SlideShare a Scribd company logo
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล เรื่องที่นักเรียนจะต้องเรียน มีดังนี้ 
13.1 โปรตีน 
 กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์ 
 โครงสร้างของโปรตีน 
 ชนิดและหน้าที่ของโปรตีน 
 เอนไซม์ 
 การแปลงสภาพโปรตีน 
13.2 คาร์โบไฮเดรต 
 ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 
 สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 
13.3 ลิพิด 
 ไขมันและน้ำมัน 
 ฟอสโฟลิพิด 
 ไข 
 สเตอรอยด์ 
13.4 กรดนิวคลิกอิก 
 โครงสร้างของนิวคลิโอไทดื DNA และ RNA 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 1
สารชีวโมเลกุล 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 2 
อาหาร คือ สิ่งที่ร่างกายรับไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม 
ต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิต ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติ 
ซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เสื่อมโทรม และเพิ่มภูมิต้านทานโรค (สร้างภูมิคุ้มกัน) เป็นต้น 
ความสำคัญของอาหาร 
1. เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยร่างกายจะสลายอาหารด้วยกระบวนการหายใจ เพื่อนำพลังงานเคมีที่สะสม 
อยู่ในโมเลกุลของอาหารมาใช้ประโยชน์ พลังงานเคมีนี้อยู่ในรูป ADP (Adenosine Triphosphate) 
ซึ่งเป็นสารที่สะสมพลังงานที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต 
2. ช่วยควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย โดยสารอาหารบางประเภทให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ 
โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ส่วนสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ช่วยให้การทำงานของ 
ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ราบรื่นได้แก่ วิตามิน และ แร่ธาตุ 
3. เป็นวัตถุดิบในการสร้างสารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสารอาหารจะถูกนำไปใช้สร้างสารที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ 
ของร่างกาย เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารภูมิคุ้มกัน (antibody) เป็นต้น 
4. เป็นวัตถุดิบในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายให้มีสภาพดีเหมือนเดิม 
หรือ ใกล้เคียงสภาพเดิม 
สารอาหาร (nutrient) เป็นสารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่ร่างกายต้องการในชีวิตประจำวัน 
ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามความต้องการของร่างกาย ดังนี้ 
1. สารอาหารที่ต้องการในปริมาณมาก (macronutrient) ได้แก่ โปรตีน คาร์บอนไดออกไซด์ และไขมัน 
สารอาหารกลุ่มนี้ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย มีโมเลกุลขนาดใหญ่ 
ร่างกายใช้น้ำย่อยย่อยให้โมเลกุลมีขนาดเล็กก่อนที่จะดูดซึเข้าสู่เซลล์ 
2. สารอาหารที่ต้องการในปริมาณน้อย (micronutrient) ได้แก่ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ 
สารอาหารกลุ่มนี้ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ถึงแม้ร่างกายจะต้องการน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายสร้าง 
ขึ้นเอง ไม่ได้ หรือสร้างขึ้นได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องรับประทานเข้าไป มีโมเลกุลขนาดเล็ก 
ซึ่งเล็กพอที่จะเข้าสู่เซลล์ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย 
สารอาหาร 
สารอินทรีย์ 
โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน 
สารอนินทรีย์ 
แร่ธาตุ น้ำ 
สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติและโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนมาแล้ว ต่อไปนี้จะได้ศึกษาถึงสารประกอบ 
ไฮโดรคาร์บอนของสิ่งมีชีวิต 
สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ กรดนิวคลีอิก รวม 
เรียกสารเหล่านี้ว่า สารชีวโมเลกุล 
สารชีวโมเลกุล (Biomolecule compounds) คือ 
 สารอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน) 
 มีโมเลกุลขนาดใหญ่ พบอยู่ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน/น้ำมัน และกรดนิวคลิอิก 
 สารชีวโมเลกุลทั้ง 4 ชนิดนี้ ประกอบด้วยธาตุหลักเหมือนกัน คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน แต่ต่างกันที่โครงสร้างและ 
อัตราส่วนของแต่ละธาตุ สำหรับโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย ส่วนกรดนิวคลิอิกมีธาตุที่เป็นองค์ประกอบเพิ่มอีก 
คือ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส 
 สารชีวโมเลกุลประเภท โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน/น้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายต้องผ่านกระบวนการย่อย (ไฮโดรลิซิส) 
ให้เป็นโมเลกุลเล็กก่อนเข้าสู่เซลล์ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ 
โปรตีน การย่อย กรดอะมิโน 
คาร์โบไฮเดรต การย่อย กลูโคส 
ไขมันและน้ำมัน การย่อย กรดไขมัน 
 สารชีวโมเลกุลมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้ 
 ใช้ในการเจริญเติบโต 
 เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาดสมดุลของน้ำ และกรด-เบส 
 เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ และระบบภูมิคุ้มกัน 
 สลายพลังงาน 
 ถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม 
 ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น สุขภาพผมและเล็บดี 
 นักเรียนจะได้ศึกษาถึงโครงสร้าง สมบัติ และการเกิดปฏิกิริยาของสารทั้ง 4 กลุ่ม (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกรดนิวคลิอิก) 
ดังนี้ 
1. โปรตีน (Proteins) 
Fdfd 
 เป็นสารชีวโมเลกุลที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (โดยเฉลี่ยในเซลล์พืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 
ของน้ำหนักแห้ง 
 นักเคมีชาวฮอลล์แลนด์ชือ ดี.เจ. มูลเดอร์ (D.J. Mulder) เป็นผู้ตั้งชื่อ โปรตีน (ภาษากรีกแปลว่า มาเป็นลำดับหนึ่ง) 
หรือกล่าวได้ว่าโปรตีนมีความสำคัญเป็นลำดับหนึ่ง 
 โปรตีนมีมวลโมเลกุลมาก (หลายพัน-หลายล้าน) จึงจัดเป็นสารทีมีโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ 
 โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน ประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 ธาตุ คือ C , H , O , N 
ยังมีธาตุอื่นเป็นองค์ประกอบอีกด้วย เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 3
 หน่วยย่อยของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (หรือกล่าวได้ว่า กรดอะมิโนเป็นมอนอเมอร์ของโปรตีน) 
 โปรตีนจึงประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไตด์ (peptide bond) ซึ่งเป็นพันธะโคเวเลนต์ 
ระหว่างอะตอมของคาร์บอนในหมู่คาร์บอนิลของกรดอะมิโนในโมเลกุลหนึ่ง กับ อะตอมของไนโตรเจนในหมู่อะมิโน 
ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง 
กรดอะมิโน 
1.1 กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์ 
 โครงสร้างกรดอะมิโน 
โครงสร้างของโปรตีน 
กรดอะมิโนในธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 20 ชนิด ที่พบในโปรตีนจากสัตว์และพืช สูตรทั่วไปของกรดอะมิโน 
จากสูตรโครงสร้างทั่วไป ทำให้ทราบว่ากรดอะมิโนทุกโมเลกุล ประกอบด้วย 
 หมู่ฟังก์ชันที่สำคัญมีอยู่ 2 หมู่ คือ หมู่อะมิโน (-NH2) อย่างน้อย 1 หมู่ และ หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) 
อย่างน้อย 1 หมู่ ซึ่งเกาะที่คาร์บอนตัวเดียวกัน เรียกตำแหน่งคาร์บอนดังกล่าวว่า แอลฟาคาร์บอน 
 กรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีส่วนแตกต่างกัน คือ โซ่ข้าง (side chains) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้กรดอะมิโนแต่ละชนิดมี 
สมบัติแตกต่างกัน 
 โซ่ข้าง(side chains)ในกรดอะมิโนมีผลทำให้กรดอะมิโนมีสมบัติแตกต่างกัน โดยที่โซ่ข้างอาจมีสมบัติ ดังนี้ 
 ไม่มีขั้ว (nonpolar sidechains) 
 มีขั้วและเป็นกลาง (polar sidechains , neutral sidechains) 
 มีสมบัติเป็นกรด (acidic sidechains) 
 มีสมบัติเป็นเบส (basic sidechains) 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 4
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 5 
 กรดอะมิโนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
1. กรดอะมิโนชนิดจำเป็น (essential amino acid) หมายถึง กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ต้องได้รับจาก 
การบริโภคอาหารเท่านั้น สำหรับผู้ใหญ่มี 8 ชนิด และสำหรับเด็กมี 9 ชนิด (เพิ่มฮิสติดีนอีก 1 ชนิด) ดังตาราง 
2. กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น (non- essential amino acid) หมายถึง กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง มี 
ทั้งหมด 11 ชนิด ดังตาราง 
ที่ 
กรดอะมิโนชนิดจำเป็น กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น 
ชื่อ สัญลักษณ์ ชื่อ สัญลักษณ์ 
1 * ฮิสติดีน (Histidine) (พบในเด็ก) His ไกลซีน (Glycine) Gly 
2 ไอโซลิวซีน (Isoleucine) Ile อะลานีน (Alanine) Ala 
3 ลิวซีน (Leucine) Leu กรดแอสปาร์ติก (Aspartic acid) Asp 
4 ไลซีน (Lysine) Lys โปรลีน (Proline) Pro 
5 วาลีน (Valine) Val กรดกลูตามิก (Glutamic acid) Glu 
6 ทรีโอนีน (Threonine) Thr อาร์จินีน (Arginine) Arg 
7 ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) Phe ซีรีน (Serine) Ser 
8 ทริปโตเฟน (Tryptophan) Trp กลูตามีน (Glutamine) Gln 
9 เมไทโอนีน (Methionine) Met แอสปาราจีน (Asparagine) Asn 
10 ไทโรซีน (Tyrosine) Tyr 
11 ซิสเตอีน (Cysteine) Cys 
 พันธะเพปไทด์ 
 เมื่อนำโปรตีนมาไฮโดรไลส์จะได้กรดอะมิโนจำนวนมาก 
กรดอะมิโนต่าง ๆ ในโมเลกุลของโปรตีนเชื่อมต่อกันเป็นโซ่ยาวด้วยพันธะที่เรียกว่า พันธะเพปไทด์ (Peptide bond) 
 เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง –OH ในหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ของโมเลกุลหนึ่งของกรดอะมิโน 
กับ –H ในหมู่อะมิโน (-NH2) ในอีกโมเลกุลหนึ่งของกรดอะมิโน จะได้ H2O 
ส่วนที่เหลือจะเกิดพันธะโคเวเลนต์ ที่เรียกว่า พันธะเพปไทด์ ดังรูป 
รูปแสดงการเกิดพันธะเพปไทด์ 
 พันธะที่เกิดจากกรดอะมิโน 2 หน่วย พันธะเพปไทด์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า ไดเพปไทด์ (dipeptide) 
 พันธะที่เกิดจากกรดอะมิโน 3 หน่วย พันธะเพปไทด์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า ไตรเพปไทด์ (tripeptide) 
 พันธะเพปไทด์ที่เกิดจากกรดอะมิโน 4 , 5 , 6 หน่วย เรียก เตตระเพปไทด์ (tetrapeptide) 
เพนตะเพปไทด์ (pentapeptide) และ เฮกซะเพปไทด์ (hexapeptide) 
 กรดอะมิโนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ 
เรียกว่า พอลีเพปไทด์ (Polypeptide) 
 กรดอะมิโนมากกว่า 50 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันะเพปไทด์ เรียกว่า โปรตีน
1.2 โครงสร้างของโปรตีน 
 กรดอะมิโน 2 โมเลกุลเกิดปฏิกิริยารวมตัวกันได้สารประกอบที่เรียกว่า ไดเพปไทด์ 
กรดอะมิโน 3 โมเลกุลเกิดปฏิกิริยารวมตัวกันได้สารประกอบที่เรียกว่า ไตรเพปไทด์ 
ถ้ากรดอะมิโนหลาย ๆ โมเลกุลทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นสายยาว จะได้สารประกอบที่เรียกว่า พอลิเพปไทด์ 
 โปรตีนส่วนใหญ่เป็นพอลิเพปไทด์ที่มีมวลโมเลกุลมากกว่า 5,000 ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิดและมีจำนวนแตกต่าง 
กัน ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์และพันธะชนิดอื่นๆ ทำให้โปรตีนมีโครงสร้าง 4 ระดับ (โดยใช้โครงสร้างทางเคมีเป็นเกณฑ์) ดังนี้ 
1. โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) 
เป็นโครงสร้างที่แสดงลำดับกรดอะมิโนในสายเพปไทด์หรือในโมเลกุลของโปรตีน 
การจัดลำดับกรดอะมิโนในโครงสร้างปฐมภูมิจะกำหนดให้ปลายหมู่อะมิโน (–NH2) อยู่ด้านซ้าย 
และปลายหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) อยู่ด้านขวา ดังรูป 
รูป โครงสร้างปฐมภูมิ 
เช่น Gly-Ala-Tyr-His อ่านว่า glycylalanyltyrosylhistidine 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 6
ถ้าจำนวนกรดอะมิโนมาเชื่อมต่อกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปโซ่ยาว แต่จะมีการม้วนหรือพับเข้าหากัน 
เนื่องจากมีการสร้างพันธะระหว่างกรดอะมิโนภายในสายเพปไทด์หรือระหว่างสายเพปไทด์ ทำให้เกิดโครงสร้าง 3 มิติ 
ที่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันอีก 3 แบบ ดังนี้ 
2. โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure) 
เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการขดหรือม้วนตัวของโครงสร้างปฐมภูมิ โดยที่ 
 ถ้าเกิดจากการสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่าง C=O ของกรดอะมิโนหนึ่งกับ N-H ของกรดอะมิโนถัดไปอีก 4 
หน่วยในสายพอลิเพปไทด์เดียวกัน จะเกิดโครงสร้างในลักษณะบิดเป็นเกลียว เรียกว่า เกลียวแอลฟา ( helix) 
 ถ้าเกิดจากการสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่าง C=O ของกรดอะมิโนหนึ่งกับ N-H ของกรดอะมิโนระหว่างพอลิ 
เพปไทด์ที่อยู่คู่กัน จะเกิดโครงสร้างมีลักษณะเป็นแผ่น เรียกว่า แผ่นพลีทบีต้า ( -pleated sheet) 
 นอกจากพันธะไฮโดรเจนแล้วยังมีพันธะอื่น ๆ อีก เช่น พันธะไอออนิก พันธะไดซัลไฟต์ (S-S) ซึ่งพันธะเหล่านี้ 
ล้วนมีส่วนช่วยให้โครงสร้างทุติยภูมิอยู่ตัวได้ 
 สรุป โครงสร้างทุติยภูมิมี 3 ส่วน คือ 
 ส่วนที่เป็นเกลียวแอลฟา (alpha helix) 
 ส่วนที่เป็นแผ่นพลีทบีต้า (Beta-pleated sheet) 
 ส่วนที่ไม่ใช่เกลียวแอลฟา (Random coil) 
รูปแสดงโครงสร้างทุติยภูมิ 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 7
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 8 
3. โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure) 
เกิดจากโครงสร้างเกลียวแอลฟา (alpha helix) แผ่นพลีทบีต้า (Beta-pleated sheet ) และบริเวณที่ไม่ใช่เกลียวแอลฟา 
(Random coil) ม้วนเข้าหากันได้โครงสร้าง 3 มิติ และไขว้กันโดยมีแรงยึดเหนี่ยวอ่อน ๆ คล้ายโครงสร้างทุติยภูมิ 
4. โครงสร้างจตุรภูมิ (Quaternary structure) 
เกิดจากการรวมตัวของหน่วยย่อยเดียวกัน หรือต่างกันของโครงสร้างตติยภูมิ (โดยมีแรงยึดเหนี่ยวเหมือนกับใน 
โครงสร้างทุติยภูมิและตติยภูมิ) ลักษณะโครงสร้างใหม่ขึ้นกับโครงสร้างตติยภูมิซึ่งเป็นหน่วยย่อย โดยอาจรวมตัว 
เป็นลักษณะก้อนกลม เช่น ฮีโมลโกลบิน หรือเป็นมัดคล้ายเส้นใย เช่น คอลลาเจน 
โครงสร้างจตุรภูมิของโปรตีนที่พบมากมีรูปร่าง 2 แบบ คือ โปรตีนก้อนกลม และ โปรตีนเส้นใย 
โครงสร้างปฐมภูมิ 
โครงสร้างทุติยภูมิ 
โครงสร้างจตุรภูมิ 
โครงสร้างตติยภูมิ 
เช่น คอลลาเจน (โปรตีนเป็นมัดเส้นใย) , ฮีโมลโกลบิน (โปรตีนก้อนกลม) ดังรูป
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 9 
1.3 ชนิดและหน้าที่ของโปรตีน 
 โปรตีนมีหลายชนิด หน้าทีของโปรตีนแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนนั้น และโครงสร้าง 
ของโปรตีนก็ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบของสายพอลิเพปไทด์ 
 สามารถแบ่งโปรตีนตามลักษณะการจัดตัวในโครงสร้าง 3 มิติ แบ่งได้ ดังนี้ 
1) โปรตีนก้อนกลม 
 เกิดจากสายพอลิเพปไทด์รวมตัวม้วนพับพันกันและอัดแน่นเป็นก้อนกลม 
 สามารถละลายน้ำได้ดี 
 ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ 
 เช่น เอนไซม์ ฮีโมลโกลบิน ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น 
2) โปรตีนเส้นใย 
 เกิดจากสายพอลิเพปไทด์หลายสายเรียงขนานกันและขดเป็นเกลียวเหมือนเชือก 
 สามารถละลายน้ำได้น้อย 
 ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนโครงสร้าง เพราะมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นสูง 
 เช่น ไฟโบรอินในเส้นไหม อิลาสตินในเอ็น คอลลาเจนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน 
เคราตินในเส้นผม ขน เล็บ ไมโอซินในกล้ามเนื้อ เป็นต้น 
1.4 เอนไซม์ (Enzyme) 
 เอนไซม์ คือ 
 โปรตีนก้อนกลม 
 ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการลดพลังงานก่อกัมมันต์และทำให้อนุภาคของสารตั้งต้นรวมตัวกับ 
เอนไซม์ได้อย่างเหมาะสม มีผลให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น 
 เอนไซม์ทำงานเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาทั่ว ๆ ไป คือในขณะที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะไม่แตกสลายหรือเปลี่ยนแปลงไป 
 สมบัติพิเศษของเอนไซม์ 
 มีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหรือมีความจำเพาะต่อสารที่เข้าทำปฏิกิริยาชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น เพราะมีรูปร่างที่พอเหมาะกัน 
พอดีกับตัวรับ (สับสเตรต) อันเป็นผลให้ร่างกายสามารถควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
 การทำงานของเอนไซม์ 
 เริ่มจากสารตั้งต้น (สับสเตรต) เข้าจับกับเอนไซม์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด 
 เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่า enzyme-substrate complex ซึ่งสลายตัวต่อไป ได้ 
ผลิตภัณฑ์ กับเอนไซม์เดิม ปฏิกิริยาของเอนไซม์เขียนได้ ดังนี้ 
E + S ES P + E 
เอนไซม์ สับเสตรต สารเชิงซ้อน ผลิตภัณฑ์ เอนไซม์ 
Substrate 
A B 
Enzyme 
สารเชิงซ้อน 
Product 
(Enzyme –Substrate complex) Enzyme
 บริเวณเร่งของเอนไซม์สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เหมาะสมกับสับสเตรตที่เข้ามาจับหรืออาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้ 
 โดยทั่วไปเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ๆ สามารถทำปฏิกิริยาได้อย่างเฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น อะไมเลสเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง ดังนั้น 
จึงพบว่ามีเอนไซม์หลายชนิดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเอนไซม์บางชนิดอาจมีบริเวณเร่งมากกว่าหนึ่งบริเวณก็ได้ 
 เนื่องจากเอนไซม์จะทำหน้าที่ต่อเมื่อจับกับสับเสตรตที่เหมาะสม ดังนั้นเอนไซม์จำนวนมากจึงมีชื่อเรียกตามชนิดของ 
สับเสตรต โดยลงเสียงท้ายเป็น เ-ส เช่น เอนไซม์ซูเครส เป็นเอนไซม์ย่อยซูโครส 
 ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ 
 ปริมาณสารตั้งต้น (สับสเตรต) 
 ถ้าเพิ่มปริมาณสับสเตรตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่เพิ่มปริมาณเอนไซม์ การเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะคงที่ 
 อธิบายได้ว่า : เมื่อปริมาณสับสเตรตเพิ่มขึ้น แต่ความเข้มข้นของเอนไซม์อยู่ในปริมาณจำกัด ซึ่งเมื่อมันอยู่ในสภาวะ 
อิ่มตัวกับสับสเตรต (คือ ไปเร่งสับสเตรต) ส่วนปริมาณสับสเตรตที่เกิดจะต้องรอจนกว่าเอนไซม์จะเปลี่ยนสับสเตรตไปเป็นผลิตภัณฑ์ 
ก่อน และได้เอนไซม์อิสระกลับคืนมาแล้วกลับไปเร่งสับสเตรตส่วนที่เกินมา 
 ปริมาณเอนไซม์ 
 ถ้ามีเอนไซม์มากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีตัวเร่ง 
ปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา 
 อธิบายได้ว่า ในทางปฏิบัตินั้น ปริมาณเอนไซม์ใช้น้อยกว่าปริมาณสับสเตรต อัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงขึ้นอยู่กับ 
ความเข้มข้นของเอนไซม์ 
อัตราการเกิดปกิกิริยา 
ความเข้มข้นของสับสเตรต 
อัตราการเกิดปกิกิริยา 
ความเข้มข้นของเอนไซม์ 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 10
 pH 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 11 
 เอนไซม์มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง pH โดย pH ไม่ว่าสูงหรือต่ำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของ 
เอนไซม์ได้ เอนไซม์แต่ละชนิดจะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดีที่ pH ค่าหนึ่ง เรียกว่า pH 
ที่เหมาะสมที่สุด (Optimum pH) ประมาณ 7.0-7.5 
 อธิบายได้ว่า pH มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน มีผลต่อการแตกตัวของส่วนที่เป็น 
กรดและเบสในเอนไซม์และสับสเตรต 
 อุณหภูมิ 
อัตราการเกิดปกิกิริยา 
pH 
7 
 เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่สุดช่วงอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น โดยทั่วไปประมาณ 20-40 องศาเซลเซียส 
ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป เอนไซม์จะมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากเอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนจะถูกแปลงสภาพหมด 
จึงเข้ากับสารไม่ได้ 
1.5 สมบัติของโปรตีน 
อัตราการเกิดปกิกิริยา 
อุณหภูมิ 
ประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส 
 โปรตีนแต่ละชนิดมีจำนวนชนิดและลำดับการเรียงตัวของกรดอะมิโนที่แน่นอน ความแตกต่างของชนิดและลำดับการ 
จัดเรียงตัวของกรดอะมิโน มีผลต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของโปรตีน 
 โปรตีนบริสุทธิ์ ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ โปรตีนจะเปลียนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ และมีกลิ่นคล้ายผม 
หรือหนังสัตว์ไหม้ ละลายน้ำได้ 
 โปรตีนจัดเป็นสารแอมโฟเทอริก (เป็นได้ทั้งกรดและเบส) คือปฏิกิริยากับกรดและเบสได้ 
 หมู่แอลคิลของกรดอะมิโนในโปรตีนอาจเกิดพันธะไฮโดรเจนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดเป็นเกลียวหรือเป็นแผ่น 
ซึ่งจะมีการขดม้วนตัวโดยอาศัยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน เช่น แรงแวนเดอวาลส์ พันธะไฮโดรเจน ทำให้เกิดโครงสร้างสามมิติ 
แรงยึดเหนี่ยวทั้งกล่าวถูกทำลายได้ง่าย จึงทำให้โครงสร้างสามมิติของโปรตีนเปลี่ยนไป เรียกว่า การแปลงสภาพโปรตีน (denatured) 
1.6 การแปลงสภาพโปรตีน (denatured) 
ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลงสภาพโปรตีน มีดังนี้ 
 ความร้อนและแสงอัลตร้าไวโอเลต 
 จะให้พลังงานไปเพิ่มให้กับอะตอมในโมเลกุลของโปรตีนสั่นได้มากขึ้น จนสามารถทำลายพันธะไฮโดรเจน 
มีผลให้โปรตีนตกตะกอน เช่น การต้มหรือทอดไข่ 
 ตัวทำละลายอินทรีย์ 
 ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีพันธะไฮโดรเจน เช่น เอทานอล สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนขึ้นระหว่างโมเลกุลของโปรตีนได้ 
และจะทำลายพันธะไฮโดรเจนภายในโมเลกุลของโปรตีนทำให้โปรตีนแข็งตัวและละลายน้ำได้น้อยลง เช่น ใช้แอลกอฮอล์ 
ฆ่าเชื้อโรค โดยแอลกอฮอล์จะไปทำให้โปรตีนในแบคทีเรียในบริเวณผิวหนังสูญเสียสภาพธรรมชาติ
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 12 
 กรดหรือเบส 
 กรดหรือเบสจะไปทำลายพันธะไอออนิก ทำให้โปรตีนตกตะกอน และถ้าโปรตีนสัมผัสกรดหรือเบสเป็นระยะเวลานาน ๆ จะ 
ทำให้พันธะเพปไทด์ถูกทำลายด้วย (กรดหรือเบสเข้าตาจึงทำให้เกิดการแปลงสภาพโปรตีนในดวงตา อาจตาบอดได้) 
 ไอออนของโลหะหนัก 
 ไอออนของโลหะหนัก เช่น Pb2+ Hg2+ และ Ag+ ไอออนเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนด้านที่มีประจุลบ 
ทำให้ พันธะไอออนิกถูกทำลาย เกิดเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ 
ทบทวน เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ 
• สารอินทรีย์เป็นสารที่มีธาตุ C , H , O , N , P , S เป็นองค์ประกอบ 
• สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า สารชีวโมเลกุล (biological molecule) 
• C + H = hydrocarbon 
• หมู่ฟังก์ชัน (functional group) คือ หมู่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุที่แสดงสมบัติเฉพาะของ 
สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เช่น CH3OH (เมทานอล) CH3CH2OH(เอทานอล) ซึ่งต้องเป็นสารอินทรีย์ 
พวกแอลกอฮอล์ เพราะสารแต่ละชนิดต่างก็มีหมู่ -OH เป็นองค์ประกอบ แสดงหมู่ -OH เป็นหมู่ฟังก์ชัน 
ของแอลกอฮอล์
2. คาร์โบไฮเดรต 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 13 
 คาร์โบไฮเดรต หมายถึง คาร์บอนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ 
 เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย C , H , O 
 เป็นสารอินทรีย์ที่หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO) และ 
หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน 
 คาร์โบไฮเดรตเป็นสารชีวโมเลกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจาก 
 ทำหน้าที่เป็นสารสะสมพลังงานสำหรับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด 
 พบทั่วไปในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจน โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ แป้ง และเซลลูโลส 
ส่วนไกลโคเจน พบในเนื้อเยื่อ น้ำไขข้อในสัตว์และผนังเซลล์ 
2.1 ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต 
 โดยแป้ง/เซลลูโลส/ไกลโคเจน เกิดจาก กลูโคส (มอนอเมอร์) หลายโมเลกุลมารวมตัว เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ 
(พอลิเมอร์) 
 เมื่อพิจารณาโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลส พบว่า ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่มีโครงสร้างเหมือนกัน จำนวนมาก 
มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว แต่จำนวนหน่วยย่อย การสร้างพันธะของหน่วยย่อย และโซ่กิ่งในโครงสร้างของแป้ง 
และเซลลูโลสจะมีความแตกต่างกัน
กลูโคส (glucose) 
โครงสร้างของน้ำตาลกลูโคส มีหลายแบบ เช่น โครงสร้างแบบโซ่เปิด (open-chain structure) 
และโครงสร้างสร้างแบบวง (cyclic หรือ ring structure) กลูโคสมีโครงสร้างแบบวง ที่มีขนาดของวง 6 
H - C = O 
H - C - OH 
HO - C - H 
H - C - OH 
H - C - OH 
CH2OH 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 14 
โครงสร้างแบบโซ่เปิดของกลูโคส (C6H12O6) โครงสร้างแบบวงของกลูโคส (C6H12O6) 
 ถ้าแบ่งโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตตามจำนวนหน่วยย่อย สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 
2.2 สมบัติของคาร์โบไฮเดรต 
1) โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว 
 เป็นน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก ประกอบ คาร์บอน 3 ถึง 8 อะตอม 
 เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ ไดแซ็กคาไรด์ 
 สูตรทั่วไปเป็น (CH2O)n หรือ CnH2nOn โดยที่ n มีค่าตั้งแต่ 3 อะตอม ถึง 8 อะตอม 
O 
 มีหมู่ฟังก์ชั่นเป็น - C – H (หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์) และหมู่ -OH (ไฮดรอกซิล) เนื่องจากมีหมู่ -OH จำนวนมากจึงละลายน้ำได้ดี 
 โมโนแซ็กคาไรด์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างได้แก่ กลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ 
และเป็นแหล่งพลังงานหลักของสิ่งมีชีวิต ฟรุกโตส กาแลกโตส และแมนโนส ก็เป็นโมโนแซ็กคาไลด์ เช่นเดียวกัน 
มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกัน 
ตารางแสดงสูตรโครงสร้างของโมโนแซกคาไรด์ที่พบโดยทั่วไป 
ชื่อ สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง แหล่งที่พบและความสำคัญทั่วไป 
กลูโคส (glucose) C6H12O6 
CHO 
H - C - OH 
HO - C - H 
H - C - OH 
H - C - OH 
CH2OH 
มีในพืช เช่น องุ่น น้ำผึ้ง อ้อย 
รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของพอลิแซก 
คาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลใหญ่) 
ฟรุกโตส (fructose) C6H12O6 CH2OH 
C = O 
HO - C - H 
H - C - OH 
H - C - OH 
CH2OH 
มีในผลไม้ น้ำผึ่ง 
จัดว่าเป็นน้ำตาลที่มีความหวาน 
มากกว่ากลูโคส
ชื่อ สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง แหล่งที่พบและความสำคัญทั่วไป 
กาแลกโตส 
C6H12O6 CHO 
(galactose) 
H - C - OH 
HO - C - H 
H - C - OH 
CH2OH 
HO - C - H 
เป็นส่วนประกอบของน้ำตาลในน้ำนม 
พบในไกลโคไลปิด (ไขมันที่พบในเยื่อ 
หุ้มเซลล์ ของเนื้อเยื่อประสาท 
พบในเลือด กระดูกอ่อน และพังพืด 
ไรโบส (ribose) C5H10O5 
CHO 
H - C - OH 
H - C - OH 
H - C - OH 
CH2OH 
เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก หรือ 
ในโคเอนไซม์ NAD+ และ NADP+ 
แมนโนส 
(mannose) 
C6H12O6 
CHO 
HO - C - H 
HO - C - H 
H - C - OH 
H - C - OH 
CH2OH 
ได้จากการสลายยางไม้เป็นส่วนประกอบ 
ของพอลิแซกคาไรด์ในพืช ในคนจะ 
รวมอยู่กับโปรตีน 
นอกจากนี้กลูโคส ยังเป็นโมโนแซกคาไรด์ที่สังเคราะห์ขึ้นได้ในพืชที่มีคลอโรฟิลล์ โดยใช้ CO2 
จากอากาศและน้ำในพืชกับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้ 
6CO2 + 6H2O คลอโรฟิลล์ C6H12O6 + 6O2 
แสงอาทิตย์ 
กลูโคสเป็นน้ำตาลที่พบได้ทั่วไป มีรสหวานและละลายน้ำได้ดีมาก มีในผลไม้ต่าง ๆ สำหรับในร่างกายคน พบอยู่ในเลือด 
คนปกติจะมีกลูโคส 100 มิลลิกรัม / 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรของเลือด ในกรณีที่เป็นเบาหวานจะมีกลูโคสสะสมอยู่ในเลือดสูง 
ถ้ามากกว่า 160 มิลลิกรัม / 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรของเลือดขึ้นไป ร่างกายจะขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ 
2) ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่ 
 เกิดจากโมโนแซกคาไรด์ 2 โมเลกุลมารวมกัน (โดยสูญเสียน้ำ 1 โมเลกุล) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามชนิดของโมโนแซกคาไรด์ 
 ไดแซ็กคาไรด์ที่พบมากในธรรมชาติและเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้แก่ มอลโทส ซูโครส และแลกโทส 
 ไดแซกคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส หรือน้ำตาลทราย (C12H22O11) เป็นแซกคาไรด์ที่เกิด 
จากการรวมตัวกันของกลูโคส และฟรุกโตส 
เช่น C6H12O6 + C6H12O6  C12H22O11 + H2O 
กลูโคส ฟรุกโตส ซูโครส น้ำ 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 15
 การเกิดไดแซ็กคาไรด์ มีดังนี้ 
กลูโคส + กลูโคส มอลโทส 
กลูโคส + ฟรุกโตส ซูโครส 
กลูโคส + กาแล็กโตส แล็กโตส 
ตารางแสดงสูตรโครงสร้างของไดแซกคาไรด์บางชนิด 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 16 
ชื่อ สูตรโครงสร้าง เตรียมจาก หมายเหตุ 
มอลโตส 
กลูโคส + กลูโคส พบในต้นถั่ว 
maltose 
และต้นข้าวมอลต์ 
ที่กำลังเจริญเติบโต 
ซูโครส 
sucrose 
กลูโคส +ฟรุกโตส ที่เรียกว่า น้ำตาลทราย พบใน 
น้ำตาลอ้อย ความหวานของ 
ซูโครสเกิดจากฟรุกโตส 
แลกโตส 
lactose 
กาแลกโตส+กลูโคส เป็นน้ำตาลในน้ำนมถ้าหมัก 
แลกโตสกับ lactobacillus จะได้ 
กรดแลกติกและแอลกอฮอล์ซึ่ง 
ใช้ทำเนยแข็ง 
3) พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลใหญ่ 
 เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีโครงสร้างซับซ้อนมาก เกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์หลายโมเลกุลมารวมกัน ซึ่งจัดเป็นพอลิเมอร์ 
(Polymer) โดยกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน ดังปฏิกิริยา 
n C6H12O6 ( C6H10O5 )n + n H2O 
กลูโคส (มอนอเมอร์) แป้ง (พอลิเมอร์) 
 ได้แก่ แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส ซึ่งไม่ละลายน้ำ โมเลกุลของแป้งเกิดจากกลูโคสหลาย ๆ โมเลกุลรวมกัน 
 แป้ง พบในเมล็ด หัว ราก ผลและใบของต้นไม้ เป็นแหล่งสะสมอาหารที่สำคัญต้นไม้ และร่างกายคนสามารถ 
ย่อยแป้งได้ (เอนไซม์อะไมเลส) ถ้าทำให้แป้งสุกก่อน จะย่อยได้ง่ายขึ้น โมเลกุลของแป้งจะสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ 
โดยเอนไซม์อะไมเลสที่มีอยู่ในน้ำลาย (เวลาเคี้ยวข้าวแล้วรู้สึกหวาน) 
 เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ของต้นไม้และในเนื้อไม้ ร่างกายของคนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ 
เพราะไม่มีน้ำย่อยโดยเฉพาะซึ่งต่างจากสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถย่อยพวกเซลลูโลสได้ ดังนั้น ร่างกายจะขับถ่ายออกมา 
ในลักษณะของกาก หรือเรียกว่าเส้นใยอาหาร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การขับถ่าย 
สะดวก พบว่ามีเซลลูโลสปริมาณสูงในอาหารพวกผัก ถั่ว และผลไม้ 
 ไกลโคเจน เป็นพอลิแซกคาไรด์อีกชนิดหนึ่ง เกิดจากกลูโคสเช่นเดียวกัน พบในเนื้อเยื่อของสัตว์ ในตับและกล้ามเนื้อ 
ของสัตว์ เมื่อรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเข้าไป เอนไซม์ของร่างกายจะย่อยได้เป็นกลูโคส (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) 
แล้วนำไปใช้เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ โดยเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน (ซึ่งประกอบด้วยกลูโคสหลายโมเลกุล) ถ้าจะใช้เมื่อไร 
ร่างกายสามารถนำออกมาใช้ได้ ไกลโคเจนในตับมีไว้เพื่อปรับระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่
2.3 ปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 
2.3.1) ปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ 
 โมโนแซ็กคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ โดยเกิดปฏิกิริยาได้เป็น 
ตะกอนสีแดงอิฐสารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดปฏิกิริยากับพวกไดแซ็กคาไรด์ หรือ พอลิแซกคาไรด์อื่น ๆ นอกจาก 
ทำให้เป็นมอนอแซกคาไรด์ ก่อนจึงจะเกิดปฏิกิริยา เช่น นำน้ำตาลทรายซึ่งเป็นไดแซกคาไรด์ไปต้มกับกรดเกลือ หรือ 
น้ำแป้งต้มกับกรดเกลือ จะทำให้เกิดการย่อยเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ ซึ่งทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้ 
 ถ้าต้องการทดสอบว่าน้ำตาลชนิดใดเป็นโมโนแซ็กคาไรด์บ้าง ให้นำมาทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ 
 สำหรับสารละลายเบเนดิกต์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทดสอบหาน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบ 
โรคเบาหวานได้ เนื่องจากเมื่อเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะขับกลูโคสออกมาทางปัสสาวะ 
2.3.2) ปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน 
 แป้ง (พอลิแซ็กคาไรด์) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนได้เกิดปฏิกิริยาได้ตะกอนสีม่วงอมน้ำเงิน 
 ถ้าต้องการทดสอบว่าเป็นแป้งหรือไม่ ให้นำมาทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน 
 พวกน้ำตาลทั้งโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน 
 ดังนั้นปฏิกิริยานี้จึงเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ทดสอบแป้งโดยเฉพาะ 
ความรู้เสริม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย 
 เมื่อรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาลทรายเข้าไป เอนไซม์ที่มีอยู่ในร่างกาย 
จะช่วยย่อยให้เป็นกลูโคส แล้วลำเลียงไปตามกระแสโลหิต ไปยังเซลล์เพื่อเป็นแหล่งของพลังงาน 
โดยกลูโคสจะสันดาปกับออกซิเจน ดังนี้ 
C6H12O6 + 6O2  6CO2 + 6H2O + 673 kcal 
 จะได้พลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้ 
 สำหรับกลูโคสบางส่วนที่เหลืออยู่จะเกิดปฏิกิริยารวมกันเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ 
ซึ่งจะถูกนำออกมาใช้ได้เมื่อร่างกายต้องการโดยการเปลี่ยนกลับมาเป็นกลูโคสอีก 
 ไกลโคเจนในตับ มีหน้าที่ปรับระดับกลูโคสในโลหิตให้คงที่ 
 ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อทำงานไกลโคเจนจะสลายตัวพร้อมกับให้พลังงานออกมา 
 สำหรับเซลลูโลส ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เป็นกลูโคส แต่จะให้เส้นใยซึ่งช่วยการทำงานของลำไส้ 
ช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปตามปกติ 
คำถามชวนคิด 
มอนอเมอร์ของโปรตีน คือ……………………………… 
มอนอเมอร์ของแป้ง คือ………………………………… 
น้ำตาลกลูโคส (โมโนแซ็กคาไรด์) มีสูตรโมเลกุล คือ…… 
น้ำตาลซูโครส (ไดแซ็กคาร์ไรด์) มีสูตรโมเลกุลคือ............. 
ร่างกายมนุษย์ย่อยแป้งได้หรือไม่………………………… 
ร่างกายมนุษย์ย่อยเซลลูโลสได้หรือไม่…………………… 
ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้อย่างไร...................................... 
ต้องการทดสอบว่าสารใดเป็นแป้ง ใช้วิธีการใด ………… 
ต้องการทดสอบว่าสารใดเป็นน้ำตาลซูโครส ใช้วิธีการใด… 
กลูโคสพบได้ที่ไหนบ้าง…………………………………… 
ร่างกายต้องย่อยกลูโคสก่อนนำใปใช้หรือไม่……………… 
คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานได้อย่างไร.................................... 
การหมัก (Fermentation) 
คือ กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์ เช่น แป้งหรือน้ำตาล 
ให้กลายเป็นเอทานอล และก๊าซ CO2 โดยมียีสต์และแบคทีเรียซึ่งมี 
เอนไซม์ Zymase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส เช่น 
น้ำตาลกลูโคส เอทานอล + ก๊าซ CO2 
น้ำตาลซูโครส 
แป้ง 
น้ำตาลกลูโคส เอทานอล + ก๊าซ CO2 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 17
3. ลิพิด (Lipids) 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 18 
 ลิพิดเป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย C , H , O เป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน พบในพืชและใน 
สัตว์ทั่วไป ซึ่งพบว่าเมื่อพวกไขมันเผาผลาญให้พลังงานประมาณ 9.0 กิโลแคลอรีต่อกรัม 
 นอกจากนี้ยังประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P) 
 ประโยชน์ของไขมันโดยทั่วไป 
1) เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกาย โดยให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรีต่อวัน (ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตกับโปรตีน 
ให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรีต่อวัน) 
2) สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย 
3) ช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย 
4) มีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ A, D, E และ K (วิตามินที่ละลายในไขมัน) 
5) นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่มีต่อร่างกายแล้ว ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อ, และรสชาติของ 
อาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต. ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ 
ทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว 
6) ใช้ในการทำสบู่ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันซึ่งเกิดจาก น้ำมันพืช + โซดาไฟ = สบู่ 
 ลิพิดมีหลายชนิด ดังนี้ 
3.1 ไขมันและน้ำมัน (Lipids) 
 ไขมันและน้ำมันเป็นสารประกอบประเภทเอสเทอร์ (หมู่ฟังก์ชัน แอลคอกซีคาร์บอนิล ) 
ซึ่งเกิดจาก แอลกอฮอล์บางชนิด เช่น กลีเซอรอล กับ กรดไขมัน (fatty acid) ดังสมการ 
 ณ อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ถ้าเป็นของแข็ง เรียกว่า ไขมัน (wax) ถ้าเป็นของเหลว เรียกว่า น้ำมัน (oil) 
 หน้าที่สำคัญของไขมันและน้ำมัน คือ 
- เป็นโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ 
- เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต 
- การเผาผลาญพลังงานอย่างสมบูรณ์จะให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม 
- พบในอาหารที่มีน้ำมัน เช่น เนย กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารทอดด้วยน้ำมัน 
 สมบัติ โครงสร้าง และปฏิกิริยาของไขมันและน้ำมัน 
 สมบัติของไขมันและน้ำมัน 
 เมื่อเทไขมัน/น้ำมันลงในน้ำ แล้วเขย่า ไขมัน/น้ำมันและน้ำจะไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน 
แต่ถ้าเทน้ำมันลงในตัวละลายอินทรีย์ เช่น เฮกเซน จะรวมตัวกันได้โดยไม่เกิดการแยกชั้น 
 จึงสรุปได้ว่า ไขมันและน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงไม่สามารถละลายไขมัน/น้ำมันได้) 
ส่วนตัวทำละลายอินทรีย์เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายไขมันได้
3.2 ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids) 
 ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เป็นลิพิดที่พบในส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) (เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เลือกให้ 
สารบางชนิดผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ ) 
 ฟอสโฟลิพิด 1 โมเลกุล เกิดจากกลีเซอรอล 1 โมเลกุล รวมตัวกับกรดไขมัน 2 โมเลกุล หมู่ฟอสเฟต 1 หมู่ และมีสารอื่นซึ่งมี 
ขนาดโมเลกุลเล็กและมักจะมีขั้วหรือมีประจุเกิดพันธะกับหมู่ฟอสเฟต ดังนี้ 
โครงสร้างของฟอสโฟลิพิด 
 โมเลกุลของฟอสโฟลิพิด แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 
1) ส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) หรือส่วนที่มีขั้ว คือส่วนที่เป็นหมู่ฟอสเฟต (ส่วนหัว) มีสมบัติละลายน้ำ 
2) ส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (non-polar tail ) หรือส่วนที่ไม่มีขั้ว คือ ส่วนที่เป็นกรดไขมัน เป็นส่วนหางที่ไม่มีขั้ว (non-polar tail ) ไม่ละลายน้ำ 
 เมื่อฟอสโฟลิพิดอยู่ในน้ำหรือในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย อาจเกิดเป็นโครงสร้าง 2 ชั้น 
 โดยหันส่วนที่ไม่มีขั้ว (ไฮโดรคาร์บอน) หันเข้าหากัน 
 และส่วนที่มีขั้ว (หมู่ฟอสเฟต ) หันเข้าหาโมเลกุลของน้ำ 
หมู่ฟอสเฟต 
กรดไขมัน 
กรดไขมัน 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 19
 ถ้าฟอสโฟลิพิดมีโมเลกุลขนาดใหญ่ โครงสร้าง 2 ชั้นสามารถเชื่อมต่อกันเป็นวง ดังรูป 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 20 
โครงสร้าง 2 ชั้นของฟอสโฟลิพิด โครงสร้าง 2 ชั้นสามารถเชื่อมต่อเป็นวง 
 โมเลกุลฟอสโฟลิพิดที่มี 2 ส่วน เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีโมเลกุลฟอสโฟลิพิด หนา 2 ชั้น เรียงตัวกัน 
ส่วนไขมัน (ไม่ชอบน้ำ) อยู่ด้านในและประกบกัน ส่วนชอบน้ำอยู่ด้านนอก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน 
คือยอมให้สารบางชนิดเข้าออกเท่านั้น โดย 
 สารที่ไม่มีขั้ว (ไม่ชอบน้ำ – พวกไขมัน) และสารละลายได้ในไขมัน จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่ 
 สารมีขั้วต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพา หรือใช้พลังงานด้วย 
การแพร่ การแพร่แบบฟาซิลิเทต การแพร่โดยใช้พลังงาน 
เยื่อหุ้มเซลล์พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทำหน้าที่ 
 ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารเพราะมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน 
 ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนอยู่รวมกันเป็น Fluid Mosaic Model กล่าวคือ โมเลกุลของฟอสโฟลิพิดเรียงกันเป็น 2 ชั้น หันด้านมี 
ขั้วซึ่งชอบรวมตัวกับน้ำ (Hydrophilic) ออกด้านนอก และหันด้านไม่มีขั้วซึ่งไม่ชอบรวมตัวกับน้ำ (Hydrophobic) เข้าข้างในและมี 
การเคลื่อนที่ไหลไปมาได้ ส่วนโปรตีนมีลักษณะ เป็นก้อน (Globular) ฝังหรือลอยอยู่ในชั้นไขมัน และอาจพบคาร์โบไฮเดรตเกาะที่ 
ผิวโปรตีนด้วย
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 21 
3.3 ไข (Wax) 
 เป็นลิพิดที่พบทั้งพืชและสัตว์ เป็นของแข็งและไม่ละลายน้ำ พบเป็นสารเคลือบเส้นผม ขนนก และขนสัตว์ต่าง ๆ 
ทำให้มีลักษณะเป็นเงาและเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ไขยังขับจากหูที่เรียกว่าขี้หู (ear wax) เพื่อป้องกันการ 
กระทบกระเทือนของเยื่อหู นอกจากนี้ยังมีไขที่ขับออกจากต่อไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ 
ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในพืชมักพบเป็นสารเคลือบผิวของใบไม้และเปลือกไม้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ 
องค์ประกอบของ ไข 
 ไขเป็นเอสเทอร์ ที่เกิดจากกรดไขมัน กับแอลกอฮอล์ที่มีโซ่ยาว 
 ส่วนที่มาจากกรดไขมันจะมีจำนวนอะตอมคาร์บอนเป็นเลขคู่ ระหว่าง 14 – 36 อะตอม 
 สำหรับส่วนที่มาจากแอลกฮอล์มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเป็นเลขคู่เช่นกัน ระหว่าง 16 – 30 อะตอม 
 ตัวอย่างที่พบมากในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ขี้ผึ้ง (เกิดจาก กรดไขมัน (กรดปาล์มิติก) กับ แอลกอฮอล์ (ไมริคอล) 
เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาได้ดังนี้ 
 ไขเป็นของแข็งที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและแอลกอฮอล์ที่เป็นองค์ประกอบ 
 ไขทุกชนิดไม่ละลายน้ำ ไขที่พบมักเคลือบอยู่ที่ผิวของใบไม้หรือผลไม้ และที่ผิวหนังหรือขนสัตว์ ทำหน้าที่หล่อลื่น 
หรือ ป้องกันการสูญเสียน้ำ ปัจจุบันมีการนำไขมาเคลือบผิวผลไม้เพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา 
3.4 สเตอรอยด์ (Steroid) 
 สเตอรอยด์ เป็นกลุ่มของลิพิด ที่มีโครงสร้างเฉพาะ 
ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคาร์บอน 6 เหลี่ยม (3วง) และ คาร์บอน 5 เหลี่ยม ( 1 วง) เชื่อมต่อกัน ดังรูป 
 สเตอรอยด์ มีสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในไขมันและตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล เป็นต้น 
 สารประเภทสเตอรอยด์ มีหลายชนิด แบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้ 
1) คอเลสเทอรอล (Cholesterol) 
ประโยชน์ของคอเลสเตอรอล 
 เป็นกลุ่มไขมันที่เป็นสาร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ละลายน้ำ มักพบในสัตว์ 
 เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่ 
สำคัญของฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol 
 นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น 
 จะพบว่า คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของเซลล์ผิว ฮอร์โมนและอยู่ในกระแสเลือด 
ร่างกายของคนเราได้ cholesterol จากสองแหล่งคือ 
จากอาหารที่เรารับประทาน เช่นเครื่องใน เนื้อ นม ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจะไปสะสมในตับ 
จากการสร้างของตับ 
โครงสร้างของคอเลสเตอรอล
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 22 
 แม้ว่าคอเลสเตอรอลจะมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีปริมาณมาก จะสะสมและเกาะที่ผนังเส้นเลือด 
ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ถ้าเกิดกับเส้นเลือดใหญ่ที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ 
คอเลสเตอรอล แบ่งเป็น 2 ชนิด 
LDLs คือ Low-density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ 
เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ 
สำหรับคอเลสเตอรอลส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง 
และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง 
ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่าคอเลสเตอรอลชนิด "ร้าย" 
พบในอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัว (saturated fat) เช่น ไขมันสัตว์ ไข่ เนย ชีส ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ เป็นต้น 
HDLs คือ High-density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี 
เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน จึงเรียกว่าคอเลสเตอรอลชนิด " ดี" 
ร่างกายสังเคราะห์ และพบในอาหาร เช่น ถั่วและธัญพืช เป็นต้น 
คอเลสเตอรอลมีผลต่อหัวใจอย่างไร 
เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับคอเลสเตอรอล เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับคอเลสเตอรอล 
ทำให้ LDLs ต้องนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ 
ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาด 
หลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจาก 
เหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และ 
อาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ 
--------------------ดังนั้น หากร่างกายมี LDLs มากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูง---------------------------------------- 
2) ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติคอยด์ 
เกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมสมดุลของน้ำ รวมทั้งกระบวนการเผาผลาญโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต 
ตัวอย่างเช่น คอร์ติซอล จะทำหน้าที่ชะลอการสร้างโปรตีน เป็นต้น 
3) ฮอร์โมนเพศ 
ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) 
ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างกล้ามเนื้อและเสียงของเพศชาย 
ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ 1) โพรเจสเทอโรน (progesterone) ทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผนังมดลูกในระหว่างที่มี 
การตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือน 
2) เอสโตรเจน (estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศและ 
แสดงลักษณะเพศหญิง รวมทั้งควบคุมการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกก่อนและหลังมีประจำเดือน 
โครงสร้าง มีดังนี้ 
Testosterone Progesterone 
4) กรดน้ำดี 
- ผลิตจากคอเลสเทอรอลที่ตับ และเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี กรดน้ำดีที่สำคัญ ได้แก่ กรดโคลิก ซึ่งทำหน้าที่ช่วยย่อยไขมัน 
ในลำไส้เล็ก และยังช่วยละลายคอเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารได้ด้วย จึงเป็นสารที่มีส่วนช่วยกำจัดคอเลสเทอรอลในร่างกาย
4. กรดนิวคลิอิก 
 กรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) เป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด พบครั้งแรก โดย ฟรีดิช มิเซอร์ 
(Friedrich Miescher) ในปี ค.ศ.1870 (พ.ศ. 2413) และตั้งชื่อว่า นิวคลีอิน (Nuclein) ต่อมา เมื่อพบว่า มีสภาพเป็นกรด 
จึงได้ชื่อว่า กรดนิวคลีอิก 
 กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) คือสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ 
(1) เป็นสารพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานในรุ่นต่อไปได้ 
(2) ทำหน้าที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำลองดีเอ็นเอ (DNA replication) ในกระบวนการแบ่งเซลล์ (cell division) 
(3) ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลพันธุกรรมโดยผ่านอาร์เอ็นเอ (RNA) 
มีหลายการทดลองที่ยืนยันว่ากรดนิวคลิอิค มี 2 ชนิด deoxyribonucleic acid (DNA) และ ribonucleic acid (RNA) 
 กรดนิวคลีอิกเป็นสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่และซับซ้อนมาก ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน หน่วยย่อยนี้ 
เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ 
 กรดนิวคลีอิกจัดเป็นพอลิเมอร์ เมื่อถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ 
 โครงสร้างของนิวคลิโอไทด์ มี 3 ส่วน ดังนี้ 
1. ไนโตรเจนเบส (Nitrogenous base) เป็นเบสที่เป็นวงและมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 
1.1) พิวรีน (Purine) เบสที่มีวงแหวน 2 วง มี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (Adenine หรือใช้อักษรย่อ A) 
กวานีน (Guanine หรือใช้อักษรย่อ G) 
1.2) ไพริมิดีน (Pyrinidine) เป็นเบสที่มีวงแหวน 1 วง มี 2 ชนิด เช่นกันคือ ไทมีน (Thymine) หรือใช้อักษรย่อ T) 
ไซโทซีน (Cytosine หรือ ใช้อักษรย่อ C) 
2. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม (Pentose sugar) ได้แก่ 
2.1) น้ำตาลไรโบส (Ribose sugar) มีสูตร C5H10O5 
2.2) น้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) มีสูตร C5H10O4 ซึ่งมีออกซิเจนน้อยกว่าน้ำตาลไรโบส 1 อะตอม 
3. หมู่ฟอสเฟต (Phosphate group) 
โครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ มีลักษณะ ดังนี้ 
สรุป โครงสร้างของนิวคลิโอไทด์ มีหลายแบบ ขึ้นอยุ่กับชนิดของเบสและน้ำตาล 
นิวคลิโอไทด์ (หน่วยย่อย) หลายหน่วยมารวมกัน เรียก กรดนิวคลิอิก 
โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 23
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล
บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล

More Related Content

What's hot

เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
Wan Ngamwongwan
 
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์ratchaneeseangkla
 
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนMaruko Supertinger
 
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุลเคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
Wichai Likitponrak
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหารวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
Katewaree Yosyingyong
 
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
Sukanya Nak-on
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2Tanchanok Pps
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีJariya Jaiyot
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1Tanchanok Pps
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnflimgold
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
Sircom Smarnbua
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
oraneehussem
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์Arocha Chaichana
 
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสสารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบส
Wuttipong Tubkrathok
 
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
Srinakharinwirot University
 
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์Maruko Supertinger
 
ใบงานพื้นฐานกรดเบส
ใบงานพื้นฐานกรดเบสใบงานพื้นฐานกรดเบส
ใบงานพื้นฐานกรดเบสJariya Jaiyot
 
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
พัน พัน
 
บทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมีบทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมี
oraneehussem
 
Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์
Dr.Woravith Chansuvarn
 

What's hot (20)

เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
เฉลยชีววิทยาหน้า52- 59
 
เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์เคมีอินทรีย์
เคมีอินทรีย์
 
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคนปฏิกิริยาชองแอลเคน
ปฏิกิริยาชองแอลเคน
 
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุลเคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
เคมีพื้นบท3สารชีวโมเลกุล
 
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหารวิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
วิทยาศาสตร์กายภาพ 1 เรื่อง อาหาร
 
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอนใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
ใบงานที่ 2 การจัดเรียงอิเล็กตรอน
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 2
 
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
เอกสารประกอบการเรียน เคมีอินทรีย์ 1
 
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarnข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
ข้อสอบวิชาชีววิทยา+เฉลย By: Meriya Lertsirikarn
 
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
1 ความหมายอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี
 
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
บทที่9 ไฟฟ้าเคมี (สำรอง)
 
ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์ปริมาณสารสัมพันธ์
ปริมาณสารสัมพันธ์
 
สารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบสสารละลายกรด-เบส
สารละลายกรด-เบส
 
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
ใบความรู้ เรื่อง การทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
 
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์
แบบฝึกหัดารอ่านชื่อแอลเคน แอลีน อแลไคน์
 
ใบงานพื้นฐานกรดเบส
ใบงานพื้นฐานกรดเบสใบงานพื้นฐานกรดเบส
ใบงานพื้นฐานกรดเบส
 
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
ใบความรู้ เรื่อง พลังงานความร้อน วิทยาศาสตร์ 2 ว 21102
 
บทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมีบทที่ 2 พันธะเคมี
บทที่ 2 พันธะเคมี
 
Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์Polymer : พอลิเมอร์
Polymer : พอลิเมอร์
 

Similar to บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล

ชีวเคมี
ชีวเคมีชีวเคมี
ชีวเคมี
Wichai Likitponrak
 
ใบงานที่20 protein
ใบงานที่20 proteinใบงานที่20 protein
ใบงานที่20 proteinTANIKAN KUNTAWONG
 
Protein
Protein Protein
Protein 34361
 
สารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลสารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลkruaoijaipcccr
 
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
kasidid20309
 
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)kruaoijaipcccr
 
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cell
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cellการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cell
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cellsupreechafkk
 
Hr3 Lipid Fth 467 4
Hr3 Lipid Fth 467 4Hr3 Lipid Fth 467 4
Hr3 Lipid Fth 467 4off5230
 
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกTANIKAN KUNTAWONG
 
Protein
Protein Protein
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลแบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลmaechai17
 
Energy of cell mutipoint
Energy of cell mutipointEnergy of cell mutipoint
Energy of cell mutipointsupreechafkk
 
ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
 ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t) ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
kasidid20309
 
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
kasidid20309
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2nattapong01
 
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & deathBacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
pitsanu duangkartok
 

Similar to บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล (20)

ชีวเคมี
ชีวเคมีชีวเคมี
ชีวเคมี
 
ใบงานที่20 protein
ใบงานที่20 proteinใบงานที่20 protein
ใบงานที่20 protein
 
Protein
Protein Protein
Protein
 
สารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุลสารชีวโมเลกุล
สารชีวโมเลกุล
 
ไอโบโมเลกุล
ไอโบโมเลกุลไอโบโมเลกุล
ไอโบโมเลกุล
 
Protein
ProteinProtein
Protein
 
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
เรื่องสารเคมีภายในเซลล์ cytochemistry ตอนที่ 2
 
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
สารชีวโมเลกุล(Biomolecule)
 
สมร
สมรสมร
สมร
 
สมร
สมรสมร
สมร
 
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cell
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cellการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cell
การสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน - Energy of cell
 
Hr3 Lipid Fth 467 4
Hr3 Lipid Fth 467 4Hr3 Lipid Fth 467 4
Hr3 Lipid Fth 467 4
 
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิกใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
ใบงานที่21กรดนิวคลีอิก
 
Protein
Protein Protein
Protein
 
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุลแบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
แบบทดสอบสารชีวโมเลกุล
 
Energy of cell mutipoint
Energy of cell mutipointEnergy of cell mutipoint
Energy of cell mutipoint
 
ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
 ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t) ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
ชีววิทยาเรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular respiration (t)
 
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
เรื่อง การหายใจระดับเซลล์ cellular rispiration น้องๆสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติ...
 
สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2สารชีวโมเลกุล2
สารชีวโมเลกุล2
 
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & deathBacterial nutrition, metabolism, growth & death
Bacterial nutrition, metabolism, growth & death
 

More from oraneehussem

ใบงาน 17.1 17.3
ใบงาน 17.1 17.3ใบงาน 17.1 17.3
ใบงาน 17.1 17.3
oraneehussem
 
ใบงาน 15.1
ใบงาน 15.1ใบงาน 15.1
ใบงาน 15.1
oraneehussem
 
ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3
oraneehussem
 
ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1
oraneehussem
 
ใบงาน 11.1
ใบงาน 11.1ใบงาน 11.1
ใบงาน 11.1
oraneehussem
 
ใบงาน 10.1 10.2
ใบงาน 10.1 10.2ใบงาน 10.1 10.2
ใบงาน 10.1 10.2
oraneehussem
 
ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3
oraneehussem
 
ใบงาน 8.1 8.2
ใบงาน 8.1 8.2ใบงาน 8.1 8.2
ใบงาน 8.1 8.2
oraneehussem
 
ใบงาน 7.1 7.3
ใบงาน 7.1 7.3ใบงาน 7.1 7.3
ใบงาน 7.1 7.3
oraneehussem
 
ใบงาน 6.1 6.4
ใบงาน 6.1 6.4ใบงาน 6.1 6.4
ใบงาน 6.1 6.4
oraneehussem
 
ใบงาน 2.1 2.3
ใบงาน 2.1 2.3ใบงาน 2.1 2.3
ใบงาน 2.1 2.3
oraneehussem
 
ใบงาน 4.1 4.3
ใบงาน 4.1 4.3ใบงาน 4.1 4.3
ใบงาน 4.1 4.3
oraneehussem
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2
oraneehussem
 
ใบงาน 2.1
ใบงาน 2.1ใบงาน 2.1
ใบงาน 2.1
oraneehussem
 
ใบงาน 1.1
ใบงาน 1.1ใบงาน 1.1
ใบงาน 1.1
oraneehussem
 
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
oraneehussem
 
สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556
oraneehussem
 
Onet เคมี M6
Onet เคมี M6Onet เคมี M6
Onet เคมี M6oraneehussem
 
บทที่1อะตอมและตารางธาตุ
บทที่1อะตอมและตารางธาตุบทที่1อะตอมและตารางธาตุ
บทที่1อะตอมและตารางธาตุ
oraneehussem
 
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
oraneehussem
 

More from oraneehussem (20)

ใบงาน 17.1 17.3
ใบงาน 17.1 17.3ใบงาน 17.1 17.3
ใบงาน 17.1 17.3
 
ใบงาน 15.1
ใบงาน 15.1ใบงาน 15.1
ใบงาน 15.1
 
ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3ใบงาน 14.1 14.3
ใบงาน 14.1 14.3
 
ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1ใบงาน 12.1
ใบงาน 12.1
 
ใบงาน 11.1
ใบงาน 11.1ใบงาน 11.1
ใบงาน 11.1
 
ใบงาน 10.1 10.2
ใบงาน 10.1 10.2ใบงาน 10.1 10.2
ใบงาน 10.1 10.2
 
ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3ใบงาน 9.1 9.3
ใบงาน 9.1 9.3
 
ใบงาน 8.1 8.2
ใบงาน 8.1 8.2ใบงาน 8.1 8.2
ใบงาน 8.1 8.2
 
ใบงาน 7.1 7.3
ใบงาน 7.1 7.3ใบงาน 7.1 7.3
ใบงาน 7.1 7.3
 
ใบงาน 6.1 6.4
ใบงาน 6.1 6.4ใบงาน 6.1 6.4
ใบงาน 6.1 6.4
 
ใบงาน 2.1 2.3
ใบงาน 2.1 2.3ใบงาน 2.1 2.3
ใบงาน 2.1 2.3
 
ใบงาน 4.1 4.3
ใบงาน 4.1 4.3ใบงาน 4.1 4.3
ใบงาน 4.1 4.3
 
ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2ใบงาน 3.1 3.2
ใบงาน 3.1 3.2
 
ใบงาน 2.1
ใบงาน 2.1ใบงาน 2.1
ใบงาน 2.1
 
ใบงาน 1.1
ใบงาน 1.1ใบงาน 1.1
ใบงาน 1.1
 
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
สารสนเทศ โรงเรียนบางสะพานน้อยวิทยาคม ปีการศึกษา 2557
 
สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556สารสนเทศ 2556
สารสนเทศ 2556
 
Onet เคมี M6
Onet เคมี M6Onet เคมี M6
Onet เคมี M6
 
บทที่1อะตอมและตารางธาตุ
บทที่1อะตอมและตารางธาตุบทที่1อะตอมและตารางธาตุ
บทที่1อะตอมและตารางธาตุ
 
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
บทที่12 เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์
 

Recently uploaded

การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
RSapeTuaprakhon
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (11)

การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่นการเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
การเคลื่อนที่ของคลื่น ปรากฎการคลื่นกล ความเร็วคลื่น ส่วนประกอบของคลื่น
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 

บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล

  • 1. บทที่ 13 สารชีวโมเลกุล เรื่องที่นักเรียนจะต้องเรียน มีดังนี้ 13.1 โปรตีน  กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์  โครงสร้างของโปรตีน  ชนิดและหน้าที่ของโปรตีน  เอนไซม์  การแปลงสภาพโปรตีน 13.2 คาร์โบไฮเดรต  ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  สมบัติและปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 13.3 ลิพิด  ไขมันและน้ำมัน  ฟอสโฟลิพิด  ไข  สเตอรอยด์ 13.4 กรดนิวคลิกอิก  โครงสร้างของนิวคลิโอไทดื DNA และ RNA โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 1
  • 2. สารชีวโมเลกุล โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 2 อาหาร คือ สิ่งที่ร่างกายรับไปแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ต่าง ๆ ต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ในกิจกรรม ต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิต ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต ให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทำงานปกติ ซ่อมแซมอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายที่เสื่อมโทรม และเพิ่มภูมิต้านทานโรค (สร้างภูมิคุ้มกัน) เป็นต้น ความสำคัญของอาหาร 1. เป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย โดยร่างกายจะสลายอาหารด้วยกระบวนการหายใจ เพื่อนำพลังงานเคมีที่สะสม อยู่ในโมเลกุลของอาหารมาใช้ประโยชน์ พลังงานเคมีนี้อยู่ในรูป ADP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งเป็นสารที่สะสมพลังงานที่อยู่ในสิ่งมีชีวิต 2. ช่วยควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย โดยสารอาหารบางประเภทให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต ส่วนสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ช่วยให้การทำงานของ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้ราบรื่นได้แก่ วิตามิน และ แร่ธาตุ 3. เป็นวัตถุดิบในการสร้างสารต่าง ๆ ในร่างกาย โดยสารอาหารจะถูกนำไปใช้สร้างสารที่ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารภูมิคุ้มกัน (antibody) เป็นต้น 4. เป็นวัตถุดิบในการสร้างเนื้อเยื่อและซ่อแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายให้มีสภาพดีเหมือนเดิม หรือ ใกล้เคียงสภาพเดิม สารอาหาร (nutrient) เป็นสารเคมีที่ประกอบอยู่ในอาหารที่ร่างกายต้องการในชีวิตประจำวัน ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามความต้องการของร่างกาย ดังนี้ 1. สารอาหารที่ต้องการในปริมาณมาก (macronutrient) ได้แก่ โปรตีน คาร์บอนไดออกไซด์ และไขมัน สารอาหารกลุ่มนี้ทำหน้าที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ร่างกายใช้น้ำย่อยย่อยให้โมเลกุลมีขนาดเล็กก่อนที่จะดูดซึเข้าสู่เซลล์ 2. สารอาหารที่ต้องการในปริมาณน้อย (micronutrient) ได้แก่ วิตามิน และเกลือแร่ชนิดต่าง ๆ สารอาหารกลุ่มนี้ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ถึงแม้ร่างกายจะต้องการน้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายสร้าง ขึ้นเอง ไม่ได้ หรือสร้างขึ้นได้แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องรับประทานเข้าไป มีโมเลกุลขนาดเล็ก ซึ่งเล็กพอที่จะเข้าสู่เซลล์ได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการย่อย สารอาหาร สารอินทรีย์ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน สารอนินทรีย์ แร่ธาตุ น้ำ สารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย
  • 3. นักเรียนได้ศึกษาเกี่ยวกับสมบัติและโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนมาแล้ว ต่อไปนี้จะได้ศึกษาถึงสารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนของสิ่งมีชีวิต สารประกอบไฮโดรคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิตทั่ว ๆ ไป ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ กรดนิวคลีอิก รวม เรียกสารเหล่านี้ว่า สารชีวโมเลกุล สารชีวโมเลกุล (Biomolecule compounds) คือ  สารอินทรีย์ที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก (สารประกอบไฮโดรคาร์บอน)  มีโมเลกุลขนาดใหญ่ พบอยู่ทั่วไปในสิ่งมีชีวิตนั้น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน/น้ำมัน และกรดนิวคลิอิก  สารชีวโมเลกุลทั้ง 4 ชนิดนี้ ประกอบด้วยธาตุหลักเหมือนกัน คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน แต่ต่างกันที่โครงสร้างและ อัตราส่วนของแต่ละธาตุ สำหรับโปรตีนมีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบด้วย ส่วนกรดนิวคลิอิกมีธาตุที่เป็นองค์ประกอบเพิ่มอีก คือ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส  สารชีวโมเลกุลประเภท โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน/น้ำมัน เมื่อเข้าสู่ร่างกายต้องผ่านกระบวนการย่อย (ไฮโดรลิซิส) ให้เป็นโมเลกุลเล็กก่อนเข้าสู่เซลล์ เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ได้ โปรตีน การย่อย กรดอะมิโน คาร์โบไฮเดรต การย่อย กลูโคส ไขมันและน้ำมัน การย่อย กรดไขมัน  สารชีวโมเลกุลมีบทบาทสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต ดังนี้  ใช้ในการเจริญเติบโต  เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาดสมดุลของน้ำ และกรด-เบส  เป็นส่วนประกอบของฮอร์โมน เอนไซม์ และระบบภูมิคุ้มกัน  สลายพลังงาน  ถ่ายทอดลักษณะพันธุกรรม  ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น สุขภาพผมและเล็บดี  นักเรียนจะได้ศึกษาถึงโครงสร้าง สมบัติ และการเกิดปฏิกิริยาของสารทั้ง 4 กลุ่ม (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และกรดนิวคลิอิก) ดังนี้ 1. โปรตีน (Proteins) Fdfd  เป็นสารชีวโมเลกุลที่พบมากที่สุดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต (โดยเฉลี่ยในเซลล์พืชและสัตว์มีโปรตีนอยู่มากกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักแห้ง  นักเคมีชาวฮอลล์แลนด์ชือ ดี.เจ. มูลเดอร์ (D.J. Mulder) เป็นผู้ตั้งชื่อ โปรตีน (ภาษากรีกแปลว่า มาเป็นลำดับหนึ่ง) หรือกล่าวได้ว่าโปรตีนมีความสำคัญเป็นลำดับหนึ่ง  โปรตีนมีมวลโมเลกุลมาก (หลายพัน-หลายล้าน) จึงจัดเป็นสารทีมีโมเลกุลขนาดใหญ่ หรือเป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติ  โปรตีนเป็นสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างสลับซับซ้อน ประกอบด้วยธาตุที่สำคัญ 4 ธาตุ คือ C , H , O , N ยังมีธาตุอื่นเป็นองค์ประกอบอีกด้วย เช่น กำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก สังกะสี ทองแดง โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 3
  • 4.  หน่วยย่อยของโปรตีน คือ กรดอะมิโน (หรือกล่าวได้ว่า กรดอะมิโนเป็นมอนอเมอร์ของโปรตีน)  โปรตีนจึงประกอบด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไตด์ (peptide bond) ซึ่งเป็นพันธะโคเวเลนต์ ระหว่างอะตอมของคาร์บอนในหมู่คาร์บอนิลของกรดอะมิโนในโมเลกุลหนึ่ง กับ อะตอมของไนโตรเจนในหมู่อะมิโน ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่ง กรดอะมิโน 1.1 กรดอะมิโนและพันธะเพปไทด์  โครงสร้างกรดอะมิโน โครงสร้างของโปรตีน กรดอะมิโนในธรรมชาติมีอยู่ประมาณ 20 ชนิด ที่พบในโปรตีนจากสัตว์และพืช สูตรทั่วไปของกรดอะมิโน จากสูตรโครงสร้างทั่วไป ทำให้ทราบว่ากรดอะมิโนทุกโมเลกุล ประกอบด้วย  หมู่ฟังก์ชันที่สำคัญมีอยู่ 2 หมู่ คือ หมู่อะมิโน (-NH2) อย่างน้อย 1 หมู่ และ หมู่คาร์บอกซิล (-COOH) อย่างน้อย 1 หมู่ ซึ่งเกาะที่คาร์บอนตัวเดียวกัน เรียกตำแหน่งคาร์บอนดังกล่าวว่า แอลฟาคาร์บอน  กรดอะมิโนแต่ละชนิดจะมีส่วนแตกต่างกัน คือ โซ่ข้าง (side chains) ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้กรดอะมิโนแต่ละชนิดมี สมบัติแตกต่างกัน  โซ่ข้าง(side chains)ในกรดอะมิโนมีผลทำให้กรดอะมิโนมีสมบัติแตกต่างกัน โดยที่โซ่ข้างอาจมีสมบัติ ดังนี้  ไม่มีขั้ว (nonpolar sidechains)  มีขั้วและเป็นกลาง (polar sidechains , neutral sidechains)  มีสมบัติเป็นกรด (acidic sidechains)  มีสมบัติเป็นเบส (basic sidechains) โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 4
  • 5. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 5  กรดอะมิโนแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. กรดอะมิโนชนิดจำเป็น (essential amino acid) หมายถึง กรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้เอง ต้องได้รับจาก การบริโภคอาหารเท่านั้น สำหรับผู้ใหญ่มี 8 ชนิด และสำหรับเด็กมี 9 ชนิด (เพิ่มฮิสติดีนอีก 1 ชนิด) ดังตาราง 2. กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น (non- essential amino acid) หมายถึง กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง มี ทั้งหมด 11 ชนิด ดังตาราง ที่ กรดอะมิโนชนิดจำเป็น กรดอะมิโนชนิดไม่จำเป็น ชื่อ สัญลักษณ์ ชื่อ สัญลักษณ์ 1 * ฮิสติดีน (Histidine) (พบในเด็ก) His ไกลซีน (Glycine) Gly 2 ไอโซลิวซีน (Isoleucine) Ile อะลานีน (Alanine) Ala 3 ลิวซีน (Leucine) Leu กรดแอสปาร์ติก (Aspartic acid) Asp 4 ไลซีน (Lysine) Lys โปรลีน (Proline) Pro 5 วาลีน (Valine) Val กรดกลูตามิก (Glutamic acid) Glu 6 ทรีโอนีน (Threonine) Thr อาร์จินีน (Arginine) Arg 7 ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) Phe ซีรีน (Serine) Ser 8 ทริปโตเฟน (Tryptophan) Trp กลูตามีน (Glutamine) Gln 9 เมไทโอนีน (Methionine) Met แอสปาราจีน (Asparagine) Asn 10 ไทโรซีน (Tyrosine) Tyr 11 ซิสเตอีน (Cysteine) Cys  พันธะเพปไทด์  เมื่อนำโปรตีนมาไฮโดรไลส์จะได้กรดอะมิโนจำนวนมาก กรดอะมิโนต่าง ๆ ในโมเลกุลของโปรตีนเชื่อมต่อกันเป็นโซ่ยาวด้วยพันธะที่เรียกว่า พันธะเพปไทด์ (Peptide bond)  เกิดจากปฏิกิริยาระหว่าง –OH ในหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) ของโมเลกุลหนึ่งของกรดอะมิโน กับ –H ในหมู่อะมิโน (-NH2) ในอีกโมเลกุลหนึ่งของกรดอะมิโน จะได้ H2O ส่วนที่เหลือจะเกิดพันธะโคเวเลนต์ ที่เรียกว่า พันธะเพปไทด์ ดังรูป รูปแสดงการเกิดพันธะเพปไทด์  พันธะที่เกิดจากกรดอะมิโน 2 หน่วย พันธะเพปไทด์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า ไดเพปไทด์ (dipeptide)  พันธะที่เกิดจากกรดอะมิโน 3 หน่วย พันธะเพปไทด์ที่เกิดขึ้น เรียกว่า ไตรเพปไทด์ (tripeptide)  พันธะเพปไทด์ที่เกิดจากกรดอะมิโน 4 , 5 , 6 หน่วย เรียก เตตระเพปไทด์ (tetrapeptide) เพนตะเพปไทด์ (pentapeptide) และ เฮกซะเพปไทด์ (hexapeptide)  กรดอะมิโนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์ เรียกว่า พอลีเพปไทด์ (Polypeptide)  กรดอะมิโนมากกว่า 50 โมเลกุลมาเชื่อมต่อกันด้วยพันะเพปไทด์ เรียกว่า โปรตีน
  • 6. 1.2 โครงสร้างของโปรตีน  กรดอะมิโน 2 โมเลกุลเกิดปฏิกิริยารวมตัวกันได้สารประกอบที่เรียกว่า ไดเพปไทด์ กรดอะมิโน 3 โมเลกุลเกิดปฏิกิริยารวมตัวกันได้สารประกอบที่เรียกว่า ไตรเพปไทด์ ถ้ากรดอะมิโนหลาย ๆ โมเลกุลทำปฏิกิริยากันจนเกิดเป็นสายยาว จะได้สารประกอบที่เรียกว่า พอลิเพปไทด์  โปรตีนส่วนใหญ่เป็นพอลิเพปไทด์ที่มีมวลโมเลกุลมากกว่า 5,000 ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนหลายชนิดและมีจำนวนแตกต่าง กัน ยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะเพปไทด์และพันธะชนิดอื่นๆ ทำให้โปรตีนมีโครงสร้าง 4 ระดับ (โดยใช้โครงสร้างทางเคมีเป็นเกณฑ์) ดังนี้ 1. โครงสร้างปฐมภูมิ (primary structure) เป็นโครงสร้างที่แสดงลำดับกรดอะมิโนในสายเพปไทด์หรือในโมเลกุลของโปรตีน การจัดลำดับกรดอะมิโนในโครงสร้างปฐมภูมิจะกำหนดให้ปลายหมู่อะมิโน (–NH2) อยู่ด้านซ้าย และปลายหมู่คาร์บอกซิล (-COOH) อยู่ด้านขวา ดังรูป รูป โครงสร้างปฐมภูมิ เช่น Gly-Ala-Tyr-His อ่านว่า glycylalanyltyrosylhistidine โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 6
  • 7. ถ้าจำนวนกรดอะมิโนมาเชื่อมต่อกันมากขึ้น ส่วนใหญ่ไม่อยู่ในรูปโซ่ยาว แต่จะมีการม้วนหรือพับเข้าหากัน เนื่องจากมีการสร้างพันธะระหว่างกรดอะมิโนภายในสายเพปไทด์หรือระหว่างสายเพปไทด์ ทำให้เกิดโครงสร้าง 3 มิติ ที่มีลักษณะจำเพาะที่แตกต่างกันอีก 3 แบบ ดังนี้ 2. โครงสร้างทุติยภูมิ (secondary structure) เป็นโครงสร้างที่เกิดจากการขดหรือม้วนตัวของโครงสร้างปฐมภูมิ โดยที่  ถ้าเกิดจากการสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่าง C=O ของกรดอะมิโนหนึ่งกับ N-H ของกรดอะมิโนถัดไปอีก 4 หน่วยในสายพอลิเพปไทด์เดียวกัน จะเกิดโครงสร้างในลักษณะบิดเป็นเกลียว เรียกว่า เกลียวแอลฟา ( helix)  ถ้าเกิดจากการสร้างพันธะไฮโดรเจนระหว่าง C=O ของกรดอะมิโนหนึ่งกับ N-H ของกรดอะมิโนระหว่างพอลิ เพปไทด์ที่อยู่คู่กัน จะเกิดโครงสร้างมีลักษณะเป็นแผ่น เรียกว่า แผ่นพลีทบีต้า ( -pleated sheet)  นอกจากพันธะไฮโดรเจนแล้วยังมีพันธะอื่น ๆ อีก เช่น พันธะไอออนิก พันธะไดซัลไฟต์ (S-S) ซึ่งพันธะเหล่านี้ ล้วนมีส่วนช่วยให้โครงสร้างทุติยภูมิอยู่ตัวได้  สรุป โครงสร้างทุติยภูมิมี 3 ส่วน คือ  ส่วนที่เป็นเกลียวแอลฟา (alpha helix)  ส่วนที่เป็นแผ่นพลีทบีต้า (Beta-pleated sheet)  ส่วนที่ไม่ใช่เกลียวแอลฟา (Random coil) รูปแสดงโครงสร้างทุติยภูมิ โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 7
  • 8. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 8 3. โครงสร้างตติยภูมิ (tertiary structure) เกิดจากโครงสร้างเกลียวแอลฟา (alpha helix) แผ่นพลีทบีต้า (Beta-pleated sheet ) และบริเวณที่ไม่ใช่เกลียวแอลฟา (Random coil) ม้วนเข้าหากันได้โครงสร้าง 3 มิติ และไขว้กันโดยมีแรงยึดเหนี่ยวอ่อน ๆ คล้ายโครงสร้างทุติยภูมิ 4. โครงสร้างจตุรภูมิ (Quaternary structure) เกิดจากการรวมตัวของหน่วยย่อยเดียวกัน หรือต่างกันของโครงสร้างตติยภูมิ (โดยมีแรงยึดเหนี่ยวเหมือนกับใน โครงสร้างทุติยภูมิและตติยภูมิ) ลักษณะโครงสร้างใหม่ขึ้นกับโครงสร้างตติยภูมิซึ่งเป็นหน่วยย่อย โดยอาจรวมตัว เป็นลักษณะก้อนกลม เช่น ฮีโมลโกลบิน หรือเป็นมัดคล้ายเส้นใย เช่น คอลลาเจน โครงสร้างจตุรภูมิของโปรตีนที่พบมากมีรูปร่าง 2 แบบ คือ โปรตีนก้อนกลม และ โปรตีนเส้นใย โครงสร้างปฐมภูมิ โครงสร้างทุติยภูมิ โครงสร้างจตุรภูมิ โครงสร้างตติยภูมิ เช่น คอลลาเจน (โปรตีนเป็นมัดเส้นใย) , ฮีโมลโกลบิน (โปรตีนก้อนกลม) ดังรูป
  • 9. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 9 1.3 ชนิดและหน้าที่ของโปรตีน  โปรตีนมีหลายชนิด หน้าทีของโปรตีนแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับโครงสร้าง 3 มิติของโปรตีนนั้น และโครงสร้าง ของโปรตีนก็ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนที่เป็นองค์ประกอบของสายพอลิเพปไทด์  สามารถแบ่งโปรตีนตามลักษณะการจัดตัวในโครงสร้าง 3 มิติ แบ่งได้ ดังนี้ 1) โปรตีนก้อนกลม  เกิดจากสายพอลิเพปไทด์รวมตัวม้วนพับพันกันและอัดแน่นเป็นก้อนกลม  สามารถละลายน้ำได้ดี  ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการเมตาบอลิซึมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์  เช่น เอนไซม์ ฮีโมลโกลบิน ฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น 2) โปรตีนเส้นใย  เกิดจากสายพอลิเพปไทด์หลายสายเรียงขนานกันและขดเป็นเกลียวเหมือนเชือก  สามารถละลายน้ำได้น้อย  ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เป็นโปรตีนโครงสร้าง เพราะมีความแข็งแรง และยืดหยุ่นสูง  เช่น ไฟโบรอินในเส้นไหม อิลาสตินในเอ็น คอลลาเจนในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน เคราตินในเส้นผม ขน เล็บ ไมโอซินในกล้ามเนื้อ เป็นต้น 1.4 เอนไซม์ (Enzyme)  เอนไซม์ คือ  โปรตีนก้อนกลม  ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในเซลล์สิ่งมีชีวิต โดยการลดพลังงานก่อกัมมันต์และทำให้อนุภาคของสารตั้งต้นรวมตัวกับ เอนไซม์ได้อย่างเหมาะสม มีผลให้ปฏิกิริยาเกิดเร็วขึ้น  เอนไซม์ทำงานเหมือนตัวเร่งปฏิกิริยาทั่ว ๆ ไป คือในขณะที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาจะไม่แตกสลายหรือเปลี่ยนแปลงไป  สมบัติพิเศษของเอนไซม์  มีความจำเพาะต่อปฏิกิริยาหรือมีความจำเพาะต่อสารที่เข้าทำปฏิกิริยาชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น เพราะมีรูปร่างที่พอเหมาะกัน พอดีกับตัวรับ (สับสเตรต) อันเป็นผลให้ร่างกายสามารถควบคุมปฏิกิริยาต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  การทำงานของเอนไซม์  เริ่มจากสารตั้งต้น (สับสเตรต) เข้าจับกับเอนไซม์ และเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด  เกิดเป็นสารประกอบเชิงซ้อนที่เรียกว่า enzyme-substrate complex ซึ่งสลายตัวต่อไป ได้ ผลิตภัณฑ์ กับเอนไซม์เดิม ปฏิกิริยาของเอนไซม์เขียนได้ ดังนี้ E + S ES P + E เอนไซม์ สับเสตรต สารเชิงซ้อน ผลิตภัณฑ์ เอนไซม์ Substrate A B Enzyme สารเชิงซ้อน Product (Enzyme –Substrate complex) Enzyme
  • 10.  บริเวณเร่งของเอนไซม์สามารถถูกเหนี่ยวนำให้เหมาะสมกับสับสเตรตที่เข้ามาจับหรืออาจเปลี่ยนแปลงรูปร่างได้  โดยทั่วไปเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ๆ สามารถทำปฏิกิริยาได้อย่างเฉพาะอย่างเท่านั้น เช่น อะไมเลสเป็นเอนไซม์ย่อยแป้ง ดังนั้น จึงพบว่ามีเอนไซม์หลายชนิดในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต และเอนไซม์บางชนิดอาจมีบริเวณเร่งมากกว่าหนึ่งบริเวณก็ได้  เนื่องจากเอนไซม์จะทำหน้าที่ต่อเมื่อจับกับสับเสตรตที่เหมาะสม ดังนั้นเอนไซม์จำนวนมากจึงมีชื่อเรียกตามชนิดของ สับเสตรต โดยลงเสียงท้ายเป็น เ-ส เช่น เอนไซม์ซูเครส เป็นเอนไซม์ย่อยซูโครส  ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์  ปริมาณสารตั้งต้น (สับสเตรต)  ถ้าเพิ่มปริมาณสับสเตรตมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ไม่เพิ่มปริมาณเอนไซม์ การเกิดปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้นจนถึงระดับหนึ่ง อัตราการเกิดปฏิกิริยาจะคงที่  อธิบายได้ว่า : เมื่อปริมาณสับสเตรตเพิ่มขึ้น แต่ความเข้มข้นของเอนไซม์อยู่ในปริมาณจำกัด ซึ่งเมื่อมันอยู่ในสภาวะ อิ่มตัวกับสับสเตรต (คือ ไปเร่งสับสเตรต) ส่วนปริมาณสับสเตรตที่เกิดจะต้องรอจนกว่าเอนไซม์จะเปลี่ยนสับสเตรตไปเป็นผลิตภัณฑ์ ก่อน และได้เอนไซม์อิสระกลับคืนมาแล้วกลับไปเร่งสับสเตรตส่วนที่เกินมา  ปริมาณเอนไซม์  ถ้ามีเอนไซม์มากจะทำให้ปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นอัตราการเกิดปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีตัวเร่ง ปฏิกิริยาจะเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยา  อธิบายได้ว่า ในทางปฏิบัตินั้น ปริมาณเอนไซม์ใช้น้อยกว่าปริมาณสับสเตรต อัตราการเกิดปฏิกิริยาจึงขึ้นอยู่กับ ความเข้มข้นของเอนไซม์ อัตราการเกิดปกิกิริยา ความเข้มข้นของสับสเตรต อัตราการเกิดปกิกิริยา ความเข้มข้นของเอนไซม์ โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 10
  • 11.  pH โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 11  เอนไซม์มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง pH โดย pH ไม่ว่าสูงหรือต่ำมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของ เอนไซม์ได้ เอนไซม์แต่ละชนิดจะทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาได้ดีที่ pH ค่าหนึ่ง เรียกว่า pH ที่เหมาะสมที่สุด (Optimum pH) ประมาณ 7.0-7.5  อธิบายได้ว่า pH มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไฮโดรเนียมไอออน มีผลต่อการแตกตัวของส่วนที่เป็น กรดและเบสในเอนไซม์และสับสเตรต  อุณหภูมิ อัตราการเกิดปกิกิริยา pH 7  เอนไซม์แต่ละชนิดทำงานได้ดีที่สุดช่วงอุณหภูมิหนึ่งเท่านั้น โดยทั่วไปประมาณ 20-40 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงเกินไป เอนไซม์จะมีประสิทธิภาพลดลง เนื่องจากเอนไซม์ซึ่งเป็นโปรตีนจะถูกแปลงสภาพหมด จึงเข้ากับสารไม่ได้ 1.5 สมบัติของโปรตีน อัตราการเกิดปกิกิริยา อุณหภูมิ ประมาณ 37-40 องศาเซลเซียส  โปรตีนแต่ละชนิดมีจำนวนชนิดและลำดับการเรียงตัวของกรดอะมิโนที่แน่นอน ความแตกต่างของชนิดและลำดับการ จัดเรียงตัวของกรดอะมิโน มีผลต่อสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางเคมีของโปรตีน  โปรตีนบริสุทธิ์ ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น เมื่อได้รับความร้อนมาก ๆ โปรตีนจะเปลียนเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ และมีกลิ่นคล้ายผม หรือหนังสัตว์ไหม้ ละลายน้ำได้  โปรตีนจัดเป็นสารแอมโฟเทอริก (เป็นได้ทั้งกรดและเบส) คือปฏิกิริยากับกรดและเบสได้  หมู่แอลคิลของกรดอะมิโนในโปรตีนอาจเกิดพันธะไฮโดรเจนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดเป็นเกลียวหรือเป็นแผ่น ซึ่งจะมีการขดม้วนตัวโดยอาศัยแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกัน เช่น แรงแวนเดอวาลส์ พันธะไฮโดรเจน ทำให้เกิดโครงสร้างสามมิติ แรงยึดเหนี่ยวทั้งกล่าวถูกทำลายได้ง่าย จึงทำให้โครงสร้างสามมิติของโปรตีนเปลี่ยนไป เรียกว่า การแปลงสภาพโปรตีน (denatured) 1.6 การแปลงสภาพโปรตีน (denatured) ปัจจัยที่มีผลต่อการแปลงสภาพโปรตีน มีดังนี้  ความร้อนและแสงอัลตร้าไวโอเลต  จะให้พลังงานไปเพิ่มให้กับอะตอมในโมเลกุลของโปรตีนสั่นได้มากขึ้น จนสามารถทำลายพันธะไฮโดรเจน มีผลให้โปรตีนตกตะกอน เช่น การต้มหรือทอดไข่  ตัวทำละลายอินทรีย์  ตัวทำละลายอินทรีย์ที่มีพันธะไฮโดรเจน เช่น เอทานอล สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนขึ้นระหว่างโมเลกุลของโปรตีนได้ และจะทำลายพันธะไฮโดรเจนภายในโมเลกุลของโปรตีนทำให้โปรตีนแข็งตัวและละลายน้ำได้น้อยลง เช่น ใช้แอลกอฮอล์ ฆ่าเชื้อโรค โดยแอลกอฮอล์จะไปทำให้โปรตีนในแบคทีเรียในบริเวณผิวหนังสูญเสียสภาพธรรมชาติ
  • 12. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 12  กรดหรือเบส  กรดหรือเบสจะไปทำลายพันธะไอออนิก ทำให้โปรตีนตกตะกอน และถ้าโปรตีนสัมผัสกรดหรือเบสเป็นระยะเวลานาน ๆ จะ ทำให้พันธะเพปไทด์ถูกทำลายด้วย (กรดหรือเบสเข้าตาจึงทำให้เกิดการแปลงสภาพโปรตีนในดวงตา อาจตาบอดได้)  ไอออนของโลหะหนัก  ไอออนของโลหะหนัก เช่น Pb2+ Hg2+ และ Ag+ ไอออนเหล่านี้จะทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนด้านที่มีประจุลบ ทำให้ พันธะไอออนิกถูกทำลาย เกิดเป็นเกลือที่ไม่ละลายน้ำ ทบทวน เรื่อง สารประกอบอินทรีย์ • สารอินทรีย์เป็นสารที่มีธาตุ C , H , O , N , P , S เป็นองค์ประกอบ • สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า สารชีวโมเลกุล (biological molecule) • C + H = hydrocarbon • หมู่ฟังก์ชัน (functional group) คือ หมู่อะตอมหรือกลุ่มอะตอมของธาตุที่แสดงสมบัติเฉพาะของ สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง เช่น CH3OH (เมทานอล) CH3CH2OH(เอทานอล) ซึ่งต้องเป็นสารอินทรีย์ พวกแอลกอฮอล์ เพราะสารแต่ละชนิดต่างก็มีหมู่ -OH เป็นองค์ประกอบ แสดงหมู่ -OH เป็นหมู่ฟังก์ชัน ของแอลกอฮอล์
  • 13. 2. คาร์โบไฮเดรต โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 13  คาร์โบไฮเดรต หมายถึง คาร์บอนที่อิ่มตัวด้วยน้ำ  เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วย C , H , O  เป็นสารอินทรีย์ที่หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์ (-CHO) และหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) หรือหมู่คาร์บอนิล (-CO) และ หมู่ไฮดรอกซิล (-OH) เป็นหมู่ฟังก์ชัน  คาร์โบไฮเดรตเป็นสารชีวโมเลกุลอีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญ เนื่องจาก  ทำหน้าที่เป็นสารสะสมพลังงานสำหรับสิ่งมีชีวิตเกือบทุกชนิด  พบทั่วไปในชีวิตประจำวัน ได้แก่ น้ำตาล แป้ง เซลลูโลส และ ไกลโคเจน โดยส่วนใหญ่ที่พบ คือ แป้ง และเซลลูโลส ส่วนไกลโคเจน พบในเนื้อเยื่อ น้ำไขข้อในสัตว์และผนังเซลล์ 2.1 ชนิดและโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรต  โดยแป้ง/เซลลูโลส/ไกลโคเจน เกิดจาก กลูโคส (มอนอเมอร์) หลายโมเลกุลมารวมตัว เกิดเป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (พอลิเมอร์)  เมื่อพิจารณาโครงสร้างของแป้งและเซลลูโลส พบว่า ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่มีโครงสร้างเหมือนกัน จำนวนมาก มาเชื่อมต่อกันเป็นสายยาว แต่จำนวนหน่วยย่อย การสร้างพันธะของหน่วยย่อย และโซ่กิ่งในโครงสร้างของแป้ง และเซลลูโลสจะมีความแตกต่างกัน
  • 14. กลูโคส (glucose) โครงสร้างของน้ำตาลกลูโคส มีหลายแบบ เช่น โครงสร้างแบบโซ่เปิด (open-chain structure) และโครงสร้างสร้างแบบวง (cyclic หรือ ring structure) กลูโคสมีโครงสร้างแบบวง ที่มีขนาดของวง 6 H - C = O H - C - OH HO - C - H H - C - OH H - C - OH CH2OH โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 14 โครงสร้างแบบโซ่เปิดของกลูโคส (C6H12O6) โครงสร้างแบบวงของกลูโคส (C6H12O6)  ถ้าแบ่งโครงสร้างของคาร์โบไฮเดรตตามจำนวนหน่วยย่อย สามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้ 2.2 สมบัติของคาร์โบไฮเดรต 1) โมโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว  เป็นน้ำตาลหรือคาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กมาก ประกอบ คาร์บอน 3 ถึง 8 อะตอม  เป็นโครงสร้างพื้นฐานของ ไดแซ็กคาไรด์  สูตรทั่วไปเป็น (CH2O)n หรือ CnH2nOn โดยที่ n มีค่าตั้งแต่ 3 อะตอม ถึง 8 อะตอม O  มีหมู่ฟังก์ชั่นเป็น - C – H (หมู่คาร์บอกซาลดีไฮด์) และหมู่ -OH (ไฮดรอกซิล) เนื่องจากมีหมู่ -OH จำนวนมากจึงละลายน้ำได้ดี  โมโนแซ็กคาไรด์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างได้แก่ กลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากที่สุดในธรรมชาติ และเป็นแหล่งพลังงานหลักของสิ่งมีชีวิต ฟรุกโตส กาแลกโตส และแมนโนส ก็เป็นโมโนแซ็กคาไลด์ เช่นเดียวกัน มีสูตรโมเลกุลเหมือนกัน แต่สูตรโครงสร้างต่างกัน ตารางแสดงสูตรโครงสร้างของโมโนแซกคาไรด์ที่พบโดยทั่วไป ชื่อ สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง แหล่งที่พบและความสำคัญทั่วไป กลูโคส (glucose) C6H12O6 CHO H - C - OH HO - C - H H - C - OH H - C - OH CH2OH มีในพืช เช่น องุ่น น้ำผึ้ง อ้อย รวมทั้งเป็นส่วนประกอบของพอลิแซก คาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลใหญ่) ฟรุกโตส (fructose) C6H12O6 CH2OH C = O HO - C - H H - C - OH H - C - OH CH2OH มีในผลไม้ น้ำผึ่ง จัดว่าเป็นน้ำตาลที่มีความหวาน มากกว่ากลูโคส
  • 15. ชื่อ สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้าง แหล่งที่พบและความสำคัญทั่วไป กาแลกโตส C6H12O6 CHO (galactose) H - C - OH HO - C - H H - C - OH CH2OH HO - C - H เป็นส่วนประกอบของน้ำตาลในน้ำนม พบในไกลโคไลปิด (ไขมันที่พบในเยื่อ หุ้มเซลล์ ของเนื้อเยื่อประสาท พบในเลือด กระดูกอ่อน และพังพืด ไรโบส (ribose) C5H10O5 CHO H - C - OH H - C - OH H - C - OH CH2OH เป็นส่วนประกอบของกรดนิวคลีอิก หรือ ในโคเอนไซม์ NAD+ และ NADP+ แมนโนส (mannose) C6H12O6 CHO HO - C - H HO - C - H H - C - OH H - C - OH CH2OH ได้จากการสลายยางไม้เป็นส่วนประกอบ ของพอลิแซกคาไรด์ในพืช ในคนจะ รวมอยู่กับโปรตีน นอกจากนี้กลูโคส ยังเป็นโมโนแซกคาไรด์ที่สังเคราะห์ขึ้นได้ในพืชที่มีคลอโรฟิลล์ โดยใช้ CO2 จากอากาศและน้ำในพืชกับพลังงานจากแสงอาทิตย์โดยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ดังนี้ 6CO2 + 6H2O คลอโรฟิลล์ C6H12O6 + 6O2 แสงอาทิตย์ กลูโคสเป็นน้ำตาลที่พบได้ทั่วไป มีรสหวานและละลายน้ำได้ดีมาก มีในผลไม้ต่าง ๆ สำหรับในร่างกายคน พบอยู่ในเลือด คนปกติจะมีกลูโคส 100 มิลลิกรัม / 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรของเลือด ในกรณีที่เป็นเบาหวานจะมีกลูโคสสะสมอยู่ในเลือดสูง ถ้ามากกว่า 160 มิลลิกรัม / 100 ลูกบาศก์เซนติเมตรของเลือดขึ้นไป ร่างกายจะขับถ่ายออกมาทางปัสสาวะ 2) ไดแซ็กคาไรด์ (disaccharide) หรือน้ำตาลโมเลกุลคู่  เกิดจากโมโนแซกคาไรด์ 2 โมเลกุลมารวมกัน (โดยสูญเสียน้ำ 1 โมเลกุล) มีชื่อเรียกต่าง ๆ กันตามชนิดของโมโนแซกคาไรด์  ไดแซ็กคาไรด์ที่พบมากในธรรมชาติและเป็นอาหารที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ ได้แก่ มอลโทส ซูโครส และแลกโทส  ไดแซกคาไรด์ เป็นคาร์โบไฮเดรตที่ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส หรือน้ำตาลทราย (C12H22O11) เป็นแซกคาไรด์ที่เกิด จากการรวมตัวกันของกลูโคส และฟรุกโตส เช่น C6H12O6 + C6H12O6  C12H22O11 + H2O กลูโคส ฟรุกโตส ซูโครส น้ำ โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 15
  • 16.  การเกิดไดแซ็กคาไรด์ มีดังนี้ กลูโคส + กลูโคส มอลโทส กลูโคส + ฟรุกโตส ซูโครส กลูโคส + กาแล็กโตส แล็กโตส ตารางแสดงสูตรโครงสร้างของไดแซกคาไรด์บางชนิด โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 16 ชื่อ สูตรโครงสร้าง เตรียมจาก หมายเหตุ มอลโตส กลูโคส + กลูโคส พบในต้นถั่ว maltose และต้นข้าวมอลต์ ที่กำลังเจริญเติบโต ซูโครส sucrose กลูโคส +ฟรุกโตส ที่เรียกว่า น้ำตาลทราย พบใน น้ำตาลอ้อย ความหวานของ ซูโครสเกิดจากฟรุกโตส แลกโตส lactose กาแลกโตส+กลูโคส เป็นน้ำตาลในน้ำนมถ้าหมัก แลกโตสกับ lactobacillus จะได้ กรดแลกติกและแอลกอฮอล์ซึ่ง ใช้ทำเนยแข็ง 3) พอลิแซ็กคาไรด์ (Polysccharide) หรือ น้ำตาลโมเลกุลใหญ่  เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีโครงสร้างซับซ้อนมาก เกิดจากโมโนแซ็กคาไรด์หลายโมเลกุลมารวมกัน ซึ่งจัดเป็นพอลิเมอร์ (Polymer) โดยกระบวนการพอลิเมอไรเซชัน ดังปฏิกิริยา n C6H12O6 ( C6H10O5 )n + n H2O กลูโคส (มอนอเมอร์) แป้ง (พอลิเมอร์)  ได้แก่ แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส ซึ่งไม่ละลายน้ำ โมเลกุลของแป้งเกิดจากกลูโคสหลาย ๆ โมเลกุลรวมกัน  แป้ง พบในเมล็ด หัว ราก ผลและใบของต้นไม้ เป็นแหล่งสะสมอาหารที่สำคัญต้นไม้ และร่างกายคนสามารถ ย่อยแป้งได้ (เอนไซม์อะไมเลส) ถ้าทำให้แป้งสุกก่อน จะย่อยได้ง่ายขึ้น โมเลกุลของแป้งจะสามารถเปลี่ยนเป็นน้ำตาลได้ โดยเอนไซม์อะไมเลสที่มีอยู่ในน้ำลาย (เวลาเคี้ยวข้าวแล้วรู้สึกหวาน)  เซลลูโลส เป็นส่วนประกอบสำคัญของผนังเซลล์ของต้นไม้และในเนื้อไม้ ร่างกายของคนไม่สามารถย่อยเซลลูโลสได้ เพราะไม่มีน้ำย่อยโดยเฉพาะซึ่งต่างจากสัตว์เคี้ยวเอื้องสามารถย่อยพวกเซลลูโลสได้ ดังนั้น ร่างกายจะขับถ่ายออกมา ในลักษณะของกาก หรือเรียกว่าเส้นใยอาหาร ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพทำให้การขับถ่าย สะดวก พบว่ามีเซลลูโลสปริมาณสูงในอาหารพวกผัก ถั่ว และผลไม้  ไกลโคเจน เป็นพอลิแซกคาไรด์อีกชนิดหนึ่ง เกิดจากกลูโคสเช่นเดียวกัน พบในเนื้อเยื่อของสัตว์ ในตับและกล้ามเนื้อ ของสัตว์ เมื่อรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตเข้าไป เอนไซม์ของร่างกายจะย่อยได้เป็นกลูโคส (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) แล้วนำไปใช้เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ โดยเปลี่ยนเป็นไกลโคเจน (ซึ่งประกอบด้วยกลูโคสหลายโมเลกุล) ถ้าจะใช้เมื่อไร ร่างกายสามารถนำออกมาใช้ได้ ไกลโคเจนในตับมีไว้เพื่อปรับระดับกลูโคสในเลือดให้คงที่
  • 17. 2.3 ปฏิกิริยาของคาร์โบไฮเดรต 2.3.1) ปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์  โมโนแซ็กคาไรด์ (น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ โดยเกิดปฏิกิริยาได้เป็น ตะกอนสีแดงอิฐสารละลายเบเนดิกต์จะไม่เกิดปฏิกิริยากับพวกไดแซ็กคาไรด์ หรือ พอลิแซกคาไรด์อื่น ๆ นอกจาก ทำให้เป็นมอนอแซกคาไรด์ ก่อนจึงจะเกิดปฏิกิริยา เช่น นำน้ำตาลทรายซึ่งเป็นไดแซกคาไรด์ไปต้มกับกรดเกลือ หรือ น้ำแป้งต้มกับกรดเกลือ จะทำให้เกิดการย่อยเป็นโมโนแซ็กคาไรด์ ซึ่งทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์ได้  ถ้าต้องการทดสอบว่าน้ำตาลชนิดใดเป็นโมโนแซ็กคาไรด์บ้าง ให้นำมาทำปฏิกิริยากับสารละลายเบเนดิกต์  สำหรับสารละลายเบเนดิกต์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทดสอบหาน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งเป็นการตรวจสอบ โรคเบาหวานได้ เนื่องจากเมื่อเป็นโรคเบาหวานร่างกายจะขับกลูโคสออกมาทางปัสสาวะ 2.3.2) ปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน  แป้ง (พอลิแซ็กคาไรด์) สามารถทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีนได้เกิดปฏิกิริยาได้ตะกอนสีม่วงอมน้ำเงิน  ถ้าต้องการทดสอบว่าเป็นแป้งหรือไม่ ให้นำมาทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน  พวกน้ำตาลทั้งโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ จะไม่ทำปฏิกิริยากับสารละลายไอโอดีน  ดังนั้นปฏิกิริยานี้จึงเป็นปฏิกิริยาที่ใช้ทดสอบแป้งโดยเฉพาะ ความรู้เสริม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในร่างกาย  เมื่อรับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต เช่น แป้ง และน้ำตาลทรายเข้าไป เอนไซม์ที่มีอยู่ในร่างกาย จะช่วยย่อยให้เป็นกลูโคส แล้วลำเลียงไปตามกระแสโลหิต ไปยังเซลล์เพื่อเป็นแหล่งของพลังงาน โดยกลูโคสจะสันดาปกับออกซิเจน ดังนี้ C6H12O6 + 6O2  6CO2 + 6H2O + 673 kcal  จะได้พลังงานที่ร่างกายนำไปใช้ได้  สำหรับกลูโคสบางส่วนที่เหลืออยู่จะเกิดปฏิกิริยารวมกันเป็นไกลโคเจนเก็บไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ ซึ่งจะถูกนำออกมาใช้ได้เมื่อร่างกายต้องการโดยการเปลี่ยนกลับมาเป็นกลูโคสอีก  ไกลโคเจนในตับ มีหน้าที่ปรับระดับกลูโคสในโลหิตให้คงที่  ไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เมื่อกล้ามเนื้อทำงานไกลโคเจนจะสลายตัวพร้อมกับให้พลังงานออกมา  สำหรับเซลลูโลส ร่างกายไม่สามารถย่อยสลายให้เป็นกลูโคส แต่จะให้เส้นใยซึ่งช่วยการทำงานของลำไส้ ช่วยให้การขับถ่ายอุจจาระเป็นไปตามปกติ คำถามชวนคิด มอนอเมอร์ของโปรตีน คือ……………………………… มอนอเมอร์ของแป้ง คือ………………………………… น้ำตาลกลูโคส (โมโนแซ็กคาไรด์) มีสูตรโมเลกุล คือ…… น้ำตาลซูโครส (ไดแซ็กคาร์ไรด์) มีสูตรโมเลกุลคือ............. ร่างกายมนุษย์ย่อยแป้งได้หรือไม่………………………… ร่างกายมนุษย์ย่อยเซลลูโลสได้หรือไม่…………………… ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ได้อย่างไร...................................... ต้องการทดสอบว่าสารใดเป็นแป้ง ใช้วิธีการใด ………… ต้องการทดสอบว่าสารใดเป็นน้ำตาลซูโครส ใช้วิธีการใด… กลูโคสพบได้ที่ไหนบ้าง…………………………………… ร่างกายต้องย่อยกลูโคสก่อนนำใปใช้หรือไม่……………… คาร์โบไฮเดรตให้พลังงานได้อย่างไร.................................... การหมัก (Fermentation) คือ กระบวนการที่เปลี่ยนแปลงสารอินทรีย์ เช่น แป้งหรือน้ำตาล ให้กลายเป็นเอทานอล และก๊าซ CO2 โดยมียีสต์และแบคทีเรียซึ่งมี เอนไซม์ Zymase เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส เช่น น้ำตาลกลูโคส เอทานอล + ก๊าซ CO2 น้ำตาลซูโครส แป้ง น้ำตาลกลูโคส เอทานอล + ก๊าซ CO2 โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 17
  • 18. 3. ลิพิด (Lipids) โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 18  ลิพิดเป็นสารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย C , H , O เป็นสารโมเลกุลใหญ่ที่มีโครงสร้างซับซ้อน พบในพืชและใน สัตว์ทั่วไป ซึ่งพบว่าเมื่อพวกไขมันเผาผลาญให้พลังงานประมาณ 9.0 กิโลแคลอรีต่อกรัม  นอกจากนี้ยังประกอบด้วยธาตุไนโตรเจน (N) และฟอสฟอรัส (P)  ประโยชน์ของไขมันโดยทั่วไป 1) เป็นแหล่งพลังงานให้กับร่างกาย โดยให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรีต่อวัน (ในขณะที่คาร์โบไฮเดรตกับโปรตีน ให้พลังงานประมาณ 4 กิโลแคลอรีต่อวัน) 2) สร้างความอบอุ่นให้ร่างกาย 3) ช่วยรองรับและป้องกันอวัยวะภายในต่างๆอีกด้วย 4) มีหน้าที่ในการลำเลียงและการดูดซึมของวิตามินชนิดที่ละลายในไขมันได้แก่ A, D, E และ K (วิตามินที่ละลายในไขมัน) 5) นอกเหนือไปจากหน้าที่ที่มีต่อร่างกายแล้ว ไขมันยังมีส่วนสำคัญในด้านเนื้อสัมผัส, กลิ่นรส, ความชุ่มเนื้อ, และรสชาติของ อาหารอีกด้วย และเนื่องจากร่างกายของเราย่อยไขมันได้ช้ากว่าสารอาหารชนิดอื่น เช่น คาร์โบไฮเดรต. ไขมันเป็นเป็นสิ่งที่ ทำให้เรารู้สึกอิ่ม หลังจากที่ได้รับอาหารเข้าในประมาณที่เพียงพอแล้ว 6) ใช้ในการทำสบู่ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชันซึ่งเกิดจาก น้ำมันพืช + โซดาไฟ = สบู่  ลิพิดมีหลายชนิด ดังนี้ 3.1 ไขมันและน้ำมัน (Lipids)  ไขมันและน้ำมันเป็นสารประกอบประเภทเอสเทอร์ (หมู่ฟังก์ชัน แอลคอกซีคาร์บอนิล ) ซึ่งเกิดจาก แอลกอฮอล์บางชนิด เช่น กลีเซอรอล กับ กรดไขมัน (fatty acid) ดังสมการ  ณ อุณหภูมิห้อง (25 องศาเซลเซียส) ถ้าเป็นของแข็ง เรียกว่า ไขมัน (wax) ถ้าเป็นของเหลว เรียกว่า น้ำมัน (oil)  หน้าที่สำคัญของไขมันและน้ำมัน คือ - เป็นโครงสร้างหลักของเยื่อหุ้มเซลล์ - เป็นแหล่งพลังงานของสิ่งมีชีวิต - การเผาผลาญพลังงานอย่างสมบูรณ์จะให้พลังงานประมาณ 9 กิโลแคลอรีต่อกรัม - พบในอาหารที่มีน้ำมัน เช่น เนย กะทิ เนื้อสัตว์ติดมัน หรืออาหารทอดด้วยน้ำมัน  สมบัติ โครงสร้าง และปฏิกิริยาของไขมันและน้ำมัน  สมบัติของไขมันและน้ำมัน  เมื่อเทไขมัน/น้ำมันลงในน้ำ แล้วเขย่า ไขมัน/น้ำมันและน้ำจะไม่รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน แต่ถ้าเทน้ำมันลงในตัวละลายอินทรีย์ เช่น เฮกเซน จะรวมตัวกันได้โดยไม่เกิดการแยกชั้น  จึงสรุปได้ว่า ไขมันและน้ำมันเป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว (น้ำเป็นโมเลกุลมีขั้ว จึงไม่สามารถละลายไขมัน/น้ำมันได้) ส่วนตัวทำละลายอินทรีย์เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว จึงละลายไขมันได้
  • 19. 3.2 ฟอสโฟลิพิด (Phospholipids)  ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) เป็นลิพิดที่พบในส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) (เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่เลือกให้ สารบางชนิดผ่านเข้าไปภายในเซลล์ได้ )  ฟอสโฟลิพิด 1 โมเลกุล เกิดจากกลีเซอรอล 1 โมเลกุล รวมตัวกับกรดไขมัน 2 โมเลกุล หมู่ฟอสเฟต 1 หมู่ และมีสารอื่นซึ่งมี ขนาดโมเลกุลเล็กและมักจะมีขั้วหรือมีประจุเกิดพันธะกับหมู่ฟอสเฟต ดังนี้ โครงสร้างของฟอสโฟลิพิด  โมเลกุลของฟอสโฟลิพิด แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ 1) ส่วนที่ชอบน้ำ (hydrophilic) หรือส่วนที่มีขั้ว คือส่วนที่เป็นหมู่ฟอสเฟต (ส่วนหัว) มีสมบัติละลายน้ำ 2) ส่วนที่ไม่ชอบน้ำ (non-polar tail ) หรือส่วนที่ไม่มีขั้ว คือ ส่วนที่เป็นกรดไขมัน เป็นส่วนหางที่ไม่มีขั้ว (non-polar tail ) ไม่ละลายน้ำ  เมื่อฟอสโฟลิพิดอยู่ในน้ำหรือในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย อาจเกิดเป็นโครงสร้าง 2 ชั้น  โดยหันส่วนที่ไม่มีขั้ว (ไฮโดรคาร์บอน) หันเข้าหากัน  และส่วนที่มีขั้ว (หมู่ฟอสเฟต ) หันเข้าหาโมเลกุลของน้ำ หมู่ฟอสเฟต กรดไขมัน กรดไขมัน โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 19
  • 20.  ถ้าฟอสโฟลิพิดมีโมเลกุลขนาดใหญ่ โครงสร้าง 2 ชั้นสามารถเชื่อมต่อกันเป็นวง ดังรูป โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 20 โครงสร้าง 2 ชั้นของฟอสโฟลิพิด โครงสร้าง 2 ชั้นสามารถเชื่อมต่อเป็นวง  โมเลกุลฟอสโฟลิพิดที่มี 2 ส่วน เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ โดยมีโมเลกุลฟอสโฟลิพิด หนา 2 ชั้น เรียงตัวกัน ส่วนไขมัน (ไม่ชอบน้ำ) อยู่ด้านในและประกบกัน ส่วนชอบน้ำอยู่ด้านนอก ทำให้เยื่อหุ้มเซลล์มีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือยอมให้สารบางชนิดเข้าออกเท่านั้น โดย  สารที่ไม่มีขั้ว (ไม่ชอบน้ำ – พวกไขมัน) และสารละลายได้ในไขมัน จะผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้โดยการแพร่  สารมีขั้วต้องใช้โปรตีนเป็นตัวพา หรือใช้พลังงานด้วย การแพร่ การแพร่แบบฟาซิลิเทต การแพร่โดยใช้พลังงาน เยื่อหุ้มเซลล์พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ทำหน้าที่  ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารเพราะมีสมบัติเป็นเยื่อเลือกผ่าน  ประกอบด้วยไขมันและโปรตีนอยู่รวมกันเป็น Fluid Mosaic Model กล่าวคือ โมเลกุลของฟอสโฟลิพิดเรียงกันเป็น 2 ชั้น หันด้านมี ขั้วซึ่งชอบรวมตัวกับน้ำ (Hydrophilic) ออกด้านนอก และหันด้านไม่มีขั้วซึ่งไม่ชอบรวมตัวกับน้ำ (Hydrophobic) เข้าข้างในและมี การเคลื่อนที่ไหลไปมาได้ ส่วนโปรตีนมีลักษณะ เป็นก้อน (Globular) ฝังหรือลอยอยู่ในชั้นไขมัน และอาจพบคาร์โบไฮเดรตเกาะที่ ผิวโปรตีนด้วย
  • 21. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 21 3.3 ไข (Wax)  เป็นลิพิดที่พบทั้งพืชและสัตว์ เป็นของแข็งและไม่ละลายน้ำ พบเป็นสารเคลือบเส้นผม ขนนก และขนสัตว์ต่าง ๆ ทำให้มีลักษณะเป็นเงาและเพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ไขยังขับจากหูที่เรียกว่าขี้หู (ear wax) เพื่อป้องกันการ กระทบกระเทือนของเยื่อหู นอกจากนี้ยังมีไขที่ขับออกจากต่อไขมันใต้ผิวหนังเพื่อป้องกันการระเหยของน้ำ ทำให้ผิวหนังมีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในพืชมักพบเป็นสารเคลือบผิวของใบไม้และเปลือกไม้เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ องค์ประกอบของ ไข  ไขเป็นเอสเทอร์ ที่เกิดจากกรดไขมัน กับแอลกอฮอล์ที่มีโซ่ยาว  ส่วนที่มาจากกรดไขมันจะมีจำนวนอะตอมคาร์บอนเป็นเลขคู่ ระหว่าง 14 – 36 อะตอม  สำหรับส่วนที่มาจากแอลกฮอล์มีจำนวนอะตอมคาร์บอนเป็นเลขคู่เช่นกัน ระหว่าง 16 – 30 อะตอม  ตัวอย่างที่พบมากในชีวิตประจำวัน ได้แก่ ขี้ผึ้ง (เกิดจาก กรดไขมัน (กรดปาล์มิติก) กับ แอลกอฮอล์ (ไมริคอล) เขียนสมการแสดงการเกิดปฏิกิริยาได้ดังนี้  ไขเป็นของแข็งที่มีจุดหลอมเหลวต่ำ มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับชนิดของกรดและแอลกอฮอล์ที่เป็นองค์ประกอบ  ไขทุกชนิดไม่ละลายน้ำ ไขที่พบมักเคลือบอยู่ที่ผิวของใบไม้หรือผลไม้ และที่ผิวหนังหรือขนสัตว์ ทำหน้าที่หล่อลื่น หรือ ป้องกันการสูญเสียน้ำ ปัจจุบันมีการนำไขมาเคลือบผิวผลไม้เพื่อช่วยยืดอายุในการเก็บรักษา 3.4 สเตอรอยด์ (Steroid)  สเตอรอยด์ เป็นกลุ่มของลิพิด ที่มีโครงสร้างเฉพาะ ประกอบด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคาร์บอน 6 เหลี่ยม (3วง) และ คาร์บอน 5 เหลี่ยม ( 1 วง) เชื่อมต่อกัน ดังรูป  สเตอรอยด์ มีสมบัติไม่ละลายน้ำ แต่ละลายในไขมันและตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น เอทิลแอลกอฮอล์หรือเอทานอล เป็นต้น  สารประเภทสเตอรอยด์ มีหลายชนิด แบ่งเป็นกลุ่มได้ ดังนี้ 1) คอเลสเทอรอล (Cholesterol) ประโยชน์ของคอเลสเตอรอล  เป็นกลุ่มไขมันที่เป็นสาร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่ละลายน้ำ มักพบในสัตว์  เป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต เนื่องจากร่างกายต้องใช้เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของผนังเซลล์ และเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญของฮอร์โมน เช่น estrogen progesterone , testosterone , aldosterone และ cortisol  นอกจากนั้น cholesterol ยังใช้ในการสร้างวิตามินดี และน้ำดีสำหรับย่อยไขมันในอาหาร เป็นต้น  จะพบว่า คอเลสเตอรอลเป็นส่วนประกอบของเซลล์ผิว ฮอร์โมนและอยู่ในกระแสเลือด ร่างกายของคนเราได้ cholesterol จากสองแหล่งคือ จากอาหารที่เรารับประทาน เช่นเครื่องใน เนื้อ นม ไขมันที่เรารับประทานเข้าไปจะไปสะสมในตับ จากการสร้างของตับ โครงสร้างของคอเลสเตอรอล
  • 22. โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 22  แม้ว่าคอเลสเตอรอลจะมีความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต แต่ถ้ามีปริมาณมาก จะสะสมและเกาะที่ผนังเส้นเลือด ทำให้เกิดการอุดตันของเส้นเลือด ถ้าเกิดกับเส้นเลือดใหญ่ที่นำเลือดเข้าสู่หัวใจ จะทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ คอเลสเตอรอล แบ่งเป็น 2 ชนิด LDLs คือ Low-density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอล ไปเก็บไว้ตามเซลล์ต่าง ๆ เพื่อนำไปผลิตฮอร์โมน หรือไปสร้างผนังเซลล์ สำหรับคอเลสเตอรอลส่วนที่เกินความต้องการ LDLs จะนำไปเกาะไว้ตามผนังเส้นเลือดแดง และเมื่อมีการสะสมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้เส้นเลือดแดงตีบลง ในที่สุดจะเกิดการอุดตันของเส้นเลือดแดง ทำให้เซลล์บริเวณนั้นขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงทำให้เซลล์ตาย จึงเรียก LDLs ว่าคอเลสเตอรอลชนิด "ร้าย" พบในอาหารจำพวกไขมันอิ่มตัว (saturated fat) เช่น ไขมันสัตว์ ไข่ เนย ชีส ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ เป็นต้น HDLs คือ High-density lipoproteins ทำหน้าที่ขนส่งคอเลสเตอรอลไปยังตับ และขับออกจากร่างกายผ่านทางน้ำดี เนื่องจาก HDLs ทำหน้าที่กำจัดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน จึงเรียกว่าคอเลสเตอรอลชนิด " ดี" ร่างกายสังเคราะห์ และพบในอาหาร เช่น ถั่วและธัญพืช เป็นต้น คอเลสเตอรอลมีผลต่อหัวใจอย่างไร เซลล์ต่างๆ เมื่อได้รับคอเลสเตอรอล เพียงพอแล้ว ก็จะหยุดการรับคอเลสเตอรอล ทำให้ LDLs ต้องนำคอเลสเตอรอลส่วนเกินไปเกาะอยู่ตามผนังของเส้นเลือดแดง ทำให้หลอดเลือดแดงตีบลงเรื่อยๆ ส่งผลให้การไหลของเลือดไปเลี้ยงเซลล์บริเวณนั้นลดลง และถ้าหลอดเลือดแดงไปเลี้ยงหัวใจตีบลง เหลือเพียง 30% ของขนาด หลอดเลือดปกติ ก็จะมีอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเรียกว่า " angina" ซึ่งมักแสดงอาการเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มขึ้น หลังจาก เหน็ดเหนื่อยจากการออกกำลังกาย กรณีที่เลือดไปเลี้ยงหัวใจบางส่วนถูกตัดขาดโดยสิ้นเชิง จะทำให้เซลล์บริเวณนั้นตาย และ อาการหัวใจล้มเหลว ( hart attack) อาจปรากฎขึ้น และถ้าเซลล์ของหัวใจถูกทำลายมาก ก็อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ --------------------ดังนั้น หากร่างกายมี LDLs มากเกินไป จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจสูง---------------------------------------- 2) ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติคอยด์ เกี่ยวข้องกับกระบวนการควบคุมสมดุลของน้ำ รวมทั้งกระบวนการเผาผลาญโปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ตัวอย่างเช่น คอร์ติซอล จะทำหน้าที่ชะลอการสร้างโปรตีน เป็นต้น 3) ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนเพศชาย ที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างกล้ามเนื้อและเสียงของเพศชาย ฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ 1) โพรเจสเทอโรน (progesterone) ทำหน้าที่ควบคุมเยื่อบุผนังมดลูกในระหว่างที่มี การตั้งครรภ์หรือมีประจำเดือน 2) เอสโตรเจน (estrogen) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะเพศและ แสดงลักษณะเพศหญิง รวมทั้งควบคุมการหลุดลอกของเยื่อบุมดลูกก่อนและหลังมีประจำเดือน โครงสร้าง มีดังนี้ Testosterone Progesterone 4) กรดน้ำดี - ผลิตจากคอเลสเทอรอลที่ตับ และเก็บสะสมไว้ที่ถุงน้ำดี กรดน้ำดีที่สำคัญ ได้แก่ กรดโคลิก ซึ่งทำหน้าที่ช่วยย่อยไขมัน ในลำไส้เล็ก และยังช่วยละลายคอเลสเตอรอลที่อยู่ในอาหารได้ด้วย จึงเป็นสารที่มีส่วนช่วยกำจัดคอเลสเทอรอลในร่างกาย
  • 23. 4. กรดนิวคลิอิก  กรดนิวคลิอิก (Nucleic acid) เป็นสารอินทรีย์ที่มีความสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด พบครั้งแรก โดย ฟรีดิช มิเซอร์ (Friedrich Miescher) ในปี ค.ศ.1870 (พ.ศ. 2413) และตั้งชื่อว่า นิวคลีอิน (Nuclein) ต่อมา เมื่อพบว่า มีสภาพเป็นกรด จึงได้ชื่อว่า กรดนิวคลีอิก  กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) คือสารพันธุกรรม (genetic material) ซึ่งมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ (1) เป็นสารพันธุกรรมที่สามารถถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลานในรุ่นต่อไปได้ (2) ทำหน้าที่ เกี่ยวข้องกับกระบวนการจำลองดีเอ็นเอ (DNA replication) ในกระบวนการแบ่งเซลล์ (cell division) (3) ทำหน้าที่ถ่ายทอดข้อมูลพันธุกรรมโดยผ่านอาร์เอ็นเอ (RNA) มีหลายการทดลองที่ยืนยันว่ากรดนิวคลิอิค มี 2 ชนิด deoxyribonucleic acid (DNA) และ ribonucleic acid (RNA)  กรดนิวคลีอิกเป็นสารอินทรีย์โมเลกุลใหญ่และซับซ้อนมาก ประกอบด้วยหน่วยย่อยต่าง ๆ มาเรียงต่อกัน หน่วยย่อยนี้ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์  กรดนิวคลีอิกจัดเป็นพอลิเมอร์ เมื่อถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่า นิวคลีโอไทด์  โครงสร้างของนิวคลิโอไทด์ มี 3 ส่วน ดังนี้ 1. ไนโตรเจนเบส (Nitrogenous base) เป็นเบสที่เป็นวงและมีธาตุไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1.1) พิวรีน (Purine) เบสที่มีวงแหวน 2 วง มี 2 ชนิด คือ อะดีนีน (Adenine หรือใช้อักษรย่อ A) กวานีน (Guanine หรือใช้อักษรย่อ G) 1.2) ไพริมิดีน (Pyrinidine) เป็นเบสที่มีวงแหวน 1 วง มี 2 ชนิด เช่นกันคือ ไทมีน (Thymine) หรือใช้อักษรย่อ T) ไซโทซีน (Cytosine หรือ ใช้อักษรย่อ C) 2. น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว (Monosaccharide) ที่มีคาร์บอน 5 อะตอม (Pentose sugar) ได้แก่ 2.1) น้ำตาลไรโบส (Ribose sugar) มีสูตร C5H10O5 2.2) น้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) มีสูตร C5H10O4 ซึ่งมีออกซิเจนน้อยกว่าน้ำตาลไรโบส 1 อะตอม 3. หมู่ฟอสเฟต (Phosphate group) โครงสร้างของนิวคลีโอไทด์ มีลักษณะ ดังนี้ สรุป โครงสร้างของนิวคลิโอไทด์ มีหลายแบบ ขึ้นอยุ่กับชนิดของเบสและน้ำตาล นิวคลิโอไทด์ (หน่วยย่อย) หลายหน่วยมารวมกัน เรียก กรดนิวคลิอิก โดย อรณี หัสเสม : เรียบเรียง 23