SlideShare a Scribd company logo
1 of 113
Download to read offline
สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน (องคการมหาชน)
912 ถนนนวมินทร แขวงคลองจั่น เขตบางกะป กรุงเทพฯ 10240
โทร : 0-2378-8300 โทรสาร : 0-2378-8321
‘มัจฉาน’ุ พลังท้องถิ่นบ้านควน
: ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร


พิมพ์ครั้งแรก	 	       กันยายน 2553
เลขมาตรฐานหนังสือ	     978-616-7192-50-5
จำนวนพิมพ์	 	          1,500 เล่ม
ผู้เขียน	 	    	       อินทิรา  วิทยสมบูรณ์
บรรณาธิการ	 	          สลิลทิพย์  เชียงทอง
	         	    	       อินทิรา  วิทยสมบูรณ์
	         	    	       โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
	         	    	       Email: mediaforall.project@gmail.com
สนับสนุนโดย	 	         สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
	         	    	       ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น
	         	    	       เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240
	         	    	       โทร 02-378-8300-9
	         	    	       โทรสาร 02-378-8321
	         	    	       www.codi.or.th
ปกและรูปเล่ม	 	        อินทิรา วิทยสมบูรณ์
พิมพ์ที่	 	    	       ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว
	         	    	       โทร 02-274-8898
คำนำ
การเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมของตำบลบ้านควนค่อยๆ	
เปลี่ยนไป ป่าไม้ถูกทำลาย น้ำแล้ง ไม่พอสำหรับการเกษตรซึ่งเป็น	
อาชีพหลักของคนบ้านควน คนวัยทำงานเจ็บป่วย เป็นสาเหตุของ	
คำถามมากมายที่เกิดขึ้นในชุมชน และนี่เป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกคนตื่น	
ตัวลุกขึ้นมาหาคำตอบและร่วมหาทางออก เพราะสิ่งที่เปลี่ยนแปลง	
ไปไม่ ใช่เป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งที่จะแก้ ไขได้ “ความร่วมมือ
กัน” เท่านั้นจึงจะนำพาชุมชนบ้านควนรอดพ้นวิกฤติ
	          “ผู้นำ” ที่นำด้วยพลังของจิตใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความมุ่งมั่น	
“ผู้นำ” ที่ ไม่ ใช่นำเดี่ยวแต่ร่วมกันเป็นทีมที่เหนียวแน่น นำตามความ	
สนใจ ความสามารถ มุ่งการแก้ ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนวิถีคนบ้านควน	
อย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ เมื่อทัศนคติ	
เปลี่ยน วิธีการก็เปลี่ยน เห็นได้ชัดในกรณีการปรับเปลี่ยนจากเกษตร	
สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์  เมื่อคุณค่าของการเปลี่ยนแปลงเกิด	
ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของดิน น้ำ สุขภาพ ผลผลิต ทุกอย่างดีขึ้น
ความมั่นใจของคนบ้านควนเกิดขึ้น นำไปสู่การจัดการตนเองอย่าง	
ค่อยเป็นค่อยไป
	          การริเริ่มสร้างความเข้มแข็งเกิดขึ้นที่จุดเล็กๆ จากหมู่บ้าน	
แล้วค่อยๆ ขยายไปจนครบ 18 หมู่ของบ้านควน ฉะนั้นกล่าวได้ว่า ถ้า	
พูดถึงความเข้มแข็งของตำบลบ้านควนแล้ว นั่นหมายถึง พลังความ
พร้อมเพรียงของคนทั้ง   8   มู่บ้าน    ารสร้างกลไกเพื่อให้ชุมชนเกิด
                        1 ห        ก
ความร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นเรื่องสำคัญที่ “ผู้นำ” ต้องคิดค้นและต้อง	
ทันกับสถานการณ์   และความร่วมมือนำไปสู่ประโยชน์ที่ทุกคนใน	
ชุมชนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชน	
อาสาสมัครชุดคุ้มครองหมู่บ้าน และอีกหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่	
“บ้านควน” ได้ถูกบอกเล่าเรื่องราวอย่างมีพลังโดยผู้นำสำคัญผ่าน	
“มัจฉานุ พลังท้องถิ่นบ้านควน” ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน	
จังหวัดชุมชน  
         โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำพูด	
เป็นอักษร ทุกเรื่องราวถูกบอกเล่าอย่างมีพลัง และจะเป็นพลังที่ส่ง	
ผ่านไปยังผูทมาเรียนรูดวยใจมุงมัน      
            ้ ี่      ้ ้     ่ ่ โครงการสือสารเพือการเรียนรู้	
                                               ่       ่
ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้ “มัจฉานุ พลังท้องถิ่นบ้านควน”	
สำเร็จลงได้ และที่สำคัญต้องขอขอบคุณ “คุณแสงนภา สุทธิภาค”
ผู้ประสานงานประชาสังคมจังหวัดชุมพร ที่ ได้อนุญาตให้นำข้อมูล	
ตำบลบ้านควนที่ ได้เรียบเรียงไว้มาประกอบส่วนทำให้หนังสือเล่ม	
นี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
	
			                              โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้
				                                     ภายใต้การสนับสนุนของ
                 สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน)
          				                                   กันยายน 2553
สารบัญ

ณ ควนแห่งนี้ : บ้านควน			                11
ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามา	         15
จากช่องสะท้อนถึงห้วยตาสิงห์		            23
ธนาคารต้นไม้ 				                        32
เกษตรบ้านควน				                         43
โรงปุ๋ยชีวภาพ				                        51
ต้นทุนกองทุนผู้นำสู่การจัดสวัสดิการชุมชน 57
สัจจะออมทรัพย์และกองทุนหมู่บ้าน	         67
อาสาสมัครชุดคุ้มครองตำบลบ้านควน	 69
วิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมบ้านควน		          73
กลุ่มองค์กรและสภาองค์กรชุมชน		           81
ฐานพลังการขับเคลื่อนชุมชน		              85
ภาคีการพัฒนา 				                        99
บ้านควน บนทิศทางที่มุ่งไป			             104
ภาคผนวก : แหล่งเรียนรู้			               108
ผู้ถ่ายทอดความรู้

นายประเสริฐ 	       ทองมณี
นายไพบูลย์ 		       นุ้ยพิน
นายประชา 		         ดึงสุวรรณ
นายล้วน 		          ลุยภูมิประสิทธิ์
นายครรชิต 		        ชัยกล้า
นายวินัย 		         ชูสกุล
นายภิญโญ 		         ทองหัตถา
ดต.ประเสริฐ 	       คงท่าเรือ
นายสงัด 		          คงสุวรรณ
นายอุดมศักดิ์ 	     เพชรโสม
นางแสงนภา 		        สุทธิภาค
นายทวีวัตร 		       เครือสาย
แสงตะวันตัดทิวเขา
                    ณ บ้านควน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร               9




กลิ่นเขียวของต้นไม้ ใบหญ้าคละคลุ้งกระจายหลังฝน	
ตกหนัก ไอฝน ลมเย็นทีพดสัมผัสตัว พลอยทำให้นกถึง	
                          ่ ั                     ึ
ที่ที่หนึ่งที่มี โอกาสไปเยี่ยมเยียนเรียนรู้มา ตำบลบ้าน	
ควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หนึ่งในพื้นที่เรียนรู้	
ที่น่าสนใจ ที่ซ่อนตัวอยู่หลังเงาเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้	
พืชผลน้อยใหญ่

หากพูดถึงอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ชื่อเสียงของ	
อำเภอหลังสวนคงเป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะเมืองผลไม้	
ที่มีผลไม้นานาชนิดอุดมสมบูรณ์ กล้วยเล็บมือนางขึ้น	
ชื่อ ทุเรียน มังคุดพันธุ์ดี รสอร่อยที่มีผู้คนทั้งในจังหวัด	
เดียวกันและต่างจังหวัดแวะเวียนเข้ามาซื้อหาผลไม้	
จากหลังสวนไม่ขาดสาย
10   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     อำเภอหลังสวน ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วน	
     ท้องถิน     แห่ง ได้แก่     
           ่ 12                เทศบาลเมืองหลังสวน    
                                                   เทศบาล	
     ตำบลปากน้ำหลังสวน องค์การบริหารส่วนตำบล	
     ท่ามะพลา องค์การบริหารส่วนตำบลนาขา องค์การ	
     บริหารส่วนตำบลนาพญา องค์การบริหารส่วนตำบล	
     บางมะพร้าว องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด
     องค์การบริหารส่วนตำบลพ้อแดง องค์การบริหาร	
     ส่วนตำบลแหลมทราย องค์การบริหารส่วนตำบล	
     วังตะกอ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย และ	
     องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ท้องถิ่นเข้มแข็ง	
     อีกหนึ่งแห่งที่มีกระบวนการจัดการตนเอง ท้องถิ่น	
     และท้องที่ทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง

     จากตัวอำเภอหลังสวนเดินทางไปอีกประมาณ 8  กิโล	
     เมตร ปลายทางคือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้าน	
     ควน ชุมชนท้องถิ่นที่ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 18	
     หมู่ ชุมชนขนาดใหญ่ที่ผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วมสำคัญ	
     ในการกำหนดแผนพัฒนาและทิศทางในการจัดการ	
     ท้องถิ่นตนเอง
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร       11


ณ ควนแห่งนี้ : บ้านควน
ตำบลบ้านควน เป็นชุมชนชาวสวน เพราะอาชีพหลัก	
ของชาวชุมชนนั้นคือทำสวนผลไม้ สวนปาล์ม สวน	
ยางพารา และสวนมะพร้าว โดยมีอาชีพเสริม คือ	
เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ตำบลบ้านควนนั้นตั้งอยู่ทาง	
ทิศใต้ของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร


ทิศเหนือ	       ติดต่อกับ ต.หาดยาย ต.ขันเงิน 
	       	       และต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน    
ทิศใต้	 	       ติดต่อกับ ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม
ทิศตะวันออก 	   ติดต่อกับ ต.นาพญา
ทิศตะวันตก  	   ติดต่อกับ อ.พะโต๊ะ   


มีประชากรจำนวน 8,333 คน มีครัวเรือนทั้งหมด	
2,697 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งหมด 157.865 ตาราง	
กิโลเมตร หรือ 44,873 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้าน 18
หมู่บ้าน คือ
12   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




     บ้านเขาวอ หมู่ที่ 1             บ้านคลองขนาน หมู่ที่ 10
     บ้านหนองสิต หมู่ที่ 2           บ้านวัดเหนือ หมู่ที่ 11
     บ้านวัดใหญ่ หมู่ที่ 3           บ้านคลองกก หมู่ที่ 12  
     บ้านเขาชก หมู่ที่ 4             บ้านทุ่งขุนพรหม หมู่ที่ 13
     บ้านช่องสะท้อน หมู่ที่ 5        บ้านควนเหนือ หมู่ที่ 14
     บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 6           บ้านห้วยนาค หมู่ที่ 15
     บ้านทุ่งค้อ หมู่ที่ 7           บ้านทับวัง หมู่ที่ 16
     บ้านสถานีเก่า หมู่ที่ 8         บ้านห้วยตาสิงห์ หมู่ที่ 17  
     บ้านทุ่งควน หมู่ที่ 9           และบ้านเขาเกรียบ หมู่ที่ 18  


     ตำบลบ้านควนเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2459	
     ชื่อที่มาของบ้านควนนั้นมีข้อมูล เรื่องราวเล่าขานกัน	
     ไปต่างๆ นานา จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในท้องถิ่น	
     เล่าว่า ตำบลบ้านควน แต่เดิมนั้นมีการตั้งชื่อตำบล	
     ตามสภาพที่ตั้งตำบล เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่สูง	
     บางส่วนเป็นที่ควน เรียกตามภาษาพื้นบ้านภาคใต้
     “ควน” หมายถึง ที่สูง เป็นลูกควน เดิมมีหย่อมบ้าน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร         13


อยู่บนที่สูง ชาวบ้านจึงนิยมเรียกติดปากกันว่า “บ้าน
ควน” และบางความเชื่อก็เล่ากันว่า ผู้ปกครองชุมชน	
ในสมัยก่อนนั้นเรียกกันว่า ขุนควน ชุมชนบริเวณนี้จึง	
เรียกกันว่าบ้านควน ที่ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น อบต.	
ในปี 2539 มีหมู่บ้านจำนวน 18 หมู่บ้าน
14   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน



ประชา ดึงสุวรรณ
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร              15




ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามา
อ.ประชา ดึงสุวรรณ
	        “สภาพพื้ น ที่ ข องเรานั้ น บ้ า นควนมี พื้ น ที่
ป่า มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จุดเริ่มต้น
จริงๆ ปัญหาเกิดมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 มีการ
สัมปทานป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ โดนตัด
โดนทำลาย จนมาปี พ.ศ.2500 พื้นที่สัมปทานที่จะ
ต้ อ งมีการปลูกไม้ทดแทนนั้นก็เปลี่ ย นมาปลู ก ยาง
พาราแทน ต้นยางเริ่มเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งนับเป็นจุด
เปลี่ยนทางการเกษตรของคนหลังสวนเลยก็ว่าได้
เพราะตั้งแต่เริ่มปลูกยางพารา วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป
16   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     	        จุดเปลี่ยนที่ค่อยๆ รุกคืบเข้ามาก็คือ ก่อนนี้
     หลังสวนการเดินทางก็ ไม่สะดวกสบายนัก มีรถไฟ
     เดินทางถึงอยู่เพียงขบวนเดียว ส่วนถนนหนทางก็ ไม่
     ดี ดังนั้นสินค้าต่างๆ เราก็ ใช้การแลกเปลี่ยนกันใน
     ชุมชน จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 สมัย มรว.คึกฤทธิ์
     ปราโมช มีการตัดถนน เริ่มมีการคมนาคมเข้ามาใน
     พื้นที่”

     ล้วน ลุยภูมิประสิทธิ์ สมาชิก อบต.บ้านควน
     	          “ทีบานควน อดีตเราทำไร่นาสวนผสม สภาพ
                   ่ ้
     สวนของอำเภอหลังสวน ส่วนมากเป็นป่ามีทั้งยางนา
     มะพร้าว หมาก ทุเรียนพื้นบ้าน เงาะพื้นบ้าน เป็น
     วิถีชีวิตของคนที่นี่ แต่พอช่วงปี พ.ศ.2517 – 2518
     เราก็เปลี่ยนมาปลูกเงาะบ้านนาสาร เพราะเงาะของ
     นาสารเขามีชื่อเสียง พอเราเอาเงาะนาสารมาปลูก
     เราก็ล้มต้นเงาะบ้าน ต้นมะพร้าว พอต่อมาทุเรียน
     พันธุ์เริ่มเป็นที่รู้จัก เราก็ล้มต้นพื้นบ้านแล้วมาปลูก
     ทุเรียนพันธุ์แทน และในไม่ช้าเราก็เปลี่ยนจากการทำ
     สวนผสมผสานมาเป็นการทำเกษตรเชิงเดี่ยว บ้าน
     ไหนมีพื้นที่ 10 ไร่ก็ปลูกยาง ปลูกมังคุดกันหมด”
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร        17


อ.ประชา ดึงสุวรรณ
	         “ภาพความเปลี่ยนแปลงจริงๆ เริ่มจริงจัง
อีกทีประมาณปี พ.ศ.2530 ในช่วงนันสภาพเศรษฐกิจ
                                  ้
ไม่ดี ชาวบ้านสู้กับภาวะเศรษฐกิจไม่ ไหว ทำนาไป
แล้วการลงทุนก็ ไม่คุ้มค่ากับรายจ่ายที่ต้องจ่าย ไป
ทำสวนมะพร้าวก็ราคาถูก ขายได้ลูกละ 50 สตางค์
บ้าง 1 บาทบ้าง ผลไม้ราคาถูก ชาวบ้านถูกเอาเปรียบ
จากพ่อค้า เพราะพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา
สินค้าทั้งสิ้น
	         พอชาวบ้านต้องตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน
วิถีชีวิตเราก็ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย ต่างคน
ต่างอยู่ เรียกได้ว่าครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะยากจน
ชาวบ้านในระดับกลางมีน้อย คนรวยแทบไม่มี เพราะ
สภาพเช่นนี้สุดท้ายเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการทำ
กิน”
18   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




ประเสริฐ ทองมณี
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร           19


ประเสริฐ ทองมณี นายก อบต.บ้านควน
	         “แต่ช่วงปี 2540 นั้นเรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยน
สำคัญของชุมชนเลยทีเดียว เพราะตอนนันเมือสภาพ
                                         ้ ่
น้ำหาย น้ำหมดเพราะป่าไม้ถูกตัดทำลาย ตอนนั้น
ชาวบ้านก็เริ่มไม่ ไหวแล้ว พอปัญหาหนักเข้าและ
ทุกคนเห็นปัญหากันอยู่เลยชวนกันมาคุย โดยหยิบ
ยกเอาเรื่องน้ำมาคุยกัน เพราะตอนนั้นเราจะรอให้
ใครเข้ามาช่วยก็ยาก ซึ่งปรากฏว่าพอเราชวนกันมา
คุย ชาวบ้านทุกคนเห็นปัญหา เห็นความสำคัญที่ต้อง
จัดการแก้ ไขเรื่องน้ำ เราเลยคิดเรื่องการดูแลรักษา
ต้นน้ำ ก็เลยมองไปที่เรื่องการจัดการรักษาป่าไม้และ
ต้นน้ำ
	         โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำแห้งน้ำหมดนั้น ต้อง
บอกว่ามันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนระบบการผลิต
จากการทำนามาทำสวนปาล์ม เราเห็นเลยว่าน้ำมัน
แห้งไปจริงๆ แล้วพอน้ำแห้งมันก็กระทบชีวิตของคน
บ้านควนมากๆ เพราะเราเป็นชุมชนเกษตร ทำสวน
พอไม่มีน้ำก็ทำอะไรไม่ ได้ และจากเรื่องน้ำนี่เองก็
กลายเป็นจุดเริ่มแรกที่ทำให้ชุมชนเราที่ก่อนนี้มีเรื่อง
แตกคอกันบ้าง หันมาคุยกันอย่างจริงจังเพื่อจะร่วม
กันแก้ปัญหาของชุมชน”
20   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     อ.ประชา ดึงสุวรรณ
     	         “ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดคำถามตาม
     มาหลายอย่างสำหรับคนในชุมชน ที่เห็นได้ชัดคือ ปี
     พ.ศ.2540 น้ำมันแล้งจริงๆ และที่สำคัญคือไม่มีน้ำพอ
     สำหรับการทำสวน จุดตรงนีเองทำให้เราเริมสงสัยว่า
                                  ้              ่
     น้ำหมดเพราะอะไร เราจึงไปสำรวจดูที่บริเวณต้นน้ำ
     บนภูเขาซึ่งเป็นจุดพื้นที่ป่าไม้ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ
     อุดมสมบูรณ์ ปรากฎว่าเราเห็นการตัดไม้ทำลายป่า
     ที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะน้ำแล้ง ซึ่งส่งผล
     กระทบต่อวงจรวิถีชีวิตของเรา”

     จากปัญหาน้ำแล้ง กลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้	
     ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวที่จะร่วมกันแก้ ไขปัญหา ซึ่ง	
     ชาวบ้านค้นพบว่าเพราะการสัมปทานป่า ตัดไม้ทำให้	
     เกิดภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำแล้งก็ส่งผลต่อการทำ	
     ไร่ทำสวน และเพราะการทำสวนแบบเกษตรเชิงเดี่ยว	
     ปลูกยาง ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมี ปุ๋ยเคมีต่างๆ	
     ก็ ได้ส่งผลคุกคามทำลายธรรมชาติ เป็นอีกมูลเหตุ	
     หนึ่งที่ทำให้น้ำลดน้อยลง
บ้านควน
                                 หว่านในใจคน
               า  นาชนิด ที่เพาะ
เมล็ดพันธุ์ไม้น
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร             23




จากช่องสะท้อนถึงห้วยตาสิงห์
: “ป่าชุมชนช่องสะท้อน”
ขณะที่ชุมชนบ้านควนตื่นตัวกับปัญหาเรื่องน้ำแล้ง	
น้ำแห้ง กระบวนการในการจัดการดูแลรักษาป่าก็	
เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนบ้านช่องสะท้อน หมู่	
5 ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ริเริ่มอนุรักษ์	
ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำของผู้ ใหญ่บ้าน	
ไพบูลย์ นุ้ยพิน ที่ ได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านเข้ามาร่วม	
กันค้นหาคำตอบ โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล ที่พบ	
ว่า
24   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     บริเวณชุมชนนันมีพนทีปาบนเขาประมาณ       กว่า	
                     ้ ื้ ่ ่                  1,000     
     ไร่ โดยเป็นเขตป่าไข่แดงซึ่งอยู่กลางชุมชน   ละมีครัว	
                                               แ
     เรือนรายรอบป่าไข่แดงกว่า 140 ครัวเรือน ซึ่งที่ผ่าน	
     มาชาวบ้านมีการใช้ประโยชน์จากป่าผืนนี้ โดยต้อง	
     ขอมติจากกรรมการหมู่บ้าน แต่ที่ผ่านมานั้น มีผู้มา	
     ขอใช้ ไม้ ในป่าชุมชนจำนวน     ราย   ดไม้ ไปประมาณ
                                50     ตั
     200 ยก โดยไม่มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่ต้น	
     เดียว (ช่วงปี พ.ศ.2534 - 2544) จึงเกิดแนวคิดใน	
     การรักษาป่าไม้อย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ.2544  

     ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน
     	        “ที่ผ่านมาเราอยู่กับป่า มีการใช้ทรัพยากร
     จากป่า จนปี พ.ศ.2534 – 2544 ชุมชนที่อยู่ติดเขา อยู่
     บนเขา ชาวบ้านเขาก็ขนไปทำไร่กาแฟ ทำสวนยางกัน
                              ึ้
     หรืออย่างหมู่ 5 เราก็มีการอนุญาตให้ ใช้ประโยชน์
     จากป่ า ได้ โ ดยต้ อ งผ่ า นมติ ข องกรรมการหมู่ บ้ า น
     โดยชาวบ้าน วัด โรงเรียน สามารถขอไม้ ไปใช้
     ประโยชน์ได้ แต่เรากลับพบว่ามีการขอใช้ ไม้จำนวน
     มาก แต่กลับไม่มีการปลูกทดแทน ทำให้ทรัพยากร
     ธรรมชาติของเราลดน้อยลง จนต้องเอาเรื่องนี้เข้า
     เวทีประชาคมหมู่บ้าน จนเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   25




ไพบูลย์ นุ้ยพิน
26   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     ป่าอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ.2544 และมีการร่วมกัน
     กำหนดกฎกติ ก าในการอนุ รั ก ษ์ ป่ า ชุ ม ชนขึ้ น มา
     และใช้ตำนานเรื่องเล่าต่างๆ เป็นกุศโลบายในการ
     รักษาป้องกันป่า เช่น การสร้างเหตุการณ์ ตำนาน
     ความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความดุร้ายน่า
     กลัว เช่น สร้างข่าวลือว่ามีงูจงอางที่ดุร้ายชุกชุม ซึ่ง
     ในช่วงนั้นมีงูจงอางมาตายตรงเชิงเขา 1 ตัว ทำให้
     คนทั่วไปไม่กล้าขึ้นไปตัดไม้และล่าสัตว์ หรือข่าวลือ
     เรื่องมีหมีอยู่ ในป่า หรือมีเสือที่ถูกยิงแล้วจะมีความ
     ดุร้ายหลบซ่อนอยู่ ในป่า ซึ่งจากข่าวลือพวกนี้ทำให้
     ชาวบ้านร่วมกันดูแลและรักษาป่ากันอย่างจริงจัง จน
     ส่งผลกระทบให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่ามี
     จำนวนเพิ่มมากขึ้น”
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร       27




: กฎกติกาป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน

  1) จะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าแม้แต่ต้นเดียว

  2) ห้ามล่าสัตว์บนเขาและเขตป่าโดยเด็ดขาด  

 3) ให้ครอบครัวซึ่งอยู่บริเวณรอบชายเขาช่วยกัน
 ดูแลและปลูกต้นไม้ตรงแนวป่ากันชน  

  4) ให้อพยพย้ายคนซึ่งทำการเกษตรอยู่บนเขา
ออกจากพื้นที่ทำกินบนเขาทั้งหมดจำนวน 10 แปลง
(ซึ่งขณะนี้ยังคงมี 2 แปลง ยังมีการใช้ประโยชน์
จากการทำสวนยางโดยมีการทำสัญญาร่วมกับชุมชน
ว่าจะไม่ โค่นต้นยางหลังจากสิ้นสุดการใช้ประโยชน์)  

 5) ให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมกันทุกเดือน
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางในการพัฒนา
และแก้ ไข โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน
7 คน ประกอบด้วย
28   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




      	
      	         นายไพบูลย์ 	         นุ้ยพิน
      	         สอ.จรินทร์ 	         กิตติดุษฎี
      	         นายกมล 	             เพ็งทะลุง
      	         นายเติม 	            วิเศษยิ่ง
      	         นายอรุณ 	            ภูมิสวัสดิ์
      	         นายองอาจ 	           คชสีห์
      	         นายชั้น 	            จิตสุวรรณ


        6) ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าเพิ่มโดยเฉพาะไม้ป่า
      ที่รับประทานผลได้ โดยมุ่งหวังให้สัตว์ ได้กินเป็น
      อาหาร และเป็นที่รวมของสัตว์ป่า รวมทั้งส่งเสริม
      ให้มีการปลูกไม้ยืนต้นประเภท ตะเคียน จำปา
      ยาง ไม้รักแดง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
      ให้กับป่า
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร           29


: รุมรักษ์ป่า – ป่าอนุรักษ์บ้านห้วยตาสิงห์
จากการจัดการป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน หมู่ 5 ส่ง	
ผลให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ 	
ดูแลป่า เพราะสภาวะน้ำแล้ง น้ำแห้งที่เคยเกิดขึ้น	
ทุเลาเบาลง จากป่าชุมชนช่องสะท้อนจึงขยับสู่การ	
อนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติป่าเขารุม ซึ่งเป็น	
เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน โดยครอบคลุมพื้นที่หมู่	
4 หมู่ 16 และหมู่ 17 ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน	
และหมู่ 7 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม มีพื้นที่กว่า	
10,000 ไร่ ซึ่งชาวบ้านเรียกพื้นที่ป่านี้ว่า “ป่าเขา
รุม”

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ซึ่งเป็น	
ผลพวงมาจากการตั ด ทำลายไม้ แ ล้ ว ปลู ก ต้ น ยาง	
แทนที่ ไม้เดิม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการเลื่อนไหล	
ของแผ่นดิน เนื่องจากรากของต้นยางนั้นไม่สามารถ	
ยึดเกาะผืนดินได้ดีเมื่อเทียบกับต้นไม้พื้นถิ่นเดิม และ	
ปัญหาน้ำแห้งผากเนื่องจากป่าต้นน้ำถูกทำลาย
30   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าเขารุมจึงริเริ่ม	
     ขึ้นตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2547 ในสมัยของอดีตผู้ ใหญ่	
     บ้าน อาจินต์ คงมี และทีมงาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2457	
     มีการเปลี่ยนแปลงผู้ ใหญ่บ้านจากนายอาจินต์ คงมี	
     เป็นนายสุวรรณ แก้วคง ซึ่งเดิมนั้นเป็นอดีตผู้ช่วยผู้	
     ใหญ่บ้านของนายอาจินต์

     ผู้ ใหญ่บ้าน สุวรรณ แก้วคง ได้สานต่อและต่อยอด	
     แนวคิดการอนุรักษ์ป่าเขารุมขึ้นอย่างจริงจัง มีการ	
     ทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ ได้มติร่วมกันของชุมชน	
     เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการชุดดูแลป่า จำนวน 9 คน	
     ประกอบด้วย
     	         นายมงคล 	 แดงนิ่ม
     	         นายอดิชาติ	 แดงจันโท
     	         นายอนันต์ 	 เซ่งชู
     	         นายสุจินต์ 	 ภิญโญยศ
     	         นายทะนงศักดิ์ 	เหมเดโช
     	         นายหมวย 	 จันทร์มุ่ย
     	         นายสุวรรณ 	 แก้วคง
     	         นายบรรเจิด 	 จันทร์เสมา
     	         และนายบุญส่ง
     โดยจะมีการประชุมกันทุกวันที่ 12 ของเดือน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร        31


: กิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์ป่า ดังนี้
	        ทำการปักหมุดและติดป้ายกันแนวเขต
อนุรักษ์จำนวน 150 ป้าย
	        มีกิจกรรมปลูกป่าเพิ่มในวันสำคัญต่างๆ
	        ประสานความร่วมมือกับโรงเรียน
จัดกิจกรรมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ จัดค่ายสร้าง
การเรียนรู้ ให้แก่เด็ก เยาวชน

: กติกาในการอนุรักษ์ป่าเขารุม ดังนี้
	          มีการจัดตั้งอาสาสมัครในการเฝ้า
ระวังรักษาป่าเขารุมโดยมาจากครัวเรือน
รอบๆ เชิงเขาจำนวน 30 ครัวเรือน
	          ทำข้อตกลงร่วมกันกับครอบครัวที่มีพื้นที่
เกษตรรอบๆ เชิงเขาจำนวน 20 ครัวเรือนเพื่อ
ไม่ ให้ทำการบุกรุกป่าเพิ่มเติม
	          ผู้ที่บุกรุกทำลายป่าจะถูกจับและมีบท
ลงโทษอย่างจริงจัง และหากจับกุมผู้บุกรุกทำลาย
ไม่ ได้ ผู้อยู่บริเวณข้างเคียงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ
	          การใช้สอย การขอไม้เพื่อใช้ประโยชน์
สามารถแจ้งขอได้ ในวันที่มีการประชุม และต้อง
ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทั้ง 9 คน
32   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     ธนาคารต้นไม้ “เพาะพันธุ์กล้าไม้
     หว่านสำนึกร่วมรักษ์ป่า”
     เมื่อกระบวนการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ	
     เกิ ด ขึ้ น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมทั้ ง การจั ด การป่ า ชุ ม ชน	
     บ้านช่องสะท้อน และป่าอนุรักษ์เขารุมบ้านห้วยตา	
     สิงห์ ชาวบ้านต่างร่วมกันรักษาดูแล มีอาสาสมัคร	
     ในการเฝ้าระวัง มีชาวบ้านร่วมกันเป็นหูเป็นตา และ	
     มีกฎกติกาและมาตรการการลงโทษอย่างจริงจัง	
     ขณะเดียวกัน เนื่องจากอาณาเขตที่กว้างใหญ่ของ	
     ผืนป่าของชุมชน ทำให้เกิดเป็นแนวคิดในการทำแนว	
     เขตกั้นป่าโดยการปลูกต้นไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็น	
     ประโยชน์ ในการรักษาดูแลและได้แนวเขตกั้นแล้ว	
     ชาวบ้านยังสามารถเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากพันธุ์	
     ไม้ที่ปลูกกั้นแนวอีกทางหนึ่ง

     ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน
     	        “การดูแลรักษาป่านั้น นอกจากการที่เรามี
     อาสาสมัครในการดูแลป่าแล้ว เนื่องจากเรามีพื้นที่
     ป่ากว่าหมื่นไร่ เราเลยมีแนวคิดในการทำแนวเขตกั้น
     ป่า ซึ่งเดิมนั้นทางหน่วยราชการเสนอให้ทำกำแพง
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   33
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร            35


ลวดหนาม แต่สำหรับชาวบ้าน เรามองว่าลวดหนาม
เป็นสิ่งแปลกปลอมจากธรรมชาติ เราจึงใช้วิธีการใช้
ต้นไม้มาทำเป็นแนวกันชน โดยทำแนวกันชนสองชั้น
แนวชั้นแรกบอกเขตต่อระหว่างป่ากับชุมชน และแนว
ชั้นที่สองสำหรับบอกเขตรอยต่อระหว่างตำบลโดย
จะใช้ ไม้มะฮอกกานีทั้งแถว
	          ทั้งนี้ ในการเลือกไม้ที่จะปลูกนั้น เราใช้การ
ตั ด สิ น ใจร่ ว มกั น ของชาวบ้ า นโดยผ่ า นเวที แ ลก
เปลียน ล่าสุดจากเวทีแลกเปลียน เราก็มองร่วมกันว่า
     ่                           ่
จะปลูกต้นเหลียง เพราะหลังจากปลูกไปแล้ว 10 -15
ปี เราสามารถเก็บเกี่ยวใช้กินได้ส่วนไม้มะฮอกกานี
นั้นเป็นไม้ โตเร็ว ปีหนึ่งๆ สูงกว่า 3 เมตร และสามารถ
ใช้ประโยชน์เอามาทำไม้เฟอร์นิเจอร์ ได้
	          จากกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ ก็จะไปเชื่อม
กับงานของธนาคารต้นไม้ ซึ่งธนาคารต้นไม้ก็จะมี
บทบาทในการตระเตรี ย มเพาะพั น ธุ์ ก ล้ า ไม้ ให้
ชุมชน”
36    ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




     ภิญโญ ทองหัตถา
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร           37


ภิญโญ ทองหัตถา ประธานสภาตำบลบ้านควน
	          “ธนาคารต้นไม้นั้นเริ่มต้นเป็นรูปธรรมเมื่อ
ปี พ.ศ.2550 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก
นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมให้มีการปลูก ต้นไม้ตาม
ถนนตลอดแนว โดยรัฐอุดหนุนการปลูกโดยการจัด
หาพันธุ์ไม้ ต้นไม้ ให้
	          จากแนวคิดนีเอง คณะทำงานภาคประชาชน
                       ้
มีการร่วมคิดร่วมคุยกันจนเกิดความคิดในการจัดตั้ง
ธนาคารต้นไม้ขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากบ้านช่องสะท้อน
หมู่ 5 โดยมีการจัดเวทีประชุมปลูกไม้ ในใจคน จน
เกิดกระแสตื่นตัว และมีคนสนใจเข้าร่วมจนมีสมาชิก
เกิน 50 คน เกิดเป็นธนาคารต้นไม้สาขาแรก เพราะ
ระเบียบเงื่อนไขของการเป็นสาขานั้นคือ มีสมาชิก
50 คน มีกรรมการสาขาละ 7 – 9 คน และมี
พันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 30 ชนิดพันธุ์
	          เมื่อธนาคารต้นไม้เกิดขึ้น เราก็มีแนวคิดเผย
แพร่ ประชาสัมพันธ์ โดยผ่านการจัดกิจกรรมปลูก
ต้นไม้ ในวันสำคัญต่างๆ และที่สำคัญคือการส่งเสริม
ให้ชาวบ้านร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นแนวกันเขตในพื้นที่
ของตนเองและที่สาธารณะ ซึ่งพอทำได้ 2 – 3 ปี ก็มี
สมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้น เกิดการขยายสาขาจนปัจจุบัน
มีสาขาธนาคารต้นไม้รวมแล้ว 6 สาขาด้วยกัน
38   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     	       ขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ทางสาขาจะมี
     การจัดหาพันธุ์ไม้ ให้แก่สมาชิก โดยเราจะจัดหาพันธุ์
     ไม้ทกชนิดทีสมาชิกต้องการปลูก โดยสมาชิกคนหนึง
         ุ       ่                                   ่
     จะได้รับแจกพันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 9 ต้นสำหรับการนำ
     ไปปลูก ซึ่งสมาชิกเองก็จะมีส่วนร่วมในการหาไม้มา
     เสียบสำหรับเพาะพันธุ์ หรือหากสมาชิกมีพันธุ์ที่ทาง
     ธนาคารต้นไม้ ไม่มีก็สามารถเอาพันธุ์ ไม้มาแลกกัน
     ได้ หรือหากไม่ ใช่สมาชิกเราก็จะขายเอากำไรเพียง
     เล็กน้อยเท่านั้น”
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร              39




	         ธนาคารต้นไม้ ฐานคิดเดิมมาจากโครงการ	
ปลู ก ต้ น ไม้ ใช้ ห นี้ ในสมั ย รั ฐ บาลนายกรั ฐ มนตรี 	
ทักษิณ ชินวัตร แต่เนื่องจากฐานคิดของคนภาคใต้	
เองก็มีหลักคิดเรื่องการปลูกไม้ ใช้หนี้ที่เชื่อมโยงกับ	
เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมองว่าคนทุกคน	
สามารถปลูกต้นไม้ ได้ ไม่เฉพาะผู้ที่เป็นหนี้เท่านั้น	
ดังนั้นจึงเกิดการปรับสถานะของโครงการปลูกไม้ 	
ใช้หนี้เป็นธนาคาร ซึ่งเป็นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้	
อันเป็นการมองเรื่องคุณค่ามากกว่าเรื่องการใช้หนี้




	       ธนาคารต้นไม้ หลักคิดสำคัญคือ การเชื่อม	
โยงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ ง แวดล้ อ มกั บ	
สภาวะของโลก เพราะต้นไม้สามารถลดภาวะโลก	
ร้อนได้ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการปลูกต้นไม้ ใน	
ใจคน ให้คนรู้คุณค่าว่าต้นไม้ ให้ประโยชน์อะไรกับ	
ตัวเองบ้าง
40   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




     	         ธนาคารต้นไม้ ดำเนินการโดยไม่เน้นการตัด	
     แต่เน้นการปลูกเสริมบนพืนทีเดิม เน้นการผสมผสาน	
                                       ้ ่
     เพื่อให้เกิดมูลค่า เช่น  ไม้หนึ่งต้นปลูกในระยะเวลา 1	
     ปี ก็มีมูลค่าไม้ระดับหนึ่ง ปลูกนาน 30 ปีมูลค่าก็ยิ่ง	
     เพิมขึน และยิงปลูกนานเข้าก็จะไม่อาจประเมินมูลค่า	
        ่ ้         ่
     ได้ ดังนั้นพันธุ์ไม้ที่ธนาคารต้นไม้นำมาเพาะและแจก	
     สมาชิ ก จึ ง เป็ น พั น ธุ์ ที่ ส มาชิ ก เสนอผ่ า นการทำ	
     ประชาคม โดยเป็นพันธุ์ไม้ที่ โตเร็ว มีมูลค่าในการใช้	
     ประโยชน์ เช่น ขุนไม้ ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น



     	      ธนาคารต้นไม้ ทั้ง 6 สาขา แต่ละสาขาจะ	
     เพาะพันธุ์ไม้ที่ต่างกัน โดยเน้นพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ดังนั้น	
     ธนาคารต้นไม้บ้านควนจึงมีพันธุ์ ไม้ที่หลากหลายที่	
     สอดคล้องกับภูมินิเวศพื้นถิ่น
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร           41




ภายใต้ ก ระบวนการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ 	
ตำบลบ้านควนนี้ นอกจากจะเกิดการจัดการป่าโดย	
การทำป่าชุมชน ป่าอนุรักษ์ และธนาคารต้นไม้อัน	
เป็นกระบวนการที่เชื่อมร้อย เกี่ยวเนื่องกันแล้ว บ้าน	
ควนยังดำเนินการเรื่องเชื่อมโยงแก้ ไขปัญหาเรื่อง	
ทรั พ ยากรธรรมชาติ กั บ การจั ด การที่ ดิ น และการ	
จัดการน้ำอีกด้วย เกิดการจัดการเรื่องสิทธิที่ทำกิน	
ที่ดินสาธารณะ โดยท้องถิ่น ท้องที่ ประสานการ	
ทำงานร่วมกัน และได้เกิดการจัดการน้ำอย่างเป็น	
ระบบเพื่ อ แก้ ปั ญ หาน้ ำ โดยจั ด ทำประปาหมู่ บ้ า น
สร้างฝายเก็บ และสร้างบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น	
สำหรับชุมชน
42   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




     กล่าวได้ว่า จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การ	
     บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อทำการเกษตร ซึ่งเป็นส่วน	
     หนึ่งของสาเหตุที่ทำให้ชุมชนต้องเผชิญกับสภาวะ	
     น้ำแล้งน้ำแห้งอย่างต่อเนื่องนั้น กระบวนการการ	
     จัดการป่าชุมชนและป่าอนุรักษ์ของชุมชน การมีกฎ	
     กติกา มาตรการการลงโทษในการดูแลป่าการปลูก	
     ป่าทดแทน ปลูกเสริมเพิ่มเติม เป็นแนวทางหนึ่งใน	
     การแก้ ไขปัญหานั้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ ไขปัญหา	
     น้ำแล้งได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้ เนื่องจากสาเหตุอีก	
     อย่างที่สำคัญไม่น้อยกว่าการตัดไม้ และส่งผลให้เกิด	
     ภาวะน้ำแล้งเช่นกันก็คือ รูปแบบการผลิตของชุมชน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร         43




เกษตรบ้านควน
: เกษตรพอเพียง
การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การรุกคืบเข้ามาของพืช	
ผลการตลาด พันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่น	
พันธุ์ดั้งเดิม     ส่งผลอย่างมากต่อระบบนิเวศชุมชน
และส่งผลต่อชีวิตของชาวบ้านด้วย

ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน
	         “ช่วงปี พ.ศ.2542 ตอนนั้นเราตื่นตัวกันมาก
เรื่องการเกษตร เราเริ่มมองเห็นปัญหา เช่น เราปลูก
ทุเรียนพันธุ์ เราต้องใช้สารเคมีมาก ลงทุนสูง ปลูก
แล้วก็ ไม่ทนอยู่ ได้ ไม่นานก็ตาย ขณะเดียวกัน คนปลูก
ตัวเราเอง สุขภาพชีวิตเรามันไม่ยั่งยืนเอาเสียเลย
44   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร         45


เหมื อ นเรามองว่ า คนเฒ่ า คนแก่ ต ายจากก็ เ ป็ น ไป
ตามวัย แต่เรากลับพบว่าคนรุ่นหนุ่มสาวตายมากขึ้น
เพราะสาเหตุมาจากสารเคมีจากการผลิต พอเรา
มามองเรื่องสุขภาพ ทำให้เราไม่อยากจะใช้สารเคมี
อีก อยากจะปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงจริงๆ เริ่มจาก
ยา ปุ๋ยต่างๆ ที่เราเคยต้องซื้อหา มาลองใช้ของที่เรา
ทำเอง แต่มาเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2549
ตอนนั้นโครงการดับบ้านดับเมืองลงมาในพื้นที่ เข้า
มาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับคนในชุมชน
แกนนำ ผู้นำชุมชนมี โอกาสไปเรียนรู้ดูงานที่ชุมชน
ใกล้เคียง พอไปเรียนรู้จากที่อื่นมันก็เกิดการนำมา
ประยุกต์ ปรับเปลี่ยนทำบ้างที่บ้านเรา”

อ.ประชา ดึงสุวรรณ
	         “บางทีเราก็ต้องหันมาทบทวนวิถีชีวิตเรา
ก่อนนี้สักปี พ.ศ.2525 สองข้างทางยังเป็นทุ่งนา ถนน
หนทางก็ลูกรังแดงธรรมดา แต่หลังจากนั้นก็เปลี่ยน
ไปเริ่มมีถนนเข้ามา วิถีต่างๆ มันก็พลอยเปลี่ยนแปลง
ไป เราทำเกษตร ทำสวนแต่พืชผักที่ปลูก เราสู้กับ
วัชพืชไม่ ได้ เราเลยต้องใช้ยาฉีดหญ้า ยาฆ่าแมลง แต่
อยู่ๆ วันดีคืนดี คนอายุวัยทำงานเกิดล้มป่วยเจ็บตาย
46   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     จากเราเคยไปแต่งานศพคนอายุ 80 - 90 ปี กลายเป็น
     คนอายุ 40 ปีหัวใจวายตาย แต่เราก็ยังต้องทำนา
     แบบใช้ยา สารเคมี ปุ๋ยเคมีต่อ
     	        จนต่ อ มาก็ เ ริ่ ม มี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ ท ำสวน
     ปาล์ม เพราะบอกว่าการทำนาไม่ ได้ผล ส่งเสริมให้
     เปลียนจากทำนาเป็นทำปาล์ม จากสวนมะพร้าวก็มา
          ่
     ปลูกโกโก้ ปลูกมะม่วงหิมพานต์ เราก็ต้องเปลี่ยนเป็น
     ไปตามกระแส จนพอเราเปลี่ยนหมดทุกอย่าง นาไม่
     เหลือ ข้าวไม่มี ก็ต้องไปเอาข้าวมาจากข้างนอก ต้อง
     ซื้อข้าวมากิน ซึ่งข้าวที่ขายๆ กันก็มีสารกันมด กัน
     มอด สุดท้ายสารเคมี สารพิษทั้งนั้นที่เข้าไปอยู่ ใน
     ร่างกายเรา
     	        อีกปัจจัยที่ทำให้คนที่นี่เกิดการปรับเปลี่ยน
     เพราะเรามีการชวนคิดชวนคุย กันเสมอ มีการแลก
     เปลี่ยนข้ามข่ายกับที่นี่และที่อื่น         มีการสืบค้นทุน
     ตัวเอง เห็นข้อมูลเรื่องรายรับ รายจ่าย ต้นทุน นอก
     จากนี้ พอมาดูด้านการผลิต เรามีสวนมังคุดซึ่งถือว่า
     ราชินีผลไม้ เงาะโรงเรียน ทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอน
     ทอง แต่หลังสวนเรากลับไม่มีตลาดกลาง เราไม่มี
     การจับกลุ่มกันอย่างจังหวัดจันทบุรี หรือนาสาร แต่
     หลังสวนเรามาขายกันเอง คนมาซือก็อยูภายใต้กลไก
                                             ้      ่
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร              47


ของคนนอกที่มากำหนดราคา จนทำให้เกิดกลไกของ
การจับกลุ่มที่ อย่างที่หมู่ 7 เกิดการหันกลับมาทำ
เกษตรพึ่งตนเอง เพราะที่ผ่านมานั้นเราถูกบีบคั้นมา
นานจริงๆ
	       ปั จ จั ย เหล่ า นี้ มั น ทำให้ เ ราเกิ ด การปรั บ
เปลี่ยนจากภายใน เช่น การทำปุ๋ย การปลูกพืชเสริม
และที่สำคัญฐานเดิมของบ้านควน ของหลังสวนนั้น
เราทำเกษตรผสมผสานอยู่แล้ว แต่พอสวนยาง สวน
ปาล์มมามันทำให้วิถีเราเปลี่ยนไป พอเราเห็นปัญหา
ตรงจุดนั้น การปรับเปลี่ยนก็เกิดขึ้น เราก็กลับมาทำ
เกษตรแบบผสมผสาน เรามีบ่อปลา เรามีพืชผัก
สวนครัว”
48   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     : ต้นแบบการพึ่งพาตนเอง

     ครรชิต ชัยกล้า แกนนำชุมชน หมู่ 7
     เกษตรพอเพียง ต้นแบบ
     	          “เราทำเกษตรแบบใช้ยา ใช้สารเคมีมานาน
     ปลูกแล้วขายก็ ไม่ ได้ราคาเพราะพ่อค้าคนกลางเขา
     ก็กำหนดราคาอีกที รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นๆ และที่สำคัญ
     สุขภาพเรา มันเป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องคิดและอยาก
     จะเปลี่ยนแปลง
     	          ตอนที่เราเริ่มคิดเรื่องนี้ ชาวบ้านเขาก็หาว่า
     เราบ้าบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แต่เราก็ทำ เราลองเริ่มต้น
     ลงมือทำโดยเอาความรู้จากการที่มี โอกาสไปศึกษา
     ดูงานเรื่องเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์มาลง
     ทำที่บ้านเรา ปลูกมังคุด มะนาว ปลูกพืชปลอดสาร
     ทำเตาเผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ เลี้ยงหมูหลุม พอเรา
     ทำไปทำมา ก็เริ่มมีคนอื่นๆ สนใจ อยากจะมาเรียนรู้
     เราก็ เ ปิ ด บ้ า นเปิ ด สวนสมรมนี้ ให้ เ ป็ น ห้ อ งเรี ย น
     สำหรับทุกคน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   49




ครรชิต ชัยกล้า
50   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร                  51


	       เกษตรผสมผสานทีเราทำนัน ไม่ ใช่เพียงการ
                          ่      ้
ปลูกพืชปลอดสารเท่านั้น แต่เราจัดระบบของการ
พึ่งพาตนเอง พืชผล พืชผักสวนครัว หมูหลุม บ่อปลา
เตาถ่าน น้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งพอทำแบบนี้แล้ว
มันลดรายจ่ายในการผลิตไปมากมายทีเดียว และ
ผลที่มันตอบกลับตัวเราเองคือ ตัวเรามีสุขภาพที่ดี
มันเห็นผลได้กับตัวเอง กับครอบครัว”


โรงปุ๋ยชีวภาพ
โรงปุ๋ยชีวภาพตำบลบ้านควน คือ ก้าวขยับต่อจาก	
ฐานแนวคิดในเรื่องการทำเกษตรพอเพียง พึ่งพา	
ตนเอง ฐานที่มาของโรงปุ๋ยชีวิภาพนั้น แรกเริ่มเดิม	
ที ในปี พ.ศ.2550 จากนโยบายของรัฐบาลในการ	
สนับสนุนโครงการนำร่องในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ	
ความยากจนอย่างรูปธรรม องค์การบริหารส่วน	
ตำบลบ้านควน จึงสนับสนุนให้จัดทำโรงปุ๋ยอินทรีย์	
ชี ว ภาพขึ้ น มาเพื่ อ ใช้ เ ป็ น โรงปุ๋ ย ชี ว ภาพแบบสาธิ ต	
(ศูนย์ฝึกอบรม)  โดยการใช้งบประมาณจาก อบต./
52   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     อบจ. แต่ต่อมาพอมีการเปลี่ยนแปลงของการเมือง	
     ท้องถิ่นส่งผลทำให้ต้องมีการยุบกิจกรรมต่างๆ ลง

     จนกระทั่งนายก อบต. ประเสริฐ ทองมณี เข้ามารับ	
     ตำแหน่งนายก อบต. จึงได้ริเริ่มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง	
     โดยมีการตั้งคณะกรรมการจำนวน 9 คน เข้ามา	
     รับผิดชอบดูแล และมีการเปิดรับสมาชิกโดยราคา	
     หุ้นอยู่ที่หุ้นละ 500 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้	
     ชุมชนในตำบลบ้านควนได้เข้ามาเรียนรู้ นำความรู้ ใน	
     การทำปุ๋ยอินทรีย์ ไปปรับใช้เพื่อลดรายจ่ายในครัว	
     เรือน และยังเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

     ศึกษา พรหมคณะ แกนนำโรงปุ๋ยชีวภาพ
     	        “เรามาทำโรงปุ๋ ย ชี ว ภาพอย่ า งจริ ง จั ง อี ก
     ครังเมือปี พ.ศ.2551 โดยมีสมาชิกนำร่อง 30 คน ช่วย
        ้ ่
     กันลงหุ้น คนละ 5,000 บาท โดยมีเป้าหมายเรื่อง
     ลดการใช้สารเคมี เพราะจากเดิมนั้นเราใช้สารเคมี
     กันเป็นจำนวนมาก และอยากให้ที่นี่เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่
     ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ทดลองทำ
     และเอาไปปฏิบัติใช้ที่บ้านได้ แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านที่
     ทำปุ๋ยใช้เองนั้นก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่เราก็ ใช้วิธี
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร   53
54   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     การปากต่อปากให้ชาวบ้านกระจายข่าวสารเรื่อง
     การใช้ปุ๋ยชีวภาพให้ เพราะในรายที่หันกลับมาใช้ปุ๋ย
     ชีวภาพใช้ ได้ครึงปี หรือ 1 ปี ดินก็จะเริมฟืนสภาพขึนมา
                      ่                      ่ ้         ้
     รวมทั้ ง ใช้ ก ระบวนการพู ด คุ ย ในเวที ป ระชุ ม ต่ า งๆ
     เพื่อแจ้งข่าวสาร สร้างความเข้าใจ
     	         ในส่วนวัตถุดิบนั้น เราก็ ใช้กระบวนการใน
     ชุมชน เพราะในชุมชนเราทำเกษตร ทำสวน ก็ต้องมี
     วัตถุดิบเหลือใช้จากการผลิต เราก็รับซื้อ อย่างเช่น
     ทะลายปาล์ม ขี้วัว เป็นต้น เราก็ ใช้วัตถุดิบพวกนี้หมัก
     ทำปุย โดยเรารับซือปาล์มราคากิโลกรัมละ 0.70 บาท
          ๋              ้
     ต่อครั้งก็ประมาณ 200 ตันก็คิดเป็นเงินประมาณ
     14,000 บาท และขายกลับในราคากระสอบละ 100
     บาท โดย 1 กระสอบมี 25 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ
     4 บาท โดยในราคาขายนั้น ต้นทุนเราจริงๆ ไม่เกิน
     3 บาท โดยส่วนต่าง 1 บาทก็จะเป็นกำไรที่จะเอามา
     ทำเรื่องการปันผล โดยบางคนก็อาจเอาปันผลเป็น
     หุ้นแทนก็มี”
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร          55


อ.ประชา ดึงสุวรรณ
	        “ผลลัพธ์นั้น เราเห็นผลว่า ก่อนนี้ชาวบ้านใช้
ปุ๋ยเคมีล้วนๆ แต่ตอนนี้ชาวบ้านหลายครัวเรือนก็ ใช้
ปุ๋ยชีวภาพครึ่ง ปุ๋ยเคมีอีกครึ่ง หรือบางรายจากเดิม
เคมีล้วน 10 กระสอบ ตอนนี้ก็จะเหลือ 3 กระสอบ
กระบวนการของเราไม่ ได้หวังว่าชาวบ้านจะต้องลด
หมดทันทีทนใด แต่คอยๆ หายค่อยๆ ปรับเปลียน มอง
             ั        ่                       ่
สภาพดิน ดินที่ ใช้ปุ๋ยเคมี ดินก็จะแข็งไม่มี ไส้เดือน
ชาวบ้านก็เห็นความแตกต่าง มันค่อยๆ เกิดการปรับ
ทัศนคติ หรือแม้กระทั่งมันลดรายจ่ายด้วย เพราะ
อย่างเพาะปลูกต้องใช้ปุ๋ยเคมี 10 กระสอบ กระสอบ
ละ 1,000 บาท แล้วต้องใช้แบบนี้สี่เดือนครั้ง รายจ่าย
เท่าไหร่ที่เราจะต้องเสีย แต่ปุ๋ยหมักใช้แค่ 2 กระสอบ
ก็คิดเป็นรายจ่ายแค่ 200 บาทเท่านั้น
	        กระบวนการแบบนี้ สิ่งที่เราพยายามสร้าง
คือการปรับทัศนคติ ที่นอกจากเรื่องการใช้อินทรีย์
ดีกว่าเคมีแล้ว เราต้องการสร้างคุณค่าในการผลิต
ด้วย เพราะจากชาวบ้านฉีดยาฆ่าหญ้า แต่พอมาใส่
ปุ๋ยอินทรีย์ ชาวบ้านก็จะตระหนักหวงดินมากขึ้น
มองเรื่องคุณค่ามากกว่ามูลค่าไม่ ใช่หวังจะต้องมีผล
ผลิตมาก เร่งปลูก เร่งใส่ยา เพราะตอนนี้เขาก็ปลูก
56   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     พืชผักสวนครัว ปลูกพันธุ์ไม้ทอยากจะปลูกทีจะสร้าง
                                 ี่            ่
     คุณค่าหรือเกิดมูลค่าในระยะยาวได้อีกด้วย โดยไป
     เชื่อมโยงกับธนาคารต้นไม้ซึ่งกระจายอยู่ถึง 6 สาขา
     ในบ้านควน”
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร                  57


ต้นทุนกองทุนผู้นำ
สู่การจัดสวัสดิการชุมชน
: สวัสดิการชีวิต สวัสดิการชุมชน
ขณะที่กิจกรรมหลายสิ่งอย่างก่อ เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ตอบ	
โจทย์ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ ทั้งการจัดการทรัพยา	
กรธรรมชาติ เ พื่ อ ฟื้ น ฟู ร ะบบนิ เ วศต้ น น้ ำ ซึ่ ง เป็ น	
ทรัพยากรฐานชีวิต การปรับตัวด้วยระบบเศรษฐกิจ	
พอเพียง โดยการทำเกษตรผสมผสาน สวนสมรม	
ลดเลิกใช้ปุ๋ยเคมีหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพที่	
ทำให้สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนและแก้ปัญหา	
เรื่องสุขภาพของชาวชุมชนได้แล้ว พึ่งตนเองได้ การ	
สร้างสังคมที่เชื่อมร้อยดูแลกันและทำให้เกิดการ	
พึ่งพาตนเองและพึ่งพากันและกันในชุมชน ก็เป็นอีก	
โจทย์หนึ่งในการทำงานของขบวนผู้นำตำบลบ้าน	
ควน โดยมี ‘สวัสดิการชุมชนบ้านควน’ เป็นอีก	
กลไกในการดูแลกันและกันของคนบ้านควน
58   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน




       วินัย ชูสกุล
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร             59


วินัย ชูสกุล แกนนำชุมชน
ผู้รับผิดชอบงานสวัสดิการชุมชน
	        “สวัสดิการชุมชนบ้านควน มันเกิดขึ้นมาจาก
กองทุนผู้นำ สวัสดิการกำนันผู้ ใหญ่บ้าน ซึ่งนายก
อบต.ประเสริฐ ทองมณี ทำเอาไว้สมัยยังเป็นกำนัน
โดยแนวคิ ด สำคั ญ ของกองทุ น ผู้ น ำก็ เ พื่ อ เป็ น การ
สร้างขวัญกำลังใจให้คนทำงานที่มีความเสียสละ
เข้ามาอาสาทำงานให้ชุมชน โดยสวัสดิการชุมชน
บ้านควนนั้น ในปี พ.ศ.2550 เราเริ่มก่อร่างเกิดเรื่อง
สวัสดิการ โดยตอนนั้น เนื่องจากเรามี โอกาสไป
ศึกษาดูงานที่บ้านเหมืองงาม ตำบลนาขา อำเภอ
หลังสวน พอกลับมาทางนายกประเสริฐ ก็คิดเรื่อง
การมีระบบสวัสดิการ จากนั้นจัดตั้งคณะกรรมการ
คณะทำงานและคิดระเบียบกฎเกณฑ์ จนกระทั่งมา
ปี พ.ศ.2551 เราจึงเปิดรับสมาชิก โดยค่าสมัคร 20
บาท สมทบปีละ 100 บาทต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี
แล้วจึงหยุดจ่ายเงินสมทบ รับสมาชิกตั้งแต่แรกเกิด
ดังนั้นทุกคนในตำบลบ้านควนจึงเป็นสมาชิกกองทุน
สวัสดิการชุมชนนี้ เพราะเรารับเฉพาะคนในตำบล
เท่านั้น
	        ปัจจุบัน เรามีเงินสมทบ 215,000 บาท โดย
มีการร่วมสมทบจากชาวบ้าน คนละ 1,000 – 2,000
60   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน


     บาท เพราะพวกเขามองเห็นประโยชน์ของการมี
     สวัสดิการ และต่อมา อบต.บ้านควนก็สนับสนุนอีก
     57,500 บาท หลังจากนั้นรัฐก็สมทบในระบบหนึ่ง
     ต่อหนึ่ง
     	          การดูแลนั้น ปัจจุบันเราเปิดสวัสดิการ 3
     เรื่อง คือ เกิด เจ็บ และตาย โดยสวัสดิการการเกิดนั้น
     เมื่อเกิดเราให้ทำขวัญและต้นไม้แรกเกิด 20 ต้น เพื่อ
     ให้ ต้ น ไม้ เ ป็ น ดอกผลที่ จ ะเก็ บ เกี่ ย วใช้ ส อยได้ ใน
     อนาคต เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล 100 บาทต่อวัน
     เป็นสมาชิกปีที่หนึ่งได้สิทธินอน 1 คืน สมาชิก 2 ปีได้
     2 คืน และปีที่ 3 ก็ 3 คืน แต่หากไม่ ใช้สิทธิก็สามารถ
     ยกยอดมารวมกันได้ โดยมีสมาชิกใช้สวัสดิการไป
     แล้วทั้งหมด 18 ราย สวัสดิการเรื่องการตาย เราช่วย
     ทำศพ ปลอบใจ สมาชิกปีแรก 1,000 บาท สมาชิกปี
     ที่สอง 2,000 บาท
     	          จากกระบวนการจั ด สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชนนั้ น
     สิ่งที่เราได้ ไม่ ใช่เพียงการดูแลการเกิด เจ็บ และตาย
     เท่านั้น แต่เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง เพราะเรา
     ได้พบปะกันบ่อยครั้ง โดยทุกวันที่ 25 ของเดือน เรา
     จะมีการประชุมคณะกรรมการและสมาชิก และจะ
     มีการรับฝากตั้งแต่ช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น. ซึ่งการ
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร         61


ที่เราได้เจอกันบ่อยๆ ได้มาร่วมแชร์ข้อมูล มาทำ
กิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดเรื่องของความเอื้ออาทร
ความรัก ความสามัคคี เช่นการจัดสวัสดิการสมทบ
คนละ 100 บาทก็ถือว่าได้ช่วยเพื่อนอีกหลายร้อยคน
เพราะคนเจ็บ เกิด ตายไม่พร้อมกัน มันเป็นเรื่องของ
การช่วยเหลือดูแลกัน เป็นการให้อย่างมีคุณค่า รับ
อย่างมีศักดิ์ศรี
	         เป้าหมายที่เราตั้งไว้ คือ อยากให้ทั้ง 18
ชุมชนมีสวัสดิการชุมชนครบหมด และชาวบ้านมี
ความคิดในเรื่องการพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในเรื่อง
สวัสดิการ โดยทีผานมานัน เราก็มการประชาสัมพันธ์
                 ่ ่       ้       ี
ให้ชาวบ้านรู้ แต่ตอนแรกเลยนั้นชาวบ้านก็ยังไม่
เข้าใจ และไม่สนใจเรื่องเงิน จนคณะกรรมการได้มา
ปรึ ก ษาหารื อ กั น ว่ า อยากจะให้ ช าวบ้ า นมาออม
เงิน มาสมทบสวัสดิการชุมชนร่วมกัน เราก็ต้องเริ่ม
จากผู้นำ ดังนั้นทุกหมู่จึงเริ่มทำสวัสดิการชุมชนโดย
มีผู้นำเป็นฐานการเริ่มต้นที่สำคัญ
	         โดยกระบวนการที่ผ่านมานั้น เราขับเคลื่อน
งานสวัสดิการชุมชนผ่านผู้นำ เราทำเรื่องข้อมูลก่อน
เพื่อที่เราจะได้เห็นแนวโน้มเรื่องสุขภาพของคนใน
ชุมชน และขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยผ่านผู้นำ ซึ่งผู้นำ
62   ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร                   63


เหล่านี้ก็คือกลุ่มผู้นำที่มีต้นทุนเรื่องการทำกองทุน
ผู้นำ สวัสดิการผู้นำอยู่แล้ว ผู้นำก็จะเอาแนวคิดไป
ขยายผล ประชาคมหมู่บ้านเพื่อดูการสนับสนุนและ
การจัดทำกฎเกณฑ์จนได้ข้อสรุป และจัดตั้งแกนนำ
ในหมู่ๆ ละ 2 คนทำหน้าที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง
สมาชิกซึ่งมีอยู่รวมแล้ว 750 คน สมทบ 100 บาทต่อ
ปี ส่ง 10 ปี คุ้มครองตลอดชีวิต มีกระบวนการทำงาน
ที่เชื่อมโยงกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยเรา
ใช้ประเด็นเรื่องสุขภาพเพื่อให้ชาวบ้านสามารถทำ
โครงการมาเสนอที่ อบต. ได้ สมมติว่าชาวบ้าน
ต้องการเครื่องออกกำลังกายก็จะจัดทำโครงการ
มา และตัวกองทุนก็ยังเชื่อมกับงานเด็ก เยาวชน
ทำงานร่วมกับ TO BE NUMBER ONE ซึ่งพอเรา
ทำเช่ น นี้ แ ล้ ว มั น ก็ ท ำให้ เ กิ ด การดู แ ลเรื่ อ งระบบ
สุขภาพอย่างครบวงจร ครอบคลุม ดังนั้นจำนวนของ
คนที่จะเจ็บป่วยก็น้อยลงตามไปด้วย ขณะเดียวกัน
เราออมเงิ น ก้ อ นนี้ ก็ ไปบริ ห ารเอาไปปล่ อ ยกู้
ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเพื่อช่วยเหลือกันในเรื่อง
อื่นๆ”
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน
‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน

More Related Content

Similar to ‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน

เปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงเปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
loveonlyone
 
ประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการ
fufee
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
FURD_RSU
 
หมู่ 6ส
หมู่ 6สหมู่ 6ส
หมู่ 6ส
bawtho
 
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
ดุซงญอ ตำบล
 
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
tie_weeraphon
 
Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2
tongsuchart
 
Newsletter pidthong vol.7
Newsletter pidthong vol.7Newsletter pidthong vol.7
Newsletter pidthong vol.7
tongsuchart
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลาง
orawan155
 

Similar to ‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน (20)

File
FileFile
File
 
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงเปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
 
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวงเปิดตำนานบ้านหนองแวง
เปิดตำนานบ้านหนองแวง
 
4
44
4
 
1
11
1
 
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ศูนย์เรียนรู้และแนวความคิดของปราชญ์ชาวบ้านในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 
ประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการประกาศคุณูปการ
ประกาศคุณูปการ
 
7
77
7
 
Bioosm
BioosmBioosm
Bioosm
 
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงินเล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
เล่ม 1 ตำนานหมู่บ้านป่าคาตำบลแม่เงิน
 
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
 
หมู่ 6ส
หมู่ 6สหมู่ 6ส
หมู่ 6ส
 
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
ข้อมูลสำคัญดุซงญอ.Pdf 1
 
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
1บุญข้าวประดับดิน บ้านหนองเต้า โดยคุณไท้.วีระพล ภูมิยิ่ง
 
5
55
5
 
Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2Newsletter pidthong vol.2
Newsletter pidthong vol.2
 
Newsletter pidthong vol.7
Newsletter pidthong vol.7Newsletter pidthong vol.7
Newsletter pidthong vol.7
 
บทที่ 1.docx
บทที่ 1.docxบทที่ 1.docx
บทที่ 1.docx
 
งานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลางงานคนไทยภาคกลาง
งานคนไทยภาคกลาง
 
ประเมินรพ.สต.ติดดาว60
ประเมินรพ.สต.ติดดาว60ประเมินรพ.สต.ติดดาว60
ประเมินรพ.สต.ติดดาว60
 

More from Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
Tum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
Tum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
Tum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
Tum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
Tum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
Tum Meng
 

More from Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 

‘มัจฉานุ' พลังท้องถิ่นบ้านควน

  • 1. สถาบันพัฒนาองคกรชุมชน (องคการมหาชน) 912 ถนนนวมินทร แขวงคลองจั่น เขตบางกะป กรุงเทพฯ 10240 โทร : 0-2378-8300 โทรสาร : 0-2378-8321
  • 2.
  • 3. ‘มัจฉาน’ุ พลังท้องถิ่นบ้านควน : ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร พิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2553 เลขมาตรฐานหนังสือ 978-616-7192-50-5 จำนวนพิมพ์ 1,500 เล่ม ผู้เขียน อินทิรา วิทยสมบูรณ์ บรรณาธิการ สลิลทิพย์ เชียงทอง อินทิรา วิทยสมบูรณ์ โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ Email: mediaforall.project@gmail.com สนับสนุนโดย สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ถนนนวมินทร์ แขวงคลองจั่น เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 โทร 02-378-8300-9 โทรสาร 02-378-8321 www.codi.or.th ปกและรูปเล่ม อินทิรา วิทยสมบูรณ์ พิมพ์ที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลเจี้ยฮั้ว โทร 02-274-8898
  • 4. คำนำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพสิ่งแวดล้อมของตำบลบ้านควนค่อยๆ เปลี่ยนไป ป่าไม้ถูกทำลาย น้ำแล้ง ไม่พอสำหรับการเกษตรซึ่งเป็น อาชีพหลักของคนบ้านควน คนวัยทำงานเจ็บป่วย เป็นสาเหตุของ คำถามมากมายที่เกิดขึ้นในชุมชน และนี่เป็นจุดเริ่มต้นให้ทุกคนตื่น ตัวลุกขึ้นมาหาคำตอบและร่วมหาทางออก เพราะสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ไปไม่ ใช่เป็นเรื่องของใครคนใดคนหนึ่งที่จะแก้ ไขได้ “ความร่วมมือ กัน” เท่านั้นจึงจะนำพาชุมชนบ้านควนรอดพ้นวิกฤติ “ผู้นำ” ที่นำด้วยพลังของจิตใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความมุ่งมั่น “ผู้นำ” ที่ ไม่ ใช่นำเดี่ยวแต่ร่วมกันเป็นทีมที่เหนียวแน่น นำตามความ สนใจ ความสามารถ มุ่งการแก้ ไขปัญหา ปรับเปลี่ยนวิถีคนบ้านควน อย่างค่อยเป็นค่อยไป เน้นการปรับเปลี่ยนทัศนคติ เมื่อทัศนคติ เปลี่ยน วิธีการก็เปลี่ยน เห็นได้ชัดในกรณีการปรับเปลี่ยนจากเกษตร สารเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ เมื่อคุณค่าของการเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคุณภาพของดิน น้ำ สุขภาพ ผลผลิต ทุกอย่างดีขึ้น ความมั่นใจของคนบ้านควนเกิดขึ้น นำไปสู่การจัดการตนเองอย่าง ค่อยเป็นค่อยไป การริเริ่มสร้างความเข้มแข็งเกิดขึ้นที่จุดเล็กๆ จากหมู่บ้าน แล้วค่อยๆ ขยายไปจนครบ 18 หมู่ของบ้านควน ฉะนั้นกล่าวได้ว่า ถ้า พูดถึงความเข้มแข็งของตำบลบ้านควนแล้ว นั่นหมายถึง พลังความ
  • 5. พร้อมเพรียงของคนทั้ง 8 มู่บ้าน ารสร้างกลไกเพื่อให้ชุมชนเกิด 1 ห ก ความร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นเรื่องสำคัญที่ “ผู้นำ” ต้องคิดค้นและต้อง ทันกับสถานการณ์ และความร่วมมือนำไปสู่ประโยชน์ที่ทุกคนใน ชุมชนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการจัดสวัสดิการชุมชน สภาองค์กรชุมชน อาสาสมัครชุดคุ้มครองหมู่บ้าน และอีกหลายเรื่องราวที่เกิดขึ้นที่ “บ้านควน” ได้ถูกบอกเล่าเรื่องราวอย่างมีพลังโดยผู้นำสำคัญผ่าน “มัจฉานุ พลังท้องถิ่นบ้านควน” ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมชน โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดคำพูด เป็นอักษร ทุกเรื่องราวถูกบอกเล่าอย่างมีพลัง และจะเป็นพลังที่ส่ง ผ่านไปยังผูทมาเรียนรูดวยใจมุงมัน ้ ี่ ้ ้ ่ ่ โครงการสือสารเพือการเรียนรู้ ่ ่ ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนให้ “มัจฉานุ พลังท้องถิ่นบ้านควน” สำเร็จลงได้ และที่สำคัญต้องขอขอบคุณ “คุณแสงนภา สุทธิภาค” ผู้ประสานงานประชาสังคมจังหวัดชุมพร ที่ ได้อนุญาตให้นำข้อมูล ตำบลบ้านควนที่ ได้เรียบเรียงไว้มาประกอบส่วนทำให้หนังสือเล่ม นี้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น โครงการสื่อสารเพื่อการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุนของ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กันยายน 2553
  • 6. สารบัญ ณ ควนแห่งนี้ : บ้านควน 11 ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามา 15 จากช่องสะท้อนถึงห้วยตาสิงห์ 23 ธนาคารต้นไม้ 32 เกษตรบ้านควน 43 โรงปุ๋ยชีวภาพ 51 ต้นทุนกองทุนผู้นำสู่การจัดสวัสดิการชุมชน 57 สัจจะออมทรัพย์และกองทุนหมู่บ้าน 67 อาสาสมัครชุดคุ้มครองตำบลบ้านควน 69 วิถีชีวิต วิถีวัฒนธรรมบ้านควน 73 กลุ่มองค์กรและสภาองค์กรชุมชน 81 ฐานพลังการขับเคลื่อนชุมชน 85 ภาคีการพัฒนา 99 บ้านควน บนทิศทางที่มุ่งไป 104 ภาคผนวก : แหล่งเรียนรู้ 108
  • 7. ผู้ถ่ายทอดความรู้ นายประเสริฐ ทองมณี นายไพบูลย์ นุ้ยพิน นายประชา ดึงสุวรรณ นายล้วน ลุยภูมิประสิทธิ์ นายครรชิต ชัยกล้า นายวินัย ชูสกุล นายภิญโญ ทองหัตถา ดต.ประเสริฐ คงท่าเรือ นายสงัด คงสุวรรณ นายอุดมศักดิ์ เพชรโสม นางแสงนภา สุทธิภาค นายทวีวัตร เครือสาย
  • 9.
  • 10. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 9 กลิ่นเขียวของต้นไม้ ใบหญ้าคละคลุ้งกระจายหลังฝน ตกหนัก ไอฝน ลมเย็นทีพดสัมผัสตัว พลอยทำให้นกถึง ่ ั ึ ที่ที่หนึ่งที่มี โอกาสไปเยี่ยมเยียนเรียนรู้มา ตำบลบ้าน ควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร หนึ่งในพื้นที่เรียนรู้ ที่น่าสนใจ ที่ซ่อนตัวอยู่หลังเงาเขา ปกคลุมด้วยต้นไม้ พืชผลน้อยใหญ่ หากพูดถึงอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ชื่อเสียงของ อำเภอหลังสวนคงเป็นที่รู้จักกันดี ในฐานะเมืองผลไม้ ที่มีผลไม้นานาชนิดอุดมสมบูรณ์ กล้วยเล็บมือนางขึ้น ชื่อ ทุเรียน มังคุดพันธุ์ดี รสอร่อยที่มีผู้คนทั้งในจังหวัด เดียวกันและต่างจังหวัดแวะเวียนเข้ามาซื้อหาผลไม้ จากหลังสวนไม่ขาดสาย
  • 11. 10 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน อำเภอหลังสวน ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วน ท้องถิน แห่ง ได้แก่ ่ 12 เทศบาลเมืองหลังสวน เทศบาล ตำบลปากน้ำหลังสวน องค์การบริหารส่วนตำบล ท่ามะพลา องค์การบริหารส่วนตำบลนาขา องค์การ บริหารส่วนตำบลนาพญา องค์การบริหารส่วนตำบล บางมะพร้าว องค์การบริหารส่วนตำบลบางน้ำจืด องค์การบริหารส่วนตำบลพ้อแดง องค์การบริหาร ส่วนตำบลแหลมทราย องค์การบริหารส่วนตำบล วังตะกอ องค์การบริหารส่วนตำบลหาดยาย และ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านควน ท้องถิ่นเข้มแข็ง อีกหนึ่งแห่งที่มีกระบวนการจัดการตนเอง ท้องถิ่น และท้องที่ทำงานร่วมกันอย่างเข้มแข็ง จากตัวอำเภอหลังสวนเดินทางไปอีกประมาณ 8 กิโล เมตร ปลายทางคือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้าน ควน ชุมชนท้องถิ่นที่ประกอบด้วยหมู่บ้านทั้งหมด 18 หมู่ ชุมชนขนาดใหญ่ที่ผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วมสำคัญ ในการกำหนดแผนพัฒนาและทิศทางในการจัดการ ท้องถิ่นตนเอง
  • 12. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 11 ณ ควนแห่งนี้ : บ้านควน ตำบลบ้านควน เป็นชุมชนชาวสวน เพราะอาชีพหลัก ของชาวชุมชนนั้นคือทำสวนผลไม้ สวนปาล์ม สวน ยางพารา และสวนมะพร้าว โดยมีอาชีพเสริม คือ เลี้ยงสัตว์และรับจ้าง ตำบลบ้านควนนั้นตั้งอยู่ทาง ทิศใต้ของอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต.หาดยาย ต.ขันเงิน  และต.ท่ามะพลา อ.หลังสวน ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ทุ่งหลวง อ.ละแม ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ ต.นาพญา ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ อ.พะโต๊ะ มีประชากรจำนวน 8,333 คน มีครัวเรือนทั้งหมด 2,697 ครัวเรือน มีพื้นที่ทั้งหมด 157.865 ตาราง กิโลเมตร หรือ 44,873 ไร่ มีจำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน คือ
  • 13. 12 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน บ้านเขาวอ หมู่ที่ 1 บ้านคลองขนาน หมู่ที่ 10 บ้านหนองสิต หมู่ที่ 2 บ้านวัดเหนือ หมู่ที่ 11 บ้านวัดใหญ่ หมู่ที่ 3 บ้านคลองกก หมู่ที่ 12 บ้านเขาชก หมู่ที่ 4 บ้านทุ่งขุนพรหม หมู่ที่ 13 บ้านช่องสะท้อน หมู่ที่ 5 บ้านควนเหนือ หมู่ที่ 14 บ้านห้วยหอย หมู่ที่ 6 บ้านห้วยนาค หมู่ที่ 15 บ้านทุ่งค้อ หมู่ที่ 7 บ้านทับวัง หมู่ที่ 16 บ้านสถานีเก่า หมู่ที่ 8 บ้านห้วยตาสิงห์ หมู่ที่ 17 บ้านทุ่งควน หมู่ที่ 9 และบ้านเขาเกรียบ หมู่ที่ 18 ตำบลบ้านควนเริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ.2459 ชื่อที่มาของบ้านควนนั้นมีข้อมูล เรื่องราวเล่าขานกัน ไปต่างๆ นานา จากคำบอกเล่าของผู้เฒ่าในท้องถิ่น เล่าว่า ตำบลบ้านควน แต่เดิมนั้นมีการตั้งชื่อตำบล ตามสภาพที่ตั้งตำบล เนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นที่สูง บางส่วนเป็นที่ควน เรียกตามภาษาพื้นบ้านภาคใต้ “ควน” หมายถึง ที่สูง เป็นลูกควน เดิมมีหย่อมบ้าน
  • 14. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 13 อยู่บนที่สูง ชาวบ้านจึงนิยมเรียกติดปากกันว่า “บ้าน ควน” และบางความเชื่อก็เล่ากันว่า ผู้ปกครองชุมชน ในสมัยก่อนนั้นเรียกกันว่า ขุนควน ชุมชนบริเวณนี้จึง เรียกกันว่าบ้านควน ที่ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็น อบต. ในปี 2539 มีหมู่บ้านจำนวน 18 หมู่บ้าน
  • 15. 14 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ประชา ดึงสุวรรณ
  • 16. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 15 ความเปลี่ยนแปลงที่คืบคลานเข้ามา อ.ประชา ดึงสุวรรณ “สภาพพื้ น ที่ ข องเรานั้ น บ้ า นควนมี พื้ น ที่ ป่า มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ จุดเริ่มต้น จริงๆ ปัญหาเกิดมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2500 มีการ สัมปทานป่าไม้ ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม้ โดนตัด โดนทำลาย จนมาปี พ.ศ.2500 พื้นที่สัมปทานที่จะ ต้ อ งมีการปลูกไม้ทดแทนนั้นก็เปลี่ ย นมาปลู ก ยาง พาราแทน ต้นยางเริ่มเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งนับเป็นจุด เปลี่ยนทางการเกษตรของคนหลังสวนเลยก็ว่าได้ เพราะตั้งแต่เริ่มปลูกยางพารา วิถีชีวิตก็เปลี่ยนไป
  • 17. 16 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน จุดเปลี่ยนที่ค่อยๆ รุกคืบเข้ามาก็คือ ก่อนนี้ หลังสวนการเดินทางก็ ไม่สะดวกสบายนัก มีรถไฟ เดินทางถึงอยู่เพียงขบวนเดียว ส่วนถนนหนทางก็ ไม่ ดี ดังนั้นสินค้าต่างๆ เราก็ ใช้การแลกเปลี่ยนกันใน ชุมชน จนกระทั่งปี พ.ศ.2517 สมัย มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช มีการตัดถนน เริ่มมีการคมนาคมเข้ามาใน พื้นที่” ล้วน ลุยภูมิประสิทธิ์ สมาชิก อบต.บ้านควน “ทีบานควน อดีตเราทำไร่นาสวนผสม สภาพ ่ ้ สวนของอำเภอหลังสวน ส่วนมากเป็นป่ามีทั้งยางนา มะพร้าว หมาก ทุเรียนพื้นบ้าน เงาะพื้นบ้าน เป็น วิถีชีวิตของคนที่นี่ แต่พอช่วงปี พ.ศ.2517 – 2518 เราก็เปลี่ยนมาปลูกเงาะบ้านนาสาร เพราะเงาะของ นาสารเขามีชื่อเสียง พอเราเอาเงาะนาสารมาปลูก เราก็ล้มต้นเงาะบ้าน ต้นมะพร้าว พอต่อมาทุเรียน พันธุ์เริ่มเป็นที่รู้จัก เราก็ล้มต้นพื้นบ้านแล้วมาปลูก ทุเรียนพันธุ์แทน และในไม่ช้าเราก็เปลี่ยนจากการทำ สวนผสมผสานมาเป็นการทำเกษตรเชิงเดี่ยว บ้าน ไหนมีพื้นที่ 10 ไร่ก็ปลูกยาง ปลูกมังคุดกันหมด”
  • 18. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 17 อ.ประชา ดึงสุวรรณ “ภาพความเปลี่ยนแปลงจริงๆ เริ่มจริงจัง อีกทีประมาณปี พ.ศ.2530 ในช่วงนันสภาพเศรษฐกิจ ้ ไม่ดี ชาวบ้านสู้กับภาวะเศรษฐกิจไม่ ไหว ทำนาไป แล้วการลงทุนก็ ไม่คุ้มค่ากับรายจ่ายที่ต้องจ่าย ไป ทำสวนมะพร้าวก็ราคาถูก ขายได้ลูกละ 50 สตางค์ บ้าง 1 บาทบ้าง ผลไม้ราคาถูก ชาวบ้านถูกเอาเปรียบ จากพ่อค้า เพราะพ่อค้าคนกลางเป็นผู้กำหนดราคา สินค้าทั้งสิ้น พอชาวบ้านต้องตั้งหน้าตั้งตาทำมาหากิน วิถีชีวิตเราก็ต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างขาย ต่างคน ต่างอยู่ เรียกได้ว่าครอบครัวส่วนใหญ่มีฐานะยากจน ชาวบ้านในระดับกลางมีน้อย คนรวยแทบไม่มี เพราะ สภาพเช่นนี้สุดท้ายเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการทำ กิน”
  • 19. 18 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ประเสริฐ ทองมณี
  • 20. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 19 ประเสริฐ ทองมณี นายก อบต.บ้านควน “แต่ช่วงปี 2540 นั้นเรียกว่าเป็นจุดเปลี่ยน สำคัญของชุมชนเลยทีเดียว เพราะตอนนันเมือสภาพ ้ ่ น้ำหาย น้ำหมดเพราะป่าไม้ถูกตัดทำลาย ตอนนั้น ชาวบ้านก็เริ่มไม่ ไหวแล้ว พอปัญหาหนักเข้าและ ทุกคนเห็นปัญหากันอยู่เลยชวนกันมาคุย โดยหยิบ ยกเอาเรื่องน้ำมาคุยกัน เพราะตอนนั้นเราจะรอให้ ใครเข้ามาช่วยก็ยาก ซึ่งปรากฏว่าพอเราชวนกันมา คุย ชาวบ้านทุกคนเห็นปัญหา เห็นความสำคัญที่ต้อง จัดการแก้ ไขเรื่องน้ำ เราเลยคิดเรื่องการดูแลรักษา ต้นน้ำ ก็เลยมองไปที่เรื่องการจัดการรักษาป่าไม้และ ต้นน้ำ โดยสาเหตุที่ทำให้น้ำแห้งน้ำหมดนั้น ต้อง บอกว่ามันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนระบบการผลิต จากการทำนามาทำสวนปาล์ม เราเห็นเลยว่าน้ำมัน แห้งไปจริงๆ แล้วพอน้ำแห้งมันก็กระทบชีวิตของคน บ้านควนมากๆ เพราะเราเป็นชุมชนเกษตร ทำสวน พอไม่มีน้ำก็ทำอะไรไม่ ได้ และจากเรื่องน้ำนี่เองก็ กลายเป็นจุดเริ่มแรกที่ทำให้ชุมชนเราที่ก่อนนี้มีเรื่อง แตกคอกันบ้าง หันมาคุยกันอย่างจริงจังเพื่อจะร่วม กันแก้ปัญหาของชุมชน”
  • 21. 20 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน อ.ประชา ดึงสุวรรณ “ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดคำถามตาม มาหลายอย่างสำหรับคนในชุมชน ที่เห็นได้ชัดคือ ปี พ.ศ.2540 น้ำมันแล้งจริงๆ และที่สำคัญคือไม่มีน้ำพอ สำหรับการทำสวน จุดตรงนีเองทำให้เราเริมสงสัยว่า ้ ่ น้ำหมดเพราะอะไร เราจึงไปสำรวจดูที่บริเวณต้นน้ำ บนภูเขาซึ่งเป็นจุดพื้นที่ป่าไม้ที่มีทรัพยากรธรรมชาติ อุดมสมบูรณ์ ปรากฎว่าเราเห็นการตัดไม้ทำลายป่า ที่เป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะน้ำแล้ง ซึ่งส่งผล กระทบต่อวงจรวิถีชีวิตของเรา” จากปัญหาน้ำแล้ง กลายเป็นมูลเหตุสำคัญที่ทำให้ ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวที่จะร่วมกันแก้ ไขปัญหา ซึ่ง ชาวบ้านค้นพบว่าเพราะการสัมปทานป่า ตัดไม้ทำให้ เกิดภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำแล้งก็ส่งผลต่อการทำ ไร่ทำสวน และเพราะการทำสวนแบบเกษตรเชิงเดี่ยว ปลูกยาง ที่มีการใช้ยาฆ่าแมลง สารเคมี ปุ๋ยเคมีต่างๆ ก็ ได้ส่งผลคุกคามทำลายธรรมชาติ เป็นอีกมูลเหตุ หนึ่งที่ทำให้น้ำลดน้อยลง
  • 22. บ้านควน หว่านในใจคน า นาชนิด ที่เพาะ เมล็ดพันธุ์ไม้น
  • 23.
  • 24. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 23 จากช่องสะท้อนถึงห้วยตาสิงห์ : “ป่าชุมชนช่องสะท้อน” ขณะที่ชุมชนบ้านควนตื่นตัวกับปัญหาเรื่องน้ำแล้ง น้ำแห้ง กระบวนการในการจัดการดูแลรักษาป่าก็ เกิดขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ชุมชนบ้านช่องสะท้อน หมู่ 5 ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่ริเริ่มอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำของผู้ ใหญ่บ้าน ไพบูลย์ นุ้ยพิน ที่ ได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านเข้ามาร่วม กันค้นหาคำตอบ โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูล ที่พบ ว่า
  • 25. 24 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน บริเวณชุมชนนันมีพนทีปาบนเขาประมาณ กว่า ้ ื้ ่ ่ 1,000 ไร่ โดยเป็นเขตป่าไข่แดงซึ่งอยู่กลางชุมชน ละมีครัว แ เรือนรายรอบป่าไข่แดงกว่า 140 ครัวเรือน ซึ่งที่ผ่าน มาชาวบ้านมีการใช้ประโยชน์จากป่าผืนนี้ โดยต้อง ขอมติจากกรรมการหมู่บ้าน แต่ที่ผ่านมานั้น มีผู้มา ขอใช้ ไม้ ในป่าชุมชนจำนวน ราย ดไม้ ไปประมาณ 50 ตั 200 ยก โดยไม่มีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นเลยแม้แต่ต้น เดียว (ช่วงปี พ.ศ.2534 - 2544) จึงเกิดแนวคิดใน การรักษาป่าไม้อย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ.2544 ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน “ที่ผ่านมาเราอยู่กับป่า มีการใช้ทรัพยากร จากป่า จนปี พ.ศ.2534 – 2544 ชุมชนที่อยู่ติดเขา อยู่ บนเขา ชาวบ้านเขาก็ขนไปทำไร่กาแฟ ทำสวนยางกัน ึ้ หรืออย่างหมู่ 5 เราก็มีการอนุญาตให้ ใช้ประโยชน์ จากป่ า ได้ โ ดยต้ อ งผ่ า นมติ ข องกรรมการหมู่ บ้ า น โดยชาวบ้าน วัด โรงเรียน สามารถขอไม้ ไปใช้ ประโยชน์ได้ แต่เรากลับพบว่ามีการขอใช้ ไม้จำนวน มาก แต่กลับไม่มีการปลูกทดแทน ทำให้ทรัพยากร ธรรมชาติของเราลดน้อยลง จนต้องเอาเรื่องนี้เข้า เวทีประชาคมหมู่บ้าน จนเกิดแนวคิดในการอนุรักษ์
  • 27. 26 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ป่าอย่างจริงจังขึ้นในปี พ.ศ.2544 และมีการร่วมกัน กำหนดกฎกติ ก าในการอนุ รั ก ษ์ ป่ า ชุ ม ชนขึ้ น มา และใช้ตำนานเรื่องเล่าต่างๆ เป็นกุศโลบายในการ รักษาป้องกันป่า เช่น การสร้างเหตุการณ์ ตำนาน ความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์และความดุร้ายน่า กลัว เช่น สร้างข่าวลือว่ามีงูจงอางที่ดุร้ายชุกชุม ซึ่ง ในช่วงนั้นมีงูจงอางมาตายตรงเชิงเขา 1 ตัว ทำให้ คนทั่วไปไม่กล้าขึ้นไปตัดไม้และล่าสัตว์ หรือข่าวลือ เรื่องมีหมีอยู่ ในป่า หรือมีเสือที่ถูกยิงแล้วจะมีความ ดุร้ายหลบซ่อนอยู่ ในป่า ซึ่งจากข่าวลือพวกนี้ทำให้ ชาวบ้านร่วมกันดูแลและรักษาป่ากันอย่างจริงจัง จน ส่งผลกระทบให้ป่ามีความอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่ามี จำนวนเพิ่มมากขึ้น”
  • 28. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 27 : กฎกติกาป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน 1) จะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าแม้แต่ต้นเดียว 2) ห้ามล่าสัตว์บนเขาและเขตป่าโดยเด็ดขาด 3) ให้ครอบครัวซึ่งอยู่บริเวณรอบชายเขาช่วยกัน ดูแลและปลูกต้นไม้ตรงแนวป่ากันชน 4) ให้อพยพย้ายคนซึ่งทำการเกษตรอยู่บนเขา ออกจากพื้นที่ทำกินบนเขาทั้งหมดจำนวน 10 แปลง (ซึ่งขณะนี้ยังคงมี 2 แปลง ยังมีการใช้ประโยชน์ จากการทำสวนยางโดยมีการทำสัญญาร่วมกับชุมชน ว่าจะไม่ โค่นต้นยางหลังจากสิ้นสุดการใช้ประโยชน์) 5) ให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมกันทุกเดือน เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและหาแนวทางในการพัฒนา และแก้ ไข โดยมีคณะกรรมการทั้งสิ้นจำนวน 7 คน ประกอบด้วย
  • 29. 28 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน นายไพบูลย์ นุ้ยพิน สอ.จรินทร์ กิตติดุษฎี นายกมล เพ็งทะลุง นายเติม วิเศษยิ่ง นายอรุณ ภูมิสวัสดิ์ นายองอาจ คชสีห์ นายชั้น จิตสุวรรณ 6) ส่งเสริมให้มีการปลูกป่าเพิ่มโดยเฉพาะไม้ป่า ที่รับประทานผลได้ โดยมุ่งหวังให้สัตว์ ได้กินเป็น อาหาร และเป็นที่รวมของสัตว์ป่า รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการปลูกไม้ยืนต้นประเภท ตะเคียน จำปา ยาง ไม้รักแดง เป็นต้น เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ ให้กับป่า
  • 30. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 29 : รุมรักษ์ป่า – ป่าอนุรักษ์บ้านห้วยตาสิงห์ จากการจัดการป่าชุมชนบ้านช่องสะท้อน หมู่ 5 ส่ง ผลให้ชาวบ้านเห็นถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ ดูแลป่า เพราะสภาวะน้ำแล้ง น้ำแห้งที่เคยเกิดขึ้น ทุเลาเบาลง จากป่าชุมชนช่องสะท้อนจึงขยับสู่การ อนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติป่าเขารุม ซึ่งเป็น เขตพื้นที่ป่าต้นน้ำของชุมชน โดยครอบคลุมพื้นที่หมู่ 4 หมู่ 16 และหมู่ 17 ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน และหมู่ 7 ตำบลทุ่งหลวง อำเภอละแม มีพื้นที่กว่า 10,000 ไร่ ซึ่งชาวบ้านเรียกพื้นที่ป่านี้ว่า “ป่าเขา รุม” ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ชุมชนต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ซึ่งเป็น ผลพวงมาจากการตั ด ทำลายไม้ แ ล้ ว ปลู ก ต้ น ยาง แทนที่ ไม้เดิม ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาการเลื่อนไหล ของแผ่นดิน เนื่องจากรากของต้นยางนั้นไม่สามารถ ยึดเกาะผืนดินได้ดีเมื่อเทียบกับต้นไม้พื้นถิ่นเดิม และ ปัญหาน้ำแห้งผากเนื่องจากป่าต้นน้ำถูกทำลาย
  • 31. 30 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าเขารุมจึงริเริ่ม ขึ้นตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2547 ในสมัยของอดีตผู้ ใหญ่ บ้าน อาจินต์ คงมี และทีมงาน จนกระทั่งปี พ.ศ.2457 มีการเปลี่ยนแปลงผู้ ใหญ่บ้านจากนายอาจินต์ คงมี เป็นนายสุวรรณ แก้วคง ซึ่งเดิมนั้นเป็นอดีตผู้ช่วยผู้ ใหญ่บ้านของนายอาจินต์ ผู้ ใหญ่บ้าน สุวรรณ แก้วคง ได้สานต่อและต่อยอด แนวคิดการอนุรักษ์ป่าเขารุมขึ้นอย่างจริงจัง มีการ ทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อให้ ได้มติร่วมกันของชุมชน เกิดการจัดตั้งคณะกรรมการชุดดูแลป่า จำนวน 9 คน ประกอบด้วย นายมงคล แดงนิ่ม นายอดิชาติ แดงจันโท นายอนันต์ เซ่งชู นายสุจินต์ ภิญโญยศ นายทะนงศักดิ์ เหมเดโช นายหมวย จันทร์มุ่ย นายสุวรรณ แก้วคง นายบรรเจิด จันทร์เสมา และนายบุญส่ง โดยจะมีการประชุมกันทุกวันที่ 12 ของเดือน
  • 32. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 31 : กิจกรรมเพื่อปลูกจิตสำนึกรักษ์ป่า ดังนี้ ทำการปักหมุดและติดป้ายกันแนวเขต อนุรักษ์จำนวน 150 ป้าย มีกิจกรรมปลูกป่าเพิ่มในวันสำคัญต่างๆ ประสานความร่วมมือกับโรงเรียน จัดกิจกรรมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ จัดค่ายสร้าง การเรียนรู้ ให้แก่เด็ก เยาวชน : กติกาในการอนุรักษ์ป่าเขารุม ดังนี้ มีการจัดตั้งอาสาสมัครในการเฝ้า ระวังรักษาป่าเขารุมโดยมาจากครัวเรือน รอบๆ เชิงเขาจำนวน 30 ครัวเรือน ทำข้อตกลงร่วมกันกับครอบครัวที่มีพื้นที่ เกษตรรอบๆ เชิงเขาจำนวน 20 ครัวเรือนเพื่อ ไม่ ให้ทำการบุกรุกป่าเพิ่มเติม ผู้ที่บุกรุกทำลายป่าจะถูกจับและมีบท ลงโทษอย่างจริงจัง และหากจับกุมผู้บุกรุกทำลาย ไม่ ได้ ผู้อยู่บริเวณข้างเคียงต้องเป็นผู้รับผิดชอบ การใช้สอย การขอไม้เพื่อใช้ประโยชน์ สามารถแจ้งขอได้ ในวันที่มีการประชุม และต้อง ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการทั้ง 9 คน
  • 33. 32 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ธนาคารต้นไม้ “เพาะพันธุ์กล้าไม้ หว่านสำนึกร่วมรักษ์ป่า” เมื่อกระบวนการในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เกิ ด ขึ้ น อย่ า งเป็ น รู ป ธรรมทั้ ง การจั ด การป่ า ชุ ม ชน บ้านช่องสะท้อน และป่าอนุรักษ์เขารุมบ้านห้วยตา สิงห์ ชาวบ้านต่างร่วมกันรักษาดูแล มีอาสาสมัคร ในการเฝ้าระวัง มีชาวบ้านร่วมกันเป็นหูเป็นตา และ มีกฎกติกาและมาตรการการลงโทษอย่างจริงจัง ขณะเดียวกัน เนื่องจากอาณาเขตที่กว้างใหญ่ของ ผืนป่าของชุมชน ทำให้เกิดเป็นแนวคิดในการทำแนว เขตกั้นป่าโดยการปลูกต้นไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็น ประโยชน์ ในการรักษาดูแลและได้แนวเขตกั้นแล้ว ชาวบ้านยังสามารถเก็บเกี่ยวใช้ประโยชน์จากพันธุ์ ไม้ที่ปลูกกั้นแนวอีกทางหนึ่ง ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน “การดูแลรักษาป่านั้น นอกจากการที่เรามี อาสาสมัครในการดูแลป่าแล้ว เนื่องจากเรามีพื้นที่ ป่ากว่าหมื่นไร่ เราเลยมีแนวคิดในการทำแนวเขตกั้น ป่า ซึ่งเดิมนั้นทางหน่วยราชการเสนอให้ทำกำแพง
  • 35.
  • 36. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 35 ลวดหนาม แต่สำหรับชาวบ้าน เรามองว่าลวดหนาม เป็นสิ่งแปลกปลอมจากธรรมชาติ เราจึงใช้วิธีการใช้ ต้นไม้มาทำเป็นแนวกันชน โดยทำแนวกันชนสองชั้น แนวชั้นแรกบอกเขตต่อระหว่างป่ากับชุมชน และแนว ชั้นที่สองสำหรับบอกเขตรอยต่อระหว่างตำบลโดย จะใช้ ไม้มะฮอกกานีทั้งแถว ทั้งนี้ ในการเลือกไม้ที่จะปลูกนั้น เราใช้การ ตั ด สิ น ใจร่ ว มกั น ของชาวบ้ า นโดยผ่ า นเวที แ ลก เปลียน ล่าสุดจากเวทีแลกเปลียน เราก็มองร่วมกันว่า ่ ่ จะปลูกต้นเหลียง เพราะหลังจากปลูกไปแล้ว 10 -15 ปี เราสามารถเก็บเกี่ยวใช้กินได้ส่วนไม้มะฮอกกานี นั้นเป็นไม้ โตเร็ว ปีหนึ่งๆ สูงกว่า 3 เมตร และสามารถ ใช้ประโยชน์เอามาทำไม้เฟอร์นิเจอร์ ได้ จากกระบวนการต่างๆ เหล่านี้ ก็จะไปเชื่อม กับงานของธนาคารต้นไม้ ซึ่งธนาคารต้นไม้ก็จะมี บทบาทในการตระเตรี ย มเพาะพั น ธุ์ ก ล้ า ไม้ ให้ ชุมชน”
  • 37. 36 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ภิญโญ ทองหัตถา
  • 38. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 37 ภิญโญ ทองหัตถา ประธานสภาตำบลบ้านควน “ธนาคารต้นไม้นั้นเริ่มต้นเป็นรูปธรรมเมื่อ ปี พ.ศ.2550 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมให้มีการปลูก ต้นไม้ตาม ถนนตลอดแนว โดยรัฐอุดหนุนการปลูกโดยการจัด หาพันธุ์ไม้ ต้นไม้ ให้ จากแนวคิดนีเอง คณะทำงานภาคประชาชน ้ มีการร่วมคิดร่วมคุยกันจนเกิดความคิดในการจัดตั้ง ธนาคารต้นไม้ขึ้นมา โดยเริ่มต้นจากบ้านช่องสะท้อน หมู่ 5 โดยมีการจัดเวทีประชุมปลูกไม้ ในใจคน จน เกิดกระแสตื่นตัว และมีคนสนใจเข้าร่วมจนมีสมาชิก เกิน 50 คน เกิดเป็นธนาคารต้นไม้สาขาแรก เพราะ ระเบียบเงื่อนไขของการเป็นสาขานั้นคือ มีสมาชิก 50 คน มีกรรมการสาขาละ 7 – 9 คน และมี พันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 30 ชนิดพันธุ์ เมื่อธนาคารต้นไม้เกิดขึ้น เราก็มีแนวคิดเผย แพร่ ประชาสัมพันธ์ โดยผ่านการจัดกิจกรรมปลูก ต้นไม้ ในวันสำคัญต่างๆ และที่สำคัญคือการส่งเสริม ให้ชาวบ้านร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นแนวกันเขตในพื้นที่ ของตนเองและที่สาธารณะ ซึ่งพอทำได้ 2 – 3 ปี ก็มี สมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้น เกิดการขยายสาขาจนปัจจุบัน มีสาขาธนาคารต้นไม้รวมแล้ว 6 สาขาด้วยกัน
  • 39. 38 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ขั้นตอนการดำเนินงานนั้น ทางสาขาจะมี การจัดหาพันธุ์ไม้ ให้แก่สมาชิก โดยเราจะจัดหาพันธุ์ ไม้ทกชนิดทีสมาชิกต้องการปลูก โดยสมาชิกคนหนึง ุ ่ ่ จะได้รับแจกพันธุ์ไม้ ไม่น้อยกว่า 9 ต้นสำหรับการนำ ไปปลูก ซึ่งสมาชิกเองก็จะมีส่วนร่วมในการหาไม้มา เสียบสำหรับเพาะพันธุ์ หรือหากสมาชิกมีพันธุ์ที่ทาง ธนาคารต้นไม้ ไม่มีก็สามารถเอาพันธุ์ ไม้มาแลกกัน ได้ หรือหากไม่ ใช่สมาชิกเราก็จะขายเอากำไรเพียง เล็กน้อยเท่านั้น”
  • 40. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 39 ธนาคารต้นไม้ ฐานคิดเดิมมาจากโครงการ ปลู ก ต้ น ไม้ ใช้ ห นี้ ในสมั ย รั ฐ บาลนายกรั ฐ มนตรี ทักษิณ ชินวัตร แต่เนื่องจากฐานคิดของคนภาคใต้ เองก็มีหลักคิดเรื่องการปลูกไม้ ใช้หนี้ที่เชื่อมโยงกับ เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดยมองว่าคนทุกคน สามารถปลูกต้นไม้ ได้ ไม่เฉพาะผู้ที่เป็นหนี้เท่านั้น ดังนั้นจึงเกิดการปรับสถานะของโครงการปลูกไม้ ใช้หนี้เป็นธนาคาร ซึ่งเป็นที่ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ อันเป็นการมองเรื่องคุณค่ามากกว่าเรื่องการใช้หนี้ ธนาคารต้นไม้ หลักคิดสำคัญคือ การเชื่อม โยงเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ ง แวดล้ อ มกั บ สภาวะของโลก เพราะต้นไม้สามารถลดภาวะโลก ร้อนได้ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดการปลูกต้นไม้ ใน ใจคน ให้คนรู้คุณค่าว่าต้นไม้ ให้ประโยชน์อะไรกับ ตัวเองบ้าง
  • 41. 40 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน ธนาคารต้นไม้ ดำเนินการโดยไม่เน้นการตัด แต่เน้นการปลูกเสริมบนพืนทีเดิม เน้นการผสมผสาน ้ ่ เพื่อให้เกิดมูลค่า เช่น ไม้หนึ่งต้นปลูกในระยะเวลา 1 ปี ก็มีมูลค่าไม้ระดับหนึ่ง ปลูกนาน 30 ปีมูลค่าก็ยิ่ง เพิมขึน และยิงปลูกนานเข้าก็จะไม่อาจประเมินมูลค่า ่ ้ ่ ได้ ดังนั้นพันธุ์ไม้ที่ธนาคารต้นไม้นำมาเพาะและแจก สมาชิ ก จึ ง เป็ น พั น ธุ์ ที่ ส มาชิ ก เสนอผ่ า นการทำ ประชาคม โดยเป็นพันธุ์ไม้ที่ โตเร็ว มีมูลค่าในการใช้ ประโยชน์ เช่น ขุนไม้ ไม้มะฮอกกานี เป็นต้น ธนาคารต้นไม้ ทั้ง 6 สาขา แต่ละสาขาจะ เพาะพันธุ์ไม้ที่ต่างกัน โดยเน้นพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ดังนั้น ธนาคารต้นไม้บ้านควนจึงมีพันธุ์ ไม้ที่หลากหลายที่ สอดคล้องกับภูมินิเวศพื้นถิ่น
  • 42. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 41 ภายใต้ ก ระบวนการจั ด การทรั พ ยากรธรรมชาติ ตำบลบ้านควนนี้ นอกจากจะเกิดการจัดการป่าโดย การทำป่าชุมชน ป่าอนุรักษ์ และธนาคารต้นไม้อัน เป็นกระบวนการที่เชื่อมร้อย เกี่ยวเนื่องกันแล้ว บ้าน ควนยังดำเนินการเรื่องเชื่อมโยงแก้ ไขปัญหาเรื่อง ทรั พ ยากรธรรมชาติ กั บ การจั ด การที่ ดิ น และการ จัดการน้ำอีกด้วย เกิดการจัดการเรื่องสิทธิที่ทำกิน ที่ดินสาธารณะ โดยท้องถิ่น ท้องที่ ประสานการ ทำงานร่วมกัน และได้เกิดการจัดการน้ำอย่างเป็น ระบบเพื่ อ แก้ ปั ญ หาน้ ำ โดยจั ด ทำประปาหมู่ บ้ า น สร้างฝายเก็บ และสร้างบ่อบาดาล และบ่อน้ำตื้น สำหรับชุมชน
  • 43. 42 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน กล่าวได้ว่า จากปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การ บุกรุกพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อทำการเกษตร ซึ่งเป็นส่วน หนึ่งของสาเหตุที่ทำให้ชุมชนต้องเผชิญกับสภาวะ น้ำแล้งน้ำแห้งอย่างต่อเนื่องนั้น กระบวนการการ จัดการป่าชุมชนและป่าอนุรักษ์ของชุมชน การมีกฎ กติกา มาตรการการลงโทษในการดูแลป่าการปลูก ป่าทดแทน ปลูกเสริมเพิ่มเติม เป็นแนวทางหนึ่งใน การแก้ ไขปัญหานั้น แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ ไขปัญหา น้ำแล้งได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้ เนื่องจากสาเหตุอีก อย่างที่สำคัญไม่น้อยกว่าการตัดไม้ และส่งผลให้เกิด ภาวะน้ำแล้งเช่นกันก็คือ รูปแบบการผลิตของชุมชน
  • 44. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 43 เกษตรบ้านควน : เกษตรพอเพียง การปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต การรุกคืบเข้ามาของพืช ผลการตลาด พันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแทนที่พืชท้องถิ่น พันธุ์ดั้งเดิม ส่งผลอย่างมากต่อระบบนิเวศชุมชน และส่งผลต่อชีวิตของชาวบ้านด้วย ไพบูลย์ นุ้ยพิน รองนายก อบต.บ้านควน “ช่วงปี พ.ศ.2542 ตอนนั้นเราตื่นตัวกันมาก เรื่องการเกษตร เราเริ่มมองเห็นปัญหา เช่น เราปลูก ทุเรียนพันธุ์ เราต้องใช้สารเคมีมาก ลงทุนสูง ปลูก แล้วก็ ไม่ทนอยู่ ได้ ไม่นานก็ตาย ขณะเดียวกัน คนปลูก ตัวเราเอง สุขภาพชีวิตเรามันไม่ยั่งยืนเอาเสียเลย
  • 45. 44 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
  • 46. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 45 เหมื อ นเรามองว่ า คนเฒ่ า คนแก่ ต ายจากก็ เ ป็ น ไป ตามวัย แต่เรากลับพบว่าคนรุ่นหนุ่มสาวตายมากขึ้น เพราะสาเหตุมาจากสารเคมีจากการผลิต พอเรา มามองเรื่องสุขภาพ ทำให้เราไม่อยากจะใช้สารเคมี อีก อยากจะปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงจริงๆ เริ่มจาก ยา ปุ๋ยต่างๆ ที่เราเคยต้องซื้อหา มาลองใช้ของที่เรา ทำเอง แต่มาเริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ.2549 ตอนนั้นโครงการดับบ้านดับเมืองลงมาในพื้นที่ เข้า มาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้กับคนในชุมชน แกนนำ ผู้นำชุมชนมี โอกาสไปเรียนรู้ดูงานที่ชุมชน ใกล้เคียง พอไปเรียนรู้จากที่อื่นมันก็เกิดการนำมา ประยุกต์ ปรับเปลี่ยนทำบ้างที่บ้านเรา” อ.ประชา ดึงสุวรรณ “บางทีเราก็ต้องหันมาทบทวนวิถีชีวิตเรา ก่อนนี้สักปี พ.ศ.2525 สองข้างทางยังเป็นทุ่งนา ถนน หนทางก็ลูกรังแดงธรรมดา แต่หลังจากนั้นก็เปลี่ยน ไปเริ่มมีถนนเข้ามา วิถีต่างๆ มันก็พลอยเปลี่ยนแปลง ไป เราทำเกษตร ทำสวนแต่พืชผักที่ปลูก เราสู้กับ วัชพืชไม่ ได้ เราเลยต้องใช้ยาฉีดหญ้า ยาฆ่าแมลง แต่ อยู่ๆ วันดีคืนดี คนอายุวัยทำงานเกิดล้มป่วยเจ็บตาย
  • 47. 46 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน จากเราเคยไปแต่งานศพคนอายุ 80 - 90 ปี กลายเป็น คนอายุ 40 ปีหัวใจวายตาย แต่เราก็ยังต้องทำนา แบบใช้ยา สารเคมี ปุ๋ยเคมีต่อ จนต่ อ มาก็ เ ริ่ ม มี ก ารส่ ง เสริ ม ให้ ท ำสวน ปาล์ม เพราะบอกว่าการทำนาไม่ ได้ผล ส่งเสริมให้ เปลียนจากทำนาเป็นทำปาล์ม จากสวนมะพร้าวก็มา ่ ปลูกโกโก้ ปลูกมะม่วงหิมพานต์ เราก็ต้องเปลี่ยนเป็น ไปตามกระแส จนพอเราเปลี่ยนหมดทุกอย่าง นาไม่ เหลือ ข้าวไม่มี ก็ต้องไปเอาข้าวมาจากข้างนอก ต้อง ซื้อข้าวมากิน ซึ่งข้าวที่ขายๆ กันก็มีสารกันมด กัน มอด สุดท้ายสารเคมี สารพิษทั้งนั้นที่เข้าไปอยู่ ใน ร่างกายเรา อีกปัจจัยที่ทำให้คนที่นี่เกิดการปรับเปลี่ยน เพราะเรามีการชวนคิดชวนคุย กันเสมอ มีการแลก เปลี่ยนข้ามข่ายกับที่นี่และที่อื่น มีการสืบค้นทุน ตัวเอง เห็นข้อมูลเรื่องรายรับ รายจ่าย ต้นทุน นอก จากนี้ พอมาดูด้านการผลิต เรามีสวนมังคุดซึ่งถือว่า ราชินีผลไม้ เงาะโรงเรียน ทุเรียนพันธุ์ชะนี หมอน ทอง แต่หลังสวนเรากลับไม่มีตลาดกลาง เราไม่มี การจับกลุ่มกันอย่างจังหวัดจันทบุรี หรือนาสาร แต่ หลังสวนเรามาขายกันเอง คนมาซือก็อยูภายใต้กลไก ้ ่
  • 48. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 47 ของคนนอกที่มากำหนดราคา จนทำให้เกิดกลไกของ การจับกลุ่มที่ อย่างที่หมู่ 7 เกิดการหันกลับมาทำ เกษตรพึ่งตนเอง เพราะที่ผ่านมานั้นเราถูกบีบคั้นมา นานจริงๆ ปั จ จั ย เหล่ า นี้ มั น ทำให้ เ ราเกิ ด การปรั บ เปลี่ยนจากภายใน เช่น การทำปุ๋ย การปลูกพืชเสริม และที่สำคัญฐานเดิมของบ้านควน ของหลังสวนนั้น เราทำเกษตรผสมผสานอยู่แล้ว แต่พอสวนยาง สวน ปาล์มมามันทำให้วิถีเราเปลี่ยนไป พอเราเห็นปัญหา ตรงจุดนั้น การปรับเปลี่ยนก็เกิดขึ้น เราก็กลับมาทำ เกษตรแบบผสมผสาน เรามีบ่อปลา เรามีพืชผัก สวนครัว”
  • 49. 48 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน : ต้นแบบการพึ่งพาตนเอง ครรชิต ชัยกล้า แกนนำชุมชน หมู่ 7 เกษตรพอเพียง ต้นแบบ “เราทำเกษตรแบบใช้ยา ใช้สารเคมีมานาน ปลูกแล้วขายก็ ไม่ ได้ราคาเพราะพ่อค้าคนกลางเขา ก็กำหนดราคาอีกที รายจ่ายก็เพิ่มขึ้นๆ และที่สำคัญ สุขภาพเรา มันเป็นเรื่องที่ทำให้เราต้องคิดและอยาก จะเปลี่ยนแปลง ตอนที่เราเริ่มคิดเรื่องนี้ ชาวบ้านเขาก็หาว่า เราบ้าบ้าง ไม่เชื่อบ้าง แต่เราก็ทำ เราลองเริ่มต้น ลงมือทำโดยเอาความรู้จากการที่มี โอกาสไปศึกษา ดูงานเรื่องเกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์มาลง ทำที่บ้านเรา ปลูกมังคุด มะนาว ปลูกพืชปลอดสาร ทำเตาเผาถ่าน น้ำส้มควันไม้ เลี้ยงหมูหลุม พอเรา ทำไปทำมา ก็เริ่มมีคนอื่นๆ สนใจ อยากจะมาเรียนรู้ เราก็ เ ปิ ด บ้ า นเปิ ด สวนสมรมนี้ ให้ เ ป็ น ห้ อ งเรี ย น สำหรับทุกคน
  • 51. 50 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
  • 52. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 51 เกษตรผสมผสานทีเราทำนัน ไม่ ใช่เพียงการ ่ ้ ปลูกพืชปลอดสารเท่านั้น แต่เราจัดระบบของการ พึ่งพาตนเอง พืชผล พืชผักสวนครัว หมูหลุม บ่อปลา เตาถ่าน น้ำหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งพอทำแบบนี้แล้ว มันลดรายจ่ายในการผลิตไปมากมายทีเดียว และ ผลที่มันตอบกลับตัวเราเองคือ ตัวเรามีสุขภาพที่ดี มันเห็นผลได้กับตัวเอง กับครอบครัว” โรงปุ๋ยชีวภาพ โรงปุ๋ยชีวภาพตำบลบ้านควน คือ ก้าวขยับต่อจาก ฐานแนวคิดในเรื่องการทำเกษตรพอเพียง พึ่งพา ตนเอง ฐานที่มาของโรงปุ๋ยชีวิภาพนั้น แรกเริ่มเดิม ที ในปี พ.ศ.2550 จากนโยบายของรัฐบาลในการ สนับสนุนโครงการนำร่องในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ ความยากจนอย่างรูปธรรม องค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านควน จึงสนับสนุนให้จัดทำโรงปุ๋ยอินทรีย์ ชี ว ภาพขึ้ น มาเพื่ อ ใช้ เ ป็ น โรงปุ๋ ย ชี ว ภาพแบบสาธิ ต (ศูนย์ฝึกอบรม) โดยการใช้งบประมาณจาก อบต./
  • 53. 52 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน อบจ. แต่ต่อมาพอมีการเปลี่ยนแปลงของการเมือง ท้องถิ่นส่งผลทำให้ต้องมีการยุบกิจกรรมต่างๆ ลง จนกระทั่งนายก อบต. ประเสริฐ ทองมณี เข้ามารับ ตำแหน่งนายก อบต. จึงได้ริเริ่มขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง โดยมีการตั้งคณะกรรมการจำนวน 9 คน เข้ามา รับผิดชอบดูแล และมีการเปิดรับสมาชิกโดยราคา หุ้นอยู่ที่หุ้นละ 500 บาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ ชุมชนในตำบลบ้านควนได้เข้ามาเรียนรู้ นำความรู้ ใน การทำปุ๋ยอินทรีย์ ไปปรับใช้เพื่อลดรายจ่ายในครัว เรือน และยังเป็นการเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง ศึกษา พรหมคณะ แกนนำโรงปุ๋ยชีวภาพ “เรามาทำโรงปุ๋ ย ชี ว ภาพอย่ า งจริ ง จั ง อี ก ครังเมือปี พ.ศ.2551 โดยมีสมาชิกนำร่อง 30 คน ช่วย ้ ่ กันลงหุ้น คนละ 5,000 บาท โดยมีเป้าหมายเรื่อง ลดการใช้สารเคมี เพราะจากเดิมนั้นเราใช้สารเคมี กันเป็นจำนวนมาก และอยากให้ที่นี่เป็นพื้นที่เรียนรู้ที่ ชาวบ้านในชุมชนสามารถเข้ามาเรียนรู้ ทดลองทำ และเอาไปปฏิบัติใช้ที่บ้านได้ แต่ที่ผ่านมาชาวบ้านที่ ทำปุ๋ยใช้เองนั้นก็ยังมีจำนวนไม่มากนัก แต่เราก็ ใช้วิธี
  • 55. 54 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน การปากต่อปากให้ชาวบ้านกระจายข่าวสารเรื่อง การใช้ปุ๋ยชีวภาพให้ เพราะในรายที่หันกลับมาใช้ปุ๋ย ชีวภาพใช้ ได้ครึงปี หรือ 1 ปี ดินก็จะเริมฟืนสภาพขึนมา ่ ่ ้ ้ รวมทั้ ง ใช้ ก ระบวนการพู ด คุ ย ในเวที ป ระชุ ม ต่ า งๆ เพื่อแจ้งข่าวสาร สร้างความเข้าใจ ในส่วนวัตถุดิบนั้น เราก็ ใช้กระบวนการใน ชุมชน เพราะในชุมชนเราทำเกษตร ทำสวน ก็ต้องมี วัตถุดิบเหลือใช้จากการผลิต เราก็รับซื้อ อย่างเช่น ทะลายปาล์ม ขี้วัว เป็นต้น เราก็ ใช้วัตถุดิบพวกนี้หมัก ทำปุย โดยเรารับซือปาล์มราคากิโลกรัมละ 0.70 บาท ๋ ้ ต่อครั้งก็ประมาณ 200 ตันก็คิดเป็นเงินประมาณ 14,000 บาท และขายกลับในราคากระสอบละ 100 บาท โดย 1 กระสอบมี 25 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 4 บาท โดยในราคาขายนั้น ต้นทุนเราจริงๆ ไม่เกิน 3 บาท โดยส่วนต่าง 1 บาทก็จะเป็นกำไรที่จะเอามา ทำเรื่องการปันผล โดยบางคนก็อาจเอาปันผลเป็น หุ้นแทนก็มี”
  • 56. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 55 อ.ประชา ดึงสุวรรณ “ผลลัพธ์นั้น เราเห็นผลว่า ก่อนนี้ชาวบ้านใช้ ปุ๋ยเคมีล้วนๆ แต่ตอนนี้ชาวบ้านหลายครัวเรือนก็ ใช้ ปุ๋ยชีวภาพครึ่ง ปุ๋ยเคมีอีกครึ่ง หรือบางรายจากเดิม เคมีล้วน 10 กระสอบ ตอนนี้ก็จะเหลือ 3 กระสอบ กระบวนการของเราไม่ ได้หวังว่าชาวบ้านจะต้องลด หมดทันทีทนใด แต่คอยๆ หายค่อยๆ ปรับเปลียน มอง ั ่ ่ สภาพดิน ดินที่ ใช้ปุ๋ยเคมี ดินก็จะแข็งไม่มี ไส้เดือน ชาวบ้านก็เห็นความแตกต่าง มันค่อยๆ เกิดการปรับ ทัศนคติ หรือแม้กระทั่งมันลดรายจ่ายด้วย เพราะ อย่างเพาะปลูกต้องใช้ปุ๋ยเคมี 10 กระสอบ กระสอบ ละ 1,000 บาท แล้วต้องใช้แบบนี้สี่เดือนครั้ง รายจ่าย เท่าไหร่ที่เราจะต้องเสีย แต่ปุ๋ยหมักใช้แค่ 2 กระสอบ ก็คิดเป็นรายจ่ายแค่ 200 บาทเท่านั้น กระบวนการแบบนี้ สิ่งที่เราพยายามสร้าง คือการปรับทัศนคติ ที่นอกจากเรื่องการใช้อินทรีย์ ดีกว่าเคมีแล้ว เราต้องการสร้างคุณค่าในการผลิต ด้วย เพราะจากชาวบ้านฉีดยาฆ่าหญ้า แต่พอมาใส่ ปุ๋ยอินทรีย์ ชาวบ้านก็จะตระหนักหวงดินมากขึ้น มองเรื่องคุณค่ามากกว่ามูลค่าไม่ ใช่หวังจะต้องมีผล ผลิตมาก เร่งปลูก เร่งใส่ยา เพราะตอนนี้เขาก็ปลูก
  • 57. 56 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน พืชผักสวนครัว ปลูกพันธุ์ไม้ทอยากจะปลูกทีจะสร้าง ี่ ่ คุณค่าหรือเกิดมูลค่าในระยะยาวได้อีกด้วย โดยไป เชื่อมโยงกับธนาคารต้นไม้ซึ่งกระจายอยู่ถึง 6 สาขา ในบ้านควน”
  • 58. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 57 ต้นทุนกองทุนผู้นำ สู่การจัดสวัสดิการชุมชน : สวัสดิการชีวิต สวัสดิการชุมชน ขณะที่กิจกรรมหลายสิ่งอย่างก่อ เกิ ด ขึ้ น เพื่ อ ตอบ โจทย์ปัญหาที่ชุมชนเผชิญอยู่ ทั้งการจัดการทรัพยา กรธรรมชาติ เ พื่ อ ฟื้ น ฟู ร ะบบนิ เ วศต้ น น้ ำ ซึ่ ง เป็ น ทรัพยากรฐานชีวิต การปรับตัวด้วยระบบเศรษฐกิจ พอเพียง โดยการทำเกษตรผสมผสาน สวนสมรม ลดเลิกใช้ปุ๋ยเคมีหันมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพที่ ทำให้สามารถลดรายจ่ายครัวเรือนและแก้ปัญหา เรื่องสุขภาพของชาวชุมชนได้แล้ว พึ่งตนเองได้ การ สร้างสังคมที่เชื่อมร้อยดูแลกันและทำให้เกิดการ พึ่งพาตนเองและพึ่งพากันและกันในชุมชน ก็เป็นอีก โจทย์หนึ่งในการทำงานของขบวนผู้นำตำบลบ้าน ควน โดยมี ‘สวัสดิการชุมชนบ้านควน’ เป็นอีก กลไกในการดูแลกันและกันของคนบ้านควน
  • 59. 58 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน วินัย ชูสกุล
  • 60. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 59 วินัย ชูสกุล แกนนำชุมชน ผู้รับผิดชอบงานสวัสดิการชุมชน “สวัสดิการชุมชนบ้านควน มันเกิดขึ้นมาจาก กองทุนผู้นำ สวัสดิการกำนันผู้ ใหญ่บ้าน ซึ่งนายก อบต.ประเสริฐ ทองมณี ทำเอาไว้สมัยยังเป็นกำนัน โดยแนวคิ ด สำคั ญ ของกองทุ น ผู้ น ำก็ เ พื่ อ เป็ น การ สร้างขวัญกำลังใจให้คนทำงานที่มีความเสียสละ เข้ามาอาสาทำงานให้ชุมชน โดยสวัสดิการชุมชน บ้านควนนั้น ในปี พ.ศ.2550 เราเริ่มก่อร่างเกิดเรื่อง สวัสดิการ โดยตอนนั้น เนื่องจากเรามี โอกาสไป ศึกษาดูงานที่บ้านเหมืองงาม ตำบลนาขา อำเภอ หลังสวน พอกลับมาทางนายกประเสริฐ ก็คิดเรื่อง การมีระบบสวัสดิการ จากนั้นจัดตั้งคณะกรรมการ คณะทำงานและคิดระเบียบกฎเกณฑ์ จนกระทั่งมา ปี พ.ศ.2551 เราจึงเปิดรับสมาชิก โดยค่าสมัคร 20 บาท สมทบปีละ 100 บาทต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปี แล้วจึงหยุดจ่ายเงินสมทบ รับสมาชิกตั้งแต่แรกเกิด ดังนั้นทุกคนในตำบลบ้านควนจึงเป็นสมาชิกกองทุน สวัสดิการชุมชนนี้ เพราะเรารับเฉพาะคนในตำบล เท่านั้น ปัจจุบัน เรามีเงินสมทบ 215,000 บาท โดย มีการร่วมสมทบจากชาวบ้าน คนละ 1,000 – 2,000
  • 61. 60 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน บาท เพราะพวกเขามองเห็นประโยชน์ของการมี สวัสดิการ และต่อมา อบต.บ้านควนก็สนับสนุนอีก 57,500 บาท หลังจากนั้นรัฐก็สมทบในระบบหนึ่ง ต่อหนึ่ง การดูแลนั้น ปัจจุบันเราเปิดสวัสดิการ 3 เรื่อง คือ เกิด เจ็บ และตาย โดยสวัสดิการการเกิดนั้น เมื่อเกิดเราให้ทำขวัญและต้นไม้แรกเกิด 20 ต้น เพื่อ ให้ ต้ น ไม้ เ ป็ น ดอกผลที่ จ ะเก็ บ เกี่ ย วใช้ ส อยได้ ใน อนาคต เจ็บป่วยนอนโรงพยาบาล 100 บาทต่อวัน เป็นสมาชิกปีที่หนึ่งได้สิทธินอน 1 คืน สมาชิก 2 ปีได้ 2 คืน และปีที่ 3 ก็ 3 คืน แต่หากไม่ ใช้สิทธิก็สามารถ ยกยอดมารวมกันได้ โดยมีสมาชิกใช้สวัสดิการไป แล้วทั้งหมด 18 ราย สวัสดิการเรื่องการตาย เราช่วย ทำศพ ปลอบใจ สมาชิกปีแรก 1,000 บาท สมาชิกปี ที่สอง 2,000 บาท จากกระบวนการจั ด สวั ส ดิ ก ารชุ ม ชนนั้ น สิ่งที่เราได้ ไม่ ใช่เพียงการดูแลการเกิด เจ็บ และตาย เท่านั้น แต่เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง เพราะเรา ได้พบปะกันบ่อยครั้ง โดยทุกวันที่ 25 ของเดือน เรา จะมีการประชุมคณะกรรมการและสมาชิก และจะ มีการรับฝากตั้งแต่ช่วงเวลา 10.00 – 15.00 น. ซึ่งการ
  • 62. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 61 ที่เราได้เจอกันบ่อยๆ ได้มาร่วมแชร์ข้อมูล มาทำ กิจกรรมร่วมกันทำให้เกิดเรื่องของความเอื้ออาทร ความรัก ความสามัคคี เช่นการจัดสวัสดิการสมทบ คนละ 100 บาทก็ถือว่าได้ช่วยเพื่อนอีกหลายร้อยคน เพราะคนเจ็บ เกิด ตายไม่พร้อมกัน มันเป็นเรื่องของ การช่วยเหลือดูแลกัน เป็นการให้อย่างมีคุณค่า รับ อย่างมีศักดิ์ศรี เป้าหมายที่เราตั้งไว้ คือ อยากให้ทั้ง 18 ชุมชนมีสวัสดิการชุมชนครบหมด และชาวบ้านมี ความคิดในเรื่องการพึ่งตนเองได้ โดยเฉพาะในเรื่อง สวัสดิการ โดยทีผานมานัน เราก็มการประชาสัมพันธ์ ่ ่ ้ ี ให้ชาวบ้านรู้ แต่ตอนแรกเลยนั้นชาวบ้านก็ยังไม่ เข้าใจ และไม่สนใจเรื่องเงิน จนคณะกรรมการได้มา ปรึ ก ษาหารื อ กั น ว่ า อยากจะให้ ช าวบ้ า นมาออม เงิน มาสมทบสวัสดิการชุมชนร่วมกัน เราก็ต้องเริ่ม จากผู้นำ ดังนั้นทุกหมู่จึงเริ่มทำสวัสดิการชุมชนโดย มีผู้นำเป็นฐานการเริ่มต้นที่สำคัญ โดยกระบวนการที่ผ่านมานั้น เราขับเคลื่อน งานสวัสดิการชุมชนผ่านผู้นำ เราทำเรื่องข้อมูลก่อน เพื่อที่เราจะได้เห็นแนวโน้มเรื่องสุขภาพของคนใน ชุมชน และขับเคลื่อนเรื่องนี้ โดยผ่านผู้นำ ซึ่งผู้นำ
  • 63. 62 ‘มัจฉานุ’ พลังท้องถิ่นบ้านควน
  • 64. ตำบลบ้านควน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร 63 เหล่านี้ก็คือกลุ่มผู้นำที่มีต้นทุนเรื่องการทำกองทุน ผู้นำ สวัสดิการผู้นำอยู่แล้ว ผู้นำก็จะเอาแนวคิดไป ขยายผล ประชาคมหมู่บ้านเพื่อดูการสนับสนุนและ การจัดทำกฎเกณฑ์จนได้ข้อสรุป และจัดตั้งแกนนำ ในหมู่ๆ ละ 2 คนทำหน้าที่รับผิดชอบดูแล คุ้มครอง สมาชิกซึ่งมีอยู่รวมแล้ว 750 คน สมทบ 100 บาทต่อ ปี ส่ง 10 ปี คุ้มครองตลอดชีวิต มีกระบวนการทำงาน ที่เชื่อมโยงกับกองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยเรา ใช้ประเด็นเรื่องสุขภาพเพื่อให้ชาวบ้านสามารถทำ โครงการมาเสนอที่ อบต. ได้ สมมติว่าชาวบ้าน ต้องการเครื่องออกกำลังกายก็จะจัดทำโครงการ มา และตัวกองทุนก็ยังเชื่อมกับงานเด็ก เยาวชน ทำงานร่วมกับ TO BE NUMBER ONE ซึ่งพอเรา ทำเช่ น นี้ แ ล้ ว มั น ก็ ท ำให้ เ กิ ด การดู แ ลเรื่ อ งระบบ สุขภาพอย่างครบวงจร ครอบคลุม ดังนั้นจำนวนของ คนที่จะเจ็บป่วยก็น้อยลงตามไปด้วย ขณะเดียวกัน เราออมเงิ น ก้ อ นนี้ ก็ ไปบริ ห ารเอาไปปล่ อ ยกู้ ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือนเพื่อช่วยเหลือกันในเรื่อง อื่นๆ”