาเป็นระยะๆ แรกๆ นั้น อาการพระวักกะที่ไม่ปกติกลับดีขึ้น แล้วกลับทรุดลงด้วยพระยกนะเป็นพิษ ทรงมีพระราชหฤทัย ห่วงงานที่คั่งค้างอยู่มาก ดังมีรับสั่งต่อพระศักดาพลรักษ์ที่มาทูลลาอุปสมบทว่า “น้อม ฉันจะตายก็ไม่เสียดาย ชีวิต ฉันทําพินัยกรรมไว้เรียบร้อยแล้ว แต่งานฉันที่กําลังทําอยู่ยังไม่เสร็จ” โดยพินัยกรรมที่ทรงรับสั่ง คือ ขอให้ผู้ที่รับมรดกบําเพ็ญกุศลถวายโดยบริจาคเงิน ๕๐๐,๐๐๐ บาท แด่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยภายในกําหนด ๒๕ ปี เพื่อตั้งเป็นทุนหาผลประโยชน์บํารุงการศึกษา แพทย์ การศึกษาสุขาภิบาล การศึกษาพยาบาลและปรุงยา ส่วนทางฝั่งศิริราชพยาบาลนั้น เมื่อ ดร. เอลลิส ได้เข้าเฝ้าเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ก็รับสั่งว่าจะทรงเพิ่มเงิน และที่ดินให้อีก ทั้งที่ทรงพระวรกายทรุดโทรมลง ไปตามลําดับ ประหนึ่งว่าจะทอดพระเนตรเห็นมรณะมาถึงยังเบื้องพระพักตร ดังจดหมายที่ ดร.เอลลิส มีไป ยัง ดร. เพียร์ซ ในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ ความว่า “Prince Songkla is going along with perhaps a slight lose each day in general condition. The liver cavity is filling again and they expect to tap again tomorrow. The outlook is not favorable and yet he has the power of reaching with the least let-up of the liver.” และในวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ “Prince Songkla is just about holding to his general condition. He is eating fairly well and the liver abscess, which is definitely amoebic, is not giving trouble at present. Dr. Noble does not feel that the immediate
  • 2. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๗ -- condition is alarming but he does not see how there can be a final recovery, owing to the general condition. Some of us will not give up hope yet.” ทั้งยังมีโทรเลขของศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล ที่กรมราชเลขาธิการ ได้ส่งไปถวายรายงาน พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ทรงประทับอยู่ ณ บาหลี ในวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๒.๑๕ น. ความว่า “During the past 24 hours there has been a further expansion of the inflammatory process in the liver. There is fever and a rapid pulse . His Royal Highness’s condition is not satisfactory.” T.P. Noble เล่ากันว่าเมื่อคราวที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทรา วาสได้ไปเฝ้าเยี่ยม ทรงรับสั่งกับสมเด็จฯว่า “ข้าพเจ้าจะตายก็ไม่เสียดายต่อชีวิต แต่เสียดายว่างานที่กําลังทําค้าง อยู่นี้ ยังไม่เสร็จเรียบร้อย” สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ทูลตอบว่า “ถวายพระพร งานทางโลกไม่มีเวลาสําเร็จได้” ธ เสด็จด้าวแดนสวรรค์ หลังจากนั้นไม่นาน พระอาการก็ทรุดหนักลง แพทย์ประจําพระองค์คือศาสตราจารย์ ที พี โนเบิล และศาสตราจารย์ดับบลิว เอช เปอร์กินส์ ถวายการเจาะพระยกน (ตับ) ได้หนองออกมาจํานวนมาก สุดท้าย วันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๖.๔๕ น. ก็เสด็จทิวงคต สิริรวมพระชนมายุได้ ๓๗ พรรษา ๘ เดือน ๒๓ วัน จากพระอาการบวมน้ําที่พระปับผาสะ (ปอด) และพระหทัย (หัวใจ) วาย ยังความโศกสลด พระทัยอย่างยิ่งต่อพระชายาม่ายวัย ๒๙ พรรษา ที่ต้องประคับประคองเลี้ยงดูพระธิดา และพระโอรสซึ่งล้วน ทรงพระเยาว์มีพระชนมายุเพียง ๖ พรรษา ๔ พรรษา และ ๒ พรรษา ตามลําพัง๑๑๒ ดังบันทึกของคุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท ระบุถึงเหตุการณ์ไว้ว่า ๑๑๒ ครอบครัวราชสกุลมหิดล ทรงประทับยู่ในกรุงเทพหลังงานพระราชทานเพลิงศพ จนกระทั่งเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๗๖ จึงพร้อมกันเสด็จไปอาศัยอยู่ที่เมืองโลซานน์อีกครั้ง จนกระทั่งวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงสละราชสมบัติ และรัฐบาลสยามในขณะนั้นได้อัญเชิญพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์สืบราชสันตติวงศ์ จึงทรงย้ายพระราชฐานไปอยู่ที่พระตําหนักวัฒนา วิลล่า (Villa Vadhana) เมืองพุยยี่ (Pully) เพื่อให้สมฐานะของพระมหากษัตริย์แห่งสยาม แต่กว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ จะ เสด็จนิวัติพระนครหลังจากการขึ้นครองราชย์ ก็ล่วงเข้าวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๘๑
  • 3. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๘ -- “...บายวันที่ ๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๔๗๒ สมเด็จพระบรมราชชนนีฯ เพื่อเสด็จออกจากหองเพื่อทรง พักผอน ทูลกระหมอมกําลังบรรทมหลับ ขาพเจาเฝาถวายพัดอยูหนาแทนบรรทม หมอมเจาหญิงจันทรนิภา เท วกุล ประทับที่หองถัดไป ทูลกระหมอมลืมพระเนตรขึ้นและทรงเรียกขาพเจา “จํานง ฉันหายใจไมออก” ขาพเจาจับชีพจรพระองคทาน และเดินออมเตียงไปอีกขาง คุกเขาลงกราบทูลวา หมอมฉันจะยกเตียงขึ้น ถวายอ็อกซิยเจน ขาพเจารีบออกมาเชิญทานหญิงจันทรนิภาเขาไป ขาพเจาเปดทออ็อกซิยเจนใหทนหญิงทรง ถือไวที่พระนาสิก แลวออกมากราบบังคมทูลสมเด็จพระราชชนนีฯ นําเสด็จเขาไปทรงถวายอ็อกซิยเจนแลวก็ รีบลงบันไดมาบอกคุณเจากรมใหเรียกหมอดวน และสงคนไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระพันวสาฯ ซึ่งประทับอีก วังหนึ่งถัดไป ขาพเจากลับมาดูพระอาการและเตรียมยาฉีดไวใหหมอ ตรวจดูทออ็อกซิยเจนดูทานอนและจับชีพจร ปรากฏวาชีพจรเร็วและเบาลง ทูลกระหมอมทรงหายพระทัยดวยความลําบาก ในขณะนั้น สมเด็จพระพันวัสสาฯ ก็เสด็จขึ้นมา โดยมีหมอโนเบิลตามเขามาแกไขทันที สมเด็จพระพันวัสสาฯ พระพักตรสงบแมจะทรงตก พระทัยมาก ประทับอยูใกลพระแทนทูลกระหมอม พระเนตรของทูลกระหมอมปรอยและลืมขึ้น รูสึกวาจะทรงไม เห็นอะไรแลว ในทันทีนั้นก็เสด็จทิวงคต สมเด็จพระพันวัสสาฯ ทรงคุกพระชงคลง ยื่นพระหัตถออกไปปด เปลือกพระเนตรทูลกระหมอม แลวซบพระพักตรลง ขาพเจาเห็นเหตุการณนี้แลวใจหาย เปนครั้งแรกที่ทําให ขาพเจารูสึกซึ้งถึงความรักและเมตตาระหวางแมและลูก ...” ส่วนบันทึกในจดหมายที่ ดร.เอลลิส มีไปยัง ดร. เพียร์ซ ในวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๗๒ ระบุ ว่า “H.R.H. Prince Songkla passed away rather suddenly at 4:45 p.m. September 24 , although he had been failing distinctly for two or three days. The actual end was due to oedema of the lungs, mainly, and cardiac failure. For a number of days previously, his liver had been enlarging very considerably, and with his fever and pulse rate they did not dare aspirate. Dr. Noble was fortunately present and did everything in the way of stimulation that could be done, but the end was so quick that the Prince’s mother, by hurrying from her house in the same compound, arrived only a couple of minutes
  • 4. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๐๙ -- before the end. The body has, of course, been put in an urn and is lying in state in one of the palace. Madam Songkla is from their accounts almost dazed and can hardly believe that it is true.” การเสด็จทิวงคตของพระองค์ยังนําความเศร้าสลดมาสู่พระประยูรญาติ ข้าราชบริพาร ตลอดจน พสกนิกรที่มีโอกาสรู้จักพระองค์ทุกคน๑๑๓ เช่น ศ.ดร.เอลลิส ได้บันทึกไว้ในตอนท้ายของบทความเรื่องพระ กรณียกิจปฏิบัติของพระองค์ว่า การที่ทรงอุบัติมาในโลกนี้ ทําใหโลกนี้ไดดีขึ้นเปนแนแท พระมหาบุรุษของเรานี้ไดทรงอุบัติมา และเสด็จละโลกไปเสียแลว And so our great man come and go. Hail and Farewell !! A.G. Ellis M.D. ส่วน นพ. อี ซี คอร์ท ก็บันทึกไว้ว่า ”นอกจากทรงพระเมตตาบริจาคทรัพย์เป็นทาน อย่างใหญ่หลวงแล้ว ยังไม่พอพระทัยยังประทานพระองค์เองเป็นสาธารณทานอีก ด้วยจนสิ้นพระชนม์ “ ในขณะที่ หมอจันทร์แดง เมธา เล่าถึงความรู้สึกของบุคลากรในโรงพยาบาลแมคคอร์มิคว่า “,,, ต่อมาพระองค์ท่านได้เสด็จไปประกอบพระราชกิจ ที่กรุงเทพฯ และหลังจากนั้นทางเชียงใหม่ได้ข่าวว่าพระองค์ท่านทรง ประชวรและหมอคอร์ท รีบเดินทางไปเฝ้าต่อมาภรรยาหมอคอร์ทได้เดินร้องไห้เข้าหอผู้ป่วยยื่นโทรเลขให้และบอกว่า พระองค์ท่านได้สวรรคตเสียแล้ว พวกเราเศร้าโศกเสียใจกันมาก ไว้ทุกข์อยู่นาน” แต่ที่น่าประทับใจ และน่าจะแทนความอาดูรในการสิ้นไปแห่งพระองค์ท่านได้เป็นอย่างดี เห็นจะ ได้แก่ บทพระนิพนธ์ของพระบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อคราวทรงวางพวงมาลาที่พระศพ เมื่อวันที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๔๗๒ ความว่า ๑๑๓ พจน์ สารสิน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ ๙ เล่าไว้ในหนังสือ “สารสินสวามิภักดิ์” ว่า “ คืนก่อนวันที่จะสวรรคต ผมไปนั่ง คอยฟังพระอาการประชวรอยู่ตลอดทั้งคืน ผมอยู่คอยจนกระทั่งสวรรคต หลังจากที่ได้ถวายนํ้าสรงพระศพที่พระบาทแล้ว ผม สับสนไปหมด บอกไม่ถูกว่ารู้สึกอย่างไร มันหนักหน่วงใหญ่หลวง มันเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในชีวิตของผม หลังจากที่พ่อตายไป พระองค์ท่านเป็นเจ้านายที่ผมเคารพรักและผูกพันมากที่สุด ผมไม่เคยลืมพระอัธยาศัย และพระจริยา วัตรที่งดงามของพระองค์ท่าน ผมใช้เวลาอยู่นานกว่าจะยอมรับได้ว่าไม่มีทูลกระหม่อมแดงอีกต่อไปแล้ว”
  • 5. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๐ -- อาดูรทูลกระหม่อมฟ้า มหิดลฯ เจ้าเอย อดุลเดชดังสุคนธ์ อบด้าว คุณะมาแมกสากล โลกเลื่อง นิรันทร์ฤา องค์ละลิบนราธิปร้าว อุระสะท้อน ถวิลถึง เจ้าฟ้าหายากเพี้ยง หาเพ็ชร ม่วงพ่อ ทูลกระหม่อมมหิดลเม็ด เขื่องซ้ํา โอ้ควรหรือด่วนเสด็จ ศิวะโลก เสียรา สยามะชาติประยูรญาติช้ํา วิโยคเศร้าเสียดาย แสนฮือ ลุถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ บรรจบครบรอบ ๑๐๐ วันหลังจากทรงเสด็จทิวงคต จึงได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ จัดการบําเพ็ญพระราชกุศลศตมวาร และอัญเชิญพระศพไป พระราชทานเพลิงที่พระเมรุท้องสนามหลวง ในวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๒ พระเวสสันดรในโลกแห่งความเป็นจริง ทาน และ จาคะ ที่ท่านได้กระทําให้แก่สังคมสยามนั้นมี อยู่มากมายมหาศาล ทั้งที่อยู่ในรูปวัตถุ สิ่งของ และที่อยู่ใน รูปการสละเวลา และความสุขสบายส่วนพระองค์ เช่น เมื่อทรง รับเป็นตัวแทนของประเทศสยามในการติดต่อกับมูลนิธิร็อคกี้เฟล เลอร์เพื่อจัดวางรากฐานการอุดมศึกษาขึ้นในประเทศไทย ก็ต้อง ทรงเสด็จไปยังสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก โดยอาศัยยานพาหนะตามแต่ จะมีให้ใช้ได้ในยุคสมัยนั้น ทําให้พระสุขภาพที่ไม่แข็งแรงมาตั้งแต่วัยเยาต้องเสื่อมทรุดลง และบางครั้งก็ต้อง จากพระชายา ตลอดจนราชโอรส ราชธิดา ไปในเวลานานๆ ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน จึงปรากฏว่าไม่มีพระโอรส และพระธิดา พระองค์ใดได้ประสูติในสยามอันเป็นแผ่นดินแห่งบรรพบุรุษของ พระองค์เลย
  • 6. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๑ -- ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี ที่ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ และวงการศึกษา หลังจากการ ได้รับคําชักชวนจากสมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรได้ทรงพระราชทานทรัพย์ให้แก่สาธารณประโยชน์เป็นเงิน ประมาณ ๑ ล้าน ๔ แสนบาท (ซึ่งหากเทียบเป็นตัวเงินตามมาตรฐานค่าครองชีพปัจจุบัน ราชทรัพย์ที่ทรง ประทานให้กับวงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีนับหลายพันล้านบาท) และยังทรงพระราชทานทุนเพื่อการศึกษา และค้นคว้าในต่างประเทศให้กับนักเรียนทุนไม่น้อยกว่า ๓๔ ทุน๑๑๔ ทรงเลือกที่จะดํารงพระชนม์ชีพด้วยความประหยัดและอดออม เพื่อสงวนเวลา และพระราชทรัพย์ ที่ทรงมีอยู่แทบทั้งหมดให้กับการปูพื้นฐานด้านการอุดมศึกษา และการแพทย์ไทย เช่นดังพระราชดํารัสที่ ทรงประทานให้กับนักศึกษาแพทย์ สวัสดิ์ แดงสว่าง ว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของ เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ...” คุณูปการที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงกระทําไว้เป็นที่ประจักษ์สู่สายตา สาธารณชนโดยทั่วไปทั้งในระดับชาติ และระดับสากล องค์การ การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศพระเกียรติคุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น” ของโลกในปี พ.ศ.๒๕๓๕ ทรงเปรียบเสมือนพระเวสสันดรในโลกแห่งความเป็นจริง ด้วยทรงบําเพ็ญจาคะอันยิ่งใหญ่ บริจาค ทรัพย์สินทุกอย่างที่ทรงมีไว้ให้แก่แผ่นดินสยาม แม้เมื่อได้รับพระราชทานทรัพย์เพื่อการปลูกตําหนักจากล้น เกล้ารัชกาลที่ ๖ ก็ยังทรงพระราชทานทรัพย์ทั้งหมดนั้นให้แก่ศิริราช เพื่อสร้างตึกผู้ป่วย ทรงอุทิศพระ ๑๑๔ นอกจากพระราชทรัพย์ส่วนที่ได้ประทานให้แก่ ศิริาช จุฬาลงกรณมหาวิทยลัย และบรรดาองค์กรทางการแพทย์ ทั้งหลายแล้ว ยังทรงบริจากเงินหนึ่งแสนบาทให้กับกรมประมงเพื่อใช้นการส่งคนไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ ตลอดจนได้ พระราชทานทุนสําหรับจ้างครูต่างประเทศจํานวน ๑ ทุนให้กับโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนอีกด้วย
  • 7. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๒ -- วรกายเผาผลาญเทียนไขแห่งพระชนม์ชีพให้มอดไหม้ลงในช่วงเวลาเพียง ๓๘ พรรษา เพื่อการวัฒนาอย่าง สถาพรของวงการศึกษา การแพทย์ และการสาธารณสุขของไทย ในมหาชาติชาดก ชูชกขอพระราชทานพระนางมัทรี และกัณหา-ชาลีมาแล้ว ยังมีวันถวายคืน แต่ ชูชกประเทศไทยทุกวันนี้ ขอพระราชทาน พระชายา พระโอรส และพระราชธิดา มาบําเพ็ญราชกิจจน สิ้นพระชนม์ไปแล้วถึง ๓ พระองค์ กระทั่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชอันเป็นที่รัก ของปวงชนชาวไทย ยังทรงงานหนักมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ พระเกียรติยศหลังเสด็จทิวงคต หลังจากเสด็จทิวงคต ทรงได้รับการสถาปนาให้ดํารงพระอิสริยยศ และได้รับการเชิดชูพระ เกียรติยศ ดังต่อไปนี้  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนา สมเด็จเจ้า ฟ้ามหิดลอดุลยเดชฯ ขึ้นเป็น “สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชฯ กรมหลวง สงขลานครินทร์” ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๗๒ และจัดให้มีงานพระเมรุถวายพระเพลิง พระศพในปี พ.ศ. ๒๔๗๓  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพระราชอิสริยยศ เป็น "สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์" ในวันที่ ๒๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗  พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศ เฉลิมพระอัฐิสมเด็จพระราชบิดา จารึกพระนามในพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระมหิตลาธิเบ ศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก” ทรงฐานันดรศักดิ์ เสมอด้วยสมเด็จพระบวรราชเจ้า เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๓  องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ตามนัยมติคณะ กรรมการบริหารในสมัยประชุมครั้งที่ ๑๓๒ และ ๑๓๖ ได้มีมติให้ร่วมกับประเทศไทยในการ เฉลิมพระเกียรติ ของพระองค์ในฐานะที่เป็นบุคคลสําคัญของโลก เนื่องในวโรกาสมหามงคล สมัยวันคล้ายวันพระราชสมภพ ๑๐๐ ปี ในวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๕ (ทรงเป็นชาวไทยคน แรกที่ได้รับเกียรติจาก UNESCO ในตําแหน่งนี้  ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ บรรดาอาจารย์ของสถาบันการศึกษาทางสาธารณสุขของประเทศไทย ซึ่งมี อยู่ด้วยกันทั้งหมด ๔ สถาบัน คือ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คณะ สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรร มาธิราช และคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีมติพร้อมเพรียงในความประสงค์ขอ พระราชทานสมัญญา สมเด็จพระราชบิดาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่าเป็น "พระบิดา
  • 8. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๓ -- แห่งการสาธารณสุขไทย" อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๓๖ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา ได้ทรงรับสั่งให้ใช้พระราชสมัญญาเป็น "องค์บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย"  นอกจากจะทรงได้รับการถวายสมัญญานามเป็น "พระบิดาแห่งการแพทย์สมัยใหม่" และ “องค์ บิดาแห่งการสาธารณสุขไทย” แล้ว ยังทรงได้รับการถวายสมัญญานามเป็น “พระบิดาแห่ง การสังคมสงเคราะห์ของไทย” และ “พระประทีปแห่งการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ําของ ไทย” อีกด้วย การถวายสักการบูชา สําหรับผู้ที่อ่านเรื่องราวของสมเด็จฯ พระมหาชนกมาถึงบทนี้ ย่อมล้วนตระหนักถึงพระมหา กรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่มีต่อปวงชนชาวไทย ซึ่งหากประสงค์จะทําการกราบไหว้ถวายบูชาต่อพระรูปสักการะ ย่อมสามารถกระทําได้ ณ สถานที่สําคัญๆ ซึ่งได้มีหล่อพระบรมรูป จัดสร้างพระอนุสาวรีย์ ได้แก่บรรดา สถาบันอุดมศึกษา มูลนิธิ หรือ องค์กรที่มีการนําพระนามของพระองค์ท่านไปใช้เป็นชื่อองค์กร ตลอดจนใน คณะแพทยศาสตร์ของทุกสถาบันอุดมศึกษา แต่หากประสงค์จะถวายสักการะต่อพระสรีรางคาร ก็อาจจะ เดินทางไปถวายสักการะได้ใน ๒ สถานที่ คือ เจดีย์รังษีวัฒนา สุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร และเจดีย์ ราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนาราม โดยเจดีย์รังษีวัฒนาในสุสานหลวงวัดราชบพิธสถิตมหา สีมารามราชวรวิหาร ซึ่งมีลักษณะเป็นอาคารจตุรมุขยอดสถูปบุโม เสคสีทองนั้น ภายในบรรจุไว้ด้วยพระอัฐิและพระสรีรางคารพระ ราชโอรส พระราชธิดา ในรัชกาลที่ ๕ กับสมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี ทุกพระองค์ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชปิตุลาธิ บดี เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า สมมติวงษ์วโรทัย กรมขุนศรีธรรมราชธํารงฤทธิ์, สมเด็จพระราช ปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงวิจิตรจิรประภา, สมเด็จ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิงศิราภรณ์โสภณ, สมเด็จพระมหิต ลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าหญิง (ยังไม่มีพระนาม) พระราชธิดาองค์สุดท้อง ตลอดจนได้มีการบรรจุไว้ด้วยพระอัฐิและพระสรีรางคารของสมเด็จพระศรีนคริน ทราบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ไว้ด้วย
  • 9. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๔ -- ส่วนพระสถูปเจดีย์ราชสกุลมหิดล ที่วัดปทุมวนารามนั้นเป็นส่วนหนึ่งของหน้ามุขด้านทิศตะวันออก ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม สมเด็จพระศรีสวรินทิ ราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้ทรง สร้างไว้ สืบเนื่องจากครั้งที่สมเด็จฯ พระบรมราช ชนก ทรงพระประชวรครั้งสุดท้าย ได้กราบทูลกับ สมเด็จพระมารดา ว่าถ้าสิ้นพระชนม์ให้แบ่งอัฐิและ อังคารของพระองค์ไปไว้ในวัดปทุมวนารามฯ ความว่า "สังวาลย์และลูกๆ จะได้มาหาโดยสะดวก" เพราะเกรงว่าพระ ชายา และพระราชโอรส พระราชธิดา จะไม่สะดวกในการเข้าไปกราบพระ อัฐิของพระองค์ในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หรือสุสานหลวง โดยสมเด็จ พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงบรรจุพระทนต์ของพระองค์ไว้ด้วย โดยมีพระ ราชดํารัสว่า "เอาไว้เป็นเพื่อนลูกแดง” นอกจากพระบรมราชสรีรางคารส่วนหนึ่ง ของ สมเด็จฯ พระบรม ราชชนก ที่บรรจุเมื่อปี ๒๔๗๒และพระทนต์ของ สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ที่บรรจุเมื่อปี ๒๔๗๒ แล้ว ต่อมายังได้ บรรจุพระทนต์ของ สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวง เพชรบุรี ราชสิรินทร ในปี ๒๔๘๑ และบรรจุหนังส่วนพระเศียรของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ในวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๓๘ ตลอดจนพระอัฐิส่วนหนึ่งของพระโสณิ (สะโพก) ของ สมเด็จพระศรี นครินทราบรมราชชนนี ในวันที่ ๒๓ กันยายน ๒๕๓๘ อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สําหรับพุทธศาสนิกชน การถวายบูชาเพื่อแสดงถึง ความมีกตเวทิตาคุณอันทรงคุณค่าสูงสุดคือการปฏิบัติบูชา ด้วยการน้อมนํา แนวพระราชปฏิบัติ แนวพระราชดําริ ตลอดจนพระราชดํารัสมาใช้เป็น แนวทางยึดถือปฏิบัติและดําเนินชีวิต เช่น การมีกตัญญูรักใคร่ต่อบุพการี การมีเมตตากรุณาต่อเพื่อน มนุษย์โดยไม่เลือกชนชั้นหรือเชื้อชาติ การเสียสละบริจาคทรัพย์สมบัติโดยไม่หวงแหน การมัธยัสถ์อดออม รู้จักใช้สอยอย่างประหยัด การใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาแบบปฏิบัติจริงตลอดชีวิต การมุ่งมั่นกระทําสิ่งใดล้วนตั้งใจทํา จริงทําแบบถวายชีวิต การยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมในที่ทั้งปวง การยังความมั่นคงแห่งจิตใจไว้ได้แม้ ร่างกายจะถูกรุมเร้าด้วยโรคร้าย (ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว) จนแม้กระทั่งเมื่อต้องเผชิญต่อมรณะที่กรายใกล้ เข้ามาก็สามารถคงสติสัมปชัญญะไว้ได้เสมอ ฯลฯ ตราประจําราชสกุลมหิดล เดิมเป็นตราประจําพระองค์ สมเด็จฯ พระบรมราชชนก
  • 10. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๕ -- บรรณานุกรม (ที่มาของข้อมูลและภาพประกอบ) ๑. มหาวิทยาลัยมหิดล เทิดพระนามมหิดล เนื่องในโอกาส “๔๐ ปี พระราชทานนาม มหาวิทยาลัยมหิดล” ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ISBN 978-974-11-1072-8 ๒. สภาอาจารย์ศิริราช สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก, คณะ แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ ไพศาลศิลป์การพิมพ์ ๒๕๒๖ ๓. พระราชประวัติ สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล http://www.princemahidolaward.org/ biography. th.php ๔. มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล http://www.princemahidolaward.org/ ๕. พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์, เกิดวังปารุสก์ พระนคร: อุดม, ๒๔๙๔
  • 11. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๖ -- ๖. สมภพ จันทรประภา, สมเด็จพระศรีสวรินทิราฯ, โรงพิมพ์อักษรสมัย, ๒๕๑๔ ๗. ๗๐ ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กําเนิดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๐) ๘. ศ.นพ. เสม พริ้งพวงแก้ว, ศ.ดร.กัลย์ อิศรเสนา ณ อยุธยา, ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ, นอ. ดํารงศักดิ์ ห้าวเจริญ, การแสดงปาฐกถา เรื่อง สมเด็จพระบรมราชชนกกับการพัฒนา ประเทศ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จ พระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก วันเสาร์ที่ ๒๖ กันยายน ๒๕๓๕ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๙. ศ.นพ. ประเวศ วะสี, ใน สาธารณสุขชุมชน : ประวัติศาสตร์และความทรงจํา, การสัมมนา ผู้รู้เห็นประวัติศาสตร์ระบบสุขภาพไทย ครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๑, สํานักวิจัยสังคมและสุขภาพ, ๒๕๕๒, หน้า ๒๓ ๑๐. ดร. เอ ยี เอลลิส บทความเฉลิมพระเกียรติ พระกรณียกิจปฏิบัติของ สมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมหลวงสขลานครินทร์ (C.P.H., M.D.) ที่ทรงอุปการะการแพทย์ ในกรุงสยาม มหาวิทยาลัยมหิดล เทิดพระนามมหิดล เนื่องในโอกาส “๔๐ ปี พระราชทาน นามมหาวิทยาลัยมหิดล” ๒ มีนาคม ๒๕๕๒ บริษัท อัมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จํากัด (มหาชน) ISBN 978-974-11-1072-8 หน้า ๑๒๐ – ๑๕๑ ๑๑. คุณหญิงพิณพากย์พิทยาเภท, พระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนก, สารศิริราช ปี ที่ ๓๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๒ หน้า ๑๔๘๘ – ๑๔๙๕ ๑๒. พลตรีพระศักดาพลรักษ์, น้ําพระทัยของสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลานค รินทร, สุนทรพจน์ในวันมหิดล แสดง ณ หอประชุมแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราช พยาบาล บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๑๕ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๖ หน้า ๕๓๘ - ๕๔๖ ๑๓. ศ. หลวงพิณพากย์พิทยาเภท, “ทูลกระหม่อมฯ” รําลึก , บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๗ หน้า ๓๙๓ - ๓๙๗ ๑๔. พันตรี นิตย์ เวชชวิศิษฎ์ , ทูลกระหม่อมฯ สมเด็จพระราชบิดาฯ ผู้ทรงพระกรุณาธิคุณและ พระเมตตาธิคุณอันล้นพ้น บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๑๔ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๕ หน้า ๕๖๔ - ๕๗๐ ๑๕. พ.อ. ศ. หลวงวาจวิทยาวัฒฑน์ , “ทูลกระหม่อม” สุนทรพจน์ในวันมหิดล ๒๕๐๖ แสดง ณ หอประชุมแพทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล บทความพิเศษ สารศิริราช ปีที่ ๑๖ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๐๗ หน้า ๕๔๑ - ๕๔๕
  • 12. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๑๗ -- ๑๖. ศ.นพ. สุด แสงวิเชียร , พระกรณียกิจบางอย่างของสมเด็จพระราชบิดาฯ ที่ข้าพเจ้ายังจํา ได้ สารศิริราช ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๘ หน้า ๔๑๖ – ๔๑๙ ๑๗. ศ.นพ. แดง กาญจนารัณย์ , ทูลกระหม่อมฯ ในความทรงจํา สารศิริราช ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๘ หน้า ๔๑๓ – ๔๑๖ ๑๘. นพ. ประพนธ์ เสรีรัตน์, ศ.นพ. ฝน แสงสิงแก้ว , ทูลกระหม่อม – ปรมาจารย์ สารศิริราช ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๔๙๔ หน้า ๕๓๖ – ๕๔๒ ๑๙. นพ. จํารัส ศิริสัมพันธ์ , พระจริยาวัตร และน้ําพระทัยของสมเด็จพระราชบิดาเจ้าฟ้ากรม หลวงสงขลานครินทร สารศิริราช ปีที่ ๒๑ ฉบับที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๑ หน้า ๙๔๐ - ๙๕๔ ๒๐. คณะกรรมการฝ่ายจัดพิมพ์หนังสืองานฉลองครบรอบ ๑๐๐ ปี แห่งวันคล้ายวันพระราช สมภพสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก , ๑๐๐ ปี สมเด็จพระ มหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (โรงพิมพ์ อัมรินทร์ พรินติ้ง พ.ศ. ๒๕๓๕) ๒๑. สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา, แม่เล่าให้ฟัง, พระราชประวัติสมเด็จพระ ศรีนครินทราบรมราชชนนี ระหว่าง พ.ศ. ๒๔๔๓ – ๒๔๘๑ , กระทรวงศึกษาธิการ, อัม รินทร์การพิมพ์ ๒๕๒๕ ๒๒. ศ.นพ. อวย เกตุสิงห์ “ศิริราชที่ทูลกระหม่อมทรงเหยียบครั้งแรก” ชุมนุมพระนิพนธ์และ บทความเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระราชบิดา, รวบรวมพิมพ์โดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล วันมหิดล ๒๔ กันยายน ๒๕๐๘ หน้า ๔๙๑ – ๔๙๖ ๒๓. ศ. นพ. อดุล วิเชียรเจริญ “พระบุคลิกภาพของสมเด็จฯ พระบรมราชชนก : ๑๐๐ ปี สมเด็จพระบรมราชชนก” สารศิริราช ปีที่ ๔๔ ฉบับที่ ๑ เดือนมกราคม ๒๕๓๕ ๒๔. นิมิตร นามชัย "เมื่อสมเด็จย่าเสด็จอเมริกา ในปี 2460" ต่วยตูน ปักษ์แรก เดือน กันยายน พ.ศ.2541 หน้า ๑๗ ๒๕. วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย “สารสินสวามิภักดิ์” isbn 974-87845-6-8 สํานักพิมพ์ กายมารุต พิมพ์ครั้งแรก พฤศจิกายน ๒๕๔๓ ๒๖. ศุภรัตน์ เลิศพาณิชย์กุล “พระมามลายโศกหล้า เหลือสุข หนังสือพระราชประวัติและพระ ราชกรณียกิจในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี” โรงพิมพ์กรุงเทพ (๑๙๘๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ ๒๗. นพ.มนตรี กันตะบุตร “พระกรณียกิจของ “ หมอเจ้าฟ้า ” แพทยสารทหารอากาศ ปีที่ ๗ ฉบับที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๐๑ ๓๑๙-๓๒๖