SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
พระราชประวัติ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
ข
บทนําบทนํา
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นสมเด็จ
พระบรมราชชนกของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยถึง ๒ พระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ และพระบาทสมเด็จพระ
เจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม สง่างาม ทั้งด้วย
รูปสมบัติ และจรรยาความประพฤติปฏิบัติ อันถ่ายทอดลงมายังพระราชโอรสทั้งสอง
ซึ่งปวงชนชาวไทยทั้งหลายจะสามารถตระหนักรับทราบได้ ดังสุภาษิตตะวันตกที่กล่าว
ว่า Like Father, Like Son จนอาจกล่าวได้ว่าเมื่อปวงชนชาวไทยเราได้ชมพระจริยา
วัตรของพ่อแห่งแผ่นดินที่รักของเราคราใด ก็ย่อมมีนัยประหวัดไปถึงพระราชบิดาผู้ทรง
ก่อกําเนิดรัตนบุรุษองค์นี้เสมอไป
ทรงเป็นอภิชาตบุตรผู้ทรงกตัญญูรักใคร่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา
จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระราชบิดา และสมเด็จพระศรีสว
รินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าผู้ทรงเป็นพระราชมารดาอย่างลึกซึ้ง ทรง
เพียบพร้อมด้วย อิทธิบาท (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และสังคหวัตถุ (ทาน ปิยะวาจา
สมานัตตา อัตถจริยา) เมื่อทรงประกอบกิจการใด ทรงมุ่งมั่นพระราชหฤทัยอย่างแน่ว
แน่ ทรงกระทําเต็มพระสติกําลังจนเป็นที่รักใคร่ และยกย่องโดยผู้ได้สัมผัสในพระราช
จริยาวัตรจนตลอดพระชนม์ชีพ ทรงวางพระองค์ได้อย่างเหมาะสมต่อกาละและเทศะ
เสมอ ไม่ว่าจะทรงประทับอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราช
หรือระบอบประชาธิปไตย ด้วยทรงมีจิตใจรักใคร่เมตตาในราษฎรเสมอในทุกระดับ
และมิได้ถือพระองค์ในยศ หรือฐานานุรูปที่ทรงครองอยู่
ทรงทุ่มเทอุทิศพระสติปัญญา และ พระราชทรัพย์อันมหาศาลให้กับงานการ
อุดมศึกษา อย่างไม่เห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์ และความสุขสบายของ
ครอบครัว ต้องทรงเสด็จไปต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพเพื่อการศึกษา และการ
เจรจาความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เพื่อวางรากฐานการศึกษาไทยให้มั่นคง
ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน ส่งผลให้พระราชโอรสและพระราชธิดา
ทุกพระองค์ต้องทรงมีพระราชสมภพในต่างประเทศ บางครั้งต้องจากพระชายา
ตลอดจนราชโอรส ราชธิดา ไปในเวลานานๆ อนึ่ง การที่ต้องทรงเสด็จไปยังสถานที่
ต่างๆ ทั่วโลก โดยอาศัยยานพาหนะตามแต่จะมีให้ใช้ได้ในยุคสมัยนั้น ทําให้ พระ
สุขภาพที่ไม่แข็งแรงมาตั้งแต่วัยเยาต้องเสื่อมทรุดลง และนําสู่การเสด็จทิวงคตรยะเวลา
ต่อมา
ค
ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี ที่ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ และวงการ
ศึกษา ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ให้แก่สาธารณประโยชน์เป็นเงินประมาณ ๑ ล้าน ๔
แสนบาท และยังทรงพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้าในต่างประเทศให้กับ
นักเรียนทุนไม่น้อยกว่า ๓๔ ทุน (หากเทียบเป็นตัวเงินตามมาตรฐานค่าครองชีพ
ปัจจุบัน ราชทรัพย์ที่ทรงประทานให้กับวงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีไม่น้อยกว่า ๑
พันล้านบาท) ในขณะที่ ทรงเลือกที่จะดํารงพระชนม์ชีพด้วยความประหยัดและอดออม
เพื่อสงวนเวลา และพระราชทรัพย์ที่ทรงมีอยู่แทบทั้งหมดให้กับการปูพื้นฐานด้านการ
อุดมศึกษา และการแพทย์ไทย
เช่นดังพระราชดํารัสที่ทรงประทานให้กับนายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง นักเรียน
ทุนพระราชทานว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์
เป็นกิจที่หนึ่ง...” คุณูปการที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงกระทําไว้เป็นที่ประจักษ์สู่
สายตาสาธารณชนโดยทั่วไปทั้งในระดับชาติและระดับสากล องค์การการศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศพระเกียรติ
คุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น” ของโลกในปีพ.ศ.๒๕๓๕
อย่างไรก็ตาม สังคมไทยดูจะสนใจบทบาทของสมเด็จพระบรมราชชนก แต่
เฉพาะในแง่ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการแพทย์และศิริราชพยาบาล ดังมีผู้
ถวายพระสมัญญานามพระองค์ว่าเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย”
แต่หากได้ศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านอย่างลึกซึ้ง ก็จะตระหนักได้ถึงจิต
วิญญาณความเป็นครูในพระองค์ ทรงแสดงให้เห็นถึงหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทรง
ดําริว่าการศึกษาเป็นงานที่มีคนเป็นหัวใจ ต้องเน้นคุณค่าของความเป็นคน ยึดคนเป็น
หลัก เน้นการสร้างประสบการณ์ การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยกัลยาณมิตร ทรงอบรมสั่ง
สอนให้รู้จักคุณค่าของเวลา ทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และ
วิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล
ทรงประทานแนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ ซึ่ง
ยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาลปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นํา
แนวพระราชดําริ มาประพฤติปฏิบัติกันตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทย
ของเราคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนําของโลก มิพักจะต้องพูดถึงเรื่อง
ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนํา
ระดับโลก (World Class University) หรือความมีธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย
(University Governance) เพราะมหาวิทยาลัยในความหมายของพระองค์ท่าน คือ
สถาบันแห่งธรรมาภิบาลที่ผู้ไร้ซึ่งคุณธรรมจะไม่สามารถอยู่ได้
ง
ทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม โดย
ทรงกําหนดให้มี “เสเนต1
เป็นคณะที่เลือกตั้งกันขึ้น, มีผู้แทนจากคณะอาจารย์คณะ
ทรัพย์สมบัติ คณะนักเรียน ล้วนเป็นผู้ที่ได้ถูกเลือกมาทั้งนั้น มีหน้าที่เสนอความเห็น
แก่สภา และมีสิทธิที่จะทํากฎข้อบังคับปกครองภายใน เกี่ยวด้วยการเลือกนักเรียนเข้า
การปกครองการอยู่กินของนักเรียน การไล่นักเรียนออก มีประธานของสภาคณาจารย์
เป็นประธาน มีหน้าที่ช่วยอุปนายกจัดการปกครองภายใน “ จนอาจกล่าวได้ว่า สมเด็จ
พระบรมราชชนกได้ทรงนําเสนอหลักการ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษา
ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องปฏิรูป
การศึกษา และกระแสธรรมาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ
อีก ๗๐ ปี ต่อมา
ด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นประมาณต่อวงการอุดมศึกษา
ไทยของพระองค์ท่าน ที่ทรงเผาเทียนไขแห่งพระชนม์ชีพให้มอดไหม้ลงในช่วงเวลา
เพียง ๓๘ พรรษาเพื่อการวัฒนาอย่างสถาพรของวงการอุดมศึกษาไทย จึงควรอย่างยิ่ง
ที่ชาวอุดมศึกษาไทยจะตระหนักสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการถวายสมัญญา
นาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” ถวายแด่พระองค์ท่าน พร้อมเผยแพร่จารึก
พระเกียรติให้เปล่งประกายโชนฉายไปจนชั่วนิรันดร ตลอดทั่วทั้งดินแดน ตลอดจนเร่ง
น้อมนําแนวพระราชดําริมาประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา และเพื่อนําพา
ประเทศชาติไปสู่ความเจริญเทียบเท่านานาอารยะประเทศ
รองศาสตราจารย์ สุรพล ศรีบุญทรง
เลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารย์
มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
ผู้รวบรวมและเรียบเรียง
๑ กันยายน ๒๕๕๓
1
Senate มักได้รับการนํามาเทียบเคียงกับ สภาคณาจารย์ ในปัจจุบัน
จ
ที่ ปอมท. ๕๒๕๓(๒)/ ๓๓ ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย
สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ
๑๐๔๐๐
๑ กันยายน ๒๕๕๓
เรื่อง ขอให้ดําเนินการเพื่อให้มีการถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
แก่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก
เรียน ฯพณฯ นายไชยยศ จิระเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. เอกสาร “พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม
พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อการอุดมศึกษาไทย” จํานวน ๕ เล่ม
ด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นประมาณต่อวงการอุดมศึกษาไทยของ
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์
มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท) ในคราวประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ ณ ห้อง
ประชุมออร์คิดส์ โรงแรมรามการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ได้มีมติ
ร่วมกันว่าสมควรมีการดําเนินการเพื่อถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย”
แก่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ด้วยทรงสละพระราชทรัพย์
อันมหาศาล ทั้งที่อยู่ในรูปของที่ดิน สินทรัพย์ และวันเวลาที่เปรียบเสมือนพระราชทรัพย์อัน
ประมาณค่ามิได้ในการวางรากฐานให้กับอุดมศึกษาเพื่อการวัฒนาอย่างสถาพรของวงการ
อุดมศึกษาไทย (รายละเอียดดังปรากฏในเอกสาร “พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิ
เบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อการอุดมศึกษาไทย” )
สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีความลึกซึ้งใน
เรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และวิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล ทรงประทาน
แนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ” ซึ่งยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาล
ปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นําแนวพระราชดําริ มาประพฤติปฏิบัติกัน
ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทยคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนําของ
โลก ทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม ทรงนําเสนอ
หลักการซึ่งปัจจุบันรับรู้กันในชื่อ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษาตั้งแต่ ปี พ.ศ.
๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องปฏิรูปการศึกษา และกระแสธรร
มาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ อีก ๗๐ ปี ต่อมา
ฉ
อนึ่ง เนื่องในโอกาสมหาปิติแห่งปวงชนชาวไทยที่กําลังจะมาถึงในปีหน้า คือการ
เฉลิมฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษาขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
มหาราช ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จึงนับเป็นโอกาสอันสมควรสําหรับการเฉลิมฉลอง
ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวัน
พระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และควรมีการ
ถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่พระองค์ท่าน ควบคู่ไปกับการเชิญ
ชวนบุคลากรในแวดวงการศึกษาไทยร่วมกันน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมี
ต่อปวงชนชาวไทย พร้อมปฏิบัติบูชาเพื่อเป็นการแสดงกติเวทิตาคุณต่อพระองค์ท่านด้วยการ
ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นครูบาอาจารย์ที่ดี ดังที่ได้ทรงมีพระราชดํารัส ทรงวางแนวทางปฏิบัติ
ตลอดจนได้ทรงดําเนินพระชนม์ชีพอันเป็นแบบอย่างไว้
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
(ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพพร ลีปรีชานนท์)
ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย

More Related Content

What's hot

สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์krunrita
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์sangworn
 
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3Oae Butrawong Skr
 
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6ARM ARM
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยาJulPcc CR
 

What's hot (17)

สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์สมัยรัตนโกสินทร์
สมัยรัตนโกสินทร์
 
การสถาปนา
การสถาปนาการสถาปนา
การสถาปนา
 
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4ความสัมพั...Pptx  กลุ่ม 4
ความสัมพั...Pptx กลุ่ม 4
 
ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์
 
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์สรุปวิชาประวัติศาสตร์
สรุปวิชาประวัติศาสตร์
 
กลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนากลุ่ม 1 การสถาปนา
กลุ่ม 1 การสถาปนา
 
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
ประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์ ม.3
 
การสถาปนา..
การสถาปนา..การสถาปนา..
การสถาปนา..
 
อาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยาอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรอยุธยา
 
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
 
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6
ประวัติศาสตร์ รัตนโกสินทร์ ประถมศึกษาปีที่6
 
งานสังคม...
งานสังคม...งานสังคม...
งานสังคม...
 
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมัยสุโขทัย อยุธยาและธนบุรี
 
07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา07อาณาจักรอยุธยา
07อาณาจักรอยุธยา
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
 
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
ผลงานนักเรียนชั้น ม.6/1
 

Viewers also liked

18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรสสุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์สุรพล ศรีบุญทรง
 

Viewers also liked (7)

18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
18 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย พระราชดำริเรื่องมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
09 พระบิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย ทรงอภิเษกสมรส
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์คสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่นสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
 

บทนำพระราชประวัติ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

  • 2. ข บทนําบทนํา สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงเป็นสมเด็จ พระบรมราชชนกของพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทยถึง ๒ พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ และพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน ทรงมีพระสิริโฉมงดงาม สง่างาม ทั้งด้วย รูปสมบัติ และจรรยาความประพฤติปฏิบัติ อันถ่ายทอดลงมายังพระราชโอรสทั้งสอง ซึ่งปวงชนชาวไทยทั้งหลายจะสามารถตระหนักรับทราบได้ ดังสุภาษิตตะวันตกที่กล่าว ว่า Like Father, Like Son จนอาจกล่าวได้ว่าเมื่อปวงชนชาวไทยเราได้ชมพระจริยา วัตรของพ่อแห่งแผ่นดินที่รักของเราคราใด ก็ย่อมมีนัยประหวัดไปถึงพระราชบิดาผู้ทรง ก่อกําเนิดรัตนบุรุษองค์นี้เสมอไป ทรงเป็นอภิชาตบุตรผู้ทรงกตัญญูรักใคร่ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงเป็นพระราชบิดา และสมเด็จพระศรีสว รินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้าผู้ทรงเป็นพระราชมารดาอย่างลึกซึ้ง ทรง เพียบพร้อมด้วย อิทธิบาท (ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา) และสังคหวัตถุ (ทาน ปิยะวาจา สมานัตตา อัตถจริยา) เมื่อทรงประกอบกิจการใด ทรงมุ่งมั่นพระราชหฤทัยอย่างแน่ว แน่ ทรงกระทําเต็มพระสติกําลังจนเป็นที่รักใคร่ และยกย่องโดยผู้ได้สัมผัสในพระราช จริยาวัตรจนตลอดพระชนม์ชีพ ทรงวางพระองค์ได้อย่างเหมาะสมต่อกาละและเทศะ เสมอ ไม่ว่าจะทรงประทับอยู่ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบสมบูรณายาสิทธิราช หรือระบอบประชาธิปไตย ด้วยทรงมีจิตใจรักใคร่เมตตาในราษฎรเสมอในทุกระดับ และมิได้ถือพระองค์ในยศ หรือฐานานุรูปที่ทรงครองอยู่ ทรงทุ่มเทอุทิศพระสติปัญญา และ พระราชทรัพย์อันมหาศาลให้กับงานการ อุดมศึกษา อย่างไม่เห็นแก่ความสุขสบายส่วนพระองค์ และความสุขสบายของ ครอบครัว ต้องทรงเสด็จไปต่างประเทศตลอดพระชนม์ชีพเพื่อการศึกษา และการ เจรจาความร่วมมือกับมูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์เพื่อวางรากฐานการศึกษาไทยให้มั่นคง ด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ท่าน ส่งผลให้พระราชโอรสและพระราชธิดา ทุกพระองค์ต้องทรงมีพระราชสมภพในต่างประเทศ บางครั้งต้องจากพระชายา ตลอดจนราชโอรส ราชธิดา ไปในเวลานานๆ อนึ่ง การที่ต้องทรงเสด็จไปยังสถานที่ ต่างๆ ทั่วโลก โดยอาศัยยานพาหนะตามแต่จะมีให้ใช้ได้ในยุคสมัยนั้น ทําให้ พระ สุขภาพที่ไม่แข็งแรงมาตั้งแต่วัยเยาต้องเสื่อมทรุดลง และนําสู่การเสด็จทิวงคตรยะเวลา ต่อมา
  • 3. ค ในช่วงระยะเวลาเพียง ๑๐ ปี ที่ทรงเข้ามาเกี่ยวข้องกับวงการแพทย์ และวงการ ศึกษา ได้ทรงพระราชทานทรัพย์ให้แก่สาธารณประโยชน์เป็นเงินประมาณ ๑ ล้าน ๔ แสนบาท และยังทรงพระราชทานทุนเพื่อการศึกษาและค้นคว้าในต่างประเทศให้กับ นักเรียนทุนไม่น้อยกว่า ๓๔ ทุน (หากเทียบเป็นตัวเงินตามมาตรฐานค่าครองชีพ ปัจจุบัน ราชทรัพย์ที่ทรงประทานให้กับวงการอุดมศึกษาไทยน่าจะมีไม่น้อยกว่า ๑ พันล้านบาท) ในขณะที่ ทรงเลือกที่จะดํารงพระชนม์ชีพด้วยความประหยัดและอดออม เพื่อสงวนเวลา และพระราชทรัพย์ที่ทรงมีอยู่แทบทั้งหมดให้กับการปูพื้นฐานด้านการ อุดมศึกษา และการแพทย์ไทย เช่นดังพระราชดํารัสที่ทรงประทานให้กับนายแพทย์สวัสดิ์ แดงสว่าง นักเรียน ทุนพระราชทานว่า “ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตนเป็นที่สอง ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง...” คุณูปการที่สมเด็จพระบรมราชชนกได้ทรงกระทําไว้เป็นที่ประจักษ์สู่ สายตาสาธารณชนโดยทั่วไปทั้งในระดับชาติและระดับสากล องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (UNESCO) จึงประกาศพระเกียรติ คุณให้เป็น “บุคคลดีเด่น” ของโลกในปีพ.ศ.๒๕๓๕ อย่างไรก็ตาม สังคมไทยดูจะสนใจบทบาทของสมเด็จพระบรมราชชนก แต่ เฉพาะในแง่ที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณแก่วงการแพทย์และศิริราชพยาบาล ดังมีผู้ ถวายพระสมัญญานามพระองค์ว่าเป็น “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันของไทย” แต่หากได้ศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านอย่างลึกซึ้ง ก็จะตระหนักได้ถึงจิต วิญญาณความเป็นครูในพระองค์ ทรงแสดงให้เห็นถึงหลักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทรง ดําริว่าการศึกษาเป็นงานที่มีคนเป็นหัวใจ ต้องเน้นคุณค่าของความเป็นคน ยึดคนเป็น หลัก เน้นการสร้างประสบการณ์ การปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยกัลยาณมิตร ทรงอบรมสั่ง สอนให้รู้จักคุณค่าของเวลา ทรงมีความลึกซึ้งในเรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และ วิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล ทรงประทานแนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ ซึ่ง ยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาลปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นํา แนวพระราชดําริ มาประพฤติปฏิบัติกันตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทย ของเราคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนําของโลก มิพักจะต้องพูดถึงเรื่อง ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness) ความเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนํา ระดับโลก (World Class University) หรือความมีธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัย (University Governance) เพราะมหาวิทยาลัยในความหมายของพระองค์ท่าน คือ สถาบันแห่งธรรมาภิบาลที่ผู้ไร้ซึ่งคุณธรรมจะไม่สามารถอยู่ได้
  • 4. ง ทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม โดย ทรงกําหนดให้มี “เสเนต1 เป็นคณะที่เลือกตั้งกันขึ้น, มีผู้แทนจากคณะอาจารย์คณะ ทรัพย์สมบัติ คณะนักเรียน ล้วนเป็นผู้ที่ได้ถูกเลือกมาทั้งนั้น มีหน้าที่เสนอความเห็น แก่สภา และมีสิทธิที่จะทํากฎข้อบังคับปกครองภายใน เกี่ยวด้วยการเลือกนักเรียนเข้า การปกครองการอยู่กินของนักเรียน การไล่นักเรียนออก มีประธานของสภาคณาจารย์ เป็นประธาน มีหน้าที่ช่วยอุปนายกจัดการปกครองภายใน “ จนอาจกล่าวได้ว่า สมเด็จ พระบรมราชชนกได้ทรงนําเสนอหลักการ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษา ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องปฏิรูป การศึกษา และกระแสธรรมาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ อีก ๗๐ ปี ต่อมา ด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นประมาณต่อวงการอุดมศึกษา ไทยของพระองค์ท่าน ที่ทรงเผาเทียนไขแห่งพระชนม์ชีพให้มอดไหม้ลงในช่วงเวลา เพียง ๓๘ พรรษาเพื่อการวัฒนาอย่างสถาพรของวงการอุดมศึกษาไทย จึงควรอย่างยิ่ง ที่ชาวอุดมศึกษาไทยจะตระหนักสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการถวายสมัญญา นาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” ถวายแด่พระองค์ท่าน พร้อมเผยแพร่จารึก พระเกียรติให้เปล่งประกายโชนฉายไปจนชั่วนิรันดร ตลอดทั่วทั้งดินแดน ตลอดจนเร่ง น้อมนําแนวพระราชดําริมาประพฤติปฏิบัติเพื่อเป็นการปฏิบัติบูชา และเพื่อนําพา ประเทศชาติไปสู่ความเจริญเทียบเท่านานาอารยะประเทศ รองศาสตราจารย์ สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ผู้รวบรวมและเรียบเรียง ๑ กันยายน ๒๕๕๓ 1 Senate มักได้รับการนํามาเทียบเคียงกับ สภาคณาจารย์ ในปัจจุบัน
  • 5. จ ที่ ปอมท. ๕๒๕๓(๒)/ ๓๓ ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ถนนศรีอยุธยา เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ ๑๐๔๐๐ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ เรื่อง ขอให้ดําเนินการเพื่อให้มีการถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก เรียน ฯพณฯ นายไชยยศ จิระเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑. เอกสาร “พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อการอุดมศึกษาไทย” จํานวน ๕ เล่ม ด้วยความสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นประมาณต่อวงการอุดมศึกษาไทยของ สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท) ในคราวประชุมสมัยสามัญครั้งที่ ๘/๒๕๕๓ ณ ห้อง ประชุมออร์คิดส์ โรงแรมรามการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร วันที่ ๑ กันยายน ๒๕๕๓ ได้มีมติ ร่วมกันว่าสมควรมีการดําเนินการเพื่อถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ด้วยทรงสละพระราชทรัพย์ อันมหาศาล ทั้งที่อยู่ในรูปของที่ดิน สินทรัพย์ และวันเวลาที่เปรียบเสมือนพระราชทรัพย์อัน ประมาณค่ามิได้ในการวางรากฐานให้กับอุดมศึกษาเพื่อการวัฒนาอย่างสถาพรของวงการ อุดมศึกษาไทย (รายละเอียดดังปรากฏในเอกสาร “พระมหากรุณาธิคุณแห่งสมเด็จพระมหิตลาธิ เบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ที่ทรงมีต่อการอุดมศึกษาไทย” ) สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงมีความลึกซึ้งใน เรื่องปรัชญา บทบาท หน้าที่ และวิธีการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยในระดับสากล ทรงประทาน แนวคิดเรื่อง “หน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่แท้จริง ๔ ประการ” ซึ่งยังคงทันสมัยอยู่เสมอแม้ในกาล ปัจจุบัน จนน่าเชื่อได้ว่าหากวงการอุดมศึกษาไทยได้นําแนวพระราชดําริ มาประพฤติปฏิบัติกัน ตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๗๒ การอุดมศึกษาไทยคงจะเจริญก้าวหน้าทัดเทียมประเทศชั้นนําของ โลก ทรงวางรูปแบบการบริหารมหาวิทยาลัยในลักษณะที่เน้นการมีส่วนร่วม ทรงนําเสนอ หลักการซึ่งปัจจุบันรับรู้กันในชื่อ “ธรรมาภิบาล” ในการบริหารอุดมศึกษาตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ ก่อนที่สังคมไทยจะเริ่มหันมาให้ความสําคัญกับเรื่องปฏิรูปการศึกษา และกระแสธรร มาภิบาล อีกครั้งในการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๒ หรือ อีก ๗๐ ปี ต่อมา
  • 6. ฉ อนึ่ง เนื่องในโอกาสมหาปิติแห่งปวงชนชาวไทยที่กําลังจะมาถึงในปีหน้า คือการ เฉลิมฉลองครบรอบ ๘๔ พรรษาขององค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ในวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๔ จึงนับเป็นโอกาสอันสมควรสําหรับการเฉลิมฉลอง ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งเป็นวันครบรอบ ๑๒๐ ปี แห่งวันคล้ายวัน พระราชสมภพของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และควรมีการ ถวายสมัญญานาม “องค์บิดาแห่งการอุดมศึกษาไทย” แก่พระองค์ท่าน ควบคู่ไปกับการเชิญ ชวนบุคลากรในแวดวงการศึกษาไทยร่วมกันน้อมรําลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นที่ทรงมี ต่อปวงชนชาวไทย พร้อมปฏิบัติบูชาเพื่อเป็นการแสดงกติเวทิตาคุณต่อพระองค์ท่านด้วยการ ประพฤติตนเป็นคนดี เป็นครูบาอาจารย์ที่ดี ดังที่ได้ทรงมีพระราชดํารัส ทรงวางแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนได้ทรงดําเนินพระชนม์ชีพอันเป็นแบบอย่างไว้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นพพร ลีปรีชานนท์) ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย