SlideShare a Scribd company logo
1 of 18
Download to read offline
มหัศจรรย์
ป่าสาคู
หนังสืออ่านเพิ่มเติม
กันทิมา จารุมา
โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข
สำ�นักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
มหัศจรรย์ป่าสาคู
108
ป่าสาคูกับภาวะโลกร้อน
	 ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง
(Climate Change) คือการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น จากผลของภาวะเรือนกระจก
หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect จัดเป็นภัยคุกคามจากธรรมชาติซึ่ง
ครอบคลุมไปทั่วโลก แต่ละประเทศจะได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป
ก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนจะกักเก็บความร้อนบาง
ส่วนไว้ในโลกไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การทำ�
อุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นมาก จึงกักเก็บความร้อนไว้มาก
จนเกิดเป็นภาวะโลกร้อน
ดังนั้น สาคูพืชหลักทางภาคใต้ใช้ประโยชน์ตั้งแต่รากจนถึงปลายยอดและ
ช่วยอนุรักษ์ดิน น้ำ�สภาพแวดล้อมรวมทั้ง สร้างแป้งได้ปริมาณมากกว่าข้าวในพื้นที่ต่อไร่
ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงน่าจะเป็นทางเลือกอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าสนใจในการส่ง
เสริมปลูกเพื่อลดภาวะโลกร้อน
แสดงภาพโลกของเรา
ที่มา : อินเตอร์เน็ต
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
109
แสดงภาพ กองขยะเป็นที่มาของก๊าซมีเทน
แสดงภาพ ขยะในแม่น้ำ� ประเทศอินโดนีเซีย
แสดงภาพ กองขยะที่ประเทศเซเนกัล
ที่มา http://blog.eduzones.com/bluesky/24966
ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจาก
นั้นมนุษย์ยังได้เพิ่มก๊าซ กลุ่มไนตรัส-ออกไซด์ (N2
O) และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCS
)
เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดไม้ และทำ�ลายป่า จำ�นวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่ง
อำ�นวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ทำ�ให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก
ไปจากระบบบรรยากาศ ถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำ�
ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อนนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ
ปริมาณฝน ระดับน้ำ�ทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
มหัศจรรย์ป่าสาคู
110 110
“ปรากฏการณ์เรือนกระจก” (Greenhouse Effect) คือปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น
เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย
โมเลกุลของไอน้ำ� คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2
) มีเทน (CH4
) และ CFCs ไนตรัสออกไซด์
(N2
O) ในบรรยากาศทำ�ให้โมเลกุลเหล่านี้ มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและ
กันทำ�ให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น
	 การถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไปในบรรยากาศ
ทำ�ให้โมเลกุลเกิดการสั่น การเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำ�ให้เรา
รู้สึกร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2
)เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศ
โลกไว้มากที่สุดและมีผลทำ�ให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจก
ชนิดอื่นๆ
(ภาพบน) ภาพถ่ายปริมาณน้ำ�แข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 1979
(ภาพล่าง) ภาพถ่ายปริมาณน้ำ�แข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 2003
ที่มา : http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warmingboard&No=4199
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
111111
CO2
ส่วนมากเกิดจากการกระทำ�ของมนุษย์ เช่น
	 - การเผาไหม้เชื้อเพลิง
	 - การผลิตซีเมนต์
	 - การเผาไม้ทำ�ลายป่า
ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก
	 •       คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2
) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ
	 •       มีเทน (CH4
) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ เช่น ขยะ
	 มูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ
	 •       CFCs เป็นสารประกอบสำ�หรับทำ�ความเย็น พบในเครื่องทำ�ความเย็น
	 ต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย
	 •       Nitrous Oxide (N2
O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน
	 และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำ�ลังเครื่องยนต์
	 ก๊าซเหล่านี้เช่น CFCs จะทำ�ปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลต และแตกตัวออก
เป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำ�ลาย
โมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือO3
บนชั้นบรรยากาศโอโซนทำ�ให้รังสีอัลตราไวโอเลต
และอินฟาเรดส่องผ่าน ลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้
ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยรังสีเหล่านี้เป็นพลังงานพวกมันจึงทำ�ให้โลกร้อนขึ้นได้แก่
	 •       ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน HFCS
)
	 • ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCs)
	 •       ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6
)
	 ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา  ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้
ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน
	 สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ได้สรุปแจ้งผลการทบทวนรายงานทาง
วิทยาศาสตร์ภูมิอากาศต่อรัฐสภาว่า “อุณหภูมิของโลกเมื่อปี 2549 ได้อุ่นขึ้นอย่างไม่เคย
ปรากฏมาก่อนในรอบระยะเวลาไม่ต่ำ�กว่า 400 ปีและอาจจะนานเป็นเวลาหลายพันปีก็ได้
อันเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวพื้นโลกในซีกโลกเหนือ
สูงขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส”
มหัศจรรย์ป่าสาคู
112 112
ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ�คู่มือ 80 วิธีหยุดโลกร้อน เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เนื่อง
ในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำ�ปี 2550 ไว้
ดังตัวอย่าง
·	 ลดการเผาป่าหญ้า ไม้ริมทุ่ง และต้นไม้ชายป่า เพื่อกำ�จัดวัชพืชและเปิดพื้นที่
ทำ�การเกษตรเพราะเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ
จำ�นวนมากนอกจากนั้นการตัดและเผาทำ�ลายป่ายังเป็นการทำ�ลายแหล่งกักเก็บ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำ�คัญ
·	 ปลูกพืชผักให้หลากหลายและปลูกตามฤดูกาลในท้องถิ่น เป็นการลดการปลูก
พืชผักนอกฤดูกาลที่ต้องใช้พลังงานเพื่อถนอมอาหาร และผ่านกระบวนการบรรจุ
เป็นอาหารกระป๋อง
·	 รวมกลุ่มสร้างตลาดผู้บริโภค-ผู้ผลิตโดยตรงในท้องถิ่น เพื่อลดกระบวนการขนส่ง
ผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่ต้องใช้พลังงานและน้ำ�มันในการคมนาคมขนส่งพืชผักผล
ไม้ไปยังตลาด
·	 ลดการใช้สารเคมีในการเกษตรนอกจากจะเป็นการลดปัญหาการปลดปล่อย
ไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลกแล้วในระยะยาวยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต
และทำ�ให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นโปรดปรึกษาและเรียนรู้จากกลุ่ม
เกษตรกรทางเลือกที่มีอยู่เป็นจำ�นวนมากในประเทศไทยและอื่นๆ อีกมากมาย
หลายประเด็น ฯลฯ
·	 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม จัดทำ�โปสเตอร์ ในประเด็น “ โลกร้อน....บรรเทาได้ด้วยมือเรา ” มา
ช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อปรับสมดุลธรรมชาติ ดังรายละเอียด ดังนี้
·	 ภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกธรรมชาติ เปรียบ
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
113113
เสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลก ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และ
ไนตรัสออกไซด์ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำ�ให้เกิดภาวะสมดุลทาง
อุณหภูมิ ทำ�ให้โลกอบอุ่นเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่ม
มากขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น การนำ�เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เกิดจากการ
ทับถมของซากพืชซากสัตว์มาใช้อย่างมหาศาล การลดลงของป่าไม้ การผลิตทาง
อุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของประชากรและปริมาณของเสียต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น
ทำ�ให้โลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้นโลกจึงปรับตัวจนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ ที่รุนแรงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น วัฏจักรของน้ำ� เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว
และทำ�ให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้
·	 โลกจะเย็นลงได้อย่างไร การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ต้องช่วยกันลดปริมาณก๊าซ
เรือนกระจกให้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะสมดุล ด้วยการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง
ฟอสซิลที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ลดการใช้พลังงาน
ไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และดำ�เนินชีวิตตามหลักพอเพียง
·	 สิ่งสำ�คัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือ การปลูก
ต้นไม้เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุด นอกจากนั้น
พื้นที่ป่าไม้ช่วยรักษาสมดุลวัฏจักรของน้ำ� และการปลูกต้นไม้ยังช่วยปรับสภาพ
แวดล้อมให้มีความร่มรื่นและสวยงาม เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดด้วย
·	 ต้นไม้ช่วยเรื่องลดโลกร้อนได้อย่างไร พื้นที่ ที่มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่น 1 ไร่ ดูด
ซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 กิโลกรัม/ชั่วโมงและคายก๊าซออกซิเจน
100 กิโลกรัม/ชั่วโมง
ดังนั้น การศึกษาขยายพันธุ์เพิ่มประชากรต้นสาคูและขยายพื้นที่ปลูกสาคู
เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนจัดเป็นประเด็นที่น่าสน ด้วยสาคูเก็บสะสมสารอาหาร
ประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ไว้ใน
รูปของแป้งในส่วนที่เป็นไส้ของลำ�ต้น ปริมาณแป้งสาคู 1 ต้นประมาณ 150 -
500 กิโลกรัม
ดัง สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
มหัศจรรย์ป่าสาคู
114
พลังงานแสง
6CO2
+ 12 H 2
O C 6
H 12
O6
+ 6H 2
O + 6O 2
คลอโรฟิลล์
แสดงภาพ พืชสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
(ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต)
จากสมการการสังเคราะห์ด้วยแสงต้นสาคู สามารถตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
CO2
จำ�นวน 6 โมเลกุล รวมกับน้ำ� 12 โมเลกุล จะได้น้ำ�ตาลกลูโคส (C6
H12
O6
) จำ�นวน
1 โมเลกุล
หากสาคู 1 ต้นสร้างแป้งได้ 100 - 500 กิโลกรัม นั่นย่อมหมายถึง ต้นสาคูจะต้องใช้
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตกลูโคสซึ่งเป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยว (Monosaccharide)
รวมตัวกันเป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงคู่(Disaccharide)และ กว่าที่น้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงคู่รวมตัว
เปลี่ยนแปลงไปเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ( Polysaccharide ) คือแป้งทั้งหมด
ย่อมแสดงว่า ต้นสาคูต้องตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำ�นวนหลายร้อยล้าน
โมเลกุลหรือหลายร้อยกิโลกรัมเช่นกัน
ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู
	 ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง ประกอบด้วยคณะกรรมการ
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
115
	 เมื่อต้นสาคูให้ผลผลิตแป้งมากกว่าข้าวและมันสำ�ปะหลังดังงานวิจัยที่
ค้นพบย่อมหมายถึงการเพิ่มประชากรต้นสาคูต่อพื้นที่เป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำ�นวนมหาศาล น่าจะนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่าการปลูกต้นสาคูช่วย
ลดภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆเป็นเรื่องที่ควรจะทดลองทำ�วิจัยอย่างเร่งด่วน
	 นอกจากสาคูจะเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนแล้วยังเป็นพืชช่วย
อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนรวมทั้งช่วยลดปริมาณก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งหมายถึงการลดภาวะโลกร้อนด้วย แสดงภาพ ระบบนิเวศป่าสาคู
สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน
	 แสดงภาพ ระบบนิเวศป่าสาคู สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน
มหัศจรรย์ป่าสาคู
116
จากหน่วยงานต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 	
		 - ประการแรก เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าของป่าสาคู
		 เพื่อที่จะเกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและจัดการอย่างยั่งยืน
		 - ประการที่สอง เพื่อจัดการป่าสาคูให้อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลาย
		 ทางชีวภาพเป็นแหล่งน้ำ�ธรรมชาติและเกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
		 - ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับป่าสาคู
		 - ประการที่สี่ ส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นในเรื่อง “สิ่งแวดล้อม”
		 ในโรงเรียน
		 - ประการที่ห้า เพื่อให้เกิดองค์กรที่เข้มแข็งมีความสามัคคี ความร่วมมือ
		 ระหว่างสมาชิก เพื่อปกป้องป่าสาคูและขยายแนวความคิด
ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง
	 ด้วยวัตถุประสงค์ของชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูดังกล่าวจากป่าสาคูที่เหลืออยู่น้อยมาก
เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตอันเกิดจากความไม่รู้ และไม่เข้าใจของประชาชน ประกอบกับ
การเน้นการส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อส่งออก เช่นยางพารา ปาล์มน้ำ�มัน
	 ดังนั้นคนไทยทุกคนควรทำ�ความรู้จักพืชสาคูเพื่อการฟื้นฟูให้เป็นพืชทางเลือก
สำ�หรับการบริโภคและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนก่อน
ที่จะสายเกินไป และจากการร่วมมือช่วยกันพัฒนาชุมชนของชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอ
นาโยงทำ�ให้ชนะการประกวดผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 9 ประจำ�ปี 2550 ประเภท
ชุมชน
ดังตัวอย่าง
ประเภทชุมชน (ชุมชน ชุมชนเมือง เครือข่ายชุมชน)
ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
117
ฟื้นคืนสายธาร ผูกโยงสายใยชีวิต
โดย สุภาภรณ์ วรพรพรรณ คณะทำ�งานส่วนกลาง
	 “สาคู”ไม้พื้นถิ่นของพื้นที่ชุ่มน้ำ�ภาคใต้และมีบทบาทในวัฒนธรรมของผู้คนมานาน
เป็นพืชซับน้ำ� รากสาคูที่โค้งเหนือผืนดินก่อให้เกิดทางน้ำ�สายเล็กสายน้อย กลายเป็นแอ่ง
ให้สัตว์น้ำ�ขนาดเล็กได้อุบซ่อนตัว ช่วยชะลอแรงน้ำ�ไม่ให้ไหลเร็วลงสู่ทะเล ทำ�ให้ผู้คนมีน้ำ�
ใช้ตลอดปี แต่เมื่อมีการส่งเสริมเกษตรกรรมแผนใหม่ มีการพัฒนาแหล่งน้ำ� การขุดลอก
คลองและการจัดระบบชลประทาน ก็มีการทำ�ลายป่าสาคู โดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำ�
ปะเหลียน ทำ�ให้เกิดความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน 9 ชุมชนในนามของ “ชมรมอนุรักษ์ป่า
สาคูอำ�เภอนาโยง”
	 หมู่บ้านหลายแห่งในอำ�เภอนาโยงมีชื่อนำ�หน้าว่า “นา” ก็เพราะว่า ในอำ�เภอนาโยง
จังหวัดตรัง มีพื้นที่นาเป็นส่วนมาก และ เป็นนาที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดตรัง
พื้นที่ลุ่มน้ำ�แห่งนี้มีลำ�คลองหลายสายที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัดเช่น คลองนางน้อย คลอง
ลำ�ลุง คลองลำ�ชาน เป็นต้น
	 ในความหลากหลายของพรรณพืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ�“สาคู”Sagopalm (Metroxylon
sagus Rottb) ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นในภาคใต้ มีบทบาทสำ�คัญ ในฐานะพืชหลักของพื้นที่ชุ่ม
น้ำ� สาคูขึ้นกระจัดกระจายตามชายฝั่ง คลอง หนอง พรุ มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ
สาคูใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านอาหาร รายได้ ยารักษาโรค และมีบทบาทในวัฒนธรรม มีการใช้
สาคูในพิธีกรรม ในสถาปัตยกรรมท้องถิ่น บ้านสมัยก่อนใช้สาคูมุงหลังคา และใช้เป็นส่วน
ประกอบย่อยอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น สาคูช่วยรักษาระบบนิเวศ
ด้วยความที่เป็นพืชซับน้ำ� และช่วยอนุรักษ์ดิน
	 รากสาคูปูดขึ้นมาเหนือดิน กลายเป็นกำ�แพงที่ทำ�ให้เกิดธารน้ำ�เล็กๆ ชาวบ้าน
ได้เคยอาศัยธารน้ำ�ที่แยกสาขาเหล่านี้ในการทำ�นาสาคูที่ขึ้นขนานฝั่งคลองทั้งสองฟาก
ช่วยบังแดดบังลม ทำ�ให้น้ำ�ระเหยช้า ลักษณะรากสาคูที่มีความแน่น แตกหน่อ แตกกอ
มหัศจรรย์ป่าสาคู
118
ได้ตลอด ช่วยกั้นทางน้ำ�ไม่ให้ไหลลงทะเลเร็วเกินไป ในภาคใต้ที่มีพื้นที่แคบลำ�น้ำ�มักจะ
มีขนาดสั้น พื้นที่มีความลาดชันสูง ทำ�ให้น้ำ�จากภูเขาไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว สาคูจึง
เป็นเสมือนฝายหรือเขื่อนธรรมชาติช่วยเก็บน้ำ� สมัยก่อนชาวบ้านสร้างระบบชลประทาน
พื้นบ้านเป็นทำ�นบดิน เหมือนดิน หรือคลองไส้ไก่ เพื่อผันน้ำ�จากลำ�คลองขึ้นไปใช้ในการ
ทำ�นา ระบบที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้สัมพันธ์กับลักษณะคลองและป่าสาคูที่ขึ้นทั่วไปใน
คลอง การมีต้นสาคูยังเป็นตัวซับน้ำ� จนคนใต้มีคำ�กล่าวว่า “ที่ไหนมีป่าสาคูที่นั่นไม่ขาดน้ำ�”
ป่าสาคูยังเป็นที่ซ่อนตัวของสัตว์น้ำ�หลากหลายพันธุ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก
“ตัวการ”ทำ�ลายป่าสาคู
	 นโยบายที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมเกษตรกรรมแผนใหม่ที่มี
การพัฒนาแหล่งน้ำ�ด้วยวิธีขุดลอกคลองการจัดระบบชลประทาน โดยใช้แผนงานที่เหมือน
กันหมดทั้งประเทศ โดยไม่ได้ให้ความสำ�คัญต่อบริบทของระบบนิเวศพื้นถิ่นเป็นสาเหตุของ
การตัดป่าสาคูหายไปถึงร้อยละ70 (อาจารย์สมนึก โออินทร์-ประธานชมรมอนุรักษ์ป่า
สาคูอำ�เภอนาโยง) คลองธรรมชาติหลายแห่ง กลายเป็นคลองระบายน้ำ� เมื่อถึงหน้าแล้ง
ฤดูแล้งน้ำ�แห้งขอด นายเอิบ จันทร์ฝาก อดีตกำ�นันตำ�บลโคกสะบ้า เปรียบเทียบจนเห็น
ภาพว่า “หน้าแล้ง เอาเสื่อปูบนท้องคลอง นอนได้สบาย” ส่วนน้ำ�ในนา ที่เคยมีเมื่อฝนตก
ชุกในเดือนแปดก็กลับไปไหลลงคลองที่ขุดใหม่ แล้วไหลลงแม่น้ำ�ตรังกับแม่น้ำ�ปะเหลียน
อย่างรวดเร็ว นาส่วนใหญ่จึงต้องเริ่มช้า คือไปเริ่มในช่วงเดือนสิบ บางปีก็ช้ากว่านั้น หรือ
ช้าเกินไปสภาพปัญหาเช่นนี้ทำ�ให้นาหรือแหล่งน้ำ�บางแห่งกลายเป็นดอนน้ำ�แห้งชาวบ้าน
จึงเปลี่ยนมาทำ�สวนยางพารา หรือปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น อย่างบ้านทุ่งแก่เจ้ย ตำ�บลนาข้าว
เสีย และบ้านไสขัน ตำ�บลโคกสะบ้า อำ�เภอนาโยง เคยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ�ประมาณ 1,300 ไร่ ก็
เปลี่ยนมาเป็นสวนยางพารา สวนปาล์ม และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ จำ�นวน 605 ไร่ และมีแนว
โน้มจะสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ�อย่างถาวรเพิ่มขึ้นทุกปี
ฟื้นฟูป่าสาคู...ฟื้นฟูชีวิต
ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ชาวบ้านบางกลุ่มที่ประสบปัญหา การทำ�ลาย
ป่าสาคูเริ่มพูดคุยกัน ในการดำ�รงชีวิตและมีประสบการณ์เคยใช้ประโยชน์จากป่าสาคู
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
119
มาก่อนเริ่มคิดถึงคลองแบบเดิม คิดถึงป่าสาคู โดยคิดว่าหากป่าสาคูยังอยู่ พวกเขาคง
ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มวิตก เพราะต้องรับผิดชอบ
เรื่องการหาอาหาร จึงมีการตั้งกลุ่มข้าวซ้อมมือ และเมื่อมาทำ�กิจกรรมด้วยกัน ก็มีการพูด
ถึงป่าสาคูมากขึ้น และร่วมกันคิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของสาคู
นำ�ไปสู่ความเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูป่าสาคู โดยสมาคมหยาดฝน เข้ามาทำ�งานเชื่อม
ประสานผู้คนกลุ่มต่างๆ โดยร่วมทำ�งานกับกลุ่มผู้หญิง ชักชวนผู้หญิงจากหมู่บ้านอื่นเข้า
มาร่วมกลุ่มมากขึ้น จนสามารถจัดตั้งกลุ่มผู้หญิงขึ้นเป็นทางการในชื่อ “กลุ่มผู้หญิงป่า
สาคูร่วมใจ” มีกิจกรรมการแปรรูปอาหารและขนมจากแป้งสาคูสามารถขยายเครือข่าย
ไปสู่ผู้ชาย ทำ�ให้เกิด “ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง” ในเดือนมิถุนายน 2543 นับเป็น
องค์กรหลักของภาคประชาชนที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการอนุรักษ์
และฟื้นฟูป่าสาคูอย่างเป็นรูปธรรมกลุ่มคนที่เข้าร่วมชมรมฯ ประกอบด้วยกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน
สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำ�บล ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทุกแห่งในเขตพื้นที่ อดีตครู อดีต
กำ�นัน ผู้อาวุโสที่รู้เรื่องป่าสาคู และชาวบ้านทั่วไปที่ให้ความสนใจ รวมแล้วเป็นพื้นที่การ
ดำ�เนินงานของชาวบ้านจาก 9 หมู่บ้าน ในตำ�บลนาข้าวเสีย และตำ�บลโคกสะบ้า ด้วยการ
เชื่อมประสานของสมาคมหยาดฝน
	 ต่อมา ชมรมฯ ได้เชื่อมโยงกับกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวด้านทรัพยากรในจังหวัด
ตรังที่มีบทบาท เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ� กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน เครือข่ายการจัดการ
ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเครือข่ายลุ่มน้ำ�ปะเหลียนซึ่งทำ�ให้เกิดการฟื้นฟูป่าสาคูในระดับ
วงกว้าง และส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ป่าสาคูขึ้นอย่างแพร่หลายในพื้นที่ ชมรมอนุรักษ์
ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง ได้เริ่มทำ�การศึกษาระบบนิเวศป่าสาคูและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ
จัดการป่าสาคู การใช้ประโยชน์จากป่าสาคูในอดีต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิด
การเรียนรู้ สร้างความตระหนักถึงคุณค่าป่าสาคู เพื่อเกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการ
อย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความมั่นคงทางด้านอาชีพ การ
ศึกษา และเกิดองค์กรที่เข้มแข็ง เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิก และขยายแนวความคิด
ดังกล่าวสู่สังคมภายนอก
ผังแสดงแนวทางการจัดการเพื่อฟื้นฟูป่าสาคู
“4 ร่วม” สู่ความยั่งยืน
มหัศจรรย์ป่าสาคู
120
ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง ใช้หลักการทำ�งานที่เรียกว่า “4 ร่วม” ได้แก่
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
121
ร่วมคิด : การรวมกลุ่มของแกนนำ�ชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำ�จืดป่าสาคู ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับระบบ
นิเวศของป่าสาคู และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น จนเกิดแผนงานในการ
จัดการและการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร
ร่วมทำ� : จัดทำ�โครงการอนุรักษ์ป่าสาคูปลูกเสริมฟื้นฟูในคลองลำ�ชานช่วงไหลผ่านตำ�บล
นาข้าวเสียและตำ�บลโคกสะบ้า อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง เกิดกิจกรรมแต่งสางทางน้ำ�
มีการปล่อยปลา และสัตว์น้ำ�จืดแหล่งอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ� และมีการร่วมกันสำ�รวจ
ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของคลองลำ�ชานอีกด้วย
ร่วมรับประโยชน์ : ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าสาคูให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลาย
ทางชีวภาพ และได้เอื้อประโยชน์ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าสาคู และบริเวณใกล้เคียง
ร่วมติดตามและประเมินผล : จัดการประชุมแกนนำ�ชุมชนเพื่อพูดคุยถึงแนวทางและ
งานเครือข่ายด้านการจัดการเช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการและการใช้
ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน ประชุมเครือข่ายผู้หญิงเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
อย่างยั่งยืน จังหวัดตรัง วิธีทำ�งานของชมรมฯ ใช้คนท้องถิ่น มีการรวมกลุ่มพูดคุยทั้ง
เป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยตามพื้นที่และสนับสนุนแต่ละกลุ่มย่อยให้มีการพูดคุยและนำ�
เสนอกิจกรรมของตนประสานงานขอทุนจากภายนอกทั้งหน่วยราชการและภาคเอกชน
พยายามดึงองค์การบริหารส่วนตำ�บลให้มีส่วนร่วมเรียนรู้ เพื่อนำ�ไปกำ�หนดเป็นนโยบาย
การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าสาคู สำ�หรับพันธมิตรจากภายนอกชมรมฯ ให้ความสำ�คัญ 4 ด้าน
ด้านแรกคือการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมแก่ชาวบ้านทั้งในรูปการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
การจัดเวทีเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านเพิ่มเติม ด้านที่สองการนำ�ความรู้เกี่ยวกับป่าสาคูที่
เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน การเผยแพร่เรื่องป่าสาคูแก่สาธารณะทั้งในรูปงานวิจัย
รายงานทางวิชาการ ข่าวและบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น
ด้านที่สามคือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นความสำ�คัญของนิเวศป่าสาคูเช่น การเรียน
การสอนในชั้นเรียน การประชุมสัมมนา การกำ�หนดนโยบายสนับสนุนของหน่วยงานและ
องค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ด้านที่สี่คือการสนับสนุนงบประมาณให้แก่เครือข่ายของชาวบ้าน
มหัศจรรย์ป่าสาคู
122
	 ในการทำ�กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าสาคูสานสร้างเครือข่ายการทำ�งาน
ลำ�พังย่อมไม่อาจขยายผลชมรมฯตระหนักความจริงข้อนี้จึงเข้าร่วมเป็นเครือข่าย
“กัลยาณมิตรเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ในลุ่มแม่น้ำ�ตรัง และลุ่มแม่น้ำ�ปะเหลียน
มีเป้าหมายเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนจากภูเขาถึงทะเลเป็นการประสานความ
ร่วมมือในแต่ละระบบนิเวศเชื่อมโยงทั้งลุ่มน้ำ� เครือข่ายนี้ประกอบด้วย ชมรมอนุรักษ์
ทรัพยากรป่าต้นน้ำ� ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง เครือข่ายป่าชายเลนชุมชน และ
การจัดการทรัพยากรทางทะเล นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและหน่วยงานต่างๆ มาร่วมเป็น
เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการฟื้นระบบนิเวศป่าสาคู ชมรมฯ ยังรุกเข้าในกลุ่มเยาวชน โดย
ขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนทุกแห่งในพื้นที่ในเบื้องต้นมีเป้าหมายให้มีการเรียนการสอน
เรื่องป่าสาคูในมิติต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักความสำ�คัญของพืชสาคู และนำ�สารไปบอกต่อ
ในครอบครัว วิธีการของชมรมฯ คือ ขอพูดคุยกับผู้บริหาร ครู และนักเรียน กลุ่มผู้หญิง
จะเข้าไปทำ�ขนมเลี้ยงเด็กนักเรียน เมื่อโรงเรียนให้ความสนใจ ก็จะพานักเรียนไปศึกษาใน
พื้นที่ป่าสาคู ชาวบ้านก็ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร หลายโรงเรียนได้จัดทำ�โครงการพิเศษเพื่อ
รณรงค์ป่าสาคู อาทิ การจัดทำ�โครงการชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม
กิจกรรมแต่งสางกลางคลอง การปลูกป่าสาคู การเก็บขยะในคลองป่าสาคู การเดินรณรงค์
ไม่ทิ้งขยะในแม่น้ำ�ลำ�คลอง การเดินสำ�รวจหาต้นน้ำ� การจัดทำ�โครงการเยาวชนนักสืบ
สายน้ำ�การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างบูรณาการเป็นเป้าหมายต่อไป รณรงค์ให้มีการ
สอนเรื่องป่าสาคูทุกเนื้อหาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปศึกษา
ดนตรี การจัดทำ�หลักสูตรท้องถิ่นนำ�มาสู่การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนกับท้องถิ่น
อย่างกว้างขวาง อาทิ
ชาวบ้านมาเป็นครูสอนในโรงเรียน นักเรียนลงไปเรียนกับชาวบ้าน เกิดภาพการ
ทำ�งานร่วมกันระหว่างรัฐ ราษฎร์ วิชาการ การฟื้นป่าสาคู ไม่ได้เป็นเพียงการฟื้นฟูระบบ
นิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ�ของเมืองตรังเท่านั้นแต่ยังเป็นการผูกโยงสายใยชีวิตของผู้คน บนสายธาร
ที่พันธุ์ไม้ท้องถิ่นนี้ได้ก่อกำ�เนิดอีกด้วยสาคู.....พืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ�
กิจกรรม
·	 ศึกษาระบบนิเวศป่าสาคู และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูและและใช้
L a b S c h o o l P r o j e c t
มหัศจรรย์ป่าสาคู
123
ประโยชน์ป่าสาคูในอดีต
·	 ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำ�
โดยเป็นเครือข่าย “กัลยาณมิตรเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ในลุ่มแม่น้ำ�
ตรัง และลุ่มแม่น้ำ�ปะเหลียน
·	 ร่วมเรียนรู้ระบบนิเวศป่าสาคูและความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ� เพื่อก่อให้เกิดองค์กร
ชุมชนที่เข้มแข็ง ในการจัดการน้ำ�และใช้ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน จนได้เกิด
การก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู และกลุ่มอาชีพของสตรีในชุมชนต่างๆ
·	 ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการป่าสาคูอย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ
การแต่งสางทางน้ำ� คลองลำ�ชาน กิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น
เพื่อใช้ประโยชน์จากสาคูอย่างเหมาะสม
·	 เริ่มสร้างเครือข่ายอนุรักษ์สาคูและน้ำ� เป็นงานสร้างเครือข่ายการจัดการและการใช้
ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืนในระดับจังหวัด ด้วยความร่วมมือของนักวิชาการ
หน่วยงานราชการ และองค์กรพัฒนาเอกชน
·	 โรงเรียนในพื้นที่ร่วมเป็นเครือข่ายจำ�นวน 40 แห่ง มีการจัดทำ�หลักสูตรท้องถิ่น
อย่างบูรณาการเกี่ยวกับพืชสาคู
ผลการดำ�เนินการ
มหัศจรรย์ป่าสาคู
124
·	 พื้นที่ 2 ตำ�บล ได้แก่ ตำ�บลโคกสะบ้า และตำ�บลนาข้าวเสีย อำ�เภอนาโยง กลาย
เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ป่าสาคูและขยายผลแนวคิดไปสู่จังหวัดใกล้เคียง ซึ่ง
เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน หน่วยงานรัฐเห็นคุณค่าและนำ�ไปจัดทำ�แผน
พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำ�บลถือเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชุมชนให้มี
ความรับผิดชอบร่วมกัน และนำ�ไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง
         จากการที่ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้ขยายผลงานและ
เครือข่ายกัลยาณมิตรจนเป็นที่รู้จักจึงมีสื่อมวลชนหลากหลายเข้ามาศึกษาเรียนรู้และช่วย
ประชาสัมพันธ์เรื่องป่าสาคูให้เป็นที่รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในท้องถิ่นเฉพาะภาคใต้เท่านั้น ซึ่งน่าจะถือเป็นโอกาสดีที่ทำ�ให้
ทุกคนมองเห็นคุณค่า รู้จักพืชประจำ�ถิ่นภาคใต้ของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ด้วยการศึกษา
และวิจัยในเรื่องสาคูยังมีค่อนข้างน้อยดังคำ�เสนอแนะของ ธนิตย์ ยิ้มหนู

More Related Content

Similar to 16ป่าสาคูกับภาวะโลกร้อน

การลดภาวะโลกร้อน
การลดภาวะโลกร้อนการลดภาวะโลกร้อน
การลดภาวะโลกร้อนjzuzu2536
 
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
Save wolrdsaveenergy   com58projectf1Save wolrdsaveenergy   com58projectf1
Save wolrdsaveenergy com58projectf1parwaritfast
 
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
Save wolrdsaveenergy   com58projectf1Save wolrdsaveenergy   com58projectf1
Save wolrdsaveenergy com58projectf1parwaritfast
 
เค้าโครงร่างโครงงาน
เค้าโครงร่างโครงงานเค้าโครงร่างโครงงาน
เค้าโครงร่างโครงงานJah Jadeite
 
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานกลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานfreelance
 
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000nalinee2535
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลพัน พัน
 
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2sudsanguan
 
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกdnavaroj
 
Green industry the pathway through sustainability
Green industry the pathway through sustainabilityGreen industry the pathway through sustainability
Green industry the pathway through sustainabilityJesika Lee
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำsedwong Pam
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำsedwong Pam
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำsedwong Pam
 

Similar to 16ป่าสาคูกับภาวะโลกร้อน (20)

การลดภาวะโลกร้อน
การลดภาวะโลกร้อนการลดภาวะโลกร้อน
การลดภาวะโลกร้อน
 
ONEP-Low Carbon and Sustainable Business
ONEP-Low Carbon and Sustainable BusinessONEP-Low Carbon and Sustainable Business
ONEP-Low Carbon and Sustainable Business
 
ภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อนภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน
 
บทที่ 1 (1)
บทที่ 1 (1)บทที่ 1 (1)
บทที่ 1 (1)
 
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
Save wolrdsaveenergy   com58projectf1Save wolrdsaveenergy   com58projectf1
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
 
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
Save wolrdsaveenergy   com58projectf1Save wolrdsaveenergy   com58projectf1
Save wolrdsaveenergy com58projectf1
 
Com project1
Com project1Com project1
Com project1
 
Com project1
Com project1Com project1
Com project1
 
แผ่นพับแจก
แผ่นพับแจกแผ่นพับแจก
แผ่นพับแจก
 
ภาวะเรือนกระจก
ภาวะเรือนกระจกภาวะเรือนกระจก
ภาวะเรือนกระจก
 
เค้าโครงร่างโครงงาน
เค้าโครงร่างโครงงานเค้าโครงร่างโครงงาน
เค้าโครงร่างโครงงาน
 
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงานกลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน
กลุ่มเมื่อกี้ --การจัดการขยะเพื่อผลิตพลังงาน
 
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000
งานนำเสนอ10000000000000000000000000000000000000000000000000000000
 
โครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิลโครงงานกระถางรีไซเคิล
โครงงานกระถางรีไซเคิล
 
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2
พาวเวอร์พ้อยท์ภาวะโลกร้อน2
 
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลกการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของโลก
 
Green industry the pathway through sustainability
Green industry the pathway through sustainabilityGreen industry the pathway through sustainability
Green industry the pathway through sustainability
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
 
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำPowerpoint ทรัพยากรน้ำ
Powerpoint ทรัพยากรน้ำ
 

More from ครู กัน

19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรมครู กัน
 
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวานครู กัน
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคูครู กัน
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคูครู กัน
 
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียงครู กัน
 
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่นครู กัน
 
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจครู กัน
 
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคตครู กัน
 
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคูครู กัน
 
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคูครู กัน
 
9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคูครู กัน
 
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมครู กัน
 
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคูครู กัน
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคูครู กัน
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคูครู กัน
 
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมครู กัน
 
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคูครู กัน
 

More from ครู กัน (19)

19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม19บรรณานุกรม
19บรรณานุกรม
 
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
18xป่าสาคู ตู้กับข้าวและเครื่องทำความเย็นในดินแดนด้ามขวาน
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
 
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
17เกือบสิ้นท่าหากเสียป่าสาคู
 
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
15ป่าสาคูกับเศรษฐกิจพอเพียง
 
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
14ป่าสาคูแหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น
 
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ
13มูลค่าต้นสาคูเชิงเศรษฐกิจ
 
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต
12แป้งสาคูสู่แป้งฝุ่นในอนาคต
 
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู
11ขนมและเครื่องจักสานจากสาคู
 
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู
10ส่วนประกอบทางเคมีของแป้งสาคู
 
9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู9การผลิตแป้งสาคู
9การผลิตแป้งสาคู
 
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
 
7ด้วง
7ด้วง7ด้วง
7ด้วง
 
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
 
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
5ความหลากหลายทางชีวภาพพื้นที่ป่าสาคู
 
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
8ความสำคัญต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม
 
7ด้วง
7ด้วง7ด้วง
7ด้วง
 
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
6ประโยชน์และคุณค่าขอป่างสาคู
 

16ป่าสาคูกับภาวะโลกร้อน

  • 2. มหัศจรรย์ป่าสาคู 108 ป่าสาคูกับภาวะโลกร้อน ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) คือการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้น จากผลของภาวะเรือนกระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Greenhouse Effect จัดเป็นภัยคุกคามจากธรรมชาติซึ่ง ครอบคลุมไปทั่วโลก แต่ละประเทศจะได้รับผลกระทบมากบ้างน้อยบ้างแตกต่างกันไป ก๊าซเรือนกระจก เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนจะกักเก็บความร้อนบาง ส่วนไว้ในโลกไม่ให้สะท้อนกลับสู่บรรยากาศทั้งหมด การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การทำ� อุตสาหกรรมส่งผลให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้นมาก จึงกักเก็บความร้อนไว้มาก จนเกิดเป็นภาวะโลกร้อน ดังนั้น สาคูพืชหลักทางภาคใต้ใช้ประโยชน์ตั้งแต่รากจนถึงปลายยอดและ ช่วยอนุรักษ์ดิน น้ำ�สภาพแวดล้อมรวมทั้ง สร้างแป้งได้ปริมาณมากกว่าข้าวในพื้นที่ต่อไร่ ด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง จึงน่าจะเป็นทางเลือกอีกประเด็นหนึ่ง ที่น่าสนใจในการส่ง เสริมปลูกเพื่อลดภาวะโลกร้อน แสดงภาพโลกของเรา ที่มา : อินเตอร์เน็ต
  • 3. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 109 แสดงภาพ กองขยะเป็นที่มาของก๊าซมีเทน แสดงภาพ ขยะในแม่น้ำ� ประเทศอินโดนีเซีย แสดงภาพ กองขยะที่ประเทศเซเนกัล ที่มา http://blog.eduzones.com/bluesky/24966 ภาวะโลกร้อน ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ, การขนส่ง และการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจาก นั้นมนุษย์ยังได้เพิ่มก๊าซ กลุ่มไนตรัส-ออกไซด์ (N2 O) และคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFCS ) เข้าไปอีกด้วยพร้อมๆ กับการที่เราตัดไม้ และทำ�ลายป่า จำ�นวนมหาศาลเพื่อสร้างสิ่ง อำ�นวยความสะดวกให้แก่มนุษย์ทำ�ให้กลไกในการดึงเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออก ไปจากระบบบรรยากาศ ถูกลดทอนประสิทธิภาพลง และในที่สุดสิ่งต่างๆ ที่เราได้กระทำ� ต่อโลกได้หวนกลับมาสู่เราในลักษณะของภาวะโลกร้อนนำ�ไปสู่การเปลี่ยนแปลงของ ปริมาณฝน ระดับน้ำ�ทะเล และมีผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อพืช สัตว์ และมนุษย์
  • 4. มหัศจรรย์ป่าสาคู 110 110 “ปรากฏการณ์เรือนกระจก” (Greenhouse Effect) คือปรากฏการณ์ที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากพลังงานแสงอาทิตย์ ในช่วงความยาวคลื่นอินฟราเรดที่สะท้อนกลับถูกดูดกลืนโดย โมเลกุลของไอน้ำ� คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) มีเทน (CH4 ) และ CFCs ไนตรัสออกไซด์ (N2 O) ในบรรยากาศทำ�ให้โมเลกุลเหล่านี้ มีพลังงานสูงขึ้นมีการถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและ กันทำ�ให้อุณหภูมิในชั้นบรรยากาศสูงขึ้น การถ่ายเทพลังงานและความยาวคลื่นของโมเลกุลเหล่านี้ต่อๆกันไปในบรรยากาศ ทำ�ให้โมเลกุลเกิดการสั่น การเคลื่อนไหวตลอดเวลา และมาชนถูกผิวหนังของเรา ทำ�ให้เรา รู้สึกร้อน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2 )เป็นก๊าซที่สะสมพลังงานความร้อนในบรรยากาศ โลกไว้มากที่สุดและมีผลทำ�ให้ อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากที่สุดในบรรดาก๊าซเรือนกระจก ชนิดอื่นๆ (ภาพบน) ภาพถ่ายปริมาณน้ำ�แข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 1979 (ภาพล่าง) ภาพถ่ายปริมาณน้ำ�แข็งบริเวณอาร์กติกเซอร์เคิล โดยดาวเทียมเทอราเมื่อปี ค.ศ. 2003 ที่มา : http://www.artsmen.net/content/show.php?Category=warmingboard&No=4199
  • 5. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 111111 CO2 ส่วนมากเกิดจากการกระทำ�ของมนุษย์ เช่น - การเผาไหม้เชื้อเพลิง - การผลิตซีเมนต์ - การเผาไม้ทำ�ลายป่า ก๊าซที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์เรือนกระจก •       คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 ) เกิดจากการเผาไหม้ต่าง ๆ •       มีเทน (CH4 ) ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของอินทรียวัตถุ เช่น ขยะ มูลฝอยที่ย่อยสลายได้ ของเสีย อุจจาระ •       CFCs เป็นสารประกอบสำ�หรับทำ�ความเย็น พบในเครื่องทำ�ความเย็น ต่างๆ เป็นสิ่งที่อยู่ร่วมกับฟรีออน และยังพบได้ในสเปรย์ต่าง ๆ อีกด้วย •       Nitrous Oxide (N2 O) เป็นก๊าซมีพิษที่เกิดจากเครื่องยนต์ การเผาถ่านหิน และใช้ประกอบในรถยนต์เพื่อเพิ่มกำ�ลังเครื่องยนต์ ก๊าซเหล่านี้เช่น CFCs จะทำ�ปฏิกิริยากับรังสีอัลตราไวโอเลต และแตกตัวออก เป็นโมเลกุลคลอลีนและโมเลกุลต่างๆอีกหลายชนิด ซึ่งโมเลกุลเหล่านี้จะเป็นตัวทำ�ลาย โมเลกุลของออกซิเจนชนิดพิเศษหรือO3 บนชั้นบรรยากาศโอโซนทำ�ให้รังสีอัลตราไวโอเลต และอินฟาเรดส่องผ่าน ลงมายังพื้นโลกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก๊าซเหล่านี้ก็กันรังสีไม่ให้ ออกไปจากบรรยากาศโลก ด้วยรังสีเหล่านี้เป็นพลังงานพวกมันจึงทำ�ให้โลกร้อนขึ้นได้แก่ •       ก๊าซไฮโดรฟลูโรคาร์บอน HFCS ) • ก๊าซเปอร์ฟลูโรคาร์บอน (CFCs) •       ก๊าซซัลเฟอร์เฮกซ่าฟลูโอโรด์ (SF6 ) ก๊าซเหล่านี้สมควรที่จะต้องลดการปล่อยออกมา  ซึ่งผู้ที่จะลดการปล่อยก๊าซเหล่านี้ ได้ก็คือ มนุษย์ทุกคน สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งชาติของสหรัฐฯ ได้สรุปแจ้งผลการทบทวนรายงานทาง วิทยาศาสตร์ภูมิอากาศต่อรัฐสภาว่า “อุณหภูมิของโลกเมื่อปี 2549 ได้อุ่นขึ้นอย่างไม่เคย ปรากฏมาก่อนในรอบระยะเวลาไม่ต่ำ�กว่า 400 ปีและอาจจะนานเป็นเวลาหลายพันปีก็ได้ อันเป็นผลมาจากฝีมือของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่อุณหภูมิเฉลี่ยที่ผิวพื้นโลกในซีกโลกเหนือ สูงขึ้นอีกประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส”
  • 6. มหัศจรรย์ป่าสาคู 112 112 ดังนั้น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จึงได้จัดทำ�คู่มือ 80 วิธีหยุดโลกร้อน เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนทั่วไป เนื่อง ในวันสิ่งแวดล้อมโลก ประจำ�ปี 2550 ไว้ ดังตัวอย่าง · ลดการเผาป่าหญ้า ไม้ริมทุ่ง และต้นไม้ชายป่า เพื่อกำ�จัดวัชพืชและเปิดพื้นที่ ทำ�การเกษตรเพราะเป็นการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ จำ�นวนมากนอกจากนั้นการตัดและเผาทำ�ลายป่ายังเป็นการทำ�ลายแหล่งกักเก็บ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สำ�คัญ · ปลูกพืชผักให้หลากหลายและปลูกตามฤดูกาลในท้องถิ่น เป็นการลดการปลูก พืชผักนอกฤดูกาลที่ต้องใช้พลังงานเพื่อถนอมอาหาร และผ่านกระบวนการบรรจุ เป็นอาหารกระป๋อง · รวมกลุ่มสร้างตลาดผู้บริโภค-ผู้ผลิตโดยตรงในท้องถิ่น เพื่อลดกระบวนการขนส่ง ผ่านพ่อค้าคนกลาง ที่ต้องใช้พลังงานและน้ำ�มันในการคมนาคมขนส่งพืชผักผล ไม้ไปยังตลาด · ลดการใช้สารเคมีในการเกษตรนอกจากจะเป็นการลดปัญหาการปลดปล่อย ไนตรัสออกไซด์สู่บรรยากาศโลกแล้วในระยะยาวยังเป็นการลดต้นทุนการผลิต และทำ�ให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นโปรดปรึกษาและเรียนรู้จากกลุ่ม เกษตรกรทางเลือกที่มีอยู่เป็นจำ�นวนมากในประเทศไทยและอื่นๆ อีกมากมาย หลายประเด็น ฯลฯ · หรือ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม จัดทำ�โปสเตอร์ ในประเด็น “ โลกร้อน....บรรเทาได้ด้วยมือเรา ” มา ช่วยกันเพิ่มพื้นที่สีเขียว เพื่อปรับสมดุลธรรมชาติ ดังรายละเอียด ดังนี้ · ภาวะโลกร้อน ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกธรรมชาติ เปรียบ
  • 7. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 113113 เสมือนกระจกที่ปกคลุมผิวโลก ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน และ ไนตรัสออกไซด์ช่วยดูดกลืนความร้อนจากดวงอาทิตย์ทำ�ให้เกิดภาวะสมดุลทาง อุณหภูมิ ทำ�ให้โลกอบอุ่นเหมาะสมต่อสิ่งมีชีวิต ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เพิ่ม มากขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ เช่น การนำ�เชื้อเพลิงฟอสซิลที่เกิดจากการ ทับถมของซากพืชซากสัตว์มาใช้อย่างมหาศาล การลดลงของป่าไม้ การผลิตทาง อุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของประชากรและปริมาณของเสียต่างๆที่เพิ่มมากขึ้น ทำ�ให้โลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้นโลกจึงปรับตัวจนส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ ที่รุนแรงขึ้น อุณหภูมิสูงขึ้น วัฏจักรของน้ำ� เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และทำ�ให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อทุกชีวิตบนโลกใบนี้ · โลกจะเย็นลงได้อย่างไร การบรรเทาปัญหาโลกร้อน ต้องช่วยกันลดปริมาณก๊าซ เรือนกระจกให้ลดลงจนเข้าสู่ภาวะสมดุล ด้วยการลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง ฟอสซิลที่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ ลดการใช้พลังงาน ไฟฟ้า ลดปริมาณขยะ และดำ�เนินชีวิตตามหลักพอเพียง · สิ่งสำ�คัญในการรักษาสมดุลธรรมชาติ คือ การเพิ่มพื้นที่สีเขียว หรือ การปลูก ต้นไม้เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากที่สุด นอกจากนั้น พื้นที่ป่าไม้ช่วยรักษาสมดุลวัฏจักรของน้ำ� และการปลูกต้นไม้ยังช่วยปรับสภาพ แวดล้อมให้มีความร่มรื่นและสวยงาม เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิดด้วย · ต้นไม้ช่วยเรื่องลดโลกร้อนได้อย่างไร พื้นที่ ที่มีต้นไม้ใหญ่หนาแน่น 1 ไร่ ดูด ซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 150 กิโลกรัม/ชั่วโมงและคายก๊าซออกซิเจน 100 กิโลกรัม/ชั่วโมง ดังนั้น การศึกษาขยายพันธุ์เพิ่มประชากรต้นสาคูและขยายพื้นที่ปลูกสาคู เพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อนจัดเป็นประเด็นที่น่าสน ด้วยสาคูเก็บสะสมสารอาหาร ประเภทคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการสังเคราะห์ด้วยแสง (Photosynthesis) ไว้ใน รูปของแป้งในส่วนที่เป็นไส้ของลำ�ต้น ปริมาณแป้งสาคู 1 ต้นประมาณ 150 - 500 กิโลกรัม ดัง สมการการสังเคราะห์ด้วยแสง คือ
  • 8. มหัศจรรย์ป่าสาคู 114 พลังงานแสง 6CO2 + 12 H 2 O C 6 H 12 O6 + 6H 2 O + 6O 2 คลอโรฟิลล์ แสดงภาพ พืชสร้างอาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต) จากสมการการสังเคราะห์ด้วยแสงต้นสาคู สามารถตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 จำ�นวน 6 โมเลกุล รวมกับน้ำ� 12 โมเลกุล จะได้น้ำ�ตาลกลูโคส (C6 H12 O6 ) จำ�นวน 1 โมเลกุล หากสาคู 1 ต้นสร้างแป้งได้ 100 - 500 กิโลกรัม นั่นย่อมหมายถึง ต้นสาคูจะต้องใช้ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผลิตกลูโคสซึ่งเป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยว (Monosaccharide) รวมตัวกันเป็นน้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงคู่(Disaccharide)และ กว่าที่น้ำ�ตาลโมเลกุลเชิงคู่รวมตัว เปลี่ยนแปลงไปเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ( Polysaccharide ) คือแป้งทั้งหมด ย่อมแสดงว่า ต้นสาคูต้องตรึงก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำ�นวนหลายร้อยล้าน โมเลกุลหรือหลายร้อยกิโลกรัมเช่นกัน ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง ประกอบด้วยคณะกรรมการ
  • 9. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 115 เมื่อต้นสาคูให้ผลผลิตแป้งมากกว่าข้าวและมันสำ�ปะหลังดังงานวิจัยที่ ค้นพบย่อมหมายถึงการเพิ่มประชากรต้นสาคูต่อพื้นที่เป็นการช่วยลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์เป็นจำ�นวนมหาศาล น่าจะนำ�ไปสู่ข้อสรุปที่ว่าการปลูกต้นสาคูช่วย ลดภาวะโลกร้อนได้ดีกว่าพืชชนิดอื่นๆเป็นเรื่องที่ควรจะทดลองทำ�วิจัยอย่างเร่งด่วน นอกจากสาคูจะเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนแล้วยังเป็นพืชช่วย อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืนรวมทั้งช่วยลดปริมาณก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งหมายถึงการลดภาวะโลกร้อนด้วย แสดงภาพ ระบบนิเวศป่าสาคู สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน แสดงภาพ ระบบนิเวศป่าสาคู สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน
  • 10. มหัศจรรย์ป่าสาคู 116 จากหน่วยงานต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ - ประการแรก เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเรียนรู้ ตระหนักถึงคุณค่าของป่าสาคู เพื่อที่จะเกิดการอนุรักษ์ฟื้นฟูและจัดการอย่างยั่งยืน - ประการที่สอง เพื่อจัดการป่าสาคูให้อุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลาย ทางชีวภาพเป็นแหล่งน้ำ�ธรรมชาติและเกิดความมั่นคงทางอาหารของชุมชน - ประการที่สาม เพื่อส่งเสริมให้เกิดอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับป่าสาคู - ประการที่สี่ ส่งเสริมให้เกิดหลักสูตรท้องถิ่นในเรื่อง “สิ่งแวดล้อม” ในโรงเรียน - ประการที่ห้า เพื่อให้เกิดองค์กรที่เข้มแข็งมีความสามัคคี ความร่วมมือ ระหว่างสมาชิก เพื่อปกป้องป่าสาคูและขยายแนวความคิด ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง ด้วยวัตถุประสงค์ของชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูดังกล่าวจากป่าสาคูที่เหลืออยู่น้อยมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในอดีตอันเกิดจากความไม่รู้ และไม่เข้าใจของประชาชน ประกอบกับ การเน้นการส่งเสริมการปลูกพืชเพื่อส่งออก เช่นยางพารา ปาล์มน้ำ�มัน ดังนั้นคนไทยทุกคนควรทำ�ความรู้จักพืชสาคูเพื่อการฟื้นฟูให้เป็นพืชทางเลือก สำ�หรับการบริโภคและช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนก่อน ที่จะสายเกินไป และจากการร่วมมือช่วยกันพัฒนาชุมชนของชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอ นาโยงทำ�ให้ชนะการประกวดผลงานรางวัลลูกโลกสีเขียวครั้งที่ 9 ประจำ�ปี 2550 ประเภท ชุมชน ดังตัวอย่าง ประเภทชุมชน (ชุมชน ชุมชนเมือง เครือข่ายชุมชน) ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง
  • 11. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 117 ฟื้นคืนสายธาร ผูกโยงสายใยชีวิต โดย สุภาภรณ์ วรพรพรรณ คณะทำ�งานส่วนกลาง “สาคู”ไม้พื้นถิ่นของพื้นที่ชุ่มน้ำ�ภาคใต้และมีบทบาทในวัฒนธรรมของผู้คนมานาน เป็นพืชซับน้ำ� รากสาคูที่โค้งเหนือผืนดินก่อให้เกิดทางน้ำ�สายเล็กสายน้อย กลายเป็นแอ่ง ให้สัตว์น้ำ�ขนาดเล็กได้อุบซ่อนตัว ช่วยชะลอแรงน้ำ�ไม่ให้ไหลเร็วลงสู่ทะเล ทำ�ให้ผู้คนมีน้ำ� ใช้ตลอดปี แต่เมื่อมีการส่งเสริมเกษตรกรรมแผนใหม่ มีการพัฒนาแหล่งน้ำ� การขุดลอก คลองและการจัดระบบชลประทาน ก็มีการทำ�ลายป่าสาคู โดยเฉพาะในบริเวณแม่น้ำ� ปะเหลียน ทำ�ให้เกิดความร่วมมือระหว่างชาวบ้าน 9 ชุมชนในนามของ “ชมรมอนุรักษ์ป่า สาคูอำ�เภอนาโยง” หมู่บ้านหลายแห่งในอำ�เภอนาโยงมีชื่อนำ�หน้าว่า “นา” ก็เพราะว่า ในอำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง มีพื้นที่นาเป็นส่วนมาก และ เป็นนาที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดตรัง พื้นที่ลุ่มน้ำ�แห่งนี้มีลำ�คลองหลายสายที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัดเช่น คลองนางน้อย คลอง ลำ�ลุง คลองลำ�ชาน เป็นต้น ในความหลากหลายของพรรณพืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ�“สาคู”Sagopalm (Metroxylon sagus Rottb) ซึ่งเป็นพืชเฉพาะถิ่นในภาคใต้ มีบทบาทสำ�คัญ ในฐานะพืชหลักของพื้นที่ชุ่ม น้ำ� สาคูขึ้นกระจัดกระจายตามชายฝั่ง คลอง หนอง พรุ มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ สาคูใช้ประโยชน์ได้ทั้งด้านอาหาร รายได้ ยารักษาโรค และมีบทบาทในวัฒนธรรม มีการใช้ สาคูในพิธีกรรม ในสถาปัตยกรรมท้องถิ่น บ้านสมัยก่อนใช้สาคูมุงหลังคา และใช้เป็นส่วน ประกอบย่อยอื่นๆ ซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น สาคูช่วยรักษาระบบนิเวศ ด้วยความที่เป็นพืชซับน้ำ� และช่วยอนุรักษ์ดิน รากสาคูปูดขึ้นมาเหนือดิน กลายเป็นกำ�แพงที่ทำ�ให้เกิดธารน้ำ�เล็กๆ ชาวบ้าน ได้เคยอาศัยธารน้ำ�ที่แยกสาขาเหล่านี้ในการทำ�นาสาคูที่ขึ้นขนานฝั่งคลองทั้งสองฟาก ช่วยบังแดดบังลม ทำ�ให้น้ำ�ระเหยช้า ลักษณะรากสาคูที่มีความแน่น แตกหน่อ แตกกอ
  • 12. มหัศจรรย์ป่าสาคู 118 ได้ตลอด ช่วยกั้นทางน้ำ�ไม่ให้ไหลลงทะเลเร็วเกินไป ในภาคใต้ที่มีพื้นที่แคบลำ�น้ำ�มักจะ มีขนาดสั้น พื้นที่มีความลาดชันสูง ทำ�ให้น้ำ�จากภูเขาไหลลงทะเลอย่างรวดเร็ว สาคูจึง เป็นเสมือนฝายหรือเขื่อนธรรมชาติช่วยเก็บน้ำ� สมัยก่อนชาวบ้านสร้างระบบชลประทาน พื้นบ้านเป็นทำ�นบดิน เหมือนดิน หรือคลองไส้ไก่ เพื่อผันน้ำ�จากลำ�คลองขึ้นไปใช้ในการ ทำ�นา ระบบที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้สัมพันธ์กับลักษณะคลองและป่าสาคูที่ขึ้นทั่วไปใน คลอง การมีต้นสาคูยังเป็นตัวซับน้ำ� จนคนใต้มีคำ�กล่าวว่า “ที่ไหนมีป่าสาคูที่นั่นไม่ขาดน้ำ�” ป่าสาคูยังเป็นที่ซ่อนตัวของสัตว์น้ำ�หลากหลายพันธุ์ที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก “ตัวการ”ทำ�ลายป่าสาคู นโยบายที่มุ่งเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยการส่งเสริมเกษตรกรรมแผนใหม่ที่มี การพัฒนาแหล่งน้ำ�ด้วยวิธีขุดลอกคลองการจัดระบบชลประทาน โดยใช้แผนงานที่เหมือน กันหมดทั้งประเทศ โดยไม่ได้ให้ความสำ�คัญต่อบริบทของระบบนิเวศพื้นถิ่นเป็นสาเหตุของ การตัดป่าสาคูหายไปถึงร้อยละ70 (อาจารย์สมนึก โออินทร์-ประธานชมรมอนุรักษ์ป่า สาคูอำ�เภอนาโยง) คลองธรรมชาติหลายแห่ง กลายเป็นคลองระบายน้ำ� เมื่อถึงหน้าแล้ง ฤดูแล้งน้ำ�แห้งขอด นายเอิบ จันทร์ฝาก อดีตกำ�นันตำ�บลโคกสะบ้า เปรียบเทียบจนเห็น ภาพว่า “หน้าแล้ง เอาเสื่อปูบนท้องคลอง นอนได้สบาย” ส่วนน้ำ�ในนา ที่เคยมีเมื่อฝนตก ชุกในเดือนแปดก็กลับไปไหลลงคลองที่ขุดใหม่ แล้วไหลลงแม่น้ำ�ตรังกับแม่น้ำ�ปะเหลียน อย่างรวดเร็ว นาส่วนใหญ่จึงต้องเริ่มช้า คือไปเริ่มในช่วงเดือนสิบ บางปีก็ช้ากว่านั้น หรือ ช้าเกินไปสภาพปัญหาเช่นนี้ทำ�ให้นาหรือแหล่งน้ำ�บางแห่งกลายเป็นดอนน้ำ�แห้งชาวบ้าน จึงเปลี่ยนมาทำ�สวนยางพารา หรือปลูกพืชเศรษฐกิจอื่น อย่างบ้านทุ่งแก่เจ้ย ตำ�บลนาข้าว เสีย และบ้านไสขัน ตำ�บลโคกสะบ้า อำ�เภอนาโยง เคยมีพื้นที่ชุ่มน้ำ�ประมาณ 1,300 ไร่ ก็ เปลี่ยนมาเป็นสวนยางพารา สวนปาล์ม และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ จำ�นวน 605 ไร่ และมีแนว โน้มจะสูญเสียพื้นที่ชุ่มน้ำ�อย่างถาวรเพิ่มขึ้นทุกปี ฟื้นฟูป่าสาคู...ฟื้นฟูชีวิต ตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ชาวบ้านบางกลุ่มที่ประสบปัญหา การทำ�ลาย ป่าสาคูเริ่มพูดคุยกัน ในการดำ�รงชีวิตและมีประสบการณ์เคยใช้ประโยชน์จากป่าสาคู
  • 13. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 119 มาก่อนเริ่มคิดถึงคลองแบบเดิม คิดถึงป่าสาคู โดยคิดว่าหากป่าสาคูยังอยู่ พวกเขาคง ไม่ตกอยู่ในสถานการณ์เช่นนี้ กลุ่มผู้หญิงเป็นกลุ่มแรกที่เริ่มวิตก เพราะต้องรับผิดชอบ เรื่องการหาอาหาร จึงมีการตั้งกลุ่มข้าวซ้อมมือ และเมื่อมาทำ�กิจกรรมด้วยกัน ก็มีการพูด ถึงป่าสาคูมากขึ้น และร่วมกันคิดหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้คนในชุมชนเห็นคุณค่าของสาคู นำ�ไปสู่ความเคลื่อนไหวเพื่อฟื้นฟูป่าสาคู โดยสมาคมหยาดฝน เข้ามาทำ�งานเชื่อม ประสานผู้คนกลุ่มต่างๆ โดยร่วมทำ�งานกับกลุ่มผู้หญิง ชักชวนผู้หญิงจากหมู่บ้านอื่นเข้า มาร่วมกลุ่มมากขึ้น จนสามารถจัดตั้งกลุ่มผู้หญิงขึ้นเป็นทางการในชื่อ “กลุ่มผู้หญิงป่า สาคูร่วมใจ” มีกิจกรรมการแปรรูปอาหารและขนมจากแป้งสาคูสามารถขยายเครือข่าย ไปสู่ผู้ชาย ทำ�ให้เกิด “ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง” ในเดือนมิถุนายน 2543 นับเป็น องค์กรหลักของภาคประชาชนที่ผลักดันให้เกิดการเรียนรู้และสร้างกิจกรรมการอนุรักษ์ และฟื้นฟูป่าสาคูอย่างเป็นรูปธรรมกลุ่มคนที่เข้าร่วมชมรมฯ ประกอบด้วยกำ�นัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำ�บล ผู้อำ�นวยการโรงเรียนทุกแห่งในเขตพื้นที่ อดีตครู อดีต กำ�นัน ผู้อาวุโสที่รู้เรื่องป่าสาคู และชาวบ้านทั่วไปที่ให้ความสนใจ รวมแล้วเป็นพื้นที่การ ดำ�เนินงานของชาวบ้านจาก 9 หมู่บ้าน ในตำ�บลนาข้าวเสีย และตำ�บลโคกสะบ้า ด้วยการ เชื่อมประสานของสมาคมหยาดฝน ต่อมา ชมรมฯ ได้เชื่อมโยงกับกลุ่มองค์กรที่เคลื่อนไหวด้านทรัพยากรในจังหวัด ตรังที่มีบทบาท เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ� กลุ่มอนุรักษ์ป่าชายเลน เครือข่ายการจัดการ ทรัพยากรชายฝั่งทะเลและเครือข่ายลุ่มน้ำ�ปะเหลียนซึ่งทำ�ให้เกิดการฟื้นฟูป่าสาคูในระดับ วงกว้าง และส่งเสริมการสร้างผลิตภัณฑ์ป่าสาคูขึ้นอย่างแพร่หลายในพื้นที่ ชมรมอนุรักษ์ ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง ได้เริ่มทำ�การศึกษาระบบนิเวศป่าสาคูและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการ จัดการป่าสาคู การใช้ประโยชน์จากป่าสาคูในอดีต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิด การเรียนรู้ สร้างความตระหนักถึงคุณค่าป่าสาคู เพื่อเกิดการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการ อย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านความมั่นคงทางอาหารของชุมชน ความมั่นคงทางด้านอาชีพ การ ศึกษา และเกิดองค์กรที่เข้มแข็ง เกิดความร่วมมือระหว่างสมาชิก และขยายแนวความคิด ดังกล่าวสู่สังคมภายนอก ผังแสดงแนวทางการจัดการเพื่อฟื้นฟูป่าสาคู “4 ร่วม” สู่ความยั่งยืน
  • 15. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 121 ร่วมคิด : การรวมกลุ่มของแกนนำ�ชุมชนพื้นที่ลุ่มน้ำ�จืดป่าสาคู ร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับระบบ นิเวศของป่าสาคู และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของท้องถิ่น จนเกิดแผนงานในการ จัดการและการใช้ประโยชน์ของทรัพยากร ร่วมทำ� : จัดทำ�โครงการอนุรักษ์ป่าสาคูปลูกเสริมฟื้นฟูในคลองลำ�ชานช่วงไหลผ่านตำ�บล นาข้าวเสียและตำ�บลโคกสะบ้า อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง เกิดกิจกรรมแต่งสางทางน้ำ� มีการปล่อยปลา และสัตว์น้ำ�จืดแหล่งอนุรักษ์เพาะพันธุ์สัตว์น้ำ� และมีการร่วมกันสำ�รวจ ข้อมูลด้านความหลากหลายทางชีวภาพของคลองลำ�ชานอีกด้วย ร่วมรับประโยชน์ : ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าสาคูให้มีความอุดมสมบูรณ์ด้วยความหลากหลาย ทางชีวภาพ และได้เอื้อประโยชน์ให้ชุมชนที่อาศัยอยู่ใกล้ป่าสาคู และบริเวณใกล้เคียง ร่วมติดตามและประเมินผล : จัดการประชุมแกนนำ�ชุมชนเพื่อพูดคุยถึงแนวทางและ งานเครือข่ายด้านการจัดการเช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดการและการใช้ ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน ประชุมเครือข่ายผู้หญิงเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ อย่างยั่งยืน จังหวัดตรัง วิธีทำ�งานของชมรมฯ ใช้คนท้องถิ่น มีการรวมกลุ่มพูดคุยทั้ง เป็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อยตามพื้นที่และสนับสนุนแต่ละกลุ่มย่อยให้มีการพูดคุยและนำ� เสนอกิจกรรมของตนประสานงานขอทุนจากภายนอกทั้งหน่วยราชการและภาคเอกชน พยายามดึงองค์การบริหารส่วนตำ�บลให้มีส่วนร่วมเรียนรู้ เพื่อนำ�ไปกำ�หนดเป็นนโยบาย การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าสาคู สำ�หรับพันธมิตรจากภายนอกชมรมฯ ให้ความสำ�คัญ 4 ด้าน ด้านแรกคือการเสริมสร้างความรู้เพิ่มเติมแก่ชาวบ้านทั้งในรูปการวิจัยแบบมีส่วนร่วม การจัดเวทีเรียนรู้ให้แก่ชาวบ้านเพิ่มเติม ด้านที่สองการนำ�ความรู้เกี่ยวกับป่าสาคูที่ เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้าน การเผยแพร่เรื่องป่าสาคูแก่สาธารณะทั้งในรูปงานวิจัย รายงานทางวิชาการ ข่าวและบทความในหน้าหนังสือพิมพ์ รายการวิทยุโทรทัศน์ เป็นต้น ด้านที่สามคือกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้เห็นความสำ�คัญของนิเวศป่าสาคูเช่น การเรียน การสอนในชั้นเรียน การประชุมสัมมนา การกำ�หนดนโยบายสนับสนุนของหน่วยงานและ องค์กรที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ด้านที่สี่คือการสนับสนุนงบประมาณให้แก่เครือข่ายของชาวบ้าน
  • 16. มหัศจรรย์ป่าสาคู 122 ในการทำ�กิจกรรมเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูป่าสาคูสานสร้างเครือข่ายการทำ�งาน ลำ�พังย่อมไม่อาจขยายผลชมรมฯตระหนักความจริงข้อนี้จึงเข้าร่วมเป็นเครือข่าย “กัลยาณมิตรเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ในลุ่มแม่น้ำ�ตรัง และลุ่มแม่น้ำ�ปะเหลียน มีเป้าหมายเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนจากภูเขาถึงทะเลเป็นการประสานความ ร่วมมือในแต่ละระบบนิเวศเชื่อมโยงทั้งลุ่มน้ำ� เครือข่ายนี้ประกอบด้วย ชมรมอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าต้นน้ำ� ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคูอำ�เภอนาโยง เครือข่ายป่าชายเลนชุมชน และ การจัดการทรัพยากรทางทะเล นอกจากนี้ ยังมีสถาบันและหน่วยงานต่างๆ มาร่วมเป็น เครือข่ายเพื่อสนับสนุนการฟื้นระบบนิเวศป่าสาคู ชมรมฯ ยังรุกเข้าในกลุ่มเยาวชน โดย ขยายเครือข่ายสู่โรงเรียนทุกแห่งในพื้นที่ในเบื้องต้นมีเป้าหมายให้มีการเรียนการสอน เรื่องป่าสาคูในมิติต่างๆ เพื่อให้เด็กๆ รู้จักความสำ�คัญของพืชสาคู และนำ�สารไปบอกต่อ ในครอบครัว วิธีการของชมรมฯ คือ ขอพูดคุยกับผู้บริหาร ครู และนักเรียน กลุ่มผู้หญิง จะเข้าไปทำ�ขนมเลี้ยงเด็กนักเรียน เมื่อโรงเรียนให้ความสนใจ ก็จะพานักเรียนไปศึกษาใน พื้นที่ป่าสาคู ชาวบ้านก็ได้มีโอกาสเป็นวิทยากร หลายโรงเรียนได้จัดทำ�โครงการพิเศษเพื่อ รณรงค์ป่าสาคู อาทิ การจัดทำ�โครงการชุมนุมอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วม กิจกรรมแต่งสางกลางคลอง การปลูกป่าสาคู การเก็บขยะในคลองป่าสาคู การเดินรณรงค์ ไม่ทิ้งขยะในแม่น้ำ�ลำ�คลอง การเดินสำ�รวจหาต้นน้ำ� การจัดทำ�โครงการเยาวชนนักสืบ สายน้ำ�การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นอย่างบูรณาการเป็นเป้าหมายต่อไป รณรงค์ให้มีการ สอนเรื่องป่าสาคูทุกเนื้อหาวิชา เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ศิลปศึกษา ดนตรี การจัดทำ�หลักสูตรท้องถิ่นนำ�มาสู่การจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่างชุมชนกับท้องถิ่น อย่างกว้างขวาง อาทิ ชาวบ้านมาเป็นครูสอนในโรงเรียน นักเรียนลงไปเรียนกับชาวบ้าน เกิดภาพการ ทำ�งานร่วมกันระหว่างรัฐ ราษฎร์ วิชาการ การฟื้นป่าสาคู ไม่ได้เป็นเพียงการฟื้นฟูระบบ นิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำ�ของเมืองตรังเท่านั้นแต่ยังเป็นการผูกโยงสายใยชีวิตของผู้คน บนสายธาร ที่พันธุ์ไม้ท้องถิ่นนี้ได้ก่อกำ�เนิดอีกด้วยสาคู.....พืชในพื้นที่ชุ่มน้ำ� กิจกรรม · ศึกษาระบบนิเวศป่าสาคู และฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูและและใช้
  • 17. L a b S c h o o l P r o j e c t มหัศจรรย์ป่าสาคู 123 ประโยชน์ป่าสาคูในอดีต · ส่งเสริมความร่วมมือ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการทรัพยากรน้ำ� โดยเป็นเครือข่าย “กัลยาณมิตรเพื่อจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน” ในลุ่มแม่น้ำ� ตรัง และลุ่มแม่น้ำ�ปะเหลียน · ร่วมเรียนรู้ระบบนิเวศป่าสาคูและความสัมพันธ์กับแหล่งน้ำ� เพื่อก่อให้เกิดองค์กร ชุมชนที่เข้มแข็ง ในการจัดการน้ำ�และใช้ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืน จนได้เกิด การก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู และกลุ่มอาชีพของสตรีในชุมชนต่างๆ · ร่วมอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการจัดการป่าสาคูอย่างยั่งยืน ด้วยกิจกรรมต่างๆ อาทิ การแต่งสางทางน้ำ� คลองลำ�ชาน กิจกรรมสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อใช้ประโยชน์จากสาคูอย่างเหมาะสม · เริ่มสร้างเครือข่ายอนุรักษ์สาคูและน้ำ� เป็นงานสร้างเครือข่ายการจัดการและการใช้ ประโยชน์ป่าสาคูอย่างยั่งยืนในระดับจังหวัด ด้วยความร่วมมือของนักวิชาการ หน่วยงานราชการ และองค์กรพัฒนาเอกชน · โรงเรียนในพื้นที่ร่วมเป็นเครือข่ายจำ�นวน 40 แห่ง มีการจัดทำ�หลักสูตรท้องถิ่น อย่างบูรณาการเกี่ยวกับพืชสาคู ผลการดำ�เนินการ
  • 18. มหัศจรรย์ป่าสาคู 124 · พื้นที่ 2 ตำ�บล ได้แก่ ตำ�บลโคกสะบ้า และตำ�บลนาข้าวเสีย อำ�เภอนาโยง กลาย เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ป่าสาคูและขยายผลแนวคิดไปสู่จังหวัดใกล้เคียง ซึ่ง เป็นความภาคภูมิใจของชาวบ้าน หน่วยงานรัฐเห็นคุณค่าและนำ�ไปจัดทำ�แผน พัฒนาองค์การบริหารส่วนตำ�บลถือเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชุมชนให้มี ความรับผิดชอบร่วมกัน และนำ�ไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็ง จากการที่ชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู อำ�เภอนาโยง จังหวัดตรัง ได้ขยายผลงานและ เครือข่ายกัลยาณมิตรจนเป็นที่รู้จักจึงมีสื่อมวลชนหลากหลายเข้ามาศึกษาเรียนรู้และช่วย ประชาสัมพันธ์เรื่องป่าสาคูให้เป็นที่รู้จักและตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ในท้องถิ่นเฉพาะภาคใต้เท่านั้น ซึ่งน่าจะถือเป็นโอกาสดีที่ทำ�ให้ ทุกคนมองเห็นคุณค่า รู้จักพืชประจำ�ถิ่นภาคใต้ของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น ด้วยการศึกษา และวิจัยในเรื่องสาคูยังมีค่อนข้างน้อยดังคำ�เสนอแนะของ ธนิตย์ ยิ้มหนู