SlideShare a Scribd company logo
1 of 121
Download to read offline
C
M
Y
CM
MY
CY
CMY
K
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
เลขมาตรฐานหนังสือ	 978-974-448-669-1
พิมพ์ครั้งที่ 1	 	 กรกฎาคม พ.ศ.2557
จำ�นวนพิมพ์	 	 1000	 เล่ม
ผู้เขียน	 	 	 อินทิรา  วิทยสมบูรณ์
กองบรรณาธิการ	 บำ�รุง	 เป็นสุข
	 	 	 มงคล	 ปัญญาประชุม
	 	 	 กัญญานันท์  ตาทิพย์
	 	 	 ปานเทวี  คมสัน
จัดทำ�โดย	 	 ศูนย์ประสานงานสำ�นักงานเครือข่าย
	 	 	 องค์กรงดเหล้า (สคล.) ภาคอีสานตอนล่าง
	 	 	 มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
	 	 	 อำ�เภอเมือง  จังหวัดสุรินทร์  32000
	 	 	 โทร : 089-9451728  / 044-513339
สนับสนุนโดย	 	 สำ�นักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.)
	 	 	 สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ออกแบบปก / รูปเล่ม	 อินทิรา	 วิทยสมบูรณ์
พิมพ์ที่	 	 	 บริษัท มาตา การพิมพ์ จํากัด
	 	 	 โทร./โทรสาร 02-923-5725 , 089-775-9892	 	
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
การรณรงค์เพื่อลด ละ เลิก การบริโภคเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับชุมชน
มุ่งเน้นให้สังคมเกิดการรับรู้ ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์  ที่รวบรวมไว้ในหนังสือ“ชุมชน   ฅน  สู้เหล้า”	
เล่มนี้   เป็นบทเรียนการจัดการตนเองเพื่อขับเคลื่อนสังคมไป
สู่ชุมชนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกระบวนการ
ที่ต่างกันออกไปของชุมชนรูปธรรม 5 ชุมชนที่มีบริบทแตก
ต่างกัน เป็นการพัฒนาและยกระดับงาน โดยยึดเอาพื้นที่
เป็นตัวตั้งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการ
จัดการปัญหาแอลกอฮอล์และบูรณาการไปสู่การป้องกัน
และไขปัญหาประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวโยงกันในพื้นที่
	 ความพยายามในการสร้างกระบวนการเรียนรู้
ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน   หน่วยงาน และภาคส่วน
ต่างๆ  ที่ถูกน�ำเสนอผ่านหนังสือเล่มนี้   ล้วนแล้วแต่เป็น
บทเรียนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติการจริงในทุกขั้นตอน           ตั้งแต่
การร่วมคิด  วิเคราะห์  ตัดสินใจ  เพื่อก�ำหนดมาตรการทาง
สังคม   น�ำสู่การปฏิบัติ   ร่วมสรุปบทเรียน   ร่วมติดตาม
ประเมินผล  และพัฒนายกระดับต่อเนื่องมาหลายปี   เนื้อหา
คำ�นำ�
ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นความรู้ที่ชุมชนร่วมกันเป็น
เจ้าของ   และเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ส�ำหรับผู้ที่สนใจหรือ
ก�ำลังคิดค้นหาแนวทางในการท�ำงาน   ที่จะสามารถน�ำไป
ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นใน
พื้นที่ของตนเองได้
	 ผู้เขียนและคณะผู้จัดท�ำ โดย   ศูนย์ประสานงานเครือ
ข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่างส�ำนักงานเครือข่าย
องค์กรงดเหล้า (สคล.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาพ (สสส.) มีความปรารถนาอย่างเต็มเปี่ยมที่จะ
ให้ผู้อ่านได้เกิดเรียนรู้ไปพร้อมๆกันขอขอบคุณต้นเรื่อง
“ประชาคมงดเหล้าจังหวัดและเจ้าของชุดบทเรียน	
ทั้ง5ชุมชน”ที่มุ่งมั่นและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม
น่าอยู่  ชุมชนจัดการเองในที่สุด
			 เชื่อมั่นและศรัทธา
ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า
				 ภาคอีสานตอนล่าง
บอกกล่าว
ก่อนเข้าเรื่อง	 [ 9 ]
แข่งเรือ
ปลอดเหล้าพิมาย  [ 14 ]
วาระสำ�เภาลูน
: ปฏิบัติการพิชิตเหล้า/
อบายมุขด้วย MOU
ภาคประชาชน	[ 32 ]
สารบัญ
ขบวนการแคนน้อยเรนเจอร์
: 4พลังชุมชนกับ
ปฏิบัติการปลอดเหล้า�
ปลอดอบายมุข [ 56 ]
ปลอดเหล้าเข้ากระดูกดำ�
นวัตกรรมคนพันธุ์เสียว
สร้างสุข  [ 76 ]
บ้านโนนมะเขือ
ชุมชนปลอดเหล้าถาวร [ 96 ]
ผู้ให้ข้อมูล  [ 110 ]
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
9
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	
	 ข้อมูลจาก whereisthailand.info สะท้อนว่าคนไทยติดอันดับ 5
ของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกไกล   มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์ เป็นรองเพียงประเทศ เกาหลี  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์ และ
ประเทศญี่ปุ่น  โดยคนไทยมีอัตราเฉลี่ยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูงถึง
7.08 ลิตร ต่อคน ต่อปี  ซึ่งนับเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงมาก
	 ขณะเดียวกันข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา  สะท้อนผลการศึกษา
วิจัยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2554   ที่ระบุว่า
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของนักดื่มทั้งในกลุ่ม
ผู้ใหญ่ทั่วไปและกลุ่มนักดื่มวัยรุ่นสูงกว่าภาคอื่นๆ เป็นรองเพียงภาคเหนือ
โดยมีอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 39.4 และ 37.2 ส�ำหรับความชุกของนักดื่ม
ประชากรผู้ใหญ่ และร้อยละ 17.7 และ 18.7 ส�ำหรับนักดื่มในกลุ่ม
ประชากรวัยรุ่น (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ,2556)  
บอกกล่าว ก่อนเข้าเรื่อง
10
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 ผลจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังคงมีจ�ำนวน
ที่สูงในพื้นที่ภาคอีสาน   ก็กลายเป็นอีกสาเหตุส�ำคัญที่น�ำไปสู่หลากหลาย
ปัญหา ที่เกิดขึ้นทั่วไปในปัจจุบันขณะ อาทิ ปัญหาเรื่องสุขภาพ การใช้
ความรุนแรง  การทะเลาะวิวาท  การข่มขืน  ปัญหาท้องแท้ง  ทิ้ง  ที่ก�ำลังเป็น
ปัญหาใหญ่ในกลุ่มวัยรุ่น  และบานปลายกลายเป็นปัญหาสังคม           นอกจากนั้น
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังคงเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการ
บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน   และยังคงเป็นอีกเหตุปัจจัยที่
บั่นทอนความเข้มแข็งของครอบครัวและเศรษฐกิจภาคครัวเรือน   เพราะ
การให้ความส�ำคัญกับการมีเหล้าในพิธีกรรมต่างๆอาจน�ำมาซึ่งหนี้สิน และ
ภาระในอนาคต ดังค�ำกล่าวที่เคยได้ยินกันทั่วไปว่า “คนตายขายคนเป็น”
	 เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยในสังคมเกิดการ
ตื่นตัวและตื่นรู้ถึงผลกระทบจากพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  ในที่นี้จะ
กล่าวถึงพื้นที่ในกลุ่ม 8 จังหวัดของภาคอีสานตอนล่าง ที่ประกอบด้วย  
นครราชสีมา  บุรีรัมย์  สุรินทร์  ศรีสะเกษ  อุบลราชธานี  อ�ำนาจเจริญ
ยโสธร  และจังหวัดร้อยเอ็ด   พวกเขาเหล่านั้นได้มีความพยายามในการ
สร้างสังคมที่น่าอยู่  สังคมแห่งความสุข  เป็นสังคมที่คนไทยมีสุขภาพที่ดี
ปลอดภัยจากพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์   ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้รวมตัวและ
เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายความร่วมมืออย่างหลวมๆ  ภายใต้นามเรียกขาน
ว่า “ประชาคมงดเหล้าจังหวัด” ซึ่งมีภารกิจส�ำคัญในการสร้างการเรียน
รู้แก่สังคมและสร้างพลังความร่วมมือมือในการจัดการกับปัญหาต่างๆใน
สังคม   โดยเฉพาะ “ปัญหาที่เกิดจากพิษภัยและผลกระทบจากเครื่อง
ดื่มแอลกอฮอล์”  ผ่านการท�ำงานหลากหลายรูปแบบทั้งด้านการผลักดัน
นโยบายและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่ในการ
บังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนถึงการลงลึกเพื่อสร้าง
การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มตั้งแต่ระดับบุคคล
ครัวเรือน  หมู่บ้าน  ต�ำบล  อ�ำเภอ  ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงเทศกาลวาระ
ส�ำคัญในหลายจังหวัดให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ปลอดภัย และเป็น
พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนทุกเพศทุกวัยได้แสดงศักยภาพที่ตนเองมีอย่าง
สร้างสรรค์
11
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 ตลอดเวลาที่ผ่านมาบนเส้นทางการท�ำงานที่ยาวนาน  ผลจากการ
ท�ำงานที่ทุ่มเทอย่างหนัก   เกาะติด   กัดไม่ปล่อย   และพัฒนารูปแบบ
การท�ำงานของตนเองเรื่อยมาของประชาคมงดเหล้าจังหวัดหลายแห่งได้
ผลิดอกออกผล  เป็นชุมชนรูปธรรม  ชุมชนที่ประเด็นการชวนผู้คนงดเหล้า
ได้กลายมาเป็นพื้นที่กลางให้คนในชุมชนได้หันหน้าเข้ามาพูดคุย คิดค้น  
ก�ำหนดมาตรการ  กติกา  รูปแบบ  และบังคับใช้โดยชุมชน  เพื่อชุมชน
เป็นช่องทางในการรวมพลังผู้คนเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่
ต้นทาง   และวงคุยเรื่องเหล้าก็ได้พัฒนากลายเป็นพื้นที่   ให้หน่วยงาน
ต่างๆทั้งในและนอกชุมชนได้พูดคุย  พัฒนาและแก้ปัญหาทั้งด้านการดูแล
คุ้มครองลูกหลานเยาวชนของตนเอง  การแก้ปัญหาความยากจน  ปัญหา
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไปจนถึงการฟื้นฟูคุณค่าวัฒนธรรม
ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่กับสังคม  และสืบสานสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน
	 ในครั้งนี้ส�ำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดยการ
สนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  ได้
ตระหนักถึงความส�ำคัญที่ว่า  การท�ำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย   “ชุมชน
ฅน สู้เหล้า” เป็นต้นทุนความรู้ที่ส�ำคัญ  เป็นของจริงที่เกิดจากการท�ำงาน
ของผู้คนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น   ซึ่งได้รับการ
อนุเคราะห์และถ่ายทอดบทเรียนการท�ำงานผ่านแกนน�ำคนส�ำคัญของ
หลายพื้นที่เพื่อรวบรวมเป็นคู่มือ ที่จะเป็นเครื่องมือให้กับคนในอีกหลาย
ชุมชนที่ก�ำลังคิด และค้นหาวิธีการต่อสู้กับปัญหาเรื่องเหล้า  ได้ปรับใช้เป็น
แนวทางในการเรียนรู้และท�ำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต
	 ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมประสบการณ์การท�ำงานรณรงค์
ป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 5 ชุมชนของภาคอีสาน
ตอนล่าง  ซึ่งล้วนพื้นที่รูปธรรมในการท�ำงานรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาจากพิษ
ภัยแอลกอฮอล์ที่ได้ผล คือ
12
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 1) เทศบาลพิมาย  อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ชุมชน
ที่มีความเป็นสังคมเมือง  การต่อสู้กับปัญหาจากพิษภัยจากเหล้าของพวก
เขาจึงไม่ง่ายเมื่อต้องสู้กับแรงเสียดทานรอบด้าน  ทั้งชาวบ้าน พ่อค้า แม่
ขาย  ในพื้นที่ซึ่งล้วนต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี  พวกเขาต้องต่อสู้
กับอ�ำนาจรัฐ   รวมถึงธุรกิจน�้ำเมาที่จับมือกับการเมืองซึ่งเป็นนายทุนที่มี
อิทธิพลในท้องถิ่น  พวกเขาจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนใน
สังคมคนพิมายมีความปลอดภัยจากน�้ำเมาได้อย่างไร...?
	 2) ต�ำบลส�ำเภาลูน  อ�ำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์  ชุมชนที่มี 10
หมู่บ้าน  แต่มีความหลากหลายของกลุ่มคน 3 วัฒนธรรมทั้ง  กูย  เขมร  
ลาว   พวกเขาได้หลอมรวมพลังเครือข่ายทางสังคมที่หลากหลายและสร้าง
มาตรการชุมชนที่เข้มแข็ง  เป็นต้นแบบที่ผู้คนต่างถิ่นแวะมาเยี่ยมยามและ
ขอเรียนรู้ในกระบวนการท�ำงานเรื่องเหล้าอยู่บ่อยครั้ง
	 3) ต�ำบลเสียว  อ�ำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ  จังหวัดศรีสะเกษ  ชุมชน
ที่ขนานนามตนเองว่า “คนพันธุ์เสียว”   พวกเขาเป็นชุมชนที่เป็นต้นแบบ
ในหลายประเด็นทั้งเรื่องการจัดการป่าชุมชน  การเมืองภาคพลเมือง  และ
เมื่อพวกเขาน�ำประเด็นเรื่องเหล้ามาเป็นประเด็นที่ขับเคลื่อนร่วมกันอย่าง
จริงจังตั้งแต่ปี2549  ความส�ำเร็จจากการท�ำงานในพื้นที่ต�ำบล  ก็เริ่มขยาย
ผลไปสู่พื้นที่ต�ำบลอื่นๆจนเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอ�ำเภอในภาพของ
“โพธิ์ศรีสุวรรณโมเดล”   และยังเป็นส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย
“บุญประเพณีปลอดเหล้าจังหวัดศรีสะเกษ”  
	 4) ต�ำบลแคนน้อย  อ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร  ที่เชื่อม
โยงประเด็นเรื่องเหล้าไปสู่การแก้ปัญหาเยาวชนผ่านกิจกรรมของชมรม
TO BE NUMBER ONE  จนได้รับรางวัลระดับประเทศหลายปีซ้อนการันตี
ผลงานที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
13
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 5) ชุมชนโนนมะเขือ ต�ำบลกาบิน  อ�ำเภอกุดข้าวปุ้น  จังหวัด	
อุบลราชธานี ชุมชนที่ถูกขนานนามว่า “หมู่บ้านปลอดเหล้าถาวร”  การ
ท�ำงานที่เชื่อมโยงพลัง  บวร  (บ้าน วัด โรงเรียน)  ได้เปลี่ยนแปลงชุมชน
แห่งนี้อย่างถาวร  และยังขยายผลไปสู่ต�ำบล  อ�ำเภอ  และจังหวัด  
	 คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดประสบการณ์  “ชุมชน ฅน	
สู้เหล้า”  เล่มนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมุมมอง  และวิธีการในการ	
สร้างสุขให้กับคนในสังคมไทยต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต  
		 “อีสานล่างปลอดเหล้า ปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยง”
	 ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่าง
แข่งเรือ – ปลอดเหล้าพิมาย
15
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 อ�ำเภอพิมาย เป็นอ�ำเภอที่มีขนาดใหญ่อ�ำเภอหนึ่ง เดิมมีชื่อเรียกว่า 
“อ�ำเภอเมืองพิมาย”  ซึ่งมีฐานะเป็นอ�ำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2443 
	 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2454 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
หรือ สมเด็จพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาสเมืองพิมาย และได้เสด็จ
พักผ่อนที่ไทรงาม คณะกรมการเมืองพิมายได้พร้อมกันรับเสด็จโดยจัด
สถานที่ประทับที่ล�ำน�้ำตลาด ซึ่งเรียกว่า “วังเก่า” และได้ปรับปรุงถนน
สายต่างๆ ในบริเวณที่ตั้งอ�ำเภอ ให้สะอาดสวยงามเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น
6 สาย และได้ตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คือ ถนนจอมสุดา
เสด็จ ถนนวนปรางค์ ถนนอนันทจินดา ถนนบูชายันต์ ถนนราชชนนี และ
ถนนจวนเก่า
	 จนกระทั่งปี พ.ศ.2457 ได้สร้างที่ว่าการอ�ำเภอพิมาย บริเวณ
ด้านตะวันออกเฉียงเหนือด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย และทางราชการ
ได้ตัดค�ำว่า “เมือง”  ออกเมื่อปี พ.ศ.2483 และให้เรียกว่า “อ�ำเภอพิมาย” 
จนถึงปัจจุบัน (ที่มา : www.amphoe.com)
	 ที่ตั้งและอาณาเขต
	 พิมายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขต
ติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
	 ทิศเหนือ          ติดต่อกับอ�ำเภอโนนแดงและ
	 	 	 อ�ำเภอประทาย
	 ทิศตะวันออก	 ติดต่อกับอ�ำเภอชุมพวง
	 ทิศใต้              ติดต่อกับอ�ำเภอห้วยแถลงและอ�ำเภอจักราช
	 ทิศตะวันตก	 ติดต่อกับอ�ำเภอโนนสูงและอ�ำเภอคง
16
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 อ�ำเภอพิมายแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12  ต�ำบล  212 หมู่
บ้าน
1. ในเมือง (NaiMueang) 7. ชีวาน (Chiwan)
2. สัมฤทธิ์ (Samrit) 8. นิคมสร้าง
ตนเอง
(Nikhom
Sang Ton-eng)
3. โบสถ์ (Bot) 9. กระชอน (Krachon)
4. กระเบื้อง
ใหญ่
(KrabueangYai) 10. ดงใหญ่ (Dong Yai)
5. ท่าหลวง (ThaLuang) 11. ธารละหลอด (Than Lalot)
6. รังกาใหญ่ (Rang KaYai) 12. หนองระเวียง (NongRawiang)
	 	 	 	 	 	      (ที่มา : วิกิพีเดีย)
	 อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา   มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน
โดยเมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตามแบบแผนคติความเชื่อขอม ผังเมือง
พิมายนั้นจึงเป็นแบบศิลปะขอมโดยมีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ส่วนชื่อ
พิมายนั้นก็น่าจะมาจากค�ำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระซึ่งหมายถึงเมืองที่ไร้
มายาใดๆ  และถือว่าเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบน
แผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคตด้านหน้าของปราสาท โดยจากหลัก
ฐานศิลาจารึกและศิลปะ บอกได้ว่า ปราสาทหินพิมายแห่งนี้น่าจะเริ่มสร้าง
ขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16
	 ความเก่าแก่และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองพิมายแห่งนี้
ท�ำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ รวมทั้งยังมีหน่วย
งานทั้งราชการและภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมกันพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่
ขณะที่ ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนนั้นเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2540
จากกระแสการจัดท�ำรัฐธรรมนูญปี 2540  ที่ท�ำให้คนพิมายจ�ำนวนไม่น้อย
โดยเฉพาะกลุ่มครูและผู้น�ำชุมชนต่างก็ตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการร่าง
17
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงได้เกิดการรวมตัว โดยมีครู  ผู้น�ำชุมชนหลายคนและ
คนที่สนใจ  ได้นัดพบกันหลายครั้งเพื่อปรึกษาหารือ เสนอเนื้อหาในร่างรัฐ
ธรรมนูญและสุดท้ายได้มีตัวแทนอ�ำเภอพิมายไปน�ำเสนอร่างรัฐธรรมใน
ระดับจังหวัด จวบจนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ได้รับการประกาศใช้
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540   จากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็มีเวทีพบปะ
พูดคุยกันเรื่องสถานการณ์สังคมในพื้นที่กันต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางในการท�ำ
กิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับชุมชน   จนเกิดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ กฎหมาย
รัฐธรรมนูญตามหมู่บ้านต่างๆ จากการท�ำกิจกรรมดังกล่าวท�ำให้ได้รับรู้
ปัญหาชุมชนยังมีอีกมากมายและได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาเยาวชนที่ถูก
กล่าวหาว่าฆ่าคนตาย  ปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน�้ำเสียในชุมชน
	 จากจุดเริ่มต้นนี้เองท�ำให้เกิดการรวมตัวและมีเวทีเรียนรู้ร่วมกัน
ของคนพิมายอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นพิมาย เพื่อขับ
เคลื่อนปัญหาการเมือง เกิดกิจกรรมธรรมชาติยาตรา เพื่อรณรงค์แก้ไข
ปัญหาเรื่องน�้ำ  เรื่องสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเกิดการรวมตัวอย่างจริงจังใน
ประเด็นเรื่องสิทธิบุคคลและสิทธิชุมชน จากเหตุการณ์เด็กในพื้นที่ถูกกล่าว
หาตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าคนตาย อันเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญหนึ่งที่ท�ำให้
คนในชุมชนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิของตัวเอง และการเรียกร้อง
นั้นก็ขยับไปสู่การรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนรวมทั้งปัญหาการเมือง 
	 ในปี พ.ศ.2543 ส�ำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) ได้เข้ามา
สนับสนุนกระบวนการท�ำงานของชุมชนเกิดกระบวนการหนุนเสริมการ
ท�ำงานระหว่างกัน เกิดเครือข่ายกว่า 8 เครือข่าย เช่น เครือข่ายภูมิปัญญา
ท้องถิ่นพิมาย เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายเรื่องอาชีพ เครือข่าย
สิ่งแวดล้อมเกิดเครือข่ายลุ่มน�้ำ  เครือข่ายวัฒนธรรม รวมทั้งต่อไปมีการจัด
ตั้งวิทยุชุมชนในอ�ำเภอพิมายโดยที่พิมายนั้นเป็นเครือข่ายแม่ และในเวลา
ต่อมา ก็ยังมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยเข้ามาหนุน ทั้งสถาบันพัฒนาองค์กร
ชุมชน (องค์การมหาชน) ชมรมรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมูลนิธิเอเชีย
18
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 จนกระทั่งปี พ.ศ.2551 มีกระบวนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน
เกิดภาพการขับเคลื่อนงานร่วมกัน   9  อ�ำเภอในจังหวัดนครราชสีมา โดยมี
สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนส�ำคัญ
	 ทั้งประวัติศาสตร์เมืองโบราณ และขบวนการเคลื่อนไหวของภาค
ประชาสังคม/ภาคประชาชน         เมืองพิมายจึงเป็นต้นทุนทางสังคมที่ส�ำคัญ
ของอ�ำเภอแห่งนี้ แต่นอกจากต้นทุนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ยังมีอีกหนึ่ง
ต้นทุนส�ำคัญที่เป็นหน้าตา/ชื่อเสียงที่ไม่ใช่แค่ของคนพิมายเท่านั้น แต่คือ
ชื่อเสียงระดับจังหวัด นั่นก็คือ “งานประเพณีแข่งเรือพิมาย”
	 การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการละเล่นในฤดูน�้ำหลากที่สร้าง
ความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน เป็นการ
สร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง
	 การแข่งเรือพิมายนั้น แต่เดิมแข่งที่ท่าน�้ำบ้านวังหิน ต่อมาย้ายมา
แข่งที่ล�ำตลาด ซึ่งอยู่ที่อ�ำเภอพิมาย โดยจัดต่อเนื่องกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน
แต่เดิมเมื่อแต่ละหมู่บ้านทราบก�ำหนดการแข่งเรือล่วงหน้าก็จะฝึกซ้อม
ฝีพาย ซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจนช�ำนาญ เมื่อใกล้ถึงวันแข่งเรือจะน�ำ
ขึ้นมาขัดท้องเรือด้วยใบตองแห้ง เสร็จแล้วทาสีและลวดลายที่เรือและใบ
พาย แล้วท�ำพิธีไหว้เซ่นแม่ย่านางเรือเสร็จแล้วลากเรือลงน�้ำฝีพายลงเรือโห่
เอาฤกษ์เอาชัย เรือแข่งของแต่ละหมู่บ้านจะมาพร้อมกันที่บริเวณสถานที่
แข่งขันเมื่อพระฉันจังหันแล้ว เมื่อได้เวลาเจ้าหน้าที่จะให้เรือแต่ละล�ำพาย
แสดงตัวตามล�ำดับ ซึ่งจะเรียกชื่อตามที่มาถึงก่อนหลังตามชื่อเรือ เช่น มุนี
จอมขวัญ เสมียนเสนาะเพราะสนั่นหมื่นสะท้านแผ่นดินไหว เป็นต้น
	 เมื่อครบจ�ำนวนแล้วจับสลากคู่แข่งกันในแต่ละประเภทโดย
ก�ำหนดที่ฝีพายเป็นเรือขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แข่งขันจนกว่าจะได้เรือที่ชนะ
เลิศของแต่ละรุ่น ซึ่งขณะแข่งขันผู้ชมการแข่งขันสองฟากฝั่งจะโห่ร้องเมื่อ
แข่งเรือพิมาย จากประเพณีวิถีชุมชน�
สู่ประเพณีพาณิชย์
19
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
เรือหมู่บ้านของตนได้รับชัยชนะเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันการแข่งขันเรือ
พิมาย ได้พัฒนาการแข่งเรือแบบพื้นบ้านมาเป็นการแข่งเรือแห่งประเทศ
ไทยและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเที่ยวพิมายที่ตั้งใน
เดือนพฤศจิกายนของทุกปี  (ที่มา : http://www.prapayneethai.com)
	 “ประเพณีการแข่งเรือแต่เดิม เกิดจากงานทอดกฐินของอ�ำเภอ
ที่ชาวบ้านจะพายเรือพากันมาทอดกฐินที่วัด หลังทอดกฐินเสร็จ พระท่าน
ก็จะให้ข้าวของปัจจัยญาติโยมกลับบ้าน เช่น ข้าวสาร กะปิ น�้ำปลาต่างๆ
ตอนพายเรือกลับก็เลยหากิจกรรมเล่นกันสนุกสนาน เลยเกิดการพายเรือ
แข่งกัน ของรางวัลก็ใช้ข้าวของที่ได้มาจากวัด
	 จนต่อมา ก็เลยกลายเป็นประเพณีกันเรื่อยมา โดยวัดแต่ละแห่ง
จะเป็นผู้ส่งเรือเข้าแข่งขัน เพราะวัดในพิมายล้วนติดกับล�ำน�้ำมูลทั้งนั้น แข่ง
เรือแต่ละครั้งก็มีเรือเข้าแข่งขันราว 30 ล�ำ พอถึงวันแข่ง แต่ละหมู่บ้านที่วัด
ส่งเรือเข้าแข่ง ก็จะพากันมาดู บางหมู่บ้านมากันเต็มรถสองแถว ใครมาเฝ้า
เรือก็จะมากันก่อน ตอนพายเรือมาก็เก็บผักริมฝั่งมาตลอดทาง
	 แต่ภาพบรรยากาศ ประเพณีวิถีชุมชนเช่นนี้ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป
โดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามา กลับมามองดูกลายเป็นแข่ง
เรือในเชิงธุรกิจ การค้าไปหมด”
	 บรรยากาศงานแข่งเรือที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะสะท้อนถึง
ความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณค่าของประเพณีแข่งเรือนี้แล้ว ยังสะท้อนให้
เห็นสถานการณ์ปัญหาที่มาพร้อมๆ กับการผันตัวเป็นงานแข่งเรือพาณิชย์
อย่างเต็มตัว และภาพปัญหาที่ปรากฏน�ำมาสู่การรวมตัว ระดมความคิด
เห็นและแนวทางการจัดการในเวลาต่อมา
	 “ภาพงานแข่งเรือช่วงปีพ.ศ.2550–2551ตอนนั้นทางท้องถิ่นเขามี
แผนที่จะท�ำโครงการแข่งเรือ โดยมีเป้าหมายเพื่อหางบประมาณมาใช้ใน
เรื่องอื่น ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านเขาก็ไม่ยอมกัน ไม่สนับสนุน ส่งผลท�ำให้เขา
เรือจบ คนไม่จบ
20
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
ไม่ให้ความร่วมมือในการส่งเรือเข้ามาร่วมแข่ง พอเรือพิมายหายไป เรือ
พาณิชย์ก็พากันเข้ามา
	 คราวนี้ เราเห็นคนพากันมาดูแข่งเรือก็พากันกินเหล้า พากันเล่น
การพนัน ที่ต้องบอกว่า ที่ผ่านมาด้วยงานแข่งเรือเป็นงานประเพณีที่สนุก
เรื่องเหล้าเรื่องยาจึงต้องมีอยู่แล้ว แต่ชาวบ้านก็จะสังสรรค์กันพอหอมปาก
หอมคอ เหล้าขาว สาโท ท�ำกันเอง แต่ช่วงปีนั้น เริ่มมีเหล้าพาณิชย์เข้า
มาแทนที่เหล้าต้มของชาวบ้าน ทั้งคนกิน/ พ่อค้าแม่ค้าเร่ขายเหล้ามีเป็น
จ�ำนวนมาก บรรยากาศงานเหมือนมาแข่งกันกินเหล้าเพื่อเอาโล่ห์ เรือแข่ง
กันจบแล้ว แต่คนกินเหล้ายังไม่จบ ยังไม่ยอมกลับ”
	 ภาพที่ปรากฏกลายเป็นโจทย์ค�ำถามส�ำคัญส�ำหรับคนพิมายนี่หรือ
คือประเพณี? นี่หรือคือวิถีความเป็นชุมชน? นี่หรือคือคุณค่าที่มีร่วมกัน?
	 และโจทย์ค�ำถามเช่นนี้ก็ท�ำให้แกนน�ำจ�ำนวนหนึ่งที่มีต้นทุน
ท�ำงานขับเคลื่อนภาคประชาสังคมมาโดยตลอด อดรนทนไม่ไหว ลุกขึ้นมา
ด�ำเนินงานปฏิบัติการเพื่อรณรงค์ลดละเลิกเหล้า โดยมีงานแข่งเรือพิมาย
เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องแก้ไขจัดการ
	 “พิมายเราขยับเรื่องเหล้าเมื่อปีพ.ศ.2551โดยร่วมกับประชาสังคม
ชุมชนคนโคราชปลอดเหล้า โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลการบังคับใช้พระ
ราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เก็บข้อมูลในกลุ่มข้าราชการ
นักเรียน ร้านค้า ประชาชนทั่วไป ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ท�ำให้เห็นปัญหาและ
จุดบกพร่องของ พ.ร.บฯ.” 
	 ต่อมาเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้เคลื่อนงานระดับภาคอีสานตอน
ล่างและเล็งเห็นความส�ำคัญที่จะผลักดันให้เกิด “ประเพณีแข่งเรือพิมาย”
ปลอดเหล้าเป็นประเด็นจังหวัด ด้วยมองเห็นสถานการณ์ปัญหาเรื่องเหล้า
ระบาดอย่างหนักในงานประเพณีแข่งเรือ
แข่งเรือ - ปลอดเหล้า
21
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 “ปีพ.ศ.2552ทางสภาพัฒนาการเมืองเข้ามาหนุนเสริมการท�ำงาน
ของเรา เกิดการท�ำแผนเพื่อดูเรื่องปัญหาของคนพิมาย เราก็ขยับงานมา
เชื่อมโยงกัน มีการจัดเวที 4 เวทีใน 15 ชุมชน มองเรื่องปัญหาว่าท�ำไม
ถึงจน เราก็มองเห็นเรื่องเหล้าว่าเป็นประเด็นส�ำคัญเพราะเหล้าท�ำให้จน
เราก็เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบและอธิบายให้ชุมชนรู้ ชาวบ้านก็เริ่มเห็นว่า
เสียค่าเหล้า ค่าหวย มากกว่าค่าข้าวสารเสียอีก และชาวบ้านก็ยังมีหนี้
ไม่มีเงินเหลือเก็บอีกด้วย ตัวเองก็จะเห็นว่าเหล้าคุกคามตัวเขา ครอบครัว
เขา และคุกคามเด็กเยาวชนด้วย
	 อย่างเยาวชนในพื้นที่ เราจะเห็นว่าเยาวชนอายุ 18 ปีติดเหล้า เรา
ก็ท�ำการสุ่มตัวอย่างแบบสอบถามจ�ำนวน50ชุดพบว่ามีเด็กติดเหล้า10คน
เราก็เริ่มเห็นอัตราส่วนที่มันชัดขึ้นเราก็เอาเด็กทั้งหมดมาเทียบ ตัวเลขเด็ก
ที่ติดมันก็เห็นเลยว่ามีจ�ำนวนมาก เราเริ่มเห็นปัญหา พอไปเก็บข้อมูลใน
ระดับครัวเรือน เราพบว่า ทุกครัวเรือนที่เก็บข้อมูลนั้นกินเหล้ากับกินน�้ำ
เหมือนๆ กัน จากกระบวนการทั้งจากประชาคมและแผนชุมชนมันเลยเป็น
เรื่องเดียวกัน บูรณาการกันท�ำให้เรามองเห็นปัญหาของเราเองชัดขึ้น
	 จากข้อมูลที่ชัดเจนเช่นนี้เมื่อถึงงานแข่งเรือพิมายปีนั้น(พ.ศ.2552)
เราจึงเริ่มปฏิบัติการอย่างเข้มข้น จริงจัง มีการเดินรณรงค์ มีการขึ้นป้าย
รณรงค์ แจกสื่อใบปลิว สติ๊กเกอร์ต่างๆ ภายในงาน แต่ระหว่างนั้น นาย
อ�ำเภอได้เรียกคณะท�ำงานทั้งหมดไปคุย ขอให้เอาป้ายลงเนื่องจากการ
ด�ำเนินงานในปีนี้ได้ด�ำเนินการไปแล้ว ดังนั้นจึงขอให้งานเดินต่อไป ส่วนปี
หน้าค่อยว่ากันใหม่ เมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้ เราเลยต้องเอาป้ายลง ปรับ
เปลี่ยนกลยุทธ์ เราเดินรณรงค์รอบสนาม และแจกแบบสอบถามเพื่อถาม
ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ผลปรากฏว่า 85% อยากให้จัดงานแข่งเรือ
ปลอดเหล้า อยากให้มีความปลอดภัย ไม่อยากเห็นคนเมา คนทะเลาะ
วิวาทภายในงาน
	 ข้อมูลที่เราเก็บได้ สะท้อนชัดว่า ความเป็นงานประเพณีกับคน
กินเหล้าไม่สอดคล้องกัน เพราะประเพณีแข่งเรือนั้นโดยพื้นฐานเป็นเรื่อง
ครอบครัว คนที่มาดูแข่งเรือล้วนเป็นคนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวที่มาดูลูก
22
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
หลานแข่งเรือ บรรยากาศของงานจึงมีครอบครัวหลากหลาย แต่เมื่อคน
เข้าร่วมงานกินเหล้า เมา ก็ทะเลาะวิวาทกัน มันก็ไม่ปลอดภัยส�ำหรับคนที่
อยากมาร่วมประเพณีจริงๆ ขณะเดียวกัน ร้านค้าที่ไม่มีใบอนุญาตก็หา
ประโยชน์ขายบุหรี่ เหล้าให้เด็กๆ โดยไม่สนใจกฎหมายใดๆ ...ข้อมูลที่เก็บ
ได้ มันสะท้อนถึงเรื่องความปลอดภัย เรื่องภาพลักษณ์ของประเพณีที่ผู้คน
อยากจะให้เกิดขึ้น
	 เราก็เลยจัดท�ำเอกสารส่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งต�ำรวจ สาธารณสุข
คณะกรรมการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีแข่ง
เรือ และหลังจากส่งข้อมูลไปแล้ว ปรากฏว่านายอ�ำเภอได้เรียกหน่วยงาน
ราชการที่เกี่ยวข้องมาประชุมอย่างเร่งด่วน
	 ขณะที่การเคลื่อนไหวด้วยข้อมูลน�ำไปสู่การตื่นตัวของหน่วย
ราชการแล้ว ทางเราเองก็ขยับต่อด้วยการเชื่อมร้อยพลังทางสังคม มีการ
นิมนต์พระจาก 5 วัดเข้ามาร่วมขบวน เพราะวัดเองก็ท�ำเรื่องวัดปลอดเหล้า
อยู่แล้ว รวมทั้งเชิญโรงเรียนในเขตเทศบาลจ�ำนวน 5 โรง เข้ามามีส่วนร่วม
ในการท�ำงานรณรงค์และการเก็บข้อมูลต่างๆ พอมาปี พ.ศ.2553 งานแข่ง
เรือพิมายก็กลายเป็นงานประเพณีปลอดเหล้าจริงๆ โดยการท�ำงานเชื่อม
ประสานความร่วมมือกับทาง อ�ำเภอและเทศบาล”
25
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
25
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 งานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า ปี พ.ศ.2553 เกิดขึ้นเห็นผลเป็น
รูปธรรม แต่ทว่าบรรยากาศและความส�ำเร็จเช่นนี้กลับไม่สามารถเกิดขึ้น
ได้ในงานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า ปี พ.ศ.2554 และน�ำไปสู่การปรับ
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนใหม่ โดยการดับเครื่องชนด้วยการบังคับคดีตาม
กฎหมาย
	 “ปี พ.ศ.2555 มีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในอ�ำเภอ คนเก่า
ย้ายไปคนใหม่เข้ามา แต่ด้วยงานประเพณีแข่งเรือนั้น เราได้เตรียมการ
ไว้หมดแล้ว เราก็เลยยึดถือแนวทางนั้นต่อ แต่ด้วยการขับเคลื่อนรณรงค์
ปลอดเหล้านั้น ไม่ใช่แนวทางที่ข้าราชการระดับสูงคนใหม่จะรับได้ ท�ำให้
งานแข่งเรือปลอดเหล้าที่วางไว้ต้องล่ม
	 บรรยากาศในงาน มีลานเบียร์เปิดให้บริการ มีพ่อค้าแม่ค้าเร่
จ�ำหน่ายเหล้าทั่วงาน ทั้งๆ ที่มีป้ายรณรค์ติดอยู่ทั่วงาน เราเลยท�ำหนังสือ
ถามไปยังอ�ำเภอ ขณะเดียวกันเราก็ใช้สื่อกดดันด้วย โดยขบวนการเรียก
ร้องสิทธิของเด็กๆ แต่ความพยายามของเรากลับไม่ได้รับการตอบสนอง
เพราะทางอ�ำเภอไม่มีท่าทีอะไรเปลี่ยนแปลง ด้วยท่าทีแบบนี้ท�ำให้เราต้อง
ด�ำเนินการมาตรการขั้นต่อไป คือ การบังคับใช้กฎหมาย
	 ที่ผ่านมาก่อนกิจกรรมต่างๆ จะเริ่ม เราจะท�ำการรณรงค์ประชา
สัมพันธ์ตลอดโดยใช้รถโมบาย แจกใบปลิว ติดป้าย โดยการรณรงค์นั้นเรา
จะให้ข้อมูลต่างๆ ในเรื่องพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551
ด้วย รวมทั้ง ท�ำหนังสือแจ้งทุกหน่วยงานให้รับทราบด้วยว่าเราบังคับใช้
กฎหมาย ซึ่งทั้งจังหวัด และอบจ.ต่างก็รับรู้
	 ดังนั้น เมื่อเราแจ้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมี
บรรยากาศอย่างที่เห็น เราจึงแจ้งความด�ำเนินคดีตามกฎหมายทันที
	 การที่เราแจ้งความด�ำเนินคดี เพราะเราเชื่อว่า กฎหมายเป็นเครื่อง
มือตัวหนึ่ง จะใช้ได้ไม่ได้ต้องลองดู โดยก่อนงานเราก็ท�ำหนังสือแจ้งเตือน
ไปแล้วว่าเราบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ยังเป็นเช่นนี้ ทั้งๆ ที่มีคณะกรรมการ
ดับเครื่องชนด้วยกฎหมาย
26
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
26
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงมาตรวจด้วยก็ยังเจอการเร่ค้าอยู่เหมือน
เดิม ดังนั้นในเมื่อเรามีกฎหมายบังคับใช้ แต่ไม่เห็นเขาท�ำตาม เราจึงต้อง
เดินหน้าให้สุดด้วยการแจ้งความ
	 โดยเราก็มีการเตรียมการ วางแผนกัน แจ้งความใครจะเป็นคนแจ้ง
ต�ำรวจต้องเป็นคนจับ พวกเราจะท�ำหน้าที่ชี้เป้าให้ต�ำรวจ ใครจะเป็นคน
ดูแลความปลอดภัย ใครท�ำสื่อ ใครท�ำเอกสาร เรียกว่า เราเตรียมความ
พร้อมทุกอย่าง
	 พอแจ้งความแล้ว ก็มีการชี้เป้า เราก็จะมีเด็กๆ ช่วยหาเป้าให้
และมีการจับปรับกันไป คดีหาบเร่ก็จะปรับพ่อค้าแม่ค้า 3,000 บาท ส่วน
คดีนายอ�ำเภอ เราก็แจ้งความเรื่องการอนุญาตให้ร้านขายเร่ในพื้นที่สวน
สาธาณะของทางราชการ คดีนี้ยืดยื้อไม่จบ จนกระทั่งเรื่องผ่านไป 3 เดือน
มีเวทีที่จังหวัดถึงได้มีการเอาปัญหาเรื่องนี้ไปพูด เรียกได้ว่าเป็นคดีต้นแบบ
ที่จะยืนยันว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์หรือไม่กลไกอย่างเครือข่ายงดเหล้าที่
พิมายท�ำงานได้ไม่ได้
	 หลังจากนั้นแกนน�ำต่างก็ไม่ยอมกัดไม่ปล่อยมีการท�ำหนังสือทวง
ถาม 3 ครั้ง บอกต�ำรวจว่าหากไม่ท�ำก็จะฟ้องเรื่องการละเว้นการปฏิบัติ
หน้าที่ จนต้องมีการไปโวยวายจนเกิดการติดตามคดี และมีการเรียกไปให้
ปากค�ำแต่จนแล้วจนรอดเรื่องก็ยังเงียบอยู่ดี”
	 ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในงานแข่งเรือพิมายปีพ.ศ.2554ที่
กลไกรัฐได้ปล่อยปละละเลยในเรื่องแอลกอฮอลล์ ทั้งๆ ที่มีพระราชบัญญัติ
ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บัญญัติสาระในการควบคุมอย่าง
ชัดเจน การขับเคลื่อนของเครือข่ายงดเหล้าอ�ำเภอพิมายจึงยกระดับไปสู่
การบังคับใช้กฎหมายโดยการแจ้งความด�ำเนินคดี ที่แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้น
ตามมาคือความตื่นตัวของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะเดียวกันนั้น
ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของแกนน�ำก็เริ่มสั่นคลอน
เมื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตเริ่มสั่นคลอน
27
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
27
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 “ปัญหาเกิดขึ้นจริงจังอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว(พ.ศ.2556)งานประเพณี
ทั้งงานสงกรานต์ งานแข่งเรือ เราท�ำรณรงค์ควบคู่กันมาตลอด แต่ปัญหา
คราวนี้มาจากบริษัทสปอนเซอร์ ซึ่งคนท�ำงานไม่รู้มาก่อนว่าสปอนเซอร์
รายหนึ่งจะมาสนับสนุน แต่มาถึงงาน เรากลับเห็นป้ายโฆษณาเต็มไปหมด
ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เราท�ำหนังสือแจ้งไปก่อนแล้วและทางเทศบาลก็มาแจ้ง
ว่าไม่ให้เราเข้าร่วมงาน เราก็ท�ำหนังสือไปถึงนายอ�ำเภอ นายอ�ำเภอก็บอก
ให้เข้า
	 บรรยาการในงานสงกรานต์ปีที่แล้ว เลยมีการขึ้นป้ายคู่ขนานกัน
เทศบาลขึ้นให้สปอนเซอร์ เราเลยต้องไปขออบต.ข้างเคียงขึ้นป้ายรณรงค์
ให้เราขณะนั้นเองทางเทศกิจก็โทรมาเรียกไปผู้ประสานงานเข้าไปคุยทาง
เทศกิจก็ชี้แจงว่าจะมีงานอะไรบ้าง ที่มีทั้งอุโมงค์น�้ำ คอนเสิร์ตและบอกว่า
หากเราท�ำแบบนี้จะเสียหายมากเพราะสปอนเซอร์จะถอนตัว
	 เรียกได้ว่า บรรยากาศงานตึงเครียดมาก เพราะเป็นการต่อสู้ทาง
ความคิด สุดท้ายเราตัดสินใจยกเลิกการรณรงค์ทั้งหมด หยุดกิจกรรมทุก
อย่าง ไม่ให้สภาเด็กใส่เสื้อสสส.เล่นน�้ำ เพราะมีเรื่องความปลอดภัย แต่ยังมี
การติดป้ายรณรงค์อยู่เหมือนเดิม
	 ตอนนั้น ถามว่าท�ำไมอยู่ๆ ก็หยุดทุกอย่าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ
ทางชุมชนแจ้งเข้ามาว่าให้เราระวังตัว เราเลยรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยใน
ชีวิตของคนท�ำงานและเด็กๆ ที่ร่วมกิจกรรมกับเรา ท�ำให้ตัดสินใจหยุดแล้ว
เข้าพบผู้ว่าฯ และร้องต่อสื่อเพื่อให้สังคมรับรู้
	 หลังจากเราก็สงบไม่เคลื่อนไหว นิ่งในพื้นที่ แต่ขณะเดียวกัน
ข้อมูลทุกเรื่องก็กระจายออกหมด และผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนบังคับใช้
กฎหมายของเราก็ส่งผลท�ำให้ได้รับโล่ห์รางวัลผู้บังคับใช้กฎหมายระดับ
ประเทศตามมา”
28
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
28
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 การขับเคลื่อนที่เข้มข้นจริงจังของเครือข่ายงดเหล้าอ�ำเภอพิมาย
ก่อเกิดผลลัพธ์ที่ส�ำคัญในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งขยายผลน�ำไป
สู่การตีความหลายประเด็นในกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ.
ปฏิรูปจัดสรรที่ดิน ว่าด้วยเรื่องที่สาธารณะ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ท�ำให้
หน่วยงานภาคส่วนที่เก่ียวข้องเกิดการตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วม
ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จากบรรยากาศที่ต่างฝ่ายต่างตั้งป้อม
กลับกลายเป็นต่างเรียนรู้จากบทเรียนหลายปีที่ผ่านมาจนเกิดเป็นการ
ประสานความร่วมมือร่วมกัน
	 “จากปัญหาสงกรานต์ ก็ส่งผลท�ำให้บรรยากาศแข่งเรือปีที่แล้ว
(พ.ศ.2556) เบาลง ต้องบอกว่ามันเกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างทางร่วม
กันของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ตัวเราคนท�ำงานเอง ส่วนราชการเอง เทศบาล
ก็เริ่มจริงจัง ตามวัดคนกินเหล้างานศพก็ไม่มี เพราะคนไม่ท�ำกัน รวมทั้ง
เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง
	 และที่ส�ำคัญคนพิมายเองเรียนรู้และตื่นตัวอย่างมาก วันนี้คนใน
สังคมพิมายเดินมาหาเรา เดินเข้ามามีส่วนร่วมกับเราเอง เพราะเขาเห็นถึง
รูปธรรมการท�ำงานของเรา เขาตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่องนี้ ในฐานะ
คนท�ำงาน เราเองก็เรียกได้ว่า นี่เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าเราสามารถท�ำได้
จริงๆ”
ต่างฝ่ายต่างได้บทเรียน
29
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
29
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
บทเรียนจากพิมาย
	
	
	 1.ปัจจัยความส�ำเร็จ
	 เกิดขึ้นมาจากการใช้ความรู้ ข้อมูลในการขับเคลื่อนสร้างความรู้
ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการในการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
มีการก�ำกับ ติดตามและการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและมีรูปธรรม
ชัดเจน การประสานความร่วมมือของ อสม. อปพร. ท้องถิ่น
	 อีกทั้งยังมีคณะท�ำงาน ที่มีจิตอาสาในการเข้าท�ำงาน และแต่ละ
คนล้วนมีต้นทุนประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์การท�ำงานที่สามารถ
น�ำมาบูรณาการใช้กับงานขับเคลื่อนงดเหล้าเรียกได้ว่าเป็นงานที่ต่อยอด
หนุนเสริมต้นทุนชีวิต อาชีพของแกนน�ำแต่ละคน
	 2.เครื่องมือสร้างการเรียนรู้
	 รถโมบาย สื่อวิทยุ ป้ายต่างๆ แผ่นพับ สติ๊กเกอร์ สื่อเคเบิลท้องถิ่น
สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ในโคราชสื่ออินเตอร์เน็ตสื่อบุคคล และคณะท�ำงาน
	 โดยต้องมีการออกแบบเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่
หลากหลาย เช่น การใช้ละครสั้นเพื่อชวนเชิญประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
	 3.ข้อมูลที่ดี คือพลัง
	 ข้อมูลด้านเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีข้อมูลประกอบรอบด้านส�ำหรับ
การสื่อสารท�ำความเข้าใจของสังคม โดยมีการน�ำข้อมูลหน่วยงานอื่นมาใช้
ในการขับเคลื่อน เช่น ข้อมูลคุมประพฤติ ข้อมูลขนส่ง สาธารณสุข 	
	 ทั้งนี้ ข้อมูลในการน�ำเสนอสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ ควรประกอบ
ด้วย ข้อมูลเชิงปัญหา ข้อมูลเชิงสถิติจริงๆ จากพื้นที่ (เช่น ตัวอย่างของ
ชุมชนที่มีปัญหา)ข้อมูลรณรงค์และข้อมูลองค์ความรู้(พ.ร.บ.องค์ความรู้ที่
มีประโยชน์จากที่อื่น) เป็นต้น และข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ควรมีการคืนข้อมูล
โดยกรณีพิมายนั้นใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
30
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
30
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 แข่งเรือ–ปลอดเหล้าอำ�เภอพิมายนับเป็นกระบวนการขับเคลื่อน
ที่เป็นบทเรียนสำ�คัญในการเริ่มต้นบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อีกทั้งยัง
เป็นพื้นที่ที่ลักษณะแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะที่เมืองพิมายนั้นมีความเป็น
ชุมชนเมือง ที่ย่อมส่งผลต่อการทำ�งานขับเคลื่อนรณรงค์ ด้วยเหตุนี้ที่นี่
จึงมีการทำ�งานแบบน้ำ�ซึมบ่อทราย ค่อยๆ ซึม ค่อยๆ ซับกันไปผ่าน
กระบวนการสร้างการเรียนรู้ทั้งจากข้อมูลก็ดี ปฏิบัติการก็ดี
	 “จากงานที่เราทำ� เราทำ�งานรณรงค์ เราให้ความรู้ เราใช้เครื่องมือ
เรามีการวางแผน ออกแบบการทำ�งานเราไม่ได้ห้ามไม่ให้กินเหล้า ดังนั้น
ความสำ�เร็จของเราไม่ใช่การเลิกกินเหล้าแต่เป็นการที่เราควบคุมได้จัดการ
ได้ เรารู้ว่าเด็กๆ ของเรา หากกินเหล้าก็จะกินเหล้าอย่างมีภูมิรู้คุมตัวเองได้
สิ่งที่ภาคภูมิใจคือการทำ�งานเรื่องเหล้าเราได้ค้นหาแกนนำ�เด็กในพื้นที่จน
เกิดสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นรากฐานสำ�คัญในการสร้างกระบวนการ
เรียนรู้ให้กับพวกเขา เราคุมร้านค้าผู้ขายและจัดการกับผู้ประกอบการได้ เรา
รณรงค์ เราขอความร่วมมือ เราใช้สื่อประชาสัมพันธ์และมีการประกาศชื่อ
ซึ่งทำ�ให้เกิดการพูดถึงกันในสังคม เราคุมพื้นที่สาธารณะได้ ในพื้นที่
สาธารณะนั้นจะไม่มีเลยและเราเชื่อว่ากระบวนการให้ข้อมูลให้ความรู้แบบ
ที่เราทำ� มันจะช่วยทำ�ให้คนกินเหล้าแบบระมัดระวังมากขึ้น เพราะเขาจะ
ค่อยๆ ซึมซับและมีความรู้ ซึมซับข้อมูลที่เราให้อยู่ทุกวี่ทุกวัน อาจไม่เลิก
แต่อาจลดและหากถามว่ารู้ไหมคุณและโทษต่างๆ แน่นอนว่าพี่น้องชาว
ชุมชนรู้ มันเป็นการทำ�งานหวังระยะไกล คล้ายๆ น้ำ�ซึมบ่อทราย
	 เป้าหมายที่เราอยากจะเดินต่อนั้นชัดเจนว่าเราไม่ได้ห้ามหรือ
รังเกียจคนกินเหล้า แต่เรามองเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม
การตระหนักรู้เกี่ยวผลกระทบของเหล้าเป็นหลักเราจะพยายามพลิกพิมาย
ใหม่ ทำ�อะไรก็แล้วแต่ให้ชาวบ้านเดินเข้าวัด เกิดการรวมตัวเรื่องบุญ
ซึ่งเราอยากจะใช้แผนนี้เป็นเครื่องมือที่จะแก้ปัญหาเด็ก – เยาวชน และ
สังคม เพราะหากเราทำ�เรื่องบุญประเพณีปลอดเหล้าได้ เรื่องปลอดเหล้า
ก็น่าสามารถขยายผลไปสู่เรื่องอื่นๆได้และน่าจะนำ�เราไปสู่การแก้ไขปัญหา
ทิศทางต่อไป
31
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
31
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
ของชุมชนในอีกหลายเรื่อง ดังนั้นเราจะใช้ข้อมูลที่เราเก็บได้เป็นตัวเชื่อม
กับนโยบายระดับต่างๆทั้งระดับชุมชน อำ�เภอ จังหวัดเพื่อผลักดันนโยบาย
งานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า
	 ที่สุดแล้วนั้น การขับเคลื่อนเรื่องเหล้า เราก็เหมือนตำ�รวจภาค
ประชาชนทั้งเป็นผู้เฝ้าระวัง เป็นกลไกติดตาม คนกินเหล้ามีหลายระดับ
เราหวังว่าจะสามารถทำ�ให้กระบวนการนี้ยกระดับไปถึงภาพจังหวัด
(จังหวัดจัดการตนเอง ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย) รวมทั้งการเป็นพื้นที่
เรียนรู้ ที่มีการเชื่อมร้อยและขยายผล และที่สำ�คัญ คือ การที่คนตื่นตัว
ตระหนักถึงสิทธิ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ เข้ามามีส่วนร่วม ลุกขึ้นมา
จัดการตนเอง โดยใช้เรื่องเหล้าเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนั่นเอง”
 
สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ที่
	 นางสมควร  งูพิมาย
	 83/1 ม.3 ต.ในเมือง อ. เมือง
	 จ.นครราชสีมา
	 โทร 087- 9599481
วาระสำ�เภาลูน : ปฏิบัติการพิชิตเหล้า/
อบายมุขด้วย MOU ภาคประชาชน
33
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 ครั้งหนึ่งค�ำกล่าวที่ว่า คนสุรินทร์กินสุรา อาจเป็นค�ำพูดที่สะท้อน
ถึงตัวตนอีกมุมหนึ่งของคนสุรินทร์ แต่ค�ำกล่าวนี้ คงใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว
เพราะช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา             คนสุรินทร์ไม่กินสุรากันถ้วนหน้า          หลายต�ำบล
หลายอ�ำเภอมีปฏิบัติการอย่างขันแข็งในการลดละเลิกเหล้ารวมทั้งอบายมุข
ต่างๆ
	 ต�ำบลส�ำเภาลูนอ�ำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์ก็เป็นหนึ่งในต�ำบลที่มี
ปฏิบัติการลดละเลิกเหล้า/ อบายมุขอย่างเข้มข้นจนกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบ
ที่ขยายผลปฏิบัติการงดเหล้าไปสู่อีกหลายชุมชน
	 ต�ำบลส�ำเภาลูนมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง10หมู่บ้านก่อตั้งเมื่อ
เดือนพฤษภาคม 2534 โดยแยกการปกครองจากต�ำบลสะเดา มีอาณาเขต
ดังนี้
	 ทิศเหนือ 	 ติดต่อกับ ต�ำบลตาวัง อ�ำเภอบัวเชด
	 ทิศใต้ 	 	 ติดต่อกับ ต�ำบลบัวเชด อ�ำเภอบัวเชด
	 ทิศตะวันออก 	 ติดต่อกับ ต�ำบลสะเดา อ�ำเภอบัวเชด
	 ทิศตะวันตก 	 ติดต่อกับ ต�ำบลพระแก้ว อ�ำเภอสังขะ
	 	          (ที่มาวิกิพีเดีย, http://www.thaitambon.com)
	 “ส�ำเภาลูน” เป็นชุมชนเกษตรกรรม ที่มีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชุมชน
เกษตรกรรมอื่นๆ ผู้คนมีอาชีพท�ำนาเป็นหลัก ทุกหลังคาเรือนล้วนเป็นเครือ
ญาติพี่น้อง แม้ว่า ชุมชนจะพยายามยึดหลักวิถีพอเพียงในการด�ำรงชีวิต แต่
ก็มิอาจปฏิเสธหรือหลีกพ้นจากสภาวะเงื่อนไขภายนอกได้ ดังนั้นชาวบ้าน
หลายครัวเรือนจึงประสบปัญหาหนี้สิน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นหนี้สินที่เกิดขึ้น
จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การส่งเสียลูกหลานเล่าเรียนหนังสือ
รวมทั้งค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น ...ยิ่งภาระหนี้สินถาโถมมากเท่าไหร่
ความสุขของชาวบ้าน ชุมชนก็ยิ่งลดน้อยลง
ตำ�บลสำ�เภาลูน
34
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 ขณะเดียวกัน วิถีความเป็นชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไป ชาวบ้าน
ต่างคนต่างอยู่ ไม่มองหน้ากัน ไม่ช่วยเหลือ ไม่สุงสิงกันเหมือนอย่าง
ในอดีต จะรวมตัวกันก็เฉพาะในกลุ่มเพื่อท�ำกิจกรรมเท่านั้น และทุกครั้ง
ในการรวมตัวกันก็จะมีเรื่องเหล้า/ อบายมุขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอๆ
และภาพเช่นนี้กลายเป็นภาพที่เกิดขึ้นให้เห็นจนชินตาในชุมชนส�ำเภาลูน
	 “ปัญหาเรื่องเหล้ามีอยู่ในชุมชนมานานแล้ว พอมาคุยกันเราก็เริ่ม
เห็นว่า ช่วงปี พ.ศ.2547 – 2548 เป็นปีที่เรามีการรวมกลุ่มเยอะมาก กลุ่ม
โน้นกลุ่มนี้ เพราะกลุ่มที่มีมากเหล่านี้พอวันไหนมีรวมตัวกันทีก็มีเรื่องเหล้า
ยาปลาปิ้งเข้ามาเกี่ยวด้วย รวมทั้งเรายังเห็นชัดมากว่าในงานลงแขกเกี่ยว
ข้าว และงานศพหลายงาน เจ้าภาพติดลบ เป็นหนี้เป็นสิน ต้องขายวัว ขาย
ควาย ภาพแบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
	 เหล้ากับงานศพที่ต�ำบลส�ำเภาลูนกลายเป็นของคู่กันงานศพ3วัน
กินเหล้า 4 วัน หรือภาพที่เห็นจนชินตาตอนเด็กๆ ตกเย็นจะเห็นชาวบ้าน
ต้มเหล้า หรือท�ำสาโทใส่ไห ต้มเอง กินเอง และก็เมาเอง บางครั้งต้องแบก
ไหเหล้าหนีต�ำรวจก็ยังมี
	 เหล้าจึงเป็นปัญหาส�ำคัญของชุมชน เพราะเหล้าเป็นสาเหตุหลักที่
ท�ำให้คนขาดสติ ท�ำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ปัญหาครอบครัว ท�ำลาย
สุขภาพ ท�ำลายสังคม หรืออย่างเรื่องการพนัน เราจะพบว่า เงินบาทสอง
บาทก็ตีกันได้แล้ว ยิ่งมีการพนันก็ยิ่งเสี่ยงต่อการกินเหล้า”
	 เรื่องเหล้า ส�ำหรับชุมชนจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ เรื่อง
ส�ำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จนน�ำไปสู่การหาทางแก้ไข
โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุเป็นตัวตั้งตัวตีเริ่มจุดประกายและเกิดการเชื่อมร้อยภาค
ส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม
“เรื่องเหล้าไม่เล็ก มันใหญ่มาก”
35
ªØÁª¹
¥¹
ÊÙŒàËÅŒÒ
	 “กระบวนการที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชมรมผู้สูงอายุที่มีการแลกเปลี่ยน
พูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง น�ำไปสู่การเชื่อมประสานกับกลุ่มต่างๆ ของชุมชน
กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่ม อปพร. ชมรมก�ำนันผู้ใหญ่บ้าน หมออนามัย
โรงเรียนวัด เกิดเป็นภาพส่วนต่างๆ ของชุมชนที่มาแตะมาเชื่อมประสานกัน
ท�ำงาน ที่แต่ละกลุ่มก็จะหยิบยกประเด็นต่างๆ ที่ตัวเองท�ำงาน ท�ำกิจกรรม
อยู่มาพูดถึง มามองปัญหาร่วมกัน
	 ชมรมผู้สูงอายุได้ริเริ่มท�ำกิจกรรมเรื่องการลดละเลิกเหล้าจากงาน
ศพปลอดเหล้า ปลอดอบายมุข โดยในการประชุมประจ�ำเดือนของอบต.
ส�ำเภาลูน กลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา จากวงคุยจึงมีข้อสรุป
ร่วมกันให้อบต.ส�ำเภาลูนเป็นเจ้าภาพ โดยในการด�ำเนินกิจกรรมลดละเลิก
เหล้า และมีการท�ำบันทึกข้อตกลง (MOU)ร่วมกันในปี พ.ศ.2548 อบต.
จะสนับสนุนงบประมาณ โดยผู้น�ำชุมชนจะเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก และ
หน่วยงานโรงเรียน วัด อนามัย จะเป็นพี่เลี้ยง เกิดกระบวนการท�ำงานขับ
เคลื่อนอย่างเชื่อมร้อย บูรณาการ
	 ตอนที่มีการท�ำบันทึกข้อตกลงร่วมกันนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีทั้ง
หมู่ที่ยอมรับ และหมู่ที่ไม่ยอมรับ ในหมู่ที่ไม่ยอมรับก็เพราะมีความกังวลว่า
หากไม่มีเหล้าในงานศพ แล้วใครจะอยู่เป็นเพื่อนศพ
	 จากความกังวลดังกล่าว เราก็ต้องพิสูจน์ ยืนยันรูปธรรมให้เห็น
ในงานศพแรกที่จัดหลังจากที่มีวงคุยและหลังจากที่ท�ำ MOU ไปแล้วทางเจ้า
ภาพก็ยินดีจัดงานศพปลอดเหล้า หลังการเผาศพเสร็จสิ้น เจ้าบัญชีประจ�ำ
หมู่บ้าน ที่จะเป็นคนคอยท�ำข้อมูล ก็สรุปข้อมูล สรุปบัญชีแจ้งภายในงาน
ปรากฏว่า เจ้าภาพประหยัดเงินอย่างมาก”
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า

More Related Content

Similar to ชุมชน ฅน สู้เหล้า

โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)Chuchai Sornchumni
 
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพWC Triumph
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
อ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนอ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนNooa Love
 
Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Jitty Chanprasit
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1tongsuchart
 
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...Vitsanu Nittayathammakul
 
Oral Health Ponetong
Oral Health PonetongOral Health Ponetong
Oral Health PonetongNithimar Or
 
Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouthguest78694ed
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคมjirapom
 
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุpyopyo
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 

Similar to ชุมชน ฅน สู้เหล้า (20)

โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
โครงการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว(ตัวอย่าง)
 
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
ตัวอย่าง การจัดทำโครงการและการประเมินผลด้านสุขภาพ
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
อ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อนอ.บ ญเร อน
อ.บ ญเร อน
 
Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn Dental public meeting Holiday Inn
Dental public meeting Holiday Inn
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1
 
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...
แผนการตลาด TMA สร้างนักบริหาร ดีและเก่ง หัวข้อ “การประกวดแผนการตลาดเพื่อสังคม...
 
Oral Health Ponetong
Oral Health PonetongOral Health Ponetong
Oral Health Ponetong
 
V 279
V 279V 279
V 279
 
V 279
V 279V 279
V 279
 
THAILAND consumer trend
 THAILAND  consumer trend   THAILAND  consumer trend
THAILAND consumer trend
 
Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouth
 
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.การจัดการโรคDm&htใน อปท.
การจัดการโรคDm&htใน อปท.
 
001007082009
001007082009001007082009
001007082009
 
Youth council
Youth councilYouth council
Youth council
 
สังคม
สังคมสังคม
สังคม
 
กลไกสังคม
กลไกสังคมกลไกสังคม
กลไกสังคม
 
5
55
5
 
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 

More from Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยTum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้Tum Meng
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนTum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraTum Meng
 

More from Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทยเหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
เหตุการณ์สำคัญของ(การศึกษา)ไทย
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
EduTalk : การศึกษาที่เลือกได้
 
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วนEduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
EduTalk : การศึกษาไทยต้องปฏิรูปอย่างจริงจังและเร่งด่วน
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
 

ชุมชน ฅน สู้เหล้า

  • 3. เลขมาตรฐานหนังสือ 978-974-448-669-1 พิมพ์ครั้งที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ.2557 จำ�นวนพิมพ์ 1000 เล่ม ผู้เขียน อินทิรา วิทยสมบูรณ์ กองบรรณาธิการ บำ�รุง เป็นสุข มงคล ปัญญาประชุม กัญญานันท์ ตาทิพย์ ปานเทวี คมสัน จัดทำ�โดย ศูนย์ประสานงานสำ�นักงานเครือข่าย องค์กรงดเหล้า (สคล.) ภาคอีสานตอนล่าง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ อำ�เภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ 32000 โทร : 089-9451728 / 044-513339 สนับสนุนโดย สำ�นักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ออกแบบปก / รูปเล่ม อินทิรา วิทยสมบูรณ์ พิมพ์ที่ บริษัท มาตา การพิมพ์ จํากัด โทร./โทรสาร 02-923-5725 , 089-775-9892 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ
  • 4. การรณรงค์เพื่อลด ละ เลิก การบริโภคเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปัจเจกบุคคลและในระดับชุมชน มุ่งเน้นให้สังคมเกิดการรับรู้ ตระหนักถึงพิษภัยของเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์ ที่รวบรวมไว้ในหนังสือ“ชุมชน ฅน สู้เหล้า” เล่มนี้ เป็นบทเรียนการจัดการตนเองเพื่อขับเคลื่อนสังคมไป สู่ชุมชนลด ละ เลิกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ด้วยกระบวนการ ที่ต่างกันออกไปของชุมชนรูปธรรม 5 ชุมชนที่มีบริบทแตก ต่างกัน เป็นการพัฒนาและยกระดับงาน โดยยึดเอาพื้นที่ เป็นตัวตั้งแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการ จัดการปัญหาแอลกอฮอล์และบูรณาการไปสู่การป้องกัน และไขปัญหาประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวโยงกันในพื้นที่ ความพยายามในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ ที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงาน และภาคส่วน ต่างๆ ที่ถูกน�ำเสนอผ่านหนังสือเล่มนี้ ล้วนแล้วแต่เป็น บทเรียนที่ผ่านการลงมือปฏิบัติการจริงในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ การร่วมคิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ เพื่อก�ำหนดมาตรการทาง สังคม น�ำสู่การปฏิบัติ ร่วมสรุปบทเรียน ร่วมติดตาม ประเมินผล และพัฒนายกระดับต่อเนื่องมาหลายปี เนื้อหา คำ�นำ�
  • 5. ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้จึงเป็นความรู้ที่ชุมชนร่วมกันเป็น เจ้าของ และเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งที่ส�ำหรับผู้ที่สนใจหรือ ก�ำลังคิดค้นหาแนวทางในการท�ำงาน ที่จะสามารถน�ำไป ปรับใช้ให้เหมาะสมกับสภาพสังคมและปัญหาที่เกิดขึ้นใน พื้นที่ของตนเองได้ ผู้เขียนและคณะผู้จัดท�ำ โดย ศูนย์ประสานงานเครือ ข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่างส�ำนักงานเครือข่าย องค์กรงดเหล้า (สคล.) ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ (สสส.) มีความปรารถนาอย่างเต็มเปี่ยมที่จะ ให้ผู้อ่านได้เกิดเรียนรู้ไปพร้อมๆกันขอขอบคุณต้นเรื่อง “ประชาคมงดเหล้าจังหวัดและเจ้าของชุดบทเรียน ทั้ง5ชุมชน”ที่มุ่งมั่นและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆสู่สังคม น่าอยู่ ชุมชนจัดการเองในที่สุด เชื่อมั่นและศรัทธา ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ภาคอีสานตอนล่าง
  • 6. บอกกล่าว ก่อนเข้าเรื่อง [ 9 ] แข่งเรือ ปลอดเหล้าพิมาย [ 14 ] วาระสำ�เภาลูน : ปฏิบัติการพิชิตเหล้า/ อบายมุขด้วย MOU ภาคประชาชน [ 32 ] สารบัญ
  • 7. ขบวนการแคนน้อยเรนเจอร์ : 4พลังชุมชนกับ ปฏิบัติการปลอดเหล้า� ปลอดอบายมุข [ 56 ] ปลอดเหล้าเข้ากระดูกดำ� นวัตกรรมคนพันธุ์เสียว สร้างสุข [ 76 ] บ้านโนนมะเขือ ชุมชนปลอดเหล้าถาวร [ 96 ] ผู้ให้ข้อมูล [ 110 ]
  • 9.
  • 10. 9 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ข้อมูลจาก whereisthailand.info สะท้อนว่าคนไทยติดอันดับ 5 ของกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกไกล มีปริมาณการดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ เป็นรองเพียงประเทศ เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ ประเทศญี่ปุ่น โดยคนไทยมีอัตราเฉลี่ยการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูงถึง 7.08 ลิตร ต่อคน ต่อปี ซึ่งนับเป็นอัตราเฉลี่ยที่สูงมาก ขณะเดียวกันข้อมูลจากศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สะท้อนผลการศึกษา วิจัยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รายจังหวัด พ.ศ.2554 ที่ระบุว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังเป็นพื้นที่ที่มีความชุกของนักดื่มทั้งในกลุ่ม ผู้ใหญ่ทั่วไปและกลุ่มนักดื่มวัยรุ่นสูงกว่าภาคอื่นๆ เป็นรองเพียงภาคเหนือ โดยมีอัตราเฉลี่ย ร้อยละ 39.4 และ 37.2 ส�ำหรับความชุกของนักดื่ม ประชากรผู้ใหญ่ และร้อยละ 17.7 และ 18.7 ส�ำหรับนักดื่มในกลุ่ม ประชากรวัยรุ่น (ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา ,2556) บอกกล่าว ก่อนเข้าเรื่อง
  • 11. 10 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ผลจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ยังคงมีจ�ำนวน ที่สูงในพื้นที่ภาคอีสาน ก็กลายเป็นอีกสาเหตุส�ำคัญที่น�ำไปสู่หลากหลาย ปัญหา ที่เกิดขึ้นทั่วไปในปัจจุบันขณะ อาทิ ปัญหาเรื่องสุขภาพ การใช้ ความรุนแรง การทะเลาะวิวาท การข่มขืน ปัญหาท้องแท้ง ทิ้ง ที่ก�ำลังเป็น ปัญหาใหญ่ในกลุ่มวัยรุ่น และบานปลายกลายเป็นปัญหาสังคม นอกจากนั้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็ยังคงเป็นสาเหตุอันดับต้นๆของการ บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน และยังคงเป็นอีกเหตุปัจจัยที่ บั่นทอนความเข้มแข็งของครอบครัวและเศรษฐกิจภาคครัวเรือน เพราะ การให้ความส�ำคัญกับการมีเหล้าในพิธีกรรมต่างๆอาจน�ำมาซึ่งหนี้สิน และ ภาระในอนาคต ดังค�ำกล่าวที่เคยได้ยินกันทั่วไปว่า “คนตายขายคนเป็น” เป็นเวลากว่าทศวรรษที่ผู้คนจ�ำนวนไม่น้อยในสังคมเกิดการ ตื่นตัวและตื่นรู้ถึงผลกระทบจากพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในที่นี้จะ กล่าวถึงพื้นที่ในกลุ่ม 8 จังหวัดของภาคอีสานตอนล่าง ที่ประกอบด้วย นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อ�ำนาจเจริญ ยโสธร และจังหวัดร้อยเอ็ด พวกเขาเหล่านั้นได้มีความพยายามในการ สร้างสังคมที่น่าอยู่ สังคมแห่งความสุข เป็นสังคมที่คนไทยมีสุขภาพที่ดี ปลอดภัยจากพิษภัยของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งคนกลุ่มนี้ได้รวมตัวและ เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายความร่วมมืออย่างหลวมๆ ภายใต้นามเรียกขาน ว่า “ประชาคมงดเหล้าจังหวัด” ซึ่งมีภารกิจส�ำคัญในการสร้างการเรียน รู้แก่สังคมและสร้างพลังความร่วมมือมือในการจัดการกับปัญหาต่างๆใน สังคม โดยเฉพาะ “ปัญหาที่เกิดจากพิษภัยและผลกระทบจากเครื่อง ดื่มแอลกอฮอล์” ผ่านการท�ำงานหลากหลายรูปแบบทั้งด้านการผลักดัน นโยบายและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีอ�ำนาจหน้าที่ในการ บังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ไปจนถึงการลงลึกเพื่อสร้าง การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมการดื่มตั้งแต่ระดับบุคคล ครัวเรือน หมู่บ้าน ต�ำบล อ�ำเภอ ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงเทศกาลวาระ ส�ำคัญในหลายจังหวัดให้กลายเป็นพื้นที่ปลอดเหล้า ปลอดภัย และเป็น พื้นที่ที่เปิดโอกาสให้กลุ่มคนทุกเพศทุกวัยได้แสดงศักยภาพที่ตนเองมีอย่าง สร้างสรรค์
  • 12. 11 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ตลอดเวลาที่ผ่านมาบนเส้นทางการท�ำงานที่ยาวนาน ผลจากการ ท�ำงานที่ทุ่มเทอย่างหนัก เกาะติด กัดไม่ปล่อย และพัฒนารูปแบบ การท�ำงานของตนเองเรื่อยมาของประชาคมงดเหล้าจังหวัดหลายแห่งได้ ผลิดอกออกผล เป็นชุมชนรูปธรรม ชุมชนที่ประเด็นการชวนผู้คนงดเหล้า ได้กลายมาเป็นพื้นที่กลางให้คนในชุมชนได้หันหน้าเข้ามาพูดคุย คิดค้น ก�ำหนดมาตรการ กติกา รูปแบบ และบังคับใช้โดยชุมชน เพื่อชุมชน เป็นช่องทางในการรวมพลังผู้คนเพื่อป้องกันปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่ ต้นทาง และวงคุยเรื่องเหล้าก็ได้พัฒนากลายเป็นพื้นที่ ให้หน่วยงาน ต่างๆทั้งในและนอกชุมชนได้พูดคุย พัฒนาและแก้ปัญหาทั้งด้านการดูแล คุ้มครองลูกหลานเยาวชนของตนเอง การแก้ปัญหาความยากจน ปัญหา ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินไปจนถึงการฟื้นฟูคุณค่าวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามให้คงอยู่กับสังคม และสืบสานสู่รุ่นลูก รุ่นหลาน ในครั้งนี้ส�ำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) โดยการ สนับสนุนของส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ ตระหนักถึงความส�ำคัญที่ว่า การท�ำงานที่ผ่านมาของเครือข่าย “ชุมชน ฅน สู้เหล้า” เป็นต้นทุนความรู้ที่ส�ำคัญ เป็นของจริงที่เกิดจากการท�ำงาน ของผู้คนที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งได้รับการ อนุเคราะห์และถ่ายทอดบทเรียนการท�ำงานผ่านแกนน�ำคนส�ำคัญของ หลายพื้นที่เพื่อรวบรวมเป็นคู่มือ ที่จะเป็นเครื่องมือให้กับคนในอีกหลาย ชุมชนที่ก�ำลังคิด และค้นหาวิธีการต่อสู้กับปัญหาเรื่องเหล้า ได้ปรับใช้เป็น แนวทางในการเรียนรู้และท�ำงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในหนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมประสบการณ์การท�ำงานรณรงค์ ป้องกันปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ใน 5 ชุมชนของภาคอีสาน ตอนล่าง ซึ่งล้วนพื้นที่รูปธรรมในการท�ำงานรณรงค์เพื่อแก้ปัญหาจากพิษ ภัยแอลกอฮอล์ที่ได้ผล คือ
  • 13. 12 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 1) เทศบาลพิมาย อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ชุมชน ที่มีความเป็นสังคมเมือง การต่อสู้กับปัญหาจากพิษภัยจากเหล้าของพวก เขาจึงไม่ง่ายเมื่อต้องสู้กับแรงเสียดทานรอบด้าน ทั้งชาวบ้าน พ่อค้า แม่ ขาย ในพื้นที่ซึ่งล้วนต่างรู้จักและคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี พวกเขาต้องต่อสู้ กับอ�ำนาจรัฐ รวมถึงธุรกิจน�้ำเมาที่จับมือกับการเมืองซึ่งเป็นนายทุนที่มี อิทธิพลในท้องถิ่น พวกเขาจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้คนใน สังคมคนพิมายมีความปลอดภัยจากน�้ำเมาได้อย่างไร...? 2) ต�ำบลส�ำเภาลูน อ�ำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนที่มี 10 หมู่บ้าน แต่มีความหลากหลายของกลุ่มคน 3 วัฒนธรรมทั้ง กูย เขมร ลาว พวกเขาได้หลอมรวมพลังเครือข่ายทางสังคมที่หลากหลายและสร้าง มาตรการชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นต้นแบบที่ผู้คนต่างถิ่นแวะมาเยี่ยมยามและ ขอเรียนรู้ในกระบวนการท�ำงานเรื่องเหล้าอยู่บ่อยครั้ง 3) ต�ำบลเสียว อ�ำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ จังหวัดศรีสะเกษ ชุมชน ที่ขนานนามตนเองว่า “คนพันธุ์เสียว” พวกเขาเป็นชุมชนที่เป็นต้นแบบ ในหลายประเด็นทั้งเรื่องการจัดการป่าชุมชน การเมืองภาคพลเมือง และ เมื่อพวกเขาน�ำประเด็นเรื่องเหล้ามาเป็นประเด็นที่ขับเคลื่อนร่วมกันอย่าง จริงจังตั้งแต่ปี2549 ความส�ำเร็จจากการท�ำงานในพื้นที่ต�ำบล ก็เริ่มขยาย ผลไปสู่พื้นที่ต�ำบลอื่นๆจนเกิดการขับเคลื่อนร่วมกันทั้งอ�ำเภอในภาพของ “โพธิ์ศรีสุวรรณโมเดล” และยังเป็นส่วนส�ำคัญในการขับเคลื่อนนโยบาย “บุญประเพณีปลอดเหล้าจังหวัดศรีสะเกษ” 4) ต�ำบลแคนน้อย อ�ำเภอค�ำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ที่เชื่อม โยงประเด็นเรื่องเหล้าไปสู่การแก้ปัญหาเยาวชนผ่านกิจกรรมของชมรม TO BE NUMBER ONE จนได้รับรางวัลระดับประเทศหลายปีซ้อนการันตี ผลงานที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ
  • 14. 13 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 5) ชุมชนโนนมะเขือ ต�ำบลกาบิน อ�ำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัด อุบลราชธานี ชุมชนที่ถูกขนานนามว่า “หมู่บ้านปลอดเหล้าถาวร” การ ท�ำงานที่เชื่อมโยงพลัง บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ได้เปลี่ยนแปลงชุมชน แห่งนี้อย่างถาวร และยังขยายผลไปสู่ต�ำบล อ�ำเภอ และจังหวัด คณะผู้จัดท�ำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าชุดประสบการณ์ “ชุมชน ฅน สู้เหล้า” เล่มนี้จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยเพิ่มมุมมอง และวิธีการในการ สร้างสุขให้กับคนในสังคมไทยต่อไปทั้งในปัจจุบันและอนาคต “อีสานล่างปลอดเหล้า ปลอดภัย ลดปัจจัยเสี่ยง” ศูนย์ประสานงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคอีสานตอนล่าง
  • 16. 15 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ อ�ำเภอพิมาย เป็นอ�ำเภอที่มีขนาดใหญ่อ�ำเภอหนึ่ง เดิมมีชื่อเรียกว่า  “อ�ำเภอเมืองพิมาย”  ซึ่งมีฐานะเป็นอ�ำเภอ เมื่อปี พ.ศ.2443  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2454 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ หรือ สมเด็จพระพันปีหลวง ได้เสด็จประพาสเมืองพิมาย และได้เสด็จ พักผ่อนที่ไทรงาม คณะกรมการเมืองพิมายได้พร้อมกันรับเสด็จโดยจัด สถานที่ประทับที่ล�ำน�้ำตลาด ซึ่งเรียกว่า “วังเก่า” และได้ปรับปรุงถนน สายต่างๆ ในบริเวณที่ตั้งอ�ำเภอ ให้สะอาดสวยงามเป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 6 สาย และได้ตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ คือ ถนนจอมสุดา เสด็จ ถนนวนปรางค์ ถนนอนันทจินดา ถนนบูชายันต์ ถนนราชชนนี และ ถนนจวนเก่า จนกระทั่งปี พ.ศ.2457 ได้สร้างที่ว่าการอ�ำเภอพิมาย บริเวณ ด้านตะวันออกเฉียงเหนือด้านใต้ของปราสาทหินพิมาย และทางราชการ ได้ตัดค�ำว่า “เมือง”  ออกเมื่อปี พ.ศ.2483 และให้เรียกว่า “อ�ำเภอพิมาย”  จนถึงปัจจุบัน (ที่มา : www.amphoe.com) ที่ตั้งและอาณาเขต พิมายตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขต ติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้ ทิศเหนือ          ติดต่อกับอ�ำเภอโนนแดงและ อ�ำเภอประทาย ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ�ำเภอชุมพวง ทิศใต้              ติดต่อกับอ�ำเภอห้วยแถลงและอ�ำเภอจักราช ทิศตะวันตก ติดต่อกับอ�ำเภอโนนสูงและอ�ำเภอคง
  • 17. 16 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ อ�ำเภอพิมายแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 12  ต�ำบล  212 หมู่ บ้าน 1. ในเมือง (NaiMueang) 7. ชีวาน (Chiwan) 2. สัมฤทธิ์ (Samrit) 8. นิคมสร้าง ตนเอง (Nikhom Sang Ton-eng) 3. โบสถ์ (Bot) 9. กระชอน (Krachon) 4. กระเบื้อง ใหญ่ (KrabueangYai) 10. ดงใหญ่ (Dong Yai) 5. ท่าหลวง (ThaLuang) 11. ธารละหลอด (Than Lalot) 6. รังกาใหญ่ (Rang KaYai) 12. หนองระเวียง (NongRawiang) (ที่มา : วิกิพีเดีย) อ�ำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเมืองพิมายเป็นเมืองที่สร้างขึ้นตามแบบแผนคติความเชื่อขอม ผังเมือง พิมายนั้นจึงเป็นแบบศิลปะขอมโดยมีลักษณะเป็นเวียงสี่เหลี่ยม ส่วนชื่อ พิมายนั้นก็น่าจะมาจากค�ำว่า วิมาย หรือ วิมายปุระซึ่งหมายถึงเมืองที่ไร้ มายาใดๆ  และถือว่าเป็นเมืองที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่ปรากฏในจารึกภาษาขอมบน แผ่นหินตรงกรอบประตูระเบียงคตด้านหน้าของปราสาท โดยจากหลัก ฐานศิลาจารึกและศิลปะ บอกได้ว่า ปราสาทหินพิมายแห่งนี้น่าจะเริ่มสร้าง ขึ้นตั้งแต่สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ราวพุทธศตวรรษที่ 16 ความเก่าแก่และคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของเมืองพิมายแห่งนี้ ท�ำให้มีนักท่องเที่ยวแวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ รวมทั้งยังมีหน่วย งานทั้งราชการและภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมกันพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ ขณะที่ ขบวนการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนนั้นเริ่มขึ้นในปี พ.ศ.2540 จากกระแสการจัดท�ำรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ท�ำให้คนพิมายจ�ำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มครูและผู้น�ำชุมชนต่างก็ตื่นตัวเข้ามามีส่วนร่วมในการร่าง
  • 18. 17 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ จึงได้เกิดการรวมตัว โดยมีครู ผู้น�ำชุมชนหลายคนและ คนที่สนใจ  ได้นัดพบกันหลายครั้งเพื่อปรึกษาหารือ เสนอเนื้อหาในร่างรัฐ ธรรมนูญและสุดท้ายได้มีตัวแทนอ�ำเภอพิมายไปน�ำเสนอร่างรัฐธรรมใน ระดับจังหวัด จวบจนกระทั่งรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ได้รับการประกาศใช้ เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2540  จากนั้นกลุ่มบุคคลดังกล่าวก็มีเวทีพบปะ พูดคุยกันเรื่องสถานการณ์สังคมในพื้นที่กันต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางในการท�ำ กิจกรรมสร้างสรรค์ให้กับชุมชน  จนเกิดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ กฎหมาย รัฐธรรมนูญตามหมู่บ้านต่างๆ จากการท�ำกิจกรรมดังกล่าวท�ำให้ได้รับรู้ ปัญหาชุมชนยังมีอีกมากมายและได้รับเรื่องร้องเรียนปัญหาเยาวชนที่ถูก กล่าวหาว่าฆ่าคนตาย  ปัญหาโรงงานอุตสาหกรรมปล่อยน�้ำเสียในชุมชน จากจุดเริ่มต้นนี้เองท�ำให้เกิดการรวมตัวและมีเวทีเรียนรู้ร่วมกัน ของคนพิมายอย่างต่อเนื่อง เช่น เกิดกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นพิมาย เพื่อขับ เคลื่อนปัญหาการเมือง เกิดกิจกรรมธรรมชาติยาตรา เพื่อรณรงค์แก้ไข ปัญหาเรื่องน�้ำ เรื่องสิ่งแวดล้อม จนกระทั่งเกิดการรวมตัวอย่างจริงจังใน ประเด็นเรื่องสิทธิบุคคลและสิทธิชุมชน จากเหตุการณ์เด็กในพื้นที่ถูกกล่าว หาตกเป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฆ่าคนตาย อันเป็นจุดเปลี่ยนส�ำคัญหนึ่งที่ท�ำให้ คนในชุมชนลุกขึ้นมาขับเคลื่อนเรียกร้องสิทธิของตัวเอง และการเรียกร้อง นั้นก็ขยับไปสู่การรวมตัวกันเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนรวมทั้งปัญหาการเมือง  ในปี พ.ศ.2543 ส�ำนักงานกองทุนเพื่อสังคม (SIF) ได้เข้ามา สนับสนุนกระบวนการท�ำงานของชุมชนเกิดกระบวนการหนุนเสริมการ ท�ำงานระหว่างกัน เกิดเครือข่ายกว่า 8 เครือข่าย เช่น เครือข่ายภูมิปัญญา ท้องถิ่นพิมาย เครือข่ายองค์กรชุมชน เครือข่ายเรื่องอาชีพ เครือข่าย สิ่งแวดล้อมเกิดเครือข่ายลุ่มน�้ำ เครือข่ายวัฒนธรรม รวมทั้งต่อไปมีการจัด ตั้งวิทยุชุมชนในอ�ำเภอพิมายโดยที่พิมายนั้นเป็นเครือข่ายแม่ และในเวลา ต่อมา ก็ยังมีหน่วยงานอีกหลายหน่วยเข้ามาหนุน ทั้งสถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน (องค์การมหาชน) ชมรมรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมูลนิธิเอเชีย
  • 19. 18 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ จนกระทั่งปี พ.ศ.2551 มีกระบวนการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน เกิดภาพการขับเคลื่อนงานร่วมกัน 9  อ�ำเภอในจังหวัดนครราชสีมา โดยมี สภาองค์กรชุมชนเป็นกลไกขับเคลื่อนส�ำคัญ ทั้งประวัติศาสตร์เมืองโบราณ และขบวนการเคลื่อนไหวของภาค ประชาสังคม/ภาคประชาชน เมืองพิมายจึงเป็นต้นทุนทางสังคมที่ส�ำคัญ ของอ�ำเภอแห่งนี้ แต่นอกจากต้นทุนที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ก็ยังมีอีกหนึ่ง ต้นทุนส�ำคัญที่เป็นหน้าตา/ชื่อเสียงที่ไม่ใช่แค่ของคนพิมายเท่านั้น แต่คือ ชื่อเสียงระดับจังหวัด นั่นก็คือ “งานประเพณีแข่งเรือพิมาย” การแข่งเรือเป็นรูปแบบของการละเล่นในฤดูน�้ำหลากที่สร้าง ความสามัคคีของคนในหมู่บ้าน และคนต่างหมู่บ้านได้พบปะกัน เป็นการ สร้างความสมานสามัคคีของสังคมได้ทางหนึ่ง การแข่งเรือพิมายนั้น แต่เดิมแข่งที่ท่าน�้ำบ้านวังหิน ต่อมาย้ายมา แข่งที่ล�ำตลาด ซึ่งอยู่ที่อ�ำเภอพิมาย โดยจัดต่อเนื่องกันทุกปีจนถึงปัจจุบัน แต่เดิมเมื่อแต่ละหมู่บ้านทราบก�ำหนดการแข่งเรือล่วงหน้าก็จะฝึกซ้อม ฝีพาย ซึ่งเป็นชายฉกรรจ์ในหมู่บ้านจนช�ำนาญ เมื่อใกล้ถึงวันแข่งเรือจะน�ำ ขึ้นมาขัดท้องเรือด้วยใบตองแห้ง เสร็จแล้วทาสีและลวดลายที่เรือและใบ พาย แล้วท�ำพิธีไหว้เซ่นแม่ย่านางเรือเสร็จแล้วลากเรือลงน�้ำฝีพายลงเรือโห่ เอาฤกษ์เอาชัย เรือแข่งของแต่ละหมู่บ้านจะมาพร้อมกันที่บริเวณสถานที่ แข่งขันเมื่อพระฉันจังหันแล้ว เมื่อได้เวลาเจ้าหน้าที่จะให้เรือแต่ละล�ำพาย แสดงตัวตามล�ำดับ ซึ่งจะเรียกชื่อตามที่มาถึงก่อนหลังตามชื่อเรือ เช่น มุนี จอมขวัญ เสมียนเสนาะเพราะสนั่นหมื่นสะท้านแผ่นดินไหว เป็นต้น เมื่อครบจ�ำนวนแล้วจับสลากคู่แข่งกันในแต่ละประเภทโดย ก�ำหนดที่ฝีพายเป็นเรือขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แข่งขันจนกว่าจะได้เรือที่ชนะ เลิศของแต่ละรุ่น ซึ่งขณะแข่งขันผู้ชมการแข่งขันสองฟากฝั่งจะโห่ร้องเมื่อ แข่งเรือพิมาย จากประเพณีวิถีชุมชน� สู่ประเพณีพาณิชย์
  • 20. 19 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ เรือหมู่บ้านของตนได้รับชัยชนะเป็นที่สนุกสนาน ปัจจุบันการแข่งขันเรือ พิมาย ได้พัฒนาการแข่งเรือแบบพื้นบ้านมาเป็นการแข่งเรือแห่งประเทศ ไทยและถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลเที่ยวพิมายที่ตั้งใน เดือนพฤศจิกายนของทุกปี (ที่มา : http://www.prapayneethai.com) “ประเพณีการแข่งเรือแต่เดิม เกิดจากงานทอดกฐินของอ�ำเภอ ที่ชาวบ้านจะพายเรือพากันมาทอดกฐินที่วัด หลังทอดกฐินเสร็จ พระท่าน ก็จะให้ข้าวของปัจจัยญาติโยมกลับบ้าน เช่น ข้าวสาร กะปิ น�้ำปลาต่างๆ ตอนพายเรือกลับก็เลยหากิจกรรมเล่นกันสนุกสนาน เลยเกิดการพายเรือ แข่งกัน ของรางวัลก็ใช้ข้าวของที่ได้มาจากวัด จนต่อมา ก็เลยกลายเป็นประเพณีกันเรื่อยมา โดยวัดแต่ละแห่ง จะเป็นผู้ส่งเรือเข้าแข่งขัน เพราะวัดในพิมายล้วนติดกับล�ำน�้ำมูลทั้งนั้น แข่ง เรือแต่ละครั้งก็มีเรือเข้าแข่งขันราว 30 ล�ำ พอถึงวันแข่ง แต่ละหมู่บ้านที่วัด ส่งเรือเข้าแข่ง ก็จะพากันมาดู บางหมู่บ้านมากันเต็มรถสองแถว ใครมาเฝ้า เรือก็จะมากันก่อน ตอนพายเรือมาก็เก็บผักริมฝั่งมาตลอดทาง แต่ภาพบรรยากาศ ประเพณีวิถีชุมชนเช่นนี้ ก็ค่อยๆ เปลี่ยนไป โดยที่เราเองก็ไม่รู้ตัว ค่อยๆ แทรกซึมเข้ามา กลับมามองดูกลายเป็นแข่ง เรือในเชิงธุรกิจ การค้าไปหมด” บรรยากาศงานแข่งเรือที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะสะท้อนถึง ความเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณค่าของประเพณีแข่งเรือนี้แล้ว ยังสะท้อนให้ เห็นสถานการณ์ปัญหาที่มาพร้อมๆ กับการผันตัวเป็นงานแข่งเรือพาณิชย์ อย่างเต็มตัว และภาพปัญหาที่ปรากฏน�ำมาสู่การรวมตัว ระดมความคิด เห็นและแนวทางการจัดการในเวลาต่อมา “ภาพงานแข่งเรือช่วงปีพ.ศ.2550–2551ตอนนั้นทางท้องถิ่นเขามี แผนที่จะท�ำโครงการแข่งเรือ โดยมีเป้าหมายเพื่อหางบประมาณมาใช้ใน เรื่องอื่น ซึ่งตอนนั้นชาวบ้านเขาก็ไม่ยอมกัน ไม่สนับสนุน ส่งผลท�ำให้เขา เรือจบ คนไม่จบ
  • 21. 20 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ไม่ให้ความร่วมมือในการส่งเรือเข้ามาร่วมแข่ง พอเรือพิมายหายไป เรือ พาณิชย์ก็พากันเข้ามา คราวนี้ เราเห็นคนพากันมาดูแข่งเรือก็พากันกินเหล้า พากันเล่น การพนัน ที่ต้องบอกว่า ที่ผ่านมาด้วยงานแข่งเรือเป็นงานประเพณีที่สนุก เรื่องเหล้าเรื่องยาจึงต้องมีอยู่แล้ว แต่ชาวบ้านก็จะสังสรรค์กันพอหอมปาก หอมคอ เหล้าขาว สาโท ท�ำกันเอง แต่ช่วงปีนั้น เริ่มมีเหล้าพาณิชย์เข้า มาแทนที่เหล้าต้มของชาวบ้าน ทั้งคนกิน/ พ่อค้าแม่ค้าเร่ขายเหล้ามีเป็น จ�ำนวนมาก บรรยากาศงานเหมือนมาแข่งกันกินเหล้าเพื่อเอาโล่ห์ เรือแข่ง กันจบแล้ว แต่คนกินเหล้ายังไม่จบ ยังไม่ยอมกลับ” ภาพที่ปรากฏกลายเป็นโจทย์ค�ำถามส�ำคัญส�ำหรับคนพิมายนี่หรือ คือประเพณี? นี่หรือคือวิถีความเป็นชุมชน? นี่หรือคือคุณค่าที่มีร่วมกัน? และโจทย์ค�ำถามเช่นนี้ก็ท�ำให้แกนน�ำจ�ำนวนหนึ่งที่มีต้นทุน ท�ำงานขับเคลื่อนภาคประชาสังคมมาโดยตลอด อดรนทนไม่ไหว ลุกขึ้นมา ด�ำเนินงานปฏิบัติการเพื่อรณรงค์ลดละเลิกเหล้า โดยมีงานแข่งเรือพิมาย เป็นโจทย์ใหญ่ที่ต้องแก้ไขจัดการ “พิมายเราขยับเรื่องเหล้าเมื่อปีพ.ศ.2551โดยร่วมกับประชาสังคม ชุมชนคนโคราชปลอดเหล้า โดยเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลการบังคับใช้พระ ราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 เก็บข้อมูลในกลุ่มข้าราชการ นักเรียน ร้านค้า ประชาชนทั่วไป ซึ่งจากข้อมูลที่ได้ท�ำให้เห็นปัญหาและ จุดบกพร่องของ พ.ร.บฯ.”  ต่อมาเครือข่ายองค์กรงดเหล้าได้เคลื่อนงานระดับภาคอีสานตอน ล่างและเล็งเห็นความส�ำคัญที่จะผลักดันให้เกิด “ประเพณีแข่งเรือพิมาย” ปลอดเหล้าเป็นประเด็นจังหวัด ด้วยมองเห็นสถานการณ์ปัญหาเรื่องเหล้า ระบาดอย่างหนักในงานประเพณีแข่งเรือ แข่งเรือ - ปลอดเหล้า
  • 22. 21 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ “ปีพ.ศ.2552ทางสภาพัฒนาการเมืองเข้ามาหนุนเสริมการท�ำงาน ของเรา เกิดการท�ำแผนเพื่อดูเรื่องปัญหาของคนพิมาย เราก็ขยับงานมา เชื่อมโยงกัน มีการจัดเวที 4 เวทีใน 15 ชุมชน มองเรื่องปัญหาว่าท�ำไม ถึงจน เราก็มองเห็นเรื่องเหล้าว่าเป็นประเด็นส�ำคัญเพราะเหล้าท�ำให้จน เราก็เอาข้อมูลมาเปรียบเทียบและอธิบายให้ชุมชนรู้ ชาวบ้านก็เริ่มเห็นว่า เสียค่าเหล้า ค่าหวย มากกว่าค่าข้าวสารเสียอีก และชาวบ้านก็ยังมีหนี้ ไม่มีเงินเหลือเก็บอีกด้วย ตัวเองก็จะเห็นว่าเหล้าคุกคามตัวเขา ครอบครัว เขา และคุกคามเด็กเยาวชนด้วย อย่างเยาวชนในพื้นที่ เราจะเห็นว่าเยาวชนอายุ 18 ปีติดเหล้า เรา ก็ท�ำการสุ่มตัวอย่างแบบสอบถามจ�ำนวน50ชุดพบว่ามีเด็กติดเหล้า10คน เราก็เริ่มเห็นอัตราส่วนที่มันชัดขึ้นเราก็เอาเด็กทั้งหมดมาเทียบ ตัวเลขเด็ก ที่ติดมันก็เห็นเลยว่ามีจ�ำนวนมาก เราเริ่มเห็นปัญหา พอไปเก็บข้อมูลใน ระดับครัวเรือน เราพบว่า ทุกครัวเรือนที่เก็บข้อมูลนั้นกินเหล้ากับกินน�้ำ เหมือนๆ กัน จากกระบวนการทั้งจากประชาคมและแผนชุมชนมันเลยเป็น เรื่องเดียวกัน บูรณาการกันท�ำให้เรามองเห็นปัญหาของเราเองชัดขึ้น จากข้อมูลที่ชัดเจนเช่นนี้เมื่อถึงงานแข่งเรือพิมายปีนั้น(พ.ศ.2552) เราจึงเริ่มปฏิบัติการอย่างเข้มข้น จริงจัง มีการเดินรณรงค์ มีการขึ้นป้าย รณรงค์ แจกสื่อใบปลิว สติ๊กเกอร์ต่างๆ ภายในงาน แต่ระหว่างนั้น นาย อ�ำเภอได้เรียกคณะท�ำงานทั้งหมดไปคุย ขอให้เอาป้ายลงเนื่องจากการ ด�ำเนินงานในปีนี้ได้ด�ำเนินการไปแล้ว ดังนั้นจึงขอให้งานเดินต่อไป ส่วนปี หน้าค่อยว่ากันใหม่ เมื่อเจอสถานการณ์เช่นนี้ เราเลยต้องเอาป้ายลง ปรับ เปลี่ยนกลยุทธ์ เราเดินรณรงค์รอบสนาม และแจกแบบสอบถามเพื่อถาม ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม ผลปรากฏว่า 85% อยากให้จัดงานแข่งเรือ ปลอดเหล้า อยากให้มีความปลอดภัย ไม่อยากเห็นคนเมา คนทะเลาะ วิวาทภายในงาน ข้อมูลที่เราเก็บได้ สะท้อนชัดว่า ความเป็นงานประเพณีกับคน กินเหล้าไม่สอดคล้องกัน เพราะประเพณีแข่งเรือนั้นโดยพื้นฐานเป็นเรื่อง ครอบครัว คนที่มาดูแข่งเรือล้วนเป็นคนเฒ่าคนแก่ในครอบครัวที่มาดูลูก
  • 23. 22 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ หลานแข่งเรือ บรรยากาศของงานจึงมีครอบครัวหลากหลาย แต่เมื่อคน เข้าร่วมงานกินเหล้า เมา ก็ทะเลาะวิวาทกัน มันก็ไม่ปลอดภัยส�ำหรับคนที่ อยากมาร่วมประเพณีจริงๆ ขณะเดียวกัน ร้านค้าที่ไม่มีใบอนุญาตก็หา ประโยชน์ขายบุหรี่ เหล้าให้เด็กๆ โดยไม่สนใจกฎหมายใดๆ ...ข้อมูลที่เก็บ ได้ มันสะท้อนถึงเรื่องความปลอดภัย เรื่องภาพลักษณ์ของประเพณีที่ผู้คน อยากจะให้เกิดขึ้น เราก็เลยจัดท�ำเอกสารส่งหน่วยงานต่างๆ ทั้งต�ำรวจ สาธารณสุข คณะกรรมการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดงานประเพณีแข่ง เรือ และหลังจากส่งข้อมูลไปแล้ว ปรากฏว่านายอ�ำเภอได้เรียกหน่วยงาน ราชการที่เกี่ยวข้องมาประชุมอย่างเร่งด่วน ขณะที่การเคลื่อนไหวด้วยข้อมูลน�ำไปสู่การตื่นตัวของหน่วย ราชการแล้ว ทางเราเองก็ขยับต่อด้วยการเชื่อมร้อยพลังทางสังคม มีการ นิมนต์พระจาก 5 วัดเข้ามาร่วมขบวน เพราะวัดเองก็ท�ำเรื่องวัดปลอดเหล้า อยู่แล้ว รวมทั้งเชิญโรงเรียนในเขตเทศบาลจ�ำนวน 5 โรง เข้ามามีส่วนร่วม ในการท�ำงานรณรงค์และการเก็บข้อมูลต่างๆ พอมาปี พ.ศ.2553 งานแข่ง เรือพิมายก็กลายเป็นงานประเพณีปลอดเหล้าจริงๆ โดยการท�ำงานเชื่อม ประสานความร่วมมือกับทาง อ�ำเภอและเทศบาล”
  • 24.
  • 25.
  • 26. 25 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 25 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ งานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า ปี พ.ศ.2553 เกิดขึ้นเห็นผลเป็น รูปธรรม แต่ทว่าบรรยากาศและความส�ำเร็จเช่นนี้กลับไม่สามารถเกิดขึ้น ได้ในงานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า ปี พ.ศ.2554 และน�ำไปสู่การปรับ กลยุทธ์ในการขับเคลื่อนใหม่ โดยการดับเครื่องชนด้วยการบังคับคดีตาม กฎหมาย “ปี พ.ศ.2555 มีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในอ�ำเภอ คนเก่า ย้ายไปคนใหม่เข้ามา แต่ด้วยงานประเพณีแข่งเรือนั้น เราได้เตรียมการ ไว้หมดแล้ว เราก็เลยยึดถือแนวทางนั้นต่อ แต่ด้วยการขับเคลื่อนรณรงค์ ปลอดเหล้านั้น ไม่ใช่แนวทางที่ข้าราชการระดับสูงคนใหม่จะรับได้ ท�ำให้ งานแข่งเรือปลอดเหล้าที่วางไว้ต้องล่ม บรรยากาศในงาน มีลานเบียร์เปิดให้บริการ มีพ่อค้าแม่ค้าเร่ จ�ำหน่ายเหล้าทั่วงาน ทั้งๆ ที่มีป้ายรณรค์ติดอยู่ทั่วงาน เราเลยท�ำหนังสือ ถามไปยังอ�ำเภอ ขณะเดียวกันเราก็ใช้สื่อกดดันด้วย โดยขบวนการเรียก ร้องสิทธิของเด็กๆ แต่ความพยายามของเรากลับไม่ได้รับการตอบสนอง เพราะทางอ�ำเภอไม่มีท่าทีอะไรเปลี่ยนแปลง ด้วยท่าทีแบบนี้ท�ำให้เราต้อง ด�ำเนินการมาตรการขั้นต่อไป คือ การบังคับใช้กฎหมาย ที่ผ่านมาก่อนกิจกรรมต่างๆ จะเริ่ม เราจะท�ำการรณรงค์ประชา สัมพันธ์ตลอดโดยใช้รถโมบาย แจกใบปลิว ติดป้าย โดยการรณรงค์นั้นเรา จะให้ข้อมูลต่างๆ ในเรื่องพระราชบัญญัติเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ด้วย รวมทั้ง ท�ำหนังสือแจ้งทุกหน่วยงานให้รับทราบด้วยว่าเราบังคับใช้ กฎหมาย ซึ่งทั้งจังหวัด และอบจ.ต่างก็รับรู้ ดังนั้น เมื่อเราแจ้งเรื่องการบังคับใช้กฎหมายแล้ว แต่ก็ยังมี บรรยากาศอย่างที่เห็น เราจึงแจ้งความด�ำเนินคดีตามกฎหมายทันที การที่เราแจ้งความด�ำเนินคดี เพราะเราเชื่อว่า กฎหมายเป็นเครื่อง มือตัวหนึ่ง จะใช้ได้ไม่ได้ต้องลองดู โดยก่อนงานเราก็ท�ำหนังสือแจ้งเตือน ไปแล้วว่าเราบังคับใช้กฎหมาย แต่ก็ยังเป็นเช่นนี้ ทั้งๆ ที่มีคณะกรรมการ ดับเครื่องชนด้วยกฎหมาย
  • 27. 26 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 26 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงมาตรวจด้วยก็ยังเจอการเร่ค้าอยู่เหมือน เดิม ดังนั้นในเมื่อเรามีกฎหมายบังคับใช้ แต่ไม่เห็นเขาท�ำตาม เราจึงต้อง เดินหน้าให้สุดด้วยการแจ้งความ โดยเราก็มีการเตรียมการ วางแผนกัน แจ้งความใครจะเป็นคนแจ้ง ต�ำรวจต้องเป็นคนจับ พวกเราจะท�ำหน้าที่ชี้เป้าให้ต�ำรวจ ใครจะเป็นคน ดูแลความปลอดภัย ใครท�ำสื่อ ใครท�ำเอกสาร เรียกว่า เราเตรียมความ พร้อมทุกอย่าง พอแจ้งความแล้ว ก็มีการชี้เป้า เราก็จะมีเด็กๆ ช่วยหาเป้าให้ และมีการจับปรับกันไป คดีหาบเร่ก็จะปรับพ่อค้าแม่ค้า 3,000 บาท ส่วน คดีนายอ�ำเภอ เราก็แจ้งความเรื่องการอนุญาตให้ร้านขายเร่ในพื้นที่สวน สาธาณะของทางราชการ คดีนี้ยืดยื้อไม่จบ จนกระทั่งเรื่องผ่านไป 3 เดือน มีเวทีที่จังหวัดถึงได้มีการเอาปัญหาเรื่องนี้ไปพูด เรียกได้ว่าเป็นคดีต้นแบบ ที่จะยืนยันว่ากฎหมายศักดิ์สิทธิ์หรือไม่กลไกอย่างเครือข่ายงดเหล้าที่ พิมายท�ำงานได้ไม่ได้ หลังจากนั้นแกนน�ำต่างก็ไม่ยอมกัดไม่ปล่อยมีการท�ำหนังสือทวง ถาม 3 ครั้ง บอกต�ำรวจว่าหากไม่ท�ำก็จะฟ้องเรื่องการละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่ จนต้องมีการไปโวยวายจนเกิดการติดตามคดี และมีการเรียกไปให้ ปากค�ำแต่จนแล้วจนรอดเรื่องก็ยังเงียบอยู่ดี” ท่ามกลางสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในงานแข่งเรือพิมายปีพ.ศ.2554ที่ กลไกรัฐได้ปล่อยปละละเลยในเรื่องแอลกอฮอลล์ ทั้งๆ ที่มีพระราชบัญญัติ ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 บัญญัติสาระในการควบคุมอย่าง ชัดเจน การขับเคลื่อนของเครือข่ายงดเหล้าอ�ำเภอพิมายจึงยกระดับไปสู่ การบังคับใช้กฎหมายโดยการแจ้งความด�ำเนินคดี ที่แน่นอนว่าสิ่งที่เกิดขึ้น ตามมาคือความตื่นตัวของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ขณะเดียวกันนั้น ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตของแกนน�ำก็เริ่มสั่นคลอน เมื่อความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตเริ่มสั่นคลอน
  • 28. 27 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 27 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ “ปัญหาเกิดขึ้นจริงจังอีกครั้งเมื่อปีที่แล้ว(พ.ศ.2556)งานประเพณี ทั้งงานสงกรานต์ งานแข่งเรือ เราท�ำรณรงค์ควบคู่กันมาตลอด แต่ปัญหา คราวนี้มาจากบริษัทสปอนเซอร์ ซึ่งคนท�ำงานไม่รู้มาก่อนว่าสปอนเซอร์ รายหนึ่งจะมาสนับสนุน แต่มาถึงงาน เรากลับเห็นป้ายโฆษณาเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ เราท�ำหนังสือแจ้งไปก่อนแล้วและทางเทศบาลก็มาแจ้ง ว่าไม่ให้เราเข้าร่วมงาน เราก็ท�ำหนังสือไปถึงนายอ�ำเภอ นายอ�ำเภอก็บอก ให้เข้า บรรยาการในงานสงกรานต์ปีที่แล้ว เลยมีการขึ้นป้ายคู่ขนานกัน เทศบาลขึ้นให้สปอนเซอร์ เราเลยต้องไปขออบต.ข้างเคียงขึ้นป้ายรณรงค์ ให้เราขณะนั้นเองทางเทศกิจก็โทรมาเรียกไปผู้ประสานงานเข้าไปคุยทาง เทศกิจก็ชี้แจงว่าจะมีงานอะไรบ้าง ที่มีทั้งอุโมงค์น�้ำ คอนเสิร์ตและบอกว่า หากเราท�ำแบบนี้จะเสียหายมากเพราะสปอนเซอร์จะถอนตัว เรียกได้ว่า บรรยากาศงานตึงเครียดมาก เพราะเป็นการต่อสู้ทาง ความคิด สุดท้ายเราตัดสินใจยกเลิกการรณรงค์ทั้งหมด หยุดกิจกรรมทุก อย่าง ไม่ให้สภาเด็กใส่เสื้อสสส.เล่นน�้ำ เพราะมีเรื่องความปลอดภัย แต่ยังมี การติดป้ายรณรงค์อยู่เหมือนเดิม ตอนนั้น ถามว่าท�ำไมอยู่ๆ ก็หยุดทุกอย่าง ที่เป็นเช่นนั้นเพราะ ทางชุมชนแจ้งเข้ามาว่าให้เราระวังตัว เราเลยรู้สึกได้ถึงความไม่ปลอดภัยใน ชีวิตของคนท�ำงานและเด็กๆ ที่ร่วมกิจกรรมกับเรา ท�ำให้ตัดสินใจหยุดแล้ว เข้าพบผู้ว่าฯ และร้องต่อสื่อเพื่อให้สังคมรับรู้ หลังจากเราก็สงบไม่เคลื่อนไหว นิ่งในพื้นที่ แต่ขณะเดียวกัน ข้อมูลทุกเรื่องก็กระจายออกหมด และผลลัพธ์จากการขับเคลื่อนบังคับใช้ กฎหมายของเราก็ส่งผลท�ำให้ได้รับโล่ห์รางวัลผู้บังคับใช้กฎหมายระดับ ประเทศตามมา”
  • 29. 28 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 28 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ การขับเคลื่อนที่เข้มข้นจริงจังของเครือข่ายงดเหล้าอ�ำเภอพิมาย ก่อเกิดผลลัพธ์ที่ส�ำคัญในเรื่องการบังคับใช้กฎหมาย รวมทั้งขยายผลน�ำไป สู่การตีความหลายประเด็นในกฎหมายฉบับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น พ.ร.บ. ปฏิรูปจัดสรรที่ดิน ว่าด้วยเรื่องที่สาธารณะ เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ท�ำให้ หน่วยงานภาคส่วนที่เก่ียวข้องเกิดการตื่นตัวลุกขึ้นมามีส่วนร่วม ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง จากบรรยากาศที่ต่างฝ่ายต่างตั้งป้อม กลับกลายเป็นต่างเรียนรู้จากบทเรียนหลายปีที่ผ่านมาจนเกิดเป็นการ ประสานความร่วมมือร่วมกัน “จากปัญหาสงกรานต์ ก็ส่งผลท�ำให้บรรยากาศแข่งเรือปีที่แล้ว (พ.ศ.2556) เบาลง ต้องบอกว่ามันเกิดกระบวนการเรียนรู้ระหว่างทางร่วม กันของทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง ตัวเราคนท�ำงานเอง ส่วนราชการเอง เทศบาล ก็เริ่มจริงจัง ตามวัดคนกินเหล้างานศพก็ไม่มี เพราะคนไม่ท�ำกัน รวมทั้ง เกิดการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และที่ส�ำคัญคนพิมายเองเรียนรู้และตื่นตัวอย่างมาก วันนี้คนใน สังคมพิมายเดินมาหาเรา เดินเข้ามามีส่วนร่วมกับเราเอง เพราะเขาเห็นถึง รูปธรรมการท�ำงานของเรา เขาตระหนักถึงความส�ำคัญในเรื่องนี้ ในฐานะ คนท�ำงาน เราเองก็เรียกได้ว่า นี่เป็นการพิสูจน์ตัวเองว่าเราสามารถท�ำได้ จริงๆ” ต่างฝ่ายต่างได้บทเรียน
  • 30. 29 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 29 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ บทเรียนจากพิมาย 1.ปัจจัยความส�ำเร็จ เกิดขึ้นมาจากการใช้ความรู้ ข้อมูลในการขับเคลื่อนสร้างความรู้ ขณะเดียวกันก็มีกระบวนการในการสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง มีการก�ำกับ ติดตามและการบังคับใช้กฎหมายอย่างต่อเนื่องและมีรูปธรรม ชัดเจน การประสานความร่วมมือของ อสม. อปพร. ท้องถิ่น อีกทั้งยังมีคณะท�ำงาน ที่มีจิตอาสาในการเข้าท�ำงาน และแต่ละ คนล้วนมีต้นทุนประสบการณ์ชีวิต ประสบการณ์การท�ำงานที่สามารถ น�ำมาบูรณาการใช้กับงานขับเคลื่อนงดเหล้าเรียกได้ว่าเป็นงานที่ต่อยอด หนุนเสริมต้นทุนชีวิต อาชีพของแกนน�ำแต่ละคน 2.เครื่องมือสร้างการเรียนรู้ รถโมบาย สื่อวิทยุ ป้ายต่างๆ แผ่นพับ สติ๊กเกอร์ สื่อเคเบิลท้องถิ่น สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ในโคราชสื่ออินเตอร์เน็ตสื่อบุคคล และคณะท�ำงาน โดยต้องมีการออกแบบเครื่องมือในการสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลาย เช่น การใช้ละครสั้นเพื่อชวนเชิญประชาสัมพันธ์ เป็นต้น 3.ข้อมูลที่ดี คือพลัง ข้อมูลด้านเดียวไม่เพียงพอ ต้องมีข้อมูลประกอบรอบด้านส�ำหรับ การสื่อสารท�ำความเข้าใจของสังคม โดยมีการน�ำข้อมูลหน่วยงานอื่นมาใช้ ในการขับเคลื่อน เช่น ข้อมูลคุมประพฤติ ข้อมูลขนส่ง สาธารณสุข ทั้งนี้ ข้อมูลในการน�ำเสนอสื่อสาร สร้างการเรียนรู้ ควรประกอบ ด้วย ข้อมูลเชิงปัญหา ข้อมูลเชิงสถิติจริงๆ จากพื้นที่ (เช่น ตัวอย่างของ ชุมชนที่มีปัญหา)ข้อมูลรณรงค์และข้อมูลองค์ความรู้(พ.ร.บ.องค์ความรู้ที่ มีประโยชน์จากที่อื่น) เป็นต้น และข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ ควรมีการคืนข้อมูล โดยกรณีพิมายนั้นใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนเป็นพื้นที่ในการเรียนรู้ร่วมกัน
  • 31. 30 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 30 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ แข่งเรือ–ปลอดเหล้าอำ�เภอพิมายนับเป็นกระบวนการขับเคลื่อน ที่เป็นบทเรียนสำ�คัญในการเริ่มต้นบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อีกทั้งยัง เป็นพื้นที่ที่ลักษณะแตกต่างจากที่อื่นๆ เพราะที่เมืองพิมายนั้นมีความเป็น ชุมชนเมือง ที่ย่อมส่งผลต่อการทำ�งานขับเคลื่อนรณรงค์ ด้วยเหตุนี้ที่นี่ จึงมีการทำ�งานแบบน้ำ�ซึมบ่อทราย ค่อยๆ ซึม ค่อยๆ ซับกันไปผ่าน กระบวนการสร้างการเรียนรู้ทั้งจากข้อมูลก็ดี ปฏิบัติการก็ดี “จากงานที่เราทำ� เราทำ�งานรณรงค์ เราให้ความรู้ เราใช้เครื่องมือ เรามีการวางแผน ออกแบบการทำ�งานเราไม่ได้ห้ามไม่ให้กินเหล้า ดังนั้น ความสำ�เร็จของเราไม่ใช่การเลิกกินเหล้าแต่เป็นการที่เราควบคุมได้จัดการ ได้ เรารู้ว่าเด็กๆ ของเรา หากกินเหล้าก็จะกินเหล้าอย่างมีภูมิรู้คุมตัวเองได้ สิ่งที่ภาคภูมิใจคือการทำ�งานเรื่องเหล้าเราได้ค้นหาแกนนำ�เด็กในพื้นที่จน เกิดสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นรากฐานสำ�คัญในการสร้างกระบวนการ เรียนรู้ให้กับพวกเขา เราคุมร้านค้าผู้ขายและจัดการกับผู้ประกอบการได้ เรา รณรงค์ เราขอความร่วมมือ เราใช้สื่อประชาสัมพันธ์และมีการประกาศชื่อ ซึ่งทำ�ให้เกิดการพูดถึงกันในสังคม เราคุมพื้นที่สาธารณะได้ ในพื้นที่ สาธารณะนั้นจะไม่มีเลยและเราเชื่อว่ากระบวนการให้ข้อมูลให้ความรู้แบบ ที่เราทำ� มันจะช่วยทำ�ให้คนกินเหล้าแบบระมัดระวังมากขึ้น เพราะเขาจะ ค่อยๆ ซึมซับและมีความรู้ ซึมซับข้อมูลที่เราให้อยู่ทุกวี่ทุกวัน อาจไม่เลิก แต่อาจลดและหากถามว่ารู้ไหมคุณและโทษต่างๆ แน่นอนว่าพี่น้องชาว ชุมชนรู้ มันเป็นการทำ�งานหวังระยะไกล คล้ายๆ น้ำ�ซึมบ่อทราย เป้าหมายที่เราอยากจะเดินต่อนั้นชัดเจนว่าเราไม่ได้ห้ามหรือ รังเกียจคนกินเหล้า แต่เรามองเรื่องการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรม การตระหนักรู้เกี่ยวผลกระทบของเหล้าเป็นหลักเราจะพยายามพลิกพิมาย ใหม่ ทำ�อะไรก็แล้วแต่ให้ชาวบ้านเดินเข้าวัด เกิดการรวมตัวเรื่องบุญ ซึ่งเราอยากจะใช้แผนนี้เป็นเครื่องมือที่จะแก้ปัญหาเด็ก – เยาวชน และ สังคม เพราะหากเราทำ�เรื่องบุญประเพณีปลอดเหล้าได้ เรื่องปลอดเหล้า ก็น่าสามารถขยายผลไปสู่เรื่องอื่นๆได้และน่าจะนำ�เราไปสู่การแก้ไขปัญหา ทิศทางต่อไป
  • 32. 31 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ 31 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ของชุมชนในอีกหลายเรื่อง ดังนั้นเราจะใช้ข้อมูลที่เราเก็บได้เป็นตัวเชื่อม กับนโยบายระดับต่างๆทั้งระดับชุมชน อำ�เภอ จังหวัดเพื่อผลักดันนโยบาย งานประเพณีแข่งเรือปลอดเหล้า ที่สุดแล้วนั้น การขับเคลื่อนเรื่องเหล้า เราก็เหมือนตำ�รวจภาค ประชาชนทั้งเป็นผู้เฝ้าระวัง เป็นกลไกติดตาม คนกินเหล้ามีหลายระดับ เราหวังว่าจะสามารถทำ�ให้กระบวนการนี้ยกระดับไปถึงภาพจังหวัด (จังหวัดจัดการตนเอง ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย) รวมทั้งการเป็นพื้นที่ เรียนรู้ ที่มีการเชื่อมร้อยและขยายผล และที่สำ�คัญ คือ การที่คนตื่นตัว ตระหนักถึงสิทธิ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ เข้ามามีส่วนร่วม ลุกขึ้นมา จัดการตนเอง โดยใช้เรื่องเหล้าเป็นเครื่องมือขับเคลื่อนนั่นเอง”   สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ที่ นางสมควร งูพิมาย 83/1 ม.3 ต.ในเมือง อ. เมือง จ.นครราชสีมา โทร 087- 9599481
  • 34. 33 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ครั้งหนึ่งค�ำกล่าวที่ว่า คนสุรินทร์กินสุรา อาจเป็นค�ำพูดที่สะท้อน ถึงตัวตนอีกมุมหนึ่งของคนสุรินทร์ แต่ค�ำกล่าวนี้ คงใช้ไม่ได้อีกต่อไปแล้ว เพราะช่วงเกือบสิบปีที่ผ่านมา คนสุรินทร์ไม่กินสุรากันถ้วนหน้า หลายต�ำบล หลายอ�ำเภอมีปฏิบัติการอย่างขันแข็งในการลดละเลิกเหล้ารวมทั้งอบายมุข ต่างๆ ต�ำบลส�ำเภาลูนอ�ำเภอบัวเชดจังหวัดสุรินทร์ก็เป็นหนึ่งในต�ำบลที่มี ปฏิบัติการลดละเลิกเหล้า/ อบายมุขอย่างเข้มข้นจนกลายเป็นพื้นที่ต้นแบบ ที่ขยายผลปฏิบัติการงดเหล้าไปสู่อีกหลายชุมชน ต�ำบลส�ำเภาลูนมีหมู่บ้านในเขตการปกครอง10หมู่บ้านก่อตั้งเมื่อ เดือนพฤษภาคม 2534 โดยแยกการปกครองจากต�ำบลสะเดา มีอาณาเขต ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ต�ำบลตาวัง อ�ำเภอบัวเชด ทิศใต้ ติดต่อกับ ต�ำบลบัวเชด อ�ำเภอบัวเชด ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต�ำบลสะเดา อ�ำเภอบัวเชด ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ต�ำบลพระแก้ว อ�ำเภอสังขะ (ที่มาวิกิพีเดีย, http://www.thaitambon.com) “ส�ำเภาลูน” เป็นชุมชนเกษตรกรรม ที่มีวิถีชีวิตไม่ต่างจากชุมชน เกษตรกรรมอื่นๆ ผู้คนมีอาชีพท�ำนาเป็นหลัก ทุกหลังคาเรือนล้วนเป็นเครือ ญาติพี่น้อง แม้ว่า ชุมชนจะพยายามยึดหลักวิถีพอเพียงในการด�ำรงชีวิต แต่ ก็มิอาจปฏิเสธหรือหลีกพ้นจากสภาวะเงื่อนไขภายนอกได้ ดังนั้นชาวบ้าน หลายครัวเรือนจึงประสบปัญหาหนี้สิน ซึ่งส่วนใหญ่นั้นเป็นหนี้สินที่เกิดขึ้น จากการประกอบอาชีพเกษตรกรรม การส่งเสียลูกหลานเล่าเรียนหนังสือ รวมทั้งค่าใช้จ่ายครัวเรือนที่เพิ่มมากขึ้น ...ยิ่งภาระหนี้สินถาโถมมากเท่าไหร่ ความสุขของชาวบ้าน ชุมชนก็ยิ่งลดน้อยลง ตำ�บลสำ�เภาลูน
  • 35. 34 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ ขณะเดียวกัน วิถีความเป็นชุมชนก็เปลี่ยนแปลงไป ชาวบ้าน ต่างคนต่างอยู่ ไม่มองหน้ากัน ไม่ช่วยเหลือ ไม่สุงสิงกันเหมือนอย่าง ในอดีต จะรวมตัวกันก็เฉพาะในกลุ่มเพื่อท�ำกิจกรรมเท่านั้น และทุกครั้ง ในการรวมตัวกันก็จะมีเรื่องเหล้า/ อบายมุขเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอๆ และภาพเช่นนี้กลายเป็นภาพที่เกิดขึ้นให้เห็นจนชินตาในชุมชนส�ำเภาลูน “ปัญหาเรื่องเหล้ามีอยู่ในชุมชนมานานแล้ว พอมาคุยกันเราก็เริ่ม เห็นว่า ช่วงปี พ.ศ.2547 – 2548 เป็นปีที่เรามีการรวมกลุ่มเยอะมาก กลุ่ม โน้นกลุ่มนี้ เพราะกลุ่มที่มีมากเหล่านี้พอวันไหนมีรวมตัวกันทีก็มีเรื่องเหล้า ยาปลาปิ้งเข้ามาเกี่ยวด้วย รวมทั้งเรายังเห็นชัดมากว่าในงานลงแขกเกี่ยว ข้าว และงานศพหลายงาน เจ้าภาพติดลบ เป็นหนี้เป็นสิน ต้องขายวัว ขาย ควาย ภาพแบบนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เหล้ากับงานศพที่ต�ำบลส�ำเภาลูนกลายเป็นของคู่กันงานศพ3วัน กินเหล้า 4 วัน หรือภาพที่เห็นจนชินตาตอนเด็กๆ ตกเย็นจะเห็นชาวบ้าน ต้มเหล้า หรือท�ำสาโทใส่ไห ต้มเอง กินเอง และก็เมาเอง บางครั้งต้องแบก ไหเหล้าหนีต�ำรวจก็ยังมี เหล้าจึงเป็นปัญหาส�ำคัญของชุมชน เพราะเหล้าเป็นสาเหตุหลักที่ ท�ำให้คนขาดสติ ท�ำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ปัญหาครอบครัว ท�ำลาย สุขภาพ ท�ำลายสังคม หรืออย่างเรื่องการพนัน เราจะพบว่า เงินบาทสอง บาทก็ตีกันได้แล้ว ยิ่งมีการพนันก็ยิ่งเสี่ยงต่อการกินเหล้า” เรื่องเหล้า ส�ำหรับชุมชนจึงไม่ใช่เรื่องเล็ก แต่เป็นเรื่องใหญ่ เรื่อง ส�ำคัญมากที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง จนน�ำไปสู่การหาทางแก้ไข โดยมีกลุ่มผู้สูงอายุเป็นตัวตั้งตัวตีเริ่มจุดประกายและเกิดการเชื่อมร้อยภาค ส่วนต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วม “เรื่องเหล้าไม่เล็ก มันใหญ่มาก”
  • 36. 35 ªØÁª¹ ¥¹ ÊÙŒàËÅŒÒ “กระบวนการที่เกิดขึ้นจากกลุ่มชมรมผู้สูงอายุที่มีการแลกเปลี่ยน พูดคุยกันอย่างต่อเนื่อง น�ำไปสู่การเชื่อมประสานกับกลุ่มต่างๆ ของชุมชน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่ม อสม. กลุ่ม อปพร. ชมรมก�ำนันผู้ใหญ่บ้าน หมออนามัย โรงเรียนวัด เกิดเป็นภาพส่วนต่างๆ ของชุมชนที่มาแตะมาเชื่อมประสานกัน ท�ำงาน ที่แต่ละกลุ่มก็จะหยิบยกประเด็นต่างๆ ที่ตัวเองท�ำงาน ท�ำกิจกรรม อยู่มาพูดถึง มามองปัญหาร่วมกัน ชมรมผู้สูงอายุได้ริเริ่มท�ำกิจกรรมเรื่องการลดละเลิกเหล้าจากงาน ศพปลอดเหล้า ปลอดอบายมุข โดยในการประชุมประจ�ำเดือนของอบต. ส�ำเภาลูน กลุ่มชมรมผู้สูงอายุได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมา จากวงคุยจึงมีข้อสรุป ร่วมกันให้อบต.ส�ำเภาลูนเป็นเจ้าภาพ โดยในการด�ำเนินกิจกรรมลดละเลิก เหล้า และมีการท�ำบันทึกข้อตกลง (MOU)ร่วมกันในปี พ.ศ.2548 อบต. จะสนับสนุนงบประมาณ โดยผู้น�ำชุมชนจะเป็นกลไกขับเคลื่อนหลัก และ หน่วยงานโรงเรียน วัด อนามัย จะเป็นพี่เลี้ยง เกิดกระบวนการท�ำงานขับ เคลื่อนอย่างเชื่อมร้อย บูรณาการ ตอนที่มีการท�ำบันทึกข้อตกลงร่วมกันนั้น แน่นอนว่าจะต้องมีทั้ง หมู่ที่ยอมรับ และหมู่ที่ไม่ยอมรับ ในหมู่ที่ไม่ยอมรับก็เพราะมีความกังวลว่า หากไม่มีเหล้าในงานศพ แล้วใครจะอยู่เป็นเพื่อนศพ จากความกังวลดังกล่าว เราก็ต้องพิสูจน์ ยืนยันรูปธรรมให้เห็น ในงานศพแรกที่จัดหลังจากที่มีวงคุยและหลังจากที่ท�ำ MOU ไปแล้วทางเจ้า ภาพก็ยินดีจัดงานศพปลอดเหล้า หลังการเผาศพเสร็จสิ้น เจ้าบัญชีประจ�ำ หมู่บ้าน ที่จะเป็นคนคอยท�ำข้อมูล ก็สรุปข้อมูล สรุปบัญชีแจ้งภายในงาน ปรากฏว่า เจ้าภาพประหยัดเงินอย่างมาก”