SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในการศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ‘Intensive Reading’ ตามแนวทฤษฎี
การสอนภาษาแบบอรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้า จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งใน
ประเทศและต่างประเทศโดยนาเสนอตามลาดับหัวข้อ ดังต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
1.2 คุณภาพของผู้เรียน
2. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ
2.1 โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
2.2 คาอธิบายรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
2.3 ผลการเรียนรู้รายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
2.4 โครงสร้างรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
3. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.2 ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.3 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.4 ความสาคัญและประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.6 การผลิตและออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.7 โปรแกรม Flip Album ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
12
4. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
4.1 หลักการและทฤษฎี
4.2 อรรถลักษณะของภาษา
4.3 แนวการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
4.4 การจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
4.5 ประโยชน์ของวิธีการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
5. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน
5.1 ความหมายของการอ่าน
5.2 ความสามารถทางการอ่าน
5.3 องค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่าน
5.4 ทฤษฎีประสบการณ์เดิม
6. ทฤษฎีความพึงพอใจ
6.1 ความหมายของความพึงพอใจ
6.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ
6.3 วิธีสร้างความพึงพอใจในการเรียน
6.4 องค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรม
6.5 การวัดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติกิจกรรม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
1. งานวิจัยในประเทศ
1.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนตามทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
2. งานวิจัยต่างประเทศ
2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนตามทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
13
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551ค : 2-3)
สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร
มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดง
ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดง
ความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรฐาน ต 1.3 นาเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดย
การพูดและการเขียน
สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม
มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และ
นาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ
มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ
เจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้
อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน
สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก
มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา
ชุมชน และสังคม
มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การ
ประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก
1.2 คุณภาพของผู้เรียน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (สานักวิชาการและมาตรฐาน
การศึกษา. 2551ค : 7-8)
1) ปฏิบัติตามคาแนะนาในคู่มือการใช้งานต่าง ๆ คาชี้แจง คาอธิบาย และคาบรรยายที่
ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง และบทละครสั้นถูกต้อง
ตามหลักการอ่านอธิบายและเขียนประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบ
ต่าง ๆ ที่อ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่าง ๆ สัมพันธ์กับประโยคและ
14
ข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็น
จากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดีพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ
2) สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์
สถานการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสารอย่างต่อเนื่องและ
เหมาะสม เลือกและใช้คาขอร้อง คาชี้แจง คาอธิบาย และให้คาแนะนา พูดและเขียนแสดง
ความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์
จาลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย
เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่าน
อย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล
3) พูดและเขียนนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ เรื่องและ
ประเด็นต่าง ๆ ตามความสนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสาคัญ แก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์
เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็น
เกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์และเหตุการณ์ ทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลก พร้อมทั้งให้เหตุผล
และยกตัวอย่างประกอบ
4) เลือกใช้ภาษา น้าเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล เวลา โอกาสและ
สถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด
ความเชื่อและที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วม แนะนา และจัด
กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมมอย่างเหมาะสม
5) อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สานวน
คาพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย วิเคราะห์/อภิปราย
ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ
ของไทย และนาไปใช้อย่างมีเหตุผล
6) ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และนาเสนอด้วยการพูดและการเขียน
7) ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน
สถานศึกษา ชุมชนและสังคม
8) ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/
ข้อมูลต่าง ๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/
ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ
15
9) มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่อง
เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลา
ว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้ าอากาศ การศึกษาและอาชีพ
การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคาศัพท์
ประมาณ 3,600-3,750 คา (คาศัพท์มีระดับการใช้แตกต่างกัน)
10) ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมายตามบริบทต่าง ๆ ใน
การสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้
ภาษาต่างประเทศ
จากสาระหลักสูตรที่เป็นข้อกาหนดต่าง ๆ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551 โรงเรียนช่องพรานวิทยาได้นามาเป็นกรอบในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานดังนี้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนช่องพรานวิทยา. 2553)
2.1 โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
รายวิชาพื้นฐาน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ21101 ภาษาอังกฤษ 1 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
อ21102 ภาษาอังกฤษ 2 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อ22101 ภาษาอังกฤษ 3 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
อ22102 ภาษาอังกฤษ 4 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อ23101 ภาษาอังกฤษ 5 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
อ23102 ภาษาอังกฤษ 6 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อ31101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ31102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อ32101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ32102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อ33101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ33102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
16
รายวิชาเพิ่มเติม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ21201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ21202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อ22201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ22202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อ23201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ23202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อ31201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ31202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อ32201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ32202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อ33201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
2.2 คาอธิบายรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
ฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ จากเรื่องประเภท
สารคดี บันเทิงคดี ฝึกทักษะการพูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น พร้อมให้
เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่นการสรุปข่าว/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค
และระดับประเทศได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง สถานการณ์จาลองที่เกิดขึ้น
ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนรวมถึงใช้ความรู้ทางภาษาในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลจาก
แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
2.3 ผลการเรียนรู้รายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
1) จับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ และแสดงความคิดเห็นจากการอ่าน
เรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี
2) พูดและเขียนให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ข่าว/เหตุการณ์ที่
อ่านอย่างเหมาะสม
3) ใช้ภาษาต่างประเทศในการค้นคว้า สืบค้น สรุปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ข้อมูลที่ได้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
17
2.4 โครงสร้างรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6
หน่วยที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ จานวนชั่วโมง น้าหนัก
คะแนน
1 Famous People ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20
2 Natural Disasters ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20
สอบกลางภาค ข้อที่ 1,2 และ 3 1 10
3 The Internet ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20
4 Survival ข้อที่ 1,2 และ 3 8 20
สอบปลายภาค ข้อที่ 1,2 และ 3 1 10
รวม 40 100
ซึ่งผู้รายงานเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 Famous People และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 Natural
Disasters เป็นหน่วยการเรียนรู้ในการจัดทาเนื้อหา
3. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book ย่อมาจาก Electronic Book) ได้มีผู้ให้ความหมายของ
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้หลากหลาย ดังนี้
ประภาพรรณ หิรัญวัชรพฤกษ์(2545 : 43-44) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ว่า เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์
อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ พร้อมติดตั้งระบบปฏิบัติการ
หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านข้อความต่าง ๆ ได้ สาหรับการดึงข้อมูล e-Book ที่อยู่บนเว็บไซต์
ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน
สุรศักดิ์ อรชุนกะ (2547 : 6-10) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง
e-book มาจากชื่อเต็มคือ electronic book หรือหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอล ซึ่งสามารถ
เปิดอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องปาล์ม พ็อกเก็ตพีซี หรือ แม้แต่
โทรศัพท์จอสีบางรุ่นได้ด้วย สามารถพกหนังสือ เป็นตั้ง ๆ ติดตัวไปได้ทุกที่ทุกเวลา ว่างเมื่อไหร่
ก็สามารถโหลดการ์ตูน หรือนิยายเรื่องโปรดขึ้นมาอ่านได้ทันที
ศักดา ศักดิ์ศรีพาณิชย์ (2549 : 7) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า คือ
e-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็ นคาเฉพาะที่ใช้สาหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็ นสิ่งพิมพ์
18
ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูล (Optical disc)
เช่น ซีดีรอม
สานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(website : http://203.146.15.11) ได้ให้ความหมายว่า e-book หมายถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่าน
สามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ซึ่งมีความหมายรวมถึง
เนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มี
ลักษณะการนาเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจาวัน แต่มี
ลักษณะพิเศษคือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านสามารถอ่านพร้อม ๆ กัน ได้โดย
ไม่ต้องรออีกฝ่ายหนึ่งคืนห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่ว ๆ ไป
สารานุกรมโทรคม (Tech Encyclopedia. 1999 : online) ได้ให้ความหมายของหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ในฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ ว่าเป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋ าที่สามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ใน
รูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทาสาเนาได้ ทาบุ๊คมาร์คและทาหมายเหตุประกอบได้
ซึ่งสอดคล้องกับ Electronic Book Webopedia Difinition (1999 : 1) ว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ฉบับกระเป๋ าพกพา สะดวกด้วยน้าหนักเพียงเล็กน้อย เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษ การเปิด
พลิกหน้าพ๊อกเก๊ตบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิ ดหนังสือจริง สามารถทาแถบสว่าง
(Highlight) ทาหมายเหตุประกอบ ค้นหาคา และสร้างบุ๊คมาร์คได้
วิกิพีเดีย (Wikipedai : online) ให้ความหมายของ e-book ว่าเป็นหนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบ
ของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้ในอยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรม ส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่
เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษและมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถ
อ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค PDA(Personal Digital Assisstant)
Palm และ PocketPC หรือแม้กระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ
จึงสรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book หมายถึงหนังสือหรือเอกสารที่จัดทาขึ้น
ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถอ่านได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น
คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ สามารถอ่านได้ทั้งในระบบ
ออนไลน์และออฟไลน์
3.2 ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
เบเกอร์ และกิลเลอร์ (Baker and Giller. 1991 : 281-290) ได้แบ่งประเภทของหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ ตามประเภทของสื่อที่ใช้ในการนาเสนอและองค์ประกอบของเครื่องอานวย
ความสะดวกภายในเล่มแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
19
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุหรือบันทึกข้อมูล เนื้อหาสาระเป็นหมวดวิชา
หรือรายวิชาโดยเฉพาะเป็นหลัก
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระเป็นหัวเรื่องหรือชื่อเรื่องเฉพาะ
เรื่องเป็นหลัก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีเนื้อหาใกล้เคียงกับประเภทแรกแต่ขอบข่าย
แคบกว่าหรือจาเพาะเจาะจงมากกว่า
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระ และเทคนิคการนาเสนอชั้นสูง
ที่มุ่งเน้นเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระเพื่อการทดสอบหรือสอบวัดผล
เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและตรวจสอบวัดระดับความรู้ หรือความสามารถของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
เบเกอร์ (Baker. 1992 : 139-149) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 10
ประเภท ดังต่อไปนี้
1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือ หรือแบบตารา (Textbook) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ประเภทนี้เน้นการจัดเก็บและนาเสนอข้อมูลเป็นตัวหนังสือ และภาพประกอบในรูปแบบหนังสือ
ปกติที่พบเห็นทั่วไป หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการแปลงหนังสือ
จากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล เพิ่มศักยภาพเติมการนาเสนอ การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่นการเปิดหน้าหนังสือ
การสืบค้น การคัดลอก เป็นต้น
2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเสียงอ่าน เป็นหนังสือมีเสียงคาอ่านเมื่อเปิดหนังสือ
จะมีเสียงอ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสาหรับเด็กเริ่มเรียนหรือสาหรับฝึกออกเสียง
หรือฝึกพูด เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนาเสนอเนื้อหาที่
เป็นทั้งตัวอักษร และเสียงเป็นลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่ระดับทักษะทางภาษาโดยเฉพาะ
ด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่า เหมาะสาหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กาลังฝึก
ภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูลและนาเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก
เสริมด้วยการนาศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนาเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ
การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร
4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น
การนาเสนอข้อมูลในรูปภาพวีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์สั้น ๆ ผนวกกับข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ใน
20
รูปตัวหนังสือ ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนาเสนอข้อมูลเหตุการณ์
ประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์สาคัญ ๆ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก เป็นต้น
5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอ
ข้อมูลเนื้อหาสาระในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับ
สื่อประเภทเสียง ในลักษณะต่าง ๆ ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกันกับหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่กล่าวมา
6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มี
ลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะ
ด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือ ภาพนิ่ง
ภาพเคลื่อนไหว เสียง ดนตรี เป็นต้น
7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อเชื่อมโยง เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถ
เชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบ
เชื่อมโยงกันภายในเล่ม การเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกันกับบทเรียนโปรแกรมแบบ
แตกสาขา นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอกเมื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต
หรืออินทราเน็ต
8. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ เป็นหนังสือสื่อประสม แต่มีการใช้
โปรแกรมขั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านเสมือนกับหนังสือมีสติปัญญา
ในการไตร่ตรองหรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับผู้อ่าน
9. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อหนังสือทางไกล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มี
คุณลักษณะหลักคล้ายกับ Hypermedia Electronic Book แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูล
ภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย
10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์สเปซ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มี
ลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วมาผสมกัน สามารถเชื่อมโยง
ข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอก สามารถนาเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลายสามารถ
ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลายมิติ
โรบิน (Robin. 2004) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท
คือ
1. Scanned Printing Books คือการสาเนาเนื้อหาในหนังสือให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
หรือสแกนจากหนังสือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มเครื่องมือในการขีดเส้นใต้ข้อความเพื่อเน้น
ให้เด่น
21
2. Interactive Electronic Books คือรูปแบบหนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกับหนังสือแบบ
เดิม ๆ และมีสื่อประสมที่ประกอบไปด้วยเสียง วีดีทัศน์ และการมีปฏิสัมพันธ์ในการอ่านโดยตรง
กับกิจกรรมเช่น
- การมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมผ่านการสัมผัสด้วยมือ
- การพิมพ์ไปยังเนื้อหาผ่านทางคาอธิบายประกอบ
- การนาเสนอเนื้อหาที่ได้รับการพัฒนาจากเนื้อหา
- การเชื่อมโยงไปยังหนังสือเล่มอื่น ๆ
- รองรับกับการเรียนร่วมกับผู้อื่น
โดยที่ผู้รายงานเลือกจัดทาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทแบบหนังสือ หรือแบบตารา
(Textbook) เน้นการจัดเก็บและนาเสนอข้อมูลเป็นตัวหนังสือ และภาพประกอบในรูปแบบหนังสือ
เพราะเป็นการจัดทาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษแบบเข้ม ซึ่งเน้น
พัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและความสามารถใน
การอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยตนเอง ประกอบกับข้อจากัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ
คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงในการฟังเสียงจึงไม่สามารถมีเสียงประกอบในหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ได้
3.3 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์(2542 : 21-24) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์มีดังต่อไปนี้
1. อักขระ (Text) หรือข้อความ เป็นองค์ประกอบของโปรแกรมมัลติมีเดีย สามารถนา
อักขระมาออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของภาพ หรือสัญลักษณ์ กาหนดหน้าที่การเชื่อมโยงนาเสนอ
เนื้อหาเสียง ภาพกราฟิก หรือวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาใช้อักขระเพื่อสื่อสาร
ความหมายในคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะดังนี้
1.1 สื่อความหมายให้ชัดเจน เลือกใช้ขนาดของอักขระให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่าน
สามารถแยกแยะความสาคัญของเนื้อหาได้อย่างไม่สับสน
1.2 การเชื่อมโยงอักขระบนจอภาพสาหรับการมีปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดียส่วนที่แสดง
ถึงการเชื่อมโยงบนจอภาพเป็นเสมือนวัตถุที่เมื่อคลิกก็จะมีการแสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่ง
การเชื่อมโยงบนจอภาพที่สร้าง อาจเป็นการเชื่อมโยงในรูปแบบตัวอักษร เครื่องหมายหรือ
สัญลักษณ์ และการให้สีแบบใดที่ดูแล้วมีความเหมาะสม การเชื่อมโยงข้อมูลในระบบเครือข่าย
จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สามารถทาได้ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลภายในแฟ้มเอกสารหรือเชื่อมโยง
22
กับข้อมูลแฟ้ มเอกสาร หรือเชื่อมโยงกับข้อมูลแฟ้ มเอกสารอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์
ของข้อความที่ต้องการจะเชื่อมโยงและความต้องการของผู้สร้าง
1.3 เนื้อหาในแต่ละหน้าหรือแต่ละแฟ้ มไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทาให้อ่านยาก
และอาจจะต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลนาน ดังนั้นถ้ามีข้อมูลจานวนมากจึงควรแบ่งข้อมูล
ออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อย ๆ เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน หากผู้ใช้ต้องการศึกษาข้อมูลส่วนใด
ก็สามารถเลือกศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
1.4 สร้างการเคลื่อนไหวให้อักขระเพื่อสร้างความสนให้กับผู้อ่าน ซึ่งทาได้หลายวิธี เช่น
ทาให้วิ่งจากด้านต่าง ๆ ทาให้เกิดการกระพริบ ทาให้เกิดการหมุนเป็นต้น สิ่งสาคัญคือไม่ควรใช้
เทคนิคการเคลื่อนไหวมากเกินไปจนน่าเบื่อและน่าราคาญ
1.5 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ จัดเป็นอักขระในรูปกราฟิกที่ให้ความหมายในตัว
มักเรียกเครื่องหมายและสัญลักษณ์เหล่านี้ว่าสัญลักษณ์ภาพ ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางที่สาคัญในการติดต่อ
กับผู้เรียนในบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามควรใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่เป็น
ที่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจกับความหมายและ
สัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นได้อย่างรวดเร็ว
ดังนั้น อักขระเป็นส่วนหนึ่งที่สาคัญต่อการเรียนรู้ที่ก่อประโยชน์ให้กับผู้เรียนโดยทาให้
ผู้เรียนได้รับความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยอักขระมีประสิทธิผลในการสื่อข้อความที่ตรงและชัดเจนได้
ดีในขณะที่รูปภาพ สัญลักษณ์ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงช่วยทาให้ผู้ใช้ใช้งานง่าย มัลติมีเดีย
จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการประสมประสานอักขระ สัญลักษณ์ ภาพ รวมถึงสี เสียง
ภาพนิ่งและภาพวีดีทัศน์เข้าด้วยกัน ทาให้ข้อมูลข่าวสารมีคุณค่าและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
2. ภาพนิ่ง เป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว อาจะเป็นภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด
แผนภูมิ แผนที่ หรือแผนภูมิ ภาพที่เหมาะสมไม่ใช่อยู่ที่ขนาดของภาพ หากแต่อยู่ที่ขนาดของไฟล์
ภาพ การจัดเก็บภาพที่มีขนาดข้อมูลมาก ทาให้การดึงข้อมูลได้ยากเสียเวลา สามารถทาได้โดย
การลดขนาดข้อมูล การบีบอัดข้อมูลชนิดต่าง ๆ การเก็บไฟล์กราฟิกที่ใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
แบบสื่อประสมแบ่งได้ 3 ประเภท คือ
2.1 ไฟล์สกุล GIF (Graphic Interchange Format) ไฟล์ชนิดบิตแมต มีการบีบอัด
ข้อมูลภาพ ไฟล์มีขนาดไฟล์ต่า มีการสูญเสียข้อมูลน้อย สามารถทาพื้นของภาพให้เป็นพื้น
แบบโปร่งใส นิยมใช้กับภาพวาดและภาพการ์ตูน มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไป
สู่ละเอียดในระบบอินเทอร์เลซ
23
2.2 ไฟล์สกุล JPEG (Joint Photographic Experts Group) คือภาพที่มีคุณภาพปานกลาง
และสามารถกาหนดคุณภาพได้หลายระดับเช่น ต่า ปานกลาง สูง แสดงสีได้ในระดับ 16 bit
ไม่สามารถทาภาพโปร่งใสได้ นิยมใช้งานด้านเว็บเพจ
2.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) จุดเด่นคือสามารถใช้งานข้ามระบบ
และกาหนดค่าการบีบไฟล์ตามต้องการ แสดงผลแบบอินเทอร์เลซ ได้เร็วกว่า GIF สามารถทาพื้นที่
โปร่งใสได้ จุดด้อยคือหากกาหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูงจะให้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย
แต่ขนาดไฟล์จะมีขนาดต่าไม่สนับสนุนกราฟิกบราวเซอร์ ข้อควรระหวังไม่ควรใช้ภาพ GIF กับ
การแสดงผลที่เป็นภาพถ่าย เพราะการแสดงผลที่จากัดทาให้ภาพผิดเพี้ยนได้
3. ภาพเคลื่อนไหว เกิดจากชุดภาพหรือเฟรมที่มีความแตกต่างกันมาก หรือน้อย นามาแสดง
เรียงต่อเนื่องกันไป ความแตกต่างของแต่ละภาพที่นาเสนอให้ต่อเนื่องสอดคล้องกันไป ทาให้
มองเห็นเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ในเทคนิคเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว
จะทาให้สามารถนาเสนอความคิดที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก ให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถกาหนด
ลักษณะและเส้นทางที่จะให้ภาพนั้นเคลื่อนที่ไปมาตามที่ต้องการ คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา
ตอนหนึ่งนั่นเอง
4. เสียง เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นและทาให้คอมพิวเตอร์มีชีวิต
มีชีวาขึ้น ด้วยการเพิ่มการ์ดเสียงและโปรแกรมสนับสนุนเสียง อาจอยู่ในรูปของเสียงดนตรี
เสียงสังเคราะห์ปรุงแต่ง การใช้เสียงในมัลติมีเดียนั้นผู้สร้างต้องแปลงสัญญาณ เสียงไฟฟ้ าเป็น
สัญญาณเสียงอนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิตอล ไฟล์เสียงมีหลายแบบดังนี้
4.1 Wav เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows ไฟล์มีขนาดใหญ่
4.2 Ra เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากบนเว็บเพจ เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูล ต้อง Run จาก
โปรแกรม Real Player เพื่อเข้าถึงข้อมูล
4.3 Wma เป็นรูปแบบที่นิยมใช้บนเว็บเพจ มีขนาดเล็ก คุณภาพดี ต้องRunจากโปรแกรม
Window Media Player
4.4 Mov เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากบนเครื่อง Apple เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลต้อง Run
จากโปรแกรม Quick Time เพื่อเข้าถึงข้อมูล
4.5 Mpeg เป็นรูปแบบที่นิยมใช้บนเว็บเพจ มีขนาดเล็กปานกลาง คุณภาพดี เช่นไฟล์
MP3
4.6 Midi เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกับงานด้านดนตรีเป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูล มีขนาด
เล็กที่สุด นิยมนามาใช้ประกอบสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
24
5. ภาพวีดิทัศน์ เป็นภาพเหมือนจริงที่ถูกเก็บในรูปของดิจิตอล มีลักษณะแตกต่างจาก
ภาพเคลื่อนไหวที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ในลักษณะคล้ายการ์ตูน สามารถต่อสายตรงจาก
เครื่องเล่นหรือเลเซอร์ดิสก์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
3.4 ความสาคัญและประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
สุภาภรณ์ สิปปเวสม์ (2545 : 11-12) ได้ให้ความสาคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า
1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือก
เรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนสะดวก
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพและเสียงทาให้เกิด
ความตื่นเต้นและไม่น่าเบื่อหน่าย และยังช่วยให้ผู้สอนมีเวลาศึกษาและพัฒนาความสามารถ
ของตนเองได้มากขึ้น
3. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลา
ลดค่าใช้จ่าย สนองความต้องการและความสามารถของบุคคล มีประสิทธิผลในแง่ที่ทาให้ผู้เรียน
บรรลุจุดมุ่งหมาย
4. สามารถทาสาเนาได้อย่างสะดวก ทั้งสาเนาในรูปของเอกสารและสาเนาลงแผ่นซีดีรอม
หรือสาเนาลงในฮาร์ดดิสก์
5. ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อที่ตนสนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไป
กลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
6. สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมกันหรือจะเลือก
แสดงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
7. การจัดเก็บข้อมูลจะสามารถจัดเก็บเป็นไฟล์แยก ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและ
เสียงโดยใช้แท็กไฟล์เป็นศูนย์รวม แล้วเรียกมาใช้ร่วมกันได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่
อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก
และรวดเร็ว ทาให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี
8. ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กาลังศึกษาจากแฟ้ มเอกสารอื่น ๆ ที่
เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จากัดจากทั่วโลก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นสื่อการเรียนการสอน
ที่สามารถนาเสนอข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยการประสาน
และเชื่อมโยงสัมพันธ์ของเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้ มเดียวกันหรืออยู่คนละแฟ้ มเข้าด้วยกัน ทาให้สามารถ
ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะเลือกเรียนได้ตาม
ความต้องการไม่จากัดเวลาและสถานที่
25
9. การพัฒนามโนทัศน์ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความคิด
ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละบุคคล ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน
ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน
ที่กาหนด
10. กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อและเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่าง
การปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือกใช้
การตอบสนองและผลิตผลจึงต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์
เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน
11. การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อและ
เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบและมีความหมาย ความเหมาะสมตามความสามารถของผู้เรียน
12. การมีส่วนร่วมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วมและการปฏิบัติด้วยตนเองมาก
ที่สุดจากกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นหนทางที่จะทาให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้
ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดสื่อและเทคโนโลยีควรคานึงถึงหลักการเหล่านี้
13. การฝึกซ้าและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อย ๆ สื่อการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริม
การฝึกซ้าและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนใน
การจา ยั่วยุความสนใจและทาให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
14. อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อมูลความรู้ต่างๆ
จะต้องมีความสอดคล้องกับความสามารถ อัตราการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง
15. ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อมีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ
ความต้องการและสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จะทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
16. การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายโยงไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง
อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยง เพราะผู้เรียนต้องการคาแนะนาในการปฏิบัติเพื่อประยุกต์
ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ผู้สอนต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมถ่ายโยงความรู้ใหม่
และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนาไปใช้ในสถานการณ์จริง
17. การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อและเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทา
โดยทันทีหลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว
3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ทฤษฎีหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์และส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบ
โครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีปัญญานิยม ทฤษฎี
26
โครงสร้างความรู้และทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541: 51-56) โดย
มีแนวคิดดังนี้
1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตาม
แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมจะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง โดยผู้เรียนทุกคน
จะได้รับการเสนอเนื้อหาตามลาดับจากง่ายไปหายาก ซึ่งเป็นลาดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็น
ลาดับการสอนที่ดีและผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive Theories) เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่
ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดาของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมในการมองพฤติกรรมมนุษย์
ไว้ว่าเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายใน
จิตใจมนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด และ
ความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอน ก็ควรที่จะคานึงถึง
ความแตกต่างของมนุษย์ด้วย ในช่วงนี้มีความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการจา
ได้แก่ความจาระยะสั้น ความจาระยะยาวและความคงทนของความจา แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่ง
ความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ความรู้ในลักษณะที่เป็นขั้นตอน (Procedural Knowledge) ซึ่ง
ได้แก่ความรู้ในลักษณะเป็นการอธิบาย (Declarative Knowledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่า คือ
อะไรและความรู้ในลักษณะที่เป็นเงื่อนไข (Conditional Knowledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่า
เมื่อไร ทาไม ซึ่งความรู้ทั้ง 2 ประเภทหลังนี้ไม่ต้องการลาดับการเรียนรู้ที่ตายตัว
ทฤษฎีปัญญานิยมทาให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา ซึ่งการออกแบบ
บทเรียนในลักษณะสาขา จะทาให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้น ในการควบคุมการเรียนของ
ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอิสระมากขึ้นในการเลือกลาดับเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม
กับตน โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ
3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory)และทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา
(Cognitive Flexibility Theory) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้
ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นโหมด หรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ ในการที่มนุษย์เรียนรู้
อะไรใหม่ ๆ นั้น มนุษย์จะนาความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม
(Preexisting Knowledge) รูเมลอาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart & Ortony, 1997) ได้ให้นิยามของ
คาว่า โครงสร้างความรู้ไว้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลภายในสมองของมนุษย์ซึ่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับ
วัตถุ ลาดับเหตุการณ์ รายการกิจกรรมต่าง ๆ เอาไว้ หน้าที่ของโครงสร้างความรู้นี้ก็คือ การนาไปสู่
การรับรู้ของข้อมูล (Perception) การรับรู้ข้อมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดโครงสร้างความรู้
(Schema) ทั้งนี้ก็เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยการถ่ายโอนความรู้ใหม่
27
เข้ากับความรู้เดิมภายในกรอบความรู้เดิมที่มีอยู่และจากการกระตุ้นโดยเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่ช่วยให้
เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้น ๆ เข้ากันด้วย การรับรู้เป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจาก
ไม่มีการเรียนรู้ใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการรับรู้ นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยในการรับรู้และ
การเรียนรู้แล้วนั้น โครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก (Recall) ถึงสิ่งต่างๆที่เราเคย
เรียนรู้มา (Anderson . 1984) ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญาเชื่อว่าความรู้แต่ละองค์ความรู้นั้นมี
โครงสร้างที่แน่นอน และสลับซับซ้อนแตกต่างกันไปโดยองค์ความรู้ประเภท
สาขาวิชา เช่น คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น ถือว่าเป็นองค์ความรู้ประเภทที่มี
โครงสร้างตายตัว ไม่สลับซับซ้อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้บางประเภทสาขาวิชา เช่น จิตวิทยา
ถือว่าเป็นองค์ความรู้ประเภทที่ไม่มีโครงสร้างตายตัวและสลับซับซ้อน เพราะความไม่เป็นเหตุผล
ของธรรมชาติขององค์ความรู้ แนวคิดในเรื่องความยืดหยุ่นทางปัญญานั้นส่งผลให้เกิดความคิด
ในการออกแบบบทเรียนเพื่อตอบสนองต่อโครงสร้างขององค์ความรู้ที่แตกต่างกัน โดยที่ทฤษฎี
ทั้งสองต่างก็ส่งผลต่อการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือทฤษฎี
ทั้งสองต่างสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างการนาเสนอเนื้อหาหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะสื่อหลายมิติจะตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ ในความพยายาม
ที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี ซึ่งตรงกับแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้าง
ความรู้ นอกจากนี้การนาเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติยังสามารถที่จะตอบสนอง
ความแตกต่างของโครงสร้างขององค์ความรู้ที่ไม่ชัดเจนหรือความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นแนวคิดของ
ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญาได้อีกด้วย โดยการจัดระเบียบโครงสร้างการนาเสนอเนื้อหาบทเรียน
ในลักษณะสื่อหลายมิติ จะอนุญาตให้ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะมีอิสระในการควบคุมการเรียน
ของตนตามความสามารถ ความสนใจ และความถนัดและพื้นฐานความรู้ของตนได้อย่างเต็มที่
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองนี้จะมีโครงสร้าง
ของบทเรียนแบบสื่อหลายมิติในลักษณะโยงใย
การออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ออกแบบไม่จาเป็นต้องยึดแนวคิดหรือทฤษฎีใด
ทฤษฎีหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ในทางตรงกันข้ามผู้ออกแบบสามารถพัฒนาผสมผสานแนวคิดหรือ
ทฤษฎีต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามลักษณะเนื้อหาและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ
3.6 การผลิตและออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ดลวรรณ พวงวิภาต (2554 : 51-56) ได้กล่าวถึงการผลิตและออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่า
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่
1. โปรแกรม Desk Top Author
2. โปรแกรม Adobe Acrobat
28
3. โปรแกรม Flip Flash Album
4. โปรแกรม Flip Album
โดยต้องอาศัยการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหนังสือ
กับผู้อ่าน หรือตัวช่วยนาในการใช้และการอ่าน หรือการเรียนในเนื้อหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งออกแบบให้ใช้งานบนพื้นฐานดังต่อไปนี้
1. การออกแบบเชิงวิศวกรรมด้านเนื้อหา องค์ประกอบย่อยด้านนี้พิจารณาความถูกต้องทาง
วิชาการ และการออกแบบเค้าโครงการตลอดจนลาดับ หรือยุทธศาสตร์การนาเสนอเนื้อหา ภายใน
เล่มที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การนาเสนอที่สามารถรับรู้และทาความเข้าใจ ตลอดจนการเรียนรู้
ในเนื้อหาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
2. การออกแบบหน้าหนังสือ เป็นการออกแบบรูปลักษณ์ของหน้าหนังสือในแต่ละหน้า
ซึ่งจะประกอบด้วยตัวหนังสือ ภาพประกอบ และการจัดหน้าที่จะเป็นส่วนที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็น
ในแต่ละหน้าของหนังสือ และเป็ นส่วนที่สามารถปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสือ
องค์ประกอบด้านนี้จะมีความแตกต่างด้านจุดประสงค์หลักของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม
หรือแต่ละประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3. รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ เป็นองค์ประกอบที่กาหนดรูปแบบ และวิธีการปฏิสัมพันธ์
ที่ผู้อ่านจะสามารถปฏิสัมพันธ์กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละหน้า เช่นการเฉลย การช่วยเหลือ
แนะนา การตรวจสอบ การสืบค้น การบันทึก การรับคาสั่ง เป็นต้น
4. เครื่องอานวยความสะดวกแก่ผู้อ่าน เป็นองค์ประกอบย่อยที่มีให้ผู้อ่านเลือกใช้
เมื่อต้องการ
5. สื่อประสม เป็นองค์ประกอบในการนาเสนอเนื้อหาในลักษณะสื่อประสม ซึ่งเป็นการ
สร้างสรรค์ในการนาเสนอเนื้อหาผสมผสานระหว่างเนื้อหาสาระที่เป็นตัวหนังสือ ภาพนิ่ง เสียง
และภาพเคลื่อนไหว
6. สื่อเชื่อมโยง เป็นส่วนบนหน้าจอที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาภายในเล่มหรือ
หน้าต่าง ๆ ภายในเล่มและแหล่งข้อมูลภายนอกเล่มผ่านระบบเครือข่าย หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ
เบเกอร์ (Baker. 1992 : 143) ได้นาเสนอกระบวนการออกแบบและผลิตหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจนดังแสดงในแผนภูมิที่ 1
29
แผนภูมิที่ 1 แสดงกระบวนการออกแบบและผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
3.7 โปรแกรม Flip Album ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง e-Bookมีอยู่หลายโปรแกรม ตัวอย่าง เช่น โปรแกรม Desk
Top Author โปรแกรม I Love Library โปรแกรมชุด Flip Album โดยชุดโปรแกรมดังกล่าว
จะต้องติดตั้งโปรแกรมสาหรับอ่าน e-Book ด้วยมิฉะนั้นจะเปิดเอกสารเพื่ออ่านไม่ได้ ประกอบด้วย
- โปรแกรม Desk Top Author ตัวอ่านคือ DNL Reader
ชื่อเรื่องและเค้าโครงเรื่อง
เขียนบทนาเสนอ
ผลิตส่วน
เนื้อหา
ผลิตส่วน
ที่เป็นเสียง
ผลิตส่วนที่
เป็นภาพนิ่ง
ผลิตส่วนที่เป็น
ภาพวีดิทัศน์
บูรณาการเนื้อหา กาหนดการเชื่อมโยงภายใน สร้างความสัมพันธ์
ในการนาเสนอระหว่างองค์ประกอบภายใน
นาไปทดสอบและประเมินผลต้นฉบับ
พัฒนาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์
สาเนาหรือผลิตเป็นปริมาณมาก
นาเผยแพร่ หรือจัดจาหน่าย
30
- โปรแกรม I Love Library ตัวอ่านคือ Library Viewer
- โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer
ผู้รายงานเลือกใช้โปรแกรมชุด Flip Album ด้วยเหตุผลว่า โปรแกรมชุด Flip Album นั้น
เมื่อบันทึกลงแผ่นซีดีรอม ผู้เรียนสามารถใช้ Auto Run บนแผ่นซีดีรอมเพื่ออ่านหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านให้ยุ่งยาก และโปรแกรมชุด Flip Album มี
คุณลักษณะพิเศษที่เหมาะสมกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่
กลุ่มเป้ าหมายได้อย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยมีขั้นตอนการสร้างง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลาใน
การผลิตน้อย สามารถสร้างงานและจัดเก็บในรูปแบบของซีดีรอม หรือเผยแพร่งานผ่าน
อินเทอร์เน็ตได้
ลักษณะโปรแกรมชุด Flip Album เป็นโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบ
การแสดงผลแบบ “พลิก” อ่านคล้ายกับการเปิดหนังสือจริง สามารถนาไปประยุกต์เพื่อสร้างองค์
ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ 3 มิติ
ทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเหมือนได้เรียนรู้จากหนังสือจริง ๆ หรือใช้ในการพัฒนาและออกแบบ
มัลติมีเดีย เช่น การใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการใส่วิดีโอประกอบ เพื่อทาให้การนาเสนอ
ผลงานหรือสื่อการเรียนการสอนดูมีความน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรม Flip Album รุ่น Vista Pro ต้องมี
คุณสมบัติอย่างน้อยดังนี้
- ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 98/2000/XP
- หน่วยความจา (Ram) อย่างต่า 128MB แนะนา 256 MB
- หน่วยความจุ (Hard disk) ไม่น้อยกว่า 20MB
- จอภาพแสดงผล 800X600 pixels
- CD Writer
4. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
แนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Genre – Based Approach) เป็นการสอนที่ยึด
บทเรียนหรือกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยป้ อนที่สาคัญในการให้รูปแบบภาษาแก่ผู้เรียน
ดังนั้นบทเรียนหรือกิจกรรมนั้นต้องได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและเหมะสมที่จะเป็นปัจจัยป้ อน
เพื่อให้รูปแบบภาษาที่เหมาะสมด้วย โดยยึดหลักการพัฒนาจากทฤษฎีภาษาเชิงระบบ (Systemic
Linguistic Theory) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2
E-Book_Intensive_Reading_Chapter2

More Related Content

What's hot

แผนการสอน (เพิ่มเติม)
แผนการสอน (เพิ่มเติม)แผนการสอน (เพิ่มเติม)
แผนการสอน (เพิ่มเติม)Kruthai Kidsdee
 
แผนที่ 7 local food (lab pla)
แผนที่ 7 local food (lab pla)แผนที่ 7 local food (lab pla)
แผนที่ 7 local food (lab pla)
Teacher Sophonnawit
 
แผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishแผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fish
Teacher Sophonnawit
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
Krudoremon
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
Proud N. Boonrak
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
Sommawan Keawsangthongcharoen
 
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศบทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
jutamat tawebunyasap
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
ssusere4367d
 
Unit 1 about myself
Unit 1 about myselfUnit 1 about myself
Unit 1 about myself
Nontaporn Pilawut
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
กีรตยา นิยมคุณ
 
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
Kanthika Sriman
 
Chapter 2 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
Chapter 2   การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...Chapter 2   การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
Chapter 2 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
aphithak
 
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupationsเล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
Chamchuree88
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
Sutat Inpa
 
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศD2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
Aorsuwanee
 
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
enoomtoe
 
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
กัลยณัฏฐ์ สุวรรณไตรย์
 
แผน Eng m.3
แผน Eng m.3แผน Eng m.3
แผน Eng m.3Milmilk
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
nongnoch
 

What's hot (20)

Web
WebWeb
Web
 
แผนการสอน (เพิ่มเติม)
แผนการสอน (เพิ่มเติม)แผนการสอน (เพิ่มเติม)
แผนการสอน (เพิ่มเติม)
 
แผนที่ 7 local food (lab pla)
แผนที่ 7 local food (lab pla)แผนที่ 7 local food (lab pla)
แผนที่ 7 local food (lab pla)
 
แผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fishแผน 1 the curious boy and the fish
แผน 1 the curious boy and the fish
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อาชีพ
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่าน การเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ (Introductory Stories)
 
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศบทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
บทที่ ๔ ภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
 
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยมผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังวิชาภาษามัธยม
 
Unit 1 about myself
Unit 1 about myselfUnit 1 about myself
Unit 1 about myself
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
 
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
หนังสือที่ใช้ในการสอนภาษาไทยสำหรับชาวตปท.Pptx [autosaved]
 
Chapter 2 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
Chapter 2   การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...Chapter 2   การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
Chapter 2 การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย...
 
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupationsเล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
เล่มที่ 1 เรื่อง Occupations
 
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือการสอนภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศD2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
D2 งานชิ้นที่ 4 การสำรวจหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างประเทศ
 
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติหนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
หนังสือภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
 
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
ภาษาอังกฤษ ม.ต้น
 
แผน Eng m.3
แผน Eng m.3แผน Eng m.3
แผน Eng m.3
 
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้
 

Similar to E-Book_Intensive_Reading_Chapter2

สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสปายด์ 'ดื้อ
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
ssuser6a0d4f
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
Thidarat Termphon
 
01 คำอธิบายรายวิชา
01 คำอธิบายรายวิชา01 คำอธิบายรายวิชา
01 คำอธิบายรายวิชา
sowaluck tantrakul
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓Mameaw Mameaw
 
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
SophinyaDara
 
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
จิตรลดา สุวรรณทิพย์
 
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
Natthapon Inhom
 

Similar to E-Book_Intensive_Reading_Chapter2 (20)

วิชาภาษาอังกฤษ
วิชาภาษาอังกฤษวิชาภาษาอังกฤษ
วิชาภาษาอังกฤษ
 
ภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลายภาษาไทย ปลาย
ภาษาไทย ปลาย
 
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลางสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
สาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หลักสูตรแกนกลาง
 
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdfแผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
แผน GPAS 5 STEP แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 9 วัฒนธรรมไทย PA 66 PLC.pdf
 
บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑บทที่ ๒.๑
บทที่ ๒.๑
 
Ppp+มิ้น+..
Ppp+มิ้น+..Ppp+มิ้น+..
Ppp+มิ้น+..
 
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
ภาษาไทย ม.ปลาย พท31001
 
01 คำอธิบายรายวิชา
01 คำอธิบายรายวิชา01 คำอธิบายรายวิชา
01 คำอธิบายรายวิชา
 
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
ตัวชี้วัด ม.๑ ม.๒ ม.๓
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
Botkwam
BotkwamBotkwam
Botkwam
 
บทที่ ๓
บทที่ ๓บทที่ ๓
บทที่ ๓
 
1
11
1
 
Sirirat 49
Sirirat 49Sirirat 49
Sirirat 49
 
Sirirat 49
Sirirat 49Sirirat 49
Sirirat 49
 
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญาแบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
แบบรายงานการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โสภิญญา
 
3 lang
3 lang3 lang
3 lang
 
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
เอกสารประกอบหลักสูตรอังกฤษ-ม.3
 
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
ส่งวิจัยในชั้นเรียน1.59
 

More from Oraya Chongtangsatchakul

E-Book_Intensive_Reading_Bibliography
E-Book_Intensive_Reading_BibliographyE-Book_Intensive_Reading_Bibliography
E-Book_Intensive_Reading_Bibliography
Oraya Chongtangsatchakul
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
Oraya Chongtangsatchakul
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
Oraya Chongtangsatchakul
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
Oraya Chongtangsatchakul
 
E-Book_Intensive_Reading_Title
E-Book_Intensive_Reading_TitleE-Book_Intensive_Reading_Title
E-Book_Intensive_Reading_Title
Oraya Chongtangsatchakul
 

More from Oraya Chongtangsatchakul (6)

E-Book_Intensive_Reading_Bibliography
E-Book_Intensive_Reading_BibliographyE-Book_Intensive_Reading_Bibliography
E-Book_Intensive_Reading_Bibliography
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
E-Book_Intensive_Reading_Chapter5
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
E-Book_Intensive_Reading_Chapter3
 
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
E-Book_Intensive_Reading_Chapter1
 
E-Book_Intensive_Reading_Title
E-Book_Intensive_Reading_TitleE-Book_Intensive_Reading_Title
E-Book_Intensive_Reading_Title
 
Genre
GenreGenre
Genre
 

Recently uploaded

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
NitayataNuansri
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 

Recently uploaded (9)

ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdfรายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
รายงานโครงงานการออกแบบลายเสื่อโดยใช้รูปเรขาคณิต ระดับประเทศ.pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 

E-Book_Intensive_Reading_Chapter2

  • 1. บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในการศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง ‘Intensive Reading’ ตามแนวทฤษฎี การสอนภาษาแบบอรรถฐานเพื่อพัฒนาความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ครั้งนี้ ผู้รายงานได้ศึกษาค้นคว้า จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งใน ประเทศและต่างประเทศโดยนาเสนอตามลาดับหัวข้อ ดังต่อไปนี้ เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ 1.2 คุณภาพของผู้เรียน 2. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ 2.1 โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ 2.2 คาอธิบายรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 2.3 ผลการเรียนรู้รายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 2.4 โครงสร้างรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 3. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.2 ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.3 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.4 ความสาคัญและประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.6 การผลิตและออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.7 โปรแกรม Flip Album ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
  • 2. 12 4. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน 4.1 หลักการและทฤษฎี 4.2 อรรถลักษณะของภาษา 4.3 แนวการสอนภาษาแบบอรรถฐาน 4.4 การจัดการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน 4.5 ประโยชน์ของวิธีการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน 5. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการอ่าน 5.1 ความหมายของการอ่าน 5.2 ความสามารถทางการอ่าน 5.3 องค์ประกอบของความเข้าใจในการอ่าน 5.4 ทฤษฎีประสบการณ์เดิม 6. ทฤษฎีความพึงพอใจ 6.1 ความหมายของความพึงพอใจ 6.2 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจ 6.3 วิธีสร้างความพึงพอใจในการเรียน 6.4 องค์ประกอบที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานหรือกิจกรรม 6.5 การวัดความพึงพอใจต่อการปฏิบัติกิจกรรม งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 1. งานวิจัยในประเทศ 1.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 1.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนตามทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน 2. งานวิจัยต่างประเทศ 2.1 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสอนตามทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน
  • 3. 13 เอกสารที่เกี่ยวข้อง 1. สาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 1.1 สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ (สานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2551ค : 2-3) สาระที่ 1 ภาษาเพื่อการสื่อสาร มาตรฐาน ต 1.1 เข้าใจและตีความเรื่องที่ฟังและอ่านจากสื่อประเภทต่าง ๆ และแสดง ความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล มาตรฐาน ต 1.2 มีทักษะการสื่อสารทางภาษาในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร แสดง ความรู้สึกและความคิดเห็นอย่างมีประสิทธิภาพ มาตรฐาน ต 1.3 นาเสนอข้อมูล ความคิดรวบยอด และความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ โดย การพูดและการเขียน สาระที่ 2 ภาษาและวัฒนธรรม มาตรฐาน ต 2.1 เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา และ นาไปใช้ได้อย่างเหมาะสมกับกาลเทศะ มาตรฐาน ต 2.2 เข้าใจความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภาษาและวัฒนธรรมของ เจ้าของภาษากับภาษาและวัฒนธรรมไทย และนามาใช้อย่างถูกต้องและเหมาะสม สาระที่ 3 ภาษากับความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น มาตรฐาน ต 3.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการเชื่อมโยงความรู้กับกลุ่มสาระการเรียนรู้ อื่น และเป็นพื้นฐานในการพัฒนา แสวงหาความรู้ และเปิดโลกทัศน์ของตน สาระที่ 4 ภาษากับความสัมพันธ์กับชุมชนและโลก มาตรฐาน ต 4.1 ใช้ภาษาต่างประเทศในการสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษา ชุมชน และสังคม มาตรฐาน ต 4.2 ใช้ภาษาต่างประเทศเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการศึกษาต่อ การ ประกอบอาชีพและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับสังคมโลก 1.2 คุณภาพของผู้เรียน เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (สานักวิชาการและมาตรฐาน การศึกษา. 2551ค : 7-8) 1) ปฏิบัติตามคาแนะนาในคู่มือการใช้งานต่าง ๆ คาชี้แจง คาอธิบาย และคาบรรยายที่ ฟังและอ่าน อ่านออกเสียงข้อความ ข่าว ประกาศ โฆษณา บทร้อยกรอง และบทละครสั้นถูกต้อง ตามหลักการอ่านอธิบายและเขียนประโยคและข้อความสัมพันธ์กับสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบ ต่าง ๆ ที่อ่าน รวมทั้งระบุและเขียนสื่อที่ไม่ใช่ความเรียงรูปแบบต่าง ๆ สัมพันธ์กับประโยคและ
  • 4. 14 ข้อความที่ฟังหรืออ่าน จับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ ตีความ และแสดงความคิดเห็น จากการฟังและอ่านเรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดีพร้อมทั้งให้เหตุผลและยกตัวอย่างประกอบ 2) สนทนาและเขียนโต้ตอบข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง เรื่องต่าง ๆ ใกล้ตัว ประสบการณ์ สถานการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ ประเด็นที่อยู่ในความสนใจของสังคม และสื่อสารอย่างต่อเนื่องและ เหมาะสม เลือกและใช้คาขอร้อง คาชี้แจง คาอธิบาย และให้คาแนะนา พูดและเขียนแสดง ความต้องการ เสนอและให้ความช่วยเหลือตอบรับและปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์ จาลองหรือสถานการณ์จริงอย่างเหมาะสม พูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล บรรยาย อธิบาย เปรียบเทียบ และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่อง/ประเด็น/ข่าว/เหตุการณ์ที่ฟังและอ่าน อย่างเหมาะสม พูดและเขียนบรรยายความรู้สึกและแสดงความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ กิจกรรม ประสบการณ์ และข่าว/เหตุการณ์อย่างมีเหตุผล 3) พูดและเขียนนาเสนอข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง/ประสบการณ์ ข่าว/เหตุการณ์ เรื่องและ ประเด็นต่าง ๆ ตามความสนใจ พูดและเขียนสรุปใจความสาคัญ แก่นสาระที่ได้จากการวิเคราะห์ เรื่อง กิจกรรม ข่าว เหตุการณ์ และสถานการณ์ตามความสนใจ พูดและเขียนแสดงความคิดเห็น เกี่ยวกับกิจกรรม ประสบการณ์และเหตุการณ์ ทั้งในท้องถิ่น สังคม และโลก พร้อมทั้งให้เหตุผล และยกตัวอย่างประกอบ 4) เลือกใช้ภาษา น้าเสียง และกิริยาท่าทางเหมาะกับระดับของบุคคล เวลา โอกาสและ สถานที่ตามมารยาทสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา อธิบาย/อภิปรายวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อและที่มาของขนบธรรมเนียมและประเพณีของเจ้าของภาษา เข้าร่วม แนะนา และจัด กิจกรรมทางภาษาและวัฒนธรรมมอย่างเหมาะสม 5) อธิบาย/เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างโครงสร้างประโยค ข้อความ สานวน คาพังเพย สุภาษิต และบทกลอนของภาษาต่างประเทศและภาษาไทย วิเคราะห์/อภิปราย ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างวิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของเจ้าของภาษากับ ของไทย และนาไปใช้อย่างมีเหตุผล 6) ค้นคว้า/สืบค้น บันทึก สรุป และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ กลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นจากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และนาเสนอด้วยการพูดและการเขียน 7) ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง/สถานการณ์จาลองที่เกิดขึ้นในห้องเรียน สถานศึกษา ชุมชนและสังคม 8) ใช้ภาษาต่างประเทศในการสืบค้น/ค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ และสรุปความรู้/ ข้อมูลต่าง ๆ จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ ในการศึกษาต่อและประกอบอาชีพ เผยแพร่/ ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของโรงเรียน ชุมชน และท้องถิ่น/ประเทศชาติเป็นภาษาต่างประเทศ
  • 5. 15 9) มีทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศ (เน้นการฟัง-พูด-อ่าน-เขียน) สื่อสารตามหัวเรื่อง เกี่ยวกับตนเอง ครอบครัว โรงเรียน สิ่งแวดล้อม อาหาร เครื่องดื่ม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เวลา ว่างและนันทนาการ สุขภาพและสวัสดิการ การซื้อ-ขาย ลมฟ้ าอากาศ การศึกษาและอาชีพ การเดินทางท่องเที่ยว การบริการ สถานที่ ภาษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายในวงคาศัพท์ ประมาณ 3,600-3,750 คา (คาศัพท์มีระดับการใช้แตกต่างกัน) 10) ใช้ประโยคผสมและประโยคซับซ้อนสื่อความหมายตามบริบทต่าง ๆ ใน การสนทนาทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ 2. หลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2553 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาต่างประเทศ จากสาระหลักสูตรที่เป็นข้อกาหนดต่าง ๆ ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โรงเรียนช่องพรานวิทยาได้นามาเป็นกรอบในการจัดทาหลักสูตรสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานดังนี้ (กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนช่องพรานวิทยา. 2553) 2.1 โครงสร้างหลักสูตร กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ รายวิชาพื้นฐาน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ21101 ภาษาอังกฤษ 1 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต อ21102 ภาษาอังกฤษ 2 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อ22101 ภาษาอังกฤษ 3 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต อ22102 ภาษาอังกฤษ 4 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อ23101 ภาษาอังกฤษ 5 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต อ23102 ภาษาอังกฤษ 6 จานวน 60 ชั่วโมง 1.5 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อ31101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ31102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อ32101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ32102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อ33101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ33102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต
  • 6. 16 รายวิชาเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อ21201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ21202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อ22201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ22202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อ23201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ23202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อ31201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 1 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ31202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 2 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อ32201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 3 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ32202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 4 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อ33201 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 5 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 จานวน 40 ชั่วโมง 1.0 หน่วยกิต 2.2 คาอธิบายรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 ฝึกทักษะการอ่านเพื่อจับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ จากเรื่องประเภท สารคดี บันเทิงคดี ฝึกทักษะการพูดและเขียนเพื่อขอและให้ข้อมูล แสดงความคิดเห็น พร้อมให้ เหตุผลเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่นการสรุปข่าว/เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาค และระดับประเทศได้อย่างเหมาะสม ใช้ภาษาสื่อสารในสถานการณ์จริง สถานการณ์จาลองที่เกิดขึ้น ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนรวมถึงใช้ความรู้ทางภาษาในการศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูลจาก แหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ 2.3 ผลการเรียนรู้รายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 1) จับใจความสาคัญ วิเคราะห์ความ สรุปความ และแสดงความคิดเห็นจากการอ่าน เรื่องที่เป็นสารคดีและบันเทิงคดี 2) พูดและเขียนให้ข้อมูลและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ข่าว/เหตุการณ์ที่ อ่านอย่างเหมาะสม 3) ใช้ภาษาต่างประเทศในการค้นคว้า สืบค้น สรุปและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ ข้อมูลที่ได้จากแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ
  • 7. 17 2.4 โครงสร้างรายวิชา อ33202 ภาษาอังกฤษแบบเข้ม 6 หน่วยที่ ชื่อหน่วย ผลการเรียนรู้ จานวนชั่วโมง น้าหนัก คะแนน 1 Famous People ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20 2 Natural Disasters ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20 สอบกลางภาค ข้อที่ 1,2 และ 3 1 10 3 The Internet ข้อที่ 1,2 และ 3 10 20 4 Survival ข้อที่ 1,2 และ 3 8 20 สอบปลายภาค ข้อที่ 1,2 และ 3 1 10 รวม 40 100 ซึ่งผู้รายงานเลือกหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 Famous People และหน่วยการเรียนรู้ที่ 2 Natural Disasters เป็นหน่วยการเรียนรู้ในการจัดทาเนื้อหา 3. หลักการ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.1 ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book ย่อมาจาก Electronic Book) ได้มีผู้ให้ความหมายของ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้หลากหลาย ดังนี้ ประภาพรรณ หิรัญวัชรพฤกษ์(2545 : 43-44) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ว่า เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือในการอ่านหนังสือประเภทนี้คือ ฮาร์ดแวร์ อาจจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ พร้อมติดตั้งระบบปฏิบัติการ หรือซอฟต์แวร์ที่สามารถอ่านข้อความต่าง ๆ ได้ สาหรับการดึงข้อมูล e-Book ที่อยู่บนเว็บไซต์ ที่ให้บริการทางด้านนี้มาอ่าน สุรศักดิ์ อรชุนกะ (2547 : 6-10) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง e-book มาจากชื่อเต็มคือ electronic book หรือหนังสือที่อยู่ในรูปแบบของไฟล์ดิจิตอล ซึ่งสามารถ เปิดอ่านด้วยคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องปาล์ม พ็อกเก็ตพีซี หรือ แม้แต่ โทรศัพท์จอสีบางรุ่นได้ด้วย สามารถพกหนังสือ เป็นตั้ง ๆ ติดตัวไปได้ทุกที่ทุกเวลา ว่างเมื่อไหร่ ก็สามารถโหลดการ์ตูน หรือนิยายเรื่องโปรดขึ้นมาอ่านได้ทันที ศักดา ศักดิ์ศรีพาณิชย์ (2549 : 7) ได้ให้ความหมายของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่า คือ e-Book หรือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เป็ นคาเฉพาะที่ใช้สาหรับผลิตภัณฑ์ที่เป็ นสิ่งพิมพ์
  • 8. 18 ด้านอิเล็กทรอนิกส์และมัลติมีเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่เป็นแผ่นจานข้อมูล (Optical disc) เช่น ซีดีรอม สานักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (website : http://203.146.15.11) ได้ให้ความหมายว่า e-book หมายถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้อ่าน สามารถอ่านผ่านทางอินเตอร์เน็ตหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พกพาอื่น ๆ ได้ซึ่งมีความหมายรวมถึง เนื้อหาที่ถูกดัดแปลงอยู่ในรูปที่สามารถแสดงผลออกมาได้โดยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ แต่ก็ให้มี ลักษณะการนาเสนอที่สอดคล้องและคล้ายคลึงกับการอ่านหนังสือทั่ว ๆ ไปในชีวิตประจาวัน แต่มี ลักษณะพิเศษคือ สะดวกและรวดเร็วในการค้นหาและผู้อ่านสามารถอ่านพร้อม ๆ กัน ได้โดย ไม่ต้องรออีกฝ่ายหนึ่งคืนห้องสมุดเช่นเดียวกับหนังสือในห้องสมุดทั่ว ๆ ไป สารานุกรมโทรคม (Tech Encyclopedia. 1999 : online) ได้ให้ความหมายของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในฐานะที่เป็นฮาร์ดแวร์ ว่าเป็นอุปกรณ์ฉบับกระเป๋ าที่สามารถแสดงข้อมูลที่อยู่ใน รูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ สามารถจัดทาสาเนาได้ ทาบุ๊คมาร์คและทาหมายเหตุประกอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับ Electronic Book Webopedia Difinition (1999 : 1) ว่าเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ฉบับกระเป๋ าพกพา สะดวกด้วยน้าหนักเพียงเล็กน้อย เก็บข้อมูลได้ถึง 4,000 หน้ากระดาษ การเปิด พลิกหน้าพ๊อกเก๊ตบุ๊คให้ความรู้สึกใกล้เคียงกับการเปิ ดหนังสือจริง สามารถทาแถบสว่าง (Highlight) ทาหมายเหตุประกอบ ค้นหาคา และสร้างบุ๊คมาร์คได้ วิกิพีเดีย (Wikipedai : online) ให้ความหมายของ e-book ว่าเป็นหนังสือที่เก็บอยู่ในรูปแบบ ของอิเล็กทรอนิกส์ หรือเก็บไว้ในอยู่ในแบบของไฟล์ โปรแกรม ส่วนมากที่เข้าใจกันคือ หนังสือที่ เก็บในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องใช้กระดาษและมีการสร้างจากคอมพิวเตอร์ และสามารถ อ่านได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค PDA(Personal Digital Assisstant) Palm และ PocketPC หรือแม้กระทั่งอ่านได้จากโทรศัพท์มือถือ จึงสรุปได้ว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-book หมายถึงหนังสือหรือเอกสารที่จัดทาขึ้น ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ สามารถอ่านได้ด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ สามารถอ่านได้ทั้งในระบบ ออนไลน์และออฟไลน์ 3.2 ประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เบเกอร์ และกิลเลอร์ (Baker and Giller. 1991 : 281-290) ได้แบ่งประเภทของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ ตามประเภทของสื่อที่ใช้ในการนาเสนอและองค์ประกอบของเครื่องอานวย ความสะดวกภายในเล่มแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังต่อไปนี้
  • 9. 19 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุหรือบันทึกข้อมูล เนื้อหาสาระเป็นหมวดวิชา หรือรายวิชาโดยเฉพาะเป็นหลัก 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระเป็นหัวเรื่องหรือชื่อเรื่องเฉพาะ เรื่องเป็นหลัก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้จะมีเนื้อหาใกล้เคียงกับประเภทแรกแต่ขอบข่าย แคบกว่าหรือจาเพาะเจาะจงมากกว่า 3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระ และเทคนิคการนาเสนอชั้นสูง ที่มุ่งเน้นเพื่อสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม 4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทบรรจุข้อมูล เนื้อหาสาระเพื่อการทดสอบหรือสอบวัดผล เพื่อให้ผู้อ่านได้ศึกษาและตรวจสอบวัดระดับความรู้ หรือความสามารถของตนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เบเกอร์ (Baker. 1992 : 139-149) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ออกเป็น 10 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือ หรือแบบตารา (Textbook) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ประเภทนี้เน้นการจัดเก็บและนาเสนอข้อมูลเป็นตัวหนังสือ และภาพประกอบในรูปแบบหนังสือ ปกติที่พบเห็นทั่วไป หลักหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้ สามารถกล่าวได้ว่าเป็นการแปลงหนังสือ จากสภาพสิ่งพิมพ์ปกติเป็นสัญญาณดิจิตอล เพิ่มศักยภาพเติมการนาเสนอ การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ผู้อ่านกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้วยศักยภาพของคอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน เช่นการเปิดหน้าหนังสือ การสืบค้น การคัดลอก เป็นต้น 2. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือเสียงอ่าน เป็นหนังสือมีเสียงคาอ่านเมื่อเปิดหนังสือ จะมีเสียงอ่าน หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้เหมาะสาหรับเด็กเริ่มเรียนหรือสาหรับฝึกออกเสียง หรือฝึกพูด เป็นต้น หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชนิดนี้เป็นการเน้นคุณลักษณะด้านการนาเสนอเนื้อหาที่ เป็นทั้งตัวอักษร และเสียงเป็นลักษณะหลัก นิยมใช้กับกลุ่มผู้อ่านที่ระดับทักษะทางภาษาโดยเฉพาะ ด้านการฟังหรือการอ่านค่อนข้างต่า เหมาะสาหรับการเริ่มต้นเรียนภาษาของเด็ก ๆ หรือผู้ที่กาลังฝึก ภาษาที่สอง หรือฝึกภาษาใหม่ เป็นต้น 3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพ เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีคุณลักษณะหลักเน้นจัดเก็บข้อมูลและนาเสนอข้อมูลในรูปแบบภาพนิ่ง หรืออัลบั้มภาพเป็นหลัก เสริมด้วยการนาศักยภาพของคอมพิวเตอร์มาใช้ในการนาเสนอ เช่น การเลือกภาพที่ต้องการ การขยายหรือย่อขนาดของภาพหรือตัวอักษร 4. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือภาพเคลื่อนไหว เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้น การนาเสนอข้อมูลในรูปภาพวีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์สั้น ๆ ผนวกกับข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ใน
  • 10. 20 รูปตัวหนังสือ ผู้อ่านสามารถเลือกชมศึกษาข้อมูลได้ ส่วนใหญ่นิยมนาเสนอข้อมูลเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์หรือเหตุการณ์สาคัญ ๆ เช่น ภาพเหตุการณ์สงครามโลก เป็นต้น 5. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อประสม เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เน้นเสนอ ข้อมูลเนื้อหาสาระในลักษณะแบบสื่อผสมระหว่างสื่อภาพ ที่เป็นทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวกับ สื่อประเภทเสียง ในลักษณะต่าง ๆ ผนวกกับศักยภาพของคอมพิวเตอร์อื่นเช่นเดียวกันกับหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ที่กล่าวมา 6. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อหลากหลาย เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มี ลักษณะเช่นเดียวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสม แต่มีความหลากหลายในคุณลักษณะ ด้านความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลภายในเล่มที่บันทึกในลักษณะต่าง ๆ เช่น ตัวหนังสือ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียง ดนตรี เป็นต้น 7. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือสื่อเชื่อมโยง เป็นหนังสือที่มีคุณลักษณะสามารถ เชื่อมโยงเนื้อหาสาระภายในเล่ม ซึ่งผู้อ่านสามารถคลิกเพื่อเชื่อมไปสู่เนื้อหาสาระที่ออกแบบ เชื่อมโยงกันภายในเล่ม การเชื่อมโยงเช่นนี้มีคุณลักษณะเช่นเดียวกันกับบทเรียนโปรแกรมแบบ แตกสาขา นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมโยงกับแหล่งเอกสารภายนอกเมื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต 8. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสืออัจฉริยะ เป็นหนังสือสื่อประสม แต่มีการใช้ โปรแกรมขั้นสูงที่สามารถมีปฏิกิริยา หรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านเสมือนกับหนังสือมีสติปัญญา ในการไตร่ตรองหรือคาดคะเนในการโต้ตอบ หรือมีปฏิกิริยากับผู้อ่าน 9. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อหนังสือทางไกล หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มี คุณลักษณะหลักคล้ายกับ Hypermedia Electronic Book แต่เน้นการเชื่อมโยงกับแหล่งข้อมูล ภายนอกผ่านระบบเครือข่าย ทั้งที่เป็นเครือข่ายเปิด และเครือข่ายเฉพาะสมาชิกของเครือข่าย 10. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบหนังสือไซเบอร์สเปซ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มี ลักษณะเหมือนกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ แบบที่กล่าวมาแล้วมาผสมกัน สามารถเชื่อมโยง ข้อมูลทั้งจากแหล่งภายในและภายนอก สามารถนาเสนอข้อมูลในระบบสื่อที่หลากหลายสามารถ ปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านได้หลากหลายมิติ โรบิน (Robin. 2004) ได้แบ่งประเภทของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ว่ามีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ 1. Scanned Printing Books คือการสาเนาเนื้อหาในหนังสือให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ หรือสแกนจากหนังสือด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพิ่มเครื่องมือในการขีดเส้นใต้ข้อความเพื่อเน้น ให้เด่น
  • 11. 21 2. Interactive Electronic Books คือรูปแบบหนังสือที่มีเนื้อหาเหมือนกับหนังสือแบบ เดิม ๆ และมีสื่อประสมที่ประกอบไปด้วยเสียง วีดีทัศน์ และการมีปฏิสัมพันธ์ในการอ่านโดยตรง กับกิจกรรมเช่น - การมีปฏิสัมพันธ์ด้วยกิจกรรมผ่านการสัมผัสด้วยมือ - การพิมพ์ไปยังเนื้อหาผ่านทางคาอธิบายประกอบ - การนาเสนอเนื้อหาที่ได้รับการพัฒนาจากเนื้อหา - การเชื่อมโยงไปยังหนังสือเล่มอื่น ๆ - รองรับกับการเรียนร่วมกับผู้อื่น โดยที่ผู้รายงานเลือกจัดทาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประเภทแบบหนังสือ หรือแบบตารา (Textbook) เน้นการจัดเก็บและนาเสนอข้อมูลเป็นตัวหนังสือ และภาพประกอบในรูปแบบหนังสือ เพราะเป็นการจัดทาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ประกอบการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษแบบเข้ม ซึ่งเน้น พัฒนาผู้เรียนด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจ จึงมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะและความสามารถใน การอ่านเพื่อความเข้าใจด้วยตนเอง ประกอบกับข้อจากัดของเครื่องคอมพิวเตอร์ในห้องปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์ที่ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงในการฟังเสียงจึงไม่สามารถมีเสียงประกอบในหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ได้ 3.3 องค์ประกอบของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ปิลันธนา สงวนบุญญพงษ์(2542 : 21-24) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์มีดังต่อไปนี้ 1. อักขระ (Text) หรือข้อความ เป็นองค์ประกอบของโปรแกรมมัลติมีเดีย สามารถนา อักขระมาออกแบบเป็นส่วนหนึ่งของภาพ หรือสัญลักษณ์ กาหนดหน้าที่การเชื่อมโยงนาเสนอ เนื้อหาเสียง ภาพกราฟิก หรือวีดีทัศน์ เพื่อให้ผู้ใช้เลือกข้อมูลที่จะศึกษาใช้อักขระเพื่อสื่อสาร ความหมายในคอมพิวเตอร์ ควรมีลักษณะดังนี้ 1.1 สื่อความหมายให้ชัดเจน เลือกใช้ขนาดของอักขระให้เหมาะสมเพื่อให้ผู้อ่าน สามารถแยกแยะความสาคัญของเนื้อหาได้อย่างไม่สับสน 1.2 การเชื่อมโยงอักขระบนจอภาพสาหรับการมีปฏิสัมพันธ์ในมัลติมีเดียส่วนที่แสดง ถึงการเชื่อมโยงบนจอภาพเป็นเสมือนวัตถุที่เมื่อคลิกก็จะมีการแสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่ง การเชื่อมโยงบนจอภาพที่สร้าง อาจเป็นการเชื่อมโยงในรูปแบบตัวอักษร เครื่องหมายหรือ สัญลักษณ์ และการให้สีแบบใดที่ดูแล้วมีความเหมาะสม การเชื่อมโยงข้อมูลในระบบเครือข่าย จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง สามารถทาได้ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลภายในแฟ้มเอกสารหรือเชื่อมโยง
  • 12. 22 กับข้อมูลแฟ้ มเอกสาร หรือเชื่อมโยงกับข้อมูลแฟ้ มเอกสารอื่นก็ได้ขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ ของข้อความที่ต้องการจะเชื่อมโยงและความต้องการของผู้สร้าง 1.3 เนื้อหาในแต่ละหน้าหรือแต่ละแฟ้ มไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะจะทาให้อ่านยาก และอาจจะต้องใช้เวลาในการดาวน์โหลดข้อมูลนาน ดังนั้นถ้ามีข้อมูลจานวนมากจึงควรแบ่งข้อมูล ออกเป็นส่วน ๆ แล้วค่อย ๆ เชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกัน หากผู้ใช้ต้องการศึกษาข้อมูลส่วนใด ก็สามารถเลือกศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกันอยู่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 1.4 สร้างการเคลื่อนไหวให้อักขระเพื่อสร้างความสนให้กับผู้อ่าน ซึ่งทาได้หลายวิธี เช่น ทาให้วิ่งจากด้านต่าง ๆ ทาให้เกิดการกระพริบ ทาให้เกิดการหมุนเป็นต้น สิ่งสาคัญคือไม่ควรใช้ เทคนิคการเคลื่อนไหวมากเกินไปจนน่าเบื่อและน่าราคาญ 1.5 เครื่องหมายและสัญลักษณ์ จัดเป็นอักขระในรูปกราฟิกที่ให้ความหมายในตัว มักเรียกเครื่องหมายและสัญลักษณ์เหล่านี้ว่าสัญลักษณ์ภาพ ซึ่งใช้เป็นสื่อกลางที่สาคัญในการติดต่อ กับผู้เรียนในบทเรียนมัลติมีเดียปฏิสัมพันธ์ อย่างไรก็ตามควรใช้สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายที่เป็น ที่รู้จักกันโดยทั่วไปหรือสามารถเรียนรู้ได้ไม่ยากนัก เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจกับความหมายและ สัญลักษณ์ต่าง ๆ นั้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น อักขระเป็นส่วนหนึ่งที่สาคัญต่อการเรียนรู้ที่ก่อประโยชน์ให้กับผู้เรียนโดยทาให้ ผู้เรียนได้รับความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยอักขระมีประสิทธิผลในการสื่อข้อความที่ตรงและชัดเจนได้ ดีในขณะที่รูปภาพ สัญลักษณ์ภาพ ภาพเคลื่อนไหวและเสียงช่วยทาให้ผู้ใช้ใช้งานง่าย มัลติมีเดีย จึงเป็นเครื่องมือที่มีความสามารถในการประสมประสานอักขระ สัญลักษณ์ ภาพ รวมถึงสี เสียง ภาพนิ่งและภาพวีดีทัศน์เข้าด้วยกัน ทาให้ข้อมูลข่าวสารมีคุณค่าและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น 2. ภาพนิ่ง เป็นภาพกราฟิกที่ไม่มีการเคลื่อนไหว อาจะเป็นภาพถ่าย ภาพลายเส้น ภาพวาด แผนภูมิ แผนที่ หรือแผนภูมิ ภาพที่เหมาะสมไม่ใช่อยู่ที่ขนาดของภาพ หากแต่อยู่ที่ขนาดของไฟล์ ภาพ การจัดเก็บภาพที่มีขนาดข้อมูลมาก ทาให้การดึงข้อมูลได้ยากเสียเวลา สามารถทาได้โดย การลดขนาดข้อมูล การบีบอัดข้อมูลชนิดต่าง ๆ การเก็บไฟล์กราฟิกที่ใช้ในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบสื่อประสมแบ่งได้ 3 ประเภท คือ 2.1 ไฟล์สกุล GIF (Graphic Interchange Format) ไฟล์ชนิดบิตแมต มีการบีบอัด ข้อมูลภาพ ไฟล์มีขนาดไฟล์ต่า มีการสูญเสียข้อมูลน้อย สามารถทาพื้นของภาพให้เป็นพื้น แบบโปร่งใส นิยมใช้กับภาพวาดและภาพการ์ตูน มีระบบแสดงผลแบบหยาบและค่อย ๆ ขยายไป สู่ละเอียดในระบบอินเทอร์เลซ
  • 13. 23 2.2 ไฟล์สกุล JPEG (Joint Photographic Experts Group) คือภาพที่มีคุณภาพปานกลาง และสามารถกาหนดคุณภาพได้หลายระดับเช่น ต่า ปานกลาง สูง แสดงสีได้ในระดับ 16 bit ไม่สามารถทาภาพโปร่งใสได้ นิยมใช้งานด้านเว็บเพจ 2.3 ไฟล์สกุล PNG (Portable Network Graphics) จุดเด่นคือสามารถใช้งานข้ามระบบ และกาหนดค่าการบีบไฟล์ตามต้องการ แสดงผลแบบอินเทอร์เลซ ได้เร็วกว่า GIF สามารถทาพื้นที่ โปร่งใสได้ จุดด้อยคือหากกาหนดค่าการบีบไฟล์ไว้สูงจะให้เวลาในการคลายไฟล์สูงตามไปด้วย แต่ขนาดไฟล์จะมีขนาดต่าไม่สนับสนุนกราฟิกบราวเซอร์ ข้อควรระหวังไม่ควรใช้ภาพ GIF กับ การแสดงผลที่เป็นภาพถ่าย เพราะการแสดงผลที่จากัดทาให้ภาพผิดเพี้ยนได้ 3. ภาพเคลื่อนไหว เกิดจากชุดภาพหรือเฟรมที่มีความแตกต่างกันมาก หรือน้อย นามาแสดง เรียงต่อเนื่องกันไป ความแตกต่างของแต่ละภาพที่นาเสนอให้ต่อเนื่องสอดคล้องกันไป ทาให้ มองเห็นเป็นการเคลื่อนไหวของสิ่งต่าง ๆ ในเทคนิคเดียวกับภาพยนตร์การ์ตูน ภาพเคลื่อนไหว จะทาให้สามารถนาเสนอความคิดที่ซับซ้อนหรือยุ่งยาก ให้ง่ายต่อการเข้าใจและสามารถกาหนด ลักษณะและเส้นทางที่จะให้ภาพนั้นเคลื่อนที่ไปมาตามที่ต้องการ คล้ายกับการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา ตอนหนึ่งนั่นเอง 4. เสียง เป็นสื่อช่วยเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นและทาให้คอมพิวเตอร์มีชีวิต มีชีวาขึ้น ด้วยการเพิ่มการ์ดเสียงและโปรแกรมสนับสนุนเสียง อาจอยู่ในรูปของเสียงดนตรี เสียงสังเคราะห์ปรุงแต่ง การใช้เสียงในมัลติมีเดียนั้นผู้สร้างต้องแปลงสัญญาณ เสียงไฟฟ้ าเป็น สัญญาณเสียงอนาล็อกให้อยู่ในรูปดิจิตอล ไฟล์เสียงมีหลายแบบดังนี้ 4.1 Wav เป็นรูปแบบมาตรฐานที่ใช้ในระบบปฏิบัติการ Windows ไฟล์มีขนาดใหญ่ 4.2 Ra เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากบนเว็บเพจ เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูล ต้อง Run จาก โปรแกรม Real Player เพื่อเข้าถึงข้อมูล 4.3 Wma เป็นรูปแบบที่นิยมใช้บนเว็บเพจ มีขนาดเล็ก คุณภาพดี ต้องRunจากโปรแกรม Window Media Player 4.4 Mov เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากบนเครื่อง Apple เป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูลต้อง Run จากโปรแกรม Quick Time เพื่อเข้าถึงข้อมูล 4.5 Mpeg เป็นรูปแบบที่นิยมใช้บนเว็บเพจ มีขนาดเล็กปานกลาง คุณภาพดี เช่นไฟล์ MP3 4.6 Midi เป็นรูปแบบที่นิยมใช้มากกับงานด้านดนตรีเป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดข้อมูล มีขนาด เล็กที่สุด นิยมนามาใช้ประกอบสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
  • 14. 24 5. ภาพวีดิทัศน์ เป็นภาพเหมือนจริงที่ถูกเก็บในรูปของดิจิตอล มีลักษณะแตกต่างจาก ภาพเคลื่อนไหวที่ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ ในลักษณะคล้ายการ์ตูน สามารถต่อสายตรงจาก เครื่องเล่นหรือเลเซอร์ดิสก์เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ 3.4 ความสาคัญและประโยชน์ของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สุภาภรณ์ สิปปเวสม์ (2545 : 11-12) ได้ให้ความสาคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้ว่า 1. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนบทเรียนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือก เรียนได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนสะดวก 2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพและเสียงทาให้เกิด ความตื่นเต้นและไม่น่าเบื่อหน่าย และยังช่วยให้ผู้สอนมีเวลาศึกษาและพัฒนาความสามารถ ของตนเองได้มากขึ้น 3. ช่วยให้การเรียนมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีประสิทธิภาพในแง่ที่ลดเวลา ลดค่าใช้จ่าย สนองความต้องการและความสามารถของบุคคล มีประสิทธิผลในแง่ที่ทาให้ผู้เรียน บรรลุจุดมุ่งหมาย 4. สามารถทาสาเนาได้อย่างสะดวก ทั้งสาเนาในรูปของเอกสารและสาเนาลงแผ่นซีดีรอม หรือสาเนาลงในฮาร์ดดิสก์ 5. ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหัวข้อที่ตนสนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไป กลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว 6. สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียงได้พร้อมกันหรือจะเลือก แสดงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ 7. การจัดเก็บข้อมูลจะสามารถจัดเก็บเป็นไฟล์แยก ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและ เสียงโดยใช้แท็กไฟล์เป็นศูนย์รวม แล้วเรียกมาใช้ร่วมกันได้โดยการเชื่อมโยงข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ที่ อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทาให้สามารถปรับปรุงบทเรียนให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ได้เป็นอย่างดี 8. ผู้เรียนสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กาลังศึกษาจากแฟ้ มเอกสารอื่น ๆ ที่ เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จากัดจากทั่วโลก หนังสืออิเล็กทรอนิกส์จึงเป็นสื่อการเรียนการสอน ที่สามารถนาเสนอข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยการประสาน และเชื่อมโยงสัมพันธ์ของเนื้อหาที่อยู่ในแฟ้ มเดียวกันหรืออยู่คนละแฟ้ มเข้าด้วยกัน ทาให้สามารถ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะเลือกเรียนได้ตาม ความต้องการไม่จากัดเวลาและสถานที่
  • 15. 25 9. การพัฒนามโนทัศน์ส่วนบุคคล วัสดุการเรียนการสอนจะช่วยส่งเสริมความคิด ความเข้าใจแก่ผู้เรียนแต่ละบุคคล ดังนั้นการเลือก การผลิตและการใช้วัสดุการเรียนการสอน ควรจะต้องสัมพันธ์กับความสามารถของผู้สอนและผู้เรียน ตลอดถึงจุดมุ่งหมายของการเรียน ที่กาหนด 10. กระบวนการเลือกและการสอนด้วยสื่อและเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่าง การปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อจะเป็นแบบลูกโซ่ในกระบวนการเรียนการสอน ดังนั้นการเลือกใช้ การตอบสนองและผลิตผลจึงต้องพิจารณาเป็นแผนรวมเพื่อสนองความต้องการและประสบการณ์ เดิมของผู้เรียนอย่างสอดคล้องกัน 11. การจัดระเบียบประสบการณ์เทคโนโลยีทางการศึกษา ผู้เรียนจะเรียนได้ดีจากสื่อและ เทคโนโลยีที่จัดระเบียบเป็นระบบและมีความหมาย ความเหมาะสมตามความสามารถของผู้เรียน 12. การมีส่วนร่วมและการปฏิบัติ ผู้เรียนต้องการมีส่วนร่วมและการปฏิบัติด้วยตนเองมาก ที่สุดจากกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะเป็นหนทางที่จะทาให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ ที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการจัดสื่อและเทคโนโลยีควรคานึงถึงหลักการเหล่านี้ 13. การฝึกซ้าและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าบ่อย ๆ สื่อการเรียนการสอนที่สามารถส่งเสริม การฝึกซ้าและการเปลี่ยนแปลงสิ่งเร้าอยู่เสมอจะช่วยส่งเสริมความเข้าใจ เพิ่มความคงทนใน การจา ยั่วยุความสนใจและทาให้เกิดรูปแบบการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง 14. อัตราการเสนอสื่อในการเรียนการสอน อัตราหรือช่วงเวลาการเสนอข้อมูลความรู้ต่างๆ จะต้องมีความสอดคล้องกับความสามารถ อัตราการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์อย่างกว้างขวาง 15. ความชัดเจน ความสอดคล้อง และความเป็นผล สื่อมีลักษณะชัดเจน สอดคล้องกับ ความต้องการและสัมพันธ์กับผลที่พึงประสงค์ของผู้เรียน จะทาให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี 16. การถ่ายโยงที่ดี โดยที่การเรียนรู้แบบเก่าไม่อาจถ่ายโยงไปสู่การเรียนรู้ใหม่ได้อย่าง อัตโนมัติ จึงควรจะต้องสอนแบบถ่ายโยง เพราะผู้เรียนต้องการคาแนะนาในการปฏิบัติเพื่อประยุกต์ ความรู้ไปใช้ในชีวิตประจาวัน ผู้สอนต้องวางแผนจัดประสบการณ์ที่จะส่งเสริมถ่ายโยงความรู้ใหม่ และเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการนาไปใช้ในสถานการณ์จริง 17. การให้รู้ผล การเรียนรู้จะดีขึ้น ถ้าหากสื่อและเทคโนโลยีช่วยให้ผู้เรียนรู้ผลการกระทา โดยทันทีหลังจากที่ได้ปฏิบัติกิจกรรมไปแล้ว 3.5 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวเนื่องกับการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทฤษฎีหลัก ๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์และส่งผลต่อแนวคิดในการออกแบบ โครงสร้างของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีปัญญานิยม ทฤษฎี
  • 16. 26 โครงสร้างความรู้และทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (ถนอมพร เลาหจรัสแสง. 2541: 51-56) โดย มีแนวคิดดังนี้ 1. ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ออกแบบตาม แนวคิดทฤษฎีพฤติกรรมนิยมจะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรง โดยผู้เรียนทุกคน จะได้รับการเสนอเนื้อหาตามลาดับจากง่ายไปหายาก ซึ่งเป็นลาดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็น ลาดับการสอนที่ดีและผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2. ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive Theories) เกิดขึ้นจากแนวคิดของชอมสกี้ (Chomsky) ที่ ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดาของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมในการมองพฤติกรรมมนุษย์ ไว้ว่าเสมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายใน จิตใจมนุษย์ไม่ใช่ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด และ ความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การออกแบบการเรียนการสอน ก็ควรที่จะคานึงถึง ความแตกต่างของมนุษย์ด้วย ในช่วงนี้มีความคิดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย เช่น แนวคิดเกี่ยวกับการจา ได้แก่ความจาระยะสั้น ความจาระยะยาวและความคงทนของความจา แนวคิดเกี่ยวกับการแบ่ง ความรู้ออกเป็น 3 ลักษณะ คือ ความรู้ในลักษณะที่เป็นขั้นตอน (Procedural Knowledge) ซึ่ง ได้แก่ความรู้ในลักษณะเป็นการอธิบาย (Declarative Knowledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่า คือ อะไรและความรู้ในลักษณะที่เป็นเงื่อนไข (Conditional Knowledge) ซึ่งได้แก่ความรู้ที่อธิบายว่า เมื่อไร ทาไม ซึ่งความรู้ทั้ง 2 ประเภทหลังนี้ไม่ต้องการลาดับการเรียนรู้ที่ตายตัว ทฤษฎีปัญญานิยมทาให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบในลักษณะสาขา ซึ่งการออกแบบ บทเรียนในลักษณะสาขา จะทาให้ผู้เรียนมีอิสระมากขึ้น ในการควบคุมการเรียนของ ตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีอิสระมากขึ้นในการเลือกลาดับเนื้อหาของบทเรียนที่เหมาะสม กับตน โดยผู้เรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ 3. ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Schema Theory)และทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญา (Cognitive Flexibility Theory) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นโหมด หรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ ในการที่มนุษย์เรียนรู้ อะไรใหม่ ๆ นั้น มนุษย์จะนาความรู้ใหม่ ๆ ที่ได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม (Preexisting Knowledge) รูเมลอาร์ทและออโทนี่ (Rumelhart & Ortony, 1997) ได้ให้นิยามของ คาว่า โครงสร้างความรู้ไว้ว่าเป็นโครงสร้างข้อมูลภายในสมองของมนุษย์ซึ่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับ วัตถุ ลาดับเหตุการณ์ รายการกิจกรรมต่าง ๆ เอาไว้ หน้าที่ของโครงสร้างความรู้นี้ก็คือ การนาไปสู่ การรับรู้ของข้อมูล (Perception) การรับรู้ข้อมูลจะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดโครงสร้างความรู้ (Schema) ทั้งนี้ก็เพราะการรับรู้ข้อมูลนั้นเป็นการสร้างความหมายโดยการถ่ายโอนความรู้ใหม่
  • 17. 27 เข้ากับความรู้เดิมภายในกรอบความรู้เดิมที่มีอยู่และจากการกระตุ้นโดยเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ที่ช่วยให้ เกิดการเชื่อมโยงความรู้นั้น ๆ เข้ากันด้วย การรับรู้เป็นสิ่งสาคัญที่ทาให้เกิดการเรียนรู้ เนื่องจาก ไม่มีการเรียนรู้ใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากการรับรู้ นอกจากโครงสร้างความรู้จะช่วยในการรับรู้และ การเรียนรู้แล้วนั้น โครงสร้างความรู้ยังช่วยในการระลึก (Recall) ถึงสิ่งต่างๆที่เราเคย เรียนรู้มา (Anderson . 1984) ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญาเชื่อว่าความรู้แต่ละองค์ความรู้นั้นมี โครงสร้างที่แน่นอน และสลับซับซ้อนแตกต่างกันไปโดยองค์ความรู้ประเภท สาขาวิชา เช่น คณิตศาสตร์หรือวิทยาศาสตร์กายภาพนั้น ถือว่าเป็นองค์ความรู้ประเภทที่มี โครงสร้างตายตัว ไม่สลับซับซ้อน ในขณะเดียวกันองค์ความรู้บางประเภทสาขาวิชา เช่น จิตวิทยา ถือว่าเป็นองค์ความรู้ประเภทที่ไม่มีโครงสร้างตายตัวและสลับซับซ้อน เพราะความไม่เป็นเหตุผล ของธรรมชาติขององค์ความรู้ แนวคิดในเรื่องความยืดหยุ่นทางปัญญานั้นส่งผลให้เกิดความคิด ในการออกแบบบทเรียนเพื่อตอบสนองต่อโครงสร้างขององค์ความรู้ที่แตกต่างกัน โดยที่ทฤษฎี ทั้งสองต่างก็ส่งผลต่อการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะใกล้เคียงกัน กล่าวคือทฤษฎี ทั้งสองต่างสนับสนุนแนวคิดเกี่ยวกับการจัดระเบียบโครงสร้างการนาเสนอเนื้อหาหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะสื่อหลายมิติจะตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของมนุษย์ ในความพยายาม ที่จะเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้ที่มีอยู่เดิมได้เป็นอย่างดี ซึ่งตรงกับแนวคิดของทฤษฎีโครงสร้าง ความรู้ นอกจากนี้การนาเสนอเนื้อหาบทเรียนในลักษณะสื่อหลายมิติยังสามารถที่จะตอบสนอง ความแตกต่างของโครงสร้างขององค์ความรู้ที่ไม่ชัดเจนหรือความสลับซับซ้อน ซึ่งเป็นแนวคิดของ ทฤษฎีความยืดหยุ่นทางปัญญาได้อีกด้วย โดยการจัดระเบียบโครงสร้างการนาเสนอเนื้อหาบทเรียน ในลักษณะสื่อหลายมิติ จะอนุญาตให้ผู้เรียนทุกคนสามารถที่จะมีอิสระในการควบคุมการเรียน ของตนตามความสามารถ ความสนใจ และความถนัดและพื้นฐานความรู้ของตนได้อย่างเต็มที่ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบบสื่อประสมที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีทั้งสองนี้จะมีโครงสร้าง ของบทเรียนแบบสื่อหลายมิติในลักษณะโยงใย การออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้ออกแบบไม่จาเป็นต้องยึดแนวคิดหรือทฤษฎีใด ทฤษฎีหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว ในทางตรงกันข้ามผู้ออกแบบสามารถพัฒนาผสมผสานแนวคิดหรือ ทฤษฎีต่าง ๆ ให้เหมาะสมตามลักษณะเนื้อหาและโครงสร้างขององค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ 3.6 การผลิตและออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ดลวรรณ พวงวิภาต (2554 : 51-56) ได้กล่าวถึงการผลิตและออกแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ว่า โปรแกรมที่นิยมใช้สร้าง e-Book มีอยู่หลายโปรแกรม แต่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันได้แก่ 1. โปรแกรม Desk Top Author 2. โปรแกรม Adobe Acrobat
  • 18. 28 3. โปรแกรม Flip Flash Album 4. โปรแกรม Flip Album โดยต้องอาศัยการออกแบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างหนังสือ กับผู้อ่าน หรือตัวช่วยนาในการใช้และการอ่าน หรือการเรียนในเนื้อหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งออกแบบให้ใช้งานบนพื้นฐานดังต่อไปนี้ 1. การออกแบบเชิงวิศวกรรมด้านเนื้อหา องค์ประกอบย่อยด้านนี้พิจารณาความถูกต้องทาง วิชาการ และการออกแบบเค้าโครงการตลอดจนลาดับ หรือยุทธศาสตร์การนาเสนอเนื้อหา ภายใน เล่มที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การนาเสนอที่สามารถรับรู้และทาความเข้าใจ ตลอดจนการเรียนรู้ ในเนื้อหาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2. การออกแบบหน้าหนังสือ เป็นการออกแบบรูปลักษณ์ของหน้าหนังสือในแต่ละหน้า ซึ่งจะประกอบด้วยตัวหนังสือ ภาพประกอบ และการจัดหน้าที่จะเป็นส่วนที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็น ในแต่ละหน้าของหนังสือ และเป็ นส่วนที่สามารถปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้อ่านกับหนังสือ องค์ประกอบด้านนี้จะมีความแตกต่างด้านจุดประสงค์หลักของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แต่ละเล่ม หรือแต่ละประเภทหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3. รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ เป็นองค์ประกอบที่กาหนดรูปแบบ และวิธีการปฏิสัมพันธ์ ที่ผู้อ่านจะสามารถปฏิสัมพันธ์กับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในแต่ละหน้า เช่นการเฉลย การช่วยเหลือ แนะนา การตรวจสอบ การสืบค้น การบันทึก การรับคาสั่ง เป็นต้น 4. เครื่องอานวยความสะดวกแก่ผู้อ่าน เป็นองค์ประกอบย่อยที่มีให้ผู้อ่านเลือกใช้ เมื่อต้องการ 5. สื่อประสม เป็นองค์ประกอบในการนาเสนอเนื้อหาในลักษณะสื่อประสม ซึ่งเป็นการ สร้างสรรค์ในการนาเสนอเนื้อหาผสมผสานระหว่างเนื้อหาสาระที่เป็นตัวหนังสือ ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหว 6. สื่อเชื่อมโยง เป็นส่วนบนหน้าจอที่สามารถเชื่อมโยงระหว่างเนื้อหาภายในเล่มหรือ หน้าต่าง ๆ ภายในเล่มและแหล่งข้อมูลภายนอกเล่มผ่านระบบเครือข่าย หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เบเกอร์ (Baker. 1992 : 143) ได้นาเสนอกระบวนการออกแบบและผลิตหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจนดังแสดงในแผนภูมิที่ 1
  • 19. 29 แผนภูมิที่ 1 แสดงกระบวนการออกแบบและผลิตหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 3.7 โปรแกรม Flip Album ในการสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้าง e-Bookมีอยู่หลายโปรแกรม ตัวอย่าง เช่น โปรแกรม Desk Top Author โปรแกรม I Love Library โปรแกรมชุด Flip Album โดยชุดโปรแกรมดังกล่าว จะต้องติดตั้งโปรแกรมสาหรับอ่าน e-Book ด้วยมิฉะนั้นจะเปิดเอกสารเพื่ออ่านไม่ได้ ประกอบด้วย - โปรแกรม Desk Top Author ตัวอ่านคือ DNL Reader ชื่อเรื่องและเค้าโครงเรื่อง เขียนบทนาเสนอ ผลิตส่วน เนื้อหา ผลิตส่วน ที่เป็นเสียง ผลิตส่วนที่ เป็นภาพนิ่ง ผลิตส่วนที่เป็น ภาพวีดิทัศน์ บูรณาการเนื้อหา กาหนดการเชื่อมโยงภายใน สร้างความสัมพันธ์ ในการนาเสนอระหว่างองค์ประกอบภายใน นาไปทดสอบและประเมินผลต้นฉบับ พัฒนาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ สาเนาหรือผลิตเป็นปริมาณมาก นาเผยแพร่ หรือจัดจาหน่าย
  • 20. 30 - โปรแกรม I Love Library ตัวอ่านคือ Library Viewer - โปรแกรมชุด Flip Album ตัวอ่านคือ Flip Viewer ผู้รายงานเลือกใช้โปรแกรมชุด Flip Album ด้วยเหตุผลว่า โปรแกรมชุด Flip Album นั้น เมื่อบันทึกลงแผ่นซีดีรอม ผู้เรียนสามารถใช้ Auto Run บนแผ่นซีดีรอมเพื่ออ่านหนังสือ อิเล็กทรอนิกส์โดยที่ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมอ่านให้ยุ่งยาก และโปรแกรมชุด Flip Album มี คุณลักษณะพิเศษที่เหมาะสมกับการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่จะพัฒนาสื่อเพื่อเผยแพร่ความรู้แก่ กลุ่มเป้ าหมายได้อย่างกว้างขวาง เนื่องด้วยมีขั้นตอนการสร้างง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และใช้เวลาใน การผลิตน้อย สามารถสร้างงานและจัดเก็บในรูปแบบของซีดีรอม หรือเผยแพร่งานผ่าน อินเทอร์เน็ตได้ ลักษณะโปรแกรมชุด Flip Album เป็นโปรแกรมสร้างหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบ การแสดงผลแบบ “พลิก” อ่านคล้ายกับการเปิดหนังสือจริง สามารถนาไปประยุกต์เพื่อสร้างองค์ ความรู้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนได้ไม่ว่าจะเป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ 3 มิติ ทาให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกเหมือนได้เรียนรู้จากหนังสือจริง ๆ หรือใช้ในการพัฒนาและออกแบบ มัลติมีเดีย เช่น การใส่เสียง ภาพเคลื่อนไหว รวมไปถึงการใส่วิดีโอประกอบ เพื่อทาให้การนาเสนอ ผลงานหรือสื่อการเรียนการสอนดูมีความน่าสนใจและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อ่านมากขึ้น คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการสร้าง e-Book ด้วยโปรแกรม Flip Album รุ่น Vista Pro ต้องมี คุณสมบัติอย่างน้อยดังนี้ - ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows 98/2000/XP - หน่วยความจา (Ram) อย่างต่า 128MB แนะนา 256 MB - หน่วยความจุ (Hard disk) ไม่น้อยกว่า 20MB - จอภาพแสดงผล 800X600 pixels - CD Writer 4. หลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการสอนตามแนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน แนวทฤษฎีการสอนภาษาแบบอรรถฐาน (Genre – Based Approach) เป็นการสอนที่ยึด บทเรียนหรือกิจกรรมเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยป้ อนที่สาคัญในการให้รูปแบบภาษาแก่ผู้เรียน ดังนั้นบทเรียนหรือกิจกรรมนั้นต้องได้รับการพัฒนาอย่างถูกต้องและเหมะสมที่จะเป็นปัจจัยป้ อน เพื่อให้รูปแบบภาษาที่เหมาะสมด้วย โดยยึดหลักการพัฒนาจากทฤษฎีภาษาเชิงระบบ (Systemic Linguistic Theory) ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้