SlideShare a Scribd company logo
1 of 43
Download to read offline
อธิบายสังคมเสียใหม่
ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
และพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China และพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย
ผู้นาเสนอ
อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
11 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน
ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง กอปร์ธรรม นีละไพจิตร โศภนิศ อังศุสิงห์ ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
และทศพร มุ่งครอบกลาง
อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต
ปีที่เผยแพร่: พฤษภาคม 2562
www.rsu-brain.com
ที่อยู่
สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร
กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
สารบัญ
หน้า
บทนา
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
โดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ 1
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
โดย นายแพทย์สมศักดิ์ชุณหรัศมิ์ 6
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย
โดย ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 15
บทอภิปราย 27
ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 38
บทนา
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 9.30-12.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทีวิชาการเรื่อง อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิด
ตะวันตกผ่านหนังสือ Becoming China : The Story Behind the State และพระมหากษัตริย์กับ
ความเป็นไทย ณ ห้องประชุมการะเกด โรงแรมแมนดาริน สามย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โดยมี
นักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตรัฐมนตรี อดีตเอกอัครราชทูต อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ
ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการมองและสร้างชุดคาอธิบาย
หรือทฤษฎีของสังคมไทยและสังคมตะวันออกเอง เพื่อให้หลุดออกจากกระบวนทัศน์การมองโลก มองตัว
เราจากกรอบคิดของตะวันตกที่เป็นหลักมาตลอดช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา และจะได้เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่
การกาหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสังคมมากยิ่งขึ้น
ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ ได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่เป็น
ความรู้สู่ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย ภาคส่วนต่างๆ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความ
สนใจในการกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย
1
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์
ประธานบางกอกฟอรั่ม
2
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
เหตุที่หนังสือ Becoming China : The Story Behind the State น่าทึ่งเพราะสไตล์ในการเขียน
ของเขาไม่ใช่วิชาการ เป็นเรื่องเล่า แต่เป็นเรื่องเล่าที่เห็นภาพทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ข้อเท็จจริง และไม่ใช่
การสรุปอะไรง่ายๆ เป็นเส้นตรง
ผมได้มาสัมพันธ์กับเรื่องจีนก็เมื่อเริ่มอ่านหนังสือออก ประมาณ 7 ขวบ ผมอ่านสามก๊กแล้ว
เพราะเวลานั้นผมอยู่ใกล้กับทวด และเห็นหนังสือของทวดวางไว้ เป็นหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระ
คลังหน มีรูปวาดของกวนอู เตียวหุย จูล่ง ขงเบ้ง ติดตาตรึงใจผม ทาให้เรารู้สึกผูกพันกับเรื่องเล่าต่างๆ
ในหนังสือสามก๊กมาก เป็นนิยายที่อ่านแล้วอ่านอีก มันสนุกสาหรับเด็กผู้ชาย พอโตขึ้นก็เริ่มมาอ่านเต๋า
ตอนไปบวชพระเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว บวชแค่ 2 อาทิตย์ ผมเอาหนังสือเต๋าและหนังสือมาร์กซ์-เลนินติด
มือไปด้วย และเราก็รู้จักจีนผ่านหนังสือของประธานเหมาเจ๋อตง มีหลายอย่างที่เราอยากรู้อยากเข้าใจ
การที่เขาพุ่งทะยานขึ้นมาตั้งแต่ปี 1949 และอีกไม่ช้าไม่นานก็จะครบร้อยปีของการที่พรรคคอมมิวนิสต์
จีนได้มาปกครองประเทศจีน ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะพุ่งทะยานภายใน 40 ปีได้ขนาดนี้ เป็นอะไรที่น่า
ทึ่ง
สิ่งที่ผมสนใจหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ที่อยากชวนคุย ประการแรกคือ จีนเขาสนใจเรื่อง
ระเบียบ (order) มาก ว่าเขาจะดูแลรักษาระเบียบสังคมเขาอย่างไร เพราะว่าประเทศของเขาใหญ่
มหาศาล เขาจะอยู่อย่างไรกับโลก จะอยู่อย่างไรระหว่างผู้นากับประชาชน ระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน
อะไรทานองนี้คือคาถามใหญ่ของจีนที่ทุกวันก็ยังอยู่ตรงนี้และจะอยู่อีกต่อไปไม่รู้อีกนานเท่าใด พวกเรา
ตายกันไปจีนก็คงยังสนใจอยู่กับเรื่องระเบียบ เรื่องว่าจะอยู่กันอย่างไร ซึ่งในแกนความคิดหลักของเขา
นั้น ถ้าเราดูตั้งแต่ในยุคสมัยชุนชิว ก็มีสองความคิดหลักในการแก้ปัญหาประเทศและการอยู่อย่างมี
ความสุขในสังคม หนึ่งคือ เต๋าเต๊กเก็ง (เต๋าเต๋อจิง Dao-De-Jing) ของเล่าจื่อ (Lao Tzu) ถ้าใครอ่านเต๋า
ก็จะรู้ว่าผู้นาที่ดีคือผู้นาที่บอกว่า ตนไม่ได้ทาอะไร ประชาชนทาเอง นั่นคือผู้นาชั้นสุดยอดแล้วในแบบ
เต๋า แต่อีกแบบหนึ่งก็คือขงจื่อ (Confucius) ที่เชื่อว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎระเบียบและ harmony และ
ภายใต้ harmony นี้ คนที่จะดูแลจัดการคือโอรสแห่งสวรรค์ คือฮ่องเต้ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งสวรรค์ นี่คือ
สองความคิดหลัก แล้วเราก็เห็นชัดว่าหลังจากหมดยุคชุนชิวไปแล้ว ความคิดขงจื่อเป็นความคิดหลัก
สาระก็คือเพื่อรักษา harmony ต้องควบคุมระบบระเบียบให้แจ่มชัดและชัดเจน
จีนมักพูดว่าเราต้องเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันและรับใช้อนาคต จีนเป็นประเทศที่เข้มข้นเรื่องการ
นาเอาความรู้ ความคิดในอดีต ของปราชญ์ในอดีตมาพัฒนา ทบทวน และใช้ในปัจจุบันอย่างเข้มข้น ไม่มี
3
ชาติใดที่จะมากเท่านี้ เพราะฉะนั้น การที่เขารื้อฟื้นเรื่องขงจื่อ รื้อฟื้นเรื่องขงเบ้ง รื้อฟื้นอะไรต่างๆ ขึ้นมา
ก็แสดงให้เห็นสิ่งนี้ สิ่งใดที่สาคัญเขาก็นามาใช้ สิ่งใดที่คิดว่าไม่สาคัญ ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ก็เก็บไว้
ก่อน กฎเกณฑ์ว่าด้วยความขัดแย้ง วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) กับวัตถุนิยม
วิภาษ (Dialectical Materialism) ยังเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในการคิดว่าอะไรสาคัญ
อะไรไม่สาคัญ อะไรต้องก่อน อะไรต้องหลัง
เราพบอะไรในประวัติศาสตร์นับเป็นหลายพันปีของจีน? เราพบว่าความวุ่นวายนั้นมีเสมอใน
ประเทศจีน กบฎชาวนาลุกขึ้นมาต่อสู้ไม่รู้กี่ร้อยครั้งกี่พันครั้ง ราชวงศ์ต่างๆ ล่มสลาย เพราะหนึ่ง เกิด
จากการปกครองที่ไม่ถูกต้อง ทาให้เกิดกบฎชาวนา ทาให้เกิดการลุกขึ้นสู้ของกลุ่มต่างๆ ในสังคม
เนื่องจากการปกครองไม่ถูกต้อง ทาให้คุมข้างล่างไม่อยู่ ภัยที่สองมาจากชายแดน คือพวกซงหนู พวก
แมนจู มองโกล ชนเผ่าทั้งหลายที่มารุกรานจีน ใครอ่านนิยายจีนก็จะพบว่ามาจากชายแดนทั้งสิ้น เมื่อ
ประกอบกับภายในอ่อนแอ ก็ล่ม วัฏจักรของการล่มสลายของราชวงศ์ต่างๆ จะอยู่ประมาณ 100-200-
300 ปี เป็นอย่างนี้มาตลอดด้วยสาเหตุสองประการนี้ เพราะฉะนั้น คาถามคือจะทาอย่างไรถึงจะคุมให้อยู่
เรื่องระเบียบต้องเอาให้อยู่ให้ได้ มาถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์นั้นก็เป็นราชวงศ์หนึ่ง แต่
ราชวงศ์นี้ใช้หลักมาร์กซ์ เลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตงเป็นตัวเดิน แล้วก็เดินตามหลักนี้มาเรื่อย ฉะนั้น
คาถามใหญ่ที่ว่านั้นก็ยังมีอยู่สาหรับราชวงศ์นี้คือจะคุมประเทศอย่างไรให้อยู่ ให้ประชาชนไม่เกิดความ
วุ่นวายปั่นป่วน แล้วจะทาอย่างไรให้พวกต่างชาติ พวกคนเถื่อนทั้งหลาย ทั้งรอบชายแดน แถบซินเกียง
ทิเบตก็ดี และโดยเฉพาะพวกฝรั่งตาน้าข้าวที่ย่ายีเรามาสองสามร้อยปีก็ดี ทาอย่างไรอย่าให้พวกนี้มาทา
ร้ายเราได้ ทาอย่างไรอย่าให้เสถียรภาพของสังคมต้องล่มสลายไป สิ่งเหล่านี้ยังเป็นแกนหลักของ
ความคิดของเขาอยู่
เราเห็นชัดเจนแล้วว่าโดยส่วนใหญ่ราชวงศ์ล่มสลายเพราะ หนึ่ง ไม่สามารถทาให้ประชาชน
จานวนมากได้รับความสุขความพอใจ ประการที่สองมาจากการต่อสู้แย่งชิงอานาจภายในราชวงศ์กันเอง
ซึ่งแม้กระทั่งในพรรคคอมมิวนิสต์จีนเราก็เห็นการต่อสู้ภายในพรรค เอียงซ้ายบ้าง เอียงขวาบ้าง เช่น
หลิวเซ่าฉี โดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอียงขวาอย่างนั้นอย่างนี้ สู้กันมาเรื่อย เติ้งเสี่ยวผิงก็ถูกระเห็จจากการ
ปฏิวัติวัฒนธรรม เมื่อเหมาตาย พวกเติ้งได้กลับขึ้นมาใหม่ มาถึงยุคสีจิ้นผิง ก็มีการต่อสู้ระหว่างสองกลุ่ม
คือป๋อซีไหลกับสีจิ้นผิง สีจิ้นผิงเก่งกว่า มีชั้นเชิงดีกว่า อดทนกว่า วางแผนมาดีกว่า หากใครอ่านหนังสือ
Becoming China ในบทท้ายๆ จะพูดถึงเรื่องที่สีจิ้นผิงใช้ 36 กลยุทธ์ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นมากว่า 2,000 ปี
โดยใช้ประมาณ 5-6 กลยุทธ์เพื่อล่อให้ป๋อซีไหลพลาด เพื่อให้สามารถจัดการป๋อซีไหลได้ แล้วรวบอานาจ
การปกครองเข้าไว้อยู่ในกามือได้อย่างแท้จริง
เมื่อรวบอานาจเสร็จแล้ว สถาปนาความเป็นปึกแผ่นภายในพรรคได้แล้ว คาถามคือจะจัดการ
อย่างไรกับความไม่พอใจของประชาชน เพราะช่วงของการเปลี่ยนแปลงในยุค 4 ทันสมัย พวกที่ได้รับ
ผลกระทบมากที่สุดคือพวกชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้าน เกษตรกรจานวนมากที่ถูกย้ายที่อยู่ ที่ดินจานวนมาก
4
ก็กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการใช้แรงงานแบบเข้มข้น รุนแรง สมาชิกพรรคที่คอร์รัปชั่นก็มี
จานวนมาก ชาวบ้านเดือดร้อนก็พยายามประท้วง
จุดที่สาคัญมากซึ่งรัฐบาลจีนคงคิด ศึกษา เฝ้าดู และทาอยู่อย่างเข้มข้นเพื่อให้ระเบียบของเขามี
เสถียรภาพ ก็คือความผิดพลาดของการปฏิรูประบอบการปกครองของกอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev)
กับพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตที่พยายามเปลี่ยนระบบ สร้างความทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจตาม
นโยบายกลัสนอสต์ (Glasnost) และเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งทาให้สหภาพโซเวียตและพรรค
คอมมิวนิสต์โซเวียตล่มสลายไป จีนถือสิ่งนี้เป็นบทเรียนใหญ่ว่าจะต้องไม่ปฏิรูปเศรษฐกิจและปฏิรูป
การเมืองแบบที่โซเวียตทาพลาดมาแล้ว จะไม่ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นเด็ดขาด เพราะฉะนั้น เมื่อปี 1989 ที่
มีการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินที่พยายามจะให้เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก การประท้วงนี้ก็ต้อง
ถูกทาลายอย่างไม่ให้หือได้เลย เพราะฉะนั้น เขาจึงจะไม่เปิดโอกาสให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย
ตะวันตกแน่นอน เพราะจะทาให้คุมข้างล่างไม่อยู่ และประชาธิปไตยก็ใช่ว่าจะนาไปสู่ความสาเร็จ ความ
มั่นคง ความมีเสถียรภาพของสังคม ดังนั้น จีนจะไม่ปล่อยเป็นอันขาด ประชาธิปไตยโดยเผด็จการชนชั้น
กรรมาชีพ ประชาธิปไตยรวมศูนย์ยังเป็นเรื่องที่เขาคุมให้มั่นอยู่ แม้กระทั่งพวกเราตายไปแล้วก็ตาม จีน
ไม่มีวันปล่อยให้มีประชาธิปไตยแบบตะวันตกเกิดขึ้นในประเทศเขาแน่นอน ระเบียบต้องเป็นอย่างนี้ เรา
จะเห็นการควบคุมเรื่องระบบดิจิทัลของเขา ควบคุมแม้กระทั่งเรื่องการสื่อสารทั้งหลาย อย่างโปรแกรม
แชทเขาก็มีของเขาเอง (WeChat) ไม่ปล่อยให้คนภายนอกแทรกซึมเข้ามาทา เพราะท้ายที่สุดแล้ว
สงครามไซเบอร์เป็นเรื่องใหญ่ การลุกขึ้นสู้ทั้งหลายจะถูกคุมหมด
สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือว่า หนึ่ง รัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพอย่างไร เขาเรียนรู้จาก
ประวัติศาสตร์ว่าราชวงศ์ทั้งหลาย ทุกๆ 100 ปี 200 ปี มีสิทธิ์เปลี่ยนที แล้วราชวงศ์คอมมิวนิสต์จะอยู่ได้
อีกนานเท่าไร เขาจะรักษาราชวงศ์ของเขาต่อไปอย่างไร จะส่งต่อสืบต่อกันอย่างไร จากรุ่นที่ 3 ไปสู่รุ่นที่
4 ไปสู่รุ่นที่ 5 เขาคิดไกล ประเด็นที่สองก็คือเรื่องของประชาชน ผู้ที่ถูกปกครอง ผู้ซึ่งอยู่ใต้ฟ้าใต้สวรรค์
นั้นว่าจะอยู่อย่างไรกับฟ้า
ถ้าอ่านจากหนังสือ เราก็จะเห็นความคิดของพวกเขาว่าความใฝ่ฝันของคนจีนที่มีมานานคือเรื่อง
ไท่ผิงเทียนกว๋อหรือแดนสุขาวดี ฝันแบบยูโทเปียยังฝังรากลึกอยู่ในสังคมไม่น้อย และพรรคคอมมิวนิสต์
จีนก็คิดว่าเขาจะไปสู่สังคมยูโทเปียโดยผ่านกระบวนการของลัทธิมาร์กซ์ โดยผ่านวัตถุนิยมวิภาษและ
วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ ผมเชื่อว่าเขายังใช้ตรงนี้อยู่ เนื่องจากเมื่อสองสามปีก่อน มีคนนาตาราที่สอน
เด็กมัธยมปลายของจีนมาให้ดูว่าตารานี้พูดถึงเรื่องวัตถุนิยมวิภาษและวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ สอน
เรื่องพลวัตของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนทาอะไรเขาลึกซึ้งเรื่องหลักคิดหลักปรัชญามาก เด็กจีนจะต้อง
เข้าใจเรื่องปรัชญา เข้าใจโลก เข้าใจเรื่องพลวัต เข้าใจเรื่องสภาวะวัตถุนิยมวิภาษ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนเต๋า
เขาสอนและเตรียมคนกันแบบนี้เลย ให้มีความลึกซึ้งทางหลักคิด หลักปรัชญาเป็นพื้นฐานก่อน ก่อนที่จะ
5
มาเรียนแบบแยกส่วน เขาจะเรียนแบบองค์รวม แบบเข้าใจให้ดี โดยใช้หลักปรัชญาเป็นตัวนา ซึ่งน่าทึ่ง
มาก
เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสังคมจีนเป็นแบบนี้ ก็ต้องติดตามว่าเขาจะอยู่กับโลกอย่างไร เขาคิดกับโลก
อย่างไร เขาคิดกับภูมิภาคและประเทศของเราอย่างไร ซึ่งสาคัญ เพราะเราก็รู้ว่าจีนใหญ่มาก เขาเป็น
ศูนย์กลางของโลกมาตลอด และเวลานี้เขาพุ่งทะยานกลับมาเป็นผู้นาของโลกอย่างแน่นอนแล้ว ระเบียบ
ของประเทศเขาเกี่ยวข้องกับระเบียบของโลก ต้องดูว่าเขาจะดูแลประเทศรอบบ้านเขาอย่างไร จะอยู่กับ
พวกประเทศ “สถาน” ทั้งหลายอย่างไร อยู่กับรัสเซียอย่างไร อยู่กับตะวันตกซึ่งเคยทาความเจ็บปวดให้
เขาอย่างไร แล้วเขาคิดอย่างไรกับพวกเรา พวกอุษาคเนย์ พวกอาเซียน เขามองไทย มองเวียดนาม
พม่า เขมร ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียอย่างไร เรื่องนี้ต้องฝากไว้เป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ เพราะ
ถ้าเราอยากรู้ว่าจีนคิดอย่างไรกับเราเวลานี้ มองย้อนไปในประวัติศาสตร์ สมัยนั้นฮ่องเต้จีนมองไทย มอง
ก๊กของเราอย่างไร และเขามีท่าทีปฏิบัติกับเราอย่างไร เวลานี้คิดว่าเขาก็คงมองอย่างนั้นอยู่ เพียงแต่อยู่
ภายใต้สถานการณ์ใหม่ ประวัติศาสตร์เหล่านี้ ต้องมีบันทึกไว้แน่นอน นอกจากนี้ คนไทยเองก็ต้องถาม
ว่าเราเข้าใจหรือไม่ว่าจะอยู่กับจีนให้ได้ดีเหมือนกับที่เคยอยู่มาได้อย่างไร ประสบการณ์สมัยพ่อขุนราม
สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ สอนอะไรเรา แล้วเราจะไปต่ออย่างไร ผมคิดว่าควร
ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เสียใหม่ และเอาประวัติศาสตร์เหล่านี้มาพูดคุย มาทา
ความเข้าใจโดยรวม ไม่แยกเป็นชิ้นๆ ไม่แยกเป็นส่วน
และอีกเรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดก็คือพวกเรารับอิทธิพลตะวันตกมามาก เวลาเรามองความมั่งคั่ง
เราก็มองแค่ตัวเลขเศรษฐกิจ แต่ไม่นิยามคาว่าความมั่งคั่งเสียใหม่ โดยเฉพาะในโลกที่มีความซับซ้อน
ทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสภาวะโลกร้อน ถ้าเรามุ่งหวังจะได้จากจีนในแง่เศรษฐกิจอย่างเดียว
โดยไม่เห็นอันตรายหรือความท้าทายอื่นๆ เราจะพลาดท่าแน่นอนในการอยู่กับจีนในโลกสมัยใหม่ เช่น ที่
เรามีความภูมิใจในการเป็นศูนย์กลางทางโลจิสติกส์ แต่ไม่รู้ว่าการเป็นศูนย์กลางนั้นมีทั้งบวกและลบมา
พร้อมๆ กัน เราไม่มีทีมป้องกัน เราไม่เคยคิดยาว เรามียุทธศาสตร์ 20 ปี แต่จีนเขาไม่เคยคิด 20 ปี เขา
มอง 50 ปี 100 ปี แต่เขามีวิธีคิดที่วางอยู่บนรากฐานของหลักปรัชญา ส่วนของเราต้องคิดว่าจะเอาหลัก
ปรัชญาอะไรมามอง จะใช้หลักปรัชญาอะไรในการรักษาชาติและรักษาระเบียบเสถียรภาพ แล้วก็ต้อง
ยืดหยุ่นได้กับโลกสมัยใหม่ด้วย
6
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์
อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
7
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือ Becoming China
ความเป็นจีนในสายตา Jeanne-Marie Gescher ผู้เขียนหนังสือ Becoming China : The Story
Behind the State
การกล่าวอ้างผู้นาและนักปราชญ์ในอดีต
ผมพยายามจะสรุปความเป็นจีนในสายตาของ Jeanne-Marie Gescher เท่าที่จับความได้ เธอ
บอกว่าประวัติศาสตร์การปกครองของจีนเต็มไปด้วยเรื่องราวของผู้นาและนักปราชญ์ที่มีบทบาทและ
มุมมองว่าด้วยชีวิตและการปกครองที่ยังทรงอิทธิพลมาจนทุกวันนี้ คนจีน โดยเฉพาะผู้นาจะกล่าวอ้าง
และนาตัวอย่างจากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ รวมทั้งใช้บริการผู้มีความรู้ ความคิด ปรัชญา วิทยาศาสตร์
มาใช้ประกอบการตัดสินใจ
เวลาเราอ่านประวัติศาสตร์จีน น้อยมากที่เราจะไม่ได้ยินตัวละครหลักในหนังสือกล่าวอ้างบุคคล
ในอดีต เป็นอะไรที่อยู่ในสายเลือด ใครที่สามารถกล่าวอ้างคนในอดีตได้ถือเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความคิดที่
ดี ในสามก๊ก ผมติดใจเรื่อง “สงครามลิ้น” มาก ตอนขงเบ้งเจรจาให้ซุนกวนมารบกับโจโฉ เขาก็ไปเจอ
เหล่านักปราชญ์ สิ่งแรกที่นักปราชญ์ทักขงเบ้งก็คือว่าท่านอายุยังน้อยแต่ได้ยินว่าท่านอาจหาญเทียบ
กับควั๋นต๋ง เคยบอกว่าตนเองเป็นเหมือนกับควั๋นต๋งกับงักเย ขวัญต๋งเป็นเสนาบดีคนหนึ่งของหวงฉี้กง
ผมกลับไปอ่านและพบว่าน่าสนใจมาก การที่ขงเบ้งเทียบตนเองกับควั๋นต๋งนั้นแปลว่าอะไร และความจริง
แล้วขงเบ้งกับควั๋นต๋งต่างกันเพียงใด นี่เป็นตัวอย่างของการกล่าวอ้างคนในอดีต เข้าใจว่า Jeanne-Marie
ก็คงจะเห็นประเด็นพวกนี้ว่าประวัติศาสตร์จีนเต็มไปด้วยคนที่มีความรู้ และผู้นาจีนมักจะกล่าวอ้างถึงสิ่ง
ที่เรียกว่าความรู้หรือปัญญาโบราณเพื่อเอามาใช้ในการตัดสินใจอยู่ไม่น้อย
วัฏจักรการเกิดและดับของอานาจ
ประวัติศาสตร์จีนเต็มไปด้วยการโค่นล้มผู้มีอานาจมาแต่ดั้งเดิม และแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยการ
วางแผนซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ใช้กลยุทธ์มากมาย แต่ที่สาคัญกว่านั้นก็คือว่าเมื่อขึ้นมามีอานาจแล้ว ใหม่ๆ
ก็ต้องใส่ใจความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง การโค่นล้มอานาจนั้นต้อง
สร้างความชอบธรรมไปพร้อมๆ กัน ถ้าไม่สร้างความชอบธรรมก็จะอยู่ได้ยาก ฉะนั้น จะพบบ่อยว่าต้น
ราชวงศ์ผู้ปกครองจะดีมากพอท้ายราชวงศ์ก็จะแย่เสมอ นี่ไม่นับว่าระหว่างราชวงศ์ก็มีการแย่งชิงอานาจ
กันอย่างรุนแรง และยังไม่นับความวุ่นวายในยุคชุนชิว หมายถึงยุคตั้งแต่หลังสมัยฮั่นเป็นต้นมาก็จะเป็น
8
อย่างนั้น ยุคชุนชิวก็จะตรงไปตรงมา ทหารโค่นล้มผู้มีอานาจ แต่ทุกครั้งที่โค่นล้มผู้มีอานาจ ก็ต้องสร้าง
ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นก็จะเกิดสิ่งที่ผมเรียกว่า “วัฒนธรรมต้องใส่ใจ” มาถึงยุคพรรค
คอมมิวนิสต์เองก็ต้องอ้างชาวบ้านตลอด ไม่เช่นนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ ในช่วงหลังๆ ของหนังสือเล่มนี้ก็จะเห็น
การอ้างอิงชาวบ้านจานวนมาก ระหว่างที่อ่านหนังสือ ผมก็ไปดูสารคดี 6 ตอนจบของ CCTV ที่ทาไว้
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ช่วงหูจิ่นเทามีอานาจอยู่ พูดถึงเรื่องจีนปฏิรูปประเทศตนเองให้ทันสมัย เต็มไปด้วย
เนื้อหาที่ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนทาอะไรให้กับคนจีนบ้าง เล่าเรื่องกิจการต่างประเทศเล็กน้อย แต่จะ
แสดงให้เห็นความสาเร็จในประเทศมาก
ผู้นาจีนใส่ใจพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและก้าวทันวิทยาการ
การตามไม่ทันตะวันตกของจีนชัดเจนมากสมัยราชวงศ์ชิง เวลานั้นมีคนจีนเขียนหนังสือจานวน
มากว่าด้วยเรื่องการไปเอาอย่างญี่ปุ่นบ้าง การไปเรียนรู้จากตะวันตกบ้าง ผู้คนเรียกร้องให้ประเทศจีน
ปฏิรูปตนเองให้ทันสมัย ต่อมาแม้จะมีเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมและตั้งเป้าสร้างประโยชน์
ส่วนรวมตามแนวทางสังคมนิยม แต่ความสนใจที่จะทาให้ประเทศทันสมัยก็ยังมีอยู่ ในช่วงที่การปฏิวัติ
วัฒนธรรมกาลังแรง นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเรื่องศิลปะและดนตรีตะวันตกจะถูกจัดการด้วยการปฏิวัติ
วัฒนธรรม แต่เหมาก็พยายามเอาวิทยาศาสตร์กลับมาในช่วงท้ายของการปฏิวัติวัฒนธรรม Jeanne-
Marie พยายามชี้ให้เห็นว่า ผู้นาจีนไม่เคยละทิ้งวิทยาการสมัยใหม่ เรื่องนี้ ในยุคหลังจากเหมาก็
ตรงไปตรงมา พูดกันมากแล้ว ทั้งเจียงเจ๋อหมินและหูจิ่นเทาเป็นวิศวกรทั้งคู่จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีหัว
ทางด้านวิทยาศาสตร์พอสมควร หูจิ่นเทาเป็นคนที่เริ่มเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ในจีน แต่เรื่องไอทีและ
อินเตอร์เน็ตมาเฟื่องฟูมากสมัยสีจิ้นผิง
อุดมการณ์และแนวคิดจีน
แนวคิดของลัทธิขงจื่อ
ในหนังสือ Jeanne-Marie จะเล่าถึงความคิดจีนที่ได้รับการอ้างถึงอยู่บ่อยๆ โดยอ้างเรื่อง
ความคิดขงจื่อจานวนมาก พวกเราอาจรู้จักขงจื่อในเรื่องความกตัญญูต่อบุพการี ถึงขนาดว่าครอบครัว
ต้องอยู่เหนือบ้านเมือง แต่สิ่งที่ Jeanne-Marie อ้างมากกว่าในเรื่องความคิดขงจื่อคือเรื่องความรู้ ว่า
ความรู้จริงทาให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความคิดบริสุทธิ์ใจเที่ยงธรรม คนดี ครอบครัวเป็นระเบียบ
บ้านเมืองปกครองโดยธรรม (The Great Learning) นอกจากนั้นก็อ้างบ่อยครั้งเรื่องที่ขงจื่อสอนเรื่องการ
เรียนจากการลงมือทา และในหนังสือก็พูดถึงอยู่บ่อยครั้งว่าเหมาเน้นเรื่องการเรียนจากการลงมือทามาก
อย่างที่อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สงวนบรรพ์กล่าวถึงคาว่า “ความจริง” กับ “ความไม่จริง” นั้น
ภาษาจีนใช้คาว่า “เจิน” กับ “เจี่ย” เจินคือจริง เจี่ยคือเท็จ แต่ “ความจริง” เขาเรียกว่า “สีซื่อ” แปลว่า
“เรื่องที่คิดว่าใช่ คิดว่าจริง” ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ เหมาบอกว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นความจริงนั้นต้องรอ
คนยุคหลังบอก แต่ถ้าหากว่าตอนนี้ไม่รู้ อะไรที่คิดว่าดีก็ทาไปก่อน ซึ่งน่าสนใจเพราะเป็นพุทธมาก
9
โดยเฉพาะเรื่องปัญญาปฏิบัติ ซึ่งก็คือ “ภาวนามยปัญญา” หรือปัญญาจากการลงมือทา ซึ่งเป็นปัญญา
ประการสุดท้ายในปัญญาสามประการตามหลักศาสนาพุทธ
คัมภีร์แห่งเต๋า
คัมภีร์แห่งเต๋าเป็นคัมภีร์คู่ขนานกับลัทธิขงจื่อดังที่อาจารย์ชัยวัฒน์พูด ที่ Jeanne-Marie อ้างถึง
ก็คือคัมภีร์ “อี้จิง” ซึ่งก็น่าสนใจมาก หลายคนจะรู้จักอี้จิงในเรื่องหยินหยาง โดยเฉพาะเรื่องฮวงจุ้ย แต่
อาจารย์วรศักดิ์อาจจะช่วยยืนยันได้ว่าจริงหรือเปล่าคือที่ไปอ่านเขาบอกว่าอี้จิงว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติตัว
และสิ่งสาคัญมากคือการอดทนรอคอย นิ่ง รู้จักประมาณ (stoicism)
สุดยอดวรรณกรรมจีน
นอกจากเรื่องนักปราชญ์และปรัชญาแล้ว สิ่งที่ Jeanne-Marie อ้างถึงในหนังสือด้วยคือ 4
วรรณกรรมจีน ได้แก่ สามก๊ก ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน ไซอิ๋ว และความรักในหอแดง วรรณกรรม 4
เรื่องนี้มีความหมายต่อคนจีนต่างๆ กัน สามก๊กพูดถึงเรื่องการแย่งชิงอานาจ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียง
ซานพูดถึงคนธรรมดาที่ปฏิเสธผู้มีอานาจ (ผมชอบเรื่องเขาเหลียงซานมาก เรื่องนี้มีแต่ผู้กล้า มารู้ทีหลัง
ว่าการล่มสลายของเขาเหลียงซานเป็นโศกนาฏกรรมของการกาหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอานาจกับ
ผู้ไร้อานาจ พูดง่ายๆ คือคนเหล่านี้ในที่สุดก็ถูกหลอกไปรับราชการแล้วก็ตายอย่างอเนจอนาถทุกคน คิด
ว่าเรื่องเขาเหลียงซานอยู่ในใจของคนจีนในส่วนนี้มากกว่าในด้านที่เป็นเรื่องของฮีโร่ที่สู้กับผู้มีอานาจ
อย่างไม่เกรงกลัว เพราะความจริง สุดท้ายเหล่าผู้กล้าต่างสยบยอมและตายหมด ทั้งๆ ที่ตอนจะไปสยบ
ยอมก็เถียงกันมากในเขาเหลียงซานว่าใครจะยังอยู่ ใครจะไปรับราชการ) เรื่องไซอิ๋วก็ตรงไปตรงมา คือ
สอนเรื่องธรรมะ เรื่องจิต หลายคนคงทราบดีว่าหงอคงเป็นตัวแทนของปัญญา พระถังซาจั๋งคือสติที่จะมา
ช่วยทาให้ปัญญาอยู่ในร่องในรอย หงอคงมีความสามารถมากแต่คุมตัวเองไม่ค่อยได้ ส่วนความรักในหอ
แดงคล้ายกับเขาเหลียงซานที่สะท้อนสังคมจีน หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องอีโรติก แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้แสดง
ให้เห็นว่าในสังคมจีน การไปอิงกับอานาจหรือสถาบันอานาจมากเป็นความไม่ยั่งยืน โดยรวมผมคิดว่า
วรรณกรรมจีนมักพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอานาจกับผู้ไร้อานาจ ในเรื่องความไม่แน่นอนและความ
คิดเห็นต่อผู้มีอานาจ
ภาวะการนาในปัจจุบัน
สังคมนิยมไม่ใช่สังคมยากจน
หนังสือเล่มนี้อ้างถึงลักษณะสาคัญของภาวะการนาในปัจจุบันอยู่มาก ขอยกบางอย่างมาให้ฟัง
อันที่หนึ่งก็คือสิ่งที่เธอน่าจะยกมาจากคาพูดของสีจิ้นผิงว่า “สังคมนิยม ไม่ใช่สังคมยากจน เพื่อให้คนจน
10
พ้นจากความยากจน ต้องทาการปฏิรูปเพื่อคนจน ไม่ทอดทิ้งคนจนไว้ข้างหลัง” กล่าวง่ายๆ หมายความ
ว่าความเป็นทุนนิยมทาให้มีการทอดทิ้งคนจน เพราะฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏว่าคนจีนจานวนไม่
น้อยถูกทอดทิ้งให้อยู่ในความจน ความยากลาบาก ถ้ามีข้อมูลเรื่องนี้เข้ามา หรือถ้ามีเรื่องราวแบบนี้
เกิดขึ้นในส่วนรวม รัฐบาลจะนิ่งเฉยไม่ได้ หนังสือเล่มนี้อ้างถึงสมัยที่หูจิ่นเทาขึ้นมาเป็นใหญ่ สมัยนั้นมี
ความเฟื่องฟูมากในแง่ที่ว่าเมืองจีนทันสมัย มีเทคโนโลยีที่ดีมาก มีคนเขียนจดหมายจากมณฑลที่ยากจน
แล้วส่งมาถึงท่านผู้นา ท่านผู้นาก็ไปสารวจ เรื่องราวที่เขียนจดหมายมาถึงผู้นาก็จะได้รับการตีพิมพ์ใน
หนังสือพิมพ์ด้วย ผมคิดว่า Jeanne-Marie พยายามชี้ให้เห็นว่าช่วงตั้งแต่จีนเริ่มทันสมัยเป็นต้นมา ตั้งแต่
ยุคเจียงเจ๋อหมินกับหูจิ่นเทามันเละจนกระทั่งคนรวยก็รวยเอาๆ แต่คนจนก็ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง
ยึดมั่นในศีลธรรม
เรื่องที่สองคือเรื่องยึดมั่นในศีลธรรม เธอพูดถึงคาว่าศีลธรรมบ่อยมาก อ้างว่าความคิดเรื่อง
ศีลธรรม เรื่องส่วนรวมของจีนมาจากขงจื่อเยอะมาก ต้องทาเพื่อส่วนรวม ถึงขนาดมีการยกคาพูดว่า ถ้า
สังคมใดมี “mutual trust” ก็จะมีสันติสุข ถ้ามีแต่ “mutual hatred” ก็จะวุ่นวาย
ทาเพื่อความสุขส่วนรวม
อีกสิ่งที่ Jeanne-Marie พูดถึงในรายละเอียด ซึ่งจะเอามาเชื่อมโยงกันก็คือแม้จะต้องจากัดสิทธิ
เสรีภาพในการแสดงออกก็ต้องยอมเพื่อความสุขของส่วนรวม เธอเล่าเรื่องฮ่องกง ไต้หวัน แม้กระทั่งคน
จีนที่ไปอยู่ต่างประเทศ อ้างว่าคนจีนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ต้องทาเพื่อประเทศจีน มีเรื่องเล่าว่าในการเลือกตั้ง
ผู้แทนในสภาของฮ่องกงครั้งล่าสุดได้ “กลุ่มร่ม (umbrella group)” เข้าไปเป็นสมาชิกจานวนมาก แล้ว
ในช่วงปฏิญาณตนในสภา ผู้แทนจากกลุ่มร่มเหล่านี้ก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงถูกขับไล่ออกจากสภา โดยให้
เหตุผลว่าความเป็นจีนต้องสาคัญกว่าเรื่องส่วนตัว หรือส่วนหมู่พวก
ปรับปรุงตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
ประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องที่จีนพยายามจะปรับปรุงพฤติกรรมพลเมือง เพราะเขาอ้างหลักขงจื่อ
ว่าคนต้องพัฒนาตัวเองก่อน ครอบครัวจึงจะดี ครอบครัวต้องพัฒนาครอบครัว บ้านเมืองจึงจะเข้มแข็ง
ผู้นาก็ต้องดูแลบ้านเมืองให้เข้มแข็ง คนมีคุณภาพดี เวลานี้เทคโนโลยีไปไกลมาก ใช้อินเตอร์เน็ตในการ
ควบคุมพฤติกรรมประชาชนด้วย มีการรายงานกัน เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็สามารถจะมาเตือนกันได้ถ้ามี
พฤติกรรมไม่ดีเกิดขึ้นในบ้านหรือนอกบ้าน เป็นต้น
11
แนวคิด/นโยบายที่น่าสนใจ
Democratic Dictatorship (เผด็จการประชาธิปไตย)
เรื่องที่น่าสนใจต่อมาก็คือเรื่อง “democratic dictatorship” ผมขอตั้งเป็นประเด็นคุยตอนท้าย
นอกจากนี้เขายังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ตลาดที่มีคุณธรรม” (moral market) เขาพูดถึงตลาดหุ้นบ่อยครั้ง
มาก สารคดีที่ผมดูเขาพูดถึงตลาดทุนสังคมนิยม ผมตีความว่ามีการควบคุมการป่วนตลาดมาก แต่ว่าจะ
ถือว่าพฤติกรรมแบบใดที่เข้าข่ายป่วนตลาดก็จะเป็นประเด็นอีก เช่น ถ้าไปวิจารณ์บริษัทที่รัฐบาล
ต้องการสนับสนุนก็อาจถือว่าป่วนตลาดด้วยก็ได้ ก็จะเข้าข่ายเป็นการอ้างคุณธรรม อ้างการจัดการว่าไม่
อยากให้มีการครอบงาตลาด แต่ความจริงคือไปสนับสนุนบริษัทหรือกลไกที่รัฐบาลดูแลอยู่
Chinese Dream (ความฝันของจีน)
ผู้เขียนเขาพูดถึงนโยบาย Chinese Dream เขาเชื่อว่าคาว่า Chinese Dream เกิดขึ้นสมัยสีจิ้
นผิง ก่อนหน้านั้นไม่มีคาว่า Chinese Dream ไม่รู้จะนามาเทียบกับ American Dream หรือไม่ แต่ที่
น่าสนใจก็คือคาว่า Chinese Dream ที่สีจิ้นผิงชูให้เห็น มีคาว่า เสี่ยวคัง (小庚) หมายความว่าให้มี
ความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ได้ตั้งใจจะรวยล้นฟ้า แต่ต้องดี ต้องเป็นความสุขพอประมาณถ้วนหน้า
แผน 5 ปี ฉบับที่ 13 (十三 五)
อีกประเด็นในเรื่องนโยบายก็พูดถึงแผนพัฒนาประเทศ 5 ปีฉบับที่ 13 ซึ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยี
มาก หนังสือเล่าว่าในการกาหนดนโยบายด้านนี้ของประเทศจีน ในคณะกรรมการที่วางแผนนโยบายนี้
ไม่ได้มีแต่กรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่มีนักธุรกิจรุ่นใหม่เข้าไปมีบทบาทมาก
บริษัทชั้นนาด้าน AI ของในโลก
ในหนังสือเรื่อง Artificial Intelligence : 101 Things You Must Know Today About Our Future
บอกว่าใน 10 บริษัท AI ชั้นนาในโลกเป็นบริษัทจีนอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ Alibaba Baidu และ Tencent ใคร
อยู่ในวงการไอทีก็จะยืนยันอย่างนี้ ผมได้คุยอยู่กับรุ่นน้องที่เป็นวิศวกรอยู่ในวงการไอที เขากล่าวว่าเรื่อง
5G นั้นบริษัทหัวเหว่ย (Huawei) ของจีนเก่งที่สุด ญี่ปุ่นยังตามไม่ทัน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ผลักดันเทคโนโลยี
5G มากที่สุดคือประเทศจีน
สิ่งแวดล้อม
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือประเด็นสิ่งแวดล้อม ผมไปจีนเมื่อสองปีที่แล้ว ได้ไปเห็นโปสเตอร์ที่มี
สโลแกนว่า “เขาเขียว น้าใส คือเขาแห่งเงินและทอง” แสดงให้เห็นว่าจีนพยายามชูนโยบายสิ่งแวดล้อม
มากเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้มีความหวังขึ้นมาก เพราะจีนแยกกระทรวงดูแลจากที่ National
Development and Reform Commission (NDRC) ดูแลมาเป็นกระทรวงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แต่
12
ก่อนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เวลานี้มีกระทรวงใหม่เข้ามา
ทาหน้าที่เหมือนเป็นตารวจตามจับเรื่องการทาลายสิ่งแวดล้อม ปลายปี 2016 จาได้ว่าเห็นข่าวว่าปัญหา
ฝุ่นควันแย่มากในจีน พอปลายเดือนมกราคม 2017 ปรากฏว่าสะอาดขึ้น ไม่ค่อยมีฝุ่นมากแล้ว ผมถาม
เพื่อนว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าใช้วิธีปิดโรงงาน มีรัฐวิสาหกิจในจีนเป็นจานวนมากซึ่งรัฐบาลสั่งปิดได้
แต่ว่าเวลานี้จีนเปลี่ยนนโยบายใหม่มาจัดการควันจากเรื่องรถยนต์แล้ว
ปราบคอร์รัปชั่น
เรื่องปราบคอร์รัปชั่นไม่ต้องพูดถึง ในหนังสือมีอยู่ส่วนหนึ่งชื่อ How many suns? ผมอ่านเรื่อง
ปราบคอร์รัปชั่น นึกถึงเรื่องโหวอี้ยิงตะวัน ตานานจีนโบราณตั้งแต่สมัยจีนเมื่อห้าพันปีที่แล้วที่เล่าว่าเวลา
นั้นเมืองจีนแห้งแล้งมากเพราะมีดวงอาทิตย์จานวนหลายดวง ผมว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งใจจะบอกว่า
ทุกวันนี้คอร์รัปชั่นมากเหลือเกิน คนจีนเดือดร้อนไปหมด ข้าวยากหมากแพง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นเลยต้องมี
ผู้กล้ามาช่วยยิงตะวันให้ตก ให้เหลือแค่ดวงเดียว
ปรับทัศนคติแกนนาพรรคคอมมิวนิสต์
หนังสือยังเล่าถึงนโยบายปรับทัศนคติแกนนาพรรค ที่สีจิ้นผิงเป็นคนนาเข้ามาใช้ มีการจัดอบรม
เพื่อปรับปรุงความคิดของแกนนาพรรค
ปรับพฤติกรรม
คนจีนจานวนหนึ่งต้องการให้เป็นคนจีนมีคุณภาพ ไม่ตกเป็นทาสความคิดตะวันตกที่เป็น
อันตรายต่อการมุ่งสู่ความฝันแบบจีน แต่ก็ยังจัดการคนรุ่นใหม่ในฮ่องกงได้ยาก หนังสือเล่าถึงเรื่องการ
ปิดสานักพิมพ์ในฮ่องกง เพราะสานักพิมพ์เหล่านั้นเผยแพร่ความคิดที่เป็นตะวันตก ซึ่งจะมาแปดเปื้อน
คนจีน
Si ge qianmian – 4 comprehensiveness
Jeanne-Marie บอกว่าผู้นาจีนจะต้องทิ้งถ้อยคาเด็ดไว้เสมอ เช่น สีจิ้นผิงชูคาว่า Si ge qianmian
หรือ 4 comprehensiveness สมัยเจียงเจ๋อหมินก็มีคาว่า “Three Represents” เป็นต้น
ข้อคิดและมุมมองส่วนตัวผ่านระบบสุขภาพในจีน
ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพของประเทศจีน หลายท่านอาจทราบว่า
ตั้งแต่จีนเปลี่ยนแปลงสู่ยุค 4 ทันสมัยในปี 1979 เป็นต้นมา ระบบสุขภาพในจีนก็เปลี่ยนไป โดยแบ่งการ
ปรับเป็น 3 ระยะ ระยะแรกยังมีระบบคอมมูนอยู่ แต่ค่อยๆ หายไปเรื่อย จากนั้นก็มาใช้ระบบตลาดเสรี
ซึ่งทาให้คนจีนลาบากมากจนปัจจุบันนี้ ขณะนี้ สีจิ้นผิงพยายามปฏิรูประบบสุขภาพในจีน ผมได้มีโอกาส
13
ไปจีนเพื่อไปเป็นคณะทางานดูเรื่องระบบสาธารณสุขมูลฐานที่จีน ก็ได้ไปเห็นไปเรียนรู้มาบ้าง คนจีนบ่น
ว่าหาหมอยาก หาเงินมาจ่ายค่าหมอยิ่งยากกว่า พอรัฐบาลจะฟื้นนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน สิ่งที่เขา
เจอคือคนจีนไม่ชอบนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน คนจีนกลัวจะไปเจอหมอเท้าเปล่า รัฐบาลกลางชูธงเรื่อง
นี้มานานแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงไหน ศาสตราจารย์ William Hsiao นักสาธารณสุขชาวจีนที่มหาวิทยาลัยฮาร์
วาร์ดเคยพูดในที่สาธารณะว่าจีนไม่มีทางปฏิรูประบบสุขภาพได้เพราะว่าคนจีนไม่เชื่อหมอ ความ
ไว้วางใจที่คนจีนมีต่อวิชาชีพแพทย์ลดลงไปมาก
ประเด็นอภิปราย
ความคิดขงจื่อกับแนวนโยบายแห่งรัฐ
ประเด็นที่หนึ่งคือแนวคิดขงจื่อกับนโยบายของรัฐ เรื่องนี้ต้องอ้างศาสตราจารย์ Yan Xuetong
ผู้อานวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิงหวา ซึ่งถูกถามคาถามเกี่ยวกับเรื่อง
นี้เมื่อมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยรังสิต เขาตอบว่าเรื่องขงจื่อกับแนวนโยบายของรัฐนั้นแยกกัน ความคิด
ขงจื่อเป็นเรื่องที่ใช้ในครอบครัว ในการปฏิบัติตัวของคนทั่วๆ ไป ไม่ได้มาเกี่ยวข้องกับแนวนโยบายแห่ง
รัฐ แต่หนังสือของ Jeanne-Marie ก็พูดถึงหูจิ่นเทาว่าเขาอ้างความคิดขงจื่อ แล้วก็รื้อฟื้นอิทธิพลของลัทธิ
ขงจื่อในสังคมจีน ถามว่าความคิดขงจื่อมีอิทธิพลเพียงใดในจีน หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า คัมภีร์ของขงจื่อจะ
ได้รับการกล่าวอ้างมากในหมู่ผู้นา แต่ในหมู่ทหารมักจะอ้างถึงคัมภีร์เต๋าเต๊กเก็ง (เต๋าเต๋อจิง) คัมภีร์อี้จิง
และซุนวูมากกว่า
อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในขณะที่อังกฤษมี Brexit อเมริกาก็ได้ Trump ขึ้นมาเป็นผู้นา แต่จีนมี
“Chinese leader who understood the past, took responsibility for the present and was prepared
to work like Yao and Shun to find a way to balance between heaven and earth in this most
complicated of times” เหยาคือคนที่สั่งให้โหวอี้ไปยิงดวงอาทิตย์ สมัยของเหยาและซุนเป็นยุคแรกๆ ที่
สร้างประเทศจีน เพื่อจะหาทางสร้างสมดุลระหว่างสวรรค์และมนุษย์ ในหนังสือพูดชัดเจนว่า สวรรค์คือ
นโยบายส่วนกลาง โลกคือความเป็นอยู่ของประชาชน จึงหมายถึงความพยายามที่จะผสมผสานความคิด
ข้างบนกับข้างล่าง ท่ามกลางความยากลาบาก ความลาบากก็คือการที่ตะวันตกพยายามมามีอิทธิพล มุ่ง
ที่จะทาลายจีน ไม่อยากให้จีนโตและมีอิทธิพล
Democratic Dictatorship
อีกประเด็นที่ผมจะตั้งไว้คือเรื่อง democratic dictatorship ซึ่งผมตีความคานี้จากหนังสือไว้ว่า
หมายถึงว่าผู้นาสูงสุดนั้น แม้มีอานาจตัดสินใจได้โดยเด็ดขาด ก็ไม่อาจปฎิเสธว่าต้องคานึงถึงความคิด
ความรู้สึกของผู้คนส่วนใหญ่มาใช้ประกอบ แต่ในทางกลับกันผู้นาก็ห่วงว่าความรู้สึกนึกคิดของคนอื่นจะ
14
มาทาให้สังคมวุ่นวาย ก็เลยต้องควบคุมการสื่อสารและการสร้างวาทกรรมในสังคมด้วยการเน้นโครงข่าย
ของตัวเองและปิดกั้นฝ่ายตรงกันข้าม นี่หรือเปล่าคือสิ่งที่เรียกว่า democratic dictatorship คือผู้นาก็ฟัง
ประชาชนด้วยแต่ไม่ได้เชื่อทั้งหมด แถมฟังแล้วถ้าไม่เชื่อความคิดใดก็ไม่อยากให้ความคิดนั้นมีอิทธิพล
ด้วย นอกจากนั้น ผู้นาแม้จะมีอานาจสูงสุดในการตัดสินใจ แต่ก็ต้องห่วงใยความเป็นอยู่ของคนข้างล่าง
ด้วย ต้องตัดสินใจโดยการฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ไม่ด่วนสรุปว่าคนส่วนใหญ่ถูกชักจูงได้ง่าย อันนี้จะทาได้
หรือไม่ ทาได้มากน้อยเพียงใด
อีกเรื่องเป็นความเห็นส่วนตัวของผมคือ ความสามารถในการป้องกันสิ่งที่ไม่ดี และการสร้างสิ่งที่
ดีนั้นไม่เหมือนกัน ผู้นาแม้จะเก่งเพียงใด สิ่งที่ปรากฏก็คือมักจะทาการปราบเรื่องเลวร้าย เช่น ปราบ
คอร์รัปชั่น ปิดโรงงาน ก็ทาได้ง่าย แต่ถ้าทาเรื่องดีซึ่งไม่มีผู้ร้ายจะทายาก เช่น การปฏิรูประบบสุขภาพที่
ไม่มีผู้ร้าย ทายาก การรวมใจผู้คนให้ทาเรื่องดีนั้นยากกว่าการไปจัดการกับคนไม่ดีไม่กี่คนหรือไม่กี่จุดใน
ระบบใหญ่
15
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ประธานสถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ
16
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
ผ่านหนังสือพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย
จะมาพูดถึงหนังสือใหม่ของผมเรื่องพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย แต่เวทีวิชาการนี้มีชื่อเรื่อง
น่าสนใจมากคือ “การอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบความคิดของตะวันตก” ผมจึงถือโอกาสมา
ฟังเรื่องหนังสือ Becoming China : The Story Behind the State ด้วย และพยายามคิดว่าจะมีธีมอะไร
ในหนังสือ 2 เล่มนี้ที่จะชวนให้พวกเราคิดว่าจะอธิบายสังคมทั้งจีนและไทยเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบ
ความคิดตะวันตกได้อย่างไร สาหรับเรื่อง Becoming China ผมพลิกอ่านดูก็ไม่ได้มีอะไรตื่นเต้นมากนัก
เพราะว่าผมก็ได้ฟังและคุ้นเคยกับเรื่องราวต่างๆ ในประวัติศาสตร์จีนพอสมควร ผมว่าก็พอจะพูดได้ว่า
ฝรั่งเริ่มตีความประเทศจีนจากมุมของจีนเองมากขึ้น หนังสือของฝรั่งนั้น ปกติจะตีความจากมุมของฝรั่ง
ก็จะได้ภาพจีนเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วฝรั่งก็ตีความพวกตะวันออกกลาง พวกมุสลิม จากสายตา
ของฝรั่งเองอีกเช่นกัน นามาสู่การวิพากษ์เรื่อง Orientalism ผมว่าเรื่องจีนก็คล้ายกัน ผมเองก็ไม่ได้เริ่ม
ต้นแบบที่ว่าเป็นนักเรียนของ Edward Said1
ผมไปเที่ยวประเทศจีนมา 50-60-70 ครั้ง เห็นจีนมา 30 ปี ผมก็เริ่มสนใจอนาคตและอดีตของจีน
และผมก็คิดว่าอนาคตน่าจะเป็นของจีน เดิมก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไร ต่อมาก็แน่ใจมากขึ้นๆ ในระหว่างที่คิด
เรื่องพวกนี้ ผมก็อ่านงานของตะวันตก ส่วนใหญ่มองว่าเดี๋ยวจีนจะต้องพังลง เดี๋ยวจะต้องมีวิกฤต แต่ว่า
จีนก็ยังอยู่รอดมา แต่คนก็ยังไม่ค่อยมั่นใจมากเพราะว่าสิ่งที่จีนทาไม่เหมือนตะวันตก ผิดกับสูตรสาเร็จรูป
ของตะวันตก เช่น เอาทุนนิยมมารวมกับสังคมนิยมก็ได้ หรือเอาความคิดทางการเมืองสมัยโบราณ
(Classic Political Thought) มารวมกับความคิดของมาร์กซ์ เลนิน และเหมาเจ๋อตงก็ได้ หรือแม้แต่คาว่า
Democratic Dictatorship ก็เอามาใช้ได้ ผมมองว่าจีนไม่ค่อยคิดอะไรเป็นสองขั้วขัดแย้ง (Dichotomy) นี่
คือเต๋า ไม่จาเป็นต้องเห็นอะไรเป็นดากับขาว ดากับขาวของเต๋าอยู่ในอันเดียวกัน ไม่ได้อยู่แยกกัน ผมจึง
คิดว่าอนาคตของจีนน่าสนใจ ยิ่งภายหลังที่จีนมาสู่เรื่อง 4.0 5.0 คอมพิวเตอร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
quantum computing ฯลฯ ผมคิดว่าจีนไม่ใช่พวกทาแต่สินค้าราคาถูก อาศัยแต่แรงงานราคาถูก เขาทา
เรื่องเทคโนโลยีดีทีเดียว เทคโนโลยีที่จีนกาลังทาอยู่เวลานี้ เช่น AI ผมว่าจะตัดสินอนาคต (decisive)
มากว่าใครจะเป็นผู้นาของโลก แต่ถึงแม้ว่าจีนจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งของโลก เป็นที่สอง ที่สาม ก็มี
ความหมายแล้ว เพราะฉะนั้นผมจึงคิดถึงอนาคตของจีน คิดว่าเมืองไทยต้องตระหนักในส่วนนี้
ในขณะเดียวกับผมไปเที่ยวจีน ผมก็ไปตะวันออกกลาง เนื่องจากผมสนใจเรื่อง 9/11 เรื่องปล้น
ปืนที่สามจังหวัดด้วย ทาให้ผมอยากรู้เรื่องมุสลิม อิสลาม และผมก็รู้ว่าผมรู้เรื่องมุสลิมอิสลามน้อย
1 นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ Orientalism อันโด่งดัง
17
เหลือเกิน ผมก็พยายามอ่านเท่าที่พอจะรู้เรื่อง คือผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทั้งเรื่องจีนและอิสลาม แต่ด้วย
ความที่อยากรู้ว่าผลของมันจะมากระทบไทยอย่างไร ทั้งจีนที่กาลังจะรุ่งเรืองไพบูลย์ขึ้น และอยู่ใกล้เรา
เหลือเกิน และมุสลิมอิสลามในแง่ของการที่อาจนามาสู่ความปั่นป่วน ก็ทาให้ผมศึกษาเรื่องมุสลิมอิสลาม
เดินทางไปอิหร่าน ไปซีเรีย ไปจอร์แดน ไปโมรอกโก ไปอียิปต์ มากมายหลายที่ เป็นที่ที่คนไม่ค่อยอยาก
ไปกัน เมื่อไปเห็นแล้วก็มาบวกกับจีน ผมก็เริ่มคิดขึ้นมาอีกว่าตะวันออกของเรานั้นไม่ได้มีแต่ศีลธรรม
ไม่ได้มีแต่ศาสนา คนไทยมักจะคิดกันว่าเรานั้นสู้ฝรั่งไม่ได้แต่ว่าศีลธรรม จริยธรรมของเราดีกว่า (ซึ่งก็ไม่
รู้ว่าจริงหรือไม่) พอผมไปเห็นประเทศพวกนั้น ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ตุรกี (ออตโตมัน) เปอร์เซีย และ
อินเดียด้วย แล้วผมก็อ่านหนังสือของฝรั่งด้วย ฝรั่งนั้นก็มีหลายพวก ฝรั่งที่สมาทานกับตะวันออกก็มีอยู่
อ่านไปผมก็รู้สึกว่า อดีตตะวันออกก็รุ่งเรืองมาก รวยมาก ฝรั่งตามหาจีน อินเดีย เพราะจะมาเอาความ
ร่ารวย ซึ่งตรงข้ามกับที่เราเข้าใจว่าจีนและอินเดียเป็นประเทศที่จน เราคิดว่ามันคงเป็นมาแบบนี้มานาน
แล้วตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อไปศึกษาเรื่องจีนและอินเดียจึงงงอีก เพราะว่าอินเดียเป็นคนคิดเลขศูนย์ คิด
เรื่องเลขฐานสิบ คณิตศาสตร์ของอินเดียดีมาก จีนก็เช่นกัน จีนสารวจนา รู้เรื่องทฤษฎีพีทาโกรัสมานาน
แล้ว เขามีความรู้มาก พอไปเข้าใจจีนมากขึ้นผมก็ตกใจ คนจีนอ่านออกเขียนได้มา 3 พันปีแล้ว
ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของคนจีนนั้นย้อนกลับไปไกลกว่าของฝรั่งมาก
เวลาอ่านปรัชญาของจีนนั้นน่าทึ่งมาก ของอินเดียก็เช่นกัน ผมก็เริ่มคิดว่าพระพุทธเจ้านั้นทรง
คิดอะไรไม่ได้แพ้เพลโต อริสโตเติล โสคราติส อินเดียที่เป็นแหล่งกาเนิดของศาสนาพุทธนั้นเป็นอินเดียที่
รวยที่สุดในเวลานั้น แล้วก็มีวิทยาการ ปรัชญาที่ล้าหน้าโลกในเวลานั้น ส่วนจีนก็เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ทาให้
ผมตกตะลึง คือ “เมือง” นั้นไม่ได้เป็นของตะวันตกอย่างเดียว เมืองของจีนโบราณเมื่อสองสามพันปีก่อน
นั้นมีคนเป็นล้านคนแล้ว โอซาก้าของญี่ปุ่นก็เช่นกัน เมื่อ 500 ปีที่แล้วมีคนเป็นล้านคน ผมรู้สึกปั่นป่วน
ในสมองมาก จีนกับตะวันออกในอดีตก็รุ่งเรืองร่ารวย ผมอ่านประวัติศาสตร์โลกมาเรื่อยๆ ก็ตกใจว่ามอง
โกลปกครองเอเชียและยุโรปเกือบหมด หลายท่านคงทราบเรื่องนี้ ผมเองก็ทราบอยู่แล้ว สมัยเรียน
หนังสือก็ทราบอยู่ แต่กระบวนทัศน์ยังไม่เปลี่ยน ข้อมูลมันก็ใส่อยู่นั่น เป็น anomaly คือเราก็งงๆ กันว่า
เหตุใดมองโกลเก่งขนาดนั้น ตีได้ทั้งเอเชียทั้งยุโรป นอกจากมองโกลก็ยังมีทาเมอร์เลน (Tamerlane) อีก
ทาเมอร์เลนก็เก่งมาก เพราะฉะนั้นเอเชียก็เป็นฝ่ายรุกยุโรปมาก ก็มาคิดต่ออีกว่าถ้าอย่างนั้นที่เรายกย่อง
ตะวันตกมากน่าจะมีปัญหาแล้ว ผมก็เริ่มเห็นอะไรต่ออะไรมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ทราบว่าพวกเราจะเห็นด้วยกับ
ผมมากน้อยเพียงใด
ผมก็คิดว่าเราตีความประเทศไทย ตีความเอเชีย ตีความจีน ตีความโลก ตามแบบการตีความ
ของคนในยุค enlightenment ของฝรั่งที่เห็นว่ามีอะไรที่เป็นสากล ฝรั่งเป็นคนคิดเรื่องสากล และสากลนี้
จะต้องครอบครองโลกในทางสติปัญญาด้วย เช่น เสรีประชาธิปไตย ในที่สุดแล้วโลกทั้งใบก็ต้องเป็นเสรี
ประชาธิปไตย แล้วทุนนิยมหรือเศรษฐกิจระบบตลาดนั้น ในที่สุดโลกทั้งโลกก็ต้องเป็นอย่างนี้ ปัจเจก
นิยมก็เช่นกัน คือคิดว่าในที่สุดโลกทั้งโลกก็จะเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้มันเป็นปัญหา เพราะฉะนั้น ก็
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก

More Related Content

What's hot

หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6Thanawut Rattanadon
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนKlangpanya
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์Thanawut Rattanadon
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 sudchaleom
 
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์Kruorawan Kongpila
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2kuraek1530
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...dnavaroj
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3KruBeeKa
 

What's hot (15)

355
355355
355
 
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
หลักฐานในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ ส16103 ประวัติศาสตร์ ป.6
 
Work1 pjcom
Work1 pjcomWork1 pjcom
Work1 pjcom
 
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีนความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐประชาชนจีน
 
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
การศึกษาประวัติศาสตร์ไทยโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3 วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
วิธีการทางประวัติศาสตร์ ม.3
 
East philos
East philosEast philos
East philos
 
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ความเจริญก้าวหน้าวิทยาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
หน่วย 3
หน่วย 3 หน่วย 3
หน่วย 3
 
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนของวิธีการทางประวัติศาสตร์
 
หน่วย 1
หน่วย 1หน่วย 1
หน่วย 1
 
ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2ข้อสอบม.2
ข้อสอบม.2
 
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
บทความวิจัย การเปลี่ยนแปลงทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ในทักษะศตวรรษที่ 21...
 
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv303 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
03 แบบ ว-1ด-วณิชชาv3
 
งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1งานนำเสนอ1
งานนำเสนอ1
 

Similar to อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก

ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...Klangpanya
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์pentanino
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...Klangpanya
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Net'Net Zii
 
Social onet a
Social onet aSocial onet a
Social onet apeemai12
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์sw110
 
Chapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureChapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureTeetut Tresirichod
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองTum Meng
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554Zabitan
 
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์PhusitSudhammo
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยKlangpanya
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?Satapon Yosakonkun
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...Klangpanya
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...Klangpanya
 

Similar to อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก (20)

ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
ปัญญาในวิถีคิดและวิถีปฏิบัติของโลกแห่งอนาคต พระธรรมศากยวงศ์วิสุทธิ์ ดร. (อนิล...
 
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
การบริหารงานตามหลักสังคหวัตถุในพระพุทธศาสนา ๓
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา๒
 
รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)รวมเล่ม (1)
รวมเล่ม (1)
 
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
สายธารปรัชญาคือที่มาของสรรพศาสตร์
 
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
การเรียนรู้ของนักวิชาการในการสร้างปัญญา เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในอนาคต อ...
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554Projectm6 2-2554
Projectm6 2-2554
 
Social onet a
Social onet aSocial onet a
Social onet a
 
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
 
Chapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern cultureChapter 4 western culture and eastern culture
Chapter 4 western culture and eastern culture
 
Saravit eMagazine 3/2556
Saravit eMagazine 3/2556Saravit eMagazine 3/2556
Saravit eMagazine 3/2556
 
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเองทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
ทำ - ธรรมนูญ : ธรรมนูญประชาชนเพื่อการจัดการตนเอง
 
eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554eTAT journal 3/2554
eTAT journal 3/2554
 
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
พุทธศาสนากับโหราศาสตร์
 
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทยยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
ยุทธศาสตร์การพัฒนาของสิงคโปร์ในยุคบูรพาภิวัตน์ : บทเรียนต่อประเทศไทย
 
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
วิทยาศาสตร์เพื่ออะไร?
 
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
ปัญญาในการสร้างสมดุลระหว่างโลกทัศน์กับชีวทัศน์ของนักวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร...
 
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
ภาพรวมความคิดและยุทธศาสตร์ของจีนในปัจจุบัน ด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการต่างปร...
 

More from Klangpanya

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยKlangpanya
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคKlangpanya
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยKlangpanya
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท Klangpanya
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนKlangpanya
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...Klangpanya
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsKlangpanya
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Klangpanya
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...Klangpanya
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...Klangpanya
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนKlangpanya
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...Klangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationKlangpanya
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Klangpanya
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...Klangpanya
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนKlangpanya
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfKlangpanya
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdfKlangpanya
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKlangpanya
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfKlangpanya
 

More from Klangpanya (20)

ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทยิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
ิวิถีชีวิตของคนจีนรุ่นใหม่ กับการนำเสนอ Soft Power ของไทย
 
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภคการปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
การปฏิวัติทุเรียนไทยในจีน การเกษตร การตลาดและการบริโภค
 
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทยประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
ประสบการณ์การพัฒนาใหม่ในชนบทจีนและไทย
 
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
กระบวนทัศน์การพัฒนาใหม่ บูรณาการเมืองกับชนบท
 
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
ยุทธศาสตร์การต่างประเทศยุคใหม่ และความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน
 
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China...
‘Belt and Road Initiative: BRI’: A strengthening path for Thailand and China ...
 
World-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese RelationsWorld-changing and the Thai-Chinese Relations
World-changing and the Thai-Chinese Relations
 
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
Perspectives on China’s Digital Silk Road Framework and the case study of adv...
 
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
The People-to-people Exchange between Thailand and China under the Belt and R...
 
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
พัฒนาการเศรษฐกิจไทย – ลาว บนการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของภ...
 
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีนความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ: โอกาสและความท้าทายในภูมิภาคอินโดจีน
 
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
การเปลี่ยนแปลงผู้นำจีนที่สำคัญที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ในการประชุมสมัชชาใหญ่ของพรร...
 
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility PresentationTrends in Social and Environmental Responsibility Presentation
Trends in Social and Environmental Responsibility Presentation
 
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
Trends in Social and Environmental Responsibility - The Challenges of Transbo...
 
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
“澜湄水资源合作” 中泰智库合作倡议 "Lancang-Mekong Water Resources Cooperation" Sino-Thai Thi...
 
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีนPelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
Pelosi: ผู้เติมเชื้อไฟแห่งความเดือดดาล ในความสัมพันธ์สหรัฐฯ และจีน
 
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdfppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
ppt อ.ชัยวัฒน์.pdf
 
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
650324_ประสบการณ์กับการศึกษาที่นำสู่การสร้างปัญญา.pdf
 
Korakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdfKorakot Design for International 02 อว.pdf
Korakot Design for International 02 อว.pdf
 
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdfการบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
การบรรยายเรื่อง ความรู้ ภูมิปัญญา ปราชญ์ .pdf
 

อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก

  • 2. อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China และพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย ผู้นาเสนอ อ.ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ จัดโดย สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต 11 มีนาคม 2562 ณ โรงแรมแมนดาริน สามย่าน ที่ปรึกษา: ศาสตราจารย์ (พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ บรรณาธิการ: ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : ปาณัท ทองพ่วง กอปร์ธรรม นีละไพจิตร โศภนิศ อังศุสิงห์ ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม และทศพร มุ่งครอบกลาง อานวยการผลิตโดย: สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ปีที่เผยแพร่: พฤษภาคม 2562 www.rsu-brain.com ที่อยู่ สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ อาคารพร้อมพันธุ์ 1 637/1 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจักร กทม. 10900 โทรศัพท์ 02-938-8826 โทรสาร 02-938-8864
  • 3. สารบัญ หน้า บทนา อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China โดย อาจารย์ชัยวัฒน์ ถิระพันธุ์ 1 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China โดย นายแพทย์สมศักดิ์ชุณหรัศมิ์ 6 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย โดย ศาสตราจารย์ ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ 15 บทอภิปราย 27 ภาคผนวก รายชื่อผู้เข้าร่วมประชุม 38
  • 4. บทนา เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2562 เวลา 9.30-12.00 น. สถาบันคลังปัญญาด้านยุทธศาสตร์ชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้จัดเวทีประชุมเวทีวิชาการเรื่อง อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิด ตะวันตกผ่านหนังสือ Becoming China : The Story Behind the State และพระมหากษัตริย์กับ ความเป็นไทย ณ ห้องประชุมการะเกด โรงแรมแมนดาริน สามย่าน ถนนพระราม 4 กรุงเทพฯ โดยมี นักคิด นักยุทธศาสตร์ นักวิชาการ อดีตรัฐมนตรี อดีตเอกอัครราชทูต อดีตผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหลายภาคส่วนร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นการมองและสร้างชุดคาอธิบาย หรือทฤษฎีของสังคมไทยและสังคมตะวันออกเอง เพื่อให้หลุดออกจากกระบวนทัศน์การมองโลก มองตัว เราจากกรอบคิดของตะวันตกที่เป็นหลักมาตลอดช่วงสองศตวรรษที่ผ่านมา และจะได้เป็นจุดเริ่มต้นไปสู่ การกาหนดแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทของแต่ละสังคมมากยิ่งขึ้น ในการนี้สถาบันคลังปัญญาฯ ได้จัดทารายงานสรุปเนื้อหาการประชุมครั้งนี้ขึ้นเพื่อเผยแพร่เป็น ความรู้สู่ผู้กาหนดและตัดสินใจทางนโยบาย ภาคส่วนต่างๆ นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่มีความ สนใจในการกาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทย
  • 5.
  • 7. 2 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China เหตุที่หนังสือ Becoming China : The Story Behind the State น่าทึ่งเพราะสไตล์ในการเขียน ของเขาไม่ใช่วิชาการ เป็นเรื่องเล่า แต่เป็นเรื่องเล่าที่เห็นภาพทั้งหมด ไม่ใช่เพียงแค่ข้อเท็จจริง และไม่ใช่ การสรุปอะไรง่ายๆ เป็นเส้นตรง ผมได้มาสัมพันธ์กับเรื่องจีนก็เมื่อเริ่มอ่านหนังสือออก ประมาณ 7 ขวบ ผมอ่านสามก๊กแล้ว เพราะเวลานั้นผมอยู่ใกล้กับทวด และเห็นหนังสือของทวดวางไว้ เป็นหนังสือสามก๊กฉบับเจ้าพระยาพระ คลังหน มีรูปวาดของกวนอู เตียวหุย จูล่ง ขงเบ้ง ติดตาตรึงใจผม ทาให้เรารู้สึกผูกพันกับเรื่องเล่าต่างๆ ในหนังสือสามก๊กมาก เป็นนิยายที่อ่านแล้วอ่านอีก มันสนุกสาหรับเด็กผู้ชาย พอโตขึ้นก็เริ่มมาอ่านเต๋า ตอนไปบวชพระเมื่อ 30 กว่าปีมาแล้ว บวชแค่ 2 อาทิตย์ ผมเอาหนังสือเต๋าและหนังสือมาร์กซ์-เลนินติด มือไปด้วย และเราก็รู้จักจีนผ่านหนังสือของประธานเหมาเจ๋อตง มีหลายอย่างที่เราอยากรู้อยากเข้าใจ การที่เขาพุ่งทะยานขึ้นมาตั้งแต่ปี 1949 และอีกไม่ช้าไม่นานก็จะครบร้อยปีของการที่พรรคคอมมิวนิสต์ จีนได้มาปกครองประเทศจีน ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะพุ่งทะยานภายใน 40 ปีได้ขนาดนี้ เป็นอะไรที่น่า ทึ่ง สิ่งที่ผมสนใจหลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ที่อยากชวนคุย ประการแรกคือ จีนเขาสนใจเรื่อง ระเบียบ (order) มาก ว่าเขาจะดูแลรักษาระเบียบสังคมเขาอย่างไร เพราะว่าประเทศของเขาใหญ่ มหาศาล เขาจะอยู่อย่างไรกับโลก จะอยู่อย่างไรระหว่างผู้นากับประชาชน ระหว่างฮ่องเต้กับประชาชน อะไรทานองนี้คือคาถามใหญ่ของจีนที่ทุกวันก็ยังอยู่ตรงนี้และจะอยู่อีกต่อไปไม่รู้อีกนานเท่าใด พวกเรา ตายกันไปจีนก็คงยังสนใจอยู่กับเรื่องระเบียบ เรื่องว่าจะอยู่กันอย่างไร ซึ่งในแกนความคิดหลักของเขา นั้น ถ้าเราดูตั้งแต่ในยุคสมัยชุนชิว ก็มีสองความคิดหลักในการแก้ปัญหาประเทศและการอยู่อย่างมี ความสุขในสังคม หนึ่งคือ เต๋าเต๊กเก็ง (เต๋าเต๋อจิง Dao-De-Jing) ของเล่าจื่อ (Lao Tzu) ถ้าใครอ่านเต๋า ก็จะรู้ว่าผู้นาที่ดีคือผู้นาที่บอกว่า ตนไม่ได้ทาอะไร ประชาชนทาเอง นั่นคือผู้นาชั้นสุดยอดแล้วในแบบ เต๋า แต่อีกแบบหนึ่งก็คือขงจื่อ (Confucius) ที่เชื่อว่าทุกอย่างอยู่ภายใต้กฎระเบียบและ harmony และ ภายใต้ harmony นี้ คนที่จะดูแลจัดการคือโอรสแห่งสวรรค์ คือฮ่องเต้ที่อยู่ภายใต้กฎแห่งสวรรค์ นี่คือ สองความคิดหลัก แล้วเราก็เห็นชัดว่าหลังจากหมดยุคชุนชิวไปแล้ว ความคิดขงจื่อเป็นความคิดหลัก สาระก็คือเพื่อรักษา harmony ต้องควบคุมระบบระเบียบให้แจ่มชัดและชัดเจน จีนมักพูดว่าเราต้องเอาอดีตมารับใช้ปัจจุบันและรับใช้อนาคต จีนเป็นประเทศที่เข้มข้นเรื่องการ นาเอาความรู้ ความคิดในอดีต ของปราชญ์ในอดีตมาพัฒนา ทบทวน และใช้ในปัจจุบันอย่างเข้มข้น ไม่มี
  • 8. 3 ชาติใดที่จะมากเท่านี้ เพราะฉะนั้น การที่เขารื้อฟื้นเรื่องขงจื่อ รื้อฟื้นเรื่องขงเบ้ง รื้อฟื้นอะไรต่างๆ ขึ้นมา ก็แสดงให้เห็นสิ่งนี้ สิ่งใดที่สาคัญเขาก็นามาใช้ สิ่งใดที่คิดว่าไม่สาคัญ ไม่สอดคล้องกับยุคสมัย ก็เก็บไว้ ก่อน กฎเกณฑ์ว่าด้วยความขัดแย้ง วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ (Historical Materialism) กับวัตถุนิยม วิภาษ (Dialectical Materialism) ยังเป็นแกนหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ในการคิดว่าอะไรสาคัญ อะไรไม่สาคัญ อะไรต้องก่อน อะไรต้องหลัง เราพบอะไรในประวัติศาสตร์นับเป็นหลายพันปีของจีน? เราพบว่าความวุ่นวายนั้นมีเสมอใน ประเทศจีน กบฎชาวนาลุกขึ้นมาต่อสู้ไม่รู้กี่ร้อยครั้งกี่พันครั้ง ราชวงศ์ต่างๆ ล่มสลาย เพราะหนึ่ง เกิด จากการปกครองที่ไม่ถูกต้อง ทาให้เกิดกบฎชาวนา ทาให้เกิดการลุกขึ้นสู้ของกลุ่มต่างๆ ในสังคม เนื่องจากการปกครองไม่ถูกต้อง ทาให้คุมข้างล่างไม่อยู่ ภัยที่สองมาจากชายแดน คือพวกซงหนู พวก แมนจู มองโกล ชนเผ่าทั้งหลายที่มารุกรานจีน ใครอ่านนิยายจีนก็จะพบว่ามาจากชายแดนทั้งสิ้น เมื่อ ประกอบกับภายในอ่อนแอ ก็ล่ม วัฏจักรของการล่มสลายของราชวงศ์ต่างๆ จะอยู่ประมาณ 100-200- 300 ปี เป็นอย่างนี้มาตลอดด้วยสาเหตุสองประการนี้ เพราะฉะนั้น คาถามคือจะทาอย่างไรถึงจะคุมให้อยู่ เรื่องระเบียบต้องเอาให้อยู่ให้ได้ มาถึงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าพรรคคอมมิวนิสต์นั้นก็เป็นราชวงศ์หนึ่ง แต่ ราชวงศ์นี้ใช้หลักมาร์กซ์ เลนิน และความคิดเหมาเจ๋อตงเป็นตัวเดิน แล้วก็เดินตามหลักนี้มาเรื่อย ฉะนั้น คาถามใหญ่ที่ว่านั้นก็ยังมีอยู่สาหรับราชวงศ์นี้คือจะคุมประเทศอย่างไรให้อยู่ ให้ประชาชนไม่เกิดความ วุ่นวายปั่นป่วน แล้วจะทาอย่างไรให้พวกต่างชาติ พวกคนเถื่อนทั้งหลาย ทั้งรอบชายแดน แถบซินเกียง ทิเบตก็ดี และโดยเฉพาะพวกฝรั่งตาน้าข้าวที่ย่ายีเรามาสองสามร้อยปีก็ดี ทาอย่างไรอย่าให้พวกนี้มาทา ร้ายเราได้ ทาอย่างไรอย่าให้เสถียรภาพของสังคมต้องล่มสลายไป สิ่งเหล่านี้ยังเป็นแกนหลักของ ความคิดของเขาอยู่ เราเห็นชัดเจนแล้วว่าโดยส่วนใหญ่ราชวงศ์ล่มสลายเพราะ หนึ่ง ไม่สามารถทาให้ประชาชน จานวนมากได้รับความสุขความพอใจ ประการที่สองมาจากการต่อสู้แย่งชิงอานาจภายในราชวงศ์กันเอง ซึ่งแม้กระทั่งในพรรคคอมมิวนิสต์จีนเราก็เห็นการต่อสู้ภายในพรรค เอียงซ้ายบ้าง เอียงขวาบ้าง เช่น หลิวเซ่าฉี โดนวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอียงขวาอย่างนั้นอย่างนี้ สู้กันมาเรื่อย เติ้งเสี่ยวผิงก็ถูกระเห็จจากการ ปฏิวัติวัฒนธรรม เมื่อเหมาตาย พวกเติ้งได้กลับขึ้นมาใหม่ มาถึงยุคสีจิ้นผิง ก็มีการต่อสู้ระหว่างสองกลุ่ม คือป๋อซีไหลกับสีจิ้นผิง สีจิ้นผิงเก่งกว่า มีชั้นเชิงดีกว่า อดทนกว่า วางแผนมาดีกว่า หากใครอ่านหนังสือ Becoming China ในบทท้ายๆ จะพูดถึงเรื่องที่สีจิ้นผิงใช้ 36 กลยุทธ์ของจีน ซึ่งเขียนขึ้นมากว่า 2,000 ปี โดยใช้ประมาณ 5-6 กลยุทธ์เพื่อล่อให้ป๋อซีไหลพลาด เพื่อให้สามารถจัดการป๋อซีไหลได้ แล้วรวบอานาจ การปกครองเข้าไว้อยู่ในกามือได้อย่างแท้จริง เมื่อรวบอานาจเสร็จแล้ว สถาปนาความเป็นปึกแผ่นภายในพรรคได้แล้ว คาถามคือจะจัดการ อย่างไรกับความไม่พอใจของประชาชน เพราะช่วงของการเปลี่ยนแปลงในยุค 4 ทันสมัย พวกที่ได้รับ ผลกระทบมากที่สุดคือพวกชาวไร่ ชาวนา ชาวบ้าน เกษตรกรจานวนมากที่ถูกย้ายที่อยู่ ที่ดินจานวนมาก
  • 9. 4 ก็กลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ และมีการใช้แรงงานแบบเข้มข้น รุนแรง สมาชิกพรรคที่คอร์รัปชั่นก็มี จานวนมาก ชาวบ้านเดือดร้อนก็พยายามประท้วง จุดที่สาคัญมากซึ่งรัฐบาลจีนคงคิด ศึกษา เฝ้าดู และทาอยู่อย่างเข้มข้นเพื่อให้ระเบียบของเขามี เสถียรภาพ ก็คือความผิดพลาดของการปฏิรูประบอบการปกครองของกอร์บาชอฟ (Mikhail Gorbachev) กับพรรคคอมมิวนิสต์โซเวียตที่พยายามเปลี่ยนระบบ สร้างความทันสมัยทางด้านเศรษฐกิจตาม นโยบายกลัสนอสต์ (Glasnost) และเปเรสตรอยคา (Perestroika) ซึ่งทาให้สหภาพโซเวียตและพรรค คอมมิวนิสต์โซเวียตล่มสลายไป จีนถือสิ่งนี้เป็นบทเรียนใหญ่ว่าจะต้องไม่ปฏิรูปเศรษฐกิจและปฏิรูป การเมืองแบบที่โซเวียตทาพลาดมาแล้ว จะไม่ปล่อยให้เป็นอย่างนั้นเด็ดขาด เพราะฉะนั้น เมื่อปี 1989 ที่ มีการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินที่พยายามจะให้เป็นประชาธิปไตยแบบตะวันตก การประท้วงนี้ก็ต้อง ถูกทาลายอย่างไม่ให้หือได้เลย เพราะฉะนั้น เขาจึงจะไม่เปิดโอกาสให้ประเทศเป็นประชาธิปไตย ตะวันตกแน่นอน เพราะจะทาให้คุมข้างล่างไม่อยู่ และประชาธิปไตยก็ใช่ว่าจะนาไปสู่ความสาเร็จ ความ มั่นคง ความมีเสถียรภาพของสังคม ดังนั้น จีนจะไม่ปล่อยเป็นอันขาด ประชาธิปไตยโดยเผด็จการชนชั้น กรรมาชีพ ประชาธิปไตยรวมศูนย์ยังเป็นเรื่องที่เขาคุมให้มั่นอยู่ แม้กระทั่งพวกเราตายไปแล้วก็ตาม จีน ไม่มีวันปล่อยให้มีประชาธิปไตยแบบตะวันตกเกิดขึ้นในประเทศเขาแน่นอน ระเบียบต้องเป็นอย่างนี้ เรา จะเห็นการควบคุมเรื่องระบบดิจิทัลของเขา ควบคุมแม้กระทั่งเรื่องการสื่อสารทั้งหลาย อย่างโปรแกรม แชทเขาก็มีของเขาเอง (WeChat) ไม่ปล่อยให้คนภายนอกแทรกซึมเข้ามาทา เพราะท้ายที่สุดแล้ว สงครามไซเบอร์เป็นเรื่องใหญ่ การลุกขึ้นสู้ทั้งหลายจะถูกคุมหมด สิ่งที่น่าสนใจในเรื่องนี้ก็คือว่า หนึ่ง รัฐบาลจะรักษาเสถียรภาพอย่างไร เขาเรียนรู้จาก ประวัติศาสตร์ว่าราชวงศ์ทั้งหลาย ทุกๆ 100 ปี 200 ปี มีสิทธิ์เปลี่ยนที แล้วราชวงศ์คอมมิวนิสต์จะอยู่ได้ อีกนานเท่าไร เขาจะรักษาราชวงศ์ของเขาต่อไปอย่างไร จะส่งต่อสืบต่อกันอย่างไร จากรุ่นที่ 3 ไปสู่รุ่นที่ 4 ไปสู่รุ่นที่ 5 เขาคิดไกล ประเด็นที่สองก็คือเรื่องของประชาชน ผู้ที่ถูกปกครอง ผู้ซึ่งอยู่ใต้ฟ้าใต้สวรรค์ นั้นว่าจะอยู่อย่างไรกับฟ้า ถ้าอ่านจากหนังสือ เราก็จะเห็นความคิดของพวกเขาว่าความใฝ่ฝันของคนจีนที่มีมานานคือเรื่อง ไท่ผิงเทียนกว๋อหรือแดนสุขาวดี ฝันแบบยูโทเปียยังฝังรากลึกอยู่ในสังคมไม่น้อย และพรรคคอมมิวนิสต์ จีนก็คิดว่าเขาจะไปสู่สังคมยูโทเปียโดยผ่านกระบวนการของลัทธิมาร์กซ์ โดยผ่านวัตถุนิยมวิภาษและ วัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ ผมเชื่อว่าเขายังใช้ตรงนี้อยู่ เนื่องจากเมื่อสองสามปีก่อน มีคนนาตาราที่สอน เด็กมัธยมปลายของจีนมาให้ดูว่าตารานี้พูดถึงเรื่องวัตถุนิยมวิภาษและวัตถุนิยมทางประวัติศาสตร์ สอน เรื่องพลวัตของโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีนทาอะไรเขาลึกซึ้งเรื่องหลักคิดหลักปรัชญามาก เด็กจีนจะต้อง เข้าใจเรื่องปรัชญา เข้าใจโลก เข้าใจเรื่องพลวัต เข้าใจเรื่องสภาวะวัตถุนิยมวิภาษ ซึ่งมีรากฐานอยู่บนเต๋า เขาสอนและเตรียมคนกันแบบนี้เลย ให้มีความลึกซึ้งทางหลักคิด หลักปรัชญาเป็นพื้นฐานก่อน ก่อนที่จะ
  • 10. 5 มาเรียนแบบแยกส่วน เขาจะเรียนแบบองค์รวม แบบเข้าใจให้ดี โดยใช้หลักปรัชญาเป็นตัวนา ซึ่งน่าทึ่ง มาก เมื่อเราเข้าใจแล้วว่าสังคมจีนเป็นแบบนี้ ก็ต้องติดตามว่าเขาจะอยู่กับโลกอย่างไร เขาคิดกับโลก อย่างไร เขาคิดกับภูมิภาคและประเทศของเราอย่างไร ซึ่งสาคัญ เพราะเราก็รู้ว่าจีนใหญ่มาก เขาเป็น ศูนย์กลางของโลกมาตลอด และเวลานี้เขาพุ่งทะยานกลับมาเป็นผู้นาของโลกอย่างแน่นอนแล้ว ระเบียบ ของประเทศเขาเกี่ยวข้องกับระเบียบของโลก ต้องดูว่าเขาจะดูแลประเทศรอบบ้านเขาอย่างไร จะอยู่กับ พวกประเทศ “สถาน” ทั้งหลายอย่างไร อยู่กับรัสเซียอย่างไร อยู่กับตะวันตกซึ่งเคยทาความเจ็บปวดให้ เขาอย่างไร แล้วเขาคิดอย่างไรกับพวกเรา พวกอุษาคเนย์ พวกอาเซียน เขามองไทย มองเวียดนาม พม่า เขมร ลาว อินโดนีเซีย มาเลเซียอย่างไร เรื่องนี้ต้องฝากไว้เป็นหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์ เพราะ ถ้าเราอยากรู้ว่าจีนคิดอย่างไรกับเราเวลานี้ มองย้อนไปในประวัติศาสตร์ สมัยนั้นฮ่องเต้จีนมองไทย มอง ก๊กของเราอย่างไร และเขามีท่าทีปฏิบัติกับเราอย่างไร เวลานี้คิดว่าเขาก็คงมองอย่างนั้นอยู่ เพียงแต่อยู่ ภายใต้สถานการณ์ใหม่ ประวัติศาสตร์เหล่านี้ ต้องมีบันทึกไว้แน่นอน นอกจากนี้ คนไทยเองก็ต้องถาม ว่าเราเข้าใจหรือไม่ว่าจะอยู่กับจีนให้ได้ดีเหมือนกับที่เคยอยู่มาได้อย่างไร ประสบการณ์สมัยพ่อขุนราม สมัยกรุงศรีอยุธยา สมัยกรุงธนบุรี สมัยรัตนโกสินทร์ สอนอะไรเรา แล้วเราจะไปต่ออย่างไร ผมคิดว่าควร ย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เสียใหม่ และเอาประวัติศาสตร์เหล่านี้มาพูดคุย มาทา ความเข้าใจโดยรวม ไม่แยกเป็นชิ้นๆ ไม่แยกเป็นส่วน และอีกเรื่องที่เป็นห่วงมากที่สุดก็คือพวกเรารับอิทธิพลตะวันตกมามาก เวลาเรามองความมั่งคั่ง เราก็มองแค่ตัวเลขเศรษฐกิจ แต่ไม่นิยามคาว่าความมั่งคั่งเสียใหม่ โดยเฉพาะในโลกที่มีความซับซ้อน ทางศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และสภาวะโลกร้อน ถ้าเรามุ่งหวังจะได้จากจีนในแง่เศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่เห็นอันตรายหรือความท้าทายอื่นๆ เราจะพลาดท่าแน่นอนในการอยู่กับจีนในโลกสมัยใหม่ เช่น ที่ เรามีความภูมิใจในการเป็นศูนย์กลางทางโลจิสติกส์ แต่ไม่รู้ว่าการเป็นศูนย์กลางนั้นมีทั้งบวกและลบมา พร้อมๆ กัน เราไม่มีทีมป้องกัน เราไม่เคยคิดยาว เรามียุทธศาสตร์ 20 ปี แต่จีนเขาไม่เคยคิด 20 ปี เขา มอง 50 ปี 100 ปี แต่เขามีวิธีคิดที่วางอยู่บนรากฐานของหลักปรัชญา ส่วนของเราต้องคิดว่าจะเอาหลัก ปรัชญาอะไรมามอง จะใช้หลักปรัชญาอะไรในการรักษาชาติและรักษาระเบียบเสถียรภาพ แล้วก็ต้อง ยืดหยุ่นได้กับโลกสมัยใหม่ด้วย
  • 11. 6 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China นพ. สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
  • 12. 7 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือ Becoming China ความเป็นจีนในสายตา Jeanne-Marie Gescher ผู้เขียนหนังสือ Becoming China : The Story Behind the State การกล่าวอ้างผู้นาและนักปราชญ์ในอดีต ผมพยายามจะสรุปความเป็นจีนในสายตาของ Jeanne-Marie Gescher เท่าที่จับความได้ เธอ บอกว่าประวัติศาสตร์การปกครองของจีนเต็มไปด้วยเรื่องราวของผู้นาและนักปราชญ์ที่มีบทบาทและ มุมมองว่าด้วยชีวิตและการปกครองที่ยังทรงอิทธิพลมาจนทุกวันนี้ คนจีน โดยเฉพาะผู้นาจะกล่าวอ้าง และนาตัวอย่างจากเรื่องราวในประวัติศาสตร์ รวมทั้งใช้บริการผู้มีความรู้ ความคิด ปรัชญา วิทยาศาสตร์ มาใช้ประกอบการตัดสินใจ เวลาเราอ่านประวัติศาสตร์จีน น้อยมากที่เราจะไม่ได้ยินตัวละครหลักในหนังสือกล่าวอ้างบุคคล ในอดีต เป็นอะไรที่อยู่ในสายเลือด ใครที่สามารถกล่าวอ้างคนในอดีตได้ถือเป็นผู้ที่มีความรู้ มีความคิดที่ ดี ในสามก๊ก ผมติดใจเรื่อง “สงครามลิ้น” มาก ตอนขงเบ้งเจรจาให้ซุนกวนมารบกับโจโฉ เขาก็ไปเจอ เหล่านักปราชญ์ สิ่งแรกที่นักปราชญ์ทักขงเบ้งก็คือว่าท่านอายุยังน้อยแต่ได้ยินว่าท่านอาจหาญเทียบ กับควั๋นต๋ง เคยบอกว่าตนเองเป็นเหมือนกับควั๋นต๋งกับงักเย ขวัญต๋งเป็นเสนาบดีคนหนึ่งของหวงฉี้กง ผมกลับไปอ่านและพบว่าน่าสนใจมาก การที่ขงเบ้งเทียบตนเองกับควั๋นต๋งนั้นแปลว่าอะไร และความจริง แล้วขงเบ้งกับควั๋นต๋งต่างกันเพียงใด นี่เป็นตัวอย่างของการกล่าวอ้างคนในอดีต เข้าใจว่า Jeanne-Marie ก็คงจะเห็นประเด็นพวกนี้ว่าประวัติศาสตร์จีนเต็มไปด้วยคนที่มีความรู้ และผู้นาจีนมักจะกล่าวอ้างถึงสิ่ง ที่เรียกว่าความรู้หรือปัญญาโบราณเพื่อเอามาใช้ในการตัดสินใจอยู่ไม่น้อย วัฏจักรการเกิดและดับของอานาจ ประวัติศาสตร์จีนเต็มไปด้วยการโค่นล้มผู้มีอานาจมาแต่ดั้งเดิม และแต่ละครั้งก็เต็มไปด้วยการ วางแผนซับซ้อน ซ่อนเงื่อน ใช้กลยุทธ์มากมาย แต่ที่สาคัญกว่านั้นก็คือว่าเมื่อขึ้นมามีอานาจแล้ว ใหม่ๆ ก็ต้องใส่ใจความเป็นอยู่ของประชาชนเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเอง การโค่นล้มอานาจนั้นต้อง สร้างความชอบธรรมไปพร้อมๆ กัน ถ้าไม่สร้างความชอบธรรมก็จะอยู่ได้ยาก ฉะนั้น จะพบบ่อยว่าต้น ราชวงศ์ผู้ปกครองจะดีมากพอท้ายราชวงศ์ก็จะแย่เสมอ นี่ไม่นับว่าระหว่างราชวงศ์ก็มีการแย่งชิงอานาจ กันอย่างรุนแรง และยังไม่นับความวุ่นวายในยุคชุนชิว หมายถึงยุคตั้งแต่หลังสมัยฮั่นเป็นต้นมาก็จะเป็น
  • 13. 8 อย่างนั้น ยุคชุนชิวก็จะตรงไปตรงมา ทหารโค่นล้มผู้มีอานาจ แต่ทุกครั้งที่โค่นล้มผู้มีอานาจ ก็ต้องสร้าง ความเป็นอยู่ที่ดีแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นก็จะเกิดสิ่งที่ผมเรียกว่า “วัฒนธรรมต้องใส่ใจ” มาถึงยุคพรรค คอมมิวนิสต์เองก็ต้องอ้างชาวบ้านตลอด ไม่เช่นนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ ในช่วงหลังๆ ของหนังสือเล่มนี้ก็จะเห็น การอ้างอิงชาวบ้านจานวนมาก ระหว่างที่อ่านหนังสือ ผมก็ไปดูสารคดี 6 ตอนจบของ CCTV ที่ทาไว้ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2007 ช่วงหูจิ่นเทามีอานาจอยู่ พูดถึงเรื่องจีนปฏิรูปประเทศตนเองให้ทันสมัย เต็มไปด้วย เนื้อหาที่ว่าพรรคคอมมิวนิสต์จีนทาอะไรให้กับคนจีนบ้าง เล่าเรื่องกิจการต่างประเทศเล็กน้อย แต่จะ แสดงให้เห็นความสาเร็จในประเทศมาก ผู้นาจีนใส่ใจพัฒนาประเทศให้ทันสมัยและก้าวทันวิทยาการ การตามไม่ทันตะวันตกของจีนชัดเจนมากสมัยราชวงศ์ชิง เวลานั้นมีคนจีนเขียนหนังสือจานวน มากว่าด้วยเรื่องการไปเอาอย่างญี่ปุ่นบ้าง การไปเรียนรู้จากตะวันตกบ้าง ผู้คนเรียกร้องให้ประเทศจีน ปฏิรูปตนเองให้ทันสมัย ต่อมาแม้จะมีเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสังคมนิยมและตั้งเป้าสร้างประโยชน์ ส่วนรวมตามแนวทางสังคมนิยม แต่ความสนใจที่จะทาให้ประเทศทันสมัยก็ยังมีอยู่ ในช่วงที่การปฏิวัติ วัฒนธรรมกาลังแรง นักวิทยาศาสตร์ รวมทั้งเรื่องศิลปะและดนตรีตะวันตกจะถูกจัดการด้วยการปฏิวัติ วัฒนธรรม แต่เหมาก็พยายามเอาวิทยาศาสตร์กลับมาในช่วงท้ายของการปฏิวัติวัฒนธรรม Jeanne- Marie พยายามชี้ให้เห็นว่า ผู้นาจีนไม่เคยละทิ้งวิทยาการสมัยใหม่ เรื่องนี้ ในยุคหลังจากเหมาก็ ตรงไปตรงมา พูดกันมากแล้ว ทั้งเจียงเจ๋อหมินและหูจิ่นเทาเป็นวิศวกรทั้งคู่จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีหัว ทางด้านวิทยาศาสตร์พอสมควร หูจิ่นเทาเป็นคนที่เริ่มเรื่องเทคโนโลยีสมัยใหม่ในจีน แต่เรื่องไอทีและ อินเตอร์เน็ตมาเฟื่องฟูมากสมัยสีจิ้นผิง อุดมการณ์และแนวคิดจีน แนวคิดของลัทธิขงจื่อ ในหนังสือ Jeanne-Marie จะเล่าถึงความคิดจีนที่ได้รับการอ้างถึงอยู่บ่อยๆ โดยอ้างเรื่อง ความคิดขงจื่อจานวนมาก พวกเราอาจรู้จักขงจื่อในเรื่องความกตัญญูต่อบุพการี ถึงขนาดว่าครอบครัว ต้องอยู่เหนือบ้านเมือง แต่สิ่งที่ Jeanne-Marie อ้างมากกว่าในเรื่องความคิดขงจื่อคือเรื่องความรู้ ว่า ความรู้จริงทาให้คนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ความคิดบริสุทธิ์ใจเที่ยงธรรม คนดี ครอบครัวเป็นระเบียบ บ้านเมืองปกครองโดยธรรม (The Great Learning) นอกจากนั้นก็อ้างบ่อยครั้งเรื่องที่ขงจื่อสอนเรื่องการ เรียนจากการลงมือทา และในหนังสือก็พูดถึงอยู่บ่อยครั้งว่าเหมาเน้นเรื่องการเรียนจากการลงมือทามาก อย่างที่อดีตเอกอัครราชทูตสมปอง สงวนบรรพ์กล่าวถึงคาว่า “ความจริง” กับ “ความไม่จริง” นั้น ภาษาจีนใช้คาว่า “เจิน” กับ “เจี่ย” เจินคือจริง เจี่ยคือเท็จ แต่ “ความจริง” เขาเรียกว่า “สีซื่อ” แปลว่า “เรื่องที่คิดว่าใช่ คิดว่าจริง” ซึ่งอาจไม่ใช่ความจริงก็ได้ เหมาบอกว่าจะรู้ว่าอะไรเป็นความจริงนั้นต้องรอ คนยุคหลังบอก แต่ถ้าหากว่าตอนนี้ไม่รู้ อะไรที่คิดว่าดีก็ทาไปก่อน ซึ่งน่าสนใจเพราะเป็นพุทธมาก
  • 14. 9 โดยเฉพาะเรื่องปัญญาปฏิบัติ ซึ่งก็คือ “ภาวนามยปัญญา” หรือปัญญาจากการลงมือทา ซึ่งเป็นปัญญา ประการสุดท้ายในปัญญาสามประการตามหลักศาสนาพุทธ คัมภีร์แห่งเต๋า คัมภีร์แห่งเต๋าเป็นคัมภีร์คู่ขนานกับลัทธิขงจื่อดังที่อาจารย์ชัยวัฒน์พูด ที่ Jeanne-Marie อ้างถึง ก็คือคัมภีร์ “อี้จิง” ซึ่งก็น่าสนใจมาก หลายคนจะรู้จักอี้จิงในเรื่องหยินหยาง โดยเฉพาะเรื่องฮวงจุ้ย แต่ อาจารย์วรศักดิ์อาจจะช่วยยืนยันได้ว่าจริงหรือเปล่าคือที่ไปอ่านเขาบอกว่าอี้จิงว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติตัว และสิ่งสาคัญมากคือการอดทนรอคอย นิ่ง รู้จักประมาณ (stoicism) สุดยอดวรรณกรรมจีน นอกจากเรื่องนักปราชญ์และปรัชญาแล้ว สิ่งที่ Jeanne-Marie อ้างถึงในหนังสือด้วยคือ 4 วรรณกรรมจีน ได้แก่ สามก๊ก ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน ไซอิ๋ว และความรักในหอแดง วรรณกรรม 4 เรื่องนี้มีความหมายต่อคนจีนต่างๆ กัน สามก๊กพูดถึงเรื่องการแย่งชิงอานาจ ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียง ซานพูดถึงคนธรรมดาที่ปฏิเสธผู้มีอานาจ (ผมชอบเรื่องเขาเหลียงซานมาก เรื่องนี้มีแต่ผู้กล้า มารู้ทีหลัง ว่าการล่มสลายของเขาเหลียงซานเป็นโศกนาฏกรรมของการกาหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอานาจกับ ผู้ไร้อานาจ พูดง่ายๆ คือคนเหล่านี้ในที่สุดก็ถูกหลอกไปรับราชการแล้วก็ตายอย่างอเนจอนาถทุกคน คิด ว่าเรื่องเขาเหลียงซานอยู่ในใจของคนจีนในส่วนนี้มากกว่าในด้านที่เป็นเรื่องของฮีโร่ที่สู้กับผู้มีอานาจ อย่างไม่เกรงกลัว เพราะความจริง สุดท้ายเหล่าผู้กล้าต่างสยบยอมและตายหมด ทั้งๆ ที่ตอนจะไปสยบ ยอมก็เถียงกันมากในเขาเหลียงซานว่าใครจะยังอยู่ ใครจะไปรับราชการ) เรื่องไซอิ๋วก็ตรงไปตรงมา คือ สอนเรื่องธรรมะ เรื่องจิต หลายคนคงทราบดีว่าหงอคงเป็นตัวแทนของปัญญา พระถังซาจั๋งคือสติที่จะมา ช่วยทาให้ปัญญาอยู่ในร่องในรอย หงอคงมีความสามารถมากแต่คุมตัวเองไม่ค่อยได้ ส่วนความรักในหอ แดงคล้ายกับเขาเหลียงซานที่สะท้อนสังคมจีน หลายคนคิดว่าเป็นเรื่องอีโรติก แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้แสดง ให้เห็นว่าในสังคมจีน การไปอิงกับอานาจหรือสถาบันอานาจมากเป็นความไม่ยั่งยืน โดยรวมผมคิดว่า วรรณกรรมจีนมักพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอานาจกับผู้ไร้อานาจ ในเรื่องความไม่แน่นอนและความ คิดเห็นต่อผู้มีอานาจ ภาวะการนาในปัจจุบัน สังคมนิยมไม่ใช่สังคมยากจน หนังสือเล่มนี้อ้างถึงลักษณะสาคัญของภาวะการนาในปัจจุบันอยู่มาก ขอยกบางอย่างมาให้ฟัง อันที่หนึ่งก็คือสิ่งที่เธอน่าจะยกมาจากคาพูดของสีจิ้นผิงว่า “สังคมนิยม ไม่ใช่สังคมยากจน เพื่อให้คนจน
  • 15. 10 พ้นจากความยากจน ต้องทาการปฏิรูปเพื่อคนจน ไม่ทอดทิ้งคนจนไว้ข้างหลัง” กล่าวง่ายๆ หมายความ ว่าความเป็นทุนนิยมทาให้มีการทอดทิ้งคนจน เพราะฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ปรากฏว่าคนจีนจานวนไม่ น้อยถูกทอดทิ้งให้อยู่ในความจน ความยากลาบาก ถ้ามีข้อมูลเรื่องนี้เข้ามา หรือถ้ามีเรื่องราวแบบนี้ เกิดขึ้นในส่วนรวม รัฐบาลจะนิ่งเฉยไม่ได้ หนังสือเล่มนี้อ้างถึงสมัยที่หูจิ่นเทาขึ้นมาเป็นใหญ่ สมัยนั้นมี ความเฟื่องฟูมากในแง่ที่ว่าเมืองจีนทันสมัย มีเทคโนโลยีที่ดีมาก มีคนเขียนจดหมายจากมณฑลที่ยากจน แล้วส่งมาถึงท่านผู้นา ท่านผู้นาก็ไปสารวจ เรื่องราวที่เขียนจดหมายมาถึงผู้นาก็จะได้รับการตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ด้วย ผมคิดว่า Jeanne-Marie พยายามชี้ให้เห็นว่าช่วงตั้งแต่จีนเริ่มทันสมัยเป็นต้นมา ตั้งแต่ ยุคเจียงเจ๋อหมินกับหูจิ่นเทามันเละจนกระทั่งคนรวยก็รวยเอาๆ แต่คนจนก็ถูกทอดทิ้งไว้ข้างหลัง ยึดมั่นในศีลธรรม เรื่องที่สองคือเรื่องยึดมั่นในศีลธรรม เธอพูดถึงคาว่าศีลธรรมบ่อยมาก อ้างว่าความคิดเรื่อง ศีลธรรม เรื่องส่วนรวมของจีนมาจากขงจื่อเยอะมาก ต้องทาเพื่อส่วนรวม ถึงขนาดมีการยกคาพูดว่า ถ้า สังคมใดมี “mutual trust” ก็จะมีสันติสุข ถ้ามีแต่ “mutual hatred” ก็จะวุ่นวาย ทาเพื่อความสุขส่วนรวม อีกสิ่งที่ Jeanne-Marie พูดถึงในรายละเอียด ซึ่งจะเอามาเชื่อมโยงกันก็คือแม้จะต้องจากัดสิทธิ เสรีภาพในการแสดงออกก็ต้องยอมเพื่อความสุขของส่วนรวม เธอเล่าเรื่องฮ่องกง ไต้หวัน แม้กระทั่งคน จีนที่ไปอยู่ต่างประเทศ อ้างว่าคนจีนไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ต้องทาเพื่อประเทศจีน มีเรื่องเล่าว่าในการเลือกตั้ง ผู้แทนในสภาของฮ่องกงครั้งล่าสุดได้ “กลุ่มร่ม (umbrella group)” เข้าไปเป็นสมาชิกจานวนมาก แล้ว ในช่วงปฏิญาณตนในสภา ผู้แทนจากกลุ่มร่มเหล่านี้ก็ไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงถูกขับไล่ออกจากสภา โดยให้ เหตุผลว่าความเป็นจีนต้องสาคัญกว่าเรื่องส่วนตัว หรือส่วนหมู่พวก ปรับปรุงตนเองให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ ประเด็นที่น่าสนใจก็คือเรื่องที่จีนพยายามจะปรับปรุงพฤติกรรมพลเมือง เพราะเขาอ้างหลักขงจื่อ ว่าคนต้องพัฒนาตัวเองก่อน ครอบครัวจึงจะดี ครอบครัวต้องพัฒนาครอบครัว บ้านเมืองจึงจะเข้มแข็ง ผู้นาก็ต้องดูแลบ้านเมืองให้เข้มแข็ง คนมีคุณภาพดี เวลานี้เทคโนโลยีไปไกลมาก ใช้อินเตอร์เน็ตในการ ควบคุมพฤติกรรมประชาชนด้วย มีการรายงานกัน เพื่อนบ้านใกล้เคียงก็สามารถจะมาเตือนกันได้ถ้ามี พฤติกรรมไม่ดีเกิดขึ้นในบ้านหรือนอกบ้าน เป็นต้น
  • 16. 11 แนวคิด/นโยบายที่น่าสนใจ Democratic Dictatorship (เผด็จการประชาธิปไตย) เรื่องที่น่าสนใจต่อมาก็คือเรื่อง “democratic dictatorship” ผมขอตั้งเป็นประเด็นคุยตอนท้าย นอกจากนี้เขายังพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “ตลาดที่มีคุณธรรม” (moral market) เขาพูดถึงตลาดหุ้นบ่อยครั้ง มาก สารคดีที่ผมดูเขาพูดถึงตลาดทุนสังคมนิยม ผมตีความว่ามีการควบคุมการป่วนตลาดมาก แต่ว่าจะ ถือว่าพฤติกรรมแบบใดที่เข้าข่ายป่วนตลาดก็จะเป็นประเด็นอีก เช่น ถ้าไปวิจารณ์บริษัทที่รัฐบาล ต้องการสนับสนุนก็อาจถือว่าป่วนตลาดด้วยก็ได้ ก็จะเข้าข่ายเป็นการอ้างคุณธรรม อ้างการจัดการว่าไม่ อยากให้มีการครอบงาตลาด แต่ความจริงคือไปสนับสนุนบริษัทหรือกลไกที่รัฐบาลดูแลอยู่ Chinese Dream (ความฝันของจีน) ผู้เขียนเขาพูดถึงนโยบาย Chinese Dream เขาเชื่อว่าคาว่า Chinese Dream เกิดขึ้นสมัยสีจิ้ นผิง ก่อนหน้านั้นไม่มีคาว่า Chinese Dream ไม่รู้จะนามาเทียบกับ American Dream หรือไม่ แต่ที่ น่าสนใจก็คือคาว่า Chinese Dream ที่สีจิ้นผิงชูให้เห็น มีคาว่า เสี่ยวคัง (小庚) หมายความว่าให้มี ความเป็นอยู่ที่ดี ไม่ได้ตั้งใจจะรวยล้นฟ้า แต่ต้องดี ต้องเป็นความสุขพอประมาณถ้วนหน้า แผน 5 ปี ฉบับที่ 13 (十三 五) อีกประเด็นในเรื่องนโยบายก็พูดถึงแผนพัฒนาประเทศ 5 ปีฉบับที่ 13 ซึ่งเน้นเรื่องเทคโนโลยี มาก หนังสือเล่าว่าในการกาหนดนโยบายด้านนี้ของประเทศจีน ในคณะกรรมการที่วางแผนนโยบายนี้ ไม่ได้มีแต่กรรมการพรรคคอมมิวนิสต์เท่านั้น แต่มีนักธุรกิจรุ่นใหม่เข้าไปมีบทบาทมาก บริษัทชั้นนาด้าน AI ของในโลก ในหนังสือเรื่อง Artificial Intelligence : 101 Things You Must Know Today About Our Future บอกว่าใน 10 บริษัท AI ชั้นนาในโลกเป็นบริษัทจีนอยู่ 3 บริษัท ได้แก่ Alibaba Baidu และ Tencent ใคร อยู่ในวงการไอทีก็จะยืนยันอย่างนี้ ผมได้คุยอยู่กับรุ่นน้องที่เป็นวิศวกรอยู่ในวงการไอที เขากล่าวว่าเรื่อง 5G นั้นบริษัทหัวเหว่ย (Huawei) ของจีนเก่งที่สุด ญี่ปุ่นยังตามไม่ทัน เพราะฉะนั้น ผู้ที่ผลักดันเทคโนโลยี 5G มากที่สุดคือประเทศจีน สิ่งแวดล้อม อีกประเด็นที่น่าสนใจคือประเด็นสิ่งแวดล้อม ผมไปจีนเมื่อสองปีที่แล้ว ได้ไปเห็นโปสเตอร์ที่มี สโลแกนว่า “เขาเขียว น้าใส คือเขาแห่งเงินและทอง” แสดงให้เห็นว่าจีนพยายามชูนโยบายสิ่งแวดล้อม มากเรื่องสิ่งแวดล้อม ปัจจุบันนี้มีความหวังขึ้นมาก เพราะจีนแยกกระทรวงดูแลจากที่ National Development and Reform Commission (NDRC) ดูแลมาเป็นกระทรวงสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ แต่
  • 17. 12 ก่อนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมของจีนถูกจัดอยู่ในกลุ่มการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เวลานี้มีกระทรวงใหม่เข้ามา ทาหน้าที่เหมือนเป็นตารวจตามจับเรื่องการทาลายสิ่งแวดล้อม ปลายปี 2016 จาได้ว่าเห็นข่าวว่าปัญหา ฝุ่นควันแย่มากในจีน พอปลายเดือนมกราคม 2017 ปรากฏว่าสะอาดขึ้น ไม่ค่อยมีฝุ่นมากแล้ว ผมถาม เพื่อนว่าเกิดอะไรขึ้น เขาบอกว่าใช้วิธีปิดโรงงาน มีรัฐวิสาหกิจในจีนเป็นจานวนมากซึ่งรัฐบาลสั่งปิดได้ แต่ว่าเวลานี้จีนเปลี่ยนนโยบายใหม่มาจัดการควันจากเรื่องรถยนต์แล้ว ปราบคอร์รัปชั่น เรื่องปราบคอร์รัปชั่นไม่ต้องพูดถึง ในหนังสือมีอยู่ส่วนหนึ่งชื่อ How many suns? ผมอ่านเรื่อง ปราบคอร์รัปชั่น นึกถึงเรื่องโหวอี้ยิงตะวัน ตานานจีนโบราณตั้งแต่สมัยจีนเมื่อห้าพันปีที่แล้วที่เล่าว่าเวลา นั้นเมืองจีนแห้งแล้งมากเพราะมีดวงอาทิตย์จานวนหลายดวง ผมว่าผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ตั้งใจจะบอกว่า ทุกวันนี้คอร์รัปชั่นมากเหลือเกิน คนจีนเดือดร้อนไปหมด ข้าวยากหมากแพง ปลูกอะไรก็ไม่ขึ้นเลยต้องมี ผู้กล้ามาช่วยยิงตะวันให้ตก ให้เหลือแค่ดวงเดียว ปรับทัศนคติแกนนาพรรคคอมมิวนิสต์ หนังสือยังเล่าถึงนโยบายปรับทัศนคติแกนนาพรรค ที่สีจิ้นผิงเป็นคนนาเข้ามาใช้ มีการจัดอบรม เพื่อปรับปรุงความคิดของแกนนาพรรค ปรับพฤติกรรม คนจีนจานวนหนึ่งต้องการให้เป็นคนจีนมีคุณภาพ ไม่ตกเป็นทาสความคิดตะวันตกที่เป็น อันตรายต่อการมุ่งสู่ความฝันแบบจีน แต่ก็ยังจัดการคนรุ่นใหม่ในฮ่องกงได้ยาก หนังสือเล่าถึงเรื่องการ ปิดสานักพิมพ์ในฮ่องกง เพราะสานักพิมพ์เหล่านั้นเผยแพร่ความคิดที่เป็นตะวันตก ซึ่งจะมาแปดเปื้อน คนจีน Si ge qianmian – 4 comprehensiveness Jeanne-Marie บอกว่าผู้นาจีนจะต้องทิ้งถ้อยคาเด็ดไว้เสมอ เช่น สีจิ้นผิงชูคาว่า Si ge qianmian หรือ 4 comprehensiveness สมัยเจียงเจ๋อหมินก็มีคาว่า “Three Represents” เป็นต้น ข้อคิดและมุมมองส่วนตัวผ่านระบบสุขภาพในจีน ผมมีความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับนโยบายด้านสุขภาพของประเทศจีน หลายท่านอาจทราบว่า ตั้งแต่จีนเปลี่ยนแปลงสู่ยุค 4 ทันสมัยในปี 1979 เป็นต้นมา ระบบสุขภาพในจีนก็เปลี่ยนไป โดยแบ่งการ ปรับเป็น 3 ระยะ ระยะแรกยังมีระบบคอมมูนอยู่ แต่ค่อยๆ หายไปเรื่อย จากนั้นก็มาใช้ระบบตลาดเสรี ซึ่งทาให้คนจีนลาบากมากจนปัจจุบันนี้ ขณะนี้ สีจิ้นผิงพยายามปฏิรูประบบสุขภาพในจีน ผมได้มีโอกาส
  • 18. 13 ไปจีนเพื่อไปเป็นคณะทางานดูเรื่องระบบสาธารณสุขมูลฐานที่จีน ก็ได้ไปเห็นไปเรียนรู้มาบ้าง คนจีนบ่น ว่าหาหมอยาก หาเงินมาจ่ายค่าหมอยิ่งยากกว่า พอรัฐบาลจะฟื้นนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน สิ่งที่เขา เจอคือคนจีนไม่ชอบนโยบายสาธารณสุขมูลฐาน คนจีนกลัวจะไปเจอหมอเท้าเปล่า รัฐบาลกลางชูธงเรื่อง นี้มานานแล้ว แต่ยังไปไม่ถึงไหน ศาสตราจารย์ William Hsiao นักสาธารณสุขชาวจีนที่มหาวิทยาลัยฮาร์ วาร์ดเคยพูดในที่สาธารณะว่าจีนไม่มีทางปฏิรูประบบสุขภาพได้เพราะว่าคนจีนไม่เชื่อหมอ ความ ไว้วางใจที่คนจีนมีต่อวิชาชีพแพทย์ลดลงไปมาก ประเด็นอภิปราย ความคิดขงจื่อกับแนวนโยบายแห่งรัฐ ประเด็นที่หนึ่งคือแนวคิดขงจื่อกับนโยบายของรัฐ เรื่องนี้ต้องอ้างศาสตราจารย์ Yan Xuetong ผู้อานวยการสถาบันความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยชิงหวา ซึ่งถูกถามคาถามเกี่ยวกับเรื่อง นี้เมื่อมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยรังสิต เขาตอบว่าเรื่องขงจื่อกับแนวนโยบายของรัฐนั้นแยกกัน ความคิด ขงจื่อเป็นเรื่องที่ใช้ในครอบครัว ในการปฏิบัติตัวของคนทั่วๆ ไป ไม่ได้มาเกี่ยวข้องกับแนวนโยบายแห่ง รัฐ แต่หนังสือของ Jeanne-Marie ก็พูดถึงหูจิ่นเทาว่าเขาอ้างความคิดขงจื่อ แล้วก็รื้อฟื้นอิทธิพลของลัทธิ ขงจื่อในสังคมจีน ถามว่าความคิดขงจื่อมีอิทธิพลเพียงใดในจีน หนังสือเล่มนี้กล่าวว่า คัมภีร์ของขงจื่อจะ ได้รับการกล่าวอ้างมากในหมู่ผู้นา แต่ในหมู่ทหารมักจะอ้างถึงคัมภีร์เต๋าเต๊กเก็ง (เต๋าเต๋อจิง) คัมภีร์อี้จิง และซุนวูมากกว่า อีกประเด็นที่น่าสนใจคือ ในขณะที่อังกฤษมี Brexit อเมริกาก็ได้ Trump ขึ้นมาเป็นผู้นา แต่จีนมี “Chinese leader who understood the past, took responsibility for the present and was prepared to work like Yao and Shun to find a way to balance between heaven and earth in this most complicated of times” เหยาคือคนที่สั่งให้โหวอี้ไปยิงดวงอาทิตย์ สมัยของเหยาและซุนเป็นยุคแรกๆ ที่ สร้างประเทศจีน เพื่อจะหาทางสร้างสมดุลระหว่างสวรรค์และมนุษย์ ในหนังสือพูดชัดเจนว่า สวรรค์คือ นโยบายส่วนกลาง โลกคือความเป็นอยู่ของประชาชน จึงหมายถึงความพยายามที่จะผสมผสานความคิด ข้างบนกับข้างล่าง ท่ามกลางความยากลาบาก ความลาบากก็คือการที่ตะวันตกพยายามมามีอิทธิพล มุ่ง ที่จะทาลายจีน ไม่อยากให้จีนโตและมีอิทธิพล Democratic Dictatorship อีกประเด็นที่ผมจะตั้งไว้คือเรื่อง democratic dictatorship ซึ่งผมตีความคานี้จากหนังสือไว้ว่า หมายถึงว่าผู้นาสูงสุดนั้น แม้มีอานาจตัดสินใจได้โดยเด็ดขาด ก็ไม่อาจปฎิเสธว่าต้องคานึงถึงความคิด ความรู้สึกของผู้คนส่วนใหญ่มาใช้ประกอบ แต่ในทางกลับกันผู้นาก็ห่วงว่าความรู้สึกนึกคิดของคนอื่นจะ
  • 19. 14 มาทาให้สังคมวุ่นวาย ก็เลยต้องควบคุมการสื่อสารและการสร้างวาทกรรมในสังคมด้วยการเน้นโครงข่าย ของตัวเองและปิดกั้นฝ่ายตรงกันข้าม นี่หรือเปล่าคือสิ่งที่เรียกว่า democratic dictatorship คือผู้นาก็ฟัง ประชาชนด้วยแต่ไม่ได้เชื่อทั้งหมด แถมฟังแล้วถ้าไม่เชื่อความคิดใดก็ไม่อยากให้ความคิดนั้นมีอิทธิพล ด้วย นอกจากนั้น ผู้นาแม้จะมีอานาจสูงสุดในการตัดสินใจ แต่ก็ต้องห่วงใยความเป็นอยู่ของคนข้างล่าง ด้วย ต้องตัดสินใจโดยการฟังเสียงคนส่วนใหญ่ ไม่ด่วนสรุปว่าคนส่วนใหญ่ถูกชักจูงได้ง่าย อันนี้จะทาได้ หรือไม่ ทาได้มากน้อยเพียงใด อีกเรื่องเป็นความเห็นส่วนตัวของผมคือ ความสามารถในการป้องกันสิ่งที่ไม่ดี และการสร้างสิ่งที่ ดีนั้นไม่เหมือนกัน ผู้นาแม้จะเก่งเพียงใด สิ่งที่ปรากฏก็คือมักจะทาการปราบเรื่องเลวร้าย เช่น ปราบ คอร์รัปชั่น ปิดโรงงาน ก็ทาได้ง่าย แต่ถ้าทาเรื่องดีซึ่งไม่มีผู้ร้ายจะทายาก เช่น การปฏิรูประบบสุขภาพที่ ไม่มีผู้ร้าย ทายาก การรวมใจผู้คนให้ทาเรื่องดีนั้นยากกว่าการไปจัดการกับคนไม่ดีไม่กี่คนหรือไม่กี่จุดใน ระบบใหญ่
  • 21. 16 อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก ผ่านหนังสือพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย จะมาพูดถึงหนังสือใหม่ของผมเรื่องพระมหากษัตริย์กับความเป็นไทย แต่เวทีวิชาการนี้มีชื่อเรื่อง น่าสนใจมากคือ “การอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบความคิดของตะวันตก” ผมจึงถือโอกาสมา ฟังเรื่องหนังสือ Becoming China : The Story Behind the State ด้วย และพยายามคิดว่าจะมีธีมอะไร ในหนังสือ 2 เล่มนี้ที่จะชวนให้พวกเราคิดว่าจะอธิบายสังคมทั้งจีนและไทยเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบ ความคิดตะวันตกได้อย่างไร สาหรับเรื่อง Becoming China ผมพลิกอ่านดูก็ไม่ได้มีอะไรตื่นเต้นมากนัก เพราะว่าผมก็ได้ฟังและคุ้นเคยกับเรื่องราวต่างๆ ในประวัติศาสตร์จีนพอสมควร ผมว่าก็พอจะพูดได้ว่า ฝรั่งเริ่มตีความประเทศจีนจากมุมของจีนเองมากขึ้น หนังสือของฝรั่งนั้น ปกติจะตีความจากมุมของฝรั่ง ก็จะได้ภาพจีนเป็นอีกอย่างหนึ่ง ความจริงแล้วฝรั่งก็ตีความพวกตะวันออกกลาง พวกมุสลิม จากสายตา ของฝรั่งเองอีกเช่นกัน นามาสู่การวิพากษ์เรื่อง Orientalism ผมว่าเรื่องจีนก็คล้ายกัน ผมเองก็ไม่ได้เริ่ม ต้นแบบที่ว่าเป็นนักเรียนของ Edward Said1 ผมไปเที่ยวประเทศจีนมา 50-60-70 ครั้ง เห็นจีนมา 30 ปี ผมก็เริ่มสนใจอนาคตและอดีตของจีน และผมก็คิดว่าอนาคตน่าจะเป็นของจีน เดิมก็ไม่ค่อยแน่ใจเท่าไร ต่อมาก็แน่ใจมากขึ้นๆ ในระหว่างที่คิด เรื่องพวกนี้ ผมก็อ่านงานของตะวันตก ส่วนใหญ่มองว่าเดี๋ยวจีนจะต้องพังลง เดี๋ยวจะต้องมีวิกฤต แต่ว่า จีนก็ยังอยู่รอดมา แต่คนก็ยังไม่ค่อยมั่นใจมากเพราะว่าสิ่งที่จีนทาไม่เหมือนตะวันตก ผิดกับสูตรสาเร็จรูป ของตะวันตก เช่น เอาทุนนิยมมารวมกับสังคมนิยมก็ได้ หรือเอาความคิดทางการเมืองสมัยโบราณ (Classic Political Thought) มารวมกับความคิดของมาร์กซ์ เลนิน และเหมาเจ๋อตงก็ได้ หรือแม้แต่คาว่า Democratic Dictatorship ก็เอามาใช้ได้ ผมมองว่าจีนไม่ค่อยคิดอะไรเป็นสองขั้วขัดแย้ง (Dichotomy) นี่ คือเต๋า ไม่จาเป็นต้องเห็นอะไรเป็นดากับขาว ดากับขาวของเต๋าอยู่ในอันเดียวกัน ไม่ได้อยู่แยกกัน ผมจึง คิดว่าอนาคตของจีนน่าสนใจ ยิ่งภายหลังที่จีนมาสู่เรื่อง 4.0 5.0 คอมพิวเตอร์ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ quantum computing ฯลฯ ผมคิดว่าจีนไม่ใช่พวกทาแต่สินค้าราคาถูก อาศัยแต่แรงงานราคาถูก เขาทา เรื่องเทคโนโลยีดีทีเดียว เทคโนโลยีที่จีนกาลังทาอยู่เวลานี้ เช่น AI ผมว่าจะตัดสินอนาคต (decisive) มากว่าใครจะเป็นผู้นาของโลก แต่ถึงแม้ว่าจีนจะไม่ได้เป็นที่หนึ่งของโลก เป็นที่สอง ที่สาม ก็มี ความหมายแล้ว เพราะฉะนั้นผมจึงคิดถึงอนาคตของจีน คิดว่าเมืองไทยต้องตระหนักในส่วนนี้ ในขณะเดียวกับผมไปเที่ยวจีน ผมก็ไปตะวันออกกลาง เนื่องจากผมสนใจเรื่อง 9/11 เรื่องปล้น ปืนที่สามจังหวัดด้วย ทาให้ผมอยากรู้เรื่องมุสลิม อิสลาม และผมก็รู้ว่าผมรู้เรื่องมุสลิมอิสลามน้อย 1 นักวิชาการชาวอเมริกัน ผู้เขียนหนังสือ Orientalism อันโด่งดัง
  • 22. 17 เหลือเกิน ผมก็พยายามอ่านเท่าที่พอจะรู้เรื่อง คือผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญทั้งเรื่องจีนและอิสลาม แต่ด้วย ความที่อยากรู้ว่าผลของมันจะมากระทบไทยอย่างไร ทั้งจีนที่กาลังจะรุ่งเรืองไพบูลย์ขึ้น และอยู่ใกล้เรา เหลือเกิน และมุสลิมอิสลามในแง่ของการที่อาจนามาสู่ความปั่นป่วน ก็ทาให้ผมศึกษาเรื่องมุสลิมอิสลาม เดินทางไปอิหร่าน ไปซีเรีย ไปจอร์แดน ไปโมรอกโก ไปอียิปต์ มากมายหลายที่ เป็นที่ที่คนไม่ค่อยอยาก ไปกัน เมื่อไปเห็นแล้วก็มาบวกกับจีน ผมก็เริ่มคิดขึ้นมาอีกว่าตะวันออกของเรานั้นไม่ได้มีแต่ศีลธรรม ไม่ได้มีแต่ศาสนา คนไทยมักจะคิดกันว่าเรานั้นสู้ฝรั่งไม่ได้แต่ว่าศีลธรรม จริยธรรมของเราดีกว่า (ซึ่งก็ไม่ รู้ว่าจริงหรือไม่) พอผมไปเห็นประเทศพวกนั้น ไม่ว่าจะเป็นอียิปต์ ตุรกี (ออตโตมัน) เปอร์เซีย และ อินเดียด้วย แล้วผมก็อ่านหนังสือของฝรั่งด้วย ฝรั่งนั้นก็มีหลายพวก ฝรั่งที่สมาทานกับตะวันออกก็มีอยู่ อ่านไปผมก็รู้สึกว่า อดีตตะวันออกก็รุ่งเรืองมาก รวยมาก ฝรั่งตามหาจีน อินเดีย เพราะจะมาเอาความ ร่ารวย ซึ่งตรงข้ามกับที่เราเข้าใจว่าจีนและอินเดียเป็นประเทศที่จน เราคิดว่ามันคงเป็นมาแบบนี้มานาน แล้วตั้งแต่สมัยโบราณ เมื่อไปศึกษาเรื่องจีนและอินเดียจึงงงอีก เพราะว่าอินเดียเป็นคนคิดเลขศูนย์ คิด เรื่องเลขฐานสิบ คณิตศาสตร์ของอินเดียดีมาก จีนก็เช่นกัน จีนสารวจนา รู้เรื่องทฤษฎีพีทาโกรัสมานาน แล้ว เขามีความรู้มาก พอไปเข้าใจจีนมากขึ้นผมก็ตกใจ คนจีนอ่านออกเขียนได้มา 3 พันปีแล้ว ความสามารถในการอ่านออกเขียนได้ของคนจีนนั้นย้อนกลับไปไกลกว่าของฝรั่งมาก เวลาอ่านปรัชญาของจีนนั้นน่าทึ่งมาก ของอินเดียก็เช่นกัน ผมก็เริ่มคิดว่าพระพุทธเจ้านั้นทรง คิดอะไรไม่ได้แพ้เพลโต อริสโตเติล โสคราติส อินเดียที่เป็นแหล่งกาเนิดของศาสนาพุทธนั้นเป็นอินเดียที่ รวยที่สุดในเวลานั้น แล้วก็มีวิทยาการ ปรัชญาที่ล้าหน้าโลกในเวลานั้น ส่วนจีนก็เช่นกัน สิ่งหนึ่งที่ทาให้ ผมตกตะลึง คือ “เมือง” นั้นไม่ได้เป็นของตะวันตกอย่างเดียว เมืองของจีนโบราณเมื่อสองสามพันปีก่อน นั้นมีคนเป็นล้านคนแล้ว โอซาก้าของญี่ปุ่นก็เช่นกัน เมื่อ 500 ปีที่แล้วมีคนเป็นล้านคน ผมรู้สึกปั่นป่วน ในสมองมาก จีนกับตะวันออกในอดีตก็รุ่งเรืองร่ารวย ผมอ่านประวัติศาสตร์โลกมาเรื่อยๆ ก็ตกใจว่ามอง โกลปกครองเอเชียและยุโรปเกือบหมด หลายท่านคงทราบเรื่องนี้ ผมเองก็ทราบอยู่แล้ว สมัยเรียน หนังสือก็ทราบอยู่ แต่กระบวนทัศน์ยังไม่เปลี่ยน ข้อมูลมันก็ใส่อยู่นั่น เป็น anomaly คือเราก็งงๆ กันว่า เหตุใดมองโกลเก่งขนาดนั้น ตีได้ทั้งเอเชียทั้งยุโรป นอกจากมองโกลก็ยังมีทาเมอร์เลน (Tamerlane) อีก ทาเมอร์เลนก็เก่งมาก เพราะฉะนั้นเอเชียก็เป็นฝ่ายรุกยุโรปมาก ก็มาคิดต่ออีกว่าถ้าอย่างนั้นที่เรายกย่อง ตะวันตกมากน่าจะมีปัญหาแล้ว ผมก็เริ่มเห็นอะไรต่ออะไรมากขึ้น ซึ่งก็ไม่ทราบว่าพวกเราจะเห็นด้วยกับ ผมมากน้อยเพียงใด ผมก็คิดว่าเราตีความประเทศไทย ตีความเอเชีย ตีความจีน ตีความโลก ตามแบบการตีความ ของคนในยุค enlightenment ของฝรั่งที่เห็นว่ามีอะไรที่เป็นสากล ฝรั่งเป็นคนคิดเรื่องสากล และสากลนี้ จะต้องครอบครองโลกในทางสติปัญญาด้วย เช่น เสรีประชาธิปไตย ในที่สุดแล้วโลกทั้งใบก็ต้องเป็นเสรี ประชาธิปไตย แล้วทุนนิยมหรือเศรษฐกิจระบบตลาดนั้น ในที่สุดโลกทั้งโลกก็ต้องเป็นอย่างนี้ ปัจเจก นิยมก็เช่นกัน คือคิดว่าในที่สุดโลกทั้งโลกก็จะเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่เป็นอย่างนี้มันเป็นปัญหา เพราะฉะนั้น ก็