SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา
ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย
คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล
โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
จัดโดย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย
ผู้นำเสนอ
คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล
โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ
ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ
อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565
www.klangpanya.in.th
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
1
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย1
คุณพารณ อิศรเสนาณ อยุธยา
ดร.สุรัตน์แท่นประเสริฐกุล
คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
เรียนท่านรัฐมนตรีกระทรวง อว. และอาจารย์ทุกท่าน ผมคิดไม่ถึงเลยว่า ผมอายุ 95 ปีแล้ว จะมีคน
เชิญผมมาพูด ผมอยากเล่าประสบการณ์ผมที่เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาให้ทุกท่านได้ฟัง อันที่จริง ผมไม่ใช่นัก
การศึกษา แต่ผมอยากมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นกับผม ที่ผมมาสนใจในเรื่อง
การศึกษาเป็นอย่างมาก ผมจะเล่าความเป็นมาชีวิตของผมก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน
ผมเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มา 5 ปี ได้ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (ไฟฟ้า) (เกียรติ
นิยมอันดับ 2) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปีถัดมาใน พ.ศ. 2494 ได้รับ
วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งสาขา ทำงานได้
2 ปี ก็ไปต่อปริญญาโทที่ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์( MIT)
สหรัฐอเมริกา
ที่ MIT การเรียนการสอนแตกต่างที่จุฬาฯ มาก เพราะอาจารย์แต่ละท่าน เป็นที่ปรึกษาของบริษัท
ระดับโลก เช่น IBM เป็นต้น สิ่งที่อาจารย์นำมาสอนคือ ประสบการณ์การปฏิบัติจริงจากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ
เวลาเกิดปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำมาออกข้อสอบให้กับนักศึกษา ซึ่งมีประมาณ 20 กว่าคน พอ
ไปเรียนที่ MIT จะเห็นว่าเขาไม่ได้สอนแบบ Talk and Talk เหมือนในไทย ทำให้รู้เลยว่า การเรียนการสอน
ของจุฬาฯ หลายวิชาล้าสมัยแล้ว วิชาที่จุฬาฯ สอนเป็นวิชาที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ที่ MIT อาจารย์จะนำปัญหาที่
เกิดขึ้นจริงในบริษัทต่าง ๆ มาสอนให้เราฟัง และนักศึกษาก็ไปอ่าน Text Book เพิ่ม ในหนึ่งสัปดาห์มีเรียนสาม
วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ หยุดวันอังคาร และวันพฤหัสบดี ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ ทำงานทำการบ้าน
ตลอด ห้องสมุดเปิด 24 ชั่วโมง
กว่าจะจบ MIT ผมแทบกระอักเลือด ผมได้ข้อคิดอย่างหนึ่งจาก MIT คือ Everything is Dynamic
ทุกอย่างเป็นพลวัต ผมจบปริญญาโทจาก MIT แล้ว ได้ทำงานที่ บริษัท General Electric ในสหรัฐอเมริกา
1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวง
การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง
เสริมสุขภาวะ (สสส.) ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
2
บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทำงานอยู่ประมาณ 1 ปีครึ่ง ได้ประสบการณ์ทำงานใน
โรงงาน เขาเน้นว่าอุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ และให้ความรู้ด้าน Product Knowledge
กลับมาเมืองไทย ผมได้เข้าเริ่มทำงานที่บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย บริษัทเชลล์ก่อตั้งมาร่วม 100 ปี
เป็นการร่วมทุนระหว่างคนอังกฤษและคนดัตช์ เป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่มากในยุคนั้น บริษัทเซลล์ถือว่าเป็น
Learning Organization โดยทาง MIT รับรอง เพราะบริษัทอยู่ได้มายาวนาน บริษัทเชลล์ได้พัฒนาคนทั้ง
องค์กรอยู่เสมอ ผมทำงานที่เชลล์ได้ประมาณ 8 ปี
จากนั้นผมได้มาทำงานกับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ที่นี่ผมทำงานหลายอย่าง ผมได้รับมอบหมาย
ภารกิจพิเศษชั่วคราวให้ไปแก้ไขสถานการณ์ของบริษัทอุตสาหกรรมกระดาษไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ
SCG ในฐานะกรรมการผู้จัดการคนแรกจากเครือซิเมนต์ไทยให้รอดพ้นจากการล้มละลาย ให้คืนชีพมาได้ และ
ได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งบริษัท สยามคูโบต้าดีเซล จำกัด ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลหวังจะให้
เครื่องยนต์เอนกประสงค์ดีเซลไปช่วยเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร
ผมเป็นผู้จัดการบริษัทคูโบต้า เครื่องคูโบต้าที่นำมาจากญี่ปุ่น โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย 20
เปอร์เซ็นต์ ประสบการณ์ของคนไทยส่วนใหญ่ผลิตชิ้นส่วนปลอมเป็นหลัก จะผลิตให้บริษัทญี่ปุ่นค่อนข้างยาก
ไทยผลิตส่งของไป 100 ชิ้น ใช้ได้แค่ 15-20 ชิ้น ที่เหลือไม่ได้มาตรฐานของญี่ปุ่น ในโรงงานมีคนญี่ปุ่นอายุ
ประมาณ 40 ปี เป็น Quality Control Manager ถ้าไม่ได้ตามมาตรฐาน เขาจะคืนของหมด เมื่อการผลิตใน
ไทย ผลิตไม่ได้ตามเป้าหมาย ผมก็ไปญี่ปุ่น ไปพบผู้จัดการใหญ่ของญี่ปุ่น แต่สุดท้ายคุณภาพของเรายังไม่ถึง ผม
ก็ต้องกลับมา ผมมาเร่งพัฒนาพวกผลิตชิ้นส่วนในเมืองไทยให้ทำงานมีคุณภาพมากขึ้น จนสามารถทำให้คูโบต้า
ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และต่อมาพวกนี้ก็มาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย ผมก็ภูมิใจ
ผมทำงานที่ SCG ทำงานสำเร็จหลายอย่าง ผู้บริหารเชื่อถือผม อยู่มาวันหนึ่งคุณบุญมา วงศ์สวรรค์
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกษียณอายุแล้วมาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ได้มีการ
เปลี่ยนการบริหารจัดการแบบธุรกิจสมัยใหม่ ท่านเรียกให้ผมไปหา บอกให้ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผมก็ไม่
คิดว่าผมจะทำได้ แต่ผมก็ต้องเป็น ตั้งแต่วันนั้นเปลี่ยนชีวิตผมเลย ผมเคยทำงานที่บริษัทเชลล์ซึ่งพัฒนาคนทั้ง
องค์กร พัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพ ผมได้นำความรู้การพัฒนาบุคลากรจากบริษัทเชลล์ มาปรับใช้กับ
ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งทำงานยากมาก เพราะต้องต่อสู้กับผู้บริหารคนเก่าไม่อยากเปลี่ยนเท่าไหร่
ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการผม จบ
จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งนั้น ผมก็ไม่ได้ยุ่งกับเขามาก ก็ปล่อยให้เขาทำงาน เพราะเขาทำงานดีแล้ว เน้นทำงาน
กันเป็นทีม ผมเป็น CEO ปูนซีเมนต์ไทยและเป็น CSR ปูนซีเมนต์ไทยไปในเวลาเดียวกัน เป็นกรรมการใหญ่อยู่
8 ปี จากนั้นก็เกษียณอายุ องค์กรนี้เชื่อมาตลอดว่า พนักงานหรือบุคลากรเป็นคุณสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร
3
ผมเลยเชื่อว่า เด็กไทยเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดของประเทศไทย ผมเลยตั้งปณิธานชีวิตที่เหลือว่าจะพาเด็กไทยให้สู้
กับระดับโลกได้
ผมมีโอกาสทำงานกับ กศน. ของกระทรวงศึกษาธิการ และทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทไทยคม ที่ทำ
เรื่องการศึกษาผ่านดาวเทียม ได้สรรหาครูที่เก่งที่สุดทั้งคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอื่น ๆ มา
สอนอัดเทป แล้วส่งขึ้นดาวเทียม ถ่ายทอดไปให้เด็กต่างจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเรียนกับครูที่เก่ง
เทียบเท่ากับเด็กในกรุงเทพฯ
จากนั้น เมื่อ พ.ศ. 2539 ผมและเพื่อน ๆ คิษย์เก่า MIT มีความคิดกันว่า “พวกเราต่างก็ประสบ
ความสำเร็จในชีวิตกันมามากพอสมควร น่าที่จะทำอะไรเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อีก” ได้ก่อตั้งมูลนิธิ
ศึกษาพัฒน์ โครงการแสงสว่างแห่งปัญญา นำเทคโนโลยี จาก MIT คือแนวคิด Constructionism มาเผยแพร่
ให้ประเทศไทยและมาพัฒนาคนไทยให้สู้ได้ในเวทีโลก โดยแนวคิด Constructionism ได้รับการวิจัยมา 20 ปี
ให้เด็กได้รับการทำโครงงานร่วมกันตั้งแต่อายุน้อย โดยครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจาก Talk and Talk มาเป็น
Facilitator คือ ผู้สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ (Conducive to Learning) ซึ่งเป็นสิ่งที่
สำคัญมาก และครูจะต้องบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ สร้างบรรยากาศในห้องให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ เพื่อให้เกิด
การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) จึงเกิดเป็นโรงเรียนดรุณสิกขาลัยขึ้นมา โรงเรียนนวัตกรรมแห่ง
การเรียนรู้
ดร.สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล
ดร.สุรัตน์ หรือ ครูอ้อ เป็นผู้ช่วยคุณพารณ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อ
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน ในส่วนของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย อยู่ในกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ
จอมเกล้าธนบุรี เราก่อตั้งขึ้นโดยใช้แนวทางตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแกนหลัก
ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน ใน พ.ร.บ. นี้มีมาตราต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ ในหลายมาตรา เช่น
• มาตราที่ 4 ที่มองว่า การศึกษา คือ การเรียนรู้ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้บุคคล เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ตลอดชีวิต
• มาตราที่ 6 ว่าด้วยความมุ่งหมายและหลักการ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น
มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการ
ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
• มาตราที่ 8 ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้ภาค
สังคมเข้ามีส่วนร่วมกับการศึกษา
4
• มาตราที่ 22 แนวทางการจัดการศึกษา ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนา
ตัวเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา
ตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ในมาตรานี้จะพูดถึง Student Center ไว้ชัดเจนมาก
• มาตราที่ 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องและความถนัดของ
ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก
ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
ในส่วนของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ก่อตั้งบนวิสัยทัศน์ของคุณพารณที่อุทิศชีวิตมาพัฒนาการศึกษาเพื่อ
เด็กไทย เราเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย ด้วยคำว่า “พลเมืองโลก” ที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัยต้องการสร้างเด็ก
ให้เป็นพลเมืองโลก เราได้กำหนดว่าการเป็นพลเมืองโลกควรมีคุณลักษณะ 4 ประเด็น คือ
• Proactive สร้างเด็กไทยให้นักเรียนรู้เชิงรุก มีความกระตือรือร้น สามารถวางแผนการเรียนรู้ สะท้อน
บทเรียนและเรียนรู้
• Self-Discipline วินัยภายใน กำกับตนเองได้ รู้และรับผิดชอบหน้าที่ มีความอดทน พยายาม ตรง
ต่อเวลา
• Inner Quality คุณภาพภายใน มีสติรู้เท่าทัน มีสมาธิดี มีความรัก เมตตากรุณา มีมารยาท รู้จัก
กาลเทศะ
• Social Responsibility รับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม สำนึกและเห็นคุณค่าการ
ใช้ทรัพยากร
แนวคิดการเรียนรู้จะพาเด็กไปถึงเป้าหมาย โรงเรียนดรุณสิกขาลัยใช้แนวคิด Constructivism ซึ่ง
คิดค้นพัฒนาโดย Prof. Seymour Papert แห่ง MIT ที่กล่าวว่า “การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดมาจากการที่ครู
ค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูได้ให้โอกาสแก่ผู้เรียนให้สามารถ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วย
ตัวเอง” จากแนวคิดนี้ สิ่งที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัยได้ทำคือ การให้โอกาสทางการศึกษา จริง ๆ แล้วคำว่าโอกาส
ตีความได้หลากหลาย จากประสบการณ์ทำงานของโรงเรียน พบว่า โอกาสที่เด็ก ๆ ต้องการมากที่สุด คือ
โอกาสทางด้านเวลา เขาไม่ได้ต้องการการเรียนตามตารางจนหมดเวลาชีวิต เขาต้องการเวลาที่จะเรียนรู้อะไร
บางอย่าง เราจึงให้ความสำคัญกับเวลาและพื้นที่การเรียนรู้ของเด็กมาก
5
ภาพที่ 1 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
ตัวหลักสูตรจะมีทั้งประถมและมัธยมศึกษา แต่ขอเจาะไปที่หลักสูตรมัธยมศึกษา ว่ามีการสอนเด็กคน
หนึ่งอย่างไรให้เขาเป็นพลเมืองโลก หลักสูตรของเราชื่อว่า Career Based Learning ประกอบด้วย 3 ส่วน
สำคัญ คือ
• ส่วนที่หนึ่ง คือ Core Subject วิชาพื้นฐาน นำมาจากกระทรวงการศึกษาที่มีภาคบังคับ แต่ไม่ใช่
ตัวชี้วัดตามกระทรวง แต่นำมาปรับเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ ลดเวลาเรียน เพื่อเพิ่มเวลารู้ ซึ่งในส่วนนี้ ให้
เด็กเรียนวิชาพื้นฐาน 3 วันต่อสัปดาห์ กระบวนการเรียนรู้พยายามจะเรียนแบบบูรณาการ Active
Learning
• ส่วนที่สอง คือ Learner Development Activity กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เด็กมีสุขภาพดี (Well
being society) สุนทรียภาพ ทักษะแห่งชีวิต เนื่องจากเด็กนักเรียนจะมาจากครอบครัวในกรุงเทพ
พาไปเจอทักษะโลกแห่งความเป็นจริงมากที่สุด
• ส่วนที่สาม คือ Project วิชาโครงงาน เป็นหัวใจของแนวคิด Constructionism การเรียนรู้เพื่อการ
สร้างสรรค์ปัญญา เราเปิดโอกาสให้เด็กทำโครงงานตามความสนใจ 2 วันต่อสัปดาห์ จัดการเรียนใน
รูปแบบ “บ้านเรียน” คล้ายกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย การเรียนในบ้านเรียน เด็กเลือกได้เองได้
เลย ตามความสนใจ ซึ่งมีการคละชั้นกัน รุ่นพี่รุ่นน้องเรียนด้วยกัน เพราะต้องการจำลองสถานการณ์
การทำงานจริงที่เด็กจะต้องเจอในโลกอนาคต แล้วก็เรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน ตั้งแต่วางแผน
นำเสนอโครงงาน ใกล้เคียงทำวิจัยตอนปริญญาโท เอก เน้นการเรียนรู้ แบบ Peer to Peer
Learning เด็กเรียนรู้กันเอง เรียนรู้ผ่านรุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่มีใจรักเรื่องเดียวกัน บ้านที่เปิดในแต่ละเทอม
6
เราจะดูความสนใจของเด็ก ๆ เป็นหลักก่อน ในบ้านเรียนจะมีเกิดและมีดับตามความสนใจ เช่น เทอม
นี้จะมีการเปิดบ้านเรียนเกี่ยวกับ Cryptocurrency การเงิน การลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ การทำงาน
โครงงานเองก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรได้ตามใจ เรามีหลักการ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDG Goals) ของ UN
มาเป็นเป้าหมาย โครงการจะต้องมีคุณค่า ไม่ใช่แค่ว่าอยากเรียน อยากทำ ต้องมีคุณค่าต่อสังคมด้วย
ภาพที่ 2 หลักสูตรของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
ทั้งนี้ เวลาเด็ก ๆ จะนำเสนอโครงงานจะต้องผ่านการตอบคำถาม 2 คำถามสำคัญ คือ
1) โครงงานนี้ทำให้เราเติบโตอย่างไร จะพัฒนาตัวเขาเองอย่างไร
2) โครงงานนี้บรรลุ SDG Goals อย่างไร ช่วยเหลือสังคมอย่างไร ฝึกให้เด็กคิดแบบมี Compassionate
ต่อสังคม
โครงงานที่เด็ก ๆ ทำจะมีความหมายและมีประโยชน์ต่อสังคมด้วย มีหลากหลายโครงงานที่น่าสนใจ
ยกตัวอย่าง เช่น
• โครงงานผลิตรถไฟฟ้า เกิดจากเด็กสงสัยว่า เมื่อก่อนคุณพารณจะขึ้นไปเยี่ยมเด็กบ่อย ๆ ทำไมช่วง
หลังไม่ได้เยี่ยม นั่นเป็นเพราะคุณพารณมีปัญหาเจ็บเข่า เด็กจึงพยายามจะสร้างรถที่พาคุณพารณไป
ชั้นเรียนต่าง ๆ ได้ สิ่งนี้กระตุ้นความสนใจของเด็ก เลยทำรถไฟฟ้าขึ้นมาที่สามารถขับขึ้นลิฟท์ได้
โครงงานนี้เป็นการทำโครงงานต่อเนื่อง เด็กทำเองทุกอย่าง ตั้งแต่ถอดเครื่องยนต์ เชื่อมเหล็กเอง
ประกอบสร้างใหม่ ปีแรกอยู่ในเด็กอยู่บ้านวิศวะ ปีต่อมาเขาย้ายตัวเองไปบ้านศิลปะ เพื่อไปศึกษาการ
7
ออกแบบเพื่อให้รถสวยขึ้น (ภาพที่ 3) เมื่อเด็กทำโครงงานเสร็จ เขาจะต้องมีการถอดบทเรียนในการ
ทำงานของเขา คล้ายเล่มวิทยานิพนธ์ ผลจากโครงงานทำให้เด็ก ๆ จะมีผลงานและส่งผลให้เขาเข้า
มหาวิทยาลัยได้โดยง่าย
• โครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัยอยู่ในชุมชนบางมด มีขนมไข่ร้านหนึ่งที่อร่อยมาก
แต่ขายได้ราคาถูก เพราะไม่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ เด็กไปเจอและอยากออกแบบเพื่อให้มีมูลค่า
สูงขึ้น จึงไปเก็บข้อมูลกับชุมชน ออกแบบผลิตภัณฑ์มอบให้ร้านค้า จากขายได้แค่ 20 บาท ก็สามารถ
ขายได้ 55 บาท (ภาพที่ 4) แสดงให้เห็นว่า จุดสำคัญก็คือพยายามเชื่อมโยงโลกจริงประสบการณ์จริง
โจทย์ที่มีค่าก็คือ โจทย์จริง
• โครงงาน Smart Farming เกิดจากช่วงโควิด หากเราออกไปซื้ออาหารไม่ได้ เราจะนำอาหารมาจาก
ไหน เด็กคนหนึ่งก็คิดปลูกผักด้วย Smart Farming ในบ้านของตัวเอง เขาสามารถเก็บรับประทาน
และแบ่งปันเพื่อนบ้านได้ และโครงงานนี้ทำให้เด็กคนนี้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้
น้องภูมิใจมาก (ภาพที่ 5)
• โครงงานเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน ช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 ครูมีการรวมกลุ่มคุยกับเด็ก ๆ ว่า
เราจะช่วยสังคมอย่างไรบ้าง เพราะทุกบ้านมีกำลังซื้อเครื่องซื้อกรองอากาศ แต่ชุมชนอาจจะไม่มี
เครื่องกรองอากาศ จึงเกิดเป็นโครงงานทำเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน ระหว่างที่เด็ก ๆ ทำ มีคน
มาเห็นและสนับสนุน 4 หมื่นบาท เลยเกิดเป็นต้นแบบเครื่องกรองอากาศ ที่ปัจจุบันยังติดตั้งจริงที่ห้าง
ซีคอนสแควร์ บางแค (ภาพที่ 6) โครงงานเหล่านี้ เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ บูรณาการวิชาต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน
กระตุ้นให้เขานำความรู้ในห้องเรียน มาประยุกต์กับของจริง
ภาพที่ 3 โครงงานรถไฟฟ้า โครงงานต่อเนื่อง
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
8
ภาพที่ 4 โครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
ภาพที่ 5 โครงงาน Smart Farming
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
9
ภาพที่ 6 โครงงานเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
ผมได้นำแนวคิด Constructionism ไปเผยแพร่ที่โรงเรียนแถวมาบตราพุด โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ที่เชิงเขา
จังหวัดระยอง ไกลตัวเมืองมาก เป็นโรงเรียนประจำ หลักสูตรเรียนครึ่งปี อีกครึ่งปีไปทำงานปิโตรเคมีที่บริษัท
ต่าง ๆ เช่น บริษัท ปตท. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทไทยออยด์ บริษัทอื่น ๆ โรงเรียนนี้ได้นำแนวคิด
Constructionism และการเรียนรู้แนวทางของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยไปใช้ เด็กโรงเรียนแห่งนี้หลังจากจบไป
แล้ว ได้เงินเดือน รายได้ 3 หมื่นบาท เด็ก ปวศ. เข้าไปทำงานแท่นจุดเจาะน้ำมันได้รายได้ถึง 6 หมื่นบาท ทาง
ภาคเอกชน บริษัทต่าง ๆ รวมกันเรี่ยรายเงินสนับสนุนโรงเรียนนี้ 10 ล้านบาทให้ใช้ทุก 5 ปี โรงเรียนนี้ใช้
แนวทางตาม พ.ร.บ. การศึกษา ปี 2542 แทบจะแห่งเดียวในประเทศไทยและได้ผลดีเป็นอย่างมาก บริษัท
ปิโตรเคมียอมรับเด็ก ๆ ที่นี่มาก
10
คำถาม – คำตอบ
คำถามที่ 1 (ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีกระทรวงอว. ถาม) สิ่งที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย
ทำ จะสามารถมาใช้ในระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร สอนในมหาวิทยาลัยอย่างไรดี
คำตอบ (คุณพารณตอบ) แนวคิด Constructionism ของ Prof. Seymour Papert ใช้เวลาเกือบ 20 ปี ใน
การวิจัยและพบว่าศักยภาพของเด็กไม่เท่ากัน ให้เด็กทำเรื่องที่ชอบ แล้วบูรณาการกับเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
กับเด็ก ผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูเปลี่ยนบทบาทเป็น Facilitator เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ จะทำให้เด็ก
สนใจการเรียนรู้มากกว่า Talk and Talk วิชาที่ท่านสอน ผมรับรองล้าสมัยหมดแล้ว เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ
มาเยอะมาก เช่น คริปโต Metaverse เด็ก ๆ ของผมตามสิ่งเหล่านี้ทันหมด เมื่อจบไปแล้วเขารู้เท่าทันการ
เปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา
โรงเรียนที่มาตราพุดทำได้ มหาวิทยาลัยก็ต้องทำได้ โรงเรียนที่ระยองเขาไม่ได้ทำแค่เรื่องปิโตรเคมี เขา
ทำเรื่องอุตสาหกรรมไฟฟ้าด้วย ในมหาวิทยาลัยก็ควรทำได้ โดยอาจจะเริ่มจากทำเล็ก ๆ ก่อน ผมมีตัวอย่าง
สถาบันระดับอุดมศึกษาที่ใช้ Constructionism คือที่ Olin College of Engineering อยู่ที่บอสตัน
สหรัฐอเมริกา เขาใช้ Project Base Learning วิทยาลัยนี้เขาสอนโดยใช้โครงงานเป็นหลัก กระทรวง อว.
น่าจะส่งคนไปดูงานสักที่ Olin College of Engineering ไปดูเขาสอน ก็จะดีมาก ๆ
แนวคิด Constructionism คือหลักการของศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าออกธุดงค์อยู่หลายปี ถึงจะตรัส
รู้ สอนหลักสูตรชีวิต มา 2,500 ปี เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ๆ ส่วนตัวผมเองก็ธุดงค์ในทางวิทยาศาสตร์อยู่
หลายปี กว่าจะทำได้
คำถามที่ 2 ผมในฐานะสอนวิทยาศาสตร์ และก็ใช้วิธีการสอนแบบที่คุณพารณได้กล่าวมา สิ่งที่เจอก็คือระบบ
ไม่สนับสนุน ผมสอนไฟฟ้าและพลังงาน พาเด็ก ๆ ลงพื้นที่ ไปดูการเผาถ่านจากไม้ตะเกียบ ทำให้มีคาร์บอน
คุณภาพที่ดี มองเห็นว่า นี่คือสิ่งที่ควรเกิดขึ้นในการเรียนรู้ แต่ผู้บริหารระดับที่สูงขึ้นไปมองไม่เห็นแบบนั้น ผม
เลยมองเห็นว่า ถ้าจะมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกำหนดในหลักสูตรคงจะดี เพื่อให้วิธีการแบบนี้ยังไปต่อได้ ไม่
โดนขัดขวาง เด็ก ๆ ชอบ ผู้บริหารไม่ได้สนับสนุนแบบนี้ ระบบก็เป็นส่วนหนึ่ง คนที่มีพลังมาทำด้านนี้ ไม่มีพลัง
ที่จะขับต่อไปได้
คำตอบ (รัฐมนตรีกระทรวงอว. ตอบ) ตอนนี้ในทางหลักการ เราทำได้หมดแล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่เป็น
ปัญหา ทำมาเถอะ ผมยกเว้นให้หมด สิ่งที่ท่านบ่นมา มันเป็นเรื่องเก่า แต่ว่าความเป็นจริง กระทรวง อว. กำลัง
11
เปลี่ยนเร็วมาก ต้องจับกระแสใหม่ ๆ และเอามาใช้ให้ได้ ถ้าท่านเห็นว่าการสอนวิทยาศาสตร์แบบ Project
Based แล้วไปขัดกับมาตรฐานของกระทรวง หรือของคณะ ของมหาวิทยาลัย ให้ทำเรื่องขอยกเว้นมา ท่าน
สามารถนำคนไม่จบปริญญา มาสอน ยังได้เลย ถ้าเขาเก่งกว่าเรา ตอนนี้ กระทรวงอว. องค์กรสูงสุดรับแนวคิด
นี้ อธิการบดี คณบดี ไม่รับก็สามารถเปลี่ยนคนได้ เราควรอยู่ด้วยความหวัง ไม่ใช่อยู่กับความท้อแท้ ความ
ท้อแท้นี่เป็นโรคระบาด เพราะหนึ่งคนท้อแท้ ที่เหลือก็ท้อไปหมด บางครั้งทำเรื่องดี ๆ ก็ทำยาก ถ้าจะทำให้
สำเร็จมีหลายวิธี เช่น กดดันทางสังคม ไปหาพันธมิตร ทำในมหาวิทยาลัยไม่ได้ก็ทำนอกมหาวิทยาลัย เราต้อง
สวมจิตใจเป็นผู้บุกเบิก เหมือนที่คุณพารณเป็น กว่าจะมีวันนี้ก็ต้องผ่านคำดูถูกอะไรมาบ้าง ผมตอนเป็น
รัฐมนตรีก็ไม่ได้มั่นใจว่าจะทำอะไรได้มาก ติดขัดไปหมด แต่ตอนนี้แต่ละอย่างเริ่มเชื่อมกันได้มากขึ้น
(คุณพารณตอบ) ผมบอกเลยว่าถ้าผู้บริหารหรือ CEO ไม่เอา ก็เปลี่ยนไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนที่ผู้บริหาร
ก่อน และอีกเรื่องมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนผมก็ตาม การวิจัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ถ้าอาจารย์เหล่านี้ไปทำ
วิจัย คิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ได้ ผู้บริหารจะมองเห็นเองว่าเราเก่ง กระทรวง อว. ลองส่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ไปดูงานที่ Olin College of Engineering กลับมาแล้วจะเห็นอะไรมากมาย ที่ผ่านมาถ้ามหาวิทยาลัยทำตาม
แนวทาง พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 ประเทศชาติจะรุ่งเรืองขนาดไหน เราคงตามอเมริกา อังกฤษ ใกล้ชิด
การทำวิจัยส่งเสริมความรู้ใหม่ ๆ ผู้บริหารก็จะเห็นความเก่ง แต่ถ้านายยังหัวโบราณ จบเห่ ถ้าท่านทำวิจัยเก่ง
จริง ๆ การทำวิจัยเป็นหัวใจของอุดมศึกษา ถ้าอุดมศึกษาไม่ทำงานวิจัยก็ตามหลังเขาตลอด
คำถามที่ 3 สิ่งที่คุณพารณพูด ผมเคยมีประสบการณ์ในเรื่องของการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ผ่านประสบการณ์และ
ข้อจำกัดทุกอย่าง แต่สิ่งที่ผมทำ คือเลี่ยงการชนกับผู้บริหาร ผมไปขอทางด้านสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมี
ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นนักธุรกิจ ขอให้ท่านช่วยผมเปิดหลักสูตรการค้าปลีกร่วมกัน ระหว่างราชมงคลล้านนาและ
บริษัทเซ็นทรัล ผมเปิดหลักสูตรคล้าย ๆ แบบนี้ 3 วันเรียน 3 วันทำงาน เด็กเรียน 4 ปี ประสบความสำเร็จมาก
แต่คนทำหลักสูตรเครียดมาก ผู้บริหารต่อต้าน แต่ผมไม่สนใจ ผมสนใจตัวนักศึกษาอย่างเดียว ถ้าคิดในแง่ของ
การคิดบวก ทุกอย่างจะไปข้างหน้าได้ตลอด แต่ถ้าเมื่อไหร่เขาคิดไปทางลบ ทุกอย่างจะมีข้อจำกัด
มหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งมีโรงเรียนสาธิตเป็นของตัวเอง สามารถทำได้เลย แต่ที่ผ่านมามหาวิทยาลัย
ราชภัฏทิ้งจุดเด่นของตนเอง มาเปิดปริญญาตรีแข่งมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ความคิดของคุณพารณ ทุกท่าน
สามารถนำไปทำได้เลย
คำถามที่ 4 ผมสอนเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ ตอนสอนมีทั้งทฤษฏี และการลงพื้นที่ ผมพาไปลงพื้นที่แถวบางมด
จอมทอง เมื่อก่อนคลองบางมด ไม่มีการพัฒนาอะไรเลย ก็เลยให้เด็กไปเป็นกลุ่ม ใช้หลักการประชาธิปไตย
ชุมชน ไปทำกระบวนการกลุ่มกับทางชุมชน สร้างโครงการขึ้นมา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเด็กมีอยู่หลายระดับ พื้น
เพของเด็ก ๆ มีไม่เท่ากัน เด็กประเภทมีหัว จะแก้ปัญหาไปเอง แต่ว่าเด็กพื้นเพมัธยมไม่ดี ก็ไปไม่ได้จริง ๆ เขาก็
จะทำแค่เรื่องพื้นฐาน คำถามประการแรก คือ ถ้าเจอเด็กประเภทแบบนี้ ทางประสบการณ์ของอาจารย์จะแก้
12
อย่างไร จะสร้างกระบวนการเพิ่มเติมได้อย่างไร คำถามที่สอง แนวคิด Constructivism สามารถใช้ในห้อง
ขนาดใหญ่ได้หรือไม่
คำตอบ (คุณพารณตอบ) แนวคิด Constructivism ในห้องขนาดใหญ่ทำยาก ต้องแบ่งห้องขนาดเล็ก
แบ่งเป็นหลายห้อง 20-30 คน หากไม่แบ่งคนก็ไม่มีประโยชน์
(ดร.สุรัตน์ตอบ) กลุ่มผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันมาก ๆ ควรออกแบบแผนการสอนแบบนี้ คือ
เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ตัวผู้เรียน ว่าเขามีลักษณะแบบไหน หากมี 30-40 คน ให้จัดกลุ่มประเภท ก็จะได้สัก
3-4 กลุ่ม เราถึงสามารถจะวางแผนการเรียนการสอนได้ เราเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์
บุคลิกภาพของเด็ก เราถึงจะตั้ง Goal เป้าหมายการเรียนรู้คืออะไรได้ และต้องตั้งแบบเป็นสมรรถนะ ด้วย เช่น
เขาจะต้องทำอะไรได้ในสาระการเรียนรู้นี้ ต่อไปค่อยคิดเรื่องกิจกรรมการเรียนรู้ ยิ่งเด็กมีความสามารถที่
หลากหลาย การเรียนแบบกลุ่มจะช่วยได้มาก เด็กไม่ต้องเก่งเหมือนกัน เด็กบางคนคิดเก่ง บางคนพูดเก่ง บาง
คนทำเก่ง แต่ละคนไม่เหมือนกัน เขามีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ตัวกิจกรรมที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เราเรียนผ่าน
การลงมือผ่านปฏิบัติให้มากที่สุด (Activelearning) การเรียนรู้นั้นจะต้องทำไปสู่การเกิดชิ้นงานอะไร
บางอย่างเสมอ เช่น เป็นงานประดิษฐ์ รายงาน วิดีโอ ก็ได้ แล้วสุดท้ายนำไปสู่การประเมิน การประเมินผลที่ดี
คือ Formative Learning ประเมินผู้เรียนเป็นระยะ ไม่ใช่ประเมินในตอนท้าย
หากแผนการสอน A ไม่ดี ก็ปรับเป็นแผนการสอน B ทุกครั้งที่สอนเด็ก เราคุยกับผู้เรียนตลอด เด็กจะ
คุ้นชิ้นกับการยืดหยุ่น และการวางเป้าหมาย เวลาเรียนจะสอนเรื่องอะไรสักอย่าง ให้คิดก่อนว่า เป้าหมายที่
แท้จริง (Passive Knowledge) ของเรื่องนั้นคือเรื่องอะไร และกว่าจะเกิดองค์ความรู้เรื่องนั้นได้ จำเป็นต้องรู้
และต้องทำอะไร เอาเปลือกนอกที่สุดเชื่อมโยงกับตัวเขาอย่างไร ถ้าเชื่อมโยงได้ การเรียนรู้จะมีความหมาย
เวลาเราคิดแผนการสอน ให้เราคิดจากในออกนอก แต่เวลาสอนคือสอนจากนอกเข้าใน จะช่วยสร้างเรียนกับ
Connect กับตัวผู้เรียน
ภาพที่ 7 กรอบในการวางหลักสูตรให้ผู้เรียน
ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
13
คำถามที่ 5 แนวคิด constructionism ติดตัวเด็กไปหรือไม่ เพราะสุดท้ายเด็กจะเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย
เด็ก ๆ มีปัญหาอะไร
คำตอบ (ดร.สุรัตน์ตอบ) ศิษย์เก่าจะเยี่ยมโรงเรียนบ่อย โดยทั่วไป จะพบว่า เด็กที่เข้าเรียนใหม่ ๆ จะกังวล
เพราะสิ่งที่เขาเรียนมาค่อนข้างแตกต่างกับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเขาตั้งตัวได้ เขาจะไปได้ดีมาก เพราะว่าทักษะ
ความเป็นผู้นำ การจัดการ ที่เขาได้รับ ทำให้เขาเป็นผู้นำได้ในห้องเรียน เราถามเด็กว่า ทักษะอะไรที่เด็กได้ติด
ตัวไปจากโรงเรียนดรุณสิกขาลัยแล้วมีประโยชน์ที่สุด เด็กตอบเหมือนกันเกือบหมดว่า “การทำโครงงาน” ทำ
ให้เขาจัดการการเรียน ปัญหาที่ไม่รู้ได้ ทักษะการสื่อสารกับเพื่อน การทำงานกับคนที่แตกต่างหลากหลายมาก
ๆ และรายงานถอดบทเรียนที่พวกเขาทำตอนมัธยมนั้น ยากยิ่งกว่าการทำวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ
ทุกอย่างเลยง่ายขึ้น
(คุณพารณตอบ) ทักษะติดตัวไปมหาวิทยาลัยและมีประโยชน์กับเด็ก ส่วนใหญ่เด็กของเราจะเป็นผู้นำ
ในชั้นเรียน เรียนต่ออะไรได้สบาย เด็กจบโรงเรียนเราเข้ามหาวิทยาลัยปิดได้ทั้งหมด เข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์
มหิดล ศิลปากร ได้หมด โรงเรียนผมมี Learning Lab ด้วย ได้แนวทางมาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด
(Stanford University) คล้าย Maker Space เป็นห้องหนึ่งที่มีเครื่องมือ ให้เด็กได้ประลองไอเดีย เขาอยากทำ
อะไร ทำฝันให้เป็นจริงได้ ครูจะเรียนรู้ร่วมกัน เด็ก ๆ สมัยนี้ ถ้าเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เขาเขาเรียนรู้ได้ดีกว่าครู

More Related Content

Similar to ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒDrDanai Thienphut
 
Thinking schools, learning nation
Thinking schools, learning nationThinking schools, learning nation
Thinking schools, learning nationDrDanai Thienphut
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...สุรพล ศรีบุญทรง
 
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53Yumisnow Manoratch
 
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม นิสิต รหัส 55 ส่งคณะ
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม  นิสิต รหัส 55 ส่งคณะหลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม  นิสิต รหัส 55 ส่งคณะ
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม นิสิต รหัส 55 ส่งคณะFriend Focus
 
โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56Met Namchu
 
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 1 50
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 1 50หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 1 50
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 1 50Makin Puttaisong
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาวิทวัส รัตนวิรุฬห์
 
58 pdf e news
58 pdf e news58 pdf e news
58 pdf e newsshm-nstda
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชKlangpanya
 
มุมมองพี่เลี้ยง
มุมมองพี่เลี้ยงมุมมองพี่เลี้ยง
มุมมองพี่เลี้ยงMr-Dusit Kreachai
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบKobwit Piriyawat
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1tongsuchart
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนKlangpanya
 

Similar to ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (20)

การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
การบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล โดย ดร.ดนัย เทียนพุฒ
 
Thinking schools, learning nation
Thinking schools, learning nationThinking schools, learning nation
Thinking schools, learning nation
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
 
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
จุดประกายการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ การสร้างเสริมสุขภาพรร.เอเชียแอพอร์ท28มีค 53
 
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม นิสิต รหัส 55 ส่งคณะ
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม  นิสิต รหัส 55 ส่งคณะหลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม  นิสิต รหัส 55 ส่งคณะ
หลักสูตรอบรมเตรียมความพร้อม นิสิต รหัส 55 ส่งคณะ
 
Ha forum20
Ha forum20Ha forum20
Ha forum20
 
โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56โครงการและกำหนดการ15กพ56
โครงการและกำหนดการ15กพ56
 
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 1 50
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 1 50หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4)  Page 1 50
หนังสือ KM หนองพอก ปี 2555 (งาน KM ปีที่ 4) Page 1 50
 
V 293
V 293V 293
V 293
 
V 254
V 254V 254
V 254
 
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ทางการศึกษา
 
Sasin - TRF 2016 presentation
Sasin - TRF 2016 presentationSasin - TRF 2016 presentation
Sasin - TRF 2016 presentation
 
58 pdf e news
58 pdf e news58 pdf e news
58 pdf e news
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
มุมมองพี่เลี้ยง
มุมมองพี่เลี้ยงมุมมองพี่เลี้ยง
มุมมองพี่เลี้ยง
 
V 285
V 285V 285
V 285
 
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
ชีวิตที่เปลี่ยนไป ครุวิจัยคือคำตอบ
 
Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1Newsletter Pidthong vol.1
Newsletter Pidthong vol.1
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
NSTDA Newsletter ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2560 (ฉบับที่ 23)
 
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีนความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
ความสำเร็จทางยุทธศาสตร์ของเศรษฐกิจจีน
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 

ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล

  • 1. รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา ภายใต้ โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล โรงเรียนดรุณสิกขาลัย จัดโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. ปัญญากับระบบการศึกษาไทย ผู้นำเสนอ คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล โรงเรียนดรุณสิกขาลัย รายงานถอดความ จากเวที อุดมธรรม พลังปัญญา โครงการสร้างนักปราชญ์จากนักวิชาการ ผู้ถอดความ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล ทีมบรรณาธิการ: ณัฐธิดา เย็นบำรุง กฤตภัค พรหมมานุวัติ อำนวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ สนับสนุนโดย: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปีที่เผยแพร่: เมษายน 2565 www.klangpanya.in.th ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 220/104 เลควิวคอนโด อาคารสุพีเรียร์ เมืองทองธานี ต.บางพูด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120 โทร. 084-112-0632
  • 3. 1 ปัญญากับระบบการศึกษาไทย1 คุณพารณ อิศรเสนาณ อยุธยา ดร.สุรัตน์แท่นประเสริฐกุล คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา เรียนท่านรัฐมนตรีกระทรวง อว. และอาจารย์ทุกท่าน ผมคิดไม่ถึงเลยว่า ผมอายุ 95 ปีแล้ว จะมีคน เชิญผมมาพูด ผมอยากเล่าประสบการณ์ผมที่เกี่ยวกับงานด้านการศึกษาให้ทุกท่านได้ฟัง อันที่จริง ผมไม่ใช่นัก การศึกษา แต่ผมอยากมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักการศึกษาว่าเกิดอะไรขึ้นกับผม ที่ผมมาสนใจในเรื่อง การศึกษาเป็นอย่างมาก ผมจะเล่าความเป็นมาชีวิตของผมก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกท่าน ผมเรียนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มา 5 ปี ได้ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (ไฟฟ้า) (เกียรติ นิยมอันดับ 2) จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในปีถัดมาใน พ.ศ. 2494 ได้รับ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (เครื่องกล) คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งสาขา ทำงานได้ 2 ปี ก็ไปต่อปริญญาโทที่ สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์( MIT) สหรัฐอเมริกา ที่ MIT การเรียนการสอนแตกต่างที่จุฬาฯ มาก เพราะอาจารย์แต่ละท่าน เป็นที่ปรึกษาของบริษัท ระดับโลก เช่น IBM เป็นต้น สิ่งที่อาจารย์นำมาสอนคือ ประสบการณ์การปฏิบัติจริงจากบริษัทชั้นนำต่าง ๆ เวลาเกิดปัญหาและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วนำมาออกข้อสอบให้กับนักศึกษา ซึ่งมีประมาณ 20 กว่าคน พอ ไปเรียนที่ MIT จะเห็นว่าเขาไม่ได้สอนแบบ Talk and Talk เหมือนในไทย ทำให้รู้เลยว่า การเรียนการสอน ของจุฬาฯ หลายวิชาล้าสมัยแล้ว วิชาที่จุฬาฯ สอนเป็นวิชาที่ยังไม่เกิดขึ้นจริง แต่ที่ MIT อาจารย์จะนำปัญหาที่ เกิดขึ้นจริงในบริษัทต่าง ๆ มาสอนให้เราฟัง และนักศึกษาก็ไปอ่าน Text Book เพิ่ม ในหนึ่งสัปดาห์มีเรียนสาม วัน คือ วันจันทร์ วันพุธ วันศุกร์ หยุดวันอังคาร และวันพฤหัสบดี ส่วนวันเสาร์อาทิตย์ ทำงานทำการบ้าน ตลอด ห้องสมุดเปิด 24 ชั่วโมง กว่าจะจบ MIT ผมแทบกระอักเลือด ผมได้ข้อคิดอย่างหนึ่งจาก MIT คือ Everything is Dynamic ทุกอย่างเป็นพลวัต ผมจบปริญญาโทจาก MIT แล้ว ได้ทำงานที่ บริษัท General Electric ในสหรัฐอเมริกา 1 ถอดความจากงาน “อุดมธรรม พลังปัญญา” ระดมความคิด ยกระดับการเรียนรู้ของนักวิชาการเพื่อพัฒนาชีวิตและปัญญา จัดโดยกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ร่วมกับสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาวะ (สสส.) ในวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารสวทช. กระทรวง อว.
  • 4. 2 บริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ทำงานอยู่ประมาณ 1 ปีครึ่ง ได้ประสบการณ์ทำงานใน โรงงาน เขาเน้นว่าอุบัติเหตุต้องเป็นศูนย์ และให้ความรู้ด้าน Product Knowledge กลับมาเมืองไทย ผมได้เข้าเริ่มทำงานที่บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย บริษัทเชลล์ก่อตั้งมาร่วม 100 ปี เป็นการร่วมทุนระหว่างคนอังกฤษและคนดัตช์ เป็นบริษัทน้ำมันที่ใหญ่มากในยุคนั้น บริษัทเซลล์ถือว่าเป็น Learning Organization โดยทาง MIT รับรอง เพราะบริษัทอยู่ได้มายาวนาน บริษัทเชลล์ได้พัฒนาคนทั้ง องค์กรอยู่เสมอ ผมทำงานที่เชลล์ได้ประมาณ 8 ปี จากนั้นผมได้มาทำงานกับบริษัทปูนซีเมนต์ไทย (SCG) ที่นี่ผมทำงานหลายอย่าง ผมได้รับมอบหมาย ภารกิจพิเศษชั่วคราวให้ไปแก้ไขสถานการณ์ของบริษัทอุตสาหกรรมกระดาษไทย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ SCG ในฐานะกรรมการผู้จัดการคนแรกจากเครือซิเมนต์ไทยให้รอดพ้นจากการล้มละลาย ให้คืนชีพมาได้ และ ได้รับมอบหมายให้ไปจัดตั้งบริษัท สยามคูโบต้าดีเซล จำกัด ซึ่งได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลหวังจะให้ เครื่องยนต์เอนกประสงค์ดีเซลไปช่วยเรื่องการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร ผมเป็นผู้จัดการบริษัทคูโบต้า เครื่องคูโบต้าที่นำมาจากญี่ปุ่น โดยใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย 20 เปอร์เซ็นต์ ประสบการณ์ของคนไทยส่วนใหญ่ผลิตชิ้นส่วนปลอมเป็นหลัก จะผลิตให้บริษัทญี่ปุ่นค่อนข้างยาก ไทยผลิตส่งของไป 100 ชิ้น ใช้ได้แค่ 15-20 ชิ้น ที่เหลือไม่ได้มาตรฐานของญี่ปุ่น ในโรงงานมีคนญี่ปุ่นอายุ ประมาณ 40 ปี เป็น Quality Control Manager ถ้าไม่ได้ตามมาตรฐาน เขาจะคืนของหมด เมื่อการผลิตใน ไทย ผลิตไม่ได้ตามเป้าหมาย ผมก็ไปญี่ปุ่น ไปพบผู้จัดการใหญ่ของญี่ปุ่น แต่สุดท้ายคุณภาพของเรายังไม่ถึง ผม ก็ต้องกลับมา ผมมาเร่งพัฒนาพวกผลิตชิ้นส่วนในเมืองไทยให้ทำงานมีคุณภาพมากขึ้น จนสามารถทำให้คูโบต้า ผลิตชิ้นส่วนจักรยานยนต์ และต่อมาพวกนี้ก็มาผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในประเทศไทย ผมก็ภูมิใจ ผมทำงานที่ SCG ทำงานสำเร็จหลายอย่าง ผู้บริหารเชื่อถือผม อยู่มาวันหนึ่งคุณบุญมา วงศ์สวรรค์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เกษียณอายุแล้วมาเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ได้มีการ เปลี่ยนการบริหารจัดการแบบธุรกิจสมัยใหม่ ท่านเรียกให้ผมไปหา บอกให้ผมเป็นผู้จัดการฝ่ายบุคคล ผมก็ไม่ คิดว่าผมจะทำได้ แต่ผมก็ต้องเป็น ตั้งแต่วันนั้นเปลี่ยนชีวิตผมเลย ผมเคยทำงานที่บริษัทเชลล์ซึ่งพัฒนาคนทั้ง องค์กร พัฒนาคนอย่างมีประสิทธิภาพ ผมได้นำความรู้การพัฒนาบุคลากรจากบริษัทเชลล์ มาปรับใช้กับ ปูนซีเมนต์ไทย ซึ่งทำงานยากมาก เพราะต้องต่อสู้กับผู้บริหารคนเก่าไม่อยากเปลี่ยนเท่าไหร่ ผมได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการผม จบ จากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั้งนั้น ผมก็ไม่ได้ยุ่งกับเขามาก ก็ปล่อยให้เขาทำงาน เพราะเขาทำงานดีแล้ว เน้นทำงาน กันเป็นทีม ผมเป็น CEO ปูนซีเมนต์ไทยและเป็น CSR ปูนซีเมนต์ไทยไปในเวลาเดียวกัน เป็นกรรมการใหญ่อยู่ 8 ปี จากนั้นก็เกษียณอายุ องค์กรนี้เชื่อมาตลอดว่า พนักงานหรือบุคลากรเป็นคุณสมบัติที่มีค่าที่สุดขององค์กร
  • 5. 3 ผมเลยเชื่อว่า เด็กไทยเป็นสมบัติที่มีค่าที่สุดของประเทศไทย ผมเลยตั้งปณิธานชีวิตที่เหลือว่าจะพาเด็กไทยให้สู้ กับระดับโลกได้ ผมมีโอกาสทำงานกับ กศน. ของกระทรวงศึกษาธิการ และทำงานเป็นผู้จัดการบริษัทไทยคม ที่ทำ เรื่องการศึกษาผ่านดาวเทียม ได้สรรหาครูที่เก่งที่สุดทั้งคณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และอื่น ๆ มา สอนอัดเทป แล้วส่งขึ้นดาวเทียม ถ่ายทอดไปให้เด็กต่างจังหวัดทั่วประเทศ ได้มีโอกาสเรียนกับครูที่เก่ง เทียบเท่ากับเด็กในกรุงเทพฯ จากนั้น เมื่อ พ.ศ. 2539 ผมและเพื่อน ๆ คิษย์เก่า MIT มีความคิดกันว่า “พวกเราต่างก็ประสบ ความสำเร็จในชีวิตกันมามากพอสมควร น่าที่จะทำอะไรเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติได้อีก” ได้ก่อตั้งมูลนิธิ ศึกษาพัฒน์ โครงการแสงสว่างแห่งปัญญา นำเทคโนโลยี จาก MIT คือแนวคิด Constructionism มาเผยแพร่ ให้ประเทศไทยและมาพัฒนาคนไทยให้สู้ได้ในเวทีโลก โดยแนวคิด Constructionism ได้รับการวิจัยมา 20 ปี ให้เด็กได้รับการทำโครงงานร่วมกันตั้งแต่อายุน้อย โดยครูผู้สอนเปลี่ยนบทบาทจาก Talk and Talk มาเป็น Facilitator คือ ผู้สร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ (Conducive to Learning) ซึ่งเป็นสิ่งที่ สำคัญมาก และครูจะต้องบูรณาการศาสตร์ต่าง ๆ สร้างบรรยากาศในห้องให้เด็กได้รู้จักการเรียนรู้ เพื่อให้เกิด การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) จึงเกิดเป็นโรงเรียนดรุณสิกขาลัยขึ้นมา โรงเรียนนวัตกรรมแห่ง การเรียนรู้ ดร.สุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล ดร.สุรัตน์ หรือ ครูอ้อ เป็นผู้ช่วยคุณพารณ วันนี้จะมาเล่าให้ฟังเกี่ยวกับโรงเรียนดรุณสิกขาลัย เพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทุกท่าน ในส่วนของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย อยู่ในกำกับของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าธนบุรี เราก่อตั้งขึ้นโดยใช้แนวทางตาม พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็นแกนหลัก ในการดำเนินการจัดตั้งโรงเรียน ใน พ.ร.บ. นี้มีมาตราต่าง ๆ ที่เรานำมาใช้ ในหลายมาตรา เช่น • มาตราที่ 4 ที่มองว่า การศึกษา คือ การเรียนรู้ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนที่ทำให้บุคคล เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต • มาตราที่ 6 ว่าด้วยความมุ่งหมายและหลักการ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็น มนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรมในการ ดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข • มาตราที่ 8 ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับประชาชน ให้ภาค สังคมเข้ามีส่วนร่วมกับการศึกษา
  • 6. 4 • มาตราที่ 22 แนวทางการจัดการศึกษา ยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถที่จะเรียนรู้และพัฒนา ตัวเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนา ตามธรรมชาติ และเต็มศักยภาพ ในมาตรานี้จะพูดถึง Student Center ไว้ชัดเจนมาก • มาตราที่ 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องและความถนัดของ ผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างหลากหลายของผู้เรียน จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จาก ประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติ ให้ทำได้ ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ก่อตั้งบนวิสัยทัศน์ของคุณพารณที่อุทิศชีวิตมาพัฒนาการศึกษาเพื่อ เด็กไทย เราเริ่มจากการกำหนดเป้าหมาย ด้วยคำว่า “พลเมืองโลก” ที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัยต้องการสร้างเด็ก ให้เป็นพลเมืองโลก เราได้กำหนดว่าการเป็นพลเมืองโลกควรมีคุณลักษณะ 4 ประเด็น คือ • Proactive สร้างเด็กไทยให้นักเรียนรู้เชิงรุก มีความกระตือรือร้น สามารถวางแผนการเรียนรู้ สะท้อน บทเรียนและเรียนรู้ • Self-Discipline วินัยภายใน กำกับตนเองได้ รู้และรับผิดชอบหน้าที่ มีความอดทน พยายาม ตรง ต่อเวลา • Inner Quality คุณภาพภายใน มีสติรู้เท่าทัน มีสมาธิดี มีความรัก เมตตากรุณา มีมารยาท รู้จัก กาลเทศะ • Social Responsibility รับผิดชอบต่อสังคม มีจิตอาสาช่วยเหลือสังคม สำนึกและเห็นคุณค่าการ ใช้ทรัพยากร แนวคิดการเรียนรู้จะพาเด็กไปถึงเป้าหมาย โรงเรียนดรุณสิกขาลัยใช้แนวคิด Constructivism ซึ่ง คิดค้นพัฒนาโดย Prof. Seymour Papert แห่ง MIT ที่กล่าวว่า “การเรียนรู้ที่ดีกว่า ไม่ได้เกิดมาจากการที่ครู ค้นพบวิธีการสอนที่ดีกว่า แต่เกิดมาจากการที่ครูได้ให้โอกาสแก่ผู้เรียนให้สามารถ สร้างองค์ความรู้ได้ด้วย ตัวเอง” จากแนวคิดนี้ สิ่งที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัยได้ทำคือ การให้โอกาสทางการศึกษา จริง ๆ แล้วคำว่าโอกาส ตีความได้หลากหลาย จากประสบการณ์ทำงานของโรงเรียน พบว่า โอกาสที่เด็ก ๆ ต้องการมากที่สุด คือ โอกาสทางด้านเวลา เขาไม่ได้ต้องการการเรียนตามตารางจนหมดเวลาชีวิต เขาต้องการเวลาที่จะเรียนรู้อะไร บางอย่าง เราจึงให้ความสำคัญกับเวลาและพื้นที่การเรียนรู้ของเด็กมาก
  • 7. 5 ภาพที่ 1 โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565) ตัวหลักสูตรจะมีทั้งประถมและมัธยมศึกษา แต่ขอเจาะไปที่หลักสูตรมัธยมศึกษา ว่ามีการสอนเด็กคน หนึ่งอย่างไรให้เขาเป็นพลเมืองโลก หลักสูตรของเราชื่อว่า Career Based Learning ประกอบด้วย 3 ส่วน สำคัญ คือ • ส่วนที่หนึ่ง คือ Core Subject วิชาพื้นฐาน นำมาจากกระทรวงการศึกษาที่มีภาคบังคับ แต่ไม่ใช่ ตัวชี้วัดตามกระทรวง แต่นำมาปรับเฉพาะหัวข้อที่สำคัญ ลดเวลาเรียน เพื่อเพิ่มเวลารู้ ซึ่งในส่วนนี้ ให้ เด็กเรียนวิชาพื้นฐาน 3 วันต่อสัปดาห์ กระบวนการเรียนรู้พยายามจะเรียนแบบบูรณาการ Active Learning • ส่วนที่สอง คือ Learner Development Activity กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ให้เด็กมีสุขภาพดี (Well being society) สุนทรียภาพ ทักษะแห่งชีวิต เนื่องจากเด็กนักเรียนจะมาจากครอบครัวในกรุงเทพ พาไปเจอทักษะโลกแห่งความเป็นจริงมากที่สุด • ส่วนที่สาม คือ Project วิชาโครงงาน เป็นหัวใจของแนวคิด Constructionism การเรียนรู้เพื่อการ สร้างสรรค์ปัญญา เราเปิดโอกาสให้เด็กทำโครงงานตามความสนใจ 2 วันต่อสัปดาห์ จัดการเรียนใน รูปแบบ “บ้านเรียน” คล้ายกับคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย การเรียนในบ้านเรียน เด็กเลือกได้เองได้ เลย ตามความสนใจ ซึ่งมีการคละชั้นกัน รุ่นพี่รุ่นน้องเรียนด้วยกัน เพราะต้องการจำลองสถานการณ์ การทำงานจริงที่เด็กจะต้องเจอในโลกอนาคต แล้วก็เรียนรู้ผ่านการทำโครงงาน ตั้งแต่วางแผน นำเสนอโครงงาน ใกล้เคียงทำวิจัยตอนปริญญาโท เอก เน้นการเรียนรู้ แบบ Peer to Peer Learning เด็กเรียนรู้กันเอง เรียนรู้ผ่านรุ่นพี่ รุ่นน้อง ที่มีใจรักเรื่องเดียวกัน บ้านที่เปิดในแต่ละเทอม
  • 8. 6 เราจะดูความสนใจของเด็ก ๆ เป็นหลักก่อน ในบ้านเรียนจะมีเกิดและมีดับตามความสนใจ เช่น เทอม นี้จะมีการเปิดบ้านเรียนเกี่ยวกับ Cryptocurrency การเงิน การลงทุน เป็นต้น ทั้งนี้ การทำงาน โครงงานเองก็ไม่ใช่ว่าทำอะไรได้ตามใจ เรามีหลักการ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (SDG Goals) ของ UN มาเป็นเป้าหมาย โครงการจะต้องมีคุณค่า ไม่ใช่แค่ว่าอยากเรียน อยากทำ ต้องมีคุณค่าต่อสังคมด้วย ภาพที่ 2 หลักสูตรของโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565) ทั้งนี้ เวลาเด็ก ๆ จะนำเสนอโครงงานจะต้องผ่านการตอบคำถาม 2 คำถามสำคัญ คือ 1) โครงงานนี้ทำให้เราเติบโตอย่างไร จะพัฒนาตัวเขาเองอย่างไร 2) โครงงานนี้บรรลุ SDG Goals อย่างไร ช่วยเหลือสังคมอย่างไร ฝึกให้เด็กคิดแบบมี Compassionate ต่อสังคม โครงงานที่เด็ก ๆ ทำจะมีความหมายและมีประโยชน์ต่อสังคมด้วย มีหลากหลายโครงงานที่น่าสนใจ ยกตัวอย่าง เช่น • โครงงานผลิตรถไฟฟ้า เกิดจากเด็กสงสัยว่า เมื่อก่อนคุณพารณจะขึ้นไปเยี่ยมเด็กบ่อย ๆ ทำไมช่วง หลังไม่ได้เยี่ยม นั่นเป็นเพราะคุณพารณมีปัญหาเจ็บเข่า เด็กจึงพยายามจะสร้างรถที่พาคุณพารณไป ชั้นเรียนต่าง ๆ ได้ สิ่งนี้กระตุ้นความสนใจของเด็ก เลยทำรถไฟฟ้าขึ้นมาที่สามารถขับขึ้นลิฟท์ได้ โครงงานนี้เป็นการทำโครงงานต่อเนื่อง เด็กทำเองทุกอย่าง ตั้งแต่ถอดเครื่องยนต์ เชื่อมเหล็กเอง ประกอบสร้างใหม่ ปีแรกอยู่ในเด็กอยู่บ้านวิศวะ ปีต่อมาเขาย้ายตัวเองไปบ้านศิลปะ เพื่อไปศึกษาการ
  • 9. 7 ออกแบบเพื่อให้รถสวยขึ้น (ภาพที่ 3) เมื่อเด็กทำโครงงานเสร็จ เขาจะต้องมีการถอดบทเรียนในการ ทำงานของเขา คล้ายเล่มวิทยานิพนธ์ ผลจากโครงงานทำให้เด็ก ๆ จะมีผลงานและส่งผลให้เขาเข้า มหาวิทยาลัยได้โดยง่าย • โครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ โรงเรียนดรุณสิกขาลัยอยู่ในชุมชนบางมด มีขนมไข่ร้านหนึ่งที่อร่อยมาก แต่ขายได้ราคาถูก เพราะไม่มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ เด็กไปเจอและอยากออกแบบเพื่อให้มีมูลค่า สูงขึ้น จึงไปเก็บข้อมูลกับชุมชน ออกแบบผลิตภัณฑ์มอบให้ร้านค้า จากขายได้แค่ 20 บาท ก็สามารถ ขายได้ 55 บาท (ภาพที่ 4) แสดงให้เห็นว่า จุดสำคัญก็คือพยายามเชื่อมโยงโลกจริงประสบการณ์จริง โจทย์ที่มีค่าก็คือ โจทย์จริง • โครงงาน Smart Farming เกิดจากช่วงโควิด หากเราออกไปซื้ออาหารไม่ได้ เราจะนำอาหารมาจาก ไหน เด็กคนหนึ่งก็คิดปลูกผักด้วย Smart Farming ในบ้านของตัวเอง เขาสามารถเก็บรับประทาน และแบ่งปันเพื่อนบ้านได้ และโครงงานนี้ทำให้เด็กคนนี้มีโอกาสนำเสนอผลงานที่ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ น้องภูมิใจมาก (ภาพที่ 5) • โครงงานเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน ช่วงที่มีฝุ่น PM 2.5 ครูมีการรวมกลุ่มคุยกับเด็ก ๆ ว่า เราจะช่วยสังคมอย่างไรบ้าง เพราะทุกบ้านมีกำลังซื้อเครื่องซื้อกรองอากาศ แต่ชุมชนอาจจะไม่มี เครื่องกรองอากาศ จึงเกิดเป็นโครงงานทำเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน ระหว่างที่เด็ก ๆ ทำ มีคน มาเห็นและสนับสนุน 4 หมื่นบาท เลยเกิดเป็นต้นแบบเครื่องกรองอากาศ ที่ปัจจุบันยังติดตั้งจริงที่ห้าง ซีคอนสแควร์ บางแค (ภาพที่ 6) โครงงานเหล่านี้ เด็ก ๆ ได้เรียนรู้ บูรณาการวิชาต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน กระตุ้นให้เขานำความรู้ในห้องเรียน มาประยุกต์กับของจริง ภาพที่ 3 โครงงานรถไฟฟ้า โครงงานต่อเนื่อง ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
  • 10. 8 ภาพที่ 4 โครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565) ภาพที่ 5 โครงงาน Smart Farming ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
  • 11. 9 ภาพที่ 6 โครงงานเครื่องกรองอากาศสำหรับชุมชน ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565) คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผมได้นำแนวคิด Constructionism ไปเผยแพร่ที่โรงเรียนแถวมาบตราพุด โรงเรียนนี้ตั้งอยู่ที่เชิงเขา จังหวัดระยอง ไกลตัวเมืองมาก เป็นโรงเรียนประจำ หลักสูตรเรียนครึ่งปี อีกครึ่งปีไปทำงานปิโตรเคมีที่บริษัท ต่าง ๆ เช่น บริษัท ปตท. บริษัทปูนซีเมนต์ไทย บริษัทไทยออยด์ บริษัทอื่น ๆ โรงเรียนนี้ได้นำแนวคิด Constructionism และการเรียนรู้แนวทางของโรงเรียนดรุณสิกขาลัยไปใช้ เด็กโรงเรียนแห่งนี้หลังจากจบไป แล้ว ได้เงินเดือน รายได้ 3 หมื่นบาท เด็ก ปวศ. เข้าไปทำงานแท่นจุดเจาะน้ำมันได้รายได้ถึง 6 หมื่นบาท ทาง ภาคเอกชน บริษัทต่าง ๆ รวมกันเรี่ยรายเงินสนับสนุนโรงเรียนนี้ 10 ล้านบาทให้ใช้ทุก 5 ปี โรงเรียนนี้ใช้ แนวทางตาม พ.ร.บ. การศึกษา ปี 2542 แทบจะแห่งเดียวในประเทศไทยและได้ผลดีเป็นอย่างมาก บริษัท ปิโตรเคมียอมรับเด็ก ๆ ที่นี่มาก
  • 12. 10 คำถาม – คำตอบ คำถามที่ 1 (ศ. (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีกระทรวงอว. ถาม) สิ่งที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย ทำ จะสามารถมาใช้ในระดับอุดมศึกษาได้อย่างไร สอนในมหาวิทยาลัยอย่างไรดี คำตอบ (คุณพารณตอบ) แนวคิด Constructionism ของ Prof. Seymour Papert ใช้เวลาเกือบ 20 ปี ใน การวิจัยและพบว่าศักยภาพของเด็กไม่เท่ากัน ให้เด็กทำเรื่องที่ชอบ แล้วบูรณาการกับเรื่องต่าง ๆ เข้าด้วยกัน กับเด็ก ผู้เรียนสำคัญที่สุด ครูเปลี่ยนบทบาทเป็น Facilitator เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ จะทำให้เด็ก สนใจการเรียนรู้มากกว่า Talk and Talk วิชาที่ท่านสอน ผมรับรองล้าสมัยหมดแล้ว เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาเยอะมาก เช่น คริปโต Metaverse เด็ก ๆ ของผมตามสิ่งเหล่านี้ทันหมด เมื่อจบไปแล้วเขารู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงของโลกตลอดเวลา โรงเรียนที่มาตราพุดทำได้ มหาวิทยาลัยก็ต้องทำได้ โรงเรียนที่ระยองเขาไม่ได้ทำแค่เรื่องปิโตรเคมี เขา ทำเรื่องอุตสาหกรรมไฟฟ้าด้วย ในมหาวิทยาลัยก็ควรทำได้ โดยอาจจะเริ่มจากทำเล็ก ๆ ก่อน ผมมีตัวอย่าง สถาบันระดับอุดมศึกษาที่ใช้ Constructionism คือที่ Olin College of Engineering อยู่ที่บอสตัน สหรัฐอเมริกา เขาใช้ Project Base Learning วิทยาลัยนี้เขาสอนโดยใช้โครงงานเป็นหลัก กระทรวง อว. น่าจะส่งคนไปดูงานสักที่ Olin College of Engineering ไปดูเขาสอน ก็จะดีมาก ๆ แนวคิด Constructionism คือหลักการของศาสนาพุทธ พระพุทธเจ้าออกธุดงค์อยู่หลายปี ถึงจะตรัส รู้ สอนหลักสูตรชีวิต มา 2,500 ปี เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ๆ ส่วนตัวผมเองก็ธุดงค์ในทางวิทยาศาสตร์อยู่ หลายปี กว่าจะทำได้ คำถามที่ 2 ผมในฐานะสอนวิทยาศาสตร์ และก็ใช้วิธีการสอนแบบที่คุณพารณได้กล่าวมา สิ่งที่เจอก็คือระบบ ไม่สนับสนุน ผมสอนไฟฟ้าและพลังงาน พาเด็ก ๆ ลงพื้นที่ ไปดูการเผาถ่านจากไม้ตะเกียบ ทำให้มีคาร์บอน คุณภาพที่ดี มองเห็นว่า นี่คือสิ่งที่ควรเกิดขึ้นในการเรียนรู้ แต่ผู้บริหารระดับที่สูงขึ้นไปมองไม่เห็นแบบนั้น ผม เลยมองเห็นว่า ถ้าจะมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกำหนดในหลักสูตรคงจะดี เพื่อให้วิธีการแบบนี้ยังไปต่อได้ ไม่ โดนขัดขวาง เด็ก ๆ ชอบ ผู้บริหารไม่ได้สนับสนุนแบบนี้ ระบบก็เป็นส่วนหนึ่ง คนที่มีพลังมาทำด้านนี้ ไม่มีพลัง ที่จะขับต่อไปได้ คำตอบ (รัฐมนตรีกระทรวงอว. ตอบ) ตอนนี้ในทางหลักการ เราทำได้หมดแล้ว สิ่งที่เป็นอุปสรรค สิ่งที่เป็น ปัญหา ทำมาเถอะ ผมยกเว้นให้หมด สิ่งที่ท่านบ่นมา มันเป็นเรื่องเก่า แต่ว่าความเป็นจริง กระทรวง อว. กำลัง
  • 13. 11 เปลี่ยนเร็วมาก ต้องจับกระแสใหม่ ๆ และเอามาใช้ให้ได้ ถ้าท่านเห็นว่าการสอนวิทยาศาสตร์แบบ Project Based แล้วไปขัดกับมาตรฐานของกระทรวง หรือของคณะ ของมหาวิทยาลัย ให้ทำเรื่องขอยกเว้นมา ท่าน สามารถนำคนไม่จบปริญญา มาสอน ยังได้เลย ถ้าเขาเก่งกว่าเรา ตอนนี้ กระทรวงอว. องค์กรสูงสุดรับแนวคิด นี้ อธิการบดี คณบดี ไม่รับก็สามารถเปลี่ยนคนได้ เราควรอยู่ด้วยความหวัง ไม่ใช่อยู่กับความท้อแท้ ความ ท้อแท้นี่เป็นโรคระบาด เพราะหนึ่งคนท้อแท้ ที่เหลือก็ท้อไปหมด บางครั้งทำเรื่องดี ๆ ก็ทำยาก ถ้าจะทำให้ สำเร็จมีหลายวิธี เช่น กดดันทางสังคม ไปหาพันธมิตร ทำในมหาวิทยาลัยไม่ได้ก็ทำนอกมหาวิทยาลัย เราต้อง สวมจิตใจเป็นผู้บุกเบิก เหมือนที่คุณพารณเป็น กว่าจะมีวันนี้ก็ต้องผ่านคำดูถูกอะไรมาบ้าง ผมตอนเป็น รัฐมนตรีก็ไม่ได้มั่นใจว่าจะทำอะไรได้มาก ติดขัดไปหมด แต่ตอนนี้แต่ละอย่างเริ่มเชื่อมกันได้มากขึ้น (คุณพารณตอบ) ผมบอกเลยว่าถ้าผู้บริหารหรือ CEO ไม่เอา ก็เปลี่ยนไม่ได้ ก็ต้องเปลี่ยนที่ผู้บริหาร ก่อน และอีกเรื่องมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนผมก็ตาม การวิจัยเป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ถ้าอาจารย์เหล่านี้ไปทำ วิจัย คิดค้น สิ่งใหม่ ๆ ได้ ผู้บริหารจะมองเห็นเองว่าเราเก่ง กระทรวง อว. ลองส่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ไปดูงานที่ Olin College of Engineering กลับมาแล้วจะเห็นอะไรมากมาย ที่ผ่านมาถ้ามหาวิทยาลัยทำตาม แนวทาง พ.ร.บ. การศึกษา พ.ศ. 2542 ประเทศชาติจะรุ่งเรืองขนาดไหน เราคงตามอเมริกา อังกฤษ ใกล้ชิด การทำวิจัยส่งเสริมความรู้ใหม่ ๆ ผู้บริหารก็จะเห็นความเก่ง แต่ถ้านายยังหัวโบราณ จบเห่ ถ้าท่านทำวิจัยเก่ง จริง ๆ การทำวิจัยเป็นหัวใจของอุดมศึกษา ถ้าอุดมศึกษาไม่ทำงานวิจัยก็ตามหลังเขาตลอด คำถามที่ 3 สิ่งที่คุณพารณพูด ผมเคยมีประสบการณ์ในเรื่องของการปฏิบัติเช่นเดียวกัน ผ่านประสบการณ์และ ข้อจำกัดทุกอย่าง แต่สิ่งที่ผมทำ คือเลี่ยงการชนกับผู้บริหาร ผมไปขอทางด้านสภามหาวิทยาลัย ซึ่งมี ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นนักธุรกิจ ขอให้ท่านช่วยผมเปิดหลักสูตรการค้าปลีกร่วมกัน ระหว่างราชมงคลล้านนาและ บริษัทเซ็นทรัล ผมเปิดหลักสูตรคล้าย ๆ แบบนี้ 3 วันเรียน 3 วันทำงาน เด็กเรียน 4 ปี ประสบความสำเร็จมาก แต่คนทำหลักสูตรเครียดมาก ผู้บริหารต่อต้าน แต่ผมไม่สนใจ ผมสนใจตัวนักศึกษาอย่างเดียว ถ้าคิดในแง่ของ การคิดบวก ทุกอย่างจะไปข้างหน้าได้ตลอด แต่ถ้าเมื่อไหร่เขาคิดไปทางลบ ทุกอย่างจะมีข้อจำกัด มหาวิทยาลัยราชภัฏหลายแห่งมีโรงเรียนสาธิตเป็นของตัวเอง สามารถทำได้เลย แต่ที่ผ่านมามหาวิทยาลัย ราชภัฏทิ้งจุดเด่นของตนเอง มาเปิดปริญญาตรีแข่งมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆ ความคิดของคุณพารณ ทุกท่าน สามารถนำไปทำได้เลย คำถามที่ 4 ผมสอนเกี่ยวกับสังคมศาสตร์ ตอนสอนมีทั้งทฤษฏี และการลงพื้นที่ ผมพาไปลงพื้นที่แถวบางมด จอมทอง เมื่อก่อนคลองบางมด ไม่มีการพัฒนาอะไรเลย ก็เลยให้เด็กไปเป็นกลุ่ม ใช้หลักการประชาธิปไตย ชุมชน ไปทำกระบวนการกลุ่มกับทางชุมชน สร้างโครงการขึ้นมา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าเด็กมีอยู่หลายระดับ พื้น เพของเด็ก ๆ มีไม่เท่ากัน เด็กประเภทมีหัว จะแก้ปัญหาไปเอง แต่ว่าเด็กพื้นเพมัธยมไม่ดี ก็ไปไม่ได้จริง ๆ เขาก็ จะทำแค่เรื่องพื้นฐาน คำถามประการแรก คือ ถ้าเจอเด็กประเภทแบบนี้ ทางประสบการณ์ของอาจารย์จะแก้
  • 14. 12 อย่างไร จะสร้างกระบวนการเพิ่มเติมได้อย่างไร คำถามที่สอง แนวคิด Constructivism สามารถใช้ในห้อง ขนาดใหญ่ได้หรือไม่ คำตอบ (คุณพารณตอบ) แนวคิด Constructivism ในห้องขนาดใหญ่ทำยาก ต้องแบ่งห้องขนาดเล็ก แบ่งเป็นหลายห้อง 20-30 คน หากไม่แบ่งคนก็ไม่มีประโยชน์ (ดร.สุรัตน์ตอบ) กลุ่มผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันมาก ๆ ควรออกแบบแผนการสอนแบบนี้ คือ เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ตัวผู้เรียน ว่าเขามีลักษณะแบบไหน หากมี 30-40 คน ให้จัดกลุ่มประเภท ก็จะได้สัก 3-4 กลุ่ม เราถึงสามารถจะวางแผนการเรียนการสอนได้ เราเริ่มต้นจากการวิเคราะห์ผู้เรียน วิเคราะห์ บุคลิกภาพของเด็ก เราถึงจะตั้ง Goal เป้าหมายการเรียนรู้คืออะไรได้ และต้องตั้งแบบเป็นสมรรถนะ ด้วย เช่น เขาจะต้องทำอะไรได้ในสาระการเรียนรู้นี้ ต่อไปค่อยคิดเรื่องกิจกรรมการเรียนรู้ ยิ่งเด็กมีความสามารถที่ หลากหลาย การเรียนแบบกลุ่มจะช่วยได้มาก เด็กไม่ต้องเก่งเหมือนกัน เด็กบางคนคิดเก่ง บางคนพูดเก่ง บาง คนทำเก่ง แต่ละคนไม่เหมือนกัน เขามีจุดเด่นไม่เหมือนกัน ตัวกิจกรรมที่โรงเรียนดรุณสิกขาลัย เราเรียนผ่าน การลงมือผ่านปฏิบัติให้มากที่สุด (Activelearning) การเรียนรู้นั้นจะต้องทำไปสู่การเกิดชิ้นงานอะไร บางอย่างเสมอ เช่น เป็นงานประดิษฐ์ รายงาน วิดีโอ ก็ได้ แล้วสุดท้ายนำไปสู่การประเมิน การประเมินผลที่ดี คือ Formative Learning ประเมินผู้เรียนเป็นระยะ ไม่ใช่ประเมินในตอนท้าย หากแผนการสอน A ไม่ดี ก็ปรับเป็นแผนการสอน B ทุกครั้งที่สอนเด็ก เราคุยกับผู้เรียนตลอด เด็กจะ คุ้นชิ้นกับการยืดหยุ่น และการวางเป้าหมาย เวลาเรียนจะสอนเรื่องอะไรสักอย่าง ให้คิดก่อนว่า เป้าหมายที่ แท้จริง (Passive Knowledge) ของเรื่องนั้นคือเรื่องอะไร และกว่าจะเกิดองค์ความรู้เรื่องนั้นได้ จำเป็นต้องรู้ และต้องทำอะไร เอาเปลือกนอกที่สุดเชื่อมโยงกับตัวเขาอย่างไร ถ้าเชื่อมโยงได้ การเรียนรู้จะมีความหมาย เวลาเราคิดแผนการสอน ให้เราคิดจากในออกนอก แต่เวลาสอนคือสอนจากนอกเข้าใน จะช่วยสร้างเรียนกับ Connect กับตัวผู้เรียน ภาพที่ 7 กรอบในการวางหลักสูตรให้ผู้เรียน ที่มา: พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และสุรัตน์ แท่นประเสริฐกุล (2565)
  • 15. 13 คำถามที่ 5 แนวคิด constructionism ติดตัวเด็กไปหรือไม่ เพราะสุดท้ายเด็กจะเข้าสู่ระบบมหาวิทยาลัย เด็ก ๆ มีปัญหาอะไร คำตอบ (ดร.สุรัตน์ตอบ) ศิษย์เก่าจะเยี่ยมโรงเรียนบ่อย โดยทั่วไป จะพบว่า เด็กที่เข้าเรียนใหม่ ๆ จะกังวล เพราะสิ่งที่เขาเรียนมาค่อนข้างแตกต่างกับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเขาตั้งตัวได้ เขาจะไปได้ดีมาก เพราะว่าทักษะ ความเป็นผู้นำ การจัดการ ที่เขาได้รับ ทำให้เขาเป็นผู้นำได้ในห้องเรียน เราถามเด็กว่า ทักษะอะไรที่เด็กได้ติด ตัวไปจากโรงเรียนดรุณสิกขาลัยแล้วมีประโยชน์ที่สุด เด็กตอบเหมือนกันเกือบหมดว่า “การทำโครงงาน” ทำ ให้เขาจัดการการเรียน ปัญหาที่ไม่รู้ได้ ทักษะการสื่อสารกับเพื่อน การทำงานกับคนที่แตกต่างหลากหลายมาก ๆ และรายงานถอดบทเรียนที่พวกเขาทำตอนมัธยมนั้น ยากยิ่งกว่าการทำวิทยานิพนธ์ในมหาวิทยาลัยด้วยซ้ำ ทุกอย่างเลยง่ายขึ้น (คุณพารณตอบ) ทักษะติดตัวไปมหาวิทยาลัยและมีประโยชน์กับเด็ก ส่วนใหญ่เด็กของเราจะเป็นผู้นำ ในชั้นเรียน เรียนต่ออะไรได้สบาย เด็กจบโรงเรียนเราเข้ามหาวิทยาลัยปิดได้ทั้งหมด เข้าจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ มหิดล ศิลปากร ได้หมด โรงเรียนผมมี Learning Lab ด้วย ได้แนวทางมาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) คล้าย Maker Space เป็นห้องหนึ่งที่มีเครื่องมือ ให้เด็กได้ประลองไอเดีย เขาอยากทำ อะไร ทำฝันให้เป็นจริงได้ ครูจะเรียนรู้ร่วมกัน เด็ก ๆ สมัยนี้ ถ้าเปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้เขาเขาเรียนรู้ได้ดีกว่าครู