SlideShare a Scribd company logo
1 of 12
บทที่ 3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม
และการเมือง

          ถึงแม้วาส่วนใหญ่จะเป็นที่ยอมรับว่าองค์ประกอบที่
                 ่
สำาคัญประการหนึ่งของการบริหารการพัฒนาคือ การมุ่งเน้นถึงการ
พัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
(Economic Growth) เป็นหลักใหญ่

             หน่วยงานบริหารใหม่ ๆ ซึ่งมักจะเรียกว่าเป็นหน่วยงาน
หรือกรมซึ่งมีมีหน้าทีทำางานเพื่อสร้างชาติ(Nation-Building
                       ่
Departments) จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำาหน้าที่พัฒนา
อุตสาหกรรมของประเทศ ดำาเนินงานบริหารหน่วยงานทาง
เศรษฐกิจใหม่ ๆของรัฐ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา
ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ปรับปรุงขอบข่ายงานขนส่งและ
การสื่อสารคมนาคม ปฏิรประบบการศึกษาและทำาหน้าที่อื่น ๆ
                           ู
เพื่อให้บรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่กำาหนดไว้ ซึ่ง
ต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เห็นว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงปัจจัย
หนึ่งที่จะต้องบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนา1

           ดร.ยูยีน แสตลลีย์ (Dr.Eugene Staley) ได้กล่าวไว้
ว่ากระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นไม่ควรจะยำ้าหนักเฉพาะด้านเศรษฐกิจ
แต่ควรให้ได้ผลดีทงทางด้านการเมืองและสังคมด้วย เขาชี้ให้
                   ั้
เห็นว่ามีหลายประเทศที่ได้รับความสำาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ
แต่เป็นความสำาเร็จในวงแคบ คือ เป็นเพียงการเพิ่มความสามารถ
ในการผลิตของประเทศให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันประชาชน
ส่วนใหญ่ไม่ได้รบผลผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดย
               ั
ยังคงมีระดับการครองชีพตำ่ากว่าอยู่เช่นเดิม และในขณะเดียวกัน
กระบวนการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการส่งเสริมอุดมการณ์
ประชาธิปไตยแต่ประการใด ประชาชนยังอยู่ใต้ระบอบเผด็จการ
ต่อไป

การพัฒนาสังคม (Social Devalopment)
1
    กมล อดุลพันธ์ ในบทที่ ٤ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม มหาวิทยาลัยรามคำาแหง
PS 328.
2


            ความหมาย คำาว่า “สังคม” อาจพิจารณาความหมาย
ได้เป็น 2 นัย

              - นัยหนึ่งเป็นรูปธรรม สังคมหมายถึงคนจำานวนหนึ่งที่
อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความรู้สึกผูกพันว่าเป็นเหล่าเดียวกัน ดำารง
     ่
ชีวิตร่วมกันตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีที่ส่วนรวมกำาหนดไว้เพื่อให้
กลุ่มนั้นอยู่ต่อเนื่อง มิให้แตกทำาลาย ในความหมายนี้เรามองเห็น
สังคมนี้ย่อมมีแบบอย่างวิธีการดำารงชีวิตที่เป็นลักษณะร่วมกันของ
กลุ่มที่ซึ่งเราเรียกว่าวัฒนธรรม และมีจำานวนคนเพิ่มขึ้นหรือลดลง
ตามอัตราการเกิด การตาย อันเป็นปกติวิสัยของสิ่งมีชีวิต
              - อีกนัยหนึ่งเป็นนามธรรม สังคมหมายถึงระบบความ
สัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นกลุมหรือพวกเดียวกัน ระบบ
                                       ่
ความสัมพันธ์เกิดมีขึ้นเพราะการที่คนซึ่งอยู่ด้วยกันต้องมีการ
ประพฤติปฏิบัติต่อกัน และการประพฤติปฏิบัติต่อกันนี้ย่อมอยู่ใน
กรอบกำาหนดที่ยอมรับร่วมกันอยู่ว่า ผูที่จะมีการกระทำาต่อกันนั้น
                                         ้
ฝ่ายใดจะมีสิทธิและหน้าทีให้ทำาอย่างไรได้มากน้อยเพียงใด หาก
                             ่
กระทำาเกินขอบเขตของกรอบกำาหนดที่ส่วนรวมวางไว้นี้ ก็จะเกิด
ปัญหาขัดแย้งจากการล่วงละเมิดสิทธิและหน้าทีที่มีต่อหัน และ
                                                 ่
ถ้าหากไม่สามารถปรับการจัดแย้งนีให้ราบรื่นไปได้ ความสัมพันธ์
                                    ้
ทีมีต่อกันก็อาจสิ้นสุดได้

การพัฒนาสังคม
            หรือ การทำาให้สังคมเปลียนแปลงไปในทางที่พึง
                                   ่
ปรารถนานั้น หากสังคมจะพัฒนา ความปรารถนาของคนทั้งสังคม
คือความปรารถนาทีสำาคัญที่สุด แต่ตามปกติแล้วความปรารถนา
                    ่
ของคนตรงกันได้ยาก และความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือ
บางกลุ่มหากมีอำานาจหรือความสามารถที่จะทำาให้ความปรารถนา
นั้นสัมฤทธิ์ผลได้ คือความปรารถนาที่มีความสำาคัญที่สุดถึงแม้ว่า
ผู้อื่นจะปรารถนาเป็นอย่างอื่นก็ตาม

           การพัฒนาสังคมเป็นการทำาให้ความขัดแย้งที่อาจมีอยู่
ในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมลดน้อยลงจนหมดไท
หรือเป็นการทำาให้ระบบความสัมพันธ์นั้นราบรื่นมีความกลมกลืนกัน
มากกว่าที่เป็นอยู่เดิม
3


            ก่อนที่ประเทศจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางด้าน
วัตถุให้ก้าวหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีการพัฒนาทางสังคม
ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจและแบบแผนพฤติกรรมตลอดจน
ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมนั้นเสียก่อน ปัญหาทางด้าน
สังคมในประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทางเศรษฐกิจ
มีหลายประการ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีและสถาบันทีล้า     ่
สมัย ระดับการศึกษาของประชาชนที่ยังตำ่าอยู่ การขาดความรู้
ความชำานาญทางเทคนิคเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ระบบการยึดถือ
ครอบครองที่ดินทีล้าสมัย ตลอดจนชีวิตทางเศรษฐกิจที่ผูกพัน
                   ่
อย่างแน่นแฟ้นกับระบบครอบครัวเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูล หรือกลุ่ม
และชุมชนของตนมากเกินไป เป็นต้น

ลักษณะสังคมที่พัฒนาแล้ว
             ในสังคมที่พฒนาเต็มทีแล้ว จะเห็นคนมีคุณค่าเหมือน
                        ั             ่
กันเท่ากัน คือ มีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่มีความรังเกียจใน
เรื่องชาติ ชั้น วรรณะ กล่าวคือ เป็นไปตามคติว่า “เหนือชาติอื่น
ใดคือมนุษยชาติ” แต่ในด้านของแต่ละคนแล้ว ทุกคนจะมี
เสรีภาพมาก กล่าวคือ จะไม่ถูกคนหรือสังคมอื่นกีดกัน มีอิสระที่
จะเลือกงาน ทีอยู่ คู่ครอง ศาสนา เพื่อน พรรคการเมือง ฯลฯ
                 ่
ที่ตนนิยมชมชอบ จะเห็นว่าในสังคมที่พฒนาแล้ว คนจะไม่ยุ่ง
                                          ั
เกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ๆ เมื่อพบปะกันตามท้องถนนก็ไม่มี
การโอภาปราศรัย ภาวะนี้เป็นสิ่งจำาเป็นที่จะรักษาอิสรภาพของ
แต่ละคนในชุมชนหนาแน่นไว้ แต่ถ้ามีเหตุร้ายภยันตราย
สาธารณะเกิดขึ้น เช่น นำ้าท่วม ไฟไหม้ คนเหล่านั้นก็จะหันหน้า
เข้าหากัน ร่วมมือกันช่วยกันปัดเป่าภัยดังกล่าว เพราะถือว่า
เป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน

ลักษณะสังคมที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of Devalopment)
และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(Pseudomorphic Devalopment)
           - สังคมที่ยงไม่พัฒนาจะมีลักษณะสังคมที่ตัดตอนกัน
                      ั
คือ ถือว่าคนในหมู่พวกของตนเป็นพวกเดียวกัน ต่างพวกเป็นศัตรู
นอกจากนั้นมีการแบ่งคนออกตามชาติ ชั้น วรรณะของบุคคลขึ้น
ทำาให้เกิดความแตกแยกเป็นหมู่เหล่า เมื่อสังคมมีลักษณะตัดตอน
กัน แต่ละคนจึงถูกจำากัดขอบเขตการติดต่อซึ่งกันและกัน จึงต้อง
4


มีการกำาหนดวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนฝูง อย่างคนแก่กับเด็ก
ชายกับหญิง ข้ากับเจ้า เป็นต้น
           - สังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝงซึ่งได้รับ
อิทธิพลของการพัฒนาจากสังคมอื่นมาใช้ในด้านสังคม โดยส่วน
รวมอาจจะมีหลักการยอมรับนับถือความสามารถของบุคคลเป็น
กุญแจของความสำาเร็จที่จะเคลื่อนไหวเลื่อนฐานะในสังคมได้ แต่
ความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เช่น สถาบันการศึกษา ไม่
เพียงพอที่จะเปิดโอกาสให้แก่ทุกคน และแม้ตจะได้รบการศึกษา
                                                   ั
มาดีแล้วหรือเป็นผู้มีความสามารถดี ก็จะไม่ได้รบเข้าทำางานใน
                                               ั
ตำาแหน่งสำาคัญ ๆ หากไม่ใช่พรรคพวกของตนในชั้นผู้นำา ฉะนัน    ้
ตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางสังคมยังเป็นคำาขวัญอยู่

ลักษณะการพัฒนาทางสังคม

                    1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสังคมของ
องค์การสหประชาชาติ คือการนำามาซึ่งการดำารงชีวิตที่ดีขึ้น
สำาหรับประชาชนทุกคน เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาก็
คือประชาชน แต่ประชาชนไม่ควรจะเป็นเพียงผู้รับผลของการ
พัฒนาแต่ฝ่ายเดียว ประชาชนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา
สังคมด้วย การพัฒนาอย่างสมบูรณ์จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจาก
การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อ
การพัฒนาจึงต้องมุ่งไปที่การช่วยให้ประชาชนได้เข้าใจเหตุและ
ผลของปัญหาที่เกิดแก่ตัวเขาเอง ปลุกให้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์คน
หนึ่งซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพ มีอำานาจในการเรียกร้องความยุติธรรม
จากสังคมได้ ซึงรากฐานของความยุติธรรมทางสังคมอันเป็นเป้า
                  ่
หมายสุดท้ายอันหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม คือสิทธิมนุษยชน
อันได้แก่ สิทธิในด้านชีวิต ทรัพย์สิน ความมั่นคงและความ
ปลอดภัยอิสระและการสื่อสารงาน การเลือกงานอย่างมีเสรี

                  2. การศึกษาจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม
อย่างมาก โดยช่วยให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนสูงขึ้น
มีความเป็นอยู่และมีวฒนธรรมอันสูง การศึกษาช่วยปรุงแต่ง
                     ั
รักษา แก้ไข และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากชั่วคนหนึ่งไป
ยังอีกชั่วคนหนึ่ง
5


                3. ในการพัฒนาสังคม จะมีปัญหาสังคมใน
เมืองและสังคมชนบทซึ่งรัฐจะต้องแก้ไขให้มีสภาพที่ดีกว่าเดิม
                ปัญหาสังคมในเมืองมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกว่า
ชนบท เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรและการผังเมืองที่
ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ปัญหาการจราจร ปัญหา
การคมนาคม ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชีพ ปัญหาการครอง
ชีพ ปัญหาการศึกษา ปัญหาอาญากรรม

              ส่วนปัญหาสังคมในชนบทนั้น ทีสำาคัญอันเป็น
                                              ่
อุปสรรคต่อความเจริญของประเทศและจำาเป็นต้องแก้ไขโดยรีบ
ด่วนมีอยู่ 5 ประการ คือ ปัญหาทางด้านการเมืองและการ
ปกครอง ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านอนามัย ปัญหาด้าน
เศรษฐกิจ และปัญหาในด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับสังคม ซึ่งจะต้องนำา
เอาพัฒนาชุมชนมาใช้แก้ปัญหาในชนบทดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งไป
สู่ตัวประชาชนเพื่อพัฒนาตัวบุคคลโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล
ไปสู่ชนบท และเข้าร่วมสัมพันธ์คลุกคลีใกล้ชิดกับประชระชาชน
โดยต้องการที่จะสร้างทัศนะหรือแนวนำาทางที่ถูกต้องให้ประชาชน
ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและของ
ชุมชนให้ก้าวหน้า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชนต้องการจะ
ให้ประชาชนรู้จักใช้ความคิดริเริ่มเอง หากไม่มีความคิดริเริ่มก็ต้อง
ใช้วิธีการยั่วยุ เร่งเร้า ส่งเสริมให้เกิดความคิด หรือยอมรับเอา
แนวความใหม่ ๆ ที่สมควรจะต้องเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการดำารง
ชีวิตและการประกอบอาชีพแบบเดิม

การพัฒนาทางการเมือง
          ความหมาย เฮาเวิด ริกกินส์ (Howard Wriggins)
ได้ให้ความหมายของการพัฒนาทางการเมืองเอาไว้ว่า เป็นความ
เจริญก้าวหน้าของสถาบันและวิธีดำาเนินการทางการเมือง ซึ่งช่วย
ให้ระบบการเมืองได้จัดการกับบรรดาปัญหาพื้นฐานทาการเมืองได้
อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในระยะสั้น ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติ
อย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อความต้องการของประชาชนใน
ระยะเวลายาวนานข้างหน้า

ลักษณะทางการเมืองที่พัฒนาแล้ว
          การเมืองที่พัฒนาแล้ว ฝ่ายมีอำานาจทางการเมืองซึ่ง
ไม่วาจะได้อำานาจมาโดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนหรือ
    ่
6


ไม่ก็ตาม จะต้องมีความรับผิดชอบ (Responsibal) และสนอง
ตอบ (Responsive) ต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง
ไม่ใช่มีไว้แต่กฎหมายระเบียบแบบแผนว่าจะสนองตอบ แต่โดย
แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ทำาหรือทำาไม่ได้ ในด้านของประชาชนแต่ละ
คนนั้นก็จะมีฐานะพลเมือง คือ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน
กระบวนการทางการเมืองของประเทศ ซึ่งผู้ปกครองประเทศจะ
ต้องเหลียวแลและรับผิดชอบต่อ ไม่ใช่ฐานะเป็นไพร่ฟ้า
ข้าแผ่นดิน (Subject)

ลักษณะการเมืองที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of Devalopment)
และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(Pseudomorphic Devalopment)
          การเมืองที่ยังไม่พัฒนาไม่มีสถาบันการปกครองที่รับ
ผิดชอบต่อประชาชนแต่จะมีในรูปของสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ โดย
อาจใช้ศาสนามาเป็นเครื่องคำ้าจุนราชบัลลังก์ คือ กษัตริย์เป็น
สมมติเทวราช ทางด้านประชาชนก็มีลักษณะเป็นไพร่ฟ้า
ข้าแผ่นดินที่ทำาตามคำาสั่งกษัตริย์ ไม่ใช้ทำาตามเพราะถือว่าเป็น
กฎหมายแต่ทำาเพราะเคารพนับถือ

ลักษณะการพัฒนาทางการเมือง
          ในการพัฒนาทางการเมือง มีลักษณะที่นำามาพิจารณา
    ได้ดังนี้

            1. ความสนใจของประชาชนและการเข้าร่วมใน
กระบวนการทางการเมือง (Political Socialization and
recruitment) ในประเทศกำาลังพัฒนานั้น ประชาชนไม่ค่อย
เข้าใจถึงคุณค่าของการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของ
ประเทศ จึงไม่ค่อยสนใจและไม่ค่อยเข้าร่วม ซึ่งถ้าประชาชนเจ้า
ใจถึงคุณค่าก็ย่อมอยากจะเข้ามามีส่วนร่วม เช่น อาจจะสนใจลง
คะแนนเสียงถ้ารูว่าผูที่ตนเลือกเข้าไปจะใช้อำานาจแทนและรักษา
                ้   ้
ประโยชน์แทน ไม่ให้ถูกรบกวนหรือทำาลายโดยฝ่ายผู้ใช้บงคับ ั
กฎหมาย
            แต่ความสนใจมีน้อยถ้าชนชั้นปกครองเห็นแก่ตัวและ
สกัดกั้นไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าร่วมในกระบวนการทางการ
เมือง เช่น งดเลือกตั้งหรือห้ามตั้งพรรคการเมือง ทังนีทัศนคติ
                                                   ้ ้
ดั้งเดิมของประชาชนเองก็มีส่วนเป็นอุปสรรค แต่ทงนี้คนรุ่นใหม่ที่
                                                ั้
7


ได้รับการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชน (Intellectual) และถือว่า
ตนควรมีสิทธิ์เข้าร่วมในการเมืองของประเทศ เพิ่มจำานวนมากขึ้น
ด้วยเหตุผลของการศึกษา ทำาให้มีการเรียกร้องและขยายตัวใน
การของให้สทธิ์ทางการเมืองมากขึ้น
            ิ

            2. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ในทางการ
เมือง และในประเทศกำาลังพัฒนา ไม่มีกลุ่มผลประโยชน์เข้มแข็ง
พอที่จะบีบให้ชนชั้นปกครองยอมรับและรักษาผลประโยชน์ของ
ตนเอง เพราะไม่ได้รวมตัวเป็นสมาคมใหญ่มจำานวนมากพอที่จะ
                                            ี
สามารถทำาให้เสียงเรียกร้องมีนำ้าหนักพอที่ฝ่ายปกครองจะต้องฟัง
            การที่ประเทศไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใหญ่
มากพอที่จะสนใจเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ
มีผลทำาให้กลุมบุคคล ทีมีผลประโยชน์ร่วมกันเพราะอยู่ในสถาบัน
              ่         ่
เดียวกัน เช่น คณะทหารและข้าราชการ (Army and
Bureaucracy) หรือกลุ่มอิทธิพลทางศาสนา เข้ามามีบทบาทคุม
อำานาจทางการเมืองได้ง่าย ทหารเข้ามาคุมอำานาจโดยอ้างว่าเพื่อ
รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของประเทศซึ่งนานไป
อาจกลายเป็นการรักษาประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

             3. การรวมกลุ่มผลประโยชน์ (Interest
Aggregation) หรือพรรคการเมือง ในประเทศกำาลังพัฒนา ไม่มี
พรรคการเมืองซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการหา
ทางร่วมรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของพวกตน และต่าง
แข่งขันกันเพื่อแสวงหาอำานาจทางการเมืองมักมีสมาชิกจำากัด
และพรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำาของ
พรรค เพื่อเป็นบันไดไปสู่อำานาจทางการเมือง คนสำาคัญ ๆ ที่
เปลียนแปลงระบบเก่ามาเป็นระบบใหม่มักจะมาแยกกันตั้ง
    ่
พรรคการเมืองเพื่อแข่งขันกันเข้ามามีอำานาจทางการเมือง ไม่ได้
นำาเอาประโยชน์ของสมาชิกของพรรคที่เป็นประชาชนมากำาหนด
เป็นแนวนโยบายของพรรค
             เมื่อมีพรรคการเมืองมากจนไม่มีพรรคมีอิทธิพลพอที่จะ
ชนะเลือกตั้งได้เด็ดขาดก็ทำาให้ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง
รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสมมีการเปลียนรัฐบาลบ่อย ๆ ด้วยสาเหตุ
                                    ่
จากนักการเมืองในพรรคต่าง ๆ ทำาให้ประเทศขาดความสามัคคี
และความมันคง เปิดโอกาสให้คณะทหารอ้างความจำาเป็นเข้ามา
           ่
จัดระบบทางการเมือง
8




            4. การใช้อำานาจในการปกครองประเทศ (The
Authoritative Functions) ประเทศกำาลังพัฒนาลอกแบบการจัด
สถาบันปกครองประเทศมาจากยุโรปและอเมริกา โดยแยกอำานาจ
ปกครองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่
สถาบันเหล่านั้นไม่ได้ทำาหน้าที่กำาหนด เช่น รัฐสภาไม่ใคร่ทราบ
ถึงหน้าที่ของตนเองและยอมเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ฝ่าย
บริหารมีความโน้มเอียงที่จะเข้าควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ
นอกจากนี้ยังมีความโน้มเอียงที่จะรวมอำานาจไว้ที่ส่วนกลาง
แทนที่จะกระจายอำานาจไปสู่ภูมิภาค และให้ประชาชนในท้องถิ่น
มีการปกครองตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้
อำานาจปกครอง ซึ่งแนวทางที่จะพัฒนาควรจะยึดแบบประเทศ
ประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ซึ่งถือเอาการปกครองตนเองของ
ท้องถิ่นเป็นการวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะ
ประชาชนมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอันดับแรกและโดยตรงต่อความ
เจริญของท้องถิ่นตน

การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic
Development)
          ความหมาย ในประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการ
ครองชีพ (Standard of Living) ตำ่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมาย
ถึง การพัฒนาสถานภาพ (Status)ของประเทศ โดยทั่วไปแล้ว
หมายถึงการทำาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นดีขึ้นกว่าเดิม
และยังหมายถึงการเพิ่มผลผลิตโดยใช้วิธีที่ดีกว่าเดิมในการผลิต
และกระจายสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจ
เป็นการพัฒนาเพียงด้านเดียวของสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด อัน
ประกอบได้แก่ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและอื่น ๆ

ลักษณะทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว
           ในสังคมทีมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว ประชาชน
                      ่
ทัวไปในสังคมนั้น ๆ สามารถวินิจฉัยปัญหาทางเศรษฐกิจไปตาม
  ่
หลักเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ต้องกังวลถึงปัจจัย
ทางการเมือง ศาสนา มิตรภาพ ฯลฯ และในส่วนของแต่ละ
บุคคลนั้นทุกคนก็มีนำ้าใจ (Spirit) เป็นผู้ประกอบการ ทังนี้คือทำา
                                                     ้
อะไรก็พิจารณาว่าตนจะได้กำาไรขาดทุนเพียงใด ตัวอย่างที่เห็น
9


ได้ชัดจากสังคมแบบนี้คือ ราคาสินค้าในตลาดก็เป็นไปตามหลัก
อุปสงค์อุปทาน2 แท้ ไม่ใช่แพงเพราะต้องเสียเบี้ยบ้ายรายทางให้
ผู้มีอำานาจ การกำาหนดราคาสินคาเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทาง
เศรษฐกิจแท้ ส่วนทางด้านบุคคลนั้นเมื่อก้าวเท้าไปซื้อของหรือ
บริการใด ๆ ทีไหน ๆ ก็คิดว่า ตนจะต้องซื้อตามราคาที่กำาหนดไว้
              ่
จะหวังว่าผู้ขายจะลดราคาให้เพราะเป็นเพื่อนกับลูกสาวหาได้ไม่

ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of
Devalopment) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง
(Pseudomorphic Devalopment)
            1. เศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา ไม่มีตลาดนั้น บุคคล
ส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ต่างตอบแทนกัน เช่น
วันนี้ช่วยเขาทำานา พรุงนี้เขาช่วยเรา แต่ละคนมีความรู้สึกผู้พัก
                      ่
ต่อกัน มีการแบ่งสู่กันกิน

            ٢. เศรษฐกิจกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง จะมี
สภาพอยู่กึ่งกลางระหว่างการถือหลักเหตุผลและหลักปฏิบัติ
ตอบแทน คือโดยส่วนรวมประชาชนจะคิดจากแง่เศรษฐศาสตร์แม้
ๆ อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องคำานึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น
แทนที่จะแสวงหาความรำ่ารวยด้วยวิธีลงทุนทำาการค้าตามแบบ
สังคมที่พัฒนาแล้ว กลับเป็นว่าถ้าทำาการค้าขาย อาจถูกอิทธิพล
มือ ฉะนั้น ถ้าหวังรวยอาจใช้เงินไปซื้อเสียงหาตำาแหน่งทางการ
เมืองเสียก่อนเมื่อมีตำาแหน่งแล้วจึงกอบโกยภายหลังจะรวยเร็วกว่า
สภาพตลาดที่แท้จริงจึงยังไม่เกิดขึ้น

           ٣. ลักษณะปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศด้อย
พัฒนาโดยทัวไป ได้แก่
            ่
                 ٣.١. ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต มักจะถูกมอง
ว่าขาดแคลนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่นมีทุนน้อย
ความรู้ทางเทคโนโลยีลาหลัง ขาดผู้ประกอบการ หรือ
                       ้
ทรัพยากรธรรมชาติไม่อำานวยและมักจะมีนโยบายจัดหาเพิ่มเติม
ปัจจัยการผลิตที่ขาด เช่น เพิ่มการออกและการลงทุน


2
  อุปสงค์ (demand) หมายถึงปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ   อุปทาน (supply) หมาย
ถึงปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายแก่ผู้บริโภคที่เวลาหนึ่ง
10


            แต่ความจริงแล้วยังมีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่
อาจนำาไปใช้ในการพัฒนาได้อีกเป็นจำานวนมาก แต่งยังถูกใช้ไม่
เต็มที่หรือถูกใช้ไปในทางไม่เกิดผลประโยชน์แก่เศรษฐกิจแท้จริง

                ٣.٢. ไม่ได้ใช้การออก (Save) ให้เกิด
ประโยชน์เต็มที่ เช่น ออกเก็บไว้เฉย ๆ (Hoarding) และยัง
สามารถเพิ่มการออมได้อีกมาก เช่น การจัดงานพิธีรีตองอย่าง
หรูหราสิ้นเปลืองและการใช้จ่ายเงินเพื่อโอ้อวดหรือการบริหารโภค
เอาอย่าง (Conspicious Consumption) ซึ่งการใช้จ่ายเงินเพื่อ
โอ้อวดหรือการบริโภค (Consumption) เหล่านี้สามารถลดลงได้
อีกมาก

                 ٣.٣. ความเทคนิคซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำาคัญ
ซึ่งยังขาดอยู่ ประเทศด้อยพัฒนาหรือกำาลังพัฒนาสามารถและนำา
เอาความรู้ทางเทคนิคที่ผ่านการทดลองและใช้ในประเทศพัฒนา
แล้วมาใช้ประโยชน์ได้

แนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
            ปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ทว่าทำาอย่างไรจึง
                                              ี่
จะนำาเอาปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่มีอยู่แต่ยังกระจัดกระจาย
ยังไม่ถูกใช้ หรือใช้ผิด ๆ มาประกอบกันและใช้ให้เป็นประโยชน์
อย่างเต็มที่ สิ่งที่ขาดคือการตัดสินใจนำาทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมา
ใช้ในการพัฒนา ดังนั้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็คือ
            ١. ต้องหาสิ่งที่จะช่วยผลักดัน (Pressures) และ
ชักนำา (Indument) ให้มีการระดมทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่
มีอยู่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนามากที่สุด

            ٢. ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่จะพัฒนา จะ
ต้องสร้างบรรยากาศทางจิตใจให้เหมาะสม คือต้องเข้าใจว่าผล
ประโยชน์ส่วนตัวอาจสอดคล้องกับผลประโยชนส่วนรวมได้
            เมื่อเป็นดังนี้การตัดสินใจพัฒนา คือความสามารถที่จะ
รวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง และ
เต็มที่จะค่อยเกิดขึ้นเอง มิฉะนั้นจะมีการคิดหนักไปทางด้านใด
ด้านหนึ่งเพียง ٢ อย่าง คือ
             ٢.١ การเปลียนแปลงแบบคำานึงถึงส่วนรวม (Group-
                            ่
focused image of change) คือ เห็นว่าฐานะเศรษฐกิจของคนจะ
11


ดีขึ้นก็โดยทำาให้ผู้อื่นเสียเปรียบ ดังนั้น จึงเห็นว่าการ
เปลียนแปลงทางเศรษฐกิจไม่พึงปรารถนา เว้นแต่สมาชิกใน
      ่
สังคมจะได้ประโยชน์ทวกัน   ั่

          ٢.٢ การเปลียนแปลงแบบคำานึงถึงส่วนตัว (Ego-
                       ่
focused image of change) เห็นว่าจะให้สมาชิกของสังคม
ก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันนั้นสุดวิสัย ดังนั้นจึงนึกถึงแต่ตนเอง แยก
ตัวเองจากส่วนรวมและมุ่งประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง

            เมื่อมีการพัฒนาทังสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ
                             ้
ไปพร้อม ๆกะน กล่าวคือในทางสังคมจะมีความเสมอภาคเท่า
เทียมกันจริง เปิดโอกาสให้คนได้เลื่อนฐานะในสังคมด้วยการ
ศึกษา ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต การรับบุคคลเข้าทำางานเป็น
ไปตามระบบคุณวุฒิ (Merit System) อย่างแท้จริง มิใช่เอามาแต่
เพียงรูปแบบ ให้การศึกษาระดับพื้นฐานและระดับที่สูงขึ้นไปอย่าง
ทัวถึง ซึ่งจะช่วยให้สังคมประกอบด้วยคนที่มทัศนคติที่ถูกต้อง
  ่                                       ี
นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจถึงสิทธิทางการเมืองและใช้อย่างมี
ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสงวนรักษาสิทธิ์ทางการเมืองดังกล่าวไว้มิ
ให้ถูกทำาลายไป ในทางเศรษฐกิจเมื่อมีการศึกษาก็จะช่วยให้การ
ประกอบอาชีพได้ผลตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว เมื่อเศรษฐกิจ
แต่ละบุคคลดีเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศก็จะดีตามไปด้วย




                                   เอกสารอ้างอิง
12


กวี รักษ์ชน และคณะ.(٢٥٣٩). การบริหารการพัฒนา (PS
          328). พิมพ์ครั้งที่ ٩.กรุงเทพฯ:สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัย
          รามคำาแหง.

สื่อออนไลน์เข้าถึงได้จาก
http://th.wikipedia.org/wiki/ (٢٥ กรกฎาคม ٢٥٥١)

More Related Content

What's hot

บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยSaiiew
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์dnavaroj
 
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยบทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยSaiiew
 
อริยสัจ ๔ ม.๒
อริยสัจ ๔ ม.๒อริยสัจ ๔ ม.๒
อริยสัจ ๔ ม.๒Evesu Goodevening
 
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุดTaraya Srivilas
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยPaew Tongpanya
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานSamorn Tara
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันPaew Tongpanya
 
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์Nakhon Phanom University
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตTaraya Srivilas
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองkroobannakakok
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1panisra
 
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานการสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานTaraya Srivilas
 
บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1Saiiew
 
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยNakhon Pathom Rajabhat University
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 

What's hot (20)

บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทยบทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
บทที่ 2 วิวัฒนาการของการบริหารราชการไทย
 
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
เซลล์พืชและเซลล์สัตว์
 
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด cเนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
เนื้อหาสรุป Comprehensive หมวด c
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทยบทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
บทที่ 4สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการบริหารราชการไทย
 
อริยสัจ ๔ ม.๒
อริยสัจ ๔ ม.๒อริยสัจ ๔ ม.๒
อริยสัจ ๔ ม.๒
 
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด
1สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง ปรับปรุงล่าสุด
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 
ตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงานตัวอย่าง ปกรายงาน
ตัวอย่าง ปกรายงาน
 
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบันหน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
หน่วยที่ 2 ระบบเศรษฐกิจในโลกปัจจุบัน
 
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
การบริหารเชิงสถานการณ์ ดร.ชาญวิทย์ หาญรินทร์
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
สถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมืองสถาบันทางการเมือง
สถาบันทางการเมือง
 
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศบริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
บริบทการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
 
เรียงความ Is1
เรียงความ Is1เรียงความ Is1
เรียงความ Is1
 
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงานการสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
การสร้างเครือข่ายและการประสานงาน
 
รายงานกฎกติกาเทเบิลเทนนิส
รายงานกฎกติกาเทเบิลเทนนิสรายงานกฎกติกาเทเบิลเทนนิส
รายงานกฎกติกาเทเบิลเทนนิส
 
บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1บริหารราชการไทย 1
บริหารราชการไทย 1
 
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัยการตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
การตั้งถิ่นฐานและลักษณะที่อยู่อาศัย
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 

Similar to L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da

ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยKlangpanya
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทยsiriwan
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมChalit Arm'k
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนthanathip
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมTaraya Srivilas
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1Taraya Srivilas
 
Social Enterprise And Community Volunteer
Social Enterprise And Community VolunteerSocial Enterprise And Community Volunteer
Social Enterprise And Community VolunteerChaiyoot Chamnanlertkit
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่Sansanee Tooksoon
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2Pisan Chueachatchai
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยPoramate Minsiri
 
เร ยงความ
เร ยงความเร ยงความ
เร ยงความpapontee
 
เรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคมเรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคมnaowarat-acr
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926CUPress
 
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุpyopyo
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่T Ton Ton
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศChainarong Maharak
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5kanwan0429
 

Similar to L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da (20)

ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทยทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
ทุนทางสังคมกับการปฏิรูปประเทศไทย
 
สังคมไทย
สังคมไทยสังคมไทย
สังคมไทย
 
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคมหน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
หน่วยที่ 1 ลักษณะและการจัดระเบียบทางสังคม ความหมายทางสังคม
 
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชนหลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
หลักสูตรที่ 1 หน่วยที่ 3: ศูนย์การเรียนรู้ ICT ชุมชน และการพัฒนาชุมชน
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๘
 
Social Enterprise And Community Volunteer
Social Enterprise And Community VolunteerSocial Enterprise And Community Volunteer
Social Enterprise And Community Volunteer
 
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่หน่วยที่  ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
หน่วยที่ ๑ สังคมไทย ปวสใหม่
 
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud251298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
51298376 raaylaeiiydh-ngwichaakaar-2-20354-prablaasud2
 
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทยTeam thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
Team thailand ร่วมออกแบบประเทศไทย
 
เร ยงความ
เร ยงความเร ยงความ
เร ยงความ
 
เรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคมเรื่องสถาบันทางสังคม
เรื่องสถาบันทางสังคม
 
โครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคมโครงสร้างสังคม
โครงสร้างสังคม
 
9789740328926
97897403289269789740328926
9789740328926
 
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุสังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
สังเคราะห์งานวิจัยผู้สูงอายุ
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 

More from Saiiew

บริหารราชการไทย 6
บริหารราชการไทย 6บริหารราชการไทย 6
บริหารราชการไทย 6Saiiew
 
บริหารราชการไทย 5
บริหารราชการไทย 5บริหารราชการไทย 5
บริหารราชการไทย 5Saiiew
 
บริหารราชการไทย 4
บริหารราชการไทย 4บริหารราชการไทย 4
บริหารราชการไทย 4Saiiew
 
บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3Saiiew
 
บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2Saiiew
 
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการบทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการSaiiew
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6Saiiew
 
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการSaiiew
 
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการบทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการSaiiew
 
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณSaiiew
 
Thai Bureaucracy
Thai BureaucracyThai Bureaucracy
Thai BureaucracySaiiew
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการ
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการบทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการ
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการSaiiew
 

More from Saiiew (12)

บริหารราชการไทย 6
บริหารราชการไทย 6บริหารราชการไทย 6
บริหารราชการไทย 6
 
บริหารราชการไทย 5
บริหารราชการไทย 5บริหารราชการไทย 5
บริหารราชการไทย 5
 
บริหารราชการไทย 4
บริหารราชการไทย 4บริหารราชการไทย 4
บริหารราชการไทย 4
 
บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3บริหารราชการไทย 3
บริหารราชการไทย 3
 
บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2บริหารราชการไทย 2
บริหารราชการไทย 2
 
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการบทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
บทที่ 1 แนวคิดหลักการของการบริหารราชการ
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
ระบบต่างที่มีอิทธิพลต่อระบบราชการ
 
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการบทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
บทที่ 3 ปฏิรูประบบราชการ
 
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณวิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
วิธีการสำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ
 
Thai Bureaucracy
Thai BureaucracyThai Bureaucracy
Thai Bureaucracy
 
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการ
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการบทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการ
บทที่ 1 ความหมายของการบริหารราชการ
 

L3การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง da

  • 1. บทที่ 3 การพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ถึงแม้วาส่วนใหญ่จะเป็นที่ยอมรับว่าองค์ประกอบที่ ่ สำาคัญประการหนึ่งของการบริหารการพัฒนาคือ การมุ่งเน้นถึงการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้มีความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) เป็นหลักใหญ่ หน่วยงานบริหารใหม่ ๆ ซึ่งมักจะเรียกว่าเป็นหน่วยงาน หรือกรมซึ่งมีมีหน้าทีทำางานเพื่อสร้างชาติ(Nation-Building ่ Departments) จะถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อทำาหน้าที่พัฒนา อุตสาหกรรมของประเทศ ดำาเนินงานบริหารหน่วยงานทาง เศรษฐกิจใหม่ ๆของรัฐ ยกระดับผลผลิตทางการเกษตร พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติของประเทศ ปรับปรุงขอบข่ายงานขนส่งและ การสื่อสารคมนาคม ปฏิรประบบการศึกษาและทำาหน้าที่อื่น ๆ ู เพื่อให้บรรลุถึงซึ่งวัตถุประสงค์ของการพัฒนาที่กำาหนดไว้ ซึ่ง ต่างกับประเทศที่พัฒนาแล้วที่เห็นว่าเศรษฐกิจนั้นเป็นเพียงปัจจัย หนึ่งที่จะต้องบริหารเพื่อให้เกิดการพัฒนา1 ดร.ยูยีน แสตลลีย์ (Dr.Eugene Staley) ได้กล่าวไว้ ว่ากระบวนการพัฒนาที่ดีนั้นไม่ควรจะยำ้าหนักเฉพาะด้านเศรษฐกิจ แต่ควรให้ได้ผลดีทงทางด้านการเมืองและสังคมด้วย เขาชี้ให้ ั้ เห็นว่ามีหลายประเทศที่ได้รับความสำาเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่เป็นความสำาเร็จในวงแคบ คือ เป็นเพียงการเพิ่มความสามารถ ในการผลิตของประเทศให้สูงขึ้น แต่ในขณะเดียวกันประชาชน ส่วนใหญ่ไม่ได้รบผลผลประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจ โดย ั ยังคงมีระดับการครองชีพตำ่ากว่าอยู่เช่นเดิม และในขณะเดียวกัน กระบวนการพัฒนาดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นการส่งเสริมอุดมการณ์ ประชาธิปไตยแต่ประการใด ประชาชนยังอยู่ใต้ระบอบเผด็จการ ต่อไป การพัฒนาสังคม (Social Devalopment) 1 กมล อดุลพันธ์ ในบทที่ ٤ การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคม มหาวิทยาลัยรามคำาแหง PS 328.
  • 2. 2 ความหมาย คำาว่า “สังคม” อาจพิจารณาความหมาย ได้เป็น 2 นัย - นัยหนึ่งเป็นรูปธรรม สังคมหมายถึงคนจำานวนหนึ่งที่ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม มีความรู้สึกผูกพันว่าเป็นเหล่าเดียวกัน ดำารง ่ ชีวิตร่วมกันตามกฎเกณฑ์ระเบียบวิธีที่ส่วนรวมกำาหนดไว้เพื่อให้ กลุ่มนั้นอยู่ต่อเนื่อง มิให้แตกทำาลาย ในความหมายนี้เรามองเห็น สังคมนี้ย่อมมีแบบอย่างวิธีการดำารงชีวิตที่เป็นลักษณะร่วมกันของ กลุ่มที่ซึ่งเราเรียกว่าวัฒนธรรม และมีจำานวนคนเพิ่มขึ้นหรือลดลง ตามอัตราการเกิด การตาย อันเป็นปกติวิสัยของสิ่งมีชีวิต - อีกนัยหนึ่งเป็นนามธรรม สังคมหมายถึงระบบความ สัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่รวมกันเป็นกลุมหรือพวกเดียวกัน ระบบ ่ ความสัมพันธ์เกิดมีขึ้นเพราะการที่คนซึ่งอยู่ด้วยกันต้องมีการ ประพฤติปฏิบัติต่อกัน และการประพฤติปฏิบัติต่อกันนี้ย่อมอยู่ใน กรอบกำาหนดที่ยอมรับร่วมกันอยู่ว่า ผูที่จะมีการกระทำาต่อกันนั้น ้ ฝ่ายใดจะมีสิทธิและหน้าทีให้ทำาอย่างไรได้มากน้อยเพียงใด หาก ่ กระทำาเกินขอบเขตของกรอบกำาหนดที่ส่วนรวมวางไว้นี้ ก็จะเกิด ปัญหาขัดแย้งจากการล่วงละเมิดสิทธิและหน้าทีที่มีต่อหัน และ ่ ถ้าหากไม่สามารถปรับการจัดแย้งนีให้ราบรื่นไปได้ ความสัมพันธ์ ้ ทีมีต่อกันก็อาจสิ้นสุดได้ การพัฒนาสังคม หรือ การทำาให้สังคมเปลียนแปลงไปในทางที่พึง ่ ปรารถนานั้น หากสังคมจะพัฒนา ความปรารถนาของคนทั้งสังคม คือความปรารถนาทีสำาคัญที่สุด แต่ตามปกติแล้วความปรารถนา ่ ของคนตรงกันได้ยาก และความปรารถนาของบุคคลบางคนหรือ บางกลุ่มหากมีอำานาจหรือความสามารถที่จะทำาให้ความปรารถนา นั้นสัมฤทธิ์ผลได้ คือความปรารถนาที่มีความสำาคัญที่สุดถึงแม้ว่า ผู้อื่นจะปรารถนาเป็นอย่างอื่นก็ตาม การพัฒนาสังคมเป็นการทำาให้ความขัดแย้งที่อาจมีอยู่ ในระบบความสัมพันธ์ของบุคคลในสังคมลดน้อยลงจนหมดไท หรือเป็นการทำาให้ระบบความสัมพันธ์นั้นราบรื่นมีความกลมกลืนกัน มากกว่าที่เป็นอยู่เดิม
  • 3. 3 ก่อนที่ประเทศจะมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงทางด้าน วัตถุให้ก้าวหน้าได้อย่างแท้จริงนั้น จะต้องมีการพัฒนาทางสังคม ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจิตใจและแบบแผนพฤติกรรมตลอดจน ความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมนั้นเสียก่อน ปัญหาทางด้าน สังคมในประเทศด้อยพัฒนาที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทางเศรษฐกิจ มีหลายประการ เช่น ขนบธรรมเนียมประเพณีและสถาบันทีล้า ่ สมัย ระดับการศึกษาของประชาชนที่ยังตำ่าอยู่ การขาดความรู้ ความชำานาญทางเทคนิคเกี่ยวกับอุตสาหกรรม ระบบการยึดถือ ครอบครองที่ดินทีล้าสมัย ตลอดจนชีวิตทางเศรษฐกิจที่ผูกพัน ่ อย่างแน่นแฟ้นกับระบบครอบครัวเผ่าพันธุ์วงศ์ตระกูล หรือกลุ่ม และชุมชนของตนมากเกินไป เป็นต้น ลักษณะสังคมที่พัฒนาแล้ว ในสังคมที่พฒนาเต็มทีแล้ว จะเห็นคนมีคุณค่าเหมือน ั ่ กันเท่ากัน คือ มีฐานะเป็นมนุษย์เหมือนกัน ไม่มีความรังเกียจใน เรื่องชาติ ชั้น วรรณะ กล่าวคือ เป็นไปตามคติว่า “เหนือชาติอื่น ใดคือมนุษยชาติ” แต่ในด้านของแต่ละคนแล้ว ทุกคนจะมี เสรีภาพมาก กล่าวคือ จะไม่ถูกคนหรือสังคมอื่นกีดกัน มีอิสระที่ จะเลือกงาน ทีอยู่ คู่ครอง ศาสนา เพื่อน พรรคการเมือง ฯลฯ ่ ที่ตนนิยมชมชอบ จะเห็นว่าในสังคมที่พฒนาแล้ว คนจะไม่ยุ่ง ั เกี่ยวในเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น ๆ เมื่อพบปะกันตามท้องถนนก็ไม่มี การโอภาปราศรัย ภาวะนี้เป็นสิ่งจำาเป็นที่จะรักษาอิสรภาพของ แต่ละคนในชุมชนหนาแน่นไว้ แต่ถ้ามีเหตุร้ายภยันตราย สาธารณะเกิดขึ้น เช่น นำ้าท่วม ไฟไหม้ คนเหล่านั้นก็จะหันหน้า เข้าหากัน ร่วมมือกันช่วยกันปัดเป่าภัยดังกล่าว เพราะถือว่า เป็นการช่วยเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ลักษณะสังคมที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of Devalopment) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (Pseudomorphic Devalopment) - สังคมที่ยงไม่พัฒนาจะมีลักษณะสังคมที่ตัดตอนกัน ั คือ ถือว่าคนในหมู่พวกของตนเป็นพวกเดียวกัน ต่างพวกเป็นศัตรู นอกจากนั้นมีการแบ่งคนออกตามชาติ ชั้น วรรณะของบุคคลขึ้น ทำาให้เกิดความแตกแยกเป็นหมู่เหล่า เมื่อสังคมมีลักษณะตัดตอน กัน แต่ละคนจึงถูกจำากัดขอบเขตการติดต่อซึ่งกันและกัน จึงต้อง
  • 4. 4 มีการกำาหนดวิธีปฏิบัติต่อกันอย่างเพื่อนฝูง อย่างคนแก่กับเด็ก ชายกับหญิง ข้ากับเจ้า เป็นต้น - สังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝงซึ่งได้รับ อิทธิพลของการพัฒนาจากสังคมอื่นมาใช้ในด้านสังคม โดยส่วน รวมอาจจะมีหลักการยอมรับนับถือความสามารถของบุคคลเป็น กุญแจของความสำาเร็จที่จะเคลื่อนไหวเลื่อนฐานะในสังคมได้ แต่ ความเป็นจริงแล้วเป็นไปได้ยาก เช่น สถาบันการศึกษา ไม่ เพียงพอที่จะเปิดโอกาสให้แก่ทุกคน และแม้ตจะได้รบการศึกษา ั มาดีแล้วหรือเป็นผู้มีความสามารถดี ก็จะไม่ได้รบเข้าทำางานใน ั ตำาแหน่งสำาคัญ ๆ หากไม่ใช่พรรคพวกของตนในชั้นผู้นำา ฉะนัน ้ ตามความเป็นจริงแล้วการเคลื่อนไหวทางสังคมยังเป็นคำาขวัญอยู่ ลักษณะการพัฒนาทางสังคม 1. วัตถุประสงค์ของการพัฒนาสังคมของ องค์การสหประชาชาติ คือการนำามาซึ่งการดำารงชีวิตที่ดีขึ้น สำาหรับประชาชนทุกคน เพราะเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนาก็ คือประชาชน แต่ประชาชนไม่ควรจะเป็นเพียงผู้รับผลของการ พัฒนาแต่ฝ่ายเดียว ประชาชนเองจะต้องมีส่วนร่วมในการพัฒนา สังคมด้วย การพัฒนาอย่างสมบูรณ์จะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าปราศจาก การเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชน ดังนั้น การให้การศึกษาเพื่อ การพัฒนาจึงต้องมุ่งไปที่การช่วยให้ประชาชนได้เข้าใจเหตุและ ผลของปัญหาที่เกิดแก่ตัวเขาเอง ปลุกให้รู้สึกว่าเขาเป็นมนุษย์คน หนึ่งซึ่งมีสิทธิและเสรีภาพ มีอำานาจในการเรียกร้องความยุติธรรม จากสังคมได้ ซึงรากฐานของความยุติธรรมทางสังคมอันเป็นเป้า ่ หมายสุดท้ายอันหนึ่งของการพัฒนาทางสังคม คือสิทธิมนุษยชน อันได้แก่ สิทธิในด้านชีวิต ทรัพย์สิน ความมั่นคงและความ ปลอดภัยอิสระและการสื่อสารงาน การเลือกงานอย่างมีเสรี 2. การศึกษาจะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสังคม อย่างมาก โดยช่วยให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชนสูงขึ้น มีความเป็นอยู่และมีวฒนธรรมอันสูง การศึกษาช่วยปรุงแต่ง ั รักษา แก้ไข และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันดีงามจากชั่วคนหนึ่งไป ยังอีกชั่วคนหนึ่ง
  • 5. 5 3. ในการพัฒนาสังคม จะมีปัญหาสังคมใน เมืองและสังคมชนบทซึ่งรัฐจะต้องแก้ไขให้มีสภาพที่ดีกว่าเดิม ปัญหาสังคมในเมืองมีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกว่า ชนบท เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรและการผังเมืองที่ ไม่ถูกต้อง ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ปัญหาการจราจร ปัญหา การคมนาคม ปัญหาที่อยู่อาศัย ปัญหาอาชีพ ปัญหาการครอง ชีพ ปัญหาการศึกษา ปัญหาอาญากรรม ส่วนปัญหาสังคมในชนบทนั้น ทีสำาคัญอันเป็น ่ อุปสรรคต่อความเจริญของประเทศและจำาเป็นต้องแก้ไขโดยรีบ ด่วนมีอยู่ 5 ประการ คือ ปัญหาทางด้านการเมืองและการ ปกครอง ปัญหาด้านการศึกษา ปัญหาด้านอนามัย ปัญหาด้าน เศรษฐกิจ และปัญหาในด้านอื่น ๆ เกี่ยวกับสังคม ซึ่งจะต้องนำา เอาพัฒนาชุมชนมาใช้แก้ปัญหาในชนบทดังกล่าว โดยมีจุดมุ่งไป สู่ตัวประชาชนเพื่อพัฒนาตัวบุคคลโดยวิธีส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล ไปสู่ชนบท และเข้าร่วมสัมพันธ์คลุกคลีใกล้ชิดกับประชระชาชน โดยต้องการที่จะสร้างทัศนะหรือแนวนำาทางที่ถูกต้องให้ประชาชน ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติในการปรับปรุงวิถีชีวิตของตนเองและของ ชุมชนให้ก้าวหน้า วัตถุประสงค์ของการพัฒนาชุมชนต้องการจะ ให้ประชาชนรู้จักใช้ความคิดริเริ่มเอง หากไม่มีความคิดริเริ่มก็ต้อง ใช้วิธีการยั่วยุ เร่งเร้า ส่งเสริมให้เกิดความคิด หรือยอมรับเอา แนวความใหม่ ๆ ที่สมควรจะต้องเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวิธีการดำารง ชีวิตและการประกอบอาชีพแบบเดิม การพัฒนาทางการเมือง ความหมาย เฮาเวิด ริกกินส์ (Howard Wriggins) ได้ให้ความหมายของการพัฒนาทางการเมืองเอาไว้ว่า เป็นความ เจริญก้าวหน้าของสถาบันและวิธีดำาเนินการทางการเมือง ซึ่งช่วย ให้ระบบการเมืองได้จัดการกับบรรดาปัญหาพื้นฐานทาการเมืองได้ อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นในระยะสั้น ในขณะเดียวกันก็ปฏิบัติ อย่างมีความรับผิดชอบมากขึ้นต่อความต้องการของประชาชนใน ระยะเวลายาวนานข้างหน้า ลักษณะทางการเมืองที่พัฒนาแล้ว การเมืองที่พัฒนาแล้ว ฝ่ายมีอำานาจทางการเมืองซึ่ง ไม่วาจะได้อำานาจมาโดยความยินยอมพร้อมใจของประชาชนหรือ ่
  • 6. 6 ไม่ก็ตาม จะต้องมีความรับผิดชอบ (Responsibal) และสนอง ตอบ (Responsive) ต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่มีไว้แต่กฎหมายระเบียบแบบแผนว่าจะสนองตอบ แต่โดย แท้ที่จริงแล้วไม่ได้ทำาหรือทำาไม่ได้ ในด้านของประชาชนแต่ละ คนนั้นก็จะมีฐานะพลเมือง คือ เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียใน กระบวนการทางการเมืองของประเทศ ซึ่งผู้ปกครองประเทศจะ ต้องเหลียวแลและรับผิดชอบต่อ ไม่ใช่ฐานะเป็นไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดิน (Subject) ลักษณะการเมืองที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of Devalopment) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (Pseudomorphic Devalopment) การเมืองที่ยังไม่พัฒนาไม่มีสถาบันการปกครองที่รับ ผิดชอบต่อประชาชนแต่จะมีในรูปของสถาบันอันศักดิ์สิทธิ์ โดย อาจใช้ศาสนามาเป็นเครื่องคำ้าจุนราชบัลลังก์ คือ กษัตริย์เป็น สมมติเทวราช ทางด้านประชาชนก็มีลักษณะเป็นไพร่ฟ้า ข้าแผ่นดินที่ทำาตามคำาสั่งกษัตริย์ ไม่ใช้ทำาตามเพราะถือว่าเป็น กฎหมายแต่ทำาเพราะเคารพนับถือ ลักษณะการพัฒนาทางการเมือง ในการพัฒนาทางการเมือง มีลักษณะที่นำามาพิจารณา ได้ดังนี้ 1. ความสนใจของประชาชนและการเข้าร่วมใน กระบวนการทางการเมือง (Political Socialization and recruitment) ในประเทศกำาลังพัฒนานั้น ประชาชนไม่ค่อย เข้าใจถึงคุณค่าของการเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของ ประเทศ จึงไม่ค่อยสนใจและไม่ค่อยเข้าร่วม ซึ่งถ้าประชาชนเจ้า ใจถึงคุณค่าก็ย่อมอยากจะเข้ามามีส่วนร่วม เช่น อาจจะสนใจลง คะแนนเสียงถ้ารูว่าผูที่ตนเลือกเข้าไปจะใช้อำานาจแทนและรักษา ้ ้ ประโยชน์แทน ไม่ให้ถูกรบกวนหรือทำาลายโดยฝ่ายผู้ใช้บงคับ ั กฎหมาย แต่ความสนใจมีน้อยถ้าชนชั้นปกครองเห็นแก่ตัวและ สกัดกั้นไม่ให้ประชาชนส่วนใหญ่เข้าร่วมในกระบวนการทางการ เมือง เช่น งดเลือกตั้งหรือห้ามตั้งพรรคการเมือง ทังนีทัศนคติ ้ ้ ดั้งเดิมของประชาชนเองก็มีส่วนเป็นอุปสรรค แต่ทงนี้คนรุ่นใหม่ที่ ั้
  • 7. 7 ได้รับการศึกษาซึ่งเป็นกลุ่มปัญญาชน (Intellectual) และถือว่า ตนควรมีสิทธิ์เข้าร่วมในการเมืองของประเทศ เพิ่มจำานวนมากขึ้น ด้วยเหตุผลของการศึกษา ทำาให้มีการเรียกร้องและขยายตัวใน การของให้สทธิ์ทางการเมืองมากขึ้น ิ 2. กลุ่มผลประโยชน์ (Interest Group) ในทางการ เมือง และในประเทศกำาลังพัฒนา ไม่มีกลุ่มผลประโยชน์เข้มแข็ง พอที่จะบีบให้ชนชั้นปกครองยอมรับและรักษาผลประโยชน์ของ ตนเอง เพราะไม่ได้รวมตัวเป็นสมาคมใหญ่มจำานวนมากพอที่จะ ี สามารถทำาให้เสียงเรียกร้องมีนำ้าหนักพอที่ฝ่ายปกครองจะต้องฟัง การที่ประเทศไม่มีกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจใหญ่ มากพอที่จะสนใจเข้าร่วมในกระบวนการทางการเมืองของประเทศ มีผลทำาให้กลุมบุคคล ทีมีผลประโยชน์ร่วมกันเพราะอยู่ในสถาบัน ่ ่ เดียวกัน เช่น คณะทหารและข้าราชการ (Army and Bureaucracy) หรือกลุ่มอิทธิพลทางศาสนา เข้ามามีบทบาทคุม อำานาจทางการเมืองได้ง่าย ทหารเข้ามาคุมอำานาจโดยอ้างว่าเพื่อ รักษาความสงบเรียบร้อย และความมั่นคงของประเทศซึ่งนานไป อาจกลายเป็นการรักษาประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง 3. การรวมกลุ่มผลประโยชน์ (Interest Aggregation) หรือพรรคการเมือง ในประเทศกำาลังพัฒนา ไม่มี พรรคการเมืองซึ่งเป็นที่รวมของกลุ่มผลประโยชน์ที่ต้องการหา ทางร่วมรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ของพวกตน และต่าง แข่งขันกันเพื่อแสวงหาอำานาจทางการเมืองมักมีสมาชิกจำากัด และพรรคการเมืองถูกตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือของชนชั้นนำาของ พรรค เพื่อเป็นบันไดไปสู่อำานาจทางการเมือง คนสำาคัญ ๆ ที่ เปลียนแปลงระบบเก่ามาเป็นระบบใหม่มักจะมาแยกกันตั้ง ่ พรรคการเมืองเพื่อแข่งขันกันเข้ามามีอำานาจทางการเมือง ไม่ได้ นำาเอาประโยชน์ของสมาชิกของพรรคที่เป็นประชาชนมากำาหนด เป็นแนวนโยบายของพรรค เมื่อมีพรรคการเมืองมากจนไม่มีพรรคมีอิทธิพลพอที่จะ ชนะเลือกตั้งได้เด็ดขาดก็ทำาให้ไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง รัฐบาลต้องเป็นรัฐบาลผสมมีการเปลียนรัฐบาลบ่อย ๆ ด้วยสาเหตุ ่ จากนักการเมืองในพรรคต่าง ๆ ทำาให้ประเทศขาดความสามัคคี และความมันคง เปิดโอกาสให้คณะทหารอ้างความจำาเป็นเข้ามา ่ จัดระบบทางการเมือง
  • 8. 8 4. การใช้อำานาจในการปกครองประเทศ (The Authoritative Functions) ประเทศกำาลังพัฒนาลอกแบบการจัด สถาบันปกครองประเทศมาจากยุโรปและอเมริกา โดยแยกอำานาจ ปกครองออกเป็นฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่ สถาบันเหล่านั้นไม่ได้ทำาหน้าที่กำาหนด เช่น รัฐสภาไม่ใคร่ทราบ ถึงหน้าที่ของตนเองและยอมเป็นเครื่องมือของฝ่ายบริหาร ฝ่าย บริหารมีความโน้มเอียงที่จะเข้าควบคุมฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ นอกจากนี้ยังมีความโน้มเอียงที่จะรวมอำานาจไว้ที่ส่วนกลาง แทนที่จะกระจายอำานาจไปสู่ภูมิภาค และให้ประชาชนในท้องถิ่น มีการปกครองตนเอง ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการใช้ อำานาจปกครอง ซึ่งแนวทางที่จะพัฒนาควรจะยึดแบบประเทศ ประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ซึ่งถือเอาการปกครองตนเองของ ท้องถิ่นเป็นการวางรากฐานของระบอบประชาธิปไตยเพราะ ประชาชนมีส่วนได้ส่วนเสียเป็นอันดับแรกและโดยตรงต่อความ เจริญของท้องถิ่นตน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Economic Development) ความหมาย ในประเทศที่ประชาชนมีมาตรฐานการ ครองชีพ (Standard of Living) ตำ่า การพัฒนาเศรษฐกิจหมาย ถึง การพัฒนาสถานภาพ (Status)ของประเทศ โดยทั่วไปแล้ว หมายถึงการทำาให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นดีขึ้นกว่าเดิม และยังหมายถึงการเพิ่มผลผลิตโดยใช้วิธีที่ดีกว่าเดิมในการผลิต และกระจายสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาเพียงด้านเดียวของสังคมโดยส่วนรวมทั้งหมด อัน ประกอบได้แก่ การเมือง สังคม วัฒนธรรมและอื่น ๆ ลักษณะทางเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ในสังคมทีมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว ประชาชน ่ ทัวไปในสังคมนั้น ๆ สามารถวินิจฉัยปัญหาทางเศรษฐกิจไปตาม ่ หลักเหตุผลทางเศรษฐกิจอย่างเดียว โดยไม่ต้องกังวลถึงปัจจัย ทางการเมือง ศาสนา มิตรภาพ ฯลฯ และในส่วนของแต่ละ บุคคลนั้นทุกคนก็มีนำ้าใจ (Spirit) เป็นผู้ประกอบการ ทังนี้คือทำา ้ อะไรก็พิจารณาว่าตนจะได้กำาไรขาดทุนเพียงใด ตัวอย่างที่เห็น
  • 9. 9 ได้ชัดจากสังคมแบบนี้คือ ราคาสินค้าในตลาดก็เป็นไปตามหลัก อุปสงค์อุปทาน2 แท้ ไม่ใช่แพงเพราะต้องเสียเบี้ยบ้ายรายทางให้ ผู้มีอำานาจ การกำาหนดราคาสินคาเป็นไปตามกฎเกณฑ์ทาง เศรษฐกิจแท้ ส่วนทางด้านบุคคลนั้นเมื่อก้าวเท้าไปซื้อของหรือ บริการใด ๆ ทีไหน ๆ ก็คิดว่า ตนจะต้องซื้อตามราคาที่กำาหนดไว้ ่ จะหวังว่าผู้ขายจะลดราคาให้เพราะเป็นเพื่อนกับลูกสาวหาได้ไม่ ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา (Lack Of Devalopment) และสังคมกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง (Pseudomorphic Devalopment) 1. เศรษฐกิจที่ยังไม่พัฒนา ไม่มีตลาดนั้น บุคคล ส่วนใหญ่แลกเปลี่ยนสิ่งของซึ่งกันและกัน ต่างตอบแทนกัน เช่น วันนี้ช่วยเขาทำานา พรุงนี้เขาช่วยเรา แต่ละคนมีความรู้สึกผู้พัก ่ ต่อกัน มีการแบ่งสู่กันกิน ٢. เศรษฐกิจกึ่งพัฒนาในรูปพัฒนาเทียมแฝง จะมี สภาพอยู่กึ่งกลางระหว่างการถือหลักเหตุผลและหลักปฏิบัติ ตอบแทน คือโดยส่วนรวมประชาชนจะคิดจากแง่เศรษฐศาสตร์แม้ ๆ อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องคำานึงถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น แทนที่จะแสวงหาความรำ่ารวยด้วยวิธีลงทุนทำาการค้าตามแบบ สังคมที่พัฒนาแล้ว กลับเป็นว่าถ้าทำาการค้าขาย อาจถูกอิทธิพล มือ ฉะนั้น ถ้าหวังรวยอาจใช้เงินไปซื้อเสียงหาตำาแหน่งทางการ เมืองเสียก่อนเมื่อมีตำาแหน่งแล้วจึงกอบโกยภายหลังจะรวยเร็วกว่า สภาพตลาดที่แท้จริงจึงยังไม่เกิดขึ้น ٣. ลักษณะปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศด้อย พัฒนาโดยทัวไป ได้แก่ ่ ٣.١. ทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิต มักจะถูกมอง ว่าขาดแคลนอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่นมีทุนน้อย ความรู้ทางเทคโนโลยีลาหลัง ขาดผู้ประกอบการ หรือ ้ ทรัพยากรธรรมชาติไม่อำานวยและมักจะมีนโยบายจัดหาเพิ่มเติม ปัจจัยการผลิตที่ขาด เช่น เพิ่มการออกและการลงทุน 2 อุปสงค์ (demand) หมายถึงปริมาณสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการซื้อ อุปทาน (supply) หมาย ถึงปริมาณสินค้าที่มีการเสนอขายแก่ผู้บริโภคที่เวลาหนึ่ง
  • 10. 10 แต่ความจริงแล้วยังมีทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตที่ อาจนำาไปใช้ในการพัฒนาได้อีกเป็นจำานวนมาก แต่งยังถูกใช้ไม่ เต็มที่หรือถูกใช้ไปในทางไม่เกิดผลประโยชน์แก่เศรษฐกิจแท้จริง ٣.٢. ไม่ได้ใช้การออก (Save) ให้เกิด ประโยชน์เต็มที่ เช่น ออกเก็บไว้เฉย ๆ (Hoarding) และยัง สามารถเพิ่มการออมได้อีกมาก เช่น การจัดงานพิธีรีตองอย่าง หรูหราสิ้นเปลืองและการใช้จ่ายเงินเพื่อโอ้อวดหรือการบริหารโภค เอาอย่าง (Conspicious Consumption) ซึ่งการใช้จ่ายเงินเพื่อ โอ้อวดหรือการบริโภค (Consumption) เหล่านี้สามารถลดลงได้ อีกมาก ٣.٣. ความเทคนิคซึ่งเป็นปัจจัยการผลิตที่สำาคัญ ซึ่งยังขาดอยู่ ประเทศด้อยพัฒนาหรือกำาลังพัฒนาสามารถและนำา เอาความรู้ทางเทคนิคที่ผ่านการทดลองและใช้ในประเทศพัฒนา แล้วมาใช้ประโยชน์ได้ แนวทางการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ปัญหาของการพัฒนาเศรษฐกิจอยู่ทว่าทำาอย่างไรจึง ี่ จะนำาเอาปัจจัยการผลิตหรือทรัพยากรที่มีอยู่แต่ยังกระจัดกระจาย ยังไม่ถูกใช้ หรือใช้ผิด ๆ มาประกอบกันและใช้ให้เป็นประโยชน์ อย่างเต็มที่ สิ่งที่ขาดคือการตัดสินใจนำาทรัพยากรที่มีอยู่แล้วมา ใช้ในการพัฒนา ดังนั้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็คือ ١. ต้องหาสิ่งที่จะช่วยผลักดัน (Pressures) และ ชักนำา (Indument) ให้มีการระดมทรัพยากร และปัจจัยการผลิตที่ มีอยู่แล้วมาใช้ให้เป็นประโยชน์แก่การพัฒนามากที่สุด ٢. ต้องมีความสามารถในการตัดสินใจที่จะพัฒนา จะ ต้องสร้างบรรยากาศทางจิตใจให้เหมาะสม คือต้องเข้าใจว่าผล ประโยชน์ส่วนตัวอาจสอดคล้องกับผลประโยชนส่วนรวมได้ เมื่อเป็นดังนี้การตัดสินใจพัฒนา คือความสามารถที่จะ รวบรวมทรัพยากรที่มีอยู่มาใช้พัฒนาประเทศอย่างจริงจัง และ เต็มที่จะค่อยเกิดขึ้นเอง มิฉะนั้นจะมีการคิดหนักไปทางด้านใด ด้านหนึ่งเพียง ٢ อย่าง คือ ٢.١ การเปลียนแปลงแบบคำานึงถึงส่วนรวม (Group- ่ focused image of change) คือ เห็นว่าฐานะเศรษฐกิจของคนจะ
  • 11. 11 ดีขึ้นก็โดยทำาให้ผู้อื่นเสียเปรียบ ดังนั้น จึงเห็นว่าการ เปลียนแปลงทางเศรษฐกิจไม่พึงปรารถนา เว้นแต่สมาชิกใน ่ สังคมจะได้ประโยชน์ทวกัน ั่ ٢.٢ การเปลียนแปลงแบบคำานึงถึงส่วนตัว (Ego- ่ focused image of change) เห็นว่าจะให้สมาชิกของสังคม ก้าวหน้าไปพร้อมๆ กันนั้นสุดวิสัย ดังนั้นจึงนึกถึงแต่ตนเอง แยก ตัวเองจากส่วนรวมและมุ่งประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง เมื่อมีการพัฒนาทังสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ ้ ไปพร้อม ๆกะน กล่าวคือในทางสังคมจะมีความเสมอภาคเท่า เทียมกันจริง เปิดโอกาสให้คนได้เลื่อนฐานะในสังคมด้วยการ ศึกษา ด้วยการประกอบอาชีพสุจริต การรับบุคคลเข้าทำางานเป็น ไปตามระบบคุณวุฒิ (Merit System) อย่างแท้จริง มิใช่เอามาแต่ เพียงรูปแบบ ให้การศึกษาระดับพื้นฐานและระดับที่สูงขึ้นไปอย่าง ทัวถึง ซึ่งจะช่วยให้สังคมประกอบด้วยคนที่มทัศนคติที่ถูกต้อง ่ ี นอกจากนี้ยังมีความเข้าใจถึงสิทธิทางการเมืองและใช้อย่างมี ประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสงวนรักษาสิทธิ์ทางการเมืองดังกล่าวไว้มิ ให้ถูกทำาลายไป ในทางเศรษฐกิจเมื่อมีการศึกษาก็จะช่วยให้การ ประกอบอาชีพได้ผลตอบแทนสูงเป็นเงาตามตัว เมื่อเศรษฐกิจ แต่ละบุคคลดีเศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศก็จะดีตามไปด้วย เอกสารอ้างอิง
  • 12. 12 กวี รักษ์ชน และคณะ.(٢٥٣٩). การบริหารการพัฒนา (PS 328). พิมพ์ครั้งที่ ٩.กรุงเทพฯ:สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัย รามคำาแหง. สื่อออนไลน์เข้าถึงได้จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ (٢٥ กรกฎาคม ٢٥٥١)