SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
1
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว
บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน1
The Development of Thai - Lao Economic Relations
and Geopolitical and Geo-economic Transformation in Indochina
ณัฐธิดา เย็นบารุง2
Nuttida Yenbumrung
กฤตภัค พรหมมานุวัติ3
Kritapak Prommanuwat
ยุวดี คาดการณ์ไกล4
Yuwadee Kardkarnklai
บทนา
ประเทศไทยและลาวมีอาณาเขตติดต่อกัน ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งทางภาษา
วัฒนธรรม ศาสนา ทั้งไทยและลาวเป็นชาติที่ผ่านเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันหลายเหตุการณ์ ใน
ประเด็นทางเศรษฐกิจ บริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ จากอดีตที่เป็นเพียงพื้นที่ห่างไกลความเจริญ มีการ
ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันของคนสองฝั่ง กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสาคัญทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิ
เศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจชายแดนหนองคาย – เวียงจันทน์ มีมูลค่าการค้า
ชายแดนสูงที่สุดในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและลาว โดยหนองคายและเวียงจันทน์กลายเป็น
พื้นที่ชายแดนที่เป็นประตูทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งสองพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง
เศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และกลายเป็นที่รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนผ่านข้อริเริ่มแถบและ
เส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ BRI ด้วยโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากมายถาโถมเข้าใส่พื้นที่ เพื่อ
หวังให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ
บทความนี้จึงมีความประสงค์จะศึกษาพัฒนาการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย – ลาว ใน
บริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เศรษฐกิจไทย - ลาว ภายใต้
สงครามเย็นและการปรับนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1975 – 1994) ระยะที่ 2 เศรษฐกิจไทย
- ลาวท่ามกลางการลงทุนทางเศรษฐกิจบนลุ่มแม่น้าโขง (ค.ศ. 1995 - 2013) ระยะที่ 3 เศรษฐกิจไทย - ลาว
ท่ามกลางการผงาดขึ้นของจีน (ค.ศ. 2013 – ปัจจุบัน) เพื่อศึกษาว่า เศรษฐกิจไทย - ลาวสัมพันธ์กับมิติ
1 เผยแพร่ครั้งแรกในเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพลเอกหญิง ศ.เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 67 พรรษา 2 เมษายน พ.ศ. 2565 และการแนะนา “หอจดหมาย
เหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์” ครั้งที่ 5 เรื่อง “ไทยกับอินโดจีนสมัยประชาคมอาเซียน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศ
ของเพื่อนบ้านและชาติมหาอานาจ และนักวิชาการ” ณ ศูนย์การประชุมศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
หน้า 171-186 จัดพิมพ์โดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) สนับสนุนโดยสานักงานการวิจัยแห่งชาติ
2 นักวิจัยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
3 ผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
4 รองประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
2
การเมืองระหว่างประเทศอย่างไร มีผู้เล่นและปัจจัยใดที่เข้ามามีส่วนทาให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง
ไทย – ลาว เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยวิเคราะห์ผ่าน การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอานาจที่คืบคลานเข้า
มาใน “ภูมิภาคอินโดจีน” นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเศรษฐกิจไทย – ลาว ในยุคที่จีนผงาดทางเศรษฐกิจ
โดยเฉพาะข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศของจีนที่มีบทบาทอย่างยิ่งในภูมิภาค
อินโดจีน ว่าได้ก่อลักษณะความเปลี่ยนแปลงใดกับพื้นที่หนองคาย – เวียงจันทน์ ทั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค
และเศรษฐกิจระดับประชาชน รวมไปถึงนโยบายทางเศรษฐกิจที่ทั้งสองประเทศดาเนินการ และทาให้
เศรษฐกิจไทย - ลาว แปรเปลี่ยนไปจากเดิม การศึกษานี้ใช้วิธีศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยต่างๆ และการ
สัมภาษณ์ โดยเขียนอธิบายตามลาดับเวลาทางประวัติศาสตร์ (Chronological Order) บทสรุปการศึกษานี้จะ
ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวทางนโยบายเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศ
มหาอานาจในแต่ละยุคสมัย มีทั้งผลบวกที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจและความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงของ
เศรษฐกิจไทย - ลาว ซึ่งน่าจะมีประเด็นวิจัยเพื่อนาไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ระหว่างไทยและลาว
ระยะที่ 1 เศรษฐกิจไทย - ลาว ภายใต้สงครามเย็นและการปรับนโยบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (ค.ศ. 1975 – 1994)
ก่อนที่จะมีการขีดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย - ลาว ผู้คนทั้งสองฟากฝั่งโขงต่างก็เป็นชาติพันธุ์
เดียวกัน มีภาษา วัฒนธรรม ศาสนาร่วมกันทั้งหมด การไปมาหาสู่กันจึงเป็นเรื่องปกติ มีการซื้อขายสินค้าผ่าน
ทาง “ด่านท่าเรือประเพณี” จนกระทั่งเมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ได้มีการนาแนวคิดรัฐชาติ
เข้ามาในภูมิภาคอินโดจีน มีการขีดเส้นแบ่งเขตแดนไทยและลาว ส่งผลให้ผู้คนสองฝั่งโขงถูกแยกออกจากกัน
เป็นคนละประเทศ
จนเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ไทยเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์มากขึ้น จีนและ
สหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุนหลักให้แก่กองกาลังกู้ชาติฝ่ายซ้ายในอินโดจีน ไทยเริ่มเป็นพันธมิตรที่แนบแน่น
กับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ไทยจะต้องดาเนินนโยบายที่สอดคล้องกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ
นโยบายการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ก็มองว่าไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญในนโยบายความ
มั่นคงและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตนในภูมิภาค (Liang, 1977) สหรัฐฯ จึงให้การสนับสนุนประเทศต่างๆ
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทยและลาว โดยเฉพาะลาว สหรัฐฯ ช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ลาวผ่าน
องค์กร USAID (United State Aid for International Development) และ FEOF (Foreign Exchange
Operations Fund) เพื่อสนับสนุนค่าเงินกีบของลาวและทาให้ลาวสามารถค้าขายกับต่างประเทศอย่างมี
เสถียรภาพ โดยสหรัฐฯ จัดสรรงบประมาณให้ลาวประมาณปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจลาวใน
ช่วงเวลานี้จึงขึ้นอยู่กับการพึ่งพิงสหรัฐฯ เป็นสาคัญ เช่นเดียวกับประเทศไทย โครงการพัฒนาต่างๆ ที่สหรัฐฯ
เข้าช่วยเหลือรัฐบาลไทยนั้น ก็เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้าตามแนวทางทุนนิยมเพื่อจูงใจ
ประเทศอื่น ๆ ในลุ่มน้าโขงให้หันมาอยู่ข้างสหรัฐฯ (ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, 2549) เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุค
3
แรกเริ่มของสงครามเย็น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาวนั้นต่างก็ยึดโยงอยู่กับการช่วยเหลือจาก
สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก
เศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ในบริเวณชายแดนหนองคาย – เวียงจันทน์ มีจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญ
อยู่ในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายมายังภูมิภาคอินโดจีน ลาวได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็น
คอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1975 ในขณะที่ประเทศไทยยึดมั่นในอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตาม
สหรัฐอเมริกา รัฐบาลใหม่ของลาว จึงมองว่าไทยเป็นศัตรู และมีการต่อสู้กระทบกระทั่งกันตามบริเวณชายแดน
รัฐบาลทั้งสองประเทศมีการประกาศปิดพรมแดนไทย - ลาวตลอดแนว ส่งผลให้สภาวะทางการค้าระหว่างทั้ง
สองประเทศไม่ราบรื่นนัก (อภิรดี แข้โส, 2553) ความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ขัดแย้งส่งผลให้ปิดด่านชายแดนที่
เป็นด่านทางการ การข้ามไปมาหาสู่กันเริ่มเข้มงวดขึ้น ถูกจัดระเบียบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์
ระหว่างชาวบ้านทั้งสองฝั่งโขงยังเป็นไปอย่างปกติวิสัยดังที่เคยเป็นมา ชาวบ้านทั้งสองฝั่งริมน้าโขง ได้ใช้ท่าหน้า
บ้านของตนเอง ซึ่งเป็นท่าธรรมชาติ ข้ามกันไปมาปกติ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ระบบสาธารณสุขของ
ไทยเองก็เปิดให้คนลาวข้ามมารักษาได้ ครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานของคนไทย - ลาว ก็ยังข้ามฝั่งไปมา
ตลอดเวลา ไม่เกี่ยวกับว่ารัฐจะปิดพรมแดนหรือมีความขัดแย้งกัน (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565)
ทว่า นโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของลาว แทนที่จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจกลับ
ส่งผลกระทบในทางลบทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ ผลที่ติดตามมาคือชาวลาวหนีออกนอกประเทศข้าม
แม่น้าโขงมายังประเทศไทย ทั้งแรงงานมีความรู้มีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ทาให้ประเทศไทยในบริเวณ
ชายแดนไทยลาว เริ่มมีการเคลื่อนย้ายแรงงานชาวลาวจานวนมาก (มานะ มาลาเพชร, 2533) ในช่วงปลายของ
สงครามเย็น เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของลาวไม่ประสบความสาเร็จ และยิ่งทาให้ประเทศตกอยู่ในสภาวะ
ความยากจน กระทั่งใน ค.ศ. 1986 ผู้นาลาวเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ ก่อให้เกิดกลไกใหม่ทางด้าน
เศรษฐกิจ (New Economic Mechanism) ซึ่งเป็นนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของลาวที่อาศัยกฎเกณฑ์ทาง
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมควบคู่กับเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง
ประเทศมหาอานาจที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันเริ่มคลี่คลายลงทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค
เกิดจุดพลิกผันที่สาคัญของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาว เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ขึ้น
ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยใน ค.ศ. 1988 ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางด้านนโยบายต่างประเทศต่อ
ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอินโดจีนที่เรียกกันว่า “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้า”
ในยุคนี้ กล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย - ลาว นอกเหนือจากประเทศต่าง ๆ ใน
ภูมิภาคนี้ที่เริ่มพัฒนานโยบายทางเศรษฐกิจแล้ว การเคลื่อนไหวในระดับโลกก็มีส่วนสนับสนุนการเติบโตทาง
เศรษฐกิจภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นมีการขยายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นผลมาจาก
ข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Accord) ญี่ปุ่นมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดจีน โดยผ่านการ
ดาเนินการของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB และการลงทุนโดยตรง ADB ได้ผลักดันโครงการความร่วมมือ
ทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง (Greater Mekong Subregion – GMS) ใน ค.ศ. 1992 ที่เป็นความร่วมมือ
ของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนทางตอนใต้ ในด้านคมนาคม พลังงาน การค้า
การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย ADB จะเข้าไปมีบทบาท
4
ใน GMS ในด้านการสนับสนุนด้านการเงิน เป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆ และให้ความช่วยเหลือทาง
วิชาการ และการให้คาปรึกษา (กฤษฎา บุญชัย, 2553)
ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ ออสเตรเลียเองก็ได้มีภารกิจทางการทูตทั่วทั้งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ใน ค.ศ. 1991 รัฐบาลออสเตรเลียได้สนับสนุนงบประมาณสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว
แห่งที่ 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้าโขงขนาดใหญ่แห่งแรกเชื่อมระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์ สะพานมิตรภาพ
ไทย - ลาวแห่งที่ 1 มีความสาคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและ
ลาว จากเดิมที่ขนสินค้าผ่านแพ ผ่านแม่น้า ก็สามารถใช้การขนส่งสินค้าผ่านสะพานได้ ส่งผลให้นักธุรกิจ
ไทย - ลาวมีการประสานความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
การค้าระหว่างไทย - ลาว ขยายตัวอย่างมาก จนไทยกลายเป็นคู่ค้าที่สาคัญที่สุดของลาว การค้าระหว่างทั้งสอง
ประเทศใน ค.ศ. 1994 ก็สูงถึง 9,062.30 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า ค.ศ. 1993 ถึงร้อยละ 65.34 (อภิรดี แข้โส,
2553)
ระยะที่ 2 เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการลงทุนทางเศรษฐกิจบนลุ่มแม่นาโขง (ค.ศ. 1995 -
2013)
ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาว นับได้ว่ามีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมากตั้งแต่มีการเปิดใช้งานสะพาน
มิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 1 อีกทั้ง ใน ค.ศ. 1996 การเปิดสถานกงสุลใหญ่ของไทยในแขวงสะหวันนะเขตของ
ลาวและกงสุลใหญ่ของลาวในจังหวัดขอนแก่น ก็ได้สะท้อนให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่าง
ไทย - ลาว และการให้อภัยต่อความบาดหมางทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ภูมิภาคอินโดจีนในตอนนี้ได้
เปลี่ยนจากภูมิภาคแห่งสงครามกลายเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีรัฐและกลุ่มทุน
ต่างๆ เข้าไปลงทุนและแสวงประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งเพื่อการขยายฐานการผลิตและขยายตลาดรองรับ
สินค้า (กฤษฎา บุญชัย, 2553)
เศรษฐกิจระดับรัฐที่แสดงออกผ่านการค้าชายแดนระหว่างไทย - ลาว เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังการ
ปรับเปลี่ยนนโยบายของทั้งสองประเทศ แต่เศรษฐกิจระดับภาคประชาชนของไทย - ลาว กาลังเผชิญกับความ
ท้าทายที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในแม่น้าโขง ซึ่งเป็นแม่น้าสายสาคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในจีน และ
ภูมิภาคอินโดจีน ตั้งแต่เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดหนองคายริมแม่น้าโขง
ต่างมีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพิงแม่น้า โดยเฉพาะการประมงและเกษตรกรรมเป็นรายได้หลักของ
ชาวบ้าน มีรายได้ปีละ 5,000 - 20,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนหน้าแล้งยามน้าลดก็มีที่สาหรับแหล่งท่องเที่ยว
เช่น หาดทราย อ่างปลาบึก ล่องแก่ง ร้านขายอาหารช่วงเทศกาล (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565)
ทั้งนี้ หลังจากเกิดกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง (Greater Mekong Subregion – GMS)
ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ได้ดาเนินการทางเศรษฐกิจตามกรอบ GMS ต่างตักตวง
ผลประโยชน์ให้กับประเทศตนเองบนแม่น้าโขง ไม่ว่าจะเป็นจีนที่สร้างเขื่อนบนลาน้าโขง และมีโครงการ
ปรับปรุงร่องน้าเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้าโขง โดยการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้าโขงออกให้เป็นร่องน้า
เพื่อให้เรือสินค้าขนาด 500 ตัน สามารถเดินทางจากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีนมายังลาวได้ตลอดทั้งปี
5
(ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น, 2564) ไทยเองก็ต้องการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การ
ผันน้า การสร้างเขื่อน การขยายฐานอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับประเทศลาวต้องการสร้างเขื่อนเพื่อผลิต
กระแสไฟฟ้า รวมไปถึงกัมพูชาและเวียดนามก็ต้องการขยายพื้นที่ชลประทานและการสร้างเขื่อนเช่นเดียวกัน
ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขง เช่น น้าขึ้นลงเร็ว น้าเปลี่ยนสี น้าท่วมในหน้าแล้ง น้าแล้งในฤดูที่น้า
ควรท่วม จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของชาวบ้านไทย - ลาวทั้งสองฝั่งโขง
หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจน คือ แหล่งรายได้ของชาวประมงริมแม่น้าโขงในหนองคายกว่า 100 คน ลดลง
เรื่อย ๆ จนหลายคนหันไปทาอาชีพอื่น รวมไปถึงการสูญหายไปของหาดจอมมณี ในจังหวัดหนองคาย ซึ่งแต่
เดิมเป็นหาดเศรษฐกิจของคนสองฝั่งโขง มีพ่อค้าแม่ค้ากว่า 200 ร้าน บริการลูกค้าที่มาพักผ่อนในหาดจอมมณี
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขง ในช่วง ค.ศ. 2010 - 2011 หาดจอมมณีเริ่มได้รับผลกระทบจากความ
ผิดปกติของแม่น้าโขง ใน ค.ศ. 2012 - 2013 หาดก็ถูกน้าท่วมทั้งหมด กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
ร่วมกันระหว่างคนไทยและลาวสูญหายไปหมด คนลาวก็ไม่ได้ข้ามฝั่งมาเที่ยวอีก ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจที่หายไป
เท่านั้น แต่ประเพณีสงกรานต์ ความสนุกสนานในหาดจอมมณีก็หายไปด้วย (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565)
อันที่จริงไม่ใช่แต่เพียงประเทศบนลุ่มแม่น้าโขงที่พยายามสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประเทศ
นอกแม่น้าโขงก็มีบทบาทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะจากการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐฯ ที่หวนกลับมามีบทบาท
อีกครั้งในช่วงรัฐบาลของบารัค โอบามา มีการตั้งกรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขงตอนล่าง (Lower Mekong
Initiative หรือ LMI) ใน ค.ศ. 2009 อีกทั้งยังมีญี่ปุ่นที่เข้ามาทากรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขง - ญี่ปุ่น (Mekong
– Japan Cooperation หรือ MJ) เกาหลีใต้ก็เช่นกันก็พยายามสร้างกรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขง - สาธารณรัฐ
เกาหลี (Mekong – Republic of Korea Cooperation หรือ Mekong – ROK)
จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เริ่มปรากฏให้เห็นความ
ซับซ้อนที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เศรษฐกิจของไทยและลาว นั้นยึดโยงผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ผ่าน
กรอบหรือองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการขยายบทบาทอิทธิพลของ
ประเทศมหาอานาจภายนอกในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณ์ของรัฐอธิปไตยและอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ
ดังเช่นในอดีตอีกแล้ว อีกทั้งความสัมพันธ์ในระดับประชาชนไทย - ลาว ก็เริ่มจะมีความเด่นชัดมากขึ้น ทั้ง
ในทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรมที่เด่นชัดขึ้น ซึ่งสะท้อน
จากการเคยดารงอยู่ของหาดจอมมณีในจังหวัดหนองคาย แต่สุดท้ายเศรษฐกิจระดับชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบ
จากความเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขงอันเป็นผลพวงจากการลงทุนของประเทศต่างๆ
ระยะที่ 3 เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการผงาดขึนของจีน (ค.ศ.2013 - ปัจจุบัน)
ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา จีนกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง
ค.ศ. 2010 เศรษฐกิจจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ เท่านั้น ในขณะที่อานาจของตะวันตกที่เคย
เป็นผู้รักษาระเบียบโลกกาลังถดถอย โลกกาลังเคลื่อนเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งเป็น
ระเบียบโลกแบบหลายขั้วอานาจ (Multipolar World) ขั้วอานาจใหม่ของโลกมีประเทศทางตะวันออกซึ่งนา
โดยจีนในฐานะหัวขบวน จีนเองเมื่อผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่สาคัญของโลกได้วางยุทธศาสตร์และแนวทางที่
6
จะเชื่อมประเทศอื่นๆ ในโลกในแบบฉบับของจีนเอง ใน ค.ศ. 2013 จึงเกิดอภิมหายุทธศาสตร์การต่างประเทศ
ที่โลกต้องจับตามอง นั่นก็คือ ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จีนได้วางเส้นทางการ
เชื่อมโยงในหลายมิติทั้งในด้านการคมนาคม การค้า การเงิน ความสัมพันธ์ระดับประชาชน กับหลายภูมิภาคทั่ว
โลก และหนึ่งในภูมิภาคที่สาคัญที่จีนต้องการเชื่อมโยงและมีอิทธิพลที่สุดกว่าชาติอื่น นั่นก็คือ ภูมิภาคเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ และใน ค.ศ. 2015 จีนยังริเริ่มกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong
Cooperation) มีประเทศลุ่มแม่น้าโขง 6 ประเทศเป็นสมาชิก คือ จีน เมียนมา ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและลาว
ภายใต้กรอบข้อริเริ่ม BRI มีกลไกการขับเคลื่อนว่าด้วยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทร
อินโดจีน (China – Indochina Peninsula Economic Corridor : CIPEC) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ
ได้แก่ จีน สิงคโปร์ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยมีระเบียงเศรษฐกิจย่อยโครงการแรก คือ
ระเบียงเศรษฐกิจจีน - ลาว ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาเครือข่ายความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างกัน โดยจีน
และลาวมุ่งมั่นที่จะสร้าง “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันที่มีความสาคัญทางยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของความ
ไว้ใจระหว่างกัน” (A Community of Shared Future with Strategic Significance On the Basis of
Mutual Trust) เป็นผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายแบบ “win - win” ที่จีนได้ประโยชน์จากการที่มณฑลยูนนาน
จะได้รับการพัฒนา ในขณะที่ลาวเองก็ยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเศรษฐกิจให้หลุดพ้น
ความยากจน
รูปธรรมความร่วมมือของระเบียงเศรษฐกิจจีน – ลาว คือ การที่จีนทุ่มเงินมหาศาลสร้างรถไฟเพื่อ
เชื่อมจีนกับอาเซียน โดยเริ่มต้นสร้างรถไฟจีน - ลาวก่อน รถไฟจากคุนหมิงไปเวียงจันทน์ ซึ่งเปิดใช้งานแล้ว
ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 รถไฟจีน - ลาวนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สาคัญอย่างหนึ่งต่อนโยบายการเป็น
ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของลาว เพราะนอกจากจะช่วยทาให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง
ของลาวมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว รถไฟยังเป็นระบบโลจิสติกส์ทางรางที่จะสามารถเชื่อมโยง
ไปยังประเทศต่างๆ บนเส้นทางยุทธศาสตร์ BRI ได้อีกในอนาคต หมายความว่า การเป็นศูนย์กลางของการ
คมนาคมขนส่งของลาวกาลังจะแผ่ขยายออกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่กว้างไกล
มากยิ่งขึ้น
ลาวกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมลาวเชื่อมโลก
จีนที่มุ่งหน้าชัดเจนลงมาทางใต้ และหยิบยื่นข้อเสนอความร่วมมือและเงินกู้มากมายให้กับลาว ในส่วน
ของลาวเองจากเดิมที่เป็นประเทศ Landlocked หรือประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นข้อจากัดที่สาคัญของ
การค้า การขนส่งทางทะเลกับประเทศอื่นๆ ลาวจึงนาจุดอ่อนที่มีเพียงการเชื่อมกับประเทศอื่นทางบก ให้กลาย
มาเป็นจุดแข็งของประเทศ ลาวในศตวรรษที่ 21 ได้แปรเปลี่ยนความคิดจากประเทศที่วางแผนอนาคตไม่เคย
ชัดเจน และเดินตามหลังประเทศอื่นอยู่เสมอ ได้คิดและวางแผน ปรับยุทธศาสตร์ประเทศตัวเองครั้งใหญ่ สร้าง
7
ยุทธศาสตร์จาก“Land locked” ไปสู่ “Land linked” ลาวจาเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มี
ประสิทธิภาพ แล้วนาไปสู่การเปลี่ยนประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยง
ระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลลาวชุดปัจจุบันภายใต้การนาของนายกรัฐมนตรี
พันคา วิพาวัน ได้กาหนดให้แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 2021 – 2025) รูปธรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของลาวจึงเกิดขึ้น
มากมายหลายโครงการ เช่น
นโยบาย Lao Logistics Link (LLL) รัฐบาลลาวได้อนุมัติสัมปทานให้แก่บริษัทเอกชนของลาวเป็น
ระยะเวลา 50 ปี ในการพัฒนาท่าบกท่านาแล้ง (Thanaleng Dry Port) และเขตโลจิสติกส์นครหลวง
เวียงจันทน์ (Vientiane Logistics Park) เพื่อเป็นด่านสากลให้บริการด้านพิธีศุลกากรสาหรับสินค้าขาเข้า -
ขาออกระหว่างประเทศ และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.
2021 แล้ว ท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์การค้าสาคัญ
สามารถเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟท่านาแล้ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟไทย - ลาว และตั้งอยู่ไม่ไกลจาก
สถานีเวียงจันทน์ใต้ ที่เป็นสถานีปลายทางสาหรับขนส่งสินค้าในโครงการรถไฟจีน - ลาว (สถานเอกอัครราชทูต
ณ เวียงจันทน์, 2565)
ภาพที่ 1 เส้นทางระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย – ท่านาแล้ง - เวียงจันทร์ใต้
ที่มา: ดัดแปลงจาก Google Map
ลาววางแผนใช้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในลาว ลาวพัฒนา
เขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ เฉพาะในเวียงจันทน์ซึ่งเชื่อมต่อกับหนองคายด้วยสะพาน มิตรภาพไทย - ลาว
8
แห่งที่ 1 มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะจานวน 5 แห่งแล้ว5 ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ
เวียงจันทน์ - ลองแทงห์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา เขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้า
เวียงจันทน์ - โนนทอง เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพส
ภาพที่ 2 แสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษในเวียงจันทน์ หลวงน้าทา บ่อแก้ว คาม่วน
ที่มา: https://investlaos.gov.la/where-to-invest/special-economic-zone-sez/
จีนและลาวร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจจนทาให้จีนกลายประเทศที่เข้ามาลงทุนใหญ่ที่สุดในลาว
โดยเฉพาะวิสาหกิจของมณฑลยูนนานจานวนมากได้เข้าไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในลาว เช่น ถนน ทาง
ด่วน รวมถึงการทาเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) หรือการเช่าที่ดินเพื่อทาการเกษตรในแขวงทาง
ภาคเหนือของลาว ในเวียงจันทน์ รัฐบาลลาวร่วมกับภาคเอกชนของจีน บริษัท CAMCE Investment (Lao)
Co Ltd. สร้างอภิมหาโครงการขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า Vientiane New World หรือ โลกใหม่แห่งเวียงจันทน์ มี
พื้นที่สาหรับก่อสร้างราว 700,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยที่อยู่อาศัยระดับหรู ห้างสรรพสินค้า โรงแรม
ระดับ 5 ดาว 1 หลัง อพาร์ตเมนต์ และอาคารศูนย์ธุรกิจทันสมัย กลายเป็นเขตเมืองใหม่ทันสมัย และเป็น
“แลนด์มาร์ก” แห่งใหม่ของเวียงจันทน์ ดึงดูดทั้งนักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในเวียงจันทน์มากขึ้น (กุล
ภัทร กมล,บรรพรต วิรุณราช, สุชนนี เมธิโยธิน, 2562) ปรากฏการณ์การเข้ามาของจีนในลาว แสดงให้เห็นว่า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างลาวและจีนแนบแน่นมากในยุคนี้ ลาวมองจีนเป็นโอกาสใหม่ของประเทศ ที่
จะพาลาวไปสู่การสร้างการเชื่อมโยงทางบกเข้ากับเส้นทางการค้าตามแผนยุทธศาสตร์ของ BRI และนาไปสู่การ
ขยายการเชื่อมโยงลาวไปจนถึงยุโรปได้ (จันทอน สิดทิไซ, 2565) ที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่ให้รูปธรรมความ
ร่วมมือกับลาวได้ชัดเจนที่สุด จีนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการที่จะเป็น “ตัวแสดง” สาคัญที่จะทาให้ลาวมีจุด
Turning Point แปรเปลี่ยนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน
5 https://investlaos.gov.la/where-to-invest/special-economic-zone-sez/
9
ไทยกับความพยายามไม่ให้ตกขบวนเศรษฐกิจจีน - ลาว
ด้วยบริบทโลกและการเมืองระหว่างประเทศที่แปรเปลี่ยนไป ยุทธศาสตร์ของจีนที่มุ่งลงใต้ อันเห็น
รูปธรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในลาว ทาให้หนองคายในฐานะเมืองที่ติดกับเวียงจันทน์ กลายเป็น
พื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญของไทยและภูมิภาค ที่จะกลายเป็นประตูหน้าด่านของการเชื่อมลาวกับจีนทุกมิติ
โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน
รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสาคัญของหนองคายท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก มี
ความพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่หนองคายให้ไม่ตกขบวนการพัฒนาที่มีจีนเป็นหัวหอกในการนา รัฐบาลไทยและ
รัฐบาลจีน มีโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน คือ การสร้างรถไฟความเร็วสูง สถานีต้นทางคือหนองคาย รถไฟ
ความเร็วสูงนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง – สิงคโปร์ ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่ง
ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหนองคาย แต่กลับกลายเป็นว่าโครงการดังกล่าวมีความล่าช้าอย่างยิ่ง ด้วย
เหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศที่ยังไม่ลงตัว
นอกเหนือจากโครงการรถไฟความเร็วสูงข้างต้น รัฐบาลไทยยังคงให้ความสาคัญและเตรียมโครงการ
ขนาดใหญ่มากมายที่จะลงทุนในหนองคาย ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ
ที่ 11 รัฐบาลไทยได้วางยุทธศาสตร์พัฒนาชายแดนให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เชื่อมโยงการค้าการลงทุนใน
ภูมิภาคของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคและ
เมืองให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559)
รูปธรรมนโยบาย คือ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน จัดระบบสนับสนุนการลงทุนในเขต
เศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรเพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขต
เศรษฐกิจและเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคจานวน 10 จังหวัด หนึ่งในนั้น คือเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ได้
กาหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในอาเภอเมือง 12 ตาบล และในอาเภอสระใคร จานวน 1 ตาบล คือ ตาบล
สระใคร ที่หวังจะเป็นประตูทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่มีผู้เล่นสาคัญอย่างจีนและลาว
นั่นเอง
เมื่อรถไฟจีน – ลาวได้เริ่มต้นเปิดให้บริการ ทาให้สินค้าและผู้คนได้เริ่มเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วมากขึ้น
ประเทศไทยเองมิอาจนิ่งเฉย เมื่อรถไฟความเร็วสูงหนองคาย – กรุงเทพฯ ยังไม่เห็นปลายทาง เพื่อไม่ให้เสีย
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้รอยต่อการคมนาคมทางรางระหว่างไทย - ลาวมีน้อยที่สุด และยังคงหวังให้ไทยเป็น
ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งให้กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ประเทศไทยจึงได้ทาการเปิดให้บริการ “ขบวนรถไฟ
ขนส่งสินค้าระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์” ระยะสั้นๆ มีความยาวทั้งสิ้น 3.5 กิโลเมตร ข้ามสะพานมิตรภาพ
ไทย - ลาวแห่งที่ 1 ตั้งแต่สถานีหนองคาย – สถานีท่านาแล้ง (ลาว) ซึ่งมีสถานีท่านาแร้งเป็นศูนย์กองเก็บตู้
สินค้าของลาว เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเชื่อมรถไฟจีน - ลาว
รัฐบาลไทยยังเตรียมการพัฒนาพื้นที่ในสถานีรถไฟหนองคายทั้งหมด 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย
สินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากทางถนนสู่ระบบราง ให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง
อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมติดตั้งเครื่อง Mobile X-ray Inspection System เพื่อตรวจปล่อยสินค้า
และทาพิธีการศุลกากรต่อไป (ผู้จัดการออนไลน์, 2565) รัฐบาลไทยยังได้เริ่มต้นพัฒนา “สถานีรถไฟนาทา”
10
จานวน 268 ไร่ ให้กลายเป็นย่านปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ หรือศูนย์รวบรวมและเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากถนน
สู่ราง (Container Yard: CY) ให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากท่าเรือแหลมฉบังมายังสถานี
หนองคายและต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้า ที่ท่านาแล้งของลาวได้โดยตรง ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่
ระบบรางเชื่อมโยงภายในประเทศ เพราะโดยปกติสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังจะขนส่งทางเรือไปที่จีนโดยตรง
นอกจากนี้ ประเทศไทยและลาวยังได้วางแผน “การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้าโขงแห่งใหม่” เชื่อมหนองคาย
และเวียงจันทน์ ซึ่งห่างจากสะพานมิตรภาพไทย – ลาวแห่งที่ 1 แค่ 30 เมตร รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ
การค้าและการลงทุน 3 ฝ่าย ไทย – จีน - ลาว เท่ากับว่าในอนาคตหนองคายและเวียงจันทน์จะมีสะพานเชื่อม
ทั้งสองประเทศ 2 สะพานเคียงคู่กัน
ขบวนเศรษฐกิจจีน ลาว และไทย: เศรษฐกิจชุมชนอยู่ในขบวน?
ในระดับมหภาค ความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกประเทศ นามาซึ่งโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจ
ของหนองคาย แน่นอนว่าภาครัฐมีโครงการขนาดใหญ่พัฒนาในหนองคายเพื่อรองรับและได้ประโยชน์จาก
โอกาสเหล่านี้ เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มที่ปรับตัวเร็ว และทางานกับภาครัฐอย่างต่อเนื่องในโครงการ
ขนาดใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหนองคายนี้มีผลอย่างไรต่อระดับประชาชน เสียงสะท้อนจากภาค
ประชาชนดูเหมือนว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของภาครัฐ ยังมีข้อครหาและผลกระทบที่ทาให้ประชาชนยังมีความ
กังวล
โครงการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ส่วนหนึ่งได้เลือกปักหมุดพัฒนาในพื้นที่ตาบลสระ
ใคร จานวน 718 ไร่เป็นพื้นที่พัฒนา ซึ่งเดิมพื้นที่ดังกล่าวเดิมถูกประกาศเป็นป่าชุมชนตั้งแต่ ค.ศ. 2008 โดยมี
ผู้ใช้ประโยชน์จากผืนป่า 4 หมู่บ้านโดยรอบ ในอาเภอสระใครเองก็เป็นแหล่งผลิตข้าวสารหอมมะลิชั้นดี คือ
ข้าวหอมสระใคร ใน ค.ศ. 2015 หลังการประกาศนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 10 พื้นที่ ทั่วประเทศ ป่า
ถูกเพิกถอนสภาพป่าชุมชน โอนให้กับกรมธนารักษ์เพื่อใช้เป็นพื้นที่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เป็น
คลังพักสินค้าจากจีนและแหลมฉบัง ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์และเสียความเป็นเจ้าของป่าแห่งนี้ การดูแลรักษา
จึงน้อยลง มีการทิ้งขยะ มีการตั้งเตาเผาถ่านในป่า เกือบ 200 เตา ป่าก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ จวบจนมาถึง
ค.ศ. 2022 เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้กลับยังไม่ประสบความสาเร็จ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ
และเงื่อนไขแรงจูงใจ ไม่ดึงดูดภาคเอกชนให้มาลงทุน มีการประกาศให้นายทุนไปเช่าพื้นที่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่
มีนักลงทุนสนใจเช่าพื้นที่ (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) ชุมชนในตาบลสระใครจึงรวมตัวกันประกาศขอพื้นที่คืน
จานวน 20% หรือประมาณ 140 ไร่ เพื่อจะนามาพัฒนาเป็นแหล่งน้า สวนสาธารณะและแนวกันชนจาก
ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ซึ่งมีโรงงานขนาดใหญ่กับรอยต่อพื้นที่เกษตรอินทรีย์ (GreenNews,
2565) ทิศทางของอนาคตในพื้นที่ตาบลสระใครยังไม่มีข้อสรุป รัฐบาลไทยเดินหน้าโครงการอย่างเต็มที่
ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ควรจะได้ยังไม่แสดงผลและกลับกลายเป็นว่าไปกระทบกับเศรษฐกิจเกษตรกรรมของ
ชุมชนอีกด้วย
ด้วยการคาดการณ์ว่าหนองคายจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามมาด้วยโครงการ
รถไฟความเร็งสูง หนองคาย – กรุงเทพ ทาให้อาเภอเมืองหนองคายบริเวณรอบสถานีรถไฟที่คาดว่าจะเป็น
11
สถานีต้นทางของรถไฟความเร็วสูง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ภาครัฐมีการเวนคืนที่ดินของชุมชน
รอบสถานีซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย เป็นถนนและรางรถไฟ ให้กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งกระทบกับชุมชนรอบสถานี
ได้แก่ ชุมชนนาไก่ ชุมชนดอนดู่ ชุมชนนาทา - โนนธาตุ และชุมชนบ้านหนองขาม นอกเหนือจากการเวนคืน
แล้ว ภาคเอกชนเข้ามากว้านซื้อที่ดินทั้งคนไทยและคนต่างชาติ เปลี่ยนมือเก็งกาไร จนทาให้ราคาที่ดินสูงจนคน
ท้องถิ่น ชุมชน สู้ไม่ไหว ทาให้บริเวณนั้นเริ่มมีผู้ประกอบการท้องถิ่นน้อยลง ชุมชนบางส่วนต้องย้ายถิ่นฐาน
และดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นตามกลไกตลาด และยังไม่มีกลไกใดมาจัดสรรผลประโยชน์ให้
กระจายกับคนท้องถิ่นได้ (ผานิตดา ไสยรส, 2561)
นอกเหนือจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ข้างต้น เสียงสะท้อนจากตัวแทนภาคประชาชน
ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของหนองคาย มองว่าโครงการขนาดใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมกับคน
ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษในตาบลสระใคร มีชาวบ้านเพียง
เล็กน้อยเท่านั้นที่ได้เข้าร่วมประชุม การประชาสัมพันธ์ทาเพียงแค่ติดประกาศ ไม่ได้สื่อสารทุกช่องทางเพื่อไป
ถึงกลุ่มประชาชน ความละเอียดอ่อนและความจริงจังในการจะให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลนั้นยังทาได้ไม่ทั่วถึง
จนในหลายโครงการกว่าที่ชาวบ้านจะรับรู้ข้อมูลนั้นก็เสียผลประโยชน์ไปแล้ว (อ้อมบุญ, ทิพย์สุนา 2565) ใน
ส่วนของการจะพัฒนายกระดับเศรษฐกิจหนองคายให้เชื่อมกับจีนและลาวผ่านรถไฟความเร็วสูง ในหมู่
ภาคเอกชน กลุ่มหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และภาครัฐมีเวทีพูดคุยกันถึงโอกาสที่หนองคายจะได้รับ แต่ใน
ส่วนของภาคประชาชนนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้างกับรถไฟความเร็วสูง ยังไม่มีเวทีที่คุยเรื่องเหล่านี้
สินค้าใดที่ชุมชนสามารถนาไปส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงไปยังลาวและจีน ยังไม่มีความชัดเจน สินค้าส่วนใหญ่ที่
จะส่งไปนั้นกลายเป็นสินค้าจากพื้นที่อื่นที่เป็นที่นิยมของคนจีน เช่น ทุเรียน เป็นต้น ซึ่งยังไม่ใช่สินค้าของ
ท้องถิ่นของหนองคาย (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565)
เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการผงาดขึ้นของจีน จะเห็นถึงความแตกต่างของการปรากฏตัวใน
ภูมิภาคอินโดจีนระหว่างจีนและมหาอานาจตะวันตก จีนเข้ามาร่วมลงทุน ร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจให้กับ
ประเทศในภูมิภาคนี้โดยไม่ให้ความสาคัญกับการแผ่ขยายอิทธิพลด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ในขณะที่
มหาอานาจตะวันตกเน้นการช่วยเหลือหรือพัฒนาด้านอื่นๆ บนเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับต้องมีอุดมการณ์ทาง
การเมืองที่สอดคล้องกับตนเอง ซึ่งประเด็นนี้ทาให้ประเทศผู้ร่วมลงทุนในภูมิภาคอินโดจีนตอบรับการเข้ามา
ของจีนได้ง่าย
วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย - ลาว บนความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของ
ภูมิภาค
จากพัฒนาการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - ลาวข้างต้น สามารถที่จะตั้งข้อสังเกตได้ว่า
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ในบริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะ
ความสัมพันธ์ 2 ประเทศ แต่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้เล่นที่เป็นมหาอานาจจากภายนอกทั้งสิ้น ทั้งสหรัฐอเมริกา
นาเอาวิธีคิดในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาเผยแพร่ในภูมิภาคอินโดจีน ก่อให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย - ลาว ลาวมีการปฏิรูป
12
เศรษฐกิจ และไทยเองก็เปลี่ยนแปลงนโยบายที่เคยเกลียดกลัวคอมมิวนิสต์ ให้หันกลับมาสร้างร่วมมือกันมาก
ขึ้น ภายหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น รัฐมหาอานาจทางเศรษฐกิจต่างก็กลับเข้ามาหาผลประโยชน์ของ
ตนในภูมิภาคอินโดจีนอีกครั้ง ทาหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างกลุ่มประเทศ
ต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นบนแผนการพัฒนาขององค์กรที่มีรัฐ
มหาอานาจให้ความช่วยเหลือแทบทั้งสิ้น ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พัฒนาการของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ
ระหว่างไทย - ลาวนั้น ล้วนแล้วแต่มีบังเหียนที่ควบคุมโดยรัฐมหาอานาจทั้งสิ้น
นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 หลังจากที่ประเทศไทยประกาศนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า
เศรษฐกิจไทย - ลาวได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาจาก
มหาอานาจอีกเช่นเคยอย่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา มาพร้อมกับบริบทที่ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่
บริษัทข้ามชาติเคลื่อนย้ายทุนเพื่อแสวงหากาไรในต่างประเทศอย่างมหาศาล เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้ประเทศ
ไทยและลาวเปิดประเทศ ประเทศไทยเปิดชายแดน เปิดด่าน สนับสนุนเงื่อนไขต่างๆ ให้มีการค้าขายระหว่าง
ประเทศมากขึ้น
สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของเศรษฐกิจของไทยและลาวตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
การอยู่ภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ทาให้รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ใช้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” (Special
Economic Zones : SEZ) บนพื้นที่ชายแดน ส่วนใหญ่ลดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติ เช่น
การลดหย่อนภาษี การเช่าที่ดินระยะยาว การแปรรูปบริการของรัฐให้เป็นเอกชน เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็น
เครื่องมือสาคัญทาให้เกิดโอกาสที่เศรษฐกิจทั้งสองประเทศจะเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งทั้งไทยและลาวได้เห็น
ต้นแบบความสาเร็จของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน ที่เน้นเลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทดลองตั้งเขต
เศรษฐกิจพิเศษ เช่น เขตเศรษฐกิจเสิ่นเจิ้น จนทาให้ประเทศจีนประสบความสาเร็จในด้านเศรษฐกิจประเทศ
หนึ่งของโลก ทั้งสองประเทศจึงส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้นทั่วประเทศ ในประเทศไทยเดิมทีมีเพียง
เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งเดียว ต่อมา ใน ค.ศ. 2015 รัฐบาลไทยก็เริ่มพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ
ชายแดน 10 แห่งทั่วประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายเป็นหนึ่งในนั้น ในขณะที่ประเทศลาว ได้รับ
การกระตุ้นและแนะนาจาก ADB ในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เริ่มต้นจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ
พิเศษแห่งแรกคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน - เซโน และขยายไปทั่วประเทศโดยเฉพาะในเมืองชายแดน
เฉพาะในเวียงจันทน์ที่ติดกับหนองคาย ก็มีถึง 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ใน ค.ศ. 2015 มีเขตเศรษฐกิจพิเศษราว
13 แห่งในลาว (ADB, 2010) สะท้อนให้เห็นในทศวรรษนี้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเสมือนการสถาปนา
พื้นที่แบบใหม่ที่เป็นรูปธรรมในภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ภายใต้อิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ที่ยังไม่เสื่อมคลาย
ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - ลาวในยุคหลังทศวรรษ 1990 จนมาถึงในยุคที่จีนผงาดขึ้นมา ยิ่ง
สะท้อนให้เห็นว่า “เมืองชายแดน” กลายเป็นเมืองสาคัญ จากเดิมในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง
ประเทศ พื้นที่ชายแดนกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกมองว่าห่างไกล พื้นที่ชายขอบ พื้นที่เป็นแนวป้องกันเรื่องความมั่นคง
ทาให้พื้นที่ชายแดนไม่ได้รับการพัฒนามากนัก แต่ปัจจุบันความสาคัญของพื้นที่ชายแดนเปลี่ยนไปมาก ส่วน
หนึ่งเป็นเพราะแนวทางแบบเสรีนิยมใหม่ที่กระตุ้นให้รัฐเปลี่ยนเมืองชายแดนให้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ และ
การเข้ามาของยุทธศาสตร์ BRI จากจีน ยิ่งเป็นตัวเกื้อหนุนและตัวเชื่อมสาคัญที่ทาให้เมืองชายแดนหนองคาย –
13
เวียงจันทน์ เชื่อมกันหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพราะเห็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พื้นที่
ชายแดนที่ถูกเติมด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษจะกลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นเมืองระดับภูมิภาคที่ดึงดูดการ
ลงทุนเข้ามาในพื้นที่ พื้นที่ชายแดนจะเป็นตัวกลางอย่างดีในเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้ใกล้ชิดกัน
มากขึ้น ท่ามกลางบริบทที่แต่ละประเทศต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น พื้นที่ชายแดนจะเชื่อมโยงทั้งในระดับมห
ภาค และระดับการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ให้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจร่วมกัน การ
วิเคราะห์ในมิตินี้จะสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันและอนาคต พื้นที่ชายแดนโดยเฉพาะชายแดนทางบกจะมี
ความสาคัญแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นความหวังของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในเมืองชายแดนที่ไม่
จาเป็นต้องดิ้นรนย้ายออกเพื่อหางานทาในเมืองใหญ่อื่นๆ ของประเทศ
ทว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยลาว ไม่เคยมีผู้เล่นเพียงแค่ 2 ประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 2013
เป็นต้นมา จีนมีความพยายามที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคตอนใต้ของตนเอง ผ่าน
ยุทธศาสตร์ BRI ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่สั่นสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจไทย - ลาวที่เดินหน้า
ด้วยแนวทางของเสรีนิยมใหม่ ในยุคของการขยายอิทธิพลของจีน พื้นที่ชายแดนไทย ลาว รวมไปถึงกัมพูชา
และเวียดนาม จากเสรีนิยมใหม่กาลังมุ่งเข้าสู่การเป็นพื้นที่ภูมิเศรษฐศาสตร์ของจีนแล้ว
ที่ผ่านมาจีนที่เข้ามาเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในไทยและลาว แง่หนึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศทั่วไป
แต่หากวิเคราะห์เพิ่มเติมจะเห็นว่า เศรษฐกิจไทยและลาวกาลังเข้าสู่ยุคแห่งภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geo-
economics) ซึ่งมีนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายคนที่มองว่า จีนได้ใช้เศรษฐกิจ การค้า การ
ลงทุน รวมไปถึงเรื่องวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอานาจทาง
การเมืองของตนเอง (Luttwak, 1990) โดยจีนเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงเป็นภูมิภาคแรกๆ ที่จะเป็นที่
ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของจีน เพราะเป็นพื้นที่ที่ใกล้ชิดจีน จึงเสมือนเป็น “หลังบ้าน” ของจีน การขยายอิทธิพล
ของจีนผ่านภูมิเศรษฐกิจศาสตร์นี้ สามารถสะท้อนถึงการตอบโจทย์ของประเทศจีน 2 เรื่องสาคัญ คือ ประเด็น
แรก จีนต้องการตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง โดยเฉพาะการเร่งและยกระดับพัฒนา
มณฑลยูนนานให้กลายเป็นมณฑลสาคัญทางเศรษฐกิจ ให้พื้นที่แห่งนี้เจริญเทียบเท่ากับภาคอื่นๆ ของจีน
ประเด็นที่สอง จีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ จีนต้องการแสดงให้
โลกเห็นว่าจีนเป็นเจ้าของภูมิภาคนี้ เพื่อกันไม่ให้ประเทศมหาอานาจอื่นๆ มีบทบาทในภูมิภาคอินโดจีน
โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้เข้ามามีบทบาททางความคิดทางการเมืองของ
ภูมิภาคอินโดจีนมาตลอด และไม่หยุดที่จะสร้างกรอบความร่วมมือมากมายกับภูมิภาคอินโดจีน เพื่อแข่งขัน
และต่อต้านจีนเช่นกัน กล่าวได้ว่า ตั้งแต่หลังยุคสงครามเย็น ความสาคัญของอานาจทางเศรษฐกิจหรือ “ภูมิ
เศรษฐศาสตร์” ได้ก้าวข้ามอานาจทางทหารและภูมิรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม (Blackwill and Harris, 2016) ที่
การขยายอิทธิพลไม่จาเป็นต้องใช้อานาจแบบแข็ง (Hard Power) ทางการทหาร หรือการขยายอิทธิพลทาง
ความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบที่ชาติตะวันตกทามาโดยตลอด แต่อานาจทางเศรษฐกิจจะกลายเป็น
เครื่องมือใหม่ในการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีอิทธิพลเหนืออีกประเทศในลักษณะที่พึ่งพิง และนามาซึ่ง
ความร่วมมืออื่นๆ หรือการครอบครองทรัพยากรในประเทศนั้นได้ ซึ่งอาจเป็นกลไกที่ทรงพลังมากกว่าอานาจ
ทางการเมือง เนื่องจากเกี่ยวกับเรื่องปากท้องของคนในประเทศ และการที่จีนเข้ามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน

More Related Content

More from Klangpanya

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
Klangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Klangpanya
 

More from Klangpanya (20)

The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdfรร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
รร.ดรุณสิกขาลัย.pdf
 
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdfปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอ.pdf
 
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
นักวิชาการทำงานอย่างไร ให้มีความสุขทั้งทางโลกและทางธรรมผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร....
 
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิชประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำไปสู่การสร้างปัญญา ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิจารณ์ พานิช
 
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดีปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
ปัญญาจากการเรียนรู้ในรากเหง้า และภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ดร. กรกต อารมย์ดี
 
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุลใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
ใช้ปัญญาอย่างไรให้พอแล้วดี ดร. ศิริกุล เลากัยกุล
 
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
ปัญญากับระบบการศึกษาไทย คุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา และ ดร. สุรัตน์ แท่นประเสริ...
 

พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน

  • 1. 1 พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคอินโดจีน1 The Development of Thai - Lao Economic Relations and Geopolitical and Geo-economic Transformation in Indochina ณัฐธิดา เย็นบารุง2 Nuttida Yenbumrung กฤตภัค พรหมมานุวัติ3 Kritapak Prommanuwat ยุวดี คาดการณ์ไกล4 Yuwadee Kardkarnklai บทนา ประเทศไทยและลาวมีอาณาเขตติดต่อกัน ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดทั้งทางภาษา วัฒนธรรม ศาสนา ทั้งไทยและลาวเป็นชาติที่ผ่านเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกันหลายเหตุการณ์ ใน ประเด็นทางเศรษฐกิจ บริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ จากอดีตที่เป็นเพียงพื้นที่ห่างไกลความเจริญ มีการ ค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันของคนสองฝั่ง กลับกลายเป็นพื้นที่ที่มีความสาคัญทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิ เศรษฐศาสตร์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เศรษฐกิจชายแดนหนองคาย – เวียงจันทน์ มีมูลค่าการค้า ชายแดนสูงที่สุดในความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและลาว โดยหนองคายและเวียงจันทน์กลายเป็น พื้นที่ชายแดนที่เป็นประตูทางเศรษฐกิจที่เชื่อมโยงระหว่าง 2 ประเทศ ทั้งสองพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงทาง เศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดด และกลายเป็นที่รองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของจีนผ่านข้อริเริ่มแถบและ เส้นทาง (Belt and Road Initiative) หรือ BRI ด้วยโครงการลงทุนขนาดใหญ่มากมายถาโถมเข้าใส่พื้นที่ เพื่อ หวังให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ บทความนี้จึงมีความประสงค์จะศึกษาพัฒนาการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย – ลาว ใน บริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เศรษฐกิจไทย - ลาว ภายใต้ สงครามเย็นและการปรับนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (ค.ศ. 1975 – 1994) ระยะที่ 2 เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการลงทุนทางเศรษฐกิจบนลุ่มแม่น้าโขง (ค.ศ. 1995 - 2013) ระยะที่ 3 เศรษฐกิจไทย - ลาว ท่ามกลางการผงาดขึ้นของจีน (ค.ศ. 2013 – ปัจจุบัน) เพื่อศึกษาว่า เศรษฐกิจไทย - ลาวสัมพันธ์กับมิติ 1 เผยแพร่ครั้งแรกในเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติพลเอกหญิง ศ.เกียรติคุณ ดร.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 67 พรรษา 2 เมษายน พ.ศ. 2565 และการแนะนา “หอจดหมาย เหตุต่างประเทศ ทูลกระหม่อมอาจารย์” ครั้งที่ 5 เรื่อง “ไทยกับอินโดจีนสมัยประชาคมอาเซียน: มุมมองจากเอกสารหอจดหมายเหตุต่างประเทศ ของเพื่อนบ้านและชาติมหาอานาจ และนักวิชาการ” ณ ศูนย์การประชุมศรีโคตรบูรณ์ มหาวิทยาลัยนครพนม วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 หน้า 171-186 จัดพิมพ์โดยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า (จปร.) สนับสนุนโดยสานักงานการวิจัยแห่งชาติ 2 นักวิจัยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 3 ผู้ช่วยนักวิจัยสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ 4 รองประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
  • 2. 2 การเมืองระหว่างประเทศอย่างไร มีผู้เล่นและปัจจัยใดที่เข้ามามีส่วนทาให้ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่าง ไทย – ลาว เปลี่ยนแปลงจากเดิม โดยวิเคราะห์ผ่าน การแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ของมหาอานาจที่คืบคลานเข้า มาใน “ภูมิภาคอินโดจีน” นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาเศรษฐกิจไทย – ลาว ในยุคที่จีนผงาดทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะข้อริเริ่มแถบและเส้นทาง ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์การต่างประเทศของจีนที่มีบทบาทอย่างยิ่งในภูมิภาค อินโดจีน ว่าได้ก่อลักษณะความเปลี่ยนแปลงใดกับพื้นที่หนองคาย – เวียงจันทน์ ทั้งในระดับเศรษฐกิจมหภาค และเศรษฐกิจระดับประชาชน รวมไปถึงนโยบายทางเศรษฐกิจที่ทั้งสองประเทศดาเนินการ และทาให้ เศรษฐกิจไทย - ลาว แปรเปลี่ยนไปจากเดิม การศึกษานี้ใช้วิธีศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงานวิจัยต่างๆ และการ สัมภาษณ์ โดยเขียนอธิบายตามลาดับเวลาทางประวัติศาสตร์ (Chronological Order) บทสรุปการศึกษานี้จะ ชี้ให้เห็นถึงการปรับตัวทางนโยบายเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศที่ได้รับอิทธิพลทางภูมิรัฐศาสตร์ของประเทศ มหาอานาจในแต่ละยุคสมัย มีทั้งผลบวกที่เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจและความท้าทายต่อการเปลี่ยนแปลงของ เศรษฐกิจไทย - ลาว ซึ่งน่าจะมีประเด็นวิจัยเพื่อนาไปสู่ความเข้าใจและความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ระหว่างไทยและลาว ระยะที่ 1 เศรษฐกิจไทย - ลาว ภายใต้สงครามเย็นและการปรับนโยบายความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ (ค.ศ. 1975 – 1994) ก่อนที่จะมีการขีดเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทย - ลาว ผู้คนทั้งสองฟากฝั่งโขงต่างก็เป็นชาติพันธุ์ เดียวกัน มีภาษา วัฒนธรรม ศาสนาร่วมกันทั้งหมด การไปมาหาสู่กันจึงเป็นเรื่องปกติ มีการซื้อขายสินค้าผ่าน ทาง “ด่านท่าเรือประเพณี” จนกระทั่งเมื่อลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส ได้มีการนาแนวคิดรัฐชาติ เข้ามาในภูมิภาคอินโดจีน มีการขีดเส้นแบ่งเขตแดนไทยและลาว ส่งผลให้ผู้คนสองฝั่งโขงถูกแยกออกจากกัน เป็นคนละประเทศ จนเมื่อเข้าสู่ยุคสงครามเย็น ไทยเริ่มตระหนักถึงภัยคุกคามจากลัทธิคอมมิวนิสต์มากขึ้น จีนและ สหภาพโซเวียตเป็นผู้สนับสนุนหลักให้แก่กองกาลังกู้ชาติฝ่ายซ้ายในอินโดจีน ไทยเริ่มเป็นพันธมิตรที่แนบแน่น กับสหรัฐอเมริกา ดังนั้น จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ไทยจะต้องดาเนินนโยบายที่สอดคล้องกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ นโยบายการต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ก็มองว่าไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์สาคัญในนโยบายความ มั่นคงและการต่อต้านคอมมิวนิสต์ของตนในภูมิภาค (Liang, 1977) สหรัฐฯ จึงให้การสนับสนุนประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งไทยและลาว โดยเฉพาะลาว สหรัฐฯ ช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจแก่ลาวผ่าน องค์กร USAID (United State Aid for International Development) และ FEOF (Foreign Exchange Operations Fund) เพื่อสนับสนุนค่าเงินกีบของลาวและทาให้ลาวสามารถค้าขายกับต่างประเทศอย่างมี เสถียรภาพ โดยสหรัฐฯ จัดสรรงบประมาณให้ลาวประมาณปีละ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ เศรษฐกิจลาวใน ช่วงเวลานี้จึงขึ้นอยู่กับการพึ่งพิงสหรัฐฯ เป็นสาคัญ เช่นเดียวกับประเทศไทย โครงการพัฒนาต่างๆ ที่สหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือรัฐบาลไทยนั้น ก็เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของความเจริญก้าวหน้าตามแนวทางทุนนิยมเพื่อจูงใจ ประเทศอื่น ๆ ในลุ่มน้าโขงให้หันมาอยู่ข้างสหรัฐฯ (ไชยณรงค์ เศรษฐเชื้อ, 2549) เป็นที่น่าสังเกตว่า ในยุค
  • 3. 3 แรกเริ่มของสงครามเย็น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาวนั้นต่างก็ยึดโยงอยู่กับการช่วยเหลือจาก สหรัฐฯ เป็นอย่างมาก เศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ในบริเวณชายแดนหนองคาย – เวียงจันทน์ มีจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสาคัญ อยู่ในช่วงที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้แผ่ขยายมายังภูมิภาคอินโดจีน ลาวได้เปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็น คอมมิวนิสต์ใน ค.ศ. 1975 ในขณะที่ประเทศไทยยึดมั่นในอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจแบบทุนนิยมตาม สหรัฐอเมริกา รัฐบาลใหม่ของลาว จึงมองว่าไทยเป็นศัตรู และมีการต่อสู้กระทบกระทั่งกันตามบริเวณชายแดน รัฐบาลทั้งสองประเทศมีการประกาศปิดพรมแดนไทย - ลาวตลอดแนว ส่งผลให้สภาวะทางการค้าระหว่างทั้ง สองประเทศไม่ราบรื่นนัก (อภิรดี แข้โส, 2553) ความสัมพันธ์ทางการเมืองที่ขัดแย้งส่งผลให้ปิดด่านชายแดนที่ เป็นด่านทางการ การข้ามไปมาหาสู่กันเริ่มเข้มงวดขึ้น ถูกจัดระเบียบมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ ระหว่างชาวบ้านทั้งสองฝั่งโขงยังเป็นไปอย่างปกติวิสัยดังที่เคยเป็นมา ชาวบ้านทั้งสองฝั่งริมน้าโขง ได้ใช้ท่าหน้า บ้านของตนเอง ซึ่งเป็นท่าธรรมชาติ ข้ามกันไปมาปกติ มีการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า ระบบสาธารณสุขของ ไทยเองก็เปิดให้คนลาวข้ามมารักษาได้ ครอบครัวที่เกิดจากการแต่งงานของคนไทย - ลาว ก็ยังข้ามฝั่งไปมา ตลอดเวลา ไม่เกี่ยวกับว่ารัฐจะปิดพรมแดนหรือมีความขัดแย้งกัน (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) ทว่า นโยบายทางเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของลาว แทนที่จะเป็นผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจกลับ ส่งผลกระทบในทางลบทั้งในมิติทางสังคมและเศรษฐกิจ ผลที่ติดตามมาคือชาวลาวหนีออกนอกประเทศข้าม แม่น้าโขงมายังประเทศไทย ทั้งแรงงานมีความรู้มีฝีมือ และแรงงานไร้ฝีมือ ทาให้ประเทศไทยในบริเวณ ชายแดนไทยลาว เริ่มมีการเคลื่อนย้ายแรงงานชาวลาวจานวนมาก (มานะ มาลาเพชร, 2533) ในช่วงปลายของ สงครามเย็น เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของลาวไม่ประสบความสาเร็จ และยิ่งทาให้ประเทศตกอยู่ในสภาวะ ความยากจน กระทั่งใน ค.ศ. 1986 ผู้นาลาวเร่งปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศ ก่อให้เกิดกลไกใหม่ทางด้าน เศรษฐกิจ (New Economic Mechanism) ซึ่งเป็นนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจของลาวที่อาศัยกฎเกณฑ์ทาง เศรษฐกิจแบบทุนนิยมควบคู่กับเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ประกอบกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่าง ประเทศมหาอานาจที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกันเริ่มคลี่คลายลงทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาค เกิดจุดพลิกผันที่สาคัญของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาว เมื่อพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ขึ้น ดารงตาแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทยใน ค.ศ. 1988 ได้ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ทางด้านนโยบายต่างประเทศต่อ ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอินโดจีนที่เรียกกันว่า “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นตลาดการค้า” ในยุคนี้ กล่าวได้ว่าเป็นยุคแห่งการเติบโตทางเศรษฐกิจไทย - ลาว นอกเหนือจากประเทศต่าง ๆ ใน ภูมิภาคนี้ที่เริ่มพัฒนานโยบายทางเศรษฐกิจแล้ว การเคลื่อนไหวในระดับโลกก็มีส่วนสนับสนุนการเติบโตทาง เศรษฐกิจภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะญี่ปุ่นมีการขยายฐานการผลิตมาสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นผลมาจาก ข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Accord) ญี่ปุ่นมีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโดจีน โดยผ่านการ ดาเนินการของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ ADB และการลงทุนโดยตรง ADB ได้ผลักดันโครงการความร่วมมือ ทางเศรษฐกิจอนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง (Greater Mekong Subregion – GMS) ใน ค.ศ. 1992 ที่เป็นความร่วมมือ ของ 6 ประเทศ คือ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนทางตอนใต้ ในด้านคมนาคม พลังงาน การค้า การลงทุน การเกษตร สิ่งแวดล้อม การท่องเที่ยว และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดย ADB จะเข้าไปมีบทบาท
  • 4. 4 ใน GMS ในด้านการสนับสนุนด้านการเงิน เป็นผู้ประสานงานโครงการต่างๆ และให้ความช่วยเหลือทาง วิชาการ และการให้คาปรึกษา (กฤษฎา บุญชัย, 2553) ไม่เพียงแต่ญี่ปุ่นที่มีบทบาททางเศรษฐกิจ ออสเตรเลียเองก็ได้มีภารกิจทางการทูตทั่วทั้งเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ใน ค.ศ. 1991 รัฐบาลออสเตรเลียได้สนับสนุนงบประมาณสร้างสะพานมิตรภาพไทย - ลาว แห่งที่ 1 เป็นสะพานข้ามแม่น้าโขงขนาดใหญ่แห่งแรกเชื่อมระหว่างหนองคายและเวียงจันทน์ สะพานมิตรภาพ ไทย - ลาวแห่งที่ 1 มีความสาคัญเป็นอย่างมากในการสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและ ลาว จากเดิมที่ขนสินค้าผ่านแพ ผ่านแม่น้า ก็สามารถใช้การขนส่งสินค้าผ่านสะพานได้ ส่งผลให้นักธุรกิจ ไทย - ลาวมีการประสานความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว การค้าระหว่างไทย - ลาว ขยายตัวอย่างมาก จนไทยกลายเป็นคู่ค้าที่สาคัญที่สุดของลาว การค้าระหว่างทั้งสอง ประเทศใน ค.ศ. 1994 ก็สูงถึง 9,062.30 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่า ค.ศ. 1993 ถึงร้อยละ 65.34 (อภิรดี แข้โส, 2553) ระยะที่ 2 เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการลงทุนทางเศรษฐกิจบนลุ่มแม่นาโขง (ค.ศ. 1995 - 2013) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - ลาว นับได้ว่ามีความเฟื่องฟูเป็นอย่างมากตั้งแต่มีการเปิดใช้งานสะพาน มิตรภาพไทย - ลาวแห่งที่ 1 อีกทั้ง ใน ค.ศ. 1996 การเปิดสถานกงสุลใหญ่ของไทยในแขวงสะหวันนะเขตของ ลาวและกงสุลใหญ่ของลาวในจังหวัดขอนแก่น ก็ได้สะท้อนให้เห็นภาพของความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่าง ไทย - ลาว และการให้อภัยต่อความบาดหมางทางการเมืองที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ภูมิภาคอินโดจีนในตอนนี้ได้ เปลี่ยนจากภูมิภาคแห่งสงครามกลายเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง โดยมีรัฐและกลุ่มทุน ต่างๆ เข้าไปลงทุนและแสวงประโยชน์อย่างมากมาย ทั้งเพื่อการขยายฐานการผลิตและขยายตลาดรองรับ สินค้า (กฤษฎา บุญชัย, 2553) เศรษฐกิจระดับรัฐที่แสดงออกผ่านการค้าชายแดนระหว่างไทย - ลาว เติบโตอย่างต่อเนื่อง หลังการ ปรับเปลี่ยนนโยบายของทั้งสองประเทศ แต่เศรษฐกิจระดับภาคประชาชนของไทย - ลาว กาลังเผชิญกับความ ท้าทายที่มาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงในแม่น้าโขง ซึ่งเป็นแม่น้าสายสาคัญที่หล่อเลี้ยงประชากรในจีน และ ภูมิภาคอินโดจีน ตั้งแต่เมียนมา ลาว ไทย กัมพูชา และเวียดนาม ซึ่งชาวบ้านในจังหวัดหนองคายริมแม่น้าโขง ต่างมีวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมที่พึ่งพิงแม่น้า โดยเฉพาะการประมงและเกษตรกรรมเป็นรายได้หลักของ ชาวบ้าน มีรายได้ปีละ 5,000 - 20,000 บาทต่อครัวเรือน ส่วนหน้าแล้งยามน้าลดก็มีที่สาหรับแหล่งท่องเที่ยว เช่น หาดทราย อ่างปลาบึก ล่องแก่ง ร้านขายอาหารช่วงเทศกาล (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) ทั้งนี้ หลังจากเกิดกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคลุ่มน้าโขง (Greater Mekong Subregion – GMS) ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา รัฐบาลประเทศต่างๆ ที่ได้ดาเนินการทางเศรษฐกิจตามกรอบ GMS ต่างตักตวง ผลประโยชน์ให้กับประเทศตนเองบนแม่น้าโขง ไม่ว่าจะเป็นจีนที่สร้างเขื่อนบนลาน้าโขง และมีโครงการ ปรับปรุงร่องน้าเพื่อการเดินเรือพาณิชย์ในแม่น้าโขง โดยการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้าโขงออกให้เป็นร่องน้า เพื่อให้เรือสินค้าขนาด 500 ตัน สามารถเดินทางจากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีนมายังลาวได้ตลอดทั้งปี
  • 5. 5 (ธีระพงศ์ โพธิ์มั่น, 2564) ไทยเองก็ต้องการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติในประเทศเพื่อนบ้าน ไม่ว่าจะเป็น การ ผันน้า การสร้างเขื่อน การขยายฐานอุตสาหกรรม เช่นเดียวกับประเทศลาวต้องการสร้างเขื่อนเพื่อผลิต กระแสไฟฟ้า รวมไปถึงกัมพูชาและเวียดนามก็ต้องการขยายพื้นที่ชลประทานและการสร้างเขื่อนเช่นเดียวกัน ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขง เช่น น้าขึ้นลงเร็ว น้าเปลี่ยนสี น้าท่วมในหน้าแล้ง น้าแล้งในฤดูที่น้า ควรท่วม จนก่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจของชาวบ้านไทย - ลาวทั้งสองฝั่งโขง หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจน คือ แหล่งรายได้ของชาวประมงริมแม่น้าโขงในหนองคายกว่า 100 คน ลดลง เรื่อย ๆ จนหลายคนหันไปทาอาชีพอื่น รวมไปถึงการสูญหายไปของหาดจอมมณี ในจังหวัดหนองคาย ซึ่งแต่ เดิมเป็นหาดเศรษฐกิจของคนสองฝั่งโขง มีพ่อค้าแม่ค้ากว่า 200 ร้าน บริการลูกค้าที่มาพักผ่อนในหาดจอมมณี แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขง ในช่วง ค.ศ. 2010 - 2011 หาดจอมมณีเริ่มได้รับผลกระทบจากความ ผิดปกติของแม่น้าโขง ใน ค.ศ. 2012 - 2013 หาดก็ถูกน้าท่วมทั้งหมด กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ร่วมกันระหว่างคนไทยและลาวสูญหายไปหมด คนลาวก็ไม่ได้ข้ามฝั่งมาเที่ยวอีก ไม่ใช่แค่เศรษฐกิจที่หายไป เท่านั้น แต่ประเพณีสงกรานต์ ความสนุกสนานในหาดจอมมณีก็หายไปด้วย (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) อันที่จริงไม่ใช่แต่เพียงประเทศบนลุ่มแม่น้าโขงที่พยายามสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประเทศ นอกแม่น้าโขงก็มีบทบาทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะจากการเข้ามามีบทบาทของสหรัฐฯ ที่หวนกลับมามีบทบาท อีกครั้งในช่วงรัฐบาลของบารัค โอบามา มีการตั้งกรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขงตอนล่าง (Lower Mekong Initiative หรือ LMI) ใน ค.ศ. 2009 อีกทั้งยังมีญี่ปุ่นที่เข้ามาทากรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขง - ญี่ปุ่น (Mekong – Japan Cooperation หรือ MJ) เกาหลีใต้ก็เช่นกันก็พยายามสร้างกรอบความร่วมมือลุ่มน้าโขง - สาธารณรัฐ เกาหลี (Mekong – Republic of Korea Cooperation หรือ Mekong – ROK) จะเห็นได้ว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เริ่มปรากฏให้เห็นความ ซับซ้อนที่มากขึ้นกว่าแต่ก่อน เศรษฐกิจของไทยและลาว นั้นยึดโยงผสานเป็นเนื้อเดียวกันกับประเทศอื่นๆ ผ่าน กรอบหรือองค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการขยายบทบาทอิทธิพลของ ประเทศมหาอานาจภายนอกในรูปแบบใหม่ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปลักษณ์ของรัฐอธิปไตยและอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ ดังเช่นในอดีตอีกแล้ว อีกทั้งความสัมพันธ์ในระดับประชาชนไทย - ลาว ก็เริ่มจะมีความเด่นชัดมากขึ้น ทั้ง ในทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในมิติวัฒนธรรมที่เด่นชัดขึ้น ซึ่งสะท้อน จากการเคยดารงอยู่ของหาดจอมมณีในจังหวัดหนองคาย แต่สุดท้ายเศรษฐกิจระดับชาวบ้านก็ได้รับผลกระทบ จากความเปลี่ยนแปลงของแม่น้าโขงอันเป็นผลพวงจากการลงทุนของประเทศต่างๆ ระยะที่ 3 เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการผงาดขึนของจีน (ค.ศ.2013 - ปัจจุบัน) ตั้งแต่ ค.ศ. 2000 เป็นต้นมา จีนกลายเป็นประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกระทั่ง ค.ศ. 2010 เศรษฐกิจจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากสหรัฐฯ เท่านั้น ในขณะที่อานาจของตะวันตกที่เคย เป็นผู้รักษาระเบียบโลกกาลังถดถอย โลกกาลังเคลื่อนเข้าสู่ระเบียบโลกใหม่ (New World Order) ซึ่งเป็น ระเบียบโลกแบบหลายขั้วอานาจ (Multipolar World) ขั้วอานาจใหม่ของโลกมีประเทศทางตะวันออกซึ่งนา โดยจีนในฐานะหัวขบวน จีนเองเมื่อผงาดขึ้นมาเป็นประเทศที่สาคัญของโลกได้วางยุทธศาสตร์และแนวทางที่
  • 6. 6 จะเชื่อมประเทศอื่นๆ ในโลกในแบบฉบับของจีนเอง ใน ค.ศ. 2013 จึงเกิดอภิมหายุทธศาสตร์การต่างประเทศ ที่โลกต้องจับตามอง นั่นก็คือ ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จีนได้วางเส้นทางการ เชื่อมโยงในหลายมิติทั้งในด้านการคมนาคม การค้า การเงิน ความสัมพันธ์ระดับประชาชน กับหลายภูมิภาคทั่ว โลก และหนึ่งในภูมิภาคที่สาคัญที่จีนต้องการเชื่อมโยงและมีอิทธิพลที่สุดกว่าชาติอื่น นั่นก็คือ ภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ และใน ค.ศ. 2015 จีนยังริเริ่มกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong Cooperation) มีประเทศลุ่มแม่น้าโขง 6 ประเทศเป็นสมาชิก คือ จีน เมียนมา ลาว ไทย เวียดนาม กัมพูชา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างจีนและลาว ภายใต้กรอบข้อริเริ่ม BRI มีกลไกการขับเคลื่อนว่าด้วยการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจจีน – คาบสมุทร อินโดจีน (China – Indochina Peninsula Economic Corridor : CIPEC) ที่ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ กัมพูชา เมียนมา เวียดนาม และมาเลเซีย โดยมีระเบียงเศรษฐกิจย่อยโครงการแรก คือ ระเบียงเศรษฐกิจจีน - ลาว ตั้งเป้าหมายจะพัฒนาเครือข่ายความเชื่อมโยงและความร่วมมือระหว่างกัน โดยจีน และลาวมุ่งมั่นที่จะสร้าง “ประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันที่มีความสาคัญทางยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของความ ไว้ใจระหว่างกัน” (A Community of Shared Future with Strategic Significance On the Basis of Mutual Trust) เป็นผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายแบบ “win - win” ที่จีนได้ประโยชน์จากการที่มณฑลยูนนาน จะได้รับการพัฒนา ในขณะที่ลาวเองก็ยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาเศรษฐกิจให้หลุดพ้น ความยากจน รูปธรรมความร่วมมือของระเบียงเศรษฐกิจจีน – ลาว คือ การที่จีนทุ่มเงินมหาศาลสร้างรถไฟเพื่อ เชื่อมจีนกับอาเซียน โดยเริ่มต้นสร้างรถไฟจีน - ลาวก่อน รถไฟจากคุนหมิงไปเวียงจันทน์ ซึ่งเปิดใช้งานแล้ว ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2021 รถไฟจีน - ลาวนั้น ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่สาคัญอย่างหนึ่งต่อนโยบายการเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของลาว เพราะนอกจากจะช่วยทาให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่ง ของลาวมีประสิทธิภาพและสะดวกสบายยิ่งขึ้นแล้ว รถไฟยังเป็นระบบโลจิสติกส์ทางรางที่จะสามารถเชื่อมโยง ไปยังประเทศต่างๆ บนเส้นทางยุทธศาสตร์ BRI ได้อีกในอนาคต หมายความว่า การเป็นศูนย์กลางของการ คมนาคมขนส่งของลาวกาลังจะแผ่ขยายออกจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ ที่กว้างไกล มากยิ่งขึ้น ลาวกับแผนการพัฒนาเศรษฐกิจเชื่อมลาวเชื่อมโลก จีนที่มุ่งหน้าชัดเจนลงมาทางใต้ และหยิบยื่นข้อเสนอความร่วมมือและเงินกู้มากมายให้กับลาว ในส่วน ของลาวเองจากเดิมที่เป็นประเทศ Landlocked หรือประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นข้อจากัดที่สาคัญของ การค้า การขนส่งทางทะเลกับประเทศอื่นๆ ลาวจึงนาจุดอ่อนที่มีเพียงการเชื่อมกับประเทศอื่นทางบก ให้กลาย มาเป็นจุดแข็งของประเทศ ลาวในศตวรรษที่ 21 ได้แปรเปลี่ยนความคิดจากประเทศที่วางแผนอนาคตไม่เคย ชัดเจน และเดินตามหลังประเทศอื่นอยู่เสมอ ได้คิดและวางแผน ปรับยุทธศาสตร์ประเทศตัวเองครั้งใหญ่ สร้าง
  • 7. 7 ยุทธศาสตร์จาก“Land locked” ไปสู่ “Land linked” ลาวจาเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มี ประสิทธิภาพ แล้วนาไปสู่การเปลี่ยนประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลนี้ให้กลายเป็นศูนย์กลางของการเชื่อมโยง ระบบโลจิสติกส์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รัฐบาลลาวชุดปัจจุบันภายใต้การนาของนายกรัฐมนตรี พันคา วิพาวัน ได้กาหนดให้แผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (ค.ศ. 2021 – 2025) รูปธรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของลาวจึงเกิดขึ้น มากมายหลายโครงการ เช่น นโยบาย Lao Logistics Link (LLL) รัฐบาลลาวได้อนุมัติสัมปทานให้แก่บริษัทเอกชนของลาวเป็น ระยะเวลา 50 ปี ในการพัฒนาท่าบกท่านาแล้ง (Thanaleng Dry Port) และเขตโลจิสติกส์นครหลวง เวียงจันทน์ (Vientiane Logistics Park) เพื่อเป็นด่านสากลให้บริการด้านพิธีศุลกากรสาหรับสินค้าขาเข้า - ขาออกระหว่างประเทศ และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 2021 แล้ว ท่าบกท่านาแล้งและเขตโลจิสติกส์นครหลวงเวียงจันทน์นั้นตั้งอยู่ในพื้นที่ยุทธศาสตร์การค้าสาคัญ สามารถเชื่อมโยงกับสถานีรถไฟท่านาแล้ง ที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการรถไฟไทย - ลาว และตั้งอยู่ไม่ไกลจาก สถานีเวียงจันทน์ใต้ ที่เป็นสถานีปลายทางสาหรับขนส่งสินค้าในโครงการรถไฟจีน - ลาว (สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์, 2565) ภาพที่ 1 เส้นทางระหว่างสถานีรถไฟหนองคาย – ท่านาแล้ง - เวียงจันทร์ใต้ ที่มา: ดัดแปลงจาก Google Map ลาววางแผนใช้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเครื่องมือสาคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในลาว ลาวพัฒนา เขตเศรษฐกิจพิเศษทั่วประเทศ เฉพาะในเวียงจันทน์ซึ่งเชื่อมต่อกับหนองคายด้วยสะพาน มิตรภาพไทย - ลาว
  • 8. 8 แห่งที่ 1 มีการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษและเขตเศรษฐกิจเฉพาะจานวน 5 แห่งแล้ว5 ได้แก่ เขตเศรษฐกิจพิเศษ เวียงจันทน์ - ลองแทงห์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจไชยเชษฐา เขตเศรษฐกิจเฉพาะอุตสาหกรรมและการค้า เวียงจันทน์ - โนนทอง เขตเศรษฐกิจเฉพาะบึงธาตุหลวง เขตเศรษฐกิจเฉพาะดงโพส ภาพที่ 2 แสดงเขตเศรษฐกิจพิเศษในเวียงจันทน์ หลวงน้าทา บ่อแก้ว คาม่วน ที่มา: https://investlaos.gov.la/where-to-invest/special-economic-zone-sez/ จีนและลาวร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจจนทาให้จีนกลายประเทศที่เข้ามาลงทุนใหญ่ที่สุดในลาว โดยเฉพาะวิสาหกิจของมณฑลยูนนานจานวนมากได้เข้าไปลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในลาว เช่น ถนน ทาง ด่วน รวมถึงการทาเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) หรือการเช่าที่ดินเพื่อทาการเกษตรในแขวงทาง ภาคเหนือของลาว ในเวียงจันทน์ รัฐบาลลาวร่วมกับภาคเอกชนของจีน บริษัท CAMCE Investment (Lao) Co Ltd. สร้างอภิมหาโครงการขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า Vientiane New World หรือ โลกใหม่แห่งเวียงจันทน์ มี พื้นที่สาหรับก่อสร้างราว 700,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยที่อยู่อาศัยระดับหรู ห้างสรรพสินค้า โรงแรม ระดับ 5 ดาว 1 หลัง อพาร์ตเมนต์ และอาคารศูนย์ธุรกิจทันสมัย กลายเป็นเขตเมืองใหม่ทันสมัย และเป็น “แลนด์มาร์ก” แห่งใหม่ของเวียงจันทน์ ดึงดูดทั้งนักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้เข้ามาในเวียงจันทน์มากขึ้น (กุล ภัทร กมล,บรรพรต วิรุณราช, สุชนนี เมธิโยธิน, 2562) ปรากฏการณ์การเข้ามาของจีนในลาว แสดงให้เห็นว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างลาวและจีนแนบแน่นมากในยุคนี้ ลาวมองจีนเป็นโอกาสใหม่ของประเทศ ที่ จะพาลาวไปสู่การสร้างการเชื่อมโยงทางบกเข้ากับเส้นทางการค้าตามแผนยุทธศาสตร์ของ BRI และนาไปสู่การ ขยายการเชื่อมโยงลาวไปจนถึงยุโรปได้ (จันทอน สิดทิไซ, 2565) ที่ผ่านมา จีนเป็นประเทศที่ให้รูปธรรมความ ร่วมมือกับลาวได้ชัดเจนที่สุด จีนจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการที่จะเป็น “ตัวแสดง” สาคัญที่จะทาให้ลาวมีจุด Turning Point แปรเปลี่ยนกลายเป็นประเทศที่พัฒนาเทียบเท่ากับประเทศอื่นๆ ในอาเซียน 5 https://investlaos.gov.la/where-to-invest/special-economic-zone-sez/
  • 9. 9 ไทยกับความพยายามไม่ให้ตกขบวนเศรษฐกิจจีน - ลาว ด้วยบริบทโลกและการเมืองระหว่างประเทศที่แปรเปลี่ยนไป ยุทธศาสตร์ของจีนที่มุ่งลงใต้ อันเห็น รูปธรรมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในลาว ทาให้หนองคายในฐานะเมืองที่ติดกับเวียงจันทน์ กลายเป็น พื้นที่ยุทธศาสตร์สาคัญของไทยและภูมิภาค ที่จะกลายเป็นประตูหน้าด่านของการเชื่อมลาวกับจีนทุกมิติ โดยเฉพาะในมิติเศรษฐกิจการค้าและการลงทุน รัฐบาลไทยเองก็เล็งเห็นความสาคัญของหนองคายท่ามกลางภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงของโลก มี ความพยายามที่จะพัฒนาพื้นที่หนองคายให้ไม่ตกขบวนการพัฒนาที่มีจีนเป็นหัวหอกในการนา รัฐบาลไทยและ รัฐบาลจีน มีโปรเจคโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน คือ การสร้างรถไฟความเร็วสูง สถานีต้นทางคือหนองคาย รถไฟ ความเร็วสูงนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง – สิงคโปร์ ซึ่งจะมีผลอย่างยิ่ง ต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจหนองคาย แต่กลับกลายเป็นว่าโครงการดังกล่าวมีความล่าช้าอย่างยิ่ง ด้วย เหตุผลทางการเมืองและผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศที่ยังไม่ลงตัว นอกเหนือจากโครงการรถไฟความเร็วสูงข้างต้น รัฐบาลไทยยังคงให้ความสาคัญและเตรียมโครงการ ขนาดใหญ่มากมายที่จะลงทุนในหนองคาย ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ ที่ 11 รัฐบาลไทยได้วางยุทธศาสตร์พัฒนาชายแดนให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เชื่อมโยงการค้าการลงทุนใน ภูมิภาคของไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพกลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคและ เมืองให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2559) รูปธรรมนโยบาย คือ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษในพื้นที่ชายแดน จัดระบบสนับสนุนการลงทุนในเขต เศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากรเพื่อให้สามารถรองรับกิจกรรมในพื้นที่เขต เศรษฐกิจและเชื่อมโยงประเทศในภูมิภาคจานวน 10 จังหวัด หนึ่งในนั้น คือเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ได้ กาหนดพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษในอาเภอเมือง 12 ตาบล และในอาเภอสระใคร จานวน 1 ตาบล คือ ตาบล สระใคร ที่หวังจะเป็นประตูทางเศรษฐกิจเชื่อมโยงเศรษฐกิจของภูมิภาค ที่มีผู้เล่นสาคัญอย่างจีนและลาว นั่นเอง เมื่อรถไฟจีน – ลาวได้เริ่มต้นเปิดให้บริการ ทาให้สินค้าและผู้คนได้เริ่มเคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็วมากขึ้น ประเทศไทยเองมิอาจนิ่งเฉย เมื่อรถไฟความเร็วสูงหนองคาย – กรุงเทพฯ ยังไม่เห็นปลายทาง เพื่อไม่ให้เสีย ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ให้รอยต่อการคมนาคมทางรางระหว่างไทย - ลาวมีน้อยที่สุด และยังคงหวังให้ไทยเป็น ศูนย์กลางคมนาคมขนส่งให้กลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ประเทศไทยจึงได้ทาการเปิดให้บริการ “ขบวนรถไฟ ขนส่งสินค้าระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์” ระยะสั้นๆ มีความยาวทั้งสิ้น 3.5 กิโลเมตร ข้ามสะพานมิตรภาพ ไทย - ลาวแห่งที่ 1 ตั้งแต่สถานีหนองคาย – สถานีท่านาแล้ง (ลาว) ซึ่งมีสถานีท่านาแร้งเป็นศูนย์กองเก็บตู้ สินค้าของลาว เพื่อรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเชื่อมรถไฟจีน - ลาว รัฐบาลไทยยังเตรียมการพัฒนาพื้นที่ในสถานีรถไฟหนองคายทั้งหมด 80 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ตรวจปล่อย สินค้าระหว่างประเทศ และการเปลี่ยนถ่ายจากทางถนนสู่ระบบราง ให้เอกชนเช่าบริหารจัดการพื้นที่ 4 แปลง อีก 1 แปลงเป็นพื้นที่ส่วนกลาง พร้อมติดตั้งเครื่อง Mobile X-ray Inspection System เพื่อตรวจปล่อยสินค้า และทาพิธีการศุลกากรต่อไป (ผู้จัดการออนไลน์, 2565) รัฐบาลไทยยังได้เริ่มต้นพัฒนา “สถานีรถไฟนาทา”
  • 10. 10 จานวน 268 ไร่ ให้กลายเป็นย่านปล่อยสินค้าระหว่างประเทศ หรือศูนย์รวบรวมและเปลี่ยนถ่ายสินค้าจากถนน สู่ราง (Container Yard: CY) ให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟจากท่าเรือแหลมฉบังมายังสถานี หนองคายและต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้า ที่ท่านาแล้งของลาวได้โดยตรง ซึ่งถือว่าเป็นการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ ระบบรางเชื่อมโยงภายในประเทศ เพราะโดยปกติสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังจะขนส่งทางเรือไปที่จีนโดยตรง นอกจากนี้ ประเทศไทยและลาวยังได้วางแผน “การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้าโขงแห่งใหม่” เชื่อมหนองคาย และเวียงจันทน์ ซึ่งห่างจากสะพานมิตรภาพไทย – ลาวแห่งที่ 1 แค่ 30 เมตร รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน 3 ฝ่าย ไทย – จีน - ลาว เท่ากับว่าในอนาคตหนองคายและเวียงจันทน์จะมีสะพานเชื่อม ทั้งสองประเทศ 2 สะพานเคียงคู่กัน ขบวนเศรษฐกิจจีน ลาว และไทย: เศรษฐกิจชุมชนอยู่ในขบวน? ในระดับมหภาค ความเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายนอกประเทศ นามาซึ่งโอกาสการพัฒนาเศรษฐกิจ ของหนองคาย แน่นอนว่าภาครัฐมีโครงการขนาดใหญ่พัฒนาในหนองคายเพื่อรองรับและได้ประโยชน์จาก โอกาสเหล่านี้ เช่นเดียวกับภาคเอกชนที่เป็นกลุ่มที่ปรับตัวเร็ว และทางานกับภาครัฐอย่างต่อเนื่องในโครงการ ขนาดใหญ่ ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหนองคายนี้มีผลอย่างไรต่อระดับประชาชน เสียงสะท้อนจากภาค ประชาชนดูเหมือนว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของภาครัฐ ยังมีข้อครหาและผลกระทบที่ทาให้ประชาชนยังมีความ กังวล โครงการการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย ส่วนหนึ่งได้เลือกปักหมุดพัฒนาในพื้นที่ตาบลสระ ใคร จานวน 718 ไร่เป็นพื้นที่พัฒนา ซึ่งเดิมพื้นที่ดังกล่าวเดิมถูกประกาศเป็นป่าชุมชนตั้งแต่ ค.ศ. 2008 โดยมี ผู้ใช้ประโยชน์จากผืนป่า 4 หมู่บ้านโดยรอบ ในอาเภอสระใครเองก็เป็นแหล่งผลิตข้าวสารหอมมะลิชั้นดี คือ ข้าวหอมสระใคร ใน ค.ศ. 2015 หลังการประกาศนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษรวม 10 พื้นที่ ทั่วประเทศ ป่า ถูกเพิกถอนสภาพป่าชุมชน โอนให้กับกรมธนารักษ์เพื่อใช้เป็นพื้นที่โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย เป็น คลังพักสินค้าจากจีนและแหลมฉบัง ชาวบ้านไม่ได้ประโยชน์และเสียความเป็นเจ้าของป่าแห่งนี้ การดูแลรักษา จึงน้อยลง มีการทิ้งขยะ มีการตั้งเตาเผาถ่านในป่า เกือบ 200 เตา ป่าก็เริ่มเสื่อมโทรมลงเรื่อย ๆ จวบจนมาถึง ค.ศ. 2022 เขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งนี้กลับยังไม่ประสบความสาเร็จ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ และเงื่อนไขแรงจูงใจ ไม่ดึงดูดภาคเอกชนให้มาลงทุน มีการประกาศให้นายทุนไปเช่าพื้นที่หลายครั้ง แต่ก็ยังไม่ มีนักลงทุนสนใจเช่าพื้นที่ (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) ชุมชนในตาบลสระใครจึงรวมตัวกันประกาศขอพื้นที่คืน จานวน 20% หรือประมาณ 140 ไร่ เพื่อจะนามาพัฒนาเป็นแหล่งน้า สวนสาธารณะและแนวกันชนจาก ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากโครงการ ซึ่งมีโรงงานขนาดใหญ่กับรอยต่อพื้นที่เกษตรอินทรีย์ (GreenNews, 2565) ทิศทางของอนาคตในพื้นที่ตาบลสระใครยังไม่มีข้อสรุป รัฐบาลไทยเดินหน้าโครงการอย่างเต็มที่ ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ควรจะได้ยังไม่แสดงผลและกลับกลายเป็นว่าไปกระทบกับเศรษฐกิจเกษตรกรรมของ ชุมชนอีกด้วย ด้วยการคาดการณ์ว่าหนองคายจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตามมาด้วยโครงการ รถไฟความเร็งสูง หนองคาย – กรุงเทพ ทาให้อาเภอเมืองหนองคายบริเวณรอบสถานีรถไฟที่คาดว่าจะเป็น
  • 11. 11 สถานีต้นทางของรถไฟความเร็วสูง เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด ภาครัฐมีการเวนคืนที่ดินของชุมชน รอบสถานีซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย เป็นถนนและรางรถไฟ ให้กลายเป็นพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งกระทบกับชุมชนรอบสถานี ได้แก่ ชุมชนนาไก่ ชุมชนดอนดู่ ชุมชนนาทา - โนนธาตุ และชุมชนบ้านหนองขาม นอกเหนือจากการเวนคืน แล้ว ภาคเอกชนเข้ามากว้านซื้อที่ดินทั้งคนไทยและคนต่างชาติ เปลี่ยนมือเก็งกาไร จนทาให้ราคาที่ดินสูงจนคน ท้องถิ่น ชุมชน สู้ไม่ไหว ทาให้บริเวณนั้นเริ่มมีผู้ประกอบการท้องถิ่นน้อยลง ชุมชนบางส่วนต้องย้ายถิ่นฐาน และดูเหมือนว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะเป็นตามกลไกตลาด และยังไม่มีกลไกใดมาจัดสรรผลประโยชน์ให้ กระจายกับคนท้องถิ่นได้ (ผานิตดา ไสยรส, 2561) นอกเหนือจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่ข้างต้น เสียงสะท้อนจากตัวแทนภาคประชาชน ที่มองเห็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของหนองคาย มองว่าโครงการขนาดใหญ่ขาดการมีส่วนร่วมกับคน ท้องถิ่น ชุมชน ผู้ประกอบการขนาดเล็ก การประกาศเขตเศรษฐกิจพิเศษในตาบลสระใคร มีชาวบ้านเพียง เล็กน้อยเท่านั้นที่ได้เข้าร่วมประชุม การประชาสัมพันธ์ทาเพียงแค่ติดประกาศ ไม่ได้สื่อสารทุกช่องทางเพื่อไป ถึงกลุ่มประชาชน ความละเอียดอ่อนและความจริงจังในการจะให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลนั้นยังทาได้ไม่ทั่วถึง จนในหลายโครงการกว่าที่ชาวบ้านจะรับรู้ข้อมูลนั้นก็เสียผลประโยชน์ไปแล้ว (อ้อมบุญ, ทิพย์สุนา 2565) ใน ส่วนของการจะพัฒนายกระดับเศรษฐกิจหนองคายให้เชื่อมกับจีนและลาวผ่านรถไฟความเร็วสูง ในหมู่ ภาคเอกชน กลุ่มหอการค้า สภาอุตสาหกรรม และภาครัฐมีเวทีพูดคุยกันถึงโอกาสที่หนองคายจะได้รับ แต่ใน ส่วนของภาคประชาชนนั้นจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้างกับรถไฟความเร็วสูง ยังไม่มีเวทีที่คุยเรื่องเหล่านี้ สินค้าใดที่ชุมชนสามารถนาไปส่งผ่านรถไฟความเร็วสูงไปยังลาวและจีน ยังไม่มีความชัดเจน สินค้าส่วนใหญ่ที่ จะส่งไปนั้นกลายเป็นสินค้าจากพื้นที่อื่นที่เป็นที่นิยมของคนจีน เช่น ทุเรียน เป็นต้น ซึ่งยังไม่ใช่สินค้าของ ท้องถิ่นของหนองคาย (อ้อมบุญ ทิพย์สุนา, 2565) เศรษฐกิจไทย - ลาวท่ามกลางการผงาดขึ้นของจีน จะเห็นถึงความแตกต่างของการปรากฏตัวใน ภูมิภาคอินโดจีนระหว่างจีนและมหาอานาจตะวันตก จีนเข้ามาร่วมลงทุน ร่วมพัฒนาทางเศรษฐกิจให้กับ ประเทศในภูมิภาคนี้โดยไม่ให้ความสาคัญกับการแผ่ขยายอิทธิพลด้านอุดมการณ์ทางการเมือง ในขณะที่ มหาอานาจตะวันตกเน้นการช่วยเหลือหรือพัฒนาด้านอื่นๆ บนเงื่อนไขที่ประเทศผู้รับต้องมีอุดมการณ์ทาง การเมืองที่สอดคล้องกับตนเอง ซึ่งประเด็นนี้ทาให้ประเทศผู้ร่วมลงทุนในภูมิภาคอินโดจีนตอบรับการเข้ามา ของจีนได้ง่าย วิเคราะห์เศรษฐกิจไทย - ลาว บนความเปลี่ยนแปลงของภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของ ภูมิภาค จากพัฒนาการความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - ลาวข้างต้น สามารถที่จะตั้งข้อสังเกตได้ว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - ลาว ในบริเวณหนองคาย – เวียงจันทน์ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเฉพาะ ความสัมพันธ์ 2 ประเทศ แต่มีปัจจัยเกี่ยวข้องกับผู้เล่นที่เป็นมหาอานาจจากภายนอกทั้งสิ้น ทั้งสหรัฐอเมริกา นาเอาวิธีคิดในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมมาเผยแพร่ในภูมิภาคอินโดจีน ก่อให้เกิดความ เปลี่ยนแปลงต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทย - ลาว ลาวมีการปฏิรูป
  • 12. 12 เศรษฐกิจ และไทยเองก็เปลี่ยนแปลงนโยบายที่เคยเกลียดกลัวคอมมิวนิสต์ ให้หันกลับมาสร้างร่วมมือกันมาก ขึ้น ภายหลังจากการสิ้นสุดของสงครามเย็น รัฐมหาอานาจทางเศรษฐกิจต่างก็กลับเข้ามาหาผลประโยชน์ของ ตนในภูมิภาคอินโดจีนอีกครั้ง ทาหน้าที่เป็นผู้ออกแบบกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างกลุ่มประเทศ ต่างๆ ในภูมิภาค ทั้งออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นบนแผนการพัฒนาขององค์กรที่มีรัฐ มหาอานาจให้ความช่วยเหลือแทบทั้งสิ้น ดังนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พัฒนาการของความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ระหว่างไทย - ลาวนั้น ล้วนแล้วแต่มีบังเหียนที่ควบคุมโดยรัฐมหาอานาจทั้งสิ้น นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 หลังจากที่ประเทศไทยประกาศนโยบายเปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า เศรษฐกิจไทย - ลาวได้รับอิทธิพลจากแนวคิดเสรีนิยมใหม่ ซึ่งเป็นแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจที่มาจาก มหาอานาจอีกเช่นเคยอย่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา มาพร้อมกับบริบทที่ก้าวเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ที่ บริษัทข้ามชาติเคลื่อนย้ายทุนเพื่อแสวงหากาไรในต่างประเทศอย่างมหาศาล เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้ประเทศ ไทยและลาวเปิดประเทศ ประเทศไทยเปิดชายแดน เปิดด่าน สนับสนุนเงื่อนไขต่างๆ ให้มีการค้าขายระหว่าง ประเทศมากขึ้น สิ่งที่เป็นลักษณะพิเศษของเศรษฐกิจของไทยและลาวตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การอยู่ภายใต้แนวคิดเสรีนิยมใหม่ทาให้รัฐบาลทั้งสองประเทศได้ใช้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” (Special Economic Zones : SEZ) บนพื้นที่ชายแดน ส่วนใหญ่ลดกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดเพื่อดึงดูดการลงทุนต่างชาติ เช่น การลดหย่อนภาษี การเช่าที่ดินระยะยาว การแปรรูปบริการของรัฐให้เป็นเอกชน เขตเศรษฐกิจพิเศษเป็น เครื่องมือสาคัญทาให้เกิดโอกาสที่เศรษฐกิจทั้งสองประเทศจะเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งทั้งไทยและลาวได้เห็น ต้นแบบความสาเร็จของการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน ที่เน้นเลือกพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งทดลองตั้งเขต เศรษฐกิจพิเศษ เช่น เขตเศรษฐกิจเสิ่นเจิ้น จนทาให้ประเทศจีนประสบความสาเร็จในด้านเศรษฐกิจประเทศ หนึ่งของโลก ทั้งสองประเทศจึงส่งเสริมนโยบายเศรษฐกิจพิเศษมากขึ้นทั่วประเทศ ในประเทศไทยเดิมทีมีเพียง เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกแห่งเดียว ต่อมา ใน ค.ศ. 2015 รัฐบาลไทยก็เริ่มพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ชายแดน 10 แห่งทั่วประเทศ และเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคายเป็นหนึ่งในนั้น ในขณะที่ประเทศลาว ได้รับ การกระตุ้นและแนะนาจาก ADB ในเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตั้งแต่ ค.ศ. 2003 เริ่มต้นจัดตั้งเขตเศรษฐกิจ พิเศษแห่งแรกคือ เขตเศรษฐกิจพิเศษสะหวัน - เซโน และขยายไปทั่วประเทศโดยเฉพาะในเมืองชายแดน เฉพาะในเวียงจันทน์ที่ติดกับหนองคาย ก็มีถึง 5 เขตเศรษฐกิจพิเศษ ใน ค.ศ. 2015 มีเขตเศรษฐกิจพิเศษราว 13 แห่งในลาว (ADB, 2010) สะท้อนให้เห็นในทศวรรษนี้ “เขตเศรษฐกิจพิเศษ” เป็นเสมือนการสถาปนา พื้นที่แบบใหม่ที่เป็นรูปธรรมในภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขง ภายใต้อิทธิพลของเสรีนิยมใหม่ที่ยังไม่เสื่อมคลาย ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจไทย - ลาวในยุคหลังทศวรรษ 1990 จนมาถึงในยุคที่จีนผงาดขึ้นมา ยิ่ง สะท้อนให้เห็นว่า “เมืองชายแดน” กลายเป็นเมืองสาคัญ จากเดิมในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการเมืองระหว่าง ประเทศ พื้นที่ชายแดนกลายเป็นพื้นที่ที่ถูกมองว่าห่างไกล พื้นที่ชายขอบ พื้นที่เป็นแนวป้องกันเรื่องความมั่นคง ทาให้พื้นที่ชายแดนไม่ได้รับการพัฒนามากนัก แต่ปัจจุบันความสาคัญของพื้นที่ชายแดนเปลี่ยนไปมาก ส่วน หนึ่งเป็นเพราะแนวทางแบบเสรีนิยมใหม่ที่กระตุ้นให้รัฐเปลี่ยนเมืองชายแดนให้เป็นพื้นที่ทางเศรษฐกิจ และ การเข้ามาของยุทธศาสตร์ BRI จากจีน ยิ่งเป็นตัวเกื้อหนุนและตัวเชื่อมสาคัญที่ทาให้เมืองชายแดนหนองคาย –
  • 13. 13 เวียงจันทน์ เชื่อมกันหลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพราะเห็นโอกาสทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในอนาคต พื้นที่ ชายแดนที่ถูกเติมด้วยเขตเศรษฐกิจพิเศษจะกลายเป็นภาพลักษณ์ใหม่ให้เป็นเมืองระดับภูมิภาคที่ดึงดูดการ ลงทุนเข้ามาในพื้นที่ พื้นที่ชายแดนจะเป็นตัวกลางอย่างดีในเชื่อมโยงระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาคให้ใกล้ชิดกัน มากขึ้น ท่ามกลางบริบทที่แต่ละประเทศต้องพึ่งพาอาศัยกันมากขึ้น พื้นที่ชายแดนจะเชื่อมโยงทั้งในระดับมห ภาค และระดับการเชื่อมโยงระหว่างประชาชน ให้แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจร่วมกัน การ วิเคราะห์ในมิตินี้จะสะท้อนให้เห็นว่าปัจจุบันและอนาคต พื้นที่ชายแดนโดยเฉพาะชายแดนทางบกจะมี ความสาคัญแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งเป็นความหวังของการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในเมืองชายแดนที่ไม่ จาเป็นต้องดิ้นรนย้ายออกเพื่อหางานทาในเมืองใหญ่อื่นๆ ของประเทศ ทว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยลาว ไม่เคยมีผู้เล่นเพียงแค่ 2 ประเทศ ตั้งแต่ ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา จีนมีความพยายามที่จะขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไปยังภูมิภาคตอนใต้ของตนเอง ผ่าน ยุทธศาสตร์ BRI ยุทธศาสตร์ใหญ่ที่สั่นสะเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เศรษฐกิจไทย - ลาวที่เดินหน้า ด้วยแนวทางของเสรีนิยมใหม่ ในยุคของการขยายอิทธิพลของจีน พื้นที่ชายแดนไทย ลาว รวมไปถึงกัมพูชา และเวียดนาม จากเสรีนิยมใหม่กาลังมุ่งเข้าสู่การเป็นพื้นที่ภูมิเศรษฐศาสตร์ของจีนแล้ว ที่ผ่านมาจีนที่เข้ามาเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในไทยและลาว แง่หนึ่งเป็นการค้าระหว่างประเทศทั่วไป แต่หากวิเคราะห์เพิ่มเติมจะเห็นว่า เศรษฐกิจไทยและลาวกาลังเข้าสู่ยุคแห่งภูมิเศรษฐศาสตร์ (Geo- economics) ซึ่งมีนักวิชาการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหลายคนที่มองว่า จีนได้ใช้เศรษฐกิจ การค้า การ ลงทุน รวมไปถึงเรื่องวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือในโครงการต่างๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอานาจทาง การเมืองของตนเอง (Luttwak, 1990) โดยจีนเลือกภูมิภาคลุ่มแม่น้าโขงเป็นภูมิภาคแรกๆ ที่จะเป็นที่ ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของจีน เพราะเป็นพื้นที่ที่ใกล้ชิดจีน จึงเสมือนเป็น “หลังบ้าน” ของจีน การขยายอิทธิพล ของจีนผ่านภูมิเศรษฐกิจศาสตร์นี้ สามารถสะท้อนถึงการตอบโจทย์ของประเทศจีน 2 เรื่องสาคัญ คือ ประเด็น แรก จีนต้องการตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศตนเอง โดยเฉพาะการเร่งและยกระดับพัฒนา มณฑลยูนนานให้กลายเป็นมณฑลสาคัญทางเศรษฐกิจ ให้พื้นที่แห่งนี้เจริญเทียบเท่ากับภาคอื่นๆ ของจีน ประเด็นที่สอง จีนใช้เครื่องมือทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ จีนต้องการแสดงให้ โลกเห็นว่าจีนเป็นเจ้าของภูมิภาคนี้ เพื่อกันไม่ให้ประเทศมหาอานาจอื่นๆ มีบทบาทในภูมิภาคอินโดจีน โดยเฉพาะสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย ประเทศเหล่านี้เข้ามามีบทบาททางความคิดทางการเมืองของ ภูมิภาคอินโดจีนมาตลอด และไม่หยุดที่จะสร้างกรอบความร่วมมือมากมายกับภูมิภาคอินโดจีน เพื่อแข่งขัน และต่อต้านจีนเช่นกัน กล่าวได้ว่า ตั้งแต่หลังยุคสงครามเย็น ความสาคัญของอานาจทางเศรษฐกิจหรือ “ภูมิ เศรษฐศาสตร์” ได้ก้าวข้ามอานาจทางทหารและภูมิรัฐศาสตร์แบบดั้งเดิม (Blackwill and Harris, 2016) ที่ การขยายอิทธิพลไม่จาเป็นต้องใช้อานาจแบบแข็ง (Hard Power) ทางการทหาร หรือการขยายอิทธิพลทาง ความคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองแบบที่ชาติตะวันตกทามาโดยตลอด แต่อานาจทางเศรษฐกิจจะกลายเป็น เครื่องมือใหม่ในการที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีอิทธิพลเหนืออีกประเทศในลักษณะที่พึ่งพิง และนามาซึ่ง ความร่วมมืออื่นๆ หรือการครอบครองทรัพยากรในประเทศนั้นได้ ซึ่งอาจเป็นกลไกที่ทรงพลังมากกว่าอานาจ ทางการเมือง เนื่องจากเกี่ยวกับเรื่องปากท้องของคนในประเทศ และการที่จีนเข้ามีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจ