SlideShare a Scribd company logo
ปี ที่ 3 ฉบับที่ 2
ประจาเดือน กุมภาพันธ์ 2562
ผลร้ายการพัฒนา
สวนทางความยั่งยืน
ฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยร้ายนี้มาจากไหน
ปัญหามลพิษ ในมิติการพัฒนาเมือง
ภัยร้ายทางอากาศ แก้กันอย่างไรดี?
บรรณาธิการ
ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ
ณัฐธิดา เย็นบารุง
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
ออกแบบและจัดรูปเล่ม
ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
ภาพปก
ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
ภาพในเล่ม
Flaticon.com
Freepik.com
Thailand Development Research Institute
ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม
เผยแพร่
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
CONTACT US
www.furd.in.th
Tel. (+66) 2938 8826
Fax. (+66) 2938 8864
E-mail: furd_2014@gmail.com
ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้เผชิญหน้ากับปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบ
ต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยในเมือง ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องรีบทาการแก้ไขก่อนที่ทุกอย่างอาจจะสาย
เกิน และในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ศึกษามหานครและเมืองได้ร่วมจัดงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ
“PM 2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” กับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เพื่อถก
ประเด็นในการแก้ไขปัญหาฝุ่นที่ไม่เล็กเอาเสียเลย
Furd Cities Monitor ฉบับนี้จึงเป็นสรุปรวมประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กใน
เมืองจากงานสัมมนา ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของการเกิดปัญหา ชวนคิดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน
ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการเมือง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการ
1 | FURD Cities Monitor February 2019 FURD Cities Monitor February 2019 | 2
3 | FURD Cities Monitor February 2019
เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา
ประเทศไทย
FURD Cities Monitor February 2019 | 4
PM หรือ Particulate Matter คืออนุภาคเขม่า
ขนาดเล็กมาก มีขนาดเพียง 2.5 ไมครอน เล็กขนาดที่ว่า
สามารถผ่านเข้าสู่ปอดชั้นในและสู่ระบบเลือดไปสู่ส่วนต่าง
ๆ ของร่างกายได้ในที่สุด ซึ่งขึ้นเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่
สมบูรณ์ เกือบทั้งหมดมาจากกิจกรรมเผาไหม้ของมนุษย์
ในประเทศไทยเกินกว่าร้อยละ 60 มาจากไอเสียของ
รถยนต์อันเกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ
เครื่องยนต์ดีเซล ส่วนอีกร้อยละ 40 มาจากการเผาวัสดุ
ชีวมวล ประมาณร้อยละ 35 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นละออง
PM10 และไอเสียโรงงานอุตสาหกรรม ประมาณร้อยละ 5
โดยในเขตเมืองฝุ่นเกิดขึ้นจากไอเสียของรถยนต์มากกว่า
ค่าที่วัดได้และไม่ได้เกิดจากกลุ่มควันจากประเทศกัมพูชา
อย่างที่เข้าใจ สังเกตได้จากค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถูกวัด
ในช่วงวันหยุดปีใหม่นั้นลงลดอย่างเห็นได้ชัด สืบ
เนื่องมาจากจานวนรถยนต์ในกรุงเทพมหานครมีปริมาณ
น้อยกว่าปกติ
ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหามลพิษทางอากาศมักเกิดขึ้น
เฉพาะช่วงหน้าหนาว ที่เป็นดังนี้เพราะในช่วงฤดูหนาว
อากาศเย็นจากประเทศจีนมีผลทาให้อากาศบนผิวพื้นดิน
ของประเทศไทยตอนบนเย็นลง มีอุณหภูมิต่าลง ขณะที่
อากาศที่อยู่บนระดับสูงเกินกว่า 500 เมตรขึ้นไปกลับมี
อุณหภูมิสูงกว่าอากาศบนพื้นดิน ทาให้มวลอากาศที่อยู่บน
ผิวดินไม่สามารถลอยขึ้นสูงได้ ส่งผลให้อากาศจากชั้นบนที่
สะอาดกว่าไม่สามารถไหลเวียนเข้ามาแทนที่ได้ (เรียก
ปรากฏการณ์นี้ว่าอากาศปิดหรือ Inversion Lapse Rate)
การเจือจางมลพิษที่เกิดขึ้นบนพื้นดินจึงเกิดขึ้นน้อยกว่า
ปกติ ในกรุงเทพมหานครมีไอเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อไอ
เสียซึ่งมีความร้อนลอยขึ้นไปไม่ได้ก็เกิดเป็นกับดักทาให้เกิด
การสะสมสารมลพิษเข้มข้นในระดับสูง จนเป็นพิษต่อ
ร่างกายมนุษย์
ฝุ่นพิษเกิดจากอะไร
 ปริมาณรถยนต์จานวนมากในเมือง
ปัญหาหลักคือปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในเขต
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทาให้การจราจรติดขัด
เพิ่มขึ้น และส่งผลให้มลพิษทางอากาศมีจานวนเพิ่มขึ้นมาก
ด้วย ข้อมูลจากสานักงานจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร
ในช่วงระหว่างปี 2551-2560 พบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลมี
ปริมาณเพิ่มขึ้นมากถึง 4.2 ล้านคัน จาก 1.9 ล้านคัน คิด
เป็นร้อยละ 8 ต่อปี ส่วนรถบรรทุกเล็กหรือรถกระบะ มี
จานวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี จาก 9.4 แสนคัน เป็น 1.3
แสนคัน สิ่งที่น่าตกใจคือจานวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น สวนทาง
กับความเร็วเฉลี่ยในการวิ่งรถยนต์บนท้องถนน เพราะ
ในช่วงปีเดียวกันก็ได้มีการบันทึกความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์
ที่วิ่งในเมืองทั้งในเขตพื้นที่ชั้นใน พื้นที่ชั้นกลาง และพื้นที่
ชั้นนอก ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ทั้งสาม
เขตมีค่าความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในบริเวณเขตพื้นที่ชั้นนอกที่ลดลงถึงร้อยละ 22 นั่น
หมายความว่ามีปัญหารถติดเกิดขึ้นอย่างมากในเขตพื้นที่
ชั้นนอก
แผนภาพแสดงความเร็วเฉลี่ยและปริมาณรถยนต์
ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
5 | FURD Cities Monitor February 2019
 ลักษณะของเชื้อเพลิงและอายุของรถยนต์ที่ใช้งาน
ลักษณะของเชื้อเพลิงและอายุของรถยนต์ที่ใช้งาน
ก็มีส่วนทาให้ปัญหามลพิษยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน
ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยว่า ในปี 2560 มี
จานวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งและรถยนต์
บรรทุกส่วนบุคคลที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานครจานวน
กว่า 5.5 ล้านคัน แบ่งเป็นรถเครื่องยนต์เบนซินร้อยละ 48
รถเครื่องยนต์ดีเซลร้อยละ 38 และรถยนต์พลังงาน
ทางเลือกอื่น ๆ อีกร้อยละ 14 ซึ่งโดยเฉลี่ยรถยนต์บรรทุก
ส่วนบุคคลกว่าร้อยละ 90-95 นั้นเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล
เกือบทั้งหมด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก
เพิ่มมากขึ้นก็ตาม สาหรับอายุเฉลี่ยของรถยนต์นั่งส่วน
บุคคลอยู่ที่ประมาณ 8 ปี จากการสารวจตลอดช่วงปี
2550-2561 ซึ่งน้อยกว่ารถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีค่า
อายุเฉลี่ยที่ 9.3 ปี ในปี 2561 จากค่าเฉลี่ยเดิม 6.8 ปี ในปี
2550 อาจกล่าวได้ว่าอายุค่าเฉลี่ยของรถบรรทุกส่วนบุคคล
นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ยัง
พบว่ามีจานวนรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี
ถึง 2.8 แสนคัน ซึ่งยิ่งรถยนต์มีอายุการใช้งานมาก ก็ยิ่ง
ส่งผลต่อการก่อมลพิษมากขึ้น
แผนภาพแสดงจานวนรถจดทะเบียนและค่าเฉลี่ยอายุรถในกรุงเทพมหานคร
ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
 ความนิยมในการใช้รถสาธารณะมีน้อย
หากดูสถิติการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะใน
มหานครประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และ
ลอนดอน ซึ่งแน่นอนว่าเมืองที่กล่าวมานี้จะมีจานวน
ประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีจานวนการใช้
บริการขนส่งสาธารณะและอัตราการใช้บริการระบบราง
และรถโดยสารประจาทางเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปี
แผนภาพแสดงการใช้งานรถระบบขนส่งสาธารณะในต่างประเทศ
ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
ในทางกลับกัน หากเทียบจานวนการใช้บริการรถ
โดยสารประจาทางในประเทศไทยกับสามประเทศที่ได้
กล่าวมาในข้างต้น จะพบว่าในปี 2559 คนไทยใช้บริการรถ
โดยสารประจาทางเพียงร้อยละ 21 ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมี
จานวนรถโดยสารประจาทางมากกว่าประเทศสิงคโปร์อยู่
กว่า 2,000 คัน
แผนภาพแสดงการใช้บริการรถโดยสารประจาทางปี 2559
ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
FURD Cities Monitor February 2019 | 6
“มีจานวนรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีอายุมากกว่า
20 ปี ถึง 2.8 แสนคัน ซึ่งยิ่งรถยนต์มีอายุการใช้
งานมาก ก็ยิ่งส่งผลต่อการก่อมลพิษมากขึ้น”
7 | FURD Cities Monitor February 2019
เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
FURD Cities Monitor February 2019 | 8
มลพิษทางอากาศในขณะนี้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในด้านการสื่อสารต่อสาธารณะ
เพราะเรามักดูที่ค่าเฉลี่ยดัชนีคุณภาพอากาศไม่ใช่ค่าที่ได้จากการวัดจริง ๆ ในแต่ละชั่วโมง ส่งผล
ให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันจากวิธีการอธิบายอย่างกว้างของทางรัฐบาลถึงสถานการณ์มลพิษ
ทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่นั้น ยังมีความ
กากวมในการแจ้งให้สาธารณชนเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การนาเสนอข่าว
ของสื่อมีความล่าช้า ทาให้การปรับตัวต่อสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผล
ต่อสุขภาพของประชาชนอาจไม่ทันการณ์ แม้ว่าในช่วงหลังสื่อจะสนใจที่จะนาเสนอในประเด็นนี้
มากขึ้นก็ตาม แต่การรับมือของภาครัฐและภาคประชาชนต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไรนั้นก็ยังไม่มีความ
ชัดเจน
ภาพแสดงค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11-17 มกราคม พ.ศ.2562
ที่มา: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
9 | FURD Cities Monitor February 2019
ผังเมือง เป็นส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหา
เมื่อสังเกตจากดัชนีคุณภาพอากาศประกอบกับผัง
เมืองกรุงเทพมหานคร จุดที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน
นั้นไม่ได้อยู่ในจุดที่เรียกว่า “เมืองชั้นใน” (เขตสีแดง)
อย่างที่เข้าใจ ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เมืองชั้นในย่าน
พาณิชยกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คือ “บริเวณที่อยู่
อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นปาน
กลาง และบริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย” (เขตสี
น้าตาล สีส้ม และสีเหลือง) ซึ่งไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ แต่
เกิดจากนโยบายของรัฐด้วย ดูได้จากแผน 20 ปีที่
กรุงเทพมหานครต้องการเป็นเมืองกระชับและเคลื่อนย้าย
ประชากรเข้ามาอาศัยในเขตนี้ เพราะมีความเชื่อว่าหาก
กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองกระชับก็จะทาให้มีพื้นที่สี
เขียวเยอะขึ้นในเขตเมืองชั้นนอก แสดงให้เห็นว่าวิสัยทัศน์
ดังกล่าวสวนทางกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผัง
เมืองที่กาลังจะทาหรือแนวโน้มในการพัฒนาเมือง เช่น
คอนโดมีเนียมติดรถไฟฟ้าที่ในบริเวณเขตรถไฟฟ้าทั้งหมด
คือเขตที่มีมลพิษสูง ไม่ใช่แค่ตอนก่อสร้างเท่านั้น แต่ยัง
ส่งผลหลังจากก่อสร้างคอนโดมีเนียมเสร็จอีกด้วย หนึ่งใน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือบริเวณหน้าโรงพยาบาล
จุฬาลงกรณ์ที่มีการก่อสร้างคอนโดมีเนียมอยู่หลายแห่ง
ติด 1 ใน 10 เขตที่มีค่าฝุ่นละอองสูงสุด ฉะนั้น กระแส
เมืองเดินได้ การขี่จักรยาน หรือแม้กระทั่งการวิ่ง อาจไม่ใช่
กิจกรรมของคนเมืองที่ดีนัก
ดังนั้น สิ่งที่ควรคานึงไม่ใช่แค่เรื่องผังเมือง แต่ยัง
รวมไปถึงวิธีคิดเรื่องเมืองด้วย การต้องการเมืองแน่น ซึ่ง
กว่าจะไปถึงการเป็นเมืองแน่นที่สวยแบบเมืองนอกนั้น
พื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างคอนโดมีเนียม รถไฟฟ้า หรือ
บริเวณที่มีศูนย์การค้า ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการ
ถมทุกอย่างลงไปในพื้นที่เดียวทั้งสิ้นโดยไม่ได้คานึงถึง
ปัญหาในเรื่องของการคมนาคมอย่างจริงจัง แม้ว่าใน
อนาคตจะมีการเปิดใช้รถไฟฟ้า แต่ภาครัฐ หน่วยงานหรือ
ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่เคยถกประเด็นการขยายเมืองเพื่อให้เกิด
ความสมดุลระหว่างเมืองกับชนบทเลย ซึ่งจะเป็นปัญหา
อย่างมากไม่ใช่แค่ปัญหาจากการใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียว
จริงอยู่ที่ว่าเรื่องรถยนต์นั้นเป็นเรื่องใหญ่หากมองจาก
โครงสร้างการเกิดมลพิษ แต่ทิศทางชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่
ในกรุงเทพมหานครอีก 20-30 ปีข้างหน้าจะไปในทิศทาง
ใดนั้นก่อให้เกิดเป็นคาถามต่อ ๆ มา เช่น ประชาชนจะส่ง
บุตรหลานให้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานครต่อหรือไม่
เรื่องมลพิษทางอากาศในขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่พรรค
การเมืองทุกพรรคต้องมีการพูดคุยในมิติการเปลี่ยนแปลง
เมืองมากขึ้นว่าเมืองจะดาเนินไปในทิศทางไหน จะสังเกต
ได้ว่าเมืองจะเติบโตไปตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าจะมีการ
ก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ว่าปัญหาการใช้รถยนต์ในเขตเมือง
จะลดลง ดังเช่นในเขตสุขุมวิทที่ยังคงมีปริมาณรถยนต์
หนาแน่นเช่นเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ได้มี
มาตรการในการควบคุมการใช้รถยนต์อย่างจริงจัง
ผังเมืองมองข้ามเรื่องอากาศ
นอกจากนี้ การวางผังเมืองในช่วงที่ผ่านมานั้น
การทาความเข้าใจถึงตัวแปรอื่น ๆ ในเมืองเป็นเรื่องที่มัก
ถูกมองข้าม เช่น เรื่องของลมและความร้อน เพราะเราไม่มี
ผังเมืองที่อธิบายเรื่องของลมและความร้อนเลย เรา
คานวณเพียงว่าลมจะปะทะตึกอย่างไรแต่ไม่ได้คานึงถึงว่า
ตึกเหล่านั้นกันทิศทางของลมหรือไม่ เรื่องเหล่านี้ควรเป็น
เรื่องที่ต้องเริ่มพูดถึง เพราะคาว่าสิ่งแวดล้อมควรจะรวม
เรื่องเหล่านี้ไปด้วย ประเด็นต่อมาคือเรื่องของพื้นที่สีเขียว
ที่ยังไม่มีการถกเถียงกันมากถึงการปลูกต้นไม้ วิธีการปลูก
และประเภทของต้นไม้ที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ รวมไปถึง
ประเด็นปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศที่คนในเมืองกาลัง
เผชิญหน้าอย่างไม่เท่าเทียมกัน คนยากจนในเมือง พ่อค้า
แม่ค้าริมถนน ผู้ใช้บริการรถสาธารณะ หรือผู้สัญจรบนทาง
เท้านั้นจะประสบกับปัญหาเหล่านี้ขนาดไหน
รถจักรยานยนต์จานวนกว่า 3.5 ล้านคันในเมืองเป็นอีก
หนึ่งตัวอย่าง แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยมลพิษ แต่
หากมองอีกมุมหนึ่งนั้นพวกเขาก็ปะทะกับมลพิษโดยตรง
ด้วย ดังนั้น การเพิ่มมาตรการต่างๆ จะกระทบคนที่
จาเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะซึ่งไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงการเผชิญกับมลพิษมากน้อยเพียงใด คือประเด็น
ที่ต้องคานึงถึงบุคคลเหล่านี้ด้วย
FURD Cities Monitor February 2019 | 10
แผนผังกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จาแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556
ที่มา: สานักผังเมือง
แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งระบบ
ที่มา: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
11 | FURD Cities Monitor February 2019 FURD Cities Monitor February 2019 | 12
เมืองไม่มีความสามารถในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ
กว่า 2 ปีที่ผ่านมาเราไม่เคยยอมรับว่าปัญหาที่
เกิดขึ้นคือมลพิษทางอากาศ อีกประเด็นหนึ่งที่สาคัญมาก
คือเรื่องของการวางผังเมืองในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า อัน
เป็นอีกแนวคิดที่ไปไกลกว่าความยั่งยืน โดยประเด็นความ
ยั่งยืนนั้นคือเราจะอยู่อย่างไรไม่ให้ผลกระทบเกิดขึ้นกับ
คนรุ่นต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คืออีกประเด็นหนึ่งที่มา
พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ ที่ไม่ใช่แค่
เรื่องของการใช้ถุงผ้า การลดการใช้ถุงพลาสติกเพียงอย่าง
เดียว แต่หากเราต้องทาความเข้าใจเรื่องนี้ในระดับจุลภาค
ในระดับย่อยของแต่ละเขตด้วย ซึ่งแนวคิดที่จะสามารถ
ต่อรองกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้คือแนวคิด “Resilience”
หรือการเอาตัวให้รอดในภาวะปัจจุบัน ความยั่งยืนคือ
เรื่องของวันนี้และวันข้างหน้า แต่ resilience คือการที่จะ
อยู่ให้รอดอย่างไรในวันนี้ และต้องเป็นการแก้ไขปัญหา
มากกว่าการใส่หน้ากากเพื่อกันฝุ่นละออง เฉก
เช่นเดียวกับกรณีน้าท่วม ดังนั้น การที่จะทาให้ปัญหานี้
หมดไปจากเมือง หรือวิธีการฟื้นตัวของเมืองหลังจากนี้
ควรเป็นอย่างไรนั้นจึงเป็นคาถามสาคัญ
ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้สะท้อนแค่
เรื่องของการตั้งรับของรัฐบาลที่คนวิพากษ์วิจารณ์กัน
แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความไร้อานาจของคนในเมือง
ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศ หากมีการก่อสร้างใด ๆ ก็ตาม
จะต้องดูว่ากระทบกับชุมชนอย่างไร ในบริเวณชุมชนที่
พวกเขาปกป้องตัวเองไม่ได้นั้นต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้
อย่างไรบ้าง หากทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ของทุกคนใน
เมือง จะมีกลไกอะไรที่จะช่วยปกป้องคนเมืองจาก
ปัญหา ทาให้คนที่อาศัยในเมืองเปลี่ยนจากการเป็น pas-
sive smoker เป็น active citizen เพราะการเป็น ac-
tive citizen ในเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องสาคัญ และยังเป็นเรื่อง
ของการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและประชาชนเพื่อ
ขับเคลื่อนให้เกิดทางออกของปัญหาต่าง ๆ ทั้งนี้ นอกจาก
ประเด็นปัญหาในทางข้อมูลเชิงลึกแล้ว สิ่งที่เราต้องคิด
ร่วมกันคือประเด็นปัญหาเรื่องชีวิตในเมือง หาก
กรุงเทพมหานครจะกลายเป็นเมืองกระชับหรือเมืองตึกสูง
ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีรับมือกับปัญหานี้อย่างไร
ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์
ที่มา: Brent Lewin/Bloomberg
ที่มา: EPA-EFE
13 | FURD Cities Monitor February 2019
เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ
การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์, ดร.สุเมธ องกิตติกุล และ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room
ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย
FURD Cities Monitor February 2019 | 14
จากมุมมองของนักวิชาการ สามารถแบ่งวิธีแก้ไขออกได้เป็น 4 ประเด็นใหญ่ คือ
1. เรื่องรถยนต์
เนื่องจากสาเหตุหลักของมลพิษเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้
เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ และปัญหาของตัวเชื้อเพลิงเองในเครื่องยนต์จาก
การจราจรขนส่ง รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ ได้เสนอหลักการพื้นฐานการแก้ไข
มลพิษทางอากาศจากรถยนต์ในเขตเมือง ดังนี้
 มาตรการระยะสั้น
 ตรวจและปรับปรุงสภาพรถยนต์ให้ได้มาตรฐานตามกาหนด
 ใช้มาตรการเชิงรุกมุ่งเป้าไปยังต้นตอของปัญหาโดยตรง โดยการส่งหน่วย
ตรวจสอบและขอความร่วมมือไปยังสถานที่ประกอบหรือจุดรวมรถยนต์
โดยสารและรถบรรทุกจานวนมากโดยตรง เช่น อู่รถเมล์ ขสมก. ท่าเรือ
สถานีขนส่งเดินรถ สถานีขนส่งสินค้า ตลาดไท บริษัทผู้ประกอบการที่มี
รถบรรทุกจานวนมาก เช่น บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ บริษัทบริการขนส่ง
พัสดุภัณฑ์ ฯลฯ
 จัดตั้งหน่วยงานอาสาช่างยนต์เพื่อให้บริการตรวจสอบและช่วยปรับแต่ง
รถยนต์ให้ได้มาตรฐานตามสถานที่ประกอบหรือจุดรวมรถยนต์โดยสาร
และรถบรรทุกจานวนมากดังกล่าวข้างต้น
 ขอความร่วมมือจากบริษัทผู้ประกอบการเอกชนตามข้างต้นที่มีรถบรรทุก
เข้ารับการตรวจสอบสภาพรถยนต์และงดวิ่งรถที่ปล่อยควันดา
สอดคล้องกับแนวคิดของ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่เสนอว่าควรมี
การสร้างระบบตรวจเพื่อระงับการพาหนะที่ปล่อยมลพิษเกินค่าที่กฎหมายกาหนด
ไปพร้อมกับการพัฒนาระบบข้อมูลรายงานสภาพมลพิษของรถโดยสารทุก
ประเภท
 มาตรการระยะกลาง
 เร่งรัดการบังคับใช้มาตรฐานของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงจากมาตรฐาน
ยูโร4 ไปเป็นยูโร5 ให้เร็วกว่าเดิม
 ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของปัจจุบันจาก B7 ไปเป็น B20 ให้เร็วขึ้น
ส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ประสิทธิภาพสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้าให้มี
สัดส่วนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
15 | FURD Cities Monitor February 2019
 มาตรการระยะยาว
 ใช้นโยบายการจราจรอย่างยั่งยืน (Sustainable Transport) ให้
ความสาคัญกับรูปแบบการขนส่งสาธารณะ (รถไฟฟ้าและรถเมล์)
ร่วมกับการไม่ใช้เครื่องยนต์ในการเดินทาง (เช่น การเดินและขี่
จักรยาน) พัฒนาผังเมืองใหม่เพื่อลดการเดินทาง เพิ่มพื้นที่สีเขียว ฯลฯ
มุมมองของ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ในเรื่องของการส่งเสริมให้คนหันมาใช้
ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นนั้น มองว่าคุณภาพและบริการของระบบขนส่ง
สาธารณะที่ไม่ดีพอในประเทศไทยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทาให้คนตัดสินใจเลือกใช้
รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทาง แต่ในหลายประเทศก็ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าระบบ
ขนส่งสาธารณะที่ดีไม่สามารถดึงคนให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้หากไม่มี
มาตรการจากัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยต้องทาให้คนรู้สึกว่าการใช้รถยนต์
ส่วนบุคคลนั้นลาบากและมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาสูง
ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ที่มีการจากัดการจาหน่ายใบอนุญาตทะเบียนรถ
ใหม่ หากต้องการซื้อรถคันใหม่ต้องรอให้รถคันอื่นนาเลขทะเบียนออกก่อนซึ่งมี
การประมูลในราคาที่สูงกว่ามูลค่ารถมาก และยังมีการเก็บค่าเข้าพื้นที่รถติด
(Congestion Charging) เช่นเดียวกับในลอนดอนที่มีการถกประเด็นนโยบายนี้มา
ตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว และเริ่มใช้จริงเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฮ่องกงซึ่งมี
ขนาดพื้นที่ในเขตเมืองน้อยทาให้ต้องจากัดพื้นที่สาหรับจอดรถซึ่งที่จอดรถ 1 คันมี
ราคาแพงกว่าที่อยู่อาศัย และในส่วนของสต็อกโฮมส์นั้นมีการจัดเก็บภาษีมลพิษ
(Environmental Tax) สาหรับรถที่วิ่งเข้าเขตเมืองอีกด้วย
ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
FURD Cities Monitor February 2019 | 16
2. เรื่องระบบภาษีรถยนต์
การคิดภาษีรถยนต์ประจาปีของประเทศไทยนั้นจะลดลงทุกปีแปรผกผัน
กับอายุของรถยนต์ เนื่องจากใช้มูลค่ารถเป็นฐานในการคานวณ ในขณะที่
ต่างประเทศระบบภาษีจะสะท้อนปัญหาเรื่องมลพิษด้วย กล่าวคือรถยนต์ยิ่งเก่า
ภาษีประจาปีควรจะสูงขึ้นตาม หากประเทศไทยเปลี่ยนการคานวณภาษีใหม่นั้น
อาจมีผลต่อการตัดสินใจของคนในการเปลี่ยนรถยนต์ใหม่เร็วขึ้น เพราะรถยิ่งใหม่
จะมีเทคโนโลยีการเผาไหม้ที่ดียิ่งขึ้น
3. เรื่องถนน
รศ.ดร.จานง มองว่าการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดอันเนื่องมาจากการ
ก่อสร้างรถไฟฟ้า จะต้องมีการคืนพื้นที่ผิวจราจรร่วมด้วยเพราะปัญหารถติดนั้น
เป็นกลไกสาคัญ ซึ่งจะต้องมีมาตรการคืนพื้นผิวจราจรให้กับรถยนต์ด้วยเพื่อลด
ปัญหารถติดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เช่น การคืนพื้นที่ในเวลากลางวัน ทาการ
ก่อสร้างรถไฟฟ้าเฉพาะเวลากลางคืนเช่นในอดีต หรือหยุดงานก่อสร้างเพื่อคืนพื้นที่
ผิวจราจรในช่วงหน้าหนาวนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ควรมีการควบคุมการจอดรถบน
ถนนมากกว่าการสร้างที่จอดรถในเมืองเพิ่ม ตามที่ ดร.สุเมธ ได้เสนอ
4. เรื่องเชื้อเพลิงและอายุรถ
ขณะที่ รศ.ดร.จานง มองว่าควรกาหนดสัดส่วนน้ามันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น
สาหรับเชื้อเพลิงที่จาหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นกรณีพิเศษชั่วคราวใน
ระยะนี้ พร้อมกับพิจารณาความเป็นไปได้ของการสิ้นสุดการใช้รถยนต์ที่มีอายุเกิน
10-15 ปีขึ้นไป ซึ่งในเรื่องนี้ต้องมีการศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสียและผลกระทบที่จะ
ตามมาในเชิงนโยบาย ส่วน ดร.อดิศร์ มองว่าควรปรับโครงสร้างภาษีน้ามันเพื่อให้
คนหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น และราคาน้ามันดีเซลควรมีราคาสูงกว่าน้ามัน
ชนิดอื่น
17 | FURD Cities Monitor February 2019
5. สิ่งที่ควรทาควบคู่กัน
 ควรมีการเตรียมแผนรองรับสภาพอากาศที่อาจถึงขั้นวิกฤตในอนาคต เช่น การจากัด
จานวนรถยนต์ที่วิ่งในวันคู่-วันคี่ การประกาศหยุดทาการเรียนการสอนทุกโรงเรียนใน
เขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
 ทาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองกระชับ (Compact City) เพื่อลดการเดินทางของ
ประชาชน โดยการสนับสนุนให้ทั้งกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ถูกใช้พื้นที่อย่างมี
ประสิทธิภาพ มีสภาพแวดล้อมและสิ่งอานวยความสะดวกครบและเหมาะสม เช่น ที่
อยู่อาศัย สวนสาธารณะ สานักงาน ร้านค้า
 ใช้กลไกคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
ซึ่งรัฐบาลสามารถให้คณะกรรมการชุดนี้ตรวจสอบกลไกการพัฒนาประเทศเพื่อสร้าง
ความมั่นใจให้ประชาชนได้ทันที
FURD Cities Monitor February 2019 | 18
(บนซ้าย) ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์
(บนขวา) ดร.สุเมธ องกิตติกุล
(ล่างซ้าย) ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
เมือง ย้อนคิด มุ่งสู่อนาคต
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ทุนทางสังคมกับการพัถนาเมือง
ศ.ดร. อานันท์ กาฌจนพันธุ์
เมืองขวางน้า
ศ. กิตติคุณ เดชา บุฌค้า
ชุดหนังสือเมือง
หนังสือออกใหม่
สั่งซือได้ที่ ...
1 ) ร้านหนังสือออนไลน์ : CPWIBOOKS.lnwshop.com
2) เบอร์โทรศัพท์ 02-938-8826 (ในเวลาราชการ)
3) Facebook Page : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง Center for Megacity and City Studies
เมืองนิยม
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ราชาธิปไตย
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
เมือง กิน คน
ปศ.ดร. พิชฌ์ พงษ์สวัสดิ์
ตะวันออก—ตะวันตก
ใครสร้างโลกสมัยใหม่
ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
วิทยาลัยรัฐกิจ
มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 จากดาริของ
ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยความเห็นชอบและสนับสนุนจาก
ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เนื่องด้วยความปรารถนาที่
ต้องการให้เป็นคลังปัญญาเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีพันธกิจดังนี้
เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และ
จัดการความรู้ให้สามารถเชื่อมโยงสู่นโยบายสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในระดับพื้นที่
และระดับประเทศ
ให้เกิดการเชื่อมประสานเครือข่ายภาคีพัฒนาเมืองทั้ง
ภายในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนให้มี
ประสิทธิภาพ
ในการสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองสุขภาวะ
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ได้ริเริ่มจัดทาโครงการ
หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ ” และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “ ” โดย
การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หน้าที่หลักคือ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่
ตอบสนองต่อการพัฒนาเมืองของไทย จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักคิดและผู้นาการพัฒนาเมือง และสร้างเครือข่าย
การพัฒนาเมือง นอกจากนี้ ได้ริเริ่ม โดยมหาวิทยาลัยรังสิตมอบรางวัลเป็นประจาทุกปี เพื่อเชิดชูยกย่อง
ผู้นาหรือผู้สร้างบ้านแปงเมือง อันจะเป็นกาลังใจสร้างให้เกิดความภูมิใจและเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนใน
อนาคตสืบไป
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว
แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
Website: www.furd-rsu.org
Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864

More Related Content

Similar to FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15

2562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 462562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 46
ssuser0c005f
 
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทยโครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
RHB Banking Group
 
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลpumyam
 
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์Fearn_clash
 
Application
ApplicationApplication
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
National Science and Technology Development Agency (NSTDA) - Thailand
 
Fight for your dream
Fight for your dreamFight for your dream
Fight for your dream
Phitchaya Sangphairot
 
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคงความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
Klangpanya
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
Klangpanya
 
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
Duangnapa Inyayot
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
เซฟ หัวเกรียน
 
Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11
sitanonchaisaen
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
ETDAofficialRegist
 

Similar to FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15 (13)

2562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 462562 final-project 605-44 46
2562 final-project 605-44 46
 
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทยโครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
โครงการ 2 ล้านๆ กับ อนาคตประเทศไทย
 
การนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูลการนำเสนอข้อมูล
การนำเสนอข้อมูล
 
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง  โครงงานคอมพิวเตอร์
ตัวอย่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
 
Application
ApplicationApplication
Application
 
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
4 โครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
 
Fight for your dream
Fight for your dreamFight for your dream
Fight for your dream
 
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคงความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
ความท้าทายของไทยในทศวรรษ 2020 ด้านการต่างประเทศและยุทธศาสตร์ความมั่นคง
 
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
World Think Tank Monitors l กันยายน 2559
 
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารหลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
หลักสูตรที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหาร
 
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
2560 project แอพพลิเคชัน Smart CHIANGMAI
 
Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11Tanyaluck nathi 607 11
Tanyaluck nathi 607 11
 
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
Thailand Internet User Profile 2018 (Thai Version)
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
FURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
FURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
FURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
FURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
FURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
FURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
FURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
FURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
FURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
FURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15

  • 1. ปี ที่ 3 ฉบับที่ 2 ประจาเดือน กุมภาพันธ์ 2562 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน ฝุ่นพิษ PM2.5 ภัยร้ายนี้มาจากไหน ปัญหามลพิษ ในมิติการพัฒนาเมือง ภัยร้ายทางอากาศ แก้กันอย่างไรดี?
  • 2. บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม ออกแบบและจัดรูปเล่ม ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม ภาพปก ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม ภาพในเล่ม Flaticon.com Freepik.com Thailand Development Research Institute ฐิติรัตน์ รู้เสงี่ยม เผยแพร่ ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 CONTACT US www.furd.in.th Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864 E-mail: furd_2014@gmail.com ตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา กรุงเทพมหานครได้เผชิญหน้ากับปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบ ต่อสุขภาพของผู้ที่อาศัยในเมือง ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องรีบทาการแก้ไขก่อนที่ทุกอย่างอาจจะสาย เกิน และในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทางศูนย์ศึกษามหานครและเมืองได้ร่วมจัดงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM 2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” กับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย เพื่อถก ประเด็นในการแก้ไขปัญหาฝุ่นที่ไม่เล็กเอาเสียเลย Furd Cities Monitor ฉบับนี้จึงเป็นสรุปรวมประเด็นต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กใน เมืองจากงานสัมมนา ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงที่มาที่ไปของการเกิดปัญหา ชวนคิดถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการเมือง สุขภาพและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการ
  • 3. 1 | FURD Cities Monitor February 2019 FURD Cities Monitor February 2019 | 2
  • 4. 3 | FURD Cities Monitor February 2019 เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ และ ดร.สุเมธ องกิตติกุล วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา ประเทศไทย FURD Cities Monitor February 2019 | 4 PM หรือ Particulate Matter คืออนุภาคเขม่า ขนาดเล็กมาก มีขนาดเพียง 2.5 ไมครอน เล็กขนาดที่ว่า สามารถผ่านเข้าสู่ปอดชั้นในและสู่ระบบเลือดไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ในที่สุด ซึ่งขึ้นเกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่ สมบูรณ์ เกือบทั้งหมดมาจากกิจกรรมเผาไหม้ของมนุษย์ ในประเทศไทยเกินกว่าร้อยละ 60 มาจากไอเสียของ รถยนต์อันเกิดจากการสันดาปที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะ เครื่องยนต์ดีเซล ส่วนอีกร้อยละ 40 มาจากการเผาวัสดุ ชีวมวล ประมาณร้อยละ 35 ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นฝุ่นละออง PM10 และไอเสียโรงงานอุตสาหกรรม ประมาณร้อยละ 5 โดยในเขตเมืองฝุ่นเกิดขึ้นจากไอเสียของรถยนต์มากกว่า ค่าที่วัดได้และไม่ได้เกิดจากกลุ่มควันจากประเทศกัมพูชา อย่างที่เข้าใจ สังเกตได้จากค่าดัชนีคุณภาพอากาศที่ถูกวัด ในช่วงวันหยุดปีใหม่นั้นลงลดอย่างเห็นได้ชัด สืบ เนื่องมาจากจานวนรถยนต์ในกรุงเทพมหานครมีปริมาณ น้อยกว่าปกติ ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหามลพิษทางอากาศมักเกิดขึ้น เฉพาะช่วงหน้าหนาว ที่เป็นดังนี้เพราะในช่วงฤดูหนาว อากาศเย็นจากประเทศจีนมีผลทาให้อากาศบนผิวพื้นดิน ของประเทศไทยตอนบนเย็นลง มีอุณหภูมิต่าลง ขณะที่ อากาศที่อยู่บนระดับสูงเกินกว่า 500 เมตรขึ้นไปกลับมี อุณหภูมิสูงกว่าอากาศบนพื้นดิน ทาให้มวลอากาศที่อยู่บน ผิวดินไม่สามารถลอยขึ้นสูงได้ ส่งผลให้อากาศจากชั้นบนที่ สะอาดกว่าไม่สามารถไหลเวียนเข้ามาแทนที่ได้ (เรียก ปรากฏการณ์นี้ว่าอากาศปิดหรือ Inversion Lapse Rate) การเจือจางมลพิษที่เกิดขึ้นบนพื้นดินจึงเกิดขึ้นน้อยกว่า ปกติ ในกรุงเทพมหานครมีไอเสียเกิดขึ้นตลอดเวลา เมื่อไอ เสียซึ่งมีความร้อนลอยขึ้นไปไม่ได้ก็เกิดเป็นกับดักทาให้เกิด การสะสมสารมลพิษเข้มข้นในระดับสูง จนเป็นพิษต่อ ร่างกายมนุษย์ ฝุ่นพิษเกิดจากอะไร  ปริมาณรถยนต์จานวนมากในเมือง ปัญหาหลักคือปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นในเขต กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ทาให้การจราจรติดขัด เพิ่มขึ้น และส่งผลให้มลพิษทางอากาศมีจานวนเพิ่มขึ้นมาก ด้วย ข้อมูลจากสานักงานจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานคร ในช่วงระหว่างปี 2551-2560 พบว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลมี ปริมาณเพิ่มขึ้นมากถึง 4.2 ล้านคัน จาก 1.9 ล้านคัน คิด เป็นร้อยละ 8 ต่อปี ส่วนรถบรรทุกเล็กหรือรถกระบะ มี จานวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี จาก 9.4 แสนคัน เป็น 1.3 แสนคัน สิ่งที่น่าตกใจคือจานวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้น สวนทาง กับความเร็วเฉลี่ยในการวิ่งรถยนต์บนท้องถนน เพราะ ในช่วงปีเดียวกันก็ได้มีการบันทึกความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ ที่วิ่งในเมืองทั้งในเขตพื้นที่ชั้นใน พื้นที่ชั้นกลาง และพื้นที่ ชั้นนอก ซึ่งตลอดช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาพื้นที่ทั้งสาม เขตมีค่าความเร็วเฉลี่ยของรถยนต์ลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในบริเวณเขตพื้นที่ชั้นนอกที่ลดลงถึงร้อยละ 22 นั่น หมายความว่ามีปัญหารถติดเกิดขึ้นอย่างมากในเขตพื้นที่ ชั้นนอก แผนภาพแสดงความเร็วเฉลี่ยและปริมาณรถยนต์ ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562
  • 5. 5 | FURD Cities Monitor February 2019  ลักษณะของเชื้อเพลิงและอายุของรถยนต์ที่ใช้งาน ลักษณะของเชื้อเพลิงและอายุของรถยนต์ที่ใช้งาน ก็มีส่วนทาให้ปัญหามลพิษยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นเช่นกัน ข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบกเปิดเผยว่า ในปี 2560 มี จานวนรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่งและรถยนต์ บรรทุกส่วนบุคคลที่จดทะเบียนในกรุงเทพมหานครจานวน กว่า 5.5 ล้านคัน แบ่งเป็นรถเครื่องยนต์เบนซินร้อยละ 48 รถเครื่องยนต์ดีเซลร้อยละ 38 และรถยนต์พลังงาน ทางเลือกอื่น ๆ อีกร้อยละ 14 ซึ่งโดยเฉลี่ยรถยนต์บรรทุก ส่วนบุคคลกว่าร้อยละ 90-95 นั้นเป็นรถเครื่องยนต์ดีเซล เกือบทั้งหมด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้พลังงานทางเลือก เพิ่มมากขึ้นก็ตาม สาหรับอายุเฉลี่ยของรถยนต์นั่งส่วน บุคคลอยู่ที่ประมาณ 8 ปี จากการสารวจตลอดช่วงปี 2550-2561 ซึ่งน้อยกว่ารถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลที่มีค่า อายุเฉลี่ยที่ 9.3 ปี ในปี 2561 จากค่าเฉลี่ยเดิม 6.8 ปี ในปี 2550 อาจกล่าวได้ว่าอายุค่าเฉลี่ยของรถบรรทุกส่วนบุคคล นั้นมีแนวโน้มสูงขึ้นตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ยัง พบว่ามีจานวนรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ถึง 2.8 แสนคัน ซึ่งยิ่งรถยนต์มีอายุการใช้งานมาก ก็ยิ่ง ส่งผลต่อการก่อมลพิษมากขึ้น แผนภาพแสดงจานวนรถจดทะเบียนและค่าเฉลี่ยอายุรถในกรุงเทพมหานคร ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562  ความนิยมในการใช้รถสาธารณะมีน้อย หากดูสถิติการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะใน มหานครประเทศต่าง ๆ เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และ ลอนดอน ซึ่งแน่นอนว่าเมืองที่กล่าวมานี้จะมีจานวน ประชากรเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีจานวนการใช้ บริการขนส่งสาธารณะและอัตราการใช้บริการระบบราง และรถโดยสารประจาทางเฉลี่ยสูงขึ้นทุกปี แผนภาพแสดงการใช้งานรถระบบขนส่งสาธารณะในต่างประเทศ ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562 ในทางกลับกัน หากเทียบจานวนการใช้บริการรถ โดยสารประจาทางในประเทศไทยกับสามประเทศที่ได้ กล่าวมาในข้างต้น จะพบว่าในปี 2559 คนไทยใช้บริการรถ โดยสารประจาทางเพียงร้อยละ 21 ทั้ง ๆ ที่ประเทศไทยมี จานวนรถโดยสารประจาทางมากกว่าประเทศสิงคโปร์อยู่ กว่า 2,000 คัน แผนภาพแสดงการใช้บริการรถโดยสารประจาทางปี 2559 ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562 FURD Cities Monitor February 2019 | 6 “มีจานวนรถบรรทุกส่วนบุคคลที่มีอายุมากกว่า 20 ปี ถึง 2.8 แสนคัน ซึ่งยิ่งรถยนต์มีอายุการใช้ งานมาก ก็ยิ่งส่งผลต่อการก่อมลพิษมากขึ้น”
  • 6. 7 | FURD Cities Monitor February 2019 เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย FURD Cities Monitor February 2019 | 8 มลพิษทางอากาศในขณะนี้ก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ตามมาในด้านการสื่อสารต่อสาธารณะ เพราะเรามักดูที่ค่าเฉลี่ยดัชนีคุณภาพอากาศไม่ใช่ค่าที่ได้จากการวัดจริง ๆ ในแต่ละชั่วโมง ส่งผล ให้เกิดความเข้าใจที่ไม่ตรงกันจากวิธีการอธิบายอย่างกว้างของทางรัฐบาลถึงสถานการณ์มลพิษ ทางอากาศในแต่ละพื้นที่ว่าอยู่ในระดับใด มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยหรือไม่นั้น ยังมีความ กากวมในการแจ้งให้สาธารณชนเตรียมรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นอกจากนี้การนาเสนอข่าว ของสื่อมีความล่าช้า ทาให้การปรับตัวต่อสภาพอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วซึ่งส่งผล ต่อสุขภาพของประชาชนอาจไม่ทันการณ์ แม้ว่าในช่วงหลังสื่อจะสนใจที่จะนาเสนอในประเด็นนี้ มากขึ้นก็ตาม แต่การรับมือของภาครัฐและภาคประชาชนต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไรนั้นก็ยังไม่มีความ ชัดเจน ภาพแสดงค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของมลพิษทางอากาศในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 11-17 มกราคม พ.ศ.2562 ที่มา: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ
  • 7. 9 | FURD Cities Monitor February 2019 ผังเมือง เป็นส่วนหนึ่งของรากเหง้าปัญหา เมื่อสังเกตจากดัชนีคุณภาพอากาศประกอบกับผัง เมืองกรุงเทพมหานคร จุดที่มีค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน นั้นไม่ได้อยู่ในจุดที่เรียกว่า “เมืองชั้นใน” (เขตสีแดง) อย่างที่เข้าใจ ดังนั้น ปัญหาไม่ได้อยู่ที่เมืองชั้นในย่าน พาณิชยกรรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่คือ “บริเวณที่อยู่ อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นปาน กลาง และบริเวณที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย” (เขตสี น้าตาล สีส้ม และสีเหลือง) ซึ่งไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ แต่ เกิดจากนโยบายของรัฐด้วย ดูได้จากแผน 20 ปีที่ กรุงเทพมหานครต้องการเป็นเมืองกระชับและเคลื่อนย้าย ประชากรเข้ามาอาศัยในเขตนี้ เพราะมีความเชื่อว่าหาก กรุงเทพมหานครกลายเป็นเมืองกระชับก็จะทาให้มีพื้นที่สี เขียวเยอะขึ้นในเขตเมืองชั้นนอก แสดงให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ ดังกล่าวสวนทางกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นผัง เมืองที่กาลังจะทาหรือแนวโน้มในการพัฒนาเมือง เช่น คอนโดมีเนียมติดรถไฟฟ้าที่ในบริเวณเขตรถไฟฟ้าทั้งหมด คือเขตที่มีมลพิษสูง ไม่ใช่แค่ตอนก่อสร้างเท่านั้น แต่ยัง ส่งผลหลังจากก่อสร้างคอนโดมีเนียมเสร็จอีกด้วย หนึ่งใน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือบริเวณหน้าโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ที่มีการก่อสร้างคอนโดมีเนียมอยู่หลายแห่ง ติด 1 ใน 10 เขตที่มีค่าฝุ่นละอองสูงสุด ฉะนั้น กระแส เมืองเดินได้ การขี่จักรยาน หรือแม้กระทั่งการวิ่ง อาจไม่ใช่ กิจกรรมของคนเมืองที่ดีนัก ดังนั้น สิ่งที่ควรคานึงไม่ใช่แค่เรื่องผังเมือง แต่ยัง รวมไปถึงวิธีคิดเรื่องเมืองด้วย การต้องการเมืองแน่น ซึ่ง กว่าจะไปถึงการเป็นเมืองแน่นที่สวยแบบเมืองนอกนั้น พื้นที่ที่จะมีการก่อสร้างคอนโดมีเนียม รถไฟฟ้า หรือ บริเวณที่มีศูนย์การค้า ล้วนแล้วแต่เป็นพื้นที่ที่เกิดจากการ ถมทุกอย่างลงไปในพื้นที่เดียวทั้งสิ้นโดยไม่ได้คานึงถึง ปัญหาในเรื่องของการคมนาคมอย่างจริงจัง แม้ว่าใน อนาคตจะมีการเปิดใช้รถไฟฟ้า แต่ภาครัฐ หน่วยงานหรือ ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ไม่เคยถกประเด็นการขยายเมืองเพื่อให้เกิด ความสมดุลระหว่างเมืองกับชนบทเลย ซึ่งจะเป็นปัญหา อย่างมากไม่ใช่แค่ปัญหาจากการใช้รถยนต์เพียงอย่างเดียว จริงอยู่ที่ว่าเรื่องรถยนต์นั้นเป็นเรื่องใหญ่หากมองจาก โครงสร้างการเกิดมลพิษ แต่ทิศทางชีวิตของผู้ที่อาศัยอยู่ ในกรุงเทพมหานครอีก 20-30 ปีข้างหน้าจะไปในทิศทาง ใดนั้นก่อให้เกิดเป็นคาถามต่อ ๆ มา เช่น ประชาชนจะส่ง บุตรหลานให้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานครต่อหรือไม่ เรื่องมลพิษทางอากาศในขณะนี้จึงเป็นเรื่องที่พรรค การเมืองทุกพรรคต้องมีการพูดคุยในมิติการเปลี่ยนแปลง เมืองมากขึ้นว่าเมืองจะดาเนินไปในทิศทางไหน จะสังเกต ได้ว่าเมืองจะเติบโตไปตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งแม้ว่าจะมีการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าก็ไม่ใช่ว่าปัญหาการใช้รถยนต์ในเขตเมือง จะลดลง ดังเช่นในเขตสุขุมวิทที่ยังคงมีปริมาณรถยนต์ หนาแน่นเช่นเดิม ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลง เพราะไม่ได้มี มาตรการในการควบคุมการใช้รถยนต์อย่างจริงจัง ผังเมืองมองข้ามเรื่องอากาศ นอกจากนี้ การวางผังเมืองในช่วงที่ผ่านมานั้น การทาความเข้าใจถึงตัวแปรอื่น ๆ ในเมืองเป็นเรื่องที่มัก ถูกมองข้าม เช่น เรื่องของลมและความร้อน เพราะเราไม่มี ผังเมืองที่อธิบายเรื่องของลมและความร้อนเลย เรา คานวณเพียงว่าลมจะปะทะตึกอย่างไรแต่ไม่ได้คานึงถึงว่า ตึกเหล่านั้นกันทิศทางของลมหรือไม่ เรื่องเหล่านี้ควรเป็น เรื่องที่ต้องเริ่มพูดถึง เพราะคาว่าสิ่งแวดล้อมควรจะรวม เรื่องเหล่านี้ไปด้วย ประเด็นต่อมาคือเรื่องของพื้นที่สีเขียว ที่ยังไม่มีการถกเถียงกันมากถึงการปลูกต้นไม้ วิธีการปลูก และประเภทของต้นไม้ที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ รวมไปถึง ประเด็นปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศที่คนในเมืองกาลัง เผชิญหน้าอย่างไม่เท่าเทียมกัน คนยากจนในเมือง พ่อค้า แม่ค้าริมถนน ผู้ใช้บริการรถสาธารณะ หรือผู้สัญจรบนทาง เท้านั้นจะประสบกับปัญหาเหล่านี้ขนาดไหน รถจักรยานยนต์จานวนกว่า 3.5 ล้านคันในเมืองเป็นอีก หนึ่งตัวอย่าง แม้ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการปล่อยมลพิษ แต่ หากมองอีกมุมหนึ่งนั้นพวกเขาก็ปะทะกับมลพิษโดยตรง ด้วย ดังนั้น การเพิ่มมาตรการต่างๆ จะกระทบคนที่ จาเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในพื้นที่สาธารณะซึ่งไม่สามารถ หลีกเลี่ยงการเผชิญกับมลพิษมากน้อยเพียงใด คือประเด็น ที่ต้องคานึงถึงบุคคลเหล่านี้ด้วย FURD Cities Monitor February 2019 | 10 แผนผังกาหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จาแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2556 ที่มา: สานักผังเมือง แผนที่เส้นทางรถไฟฟ้าทั้งระบบ ที่มา: การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
  • 8. 11 | FURD Cities Monitor February 2019 FURD Cities Monitor February 2019 | 12 เมืองไม่มีความสามารถในการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ กว่า 2 ปีที่ผ่านมาเราไม่เคยยอมรับว่าปัญหาที่ เกิดขึ้นคือมลพิษทางอากาศ อีกประเด็นหนึ่งที่สาคัญมาก คือเรื่องของการวางผังเมืองในช่วง 20-30 ปีข้างหน้า อัน เป็นอีกแนวคิดที่ไปไกลกว่าความยั่งยืน โดยประเด็นความ ยั่งยืนนั้นคือเราจะอยู่อย่างไรไม่ให้ผลกระทบเกิดขึ้นกับ คนรุ่นต่อไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้คืออีกประเด็นหนึ่งที่มา พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาวะอากาศ ที่ไม่ใช่แค่ เรื่องของการใช้ถุงผ้า การลดการใช้ถุงพลาสติกเพียงอย่าง เดียว แต่หากเราต้องทาความเข้าใจเรื่องนี้ในระดับจุลภาค ในระดับย่อยของแต่ละเขตด้วย ซึ่งแนวคิดที่จะสามารถ ต่อรองกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้คือแนวคิด “Resilience” หรือการเอาตัวให้รอดในภาวะปัจจุบัน ความยั่งยืนคือ เรื่องของวันนี้และวันข้างหน้า แต่ resilience คือการที่จะ อยู่ให้รอดอย่างไรในวันนี้ และต้องเป็นการแก้ไขปัญหา มากกว่าการใส่หน้ากากเพื่อกันฝุ่นละออง เฉก เช่นเดียวกับกรณีน้าท่วม ดังนั้น การที่จะทาให้ปัญหานี้ หมดไปจากเมือง หรือวิธีการฟื้นตัวของเมืองหลังจากนี้ ควรเป็นอย่างไรนั้นจึงเป็นคาถามสาคัญ ปัญหาที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้สะท้อนแค่ เรื่องของการตั้งรับของรัฐบาลที่คนวิพากษ์วิจารณ์กัน แต่ยังสะท้อนให้เห็นถึงความไร้อานาจของคนในเมือง ในขณะที่หลาย ๆ ประเทศ หากมีการก่อสร้างใด ๆ ก็ตาม จะต้องดูว่ากระทบกับชุมชนอย่างไร ในบริเวณชุมชนที่ พวกเขาปกป้องตัวเองไม่ได้นั้นต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านี้ อย่างไรบ้าง หากทุกข์ที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์ของทุกคนใน เมือง จะมีกลไกอะไรที่จะช่วยปกป้องคนเมืองจาก ปัญหา ทาให้คนที่อาศัยในเมืองเปลี่ยนจากการเป็น pas- sive smoker เป็น active citizen เพราะการเป็น ac- tive citizen ในเรื่องนี้นั้นเป็นเรื่องสาคัญ และยังเป็นเรื่อง ของการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและประชาชนเพื่อ ขับเคลื่อนให้เกิดทางออกของปัญหาต่าง ๆ ทั้งนี้ นอกจาก ประเด็นปัญหาในทางข้อมูลเชิงลึกแล้ว สิ่งที่เราต้องคิด ร่วมกันคือประเด็นปัญหาเรื่องชีวิตในเมือง หาก กรุงเทพมหานครจะกลายเป็นเมืองกระชับหรือเมืองตึกสูง ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะมีวิธีรับมือกับปัญหานี้อย่างไร ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ ที่มา: Brent Lewin/Bloomberg ที่มา: EPA-EFE
  • 9. 13 | FURD Cities Monitor February 2019 เขียนจากเนื้อหาในงานเสวนาสาธารณะ ในหัวข้อ “PM2.5 ผลร้ายการพัฒนา สวนทางความยั่งยืน” จัดโดยศูนย์ศึกษามหานครและเมือง (FURD) ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อ การพัฒนาประเทศไทย (TDRI) โดย ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์, ดร.สุเมธ องกิตติกุล และ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา วันที่ 18 มกราคม 2562 ณ Conference room ชั้น 2 สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย FURD Cities Monitor February 2019 | 14 จากมุมมองของนักวิชาการ สามารถแบ่งวิธีแก้ไขออกได้เป็น 4 ประเด็นใหญ่ คือ 1. เรื่องรถยนต์ เนื่องจากสาเหตุหลักของมลพิษเหล่านี้เกิดจากการเผาไหม้ เชื้อเพลิงที่ไม่สมบูรณ์ และปัญหาของตัวเชื้อเพลิงเองในเครื่องยนต์จาก การจราจรขนส่ง รศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ ได้เสนอหลักการพื้นฐานการแก้ไข มลพิษทางอากาศจากรถยนต์ในเขตเมือง ดังนี้  มาตรการระยะสั้น  ตรวจและปรับปรุงสภาพรถยนต์ให้ได้มาตรฐานตามกาหนด  ใช้มาตรการเชิงรุกมุ่งเป้าไปยังต้นตอของปัญหาโดยตรง โดยการส่งหน่วย ตรวจสอบและขอความร่วมมือไปยังสถานที่ประกอบหรือจุดรวมรถยนต์ โดยสารและรถบรรทุกจานวนมากโดยตรง เช่น อู่รถเมล์ ขสมก. ท่าเรือ สถานีขนส่งเดินรถ สถานีขนส่งสินค้า ตลาดไท บริษัทผู้ประกอบการที่มี รถบรรทุกจานวนมาก เช่น บริษัทค้าปลีกขนาดใหญ่ บริษัทบริการขนส่ง พัสดุภัณฑ์ ฯลฯ  จัดตั้งหน่วยงานอาสาช่างยนต์เพื่อให้บริการตรวจสอบและช่วยปรับแต่ง รถยนต์ให้ได้มาตรฐานตามสถานที่ประกอบหรือจุดรวมรถยนต์โดยสาร และรถบรรทุกจานวนมากดังกล่าวข้างต้น  ขอความร่วมมือจากบริษัทผู้ประกอบการเอกชนตามข้างต้นที่มีรถบรรทุก เข้ารับการตรวจสอบสภาพรถยนต์และงดวิ่งรถที่ปล่อยควันดา สอดคล้องกับแนวคิดของ ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่เสนอว่าควรมี การสร้างระบบตรวจเพื่อระงับการพาหนะที่ปล่อยมลพิษเกินค่าที่กฎหมายกาหนด ไปพร้อมกับการพัฒนาระบบข้อมูลรายงานสภาพมลพิษของรถโดยสารทุก ประเภท  มาตรการระยะกลาง  เร่งรัดการบังคับใช้มาตรฐานของเครื่องยนต์และเชื้อเพลิงจากมาตรฐาน ยูโร4 ไปเป็นยูโร5 ให้เร็วกว่าเดิม  ปรับเปลี่ยนการใช้เชื้อเพลิงของปัจจุบันจาก B7 ไปเป็น B20 ให้เร็วขึ้น ส่งเสริมให้มีการใช้รถยนต์ประสิทธิภาพสูง เช่น รถยนต์ไฟฟ้าให้มี สัดส่วนมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
  • 10. 15 | FURD Cities Monitor February 2019  มาตรการระยะยาว  ใช้นโยบายการจราจรอย่างยั่งยืน (Sustainable Transport) ให้ ความสาคัญกับรูปแบบการขนส่งสาธารณะ (รถไฟฟ้าและรถเมล์) ร่วมกับการไม่ใช้เครื่องยนต์ในการเดินทาง (เช่น การเดินและขี่ จักรยาน) พัฒนาผังเมืองใหม่เพื่อลดการเดินทาง เพิ่มพื้นที่สีเขียว ฯลฯ มุมมองของ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ในเรื่องของการส่งเสริมให้คนหันมาใช้ ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้นนั้น มองว่าคุณภาพและบริการของระบบขนส่ง สาธารณะที่ไม่ดีพอในประเทศไทยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทาให้คนตัดสินใจเลือกใช้ รถยนต์ส่วนบุคคลในการเดินทาง แต่ในหลายประเทศก็ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าระบบ ขนส่งสาธารณะที่ดีไม่สามารถดึงคนให้หันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะได้หากไม่มี มาตรการจากัดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคล โดยต้องทาให้คนรู้สึกว่าการใช้รถยนต์ ส่วนบุคคลนั้นลาบากและมีค่าใช้จ่ายที่ตามมาสูง ยกตัวอย่างเช่น สิงคโปร์ที่มีการจากัดการจาหน่ายใบอนุญาตทะเบียนรถ ใหม่ หากต้องการซื้อรถคันใหม่ต้องรอให้รถคันอื่นนาเลขทะเบียนออกก่อนซึ่งมี การประมูลในราคาที่สูงกว่ามูลค่ารถมาก และยังมีการเก็บค่าเข้าพื้นที่รถติด (Congestion Charging) เช่นเดียวกับในลอนดอนที่มีการถกประเด็นนโยบายนี้มา ตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว และเริ่มใช้จริงเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา ในขณะที่ฮ่องกงซึ่งมี ขนาดพื้นที่ในเขตเมืองน้อยทาให้ต้องจากัดพื้นที่สาหรับจอดรถซึ่งที่จอดรถ 1 คันมี ราคาแพงกว่าที่อยู่อาศัย และในส่วนของสต็อกโฮมส์นั้นมีการจัดเก็บภาษีมลพิษ (Environmental Tax) สาหรับรถที่วิ่งเข้าเขตเมืองอีกด้วย ที่มา : สุเมธ องกิตติกุล, 2562 FURD Cities Monitor February 2019 | 16 2. เรื่องระบบภาษีรถยนต์ การคิดภาษีรถยนต์ประจาปีของประเทศไทยนั้นจะลดลงทุกปีแปรผกผัน กับอายุของรถยนต์ เนื่องจากใช้มูลค่ารถเป็นฐานในการคานวณ ในขณะที่ ต่างประเทศระบบภาษีจะสะท้อนปัญหาเรื่องมลพิษด้วย กล่าวคือรถยนต์ยิ่งเก่า ภาษีประจาปีควรจะสูงขึ้นตาม หากประเทศไทยเปลี่ยนการคานวณภาษีใหม่นั้น อาจมีผลต่อการตัดสินใจของคนในการเปลี่ยนรถยนต์ใหม่เร็วขึ้น เพราะรถยิ่งใหม่ จะมีเทคโนโลยีการเผาไหม้ที่ดียิ่งขึ้น 3. เรื่องถนน รศ.ดร.จานง มองว่าการแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดอันเนื่องมาจากการ ก่อสร้างรถไฟฟ้า จะต้องมีการคืนพื้นที่ผิวจราจรร่วมด้วยเพราะปัญหารถติดนั้น เป็นกลไกสาคัญ ซึ่งจะต้องมีมาตรการคืนพื้นผิวจราจรให้กับรถยนต์ด้วยเพื่อลด ปัญหารถติดโดยเฉพาะในชั่วโมงเร่งด่วน เช่น การคืนพื้นที่ในเวลากลางวัน ทาการ ก่อสร้างรถไฟฟ้าเฉพาะเวลากลางคืนเช่นในอดีต หรือหยุดงานก่อสร้างเพื่อคืนพื้นที่ ผิวจราจรในช่วงหน้าหนาวนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ควรมีการควบคุมการจอดรถบน ถนนมากกว่าการสร้างที่จอดรถในเมืองเพิ่ม ตามที่ ดร.สุเมธ ได้เสนอ 4. เรื่องเชื้อเพลิงและอายุรถ ขณะที่ รศ.ดร.จานง มองว่าควรกาหนดสัดส่วนน้ามันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น สาหรับเชื้อเพลิงที่จาหน่ายในพื้นที่กรุงเทพมหานครเป็นกรณีพิเศษชั่วคราวใน ระยะนี้ พร้อมกับพิจารณาความเป็นไปได้ของการสิ้นสุดการใช้รถยนต์ที่มีอายุเกิน 10-15 ปีขึ้นไป ซึ่งในเรื่องนี้ต้องมีการศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสียและผลกระทบที่จะ ตามมาในเชิงนโยบาย ส่วน ดร.อดิศร์ มองว่าควรปรับโครงสร้างภาษีน้ามันเพื่อให้ คนหันมาใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น และราคาน้ามันดีเซลควรมีราคาสูงกว่าน้ามัน ชนิดอื่น
  • 11. 17 | FURD Cities Monitor February 2019 5. สิ่งที่ควรทาควบคู่กัน  ควรมีการเตรียมแผนรองรับสภาพอากาศที่อาจถึงขั้นวิกฤตในอนาคต เช่น การจากัด จานวนรถยนต์ที่วิ่งในวันคู่-วันคี่ การประกาศหยุดทาการเรียนการสอนทุกโรงเรียนใน เขตกรุงเทพมหานคร เป็นต้น  ทาให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองกระชับ (Compact City) เพื่อลดการเดินทางของ ประชาชน โดยการสนับสนุนให้ทั้งกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ถูกใช้พื้นที่อย่างมี ประสิทธิภาพ มีสภาพแวดล้อมและสิ่งอานวยความสะดวกครบและเหมาะสม เช่น ที่ อยู่อาศัย สวนสาธารณะ สานักงาน ร้านค้า  ใช้กลไกคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ซึ่งรัฐบาลสามารถให้คณะกรรมการชุดนี้ตรวจสอบกลไกการพัฒนาประเทศเพื่อสร้าง ความมั่นใจให้ประชาชนได้ทันที FURD Cities Monitor February 2019 | 18 (บนซ้าย) ผศ.ดร.จานง สรพิพัฒน์ (บนขวา) ดร.สุเมธ องกิตติกุล (ล่างซ้าย) ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
  • 12. เมือง ย้อนคิด มุ่งสู่อนาคต ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ทุนทางสังคมกับการพัถนาเมือง ศ.ดร. อานันท์ กาฌจนพันธุ์ เมืองขวางน้า ศ. กิตติคุณ เดชา บุฌค้า ชุดหนังสือเมือง หนังสือออกใหม่ สั่งซือได้ที่ ... 1 ) ร้านหนังสือออนไลน์ : CPWIBOOKS.lnwshop.com 2) เบอร์โทรศัพท์ 02-938-8826 (ในเวลาราชการ) 3) Facebook Page : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง Center for Megacity and City Studies เมืองนิยม ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ราชาธิปไตย ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เมือง กิน คน ปศ.ดร. พิชฌ์ พงษ์สวัสดิ์ ตะวันออก—ตะวันตก ใครสร้างโลกสมัยใหม่ ศ.ดร. เอนก เหล่าธรรมทัศน์ วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2557 จากดาริของ ศาสตราจารย์ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ โดยความเห็นชอบและสนับสนุนจาก ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เนื่องด้วยความปรารถนาที่ ต้องการให้เป็นคลังปัญญาเพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีพันธกิจดังนี้ เพื่อการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน และ จัดการความรู้ให้สามารถเชื่อมโยงสู่นโยบายสาธารณะเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ทั้งในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ ให้เกิดการเชื่อมประสานเครือข่ายภาคีพัฒนาเมืองทั้ง ภายในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนให้มี ประสิทธิภาพ ในการสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองสุขภาวะ ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง ได้ริเริ่มจัดทาโครงการ หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า “ ” และมีชื่อภาษาอังกฤษว่า “ ” โดย การสนับสนุนของสานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หน้าที่หลักคือ สร้างและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ที่ ตอบสนองต่อการพัฒนาเมืองของไทย จัดให้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักคิดและผู้นาการพัฒนาเมือง และสร้างเครือข่าย การพัฒนาเมือง นอกจากนี้ ได้ริเริ่ม โดยมหาวิทยาลัยรังสิตมอบรางวัลเป็นประจาทุกปี เพื่อเชิดชูยกย่อง ผู้นาหรือผู้สร้างบ้านแปงเมือง อันจะเป็นกาลังใจสร้างให้เกิดความภูมิใจและเป็นพลังสร้างสรรค์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนใน อนาคตสืบไป
  • 13. ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต 637/1 อาคารพร้อมพันธุ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 Website: www.furd-rsu.org Tel. (+66) 2938 8826 Fax. (+66) 2938 8864