SlideShare a Scribd company logo
1 of 22
Download to read offline
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา
ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม
จัดโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต
ผู้นำเสนอ
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
1
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา
เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต1
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
ท่านทั้งหลายได้พบกับ Lifelong Learner ตัวจริงอย่าง คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา ไม่มีใครอีกแล้วที่
อายุมากขนาดนี้ที่ยังใส่ใจเรื่องความรู้ การเรียนการสอน ตลอดชีวิตของท่านตั้งแต่ทำงานมา ท่านทำงานมาตั้งแต่
บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จํากัด (Shell) บริษัท Shell เป็นบริษัทแรกที่นำเรื่อง Scenario Planning มาใช้ ทำ
ให้เมื่อเผชิญวิกฤตน้ำมันครั้งใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1972 เขาได้คาดคะเนไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว พวกเขาคาดคะเน
สถานการณ์ได้ถูกต้องและทำให้บริษัท Shell พุ่งทะยานขึ้นมาติดอันดับบริษัทน้ำมันต้นๆ จากเมื่อก่อนเป็นบริษัทที่
เล็กที่สุดในบริษัทน้ำมันด้วย บริษัท Shell เป็นบริษัทตัวอย่างที่ทำให้อาจารย์พารณได้แรงบันดาลใจเรื่อง มนุษย์คือ
ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท และนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SGC) ส่งคนไปเรียนรู้เรื่อง “The
Fifth Discipline” ของ Peter Senge แล้วท่านนำแนวคิดเหล่านี้มาพัฒนาเด็กๆ สร้างโรงเรียนดรุณสิกขาลัย นี่
คือหัวจิตหัวใจของท่านตลอด เราโชคดีที่พบท่านวันนี้
เรื่องการพัฒนาความรู้และปัญญานี้ เริ่มเมื่อ 2 ปีก่อน ท่านรัฐมนตรี อว. (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์) คุย
กันว่าจะทำอย่างไรให้เอาปรัชญามาใช้ในระดับอุดมศึกษา เพราะเราเชื่อว่าพื้นฐานของความเป็นมนุษย์คือ
ความสามารถในการคิด เรียน และรู้ พระอาจารย์อนิลมาน ท่านจะแยกคำว่า “เรียน” Learning กับ ตัว “รู้”
Knowing มีอะไรบางอย่างที่เหนือกว่าการเรียน มันเป็นการสว่างแวบของปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้น ในโลก
สมัยใหม่ที่เราจะเผชิญกับ AI และเราก็ไม่อยากเป็นทาส AI เราเป็นมนุษย์ เราเป็นคนสร้าง AI และพอสร้างขึ้นมา
AI มันก็จะเป็นเจ้านายเราแล้ว มันลำบากแล้ว สิ่งเดียวที่จะเอาชนะ AI ได้ คือความเป็นมนุษย์ของเรา คือ กายภาพ
ภายในของความเป็นมนุษย์
ท่านปลัดสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ได้กล่าวถึง กระบวนการเป็น Mentoring ดูแลซึ่งกันและกัน พี่สอนน้อง มีครู
ดี ๆ ดูแลลูกศิษย์ให้กำลังใจ เรียนรู้ แล้วก็มีวิธีจี้ไปบางอย่างเพื่อให้ลูกศิษย์คนนั้นมีแรงบันดาลใจ จนกระทั่งมาถึง
พระอาจารย์อนิลมาน ท่านได้อธิบายความนุ่มลึกของศักยภาพภายใน และจากการที่ผมได้ไปร่วมกลุ่มพวกเรียนรู้
ทั้งหลายในต่างประเทศ และส่วนมากที่ผมไปเรียนรู้และปฏิบัติ จะเป็นสายพวกนักเคลื่อนไหวทางสังคม และได้
1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ
อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ
(สสส.) ในวันที่ 16 23 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
2
เรียนรู้กับ Peter Senge ก็ได้เข้าหลักสูตรเขาหลายครั้งหลายหน ได้แลกเปลี่ยนคุยกัน และได้แลกเปลี่ยนกับ
Otto Scharmer ซึ่งทำเรื่อง The Essentials of Theory U สิ่งที่ค้นพบก็คือว่าความรู้ที่มีค่าที่สุดเป็นปรัชญาที่
พวกเขาแสวงหา กลับมาอยู่ในหลักพุทธธรรมจำนวนมาก ซึ่งจบลงที่ปัญญา ความรู้แจ้ง เราจะเรียกปัญญาว่าเป็น
Insight ก็ได้ เป็นปรีชาญาณก็ได้
ประเด็นอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่แค่เรียนแค่สอน แต่จะต้องอยู่ในเนื้อในตัวของผู้คน อยู่
ในเนื้อในตัวของอาจารย์ ยกตัวอย่าง คุณพาณ อิสรเสนา ณ อยุธยา ท่านเป็นคนมีพลัง มีชีวิตชีวา และก็พยายาม
ดูแลพวกลูกศิษย์ คนใกล้ชิดให้มี Inspiration ให้มีแรงบันดาลใจแบบนี้ นี่คือคุณค่าที่ท่านพยายามสร้างให้เด็กไทย
มีความสามารถและเป็นพลเมืองของโลกด้วย เรามาดูว่าทำไมปรัชญาถึงมีค่าและเราจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้มัน
อยู่ในเนื้อในตัวของอาจารย์
ปูชนียบุคคลด้านปรัชญา
ปูชนียบุคคลที่ถือเป็น Philosopher King ตามหลักของเพลโต เป็นกษัตริย์จอมปราชญ์ พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เราจะเห็นว่าท่านมีความสามารถรอบด้าน เพราะวิธีคิดของท่านลึกซึ้งหลายอย่าง ผมเอง
ก็ไม่ทราบว่าท่านได้มาจากไหนอย่างไร เพราะไม่มีใครเขียนประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้
อย่างลึกซึ้งเพียงพอ ในหลวง ร.9 ท่านประสูติที่สหรัฐอเมริกาที่เมสซาซูเซส และพอเติบโตขึ้นท่านก็เรียนที่โรงเรียน
โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ แล้วพอชั้นประถมท่านก็ไปอยู่โลซาน ไปเรียนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
เพราะฉะนั้น ท่านก็ได้รับอิทธิพลฝรั่งเยอะ โดยเฉพาะในสไตล์ของสวิสเซอร์แลนด์ แต่ทำไมท่านจึงลึกซึ้งเรื่องพุทธ
ศาสนา แล้วฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง อันนี้เราไม่ทราบ อาจมีแรงบันดาลใจจากสมเด็จพระราชชนนีก็ได้ที่อบรมสั่งสอน
ดูแลท่านมาอย่างดี และเมื่อท่านเป็นกษัตริย์ครองราชย์ ท่านก็ประกาศ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ
ประโยชน์สุขแห่งชาวสยาม” อันนี้คือคำประกาศของปราชญ์ที่รับผิดชอบ นี่คือ Philosopher King
3
ภาพที่ 1 ในหลวงรัชกาลที่ 9 Philosopher King
ที่มา: http://www.siamtownus.com/2016/New-1612000074-1.aspx
อีกท่านหนึ่ง ทุกคนในโลกพูดถึงเขาบ่อย นั่นก็คือ Marcus Aurelius เป็นจักรพรรดิคนสำคัญของโรมัน ใน
ยุคที่ Marcus Aurelius ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิของโรมัน อาณาจักรของโรมันใหญ่สุด ไม่มีใครใหญ่ได้เท่าท่าน สมัยจู
เลียส ซีซาร์ ก็ใหญ่ไม่เท่าเขา เขาโด่งดังในฐานะเขียนหนังสือชื่อ MEDITATIONS ว่าด้วยเรื่องสมาธิ ใคร่ครวญ เป็น
นักปราชญ์ที่สนใจสำนัก Stoicism แนวคิดปรัชญาหนึ่งของกรีก ท่านเป็นคนที่หลายคนยกย่อง นี่คือ Philosopher
King อีกคนที่เอาหลักปรัชญามาใช้ในการบริหาร การจัดการ การปกครอง ผมอ่านหนังสือของท่าน บทเรียนที่ท่าน
เขียนหนังสือ MEDITATIONS บทแรกเริ่มต้นด้วย Gratitude ความขอบคุณ กตัญญู รู้คุณ เริ่มมาก่อนขอบคุณคนที่
เป็นครู ขอบคุณพ่อเลี้ยง ขอบคุณแม่ ขอบคุณผู้คนรอบๆ ตัวเขา รวมทั้งทหารที่รับใช้ ท่านจะขอบคุณทุกคน นี่คือ
Philosopher King อีกคนที่เอาหลักปรัชญาใช้
ภาพที่ 2 Marcus Aurelius
ที่มา: https://www.amazon.com/Meditations-
Penguin-Classics-Marcus-
Aurelius/dp/0140449337
4
หนังสือที่แนะนำให้ใช้หลักปรัชญาในชีวิต
เล่มที่หนึ่ง หนังสือเรื่อง The Wise Advocate: The Inner Voice of Strategic Leadership คนเขียนชื่อ Art
Klenner เป็นอาจารย์อยู่ที่ New York University เป็น Editor ของหนังสือ The Fifth Discipline ของ Peter Senge
เขาพูดถึงการศึกษาค้นคว้าจำนวนมากว่าทำอย่างไรให้ผู้นำของเราฉลาด ตัดสินใจได้ดี ถูกต้อง ในเล่มนี้มีการพูดถึงการ
ค้นคว้าทาง Neuroscience ทางสมอง ว่าทำไมการฝึกสมาธิ การฝึกสติไปเสริมทำให้สมองเราแข็งแรง เมื่อสมองของเรา
แข็งแรงขึ้น การพินิจพิจารณา การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน การตัดสินใจ อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ มักจะถูกต้อง
ทำได้ดี อันนี้ก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเอาหลักปรัชญามาใช้ อันนี้ไม่ต้องยึดถือศาสนาก็ได้ แต่ว่าความมีค่าของชีวิต การรับ
ใช้โลก รับใช้เพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าของธุรกิจสมัยใหม่
ภาพที่ 3 หนังสือเรื่อง The Wise Advocate: The Inner Voice of Strategic Leadership
ที่มา: https://www.amazon.com
เล่มที่สอง หนังสือเรื่อง The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation เขียน
โดย Professor Ikujiro Nonaka ที่โด่งดังมาก ท่านจะเขียนหนังสือไว้หลายเล่มที่มาจากงานวิจัยของท่าน ส่วนมากจะ
ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับบริษัทญี่ปุ่นที่มี Innovation ท่านยังเคยเขียนหนังสือชื่อว่า The Knowledge Creating Company
ซึ่งเล่มนี้ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่อง Knowledge Management แต่พูดถึง Knowledge Creation เพราะว่าความรู้มันถูก
สร้างขึ้น คล้ายกับแนวคิด Constructivism ถูกสร้างขึ้นมาจากการที่มนุษย์ได้พูดจากัน สังเกตโลก และสร้างขึ้นมา
เป็นความรู้ สำหรับหนังสือ The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation เล่มนี้ จะ
5
ช่วยทำให้เราพัฒนามหาวิทยาลัยเป็น The Wise University ได้ The wise ราชภัฏ ก็ได้ the wise ราชมงคล ก็ได้
เพราะใช้หลักการเดียวกันทั้งสิ้น อันนี้น่าสนใจมากครับ
ภาพที่ 4 หนังสือเรื่อง The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation
ที่มา: https://www.amazon.com
เล่มที่สาม หนังสือเรื่อง The Seventh Sense: How Flashes of Insight Change Your Life เขียนโดย
William Duggan คือ คนเราจะมีเรื่อง Six Senses เหมือนมีพรายกระซิบ มีญาณบางอย่าง มากระซิบเรา บอกเรา
ตัดสินใจแบบนี้สิ ทำแบบนี้สิ ซึ่งชีวิตของเราก็มีเหตุการณ์แบบนี้ตลอด มีอะไรมากระซิบ มาดลใจเรา ไม่รู้อะไรมา
ดลใจให้ฉันตัดสินใจดี ๆ แบบนี้ เล่มนี้ก็มีการค้นคว้ารวบรวมงานวิจัยไว้ไม่น้อย โดย William Duggan เขาจะไป
ศึกษาจากมนุษย์ที่เก่งๆ ในอดีตหลายคน
เล่มที่สี่ หนังสือเรื่อง Napoleon's Glance: The Secret of Strategy เขียนโดย William Duggan
เช่นกัน Glance แปลว่าชำเลือง แวบเดียวก็รู้ว่าควรจะทำอะไรแบบไหนยังไง เขาไปศึกษาค้นคว้า ความสามารถใน
การรบการตัดสินใจ วางยุทธศาสตร์ของนโปเลียนว่าทำไมสามารถพิชิตของทัพมากมายสมัยนั้น ปรากฏว่า นโป
เลียนเป็นคนสมาธิดี และเขาจะอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าเสมอ สมัยก่อนเวลานายพลจะวางแผนจะอยู่ที่
ปราสาท และวางแผนบนกระดาน โมเดลจำลอง ทหารขยับเหมือนเล่นหมากรุก แล้วก็สั่งให้ทหารส่งข่าวไป ทหาร
ม้า ปีนใหญ่ วิ่งเข้าไป แต่นโปเลียนไม่ใช่แบบ นโปเลียนยืนอยู่ข้างฐานทัพ แนวหน้า ฐานปืนใหญ่ เพราะฉะนั้น
นโปเลียนปืนใหญ่จะเก่งคำนวณ เพราะฉะนั้นจะเห็นสถานการณ์ทั้งหลายเฉพาะหน้าทันทีทันใด นโปเลียนพอ
6
ชำเลืองแปปเดียวก็มองเห็นสถานการณ์ จะทำให้ผู้ต่อสู้คาดไม่ถึงทำไมเป็นแบบนี้ตามแผนควรเป็นอย่างอื่น
นโปเลียนอาศัยการ Intuition การรู้โดยสัญชาติญาณหรือด้นสด ตัดสินใจแวบเอาแบบนี้เลย ถึงใช้ชื่อหนังสือว่า
Napoleon’s Glance เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญของมนุษย์ คือการตัดสินใจอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ William
Duggan เขาก็ศึกษาค้นคว้ามาไม่น้อย ซึ่งจะทำแบบนี้ได้สภาวะจิตของคนที่เผชิญหน้ากับแรงกดดัน เรื่องยากๆ
แล้วตัดสินใจได้ถูกต้อง เพราะมีอะไรบีบคั้นและยังตัดสินใจทำ เพราะมีอะไรบางอย่างภายในตัวเอง แต่ที่สำคัญคือ
มีสติและสมาธิในตอนนั้น ตอนท่านวางแผนตัดสินใจ
ภาพที่ 5-6 (ซ้าย) หนังสือเรื่อง The Seventh Sense: How Flashes of Insight Change Your Life (ขวา) หนังสือ
เรื่อง Napoleon's Glance: The Secret of Strategy
ที่มา: https://www.amazon.com
เล่มที่ห้า หนังสือเรื่อง The Essentials of Theory U เขียนโดย Otto Scharmer ทฤษฎีที่ Otto ได้
ศึกษาวิจัยมากว่า 10 ปี Otto เขาเป็นคนเยอรมัน เขาไปเรียนต่อที่ MIT ไปเป็นลูกศิษย์ เป็นผู้ช่วยอาจารย์ของ
Peter M. Senge ซึ่งที่นั่นมีอาจารย์เก่งๆ จำนวนมาก เขาได้ศึกษาค้นคว้าว่าคนเก่ง ๆ บนโลก เขาทำเรื่องใหม่ ๆ
ยาก ๆ ได้อย่างไร เขาทำเรื่องการคิดจากสภาวะจิตทำอย่างไร ท้ายที่สุดคือการตัดสินใจที่ถูกต้องได้อย่างไร มีการ
ตัดสินใจมีความเพียรที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ยังนั่งคุยกับพระอาจารย์อนิลมานว่า พุทธศาสนามีความรู้มากกว่า
7
หนังสือเล่มนี้มาก แต่ยังไม่มีใครเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ได้หมด อันนี้เป็นหน้าที่ที่
น่าสนใจ เรื่องสภาวะภายใน เรื่องปัญญา เรื่องการมีสมาธิ เรื่องความอดทน เรื่องการมีขันติ รับมือกับสถานการณ์ที่
ไม่ได้ดั่งใจ เพราะ VUCA WORLD ไม่ได้ดั่งใจเรา จะทำอย่างไร Theory U ก็พยายามทำเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่าในพุทธ
ธรรมมีความลึกซึ้งอีกมาก ซึ่งรอการศึกษา ค้นคว้าวิจัยจากพวกท่านในสายประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา
ภาพที่ 7 หนังสือเรื่อง The Essentials of Theory U
ที่มา: https://www.amazon.com
เล่มที่ 6 หนังสือเรื่อง ศิลปแห่งชีวิต ของท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมปรัชญามาเกี่ยวกับศิลปะตรงไหน แล้ว
ทำไมท่านพุทธทาส ท่านย้ำเรื่องศิลปะแห่งชีวิต ทำไมเรื่องความงาม ความละเอียดอ่อน ความอ่อนโยนของจิตใจ
เกี่ยวข้องปัญญาความรู้ตรงไหน หนังสือเล่มนี้ของท่านพุทธทาสจะชี้แจงละเอียด เวลาเราคิดถึงปรัชญา ปรัชญาหนี
ไม่พ้นจิตใจที่ละเอียดอ่อน จิตใจที่เมตตากรุณา พินิจพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความสุนทรีย์ มีความอ่อนโยน เรื่อง
ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งเพราะชีวิตนี้ ชีวิตต้องเผชิญกับความไม่ได้ดั่งใจ เราก็ต้องมีศิลปะในการใช้ชีวิต ศิลปะใน
การตัดสินใจ เพราะฉะนั้น เราต้องมีศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องที่ต้องไปด้วยกันตลอดเวลา ที่นี้เราต้องเอาเรื่องพวก
นี้มาผสมอย่างไรกับกระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการฝึกคน สร้างคนให้ได้แบบนี้
8
ภาพที่ 8 หนังสือเรื่อง ศิลปะแห่งชีวิต
ที่มา: https://www.se-ed.com
เล่มที่เจ็ด หนังสือเรื่อง Caring Economics: Conversations on Altruism and Compassion,
Between Scientists, Economists, and the Dalai Lama มี Editor คือ Tania Singer คำว่า Caring คือคำว่า
แคร์ เรา Care คน การ Care นี้ ถ้าจะตีความหมายให้ลึกคือ มีความใส่ใจ มีความรู้สึกเมตตา กรุณา เราจึง Care
หลายคนชีวิตของเราเวลามีปัญหากับคนใครครอบครัว หรือใครก็ตาม ก็มักจะบอกเธอไม่เห็น Care ฉันเลย พอคน
ไม่ Care กัน มันไม่เห็นกันเลย ไม่ได้ยินกันเลย ไม่ได้ฟังกันเลยนะ ทีนี้เรื่องแบบนี้กลายเป็น Caring Economics
หมายความว่า ต่อไปนี้ ถ้าเราอยากพัฒนาประเทศชาติของเราให้เจริญ ให้เกิด Sustainable Development แต่
ในความหมายของหนังสือเล่มนี้ เราจะพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างไร ที่ Care กัน เพราะว่าระบบทุนนิยมถูกสร้าง
มาด้วยความเชื่อว่ากลไกตลาดนั้นเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว อันนี้เป็นนิยามของทุนนิยม ทุกคน
อยากรวย เห็นแก่ตัว เมื่อเห็นแก่ตัวแล้วก็จะมี Demand Supply มีจุดเชื่อมพอดีแล้วก็จะใช้ธรรมชาติย่าง
สิ้นเปลือง เอาเปรียบได้ก็จะเอาเปรียบ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน เกิดช่องว่างระหว่างธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม และท้ายที่สุดเราก็มากินตัวเราเอง กินความเป็นมนุษย์ เกิดสภาวะโลกร้อน สภาวะเรือนกระจก สภาวะ
น้ำเสีย เพราะว่าโลภ เพราะฉะนั้น Caring Economics เขาพยายามเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ซึ่งคิดมาจากความเป็น
นักปราชญ์ของทุกศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาจะมีเรื่องจะสร้างระบบเศรษฐกิจอย่างไรให้มนุษย์ Care
สิ่งแวดล้อม Care แผ่นดิน Care อากาศ Care ป่าไม้ Care ลำน้ำ Care ปลา Care หอย Care ปะการัง เพราะสิ่ง
นี้เลี้ยงดูชีวิตเรา เลี้ยงความเป็นมนุษย์ของเรา แล้วเราก็ Care ซึ่งกันและกัน เพราะถ้าเราอยู่สังคมที่มีช่องว่างกัน
9
มากเหลือเกินระหว่างคนจนคนรวย ความสงบสุขมันอยู่กันยาก นี่คือ Caring Economics อันมาจากหลักปรัชญา
อีกแล้ว ปรัชญาเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ได้ เป็นอย่างดี เราจะบูรณาการเข้าด้วยกัน
ภาพที่ 9 หนังสือเรื่อง Caring Economics: Conversations on Altruism and Compassion, Between
Scientists, Economists, and the Dalai Lama
ที่มา: https://www.amazon.com
ปัญญา: การตีความและความหลากหลาย
ผมพยายามจะเชื่อมโยงความรู้ที่ได้มาจากท่านวิทยากรทั้งหมด ปัญญานั้นมีหลายชื่อ อย่างนายแพทย์
วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงว่า ปัญญามีหลายชื่อและมีหลายระดับ อย่าไปคิดว่าปัญญาเป็นคำเดียวทั้งหมด ผมก็คิด
เช่นนั้น ปัญญา ในภาษาอังกฤษคือ Enlighten ภาษาไทย โพธิจิต ภาษาญี่ปุ่น ซาโตริ หรือบางคนเขาเรียกว่าปรีชาญาณ
ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญญา หรือปัญญา คือ Intuition เชาวปัญญา หรือปัญญาเป็นอย่างที่ Malcolm Gladwell ที่
เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Blink: The Power of Thinking Without Thinking wisdom ปัญญาเกิดขึ้นมาแวบ
หนึ่ง Blink ขึ้นมา นี่คือระดับต่างๆ และรูปแบบหน้าต่างๆ ของปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าเราติดคำนั้นคำเดียว เรา
จะขาดโอกาสที่จะดึงศักยภาพต่างๆ ที่พวกเราล้วนมีในตัวไม่มากก็น้อย แต่อาจจะมองข้ามไปไม่ทันระวังตัวว่าที่เรา
ทำเป็นส่วนหนึ่งหรือรูปแบบหนึ่งของปัญญา
นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือวงจรการเรียนรู้ Learning
Cycle ซึ่งนำเสนอโดย David Kolb ว่าด้วยเรื่อง Reflection ทบทวนมองย้อนกลับ Reflection เป็นเรื่องของ
10
โยนิโสมนสิการ สิ่งที่พวกเราได้มาฟัง ได้มาเรียนรู้กับวิทยากรต่างๆ ทั้งหมดตลอด 3 วันนี้ เป็นเรื่องของ
Experiential Learning หรือ Constructionism พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระมหาบรมศาสดาให้ความสำคัญมากใน
เรื่อง Experiential Learning หากเป็นภาษาที่ทันสมัยขึ้น เราก็จะเรียกว่า “Transformative Learning” แต่แก่น
แท้มันคือตัวเดียวกันผู้เรียน เรียนจากประสบการณ์
อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กล่าวถึงความรู้ หรือสุตมยปัญญา ปัญญาหรือความรู้ที่ได้มาจากคนอื่น และมี
เรื่องจิตมยปัญญา ใช้เรื่องวิธีคิด เรื่องจินตนาการ คนสำคัญของจิตมยปัญญา คือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ อาจารย์ณรงค์เพ็ชร
ประเสริฐ ยังกล่าวถึง ภาวนามยปัญญา หมายถึง ทำไปเรื่อย ๆ ทำไปสม่ำเสมอ สิ่งที่น่าสนใจคือคำว่า “ภาวนา” ใน
ภาษาของพุทธ ภาวนาทำให้เราไปนึกถึงการทำสมาธิ การอยู่กับลมหายใจ แต่แก่นแท้ของภาวนา สมเด็จพระพุทธ
โฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ซึ่งเก่งภาษาอังกฤษ ท่านจะแปลว่า Cultivation การภาวนา คือ การ Cultivation
การ Cultivate แปลว่า การทำให้เจริญ งอกงาม คำว่า ภาวนา จริงๆ แปลว่าทำให้เจริญทำให้งอกงามขึ้น มนุษย์
เจริญงอกงามตรงไหน อายุพอมาถึงยี่สิบมันหยุดเจริญแล้วในทางกาย แต่ไป “เจริญที่ภายใน” เป็น Inner
Journey แทน เพราะฉะนั้น ภาวนาเป็นเรื่องของ Inner Journey ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่อง Experiential ตัวอย่างของ
Experiential คือวิทยากร 2 ท่าน คือ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล และ ดร.กรกต อารมณ์ดี อย่าง ดร.กรกต นำภูมิปัญญา
ออกมาทำให้สิ่งใหม่เกิดขึ้น เรื่องไม่ไผ่ เรื่องความรู้ของก๋ง เรื่องสิ่งที่เห็นตั้งแต่เล็กๆ มาพัฒนาเป็นงานออกแบบ
ระดับโลก
System Thinking: การคิดอย่างเป็นระบบ
ท่านปลัดสิริฤกษ์ ทรงสิวิไล ท่านให้น้ำหนักไปที่เรื่องของการ Mentoring พี่ดูแลน้อง ฟูมฟักช่วยเหลือกัน
ให้เติบโต พระอาจารย์อนิลมาน พูดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของปรัชญา โดยเฉพาะอยู่ในพุทธปรัชญาเป็นหลักอันเป็น
สากล จริง ๆ แล้วพุทธปรัชญาอย่างที่ท่านพูดเป็น Universal เป็นกฎแห่งจักรวาล ไม่มีใครปฏิเสธได้แก้ไขได้
พระพุทธเจ้าเป็นเพียงสังเกต ท่านเป็น Researcher และค้นพบว่าความทุกข์ เป็นกฎแห่งจักรวาล ไม่สามารถแก้ไข
ได้ แม้กระทั่งตัวท่านเองท่านยังแก้ไขไม่ได้ เพียงแต่ท่านจับกฎเกณฑ์ได้ ซึ่งสิ่งท่านทำนี้จริง ๆ แล้วก็เป็น System
Thinking แต่ในสมัยท่าน เราจะอีกเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ทุกอย่างล้วนมาแต่เหตุ เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผลตามมา และ
อีกอันคือ ปฏิจจสมุปบาท เมื่อเหตุปัจจัยมาพร้อมกันสิ่งนั้นจึงเกิด อันนี้อยู่ในสมัยพุทธกาลนั้น ถ้าจะพูดในสมัยใหม่
คือ Signs of Complexity หรือ Adaptive Complexity System ก็ได้ พุทธเจ้าท่านตรัสไว้นานแล้ว ซึ่งก็เป็นแบบ
เดียวกับลัทธิเต๋า เพียงแต่ลัทธิเต๋ามีสไตล์วิธีเล่าคนละแบบ มีลักษณะเป็นเชิงกวี แต่ของพุทธศาสนาเป็น Scientific
เป็นขั้นเป็นตอนเป็นเหตุเป็นผล
ตั้งแต่วันแรกเราจะเห็นการพูดถึง System Thinking ในความหมายของพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้ถ้าใครไปเปิด
YouTube เข้าไปดู Peter M. Senge's เกี่ยวกับ SystemThinking คุณ Peter M. Senge's เขาเป็นวิศวกรทางด้าน
เครื่องบิน อาจารย์เขาคือ Jay Forrester ที่คิดค้นเรื่อง System Dynamic และถ่ายทอดมาให้ความรู้มาถึงรุ่นเขา
11
และต่อมา Peter เขาก็ประยุกต์เรื่อง System ซึ่ง Peter บอกว่าเวลาคนพูดถึง System หรือระบบ คนมักจะ
เข้าใจผิดมักจะไปคิดถึงระบบเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ผิด แต่มันเป็นแค่ระบบเชิงกลไก ระบบทางฟิสิกส์ แต่
สิ่งที่เป็นอันตรายและเป็นสิ่งที่ยาก แล้วอาจารย์ของเขาคือ Jay Forrester กล่าวไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในอนาคต ถือ
ว่าเป็นความรู้ใหม่เรียกว่า New frontier ที่ต้องศึกษาค้นคว้าก็คือ “Human System” เพราะมนุษย์จะทำให้โลก
ทั้งโลก จักรวาล พื้นพิภพ พังทลายได้ เพราะความโลภ ขอให้ท่านทั้งหลายเข้าไปดูใน YouTube โดย Peter เขาจะ
สรุปง่ายๆ ว่า System ในที่นี้จริงๆแล้วก็คือ Interdependent แปลว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนพึ่งพาต่อกันและกัน
ถ้าจะให้ลึกซึ้งเรื่อง Interdependent หรือ System thinking เราต้องอ่านหนังสือชื่อว่า “ดวงตะวัน
ดวงใจฉัน” เป็นหนังสือของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ท่านจะพูดให้ละเอียดว่าเห็นไหมกระดาษ
แผ่นนี้มีพระอาทิตย์อยู่ข้างใน ใครเห็นกระดาษแผ่นนี้แล้วเห็นดวงอาทิตย์ท่านก็จะเห็นอิทัปปัจยตา หรือ
Interdependent ในกระดาษอันนี้ท่านเห็นดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็น System
Thinking ซึ่ง Peter เขาเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อ The Fifth Discipline ซึ่ง Discipline แปลว่า วิชา หรือ
วินัย ดังนั้นหนังสือจึงหมายถึง วิชาที่ 5 วินัยที่ 5 ก็คือวินัยที่ว่าด้วย System Thinking อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลก
จักรวาล และระบบมนุษย์ และตัวเรา และครอบครัวเรา ทุกอย่างพันกัน สัมพันธ์ไปหมด
ภาพที่ 10 หนังสือเรื่อง ดวงตะวันดวงใจฉัน
ที่มา: https://kledthai.com/9786167122243.html
Tacit Knowledge: ความรู้ซ่อนเร้น
ความรู้สามารถแบ่งออกแบบ 2 ประเภทใหญ่คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้
ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) สิ่งที่สำคัญ คือ Tacit Knowledge ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็น
12
ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็น
ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย ซึ่งคนที่มี Tacit Knowledge จะมี
สิ่งดังต่อไปนี้
1. Perceptual Skills โดย Perceptual คือการรับรู้ ยกตัวอย่าง พระพุทธเจ้าทุกเช้าท่านจะนั่งสมาธิแล้ว
ถอดสายตาว่าวันนี้ชั้นโปรดสัตว์ใคร จะสั่งสอนใคร ท่านใช้ญาณท่านไปสัมผัสที่ที่ท่านจะไป กระทั่งเรื่องขององคุลี
มานก็เป็นเรื่องของญาณ ที่ท่านมองเห็นและต้องไปให้ได้ นี่คือ Perceptual เป็นญาณ ญาณทัศนะ เป็นอะไรสัก
อย่างที่อธิบายยาก ภาษาอังกฤษเรื่องว่า Misty ความลี้ลับบางอย่าง อธิบายยาก แต่คุณมีญาณบางอย่าง ถ้าใครเคย
อ่านเรื่องท่านพระอาจารย์สุเมโธ (โรบิร์ต แจ็คแมน) มาเรียนมาฝึกกับ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ในหนังสือชื่อ
ว่า Stillness Flowing เชียนโดย พระอาจารย์ชยสาโร พูดถึงเรื่องราวของหลวงปู่ชา และวัดหนองป่าพง ตอนที่
หลวงปู่ชาท่านสร้างวัดได้สักพักและกำลังต่อเติม ท่านก็ให้ช่างไม้มาสร้างกุฏิแห่งหนึ่ง ช่างไม้ก็ทักว่า “หลวงพ่อนี่ให้
ยักษ์อยู่หรอ เพราะมันใหญ่มากเกินกว่าคนธรรมดาเข้า” หลวงพ่อบอกอีกหน่อยจะมีคนมาอยู่ อีกสี่ห้าปี หลวงปู่สุ
เมโธก็มากราบท่านเมื่อ พ.ศ. 2519 และกลายเป็นพระฝรั่งองค์สำคัญของการจุดประกายนำพุทธศาสนาในสายวัด
หนองป่าพงไปสู่ต่างประเทศ อันที่จริงประเทศไทยก็มีพระธรรมฑูตไปเผยแพร่ศาสนาจำนวนมาก แต่สายวัดหนอง
ป่าพงเริ่มต้นด้วยหลวงพ่อสุเมโธ นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากนะ เรื่องญาณ เรื่อง Perceptual
2. Workarounds ทำไปเรื่อยๆ ทำงานตลอดเวลา เหมือนที่ ดร.กรกต อารมย์ดี ฝึกฝนตนเองตลอดจน
เป็นนักออกแบบระดับโลก
3. Pattern Matching จับ Pattern นั้นนี้เข้าหากัน Pattern เหมือนที่ ดร.กรกต อารมณ์ดี นำการถักอวน
ถักแห การทำว่าว ไม้ไผ่ มาทำ Pattern Matching
4. Judging typically จับให้เห็นความแตกต่างของอันนั้น อันนี้และมาเชื่อมกัน
5. Mental models ถ้าพูดแบบภาษาไทยกว้างๆรวมๆ ก็คือจิต สภาวะจิต หรือคำว่า Mindset เป็นคำ
เดียวกัน
13
ภาพที่ 11 องค์ประกอบของ Tacit Knowledge
ที่มา: จากการนำเสนอของชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ วันที่ 24 มีนาคม 2565
SECI Model: โมเดลการจัดการความรู้
โมเดลเซกิ (SECI Model) คิดโดย ศาสตราจารย์ Ikujiro Nonaka ท่านเป็นคนญี่ปุ่น เป็นโมเดลการจัดการ
ความรู้ ท่านโนนากะ ไม่ได้ใช้คำว่า Knowledge Creation แต่ผมนำมาต่อยอดและเรียกแบบนี้ SECI Model เป็น
ความรู้ที่ต่อยอดมาจากภายนอกและเป็นความรู้ที่มาจากประสบการณ์จริงและสร้างขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้ Professor โน
นากะ เขาทำวิจัยบริษัทที่ทำ Innovation ทั้งหลายในญี่ปุ่น เขารวบรวมความรู้พวกนี้มา สรุปได้ว่า ความรู้นั้นส่วน
หนึ่งมาจากการ Socialization มาสนทนากัน พบปะกัน เพราะฉะนั้น กระบวนการ Dialogue หรือกระบวนการ
ล้อมวง หรือ Learning lab หรือบางคนเขาเรียก Social Lab ก็คือการมานั่งคุยกัน
14
ภาพที่ 12 SECI Model โมเดลการจัดการความรู้
ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:SECI_Model.jpg
Double Loop Learning: การเรียนรู้แบบวนซ้ำ
นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Double Loop Learning แต่ภาพ Double Loop
Learning ที่ผมให้ดูนี้ (ภาพที่ 13) ต่างจากกับของนายแพทย์วิจารณ์ คือ เพิ่มคำว่า Mental model ขึ้นมา ซึ่ง
Mental Model นำไปสู่ Decision Making Rules คนคิดเรื่องนี้ คือ Chris Argyris เป็นคนเชื้อสายกรีก ต้นตระกูล
เป็นชาวกรีกและมาอยู่อเมริกา เป็นอาจารย์ที่ MIT ทำเรื่อง Double Loop Learning สำหรับความพิเศษของ
Mental model คือ พูดถึงเรื่อง Mindset ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของ Learning และ Knowing และนำไปสู่การ
Make Decision วางแผนลงมือทำ Mental Models เป็นตัวที่ลึกที่สุด เป็นเรื่องของ Paradigm กระบวนทัศน์
เป็น Core value รวมเป็นเป็นสภาวะจิตที่กำหนดการตัดสินใจของคน เมื่อ Mindset ของคุณเปลี่ยนไปแล้ว
นำไปสู่การ Action ใหม่ ถึงจะสามารถทำ Double Loop Learning ได้
15
ภาพที่ 13 การเรียนรู้แบบ Double-Loop ของ Chris Argyris
ที่มา: https://hmong.in.th/wiki/Double-loop_learning
Deep Learning Cycle: การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก
หนังสือเรื่อง The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization เป็น
หนังสือของ Peter M. Senge เขาวิจัยและรวบรวมผลงานและวิธีคิดของคนจำนวนมากในการพัฒนาศักยภาพ
และสังเคราะห์ออกมา เรียกว่า Learning Community ซึ่ง Learning นี้จะอยู่ใน Learning Organization สิ่งที่
เชื่อมโยงกับปัญญา หากดูจากภาพ (ภาพที่ 14) เริ่มต้นตรงกลาง Peter เขียนว่า Domain of Enduring Change
(Deep Learning Cycle) Domain คืออาณาจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Enduring ไม่หยุดยั้ง นี่คือวงจร
เรียนรู้อันลึกซึ้งมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการปฏิบัติ องค์ประกอบสำคัญของการเกิด Deep Learning
Cycle คือหนึ่งต้องมี Awareness จริงๆแล้วคือ สติสัมปชัญญะ ไม่มีการเรียนรู้ใดที่ไม่มีสติ สติต้องอยู่ตลอดเวลา
ต้อง สนใจกับสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า Sensibility นี่ก็คือความละเมียดละไม ความละเอียดอ่อน หลวงพ่อพุทธทาสท่าน
16
พูดเสมอว่า “จิตอันนุ่มนวลควรแก่งาน” หมายความว่า ทำไมมนุษย์ต้องมีจิตอันนุ่มนวล จิตอันปราณีตเท่านั้น จึง
จะสร้างสรรค์ผลงานอันปราณีตได้ ตัวอย่างก็เห็นชัดจาก ดร.กรกต อารมย์ดี และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล เขาสองคนมี
จิตปราณีตอันงดงาม บวกกับมีสติสัมปชัญญะ มองอะไรเห็นอะไร เห็นอย่างไร และใช้อย่างไร
เรื่องต่อมา คือเรื่อง Attitude and Believe (ภาพที่ 14) โดย Believe คือ เราเชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่แค่
การเชื่อนี้ไม่พอ ต้องพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริงด้วย เราเชื่อก่อนว่าการทำสิ่งดีๆ นั้นมีความหมาย มีคุณค่าต่อมนุษย์
แต่เราต้องพิสูจน์ว่ามันจริงไหม เพราะความรู้ที่ดีนั้น ศาสตราจารย์โนนากะ เขียนไว้ว่า ความรู้ที่ดีนั้นเป็นความรู้ที่มี
ความงาม อยู่ในนั้นมีทั้งความดีและความงามอยู่นั้น เหมือนกับขงจื๊อก็จะพูด ในพุทธศาสนาก็จะพูด ศิลปะเป็น
ความดี ความงาม เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีความดี ความงาม ท่าทีของเราต่อภูมิปัญญา ท่าทีของเราต่อปราชญ์
ชาวบ้าน ท่าทีต่อคนเล็กน้อย สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีเพื่อน มีกัลยาณมิตร เพราะทัศนคติของเรามันเป็นทัศนคติของ
ความดีความงามและนำไปสู่ การพัฒนา skill มีทักษะไปเรื่อยๆ เก่งไปเรื่อยๆ capability ความสามารถของเราก็
ตามมา นี่คือวงจรการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและการปฏิบัติของ Peter M. Senge ยึดมั่นไว้
ภาพที่ 14 Deep Learning Cycle: การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก
ที่มา https://thesystemsthinker.com/building-organizational-learning-infrastructures/
ความรู้เหล่านี้ได้มาจากไหน ตรง Implicate Order หรือ Generative Order (ภาพที่ 14) Generation
ในที่นี้หมายถึง “เรา” Order หมายถึงระเบียบ Implicate Order หมายถึง ระเบียบนี้มันอยู่แล้วในจักรวาล คนที่
17
ใช้ศัพท์นี้ คือ เดวิด โบห์ม (David Bohm) เป็นนักฟิสิกส์ที่มองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนเชื่อมโยงกันหมด
สิ่งที่เราเห็นมันแยกกัน จริงๆ ไม่ได้แยก ซึ่งอยู่ในหลักพุทธธรรมด้วย สรรพสิ่งทั้งหมายในโลกมันเป็นองค์รวม
เชื่อมโยงกัน อันนี้คือ “ปัญญาจักรวาล” ถ้าเรามีสติ มีความละเอียดอ่อน มีจิตใจ ท่าทีเคารพ ทำจิตให้ว่าง สักพัก
ปัญญาก็เกิด อันนี้คือตัวเดียวกันเลยในพุทธธรรม แต่ Peter เขาสามารถทำให้เป็น Model ให้เราเห็นภาพได้
เข้าใจง่ายขึ้น
เมื่อจิตของเราสงบ ดังนั้น การภาวนา การ Cultivation จึงเป็นเรื่องใหญ่ของปัญญา สุตมยปัญญา จิต
ยมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ก็มาจากสภาวะจิตที่สงบเยือกเย็น ปัญญามันเกิด เมื่อจิตของเราสว่าง เมื่อจิตสงบ
เบิกบาน ปัญญาย่อมเกิด ปัญญาจะไม่เกิดกับจิตที่ขุ่นมัว หงุดหงิด โมโห ขุ่นแค้น ไม่มีวันเกิดปัญญา อันนี้คือความ
ลึกซึ้งมากจาก Learning ไปสู่ Knowing แล้ว เพราะ Knowing เมื่อจิตของเราถึงจุดหนึ่ง ครูแห่งจักรวาล ปัญญา
จักรวาลก็จะมาถึงตัวเรา จำได้ไหมเอ่ยว่ากระบวนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมาจากไหน มาจากสภาวะจิตของ
ท่าน ที่สงบ สว่าง สบายและท่านเลือกเดินทางสายกลาง เลิกบำเพ็ญพุทธกิริยาทั้งปวง กลับมาฉันท์ข้าวปลาย่าง
กลับมาสงบนิ่ง สว่าง และคืนนั้นทั้งคืนท่านก็เข้าสู่สภาวะจิตที่สงบ ท่านจึงตรัสรู้ และนี่คือสภาวะโพธิจิตของ
พระองค์ และเมื่อท่านพบโพธิจิต ท่านก็ไปเรียบเรียงจัดระบบ กระบวนการคิด กระบวนการความรู้มาถ่ายทอด
เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าถ่ายทอดทั้งหมดนี้คือ เทคโนโลยีทางปัญญา ทางความรู้ ทางการฝึกฝน ที่ถูกลำดับ
ขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ เทคโนโลยีตัวนี้ จึงจะสู้กับ AI ได้ ถ้าเราไม่ระวังต่อไป AI จะกินเรา แต่ตัวนี้เราพึ่งตัวเรา
เองจากข้างในของเรา เรามีศักยภาพจากข้างในของตัวเรา นี่คือพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ
เจ้า
ทีนี้มาดูภาพ (ภาพที่ 14) ภาพสามเหลี่ยม คือ เรื่องพื้นที่หรือระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ Peter เขาเขียน
ว่า Domain of Action (Organizational Architecture) สถาปัตยกรรมขององค์กร ในทีนี้ไม่ใช่สถาปัตยกรรมตึก
แต่เป็นสภาวะ Structure เริ่มต้นต้องมี Guiding Idea ความคิดนำ อะไรคือปรัชญานำขององค์กรนี้ และก็มี
Innovation Infrastructure ในทีนี้ของ Peter หมายถึงกฎ ระเบียบ โครงสร้าง ต่างๆ ขององค์กร หากองค์กร
ทั้งหลาย Infrastructure แข็งตัว ขยับอะไรไม่ได้ ศักยภาพ ความสามารถอะไรก็จะไม่เกิดเลย คนเก่งๆ ตายเรียบ
กฎระเบียบที่ฝังเราเอาไว้ ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผล หมดความสามารถเลย มีคนถามว่าเคยมี
องค์กรไหนในไทยไหมที่เป็น Learning Organization หรือ Learning Community เท่าทีผมรู้มีแห่งหนึ่ง องค์กร
นี้คือ “วัดหนองป่าพง” ซึ่งเป็น learning organization ชั้นยอด ถ้าใครไปอ่านประวัติหลวงปู่ชา ท่านเริ่มต้นด้วย
พระสององค์มาสร้างบ้านใกล้บ้าน เพื่อให้โยมพ่อโยมแม่ได้มาปฏิบัติ ได้มาทำบุญทำทาน เริ่มจากสององค์และ
ต่อมามีพระนู้นนี้เข้ามา และเริ่มจุดประกายเมื่อมีพระฝรั่งมาร่วมเรียนรู้กับท่าน และจนบัดนี้สาขาวัดหนองป่าพงมี
ไปทั่วโลก ไปตั้งถึงทวีปแอฟริการ้อยกว่าแห่งแล้ว ในยุโรป อเมริกา แคนาดา เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี
หลวงปู่สุเมโธท่านต้องคอยบินไปต่างประเทศ เพื่อให้กำลังใจน้องๆ คอยให้กำลังใจกัน คอยยกระดับความรู้ เห็น
ไหมครับ จากองค์กรหลวงปู่ชาที่ท่านมรณภาพไปยี่สิบกว่าปี แต่ว่าวัดหนองป่าพงไม่เคยหยุดเจริญงอกงามเติบโต
18
พระเก่งหลายท่านก็ไปเทศน์ที่เมืองนอก พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) พระชยสาโร ไปสอนที่มหาวิยาลัย
สแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัย Harvard นี่เป็นองค์กรที่น่าสนใจมาก
วัดหนองป่าพงมี Innovation และ Infrastructure ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เรียนรู้เชิงภาวนา แยกเขตฆราวาส
เขตสงฆ์ พื้นที่สะอาดงดงาม ระเบียบวินัยชัดเจนมาก ถ้าใครไปวัดในสาขาหนองป่าพง สาขาวัดป่าทั้งหลาย เราจะ
เห็นความสงบเยือกเย็น ต้นไม้ ใบหญ้า วิถีปฏิบัติของผู้เข้าต้องแต่งตัวแบบไหน ใครจะมาบวชพระที่นั่นได้ต้องเป็น
ชีปะขาวหนึ่งปี นี่เป็น Infrastructure เชิงระเบียบวินัย ส่วน Theory and Method อยู่ในพระไตรปิฎกและผ่าน
ตัวพระเป็นผู้สอน มหาวิทยาลัย Guiding Idea ส่วนใหญ่ชัดเจน แต่ด้วย Infrastructure มีปัญหา ระบบนิเวศน์ที่
เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อศักยภาพต่อการเป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัย ต่อนักศึกษา เพราะระเบียบราชการมันแข็งตัวมากๆ
และมีการประเมินผล KPI แบบผิดๆ พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่าวินัยเป็นข้อบังคับ ท่านบอกว่าวินัยเป็นข้อที่ส่งเสริม
ให้คุณได้เก่ง ไปอ่านในพระพุทธศาสนา ไม่มีข้อห้าม มีแต่บอกว่าทำแล้วคุณจะได้ดี ถือศีลห้า ถ้าคุณทำแล้วคุณจะ
เป็นพลเมืองที่ดี มีความสุข มีชีวิตที่งดงาม ทั้งตนเอง และครอบครัวและสังคม แต่ถ้าคุณเป็นพระ คุณจะหลุดพ้น
ถ้าคุณทำตามได้ 227 คุณมีโอกาสที่จะหลุดพ้น ละนี่คือเหตุผลว่าทำไมในพุทธศาสนาจึงพูดเรื่องไตรสิขา ศีลก็คือ
วินัย กฎระเบียบที่คุณทำแล้วคุณเก่ง คุณจะดี ศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธศาสนาจะนำไปสู่ปัญญาเสมอ จบลงที่
ปัญญา
สังคมไทยยังมีต้นทุนที่ดีที่งดงามมาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ในระยะหลังๆ จากการที่ผมติดตาม
การเคลื่อนไหวทั้งการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลกมานี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สนใจทฤษฎี Theory U ของ Otto
Charmer เขาทำเรื่อง Open Mind Open Heart and Open View เป็นแค่หนึ่งในสี่ของพุทธธรรมเท่านั้นเอง ผม
อยากจะจบลงที่ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งมีค่า ดูจากในอเมริกาได้มีการทบทวนภูมิปัญญาอินเดียนแดงขึ้นมาใหม่
ว่าเมื่อก่อนอินเดียนแดงเคยวิถีอย่างไร เพราะเขามีวิถีอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างพอดีกับโลก เป็น Sustainable
Development ถ้าใครไปอ่านเรื่องเก่าๆ ของอินเดียนแดงจะเป็นแบบนั้นทั้งสิ้น ถ้าใครไปถามว่าอินเดียนแดงนั้น
เป็นพวกไสยศาสน์ มีหมอผี หลายคนแย้งไม่จริง อินเดียนแดงเขามีวิทยาศาสตร์ของเขา เพราะเป็นการสะสม
บทเรียนไว้มากมาย แต่ความรู้บางอย่างยากต่อการอธิบายถ้าไม่ทำเอง เหมือนความรู้ในเรื่องของหลุดพ้น เรื่องของ
ปัญญา ถ้าคุณไม่ทดลองเอง ไม่ภาวนา ไม่ฝึกสมาธิเอง คุณไม่มีวันเข้าถึง อันนี้คือความท้าทาย แต่ผมอยากจะบอก
ว่าความรู้ต่างๆ ของชนเผ่านั้นจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในหลายประเทศที่ออสเตรเลีย ความรู้ของเผ่า Aboriginal
กำลังถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ นิวซีแลนด์ความรู้ของชนเผ่าเมารี กำลังถูกดึงขึ้นมาใหม่ ต่อไปนี้การกลับเข้ามาหา
ธรรมชาติ เข้ามาหาโลกเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต่อไปปัญญาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด น้ำและแม่น้ำ หิมะ
ที่เทือกเขาหิมาลัยละลายเร็วกว่าปกติ มีผลกระทบต่อแม่น้ำโขง คงคา ก็จะกระทบกับประเทศไทยและอินโดจีน
ทั้งหมด นี่คือโลกที่เราอยู่ด้วย เป็นโลกของ Interdependent เราแยกกันไม่ได้ เราคือครอบครัวเดียวกันทั้งโลก
19
บทเรียน 10 ประการ จากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์
ผมมี บทเรียน 10 ประการ จากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะคนหนึ่งของโลกมาแนะนำ
ข้อ 1 เดินตามความอยากรู้ของคุณ "ผมไม่มีความสามารถพิเศษใดๆ ผมมีเพียงความอยากรู้อันแรงกล้า"
ข้อ 2 ความมานะบากบั่นนั้นหาค่ามิได้ “ใช่ว่าผมจะเก่งฉกาจ ผมเพียงแต่อยู่กับปัญหานานกว่า" ดร.
วรภัทร์ ภู่เจริญ ได้กล่าวว่า เราเข้าไปอยู่กับปัญหา อยู่กับมันให้นาน ทำความเข้าใจปัญหา และจะคิดออก
ข้อ 3 รวมศูนย์ที่ปัจจุบันขณะ "ชายใดที่สามารถขับขี่โดยปลอดภัยขณะจูบสาวงามนั้น ก็เพียงแต่ไม่ได้ให้
ความใส่ใจแก่การจูบตามที่มันพึงได้รับ" หมายความว่า คุณขับรถและจูบสาวงามไปพร้อมกันนั้นแปลว่า คุณแค่
จุมพิตเท่านั้นเอง แต่หัวใจ Feeling ของคุณไม่ได้ให้สาวงาม คุณต้องมีสมาธิกับสิ่งนั้น คุณทำอะไรในคุณต้องจดจ่อ
Pay attention กับสิ่งนั้น 100% คุณต้อง Concentration นั่นเอง
ข้อ 4 จินตนาการนั้นทรงพลัง "จินตนาการคือทุกสิ่งทุกอย่าง มันคือการเห็นล่วงหน้าในเสน่ห์แห่งชีวิตที่
จะมาถึง จินตนาการสำคัญกว่าความรู้"
ข้อ 5 จงทำผิด "คนที่ไม่เคยทำผิดนั้น ไม่เคยพยายามทำสิ่งใหม่เลย" เรื่องนี้คือ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ
จิตตะ วิมังสา วิมังสา คือการกล้าลอง ไม่ต้องกลัว ทำไปเถอะ ทำผิดเดี๋ยวเดี๋ยวก็เรียนรู้
ข้อ 6 อยู่กับปัจจุบันขณะ "ผมไม่เคยคิดถึงอนาคต - มันมาถึงเร็วเกินพอ" การอยู่กับปัจจุบัน เหมือนใน
หนังสือ Power of Now เขียนโดย Eckhart Tolle จิตมันอยู่ในปัจจุบันขณะ
ข้อ 7 สร้างคุณค่า "การต่อสู้ใช่เพื่อความสำเร็จ แต่เพื่อสร้างคุณค่ามากกว่า" เหมือนคำว่า Value-added
หรือ Meaning
ข้อ 8 อย่าย้ำคิดย้ำทำ "ความวิกลจริต คือการทำสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่หวังผลที่แตกต่าง"
ข้อ 9 ความรู้ได้จากประสบการณ์ "ข้อมูลไม่ใช่ความรู้ แหล่งเดียวของความรู้คือประสบการณ์"
ข้อ 10 เรียนรู้กฎกติกา แล้วเล่นให้ดีกว่า "คุณต้องเรียนรู้กฎกติกาของเกม แล้วคุณต้องเล่นให้ดีกว่าคนอื่น"
ไม่ว่าคุณจะเล่นเกมอะไร คุณต้องเรียนรู้กติกาของเกมนั้น เช่น เล่นเทนนิสก็ต้องรู้กติกาของเทนนิส เล่นแบดมินตัน
ก็ต้องรู้กติกาของแบดมินตัน เล่นฟุตบอลก็ต้องรู้กฎเกณฑ์ของฟุตบอล เล่นรักบี้ก็ต้องรู้กฎเกณฑ์ของรักบี้ ทุกอย่าง
ต้องรู้กำเกณฑ์ก่อนแล้วค่อยพลิกแพลง
20
ภาพที่ 15 หนังสือเรื่อง The Power of Now
ที่มา https://www.se-ed.com
บทสรุป: ปัญญาที่ใช้ประโยชน์ได้
ปัญญาที่ใช้ประโยชน์ได้สำหรับผมโดยเฉพาะในการเรียนการสอนและการปฏิบัติ ก็คือความรู้ที่ใช้ได้อย่าง
ถูกต้องตามกาลเทศะ นั่นหมายถึงว่า ผู้ใช้ต้องมีสติ รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ใด พูดกับใคร บริบทมันเป็นอย่างไร
และเราก็ใช้ความรู้เอามาเล่ามาทำ คือถูกกาลเทศะ นี่คือปัญญาที่ง่ายๆสบายๆและใช้ประโยชน์ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน
คำว่า “ภูมิปัญญา” ภูมิคือแผ่นดินของเรา พื้นที่ประเทศ สังคมไทยที่เราอยู่ถ้าเราพูดจากคนไทย ภูมิ
ปัญญาไทยก็จะมีความนุ่มลึก มีวัฒนธรรม มีเรื่องเล่า มีตัวประวัติศาสตร์ของบรรพชนที่เราสามารถค้นหาได้ในพื้นที่
ต่างๆ ของประเทศ สยามของเรามีเยอะมากเรื่องแบบนี้ ทีนี้ภูมิปัญญามีความหมายอย่างไรกับการต่อยอดกับ
ความรู้สมัยใหม่ ที่เป็น Digital หรือเป็น AI เนื่องจากว่าภูมิปัญญาเป็นเรื่องของแผ่นดิน เรื่องของที่เกิด เรื่องของ
ความหมาย เรื่องของจิตวิญญาณ ยากที่เราจะอธิบายแต่เราสัมผัสได้ รู้สึกได้ จิตวิญญาณ เหมือนอากาศ หายใจ
เข้าใจเข้าไป มันจะมีอะไรสักอย่างที่อยู่ในตัวตนวัฒนธรรมเรา เมื่อมันถูกต่อยอดกับความรู้สมัยใหม่ก็จะเกิด
Innovation เพราะว่า Innovation ทั้งหลายในโลก เก่ากับใหม่ถูก Commination กันใหม่ จัดรูปแบบใหม่ จัดวิธี
ใหม่ แล้วก็เอาให้มาใช้เกิดประโยชน์ได้ นี่คือที่มีค่าระดับโลก เพราะภูมิปัญญาโดยส่วนใหญ่ทั้งโลก มักจะให้คุณค่า
ต่อแผ่นดิน ธรรมชาติ เคารพสิ่งดั้งเดิมของบรรพบุรุษทั้งหลาย จึงจะได้รักษาโลกของเราไว้ได้อย่างยั่งยืน
ที่สำคัญ ความรู้ไปจนถึงปัญญาต้องมีธรรมะด้วย ความรู้เป็นศาสตร์ประเภทหนึ่ง เหมือนกับ Information
of Power ทีนี้ถ้ามาใช้ในทางที่ผิด Fake News หรือความรู้ผิดๆ ก็ทำร้ายโลก ทำร้ายผู้คน ทำร้ายผู้อื่น เอาเปรียบ
ผู้อื่น การมีธรรมะเป็นเรื่องของสัมมาทิฏฐิ ความรู้กับทฤษฎีไปด้วยกันมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำของทุกอย่าง
สัมมาทิฏฐิเป็นกระบวนทัศน์ที่ดีที่ถูกต้อง ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง เป็นสิ่งที่มีค่า ธรรมะเป็นสิ่งที่มีค่า

More Related Content

What's hot

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ชลธิชา เสนอครูนิตยา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์  ชลธิชา   เสนอครูนิตยาคัมภีร์ฉันทศาสตร์  ชลธิชา   เสนอครูนิตยา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ชลธิชา เสนอครูนิตยาJirakit Meroso
 
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชาย
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชายรายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชาย
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชายNuttapat Sukcharoen
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพรampy48
 
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10นิรุทธิ์ อุทาทิพย์
 
3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศkasetpcc
 
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา  เสนอ ครูนิตยายุวธิดา  เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยาNong Ple Chuaytanee
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนพัน พัน
 
2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดียJitjaree Lertwilaiwittaya
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาพระอภิชัช ธมฺมโชโต
 
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34Kittisak Chumnumset
 
น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกน้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกTanutkit Kinruean
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]siep
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระหน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระKrujanppm2017
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกAnchalee BuddhaBucha
 
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)Siririn Noiphang
 

What's hot (20)

คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ชลธิชา เสนอครูนิตยา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์  ชลธิชา   เสนอครูนิตยาคัมภีร์ฉันทศาสตร์  ชลธิชา   เสนอครูนิตยา
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ ชลธิชา เสนอครูนิตยา
 
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชาย
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชายรายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชาย
รายงานวิจัย ทรงผมนักเรียนชาย
 
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล                โดย ครูอัมพรศาสนาสากล                โดย ครูอัมพร
ศาสนาสากล โดย ครูอัมพร
 
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
 
บทที่ 1
บทที่ 1 บทที่ 1
บทที่ 1
 
3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ3 กิตติกรรมประกาศ
3 กิตติกรรมประกาศ
 
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา  เสนอ ครูนิตยายุวธิดา  เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย2.2 อารยธรรมอินเดีย
2.2 อารยธรรมอินเดีย
 
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนาวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาในสมัยล้านนา
 
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34
สามัคคีคำฉันท์.Ppt 34
 
บทที่ 2
บทที่ 2บทที่ 2
บทที่ 2
 
น้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอกน้ำมันมะกอก
น้ำมันมะกอก
 
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ [ภาคการผลิต]
 
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระหน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
หน่วยการเรียนรู้บูรณาการระหว่างกลุ่มสาระ
 
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎกโครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
โครงสร้างและเนื้อหาสาระพระไตรปิฎก
 
โครงงาน 5 บท
โครงงาน  5 บทโครงงาน  5 บท
โครงงาน 5 บท
 
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
ทฤษฏีความต้องการพื้นฐาน(มาสโลว์)
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
กิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศกิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศ
 

Similar to การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...Klangpanya
 
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สถาบันพัฒนาครู
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง   สถาบันพัฒนาครูหนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง   สถาบันพัฒนาครู
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สถาบันพัฒนาครูSakaeoPlan
 
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learningเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative LearningUtai Sukviwatsirikul
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงSongsarid Ruecha
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลKlangpanya
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบKobwit Piriyawat
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdfการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdfJenjiraTipyan
 
9way2be richer
9way2be richer9way2be richer
9way2be richerisaramak
 
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดSununtha Putpun
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ CompleteMuttakeen Che-leah
 
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21Patcha Linsay
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...Klangpanya
 
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนากลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนาfreelance
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านkrupornpana55
 
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามAmnuay Nantananont
 

Similar to การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ (20)

ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
 
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สถาบันพัฒนาครู
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง   สถาบันพัฒนาครูหนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง   สถาบันพัฒนาครู
หนังสือเรื่อง เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง สถาบันพัฒนาครู
 
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learningเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning
เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning
 
คำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวงคำอริยะถึงในหลวง
คำอริยะถึงในหลวง
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 
Shared magazine 3
Shared magazine 3Shared magazine 3
Shared magazine 3
 
13782013511lnn3c1
13782013511lnn3c113782013511lnn3c1
13782013511lnn3c1
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdfการเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร.pdf
 
9way2be richer
9way2be richer9way2be richer
9way2be richer
 
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดการ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
การ เรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
 
Learn c21
Learn c21Learn c21
Learn c21
 
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
วิถีสร้าง การเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนากลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
กลุ่มตนเป็นที่พึ่งแห่งตน --นิเวศวิทยากับศาสนา
 
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้านครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับด้าน
 
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงามธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
ธรรมะสั้นๆเพื่อวันที่ดีงาม
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์

  • 1. รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญาเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต ผู้นำเสนอ อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ประธานสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
  • 3. 1 การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต1 อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ ท่านทั้งหลายได้พบกับ Lifelong Learner ตัวจริงอย่าง คุณพารณ อิสรเสนา ณ อยุธยา ไม่มีใครอีกแล้วที่ อายุมากขนาดนี้ที่ยังใส่ใจเรื่องความรู้ การเรียนการสอน ตลอดชีวิตของท่านตั้งแต่ทำงานมา ท่านทำงานมาตั้งแต่ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จํากัด (Shell) บริษัท Shell เป็นบริษัทแรกที่นำเรื่อง Scenario Planning มาใช้ ทำ ให้เมื่อเผชิญวิกฤตน้ำมันครั้งใหญ่เมื่อ ค.ศ. 1972 เขาได้คาดคะเนไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว พวกเขาคาดคะเน สถานการณ์ได้ถูกต้องและทำให้บริษัท Shell พุ่งทะยานขึ้นมาติดอันดับบริษัทน้ำมันต้นๆ จากเมื่อก่อนเป็นบริษัทที่ เล็กที่สุดในบริษัทน้ำมันด้วย บริษัท Shell เป็นบริษัทตัวอย่างที่ทำให้อาจารย์พารณได้แรงบันดาลใจเรื่อง มนุษย์คือ ทรัพย์สินที่มีค่าที่สุดของบริษัท และนำเอาแนวคิดนี้มาใช้ที่บริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SGC) ส่งคนไปเรียนรู้เรื่อง “The Fifth Discipline” ของ Peter Senge แล้วท่านนำแนวคิดเหล่านี้มาพัฒนาเด็กๆ สร้างโรงเรียนดรุณสิกขาลัย นี่ คือหัวจิตหัวใจของท่านตลอด เราโชคดีที่พบท่านวันนี้ เรื่องการพัฒนาความรู้และปัญญานี้ เริ่มเมื่อ 2 ปีก่อน ท่านรัฐมนตรี อว. (ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์) คุย กันว่าจะทำอย่างไรให้เอาปรัชญามาใช้ในระดับอุดมศึกษา เพราะเราเชื่อว่าพื้นฐานของความเป็นมนุษย์คือ ความสามารถในการคิด เรียน และรู้ พระอาจารย์อนิลมาน ท่านจะแยกคำว่า “เรียน” Learning กับ ตัว “รู้” Knowing มีอะไรบางอย่างที่เหนือกว่าการเรียน มันเป็นการสว่างแวบของปัญญาขึ้นมา เพราะฉะนั้น ในโลก สมัยใหม่ที่เราจะเผชิญกับ AI และเราก็ไม่อยากเป็นทาส AI เราเป็นมนุษย์ เราเป็นคนสร้าง AI และพอสร้างขึ้นมา AI มันก็จะเป็นเจ้านายเราแล้ว มันลำบากแล้ว สิ่งเดียวที่จะเอาชนะ AI ได้ คือความเป็นมนุษย์ของเรา คือ กายภาพ ภายในของความเป็นมนุษย์ ท่านปลัดสิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ได้กล่าวถึง กระบวนการเป็น Mentoring ดูแลซึ่งกันและกัน พี่สอนน้อง มีครู ดี ๆ ดูแลลูกศิษย์ให้กำลังใจ เรียนรู้ แล้วก็มีวิธีจี้ไปบางอย่างเพื่อให้ลูกศิษย์คนนั้นมีแรงบันดาลใจ จนกระทั่งมาถึง พระอาจารย์อนิลมาน ท่านได้อธิบายความนุ่มลึกของศักยภาพภายใน และจากการที่ผมได้ไปร่วมกลุ่มพวกเรียนรู้ ทั้งหลายในต่างประเทศ และส่วนมากที่ผมไปเรียนรู้และปฏิบัติ จะเป็นสายพวกนักเคลื่อนไหวทางสังคม และได้ 1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะ (สสส.) ในวันที่ 16 23 24 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
  • 4. 2 เรียนรู้กับ Peter Senge ก็ได้เข้าหลักสูตรเขาหลายครั้งหลายหน ได้แลกเปลี่ยนคุยกัน และได้แลกเปลี่ยนกับ Otto Scharmer ซึ่งทำเรื่อง The Essentials of Theory U สิ่งที่ค้นพบก็คือว่าความรู้ที่มีค่าที่สุดเป็นปรัชญาที่ พวกเขาแสวงหา กลับมาอยู่ในหลักพุทธธรรมจำนวนมาก ซึ่งจบลงที่ปัญญา ความรู้แจ้ง เราจะเรียกปัญญาว่าเป็น Insight ก็ได้ เป็นปรีชาญาณก็ได้ ประเด็นอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่แค่เรียนแค่สอน แต่จะต้องอยู่ในเนื้อในตัวของผู้คน อยู่ ในเนื้อในตัวของอาจารย์ ยกตัวอย่าง คุณพาณ อิสรเสนา ณ อยุธยา ท่านเป็นคนมีพลัง มีชีวิตชีวา และก็พยายาม ดูแลพวกลูกศิษย์ คนใกล้ชิดให้มี Inspiration ให้มีแรงบันดาลใจแบบนี้ นี่คือคุณค่าที่ท่านพยายามสร้างให้เด็กไทย มีความสามารถและเป็นพลเมืองของโลกด้วย เรามาดูว่าทำไมปรัชญาถึงมีค่าและเราจะทำอย่างไรให้สิ่งเหล่านี้มัน อยู่ในเนื้อในตัวของอาจารย์ ปูชนียบุคคลด้านปรัชญา ปูชนียบุคคลที่ถือเป็น Philosopher King ตามหลักของเพลโต เป็นกษัตริย์จอมปราชญ์ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เราจะเห็นว่าท่านมีความสามารถรอบด้าน เพราะวิธีคิดของท่านลึกซึ้งหลายอย่าง ผมเอง ก็ไม่ทราบว่าท่านได้มาจากไหนอย่างไร เพราะไม่มีใครเขียนประวัติของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้ อย่างลึกซึ้งเพียงพอ ในหลวง ร.9 ท่านประสูติที่สหรัฐอเมริกาที่เมสซาซูเซส และพอเติบโตขึ้นท่านก็เรียนที่โรงเรียน โรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย กรุงเทพฯ แล้วพอชั้นประถมท่านก็ไปอยู่โลซาน ไปเรียนที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ เพราะฉะนั้น ท่านก็ได้รับอิทธิพลฝรั่งเยอะ โดยเฉพาะในสไตล์ของสวิสเซอร์แลนด์ แต่ทำไมท่านจึงลึกซึ้งเรื่องพุทธ ศาสนา แล้วฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง อันนี้เราไม่ทราบ อาจมีแรงบันดาลใจจากสมเด็จพระราชชนนีก็ได้ที่อบรมสั่งสอน ดูแลท่านมาอย่างดี และเมื่อท่านเป็นกษัตริย์ครองราชย์ ท่านก็ประกาศ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อ ประโยชน์สุขแห่งชาวสยาม” อันนี้คือคำประกาศของปราชญ์ที่รับผิดชอบ นี่คือ Philosopher King
  • 5. 3 ภาพที่ 1 ในหลวงรัชกาลที่ 9 Philosopher King ที่มา: http://www.siamtownus.com/2016/New-1612000074-1.aspx อีกท่านหนึ่ง ทุกคนในโลกพูดถึงเขาบ่อย นั่นก็คือ Marcus Aurelius เป็นจักรพรรดิคนสำคัญของโรมัน ใน ยุคที่ Marcus Aurelius ขึ้นมาเป็นจักรพรรดิของโรมัน อาณาจักรของโรมันใหญ่สุด ไม่มีใครใหญ่ได้เท่าท่าน สมัยจู เลียส ซีซาร์ ก็ใหญ่ไม่เท่าเขา เขาโด่งดังในฐานะเขียนหนังสือชื่อ MEDITATIONS ว่าด้วยเรื่องสมาธิ ใคร่ครวญ เป็น นักปราชญ์ที่สนใจสำนัก Stoicism แนวคิดปรัชญาหนึ่งของกรีก ท่านเป็นคนที่หลายคนยกย่อง นี่คือ Philosopher King อีกคนที่เอาหลักปรัชญามาใช้ในการบริหาร การจัดการ การปกครอง ผมอ่านหนังสือของท่าน บทเรียนที่ท่าน เขียนหนังสือ MEDITATIONS บทแรกเริ่มต้นด้วย Gratitude ความขอบคุณ กตัญญู รู้คุณ เริ่มมาก่อนขอบคุณคนที่ เป็นครู ขอบคุณพ่อเลี้ยง ขอบคุณแม่ ขอบคุณผู้คนรอบๆ ตัวเขา รวมทั้งทหารที่รับใช้ ท่านจะขอบคุณทุกคน นี่คือ Philosopher King อีกคนที่เอาหลักปรัชญาใช้ ภาพที่ 2 Marcus Aurelius ที่มา: https://www.amazon.com/Meditations- Penguin-Classics-Marcus- Aurelius/dp/0140449337
  • 6. 4 หนังสือที่แนะนำให้ใช้หลักปรัชญาในชีวิต เล่มที่หนึ่ง หนังสือเรื่อง The Wise Advocate: The Inner Voice of Strategic Leadership คนเขียนชื่อ Art Klenner เป็นอาจารย์อยู่ที่ New York University เป็น Editor ของหนังสือ The Fifth Discipline ของ Peter Senge เขาพูดถึงการศึกษาค้นคว้าจำนวนมากว่าทำอย่างไรให้ผู้นำของเราฉลาด ตัดสินใจได้ดี ถูกต้อง ในเล่มนี้มีการพูดถึงการ ค้นคว้าทาง Neuroscience ทางสมอง ว่าทำไมการฝึกสมาธิ การฝึกสติไปเสริมทำให้สมองเราแข็งแรง เมื่อสมองของเรา แข็งแรงขึ้น การพินิจพิจารณา การสร้างความสัมพันธ์กับผู้คน การตัดสินใจ อะไรควรทำอะไรไม่ควรทำ มักจะถูกต้อง ทำได้ดี อันนี้ก็เป็นหนังสือเล่มหนึ่งเอาหลักปรัชญามาใช้ อันนี้ไม่ต้องยึดถือศาสนาก็ได้ แต่ว่าความมีค่าของชีวิต การรับ ใช้โลก รับใช้เพื่อนมนุษย์เป็นสิ่งที่มีค่าของธุรกิจสมัยใหม่ ภาพที่ 3 หนังสือเรื่อง The Wise Advocate: The Inner Voice of Strategic Leadership ที่มา: https://www.amazon.com เล่มที่สอง หนังสือเรื่อง The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation เขียน โดย Professor Ikujiro Nonaka ที่โด่งดังมาก ท่านจะเขียนหนังสือไว้หลายเล่มที่มาจากงานวิจัยของท่าน ส่วนมากจะ ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับบริษัทญี่ปุ่นที่มี Innovation ท่านยังเคยเขียนหนังสือชื่อว่า The Knowledge Creating Company ซึ่งเล่มนี้ท่านไม่ได้พูดถึงเรื่อง Knowledge Management แต่พูดถึง Knowledge Creation เพราะว่าความรู้มันถูก สร้างขึ้น คล้ายกับแนวคิด Constructivism ถูกสร้างขึ้นมาจากการที่มนุษย์ได้พูดจากัน สังเกตโลก และสร้างขึ้นมา เป็นความรู้ สำหรับหนังสือ The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation เล่มนี้ จะ
  • 7. 5 ช่วยทำให้เราพัฒนามหาวิทยาลัยเป็น The Wise University ได้ The wise ราชภัฏ ก็ได้ the wise ราชมงคล ก็ได้ เพราะใช้หลักการเดียวกันทั้งสิ้น อันนี้น่าสนใจมากครับ ภาพที่ 4 หนังสือเรื่อง The Wise Company: How Companies Create Continuous Innovation ที่มา: https://www.amazon.com เล่มที่สาม หนังสือเรื่อง The Seventh Sense: How Flashes of Insight Change Your Life เขียนโดย William Duggan คือ คนเราจะมีเรื่อง Six Senses เหมือนมีพรายกระซิบ มีญาณบางอย่าง มากระซิบเรา บอกเรา ตัดสินใจแบบนี้สิ ทำแบบนี้สิ ซึ่งชีวิตของเราก็มีเหตุการณ์แบบนี้ตลอด มีอะไรมากระซิบ มาดลใจเรา ไม่รู้อะไรมา ดลใจให้ฉันตัดสินใจดี ๆ แบบนี้ เล่มนี้ก็มีการค้นคว้ารวบรวมงานวิจัยไว้ไม่น้อย โดย William Duggan เขาจะไป ศึกษาจากมนุษย์ที่เก่งๆ ในอดีตหลายคน เล่มที่สี่ หนังสือเรื่อง Napoleon's Glance: The Secret of Strategy เขียนโดย William Duggan เช่นกัน Glance แปลว่าชำเลือง แวบเดียวก็รู้ว่าควรจะทำอะไรแบบไหนยังไง เขาไปศึกษาค้นคว้า ความสามารถใน การรบการตัดสินใจ วางยุทธศาสตร์ของนโปเลียนว่าทำไมสามารถพิชิตของทัพมากมายสมัยนั้น ปรากฏว่า นโป เลียนเป็นคนสมาธิดี และเขาจะอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหน้าเสมอ สมัยก่อนเวลานายพลจะวางแผนจะอยู่ที่ ปราสาท และวางแผนบนกระดาน โมเดลจำลอง ทหารขยับเหมือนเล่นหมากรุก แล้วก็สั่งให้ทหารส่งข่าวไป ทหาร ม้า ปีนใหญ่ วิ่งเข้าไป แต่นโปเลียนไม่ใช่แบบ นโปเลียนยืนอยู่ข้างฐานทัพ แนวหน้า ฐานปืนใหญ่ เพราะฉะนั้น นโปเลียนปืนใหญ่จะเก่งคำนวณ เพราะฉะนั้นจะเห็นสถานการณ์ทั้งหลายเฉพาะหน้าทันทีทันใด นโปเลียนพอ
  • 8. 6 ชำเลืองแปปเดียวก็มองเห็นสถานการณ์ จะทำให้ผู้ต่อสู้คาดไม่ถึงทำไมเป็นแบบนี้ตามแผนควรเป็นอย่างอื่น นโปเลียนอาศัยการ Intuition การรู้โดยสัญชาติญาณหรือด้นสด ตัดสินใจแวบเอาแบบนี้เลย ถึงใช้ชื่อหนังสือว่า Napoleon’s Glance เพราะฉะนั้น สิ่งที่สำคัญของมนุษย์ คือการตัดสินใจอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ William Duggan เขาก็ศึกษาค้นคว้ามาไม่น้อย ซึ่งจะทำแบบนี้ได้สภาวะจิตของคนที่เผชิญหน้ากับแรงกดดัน เรื่องยากๆ แล้วตัดสินใจได้ถูกต้อง เพราะมีอะไรบีบคั้นและยังตัดสินใจทำ เพราะมีอะไรบางอย่างภายในตัวเอง แต่ที่สำคัญคือ มีสติและสมาธิในตอนนั้น ตอนท่านวางแผนตัดสินใจ ภาพที่ 5-6 (ซ้าย) หนังสือเรื่อง The Seventh Sense: How Flashes of Insight Change Your Life (ขวา) หนังสือ เรื่อง Napoleon's Glance: The Secret of Strategy ที่มา: https://www.amazon.com เล่มที่ห้า หนังสือเรื่อง The Essentials of Theory U เขียนโดย Otto Scharmer ทฤษฎีที่ Otto ได้ ศึกษาวิจัยมากว่า 10 ปี Otto เขาเป็นคนเยอรมัน เขาไปเรียนต่อที่ MIT ไปเป็นลูกศิษย์ เป็นผู้ช่วยอาจารย์ของ Peter M. Senge ซึ่งที่นั่นมีอาจารย์เก่งๆ จำนวนมาก เขาได้ศึกษาค้นคว้าว่าคนเก่ง ๆ บนโลก เขาทำเรื่องใหม่ ๆ ยาก ๆ ได้อย่างไร เขาทำเรื่องการคิดจากสภาวะจิตทำอย่างไร ท้ายที่สุดคือการตัดสินใจที่ถูกต้องได้อย่างไร มีการ ตัดสินใจมีความเพียรที่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ผมก็ยังนั่งคุยกับพระอาจารย์อนิลมานว่า พุทธศาสนามีความรู้มากกว่า
  • 9. 7 หนังสือเล่มนี้มาก แต่ยังไม่มีใครเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเอาไว้ได้หมด อันนี้เป็นหน้าที่ที่ น่าสนใจ เรื่องสภาวะภายใน เรื่องปัญญา เรื่องการมีสมาธิ เรื่องความอดทน เรื่องการมีขันติ รับมือกับสถานการณ์ที่ ไม่ได้ดั่งใจ เพราะ VUCA WORLD ไม่ได้ดั่งใจเรา จะทำอย่างไร Theory U ก็พยายามทำเรื่องนี้ แต่ผมคิดว่าในพุทธ ธรรมมีความลึกซึ้งอีกมาก ซึ่งรอการศึกษา ค้นคว้าวิจัยจากพวกท่านในสายประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์ สังคมวิทยา ภาพที่ 7 หนังสือเรื่อง The Essentials of Theory U ที่มา: https://www.amazon.com เล่มที่ 6 หนังสือเรื่อง ศิลปแห่งชีวิต ของท่านพุทธทาสภิกขุ ทำไมปรัชญามาเกี่ยวกับศิลปะตรงไหน แล้ว ทำไมท่านพุทธทาส ท่านย้ำเรื่องศิลปะแห่งชีวิต ทำไมเรื่องความงาม ความละเอียดอ่อน ความอ่อนโยนของจิตใจ เกี่ยวข้องปัญญาความรู้ตรงไหน หนังสือเล่มนี้ของท่านพุทธทาสจะชี้แจงละเอียด เวลาเราคิดถึงปรัชญา ปรัชญาหนี ไม่พ้นจิตใจที่ละเอียดอ่อน จิตใจที่เมตตากรุณา พินิจพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ด้วยความสุนทรีย์ มีความอ่อนโยน เรื่อง ต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งเพราะชีวิตนี้ ชีวิตต้องเผชิญกับความไม่ได้ดั่งใจ เราก็ต้องมีศิลปะในการใช้ชีวิต ศิลปะใน การตัดสินใจ เพราะฉะนั้น เราต้องมีศาสตร์และศิลป์ เป็นเรื่องที่ต้องไปด้วยกันตลอดเวลา ที่นี้เราต้องเอาเรื่องพวก นี้มาผสมอย่างไรกับกระบวนการสอน กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการฝึกคน สร้างคนให้ได้แบบนี้
  • 10. 8 ภาพที่ 8 หนังสือเรื่อง ศิลปะแห่งชีวิต ที่มา: https://www.se-ed.com เล่มที่เจ็ด หนังสือเรื่อง Caring Economics: Conversations on Altruism and Compassion, Between Scientists, Economists, and the Dalai Lama มี Editor คือ Tania Singer คำว่า Caring คือคำว่า แคร์ เรา Care คน การ Care นี้ ถ้าจะตีความหมายให้ลึกคือ มีความใส่ใจ มีความรู้สึกเมตตา กรุณา เราจึง Care หลายคนชีวิตของเราเวลามีปัญหากับคนใครครอบครัว หรือใครก็ตาม ก็มักจะบอกเธอไม่เห็น Care ฉันเลย พอคน ไม่ Care กัน มันไม่เห็นกันเลย ไม่ได้ยินกันเลย ไม่ได้ฟังกันเลยนะ ทีนี้เรื่องแบบนี้กลายเป็น Caring Economics หมายความว่า ต่อไปนี้ ถ้าเราอยากพัฒนาประเทศชาติของเราให้เจริญ ให้เกิด Sustainable Development แต่ ในความหมายของหนังสือเล่มนี้ เราจะพัฒนาการเจริญเติบโตอย่างไร ที่ Care กัน เพราะว่าระบบทุนนิยมถูกสร้าง มาด้วยความเชื่อว่ากลไกตลาดนั้นเกิดขึ้นได้เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนเห็นแก่ตัว อันนี้เป็นนิยามของทุนนิยม ทุกคน อยากรวย เห็นแก่ตัว เมื่อเห็นแก่ตัวแล้วก็จะมี Demand Supply มีจุดเชื่อมพอดีแล้วก็จะใช้ธรรมชาติย่าง สิ้นเปลือง เอาเปรียบได้ก็จะเอาเปรียบ เกิดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจน เกิดช่องว่างระหว่างธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม และท้ายที่สุดเราก็มากินตัวเราเอง กินความเป็นมนุษย์ เกิดสภาวะโลกร้อน สภาวะเรือนกระจก สภาวะ น้ำเสีย เพราะว่าโลภ เพราะฉะนั้น Caring Economics เขาพยายามเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ซึ่งคิดมาจากความเป็น นักปราชญ์ของทุกศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาจะมีเรื่องจะสร้างระบบเศรษฐกิจอย่างไรให้มนุษย์ Care สิ่งแวดล้อม Care แผ่นดิน Care อากาศ Care ป่าไม้ Care ลำน้ำ Care ปลา Care หอย Care ปะการัง เพราะสิ่ง นี้เลี้ยงดูชีวิตเรา เลี้ยงความเป็นมนุษย์ของเรา แล้วเราก็ Care ซึ่งกันและกัน เพราะถ้าเราอยู่สังคมที่มีช่องว่างกัน
  • 11. 9 มากเหลือเกินระหว่างคนจนคนรวย ความสงบสุขมันอยู่กันยาก นี่คือ Caring Economics อันมาจากหลักปรัชญา อีกแล้ว ปรัชญาเชื่อมโยงกับศาสตร์อื่น ๆ ได้ เป็นอย่างดี เราจะบูรณาการเข้าด้วยกัน ภาพที่ 9 หนังสือเรื่อง Caring Economics: Conversations on Altruism and Compassion, Between Scientists, Economists, and the Dalai Lama ที่มา: https://www.amazon.com ปัญญา: การตีความและความหลากหลาย ผมพยายามจะเชื่อมโยงความรู้ที่ได้มาจากท่านวิทยากรทั้งหมด ปัญญานั้นมีหลายชื่อ อย่างนายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงว่า ปัญญามีหลายชื่อและมีหลายระดับ อย่าไปคิดว่าปัญญาเป็นคำเดียวทั้งหมด ผมก็คิด เช่นนั้น ปัญญา ในภาษาอังกฤษคือ Enlighten ภาษาไทย โพธิจิต ภาษาญี่ปุ่น ซาโตริ หรือบางคนเขาเรียกว่าปรีชาญาณ ก็เป็นส่วนหนึ่งของปัญญา หรือปัญญา คือ Intuition เชาวปัญญา หรือปัญญาเป็นอย่างที่ Malcolm Gladwell ที่ เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Blink: The Power of Thinking Without Thinking wisdom ปัญญาเกิดขึ้นมาแวบ หนึ่ง Blink ขึ้นมา นี่คือระดับต่างๆ และรูปแบบหน้าต่างๆ ของปัญญา เพราะฉะนั้น ถ้าเราติดคำนั้นคำเดียว เรา จะขาดโอกาสที่จะดึงศักยภาพต่างๆ ที่พวกเราล้วนมีในตัวไม่มากก็น้อย แต่อาจจะมองข้ามไปไม่ทันระวังตัวว่าที่เรา ทำเป็นส่วนหนึ่งหรือรูปแบบหนึ่งของปัญญา นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้จากประสบการณ์ หรือวงจรการเรียนรู้ Learning Cycle ซึ่งนำเสนอโดย David Kolb ว่าด้วยเรื่อง Reflection ทบทวนมองย้อนกลับ Reflection เป็นเรื่องของ
  • 12. 10 โยนิโสมนสิการ สิ่งที่พวกเราได้มาฟัง ได้มาเรียนรู้กับวิทยากรต่างๆ ทั้งหมดตลอด 3 วันนี้ เป็นเรื่องของ Experiential Learning หรือ Constructionism พระพุทธเจ้าซึ่งเป็นพระมหาบรมศาสดาให้ความสำคัญมากใน เรื่อง Experiential Learning หากเป็นภาษาที่ทันสมัยขึ้น เราก็จะเรียกว่า “Transformative Learning” แต่แก่น แท้มันคือตัวเดียวกันผู้เรียน เรียนจากประสบการณ์ อาจารย์ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ กล่าวถึงความรู้ หรือสุตมยปัญญา ปัญญาหรือความรู้ที่ได้มาจากคนอื่น และมี เรื่องจิตมยปัญญา ใช้เรื่องวิธีคิด เรื่องจินตนาการ คนสำคัญของจิตมยปัญญา คือ อัลเบิร์ต ไอสไตน์ อาจารย์ณรงค์เพ็ชร ประเสริฐ ยังกล่าวถึง ภาวนามยปัญญา หมายถึง ทำไปเรื่อย ๆ ทำไปสม่ำเสมอ สิ่งที่น่าสนใจคือคำว่า “ภาวนา” ใน ภาษาของพุทธ ภาวนาทำให้เราไปนึกถึงการทำสมาธิ การอยู่กับลมหายใจ แต่แก่นแท้ของภาวนา สมเด็จพระพุทธ โฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) ซึ่งเก่งภาษาอังกฤษ ท่านจะแปลว่า Cultivation การภาวนา คือ การ Cultivation การ Cultivate แปลว่า การทำให้เจริญ งอกงาม คำว่า ภาวนา จริงๆ แปลว่าทำให้เจริญทำให้งอกงามขึ้น มนุษย์ เจริญงอกงามตรงไหน อายุพอมาถึงยี่สิบมันหยุดเจริญแล้วในทางกาย แต่ไป “เจริญที่ภายใน” เป็น Inner Journey แทน เพราะฉะนั้น ภาวนาเป็นเรื่องของ Inner Journey ซึ่งสัมพันธ์กับเรื่อง Experiential ตัวอย่างของ Experiential คือวิทยากร 2 ท่าน คือ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล และ ดร.กรกต อารมณ์ดี อย่าง ดร.กรกต นำภูมิปัญญา ออกมาทำให้สิ่งใหม่เกิดขึ้น เรื่องไม่ไผ่ เรื่องความรู้ของก๋ง เรื่องสิ่งที่เห็นตั้งแต่เล็กๆ มาพัฒนาเป็นงานออกแบบ ระดับโลก System Thinking: การคิดอย่างเป็นระบบ ท่านปลัดสิริฤกษ์ ทรงสิวิไล ท่านให้น้ำหนักไปที่เรื่องของการ Mentoring พี่ดูแลน้อง ฟูมฟักช่วยเหลือกัน ให้เติบโต พระอาจารย์อนิลมาน พูดเกี่ยวกับความลึกซึ้งของปรัชญา โดยเฉพาะอยู่ในพุทธปรัชญาเป็นหลักอันเป็น สากล จริง ๆ แล้วพุทธปรัชญาอย่างที่ท่านพูดเป็น Universal เป็นกฎแห่งจักรวาล ไม่มีใครปฏิเสธได้แก้ไขได้ พระพุทธเจ้าเป็นเพียงสังเกต ท่านเป็น Researcher และค้นพบว่าความทุกข์ เป็นกฎแห่งจักรวาล ไม่สามารถแก้ไข ได้ แม้กระทั่งตัวท่านเองท่านยังแก้ไขไม่ได้ เพียงแต่ท่านจับกฎเกณฑ์ได้ ซึ่งสิ่งท่านทำนี้จริง ๆ แล้วก็เป็น System Thinking แต่ในสมัยท่าน เราจะอีกเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ทุกอย่างล้วนมาแต่เหตุ เมื่อมีเหตุก็ต้องมีผลตามมา และ อีกอันคือ ปฏิจจสมุปบาท เมื่อเหตุปัจจัยมาพร้อมกันสิ่งนั้นจึงเกิด อันนี้อยู่ในสมัยพุทธกาลนั้น ถ้าจะพูดในสมัยใหม่ คือ Signs of Complexity หรือ Adaptive Complexity System ก็ได้ พุทธเจ้าท่านตรัสไว้นานแล้ว ซึ่งก็เป็นแบบ เดียวกับลัทธิเต๋า เพียงแต่ลัทธิเต๋ามีสไตล์วิธีเล่าคนละแบบ มีลักษณะเป็นเชิงกวี แต่ของพุทธศาสนาเป็น Scientific เป็นขั้นเป็นตอนเป็นเหตุเป็นผล ตั้งแต่วันแรกเราจะเห็นการพูดถึง System Thinking ในความหมายของพุทธศาสนา ซึ่งเรื่องนี้ถ้าใครไปเปิด YouTube เข้าไปดู Peter M. Senge's เกี่ยวกับ SystemThinking คุณ Peter M. Senge's เขาเป็นวิศวกรทางด้าน เครื่องบิน อาจารย์เขาคือ Jay Forrester ที่คิดค้นเรื่อง System Dynamic และถ่ายทอดมาให้ความรู้มาถึงรุ่นเขา
  • 13. 11 และต่อมา Peter เขาก็ประยุกต์เรื่อง System ซึ่ง Peter บอกว่าเวลาคนพูดถึง System หรือระบบ คนมักจะ เข้าใจผิดมักจะไปคิดถึงระบบเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ ซึ่งไม่ผิด แต่มันเป็นแค่ระบบเชิงกลไก ระบบทางฟิสิกส์ แต่ สิ่งที่เป็นอันตรายและเป็นสิ่งที่ยาก แล้วอาจารย์ของเขาคือ Jay Forrester กล่าวไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในอนาคต ถือ ว่าเป็นความรู้ใหม่เรียกว่า New frontier ที่ต้องศึกษาค้นคว้าก็คือ “Human System” เพราะมนุษย์จะทำให้โลก ทั้งโลก จักรวาล พื้นพิภพ พังทลายได้ เพราะความโลภ ขอให้ท่านทั้งหลายเข้าไปดูใน YouTube โดย Peter เขาจะ สรุปง่ายๆ ว่า System ในที่นี้จริงๆแล้วก็คือ Interdependent แปลว่า สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนพึ่งพาต่อกันและกัน ถ้าจะให้ลึกซึ้งเรื่อง Interdependent หรือ System thinking เราต้องอ่านหนังสือชื่อว่า “ดวงตะวัน ดวงใจฉัน” เป็นหนังสือของหลวงปู่ติช นัท ฮันห์ (Thich Nhat Hanh) ท่านจะพูดให้ละเอียดว่าเห็นไหมกระดาษ แผ่นนี้มีพระอาทิตย์อยู่ข้างใน ใครเห็นกระดาษแผ่นนี้แล้วเห็นดวงอาทิตย์ท่านก็จะเห็นอิทัปปัจยตา หรือ Interdependent ในกระดาษอันนี้ท่านเห็นดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็น System Thinking ซึ่ง Peter เขาเขียนหนังสือขึ้นมาเล่มหนึ่งชื่อ The Fifth Discipline ซึ่ง Discipline แปลว่า วิชา หรือ วินัย ดังนั้นหนังสือจึงหมายถึง วิชาที่ 5 วินัยที่ 5 ก็คือวินัยที่ว่าด้วย System Thinking อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับโลก จักรวาล และระบบมนุษย์ และตัวเรา และครอบครัวเรา ทุกอย่างพันกัน สัมพันธ์ไปหมด ภาพที่ 10 หนังสือเรื่อง ดวงตะวันดวงใจฉัน ที่มา: https://kledthai.com/9786167122243.html Tacit Knowledge: ความรู้ซ่อนเร้น ความรู้สามารถแบ่งออกแบบ 2 ประเภทใหญ่คือ ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) และความรู้ ซ่อนเร้น (Tacit Knowledge) สิ่งที่สำคัญ คือ Tacit Knowledge ความรู้เฉพาะตัว หรือความรู้ที่ฝังอยู่ในคน เป็น
  • 14. 12 ความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ เป็น ความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย ซึ่งคนที่มี Tacit Knowledge จะมี สิ่งดังต่อไปนี้ 1. Perceptual Skills โดย Perceptual คือการรับรู้ ยกตัวอย่าง พระพุทธเจ้าทุกเช้าท่านจะนั่งสมาธิแล้ว ถอดสายตาว่าวันนี้ชั้นโปรดสัตว์ใคร จะสั่งสอนใคร ท่านใช้ญาณท่านไปสัมผัสที่ที่ท่านจะไป กระทั่งเรื่องขององคุลี มานก็เป็นเรื่องของญาณ ที่ท่านมองเห็นและต้องไปให้ได้ นี่คือ Perceptual เป็นญาณ ญาณทัศนะ เป็นอะไรสัก อย่างที่อธิบายยาก ภาษาอังกฤษเรื่องว่า Misty ความลี้ลับบางอย่าง อธิบายยาก แต่คุณมีญาณบางอย่าง ถ้าใครเคย อ่านเรื่องท่านพระอาจารย์สุเมโธ (โรบิร์ต แจ็คแมน) มาเรียนมาฝึกกับ พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท) ในหนังสือชื่อ ว่า Stillness Flowing เชียนโดย พระอาจารย์ชยสาโร พูดถึงเรื่องราวของหลวงปู่ชา และวัดหนองป่าพง ตอนที่ หลวงปู่ชาท่านสร้างวัดได้สักพักและกำลังต่อเติม ท่านก็ให้ช่างไม้มาสร้างกุฏิแห่งหนึ่ง ช่างไม้ก็ทักว่า “หลวงพ่อนี่ให้ ยักษ์อยู่หรอ เพราะมันใหญ่มากเกินกว่าคนธรรมดาเข้า” หลวงพ่อบอกอีกหน่อยจะมีคนมาอยู่ อีกสี่ห้าปี หลวงปู่สุ เมโธก็มากราบท่านเมื่อ พ.ศ. 2519 และกลายเป็นพระฝรั่งองค์สำคัญของการจุดประกายนำพุทธศาสนาในสายวัด หนองป่าพงไปสู่ต่างประเทศ อันที่จริงประเทศไทยก็มีพระธรรมฑูตไปเผยแพร่ศาสนาจำนวนมาก แต่สายวัดหนอง ป่าพงเริ่มต้นด้วยหลวงพ่อสุเมโธ นี่เป็นสิ่งที่น่าสนใจมากนะ เรื่องญาณ เรื่อง Perceptual 2. Workarounds ทำไปเรื่อยๆ ทำงานตลอดเวลา เหมือนที่ ดร.กรกต อารมย์ดี ฝึกฝนตนเองตลอดจน เป็นนักออกแบบระดับโลก 3. Pattern Matching จับ Pattern นั้นนี้เข้าหากัน Pattern เหมือนที่ ดร.กรกต อารมณ์ดี นำการถักอวน ถักแห การทำว่าว ไม้ไผ่ มาทำ Pattern Matching 4. Judging typically จับให้เห็นความแตกต่างของอันนั้น อันนี้และมาเชื่อมกัน 5. Mental models ถ้าพูดแบบภาษาไทยกว้างๆรวมๆ ก็คือจิต สภาวะจิต หรือคำว่า Mindset เป็นคำ เดียวกัน
  • 15. 13 ภาพที่ 11 องค์ประกอบของ Tacit Knowledge ที่มา: จากการนำเสนอของชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ วันที่ 24 มีนาคม 2565 SECI Model: โมเดลการจัดการความรู้ โมเดลเซกิ (SECI Model) คิดโดย ศาสตราจารย์ Ikujiro Nonaka ท่านเป็นคนญี่ปุ่น เป็นโมเดลการจัดการ ความรู้ ท่านโนนากะ ไม่ได้ใช้คำว่า Knowledge Creation แต่ผมนำมาต่อยอดและเรียกแบบนี้ SECI Model เป็น ความรู้ที่ต่อยอดมาจากภายนอกและเป็นความรู้ที่มาจากประสบการณ์จริงและสร้างขึ้นมา ซึ่งเรื่องนี้ Professor โน นากะ เขาทำวิจัยบริษัทที่ทำ Innovation ทั้งหลายในญี่ปุ่น เขารวบรวมความรู้พวกนี้มา สรุปได้ว่า ความรู้นั้นส่วน หนึ่งมาจากการ Socialization มาสนทนากัน พบปะกัน เพราะฉะนั้น กระบวนการ Dialogue หรือกระบวนการ ล้อมวง หรือ Learning lab หรือบางคนเขาเรียก Social Lab ก็คือการมานั่งคุยกัน
  • 16. 14 ภาพที่ 12 SECI Model โมเดลการจัดการความรู้ ที่มา https://commons.wikimedia.org/wiki/File:SECI_Model.jpg Double Loop Learning: การเรียนรู้แบบวนซ้ำ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Double Loop Learning แต่ภาพ Double Loop Learning ที่ผมให้ดูนี้ (ภาพที่ 13) ต่างจากกับของนายแพทย์วิจารณ์ คือ เพิ่มคำว่า Mental model ขึ้นมา ซึ่ง Mental Model นำไปสู่ Decision Making Rules คนคิดเรื่องนี้ คือ Chris Argyris เป็นคนเชื้อสายกรีก ต้นตระกูล เป็นชาวกรีกและมาอยู่อเมริกา เป็นอาจารย์ที่ MIT ทำเรื่อง Double Loop Learning สำหรับความพิเศษของ Mental model คือ พูดถึงเรื่อง Mindset ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญของ Learning และ Knowing และนำไปสู่การ Make Decision วางแผนลงมือทำ Mental Models เป็นตัวที่ลึกที่สุด เป็นเรื่องของ Paradigm กระบวนทัศน์ เป็น Core value รวมเป็นเป็นสภาวะจิตที่กำหนดการตัดสินใจของคน เมื่อ Mindset ของคุณเปลี่ยนไปแล้ว นำไปสู่การ Action ใหม่ ถึงจะสามารถทำ Double Loop Learning ได้
  • 17. 15 ภาพที่ 13 การเรียนรู้แบบ Double-Loop ของ Chris Argyris ที่มา: https://hmong.in.th/wiki/Double-loop_learning Deep Learning Cycle: การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก หนังสือเรื่อง The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization เป็น หนังสือของ Peter M. Senge เขาวิจัยและรวบรวมผลงานและวิธีคิดของคนจำนวนมากในการพัฒนาศักยภาพ และสังเคราะห์ออกมา เรียกว่า Learning Community ซึ่ง Learning นี้จะอยู่ใน Learning Organization สิ่งที่ เชื่อมโยงกับปัญญา หากดูจากภาพ (ภาพที่ 14) เริ่มต้นตรงกลาง Peter เขียนว่า Domain of Enduring Change (Deep Learning Cycle) Domain คืออาณาจักรแห่งการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Enduring ไม่หยุดยั้ง นี่คือวงจร เรียนรู้อันลึกซึ้งมันเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มาจากการปฏิบัติ องค์ประกอบสำคัญของการเกิด Deep Learning Cycle คือหนึ่งต้องมี Awareness จริงๆแล้วคือ สติสัมปชัญญะ ไม่มีการเรียนรู้ใดที่ไม่มีสติ สติต้องอยู่ตลอดเวลา ต้อง สนใจกับสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า Sensibility นี่ก็คือความละเมียดละไม ความละเอียดอ่อน หลวงพ่อพุทธทาสท่าน
  • 18. 16 พูดเสมอว่า “จิตอันนุ่มนวลควรแก่งาน” หมายความว่า ทำไมมนุษย์ต้องมีจิตอันนุ่มนวล จิตอันปราณีตเท่านั้น จึง จะสร้างสรรค์ผลงานอันปราณีตได้ ตัวอย่างก็เห็นชัดจาก ดร.กรกต อารมย์ดี และ ดร.ศิริกุล เลากัยกุล เขาสองคนมี จิตปราณีตอันงดงาม บวกกับมีสติสัมปชัญญะ มองอะไรเห็นอะไร เห็นอย่างไร และใช้อย่างไร เรื่องต่อมา คือเรื่อง Attitude and Believe (ภาพที่ 14) โดย Believe คือ เราเชื่อในสิ่งหนึ่งสิ่งใด แต่แค่ การเชื่อนี้ไม่พอ ต้องพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่จริงด้วย เราเชื่อก่อนว่าการทำสิ่งดีๆ นั้นมีความหมาย มีคุณค่าต่อมนุษย์ แต่เราต้องพิสูจน์ว่ามันจริงไหม เพราะความรู้ที่ดีนั้น ศาสตราจารย์โนนากะ เขียนไว้ว่า ความรู้ที่ดีนั้นเป็นความรู้ที่มี ความงาม อยู่ในนั้นมีทั้งความดีและความงามอยู่นั้น เหมือนกับขงจื๊อก็จะพูด ในพุทธศาสนาก็จะพูด ศิลปะเป็น ความดี ความงาม เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีความดี ความงาม ท่าทีของเราต่อภูมิปัญญา ท่าทีของเราต่อปราชญ์ ชาวบ้าน ท่าทีต่อคนเล็กน้อย สิ่งเหล่านี้ทำให้เรามีเพื่อน มีกัลยาณมิตร เพราะทัศนคติของเรามันเป็นทัศนคติของ ความดีความงามและนำไปสู่ การพัฒนา skill มีทักษะไปเรื่อยๆ เก่งไปเรื่อยๆ capability ความสามารถของเราก็ ตามมา นี่คือวงจรการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งและการปฏิบัติของ Peter M. Senge ยึดมั่นไว้ ภาพที่ 14 Deep Learning Cycle: การพัฒนาโมเดลการเรียนรู้เชิงลึก ที่มา https://thesystemsthinker.com/building-organizational-learning-infrastructures/ ความรู้เหล่านี้ได้มาจากไหน ตรง Implicate Order หรือ Generative Order (ภาพที่ 14) Generation ในที่นี้หมายถึง “เรา” Order หมายถึงระเบียบ Implicate Order หมายถึง ระเบียบนี้มันอยู่แล้วในจักรวาล คนที่
  • 19. 17 ใช้ศัพท์นี้ คือ เดวิด โบห์ม (David Bohm) เป็นนักฟิสิกส์ที่มองเห็นสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ล้วนเชื่อมโยงกันหมด สิ่งที่เราเห็นมันแยกกัน จริงๆ ไม่ได้แยก ซึ่งอยู่ในหลักพุทธธรรมด้วย สรรพสิ่งทั้งหมายในโลกมันเป็นองค์รวม เชื่อมโยงกัน อันนี้คือ “ปัญญาจักรวาล” ถ้าเรามีสติ มีความละเอียดอ่อน มีจิตใจ ท่าทีเคารพ ทำจิตให้ว่าง สักพัก ปัญญาก็เกิด อันนี้คือตัวเดียวกันเลยในพุทธธรรม แต่ Peter เขาสามารถทำให้เป็น Model ให้เราเห็นภาพได้ เข้าใจง่ายขึ้น เมื่อจิตของเราสงบ ดังนั้น การภาวนา การ Cultivation จึงเป็นเรื่องใหญ่ของปัญญา สุตมยปัญญา จิต ยมยปัญญา ภาวนามยปัญญา ก็มาจากสภาวะจิตที่สงบเยือกเย็น ปัญญามันเกิด เมื่อจิตของเราสว่าง เมื่อจิตสงบ เบิกบาน ปัญญาย่อมเกิด ปัญญาจะไม่เกิดกับจิตที่ขุ่นมัว หงุดหงิด โมโห ขุ่นแค้น ไม่มีวันเกิดปัญญา อันนี้คือความ ลึกซึ้งมากจาก Learning ไปสู่ Knowing แล้ว เพราะ Knowing เมื่อจิตของเราถึงจุดหนึ่ง ครูแห่งจักรวาล ปัญญา จักรวาลก็จะมาถึงตัวเรา จำได้ไหมเอ่ยว่ากระบวนการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นมาจากไหน มาจากสภาวะจิตของ ท่าน ที่สงบ สว่าง สบายและท่านเลือกเดินทางสายกลาง เลิกบำเพ็ญพุทธกิริยาทั้งปวง กลับมาฉันท์ข้าวปลาย่าง กลับมาสงบนิ่ง สว่าง และคืนนั้นทั้งคืนท่านก็เข้าสู่สภาวะจิตที่สงบ ท่านจึงตรัสรู้ และนี่คือสภาวะโพธิจิตของ พระองค์ และเมื่อท่านพบโพธิจิต ท่านก็ไปเรียบเรียงจัดระบบ กระบวนการคิด กระบวนการความรู้มาถ่ายทอด เพราะฉะนั้น สิ่งที่พระพุทธเจ้าถ่ายทอดทั้งหมดนี้คือ เทคโนโลยีทางปัญญา ทางความรู้ ทางการฝึกฝน ที่ถูกลำดับ ขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงทุกวันนี้ เทคโนโลยีตัวนี้ จึงจะสู้กับ AI ได้ ถ้าเราไม่ระวังต่อไป AI จะกินเรา แต่ตัวนี้เราพึ่งตัวเรา เองจากข้างในของเรา เรามีศักยภาพจากข้างในของตัวเรา นี่คือพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธ เจ้า ทีนี้มาดูภาพ (ภาพที่ 14) ภาพสามเหลี่ยม คือ เรื่องพื้นที่หรือระบบนิเวศแห่งการเรียนรู้ Peter เขาเขียน ว่า Domain of Action (Organizational Architecture) สถาปัตยกรรมขององค์กร ในทีนี้ไม่ใช่สถาปัตยกรรมตึก แต่เป็นสภาวะ Structure เริ่มต้นต้องมี Guiding Idea ความคิดนำ อะไรคือปรัชญานำขององค์กรนี้ และก็มี Innovation Infrastructure ในทีนี้ของ Peter หมายถึงกฎ ระเบียบ โครงสร้าง ต่างๆ ขององค์กร หากองค์กร ทั้งหลาย Infrastructure แข็งตัว ขยับอะไรไม่ได้ ศักยภาพ ความสามารถอะไรก็จะไม่เกิดเลย คนเก่งๆ ตายเรียบ กฎระเบียบที่ฝังเราเอาไว้ ระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง การประเมินผล หมดความสามารถเลย มีคนถามว่าเคยมี องค์กรไหนในไทยไหมที่เป็น Learning Organization หรือ Learning Community เท่าทีผมรู้มีแห่งหนึ่ง องค์กร นี้คือ “วัดหนองป่าพง” ซึ่งเป็น learning organization ชั้นยอด ถ้าใครไปอ่านประวัติหลวงปู่ชา ท่านเริ่มต้นด้วย พระสององค์มาสร้างบ้านใกล้บ้าน เพื่อให้โยมพ่อโยมแม่ได้มาปฏิบัติ ได้มาทำบุญทำทาน เริ่มจากสององค์และ ต่อมามีพระนู้นนี้เข้ามา และเริ่มจุดประกายเมื่อมีพระฝรั่งมาร่วมเรียนรู้กับท่าน และจนบัดนี้สาขาวัดหนองป่าพงมี ไปทั่วโลก ไปตั้งถึงทวีปแอฟริการ้อยกว่าแห่งแล้ว ในยุโรป อเมริกา แคนาดา เยอรมัน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน อิตาลี หลวงปู่สุเมโธท่านต้องคอยบินไปต่างประเทศ เพื่อให้กำลังใจน้องๆ คอยให้กำลังใจกัน คอยยกระดับความรู้ เห็น ไหมครับ จากองค์กรหลวงปู่ชาที่ท่านมรณภาพไปยี่สิบกว่าปี แต่ว่าวัดหนองป่าพงไม่เคยหยุดเจริญงอกงามเติบโต
  • 20. 18 พระเก่งหลายท่านก็ไปเทศน์ที่เมืองนอก พระราชพฤฒาจารย์ (ห้อม อมโร) พระชยสาโร ไปสอนที่มหาวิยาลัย สแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัย Harvard นี่เป็นองค์กรที่น่าสนใจมาก วัดหนองป่าพงมี Innovation และ Infrastructure ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ เรียนรู้เชิงภาวนา แยกเขตฆราวาส เขตสงฆ์ พื้นที่สะอาดงดงาม ระเบียบวินัยชัดเจนมาก ถ้าใครไปวัดในสาขาหนองป่าพง สาขาวัดป่าทั้งหลาย เราจะ เห็นความสงบเยือกเย็น ต้นไม้ ใบหญ้า วิถีปฏิบัติของผู้เข้าต้องแต่งตัวแบบไหน ใครจะมาบวชพระที่นั่นได้ต้องเป็น ชีปะขาวหนึ่งปี นี่เป็น Infrastructure เชิงระเบียบวินัย ส่วน Theory and Method อยู่ในพระไตรปิฎกและผ่าน ตัวพระเป็นผู้สอน มหาวิทยาลัย Guiding Idea ส่วนใหญ่ชัดเจน แต่ด้วย Infrastructure มีปัญหา ระบบนิเวศน์ที่ เอื้อต่อการเรียนรู้ต่อศักยภาพต่อการเป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัย ต่อนักศึกษา เพราะระเบียบราชการมันแข็งตัวมากๆ และมีการประเมินผล KPI แบบผิดๆ พระพุทธเจ้าไม่เคยบอกว่าวินัยเป็นข้อบังคับ ท่านบอกว่าวินัยเป็นข้อที่ส่งเสริม ให้คุณได้เก่ง ไปอ่านในพระพุทธศาสนา ไม่มีข้อห้าม มีแต่บอกว่าทำแล้วคุณจะได้ดี ถือศีลห้า ถ้าคุณทำแล้วคุณจะ เป็นพลเมืองที่ดี มีความสุข มีชีวิตที่งดงาม ทั้งตนเอง และครอบครัวและสังคม แต่ถ้าคุณเป็นพระ คุณจะหลุดพ้น ถ้าคุณทำตามได้ 227 คุณมีโอกาสที่จะหลุดพ้น ละนี่คือเหตุผลว่าทำไมในพุทธศาสนาจึงพูดเรื่องไตรสิขา ศีลก็คือ วินัย กฎระเบียบที่คุณทำแล้วคุณเก่ง คุณจะดี ศีล สมาธิ ปัญญา พระพุทธศาสนาจะนำไปสู่ปัญญาเสมอ จบลงที่ ปัญญา สังคมไทยยังมีต้นทุนที่ดีที่งดงามมาก ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นเรื่องใหญ่ในระยะหลังๆ จากการที่ผมติดตาม การเคลื่อนไหวทั้งการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายในโลกมานี้ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่สนใจทฤษฎี Theory U ของ Otto Charmer เขาทำเรื่อง Open Mind Open Heart and Open View เป็นแค่หนึ่งในสี่ของพุทธธรรมเท่านั้นเอง ผม อยากจะจบลงที่ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นสิ่งมีค่า ดูจากในอเมริกาได้มีการทบทวนภูมิปัญญาอินเดียนแดงขึ้นมาใหม่ ว่าเมื่อก่อนอินเดียนแดงเคยวิถีอย่างไร เพราะเขามีวิถีอยู่อย่างพอเพียง อยู่อย่างพอดีกับโลก เป็น Sustainable Development ถ้าใครไปอ่านเรื่องเก่าๆ ของอินเดียนแดงจะเป็นแบบนั้นทั้งสิ้น ถ้าใครไปถามว่าอินเดียนแดงนั้น เป็นพวกไสยศาสน์ มีหมอผี หลายคนแย้งไม่จริง อินเดียนแดงเขามีวิทยาศาสตร์ของเขา เพราะเป็นการสะสม บทเรียนไว้มากมาย แต่ความรู้บางอย่างยากต่อการอธิบายถ้าไม่ทำเอง เหมือนความรู้ในเรื่องของหลุดพ้น เรื่องของ ปัญญา ถ้าคุณไม่ทดลองเอง ไม่ภาวนา ไม่ฝึกสมาธิเอง คุณไม่มีวันเข้าถึง อันนี้คือความท้าทาย แต่ผมอยากจะบอก ว่าความรู้ต่างๆ ของชนเผ่านั้นจะถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ในหลายประเทศที่ออสเตรเลีย ความรู้ของเผ่า Aboriginal กำลังถูกรื้อฟื้นขึ้นมาใหม่ นิวซีแลนด์ความรู้ของชนเผ่าเมารี กำลังถูกดึงขึ้นมาใหม่ ต่อไปนี้การกลับเข้ามาหา ธรรมชาติ เข้ามาหาโลกเป็นเรื่องใหญ่ เพราะต่อไปปัญญาโลกร้อนเป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องทั้งหมด น้ำและแม่น้ำ หิมะ ที่เทือกเขาหิมาลัยละลายเร็วกว่าปกติ มีผลกระทบต่อแม่น้ำโขง คงคา ก็จะกระทบกับประเทศไทยและอินโดจีน ทั้งหมด นี่คือโลกที่เราอยู่ด้วย เป็นโลกของ Interdependent เราแยกกันไม่ได้ เราคือครอบครัวเดียวกันทั้งโลก
  • 21. 19 บทเรียน 10 ประการ จากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ผมมี บทเรียน 10 ประการ จากอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ อัจฉริยะคนหนึ่งของโลกมาแนะนำ ข้อ 1 เดินตามความอยากรู้ของคุณ "ผมไม่มีความสามารถพิเศษใดๆ ผมมีเพียงความอยากรู้อันแรงกล้า" ข้อ 2 ความมานะบากบั่นนั้นหาค่ามิได้ “ใช่ว่าผมจะเก่งฉกาจ ผมเพียงแต่อยู่กับปัญหานานกว่า" ดร. วรภัทร์ ภู่เจริญ ได้กล่าวว่า เราเข้าไปอยู่กับปัญหา อยู่กับมันให้นาน ทำความเข้าใจปัญหา และจะคิดออก ข้อ 3 รวมศูนย์ที่ปัจจุบันขณะ "ชายใดที่สามารถขับขี่โดยปลอดภัยขณะจูบสาวงามนั้น ก็เพียงแต่ไม่ได้ให้ ความใส่ใจแก่การจูบตามที่มันพึงได้รับ" หมายความว่า คุณขับรถและจูบสาวงามไปพร้อมกันนั้นแปลว่า คุณแค่ จุมพิตเท่านั้นเอง แต่หัวใจ Feeling ของคุณไม่ได้ให้สาวงาม คุณต้องมีสมาธิกับสิ่งนั้น คุณทำอะไรในคุณต้องจดจ่อ Pay attention กับสิ่งนั้น 100% คุณต้อง Concentration นั่นเอง ข้อ 4 จินตนาการนั้นทรงพลัง "จินตนาการคือทุกสิ่งทุกอย่าง มันคือการเห็นล่วงหน้าในเสน่ห์แห่งชีวิตที่ จะมาถึง จินตนาการสำคัญกว่าความรู้" ข้อ 5 จงทำผิด "คนที่ไม่เคยทำผิดนั้น ไม่เคยพยายามทำสิ่งใหม่เลย" เรื่องนี้คือ อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา วิมังสา คือการกล้าลอง ไม่ต้องกลัว ทำไปเถอะ ทำผิดเดี๋ยวเดี๋ยวก็เรียนรู้ ข้อ 6 อยู่กับปัจจุบันขณะ "ผมไม่เคยคิดถึงอนาคต - มันมาถึงเร็วเกินพอ" การอยู่กับปัจจุบัน เหมือนใน หนังสือ Power of Now เขียนโดย Eckhart Tolle จิตมันอยู่ในปัจจุบันขณะ ข้อ 7 สร้างคุณค่า "การต่อสู้ใช่เพื่อความสำเร็จ แต่เพื่อสร้างคุณค่ามากกว่า" เหมือนคำว่า Value-added หรือ Meaning ข้อ 8 อย่าย้ำคิดย้ำทำ "ความวิกลจริต คือการทำสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่หวังผลที่แตกต่าง" ข้อ 9 ความรู้ได้จากประสบการณ์ "ข้อมูลไม่ใช่ความรู้ แหล่งเดียวของความรู้คือประสบการณ์" ข้อ 10 เรียนรู้กฎกติกา แล้วเล่นให้ดีกว่า "คุณต้องเรียนรู้กฎกติกาของเกม แล้วคุณต้องเล่นให้ดีกว่าคนอื่น" ไม่ว่าคุณจะเล่นเกมอะไร คุณต้องเรียนรู้กติกาของเกมนั้น เช่น เล่นเทนนิสก็ต้องรู้กติกาของเทนนิส เล่นแบดมินตัน ก็ต้องรู้กติกาของแบดมินตัน เล่นฟุตบอลก็ต้องรู้กฎเกณฑ์ของฟุตบอล เล่นรักบี้ก็ต้องรู้กฎเกณฑ์ของรักบี้ ทุกอย่าง ต้องรู้กำเกณฑ์ก่อนแล้วค่อยพลิกแพลง
  • 22. 20 ภาพที่ 15 หนังสือเรื่อง The Power of Now ที่มา https://www.se-ed.com บทสรุป: ปัญญาที่ใช้ประโยชน์ได้ ปัญญาที่ใช้ประโยชน์ได้สำหรับผมโดยเฉพาะในการเรียนการสอนและการปฏิบัติ ก็คือความรู้ที่ใช้ได้อย่าง ถูกต้องตามกาลเทศะ นั่นหมายถึงว่า ผู้ใช้ต้องมีสติ รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในสถานการณ์ใด พูดกับใคร บริบทมันเป็นอย่างไร และเราก็ใช้ความรู้เอามาเล่ามาทำ คือถูกกาลเทศะ นี่คือปัญญาที่ง่ายๆสบายๆและใช้ประโยชน์ได้ทุกเมื่อเชื่อวัน คำว่า “ภูมิปัญญา” ภูมิคือแผ่นดินของเรา พื้นที่ประเทศ สังคมไทยที่เราอยู่ถ้าเราพูดจากคนไทย ภูมิ ปัญญาไทยก็จะมีความนุ่มลึก มีวัฒนธรรม มีเรื่องเล่า มีตัวประวัติศาสตร์ของบรรพชนที่เราสามารถค้นหาได้ในพื้นที่ ต่างๆ ของประเทศ สยามของเรามีเยอะมากเรื่องแบบนี้ ทีนี้ภูมิปัญญามีความหมายอย่างไรกับการต่อยอดกับ ความรู้สมัยใหม่ ที่เป็น Digital หรือเป็น AI เนื่องจากว่าภูมิปัญญาเป็นเรื่องของแผ่นดิน เรื่องของที่เกิด เรื่องของ ความหมาย เรื่องของจิตวิญญาณ ยากที่เราจะอธิบายแต่เราสัมผัสได้ รู้สึกได้ จิตวิญญาณ เหมือนอากาศ หายใจ เข้าใจเข้าไป มันจะมีอะไรสักอย่างที่อยู่ในตัวตนวัฒนธรรมเรา เมื่อมันถูกต่อยอดกับความรู้สมัยใหม่ก็จะเกิด Innovation เพราะว่า Innovation ทั้งหลายในโลก เก่ากับใหม่ถูก Commination กันใหม่ จัดรูปแบบใหม่ จัดวิธี ใหม่ แล้วก็เอาให้มาใช้เกิดประโยชน์ได้ นี่คือที่มีค่าระดับโลก เพราะภูมิปัญญาโดยส่วนใหญ่ทั้งโลก มักจะให้คุณค่า ต่อแผ่นดิน ธรรมชาติ เคารพสิ่งดั้งเดิมของบรรพบุรุษทั้งหลาย จึงจะได้รักษาโลกของเราไว้ได้อย่างยั่งยืน ที่สำคัญ ความรู้ไปจนถึงปัญญาต้องมีธรรมะด้วย ความรู้เป็นศาสตร์ประเภทหนึ่ง เหมือนกับ Information of Power ทีนี้ถ้ามาใช้ในทางที่ผิด Fake News หรือความรู้ผิดๆ ก็ทำร้ายโลก ทำร้ายผู้คน ทำร้ายผู้อื่น เอาเปรียบ ผู้อื่น การมีธรรมะเป็นเรื่องของสัมมาทิฏฐิ ความรู้กับทฤษฎีไปด้วยกันมีสัมมาทิฏฐิเป็นตัวนำของทุกอย่าง สัมมาทิฏฐิเป็นกระบวนทัศน์ที่ดีที่ถูกต้อง ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง เป็นสิ่งที่มีค่า ธรรมะเป็นสิ่งที่มีค่า