SlideShare a Scribd company logo
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
ณัฐธิดา เย็นบารุง
ปู้ช่วยนักวิจัย
แปนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัถนาอนาคตของเมือง
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
2
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
โดย ณัฐธิดา เย็นบารุง
ผู้ช่วยนักวิจัย
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตของเมือง
3
ผู้เขียน : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง
บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : นายฮาพีฟี สะมะแอ, นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ปก : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง
รูปเล่ม : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง
ปีที่เผยแพร่ : กันยายน พ.ศ. 2558
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
หากพูดถึงการพัฒนาด้านต่างๆ ในประเทศไทย มักจะประกอบด้วยทุนหลายประเภทในการพัฒนา
ไม่ว่าจะเป็น ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนทรัพยากร และทุนอีกหนึ่งประเภทซึ่งจับต้องไม่ได้เหมือนทุนอื่น คือ
“ทุนทางสังคม” เป็นส่วนส่งเสริมที่สาคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นข้อได้เปรียบใน
การนามาขับเคลื่อนการพัฒนา เช่น การพัฒนาชุมชน มักจะเริ่มต้นการพัฒนาโดยการใช้ความสัมพันธ์ที่
ใกล้ชิด สนิทสนมกัน มีความเป็นเครือญาติ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชุมชนในไทยอยู่แล้ว นาความสัมพันธ์ที่
ดีนี้มาสร้างให้เกิดประโยชน์ที่ดีแก่คนในชุมชน เช่น การตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อปล่อยกู้ให้กับคนในชุมชน
โดยที่ไม่ต้องมีผู้ค้าประกัน หรือการทารวมกลุ่มสร้างวิสาหกิจของชุมชน มักจะอาศัยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด
ความไว้ใจ สนิทสนมกัน รวมกลุ่มกัน สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม เป็นต้น
เช่นเดียวกันกับการพัฒนาเมืองในประเทศไทย เมื่อศึกษาพร้อมวิเคราะห์ปัจจัยในการขับเคลื่อน
พัฒนาเมือง ล้วนอาศัยจากปัจจัยที่เป็นลักษณะพิเศษทางสังคม เช่น ความเชื่อถือได้ของข้าราชการ
(Trustworthiness of bureaucrat) การร่วมมือกัน (Cooperation) การทางานเป็นทีม (Teamwork) ความ
เข้มแข็งของชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทาให้เกิดเครือข่ายทางสังคมขึ้น ช่วยให้มีประสิทธิภาพรวดเร็ว
ลดต้นทุนการทางาน แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยบทความเรื่องนี้จะทาให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า ทุนทางสังคมมี
ความสาคัญอย่างไร ทุนดังกล่าวช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองอย่างไร โดยจะขอยกกรณีศึกษา
ของการพัฒนาเมืองของยะลา แม้เป็นหนึ่งใน 3 จังหวัดที่มีความรุนแรง แต่ไม่หยุดการพัฒนา และสร้างเมือง
เพื่อก้าวสู่ “เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2” ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายในเมือง
ทุนทางสังคมคืออะไร
ความหมายหรือแนวคิดของทุนทางสังคม มีผู้ให้ความหมายไว้อย่างหลากหลาย ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ โดยจะยกความหมายของนักคิดเรื่องทุนทางสังคม ที่มีอิทธิพล และส่งต่อมาจนปัจจุบัน ดังนี้
ปิแอร์ บูดิเยอร์ (อ้างในอาจยุทธ ,2547) นิยามทุนทางสังคมในทัศนะของ Bourdieu มีสาระสาคัญ
คือ
1. ทุนทางสังคมเป็นแหล่งรวมความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มและเครือข่ายทางสังคม
สมาคมอาสาสมัครต่างๆ ความเป็นสมาชิกกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมและ
ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดจากสมาชิกของกลุ่มเป็นทุนทางสังคม เพราะเป็นแหล่งรวมของการคบค้า
สมาคมของสมาชิก ดังนั้น ทุนทางสังคมของ บูดิเยอร์ จึงเป็น Collective Phenomenon ความเป็นสมาชิก
กลุ่มสามารถสร้างทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อทุนประเภทอื่นๆ หลายด้าน การสร้างสมาคมอาสาสมัครต่างๆ จึง
เป็นทั้งกลยุทธ์ระดับปัจเจก และส่วนรวมในการลงทุนเพื่อให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ซึ่งก็คือการ
สะสมทุนทางสังคมนั่นเอง
2. ทุนสังคมมีคุณลักษณะทีเป็นทุนทางสัญลักษณ์ (Symbolic capital)
ทุนทางสังคมอยู่บนพื้นฐานของการรับรู้และการตระหนัก (Cognition and Recognition) จึงมี
คุณลักษณะทางสัญลักษณ์ (Symbolic characteristic) และเสนอว่าทุนทางสังคมจะแปรตามสถานกภาพ
ทางสังคม (Social position) ของบุคคลนั้น ทุนทางสัญลักษณ์จะกลายเป็นอานาจที่ได้รับสถาปนา อยู่บน
5
เงื่อนไข คือ 1. วาทกรรมการแสดงออก คือ อานาจเชิงสัญลักษณ์เกิดจากการเป็นเจ้าของทุนทางสัญลักษณ์
ซึ่งทาให้ได้รับการยอมรับตามมา ระยะยาวจะได้รับการยอมรับในลักษณะของสถาบัน 2. ประสิทธิภาพเชิง
สัญลักษณ์ คือ ทุนทางสัญลักษณ์ซึ่งทาให้ได้รับการยอมรับตามมา กลายเป็นอานาจที่จริงดารงอยู่ได้มาก
เพียงใด ขึ้นอยู่กับ “การมองจากบุคคลอื่น” โดย บูดิเยอร์ เรียกว่า ประสิทธิภาพของทุนทางสัญลักษณ์
3. ทุนทางสังคมจะแปรเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจในที่สุด
บูดิเยอร์ เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม และทุนทางสัญลักษณ์ ในที่สุดจะถูกแปรเปลี่ยน
เป็นทุนทางเศรษฐกิจทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน (ทุนทางเศรษฐกิจ) จะนาไปสู่การได้รับ
การยอมรับทางวิชาชีพ (เป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสัญลักษณ์) และจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นทุนทาง
เศรษฐกิจ โดยการมีงานทาตามความต้องการของตลาดในที่สุด
เจมส์ เอสโคลแมน (James S. Coleman) นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก โคลแมน ได้ให้
ความหมายทุนทางสังคมว่า ตามหน้าที่แล้ว ทุนทางสังคมประกอบด้วยสิ่งต่างๆที่มี แง่มุมเชิงโครงสร้างที่
สามารถช่วยมนุษย์ให้กระทากิจกรรมบางอย่างได้ โดยทุนทางสังคมก็เหมือนกับทุนอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการ
ผลิตได้ และทุนทางสังคมต่างจากทุนอื่นๆตรงที่ ฝังตัวอยู่ในความสัมพันธ์ ระหว่าง คนกับงาน องค์กรกับ
องค์กร (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลในวงการธุรกิจ) โดยทุนทางสังคมจะดารงอยู่ ภายใต้ 1. ความสัมพันธ์ที่
แน่นแฟ้ น กล่าวคือ มีพันธะผูกพันความคาดหวัง ไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีช่องทาง การเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร
บรรทัดฐานของสังคมและการลงโทษที่ได้ผล 2. โครงสร้างทางสังคม ที่มีความใกล้ชิดของเครือข่ายและมี
องค์กรภายใต้โครงสร้างสังคมที่เหมาะสม
โรเบิร์ต ดี พัทนัม (1995 อ้างใน อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล,2555 ) ให้ความหมาย ทุนทางสังคม
หมายถึง วิถีชีวิตทางสังคมอันประกอบด้วย องค์ประกอบที่สาคัญ 3 ประการคือ (1) เครือข่ายทางสังคม (2)
บรรทัดฐานของสังคม และ (3) ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันที่ส่งเสริมให้เกิดความ ร่วมมือกันอย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อเป้าหมายของส่วนรวม โดยเครือข่ายทางสังคม (social network) ยังอาจแยกย่อยลงไป
อีก 3 ระดับคือ
1. ครือข่ายในหมู่เครือญาติและเพื่อนสนิท (Bonding Networks) เป็นความสัมพันธ์กับบุคคลที่ มีความ
ใกล้ชิดและคล้ายคลึงกัน (homogeneous groups) ที่ให้การสนับสนุนทางด้าน กายภาพและอารมณ์
แก่เจ้าของทุนในยามจาเป็น ช่วยให้บุคคลสามารถดาเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
2. เครือข่ายในองค์กรอย่างเป็นทางการ (Bridging Networks) หมายถึงการเป็นสมาชิก เป็น กรรมการ
หรือคณะทางานในองค์กรต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายในทางวิชาชีพ หรือ เครือข่ายทางธุรกิจ
เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน หรือการ ตัดสินใจทางธุรกิจ
3. เครือข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ (Linking Networks) เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการ
รวมกลุ่มของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกันในอานาจหน้าที่ ฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจ เพื่อ
เข้าถึงข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายทุนทางสังคมอีกหลายท่าน แต่ความหมายของทุนทางสังคมที่
น่าสนใจ คือ ความหมายในบทความของ สินาด ตรีวรรณไชย (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) อาจารย์คณะ
6
เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ให้ความหมายอย่างเห็นภาพที่ชัดขึ้น ว่า ทุนทางสังคม
หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมที่เราสามารถเรียกเอาผลประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจจากมันได้ ตัวอย่างของทุนทางสังคมที่มักถูกกล่าวถึงคือ ความเชื่อถือไว้วางใจกัน (Trust)
เครือข่าย (Network) สถาบัน (Institution) ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมรูปแบบใดที่
เป็นทุนทางสังคมนั้น เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ท้ายที่สุดแล้วมันสามารถให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับเรา
ได้หรือไม่นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านในชุมชนแห่งหนึ่งมีกิจกรรมร่วมมือกันอยู่เป็นประจา ทาให้
ชาวบ้านต่างเรียนรู้และเข้าใจ หรือ "รู้จัก" กันเป็นอย่างดี เป็นผลให้เมื่อชาวบ้านต้องการจัดตั้งกลุ่มออม
ทรัพย์ขึ้นมาเพื่อระดมเงินออมและปล่อยกู้เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนราคาถูกให้คนในชุมชน มันก็จะเกิดขึ้นได้
ง่าย เพราะเมื่อมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีการโกงกันหรือเชิดเงินหนีไป
ขึ้นชื่อ ว่า”ทุน”ต้องสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ ทุนทางสังคมโดยตัวของมันเองนั้นมิได้เป็น
ปัจจัยการผลิตโดยตรง หากแต่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตหรือทุนอื่น เช่น ข่าวสารข้อมูล ทุน
มนุษย์ (Human capital) ทุนกายภาพ (physical capital) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เป็นต้น
ในราคาที่ถูกลง โดยผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมนั่นเอง (สินาด ตรีวรรณไชย,2546)
นักเศรษฐศาสตร์สานักธนาคารโลก (2001,อ้างใน ประชาธิป กะทา,2547) สรุปว่า ทุนทางสังคม
ระดับล่างสุด คือ การเป็นสมาชิกครอบครัว เครือญาติ หรือกลุ่มทางสังคม ในระดับกลาง คือความสัมพันธ์
ของบุคคลกับชุมชน และระดับบน คือ สถาบันหรือนโยบายของรัฐ หรือประชาสังคมที่เชื่อมโยงสมาชิกไว้
ด้วยกัน เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวราบและแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน หรือองค์กร ทั้งในรูป
ปัจเจก กลุ่ม และรูปเครือข่าย
นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความหมายของทุนทางสังคม ที่นักคิดหลายคนได้ให้ความหมายไว้ ซึ่ง
โดยทัศนะผู้เขียนมองว่า ทุนทางสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ความไว้ใจ ความ
เกื้อกูลกัน ความสนิทสนมกัน ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์นี้มีหลายระดับหลายประเภท เช่น ความสัมพันธ์ใน
ครอบครัว ความสัมพันธ์ในชุมชน ความสัมพันธ์องค์กร เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ สามารถนามาสร้าง
ประโยชน์ หรือการนาไปสู่การรวมกลุ่มให้แก่กลุ่มคนที่อยู่ในนั้นได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจ หรือประโยชน์ด้านอื่นๆ จนท้ายที่สุดสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายใหญ่ๆ ได้
ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา
อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่า การพัฒนาเมืองในประเทศไทย เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยทุนจะพบว่า ทุกการ
พัฒนาเมืองมักใช้ปัจจัยทุนทางสังคมเป็นส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมือง โดยเฉพาะการพัฒนา
ที่อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนในเมืองนั้นๆ อาศัยกลุ่ม เครือข่าย เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ใน
เมือง หากเมืองใดนา “ทุนทางสังคม” ใช้ในการพัฒนาเมืองมากเท่าไหร่ ยิ่งทาให้เมืองพัฒนาจาก
ความสัมพันธ์อันดีให้เมืองพัฒนาอย่างมีคุณค่าและยั่งยืนได้
หากจะดูว่าทุนทางสังคมเป็นส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนเมืองอย่างไร จึงต้องยกกรณีศึกษาเมืองที่มี
การขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอย่างมีจุดเด่นและประสบความสาเร็จเมืองหนึ่ง ที่ใช้ปัจจัยทุนทางสังคม เป็นทุน
สาคัญ และต่อยอดพัฒนาจากทุนนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาเมืองให้เกิดความยั่งยืน นั่นก็คือ
เมืองยะลา เมืองที่อยู่ภายใต้การบริหารเมืองของ เทศบาลนครยะลา
7
เมืองยะลา ภายใต้การบริหารของเทศบาลนครยะลา ได้วางวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองยะลาให้กลายเป็น
เมือง “สิงคโปร์แห่งที่ 2” คือต้องการให้เมืองมีความน่าอยู่ มีความโดดเด่นด้านการศึกษาและการพัฒนาคน
เมืองที่มีเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดี เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมือง เทศบาลนครยะลาจึง
วางแผนพัฒนาเมืองผ่านโครงการต่างๆ มากมาย ที่จะช่วยให้เมืองยะลากลายเป็นเมืองที่ดีคล้ายกับเมือง
สิงคโปร์ จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น รางวัลเมืองสร้างสรรค์ (creative city) จากโครงการ Yala bird
city หรือ รางวัล UNESCO Cities for Peace Prize เมืองแห่งสันติภาพ ปี ค.ศ. 2002 – 2003 เป็นต้น
อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองยะลา เป็น 1 ใน 3 จังหวัดของชายแดนใต้ ที่ประสบปัญหาความไม่
สงบความรุนแรงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิต
ทรัพย์สิน เกิดความหวาดระแวง ความกลัว ผู้คนย้ายออก เศรษฐกิจซบเซาลง ไม่มีคนนอกเข้าไปเที่ยวใน
เมือง เป็นสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคสาคัญของการพัฒนาเมือง ซึ่งในสภาวะเมืองที่มีปัญหาเช่นนี้ ไม่ได้ทา
ให้เมืองยะลาหยุดการพัฒนา แผนและภารกิจต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อมุ่งเข้าสู่สิงคโปร์แห่งที่ 2 ยังคงถูกดาเนิน
ต่อไป โครงการต่างๆ ที่เคยดาเนินการ ยังคงดาเนินอยู่ต่อไป เช่น โครงการ Yala bird city อีกทั้งเทศบาล
นครยะลายังสร้างโครงการใหม่ๆ ต่อยอดการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แผนการสร้างห้างสรรพสินค้า
ชุมชน การจัดตั้งบริษัทชุมชน โครงการสร้างสวนสาธารณะในเมือง และอีกมากมาย
การพัฒนาเมืองให้ก้าวเข้าสู่เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2 โดยพัฒนาเมืองทุกด้านของยะลาเช่นนี้ การ
ทางานของเทศบาลนครยะลาเพียงหน่วยงานเดียวคงไม่สามารถที่จะสร้างและพัฒนาเมืองไปได้ การพัฒนา
เมืองของยะลาทุกด้านมีกลุ่ม เครือข่าย ที่โยงใยร่วมมือกันพัฒนา โดยมีปัจจัยทุนด้านต่างๆ โดยหนึ่งในนั้น
คือ ทุนทางสังคม ซึ่งเป็นทุนที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและกลายเป็นเครือข่ายการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจ
ยิ่ง โดยจะขอยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองยะลา 2 ด้าน ที่มีปัจจัยการพัฒนาด้วยทุนทางสังคมที่เห็นภาพอย่าง
ชัดเจน ดังนี้
1. การรักษาความปลอดภัยในเมือง : การเกิดชุดปฏิบัติการ (ชป.) อาสาสมัครชุมชน
จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทาให้เมืองยะลาต้องให้ความสาคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัย
ในเมือง หากต้องพึ่งพาเพียงแค่เจ้าหน้าของรัฐ เช่น ทหาร ตารวจ คงไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เกิดความ
ปลอดภัย หรือบรรเทาให้ความกลัวของคนในเมืองน้อยลงได้มากนัก ความกลัวที่เกิดขึ้น ทาให้ชุมชนในเมือง
ภาพที่ 1-2 ชุดปฏิบัติการ (ชป.) อาสาสมัครชุมชน
8
ยะลา ต้องรวมตัวเกิดเป็นตัวแทนอาสาสมัครชุมชนที่ลุกขึ้นมาปฏิบัติงานดูแลด้านความปลอดภัยคล้ายเป็น
หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย เรียกว่า ชุดปฏิบัติการ (ชป.) ซึ่งชุดปฏิบัติการ (ชป.) นี้เป็นการ
รวมตัวที่เรียกได้ว่าใช้ทุนที่สาคัญในการทางานอย่างทุนทางสังคม เป็นทุนหลักในการทางาน
ชุมชนผังเมือง 41
เป็นหนึ่งในชุมชนที่เรียกได้ว่า มีชุดปฏิบัติการ (ชป.) ที่ทางานสร้างความ
ปลอดภัยให้กับคนในชุมชนอย่างน่าสนใจ เป็นอาสาสมัครชุมชนที่ทางานร่วมกับ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย
พลเรือน (อปพร.) ทหาร ตารวจ ที่ช่วยกันแบ่งเวรดูแลพื้นที่ของตัวเอง จัดเวรยามคอยสอดส่องดูแลสิ่งที่
ผิดปกติในชุมชนตลอด 24 ชม.คอยประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ
จากข้อมูลของคุณอนันต์ แจ่มจันทรา ประธานชุมชนผังเมือง 4 อธิบายว่า ชุดปฏิบัติการ (ชป.)
ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2551 และกระจายการดูแลร่วมกับกรรมการซอยกว่า 20 ซอย อปพร. เจ้าหน้าที่
เทศกิจ ตามแผนผังการทางานของเจ้าหน้าที่ในชุมชนผังเมือง 4 (ภาพที่ 3) ซึ่งชุดปฏิบัติการ (ชป.) มีหลาย
กลุ่มในชุมชนเดียว เพื่อที่สามารถจัดเวรยามและกระจายกาลังดูแลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยจะมีตาราง
กาหนดเวรยามซึ่งติดอยู่ที่ประชุมกลางชุมชน (ภาพที่ 4)
ชุดปฏิบัติการ (ชป.) จะใช้เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า “เครื่องแดง” หรือวิทยุสื่อสารเครื่องสีแดงใน
การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น อีกทั้งเป็นกลุ่มประสานงานด้านสาธารณูปโภคใน
1
ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาดูงานเมืองยะลา เมื่อวันที่ 16-18 มกราคม พ.ศ.2558 จัดโดยแผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคต
ของเมือง ภายใต้ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ ม.รังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของ
สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภาพที่ 3 แผนผังการจุดตรวจของเจ้าหน้าที่
กลุ่มต่างๆ ในชุมชน
ภาพที่ 4 ตารางการปฏิบัติการของ ชป.
9
ชุมชน เมื่อมีการขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน เช่น ไฟดับ น้าไม่ไหล ท่อตัน เป็นต้น ชุดปฏิบัติเหล่านี้
ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงในการทางาน จัดอบรมการรักษาความปลอดภัย
หรือตอบสนองอย่างรวดเร็ว เมื่อชุดปฏิบัติการ (ชป.) ร้องขอความช่วยเหลือ
แม้ชุดปฏิบัติการ (ชป.) เป็นเสมือนตัวแทนของชุมชนที่คอยสอดส่องเหตุร้าย แต่ใช่ว่าสมาชิกใน
ชุมชนอื่นๆ นอกเหนือจากกลุ่มนี้ไม่สนใจชุมชน ซึ่งคนในชุมชนมีการรวมตัวประชุมให้ทุกคนคอยดูแลความ
ปลอดภัยของชุมชนร่วมกัน จึงเกิดเป็นระบบ “ตาสับปะรด” ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมของคน
แปลกหน้า รถทะเบียนแปลก สารวจหน้าบ้านทุกเช้าว่ามีวัตถุต้องสงสัยหรือไม่ จากเมื่อก่อนไม่เคยสังเกต
คนที่จอดรถนานๆ แต่ตอนนี้ชุมชนตื่นตัว แจ้งเหตุเพื่อตรวจสอบทุกอย่าง เป็นการป้องกันดีกว่าแก้ไข
จากการเกิดชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการร่วมมือกันสังเกตการณ์ดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชน
แล้ว พบว่า เหตุการณ์ระเบิด การยิงกัน โจร ในชุมชนลดน้อยลงมาก จนปัจจุบันแทบไม่มีเหตุการณ์เหล่านี้
อีกแล้ว อีกทั้งทาให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้นจากเดิมมาก จากตอนแรกต้องอยู่กันด้วยความกลัว
แต่เมื่อชุมชนมีกลุ่ม มีการรวมตัว มีการทางานร่วมกันมากยิ่งขึ้น ทาให้ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เป็นส่วนช่วยให้
การพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ ได้รับความร่วมมืออย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประเพณีต่างๆ วันปีใหม่
เข้าพรรษา หรือกิจกรรมทางศาสนาของมุสลิม รวมทั้งช่วยกันจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ดูแลเรื่องยาเสพ
ติด การดูแลสุขภาพคนในชุมชน เป็นต้น
เมื่อเกิดชุดปฏิบัติ (ชป.) หลากหลายกลุ่ม ประสานร่วมกันเจ้าหน้าที่รัฐ ทาให้การดูแลรักษาความ
ปลอดภัยในเมืองยะลา สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ (ภาพที่ 1) ช่วยบรรเทาความ
กลัวและป้องกันการเกิดเหตุการณ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น
ความปลอดภัยในเมืองยะลากับทุนทางสังคม
เมื่อวิเคราะห์ผ่านกรอบทุนทางสังคม จะเห็นว่าการทางานด้านความปลอดภัย ที่อาศัยการ
ปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการสอดส่องด้วยระบบ ตาสับปะรด เกิดขึ้นจากทุนทางสังคม ซึ่ง
เกี่ยวกับ ความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ความไว้วางใจ หรือความสัมพันธ์ในลักษณะที่รู้จักกัน “ดี” ของ
ภาพที่ 3 แผนผังการรักษาความปลอดภัยในเมืองยะลา โดยการจัดตั้งกลุ่ม ชป.
10
ชุมชน ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอด โดยมีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว คือ
ความกลัว และความสูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรง เกิดเป็นการรวมตัวและร่วมมือสอดส่องดูแลความ
ปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ
ด้วยความสัมพันธ์ลักษณะที่รู้จักกันดี มีความเป็นเครือญาติ ใกล้ชิดกัน ทาให้คนในชุมชนสามารถ
วางใจในการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ (ชป.) ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ดูแลความปลอดภัยของชุมชน
โดยสามารถแจ้งเหตุทุกเรื่องให้กับชุดปฏิบัติการ (ชป.) ให้ประสานงานช่วยเหลือ ไม่ว่าจะไฟดับ น้าไม่ไหล
และที่สาคัญสามารถแจ้งเหตุเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยที่เข้ามาในหมู่บ้าน และได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วได้
ทาให้ผลลัพธ์ของการใช้ทุนทางสังคมนี้ เหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นน้อยลงมาก ชาวบ้านรู้สึกปลอดภัยมาก
ยิ่งขึ้น บรรเทาความกลัวในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในพื้นที่ได้ เพราะความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่
รู้จักกันเป็นอย่างดี การมีคนอื่นที่ไม่ใช่คนในชุมชนแปลกปลอมเข้ามาในชุมชน หรือเป็นคนในชุมชนเองที่มี
พฤติกรรมที่น่าสงสัยแปลกไปจากเดิม ย่อมทาให้คนในชุมชนสามารถจับสังเกตและแจ้งเหตุให้เจ้าหน้าที่มา
ตรวจสอบได้ เป็นการเรียกและอาศัยประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว ให้กลายเป็นทุนที่สร้างประโยชน์
กลับให้ชุมชนและสร้างประสิทธิภาพในการทางาน
ทุนทางสังคมดังกล่าวจะมีเป็นทุนที่ได้เปรียบและช่วยสร้างประสิทธิภาพอย่างไรในด้านความ
ปลอดภัย ผู้อ่านต้องลองเทียบกับการรักษาความปลอดภัยในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ซึ่งผู้คนในเมืองขาด
การมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สนิทสนม ไว้ใจกัน มีวิถีชีวิตต่างคนต่างอยู่ มีเพียงความสัมพันธ์แบบผิวเผิน
ซึ่งคนในหมู่บ้านเดียวกัน ยังไม่สามารถจดจาหน้ากันได้ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะร่วมช่วยกันสอดส่องถึงสิ่ง
ที่ผิดปกติไป หรือเกิดความไว้ใจ จนเกิดการช่วยเหลือดูแลกันเองในการดูแลบริเวณที่ตัวเองอาศัยอยู่ได้ แม้
ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงแบบในสามจังหวัด แต่ในกรุงเทพฯ มักเกิดเหตุความรุนแรง อาชญากรรม อยู่
เสมอ กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมที่ทุกคนต้องช่วยตนเอง ดังนั้นทุนทางสังคมในชุมชนของยะลาจึงเป็น
“ทุน” ที่ได้เปรียบและช่วยทาให้สร้างให้เกิดความปลอดภัยขึ้นมาได้
การรักษาความปลอดภัยในเมืองยะลา จากปัจจัยทุนทางสังคมเช่นนี้ ยังช่วยให้เกิด การลดต้นทุน
ในการทางาน ด้วย เมื่อมีลงทุนบางอย่างเกิดขึ้น ทุนทางสังคม จะช่วยให้ลดต้นทุนด้านตัวเงินให้มี
ค่าใช้จ่ายในทุนอื่นๆ น้อยลง ซึ่งจากกรณีนี้ ทุนทางสังคมช่วยให้เกิดการลดต้นทุน โดยเฉพาะทุนมนุษย์
(human capital) คือชุมชนไม่ต้องจ่ายเงินจ้างคนมาดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เพราะทุกคนมี
สามารถเป็นอาสาสมัคร และสอดส่องดูแลชุมชนอย่างแข็งขัน เพราะหากไม่มีทุนทางสังคมนี้ แน่นอนว่าเมื่อ
ความปลอดภัยจากรัฐไม่เพียงพอ คนในพื้นที่นั้นๆ จะต้องใช้เงินจ้างหน่วยงานรักษาความปลอดภัยจาก
ภายนอก คล้ายกับการจ้างยามดูแลหมู่บ้านในเมืองใหญ่ๆ เข้ามาดูแลเพิ่มเติมแน่นอน
ท้ายที่สุดชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการสอดส่องร่วมกันของชุมชน (ตาสัปปะรด) ซึ่งได้เกิดขึ้นจาก
ปัจจัยของการมีทุนทางสังคม ที่อาศัยความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ การเกื้อกูลกัน เมื่อการดูแลความ
ปลอดภัยได้ผล และสามารถดาเนินไปได้ดีเช่นนี้ ยิ่งทาให้เกิดแนวโน้มที่จะเชื่อใจกันมากขึ้น มี
ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมากขึ้น กลายเป็นทุนทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถ “เพิ่มทุน” หรือ
เรียกใช้ “ทุน” ดังกล่าวในการพัฒนาเรื่องอื่นๆ ในชุมชนได้อย่างดี อีกทั้งได้เชื่อมต่อร่วมกับชุดปฏิบัติการ
(ชป.) หน่วยอื่น เชื่อมกับเทศบาลนครยะลา และเจ้าหน้าที่รัฐในเมือง ก็จะทาให้เกิดเป็นเครือข่ายทาง
11
สังคม (network) ด้านรักษาความปลอดภัย ที่กลายเป็นแหล่งรวมความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย
ใหญ่ในเมืองยะลาได้
2. การสร้างเศรษฐกิจเมือง : โครงการ Yala bird city
หลายคนรู้จักยะลา เพราะ มหกรรมการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน (Yala bird city) เป็น
การแข่งขันนกกรงหัวจุกใหญ่ที่สุดในโลก ใช้นกแข่งกันกว่า 8,000 ตัว จัดแข่งขันมากว่า 30 ปี เป็นโครงการ
ที่เป็นจุดเด่นของเทศบาลนครยะลา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ได้สร้าง
ผลกระทบเชิงบวกแก่ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับนก ตั้งแต่ธุรกิจผู้เลี้ยงนก คือ ธุรกิจฟาร์มนกและการเพาะเลี้ยงนก
ที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ขายลูกนกโดยผู้ซื้อจะมาซื้อถึงฟาร์ม และมีการส่งออกไปยังต่าง
ประเทศ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ธุรกิจต่อมา กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์การเลี้ยงนก คือ กลุ่มอาชีพ
ทากรงนก หัวกรงนก ตะขอกรงนก กลุ่มอาชีพที่ตัดเย็บเสื้อกรงนก กลุ่มผลิตอาหาร อาหารเสริม และยา
รักษาโรคสาหรับนก หรือเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหิน ผลไม้พื้นเมืองจังหวัดยะลา สุดท้ายคือกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้
เกี่ยวกับนกโดยตรง เช่น ร้านน้าชา ธุรกิจโรงแรม ขนส่ง ร้านอาหาร สินค้า OTOP ที่นามาเป็นของรางวัล
ทุกประเภท ของที่ระลึก รวมถึงสินค้าที่นามาวางขายรอบๆ สนามแข่งขัน ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์
จากการแข่งขันนก ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน และสร้างความแข็งแกร่งทาง
เศรษฐกิจและการค้า ส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างความสามัคคี สร้างสันติภาพให้เกิดในเมือง และทาให้เมือง
ยะลาเป็นเมือง Yala bird city (YBC)
หากเจาะลึกมาที่การบริหารงานของ Yala bird city จะเห็นว่าการเป็นเมืองแห่งนกที่ยะลานี้ มีการ
บริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม
ทางานร่วมกันจนเกิดเป็นการโยงใยเป็นเครือข่ายของ Yala bird city (ภาพที่ 5) โดยมีหน่วยงานหลักคือ
เทศบาลนครยะลา เป็นตัวกลางในการเชื่อมภาคส่วนต่างๆ
ภาพที่ 4-5 มหกรรมการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน
12
Yala bird city กับทุนทางสังคม
ความสาเร็จของ Yala bird city ในฐานะโครงการสาคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง สร้างสันติภาพ
(ทุกศาสนาเข้าร่วม) กลายเป็นจุดเด่นของยะลา เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกถึงของจุดเริ่มต้น ปัจจัยการทางาน
รวมถึงสิ่งที่ทาให้โครงการดังกล่าวยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า Yala bird city เป็นการขับเคลื่อนที่
อาศัยทุนทางสังคม
Yala bird city เป็นหนึ่งโครงการในเมืองที่อธิบายให้เห็นภาพได้ชัดเจน ของการใช้ประโยชน์ของ
ทุนทางสังคม เพราะขึ้นชื่อว่าเป็น “ทุน” ในทางเศรษฐศาสตร์ย่อมต้องสามารถเรียกประโยชน์จากทุน
ดังกล่าวในเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) หรือสร้างผลผลิตย้อนคืนกลับมา
ได้ จากโครงการ Yala bird city อธิบายได้ว่า การที่เทศบาลนครยะลาเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรมของคน
ยะลา ซึ่งมีวัฒนธรรมการเลี้ยงนกเขา เป็นวิถีชีวิต หรือ ความนิยมของคนยะลา ซึ่งเป็น”ทุนทาง
วัฒนธรรม”ที่มีในเมืองอยู่แล้ว “ดึงทุน” ดังกล่าวขึ้นมาเรียกผลประโยชน์ สร้างเป็นโครงการแข่งขัน สร้าง
เงิน สร้างเศรษฐกิจ พร้อมเป็นตัวกลางดึงหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนงาน โยงใยกลายเป็นเครือข่าย
Yala Bird city ซึ่งมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมดังภาพที่ 5
เมื่อนาทุนเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ย่อมทาให้สร้างประโยชน์ได้เร็ว เพราะได้รับความร่วมมือ
จากคนในเมืองจานวนมาก เพราะวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนยะลาที่ให้ความสาคัญกับการเลี้ยงนก เป็น
สิ่งที่คนในเมืองชื่นชอบและคุ้นเคย “ดี”อยู่แล้ว เมื่อมีช่องทางที่ทาให้เกิดเป็นรายได้ และสร้างความสนุกได้
เช่นนี้ จึงส่งนกเข้าร่วมแข่งขันจานวนมาก ทาให้ผลลัพธ์ของการใช้ทุนทางสังคม ได้สร้างประโยชน์ทาง
เศรษฐกิจมหาศาล ทั้งต้นน้า กลางน้า ปลายน้า ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่ใช้ทุนทางปัญญา และศิลปะท้องถิ่น
สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เช่น กลุ่มอาชีพทากรงนก หัวกรงนก ตัดเย็บเสื้อนก เป็นต้น อีกทั้งยัง
เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากโครงการนี้ เช่น กล้วยหิน เป็น
กล้วยที่ใช้เป็นอาหารของนก จากเดิมหวีละ 15-20 บาท ปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นเป็น 40-45 บาท
เมื่อมองย้อนกลับไป โครงการ Yala bird city เป็นตัวกลางที่ช่วยทาให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้
เกิดขึ้นระหว่างคนเลี้ยงนก ที่จะมารวมตัวกันในงานวันนั้น หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านั้นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์
ติดต่อกัน เพื่อดูแลนกให้ดีที่สุด เตรียมความพร้อมสาหรับการแข่งขัน หรือย้อนกลับไปมากกว่านั้น คือ
ภาพที่ 5 แผนผังการเครือข่ายการทางานโครงการ Yala Bird City โดยเทศบาลนครยะลา
13
วัฒนธรรมการเลี้ยงนกของคนยะลา เป็นวิถีวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในสังคม
และก่อให้เกิดเป็นทุนทางสังคมขึ้น ซึ่งทั้งวัฒนธรรมการเลี้ยงนก และโครงการแข่งขันนก เป็นการเรียกใช้ทุน
ทางสังคมให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริม เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เป็นกลไกที่สร้างความสัมพันธ์ และคง
ความสัมพันธ์ของคนในเมืองไว้ด้วยกันอีกด้วย
ท้ายที่สุด โครงการ Yala bird city ของเทศบาลนครยะลา ได้เป็นตัวกลางที่สามารถรวมกันทุก
ภาคส่วนให้กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ได้เกิดจาก “ทุน” ที่มีอยู่แล้วในสังคม จากวัฒนธรรม วิถีชีวิต
ความนิยมชื่นชอบ รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้ใจ การช่วยเหลือกัน การทางานเป็นทีม การให้ความ
ร่วมมือกับทุกภาคส่วน มิเช่นนั้นโครงการนี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ หรือยังคงดาเนินได้อย่างต่อเนื่อง
และที่สาคัญการเรียกประโยชน์จาก “เมื่อทุนเหล่านี้” ได้ก่อให้เกิดการจับจ่าย ดึงดูดการท่องเที่ยว สร้าง
อาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย กลับเป็นรายได้ให้คนในเมืองยะลาได้ อีกทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์
โยงใยเป็นเครือข่ายใหญ่ในเมือง กระตุ้นให้มีความสัมพันธ์ที่ดี ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ช่วยเหลือกันมากขึ้น และ
จะส่งผลดีในการเรียกประโยชน์ “ทุน” นี้ในการสร้างและพัฒนาเมืองด้านอื่นได้ คล้ายกันที่ ประเวศ วะสี
(2540,อ้างใน อาจยุทธ เนติธนากุล และโยธิน แสวงดี,2547) กล่าวว่า ทุนทางสังคมคือ การที่คนมารวมกัน
และเป็นการเอาทั้งความดี ความรู้ มารวมกัน และนาไปสู่การสร้างพลังทางสังคมซึ่งสามารถนาไปสู่การแก้ไข
ปัญหาต่างๆ ได้
3. เทศบาลนครยะลา ทุนทางสังคมอันเท่าเทียมและทั่วถึงของคนยะลา
เนื่องจากทุนทางสังคมมีหลายระดับ และทุนทางสังคมในระดับบนสุด คือ สถาบันหรือนโยบาย
ของรัฐ หรือประชาสังคมที่เชื่อมโยงสมาชิกไว้ด้วยกัน เป็นความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน
หรือองค์ ในรูปของกลุ่มและรูปเครือข่าย (2001,อ้างใน ประชาธิป กะทา,2547) เทศบาลนครยะลาในฐานะ
หน่วยงานความหวังที่ทางานใกล้ชิดกับประชาชน จึงเป็นทุนทางสังคมที่สาคัญของคนยะลา หากเรา
ย้อนกลับไป ทุนทางสังคม คือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกันแล้ว หน่วยงานท้องถิ่นต้องเป็นทุนที่
ประชาชนทุกคนเข้าถึง ต้องออกแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ทุกคน จะต้องสร้างการมี
ปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด (สินาด ตรีวรรณไชย,2546)
จากการศึกษาการทางานของเทศบาลนครยะลา จะเห็นว่า เทศบาลนครยะลา ในฐานะผู้นาในการ
ขับเคลื่อนเมือง การพัฒนาทุกด้านในเมืองยะลาล้วนแล้วแต่เกิดจากการคิด หรือสนับสนุน ไม่มากก็น้อยของ
เทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกใช้ประโยชน์จาก “ทุนทางสังคม” ที่มีในยะลาสร้างให้เกิดประโยชน์มาก
ที่สุด และเป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาเมืองด้านต่างๆ ขึ้น และที่สาคัญ
เทศบาลนครยะลา คือทุนทางสังคมอันเท่าเทียมและทั่วถึงของคนในเมืองยะลา
เท่าเทียมและทั่วถึงอย่างไร เมื่อศึกษาการทางานของเทศบาลนครยะลา2
จะเห็นว่า เทศบาลนคร
ยะลาได้ออกแบบให้ตัวเองเป็นทุนทางสังคมสาหรับประชาชน ตั้งแต่การวางแนวคิดการบริหารเมือง การมี
2
ข้อมูลจากการนาเสนอของนายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา ในที่ประชุม “คณะกรรมการกากับทิศทาง ครั้งที่
1/2557” เมื่อวันจันทร์ ที่ 29 กันยายน 2557 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ หลักสี่ กทม. ระหว่างเวลา 09.30 – 12.00 น และจากการศึกษาดูเมือง
ยะลา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 10.00 – 12.30 น. จัดโดยเทศบาลนครยะลา และแผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนา
อนาคตของเมือง ภายใต้ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสานักงาน
กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
14
ส่วนร่วม และการกระจายอานาจเป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดของการบริหารเมือง3
ทาให้เทศบาลนครยะลาให้
ความสาคัญในการเปิดโอกาสให้คนยะลาได้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารเมือง โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุก
ระดับ โดยเฉพาะระดับชุมชน กับกิจกรรมการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น สร้างเป็นพื้นที่ในการนาเสนอความ
คิดเห็นของทั้งสองฝ่าย เช่น เวทีสภาประชาชน เวทีประชุมใหญ่ระดับเมือง เวทีสภากาแฟเพื่อประชาชน
สาหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมอื่นๆ เทศบาลสัญจร ร่วมเยี่ยมชุมชนทั้งหมดของเทศบาลฯ การ
ประชุมประธานชุมชน เป็นต้น
ส่วนการกระจายอานาจ เทศบาลนครยะลาพยายามกระจายอานาจให้ชุมชนได้บริหารจัดการพื้นที่
ของตนเองให้มากที่สุด เนื่องจาก 40 ชุมชน มีความแตกต่างกัน ชุมชนต้องมีบทบาทในการออกแบบเมือง
เช่น กระจายงบประมาณชุมชนละ 50,000 บาท เพื่อสร้างกิจกรรมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้
ชุมชนดูแลจัดการสนามฟุตบอลในเมือง ดูแลชมรมกีฬาต่างๆ ทั้งนี้การกระจายอานาจจะช่วยเป็นกลไกใน
การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การทางานเป็นทีม ซึ่งจะยิ่งทาให้เกิดเป็น “ทุนทางสังคม” ที่มากยิ่งขึ้น
ทุนทางสังคม ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ทุน” ย่อมต้องเกิดจากการสะสม และมีกระบวนการดารงรักษา การ
สะสมทุนดังกล่าวเพื่อสร้างความเหนียวแน่นของสัมพันธภาพให้คงเส้นคงวา เทศบาลนครยะลาในฐานะทุน
ทางสังคมใหญ่ของคนยะลา จึงจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นในเมือง เช่น มหกรรมการแข่งนกเขาชวาเสียงอาเซียน
, กิจกรรม มาลายู เดย์ ออฟ ยะลา4
, กิจกรรมวันเด็ก ,ประเพณีชักพระ ,งานเทศกาลอาหารจานเด็ดสาม
จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เข้ามาเป็นเครื่องมือใน “การสร้างทุน” และทา
ให้เกิดการสะสม “ทุน” ในเมืองยะลา ให้คนมีปฏิสัมพันธ์ มีกิจกรรมสังสรรค์ร่วมกัน เมื่อมีการสะสมทุน
เกิดขึ้น “ทุน” ดังกล่าวจะกลายเป็น “ทุน” ที่มีค่า สาหรับนาไปใช้ “ต่อ” ในด้านอื่นต่อไป
แต่ทั้งนี้ทุนทางสังคมใช่ว่าจะสร้างแต่ประโยชน์ที่ดี หรือการมีทุนทางสังคมมากๆ จะใช้ประโยชน์
นาสู่แต่เรื่องที่ดีเท่านั้น ในอีกด้านหนึ่งทุนทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องหลักๆ ที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ ความ
ไว้ใจซึ่งกันและกันนั้น เกิดผลเสียเช่นเดียวกัน เช่น การกีดกันคนนอก เพราะความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้น
คุ้นเคยกัน ทาให้เลือกเฉพาะแต่คนที่อยู่ในกลุ่มความสัมพันธ์ เกิดอคติโดยไม่รู้ตัว ที่ร้ายแรงที่สุด คือ ทุน
ทางสังคมอาจกลายเป็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่ไปใช้ประโยชน์ในทางเลวร้าย เช่น กลุ่มเครือข่ายยาเสพติด แก๊ง
มาเฟีย นาไปสู่การเรียกเก็บค่าคุ้มครอง หรือการเกิดคอรัปชั่นในทุกที่ เป็นต้น
เมื่อทุนทางสังคมถูกนาไปใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้แล้ว ย่อมเป็นอันตรายต่อสังคม และการพัฒนา
เป็นอย่างยิ่ง โดยวิธีการป้องกันหรือแก้ไขไม่ให้ทุนทางสังคมไปใช้ในทางที่ผิดนั้น มีกฎหมายและบรรทัด
ฐานของสังคมคอยตรวจสอบและลงโทษอยู่ แต่ทั้งนี้ก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมด เพราะมีปัจจัย มีความ
3
แนวคิดการบริหารเมืองของเทศบาลนครยะลา ข้อมูลจากการถอดความของนายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ ในหนังสือ เรื่อง เมืองยะลา เมือง
สิงคโปร์แห่งที่ 2 จัดทาโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
4
กิจกรรม มาลายูเดย์ ออฟ ยะลา จัดโดยเทศบาลนครยะลาร่วมกับเครือข่ายกว่า 52 เครือข่าย เป็นกิจกรรมที่เมืองยะลาเป็นแห่งแรกของ
ประเทศไทยที่จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมมาลายู ช่วยตอบโจทย์ด้านสันติสุข ด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ใช้สินค้าและเรื่องราวของคน
มาลายูเป็นจุดเด่นในงาน
15
ซับซ้อน หรือโครงสร้างทางสังคมเกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้นบทลงโทษทางกฎหมายจึงแก้ไขปัญหาหรือป้องกันได้
เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทุนทางสังคมจะถูกนาไปใช้ประโยชน์ในด้านที่เป็นผลดีหรือด้านที่ผลร้ายนั้น จึง
ย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรม ความรับผิดชอบชั่วดีของผู้ใช้เป็นส่วนสาคัญ แต่ทั้งนี้หลายภาคส่วน เช่น รัฐ ศาสนา
โรงเรียน ต้องบริหารจัดและส่งเสริมให้คนที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ขจัดความเหลื่อมล้าในสังคม ทั้ง
ทางด้านเศรษฐกิจ ทางการศึกษา ให้คนสามารถเข้าถึงทรัพยากรเท่าเทียมกัน เพราะหลายคนตัดสินใจเลือก
ทาในเรื่องที่ผิดกฎหมาย หรือเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งความเลวร้าย เพราะปัจจัยแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่กดดัน
ด้วย
สรุป
เมืองยะลามีการพัฒนาขับเคลื่อนเมืองอย่างต่อเนื่อง แม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ โดย
มีปัจจัยทุนการพัฒนาเมืองหลากหลาย แต่ “ทุน” อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาเมืองยะลา คือ ทุนทาง
สังคม ซึ่งเทศบาลนครยะลา หน่วยงานหลักที่ดูแลเมืองยะลา ได้ใช้ประโยชน์จากทุนดังกล่าวให้เกิด
ประโยชน์สูงสุดให้เกิดรายได้เป็นตัวเงิน และเป็นพลังในการจัดการกับปัญหาต่างๆ หรือวิกฤตที่เมืองกาลัง
เผชิญ เช่น การรักษาความปลอดภัยในเมือง เป็นต้น
แม้ทุนหลายอย่างจะมีราคาค่าเสื่อม เมื่อถูกนาไปใช้มากๆ ย่อมมีวันหมดหรือเสื่อมราคาลง แต่
สาหรับทุนทางสังคม เป็น “ทุน” ที่แตกต่างจากทุนอื่น เพราะยิ่งถูกนาไปใช้ประโยชน์เท่าไหร่ ย่อมสะท้อน
กลับให้ทุนนี้มีเพิ่มมากขึ้น และยิ่งทาให้เป็นทุนที่แข็งแรง เป็น “ทุน” ที่ยิ่งใช้ยิ่งดี ยิ่งทาให้เกิดความสัมพันธ์ที่
ดี เรียงร้อยให้คนร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันมากขึ้น
“ทุนทางสังคม” เป็นทุนในลักษณะที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ และไม่สามารถมองเห็นด้วยตา
เปล่า แต่ความสัมพันธ์ที่เกิด และสิ่งที่อยู่ในทุนนี้ กลับก่อให้เกิดพลังบางอย่างที่ยึดคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน
มากขึ้น และกลายเป็นจุดแข็งของการพัฒนาเมืองซึ่งส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ต่างจังหวัดที่อาศัย “ทุน”
ดังกล่าวนี้ เป็นทุนที่มีค่า ในการขับเคลื่อนเมือง
16
บรรณานุกรม
ประชาธิป กะทา.(2547). “การศึกษาทุนทางสังคมและบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้าน
สุขภาพ : กรณีศึกษาประชาคมสุขภาพหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย”.
กรุงเทพมหานคร : สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
พงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ.(2558).”เมืองยะลา เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2” กรุงเทพฯ : แผนงานนโยบาย
สาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยารังสิต.
สินาด ตรีวรรณไชย.(2546). “ทุนทางสังคม : ความหมายและความสาคัญ” .จุลสารกลุ่มประชาธิปไตย
เพื่อประชาชน ฉบับที่ 33. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.pxp.in.th (28 กุมภาพันธ์ 2558)
อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล,(2555). “รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม”.คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อาจยุทธ เนติธนากุล และโยธิน แสวงดี.(2547). “แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนในมิติพลวัตทาง
ประชากร ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์และองค์ความรู้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ใหม่”.วารสารสุโขทัยธรร
มาธิราช.

More Related Content

What's hot

Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
ITitle A'lohaa
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
I'Lay Saruta
 
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
FURD_RSU
 
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าวโครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
i_drm
 
แบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยวแบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยว
Z'Jame Clup
 
ความเป็นพลเมืองโลก
ความเป็นพลเมืองโลกความเป็นพลเมืองโลก
ความเป็นพลเมืองโลก니 태
 
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยวผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
Bituey Boonkanan
 
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียงความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
FURD_RSU
 
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลาผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
FURD_RSU
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
Calvinlok
 
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารkrubuatoom
 
โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8Aungkana Na Na
 
โครงงานอิเล็ก6
โครงงานอิเล็ก6โครงงานอิเล็ก6
โครงงานอิเล็ก6Wichai Likitponrak
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้waraporny
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
FURD_RSU
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
พัน พัน
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3
Arisa Srising
 
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
Sarit Tiyawongsuwan
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...krupornpana55
 

What's hot (20)

Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
Isโครงการหมาน้อยร้อยฝันแก้ไข2
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
 
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน  กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
กรอบคิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
 
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าวโครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
โครงงานประโยชน์ของมะพร้าว
 
แบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยวแบบโครงการท่องเที่ยว
แบบโครงการท่องเที่ยว
 
ความเป็นพลเมืองโลก
ความเป็นพลเมืองโลกความเป็นพลเมืองโลก
ความเป็นพลเมืองโลก
 
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยวผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
ผลกระทบแหล่งท่องเที่ยว
 
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียงความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
ความเป็นเมืองของจังหวัดนครปฐมและพื้นที่ใกล้เคียง
 
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลาผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
ผังเมืองกับการจัดการเมืองยะลา
 
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์
 
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสารคุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
คุณธรรมและมารยาทในการสื่อสาร
 
โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8โครงงานพัฒนาเกม 8
โครงงานพัฒนาเกม 8
 
โครงงานอิเล็ก6
โครงงานอิเล็ก6โครงงานอิเล็ก6
โครงงานอิเล็ก6
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
 
Social media with Thailand
Social media with ThailandSocial media with Thailand
Social media with Thailand
 
โครงงานIs3
โครงงานIs3โครงงานIs3
โครงงานIs3
 
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
กระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
 
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
ถอดบทเรียนองค์ประกอบที่ 1 การดำเนินการส่งเสริมสภานักเรียน และประชาธิปไตยในโรง...
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา

หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนthanathip
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง daSaiiew
 
10741756 764342770324920 1621793549_n
10741756 764342770324920 1621793549_n10741756 764342770324920 1621793549_n
10741756 764342770324920 1621793549_n
วีรวัฒน์ สว่างแสง
 
[mmuj5
[mmuj5[mmuj5
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .Bank'Tanawat Kongchusri
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมthnaporn999
 
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดียSWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
PaphadaPaknaka
 
Social network
Social networkSocial network
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pbบทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
นางสาวอัมพร แสงมณี
 
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
Krieangsak Pholwiboon
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
Pz'Peem Kanyakamon
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
Klangpanya
 
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
วีรวัฒน์ สว่างแสง
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
Klangpanya
 
Social Media (โซเชียลมีเดีย)
Social Media (โซเชียลมีเดีย)Social Media (โซเชียลมีเดีย)
Social Media (โซเชียลมีเดีย)Kanda Runapongsa Saikaew
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือboomlonely
 

Similar to ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา (20)

หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง daL3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม  และการเมือง da
L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da
 
10741756 764342770324920 1621793549_n
10741756 764342770324920 1621793549_n10741756 764342770324920 1621793549_n
10741756 764342770324920 1621793549_n
 
[mmuj5
[mmuj5[mmuj5
[mmuj5
 
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .
. เครือข่ายสังคมออนไลน์ .
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดียSWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
SWU151 หัวข้อ ลดการใช้โซเชียลมีเดีย
 
Microsoft word สัปดาห์ที่13
Microsoft word   สัปดาห์ที่13Microsoft word   สัปดาห์ที่13
Microsoft word สัปดาห์ที่13
 
Social network
Social networkSocial network
Social network
 
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pbบทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
บทที่ 2 สารสนเทศชุมชน pb
 
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้างโครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
โครงงานหนึ่งเสียงเปิดโลกกว้าง
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
แนวคิดเกี่ยวกับเครือข่ายสังคมออนไลน์
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
Social Media (โซเชียลมีเดีย)
Social Media (โซเชียลมีเดีย)Social Media (โซเชียลมีเดีย)
Social Media (โซเชียลมีเดีย)
 
รวมคู่มือ
รวมคู่มือรวมคู่มือ
รวมคู่มือ
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
FURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
FURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
FURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
FURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
FURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
FURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
FURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
FURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
FURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
FURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 

Recently uploaded

atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 

Recently uploaded (10)

atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 

ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา

  • 3. 3 ผู้เขียน : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง บรรณาธิการบริหาร : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : นางสาวยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : นายฮาพีฟี สะมะแอ, นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง, นายอรุณ สถิตพงศ์สถาพร ปก : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง รูปเล่ม : นางสาวณัฐธิดา เย็นบารุง ปีที่เผยแพร่ : กันยายน พ.ศ. 2558 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้ แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 4 ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา หากพูดถึงการพัฒนาด้านต่างๆ ในประเทศไทย มักจะประกอบด้วยทุนหลายประเภทในการพัฒนา ไม่ว่าจะเป็น ทุนมนุษย์ ทุนกายภาพ ทุนทรัพยากร และทุนอีกหนึ่งประเภทซึ่งจับต้องไม่ได้เหมือนทุนอื่น คือ “ทุนทางสังคม” เป็นส่วนส่งเสริมที่สาคัญในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น เป็นข้อได้เปรียบใน การนามาขับเคลื่อนการพัฒนา เช่น การพัฒนาชุมชน มักจะเริ่มต้นการพัฒนาโดยการใช้ความสัมพันธ์ที่ ใกล้ชิด สนิทสนมกัน มีความเป็นเครือญาติ ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของชุมชนในไทยอยู่แล้ว นาความสัมพันธ์ที่ ดีนี้มาสร้างให้เกิดประโยชน์ที่ดีแก่คนในชุมชน เช่น การตั้งกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อปล่อยกู้ให้กับคนในชุมชน โดยที่ไม่ต้องมีผู้ค้าประกัน หรือการทารวมกลุ่มสร้างวิสาหกิจของชุมชน มักจะอาศัยความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ความไว้ใจ สนิทสนมกัน รวมกลุ่มกัน สร้างรายได้ให้กับกลุ่ม เป็นต้น เช่นเดียวกันกับการพัฒนาเมืองในประเทศไทย เมื่อศึกษาพร้อมวิเคราะห์ปัจจัยในการขับเคลื่อน พัฒนาเมือง ล้วนอาศัยจากปัจจัยที่เป็นลักษณะพิเศษทางสังคม เช่น ความเชื่อถือได้ของข้าราชการ (Trustworthiness of bureaucrat) การร่วมมือกัน (Cooperation) การทางานเป็นทีม (Teamwork) ความ เข้มแข็งของชุมชน ความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทาให้เกิดเครือข่ายทางสังคมขึ้น ช่วยให้มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ลดต้นทุนการทางาน แก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น โดยบทความเรื่องนี้จะทาให้ผู้อ่านเข้าใจได้ว่า ทุนทางสังคมมี ความสาคัญอย่างไร ทุนดังกล่าวช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเมืองอย่างไร โดยจะขอยกกรณีศึกษา ของการพัฒนาเมืองของยะลา แม้เป็นหนึ่งใน 3 จังหวัดที่มีความรุนแรง แต่ไม่หยุดการพัฒนา และสร้างเมือง เพื่อก้าวสู่ “เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2” ด้วยทุนทางสังคมที่มีอยู่มากมายในเมือง ทุนทางสังคมคืออะไร ความหมายหรือแนวคิดของทุนทางสังคม มีผู้ให้ความหมายไว้อย่างหลากหลาย ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ โดยจะยกความหมายของนักคิดเรื่องทุนทางสังคม ที่มีอิทธิพล และส่งต่อมาจนปัจจุบัน ดังนี้ ปิแอร์ บูดิเยอร์ (อ้างในอาจยุทธ ,2547) นิยามทุนทางสังคมในทัศนะของ Bourdieu มีสาระสาคัญ คือ 1. ทุนทางสังคมเป็นแหล่งรวมความสัมพันธ์ของสมาชิกกลุ่มและเครือข่ายทางสังคม สมาคมอาสาสมัครต่างๆ ความเป็นสมาชิกกลุ่ม การมีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายทางสังคมและ ความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกิดจากสมาชิกของกลุ่มเป็นทุนทางสังคม เพราะเป็นแหล่งรวมของการคบค้า สมาคมของสมาชิก ดังนั้น ทุนทางสังคมของ บูดิเยอร์ จึงเป็น Collective Phenomenon ความเป็นสมาชิก กลุ่มสามารถสร้างทุนทางสังคมที่ส่งผลต่อทุนประเภทอื่นๆ หลายด้าน การสร้างสมาคมอาสาสมัครต่างๆ จึง เป็นทั้งกลยุทธ์ระดับปัจเจก และส่วนรวมในการลงทุนเพื่อให้เกิดเครือข่ายความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน ซึ่งก็คือการ สะสมทุนทางสังคมนั่นเอง 2. ทุนสังคมมีคุณลักษณะทีเป็นทุนทางสัญลักษณ์ (Symbolic capital) ทุนทางสังคมอยู่บนพื้นฐานของการรับรู้และการตระหนัก (Cognition and Recognition) จึงมี คุณลักษณะทางสัญลักษณ์ (Symbolic characteristic) และเสนอว่าทุนทางสังคมจะแปรตามสถานกภาพ ทางสังคม (Social position) ของบุคคลนั้น ทุนทางสัญลักษณ์จะกลายเป็นอานาจที่ได้รับสถาปนา อยู่บน
  • 5. 5 เงื่อนไข คือ 1. วาทกรรมการแสดงออก คือ อานาจเชิงสัญลักษณ์เกิดจากการเป็นเจ้าของทุนทางสัญลักษณ์ ซึ่งทาให้ได้รับการยอมรับตามมา ระยะยาวจะได้รับการยอมรับในลักษณะของสถาบัน 2. ประสิทธิภาพเชิง สัญลักษณ์ คือ ทุนทางสัญลักษณ์ซึ่งทาให้ได้รับการยอมรับตามมา กลายเป็นอานาจที่จริงดารงอยู่ได้มาก เพียงใด ขึ้นอยู่กับ “การมองจากบุคคลอื่น” โดย บูดิเยอร์ เรียกว่า ประสิทธิภาพของทุนทางสัญลักษณ์ 3. ทุนทางสังคมจะแปรเปลี่ยนเป็นทุนเศรษฐกิจในที่สุด บูดิเยอร์ เห็นว่าทุนทางวัฒนธรรม ทุนทางสังคม และทุนทางสัญลักษณ์ ในที่สุดจะถูกแปรเปลี่ยน เป็นทุนทางเศรษฐกิจทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียน (ทุนทางเศรษฐกิจ) จะนาไปสู่การได้รับ การยอมรับทางวิชาชีพ (เป็นทุนทางวัฒนธรรมและทุนทางสัญลักษณ์) และจะถูกแปรเปลี่ยนเป็นทุนทาง เศรษฐกิจ โดยการมีงานทาตามความต้องการของตลาดในที่สุด เจมส์ เอสโคลแมน (James S. Coleman) นักสังคมวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยชิคาโก โคลแมน ได้ให้ ความหมายทุนทางสังคมว่า ตามหน้าที่แล้ว ทุนทางสังคมประกอบด้วยสิ่งต่างๆที่มี แง่มุมเชิงโครงสร้างที่ สามารถช่วยมนุษย์ให้กระทากิจกรรมบางอย่างได้ โดยทุนทางสังคมก็เหมือนกับทุนอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดการ ผลิตได้ และทุนทางสังคมต่างจากทุนอื่นๆตรงที่ ฝังตัวอยู่ในความสัมพันธ์ ระหว่าง คนกับงาน องค์กรกับ องค์กร (เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลในวงการธุรกิจ) โดยทุนทางสังคมจะดารงอยู่ ภายใต้ 1. ความสัมพันธ์ที่ แน่นแฟ้ น กล่าวคือ มีพันธะผูกพันความคาดหวัง ไว้เนื้อเชื่อใจกัน มีช่องทาง การเผยแพร่ ข้อมูล ข่าวสาร บรรทัดฐานของสังคมและการลงโทษที่ได้ผล 2. โครงสร้างทางสังคม ที่มีความใกล้ชิดของเครือข่ายและมี องค์กรภายใต้โครงสร้างสังคมที่เหมาะสม โรเบิร์ต ดี พัทนัม (1995 อ้างใน อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล,2555 ) ให้ความหมาย ทุนทางสังคม หมายถึง วิถีชีวิตทางสังคมอันประกอบด้วย องค์ประกอบที่สาคัญ 3 ประการคือ (1) เครือข่ายทางสังคม (2) บรรทัดฐานของสังคม และ (3) ความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกันที่ส่งเสริมให้เกิดความ ร่วมมือกันอย่างมี ประสิทธิภาพเพื่อเป้าหมายของส่วนรวม โดยเครือข่ายทางสังคม (social network) ยังอาจแยกย่อยลงไป อีก 3 ระดับคือ 1. ครือข่ายในหมู่เครือญาติและเพื่อนสนิท (Bonding Networks) เป็นความสัมพันธ์กับบุคคลที่ มีความ ใกล้ชิดและคล้ายคลึงกัน (homogeneous groups) ที่ให้การสนับสนุนทางด้าน กายภาพและอารมณ์ แก่เจ้าของทุนในยามจาเป็น ช่วยให้บุคคลสามารถดาเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข 2. เครือข่ายในองค์กรอย่างเป็นทางการ (Bridging Networks) หมายถึงการเป็นสมาชิก เป็น กรรมการ หรือคณะทางานในองค์กรต่างๆ โดยส่วนใหญ่เป็นเครือข่ายในทางวิชาชีพ หรือ เครือข่ายทางธุรกิจ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อหน้าที่การงาน หรือการ ตัดสินใจทางธุรกิจ 3. เครือข่ายข้ามกลุ่มฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจ (Linking Networks) เป็นเครือข่ายที่เกิดจากการ รวมกลุ่มของคนในสังคมที่มีความแตกต่างกันในอานาจหน้าที่ ฐานะทางสังคมและ เศรษฐกิจ เพื่อ เข้าถึงข่าวสารข้อมูล และทรัพยากรทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังมีการให้ความหมายทุนทางสังคมอีกหลายท่าน แต่ความหมายของทุนทางสังคมที่ น่าสนใจ คือ ความหมายในบทความของ สินาด ตรีวรรณไชย (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) อาจารย์คณะ
  • 6. 6 เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ให้ความหมายอย่างเห็นภาพที่ชัดขึ้น ว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมที่เราสามารถเรียกเอาผลประโยชน์ทาง เศรษฐกิจจากมันได้ ตัวอย่างของทุนทางสังคมที่มักถูกกล่าวถึงคือ ความเชื่อถือไว้วางใจกัน (Trust) เครือข่าย (Network) สถาบัน (Institution) ซึ่งความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมรูปแบบใดที่ เป็นทุนทางสังคมนั้น เราอาจพิจารณาง่ายๆว่า ท้ายที่สุดแล้วมันสามารถให้ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจกับเรา ได้หรือไม่นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น ชาวบ้านในชุมชนแห่งหนึ่งมีกิจกรรมร่วมมือกันอยู่เป็นประจา ทาให้ ชาวบ้านต่างเรียนรู้และเข้าใจ หรือ "รู้จัก" กันเป็นอย่างดี เป็นผลให้เมื่อชาวบ้านต้องการจัดตั้งกลุ่มออม ทรัพย์ขึ้นมาเพื่อระดมเงินออมและปล่อยกู้เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนราคาถูกให้คนในชุมชน มันก็จะเกิดขึ้นได้ ง่าย เพราะเมื่อมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีการโกงกันหรือเชิดเงินหนีไป ขึ้นชื่อ ว่า”ทุน”ต้องสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ ทุนทางสังคมโดยตัวของมันเองนั้นมิได้เป็น ปัจจัยการผลิตโดยตรง หากแต่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงปัจจัยการผลิตหรือทุนอื่น เช่น ข่าวสารข้อมูล ทุน มนุษย์ (Human capital) ทุนกายภาพ (physical capital) ทรัพยากรธรรมชาติ (Natural resources) เป็นต้น ในราคาที่ถูกลง โดยผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมนั่นเอง (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) นักเศรษฐศาสตร์สานักธนาคารโลก (2001,อ้างใน ประชาธิป กะทา,2547) สรุปว่า ทุนทางสังคม ระดับล่างสุด คือ การเป็นสมาชิกครอบครัว เครือญาติ หรือกลุ่มทางสังคม ในระดับกลาง คือความสัมพันธ์ ของบุคคลกับชุมชน และระดับบน คือ สถาบันหรือนโยบายของรัฐ หรือประชาสังคมที่เชื่อมโยงสมาชิกไว้ ด้วยกัน เป็นความสัมพันธ์ทางสังคมในแนวราบและแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน หรือองค์กร ทั้งในรูป ปัจเจก กลุ่ม และรูปเครือข่าย นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของความหมายของทุนทางสังคม ที่นักคิดหลายคนได้ให้ความหมายไว้ ซึ่ง โดยทัศนะผู้เขียนมองว่า ทุนทางสังคม คือ ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับ ความไว้ใจ ความ เกื้อกูลกัน ความสนิทสนมกัน ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์นี้มีหลายระดับหลายประเภท เช่น ความสัมพันธ์ใน ครอบครัว ความสัมพันธ์ในชุมชน ความสัมพันธ์องค์กร เป็นต้น ซึ่งความสัมพันธ์เหล่านี้ สามารถนามาสร้าง ประโยชน์ หรือการนาไปสู่การรวมกลุ่มให้แก่กลุ่มคนที่อยู่ในนั้นได้เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทาง เศรษฐกิจ หรือประโยชน์ด้านอื่นๆ จนท้ายที่สุดสามารถเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายใหญ่ๆ ได้ ทุนทางสังคมกับการพัฒนาเมืองยะลา อย่างที่กล่าวในข้างต้นว่า การพัฒนาเมืองในประเทศไทย เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยทุนจะพบว่า ทุกการ พัฒนาเมืองมักใช้ปัจจัยทุนทางสังคมเป็นส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมือง โดยเฉพาะการพัฒนา ที่อาศัยความเข้มแข็งของชุมชนในเมืองนั้นๆ อาศัยกลุ่ม เครือข่าย เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรต่างๆ ใน เมือง หากเมืองใดนา “ทุนทางสังคม” ใช้ในการพัฒนาเมืองมากเท่าไหร่ ยิ่งทาให้เมืองพัฒนาจาก ความสัมพันธ์อันดีให้เมืองพัฒนาอย่างมีคุณค่าและยั่งยืนได้ หากจะดูว่าทุนทางสังคมเป็นส่วนสาคัญในการขับเคลื่อนเมืองอย่างไร จึงต้องยกกรณีศึกษาเมืองที่มี การขับเคลื่อนพัฒนาเมืองอย่างมีจุดเด่นและประสบความสาเร็จเมืองหนึ่ง ที่ใช้ปัจจัยทุนทางสังคม เป็นทุน สาคัญ และต่อยอดพัฒนาจากทุนนั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อพัฒนาเมืองให้เกิดความยั่งยืน นั่นก็คือ เมืองยะลา เมืองที่อยู่ภายใต้การบริหารเมืองของ เทศบาลนครยะลา
  • 7. 7 เมืองยะลา ภายใต้การบริหารของเทศบาลนครยะลา ได้วางวิสัยทัศน์พัฒนาเมืองยะลาให้กลายเป็น เมือง “สิงคโปร์แห่งที่ 2” คือต้องการให้เมืองมีความน่าอยู่ มีความโดดเด่นด้านการศึกษาและการพัฒนาคน เมืองที่มีเศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดี เพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี มีคุณภาพชีวิตที่ดีในเมือง เทศบาลนครยะลาจึง วางแผนพัฒนาเมืองผ่านโครงการต่างๆ มากมาย ที่จะช่วยให้เมืองยะลากลายเป็นเมืองที่ดีคล้ายกับเมือง สิงคโปร์ จนได้รับรางวัลต่างๆ มากมาย เช่น รางวัลเมืองสร้างสรรค์ (creative city) จากโครงการ Yala bird city หรือ รางวัล UNESCO Cities for Peace Prize เมืองแห่งสันติภาพ ปี ค.ศ. 2002 – 2003 เป็นต้น อย่างที่ทุกคนทราบกันดีว่า เมืองยะลา เป็น 1 ใน 3 จังหวัดของชายแดนใต้ ที่ประสบปัญหาความไม่ สงบความรุนแรงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน เกิดความหวาดระแวง ความกลัว ผู้คนย้ายออก เศรษฐกิจซบเซาลง ไม่มีคนนอกเข้าไปเที่ยวใน เมือง เป็นสถานการณ์ที่เป็นอุปสรรคสาคัญของการพัฒนาเมือง ซึ่งในสภาวะเมืองที่มีปัญหาเช่นนี้ ไม่ได้ทา ให้เมืองยะลาหยุดการพัฒนา แผนและภารกิจต่างๆ ที่วางไว้ เพื่อมุ่งเข้าสู่สิงคโปร์แห่งที่ 2 ยังคงถูกดาเนิน ต่อไป โครงการต่างๆ ที่เคยดาเนินการ ยังคงดาเนินอยู่ต่อไป เช่น โครงการ Yala bird city อีกทั้งเทศบาล นครยะลายังสร้างโครงการใหม่ๆ ต่อยอดการพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น แผนการสร้างห้างสรรพสินค้า ชุมชน การจัดตั้งบริษัทชุมชน โครงการสร้างสวนสาธารณะในเมือง และอีกมากมาย การพัฒนาเมืองให้ก้าวเข้าสู่เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2 โดยพัฒนาเมืองทุกด้านของยะลาเช่นนี้ การ ทางานของเทศบาลนครยะลาเพียงหน่วยงานเดียวคงไม่สามารถที่จะสร้างและพัฒนาเมืองไปได้ การพัฒนา เมืองของยะลาทุกด้านมีกลุ่ม เครือข่าย ที่โยงใยร่วมมือกันพัฒนา โดยมีปัจจัยทุนด้านต่างๆ โดยหนึ่งในนั้น คือ ทุนทางสังคม ซึ่งเป็นทุนที่ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือและกลายเป็นเครือข่ายการพัฒนาเมืองที่น่าสนใจ ยิ่ง โดยจะขอยกตัวอย่างการพัฒนาเมืองยะลา 2 ด้าน ที่มีปัจจัยการพัฒนาด้วยทุนทางสังคมที่เห็นภาพอย่าง ชัดเจน ดังนี้ 1. การรักษาความปลอดภัยในเมือง : การเกิดชุดปฏิบัติการ (ชป.) อาสาสมัครชุมชน จากเหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น ทาให้เมืองยะลาต้องให้ความสาคัญอย่างยิ่งกับความปลอดภัย ในเมือง หากต้องพึ่งพาเพียงแค่เจ้าหน้าของรัฐ เช่น ทหาร ตารวจ คงไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เกิดความ ปลอดภัย หรือบรรเทาให้ความกลัวของคนในเมืองน้อยลงได้มากนัก ความกลัวที่เกิดขึ้น ทาให้ชุมชนในเมือง ภาพที่ 1-2 ชุดปฏิบัติการ (ชป.) อาสาสมัครชุมชน
  • 8. 8 ยะลา ต้องรวมตัวเกิดเป็นตัวแทนอาสาสมัครชุมชนที่ลุกขึ้นมาปฏิบัติงานดูแลด้านความปลอดภัยคล้ายเป็น หนึ่งในเจ้าหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัย เรียกว่า ชุดปฏิบัติการ (ชป.) ซึ่งชุดปฏิบัติการ (ชป.) นี้เป็นการ รวมตัวที่เรียกได้ว่าใช้ทุนที่สาคัญในการทางานอย่างทุนทางสังคม เป็นทุนหลักในการทางาน ชุมชนผังเมือง 41 เป็นหนึ่งในชุมชนที่เรียกได้ว่า มีชุดปฏิบัติการ (ชป.) ที่ทางานสร้างความ ปลอดภัยให้กับคนในชุมชนอย่างน่าสนใจ เป็นอาสาสมัครชุมชนที่ทางานร่วมกับ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่าย พลเรือน (อปพร.) ทหาร ตารวจ ที่ช่วยกันแบ่งเวรดูแลพื้นที่ของตัวเอง จัดเวรยามคอยสอดส่องดูแลสิ่งที่ ผิดปกติในชุมชนตลอด 24 ชม.คอยประสานงานร่วมกับเจ้าหน้าที่รัฐ จากข้อมูลของคุณอนันต์ แจ่มจันทรา ประธานชุมชนผังเมือง 4 อธิบายว่า ชุดปฏิบัติการ (ชป.) ก่อตั้งเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2551 และกระจายการดูแลร่วมกับกรรมการซอยกว่า 20 ซอย อปพร. เจ้าหน้าที่ เทศกิจ ตามแผนผังการทางานของเจ้าหน้าที่ในชุมชนผังเมือง 4 (ภาพที่ 3) ซึ่งชุดปฏิบัติการ (ชป.) มีหลาย กลุ่มในชุมชนเดียว เพื่อที่สามารถจัดเวรยามและกระจายกาลังดูแลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยจะมีตาราง กาหนดเวรยามซึ่งติดอยู่ที่ประชุมกลางชุมชน (ภาพที่ 4) ชุดปฏิบัติการ (ชป.) จะใช้เครื่องมือการสื่อสารที่เรียกว่า “เครื่องแดง” หรือวิทยุสื่อสารเครื่องสีแดงใน การติดต่อกับเจ้าหน้าที่ เมื่อมีเหตุการณ์ที่ผิดปกติเกิดขึ้น อีกทั้งเป็นกลุ่มประสานงานด้านสาธารณูปโภคใน 1 ข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาดูงานเมืองยะลา เมื่อวันที่ 16-18 มกราคม พ.ศ.2558 จัดโดยแผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคต ของเมือง ภายใต้ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ ม.รังสิต ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของ สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ภาพที่ 3 แผนผังการจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ กลุ่มต่างๆ ในชุมชน ภาพที่ 4 ตารางการปฏิบัติการของ ชป.
  • 9. 9 ชุมชน เมื่อมีการขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน เช่น ไฟดับ น้าไม่ไหล ท่อตัน เป็นต้น ชุดปฏิบัติเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนจากเทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงในการทางาน จัดอบรมการรักษาความปลอดภัย หรือตอบสนองอย่างรวดเร็ว เมื่อชุดปฏิบัติการ (ชป.) ร้องขอความช่วยเหลือ แม้ชุดปฏิบัติการ (ชป.) เป็นเสมือนตัวแทนของชุมชนที่คอยสอดส่องเหตุร้าย แต่ใช่ว่าสมาชิกใน ชุมชนอื่นๆ นอกเหนือจากกลุ่มนี้ไม่สนใจชุมชน ซึ่งคนในชุมชนมีการรวมตัวประชุมให้ทุกคนคอยดูแลความ ปลอดภัยของชุมชนร่วมกัน จึงเกิดเป็นระบบ “ตาสับปะรด” ไม่ว่าจะเป็นการสังเกตพฤติกรรมของคน แปลกหน้า รถทะเบียนแปลก สารวจหน้าบ้านทุกเช้าว่ามีวัตถุต้องสงสัยหรือไม่ จากเมื่อก่อนไม่เคยสังเกต คนที่จอดรถนานๆ แต่ตอนนี้ชุมชนตื่นตัว แจ้งเหตุเพื่อตรวจสอบทุกอย่าง เป็นการป้องกันดีกว่าแก้ไข จากการเกิดชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการร่วมมือกันสังเกตการณ์ดูแลรักษาความปลอดภัยในชุมชน แล้ว พบว่า เหตุการณ์ระเบิด การยิงกัน โจร ในชุมชนลดน้อยลงมาก จนปัจจุบันแทบไม่มีเหตุการณ์เหล่านี้ อีกแล้ว อีกทั้งทาให้ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนดีขึ้นจากเดิมมาก จากตอนแรกต้องอยู่กันด้วยความกลัว แต่เมื่อชุมชนมีกลุ่ม มีการรวมตัว มีการทางานร่วมกันมากยิ่งขึ้น ทาให้ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้น เป็นส่วนช่วยให้ การพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ ได้รับความร่วมมืออย่างดี ไม่ว่าจะเป็นการจัดงานประเพณีต่างๆ วันปีใหม่ เข้าพรรษา หรือกิจกรรมทางศาสนาของมุสลิม รวมทั้งช่วยกันจัดกิจกรรมต่างๆ ในชุมชน ดูแลเรื่องยาเสพ ติด การดูแลสุขภาพคนในชุมชน เป็นต้น เมื่อเกิดชุดปฏิบัติ (ชป.) หลากหลายกลุ่ม ประสานร่วมกันเจ้าหน้าที่รัฐ ทาให้การดูแลรักษาความ ปลอดภัยในเมืองยะลา สามารถเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายครอบคลุมทุกพื้นที่ (ภาพที่ 1) ช่วยบรรเทาความ กลัวและป้องกันการเกิดเหตุการณ์ได้ดีมากยิ่งขึ้น ความปลอดภัยในเมืองยะลากับทุนทางสังคม เมื่อวิเคราะห์ผ่านกรอบทุนทางสังคม จะเห็นว่าการทางานด้านความปลอดภัย ที่อาศัยการ ปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการสอดส่องด้วยระบบ ตาสับปะรด เกิดขึ้นจากทุนทางสังคม ซึ่ง เกี่ยวกับ ความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust) ความไว้วางใจ หรือความสัมพันธ์ในลักษณะที่รู้จักกัน “ดี” ของ ภาพที่ 3 แผนผังการรักษาความปลอดภัยในเมืองยะลา โดยการจัดตั้งกลุ่ม ชป.
  • 10. 10 ชุมชน ที่คุ้นเคยกันดีมาตลอด โดยมีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว คือ ความกลัว และความสูญเสียจากเหตุการณ์ความรุนแรง เกิดเป็นการรวมตัวและร่วมมือสอดส่องดูแลความ ปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ ด้วยความสัมพันธ์ลักษณะที่รู้จักกันดี มีความเป็นเครือญาติ ใกล้ชิดกัน ทาให้คนในชุมชนสามารถ วางใจในการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการ (ชป.) ซึ่งไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้ดูแลความปลอดภัยของชุมชน โดยสามารถแจ้งเหตุทุกเรื่องให้กับชุดปฏิบัติการ (ชป.) ให้ประสานงานช่วยเหลือ ไม่ว่าจะไฟดับ น้าไม่ไหล และที่สาคัญสามารถแจ้งเหตุเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยที่เข้ามาในหมู่บ้าน และได้รับการตอบสนองอย่างรวดเร็วได้ ทาให้ผลลัพธ์ของการใช้ทุนทางสังคมนี้ เหตุการณ์อันตรายเกิดขึ้นน้อยลงมาก ชาวบ้านรู้สึกปลอดภัยมาก ยิ่งขึ้น บรรเทาความกลัวในชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในพื้นที่ได้ เพราะความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ รู้จักกันเป็นอย่างดี การมีคนอื่นที่ไม่ใช่คนในชุมชนแปลกปลอมเข้ามาในชุมชน หรือเป็นคนในชุมชนเองที่มี พฤติกรรมที่น่าสงสัยแปลกไปจากเดิม ย่อมทาให้คนในชุมชนสามารถจับสังเกตและแจ้งเหตุให้เจ้าหน้าที่มา ตรวจสอบได้ เป็นการเรียกและอาศัยประโยชน์จากความสัมพันธ์ดังกล่าว ให้กลายเป็นทุนที่สร้างประโยชน์ กลับให้ชุมชนและสร้างประสิทธิภาพในการทางาน ทุนทางสังคมดังกล่าวจะมีเป็นทุนที่ได้เปรียบและช่วยสร้างประสิทธิภาพอย่างไรในด้านความ ปลอดภัย ผู้อ่านต้องลองเทียบกับการรักษาความปลอดภัยในเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพ ซึ่งผู้คนในเมืองขาด การมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด สนิทสนม ไว้ใจกัน มีวิถีชีวิตต่างคนต่างอยู่ มีเพียงความสัมพันธ์แบบผิวเผิน ซึ่งคนในหมู่บ้านเดียวกัน ยังไม่สามารถจดจาหน้ากันได้ จึงเป็นเรื่องยากมากที่จะร่วมช่วยกันสอดส่องถึงสิ่ง ที่ผิดปกติไป หรือเกิดความไว้ใจ จนเกิดการช่วยเหลือดูแลกันเองในการดูแลบริเวณที่ตัวเองอาศัยอยู่ได้ แม้ ไม่มีเหตุการณ์ความรุนแรงแบบในสามจังหวัด แต่ในกรุงเทพฯ มักเกิดเหตุความรุนแรง อาชญากรรม อยู่ เสมอ กลายเป็นเรื่องปกติในสังคมที่ทุกคนต้องช่วยตนเอง ดังนั้นทุนทางสังคมในชุมชนของยะลาจึงเป็น “ทุน” ที่ได้เปรียบและช่วยทาให้สร้างให้เกิดความปลอดภัยขึ้นมาได้ การรักษาความปลอดภัยในเมืองยะลา จากปัจจัยทุนทางสังคมเช่นนี้ ยังช่วยให้เกิด การลดต้นทุน ในการทางาน ด้วย เมื่อมีลงทุนบางอย่างเกิดขึ้น ทุนทางสังคม จะช่วยให้ลดต้นทุนด้านตัวเงินให้มี ค่าใช้จ่ายในทุนอื่นๆ น้อยลง ซึ่งจากกรณีนี้ ทุนทางสังคมช่วยให้เกิดการลดต้นทุน โดยเฉพาะทุนมนุษย์ (human capital) คือชุมชนไม่ต้องจ่ายเงินจ้างคนมาดูแลรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เพราะทุกคนมี สามารถเป็นอาสาสมัคร และสอดส่องดูแลชุมชนอย่างแข็งขัน เพราะหากไม่มีทุนทางสังคมนี้ แน่นอนว่าเมื่อ ความปลอดภัยจากรัฐไม่เพียงพอ คนในพื้นที่นั้นๆ จะต้องใช้เงินจ้างหน่วยงานรักษาความปลอดภัยจาก ภายนอก คล้ายกับการจ้างยามดูแลหมู่บ้านในเมืองใหญ่ๆ เข้ามาดูแลเพิ่มเติมแน่นอน ท้ายที่สุดชุดปฏิบัติการ (ชป.) และการสอดส่องร่วมกันของชุมชน (ตาสัปปะรด) ซึ่งได้เกิดขึ้นจาก ปัจจัยของการมีทุนทางสังคม ที่อาศัยความสัมพันธ์ ความไว้เนื้อเชื่อใจ การเกื้อกูลกัน เมื่อการดูแลความ ปลอดภัยได้ผล และสามารถดาเนินไปได้ดีเช่นนี้ ยิ่งทาให้เกิดแนวโน้มที่จะเชื่อใจกันมากขึ้น มี ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันมากขึ้น กลายเป็นทุนทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น และสามารถ “เพิ่มทุน” หรือ เรียกใช้ “ทุน” ดังกล่าวในการพัฒนาเรื่องอื่นๆ ในชุมชนได้อย่างดี อีกทั้งได้เชื่อมต่อร่วมกับชุดปฏิบัติการ (ชป.) หน่วยอื่น เชื่อมกับเทศบาลนครยะลา และเจ้าหน้าที่รัฐในเมือง ก็จะทาให้เกิดเป็นเครือข่ายทาง
  • 11. 11 สังคม (network) ด้านรักษาความปลอดภัย ที่กลายเป็นแหล่งรวมความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ใหญ่ในเมืองยะลาได้ 2. การสร้างเศรษฐกิจเมือง : โครงการ Yala bird city หลายคนรู้จักยะลา เพราะ มหกรรมการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน (Yala bird city) เป็น การแข่งขันนกกรงหัวจุกใหญ่ที่สุดในโลก ใช้นกแข่งกันกว่า 8,000 ตัว จัดแข่งขันมากว่า 30 ปี เป็นโครงการ ที่เป็นจุดเด่นของเทศบาลนครยะลา สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่ได้สร้าง ผลกระทบเชิงบวกแก่ธุรกิจที่เกี่ยวพันกับนก ตั้งแต่ธุรกิจผู้เลี้ยงนก คือ ธุรกิจฟาร์มนกและการเพาะเลี้ยงนก ที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน กลุ่มนี้ส่วนใหญ่ขายลูกนกโดยผู้ซื้อจะมาซื้อถึงฟาร์ม และมีการส่งออกไปยังต่าง ประเทศ อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ธุรกิจต่อมา กลุ่มธุรกิจอุปกรณ์การเลี้ยงนก คือ กลุ่มอาชีพ ทากรงนก หัวกรงนก ตะขอกรงนก กลุ่มอาชีพที่ตัดเย็บเสื้อกรงนก กลุ่มผลิตอาหาร อาหารเสริม และยา รักษาโรคสาหรับนก หรือเกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหิน ผลไม้พื้นเมืองจังหวัดยะลา สุดท้ายคือกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้ เกี่ยวกับนกโดยตรง เช่น ร้านน้าชา ธุรกิจโรงแรม ขนส่ง ร้านอาหาร สินค้า OTOP ที่นามาเป็นของรางวัล ทุกประเภท ของที่ระลึก รวมถึงสินค้าที่นามาวางขายรอบๆ สนามแข่งขัน ถือเป็นกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ จากการแข่งขันนก ก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับประชาชน และสร้างความแข็งแกร่งทาง เศรษฐกิจและการค้า ส่งเสริมวัฒนธรรม สร้างความสามัคคี สร้างสันติภาพให้เกิดในเมือง และทาให้เมือง ยะลาเป็นเมือง Yala bird city (YBC) หากเจาะลึกมาที่การบริหารงานของ Yala bird city จะเห็นว่าการเป็นเมืองแห่งนกที่ยะลานี้ มีการ บริหารงานที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน ภาคประชาสังคม ทางานร่วมกันจนเกิดเป็นการโยงใยเป็นเครือข่ายของ Yala bird city (ภาพที่ 5) โดยมีหน่วยงานหลักคือ เทศบาลนครยะลา เป็นตัวกลางในการเชื่อมภาคส่วนต่างๆ ภาพที่ 4-5 มหกรรมการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน
  • 12. 12 Yala bird city กับทุนทางสังคม ความสาเร็จของ Yala bird city ในฐานะโครงการสาคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจเมือง สร้างสันติภาพ (ทุกศาสนาเข้าร่วม) กลายเป็นจุดเด่นของยะลา เมื่อวิเคราะห์เจาะลึกถึงของจุดเริ่มต้น ปัจจัยการทางาน รวมถึงสิ่งที่ทาให้โครงการดังกล่าวยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่า Yala bird city เป็นการขับเคลื่อนที่ อาศัยทุนทางสังคม Yala bird city เป็นหนึ่งโครงการในเมืองที่อธิบายให้เห็นภาพได้ชัดเจน ของการใช้ประโยชน์ของ ทุนทางสังคม เพราะขึ้นชื่อว่าเป็น “ทุน” ในทางเศรษฐศาสตร์ย่อมต้องสามารถเรียกประโยชน์จากทุน ดังกล่าวในเกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) หรือสร้างผลผลิตย้อนคืนกลับมา ได้ จากโครงการ Yala bird city อธิบายได้ว่า การที่เทศบาลนครยะลาเข้าใจในวิถีชีวิต วัฒนธรรมของคน ยะลา ซึ่งมีวัฒนธรรมการเลี้ยงนกเขา เป็นวิถีชีวิต หรือ ความนิยมของคนยะลา ซึ่งเป็น”ทุนทาง วัฒนธรรม”ที่มีในเมืองอยู่แล้ว “ดึงทุน” ดังกล่าวขึ้นมาเรียกผลประโยชน์ สร้างเป็นโครงการแข่งขัน สร้าง เงิน สร้างเศรษฐกิจ พร้อมเป็นตัวกลางดึงหน่วยงานอื่นๆ เข้ามาร่วมสนับสนุนงาน โยงใยกลายเป็นเครือข่าย Yala Bird city ซึ่งมีทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมดังภาพที่ 5 เมื่อนาทุนเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ย่อมทาให้สร้างประโยชน์ได้เร็ว เพราะได้รับความร่วมมือ จากคนในเมืองจานวนมาก เพราะวิถีชีวิต และวัฒนธรรมของคนยะลาที่ให้ความสาคัญกับการเลี้ยงนก เป็น สิ่งที่คนในเมืองชื่นชอบและคุ้นเคย “ดี”อยู่แล้ว เมื่อมีช่องทางที่ทาให้เกิดเป็นรายได้ และสร้างความสนุกได้ เช่นนี้ จึงส่งนกเข้าร่วมแข่งขันจานวนมาก ทาให้ผลลัพธ์ของการใช้ทุนทางสังคม ได้สร้างประโยชน์ทาง เศรษฐกิจมหาศาล ทั้งต้นน้า กลางน้า ปลายน้า ก่อให้เกิดอาชีพใหม่ๆ ที่ใช้ทุนทางปัญญา และศิลปะท้องถิ่น สามารถใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้ เช่น กลุ่มอาชีพทากรงนก หัวกรงนก ตัดเย็บเสื้อนก เป็นต้น อีกทั้งยัง เพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากโครงการนี้ เช่น กล้วยหิน เป็น กล้วยที่ใช้เป็นอาหารของนก จากเดิมหวีละ 15-20 บาท ปัจจุบันมีราคาสูงขึ้นเป็น 40-45 บาท เมื่อมองย้อนกลับไป โครงการ Yala bird city เป็นตัวกลางที่ช่วยทาให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีให้ เกิดขึ้นระหว่างคนเลี้ยงนก ที่จะมารวมตัวกันในงานวันนั้น หรือแม้กระทั่งก่อนหน้านั้นที่จะต้องมีปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกัน เพื่อดูแลนกให้ดีที่สุด เตรียมความพร้อมสาหรับการแข่งขัน หรือย้อนกลับไปมากกว่านั้น คือ ภาพที่ 5 แผนผังการเครือข่ายการทางานโครงการ Yala Bird City โดยเทศบาลนครยะลา
  • 13. 13 วัฒนธรรมการเลี้ยงนกของคนยะลา เป็นวิถีวัฒนธรรมที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ทางสังคมของคนในสังคม และก่อให้เกิดเป็นทุนทางสังคมขึ้น ซึ่งทั้งวัฒนธรรมการเลี้ยงนก และโครงการแข่งขันนก เป็นการเรียกใช้ทุน ทางสังคมให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ส่งเสริม เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน เป็นกลไกที่สร้างความสัมพันธ์ และคง ความสัมพันธ์ของคนในเมืองไว้ด้วยกันอีกด้วย ท้ายที่สุด โครงการ Yala bird city ของเทศบาลนครยะลา ได้เป็นตัวกลางที่สามารถรวมกันทุก ภาคส่วนให้กลายเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ได้เกิดจาก “ทุน” ที่มีอยู่แล้วในสังคม จากวัฒนธรรม วิถีชีวิต ความนิยมชื่นชอบ รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ดี ความไว้ใจ การช่วยเหลือกัน การทางานเป็นทีม การให้ความ ร่วมมือกับทุกภาคส่วน มิเช่นนั้นโครงการนี้คงไม่สามารถเกิดขึ้นมาได้ หรือยังคงดาเนินได้อย่างต่อเนื่อง และที่สาคัญการเรียกประโยชน์จาก “เมื่อทุนเหล่านี้” ได้ก่อให้เกิดการจับจ่าย ดึงดูดการท่องเที่ยว สร้าง อาชีพ สร้างผลิตภัณฑ์ออกมามากมาย กลับเป็นรายได้ให้คนในเมืองยะลาได้ อีกทั้งก่อให้เกิดความสัมพันธ์ โยงใยเป็นเครือข่ายใหญ่ในเมือง กระตุ้นให้มีความสัมพันธ์ที่ดี ที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ช่วยเหลือกันมากขึ้น และ จะส่งผลดีในการเรียกประโยชน์ “ทุน” นี้ในการสร้างและพัฒนาเมืองด้านอื่นได้ คล้ายกันที่ ประเวศ วะสี (2540,อ้างใน อาจยุทธ เนติธนากุล และโยธิน แสวงดี,2547) กล่าวว่า ทุนทางสังคมคือ การที่คนมารวมกัน และเป็นการเอาทั้งความดี ความรู้ มารวมกัน และนาไปสู่การสร้างพลังทางสังคมซึ่งสามารถนาไปสู่การแก้ไข ปัญหาต่างๆ ได้ 3. เทศบาลนครยะลา ทุนทางสังคมอันเท่าเทียมและทั่วถึงของคนยะลา เนื่องจากทุนทางสังคมมีหลายระดับ และทุนทางสังคมในระดับบนสุด คือ สถาบันหรือนโยบาย ของรัฐ หรือประชาสังคมที่เชื่อมโยงสมาชิกไว้ด้วยกัน เป็นความสัมพันธ์แบบแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน หรือองค์ ในรูปของกลุ่มและรูปเครือข่าย (2001,อ้างใน ประชาธิป กะทา,2547) เทศบาลนครยะลาในฐานะ หน่วยงานความหวังที่ทางานใกล้ชิดกับประชาชน จึงเป็นทุนทางสังคมที่สาคัญของคนยะลา หากเรา ย้อนกลับไป ทุนทางสังคม คือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีซึ่งกันและกันแล้ว หน่วยงานท้องถิ่นต้องเป็นทุนที่ ประชาชนทุกคนเข้าถึง ต้องออกแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ทุกคน จะต้องสร้างการมี ปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน ดึงประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด (สินาด ตรีวรรณไชย,2546) จากการศึกษาการทางานของเทศบาลนครยะลา จะเห็นว่า เทศบาลนครยะลา ในฐานะผู้นาในการ ขับเคลื่อนเมือง การพัฒนาทุกด้านในเมืองยะลาล้วนแล้วแต่เกิดจากการคิด หรือสนับสนุน ไม่มากก็น้อยของ เทศบาลนครยะลา ซึ่งเป็นผู้ที่เรียกใช้ประโยชน์จาก “ทุนทางสังคม” ที่มีในยะลาสร้างให้เกิดประโยชน์มาก ที่สุด และเป็นตัวกลางในการเชื่อมความสัมพันธ์ให้เกิดเครือข่ายการพัฒนาเมืองด้านต่างๆ ขึ้น และที่สาคัญ เทศบาลนครยะลา คือทุนทางสังคมอันเท่าเทียมและทั่วถึงของคนในเมืองยะลา เท่าเทียมและทั่วถึงอย่างไร เมื่อศึกษาการทางานของเทศบาลนครยะลา2 จะเห็นว่า เทศบาลนคร ยะลาได้ออกแบบให้ตัวเองเป็นทุนทางสังคมสาหรับประชาชน ตั้งแต่การวางแนวคิดการบริหารเมือง การมี 2 ข้อมูลจากการนาเสนอของนายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ นายกเทศมนตรีเทศบาลนครยะลา ในที่ประชุม “คณะกรรมการกากับทิศทาง ครั้งที่ 1/2557” เมื่อวันจันทร์ ที่ 29 กันยายน 2557 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ หลักสี่ กทม. ระหว่างเวลา 09.30 – 12.00 น และจากการศึกษาดูเมือง ยะลา เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 10.00 – 12.30 น. จัดโดยเทศบาลนครยะลา และแผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนา อนาคตของเมือง ภายใต้ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ โดยการสนับสนุนของสานักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 14. 14 ส่วนร่วม และการกระจายอานาจเป็นส่วนหนึ่งในแนวคิดของการบริหารเมือง3 ทาให้เทศบาลนครยะลาให้ ความสาคัญในการเปิดโอกาสให้คนยะลาได้เป็นส่วนหนึ่งในการบริหารเมือง โดยสร้างการมีส่วนร่วมทุก ระดับ โดยเฉพาะระดับชุมชน กับกิจกรรมการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น สร้างเป็นพื้นที่ในการนาเสนอความ คิดเห็นของทั้งสองฝ่าย เช่น เวทีสภาประชาชน เวทีประชุมใหญ่ระดับเมือง เวทีสภากาแฟเพื่อประชาชน สาหรับผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมอื่นๆ เทศบาลสัญจร ร่วมเยี่ยมชุมชนทั้งหมดของเทศบาลฯ การ ประชุมประธานชุมชน เป็นต้น ส่วนการกระจายอานาจ เทศบาลนครยะลาพยายามกระจายอานาจให้ชุมชนได้บริหารจัดการพื้นที่ ของตนเองให้มากที่สุด เนื่องจาก 40 ชุมชน มีความแตกต่างกัน ชุมชนต้องมีบทบาทในการออกแบบเมือง เช่น กระจายงบประมาณชุมชนละ 50,000 บาท เพื่อสร้างกิจกรรมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน ให้ ชุมชนดูแลจัดการสนามฟุตบอลในเมือง ดูแลชมรมกีฬาต่างๆ ทั้งนี้การกระจายอานาจจะช่วยเป็นกลไกใน การสร้างปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน การทางานเป็นทีม ซึ่งจะยิ่งทาให้เกิดเป็น “ทุนทางสังคม” ที่มากยิ่งขึ้น ทุนทางสังคม ได้ขึ้นชื่อว่าเป็น “ทุน” ย่อมต้องเกิดจากการสะสม และมีกระบวนการดารงรักษา การ สะสมทุนดังกล่าวเพื่อสร้างความเหนียวแน่นของสัมพันธภาพให้คงเส้นคงวา เทศบาลนครยะลาในฐานะทุน ทางสังคมใหญ่ของคนยะลา จึงจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้นในเมือง เช่น มหกรรมการแข่งนกเขาชวาเสียงอาเซียน , กิจกรรม มาลายู เดย์ ออฟ ยะลา4 , กิจกรรมวันเด็ก ,ประเพณีชักพระ ,งานเทศกาลอาหารจานเด็ดสาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นต้น เพื่อให้กิจกรรมต่างๆ เหล่านี้เข้ามาเป็นเครื่องมือใน “การสร้างทุน” และทา ให้เกิดการสะสม “ทุน” ในเมืองยะลา ให้คนมีปฏิสัมพันธ์ มีกิจกรรมสังสรรค์ร่วมกัน เมื่อมีการสะสมทุน เกิดขึ้น “ทุน” ดังกล่าวจะกลายเป็น “ทุน” ที่มีค่า สาหรับนาไปใช้ “ต่อ” ในด้านอื่นต่อไป แต่ทั้งนี้ทุนทางสังคมใช่ว่าจะสร้างแต่ประโยชน์ที่ดี หรือการมีทุนทางสังคมมากๆ จะใช้ประโยชน์ นาสู่แต่เรื่องที่ดีเท่านั้น ในอีกด้านหนึ่งทุนทางสังคมซึ่งเป็นเรื่องหลักๆ ที่ว่าด้วยเรื่องความสัมพันธ์ ความ ไว้ใจซึ่งกันและกันนั้น เกิดผลเสียเช่นเดียวกัน เช่น การกีดกันคนนอก เพราะความสัมพันธ์ที่แน้นแฟ้น คุ้นเคยกัน ทาให้เลือกเฉพาะแต่คนที่อยู่ในกลุ่มความสัมพันธ์ เกิดอคติโดยไม่รู้ตัว ที่ร้ายแรงที่สุด คือ ทุน ทางสังคมอาจกลายเป็นกลุ่มความสัมพันธ์ที่ไปใช้ประโยชน์ในทางเลวร้าย เช่น กลุ่มเครือข่ายยาเสพติด แก๊ง มาเฟีย นาไปสู่การเรียกเก็บค่าคุ้มครอง หรือการเกิดคอรัปชั่นในทุกที่ เป็นต้น เมื่อทุนทางสังคมถูกนาไปใช้ประโยชน์ในลักษณะนี้แล้ว ย่อมเป็นอันตรายต่อสังคม และการพัฒนา เป็นอย่างยิ่ง โดยวิธีการป้องกันหรือแก้ไขไม่ให้ทุนทางสังคมไปใช้ในทางที่ผิดนั้น มีกฎหมายและบรรทัด ฐานของสังคมคอยตรวจสอบและลงโทษอยู่ แต่ทั้งนี้ก็คงไม่สามารถแก้ปัญหาได้หมด เพราะมีปัจจัย มีความ 3 แนวคิดการบริหารเมืองของเทศบาลนครยะลา ข้อมูลจากการถอดความของนายพงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ ในหนังสือ เรื่อง เมืองยะลา เมือง สิงคโปร์แห่งที่ 2 จัดทาโดย แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง 4 กิจกรรม มาลายูเดย์ ออฟ ยะลา จัดโดยเทศบาลนครยะลาร่วมกับเครือข่ายกว่า 52 เครือข่าย เป็นกิจกรรมที่เมืองยะลาเป็นแห่งแรกของ ประเทศไทยที่จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมมาลายู ช่วยตอบโจทย์ด้านสันติสุข ด้านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ใช้สินค้าและเรื่องราวของคน มาลายูเป็นจุดเด่นในงาน
  • 15. 15 ซับซ้อน หรือโครงสร้างทางสังคมเกี่ยวข้องด้วย ฉะนั้นบทลงโทษทางกฎหมายจึงแก้ไขปัญหาหรือป้องกันได้ เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งทุนทางสังคมจะถูกนาไปใช้ประโยชน์ในด้านที่เป็นผลดีหรือด้านที่ผลร้ายนั้น จึง ย่อมขึ้นอยู่กับคุณธรรม ความรับผิดชอบชั่วดีของผู้ใช้เป็นส่วนสาคัญ แต่ทั้งนี้หลายภาคส่วน เช่น รัฐ ศาสนา โรงเรียน ต้องบริหารจัดและส่งเสริมให้คนที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ดี ขจัดความเหลื่อมล้าในสังคม ทั้ง ทางด้านเศรษฐกิจ ทางการศึกษา ให้คนสามารถเข้าถึงทรัพยากรเท่าเทียมกัน เพราะหลายคนตัดสินใจเลือก ทาในเรื่องที่ผิดกฎหมาย หรือเข้าไปอยู่ในวังวนแห่งความเลวร้าย เพราะปัจจัยแวดล้อมเป็นส่วนหนึ่งที่กดดัน ด้วย สรุป เมืองยะลามีการพัฒนาขับเคลื่อนเมืองอย่างต่อเนื่อง แม้อยู่ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่สงบ โดย มีปัจจัยทุนการพัฒนาเมืองหลากหลาย แต่ “ทุน” อย่างหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในการพัฒนาเมืองยะลา คือ ทุนทาง สังคม ซึ่งเทศบาลนครยะลา หน่วยงานหลักที่ดูแลเมืองยะลา ได้ใช้ประโยชน์จากทุนดังกล่าวให้เกิด ประโยชน์สูงสุดให้เกิดรายได้เป็นตัวเงิน และเป็นพลังในการจัดการกับปัญหาต่างๆ หรือวิกฤตที่เมืองกาลัง เผชิญ เช่น การรักษาความปลอดภัยในเมือง เป็นต้น แม้ทุนหลายอย่างจะมีราคาค่าเสื่อม เมื่อถูกนาไปใช้มากๆ ย่อมมีวันหมดหรือเสื่อมราคาลง แต่ สาหรับทุนทางสังคม เป็น “ทุน” ที่แตกต่างจากทุนอื่น เพราะยิ่งถูกนาไปใช้ประโยชน์เท่าไหร่ ย่อมสะท้อน กลับให้ทุนนี้มีเพิ่มมากขึ้น และยิ่งทาให้เป็นทุนที่แข็งแรง เป็น “ทุน” ที่ยิ่งใช้ยิ่งดี ยิ่งทาให้เกิดความสัมพันธ์ที่ ดี เรียงร้อยให้คนร่วมมือกัน ช่วยเหลือกันมากขึ้น “ทุนทางสังคม” เป็นทุนในลักษณะที่เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ และไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เปล่า แต่ความสัมพันธ์ที่เกิด และสิ่งที่อยู่ในทุนนี้ กลับก่อให้เกิดพลังบางอย่างที่ยึดคนให้เป็นหนึ่งเดียวกัน มากขึ้น และกลายเป็นจุดแข็งของการพัฒนาเมืองซึ่งส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ต่างจังหวัดที่อาศัย “ทุน” ดังกล่าวนี้ เป็นทุนที่มีค่า ในการขับเคลื่อนเมือง
  • 16. 16 บรรณานุกรม ประชาธิป กะทา.(2547). “การศึกษาทุนทางสังคมและบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้าน สุขภาพ : กรณีศึกษาประชาคมสุขภาพหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย”. กรุงเทพมหานคร : สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พงษ์ศักดิ์ยิ่งชนมเจริญ.(2558).”เมืองยะลา เมืองสิงคโปร์แห่งที่ 2” กรุงเทพฯ : แผนงานนโยบาย สาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยารังสิต. สินาด ตรีวรรณไชย.(2546). “ทุนทางสังคม : ความหมายและความสาคัญ” .จุลสารกลุ่มประชาธิปไตย เพื่อประชาชน ฉบับที่ 33. (ระบบออนไลน์) แหล่งที่มา : http://www.pxp.in.th (28 กุมภาพันธ์ 2558) อมรรัตน์ อภินันท์มหกุล,(2555). “รัฐกับการพัฒนาทุนทางสังคม”.คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. อาจยุทธ เนติธนากุล และโยธิน แสวงดี.(2547). “แนวคิดเพื่อการพัฒนาชุมชนในมิติพลวัตทาง ประชากร ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์และองค์ความรู้แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ใหม่”.วารสารสุโขทัยธรร มาธิราช.