SlideShare a Scribd company logo
1 of 42
Download to read offline
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
ระเบียบวาระการประชุม
ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒
วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
***********************
วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
๑.๑ การลาประชุม และมอบหมายผู้เข้าประชุม
๑.๒ แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมประชุม
๑.๓ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ
สภาคณาจารย์/อาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
๑.๔ รายงานสถานะทางการเงิน และสรุปค่าใช้จ่าย ปอมท.
วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม
วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง
๓.๑. การลงสัตยาบรรณในธรรมนูญแห่ง ปอมท. ปี พ.ศ. ๒๕๕๒
๓.๒. การคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ของ ปอมท.
๓.๓. การเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการ และภาระงานของบุคลากรผู้มีตําแหน่งทางวิชาการ
๓.๔. การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกลไกธรรมาภิบาลของ กบข.
วาระที่ ๔ เรื่องที่พิจารณา
๔.๑ โครงการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒
วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
๕.๑ บทบาท ปอมท. ในสภาพบ้านเมืองปัจจุบัน
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
กําหนดการประชุม
ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒
วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
****************************
วันเสาร์ ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒
๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียนและรับเอกสาร
๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. การเสวนาในประเด็น “การตกงานของบัณฑิตไทย สืบเนื่องจากภาวะ
วิกฤตเศรษฐกิจ”
• รศ.ดร. กัมปนาท ภักดีกุล ประธานสภาคณาจารย์
มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ปอ
มท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒
• ศ. ดร. อมร จันทรสมบูรณื ที่ปรึกษา ปอมท. และอดีต
เลขาธิการกฤษฏีกา ให้คําบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อุดมศึกษา
กับการปฏิรูปการเมือง”
• ศ.ระพี สาคริก อดีตประธาน ปอมท. ร่วมให้ข้อเสนอแนะแก่
ที่ประชุม
วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒
๙.๐๐ - ๙.๓๐ น. ลงทะเบียน
๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ (ต่อ)
๑๖.๓๐ น. ปิดประชุม
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
ประวัติ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๔๗๓ (๗๘ ปี ) เป็นบุตรของศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตรา และ นางอินทิรา
จันทรสมบูรณ์ สมรสกับ นางมุกดา จันทรสมบูรณ์ มีบุตรี ๒ คน
การศึกษา
- จบปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔
- จบปริญญาโท จบปริญาญเอก (Docteur en droit) ทางกฎหมายระหว่างประเทศ จาก
มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘
- ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักด์ฎ จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ , ๒๕๓๑ , ๒๕๓๔ ตามลําดับ
หน้าที่ที่สําคัญ
- เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๒๓ จนเกษียณอายุราชการในปี ๒๕๓๓
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒ สมัย
- ประธานคณะกรรมการจัดทําร่างกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทรวงการคลัง
- กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย
รามคําแหง
- กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ ถึงปัจจุบัน
- นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน
- นักกฎหมายดีเด่น ปี พ.ศ.๒๕๔๘ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศ.ดร.อมร ฯ เป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการกฎหมายไทยตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปีที่
ผ่านมา ท่านเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดและหลักการในทางกฎหมายมหาชนในสังคมไทย ภายหลังจากที่ท่านได้เกษียณอายุ
ราชการในตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกาแล้ว ท่านได้ทุ่มเทเวลาให้กับการเขียนและงานค้นคว้าทางวิชาการ
โดยได้นําเสนอแนวทางปฏิรูปการเมืองภายใต้แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) เสนอให้มีการแก้ไข
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๓๔ จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่สมควรให้สมาชิกรัฐสภา
ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองเข้ามาเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ นําไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๑ จัดตั้ง
สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ “สมบูรณ์ที่สุด” เท่าที่
ประเทศไทยเคยมีมา และมีส่วนสําคัญในการจัดตั้งศาลปกครอง
ศ.ดร.อมร ฯ มุ่งพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรากฎหมายโดยตรง คือ ระบบสถาบันการเมืองให้สําเร็จ
เสียก่อน เพราะระบบสถาบันการเมือง ซึ่งได้แก่ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เป็นเวทีที่นักการเมืองใช้ออกกฎหมาย
กฎหมายที่เราจะใช้ในประเทศ จะเป็นกฎหมายที่ดีหรือไม่ดีจะสร้าง Good Governance ได้หรือไม่ ก็อยู่ตรงนี้
ด้วยเหตุนี้ในระยะต่อๆมา ศาสตราจารย์ ดร.อมรจึงออกมาเดินหน้าเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒
และแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งเน้นให้มีการกําหนด form of government หรือ รูปแบบของระบบสถาบัน
การเมือง
อ้างจาก วิกีพีเดีย
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
เอกสารประกอบวาระการประชุม
ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒
วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒
ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕
มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม
****************************
เริ่มประชุมเวลา …………………… น.
ระเบียบวาระที่ ๑
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
----------------------------------------
วาระที่ ๑.๑ การลาประชุม และมอบหมายผู้เข้าประชุม
....................................................................................................................................... ......................................
......................................................................................................................................... ....................................
...................................................................................................................................... ........................................
....................................................................................................................................... .......................................
...................................................................................................................................... .........................................
..................................................................................................................................... ..........................................
..................................................................................................................................... ..........................................
จึงเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ
ที่ประชุม ...................................................................................................................................... .........................
...................................................................................................................................... .........................................
..................................................................................................................................... ...........................................
วาระที่ ๑.๒ แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมประชุม
................................................................................................................................... .............................................
...................................................................................................................................... ..........................................
...................................................................................................................................... .........................................
..................................................................................................................................... ...........................................
..................................................................................................................................... ...........................................
...................................................................................................................................... ..........................................
..................................................................................................................................... ...........................................
จึงเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ
ที่ประชุม ....................................................................................................................... ........................................
....................................................................................................................................... ............................. ……….
.................................................................................................................................................. .............................
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
ระเบียบวาระที่ ๑
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
----------------------------------------
วาระที่ ๑.๓ แจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ สภา
คณาจารย์/อาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
.............................................................................................................................................................. ......................
............................................................................................................................................................... .....................
.............................................................................................................................................................. .....................
............................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................... .....................
.............................................................................................................................................................. .....................
........................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................. .....................
...................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................ .....................
......................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
..................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
................................................................................................................................................... .....................
....................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
................................................................................................................................................... .....................
....................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
...................................................................................................................................................... .....................
ที่ประชุม ......................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................ .....................
........................................................................................................................................................ .....................
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
ระเบียบวาระที่ ๑
เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
----------------------------------------
วาระที่ ๑.๔ รายงานสถานะทางการเงิน และสรุปค่าใช้จ่าย ปอมท.
.............................................................................................................................................................. ......................
............................................................................................................................................................... .....................
.............................................................................................................................................................. .....................
มติที่ประชุม ........................................................................................................................................ .....................
............................................................................................................................................................ .....................
......................................................................................................................................................................... ...........
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ระเบียบวาระที่ ๒
เรื่อง รับรองรายงานการประชุม
.........................................................................................................
วาระ ๒.๑ รับรองรายงานการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ห้อง
ประชุมเชียงคํา ชั้น ๓ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่
ที่ประชุม รับรอง รับรองโดยมีการแก้ไข
......................................................................................................................................................... .....................
............................................................................................................................................................ .....................
......................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
..................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
................................................................................................................................................... .....................
....................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
................................................................................................................................................... .....................
......................................................................................................................................................... .....................
................................................................................................................................................... .....................
....................................................................................................................................................... .....................
.......................................................................................................................................................... .....................
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
รายงานการประชุม
ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.)
สมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒
วันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒
ณ ห้องประชุมเชียงคํา ชั้น ๓ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่
***********************
รายนามผู้มาประชุม
๑. ผศ.ปฐม ปฐมธนพงศ์ ประธาน ปอมท. และ ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๒. รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล รองประธาน ปอมท.คนที่ ๑ และประธานสภาคณาจารย์
มหาวิทยาลัยมหิดล
๓. ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ รองประธาน ปอมท.คนที่ ๒ และประธานสภาอาจารย์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
๔. รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการ ปอมท. และ แทนประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๕. รศ.ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช ผู้อํานวยการฝ่ายการเงิน และประธานสภาคณาจารย์ สถาบัน
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
๖. ผศ. ดร.จุฑามาส จิตต์เจริญ ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี
๗. รศ.นสพ.ดร.กมลชัย ตรงวานิชนาม ประธานสภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๘. รศ.ดร.วิทยา จันทร์ศิลา ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
๙. ผศ.ดร.ประสิทธิ์ โนรี ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
๑๐. รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอม
เกล้าธนบุรี
๑๑. ดร.ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
๑๒. รศ.ดร.ธงชัย สมบูรณ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
๑๓. รศ. อัฌชา ก.บัวเกษร ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพา
๑๔. อาจารย์วีระพันธุ์ มุสิกสาร ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตสงขลา
๑๕. อาจารย์พงศ์ศักดิ์ ศรีพงศ์พันธุ์ ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี
๑๖. ผศ.วันชัย ลีลากวีวงศ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๑๗. ผศ.ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ แทนประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
๑๘. ผศ.พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
๑๙. อาจารย์สมเกียรติ บุญคง แทนประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ
มหาวิทยาลัยนครพนม
รายนามผู้ไม่มาประชุมและลาประชุม
๑. อาจารย์ประสิทธิ์ บุญไทย รองเลขาธิการ ปอมท.
และรองประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
๒. รศ.ดร.รัตนา สนั่นเมือง ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย
และประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
๓. ผศ.สุดสาคร สิงห์ทอง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
๔. ผศ.ศิริยุภา พูลสุวรรณ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
๕. อาจารย์พงศ์ทิพย์ อินทร์แก้ว ผู้อํานวยการฝ่ายกิจการพิเศษ และประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
รายนามกรรมการ/สมาชิก/เจ้าหน้าที่สภาอาจารย์ เข้าร่วมประชุม
๑. รศ.จันทร์จารี เกตุมาโร เลขาธิการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
๒. ผศ.รัชนี กัลยาวินัย รองประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
๓. ผศ.ดร.กุลณสรรค์ สายขุน เลขาธิการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
๔. ผศ.วิชาญ อมรากุล รองประธานสภาอาจารย์ คนที่ ๑
มหาวิทยาลัยนเรศวร
๕. ดร.สุขสันต์ พรหมบัญพงศ์ กรรมการสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าธนบุรี
๖. อาจารย์จักรพงษ์ ไชยวงศ์ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
๗. อาจารย์ศรันย์ จันทร์ทะเล กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
๘. อาจารย์โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
๙. ผศ.ดร.เจษฎาวรรณ วิจิตรเวชการ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
๑๐. อาจารย์อัมรินทร์ เดชาอนันตทรัพย์ กรรมการสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าพระนครเหนือ
๑๑. อาจารย์ประภาภรณ์ ชุบสุวรรณ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น.
ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการปะชุม
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ
ระเบียบวาระที่ ๑.๑ เรื่อง การลาประชุมและมอบหมายผู้แทน
ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มอบหมาย
รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เข้าประชุมแทน
ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ประธานสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบหมาย ผศ.ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ เข้าประชุม
แทน
ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ ลาประชุมเนื่องจากครบวาระ
ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลา
ประชุมเนื่องจากครบวาระ
รศ.ดร.รัตนา สนั่นเมือง ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย ลาประชุมเนื่องจากติดราชการ
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๑.๒ เรื่อง แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ
ประธานสภาข้าราชการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนใหม่ ได้แก่ รศ.นสพ.กมลชัย
ตรงวานิชนาม
มติที่ประชุม รับทราบ
ระเบียบวาระที่ ๑.๓ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ
ประธานสภาคณาจารย์/ อาจารย์/ ข้าราชการ/ พนักงาน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ที่ประชุมรายงานภารกิจของสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ ตามลําดับดังต่อไปนี้
๑.๓.๑ เรื่องแจ้งจากประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ขณะนี้ มหาวิทยาลัยได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายระดับสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สภา
มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการสภาซึ่งเป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อธิการบดี
กรรมการจากผู้บริหาร กรรมการจากคณาจารย์ประจํา ประธานสภาคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มี
ความเชี่ยวชาญ ด้านต่าง ๆ ทั้งภายใน หรือภายนอกตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การแต่งตั้ง
กรรมการนโยบายระดับสภามหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ให้ทํางานในเชิงกํากับ (governance) ไม่ใช่การ
บริหารจัดการ (Management) ดูในเรื่องเฉพาะนโยบายเท่านั้น เช่น กรรมการนโยบายการเงินการคลัง
กรรมการนโยบายสาธารณะ กรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม กรรมการนโยบายวิจัย
กรรมการนโยบายการศึกษา กรรมการนโยบายธรรมาภิบาล และกรรมการนโยบายสภามหาวิทยาลัย
รวม และจะนําไปสู่การจัดตั้งสํานักงานสภามหาวิทยาลัย
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
การบริหารจัดการคณะ/ วิทยาลัย /สถาบัน ที่มีลักษณะในระดับส่วนงานภายในที่จัดตั้งโดยสภา
มหาวิทยาลัยชุดที่ผ่านมาที่ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาลัยนานาชาติ
วิทยาลัยการจัดการ วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ จึงมีมติให้คงมีสถานะเป็นส่วนงานเดิมไปก่อนแต่ให้มีการ
ดูแลการบริหารจัดการให้รัดกุมขึ้น
๑.๓.๒ เรื่องแจ้งจากประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
มีการสรรหาคณบดีคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ และคณะนิติศาสตร์ เรียบร้อยแล้ว สําหรับการสรรหา
คณบดีคณะบริหารศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยมีมติให้สรรหาใหม่ เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมต่อไป โดย
กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิตัดสินว่าเป็นผู้ใด เพียงเสนอเกณฑ์คุณสมบัติ รวบรวมข้อมูล สรรหาบุคคล และ
ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น จากนั้นจึงเสนอไปที่สภามหาวิทยาลัย ถ้ามีมติไม่เห็นชอบก็ให้จัดการสรรหา
ใหม่ และถ้าไม่ผ่านในรอบสองจึงจะใช้วิธีการของสภามหาวิทยาลัย ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา เป็นไป
ด้วยความเรียบร้อยและได้ผลดี ไม่มีแรงเสียดทานอย่างที่วิตกกังวล โดยหลังจากได้รับการสรรหาแล้ว
คณบดีจะต้องทํา TOR และเสนอแผน/กิจกรรมต่อสภามหาวิทยาลัย
จะมีการประเมินคณบดีที่ทํางานมาครบ ๒ ปี เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ โดยมีข้อบังคับ
ที่ว่าด้วยการประเมิน อย่างชัดเจน กรรมการประเมินจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกทั้งหมด โดยสภา
มหาวิทยาลัยเป็นผู้แต่งตั้ง จากผู้ที่เคยเป็นคณบดีจากมหาวิทยาลัยอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ
ทางด้านการเงิน
จะมีการประเมินอธิการบดี โดย กรรมการประเมินจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกคุณวุฒิไม่ต่ํากว่า
อธิการบดี
เนิ่องจากมีการจัดสรรเงินโบนัส จาก กพร. ให้เฉพาะคณะที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ได้จัดสรร
เงินให้กับส่วนงานภายในซึ่งไม่มีการระบุไว้ในกฎหมาย พรบ. มหาวิทยาลัย ทําให้คณะนิติศาสตร์ซึ่ง
ได้รับการจัดตั้งเป็นการภายในของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีฟ้องทวงสิทธิ์ในการได้รับจัดสรรเงินโบนัส
ดังกล่าว
๑.๓.๓ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประธานสภาอาจารย์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
มีการสรรหาอธิการบดีท่านใหม่ ได้คนเดิมเป็นวาระที่สอง มีข้อดีคือความต่อเนื่อง
ตอนนี้มหาวิทยาลัยมี ๔ วิทยาเขต ได้แก่ หาดใหญ่ ปัตตานี ภูเก็ต สุราษฎร์ จึงจะมีปัญหาเรื่องการ
บริหารจัดการพอสมควร
๑.๓.๓ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
อธิการบดีท่านใหม่ ได้มาเยี่ยมเยียนที่วิทยาเขตปัตตานี และเปิดโอกาสให้ประชาคมได้เข้าพบอธิการบดี
๓ รอบ รอบละ ๑ ชั่วโมงครึ่ง รอบแรกเป็นบุคลากรพนักงานทั่วไป รอบที่สองเป็นบุคลากรระดับ
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
หัวหน้าภาควิชา และรองคณบดี รอบที่สาม เป็นบุคลากรระดับคณบดี เพื่อรับทราบข้อมูล และเพื่อการ
จัดตั้งทีมผู้บริหารรองอธิการบดีของวิทยาเขตปัตตานีในวาระใหม่
๑.๓.๔ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
ภาระงานผู้ดํารงตําแหน่ง ผศ. รศ. ศ. ที่ได้รับการประกาศจาก กพอ. และได้รับการประกาศในราชกิจจา
นุเบกษาแล้ว นําไปสู่การเสวนาภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยสภาคณาจารย์ได้มี
ข้อสรุปร่วมกันว่าไม่เห็นด้วย และขณะนี้อยู่ในช่วงรวบรวมความคิดเห็นเสนอต่ออธิการบดี เพื่อเสนอต่อ
สกอ. ต่อไป
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้จัดสร้างรูปหล่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อจัด
พิธีเทวาภิเษกขึ้นในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ ในโอกาสงานสงกรานต์ เพื่อร่วมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม
๑.๓.๕ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
อธิการบดีท่านใหม่ ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ ได้เดินทางไปพบปะกับ
บุคลากรทุกคณะ เพื่อให้นโยบาย และตอบข้อซักถาม และในการประชุมสภามหาวิทยาลัยท่านได้เชิญ
หัวหน้าภาควิชา เข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยด้วยทุกครั้ง
เดิมทีสภาอาจารย์อยู่ในสังกัดกองกลาง ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยแยกออกมาเป็นสํานักงานสภา
อาจารย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักงานอธิการบดี เช่นเดียวกับกอง
มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา บริหารจัดการโดยมีข้อบังคับโดยเฉพาะ ไม่เรียกเป็นวิทยาเขต แต่เรียกเป็น
มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา โดยมีผู้อํานวยการมหาวิทยานเรศวรพะเยา ฐานะเทียบเท่ารองอธิการบดี
ตามที่ มีหลายมหาวิทยาลัย ระบุถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยนเรศวรเองก็เช่นเดียวกัน เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลไม่มี
นโยบายให้ตั้งหน่วยงานใหม่ อีกทั้งหากประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะต้องมีรหัสเงิน มีตําแหน่ง
ผู้บริหารมาจากระบบงบประมาณ ดังนั้นหน่วยงานที่ภายในลักษณะเช่นนี้จะต้องบริหารด้วยระบบเงิน
รายได้มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการอนุมัติเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเพื่อสมทบจ่ายให้กับหน่วยงานที่
จัดตั้งเป็นการภายใน
ในฐานะของกรรมการ กพอ. มีเรื่องที่อยากแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ ๒- ๓ เรื่อง ได้แก่ เรื่องการ
เปลี่ยนแปลงภายในคณะกรรมการ กพอ. ชุดใหม่ซึ่ง ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันท์ ได้พ้นวาระไปแล้ว เรื่อง
การยกเลิกระบบซี ซึ่งต้องมีการปรับเทียบเข้าสู่ระบบแท่งเงินเดือนใหม่ ขณะนี้ได้มีการตั้ง
คณะอนุกรรมการ มีศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นประธาน และอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องเงินประจํา
ตําแหน่งที่อาจารย์ระดับ ๗ จํานวนกว่า ๓,๐๐๐ คน ในอุดมศึกษาไม่ได้รับ แต่ครูในระดับการศึกษา
พื้นฐานได้รับ ทําให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชมงคลซึ่งเดิมทีไม่ได้สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยพลอยเสีย
โอกาสไปด้วย ที่ประชุมได้มีการพูดคุยในเบื้องต้น เพื่อศึกษาดูว่าสามารถจะดําเนินการได้อย่างไรบ้าง
สําหรับรายละเอียดอื่นจะได้สรุปแจ้งที่ประชุมในคราวต่อไป
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
๑.๓.๖ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย คนใหม่ ได้แก่ ศ.คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ
ช่วงที่ผ่านมาสภาคณาจารย์ได้รับโทรศัพท์สอบถามจากสมาชิกเรื่องสถานะ กบข. จึงได้จัดทําจดหมาย
เวียนเพื่อสอบถามความเห็นจากข้าราชการในมหาวิทยาลัย สรุปผลการสํารวจความคิดเห็น ร้อยละ ๙๙
เห็นด้วยให้ดําเนินการหาผู้รับผิดชอบ และร้อยละ ๘๐ เห็นด้วยว่า ถ้าไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ให้ยุบ
เลิก กบข.
๑.๓.๗ เรื่องแจ้งจากสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยบูรพา
ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยบูรพาได้ดําเนินการในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
ได้ประกาศใช้ข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุงานผู้เกษียณอายุราชการ โดยใช้คุณวุฒิทางวิชาการเป็น
ตัวกําหนด
เพื่อขวัญและกําลังใจของบุคลากร ได้มีปรับเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย และสวัสดิการ โดยให้มีผล
ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป เช่น ตําแหน่ง ผศ. จะได้ประมาณ ๕ หมื่น บวกค่า
ประสบการณ์ ในขณะที่ปริญญาตรีรับใหม่จะตั้งต้นที่ประมาณ ๑๑,๗๐๐ บาท
ออกข้อบังคับว่าด้วย การกําหนดตําแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. พิเศษ โดยให้ ผศ. และรศ. พิเศษ สามารถ
พิจารณาเสร็จสิ้นได้ภายในมหาวิทยาลัย
มีแผนดําเนินการจัดทําข้อบังคับทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒
๑.๓.๘ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ในช่วงเดือนมีนาคม สภาคณาจารย์และพนักงาน จะจัดให้อธิการบดีพบประชาคม ในลักษณะการถาม –
ตอบ เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
๑.๓.๙ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
สภาคณาจารย์ ได้เสนอขอแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยสภาคณาจารย์ใหม่ เนื่องจากพบว่า ข้อบังคับที่ใช้ใน
ปัจจุบัน มีองค์ประกอบของสมาชิกที่มาจากตัวแทนของคณะเท่านั้น ไม่มีตัวแทนประเภททั่วไป เกิด
ปัญหาจํานวนสมาชิกมีจํานวนน้อยและไม่เพียงพอ โดยข้อบังคับใหม่กําหนดให้มีสมาชิก ๒ ประเภท
เหมือนเดิม และให้ประธานสภาคณาจารย์ มีวาระต่อเนื่องได้ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน ขณะนี้อยู่ระหว่าง
การส่งไปให้นิติกรและผู้บริหารตรวจสอบ
มหาวิทยาลัย ได้จัดทําข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยเสร็จเรียบร้อย
แล้ว
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดให้มีการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัย และนายกสภามหาวิทยาลัย
เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปผลการสรรหาได้คนเดิม คือ พลตํารวจเอกเภา สารสิน ซึ่งถ้ารวมวาระนี้จะครบ
๒๐ ปีพอดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอโปรดเกล้าฯ
มหาวิทยาลัยได้เปิดวิทยาลัยนานาชาติ โดยจะมีนักศึกษาทางแถบอินโดจีนเข้ามาเรียน และจะต้องมีการ
ปรับโครงสร้างเพื่อความเป็นนานาชาติให้มากขึ้น
สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาพิจารณา พ.ร.บ.
มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยในคณะกรรมการ ได้เสนอให้มีประธานสภาคณาจารย์ร่วม
เป็นกรรมการด้วย อยู่ระหว่างการเสนอแต่งตั้ง ขณะนี้ได้ล่วงเลยมาแล้ว ๖ เดือนยังไม่ได้รับทราบคําสั่ง
ประธานสภาคณาจารย์ ได้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาคณบดี ๓ คณะ และผู้อํานวยการวิทยา
เขตหนองคาย พบปัญหาว่าคณะกรรมการสรรหาตามโครงสร้าง ซึ่งจะต้องเรียนเชิญตัวแทนคณบดีคณะ
ที่สรรหาร่วมเป็นกรรมการ และในครั้งนี้จะมีคณบดีที่ครบวาระพร้อมกันถึง ๔ คณะ
เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งจะต้องหาเงินมาสนับสนุนให้อาจารย์ทําการวิจัยให้มาก
ขึ้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพย์สิน
ทําให้รองอธิการบดีฝ่ายบริหารว่างลง ซึ่งอธิการบดีดําริว่าจะดูแลเอง ซึ่งสภาฯ ได้ท้วงติงไปว่าจะไม่
เหมาะสมและไม่มีเวลา จึงต้องรอดูต่อไปว่าจะแต่งตั้งผู้ใดมาดํารงตําแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหารแทน
มหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน เป็นประธานใน
การประเมินอธิการบดี โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทําเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อกํากับติดตาม
มหาวิทยาลัยใดต้องการจะสําเนาให้ทราบ
มีข้อร้องเรียนกรณีองค์กรแพทย์ศูนย์หัวใจ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจจํานวนหนึ่ง ฟ้องต่อศาล
ปกครอง ในกรณีที่นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และกรรมการสภามหาวิทยาลัย มี ลดสถานภาพ
ของศูนย์หัวใจ ให้อยู่ภายใต้คณะแพทย์ฯ ทั้งที่เดิมเป็นหน่วยงานที่ได้รับการประกาศในราชกิจจา
นุเบกษา ว่าเป็นมติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ศาลปกครองยกฟ้อง จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด
ต่อไป
ในปีที่ผ่านมา สภาคณาจารย์ ร่วมกับรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ
ความสุขของบุคลากรสายผู้สอน และจัดทําเป็นสรุปเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง ทําให้มหาวิทยาลัยได้คะแนน
จากตัวชี้วัดของ ก.พ.ร. ที่เกี่ยวกับการสํารวจความพึงพอใจบุคลากร และในปีนี้สภาฯ ก็จะร่วมมือกับฝ่าย
แผนฯ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย
สภาคณาจารย์ ได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นร่วมกับฝ่ายพัฒนาบุคลากร และจะ
เข้ารับรางวัลในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ด้วย
๑.๓.๑๐ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เนื่องจากเป็นการเดินทางมาประชุมแทน ดังนั้นการแจ้งเรื่องต่อไปนี้จึงเป็นความคิดเห็นโดยส่วนตัว
เท่านั้น สรุปเรื่องที่ขอแจ้งมีดังนี้
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
สภาคณาจารย์ ได้มีการเลือกตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ใหม่ มีจํานวน ๖๖ คน ยังขาดอีกจํานวน ๒๐ คน ที่
เป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ
สภาคณาจารย์ กําลังร่างข้อบังคับว่าด้วยสภาคณาจารย์ ขึ้นใหม่ แทนข้อบังคับเดิม (ที่เพิ่งมีการใช้ และ
ต้องยุติไปเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒) เช่น กําหนดให้มีศาสตราจารย์ ๑๒ ตําแหน่ง ตัวแทนร
คณาจารย์จากส่วนกลาง ๑๒ ตําแหน่ง และตัวแทนคณาจารย์จากคณะ แต่ส่วนที่สภาคณาจารย์ จุฬาฯ
ยังเห็นว่าขาดไปคือ ตัวแทนที่เป็นพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งสภาจะได้พิจารณาต่อไปว่าจะมี
สมาชิกจากส่วนใดได้บ้าง
ในฐานะที่เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการมหาวิทยาลัยของสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มีการดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการมหาวิทยาลัยหลายเรื่องด้วยกัน และที่น่าสนใจ
คือจะมีข้อบังคับที่กําลังร่างและยังไม่ประกาศใช้ กําหนดให้อาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะต้อง
จบปริญญาเอกเท่านั้น ซึ่งถ้าดูผิวเผินก็จะเป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัยที่ไม่ต้องลงทุนอีก และถ้าดูลึก ๆ แล้ว
จะมีปัญหาติดตามมาอีกมาก
ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เกี่ยวกับการดําเนินการของที่ประชุม ปอมท. หรือแม้กระทั่งสภา
คณาจารย์เองก็ตาม ขอให้มีสถานภาพเหมือนวุฒิสภา มากกว่าเป็นสภาสหภาพ และเน้นที่การช่วย
แก้ไขปัญหาสังคม
ด้วยปัญหาคุณภาพนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกปัจจุบัน ทําให้ทางมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไป
ใช้วิธีคัดเลือกนักศึกษาใหม่แบบรับตรงทั้งหมด
๑.๓.๑๑ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยนครพนม
เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ พบอุปสรรคที่มากสมควร พอสรุปที่สําคัญได้ดังต่อไปนี้
ที่ประชุมสภาคณาจารย์ฯ ได้กําหนดให้มีวาระของการประชุมสัญจร เพราะมหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย
หน่วยงานที่กระจายอยู่ห่างๆ กัน บางแห่งห่างกันถึง ๖๐ กิโลเมตร สืบเนื่องจากการผนวกรวมเอา
สถานศึกษาหลายแห่งในจังหวัดมารวมกันเข้าเป็นมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเดิม
วิทยาลัยการพยาบาล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยการอาชีพอีกประมาณ ๖๐ แห่ง ที่
อยู่กระจายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทําให้การบริหารภายในและการประสานงานค่อนข้างลําบาก ที่ประชุมฯ
จึงได้มีมติให้จัดประชุมสัญจรเพื่อรับฟังปัญหาจากทุกคณะ เพื่อนําแก้ไขต่อไป
ผลจากการผนวกรวมหน่วยงานเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวยังเกี่ยวเนื่องไปสู่การบรรจุแต่งตั้งพนักงาน ใน
กรณีของผู้ที่มาช่วยราชการ ในปัจจุบันก็ยังไม่มีตําแหน่งให้ นอกจากนี้ในรายของพนักงานที่อยู่เดิมก่อน
ช่วงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีประสบการณ์ทํางานมานาน ซึ่งจะต้องสอบแข่งขันเข้าเป็นพนักงาน
มหาวิทยาลัย ได้เสนอขอให้จัดโควต้าสําหรับคัดเลือกให้พนักงานกลุ่มนี้เข้ามาได้บ้าง
มหาวิทยาลัยพบปัญหาเกี่ยวกับการยื่นขอตําแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ เนื่องจากว่าแต่ละคณะมี
ที่มาไม่เหมือนกัน สําหรับราชภัฎเดิมที่เป็นอุดมศึกษามาก่อนจะไม่พบปัญหา แต่ในส่วนของคณะที่ผลิต
อาชีวะ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ํากว่าปริญญาตรี ก็จะต้องมีการปรับ เช่น ถ้าเป็นตําแหน่งทางสายอาชีวะ ซึ่งจะ
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
ขาดคุณสมบัติในการขอ ผศ. เนื่องจากไม่ได้สอนในระดับปริญญาตรี จึงได้มีความพยายามที่จะผลักดัน
ให้สามารถยื่นขอตําแหน่ง คศ. ต่อเนื่องจากเดิม จนกว่าจะมีโอกาสทํา ผศ. ได้
ในส่วนของพยาบาล ซึ่งเดิมเคยได้รับการตรวจประเมินจาก สปช. ของกระทรวงสาธารณสุข และมีการ
จัดทําเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย แผนการสอนตามเกณฑ์ของ สปช. เช่นกัน จึงมีคําถามว่า
สามารถนําผลงานนั้นไปเสนอต่อ กพอ. เพื่อพิจารณาเทียบเคียงก่อนได้หรือไม่ ได้ผลเป็นแนวทางที่
ชัดเจนอย่างไรจะขอมาแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป ระหว่างนี้ สภาคณาจารย์ ฯ ได้มีมติขอเข้าพบ
ประธาน กพอ. เพื่อนําปัญหาเข้าหารือ และเข้าพิจารณาร่วมด้วย
ที่ประชุมสภาคณาจารย์ฯ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับคณาจารย์ และกําลัง
หาแนวทางการดําเนินการอยู่
สภาคณาจารย์ฯ กําลังจัดทําเว็บไซต์ของสภาอยู่ ในการประชุมทุกครั้งจะต้องมีการอัพโหลดข้อมูล และ
สมาชิกที่ไม่ได้เข้าประชุมสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพื่อติดตามเรื่องต่าง ๆ ได้
จะมีการจัดมินิมาราธอนของมหาวิทยาลัยนครพนม ในช่วงวันสถาปนามหาวิทยาลัย และในวันดังกล่าว
จะมีการประชุมวิชาการ ซึ่งได้เรียนเชิญประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา เพื่อนําเสนอ
ผลงานทางวิชาการร่วมด้วย
๑.๓.๑๒ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง
สภาคณาจารย์ ได้จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบวิชาการแบบใหม่ (จากระบบซีเป็น
ระบบแท่ง) โดยได้เชิญผู้แทนจาก กพอ. ร่วมระดมความคิด ว่า ชาวมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ประโยชน์
อะไรบ้างจากการพัฒนารูปแบบวิชาการแบบใหม่ ทั้งนี้คําตอบที่ได้ยังไม่ชัดเจน
เกี่ยวกับตําแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ซึ่งสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้ใช้
เงินของคณะในการเบิกจ่าย ส่วนการปรับฐานเงินเดือนให้เบิกจ่ายจากเงินของมหาวิทยาลัยในงบคลัง
ในเรื่องของการยื่นขอตําแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ของอาจารย์ ในฐานะที่เป็นประธานสภาคณาจารย์
ได้มีส่วนในการกระตุ้นให้อาจารย์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตําแหน่งทางวิชาการ ให้ทําเรื่องขอทบทวนเข้ามาใน
กรรมการสภาคณาจารย์ และให้ตระหนักว่า การขอตําแหน่งทางวิชาการ เป็นเรื่องของการส่งเสริม
ไม่ใช่เรื่องการกีดกันทางวิชาการ รวมทั้งได้นําฐานคติเสนอต่อมหาวิทยาลัยผ่านทางรองอธิการบดีฝ่าย
วิชาการและวิจัย เพื่อพยายามสร้างบุคลากรของมหาวิทยาลัยรามคําแหง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาย
วิชาการ ให้เป็นผู้มีบุคลากรวิชาการ โดยขอให้มีรับรองว่า เป็นผู้มีความรู้ มีความเมตตา และเป็นผู้มี
ความเป็นครูผู้เสียสละเพื่อสังคมอย่างชัดเจน
๑.๓.๑๓ เรื่องแจ้งจากสภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เนื่องจากสภาข้าราชการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม
๒๕๕๒ จึงยังไม่มีผลงานมากนัก และในวันที่ ๑๗ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยจะมีการประชุม
วิชาการ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมได้
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
๑.๓.๑๔ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. จะมีการสัมมนาเรื่อง “รวมพลังสร้างสรรค์ ประเมินผลการ
ปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม” ซึ่งเป็นการสัมมนาที่รวบรวมเอางานวิจัยที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนใน
มจธ. ด้านต่าง ๆ ทั้งหมดเพื่อมาพูดคุยว่า ผลการปรับเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับที่ผ่านมา ๑๐
ปี เป็นอย่างไร ชาว มจธ. คิดอย่างไร มีสิ่งใดที่ต้องนํามาปรับแก้ไข มีลักษณะเป็นการถามโดยบุคลากร
และตอบโดยฝ่ายบริหาร
๑.๓.๑๕ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เรื่องที่อยู่ในความสนใจในขณะนี้คือ การสรรหาอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย ที่ว่างลงมานาน
กว่าปี โดยที่ประชาคมได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดี
และนายกสภามหาวิทยาลัย เนื่องจากที่ผ่านมาการสรรหาอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย ได้ถูก
ฟ้องและล้มเลิกไป ดังนั้นสภามหาวิทยาลัย จึงได้มอบหมายให้ สภาคณาจารย์ จัดเวทีในการรับฟังความ
คิดเห็นของประชาคม และได้จัดไปแล้ว ๑ ครั้ง ในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ มีผลสรุปเป็นหลักใหญ่ ๆ ๒
ข้อ คือ ขอให้กระบวนการสรรหามีความโปร่งใส และต้องการให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดํารง
ตําแหน่งอธิการบดีทุกท่านแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมด้วย ทั้งนี้ สภาคณาจารย์จะได้สรุปเสนอต่อ
ประธานกรรมการสรรหาฯ ในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากจะมีการนําเสนอชื่อผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี
ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ ต่อสภามหาวิทยาลัย
สําหรับในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ ได้จัดทํา
เป็นแบบสอบามส่งถึงบุคลากรประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าชุด และคาดว่าจะรวบรวมเสนอได้ภายในสิ้นเดือน
มีนาคม ๒๕๕๒
๑.๓.๑๖ เรื่องแจ้งจากเลขาธิการ ปอมท.
ในระหว่างที่ยังไม่มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปอมท. ขึ้นมารับผิดชอบงานด้านประชาสัมพันธ์ ได้จัดทํา
เว็บไซต์ ปอมท. โดยได้จัดซื้อโดเมนไว้ ๒ ชื่อ คือ thaifacultysenate.com และ
thaifacultysenate.org เพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจในงานของ ปอมท. เรียกดู หรือดาวน์โหลดข้อมูลของ
ปอมท. ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยจะพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่าง เท่าที่จะเก็บข้อมูลได้ ในอนาคต
คิดว่าอาจจะทําแบบสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ตให้ผู้ตอบแบบสอบามเข้ามาตอบได้นอกเหนือจากการ
ส่งผ่านอีเมลล์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์แบบสอบถามได้ง่ายขึ้นเนื่องจากจะอยู่ในรูปของไฟล์
Microsoft Excel โดยอัตโนมัติ
ได้ถอดเทปคําบรรยายของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ศ.
ระพี สาคริก ส่งถึงทุกท่านผ่านทางอีเมลล์เพื่อช่วยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว
เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ งานสภาคณาจารย์ มจพ. ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการจัด
เตรียมการสัมมนาเจ้าหน้าที่สภาคณาจารย์ ซึ่งมีกําหนดจัดประชุมในวันที่ ๓๐ เมษายน และวันที่ ๑-๒
การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่
พฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่มหาวิทยาลัยบูรพา สําหรับรายละเอียดโครงการและสรุปผลการประชุมได้จัดเข้า
เป็นวาระเพื่อพิจารณาด้วยแล้ว
ที่ผ่านมาได้ร่วมพูดคุยกับสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามผลเกี่ยวกับที่ทางที่ประชุม ปอ
มท. ขอความอนุเคราะห์รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาวิชาการในช่วงปลายปี ซึ่งได้รับการตอบรับ
เป็นเจ้าภาพเรียบร้อยแล้ว โดยได้รับคําแนะนําจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลว่า เมื่อจะจัด
ประชุมวิชาการใดๆ จะต้องมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นสําคัญ และจะต้อง
จัดให้ดีที่สุด
ผลการทาบทามที่ปรึกษา ปอมท. ๒ ท่าน คือ ศ.ดร.อานนท์. บุณยรัตเวช เลขาธิการ วช. และ ศ.
ระพี สาคริก อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ปอมท. และประธาน ปอมท. ท่านแรก เป็น ทั้ง ๒ ท่านตอบรับการ
ทาบทามแล้ว และแจ้งว่ายินดีให้ความร่วมมือกับ ปอมท. ในการรับเชิญมาให้คําบรรยาย หรือคําปรึกษา
ตามโอกาสและความเหมาะสม
๑.๓.๑๗ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอให้หน่วยงาน รวมทั้ง สภาอาจารย์ส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการ
จรรยาบรรณ จริยธรรมของบุคลากร และในวันที่ ๑๗ มีนาคม นี้ สภาอาจารย์จะได้มีการประชุมเพื่อ
กําหนดบุคคลร่วมเป็นคณะกรรมการ
สภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี และคณบดี และตําแหน่งที่
เทียบเท่าคณบดีทั้งหมด และขณะนี้กรรมการสรรหาคณบดี ได้มีมติในเบื้องต้นว่า ให้หน่วยงานทุก
หน่วยงาน เสนอความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ และส่งความคิดเห็นกลับภายในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒
ในเดือนเมษายนนี้ จะมีการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการสภาอาจารย์ กรณีทั่วไป จํานวน ๒๑ ท่าน แต่
เนื่องจากที่ผ่านมาวิธีลงคะแนนของบุคลากร สามารถมอบอํานาจให้ตัวแทนไปหย่อนบัตรได้ ๑ คน มอบ
ได้ ๕ เสียง ซึ่งก็มีประเด็นของความไม่เหมาะสมและสง่างาม จึงได้ตั้งเงื่อนไขที่ใช้เป็นบรรทัดฐานคือ
ไม่ให้มีการมอบอํานาจให้ลงคะแนนแทน แต่จะเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ และจะใช้
หลักเกณฑ์เดียวกันนี้กับการสรรหาอธิการบดีด้วย
๑.๓.๑๘ เรื่องแจ้งจากประธาน ปอมท. และสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น่าจะเป็นมหาวิทยาลัยในกับที่มีข้อบังคับมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจาก
ในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนสถานภาพได้มีการเรียกร้องความชัดเจนในแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้มากที่สุด
ซึ่งขณะนี้สภาพนักงานกําลังสอบถามไปยังบุคลากรมหาวิทยาลัยเพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอต่อสภา
มหาวิทยาลัย ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับให้มีความเหมาะสม โปร่งใส และตอบสนองต่อความ
ต้องการของบุคลากร ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มติที่ประชุม รับทราบ
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552  ณ ม.มหิดล

More Related Content

Viewers also liked

หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.สุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่นสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพาเอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพาสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 สุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์สุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรสุรพล ศรีบุญทรง
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์คสุรพล ศรีบุญทรง
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์สุรพล ศรีบุญทรง
 

Viewers also liked (12)

หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552  ที่ มช.
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 2/2552 ที่ มช.
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่นการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒  ณ    ม.ขอนแก่น
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๙/๒๕๕๒ ณ ม.ขอนแก่น
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552  ณ  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 5/2552 ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพาเอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552  ณ ม.บูรพา
เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 4/2552 ณ ม.บูรพา
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 1/2552 
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ  ม.เกษตรศาสตร์
การประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 8/2552 ณ ม.เกษตรศาสตร์
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวรเอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 6/2552 ณ ม.นเรศวร
 
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์คการประชุม  ปอมท.  สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒  ณ    รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๑๐/๒๕๕๒ ณ รร.เซ็นจูรี่ พาร์ค
 
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล  ริเวอร์
เอกสารประกอบการประชุมสมัยสามัญ ปอมท. ครั้งที่ 7/2552 ณ รอยัล ริเวอร์
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoสุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...สุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (18)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
 

เอกสารประกอบการประชุม ปอมท. สมัยสามัญ 3/2552 ณ ม.มหิดล

  • 1. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ระเบียบวาระการประชุม ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม *********************** วาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ๑.๑ การลาประชุม และมอบหมายผู้เข้าประชุม ๑.๒ แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมประชุม ๑.๓ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ สภาคณาจารย์/อาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ๑.๔ รายงานสถานะทางการเงิน และสรุปค่าใช้จ่าย ปอมท. วาระที่ ๒ รับรองรายงานการประชุม วาระที่ ๓ เรื่องสืบเนื่อง ๓.๑. การลงสัตยาบรรณในธรรมนูญแห่ง ปอมท. ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ๓.๒. การคัดเลือกอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติ ของ ปอมท. ๓.๓. การเข้าสู่ตําแหน่งทางวิชาการ และภาระงานของบุคลากรผู้มีตําแหน่งทางวิชาการ ๓.๔. การมีส่วนร่วมในการส่งเสริมกลไกธรรมาภิบาลของ กบข. วาระที่ ๔ เรื่องที่พิจารณา ๔.๑ โครงการประชุมวิชาการ ปอมท. ประจําปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี) ๕.๑ บทบาท ปอมท. ในสภาพบ้านเมืองปัจจุบัน
  • 2. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ กําหนดการประชุม ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม **************************** วันเสาร์ ที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๕๒ ๑๓.๐๐ - ๑๓.๓๐ น. ลงทะเบียนและรับเอกสาร ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. การเสวนาในประเด็น “การตกงานของบัณฑิตไทย สืบเนื่องจากภาวะ วิกฤตเศรษฐกิจ” • รศ.ดร. กัมปนาท ภักดีกุล ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม ปอ มท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ • ศ. ดร. อมร จันทรสมบูรณื ที่ปรึกษา ปอมท. และอดีต เลขาธิการกฤษฏีกา ให้คําบรรยายพิเศษในหัวข้อ “อุดมศึกษา กับการปฏิรูปการเมือง” • ศ.ระพี สาคริก อดีตประธาน ปอมท. ร่วมให้ข้อเสนอแนะแก่ ที่ประชุม วันอาทิตย์ ที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ๙.๐๐ - ๙.๓๐ น. ลงทะเบียน ๙.๓๐ - ๑๒.๐๐ น. การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน ๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. การประชุม ปอมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ (ต่อ) ๑๖.๓๐ น. ปิดประชุม
  • 3. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ประวัติ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ กรกฏาคม ๒๔๗๓ (๗๘ ปี ) เป็นบุตรของศาสตราจารย์ ขุนประเสริฐศุภมาตรา และ นางอินทิรา จันทรสมบูรณ์ สมรสกับ นางมุกดา จันทรสมบูรณ์ มีบุตรี ๒ คน การศึกษา - จบปริญญาตรีธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ - จบปริญญาโท จบปริญาญเอก (Docteur en droit) ทางกฎหมายระหว่างประเทศ จาก มหาวิทยาลัยปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ - ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักด์ฎ จากมหาวิทยาลัยรามคําแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ , ๒๕๓๑ , ๒๕๓๔ ตามลําดับ หน้าที่ที่สําคัญ - เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ.๒๕๒๓ จนเกษียณอายุราชการในปี ๒๕๓๓ - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ๒ สมัย - ประธานคณะกรรมการจัดทําร่างกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม กระทรวงการคลัง - กรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ - อาจารย์ผู้บรรยายพิเศษคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัย รามคําแหง - กรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๑ ถึงปัจจุบัน - นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขานิติศาสตร์ ปี พ.ศ.๒๕๓๙ ถึงปัจจุบัน - นักกฎหมายดีเด่น ปี พ.ศ.๒๕๔๘ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.อมร ฯ เป็นนักกฎหมายมหาชนที่มีชื่อเสียงที่สุดของวงการกฎหมายไทยตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปีที่ ผ่านมา ท่านเป็นผู้บุกเบิกแนวคิดและหลักการในทางกฎหมายมหาชนในสังคมไทย ภายหลังจากที่ท่านได้เกษียณอายุ ราชการในตําแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฏีกาแล้ว ท่านได้ทุ่มเทเวลาให้กับการเขียนและงานค้นคว้าทางวิชาการ โดยได้นําเสนอแนวทางปฏิรูปการเมืองภายใต้แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) เสนอให้มีการแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ.๒๕๓๔ จัดตั้งองค์กรพิเศษขึ้นมายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ โดยไม่สมควรให้สมาชิกรัฐสภา ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเมืองเข้ามาเป็นผู้ยกร่างรัฐธรรมนูญ นําไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๑๑ จัดตั้ง สภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ขึ้นมาร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ซึ่งนับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ “สมบูรณ์ที่สุด” เท่าที่ ประเทศไทยเคยมีมา และมีส่วนสําคัญในการจัดตั้งศาลปกครอง ศ.ดร.อมร ฯ มุ่งพัฒนาสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการตรากฎหมายโดยตรง คือ ระบบสถาบันการเมืองให้สําเร็จ เสียก่อน เพราะระบบสถาบันการเมือง ซึ่งได้แก่ รัฐสภาและคณะรัฐมนตรี เป็นเวทีที่นักการเมืองใช้ออกกฎหมาย กฎหมายที่เราจะใช้ในประเทศ จะเป็นกฎหมายที่ดีหรือไม่ดีจะสร้าง Good Governance ได้หรือไม่ ก็อยู่ตรงนี้ ด้วยเหตุนี้ในระยะต่อๆมา ศาสตราจารย์ ดร.อมรจึงออกมาเดินหน้าเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองครั้งที่ ๒ และแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมุ่งเน้นให้มีการกําหนด form of government หรือ รูปแบบของระบบสถาบัน การเมือง อ้างจาก วิกีพีเดีย
  • 4. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ เอกสารประกอบวาระการประชุม ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๒๕๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.นที รักษ์พลเมือง ชั้น ๕ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม **************************** เริ่มประชุมเวลา …………………… น. ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ---------------------------------------- วาระที่ ๑.๑ การลาประชุม และมอบหมายผู้เข้าประชุม ....................................................................................................................................... ...................................... ......................................................................................................................................... .................................... ...................................................................................................................................... ........................................ ....................................................................................................................................... ....................................... ...................................................................................................................................... ......................................... ..................................................................................................................................... .......................................... ..................................................................................................................................... .......................................... จึงเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ ที่ประชุม ...................................................................................................................................... ......................... ...................................................................................................................................... ......................................... ..................................................................................................................................... ........................................... วาระที่ ๑.๒ แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ และผู้เข้าร่วมประชุม ................................................................................................................................... ............................................. ...................................................................................................................................... .......................................... ...................................................................................................................................... ......................................... ..................................................................................................................................... ........................................... ..................................................................................................................................... ........................................... ...................................................................................................................................... .......................................... ..................................................................................................................................... ........................................... จึงเสนอที่ประชุมเพื่อทราบ ที่ประชุม ....................................................................................................................... ........................................ ....................................................................................................................................... ............................. ………. .................................................................................................................................................. .............................
  • 5. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ---------------------------------------- วาระที่ ๑.๓ แจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ สภา คณาจารย์/อาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ .............................................................................................................................................................. ...................... ............................................................................................................................................................... ..................... .............................................................................................................................................................. ..................... ............................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................... ..................... .............................................................................................................................................................. ..................... ........................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................. ..................... ...................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................ ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ..................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ................................................................................................................................................... ..................... ....................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... ..................... ................................................................................................................................................... ..................... ....................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... ..................... ...................................................................................................................................................... ..................... ที่ประชุม ......................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................ ..................... ........................................................................................................................................................ .....................
  • 6. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ---------------------------------------- วาระที่ ๑.๔ รายงานสถานะทางการเงิน และสรุปค่าใช้จ่าย ปอมท. .............................................................................................................................................................. ...................... ............................................................................................................................................................... ..................... .............................................................................................................................................................. ..................... มติที่ประชุม ........................................................................................................................................ ..................... ............................................................................................................................................................ ..................... ......................................................................................................................................................................... ........... ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่อง รับรองรายงานการประชุม ......................................................................................................... วาระ ๒.๑ รับรองรายงานการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ห้อง ประชุมเชียงคํา ชั้น ๓ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ ที่ประชุม รับรอง รับรองโดยมีการแก้ไข ......................................................................................................................................................... ..................... ............................................................................................................................................................ ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ..................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ................................................................................................................................................... ..................... ....................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... ..................... ................................................................................................................................................... ..................... ......................................................................................................................................................... ..................... ................................................................................................................................................... ..................... ....................................................................................................................................................... ..................... .......................................................................................................................................................... .....................
  • 7. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ รายงานการประชุม ที่ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปอมท.) สมัยสามัญ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๒ วันที่ ๑๔ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมเชียงคํา ชั้น ๓ โรงแรมเซนทารา ดวงตะวัน จังหวัดเชียงใหม่ *********************** รายนามผู้มาประชุม ๑. ผศ.ปฐม ปฐมธนพงศ์ ประธาน ปอมท. และ ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๒. รศ.ดร.กัมปนาท ภักดีกุล รองประธาน ปอมท.คนที่ ๑ และประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๓. ผศ.ดร.นพพร ลีปรีชานนท์ รองประธาน ปอมท.คนที่ ๒ และประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๔. รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการ ปอมท. และ แทนประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ๕. รศ.ดร.พาชิตชนัต ศิริพานิช ผู้อํานวยการฝ่ายการเงิน และประธานสภาคณาจารย์ สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ๖. ผศ. ดร.จุฑามาส จิตต์เจริญ ผู้อํานวยการฝ่ายวิชาการ และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี ๗. รศ.นสพ.ดร.กมลชัย ตรงวานิชนาม ประธานสภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ๘. รศ.ดร.วิทยา จันทร์ศิลา ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๙. ผศ.ดร.ประสิทธิ์ โนรี ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๑๐. รศ.อดิศักดิ์ พงษ์พูลผลศักดิ์ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอม เกล้าธนบุรี ๑๑. ดร.ศุภพงษ์ ปิ่นเวหา ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ๑๒. รศ.ดร.ธงชัย สมบูรณ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ๑๓. รศ. อัฌชา ก.บัวเกษร ประธานสภาพนักงานมหาวิทยาลัยบูรพา ๑๔. อาจารย์วีระพันธุ์ มุสิกสาร ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสงขลา ๑๕. อาจารย์พงศ์ศักดิ์ ศรีพงศ์พันธุ์ ประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ๑๖. ผศ.วันชัย ลีลากวีวงศ์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๑๗. ผศ.ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ แทนประธานสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๑๘. ผศ.พรรณวดี ตันติศิรินทร์ ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 8. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ๑๙. อาจารย์สมเกียรติ บุญคง แทนประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยนครพนม รายนามผู้ไม่มาประชุมและลาประชุม ๑. อาจารย์ประสิทธิ์ บุญไทย รองเลขาธิการ ปอมท. และรองประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ๒. รศ.ดร.รัตนา สนั่นเมือง ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย และประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ๓. ผศ.สุดสาคร สิงห์ทอง ประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ๔. ผศ.ศิริยุภา พูลสุวรรณ ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ๕. อาจารย์พงศ์ทิพย์ อินทร์แก้ว ผู้อํานวยการฝ่ายกิจการพิเศษ และประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง รายนามกรรมการ/สมาชิก/เจ้าหน้าที่สภาอาจารย์ เข้าร่วมประชุม ๑. รศ.จันทร์จารี เกตุมาโร เลขาธิการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง ๒. ผศ.รัชนี กัลยาวินัย รองประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ๓. ผศ.ดร.กุลณสรรค์ สายขุน เลขาธิการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ๔. ผศ.วิชาญ อมรากุล รองประธานสภาอาจารย์ คนที่ ๑ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๕. ดร.สุขสันต์ พรหมบัญพงศ์ กรรมการสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ๖. อาจารย์จักรพงษ์ ไชยวงศ์ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๗. อาจารย์ศรันย์ จันทร์ทะเล กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๘. อาจารย์โชคอนันต์ วาณิชย์เลิศธนาสาร กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ๙. ผศ.ดร.เจษฎาวรรณ วิจิตรเวชการ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๑๐. อาจารย์อัมรินทร์ เดชาอนันตทรัพย์ กรรมการสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าพระนครเหนือ ๑๑. อาจารย์ประภาภรณ์ ชุบสุวรรณ กรรมการสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • 9. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ เริ่มประชุมเวลา ๐๙.๐๐ น. ศ.ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวเปิดการปะชุม ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องแจ้งเพื่อทราบ ระเบียบวาระที่ ๑.๑ เรื่อง การลาประชุมและมอบหมายผู้แทน ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มอบหมาย รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เข้าประชุมแทน ประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประธานสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบหมาย ผศ.ดร.ทวี ธนะเจริญกิจ เข้าประชุม แทน ประธานสภาคณาจารย์และพนักงานมหาวิทยาลัยทักษิณ ลาประชุมเนื่องจากครบวาระ ประธานสภาคณาจารย์และพนักงาน สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ลา ประชุมเนื่องจากครบวาระ รศ.ดร.รัตนา สนั่นเมือง ผู้อํานวยการฝ่ายพัฒนาบุคลากรมหาวิทยาลัย ลาประชุมเนื่องจากติดราชการ มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ ๑.๒ เรื่อง แนะนําประธานสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ ประธานสภาข้าราชการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คนใหม่ ได้แก่ รศ.นสพ.กมลชัย ตรงวานิชนาม มติที่ประชุม รับทราบ ระเบียบวาระที่ ๑.๓ เรื่องแจ้งเพื่อทราบจากประธาน ปอมท. เลขาธิการ ปอมท. ผู้อํานวยการฝ่ายต่าง ๆ และ ประธานสภาคณาจารย์/ อาจารย์/ ข้าราชการ/ พนักงาน มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่ประชุมรายงานภารกิจของสภาคณาจารย์/อาจารย์/ข้าราชการ ตามลําดับดังต่อไปนี้ ๑.๓.๑ เรื่องแจ้งจากประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขณะนี้ มหาวิทยาลัยได้มีการตั้งคณะกรรมการนโยบายระดับสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย สภา มหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการสภาซึ่งเป็นบุคลากรภายในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อธิการบดี กรรมการจากผู้บริหาร กรรมการจากคณาจารย์ประจํา ประธานสภาคณาจารย์ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มี ความเชี่ยวชาญ ด้านต่าง ๆ ทั้งภายใน หรือภายนอกตามความเหมาะสม ทั้งนี้ การแต่งตั้ง กรรมการนโยบายระดับสภามหาวิทยาลัยมีวัตถุประสงค์ให้ทํางานในเชิงกํากับ (governance) ไม่ใช่การ บริหารจัดการ (Management) ดูในเรื่องเฉพาะนโยบายเท่านั้น เช่น กรรมการนโยบายการเงินการคลัง กรรมการนโยบายสาธารณะ กรรมการนโยบายมหาวิทยาลัยเพื่อสังคม กรรมการนโยบายวิจัย กรรมการนโยบายการศึกษา กรรมการนโยบายธรรมาภิบาล และกรรมการนโยบายสภามหาวิทยาลัย รวม และจะนําไปสู่การจัดตั้งสํานักงานสภามหาวิทยาลัย
  • 10. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ การบริหารจัดการคณะ/ วิทยาลัย /สถาบัน ที่มีลักษณะในระดับส่วนงานภายในที่จัดตั้งโดยสภา มหาวิทยาลัยชุดที่ผ่านมาที่ยังไม่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยการจัดการ วิทยาลัยดุริยางค์ศิลป์ จึงมีมติให้คงมีสถานะเป็นส่วนงานเดิมไปก่อนแต่ให้มีการ ดูแลการบริหารจัดการให้รัดกุมขึ้น ๑.๓.๒ เรื่องแจ้งจากประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีการสรรหาคณบดีคณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ และคณะนิติศาสตร์ เรียบร้อยแล้ว สําหรับการสรรหา คณบดีคณะบริหารศาสตร์ สภามหาวิทยาลัยมีมติให้สรรหาใหม่ เพื่อหาบุคคลที่เหมาะสมต่อไป โดย กรรมการสรรหาไม่มีสิทธิตัดสินว่าเป็นผู้ใด เพียงเสนอเกณฑ์คุณสมบัติ รวบรวมข้อมูล สรรหาบุคคล และ ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้น จากนั้นจึงเสนอไปที่สภามหาวิทยาลัย ถ้ามีมติไม่เห็นชอบก็ให้จัดการสรรหา ใหม่ และถ้าไม่ผ่านในรอบสองจึงจะใช้วิธีการของสภามหาวิทยาลัย ผลการดําเนินงานที่ผ่านมา เป็นไป ด้วยความเรียบร้อยและได้ผลดี ไม่มีแรงเสียดทานอย่างที่วิตกกังวล โดยหลังจากได้รับการสรรหาแล้ว คณบดีจะต้องทํา TOR และเสนอแผน/กิจกรรมต่อสภามหาวิทยาลัย จะมีการประเมินคณบดีที่ทํางานมาครบ ๒ ปี เช่น คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ โดยมีข้อบังคับ ที่ว่าด้วยการประเมิน อย่างชัดเจน กรรมการประเมินจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกทั้งหมด โดยสภา มหาวิทยาลัยเป็นผู้แต่งตั้ง จากผู้ที่เคยเป็นคณบดีจากมหาวิทยาลัยอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ ทางด้านการเงิน จะมีการประเมินอธิการบดี โดย กรรมการประเมินจะเป็นผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกคุณวุฒิไม่ต่ํากว่า อธิการบดี เนิ่องจากมีการจัดสรรเงินโบนัส จาก กพร. ให้เฉพาะคณะที่มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไม่ได้จัดสรร เงินให้กับส่วนงานภายในซึ่งไม่มีการระบุไว้ในกฎหมาย พรบ. มหาวิทยาลัย ทําให้คณะนิติศาสตร์ซึ่ง ได้รับการจัดตั้งเป็นการภายในของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีฟ้องทวงสิทธิ์ในการได้รับจัดสรรเงินโบนัส ดังกล่าว ๑.๓.๓ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และประธานสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ มีการสรรหาอธิการบดีท่านใหม่ ได้คนเดิมเป็นวาระที่สอง มีข้อดีคือความต่อเนื่อง ตอนนี้มหาวิทยาลัยมี ๔ วิทยาเขต ได้แก่ หาดใหญ่ ปัตตานี ภูเก็ต สุราษฎร์ จึงจะมีปัญหาเรื่องการ บริหารจัดการพอสมควร ๑.๓.๓ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี อธิการบดีท่านใหม่ ได้มาเยี่ยมเยียนที่วิทยาเขตปัตตานี และเปิดโอกาสให้ประชาคมได้เข้าพบอธิการบดี ๓ รอบ รอบละ ๑ ชั่วโมงครึ่ง รอบแรกเป็นบุคลากรพนักงานทั่วไป รอบที่สองเป็นบุคลากรระดับ
  • 11. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ หัวหน้าภาควิชา และรองคณบดี รอบที่สาม เป็นบุคลากรระดับคณบดี เพื่อรับทราบข้อมูล และเพื่อการ จัดตั้งทีมผู้บริหารรองอธิการบดีของวิทยาเขตปัตตานีในวาระใหม่ ๑.๓.๔ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ภาระงานผู้ดํารงตําแหน่ง ผศ. รศ. ศ. ที่ได้รับการประกาศจาก กพอ. และได้รับการประกาศในราชกิจจา นุเบกษาแล้ว นําไปสู่การเสวนาภายในสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ โดยสภาคณาจารย์ได้มี ข้อสรุปร่วมกันว่าไม่เห็นด้วย และขณะนี้อยู่ในช่วงรวบรวมความคิดเห็นเสนอต่ออธิการบดี เพื่อเสนอต่อ สกอ. ต่อไป สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้จัดสร้างรูปหล่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เพื่อจัด พิธีเทวาภิเษกขึ้นในวันที่ ๙ เมษายน ๒๕๕๒ ในโอกาสงานสงกรานต์ เพื่อร่วมทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรม ๑.๓.๕ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อธิการบดีท่านใหม่ ซึ่งเริ่มดํารงตําแหน่งเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๕๒ ได้เดินทางไปพบปะกับ บุคลากรทุกคณะ เพื่อให้นโยบาย และตอบข้อซักถาม และในการประชุมสภามหาวิทยาลัยท่านได้เชิญ หัวหน้าภาควิชา เข้าร่วมประชุมสภามหาวิทยาลัยด้วยทุกครั้ง เดิมทีสภาอาจารย์อยู่ในสังกัดกองกลาง ขณะนี้ได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างโดยแยกออกมาเป็นสํานักงานสภา อาจารย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสํานักงานอธิการบดี เช่นเดียวกับกอง มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา บริหารจัดการโดยมีข้อบังคับโดยเฉพาะ ไม่เรียกเป็นวิทยาเขต แต่เรียกเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา โดยมีผู้อํานวยการมหาวิทยานเรศวรพะเยา ฐานะเทียบเท่ารองอธิการบดี ตามที่ มีหลายมหาวิทยาลัย ระบุถึงปัญหาเกี่ยวกับหน่วยงานใหม่ที่จัดตั้งโดยสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวรเองก็เช่นเดียวกัน เพราะประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ได้ เนื่องจากรัฐบาลไม่มี นโยบายให้ตั้งหน่วยงานใหม่ อีกทั้งหากประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะต้องมีรหัสเงิน มีตําแหน่ง ผู้บริหารมาจากระบบงบประมาณ ดังนั้นหน่วยงานที่ภายในลักษณะเช่นนี้จะต้องบริหารด้วยระบบเงิน รายได้มหาวิทยาลัย โดยใช้วิธีการอนุมัติเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเพื่อสมทบจ่ายให้กับหน่วยงานที่ จัดตั้งเป็นการภายใน ในฐานะของกรรมการ กพอ. มีเรื่องที่อยากแจ้งให้ที่ประชุมได้รับทราบ ๒- ๓ เรื่อง ได้แก่ เรื่องการ เปลี่ยนแปลงภายในคณะกรรมการ กพอ. ชุดใหม่ซึ่ง ศ.ดร.เทียนฉาย กีระนันท์ ได้พ้นวาระไปแล้ว เรื่อง การยกเลิกระบบซี ซึ่งต้องมีการปรับเทียบเข้าสู่ระบบแท่งเงินเดือนใหม่ ขณะนี้ได้มีการตั้ง คณะอนุกรรมการ มีศาสตราจารย์วิจิตร ศรีสอ้าน เป็นประธาน และอีกเรื่องหนึ่งคือเรื่องเงินประจํา ตําแหน่งที่อาจารย์ระดับ ๗ จํานวนกว่า ๓,๐๐๐ คน ในอุดมศึกษาไม่ได้รับ แต่ครูในระดับการศึกษา พื้นฐานได้รับ ทําให้อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชมงคลซึ่งเดิมทีไม่ได้สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยพลอยเสีย โอกาสไปด้วย ที่ประชุมได้มีการพูดคุยในเบื้องต้น เพื่อศึกษาดูว่าสามารถจะดําเนินการได้อย่างไรบ้าง สําหรับรายละเอียดอื่นจะได้สรุปแจ้งที่ประชุมในคราวต่อไป
  • 12. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ๑.๓.๖ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร การสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย คนใหม่ ได้แก่ ศ.คุณหญิงไขศรี ศรีอรุณ ช่วงที่ผ่านมาสภาคณาจารย์ได้รับโทรศัพท์สอบถามจากสมาชิกเรื่องสถานะ กบข. จึงได้จัดทําจดหมาย เวียนเพื่อสอบถามความเห็นจากข้าราชการในมหาวิทยาลัย สรุปผลการสํารวจความคิดเห็น ร้อยละ ๙๙ เห็นด้วยให้ดําเนินการหาผู้รับผิดชอบ และร้อยละ ๘๐ เห็นด้วยว่า ถ้าไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ให้ยุบ เลิก กบข. ๑.๓.๗ เรื่องแจ้งจากสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยบูรพาได้ดําเนินการในส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ ได้ประกาศใช้ข้อบังคับว่าด้วยการบรรจุงานผู้เกษียณอายุราชการ โดยใช้คุณวุฒิทางวิชาการเป็น ตัวกําหนด เพื่อขวัญและกําลังใจของบุคลากร ได้มีปรับเงินเดือนพนักงานมหาวิทยาลัย และสวัสดิการ โดยให้มีผล ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๕๒ เป็นต้นไป เช่น ตําแหน่ง ผศ. จะได้ประมาณ ๕ หมื่น บวกค่า ประสบการณ์ ในขณะที่ปริญญาตรีรับใหม่จะตั้งต้นที่ประมาณ ๑๑,๗๐๐ บาท ออกข้อบังคับว่าด้วย การกําหนดตําแหน่ง ผศ. รศ. และ ศ. พิเศษ โดยให้ ผศ. และรศ. พิเศษ สามารถ พิจารณาเสร็จสิ้นได้ภายในมหาวิทยาลัย มีแผนดําเนินการจัดทําข้อบังคับทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ๑.๓.๘ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในช่วงเดือนมีนาคม สภาคณาจารย์และพนักงาน จะจัดให้อธิการบดีพบประชาคม ในลักษณะการถาม – ตอบ เกี่ยวกับเกณฑ์การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร ๑.๓.๙ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สภาคณาจารย์ ได้เสนอขอแก้ไขข้อบังคับว่าด้วยสภาคณาจารย์ใหม่ เนื่องจากพบว่า ข้อบังคับที่ใช้ใน ปัจจุบัน มีองค์ประกอบของสมาชิกที่มาจากตัวแทนของคณะเท่านั้น ไม่มีตัวแทนประเภททั่วไป เกิด ปัญหาจํานวนสมาชิกมีจํานวนน้อยและไม่เพียงพอ โดยข้อบังคับใหม่กําหนดให้มีสมาชิก ๒ ประเภท เหมือนเดิม และให้ประธานสภาคณาจารย์ มีวาระต่อเนื่องได้ไม่เกิน ๒ วาระติดต่อกัน ขณะนี้อยู่ระหว่าง การส่งไปให้นิติกรและผู้บริหารตรวจสอบ มหาวิทยาลัย ได้จัดทําข้อบังคับ กฎ ระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานมหาวิทยาลัยเสร็จเรียบร้อย แล้ว
  • 13. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้จัดให้มีการสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัย และนายกสภามหาวิทยาลัย เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปผลการสรรหาได้คนเดิม คือ พลตํารวจเอกเภา สารสิน ซึ่งถ้ารวมวาระนี้จะครบ ๒๐ ปีพอดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอโปรดเกล้าฯ มหาวิทยาลัยได้เปิดวิทยาลัยนานาชาติ โดยจะมีนักศึกษาทางแถบอินโดจีนเข้ามาเรียน และจะต้องมีการ ปรับโครงสร้างเพื่อความเป็นนานาชาติให้มากขึ้น สภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีมติให้แต่งตั้งคณะกรรมการชุดหนึ่งขึ้นมาพิจารณา พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยในคณะกรรมการ ได้เสนอให้มีประธานสภาคณาจารย์ร่วม เป็นกรรมการด้วย อยู่ระหว่างการเสนอแต่งตั้ง ขณะนี้ได้ล่วงเลยมาแล้ว ๖ เดือนยังไม่ได้รับทราบคําสั่ง ประธานสภาคณาจารย์ ได้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการสรรหาคณบดี ๓ คณะ และผู้อํานวยการวิทยา เขตหนองคาย พบปัญหาว่าคณะกรรมการสรรหาตามโครงสร้าง ซึ่งจะต้องเรียนเชิญตัวแทนคณบดีคณะ ที่สรรหาร่วมเป็นกรรมการ และในครั้งนี้จะมีคณบดีที่ครบวาระพร้อมกันถึง ๔ คณะ เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งจะต้องหาเงินมาสนับสนุนให้อาจารย์ทําการวิจัยให้มาก ขึ้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยจึงได้แต่งตั้งรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร เป็นรองอธิการบดีฝ่ายบริหารทรัพย์สิน ทําให้รองอธิการบดีฝ่ายบริหารว่างลง ซึ่งอธิการบดีดําริว่าจะดูแลเอง ซึ่งสภาฯ ได้ท้วงติงไปว่าจะไม่ เหมาะสมและไม่มีเวลา จึงต้องรอดูต่อไปว่าจะแต่งตั้งผู้ใดมาดํารงตําแหน่งรองอธิการบดีฝ่ายบริหารแทน มหาวิทยาลัยได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิ ศาสตราจารย์กนก วงษ์ตระหง่าน เป็นประธานใน การประเมินอธิการบดี โดยมหาวิทยาลัยได้จัดทําเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลภาคสนามเพื่อกํากับติดตาม มหาวิทยาลัยใดต้องการจะสําเนาให้ทราบ มีข้อร้องเรียนกรณีองค์กรแพทย์ศูนย์หัวใจ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านหัวใจจํานวนหนึ่ง ฟ้องต่อศาล ปกครอง ในกรณีที่นายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี และกรรมการสภามหาวิทยาลัย มี ลดสถานภาพ ของศูนย์หัวใจ ให้อยู่ภายใต้คณะแพทย์ฯ ทั้งที่เดิมเป็นหน่วยงานที่ได้รับการประกาศในราชกิจจา นุเบกษา ว่าเป็นมติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ศาลปกครองยกฟ้อง จึงได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุด ต่อไป ในปีที่ผ่านมา สภาคณาจารย์ ร่วมกับรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร ทําการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ ความสุขของบุคลากรสายผู้สอน และจัดทําเป็นสรุปเสนอต่อผู้เกี่ยวข้อง ทําให้มหาวิทยาลัยได้คะแนน จากตัวชี้วัดของ ก.พ.ร. ที่เกี่ยวกับการสํารวจความพึงพอใจบุคลากร และในปีนี้สภาฯ ก็จะร่วมมือกับฝ่าย แผนฯ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ ได้มีส่วนร่วมในการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนดีเด่นร่วมกับฝ่ายพัฒนาบุคลากร และจะ เข้ารับรางวัลในวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๕๒ ด้วย ๑.๓.๑๐ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องจากเป็นการเดินทางมาประชุมแทน ดังนั้นการแจ้งเรื่องต่อไปนี้จึงเป็นความคิดเห็นโดยส่วนตัว เท่านั้น สรุปเรื่องที่ขอแจ้งมีดังนี้
  • 14. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ สภาคณาจารย์ ได้มีการเลือกตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. ใหม่ มีจํานวน ๖๖ คน ยังขาดอีกจํานวน ๒๐ คน ที่ เป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ สภาคณาจารย์ กําลังร่างข้อบังคับว่าด้วยสภาคณาจารย์ ขึ้นใหม่ แทนข้อบังคับเดิม (ที่เพิ่งมีการใช้ และ ต้องยุติไปเมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒) เช่น กําหนดให้มีศาสตราจารย์ ๑๒ ตําแหน่ง ตัวแทนร คณาจารย์จากส่วนกลาง ๑๒ ตําแหน่ง และตัวแทนคณาจารย์จากคณะ แต่ส่วนที่สภาคณาจารย์ จุฬาฯ ยังเห็นว่าขาดไปคือ ตัวแทนที่เป็นพนักงานสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งสภาจะได้พิจารณาต่อไปว่าจะมี สมาชิกจากส่วนใดได้บ้าง ในฐานะที่เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการมหาวิทยาลัยของสภาคณาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการดําเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารกิจการมหาวิทยาลัยหลายเรื่องด้วยกัน และที่น่าสนใจ คือจะมีข้อบังคับที่กําลังร่างและยังไม่ประกาศใช้ กําหนดให้อาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะต้อง จบปริญญาเอกเท่านั้น ซึ่งถ้าดูผิวเผินก็จะเป็นผลดีต่อมหาวิทยาลัยที่ไม่ต้องลงทุนอีก และถ้าดูลึก ๆ แล้ว จะมีปัญหาติดตามมาอีกมาก ขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัว เกี่ยวกับการดําเนินการของที่ประชุม ปอมท. หรือแม้กระทั่งสภา คณาจารย์เองก็ตาม ขอให้มีสถานภาพเหมือนวุฒิสภา มากกว่าเป็นสภาสหภาพ และเน้นที่การช่วย แก้ไขปัญหาสังคม ด้วยปัญหาคุณภาพนักศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกปัจจุบัน ทําให้ทางมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มจะเปลี่ยนไป ใช้วิธีคัดเลือกนักศึกษาใหม่แบบรับตรงทั้งหมด ๑.๓.๑๑ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และข้าราชการ มหาวิทยาลัยนครพนม เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ พบอุปสรรคที่มากสมควร พอสรุปที่สําคัญได้ดังต่อไปนี้ ที่ประชุมสภาคณาจารย์ฯ ได้กําหนดให้มีวาระของการประชุมสัญจร เพราะมหาวิทยาลัยประกอบไปด้วย หน่วยงานที่กระจายอยู่ห่างๆ กัน บางแห่งห่างกันถึง ๖๐ กิโลเมตร สืบเนื่องจากการผนวกรวมเอา สถานศึกษาหลายแห่งในจังหวัดมารวมกันเข้าเป็นมหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเดิม วิทยาลัยการพยาบาล วิทยาลัยเกษตร วิทยาลัยเทคนิค และวิทยาลัยการอาชีพอีกประมาณ ๖๐ แห่ง ที่ อยู่กระจายกันอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทําให้การบริหารภายในและการประสานงานค่อนข้างลําบาก ที่ประชุมฯ จึงได้มีมติให้จัดประชุมสัญจรเพื่อรับฟังปัญหาจากทุกคณะ เพื่อนําแก้ไขต่อไป ผลจากการผนวกรวมหน่วยงานเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวยังเกี่ยวเนื่องไปสู่การบรรจุแต่งตั้งพนักงาน ใน กรณีของผู้ที่มาช่วยราชการ ในปัจจุบันก็ยังไม่มีตําแหน่งให้ นอกจากนี้ในรายของพนักงานที่อยู่เดิมก่อน ช่วงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงที่มีประสบการณ์ทํางานมานาน ซึ่งจะต้องสอบแข่งขันเข้าเป็นพนักงาน มหาวิทยาลัย ได้เสนอขอให้จัดโควต้าสําหรับคัดเลือกให้พนักงานกลุ่มนี้เข้ามาได้บ้าง มหาวิทยาลัยพบปัญหาเกี่ยวกับการยื่นขอตําแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์ เนื่องจากว่าแต่ละคณะมี ที่มาไม่เหมือนกัน สําหรับราชภัฎเดิมที่เป็นอุดมศึกษามาก่อนจะไม่พบปัญหา แต่ในส่วนของคณะที่ผลิต อาชีวะ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ํากว่าปริญญาตรี ก็จะต้องมีการปรับ เช่น ถ้าเป็นตําแหน่งทางสายอาชีวะ ซึ่งจะ
  • 15. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ขาดคุณสมบัติในการขอ ผศ. เนื่องจากไม่ได้สอนในระดับปริญญาตรี จึงได้มีความพยายามที่จะผลักดัน ให้สามารถยื่นขอตําแหน่ง คศ. ต่อเนื่องจากเดิม จนกว่าจะมีโอกาสทํา ผศ. ได้ ในส่วนของพยาบาล ซึ่งเดิมเคยได้รับการตรวจประเมินจาก สปช. ของกระทรวงสาธารณสุข และมีการ จัดทําเอกสารทางวิชาการ ผลงานวิจัย แผนการสอนตามเกณฑ์ของ สปช. เช่นกัน จึงมีคําถามว่า สามารถนําผลงานนั้นไปเสนอต่อ กพอ. เพื่อพิจารณาเทียบเคียงก่อนได้หรือไม่ ได้ผลเป็นแนวทางที่ ชัดเจนอย่างไรจะขอมาแจ้งให้ทราบในโอกาสต่อไป ระหว่างนี้ สภาคณาจารย์ ฯ ได้มีมติขอเข้าพบ ประธาน กพอ. เพื่อนําปัญหาเข้าหารือ และเข้าพิจารณาร่วมด้วย ที่ประชุมสภาคณาจารย์ฯ เห็นชอบให้มีการจัดตั้งสหกรณ์เพื่อเป็นสวัสดิการให้กับคณาจารย์ และกําลัง หาแนวทางการดําเนินการอยู่ สภาคณาจารย์ฯ กําลังจัดทําเว็บไซต์ของสภาอยู่ ในการประชุมทุกครั้งจะต้องมีการอัพโหลดข้อมูล และ สมาชิกที่ไม่ได้เข้าประชุมสามารถดาวน์โหลดข้อมูลเพื่อติดตามเรื่องต่าง ๆ ได้ จะมีการจัดมินิมาราธอนของมหาวิทยาลัยนครพนม ในช่วงวันสถาปนามหาวิทยาลัย และในวันดังกล่าว จะมีการประชุมวิชาการ ซึ่งได้เรียนเชิญประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา เพื่อนําเสนอ ผลงานทางวิชาการร่วมด้วย ๑.๓.๑๒ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง สภาคณาจารย์ ได้จัดการประชุมวิชาการ เรื่อง การพัฒนารูปแบบวิชาการแบบใหม่ (จากระบบซีเป็น ระบบแท่ง) โดยได้เชิญผู้แทนจาก กพอ. ร่วมระดมความคิด ว่า ชาวมหาวิทยาลัยรามคําแหงได้ประโยชน์ อะไรบ้างจากการพัฒนารูปแบบวิชาการแบบใหม่ ทั้งนี้คําตอบที่ได้ยังไม่ชัดเจน เกี่ยวกับตําแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ซึ่งสภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้ใช้ เงินของคณะในการเบิกจ่าย ส่วนการปรับฐานเงินเดือนให้เบิกจ่ายจากเงินของมหาวิทยาลัยในงบคลัง ในเรื่องของการยื่นขอตําแหน่งทางวิชาการ ผศ. รศ. ของอาจารย์ ในฐานะที่เป็นประธานสภาคณาจารย์ ได้มีส่วนในการกระตุ้นให้อาจารย์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตําแหน่งทางวิชาการ ให้ทําเรื่องขอทบทวนเข้ามาใน กรรมการสภาคณาจารย์ และให้ตระหนักว่า การขอตําแหน่งทางวิชาการ เป็นเรื่องของการส่งเสริม ไม่ใช่เรื่องการกีดกันทางวิชาการ รวมทั้งได้นําฐานคติเสนอต่อมหาวิทยาลัยผ่านทางรองอธิการบดีฝ่าย วิชาการและวิจัย เพื่อพยายามสร้างบุคลากรของมหาวิทยาลัยรามคําแหง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสาย วิชาการ ให้เป็นผู้มีบุคลากรวิชาการ โดยขอให้มีรับรองว่า เป็นผู้มีความรู้ มีความเมตตา และเป็นผู้มี ความเป็นครูผู้เสียสละเพื่อสังคมอย่างชัดเจน ๑.๓.๑๓ เรื่องแจ้งจากสภาข้าราชการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เนื่องจากสภาข้าราชการของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อได้รับการเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ จึงยังไม่มีผลงานมากนัก และในวันที่ ๑๗ – ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๒ มหาวิทยาลัยจะมีการประชุม วิชาการ ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมประชุมได้
  • 16. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ ๑.๓.๑๔ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี วันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๕๒ เวลา ๑๔.๐๐ น. จะมีการสัมมนาเรื่อง “รวมพลังสร้างสรรค์ ประเมินผลการ ปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม” ซึ่งเป็นการสัมมนาที่รวบรวมเอางานวิจัยที่เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของคนใน มจธ. ด้านต่าง ๆ ทั้งหมดเพื่อมาพูดคุยว่า ผลการปรับเปลี่ยนมาเป็นมหาวิทยาลัยในกํากับที่ผ่านมา ๑๐ ปี เป็นอย่างไร ชาว มจธ. คิดอย่างไร มีสิ่งใดที่ต้องนํามาปรับแก้ไข มีลักษณะเป็นการถามโดยบุคลากร และตอบโดยฝ่ายบริหาร ๑.๓.๑๕ เรื่องแจ้งจากสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เรื่องที่อยู่ในความสนใจในขณะนี้คือ การสรรหาอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย ที่ว่างลงมานาน กว่าปี โดยที่ประชาคมได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยจัดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสรรหาอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย เนื่องจากที่ผ่านมาการสรรหาอธิการบดี และนายกสภามหาวิทยาลัย ได้ถูก ฟ้องและล้มเลิกไป ดังนั้นสภามหาวิทยาลัย จึงได้มอบหมายให้ สภาคณาจารย์ จัดเวทีในการรับฟังความ คิดเห็นของประชาคม และได้จัดไปแล้ว ๑ ครั้ง ในวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ มีผลสรุปเป็นหลักใหญ่ ๆ ๒ ข้อ คือ ขอให้กระบวนการสรรหามีความโปร่งใส และต้องการให้ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมควรดํารง ตําแหน่งอธิการบดีทุกท่านแสดงวิสัยทัศน์ต่อประชาคมด้วย ทั้งนี้ สภาคณาจารย์จะได้สรุปเสนอต่อ ประธานกรรมการสรรหาฯ ในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากจะมีการนําเสนอชื่อผู้สมควรดํารงตําแหน่งอธิการบดี ในวันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๕๒ ต่อสภามหาวิทยาลัย สําหรับในการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย สภาคณาจารย์ ได้จัดทํา เป็นแบบสอบามส่งถึงบุคลากรประมาณ ๒,๐๐๐ กว่าชุด และคาดว่าจะรวบรวมเสนอได้ภายในสิ้นเดือน มีนาคม ๒๕๕๒ ๑.๓.๑๖ เรื่องแจ้งจากเลขาธิการ ปอมท. ในระหว่างที่ยังไม่มีฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปอมท. ขึ้นมารับผิดชอบงานด้านประชาสัมพันธ์ ได้จัดทํา เว็บไซต์ ปอมท. โดยได้จัดซื้อโดเมนไว้ ๒ ชื่อ คือ thaifacultysenate.com และ thaifacultysenate.org เพื่อให้สมาชิกและผู้สนใจในงานของ ปอมท. เรียกดู หรือดาวน์โหลดข้อมูลของ ปอมท. ไปใช้ประโยชน์ได้ โดยจะพยายามเก็บรวบรวมข้อมูลทุกอย่าง เท่าที่จะเก็บข้อมูลได้ ในอนาคต คิดว่าอาจจะทําแบบสอบถามผ่านอินเตอร์เน็ตให้ผู้ตอบแบบสอบามเข้ามาตอบได้นอกเหนือจากการ ส่งผ่านอีเมลล์ ซึ่งจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์แบบสอบถามได้ง่ายขึ้นเนื่องจากจะอยู่ในรูปของไฟล์ Microsoft Excel โดยอัตโนมัติ ได้ถอดเทปคําบรรยายของอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ ศ. ระพี สาคริก ส่งถึงทุกท่านผ่านทางอีเมลล์เพื่อช่วยตรวจสอบความถูกต้องแล้ว เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๒ งานสภาคณาจารย์ มจพ. ได้รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการจัด เตรียมการสัมมนาเจ้าหน้าที่สภาคณาจารย์ ซึ่งมีกําหนดจัดประชุมในวันที่ ๓๐ เมษายน และวันที่ ๑-๒
  • 17. การประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ ๓/๕๒ วันที่ ๑๘ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๑ ณ ห้องประชุม ศ.นพ. นที รักษ์พลเมือง มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา หน้าที่ พฤษภาคม ๒๕๕๒ ที่มหาวิทยาลัยบูรพา สําหรับรายละเอียดโครงการและสรุปผลการประชุมได้จัดเข้า เป็นวาระเพื่อพิจารณาด้วยแล้ว ที่ผ่านมาได้ร่วมพูดคุยกับสภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อติดตามผลเกี่ยวกับที่ทางที่ประชุม ปอ มท. ขอความอนุเคราะห์รับเป็นเจ้าภาพจัดประชุมสัมมนาวิชาการในช่วงปลายปี ซึ่งได้รับการตอบรับ เป็นเจ้าภาพเรียบร้อยแล้ว โดยได้รับคําแนะนําจากท่านอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดลว่า เมื่อจะจัด ประชุมวิชาการใดๆ จะต้องมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของผู้เข้าร่วมประชุมเป็นสําคัญ และจะต้อง จัดให้ดีที่สุด ผลการทาบทามที่ปรึกษา ปอมท. ๒ ท่าน คือ ศ.ดร.อานนท์. บุณยรัตเวช เลขาธิการ วช. และ ศ. ระพี สาคริก อดีตผู้ร่วมก่อตั้ง ปอมท. และประธาน ปอมท. ท่านแรก เป็น ทั้ง ๒ ท่านตอบรับการ ทาบทามแล้ว และแจ้งว่ายินดีให้ความร่วมมือกับ ปอมท. ในการรับเชิญมาให้คําบรรยาย หรือคําปรึกษา ตามโอกาสและความเหมาะสม ๑.๓.๑๗ เรื่องแจ้งจากสภาอาจารย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ขอให้หน่วยงาน รวมทั้ง สภาอาจารย์ส่งผู้แทนเข้าเป็นคณะกรรมการ จรรยาบรรณ จริยธรรมของบุคลากร และในวันที่ ๑๗ มีนาคม นี้ สภาอาจารย์จะได้มีการประชุมเพื่อ กําหนดบุคคลร่วมเป็นคณะกรรมการ สภามหาวิทยาลัย ได้มีมติให้ปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยการสรรหาอธิการบดี และคณบดี และตําแหน่งที่ เทียบเท่าคณบดีทั้งหมด และขณะนี้กรรมการสรรหาคณบดี ได้มีมติในเบื้องต้นว่า ให้หน่วยงานทุก หน่วยงาน เสนอความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ และส่งความคิดเห็นกลับภายในวันที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๒ ในเดือนเมษายนนี้ จะมีการลงคะแนนเลือกตั้งกรรมการสภาอาจารย์ กรณีทั่วไป จํานวน ๒๑ ท่าน แต่ เนื่องจากที่ผ่านมาวิธีลงคะแนนของบุคลากร สามารถมอบอํานาจให้ตัวแทนไปหย่อนบัตรได้ ๑ คน มอบ ได้ ๕ เสียง ซึ่งก็มีประเด็นของความไม่เหมาะสมและสง่างาม จึงได้ตั้งเงื่อนไขที่ใช้เป็นบรรทัดฐานคือ ไม่ให้มีการมอบอํานาจให้ลงคะแนนแทน แต่จะเปิดโอกาสให้มีการเลือกตั้งล่วงหน้าได้ และจะใช้ หลักเกณฑ์เดียวกันนี้กับการสรรหาอธิการบดีด้วย ๑.๓.๑๘ เรื่องแจ้งจากประธาน ปอมท. และสภาพนักงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น่าจะเป็นมหาวิทยาลัยในกับที่มีข้อบังคับมากที่สุดในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องมาจาก ในช่วงแรกของการปรับเปลี่ยนสถานภาพได้มีการเรียกร้องความชัดเจนในแนวปฏิบัติต่าง ๆ ให้มากที่สุด ซึ่งขณะนี้สภาพนักงานกําลังสอบถามไปยังบุคลากรมหาวิทยาลัยเพื่อรวบรวมข้อมูลเสนอต่อสภา มหาวิทยาลัย ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบังคับให้มีความเหมาะสม โปร่งใส และตอบสนองต่อความ ต้องการของบุคลากร ซึ่งผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้ในเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มติที่ประชุม รับทราบ