SlideShare a Scribd company logo
1 of 28
Download to read offline
เมืองหางโจว (杭州)
ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัถนาสิ่งแวดล้อม
จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง
shanghaihighlights.com/hangzhou-tour
1
เมืองหางโจว (杭州)
ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
จุฑามาศ พูลสวัสดิ์
บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบํารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
รูปเล่ม ณัฐธิดา เย็นบํารุง
ปีที่เผยแพร่ เมษายน 2562
เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้สนับสนุน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
2
สารบัญ
เรื่อง หน้า
ภูมิหลังความรุ่งเรือง..............................................................................................................................4
ประชากรและการจ้างงาน......................................................................................................................6
การเติบโตของเศรษฐกิจเมือง................................................................................................................7
ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเมือง......................................................................................................8
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม..........................................................................................................9
การพัฒนาเมือง..............................................................................................................................10
อัจฉริยะในแบบหางโจว.......................................................................................................................13
เมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะ...................................................................................................................13
เมืองแห่งการท่องเที่ยว...................................................................................................................17
เมืองแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม....................................................................................................22
3
เมืองหางโจว (杭州)
ความก้าวหน้าบนเศรษฐกิจฐานเทคโนโลยี
เมื่อกล่าวถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ในบรรดาเมืองสําคัญซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
นอกจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้แล้ว เมืองอีกแห่งก็คือ หางโจว ดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและถูก
กล่าวถึงในฐานะเมืองสําคัญของจีนมาตลอดทุกสมัย ไม่เว้นแม้กระทั่งในปัจจุบันที่หางโจวกําลังก้าวสู่การ
เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่มีเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทันสมัยควบคู่
ไปกับการรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเมืองให้คงอยู่อย่างมั่นคง
หางโจว (杭州) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมณฑลเจ้อเจียง (浙江省) ทาง
บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน เมืองหางโจวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑล มีพื้นที่รวม 16,596
ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ําท่วมถึงริมฝั่งแม่น้ําแยงซี พื้นที่ส่วนใหญ่ล้อมรอบด้วยเทือกเขา
มีทะเลสาบซีหู (西湖) เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและทัศนียภาพที่
งดงามจึงทําให้หางโจวกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในจีนต่อเนื่องเป็นเวลาหลาย
ร้อยปี
ภาพที่ 1 แสดงแผนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่มา http://images.chinahighlights.com/allpicture/2015/04/1ec96624a9ec40cd9a18c842.jpg
4
ภาพที่ 2 แสดงแผนที่มณฑลเจ้อเจียง
ที่มา http://www.sinowaytravel.com/admin/Images/zhejiangpicture/zhejiang-map.gif
ภูมิหลังความรุ่งเรือง
หางโจว เป็นหนึ่งในหกเมืองเก่าแก่ของจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,200 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการสถาปนาการ
ปกครองระบบมณฑลขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน เมืองแห่งนี้จึงเป็นเสมือนอู่วัฒนธรรมที่รวบรวมมรดกเก่าแก่ของจีนไว้
มากมาย รวมไปถึงวัฒนธรรมเหลียงจู่ (梁祝) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “รุ่งอรุณแห่งอารยธรรม” ก็มีหลักฐานว่า
ได้ถือกําเนิดขึ้นที่หางโจวด้วยเช่นกัน ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย ได้มีการขุดคลองใหญ่ (大运河) ดังภาพที่ 3 ใน ค.ศ.
587 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวเชื่อมดินแดนทางตอนเหนือและใต้ของจีนเข้า
ด้วยกัน การขุดคลองซึ่งใช้เวลานานกว่า 30 ปี ใช้แรงงานกว่า 6 ล้านคน ทําให้เมืองปักกิ่งเชื่อมต่อกับหางโจวได้เป็น
ผลสําเร็จด้วยระยะทางของคลองที่ยาวเกือบ 2,000 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมทางน้ําแห่งใหม่นี้มีบทบาทสําคัญต่อการ
สร้างเศรษฐกิจและแลกเปลี่ยนการพัฒนาระหว่างภูมิภาค เมืองหางโจวจึงกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สําคัญในยุค
นั้น ปัจจุบัน แม้คลองใหญ่จะไม่ได้ถูกใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าแล้ว แต่ยังคงมีความสําคัญด้านการท่องเที่ยวและการ
คมนาคมภายในเมืองหางโจวอยู่
5
ภาพที่ 3 แสดงเส้นทางคลองใหญ่ (大运河) เชื่อมจากเมืองปักกิ่งไปยังเมืองหางโจว
ที่มา http://www.absolutechinatours.com/UploadFiles/ImageBase/Beijing-Hangzhou%20Grand%20Canal%207.jpg
เมืองหางโจวเจริญถึงขีดสุดเมื่อราชวงศ์ซ่งตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคเฟิงที่อยู่บริเวณลุ่มแม่
น้ําเหลืองลงมายังหางโจวเพื่อความปลอดภัยจากการกรุกรานของศัตรู และได้ตั้งราชวงศ์ซ่งใต้ขึ้น (ค.ศ.
1127-1279) การย้ายเมืองหลวงดังกล่าวส่งผลให้ชื่อของหางโจวขึ้นทําเนียบหนึ่งในเจ็ดเมืองหลวงเก่า
ของจีนร่วมกับเมืองอันหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคเฟิง หนานจิง และปักกิ่ง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง หาง
โจวยังคงมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีผ้าไหม
เป็นสินค้าหลัก กระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิง ในช่วง ค.ศ. 1860-1862 ทําให้เมืองหางโจวถูกทําลาย
จนแทบไม่เหลือร่องรอยของเมืองที่เคยสวยงามและรุ่งเรือง หางโจวจึงเริ่มซบเซาลงนับแต่นั้น อย่างไรก็ดี
แม้ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1206-1368) จะมีการยึดเอาปักกิ่งเป็นเมืองหลวง แต่ด้วยจุดเด่น
ของการเป็นเมืองใหญ่ทางใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรและมีเส้นทางคมนาคมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หางโจวจึง
ยังคงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของ
เมืองปักกิ่ง
เมื่อสิ้นสุดยุคราชวงศ์จีน เมืองหางโจวได้เดินทางเข้าสู่ยุคที่ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์
การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1978 ได้ใช้จุดแข็งด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้ง
ของเมืองหางโจวซึ่งเป็นประตูสู่แม่น้ําแยงซีเป็นหลักของการพัฒนาจนประสบความสําเร็จทําให้ปัจจุบัน
หางโจวเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน
6
ประชากรและการจ้างงาน
ใน ค.ศ. 2015 เมืองหางโจวมีประชากรจํานวน 9.018 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.66 ของ
ประชากรจีนทั้งประเทศซึ่งมีจํานวน 1,371 ล้านคน (World Bank, 2016) ทั้งนี้ หางโจวเป็นเมืองหนึ่งที่มี
จํานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางอัตราการเกิดของประเทศที่ลดลงซึ่งจีนกําลังเผชิญ โดย
ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ค.ศ. 1970 – 2010 เมืองหางโจวมีอัตราการเพิ่มจํานวนประชากร (ตามที่
อยู่ทะเบียนบ้าน) เฉลี่ยร้อยละ 4.14 ต่อปี ซึ่งใน ค.ศ. 2015 ประชากรเมืองหางโจวมีอัตราการเกิดร้อยละ
9.81 และอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5.6 คิดเป็นอัตราการเติบโตของประชากรจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.21
สูงกว่าอัตราการเพิ่มของประชากรทั้งประเทศในปีเดียวกันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 8.42 เท่า นอกจากนี้
ข้อมูลประชากรอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนให้เห็นว่าหางโจวในปัจจุบันมีความเป็นเมืองสูงขึ้น โดยใน ค.ศ.
2015 จากจํานวนประชากรทั้งหมด 9.018 ล้านคน มีผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมากถึง 6.79 ล้านคน หรือ
คิดเป็นร้อยละ 75.3 (Hangzhou Statistical Information net, 2016) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก
ค.ศ. 2008 ที่หางโจวมีประชากรในเขตเมือง 5.52 ล้านคน หรือร้อยละ 69.34 จากประชากรทั้งหมด
7.97 ล้านคน (Hangzhou.gov.cn, 2008)
แผนภาพที่ 1 แสดงจานวนประชากรเมืองหางโจว ช่วง ค.ศ. 2008 – 2015 (ล้านคน)
แผนภาพที่ 2 แสดงการเติบโตของประชากรจีนตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน
ในช่วง 40 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1970 – 2010 (ล้านคน)
7
ที่มา http://population.city/china/hangzhou
ด้านการจ้างงาน ใน ค.ศ. 2015 เมืองหางโจวมีประชากรแรงงานจํานวน 6.63 ล้านคน
เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 81,000 คน กระจายอยู่ในภาคอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 6.7 แสนคน (ร้อยละ
10.1) ขั้นทุติยภูมิ 2.72 ล้านคน (ร้อยละ 41) และขั้นตติยภูมิ 3.24 ล้านคน (ร้อยละ 48.9) โดยในปี
เดียวกันเมืองหางโจวมีอัตราการว่างงานของประชากรร้อยละ 1.74 (Hangzhou Statistical Information
net, 2016)
การเติบโตของเศรษฐกิจเมือง
แม้จะมีบทบาทในฐานะเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต ทว่า เศรษฐกิจของเมืองหาง
โจวในยุคปัจจุบันเริ่มเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่มีการเปิดประตูรับการลงทุนและการพัฒนาอย่าง
เป็นทางการใน ค.ศ. 1992 โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จนยกระดับขึ้นเป็น
เมืองฐานการผลิตและศูนย์กลางการขนส่งที่สําคัญบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน การเติบโต
ดังกล่าวสะท้อนผ่านมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของเมืองหางโจวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน
เวลาไม่ถึง 20 ปี จากใน ค.ศ. 2001 ที่มีมูลค่า 156.8 พันล้านหยวน เพิ่มมาเป็น 1.105 ล้านล้านหยวน
ใน ค.ศ. 2016 ขณะที่รายได้ประชากรต่อหัว (GDP per capita) ก็เพิ่มจาก 3,025 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น
18,282 ดอลลาร์สหรัฐด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มชะลอตัว
เศรษฐกิจเมืองหางโจวกลับมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 10.8 ใน ค.ศ. 2016 สูงกว่าการเติบโต GDP
ของประเทศที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 ในปีเดียวกัน ซึ่ง ณ ปัจจุบันหางโจวเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจใหญ่
เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ
เมื่อเจาะลึกลงในภาคอุตสาหกรรมอันเป็นส่วนสําคัญของโครงสร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจว ใน
ค.ศ. 2015 หากจําแนกตามกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมแต่ละขั้นได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจดังนี้
อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 28.796 พันล้านหยวน อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ 391.06 พันล้านหยวน และ
อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ 585.529 พันล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วน 2.9 : 38.9 : 58.2 ดังแผนภาพที่ 3
8
ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายผลผลิตใน
อุตสาหกรรมสองขั้นต้นไปสู่ผู้บริโภค เช่น บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก ได้กลายมาเป็น
ภาคส่วนที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่เมืองหางโจวมากที่สุด และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดย ค.ศ. 2015 มีสัดส่วนการเติบโตจากปีก่อนร้อยละ 3 (Hangzhou Statistical Information net, 2016)
แผนภาพที่ 3 แสดงสัดส่วนของอุตสาหกรรมจาแนกตามกระบวนการผลิต ค.ศ. 2015
อนึ่ง ปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเมืองหางโจวเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ. 2014
เป็นต้นมา คือการลงทุนของภาครัฐในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ภายใต้นโยบาย “Project Number 1” ที่มี
เป้าหมายเพื่อพัฒนาหางโจวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ในช่วงครึ่งแรกของ ค.ศ. 2015 สามารถกระตุ้น
GDP ของเมืองให้โตขึ้นได้ถึงร้อยละ 23 และปัจจุบันยังทําให้อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิที่อาศัยเทคโนโลยี
เป็นตัวขับเคลื่อน เช่น บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก กลายมาเป็นภาคส่วนที่สร้างมูลค่า
ทางเศรษฐกิจให้แก่เมืองมากที่สุด และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเมือง
ปัจจุบัน การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้กลายมาเป็นเป้าประสงค์หลัก
สําหรับทุกเมือง หางโจวก็เช่นกัน แผนพัฒนาต่างๆ ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 – 2015 ของมณฑลเจ้อเจียงและเมืองหางโจว (12th
FYPs) แผนพัฒนาเมือง
หางโจว 20 ปี ค.ศ. 2001 – 2020 รวมไปถึงแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีเกียง
(Yangtze River Delta) ต่างมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันในการมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการ
แข่งขันของเมืองหางโจวอย่างรอบด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นเมือง ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียด
ดังนี้
ที่มา Hangzhou Statistical Information net
9
การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
แนวทางการพัฒนาของเมืองหางโจวตั้งแต่ ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา ให้ความสําคัญกับหลักการ
พัฒนาใหญ่ของประเทศที่เน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงในการเติบโตและ
ขยายตลาดผู้บริโภคภายในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกที่เริ่มชะลอตัว นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่น
ของเมืองได้ชูนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่า “3 + 1” ซึ่งสามตัวแรกเน้นส่งเสริม
การผลิตสมัยใหม่ใน 3 สาขา คือ เกษตรกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture) อุตสาหกรรมสมัยใหม่
(Modern Industry) และภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Service Sector) ส่วนหนึ่งตัวหลังได้แก่การ
ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมและนวัตกรรม
อนึ่ง ธุรกิจภาคบริการนับเป็นภาคส่วนสําคัญที่รัฐบาลให้การสนับสนุน โดยมีการอนุมัติ
งบประมาณพิเศษตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 เพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาค
บริการสาขาต่างๆ ของเมือง โดยพุ่งเป้าให้ธุรกิจบริการด้านไอที (IT) และซอฟต์แวร์ บริการ
โลจิสติกส์ รวมไปถึงบริการให้คําปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญพัฒนาไปเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการหลัก
ตลอดจนยกระดับให้เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางการส่งออกบริการด้านธุรกิจแห่งใหม่โดยเฉพาะ
บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ ใน ค.ศ. 2011 รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาเมืองหางโจวให้เป็น
“ออฟฟิศของโลก” (World Office) ด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติผ่านการเร่งพัฒนาโครงสร้าง
พื้นฐาน การใช้นโยบายผ่อนคลายข้อจํากัดด้านการลงทุน ตลอดจนการประกาศนโยบายเศรษฐกิจที่มี
ลักษณะเป็นทุนนิยมมากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายสําคัญที่สุดคือการปฏิรูปให้ธุรกิจภาคบริการกลายมาเป็น
ภาคส่วนหลักของโครงสร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจว โดยกําหนดให้มีสัดส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 54 ของ
GDP เมือง สําหรับภาคส่วนที่สําคัญรองลงมาซึ่งถูกกําหนดให้นําเศรษฐกิจของเมืองได้แก่
อุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงประเภทเทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานรูปแบบใหม่ ซึ่งล้วนมีมูลค่าสูงกว่า
อุตสาหกรรมการผลิตแบบดั้งเดิม
อย่างไรก็ดี ปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้เมืองหางโจวพัฒนาสู่ความเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ทันสมัย
ได้อย่างสมบูรณ์คือ “นวัตกรรม” แผนการพัฒนาเมืองจึงไม่ละเลยที่จะเน้นพัฒนานวัตกรรมโดย
ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งด้านวิชาการ การวิจัย และอุตสาหกรรมการผลิต
ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สําคัญไม่น้อยกว่าการเป็นเมืองชั้นนําด้านเทคโนโลยีคือ การสร้างชื่อให้แก่
วัฒนธรรมหางโจว (Hangzhou Culture) และการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ฉะนั้น เป้าหมาย
หลักของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของเมืองหางโจว จึงได้แก่ การผลักดันให้หางโจวเป็นเมือง
ศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและนวัตกรรม กุญแจสําคัญของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ที่การสร้าง
กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สอดคล้องกับระบบการศึกษา และการจัดฝึกอบรมพัฒนา
ความเชี่ยวชาญและทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบน
ฐานความรู้ (Knowledge-based Economy & Society) ซึ่งตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน
ขณะที่กุญแจสําคัญสําหรับการสร้างวัฒนธรรมหางโจวให้เป็นที่รู้จักนั้นอาจใช้วิธีสอดแทรกวิถี
วัฒนธรรมผ่านสื่อประเภทต่างๆ เช่น ละคร การ์ตูน สื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่อ
10
สิ่งพิมพ์ ทั้งหมดจะช่วยให้ชื่อเสียงของเมืองเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ทั้งยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุนมาสู่เมือง
นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างผลกําไรแล้ว เมืองหางโจวยังให้ความสําคัญกับการ
จัดหาและพัฒนาบริการทางสังคมให้แก่พลเมืองด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มการลงทุนสร้างบริการทางสังคม
ที่มีคุณภาพทั้งบริการสาธารณสุข บริการสาธารณะ ไปจนถึงการดูแลความมั่นคงทางสังคมในเรื่อง
สวัสดิการและการจ้างงาน เป้าหมายหลักคือ สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนโดยการยกระดับรายได้
และมาตรฐานความเป็นอยู่ ส่งเสริมและขยายฐานธุรกิจท้องถิ่นตลอดจนตลาดผู้บริโภคของเมืองให้
เข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกัน โจทย์ซึ่งเป็นความท้าทายทางสังคมที่มาพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ
อย่างก้าวกระโดดที่รัฐต้องแก้ให้ได้คือความเหลื่อมล้ําทางรายได้ระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทใน
หางโจว และการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาพัฒนาตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่นซึ่งปัจจุบันยัง
มีสัดส่วนที่น้อยอยู่
การพัฒนาเมือง
ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งเสริมและเร่งเร้าให้หางโจวพัฒนาสู่ความเป็นเมือง
ไปในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องผลักดันตัวเองสู่การเป็น “แกนกลางของความเป็น
เมือง” (Urban Core) ทั้งในระดับมณฑลและระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม เมืองหางโจวก็ยังประสบ
ปัญหาการปรับตัวของนโยบายและการพัฒนาที่ก้าวไม่ทันต่อการเพิ่มจํานวนของประชากรและความ
ต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นานจนทําให้เกิดภาวการณ์
กระจุกตัวของประชากรที่แออัดในเขตเมือง ดังนั้น แผนการพัฒนาที่มีแนวทางยุทธศาสตร์และ
วิสัยทัศน์ชัดเจนจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการพัฒนาเมือง และด้วยเหตุดังกล่าว แผนแนวคิดเมืองหาง
โจว (The Hangzhou Concept Plan) ได้ถือกําเนิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 แม้จะเพียงให้
หลักการกว้างๆ ในการพัฒนาและมิได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่ก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อ
แผนพัฒนาเมืองหางโจวเชิงปฏิบัติแผนอื่นๆ มาจนถึงปัจจุบัน
เพื่อสร้างระบบการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ใน ค.ศ. 2008 รัฐบาลเมืองหางโจวได้เสนอโครงการ
จัดตั้ง 20 เมืองใหม่ ดังตารางที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของประชากรใน
เขตเมืองและกระจายการพัฒนาไปสู่แถบชานเมืองและชนบทให้ได้มากที่สุด ซึ่งเมืองใหม่ 10 เมือง
แรกถูกกําหนดให้ตั้งบริเวณรอบแกนกลางของเมือง (Urban Core) ส่วนอีก 10 เมืองจะกระจายอยู่
รอบนอกถัดออกมาบริเวณเขตหยูหาง (Yuhang) และเขตปกครองใกล้เคียงอื่นๆ ทั้ง 20 เมืองจะ
ได้รับการพัฒนาให้เป็นทําเลทองทางเศรษฐกิจ (Central Business Districts: CBDs) เป็นศูนย์กลาง
การคมนาคม และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งเมื่อดําเนินการเสร็จ
สมบูรณ์ แผนดังกล่าวจะนํามาซึ่งการกระจายตัวของความเจริญของเมือง อันจะช่วยลดการกระจุกตัว
ของประชากรที่เดิมอยู่ในบริเวณแกนกลางของเมืองลงไปได้ โดยคาดว่าแต่ละเมืองจะมีประชากร
เฉลี่ย 35,000 – 700,000 คน ทั้ง 20 เมืองรวมกันมีประชากรประมาณ 3.52 ล้านคนในระยะแรก
(ค.ศ. 2010) และคาดว่าจะเพิ่มถึง 9.3 ล้านคนใน ค.ศ. 2020 ด้วยเหตุนี้ 20 เมืองใหม่จึงมีบทบาท
11
สําคัญในฐานะที่อยู่อาศัยของประชากรหนึ่งในสามของเมืองหางโจว ณ ปัจจุบัน ทั้งยังเป็นความหวัง
ใหม่ของการจัดสรรที่พักอาศัยและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพไปจนถึงระบบบริการสาธารณะและ
โอกาสในชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนหางโจว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น
การจัดการที่มีความยืดหยุ่นและการกําหนดทิศทางอย่างชาญฉลาดของภาครัฐ ประกอบกับการมี
ส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมย่อมเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยควบคุมให้แผนพัฒนาก้าว
ต่อไปได้อย่างมีสมดุล
ภาพที่ 4 แสดงตัวแบบ “1 แกนกลาง 3 ศูนย์รอง และ 6 กลุ่มเมือง” ภายใต้แผนพัฒนาเมืองหางโจว
ที่มา Hangzhou Municipal Government, 2008
12
ตารางที่ 1 แสดงแผนจานวนประชากรและแนวทางการพัฒนาของ 20 เมืองใหม่ในหางโจว
ที่มา Hangzhou urban planning bureau, 2007
ภาพที่ 5 แสดงตัวแบบการพัฒนาทาเลทองทางเศรษฐกิจ (CBDs) เมืองหางโจว
ที่มา http://www.iac-kohlstrung.de/urban-planning/hangzhou-qianjiang-new-cbd/
13
อัจฉริยะในแบบหางโจว
ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีดิจิทัลที่ค่อยๆ ทวีความสําคัญต่อวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้น แนวคิดเมือง
อัจฉริยะจึงเริ่มเป็นที่สนใจในสายตารัฐบาลจีน โดยเฉพาะตั้งแต่การประชุม Shanghai Expo 2010 เป็น
ต้นมา รัฐบาลได้กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาเมืองของจีน 90 แห่งให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งหางโจวคือ
หนึ่งในเมืองที่ได้รับเลือกจากศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ หัวใจสําคัญของการพัฒนาหางโจวในทุก
วันนี้จึงอยู่ที่การก้าวสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะในด้านผู้นําเศรษฐกิจ Internet of Things (IoT) เมือง
ต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วย E – Commerce และเมืองสีเขียวที่สามารถใช้เทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อมของ
เมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะ
Hangzhou Master Plan หรือแผนพัฒนาเมืองหางโจวถือเป็นกุญแจสําคัญที่จะช่วยวางแนว
ทางการพัฒนาหางโจวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเป็นระบบ แผนนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนา
วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ของเมือง ทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน และการ
ขนส่ง ทั้งยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นของเมืองสําหรับการพัฒนาสู่อนาคตที่ปัจจุบันนโยบายของ
เมืองเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่
และนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นการขยายตัวของทุกภาคการผลิตดังที่กล่าวไปในข้างต้น
การเปลี่ยนแปลงสําคัญที่สุดประการหนึ่งคือการกําหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นเป็นการเฉพาะแยกออกจาก
เขตเมืองเก่าที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและเขตชุมชนเพื่อมุ่งพัฒนาภาคเศรษฐกิจแต่ละด้านอย่างจริงจัง
และหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงวิถีเดิมของคนเมือง โดยเขตเศรษฐกิจใหม่ที่
สําคัญมีด้วยกัน 4 เขต ได้แก่
1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี
เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหางโจว (Hangzhou Economic & Technological
Development Zone: HETDZ) ถูกจัดตั้งและได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตพัฒนาแห่งชาติใน
ค.ศ. 1993 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 105 ตารางกิโลเมตรบริเวณเขตเมืองฝั่งตะวันออก โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาสําคัญ
และเทคโนโลยี มีการแบ่งเสาหลักอุตสาหกรรมออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ เครื่องจักรและ
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชีววิทยาและเภสัชกรรม นวัตกรรมเคมี สิ่งทอและเส้นใยเคมี และการ
แปรรูปอาหาร ปัจจุบันการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้ยังให้ความสําคัญกับการมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์
รวมข้อมูลสารสนเทศ” (Information Harbor) และ “ศูนย์กลางการแพทย์แห่งใหม่” (New
Medicine Habor) ตลอดจนการปฏิรูปให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทั้งหมดจะต้องปรับ
เป็นระบบไฮเทค
2) เขตพัฒนาการส่งออก
เขตพัฒนาการส่งออกหางโจว (Hangzhou Export Processing Zone: Hangzhou EPZ)
ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2000 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการจัดการการ
14
ส่งออกและการนําเข้าที่ได้มาตรฐานอันจะช่วยอํานวยความสะดวกให้ทั้งภาคเอกชนและ
รัฐวิสาหกิจสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครบถ้วนทั้งด้านการธนาคาร ศุลกากร ไปจนถึง
ระบบขนส่งโลจิสติกส์ สําหรับอุตสาหกรรมที่เป็นภาคส่วนหลักของ EPZ ได้แก่ อุตสาหกรรม
อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยใน ค.ศ. 2012 ทั้ง
สองภาคผลิตรวมกันมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกมากถึงร้อยละ 85 ของเขต
3) เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค
เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคหางโจว (Hangzhou High-tech Industrial Development
Zone: HHTZ) ตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1991 กล่าวได้ว่าเขตดังกล่าวเป็นเสมือนแหล่งรวมองค์
ความรู้ของเมืองหางโจว ด้วยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ
มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําของประเทศ รวมไปถึงสถาบันวิจัย 19 แห่ง
และศูนย์การทดลองอีก 9 แห่ง อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักของ HHTZ คือการส่งเสริมการ
ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชีวเคมี และเภสัชกรรม ซึ่งปัจจุบัน HHTZ ได้กลายเป็น 1
ใน 11 ฐานอุตสาหกรรมระดับนานาชาติด้านซอฟต์แวร์ การออกแบบวงจรรวม (IC) ธุรกิจ
Business Process Outsourcing (BPO) และแอนิเมชั่น โดย ค.ศ. 2013 HHTZ เป็นฐาน
ที่ตั้งของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์และ BPO กว่า 1,100 แห่ง อาทิ บริษัทเทคโนโลยีซึ่งทรง
อิทธิพลระดับโลก ทั้ง Nokia Panasonic Mitsubishi IBM NTT Microsoft และ AISIN แม้แต่
Alibaba Group ธุรกิจการค้าออนไลน์ที่ใหญ่ติดอันดับต้นของโลกก็เลือกเขตเศรษฐกิจนี้เป็น
ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ ทุกวันนี้ HHTZ จึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "Silicon Valley" ของประเทศจีน
โดยใน ค.ศ. 2011 อัตราการขยายตัวของ GDP สูงถึงร้อยละ 13 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ
GDP เมืองหางโจว นอกจากนี้ การประชุม G2O ประจําปี 2016 ที่ผ่านมาซึ่งเมืองหางโจว
เป็นเจ้าภาพก็ถูกจัดขึ้นในเขต HHTZ ด้วยเช่นกัน
4) เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง
เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ.
1992 ครอบคลุมพื้นที่ 210,000 ตารางกิโลเมตร ของ 30 เมือง มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการ
เติบโตทางเศรษฐกิจแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จีน โดยกําหนดให้นครเซี่ยงไฮ้ หนานจิง และหางโจว เป็นเมืองศูนย์กลาง และใช้พื้นที่
บริเวณใกล้เคียงโดยรอบ 3 เมืองดังกล่าวเป็นฐานกําลังส่งเสริมเศรษฐกิจด้านต่างๆ อาทิ
กําลังการผลิต แรงงาน และทรัพยากร เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก สามเหลี่ยม
ปากแม่น้ําแยงซีเกียงจึงนับเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนและมีอิทธิพลต่อการค้าการ
ลงทุนทั่วประเทศจนได้รับฉายาว่าเป็น ‚สามเหลี่ยมทองคํา‛ ด้วยความได้เปรียบของที่ตั้ง
ภูมิศาสตร์ประกอบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของเมืองในพื้นที่ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้
หนางจิง และหางโจว จึงทําให้เขตพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแห่งนี้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจสําคัญ
แนวหน้าของจีน และติดอันดับ 1 ใน 6 เขตเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลกในปัจจุบัน
15
ภาพที่ 6 แสดงแผนที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง
ที่มา http://www.sowoll.com/images/Yangtze%20River%20Delta2.png
นอกจากนี้ โครงการจัดตั้ง 20 เมืองใหม่ที่รัฐบาลหางโจวริเริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 2008 ปัจจุบันเริ่มมี
ความก้าวหน้าที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเมืองใหม่หลายแห่งในเขตเศรษฐกิจใหม่ได้รับการ
ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์การเป็น
เมืองอัจฉริยะของหางโจว บรรดาเมืองใหม่ที่สําคัญ มีดังนี้
1) เขตฟู่หยาง เขตการพัฒนาศูนย์กลางผลิตยาครบวงจร
เขตฟูหยาง เป็นเขตที่มีที่ตั้งอยู่ในหุบเขา อาณาเขตประมาณ 3.62 ตารางกิโลเมตร พื้นที่
ดังกล่าวถูกกําหนดให้เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมด้านยาแบบครบวงจร เป็นศูนย์รวมของบริษัท
ยาซึ่งทําหน้าที่วิจัยผลิตยาตัวใหม่ ตลอดจนผลิตส่วนผสมยาเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
นอกจากการเป็นศูนย์กลางผลิตและส่งออกยารักษาโลกแล้ว เขตฟู่หยางยังถูกพัฒนาให้เป็น
เมืองต้นแบบด้านสุขภาพแห่งใหม่ของจีน โดยตั้งเป้าหมายการในเป็นศูนย์กลางแห่งการประชุม
ด้านสุขภาพ พัฒนาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและระบบการรักษา รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวให้
เหมาะต่อกับการพักผ่อนและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย
2) เขตอุยกู่ เขตการพัฒนา Silicon Valley
พื้นที่อุยกู่ อยู่ทางตอนเหนือของเขตฟู่หยาง ห่างจากใจกลางเมืองหางโจวประมาณ 15 นาที
ด้วยภูมิศาสตร์ที่ดี พื้นที่ดังกล่าวจึงถูกกําหนดให้เป็น Silicon Valley ของเมืองหางโจว โดย
ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนา
ไฮเทค โดยเฉพาะด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น Alibaba Group บริษัทต่างชาติ ไปจนถึงบริษัท
start-up ด้านเทคโนโลยีอีกมากมาย ปัจจุบันเขตอุยกู่จึงเติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นที่สนใจของ
ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุน และแรงงานในตลาดงานสายเทคโนโลยี
16
3) นิคมอุตสาหกรรมถงลู่ เขตการพัฒนาอุตสาหกรรมความปลอดภัยแบบชาญฉลาด
นิคมอุตสาหกรรมถงลู่ มีพื้นที่ประมาณ 3.48 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยด้าน
อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของมณฑลเจ้อเจียง เขตพื้นที่นี้ถูกกําหนดให้เป็นศูนย์รวมของ
อุตสาหกรรมความปลอดภัยอย่างครบวงจรโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์ไฮเทค
รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นําด้านความปลอดภัยของมณฑล
เจ้อเจียงและสามเหลี่ยมแม่น้ําแยงซี ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า
หนึ่งแสนล้านหยวน นอกจากนั้น เขตถงลู่ยังถูกออกแบบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ผู้คนสามารถ
เข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนได้ไปในคราวเดียวกัน
4) เขตบินเจียง เขตการพัฒนา Internet of Things (IoT)
ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเขตไฮเทคเมืองหางโจว มีพื้นที่ประมาณ 3.66 ตารางกิโลเมตร
ศูนย์กลางการพัฒนาจะมีประมาณ 1.5 ตารางกิโลเมตร รัฐบาลหางโจววางเป้าหมายให้บินเจียง
เป็นเขตแห่งอุตสาหกรรม IoT หรือ “อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” ซึ่งหมายถึง การเชื่อมโยงทุกสิ่ง
ทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทําให้คนสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์
โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ใน
ชีวิตประจําวันต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนให้ความสําคัญกับการพัฒนา iCloud Big Data และ
ความปลอดภัยด้านข้อมูล อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ทันสมัย การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้การใช้
ชีวิตของมนุษย์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งในอนาคตคาดว่าเขตบินเจียงจะกลายเป็น
เขตพัฒนา IoT ที่สําคัญของจีนและของโลกได้
5) เขตเชียเฉิง เขตการพัฒนา E-commerce ระหว่างประเทศ
ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การดําเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การ
โฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็น
ต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
ด้วยยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนที่กําหนดให้เขตเชียเฉิงใช้จุดแข็งด้านที่ตั้งที่สามารถเชื่อมไปยัง
ต่างประเทศได้มาพัฒนา E-commerce เชื่อมระหว่างประเทศ โดยกําหนดพื้นที่เขตพัฒนา
ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ในอนาคตรัฐบาลหางโจวคาดหวังว่าเชียเฉิงจะเป็นพื้นที่การ
พัฒนาอย่างสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางของ E-commerce เป็นบทบาทใหม่ที่จะยกระดับการค้า
ระหว่างประเทศของเมืองโดยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทั้งหมดเข้ากับระบบ E-commerce อย่าง
สมบูรณ์
6) ย่านหลงอู เขตการพัฒนาชาหลงจิ่ง
เดิมทีย่านหลงอูเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของเมือง แต่ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้เป็นเขต
วัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจควบคู่ไปกับการส่งเสริม
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม เช่น การเยี่ยมชมไร่ชา เขตค้าชา สัมผัสกับวัฒนธรรมชา
17
และประเพณีต่างๆ รวมถึงกีฬากลางแจ้ง นอกจากนี้ หลงอูยังได้รับการยกระดับให้กลายเป็น
เมืองแห่งชาหลงจิ่งที่สําคัญของมณฑลเจ้อเจียงและเป็นเขตค้าขายชาหลงจิ่งที่ใหญ่ที่สุดของจีน
มีเขตอุตสาหกรรมแห่งชาครบวงจร โดยใช้วัฒนธรรมประเพณีในระดับหมู่บ้านเป็นกลไกนําการ
พัฒนา
นอกจาก 6 เมืองใหม่ข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายเขตที่น่าสนใจ เช่น เขตเจี้ยนเต๋อที่จะถูกพัฒนา
เป็นศูนย์กลางการบิน เขตเซียวซาน ศูนย์กลางด้านข้อมูล เขตถงหลู เมืองแห่งสุขภาพแบบครบวงจร
เป็นต้น การพัฒนาทั้งหมดสะท้อนถึงการปรับตัวของเมืองสู่การเติบโตอย่างชาญฉลาดด้วยการใช้ระบบ
อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีควบคู่กับการดึงต้นทุนด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาจัดการเมืองอย่าง
มีประสิทธิภาพ
1. เมืองแห่งระบบอินเตอร์เน็ตอัจฉริยะ
ด้วยหลักคิดที่ว่า “การสร้างเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ เทคโนโลยีไม่ได้เป็นคาตอบสุดท้าย แต่
สิ่งที่สาคัญกว่าคือการนาเทคโนโลยีมาทาให้ชีวิตคนง่ายขึ้นและดีขึ้น” นอกจากความ Smart ด้าน
เศรษฐกิจแล้ว ทางการจีนรวมถึงเมืองหางโจวจึงให้ความสําคัญกับการนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ใน
การอํานวยความสะดวกให้แก่คนเมืองด้วยการเปิดตัวโครงการ Internet Plus ที่ส่งเสริมการใช้ระบบ
อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้บริการด้านสาธารณะที่ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง เช่น ด้านการเดินทาง
บริการด้านสุขภาพ การศึกษา การให้บริการของระบบราชการ เป็นต้น การดําเนินงานสร้างเมือง
อัจฉริยะที่สมบูรณ์นี้อาศัยการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships -
PPP) อันได้แก่ Alibaba และอีก 13 บริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมมือกันพัฒนาระบบบริการอัจฉริยะขึ้นในเมือง
และผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรมคือ Hangzhou Resident Card บัตรเพียงใบเดียวที่อํานวยความสะดวก
ให้พลเมืองหางโจวสามารถใช้บริการต่างๆ ในเมืองได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ถอนเงินจาก ATM
เช่าจักรยาน ตรวจการเดินทางของรถเมล์ ซื้อของชํา จองร้านอาหาร เข้าใช้บริการห้องสมุดหรือยิม ไป
จนถึงการชําระภาษี บัตรดังกล่าวมีลักษณะคล้ายบัตรประชาชนที่บันทึกข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้เอาไว้
เพียงแต่เพิ่มนวัตกรรมที่ช่วยให้เจ้าของบัตรใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะกับ
ผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนในหางโจวมากถึง 21 ล้านคน ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-
Commerce) ต่างๆ ผ่านบัตรเป็นประจํา จนอาจกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบัน หางโจวกลายมาเป็นเมืองที่
สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการอินเตอร์เน็ตบนระบบมือถือได้อย่างมี
ประสิทธิภาพที่สุดเมืองหนึ่งของโลก
เมืองแห่งการท่องเที่ยว
นอกจากการเป็นเมืองชั้นนําทางเศรษฐกิจแล้ว หางโจวยังมีจุดเด่นสําคัญคือสถานที่สําคัญทาง
ประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันสวยงามที่มีมาตั้งแต่อดีตจนมาร์โค โปโล ซึ่งได้
18
เดินทางมาถึงเมืองหางโจวใน ค.ศ. 1230 ขนานนามเมืองแห่งนี้ว่าเป็น เมืองที่งดงามที่สุดในโลก
แม้กระทั่งปัจจุบัน หางโจวก็ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุดของจีนและเป็นเมืองที่มี
ทิวทัศน์ดีที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้กลายเป็นภาคส่วนที่นําเศรษฐกิจของเมือง การ
ท่องเที่ยวก็เป็นอีกส่วนสําคัญที่สร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจวด้วยเช่นกัน โดยใน ค.ศ. 2014 หางโจวมี
นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 3.26 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามามีจํานวนมากถึง
106.6 ล้านคน (HSBC, 2016) นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 2016 หางโจวได้ก้าวขึ้นมาเป็นเมืองจุดหมาย
ปลายทางอันดับที่ 9 ที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมาเยือนมากที่สุด สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญของเมือง มี
ดังนี้
 ทะเลสาบซีหู (西湖) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเมือง ใน ค.ศ. 2011 มี
การขึ้นทะเบียนโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ
(UNESCO) ให้ทะเลสาบซีหูเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยให้เหตุผลว่าเป็นการแสดงให้
เห็นถึงความสวยงามแบบจีน และมีอิทธิพลต่อการออกแบบสวนในโลกอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน
ทะเลสาบซีหูเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองทั่วไปรวมไปถึงนักท่องเที่ยว โดย
กิจกรรมซึ่งเป็นที่นิยมคือการล่องเรือชมทะเลสาบ บริเวณกลางทะเลสาบมีเจดีย์เหลยเฟิง
(白娘子永鎮雷峰塔) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‚เจดีย์นางพญางูขาว‛ ที่สวยงาม
 คลองใหญ่ (大运河) เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติในชื่อ Grand Canal มีความสําคัญในฐานะ
คลองขุดที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ยาวทั้งสิ้น 1,764 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากเมืองหาง
โจวไหลขึ้นภาคเหนือไปสิ้นสุดยังนครปักกิ่ง ในอดีต คลองใหญ่นับเป็นเส้นทางการค้าเส้น
สําคัญของภูมิภาค แม้ปัจจุบันจะมิได้ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์แล้ว แต่คลองใหญ่ได้
กลายเป็นแหล่งพักผ่อนที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือชมเส้นทางประวัติศาสตร์ของเมือง โดย
ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมาได้รับการขึ้นทะเบียนโดย UNESCO ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งของ
เมือง
 หมู่บ้านโบราณอู่เจิ้น (乌镇) เป็นหนึ่งในหมู่บ้านริมน้ําโบราณหกแห่งทางตอนใต้ของแม่น้ํา
แยงซี ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมเศรษฐกิจหางโจว ซูโจวและเซี่ยงไฮ้ เป็นหมู่บ้านที่มี
ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 71 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันยังเป็น
ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 12,000 คน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์
และวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ หมู่บ้านมีระบบการจัดการเพื่อรองรับ
การท่องเที่ยวด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ย่าน ได้แก่ ย่านการปกครองและศุลกากร ย่าน
แหล่งเรียนรู้ธรรมเนียมประเพณี ย่านที่อยู่อาศัยของชุมชนดั้งเดิม ย่านวัฒนธรรมดั้งเดิม ย่าน
จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และย่านร้านค้าของที่ระลึก
 สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ย่านเศรษฐกิจ ปัจจุบัน หางโจวมิได้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้าน
สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเท่านั้น ทว่าการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดึงดูดให้
บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนได้ทําให้มีสิ่งปลูกสร้างที่ทันสมัยเกิดขึ้นในเมืองมากมาย อีกทั้ง
19
แต่ละแห่งยังมีการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น สะท้อนอัตลักษณ์และรสนิยมของ
องค์กร จนอาคารเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว
ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวจากเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ ใน ค.ศ.
2013 คณะกรรมการการท่องเที่ยวประจําเมืองหางโจวจึงริเริ่มโครงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ
เมืองผ่านแอพลิเคชั่น Facebook เป็นครั้งแรก ภายใต้แคมเปญ “Modern Marco Polo” ซึ่งเชิญชวนให้
ชาวต่างชาติเข้าร่วมการคัดเลือกเป็นทูตการท่องเที่ยวคนแรกของเมือง โครงการดังกล่าวประสบ
ความสําเร็จ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 26,000 คน ทั้งยังทําให้เมืองหางโจวเป็นที่รู้จักในระดับ
นานาชาติมากขึ้น นอกจากนั้นทางการหางโจวยังลงทุนเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเมืองในสื่อ
ซึ่งมีอิทธิพลในยุโรป ได้แก่ การลงหน้าเต็มในนิตยสาร National Geographic Traveller โฆษณาสั้นใน
รายการ BBC World News ทางโทรทัศน์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวไปยัง
นักท่องเที่ยวยุโรป 3 ประเทศหลัก ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกําลังบริโภคสูง
นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นํา G20 ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมาซึ่งเมืองหางโจวได้รับเลือก
ให้เป็นสถานที่จัดประชุมยังส่งผลดีให้หางโจวยิ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากขึ้น
แผนภาพที่ 4 แสดงจานวนนักท่องเที่ยวของเมืองหางโจว ค.ศ. 2002 – 2008 (ล้านคน)
ที่มา http://www.chinatouronline.com/china-travel/hangzhou/hangzhou-tourism/index.html
20
ภาพที่ 7 – 8 ทะเลสาบซีหู (西湖)
ที่มา http://famouswonders.com/wp-content/uploads/2009/03/the-beautiful-tower-on-the-horizon-is-leifeng-pagoda.jpg
ภาพที่ 9 คลองใหญ่ (大运河)
ที่มา http://en.gotohz.com/whatishot/bestofhangzhou/whattosee/201307/W020130717592934507482.jpg
21
ภาพที่ 10 หมู่บ้านโบราณอู่เจิ้น (乌镇)
ภาพที่ 11 อาคารสานักงานใหญ่บริษัท Alibaba Group
ที่มา https://www.e-architect.co.uk/images/jpgs/china/alibaba_headquarters_h150611_2.jpg
22
ภาพที่ 12 อาคาร Hangzhou International Conference Center
ที่มา http://smart-lighting.es/wp-content/uploads/2015/10/Hangzhou.jpg
เมืองแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
นอกจากหางโจวจะกลายมาเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สําคัญแห่งหนึ่งของจีนแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลหาง
โจวได้เริ่มหันมาสนใจประเด็นการสร้างคุณภาพชีวิตของคนในเมือง โดยเฉพาะการปรับปรุง
สภาพแวดล้อมเมืองครั้งใหญ่ที่เคยถูกทําลายไปมากให้กลับมาสวยดังเดิม ใน ค.ศ. 2002 แผนพัฒนาห้า
ปี ฉบับที่ 9 (Ninth Five-Year Plan) หางโจวได้วางแผนแม่บทด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองด้วย
การพัฒนาทะเลสาบซีหูให้เป็นจุดชมวิวสําคัญของเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน
แผนดังกล่าวได้รับการพัฒนาร่วมกับแผนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่เน้นพัฒนาหางโจว
ให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมพร้อมไปกับการพัฒนานิเวศวิทยา ทะเลสาบและภูเขาของเมืองด้วย
ทั้งนี้ รัฐบาลเมืองหางโจวได้ทุ่มเททั้งทรัพยากรคน เทคโนโลยีต่างๆ เข้าพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมือง มี
การริเริ่มโครงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมกว่า 605 โครงการ ที่สําคัญคือการพัฒนาทะเลสาบซีหู และ
บริเวณโดยรอบให้เป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อมที่ดีในเมืองหางโจว เป็นสถานที่ให้คนในเมืองมาพักผ่อน
และคนนอกมาท่องเที่ยว ทะเลสาบซีหูได้รับการแก้ไขคุณภาพน้ําด้วยการสร้างระบบระบายน้ํารอบ
ทะเลสาบ นอกจากนี้ ยังมีการขุดลอกคลองที่ดําเนินการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1952 1976 และ 1999-2003
ตลอดจนมีการปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบทะเลสาบ จัดให้มีถนนที่กว้างเพียงพอสําหรับการเดิน การปั่น
จักรยาน รวมไปถึงการมีเจ้าหน้าที่ดูแลเก็บกวาดขยะ ดูแลความสะอาดทุกตารางเมตร เป็นต้น
ความพยายามในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองประสบความสําเร็จจนใน ค.ศ. 2001
หางโจวได้รับรางวัลกิตติมศักดิ์ในฐานะเมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม (National Environmental
Protection Model City) อีกทั้งในค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2009 หางโจวได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเป็นหนึ่ง
ในเมืองนําร่องการพัฒนาอารยธรรมนิเวศวิทยาของประเทศจีน
23
2. เมืองแห่งระบบคมนาคมอัจฉริยะ
ลําพังแค่การมีต้นไม้กับเลนจักรยานไม่ได้หมายความว่าเมืองจะกลายเป็นเมืองสีเขียวได้ในทันที
แต่การจะเป็นเมืองสีเขียวได้นั้น เมืองต้องส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปกับการลดพฤติกรรมที่
กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเดินทางขนส่งในเมืองที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
ออกมามหาศาล ซึ่งเมืองหางโจวก็ประสบและเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงพยายามหาวิถีทางในการ
สร้างระบบคมนาคมของเมืองที่ลดการปล่อยก๊าซ CO2 อย่างครอบคลุม เป็นระบบ และเน้นแก้ที่ต้นเหตุ
เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์ ซึ่งมีด้วยกัน 3 แนวทาง ดังนี้
1) การส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport ; NMT)
การเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ซึ่งก็คือการเดินและขี่จักรยาน ถือเป็นนโยบายหลัก
ด้านการคมนาคมในเมืองหางโจวที่ครอบคลุมทั้งการวางผังเมืองและผังระบบขนส่ง การ
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการออกกฎหมายข้อบังคับ เพื่อให้การเดินทางโดยไม่ใช้
เครื่องยนต์ครอบคลุมทั่วถึงทั้งเมืองและเข้าถึงได้ง่าย โดยกลไกสําคัญที่รัฐบาลหางโจวใช้
ขับเคลื่อนการเดินทางรูปแบบนี้ คือ การให้บริการจักรยานสาธารณะ
ด้วยเขตเมืองหางโจวได้เติบโตอย่างรวดเร็วและไร้ทิศทาง คนเมืองจึงหันมาใช้
รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น ทําให้ปริมาณการใช้จักรยานในเมืองลดลงจากร้อยละ 60 ใน ค.ศ.
1997 เหลือเพียงร้อยละ 33.5 ใน ค.ศ. 2007 นายกเทศมนตรีหวังกั๋วผิงจึงริเริ่มมาตรการใช้
ระบบบริการจักรยานสาธารณะใน ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นระบบบริการจักรยานสาธารณะแห่ง
แรกในประเทศจีน โดยมีจุดบริการ 61 แห่ง มีจักรยานรวมทั้งหมด 2,500 คัน เพียงมีบัตร
ประชาชนหรือแอพพลิเคชัน WeChat ก็ใช้บริการได้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเมืองหางโจวมีจุด
บริการจักรยานสาธารณะมากถึง 2,700 แห่งและให้บริการจักรยานมากกว่า 66,500 คัน
(HSBC, 2016) ตั้งอยู่ตามป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟใต้ดิน เขตที่พักอาศัย แหล่งท่องเที่ยว และ
สถาบันการศึกษา ตลอดทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการขี่จักรยานและการ
เดินทางเท้าไว้ด้วย ทุกวันนี้จักรยานได้กลายมาเป็นพาหนะหลักของคนแทนรถยนต์จนหาง
โจวถูกคาดการณ์ว่าเป็นเมืองที่มีระบบจักรยานสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
24
ภาพที่ 12 โครงข่ายเส้นทางจักรยาน (ซ้าย) และพื้นที่เดินเท้า (ขวา)
ที่มา Yu et al, 2009. อ้างใน David B. and Jian L., 2013.
2) การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ
แม้การเดินทางด้วยจักรยานและการเดินเท้าจะเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรกับ
สิ่งแวดล้อมที่สุด แต่ก็ใช้เวลามาก ทําให้เหมาะกับการเดินทางระยะสั้นเท่านั้น ระบบขนส่ง
สาธารณะจึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งต่อคนเมือง เมืองหางโจวจึงพยายามพัฒนาช่องทางการ
เดินทางของคนเมืองให้มีความหลากหลายมากที่สุด ปัจจุบันมีช่องทางการเดินทางด้วยระบบ
ขนส่งสาธารณะ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่
 รถไฟใต้ดิน ด้วยเมืองหางโจวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ําและบึง ทําให้ผืนดินไม่
แข็งแรง ยากต่อการขุดทํารถไฟใต้ดิน ทําให้เมืองหางโจวดําเนินการสร้างและเปิดใช้
บริการรถไฟใต้ดินไปได้เพียง 3 สาย คือ สาย 1 สาย 2 และสาย 4 แต่ปัจจุบันเทคโนโลยี
การขุดอุโมงค์ได้พัฒนาขึ้นมาก เมืองหางโจวจึงสามารถดําเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมได้
แล้วอีก 7 สาย ดังภาพที่ 14 ซึ่งในอนาคตจะครอบคลุมทั้งเมือง
25
ภาพที่ 14 แผนผังรถไฟใต้ดินเมืองหางโจว
ที่มา HANGZHOU Our guide to the city hosting this year's G20
 รถบัสประจาทาง เมืองหางโจวมีทั้งรถบัสปกติ รถบัสไฟฟ้า (Trolley Bus) และ BRT วิ่ง
ทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังมีรถบัสสีฟ้า (Blue EvJoy Bus) ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็น
มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทั้งสะอาด ใช้พลังงานไฟฟ้า และมีบริการไวไฟฟรีตลอดทาง ค่า
โดยสารรถบัสทุกประเภทมีราคาเพียง 2 – 3 หยวน ผู้โดยสารสามารถชําระผ่านการแตะ
บัตรหรือหยอดเงินในตู้ด้านหน้ารถได้อย่างสะดวก
 แท็กซี่ แท็กซี่เมืองหางโจวคล้ายกับกรุงเทพฯ ตรงที่หาได้ง่าย คิดค่าบริการตามมิเตอร์
แต่จะเรียกยากขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงฝนตกหรือเมื่อต้องเดินทางไกล ช่องทางหนึ่งที่
แก้ปัญหานี้ได้จึงเป็นการใช้แอพพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ โดยในเมืองหางโจวจะนิยมใช้
แอพฯ “ตีตีชูสิง (Didi Chuxing)” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการเรียกรถ
แท็กซี่หลายเจ้า ได้แก่ Tencent Alibaba Grab Lyft และ Ola ซึ่งปัจจุบันกําลังขับเคี่ยวกับ
คู่แข่งอย่าง Uber
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

More Related Content

What's hot

การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาkroobannakakok
 
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลกเซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลกFURD_RSU
 
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSmart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSarit Tiyawongsuwan
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกThamonwan Theerabunchorn
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลFURD_RSU
 
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof Airport
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof AirportAtelier Berlin - A new use for Tempelhof Airport
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof AirportAngélica Vidal
 
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคต
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคตUrbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคต
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคตFURD_RSU
 
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอดกฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอดVisanu Euarchukiati
 
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red LineSarit Tiyawongsuwan
 
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษา
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษาโครงงานเทคโนโลยีการศึกษา
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษาSornram Wicheislang
 
เถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยเถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยladyployda
 
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลยjeabjeabloei
 
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนDuangnapa Inyayot
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่ธณัชช์ภรณ์ ศิริวัชเดชากุล
 
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นพัน พัน
 
เนื้อหาโครงงาน
เนื้อหาโครงงานเนื้อหาโครงงาน
เนื้อหาโครงงานPloy Jutamas
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันmminmmind
 
ใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapkrupornpana55
 

What's hot (20)

การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนาการปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
การปกครองท้องถิ่นไทยกับการพัฒนา
 
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลกเซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
เซี่ยงไฮ้ พัฒนาการสู่เมืองระดับโลก
 
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจSmart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
Smart city กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
 
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริกตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
ตัวอย่างแผนธุรกิจน้ำพริก
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
 
TAP: Test Analysis Program
TAP: Test Analysis ProgramTAP: Test Analysis Program
TAP: Test Analysis Program
 
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof Airport
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof AirportAtelier Berlin - A new use for Tempelhof Airport
Atelier Berlin - A new use for Tempelhof Airport
 
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคต
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคตUrbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคต
Urbanization ของนครขอนแก่นในปัจจุบันและอนาคต
 
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอดกฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด
กฎเกณฑ์-คำแนะนำการอ่านหนังสือเสียงให้คนตาบอด
 
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
04 FAR, BCR, OSR, and ISR : A Case Study of Khon Kaen LRT-Red Line
 
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษา
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษาโครงงานเทคโนโลยีการศึกษา
โครงงานเทคโนโลยีการศึกษา
 
เถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อยเถ้าแก่น้อยน้อย
เถ้าแก่น้อยน้อย
 
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย1ผลการวิเคราะห์ swot   ของศูนย์คอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
1ผลการวิเคราะห์ swot ของศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
 
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียนแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
แนวทางการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน
 
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
รายงานภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว เรื่อง วัดป่าประดู่
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๗
 
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้นสรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
สรุปสาระสำคัญทฤษฎีกราฟเบื้องต้น
 
เนื้อหาโครงงาน
เนื้อหาโครงงานเนื้อหาโครงงาน
เนื้อหาโครงงาน
 
อารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมันอารยธรรมกรีก-โรมัน
อารยธรรมกรีก-โรมัน
 
ใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind mapใบงานที่ 1 mind map
ใบงานที่ 1 mind map
 

Similar to เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนการบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนFURD_RSU
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองFURD_RSU
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD_RSU
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015Klangpanya
 
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ FURD_RSU
 
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...FURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD_RSU
 

Similar to เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม (7)

การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีนการบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
การบริหารจัดการเมืองสีเขียวของจีน
 
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมืองแนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
แนวคิดธุรกิจแบบมีส่วนร่วม (Inclusive Business) กับการสร้างเศรษฐกิจเมือง
 
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
FURD Cities Monitor Vol.1 (January 2017)
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
 
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
สถานการณ์เมืองในภาคต่างๆ
 
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
สุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของคนเมือง: หลักคิด การวิเคราะห์เชิงระบบ และแนวทาง...
 
FURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORTFURD SUMMIT 2016 REPORT
FURD SUMMIT 2016 REPORT
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กFURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลFURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมFURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมFURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกFURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขFURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองFURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองFURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยFURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังFURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD_RSU
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีFURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม

  • 1. เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัถนาสิ่งแวดล้อม จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง shanghaihighlights.com/hangzhou-tour
  • 2. 1 เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม จุฑามาศ พูลสวัสดิ์ บรรณาธิการ ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบํารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร รูปเล่ม ณัฐธิดา เย็นบํารุง ปีที่เผยแพร่ เมษายน 2562 เผยแพร่โดย ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ผู้สนับสนุน สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 3. 2 สารบัญ เรื่อง หน้า ภูมิหลังความรุ่งเรือง..............................................................................................................................4 ประชากรและการจ้างงาน......................................................................................................................6 การเติบโตของเศรษฐกิจเมือง................................................................................................................7 ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเมือง......................................................................................................8 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม..........................................................................................................9 การพัฒนาเมือง..............................................................................................................................10 อัจฉริยะในแบบหางโจว.......................................................................................................................13 เมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะ...................................................................................................................13 เมืองแห่งการท่องเที่ยว...................................................................................................................17 เมืองแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม....................................................................................................22
  • 4. 3 เมืองหางโจว (杭州) ความก้าวหน้าบนเศรษฐกิจฐานเทคโนโลยี เมื่อกล่าวถึงสาธารณรัฐประชาชนจีน ในบรรดาเมืองสําคัญซึ่งเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย นอกจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้แล้ว เมืองอีกแห่งก็คือ หางโจว ดินแดนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานและถูก กล่าวถึงในฐานะเมืองสําคัญของจีนมาตลอดทุกสมัย ไม่เว้นแม้กระทั่งในปัจจุบันที่หางโจวกําลังก้าวสู่การ เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ที่มีเทคโนโลยีเป็นแรงขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างทันสมัยควบคู่ ไปกับการรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมของเมืองให้คงอยู่อย่างมั่นคง หางโจว (杭州) เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของมณฑลเจ้อเจียง (浙江省) ทาง บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน เมืองหางโจวตั้งอยู่ทางตอนเหนือของมณฑล มีพื้นที่รวม 16,596 ตารางกิโลเมตร ภูมิประเทศเป็นที่ราบน้ําท่วมถึงริมฝั่งแม่น้ําแยงซี พื้นที่ส่วนใหญ่ล้อมรอบด้วยเทือกเขา มีทะเลสาบซีหู (西湖) เป็นสัญลักษณ์ของเมือง ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่โดดเด่นและทัศนียภาพที่ งดงามจึงทําให้หางโจวกลายเป็นเมืองที่มีชื่อเสียงและเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในจีนต่อเนื่องเป็นเวลาหลาย ร้อยปี ภาพที่ 1 แสดงแผนที่สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่มา http://images.chinahighlights.com/allpicture/2015/04/1ec96624a9ec40cd9a18c842.jpg
  • 5. 4 ภาพที่ 2 แสดงแผนที่มณฑลเจ้อเจียง ที่มา http://www.sinowaytravel.com/admin/Images/zhejiangpicture/zhejiang-map.gif ภูมิหลังความรุ่งเรือง หางโจว เป็นหนึ่งในหกเมืองเก่าแก่ของจีนที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 2,200 ปี ตั้งแต่เริ่มมีการสถาปนาการ ปกครองระบบมณฑลขึ้นในสมัยราชวงศ์ฉิน เมืองแห่งนี้จึงเป็นเสมือนอู่วัฒนธรรมที่รวบรวมมรดกเก่าแก่ของจีนไว้ มากมาย รวมไปถึงวัฒนธรรมเหลียงจู่ (梁祝) ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “รุ่งอรุณแห่งอารยธรรม” ก็มีหลักฐานว่า ได้ถือกําเนิดขึ้นที่หางโจวด้วยเช่นกัน ต่อมาในสมัยราชวงศ์สุย ได้มีการขุดคลองใหญ่ (大运河) ดังภาพที่ 3 ใน ค.ศ. 587 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าและการท่องเที่ยวเชื่อมดินแดนทางตอนเหนือและใต้ของจีนเข้า ด้วยกัน การขุดคลองซึ่งใช้เวลานานกว่า 30 ปี ใช้แรงงานกว่า 6 ล้านคน ทําให้เมืองปักกิ่งเชื่อมต่อกับหางโจวได้เป็น ผลสําเร็จด้วยระยะทางของคลองที่ยาวเกือบ 2,000 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมทางน้ําแห่งใหม่นี้มีบทบาทสําคัญต่อการ สร้างเศรษฐกิจและแลกเปลี่ยนการพัฒนาระหว่างภูมิภาค เมืองหางโจวจึงกลายเป็นเมืองศูนย์กลางการค้าที่สําคัญในยุค นั้น ปัจจุบัน แม้คลองใหญ่จะไม่ได้ถูกใช้เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าแล้ว แต่ยังคงมีความสําคัญด้านการท่องเที่ยวและการ คมนาคมภายในเมืองหางโจวอยู่
  • 6. 5 ภาพที่ 3 แสดงเส้นทางคลองใหญ่ (大运河) เชื่อมจากเมืองปักกิ่งไปยังเมืองหางโจว ที่มา http://www.absolutechinatours.com/UploadFiles/ImageBase/Beijing-Hangzhou%20Grand%20Canal%207.jpg เมืองหางโจวเจริญถึงขีดสุดเมื่อราชวงศ์ซ่งตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากเมืองไคเฟิงที่อยู่บริเวณลุ่มแม่ น้ําเหลืองลงมายังหางโจวเพื่อความปลอดภัยจากการกรุกรานของศัตรู และได้ตั้งราชวงศ์ซ่งใต้ขึ้น (ค.ศ. 1127-1279) การย้ายเมืองหลวงดังกล่าวส่งผลให้ชื่อของหางโจวขึ้นทําเนียบหนึ่งในเจ็ดเมืองหลวงเก่า ของจีนร่วมกับเมืองอันหยาง ซีอาน ลั่วหยาง ไคเฟิง หนานจิง และปักกิ่ง ต่อมาในสมัยราชวงศ์หมิง หาง โจวยังคงมีฐานะเป็นเมืองศูนย์กลางการค้า มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีผ้าไหม เป็นสินค้าหลัก กระทั่งเกิดเหตุการณ์กบฏไท่ผิง ในช่วง ค.ศ. 1860-1862 ทําให้เมืองหางโจวถูกทําลาย จนแทบไม่เหลือร่องรอยของเมืองที่เคยสวยงามและรุ่งเรือง หางโจวจึงเริ่มซบเซาลงนับแต่นั้น อย่างไรก็ดี แม้ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1206-1368) จะมีการยึดเอาปักกิ่งเป็นเมืองหลวง แต่ด้วยจุดเด่น ของการเป็นเมืองใหญ่ทางใต้ที่อุดมด้วยทรัพยากรและมีเส้นทางคมนาคมที่ค่อนข้างสมบูรณ์ หางโจวจึง ยังคงมีบทบาทเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของ เมืองปักกิ่ง เมื่อสิ้นสุดยุคราชวงศ์จีน เมืองหางโจวได้เดินทางเข้าสู่ยุคที่ถูกปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์ การปฏิรูปประเทศครั้งใหญ่ของเติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งเริ่มต้นใน ค.ศ. 1978 ได้ใช้จุดแข็งด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้ง ของเมืองหางโจวซึ่งเป็นประตูสู่แม่น้ําแยงซีเป็นหลักของการพัฒนาจนประสบความสําเร็จทําให้ปัจจุบัน หางโจวเป็นเมืองใหญ่ที่มีความเจริญมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน
  • 7. 6 ประชากรและการจ้างงาน ใน ค.ศ. 2015 เมืองหางโจวมีประชากรจํานวน 9.018 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 0.66 ของ ประชากรจีนทั้งประเทศซึ่งมีจํานวน 1,371 ล้านคน (World Bank, 2016) ทั้งนี้ หางโจวเป็นเมืองหนึ่งที่มี จํานวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องท่ามกลางอัตราการเกิดของประเทศที่ลดลงซึ่งจีนกําลังเผชิญ โดย ตลอด 40 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ ค.ศ. 1970 – 2010 เมืองหางโจวมีอัตราการเพิ่มจํานวนประชากร (ตามที่ อยู่ทะเบียนบ้าน) เฉลี่ยร้อยละ 4.14 ต่อปี ซึ่งใน ค.ศ. 2015 ประชากรเมืองหางโจวมีอัตราการเกิดร้อยละ 9.81 และอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5.6 คิดเป็นอัตราการเติบโตของประชากรจากปีก่อนหน้าร้อยละ 4.21 สูงกว่าอัตราการเพิ่มของประชากรทั้งประเทศในปีเดียวกันซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ถึง 8.42 เท่า นอกจากนี้ ข้อมูลประชากรอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนให้เห็นว่าหางโจวในปัจจุบันมีความเป็นเมืองสูงขึ้น โดยใน ค.ศ. 2015 จากจํานวนประชากรทั้งหมด 9.018 ล้านคน มีผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองมากถึง 6.79 ล้านคน หรือ คิดเป็นร้อยละ 75.3 (Hangzhou Statistical Information net, 2016) ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจาก ค.ศ. 2008 ที่หางโจวมีประชากรในเขตเมือง 5.52 ล้านคน หรือร้อยละ 69.34 จากประชากรทั้งหมด 7.97 ล้านคน (Hangzhou.gov.cn, 2008) แผนภาพที่ 1 แสดงจานวนประชากรเมืองหางโจว ช่วง ค.ศ. 2008 – 2015 (ล้านคน) แผนภาพที่ 2 แสดงการเติบโตของประชากรจีนตามที่อยู่ทะเบียนบ้าน ในช่วง 40 ปี ระหว่าง ค.ศ. 1970 – 2010 (ล้านคน)
  • 8. 7 ที่มา http://population.city/china/hangzhou ด้านการจ้างงาน ใน ค.ศ. 2015 เมืองหางโจวมีประชากรแรงงานจํานวน 6.63 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนประมาณ 81,000 คน กระจายอยู่ในภาคอุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 6.7 แสนคน (ร้อยละ 10.1) ขั้นทุติยภูมิ 2.72 ล้านคน (ร้อยละ 41) และขั้นตติยภูมิ 3.24 ล้านคน (ร้อยละ 48.9) โดยในปี เดียวกันเมืองหางโจวมีอัตราการว่างงานของประชากรร้อยละ 1.74 (Hangzhou Statistical Information net, 2016) การเติบโตของเศรษฐกิจเมือง แม้จะมีบทบาทในฐานะเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีต ทว่า เศรษฐกิจของเมืองหาง โจวในยุคปัจจุบันเริ่มเติบโตอย่างก้าวกระโดดนับตั้งแต่มีการเปิดประตูรับการลงทุนและการพัฒนาอย่าง เป็นทางการใน ค.ศ. 1992 โดยเริ่มต้นจากการพัฒนาอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ จนยกระดับขึ้นเป็น เมืองฐานการผลิตและศูนย์กลางการขนส่งที่สําคัญบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออกของจีน การเติบโต ดังกล่าวสะท้อนผ่านมูลค่าของผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของเมืองหางโจวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน เวลาไม่ถึง 20 ปี จากใน ค.ศ. 2001 ที่มีมูลค่า 156.8 พันล้านหยวน เพิ่มมาเป็น 1.105 ล้านล้านหยวน ใน ค.ศ. 2016 ขณะที่รายได้ประชากรต่อหัว (GDP per capita) ก็เพิ่มจาก 3,025 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 18,282 ดอลลาร์สหรัฐด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจของประเทศที่เริ่มชะลอตัว เศรษฐกิจเมืองหางโจวกลับมีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 10.8 ใน ค.ศ. 2016 สูงกว่าการเติบโต GDP ของประเทศที่ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.7 ในปีเดียวกัน ซึ่ง ณ ปัจจุบันหางโจวเป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจใหญ่ เป็นอันดับที่ 10 ของประเทศ เมื่อเจาะลึกลงในภาคอุตสาหกรรมอันเป็นส่วนสําคัญของโครงสร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจว ใน ค.ศ. 2015 หากจําแนกตามกระบวนการผลิต อุตสาหกรรมแต่ละขั้นได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจดังนี้ อุตสาหกรรมขั้นปฐมภูมิ 28.796 พันล้านหยวน อุตสาหกรรมขั้นทุติยภูมิ 391.06 พันล้านหยวน และ อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิ 585.529 พันล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วน 2.9 : 38.9 : 58.2 ดังแผนภาพที่ 3
  • 9. 8 ตัวเลขดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิซึ่งเป็นการเคลื่อนย้ายผลผลิตใน อุตสาหกรรมสองขั้นต้นไปสู่ผู้บริโภค เช่น บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก ได้กลายมาเป็น ภาคส่วนที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่เมืองหางโจวมากที่สุด และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ค.ศ. 2015 มีสัดส่วนการเติบโตจากปีก่อนร้อยละ 3 (Hangzhou Statistical Information net, 2016) แผนภาพที่ 3 แสดงสัดส่วนของอุตสาหกรรมจาแนกตามกระบวนการผลิต ค.ศ. 2015 อนึ่ง ปัจจัยสําคัญที่ส่งผลให้เศรษฐกิจเมืองหางโจวเติบโตได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะตั้งแต่ ค.ศ. 2014 เป็นต้นมา คือการลงทุนของภาครัฐในอุตสาหกรรมเทคโนโลยี ภายใต้นโยบาย “Project Number 1” ที่มี เป้าหมายเพื่อพัฒนาหางโจวสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ในช่วงครึ่งแรกของ ค.ศ. 2015 สามารถกระตุ้น GDP ของเมืองให้โตขึ้นได้ถึงร้อยละ 23 และปัจจุบันยังทําให้อุตสาหกรรมขั้นตติยภูมิที่อาศัยเทคโนโลยี เป็นตัวขับเคลื่อน เช่น บริการด้านการขนส่ง การค้าส่ง การค้าปลีก กลายมาเป็นภาคส่วนที่สร้างมูลค่า ทางเศรษฐกิจให้แก่เมืองมากที่สุด และมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ยุทธศาสตร์และแผนการพัฒนาเมือง ปัจจุบัน การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันได้กลายมาเป็นเป้าประสงค์หลัก สําหรับทุกเมือง หางโจวก็เช่นกัน แผนพัฒนาต่างๆ ของเมือง ไม่ว่าจะเป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมฉบับที่ 12 ค.ศ. 2011 – 2015 ของมณฑลเจ้อเจียงและเมืองหางโจว (12th FYPs) แผนพัฒนาเมือง หางโจว 20 ปี ค.ศ. 2001 – 2020 รวมไปถึงแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) ต่างมีวัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกันในการมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถในการ แข่งขันของเมืองหางโจวอย่างรอบด้านทั้งเศรษฐกิจ สังคมและความเป็นเมือง ซึ่งแต่ละด้านมีรายละเอียด ดังนี้ ที่มา Hangzhou Statistical Information net
  • 10. 9 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แนวทางการพัฒนาของเมืองหางโจวตั้งแต่ ค.ศ. 2011 เป็นต้นมา ให้ความสําคัญกับหลักการ พัฒนาใหญ่ของประเทศที่เน้นการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อสร้างความมั่นคงในการเติบโตและ ขยายตลาดผู้บริโภคภายในประเทศเพื่อทดแทนการส่งออกที่เริ่มชะลอตัว นอกจากนี้ รัฐบาลท้องถิ่น ของเมืองได้ชูนโยบายสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เรียกว่า “3 + 1” ซึ่งสามตัวแรกเน้นส่งเสริม การผลิตสมัยใหม่ใน 3 สาขา คือ เกษตรกรรมสมัยใหม่ (Modern Agriculture) อุตสาหกรรมสมัยใหม่ (Modern Industry) และภาคบริการสมัยใหม่ (Modern Service Sector) ส่วนหนึ่งตัวหลังได้แก่การ ส่งเสริมอุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมและนวัตกรรม อนึ่ง ธุรกิจภาคบริการนับเป็นภาคส่วนสําคัญที่รัฐบาลให้การสนับสนุน โดยมีการอนุมัติ งบประมาณพิเศษตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 เพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาค บริการสาขาต่างๆ ของเมือง โดยพุ่งเป้าให้ธุรกิจบริการด้านไอที (IT) และซอฟต์แวร์ บริการ โลจิสติกส์ รวมไปถึงบริการให้คําปรึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญพัฒนาไปเป็นอุตสาหกรรมภาคบริการหลัก ตลอดจนยกระดับให้เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางการส่งออกบริการด้านธุรกิจแห่งใหม่โดยเฉพาะ บริการด้านข้อมูลสารสนเทศ ใน ค.ศ. 2011 รัฐบาลมีความมุ่งหมายที่จะพัฒนาเมืองหางโจวให้เป็น “ออฟฟิศของโลก” (World Office) ด้วยการดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติผ่านการเร่งพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน การใช้นโยบายผ่อนคลายข้อจํากัดด้านการลงทุน ตลอดจนการประกาศนโยบายเศรษฐกิจที่มี ลักษณะเป็นทุนนิยมมากขึ้น ทั้งนี้ เป้าหมายสําคัญที่สุดคือการปฏิรูปให้ธุรกิจภาคบริการกลายมาเป็น ภาคส่วนหลักของโครงสร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจว โดยกําหนดให้มีสัดส่วนไม่ต่ํากว่าร้อยละ 54 ของ GDP เมือง สําหรับภาคส่วนที่สําคัญรองลงมาซึ่งถูกกําหนดให้นําเศรษฐกิจของเมืองได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตขั้นสูงประเภทเทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานรูปแบบใหม่ ซึ่งล้วนมีมูลค่าสูงกว่า อุตสาหกรรมการผลิตแบบดั้งเดิม อย่างไรก็ดี ปัจจัยสําคัญที่จะช่วยให้เมืองหางโจวพัฒนาสู่ความเป็นเมืองเศรษฐกิจที่ทันสมัย ได้อย่างสมบูรณ์คือ “นวัตกรรม” แผนการพัฒนาเมืองจึงไม่ละเลยที่จะเน้นพัฒนานวัตกรรมโดย ประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งด้านวิชาการ การวิจัย และอุตสาหกรรมการผลิต ยุทธศาสตร์หนึ่งที่สําคัญไม่น้อยกว่าการเป็นเมืองชั้นนําด้านเทคโนโลยีคือ การสร้างชื่อให้แก่ วัฒนธรรมหางโจว (Hangzhou Culture) และการพัฒนาอุตสาหกรรมวัฒนธรรม ฉะนั้น เป้าหมาย หลักของการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมของเมืองหางโจว จึงได้แก่ การผลักดันให้หางโจวเป็นเมือง ศูนย์กลางด้านวัฒนธรรมและนวัตกรรม กุญแจสําคัญของการพัฒนานวัตกรรมอยู่ที่การสร้าง กระบวนการวิจัยและพัฒนา (R&D) ให้สอดคล้องกับระบบการศึกษา และการจัดฝึกอบรมพัฒนา ความเชี่ยวชาญและทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งหมดจะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมบน ฐานความรู้ (Knowledge-based Economy & Society) ซึ่งตอบโจทย์การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ขณะที่กุญแจสําคัญสําหรับการสร้างวัฒนธรรมหางโจวให้เป็นที่รู้จักนั้นอาจใช้วิธีสอดแทรกวิถี วัฒนธรรมผ่านสื่อประเภทต่างๆ เช่น ละคร การ์ตูน สื่อโทรทัศน์และวิทยุกระจายเสียง รวมไปถึงสื่อ
  • 11. 10 สิ่งพิมพ์ ทั้งหมดจะช่วยให้ชื่อเสียงของเมืองเป็นที่รู้จักมากขึ้นทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ ทั้งยังเป็นอีกช่องทางที่ช่วยดึงดูดการท่องเที่ยวและการลงทุนมาสู่เมือง นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างผลกําไรแล้ว เมืองหางโจวยังให้ความสําคัญกับการ จัดหาและพัฒนาบริการทางสังคมให้แก่พลเมืองด้วยเช่นกัน โดยเพิ่มการลงทุนสร้างบริการทางสังคม ที่มีคุณภาพทั้งบริการสาธารณสุข บริการสาธารณะ ไปจนถึงการดูแลความมั่นคงทางสังคมในเรื่อง สวัสดิการและการจ้างงาน เป้าหมายหลักคือ สร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชนโดยการยกระดับรายได้ และมาตรฐานความเป็นอยู่ ส่งเสริมและขยายฐานธุรกิจท้องถิ่นตลอดจนตลาดผู้บริโภคของเมืองให้ เข้มแข็ง แต่ขณะเดียวกัน โจทย์ซึ่งเป็นความท้าทายทางสังคมที่มาพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจ อย่างก้าวกระโดดที่รัฐต้องแก้ให้ได้คือความเหลื่อมล้ําทางรายได้ระหว่างเขตเมืองและเขตชนบทใน หางโจว และการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยการพัฒนาพัฒนาตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่นซึ่งปัจจุบันยัง มีสัดส่วนที่น้อยอยู่ การพัฒนาเมือง ความก้าวหน้าของเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้ส่งเสริมและเร่งเร้าให้หางโจวพัฒนาสู่ความเป็นเมือง ไปในเวลาเดียวกัน โดยเฉพาะในปัจจุบันที่ต้องผลักดันตัวเองสู่การเป็น “แกนกลางของความเป็น เมือง” (Urban Core) ทั้งในระดับมณฑลและระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม เมืองหางโจวก็ยังประสบ ปัญหาการปรับตัวของนโยบายและการพัฒนาที่ก้าวไม่ทันต่อการเพิ่มจํานวนของประชากรและความ ต้องการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลาไม่นานจนทําให้เกิดภาวการณ์ กระจุกตัวของประชากรที่แออัดในเขตเมือง ดังนั้น แผนการพัฒนาที่มีแนวทางยุทธศาสตร์และ วิสัยทัศน์ชัดเจนจึงเป็นสิ่งจําเป็นสําหรับการพัฒนาเมือง และด้วยเหตุดังกล่าว แผนแนวคิดเมืองหาง โจว (The Hangzhou Concept Plan) ได้ถือกําเนิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 21 แม้จะเพียงให้ หลักการกว้างๆ ในการพัฒนาและมิได้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย แต่ก็มีอิทธิพลทางความคิดต่อ แผนพัฒนาเมืองหางโจวเชิงปฏิบัติแผนอื่นๆ มาจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างระบบการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ใน ค.ศ. 2008 รัฐบาลเมืองหางโจวได้เสนอโครงการ จัดตั้ง 20 เมืองใหม่ ดังตารางที่ 1 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อแก้ปัญหาความแออัดของประชากรใน เขตเมืองและกระจายการพัฒนาไปสู่แถบชานเมืองและชนบทให้ได้มากที่สุด ซึ่งเมืองใหม่ 10 เมือง แรกถูกกําหนดให้ตั้งบริเวณรอบแกนกลางของเมือง (Urban Core) ส่วนอีก 10 เมืองจะกระจายอยู่ รอบนอกถัดออกมาบริเวณเขตหยูหาง (Yuhang) และเขตปกครองใกล้เคียงอื่นๆ ทั้ง 20 เมืองจะ ได้รับการพัฒนาให้เป็นทําเลทองทางเศรษฐกิจ (Central Business Districts: CBDs) เป็นศูนย์กลาง การคมนาคม และเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยรวมถึงสถาบันวิจัยและพัฒนา ซึ่งเมื่อดําเนินการเสร็จ สมบูรณ์ แผนดังกล่าวจะนํามาซึ่งการกระจายตัวของความเจริญของเมือง อันจะช่วยลดการกระจุกตัว ของประชากรที่เดิมอยู่ในบริเวณแกนกลางของเมืองลงไปได้ โดยคาดว่าแต่ละเมืองจะมีประชากร เฉลี่ย 35,000 – 700,000 คน ทั้ง 20 เมืองรวมกันมีประชากรประมาณ 3.52 ล้านคนในระยะแรก (ค.ศ. 2010) และคาดว่าจะเพิ่มถึง 9.3 ล้านคนใน ค.ศ. 2020 ด้วยเหตุนี้ 20 เมืองใหม่จึงมีบทบาท
  • 12. 11 สําคัญในฐานะที่อยู่อาศัยของประชากรหนึ่งในสามของเมืองหางโจว ณ ปัจจุบัน ทั้งยังเป็นความหวัง ใหม่ของการจัดสรรที่พักอาศัยและโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพไปจนถึงระบบบริการสาธารณะและ โอกาสในชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชนหางโจว ทั้งนี้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น การจัดการที่มีความยืดหยุ่นและการกําหนดทิศทางอย่างชาญฉลาดของภาครัฐ ประกอบกับการมี ส่วนร่วมของภาคเอกชนและภาคประชาสังคมย่อมเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยควบคุมให้แผนพัฒนาก้าว ต่อไปได้อย่างมีสมดุล ภาพที่ 4 แสดงตัวแบบ “1 แกนกลาง 3 ศูนย์รอง และ 6 กลุ่มเมือง” ภายใต้แผนพัฒนาเมืองหางโจว ที่มา Hangzhou Municipal Government, 2008
  • 13. 12 ตารางที่ 1 แสดงแผนจานวนประชากรและแนวทางการพัฒนาของ 20 เมืองใหม่ในหางโจว ที่มา Hangzhou urban planning bureau, 2007 ภาพที่ 5 แสดงตัวแบบการพัฒนาทาเลทองทางเศรษฐกิจ (CBDs) เมืองหางโจว ที่มา http://www.iac-kohlstrung.de/urban-planning/hangzhou-qianjiang-new-cbd/
  • 14. 13 อัจฉริยะในแบบหางโจว ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีดิจิทัลที่ค่อยๆ ทวีความสําคัญต่อวิถีชีวิตมนุษย์มากขึ้น แนวคิดเมือง อัจฉริยะจึงเริ่มเป็นที่สนใจในสายตารัฐบาลจีน โดยเฉพาะตั้งแต่การประชุม Shanghai Expo 2010 เป็น ต้นมา รัฐบาลได้กําหนดเป้าหมายในการพัฒนาเมืองของจีน 90 แห่งให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ซึ่งหางโจวคือ หนึ่งในเมืองที่ได้รับเลือกจากศักยภาพและความพร้อมที่มีอยู่ หัวใจสําคัญของการพัฒนาหางโจวในทุก วันนี้จึงอยู่ที่การก้าวสู่ความเป็นเมืองอัจฉริยะในด้านผู้นําเศรษฐกิจ Internet of Things (IoT) เมือง ต้นแบบที่ขับเคลื่อนด้วย E – Commerce และเมืองสีเขียวที่สามารถใช้เทคโนโลยีรักษาสิ่งแวดล้อมของ เมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมืองเศรษฐกิจอัจฉริยะ Hangzhou Master Plan หรือแผนพัฒนาเมืองหางโจวถือเป็นกุญแจสําคัญที่จะช่วยวางแนว ทางการพัฒนาหางโจวสู่เมืองอัจฉริยะอย่างเป็นระบบ แผนนี้มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนา วิทยาศาสตร์และนวัตกรรมรูปแบบต่างๆ ของเมือง ทั้งด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ พลังงาน และการ ขนส่ง ทั้งยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่กว้างขึ้นของเมืองสําหรับการพัฒนาสู่อนาคตที่ปัจจุบันนโยบายของ เมืองเน้นการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมในท้องถิ่นด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ และนําเทคโนโลยีขั้นสูงมาเป็นเครื่องมือกระตุ้นการขยายตัวของทุกภาคการผลิตดังที่กล่าวไปในข้างต้น การเปลี่ยนแปลงสําคัญที่สุดประการหนึ่งคือการกําหนดเขตเศรษฐกิจใหม่ขึ้นเป็นการเฉพาะแยกออกจาก เขตเมืองเก่าที่มีมรดกทางวัฒนธรรมและเขตชุมชนเพื่อมุ่งพัฒนาภาคเศรษฐกิจแต่ละด้านอย่างจริงจัง และหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมถึงวิถีเดิมของคนเมือง โดยเขตเศรษฐกิจใหม่ที่ สําคัญมีด้วยกัน 4 เขต ได้แก่ 1) เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เขตพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีหางโจว (Hangzhou Economic & Technological Development Zone: HETDZ) ถูกจัดตั้งและได้รับการอนุมัติให้เป็นเขตพัฒนาแห่งชาติใน ค.ศ. 1993 ครอบคลุมพื้นที่กว่า 105 ตารางกิโลเมตรบริเวณเขตเมืองฝั่งตะวันออก โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เมืองหางโจวเป็นศูนย์กลางการพัฒนาอุตสาหกรรมสาขาสําคัญ และเทคโนโลยี มีการแบ่งเสาหลักอุตสาหกรรมออกเป็น 5 สาขา ได้แก่ เครื่องจักรและ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชีววิทยาและเภสัชกรรม นวัตกรรมเคมี สิ่งทอและเส้นใยเคมี และการ แปรรูปอาหาร ปัจจุบันการพัฒนาเขตเศรษฐกิจนี้ยังให้ความสําคัญกับการมุ่งสู่การเป็น “ศูนย์ รวมข้อมูลสารสนเทศ” (Information Harbor) และ “ศูนย์กลางการแพทย์แห่งใหม่” (New Medicine Habor) ตลอดจนการปฏิรูปให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมทั้งหมดจะต้องปรับ เป็นระบบไฮเทค 2) เขตพัฒนาการส่งออก เขตพัฒนาการส่งออกหางโจว (Hangzhou Export Processing Zone: Hangzhou EPZ) ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 2000 ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างระบบการจัดการการ
  • 15. 14 ส่งออกและการนําเข้าที่ได้มาตรฐานอันจะช่วยอํานวยความสะดวกให้ทั้งภาคเอกชนและ รัฐวิสาหกิจสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างครบถ้วนทั้งด้านการธนาคาร ศุลกากร ไปจนถึง ระบบขนส่งโลจิสติกส์ สําหรับอุตสาหกรรมที่เป็นภาคส่วนหลักของ EPZ ได้แก่ อุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยใน ค.ศ. 2012 ทั้ง สองภาคผลิตรวมกันมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกมากถึงร้อยละ 85 ของเขต 3) เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทค เขตพัฒนาอุตสาหกรรมไฮเทคหางโจว (Hangzhou High-tech Industrial Development Zone: HHTZ) ตั้งขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1991 กล่าวได้ว่าเขตดังกล่าวเป็นเสมือนแหล่งรวมองค์ ความรู้ของเมืองหางโจว ด้วยเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยกว่า 30 แห่ง ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ มหาวิทยาลัยเจ้อเจียงซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนําของประเทศ รวมไปถึงสถาบันวิจัย 19 แห่ง และศูนย์การทดลองอีก 9 แห่ง อย่างไรก็ดี เป้าหมายหลักของ HHTZ คือการส่งเสริมการ ลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศชีวเคมี และเภสัชกรรม ซึ่งปัจจุบัน HHTZ ได้กลายเป็น 1 ใน 11 ฐานอุตสาหกรรมระดับนานาชาติด้านซอฟต์แวร์ การออกแบบวงจรรวม (IC) ธุรกิจ Business Process Outsourcing (BPO) และแอนิเมชั่น โดย ค.ศ. 2013 HHTZ เป็นฐาน ที่ตั้งของบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์และ BPO กว่า 1,100 แห่ง อาทิ บริษัทเทคโนโลยีซึ่งทรง อิทธิพลระดับโลก ทั้ง Nokia Panasonic Mitsubishi IBM NTT Microsoft และ AISIN แม้แต่ Alibaba Group ธุรกิจการค้าออนไลน์ที่ใหญ่ติดอันดับต้นของโลกก็เลือกเขตเศรษฐกิจนี้เป็น ที่ตั้งสํานักงานใหญ่ ทุกวันนี้ HHTZ จึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "Silicon Valley" ของประเทศจีน โดยใน ค.ศ. 2011 อัตราการขยายตัวของ GDP สูงถึงร้อยละ 13 หรือคิดเป็นร้อยละ 5.9 ของ GDP เมืองหางโจว นอกจากนี้ การประชุม G2O ประจําปี 2016 ที่ผ่านมาซึ่งเมืองหางโจว เป็นเจ้าภาพก็ถูกจัดขึ้นในเขต HHTZ ด้วยเช่นกัน 4) เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ําแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) จัดตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1992 ครอบคลุมพื้นที่ 210,000 ตารางกิโลเมตร ของ 30 เมือง มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นการ เติบโตทางเศรษฐกิจแบบบูรณาการให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จีน โดยกําหนดให้นครเซี่ยงไฮ้ หนานจิง และหางโจว เป็นเมืองศูนย์กลาง และใช้พื้นที่ บริเวณใกล้เคียงโดยรอบ 3 เมืองดังกล่าวเป็นฐานกําลังส่งเสริมเศรษฐกิจด้านต่างๆ อาทิ กําลังการผลิต แรงงาน และทรัพยากร เพื่อรองรับความต้องการของตลาดโลก สามเหลี่ยม ปากแม่น้ําแยงซีเกียงจึงนับเป็นเขตเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดของจีนและมีอิทธิพลต่อการค้าการ ลงทุนทั่วประเทศจนได้รับฉายาว่าเป็น ‚สามเหลี่ยมทองคํา‛ ด้วยความได้เปรียบของที่ตั้ง ภูมิศาสตร์ประกอบกับศักยภาพทางเศรษฐกิจที่โดดเด่นของเมืองในพื้นที่ โดยเฉพาะเซี่ยงไฮ้ หนางจิง และหางโจว จึงทําให้เขตพื้นที่ราบลุ่มบริเวณแห่งนี้กลายเป็นเขตเศรษฐกิจสําคัญ แนวหน้าของจีน และติดอันดับ 1 ใน 6 เขตเศรษฐกิจใหญ่ระดับโลกในปัจจุบัน
  • 16. 15 ภาพที่ 6 แสดงแผนที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง ที่มา http://www.sowoll.com/images/Yangtze%20River%20Delta2.png นอกจากนี้ โครงการจัดตั้ง 20 เมืองใหม่ที่รัฐบาลหางโจวริเริ่มมาตั้งแต่ ค.ศ. 2008 ปัจจุบันเริ่มมี ความก้าวหน้าที่เห็นผลเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยเมืองใหม่หลายแห่งในเขตเศรษฐกิจใหม่ได้รับการ ส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางความเชี่ยวชาญด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์การเป็น เมืองอัจฉริยะของหางโจว บรรดาเมืองใหม่ที่สําคัญ มีดังนี้ 1) เขตฟู่หยาง เขตการพัฒนาศูนย์กลางผลิตยาครบวงจร เขตฟูหยาง เป็นเขตที่มีที่ตั้งอยู่ในหุบเขา อาณาเขตประมาณ 3.62 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ ดังกล่าวถูกกําหนดให้เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมด้านยาแบบครบวงจร เป็นศูนย์รวมของบริษัท ยาซึ่งทําหน้าที่วิจัยผลิตยาตัวใหม่ ตลอดจนผลิตส่วนผสมยาเพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ นอกจากการเป็นศูนย์กลางผลิตและส่งออกยารักษาโลกแล้ว เขตฟู่หยางยังถูกพัฒนาให้เป็น เมืองต้นแบบด้านสุขภาพแห่งใหม่ของจีน โดยตั้งเป้าหมายการในเป็นศูนย์กลางแห่งการประชุม ด้านสุขภาพ พัฒนาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและระบบการรักษา รวมถึงสร้างสิ่งแวดล้อมสีเขียวให้ เหมาะต่อกับการพักผ่อนและฟื้นฟูร่างกายของผู้ป่วย 2) เขตอุยกู่ เขตการพัฒนา Silicon Valley พื้นที่อุยกู่ อยู่ทางตอนเหนือของเขตฟู่หยาง ห่างจากใจกลางเมืองหางโจวประมาณ 15 นาที ด้วยภูมิศาสตร์ที่ดี พื้นที่ดังกล่าวจึงถูกกําหนดให้เป็น Silicon Valley ของเมืองหางโจว โดย ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสํานักงานใหญ่ของบริษัทเทคโนโลยีผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและการพัฒนา ไฮเทค โดยเฉพาะด้านข้อมูลสารสนเทศ เช่น Alibaba Group บริษัทต่างชาติ ไปจนถึงบริษัท start-up ด้านเทคโนโลยีอีกมากมาย ปัจจุบันเขตอุยกู่จึงเติบโตอย่างต่อเนื่องและเป็นที่สนใจของ ทั้งผู้ประกอบการธุรกิจ นักลงทุน และแรงงานในตลาดงานสายเทคโนโลยี
  • 17. 16 3) นิคมอุตสาหกรรมถงลู่ เขตการพัฒนาอุตสาหกรรมความปลอดภัยแบบชาญฉลาด นิคมอุตสาหกรรมถงลู่ มีพื้นที่ประมาณ 3.48 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ใกล้กับมหาวิทยาลัยด้าน อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ของมณฑลเจ้อเจียง เขตพื้นที่นี้ถูกกําหนดให้เป็นศูนย์รวมของ อุตสาหกรรมความปลอดภัยอย่างครบวงจรโดยเน้นการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ อุปกรณ์ไฮเทค รวมไปถึงการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นําด้านความปลอดภัยของมณฑล เจ้อเจียงและสามเหลี่ยมแม่น้ําแยงซี ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้มากกว่า หนึ่งแสนล้านหยวน นอกจากนั้น เขตถงลู่ยังถูกออกแบบให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ผู้คนสามารถ เข้ามาเยี่ยมชมและพักผ่อนได้ไปในคราวเดียวกัน 4) เขตบินเจียง เขตการพัฒนา Internet of Things (IoT) ตั้งอยู่ด้านตะวันออกของเขตไฮเทคเมืองหางโจว มีพื้นที่ประมาณ 3.66 ตารางกิโลเมตร ศูนย์กลางการพัฒนาจะมีประมาณ 1.5 ตารางกิโลเมตร รัฐบาลหางโจววางเป้าหมายให้บินเจียง เป็นเขตแห่งอุตสาหกรรม IoT หรือ “อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง” ซึ่งหมายถึง การเชื่อมโยงทุกสิ่ง ทุกอย่างสู่โลกอินเตอร์เน็ต ทําให้คนสามารถสั่งการควบคุมการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เช่น การเปิด-ปิด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เครื่องมือสื่อสาร เครื่องมือการเกษตร อาคาร บ้านเรือน เครื่องใช้ใน ชีวิตประจําวันต่างๆ เป็นต้น ตลอดจนให้ความสําคัญกับการพัฒนา iCloud Big Data และ ความปลอดภัยด้านข้อมูล อุปกรณ์ส่งสัญญาณที่ทันสมัย การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้การใช้ ชีวิตของมนุษย์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งในอนาคตคาดว่าเขตบินเจียงจะกลายเป็น เขตพัฒนา IoT ที่สําคัญของจีนและของโลกได้ 5) เขตเชียเฉิง เขตการพัฒนา E-commerce ระหว่างประเทศ ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) คือ การดําเนินธุรกิจโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรได้วางไว้ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริการ การ โฆษณาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หรือแม้แต่อินเทอร์เน็ต เป็น ต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร ด้วยยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจีนที่กําหนดให้เขตเชียเฉิงใช้จุดแข็งด้านที่ตั้งที่สามารถเชื่อมไปยัง ต่างประเทศได้มาพัฒนา E-commerce เชื่อมระหว่างประเทศ โดยกําหนดพื้นที่เขตพัฒนา ประมาณ 2.9 ตารางกิโลเมตร ในอนาคตรัฐบาลหางโจวคาดหวังว่าเชียเฉิงจะเป็นพื้นที่การ พัฒนาอย่างสร้างสรรค์ เป็นศูนย์กลางของ E-commerce เป็นบทบาทใหม่ที่จะยกระดับการค้า ระหว่างประเทศของเมืองโดยเชื่อมโยงอุตสาหกรรมทั้งหมดเข้ากับระบบ E-commerce อย่าง สมบูรณ์ 6) ย่านหลงอู เขตการพัฒนาชาหลงจิ่ง เดิมทีย่านหลงอูเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สําคัญของเมือง แต่ในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาให้เป็นเขต วัฒนธรรมแบบสร้างสรรค์ คือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจควบคู่ไปกับการส่งเสริม การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและวัฒนธรรม เช่น การเยี่ยมชมไร่ชา เขตค้าชา สัมผัสกับวัฒนธรรมชา
  • 18. 17 และประเพณีต่างๆ รวมถึงกีฬากลางแจ้ง นอกจากนี้ หลงอูยังได้รับการยกระดับให้กลายเป็น เมืองแห่งชาหลงจิ่งที่สําคัญของมณฑลเจ้อเจียงและเป็นเขตค้าขายชาหลงจิ่งที่ใหญ่ที่สุดของจีน มีเขตอุตสาหกรรมแห่งชาครบวงจร โดยใช้วัฒนธรรมประเพณีในระดับหมู่บ้านเป็นกลไกนําการ พัฒนา นอกจาก 6 เมืองใหม่ข้างต้นแล้ว ยังมีอีกหลายเขตที่น่าสนใจ เช่น เขตเจี้ยนเต๋อที่จะถูกพัฒนา เป็นศูนย์กลางการบิน เขตเซียวซาน ศูนย์กลางด้านข้อมูล เขตถงหลู เมืองแห่งสุขภาพแบบครบวงจร เป็นต้น การพัฒนาทั้งหมดสะท้อนถึงการปรับตัวของเมืองสู่การเติบโตอย่างชาญฉลาดด้วยการใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีควบคู่กับการดึงต้นทุนด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมาจัดการเมืองอย่าง มีประสิทธิภาพ 1. เมืองแห่งระบบอินเตอร์เน็ตอัจฉริยะ ด้วยหลักคิดที่ว่า “การสร้างเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์แบบ เทคโนโลยีไม่ได้เป็นคาตอบสุดท้าย แต่ สิ่งที่สาคัญกว่าคือการนาเทคโนโลยีมาทาให้ชีวิตคนง่ายขึ้นและดีขึ้น” นอกจากความ Smart ด้าน เศรษฐกิจแล้ว ทางการจีนรวมถึงเมืองหางโจวจึงให้ความสําคัญกับการนําเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ใน การอํานวยความสะดวกให้แก่คนเมืองด้วยการเปิดตัวโครงการ Internet Plus ที่ส่งเสริมการใช้ระบบ อินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือเพื่อให้บริการด้านสาธารณะที่ครอบคลุมทั่วทั้งเมือง เช่น ด้านการเดินทาง บริการด้านสุขภาพ การศึกษา การให้บริการของระบบราชการ เป็นต้น การดําเนินงานสร้างเมือง อัจฉริยะที่สมบูรณ์นี้อาศัยการประสานงานระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnerships - PPP) อันได้แก่ Alibaba และอีก 13 บริษัทยักษ์ใหญ่ร่วมมือกันพัฒนาระบบบริการอัจฉริยะขึ้นในเมือง และผลงานที่ออกมาเป็นรูปธรรมคือ Hangzhou Resident Card บัตรเพียงใบเดียวที่อํานวยความสะดวก ให้พลเมืองหางโจวสามารถใช้บริการต่างๆ ในเมืองได้อย่างครบวงจร ไม่ว่าจะเป็น ถอนเงินจาก ATM เช่าจักรยาน ตรวจการเดินทางของรถเมล์ ซื้อของชํา จองร้านอาหาร เข้าใช้บริการห้องสมุดหรือยิม ไป จนถึงการชําระภาษี บัตรดังกล่าวมีลักษณะคล้ายบัตรประชาชนที่บันทึกข้อมูลทั้งหมดของผู้ใช้เอาไว้ เพียงแต่เพิ่มนวัตกรรมที่ช่วยให้เจ้าของบัตรใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะกับ ผู้สูงอายุ ซึ่งปัจจุบันมีประชาชนในหางโจวมากถึง 21 ล้านคน ใช้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E- Commerce) ต่างๆ ผ่านบัตรเป็นประจํา จนอาจกล่าวได้ว่า ณ ปัจจุบัน หางโจวกลายมาเป็นเมืองที่ สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและบริการอินเตอร์เน็ตบนระบบมือถือได้อย่างมี ประสิทธิภาพที่สุดเมืองหนึ่งของโลก เมืองแห่งการท่องเที่ยว นอกจากการเป็นเมืองชั้นนําทางเศรษฐกิจแล้ว หางโจวยังมีจุดเด่นสําคัญคือสถานที่สําคัญทาง ประวัติศาสตร์และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอันสวยงามที่มีมาตั้งแต่อดีตจนมาร์โค โปโล ซึ่งได้
  • 19. 18 เดินทางมาถึงเมืองหางโจวใน ค.ศ. 1230 ขนานนามเมืองแห่งนี้ว่าเป็น เมืองที่งดงามที่สุดในโลก แม้กระทั่งปัจจุบัน หางโจวก็ยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่สวยที่สุดของจีนและเป็นเมืองที่มี ทิวทัศน์ดีที่สุด ขณะที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีได้กลายเป็นภาคส่วนที่นําเศรษฐกิจของเมือง การ ท่องเที่ยวก็เป็นอีกส่วนสําคัญที่สร้างเศรษฐกิจเมืองหางโจวด้วยเช่นกัน โดยใน ค.ศ. 2014 หางโจวมี นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 3.26 ล้านคน และนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เข้ามามีจํานวนมากถึง 106.6 ล้านคน (HSBC, 2016) นอกจากนี้ ใน ค.ศ. 2016 หางโจวได้ก้าวขึ้นมาเป็นเมืองจุดหมาย ปลายทางอันดับที่ 9 ที่นักท่องเที่ยวต่างชาตินิยมมาเยือนมากที่สุด สถานที่ท่องเที่ยวที่สําคัญของเมือง มี ดังนี้  ทะเลสาบซีหู (西湖) เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของเมือง ใน ค.ศ. 2011 มี การขึ้นทะเบียนโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ทะเลสาบซีหูเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยให้เหตุผลว่าเป็นการแสดงให้ เห็นถึงความสวยงามแบบจีน และมีอิทธิพลต่อการออกแบบสวนในโลกอย่างลึกซึ้ง ปัจจุบัน ทะเลสาบซีหูเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองทั่วไปรวมไปถึงนักท่องเที่ยว โดย กิจกรรมซึ่งเป็นที่นิยมคือการล่องเรือชมทะเลสาบ บริเวณกลางทะเลสาบมีเจดีย์เหลยเฟิง (白娘子永鎮雷峰塔) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ‚เจดีย์นางพญางูขาว‛ ที่สวยงาม  คลองใหญ่ (大运河) เป็นที่รู้จักระดับนานาชาติในชื่อ Grand Canal มีความสําคัญในฐานะ คลองขุดที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์จีน ยาวทั้งสิ้น 1,764 กิโลเมตร มีจุดเริ่มต้นจากเมืองหาง โจวไหลขึ้นภาคเหนือไปสิ้นสุดยังนครปักกิ่ง ในอดีต คลองใหญ่นับเป็นเส้นทางการค้าเส้น สําคัญของภูมิภาค แม้ปัจจุบันจะมิได้ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการพาณิชย์แล้ว แต่คลองใหญ่ได้ กลายเป็นแหล่งพักผ่อนที่นักท่องเที่ยวนิยมล่องเรือชมเส้นทางประวัติศาสตร์ของเมือง โดย ค.ศ. 2014 ที่ผ่านมาได้รับการขึ้นทะเบียนโดย UNESCO ให้เป็นมรดกโลกอีกแห่งหนึ่งของ เมือง  หมู่บ้านโบราณอู่เจิ้น (乌镇) เป็นหนึ่งในหมู่บ้านริมน้ําโบราณหกแห่งทางตอนใต้ของแม่น้ํา แยงซี ตั้งอยู่บริเวณสามเหลี่ยมเศรษฐกิจหางโจว ซูโจวและเซี่ยงไฮ้ เป็นหมู่บ้านที่มี ประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,000 ปี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 71 ตารางกิโลเมตร ปัจจุบันยังเป็น ชุมชนขนาดใหญ่ที่มีประชากรกว่า 12,000 คน และเป็นสถานที่ท่องเที่ยวด้านประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ หมู่บ้านมีระบบการจัดการเพื่อรองรับ การท่องเที่ยวด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 6 ย่าน ได้แก่ ย่านการปกครองและศุลกากร ย่าน แหล่งเรียนรู้ธรรมเนียมประเพณี ย่านที่อยู่อาศัยของชุมชนดั้งเดิม ย่านวัฒนธรรมดั้งเดิม ย่าน จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม และย่านร้านค้าของที่ระลึก  สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ย่านเศรษฐกิจ ปัจจุบัน หางโจวมิได้เป็นเมืองที่โดดเด่นด้าน สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมเท่านั้น ทว่าการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดึงดูดให้ บริษัทขนาดใหญ่เข้ามาลงทุนได้ทําให้มีสิ่งปลูกสร้างที่ทันสมัยเกิดขึ้นในเมืองมากมาย อีกทั้ง
  • 20. 19 แต่ละแห่งยังมีการออกแบบด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่น สะท้อนอัตลักษณ์และรสนิยมของ องค์กร จนอาคารเหล่านี้ได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว ด้วยเล็งเห็นถึงโอกาสการพัฒนาการท่องเที่ยวจากเทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ ใน ค.ศ. 2013 คณะกรรมการการท่องเที่ยวประจําเมืองหางโจวจึงริเริ่มโครงการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ เมืองผ่านแอพลิเคชั่น Facebook เป็นครั้งแรก ภายใต้แคมเปญ “Modern Marco Polo” ซึ่งเชิญชวนให้ ชาวต่างชาติเข้าร่วมการคัดเลือกเป็นทูตการท่องเที่ยวคนแรกของเมือง โครงการดังกล่าวประสบ ความสําเร็จ โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 26,000 คน ทั้งยังทําให้เมืองหางโจวเป็นที่รู้จักในระดับ นานาชาติมากขึ้น นอกจากนั้นทางการหางโจวยังลงทุนเพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของเมืองในสื่อ ซึ่งมีอิทธิพลในยุโรป ได้แก่ การลงหน้าเต็มในนิตยสาร National Geographic Traveller โฆษณาสั้นใน รายการ BBC World News ทางโทรทัศน์ โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อขยายตลาดการท่องเที่ยวไปยัง นักท่องเที่ยวยุโรป 3 ประเทศหลัก ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกําลังบริโภคสูง นอกจากนี้ การเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสุดยอดผู้นํา G20 ค.ศ. 2016 ที่ผ่านมาซึ่งเมืองหางโจวได้รับเลือก ให้เป็นสถานที่จัดประชุมยังส่งผลดีให้หางโจวยิ่งเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติมากขึ้น แผนภาพที่ 4 แสดงจานวนนักท่องเที่ยวของเมืองหางโจว ค.ศ. 2002 – 2008 (ล้านคน) ที่มา http://www.chinatouronline.com/china-travel/hangzhou/hangzhou-tourism/index.html
  • 21. 20 ภาพที่ 7 – 8 ทะเลสาบซีหู (西湖) ที่มา http://famouswonders.com/wp-content/uploads/2009/03/the-beautiful-tower-on-the-horizon-is-leifeng-pagoda.jpg ภาพที่ 9 คลองใหญ่ (大运河) ที่มา http://en.gotohz.com/whatishot/bestofhangzhou/whattosee/201307/W020130717592934507482.jpg
  • 22. 21 ภาพที่ 10 หมู่บ้านโบราณอู่เจิ้น (乌镇) ภาพที่ 11 อาคารสานักงานใหญ่บริษัท Alibaba Group ที่มา https://www.e-architect.co.uk/images/jpgs/china/alibaba_headquarters_h150611_2.jpg
  • 23. 22 ภาพที่ 12 อาคาร Hangzhou International Conference Center ที่มา http://smart-lighting.es/wp-content/uploads/2015/10/Hangzhou.jpg เมืองแห่งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นอกจากหางโจวจะกลายมาเป็นเมืองเศรษฐกิจที่สําคัญแห่งหนึ่งของจีนแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลหาง โจวได้เริ่มหันมาสนใจประเด็นการสร้างคุณภาพชีวิตของคนในเมือง โดยเฉพาะการปรับปรุง สภาพแวดล้อมเมืองครั้งใหญ่ที่เคยถูกทําลายไปมากให้กลับมาสวยดังเดิม ใน ค.ศ. 2002 แผนพัฒนาห้า ปี ฉบับที่ 9 (Ninth Five-Year Plan) หางโจวได้วางแผนแม่บทด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมของเมืองด้วย การพัฒนาทะเลสาบซีหูให้เป็นจุดชมวิวสําคัญของเมืองควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แผนดังกล่าวได้รับการพัฒนาร่วมกับแผนคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่เน้นพัฒนาหางโจว ให้มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมพร้อมไปกับการพัฒนานิเวศวิทยา ทะเลสาบและภูเขาของเมืองด้วย ทั้งนี้ รัฐบาลเมืองหางโจวได้ทุ่มเททั้งทรัพยากรคน เทคโนโลยีต่างๆ เข้าพัฒนาสิ่งแวดล้อมของเมือง มี การริเริ่มโครงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมกว่า 605 โครงการ ที่สําคัญคือการพัฒนาทะเลสาบซีหู และ บริเวณโดยรอบให้เป็นหัวใจของสิ่งแวดล้อมที่ดีในเมืองหางโจว เป็นสถานที่ให้คนในเมืองมาพักผ่อน และคนนอกมาท่องเที่ยว ทะเลสาบซีหูได้รับการแก้ไขคุณภาพน้ําด้วยการสร้างระบบระบายน้ํารอบ ทะเลสาบ นอกจากนี้ ยังมีการขุดลอกคลองที่ดําเนินการมาตั้งแต่ ค.ศ. 1952 1976 และ 1999-2003 ตลอดจนมีการปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบทะเลสาบ จัดให้มีถนนที่กว้างเพียงพอสําหรับการเดิน การปั่น จักรยาน รวมไปถึงการมีเจ้าหน้าที่ดูแลเก็บกวาดขยะ ดูแลความสะอาดทุกตารางเมตร เป็นต้น ความพยายามในการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของเมืองประสบความสําเร็จจนใน ค.ศ. 2001 หางโจวได้รับรางวัลกิตติมศักดิ์ในฐานะเมืองต้นแบบด้านสิ่งแวดล้อม (National Environmental Protection Model City) อีกทั้งในค.ศ. 2005 และ ค.ศ. 2009 หางโจวได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงเป็นหนึ่ง ในเมืองนําร่องการพัฒนาอารยธรรมนิเวศวิทยาของประเทศจีน
  • 24. 23 2. เมืองแห่งระบบคมนาคมอัจฉริยะ ลําพังแค่การมีต้นไม้กับเลนจักรยานไม่ได้หมายความว่าเมืองจะกลายเป็นเมืองสีเขียวได้ในทันที แต่การจะเป็นเมืองสีเขียวได้นั้น เมืองต้องส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวควบคู่ไปกับการลดพฤติกรรมที่ กระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเดินทางขนส่งในเมืองที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกมามหาศาล ซึ่งเมืองหางโจวก็ประสบและเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงพยายามหาวิถีทางในการ สร้างระบบคมนาคมของเมืองที่ลดการปล่อยก๊าซ CO2 อย่างครอบคลุม เป็นระบบ และเน้นแก้ที่ต้นเหตุ เพื่อมุ่งสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะที่สมบูรณ์ ซึ่งมีด้วยกัน 3 แนวทาง ดังนี้ 1) การส่งเสริมการเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ (Non-Motorized Transport ; NMT) การเดินทางโดยไม่ใช้เครื่องยนต์ซึ่งก็คือการเดินและขี่จักรยาน ถือเป็นนโยบายหลัก ด้านการคมนาคมในเมืองหางโจวที่ครอบคลุมทั้งการวางผังเมืองและผังระบบขนส่ง การ ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการออกกฎหมายข้อบังคับ เพื่อให้การเดินทางโดยไม่ใช้ เครื่องยนต์ครอบคลุมทั่วถึงทั้งเมืองและเข้าถึงได้ง่าย โดยกลไกสําคัญที่รัฐบาลหางโจวใช้ ขับเคลื่อนการเดินทางรูปแบบนี้ คือ การให้บริการจักรยานสาธารณะ ด้วยเขตเมืองหางโจวได้เติบโตอย่างรวดเร็วและไร้ทิศทาง คนเมืองจึงหันมาใช้ รถยนต์ส่วนตัวกันมากขึ้น ทําให้ปริมาณการใช้จักรยานในเมืองลดลงจากร้อยละ 60 ใน ค.ศ. 1997 เหลือเพียงร้อยละ 33.5 ใน ค.ศ. 2007 นายกเทศมนตรีหวังกั๋วผิงจึงริเริ่มมาตรการใช้ ระบบบริการจักรยานสาธารณะใน ค.ศ. 2008 ซึ่งถือเป็นระบบบริการจักรยานสาธารณะแห่ง แรกในประเทศจีน โดยมีจุดบริการ 61 แห่ง มีจักรยานรวมทั้งหมด 2,500 คัน เพียงมีบัตร ประชาชนหรือแอพพลิเคชัน WeChat ก็ใช้บริการได้ ซึ่งจนถึงปัจจุบันเมืองหางโจวมีจุด บริการจักรยานสาธารณะมากถึง 2,700 แห่งและให้บริการจักรยานมากกว่า 66,500 คัน (HSBC, 2016) ตั้งอยู่ตามป้ายรถเมล์ สถานีรถไฟใต้ดิน เขตที่พักอาศัย แหล่งท่องเที่ยว และ สถาบันการศึกษา ตลอดทั้งยังมีการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานสําหรับการขี่จักรยานและการ เดินทางเท้าไว้ด้วย ทุกวันนี้จักรยานได้กลายมาเป็นพาหนะหลักของคนแทนรถยนต์จนหาง โจวถูกคาดการณ์ว่าเป็นเมืองที่มีระบบจักรยานสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในโลก
  • 25. 24 ภาพที่ 12 โครงข่ายเส้นทางจักรยาน (ซ้าย) และพื้นที่เดินเท้า (ขวา) ที่มา Yu et al, 2009. อ้างใน David B. and Jian L., 2013. 2) การพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ แม้การเดินทางด้วยจักรยานและการเดินเท้าจะเป็นการเดินทางที่เป็นมิตรกับ สิ่งแวดล้อมที่สุด แต่ก็ใช้เวลามาก ทําให้เหมาะกับการเดินทางระยะสั้นเท่านั้น ระบบขนส่ง สาธารณะจึงเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งต่อคนเมือง เมืองหางโจวจึงพยายามพัฒนาช่องทางการ เดินทางของคนเมืองให้มีความหลากหลายมากที่สุด ปัจจุบันมีช่องทางการเดินทางด้วยระบบ ขนส่งสาธารณะ 3 รูปแบบหลัก ได้แก่  รถไฟใต้ดิน ด้วยเมืองหางโจวอุดมสมบูรณ์ไปด้วยที่ราบลุ่มแม่น้ําและบึง ทําให้ผืนดินไม่ แข็งแรง ยากต่อการขุดทํารถไฟใต้ดิน ทําให้เมืองหางโจวดําเนินการสร้างและเปิดใช้ บริการรถไฟใต้ดินไปได้เพียง 3 สาย คือ สาย 1 สาย 2 และสาย 4 แต่ปัจจุบันเทคโนโลยี การขุดอุโมงค์ได้พัฒนาขึ้นมาก เมืองหางโจวจึงสามารถดําเนินการก่อสร้างเพิ่มเติมได้ แล้วอีก 7 สาย ดังภาพที่ 14 ซึ่งในอนาคตจะครอบคลุมทั้งเมือง
  • 26. 25 ภาพที่ 14 แผนผังรถไฟใต้ดินเมืองหางโจว ที่มา HANGZHOU Our guide to the city hosting this year's G20  รถบัสประจาทาง เมืองหางโจวมีทั้งรถบัสปกติ รถบัสไฟฟ้า (Trolley Bus) และ BRT วิ่ง ทั่วเมือง นอกจากนี้ ยังมีรถบัสสีฟ้า (Blue EvJoy Bus) ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะทั้งสะอาด ใช้พลังงานไฟฟ้า และมีบริการไวไฟฟรีตลอดทาง ค่า โดยสารรถบัสทุกประเภทมีราคาเพียง 2 – 3 หยวน ผู้โดยสารสามารถชําระผ่านการแตะ บัตรหรือหยอดเงินในตู้ด้านหน้ารถได้อย่างสะดวก  แท็กซี่ แท็กซี่เมืองหางโจวคล้ายกับกรุงเทพฯ ตรงที่หาได้ง่าย คิดค่าบริการตามมิเตอร์ แต่จะเรียกยากขึ้นในชั่วโมงเร่งด่วน ช่วงฝนตกหรือเมื่อต้องเดินทางไกล ช่องทางหนึ่งที่ แก้ปัญหานี้ได้จึงเป็นการใช้แอพพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่ โดยในเมืองหางโจวจะนิยมใช้ แอพฯ “ตีตีชูสิง (Didi Chuxing)” ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการเรียกรถ แท็กซี่หลายเจ้า ได้แก่ Tencent Alibaba Grab Lyft และ Ola ซึ่งปัจจุบันกําลังขับเคี่ยวกับ คู่แข่งอย่าง Uber