SlideShare a Scribd company logo
1 of 33
Download to read offline
2 3คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
คืนการศึกษาให้สังคม
	 “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา” ก่อตัวขึ้นจากการรวมตัว
กันของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายผู้ปฏิบัติการและภาคีผู้เกี่ยวข้องทางการ
ศึกษา9เครือข่าย ประกอบด้วย เครือข่ายการศึกษาทางเลือกเครือข่าย
พ่อแม่ผู้ปกครอง เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน
เครือข่ายโรงเรียนเอกชน เครือข่ายโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น (อปท.) เครือข่ายกลุ่มธุรกิจเอกชน เครือข่ายเด็กและเยาวชน
คนรุ่นใหม่ และเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง โดยภาคีทั้ง 9 เครือ
ข่ายนี้มีความแตกต่างหลากหลายของบริบทและรูปแบบในการจัดการ
ศึกษาเรียนรู้ หากแต่มีเจตจ�ำนงค์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูป
การศึกษาภาคสังคม ด้วยการ “กระจายอ�ำนาจ” “คืนการศึกษาให้
ประชาชน” “ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา”
	 “เรา” เชื่อมั่นในการศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลาย …เชื่อว่า คน
ทุกคนมีสิทธิเลือกการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับตนเอง
	 “เรา” เชื่อมั่นในกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะการศึกษาไม่ใช่
เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม
เป็นเรื่องของทุกๆ คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทย
	 “เรา” เชื่อมั่นในพลังของประชาชนทุกกลุ่มในสังคม …เชื่อว่า
ทุกคนล้วนเป็นพลังหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และ “เรา” ตั้ง
มั่นอยู่บนการเคารพในสิทธิ ความคิดเห็น รวมทั้งแนวทางที่หลากหลาย
อันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย
	 แน่นอนว่าท่ามกลางความตื่นตัวของสังคมที่อยากเห็นการ
ปฏิรูปประเทศไทยเช่นนี้ “เรา” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยากให้การปฏิรูปเกิด
ขึ้นและเป็นจริง
	 “การปฏิรูปการศึกษา” ในทศวรรษใหม่นี้ มิใช่เป็นการปฏิรูป
โดยกระทรวงศึกษาธฺการฝ่ายเดียวดั่งที่เคยเป็นมาในอดีต แต่ในครานี้
”การปฏิรูปการศึกษา”       จะด�ำเนินการโดยภาคีทุกภาคส่วนในสังคมที่มุ่ง
ไปสู่ ”การศึกษาเพื่อคนทุกคน”
	 “เรา” จึงมิได้นั่งรอ แต่ “เรา” ได้เริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปแล้ว
ด้วยการ “ปฏิบัติการ ท�ำ ทัน ที” ในแต่ละเครือข่าย ด้วยการท�ำพื้นที่
ต้นแบบ หรือพื้นที่น�ำร่องรูปธรรมการปฏิรูปการศึกษา และมี “การ
สื่อสารให้ข้อมูล เพื่อสร้างความตระหนัก” เพื่อชักชวนให้ประชาชน
ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้
	 รวมทั้ง เราได้ขยับ “ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย” เดินหน้าขอให้มี
การแก้กฎหมาย กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เอื้อและเปิดโอกาสให้
ภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น อันเป็นไปตาม
ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา 7 ปฏิรูป 7 ขับเคลื่อน ที่ประกอบด้วย “การ
เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพและ
สังคมที่เข้มแข็ง เปลี่ยนบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการคืน
สิทธิ/กระจายอ�ำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี
ส่วนร่วม ผลักดันให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดท�ำธรรมนูญ
การศึกษาภาคประชาชน จัดตั้งองค์กรอิสระด้านการศึกษาในระดับชาติ
ที่เกิดขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อท�ำหน้าที่ขับเคลื่อน
แผนการศึกษาของชาติอย่างเป็นองค์รวม”
	 “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วยการจัดท�ำหลักสูตรที่ทุก
ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม วัดผลด้วยศักยภาพและรูปธรรมการเรียนรู้
การปรับใช้ความรู้ที่หลากหลาย จัดให้มีการประเมินทุกระดับอย่างมี
ส่วนร่วม และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสภาพจริง”
	 “ปฏิรูปครูที่มีอยู่เดิมให้เป็นครูที่เอื้ออ�ำนวยในการจัดการ
เรียนรู้เป็นผู้จุดประกายและดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมามีศูนย์พัฒนา
บุคลากรทางการศึกษา สร้างหลักสูตรผลิตครูใหม่ เพื่อผลิตครูที่มีจิต
วิญญาณความเป็นครู มีคุณภาพ มีจิตวิทยาในการสอน”
“รวมทั้งให้สื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในสร้างกระบวนการเรียนรู้
ให้แก่สังคม จุดประกายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
4 5คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
ปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคน/พลเมืองที่มีคุณภาพร่วมกันและคนใน
สังคมมีทางเลือกทางการศึกษามากขึ้น”
	 การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามหลักการของ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542
	 มาตรา 8 บัญญัติว่า “การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้
		 1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตส�ำหรับประชาชน
		 2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
		 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็น
		 ไปอย่างต่อเนื่อง
	 และมาตรา 12 บัญญัติว่า “นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กร
เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน
สังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กา
หนดในกฎกระทรวง”
	 จากเจตนารมณ์เช่นนี้ รัฐจึงมีหน้าที่ในการหนุนเสริมสิทธิในการ
จัดการศึกษาของภาคสังคม ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง วิสัยทัศน์ของการ
ปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ จึงต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะ
ทุกคนมีสิทธิในการเลือกการศึกษาที่ตนเองต้องการ ที่ลูกหลานต้องการ
ดังนั้นเราทุกคนจึงมีสิทธิออกแบบ มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข
พัฒนาระบบการศึกษาที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่ออนาคตของสังคมร่วมกัน
	 และท้ายที่สุด “เรา” ขอเชิญชวนทุกพลังเข้ามามีส่วนร่วม ด้วย
หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คบไฟแห่งการปฏิรูปการศึกษาจะจุดขึ้นและส่งต่อๆ
ไปถึงมือของประชาชนทุกๆ คน
	 “คืนการศึกษาให้ประชาชน ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา”
				สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
					 15 มีนาคม 2558
สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
	 สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับร่วมกันคือระบบการศึกษาไทยมีปัญหา
และเป็นปัญหาที่เรื้อรังกัดกร่อนสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งๆ ที่
ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณ
แผ่นดิน โดยตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยจัดสรรงบประมาณ
รายจ่ายประจ�ำปีให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นอันดับหนึ่ง ยกเว้น
ปี 2555 ที่ตกมาเป็นอันดับ 2 โดยงบประมาณแต่ละปีอยู่ที่ประมาณร้อย
ละ20ของงบประมาณทั้งหมดและจัดสรรงบประมาณในวงเงินที่สูงมาก
ขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยในปี 2556 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง
พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ให้กับ
กระทรวงศึกษาธิการมากที่สุดเป็นจ�ำนวนเงิน 460,411,648,800 บาท
หรือประมาณร้อยละ 19.18 ของงบประมาณรวม 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่ง
งบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับในปี 2556 สูงกว่าปีที่ผ่านมา
เกือบ 4 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่งบประมาณสูงมากที่สุดเช่นนี้ แต่กลับไม่
สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผลิตคนให้มีคุณภาพได้
	 นอกจากเรื่องงบประมาณที่รัฐจัดสรรเทลงไปในการศึกษาแล้ว
การศึกษาไทยที่พยายามกระจายให้เกิดความเท่าเทียมและเข้าถึงใน
การศึกษานั้น แท้จริงแล้วกลับยังมีกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสจ�ำนวนนับล้าน
คนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ โรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีคุณภาพตาม
การประเมินก็กลายเป็นพื้นที่แข่งขันของเด็กๆ มากกว่าพื้นที่เรียนรู้ ขณะ
ที่โรงเรียนเล็กๆ กลับมีการประเมินที่ต�่ำ บุคลากรน้อย งบประมาณน้อย
กลายเป็นเกิดปัญหาความเหลื่อมล�้ำด้านการศึกษาในสังคมตามมา ไหน
จะมีปัญหาการกระจุกตัวของการศึกษาที่อยู่เฉพาะในเขตเมือง และเป็น
สาเหตุให้เด็กหนุ่มสาวมุ่งหน้าจากบ้านเข้าสู่เมือง เข้าสู่ระบบการศึกษา
6 7คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
ที่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เข้าสู่ภาค
บริการ ภาคอุตสาหกรรม
	 ขณะเดียวกันการศึกษาในระบบยังไม่เปิดพื้นที่ส�ำหรับการเรียน
รู้อย่างรอบด้านและเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน ที่ส่งผลท�ำให้เกิด
ปัญหานักเรียนเบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลุดออกจากระบบการ
ศึกษาเป็นจ�ำนวนมาก
	 ระบบการศึกษาไทยจึงเป็นการศึกษาลู่วิ่งเดียว โดยเป็นลู่วิ่งที่มี
เป้าหมายปลายทางหลักเพื่อผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เข้าสู่ภาคเมือง
และภาคอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาไทยที่มุ่งสอนให้เด็ก “เอาตัวรอด”
แต่ไม่ได้สอนให้เด็ก “เอาชีวิตรอด” ...ความรู้ในห้องเรียนจึงคับแคบไม่
ต่างไปจากสภาพของห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่กักขังความคิดสร้างสรรค์ของ
เด็กเอาไว้
	 จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคน
มีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวด
วิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียน
รู้ และหลายคนต้องหลุดออกจากลู่กลางคัน แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง
ทั้งการเสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่เด็กและ
เยาวชนเหล่านี้กลับตอบไม่ได้ว่า เป้าหมายในอนาคตที่พวกเขามุ่งหวัง
อยากเป็นคืออะไร หรือมีความสุขในการไปโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน
	 ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบ
ตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอา
มาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความ
หลากหลายทั้งอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์และวิถีวัฒนธรรมเห็นคุณค่า
ของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้
เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการน�ำเข้าทรัพยากร
การเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนใน
ท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา
	 ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กร
ภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ท�ำงานการศึกษา ต่างตระหนัก
ได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้ง
เด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น
และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนว
ทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน
	 ด้วยความส�ำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการ
ศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้า
หมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสาน
ความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย
	 เครือข่ายการศึกษาทางเลือก เครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง เครือ
ข่ายโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน (สพฐ.) เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน เครือข่ายโรงเรียน
เอกชน เครือข่ายโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
เครือข่ายกลุ่มธุรกิจเอกชน เครือข่ายเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ และ
เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง
	 โดยภายใต้การรวมตัวกันนี้ได้น�ำไปสู่ความร่วมมือในการจัด
เวทีระดมความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาขึ้นทั้งหมด 9 เวที
เครือข่าย และ 1 เวทีสมัชชาปฏิรูปการศึกษา ซึ่งในแต่ละเวทีนั้นต่างมี
ผู้แทนและแกนน�ำจากแต่ละเครือข่ายเข้าร่วมกันระดมความคิดเห็นกัน
อย่างเข้มข้นและจริงจัง จนเกิดข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการศึกษา ดังนี้
1.
2.
3.
ขอเสนอรางรัฐธรรมนูญ
ดานการศึกษาการจัดการศึกษาตองเปนไปเพื่อการ
พัฒนาความเปนมนุษยที่สมบูรณทั้งกาย
ใจ สติปญญาและการพัฒนาความเขมแข็ง
ในความเปนพลเมืองเพื่อสรางสังคมที่มี
คุณภาพ
ประชาชนทุกคนตองไดรับสิทธิที่จะเลือก
การศึกษาที่สอดคลองเหมาะสมกับตน
โดยรัฐตองสนับสนุนใหภาคีทุกภาควนมี
สวนรวมในการจัดการศึกษาอยาง
หลากหลายเพื่อรองรับผูเรียนที่หลากหลาย
จัดอยางเสมกภาค เทาเทียมและมีคุณภาพ
รัฐตองกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา
ใหกับทุกภาคสวนในสังคม เพื่อใหการศึกษา
พัฒนาคนอยางเต็มศักยภาพ สอดคลองกับ
บริบทของผูเรียน สถานศึกษาและชุมชน
ทองภิ่น โดยรัฐจะตองสนับสนุนทาง
ดานวิชาการ งบประมาณ และการลด
หยอนภาษี
3 ลำดับแรกเพื่อการปฏิรูปการศึกษา
ที่ตองดำเนินการอยางเรงดวน
1.
2.
3.
ปฏิรูปการกระจายอำนาจ/โครงสรางการจัดการ
ใหสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาไดอยางอิสระ
เชน การจัดการในรูปโรงเรียนนิติบุคคล เปนตน
และภาคสังคมตางๆ สามารถจัดการศึกษา
ไดตามสิทธิที่บัญญัติไวใน พ.ร.บ.การศึกษา
แหงชาติ มาตรา 12
ปฏิรูปการบริหารจัดการการศึกษา
ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนดวยการจัด
ทำหลักสูตรตัวชี้วัด การประเมินผล
ที่หลากหลายและทุกภาคสวนเขามามีสวนรวม
การจัดสรรงบประมาณใหสอดคลองกับสภาพ
จริง (Demand Side) และสนับสนุนสงเสริม
ใหมากขึ้นในพื้นที่ที่หางไกลและขาดโอกาส
ปฏิรูปกลไกการจัดการศึกษา
ใหมีการจัดตั้งองคกรอิสระดานการศึกษาใน
ระดับชาติ ที่เกิดขึ้นมาจากการมีสวนรวม
ของทุกภาคสวน เชน สมัชชาปฏิรูปการศึกษา,
ระดับจังหวัด เชน สภาการศึกษาจังหวัด
เปนตน
เปลี่ยนเปาหมายใหมของการศึกษาเพื่อสรางพลเมืองที่คุณภาพและสังคมที่เขมแข็ง
ที่เชื่อมั่นในการเรียนรูที่หลากหลาย ตลอดชีวิต มุงเนนการเรียนรูดวยตนเอง
มีทักษะชีวิตที่สามารถพึ่งตนเองได คิดวิเคราะหเปน ทำเปน มีเหตุผล มีคุณธรรม
จริยธรรม จิตสาธารณะ และสามารถปรับตัวเขากับบริบทของสังคมโลกได
มีความรักและเขาใจในชุมชนทองถิ่น มีความภาคภูมิใจในตัวเอง เคารพตัวเอง
มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีสำนึกของความเปนพลเมือง
1) ปฏิรูปเปาหมาย
ทางการศึกษา/
กระบวนทัศน
2.ปฏิรูปการกระจาย
อำนาจ/ โครงสราง
ลดอำนาจ เปลี่ยนบทบาทจากเผด็จการทางการศึกษาที่ผูกขาด/ครอบงำการจัดการเรียนรู
และความรูของสวนกลาง ดวยการคืนสิทธิ/กระจายอำนาจหนาที่ในการจัด
การศึกษาใหเด็กเยาวชน พอแมผูปกครอง ชุมชน ทองถิ่น สถานศึกษาของรัฐ
สถานศึกษาเอกชน สถานศึกษาสังกัดอปท. สถาบันศาสนา องคกรวิชาชีพ
สถานประกอบการ องคกรชุมชนและองคกรเอกชน ฯลฯ เขามามี
สวนรวมในการจัดการศึกษาอยางตอเนื่อง และใหภาครัฐมีบทบาท
หนาที่ทางดานนโยบาย การสนับสนุนและการติดตามผล
7 ปฏิรูป
แยกการเมืองออกจากการศึกษา ผลักดันใหการศึกษาเปนวาระแหงชาติ
มีการจัดทำธรรมนูญการศึกษาที่ทุกภาคสวนมีสวนรวมและใหพรรคการเมือง
ลงสัตยาบันรวมกันเพื่อแกปญหาการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาที่ไมตอเนื่อง
รวมทั้งแกระเบียบนโยบายกฎหมายที่ไมเอื้อตอการจัดการศึกษา
และออกนโยบายกฎหมายที่เอื้อตอการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต
3.ปฏิรูปนโยบาย/
กฎหมายการศึกษา
4.ปฏิรูปกลไก
การจัดการศึกษา
ใหมีการจัดตั้งองคกรอิสระดานการศึกษาในระดับชาติ ที่เกิดขึ้นมาจากการ
มีสวนรวมของทุกภาคสวน เพื่อทำหนาที่ขับเคลื่อนแผนการศึกษาของชาติ
อยางเปนองครวม เชื่อมโยงการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบ
ใหความรูและสนับสนุนใหเกิดความเขมแข็งแกองคกร หนวย กลุม
หรือชุมชนที่มีจัดการศึกษาตางๆ
สถานศึกษาตองมีอิสระในการจัดการ บริหารจัดการดวยระบบธรรมาภิบาล โดยสถานศึกษา
ทุกแหงจะตองมีผูบริหาร งานบริหารงานบุคคลมีอัตรากำลังที่สอดคลองกับบริบทสถานศึกษา
จัดครูใหครบชั้นเรียน และมีคณะกรรมการการศึกษาเพื่อชุมชนทองถิ่น/ สภาการศึกษาชุมชน
เพื่อสรางการมีสวนรวมในระดับที่มีการจัดการศึกษา ที่มีตัวแทนจากทุกภาคสวน รวมทั้ง
มีระบบในการพัฒนาคุณภาพทั้งครูและผูบริหาร รวมทั้งมีความชัดเจน ในการจัด
สวัสดิการใหบุคลากรและการจัดการเงินวิชาชีพที่เทาเทียม
- คืนหลักสูตรไปที่ชุมชน/ทองถิ่น/สถานศึกษา ปรับการเรียนเปลี่ยน
การสอนดวยการจัดทำหลักสูตรที่ทุกภาคสวนเขามามีสวนรวม เชื่อมรอยชุมชน
/ผูปกครอง/ศาสนสถานและบุคลากรสวนตางๆ ปฏิรูปหลักสูตรใหสอดคลองกับ
ทองถิ่น สอดคลองกับเด็กนักเรียนรายบุคคลไมใชหลักสูตรเดียวสอนทั่วประเทศ
- ตัวชี้วัดและการประเมินผล ตองปรับวิธีการประเมินใหเปนรายบุคคล
มีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งเรื่องทักษะชีวิต คุณธรรมไมเฉพาะวิชาการเทานั้น
ยกเลิกการวัดผลโดยใชคะแนนเปนตัวชี้วัด แตใหวัดผลดวยศักยภาพและรูปธรรม
การเรียนรูการปรับใชความรูที่หลากหลาย และจัดใหมีการประเมินทุกระดับ
อยางมีสวนรวม นักเรียน ครู สถานศึกษา ผูปกครอง โดยตองทำใหทุกภาคสวน
ตระหนักถึงบทบาทหนาที่ที่มีตอการจัดการศึกษา
- การจัดสรรงบประมาณ กระจายใหผูจัดการศึกษา 80% ลดงบประมาณ
ดานบุคลากรใหเหลือ 20% โดยงบประมาณการจัดการศึกษาใหขึ้นตรงกับทองถิ่น
ใหทุกภาคสวนในระดับทองถิ่น เขามามีสวนรวมในการบริหารจัดการงบประมาณ
การศึกษา จัดสรรงบประมาณใหสอดคลองกับสภาพจริงและสนับสนุนสงเสริม
ใหมากขึ้นในพื้นที่ที่หางไกลและขาดโอกาส
5.ปฏิรูปการบริหารจัดการ
(หลักสูตร ตัวชี้วัด
การประเมินผล และ
การจัดสรรงบประมาณ)
6.ปฏิรูประบบการผลิต
และบุคลากรทางการศึกษา
ปฏิรูปครูที่มีอยูเดิมเปลี่ยนครูจากการเปนผูสอน/ ผูจัดการเรียนการสอน ใหเปนครูเอื้อ
อำนวยในการจัดการเรียนรู เปนผูจุดประกายและดึงศักยภาพของผูเรียนออกมา
สรางหลักสูตรผลิตครูใหม จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยครูแหงชาติ” ที่ผลิตและพัฒนา
ครูทั้งภาครัฐและเอกชนดวยการมุงเนนคุณภาพมากกวาปริมาณ ผลิตครูที่มีจิต
วิญญาณความเปนครู มีคุณภาพ มีจิตวิทยาในการสอน ใหทุกภาคสวนเขามามี
สวนรวมในการบริหารจัดการบุคลากรสถานศึกษา เชน การคัดเลือกเขา/ใหออก
ใหเปนสิทธิของผูบริหารและบุคลากรครูและกรรมการสถานศึกษาภายใน
สถานศึกษานั้นๆ เพื่อเปดโอกาสใหบุคลากรที่มีความรูความสามารถในชุมชน
เขามามีสวนรวมเปนผูจัดการศึกษาไดโดยไมจำเปนจะตองมีใบประกอบวิชาชีพ
7 ปฏิรูป
สื่อมีอิทธิพลตอการเรียนรู ดังนั้นจึงควรมีบทบาทในการรับผิดชอบตอสังคมดวยการ
ใหขอมูลขาวสาร เผยแพรความรูที่ทำใหสังคมตื่นตัว มองเห็นปญหาของการศึกษา
จุดประกายใหทุกภาคสวนเขามามีสวนรวมในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
เพื่อพัฒนาคน/พลเมืองที่มีคุณภาพรวมกัน และคนในสังคมมีทางเลือกทาง
การศึกษามากขึ้น
7.ปฏิรูปการสื่อสาร
เพื่อการศึกษา
12 13คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
	 สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา...“เรา”เชื่อมั่นในการศึกษา
เรียนรู้ที่หลากหลาย …เชื่อว่า คนทุกคนมีสิทธิเลือกการศึกษาที่
ตนเองต้องการ
	 ... “เรา” เชื่อมั่นในกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะการศึกษา
ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่คือเรื่องของส่วน
รวม เป็นเรื่องของ “เรา” ทุกๆ คน
	 “เรา”เชื่อมั่นในพลังของประชาชนของสังคม…เชื่อว่าทุกคน
ล้วนเป็นพลังหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา (Education Reform Assembly)
Facebook : https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH
E-mail : educationreformassemblyth@gmail.com
	 ขอให้คบไฟของการปฏิรูปการศึกษาจุดขึ้นและส่งต่อด้วย
“มือของประชาชน”
	 “คืนการศึกษาให้ประชาชน ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา”
14 15คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
การหนุนเสริมพลังเครือข่าย
การศึกษาทางเลือก ปี 2558
	 “การศึกษาทางเลือก” หมายถึง การจัดการศึกษา
ที่เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนในการเลือกการศึกษาให้เหมาะกับความ
ต้องการ ธรรมชาติ ศักยภาพ ความถนัด และความสนใจ
ที่หลากหลายของผู้เรียน มีลักษณะสร้างสรรค์ก่อให้เกิด
นวัตกรรม และมีความแตกต่างจากการศึกษาตามแนว
กระแสหลัก ทั้งในทางปรัชญา แนวคิด บริบทภูมิสังคม
ภูมินิเวศ และพหุวัฒนธรรม  สามารถจัดได้ทั้งการศึกษา
ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเอง
และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกระดับ และประเภทการ
ศึกษา โดยรัฐ เอกชน ท้องถิ่น บุคคล ชุมชน ภาคประชา
สังคม และสถาบันสังคมอื่นๆ           
	 เครือข่ายการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) ได้พยายามขับเคลื่อน
การศึกษาทางเลือกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ในนามสภาการศึกษา
ทางเลือก เข้าร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเสนอกฎหมาย
การศึกษาแห่งชาติ ร่วมผลักดันพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 เพื่อเรียกคืนสิทธิภาคประชาสังคมในการใช้สิทธิเลือกบริหารจัด
การศึกษาที่ให้ความส�ำคัญต่อทรัพยากรพื้นฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ
สภาพความเป็นอัตลักษณ์ของวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละบริบทชุมชน
ท้องถิ่น โดยมีหลักการส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพผู้เรียนที่หลากหลาย
ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนการเคารพความแตกต่างและเติบโตเป็นพลัง
สร้างสรรค์ที่เข้มแข็งของสังคมไทยได้เข้าร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
จริงจังมาตั้งแต่ปี 2550 และจดทะเบียนเป็น “สมาคมสภาการศึกษา
ทางเลือกไทย(สกล.)” เมื่อเดือนกันยายน 2554 ปัจจุบันมีการรวมตัว
ของเครือข่ายผู้จัดการศึกษาทางเลือก 11 เครือข่าย ได้แก่ (1) เครือข่าย
โรงเรียนไทยไท(2)เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ (3)เครือข่าย
การศึกษาทางเลือกภาคอีสาน (4) เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาค
กลาง (5) เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคใต้ (6) เครือข่ายการศึกษา
ชนเผ่า (7) เครือข่ายบ้านเรียน (8) เครือข่ายโรงเรียนชุมชน(โรงเรียน
ขนาดเล็ก)แห่งประเทศไทย (9) เครือข่ายเด็กและเยาวชนการศึกษาทาง
เลือก (10) เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้นอกระบบ (11) เครือข่ายอุดม
ศึกษาทางเลือก
	 สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) พบว่า ภายใต้
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ที่ให้สิทธิ แก่
บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาน
ประกอบการ สถาบันศาสนา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบ
“ศูนย์การเรียน” โดยมีกฏกระทรวงและแนวปฏิบัติออกมารองรับครบ
ทั้ง 6 กฎกระทรวง แต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยื่นขอ
อนุญาตจัดการศึกษาตามกฏกระทรวงว่าด้วยสิทธิของบุคคล องค์กร
ชุมชน/องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ ยังไม่มีระเบียบการปฏิบัติงานตาม
หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ การวัดและประเมิน
ผล รวมทั้งระบบการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะเงินอุดหนุน
ยังมีอุปสรรคปัญหามากมาย เช่นเดียวกับการจัดการศึกษาแบบบ้าน
เรียน(Home School) ที่แม้กฎกระทรวงจะออกมานานครบ 10 ปี แล้ว
ก็ตาม แต่ปัญหาการสนับสนุนและบริการจากภาครัฐก็ยังไม่เป็นธรรม
และไม่สอดคล้องเหมาะสมกับแนวทางการศึกษาทางเลือกอย่างแท้จริง
16 17คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
	 โดยสาเหตุของปัญหา นอกจากข้อบกพร่องไม่สมบูรณ์ของกฎ
กระทรวง ตลอดจนถึง กฎ ระเบียบ ค�ำสั่ง ประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับกฎหมายการศึกษาและการศึกษาทางเลือก ที่ยังไม่ชัดเจนส�ำหรับ
เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติแล้ว ความไม่เข้าใจในแนวทาง/ความคิด/เป้าหมาย
การจัดการศึกษาทางเลือกของเจ้าหน้าที่ส�ำนักเขตพื้นที่การศึกษาระดับ
ท้องถิ่น/จังหวัดก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษาทางเลือกให้
เติบโตและเข้มแข็งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาเด็ก/เยาวชน
ที่ท�ำให้เกิดโอกาสน้อยในการเลือกการศึกษาที่ต้องการและเหมาะสม
ส่งผลกระทบไปถึงกระบวนทัศน์ของภาคประชาชนกันเองในกลุ่มผู้ที่ไม่
เข้าใจการศึกษาทางเลือกเพื่อน�ำไปเป็นแนวทางในการการปฏิรูปตนเอง
รวมทั้งยังไม่มีการรวบรวมระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ต้นแบบ
การศึกษาที่กระจัดกระจายในกลุ่มที่เริ่มต้นลงมือปฏิรูปการศึกษาด้วย
การท�ำทันทีไปแล้ว ตลอดจนถึงการบริหารจัดการศึกษาของภาครัฐที่
ด�ำเนินมา ยังส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กยากไร้/ด้อย
โอกาสและเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษากระแสหลักที่ปัจจุบันมี
แนวโน้มของปัญหาเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆด้วย โดยนัยสัมพันธ์ดังกล่าว
ท�ำให้เกิดความต้องการจัดการศึกษาภาคประชาชนที่เริ่มขยายจ�ำนวน
มากขึ้น ซึ่งโดยภาคส่วนบ้านเรียนที่ด�ำเนินเรื่อยมานับแต่มีมาตรา 12
ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมีกฎกระทรวง
การจัดการศึกษาโดยครอบครัวรองรับตั้งแต่ พ.ศ.2547 มานั้น มีผู้สนใจ
จัดการศึกษาสูงขึ้นในทุกภูมิภาค สกล. จึงเห็นความจ�ำเป็นในการขยาย
ศักยภาพการท�ำงานระดับเครือข่ายบ้านเรียนด้วยการสร้างองค์
ความรู้ที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดศึกษาทางเลือกอย่างเป็นระบบ เพื่อ
ให้สามารถร่วมพลังกันขยายงานปฏิรูปการศึกษาของเครือข่ายระดับ
ภูมิภาครองรับโอกาสและคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นในการ
จัดการศึกษาทางเลือกภาคครอบครัวและชุมชน รวมทั้งรองรับการยก
ระดับการรวมตัวของเครือข่ายร่วมกันจัดการศึกษารูปแบบศูนย์การ
เรียนระดับจังหวัด โดยไปช่วยเสริมการขับเคลื่อนความเข้มแข็งภาค
ปฏิบัติการให้กับศูนย์การเรียน มาตรา 12 ทั้ง 4 ภูมิภาค ซึ่งตั้งแต่มี
แนวปฏิบัติในปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมาภาคประชาชนโดยบุคคล องค์กร
ชุมชน/องค์กรเอกชน และองค์กรวิชาชีพ เริ่มทยอยกันให้ความสนใจใช้
แนวทางการศึกษาทางเลือกเป็นทิศทางใหม่ของการมีส่วนร่วมพัฒนา
คุณภาพเยาวชนระดับชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น สกล.จึงเห็นว่าควรยกระดับ
งานพัฒนาการสร้างเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการการศึกษา
ทางเลือกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาภาคประชาชนให้
สอดคล้องกัน
18 19คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
	 สืบเนื่องจากการขับเคลื่อนเวทีปฏิรูปการศึกษาของ 9 เครือข่าย
ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2557 โดยสมาคมสภาการศึกษาทาง
เลือกไทย(สกล.)ด้วยการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของส�ำนักงานกองทุน
สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ตอกย�้ำต่อสังคมไทยว่าถึง
เวลาปฏิรูปการศึกษาแล้ว โดยคืนการศึกษาให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม
ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การศึกษาไทยสามารถตอบสนองต่อความ
ต้องการพัฒนาคุณภาพเยาวชนอย่างแท้จริง มติของเวทีการขับเคลื่อน
ปฏิรูปการศึกษาทั้ง 9 เวที นอกจากจะร่วมกันก่อตั้งองค์กรประสาน
งานกลางในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในชื่อ“สมัชชาเครือข่ายปฏิรูป
การศึกษา” แล้ว ยังมีมติร่วม “7 ปฏิรูป 7 ขับเคลื่อน” ซึ่งแสดงออก
อย่างชัดเจนว่า ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและ
แก้ไขที่ต้นตอของปัญหา นั่นคือ
	 เพื่อให้การขับเคลื่อนของสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา
ก้าวหน้าดียิ่งขึ้น จ�ำเป็นที่ทุกเครือข่ายสมาชิกต้องช่วยกันสร้างพลังการ
ขับเคลื่อนของแต่ละเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงหนุนเสริม
กับเครือข่ายต่างๆ
	 “การกระจายอ�ำนาจการบริหารจัดการศึกษาโดย
ยึดหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และกลไกการจัดการศึกษาใหม่
รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการหลักสูตร
ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลทุก
ระดับโดยเฉพาะระดับชาติ พัฒนาระบบผลิตและพัฒนา
ครู และการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนการศึกษา ให้
เกิดวาระการเปลี่ยนแปลงส่งผลไปให้ถึงคุณภาพการศึกษา
ของเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง เปิดพื้นที่การท�ำงานของ
ทุกภาคส่วนร่วมกันในระดับท้องถิ่นและจังหวัดเพื่อขยาย
โอกาสการมีส่วนร่วมของภาคสังคมเพื่อลดการผูกขาดการ
บริหารจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ”
	 นอกจากนี้ การเสริมเสร้างความเข้มแข็งของระบบการท�ำงาน
เครือข่ายระดับพื้นที่และระบบจัดการความรู้/การถอดบทเรียนเพื่อ
พัฒนาองค์ความรู้ของเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคประชาชนที่
กล่าวมา มีการเสริมพลังการมีส่วนร่วมโดยการเชื่อมโยงศักยภาพของ
เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้นอกระบบ และเครือข่ายอุดมศึกษาทาง
เลือกเพื่อจะเป็นตัวอย่างต้นแบบส�ำคัญของนวัตกรรมการเลือก
วิธีการศึกษาที่ต้องการการเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อที่จะท�ำให้สังคม
ไทย โดยเฉพาะเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว ชุมชน และองค์กรภาคสังคม
ตลอดจนถึงผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจแนวความคิด แนวทาง และเข้าถึง
รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกที่หลากหลายแล้ว ข้อมูล/เนื้อหาและ
ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันถอดบทเรียนจะเป็นข้อมูลที่
ส�ำคัญในการพัฒนาขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาในเชิงนโยบายอีกด้วย
	 สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย เห็นว่า ภายใต้นโยบาย
ปฏิรูปประเทศไทยในปัจจุบันการปฏิรูปการกระจายอ�ำนาจไปให้ท้องถิ่น
ด้านการศึกษาให้เป็น “สภาพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด” เป็น
รูปธรรมส�ำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถปฎิบัติการได้ทันที
โดยสามารถจัดสรรความร่วมมือให้เป็นกลไกที่มีองค์ประกอบจากทุก
ภาคส่วนในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา/เชื่อมโยงเครือข่าย/องค์กร
ทั้งในระดับท้องถิ่นจังหวัดกับสภาปฏิรูปแห่งชาติตลอดจนถึงองค์กรอื่นๆ
ที่เข้าไปร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาในจังหวัดด้วย รวมทั้งนอกจากจะ
ปฏิบัติการทันทีในการศึกษาปัญหา/ส�ำรวจความคิดความต้องการของ
ผู้เรียนเพื่อก�ำหนดทิศทางและประเด็นในการปฏิรูปการศึกษาแล้ว สภา
พัฒนาการศึกษาจังหวัดยังจะเป็นกลไกส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาการส่ง
เสริมและพัฒนาการศึกษาทางเลือกของภาคประชาสังคมทั้งประเด็น
ศูนย์การเรียนและบ้านเรียนในระดับพื้นที่ปฏิบัติงานไปพร้อมกันด้วย
22 23คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
วัตถุประสงค์ 7 ขับเคลื่อน 7 ปฏิรูป
	 1.เพื่อเสริมสร้างสภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดให้เป็นกลไกที่มี
ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการประสานงานขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา
และพัฒนาสิทธิในการบริหารจัดการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การ
เรียนและบ้านเรียนตามกฎหมายให้เป็นจริง
	 2.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเครือข่ายการศึกษา
ทางเลือกในการติดตามสนับสนุนการปฎิรูปการศึกษาทั้งในระดับ
จังหวัดและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง และร่วมขับเคลื่อนพัฒนาโครงการ
เชื่อมโยงการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ให้ส�ำเร็จตามเป้าหมายอย่าง
มีคุณภาพ
	 3.เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการจัดการความรู้และการสื่อสาร
สาธารณะขององค์กรเครือข่ายการศึกษาทางเลือกให้มีคุณภาพมากยิ่ง
ขึ้นในการร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาทั้งในระดับจังหวัดและระดับฅ
ประเทศอย่างต่อเนื่อง
เป้าหมาย 7 ขับเคลื่อน 7 ปฏิรูป
	 1.เสริมสร้าง “สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัด” เพื่อขับเคลื่อน
การปฏิรูปการกระจายอ�ำนาจการจัดการศึกษาไปยังพื้นที่น�ำร่อง 4 ภาค
ทั่วประเทศและใช้กลไกสภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดในการส่งเสริม
และสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การเรียนและ
บ้านเรียนตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
	 2.พัฒนาการสื่อสารสาธารณะขององค์กรเครือข่ายสมาชิก
สภาการศึกษาทางเลือกไทย(สกล.)อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ
โดยพัฒนาชุดประสบการณ์ และบทเรียน กรณีศึกษาต้นแบบเครือข่าย
การศึกษาทางเลือก (Best Practice) และสร้างคู่มือปฏิบัติการวิธีจัด
การศึกษาแบบบ้านเรียน (Home School Handbook) พัฒนาข้อมูล
การศึกษาวิจัยการศึกษาทางเลือกในประเทศและต่างประเทศและ
ท�ำเนียบองค์กรสมาชิกให้สมบูรณ์เป็นฐานข้อมูลและผลงานรูปธรรมที่
จะเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างมีคุณภาพ
พื้นที่การท�ำงาน  สกล.ด�ำเนินงานครอบคลุมทั้ง 4 ภาค คือ
	 ภาคเหนือ 	 ศูนย์ประสานงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่
			 และ เชียงราย
	 ภาคอีสาน 	 ศูนย์ประสานงานภาคอยู่ที่
			 จังหวัดมหาสารคาม และ กาฬสินธุ์
	 ภาคใต้ 		 ศูนย์ประสานงานภาคอยู่จังหวัดสุราษฏ์ธานี
			 และ สงขลา
	 ภาคกลาง 	 ศูนย์ประสานงานภาคอยู่ที่กรุงเทพมหานคร
ที่ตั้งสมาคม : สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.)
		 สถาบันอาศรมศิลป์ 399 ซ.อนามัยงามเจริญ25
		 ท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพ 10160
โทรศัพท์. : 02-490-4748 ต่อ 107
โทรสาร. : 02-490-4741
26 27คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน
แนวคิดการศึกษาบนฐานชุมชน
	 รากฐานของการศึกษาบนฐานชุมชน คือ องค์ความรู้ของชุมชน
ท้องถิ่นซึ่งมีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ต่อมา ได้ถูกลดทอน
คุณค่าลงด้วยระบบการศึกษาสมัยใหม่และกระแสบริโภคนิยมนิยมท�ำให้
กระบวนการพัฒนาเยาวชน ชุมชนและสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่
หลากหลายประสบปัญหานานาประการ
	 “การศึกษาบนฐานชุมชน” มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนา ยกระดับ
การศึกษาเรียนรู้ตามธรรมชาติซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานให้มีระบบ
แบบแผนมากยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลให้สามารถน�ำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะ
สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางสังคม เงื่อนไขบริบทอันหลากหลายเกิดผล
ในการพัฒนาทักษะชีวิต อาชีพ สุขภาวะและจิตปัญญาของผู้เรียนรู้ซึ่งมี
ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกเพศทุกวัยทั้งในและนอกชุมชน
	 “การศึกษาบนฐานชุมชน” คือ กระบวนการเรียนรู้รากเหง้า
ของตนเอง ผ่านประวัติศาสตร์ชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีการท�ำ
มาหากิน ความเชื่อประเพณีพิธีกรรม ผู้รู้ ภูมิปัญญา รวมทั้งการเรียนรู้
ปัจจุบันและเท่าทันโลกสมัยใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ส�ำคัญทั้งการ
ฟัง พูด อ่าน เขียน การสื่อสาร วิเคราะห์ สังเคราะห์ ฝึกฝน อบรม
เพื่อสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชน และสังคม อย่างยั่งยืน น�ำ
ไปสู่การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติร่วมกัน
อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถเลือกสรรความรู้ใหม่มาสร้างความเข้ม
แข็งให้แก่ตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม
	 หัวใจของ “การศึกษาบนฐานชุมชน” อยู่ที่ความเข้าใจใน
กระบวนการพัฒนาการศึกษาซึ่งมีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาชีวิต
จิตวิญญาณ ควบคู่กับการร่วมสร้างสรรค์ชุมชนและสังคม การศึกษา
บนฐานชุมชนจึงเป็นทางเลือกของการศึกษา เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง
ตนเอง เรียนรู้เพื่อก�ำหนดวิถีชีวิตตนเอง เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์สังคม
ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมไทย
	 “การศึกษาบนฐานชุมชน” เป็นหัวใจส�ำคัญของการจัดการ
ศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและชุมชนบนรากฐานของ
องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล เป็นการสร้างคนเพื่อ
สร้างสรรค์อนาคต
ผู้ประสานงาน : คุณภัสรา รู้พันธ์
ที่ติดต่อ  : 57/7 หมู่ 5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง
จ.สุราษฎร์ธานี 84000
เบอร์โทรศัพท์  : 087 386 2488
E-mail  : cyggroup@hotmail.com
30 31คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง- คศช.
(Indigenous Education Network: IEN)
แนวคิดการท�ำงานของเครือข่าย
	 การจัดการศึกษาทางเลือกแบบมีส่วนร่วมที่จัดโดยชุมชนและ
เพื่อชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ให้มีพื้นที่การเรียนรู้และแสวงหาความร่วมมือ
เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองบน
รากฐานวัฒนธรรมตนเอง เพื่อให้ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นคนพหุวัฒนธรรม
ตามหลักสิทธิมนุษยชน สามารถด�ำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข สงบ และ
สันติ
ประวัติความเป็นมาของเครือข่าย
	 จากสถานการณ์ที่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองหลายแห่ง ได้พยายาม
ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมตนเอง หลังจากที่ถูกกระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนา
ตามนโยบายรัฐ และระบบการศึกษาทางการ ได้ลดทอนบทบาทผู้รู้
ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง และความส�ำคัญของการเรียนรู้วิถีชีวิตตาม
จารีตประเพณีของเด็กและเยาวชนไป ในขณะเดียวกันที่ชุมชนต่าง ๆ
เหล่านี้ ไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ขาดการ
หนุนเสริมพลังเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมตลอดจนไม่มีโอกาสร่วมผลักดันงาน
นโยบายที่เกี่ยวข้องด้วยกัน ต่อมาผู้รู้ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง ได้มี
โอกาสพบปะกันบ่อยขึ้น ท�ำให้เห็นความส�ำคัญในการสร้างพื้นที่เรียนรู้
และขับเคลื่อนงานการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกัน และเมื่อวันที่ 19-21
ธันวาคม พ.ศ. 2554 แกนน�ำผู้รู้และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองทั้ง 9 กลุ่ม
ชาติพันธุ์ ได้ร่วมประชุมปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
การบริหารจัดการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของชุมชนชนเผ่าพื้น
เมืองอีกครั้ง จึงมีความเห็นร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายการศึกษาชน
เผ่าพื้นเมือง” ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันอย่างมีพลัง จากนั้น
เครือข่ายฯ ได้พยายามพัฒนากลไก วางแผน และจัดกระบวนงานให้มี
ความชัดเจนมากขึ้นเป็นระยะๆ
วิสัยทัศน์ (Vision)
	 ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นคนพหุวัฒนธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน
พันธกิจ  (Mission)
	 เสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ระดมทรัพยากร และผลักดัน
นโยบายในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพและ
คุณธรรมส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง	
วัตถุประสงค์ (Objectives)
	 1.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้น
เมือง
	 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาที่เป็นรูปแบบ
เฉพาะส�ำหรับพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมืองที่เน้นให้องค์กรชุมชนสามารถจัดการ
ศึกษาได้ด้วยตนเองหรือมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
	 3.เพื่อร่วมรณรงค์และผลักดันนโยบายที่เอื้อต่อการจัดการ
ศึกษาที่เหมาะสมส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง
ยุทธศาสตร์ (Strategic)
	 1.พัฒนาศักยภาพและกลไกการประสานงานเครือข่ายการ
ศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง
	 2.พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงและใช้
ประโยชน์ร่วมกันได้
32 33คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม
	 3.รวบรวมพัฒนาองค์ความรู้และปฏิบัติการที่ดีเพื่อน�ำไป
ประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง
	 4.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
ในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองบนฐานสิทธิ
มนุษยชนและทักษะชีวิต
	 5.ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอน
การวัดผลและประเมินผล ที่เหมาะสมโดยเน้นความส�ำคัญของภาษาแม่
และวิถีวัฒนธรรม ตามแนวทางทวิภาษาและพหุภาษา
	 6.รณรงค์และผลักดันให้เกิดการน�ำนโยบายการกระจาย
อ�ำนาจสู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษารวมถึงจัดสรรงบประมาณ
ส่งเสริมให้มีครูชนเผ่าพื้นเมือง และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาน
ศึกษาและชุมชน
ข้อเสนอประเด็นการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการปฏิรูป
	 ข้อเสนอ
	 1.ให้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวง ทบวง
กรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง
ประเทศที่ไทยร่วมลงนามผูกพันและตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติ
การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 และโดยให้เด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ
ไทย ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งสอดคล้องกับวิถี
ชีวิต ภาษาและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน อย่างเท่าเทียมบนฐานสิทธิ
มนุษยชน
	 2.ให้มีการจัดการศึกษาโดยให้ชุมชนเป็นฐานและมีการบริหาร
จัดการที่ชุมชนมีอ�ำนาจในการตัดสินใจ เป็นรูปแบบเฉพาะส�ำหรับพื้นที่
ที่มีกลุ่มเด็กชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน
และหรือสนับสนุนให้ชุมชนจัดการการศึกษาด้วยตนเอง เป็นการศึกษา
แนวทางพหุภาษาและวัฒนธรรม
		 2.1 ให้สถานศึกษา มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียน
การสอนให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนประเพณีวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา โดยใช้ภาษาแม่ร่วมในการจัดการเรียนรู้
แนวทางทวิภาษาหรือพหุภาษาเพื่อด�ำรงความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมือง
และเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม
		 2.2 ให้สถานศึกษาเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้าน
คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชาติและทักษะชีวิตที่เน้นในการ “รู้สิทธิ รู้
รากเหง้า รู้เท่าทัน” รวมทั้งให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชน
และสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง
		 2.3 ให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายส่งเสริมและ
มาตรการในการสรรหาและจัดสรรงบประมาณส�ำหรับครูท้องถิ่นใน
พื้นที่และให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับวิทยฐานะให้
เป็นครูมืออาชีพของชุมชน รวมทั้งให้มีสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพเข้าใจ
หลักสิทธิมนุษยชน และบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ
		 2.4 ให้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประสานกับ
กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงระบบการสื่อสาร
ผ่านดาวเทียมให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการเรียนรู้และการเข้าถึง
ของเด็กในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง
		 2.5	 ให้รัฐมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนงบ
ประมาณในการใช้ภาษาแม่ส�ำหรับการจัดการศึกษา ตามแนวทางทวิ
ภาษาหรือพหุภาษาส�ำหรับกลุ่มเด็กชนเผ่าพื้นเมือง
		 2.6	 ให้จัดสรรทุนการศึกษาเป็นกรณีพิเศษส�ำหรับ
เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เรียนต่อใน
สาขาวิชาที่กลับมารับใช้ท้องถิ่นหรือชุมชน
		 2.7	 ให้รัฐสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษา
การฝึกอบรม และการวิจัยของชนเผ่าพื้นเมือง ที่เน้นการศึกษาทางเลือก
ควบคู่กับการพัฒนาบนฐานวิถีวัฒนธรรม
34 คืนการศึกษาให้สังคม
		 2.8	 ให้จัดตั้งหน่วยงานอิสระที่มีอ�ำนาจพร้อม
งบประมาณเพื่อเป็นกลไกการท�ำงานและติดตามการขับเคลื่อนเชิน
นโยบายไปสู่ปฏิบัติการณ์ด้านการศึกษาของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างเป็น
รูปธรรม
	 3.ให้มีมาตรการหรือออกกฎหมายรองรับมติคณะรัฐมนตรีว่า
ด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (3 สิงหาคม 2553) และชาวเล (2
มิถุนายน 2553) และขยายผลไปยังกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์
อื่นๆ ต่อไป
พื้นที่รูปธรรมต้นแบบของเครือข่าย : โรงเรียนชุมชนมอวาคี
	 “โรงเรียนชุมชนมอวาคี” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ศูนย์การเรียน
ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านหนองมณฑา ตั้งอยู่ที่หย่อม
บ้านมอวาคี เป็นชุมชนปกาเกอะญอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 16 ต�ำบลแม่วิน อ�ำเภอ
แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหย่อมบ้านหลักที่มีประชากรจ�ำนวน 40
หลังคาเรือน และมีบ้านบริวารอีก 3 บ้าน คือ บ้านใหม่ บ้านปางมะโอ
และบ้านขุนวิน รวมทั้งหมู่บ้านมีจ�ำนวน 124 ครัวเรือน รวมประชากร
522 คน ค�ำว่า “มอวาคี” แปลความในภาษาปกาเกอะญอ หมายถึง โป่ง
ห้วยน�้ำขาว ส่วน “หนองมณฑา” มีที่มาจากชาวบ้านชื่อนายบูฑาซึ่งเป็น
ผู้พบตัวแลน (ตะกวดน�้ำ) ที่หนองน�้ำใกล้โป่งขาวนั้น จึงมีผู้เรียกบริเวณ
นี้ว่า “หนองน�้ำของบูฑา” และต่อมาได้เพี้ยนไปเป็นหนองมณฑา ชาว
บ้านมอวาคียังด�ำรงชีพด้วยการท�ำไร่ข้าวและนา ในไร่ข้าวยังนิยมปลูก
พืชผักอื่นๆ ร่วมด้วย จึงท�ำให้มีอาหารเพียงพอตลอดปี ชาวบ้านบางส่วน
ยังออกไปรับจ้างนอกชุมชน เช่น เก็บล�ำไย ปลูกและเก็บหอมหัวใหญ่
เป็นต้น ชาวบ้านบางคนยังทอผ้า เช่น เสื้อ ย่าม ผ้าถุง ผ้าพันคอ
เป็นต้น เพื่อใช้เองและขายให้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ในชุมชนยังมี
ประมาณ 2-3 หลังคาเรือน เปิดบริการบ้านพักแบบ Homestay ให้แก่
นักท่องเที่ยวด้วย
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)
คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)

More Related Content

Similar to คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)

05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖
05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖
05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖mahaoath พระมหาโอ๊ท
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์สพป.นว.1
 
งานนำเสนออาเซี่ยน
งานนำเสนออาเซี่ยนงานนำเสนออาเซี่ยน
งานนำเสนออาเซี่ยนjulee2506
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานKatekyo Sama
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55Montree Jareeyanuwat
 
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบChalermpon Dondee
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตAon Narinchoti
 
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542บราลี ประดับศรี
 
เอสารนโยบาย
เอสารนโยบายเอสารนโยบาย
เอสารนโยบายqlf
 

Similar to คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม) (20)

2012 03-22-28119-1 (บันทึกอัตโนมัติ)
2012 03-22-28119-1 (บันทึกอัตโนมัติ)2012 03-22-28119-1 (บันทึกอัตโนมัติ)
2012 03-22-28119-1 (บันทึกอัตโนมัติ)
 
25713 1
25713 125713 1
25713 1
 
05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖
05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖
05 โครงการค่ายคืนปัญญาสู่มาตุภูมิ ๕๖
 
วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์วารสารออนไลน์
วารสารออนไลน์
 
งานนำเสนออาเซี่ยน
งานนำเสนออาเซี่ยนงานนำเสนออาเซี่ยน
งานนำเสนออาเซี่ยน
 
Tep summary
Tep summaryTep summary
Tep summary
 
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
การบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
 
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
แผนพัฒนาการศึกษาฉบับที่ 11
 
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
คู่มือกรรมการโรงเรียน 55
 
นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่นโยบาย 4 ใหม่
นโยบาย 4 ใหม่
 
นโยบาย 4ใหม่
 นโยบาย 4ใหม่ นโยบาย 4ใหม่
นโยบาย 4ใหม่
 
2
22
2
 
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
ทิศทางของศธ.ที่ผู้บริหารโรงเรียนควรทราบ
 
Best practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริตBest practice โรงเรียนสุจริต
Best practice โรงเรียนสุจริต
 
Email system
Email systemEmail system
Email system
 
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542
สรุปผลที่เกิดขึ้นตาม พรบ.การศึกษา 2542
 
เอสารนโยบาย
เอสารนโยบายเอสารนโยบาย
เอสารนโยบาย
 
Balancing edu
Balancing eduBalancing edu
Balancing edu
 
คู่มือสภา
คู่มือสภาคู่มือสภา
คู่มือสภา
 
คู่มือสภา
คู่มือสภาคู่มือสภา
คู่มือสภา
 

More from Tum Meng

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น Tum Meng
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขTum Meng
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan LifeTum Meng
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้Tum Meng
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทTum Meng
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)Tum Meng
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)Tum Meng
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองTum Meng
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกTum Meng
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....Tum Meng
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราTum Meng
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่Tum Meng
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)Tum Meng
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)Tum Meng
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าTum Meng
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นTum Meng
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraTum Meng
 
PLANNER 2013 By Tum Inthira
PLANNER 2013 By Tum InthiraPLANNER 2013 By Tum Inthira
PLANNER 2013 By Tum InthiraTum Meng
 

More from Tum Meng (20)

IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น IM : คือ – อยู่ – เป็น
IM : คือ – อยู่ – เป็น
 
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุขหนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
หนังสือ “อำเภอบุญประเพณีปลอดเหล้า” ขบวนการขับเคลื่อนสังคมแห่งความสุข
 
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Lifeชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
ชีวิต (ฅน) ป้อมมหากาฬ - Mahakan Life
 
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้ReLearn ห้องเรียนเดินได้
ReLearn ห้องเรียนเดินได้
 
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไทการศึกษาเพื่อความเป็นไท
การศึกษาเพื่อความเป็นไท
 
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
ชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ (บทความ)
 
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
ชุมชนป้อมมหากาฬ (ป้อมมีชีวิต ชีวิตหลังป้อม)
 
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมืองสรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
สรุปประมวล เวทีสนทนา คืนการศึกษาให้สังคม : ร่วมกัน-สร้าง-พลเมือง
 
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลกEduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
EduTalk : การศึกษาเอกชนบนเส้นทางการปฏิรูปเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองและพลโลก
 
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
ฐานการพัฒนาท้องถิ่นอยู่ที่โรงเรียน : กรณี โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร อ.เมือง จ....
 
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเราโรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
โรงเรียนของชุมชน โรงเรียนของเรา
 
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
ประกาศฯ เรื่อง แต่งตั้งคณะปฏิรูปการศึกษาจังหวัดเชียงใหม่
 
Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015 Happy New Year : Calendar 2015
Happy New Year : Calendar 2015
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานเหนือ(ขอนแก่น)
 
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ   อีสานใต้(อุบล)
สรุปข้อมูล เวทีเสียงประชาชนฯ อีสานใต้(อุบล)
 
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้าชุมชน ฅน สู้เหล้า
ชุมชน ฅน สู้เหล้า
 
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่นหลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
หลักสูตรดินน้ำลมไฟ โรงเรียนเทศบาลคุ้มหนองคู จ.ขอนแก่น
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum InthiraPLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
PLANNER 2013 (Theme cartoon) By Tum Inthira
 
PLANNER 2013 By Tum Inthira
PLANNER 2013 By Tum InthiraPLANNER 2013 By Tum Inthira
PLANNER 2013 By Tum Inthira
 

คืนการศึกษาให้สังคม (เอกสารประกอบเวทีคืนการศึกษาให้สังคม)

  • 1.
  • 2. 2 3คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา” ก่อตัวขึ้นจากการรวมตัว กันของกลุ่ม องค์กร เครือข่ายผู้ปฏิบัติการและภาคีผู้เกี่ยวข้องทางการ ศึกษา9เครือข่าย ประกอบด้วย เครือข่ายการศึกษาทางเลือกเครือข่าย พ่อแม่ผู้ปกครอง เครือข่ายโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน เครือข่ายโรงเรียนเอกชน เครือข่ายโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น (อปท.) เครือข่ายกลุ่มธุรกิจเอกชน เครือข่ายเด็กและเยาวชน คนรุ่นใหม่ และเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง โดยภาคีทั้ง 9 เครือ ข่ายนี้มีความแตกต่างหลากหลายของบริบทและรูปแบบในการจัดการ ศึกษาเรียนรู้ หากแต่มีเจตจ�ำนงค์ร่วมกันที่จะขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิรูป การศึกษาภาคสังคม ด้วยการ “กระจายอ�ำนาจ” “คืนการศึกษาให้ ประชาชน” “ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา” “เรา” เชื่อมั่นในการศึกษาเรียนรู้ที่หลากหลาย …เชื่อว่า คน ทุกคนมีสิทธิเลือกการศึกษาที่สอดคล้องเหมาะสมกับตนเอง “เรา” เชื่อมั่นในกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะการศึกษาไม่ใช่ เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่เป็นเรื่องของส่วนรวม เป็นเรื่องของทุกๆ คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมไทย “เรา” เชื่อมั่นในพลังของประชาชนทุกกลุ่มในสังคม …เชื่อว่า ทุกคนล้วนเป็นพลังหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และ “เรา” ตั้ง มั่นอยู่บนการเคารพในสิทธิ ความคิดเห็น รวมทั้งแนวทางที่หลากหลาย อันเป็นไปตามวิถีทางประชาธิปไตย แน่นอนว่าท่ามกลางความตื่นตัวของสังคมที่อยากเห็นการ ปฏิรูปประเทศไทยเช่นนี้ “เรา” ก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยากให้การปฏิรูปเกิด ขึ้นและเป็นจริง “การปฏิรูปการศึกษา” ในทศวรรษใหม่นี้ มิใช่เป็นการปฏิรูป โดยกระทรวงศึกษาธฺการฝ่ายเดียวดั่งที่เคยเป็นมาในอดีต แต่ในครานี้ ”การปฏิรูปการศึกษา” จะด�ำเนินการโดยภาคีทุกภาคส่วนในสังคมที่มุ่ง ไปสู่ ”การศึกษาเพื่อคนทุกคน” “เรา” จึงมิได้นั่งรอ แต่ “เรา” ได้เริ่มต้นกระบวนการปฏิรูปแล้ว ด้วยการ “ปฏิบัติการ ท�ำ ทัน ที” ในแต่ละเครือข่าย ด้วยการท�ำพื้นที่ ต้นแบบ หรือพื้นที่น�ำร่องรูปธรรมการปฏิรูปการศึกษา และมี “การ สื่อสารให้ข้อมูล เพื่อสร้างความตระหนัก” เพื่อชักชวนให้ประชาชน ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นเจ้าภาพในการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ รวมทั้ง เราได้ขยับ “ขับเคลื่อนเชิงนโยบาย” เดินหน้าขอให้มี การแก้กฎหมาย กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เอื้อและเปิดโอกาสให้ ภาคสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษามากขึ้น อันเป็นไปตาม ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษา 7 ปฏิรูป 7 ขับเคลื่อน ที่ประกอบด้วย “การ เปลี่ยนเป้าหมายใหม่ของการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองที่มีคุณภาพและ สังคมที่เข้มแข็ง เปลี่ยนบทบาทของกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยการคืน สิทธิ/กระจายอ�ำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาให้ทุกภาคส่วนเข้ามามี ส่วนร่วม ผลักดันให้การศึกษาเป็นวาระแห่งชาติ มีการจัดท�ำธรรมนูญ การศึกษาภาคประชาชน จัดตั้งองค์กรอิสระด้านการศึกษาในระดับชาติ ที่เกิดขึ้นมาจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อท�ำหน้าที่ขับเคลื่อน แผนการศึกษาของชาติอย่างเป็นองค์รวม” “ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนด้วยการจัดท�ำหลักสูตรที่ทุก ภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม วัดผลด้วยศักยภาพและรูปธรรมการเรียนรู้ การปรับใช้ความรู้ที่หลากหลาย จัดให้มีการประเมินทุกระดับอย่างมี ส่วนร่วม และจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสภาพจริง” “ปฏิรูปครูที่มีอยู่เดิมให้เป็นครูที่เอื้ออ�ำนวยในการจัดการ เรียนรู้เป็นผู้จุดประกายและดึงศักยภาพของผู้เรียนออกมามีศูนย์พัฒนา บุคลากรทางการศึกษา สร้างหลักสูตรผลิตครูใหม่ เพื่อผลิตครูที่มีจิต วิญญาณความเป็นครู มีคุณภาพ มีจิตวิทยาในการสอน” “รวมทั้งให้สื่อมวลชนเข้ามามีส่วนร่วมในสร้างกระบวนการเรียนรู้ ให้แก่สังคม จุดประกายให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อน
  • 3. 4 5คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม ปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคน/พลเมืองที่มีคุณภาพร่วมกันและคนใน สังคมมีทางเลือกทางการศึกษามากขึ้น” การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นเป็นไปตามหลักการของ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ปี พ.ศ.2542 มาตรา 8 บัญญัติว่า “การจัดการศึกษาให้ยึดหลัก ดังนี้ 1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตส�ำหรับประชาชน 2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา 3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็น ไปอย่างต่อเนื่อง และมาตรา 12 บัญญัติว่า “นอกเหนือจากรัฐ เอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กร เอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบัน สังคมอื่น มีสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กา หนดในกฎกระทรวง” จากเจตนารมณ์เช่นนี้ รัฐจึงมีหน้าที่ในการหนุนเสริมสิทธิในการ จัดการศึกษาของภาคสังคม ด้วยเหตุดังกล่าวนี้เอง วิสัยทัศน์ของการ ปฏิรูปการศึกษาครั้งใหม่ จึงต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม เพราะ ทุกคนมีสิทธิในการเลือกการศึกษาที่ตนเองต้องการ ที่ลูกหลานต้องการ ดังนั้นเราทุกคนจึงมีสิทธิออกแบบ มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข พัฒนาระบบการศึกษาที่ดีให้เกิดขึ้น เพื่ออนาคตของสังคมร่วมกัน และท้ายที่สุด “เรา” ขอเชิญชวนทุกพลังเข้ามามีส่วนร่วม ด้วย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า คบไฟแห่งการปฏิรูปการศึกษาจะจุดขึ้นและส่งต่อๆ ไปถึงมือของประชาชนทุกๆ คน “คืนการศึกษาให้ประชาชน ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา” สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา 15 มีนาคม 2558 สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา สิ่งหนึ่งที่เราต้องยอมรับร่วมกันคือระบบการศึกษาไทยมีปัญหา และเป็นปัญหาที่เรื้อรังกัดกร่อนสังคมไทยมาเป็นเวลายาวนาน ทั้งๆ ที่ ประเทศไทยใช้งบประมาณด้านการศึกษามากที่สุดของงบประมาณ แผ่นดิน โดยตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยจัดสรรงบประมาณ รายจ่ายประจ�ำปีให้กับกระทรวงศึกษาธิการมากเป็นอันดับหนึ่ง ยกเว้น ปี 2555 ที่ตกมาเป็นอันดับ 2 โดยงบประมาณแต่ละปีอยู่ที่ประมาณร้อย ละ20ของงบประมาณทั้งหมดและจัดสรรงบประมาณในวงเงินที่สูงมาก ขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โดยในปี 2556 คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2556 ให้กับ กระทรวงศึกษาธิการมากที่สุดเป็นจ�ำนวนเงิน 460,411,648,800 บาท หรือประมาณร้อยละ 19.18 ของงบประมาณรวม 2.4 ล้านล้านบาท ซึ่ง งบประมาณที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับในปี 2556 สูงกว่าปีที่ผ่านมา เกือบ 4 หมื่นล้านบาท ทั้งๆ ที่งบประมาณสูงมากที่สุดเช่นนี้ แต่กลับไม่ สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาและผลิตคนให้มีคุณภาพได้ นอกจากเรื่องงบประมาณที่รัฐจัดสรรเทลงไปในการศึกษาแล้ว การศึกษาไทยที่พยายามกระจายให้เกิดความเท่าเทียมและเข้าถึงใน การศึกษานั้น แท้จริงแล้วกลับยังมีกลุ่มคนที่ด้อยโอกาสจ�ำนวนนับล้าน คนที่ไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ โรงเรียนใหญ่ๆ ที่มีคุณภาพตาม การประเมินก็กลายเป็นพื้นที่แข่งขันของเด็กๆ มากกว่าพื้นที่เรียนรู้ ขณะ ที่โรงเรียนเล็กๆ กลับมีการประเมินที่ต�่ำ บุคลากรน้อย งบประมาณน้อย กลายเป็นเกิดปัญหาความเหลื่อมล�้ำด้านการศึกษาในสังคมตามมา ไหน จะมีปัญหาการกระจุกตัวของการศึกษาที่อยู่เฉพาะในเขตเมือง และเป็น สาเหตุให้เด็กหนุ่มสาวมุ่งหน้าจากบ้านเข้าสู่เมือง เข้าสู่ระบบการศึกษา
  • 4. 6 7คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม ที่ศูนย์กลาง ซึ่งเป็นการศึกษาที่มุ่งผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เข้าสู่ภาค บริการ ภาคอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการศึกษาในระบบยังไม่เปิดพื้นที่ส�ำหรับการเรียน รู้อย่างรอบด้านและเป็นไปตามศักยภาพของผู้เรียน ที่ส่งผลท�ำให้เกิด ปัญหานักเรียนเบื่อโรงเรียน เบื่อห้องเรียน และหลุดออกจากระบบการ ศึกษาเป็นจ�ำนวนมาก ระบบการศึกษาไทยจึงเป็นการศึกษาลู่วิ่งเดียว โดยเป็นลู่วิ่งที่มี เป้าหมายปลายทางหลักเพื่อผลิตคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เข้าสู่ภาคเมือง และภาคอุตสาหกรรม เป็นการศึกษาไทยที่มุ่งสอนให้เด็ก “เอาตัวรอด” แต่ไม่ได้สอนให้เด็ก “เอาชีวิตรอด” ...ความรู้ในห้องเรียนจึงคับแคบไม่ ต่างไปจากสภาพของห้องเรียนสี่เหลี่ยมที่กักขังความคิดสร้างสรรค์ของ เด็กเอาไว้ จึงไม่แปลกที่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในระบบการศึกษา หลายคน มีชีวิตอยู่กับการเรียนอย่างหนัก ทั้งเรียนในโรงเรียน เรียนพิเศษกวด วิชา หลายคนขาดทักษะในการใช้ชีวิต ขาดความมีชีวิตชีวาในการเรียน รู้ และหลายคนต้องหลุดออกจากลู่กลางคัน แขวนชีวิตไว้กับความเสี่ยง ทั้งการเสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร แต่เด็กและ เยาวชนเหล่านี้กลับตอบไม่ได้ว่า เป้าหมายในอนาคตที่พวกเขามุ่งหวัง อยากเป็นคืออะไร หรือมีความสุขในการไปโรงเรียนมากน้อยแค่ไหน ทั้งๆ ที่หัวใจของการศึกษาที่แท้นั้น คือ การเรียนรู้เพื่อค้นพบ ตนเอง เรียนในเรื่องที่อยากจะเรียน เรียนแล้วมีความสุข เรียนแล้วเอา มาปรับใช้กับชีวิตและสังคมได้ โดยเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความ หลากหลายทั้งอัตลักษณ์ความเป็นชาติพันธุ์และวิถีวัฒนธรรมเห็นคุณค่า ของทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบสานภูมิปัญญา/องค์ความรู้ เชื่อมร้อยความสัมพันธ์ของเด็กและชุมชน ลดต้นทุนการน�ำเข้าทรัพยากร การเรียนรู้จากภายนอกด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมให้ทุกภาคส่วนใน ท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันจัดการศึกษา ภายใต้สถานการณ์ปัญหาต่างๆ เช่นนี้ กลุ่ม ข่าย สถาบัน องค์กร ภาคเอกชน และเครือข่ายประชาสังคมที่ท�ำงานการศึกษา ต่างตระหนัก ได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้ประสบปัญหาจากการศึกษา ตัวจริงเสียงจริงทั้ง เด็กเยาวชน พ่อแม่ผู้ปกครอง ครูอาจารย์ สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และผู้ประกอบภาคเอกชน จะได้ส่งเสียงสะท้อนถึงปัญหาและเสนอแนว ทางแก้ไขเพื่อเป็นทางออกของการศึกษาไทยร่วมกัน ด้วยความส�ำคัญของปัญหาเช่นนี้ “สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการ ศึกษาไทย” หรือ Education Reform Assembly TH จึงเกิดขึ้นบนเป้า หมายใหญ่เพื่อปฏิรูปการศึกษา ภายใต้การถักทอเชื่อมร้อย ประสาน ความร่วมมือกันของเครือข่ายใหญ่ 9 เครือข่าย ประกอบด้วย เครือข่ายการศึกษาทางเลือก เครือข่ายพ่อแม่ผู้ปกครอง เครือ ข่ายโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดส�ำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน เครือข่ายโรงเรียน เอกชน เครือข่ายโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เครือข่ายกลุ่มธุรกิจเอกชน เครือข่ายเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่ และ เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง โดยภายใต้การรวมตัวกันนี้ได้น�ำไปสู่ความร่วมมือในการจัด เวทีระดมความคิดเห็นเพื่อขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาขึ้นทั้งหมด 9 เวที เครือข่าย และ 1 เวทีสมัชชาปฏิรูปการศึกษา ซึ่งในแต่ละเวทีนั้นต่างมี ผู้แทนและแกนน�ำจากแต่ละเครือข่ายเข้าร่วมกันระดมความคิดเห็นกัน อย่างเข้มข้นและจริงจัง จนเกิดข้อเสนอเพื่อปฏิรูปการศึกษา ดังนี้
  • 5. 1. 2. 3. ขอเสนอรางรัฐธรรมนูญ ดานการศึกษาการจัดการศึกษาตองเปนไปเพื่อการ พัฒนาความเปนมนุษยที่สมบูรณทั้งกาย ใจ สติปญญาและการพัฒนาความเขมแข็ง ในความเปนพลเมืองเพื่อสรางสังคมที่มี คุณภาพ ประชาชนทุกคนตองไดรับสิทธิที่จะเลือก การศึกษาที่สอดคลองเหมาะสมกับตน โดยรัฐตองสนับสนุนใหภาคีทุกภาควนมี สวนรวมในการจัดการศึกษาอยาง หลากหลายเพื่อรองรับผูเรียนที่หลากหลาย จัดอยางเสมกภาค เทาเทียมและมีคุณภาพ รัฐตองกระจายอำนาจในการจัดการศึกษา ใหกับทุกภาคสวนในสังคม เพื่อใหการศึกษา พัฒนาคนอยางเต็มศักยภาพ สอดคลองกับ บริบทของผูเรียน สถานศึกษาและชุมชน ทองภิ่น โดยรัฐจะตองสนับสนุนทาง ดานวิชาการ งบประมาณ และการลด หยอนภาษี 3 ลำดับแรกเพื่อการปฏิรูปการศึกษา ที่ตองดำเนินการอยางเรงดวน 1. 2. 3. ปฏิรูปการกระจายอำนาจ/โครงสรางการจัดการ ใหสถานศึกษาสามารถจัดการศึกษาไดอยางอิสระ เชน การจัดการในรูปโรงเรียนนิติบุคคล เปนตน และภาคสังคมตางๆ สามารถจัดการศึกษา ไดตามสิทธิที่บัญญัติไวใน พ.ร.บ.การศึกษา แหงชาติ มาตรา 12 ปฏิรูปการบริหารจัดการการศึกษา ปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนดวยการจัด ทำหลักสูตรตัวชี้วัด การประเมินผล ที่หลากหลายและทุกภาคสวนเขามามีสวนรวม การจัดสรรงบประมาณใหสอดคลองกับสภาพ จริง (Demand Side) และสนับสนุนสงเสริม ใหมากขึ้นในพื้นที่ที่หางไกลและขาดโอกาส ปฏิรูปกลไกการจัดการศึกษา ใหมีการจัดตั้งองคกรอิสระดานการศึกษาใน ระดับชาติ ที่เกิดขึ้นมาจากการมีสวนรวม ของทุกภาคสวน เชน สมัชชาปฏิรูปการศึกษา, ระดับจังหวัด เชน สภาการศึกษาจังหวัด เปนตน เปลี่ยนเปาหมายใหมของการศึกษาเพื่อสรางพลเมืองที่คุณภาพและสังคมที่เขมแข็ง ที่เชื่อมั่นในการเรียนรูที่หลากหลาย ตลอดชีวิต มุงเนนการเรียนรูดวยตนเอง มีทักษะชีวิตที่สามารถพึ่งตนเองได คิดวิเคราะหเปน ทำเปน มีเหตุผล มีคุณธรรม จริยธรรม จิตสาธารณะ และสามารถปรับตัวเขากับบริบทของสังคมโลกได มีความรักและเขาใจในชุมชนทองถิ่น มีความภาคภูมิใจในตัวเอง เคารพตัวเอง มีจิตสำนึกสาธารณะ และมีสำนึกของความเปนพลเมือง 1) ปฏิรูปเปาหมาย ทางการศึกษา/ กระบวนทัศน 2.ปฏิรูปการกระจาย อำนาจ/ โครงสราง ลดอำนาจ เปลี่ยนบทบาทจากเผด็จการทางการศึกษาที่ผูกขาด/ครอบงำการจัดการเรียนรู และความรูของสวนกลาง ดวยการคืนสิทธิ/กระจายอำนาจหนาที่ในการจัด การศึกษาใหเด็กเยาวชน พอแมผูปกครอง ชุมชน ทองถิ่น สถานศึกษาของรัฐ สถานศึกษาเอกชน สถานศึกษาสังกัดอปท. สถาบันศาสนา องคกรวิชาชีพ สถานประกอบการ องคกรชุมชนและองคกรเอกชน ฯลฯ เขามามี สวนรวมในการจัดการศึกษาอยางตอเนื่อง และใหภาครัฐมีบทบาท หนาที่ทางดานนโยบาย การสนับสนุนและการติดตามผล 7 ปฏิรูป แยกการเมืองออกจากการศึกษา ผลักดันใหการศึกษาเปนวาระแหงชาติ มีการจัดทำธรรมนูญการศึกษาที่ทุกภาคสวนมีสวนรวมและใหพรรคการเมือง ลงสัตยาบันรวมกันเพื่อแกปญหาการเปลี่ยนแปลงนโยบายการศึกษาที่ไมตอเนื่อง รวมทั้งแกระเบียบนโยบายกฎหมายที่ไมเอื้อตอการจัดการศึกษา และออกนโยบายกฎหมายที่เอื้อตอการปฏิรูปการศึกษาในอนาคต 3.ปฏิรูปนโยบาย/ กฎหมายการศึกษา 4.ปฏิรูปกลไก การจัดการศึกษา ใหมีการจัดตั้งองคกรอิสระดานการศึกษาในระดับชาติ ที่เกิดขึ้นมาจากการ มีสวนรวมของทุกภาคสวน เพื่อทำหนาที่ขับเคลื่อนแผนการศึกษาของชาติ อยางเปนองครวม เชื่อมโยงการศึกษาทุกระดับและทุกรูปแบบ ใหความรูและสนับสนุนใหเกิดความเขมแข็งแกองคกร หนวย กลุม หรือชุมชนที่มีจัดการศึกษาตางๆ
  • 6. สถานศึกษาตองมีอิสระในการจัดการ บริหารจัดการดวยระบบธรรมาภิบาล โดยสถานศึกษา ทุกแหงจะตองมีผูบริหาร งานบริหารงานบุคคลมีอัตรากำลังที่สอดคลองกับบริบทสถานศึกษา จัดครูใหครบชั้นเรียน และมีคณะกรรมการการศึกษาเพื่อชุมชนทองถิ่น/ สภาการศึกษาชุมชน เพื่อสรางการมีสวนรวมในระดับที่มีการจัดการศึกษา ที่มีตัวแทนจากทุกภาคสวน รวมทั้ง มีระบบในการพัฒนาคุณภาพทั้งครูและผูบริหาร รวมทั้งมีความชัดเจน ในการจัด สวัสดิการใหบุคลากรและการจัดการเงินวิชาชีพที่เทาเทียม - คืนหลักสูตรไปที่ชุมชน/ทองถิ่น/สถานศึกษา ปรับการเรียนเปลี่ยน การสอนดวยการจัดทำหลักสูตรที่ทุกภาคสวนเขามามีสวนรวม เชื่อมรอยชุมชน /ผูปกครอง/ศาสนสถานและบุคลากรสวนตางๆ ปฏิรูปหลักสูตรใหสอดคลองกับ ทองถิ่น สอดคลองกับเด็กนักเรียนรายบุคคลไมใชหลักสูตรเดียวสอนทั่วประเทศ - ตัวชี้วัดและการประเมินผล ตองปรับวิธีการประเมินใหเปนรายบุคคล มีการประเมินที่หลากหลาย ทั้งเรื่องทักษะชีวิต คุณธรรมไมเฉพาะวิชาการเทานั้น ยกเลิกการวัดผลโดยใชคะแนนเปนตัวชี้วัด แตใหวัดผลดวยศักยภาพและรูปธรรม การเรียนรูการปรับใชความรูที่หลากหลาย และจัดใหมีการประเมินทุกระดับ อยางมีสวนรวม นักเรียน ครู สถานศึกษา ผูปกครอง โดยตองทำใหทุกภาคสวน ตระหนักถึงบทบาทหนาที่ที่มีตอการจัดการศึกษา - การจัดสรรงบประมาณ กระจายใหผูจัดการศึกษา 80% ลดงบประมาณ ดานบุคลากรใหเหลือ 20% โดยงบประมาณการจัดการศึกษาใหขึ้นตรงกับทองถิ่น ใหทุกภาคสวนในระดับทองถิ่น เขามามีสวนรวมในการบริหารจัดการงบประมาณ การศึกษา จัดสรรงบประมาณใหสอดคลองกับสภาพจริงและสนับสนุนสงเสริม ใหมากขึ้นในพื้นที่ที่หางไกลและขาดโอกาส 5.ปฏิรูปการบริหารจัดการ (หลักสูตร ตัวชี้วัด การประเมินผล และ การจัดสรรงบประมาณ) 6.ปฏิรูประบบการผลิต และบุคลากรทางการศึกษา ปฏิรูปครูที่มีอยูเดิมเปลี่ยนครูจากการเปนผูสอน/ ผูจัดการเรียนการสอน ใหเปนครูเอื้อ อำนวยในการจัดการเรียนรู เปนผูจุดประกายและดึงศักยภาพของผูเรียนออกมา สรางหลักสูตรผลิตครูใหม จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยครูแหงชาติ” ที่ผลิตและพัฒนา ครูทั้งภาครัฐและเอกชนดวยการมุงเนนคุณภาพมากกวาปริมาณ ผลิตครูที่มีจิต วิญญาณความเปนครู มีคุณภาพ มีจิตวิทยาในการสอน ใหทุกภาคสวนเขามามี สวนรวมในการบริหารจัดการบุคลากรสถานศึกษา เชน การคัดเลือกเขา/ใหออก ใหเปนสิทธิของผูบริหารและบุคลากรครูและกรรมการสถานศึกษาภายใน สถานศึกษานั้นๆ เพื่อเปดโอกาสใหบุคลากรที่มีความรูความสามารถในชุมชน เขามามีสวนรวมเปนผูจัดการศึกษาไดโดยไมจำเปนจะตองมีใบประกอบวิชาชีพ 7 ปฏิรูป สื่อมีอิทธิพลตอการเรียนรู ดังนั้นจึงควรมีบทบาทในการรับผิดชอบตอสังคมดวยการ ใหขอมูลขาวสาร เผยแพรความรูที่ทำใหสังคมตื่นตัว มองเห็นปญหาของการศึกษา จุดประกายใหทุกภาคสวนเขามามีสวนรวมในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา เพื่อพัฒนาคน/พลเมืองที่มีคุณภาพรวมกัน และคนในสังคมมีทางเลือกทาง การศึกษามากขึ้น 7.ปฏิรูปการสื่อสาร เพื่อการศึกษา
  • 7. 12 13คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา...“เรา”เชื่อมั่นในการศึกษา เรียนรู้ที่หลากหลาย …เชื่อว่า คนทุกคนมีสิทธิเลือกการศึกษาที่ ตนเองต้องการ ... “เรา” เชื่อมั่นในกระบวนการมีส่วนร่วม เพราะการศึกษา ไม่ใช่เรื่องของใครคนใดคนหนึ่ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่คือเรื่องของส่วน รวม เป็นเรื่องของ “เรา” ทุกๆ คน “เรา”เชื่อมั่นในพลังของประชาชนของสังคม…เชื่อว่าทุกคน ล้วนเป็นพลังหนึ่งในการสร้างความเปลี่ยนแปลง สมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา (Education Reform Assembly) Facebook : https://www.facebook.com/EducationReformAssemblyTH E-mail : educationreformassemblyth@gmail.com ขอให้คบไฟของการปฏิรูปการศึกษาจุดขึ้นและส่งต่อด้วย “มือของประชาชน” “คืนการศึกษาให้ประชาชน ให้สังคมปฏิรูปการศึกษา”
  • 8. 14 15คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม การหนุนเสริมพลังเครือข่าย การศึกษาทางเลือก ปี 2558 “การศึกษาทางเลือก” หมายถึง การจัดการศึกษา ที่เคารพคุณค่าความเป็นมนุษย์และสิทธิเสรีภาพของ ประชาชนในการเลือกการศึกษาให้เหมาะกับความ ต้องการ ธรรมชาติ ศักยภาพ ความถนัด และความสนใจ ที่หลากหลายของผู้เรียน มีลักษณะสร้างสรรค์ก่อให้เกิด นวัตกรรม และมีความแตกต่างจากการศึกษาตามแนว กระแสหลัก ทั้งในทางปรัชญา แนวคิด บริบทภูมิสังคม ภูมินิเวศ และพหุวัฒนธรรม สามารถจัดได้ทั้งการศึกษา ในระบบ นอกระบบ ตามอัธยาศัย การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทุกระดับ และประเภทการ ศึกษา โดยรัฐ เอกชน ท้องถิ่น บุคคล ชุมชน ภาคประชา สังคม และสถาบันสังคมอื่นๆ เครือข่ายการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) ได้พยายามขับเคลื่อน การศึกษาทางเลือกในประเทศไทยมากว่า 30 ปี ในนามสภาการศึกษา ทางเลือก เข้าร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเสนอกฎหมาย การศึกษาแห่งชาติ ร่วมผลักดันพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เพื่อเรียกคืนสิทธิภาคประชาสังคมในการใช้สิทธิเลือกบริหารจัด การศึกษาที่ให้ความส�ำคัญต่อทรัพยากรพื้นฐาน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ สภาพความเป็นอัตลักษณ์ของวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละบริบทชุมชน ท้องถิ่น โดยมีหลักการส่งเสริมสนับสนุนศักยภาพผู้เรียนที่หลากหลาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีบนการเคารพความแตกต่างและเติบโตเป็นพลัง สร้างสรรค์ที่เข้มแข็งของสังคมไทยได้เข้าร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา จริงจังมาตั้งแต่ปี 2550 และจดทะเบียนเป็น “สมาคมสภาการศึกษา ทางเลือกไทย(สกล.)” เมื่อเดือนกันยายน 2554 ปัจจุบันมีการรวมตัว ของเครือข่ายผู้จัดการศึกษาทางเลือก 11 เครือข่าย ได้แก่ (1) เครือข่าย โรงเรียนไทยไท(2)เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคเหนือ (3)เครือข่าย การศึกษาทางเลือกภาคอีสาน (4) เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาค กลาง (5) เครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคใต้ (6) เครือข่ายการศึกษา ชนเผ่า (7) เครือข่ายบ้านเรียน (8) เครือข่ายโรงเรียนชุมชน(โรงเรียน ขนาดเล็ก)แห่งประเทศไทย (9) เครือข่ายเด็กและเยาวชนการศึกษาทาง เลือก (10) เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้นอกระบบ (11) เครือข่ายอุดม ศึกษาทางเลือก สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) พบว่า ภายใต้ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มาตรา 12 ที่ให้สิทธิ แก่ บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชนและองค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาน ประกอบการ สถาบันศาสนา ในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานรูปแบบ “ศูนย์การเรียน” โดยมีกฏกระทรวงและแนวปฏิบัติออกมารองรับครบ ทั้ง 6 กฎกระทรวง แต่ในทางปฏิบัติโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การยื่นขอ อนุญาตจัดการศึกษาตามกฏกระทรวงว่าด้วยสิทธิของบุคคล องค์กร ชุมชน/องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ ยังไม่มีระเบียบการปฏิบัติงานตาม หลักเกณฑ์และวิธีการปรับใช้หลักสูตรแกนกลางฯ การวัดและประเมิน ผล รวมทั้งระบบการสนับสนุนสิทธิประโยชน์ โดยเฉพาะเงินอุดหนุน ยังมีอุปสรรคปัญหามากมาย เช่นเดียวกับการจัดการศึกษาแบบบ้าน เรียน(Home School) ที่แม้กฎกระทรวงจะออกมานานครบ 10 ปี แล้ว ก็ตาม แต่ปัญหาการสนับสนุนและบริการจากภาครัฐก็ยังไม่เป็นธรรม และไม่สอดคล้องเหมาะสมกับแนวทางการศึกษาทางเลือกอย่างแท้จริง
  • 9. 16 17คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม โดยสาเหตุของปัญหา นอกจากข้อบกพร่องไม่สมบูรณ์ของกฎ กระทรวง ตลอดจนถึง กฎ ระเบียบ ค�ำสั่ง ประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับกฎหมายการศึกษาและการศึกษาทางเลือก ที่ยังไม่ชัดเจนส�ำหรับ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติแล้ว ความไม่เข้าใจในแนวทาง/ความคิด/เป้าหมาย การจัดการศึกษาทางเลือกของเจ้าหน้าที่ส�ำนักเขตพื้นที่การศึกษาระดับ ท้องถิ่น/จังหวัดก็เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการศึกษาทางเลือกให้ เติบโตและเข้มแข็งเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาเด็ก/เยาวชน ที่ท�ำให้เกิดโอกาสน้อยในการเลือกการศึกษาที่ต้องการและเหมาะสม ส่งผลกระทบไปถึงกระบวนทัศน์ของภาคประชาชนกันเองในกลุ่มผู้ที่ไม่ เข้าใจการศึกษาทางเลือกเพื่อน�ำไปเป็นแนวทางในการการปฏิรูปตนเอง รวมทั้งยังไม่มีการรวบรวมระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ต้นแบบ การศึกษาที่กระจัดกระจายในกลุ่มที่เริ่มต้นลงมือปฏิรูปการศึกษาด้วย การท�ำทันทีไปแล้ว ตลอดจนถึงการบริหารจัดการศึกษาของภาครัฐที่ ด�ำเนินมา ยังส่งผลกระทบต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กยากไร้/ด้อย โอกาสและเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษากระแสหลักที่ปัจจุบันมี แนวโน้มของปัญหาเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆด้วย โดยนัยสัมพันธ์ดังกล่าว ท�ำให้เกิดความต้องการจัดการศึกษาภาคประชาชนที่เริ่มขยายจ�ำนวน มากขึ้น ซึ่งโดยภาคส่วนบ้านเรียนที่ด�ำเนินเรื่อยมานับแต่มีมาตรา 12 ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และมีกฎกระทรวง การจัดการศึกษาโดยครอบครัวรองรับตั้งแต่ พ.ศ.2547 มานั้น มีผู้สนใจ จัดการศึกษาสูงขึ้นในทุกภูมิภาค สกล. จึงเห็นความจ�ำเป็นในการขยาย ศักยภาพการท�ำงานระดับเครือข่ายบ้านเรียนด้วยการสร้างองค์ ความรู้ที่เกี่ยวกับแนวทางการจัดศึกษาทางเลือกอย่างเป็นระบบ เพื่อ ให้สามารถร่วมพลังกันขยายงานปฏิรูปการศึกษาของเครือข่ายระดับ ภูมิภาครองรับโอกาสและคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้นในการ จัดการศึกษาทางเลือกภาคครอบครัวและชุมชน รวมทั้งรองรับการยก ระดับการรวมตัวของเครือข่ายร่วมกันจัดการศึกษารูปแบบศูนย์การ เรียนระดับจังหวัด โดยไปช่วยเสริมการขับเคลื่อนความเข้มแข็งภาค ปฏิบัติการให้กับศูนย์การเรียน มาตรา 12 ทั้ง 4 ภูมิภาค ซึ่งตั้งแต่มี แนวปฏิบัติในปี พ.ศ.2554 เป็นต้นมาภาคประชาชนโดยบุคคล องค์กร ชุมชน/องค์กรเอกชน และองค์กรวิชาชีพ เริ่มทยอยกันให้ความสนใจใช้ แนวทางการศึกษาทางเลือกเป็นทิศทางใหม่ของการมีส่วนร่วมพัฒนา คุณภาพเยาวชนระดับชุมชนท้องถิ่น ดังนั้น สกล.จึงเห็นว่าควรยกระดับ งานพัฒนาการสร้างเสริมศักยภาพในการบริหารจัดการการศึกษา ทางเลือกเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับการศึกษาภาคประชาชนให้ สอดคล้องกัน
  • 10. 18 19คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม สืบเนื่องจากการขับเคลื่อนเวทีปฏิรูปการศึกษาของ 9 เครือข่าย ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม 2557 โดยสมาคมสภาการศึกษาทาง เลือกไทย(สกล.)ด้วยการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งของส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ตอกย�้ำต่อสังคมไทยว่าถึง เวลาปฏิรูปการศึกษาแล้ว โดยคืนการศึกษาให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ในการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้การศึกษาไทยสามารถตอบสนองต่อความ ต้องการพัฒนาคุณภาพเยาวชนอย่างแท้จริง มติของเวทีการขับเคลื่อน ปฏิรูปการศึกษาทั้ง 9 เวที นอกจากจะร่วมกันก่อตั้งองค์กรประสาน งานกลางในการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องในชื่อ“สมัชชาเครือข่ายปฏิรูป การศึกษา” แล้ว ยังมีมติร่วม “7 ปฏิรูป 7 ขับเคลื่อน” ซึ่งแสดงออก อย่างชัดเจนว่า ประชาชนต้องการการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบและ แก้ไขที่ต้นตอของปัญหา นั่นคือ เพื่อให้การขับเคลื่อนของสมัชชาเครือข่ายปฏิรูปการศึกษา ก้าวหน้าดียิ่งขึ้น จ�ำเป็นที่ทุกเครือข่ายสมาชิกต้องช่วยกันสร้างพลังการ ขับเคลื่อนของแต่ละเครือข่ายให้มีความเข้มแข็ง และเชื่อมโยงหนุนเสริม กับเครือข่ายต่างๆ “การกระจายอ�ำนาจการบริหารจัดการศึกษาโดย ยึดหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์และกลไกการจัดการศึกษาใหม่ รวมทั้งการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการหลักสูตร ปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลทุก ระดับโดยเฉพาะระดับชาติ พัฒนาระบบผลิตและพัฒนา ครู และการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อเปลี่ยนการศึกษา ให้ เกิดวาระการเปลี่ยนแปลงส่งผลไปให้ถึงคุณภาพการศึกษา ของเด็กและเยาวชนอย่างแท้จริง เปิดพื้นที่การท�ำงานของ ทุกภาคส่วนร่วมกันในระดับท้องถิ่นและจังหวัดเพื่อขยาย โอกาสการมีส่วนร่วมของภาคสังคมเพื่อลดการผูกขาดการ บริหารจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ” นอกจากนี้ การเสริมเสร้างความเข้มแข็งของระบบการท�ำงาน เครือข่ายระดับพื้นที่และระบบจัดการความรู้/การถอดบทเรียนเพื่อ พัฒนาองค์ความรู้ของเครือข่ายการศึกษาทางเลือกภาคประชาชนที่ กล่าวมา มีการเสริมพลังการมีส่วนร่วมโดยการเชื่อมโยงศักยภาพของ เครือข่ายนวัตกรรมการเรียนรู้นอกระบบ และเครือข่ายอุดมศึกษาทาง เลือกเพื่อจะเป็นตัวอย่างต้นแบบส�ำคัญของนวัตกรรมการเลือก วิธีการศึกษาที่ต้องการการเผยแพร่สู่สาธารณะเพื่อที่จะท�ำให้สังคม ไทย โดยเฉพาะเด็ก/เยาวชน/ครอบครัว ชุมชน และองค์กรภาคสังคม ตลอดจนถึงผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจแนวความคิด แนวทาง และเข้าถึง รูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกที่หลากหลายแล้ว ข้อมูล/เนื้อหาและ ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการร่วมกันถอดบทเรียนจะเป็นข้อมูลที่ ส�ำคัญในการพัฒนาขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาในเชิงนโยบายอีกด้วย สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย เห็นว่า ภายใต้นโยบาย ปฏิรูปประเทศไทยในปัจจุบันการปฏิรูปการกระจายอ�ำนาจไปให้ท้องถิ่น ด้านการศึกษาให้เป็น “สภาพัฒนาการศึกษาระดับจังหวัด” เป็น รูปธรรมส�ำคัญของการปฏิรูปการศึกษาที่สามารถปฎิบัติการได้ทันที โดยสามารถจัดสรรความร่วมมือให้เป็นกลไกที่มีองค์ประกอบจากทุก ภาคส่วนในการขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา/เชื่อมโยงเครือข่าย/องค์กร ทั้งในระดับท้องถิ่นจังหวัดกับสภาปฏิรูปแห่งชาติตลอดจนถึงองค์กรอื่นๆ ที่เข้าไปร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาในจังหวัดด้วย รวมทั้งนอกจากจะ ปฏิบัติการทันทีในการศึกษาปัญหา/ส�ำรวจความคิดความต้องการของ ผู้เรียนเพื่อก�ำหนดทิศทางและประเด็นในการปฏิรูปการศึกษาแล้ว สภา พัฒนาการศึกษาจังหวัดยังจะเป็นกลไกส�ำคัญในการแก้ไขปัญหาการส่ง เสริมและพัฒนาการศึกษาทางเลือกของภาคประชาสังคมทั้งประเด็น ศูนย์การเรียนและบ้านเรียนในระดับพื้นที่ปฏิบัติงานไปพร้อมกันด้วย
  • 11.
  • 12. 22 23คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม วัตถุประสงค์ 7 ขับเคลื่อน 7 ปฏิรูป 1.เพื่อเสริมสร้างสภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดให้เป็นกลไกที่มี ส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในการประสานงานขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษา และพัฒนาสิทธิในการบริหารจัดการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การ เรียนและบ้านเรียนตามกฎหมายให้เป็นจริง 2.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรเครือข่ายการศึกษา ทางเลือกในการติดตามสนับสนุนการปฎิรูปการศึกษาทั้งในระดับ จังหวัดและระดับชาติอย่างต่อเนื่อง และร่วมขับเคลื่อนพัฒนาโครงการ เชื่อมโยงการท�ำงานร่วมกับเครือข่ายอื่นๆ ให้ส�ำเร็จตามเป้าหมายอย่าง มีคุณภาพ 3.เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการจัดการความรู้และการสื่อสาร สาธารณะขององค์กรเครือข่ายการศึกษาทางเลือกให้มีคุณภาพมากยิ่ง ขึ้นในการร่วมขับเคลื่อนปฏิรูปการศึกษาทั้งในระดับจังหวัดและระดับฅ ประเทศอย่างต่อเนื่อง เป้าหมาย 7 ขับเคลื่อน 7 ปฏิรูป 1.เสริมสร้าง “สภาพัฒนาการศึกษาจังหวัด” เพื่อขับเคลื่อน การปฏิรูปการกระจายอ�ำนาจการจัดการศึกษาไปยังพื้นที่น�ำร่อง 4 ภาค ทั่วประเทศและใช้กลไกสภาพัฒนาการศึกษาจังหวัดในการส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาทางเลือกรูปแบบศูนย์การเรียนและ บ้านเรียนตามมาตรา 12 ของพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 2.พัฒนาการสื่อสารสาธารณะขององค์กรเครือข่ายสมาชิก สภาการศึกษาทางเลือกไทย(สกล.)อย่างมีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ โดยพัฒนาชุดประสบการณ์ และบทเรียน กรณีศึกษาต้นแบบเครือข่าย การศึกษาทางเลือก (Best Practice) และสร้างคู่มือปฏิบัติการวิธีจัด การศึกษาแบบบ้านเรียน (Home School Handbook) พัฒนาข้อมูล การศึกษาวิจัยการศึกษาทางเลือกในประเทศและต่างประเทศและ ท�ำเนียบองค์กรสมาชิกให้สมบูรณ์เป็นฐานข้อมูลและผลงานรูปธรรมที่ จะเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างมีคุณภาพ พื้นที่การท�ำงาน สกล.ด�ำเนินงานครอบคลุมทั้ง 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ศูนย์ประสานงานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และ เชียงราย ภาคอีสาน ศูนย์ประสานงานภาคอยู่ที่ จังหวัดมหาสารคาม และ กาฬสินธุ์ ภาคใต้ ศูนย์ประสานงานภาคอยู่จังหวัดสุราษฏ์ธานี และ สงขลา ภาคกลาง ศูนย์ประสานงานภาคอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ที่ตั้งสมาคม : สมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย (สกล.) สถาบันอาศรมศิลป์ 399 ซ.อนามัยงามเจริญ25 ท่าข้าม บางขุนเทียน กรุงเทพ 10160 โทรศัพท์. : 02-490-4748 ต่อ 107 โทรสาร. : 02-490-4741
  • 13.
  • 14. 26 27คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม เครือข่ายการศึกษาบนฐานชุมชน แนวคิดการศึกษาบนฐานชุมชน รากฐานของการศึกษาบนฐานชุมชน คือ องค์ความรู้ของชุมชน ท้องถิ่นซึ่งมีการสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน แต่ต่อมา ได้ถูกลดทอน คุณค่าลงด้วยระบบการศึกษาสมัยใหม่และกระแสบริโภคนิยมนิยมท�ำให้ กระบวนการพัฒนาเยาวชน ชุมชนและสังคมด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ หลากหลายประสบปัญหานานาประการ “การศึกษาบนฐานชุมชน” มีส่วนส�ำคัญในการพัฒนา ยกระดับ การศึกษาเรียนรู้ตามธรรมชาติซึ่งเป็นการศึกษาพื้นฐานให้มีระบบ แบบแผนมากยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลให้สามารถน�ำมาปรับใช้ได้อย่างเหมาะ สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางสังคม เงื่อนไขบริบทอันหลากหลายเกิดผล ในการพัฒนาทักษะชีวิต อาชีพ สุขภาวะและจิตปัญญาของผู้เรียนรู้ซึ่งมี ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกเพศทุกวัยทั้งในและนอกชุมชน “การศึกษาบนฐานชุมชน” คือ กระบวนการเรียนรู้รากเหง้า ของตนเอง ผ่านประวัติศาสตร์ชุมชน ฐานทรัพยากรธรรมชาติ วิถีการท�ำ มาหากิน ความเชื่อประเพณีพิธีกรรม ผู้รู้ ภูมิปัญญา รวมทั้งการเรียนรู้ ปัจจุบันและเท่าทันโลกสมัยใหม่ ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่ส�ำคัญทั้งการ ฟัง พูด อ่าน เขียน การสื่อสาร วิเคราะห์ สังเคราะห์ ฝึกฝน อบรม เพื่อสร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา พัฒนาชุมชน และสังคม อย่างยั่งยืน น�ำ ไปสู่การร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสรุปบทเรียนจากการปฏิบัติร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสามารถเลือกสรรความรู้ใหม่มาสร้างความเข้ม แข็งให้แก่ตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม หัวใจของ “การศึกษาบนฐานชุมชน” อยู่ที่ความเข้าใจใน กระบวนการพัฒนาการศึกษาซึ่งมีส่วนส�ำคัญในการพัฒนาชีวิต จิตวิญญาณ ควบคู่กับการร่วมสร้างสรรค์ชุมชนและสังคม การศึกษา บนฐานชุมชนจึงเป็นทางเลือกของการศึกษา เรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง ตนเอง เรียนรู้เพื่อก�ำหนดวิถีชีวิตตนเอง เรียนรู้เท่าทันสถานการณ์สังคม ที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงชุมชนและสังคมไทย “การศึกษาบนฐานชุมชน” เป็นหัวใจส�ำคัญของการจัดการ ศึกษาเรียนรู้เพื่อพัฒนาเด็กเยาวชนและชุมชนบนรากฐานของ องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากล เป็นการสร้างคนเพื่อ สร้างสรรค์อนาคต
  • 15. ผู้ประสานงาน : คุณภัสรา รู้พันธ์ ที่ติดต่อ : 57/7 หมู่ 5 ต.บางกุ้ง อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี 84000 เบอร์โทรศัพท์ : 087 386 2488 E-mail : cyggroup@hotmail.com
  • 16. 30 31คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม เครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง- คศช. (Indigenous Education Network: IEN) แนวคิดการท�ำงานของเครือข่าย การจัดการศึกษาทางเลือกแบบมีส่วนร่วมที่จัดโดยชุมชนและ เพื่อชุมชนชนเผ่าพื้นเมือง ให้มีพื้นที่การเรียนรู้และแสวงหาความร่วมมือ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองบน รากฐานวัฒนธรรมตนเอง เพื่อให้ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นคนพหุวัฒนธรรม ตามหลักสิทธิมนุษยชน สามารถด�ำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข สงบ และ สันติ ประวัติความเป็นมาของเครือข่าย จากสถานการณ์ที่ชุมชนชนเผ่าพื้นเมืองหลายแห่ง ได้พยายาม ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมตนเอง หลังจากที่ถูกกระแสโลกาภิวัตน์ การพัฒนา ตามนโยบายรัฐ และระบบการศึกษาทางการ ได้ลดทอนบทบาทผู้รู้ ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง และความส�ำคัญของการเรียนรู้วิถีชีวิตตาม จารีตประเพณีของเด็กและเยาวชนไป ในขณะเดียวกันที่ชุมชนต่าง ๆ เหล่านี้ ไม่มีพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ขาดการ หนุนเสริมพลังเพื่อแก้ไขปัญหาร่วมตลอดจนไม่มีโอกาสร่วมผลักดันงาน นโยบายที่เกี่ยวข้องด้วยกัน ต่อมาผู้รู้ภูมิปัญญาชนเผ่าพื้นเมือง ได้มี โอกาสพบปะกันบ่อยขึ้น ท�ำให้เห็นความส�ำคัญในการสร้างพื้นที่เรียนรู้ และขับเคลื่อนงานการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองร่วมกัน และเมื่อวันที่ 19-21 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แกนน�ำผู้รู้และเยาวชนชนเผ่าพื้นเมืองทั้ง 9 กลุ่ม ชาติพันธุ์ ได้ร่วมประชุมปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การบริหารจัดการด้านการศึกษาและวัฒนธรรมของชุมชนชนเผ่าพื้น เมืองอีกครั้ง จึงมีความเห็นร่วมกันจัดตั้ง “เครือข่ายการศึกษาชน เผ่าพื้นเมือง” ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันอย่างมีพลัง จากนั้น เครือข่ายฯ ได้พยายามพัฒนากลไก วางแผน และจัดกระบวนงานให้มี ความชัดเจนมากขึ้นเป็นระยะๆ วิสัยทัศน์ (Vision) ชนเผ่าพื้นเมืองเป็นคนพหุวัฒนธรรมตามหลักสิทธิมนุษยชน พันธกิจ (Mission) เสริมสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ระดมทรัพยากร และผลักดัน นโยบายในการส่งเสริมการเข้าถึงการศึกษาอย่างมีคุณภาพและ คุณธรรมส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง วัตถุประสงค์ (Objectives) 1.เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายการศึกษาชนเผ่าพื้น เมือง 2.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาที่เป็นรูปแบบ เฉพาะส�ำหรับพื้นที่ชนเผ่าพื้นเมืองที่เน้นให้องค์กรชุมชนสามารถจัดการ ศึกษาได้ด้วยตนเองหรือมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 3.เพื่อร่วมรณรงค์และผลักดันนโยบายที่เอื้อต่อการจัดการ ศึกษาที่เหมาะสมส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง ยุทธศาสตร์ (Strategic) 1.พัฒนาศักยภาพและกลไกการประสานงานเครือข่ายการ ศึกษาชนเผ่าพื้นเมือง 2.พัฒนาระบบฐานข้อมูลที่ผู้มีส่วนได้เสียสามารถเข้าถึงและใช้ ประโยชน์ร่วมกันได้
  • 17. 32 33คืนการศึกษาให้สังคม คืนการศึกษาให้สังคม 3.รวบรวมพัฒนาองค์ความรู้และปฏิบัติการที่ดีเพื่อน�ำไป ประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาส�ำหรับชนเผ่าพื้นเมือง 4.ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ในสถานศึกษาที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมชนเผ่าพื้นเมืองบนฐานสิทธิ มนุษยชนและทักษะชีวิต 5.ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล ที่เหมาะสมโดยเน้นความส�ำคัญของภาษาแม่ และวิถีวัฒนธรรม ตามแนวทางทวิภาษาและพหุภาษา 6.รณรงค์และผลักดันให้เกิดการน�ำนโยบายการกระจาย อ�ำนาจสู่การปฏิบัติในการจัดการศึกษารวมถึงจัดสรรงบประมาณ ส่งเสริมให้มีครูชนเผ่าพื้นเมือง และพัฒนาศักยภาพบุคลากรในสถาน ศึกษาและชุมชน ข้อเสนอประเด็นการศึกษาชนเผ่าพื้นเมืองเพื่อการปฏิรูป ข้อเสนอ 1.ให้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา ปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่าง ประเทศที่ไทยร่วมลงนามผูกพันและตามมาตรา 10 ของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ ปี 2542 และโดยให้เด็กทุกคนที่อาศัยอยู่ในประเทศ ไทย ได้รับการศึกษาจนจบการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งสอดคล้องกับวิถี ชีวิต ภาษาและวัฒนธรรมของแต่ละชุมชน อย่างเท่าเทียมบนฐานสิทธิ มนุษยชน 2.ให้มีการจัดการศึกษาโดยให้ชุมชนเป็นฐานและมีการบริหาร จัดการที่ชุมชนมีอ�ำนาจในการตัดสินใจ เป็นรูปแบบเฉพาะส�ำหรับพื้นที่ ที่มีกลุ่มเด็กชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่เน้นการมีส่วนร่วมกับชุมชน และหรือสนับสนุนให้ชุมชนจัดการการศึกษาด้วยตนเอง เป็นการศึกษา แนวทางพหุภาษาและวัฒนธรรม 2.1 ให้สถานศึกษา มีการปรับปรุงหลักสูตรการเรียน การสอนให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชนประเพณีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญา โดยใช้ภาษาแม่ร่วมในการจัดการเรียนรู้ แนวทางทวิภาษาหรือพหุภาษาเพื่อด�ำรงความเป็นตัวตนชนเผ่าพื้นเมือง และเคารพความหลากหลายทางวัฒนธรรม 2.2 ให้สถานศึกษาเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนด้าน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของชาติและทักษะชีวิตที่เน้นในการ “รู้สิทธิ รู้ รากเหง้า รู้เท่าทัน” รวมทั้งให้เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้หลักสิทธิมนุษยชน และสิทธิชนเผ่าพื้นเมือง 2.3 ให้กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายส่งเสริมและ มาตรการในการสรรหาและจัดสรรงบประมาณส�ำหรับครูท้องถิ่นใน พื้นที่และให้ทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับวิทยฐานะให้ เป็นครูมืออาชีพของชุมชน รวมทั้งให้มีสถาบันผลิตครูที่มีคุณภาพเข้าใจ หลักสิทธิมนุษยชน และบริบทของท้องถิ่นนั้น ๆ 2.4 ให้รัฐบาลโดยกระทรวงศึกษาธิการ ประสานกับ กระทรวง ทบวง กรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับปรุงระบบการสื่อสาร ผ่านดาวเทียมให้มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการเรียนรู้และการเข้าถึง ของเด็กในพื้นที่ห่างไกลเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง 2.5 ให้รัฐมีมาตรการส่งเสริมและสนับสนุนงบ ประมาณในการใช้ภาษาแม่ส�ำหรับการจัดการศึกษา ตามแนวทางทวิ ภาษาหรือพหุภาษาส�ำหรับกลุ่มเด็กชนเผ่าพื้นเมือง 2.6 ให้จัดสรรทุนการศึกษาเป็นกรณีพิเศษส�ำหรับ เด็กและเยาวชนชนเผ่าพื้นเมือง โดยเฉพาะการส่งเสริมให้เรียนต่อใน สาขาวิชาที่กลับมารับใช้ท้องถิ่นหรือชุมชน 2.7 ให้รัฐสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษา การฝึกอบรม และการวิจัยของชนเผ่าพื้นเมือง ที่เน้นการศึกษาทางเลือก ควบคู่กับการพัฒนาบนฐานวิถีวัฒนธรรม
  • 18. 34 คืนการศึกษาให้สังคม 2.8 ให้จัดตั้งหน่วยงานอิสระที่มีอ�ำนาจพร้อม งบประมาณเพื่อเป็นกลไกการท�ำงานและติดตามการขับเคลื่อนเชิน นโยบายไปสู่ปฏิบัติการณ์ด้านการศึกษาของชนเผ่าพื้นเมืองอย่างเป็น รูปธรรม 3.ให้มีมาตรการหรือออกกฎหมายรองรับมติคณะรัฐมนตรีว่า ด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวกะเหรี่ยง (3 สิงหาคม 2553) และชาวเล (2 มิถุนายน 2553) และขยายผลไปยังกลุ่มชนเผ่าพื้นเมืองและชาติพันธุ์ อื่นๆ ต่อไป พื้นที่รูปธรรมต้นแบบของเครือข่าย : โรงเรียนชุมชนมอวาคี “โรงเรียนชุมชนมอวาคี” หรืออีกชื่อหนึ่งคือ ศูนย์การเรียน ชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านหนองมณฑา ตั้งอยู่ที่หย่อม บ้านมอวาคี เป็นชุมชนปกาเกอะญอ ตั้งอยู่หมู่ที่ 16 ต�ำบลแม่วิน อ�ำเภอ แม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหย่อมบ้านหลักที่มีประชากรจ�ำนวน 40 หลังคาเรือน และมีบ้านบริวารอีก 3 บ้าน คือ บ้านใหม่ บ้านปางมะโอ และบ้านขุนวิน รวมทั้งหมู่บ้านมีจ�ำนวน 124 ครัวเรือน รวมประชากร 522 คน ค�ำว่า “มอวาคี” แปลความในภาษาปกาเกอะญอ หมายถึง โป่ง ห้วยน�้ำขาว ส่วน “หนองมณฑา” มีที่มาจากชาวบ้านชื่อนายบูฑาซึ่งเป็น ผู้พบตัวแลน (ตะกวดน�้ำ) ที่หนองน�้ำใกล้โป่งขาวนั้น จึงมีผู้เรียกบริเวณ นี้ว่า “หนองน�้ำของบูฑา” และต่อมาได้เพี้ยนไปเป็นหนองมณฑา ชาว บ้านมอวาคียังด�ำรงชีพด้วยการท�ำไร่ข้าวและนา ในไร่ข้าวยังนิยมปลูก พืชผักอื่นๆ ร่วมด้วย จึงท�ำให้มีอาหารเพียงพอตลอดปี ชาวบ้านบางส่วน ยังออกไปรับจ้างนอกชุมชน เช่น เก็บล�ำไย ปลูกและเก็บหอมหัวใหญ่ เป็นต้น ชาวบ้านบางคนยังทอผ้า เช่น เสื้อ ย่าม ผ้าถุง ผ้าพันคอ เป็นต้น เพื่อใช้เองและขายให้แก่นักท่องเที่ยว นอกจากนี้ในชุมชนยังมี ประมาณ 2-3 หลังคาเรือน เปิดบริการบ้านพักแบบ Homestay ให้แก่ นักท่องเที่ยวด้วย