SlideShare a Scribd company logo
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง
เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง
เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ
ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
(ระหว่างปี 2553 – 2561)
ผู้เขียน : ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ
บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล
บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล
กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ถอดความ : ณัฐธิดา เย็นบารุง
ปก : ณัฐธิดา เย็นบารุง
รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบารุง
ปีที่เผยแพร่ : มกราคม พ.ศ. 2561
ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI)
ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สารบัญ
เนื้อหา
สภาพพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นไทยออยล์...............................................................................................2
จุดเริ่มต้นโมเดลการดูแลสุขภาพชุมชนเชิงรุกรอบพื้นที่โรงกลั่น : การสร้างศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือ
ไทยออยล์เพื่อชุมชน ................................................................................................................................5
ภารกิจการทางานของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน...............................................7
ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่น........................................................................9
โมเดลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (FAP).........................................................................13
การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับข้อมูลดัชนีชี้วัดมาตรฐาน.................................................17
ผลลัพธ์ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ไทยออยล์เพื่อชุมชน (ปี 2553 – 2559).......................................18
เป้าหมายระยะยาว.................................................................................................................................20
ความท้าทายในการทางาน (ในระยะเริ่มต้น)............................................................................................21
ความท้าทายสถานการณ์ปัจจุบัน............................................................................................................22
หัวใจสาคัญในการทางาน .......................................................................................................................23
ประวัติผู้เขียน ........................................................................................................................................25
1
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง
: เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 1
ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ2
พื้นที่ชุมชนรอบเขตอุตสาหกรรม มักจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น มีที่อยู่อาศัย
หนาแน่น มีคนหลากหลายกลุ่ม ทั้งคนดั้งเดิม และแรงงานย้ายถิ่นทั้งที่เป็นคนไทยและแรงงานข้ามชาติ มี
ความซับซ้อนในพื้นที่และที่สาคัญพื้นที่รอบเขตอุตสาหกรรมมักมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบทั้งทาง
เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสถานประกอบการในเขตนั้น ในฐานะสมาชิก
ทางสังคมในพื้นที่ต้องมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาพื้นที่รอบเขตนั้นให้มีศักยภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
พื้นที่รอบโรงกลั่นเครือไทยออยล์ ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา มีลักษณะเป็นพื้นที่รอบเขตอุตสาหกรรม ที่
ปัจจุบันไทยออยล์และบริษัทในเครือให้ความสาคัญในการมีส่วนร่วมดูแลชุมชนรอบโรงกลั่นและบริษัทใน
เครือ สร้างศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เป็นศูนย์กลางการบูรณาการแผนงาน
กิจกรรม และกระบวนการทางานชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนระดับ
ประถมศึกษาทุกคนในโรงเรียนทุกโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่รอบเครือไทยออยล์ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะเชิง
รุก กิจกรรมแอโรบิกและออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ ห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์สุขภาพฯ
รองรับการใช้บริการของคนในพื้นที่ชุมชน 10 ชุมชนโดยรอบเครือไทยออยล์ที่มีประชากรกว่า 15,000 คน สิ่ง
ที่น่าสนใจของการทางานดูแลพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นและบริษัทในเครือไทยออยล์นั้น คือ กลไกและระบบ
ในการทางาน โดยไทยออยล์ซึ่งมีพันธกิจสาคัญควบคู่กับการทาธุรกิจตลอดมา คือ ความรับผิดชอบสังคมนั้น
ได้กาหนดบทบาทเป็นผู้สนับสนุน เชื่อม ประสานหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาล เทศบาล
สถาบันการศึกษา หน่วยงานภายนอก เข้ามาร่วมกันในการทางานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ เกิดเป็นโมเดลการ
1 ถอดความจากเวที Panel of Urban Expert เรื่อง โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง : ชุมชน-โรงเรียนรอบพื้นที่โรงกลั่น จัดโดยศูนย์ศึกษา
มหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 18 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมอาคารพร้อมพันธ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว จตุจักร
กทม.
2 ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (ระหว่างปี 2553 – 2561) จากที่ได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการ
เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โดยมีบทบาทตั้งแต่การร่วมดาเนินการวางกรอบแนวคิด ภารกิจของศูนย์สุขภาพฯ การเริ่มเปิดดาเนินการ การ
พัฒนากิจกรรมของศูนย์สุขภาพฯ ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.2553 จนถึง 31 ธ.ค.2561 ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้รับทราบถึงแนวนโยบายของผู้บริหาร
ไทยออยล์ ที่มีความตั้งใจและปรารถนาที่จะเป็นสมาชิกที่ดีในพื้นที่ที่ประกอบการ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทย
ออยล์เพื่อชุมชนแห่งนี้ เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้พัฒนาร่วมกันจากการปฏิบัติจริง ทาจริง ใช้พื้นฐานที่เข้มแข็งของแต่ละองค์กร แต่ละส่วนงาน
ได้แก่ เทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง โรงเรียนทั้งสังกัดเทศบาล สังกัดสพฐ. และเอกชนในพื้นที่ แต่ละกลุ่มคนในชุมชน ทั้ง
คณะกรรมการชุมชน กลุ่มอสม. คณะครู เป็นต้น มาร่วมมือ แบ่งปันกัน โดยมุ่งผลเพื่อประโยชน์แก่พื้นที่โดยรวม และที่สาคัญยังเปิดรับการ
ทางานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงาน องค์กรนอกพื้นที่ ที่เอื้อเฟื้อประโยชน์แก่กันและกัน ทาให้เห็นว่าเป็นประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์แก่พื้นที่
อื่นๆ จึงขอขอบพระคุณบริษัท ไทยออยล์ จากัด(มหาชน) และหากพบว่าข้อมูล ความเห็น แนวดาเนินการเหล่านี้ มีข้อบกพร่องผิดพลาดประการ
ใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้
2
ดูแลสุขภาพในเขตเมืองที่น่าสนใจ มีผลงานเป็นรูปธรรม สุขภาวะของคนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง
ค่อยเป็นค่อยไป เป็นอีกหนึ่งโมเดลการดูแลสุขภาพที่จะเป็นตัวอย่างการทางานได้
สภาพพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นไทยออยล์
บริเวณรอบพื้นที่โรงกลั่นและบริษัทเครือไทยออยล์ อยู่ใน ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา อยู่ในเขตเทศบาล
นครแหลมฉบัง เขตเมืองบริเวณนี้มีมิติที่หลากหลาย บริเวณแหลมฉบังเป็นชุมชนเมืองรอบนิคม
อุตสาหกรรม ที่ต่างจากชุมชนเมืองในกรุงเทพ ซึ่งเมืองแบบกรุงเทพ มีตึกแถว บ้านจัดสรร มีคอนโด มีสลัม
มีโรงงานเล็กๆ บ้าง แต่โรงงานขนาดใหญ่จะไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว (โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่ยังมีอยู่ในกรุงเทพฯ
คือ โรงกลั่นบางจาก) เขตเมืองรอบไทยออยล์นี้ ถือเป็นเขตเมืองรอบนิคมอุตสาหกรรมที่แตกต่างกับ
กรุงเทพ คือมีสถานประกอบการขนาดใหญ่ มีความใกล้เคียงกับเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี แต่ต่างกันที่
บางพลีมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่เป็นโรงงานขนาดเล็กมาก่อน (Mini factory) ไม่ใช่โรงงานขนาดใหญ่ และ
ค่อยๆ แผ่กว้างออกไป
พื้นที่ของไทยออยด์ อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีภูมิศาสตร์ด้านหนึ่งติดทะเล ติดภูเขา
ด้านหนึ่งเป็นพื้นที่ติดกับนิคมแหลมฉบังและโรงกลั่น ESSO อีกสองด้านมีชุมชนอยู่โดยรอบก่อนที่จะถึง
แนวถนนสุขุมวิท และแนวถนนเลี่ยงเมืองที่วิ่งเข้าสูงนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง หากขับรถบนถนนสุขุมวิท
ผ่านเครือไทยออยล์จะสังเกตเห็นปล่องสูง จะเป็นปล่องของไทยออยล์ ซึ่งถือเป็นความพยายามหนึ่งที่
คานึงถึงสิ่งแวดล้อม พื้นที่ของไทยออยล์จะอยู่ภายในวงกลมสีเหลือง (ภาพที่ 1) ศูนย์สุขภาพและการ
เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนจะอยู่ใกล้ๆ กับพื้นที่ไทยออยล์ มีชุมชนล้อมรอบ
ภาพที่ 1 เขตพื้นที่รอบโรงกลั่นไทยออยล์
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
3
พื้นที่ชุมชนเขตเมืองรอบโรงกลั่นและเครือไทยออยล์ อยู่ภายใต้รัศมีวงกลม 5 กิโลเมตร (ภาพที่ 2)
ตามข้อกาหนดการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ที่สถานประกอบการต้องดูแลชุมชนที่อาจได้รับ
ผลกระทบ3 ชุมชนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้รัศมีของไทยออยล์มีทั้งหมด 10 ชุมชน คือ ตลาดอ่าวอุดม บ้านทุ่ง
บ้านอ่าวอุดม บ้านแหลมฉบัง (ทั้งชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนบ้านแหลมฉบังยังมีการทาประมงชาวบ้าน
อยู่) บ้านนาเก่า บ้านเขาน้าซับ บ้านชากยายจีน บ้านห้วยเล็ก วัดนโมรม บ้านแหลมทอง (เป็นชุมชนขนาด
ใหญ่ที่โยกย้ายมาจากพื้นที่เวณคืนฝั่งตรงข้ามเพื่อเป็นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง)
ภาพที่ 2 บริเวณชุมชนในเขตพื้นที่การดูแลของไทยออยล์ รัศมี 5 กิโลเมตร
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
ลักษณะของพื้นที่มีหลายลักษณะ (ภาพที่ 3) คือมีทั้งชุมชนดั้งเดิม มีบ้านเล็ก หลังน้อย ถ้ามีฐานะจะ
สร้างบ้านหลังใหญ่ คนพื้นถิ่นส่วนใหญ่สามารถใช้คาว่ามีฐานะดีได้ การมีฐานะดีของหลายครอบครัวก็
เนื่องมาจากนิคมอุตสาหกรรม คือ เกิดจากการขายที่ดินหรือทาห้องเช่า อพาร์ทเมนท์ ทาให้มีฐานะขึ้นมา
โดยฉับพลัน แต่มีบ้างที่เมื่อขายที่ได้แล้วแบ่งให้ลูกหลาน ก็ขาดการดูแลจากลูกหลาน ในด้านความสัมพันธ์
ถ้าเป็นชุมชนดั้งเดิม ผู้คนจะรู้จักกันดี เรียกรวมตัวสามารถทาได้ ปัจจุบันชุมชนบริเวณนี้มีความเป็นชุมชน
เมืองมากขึ้นคือต่างคนต่างอยู่ คนพื้นที่มีกาลังในการส่งลูกเรียนสูงขึ้น โดยมากมักส่งเรียนในโรงเรียนขนาด
ใหญ่นอกพื้นที่ เช่น โรงเรียนในอาเภอศรีราชา ไม่ค่อยเรียนในพื้นที่ เมื่อเรียนจบก็ทางานในเมืองใหญ่อื่น ๆ
ไม่ค่อยกลับมาอยู่ในพื้นที่ ทาให้ครอบครัวของคนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณนี้ ที่อยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ
ประชากรทั้งหมด 10 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ตามทะเบียนราษฎรมีประมาณ 30,000 กว่าคน
หากนับประชากรแฝงอาจจะมีมากถึงประมาณ 100,000 คน สามารถแบ่งประชากรเป็นสองส่วน คือ
3 โรงกลั่นน้ามันถือเป็นอุตสาหกรรมปลายน้า มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น มีกระบวนการที่คานึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยสูง
4
ผู้สูงอายุยังอาศัยอยู่ในบ้าน และวัยแรงงานที่ออกไปทางานข้างนอก อีกทั้งมีแรงงานเคลื่อนย้ายเข้ามา
จานวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งประเภทแรงงานเคลื่อนย้ายได้หลายประเภท ประเภทที่ 1 ใช้ทักษะ
ความสามารถมากกว่าใช้แรงงาน มักจะเช่าอพาร์ทเมนท์ ซื้อบ้านจัดสรร ประเภทที่ 2 กึ่งทักษะแรงงาน จะ
อยู่หอพัก บ้านห้องแถว ส่วนกลุ่มที่ 3 ที่ใช้แรงงาน จะอยู่ในแค้มป์คนงาน ซึ่งจะมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในกลุ่ม
นี้ด้วย4 ปัจจุบันในชุมชนเริ่มมีบ้านจัดสรร มีคอนโดมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา(2558 – 2560)
เป็นช่วงที่มีคอนโดเกิดขึ้นจานวนมาก
ภาพที่ 3 ลักษณะชุมชนรอบเครือไทยออยล์
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
โครงสร้างและสถาบันในพื้นที่ที่ถือเป็นทุนทางสังคมในการทางานพัฒนาชุมชนได้ มีดังนี้
- เทศบาลนครแหลมฉบัง หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยงานหลักตามกฎหมายที่มี
บทบาทเชิงพัฒนาของพื้นที่ สามารถเป็นตัวหลักร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่
มีสถานประกอบการขนาดใหญ่จานวนมาก ทาให้สามารถก้าวข้ามข้อจากัดเรื่องอื่นๆ ได้ เช่น เรื่อง
งบประมาณ นอกจากงบประมาณส่วนท้องถิ่นของเทศบาลเองแล้ว ยังสามารถขอความช่วยเหลือ
จากสถานประกอบการได้ สถานประกอบการส่วนใหญ่เช่นเดียวกับไทยออยล์จะมีงบประมาณด้าน
การดูแลรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ที่พอจัดสรรให้ได้ หรือกองทุน
4
เรื่องบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างด้าว มีมุมมองได้หลายแบบ มุมมองแบบหนึ่งคือเป็นกลุ่มที่เราต้องระมัดระวัง มุมมองอีกแบบ
คือ หากคิดว่าแรงงานกลุ่มนี้เป็นคนพลัดถิ่น ควรทาความเข้าใจร่วมกัน ว่าพวกเขาต้องร่วมดูแลพื้นที่ พัฒนาสังคมที่อยู่อาศัยทามาหากิน
อะไรบ้าง หากสามารถจัดการแนวคิดกลุ่มผู้นาของชุมชนแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ได้ น่าจะสามารถพัฒนาสังคมความเป็นอยู่ร่วมกันด้วยกันได้ อยู่
ที่วิธีคิด มุมมองว่าจะมองเขาเป็นมิตร หรือเป็นเพียงแค่คนอาศัยระยะหนึ่งที่อาจจะสร้างภาระ
5
อื่นๆ เช่น กองทุนโรงไฟฟ้า สาหรับงานด้านสิ่งแวดล้อม กองทุนของ สปสช. สาหรับงานด้าน
สุขภาพ เป็นต้น
- โรงพยาบาลแหลมฉบัง เดิมชื่อโรงพยาบาลอ่าวอุดมศรีราชา เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรและ
กระบวนการที่จะสนับสนุนระบบบริการสุขภาพและข้อมูลวิชาการสุขภาพได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะ
เน้นทางานเชิงรุกหรือเชิงรับอย่างไร
- โรงเรียน เป็นอีกสถาบันที่น่าสนใจ สถาบันการศึกษาและครูยังคงได้รับความเชื่อถือ เป็นศูนย์กลาง
พัฒนาเยาวชนที่สามารถเชื่อมโยงกับครอบครัว หากกาหนดบทบาทที่จะมีร่วมการพัฒนาชุมชน จะ
มีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างมาก แต่ปัจจุบันวิธีการได้มาของครูเปลี่ยนไปมาก มีเป็นจานวน
มากที่ไม่ใช่คนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ไม่นาน มีการย้ายบ่อย และเพื่อหน้าที่การงาน งานส่วนตัวก็เยอะ
มาก เช่น งานประเมิน การทาวิทยฐานะ จึงมักสนใจเด็ก ๆ เฉพาะในขอบเขตโรงเรียน ขาดการ
เชื่อมโยงไปถึงครอบครัว ที่จะแก้ไขปัญหาเชิงระบบเท่าที่ควรนัก ขณะที่ครูในอดีตเป็นคนในพื้นที่
สมัยก่อนเด็กที่ไม่เรียน เกเร ครูมีหน้าที่ตามดูถึงบ้าน
- วัด สาหรับพระยังเป็นที่นับถือของชุมชนแถบนี้อยู่ ชุมชนยังให้ความสาคัญกับศาสนาดี ยัง
ต้องการที่พึ่งพิงทางใจ โดยเฉพาะคนที่ทางานในระบบอุตสาหกรรม เพราะวิถีของแรงงานค่อนข้าง
โดดเดี่ยวมาก เข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 6 โมงเย็น อยู่กับเครื่องจักร ถูกควบคุมกากับโดยหัวหน้า
งานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ทางานร่วมกับเพื่อนก็ให้ความร่วมมือบ้างไม่ให้บ้าง จนเย็น
กลับบ้าน บางทีอยู่ต่อ ทาโอที เป็นต้น หากได้พระสงฆ์ที่มีความคิดก้าวหน้าสนใจงานพัฒนาชุมชน
งานบางอย่างง่ายขึ้น ช่วยสร้างโอกาสที่ดีต่องานพัฒนา โดยเฉพาะการระดมความร่วมแรง
โครงสร้างหรือสถาบันที่กล่าวมาข้างต้น จะชี้ให้เห็นว่า หากตั้งมั่นทางานด้านการพัฒนาชุมชนอย่าง
จริงจัง ยังมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นต้นทุนได้ แต่ยังพบมุมมองและการทางานแบบแยกส่วนกัน หาก
สามารถมีความร่วมมือ เชื่อมโยงกันได้(Collaboration) การทางานจะเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น ใช้ทรัพยากร
ได้คุ้มค่ามากขึ้น ลดความซ้าซ้อน ทางานพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพลังร่วมมากขึ้น
จุดเริ่มต้นโมเดลการดูแลสุขภาพชุมชนเชิงรุกรอบพื้นที่โรงกลั่น : การสร้างศูนย์สุขภาพและการ
เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
เนื่องจากไทยออยล์เป็นอุตสาหกรรมโรงกลั่นขนาดใหญ่ มีพันธกิจข้อหนึ่ง คือ มุ่งเน้นหลักการกากับ
ดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กล่าวย่อ ๆ ได้ว่าภารกิจความรับผิดชอบต่อ
สังคมของไทยออยล์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. In Process CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะต้อง
พัฒนากระบวนการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ก่อมลพิษต่อคนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2. After
6
Process CSR คือการดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนพื้นที่รอบ
โรงกลั่น และทางานเพื่อสังคมในระดับประเทศที่จะใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมไปพัฒนาพื้นที่ที่ไกลจาก
ระบบส่งไฟฟ้าพื้นฐานของประเทศ
การดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนพื้นที่รอบโรงกลั่นนั้น ไทยออยล์จัดกิจกรรมลักษณะเชิงรุกมา
โดยตลอด แต่เป็นการจัดรายกิจกรรม เช่น หน่วยสุขภาพเคลื่อนที่ ที่มีเวทีดูแลสุขภาพ มีบุคลากรทาง
การแพทย์มาตรวจ ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีคนมาเข้าร่วมจานวนมาก ต่อมาผู้บริหารต้องการการดูแลพื้นที่ใน
ลักษณะที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน นอกเหนือจากการจัดทาเป็นกิจกรรมเป็นครั้ง ๆ เท่านั้น ประกอบกับไทยออยล์
เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ ประกอบการอยู่ในพื้นที่มากกว่า 50 ปี ประสานงานร่วมและช่วยเหลือ
ท้องถิ่นและชุมชนมาตลอด คนในชุมชนจึงรู้สึกว่าไทยออยล์เป็นเหมือนสมาชิกหนึ่งในครอบครัว จึงอยากคิด
ทาอะไรเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนมากขึ้น เมื่อได้ประเมินศักยภาพของพื้นที่แล้วพบว่า บริเวณ
พื้นที่ของไทยออยล์ยังคงมีพื้นที่ว่างระหว่างชุมชนบ้านอ่าวอุดมกับชุมชนตลาดอ่าวอุดม ใกล้ทางเชื่อมกับ
ทางเข้าโรงกลั่นไทยออยล์ที่จะเชื่อมต่อไปชุมชนบ้านทุ่ง เป็นพื้นที่ใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่สามารถ
สร้างอาคารสูงได้ พื้นที่อยู่กลางชุมชน สามารถนามาทาประโยชน์ได้
ในปี 2553 เครือไทยออยล์และชุมชนรอบโรงกลั่นได้ร่วมกันก่อตั้ง ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้
เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน5 เป็นศูนย์กลางการบูรณาการชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้าน
การศึกษาเรียนรู้ ด้านศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ในช่วงเริ่มต้น ไทยออยล์มีการปรึกษาพูดคุยร่วมกับโรงพยาบาลแหลมฉบัง และกาหนดโครงสร้าง
ของศูนย์สุขภาพแห่งนี้ในลักษณะหน่วยบริการปฐมภูมิ6 (Primary Care Unit: PCU) ซึ่งมีรูปแบบการทางาน
เหมือนเป็นสาขาของโรงพยาบาล ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจา มีแพทย์มาตรวจรักษา
เป็นช่วงเวลา มีห้องตรวจ ต่อมาทั้งไทยออยล์และโรงพยาบาลแหลมฉบังได้มีการทบทวน และมีความเห็น
ตรงกันที่จะปรับรูปแบบโครงสร้างของศูนย์สุขภาพฯเพื่อให้มีประโยชน์ร่วมต่อทั้งสองฝ่าย และที่สาคัญต่อ
ชุมชน ที่ควรจะได้รับการบริการเชิงรุกมากขึ้นกว่าเชิงรับ
จึงมีข้อสรุปให้ศูนย์สุขภาพฯ ทางานเชิงส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่น
ให้มากที่สุด เมื่อเสนอโมเดลการทางานเชิงส่งเสริมสุขภาพ ไม่ต้องมีภารกิจการรักษา ทาให้ไม่จาเป็นต้องมี
บุคลากรการแพทย์มาอยู่ประจา และยิ่งหากมองในมุมของคาว่า “สุขภาวะ” ก็จะเอื้อให้แผนงาน กิจกรรมของ
ศูนย์สุขภาพฯมีขอบเขตที่กว้างขวางต่อชุมชน
5 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน คาว่าเพื่อชุมชน เป็นสิ่งสาคัญ เพื่อให้รู้ว่าศูนย์นี้ไม่ใช่ของไทยออยล์ แม้กายภาพจะใช่
แต่ก็มีเป้าหมายว่าตั้งเพื่อใคร และมีจุดยืนสาคัญ คือ การทาเรื่องสุขภาวะชุมชน ไม่ได้ครอบคลุมแค่เรื่องสุขภาพ คาว่า สุขภาวะมีความหมาย
มากกว่า คือรวมมิติทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมด้วย
6 คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการ
ดูแลในเบื้องต้น และส่งผู้ป่วยต่อสถานพยาบาลสาหรับการรักษาที่ซับซ้อน รวมถึงบริการฟื้นฟู
7
ภารกิจการทางานของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
ภารกิจของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน มี 3 ด้าน คือ 1. ร่วมสร้างเสริมสุข
ภาวะชุมชน 2.ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน และ3.การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ (ภาพที่ 4) ภารกิจสร้างเสริมสุข
ภาวะชุมชนนั้นศูนย์สุขภาพฯพยายามคานึงทุกวิถีชีวิต ไม่เพียงแค่สุขภาพแต่หมายถึงส่งเสริมด้าน
สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมวัฒนธรรม สังคมด้วย แม้ภารกิจของศูนย์ฯ ทาหลายด้าน แต่
ด้านหลักคือด้านการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยแบ่งแผนงานด้านสุขภาพออกเป็น 2 แผนงาน คือ
1. แผนงานส่งเสริมสุขภาพชุมชน ด้วยแนวคิดเวชศาสตร์ชุมชน เป็นงานที่มุ่งเน้นการสร้าง
เสริมสุขภาพเชิงรุก ที่หวังให้ชุมชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าใจและตระหนักในเรื่องการดูแลตนเอง
และครอบครัวให้มีสุขภาพที่ดี ดาเนินการสารวจสุขภาวะชุมชน และจัดทาแฟ้มครอบครัวด้วย
โปรแกรม Family and Community Assessment Program ชื่อย่อคือ “FAP” ซึ่งเป็นโปรแกรม
ฐานข้อมูลของโครงการเวชศาสตร์ชุมชน เพื่อพัฒนางานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน ซึ่ง
ศูนย์สุขภาพฯ ได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์อุไร จเรประพาฬ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้
คิดค้นและพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น
2. แผนงานส่งเสริมสุขภาพเยาวชน มีโครงการหลัก 2 โครงการ คือ โครงการโรงเรียนส่งเสริม
ทันตสุขภาพนักเรียนรอบเครือไทยออยล์ ดาเนินโครงการ “คลินิกทันตกรรม” ให้บริการดูแล
ฟันและช่องปากให้กับเด็กนักเรียนรอบโรงกลั่นไปแล้วกว่า 15,000 ครั้ง โดยดูแลรักษาช่อง
ปากของเด็กด้วยการให้บริการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์
ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอยู่ใน 8 โรงเรียนรอบโรง
กลั่นและเครือไทยออยล์ นอกจากนี้ทางศูนย์สุขภาพฯ ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาฟันและ
ปากด้วย พร้อมส่งต่อไปยังโรงเรียนให้นาไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพฟันของนักเรียน
ในการจัดการความเสี่ยงต่อปัญหาฟันผุ เพื่อให้สามารถสร้างแรงจูงใจในการป้องกันได้ เช่น ให้มี
การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน สอนแปรงฟัน และประเมินการแปรงฟันที่ถูกวิธี เป็นต้น
ข้อมูลก็จะช่วยให้คุณครูดูได้ว่าเด็กคนไหนควรจะดูแลเป็นพิเศษ เช่น ฟันผุเยอะ เป็นโรคเหงือก
อักเสบได้
นอกจากโครงการดูแลฟันแล้ว มีอีก 1 โครงการคือ โครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็น
แชมป์ กระโดดเชือก โครงการเริ่มมีขึ้นเมื่อปี 2554 ต้องการให้เด็กรอบพื้นที่โรงกลั่น 8
โรงเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ให้เด็กสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง มีความเชื่อมั่นที่จะมีแนวทาง
ปฏิบัติที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เสริมสร้างสุขภาพห่างไกลยาเสพติด จึงได้เลือก
โครงการ “กระโดดเชือก ทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ” ของ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ใน
พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเป็น
8
โรคหัวใจ และทางานเป็นทีม สร้างความสามัคคีด้วยการกระโดดเชือกเป็นหมู่คณะ จึงนามา
เผยแพร่ในพื้นที่แหลมฉบัง และให้การสนับสนุน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ
เดินทางเพื่อไปแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ระดับประเทศ โดยในปี 2556 เด็ก
นักเรียนในพื้นที่แหลมฉบังไปแข่งขันระดับประเทศได้คว้าถ้วยรางวัลทั้งหมด 12 จาก 16 ถ้วย
รางวัล
ภาพที่ 4 ภารกิจการทางาน
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
ปัจจุบันศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ตั้งอยู่บนพื้นที่บริษัทไทยออยล์ จากัด (มหาชน)
เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 31 ตารางวา ศูนย์มีพื้น ที่ใช้สอยประมาณ 13,160 ตารางเมตร แบ่งสัดส่วนการให้บริการและ
กิจกรรม ดังนี้
- หอพระ ซึ่งประดิษฐาน “พระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุนี” ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนากิจต่างๆ เช่น
การสวดมนต์เย็นชาระใจ การหล่อเทียนพรรษา ช่วยให้เกิดความร่มเย็นทั้งทางกายและจิตใจ
- คลินิกทันตกรรม เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันขั้นพื้นฐานให้กับเด็กนักเรียน 8 โรงเรียน
รอบโรงกลั่น ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลแหลมฉบัง
- ห้องสมุด เป็นห้องสมุดซึ่งเครือไทยออยล์ร่วมกับ TK PARK ในระยะเริ่มต้นจัดทาโครงการยืมหนังสือ
หมุนเวียน รวมถึงสื่อเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้ต่อยอดด้วยตนเอง
- ลานอเนกประสงค์ หรือลานออกกาลังกาย และ พื้นที่สาหรับพักผ่อนหย่อนใจ จนถึงปัจจุบันนี้ มีผู้คนในชุมชน
หลากหลายช่วงอายุ ทั้งเด็กเล็ก นักเรียน หรือผู้ใหญ่ มาใช้บริการศูนย์สุขภาพฯ รวมมากกว่า 150,000 คน
9
ภาพที่ 4 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
แภาพที่ 5 กิจกรรมภายในศูนย์ ฯ
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่น
ก่อนที่จะมีศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ระบบและกลไกในการบริหารงาน
การดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่นไม่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง คือมี
เทศบาลนครแหลมฉบังมีบทบาทเป็นระบบหลักในงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค โดยเครือข่ายของ
กลุ่มอสม.กระจายอยู่ในแต่ละชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนตามนโยบายของเทศบาลฯ และ
โรงพยาบาลแหลมฉบัง(ในช่วงนั้นชื่อ โรงพยาบาลอ่าวอุดมศรีราชา) เป็นระบบและกลไกหลักในด้านบริการ
สุขภาพและป้องกันโรค โดยบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน และด้วยพื้นที่
แหลมฉบังมีขนาดกว้างใหญ่ประกอบด้วยชุมชนถึง 23 ชุมชน แนวทางในการดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพและ
ป้องกันโรค จึงเป็นไปตามนโยบายของแต่ละระบบ โรงพยาบาลจะเคลื่อนงานตามนโยบายของกระทรวง
สาธารณสุข โดยเน้นกลุ่มประชากรผู้ป่วยที่มารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเป็นกลุ่มหลัก และทางานรณรงค์
กับพื้นที่เมื่อมีโรคระบาด หรือมีเป้าหมายกาหนดให้ทาการสารวจคัดกรอง ขณะที่เทศบาลนครแหลมฉบัง
10
สามารถกาหนดนโยบายด้านสุขภาพได้เอง โดยอาศัยทิศทางของกระทรวงสาธารณสุขประกอบร่วมกับ
ความต้องการในพื้นที่ ทั้งสองระบบมีความต้องการเชื่อมโยงประสานการทางาน หรือร่วมมือกันในการ
ทางานรณรงค์ในบางโอกาสเป็นโครงการ ๆ ไป
ในปี 2553 เมื่อศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือจาก
โรงพยาบาลแหลมฉบัง ด้วยแนวคิดกาหนดบทบาทของศูนย์สุขภาพฯ เน้นการทางานสุขภาพเชิงรุก คือ
การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีจุดยืนที่จะมีบทบาท สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน
ประกอบกับเครือไทยออยล์มีแนวนโยบายการทางานชุมชนที่มุ่งประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลัก
ในพื้นที่ ดังนั้นบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะของศูนย์สุขภาพฯ ในพื้นที่ทั้ง 10 ชุมชนรอบโรง
กลั่นและเครือไทยออยล์จึงไม่ได้กาหนดศูนย์สุขภาพฯเป็นผู้มีบทบาทหลัก แต่ศูนย์สุขภาพฯจะมีบทบาทเป็น
“ผู้ร่วมดาเนินการ” เป็นเสมือน ตัวหล่อลื่น ประสานความร่วมมือ กับทุกฝ่ายให้ร่วมกันพัฒนากลไกที่จะ
มาทางานขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคร่วมกัน บทบาทการร่วมดาเนินการ สนับสนุนและเชื่อม
ประสานหน่วยงานหลักด้านสุขภาพในพื้นที่โดยเฉพาะเทศบาลนครแหลมฉบัง และโรงพยาบาลแหลมฉบัง
ไทยออยล์ได้กาหนดความชัดเจนที่มุ่งให้เกิดการทางานร่วมกันกับกลุ่มผู้นาในชุมชน โดยมีเป้าหมาย
อยู่ที่ประโยชน์แก่ชุมชนเป็นหลัก จนพัฒนากระบวนการทางานร่วมระหว่างสามฝ่ายคือไทยออยล์
หน่วยงานหลักคือเทศบาลและโรงพยาบาล และกับชุมชน อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เรียกว่า การจัดการแบบ
3 ประสาน
นอกเหนือจากวิธีคิดที่จะพัฒนาการร่วมทางานในพื้นที่แล้ว เพื่อการจัดการปัญหาการขาดบุคลากร
ในการทางานส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลจัดทาแฟ้มครอบครัว ศูนย์สุขภาพ ฯ จึง
พัฒนากลไกการประสานความร่วมกับหน่วยงานอื่นนอกพื้นที่มากขึ้น กลไกความร่วมมือของศูนย์สุขภาพ ฯ
ขณะนี้มี 5 ยูนิตที่สาคัญ คือ ไทยออยล์ หน่วยงานในพื้นที่ (โรงพยาบาลแหลมฉบัง เทศบาลนครแหลมฉบัง)
ชุมชน(คณะกรรมการชุมชน อสม.และแกนนาสุขภาพ) สถาบันการศึกษา และหน่วยงานนอกพื้นที่ เป็น
เครือข่ายในการทางาน (ภาพที่ 6) ในการประสานงานช่วงแรก จาเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย
ทั้งนี้ไทยออยล์ต้องมีความเข้าใจในบทบาทหลักของตนเองที่เป็นสถานประกอบการ ไม่ใช่หน่วยงานหลัก
ด้านสุขภาพในพื้นที่ ไทยออยล์จะต้องชัดเจนที่จะเป็นผู้ช่วยเชื่อมประสาน สนับสนุนการสร้างกลไกการ
ทางานร่วมกัน โดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายสาคัญด้วยความจริงใจ ที่ต้องการเห็นการทางานร่วมกันของ
หน่วยงานต่างๆ ทีเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่ เป็นกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมกาหนดเป้าหมาย ร่วม
ทา ร่วมแบ่งปัน ร่วมรับผล
เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทางานร่วมกัน มีการตั้งคาถามว่าจะดูแลสุขภาวะชุมชน อะไรคือ
เป้าหมายหลักกันแน่ พบว่าเป้าหมายร่วมที่ทุกหน่วยงานต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว คือการพัฒนาศักยภาพ
ชุมชน จึงเป็นเป้าหมายร่วมที่สาคัญ โดยการทางานที่สามารถครอบคลุมทุกช่วงวัย ขับเคลื่อนผ่านกลไก
11
ประสานประโยชน์ คิดเสมอว่าประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานจะได้รับคืออะไรเมื่อทางานร่วมกับหน่วยงาน
อื่น และควรตั้งประเด็นถึงว่าประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับเป็นเป้าหมายร่วมของทุกหน่วยงาน
ภาพที่ 6 กลไกการทางานพัฒนาสุขภาพชุมชนรอบไทยออยล์
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
ระบบการจัดการแบบ 3 ประสานของหน่วยงานในพื้นที่ ที่ประสานการทางานกับหน่วยงานนอก
พื้นที่ สะท้อนให้เห็นว่าไทยออยล์ไม่ได้เป็นเจ้าของชุมชนและเจ้าของโครงการ เป็นเพียงหนึ่งในยูนิตของการ
ทางาน ไทยออยล์ไม่ได้มีหน้าที่เพียงสนับสนุนงบประมาณ แต่มีหน้าที่สนับสนุนพัฒนากลไกการจัดการ
พยายามเชื่อมโยงให้เกิดกระบวนการทางานร่วมกันของหน่วยงานหลักในพื้นที่ เช่น เทศบาลนครแหลมฉบัง
โรงพยาบาลแหลมฉบัง ให้สามารถทาหน้าที่เป็นบทบาทนาในการทางาน อาจสรุปได้ว่า โครงการ
รับผิดชอบต่อสังคมของไทยออยล์ทาให้เกิดศูนย์สุขภาพ ฯ ขึ้นมา และเป็นช่องทางสาคัญในการสนับสนุน
งานพัฒนาสุขภาวะชุมชน แต่เป็นส่วนหนึ่งในยูนิตการทางานที่มุ่งพัฒนากลไก กระบวนการการบริหาร
จัดการที่เป็นระบบร่วมกัน จนเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนงาน สามารถสร้างการทางานที่มีประสิทธิภาพต่อชุมชน
ได้ มีผลงานเป็นรูปธรรม
12
ภาพที่ 7 จานวนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทางาน
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
การบริหารจัดการภายในของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน
บุคลากรที่ทางานภายในศูนย์ ฯ มีพนักงานจากไทยออยล์ทางานประจาที่ศูนย์ ฯ 2 คน มีที่ปรึกษาการทางาน
(ไม่ประจา) 1 คน มีแม่บ้าน 3 คน และช่างซ่อมบารุง 1 คนทาหน้าที่จัดสัมมนา การประชุม ดูแลประสานการจัดกิจกรรม
ต่าง ๆ ในพื้นที่
ในด้านงบประมาณการทางานของศูนย์สุขภาพฯ ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ในงานทันตกรรม ดูแลเด็ก 5,000 –
6,000 คนต่อปี (งบประมาณในการทางานด้านเวชศาสตร์ชุมชนไม่ได้ใช้งบประมาณที่สูงมากตามที่หลายหน่วยงานเข้าใจ)
13
โมเดลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (FAP)
ผลงานรูปธรรมที่โดดเด่นของการทางานพัฒนาสุขภาวะรอบพื้นที่ไทยออยล์ คือ การสร้างระบบ
ฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (Family and Community Assessment Program: FAP)7 ซึ่งระบบมี
ประโยชน์อย่างมากสาหรับการทางานของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการข้อมูล และ
เครือข่ายอสม.และคณะกรรมการชุมชน ซึ่งตลอดที่ผ่านมาการเก็บข้อมูลสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว
เป็นปัญหาของการทางานด้านสาธารณสุขมาตลอดเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเก็บข้อมูล ต้องใช้งบประมาณ
บุคลากรจานวนมาก ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลเพื่อใช้งานได้ต่อเนื่อง
ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เห็นถึงความสาคัญของการทาฐานข้อมูล
สุขภาพชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทางาน จึงผลักดันเรื่องการทาแฟ้มสุขภาพครอบครัว (Family
Folder) ร่วมกับโรงพยาบาล ช่วงแรกประสบความยากลาบาก เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีบุคลากร ไม่มีเวลา
ที่เพียงพอ ไม่มีวิธีในการอัพเดทข้อมูล จึงมีความพยายามค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการเก็บข้อมูล โดยใช้ฐานคิด
ของการทางานร่วมกันกับหลายฝ่าย และค้นพบว่า การประสานงานให้นักศึกษามาฝึกปฏิบัติงานเก็บข้อมูล
ในพื้นที่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ฝึกงาน ทางศูนย์สุขภาพ ฯ ได้
ข้อมูลและสามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูล กิจกรรมสุขภาพในพื้นที่สามารถกรองคัดข้อมูลเพื่อนาไปขยาย
งาน โดยไทยออยล์รับผิดชอบเป็นฝ่ายสนับสนุนและดูแลนักศึกษาตลอดการฝึกงาน
การทางานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มต้นจากศูนย์สุขภาพ ฯ ได้ติดต่อไปที่คณะพยาบาล ของ
มหาวิทยาลัยบูรพา และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.ชลบุรี เพื่อเสนอพื้นที่ชุมชนรอบโรงกลั่นและเครือ
ไทยออยล์เป็นพื้นที่ให้นักศึกษามาฝึกงานร่วมกับชุมชน เพื่อสารวจชุมชน ระบุปัญหาสุขภาพ ทาประชาคม
ชุมชนเพื่อเลือกปัญหาที่จะแก้ไขร่วมกับชาวชุมชน และบันทึกข้อมูลที่ได้จัดเก็บทาแฟ้มข้อมูล ซึ่งก็ได้รับ
ความร่วมมือกับทางคณะฯ เนื่องจากต้องการพื้นที่ฝึกงานให้นักศึกษาอยู่แล้ว โดยทางไทยออยล์ได้สนับสนุน
การปรับปรุงหอพักของโรงพยาบาลแหลมฉบังให้นักศึกษามาพักในระหว่างฝึกงานได้เพิ่มขึ้น และบริการรถ
รับส่งให้ระหว่างลงปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชน ส่วนเรื่องการเข้าพื้นที่ได้ประสานงานให้เทศบาลนครแหลม
ฉบังดูแล โดยหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมป้องกันโรคของเทศบาลฯ จะประสานงานกับเครือข่ายอสม.ของแต่ละ
ชุมชน เกิดความร่วมมืออย่างดี ทาให้การเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชนของพื้นที่เมืองรอบโรงกลั่นและเครือไทย
ออยล์เป็นโมเดลการจัดการแบบ 3 ประสานของหน่วยงานในพื้นที่แหลมฉบังกับหน่วยงานนอกพื้นที่
7 ระบบฐานข้อมูลสุขภาพครอบครัวและชุมชน (Family and Community Assessment Program : FAP) ซึ่งเป็นเครื่องมือสาหรับผู้บริหารในการ
จัดทานโยบายเพื่อให้เกิดสุขภาวะของชุมชนตาบลปากพูน ซึ่งมีกระบวนการดาเนินงานโดยสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนในตาบลเข้ามาร่วม
จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของครอบครัว นาข้อมูลมาบันทึกในโปรแกรม FAP ซึ่งช่วยในการประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หลังจาก
นั้น นาข้อมูลคืนสู่ชุมชนโดยใช้เวทีประชาคม ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลและเลือกปัญหาหรือความต้องการที่ได้จากฐานข้อมูลหรือเสนอความ
ต้องการเพิ่มเติมจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อที่จะร่วมกันกาหนดเป็นโครงการได้
14
คือ ประสานร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายของภารกิจ โดยการสนับสนุนของศูนย์
สุขภาพ ฯ ของไทยออยล์ที่เป็นสถานประกอบการเอกชนในพื้นที่ (ภาพที่ 8)
ภาพที่ 8 ระบบการจัดการงาน 3 ประสาน
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
โดยปกติการฝึกงานการพยาบาลชุมชนของนักศึกษามีกาหนดเก็บข้อมูลพื้นที่ 3-4 สัปดาห์
จุดประสงค์เพื่อฝึกทักษะการสารวจข้อมูลสุขภาพระดับครอบครัว และประมวลผลข้อมูลให้สามารถประเมิน
สรุปปัญหาสุขภาพของชุมชนนั้น ๆ การออกแบบข้อมูลที่จะสารวจนั้นมีการออกแบบร่วมกันระหว่าง
มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล เพื่อให้ได้แบบสอบถามที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กับทุกฝ่าย ไทยออยล์
ตระหนักถึงความสาคัญของประสิทธิภาพของการใช้ข้อมูลสาหรับโครงการต่อ ๆ ไป จึงให้ความสาคัญกับ
การค้นหาระบบโปรแกรมเก็บข้อมูลที่จะสามารถช่วยประมวลผลและดึงข้อมูลตามเงื่อนไขการใช้งานที่
ต้องการ โปรแกรมในการเก็บที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาจารย์อุไร จเร
ประพาฬ ที่เคยประสบปัญหาการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลมาก่อนแล้ว จึงได้คิดค้นโปรแกรม FAP นี้ขึ้น
ใช้กับชุมชนปากพูนมาแล้ว นักศึกษาเมื่อได้สารวจเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามแล้ว หลังเก็บข้อมูลต้องนา
ข้อมูลมาบันทึกในโปรแกรม FAP เมื่อเก็บข้อมูลเสร็จจะมีการทาประชาคมร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับ
รู้ปัญหาด้านสุขภาพ และสามารถกาหนดแนวทางในการแก้ไขต่อไปได้ โมเดลการทางานเช่นนี้ได้ประโยชน์
ร่วมกันทุกฝ่าย นักศึกษาได้ฝึกงานตามกระบวนการหลักสูตร ทางศูนย์ ฯ โรงพยาบาล และเทศบาล ฯ ได้
ข้อมูลนาไปใช้ประโยชน์ต่อไป รวมถึงชุมชนได้รับรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์สุขภาพของตัวเองด้วย
15
ข้อมูลสุขภาพชุมชนที่สารวจมาได้ จะมีการนาข้อมูลที่บันทึกแล้ว กรองคัดมาใช้กับโครงการอื่นๆ
และเมื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดาเนินการต่อ ๆ มาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเดิมหรือมีข้อมูล
เพิ่มเติม ก็จะมีการบันทึกปรับปรุงข้อมูล เท่ากับข้อมูลจะถูกทบทวนปรับปรุงจากการสารวจหลายครั้ง ถูกดึง
ไปใช้ในหลายโครงการ โดยแต่ละครั้งมีชุดข้อมูลการสารวจที่แตกต่างกันบ้าง หรืออาจซ้าบ้างในบางส่วน มี
สรุปโครงการและกิจกรรมที่มีการสารวจข้อมูล และใช้ข้อมูลจากโปรแกรมทั้งหมดมี ดังนี้
- โครงการสารวจสุขภาวะชุมชน และจัดทาแฟ้มสุขภาพครอบครัว (FAP 1) เก็บข้อมูลโดย
นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา และวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี จ.ชลบุรี ตามหลักสูตรฝึกงาน
การพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ปี 2554-ปี 2560 รวมแล้ว 33 รุ่น 453 คน ใน 1 ปีมา 4-6 รุ่น รุ่นละ 1-2
กลุ่ม จะเก็บข้อมูลครบ 10 ชุมชนภายในปี 2561 ณ 31 ธันวาคม 2560 มีแฟ้มครอบครัวถูกบันทึก
ไว้ในระบบรวม 4,992 ครอบครัว รวมประชากร 17,368 คน ดึงข้อมูลที่เก็บไว้ส่งให้กับโรงพยาบาล
เทศบาลฯ เพื่อใช้งานตามที่ร้องขอประโยชน์ที่ชุมชนในพื้นที่ได้รับในระยะสั้นทันที คือ กรณีที่พบ
ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคหรือมีความเสี่ยงมากหรือมีโอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนต้องรีบส่งต่อเข้า
ระบบบริการสุขภาพ หรือผู้ที่ต้องการการดูแลต่อเนื่อง ก็จะส่งต่อให้ อสม. ดูแลในกรณีนั้นๆ ต่อไป
- โครงการคัดกรองโรคเมตาบอริค: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง (FAP 2) ใน
ระยะแรก ๆ โครงการนี้ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จาก FAP1 มากรองคัดเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้น
ไป นามารณรงค์เชิญชวนมาเจาะเลือด ตรวจไขมัน เพื่อคัดกรองโรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วน
แต่พบว่าไม่ได้ผลมากนัก ตั้งแต่ปี 2558 จึงได้ทบทวนวิธีการ และปรับเปลี่ยนเป็นการดาเนิน
โครงการ FAP2 นี้ควบคู่ไปพร้อมกับโครงการ FAP1 โดยให้อุปกรณ์วัดความดัน อุปกรณ์เจาะเลือด
ปลายนิ้วและเครื่องอ่านระดับน้าตาลในเลือด ให้ไปกับนักศึกษาพยาบาล โครงการนี้สามารถจัดเก็บ
รายชื่อผู้มีความเสี่ยงโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงโดยไม่เคยทราบมาก่อนได้เป็นจานวนมาก หาก
พบปัญหาก็ต้องรีบส่งต่อทันที
- โครงการสารวจและคัดกรองผู้สูงอายุ (FAP 3) โครงการนี้เป็นความร่วมมือกับโครงการจิตอาสา
นักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2560 รวม 7 รุ่น
นักศึกษาที่เข้าร่วมรวม 61 คน เป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 หรือชั้นปีที่ 3 จะมาในช่วงปิดเทอม
ใหญ่ ช่วยสารวจผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไปโดยกรองชื่อจาก FAP1 และทีม อสม.จะลงพื้นที่ตรวจสอบว่า
รายชื่อทั้งหมดยังคงอยู่และหาตัวตนพบหรือไม่ก่อนที่นักศึกษาจะมา จนถึงสิ้นปี 2560 ดาเนินการ
แล้ว 7 ชุมชน มีจานวนผู้สูงอายุในระบบรวม 1,510 คนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7-15% ของ
ประชากรแต่ละชุมชน นักศึกษาทางานลงพื้นที่ร่วมกับ อสม. ช่วยคัดแยกและจัดกลุ่มผู้สูงอายุตาม
ภาวะพึ่งพิง เป็นติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคมมีโรคเรื้อรัง และไม่มีโรคเรื้อรัง ผลการสารวจยังพบว่า
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มติดสังคม แต่พบว่าเป็นประเภทติดสังคมและมีโรคเรื้อรังได้แก่
เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 70-80% แม้จะพบว่าผู้สูงอายุ
16
ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ซึ่งยังไม่มากนัก แต่ในอนาคตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหาก
มีการพัฒนาของโรคมากขึ้น หรือเกิดข้อแทรกซ้อนเช่น จากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหาก
เกิดเส้นเลือดสมองแตก ตีบหรือตัน หรือเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ก็จะเกิดภาวะอัมพฤกษ์ กลายเป็น
ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงจานวนมากขึ้น จากการสารวจคัดกรองหากพบผู้สูงอายุคนใดมีปัญหาเร่งด่วน
ต้องส่งต่อเข้าระบบบริการสุขภาพ หรือให้ อสม. ช่วยติดตาม หรือหากผู้สูงอายุคนใดมีสภาพความ
เป็นอยู่ที่เสี่ยง นักศึกษาและ อสม. ต้องนาเสนอวิธีการแก้ไข ข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดนี้จะมีประสาน
ร่วมกับโรงพยาบาล เทศบาลฯ ในการหาวิธีดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป
- โครงการคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (FAP 4) เป็นโครงการความร่วมมือกับศูนย์ธาลัสซี
เมีย ของโรงพยาบาลศิริราช ตรวจหาผู้ที่เสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียด้วยวิธีตรวจระดับยีนซึ่งมีความถูกต้อง
99.99% คัดกรองประชากรกลุ่มอายุ 15-35 ปีคือที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ได้ดาเนินการแล้วทั้งหมด
10 ชุมชน จานวน 810 คน การสารวจครั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าปกติหรือ เป็นพาหะ หรือเป็นโรค จาก
การคัดกรองพบผู้ที่เป็นโรคที่ไม่เคยรู้มาก่อนถึง 10 คน ทั้งหมดจะนาส่งรายชื่อเข้าไว้ในฐานข้อมูล
ของโรงพยาบาลแหลมฉบัง คนที่เป็นโรคหลายสายพันธ์จะมีภาวะเจ็บป่วยและต้องมีค่าใช้จ่าย
จานวนมากตลอดชีวิต และพบผู้ที่เป็นพาหะถึง 44% แม้ผู้ที่เป็นพาหะจะไม่มีอาการใด ๆ มีภาวะ
เหมือนปกติ แต่เนื่องจากจะมียีนแฝงของโรคอยู่ การคัดกรองนี้จึงช่วยให้ผู้ที่พบว่าเป็นพาหะจะได้
ทราบก่อนที่จะมีบุตร หากมีความเป็นพาหะทั้งคู่สามีภรรยา โอกาสที่จะมีลูกเป็นโรคจะมีสูง ซึ่งจะ
เป็นข้อมูลสาคัญให้กับแพทย์ที่ฝากครรภ์ได้ทราบ และเพื่อให้สามารถวางแผนครอบครัวที่จะช่วย
หยุดการขยายของผู้เป็นโรคได้ ซึ่งข้อมูลนี้ยังมีเป็นผลดีในเชิงวิชาการมาก และมีผลดีต่อผู้รับการ
ตรวจโดยตรง
- โครงการสารวจและแก้ไขปัญหายาระดับชุมชน (FAP 5) สารวจโดยนักศึกษาเภสัชฯ ปี 4
มหาวิทยาลัยบูรพา วิชาเภสัชศาสตร์สาธารณสุข ดาเนินการในปี 2557 - 2558 เข้ามาสารวจแล้ว 2
รุ่น นักศึกษารวม 71 คน สารวจ คัดกรองผู้มีความเสี่ยงปัญหายาและสุขภาพ จัดกิจกรรมแก้ไข
ปัญหาในชุมชน และจะได้บัญชีรายชื่อผู้ที่มีความเสี่ยงในการใช้ยารวบรวมไว้ให้นักศึกษาเภสัช
ศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ติดตามแก้ไขปัญหาเป็นรายคนต่อไป
- โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อแก้ไขและติดตามปัญหาการใช้ยา (FAP 6) โดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์
ชั้นปีที่ 6 ตามหลักสูตรฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ตั้งแต่ปี 2557-2559 เข้ามาสารวจดาเนินการแล้ว 9 รุ่น
17 คน ประเมินปัญหาการใช้ยา ติดตามแก้ไขปัญหายาใน 2 ชุมชน จานวน 328 คน
นอกจากการสารวจข้อมูลและโครงการข้างต้นแล้ว โรงพยาบาลและเทศบาลฯได้มีการพัฒนา
กระบวนการต่อ โดยเฉพาะโครงการสารวจคัดกรองผู้สูงอายุที่กาลังเป็นนโยบายสาคัญของประเทศ เช่น การ
ออกแบบสารวจข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ แบบประเมินโรคสมองเสื่อมต่างๆ โรคตา ต้อกระจก ต้อหิน จอตา
เสื่อม สารวจภาวะซึมเศร้า รวมถึงการนาข้อมูลส่งต่อไปให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ
17
การเก็บข้อมูลโดยนักศึกษา ทาให้พื้นที่สามารถเก็บข้อมูล คัดกรองข้อมูล จานวนมากโดยใช้
งบประมาณไม่มากนัก ขณะที่นักศึกษาได้ฝึกทักษะการพูดคุยและการบันทึก โดยใช้วิธีพูดคุยพัฒนาความ
ไว้เนื้อเชื่อใจมากกว่าการถามตรงไปตรงมาตามแบบสอบถาม จะทาให้ได้ข้อมูลที่ดีกว่า การสารวจโดยการมี
ส่วนร่วมหลายฝ่ายเช่นนี้ ทาให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น
ภาพที่ 9 นักศึกษาพยาบาลฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชน และพื้นที่ได้เรียนรู้ปััญหาสุขภาพของชุมชน
ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับข้อมูลดัชนีชี้วัดมาตรฐาน
การส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่วัยเด็ก ถือเป็นนโยบายสาคัญที่ผู้บริหารไทยออยล์กาหนดไว้เป็นบทบาท
ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนตั้งแต่แรกเริ่มจัดตั้ง การออกแบบโครงสร้างของ
ศูนย์สุขภาพฯ จึงมีห้องทันตกรรมพร้อมอุปกรณ์ทาฟันครบยูนิตถึง 5 ห้อง
ศูนย์สุขภาพฯ เน้นคลินิคดูแลฟันและช่องปากเชิงป้องกัน คือ การขูดหินปูน อุดฟัน เคลือบหลุมร่อง
ฟัน เคลือบฟลูออไรด์ แก่เด็ก ๆ ในโรงเรียน 8 โรงเรียนรอบเครือไทยออยล์ ตั้งแต่เริ่มเปิดดาเนินการศูนย์
เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 และคาถามเริ่มต้นในปีแรกคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าช่องปากและฟันของเด็ก ๆ ดีขึ้น
เพื่อตอบคาถามนี้ ศูนย์สุขภาพฯ ได้พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลที่ใช้โปรแกรมพื้นฐาน Excel ใช้จัดเก็บสถานะ
ฟันของเด็ก ๆ เป็นรายคน โดยผูกสูตรเฉลี่ยสถานะฟันเด็กทั้งห้องแต่ละห้อง จนถึงเฉลี่ยสถานะฟันทุกห้อง
เป็นค่าเฉลี่ยแต่ละชั้นเรียน จนถึงการเฉลี่ยทั้งโรงเรียน และทุกโรงเรียนหรือทั้งเครือข่าย 8 โรงเรียน การที่
สามารถเก็บข้อมูลสถานะฟันของเด็ก ๆ ทั้งห้อง ทั้งชั้นเรียนและทั้งโรงเรียน ทาให้สามารถเทียบเคียงสถานะ
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

More Related Content

What's hot

ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
Padvee Academy
 
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
PitchyJelly Matee
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
Wan Ngamwongwan
 
งานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงงานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงNawamin Wongchai
 
3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากรWan Ngamwongwan
 
พันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรพันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรWan Ngamwongwan
 
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยทศวรรษ โตเสือ
 
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2นายเค ครูกาย
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชAnana Anana
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
พัน พัน
 
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
SuwichaPanyakhai
 
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
ssuser1621fc
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
Chainarong Maharak
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อKruthai Kidsdee
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาpentanino
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
Padvee Academy
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดียอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
Padvee Academy
 
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลายJariya Jaiyot
 
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1pageกิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
Prachoom Rangkasikorn
 

What's hot (20)

ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกายขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
ขบวนการพุทธใหม่ในโลกยุคปัจจุบัน ตอน วัดพระธรรมกาย
 
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
ฮีตสิบสอง คองสิบสี่
 
กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์กำเนิดสปีชีส์
กำเนิดสปีชีส์
 
งานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียงงานนำเสนอเสียง
งานนำเสนอเสียง
 
3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร3พันธุศาสตร์ประชากร
3พันธุศาสตร์ประชากร
 
พันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากรพันธุศาสตร์ประชากร
พันธุศาสตร์ประชากร
 
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทยม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
ม4 การตั้งถิ่นฐานในดินแดนไทย
 
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
เอกสารประกอบการเรียน พหุนาม ม.2
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืช
 
อารยธรรมจีน
อารยธรรมจีนอารยธรรมจีน
อารยธรรมจีน
 
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
(วัสดุกราฟฟิค)สื่อ
 
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
6.2 การหาขนาดของ DNA และการหาลำดับนิวคลีโอไทด์.pdf
 
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศสังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
สังคมโลก และ ลักษณะพื้นฐานของสังคมระหว่างประเทศ
 
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อแบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
แบบทดสอบอาเซียน 30 ข้อ
 
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญาสุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
สุขอนามัยตามหลักพุทธปรัชญา
 
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายานความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
ความรู้พื้นฐานและบ่อเกิดพุทธศาสนามหายาน
 
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดียอิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
อิทธิพลของพระพุทธศาสนาที่มีต่ออินเดีย
 
สารละลาย
สารละลายสารละลาย
สารละลาย
 
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1pageกิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
กิจกรรมเสริมทักษะ อาณาจักรอยุธยา ประวัติศาสตร์ ป.5+583+55t2his p05 f16-1page
 
ฟังก์ชัน
ฟังก์ชันฟังก์ชัน
ฟังก์ชัน
 

Similar to โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouthguest78694ed
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranongNithimar Or
 
Charismatic Marketing Tzu Chi
Charismatic Marketing Tzu ChiCharismatic Marketing Tzu Chi
Charismatic Marketing Tzu Chi
DrDanai Thienphut
 
Charismatic marketing tzu chi
Charismatic marketing tzu chiCharismatic marketing tzu chi
Charismatic marketing tzu chi
DrDanai Thienphut
 
โรงพยาบาลคุณธรรม
โรงพยาบาลคุณธรรมโรงพยาบาลคุณธรรม
โรงพยาบาลคุณธรรม
Dr.Suradet Chawadet
 
Prและสังคม5
Prและสังคม5Prและสังคม5
Prและสังคม5
Vivace Narasuwan
 
CSR and Labor
CSR and LaborCSR and Labor
CSR and Labor
Sarinee Achavanuntakul
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
Utai Sukviwatsirikul
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
Utai Sukviwatsirikul
 

Similar to โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี (10)

Presentation Consumersouth
Presentation ConsumersouthPresentation Consumersouth
Presentation Consumersouth
 
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
Medhub 3 4 52  anchana na ranongMedhub 3 4 52  anchana na ranong
Medhub 3 4 52 anchana na ranong
 
Charismatic Marketing Tzu Chi
Charismatic Marketing Tzu ChiCharismatic Marketing Tzu Chi
Charismatic Marketing Tzu Chi
 
Charismatic marketing tzu chi
Charismatic marketing tzu chiCharismatic marketing tzu chi
Charismatic marketing tzu chi
 
โรงพยาบาลคุณธรรม
โรงพยาบาลคุณธรรมโรงพยาบาลคุณธรรม
โรงพยาบาลคุณธรรม
 
Prและสังคม5
Prและสังคม5Prและสังคม5
Prและสังคม5
 
CSR and Labor
CSR and LaborCSR and Labor
CSR and Labor
 
รายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seekerรายงานTechnology seeker
รายงานTechnology seeker
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
 
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2559
 

More from FURD_RSU

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
FURD_RSU
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD_RSU
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
FURD_RSU
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
FURD_RSU
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
FURD_RSU
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD_RSU
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD_RSU
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
FURD_RSU
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
FURD_RSU
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
FURD_RSU
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
FURD_RSU
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
FURD_RSU
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
FURD_RSU
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD_RSU
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 16
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

  • 2. โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (ระหว่างปี 2553 – 2561)
  • 3. ผู้เขียน : ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ บรรณาธิการบริหาร : ยุวดี คาดการณ์ไกล บรรณาธิการฝ่ายวิชาการ : ยุวดี คาดการณ์ไกล กองบรรณาธิการ ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ถอดความ : ณัฐธิดา เย็นบารุง ปก : ณัฐธิดา เย็นบารุง รูปเล่ม : ณัฐธิดา เย็นบารุง ปีที่เผยแพร่ : มกราคม พ.ศ. 2561 ผู้เผยแพร่ : ศูนย์ศึกษามหานครและเมือง มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับมูลนิธิส่งเสริมปัญญาสาธารณะ (CPWI) ผู้สนับสนุน : สานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  • 4. สารบัญ เนื้อหา สภาพพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นไทยออยล์...............................................................................................2 จุดเริ่มต้นโมเดลการดูแลสุขภาพชุมชนเชิงรุกรอบพื้นที่โรงกลั่น : การสร้างศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือ ไทยออยล์เพื่อชุมชน ................................................................................................................................5 ภารกิจการทางานของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน...............................................7 ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่น........................................................................9 โมเดลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (FAP).........................................................................13 การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับข้อมูลดัชนีชี้วัดมาตรฐาน.................................................17 ผลลัพธ์ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ไทยออยล์เพื่อชุมชน (ปี 2553 – 2559).......................................18 เป้าหมายระยะยาว.................................................................................................................................20 ความท้าทายในการทางาน (ในระยะเริ่มต้น)............................................................................................21 ความท้าทายสถานการณ์ปัจจุบัน............................................................................................................22 หัวใจสาคัญในการทางาน .......................................................................................................................23 ประวัติผู้เขียน ........................................................................................................................................25
  • 5. 1 โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง : เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี 1 ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ2 พื้นที่ชุมชนรอบเขตอุตสาหกรรม มักจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ความเป็นเมืองมากขึ้น มีที่อยู่อาศัย หนาแน่น มีคนหลากหลายกลุ่ม ทั้งคนดั้งเดิม และแรงงานย้ายถิ่นทั้งที่เป็นคนไทยและแรงงานข้ามชาติ มี ความซับซ้อนในพื้นที่และที่สาคัญพื้นที่รอบเขตอุตสาหกรรมมักมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม จากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งสถานประกอบการในเขตนั้น ในฐานะสมาชิก ทางสังคมในพื้นที่ต้องมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาพื้นที่รอบเขตนั้นให้มีศักยภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น พื้นที่รอบโรงกลั่นเครือไทยออยล์ ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา มีลักษณะเป็นพื้นที่รอบเขตอุตสาหกรรม ที่ ปัจจุบันไทยออยล์และบริษัทในเครือให้ความสาคัญในการมีส่วนร่วมดูแลชุมชนรอบโรงกลั่นและบริษัทใน เครือ สร้างศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เป็นศูนย์กลางการบูรณาการแผนงาน กิจกรรม และกระบวนการทางานชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้บริการทันตกรรมแก่นักเรียนระดับ ประถมศึกษาทุกคนในโรงเรียนทุกโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่รอบเครือไทยออยล์ แผนงานสร้างเสริมสุขภาวะเชิง รุก กิจกรรมแอโรบิกและออกกาลังกายเพื่อสุขภาพ ห้องสมุดและศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ศูนย์สุขภาพฯ รองรับการใช้บริการของคนในพื้นที่ชุมชน 10 ชุมชนโดยรอบเครือไทยออยล์ที่มีประชากรกว่า 15,000 คน สิ่ง ที่น่าสนใจของการทางานดูแลพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นและบริษัทในเครือไทยออยล์นั้น คือ กลไกและระบบ ในการทางาน โดยไทยออยล์ซึ่งมีพันธกิจสาคัญควบคู่กับการทาธุรกิจตลอดมา คือ ความรับผิดชอบสังคมนั้น ได้กาหนดบทบาทเป็นผู้สนับสนุน เชื่อม ประสานหน่วยงานในพื้นที่และนอกพื้นที่ ทั้งโรงพยาบาล เทศบาล สถาบันการศึกษา หน่วยงานภายนอก เข้ามาร่วมกันในการทางานพัฒนาชุมชนในพื้นที่ เกิดเป็นโมเดลการ 1 ถอดความจากเวที Panel of Urban Expert เรื่อง โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง : ชุมชน-โรงเรียนรอบพื้นที่โรงกลั่น จัดโดยศูนย์ศึกษา มหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต วันที่ 18 มกราคม 2561 ณ ห้องประชุมอาคารพร้อมพันธ์ 1 ชั้น 4 ถนนลาดพร้าว จตุจักร กทม. 2 ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน (ระหว่างปี 2553 – 2561) จากที่ได้มีโอกาสเป็นที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โดยมีบทบาทตั้งแต่การร่วมดาเนินการวางกรอบแนวคิด ภารกิจของศูนย์สุขภาพฯ การเริ่มเปิดดาเนินการ การ พัฒนากิจกรรมของศูนย์สุขภาพฯ ตั้งแต่วันที่ 16 มิ.ย.2553 จนถึง 31 ธ.ค.2561 ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้รับทราบถึงแนวนโยบายของผู้บริหาร ไทยออยล์ ที่มีความตั้งใจและปรารถนาที่จะเป็นสมาชิกที่ดีในพื้นที่ที่ประกอบการ มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทย ออยล์เพื่อชุมชนแห่งนี้ เพื่อเป็นพื้นที่การเรียนรู้พัฒนาร่วมกันจากการปฏิบัติจริง ทาจริง ใช้พื้นฐานที่เข้มแข็งของแต่ละองค์กร แต่ละส่วนงาน ได้แก่ เทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง โรงเรียนทั้งสังกัดเทศบาล สังกัดสพฐ. และเอกชนในพื้นที่ แต่ละกลุ่มคนในชุมชน ทั้ง คณะกรรมการชุมชน กลุ่มอสม. คณะครู เป็นต้น มาร่วมมือ แบ่งปันกัน โดยมุ่งผลเพื่อประโยชน์แก่พื้นที่โดยรวม และที่สาคัญยังเปิดรับการ ทางานเป็นเครือข่ายกับหน่วยงาน องค์กรนอกพื้นที่ ที่เอื้อเฟื้อประโยชน์แก่กันและกัน ทาให้เห็นว่าเป็นประสบการณ์ที่จะเป็นประโยชน์แก่พื้นที่ อื่นๆ จึงขอขอบพระคุณบริษัท ไทยออยล์ จากัด(มหาชน) และหากพบว่าข้อมูล ความเห็น แนวดาเนินการเหล่านี้ มีข้อบกพร่องผิดพลาดประการ ใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้
  • 6. 2 ดูแลสุขภาพในเขตเมืองที่น่าสนใจ มีผลงานเป็นรูปธรรม สุขภาวะของคนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ค่อยเป็นค่อยไป เป็นอีกหนึ่งโมเดลการดูแลสุขภาพที่จะเป็นตัวอย่างการทางานได้ สภาพพื้นที่เขตเมืองรอบโรงกลั่นไทยออยล์ บริเวณรอบพื้นที่โรงกลั่นและบริษัทเครือไทยออยล์ อยู่ใน ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา อยู่ในเขตเทศบาล นครแหลมฉบัง เขตเมืองบริเวณนี้มีมิติที่หลากหลาย บริเวณแหลมฉบังเป็นชุมชนเมืองรอบนิคม อุตสาหกรรม ที่ต่างจากชุมชนเมืองในกรุงเทพ ซึ่งเมืองแบบกรุงเทพ มีตึกแถว บ้านจัดสรร มีคอนโด มีสลัม มีโรงงานเล็กๆ บ้าง แต่โรงงานขนาดใหญ่จะไม่ปรากฏให้เห็นแล้ว (โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่ยังมีอยู่ในกรุงเทพฯ คือ โรงกลั่นบางจาก) เขตเมืองรอบไทยออยล์นี้ ถือเป็นเขตเมืองรอบนิคมอุตสาหกรรมที่แตกต่างกับ กรุงเทพ คือมีสถานประกอบการขนาดใหญ่ มีความใกล้เคียงกับเขตนิคมอุตสาหกรรมบางพลี แต่ต่างกันที่ บางพลีมีประวัติศาสตร์ของพื้นที่เป็นโรงงานขนาดเล็กมาก่อน (Mini factory) ไม่ใช่โรงงานขนาดใหญ่ และ ค่อยๆ แผ่กว้างออกไป พื้นที่ของไทยออยด์ อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีภูมิศาสตร์ด้านหนึ่งติดทะเล ติดภูเขา ด้านหนึ่งเป็นพื้นที่ติดกับนิคมแหลมฉบังและโรงกลั่น ESSO อีกสองด้านมีชุมชนอยู่โดยรอบก่อนที่จะถึง แนวถนนสุขุมวิท และแนวถนนเลี่ยงเมืองที่วิ่งเข้าสูงนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง หากขับรถบนถนนสุขุมวิท ผ่านเครือไทยออยล์จะสังเกตเห็นปล่องสูง จะเป็นปล่องของไทยออยล์ ซึ่งถือเป็นความพยายามหนึ่งที่ คานึงถึงสิ่งแวดล้อม พื้นที่ของไทยออยล์จะอยู่ภายในวงกลมสีเหลือง (ภาพที่ 1) ศูนย์สุขภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนจะอยู่ใกล้ๆ กับพื้นที่ไทยออยล์ มีชุมชนล้อมรอบ ภาพที่ 1 เขตพื้นที่รอบโรงกลั่นไทยออยล์ ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561)
  • 7. 3 พื้นที่ชุมชนเขตเมืองรอบโรงกลั่นและเครือไทยออยล์ อยู่ภายใต้รัศมีวงกลม 5 กิโลเมตร (ภาพที่ 2) ตามข้อกาหนดการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) ที่สถานประกอบการต้องดูแลชุมชนที่อาจได้รับ ผลกระทบ3 ชุมชนทั้งหมดที่อยู่ภายใต้รัศมีของไทยออยล์มีทั้งหมด 10 ชุมชน คือ ตลาดอ่าวอุดม บ้านทุ่ง บ้านอ่าวอุดม บ้านแหลมฉบัง (ทั้งชุมชนบ้านอ่าวอุดมและชุมชนบ้านแหลมฉบังยังมีการทาประมงชาวบ้าน อยู่) บ้านนาเก่า บ้านเขาน้าซับ บ้านชากยายจีน บ้านห้วยเล็ก วัดนโมรม บ้านแหลมทอง (เป็นชุมชนขนาด ใหญ่ที่โยกย้ายมาจากพื้นที่เวณคืนฝั่งตรงข้ามเพื่อเป็นนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง) ภาพที่ 2 บริเวณชุมชนในเขตพื้นที่การดูแลของไทยออยล์ รัศมี 5 กิโลเมตร ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) ลักษณะของพื้นที่มีหลายลักษณะ (ภาพที่ 3) คือมีทั้งชุมชนดั้งเดิม มีบ้านเล็ก หลังน้อย ถ้ามีฐานะจะ สร้างบ้านหลังใหญ่ คนพื้นถิ่นส่วนใหญ่สามารถใช้คาว่ามีฐานะดีได้ การมีฐานะดีของหลายครอบครัวก็ เนื่องมาจากนิคมอุตสาหกรรม คือ เกิดจากการขายที่ดินหรือทาห้องเช่า อพาร์ทเมนท์ ทาให้มีฐานะขึ้นมา โดยฉับพลัน แต่มีบ้างที่เมื่อขายที่ได้แล้วแบ่งให้ลูกหลาน ก็ขาดการดูแลจากลูกหลาน ในด้านความสัมพันธ์ ถ้าเป็นชุมชนดั้งเดิม ผู้คนจะรู้จักกันดี เรียกรวมตัวสามารถทาได้ ปัจจุบันชุมชนบริเวณนี้มีความเป็นชุมชน เมืองมากขึ้นคือต่างคนต่างอยู่ คนพื้นที่มีกาลังในการส่งลูกเรียนสูงขึ้น โดยมากมักส่งเรียนในโรงเรียนขนาด ใหญ่นอกพื้นที่ เช่น โรงเรียนในอาเภอศรีราชา ไม่ค่อยเรียนในพื้นที่ เมื่อเรียนจบก็ทางานในเมืองใหญ่อื่น ๆ ไม่ค่อยกลับมาอยู่ในพื้นที่ ทาให้ครอบครัวของคนดั้งเดิมในพื้นที่บริเวณนี้ ที่อยู่บ้านส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ ประชากรทั้งหมด 10 ชุมชนรอบเครือไทยออยล์ตามทะเบียนราษฎรมีประมาณ 30,000 กว่าคน หากนับประชากรแฝงอาจจะมีมากถึงประมาณ 100,000 คน สามารถแบ่งประชากรเป็นสองส่วน คือ 3 โรงกลั่นน้ามันถือเป็นอุตสาหกรรมปลายน้า มีการพัฒนาตัวเองมากขึ้น มีกระบวนการที่คานึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยสูง
  • 8. 4 ผู้สูงอายุยังอาศัยอยู่ในบ้าน และวัยแรงงานที่ออกไปทางานข้างนอก อีกทั้งมีแรงงานเคลื่อนย้ายเข้ามา จานวนมาก ซึ่งสามารถแบ่งประเภทแรงงานเคลื่อนย้ายได้หลายประเภท ประเภทที่ 1 ใช้ทักษะ ความสามารถมากกว่าใช้แรงงาน มักจะเช่าอพาร์ทเมนท์ ซื้อบ้านจัดสรร ประเภทที่ 2 กึ่งทักษะแรงงาน จะ อยู่หอพัก บ้านห้องแถว ส่วนกลุ่มที่ 3 ที่ใช้แรงงาน จะอยู่ในแค้มป์คนงาน ซึ่งจะมีแรงงานต่างด้าวอยู่ในกลุ่ม นี้ด้วย4 ปัจจุบันในชุมชนเริ่มมีบ้านจัดสรร มีคอนโดมากขึ้น โดยเฉพาะช่วง 2 -3 ปีที่ผ่านมา(2558 – 2560) เป็นช่วงที่มีคอนโดเกิดขึ้นจานวนมาก ภาพที่ 3 ลักษณะชุมชนรอบเครือไทยออยล์ ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) โครงสร้างและสถาบันในพื้นที่ที่ถือเป็นทุนทางสังคมในการทางานพัฒนาชุมชนได้ มีดังนี้ - เทศบาลนครแหลมฉบัง หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยงานหลักตามกฎหมายที่มี บทบาทเชิงพัฒนาของพื้นที่ สามารถเป็นตัวหลักร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ได้ และเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ มีสถานประกอบการขนาดใหญ่จานวนมาก ทาให้สามารถก้าวข้ามข้อจากัดเรื่องอื่นๆ ได้ เช่น เรื่อง งบประมาณ นอกจากงบประมาณส่วนท้องถิ่นของเทศบาลเองแล้ว ยังสามารถขอความช่วยเหลือ จากสถานประกอบการได้ สถานประกอบการส่วนใหญ่เช่นเดียวกับไทยออยล์จะมีงบประมาณด้าน การดูแลรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) ที่พอจัดสรรให้ได้ หรือกองทุน 4 เรื่องบริหารจัดการการอยู่ร่วมกันกับแรงงานต่างด้าว มีมุมมองได้หลายแบบ มุมมองแบบหนึ่งคือเป็นกลุ่มที่เราต้องระมัดระวัง มุมมองอีกแบบ คือ หากคิดว่าแรงงานกลุ่มนี้เป็นคนพลัดถิ่น ควรทาความเข้าใจร่วมกัน ว่าพวกเขาต้องร่วมดูแลพื้นที่ พัฒนาสังคมที่อยู่อาศัยทามาหากิน อะไรบ้าง หากสามารถจัดการแนวคิดกลุ่มผู้นาของชุมชนแรงงานต่างด้าวเหล่านี้ได้ น่าจะสามารถพัฒนาสังคมความเป็นอยู่ร่วมกันด้วยกันได้ อยู่ ที่วิธีคิด มุมมองว่าจะมองเขาเป็นมิตร หรือเป็นเพียงแค่คนอาศัยระยะหนึ่งที่อาจจะสร้างภาระ
  • 9. 5 อื่นๆ เช่น กองทุนโรงไฟฟ้า สาหรับงานด้านสิ่งแวดล้อม กองทุนของ สปสช. สาหรับงานด้าน สุขภาพ เป็นต้น - โรงพยาบาลแหลมฉบัง เดิมชื่อโรงพยาบาลอ่าวอุดมศรีราชา เป็นหน่วยงานที่มีบุคลากรและ กระบวนการที่จะสนับสนุนระบบบริการสุขภาพและข้อมูลวิชาการสุขภาพได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายที่จะ เน้นทางานเชิงรุกหรือเชิงรับอย่างไร - โรงเรียน เป็นอีกสถาบันที่น่าสนใจ สถาบันการศึกษาและครูยังคงได้รับความเชื่อถือ เป็นศูนย์กลาง พัฒนาเยาวชนที่สามารถเชื่อมโยงกับครอบครัว หากกาหนดบทบาทที่จะมีร่วมการพัฒนาชุมชน จะ มีส่วนขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างมาก แต่ปัจจุบันวิธีการได้มาของครูเปลี่ยนไปมาก มีเป็นจานวน มากที่ไม่ใช่คนในพื้นที่อยู่ในพื้นที่ไม่นาน มีการย้ายบ่อย และเพื่อหน้าที่การงาน งานส่วนตัวก็เยอะ มาก เช่น งานประเมิน การทาวิทยฐานะ จึงมักสนใจเด็ก ๆ เฉพาะในขอบเขตโรงเรียน ขาดการ เชื่อมโยงไปถึงครอบครัว ที่จะแก้ไขปัญหาเชิงระบบเท่าที่ควรนัก ขณะที่ครูในอดีตเป็นคนในพื้นที่ สมัยก่อนเด็กที่ไม่เรียน เกเร ครูมีหน้าที่ตามดูถึงบ้าน - วัด สาหรับพระยังเป็นที่นับถือของชุมชนแถบนี้อยู่ ชุมชนยังให้ความสาคัญกับศาสนาดี ยัง ต้องการที่พึ่งพิงทางใจ โดยเฉพาะคนที่ทางานในระบบอุตสาหกรรม เพราะวิถีของแรงงานค่อนข้าง โดดเดี่ยวมาก เข้างาน 9 โมงเช้า เลิกงาน 6 โมงเย็น อยู่กับเครื่องจักร ถูกควบคุมกากับโดยหัวหน้า งานเพื่อให้ได้ผลงานตามเป้าหมาย ทางานร่วมกับเพื่อนก็ให้ความร่วมมือบ้างไม่ให้บ้าง จนเย็น กลับบ้าน บางทีอยู่ต่อ ทาโอที เป็นต้น หากได้พระสงฆ์ที่มีความคิดก้าวหน้าสนใจงานพัฒนาชุมชน งานบางอย่างง่ายขึ้น ช่วยสร้างโอกาสที่ดีต่องานพัฒนา โดยเฉพาะการระดมความร่วมแรง โครงสร้างหรือสถาบันที่กล่าวมาข้างต้น จะชี้ให้เห็นว่า หากตั้งมั่นทางานด้านการพัฒนาชุมชนอย่าง จริงจัง ยังมีสถาบันหรือหน่วยงานที่เป็นต้นทุนได้ แต่ยังพบมุมมองและการทางานแบบแยกส่วนกัน หาก สามารถมีความร่วมมือ เชื่อมโยงกันได้(Collaboration) การทางานจะเป็นไปในทางที่ดีมากขึ้น ใช้ทรัพยากร ได้คุ้มค่ามากขึ้น ลดความซ้าซ้อน ทางานพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีพลังร่วมมากขึ้น จุดเริ่มต้นโมเดลการดูแลสุขภาพชุมชนเชิงรุกรอบพื้นที่โรงกลั่น : การสร้างศูนย์สุขภาพและการ เรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เนื่องจากไทยออยล์เป็นอุตสาหกรรมโรงกลั่นขนาดใหญ่ มีพันธกิจข้อหนึ่ง คือ มุ่งเน้นหลักการกากับ ดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) กล่าวย่อ ๆ ได้ว่าภารกิจความรับผิดชอบต่อ สังคมของไทยออยล์นั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ 1. In Process CSR คือความรับผิดชอบต่อสังคมที่จะต้อง พัฒนากระบวนการผลิตที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ต้องไม่ก่อมลพิษต่อคนและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 2. After
  • 10. 6 Process CSR คือการดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชนพื้นที่รอบ โรงกลั่น และทางานเพื่อสังคมในระดับประเทศที่จะใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมไปพัฒนาพื้นที่ที่ไกลจาก ระบบส่งไฟฟ้าพื้นฐานของประเทศ การดูแลส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนพื้นที่รอบโรงกลั่นนั้น ไทยออยล์จัดกิจกรรมลักษณะเชิงรุกมา โดยตลอด แต่เป็นการจัดรายกิจกรรม เช่น หน่วยสุขภาพเคลื่อนที่ ที่มีเวทีดูแลสุขภาพ มีบุคลากรทาง การแพทย์มาตรวจ ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีคนมาเข้าร่วมจานวนมาก ต่อมาผู้บริหารต้องการการดูแลพื้นที่ใน ลักษณะที่ต่อเนื่อง ยั่งยืน นอกเหนือจากการจัดทาเป็นกิจกรรมเป็นครั้ง ๆ เท่านั้น ประกอบกับไทยออยล์ เป็นสถานประกอบการขนาดใหญ่ ประกอบการอยู่ในพื้นที่มากกว่า 50 ปี ประสานงานร่วมและช่วยเหลือ ท้องถิ่นและชุมชนมาตลอด คนในชุมชนจึงรู้สึกว่าไทยออยล์เป็นเหมือนสมาชิกหนึ่งในครอบครัว จึงอยากคิด ทาอะไรเพื่อช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนมากขึ้น เมื่อได้ประเมินศักยภาพของพื้นที่แล้วพบว่า บริเวณ พื้นที่ของไทยออยล์ยังคงมีพื้นที่ว่างระหว่างชุมชนบ้านอ่าวอุดมกับชุมชนตลาดอ่าวอุดม ใกล้ทางเชื่อมกับ ทางเข้าโรงกลั่นไทยออยล์ที่จะเชื่อมต่อไปชุมชนบ้านทุ่ง เป็นพื้นที่ใต้แนวสายส่งไฟฟ้าแรงสูงที่ไม่สามารถ สร้างอาคารสูงได้ พื้นที่อยู่กลางชุมชน สามารถนามาทาประโยชน์ได้ ในปี 2553 เครือไทยออยล์และชุมชนรอบโรงกลั่นได้ร่วมกันก่อตั้ง ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน5 เป็นศูนย์กลางการบูรณาการชุมชนในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้าน การศึกษาเรียนรู้ ด้านศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในช่วงเริ่มต้น ไทยออยล์มีการปรึกษาพูดคุยร่วมกับโรงพยาบาลแหลมฉบัง และกาหนดโครงสร้าง ของศูนย์สุขภาพแห่งนี้ในลักษณะหน่วยบริการปฐมภูมิ6 (Primary Care Unit: PCU) ซึ่งมีรูปแบบการทางาน เหมือนเป็นสาขาของโรงพยาบาล ซึ่งรูปแบบนี้จะต้องมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจา มีแพทย์มาตรวจรักษา เป็นช่วงเวลา มีห้องตรวจ ต่อมาทั้งไทยออยล์และโรงพยาบาลแหลมฉบังได้มีการทบทวน และมีความเห็น ตรงกันที่จะปรับรูปแบบโครงสร้างของศูนย์สุขภาพฯเพื่อให้มีประโยชน์ร่วมต่อทั้งสองฝ่าย และที่สาคัญต่อ ชุมชน ที่ควรจะได้รับการบริการเชิงรุกมากขึ้นกว่าเชิงรับ จึงมีข้อสรุปให้ศูนย์สุขภาพฯ ทางานเชิงส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค เพื่อให้เกิดประโยชน์กับท้องถิ่น ให้มากที่สุด เมื่อเสนอโมเดลการทางานเชิงส่งเสริมสุขภาพ ไม่ต้องมีภารกิจการรักษา ทาให้ไม่จาเป็นต้องมี บุคลากรการแพทย์มาอยู่ประจา และยิ่งหากมองในมุมของคาว่า “สุขภาวะ” ก็จะเอื้อให้แผนงาน กิจกรรมของ ศูนย์สุขภาพฯมีขอบเขตที่กว้างขวางต่อชุมชน 5 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน คาว่าเพื่อชุมชน เป็นสิ่งสาคัญ เพื่อให้รู้ว่าศูนย์นี้ไม่ใช่ของไทยออยล์ แม้กายภาพจะใช่ แต่ก็มีเป้าหมายว่าตั้งเพื่อใคร และมีจุดยืนสาคัญ คือ การทาเรื่องสุขภาวะชุมชน ไม่ได้ครอบคลุมแค่เรื่องสุขภาพ คาว่า สุขภาวะมีความหมาย มากกว่า คือรวมมิติทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรมด้วย 6 คือ บริการสุขภาพด่านแรกของระบบบริการสาธารณสุข ซึ่งมีบทบาทดูแลสุขภาพของประชาชนในท้องถิ่น ในกรณีเกิดการเจ็บป่วยจะได้รับการ ดูแลในเบื้องต้น และส่งผู้ป่วยต่อสถานพยาบาลสาหรับการรักษาที่ซับซ้อน รวมถึงบริการฟื้นฟู
  • 11. 7 ภารกิจการทางานของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ภารกิจของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน มี 3 ด้าน คือ 1. ร่วมสร้างเสริมสุข ภาวะชุมชน 2.ส่งเสริมการเรียนรู้ชุมชน และ3.การพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ (ภาพที่ 4) ภารกิจสร้างเสริมสุข ภาวะชุมชนนั้นศูนย์สุขภาพฯพยายามคานึงทุกวิถีชีวิต ไม่เพียงแค่สุขภาพแต่หมายถึงส่งเสริมด้าน สภาพแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพที่ดี ส่งเสริมวัฒนธรรม สังคมด้วย แม้ภารกิจของศูนย์ฯ ทาหลายด้าน แต่ ด้านหลักคือด้านการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน โดยแบ่งแผนงานด้านสุขภาพออกเป็น 2 แผนงาน คือ 1. แผนงานส่งเสริมสุขภาพชุมชน ด้วยแนวคิดเวชศาสตร์ชุมชน เป็นงานที่มุ่งเน้นการสร้าง เสริมสุขภาพเชิงรุก ที่หวังให้ชุมชนทุกช่วงวัยสามารถเข้าใจและตระหนักในเรื่องการดูแลตนเอง และครอบครัวให้มีสุขภาพที่ดี ดาเนินการสารวจสุขภาวะชุมชน และจัดทาแฟ้มครอบครัวด้วย โปรแกรม Family and Community Assessment Program ชื่อย่อคือ “FAP” ซึ่งเป็นโปรแกรม ฐานข้อมูลของโครงการเวชศาสตร์ชุมชน เพื่อพัฒนางานสาธารณสุขขั้นมูลฐานของชุมชน ซึ่ง ศูนย์สุขภาพฯ ได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์อุไร จเรประพาฬ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ผู้ คิดค้นและพัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้น 2. แผนงานส่งเสริมสุขภาพเยาวชน มีโครงการหลัก 2 โครงการ คือ โครงการโรงเรียนส่งเสริม ทันตสุขภาพนักเรียนรอบเครือไทยออยล์ ดาเนินโครงการ “คลินิกทันตกรรม” ให้บริการดูแล ฟันและช่องปากให้กับเด็กนักเรียนรอบโรงกลั่นไปแล้วกว่า 15,000 ครั้ง โดยดูแลรักษาช่อง ปากของเด็กด้วยการให้บริการขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ให้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนอยู่ใน 8 โรงเรียนรอบโรง กลั่นและเครือไทยออยล์ นอกจากนี้ทางศูนย์สุขภาพฯ ได้บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาฟันและ ปากด้วย พร้อมส่งต่อไปยังโรงเรียนให้นาไปใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพฟันของนักเรียน ในการจัดการความเสี่ยงต่อปัญหาฟันผุ เพื่อให้สามารถสร้างแรงจูงใจในการป้องกันได้ เช่น ให้มี การแปรงฟันหลังอาหารกลางวัน สอนแปรงฟัน และประเมินการแปรงฟันที่ถูกวิธี เป็นต้น ข้อมูลก็จะช่วยให้คุณครูดูได้ว่าเด็กคนไหนควรจะดูแลเป็นพิเศษ เช่น ฟันผุเยอะ เป็นโรคเหงือก อักเสบได้ นอกจากโครงการดูแลฟันแล้ว มีอีก 1 โครงการคือ โครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็น แชมป์ กระโดดเชือก โครงการเริ่มมีขึ้นเมื่อปี 2554 ต้องการให้เด็กรอบพื้นที่โรงกลั่น 8 โรงเรียนได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ให้เด็กสร้างภูมิคุ้มกันตัวเอง มีความเชื่อมั่นที่จะมีแนวทาง ปฏิบัติที่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ เสริมสร้างสุขภาพห่างไกลยาเสพติด จึงได้เลือก โครงการ “กระโดดเชือก ทางเลือกเยาวชน พ้นโรคหัวใจ” ของ มูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทย ใน พระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรง ลดความเสี่ยงการเป็น
  • 12. 8 โรคหัวใจ และทางานเป็นทีม สร้างความสามัคคีด้วยการกระโดดเชือกเป็นหมู่คณะ จึงนามา เผยแพร่ในพื้นที่แหลมฉบัง และให้การสนับสนุน นอกจากนี้ยังได้สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการ เดินทางเพื่อไปแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ระดับประเทศ โดยในปี 2556 เด็ก นักเรียนในพื้นที่แหลมฉบังไปแข่งขันระดับประเทศได้คว้าถ้วยรางวัลทั้งหมด 12 จาก 16 ถ้วย รางวัล ภาพที่ 4 ภารกิจการทางาน ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) ปัจจุบันศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ตั้งอยู่บนพื้นที่บริษัทไทยออยล์ จากัด (มหาชน) เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 31 ตารางวา ศูนย์มีพื้น ที่ใช้สอยประมาณ 13,160 ตารางเมตร แบ่งสัดส่วนการให้บริการและ กิจกรรม ดังนี้ - หอพระ ซึ่งประดิษฐาน “พระพุทธรัตนมงคลสกลประชานาถมุนี” ใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนากิจต่างๆ เช่น การสวดมนต์เย็นชาระใจ การหล่อเทียนพรรษา ช่วยให้เกิดความร่มเย็นทั้งทางกายและจิตใจ - คลินิกทันตกรรม เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากและฟันขั้นพื้นฐานให้กับเด็กนักเรียน 8 โรงเรียน รอบโรงกลั่น ด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งจากฝ่ายทันตกรรม โรงพยาบาลแหลมฉบัง - ห้องสมุด เป็นห้องสมุดซึ่งเครือไทยออยล์ร่วมกับ TK PARK ในระยะเริ่มต้นจัดทาโครงการยืมหนังสือ หมุนเวียน รวมถึงสื่อเรียนรู้ทางอินเตอร์เน็ตให้ชุมชนได้ใช้ประโยชน์ในการค้นหาความรู้ต่อยอดด้วยตนเอง - ลานอเนกประสงค์ หรือลานออกกาลังกาย และ พื้นที่สาหรับพักผ่อนหย่อนใจ จนถึงปัจจุบันนี้ มีผู้คนในชุมชน หลากหลายช่วงอายุ ทั้งเด็กเล็ก นักเรียน หรือผู้ใหญ่ มาใช้บริการศูนย์สุขภาพฯ รวมมากกว่า 150,000 คน
  • 13. 9 ภาพที่ 4 ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) แภาพที่ 5 กิจกรรมภายในศูนย์ ฯ ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) ระบบและกลไกในการดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่น ก่อนที่จะมีศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน ระบบและกลไกในการบริหารงาน การดูแลสุขภาพชุมชนรอบพื้นที่โรงกลั่นไม่แตกต่างจากชุมชนอื่น ๆ ในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบัง คือมี เทศบาลนครแหลมฉบังมีบทบาทเป็นระบบหลักในงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค โดยเครือข่ายของ กลุ่มอสม.กระจายอยู่ในแต่ละชุมชนเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนตามนโยบายของเทศบาลฯ และ โรงพยาบาลแหลมฉบัง(ในช่วงนั้นชื่อ โรงพยาบาลอ่าวอุดมศรีราชา) เป็นระบบและกลไกหลักในด้านบริการ สุขภาพและป้องกันโรค โดยบุคลากรของโรงพยาบาลเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนงาน และด้วยพื้นที่ แหลมฉบังมีขนาดกว้างใหญ่ประกอบด้วยชุมชนถึง 23 ชุมชน แนวทางในการดาเนินงานส่งเสริมสุขภาพและ ป้องกันโรค จึงเป็นไปตามนโยบายของแต่ละระบบ โรงพยาบาลจะเคลื่อนงานตามนโยบายของกระทรวง สาธารณสุข โดยเน้นกลุ่มประชากรผู้ป่วยที่มารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเป็นกลุ่มหลัก และทางานรณรงค์ กับพื้นที่เมื่อมีโรคระบาด หรือมีเป้าหมายกาหนดให้ทาการสารวจคัดกรอง ขณะที่เทศบาลนครแหลมฉบัง
  • 14. 10 สามารถกาหนดนโยบายด้านสุขภาพได้เอง โดยอาศัยทิศทางของกระทรวงสาธารณสุขประกอบร่วมกับ ความต้องการในพื้นที่ ทั้งสองระบบมีความต้องการเชื่อมโยงประสานการทางาน หรือร่วมมือกันในการ ทางานรณรงค์ในบางโอกาสเป็นโครงการ ๆ ไป ในปี 2553 เมื่อศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนจัดตั้งขึ้นด้วยความร่วมมือจาก โรงพยาบาลแหลมฉบัง ด้วยแนวคิดกาหนดบทบาทของศูนย์สุขภาพฯ เน้นการทางานสุขภาพเชิงรุก คือ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค โดยมีจุดยืนที่จะมีบทบาท สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน ประกอบกับเครือไทยออยล์มีแนวนโยบายการทางานชุมชนที่มุ่งประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานหลัก ในพื้นที่ ดังนั้นบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะของศูนย์สุขภาพฯ ในพื้นที่ทั้ง 10 ชุมชนรอบโรง กลั่นและเครือไทยออยล์จึงไม่ได้กาหนดศูนย์สุขภาพฯเป็นผู้มีบทบาทหลัก แต่ศูนย์สุขภาพฯจะมีบทบาทเป็น “ผู้ร่วมดาเนินการ” เป็นเสมือน ตัวหล่อลื่น ประสานความร่วมมือ กับทุกฝ่ายให้ร่วมกันพัฒนากลไกที่จะ มาทางานขับเคลื่อนงานส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคร่วมกัน บทบาทการร่วมดาเนินการ สนับสนุนและเชื่อม ประสานหน่วยงานหลักด้านสุขภาพในพื้นที่โดยเฉพาะเทศบาลนครแหลมฉบัง และโรงพยาบาลแหลมฉบัง ไทยออยล์ได้กาหนดความชัดเจนที่มุ่งให้เกิดการทางานร่วมกันกับกลุ่มผู้นาในชุมชน โดยมีเป้าหมาย อยู่ที่ประโยชน์แก่ชุมชนเป็นหลัก จนพัฒนากระบวนการทางานร่วมระหว่างสามฝ่ายคือไทยออยล์ หน่วยงานหลักคือเทศบาลและโรงพยาบาล และกับชุมชน อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง เรียกว่า การจัดการแบบ 3 ประสาน นอกเหนือจากวิธีคิดที่จะพัฒนาการร่วมทางานในพื้นที่แล้ว เพื่อการจัดการปัญหาการขาดบุคลากร ในการทางานส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลจัดทาแฟ้มครอบครัว ศูนย์สุขภาพ ฯ จึง พัฒนากลไกการประสานความร่วมกับหน่วยงานอื่นนอกพื้นที่มากขึ้น กลไกความร่วมมือของศูนย์สุขภาพ ฯ ขณะนี้มี 5 ยูนิตที่สาคัญ คือ ไทยออยล์ หน่วยงานในพื้นที่ (โรงพยาบาลแหลมฉบัง เทศบาลนครแหลมฉบัง) ชุมชน(คณะกรรมการชุมชน อสม.และแกนนาสุขภาพ) สถาบันการศึกษา และหน่วยงานนอกพื้นที่ เป็น เครือข่ายในการทางาน (ภาพที่ 6) ในการประสานงานช่วงแรก จาเป็นต้องพัฒนาความเข้าใจแก่ทุกฝ่าย ทั้งนี้ไทยออยล์ต้องมีความเข้าใจในบทบาทหลักของตนเองที่เป็นสถานประกอบการ ไม่ใช่หน่วยงานหลัก ด้านสุขภาพในพื้นที่ ไทยออยล์จะต้องชัดเจนที่จะเป็นผู้ช่วยเชื่อมประสาน สนับสนุนการสร้างกลไกการ ทางานร่วมกัน โดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายสาคัญด้วยความจริงใจ ที่ต้องการเห็นการทางานร่วมกันของ หน่วยงานต่างๆ ทีเกี่ยวข้องในพื้นที่และนอกพื้นที่ เป็นกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมกาหนดเป้าหมาย ร่วม ทา ร่วมแบ่งปัน ร่วมรับผล เมื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทางานร่วมกัน มีการตั้งคาถามว่าจะดูแลสุขภาวะชุมชน อะไรคือ เป้าหมายหลักกันแน่ พบว่าเป้าหมายร่วมที่ทุกหน่วยงานต้องรับผิดชอบอยู่แล้ว คือการพัฒนาศักยภาพ ชุมชน จึงเป็นเป้าหมายร่วมที่สาคัญ โดยการทางานที่สามารถครอบคลุมทุกช่วงวัย ขับเคลื่อนผ่านกลไก
  • 15. 11 ประสานประโยชน์ คิดเสมอว่าประโยชน์ที่แต่ละหน่วยงานจะได้รับคืออะไรเมื่อทางานร่วมกับหน่วยงาน อื่น และควรตั้งประเด็นถึงว่าประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับเป็นเป้าหมายร่วมของทุกหน่วยงาน ภาพที่ 6 กลไกการทางานพัฒนาสุขภาพชุมชนรอบไทยออยล์ ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) ระบบการจัดการแบบ 3 ประสานของหน่วยงานในพื้นที่ ที่ประสานการทางานกับหน่วยงานนอก พื้นที่ สะท้อนให้เห็นว่าไทยออยล์ไม่ได้เป็นเจ้าของชุมชนและเจ้าของโครงการ เป็นเพียงหนึ่งในยูนิตของการ ทางาน ไทยออยล์ไม่ได้มีหน้าที่เพียงสนับสนุนงบประมาณ แต่มีหน้าที่สนับสนุนพัฒนากลไกการจัดการ พยายามเชื่อมโยงให้เกิดกระบวนการทางานร่วมกันของหน่วยงานหลักในพื้นที่ เช่น เทศบาลนครแหลมฉบัง โรงพยาบาลแหลมฉบัง ให้สามารถทาหน้าที่เป็นบทบาทนาในการทางาน อาจสรุปได้ว่า โครงการ รับผิดชอบต่อสังคมของไทยออยล์ทาให้เกิดศูนย์สุขภาพ ฯ ขึ้นมา และเป็นช่องทางสาคัญในการสนับสนุน งานพัฒนาสุขภาวะชุมชน แต่เป็นส่วนหนึ่งในยูนิตการทางานที่มุ่งพัฒนากลไก กระบวนการการบริหาร จัดการที่เป็นระบบร่วมกัน จนเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนงาน สามารถสร้างการทางานที่มีประสิทธิภาพต่อชุมชน ได้ มีผลงานเป็นรูปธรรม
  • 16. 12 ภาพที่ 7 จานวนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการทางาน ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) การบริหารจัดการภายในของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน บุคลากรที่ทางานภายในศูนย์ ฯ มีพนักงานจากไทยออยล์ทางานประจาที่ศูนย์ ฯ 2 คน มีที่ปรึกษาการทางาน (ไม่ประจา) 1 คน มีแม่บ้าน 3 คน และช่างซ่อมบารุง 1 คนทาหน้าที่จัดสัมมนา การประชุม ดูแลประสานการจัดกิจกรรม ต่าง ๆ ในพื้นที่ ในด้านงบประมาณการทางานของศูนย์สุขภาพฯ ใช้งบประมาณส่วนใหญ่ในงานทันตกรรม ดูแลเด็ก 5,000 – 6,000 คนต่อปี (งบประมาณในการทางานด้านเวชศาสตร์ชุมชนไม่ได้ใช้งบประมาณที่สูงมากตามที่หลายหน่วยงานเข้าใจ)
  • 17. 13 โมเดลการพัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (FAP) ผลงานรูปธรรมที่โดดเด่นของการทางานพัฒนาสุขภาวะรอบพื้นที่ไทยออยล์ คือ การสร้างระบบ ฐานข้อมูลสุขสภาวะชุมชน (Family and Community Assessment Program: FAP)7 ซึ่งระบบมี ประโยชน์อย่างมากสาหรับการทางานของเจ้าหน้าที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องการข้อมูล และ เครือข่ายอสม.และคณะกรรมการชุมชน ซึ่งตลอดที่ผ่านมาการเก็บข้อมูลสุขภาพในระดับบุคคล ครอบครัว เป็นปัญหาของการทางานด้านสาธารณสุขมาตลอดเพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเก็บข้อมูล ต้องใช้งบประมาณ บุคลากรจานวนมาก ไม่สามารถที่จะเก็บข้อมูลเพื่อใช้งานได้ต่อเนื่อง ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชน เห็นถึงความสาคัญของการทาฐานข้อมูล สุขภาพชุมชนเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการทางาน จึงผลักดันเรื่องการทาแฟ้มสุขภาพครอบครัว (Family Folder) ร่วมกับโรงพยาบาล ช่วงแรกประสบความยากลาบาก เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีบุคลากร ไม่มีเวลา ที่เพียงพอ ไม่มีวิธีในการอัพเดทข้อมูล จึงมีความพยายามค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการเก็บข้อมูล โดยใช้ฐานคิด ของการทางานร่วมกันกับหลายฝ่าย และค้นพบว่า การประสานงานให้นักศึกษามาฝึกปฏิบัติงานเก็บข้อมูล ในพื้นที่ เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์ร่วมกัน มหาวิทยาลัยมีพื้นที่ฝึกงาน ทางศูนย์สุขภาพ ฯ ได้ ข้อมูลและสามารถพัฒนาระบบฐานข้อมูล กิจกรรมสุขภาพในพื้นที่สามารถกรองคัดข้อมูลเพื่อนาไปขยาย งาน โดยไทยออยล์รับผิดชอบเป็นฝ่ายสนับสนุนและดูแลนักศึกษาตลอดการฝึกงาน การทางานร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เริ่มต้นจากศูนย์สุขภาพ ฯ ได้ติดต่อไปที่คณะพยาบาล ของ มหาวิทยาลัยบูรพา และวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จ.ชลบุรี เพื่อเสนอพื้นที่ชุมชนรอบโรงกลั่นและเครือ ไทยออยล์เป็นพื้นที่ให้นักศึกษามาฝึกงานร่วมกับชุมชน เพื่อสารวจชุมชน ระบุปัญหาสุขภาพ ทาประชาคม ชุมชนเพื่อเลือกปัญหาที่จะแก้ไขร่วมกับชาวชุมชน และบันทึกข้อมูลที่ได้จัดเก็บทาแฟ้มข้อมูล ซึ่งก็ได้รับ ความร่วมมือกับทางคณะฯ เนื่องจากต้องการพื้นที่ฝึกงานให้นักศึกษาอยู่แล้ว โดยทางไทยออยล์ได้สนับสนุน การปรับปรุงหอพักของโรงพยาบาลแหลมฉบังให้นักศึกษามาพักในระหว่างฝึกงานได้เพิ่มขึ้น และบริการรถ รับส่งให้ระหว่างลงปฏิบัติงานในพื้นที่ชุมชน ส่วนเรื่องการเข้าพื้นที่ได้ประสานงานให้เทศบาลนครแหลม ฉบังดูแล โดยหัวหน้าฝ่ายส่งเสริมป้องกันโรคของเทศบาลฯ จะประสานงานกับเครือข่ายอสม.ของแต่ละ ชุมชน เกิดความร่วมมืออย่างดี ทาให้การเก็บข้อมูลสุขภาพชุมชนของพื้นที่เมืองรอบโรงกลั่นและเครือไทย ออยล์เป็นโมเดลการจัดการแบบ 3 ประสานของหน่วยงานในพื้นที่แหลมฉบังกับหน่วยงานนอกพื้นที่ 7 ระบบฐานข้อมูลสุขภาพครอบครัวและชุมชน (Family and Community Assessment Program : FAP) ซึ่งเป็นเครื่องมือสาหรับผู้บริหารในการ จัดทานโยบายเพื่อให้เกิดสุขภาวะของชุมชนตาบลปากพูน ซึ่งมีกระบวนการดาเนินงานโดยสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนในตาบลเข้ามาร่วม จัดเก็บข้อมูลสุขภาพของครอบครัว นาข้อมูลมาบันทึกในโปรแกรม FAP ซึ่งช่วยในการประมวลผล และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หลังจาก นั้น นาข้อมูลคืนสู่ชุมชนโดยใช้เวทีประชาคม ให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลและเลือกปัญหาหรือความต้องการที่ได้จากฐานข้อมูลหรือเสนอความ ต้องการเพิ่มเติมจากข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อที่จะร่วมกันกาหนดเป็นโครงการได้
  • 18. 14 คือ ประสานร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยมีชุมชนเป็นเป้าหมายของภารกิจ โดยการสนับสนุนของศูนย์ สุขภาพ ฯ ของไทยออยล์ที่เป็นสถานประกอบการเอกชนในพื้นที่ (ภาพที่ 8) ภาพที่ 8 ระบบการจัดการงาน 3 ประสาน ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) โดยปกติการฝึกงานการพยาบาลชุมชนของนักศึกษามีกาหนดเก็บข้อมูลพื้นที่ 3-4 สัปดาห์ จุดประสงค์เพื่อฝึกทักษะการสารวจข้อมูลสุขภาพระดับครอบครัว และประมวลผลข้อมูลให้สามารถประเมิน สรุปปัญหาสุขภาพของชุมชนนั้น ๆ การออกแบบข้อมูลที่จะสารวจนั้นมีการออกแบบร่วมกันระหว่าง มหาวิทยาลัยและโรงพยาบาล เพื่อให้ได้แบบสอบถามที่สามารถใช้ประโยชน์ได้กับทุกฝ่าย ไทยออยล์ ตระหนักถึงความสาคัญของประสิทธิภาพของการใช้ข้อมูลสาหรับโครงการต่อ ๆ ไป จึงให้ความสาคัญกับ การค้นหาระบบโปรแกรมเก็บข้อมูลที่จะสามารถช่วยประมวลผลและดึงข้อมูลตามเงื่อนไขการใช้งานที่ ต้องการ โปรแกรมในการเก็บที่ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยอาจารย์อุไร จเร ประพาฬ ที่เคยประสบปัญหาการจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลมาก่อนแล้ว จึงได้คิดค้นโปรแกรม FAP นี้ขึ้น ใช้กับชุมชนปากพูนมาแล้ว นักศึกษาเมื่อได้สารวจเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามแล้ว หลังเก็บข้อมูลต้องนา ข้อมูลมาบันทึกในโปรแกรม FAP เมื่อเก็บข้อมูลเสร็จจะมีการทาประชาคมร่วมกับชุมชน เพื่อให้ชุมชนได้รับ รู้ปัญหาด้านสุขภาพ และสามารถกาหนดแนวทางในการแก้ไขต่อไปได้ โมเดลการทางานเช่นนี้ได้ประโยชน์ ร่วมกันทุกฝ่าย นักศึกษาได้ฝึกงานตามกระบวนการหลักสูตร ทางศูนย์ ฯ โรงพยาบาล และเทศบาล ฯ ได้ ข้อมูลนาไปใช้ประโยชน์ต่อไป รวมถึงชุมชนได้รับรู้และเข้าใจถึงสถานการณ์สุขภาพของตัวเองด้วย
  • 19. 15 ข้อมูลสุขภาพชุมชนที่สารวจมาได้ จะมีการนาข้อมูลที่บันทึกแล้ว กรองคัดมาใช้กับโครงการอื่นๆ และเมื่อโครงการหรือกิจกรรมที่ดาเนินการต่อ ๆ มาพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลเดิมหรือมีข้อมูล เพิ่มเติม ก็จะมีการบันทึกปรับปรุงข้อมูล เท่ากับข้อมูลจะถูกทบทวนปรับปรุงจากการสารวจหลายครั้ง ถูกดึง ไปใช้ในหลายโครงการ โดยแต่ละครั้งมีชุดข้อมูลการสารวจที่แตกต่างกันบ้าง หรืออาจซ้าบ้างในบางส่วน มี สรุปโครงการและกิจกรรมที่มีการสารวจข้อมูล และใช้ข้อมูลจากโปรแกรมทั้งหมดมี ดังนี้ - โครงการสารวจสุขภาวะชุมชน และจัดทาแฟ้มสุขภาพครอบครัว (FAP 1) เก็บข้อมูลโดย นักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา และวิทยาลัยพยาบาลราชชนนี จ.ชลบุรี ตามหลักสูตรฝึกงาน การพยาบาลชุมชน ตั้งแต่ปี 2554-ปี 2560 รวมแล้ว 33 รุ่น 453 คน ใน 1 ปีมา 4-6 รุ่น รุ่นละ 1-2 กลุ่ม จะเก็บข้อมูลครบ 10 ชุมชนภายในปี 2561 ณ 31 ธันวาคม 2560 มีแฟ้มครอบครัวถูกบันทึก ไว้ในระบบรวม 4,992 ครอบครัว รวมประชากร 17,368 คน ดึงข้อมูลที่เก็บไว้ส่งให้กับโรงพยาบาล เทศบาลฯ เพื่อใช้งานตามที่ร้องขอประโยชน์ที่ชุมชนในพื้นที่ได้รับในระยะสั้นทันที คือ กรณีที่พบ ผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคหรือมีความเสี่ยงมากหรือมีโอกาสเกิดข้อแทรกซ้อนต้องรีบส่งต่อเข้า ระบบบริการสุขภาพ หรือผู้ที่ต้องการการดูแลต่อเนื่อง ก็จะส่งต่อให้ อสม. ดูแลในกรณีนั้นๆ ต่อไป - โครงการคัดกรองโรคเมตาบอริค: เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง (FAP 2) ใน ระยะแรก ๆ โครงการนี้ใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้จาก FAP1 มากรองคัดเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้น ไป นามารณรงค์เชิญชวนมาเจาะเลือด ตรวจไขมัน เพื่อคัดกรองโรคความดัน เบาหวาน โรคอ้วน แต่พบว่าไม่ได้ผลมากนัก ตั้งแต่ปี 2558 จึงได้ทบทวนวิธีการ และปรับเปลี่ยนเป็นการดาเนิน โครงการ FAP2 นี้ควบคู่ไปพร้อมกับโครงการ FAP1 โดยให้อุปกรณ์วัดความดัน อุปกรณ์เจาะเลือด ปลายนิ้วและเครื่องอ่านระดับน้าตาลในเลือด ให้ไปกับนักศึกษาพยาบาล โครงการนี้สามารถจัดเก็บ รายชื่อผู้มีความเสี่ยงโดยเฉพาะคนที่มีความเสี่ยงสูงโดยไม่เคยทราบมาก่อนได้เป็นจานวนมาก หาก พบปัญหาก็ต้องรีบส่งต่อทันที - โครงการสารวจและคัดกรองผู้สูงอายุ (FAP 3) โครงการนี้เป็นความร่วมมือกับโครงการจิตอาสา นักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปี 2560 รวม 7 รุ่น นักศึกษาที่เข้าร่วมรวม 61 คน เป็นนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 2 หรือชั้นปีที่ 3 จะมาในช่วงปิดเทอม ใหญ่ ช่วยสารวจผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไปโดยกรองชื่อจาก FAP1 และทีม อสม.จะลงพื้นที่ตรวจสอบว่า รายชื่อทั้งหมดยังคงอยู่และหาตัวตนพบหรือไม่ก่อนที่นักศึกษาจะมา จนถึงสิ้นปี 2560 ดาเนินการ แล้ว 7 ชุมชน มีจานวนผู้สูงอายุในระบบรวม 1,510 คนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7-15% ของ ประชากรแต่ละชุมชน นักศึกษาทางานลงพื้นที่ร่วมกับ อสม. ช่วยคัดแยกและจัดกลุ่มผู้สูงอายุตาม ภาวะพึ่งพิง เป็นติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคมมีโรคเรื้อรัง และไม่มีโรคเรื้อรัง ผลการสารวจยังพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ยังอยู่ในกลุ่มติดสังคม แต่พบว่าเป็นประเภทติดสังคมและมีโรคเรื้อรังได้แก่ เบาหวาน ความดัน ไขมันในเลือด โรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 70-80% แม้จะพบว่าผู้สูงอายุ
  • 20. 16 ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงมีประมาณ 2 เปอร์เซ็นต์ซึ่งยังไม่มากนัก แต่ในอนาคตผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังหาก มีการพัฒนาของโรคมากขึ้น หรือเกิดข้อแทรกซ้อนเช่น จากความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงหาก เกิดเส้นเลือดสมองแตก ตีบหรือตัน หรือเส้นเลือดหัวใจอุดตัน ก็จะเกิดภาวะอัมพฤกษ์ กลายเป็น ผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพิงจานวนมากขึ้น จากการสารวจคัดกรองหากพบผู้สูงอายุคนใดมีปัญหาเร่งด่วน ต้องส่งต่อเข้าระบบบริการสุขภาพ หรือให้ อสม. ช่วยติดตาม หรือหากผู้สูงอายุคนใดมีสภาพความ เป็นอยู่ที่เสี่ยง นักศึกษาและ อสม. ต้องนาเสนอวิธีการแก้ไข ข้อมูลที่ได้รับมาทั้งหมดนี้จะมีประสาน ร่วมกับโรงพยาบาล เทศบาลฯ ในการหาวิธีดูแลผู้สูงอายุในภาวะพึ่งพิงต่อไป - โครงการคัดกรองโรคเลือดจางธาลัสซีเมีย (FAP 4) เป็นโครงการความร่วมมือกับศูนย์ธาลัสซี เมีย ของโรงพยาบาลศิริราช ตรวจหาผู้ที่เสี่ยงเป็นธาลัสซีเมียด้วยวิธีตรวจระดับยีนซึ่งมีความถูกต้อง 99.99% คัดกรองประชากรกลุ่มอายุ 15-35 ปีคือที่ยังอยู่ในวัยเจริญพันธุ์ ได้ดาเนินการแล้วทั้งหมด 10 ชุมชน จานวน 810 คน การสารวจครั้งนี้เพื่อให้ทราบว่าปกติหรือ เป็นพาหะ หรือเป็นโรค จาก การคัดกรองพบผู้ที่เป็นโรคที่ไม่เคยรู้มาก่อนถึง 10 คน ทั้งหมดจะนาส่งรายชื่อเข้าไว้ในฐานข้อมูล ของโรงพยาบาลแหลมฉบัง คนที่เป็นโรคหลายสายพันธ์จะมีภาวะเจ็บป่วยและต้องมีค่าใช้จ่าย จานวนมากตลอดชีวิต และพบผู้ที่เป็นพาหะถึง 44% แม้ผู้ที่เป็นพาหะจะไม่มีอาการใด ๆ มีภาวะ เหมือนปกติ แต่เนื่องจากจะมียีนแฝงของโรคอยู่ การคัดกรองนี้จึงช่วยให้ผู้ที่พบว่าเป็นพาหะจะได้ ทราบก่อนที่จะมีบุตร หากมีความเป็นพาหะทั้งคู่สามีภรรยา โอกาสที่จะมีลูกเป็นโรคจะมีสูง ซึ่งจะ เป็นข้อมูลสาคัญให้กับแพทย์ที่ฝากครรภ์ได้ทราบ และเพื่อให้สามารถวางแผนครอบครัวที่จะช่วย หยุดการขยายของผู้เป็นโรคได้ ซึ่งข้อมูลนี้ยังมีเป็นผลดีในเชิงวิชาการมาก และมีผลดีต่อผู้รับการ ตรวจโดยตรง - โครงการสารวจและแก้ไขปัญหายาระดับชุมชน (FAP 5) สารวจโดยนักศึกษาเภสัชฯ ปี 4 มหาวิทยาลัยบูรพา วิชาเภสัชศาสตร์สาธารณสุข ดาเนินการในปี 2557 - 2558 เข้ามาสารวจแล้ว 2 รุ่น นักศึกษารวม 71 คน สารวจ คัดกรองผู้มีความเสี่ยงปัญหายาและสุขภาพ จัดกิจกรรมแก้ไข ปัญหาในชุมชน และจะได้บัญชีรายชื่อผู้ที่มีความเสี่ยงในการใช้ยารวบรวมไว้ให้นักศึกษาเภสัช ศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ติดตามแก้ไขปัญหาเป็นรายคนต่อไป - โครงการเยี่ยมบ้านเพื่อแก้ไขและติดตามปัญหาการใช้ยา (FAP 6) โดยนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 ตามหลักสูตรฝึกปฏิบัติการวิชาชีพ ตั้งแต่ปี 2557-2559 เข้ามาสารวจดาเนินการแล้ว 9 รุ่น 17 คน ประเมินปัญหาการใช้ยา ติดตามแก้ไขปัญหายาใน 2 ชุมชน จานวน 328 คน นอกจากการสารวจข้อมูลและโครงการข้างต้นแล้ว โรงพยาบาลและเทศบาลฯได้มีการพัฒนา กระบวนการต่อ โดยเฉพาะโครงการสารวจคัดกรองผู้สูงอายุที่กาลังเป็นนโยบายสาคัญของประเทศ เช่น การ ออกแบบสารวจข้อมูลเพิ่มเติม ได้แก่ แบบประเมินโรคสมองเสื่อมต่างๆ โรคตา ต้อกระจก ต้อหิน จอตา เสื่อม สารวจภาวะซึมเศร้า รวมถึงการนาข้อมูลส่งต่อไปให้กับศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการ
  • 21. 17 การเก็บข้อมูลโดยนักศึกษา ทาให้พื้นที่สามารถเก็บข้อมูล คัดกรองข้อมูล จานวนมากโดยใช้ งบประมาณไม่มากนัก ขณะที่นักศึกษาได้ฝึกทักษะการพูดคุยและการบันทึก โดยใช้วิธีพูดคุยพัฒนาความ ไว้เนื้อเชื่อใจมากกว่าการถามตรงไปตรงมาตามแบบสอบถาม จะทาให้ได้ข้อมูลที่ดีกว่า การสารวจโดยการมี ส่วนร่วมหลายฝ่ายเช่นนี้ ทาให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพและใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น ภาพที่ 9 นักศึกษาพยาบาลฝึกปฏิบัติการพยาบาลชุมชน และพื้นที่ได้เรียนรู้ปััญหาสุขภาพของชุมชน ที่มา ชัยชนะ หะริณธนาวุฒิ (2561) การพัฒนาเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพกับข้อมูลดัชนีชี้วัดมาตรฐาน การส่งเสริมสุขภาพตั้งแต่วัยเด็ก ถือเป็นนโยบายสาคัญที่ผู้บริหารไทยออยล์กาหนดไว้เป็นบทบาท ของศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้เครือไทยออยล์เพื่อชุมชนตั้งแต่แรกเริ่มจัดตั้ง การออกแบบโครงสร้างของ ศูนย์สุขภาพฯ จึงมีห้องทันตกรรมพร้อมอุปกรณ์ทาฟันครบยูนิตถึง 5 ห้อง ศูนย์สุขภาพฯ เน้นคลินิคดูแลฟันและช่องปากเชิงป้องกัน คือ การขูดหินปูน อุดฟัน เคลือบหลุมร่อง ฟัน เคลือบฟลูออไรด์ แก่เด็ก ๆ ในโรงเรียน 8 โรงเรียนรอบเครือไทยออยล์ ตั้งแต่เริ่มเปิดดาเนินการศูนย์ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 และคาถามเริ่มต้นในปีแรกคือ จะรู้ได้อย่างไรว่าช่องปากและฟันของเด็ก ๆ ดีขึ้น เพื่อตอบคาถามนี้ ศูนย์สุขภาพฯ ได้พัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูลที่ใช้โปรแกรมพื้นฐาน Excel ใช้จัดเก็บสถานะ ฟันของเด็ก ๆ เป็นรายคน โดยผูกสูตรเฉลี่ยสถานะฟันเด็กทั้งห้องแต่ละห้อง จนถึงเฉลี่ยสถานะฟันทุกห้อง เป็นค่าเฉลี่ยแต่ละชั้นเรียน จนถึงการเฉลี่ยทั้งโรงเรียน และทุกโรงเรียนหรือทั้งเครือข่าย 8 โรงเรียน การที่ สามารถเก็บข้อมูลสถานะฟันของเด็ก ๆ ทั้งห้อง ทั้งชั้นเรียนและทั้งโรงเรียน ทาให้สามารถเทียบเคียงสถานะ