SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๒ --
ทรงยุติการเรียนเนื่องด้วยเหตุสงครามโลก
ในระหว่างที่ประทับเพื่อการศึกษาในประเทศเยอรมันนี้ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าไกเซอร์
วิลเฮล์มที่ ๒ และพระมเหสีอย่างใกล้ชิดและได้ทรงร่วมเสวยพระกระยาหารด้วยหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม
ต้องทรงยุติการศึกษาลงในปี พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อส่อเค้าว่าจะเกิดการประกาศสงครามระหว่างบรรดาประเทศ
ที่ทรงอํานาจอยู่ในยุโรป๑๙
สถานการณ์ในยุโรปปั่นป่วนวุ่นวาย เกิดความหวาดระแวงกันอยู่โดยทั่วไป
โดยเฉพาะในหมู่ชนชาวเอเชียในยุโรป ถึงขนาดพระองค์เคยถูกจับกุมตัวไปยังสถานีตํารวจ ด้วยข้อกล่าวหา
ว่าเป็นจารบุรุษญี่ปุ่น ดังที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า
“ทูลกระหม่อมอาแดง เคยทรงเล่าว่าเมื่อสงครามเกิดขึ้น
ใหม่ๆ ท่านได้ถูกจับเอาเสียด้วย เพราะท่านยังทรงแต่งเครื่องแบบ
ทหารเรือเยอรมัน จึงถูกหาว่าเป็นจารบุรุษญี่ปุ่น ท่านว่าเวลาที่เขาพา
ท่านขึ้นรถยนต์ไปโรงพัก ท่านต้องประทับกลางระหว่างตํารวจ ๒ คน
ซึ่งต่างมีปืนพกจี้ติดกับพระองค์ท่านตลอดเวลา ท่านได้ถูกให้ประทับ
อยู่ที่โรงพัก และถูกปล่อยตัวเมื่อได้ติดต่อกับสถานทูตสยามได้สําเร็จ”
การที่ต้องยุติการศึกษานั้น เนื่องด้วยข้อบังคับทหารเยอรมัน
บัญญัติว่า บรรดาชาวต่างประเทศที่กําลังศึกษาวิชาการทหารอยู่ใน
ประเทศเยอรมันจะต้องเข้าร่วมกับประเทศเยอรมันเมื่อเกิดสงคราม เว้นแต่สงครามนั้นได้กระทํากับประเทศ
ของนักศึกษาต่างชาติ ดังนั้นเพื่อมิให้เสียความเป็นกลาง ทรงหารือกับพระยาศรีธรรมสาส์น อัครราชทูตไทย
ประจํากรุงเบอร์ลิน ดังปรากฏในรายงานของสถานทูตไทยที่เยอรมนีว่า
“…ทรงชี้แจงพระประสงค์มาในเรื่องนี้ มีใจความว่า : ถ้ารัฐบาลจะให้พระองค์ท่านทรง
ลาออกจากกองทัพเรือเยอรมันแล้ว พระองค์ท่านมีพระประสงค์จะไปทอดพระเนตรการรบ เปนผู้ช่วย
ทูตในราชการทหารบกหรือทหารเรือ (Military or Naval Attaché) หรือไปรับราชการให้เปนประ
โยชน์อย่างอื่น เช่นไปตรวจการต่อเรือรบของรัฐบาลที่เมืองนิวคาลเซอล (Newcastle) แต่ถ้ารัฐบาลจะ
ไม่ให้พระองค์ท่านทําการเช่นนี้แล้ว จะทรงขอประจําอยู่ในกองทัพเรือเยอรมันต่อไป โดยไม่ช่วยเขารบ
ด้วย…”
อย่างไรก็ตาม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ซึ่งขณะนั้นทรงดํารงตําแหน่งเสนาบดีกระทรวง
ทหารเรือ ได้มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เสนอข้อคิดเห็น
เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า “…ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะจัดให้ทรงทําการอย่างใดในน่าที่
๑๙
เกิดเหตุประทุของสงครามในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อกัฟรีโล ปรินซีป นักเรียนชาวเซิร์บบอสเนีย ได้ลอบ
ปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่เมืองซาราเยโว จน
นําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในเดือนสิงหาคม
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๓ --
ทางทหารเรือ ในระหว่างที่กองทัพเรือเยอรมันทําการสงครามนั้นคงเปนการยากยิ่ง… คงมีแต่พอเปนไป
ได้ก็ต้องให้เสด็จข้ามไปทวีปอื่นเสียทีเดียว มีตามประเทศในทวีปอะเมริกาเปนต้น หรือให้กลับพระ
นคร… “
ซึ่งในที่สุด ได้ข้อสรุปเป็นพระราชวินิจฉัยให้เสด็จกลับสยาม โดยผ่านไปทางประเทศสวีเดน และ
กระทรวงทหารเรือได้จัดเรือพิฆาตหลวงเสือดําคํารณสินธุ์ไปรับเสด็จที่ปากน้ําเจ้าพระยา วันที่ ๙ มีนาคม
๒๔๕๘ จึงไม่ทรงต้องเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเยอรมันที่ทรงเสด็จไปศึกษาหา
ความรู้ด้านการทหารมาอย่างยาวนานกว่า ๗ ปี และมีสัมพันธไมตรีที่ดีกับประเทศสยามนับแต่รัชสมัยของ
สมเด็จพระราชบิดา รัชกาลที่ ๕ หรือว่าจะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรที่สมเด็จพระเชษฐาธิราช รัชกาลที่ ๖ ตัดสิน
พระทัยส่งทหารไปร่วมรบด้วย ๒๐
สมเด็จเจ้าฟ้าทหารเรือ
หลังจากได้ทรงเสด็จกลับมารับราชการในกระทรวงทหารเรือสยาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์จะโปรดเกล้าให้ดํารงตําแหน่งเรือเอก เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์
ทั้งหลาย แต่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก แสดงพระประสงค์ให้เป็นการเลื่อนลําดับชั้นยศเช่นเดียวข้าราชการ
ทหารทั่วไป จึงคงดํารงพระยศนายเรือโท ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อบรรจุในตําแหน่งสํารอง
ราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ เพื่อให้ทรงมีเวลาศึกษาหลักสูตรและวิธีการสอนโรงเรียนนายเรือ ต่อมาใน
เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ทรงย้ายไปประจํากองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่ง
ตํารา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ
กล่าวกันว่าระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงทหารเรือ ทรงโปรด
ที่จะปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับทหารสามัญชนชั้นผู้น้อย ไม่ทรงโปรดประทับเรือ
ที่จัดถวายเป็นการส่วนพระองค์ แต่เลือกใช้บริการเรือข้ามฟากเช่นเดียวกับ
สามัญชนทั่วไป และทรงทําความเคารพต่อทหารที่มีชั้นยศสูงกว่าตามธรรม
เนียมเสมอ แต่บางครั้งการปฏิบัติดังกล่าวก็ขัดต่อระเบียบปฏิบัติที่
ทหารเรือจะต้องกระทําให้สมเกียรติยศของสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์ถึงกับ
ต้องเสด็จไปเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวง
ทหารเรือ เพื่อขอให้ยกเลิกธรรมเนียมการถวายความเคารพของกองทหาร
๒๐
นับเป็นพระปรีชาญานของสมเด็จพระมหากษัตริย์ของสยาม ที่ทรงประคับประคองประเทศให้รอดพ้นวิกฤตต่างๆ อันสืบ
เนื่องจากการแสวงหาความเป็นใหญ่ในโลก (Hagemony) ของบรรดาชาติมหาอํานาจตะวันตกทั้งหลาย นับแต่สมัยรัชกาลที่
๓ และรัชกาลที่ ๔ ที่สยามรอดพ้นจากการตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสมาได้ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕ ส่งพระ
ราชโอรสไปศึกษาต่อยังอังกฤษ รัสเซีย และเยอรมัน ก็นับเป็นการดําเนินกุศโลบายอันแยบยลยิ่ง เนื่องจากมหาอํานาจทั้ง ๓
นี้ไม่เพียงแต่จะมีความผูกพันกันทางสายพระโลหิตของราชวงศ์ แต่ยังมีความผูกพันกันในทางผลประโยชน์อีกด้วย อย่างไร
ก็ตาม เมื่อผลประโยชน์ของชาติยุโรปขัดแย้งกันจนกระทั่งนําไปสู่สงครามโลก สยามก็ยังคงเกียรติและศักดิ์ศรีในระดับสากล
ไว้ได้ โดยมิได้มีความบาดหมางรุนแรง
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๔ --
รักษาการณ์สําหรับพระองค์เสีย
ด้วยความมุ่งมั่นพระทัยที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเรือดําน้ํา และเรือ
ตอร์ปิโดรักษาฝั่งที่ได้ทรงศึกษามา เพียงเดือนเศษที่เริ่มรับราชการทหารเรือ ก็ทรงยื่นถวายบันทึกรายงาน
ความเห็นเรื่องเรื่องดําน้ําที่ศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี จํานวน ๙๔ หน้า แด่เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ระบุ
ความเป็นไปได้ในการนําเรือดําน้ํา (ทรงใช้ชื่อเรียกโดยย่อว่า เรือ “ส” ตามคําย่อภาษาอังกฤษว่า
Submarine) มาใช้ปฏิบัติงาน วิธีการจัดหา ประโยชน์และขนาด การประยุกต์ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกับเรือดํา
น้ํา การจัดตั้งฐานปฏิบัติการพร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก สวัสดิการและการศึกษาของพลประจําเรือ การ
ปกครองบังคับบัญชา จนกระทั่งสรุปออกมาเป็นงบประมาณเพื่อกิจการดังกล่าว ฯลฯ ดังปรากฏเป็น
บางส่วนของพระหัตถเลขาดังนี้
“... ความมุ่งหมายของเรือ “ส” ในเวลาสงครามนั้น จะรักษาทะเลใหญ่ไว้ให้นานที่สุด ที่จะ
นานได้ และถ้าเห็นเรือข้าศึกแล้ว จะเข้าโจมตีโดยไม่คิดเสียดายลูกตอร์ปิโดหรือลําเรือเอง เพราะถึงแม้
จะเสีย แต่ถ้าข้าศึกเสียเรือด้วยก็พอคุ้มกัน ความตกใจของข้าศึกนั้นสําคัญมาก ถ้าทําอย่างนั้นได้แล้ว
ข้าศึกจะต้องระวังตัวอยู่เสมอ....”
อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเสียดายว่ารายงานดังกล่าวถูกวางสงบนิ่งอยู่ในตู้นิรภัยของกระทรวง
ทหารเรือมาโดยตลอด จนกระทั่งมีการเปิดตู้เซฟของกรมยุทธการทหารเรือใน ปี พ.ศ.๒๕๑๓ จึงพบว่ามี
รายงานเรื่องเรือ “ส” ของพระองค์อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีผู้ใดแสดงความเห็นเพิ่มเติม และไม่มีการสั่ง
การใดๆ ปรากฏอยู่ในเอกสาร
นอกจากผลงานการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องกองเรือดําน้ําแล้ว ยังได้ทรงวางแผนโครงสร้างกอง
เรือรบ (Flauttenblau plan หรือ Fleet Building Plan) ในสมุดแบบฝึกหัดเขียนด้วยลายพระหัตถ์เป็น
ภาษาเยอรมันจํานวน ๒๖ หน้า ภายในมีภาพร่างของเรือรบแบบต่างๆ มีการระบุถึงจุดมุ่งหมายยุทธศาสตร์
ทางเรือ การวางกําลังทางเรือ ณ สถานีรบทั้ง ๔ แห่ง คือ สถานีปากน้ํากรุงเทพฯ สถานีเกาะสีชัง สถานี
สงขลา และสถานีภูเก็ต มีการระบุจํานวนและคุณสมบัติของเรือรบที่จะประจําสถานีไว้เสร็จสรรพตาม
สภาพพื้นที่และตามสภาพงบประมาณ เช่น จะต้องมีเรือดําน้ํา เรือตอร์ปิโด เรือทุ่นระเบิด เรือลาดตระเวน
ฯลฯ จํานวนเท่าใด๒๑
อย่างไรก็ตาม สมุดบันทึกฉบับนี้ก็สูญหายไปจนกระทั่งสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้า
กัลยาณิวัฒนา ทรงพบที่ห้องสมุดโรงพยาบาลประสาท จึงได้รับการชําระและแปลออกมาเป็นเอกสารสําคัญ
ทางประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือในระยะเวลาต่อมา
๒๑
พลตรีพระศักดาพลรักษ์เล่าว่า “ทรงได้รับคําสั่งจากรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือให้ทรงวางแผนการรักษาอ่าวไทยทางฝ่าย
ทหารเรือ พระองค์ได้จัดวางกําลังหน่วยเรือรบต่างๆ ที่จําเป็นจะต้องใช้ในการรักษาอ่าวเสร็จเรียบร้อยทุกประการ รัฐมนตรีได้
บันทึกชมเชยมาว่าดีมาก แต่ว่างบประมาณการซื้อเรือรบไม่มีพอจะจัดการได้เร็วตามแผนการนี้ จึงทรงถามไปอย่างเป็น
ทางการว่า จะมีได้เมื่อไร ทางการตอบมาว่าไม่มีกําหนดแน่นอน” และอาจจะเป็นหนึ่งในเหตุให้ทรงเบื่อหน่ายท้อถอยต่อการ
รับราชการทหารเรือ “
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๕ --
กล่าวกันว่าในพระตําหนักที่ประทับนั้น นอกจากจะอุดมไปด้วยตํารับตําราวิชาทหารเรือแล้ว ยัง
เพียบพร้อมไปด้วยแบบจําลองเรือรบประเภทต่างๆ ซึ่งทรงประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยไม้ และได้ถือโอกาสนํามา
แสดงประกอบการจําลองยุทธทางเรือที่สระอโนดาต เขาดินวนา ในระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๐ มกราคม พ.ศ.
๒๔๕๘ โดยมีเรือไม้จําลองจํานวน ๘ ลําถูกนํามาใช้จําลองสถานการณ์การรบทางเรือเพื่อหาเงินรายได้สมทบ
ทุนซื้อเรือหลวงพระร่วง (หนึ่งในเรือสาธิตเป็นเรือไม้ส่วนพระองค์ที่จําลองจากเรือลาดตระเวนเบาเอมเคน
ของเยอรมัน)
จากเจ้าฟ้าทหารเรือสู่พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่
เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้
จากการปฏิบัติที่ทําได้จริง๒๒
จึงมีพระประสงค์บังคับเรือตอร์ปิโดออกทะเล แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง
ว่า มิอาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ตามพระราชหทัย ด้วยเกียรติยศอันสูงศักดิ์ของพระองค์นั้นทําให้กองทัพเรือมิ
กล้าเสี่ยงให้พระองค์ได้ปฎิบัติดังกล่าว กลายเป็นว่าทรงได้รับการบรรจุในฐานะนายทหารแผนกเรือเล็กโดย
ประจําอยู่ในกองวิชาการแทน ดังปรากฏในพระนิพนธ์ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ว่า
“(ทรง)โปรดราชการทหารเรืออย่างยิ่ง แต่ท่านอยากจะทรงบังคับเรือตอร์ปิโดและอยากออก
ทะเล บังเอิญทางราชการเห็นว่าไม่ควรที่เจ้าฟ้าจะทรงทําเช่นนั้น ท่านจึงมิได้บังคับเรือ หรือออกทะเล
โดยลําพังพระองค์เลย จึงทรงเกิดเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก เพราะหน้าที่ของท่านคือ เป็นครูสอน
โรงเรียนนายเรือ ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจจะหมายความว่า ท่านไม่โปรดนักเรียนนายเรือ ถ้าท่านได้พาพวก
นั้นลงเรือตอร์ปิโดออกทะเล ท่านคงจะโปรดเป็นอย่างมาก ”
หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสมเด็จพระบรมราชชนกฯ ทรงโปรดการปฏิบัติ หรือสอนให้เห็นด้วยการ
ปฏิบัติจริง ดังปรากฏชัดเมื่อทรงสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระหว่างที่ทรงปฏิบัติหน้าที่อาจารย์
ของทหารเรืออยู่นั้น ได้มีเหตุการณ์หลายอย่างที่หันเหความสนใจของพระองค์ท่านจากงานราชนาวีไปสู่งาน
การแพทย์และสาธารณสุข ดังปรากฏในนิพนธ์ของสมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรฯ ความว่า
๒๒
เป็นปรัชญาการศึกษาของระบบการศึกษาเยอรมันที่ทั่วโลกล้วนตระหนักและยอมรับในประสิทธิผลและความถูกต้อง
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๖ --
“กองทัพเรือไทยในเวลานั้นมีเรือน้อย เกือบจะ
เรียกว่ากองทัพเรือไม่ได้จริงๆ เจ้าฟ้ามหิดลมีนิสัยเป็นทหาร
จริงๆ จึงรู้สึกคับพระทัย แต่ไม่ทรงทิ้งทหารเรือทีเดียว ทรง
คิดถึงเรื่องเรือรบเป็นอันมาก ท่านสนพระทัยในเรือเล็กๆ ที่
ไทยอาจมีไว้มาก ทรงนึกถึงเรือดําน้ําเป็นพิเศษ เมื่อนึกถึงเรือ
ดําน้ําแล้ว ปัญหาเรื่องอาหารจึงเกิดขึ้น คือคนไทยชอบ
รับประทานอาหารข้าวที่หุงขึ้นสดๆ ติดไปกับเรืออย่างเรือ
ฝรั่ง จะต้องคิดหาอาหารที่เก็บไว้ได้อย่างนั้น และให้เหมาะกับ
คนไทย และเป็นประโยชน์แก่การยังชีพ และบํารุงกําลัง
อย่างดีที่สุดด้วย จะต้องศึกษาและทดลองเป็นพิเศษ ท่าน
อยากศึกษาทางนี้ เมื่อข้าพเจ้าทราบดังนั้น ก็สนับสนุน
ความคิดอันนี้ด้วยความยินดี ประกอบกับพระพลานามัยของ
ท่านไม่สู้ดี อยากจะไปรักษาพระองค์ในประเทศหนาวด้วย
ข้าพเจ้าจึงแนะนําให้เสด็จออกไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ให้ศึกษาทางอื่น
เกี่ยวกับสุขวิทยาด้วย จะได้นํามาสอนในโรงเรียนแพทย์และช่วยกันส่งเสริมวิชาแพทย์ในเมืองไทย”๒๓
นอกจากนั้น เมื่อตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ๒๔
ไปเยือนจังหวัดฝ่าย
เหนือ ก็นําไปสู่ความผูกพันกับงานทางการแพทย์ในระยะเวลาต่อมา ดังปรากฏในบันทึกของนายแพทย์ อี ซี
คอร์ท ผู้อํานวยการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ความว่า “ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเฝ้าทูลกระหม่อมแดง เมื่อยัง
ทรงดํารงพระยศเป็นนายเรือเอก และได้ทรงเสด็จเยือนจังหวัดฝ่ายเหนือกับพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้า
กรมหลวงพิษณุโลก องค์รัชทายาทแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๕๗ แม้เวลานั้นก็สนพระทัยในกิจการ
แพทย์เป็นอย่างดี ได้สนทนากับข้าพเจ้าในปัญหาทางการแพทย์ต่างๆ และทรงแสดงความจํานงจะใคร่
๒๓
ทรงดํารงพระชนม์ชีพในยุคที่ประชาชนสยามยังมีสุขภาวะเสื่อมทรามมาก ดังจะเห็นได้จากการที่เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์
ที่น่าจะถือว่าเป็นชนชั้นที่มีสุขภาวะที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในพระราชวังซึ่งมีความเจริญสูงสุด ก็ยังต้องถูกคุกคามด้วยโรคภัยไข้
เจ็บ ต้องสิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควรด้วยโรคทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สมัยนั้น ยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ
เรื่องสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องการจัดการส้วม และการจัดหานํ้าดื่มนํ้าใช้ จนส่งผลให้มีโรคระบาดเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ฉนั้น
การที่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ตัดสินพระทัยเปลี่ยนมาศึกษาทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข แทนที่จะใช้เวลาไป
ศึกษาด้านการศึกการสงครามที่มีเชื้อพระวงศ์จํานวนมากรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นเหลือ
ประมาณแก่ปวงชนชาวสยาม
๒๔
สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
สมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรฯ
--  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๗ --
ศึกษาวิชาแพทย์สืบต่อไปด้วย พระองค์ยังทรงขอให้แนะนําด้วยว่าจะศึกษาในโรงเรียนไหนจึงจะดี “
๒๕
กล่าวกันว่าพระราชประสงค์ที่จะบูรณะกองทัพเรือ ให้มีความกระทัดรัดและประสิทธิภาพ โดย
เลือกใช้เรือดําน้ําและเรือตอร์ปิโดขนาดเล็กซึ่งสามารถเข้าแม่น้ําได้สะดวกสมกับการเป็นประเทศเล็ก ไม่มี
ฐานทัพเรือและอู่ขนาดใหญ่นั้น ขัดกับแนวคิดของผู้ใหญ่ในกระทรวงสมัยนั้นที่ต้องการต่อเรือรบขนาดใหญ่
ผนวกกับการถูกบรรจุให้เป็นนายเรือบนบกทั้งที่เคยทรงปฏิบัติหน้าที่ในเรือดําน้ําของราชนาวีอันเกรียงไกร
ของเยอรมัน สร้างความท้อแท้ให้กับพระองค์เป็นอย่างมาก จึงทรงเผาตําราและแบบจําลองเรือรบต่างๆ ที่
ทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง พร้อมกับทรงลาออกจากประจําการ (๒๔๕๙) ในตําแหน่งนายเรือโท (ภายหลังจาก
ลาออกจากราชการทหารเรือนานนับ ๑๐ ปี จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศ ไปเป็น
นาวาเอก ในวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๗ )
รวมเบ็ดเสร็จเวลาที่ทรงรับราชการในกระทรงทหารเรือ ๙ เดือน ๑๘ วัน ยังความเสียดายมาสู่
เสนาบดีกระทรงทหารเรือเป็นอย่างมาก ดังปรากฏในนิพนธ์ของ มจ.หญิง ประสงค์สมบริพัตร พระชายาใน
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรงทหารเรือในขณะนั้น ความว่า “เมื่อ
ทูลกระหม่อมแดงทรงศึกษาวิชาทหารเรือสําเร็จ ได้ทรงรับราชการทหารเรืออยู่คราวหนึ่ง
ทูลกระหม่อมดีพระทัยมาก รับสั่งว่าจะให้ทรงทํางานรู้จักและคุ้นเคยกับพวกทหารทั่วไปสักปีหรือสองปี
ทูลกระหม่อมก็จะถวายบังคมลาออกจากเสนาบดีทหารเรือเพื่อถวายตําแหน่งเสนาบดีแก่ทูลกระหม่อม
แดง ทรงทํางานที่กระทรวงทหารเรือ ยังไม่ถึงปีก็เสด็จกลับไปเมืองนอกอีก ทูลกระหม่อมเลยไม่สม
พระทัยที่คิดไว้”
๒๕
มีเรื่องเล่ากันว่าหลังจากเสด็จกลับจากเมืองเหนือคราวนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ถึงเรื่องที่ทรงไม่พอพระทัยในการรับราชการราชนาวี ทรงเห็นว่า ความต้องการของประเทศคือการ
สาธารณสุข จึงทรงประสงค์จะศึกษาวิชาแพทย์ ยังความหนักพระทัยให้กับพระเชษฐาธิราช ด้วยไม่เคยมีเจ้านายพระองค์
ใดศึกษาวิชาแพทย์มาก่อน แต่เมื่อทรงปรึกษาหารืออยู่นานก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต อย่างไรก็ตาม เรื่อง
เล่านี้ออกจะมีความคลาดเคลื่อนน่าสงสัยอยู่บ้าง เพราะมีการระบุพระยศเป็นนายเรือเอก และช่วงเวลาปี พ.ศ.๒๔๕๗ ยัง
เป็นช่วงที่เพิ่งทรงปฏิบัติหน้าที่ในราชนาวี เป็นไปได้ว่าอาจจะเนื่องจากการนับปีเหลื่อมในช่วงที่ประเทศสยามยังใช้เดือน
เมษายนเป็นเดือนแรกของปี ฉะนั้นในบันทึกที่ระบุว่าทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ที่
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตามคําแนะนําของที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis B. Sayre หรือ
รู้จักกันในชื่อพระยากัลยาณไมตรี) ในวันที่ ๑๘ มกราคม และทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นนายทหารพิเศษนอก
กองประจําการ กองทัพเรือ ในวันที่ ๒๐ มกราคม นั้น น่าจะเป็น มกราคม ปี พ.ศ.๒๔๕๘ ตามวิธีอนุวรรตเดือนปีตามแบบ
สากล

More Related Content

More from สุรพล ศรีบุญทรง

การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
 

04 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย เจ้าฟ้าทหารเรือ

  • 1. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๒ -- ทรงยุติการเรียนเนื่องด้วยเหตุสงครามโลก ในระหว่างที่ประทับเพื่อการศึกษาในประเทศเยอรมันนี้ ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ ๒ และพระมเหสีอย่างใกล้ชิดและได้ทรงร่วมเสวยพระกระยาหารด้วยหลายครั้ง อย่างไรก็ตาม ต้องทรงยุติการศึกษาลงในปี พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อส่อเค้าว่าจะเกิดการประกาศสงครามระหว่างบรรดาประเทศ ที่ทรงอํานาจอยู่ในยุโรป๑๙ สถานการณ์ในยุโรปปั่นป่วนวุ่นวาย เกิดความหวาดระแวงกันอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะในหมู่ชนชาวเอเชียในยุโรป ถึงขนาดพระองค์เคยถูกจับกุมตัวไปยังสถานีตํารวจ ด้วยข้อกล่าวหา ว่าเป็นจารบุรุษญี่ปุ่น ดังที่พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ทรงพระนิพนธ์ไว้ว่า “ทูลกระหม่อมอาแดง เคยทรงเล่าว่าเมื่อสงครามเกิดขึ้น ใหม่ๆ ท่านได้ถูกจับเอาเสียด้วย เพราะท่านยังทรงแต่งเครื่องแบบ ทหารเรือเยอรมัน จึงถูกหาว่าเป็นจารบุรุษญี่ปุ่น ท่านว่าเวลาที่เขาพา ท่านขึ้นรถยนต์ไปโรงพัก ท่านต้องประทับกลางระหว่างตํารวจ ๒ คน ซึ่งต่างมีปืนพกจี้ติดกับพระองค์ท่านตลอดเวลา ท่านได้ถูกให้ประทับ อยู่ที่โรงพัก และถูกปล่อยตัวเมื่อได้ติดต่อกับสถานทูตสยามได้สําเร็จ” การที่ต้องยุติการศึกษานั้น เนื่องด้วยข้อบังคับทหารเยอรมัน บัญญัติว่า บรรดาชาวต่างประเทศที่กําลังศึกษาวิชาการทหารอยู่ใน ประเทศเยอรมันจะต้องเข้าร่วมกับประเทศเยอรมันเมื่อเกิดสงคราม เว้นแต่สงครามนั้นได้กระทํากับประเทศ ของนักศึกษาต่างชาติ ดังนั้นเพื่อมิให้เสียความเป็นกลาง ทรงหารือกับพระยาศรีธรรมสาส์น อัครราชทูตไทย ประจํากรุงเบอร์ลิน ดังปรากฏในรายงานของสถานทูตไทยที่เยอรมนีว่า “…ทรงชี้แจงพระประสงค์มาในเรื่องนี้ มีใจความว่า : ถ้ารัฐบาลจะให้พระองค์ท่านทรง ลาออกจากกองทัพเรือเยอรมันแล้ว พระองค์ท่านมีพระประสงค์จะไปทอดพระเนตรการรบ เปนผู้ช่วย ทูตในราชการทหารบกหรือทหารเรือ (Military or Naval Attaché) หรือไปรับราชการให้เปนประ โยชน์อย่างอื่น เช่นไปตรวจการต่อเรือรบของรัฐบาลที่เมืองนิวคาลเซอล (Newcastle) แต่ถ้ารัฐบาลจะ ไม่ให้พระองค์ท่านทําการเช่นนี้แล้ว จะทรงขอประจําอยู่ในกองทัพเรือเยอรมันต่อไป โดยไม่ช่วยเขารบ ด้วย…” อย่างไรก็ตาม สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ ซึ่งขณะนั้นทรงดํารงตําแหน่งเสนาบดีกระทรวง ทหารเรือ ได้มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า เสนอข้อคิดเห็น เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่า “…ข้าพระพุทธเจ้าเหนด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะจัดให้ทรงทําการอย่างใดในน่าที่ ๑๙ เกิดเหตุประทุของสงครามในวันที่ ๒๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อกัฟรีโล ปรินซีป นักเรียนชาวเซิร์บบอสเนีย ได้ลอบ ปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ที่เมืองซาราเยโว จน นําไปสู่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ขึ้นในเดือนสิงหาคม
  • 2. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๓ -- ทางทหารเรือ ในระหว่างที่กองทัพเรือเยอรมันทําการสงครามนั้นคงเปนการยากยิ่ง… คงมีแต่พอเปนไป ได้ก็ต้องให้เสด็จข้ามไปทวีปอื่นเสียทีเดียว มีตามประเทศในทวีปอะเมริกาเปนต้น หรือให้กลับพระ นคร… “ ซึ่งในที่สุด ได้ข้อสรุปเป็นพระราชวินิจฉัยให้เสด็จกลับสยาม โดยผ่านไปทางประเทศสวีเดน และ กระทรวงทหารเรือได้จัดเรือพิฆาตหลวงเสือดําคํารณสินธุ์ไปรับเสด็จที่ปากน้ําเจ้าพระยา วันที่ ๙ มีนาคม ๒๔๕๘ จึงไม่ทรงต้องเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายเยอรมันที่ทรงเสด็จไปศึกษาหา ความรู้ด้านการทหารมาอย่างยาวนานกว่า ๗ ปี และมีสัมพันธไมตรีที่ดีกับประเทศสยามนับแต่รัชสมัยของ สมเด็จพระราชบิดา รัชกาลที่ ๕ หรือว่าจะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรที่สมเด็จพระเชษฐาธิราช รัชกาลที่ ๖ ตัดสิน พระทัยส่งทหารไปร่วมรบด้วย ๒๐ สมเด็จเจ้าฟ้าทหารเรือ หลังจากได้ทรงเสด็จกลับมารับราชการในกระทรวงทหารเรือสยาม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชประสงค์จะโปรดเกล้าให้ดํารงตําแหน่งเรือเอก เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งหลาย แต่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก แสดงพระประสงค์ให้เป็นการเลื่อนลําดับชั้นยศเช่นเดียวข้าราชการ ทหารทั่วไป จึงคงดํารงพระยศนายเรือโท ในวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๕๗ เมื่อบรรจุในตําแหน่งสํารอง ราชการ กรมเสนาธิการทหารเรือ เพื่อให้ทรงมีเวลาศึกษาหลักสูตรและวิธีการสอนโรงเรียนนายเรือ ต่อมาใน เดือนสิงหาคมปีเดียวกัน ทรงย้ายไปประจํากองอาจารย์นายเรือ แผนกแต่ง ตํารา กรมยุทธศึกษาทหารเรือ กล่าวกันว่าระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในกระทรวงทหารเรือ ทรงโปรด ที่จะปฏิบัติตัวเช่นเดียวกับทหารสามัญชนชั้นผู้น้อย ไม่ทรงโปรดประทับเรือ ที่จัดถวายเป็นการส่วนพระองค์ แต่เลือกใช้บริการเรือข้ามฟากเช่นเดียวกับ สามัญชนทั่วไป และทรงทําความเคารพต่อทหารที่มีชั้นยศสูงกว่าตามธรรม เนียมเสมอ แต่บางครั้งการปฏิบัติดังกล่าวก็ขัดต่อระเบียบปฏิบัติที่ ทหารเรือจะต้องกระทําให้สมเกียรติยศของสมเด็จเจ้าฟ้า พระองค์ถึงกับ ต้องเสด็จไปเฝ้าสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวง ทหารเรือ เพื่อขอให้ยกเลิกธรรมเนียมการถวายความเคารพของกองทหาร ๒๐ นับเป็นพระปรีชาญานของสมเด็จพระมหากษัตริย์ของสยาม ที่ทรงประคับประคองประเทศให้รอดพ้นวิกฤตต่างๆ อันสืบ เนื่องจากการแสวงหาความเป็นใหญ่ในโลก (Hagemony) ของบรรดาชาติมหาอํานาจตะวันตกทั้งหลาย นับแต่สมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ ที่สยามรอดพ้นจากการตกอยู่ใต้อาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสมาได้ ต่อมาเมื่อรัชกาลที่ ๕ ส่งพระ ราชโอรสไปศึกษาต่อยังอังกฤษ รัสเซีย และเยอรมัน ก็นับเป็นการดําเนินกุศโลบายอันแยบยลยิ่ง เนื่องจากมหาอํานาจทั้ง ๓ นี้ไม่เพียงแต่จะมีความผูกพันกันทางสายพระโลหิตของราชวงศ์ แต่ยังมีความผูกพันกันในทางผลประโยชน์อีกด้วย อย่างไร ก็ตาม เมื่อผลประโยชน์ของชาติยุโรปขัดแย้งกันจนกระทั่งนําไปสู่สงครามโลก สยามก็ยังคงเกียรติและศักดิ์ศรีในระดับสากล ไว้ได้ โดยมิได้มีความบาดหมางรุนแรง
  • 3. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๔ -- รักษาการณ์สําหรับพระองค์เสีย ด้วยความมุ่งมั่นพระทัยที่จะรับใช้ประเทศชาติด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญทางเรือดําน้ํา และเรือ ตอร์ปิโดรักษาฝั่งที่ได้ทรงศึกษามา เพียงเดือนเศษที่เริ่มรับราชการทหารเรือ ก็ทรงยื่นถวายบันทึกรายงาน ความเห็นเรื่องเรื่องดําน้ําที่ศึกษาข้อมูลมาเป็นอย่างดี จํานวน ๙๔ หน้า แด่เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ระบุ ความเป็นไปได้ในการนําเรือดําน้ํา (ทรงใช้ชื่อเรียกโดยย่อว่า เรือ “ส” ตามคําย่อภาษาอังกฤษว่า Submarine) มาใช้ปฏิบัติงาน วิธีการจัดหา ประโยชน์และขนาด การประยุกต์ใช้เครื่องยนต์ดีเซลกับเรือดํา น้ํา การจัดตั้งฐานปฏิบัติการพร้อมสิ่งอํานวยความสะดวก สวัสดิการและการศึกษาของพลประจําเรือ การ ปกครองบังคับบัญชา จนกระทั่งสรุปออกมาเป็นงบประมาณเพื่อกิจการดังกล่าว ฯลฯ ดังปรากฏเป็น บางส่วนของพระหัตถเลขาดังนี้ “... ความมุ่งหมายของเรือ “ส” ในเวลาสงครามนั้น จะรักษาทะเลใหญ่ไว้ให้นานที่สุด ที่จะ นานได้ และถ้าเห็นเรือข้าศึกแล้ว จะเข้าโจมตีโดยไม่คิดเสียดายลูกตอร์ปิโดหรือลําเรือเอง เพราะถึงแม้ จะเสีย แต่ถ้าข้าศึกเสียเรือด้วยก็พอคุ้มกัน ความตกใจของข้าศึกนั้นสําคัญมาก ถ้าทําอย่างนั้นได้แล้ว ข้าศึกจะต้องระวังตัวอยู่เสมอ....” อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องน่าเสียดายว่ารายงานดังกล่าวถูกวางสงบนิ่งอยู่ในตู้นิรภัยของกระทรวง ทหารเรือมาโดยตลอด จนกระทั่งมีการเปิดตู้เซฟของกรมยุทธการทหารเรือใน ปี พ.ศ.๒๕๑๓ จึงพบว่ามี รายงานเรื่องเรือ “ส” ของพระองค์อยู่ในสภาพเรียบร้อย ไม่มีผู้ใดแสดงความเห็นเพิ่มเติม และไม่มีการสั่ง การใดๆ ปรากฏอยู่ในเอกสาร นอกจากผลงานการศึกษาความเป็นไปได้เรื่องกองเรือดําน้ําแล้ว ยังได้ทรงวางแผนโครงสร้างกอง เรือรบ (Flauttenblau plan หรือ Fleet Building Plan) ในสมุดแบบฝึกหัดเขียนด้วยลายพระหัตถ์เป็น ภาษาเยอรมันจํานวน ๒๖ หน้า ภายในมีภาพร่างของเรือรบแบบต่างๆ มีการระบุถึงจุดมุ่งหมายยุทธศาสตร์ ทางเรือ การวางกําลังทางเรือ ณ สถานีรบทั้ง ๔ แห่ง คือ สถานีปากน้ํากรุงเทพฯ สถานีเกาะสีชัง สถานี สงขลา และสถานีภูเก็ต มีการระบุจํานวนและคุณสมบัติของเรือรบที่จะประจําสถานีไว้เสร็จสรรพตาม สภาพพื้นที่และตามสภาพงบประมาณ เช่น จะต้องมีเรือดําน้ํา เรือตอร์ปิโด เรือทุ่นระเบิด เรือลาดตระเวน ฯลฯ จํานวนเท่าใด๒๑ อย่างไรก็ตาม สมุดบันทึกฉบับนี้ก็สูญหายไปจนกระทั่งสมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้า กัลยาณิวัฒนา ทรงพบที่ห้องสมุดโรงพยาบาลประสาท จึงได้รับการชําระและแปลออกมาเป็นเอกสารสําคัญ ทางประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือในระยะเวลาต่อมา ๒๑ พลตรีพระศักดาพลรักษ์เล่าว่า “ทรงได้รับคําสั่งจากรัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือให้ทรงวางแผนการรักษาอ่าวไทยทางฝ่าย ทหารเรือ พระองค์ได้จัดวางกําลังหน่วยเรือรบต่างๆ ที่จําเป็นจะต้องใช้ในการรักษาอ่าวเสร็จเรียบร้อยทุกประการ รัฐมนตรีได้ บันทึกชมเชยมาว่าดีมาก แต่ว่างบประมาณการซื้อเรือรบไม่มีพอจะจัดการได้เร็วตามแผนการนี้ จึงทรงถามไปอย่างเป็น ทางการว่า จะมีได้เมื่อไร ทางการตอบมาว่าไม่มีกําหนดแน่นอน” และอาจจะเป็นหนึ่งในเหตุให้ทรงเบื่อหน่ายท้อถอยต่อการ รับราชการทหารเรือ “
  • 4. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๕ -- กล่าวกันว่าในพระตําหนักที่ประทับนั้น นอกจากจะอุดมไปด้วยตํารับตําราวิชาทหารเรือแล้ว ยัง เพียบพร้อมไปด้วยแบบจําลองเรือรบประเภทต่างๆ ซึ่งทรงประดิษฐ์ขึ้นเองด้วยไม้ และได้ถือโอกาสนํามา แสดงประกอบการจําลองยุทธทางเรือที่สระอโนดาต เขาดินวนา ในระหว่างวันที่ ๖ ถึง ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยมีเรือไม้จําลองจํานวน ๘ ลําถูกนํามาใช้จําลองสถานการณ์การรบทางเรือเพื่อหาเงินรายได้สมทบ ทุนซื้อเรือหลวงพระร่วง (หนึ่งในเรือสาธิตเป็นเรือไม้ส่วนพระองค์ที่จําลองจากเรือลาดตระเวนเบาเอมเคน ของเยอรมัน) จากเจ้าฟ้าทหารเรือสู่พระบิดาแห่งการแพทย์แผนใหม่ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ทรงเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่ศึกษา ที่มุ่งเน้นการเรียนรู้ จากการปฏิบัติที่ทําได้จริง๒๒ จึงมีพระประสงค์บังคับเรือตอร์ปิโดออกทะเล แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายอย่างยิ่ง ว่า มิอาจทรงปฏิบัติหน้าที่ได้ตามพระราชหทัย ด้วยเกียรติยศอันสูงศักดิ์ของพระองค์นั้นทําให้กองทัพเรือมิ กล้าเสี่ยงให้พระองค์ได้ปฎิบัติดังกล่าว กลายเป็นว่าทรงได้รับการบรรจุในฐานะนายทหารแผนกเรือเล็กโดย ประจําอยู่ในกองวิชาการแทน ดังปรากฏในพระนิพนธ์ของพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ ว่า “(ทรง)โปรดราชการทหารเรืออย่างยิ่ง แต่ท่านอยากจะทรงบังคับเรือตอร์ปิโดและอยากออก ทะเล บังเอิญทางราชการเห็นว่าไม่ควรที่เจ้าฟ้าจะทรงทําเช่นนั้น ท่านจึงมิได้บังคับเรือ หรือออกทะเล โดยลําพังพระองค์เลย จึงทรงเกิดเบื่อหน่ายเป็นอย่างมาก เพราะหน้าที่ของท่านคือ เป็นครูสอน โรงเรียนนายเรือ ข้าพเจ้ามิได้ตั้งใจจะหมายความว่า ท่านไม่โปรดนักเรียนนายเรือ ถ้าท่านได้พาพวก นั้นลงเรือตอร์ปิโดออกทะเล ท่านคงจะโปรดเป็นอย่างมาก ” หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าสมเด็จพระบรมราชชนกฯ ทรงโปรดการปฏิบัติ หรือสอนให้เห็นด้วยการ ปฏิบัติจริง ดังปรากฏชัดเมื่อทรงสอนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระหว่างที่ทรงปฏิบัติหน้าที่อาจารย์ ของทหารเรืออยู่นั้น ได้มีเหตุการณ์หลายอย่างที่หันเหความสนใจของพระองค์ท่านจากงานราชนาวีไปสู่งาน การแพทย์และสาธารณสุข ดังปรากฏในนิพนธ์ของสมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรฯ ความว่า ๒๒ เป็นปรัชญาการศึกษาของระบบการศึกษาเยอรมันที่ทั่วโลกล้วนตระหนักและยอมรับในประสิทธิผลและความถูกต้อง
  • 5. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๖ -- “กองทัพเรือไทยในเวลานั้นมีเรือน้อย เกือบจะ เรียกว่ากองทัพเรือไม่ได้จริงๆ เจ้าฟ้ามหิดลมีนิสัยเป็นทหาร จริงๆ จึงรู้สึกคับพระทัย แต่ไม่ทรงทิ้งทหารเรือทีเดียว ทรง คิดถึงเรื่องเรือรบเป็นอันมาก ท่านสนพระทัยในเรือเล็กๆ ที่ ไทยอาจมีไว้มาก ทรงนึกถึงเรือดําน้ําเป็นพิเศษ เมื่อนึกถึงเรือ ดําน้ําแล้ว ปัญหาเรื่องอาหารจึงเกิดขึ้น คือคนไทยชอบ รับประทานอาหารข้าวที่หุงขึ้นสดๆ ติดไปกับเรืออย่างเรือ ฝรั่ง จะต้องคิดหาอาหารที่เก็บไว้ได้อย่างนั้น และให้เหมาะกับ คนไทย และเป็นประโยชน์แก่การยังชีพ และบํารุงกําลัง อย่างดีที่สุดด้วย จะต้องศึกษาและทดลองเป็นพิเศษ ท่าน อยากศึกษาทางนี้ เมื่อข้าพเจ้าทราบดังนั้น ก็สนับสนุน ความคิดอันนี้ด้วยความยินดี ประกอบกับพระพลานามัยของ ท่านไม่สู้ดี อยากจะไปรักษาพระองค์ในประเทศหนาวด้วย ข้าพเจ้าจึงแนะนําให้เสด็จออกไปศึกษาในสหรัฐอเมริกา นอกจากเรื่องอาหารแล้ว ให้ศึกษาทางอื่น เกี่ยวกับสุขวิทยาด้วย จะได้นํามาสอนในโรงเรียนแพทย์และช่วยกันส่งเสริมวิชาแพทย์ในเมืองไทย”๒๓ นอกจากนั้น เมื่อตามเสด็จสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ๒๔ ไปเยือนจังหวัดฝ่าย เหนือ ก็นําไปสู่ความผูกพันกับงานทางการแพทย์ในระยะเวลาต่อมา ดังปรากฏในบันทึกของนายแพทย์ อี ซี คอร์ท ผู้อํานวยการโรงพยาบาลแมคคอร์มิค ความว่า “ ข้าพเจ้าได้มีโอกาสเฝ้าทูลกระหม่อมแดง เมื่อยัง ทรงดํารงพระยศเป็นนายเรือเอก และได้ทรงเสด็จเยือนจังหวัดฝ่ายเหนือกับพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้า กรมหลวงพิษณุโลก องค์รัชทายาทแห่งประเทศไทย พ.ศ.๒๔๕๗ แม้เวลานั้นก็สนพระทัยในกิจการ แพทย์เป็นอย่างดี ได้สนทนากับข้าพเจ้าในปัญหาทางการแพทย์ต่างๆ และทรงแสดงความจํานงจะใคร่ ๒๓ ทรงดํารงพระชนม์ชีพในยุคที่ประชาชนสยามยังมีสุขภาวะเสื่อมทรามมาก ดังจะเห็นได้จากการที่เจ้าฟ้าพระมหากษัตริย์ ที่น่าจะถือว่าเป็นชนชั้นที่มีสุขภาวะที่ดีที่สุด อาศัยอยู่ในพระราชวังซึ่งมีความเจริญสูงสุด ก็ยังต้องถูกคุกคามด้วยโรคภัยไข้ เจ็บ ต้องสิ้นพระชนม์ก่อนวัยอันควรด้วยโรคทัยฟอยด์หรือไข้รากสาดน้อย สมัยนั้น ยังคงมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับ เรื่องสาธารณสุขโดยเฉพาะเรื่องการจัดการส้วม และการจัดหานํ้าดื่มนํ้าใช้ จนส่งผลให้มีโรคระบาดเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ ฉนั้น การที่สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ตัดสินพระทัยเปลี่ยนมาศึกษาทางด้านการแพทย์ การสาธารณสุข แทนที่จะใช้เวลาไป ศึกษาด้านการศึกการสงครามที่มีเชื้อพระวงศ์จํานวนมากรับผิดชอบอยู่แล้ว จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นเหลือ ประมาณแก่ปวงชนชาวสยาม ๒๔ สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม สมเด็จพระยาชัยนาทนเรนทรฯ
  • 6. --  พระราชประวัติสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก หน้า ๑๗ -- ศึกษาวิชาแพทย์สืบต่อไปด้วย พระองค์ยังทรงขอให้แนะนําด้วยว่าจะศึกษาในโรงเรียนไหนจึงจะดี “ ๒๕ กล่าวกันว่าพระราชประสงค์ที่จะบูรณะกองทัพเรือ ให้มีความกระทัดรัดและประสิทธิภาพ โดย เลือกใช้เรือดําน้ําและเรือตอร์ปิโดขนาดเล็กซึ่งสามารถเข้าแม่น้ําได้สะดวกสมกับการเป็นประเทศเล็ก ไม่มี ฐานทัพเรือและอู่ขนาดใหญ่นั้น ขัดกับแนวคิดของผู้ใหญ่ในกระทรวงสมัยนั้นที่ต้องการต่อเรือรบขนาดใหญ่ ผนวกกับการถูกบรรจุให้เป็นนายเรือบนบกทั้งที่เคยทรงปฏิบัติหน้าที่ในเรือดําน้ําของราชนาวีอันเกรียงไกร ของเยอรมัน สร้างความท้อแท้ให้กับพระองค์เป็นอย่างมาก จึงทรงเผาตําราและแบบจําลองเรือรบต่างๆ ที่ ทรงประดิษฐ์ขึ้นเอง พร้อมกับทรงลาออกจากประจําการ (๒๔๕๙) ในตําแหน่งนายเรือโท (ภายหลังจาก ลาออกจากราชการทหารเรือนานนับ ๑๐ ปี จึงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเลื่อนยศ ไปเป็น นาวาเอก ในวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๗ ) รวมเบ็ดเสร็จเวลาที่ทรงรับราชการในกระทรงทหารเรือ ๙ เดือน ๑๘ วัน ยังความเสียดายมาสู่ เสนาบดีกระทรงทหารเรือเป็นอย่างมาก ดังปรากฏในนิพนธ์ของ มจ.หญิง ประสงค์สมบริพัตร พระชายาใน สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรงทหารเรือในขณะนั้น ความว่า “เมื่อ ทูลกระหม่อมแดงทรงศึกษาวิชาทหารเรือสําเร็จ ได้ทรงรับราชการทหารเรืออยู่คราวหนึ่ง ทูลกระหม่อมดีพระทัยมาก รับสั่งว่าจะให้ทรงทํางานรู้จักและคุ้นเคยกับพวกทหารทั่วไปสักปีหรือสองปี ทูลกระหม่อมก็จะถวายบังคมลาออกจากเสนาบดีทหารเรือเพื่อถวายตําแหน่งเสนาบดีแก่ทูลกระหม่อม แดง ทรงทํางานที่กระทรวงทหารเรือ ยังไม่ถึงปีก็เสด็จกลับไปเมืองนอกอีก ทูลกระหม่อมเลยไม่สม พระทัยที่คิดไว้” ๒๕ มีเรื่องเล่ากันว่าหลังจากเสด็จกลับจากเมืองเหนือคราวนั้น ได้ทรงกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ถึงเรื่องที่ทรงไม่พอพระทัยในการรับราชการราชนาวี ทรงเห็นว่า ความต้องการของประเทศคือการ สาธารณสุข จึงทรงประสงค์จะศึกษาวิชาแพทย์ ยังความหนักพระทัยให้กับพระเชษฐาธิราช ด้วยไม่เคยมีเจ้านายพระองค์ ใดศึกษาวิชาแพทย์มาก่อน แต่เมื่อทรงปรึกษาหารืออยู่นานก็ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต อย่างไรก็ตาม เรื่อง เล่านี้ออกจะมีความคลาดเคลื่อนน่าสงสัยอยู่บ้าง เพราะมีการระบุพระยศเป็นนายเรือเอก และช่วงเวลาปี พ.ศ.๒๔๕๗ ยัง เป็นช่วงที่เพิ่งทรงปฏิบัติหน้าที่ในราชนาวี เป็นไปได้ว่าอาจจะเนื่องจากการนับปีเหลื่อมในช่วงที่ประเทศสยามยังใช้เดือน เมษายนเป็นเดือนแรกของปี ฉะนั้นในบันทึกที่ระบุว่าทรงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเสด็จไปศึกษาวิชาแพทย์ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ตามคําแนะนําของที่ปรึกษาราชการชาวอเมริกัน ดร. ฟรานซิส บี. แซร์ (Dr. Francis B. Sayre หรือ รู้จักกันในชื่อพระยากัลยาณไมตรี) ในวันที่ ๑๘ มกราคม และทรงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นนายทหารพิเศษนอก กองประจําการ กองทัพเรือ ในวันที่ ๒๐ มกราคม นั้น น่าจะเป็น มกราคม ปี พ.ศ.๒๔๕๘ ตามวิธีอนุวรรตเดือนปีตามแบบ สากล