SlideShare a Scribd company logo
1 of 6
Download to read offline
1
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 15 - วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559
บันทึกนอกห้องเรียน ตอน การศึกษาเพื่อความเป็นไท ตอนที่ 1
อินทิรา วิทยสมบูรณ์
แม้ว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะระบุชัดว่า ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หากแต่เมื่อเหลียวมองไป
ดูที่ระบบการศึกษาไทย คงหนีไม่พ้นที่จะเกิดคาถามและความคลางแคลงในใจว่า การศึกษาไทยที่เป็นอยู่เช่นนี้
ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษาจริงหรือไม่
ทาไมจึงเกิดคาถามเช่นนี้เมื่อพิจารณาดูที่ระบบการศึกษาไทย เราจะพบว่า การบริหารจัดการ
การศึกษาทั้งระบบนั้นขึ้นตรงอยู่ที่ส่วนกลาง หรือกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ทั้ง
ตัวชี้วัด การประเมินผล หรือแม้กระทั่งการกาหนดเป้าหมายทางการศึกษา นี่คือระบบการศึกษาที่ผู้เรียนไม่
สามารถที่จะออกแบบวิธีการเรียนรู้ ออกแบบเป้าหมายในการศึกษาของตนเองได้เลย จึงไม่แปลกที่มักจะ
ปรากฎข่าวตามสื่อต่างๆ ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กนักเรียนตกต่า เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา
หรือเด็กนักเรียนแห่กันเรียนพิเศษจนธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นมากมาย ฯลฯ
ปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้สะท้อนชัดถึงสถานะของผู้เรียนในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี ...
สถานะของผู้เรียนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของการศึกษาเรียนรู้ของตนเอง และแน่นอนว่า รวมถึงการไม่มีสิทธิมีเสียงที่จะ
เข้ามามีส่วนร่วนในการกาหนดและออกแบบการศึกษาของสังคมไทยอีกด้วย
ท่ามกลางสภาวะไร้สิทธิ ไร้เสียง ไร้พื้นที่ในระบบการศึกษาของนักเรียนไทยเช่นนี้แน่นอนว่า มีเด็ก
เยาวชน นักเรียนไทยหลายกลุ่ม หลายเครือข่าย ในหลายพื้นที่ได้ลุกขึ้นมาแสดงตัวแสดงตน ส่งเสียงของพวก
เขาที่มีต่อการศึกษาและสังคมไทย
“กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท” คือ กลุ่มเด็กนักเรียนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันด้วยมุ่งหมายเข้ามามี
ส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา จากวันนั้นจนวันนี้เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วของกลุ่มๆ นี้
...การศึกษาเพื่อความไท คืออะไร ที่มาที่ไปอย่างไรนั้น ... เพนกวิน หรือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ เลขาธิการของ
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท จะบอกเล่าให้เราได้ฟัง
“กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2556 ช่วงนั้นสถานการณ์ความขัดแย้ง
ทางการเมืองกาลังรุนแรง ซึ่งเราในฐานะนักเรียนก็ตระหนักถึงความสาคัญของสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของนักเรียนไทยท่ามกลางความขัดแย้ง จึงเกิดการรวมตัวก่อตั้ง "กลุ่ม
การศึกษาเพื่อความเป็นไท" เพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมขับเคลื่อนการศึกษาในมิติต่างๆ โดยในตอน
นั้นมี "เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล" ดารงตาแหน่งเป็นเลขาธิการคนแรก กลุ่มมีการเคลื่อนไหวทากิจกรรมหลาย
2
อย่างโดยเน้นเรื่องการศึกษาเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องการแสดงและจุดประกายสังคมให้เห็นด้วยว่า
เด็กนักเรียนก็เข้ามามีส่วนร่วมและทากิจกรรมทางสังคมได้เช่นเดียวกัน”
และด้วยพื้นฐานความสนใจทางการเมืองของเพนกวิน ที่มีมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษานั้น
ก็กลายเป็นปัจจัยผลักดันสาคัญที่ทาให้เขาได้เข้ามามีส่วนร่วมทากิจกรรมกับกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท
และได้ดารงตาแหน่งเลขาธิการกลุ่มฯ ในเวลาต่อมา
“ส่วนตัวผมมีความสนใจในเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีพื้นฐานมาจาก
ความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ ความสนใจเรื่องเช่นนี้ก็สั่งสมมาเรื่อยๆ โดยมารู้จักกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็น
ไท ตอนเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตอนนั้นรู้จักกับกระติ๊บ (วริศา สุขกาเนิด) เพราะเรียนภาษาจีนด้วยกัน
และกระติ๊บเองก็ทางานเคลื่อนไหวอยู่ในกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท แต่ในตอนนั้นเราก็มีคาถามว่า นี่คือ
กลุ่มอะไร จะมีทาไม จนกระทั่งเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยความที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และ
อยากหาพื้นที่ที่จะสะท้อนความคิดเห็น นาเสนอบทความที่ตัวเองเขียน เลยเริ่มศึกษาหาข้อมูลว่ากลุ่ม
การศึกษาเพื่อความเป็นไท คืออะไร ทาอะไร จนกระทั่งได้ข้อมูลเจอว่าพี่ไนซ์ (ณัฐนันท์ วรินทรเวช) ซึ่งเป็น
เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท (ปีพ.ศ.2558) เลยไปหาพี่ไนซ์ที่ห้องเรียน และจากนั้นก็ช่วยเหลือ
ทางานกลุ่มมาโดยตลอด”
“เราไม่ได้พูดในนามเด็กทั้งหมด เราอยากให้ทุกคนได้ออกมาพูดเอง”
จากงานเบื้องหลังในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เวลาเพียงไม่นานนัก ด้วย
บทบาทหน้าที่และความกระตือรือร้นของเพนกวิน ทาให้เขาได้ก้าวขึ้นมาดารงตาแหน่งเลขาธิการกลุ่ม
การศึกษาเพื่อความเป็นไท คนที่ 3
“กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท มีสมาชิกประมาณ 50 – 60 คน จากทั่วประเทศ แน่นอนว่าสมาชิก
ในกลุ่มก็มีทั้งคนที่เข้ามาเพื่อร่วมทากิจกรรมเคลื่อนไหวจริงๆ และคนที่เข้ามาตามกระแส ที่ท้ายที่สุดแล้วก็ออก
จากกลุ่มไป
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เราเป็นนักกิจกรรมทางสังคม ที่ผ่านมาเราพยายามสื่อสารสร้างการ
เรียนรู้กับสังคมในประเด็นการศึกษา เช่น ทรงผมนักเรียน จริยธรรม ความเป็นพลเมือง ฯลฯ ขณะเดียวกัน เรา
ก็ต้องการเสริมแรง จุดพลังให้กับเด็กเยาวชนคนอื่นๆ ให้เห็นด้วยว่า ทุกคนลุกขึ้นมาทาอะไรเช่นนี้ได้
กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เพียงแต่ทาหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เปิดพื้นที่ให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม
เรามีหน้าเพจ facebook สื่อสารกับเพื่อนในกลุ่มสมาชิก มีกิจกรรมจัดเวที จัดประชุม
แน่นอนว่า บทบาทที่ผ่านมาของกลุ่ม ผมคิดว่า กลุ่มทาหน้าที่เสริมแรงให้กับเด็กได้ค่อนข้างดี เพราะ
อย่างน้อยก็เป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เห็น ดังนั้นในการทางานของเลขาธิการกลุ่มทุกคนที่ผ่านมารวมผมด้วย
นั้น สิ่งที่เรามักเน้นย้าเสมอคือ เราเป็นเด็กก็จริงแต่เราไม่ได้พูดในนามเด็กทั้งหมด เพราะเราไม่รู้ว่าเด็กคนอื่นๆ
3
เขาจะเห็นด้วยกับเราหรือเปล่า ดังนั้นวิธีการที่เราสนับสนุนอยากให้เกิดขึ้นก็คือ เราสนับสนุนให้ทุกคนได้
ออกมาพูดเองไม่ต้องพูดผ่านเรา กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เด็กนักเรียนจะได้มาเรียนรู้
ร่วมกัน ให้เด็กได้ส่งเสียง เพราะที่ผ่านมา เราต้องยอมรับว่า ไม่ใช่สังคมไทยไม่มีกิจกรรมให้เด็กทา แต่กิจกรรม
ที่มีนั้นอยู่ภายใต้การกาหนด การจัดการของผู้ใหญ่ เด็กไม่ได้ออกแบบด้วยตัวเขาเองเลย ทั้งๆ ที่เด็กมีสิทธิ์ มี
อานาจในการตัดสินใจที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนแล้ว แต่หมายถึงการดารงชีวิต การมี
ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้วย
ผมมองว่า เนื่องจากว่ากลุ่มเราไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนราชการ ดังนั้นเราไม่ได้คาดหวังความเป็นกรุ๊ป
แบบสมาพันธ์อย่างที่รุ่นพี่เคยทาอีกแล้ว แต่ว่าเรากาลังคาดหวังว่า เด็กนักเรียนจะกล้า จะลุกขึ้นมามีส่วนร่วม
จะคนๆ เดียวก็ทาได้ ทุกคนจึงเป็นอิสระในวิธีการ แต่ว่ายืนอยู่บนเป้าหมายที่มีร่วมกัน ดังนั้นพวกผมจึงมองว่า
ตราบที่กลุ่มเรายังสามารถสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับเยาวชนได้ กลุ่มเราก็ยังจะเติบโตต่อไป ตามทางและตาม
สไตล์ของเลขาแต่ละคน ถ้าสมัยเนติวิทย์ ก็จะเน้นเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท คือปรัชญาการศึกษาความ
เป็นไท ถ้าเป็นพี่ไนซ์ ก็จะเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของนักเรียน การเรียนการสอนของนักเรียน ถ้าเป็นสมัยผมก็
จะเน้นเรื่องการเสริมพลังใจ สร้างแรงกระตุ้นให้นักเรียนไทย
ดังนั้นอัตลักษณ์ของกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท คือ ความเป็นนักเรียนกล้า กล้าที่จะลงมือทา
อยากจะทาอะไรก็ทา ทาในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ เพราะทุกคนมีความกล้าหาญในตัว เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับไหน
ระดับกล้าที่จะเข้าไปชน ระดับกล้าที่จะแสดงออกส่งเสียงดังๆ กล้าที่จะพูด กล้าที่จะลุกขึ้นมา ซึ่งความกล้า
เช่นนี้ไม่ใช่แค่โจทย์ของกลุ่มเท่านั้น แต่เป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมด้วย”
4
สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 - วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559
บันทึกนอกห้องเรียน ตอน การศึกษาเพื่อความเป็นไท ตอนที่ 2
อินทิรา วิทยสมบูรณ์
การศึกษาไทยเป็นปัญหาที่ชุดความคิด
การที่เด็กไม่มีสิทธิ ไม่มีอานาจในการเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง เลือกการเรียนรู้ของตัวเองนั้น ไม่ใช่
แค่เรื่องโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของชุดความคิด (Mindset) ของสังคมไทย และปัญหาเช่นนี้ผูกโยงอยู่กับ
โครงสร้างทางสังคม
“ผมมองว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มการศึกษา ที่ไม่ว่าจะปฏิรูปการศึกษาสักกี่ครั้ง หากไม่เปลี่ยนตรง
นี้ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ก็คือ เรื่องชุดความคิด (Mindset) ตั้งแต่ชุดความคิดของคนเขียนหลักสูตรที่เป็น
ปัญหาใหญ่ คือ ถ้าคนเขียนไม่ได้มองว่าเด็กมีสัญชาติญาณการเรียนรู้ เขาก็ไม่เขียนหลักสูตรที่จะทาให้เด็กได้
เกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเอง เขียนหลักสูตรกี่ครั้งก็มุ่งปรับแต่เนื้อหาสาระเป็นหลัก ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วปัญหา
เรื่องการศึกษาไทยไม่ใช่แค่เรื่องเนื้อหาสาระ แต่คือวิธีคิดในโลกทัศน์ที่เรามองกันและกันต่างหาก เมื่อคนที่
เขียนหลักสูตรไม่ได้มีความเคารพต่อเด็กอย่างเท่าเทียม เขาจึงไม่เชื่อว่าเด็กสามารถที่จะปฏิบัติอะไรบางอย่าง
ได้ ก็เลยออกแบบหลักสูตรให้ไม่ได้เอื้อต่อสิ่งที่เด็กควรจะมี ควรจะเรียนรู้
ศักยภาพของครูก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง หรือช่องว่างระหว่างคนเขียนหลักสูตรกับคนเป็นครูมีมาก ทาให้
บางครั้งหลักสูตรก็ดีอยู่แล้วแต่ว่าครูไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ ดังนั้นการฝึกและพัฒนาครูต้องทาให้ครูมี
ความรู้สึก ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน
เพราะทุกวันนี้ การศึกษาตอบสนองโจทย์โรงเรียนมากกว่าตอบสนองโจทย์ของตัวเด็กเอง คาถาม
สาคัญคือ ทาไมการศึกษาถึงไม่ทาเพื่อตอบสนองผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน แต่กลับสนองโจทย์โรงเรียน โจทย์ต้น
สังกัด เช่น สพฐ หรือ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอยากได้โรงเรียนแบบนี้ อยากได้โรงเรียนดีเด่น อยากจะให้
เป็นโรงเรียนพระราชทาน ก็ทาให้เกิดการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองโจทย์เหล่านี้ แล้วเด็กนักเรียนอยู่ตรงไหน
กลายเป็นว่า เด็กอยู่ชั้นล่างสุดของอานาจต่อรองนี้ คือ แทบจะไม่มีอานาจต่อรองใดๆ เลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ
ชุดความคิดของการศึกษาไทย ทั้งๆ ที่แท้จริงนั้น ชุดความคิดสาคัญมากคือ คนทุกคนเท่าเทียมกัน คนมีสิทธิ์ที่
จะแสดงออก แสดงความคิดเห็น
ตอนนี้ การศึกษาไม่ให้เด็กพูด เพราะมองว่า เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะ ซึ่งก็หากเราเอาเรื่องวัยไปจับกับเรื่อง
วุฒิภาวะ ก็จริงที่ว่าเด็กบางคนก็ไม่มีวุฒิภาวะ แต่ก็อย่าลืมว่าผู้ใหญ่บางคนก็ไม่มี ในขณะที่เด็กบางคนเขามี
วุฒิภาวะ และผู้ใหญ่หลายๆ คนก็มีวุฒิภาวะ ดังนั้นเราควรจะดูความคิดนี้ที่ตัวคุณภาพของตัวความคิด ไม่ใช่
ไปดูที่ว่าคนที่พูดอายุเท่าไหร่”
5
การศึกษาที่มีอิสระ
โรงเรียนในฝันไม่ใช่แค่การมีสถานที่ การมีสาธารณูปโภคหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ หากแต่ คือ ระบบการ
จัดการความสัมพันธ์ตั้งแต่บุคลากรของสถานศึกษา ครู ผู้เรียน ที่มีพื้นที่ในการมีส่วนร่วมร่วมกันในโรงเรียน
“สิ่งที่ผมอยากเห็นในโรงเรียน เราคาดหวังว่าจะต้องมีโครงสร้างที่จะเป็นหลักประกันให้แก่เด็กในการมี
สิทธิ มีเสียง เช่น สภานักเรียน แต่พอย้อนมาดูสภานักเรียนในโรงเรียนไทย กลายเป็นว่า สภานักเรียนเป็นเพียง
ชุมชนหรือชุมนุมที่ให้เด็กมาทากิจกรรม ที่หลายๆ ครั้ง กิจกรรมเหล่านั้นก็มาจากคาสั่งครู ทั้งๆ ที่แท้จริงนั้น
สภานักเรียนควรทาหน้าที่ในลักษณะ Student Government พื้นที่ที่ให้เด็กมีส่วนร่วม มีตัวแทนที่มาจากการ
เลือกของนักเรียนจริงๆ ไม่ใช่กรรมการนักเรียนที่โรงเรียนคัดแต่นักเรียนที่ถูกใจเข้าไปทาหน้าที่แทนครู ซึ่ง
โครงสร้างเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแค่สภานักเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษาด้วย ที่ควรจะมาจาก
การคัดเลือกตัวแทนเข้าไปทาหน้าที่ ตอนนี้ไม่ต่างอะไรกับสภาช่วงชั้น ที่มีแต่ครูระดับผอ. เข้ามานั่งเป็นบอร์ด
บริหาร ซึ่งจริงๆ แล้วนอกจากเสียงของผู้ปกครอง หรือกรรมการสถานศึกษาแล้วนั้น แล้วเสียงของนักเรียนได้
ฟังบ้างไหม ที่แน่นอนว่า เขาไม่ฟังอยู่แล้ว เพราะว่าสังคมไทยเป็นแบบนี้ แล้วครูเล็กครูน้อย ได้ฟังครูเสียงเขา
บ้างไหม
พอพูดเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า การศึกษาไทยไม่ได้เหมาะกับปฏิรูป แต่เหมาะกับการรื้อทิ้งแล้วทาใหม่เลย
ต้องเป็นการปฏิวัติการศึกษา เพราะการศึกษาไทยที่เป็นอยูนี้เหมือง “ลู่วิ่งคอขวด” คนจานวนมากโดนคัดทิ้ง ซึ่ง
บางทีนั้น เราน่าจะกลับคอขวดให้มีทางออกที่หลากหลาย คนจะวิ่งตรงไหนก็ได้ไม่จาเป็นต้องตรงคอขวด ก็
เหมือนคนจะเรียนอะไรก็ได้ อาจจะเป็นคนที่เรียนอยู่การศึกษานอกระบบ การศึกษาทางเลือก
เด็กจะไปทางไหนก็เรื่องของเขา เปรียบเทียบก็เหมือนการวิ่งคือการศึกษา ที่ดึงทุกคนให้มาอยู่ตรงจุด
สตาร์ทเดียวกัน ดังนั้นใครจะเดินถอยหลัง ใครจะไม่เอาแล้ว ไปนั่งดื่มน้า หรือไปนอน หรือใครอยากจะวิ่งขนาด
ไหน ก็ได้แล้วแต่คุณ และในการมีสิทธิเลือกเช่นนั้น ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยเราต้องเข้าใจคาว่าชุมชนใน
บริบทที่แตกต่างหลากหลายกันไปด้วย ขุมชนในเมืองก็อย่างหนึ่ง ชุมชนในท้องถิ่นก็อย่างหนึ่ง ดังนั้นการศึกษา
ที่รวมทุกอย่างอยู่ที่ศูนย์กลางเช่นนี้ จึงจาเป็นต้องกระจายอานาจอย่างเร่งด่วน เพราะการศึกษานั้นมีความ
แตกต่างกันในแต่ละจังหวัดที่ควรจะให้แต่ละจังหวัด หรือแต่ละชุมชน แต่ละสังคมได้เลือกการตัดสินใจในสิ่งที่
เกี่ยวข้องกับตัวเอง”
เจอทั้งดอกไม้และก้อนหิน แต่สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้เพื่อเติบโต เพื่อเปลี่ยนแปลง
6
สาหรับเพนกวินแล้ว การทางานในฐานะนักกิจกรรมทางสังคม ทาให้ตัวของเขาเกิดการเปลี่ยนแปลง
อย่างยิ่ง เรียกได้ว่า เจอทั้งดอกไม้ คานิยมชมชอบ เช่นเดียวกันกับ เจอก้อนหิน การว่าร้ายต่างๆ นานา
“การที่เราทาอะไรเช่นนี้ ผมว่าเราต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเพียรอย่างมาก ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีพื้นที่ในหน้าสื่อ เช่น ครั้งให้สัมภาษณ์กับ BBC จากบทสัมภาษณ์นั้นมีทั้งคนชื่นชม
และคนด่าทอ ซึ่งเราเองก็ต้องเรียนรู้ที่จะทาความเข้าใจว่าเขาด่าทอเรื่องอะไร หากเป็นด่าทอไร้สาระทั่วไปเราก็
ต้องมีวิธีการปล่อยผ่านบ้าง ตอบกลับด้วยท่าทีสนุกสนาน ขาขันบ้าง ที่เราเองก็ต้องเลือกว่าจะจัดการอย่างไร
แต่บางครั้งก็เจอด่าทอสาดเสีย เราก็มีการไปตอบกลับบ้างแต่ด้วยท่าทีสุภาพ ที่สุดท้ายคนลักษณะนี้เขาก็จะลบ
คอมเม้นต์นั้นหนีไปเอง ดังนั้นการทางานเคลื่อนไหว งานกิจกรรมทางสังคมเช่นนี้ เราก็ต้องฝึกฝนตนเอง เรียนรู้
อย่างมาก ต้องมีจิตวิญญาณ มีมุมมองที่จะทาทุกอย่างให้เป็นเรื่องสนุก
นอกจากตัวเองแล้ว ที่บ้านก็รับรู้มาตลอดว่า ผมสนใจงานทางสังคม จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้สนับสนุนให้
เข้ามาทา เพราะอยากให้ใช้ชีวิตปกติ แต่ว่าท้ายที่สุดเขาก็รู้ว่าไม่สามารถห้ามได้ เขาก็ทาได้แค่สนับสนุน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีการเคลื่อนไหวแล้วมีพื้นที่ตามหน้าสื่อต่างๆ ก็ยิ่งถูกจับตา มีสื่อหลายสานักที่ติดต่อ
เข้ามาขอสัมภาษณ์ครอบครัว แต่ว่าเราก็ไม่ให้ ถ้ามาสัมภาษณ์ก็แค่ผมคนเดียวพอ
แน่นอนว่า การที่เราเองได้เรียนรู้ก็ส่งผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวเองอย่างมาก จากเมื่อก่อนไม่
ค่อยมั่นใจ กลัวว่าคนเขาจะมอง จะคิดกับเราอย่างไร แต่ตอนนี้ เรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เป็นความ
มั่นใจที่มาพร้อมๆ กับการปล่อยวาง เพราะคนชอบก็ชอบ คนไม่ชอบก็ไม่ชอบ เราก็ต้องรับรู้แล้วปล่อยวาง”
บทเรียนการทางานในฐานะนักกิจกรรมทางสังคมของ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ สะท้อนชัด
ถึงมุมมองความคิดความอ่านที่มีต่อชีวิต ต่อสังคม และต่อโลก บทเรียนที่สะท้อนให้เราเข้าใจได้ว่า
ยิ่งลงมือปฏิบัติยิ่งเรียนรู้ ยิ่งเรียนรู้ยิ่งเติบโตและเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดๆ ก็
ตามนั้น ล้วนมาจากการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม คนที่ไม่ได้จากัดที่วุฒิการศึกษา ไม่ได้
จากัดเพศ และแน่ชัดว่าไม่ได้จากัดวัย
เราอาจจะคุ้นชินและติดปากกับวลีที่ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า” หากแต่วันนี้ เด็ก
เยาวชน และคนรุ่นใหม่จานวนไม่น้อย พวกเขาและเธอ ได้ลุกขึ้นมาส่งเสียง แสดงตัวแสดงตน และ
เข้ามามีส่วนร่วมกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้แล้ว สิ่งที่เราต่างได้เรียนรู้จากเพนกวินใน
ครั้งนี้ ...ไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีเด็ก มีแต่ “เรา” นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่ นั่นไม่ใช่แค่เรื่องเด็ก หากแต่ล้วน
เป็ นเรื่องของเรา เพราะสังคมคือเรา ..เราคือสังคม เพราะเราคือมนุษย์ และมนุษย์ทุกคน มีสิทธิ
เสรีภาพ เท่าเทียมกัน

More Related Content

Similar to การศึกษาเพื่อความเป็นไท

บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8benty2443
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8wanneemayss
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education Weerachat Martluplao
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing schoolWC Triumph
 
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2สรสิช ขันตรีมิตร
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8kanwan0429
 
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วยภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วยJo Smartscience II
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
Study success
Study successStudy success
Study successkruthai40
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...Sawittri Phaisal
 
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55Decode Ac
 

Similar to การศึกษาเพื่อความเป็นไท (20)

บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการศึกษาและจิตวิทยาการเรียนรู้
 
บทที่1
บทที่1บทที่1
บทที่1
 
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
ปรัชญาการศึกษา Philosophy of Education
 
Thinking and doing school
Thinking and doing schoolThinking and doing school
Thinking and doing school
 
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2
จิตวิทยาการแนะแนวและการให้คำปรึกษา 2
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรมระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
ระดับครูผู้ช่วยนวัตกรรม
 
Kam1
Kam1Kam1
Kam1
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
บทที่ 8
บทที่ 8บทที่ 8
บทที่ 8
 
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วยภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย
ภารกิจการเรียนรู้ ครูผู้ช่วย
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
Study success
Study successStudy success
Study success
 
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
กิจกรรมแนะแนวที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่...
 
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
บทที่ 3 การจัดการศึกษาปฐมวัยในยุโรปและอเมริกา 55
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 
Socratic method
Socratic methodSocratic method
Socratic method
 

More from Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 

More from Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 

การศึกษาเพื่อความเป็นไท

  • 1. 1 สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 15 - วันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 2559 บันทึกนอกห้องเรียน ตอน การศึกษาเพื่อความเป็นไท ตอนที่ 1 อินทิรา วิทยสมบูรณ์ แม้ว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ จะระบุชัดว่า ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หากแต่เมื่อเหลียวมองไป ดูที่ระบบการศึกษาไทย คงหนีไม่พ้นที่จะเกิดคาถามและความคลางแคลงในใจว่า การศึกษาไทยที่เป็นอยู่เช่นนี้ ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการศึกษาจริงหรือไม่ ทาไมจึงเกิดคาถามเช่นนี้เมื่อพิจารณาดูที่ระบบการศึกษาไทย เราจะพบว่า การบริหารจัดการ การศึกษาทั้งระบบนั้นขึ้นตรงอยู่ที่ส่วนกลาง หรือกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ทั้ง ตัวชี้วัด การประเมินผล หรือแม้กระทั่งการกาหนดเป้าหมายทางการศึกษา นี่คือระบบการศึกษาที่ผู้เรียนไม่ สามารถที่จะออกแบบวิธีการเรียนรู้ ออกแบบเป้าหมายในการศึกษาของตนเองได้เลย จึงไม่แปลกที่มักจะ ปรากฎข่าวตามสื่อต่างๆ ว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กนักเรียนตกต่า เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา หรือเด็กนักเรียนแห่กันเรียนพิเศษจนธุรกิจโรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นมากมาย ฯลฯ ปรากฏการณ์ต่างๆ เหล่านี้สะท้อนชัดถึงสถานะของผู้เรียนในระบบการศึกษาไทยได้เป็นอย่างดี ... สถานะของผู้เรียนที่ไม่ได้เป็นเจ้าของการศึกษาเรียนรู้ของตนเอง และแน่นอนว่า รวมถึงการไม่มีสิทธิมีเสียงที่จะ เข้ามามีส่วนร่วนในการกาหนดและออกแบบการศึกษาของสังคมไทยอีกด้วย ท่ามกลางสภาวะไร้สิทธิ ไร้เสียง ไร้พื้นที่ในระบบการศึกษาของนักเรียนไทยเช่นนี้แน่นอนว่า มีเด็ก เยาวชน นักเรียนไทยหลายกลุ่ม หลายเครือข่าย ในหลายพื้นที่ได้ลุกขึ้นมาแสดงตัวแสดงตน ส่งเสียงของพวก เขาที่มีต่อการศึกษาและสังคมไทย “กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท” คือ กลุ่มเด็กนักเรียนไทยกลุ่มหนึ่ง ที่รวมตัวกันด้วยมุ่งหมายเข้ามามี ส่วนร่วมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา จากวันนั้นจนวันนี้เป็นเวลากว่า 2 ปีแล้วของกลุ่มๆ นี้ ...การศึกษาเพื่อความไท คืออะไร ที่มาที่ไปอย่างไรนั้น ... เพนกวิน หรือ พริษฐ์ ชิวารักษ์ เลขาธิการของ กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท จะบอกเล่าให้เราได้ฟัง “กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท ก่อตั้งขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2556 ช่วงนั้นสถานการณ์ความขัดแย้ง ทางการเมืองกาลังรุนแรง ซึ่งเราในฐานะนักเรียนก็ตระหนักถึงความสาคัญของสิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความ เป็นมนุษย์ รวมทั้งการมีส่วนร่วมของนักเรียนไทยท่ามกลางความขัดแย้ง จึงเกิดการรวมตัวก่อตั้ง "กลุ่ม การศึกษาเพื่อความเป็นไท" เพื่อจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวทางสังคมขับเคลื่อนการศึกษาในมิติต่างๆ โดยในตอน นั้นมี "เนติวิทย์ โชติภัทรไพศาล" ดารงตาแหน่งเป็นเลขาธิการคนแรก กลุ่มมีการเคลื่อนไหวทากิจกรรมหลาย
  • 2. 2 อย่างโดยเน้นเรื่องการศึกษาเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันเราก็ต้องการแสดงและจุดประกายสังคมให้เห็นด้วยว่า เด็กนักเรียนก็เข้ามามีส่วนร่วมและทากิจกรรมทางสังคมได้เช่นเดียวกัน” และด้วยพื้นฐานความสนใจทางการเมืองของเพนกวิน ที่มีมาตั้งแต่สมัยเรียนระดับชั้นประถมศึกษานั้น ก็กลายเป็นปัจจัยผลักดันสาคัญที่ทาให้เขาได้เข้ามามีส่วนร่วมทากิจกรรมกับกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท และได้ดารงตาแหน่งเลขาธิการกลุ่มฯ ในเวลาต่อมา “ส่วนตัวผมมีความสนใจในเรื่องการเมืองมาตั้งแต่เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีพื้นฐานมาจาก ความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ ความสนใจเรื่องเช่นนี้ก็สั่งสมมาเรื่อยๆ โดยมารู้จักกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็น ไท ตอนเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ตอนนั้นรู้จักกับกระติ๊บ (วริศา สุขกาเนิด) เพราะเรียนภาษาจีนด้วยกัน และกระติ๊บเองก็ทางานเคลื่อนไหวอยู่ในกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท แต่ในตอนนั้นเราก็มีคาถามว่า นี่คือ กลุ่มอะไร จะมีทาไม จนกระทั่งเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยความที่สนใจเรื่องประวัติศาสตร์ การเมือง และ อยากหาพื้นที่ที่จะสะท้อนความคิดเห็น นาเสนอบทความที่ตัวเองเขียน เลยเริ่มศึกษาหาข้อมูลว่ากลุ่ม การศึกษาเพื่อความเป็นไท คืออะไร ทาอะไร จนกระทั่งได้ข้อมูลเจอว่าพี่ไนซ์ (ณัฐนันท์ วรินทรเวช) ซึ่งเป็น เลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท (ปีพ.ศ.2558) เลยไปหาพี่ไนซ์ที่ห้องเรียน และจากนั้นก็ช่วยเหลือ ทางานกลุ่มมาโดยตลอด” “เราไม่ได้พูดในนามเด็กทั้งหมด เราอยากให้ทุกคนได้ออกมาพูดเอง” จากงานเบื้องหลังในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เวลาเพียงไม่นานนัก ด้วย บทบาทหน้าที่และความกระตือรือร้นของเพนกวิน ทาให้เขาได้ก้าวขึ้นมาดารงตาแหน่งเลขาธิการกลุ่ม การศึกษาเพื่อความเป็นไท คนที่ 3 “กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท มีสมาชิกประมาณ 50 – 60 คน จากทั่วประเทศ แน่นอนว่าสมาชิก ในกลุ่มก็มีทั้งคนที่เข้ามาเพื่อร่วมทากิจกรรมเคลื่อนไหวจริงๆ และคนที่เข้ามาตามกระแส ที่ท้ายที่สุดแล้วก็ออก จากกลุ่มไป กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เราเป็นนักกิจกรรมทางสังคม ที่ผ่านมาเราพยายามสื่อสารสร้างการ เรียนรู้กับสังคมในประเด็นการศึกษา เช่น ทรงผมนักเรียน จริยธรรม ความเป็นพลเมือง ฯลฯ ขณะเดียวกัน เรา ก็ต้องการเสริมแรง จุดพลังให้กับเด็กเยาวชนคนอื่นๆ ให้เห็นด้วยว่า ทุกคนลุกขึ้นมาทาอะไรเช่นนี้ได้ กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เพียงแต่ทาหน้าที่เป็นกระบอกเสียง เปิดพื้นที่ให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วม เรามีหน้าเพจ facebook สื่อสารกับเพื่อนในกลุ่มสมาชิก มีกิจกรรมจัดเวที จัดประชุม แน่นอนว่า บทบาทที่ผ่านมาของกลุ่ม ผมคิดว่า กลุ่มทาหน้าที่เสริมแรงให้กับเด็กได้ค่อนข้างดี เพราะ อย่างน้อยก็เป็นการเปิดพื้นที่ให้เด็กได้เห็น ดังนั้นในการทางานของเลขาธิการกลุ่มทุกคนที่ผ่านมารวมผมด้วย นั้น สิ่งที่เรามักเน้นย้าเสมอคือ เราเป็นเด็กก็จริงแต่เราไม่ได้พูดในนามเด็กทั้งหมด เพราะเราไม่รู้ว่าเด็กคนอื่นๆ
  • 3. 3 เขาจะเห็นด้วยกับเราหรือเปล่า ดังนั้นวิธีการที่เราสนับสนุนอยากให้เกิดขึ้นก็คือ เราสนับสนุนให้ทุกคนได้ ออกมาพูดเองไม่ต้องพูดผ่านเรา กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่เด็กนักเรียนจะได้มาเรียนรู้ ร่วมกัน ให้เด็กได้ส่งเสียง เพราะที่ผ่านมา เราต้องยอมรับว่า ไม่ใช่สังคมไทยไม่มีกิจกรรมให้เด็กทา แต่กิจกรรม ที่มีนั้นอยู่ภายใต้การกาหนด การจัดการของผู้ใหญ่ เด็กไม่ได้ออกแบบด้วยตัวเขาเองเลย ทั้งๆ ที่เด็กมีสิทธิ์ มี อานาจในการตัดสินใจที่จะเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง ไม่ใช่แค่เรื่องเรียนแล้ว แต่หมายถึงการดารงชีวิต การมี ส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ด้วย ผมมองว่า เนื่องจากว่ากลุ่มเราไม่ได้มีโครงสร้างเหมือนราชการ ดังนั้นเราไม่ได้คาดหวังความเป็นกรุ๊ป แบบสมาพันธ์อย่างที่รุ่นพี่เคยทาอีกแล้ว แต่ว่าเรากาลังคาดหวังว่า เด็กนักเรียนจะกล้า จะลุกขึ้นมามีส่วนร่วม จะคนๆ เดียวก็ทาได้ ทุกคนจึงเป็นอิสระในวิธีการ แต่ว่ายืนอยู่บนเป้าหมายที่มีร่วมกัน ดังนั้นพวกผมจึงมองว่า ตราบที่กลุ่มเรายังสามารถสร้างพื้นที่ทางสังคมให้กับเยาวชนได้ กลุ่มเราก็ยังจะเติบโตต่อไป ตามทางและตาม สไตล์ของเลขาแต่ละคน ถ้าสมัยเนติวิทย์ ก็จะเน้นเรื่องการศึกษาเพื่อความเป็นไท คือปรัชญาการศึกษาความ เป็นไท ถ้าเป็นพี่ไนซ์ ก็จะเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมของนักเรียน การเรียนการสอนของนักเรียน ถ้าเป็นสมัยผมก็ จะเน้นเรื่องการเสริมพลังใจ สร้างแรงกระตุ้นให้นักเรียนไทย ดังนั้นอัตลักษณ์ของกลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไท คือ ความเป็นนักเรียนกล้า กล้าที่จะลงมือทา อยากจะทาอะไรก็ทา ทาในสิ่งที่ตัวเองเชื่อ เพราะทุกคนมีความกล้าหาญในตัว เพียงแต่ว่าจะอยู่ในระดับไหน ระดับกล้าที่จะเข้าไปชน ระดับกล้าที่จะแสดงออกส่งเสียงดังๆ กล้าที่จะพูด กล้าที่จะลุกขึ้นมา ซึ่งความกล้า เช่นนี้ไม่ใช่แค่โจทย์ของกลุ่มเท่านั้น แต่เป็นโจทย์ใหญ่ของสังคมด้วย”
  • 4. 4 สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 22 - วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2559 บันทึกนอกห้องเรียน ตอน การศึกษาเพื่อความเป็นไท ตอนที่ 2 อินทิรา วิทยสมบูรณ์ การศึกษาไทยเป็นปัญหาที่ชุดความคิด การที่เด็กไม่มีสิทธิ ไม่มีอานาจในการเลือกเส้นทางชีวิตของตัวเอง เลือกการเรียนรู้ของตัวเองนั้น ไม่ใช่ แค่เรื่องโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นปัญหาของชุดความคิด (Mindset) ของสังคมไทย และปัญหาเช่นนี้ผูกโยงอยู่กับ โครงสร้างทางสังคม “ผมมองว่าปัญหาที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มการศึกษา ที่ไม่ว่าจะปฏิรูปการศึกษาสักกี่ครั้ง หากไม่เปลี่ยนตรง นี้ก็เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ก็คือ เรื่องชุดความคิด (Mindset) ตั้งแต่ชุดความคิดของคนเขียนหลักสูตรที่เป็น ปัญหาใหญ่ คือ ถ้าคนเขียนไม่ได้มองว่าเด็กมีสัญชาติญาณการเรียนรู้ เขาก็ไม่เขียนหลักสูตรที่จะทาให้เด็กได้ เกิดการเรียนรู้พัฒนาตนเอง เขียนหลักสูตรกี่ครั้งก็มุ่งปรับแต่เนื้อหาสาระเป็นหลัก ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วปัญหา เรื่องการศึกษาไทยไม่ใช่แค่เรื่องเนื้อหาสาระ แต่คือวิธีคิดในโลกทัศน์ที่เรามองกันและกันต่างหาก เมื่อคนที่ เขียนหลักสูตรไม่ได้มีความเคารพต่อเด็กอย่างเท่าเทียม เขาจึงไม่เชื่อว่าเด็กสามารถที่จะปฏิบัติอะไรบางอย่าง ได้ ก็เลยออกแบบหลักสูตรให้ไม่ได้เอื้อต่อสิ่งที่เด็กควรจะมี ควรจะเรียนรู้ ศักยภาพของครูก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง หรือช่องว่างระหว่างคนเขียนหลักสูตรกับคนเป็นครูมีมาก ทาให้ บางครั้งหลักสูตรก็ดีอยู่แล้วแต่ว่าครูไม่สามารถเข้าถึงและเข้าใจได้ ดังนั้นการฝึกและพัฒนาครูต้องทาให้ครูมี ความรู้สึก ความเข้าใจในเรื่องกระบวนการเรียนรู้ด้วยเช่นกัน เพราะทุกวันนี้ การศึกษาตอบสนองโจทย์โรงเรียนมากกว่าตอบสนองโจทย์ของตัวเด็กเอง คาถาม สาคัญคือ ทาไมการศึกษาถึงไม่ทาเพื่อตอบสนองผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน แต่กลับสนองโจทย์โรงเรียน โจทย์ต้น สังกัด เช่น สพฐ หรือ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาอยากได้โรงเรียนแบบนี้ อยากได้โรงเรียนดีเด่น อยากจะให้ เป็นโรงเรียนพระราชทาน ก็ทาให้เกิดการจัดการศึกษาเพื่อตอบสนองโจทย์เหล่านี้ แล้วเด็กนักเรียนอยู่ตรงไหน กลายเป็นว่า เด็กอยู่ชั้นล่างสุดของอานาจต่อรองนี้ คือ แทบจะไม่มีอานาจต่อรองใดๆ เลย ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะ ชุดความคิดของการศึกษาไทย ทั้งๆ ที่แท้จริงนั้น ชุดความคิดสาคัญมากคือ คนทุกคนเท่าเทียมกัน คนมีสิทธิ์ที่ จะแสดงออก แสดงความคิดเห็น ตอนนี้ การศึกษาไม่ให้เด็กพูด เพราะมองว่า เด็กยังไม่มีวุฒิภาวะ ซึ่งก็หากเราเอาเรื่องวัยไปจับกับเรื่อง วุฒิภาวะ ก็จริงที่ว่าเด็กบางคนก็ไม่มีวุฒิภาวะ แต่ก็อย่าลืมว่าผู้ใหญ่บางคนก็ไม่มี ในขณะที่เด็กบางคนเขามี วุฒิภาวะ และผู้ใหญ่หลายๆ คนก็มีวุฒิภาวะ ดังนั้นเราควรจะดูความคิดนี้ที่ตัวคุณภาพของตัวความคิด ไม่ใช่ ไปดูที่ว่าคนที่พูดอายุเท่าไหร่”
  • 5. 5 การศึกษาที่มีอิสระ โรงเรียนในฝันไม่ใช่แค่การมีสถานที่ การมีสาธารณูปโภคหรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ หากแต่ คือ ระบบการ จัดการความสัมพันธ์ตั้งแต่บุคลากรของสถานศึกษา ครู ผู้เรียน ที่มีพื้นที่ในการมีส่วนร่วมร่วมกันในโรงเรียน “สิ่งที่ผมอยากเห็นในโรงเรียน เราคาดหวังว่าจะต้องมีโครงสร้างที่จะเป็นหลักประกันให้แก่เด็กในการมี สิทธิ มีเสียง เช่น สภานักเรียน แต่พอย้อนมาดูสภานักเรียนในโรงเรียนไทย กลายเป็นว่า สภานักเรียนเป็นเพียง ชุมชนหรือชุมนุมที่ให้เด็กมาทากิจกรรม ที่หลายๆ ครั้ง กิจกรรมเหล่านั้นก็มาจากคาสั่งครู ทั้งๆ ที่แท้จริงนั้น สภานักเรียนควรทาหน้าที่ในลักษณะ Student Government พื้นที่ที่ให้เด็กมีส่วนร่วม มีตัวแทนที่มาจากการ เลือกของนักเรียนจริงๆ ไม่ใช่กรรมการนักเรียนที่โรงเรียนคัดแต่นักเรียนที่ถูกใจเข้าไปทาหน้าที่แทนครู ซึ่ง โครงสร้างเช่นนี้ไม่ใช่เพียงแค่สภานักเรียนเท่านั้น แต่รวมถึงคณะกรรมการสถานศึกษาด้วย ที่ควรจะมาจาก การคัดเลือกตัวแทนเข้าไปทาหน้าที่ ตอนนี้ไม่ต่างอะไรกับสภาช่วงชั้น ที่มีแต่ครูระดับผอ. เข้ามานั่งเป็นบอร์ด บริหาร ซึ่งจริงๆ แล้วนอกจากเสียงของผู้ปกครอง หรือกรรมการสถานศึกษาแล้วนั้น แล้วเสียงของนักเรียนได้ ฟังบ้างไหม ที่แน่นอนว่า เขาไม่ฟังอยู่แล้ว เพราะว่าสังคมไทยเป็นแบบนี้ แล้วครูเล็กครูน้อย ได้ฟังครูเสียงเขา บ้างไหม พอพูดเช่นนี้ จะเห็นได้ว่า การศึกษาไทยไม่ได้เหมาะกับปฏิรูป แต่เหมาะกับการรื้อทิ้งแล้วทาใหม่เลย ต้องเป็นการปฏิวัติการศึกษา เพราะการศึกษาไทยที่เป็นอยูนี้เหมือง “ลู่วิ่งคอขวด” คนจานวนมากโดนคัดทิ้ง ซึ่ง บางทีนั้น เราน่าจะกลับคอขวดให้มีทางออกที่หลากหลาย คนจะวิ่งตรงไหนก็ได้ไม่จาเป็นต้องตรงคอขวด ก็ เหมือนคนจะเรียนอะไรก็ได้ อาจจะเป็นคนที่เรียนอยู่การศึกษานอกระบบ การศึกษาทางเลือก เด็กจะไปทางไหนก็เรื่องของเขา เปรียบเทียบก็เหมือนการวิ่งคือการศึกษา ที่ดึงทุกคนให้มาอยู่ตรงจุด สตาร์ทเดียวกัน ดังนั้นใครจะเดินถอยหลัง ใครจะไม่เอาแล้ว ไปนั่งดื่มน้า หรือไปนอน หรือใครอยากจะวิ่งขนาด ไหน ก็ได้แล้วแต่คุณ และในการมีสิทธิเลือกเช่นนั้น ต้องให้ชุมชนมีส่วนร่วม โดยเราต้องเข้าใจคาว่าชุมชนใน บริบทที่แตกต่างหลากหลายกันไปด้วย ขุมชนในเมืองก็อย่างหนึ่ง ชุมชนในท้องถิ่นก็อย่างหนึ่ง ดังนั้นการศึกษา ที่รวมทุกอย่างอยู่ที่ศูนย์กลางเช่นนี้ จึงจาเป็นต้องกระจายอานาจอย่างเร่งด่วน เพราะการศึกษานั้นมีความ แตกต่างกันในแต่ละจังหวัดที่ควรจะให้แต่ละจังหวัด หรือแต่ละชุมชน แต่ละสังคมได้เลือกการตัดสินใจในสิ่งที่ เกี่ยวข้องกับตัวเอง” เจอทั้งดอกไม้และก้อนหิน แต่สิ่งเหล่านี้คือการเรียนรู้เพื่อเติบโต เพื่อเปลี่ยนแปลง
  • 6. 6 สาหรับเพนกวินแล้ว การทางานในฐานะนักกิจกรรมทางสังคม ทาให้ตัวของเขาเกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างยิ่ง เรียกได้ว่า เจอทั้งดอกไม้ คานิยมชมชอบ เช่นเดียวกันกับ เจอก้อนหิน การว่าร้ายต่างๆ นานา “การที่เราทาอะไรเช่นนี้ ผมว่าเราต้องมีจิตวิญญาณแห่งความเพียรอย่างมาก ไม่อย่างนั้นอยู่ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีพื้นที่ในหน้าสื่อ เช่น ครั้งให้สัมภาษณ์กับ BBC จากบทสัมภาษณ์นั้นมีทั้งคนชื่นชม และคนด่าทอ ซึ่งเราเองก็ต้องเรียนรู้ที่จะทาความเข้าใจว่าเขาด่าทอเรื่องอะไร หากเป็นด่าทอไร้สาระทั่วไปเราก็ ต้องมีวิธีการปล่อยผ่านบ้าง ตอบกลับด้วยท่าทีสนุกสนาน ขาขันบ้าง ที่เราเองก็ต้องเลือกว่าจะจัดการอย่างไร แต่บางครั้งก็เจอด่าทอสาดเสีย เราก็มีการไปตอบกลับบ้างแต่ด้วยท่าทีสุภาพ ที่สุดท้ายคนลักษณะนี้เขาก็จะลบ คอมเม้นต์นั้นหนีไปเอง ดังนั้นการทางานเคลื่อนไหว งานกิจกรรมทางสังคมเช่นนี้ เราก็ต้องฝึกฝนตนเอง เรียนรู้ อย่างมาก ต้องมีจิตวิญญาณ มีมุมมองที่จะทาทุกอย่างให้เป็นเรื่องสนุก นอกจากตัวเองแล้ว ที่บ้านก็รับรู้มาตลอดว่า ผมสนใจงานทางสังคม จริงๆ แล้วเขาก็ไม่ได้สนับสนุนให้ เข้ามาทา เพราะอยากให้ใช้ชีวิตปกติ แต่ว่าท้ายที่สุดเขาก็รู้ว่าไม่สามารถห้ามได้ เขาก็ทาได้แค่สนับสนุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเรามีการเคลื่อนไหวแล้วมีพื้นที่ตามหน้าสื่อต่างๆ ก็ยิ่งถูกจับตา มีสื่อหลายสานักที่ติดต่อ เข้ามาขอสัมภาษณ์ครอบครัว แต่ว่าเราก็ไม่ให้ ถ้ามาสัมภาษณ์ก็แค่ผมคนเดียวพอ แน่นอนว่า การที่เราเองได้เรียนรู้ก็ส่งผลทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับตัวเองอย่างมาก จากเมื่อก่อนไม่ ค่อยมั่นใจ กลัวว่าคนเขาจะมอง จะคิดกับเราอย่างไร แต่ตอนนี้ เรามีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น เป็นความ มั่นใจที่มาพร้อมๆ กับการปล่อยวาง เพราะคนชอบก็ชอบ คนไม่ชอบก็ไม่ชอบ เราก็ต้องรับรู้แล้วปล่อยวาง” บทเรียนการทางานในฐานะนักกิจกรรมทางสังคมของ เพนกวิน พริษฐ์ ชิวารักษ์ สะท้อนชัด ถึงมุมมองความคิดความอ่านที่มีต่อชีวิต ต่อสังคม และต่อโลก บทเรียนที่สะท้อนให้เราเข้าใจได้ว่า ยิ่งลงมือปฏิบัติยิ่งเรียนรู้ ยิ่งเรียนรู้ยิ่งเติบโตและเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมใดๆ ก็ ตามนั้น ล้วนมาจากการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกคนในสังคม คนที่ไม่ได้จากัดที่วุฒิการศึกษา ไม่ได้ จากัดเพศ และแน่ชัดว่าไม่ได้จากัดวัย เราอาจจะคุ้นชินและติดปากกับวลีที่ว่า “เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า” หากแต่วันนี้ เด็ก เยาวชน และคนรุ่นใหม่จานวนไม่น้อย พวกเขาและเธอ ได้ลุกขึ้นมาส่งเสียง แสดงตัวแสดงตน และ เข้ามามีส่วนร่วมกับการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมนี้แล้ว สิ่งที่เราต่างได้เรียนรู้จากเพนกวินใน ครั้งนี้ ...ไม่มีผู้ใหญ่ ไม่มีเด็ก มีแต่ “เรา” นี่ไม่ใช่แค่เรื่องของผู้ใหญ่ นั่นไม่ใช่แค่เรื่องเด็ก หากแต่ล้วน เป็ นเรื่องของเรา เพราะสังคมคือเรา ..เราคือสังคม เพราะเราคือมนุษย์ และมนุษย์ทุกคน มีสิทธิ เสรีภาพ เท่าเทียมกัน