SlideShare a Scribd company logo
1 of 16
Download to read offline
1
คําบรรยาย วิชา 2-343-323 เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering Technology)
ของ รศ. สุรพล ศรีบุญทรง
สวัสดีครับ ผู้เรียนวิชา 2-343-323 เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering Technology) ทุกท่าน ตามที่ผม
ได้ศึกษาถึงจุดมุ่งหมายของรายวิชา มคอ.3 ของหลักสูตรที่ระบุว่าเป้าหมายของการเรียนวิชานี้ เจตนาให้นักศึกษามี
ความสามารถดังนี้
1) นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ระบบกลไกทางวิศวกรรมและพลังงานส่วนประกอบของ
อุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิตระบบและส่วนประกอบ ของ
ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
2) นักศึกษามีทักษะในการนําเอาหลักกลศาสตร์ระบบกลไกทางวิศวกรรมและพลังงาน ส่วน ประกอบของ
อุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิต ระบบและส่วนประ กอบของ
ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
3) นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ระบบกลไก พลังงาน วัสดุ กรรมวิธีการผลิต เลือก
ให้เหมาะสมกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่ละประเภท
กล่าวได้ว่า เป้าหมายของวิชานี้เป็นไปเพื่อปูพื้นฐานในด้านหลักการทางกลศาสตร์ ระบบกลไกทางวิศวกรรม
และพลังงานส่วนประกอบของอุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิตระบบ และ
ส่วนประกอบของระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งผมเข้าใจว่า คณาจารย์
ของภาควิชาฯ คงจะได้สอน/ฝึกให้ นศ. ได้เรียนรู้/ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับกลไกทางกลศาสตร์ ทาง
ไฟฟ้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างครบถ้วนแล้วภายในระยะเวลาของการสอน 13 คาบ ผมในฐานะของบุคลากรทาง
การศึกษาจากภายนอก มทร.กรุงเทพ ที่เข้ามาสอนทดแทนให้ในส่วนของ ผศ.ดิเรก กาญจนรูจี ที่ได้ลาอุปสมบทเพื่อ
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จึงไม่ควรจะสอนหรือฝึก นศ. ซ้ําในส่วนที่
คณาจารย์ทั้งหลายได้สอน นศ. กันมาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่น่าจะเป็นการเปิด
มุมมมองใหม่ ตลอดจนชี้ให้เห็นแนวทางแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในการศึกษา และ
การเรียนรู้จากชีวิตจริงแทน
ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเริ่มสอนนั้น ผมได้เริ่มด้วยการสอบถามความคิดเห็น
ของ นศ. เกี่ยวกับความหมายของวิชา เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering
Technology) ตลอดจนคําศัพท์หลักๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมายของคําว่า
วิศวกรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ Industrials
วิชาชีพอย่าง Professional และ Vocational
วิธีการสอนที่ผมได้ดําเนินไปในต้นชั่วโมงนั้น เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Socrates
method หรือการเลียนแบบของปรัชญาเมธีที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคสมัยใกล้เคียงกับ
พระพุทธเจ้า ซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนหยุดคิดและพยายามทําความเข้าใจกับความหมายของ
2
สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (น่าเสียดายว่าวิธีการตั้งคําถามแบบเจาะลึกไปเรื่อยๆ
นี้อาจจะไม่ถูกใจผู้ปกครองในประเทศกรีกสมัยนั้น ทําให้โสเครตีสถุก
ตัดสินให้ต้องจบชีวิตด้วยการกินยาพิษจากต้น Hammock )
สําหรับ คําว่า วิศวกรรม กับคําว่า เทคโนโลยี นั้นปัจจุบัน
จะได้รับการตีความที่ใกล้เคียงกันมาก ในแง่ที่เป็นการประยุกต์เอาความรู้
ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะฟิสิกส์จะเป็นสาขาทาง
วิทยาศาสตร์ที่ได้รับการประยุกต์มาใช้มากที่สุด) มาดัดแปลงให้เกิดเป็น
ผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติทั่ว ๆ ไป บางคนอาจจะตีความ
ว่าวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Sciences) นั้น
เป็นเรื่องของการแสวงหาเหตุผล ที่สามารถทดลองพิสูจน์ให้เห็นซ้ําได้ ให้
คําอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ส่วนการประยุกต์มาใช้สร้างสิ่งประดิษฐ์
อย่าง วิศวกรรม และเทคโนโลยีนั้น หลายคนสมัครใจที่จะเรียกว่าเป็น
วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences)
อย่างไรก็ตาม หากมิได้พิจารณากันแค่ตามความหมาย แต่
อธิบายตามหลักประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคําศัพท์ ก็ต้องยอมรับว่า
ความเป็นช่าง หรือ วิศวกร นั้นมีอยู่คู่โลกมาแต่ยุคดึกดําบรรพ์ จนอาจ
กล่าวได้ว่า เมื่อมนุษย์ยุคหินคนแรกเริ่มรู้จักกระเทาะขวานหินให้ได้
กระชับ ถนัดมือ ความเป็นช่าง หรือความเป็น วิศวกรก็เกิดขึ้นมานับแต่
นั้น หรือหากจะพิจารณาจากบรรดาช่างไทยหรือประเทศที่ได้รับอิทธิพล
จากศาสนาฮินดูในละแวกชมพูทวีปพากันนับถือพระนารายณ์ หรือพระ
วิษณุเทพ เป็นบิดาแห่งเหล่าช่างทั้งหลาย ก็ต้องบอกว่าความเป็นช่าง
หรือลูกหลานวิษณุก็เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุค 2 – 3 พันปีที่แล้ว ผิดกับคําว่า
Sciences หรือวิทยาศาสตร์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่ถึง 500 ปีดีนี้เอง
เดิมทีความสนใจใฝ่รู้เชิงนี้จะถูกเรียกว่า Natural Philosophy อันเป็น
สิ่งตกค้างสืบเนื่องจากวิธีการศึกษาของผู้คนในยุโรปตั้งแต่ยุคสมัยของอารย
ธรรมกรีก
หรือ หากจะยึดตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษ คํา
ว่า engineering ก็มาจากคําว่า engineer ซึ่งสืบย้อนกลับไปได้ถึง ค.ศ.
1325 จากคําว่า engine’er อันมีความหมายว่า ผู้ใช้งานเครื่องจักร
หรือ ผู้สร้างเครื่องจักรสําหรับใช้งานเพื่อการทหาร เพราะเดิมที คํา
ว่า engine นั้นหมายถึงเครื่องจักรทางการทหาร หรืออาวุธอย่าง เครื่องยิง
หินแคเทอพอลต์ นอกจากนี้ยังมีคําที่เก่าแก่ คือคําว่า ingenium ใน
ภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "ความสามารถที่มีมาโดยกําเนิด ความฉลาดในการ
วิกีพีเดีย ระบุว่า American
Engineers' Council for
Professional
Development (ECPD, ซึ่ง
ต่อมาคือ ABET[1]
) ได้ให้นิยาม
เกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้
ดังนี้
“วิศวกรรมศาสตร์คือการ
ประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยา
ศาตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการ
ออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง,
เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือ
กระบวนการผลิต หรืองานเพื่อ
การใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆ
หรือประยุกต์เข้าด้วยกัน หรือ
เพื่อการสร้างหรือใช้งานสิ่ง
เหล่านั้นด้วยความรู้ความเข้าใจ
เกี่ยวกับสิ่งที่ใช้งานอย่างหมดจด
หรือเพื่อการพยากรณ์
พฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้น
ภายใต้สภาวะที่เจาะจง สิ่งที่
กล่าวมาทั้งหมดนี้จักต้อง
คํานึงถึงความมุ่งหมายในการใช้
งาน, ความคุ้มค่าในการ
ปฏิบัติการ แลความปลอดภัย
ต่อชีวิตและทรัพยสินด้วย”
3
ประดิษฐ์” ซึ่งความเจริญเชิงช่างนั้นมิได้มีอยู่แต่ในซีกอารยธรรมตะวันตกเท่านั้น ในฟากฝั่งสุวรรณภูมิอันเป็นที่ตั้งของ
ประเทศไทยของเราก็มีความเจริญก้าวหน้าเชิงช่างอยู่มากมายมิใช่น้อย ดังจะเห็นได้จากบรรดาโบราณสถานทั้งหลายที่
ยังคงมั่นคงแข็งแรง แม้จะถูกก่อสร้างมานานนับเป็นหลายๆ ร้อยปี สิ่งประดิษฐ์ประเภทเครื่องมือ จักสาน งานทอ
ทั้งหลายที่มีมีการสืบทอดต่อเนื่องและพัฒนาให้มีความงดงาม และมีเอกลักษณ์สะท้อนความเป็นไทยได้ดี ก็เป็นตัวอย่าง
ที่แสดงให้เห็นถึงคามสามารถเชิงช่างหรือวิศวกรรมแบบของไทยได้เช่นกัน
ความหลากหลายในงานวิศวกรรม
ปัจจุบัน มีการประดิษฐ์คําที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมใหม่ๆ ขึ้นมามากมายอาทิ
Aviation Engineering วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง
Biochemical Engineering วิศวกรรมชีวเคมี เกี่ยวข้องกับการใช้เซลล์สิ่งมีชีวิตมาผลิตสารชีวเคมีออกมาตามต้องการ
Bioengineering การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ไปแก้ปัญหาด้านชีววิทยา
Biological Engineering ชีววิศวกรรมประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ หรือวิศวกรรม ไปแก้ปัญหาด้านชีววิทยาทั่วๆ ไป
หรือแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม
Biomaterials ชีววัสดุศาสตร์ การออกแบบ และพัฒนาวัสดุสังเคราะห์ (non-viable material) ซึ่งเหมาะ
สําหรับการฝังเข้าไปในร่างกาย (Bioimplantable materials)
Biomedical engineering การนําเอาพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัย เพื่อพัฒนา
อุปกรณ์ กระบวนการ และเครื่องมือทางการแพทย์ หรือ ทางชีวการแพทย์
Bioprocess Engineering วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ สังเคราะห์สารประกอบ สารชีวเคมีหายาก ให้ได้ปริมาณมากๆ
ด้วยกระบวนการทางห้องปฎิบัติการ
Chemical Engineering วิศวกรรมเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการ
ค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจําเพาะใหม่ๆ
Civil Engineering วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึก
และอาคารบ้านเรือน
Clinical Engineering วิศวกรรมทางคลีนิค มักถือว่าเป็นการกล่าวถึงศาสตร์เดียวกันกับวิศวกรรมชีวการแพทย์
มุ่งไปที่ความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องแพทย์ภายในโรงพยาบาล ตลอดไป
จนถึงการนําความคิดในเชิงบริหารการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการให้บริการทางการแพทย์
Electrical Engineering วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก
4
ชนิด
Engineering design กระบวนการออกแบบในเชิงเทคนิค (หรือเชิงวิศวกรรม) เพื่อการนําไปใช้งานจริง
Genetic Engineering พันธุวิศวกรรม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิตผ่านการตัดต่อสารพันธุกรรม
Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์
ระบบส่งกําลัง ระบบกันกระเทือน
Medical Engineering วิศวกรรมการแพทย์ มักถือว่าเป็นการกล่าวถึงศาสตร์เดียวกันกับวิศวกรรมชีวการแพทย์
มุ่งไปที่ความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องแพทย์ภายในโรงพยาบาล ตลอดไป
จนถึงการนําความคิดในเชิงบริหารการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการให้บริการทางการแพทย์
Nuclear-medicine imaging งานสร้างภาพรังสีที่อาศัยการเปล่งรังสีของสารกัมมันตรังสี (radioactive isotope) ที่ถูกฉีด
เข้าไปในร่างกายของผู้รับการทดสอบ โดยรังสีจะออกมามากในอวัยวะ ที่มีปริมาณสารที่เรา
สนใจมากๆ
Physiological Control &
Simulation
การสร้างระบบควบคุม และระบบจําลองการทํางานของสรีระ เป็นการประยุกต์ความรู้เชิง
วิศวกรรมด้านระบบวิเคราะห์ (System Analysis) และงานระบบควบคุม (Control
System) ไปใช้แก้ปัญหาทางชีววิทยา และทางการแพทย์
Rehabilitation Engineering วิศวกรรมฟื้นฟูมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณาพชีวิตของผู้พิการ หรือผู้ป่วยเสื่อมสมรรถนะ ด้วย
การจัดหา/จัดสร้างอุปกรณ์มาช่วยสนับสนุนอวัยวะที่เสื่อมสมรรถนะ หรือทดแทนอวัยวะที่
ขาดหายไป
Systems Engineering มักเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, จัดสร้าง, และบริหาร ระบบที่ มนุษย์สามารถจัดสร้างขึ้นได้
(man-made systems)
Tissue Engineering วิศวกรรมเนื้อเยื่อใช้ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ เพื่อชดเชย
หรือเสริมการทํางานของอวัยวะในรางกายมนุษย์
ส่วนคําว่า เทคโนโลยี และ อุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นติดตามมาหลังจากนั้น เมื่อมนุษย์พยายาม
ประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตนเองคิดค้นได้ ไปสรรสร้างประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ และไปสร้างผลกําไร
ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นกอบเป็นกําให้แก่ตนเอง เช่น ความรู้เรื่องการหักเหแสงของนักวิทยาศาสตร์นั้นคงก่อให้เกิด
ประโยชน์น้อยมากให้แก่สาธารณชนนอกเหนือไปจากตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของตัววิทยาศาสตร์เอง แต่
เมื่อมีการพลิกแพลงไปทําเป็นกล้องถ่ายรูป กล้องโทรทรรศน์ และสารพัดกล้อง นี่คือเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็
อาจจะไม่ก่อโภคผลใดๆ มากนักอีกเหมือนกัน เหมือนอย่างเม้าส์ตัวแรกที่ผลิตโดยวิศวกรในห้องทดลองพาโล อัลโต
ของบริษัทซีร็อกซ์ก็ยังไม่ได้สร้างผลตอบแทนใดให้แก่บริษัทซีรอกซ์นัก เพราะมีต้นทุนต่อเครื่องสูงกว่าแสนบาท
5
จนกระทั่งทีมงานจากบริษัทแอปเปิ้ลแอบเข้ามาสํารวจห้องทดลองดังกล่าวแล้วนําไปต่อยอด ก็ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า
อุตสาหกรรมเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีเม้าส์เป็นอุปกรณ์อินพุตสําคัญ และทําให้บริษัทแอปเปิ้ลได้รับการพัฒนามา
จนเป็นกลายเป็นบริษัททที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในโลกสมัยนี้ นี่คืออุตสาหกรรม (Industrial มีรากศัพท์มาจากคําว่า
Industrious หรือความขยันขันแข็ง อันเป็นที่มาของความมั่งคั่งทั้งหลายในโลก)
อนึ่ง คําว่า วิศวกรรม และ เทคโนโลยีนั้น มิได้หมายถึงการประยุกต์ใช้
ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม สัมผัส
จับต้องได้ หรือรับรู้ได้ด้วยอายตนะทั้งหาย อย่างเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต คือ ไม่ใช่
แค่เรื่องเฟือง เครื่องจักร สิ่งก่อสร้าง อาคาร เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์
อวัยวะเสริม อวัยวะเทียม หรือ เรื่องไฟฟ้า เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องที่
ไม่สามารถจับต้องได้ สิ่งที่มีความเป็นนามธรรมมากๆ อย่างเรื่อง สารสนเทศ
โปรแกรม อินเทอร์เน็ต หรือการบริหารจัดการ ฯลฯ ได้อีกด้วย ทั้งรูปแบบการ
พัฒนาวิศวกรรมเทคโนโลยีทั้งหลาย ก็มีแนวโน้มที่จะนําเอาความรู้ความเข้าใจของ
ผลผลิตทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ
• การเลียนแบบวัสดุทางธรรมชาติที่มีความแข็งแรงสูงมาก เมื่อเทียบกับปริมาตรและน้ําหนักของมัน
ยกตัวอย่างเช่น กระดูกหน้าแข้ง กระดูกสะโพก ฯลฯ
• การเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต การออกแบบอุปกรณ์เชื่อมต่อ ข้อต่อต่างๆ ให้คล้ายกับ
อวัยวะของสิ่งมีชีวิต ที่เห็นได้จากหุ่นยนต์สารพัดชนิดที่ถูกประดิษฐ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง
• การสร้างสารสังเคราะห์เพื่อเลียนแบบวัสดุทางธรรมชาติ เช่น การสร้างสารเคลือบผิวนาโน ที่มี
โครงสร้างใกล้เคียงกับผิวใบบัว เพื่อไม่ให้มีการเก็บความสกปรกของฝุ่นละออง การสร้างกาวที่
ใกล้เคียงกับสารยึดเกาะของเพรียงทะเล ที่สามารถทนต่อแรงเสียดสีและแรงกระทําที่มีต่อใต้ท้องเรือ
• การสร้างโครงสร้างกลไกที่มีความสามารถยึดเกาะเป็นพิเศา แบบตีนจิ้งจก ตืนตุ๊กแก เพื่อใช้ใน
งานเคลื่อนที่แนวดิ่ง
• การตัดต่อพันธุกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น สร้างใยที่มี
ลักษณะคล้ายใยแมงมุมจากโปรตีนนมแพะในแพะที่ถูกตัดต่อ
พันธุกรรม หรือ สร้างเชื่อแบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินสุ
ลินมารักษาผู้ป่วยเบาหวาน หรือแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์
น้ํามันดีเซล ฯลฯ
• การสร้างสิ่งทอที่เลียนแบบโครงสร้างผิวปีกผีเสื้อ ทําให้ได้ผ้าสีที่
ไม่มีวันสีตก เพราะได้เกิดจากการย้อม แต่เกิดจากการหักเหแสง
ที่มากระทบตาผู้มอง
โดยทั้งหมดนี้ นศ. อาจจะหาเรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก youtube
https://www.youtube.com/watch?v=sJUO7GG0nHw
6
สุดท้าย ต่อความหมายของคําว่า วิชาชีพ นั้น อาจจะแยกออกได้เป็นสองระดับ คือ ระดับ Professional
อย่างพวกแพทย์ วิศวกร และ ระดับ Vocational อย่างที่เราจัดเป็นการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ซึ่งแตกต่างกันในแง่
ว่า กลุ่ม Professional นั้นเน้นเรื่องการเรียนลึก ฝึกหนัก มีสภาวิชาชีพคอยกําหนดกฏเกณฑ์มาตรฐานการประกอบ
อาชีพ การมีจรรยาบรรณ ในขณะที่ ระดับ Vocational นั้นจะมุ่งเน้นผลิตคนงานที่มีความชํานาญเฉพาะทางเพื่อ
ป้อนให้แก่ตลาดแรงงานที่ขาดแคลนแรงงานเฉพาะทางเหล่านั้น จึงไม่เน้นเรื่องวิชาการมากนัก อาจจะบอกได้ว่าเรียน
ติ้น ฝึกหนัก และ ไม่ได้มีสภาวิชาชีพรับรอง (แต่เพื่อให้นายจ้างมั่นใจว่ามีทักษะสูงพอ จึงต้องมีการสอบตามาตรฐานที่
ปัจจุบันเรียกว่า V-net ด้วย)
ย้อนอดีตการศึกษาของมนุษย์
การที่จะศึกษาทําความเข้าใจกับเรื่อง วิศวกรรม และเทคโนโลยี ให้ได้ดี
ผู้ศึกษาควรศึกษาทําความเข้าใจถึงระบบการเรียนรู้ที่มีมาแต่ในอดีตนับแต่ยุคสังคม
บรรพกาล การอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมในลักษณะชุมชนพื้นฐานที่มนุษย์ยังมี
ความรู้น้อย เนื่องจากมีแต่ภาษาพูดและการใช้สัญญลักษณ์ในรูปภาษาเขียนก็มีอยู่
อย่างจํากัด การเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ก็มีความจํากัดมาก ผู้คนส่วนใหญ่จะยังไม่
รู้จักการใช้แรงงานจากสัตว์ ประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตจึงต่ําเนื่องจากต้องลง
มือลงแรงทํากันด้วยแรงงานมนุษย์ ก่อให้เกิดผลผลิตส่วนเกินได้ต่ํา จนแม้จะมีการ
แบ่งงานกันตามความถนัด หรือมีการกดขี่เอาแรงงานมนุษย์ด้วยกันเองลงมาเป็น
ทาส ก็ยังมิอาจสร้างผลผลิตส่วนเกินออกมาได้มากนัก
ต่อเมื่อภาษาพูด ภาษาเขียนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นๆ มนุษย์ก็เริ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น
รู้จักการเพาะปลูก การทําปศุสัตว์ การใช้แรงงานสัตว์ต่าง มีการพัฒนาเครื่องกลขึ้นมาผ่อนแรงเช่น ล้อ รอก เฟือง ทํา
ให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณสูงขึ้นกว่าเดิมมาก สามารถก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ๆ ได้ มีการสะสมอาหารธัญพืขไว้เพื่อ
การบริโภคในระยะยาว มีการพัฒนาระบบเงินตราขึ้นมาเพื่ออํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน ถึงเวลานี้
รูปแบบบการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก็ย่อมพัฒนาไปสู่สังคมเมือง หรืออาณาจักรในระยะเวลาต่อมา มีการกําหนดแบ่ง
หน้าที่ของพลเมืองไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็น่าจะทําให้เกิดการศึกษาหาความรู้ในระบบที่มีการเรียนการสอนแบบโรงเรียน
หรือแบบที่มีครูบาอาจารย์เป็นการเฉพาะติดตามมา
แน่นอนว่าการศึกษาระยะแรกๆ นั้นในเบื้องต้นย่อมต้องมีการศึกษาเรื่องภาษาเป็นส่วนสําคัญ เพราะเป็น
เครื่องมือสําคัญ ที่จะนําไปสู่การเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ อันลึกซึ้งได้ต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่สังคมยกย่องผู้ที่มี
ความรู้ด้านภาษาอย่างลึกซึ้งว่า “กวี” และเนื่องจากภาษายุคแรกๆ นั้นต้องสอดสัมพันธ์เป็นจังหวะจะโคน เพื่อให้ผู้ที่
อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สามารถจดจําเนื้อหาในการเรียนได้ดี กวีจึงเป็นผู้โดดเด่นในการประสานเสียงของคําประหนึ่งดัง
การเรียบเรียงเสียงดนตรี มีการจําแนกแยกประเภทของกวีออกเป็น จินตกวี สุตกวี อรรถกวี ปฏิภานกวี ฯลฯ กษัตริย์
ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่มักจะมีชื่อเสียงในแง่ของการเป็นกวีในโสตหนึ่งด้วย อาทิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า
Plato
(427 – 347 B.C.)
7
นภาลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสุนทรโวหาร (ภู่)
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ โจโฉ ฯลฯ
แต่การศึกษาในลักษณะที่ว่านั้นน่าเป็นสิ่งหายากและขาดแคลน มีแต่ผู้ปกครอง ชนชั้นนําเท่านั้นที่จะมี
โอกาสได้รับการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว มนุษย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในฐานะ ชนชั้นถูกปกครอง ไพร่พล ข้าทาส ประชาชน
ฯลฯ มักอาศัยการเรียนรู้จากการบอกเล่า ฝึกหัดในการประกอบอาชีพของครอบครัว หรือกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพ
ใกล้เคียงกัน ไม่สามารถอ่าน/เขียนหนังสือ ทําได้เพียงการสื่อสารด้วยคําพูด ทั้งด้วยเหตุจํากัดในทางกฏหมาย เช่น ใน
ชมพูทวีปนั้นมีแต่วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์เท่านั้นที่จะอ่านหนังสือได้ คนในวรรณะอื่นหากไปแตะต้องตํารับตําราที่
มีอยู่จะมีบทลงโทษรุนแรงตามที่ปรากฏอยู่ในมนูธรรมศาสตร์ว่า หากเปิดหนังสือก็ให้ตัดมือเสีย หากอ่านด้วยตาก็ให้
แทงตาเสียให้บอด หากเปล่งวาจาเป็นบทสวดก็ให้ตัดลิ้นเสียเป็นต้น
หรือหากในสังคมมิได้มีการกําหนดบทลงโทษในการรับรู้ข้อมูลไว้รุนแรงเช่นนั้น ก็ยังปรากฏว่าพลเมืองทั่วไป
ยากจะได้สัมผัสกับการเขียน/อ่านหนังสืออยู่ดี เนื่องด้วยบรรดาวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้เพื่อการขีดเขียนบันทึกมีราคา
แพงมากจนกระทั่งสามัญชนคนธรรมดาทั่วๆ ไป ยากจะแสวงหามาครอบครองได้ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ หนังสัตว์ หรือ
หมึกที่ใช้เขียนเมื่อวัสดุที่ใช้จดจารึกหายากมีราคาแพง ทั้งผู้ที่มีความรู้ในทางหนังสือก็หายาก ก็ยิ่งส่งผลย้อนกลับให้
หนังสือและสื่อต่างๆ ในอดีตมีราคาค่างวดสูงจนเกินการครอบครองของคนทั่วไป
การศึกษาในอดีตส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องของชนชั้นปกครองเป็นสําคัญ การเรียนจึงมักจะเป็นเรื่องของการ
ปกครอง เช่นวิชาการต่อสู้ด้วยอาวุธชั้นสูง การเรียนเรื่องการปกครอง ศิลป
ศาสตร์ การคํานวน การควบคุมกองทัพ เทววิทยา และพิธีกรรม ฯลฯ ในขณะ
ที่การงานอาชีพส่วนใหญ่อย่างงานช่าง งานรักษาโรค งานตัดเย็บเสื้อผ้า งาน
เพาะปลูก ฯลฯ ดูจะมิใช่สิ่งจําเป็นนักสําหรับชนชั้นสูง ชนชั้นปกครอง เพราะ
ผู้ปกครองไม่จําเป็นต้องลงมาดําเนินการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง หากจะมี
การศึกษาบ้างก็ต้องเป็นการเรียนรู้ระดับของการควบคุมชลประทาน งาน
ระดับมหภาคที่ไม่ต้องลงมือลงแรงด้วยตนเอง
ระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของระบบการศึกษา
ในโลกตะวันตกคือระบบการในยุคกรีก ที่เริ่มมีการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งในเชิง
การเมือง การปกครอง การสงคราม ปรัชญา ศิลปะ และปรัชญาเกี่ยวกับชีวิต (Life Philosophy) หรือที่ปัจจุบัน
รู้จักกันในฐานะของวิทยาศาสตร์ (Sciences) การศึกษาปรัชญาชั้นสูงแบบกรีก ตามแนวทางของโสเครตีส เพลโต
และอริสโตเติ้ล ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของการศึกษาของเสรีชน (Liberals) ที่มีอํานาจใช้สิทธิลงคะแนนเพื่อ
การปกครองได้ หลักฐานที่ยังคงตกค้างให้เห็นคือการที่เราเรียกปริญญาเอก ว่า Ph.D. หรือ Doctor of Philosophy
Galileo
(1564–1642)
8
ในช่วงเวลาเดียวกับที่อารยธรรมกรีกกําลังรุ่งเรืองนั้น ในอีกซีกโลกหนึ่ง มนุษย์ก็มีการเจริญทางด้าน
การเมือง การปกครอง การสงคราม ปรัชญา ศิลปะ ฯลฯ และศาสนาและลัทธิชั้นสูงอันลึกซึ้ง และมีอิทธิพลอย่าง
มากต่อโลกฝั่งตะวันออก นั่นคือ อารยธรรมจีน และอินเดียคติความเชื่อเรื่องเทพอันยิ่งใหญ่ของศาสนาฮินดูการฝึกฝน
ตนและจิตใจเพื่อให้ตระหนักถึงความจริงอันเป็นสรณะของพุทธ การดํารงตนอยู่ในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตาม
หลักการของ เต๋า ขงจื้อ ฯลฯ ยังคงฝังอยู่ในการดํารงชีวิตของผู้คนในซีกโลกตะวันออกอย่างเหนียวแน่น แม้จะผ่าน
กาลเวลามานับ 3 พันปี หรือแม้จะมีความพยายามชักชวนให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาใหม่ที่น่าสนใจด้วยความก้าวหน้า
ในทางเทคโนโลยี ความงดงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม
โดยเฉพาะในส่วนของพุทธศาสนานั้น จะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่เหมือนปฏิวัติ
รูปแบบการเรียนรู้ของสังคมชมพูทวีปให้แตกต่างไปจากสังคมพราหมณ์ที่เคยครอบงําและ
แบ่งแยกชนชั้นกันอยู่ในห้วงเวลานั้นชนิดกลับขั้วกันเลยทีเดียว นั่นคือ ศาสนาพุทธไม่จํากัด
การเรียนรู้ไว้เฉพาะหนังสือแบบสันสกฤตที่มีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะอ่านออกเขียนได้ แต่
ทรงเลือกใช้ภาษามคธ หรือบาลี ซึ่งเป็นภาษาพูด ในการสอน “มุขปาฐะ” ทําให้สามารถ
สื่อสารออกไปในหมู่ประชาชนจํานวนมาก มิได้ทรงให้ความสําคัญต่อวรรณะหรือชาติ
กําเนิด แต่ให้ความสําคัญกับความดีความรู้ เช่นกําหนดให้สงฆ์เคารพกันด้วยพรรษามิใช่
ด้วยวัยวุฒิหรือชาติตระกูล ทรงให้ความสําคัญต่อการจัดองค์กรของพุทธบริษัทสี่ เมื่อจะ
เผยแพร่ศาสนาก็มุ่งไปสู่ผู้นําอย่างกษัตริย์ หรือเศรษฐีซึ่งมีข้าทาสบริวารและผู้ติดตามจํานวนมากๆ เมื่อเปลี่ยนความ
เชื่อของผู้นําได้ ก็มักจะส่งผลให้ผู้ติดตามพลอยหันมาศึกษาเรียนรู้ทําความเข้าใจกับคําสอนด้วย การศึกษาแบบพุทธจึง
สามารถสถาปนาศาสนาได้อย่างมั่นคงเพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 40 ปีก่อนที่จะทรงปรินิพพาน
ระบบการศึกษาหลังจากยุคพุทธกาลและยุคของมหาศาสดานั้น เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมนุษย์โลกมีความเข้าใจใน
เรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาอํานวยความ
สะดวกของมนุษย์มากขึ้น และเมื่อมีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อผลทาง
เศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้โลกการศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากมาย
เทคโนโลยีสําคัญได้แก่การพัฒนาเครื่องพิมพ์ของกูเต็นเบิร์กที่ทําให้หนังสือ และ
ความรู้มิได้เป็นสิ่งมีราคาแพง หายาก และถูกจํากัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงในสังคม
อีกต่อไป ระบบการพิมพ์ทําให้ความรู้ถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อผู้มีความรู้มีมากขึ้น ก็มีการต่อยอดสร้างสรรความรู้และนวัตกรรมใหม่
ติดตามมาหลายเท่าทวีคูณ
ที่สําคัญ ผลจากการอาศัยความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีและ
Johannes Kepler
(1571–1630)
Benjamin Franklin
(1706–1790)
9
อุตสาหกรรม ทําให้เกิดชนชั้นใหม่ในสังคมเรียกว่าชนชั้นกลาง ซึ่งไม่พึงพอใจต่อระบบการปกครองอันไม่เป็นธรรม จึง
ขับเคลื่อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่าเสรีนิยม และระบบการปกครองใหม่ที่เรียกว่าประชาธิปไตยก็กลายมา
เป็นสิ่งที่ได้รับการเรียกร้องอยู่โดยทั่วไปในทุกสังคมที่มีการแพร่กระจายออกไปของความรู้ ยิ่งโลกสมัยใหม่ซึ่งข้อมูล
ความรู้ถูกเผยแผ่ออกไปได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ยิ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและ
หลากหลาย การคิดค้นทฤษฏีใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งส่งผลย้อนมาเร่งให้ปฏิกิริยาการ
เรียนรู้ของผู้คนในลักษณะเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากนี้ รูปแบบการศึกษาที่เคยมุ่งไปที่ปรัชญาหรือการ
คิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ก็กลายเป็นการเรียนรู้เพื่ออาชีพ เพื่อการพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้นในเชิงเทคโนโลยีและ
อุตสาหกรรมมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจํากัดของมนุษย์ในเรื่องสติปัญญาและเวลาที่มีอยู่ มนุษย์ส่วนใหญ่มีสติปัญญาปาน
กลาง และมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี หรือ 27,735 วัน โดยประมาณเหมือนกัน หากไม่ระวังเรื่องการใช้เวลาให้ดี
การใช้เวลาในแต่ละวันจะหมดไปกับการแสวงหาความบันเทิงแบบไร้สาระ ที่โหมประดังเข้ามาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คิด
ง่ายๆ ว่าหากเผลอลองกดไล่ดูรายการในช่องเคเบิ้ลไปเรื่อยๆ เพียงช่องละหนึ่งนาที เวลาสองชั่วโมงก็จะหมดไปเปล่าโดย
ไม่ได้ความรู้หรือข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์เลย เพราะฉนั้นการอาศัยอยู่ในโลกที่ท่วมท้นไปด้วยข้อมูลข่าวสารนั้น
มนุษย์ก็ยิ่งจะต้องฉลาดในการแสวงหาความรู้มากยิ่งขึ้น
การศึกษา การค้นพบ และการประดิษฐ์1
เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยกล่าวไว้ว่าตัวเขานั้นเปรียบเสมือนคนแคระที่
ยืนอยู่บนบ่ายักษ์2
นั่นคือ ความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ ที่เขาคิดค้นขึ้นมาได้นั้นเป็นผล
จากความรู้ที่บรรพชนสั่งสมมาในอดีต ตัวเขาเพียงแต่นําเอาความรู้ที่มีอยู่เดิมมา
ต่อยอดออกไปด้วยความเป็นอัจฉริยะ ทําให้เกิดเป็นกฏเกณฑ์และทฤษฏีใหม่ๆ
ที่สามารถอธิบายจักรวาลทั้งจักรวาลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงโน้มถ่วง กฏของ
การเคลื่อนที่ องค์ประกอบของคลื่นแสง ฯลฯ
เช่นเดียวกัน อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ก็ถ่อมตนว่าการค้นพบทฤษฎี
1
การประดิษฐ์ หมายถึงว่า สิÉงทีÉประดิษฐ์ขึÊนนัÊนไม่เคยมีมาก่อนเลยในโลกมนุษย์ เพราะฉนัÊนสิÉงประดิษฐ์ทัÊงหลายล้วนเป็นนวัตกรรมในตัวของมัน
เองทัÊงสิÊน โลกไม่เคยยกย่องผู้ซึÉงสร้างสิÉงทีÉมีอยู่แล้วว่า Inventor เพราะฉนัÊน การระบุวา จะสร้างสรรสิÉงประดิษฐ์สู่นวัตกรรม จึงเป็นความพยายาม
ตีความให้ต่างไปจากคําจํากัดความเดิมเท่านัÊน
2
ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. řŞşŞ ไอแซค นิวตัน เขียนจดหมายถึงโรเบิร์ต ฮุก ว่า “If I have seen further it is by standing on the
shoulders of giants.”
Charles Darwin
(1809–1882)
10
สัมพันธภาพนั้นก็เกิดขึ้นหลังจากพบปะสนทนาพร้อมจิบกาแฟกับสหายสนิทอยู่พักใหญ่ จนเก็บมาคิดต่อยอดออกเป็น
ทฤษฎีที่ช่วยอธิบายถึงข้อจํากัดในทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของนิวตันได้ การศึกษาและเรียนรู้นั้นหากจะอธิบาย
ด้วยหลักการทางพุทธก็อาจจะกล่าวได้ว่ามีองค์ประกอบสําคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ความรู้ที่ได้รับมาจากผู้อื่น จาก
บรรดาผู้ที่เรียนรู้ค้นคว้าและนําเสนอมาก่อน จะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้จากกัลยาณมิตรก็ว่าได้ ส่วนที่สองคือการ
ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากกัลยาณมิตร และการใช้สติไตร่ตรองอย่างมีโยนิโสมนสิการ
สังคมโลกได้จัดตั้งระบบการศึกษาชั้นสูงขึ้นเรียกว่า ระบบอุดมศึกษา หรือ ระบบมหาวิทยาลัย ซึ่งแตกต่างจากการ
สอนให้คนเป็นพลเมืองดีเป็นกําลังแรงงานที่ดีอย่างพวกระบบการศึกษาพื้นฐาน หรือระบบช่างฝีมือ ออย่างไรก็ตาม
เนื่องจากความรู้ในโลกนี้ได้เริ่มจากการศึกษาหาความรู้ตามหลักศาสนา มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในโลกนี้จึงมักเริ่มต้น
จากการศึกษาทางศาสนา เทวนิยม (Theology) หรือศาสนศาสตร์ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่มากๆ ของ
โลกนั้นได้แก่
• มหาวิทยาลัยนานกิง ก่อตั้งในช่วงประมาณ 285 ปีก่อน ค.ศ.
• มหาวิทยาลัยคอนสแตนติโนเปิล และมหาวิทยาลัยนาลันทาเกิดขึ้นประมาณคริสตศตวรรษที่ 5
โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนาลันทานั้นเคยยิ่งใหญ่ขนาดมีหอสมุดสูงถึงเก้าชั้น แต่ถูกทําลายในปี ค.ศ.
1197 โดยกองทัพมุสลิม
• มหาวิทยาลัยโบโลนญ่า เกิดที่สเปนในปี ค.ศ. 1088 ได้รับชื่อว่าเป็นมารดรของมหาวิทยาลัยทั้งปวง
(Mother of Universities)เปิดสอนด้านเทววิทยาและปรัชญาได้รับการรับรองสถานะภาพทาง
กฎหมายให้มีสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ปลอดจากการแทรกแซงทั้งปวง
• มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดที่เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1167
• มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้นในใน ค.ศ. 1209
เราอาจจะแบ่งยุคของการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ได้คร่าวๆ ดังนี้
ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,500 ปี ก่อน ค.ศ.
จากซากที่ค้นพบ ได้แก่ ขวานหิน คนชักก่อไฟ ภาชนะบรรจุสิ่งของ
ตะเกียงน้ํามัน ลูกปัด คันศรและลูกธนู
ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก 3,500 – 500 ปี ก่อน ค.ศ. มีการประดิษฐ์ วงล้อ ตัวอักษร ดาบ เสื้อเกราะ เรือใบ
ยุคโลกเก่า
500 ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ.
500
มีการประดิษฐ์ ระหัดวิดน้ํา เรือสําเภา เครื่องจักรไอน้ําแบบดั้งเดิม
ลูกคิด
11
ยุคกลาง ค.ศ. 500 - ค.ศ.1450
มีการประดิษฐ์ กังหันลมของชาวเปอร์เชีย นาฬิกาจักรกล ดินประสิว
เครื่องพิมพ์
ยุคปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ค.ศ. 1450 - ค.ศ.1770
มีการการประดิษฐ์ กล้องโทรทัศน์ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องคํานวณปาส
กาล เรือดําน้ําแรงคนพาย
ยุคเครื่องจักร (ปฏิวัติ
อุตสาหกรรม)
ค.ศ. 1770 - ค.ศ.1870
มีการการประดิษฐ์ บัลลูนลมร้อน รถไฟหัวจักรไอน้ํา กล้องถ่ายรูป
เครื่องคอมพิวเตอร์ทําง่านด้วยเฟืองกล (difference engine ของชาร์ล
แบบเบจ) เครื่องจักรทอผ้า
ยุคโลกใหม่หรือยุคไฟฟ้า ค.ศ. 1870 - ค.ศ.1950 มีการการประดิษฐ์ รถยนต์ โทรศัพท์ เครื่องบิน วิทยุ
ยุคดิจิตัล ค.ศ.1950 ถึงปัจจุบัน
มีการการประดิษฐ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ จรวด แขนกล รถไฟความเร็ว
สูง
การศึกษา : เพื่อรู้ หรือ เพื่อประกอบอาชีพ
ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นว่า พัฒนาการของการศึกษาในระบบนั้น เดิมทีดูจะมุ่งหวังความเป็นนักปรัชญา ที่มี
ความรักในความรู้และมุ่งค้นหาความจริงอัน
สูงสุดแห่งโลก เนื่องจากในอดีตนั้นการศึกษา
มักถูกจํากัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงที่มิได้ถูกบีบรัด
ด้วยความจําเป็นทางเศรษฐกิจ ส่วนการ
เรียนอีกรูปแบบหนึ่งในลักษณะงานช่างของ
สามัญชนนั้น ก็จะเน้นไปที่การสร้างสรร
ชิ้นงานแต่ละกลุ่มออกมาตอบสนองต่อความ
ต้องการของชนชั้นสูงที่มีฐานะเป็นผู้อุปถัมภ์
เช่น ของไทยก็มีการจําแนกเป็นช่างสิบหมู่
ของยุโรปยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการก็เป็นช่าง
เขียน ช่างแกะสลัก ช่างก่อสร้าง ฯลฯ ต่อมา
เมื่อ การค้าเจริญก้าวหน้าจนทําให้ชนพ่อค้า
หรือชนชั้นกลางมั่งคั่งพอที่จะจับจ่ายซื้อบริการจากช่างทั้งหลายได้ จึงมีการออกมาประกอบอาชีพรับจ้างอิสระชั้นสูง
และจําเป็นต้องมีการก่อตั้งสมาคมผู้ประกอบอาชีพช่าง (Guild) เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของชิ้นงานไว้ในระดับ
หนึ่ง
12
จนเมื่อเกิดการปฏิวัติรูปแบบการปกครอง เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความจําเป็นที่จะต้องมีแรงงาน
ชํานาญการชั้นสูงป้อนเข้าสู่ระบบก็ทําให้สังคมต้องพัฒนารูปแบบการศึกษาลักษณะใหม่ เพื่อป้อนแรงงานฝีมือเข้าสู่
ตลาด ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยนั้น ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุผลในการผลิตแรงงานชํานาญ
การเข้าสู่ระบบด้วยกันทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นการเกิดขึ้นของโรงเรียนแพทย์เพื่อป้อนบุคลากรให้กับศิริราช โรงเรียน
กฏหมายเพื่อป้อนให้กับกระทรวงยุติธรรม โรงเรียนเทคนิคทหารบกที่มุ่งเน้นการผลิตนายทหารป้อนให้แก่กองทัพ
หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาไปเป็นจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) และในครั้งหนึ่งก่อน
สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยถึงกับดําริที่จะปิดคณะรัฐประศาสนศาตร์ของ
ตนลงเมื่อพบว่าบัณฑิตที่ผลิตออกไปไม่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ
กระนั้น ก็มิได้หมายความว่าทุกสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนในระดับสถาบันอุดมศึกษา หรือในมหาวิทยาลัยจะ
มีความเป็นวิชาชีพ (Professionals) เหมือนกันไปหมด หลายๆสาขาวิชายังคงมุ่งที่จะสร้างบัณฑิตที่มุ่งมั่นในการ
แสวงหาความจริง หรือความรู้อันเป็นอุตตมะในสายสาขาวิชาของตนอยู่เช่นเดิม การเรียนปริญญาตรีนั้นอาจจําแนก
กว้างๆ ตามความนิยมว่าเป็นสายสังคม (อาทิ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์) มนุษยศาสตร์ (ศิลปะศาสตร์
จิตรกรรม ประติมากรรม) วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีว คณิตศาสตร์ ) และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (แพทย์ วิศว เภสัช
เทคโนโลยี อุตสาหกรรม)
ทั้งนี้ ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายนั้น บางศาสตร์ก็เป็นการเรียนเพื่อความเป็นเสรีชน เป็นมนุษย์ที่มีสุนทรียะ แต่
ไม่สามารถนําไปประกอบวิชาชีพโดยตรงได้ เช่น ปรัชญา หรือพวก Liberal Arts เทววิทยา หรือพวกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ก็
อาจจะจัดอยู่ในประเภทนี้ได้เหมือนกัน คล้ายๆ กับคนจบนิติศาสตร์มาก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นทนายความ หรือนัก
กฏหมายทุกคน คนจบวิทยาศาตร์บริสุทธิ์มาก็ไม่ได้นําไปประกอบอาชีพโดยตรง อาจารย์สอนฟิสิกส์ไม่ใช่อาชีพนัก
ฟิสิกส์แต่เป็นอาชีพอาจารย์ ในขณะเดียวกัน สํานักสื่อมวลชนอาจจะเลือกจ้างคนจบปรัชญาไปเป็นนักข่าว แทนที่จะ
จ้างพวกที่จบนิเทศสาตร์ก็ยังได้ (อย่างน้อยสถาปัตย์จุฬาฯ ก็ประสบความสําเร็จอย่างมากในแวดวงสื่อสารมวลชนไทย)
ผิดกับอาชีพประเภทที่ต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติอย่างหนักก่อนที่จะจบไปทํางาน พวกนี้ชัดเจนว่าเป็น
วิชาชีพแน่นอน อาทิเช่น สายการแพทย์ทั้งหลาย ส่วนพวกที่ไม่มีการฝึกฝนปฏิบัติมากเท่าอย่างพวกวิศวกรรมก็อาจจัด
เข้าสายวิชาชีพได้เหมือนกันหากมี กลุ่มองค์กรที่สมาคมวิชาชีพ มีกกหมายรองรับชัดเจน จนกระทั่งผู้ที่มิได้จบมาด้วย
มาตรฐานที่สมาคมวิชาชีพรองรับก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนั้นตามกฎหมาย (มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนขึ้น
อีกนิด ตรงที่แพทย์ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ถือว่าเป็นแพทย์ และจะถูกจับหากไปประกอบอาชีพด้วย
ตนเอง แต่วิศวกรที่ไม่มีใบ กว. อาจจะสามารถประกอบอาชีพได้)
เพราะฉะนั้น อาจจะพูดได้ว่าวิชาชีพนั้นต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 อย่างให้พิจารณา
1. การเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐานได้รับการยอมรับ และมักจะต้องมีการปฏิบัติงานให้เกิดความชํานาญ
2. มีองค์กรวิชาชีพประเภทสภาวิชาชีพของตนเอง (บางกลุ่มอาจจะมีทั้ง สภาวิชาชีพ และสมาคมวิชาชีพ
บางกลุ่มอาจจะเพิ่มที่ประชุมคณบดีเข้ามาเพื่อกําหนดมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาไว้ด้วย)
3. มีกฎหมายรับรอง หรือได้รับการรับรองตามขนบประเพณี (ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร)
4. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงาน และการยึดถือในคุณธรรมจริยธรรมที่จะ
สร้างความเชื่อถือศรัทธาให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการได้
13
อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทุกวิชาชีพจะต้องมีครบถ้วนทั้ง 4 องค์ประกอบ แต่มักจําเป็นสําหรับ
วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ อย่างแพทย์ หรือวิศวะที่ตึกพังแล้วทําให้คนตายได้
5. ข้อสุดท้ายนี้ แม้จะไม่ได้เป็นเงื่อนไขบังคับเหมือน 4 ข้อแรก แต่ก็เป็นข้อสังเกตุว่า การศึกษาแบบ
วิชาชีพนั้น บัณฑิตผู้สําเร็จการศึกษามักจะมุ่งเข้าสู่งานสายอาชีพที่ตนผ่านการศึกษามามากกว่าที่จะไป
ทํางานในสายอาชีพอื่นๆ เช่น หากจะมีแพทย์ ทันตแพทย์ หรือนักเรียนนายร้อย ออกไปประกอบ
อาชีพอิสระเป็นนักร้องนักแสดงในแวดวงบันเทิงบ้านก็นับเป็นส่วนน้อยมาก เนื่องจากการลงทุนกับ
การศึกษาที่ผ่านมานั้นไม่เอื้อต่อการที่บัณฑิตจะคิดไปประกอบอาชีพอื่นๆ
เมื่อกล่าวถึง การงาน อาชีพ วิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง นั้น เรามักอ้างอิงจากภาษาฝรั่ง Work Job Career
Vocational และ Professional ซึ่งแม้จะมีความคาบเกี่ยวระหว่างคําเรียกเหล่านี้ แต่ก็มีความรู้สึกและทัศนคติที่สังคม
รับทราบเกี่ยวกับคําแหล่านี้แตกต่างกันไป เป็นผลผสมผสานกันระหว่าง การประกอบการงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ ระดับชั้น
ทางสังคม ระดับความพึงพอใจในทางจิต และวิญญาน เป็นระดับความแตกต่างของแรงงานไร้ฝีมือ ไร้ประสบการณ์
ไปสู่ความมีทักษะ ประสบการณ์ ความชํานาญ พรสวรรค์ สติปัญญา หรือความเป็นอัจฉริยะ เป็นการดํารงชีพที่ใช้
แรงงาน ใช้ฝีมือ (เน้นมือ) ใช้สติปัญญา (ใช้สมอง) และใช้จิตวิญญาน
ยกตัวอย่างเรื่องการเป็นครู มีทั้งครูที่เป็นงาน เป็นอาชีพ เป็นทัศนคติ และเป็นจิตวิญญาน บูรพคณาจารย์
ของไทยมีการสอนกันว่าครูคือจิตวิญญานที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด ไม่จําเป็นต้องแสวงหาหรือจ้างวานให้ใครมา
เป็นครู แต่ต้องฟูมฟักให้จิตวิญญานในแต่ละคนให้เติบโต ถึงได้มีคําพูดว่า พ่อแม่เป็นครูคนแรก ครูอาจารย์เป็นพ่อแม่คน
ที่สอง และพระพุทธเจ้าคือพ่อของชาวพุทธ (บางคนผันไปเป็นคําว่าธรรมกาย เพราะมองว่าร่างกายที่เป็นเลือดเนื้อนั้น
ได้มาจากพ่อแม่ทางชีวภาพ แต่ผู้ที่ก่อให้เกิดใหม่ทางจิตวิญญาน คือศาสดา หรือผู้นําทางศาสนา ซึ่งก็คือครูตามหมาย
ของจิตวิญญาน ไม่ใช่อาชีพครู
การบังเอิญพบอันชาญฉลาด
แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะถูกออกแบบมาเพื่อเอื้อต่อการศึกษา เพื่อการค้นพบทฤษฏีใหม่ๆ หรือการประดิษฐ์
นวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่สังคม แต่ไม่จําเป็นว่าการคิดค้น หรือการประดิษฐ์จะถูกจํากัดให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเสมอไป
เราจะพบว่ามีการคิดค้นและการประดิษฐ์นวัตกรรมชั้นดีนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าในมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ํา และนัก
ประดิษฐ์เอกของโลกส่วนใหญ่ก็มิได้สําเร็จมหาวิทยาลัย อาทิเช่น ทอมัส อัลวา เอดิสัน, บิลล์ เกตส์, สตีฟ จ็อบส์,
มาร์โคนี่, ฯลฯ ที่สําคัญ การค้นพบทฤษฎี หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ในแวดวงวิทยาศาสตร์โลกนั้นมิได้เป็นเพราะ
การวางแผนตามหลักการวิจัยในระดับอุดมศึกษา แต่เป็นการ “การบังเอิญพบ” หรือฝรั่งใช้คําว่า "serendipity"
หรือ“ความโชคดีในการค้นพบโดยบังเอิญ” ตามคําจํากัดความตามพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย
คําว่า "serendipity" นี้ เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างใหม่ อ้างอิงการใช้งานครั้งแรกในจดหมายลงวันที่
28 มกราคม ค.ศ.1754 ของกวีอังกฤษชื่อ Horace Walpole (1717–1797) ที่มีไปถึงเพื่อนชื่อ Horace Mann
ระบุถึงคํา serendipity ว่าหมายถึง “การค้นพบสิ่งใหม่โดยที่ไม่ได้ตั้งใจค้นหาแต่แรก แต่ด้วยความบังเอิญ ผนวกด้วย
14
การตัดสินใจอันชาญฉลาดมีไหวพริบเฉพาะตัว จึงทําให้ประสบความสําเร็จได้” อ้างอิงถึงเนื้อหาในนิทานเปอร์เชีย
โบราณชื่อ “สามเจ้าชายแห่งเมืองเซเรนดิพ” (The Three Princes of Serendip) ซึ่งเจ้าชายผู้เป็นตัวละครเอกใน
นิทานดังกล่าวมีไหวพริบปฏิภานอันส่งผลให้มีการผจญภัยและค้นพบโดยบังเอิญในหลายๆ เหตุการณ์ และเมืองเซเรน
ดิบในภาษาอาราบิกสมัยโบราณก็มีรากมาจากภาษาสันสกฤต “สิงหลวิภา (Simhaladvipa)” ที่แปลว่า “เกาะอันเป็น
สถานที่อยู่ของเหล่าสิงห์” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อประเทศ “ศรีลังกา” ในปัจจุบัน
คําว่า “การบังเอิญพบ” หรือ “การบังเอิญพบอันชาญฉลาด” ไม่ได้มีความหมายว่า “ความโชคดีในการ
ค้นพบโดยบังเอิญ” ที่สังคมไทยเรานั้นจะให้ความสําคัญกับคําว่า “โชคดี” และ “ความบังเอิญ” มากเกินจนกลายเป็น
ค่านิยมที่ฉุดรั้งให้ประเทศชาติไม่อาจพัฒนาก้าวไปกว่าสภาพที่เป็นอยู่ได้ ดังสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมความนิยม
การรวยทางลัด การเล่นหวย เล่นหุ้น เล่นการพนัน การฉ้อราษฎร์บังหลวง การรอคอยผลประโยชน์ส่วนตนจาก
นโยบายประชานิยม การรอให้มีอัศวินม้าขาวมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาการเมือง จนนําไปสู่
การเล่นการเมืองเสียงข้างมากเพื่อประสบความสําเร็จในอํานาจลาภยศอย่างรวดเร็ว ฯลฯ
ในขณะที่สื่อบันเทิงยอดนิยมอย่าง “ละครหลังข่าว” ที่กล่อมคนไทยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ฝังหัวซ้ําๆ ซากๆ อยู่
กับความสําเร็จในชีวิตที่เป็นเรื่องโชคดีและความบังเอิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้แต่งงานกับคนรวย ชนชั้นสูง หรือ
การได้รับสมบัติมรดกเจ้าคุณปู่ อันเป็นเรื่องที่ห่างไกลโพ้นจากคําว่า "serendipity" เพราะคําว่า "serendipity" นั้น
แม้จะเป็นเรื่องของความบังเอิญ ก็เป็นความบังเอิญของผู้ที่รู้พร้อมและมีความมุ่งมั่นทุ่มเทเท่านั้นจะได้มีโอกาสประสบ
เข้ากับตนเอง ดังที่ หลุยส์ ปลาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ประสบความสําเร็จอย่างใหญ่หลวงจากทฤษฎีการสืบต่อชีวิต
ของจุลชีพ (Germ Theory) และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้เคยกล่าวปาฐกถายืนยันถึงความสําเร็จของ
การบังเอิญพบอันชาญฉลาดไว้ว่า “in the field of observation, chance only favors the prepared mind”
นอกจาก หลุยส์ ปลาสเตอร์ แล้วยังมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล และนักประดิษฐ์เอกของโลกอีกเป็นจํานวนมาก
ที่ช่วยกันยืนยันว่ามีแต่ผู้ใฝ่ศึกษา มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทอุทิศตัว กล้าผจญภัย และมีไหวพริบปฏิภาณพอที่จะจับสังเกตุถึง
ประเด็นปลีกย่อยที่อาจจะถูกละเลย หรือมองข้ามไปโดยผู้คนทั่วๆ ไป จึงจะสามารถประสบกับประสบการณ์
serendipity และผู้คนเหล่านี้เองคือผู้ที่ร่วมกันสร้างสรรให้โลกมีความก้าวหน้าในวิทยาการทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น
ความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์ วงการแพทย์ วงการเทคโนโลยี หรือโลกอุตสาหกรรม ฯลฯ ปัญหาที่ควร
ช่วยกันใคร่ครวญก็คือ เหตุใดประเทศไทยจึงไม่มีการค้นพบหรือสร้างสรรสิ่งประเดิษฐ์อันยิ่งใหญ่เช่นนั้น จะเป็นเพราะ
ขาดแคลนผู้มีสติปัญญาสูงส่งเพียงพอ หรือ เพราะระบบการศึกษาของไทยไม่มีสภาพแวดล้อมอันเอื้อให้เกิดสภาพของ
การบังเอิญพบอันชาญฉลาด หากเป็นเรื่องของสติปัญญา ทําไมถึงยังมีเยาวชนไทยผู้มีความสามารถในการแข่งขัน
ระดับโลกปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่เป็นจํานวนมาก
การค้นพบ (Discoveries) และการสร้างสรรสิ่งประดิษฐ์ (Inventions) จํานวนมากที่ปรากฏอยู่ใน
ประวัติศาสตร์ของโลกอันเป็นผลจากการบังเอิญพบอันชาญฉลาด นั้นได้แก่
15
• การค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อต้องการเดินเรือสํารวจเส้นทางไปยังทวีป
เอเชียผ่านมหาสมุทรแอตแลนติค
• การค้นพบยาปฏิชีวนะ “เพนนิซิลิน” ในปี ค.ศ.1928 ของ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander
Fleming) ในขณะที่กําลังศึกษาเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus แล้วปรากฏว่าบังเอิญมีเชื้อรา
Penicillium ตกลงไปบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ ทําให้เกิดวงใสที่ปลอดจากเชื้อ Staphylococcus
รอบบริเวณที่เชื้อราเจริญอยู่ ซึ่งถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็คงจะทิ้งจานเลี้ยงเชื้อดังกล่าวไป
ด้วยเห็นว่าเป็นจานปนเปื้อน แต่เฟลมมิ่งมองในมุมกลับว่าเชื้อราต้องมีการสร้างสารที่สามารถฆ่า
เชื้อแบคทีเรียได้ และตั้งชื่อสารดังกล่าวว่าเพนนิซิลิน (ตามประวัติระบุว่า เฟลมมิง เป็นคนที่ไม่
ค่อยรักษาความสะอาดในพื้นที่ทํางานเท่าใดนัก มักปล่อยให้มีกองอาหารเลี้ยงเชื้อวางทิ้งไว้บนโต๊ะ
ทํางานนานเป็นสัปดาห์)
• การค้นพบฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งในสารซิสปลาติน (Cisplatin) ของนายแพทย์บาร์เน็ตต์ โรเซน
เบอร์ก (Barnett Rosenberg) ในคริสตทศวรรษ 1960 ทั้งที่สารซิสปลาตินนี้ได้รับการสังเคราะห์มา
นานนับร้อยกว่าปีแล้ว (ค.ศ.1844) โดย ไมเคิล เพย์โรน (Michele Peyrone) แต่ไม่เคยมีใครเคย
คิดว่า สารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ที่สําคัญ งานวิจัยของ
นายแพทย์โรเซนเบอร์กนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมะเร็งในเบื้องต้น แต่เป็นการวิจัยเรื่องการเติบโตของ
เชื้อแบคทีเรียอีโคไลในสารละลายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ผลการวิจัยปรากฏว่าเชื้อแบคทีเรีย
บางส่วนตายไป ในขณะที่บางส่วนสามารถแบ่งตัวใหม่ได้มากกว่าเชื้อปรกติถึง 300 เท่า ซึ่งเมื่อ
นายแพทย์โรเซนเบอร์กศึกษาต่อไปก็พบว่าสารซิสปลาตินที่เกิดขึ้นรอบขั้วอิเล็กโทรดที่ทําจาก
ทองคําขาวนั้นเป็นสาเหตุสําคัญ จึงได้ไอเดียที่จะนําสารดังกล่าวไปทดลองต่อในการควบคุมการ
เจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของหนูทดลอง จนกระทั่งองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ รับรองฤทธิ์ใน
การยับยั้งมะเร็งของยาซิสปลาตินในปี ค.ศ.1878
• การค้นพบสารให้ความหวาน Sucralose โดยบังเอิญของ นักศึกษาปริญญาเอกชื่อ ศศิกัน ปัทนิ
(Shashikant Phadnis) ในปี ค.ศ. 1975 โดยเจ้าตัวนั้นได้รับคําสั่งจากอาจารย์ที่ปรึกษา Leslie
Hough ให้ลองทดสอบคุณสมบัติ (test) ของสารประกอบคลอไรด์ของน้ําตาล (chlorinated
sugar) ที่อาจารย์และบริษัทเคมีภัณฑ์เจตนาจะพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่ปัทนิฟังผิดเป็นว่า
อาจารย์ต้องการให้เขาชิมรสชาติของสาร (taste) ดังกล่าว เลยทําให้ได้รับรู้ว่าสารคลอไรด์ของ
น้ําตาลมีความหวานหลายเท่าของน้ําตาลธรรมดา ในเบื้องต้นอาจารย์ Leslie Hough ได้ตั้งชื่อของ
คำบรรยายวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม

More Related Content

What's hot

การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
Panita Wannapiroon Kmutnb
 

What's hot (9)

07 เสนอจัดตังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสพป.สพม. เป็นการภายใน
07 เสนอจัดตังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสพป.สพม. เป็นการภายใน07 เสนอจัดตังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสพป.สพม. เป็นการภายใน
07 เสนอจัดตังศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาสพป.สพม. เป็นการภายใน
 
ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
ฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
 
คู่มือขั้นตอนการดำิเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภายในสพป.สพม.
คู่มือขั้นตอนการดำิเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภายในสพป.สพม.คู่มือขั้นตอนการดำิเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภายในสพป.สพม.
คู่มือขั้นตอนการดำิเนินงาน ศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภายในสพป.สพม.
 
IT-11-42
IT-11-42IT-11-42
IT-11-42
 
คำอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์ 1
คำอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์ 1คำอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์ 1
คำอธิบายรายวิชาคอมพิวเตอร์ 1
 
Week 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Week 1 เทคโนโลยีสารสนเทศWeek 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
Week 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
การออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านเอ็มเลิร์นนิงตามแนวทฤษฎีการเชื่อมต่อด้วย...
 
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศบทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
บทที่ 1 เทคโนโลยีสารสนเทศ
 
แผนคอม๑ ๒๕๕๓ ม.๑
แผนคอม๑ ๒๕๕๓ ม.๑แผนคอม๑ ๒๕๕๓ ม.๑
แผนคอม๑ ๒๕๕๓ ม.๑
 

Viewers also liked

สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมาสภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
สุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
สุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สุรพล ศรีบุญทรง
 
Slide shareてすと
Slide shareてすとSlide shareてすと
Slide shareてすと
toppitoppi
 
Slide shareてすと
Slide shareてすとSlide shareてすと
Slide shareてすと
toppitoppi
 
Ireland & Italy slideshow
Ireland & Italy slideshowIreland & Italy slideshow
Ireland & Italy slideshow
lgossen
 
Operating system tutorial
Operating system tutorialOperating system tutorial
Operating system tutorial
Ganesh Raja
 

Viewers also liked (19)

Test
TestTest
Test
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมาสภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
สภาคณาจารย์ บทบาทและความเป็นมา
 
Test
TestTest
Test
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
 
Test
TestTest
Test
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
Slide shareてすと
Slide shareてすとSlide shareてすと
Slide shareてすと
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
Slide shareてすと
Slide shareてすとSlide shareてすと
Slide shareてすと
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาล
แบบทดสอบธรรมาภิบาลแบบทดสอบธรรมาภิบาล
แบบทดสอบธรรมาภิบาล
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
Ireland & Italy slideshow
Ireland & Italy slideshowIreland & Italy slideshow
Ireland & Italy slideshow
 
Operating system tutorial
Operating system tutorialOperating system tutorial
Operating system tutorial
 

Similar to คำบรรยายวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม

บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
Tar Bt
 
ใบงานที่3
ใบงานที่3ใบงานที่3
ใบงานที่3
juice1414
 
ใบงานที่+..
ใบงานที่+..ใบงานที่+..
ใบงานที่+..
win_apitchaya
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
Scott Tape
 
โครงงาน คอม เชต
โครงงาน   คอม    เชตโครงงาน   คอม    เชต
โครงงาน คอม เชต
Thanasak Inchai
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)
etcenterrbru
 
คำอธิบายรายวิชา2
คำอธิบายรายวิชา2คำอธิบายรายวิชา2
คำอธิบายรายวิชา2
Duangsuwun Lasadang
 
design and technology
design and technology design and technology
design and technology
Tarn Takpit
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
Bliss_09
 
Week 2 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
Week 2   ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา pptWeek 2   ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
Week 2 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
Kanpirom Trangern
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
unstreet
 

Similar to คำบรรยายวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม (20)

รูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงานรูปเล่มวิชาโครงงาน
รูปเล่มวิชาโครงงาน
 
บทที่ 6
บทที่ 6บทที่ 6
บทที่ 6
 
h6ju
h6juh6ju
h6ju
 
Projectm6 2-2554 (1)
Projectm6 2-2554 (1)Projectm6 2-2554 (1)
Projectm6 2-2554 (1)
 
ใบงานที่3
ใบงานที่3ใบงานที่3
ใบงานที่3
 
ใบงานที่+..
ใบงานที่+..ใบงานที่+..
ใบงานที่+..
 
โครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอมโครงร่างโครงงานคอม
โครงร่างโครงงานคอม
 
โครงงาน คอม เชต
โครงงาน   คอม    เชตโครงงาน   คอม    เชต
โครงงาน คอม เชต
 
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
โครงการMouกับ ศูนย์วิศวกรรม55
 
(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)(มคอ 03-1-statics 542)
(มคอ 03-1-statics 542)
 
Science dep curr2551
Science dep curr2551Science dep curr2551
Science dep curr2551
 
ใบงานที่ 2 3 4
ใบงานที่ 2 3 4ใบงานที่ 2 3 4
ใบงานที่ 2 3 4
 
คำอธิบายรายวิชา2
คำอธิบายรายวิชา2คำอธิบายรายวิชา2
คำอธิบายรายวิชา2
 
Subject
SubjectSubject
Subject
 
design and technology
design and technology design and technology
design and technology
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ใบงาน 2-8
ใบงาน 2-8ใบงาน 2-8
ใบงาน 2-8
 
605 43projectcom
605 43projectcom605 43projectcom
605 43projectcom
 
Week 2 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
Week 2   ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา pptWeek 2   ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
Week 2 ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา ppt
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
โครงงานคอมพิวเตอร์ใบงานที่2-8
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
สุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552 ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดลเอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552 ณ ม.มหิดล
สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพาเอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพา
 
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552 ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดลเอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552 ณ ม.มหิดล
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
 

คำบรรยายวิชาเทคโนโลยีวิศวกรรม

  • 1. 1 คําบรรยาย วิชา 2-343-323 เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering Technology) ของ รศ. สุรพล ศรีบุญทรง สวัสดีครับ ผู้เรียนวิชา 2-343-323 เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering Technology) ทุกท่าน ตามที่ผม ได้ศึกษาถึงจุดมุ่งหมายของรายวิชา มคอ.3 ของหลักสูตรที่ระบุว่าเป้าหมายของการเรียนวิชานี้ เจตนาให้นักศึกษามี ความสามารถดังนี้ 1) นักศึกษามีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ระบบกลไกทางวิศวกรรมและพลังงานส่วนประกอบของ อุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิตระบบและส่วนประกอบ ของ ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 2) นักศึกษามีทักษะในการนําเอาหลักกลศาสตร์ระบบกลไกทางวิศวกรรมและพลังงาน ส่วน ประกอบของ อุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิต ระบบและส่วนประ กอบของ ระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ประยุกต์ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3) นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับหลักกลศาสตร์ระบบกลไก พลังงาน วัสดุ กรรมวิธีการผลิต เลือก ให้เหมาะสมกับการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแต่ละประเภท กล่าวได้ว่า เป้าหมายของวิชานี้เป็นไปเพื่อปูพื้นฐานในด้านหลักการทางกลศาสตร์ ระบบกลไกทางวิศวกรรม และพลังงานส่วนประกอบของอุปกรณ์เชิงกล ความสัมพันธ์ระหว่างวัสดุการออกแบบและกรรมวิธีการผลิตระบบ และ ส่วนประกอบของระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับงานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งผมเข้าใจว่า คณาจารย์ ของภาควิชาฯ คงจะได้สอน/ฝึกให้ นศ. ได้เรียนรู้/ปฏิบัติเกี่ยวกับการออกแบบที่เกี่ยวข้องกับกลไกทางกลศาสตร์ ทาง ไฟฟ้า ทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้อย่างครบถ้วนแล้วภายในระยะเวลาของการสอน 13 คาบ ผมในฐานะของบุคลากรทาง การศึกษาจากภายนอก มทร.กรุงเทพ ที่เข้ามาสอนทดแทนให้ในส่วนของ ผศ.ดิเรก กาญจนรูจี ที่ได้ลาอุปสมบทเพื่อ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา สยามบรมราชกุมารี จึงไม่ควรจะสอนหรือฝึก นศ. ซ้ําในส่วนที่ คณาจารย์ทั้งหลายได้สอน นศ. กันมาเป็นอย่างดีอยู่แล้ว แต่น่าจะเป็นการเปิด มุมมมองใหม่ ตลอดจนชี้ให้เห็นแนวทางแสวงหาประสบการณ์ใหม่ๆ ในการศึกษา และ การเรียนรู้จากชีวิตจริงแทน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเริ่มสอนนั้น ผมได้เริ่มด้วยการสอบถามความคิดเห็น ของ นศ. เกี่ยวกับความหมายของวิชา เทคโนโลยีวิศวกรรม (Engineering Technology) ตลอดจนคําศัพท์หลักๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ความหมายของคําว่า วิศวกรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ Industrials วิชาชีพอย่าง Professional และ Vocational วิธีการสอนที่ผมได้ดําเนินไปในต้นชั่วโมงนั้น เป็นที่รู้จักกันในชื่อ Socrates method หรือการเลียนแบบของปรัชญาเมธีที่มีชีวิตอยู่ในช่วงยุคสมัยใกล้เคียงกับ พระพุทธเจ้า ซึ่งกระตุ้นให้ผู้คนหยุดคิดและพยายามทําความเข้าใจกับความหมายของ
  • 2. 2 สิ่งต่างๆ ด้วยตนเอง (น่าเสียดายว่าวิธีการตั้งคําถามแบบเจาะลึกไปเรื่อยๆ นี้อาจจะไม่ถูกใจผู้ปกครองในประเทศกรีกสมัยนั้น ทําให้โสเครตีสถุก ตัดสินให้ต้องจบชีวิตด้วยการกินยาพิษจากต้น Hammock ) สําหรับ คําว่า วิศวกรรม กับคําว่า เทคโนโลยี นั้นปัจจุบัน จะได้รับการตีความที่ใกล้เคียงกันมาก ในแง่ที่เป็นการประยุกต์เอาความรู้ ความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ (โดยเฉพาะฟิสิกส์จะเป็นสาขาทาง วิทยาศาสตร์ที่ได้รับการประยุกต์มาใช้มากที่สุด) มาดัดแปลงให้เกิดเป็น ผลผลิตที่เป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติทั่ว ๆ ไป บางคนอาจจะตีความ ว่าวิทยาศาสตร์ทั่วๆ ไป หรือวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์ (Pure Sciences) นั้น เป็นเรื่องของการแสวงหาเหตุผล ที่สามารถทดลองพิสูจน์ให้เห็นซ้ําได้ ให้ คําอธิบายได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล ส่วนการประยุกต์มาใช้สร้างสิ่งประดิษฐ์ อย่าง วิศวกรรม และเทคโนโลยีนั้น หลายคนสมัครใจที่จะเรียกว่าเป็น วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Sciences) อย่างไรก็ตาม หากมิได้พิจารณากันแค่ตามความหมาย แต่ อธิบายตามหลักประวัติศาสตร์ความเป็นมาของคําศัพท์ ก็ต้องยอมรับว่า ความเป็นช่าง หรือ วิศวกร นั้นมีอยู่คู่โลกมาแต่ยุคดึกดําบรรพ์ จนอาจ กล่าวได้ว่า เมื่อมนุษย์ยุคหินคนแรกเริ่มรู้จักกระเทาะขวานหินให้ได้ กระชับ ถนัดมือ ความเป็นช่าง หรือความเป็น วิศวกรก็เกิดขึ้นมานับแต่ นั้น หรือหากจะพิจารณาจากบรรดาช่างไทยหรือประเทศที่ได้รับอิทธิพล จากศาสนาฮินดูในละแวกชมพูทวีปพากันนับถือพระนารายณ์ หรือพระ วิษณุเทพ เป็นบิดาแห่งเหล่าช่างทั้งหลาย ก็ต้องบอกว่าความเป็นช่าง หรือลูกหลานวิษณุก็เกิดขึ้นมาตั้งแต่ยุค 2 – 3 พันปีที่แล้ว ผิดกับคําว่า Sciences หรือวิทยาศาสตร์นั้นเพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อไม่ถึง 500 ปีดีนี้เอง เดิมทีความสนใจใฝ่รู้เชิงนี้จะถูกเรียกว่า Natural Philosophy อันเป็น สิ่งตกค้างสืบเนื่องจากวิธีการศึกษาของผู้คนในยุโรปตั้งแต่ยุคสมัยของอารย ธรรมกรีก หรือ หากจะยึดตามรากศัพท์ภาษาอังกฤษ คํา ว่า engineering ก็มาจากคําว่า engineer ซึ่งสืบย้อนกลับไปได้ถึง ค.ศ. 1325 จากคําว่า engine’er อันมีความหมายว่า ผู้ใช้งานเครื่องจักร หรือ ผู้สร้างเครื่องจักรสําหรับใช้งานเพื่อการทหาร เพราะเดิมที คํา ว่า engine นั้นหมายถึงเครื่องจักรทางการทหาร หรืออาวุธอย่าง เครื่องยิง หินแคเทอพอลต์ นอกจากนี้ยังมีคําที่เก่าแก่ คือคําว่า ingenium ใน ภาษาละติน ซึ่งแปลว่า "ความสามารถที่มีมาโดยกําเนิด ความฉลาดในการ วิกีพีเดีย ระบุว่า American Engineers' Council for Professional Development (ECPD, ซึ่ง ต่อมาคือ ABET[1] ) ได้ให้นิยาม เกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์เอาไว้ ดังนี้ “วิศวกรรมศาสตร์คือการ ประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยา ศาตร์อย่างสร้างสรรค์เพื่อการ ออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือ กระบวนการผลิต หรืองานเพื่อ การใช้ประโยชน์สิ่งเหล่านี้โดดๆ หรือประยุกต์เข้าด้วยกัน หรือ เพื่อการสร้างหรือใช้งานสิ่ง เหล่านั้นด้วยความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งที่ใช้งานอย่างหมดจด หรือเพื่อการพยากรณ์ พฤติกรรมของสิ่งเหล่านั้น ภายใต้สภาวะที่เจาะจง สิ่งที่ กล่าวมาทั้งหมดนี้จักต้อง คํานึงถึงความมุ่งหมายในการใช้ งาน, ความคุ้มค่าในการ ปฏิบัติการ แลความปลอดภัย ต่อชีวิตและทรัพยสินด้วย”
  • 3. 3 ประดิษฐ์” ซึ่งความเจริญเชิงช่างนั้นมิได้มีอยู่แต่ในซีกอารยธรรมตะวันตกเท่านั้น ในฟากฝั่งสุวรรณภูมิอันเป็นที่ตั้งของ ประเทศไทยของเราก็มีความเจริญก้าวหน้าเชิงช่างอยู่มากมายมิใช่น้อย ดังจะเห็นได้จากบรรดาโบราณสถานทั้งหลายที่ ยังคงมั่นคงแข็งแรง แม้จะถูกก่อสร้างมานานนับเป็นหลายๆ ร้อยปี สิ่งประดิษฐ์ประเภทเครื่องมือ จักสาน งานทอ ทั้งหลายที่มีมีการสืบทอดต่อเนื่องและพัฒนาให้มีความงดงาม และมีเอกลักษณ์สะท้อนความเป็นไทยได้ดี ก็เป็นตัวอย่าง ที่แสดงให้เห็นถึงคามสามารถเชิงช่างหรือวิศวกรรมแบบของไทยได้เช่นกัน ความหลากหลายในงานวิศวกรรม ปัจจุบัน มีการประดิษฐ์คําที่เกี่ยวข้องกับงานวิศวกรรมใหม่ๆ ขึ้นมามากมายอาทิ Aviation Engineering วิศวกรรมการบินและอวกาศยาน - ออกแบบอากาศยาน อวกาศยาน และสิ่งที่เกี่ยวข้อง Biochemical Engineering วิศวกรรมชีวเคมี เกี่ยวข้องกับการใช้เซลล์สิ่งมีชีวิตมาผลิตสารชีวเคมีออกมาตามต้องการ Bioengineering การประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิศวกรรม ไปแก้ปัญหาด้านชีววิทยา Biological Engineering ชีววิศวกรรมประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์ หรือวิศวกรรม ไปแก้ปัญหาด้านชีววิทยาทั่วๆ ไป หรือแก้ปัญหาทางสิ่งแวดล้อม Biomaterials ชีววัสดุศาสตร์ การออกแบบ และพัฒนาวัสดุสังเคราะห์ (non-viable material) ซึ่งเหมาะ สําหรับการฝังเข้าไปในร่างกาย (Bioimplantable materials) Biomedical engineering การนําเอาพื้นฐานความรู้ทางด้านวิศวกรรมมาใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัย เพื่อพัฒนา อุปกรณ์ กระบวนการ และเครื่องมือทางการแพทย์ หรือ ทางชีวการแพทย์ Bioprocess Engineering วิศวกรรมกระบวนการชีวภาพ สังเคราะห์สารประกอบ สารชีวเคมีหายาก ให้ได้ปริมาณมากๆ ด้วยกระบวนการทางห้องปฎิบัติการ Chemical Engineering วิศวกรรมเคมี - ใช้หลักการทางเคมีในกระบวนการผลิตเคมีอุตสาหกรรม รวมไปถึงการ ค้นคว้าวิจัยเชื้อเพลิงและวัสดุจําเพาะใหม่ๆ Civil Engineering วิศวกรรมโยธา - ออกแบบและก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง เช่น รางรถไฟ ถนนหนทาง สะพาน ตึก และอาคารบ้านเรือน Clinical Engineering วิศวกรรมทางคลีนิค มักถือว่าเป็นการกล่าวถึงศาสตร์เดียวกันกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ มุ่งไปที่ความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องแพทย์ภายในโรงพยาบาล ตลอดไป จนถึงการนําความคิดในเชิงบริหารการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการให้บริการทางการแพทย์ Electrical Engineering วิศวกรรมไฟฟ้า - ออกแบบระบบไฟฟ้า เช่น หม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนเครื่องใช้ไฟฟ้าทุก
  • 4. 4 ชนิด Engineering design กระบวนการออกแบบในเชิงเทคนิค (หรือเชิงวิศวกรรม) เพื่อการนําไปใช้งานจริง Genetic Engineering พันธุวิศวกรรม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสภาพของสิ่งมีชีวิตผ่านการตัดต่อสารพันธุกรรม Mechanical Engineering วิศวกรรมเครื่องกล - ออกแบบระบบเชิงกายภาพหรือกลศาสตร์ ตัวอย่างเช่น เครื่องยนต์ ระบบส่งกําลัง ระบบกันกระเทือน Medical Engineering วิศวกรรมการแพทย์ มักถือว่าเป็นการกล่าวถึงศาสตร์เดียวกันกับวิศวกรรมชีวการแพทย์ มุ่งไปที่ความปลอดภัยในการใช้งานอุปกรณ์และเครื่องแพทย์ภายในโรงพยาบาล ตลอดไป จนถึงการนําความคิดในเชิงบริหารการจัดการเกี่ยวกับกระบวนการให้บริการทางการแพทย์ Nuclear-medicine imaging งานสร้างภาพรังสีที่อาศัยการเปล่งรังสีของสารกัมมันตรังสี (radioactive isotope) ที่ถูกฉีด เข้าไปในร่างกายของผู้รับการทดสอบ โดยรังสีจะออกมามากในอวัยวะ ที่มีปริมาณสารที่เรา สนใจมากๆ Physiological Control & Simulation การสร้างระบบควบคุม และระบบจําลองการทํางานของสรีระ เป็นการประยุกต์ความรู้เชิง วิศวกรรมด้านระบบวิเคราะห์ (System Analysis) และงานระบบควบคุม (Control System) ไปใช้แก้ปัญหาทางชีววิทยา และทางการแพทย์ Rehabilitation Engineering วิศวกรรมฟื้นฟูมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาคุณาพชีวิตของผู้พิการ หรือผู้ป่วยเสื่อมสมรรถนะ ด้วย การจัดหา/จัดสร้างอุปกรณ์มาช่วยสนับสนุนอวัยวะที่เสื่อมสมรรถนะ หรือทดแทนอวัยวะที่ ขาดหายไป Systems Engineering มักเกี่ยวข้องกับการออกแบบ, จัดสร้าง, และบริหาร ระบบที่ มนุษย์สามารถจัดสร้างขึ้นได้ (man-made systems) Tissue Engineering วิศวกรรมเนื้อเยื่อใช้ประโยชน์จากการเพาะเลี้ยงเซลล์และเนื้อเยื่อ เพื่อชดเชย หรือเสริมการทํางานของอวัยวะในรางกายมนุษย์ ส่วนคําว่า เทคโนโลยี และ อุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นติดตามมาหลังจากนั้น เมื่อมนุษย์พยายาม ประยุกต์เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ตนเองคิดค้นได้ ไปสรรสร้างประโยชน์ให้แก่มวลมนุษยชาติ และไปสร้างผลกําไร ทางเศรษฐกิจอย่างเป็นกอบเป็นกําให้แก่ตนเอง เช่น ความรู้เรื่องการหักเหแสงของนักวิทยาศาสตร์นั้นคงก่อให้เกิด ประโยชน์น้อยมากให้แก่สาธารณชนนอกเหนือไปจากตอบสนองต่อความกระหายใคร่รู้ของตัววิทยาศาสตร์เอง แต่ เมื่อมีการพลิกแพลงไปทําเป็นกล้องถ่ายรูป กล้องโทรทรรศน์ และสารพัดกล้อง นี่คือเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยีก็ อาจจะไม่ก่อโภคผลใดๆ มากนักอีกเหมือนกัน เหมือนอย่างเม้าส์ตัวแรกที่ผลิตโดยวิศวกรในห้องทดลองพาโล อัลโต ของบริษัทซีร็อกซ์ก็ยังไม่ได้สร้างผลตอบแทนใดให้แก่บริษัทซีรอกซ์นัก เพราะมีต้นทุนต่อเครื่องสูงกว่าแสนบาท
  • 5. 5 จนกระทั่งทีมงานจากบริษัทแอปเปิ้ลแอบเข้ามาสํารวจห้องทดลองดังกล่าวแล้วนําไปต่อยอด ก็ทําให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า อุตสาหกรรมเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีเม้าส์เป็นอุปกรณ์อินพุตสําคัญ และทําให้บริษัทแอปเปิ้ลได้รับการพัฒนามา จนเป็นกลายเป็นบริษัททที่มีสินทรัพย์มากที่สุดในโลกสมัยนี้ นี่คืออุตสาหกรรม (Industrial มีรากศัพท์มาจากคําว่า Industrious หรือความขยันขันแข็ง อันเป็นที่มาของความมั่งคั่งทั้งหลายในโลก) อนึ่ง คําว่า วิศวกรรม และ เทคโนโลยีนั้น มิได้หมายถึงการประยุกต์ใช้ ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม สัมผัส จับต้องได้ หรือรับรู้ได้ด้วยอายตนะทั้งหาย อย่างเช่นที่เคยเป็นมาในอดีต คือ ไม่ใช่ แค่เรื่องเฟือง เครื่องจักร สิ่งก่อสร้าง อาคาร เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ อวัยวะเสริม อวัยวะเทียม หรือ เรื่องไฟฟ้า เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเรื่องที่ ไม่สามารถจับต้องได้ สิ่งที่มีความเป็นนามธรรมมากๆ อย่างเรื่อง สารสนเทศ โปรแกรม อินเทอร์เน็ต หรือการบริหารจัดการ ฯลฯ ได้อีกด้วย ทั้งรูปแบบการ พัฒนาวิศวกรรมเทคโนโลยีทั้งหลาย ก็มีแนวโน้มที่จะนําเอาความรู้ความเข้าใจของ ผลผลิตทางธรรมชาติมาเป็นแนวทางในการพัฒนามากขึ้นเรื่อยๆ อาทิ • การเลียนแบบวัสดุทางธรรมชาติที่มีความแข็งแรงสูงมาก เมื่อเทียบกับปริมาตรและน้ําหนักของมัน ยกตัวอย่างเช่น กระดูกหน้าแข้ง กระดูกสะโพก ฯลฯ • การเลียนแบบการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิต การออกแบบอุปกรณ์เชื่อมต่อ ข้อต่อต่างๆ ให้คล้ายกับ อวัยวะของสิ่งมีชีวิต ที่เห็นได้จากหุ่นยนต์สารพัดชนิดที่ถูกประดิษฐ์ออกมาอย่างต่อเนื่อง • การสร้างสารสังเคราะห์เพื่อเลียนแบบวัสดุทางธรรมชาติ เช่น การสร้างสารเคลือบผิวนาโน ที่มี โครงสร้างใกล้เคียงกับผิวใบบัว เพื่อไม่ให้มีการเก็บความสกปรกของฝุ่นละออง การสร้างกาวที่ ใกล้เคียงกับสารยึดเกาะของเพรียงทะเล ที่สามารถทนต่อแรงเสียดสีและแรงกระทําที่มีต่อใต้ท้องเรือ • การสร้างโครงสร้างกลไกที่มีความสามารถยึดเกาะเป็นพิเศา แบบตีนจิ้งจก ตืนตุ๊กแก เพื่อใช้ใน งานเคลื่อนที่แนวดิ่ง • การตัดต่อพันธุกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น สร้างใยที่มี ลักษณะคล้ายใยแมงมุมจากโปรตีนนมแพะในแพะที่ถูกตัดต่อ พันธุกรรม หรือ สร้างเชื่อแบคทีเรียที่สามารถผลิตฮอร์โมนอินสุ ลินมารักษาผู้ป่วยเบาหวาน หรือแบคทีเรียที่สามารถสังเคราะห์ น้ํามันดีเซล ฯลฯ • การสร้างสิ่งทอที่เลียนแบบโครงสร้างผิวปีกผีเสื้อ ทําให้ได้ผ้าสีที่ ไม่มีวันสีตก เพราะได้เกิดจากการย้อม แต่เกิดจากการหักเหแสง ที่มากระทบตาผู้มอง โดยทั้งหมดนี้ นศ. อาจจะหาเรียนรู้เพิ่มเติมได้จาก youtube https://www.youtube.com/watch?v=sJUO7GG0nHw
  • 6. 6 สุดท้าย ต่อความหมายของคําว่า วิชาชีพ นั้น อาจจะแยกออกได้เป็นสองระดับ คือ ระดับ Professional อย่างพวกแพทย์ วิศวกร และ ระดับ Vocational อย่างที่เราจัดเป็นการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ซึ่งแตกต่างกันในแง่ ว่า กลุ่ม Professional นั้นเน้นเรื่องการเรียนลึก ฝึกหนัก มีสภาวิชาชีพคอยกําหนดกฏเกณฑ์มาตรฐานการประกอบ อาชีพ การมีจรรยาบรรณ ในขณะที่ ระดับ Vocational นั้นจะมุ่งเน้นผลิตคนงานที่มีความชํานาญเฉพาะทางเพื่อ ป้อนให้แก่ตลาดแรงงานที่ขาดแคลนแรงงานเฉพาะทางเหล่านั้น จึงไม่เน้นเรื่องวิชาการมากนัก อาจจะบอกได้ว่าเรียน ติ้น ฝึกหนัก และ ไม่ได้มีสภาวิชาชีพรับรอง (แต่เพื่อให้นายจ้างมั่นใจว่ามีทักษะสูงพอ จึงต้องมีการสอบตามาตรฐานที่ ปัจจุบันเรียกว่า V-net ด้วย) ย้อนอดีตการศึกษาของมนุษย์ การที่จะศึกษาทําความเข้าใจกับเรื่อง วิศวกรรม และเทคโนโลยี ให้ได้ดี ผู้ศึกษาควรศึกษาทําความเข้าใจถึงระบบการเรียนรู้ที่มีมาแต่ในอดีตนับแต่ยุคสังคม บรรพกาล การอาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมในลักษณะชุมชนพื้นฐานที่มนุษย์ยังมี ความรู้น้อย เนื่องจากมีแต่ภาษาพูดและการใช้สัญญลักษณ์ในรูปภาษาเขียนก็มีอยู่ อย่างจํากัด การเรียนรู้ถ่ายทอดความรู้ก็มีความจํากัดมาก ผู้คนส่วนใหญ่จะยังไม่ รู้จักการใช้แรงงานจากสัตว์ ประสิทธิภาพในการสร้างผลผลิตจึงต่ําเนื่องจากต้องลง มือลงแรงทํากันด้วยแรงงานมนุษย์ ก่อให้เกิดผลผลิตส่วนเกินได้ต่ํา จนแม้จะมีการ แบ่งงานกันตามความถนัด หรือมีการกดขี่เอาแรงงานมนุษย์ด้วยกันเองลงมาเป็น ทาส ก็ยังมิอาจสร้างผลผลิตส่วนเกินออกมาได้มากนัก ต่อเมื่อภาษาพูด ภาษาเขียนได้รับการพัฒนาให้ดีขึ้นๆ มนุษย์ก็เริ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันได้มากยิ่งขึ้น รู้จักการเพาะปลูก การทําปศุสัตว์ การใช้แรงงานสัตว์ต่าง มีการพัฒนาเครื่องกลขึ้นมาผ่อนแรงเช่น ล้อ รอก เฟือง ทํา ให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณสูงขึ้นกว่าเดิมมาก สามารถก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ๆ ได้ มีการสะสมอาหารธัญพืขไว้เพื่อ การบริโภคในระยะยาว มีการพัฒนาระบบเงินตราขึ้นมาเพื่ออํานวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน ถึงเวลานี้ รูปแบบบการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก็ย่อมพัฒนาไปสู่สังคมเมือง หรืออาณาจักรในระยะเวลาต่อมา มีการกําหนดแบ่ง หน้าที่ของพลเมืองไว้อย่างชัดเจน ซึ่งก็น่าจะทําให้เกิดการศึกษาหาความรู้ในระบบที่มีการเรียนการสอนแบบโรงเรียน หรือแบบที่มีครูบาอาจารย์เป็นการเฉพาะติดตามมา แน่นอนว่าการศึกษาระยะแรกๆ นั้นในเบื้องต้นย่อมต้องมีการศึกษาเรื่องภาษาเป็นส่วนสําคัญ เพราะเป็น เครื่องมือสําคัญ ที่จะนําไปสู่การเรียนรู้ในศาสตร์อื่นๆ อันลึกซึ้งได้ต่อไป ดังจะเห็นได้จากการที่สังคมยกย่องผู้ที่มี ความรู้ด้านภาษาอย่างลึกซึ้งว่า “กวี” และเนื่องจากภาษายุคแรกๆ นั้นต้องสอดสัมพันธ์เป็นจังหวะจะโคน เพื่อให้ผู้ที่ อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้สามารถจดจําเนื้อหาในการเรียนได้ดี กวีจึงเป็นผู้โดดเด่นในการประสานเสียงของคําประหนึ่งดัง การเรียบเรียงเสียงดนตรี มีการจําแนกแยกประเภทของกวีออกเป็น จินตกวี สุตกวี อรรถกวี ปฏิภานกวี ฯลฯ กษัตริย์ ตลอดจนขุนนางชั้นผู้ใหญ่มักจะมีชื่อเสียงในแง่ของการเป็นกวีในโสตหนึ่งด้วย อาทิ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า Plato (427 – 347 B.C.)
  • 7. 7 นภาลัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสุนทรโวหาร (ภู่) สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ โจโฉ ฯลฯ แต่การศึกษาในลักษณะที่ว่านั้นน่าเป็นสิ่งหายากและขาดแคลน มีแต่ผู้ปกครอง ชนชั้นนําเท่านั้นที่จะมี โอกาสได้รับการศึกษาในรูปแบบดังกล่าว มนุษย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในฐานะ ชนชั้นถูกปกครอง ไพร่พล ข้าทาส ประชาชน ฯลฯ มักอาศัยการเรียนรู้จากการบอกเล่า ฝึกหัดในการประกอบอาชีพของครอบครัว หรือกลุ่มชนที่ประกอบอาชีพ ใกล้เคียงกัน ไม่สามารถอ่าน/เขียนหนังสือ ทําได้เพียงการสื่อสารด้วยคําพูด ทั้งด้วยเหตุจํากัดในทางกฏหมาย เช่น ใน ชมพูทวีปนั้นมีแต่วรรณะพราหมณ์และกษัตริย์เท่านั้นที่จะอ่านหนังสือได้ คนในวรรณะอื่นหากไปแตะต้องตํารับตําราที่ มีอยู่จะมีบทลงโทษรุนแรงตามที่ปรากฏอยู่ในมนูธรรมศาสตร์ว่า หากเปิดหนังสือก็ให้ตัดมือเสีย หากอ่านด้วยตาก็ให้ แทงตาเสียให้บอด หากเปล่งวาจาเป็นบทสวดก็ให้ตัดลิ้นเสียเป็นต้น หรือหากในสังคมมิได้มีการกําหนดบทลงโทษในการรับรู้ข้อมูลไว้รุนแรงเช่นนั้น ก็ยังปรากฏว่าพลเมืองทั่วไป ยากจะได้สัมผัสกับการเขียน/อ่านหนังสืออยู่ดี เนื่องด้วยบรรดาวัสดุอุปกรณ์ที่จะนํามาใช้เพื่อการขีดเขียนบันทึกมีราคา แพงมากจนกระทั่งสามัญชนคนธรรมดาทั่วๆ ไป ยากจะแสวงหามาครอบครองได้ ไม่ว่าจะเป็น กระดาษ หนังสัตว์ หรือ หมึกที่ใช้เขียนเมื่อวัสดุที่ใช้จดจารึกหายากมีราคาแพง ทั้งผู้ที่มีความรู้ในทางหนังสือก็หายาก ก็ยิ่งส่งผลย้อนกลับให้ หนังสือและสื่อต่างๆ ในอดีตมีราคาค่างวดสูงจนเกินการครอบครองของคนทั่วไป การศึกษาในอดีตส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องของชนชั้นปกครองเป็นสําคัญ การเรียนจึงมักจะเป็นเรื่องของการ ปกครอง เช่นวิชาการต่อสู้ด้วยอาวุธชั้นสูง การเรียนเรื่องการปกครอง ศิลป ศาสตร์ การคํานวน การควบคุมกองทัพ เทววิทยา และพิธีกรรม ฯลฯ ในขณะ ที่การงานอาชีพส่วนใหญ่อย่างงานช่าง งานรักษาโรค งานตัดเย็บเสื้อผ้า งาน เพาะปลูก ฯลฯ ดูจะมิใช่สิ่งจําเป็นนักสําหรับชนชั้นสูง ชนชั้นปกครอง เพราะ ผู้ปกครองไม่จําเป็นต้องลงมาดําเนินการเรื่องเหล่านี้ด้วยตนเอง หากจะมี การศึกษาบ้างก็ต้องเป็นการเรียนรู้ระดับของการควบคุมชลประทาน งาน ระดับมหภาคที่ไม่ต้องลงมือลงแรงด้วยตนเอง ระบบการศึกษาที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นต้นแบบของระบบการศึกษา ในโลกตะวันตกคือระบบการในยุคกรีก ที่เริ่มมีการศึกษาที่หลากหลาย ทั้งในเชิง การเมือง การปกครอง การสงคราม ปรัชญา ศิลปะ และปรัชญาเกี่ยวกับชีวิต (Life Philosophy) หรือที่ปัจจุบัน รู้จักกันในฐานะของวิทยาศาสตร์ (Sciences) การศึกษาปรัชญาชั้นสูงแบบกรีก ตามแนวทางของโสเครตีส เพลโต และอริสโตเติ้ล ได้รับการยกย่องให้เป็นต้นแบบของการศึกษาของเสรีชน (Liberals) ที่มีอํานาจใช้สิทธิลงคะแนนเพื่อ การปกครองได้ หลักฐานที่ยังคงตกค้างให้เห็นคือการที่เราเรียกปริญญาเอก ว่า Ph.D. หรือ Doctor of Philosophy Galileo (1564–1642)
  • 8. 8 ในช่วงเวลาเดียวกับที่อารยธรรมกรีกกําลังรุ่งเรืองนั้น ในอีกซีกโลกหนึ่ง มนุษย์ก็มีการเจริญทางด้าน การเมือง การปกครอง การสงคราม ปรัชญา ศิลปะ ฯลฯ และศาสนาและลัทธิชั้นสูงอันลึกซึ้ง และมีอิทธิพลอย่าง มากต่อโลกฝั่งตะวันออก นั่นคือ อารยธรรมจีน และอินเดียคติความเชื่อเรื่องเทพอันยิ่งใหญ่ของศาสนาฮินดูการฝึกฝน ตนและจิตใจเพื่อให้ตระหนักถึงความจริงอันเป็นสรณะของพุทธ การดํารงตนอยู่ในสังคมได้อย่างถูกต้องเหมาะสมตาม หลักการของ เต๋า ขงจื้อ ฯลฯ ยังคงฝังอยู่ในการดํารงชีวิตของผู้คนในซีกโลกตะวันออกอย่างเหนียวแน่น แม้จะผ่าน กาลเวลามานับ 3 พันปี หรือแม้จะมีความพยายามชักชวนให้เปลี่ยนไปนับถือศาสนาใหม่ที่น่าสนใจด้วยความก้าวหน้า ในทางเทคโนโลยี ความงดงาม และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม โดยเฉพาะในส่วนของพุทธศาสนานั้น จะเห็นได้ว่ามีลักษณะที่เหมือนปฏิวัติ รูปแบบการเรียนรู้ของสังคมชมพูทวีปให้แตกต่างไปจากสังคมพราหมณ์ที่เคยครอบงําและ แบ่งแยกชนชั้นกันอยู่ในห้วงเวลานั้นชนิดกลับขั้วกันเลยทีเดียว นั่นคือ ศาสนาพุทธไม่จํากัด การเรียนรู้ไว้เฉพาะหนังสือแบบสันสกฤตที่มีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้นที่จะอ่านออกเขียนได้ แต่ ทรงเลือกใช้ภาษามคธ หรือบาลี ซึ่งเป็นภาษาพูด ในการสอน “มุขปาฐะ” ทําให้สามารถ สื่อสารออกไปในหมู่ประชาชนจํานวนมาก มิได้ทรงให้ความสําคัญต่อวรรณะหรือชาติ กําเนิด แต่ให้ความสําคัญกับความดีความรู้ เช่นกําหนดให้สงฆ์เคารพกันด้วยพรรษามิใช่ ด้วยวัยวุฒิหรือชาติตระกูล ทรงให้ความสําคัญต่อการจัดองค์กรของพุทธบริษัทสี่ เมื่อจะ เผยแพร่ศาสนาก็มุ่งไปสู่ผู้นําอย่างกษัตริย์ หรือเศรษฐีซึ่งมีข้าทาสบริวารและผู้ติดตามจํานวนมากๆ เมื่อเปลี่ยนความ เชื่อของผู้นําได้ ก็มักจะส่งผลให้ผู้ติดตามพลอยหันมาศึกษาเรียนรู้ทําความเข้าใจกับคําสอนด้วย การศึกษาแบบพุทธจึง สามารถสถาปนาศาสนาได้อย่างมั่นคงเพียงชั่วระยะเวลาไม่ถึง 40 ปีก่อนที่จะทรงปรินิพพาน ระบบการศึกษาหลังจากยุคพุทธกาลและยุคของมหาศาสดานั้น เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมนุษย์โลกมีความเข้าใจใน เรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาอํานวยความ สะดวกของมนุษย์มากขึ้น และเมื่อมีการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อผลทาง เศรษฐกิจมากขึ้น ส่งผลให้โลกการศึกษาเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมากมาย เทคโนโลยีสําคัญได้แก่การพัฒนาเครื่องพิมพ์ของกูเต็นเบิร์กที่ทําให้หนังสือ และ ความรู้มิได้เป็นสิ่งมีราคาแพง หายาก และถูกจํากัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงในสังคม อีกต่อไป ระบบการพิมพ์ทําให้ความรู้ถูกแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว เมื่อผู้มีความรู้มีมากขึ้น ก็มีการต่อยอดสร้างสรรความรู้และนวัตกรรมใหม่ ติดตามมาหลายเท่าทวีคูณ ที่สําคัญ ผลจากการอาศัยความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยีและ Johannes Kepler (1571–1630) Benjamin Franklin (1706–1790)
  • 9. 9 อุตสาหกรรม ทําให้เกิดชนชั้นใหม่ในสังคมเรียกว่าชนชั้นกลาง ซึ่งไม่พึงพอใจต่อระบบการปกครองอันไม่เป็นธรรม จึง ขับเคลื่อนให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่ที่เรียกว่าเสรีนิยม และระบบการปกครองใหม่ที่เรียกว่าประชาธิปไตยก็กลายมา เป็นสิ่งที่ได้รับการเรียกร้องอยู่โดยทั่วไปในทุกสังคมที่มีการแพร่กระจายออกไปของความรู้ ยิ่งโลกสมัยใหม่ซึ่งข้อมูล ความรู้ถูกเผยแผ่ออกไปได้อย่างรวดเร็วผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ การเรียนรู้ยิ่งเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและ หลากหลาย การคิดค้นทฤษฏีใหม่ๆ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็ยิ่งส่งผลย้อนมาเร่งให้ปฏิกิริยาการ เรียนรู้ของผู้คนในลักษณะเสริมให้มีประสิทธิภาพยิ่งๆ ขึ้นไป นอกจากนี้ รูปแบบการศึกษาที่เคยมุ่งไปที่ปรัชญาหรือการ คิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง ก็กลายเป็นการเรียนรู้เพื่ออาชีพ เพื่อการพัฒนาและประดิษฐ์คิดค้นในเชิงเทคโนโลยีและ อุตสาหกรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจํากัดของมนุษย์ในเรื่องสติปัญญาและเวลาที่มีอยู่ มนุษย์ส่วนใหญ่มีสติปัญญาปาน กลาง และมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 75 ปี หรือ 27,735 วัน โดยประมาณเหมือนกัน หากไม่ระวังเรื่องการใช้เวลาให้ดี การใช้เวลาในแต่ละวันจะหมดไปกับการแสวงหาความบันเทิงแบบไร้สาระ ที่โหมประดังเข้ามาอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน คิด ง่ายๆ ว่าหากเผลอลองกดไล่ดูรายการในช่องเคเบิ้ลไปเรื่อยๆ เพียงช่องละหนึ่งนาที เวลาสองชั่วโมงก็จะหมดไปเปล่าโดย ไม่ได้ความรู้หรือข้อมูลอะไรที่เป็นประโยชน์เลย เพราะฉนั้นการอาศัยอยู่ในโลกที่ท่วมท้นไปด้วยข้อมูลข่าวสารนั้น มนุษย์ก็ยิ่งจะต้องฉลาดในการแสวงหาความรู้มากยิ่งขึ้น การศึกษา การค้นพบ และการประดิษฐ์1 เซอร์ ไอแซค นิวตัน เคยกล่าวไว้ว่าตัวเขานั้นเปรียบเสมือนคนแคระที่ ยืนอยู่บนบ่ายักษ์2 นั่นคือ ความรู้และทฤษฎีใหม่ๆ ที่เขาคิดค้นขึ้นมาได้นั้นเป็นผล จากความรู้ที่บรรพชนสั่งสมมาในอดีต ตัวเขาเพียงแต่นําเอาความรู้ที่มีอยู่เดิมมา ต่อยอดออกไปด้วยความเป็นอัจฉริยะ ทําให้เกิดเป็นกฏเกณฑ์และทฤษฏีใหม่ๆ ที่สามารถอธิบายจักรวาลทั้งจักรวาลได้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแรงโน้มถ่วง กฏของ การเคลื่อนที่ องค์ประกอบของคลื่นแสง ฯลฯ เช่นเดียวกัน อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ก็ถ่อมตนว่าการค้นพบทฤษฎี 1 การประดิษฐ์ หมายถึงว่า สิÉงทีÉประดิษฐ์ขึÊนนัÊนไม่เคยมีมาก่อนเลยในโลกมนุษย์ เพราะฉนัÊนสิÉงประดิษฐ์ทัÊงหลายล้วนเป็นนวัตกรรมในตัวของมัน เองทัÊงสิÊน โลกไม่เคยยกย่องผู้ซึÉงสร้างสิÉงทีÉมีอยู่แล้วว่า Inventor เพราะฉนัÊน การระบุวา จะสร้างสรรสิÉงประดิษฐ์สู่นวัตกรรม จึงเป็นความพยายาม ตีความให้ต่างไปจากคําจํากัดความเดิมเท่านัÊน 2 ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. řŞşŞ ไอแซค นิวตัน เขียนจดหมายถึงโรเบิร์ต ฮุก ว่า “If I have seen further it is by standing on the shoulders of giants.” Charles Darwin (1809–1882)
  • 10. 10 สัมพันธภาพนั้นก็เกิดขึ้นหลังจากพบปะสนทนาพร้อมจิบกาแฟกับสหายสนิทอยู่พักใหญ่ จนเก็บมาคิดต่อยอดออกเป็น ทฤษฎีที่ช่วยอธิบายถึงข้อจํากัดในทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ของนิวตันได้ การศึกษาและเรียนรู้นั้นหากจะอธิบาย ด้วยหลักการทางพุทธก็อาจจะกล่าวได้ว่ามีองค์ประกอบสําคัญ 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ความรู้ที่ได้รับมาจากผู้อื่น จาก บรรดาผู้ที่เรียนรู้ค้นคว้าและนําเสนอมาก่อน จะเรียกว่าเป็นการเรียนรู้จากกัลยาณมิตรก็ว่าได้ ส่วนที่สองคือการ ไตร่ตรองอย่างลึกซึ้งอย่างเป็นเหตุเป็นผล หรือที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้จากกัลยาณมิตร และการใช้สติไตร่ตรองอย่างมีโยนิโสมนสิการ สังคมโลกได้จัดตั้งระบบการศึกษาชั้นสูงขึ้นเรียกว่า ระบบอุดมศึกษา หรือ ระบบมหาวิทยาลัย ซึ่งแตกต่างจากการ สอนให้คนเป็นพลเมืองดีเป็นกําลังแรงงานที่ดีอย่างพวกระบบการศึกษาพื้นฐาน หรือระบบช่างฝีมือ ออย่างไรก็ตาม เนื่องจากความรู้ในโลกนี้ได้เริ่มจากการศึกษาหาความรู้ตามหลักศาสนา มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ในโลกนี้จึงมักเริ่มต้น จากการศึกษาทางศาสนา เทวนิยม (Theology) หรือศาสนศาสตร์ตัวอย่างของมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเก่าแก่มากๆ ของ โลกนั้นได้แก่ • มหาวิทยาลัยนานกิง ก่อตั้งในช่วงประมาณ 285 ปีก่อน ค.ศ. • มหาวิทยาลัยคอนสแตนติโนเปิล และมหาวิทยาลัยนาลันทาเกิดขึ้นประมาณคริสตศตวรรษที่ 5 โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนาลันทานั้นเคยยิ่งใหญ่ขนาดมีหอสมุดสูงถึงเก้าชั้น แต่ถูกทําลายในปี ค.ศ. 1197 โดยกองทัพมุสลิม • มหาวิทยาลัยโบโลนญ่า เกิดที่สเปนในปี ค.ศ. 1088 ได้รับชื่อว่าเป็นมารดรของมหาวิทยาลัยทั้งปวง (Mother of Universities)เปิดสอนด้านเทววิทยาและปรัชญาได้รับการรับรองสถานะภาพทาง กฎหมายให้มีสิทธิเสรีภาพทางวิชาการ ปลอดจากการแทรกแซงทั้งปวง • มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ดที่เกิดขึ้นประมาณ ค.ศ. 1167 • มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ขึ้นในใน ค.ศ. 1209 เราอาจจะแบ่งยุคของการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้และเทคโนโลยีต่างๆ ของมนุษย์ได้คร่าวๆ ดังนี้ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ 3,500 ปี ก่อน ค.ศ. จากซากที่ค้นพบ ได้แก่ ขวานหิน คนชักก่อไฟ ภาชนะบรรจุสิ่งของ ตะเกียงน้ํามัน ลูกปัด คันศรและลูกธนู ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็ก 3,500 – 500 ปี ก่อน ค.ศ. มีการประดิษฐ์ วงล้อ ตัวอักษร ดาบ เสื้อเกราะ เรือใบ ยุคโลกเก่า 500 ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. 500 มีการประดิษฐ์ ระหัดวิดน้ํา เรือสําเภา เครื่องจักรไอน้ําแบบดั้งเดิม ลูกคิด
  • 11. 11 ยุคกลาง ค.ศ. 500 - ค.ศ.1450 มีการประดิษฐ์ กังหันลมของชาวเปอร์เชีย นาฬิกาจักรกล ดินประสิว เครื่องพิมพ์ ยุคปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ค.ศ. 1450 - ค.ศ.1770 มีการการประดิษฐ์ กล้องโทรทัศน์ กล้องจุลทรรศน์ เครื่องคํานวณปาส กาล เรือดําน้ําแรงคนพาย ยุคเครื่องจักร (ปฏิวัติ อุตสาหกรรม) ค.ศ. 1770 - ค.ศ.1870 มีการการประดิษฐ์ บัลลูนลมร้อน รถไฟหัวจักรไอน้ํา กล้องถ่ายรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ทําง่านด้วยเฟืองกล (difference engine ของชาร์ล แบบเบจ) เครื่องจักรทอผ้า ยุคโลกใหม่หรือยุคไฟฟ้า ค.ศ. 1870 - ค.ศ.1950 มีการการประดิษฐ์ รถยนต์ โทรศัพท์ เครื่องบิน วิทยุ ยุคดิจิตัล ค.ศ.1950 ถึงปัจจุบัน มีการการประดิษฐ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ จรวด แขนกล รถไฟความเร็ว สูง การศึกษา : เพื่อรู้ หรือ เพื่อประกอบอาชีพ ดังที่ได้กล่าวมาแต่ต้นว่า พัฒนาการของการศึกษาในระบบนั้น เดิมทีดูจะมุ่งหวังความเป็นนักปรัชญา ที่มี ความรักในความรู้และมุ่งค้นหาความจริงอัน สูงสุดแห่งโลก เนื่องจากในอดีตนั้นการศึกษา มักถูกจํากัดอยู่เฉพาะชนชั้นสูงที่มิได้ถูกบีบรัด ด้วยความจําเป็นทางเศรษฐกิจ ส่วนการ เรียนอีกรูปแบบหนึ่งในลักษณะงานช่างของ สามัญชนนั้น ก็จะเน้นไปที่การสร้างสรร ชิ้นงานแต่ละกลุ่มออกมาตอบสนองต่อความ ต้องการของชนชั้นสูงที่มีฐานะเป็นผู้อุปถัมภ์ เช่น ของไทยก็มีการจําแนกเป็นช่างสิบหมู่ ของยุโรปยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการก็เป็นช่าง เขียน ช่างแกะสลัก ช่างก่อสร้าง ฯลฯ ต่อมา เมื่อ การค้าเจริญก้าวหน้าจนทําให้ชนพ่อค้า หรือชนชั้นกลางมั่งคั่งพอที่จะจับจ่ายซื้อบริการจากช่างทั้งหลายได้ จึงมีการออกมาประกอบอาชีพรับจ้างอิสระชั้นสูง และจําเป็นต้องมีการก่อตั้งสมาคมผู้ประกอบอาชีพช่าง (Guild) เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพของชิ้นงานไว้ในระดับ หนึ่ง
  • 12. 12 จนเมื่อเกิดการปฏิวัติรูปแบบการปกครอง เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรม ความจําเป็นที่จะต้องมีแรงงาน ชํานาญการชั้นสูงป้อนเข้าสู่ระบบก็ทําให้สังคมต้องพัฒนารูปแบบการศึกษาลักษณะใหม่ เพื่อป้อนแรงงานฝีมือเข้าสู่ ตลาด ดังจะเห็นได้จากการจัดตั้งสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยนั้น ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุผลในการผลิตแรงงานชํานาญ การเข้าสู่ระบบด้วยกันทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่นการเกิดขึ้นของโรงเรียนแพทย์เพื่อป้อนบุคลากรให้กับศิริราช โรงเรียน กฏหมายเพื่อป้อนให้กับกระทรวงยุติธรรม โรงเรียนเทคนิคทหารบกที่มุ่งเน้นการผลิตนายทหารป้อนให้แก่กองทัพ หรือโรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ซึ่งต่อมาภายหลังได้พัฒนาไปเป็นจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) และในครั้งหนึ่งก่อน สมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 นั้น จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยถึงกับดําริที่จะปิดคณะรัฐประศาสนศาตร์ของ ตนลงเมื่อพบว่าบัณฑิตที่ผลิตออกไปไม่ได้รับการบรรจุเข้ารับราชการในกระทรวงมหาดไทย ฯลฯ กระนั้น ก็มิได้หมายความว่าทุกสาขาวิชาที่มีการเปิดสอนในระดับสถาบันอุดมศึกษา หรือในมหาวิทยาลัยจะ มีความเป็นวิชาชีพ (Professionals) เหมือนกันไปหมด หลายๆสาขาวิชายังคงมุ่งที่จะสร้างบัณฑิตที่มุ่งมั่นในการ แสวงหาความจริง หรือความรู้อันเป็นอุตตมะในสายสาขาวิชาของตนอยู่เช่นเดิม การเรียนปริญญาตรีนั้นอาจจําแนก กว้างๆ ตามความนิยมว่าเป็นสายสังคม (อาทิ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมสงเคราะห์) มนุษยศาสตร์ (ศิลปะศาสตร์ จิตรกรรม ประติมากรรม) วิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์ เคมี ชีว คณิตศาสตร์ ) และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (แพทย์ วิศว เภสัช เทคโนโลยี อุตสาหกรรม) ทั้งนี้ ในบรรดาศาสตร์ทั้งหลายนั้น บางศาสตร์ก็เป็นการเรียนเพื่อความเป็นเสรีชน เป็นมนุษย์ที่มีสุนทรียะ แต่ ไม่สามารถนําไปประกอบวิชาชีพโดยตรงได้ เช่น ปรัชญา หรือพวก Liberal Arts เทววิทยา หรือพวกฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ก็ อาจจะจัดอยู่ในประเภทนี้ได้เหมือนกัน คล้ายๆ กับคนจบนิติศาสตร์มาก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นทนายความ หรือนัก กฏหมายทุกคน คนจบวิทยาศาตร์บริสุทธิ์มาก็ไม่ได้นําไปประกอบอาชีพโดยตรง อาจารย์สอนฟิสิกส์ไม่ใช่อาชีพนัก ฟิสิกส์แต่เป็นอาชีพอาจารย์ ในขณะเดียวกัน สํานักสื่อมวลชนอาจจะเลือกจ้างคนจบปรัชญาไปเป็นนักข่าว แทนที่จะ จ้างพวกที่จบนิเทศสาตร์ก็ยังได้ (อย่างน้อยสถาปัตย์จุฬาฯ ก็ประสบความสําเร็จอย่างมากในแวดวงสื่อสารมวลชนไทย) ผิดกับอาชีพประเภทที่ต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติอย่างหนักก่อนที่จะจบไปทํางาน พวกนี้ชัดเจนว่าเป็น วิชาชีพแน่นอน อาทิเช่น สายการแพทย์ทั้งหลาย ส่วนพวกที่ไม่มีการฝึกฝนปฏิบัติมากเท่าอย่างพวกวิศวกรรมก็อาจจัด เข้าสายวิชาชีพได้เหมือนกันหากมี กลุ่มองค์กรที่สมาคมวิชาชีพ มีกกหมายรองรับชัดเจน จนกระทั่งผู้ที่มิได้จบมาด้วย มาตรฐานที่สมาคมวิชาชีพรองรับก็ไม่ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนั้นตามกฎหมาย (มีความละเอียดอ่อนและซับซ้อนขึ้น อีกนิด ตรงที่แพทย์ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม ไม่ถือว่าเป็นแพทย์ และจะถูกจับหากไปประกอบอาชีพด้วย ตนเอง แต่วิศวกรที่ไม่มีใบ กว. อาจจะสามารถประกอบอาชีพได้) เพราะฉะนั้น อาจจะพูดได้ว่าวิชาชีพนั้นต้องมีองค์ประกอบพื้นฐาน 5 อย่างให้พิจารณา 1. การเรียนการสอนที่เป็นมาตรฐานได้รับการยอมรับ และมักจะต้องมีการปฏิบัติงานให้เกิดความชํานาญ 2. มีองค์กรวิชาชีพประเภทสภาวิชาชีพของตนเอง (บางกลุ่มอาจจะมีทั้ง สภาวิชาชีพ และสมาคมวิชาชีพ บางกลุ่มอาจจะเพิ่มที่ประชุมคณบดีเข้ามาเพื่อกําหนดมาตรฐานของหลักสูตรการศึกษาไว้ด้วย) 3. มีกฎหมายรับรอง หรือได้รับการรับรองตามขนบประเพณี (ในกรณีที่ไม่มีกฎหมายลายลักษณ์อักษร) 4. มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อรับรองมาตรฐานการปฏิบัติงาน และการยึดถือในคุณธรรมจริยธรรมที่จะ สร้างความเชื่อถือศรัทธาให้แก่ประชาชนผู้ใช้บริการได้
  • 13. 13 อย่างไรก็ตาม ไม่ได้หมายความว่าทุกวิชาชีพจะต้องมีครบถ้วนทั้ง 4 องค์ประกอบ แต่มักจําเป็นสําหรับ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ อย่างแพทย์ หรือวิศวะที่ตึกพังแล้วทําให้คนตายได้ 5. ข้อสุดท้ายนี้ แม้จะไม่ได้เป็นเงื่อนไขบังคับเหมือน 4 ข้อแรก แต่ก็เป็นข้อสังเกตุว่า การศึกษาแบบ วิชาชีพนั้น บัณฑิตผู้สําเร็จการศึกษามักจะมุ่งเข้าสู่งานสายอาชีพที่ตนผ่านการศึกษามามากกว่าที่จะไป ทํางานในสายอาชีพอื่นๆ เช่น หากจะมีแพทย์ ทันตแพทย์ หรือนักเรียนนายร้อย ออกไปประกอบ อาชีพอิสระเป็นนักร้องนักแสดงในแวดวงบันเทิงบ้านก็นับเป็นส่วนน้อยมาก เนื่องจากการลงทุนกับ การศึกษาที่ผ่านมานั้นไม่เอื้อต่อการที่บัณฑิตจะคิดไปประกอบอาชีพอื่นๆ เมื่อกล่าวถึง การงาน อาชีพ วิชาชีพ และวิชาชีพชั้นสูง นั้น เรามักอ้างอิงจากภาษาฝรั่ง Work Job Career Vocational และ Professional ซึ่งแม้จะมีความคาบเกี่ยวระหว่างคําเรียกเหล่านี้ แต่ก็มีความรู้สึกและทัศนคติที่สังคม รับทราบเกี่ยวกับคําแหล่านี้แตกต่างกันไป เป็นผลผสมผสานกันระหว่าง การประกอบการงานเพื่อหาเลี้ยงชีพ ระดับชั้น ทางสังคม ระดับความพึงพอใจในทางจิต และวิญญาน เป็นระดับความแตกต่างของแรงงานไร้ฝีมือ ไร้ประสบการณ์ ไปสู่ความมีทักษะ ประสบการณ์ ความชํานาญ พรสวรรค์ สติปัญญา หรือความเป็นอัจฉริยะ เป็นการดํารงชีพที่ใช้ แรงงาน ใช้ฝีมือ (เน้นมือ) ใช้สติปัญญา (ใช้สมอง) และใช้จิตวิญญาน ยกตัวอย่างเรื่องการเป็นครู มีทั้งครูที่เป็นงาน เป็นอาชีพ เป็นทัศนคติ และเป็นจิตวิญญาน บูรพคณาจารย์ ของไทยมีการสอนกันว่าครูคือจิตวิญญานที่ติดตัวมนุษย์ทุกคนมาตั้งแต่เกิด ไม่จําเป็นต้องแสวงหาหรือจ้างวานให้ใครมา เป็นครู แต่ต้องฟูมฟักให้จิตวิญญานในแต่ละคนให้เติบโต ถึงได้มีคําพูดว่า พ่อแม่เป็นครูคนแรก ครูอาจารย์เป็นพ่อแม่คน ที่สอง และพระพุทธเจ้าคือพ่อของชาวพุทธ (บางคนผันไปเป็นคําว่าธรรมกาย เพราะมองว่าร่างกายที่เป็นเลือดเนื้อนั้น ได้มาจากพ่อแม่ทางชีวภาพ แต่ผู้ที่ก่อให้เกิดใหม่ทางจิตวิญญาน คือศาสดา หรือผู้นําทางศาสนา ซึ่งก็คือครูตามหมาย ของจิตวิญญาน ไม่ใช่อาชีพครู การบังเอิญพบอันชาญฉลาด แม้ว่ามหาวิทยาลัยจะถูกออกแบบมาเพื่อเอื้อต่อการศึกษา เพื่อการค้นพบทฤษฏีใหม่ๆ หรือการประดิษฐ์ นวัตกรรมใหม่ๆ ให้แก่สังคม แต่ไม่จําเป็นว่าการคิดค้น หรือการประดิษฐ์จะถูกจํากัดให้เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยเสมอไป เราจะพบว่ามีการคิดค้นและการประดิษฐ์นวัตกรรมชั้นดีนอกมหาวิทยาลัยมากกว่าในมหาวิทยาลัยเสียด้วยซ้ํา และนัก ประดิษฐ์เอกของโลกส่วนใหญ่ก็มิได้สําเร็จมหาวิทยาลัย อาทิเช่น ทอมัส อัลวา เอดิสัน, บิลล์ เกตส์, สตีฟ จ็อบส์, มาร์โคนี่, ฯลฯ ที่สําคัญ การค้นพบทฤษฎี หรือการสร้างนวัตกรรมใหม่ในแวดวงวิทยาศาสตร์โลกนั้นมิได้เป็นเพราะ การวางแผนตามหลักการวิจัยในระดับอุดมศึกษา แต่เป็นการ “การบังเอิญพบ” หรือฝรั่งใช้คําว่า "serendipity" หรือ“ความโชคดีในการค้นพบโดยบังเอิญ” ตามคําจํากัดความตามพจนานุกรม อังกฤษ-ไทย คําว่า "serendipity" นี้ เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ค่อนข้างใหม่ อ้างอิงการใช้งานครั้งแรกในจดหมายลงวันที่ 28 มกราคม ค.ศ.1754 ของกวีอังกฤษชื่อ Horace Walpole (1717–1797) ที่มีไปถึงเพื่อนชื่อ Horace Mann ระบุถึงคํา serendipity ว่าหมายถึง “การค้นพบสิ่งใหม่โดยที่ไม่ได้ตั้งใจค้นหาแต่แรก แต่ด้วยความบังเอิญ ผนวกด้วย
  • 14. 14 การตัดสินใจอันชาญฉลาดมีไหวพริบเฉพาะตัว จึงทําให้ประสบความสําเร็จได้” อ้างอิงถึงเนื้อหาในนิทานเปอร์เชีย โบราณชื่อ “สามเจ้าชายแห่งเมืองเซเรนดิพ” (The Three Princes of Serendip) ซึ่งเจ้าชายผู้เป็นตัวละครเอกใน นิทานดังกล่าวมีไหวพริบปฏิภานอันส่งผลให้มีการผจญภัยและค้นพบโดยบังเอิญในหลายๆ เหตุการณ์ และเมืองเซเรน ดิบในภาษาอาราบิกสมัยโบราณก็มีรากมาจากภาษาสันสกฤต “สิงหลวิภา (Simhaladvipa)” ที่แปลว่า “เกาะอันเป็น สถานที่อยู่ของเหล่าสิงห์” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อประเทศ “ศรีลังกา” ในปัจจุบัน คําว่า “การบังเอิญพบ” หรือ “การบังเอิญพบอันชาญฉลาด” ไม่ได้มีความหมายว่า “ความโชคดีในการ ค้นพบโดยบังเอิญ” ที่สังคมไทยเรานั้นจะให้ความสําคัญกับคําว่า “โชคดี” และ “ความบังเอิญ” มากเกินจนกลายเป็น ค่านิยมที่ฉุดรั้งให้ประเทศชาติไม่อาจพัฒนาก้าวไปกว่าสภาพที่เป็นอยู่ได้ ดังสะท้อนออกมาเป็นพฤติกรรมความนิยม การรวยทางลัด การเล่นหวย เล่นหุ้น เล่นการพนัน การฉ้อราษฎร์บังหลวง การรอคอยผลประโยชน์ส่วนตนจาก นโยบายประชานิยม การรอให้มีอัศวินม้าขาวมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม และปัญหาการเมือง จนนําไปสู่ การเล่นการเมืองเสียงข้างมากเพื่อประสบความสําเร็จในอํานาจลาภยศอย่างรวดเร็ว ฯลฯ ในขณะที่สื่อบันเทิงยอดนิยมอย่าง “ละครหลังข่าว” ที่กล่อมคนไทยอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันก็ฝังหัวซ้ําๆ ซากๆ อยู่ กับความสําเร็จในชีวิตที่เป็นเรื่องโชคดีและความบังเอิญ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการได้แต่งงานกับคนรวย ชนชั้นสูง หรือ การได้รับสมบัติมรดกเจ้าคุณปู่ อันเป็นเรื่องที่ห่างไกลโพ้นจากคําว่า "serendipity" เพราะคําว่า "serendipity" นั้น แม้จะเป็นเรื่องของความบังเอิญ ก็เป็นความบังเอิญของผู้ที่รู้พร้อมและมีความมุ่งมั่นทุ่มเทเท่านั้นจะได้มีโอกาสประสบ เข้ากับตนเอง ดังที่ หลุยส์ ปลาสเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ผู้ประสบความสําเร็จอย่างใหญ่หลวงจากทฤษฎีการสืบต่อชีวิต ของจุลชีพ (Germ Theory) และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าได้เคยกล่าวปาฐกถายืนยันถึงความสําเร็จของ การบังเอิญพบอันชาญฉลาดไว้ว่า “in the field of observation, chance only favors the prepared mind” นอกจาก หลุยส์ ปลาสเตอร์ แล้วยังมีผู้ได้รับรางวัลโนเบล และนักประดิษฐ์เอกของโลกอีกเป็นจํานวนมาก ที่ช่วยกันยืนยันว่ามีแต่ผู้ใฝ่ศึกษา มีความมุ่งมั่น ทุ่มเทอุทิศตัว กล้าผจญภัย และมีไหวพริบปฏิภาณพอที่จะจับสังเกตุถึง ประเด็นปลีกย่อยที่อาจจะถูกละเลย หรือมองข้ามไปโดยผู้คนทั่วๆ ไป จึงจะสามารถประสบกับประสบการณ์ serendipity และผู้คนเหล่านี้เองคือผู้ที่ร่วมกันสร้างสรรให้โลกมีความก้าวหน้าในวิทยาการทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็น ความก้าวหน้าในวงการวิทยาศาสตร์ วงการแพทย์ วงการเทคโนโลยี หรือโลกอุตสาหกรรม ฯลฯ ปัญหาที่ควร ช่วยกันใคร่ครวญก็คือ เหตุใดประเทศไทยจึงไม่มีการค้นพบหรือสร้างสรรสิ่งประเดิษฐ์อันยิ่งใหญ่เช่นนั้น จะเป็นเพราะ ขาดแคลนผู้มีสติปัญญาสูงส่งเพียงพอ หรือ เพราะระบบการศึกษาของไทยไม่มีสภาพแวดล้อมอันเอื้อให้เกิดสภาพของ การบังเอิญพบอันชาญฉลาด หากเป็นเรื่องของสติปัญญา ทําไมถึงยังมีเยาวชนไทยผู้มีความสามารถในการแข่งขัน ระดับโลกปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์อยู่เป็นจํานวนมาก การค้นพบ (Discoveries) และการสร้างสรรสิ่งประดิษฐ์ (Inventions) จํานวนมากที่ปรากฏอยู่ใน ประวัติศาสตร์ของโลกอันเป็นผลจากการบังเอิญพบอันชาญฉลาด นั้นได้แก่
  • 15. 15 • การค้นพบทวีปอเมริกาของ คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เมื่อต้องการเดินเรือสํารวจเส้นทางไปยังทวีป เอเชียผ่านมหาสมุทรแอตแลนติค • การค้นพบยาปฏิชีวนะ “เพนนิซิลิน” ในปี ค.ศ.1928 ของ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง (Alexander Fleming) ในขณะที่กําลังศึกษาเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus แล้วปรากฏว่าบังเอิญมีเชื้อรา Penicillium ตกลงไปบนจานอาหารเลี้ยงเชื้อ ทําให้เกิดวงใสที่ปลอดจากเชื้อ Staphylococcus รอบบริเวณที่เชื้อราเจริญอยู่ ซึ่งถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั่วไป ก็คงจะทิ้งจานเลี้ยงเชื้อดังกล่าวไป ด้วยเห็นว่าเป็นจานปนเปื้อน แต่เฟลมมิ่งมองในมุมกลับว่าเชื้อราต้องมีการสร้างสารที่สามารถฆ่า เชื้อแบคทีเรียได้ และตั้งชื่อสารดังกล่าวว่าเพนนิซิลิน (ตามประวัติระบุว่า เฟลมมิง เป็นคนที่ไม่ ค่อยรักษาความสะอาดในพื้นที่ทํางานเท่าใดนัก มักปล่อยให้มีกองอาหารเลี้ยงเชื้อวางทิ้งไว้บนโต๊ะ ทํางานนานเป็นสัปดาห์) • การค้นพบฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งในสารซิสปลาติน (Cisplatin) ของนายแพทย์บาร์เน็ตต์ โรเซน เบอร์ก (Barnett Rosenberg) ในคริสตทศวรรษ 1960 ทั้งที่สารซิสปลาตินนี้ได้รับการสังเคราะห์มา นานนับร้อยกว่าปีแล้ว (ค.ศ.1844) โดย ไมเคิล เพย์โรน (Michele Peyrone) แต่ไม่เคยมีใครเคย คิดว่า สารดังกล่าวจะมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งได้ ที่สําคัญ งานวิจัยของ นายแพทย์โรเซนเบอร์กนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับมะเร็งในเบื้องต้น แต่เป็นการวิจัยเรื่องการเติบโตของ เชื้อแบคทีเรียอีโคไลในสารละลายที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ผลการวิจัยปรากฏว่าเชื้อแบคทีเรีย บางส่วนตายไป ในขณะที่บางส่วนสามารถแบ่งตัวใหม่ได้มากกว่าเชื้อปรกติถึง 300 เท่า ซึ่งเมื่อ นายแพทย์โรเซนเบอร์กศึกษาต่อไปก็พบว่าสารซิสปลาตินที่เกิดขึ้นรอบขั้วอิเล็กโทรดที่ทําจาก ทองคําขาวนั้นเป็นสาเหตุสําคัญ จึงได้ไอเดียที่จะนําสารดังกล่าวไปทดลองต่อในการควบคุมการ เจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งของหนูทดลอง จนกระทั่งองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ รับรองฤทธิ์ใน การยับยั้งมะเร็งของยาซิสปลาตินในปี ค.ศ.1878 • การค้นพบสารให้ความหวาน Sucralose โดยบังเอิญของ นักศึกษาปริญญาเอกชื่อ ศศิกัน ปัทนิ (Shashikant Phadnis) ในปี ค.ศ. 1975 โดยเจ้าตัวนั้นได้รับคําสั่งจากอาจารย์ที่ปรึกษา Leslie Hough ให้ลองทดสอบคุณสมบัติ (test) ของสารประกอบคลอไรด์ของน้ําตาล (chlorinated sugar) ที่อาจารย์และบริษัทเคมีภัณฑ์เจตนาจะพัฒนาขึ้นมาใช้เป็นยาฆ่าแมลง แต่ปัทนิฟังผิดเป็นว่า อาจารย์ต้องการให้เขาชิมรสชาติของสาร (taste) ดังกล่าว เลยทําให้ได้รับรู้ว่าสารคลอไรด์ของ น้ําตาลมีความหวานหลายเท่าของน้ําตาลธรรมดา ในเบื้องต้นอาจารย์ Leslie Hough ได้ตั้งชื่อของ