SlideShare a Scribd company logo
1 of 22
Download to read offline
เมืองหนองป่าครั่ง
การสร้างเมืองสุขภาวะ
ด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
เมืองหนองป่าครั่ง:
การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการ
สังคม
ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
นักวิจัยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา
รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา
ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ
(CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
3
เมืองหนองป่าครั่ง:
การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
1. สภาพความเป็นเมืองในเขตเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ตั้งอยู่ในเขตอาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 2.95
ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,844 ไร่ ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นหนองน้าขนาดใหญ่ มีต้นฉาฉาหรือต้น
จามจุรีขึ้นอยู่โดยรอบ อาชีพหลักของประชาชนคือการเลี้ยงครั่ง โดยนาเอาครั่งมาปล่อยไว้บนต้นฉาฉา
จึงเป็นที่มาของชื่อตาบลหนองป่าครั่ง ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตเทศบาลตาบลทั้งหมด 7 หมู่บ้าน (ตาราง
ที่ 1) โดยมีอาณาเขตติดต่อทางด้านทิศตะวันตกกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเขตเมืองขนาดใหญ่ จึง
อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งเป็นบริเวณชานเมืองของเมืองเชียงใหม่ ไม่
หลงเหลือสภาพหนองน้า การเลี้ยงครั่ง และการทาเกษตรกรรมให้เห็นแล้ว
ตารางที่ 1 จานวนครัวเรือนและประชากรตามทะเบียนในเขตตาบลหนองป่าครั่ง
จาแนกตามเพศและหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2561
จานวนครัวเรือน หน่วย : หลังคา
เรือน
จานวนประชากร หน่วย : คน
หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จานวน
ครัวเรือน
จานวนประชากร
เพศชาย เพศหญิง รวม
1 บ้านหนองอินทร์ 1,055 556 625 1,181
2 บ้านบวกครก 561 530 629 1,159
3 บ้านบวกครกน้อย 627 620 707 1,327
4 บ้านหนองป่าครั่ง 1,795 364 412 776
5 บ้านแม่คาว 811 228 287 515
6 บ้านบวกครกใหม่ 597 509 632 1,141
7 บ้านบวกครกน้อยริม
คาว
517 465 551 1,061
ทะเบียนบ้านกลาง 2 77 52 129
รวม ตาบลหนองป่าครั่ง 5,965 3,349 3,895 7,244
ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ เดือนกันยายน 2561
4
ในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ ตาบลหนองป่าครั่งได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตาบล
หนองป่าครั่งในปี พ.ศ. 2538 ต่อมากระทรวงมหาดไทยพิจารณาว่าองค์การบริหารส่วนตาบลหนองป่า
ครั่งมีสภาพเหมาะสม ควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตาบล จึงยกฐานะองค์การบริหารส่วนตาบลหนองป่าครั่ง
เป็นเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา
ในด้านประชากร ตาบลหนองป่าครั่งมีประชากรตามทะเบียนจานวน 7,244 คน (ตารางที่ 1) คิด
เป็นร้อยละ 45 ของประชากรในพื้นที่ ส่วนที่เหลือร้อยละ 55 เป็นประชากรแฝง เนื่องจากตาบลหนองป่า
ครั่งเป็นแหล่งงาน โดยมีห้างสรรพสินค้า ร้านค้าขนาดใหญ่ กิจการค้าและบริการขนาดกลางและขนาด
เล็กตั้งอยู่เป็นจานวนมาก รวมถึงมีมหาวิทยาลัยพายัพตั้งอยู่ใกล้เคียง ทาให้มีการก่อสร้างอาคารที่พัก
อาศัยรวมหรือหอพัก รวมถึงบ้านเช่าขนาดเล็กแทรกอยู่ตามบ้านพักอาศัยของประชาชน เมื่อพิจารณา
จานวนครัวเรือนพบว่าในเขตตาบลหนองป่าครั่งมีจานวนครัวเรือนสูงถึง 5,965 หลังคาเรือน คิดเป็น
ประชากร 1.2 คนต่อหนึ่งครัวเรือน ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของพื้นที่ที่มี
ประชากรแฝงอย่างชัดเจน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ
ภาพที่ 1 ที่ตั้งของเมืองหนองป่าครั่ง
ที่มา : www.google.com/maps
เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปราว 10 กิโลเมตร
โดยเมืองเชียงใหม่ถือเป็นเมืองสาคัญของภาคเหนือตอนบน เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่
5
สาคัญ ที่ผ่านมามีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนจานวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ในตัวเมืองเริ่มหาที่ดิน
สาหรับการพัฒนายาก เมืองเริ่มขยายออกรอบนอกตามการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่งจะแล้ว
เสร็จ อาทิ ถนน อุโมงค์ทางลอด โดยย่านเศรษฐกิจใหม่ของเมืองมีแนวโน้มไปทางด้านทิศตะวันออก
กระจายตัวอยู่ระหว่างถนนวงแหวนรอบที่ 1 รอบที่ 2 จนถึงเขตต่อเนื่องกับอาเภอสันกาแพง ในปัจจุบัน
มีอาคารสูงหลายแห่งเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า ย่านการค้าต่างๆ และมีแนวโน้ม
เติบโตมากขึ้นรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต เช่น โครงการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2
โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน และโครงการมอเตอร์เวย์ เป็นต้น
2. จุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ตาบลหนองป่าครั่ง เป็นพื้นที่ชานเมืองที่รองรับการขยายตัวออกรอบนอกตามแนวราบของเมือง
เชียงใหม่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ความเป็นเมืองที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลตาบล
หนองป่าครั่งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จึงอาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองหนองป่าครั่งอย่างจริงจัง
ในทุกด้าน เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2549 ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณสมคิด เลิศเกียรติดารงค์ นายกเทศมนตรี
ตาบลหนองป่าครั่ง ที่ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามวิสัยทัศน์ใน
การพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่ได้ประกาศไว้ว่า “ประชาชนมั่งคั่ง หนองป่าครั่ง
มั่นคง” กาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ดังนี้
1. นโยบายด้านการส่งเสริมอาชีพสร้างเศรษฐกิจชุมชน จัดตั้งกองทุนและสหกรณ์ออม
ทรัพย์ เพื่อการประกอบอาชีพ ส่งเสริมอาชีพและจัดจาหน่ายสินค้าครบวงจร จัดตั้งศูนย์ฝึก
อาชีพ ศูนย์จัดหางานและการจ้างแรงงาน เป็นต้น
2. นโยบายด้านการศึกษา จัดการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบ จัดตั้ง
กองทุนเพื่อการศึกษาของเยาวชนและพระภิกษุสามเณร จัดตั้งศูนย์ภาษา ห้องสมุด
ประชาชนและแหล่งเรียนรู้ จัดชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน อาหารกลางวันและนม
ให้แก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตาบลหนองป่า
ครั่ง เป็นต้น
3. นโยบายด้านสังคมสงเคราะห์ จาแนกออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
3.1 ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็ก สตรี คนชรา คนพิการ คนด้อยโอกาส ผู้ป่วยและผู้
ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ผู้ติดยาเสพติด และผู้ประสบสาธารณภัย โดยจัดเงินเบี้ย
ยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคเอดส์ เด็ก
6
3.2 ด้านการพัฒนาและฟื้นฟู ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ส่วนราชการอื่นๆ และภาคเอกชน จัดการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส
เช่น การฝึกอบรมอาชีพให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุที่ยังพอทางานได้และอื่นๆ ส่งเสริม
การดาเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและยกฐานะเป็น
ครอบครัวอบอุ่นต่อไป
4. นโยบายด้านสาธารณสุข จัดตั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น จัดตั้งศูนย์กายภาพบาบัดให้แก่
ประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กในครรภ์ เด็กแรกเกิดและมารดา จัดรถ
รับส่งผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาล จัดอบรม บาบัดรักษา ผู้ป่วยจากการเสพยาเสพติดหรือ
ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
5. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จัดทาโครงการเทศบาลเมืองน่าอยู่ จัดสร้างสวนสาธารณะ จัดทา
โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จัดระบบการเก็บขยะมูลฝอยอย่างมี
ประสิทธิภาพ และจัดให้มีการทาปุ๋ยอินทรีย์จากขยะมูลฝอย เป็นต้น
ในทางปฏิบัติ การดาเนินงานตามนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาล
ตาบลหนองป่าครั่งอยู่ภายใต้บทบาทภารกิจหน้าที่ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยมีคุณเสาวนีย์
คาปวน ผู้อานวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวทางการ
ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ ภายใต้ความเห็นชอบจากประชาคม และการระดมสมองของ
คณะกรรมการสาธารณสุขตาบลหนองป่าครั่ง
3. แนวคิดในการสร้างเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
การสร้างเมืองสุขภาวะของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งอยู่ภายใต้แนวคิด “การจัดสวัสดิการ
สังคม” โดยสวัสดิการสังคม (Social Welfare) หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการ
ป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจาเป็น
ขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และให้
เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทางานและการมีรายได้
กีฬาและนันทนาการ กระบวนการยุติกรรม และบริการทางสังคมทั่วไป โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็น
มนุษย์ สิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ และการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ ด้วยเหตุนี้ การจัด
สวัสดิการสังคมจึงมีความรอบด้าน หลากหลาย ส่งผลให้บริการที่จัดให้มีขึ้นนั้นต้องครบวงจร หรือเป็น
องค์รวม (Holistic) และเป็นรูปธรรม
7
ข้อสาคัญอีกประการหนึ่งคือสวัสดิการสังคมมิได้จากัดแคบอยู่เพียงเรื่องการสังคมสงเคราะห์
ช่วยเหลืออุ้มชูคนยากไร้ คนที่ประสบความเดือดร้อนเท่านั้น การสังคมสงเคราะห์หรือการช่วยเหลือ
เกี่ยวกับความเดือดร้อนเฉพาะหน้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานสวัสดิการสังคมเท่านั้น โดยสิ่งที่สาคัญยิ่ง
กว่างนั้นคือการสร้างความมั่นคงในสังคม อันเป็นหัวใจหลักของสวัสดิการสังคม สังคมจะสงบอยู่เย็นเป็น
สุขเพราะมีสวัสดิการสังคมที่ดี งานสวัสดิการสังคมจึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานะทางเศรษฐกิจ
ของพลเมืองอย่างแท้จริง และจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะหยิบ
ยื่นให้แก่ผู้อื่นได้ด้วย
การจัดสวัสดิการสังคมจึงถือเป็นการลงทุนทางสังคม และเป็นการสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐาน
ของประชาชน ช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้าง
โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) ไว้รองรับประชาชนที่ประสบปัญหาจากภาวะ
วิกฤติต่างๆ โดยเชื่อว่าสวัสดิการสังคมเป็นสิทธิมนุษยชนที่รัฐต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนและดาเนินการ
ทาให้เกิดรูปแบบ “รัฐสวัสดิการ” ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศ/เมือง ซึ่งระบบสวัสดิการ
ทางสังคมที่ครอบคลุมมีองค์ประกอบดังนี้
1. การบริการสังคม (Social Services) เป็นบริการที่รัฐหรือเอกชนที่มีความพร้อมทาหน้าที่จัด
ให้มีขึ้นเพื่อบริการสังคม มุ่งส่งเสริมสวัสดิภาพของบุคคลให้สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้
อย่างเป็นสุขตามอัตภาพ เช่น การบริการการศึกษา การสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย และการ
ส่งเสริมช่วยเหลือเยาวชน เป็นต้น
2. การช่วยเหลือสังคม (Social Assistance) เป็นบริการที่รัฐจัดให้การช่วยเหลือแก่ประชาชน
หรือครอบครัวที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาทิ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ที่
ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วย ผู้พิการ เป็นต้น
3. การประกันสังคม (Social Insurance) เริ่มจากการประกันสุขภาพ ก่อนจะขยายไปสู่การ
ประกันด้านอื่นๆ อาทิ การว่างงาน การคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ
และการตาย เป็นต้น
ปัจจุบันประเทศไทยมีการลงทุนสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชน เช่น
รักษาพยาบาลฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เรียนฟรี 15 ปี ประกันสังคม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยความพิการ เป็นต้น ในส่วนของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เมื่อ
พิจารณาจากการดาเนินงานตามนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาลตาบล
หนองป่าครั่ง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ มีสาระสาคัญดังนี้
8
เมื่อมีคนเกิด รับเลี้ยงเด็กฟรี ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระดับเตรียมอนุบาล
เมื่อเริ่มเรียนหนังสือ มีโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถม-มัธยมต้นในสังกัดเทศบาล
สาหรับเด็กนักเรียนที่เลือกเรียนในโรงเรียนนอกพื้นที่ มีการช่วยเหลือ
ต่างๆ
เช่น ช่วยจ่ายค่าเล่าเรียน จัดให้มีรถรับส่ง เป็นต้น
เมื่อทางาน ส่งเสริมอาชีพและการรวมกลุ่ม
เมื่อเจ็บป่วย รักษาฟรี มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง
เมื่อแก่ตัวหรือพิการ รักษาและฟื้นฟู มีคลินิกชุมชนอบอุ่นช่วยดูแล
4. กระบวนการในการขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
จากแนวคิดที่ต้องการให้เกิดการจัดสวัสดิการสังคมในระดับเมือง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะ
ของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ และมีรายละเอียดของการดาเนินงานที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของระบบ
สวัสดิการสังคม อันได้แก่ การบริการสังคม การช่วยเหลือสังคม และการประกันสังคม เทศบาลตาบล
หนองป่าครั่งจึงได้ริเริ่มขับเคลื่อนงานในส่วนต่างๆ จากทรัพยากรของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น โดยเฉพาะบุคลากรหลักด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งบประมาณในการดาเนินงาน รวมถึง
การจัดหาที่ดิน อาคารสถานที่ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งแม้จะคล้ายคลึงกับการ
ดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ แต่ก็มีประเด็นที่แตกต่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก
รายละเอียดของกระบวนการดาเนินงานที่แยกตามองค์ประกอบของระบบสวัสดิการสังคม ดังนี้
4.1 การบริการสังคม (Social Services)
บริการที่เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจัดให้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของบุคคลให้สามารถ
ดารงชีวิตได้อย่างเป็นสุข ซึ่งจัดเป็นบริการขั้นพื้นฐานในการที่จะขับเคลื่อนเมืองหนองป่าครั่งเข้าสู่เมือง
สุขภาวะ ประกอบด้วย ศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล)
เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง และศูนย์จาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย มี
รายละเอียดดังนี้
9
1) ศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์เจริญวัยเริ่มจากการออกเยี่ยมบ้าน พบว่า ชุมชนมีปัญหา
วัยรุ่นท้องไม่พร้อม มีพฤติกรรมที่เกเร ก้าวร้าว รวมถึงพฤติกรรมเนือยนิ่ง ล้วนเกิดจากการที่พ่อแม่
ผู้ปกครองต้องทางานหาเลี้ยงครอบครัว ปล่อยลูกหลานให้อยู่กับผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดปัญหาประชากร
วัยรุ่นที่เติบโตขึ้นอย่างไร้คุณภาพ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งเล็งเห็นสาเหตุของปัญหา จึงแสวงหาแนว
ทางการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากพื้นฐานการดูแลเด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิดด้วยการสร้างศูนย์
เจริญวัยในปี พ.ศ. 2554 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน (อายุ 2 เดือน ถึง 3 ปี) โดยไม่
มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเด็กอายุก่อน 3 ปี ต้องได้รับการพัฒนาฝึกฝนในด้านต่างๆ อย่างถูกต้อง อาทิ ฝึก
ปัสสาวะ/อุจจาระ รู้จักขอโทษ รู้จักรอ พูดภาษาเหนือ เป็นต้น
ภาพที่ 2 เครื่องมือ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ของศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง
(2562)
10
การดาเนินงานภายในศูนย์เจริญวัยอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่เข้ามา
จัดการด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงอาคารสถานที่ให้เหมาะสม อาทิ ตู้แช่นม สาหรับแช่นมแม่ที่คุณแม่
ของเด็กเล็กทุกคนต้องเตรียมน้านมของตัวเองเก็บไว้ที่ศูนย์ฯ เนื่องจากทางศูนย์ฯ มุ่งเน้นการเลี้ยงลูก
ด้วยนมแม่ นอกจากนี้ การมุ่งส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก จาเป็นต้องให้ความสาคัญกับ
พยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยง มีการอบรม โดยพี่เลี้ยงผ่านการอบรมจากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ และ
สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ มีการแบ่งเด็กออกเป็น 3 ห้องตามช่วงวัย ได้แก่ ห้องหนอนน้อย
(อายุ 2 – 6 เดือน) ห้องกระรอกน้อย (อายุ 6 เดือนขึ้นไป) และห้องเสือน้อย ดูแลเด็กที่เดินได้คล่องและ
เริ่มพูด จนถึงอายุ 2 – 3 ปีโดยประมาณ (ก่อนเข้าอนุบาล) โดยมีการกาหนดจานวนพี่เลี้ยงที่เหมาะสม
อย่างเช่น เด็กในห้องหนอนน้อย (อายุ 2-6 เดือน) ต้องมีพี่เลี้ยงในสัดส่วน 1:3 เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด
ขณะที่เด็กในห้องกระรอกน้อย (อายุ 6 เดือนขึ้นไป) มีพี่เลี้ยงในสัดส่วน 1:4 เพราะเด็กโตมากขึ้น ดูแล
ตัวเองได้มากขึ้น
ภาพที่ 3 (ภาพซ้าย) บรรยากาศการดูแลเด็กในห้องหนอนน้อย
(ภาพขวา) สมุดบันทึกประจาตัวของเด็กที่เข้ารับบริการจากศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
11
ผลการดาเนินงาน พบว่า ตอนที่เริ่มเปิดศูนย์ฯ ใหม่ๆ ใช้วิธีเดินประชาสัมพันธ์เชิญชวน
ผู้ปกครองให้นาเด็กมาฝาก ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองเป็นจานวนมาก ซึ่งในแต่ละปี ทาง
ศูนย์เจริญวัยจะรับดูแลเด็กโดยเฉลี่ยจานวน 30 คน ภายใต้งบประมาณราว 7 – 8 แสนบาท ปัจจุบันเด็ก
กลุ่มแรกที่ศูนย์เจริญวัยรับมาเลี้ยงดูมีอายุประมาณ 7 ปี เมื่อติดตามผลด้านพฤติกรรมจากเยาวชนกลุ่มนี้
พบว่า เด็กที่ผ่านการดูแลจากศูนย์เจริญวัยมีนิสัยไม่ก้าวร้าว ไม่กลัวคน อยู่กันเป็นกลุ่ม สนิทสนมกัน
เพราะโตมาด้วยกัน และมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี นอกจากนี้ กลุ่มผู้ปกครองก็มีความสุข เพราะไป
ทางานด้วยความสบายใจ มั่นใจได้ว่าลูกหลานของตัวเองได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี
2) ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
เกิดจากการที่เทศบาลฯ ประเมินความต้องการของประชาชนอยู่เป็นระยะ พบว่า ประชาชนต้องการ
โรงพยาบาลเพื่อรักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาที่ในเมืองของตนเอง ไม่ต้องไปโรงพยาบาลนอกพื้นที่ กอรป
กับมีสถิติความเจ็บป่วยของประชากรสูงใน 3 โรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดัน หัวใจ) ซึ่งผู้ป่วยส่วน
ใหญ่จะมีปัญหาเรื่องยาและการไปตรวจเลือด พบแพทย์ ที่โรงพยาบาลนอกพื้นที่ที่อยู่ไกลบ้าน ส่งผลให้
เกิดภาวะ Stroke เพิ่มขึ้น กองสาธารณสุขฯ จึงศึกษาเงื่อนไขของการจัดตั้งโรงพยาบาล และดาเนินการ
ขับเคลื่อนอย่างยากลาบากเพราะเงื่อนไขมีจานวนมาก แต่ด้วยความมุมานะและเห็นแก่ประโยชน์ของคน
ในเมือง เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจึงสามารถจัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขของตนเองได้เป็นผลสาเร็จ
การดาเนินงานศูนย์บริการสาธารณสุขอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่เข้า
มาจัดการด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งที่จาเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาลและ
ที่ให้ผู้ป่วยนากลับไปใช้ที่บ้าน โดยใช้สถานที่ของสถานบริการสุขภาพในตาบลเดิม ปรับปรุงยกระดับเป็น
โรงพยาบาลขนาดเล็ก เปิดให้บริการทุกวัน (ตารางที่ 2) มีตาแหน่งแพทย์ประจา 1 ตาแหน่ง ทันตแพทย์
1 ตาแหน่ง และเภสัชกรอีก 1 ตาแหน่ง มีรถพยาบาลที่ได้มาตรฐานรับส่งผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งใน
แต่ละวันไม่เกิน 10.00 น. แพทย์สามารถตรวจผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว
จึงสามารถไปดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านในช่วงบ่ายได้ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสุขภาพคัดกรองรายปี
ให้แก่ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ต้องมาลงทะเบียนล่วงหน้า) แยกเป็นการตรวจปกติ และตรวจตาม
ความเสี่ยงคือดูพฤติกรรมว่าติดเหล้าหรือบุหรี่หรือไม่ แล้วค่อยตรวจคัดกรองโรคที่เกิดจากเหล้าบุหรี่
ต่อไป
12
ตารางที่ 2 การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
วัน / เวลา ช่วงเช้า (8.30 – 12.00) ช่วงบ้าย (12.00 – 16.30)
จันทร์ ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
เยี่ยมบ้าน
อังคาร ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
คลินิคโรคความดันโลหิตสูง/คลินิคสุขภาพเด็กดี
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
เยี่ยมบ้าน
พุธ ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
คลินิคโรคเบาหวาน
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
เยี่ยมบ้าน
พฤหัสบดี ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
คลินิคโรคความดันโลหิตสูง/วางแผนครอบครัว
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
ศุกร์ ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
คลินิคฝากครรภ์/วางแผนครอบครัว
ตรวจรักษาโรคทั่วไป
อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
เสาร์ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
อาทิตย์ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน
ที่มา : ป้ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ปัจจุบันศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง มีประชากรบัตร
ประกันสุขภาพในความรับผิดชอบประมาณ 3,300 คน มีโรงพยาบาลรองรับสาหรับการส่งต่อถึง 6
โรงพยาบาลทั่วเมืองเชียงใหม่ ผลการดาเนินงานในปี 2559 มีผู้ป่วยนอกราว 3,700 คน จานวนการเข้า
รักษารวมประมาณ 20,000 ครั้ง เฉลี่ย 50 คนต่อวัน ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคความดันโลหิต
สูง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเบาหวาน ตามลาดับ
13
ภาพที่ 4 บรรยากาศด้านนอกและภายในศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่า
ครั่ง
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
3) ศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย
จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย เกิด
จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน กอรปกับมีประชาชนในเขตเทศบาลผ่านการ
อบรมหลักสูตรนวดแผนไทยจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และ กศน. 10 กว่าคน เทศบาลฯ
จึงจัดตั้งศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนองป่าครั่ง เพื่อให้ทุกกลุ่มอาชีพนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองมาจาหน่าย
รวมกัน สร้างชื่อเสียงให้แก่กลุ่มและตาบล อาทิ กลุ่มบายศรี กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มผลิตภัณฑ์จาก
ผ้าฝ้าย โดยผลงานที่สาคัญด้านการส่งเสริมสุขภาวะเมือง ได้แก่ การเปิดโอกาสให้กลุ่มอาชีพนวดแผน
ไทยเข้ามาเปิดดาเนินการบนชั้น 2 ของอาคารศูนย์จาหน่ายสินค้า โดยให้ความช่วยเหลือด้านการบริหาร
กิจการและรายได้อย่างเป็นระบบ กระทั่งกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยสามารถบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้
ด้วยตนเอง
14
การดาเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทยในเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เริ่มจากการที่
เทศบาลฯ จัดเตรียมอาคารสถานที่ให้ในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) มี
ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นที่ตั้งของศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนองป่าครั่ง ชั้นสองให้บริการ
นวดแผนไทย สปาและซาวน่า รวมถึงส่งผู้ที่สนใจประกอบอาชีพนวดแผนไทยเข้ารับการฝึกอบรมตาม
หลักสูตร 180 ชั่วโมง ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยจานวน
55 คน เปิดให้บริการ 2 สาขา สาขาแรกตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านบวกครก ณ ศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนอง
ป่าครั่ง มีหมอนวดแผนไทยประจาอยู่ 41 คน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.30 – 20.00 น. ของทุกวัน และ
สาขาที่สอง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองป่าครั่ง มีหมอนวดแผนไทยประจาอยู่ 14 คน
ภาพที่ 5 อาคารศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบล อัตราค่าบริการและบรรยากาศห้องนวดแผนไทย
เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562) และ http://otop-nongpakrang.com
15
ผลการดาเนินงาน พบว่า ปัจจุบันกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยที่ตาบลหนองป่าครั่งมีชื่อเสียงมาก
เพราะฝีมือดี คุณภาพดี แต่ราคาถูก จนได้รับการจองเวลาเข้าใช้บริการจากข้าราชการ ประชาชน
นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป ต่างก็มาใช้บริการนวดแผนไทยที่หนองป่าครั่ง
ปัจจุบันหมอนวดมีรายได้เฉลี่ยวันละ 700-800 บาท รวมถึงมีโบนัสและเงินปันผลให้อีกคนละ 2-3 หมื่น
บาทต่อปีอีกด้วย
4.2 การช่วยเหลือสังคม (Social Assistance)
บริการที่เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจัดให้มีขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ครัวเรือนหรือประชาชน
ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้พิการ
ภายใต้แนวคิด “การสร้างเมืองสวัสดิการ” ที่เน้นดูแลสุขภาวะคนเมืองหนองป่าครั่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545
จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ คลินิกชุมชนอบอุ่น มีรายละเอียดดังนี้
คลีนิกชุมชนอบอุ่นมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์กายภาพบาบัดและฟื้นฟูสภาพที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.
2547 ก่อนจะพัฒนาไปเป็นคลีนิกชุมชนอบอุ่นหนองป่าครั่งในปี พ.ศ. 2551 โดยมีที่มาจากการสารวจ
ปัญหาและเก็บข้อมูลเพื่อให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนทุกหลังคาเรือน มีการลงเยี่ยมบ้านของ
อสม. พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2545 พบว่า มีประชาชนที่ต้องได้รับการ
สงเคราะห์ดูแล โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงอายุติดเตียง
จากนั้นมีการดาเนินงานใน 2 ด้าน คือ 1) จัดเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย
ยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ. 2545) เทศบาลมีเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการมอบให้เดือนละ 1,000 บาทอยู่แล้ว
(ทามาก่อนรัฐบาล) แต่ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จึงจัดให้มีการทาประชาคมเพื่อให้ชาวบ้าน
ยกมือรับรองว่าบุคคลนั้นมีความลาบากยากจนจริง และ 2) จัดหาคนดูแล ในระยะแรกมี อสม. 30 กว่า
คนที่มาเข้าร่วม มีอาสาสมัครกายภาพบาบัดเพื่อชุมชน (ที่มาของ Care Giver ในปัจจุบัน) เชิญนัก
กายภาพบาบัดจากโรงพยาบาลแมคคอมิกส์ เชียงใหม่ มาอบรมให้ความรู้เพิ่มพูนทักษะ เมื่อผ่านการ
อบรมพบว่าทางานจริงได้ประมาณ 20 กว่าคน จึงจับคู่วันละ 2 คนให้ลงเยี่ยมบ้าน
ผลจากการดาเนินงานพบว่ายังมีปัญหาหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาจาก 1) การขาดความต่อเนื่อง
สม่าเสมอของเจ้าหน้าที่ในการลงเยี่ยมบ้าน เนื่องจาก อสม. และอาสาสมัครกายภาพบาบัดเพื่อชุมชน
เหลือเพียง 10 กว่าคน และแม้ว่าเทศบาลฯ จะลงเยี่ยมบ้านพร้อมทีมแพทย์และสหวิชาชีพอยู่ตลอด แต่
การเยี่ยมบ้านกลับไม่ได้ทาให้คนไข้อาการดีขึ้นเท่าที่ควร และ 2) ผู้ป่วยไม่ได้รับการบาบัดฟื้นฟูอย่าง
ต่อเนื่อง เนื่องจาก ถูกญาติละเลย อาการโดยรวมอาจจะดีขึ้นเล็กน้อย แต่สามารถดีขึ้นได้มากกว่านี้
ผู้บริหารของเทศบาลฯ จึงมีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์กายภาพบาบัดฯ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่าง
ต่อเนื่อง
16
ในระยะแรก ศูนย์กายภาพบาบัดฯ ตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลหนองป่าครั่ง มีพยาบาล และ อส
ม. ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันดูแล มีการพัฒนาบุคลากรด้วยการส่งไปอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุจากที่
ต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลักษณะการดาเนินงานคือ
ในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 8.30-12.00 น. จะนัดให้ผู้ป่วยเข้ามารับการบาบัด ส่วนผู้ป่วยที่เดินทางมาเองไม่ได้
จะมีเจ้าหน้าที่และรถรับส่ง ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงก็จะมี อสม. ไปเยี่ยมในช่วงบ่าย
ภาพที่ 6 คลินิกชุมชนอบอุ่นและศูนย์ฟื้นฟูสภาพ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
17
ภายหลังจากปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา มีการเพิ่มเติมด้านบุคลากรเพื่อให้ครอบคลุมการ
ดาเนินงาน โดยมีแพทย์แผนไทย 1 คน ทาหน้าที่วินิจฉัยว่าต้องบาบัดฟื้นฟูอย่างไร โดยมีอาจารย์ด้าน
เทคนิคการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาช่วยดูแลสัปดาห์ละ 2 วัน พยาบาล 1 คน มีหน้าที่จัด
โปรแกรมการบาบัดฟื้นฟูตามที่แพทย์แผนไทยวินิจฉัย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 6 คน (หมุนเวียนเข้ามา
ให้บริการวันละ 4 คน) เพื่อทาการนวดฟื้นฟูสภาพ โดยมีแพทย์แผนไทยดูแลอย่างใกล้ชิด และเจ้าหน้า
ประจาศูนย์ฯ 2 คน โดยเทศบาลฯ ยังคงจัดเจ้าหน้าที่และรถรับส่งจากบ้านมายังคลินิกฯ รวมถึงส่ง
เจ้าหน้าที่ไปอบรม ดูงาน (วัดห้วยเกี๋ยง) ริเริ่มการทากิจกรรมบาบัด
ผลการดาเนินงาน พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูประมาณ 30 ราย ผู้ป่วยติดเตียงที่
เรื้อรังมานานมีอาการทรงตัว แต่ที่สาคัญคือมีสุขภาพจิตดีขึ้น ผู้ป่วยที่เพิ่งจะเริ่มมีอาการติดเตียงได้รับ
การบาบัดรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่อง สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และกลับไปใช้ชีวิตปกติได้
4.3 การประกันสังคม (Social Insurance)
เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ได้ก่อตั้ง “กองทุนสวัสดิการชุมชน เทศบาลตาบลหนองป่า
ครั่ง” ให้แก่ประชาชนที่สนใจสมัครจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนคนละ 30 บาทต่อเดือน โดยมีสิทธิ์ที่จะ
ได้รับเงินในทุกช่วงวัยของชีวิต เช่น เมื่อมีเด็กเกิด จะได้รับเงิน 500 หรือ 1000 บาท แล้วแต่อายุสมาชิก
เมื่อสาเร็จการศึกษาในแต่ละระดับชั้นก็จะได้รับเงินแตกต่างกันไป ได้แก่ สาเร็จการศึกษาชั้นประถม
ได้รับ 500 บาท หรือ 1000 บาท ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้รับ 500 บาท หรือ 1000 บาท ชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลายได้รับ 800 บาท หรือ 1,300 บาท ระดับประกาศบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้รับ
1,000 บาท หรือ 1,500 บาท และระดับปริญญาตรี โท และเอก เพิ่มขึ้นตามจานวนคุณวุฒิที่จบ และจะ
ได้รับมากขึ้นหากมีผลการศึกษาดี โดยมีเกรดเฉลี่ยมากว่า 3.5 ขึ้นไป นอกจากนี้หากเป็นทหาร เมื่อปลด
ประจาการจะได้รับ 2,000 บาท รวมถึงการบวช การแต่งงาน การเป็นผู้สูงอายุ กรณีตายหรือประสบสา
ธารณภัย ก็จะได้รับเงินสมทบตามเหตุการณ์และอายุด้วย
18
5. ระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง
กลไกหลัก รวมถึงทรัพยากรสาคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างเมืองสุขภาวะหนองป่าครั่ง
ได้แก่ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ภายใต้บทบาทการดาเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกองสาธารณสุข
และสิ่งแวดล้อม โดยมีปัจจัยนาเข้าในระบบการดาเนินงานซึ่งถือเป็นทรัพยากรหลัก ได่แก่ งบประมาณ
อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ มีรายละเอียดที่สาคัญในด้านงบประมาณ ซึ่งงบประมาณหลัก
มาจากงบประมาณประจาปีของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง รวมถึงเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
และภาคประชาชน ซึ่งนับว่าเพียงพอ และเป็นจุดแข็งของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งในการดาเนินงาน
ตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่วางไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1) งบประมาณจากเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง มีรายได้ใน
หมวดภาษีจัดสรรประมาณปีละ 40 ล้านบาท ภาษีอากร 30 ล้านบาท และเงินอุดหนุน 30
ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากทรัพย์สิน สาธารณูปโภคและการพาณิชย์ ค่าธรรมเนียม
ค่าปรับ ฯลฯ อีกราวปีละ 8 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณปีละ 110 ล้านบาท โดยมีรายจ่าย
ในด้านต่างๆ รวมประมาณปีละ 90 ล้านบาท ในจานวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของ
ประชาชนในเมืองประมาณปีละ 7 ล้านบาท (เฉพาะโรงพยาบาล ประมาณปีละ 1.2 ล้าน
บาท)
2) งบประมาณจากหน่วยงานภายนอก เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยสานักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประมาณปีละ 4 ล้านบาท กองทุนสุขภาพตาบล
ประมาณ 5 แสนบาท เน้นงานส่งเสริมให้ความรู้ จัดอบรมให้แก่ประชาชน รวมถึงการ
สนับสนุนด้านอื่นๆ ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การอบรมบุคลากรจากหน่วยงานเครือข่ายของ
เทศบาล เช่น กระทรวงแรงงาน มหาวิทยาลัย เป็นต้น
3) เงินสนับสนุนจากภาคประชาชนในชุมชนร่วมกันบริจาค มีทั้งแบบที่เป็นตัวเงินและการ
สนับสนุนสิ่งของ เช่น ของเล่น อุปกรณ์การแพทย์ โดยในแต่ละปีจะมีเงินบริจาคเข้ามาที่
เทศบาลราว 3-4 แสนบาท นอกจากนี้ ทุกๆ 4 ปี ประชาชนหนองป่าครั่งจะระดมผ้าป่าจัดตั้ง
เป็นกองทุนมอบให้เทศบาลฯ (วัดเป็นผู้บริหารเงิน นายกเทศมนตรีเป็นกรรมการ) เพื่อใช้ใน
การดาเนินการเพิ่มเติมในยามฉุกเฉิน ได้แก่ กองทุนยา และกองทุนแพทย์อาสา เพื่อใช้จ่าย
กรณีที่จาเป็นสาหรับประชาชนที่ยากไร้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น การฟอก
ไต การจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เร่งด่วน เป็นต้น
19
6. ผลลัพธ์ของการดาเนินงาน
1) ได้ดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีศูนย์บริการสาธารณสุข
(โรงพยาบาล) สังกัดเทศบาลฯ ที่ดาเนินการโดยเทศบาลฯ เอง ซึ่งจากสถิติที่มีผู้ป่วยนอกมา
ขอรับบริการประมาณปีละ 3,700 คน เมื่อเทียบกับจานวนประชากรตามทะเบียนในเขต
เทศบาลที่มีอยู่ประมาณ 7,200 คน จะเห็นได้ว่าเทศบาลฯ สามารถให้การดูแลสุขภาพของ
ประชาชนในเขตเทศบาลได้อย่างใกล้ชิดเกินกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้
ข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับ ยังนาไปสู่การออกแบบการให้บริการที่ครอบคลุมประเด็นปัญหา
สุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ได้แก่ การให้บริการคลีนิคโรคความดันโลหิตสูงและ
โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพหลักของประชาชนในเมือง
2) ได้บ่มเพาะเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยการดูแลติดตามพัฒนาการของเด็กและ
เยาวชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2-3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงเวลาสาคัญ
ที่จะสามารถบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นรากฐานของการเรียนรู้ต่อไป
ในอนาคต ถือเป็นการพัฒนาคนจากจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริง
3) ได้กลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง มีชื่อเสียง และนาสู่การขยายผล ปัจจุบันกลุ่มอาชีพนวดแผน
ไทยที่หนองป่าครั่งมีสมาชิกประมาณ 50 ราย ซึ่งได้ดาเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา
เกินกว่า 10 ปี มีระบบการจัดเก็บและจัดการรายได้ที่ชัดเจน จึงสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกก
ลุ่มอย่างมั่นคง ส่งผลให้กลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็ง กอรปกับได้รับความสนใจจากประชาชน
ทั้งในพื้นที่ตาบลและจากพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการที่มัคคุเทศก์และคนในท้องถิ่นนา
นักท่องเที่ยวเข้ามานวดในพื้นที่เป็นจานวนมาก จึงส่งผลให้กลุ่มนวดหนองป่าครั่งมีชื่อเสียง
ขึ้นมาจากคุณภาพการให้บริการที่ดีและมีราคาเหมาะสม นาสู่การขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง
ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองป่าครั่ง
4) ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคประชาชนเป็นอย่างดี เนื่องจากมีผลงาน
ที่เกิดขึ้นปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการจัดตั้งคลีนิคชุมชนอบอุ่น
และศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ซึ่งได้รับการ
สนับสนุนเงินบริจาคและสิ่งของจากภาคประชาชนอย่างสม่าเสมอ และเมื่อทางเทศบาลฯ ขอ
ความร่วมมือในด้านต่างๆ ก็มักจะได้รับการตอบรับจากภาคประชาชนเป็นอย่างดีเช่นกัน
20
7. ปัจจัยความสาเร็จในการดาเนินงาน
1) จับประเด็นการพัฒนาเมืองได้อย่างถูกจุด เนื่องจากหนองป่าครั่งเป็นเมืองของผู้อยู่อาศัย
มิใช่เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองการค้าพาณิชย์หลัก โจทย์หรือประเด็นในการพัฒนาที่เน้นเรื่อง
การจัดสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้อยู่อาศัยจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบ
ริบทสภาพแวดล้อมการพัฒนาของเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และมุมมองของ
ผู้บริหารที่เข้าใจและเข้าถึงจิตวิญญาณของเมืองอย่างแท้จริง
2) มีงบประมาณในการดาเนินงานอย่างเพียงพอ จากเงิน 3 ส่วนที่เทศบาลฯ ใช้ในการ
บริหารจัดการนั้น จะเห็นว่าไม่ได้มากมายนัก แต่เหมาะสมและเพียงพอกับบริบทของเมือง
ขนาดกลาง ซึ่งผ่านการวางรากฐานมาเป็นอย่างดีจากผู้บริหารของท้องถิ่นและภาค
ประชาชนที่ร่วมกันบริจาค โดยในระยะแรกอาจจะทุ่มเทงบประมาณไปกับการแก้ไขปัญหา
โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่สะดวกสบาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประเด็นการลงทุน
ด้านการพัฒนาคนโดยเน้นที่สุขภาพและสุขภาวะของประชาชนจะกลายมาเป็นประเด็นที่มี
น้าหนักมากกว่าด้านกายภาพอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นแนวโน้มโดยทั่วไปของเมืองในยุค
ปัจจุบัน
3) การมีส่วนร่วมของประชาชน มีคณะกรรมการสาธารณสุขตาบลร่วมคิด เสนอความเห็น
ให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในการ
ออกแบบบริการ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมขึ้นมา มีหัวหน้ากลุ่ม มีสมาชิก อยากได้
ทรัพยากรอะไรก็มาขอ แต่มีข้อแม้ว่าต้องดูแลให้ดี อีกประเด็นหนึ่งที่สาคัญคือการสร้าง
ความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ประชาชน แม้เทศบาลฯ จะมีงบประมาณจากัด แต่ก็สามารถทา
เรื่องต่างๆ ได้ หลักสาคัญคือ “ต้องให้เป็นของเขา” คือสร้างความรู้สึกว่าสิ่งที่เทศบาลฯ
จัดทา จัดหามาให้ สุดท้ายแล้วประชาชนคือเจ้าของ อย่างเช่น โรงพยาบาลหนองป่าครั่ง ที่
คนหนองป่าครั่งมีความภูมิใจ คนแก่เอาไปอวด โดยวันที่ลงเสาเข็มสร้างอาคารโรงพยาบาล
ชาวบ้าน/หมู่บ้าน/ชุมชน จัดกองผ้าป่าทอดแข่งขันกัน ได้เงินมากถึง 2 ล้านบาท มอบให้แก่
โรงพยาบาล เป็นต้น
21
8. ความท้าทายภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
ประเทศไทยใฝ่ฝันถึงการเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมักจะมีการ
เรียกร้องถึงสวัสดิการที่ประชาชนพึงมีพึงได้ตลอดมา วันนี้ประเทศไทยอาจจะยังอยู่ห่างจากรัฐสวัสดิการ
ในระดับชาติ แต่ในระดับเมือง ความใฝ่ฝันเรื่องการเป็นเมืองสวัสดิการไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป ณ เมือง
หนองป่าครั่ง ที่ดูแลโดยเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ซึ่งเมืองแห่งนี้เข้าใกล้ความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน
กรณีสวัสดิการของเทศบาลหนองป่าครั่ง ทาให้หวนนึกถึงบทความเรื่อง “จากครรภ์มารดาถึงเชิง
ตะกอน” โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นข้อเรียกร้องเรื่องรัฐสวัสดิการ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคม
และคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่ประชาชนคนหนึ่งพึงมี บทความนี้จึงเป็นเอกสารหรือคัมภีร์สาคัญที่ประชาชน
รวมถึงนักวิชาการมักนามาใช้อ้างอิง เพื่อเรียกร้องให้ประเทศไทยจัดสวัสดิการเช่นเดียวกับที่อาจารย์
ป๋ วยได้เสนอมา เมื่อมาเจอที่หนองป่าครั่งทาให้รู้ว่าภายใต้งบประมาณหลักจากองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่นก็สามารถจัดสวัสดิการที่ครอบคลุมให้แก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายได้
เราอาจจะบ่นกันมากว่าประชาชนไทยไม่ยอมเสียภาษีให้กับรัฐเท่าไหร่นัก แต่หนองป่าครั่งแสดง
ให้เห็นว่า หากรัฐของพวกเขาแปรเปลี่ยนเงินเพื่อมาดูแลประชาชน พวกเขาก็พร้อมจ่ายและยังระดมทุน
ช่วยเหลือให้กับรัฐของพวกเขาด้วย หนองป่าครั่งแสดงให้เห็นว่า ภายใต้อานาจที่จากัด เมืองแห่งนี้ก็
สามารถจัดสวัสดิการเพื่อประชาชนได้อย่างเหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อมของเมือง อย่างไรก็ดี มี
ความท้าทายภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่หนองป่าครั่งจะต้องเผชิญใน 2 เรื่อง ได้แก่ การ
เพิ่มขึ้นของประชากรแฝง และการเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนี้
1. การจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ประชาชนครอบคลุมเพียงประชากรตามทะเบียนที่มีจานวน
เพียง 7,000 กว่าคนเท่านั้น ยังไม่รวมถึงประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่อาศัยอีกเป็นจานวนมาก
ตามการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง
2. การเข้าสู่สังคมสูงวัยที่มีจานวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรวัยพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต
งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการดาเนินงานเพื่อ
รองรับสังคมสูงวัย จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาแนวทางในการกระตุ้น ส่งเสริม และ
สร้างรายได้ในท้องถิ่น ทั้งรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น รายได้ภาคครัวเรือน และรายได้ของ
ผู้สูงอายุเอง

More Related Content

What's hot

Power point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมPower point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมyahapop
 
ภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษาภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษาluckkhana
 
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนโครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนNatthawut Sutthi
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมจตุรพล ชานันโท
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54RMUTT
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2FURD_RSU
 
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมniralai
 
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุขโครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุขN'Pop Intrara
 
ความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานRachaya Smn
 
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียน
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียนโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียน
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียนyudohappyday
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นอนุชา โคยะทา
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์จตุรพล ชานันโท
 
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์tassanee chaicharoen
 
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4Sombom
 
มลพิษทางดิน
มลพิษทางดินมลพิษทางดิน
มลพิษทางดินNittaya Jandang
 
ยานี ๑๑ แม่ก กา
ยานี ๑๑ แม่ก กายานี ๑๑ แม่ก กา
ยานี ๑๑ แม่ก กาCHANIN111
 

What's hot (20)

Power point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคมPower point กองสวัสดิการสังคม
Power point กองสวัสดิการสังคม
 
ภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษาภูมิปัญญาทางภาษา
ภูมิปัญญาทางภาษา
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชนโครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
โครงการเก็บขยะในโรงเรียนสู่จิตสำนึกต่อชุมชน
 
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคมโครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
โครงการจิตอาสาเพื่อชุมชนและสังคม
 
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
ออกแบบและเทคโนโลยี ม.5
 
Nuntanakan2
Nuntanakan2Nuntanakan2
Nuntanakan2
 
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54
รายงานการประชุมครั้งที่ 2 54
 
หน่วยที่ 4 การพูดอภิปราย
หน่วยที่ 4 การพูดอภิปรายหน่วยที่ 4 การพูดอภิปราย
หน่วยที่ 4 การพูดอภิปราย
 
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
การพัฒนาเมืองยะลา : สิงคโปร์แห่งที่ 2
 
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรมคำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
คำกล่าวเปิดค่ายจริยธรรม
 
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุขโครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข
โครงงานคุณธรรม สร้างรอยยิ้ม สร้างความสุข
 
ความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงานความหมายของโครงงาน
ความหมายของโครงงาน
 
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียน
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียนโครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียน
โครงงานวิชาคอมพิวเตอร์ เรื่อง แอปพลิเคชั่นตัดคะแนนนักเรียน
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่นโครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
โครงการจิตอาสาพัฒนาห้องน้ำโรงเรียนบ้านบัว อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณะประโยชน์
 
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์
โครงการอบรมการผลิตสื่อออนไลน์
 
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
การสำรวจพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
 
มลพิษทางดิน
มลพิษทางดินมลพิษทางดิน
มลพิษทางดิน
 
ยานี ๑๑ แม่ก กา
ยานี ๑๑ แม่ก กายานี ๑๑ แม่ก กา
ยานี ๑๑ แม่ก กา
 

Similar to เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม

เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมFURD_RSU
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
ยางนาสาร-ฉบับที่-80
ยางนาสาร-ฉบับที่-80ยางนาสาร-ฉบับที่-80
ยางนาสาร-ฉบับที่-80Mr-Dusit Kreachai
 
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)FURD_RSU
 
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.Peerasak C.
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาFURD_RSU
 
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรเมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรFURD_RSU
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาFURD_RSU
 
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...FURD_RSU
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนJar 'zzJuratip
 
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนเมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนFURD_RSU
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015Thana Chirapiwat
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015Thana Chirapiwat
 
Plan dev12 2
Plan  dev12 2Plan  dev12 2
Plan dev12 2Nus Venus
 

Similar to เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม (19)

เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคมเมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
เมืองจันทบุรี : ต้นแบบสร้างเศรษฐกิจชุมชนด้วยกิจการเพื่อสังคม
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
ยางนาสาร-ฉบับที่-80
ยางนาสาร-ฉบับที่-80ยางนาสาร-ฉบับที่-80
ยางนาสาร-ฉบับที่-80
 
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.5 (SEPTEMBER 2017)
 
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
SCENARIO - FUTURE CITY. JUNE 18, 2018.
 
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดาการพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
การพัฒนาเมืองภายใต้นโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษ: ชุมชนชายแดนด่านสะเดา
 
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากรเมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
 
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนาเมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
เมืองขอนแก่นกับนวัตกรรมการพัฒนา
 
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...
การประยุกต์แผนที่วัฒนธรรมเพื่องานด้านการพัฒนาเมือง กรณีศึกษา iDiscover City W...
 
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียนโครงงานหนูชื่ออาเซียน
โครงงานหนูชื่ออาเซียน
 
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืนเมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
เมืองผาปัง ต้นแบบเมืองสุขภาพดี มีตังค์ ยั่งยืน
 
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพการพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
การพัฒนาเมืองน่านสู่สังคมคุณภาพ
 
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
FURD CITIES MONITOR VOL.4 (JULY 2017)
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลเมืองหัวหิน 07092015
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015
การประชุมระดมความคิดเห็น Focus Group เทศบาลตำบลท่ายาง 08092015
 
Plan dev12 2
Plan  dev12 2Plan  dev12 2
Plan dev12 2
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมFURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD_RSU
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
การสร้างเศรษฐกิจ ด้วยแนวคิดการผูกขาดของธรรมชาติ (Monopoly by Nature)
 
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.12 (NOVEMBER 2018)
 
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล  กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
ระบบและกลไกการพัฒนาเมืองสุขภาวะในพื้นที่ปริมณฑล กรณีศึกษา เมืองไวท์เฮาส์ คลอ...
 

เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม

  • 3. ผู้เขียน : ปาริชาติ อ่อนทิมวงศ์ บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ : ณัฐธิดา เย็นบารุง, มณฑิภรณ์ ปัญญา ปก : มณฑิภรณ์ ปัญญา รูปเล่ม : มณฑิภรณ์ ปัญญา ปีที่เผยแพร่ : กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ร่วมกับมูลนิธิสถาบันสร้างสรรค์ปัญญาสาธารณะ (CPWI) ภายใต้โครงการการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนเมืองสุขภาวะ ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. 3 เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม 1. สภาพความเป็นเมืองในเขตเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ตั้งอยู่ในเขตอาเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ 2.95 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 1,844 ไร่ ในอดีตพื้นที่แห่งนี้เป็นหนองน้าขนาดใหญ่ มีต้นฉาฉาหรือต้น จามจุรีขึ้นอยู่โดยรอบ อาชีพหลักของประชาชนคือการเลี้ยงครั่ง โดยนาเอาครั่งมาปล่อยไว้บนต้นฉาฉา จึงเป็นที่มาของชื่อตาบลหนองป่าครั่ง ปัจจุบันมีหมู่บ้านในเขตเทศบาลตาบลทั้งหมด 7 หมู่บ้าน (ตาราง ที่ 1) โดยมีอาณาเขตติดต่อทางด้านทิศตะวันตกกับเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเขตเมืองขนาดใหญ่ จึง อาจกล่าวได้ว่าพื้นที่ในเขตเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งเป็นบริเวณชานเมืองของเมืองเชียงใหม่ ไม่ หลงเหลือสภาพหนองน้า การเลี้ยงครั่ง และการทาเกษตรกรรมให้เห็นแล้ว ตารางที่ 1 จานวนครัวเรือนและประชากรตามทะเบียนในเขตตาบลหนองป่าครั่ง จาแนกตามเพศและหมู่บ้าน ปี พ.ศ. 2561 จานวนครัวเรือน หน่วย : หลังคา เรือน จานวนประชากร หน่วย : คน หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน จานวน ครัวเรือน จานวนประชากร เพศชาย เพศหญิง รวม 1 บ้านหนองอินทร์ 1,055 556 625 1,181 2 บ้านบวกครก 561 530 629 1,159 3 บ้านบวกครกน้อย 627 620 707 1,327 4 บ้านหนองป่าครั่ง 1,795 364 412 776 5 บ้านแม่คาว 811 228 287 515 6 บ้านบวกครกใหม่ 597 509 632 1,141 7 บ้านบวกครกน้อยริม คาว 517 465 551 1,061 ทะเบียนบ้านกลาง 2 77 52 129 รวม ตาบลหนองป่าครั่ง 5,965 3,349 3,895 7,244 ที่มา : ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ เดือนกันยายน 2561
  • 5. 4 ในด้านการบริหารจัดการพื้นที่ ตาบลหนองป่าครั่งได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตาบล หนองป่าครั่งในปี พ.ศ. 2538 ต่อมากระทรวงมหาดไทยพิจารณาว่าองค์การบริหารส่วนตาบลหนองป่า ครั่งมีสภาพเหมาะสม ควรให้จัดตั้งเป็นเทศบาลตาบล จึงยกฐานะองค์การบริหารส่วนตาบลหนองป่าครั่ง เป็นเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เป็นต้นมา ในด้านประชากร ตาบลหนองป่าครั่งมีประชากรตามทะเบียนจานวน 7,244 คน (ตารางที่ 1) คิด เป็นร้อยละ 45 ของประชากรในพื้นที่ ส่วนที่เหลือร้อยละ 55 เป็นประชากรแฝง เนื่องจากตาบลหนองป่า ครั่งเป็นแหล่งงาน โดยมีห้างสรรพสินค้า ร้านค้าขนาดใหญ่ กิจการค้าและบริการขนาดกลางและขนาด เล็กตั้งอยู่เป็นจานวนมาก รวมถึงมีมหาวิทยาลัยพายัพตั้งอยู่ใกล้เคียง ทาให้มีการก่อสร้างอาคารที่พัก อาศัยรวมหรือหอพัก รวมถึงบ้านเช่าขนาดเล็กแทรกอยู่ตามบ้านพักอาศัยของประชาชน เมื่อพิจารณา จานวนครัวเรือนพบว่าในเขตตาบลหนองป่าครั่งมีจานวนครัวเรือนสูงถึง 5,965 หลังคาเรือน คิดเป็น ประชากร 1.2 คนต่อหนึ่งครัวเรือน ถือเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก แสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ของพื้นที่ที่มี ประชากรแฝงอย่างชัดเจน โดยประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ภาพที่ 1 ที่ตั้งของเมืองหนองป่าครั่ง ที่มา : www.google.com/maps เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ไปราว 10 กิโลเมตร โดยเมืองเชียงใหม่ถือเป็นเมืองสาคัญของภาคเหนือตอนบน เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่
  • 6. 5 สาคัญ ที่ผ่านมามีการลงทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนจานวนมาก ส่งผลให้พื้นที่ในตัวเมืองเริ่มหาที่ดิน สาหรับการพัฒนายาก เมืองเริ่มขยายออกรอบนอกตามการพัฒนาของโครงสร้างพื้นฐานที่เพิ่งจะแล้ว เสร็จ อาทิ ถนน อุโมงค์ทางลอด โดยย่านเศรษฐกิจใหม่ของเมืองมีแนวโน้มไปทางด้านทิศตะวันออก กระจายตัวอยู่ระหว่างถนนวงแหวนรอบที่ 1 รอบที่ 2 จนถึงเขตต่อเนื่องกับอาเภอสันกาแพง ในปัจจุบัน มีอาคารสูงหลายแห่งเกิดขึ้น ไม่ว่าเป็นคอนโดมิเนียม ศูนย์การค้า ย่านการค้าต่างๆ และมีแนวโน้ม เติบโตมากขึ้นรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต เช่น โครงการสร้างสนามบินนานาชาติแห่งที่ 2 โครงการรถไฟฟ้าใต้ดิน และโครงการมอเตอร์เวย์ เป็นต้น 2. จุดเริ่มต้นของการสร้างเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ตาบลหนองป่าครั่ง เป็นพื้นที่ชานเมืองที่รองรับการขยายตัวออกรอบนอกตามแนวราบของเมือง เชียงใหม่ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา ความเป็นเมืองที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้มีการยกฐานะเป็นเทศบาลตาบล หนองป่าครั่งเมื่อปี พ.ศ. 2549 จึงอาจกล่าวได้ว่าจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเมืองหนองป่าครั่งอย่างจริงจัง ในทุกด้าน เกิดขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2549 ด้วยวิสัยทัศน์ของคุณสมคิด เลิศเกียรติดารงค์ นายกเทศมนตรี ตาบลหนองป่าครั่ง ที่ให้ความสาคัญกับการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามวิสัยทัศน์ใน การพัฒนาท้องถิ่นเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่ได้ประกาศไว้ว่า “ประชาชนมั่งคั่ง หนองป่าครั่ง มั่นคง” กาหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนา โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยมีนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ดังนี้ 1. นโยบายด้านการส่งเสริมอาชีพสร้างเศรษฐกิจชุมชน จัดตั้งกองทุนและสหกรณ์ออม ทรัพย์ เพื่อการประกอบอาชีพ ส่งเสริมอาชีพและจัดจาหน่ายสินค้าครบวงจร จัดตั้งศูนย์ฝึก อาชีพ ศูนย์จัดหางานและการจ้างแรงงาน เป็นต้น 2. นโยบายด้านการศึกษา จัดการศึกษาและกระบวนการเรียนการสอนทุกรูปแบบ จัดตั้ง กองทุนเพื่อการศึกษาของเยาวชนและพระภิกษุสามเณร จัดตั้งศูนย์ภาษา ห้องสมุด ประชาชนและแหล่งเรียนรู้ จัดชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียนการสอน อาหารกลางวันและนม ให้แก่นักเรียนโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย และโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตาบลหนองป่า ครั่ง เป็นต้น 3. นโยบายด้านสังคมสงเคราะห์ จาแนกออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 3.1 ด้านการสงเคราะห์ช่วยเหลือเด็ก สตรี คนชรา คนพิการ คนด้อยโอกาส ผู้ป่วยและผู้ ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ผู้ติดยาเสพติด และผู้ประสบสาธารณภัย โดยจัดเงินเบี้ย ยังชีพให้แก่ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้ได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคเอดส์ เด็ก
  • 7. 6 3.2 ด้านการพัฒนาและฟื้นฟู ร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนราชการอื่นๆ และภาคเอกชน จัดการฝึกอบรมอาชีพให้แก่ประชาชนผู้ด้อยโอกาส เช่น การฝึกอบรมอาชีพให้แก่คนพิการ และผู้สูงอายุที่ยังพอทางานได้และอื่นๆ ส่งเสริม การดาเนินงานของศูนย์พัฒนาครอบครัวอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาและยกฐานะเป็น ครอบครัวอบอุ่นต่อไป 4. นโยบายด้านสาธารณสุข จัดตั้งคลินิกชุมชนอบอุ่น จัดตั้งศูนย์กายภาพบาบัดให้แก่ ประชาชนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ จัดตั้งศูนย์ดูแลเด็กในครรภ์ เด็กแรกเกิดและมารดา จัดรถ รับส่งผู้ป่วยไปรักษายังโรงพยาบาล จัดอบรม บาบัดรักษา ผู้ป่วยจากการเสพยาเสพติดหรือ ผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด 5. นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จัดทาโครงการเทศบาลเมืองน่าอยู่ จัดสร้างสวนสาธารณะ จัดทา โครงการฝึกอบรมอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม จัดระบบการเก็บขยะมูลฝอยอย่างมี ประสิทธิภาพ และจัดให้มีการทาปุ๋ยอินทรีย์จากขยะมูลฝอย เป็นต้น ในทางปฏิบัติ การดาเนินงานตามนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาล ตาบลหนองป่าครั่งอยู่ภายใต้บทบาทภารกิจหน้าที่ของกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม โดยมีคุณเสาวนีย์ คาปวน ผู้อานวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ริเริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวทางการ ส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ ภายใต้ความเห็นชอบจากประชาคม และการระดมสมองของ คณะกรรมการสาธารณสุขตาบลหนองป่าครั่ง 3. แนวคิดในการสร้างเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง การสร้างเมืองสุขภาวะของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งอยู่ภายใต้แนวคิด “การจัดสวัสดิการ สังคม” โดยสวัสดิการสังคม (Social Welfare) หมายถึง ระบบการจัดบริการทางสังคมซึ่งเกี่ยวกับการ ป้องกัน การแก้ไขปัญหา การพัฒนา และการส่งเสริมความมั่นคงทางสังคม เพื่อตอบสนองความจาเป็น ขั้นพื้นฐานของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้อย่างทั่วถึง เหมาะสม เป็นธรรม และให้ เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งทางด้านการศึกษา สุขภาพอนามัย ที่อยู่อาศัย การทางานและการมีรายได้ กีฬาและนันทนาการ กระบวนการยุติกรรม และบริการทางสังคมทั่วไป โดยคานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ สิทธิที่ประชาชนพึงได้รับ และการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการสังคมทุกระดับ ด้วยเหตุนี้ การจัด สวัสดิการสังคมจึงมีความรอบด้าน หลากหลาย ส่งผลให้บริการที่จัดให้มีขึ้นนั้นต้องครบวงจร หรือเป็น องค์รวม (Holistic) และเป็นรูปธรรม
  • 8. 7 ข้อสาคัญอีกประการหนึ่งคือสวัสดิการสังคมมิได้จากัดแคบอยู่เพียงเรื่องการสังคมสงเคราะห์ ช่วยเหลืออุ้มชูคนยากไร้ คนที่ประสบความเดือดร้อนเท่านั้น การสังคมสงเคราะห์หรือการช่วยเหลือ เกี่ยวกับความเดือดร้อนเฉพาะหน้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานสวัสดิการสังคมเท่านั้น โดยสิ่งที่สาคัญยิ่ง กว่างนั้นคือการสร้างความมั่นคงในสังคม อันเป็นหัวใจหลักของสวัสดิการสังคม สังคมจะสงบอยู่เย็นเป็น สุขเพราะมีสวัสดิการสังคมที่ดี งานสวัสดิการสังคมจึงต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับฐานะทางเศรษฐกิจ ของพลเมืองอย่างแท้จริง และจะต้องสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองมีฐานะทางเศรษฐกิจดีพอที่จะหยิบ ยื่นให้แก่ผู้อื่นได้ด้วย การจัดสวัสดิการสังคมจึงถือเป็นการลงทุนทางสังคม และเป็นการสร้างหลักประกันขั้นพื้นฐาน ของประชาชน ช่วยเหลือประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งพาตนเองได้ อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้าง โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม (Social Safety Net) ไว้รองรับประชาชนที่ประสบปัญหาจากภาวะ วิกฤติต่างๆ โดยเชื่อว่าสวัสดิการสังคมเป็นสิทธิมนุษยชนที่รัฐต้องเข้ามาช่วยสนับสนุนและดาเนินการ ทาให้เกิดรูปแบบ “รัฐสวัสดิการ” ที่แตกต่างกันไปตามบริบทของประเทศ/เมือง ซึ่งระบบสวัสดิการ ทางสังคมที่ครอบคลุมมีองค์ประกอบดังนี้ 1. การบริการสังคม (Social Services) เป็นบริการที่รัฐหรือเอกชนที่มีความพร้อมทาหน้าที่จัด ให้มีขึ้นเพื่อบริการสังคม มุ่งส่งเสริมสวัสดิภาพของบุคคลให้สามารถดารงชีวิตอยู่ในสังคมได้ อย่างเป็นสุขตามอัตภาพ เช่น การบริการการศึกษา การสาธารณสุข ที่อยู่อาศัย และการ ส่งเสริมช่วยเหลือเยาวชน เป็นต้น 2. การช่วยเหลือสังคม (Social Assistance) เป็นบริการที่รัฐจัดให้การช่วยเหลือแก่ประชาชน หรือครอบครัวที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ อาทิ การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสหรือผู้ที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เช่น ผู้ป่วย ผู้พิการ เป็นต้น 3. การประกันสังคม (Social Insurance) เริ่มจากการประกันสุขภาพ ก่อนจะขยายไปสู่การ ประกันด้านอื่นๆ อาทิ การว่างงาน การคลอดบุตร การสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และการตาย เป็นต้น ปัจจุบันประเทศไทยมีการลงทุนสร้างและพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมให้แก่ประชาชน เช่น รักษาพยาบาลฟรี (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า) เรียนฟรี 15 ปี ประกันสังคม เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนการออมแห่งชาติ และเบี้ยความพิการ เป็นต้น ในส่วนของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เมื่อ พิจารณาจากการดาเนินงานตามนโยบายสาคัญที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเมืองสุขภาวะเทศบาลตาบล หนองป่าครั่ง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ มีสาระสาคัญดังนี้
  • 9. 8 เมื่อมีคนเกิด รับเลี้ยงเด็กฟรี ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงระดับเตรียมอนุบาล เมื่อเริ่มเรียนหนังสือ มีโรงเรียนอนุบาลและโรงเรียนประถม-มัธยมต้นในสังกัดเทศบาล สาหรับเด็กนักเรียนที่เลือกเรียนในโรงเรียนนอกพื้นที่ มีการช่วยเหลือ ต่างๆ เช่น ช่วยจ่ายค่าเล่าเรียน จัดให้มีรถรับส่ง เป็นต้น เมื่อทางาน ส่งเสริมอาชีพและการรวมกลุ่ม เมื่อเจ็บป่วย รักษาฟรี มีโรงพยาบาลเป็นของตนเอง เมื่อแก่ตัวหรือพิการ รักษาและฟื้นฟู มีคลินิกชุมชนอบอุ่นช่วยดูแล 4. กระบวนการในการขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง จากแนวคิดที่ต้องการให้เกิดการจัดสวัสดิการสังคมในระดับเมือง ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาวะ ของชุมชนในทุกกลุ่มอายุ และมีรายละเอียดของการดาเนินงานที่ครอบคลุมทุกองค์ประกอบของระบบ สวัสดิการสังคม อันได้แก่ การบริการสังคม การช่วยเหลือสังคม และการประกันสังคม เทศบาลตาบล หนองป่าครั่งจึงได้ริเริ่มขับเคลื่อนงานในส่วนต่างๆ จากทรัพยากรของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น โดยเฉพาะบุคลากรหลักด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม งบประมาณในการดาเนินงาน รวมถึง การจัดหาที่ดิน อาคารสถานที่ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ซึ่งแม้จะคล้ายคลึงกับการ ดาเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นๆ แต่ก็มีประเด็นที่แตกต่าง ซึ่งสามารถพิจารณาได้จาก รายละเอียดของกระบวนการดาเนินงานที่แยกตามองค์ประกอบของระบบสวัสดิการสังคม ดังนี้ 4.1 การบริการสังคม (Social Services) บริการที่เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจัดให้มีขึ้นเพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพของบุคคลให้สามารถ ดารงชีวิตได้อย่างเป็นสุข ซึ่งจัดเป็นบริการขั้นพื้นฐานในการที่จะขับเคลื่อนเมืองหนองป่าครั่งเข้าสู่เมือง สุขภาวะ ประกอบด้วย ศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง และศูนย์จาหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย มี รายละเอียดดังนี้
  • 10. 9 1) ศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์เจริญวัยเริ่มจากการออกเยี่ยมบ้าน พบว่า ชุมชนมีปัญหา วัยรุ่นท้องไม่พร้อม มีพฤติกรรมที่เกเร ก้าวร้าว รวมถึงพฤติกรรมเนือยนิ่ง ล้วนเกิดจากการที่พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องทางานหาเลี้ยงครอบครัว ปล่อยลูกหลานให้อยู่กับผู้สูงอายุ ก่อให้เกิดปัญหาประชากร วัยรุ่นที่เติบโตขึ้นอย่างไร้คุณภาพ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งเล็งเห็นสาเหตุของปัญหา จึงแสวงหาแนว ทางการแก้ไขอย่างจริงจัง โดยเริ่มจากพื้นฐานการดูแลเด็กและเยาวชนอย่างใกล้ชิดด้วยการสร้างศูนย์ เจริญวัยในปี พ.ศ. 2554 เพื่อส่งเสริมพัฒนาการที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน (อายุ 2 เดือน ถึง 3 ปี) โดยไม่ มีค่าใช้จ่าย เนื่องจากเด็กอายุก่อน 3 ปี ต้องได้รับการพัฒนาฝึกฝนในด้านต่างๆ อย่างถูกต้อง อาทิ ฝึก ปัสสาวะ/อุจจาระ รู้จักขอโทษ รู้จักรอ พูดภาษาเหนือ เป็นต้น ภาพที่ 2 เครื่องมือ อุปกรณ์ และอาคารสถานที่ของศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
  • 11. 10 การดาเนินงานภายในศูนย์เจริญวัยอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่เข้ามา จัดการด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงอาคารสถานที่ให้เหมาะสม อาทิ ตู้แช่นม สาหรับแช่นมแม่ที่คุณแม่ ของเด็กเล็กทุกคนต้องเตรียมน้านมของตัวเองเก็บไว้ที่ศูนย์ฯ เนื่องจากทางศูนย์ฯ มุ่งเน้นการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ นอกจากนี้ การมุ่งส่งเสริมพัฒนาการที่ดีในด้านต่างๆ ให้แก่เด็ก จาเป็นต้องให้ความสาคัญกับ พยาบาลวิชาชีพและพี่เลี้ยง มีการอบรม โดยพี่เลี้ยงผ่านการอบรมจากศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่ และ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ มีการแบ่งเด็กออกเป็น 3 ห้องตามช่วงวัย ได้แก่ ห้องหนอนน้อย (อายุ 2 – 6 เดือน) ห้องกระรอกน้อย (อายุ 6 เดือนขึ้นไป) และห้องเสือน้อย ดูแลเด็กที่เดินได้คล่องและ เริ่มพูด จนถึงอายุ 2 – 3 ปีโดยประมาณ (ก่อนเข้าอนุบาล) โดยมีการกาหนดจานวนพี่เลี้ยงที่เหมาะสม อย่างเช่น เด็กในห้องหนอนน้อย (อายุ 2-6 เดือน) ต้องมีพี่เลี้ยงในสัดส่วน 1:3 เพื่อดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะที่เด็กในห้องกระรอกน้อย (อายุ 6 เดือนขึ้นไป) มีพี่เลี้ยงในสัดส่วน 1:4 เพราะเด็กโตมากขึ้น ดูแล ตัวเองได้มากขึ้น ภาพที่ 3 (ภาพซ้าย) บรรยากาศการดูแลเด็กในห้องหนอนน้อย (ภาพขวา) สมุดบันทึกประจาตัวของเด็กที่เข้ารับบริการจากศูนย์เจริญวัย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
  • 12. 11 ผลการดาเนินงาน พบว่า ตอนที่เริ่มเปิดศูนย์ฯ ใหม่ๆ ใช้วิธีเดินประชาสัมพันธ์เชิญชวน ผู้ปกครองให้นาเด็กมาฝาก ปัจจุบันได้รับความไว้วางใจจากผู้ปกครองเป็นจานวนมาก ซึ่งในแต่ละปี ทาง ศูนย์เจริญวัยจะรับดูแลเด็กโดยเฉลี่ยจานวน 30 คน ภายใต้งบประมาณราว 7 – 8 แสนบาท ปัจจุบันเด็ก กลุ่มแรกที่ศูนย์เจริญวัยรับมาเลี้ยงดูมีอายุประมาณ 7 ปี เมื่อติดตามผลด้านพฤติกรรมจากเยาวชนกลุ่มนี้ พบว่า เด็กที่ผ่านการดูแลจากศูนย์เจริญวัยมีนิสัยไม่ก้าวร้าว ไม่กลัวคน อยู่กันเป็นกลุ่ม สนิทสนมกัน เพราะโตมาด้วยกัน และมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ดี นอกจากนี้ กลุ่มผู้ปกครองก็มีความสุข เพราะไป ทางานด้วยความสบายใจ มั่นใจได้ว่าลูกหลานของตัวเองได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี 2) ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เกิดจากการที่เทศบาลฯ ประเมินความต้องการของประชาชนอยู่เป็นระยะ พบว่า ประชาชนต้องการ โรงพยาบาลเพื่อรักษาและเบิกจ่ายค่ารักษาที่ในเมืองของตนเอง ไม่ต้องไปโรงพยาบาลนอกพื้นที่ กอรป กับมีสถิติความเจ็บป่วยของประชากรสูงใน 3 โรคไม่ติดต่อ (เบาหวาน ความดัน หัวใจ) ซึ่งผู้ป่วยส่วน ใหญ่จะมีปัญหาเรื่องยาและการไปตรวจเลือด พบแพทย์ ที่โรงพยาบาลนอกพื้นที่ที่อยู่ไกลบ้าน ส่งผลให้ เกิดภาวะ Stroke เพิ่มขึ้น กองสาธารณสุขฯ จึงศึกษาเงื่อนไขของการจัดตั้งโรงพยาบาล และดาเนินการ ขับเคลื่อนอย่างยากลาบากเพราะเงื่อนไขมีจานวนมาก แต่ด้วยความมุมานะและเห็นแก่ประโยชน์ของคน ในเมือง เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจึงสามารถจัดตั้งศูนย์บริการสาธารณสุขของตนเองได้เป็นผลสาเร็จ การดาเนินงานศูนย์บริการสาธารณสุขอยู่ภายใต้การดูแลของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งที่เข้า มาจัดการด้านบุคลากร อาคารสถานที่ เครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ ทั้งที่จาเป็นต้องใช้ในโรงพยาบาลและ ที่ให้ผู้ป่วยนากลับไปใช้ที่บ้าน โดยใช้สถานที่ของสถานบริการสุขภาพในตาบลเดิม ปรับปรุงยกระดับเป็น โรงพยาบาลขนาดเล็ก เปิดให้บริการทุกวัน (ตารางที่ 2) มีตาแหน่งแพทย์ประจา 1 ตาแหน่ง ทันตแพทย์ 1 ตาแหน่ง และเภสัชกรอีก 1 ตาแหน่ง มีรถพยาบาลที่ได้มาตรฐานรับส่งผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งใน แต่ละวันไม่เกิน 10.00 น. แพทย์สามารถตรวจผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในสถานพยาบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถไปดูแลผู้ป่วยติดเตียงที่บ้านในช่วงบ่ายได้ นอกจากนี้ ยังมีการตรวจสุขภาพคัดกรองรายปี ให้แก่ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ต้องมาลงทะเบียนล่วงหน้า) แยกเป็นการตรวจปกติ และตรวจตาม ความเสี่ยงคือดูพฤติกรรมว่าติดเหล้าหรือบุหรี่หรือไม่ แล้วค่อยตรวจคัดกรองโรคที่เกิดจากเหล้าบุหรี่ ต่อไป
  • 13. 12 ตารางที่ 2 การให้บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง วัน / เวลา ช่วงเช้า (8.30 – 12.00) ช่วงบ้าย (12.00 – 16.30) จันทร์ ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน เยี่ยมบ้าน อังคาร ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน คลินิคโรคความดันโลหิตสูง/คลินิคสุขภาพเด็กดี ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน เยี่ยมบ้าน พุธ ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน คลินิคโรคเบาหวาน ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน เยี่ยมบ้าน พฤหัสบดี ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน คลินิคโรคความดันโลหิตสูง/วางแผนครอบครัว ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ศุกร์ ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน คลินิคฝากครรภ์/วางแผนครอบครัว ตรวจรักษาโรคทั่วไป อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน เสาร์ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน อาทิตย์ อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ/ฉุกเฉิน ที่มา : ป้ายประชาสัมพันธ์ ศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ปัจจุบันศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง มีประชากรบัตร ประกันสุขภาพในความรับผิดชอบประมาณ 3,300 คน มีโรงพยาบาลรองรับสาหรับการส่งต่อถึง 6 โรงพยาบาลทั่วเมืองเชียงใหม่ ผลการดาเนินงานในปี 2559 มีผู้ป่วยนอกราว 3,700 คน จานวนการเข้า รักษารวมประมาณ 20,000 ครั้ง เฉลี่ย 50 คนต่อวัน ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ได้แก่ โรคความดันโลหิต สูง โรคระบบทางเดินหายใจ และโรคเบาหวาน ตามลาดับ
  • 14. 13 ภาพที่ 4 บรรยากาศด้านนอกและภายในศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่า ครั่ง ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562) 3) ศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย จุดเริ่มต้นของการดาเนินงานศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลและการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทย เกิด จากนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน กอรปกับมีประชาชนในเขตเทศบาลผ่านการ อบรมหลักสูตรนวดแผนไทยจากหน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุข และ กศน. 10 กว่าคน เทศบาลฯ จึงจัดตั้งศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนองป่าครั่ง เพื่อให้ทุกกลุ่มอาชีพนาผลิตภัณฑ์ของตัวเองมาจาหน่าย รวมกัน สร้างชื่อเสียงให้แก่กลุ่มและตาบล อาทิ กลุ่มบายศรี กลุ่มผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มผลิตภัณฑ์จาก ผ้าฝ้าย โดยผลงานที่สาคัญด้านการส่งเสริมสุขภาวะเมือง ได้แก่ การเปิดโอกาสให้กลุ่มอาชีพนวดแผน ไทยเข้ามาเปิดดาเนินการบนชั้น 2 ของอาคารศูนย์จาหน่ายสินค้า โดยให้ความช่วยเหลือด้านการบริหาร กิจการและรายได้อย่างเป็นระบบ กระทั่งกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยสามารถบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้ ด้วยตนเอง
  • 15. 14 การดาเนินงานด้านการส่งเสริมอาชีพนวดแผนไทยในเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง เริ่มจากการที่ เทศบาลฯ จัดเตรียมอาคารสถานที่ให้ในบริเวณใกล้เคียงกับศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) มี ลักษณะเป็นอาคารสองชั้น ชั้นล่างเป็นที่ตั้งของศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนองป่าครั่ง ชั้นสองให้บริการ นวดแผนไทย สปาและซาวน่า รวมถึงส่งผู้ที่สนใจประกอบอาชีพนวดแผนไทยเข้ารับการฝึกอบรมตาม หลักสูตร 180 ชั่วโมง ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ปัจจุบันมีสมาชิกในกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยจานวน 55 คน เปิดให้บริการ 2 สาขา สาขาแรกตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 2 บ้านบวกครก ณ ศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบลหนอง ป่าครั่ง มีหมอนวดแผนไทยประจาอยู่ 41 คน เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 8.30 – 20.00 น. ของทุกวัน และ สาขาที่สอง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองป่าครั่ง มีหมอนวดแผนไทยประจาอยู่ 14 คน ภาพที่ 5 อาคารศูนย์จาหน่ายสินค้าตาบล อัตราค่าบริการและบรรยากาศห้องนวดแผนไทย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562) และ http://otop-nongpakrang.com
  • 16. 15 ผลการดาเนินงาน พบว่า ปัจจุบันกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยที่ตาบลหนองป่าครั่งมีชื่อเสียงมาก เพราะฝีมือดี คุณภาพดี แต่ราคาถูก จนได้รับการจองเวลาเข้าใช้บริการจากข้าราชการ ประชาชน นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจากจีน ญี่ปุ่น ยุโรป ต่างก็มาใช้บริการนวดแผนไทยที่หนองป่าครั่ง ปัจจุบันหมอนวดมีรายได้เฉลี่ยวันละ 700-800 บาท รวมถึงมีโบนัสและเงินปันผลให้อีกคนละ 2-3 หมื่น บาทต่อปีอีกด้วย 4.2 การช่วยเหลือสังคม (Social Assistance) บริการที่เทศบาลตาบลหนองป่าครั่งจัดให้มีขึ้นเพื่อให้การช่วยเหลือแก่ครัวเรือนหรือประชาชน ผู้ด้อยโอกาส หรือผู้ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ เช่น ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียง รวมถึงผู้พิการ ภายใต้แนวคิด “การสร้างเมืองสวัสดิการ” ที่เน้นดูแลสุขภาวะคนเมืองหนองป่าครั่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ คลินิกชุมชนอบอุ่น มีรายละเอียดดังนี้ คลีนิกชุมชนอบอุ่นมีจุดเริ่มต้นจากศูนย์กายภาพบาบัดและฟื้นฟูสภาพที่จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 ก่อนจะพัฒนาไปเป็นคลีนิกชุมชนอบอุ่นหนองป่าครั่งในปี พ.ศ. 2551 โดยมีที่มาจากการสารวจ ปัญหาและเก็บข้อมูลเพื่อให้ความสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนทุกหลังคาเรือน มีการลงเยี่ยมบ้านของ อสม. พร้อมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาลฯ ในช่วงปี พ.ศ. 2545 พบว่า มีประชาชนที่ต้องได้รับการ สงเคราะห์ดูแล โดยเฉพาะผู้พิการและผู้สูงอายุติดเตียง จากนั้นมีการดาเนินงานใน 2 ด้าน คือ 1) จัดเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนั้น (พ.ศ. 2545) เทศบาลมีเบี้ยผู้สูงอายุและผู้พิการมอบให้เดือนละ 1,000 บาทอยู่แล้ว (ทามาก่อนรัฐบาล) แต่ยังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด จึงจัดให้มีการทาประชาคมเพื่อให้ชาวบ้าน ยกมือรับรองว่าบุคคลนั้นมีความลาบากยากจนจริง และ 2) จัดหาคนดูแล ในระยะแรกมี อสม. 30 กว่า คนที่มาเข้าร่วม มีอาสาสมัครกายภาพบาบัดเพื่อชุมชน (ที่มาของ Care Giver ในปัจจุบัน) เชิญนัก กายภาพบาบัดจากโรงพยาบาลแมคคอมิกส์ เชียงใหม่ มาอบรมให้ความรู้เพิ่มพูนทักษะ เมื่อผ่านการ อบรมพบว่าทางานจริงได้ประมาณ 20 กว่าคน จึงจับคู่วันละ 2 คนให้ลงเยี่ยมบ้าน ผลจากการดาเนินงานพบว่ายังมีปัญหาหลงเหลืออยู่อันเนื่องมาจาก 1) การขาดความต่อเนื่อง สม่าเสมอของเจ้าหน้าที่ในการลงเยี่ยมบ้าน เนื่องจาก อสม. และอาสาสมัครกายภาพบาบัดเพื่อชุมชน เหลือเพียง 10 กว่าคน และแม้ว่าเทศบาลฯ จะลงเยี่ยมบ้านพร้อมทีมแพทย์และสหวิชาชีพอยู่ตลอด แต่ การเยี่ยมบ้านกลับไม่ได้ทาให้คนไข้อาการดีขึ้นเท่าที่ควร และ 2) ผู้ป่วยไม่ได้รับการบาบัดฟื้นฟูอย่าง ต่อเนื่อง เนื่องจาก ถูกญาติละเลย อาการโดยรวมอาจจะดีขึ้นเล็กน้อย แต่สามารถดีขึ้นได้มากกว่านี้ ผู้บริหารของเทศบาลฯ จึงมีนโยบายให้จัดตั้งศูนย์กายภาพบาบัดฯ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการฟื้นฟูอย่าง ต่อเนื่อง
  • 17. 16 ในระยะแรก ศูนย์กายภาพบาบัดฯ ตั้งอยู่ด้านหลังโรงพยาบาลหนองป่าครั่ง มีพยาบาล และ อส ม. ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันดูแล มีการพัฒนาบุคลากรด้วยการส่งไปอบรมเรื่องการดูแลผู้สูงอายุจากที่ ต่างๆ อาทิ โรงพยาบาลสวนดอก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ลักษณะการดาเนินงานคือ ในช่วงเช้าตั้งแต่เวลา 8.30-12.00 น. จะนัดให้ผู้ป่วยเข้ามารับการบาบัด ส่วนผู้ป่วยที่เดินทางมาเองไม่ได้ จะมีเจ้าหน้าที่และรถรับส่ง ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงก็จะมี อสม. ไปเยี่ยมในช่วงบ่าย ภาพที่ 6 คลินิกชุมชนอบอุ่นและศูนย์ฟื้นฟูสภาพ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ที่มา : ศูนย์ศึกษามหานครและมือง (2562)
  • 18. 17 ภายหลังจากปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา มีการเพิ่มเติมด้านบุคลากรเพื่อให้ครอบคลุมการ ดาเนินงาน โดยมีแพทย์แผนไทย 1 คน ทาหน้าที่วินิจฉัยว่าต้องบาบัดฟื้นฟูอย่างไร โดยมีอาจารย์ด้าน เทคนิคการแพทย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มาช่วยดูแลสัปดาห์ละ 2 วัน พยาบาล 1 คน มีหน้าที่จัด โปรแกรมการบาบัดฟื้นฟูตามที่แพทย์แผนไทยวินิจฉัย ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 6 คน (หมุนเวียนเข้ามา ให้บริการวันละ 4 คน) เพื่อทาการนวดฟื้นฟูสภาพ โดยมีแพทย์แผนไทยดูแลอย่างใกล้ชิด และเจ้าหน้า ประจาศูนย์ฯ 2 คน โดยเทศบาลฯ ยังคงจัดเจ้าหน้าที่และรถรับส่งจากบ้านมายังคลินิกฯ รวมถึงส่ง เจ้าหน้าที่ไปอบรม ดูงาน (วัดห้วยเกี๋ยง) ริเริ่มการทากิจกรรมบาบัด ผลการดาเนินงาน พบว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูประมาณ 30 ราย ผู้ป่วยติดเตียงที่ เรื้อรังมานานมีอาการทรงตัว แต่ที่สาคัญคือมีสุขภาพจิตดีขึ้น ผู้ป่วยที่เพิ่งจะเริ่มมีอาการติดเตียงได้รับ การบาบัดรักษาอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ต่อเนื่อง สามารถฟื้นตัวได้เร็ว และกลับไปใช้ชีวิตปกติได้ 4.3 การประกันสังคม (Social Insurance) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ได้ก่อตั้ง “กองทุนสวัสดิการชุมชน เทศบาลตาบลหนองป่า ครั่ง” ให้แก่ประชาชนที่สนใจสมัครจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนคนละ 30 บาทต่อเดือน โดยมีสิทธิ์ที่จะ ได้รับเงินในทุกช่วงวัยของชีวิต เช่น เมื่อมีเด็กเกิด จะได้รับเงิน 500 หรือ 1000 บาท แล้วแต่อายุสมาชิก เมื่อสาเร็จการศึกษาในแต่ละระดับชั้นก็จะได้รับเงินแตกต่างกันไป ได้แก่ สาเร็จการศึกษาชั้นประถม ได้รับ 500 บาท หรือ 1000 บาท ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นได้รับ 500 บาท หรือ 1000 บาท ชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายได้รับ 800 บาท หรือ 1,300 บาท ระดับประกาศบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ได้รับ 1,000 บาท หรือ 1,500 บาท และระดับปริญญาตรี โท และเอก เพิ่มขึ้นตามจานวนคุณวุฒิที่จบ และจะ ได้รับมากขึ้นหากมีผลการศึกษาดี โดยมีเกรดเฉลี่ยมากว่า 3.5 ขึ้นไป นอกจากนี้หากเป็นทหาร เมื่อปลด ประจาการจะได้รับ 2,000 บาท รวมถึงการบวช การแต่งงาน การเป็นผู้สูงอายุ กรณีตายหรือประสบสา ธารณภัย ก็จะได้รับเงินสมทบตามเหตุการณ์และอายุด้วย
  • 19. 18 5. ระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเมืองสุขภาวะ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง กลไกหลัก รวมถึงทรัพยากรสาคัญที่ใช้ในการขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างเมืองสุขภาวะหนองป่าครั่ง ได้แก่ เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ภายใต้บทบาทการดาเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของกองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม โดยมีปัจจัยนาเข้าในระบบการดาเนินงานซึ่งถือเป็นทรัพยากรหลัก ได่แก่ งบประมาณ อาคารสถานที่ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ มีรายละเอียดที่สาคัญในด้านงบประมาณ ซึ่งงบประมาณหลัก มาจากงบประมาณประจาปีของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง รวมถึงเงินสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก และภาคประชาชน ซึ่งนับว่าเพียงพอ และเป็นจุดแข็งของเทศบาลตาบลหนองป่าครั่งในการดาเนินงาน ตามโครงการและกิจกรรมต่างๆ ที่วางไว้ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1) งบประมาณจากเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่าย เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง มีรายได้ใน หมวดภาษีจัดสรรประมาณปีละ 40 ล้านบาท ภาษีอากร 30 ล้านบาท และเงินอุดหนุน 30 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีรายได้จากทรัพย์สิน สาธารณูปโภคและการพาณิชย์ ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ ฯลฯ อีกราวปีละ 8 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นประมาณปีละ 110 ล้านบาท โดยมีรายจ่าย ในด้านต่างๆ รวมประมาณปีละ 90 ล้านบาท ในจานวนนี้เป็นค่าใช้จ่ายเพื่อดูแลสุขภาพของ ประชาชนในเมืองประมาณปีละ 7 ล้านบาท (เฉพาะโรงพยาบาล ประมาณปีละ 1.2 ล้าน บาท) 2) งบประมาณจากหน่วยงานภายนอก เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพ โดยสานักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประมาณปีละ 4 ล้านบาท กองทุนสุขภาพตาบล ประมาณ 5 แสนบาท เน้นงานส่งเสริมให้ความรู้ จัดอบรมให้แก่ประชาชน รวมถึงการ สนับสนุนด้านอื่นๆ ที่ไม่เป็นตัวเงิน เช่น การอบรมบุคลากรจากหน่วยงานเครือข่ายของ เทศบาล เช่น กระทรวงแรงงาน มหาวิทยาลัย เป็นต้น 3) เงินสนับสนุนจากภาคประชาชนในชุมชนร่วมกันบริจาค มีทั้งแบบที่เป็นตัวเงินและการ สนับสนุนสิ่งของ เช่น ของเล่น อุปกรณ์การแพทย์ โดยในแต่ละปีจะมีเงินบริจาคเข้ามาที่ เทศบาลราว 3-4 แสนบาท นอกจากนี้ ทุกๆ 4 ปี ประชาชนหนองป่าครั่งจะระดมผ้าป่าจัดตั้ง เป็นกองทุนมอบให้เทศบาลฯ (วัดเป็นผู้บริหารเงิน นายกเทศมนตรีเป็นกรรมการ) เพื่อใช้ใน การดาเนินการเพิ่มเติมในยามฉุกเฉิน ได้แก่ กองทุนยา และกองทุนแพทย์อาสา เพื่อใช้จ่าย กรณีที่จาเป็นสาหรับประชาชนที่ยากไร้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน เช่น การฟอก ไต การจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่เร่งด่วน เป็นต้น
  • 20. 19 6. ผลลัพธ์ของการดาเนินงาน 1) ได้ดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) สังกัดเทศบาลฯ ที่ดาเนินการโดยเทศบาลฯ เอง ซึ่งจากสถิติที่มีผู้ป่วยนอกมา ขอรับบริการประมาณปีละ 3,700 คน เมื่อเทียบกับจานวนประชากรตามทะเบียนในเขต เทศบาลที่มีอยู่ประมาณ 7,200 คน จะเห็นได้ว่าเทศบาลฯ สามารถให้การดูแลสุขภาพของ ประชาชนในเขตเทศบาลได้อย่างใกล้ชิดเกินกว่าร้อยละ 50 ของประชากรทั้งหมด ทั้งนี้ ข้อมูลด้านสุขภาพที่ได้รับ ยังนาไปสู่การออกแบบการให้บริการที่ครอบคลุมประเด็นปัญหา สุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ได้แก่ การให้บริการคลีนิคโรคความดันโลหิตสูงและ โรคเบาหวาน ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพหลักของประชาชนในเมือง 2) ได้บ่มเพาะเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ด้วยการดูแลติดตามพัฒนาการของเด็กและ เยาวชนในพื้นที่อย่างใกล้ชิดตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2-3 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเป็นช่วงเวลาสาคัญ ที่จะสามารถบ่มเพาะอุปนิสัยใจคอ การอยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเป็นรากฐานของการเรียนรู้ต่อไป ในอนาคต ถือเป็นการพัฒนาคนจากจุดเริ่มต้นอย่างแท้จริง 3) ได้กลุ่มอาชีพที่เข้มแข็ง มีชื่อเสียง และนาสู่การขยายผล ปัจจุบันกลุ่มอาชีพนวดแผน ไทยที่หนองป่าครั่งมีสมาชิกประมาณ 50 ราย ซึ่งได้ดาเนินการอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลา เกินกว่า 10 ปี มีระบบการจัดเก็บและจัดการรายได้ที่ชัดเจน จึงสร้างรายได้ให้แก่สมาชิกก ลุ่มอย่างมั่นคง ส่งผลให้กลุ่มอาชีพมีความเข้มแข็ง กอรปกับได้รับความสนใจจากประชาชน ทั้งในพื้นที่ตาบลและจากพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงการที่มัคคุเทศก์และคนในท้องถิ่นนา นักท่องเที่ยวเข้ามานวดในพื้นที่เป็นจานวนมาก จึงส่งผลให้กลุ่มนวดหนองป่าครั่งมีชื่อเสียง ขึ้นมาจากคุณภาพการให้บริการที่ดีและมีราคาเหมาะสม นาสู่การขยายสาขาเพิ่มอีก 1 แห่ง ในพื้นที่หมู่ที่ 4 บ้านหนองป่าครั่ง 4) ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคประชาชนเป็นอย่างดี เนื่องจากมีผลงาน ที่เกิดขึ้นปรากฎให้เห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการจัดตั้งคลีนิคชุมชนอบอุ่น และศูนย์บริการสาธารณสุข (โรงพยาบาล) เทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ซึ่งได้รับการ สนับสนุนเงินบริจาคและสิ่งของจากภาคประชาชนอย่างสม่าเสมอ และเมื่อทางเทศบาลฯ ขอ ความร่วมมือในด้านต่างๆ ก็มักจะได้รับการตอบรับจากภาคประชาชนเป็นอย่างดีเช่นกัน
  • 21. 20 7. ปัจจัยความสาเร็จในการดาเนินงาน 1) จับประเด็นการพัฒนาเมืองได้อย่างถูกจุด เนื่องจากหนองป่าครั่งเป็นเมืองของผู้อยู่อาศัย มิใช่เมืองท่องเที่ยว หรือเมืองการค้าพาณิชย์หลัก โจทย์หรือประเด็นในการพัฒนาที่เน้นเรื่อง การจัดสวัสดิการสังคมในด้านต่างๆ ให้แก่ผู้อยู่อาศัยจึงมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบ ริบทสภาพแวดล้อมการพัฒนาของเมือง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และมุมมองของ ผู้บริหารที่เข้าใจและเข้าถึงจิตวิญญาณของเมืองอย่างแท้จริง 2) มีงบประมาณในการดาเนินงานอย่างเพียงพอ จากเงิน 3 ส่วนที่เทศบาลฯ ใช้ในการ บริหารจัดการนั้น จะเห็นว่าไม่ได้มากมายนัก แต่เหมาะสมและเพียงพอกับบริบทของเมือง ขนาดกลาง ซึ่งผ่านการวางรากฐานมาเป็นอย่างดีจากผู้บริหารของท้องถิ่นและภาค ประชาชนที่ร่วมกันบริจาค โดยในระยะแรกอาจจะทุ่มเทงบประมาณไปกับการแก้ไขปัญหา โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการตั้งถิ่นฐานที่สะดวกสบาย แต่เมื่อเวลาผ่านไป ประเด็นการลงทุน ด้านการพัฒนาคนโดยเน้นที่สุขภาพและสุขภาวะของประชาชนจะกลายมาเป็นประเด็นที่มี น้าหนักมากกว่าด้านกายภาพอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งเป็นแนวโน้มโดยทั่วไปของเมืองในยุค ปัจจุบัน 3) การมีส่วนร่วมของประชาชน มีคณะกรรมการสาธารณสุขตาบลร่วมคิด เสนอความเห็น ให้ข้อมูล และร่วมตัดสินใจในเรื่องต่างๆ นอกจากนี้ ประชาชนยังสามารถมีส่วนร่วมในการ ออกแบบบริการ ด้วยการจัดตั้งกลุ่มกิจกรรมขึ้นมา มีหัวหน้ากลุ่ม มีสมาชิก อยากได้ ทรัพยากรอะไรก็มาขอ แต่มีข้อแม้ว่าต้องดูแลให้ดี อีกประเด็นหนึ่งที่สาคัญคือการสร้าง ความรู้สึกเป็นเจ้าของให้แก่ประชาชน แม้เทศบาลฯ จะมีงบประมาณจากัด แต่ก็สามารถทา เรื่องต่างๆ ได้ หลักสาคัญคือ “ต้องให้เป็นของเขา” คือสร้างความรู้สึกว่าสิ่งที่เทศบาลฯ จัดทา จัดหามาให้ สุดท้ายแล้วประชาชนคือเจ้าของ อย่างเช่น โรงพยาบาลหนองป่าครั่ง ที่ คนหนองป่าครั่งมีความภูมิใจ คนแก่เอาไปอวด โดยวันที่ลงเสาเข็มสร้างอาคารโรงพยาบาล ชาวบ้าน/หมู่บ้าน/ชุมชน จัดกองผ้าป่าทอดแข่งขันกัน ได้เงินมากถึง 2 ล้านบาท มอบให้แก่ โรงพยาบาล เป็นต้น
  • 22. 21 8. ความท้าทายภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต ประเทศไทยใฝ่ฝันถึงการเป็นประเทศรัฐสวัสดิการ ประวัติศาสตร์การเมืองไทยมักจะมีการ เรียกร้องถึงสวัสดิการที่ประชาชนพึงมีพึงได้ตลอดมา วันนี้ประเทศไทยอาจจะยังอยู่ห่างจากรัฐสวัสดิการ ในระดับชาติ แต่ในระดับเมือง ความใฝ่ฝันเรื่องการเป็นเมืองสวัสดิการไม่ใช่ความฝันอีกต่อไป ณ เมือง หนองป่าครั่ง ที่ดูแลโดยเทศบาลตาบลหนองป่าครั่ง ซึ่งเมืองแห่งนี้เข้าใกล้ความใฝ่ฝันของใครหลายๆ คน กรณีสวัสดิการของเทศบาลหนองป่าครั่ง ทาให้หวนนึกถึงบทความเรื่อง “จากครรภ์มารดาถึงเชิง ตะกอน” โดยป๋วย อึ๊งภากรณ์ เป็นข้อเรียกร้องเรื่องรัฐสวัสดิการ มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับหลักประกันสังคม และคุณภาพชีวิตพื้นฐานที่ประชาชนคนหนึ่งพึงมี บทความนี้จึงเป็นเอกสารหรือคัมภีร์สาคัญที่ประชาชน รวมถึงนักวิชาการมักนามาใช้อ้างอิง เพื่อเรียกร้องให้ประเทศไทยจัดสวัสดิการเช่นเดียวกับที่อาจารย์ ป๋ วยได้เสนอมา เมื่อมาเจอที่หนองป่าครั่งทาให้รู้ว่าภายใต้งบประมาณหลักจากองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นก็สามารถจัดสวัสดิการที่ครอบคลุมให้แก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตายได้ เราอาจจะบ่นกันมากว่าประชาชนไทยไม่ยอมเสียภาษีให้กับรัฐเท่าไหร่นัก แต่หนองป่าครั่งแสดง ให้เห็นว่า หากรัฐของพวกเขาแปรเปลี่ยนเงินเพื่อมาดูแลประชาชน พวกเขาก็พร้อมจ่ายและยังระดมทุน ช่วยเหลือให้กับรัฐของพวกเขาด้วย หนองป่าครั่งแสดงให้เห็นว่า ภายใต้อานาจที่จากัด เมืองแห่งนี้ก็ สามารถจัดสวัสดิการเพื่อประชาชนได้อย่างเหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อมของเมือง อย่างไรก็ดี มี ความท้าทายภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตที่หนองป่าครั่งจะต้องเผชิญใน 2 เรื่อง ได้แก่ การ เพิ่มขึ้นของประชากรแฝง และการเข้าสู่สังคมสูงวัย ดังนี้ 1. การจัดสวัสดิการต่างๆ ให้แก่ประชาชนครอบคลุมเพียงประชากรตามทะเบียนที่มีจานวน เพียง 7,000 กว่าคนเท่านั้น ยังไม่รวมถึงประชากรแฝงที่เข้ามาอยู่อาศัยอีกเป็นจานวนมาก ตามการพัฒนาเมืองเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง 2. การเข้าสู่สังคมสูงวัยที่มีจานวนผู้สูงอายุซึ่งเป็นประชากรวัยพึ่งพิงเพิ่มมากขึ้น ในอนาคต งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่อาจจะไม่เพียงพอต่อการดาเนินงานเพื่อ รองรับสังคมสูงวัย จึงจาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องแสวงหาแนวทางในการกระตุ้น ส่งเสริม และ สร้างรายได้ในท้องถิ่น ทั้งรายได้ของรัฐบาลท้องถิ่น รายได้ภาคครัวเรือน และรายได้ของ ผู้สูงอายุเอง