SlideShare a Scribd company logo
1 of 45
บทที่ ๒
แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมตามหลัก
ของแบนดูร่า
เมื่อแบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มทฤษฎีการ
เรียนรู้ทางสังคมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ดังนั้นการศึกษา
เรื่องแนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และแนวทางพัฒนา
พฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่าจึงน่าสนใจ แต่การจะ
ศึกษาทั้งสองประเด็นดังกล่าวจำาเป็นต้องเข้าใจเรื่องความหมาย
ของพฤติกรรมและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยาสมัยใหม่เป็น
พื้นฐานก่อน
๒.๑ ความหมายและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา
๒.๑.๑ ความหมายของพฤติกรรมในจิตวิทยา
ความหมายของพฤติกรรมสามารถศึกษาจากคำาอธิบาย
ของนักวิชาการต่างๆ โดยเริ่มจากคำาอธิบายของ เรย์ คอร์ซีนี
(Ray Corsini) ที่ว่า “พฤติกรรม หมายถึง การกระทำา ปฏิกิริยา
และการมีปฏิกิริยา เพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกหรือภายใน ซึ่ง
ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยการแสดงออก
กิจกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง และกระบวนการที่ไร้
สติสัมปชัญญะ”
“Actions, reactions, and interactions in reponse to
external or internal stimuli, including objectively observable
activities, instrospectively observable activities, and
unconscious processes.” - R. J. Corsini, The Dictionary of
Psychology, (New York, NY : Brunner-Routledge, 2002), p.
99, นอกจากนี้ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร
A-L), (กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๔๑ ยังได้
อธิบายคำาว่า สติสัมปชัญญะ (consciousness) ว่าหมายถึง การตระหนักรู้
เกี่ยวกับการสัมผัส ความคิด และความรู้สึก ซึ่งบุคคลมีประสบการณ์ในขณะ
นั้น.
โฮเวอร์ด ซี. วอร์เรน (Howard C. Warren) อธิบายว่า
พฤติกรรม คือ “ชื่อโดยทั่วไปของความเป็นไปได้ทุกรูปแบบของ
ระบบกล้ามเนื้อและระบบต่อมในการตอบสนองของชีวิตต่อการก
ระตุ้น”
แอนดรู เอ็ม. โคลแมน (Andrew M. Colman) ได้ให้
ความหมายของพฤติกรรมว่า กิจกรรมทางกายของสิ่งมีชีวิต รวม
ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเห็นได้ชัดทางสายตา และ
ต่อมภายในร่างกาย และระบบสรีรวิทยาซึ่งเป็นที่รวมของร่างกาย
ของสิ่งมีชีวิตและปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คำานี้ยัง
หมายถึงการตอบรับทางร่างกายต่อสิ่งที่มากระตุ้นหรือระดับของ
การกระตุ้นด้วย
ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรม
หมายถึง “การกระทำาหรืออาการที่แสดงออกทางท่าทาง ความคิด
และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า”
สุโท เจริญสุข อธิบายถึงพฤติกรรมว่าหมายถึง “อาการ
แสดงออกของอินทรีย์ทั้งทางกล้ามเนื้อและต่อม”
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ให้ความหมายพฤติกรรมว่า
“a generic name for all modes of muscular or
glandular response of the organism to stimulation”- H. C.
Warren, Dictionary of Psychology, (Cambridge, MA : The
Riberide Press, 1934), p. 30.
“The physical activity of an organism, including
overt bodily movements and internal glandular and other
physiological processes, constituting the sumtotal of the
organism’s physical responses to its environment. The term
also denotes the specific physical responses of an organism
to particular stimuli or classes of stimuli”- Andrew M.
Colman, Dictionary of Psychology, (New York : Oxford
University Press Inc., 2004), p. 83.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L),
(กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๒๒.
สุโท เจริญสุข, พจนานุกรมคำาศัพท์จิตวิทยา และ ประวัติ
จิตวิทยาสาระสำาคัญ, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์โอเดียนสโตร์,
๒๕๒๐), หน้า ๑๘.
12
สิ่งที่บุคคลกระทำา แสดงออก ตอบสนองหรือโต้ตอบต่อสิ่ง
ใดสิ่งหนึ่ง ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งที่สามารถ
สังเกตเห็นได้ ได้ยิน อีกทั้งวัดได้ตรงกัน ด้วยเครื่องมือที่เป็น
วัตถุวิสัย ไม่ว่าการแสดงออกหรือการตอบสนองนั้นจะเกิดขึ้น
ภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม เช่น การร้องไห้ การกิน
การวิ่ง การขว้าง การอ่านหนังสือ การเต้นของชีพจร การ
เต้นของหัวใจ การกระตุกของกล้ามเนื้อ เป็นต้น
พรรณราย ทรัพยะประภา ให้ความหมายพฤติกรรมว่า
“การกระทำาใดๆ ก็ตามซึ่งสามารถสังเกตได้โดยบุคคลอื่น หรือ
โดยการใช้เครื่องมือ พฤติกรรมมิได้หมายความเฉพาะแต่เพียง
การแสดงออกทางด้านร่างกายภายนอกเท่านั้น ยังรวมไปถึงการก
ระทำาหรือกิจกรรมภายในความรู้สึกของบุคคลด้วย”
กันยา สุวรรณแสง ให้ความหมายพฤติกรรมว่า “กิริยา
อาการ บทบาท ลีลา ท่าทาง การประพฤติ ปฏิบัติ การกระทำาที่
แสดงออกให้ปรากฏสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง
ใน ๕ ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส
และทางผิวหนัง หรือมิฉะนั้นก็สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือ”
ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริสุข อธิบายว่า
พฤติกรรม (Behavior) เป็นลักษณะของกิจกรรมหรือการก
ระทำาต่างๆ ที่สามารถสังเกต บันทึก และวัดได้ เป็นคำาที่ใช้
อย่างกว้างๆ เพื่อบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการกระทำาต่างๆ
ของอินทรีย์ทั้งภายในและภายนอก นั่นคือ อาการกระตุก
การฉีด หรือการเต้นซึ่งเกิดขึ้นในอวัยวะ ในต่อม หรือใน
โครงสร้างภายในอื่นๆ สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นพฤติกรรม แต่
ว่าเรามองไม่เห็นและสิ่งที่เรามองเห็นเมื่อมีการเคลื่อนไหว
ร่างกาย เช่น การเดิน การพูด หรือการให้สัญญาณ จัดได้
ว่าเป็นพฤติกรรมเช่นกัน การคิด, การจำา, การอยากรู้ สิ่ง
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, การปรับพฤติกรรม, (กรุงเทพมหานคร :
โอเดียนสโตร์ ,๒๕๒๖), หน้า ๒.
พรรณราย ทรัพยะประภา, จิตวิทยาอุตสาหกรรม,
(กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙), หน้า ๒.
กันยา สุวรรณแสง, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๔,
(กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา, ๒๕๔๒), หน้า ๙๒.
13
เหล่านี้มองไม่เห็นและไม่มีใครรู้นอกจากตัวเอง ก็เป็น
พฤติกรรมอีกเหมือนกัน
ประสานและทิพวรรณ หอมพูล ได้ให้ความหมายของคำา
ว่า “พฤติกรรม” ไว้เป็น ๒ นัยใหญ่ๆ ดังนี้ คือ
๑. หมายถึง การกระทำากิจกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตและ
บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้จากการกระทำากิจกรรมเหล่า
นั้น ซึ่งมีทั้งทางดีและทางไม่ดี เช่น การหัวเราะ การร้องไห้
เสียใจ การออกกำาลังกาย เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นผล
จากกระบวนการทางจิตวิทยา ได้แก่ การจูงใจ การเรียนรู้
การจำา การลืม และความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ๒. หมายถึง
กระบวนการต่างๆ ของบุคคลที่ปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมของ
บุคคลเหล่านั้นออกมาในรูปของการกระทำา หรือการ
แสดงออกของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่
ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
นอกจากนักวิชาการทางจิตวิทยาเหล่านี้ ยังมีนักวิชาการ
ท่านอื่นๆ ที่ให้ความหมายของพฤติกรรมไว้ซึ่งสอดคล้องกัน
ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริสุข, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่
๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๑), หน้า ๑๒.
ประสาน และทิพวรรณ หอมพูล. จิตวิทยาทั่วไป ,
(กรุงเทพมหานคร : พิศิษฐ์การพิมพ์ ,๒๕๓๗), หน้า ๗๓-๗๔.
Lida L. David off, Introduction to Psychology, (New
York : McGraw – Hill Book Company, 1987), p.7, มุกดา ศรียงค์
และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยรามคำาแหง, ๒๕๓๙, หน้า ๓, มธุรส สว่างบำารุง, จิตวิทยา
ทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : กิตติการพิมพ์, ๒๕๔๒), หน้า ๒, ศิริโสภาคย์
บูรพาเดชะ, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : คณะพาณืชยศาสตร์
และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙), หน้า ๓, อรทัย ชื่น
มนุษย์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร :
สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำาแหง, ๒๕๓๕), หน้า ๑๗, โยธิน ศันสนยุทธ์
และคณะ, จิตวิทยา, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๓๓),
หน้า ๓, ทรงพล ภูมิพัฒน์, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์
เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ๒๕๓๘),
หน้า ๑๒, เติมศักดิ์ คทวณิช, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด
ยูเคชั่น, ๒๕๔๖), หน้า ๑๒, ลิขิต กาญจนาภรณ์, จิตวิทยา : พื้นฐาน
พฤติกรรมมนุษย์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร,
ม.ป.พ.), หน้า ๓, โสภา ชูพิกุลชัย, ความรู้เบื้องต้นทางจิตวิทยา,
14
ดังนั้น คำาว่า “พฤติกรรม” (behavior) จึงหมายถึง การก
ระทำาทุกอย่างที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเพื่อตอบสนองสิ่ง
เร้า หรือสิ่งกระตุ้น ทั้งที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัส ที่ไม่สามารถ
สังเกตได้แต่รู้ได้โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และที่ต้อง
สังเกตด้วยตนเอง
ตัวอย่างในส่วนที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น เช่น
การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด การหัวเราะ การร้องไห้
การอ่านหนังสือ การแสดงความดีใจและเสียใจ ส่วนตัวอย่างใน
ส่วนที่จำาเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นั้น เช่น การวัด
ความดันโลหิต คลื่นสมอง และการวัดการเต้นของหัวใจ และ
ตัวอย่างในส่วนที่จำาเป็นต้องสังเกตด้วยตนเองนั้น เช่น การคิด
การจำา และการอยากรู้
๒.๑.๒ ประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา
(กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สูตรไพศาล, ๒๕๒๘), หน้า ๕, เอนกกุล กรี
แสง, จิตวิทยาทั่วไป, (พิษณุโลก : แผนกเอกสารและการพิมพ์โครงการ
ตำาราวิชาการมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๑๙), หน้า ๒, วิภาพร
มาพบสุข, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ,
๒๕๔๑) , หน้า ๓, สงวน สุทธิเลิศอรุณ, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร
: โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๓๒), หน้า ๔๖, วิทยา เชียงกูล, Dictionary of
Psychology and Self Development อธิบายศัพท์ จิตวิทยา
และการพัฒนาตนเอง, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๕๒),
หน้า ๓๒, สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ, พฤติกรรมองค์การ
ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัย
ธรรมศาสตร์ , ๒๕๔๑), หน้า ๑๓–๑๔.
15
พฤติกรรมสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พฤติกรรม
เปิดเผย (overt behavior) และพฤติกรรมปกปิด (covert
behavior) พฤติกรรมเปิดเผยสามารถสังเกตได้ด้วยประสาท
สัมผัสและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ส่วนพฤติกรรมปกปิดไม่
สามารถสังเกตได้ นอกจากการสังเกตกิริยาอาการที่เจ้าของ
พฤติกรรมแสดงออกมาผ่านพฤติกรรมเปิดเผยทางการกระทำาและ
คำาพูด เช่น การแสดงความโกรธออกมาทางสีหน้า การเลือก
สิ่งของบางอย่างที่เขาตัดสินใจแล้ว เป็นต้น
นอกจากนี้พฤติกรรมเปิดเผยยังสามารถแบ่งออกเป็น ๒
ลักษณะ คือ (๑) พฤติกรรมองค์รวม (molar behavior) ได้แก่
พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยด้วยประสาทสัมผัส โดยมิต้อง
อาศัยเครื่องมือ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หัวเราะ ร้องไห้
G. Egan, “Skill Helping: A Problem-Management
Framwork for Helping and Helper Training”, in Teaching
Psychological Skills : Models for Giving Psychology Away,
edited by D. Larson, (Monterey, CA : Brook/Cole Publishing
Company, 1984), p. 140, R. K. Sharma, and R. Sharma,
Social Psychology, (New Delhi : Atlantic Publisher and
Distributors, 1997), p. 181, N. H. Cobb, “Cognitive-
Behavioral Theory and Treatment”, in Theoretical
Perspectives for Direct Social Work Practice, edited by N.
Coady, and P. Lehmann, 2nd
edition, (New York, NY : Spring
Publishing Company, LLC, 2008), p. 223, R. A. Powell, D. G.
Symbaluk, and P. L. Honey, Introduction to Learning and
Behavior, 3rd
edition, (Belmont, CA : Wadsworth, 2009), pp.
53-54.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร M-Z),
(กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๕๐), หน้า ๒๘๙.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L),
หน้า ๔๔, มีการแปล overt behavior กับ covert behavior ว่า
พฤติกรรมภายนอก กับ พฤติกรรมภายใน ตามลำาดับ เช่นใน เติมศักดิ์ คท
วณิช, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๑๒, ลิขิต กาญจนาภรณ์, จิตวิทยา : พื้น
ฐานพฤติกรรมมนุษย์, หน้า ๔, ไพบูลย์ เทวรักษ์, จิตวิทยา ศึกษา
พฤติกรรมภายนอกและใน, หน้า ๕-๖, ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริ
สุข, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๑๒.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร M-Z),
หน้า ๒๖๒.
16
อ่านหนังสือ เล่นกีฬา เป็นต้น พฤติกรรมลักษณะนี้แสดงออก
อย่างมีความหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่กระทำาเพื่อให้บรรลุถึงจุด
ประสงค์บางประการที่หวังไว้ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจ
เกิดขึ้น พฤติกรรมองค์รวมนี้เป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน และนัก
จิตวิทยาสนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมประเภทนี้กันมาก
(๒) พฤติกรรมย่อย (molecular behavior) ได้แก่ พฤติกรรมที่
สังเกตได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น การวัดความดัน
โลหิต คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ การทำางานของต่อมต่าง ๆ ภายใน
ร่างกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการปฏิบัติงานของระบบกลไก
ที่ปฏิบัติตามคำาสั่งของสมอง
พฤติกรรมนอกจากสามารถจำาแนกเป็นพฤติกรรมเปิดเผย
กับพฤติกรรมปกปิดแล้ว ยังสามารถจำาแนกตามลักษณะการเกิด
เป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ (๑) พฤติกรรมติดตัวมาแต่กำาเนิด
(inborn หรือ innate behavior) หมายถึง การกระทำาที่
มนุษย์และสัตว์สามารถปฏิบัติได้ตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นไปตามวุฒิภาวะ
หรือความพร้อมของร่างกายโดยไม่จำาเป็นต้องฝึกหัดหรือผ่านการ
ฝึกฝนมาก่อน ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน อยู่ที่ใด และมีวัฒนธรรม
อย่างไรก็สามารถแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นได้เองตามธรรมชาติ
เช่น เด็กทารกสามารถนั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่งได้ด้วยตนเอง
เมื่อร่างกายมีความพร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้ เมื่อถึงกำาหนดระยะ
เวลาทุกคนสามารถทำาได้เหมือนกัน พฤติกรรมบางอย่างที่ติดตัว
มาแต่กำาเนิดในสัตว์เรียกว่า สัญชาตญาณ (instinet) เช่น
สัญชาตญาณ แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ สัญชาตญาณการสร้างรัง
ของนก เป็นต้น (๒) พฤติกรรมเรียนรู้ (learned behavior)
เป็นการกระทำาที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้รับการฝึกหัดหรือฝึกฝน
เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๖๒, มีการใช้หรือแปลทับศัพท์ทั้งคำาว่า
molar behavior กับ molecular behavior เช่นใน ชัยพร วิชชาวุธ,
มูลสารจิตวิทยา, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๕), หน้า ๑๖, สุวรี ศิวแพทย์, จิตวิทยาทั่วไป
, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๑๙), หน้า ๕๙, โสภา ชูพิกุลชัย,
ความรู้เบื้องต้นทางจิตวิทยา, หน้า ๖, เอนกกุล กรีแสง, จิตวิทยา
ทั่วไป, หน้า ๒, นอกจากนี้ยังมีการแปลว่า พฤติกรรมรวม กับ พฤติกรรม
แบบย่อย ตามลำาดับ เช่นใน ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, จิตวิทยาทั่วไป,
(กรุงเทพมหานคร : คณะพาณืชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙), หน้า ๔-๕.
17
แล้ว เช่น การว่ายนำ้า การขับรถ การพิมพ์ดีด ฯลฯ พฤติกรรม
เหล่านี้จะต้องมีการฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดการเรียนรู้ขึ้น พฤติกรรม
จึงเปลี่ยนจากทำาไม่ได้มาเป็นได้ ยิ่งมีการฝึกฝนบ่อยเท่าใดก็ยิ่งจะ
ทำาพฤติกรรมซับซ้อนมากกว่าพฤติกรรมของสัตว์มากมาย
พฤติกรรมที่แสดงออกของมนุษย์ในแต่ละสถานการณ์จะมีความ
แตกต่างกันแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อม
พฤติกรรมไม่เพียงสามารถจำาแนกออกเป็น ๒ ประเภท
เท่านั้น แต่ยังสามารถจำาแนกออกด้วยนัยอื่นอีก เช่น การจำาแนก
เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) พฤติกรรมทั่วไป ได้แก่พฤติกรรมที่บุคคล
แสดงออกโดยทั่ว ๆ ไป เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยสั่งการจาก
ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด การ
หัวเราะ การร้องไห้ และการกวักมือ (๒) พฤติกรรมปฏิกิริยา
สะท้อน (reflexion behavior) ได้แก่พฤติกรรมที่บุคคล
แสดงออกไปเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยฉับพลัน เช่น บุคคลที่
ถูกไฟฟ้าดูดจะชักส่วนของอวัยวะให้พ้นจากที่ถูกดูดโดยทันที
ทั้งนี้เซลล์ประสาทที่ผิวหนังจะส่งความรู้สึกตรงไปยังศูนย์รวม
เซลล์ประสาทที่ไขสันหลัง ณ ที่ศูนย์นี้จะสั่งการโดยฉับพลันให้
ตอบสนองในทันที ปฏิกิริยาสะท้อนในร่างกาย เช่น ม่านตาจะ
หรี่ลงถ้ามีแสงสว่างมากเกินไป และการกะพริบตาเพราะมีสิ่งเร้า
เข้าใกล้ (๓) พฤติกรรมที่ซับซ้อน (complex behavior)
ได้แก่ พฤติกรรมในลักษณะซับซ้อนยุ่งยาก ต้องใช้ระบบ
ประสาทส่วนกลาง หรือสมองในการคิดและแสดงออก เช่น
พฤติกรรมการคิด เล่นหมากรุก เล่นการพนัน เกมการต่อสู้ เกม
การแข่งขัน และการเรียนรู้
จากเนื้อหาทั้งหมดนี้สามารถแสดงให้เห็นว่าจิตวิทยา
จำาแนกพฤติกรรมเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายนัย อย่างไรก็ดี นัยที่
เป็นฐานความรู้ต่อการสร้างความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ใน
แนวคิดของแบนดูร่า คือ การจำาแนกพฤติกรรมออกเป็นพฤติกรรม
เปิดเผยกับพฤติกรรมปกปิด โดยที่พฤติกรรมเปิดเผยมี ๒ ลักษณะ
คือ พฤติกรรมองค์รวมกับพฤติกรรมย่อย ซึ่งรายละเอียดจะได้นำา
เสนอเป็นลำาดับไป
วิภาพร มาพบสุข, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๔.
สงวน สุทธิเลิศอรุณ, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๔๗.
18
๒.๒ ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า
นักจิตวิทยาชาวแคนาดา อัลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert
Bandura) ได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ซึ่งเป็น
ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์หนึ่งที่ได้รับความสนใจและการ
ยอมรับจากนักจิตวิทยา อย่างไรก็ดี การทำาความเข้าใจเรื่อง
พฤติกรรมมนุษย์ในแนวคิดของแบนดูร่าจำาเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ
ก่อนว่า ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่ามี
ขอบเขตของความหมายที่เหมือนหรือต่างไปจากการให้ความหมาย
จากหัวข้อที่ผ่านมา
พฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน
กับองค์ประกอบส่วนบุคคล แม้รายละเอียดจะได้ศึกษาในหัวข้อถัด
ไป แต่การเข้าใจองค์ประกอบส่วนบุคคลนี้จะสามารถสร้างความ
เข้าใจถึงความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าได้
ชัดเจนยิ่งขึ้น นักจิตวิทยาหรือนักวิชาการที่ศึกษาทฤษฎีของแบน
ดูร่าในส่วนนี้ ได้แสดงความเห็นว่า ในแนวคิดของแบนดูร่า องค์
ประกอบส่วนบุคคล คือ การรู้คิด (cognition, ซึ่งหมายรวมถึง
การรับรู้ การจำา และการคิด ฯ) อารมณ์ความรู้สึก และปฏิกิริยา
ภูมิหลังของอัลเบิร์ท แบนดูร่า ดูใน ภาคผนวก.
A. Bandura, Aggression : A Social Learning
Analysis, (Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall, Inc., 1973), p.
53, A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs,
NJ : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 9-13, A. Bandura, Social
Foundations of Thought and Action : A Social Cognitive
Theory, (Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall, Inc., 1986), p.
24.
A. J. Christensen, René Martin, and J. M. Smyth,
Encyclopedia of Health Psychology, (New York, NY : Kluwer
Acadamic/Plenum Publishers, 2004), p. 261, S. L. Williams,
and D. Cervone, “Social Cognitive Theories of Personality”, in
Advanced Personality, edited by D. F. Barone, M. Hersen,
and V. B. Van Hasselt, (New York, NY: Kluwer, 1998), p. 175,
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม, พิมพ์
ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๕๐), หน้า ๔๙.
ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L),
หน้า ๓๔.
19
เคมีภายในร่างกายของบุคคล ในขณะที่พฤติกรรมมุ่งเพียงแค่ส่วน
ที่สามารถแสดงออกมาทางการกระทำา และคำาพูดเท่านั้น
หากพิจารณาถึงองค์ประกอบส่วนบุคคลที่เป็นปัจจัยซึ่งกัน
และกันกับพฤติกรรมนั้น ในส่วนของการรู้คิดและอารมณ์ความ
รู้สึก แม้ในบางกรณีจะสามารถสังเกตผ่านการกระทำาและคำาพูดได้
แต่ยังถูกจัดเป็นพฤติกรรมปกปิดที่ไม่สามารถสังเกตได้ นอกจากนี้
ในส่วนของปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกายของบุคคลยังจัดเป็น
พฤติกรรมเปิดเผยประเภทพฤติกรรมย่อย
ในขณะที่พฤติกรรมนั้นมุ่งเพียงแค่ส่วนที่สามารถ
แสดงออกมาทางการกระทำา และคำาพูดดังกล่าว ซึ่งเป็นลักษณะ
ของพฤติกรรมเปิดเผย และการกระทำาและคำาพูดนั้นสามารถ
สังเกตเห็นได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือมาตรวจจับซึ่งเป็นลักษณะ
ของพฤติกรรมเปิดเผยในประเภทพฤติกรรมองค์รวม
ดังนั้น ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าจึง
มีขอบเขตเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงแคบกว่าความหมายของ
พฤติกรรมในจิตวิทยาที่ได้นำาเสนอไปข้างต้น โดยมุ่งไปที่พฤติกรรม
เปิดเผยที่เป็นองค์รวม เนื่องจากลัักษณะของส่วนประกอบส่วน
บุคคลและพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า
สรุป ความหมายของพฤติกรรมตามแนวคิดของแบนดูร่า
ได้แก่การแสดงออกของความคิด เขาเน้นความสำาคัญของบทบาท
ของความคิดซึ่งเป็นตัวกำาหนดพฤติกรรม เขาเห็นว่าความคิดเป็น
เหตุทำาให้เกิดพฤติกรรมอย่างแท้จริง พฤติกรรมเกิดขึ้นได้เพราะ
ปัจจัย ๓ อย่างเป็นตัวกำาหนดซึ่งกันและกัน กล่าวคือ บุคคล สิ่ง
แวดล้อม และพฤติกรรม
๒.๓ หลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า
จากหัวข้อที่ผ่านมาได้ทราบโดยสังเขปมาแล้วว่า
พฤติกรรมไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปัจจัยทาง
สภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว พฤติกรรมในแนวคิดของ แบน
ดูร่าเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันกับองค์ประกอบส่วนบุคคล ความซับ
ซ้อนของแนวคิดของแบนดูร่าไม่ใช่มีเพียงเท่านั้น พฤติกรรม องค์
ประกอบส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมนั้น แต่ละส่วนล้วนต่างเป็น
20
ปัจจัยซึ่งกันและกัน (reciprocal determinism) ซึ่งเขียนได้ดัง
ภาพต่อไปนี้
จากรูปนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรม (B) องค์ประกอบส่วน
บุคคล (P) และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม (E) มีอิทธิพลซึ่งกัน
และกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกำาหนดสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมก็สามารถกำาหนดพฤติกรรม พฤติกรรมสามารถ
กำาหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วนบุคคลก็สามารถ
กำาหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทำานองเดียวกัน องค์ประกอบ
ทางสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและ
กัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ในลักษณะเดียวกัน
เนื้อหาในเรื่องนี้ยังต้องทำาความเข้าใจอีกมาก แต่เพื่อง่าย
ต่อการนำาเสนอ งานวิจัยฉบับนี้จะใช้ตัวอักษรย่อ B P และ E แทน
พฤติกรรม องค์ประกอบส่วนบุคคล และองค์ประกอบทางสิ่ง
แวดล้อม ตามลำาดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
A. Bandura, Social Learning Theory, p.9.
Ibid, p.9.
A. Bandura, Social Foundations of Thought and
Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New
Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24, A. Bandura, Social
Learning Theory, pp. 9-10.
P
B E
ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood
Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 9-10,
A. Bandura, Social Foundations of Thought and
Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs,
New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24.
รูปที่ ๒.๑ รูปแสดงการกำาหนดซึ่งกันและกันของ
ปัจจัยทางพฤติกรรม (B) ปัจจัยทาง สภาพแวดล้อม
(E) และปัจจัยส่วนบุคคล (P)
21
การกำาหนดซึ่งกันและกันของ P กับ B เป็นปฏิสัมพันธ์
ระหว่างบุคคลกับพฤติกรรม และพฤติกรรมกับบุคคลซึ่งมีอิทธิพล
ต่อกันและกัน บุคคลสามารถกำาหนดพฤติกรรมได้ และพฤติกรรม
ก็สามารถกำาหนดบุคคลได้ ขึ้นอยู่กับความรู้สึก การรับรู้ การ
ตัดสิน ประสบการณ์และสติปัญญา ของบุคล เช่น การที่บุคคล
กางร่มกันแดด เพราะเขารับรู้ หรือมีความรู้สึกว่าแดดร้อน การกาง
ร่มก็เป็นตัวกำาหนดให้บุคคลต้องกางร่ม เพราะในสถานการณ์
บังคับคือบุคคลอาจจะมีวิธีป้องกันแดดได้หลายวิธีเช่น การใส่
หมวก การใช้แผ่นกระดาษหนาๆ กั้น การใช้ผ้ากั้น เป็นต้น แต่
ในสถานการณ์นั้นสิ่งเหล่านี้ไม่มี มีแต่ร่ม ดังนั้น เขาจึงกางร่ม
การกำาหนดซึ่งกันและกันของ E กับ P เป็นปฏิสัมพันธ์
ระหว่าง สภาพแวดล้อมกับบุคคล สภาพแวดล้อมสามารถกำาหนด
บุคคลได้และบุคคลก็สามารถกำาหนดสภาพแวดล้อมได้ เช่น
สภาพแวดล้อมทางสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ คติความเชื่อ ประเพณี
วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เป็นต้น สามารถกำาหนดให้บุคคลมีคติ
ความเชื่อตามสภาพแวดล้อมทางสังคม ในขณะเดียวกัน บุคคลก็
สามารถกำาหนดสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน เช่น บุคคลในสังคมอาจ
จะกำาหนดประเพณี วัฒนธรรม คติความเชื่อขึ้นมาในสังคมของ
ตน หรือยกเลิกประเพณี วัฒนธรรมบางอย่างที่เห็นว่าไม่เหมาะกับ
ยุคสมัยก็ได้ เช่น การประกาศเลิกทาสของรัชกาลที่ ๕ การ
ประกาศให้ยืนตรงเคารพธงชาติในเวลา ๐๘.๐๐ น. และเวลา
๑๘.๐๐ น. เป็นต้น
การกำาหนดซึ่งกันและกันของ B กับ E เป็นปฏิสัมพันธ์
ระหว่างพฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม และสภาพแวดล้อมกับ
พฤติกรรม ทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันและกัน และเป็นเงื่อนไขให้เกิด
การเปลี่ยนแปลงแก่กันและกันได้ กล่าวคือ สภาพแวดล้อมที่
เปลี่ยนไปทำาให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปด้วย แต่ทั้งสภาพแวดล้อมและ
พฤติกรรมจะไม่มีอิทธิพลต่อบุคคล จนกว่าจะมีพฤติกรรมบาง
อย่างเกิดขึ้น เช่น หัวหน้าไม่มีอิทธิพลต่อลูกน้อง จนกว่าจะถึง
เวลาเข้าทำางาน ผู้ปกครองจะไม่ชมเด็กถ้าเด็กยังไม่แสดง
พฤติกรรมที่จะให้ชื่นชม การที่พฤติกรรมกับสภาพแวดล้อมมี
อิทธิพลต่อกันและกันอย่างนี้ สภาพแวดล้อมจึงถูกสร้างขึ้นโดย
บุคคลและในขณะเดียวกันบุคคลก็เป็นผลผลิตของสภาพแวดล้อม
ด้วย
22
การที่ปัจจัยทั้ง ๓ ทำาหน้าที่กำาหนดซึ่งกันและกันนั้น ก็ไม่
ได้หมายความว่าทั้งสามปัจจัยนั้นจะมีอิทธิพลในการกำาหนดซึ่งกัน
และกันอย่างเท่าเทียมกัน บางปัจจัยอาจมีอิทธิพลมากกว่าอีกบาง
ปัจจัย และอิทธิพลของปัจจัยทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
หากแต่ต้องอาศัยเวลาในการที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะมีผลต่อการ
กำาหนดปัจจัย อื่น ๆ
ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมในการใช้ร่มกันแดดของบุคคล
บุคคลกางร่มเพื่อกันแดด (B) ซึ่งถูกกำาหนดโดยสิ่งแวดล้อม (E) คือ
อากาศร้อนจัดและแดดร้อนจัด (E) ทำาให้บุคคลต้องกางร่ม การ
กางร่มยังถูกกำาหนดโดยองค์ประกอบส่วนบุคคล (P) คือ บุคคล
นั้นอาจเป็นคนสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เป็นไข้หวัดง่าย และการ
ที่บุคคลนี้เป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง (P) จึงจำาเป็นต้องหาทาง
ควบคุมสิ่งแวดล้อมโดยการทำาให้แดดไม่สามารถถูกตัวเขาได้ (E)
ก็คือป้องกันด้วยการกางร่ม (B) ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรม องค์
ประกอบส่วนบุคคล และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมต่างก็มี
อิทธิพลซึ่งกันและกันตลอดเวลา
๒.๔ แนวคิดเรื่องการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดู
ร่า
แบนดูร่าไม่เพียงนำาเสนอถึงหลักการที่เกี่ยวกับพฤติกรรม
มนุษย์เท่านั้น แต่ยังเสนอแนวทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์อีก
ด้วย โดยมีแนวทางปฏิบัติอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. แนวทางการ
เรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning หรือ
modeling) ๒. แนวทางการกำากับตนเอง (self-regulation)
๓. แนวทางการรับรู้ความสามารถของตนเอง (self-efficacy)
๒.๔.๑ แนวทางการเรียนรู้โดยการสังเกต
การเรียนรู้โดยการสังเกตเป็นแนวทางปฏิบัติแรกในการ
ปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า ซึ่งรายละเอียดของ
แนวทางปฏิบัตินี้มีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงวิธีการและตัวแปรสำาคัญ
ของการเรียนรู้โดยการสังเกต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่ง
A, Bandura, “Social cognitive theory”, in Annals of
Child Development, edited by R. Vasta, (Greenwich, CT : JAI
Press, 1989), vol. 6, pp. 2-5.
23
แวดล้อม ขั้นตอน กระบวนการที่สำาคัญ และปัจจัยที่สำาคัญของ
การเรียนรู้โดยการสังเกต ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะได้นำาเสนอเป็น
ลำาดับไป
๒.๔.๑.๑ วิธีการเรียนรู้โดยการสังเกต
วิธีการเรียนรู้โดยการสังเกตของแบนดูร่าจำาแนกเป็น ๒
วิธี ได้แก่ การเรียนรู้จากผลของการกระทำา (learning by
response consequences) และการเรียนรู้จากการเลียนแบบ
(learning through modeling) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
24
ก. การเรียนรู้จากผลของการกระทำา
วิธีการเรียนรู้ที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้เบื้องต้นที่สุดและ
เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง คือ การเรียนรู้จากผลของ
การกระทำาทั้งทางบวกและทางลบ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
ถือว่ามนุษย์มีความสามารถทางสมองในการที่จะใช้ประโยชน์จาก
ประสบการณ์ที่ผ่านมา มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้ความ
สัมพันธ์ระหว่างการกระทำาและผลของการกระทำา กระบวนการ
เรียนรู้จากผลของการกระทำาจะทำาหน้าที่ ๓ ประการ คือ
๑. การทำาหน้าที่ให้ข้อมูล (informative
function) การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นไม่เพียงแต่เรียนรู้เพื่อการ
ตอบสนองเท่านั้น แต่มนุษย์ยังสังเกตผลของการกระทำานั้นด้วย
โดยการสังเกตความแตกต่างของผลที่ได้รับจากการกระทำาของ
เขาว่า การกระทำาใดในสภาพการณ์ใดก่อให้เกิดผลของการกระ
ทำาอย่างไร ข้อมูลด้านนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการกำาหนด
พฤติกรรมของมนุษย์ในอนาคต
๒. การทำาหน้าที่จูงใจ (motivational function)
กระบวนการเรียนรู้ผลของการกระทำาที่ทำาหน้าที่จูงใจ คือ ความ
เชื่อในการคาดหวังผลของการกระทำาของบุคคล เมื่อพิจารณาว่า
ผลของการกระทำาใดเป็นที่พึงปรารถนาย่อมจูงใจให้เกิดการกระ
ทำามาก ผลของการกระทำาใดไม่เป็นที่พึงปรารถนาย่อมจูงใจให้
เกิดการกระทำาน้อย และมนุษย์ย่อมพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำา
นั้น ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ผลของการกระทำาจึงสามารถจูงใจ
ให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมได้
๓. การทำาหน้าที่เสริมแรง (reinforcing
function) การกระทำาใดๆ ก็ตามถ้าได้รับการเสริมแรง การกระ
ทำานั้นย่อมมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก แต่สิ่งสำาคัญคือเงื่อนไขการเสริม
แรง (reinforcement contingency) ซึ่งบุคคลจะเรียนรู้ได้จาก
ข้อมูลเดิมและการจูงใจ ตลอดจนการหาข้อสรุปได้ถูกต้อง การ
เสริมแรงจะไม่มีอิทธิพลเลย ถ้าบุคคลไม่รู้ว่าเงื่อนไขการเสริมแรง
มีไว้ว่าอย่างไร การเสริมแรงในที่นี้จะเน้นถึงการกระทำาให้
พฤติกรรมนั้นคงอยู่มากกว่าการสร้างพฤติกรรมใหม่
A. Bandura, Social learning theory, pp. 17-22.
25
ข. การเรียนรู้จากการเลียนแบบ
การเรียนรู้ของมนุษย์จากผลของการกระทำามีข้อจำากัด
อยู่มาก ทั้งนี้เพราะสิ่งที่จะเรียนรู้มีมากกว่าที่เวลาและโอกาสจะ
อำานวย ดังนั้นการเรียนรู้จากการเลียนแบบจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่
ทำาให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้น
พฤติกรรมของมนุษย์หลายอย่างเกิดขึ้นมาโดยที่มนุษย์ไม่เคยมี
ประสบการณ์ตรงเลย แต่มนุษย์สังเกตเห็นตัวแบบหรือผู้อื่นกระทำา
เช่น คนส่วนมากงดเว้นจากการเสพเฮโรอีน ทั้งๆ ที่ไม่เคยประสบ
กับผลของการกระทำาที่จะได้รับจากการเสพเฮโรอีน ทั้งนี้เพราะ
คนเหล่านี้เรียนรู้ว่า การเสพเฮโรอีนจะได้รับผลของการกระทำา
ทางลบ คือ การทำาลายสุขภาพจนถึงการตายในที่สุด การเรียนรู้
เช่นนี้ไม่ได้เรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง แต่เรียนรู้จากการสังเกต
ตัวแบบ คือ เห็นผู้อื่นเสพแล้วได้รับผลของการกระทำาทางลบดัง
กล่าวจึงงดเว้นการเสพเฮโรอีน ตัวแบบอาจเป็นตัวแบบจริงตัว
แบบจากภาพยนตร์ หรือตัวแบบในรูปของสิ่งอื่นๆ
การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยการ
สังเกตเป็นสำาคัญ กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบจะ
ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำาคัญ ๔ ประการ ซึ่งจะได้กล่าว
ถึงรายละเอียดในหัวข้อถัดๆ ไปที่ว่าด้วยกระบวนการสำาคัญใน
การเรียนรู้โดยการสังเกต
๒.๔.๑.๒ ตัวแปรสำาคัญของการเรียนรู้โดยการ
สังเกต
ในเบื้องต้นเมื่อพิจารณาการเลียนแบบ น่าจะเป็นกระ
บวนการตรงไปตรงมาไม่สลับซับซ้อน เมื่อมีผู้สังเกตการณ์และตัว
แบบ การเลียนแบบย่อมดำาเนินไปได้ แต่เกิดคำาถามขึ้นว่า ผู้
สังเกตการณ์จะยอมเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบหรือไม่ การ
ค้นหาคำาตอบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง
ตัวแปรตัวหนึ่ง คือ คุณลักษณะของบุคลิกภาพของผู้
สังเกตการณ์ ยกตัวอย่างเช่น เพศของผู้สังเกตการณ์อาจเป็นตัว
กำาหนดว่าเขาจะเลียนแบบหรือไม่ เพราะบางครั้งพฤติกรรมของ
Ibid, pp. 22-24.
A. Bandura, Social learning theory, p. 25.
26
เพศหนึ่งกับอีกเพศหนึ่งเลียนแบบกันไม่ได้ นอกจากนี้ เด็กผู้ชาย
จะก้าวร้าวมากกว่าเวลาดูตัวแบบชายที่ก้าวร้าว ส่วนเด็กผู้หญิงจะ
ก้าวร้าวมากกว่าเวลาดูตัวแบบผู้หญิงที่ก้าวร้าว ทั้งๆ ที่มีการ
เปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานะของสตรีในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่าน
มา และเด็กๆ ชายหญิงมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบคนเพศเดียวกัน
และบุคคลที่ขาดความเชื่อมั่นหรือบุคคลที่ไม่เก่ง รวมทั้งคนที่มี
พฤติกรรมเลียนแบบที่เคยถูกเสริมแรงมาก่อน จะมีแนวโน้มที่จะ
เลียนแบบตัวแบบที่ประสบความสำาเร็จ
นอกจากคุณลักษณะและประสบการณ์ในอดีตของผู้
สังเกตการณ์แล้ว คุณลักษณะของตัวแบบยังมีส่วนสำาคัญต่อ
กระบวนการเลียนแบบ ผู้สังเกตการณ์จะเลียนแบบคนเก่งมากกว่า
คนไม่เก่ง นอกจากนี้ คนเลียนแบบยังชอบเลียนแบบคนที่ดูแลตัว
เองและคนที่ให้รางวัลกับตัว และชอบเลียนแบบคนที่ควบคุม
ทรัพยากรในอนาคตของผู้เลียนแบบ รางวัลหรือการทำาโทษที่
เกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวแบบสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม
เลียนแบบ เราเรียนรู้เมื่อเราเห็นว่าพฤติกรรมของคนอื่นได้รับการ
เสริมแรง แล้วเราจึงปรับพฤติกรรมตาม ดูเหมือนว่าข้อนี้จะง่ายเกิน
ไป คนต้องหยุดคิดก่อนแล้วค่อยเลียนแบบไม่ใช่เลียนแบบกัน
ง่ายๆ โดยการเห็นผู้อื่นได้ของแล้วก็ทำาตาม เพราะการทำาตามแบบ
นั้นอันตราย เพราะถ้าคนอื่นถูกหลอกเราย่อมถูกหลอกด้วย หรือ
การเสริมแรงจากการเห็นคนอื่นได้นี้มีชื่อว่า “vicarious
reinforcement”
แบนดูร่าได้ทำาการทดลองโดยการให้ตัวแบบแสดงความ
ก้าวร้าวในห้องแล็บกับตุ๊กตา Bobo doll ในทุกรูปแบบ เด็กซึ่ง
เป็นเด็กกลุ่มควบคุม (control group) เห็นแค่ภาพของความ
ก้าวร้าว แต่ไม่เห็นผล ส่วนเด็กที่ถูกทดลอง (experimental
group) ได้เห็นภาพที่ตัวแบบได้รับรางวัลหรือถูกทำาโทษที่ทำา
A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Imitation of
film-mediated aggressive models”, Journal of Abnormal
and Social Psychology, vol. 66 no. 1 (1963) : 3-11.
K. Bussey, and A. Bandura, “Social cognitive theory of
gender development and differentiation”, Psychological
Review, vol. 106 (1999) : 676-713.
A. Bandura, Social learning theory, p. 122.
Ibid, p p. 122-125.
27
อย่างนั้น ในสภาพที่ให้รางวัล ผู้ใหญ่อีกคนชมตัวแบบที่ก้าวร้าว
แล้วให้โซดาป้อบและลูกอม ส่วนในสภาพที่ทำาโทษ ผู้ใหญ่อีกคน
พูดดูหมิ่นตัวแบบ กล่าวหาว่าขี้ขลาดและเป็นจอมรังแก นอกจากนี้
ผู้ใหญ่ที่มาทำาโทษตัวแบบ ยังใช้หนังสือพิมพ์ที่ม้วนไว้ตีเขา และขู่
ว่าจะตีอีกถ้าแสดงความก้าวร้าว ตัวแปรอิสระในเรื่องนี้ คือ วิธี
การเสริมแรงซึ่งใช้กับตัวแบบที่ก้าวร้าว ตัวแปรตาม (dependent
variable) คือ พฤติกรรมของเด็กเมื่อถูกปล่อยให้เป็นอิสระใน
สภาพทั้งสามอย่างที่พวกเขาเผชิญ เด็กถูกพาไปที่ห้องอื่นที่มี
ตุ๊กตา Bobo doll โดยมีลูกบอลสามลูก ไม้ตีและไม้กระดาน ที่มี
ตอหมุด และของเล่นอื่นๆ มีของให้เล่นมาก เพื่อว่าเด็กจะได้เลือก
ว่าจะก้าวร้าวหรือไม่ก้าวร้าวได้ จากนั้นผู้ทดลองจะออกจากห้อง
ให้ดูเหมือนว่าจะไปเอาของเล่นมาอีก เด็กๆ ถูกปล่อยให้เล่นตาม
ลำาพัง และผู้ทดลองได้สังเกตพวกเด็กๆ จากกระจกด้านเดียว
ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหมาย เด็กที่ได้เห็นตัวแบบรับรางวัลจะ
เลียนแบบตัวแบบที่ก้าวร้าวมากกว่าตัวแบบที่ถูกทำาโทษ การ
ทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นการเสริมแรงและการทำาโทษสร้าง
พฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมือนกัน เด็กอาจจะไร้เดียงสา ถูก
จัดการได้ง่าย แต่ผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่านี้อีกทั้งการ
ทดลองเป็นสภาพซึ่งไม่จริง ถ้าอยู่ในชีวิตจริง เด็กๆ อาจมี
พฤติกรรมที่ต่างกันก็ได้ เพราะเวลาเด็กก้าวร้าว ผู้ใหญ่จะเตือน
และสั่งสอนเด็กก็จะไม่เลียนแบบ
เมื่อพิจารณาต่อไปจะเกิดคำาถามอีกว่า มีการเลียนแบบ
จริงในสภาพที่ถูกเสริมแรง แล้วเด็กจะรับเป็นพฤติกรรมของตน
หรือไม่ และเป็นไปได้หรือไม่ว่าเด็กทุกคนได้เรียนรู้พฤติกรรมแต่มี
พวกเห็นเขาได้รับรางวัลและไม่เห็นใครถูกทำาโทษเท่านั้นที่เลียน
แบบ แบนดูร่าได้ทำาการทดลองต่อไป โดยการให้ของรางวัลที่น่า
สนใจถ้าเลียนแบบ ผลปรากฏว่าเด็กทุกคนเลียนแบบหมด บท
เรียนข้อนี้คือต้องสอนลูกให้มีภูมิต้านทางสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้
ถูกหลอก
A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Transmission of
aggressive Through imitation of aggressive models”,
Journal of Abnormal and Social Psychology, vol. 63, Issue
3, (November 1961) : 575-582.
28
ปัญหาที่รุนแรงอีกประการ คือ ปัญหาความก้าวร้าวทาง
สังคม โดยการดูหนัง ดูทีวี ถ้าการเลียนแบบเกิดขึ้นได้ง่าย สังคม
ย่อมเต็มไปด้วยคนก้าวร้าว แต่ตามความเป็นจริง มนุษย์รู้จัก
แยกแยะ ด้วยเหตุนี้ แม้หนังและทีวีจะรุนแรง แต่คนจะไม่เลียน
แบบกันเยอะ แม้สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความก้าวร้าวได้ ทั้งนี้เพราะ
มนุษย์ซึ่งรวมทั้งเด็กส่วนใหญ่รู้จักแยกแยะ
๒.๔.๑.๓ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่ง
แวดล้อม
แบนดูร่า มีความเห็นว่าทั้งสิ่งแวดล้อม และตัวผู้เรียนมี
ความสำาคัญเท่าๆ กัน แบนดูรากล่าวว่า คนเรามีปฏิสัมพันธ์
(interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอการเรียนรู้เกิด
จาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่ง
แวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะ
เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือ
การเลียนแบบจากตัวแบบ (modeling) สำาหรับตัวแบบไม่จำาเป็น
ต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น
ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพ
การ์ตูนหนังสือก็ได้ นอกจากนี้ คำาบอกเล่าด้วยคำาพูดหรือข้อมูลที่
เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ การเรียนรู้โดยการ
สังเกตไม่ใช่การลอกแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยผู้เรียนไม่คิด
คุณสมบัติของผู้เรียนมีความสำาคัญ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความ
สามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า และสามารถสร้างรหัสหรือกำาหนด
สัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำาระยะยาว และสามารถ
เรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
แบนดูราได้เริ่มทำาการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการ
สังเกต หรือการเลียนแบบ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นต้นมา ได้
ทำาการวิจัยเป็นโครงการระยะยาว และได้ทำาการพิสูจน์สมมติฐาน
A. Bandura, J. E. Grusex, and F. L. Menlove,
“Observational Learning as a Function of Symbolization and
Incentive Set”, Child Development, vol. 37 no. 3 (1966) :
499-506.
29
ที่ตั้งไว้ทีละอย่าง โดยใช้กลุ่มทดลองและควบคุมอย่างละเอียดและ
เป็นขั้นตอน
การเรียนรู้โดยการสังเกต สามารถประยุกต์ใช้ในการ
สอนได้ เช่น การเรียนรู้ที่จะเล่นฟุตบอล วิธีการเล่นฟุตบอลส่วน
ใหญ่เรียนรู้โดยการสังเกต และแม้แต่เด็กที่กลัวที่จะไปพบ
ทันตแพทย์ เพื่อที่จะถอนฟันที่กำาลังปวด นักจิตวิทยาชื่อ เครก
(Craig) ใช้การเรียนรู้โดยการสังเกตช่วยเด็กที่กลัวการไปพบ
ทันตแพทย์ โดยแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง
ให้ดูภาพยนตร์ ที่ตัวแบบกลัวทันตแพทย์ แต่พยายามควบคุม
ความกลัวไม่แสดงออก หลังจากทันตแพทย์ถอนฟันแล้วได้รับคำา
ชมเชย และได้ของเล่น หลังจากดูภาพยนตร์เด็กกลุ่มที่หนึ่งจะวิก
ตกกังวล และกลัวการไปพบทันตแพทย์น้อยกว่าเด็กกลุ่มที่สอง
ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ดูภาพยนตร์
การทดลองของแบนดูราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการ
สังเกตหรือเลียนแบบมีผู้นำาไปทำาซำ้า ปรากฏผลการทดลองเหมือน
กับแบนดูราได้รับ นอกจากนี้มีนักจิตวิทยาหลายท่านได้ใช้แบบ
การเรียนรู้ โดยวิธีการสังเกตในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ
๒.๔.๑.๔ ขั้นของการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือ
เลียนแบบ
แบนดูรากล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมด้วยการรู้คิดจาก
การเลียนแบบมี ๒ ขั้น คือ ขั้นแรกเป็นขั้นการได้รับมาซึ่งการ
เรียนรู้ (acquisition) ทำาให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้ ขั้นที่ ๒
เรียกว่าขั้นการกระทำา (performance) ซึ่งอาจจะกระทำาหรือไม่
กระทำาก็ได้ การแบ่งขั้นของการเรียนรู้แบบนี้ทำาให้ทฤษฎีการ
เรียนรู้ของแบนดูราแตกต่างจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมชนิดอื่นๆ
การเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น ๒ ขั้น อาจจะแสดงด้วยแผนผังที่ ๒.๒
เช่น A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross,
“Transmission of aggressive Through imitation of aggressive
models”, pp. 575-582, A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross,
“Imitation of film-mediated aggressive models”, pp. 3-11.
จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๖,
(กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า
๑๓๗.
30
และขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำาคัญ
เป็นลำาดับ ๓ ลำาดับ ดังแสดงในแผนผังที่ ๒.๓
จากแผนผังนี้เห็นว่า ส่วนประกอบทั้ง ๓ อย่าง ของการ
รับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการรู้คิด (cognitive
สิ่งเร้า
หรือ
การรับ
เข้า
(Input
)
บุคคล
(Pers
on)
พฤติกรรม
สนองตอบ
หรือการส่ง
ออก
(output)ขั้นที่
๑
ขั้นที่
๒
ขั้นการรับมาซึ่ง
ความรู้
(Acquisition)
ขั้นการกระทำา
(Performance
)
ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood
Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 79.
รูปภาพที่ ๒.๒ แผนผังขั้นของการเรียนรู้โดยการ
เลียนแบบ
ความใส่ใจเลือก
สิ่งเร้า
Selective
Attention
การเข้า
รหัส
(Codin
g)
การ
จดจำา
(Reten
tion)
ตัว
แบบ
inp
ut
mo
del
ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood
Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 38.
รูปภาพที่ ๒.๓ แผนผังส่วนประกอบของการเรียนรู้
ขึ้นกับการรับมาซึ่งการเรียนรู้
31
processes) ความใส่ใจที่เลือกสิ่งเร้ามีบทบาทสำาคัญในการเลือก
ตัวแบบ
สำาหรับขั้นการกระทำา (performance) นั้นขึ้นอยู่กับผู้
เรียน เช่น ความสามารถทางด้านร่างกาย ทักษะต่างๆ รวมทั้ง
ความคาดหวังที่จะได้รับแรงเสริมซึ่งเป็นแรงจูงใจ
๒.๔.๑.๕ กระบวนการที่สำาคัญในการเรียนรู้โดย
การสังเกต
แบนดูราได้อธิบายว่ากระบวนการที่สำาคัญในการเรียนรู้
โดยการสังเกตหรือการเรียนรู้โดยตัวแบบมีทั้งหมด ๔ อย่างคือ ก.
กระบวนการความเอาใจใส่ (attention) ข. กระบวนการจดจำา
(retention) ค. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง
(reproduction) ง. กระบวนการการจูงใจ (motivation)
A. Bandura, Social Foundations of Thought and
Action : A Social cognitive theory, (Prentice-Hall, Inc.,
Englewood Cliffs, New Jersey 1986), pp. 51-70, A. Bandura,
A Social learning theory, (Prentice-Hall, Inc., Englewood
Cliffs, New Jersey 1976), pp. 23-28, A. Bandura, Principles
of Behavior Modification, (Holt, Rinehart and Winston, Inc,
New York, 1969), pp. 136-143, A. Bandura, Aggression : a
social learning analysis, (Prentice-Hall, Inc., Englewood
Cliffs, New Jersey 1973), pp. 68-72.
32
ในตอนเริ่มแรกของการวิจัย ที่แบนดูร่าใช้ชื่อว่าทฤษฎี
การเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) แล้วเปลี่ยนชื่อ
เป็น การเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (social cognitive theory)
รูปภาพที่ ๒.๔ แผนผังกระบวนการในการเรียนรู้โดย
การสังเกต
กระบวนการตั้งใจ
เหตุการณ์ของตัวแบบ
เด่นชัด
ก่อให้เกิดความพึง
พอใจ
ความซับซ้อน
ดึงดูดจิตใจ
มีคุณค่า
ผู้สังเกต
ความสามารถในการ
รับรู้
ชุดของการรับรู้
ความสามารถทาง
ปัญญา
ระดับของการตื่นตัว
ความชอบจากการ
เรียนรู้มาก่อน
กระบวนการเก็บจำา
การเก็บรหัสเป็น
สัญลักษณ์
การจัดระบบโครงสร้าง
ทางปัญญา
การซักซ้อมทางปัญญา
การซักซ้อมด้วยการก
ระทำา
ผู้สังเกต
ทักษะทางปัญญา
โครงสร้างทางปัญญา
กระบวนการกระทำา
สิ่งที่จำาได้ในปัญญา
การสังเกตการกระทำา
การได้ข้อมูลป้อนกลับ
การเทียบเคียงการกระ
ทำากับภาพในปัญญา
ผู้สังเกต
ความสามารถทาง
ร่างกาย
ทักษะในพฤติกรรม
ย่อย ๆ
กระบวนการจูงใจ
สิ่งล่อใจภายนอก
การรับรู้
วัตถุสิ่งของ
สังคม
ควบคุม
สิ่งล่อใจที่เห็นผู้อื่นได้
รับ
สิ่งล่อใจตนเอง
วัตถุสิ่งของ
การประเมินตนเอง
ผู้สังเกต
ความพึงพอใจในสิ่งล่อ
ใจ
ความลำาเอียงจากการ
เปรียบเทียบ
ทางสังคม
มาตรฐานภายในของ
ตนเอง
ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood
Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 23.
ความใส่ใจ
attention
การจดจำา
retention
การแสดง
พฤติกรรม
เหมือนตัวอย่าง
reproduction
แรงจูงใจ
motivation
ที่มา. A, Bandura, Social Foundations of Thought and
Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New
Jersey, Prentice-Hall, Inc., 1997), p. 23.
รูปภาพที่ ๒.๕ แผนผังกระบวนการในการเรียนรู้โดย
การสังเกต
33
ก. กระบวนการความใส่ใจ ( attentional processes )
ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำาคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มี
ความใส่ใจในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบก็จะไม่
เกิดขึ้น ดังนั้น การเรียนรู้แบบนี้ความใส่ใจจึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้เรียน
จะต้องมี แบนดูรากล่าวว่าผู้เรียนจะต้องรับรู้ส่วนประกอบที่สำาคัญ
ของพฤติกรรมของผู้ที่เป็นตัวแบบ องค์ประกอบที่สำาคัญของตัว
แบบที่มีอิทธิพลต่อความใส่ใจของผู้เรียนมีหลายอย่าง เช่น เป็นผู้
ที่มีเกียรติสูง (High Status) มีความสามารถสูง (High
Competence) หน้าตาดี รวมทั้งการแต่งตัว การมีอำานาจที่จะให้
รางวัลหรือลงโทษ
คุณลักษณะของผู้เรียนก็มีความสัมพันธ์กับกระบวนการ
ใส่ใจ ตัวอย่างเช่น วัยของผู้เรียน ความสามารถทางด้านพุทธิ
ปัญญา ทักษะทางการใช้มือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้ง
ตัวแปรทางบุคลิกภาพของผู้เรียน เช่น ความรู้สึกว่าตนนั้นมีค่า
(Self-Esteem) ความต้องการและทัศนคติของผู้เรียน ตัวแปร
เหล่านี้มักจะเป็นสิ่งจำากัดขอบเขตของการเรียนรู้โดยการสังเกต
ตัวอย่างเช่น ถ้าครูต้องการให้เด็กวัยอนุบาลเขียนพยัญชนะไทยที่
ยาก ๆ เช่น ฆ ม โดยพยายามแสดงการเขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง
ทักษะการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวของเด็กวัยอนุบาลยังไม่
พร้อมฉะนั้นเด็กวัยอนุบาลบางคนจะเขียนหนังสือตามที่ครูคาด
หวังไม่ได้
A. Bandura, Social Learning Theory, p. 24-25.
34
ข. กระบวนการจดจำา (Retention Process)
แบนดูรา อธิบายว่า การที่ผู้เรียนหรือผู้สังเกตสามารถที่จะ
เลียนแบบหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบได้ก็เป็นเพราะผู้
เรียนบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไว้ในความจำาระยะยาว แบน
ดูรา พบว่าผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรม หรือการกระทำา
ของตัวแบบด้วยคำาพูด หรือสามารถมีภาพพจน์สิ่งที่ตนสังเกตไว้
ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำาสิ่งที่เรียนรู้โดยการสังเกตได้ดีกว่าผู้
ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำางานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุป
แล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ
(Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำาพูดหรือถ้อยคำา
(Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ
จากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน ๆ และนอกจากนี้ถ้าผู้
สังเกตหรือ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้อง
เรียนรู้ซำ้าก็จะเป็นการช่วยความจำาให้ดียิ่งขึ้น
ค. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ (Motor
Reproduction Process)
กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเป็นกระบวน
การที่ผู้เรียน แปรสภาพ (Transform) ภาพพจน์ (Visual
Image) หรือสิ่งที่จำาไว้เป็นการเข้ารหัสเป็นถ้อยคำา (Verbal
Coding) ในที่สุดแสดงออกมาเป็นการกระทำาหรือแสดง
พฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ ปัจจัยที่สำาคัญของกระบวนการนี้คือ
ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำาเป็นจะต้องใช้ในการ
เลียนแบบของผู้เรียน ถ้าหากผู้เรียนไม่มีความพร้อมก็จะไม่สามารถ
ที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้
แบนดูรา กล่าวว่าการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียน
แบบ ไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียน
รู้โดยการสังเกตประกอบด้วยกระบวนการทางพุทธิปัญญา
(Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้
เรียน ฉะนั้นในขั้นการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ
(Reproduction) ของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันไปผู้เรียนบาง
คนก็อาจจะทำาได้ดีกว่าตัวแบบที่ตนสังเกตหรือบางคนก็สามารถ
A. Bandura, Social Learning Theory, pp.25-26.
35
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑

More Related Content

What's hot

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน ม.ต้น
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน  ม.ต้นเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน  ม.ต้น
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน ม.ต้นpeter dontoom
 
สมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไกสมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไก593non
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามพัน พัน
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์สมศรี หอมเนียม
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 7
สุขฯ ม.2 หน่วย 7สุขฯ ม.2 หน่วย 7
สุขฯ ม.2 หน่วย 7supap6259
 
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นพจีกานต์ หว่านพืช
 
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหากำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหาฐิติรัตน์ สุขสวัสดิ์
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์kruood
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายSantichon Islamic School
 
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552Duangjai Boonmeeprasert
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1พัน พัน
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตsripayom
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพณัฐะ หิรัญ
 
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5Kruthai Kidsdee
 

What's hot (20)

เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน ม.ต้น
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน  ม.ต้นเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน  ม.ต้น
เฉลยแบบทดสอบหลังเรียน วิชาอินเตอร์เนตกับการเรียนรู้ไร้พรมแดน ม.ต้น
 
สมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไกสมรรถภาพทางกลไก
สมรรถภาพทางกลไก
 
ใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมายใบงานกฎหมาย
ใบงานกฎหมาย
 
ศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลามศาสนาอิสลาม
ศาสนาอิสลาม
 
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
แบบรายงานการแสดงทางวิทยาศาสตร์
 
สุขฯ ม.2 หน่วย 7
สุขฯ ม.2 หน่วย 7สุขฯ ม.2 หน่วย 7
สุขฯ ม.2 หน่วย 7
 
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่นเศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
เศรษฐกิจพอเพียงกับการผลิตสินค้าและบริการในท้องถิ่น
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
ข้อสอบวิทย์เรื่องเซลล์ 1
 
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหากำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
กำหนดการสอน วิชา วิทยาศาสตร์กับการแก้ปัญหา
 
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
แบบประเมินงานนำเสนอในรูปแบบออนไลน์
 
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่ายงานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
งานนำเสนอลิลิตเตลงพ่าย
 
ใบงาน2
ใบงาน2ใบงาน2
ใบงาน2
 
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
เรียงความ ชนะเลิศ วันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2552
 
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1IS1  การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
IS1 การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ กลุ่ม1
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1ม.2 ภาคเรียนที่ 1
ม.2 ภาคเรียนที่ 1
 
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิตแบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
แบบฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ป.1สิ่งมีชีวิต
 
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพหน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 : เทคโนโลยีเพื่อการทำงานอาชีพ
 
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
แผนการสอนสุขศึกษา ม.5
 

Viewers also liked

Social Learning Theory version Thailand
Social Learning Theory version ThailandSocial Learning Theory version Thailand
Social Learning Theory version Thailandcodexstudio
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Banduraทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Banduraearlychildhood024057
 
Social Learning Theory
Social Learning TheorySocial Learning Theory
Social Learning Theorykremikie
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Dulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee
DulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeDulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee
Dulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeejaviera1696
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
Two Decades In Infrastructure
Two Decades In InfrastructureTwo Decades In Infrastructure
Two Decades In Infrastructurestefanwallmann
 
Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.KUMAR LANG
 
Van datajournalistiek naar datajournalisme
Van datajournalistiek naar datajournalismeVan datajournalistiek naar datajournalisme
Van datajournalistiek naar datajournalismeArjan Fassed
 
Roots of independence
Roots of independenceRoots of independence
Roots of independencevgrinb
 

Viewers also liked (20)

Social Learning Theory version Thailand
Social Learning Theory version ThailandSocial Learning Theory version Thailand
Social Learning Theory version Thailand
 
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Banduraทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Bandura
 
Social Learning Theory
Social Learning TheorySocial Learning Theory
Social Learning Theory
 
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓
แปลโดยพยัญชนะเรื่องพราหมณ์ชื่อว่าจูเฬกสาฎก๓
 
ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
ปกสารนิพนธ์ (พฤติกรรม)๑
 
Dulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee
DulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeDulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee
Dulceeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeeee
 
RAM
RAMRAM
RAM
 
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
บทความเรื่องการบริหารงานตามหลักฆราวาสธรรม ๒
 
บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่บทที่ ๒ ใหม่
บทที่ ๒ ใหม่
 
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
บทที่ ๓ กรรม (ฉบับปรับปรุง)
 
Two Decades In Infrastructure
Two Decades In InfrastructureTwo Decades In Infrastructure
Two Decades In Infrastructure
 
ทดสอบไวยากรณ์ สมาส Power point 50
ทดสอบไวยากรณ์ สมาส Power point 50ทดสอบไวยากรณ์ สมาส Power point 50
ทดสอบไวยากรณ์ สมาส Power point 50
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.Failed Sales Training? Here's your answer.
Failed Sales Training? Here's your answer.
 
Van datajournalistiek naar datajournalisme
Van datajournalistiek naar datajournalismeVan datajournalistiek naar datajournalisme
Van datajournalistiek naar datajournalisme
 
Migración y Biopolítica.
Migración y Biopolítica. Migración y Biopolítica.
Migración y Biopolítica.
 
Used to
Used toUsed to
Used to
 
Roots of independence
Roots of independenceRoots of independence
Roots of independence
 
01essay
01essay01essay
01essay
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(2)
 

Similar to บทที่ ๒ (จริง)๑

9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592CUPress
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทpentanino
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้kungcomedu
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้Sasipron Tosuk
 

Similar to บทที่ ๒ (จริง)๑ (20)

บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑บทที่ ๒ (จริง)๑
บทที่ ๒ (จริง)๑
 
9789740330592
97897403305929789740330592
9789740330592
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)บทที่ ๑ (จริง)
บทที่ ๑ (จริง)
 
บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)บทที่ ๔ (จริง)
บทที่ ๔ (จริง)
 
Astroplan10
Astroplan10Astroplan10
Astroplan10
 
Intro sciproject
Intro sciprojectIntro sciproject
Intro sciproject
 
ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่ภารกิจครูมือใหม่
ภารกิจครูมือใหม่
 
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาทศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
ศึกษาเปรียบเทียบหลักจริยศาสตร์ของโสคราตีสกับพุทธปรัชญาเถรวาท
 
51105
5110551105
51105
 
จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2จิตวิทยาการเรียนร้2
จิตวิทยาการเรียนร้2
 
จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้จิตวิทยาการเรียนร้
จิตวิทยาการเรียนร้
 
สังคมศึกษา ปลาย
สังคมศึกษา ปลายสังคมศึกษา ปลาย
สังคมศึกษา ปลาย
 
อังกฤษ ปลาย
อังกฤษ ปลายอังกฤษ ปลาย
อังกฤษ ปลาย
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
งานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinkingงานนำเสนอ Thinking
งานนำเสนอ Thinking
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์

กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑วัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 

More from วัดดอนทอง กาฬสินธุ์ (20)

กถาวัตถุ
กถาวัตถุกถาวัตถุ
กถาวัตถุ
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓    กสิณ ๑๐
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๓ กสิณ ๑๐
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๒) สัปดาห์ที่ ๒
 
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
กรรมฐาน (สื่อการสอน ๑) สัปดาห์ที่ ๑
 
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
กรรมฐาน (เอกสาร ๑)
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒องค์ประกอบของการสัมมนา๒
องค์ประกอบของการสัมมนา๒
 
รูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนารูปแบบการสัมมนา
รูปแบบการสัมมนา
 
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
เอกสารประกอบการสอน วิชา สัมมนาพระพุทธศาสนา1
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
ธรรมภาคปฏิบัติ ๑ รหัส ๐๐๐ ๑๕๑
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Pptธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ Ppt
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
ธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
ธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
๐๐๐ ๒๕๔ ธรรมภาคปฏิบัติ ๔
 
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำรายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
รายละเอียดวิชาพระสงฆ์กับภาวะผู้นำ
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๓
 
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
มคอ ๓ วิชาธรรมภาคปฏิบัติ ๕
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษ1
 
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
รายละเอียดวิชาพระไตรปิฎกศึกษา(1)
 
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
แนวข้อสอบวิชาแปลบาลีเป็นไทย แปลไทยเป็นบาลี ๑ ครั้งที่ ๑
 

บทที่ ๒ (จริง)๑

  • 1. บทที่ ๒ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการปรับพฤติกรรมตามหลัก ของแบนดูร่า เมื่อแบนดูร่า (Bandura) เป็นนักจิตวิทยากลุ่มทฤษฎีการ เรียนรู้ทางสังคมที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ดังนั้นการศึกษา เรื่องแนวทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์และแนวทางพัฒนา พฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่าจึงน่าสนใจ แต่การจะ ศึกษาทั้งสองประเด็นดังกล่าวจำาเป็นต้องเข้าใจเรื่องความหมาย ของพฤติกรรมและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยาสมัยใหม่เป็น พื้นฐานก่อน ๒.๑ ความหมายและประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา ๒.๑.๑ ความหมายของพฤติกรรมในจิตวิทยา ความหมายของพฤติกรรมสามารถศึกษาจากคำาอธิบาย ของนักวิชาการต่างๆ โดยเริ่มจากคำาอธิบายของ เรย์ คอร์ซีนี (Ray Corsini) ที่ว่า “พฤติกรรม หมายถึง การกระทำา ปฏิกิริยา และการมีปฏิกิริยา เพื่อตอบสนองสิ่งเร้าภายนอกหรือภายใน ซึ่ง ครอบคลุมไปถึงกิจกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยการแสดงออก กิจกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง และกระบวนการที่ไร้ สติสัมปชัญญะ” “Actions, reactions, and interactions in reponse to external or internal stimuli, including objectively observable activities, instrospectively observable activities, and unconscious processes.” - R. J. Corsini, The Dictionary of Psychology, (New York, NY : Brunner-Routledge, 2002), p. 99, นอกจากนี้ ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L), (กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๔๑ ยังได้ อธิบายคำาว่า สติสัมปชัญญะ (consciousness) ว่าหมายถึง การตระหนักรู้ เกี่ยวกับการสัมผัส ความคิด และความรู้สึก ซึ่งบุคคลมีประสบการณ์ในขณะ นั้น.
  • 2. โฮเวอร์ด ซี. วอร์เรน (Howard C. Warren) อธิบายว่า พฤติกรรม คือ “ชื่อโดยทั่วไปของความเป็นไปได้ทุกรูปแบบของ ระบบกล้ามเนื้อและระบบต่อมในการตอบสนองของชีวิตต่อการก ระตุ้น” แอนดรู เอ็ม. โคลแมน (Andrew M. Colman) ได้ให้ ความหมายของพฤติกรรมว่า กิจกรรมทางกายของสิ่งมีชีวิต รวม ถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายอย่างเห็นได้ชัดทางสายตา และ ต่อมภายในร่างกาย และระบบสรีรวิทยาซึ่งเป็นที่รวมของร่างกาย ของสิ่งมีชีวิตและปฏิกิริยาของร่างกายที่มีต่อสิ่งแวดล้อม คำานี้ยัง หมายถึงการตอบรับทางร่างกายต่อสิ่งที่มากระตุ้นหรือระดับของ การกระตุ้นด้วย ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ว่า พฤติกรรม หมายถึง “การกระทำาหรืออาการที่แสดงออกทางท่าทาง ความคิด และความรู้สึก เพื่อตอบสนองสิ่งเร้า” สุโท เจริญสุข อธิบายถึงพฤติกรรมว่าหมายถึง “อาการ แสดงออกของอินทรีย์ทั้งทางกล้ามเนื้อและต่อม” สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต ให้ความหมายพฤติกรรมว่า “a generic name for all modes of muscular or glandular response of the organism to stimulation”- H. C. Warren, Dictionary of Psychology, (Cambridge, MA : The Riberide Press, 1934), p. 30. “The physical activity of an organism, including overt bodily movements and internal glandular and other physiological processes, constituting the sumtotal of the organism’s physical responses to its environment. The term also denotes the specific physical responses of an organism to particular stimuli or classes of stimuli”- Andrew M. Colman, Dictionary of Psychology, (New York : Oxford University Press Inc., 2004), p. 83. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L), (กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๔๘), หน้า ๒๒. สุโท เจริญสุข, พจนานุกรมคำาศัพท์จิตวิทยา และ ประวัติ จิตวิทยาสาระสำาคัญ, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๐), หน้า ๑๘. 12
  • 3. สิ่งที่บุคคลกระทำา แสดงออก ตอบสนองหรือโต้ตอบต่อสิ่ง ใดสิ่งหนึ่ง ในสภาพการณ์ใดสภาพการณ์หนึ่งที่สามารถ สังเกตเห็นได้ ได้ยิน อีกทั้งวัดได้ตรงกัน ด้วยเครื่องมือที่เป็น วัตถุวิสัย ไม่ว่าการแสดงออกหรือการตอบสนองนั้นจะเกิดขึ้น ภายในหรือภายนอกร่างกายก็ตาม เช่น การร้องไห้ การกิน การวิ่ง การขว้าง การอ่านหนังสือ การเต้นของชีพจร การ เต้นของหัวใจ การกระตุกของกล้ามเนื้อ เป็นต้น พรรณราย ทรัพยะประภา ให้ความหมายพฤติกรรมว่า “การกระทำาใดๆ ก็ตามซึ่งสามารถสังเกตได้โดยบุคคลอื่น หรือ โดยการใช้เครื่องมือ พฤติกรรมมิได้หมายความเฉพาะแต่เพียง การแสดงออกทางด้านร่างกายภายนอกเท่านั้น ยังรวมไปถึงการก ระทำาหรือกิจกรรมภายในความรู้สึกของบุคคลด้วย” กันยา สุวรรณแสง ให้ความหมายพฤติกรรมว่า “กิริยา อาการ บทบาท ลีลา ท่าทาง การประพฤติ ปฏิบัติ การกระทำาที่ แสดงออกให้ปรากฏสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่ง ใน ๕ ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส และทางผิวหนัง หรือมิฉะนั้นก็สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือ” ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริสุข อธิบายว่า พฤติกรรม (Behavior) เป็นลักษณะของกิจกรรมหรือการก ระทำาต่างๆ ที่สามารถสังเกต บันทึก และวัดได้ เป็นคำาที่ใช้ อย่างกว้างๆ เพื่อบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในการกระทำาต่างๆ ของอินทรีย์ทั้งภายในและภายนอก นั่นคือ อาการกระตุก การฉีด หรือการเต้นซึ่งเกิดขึ้นในอวัยวะ ในต่อม หรือใน โครงสร้างภายในอื่นๆ สิ่งเหล่านี้นับได้ว่าเป็นพฤติกรรม แต่ ว่าเรามองไม่เห็นและสิ่งที่เรามองเห็นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ร่างกาย เช่น การเดิน การพูด หรือการให้สัญญาณ จัดได้ ว่าเป็นพฤติกรรมเช่นกัน การคิด, การจำา, การอยากรู้ สิ่ง สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, การปรับพฤติกรรม, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์ ,๒๕๒๖), หน้า ๒. พรรณราย ทรัพยะประภา, จิตวิทยาอุตสาหกรรม, (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๒๙), หน้า ๒. กันยา สุวรรณแสง, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (กรุงเทพมหานคร : อักษรพิทยา, ๒๕๔๒), หน้า ๙๒. 13
  • 4. เหล่านี้มองไม่เห็นและไม่มีใครรู้นอกจากตัวเอง ก็เป็น พฤติกรรมอีกเหมือนกัน ประสานและทิพวรรณ หอมพูล ได้ให้ความหมายของคำา ว่า “พฤติกรรม” ไว้เป็น ๒ นัยใหญ่ๆ ดังนี้ คือ ๑. หมายถึง การกระทำากิจกรรมต่างๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตและ บุคคลอื่นสามารถสังเกตเห็นได้จากการกระทำากิจกรรมเหล่า นั้น ซึ่งมีทั้งทางดีและทางไม่ดี เช่น การหัวเราะ การร้องไห้ เสียใจ การออกกำาลังกาย เป็นต้น สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นผล จากกระบวนการทางจิตวิทยา ได้แก่ การจูงใจ การเรียนรู้ การจำา การลืม และความรู้สึกนึกคิด เป็นต้น ๒. หมายถึง กระบวนการต่างๆ ของบุคคลที่ปฏิบัติต่อสภาพแวดล้อมของ บุคคลเหล่านั้นออกมาในรูปของการกระทำา หรือการ แสดงออกของมนุษย์ โดยมีวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภายใต้กลไกของความรู้สึกนึกคิดของตนเอง นอกจากนักวิชาการทางจิตวิทยาเหล่านี้ ยังมีนักวิชาการ ท่านอื่นๆ ที่ให้ความหมายของพฤติกรรมไว้ซึ่งสอดคล้องกัน ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริสุข, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๔๑), หน้า ๑๒. ประสาน และทิพวรรณ หอมพูล. จิตวิทยาทั่วไป , (กรุงเทพมหานคร : พิศิษฐ์การพิมพ์ ,๒๕๓๗), หน้า ๗๓-๗๔. Lida L. David off, Introduction to Psychology, (New York : McGraw – Hill Book Company, 1987), p.7, มุกดา ศรียงค์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, ภาควิชาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำาแหง, ๒๕๓๙, หน้า ๓, มธุรส สว่างบำารุง, จิตวิทยา ทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : กิตติการพิมพ์, ๒๕๔๒), หน้า ๒, ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : คณะพาณืชยศาสตร์ และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙), หน้า ๓, อรทัย ชื่น มนุษย์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำาแหง, ๒๕๓๕), หน้า ๑๗, โยธิน ศันสนยุทธ์ และคณะ, จิตวิทยา, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๓๓), หน้า ๓, ทรงพล ภูมิพัฒน์, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ เทคโนโลยีทางการศึกษา ฝ่ายเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยศรีปทุม, ๒๕๓๘), หน้า ๑๒, เติมศักดิ์ คทวณิช, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ด ยูเคชั่น, ๒๕๔๖), หน้า ๑๒, ลิขิต กาญจนาภรณ์, จิตวิทยา : พื้นฐาน พฤติกรรมมนุษย์, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร, ม.ป.พ.), หน้า ๓, โสภา ชูพิกุลชัย, ความรู้เบื้องต้นทางจิตวิทยา, 14
  • 5. ดังนั้น คำาว่า “พฤติกรรม” (behavior) จึงหมายถึง การก ระทำาทุกอย่างที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตแสดงออกมาเพื่อตอบสนองสิ่ง เร้า หรือสิ่งกระตุ้น ทั้งที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัส ที่ไม่สามารถ สังเกตได้แต่รู้ได้โดยอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ และที่ต้อง สังเกตด้วยตนเอง ตัวอย่างในส่วนที่สังเกตได้ด้วยประสาทสัมผัสนั้น เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม พูด การหัวเราะ การร้องไห้ การอ่านหนังสือ การแสดงความดีใจและเสียใจ ส่วนตัวอย่างใน ส่วนที่จำาเป็นต้องอาศัยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์นั้น เช่น การวัด ความดันโลหิต คลื่นสมอง และการวัดการเต้นของหัวใจ และ ตัวอย่างในส่วนที่จำาเป็นต้องสังเกตด้วยตนเองนั้น เช่น การคิด การจำา และการอยากรู้ ๒.๑.๒ ประเภทของพฤติกรรมในจิตวิทยา (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สูตรไพศาล, ๒๕๒๘), หน้า ๕, เอนกกุล กรี แสง, จิตวิทยาทั่วไป, (พิษณุโลก : แผนกเอกสารและการพิมพ์โครงการ ตำาราวิชาการมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ, ๒๕๑๙), หน้า ๒, วิภาพร มาพบสุข, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, ๒๕๔๑) , หน้า ๓, สงวน สุทธิเลิศอรุณ, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ทิพยวิสุทธิ์, ๒๕๓๒), หน้า ๔๖, วิทยา เชียงกูล, Dictionary of Psychology and Self Development อธิบายศัพท์ จิตวิทยา และการพัฒนาตนเอง, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์เดือนตุลา, ๒๕๕๒), หน้า ๓๒, สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ, พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ , ๒๕๔๑), หน้า ๑๓–๑๔. 15
  • 6. พฤติกรรมสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ พฤติกรรม เปิดเผย (overt behavior) และพฤติกรรมปกปิด (covert behavior) พฤติกรรมเปิดเผยสามารถสังเกตได้ด้วยประสาท สัมผัสและเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ส่วนพฤติกรรมปกปิดไม่ สามารถสังเกตได้ นอกจากการสังเกตกิริยาอาการที่เจ้าของ พฤติกรรมแสดงออกมาผ่านพฤติกรรมเปิดเผยทางการกระทำาและ คำาพูด เช่น การแสดงความโกรธออกมาทางสีหน้า การเลือก สิ่งของบางอย่างที่เขาตัดสินใจแล้ว เป็นต้น นอกจากนี้พฤติกรรมเปิดเผยยังสามารถแบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ (๑) พฤติกรรมองค์รวม (molar behavior) ได้แก่ พฤติกรรมที่สามารถสังเกตได้ด้วยด้วยประสาทสัมผัส โดยมิต้อง อาศัยเครื่องมือ เช่น การยืน เดิน นั่ง นอน หัวเราะ ร้องไห้ G. Egan, “Skill Helping: A Problem-Management Framwork for Helping and Helper Training”, in Teaching Psychological Skills : Models for Giving Psychology Away, edited by D. Larson, (Monterey, CA : Brook/Cole Publishing Company, 1984), p. 140, R. K. Sharma, and R. Sharma, Social Psychology, (New Delhi : Atlantic Publisher and Distributors, 1997), p. 181, N. H. Cobb, “Cognitive- Behavioral Theory and Treatment”, in Theoretical Perspectives for Direct Social Work Practice, edited by N. Coady, and P. Lehmann, 2nd edition, (New York, NY : Spring Publishing Company, LLC, 2008), p. 223, R. A. Powell, D. G. Symbaluk, and P. L. Honey, Introduction to Learning and Behavior, 3rd edition, (Belmont, CA : Wadsworth, 2009), pp. 53-54. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร M-Z), (กรุงเทพมหานคร : ศักดิโสภาการพิมพ์, ๒๕๕๐), หน้า ๒๘๙. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L), หน้า ๔๔, มีการแปล overt behavior กับ covert behavior ว่า พฤติกรรมภายนอก กับ พฤติกรรมภายใน ตามลำาดับ เช่นใน เติมศักดิ์ คท วณิช, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๑๒, ลิขิต กาญจนาภรณ์, จิตวิทยา : พื้น ฐานพฤติกรรมมนุษย์, หน้า ๔, ไพบูลย์ เทวรักษ์, จิตวิทยา ศึกษา พฤติกรรมภายนอกและใน, หน้า ๕-๖, ถวิล ธาราโภชน์, ศรัณย์ ดำาริ สุข, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๑๒. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร M-Z), หน้า ๒๖๒. 16
  • 7. อ่านหนังสือ เล่นกีฬา เป็นต้น พฤติกรรมลักษณะนี้แสดงออก อย่างมีความหมาย ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่กระทำาเพื่อให้บรรลุถึงจุด ประสงค์บางประการที่หวังไว้ หรือเพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายที่อาจ เกิดขึ้น พฤติกรรมองค์รวมนี้เป็นพฤติกรรมที่ซับซ้อน และนัก จิตวิทยาสนใจศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมประเภทนี้กันมาก (๒) พฤติกรรมย่อย (molecular behavior) ได้แก่ พฤติกรรมที่ สังเกตได้ด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ เช่น การวัดความดัน โลหิต คลื่นสมอง คลื่นหัวใจ การทำางานของต่อมต่าง ๆ ภายใน ร่างกาย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นการปฏิบัติงานของระบบกลไก ที่ปฏิบัติตามคำาสั่งของสมอง พฤติกรรมนอกจากสามารถจำาแนกเป็นพฤติกรรมเปิดเผย กับพฤติกรรมปกปิดแล้ว ยังสามารถจำาแนกตามลักษณะการเกิด เป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ (๑) พฤติกรรมติดตัวมาแต่กำาเนิด (inborn หรือ innate behavior) หมายถึง การกระทำาที่ มนุษย์และสัตว์สามารถปฏิบัติได้ตั้งแต่เกิด ซึ่งเป็นไปตามวุฒิภาวะ หรือความพร้อมของร่างกายโดยไม่จำาเป็นต้องฝึกหัดหรือผ่านการ ฝึกฝนมาก่อน ไม่ว่าจะเกิดที่ไหน อยู่ที่ใด และมีวัฒนธรรม อย่างไรก็สามารถแสดงพฤติกรรมเหล่านั้นได้เองตามธรรมชาติ เช่น เด็กทารกสามารถนั่ง คลาน ยืน เดิน วิ่งได้ด้วยตนเอง เมื่อร่างกายมีความพร้อมที่จะเคลื่อนไหวได้ เมื่อถึงกำาหนดระยะ เวลาทุกคนสามารถทำาได้เหมือนกัน พฤติกรรมบางอย่างที่ติดตัว มาแต่กำาเนิดในสัตว์เรียกว่า สัญชาตญาณ (instinet) เช่น สัญชาตญาณ แมลงเม่าบินเข้ากองไฟ สัญชาตญาณการสร้างรัง ของนก เป็นต้น (๒) พฤติกรรมเรียนรู้ (learned behavior) เป็นการกระทำาที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ได้รับการฝึกหัดหรือฝึกฝน เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๖๒, มีการใช้หรือแปลทับศัพท์ทั้งคำาว่า molar behavior กับ molecular behavior เช่นใน ชัยพร วิชชาวุธ, มูลสารจิตวิทยา, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๕), หน้า ๑๖, สุวรี ศิวแพทย์, จิตวิทยาทั่วไป , (กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์, ๒๕๑๙), หน้า ๕๙, โสภา ชูพิกุลชัย, ความรู้เบื้องต้นทางจิตวิทยา, หน้า ๖, เอนกกุล กรีแสง, จิตวิทยา ทั่วไป, หน้า ๒, นอกจากนี้ยังมีการแปลว่า พฤติกรรมรวม กับ พฤติกรรม แบบย่อย ตามลำาดับ เช่นใน ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ, จิตวิทยาทั่วไป, (กรุงเทพมหานคร : คณะพาณืชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๙), หน้า ๔-๕. 17
  • 8. แล้ว เช่น การว่ายนำ้า การขับรถ การพิมพ์ดีด ฯลฯ พฤติกรรม เหล่านี้จะต้องมีการฝึกฝนบ่อยๆ จนเกิดการเรียนรู้ขึ้น พฤติกรรม จึงเปลี่ยนจากทำาไม่ได้มาเป็นได้ ยิ่งมีการฝึกฝนบ่อยเท่าใดก็ยิ่งจะ ทำาพฤติกรรมซับซ้อนมากกว่าพฤติกรรมของสัตว์มากมาย พฤติกรรมที่แสดงออกของมนุษย์ในแต่ละสถานการณ์จะมีความ แตกต่างกันแล้วแต่ปัจจัยแวดล้อม พฤติกรรมไม่เพียงสามารถจำาแนกออกเป็น ๒ ประเภท เท่านั้น แต่ยังสามารถจำาแนกออกด้วยนัยอื่นอีก เช่น การจำาแนก เป็น ๓ ประเภท คือ (๑) พฤติกรรมทั่วไป ได้แก่พฤติกรรมที่บุคคล แสดงออกโดยทั่ว ๆ ไป เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า โดยสั่งการจาก ระบบประสาทส่วนกลาง เช่น การเคลื่อนไหว การพูด การ หัวเราะ การร้องไห้ และการกวักมือ (๒) พฤติกรรมปฏิกิริยา สะท้อน (reflexion behavior) ได้แก่พฤติกรรมที่บุคคล แสดงออกไปเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าโดยฉับพลัน เช่น บุคคลที่ ถูกไฟฟ้าดูดจะชักส่วนของอวัยวะให้พ้นจากที่ถูกดูดโดยทันที ทั้งนี้เซลล์ประสาทที่ผิวหนังจะส่งความรู้สึกตรงไปยังศูนย์รวม เซลล์ประสาทที่ไขสันหลัง ณ ที่ศูนย์นี้จะสั่งการโดยฉับพลันให้ ตอบสนองในทันที ปฏิกิริยาสะท้อนในร่างกาย เช่น ม่านตาจะ หรี่ลงถ้ามีแสงสว่างมากเกินไป และการกะพริบตาเพราะมีสิ่งเร้า เข้าใกล้ (๓) พฤติกรรมที่ซับซ้อน (complex behavior) ได้แก่ พฤติกรรมในลักษณะซับซ้อนยุ่งยาก ต้องใช้ระบบ ประสาทส่วนกลาง หรือสมองในการคิดและแสดงออก เช่น พฤติกรรมการคิด เล่นหมากรุก เล่นการพนัน เกมการต่อสู้ เกม การแข่งขัน และการเรียนรู้ จากเนื้อหาทั้งหมดนี้สามารถแสดงให้เห็นว่าจิตวิทยา จำาแนกพฤติกรรมเป็นประเภทต่างๆ ได้หลายนัย อย่างไรก็ดี นัยที่ เป็นฐานความรู้ต่อการสร้างความเข้าใจเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ใน แนวคิดของแบนดูร่า คือ การจำาแนกพฤติกรรมออกเป็นพฤติกรรม เปิดเผยกับพฤติกรรมปกปิด โดยที่พฤติกรรมเปิดเผยมี ๒ ลักษณะ คือ พฤติกรรมองค์รวมกับพฤติกรรมย่อย ซึ่งรายละเอียดจะได้นำา เสนอเป็นลำาดับไป วิภาพร มาพบสุข, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๔. สงวน สุทธิเลิศอรุณ, จิตวิทยาทั่วไป, หน้า ๔๗. 18
  • 9. ๒.๒ ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า นักจิตวิทยาชาวแคนาดา อัลเบิร์ท แบนดูร่า (Albert Bandura) ได้พัฒนาทฤษฎีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม ซึ่งเป็น ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรมมนุษย์หนึ่งที่ได้รับความสนใจและการ ยอมรับจากนักจิตวิทยา อย่างไรก็ดี การทำาความเข้าใจเรื่อง พฤติกรรมมนุษย์ในแนวคิดของแบนดูร่าจำาเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจ ก่อนว่า ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่ามี ขอบเขตของความหมายที่เหมือนหรือต่างไปจากการให้ความหมาย จากหัวข้อที่ผ่านมา พฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าเป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน กับองค์ประกอบส่วนบุคคล แม้รายละเอียดจะได้ศึกษาในหัวข้อถัด ไป แต่การเข้าใจองค์ประกอบส่วนบุคคลนี้จะสามารถสร้างความ เข้าใจถึงความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าได้ ชัดเจนยิ่งขึ้น นักจิตวิทยาหรือนักวิชาการที่ศึกษาทฤษฎีของแบน ดูร่าในส่วนนี้ ได้แสดงความเห็นว่า ในแนวคิดของแบนดูร่า องค์ ประกอบส่วนบุคคล คือ การรู้คิด (cognition, ซึ่งหมายรวมถึง การรับรู้ การจำา และการคิด ฯ) อารมณ์ความรู้สึก และปฏิกิริยา ภูมิหลังของอัลเบิร์ท แบนดูร่า ดูใน ภาคผนวก. A. Bandura, Aggression : A Social Learning Analysis, (Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall, Inc., 1973), p. 53, A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 9-13, A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social Cognitive Theory, (Englewood Cliffs, NJ : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24. A. J. Christensen, René Martin, and J. M. Smyth, Encyclopedia of Health Psychology, (New York, NY : Kluwer Acadamic/Plenum Publishers, 2004), p. 261, S. L. Williams, and D. Cervone, “Social Cognitive Theories of Personality”, in Advanced Personality, edited by D. F. Barone, M. Hersen, and V. B. Van Hasselt, (New York, NY: Kluwer, 1998), p. 175, สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม, พิมพ์ ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๐), หน้า ๔๙. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์จิตวิทยา, (อักษร A-L), หน้า ๓๔. 19
  • 10. เคมีภายในร่างกายของบุคคล ในขณะที่พฤติกรรมมุ่งเพียงแค่ส่วน ที่สามารถแสดงออกมาทางการกระทำา และคำาพูดเท่านั้น หากพิจารณาถึงองค์ประกอบส่วนบุคคลที่เป็นปัจจัยซึ่งกัน และกันกับพฤติกรรมนั้น ในส่วนของการรู้คิดและอารมณ์ความ รู้สึก แม้ในบางกรณีจะสามารถสังเกตผ่านการกระทำาและคำาพูดได้ แต่ยังถูกจัดเป็นพฤติกรรมปกปิดที่ไม่สามารถสังเกตได้ นอกจากนี้ ในส่วนของปฏิกิริยาเคมีภายในร่างกายของบุคคลยังจัดเป็น พฤติกรรมเปิดเผยประเภทพฤติกรรมย่อย ในขณะที่พฤติกรรมนั้นมุ่งเพียงแค่ส่วนที่สามารถ แสดงออกมาทางการกระทำา และคำาพูดดังกล่าว ซึ่งเป็นลักษณะ ของพฤติกรรมเปิดเผย และการกระทำาและคำาพูดนั้นสามารถ สังเกตเห็นได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือมาตรวจจับซึ่งเป็นลักษณะ ของพฤติกรรมเปิดเผยในประเภทพฤติกรรมองค์รวม ดังนั้น ความหมายของพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่าจึง มีขอบเขตเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจงแคบกว่าความหมายของ พฤติกรรมในจิตวิทยาที่ได้นำาเสนอไปข้างต้น โดยมุ่งไปที่พฤติกรรม เปิดเผยที่เป็นองค์รวม เนื่องจากลัักษณะของส่วนประกอบส่วน บุคคลและพฤติกรรมในแนวคิดของแบนดูร่า สรุป ความหมายของพฤติกรรมตามแนวคิดของแบนดูร่า ได้แก่การแสดงออกของความคิด เขาเน้นความสำาคัญของบทบาท ของความคิดซึ่งเป็นตัวกำาหนดพฤติกรรม เขาเห็นว่าความคิดเป็น เหตุทำาให้เกิดพฤติกรรมอย่างแท้จริง พฤติกรรมเกิดขึ้นได้เพราะ ปัจจัย ๓ อย่างเป็นตัวกำาหนดซึ่งกันและกัน กล่าวคือ บุคคล สิ่ง แวดล้อม และพฤติกรรม ๒.๓ หลักการเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ของแบนดูร่า จากหัวข้อที่ผ่านมาได้ทราบโดยสังเขปมาแล้วว่า พฤติกรรมไม่ได้เกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปัจจัยทาง สภาพแวดล้อมแต่เพียงอย่างเดียว พฤติกรรมในแนวคิดของ แบน ดูร่าเป็นปัจจัยซึ่งกันและกันกับองค์ประกอบส่วนบุคคล ความซับ ซ้อนของแนวคิดของแบนดูร่าไม่ใช่มีเพียงเท่านั้น พฤติกรรม องค์ ประกอบส่วนบุคคล และสภาพแวดล้อมนั้น แต่ละส่วนล้วนต่างเป็น 20
  • 11. ปัจจัยซึ่งกันและกัน (reciprocal determinism) ซึ่งเขียนได้ดัง ภาพต่อไปนี้ จากรูปนี้แสดงให้เห็นว่า พฤติกรรม (B) องค์ประกอบส่วน บุคคล (P) และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม (E) มีอิทธิพลซึ่งกัน และกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของมนุษย์สามารถกำาหนดสิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมก็สามารถกำาหนดพฤติกรรม พฤติกรรมสามารถ กำาหนดองค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบส่วนบุคคลก็สามารถ กำาหนดพฤติกรรมได้เช่นกัน ในทำานองเดียวกัน องค์ประกอบ ทางสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบส่วนบุคคลก็มีอิทธิพลซึ่งกันและ กัน ซึ่งสามารถอธิบายได้ในลักษณะเดียวกัน เนื้อหาในเรื่องนี้ยังต้องทำาความเข้าใจอีกมาก แต่เพื่อง่าย ต่อการนำาเสนอ งานวิจัยฉบับนี้จะใช้ตัวอักษรย่อ B P และ E แทน พฤติกรรม องค์ประกอบส่วนบุคคล และองค์ประกอบทางสิ่ง แวดล้อม ตามลำาดับ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ A. Bandura, Social Learning Theory, p.9. Ibid, p.9. A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24, A. Bandura, Social Learning Theory, pp. 9-10. P B E ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 9-10, A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1986), p. 24. รูปที่ ๒.๑ รูปแสดงการกำาหนดซึ่งกันและกันของ ปัจจัยทางพฤติกรรม (B) ปัจจัยทาง สภาพแวดล้อม (E) และปัจจัยส่วนบุคคล (P) 21
  • 12. การกำาหนดซึ่งกันและกันของ P กับ B เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับพฤติกรรม และพฤติกรรมกับบุคคลซึ่งมีอิทธิพล ต่อกันและกัน บุคคลสามารถกำาหนดพฤติกรรมได้ และพฤติกรรม ก็สามารถกำาหนดบุคคลได้ ขึ้นอยู่กับความรู้สึก การรับรู้ การ ตัดสิน ประสบการณ์และสติปัญญา ของบุคล เช่น การที่บุคคล กางร่มกันแดด เพราะเขารับรู้ หรือมีความรู้สึกว่าแดดร้อน การกาง ร่มก็เป็นตัวกำาหนดให้บุคคลต้องกางร่ม เพราะในสถานการณ์ บังคับคือบุคคลอาจจะมีวิธีป้องกันแดดได้หลายวิธีเช่น การใส่ หมวก การใช้แผ่นกระดาษหนาๆ กั้น การใช้ผ้ากั้น เป็นต้น แต่ ในสถานการณ์นั้นสิ่งเหล่านี้ไม่มี มีแต่ร่ม ดังนั้น เขาจึงกางร่ม การกำาหนดซึ่งกันและกันของ E กับ P เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่าง สภาพแวดล้อมกับบุคคล สภาพแวดล้อมสามารถกำาหนด บุคคลได้และบุคคลก็สามารถกำาหนดสภาพแวดล้อมได้ เช่น สภาพแวดล้อมทางสังคมที่บุคคลอาศัยอยู่ คติความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ภูมิปัญญา เป็นต้น สามารถกำาหนดให้บุคคลมีคติ ความเชื่อตามสภาพแวดล้อมทางสังคม ในขณะเดียวกัน บุคคลก็ สามารถกำาหนดสภาพแวดล้อมได้เช่นกัน เช่น บุคคลในสังคมอาจ จะกำาหนดประเพณี วัฒนธรรม คติความเชื่อขึ้นมาในสังคมของ ตน หรือยกเลิกประเพณี วัฒนธรรมบางอย่างที่เห็นว่าไม่เหมาะกับ ยุคสมัยก็ได้ เช่น การประกาศเลิกทาสของรัชกาลที่ ๕ การ ประกาศให้ยืนตรงเคารพธงชาติในเวลา ๐๘.๐๐ น. และเวลา ๑๘.๐๐ น. เป็นต้น การกำาหนดซึ่งกันและกันของ B กับ E เป็นปฏิสัมพันธ์ ระหว่างพฤติกรรมกับสภาพแวดล้อม และสภาพแวดล้อมกับ พฤติกรรม ทั้งสองมีอิทธิพลต่อกันและกัน และเป็นเงื่อนไขให้เกิด การเปลี่ยนแปลงแก่กันและกันได้ กล่าวคือ สภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนไปทำาให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปด้วย แต่ทั้งสภาพแวดล้อมและ พฤติกรรมจะไม่มีอิทธิพลต่อบุคคล จนกว่าจะมีพฤติกรรมบาง อย่างเกิดขึ้น เช่น หัวหน้าไม่มีอิทธิพลต่อลูกน้อง จนกว่าจะถึง เวลาเข้าทำางาน ผู้ปกครองจะไม่ชมเด็กถ้าเด็กยังไม่แสดง พฤติกรรมที่จะให้ชื่นชม การที่พฤติกรรมกับสภาพแวดล้อมมี อิทธิพลต่อกันและกันอย่างนี้ สภาพแวดล้อมจึงถูกสร้างขึ้นโดย บุคคลและในขณะเดียวกันบุคคลก็เป็นผลผลิตของสภาพแวดล้อม ด้วย 22
  • 13. การที่ปัจจัยทั้ง ๓ ทำาหน้าที่กำาหนดซึ่งกันและกันนั้น ก็ไม่ ได้หมายความว่าทั้งสามปัจจัยนั้นจะมีอิทธิพลในการกำาหนดซึ่งกัน และกันอย่างเท่าเทียมกัน บางปัจจัยอาจมีอิทธิพลมากกว่าอีกบาง ปัจจัย และอิทธิพลของปัจจัยทั้ง ๓ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน หากแต่ต้องอาศัยเวลาในการที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งจะมีผลต่อการ กำาหนดปัจจัย อื่น ๆ ตัวอย่างเช่น พฤติกรรมในการใช้ร่มกันแดดของบุคคล บุคคลกางร่มเพื่อกันแดด (B) ซึ่งถูกกำาหนดโดยสิ่งแวดล้อม (E) คือ อากาศร้อนจัดและแดดร้อนจัด (E) ทำาให้บุคคลต้องกางร่ม การ กางร่มยังถูกกำาหนดโดยองค์ประกอบส่วนบุคคล (P) คือ บุคคล นั้นอาจเป็นคนสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง เป็นไข้หวัดง่าย และการ ที่บุคคลนี้เป็นผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรง (P) จึงจำาเป็นต้องหาทาง ควบคุมสิ่งแวดล้อมโดยการทำาให้แดดไม่สามารถถูกตัวเขาได้ (E) ก็คือป้องกันด้วยการกางร่ม (B) ซึ่งจะเห็นได้ว่า พฤติกรรม องค์ ประกอบส่วนบุคคล และองค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อมต่างก็มี อิทธิพลซึ่งกันและกันตลอดเวลา ๒.๔ แนวคิดเรื่องการปรับพฤติกรรมตามหลักของแบนดู ร่า แบนดูร่าไม่เพียงนำาเสนอถึงหลักการที่เกี่ยวกับพฤติกรรม มนุษย์เท่านั้น แต่ยังเสนอแนวทางการปรับพฤติกรรมมนุษย์อีก ด้วย โดยมีแนวทางปฏิบัติอยู่ ๓ ประการ ได้แก่ ๑. แนวทางการ เรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning หรือ modeling) ๒. แนวทางการกำากับตนเอง (self-regulation) ๓. แนวทางการรับรู้ความสามารถของตนเอง (self-efficacy) ๒.๔.๑ แนวทางการเรียนรู้โดยการสังเกต การเรียนรู้โดยการสังเกตเป็นแนวทางปฏิบัติแรกในการ ปรับพฤติกรรมมนุษย์ตามหลักของแบนดูร่า ซึ่งรายละเอียดของ แนวทางปฏิบัตินี้มีเนื้อหาครอบคลุมไปถึงวิธีการและตัวแปรสำาคัญ ของการเรียนรู้โดยการสังเกต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่ง A, Bandura, “Social cognitive theory”, in Annals of Child Development, edited by R. Vasta, (Greenwich, CT : JAI Press, 1989), vol. 6, pp. 2-5. 23
  • 14. แวดล้อม ขั้นตอน กระบวนการที่สำาคัญ และปัจจัยที่สำาคัญของ การเรียนรู้โดยการสังเกต ประเด็นต่างๆ เหล่านี้จะได้นำาเสนอเป็น ลำาดับไป ๒.๔.๑.๑ วิธีการเรียนรู้โดยการสังเกต วิธีการเรียนรู้โดยการสังเกตของแบนดูร่าจำาแนกเป็น ๒ วิธี ได้แก่ การเรียนรู้จากผลของการกระทำา (learning by response consequences) และการเรียนรู้จากการเลียนแบบ (learning through modeling) ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 24
  • 15. ก. การเรียนรู้จากผลของการกระทำา วิธีการเรียนรู้ที่ถือว่าเป็นการเรียนรู้เบื้องต้นที่สุดและ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง คือ การเรียนรู้จากผลของ การกระทำาทั้งทางบวกและทางลบ ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ถือว่ามนุษย์มีความสามารถทางสมองในการที่จะใช้ประโยชน์จาก ประสบการณ์ที่ผ่านมา มนุษย์มีความสามารถที่จะรับรู้ความ สัมพันธ์ระหว่างการกระทำาและผลของการกระทำา กระบวนการ เรียนรู้จากผลของการกระทำาจะทำาหน้าที่ ๓ ประการ คือ ๑. การทำาหน้าที่ให้ข้อมูล (informative function) การเรียนรู้ของมนุษย์นั้นไม่เพียงแต่เรียนรู้เพื่อการ ตอบสนองเท่านั้น แต่มนุษย์ยังสังเกตผลของการกระทำานั้นด้วย โดยการสังเกตความแตกต่างของผลที่ได้รับจากการกระทำาของ เขาว่า การกระทำาใดในสภาพการณ์ใดก่อให้เกิดผลของการกระ ทำาอย่างไร ข้อมูลด้านนี้จะเป็นแนวทางหนึ่งในการกำาหนด พฤติกรรมของมนุษย์ในอนาคต ๒. การทำาหน้าที่จูงใจ (motivational function) กระบวนการเรียนรู้ผลของการกระทำาที่ทำาหน้าที่จูงใจ คือ ความ เชื่อในการคาดหวังผลของการกระทำาของบุคคล เมื่อพิจารณาว่า ผลของการกระทำาใดเป็นที่พึงปรารถนาย่อมจูงใจให้เกิดการกระ ทำามาก ผลของการกระทำาใดไม่เป็นที่พึงปรารถนาย่อมจูงใจให้ เกิดการกระทำาน้อย และมนุษย์ย่อมพยายามหลีกเลี่ยงการกระทำา นั้น ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ผลของการกระทำาจึงสามารถจูงใจ ให้เกิดการพัฒนาพฤติกรรมได้ ๓. การทำาหน้าที่เสริมแรง (reinforcing function) การกระทำาใดๆ ก็ตามถ้าได้รับการเสริมแรง การกระ ทำานั้นย่อมมีแนวโน้มเกิดขึ้นอีก แต่สิ่งสำาคัญคือเงื่อนไขการเสริม แรง (reinforcement contingency) ซึ่งบุคคลจะเรียนรู้ได้จาก ข้อมูลเดิมและการจูงใจ ตลอดจนการหาข้อสรุปได้ถูกต้อง การ เสริมแรงจะไม่มีอิทธิพลเลย ถ้าบุคคลไม่รู้ว่าเงื่อนไขการเสริมแรง มีไว้ว่าอย่างไร การเสริมแรงในที่นี้จะเน้นถึงการกระทำาให้ พฤติกรรมนั้นคงอยู่มากกว่าการสร้างพฤติกรรมใหม่ A. Bandura, Social learning theory, pp. 17-22. 25
  • 16. ข. การเรียนรู้จากการเลียนแบบ การเรียนรู้ของมนุษย์จากผลของการกระทำามีข้อจำากัด อยู่มาก ทั้งนี้เพราะสิ่งที่จะเรียนรู้มีมากกว่าที่เวลาและโอกาสจะ อำานวย ดังนั้นการเรียนรู้จากการเลียนแบบจึงเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ ทำาให้มนุษย์สามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางขึ้น พฤติกรรมของมนุษย์หลายอย่างเกิดขึ้นมาโดยที่มนุษย์ไม่เคยมี ประสบการณ์ตรงเลย แต่มนุษย์สังเกตเห็นตัวแบบหรือผู้อื่นกระทำา เช่น คนส่วนมากงดเว้นจากการเสพเฮโรอีน ทั้งๆ ที่ไม่เคยประสบ กับผลของการกระทำาที่จะได้รับจากการเสพเฮโรอีน ทั้งนี้เพราะ คนเหล่านี้เรียนรู้ว่า การเสพเฮโรอีนจะได้รับผลของการกระทำา ทางลบ คือ การทำาลายสุขภาพจนถึงการตายในที่สุด การเรียนรู้ เช่นนี้ไม่ได้เรียนรู้โดยประสบการณ์ตรง แต่เรียนรู้จากการสังเกต ตัวแบบ คือ เห็นผู้อื่นเสพแล้วได้รับผลของการกระทำาทางลบดัง กล่าวจึงงดเว้นการเสพเฮโรอีน ตัวแบบอาจเป็นตัวแบบจริงตัว แบบจากภาพยนตร์ หรือตัวแบบในรูปของสิ่งอื่นๆ การเรียนรู้จากตัวแบบอาศัยกระบวนการเรียนรู้โดยการ สังเกตเป็นสำาคัญ กระบวนการเรียนรู้จากการสังเกตตัวแบบจะ ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำาคัญ ๔ ประการ ซึ่งจะได้กล่าว ถึงรายละเอียดในหัวข้อถัดๆ ไปที่ว่าด้วยกระบวนการสำาคัญใน การเรียนรู้โดยการสังเกต ๒.๔.๑.๒ ตัวแปรสำาคัญของการเรียนรู้โดยการ สังเกต ในเบื้องต้นเมื่อพิจารณาการเลียนแบบ น่าจะเป็นกระ บวนการตรงไปตรงมาไม่สลับซับซ้อน เมื่อมีผู้สังเกตการณ์และตัว แบบ การเลียนแบบย่อมดำาเนินไปได้ แต่เกิดคำาถามขึ้นว่า ผู้ สังเกตการณ์จะยอมเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบหรือไม่ การ ค้นหาคำาตอบนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะขึ้นอยู่กับตัวแปรหลายอย่าง ตัวแปรตัวหนึ่ง คือ คุณลักษณะของบุคลิกภาพของผู้ สังเกตการณ์ ยกตัวอย่างเช่น เพศของผู้สังเกตการณ์อาจเป็นตัว กำาหนดว่าเขาจะเลียนแบบหรือไม่ เพราะบางครั้งพฤติกรรมของ Ibid, pp. 22-24. A. Bandura, Social learning theory, p. 25. 26
  • 17. เพศหนึ่งกับอีกเพศหนึ่งเลียนแบบกันไม่ได้ นอกจากนี้ เด็กผู้ชาย จะก้าวร้าวมากกว่าเวลาดูตัวแบบชายที่ก้าวร้าว ส่วนเด็กผู้หญิงจะ ก้าวร้าวมากกว่าเวลาดูตัวแบบผู้หญิงที่ก้าวร้าว ทั้งๆ ที่มีการ เปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานะของสตรีในช่วง ๒ ทศวรรษที่ผ่าน มา และเด็กๆ ชายหญิงมีแนวโน้มที่จะเลียนแบบคนเพศเดียวกัน และบุคคลที่ขาดความเชื่อมั่นหรือบุคคลที่ไม่เก่ง รวมทั้งคนที่มี พฤติกรรมเลียนแบบที่เคยถูกเสริมแรงมาก่อน จะมีแนวโน้มที่จะ เลียนแบบตัวแบบที่ประสบความสำาเร็จ นอกจากคุณลักษณะและประสบการณ์ในอดีตของผู้ สังเกตการณ์แล้ว คุณลักษณะของตัวแบบยังมีส่วนสำาคัญต่อ กระบวนการเลียนแบบ ผู้สังเกตการณ์จะเลียนแบบคนเก่งมากกว่า คนไม่เก่ง นอกจากนี้ คนเลียนแบบยังชอบเลียนแบบคนที่ดูแลตัว เองและคนที่ให้รางวัลกับตัว และชอบเลียนแบบคนที่ควบคุม ทรัพยากรในอนาคตของผู้เลียนแบบ รางวัลหรือการทำาโทษที่ เกี่ยวกับพฤติกรรมของตัวแบบสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เลียนแบบ เราเรียนรู้เมื่อเราเห็นว่าพฤติกรรมของคนอื่นได้รับการ เสริมแรง แล้วเราจึงปรับพฤติกรรมตาม ดูเหมือนว่าข้อนี้จะง่ายเกิน ไป คนต้องหยุดคิดก่อนแล้วค่อยเลียนแบบไม่ใช่เลียนแบบกัน ง่ายๆ โดยการเห็นผู้อื่นได้ของแล้วก็ทำาตาม เพราะการทำาตามแบบ นั้นอันตราย เพราะถ้าคนอื่นถูกหลอกเราย่อมถูกหลอกด้วย หรือ การเสริมแรงจากการเห็นคนอื่นได้นี้มีชื่อว่า “vicarious reinforcement” แบนดูร่าได้ทำาการทดลองโดยการให้ตัวแบบแสดงความ ก้าวร้าวในห้องแล็บกับตุ๊กตา Bobo doll ในทุกรูปแบบ เด็กซึ่ง เป็นเด็กกลุ่มควบคุม (control group) เห็นแค่ภาพของความ ก้าวร้าว แต่ไม่เห็นผล ส่วนเด็กที่ถูกทดลอง (experimental group) ได้เห็นภาพที่ตัวแบบได้รับรางวัลหรือถูกทำาโทษที่ทำา A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Imitation of film-mediated aggressive models”, Journal of Abnormal and Social Psychology, vol. 66 no. 1 (1963) : 3-11. K. Bussey, and A. Bandura, “Social cognitive theory of gender development and differentiation”, Psychological Review, vol. 106 (1999) : 676-713. A. Bandura, Social learning theory, p. 122. Ibid, p p. 122-125. 27
  • 18. อย่างนั้น ในสภาพที่ให้รางวัล ผู้ใหญ่อีกคนชมตัวแบบที่ก้าวร้าว แล้วให้โซดาป้อบและลูกอม ส่วนในสภาพที่ทำาโทษ ผู้ใหญ่อีกคน พูดดูหมิ่นตัวแบบ กล่าวหาว่าขี้ขลาดและเป็นจอมรังแก นอกจากนี้ ผู้ใหญ่ที่มาทำาโทษตัวแบบ ยังใช้หนังสือพิมพ์ที่ม้วนไว้ตีเขา และขู่ ว่าจะตีอีกถ้าแสดงความก้าวร้าว ตัวแปรอิสระในเรื่องนี้ คือ วิธี การเสริมแรงซึ่งใช้กับตัวแบบที่ก้าวร้าว ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ พฤติกรรมของเด็กเมื่อถูกปล่อยให้เป็นอิสระใน สภาพทั้งสามอย่างที่พวกเขาเผชิญ เด็กถูกพาไปที่ห้องอื่นที่มี ตุ๊กตา Bobo doll โดยมีลูกบอลสามลูก ไม้ตีและไม้กระดาน ที่มี ตอหมุด และของเล่นอื่นๆ มีของให้เล่นมาก เพื่อว่าเด็กจะได้เลือก ว่าจะก้าวร้าวหรือไม่ก้าวร้าวได้ จากนั้นผู้ทดลองจะออกจากห้อง ให้ดูเหมือนว่าจะไปเอาของเล่นมาอีก เด็กๆ ถูกปล่อยให้เล่นตาม ลำาพัง และผู้ทดลองได้สังเกตพวกเด็กๆ จากกระจกด้านเดียว ผลลัพธ์เป็นไปตามที่คาดหมาย เด็กที่ได้เห็นตัวแบบรับรางวัลจะ เลียนแบบตัวแบบที่ก้าวร้าวมากกว่าตัวแบบที่ถูกทำาโทษ การ ทดลองดังกล่าวแสดงให้เห็นการเสริมแรงและการทำาโทษสร้าง พฤติกรรมเลียนแบบที่ไม่เหมือนกัน เด็กอาจจะไร้เดียงสา ถูก จัดการได้ง่าย แต่ผู้ใหญ่จะมีพฤติกรรมที่ซับซ้อนกว่านี้อีกทั้งการ ทดลองเป็นสภาพซึ่งไม่จริง ถ้าอยู่ในชีวิตจริง เด็กๆ อาจมี พฤติกรรมที่ต่างกันก็ได้ เพราะเวลาเด็กก้าวร้าว ผู้ใหญ่จะเตือน และสั่งสอนเด็กก็จะไม่เลียนแบบ เมื่อพิจารณาต่อไปจะเกิดคำาถามอีกว่า มีการเลียนแบบ จริงในสภาพที่ถูกเสริมแรง แล้วเด็กจะรับเป็นพฤติกรรมของตน หรือไม่ และเป็นไปได้หรือไม่ว่าเด็กทุกคนได้เรียนรู้พฤติกรรมแต่มี พวกเห็นเขาได้รับรางวัลและไม่เห็นใครถูกทำาโทษเท่านั้นที่เลียน แบบ แบนดูร่าได้ทำาการทดลองต่อไป โดยการให้ของรางวัลที่น่า สนใจถ้าเลียนแบบ ผลปรากฏว่าเด็กทุกคนเลียนแบบหมด บท เรียนข้อนี้คือต้องสอนลูกให้มีภูมิต้านทางสังคม เพื่อป้องกันไม่ให้ ถูกหลอก A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Transmission of aggressive Through imitation of aggressive models”, Journal of Abnormal and Social Psychology, vol. 63, Issue 3, (November 1961) : 575-582. 28
  • 19. ปัญหาที่รุนแรงอีกประการ คือ ปัญหาความก้าวร้าวทาง สังคม โดยการดูหนัง ดูทีวี ถ้าการเลียนแบบเกิดขึ้นได้ง่าย สังคม ย่อมเต็มไปด้วยคนก้าวร้าว แต่ตามความเป็นจริง มนุษย์รู้จัก แยกแยะ ด้วยเหตุนี้ แม้หนังและทีวีจะรุนแรง แต่คนจะไม่เลียน แบบกันเยอะ แม้สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มความก้าวร้าวได้ ทั้งนี้เพราะ มนุษย์ซึ่งรวมทั้งเด็กส่วนใหญ่รู้จักแยกแยะ ๒.๔.๑.๓ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่ง แวดล้อม แบนดูร่า มีความเห็นว่าทั้งสิ่งแวดล้อม และตัวผู้เรียนมี ความสำาคัญเท่าๆ กัน แบนดูรากล่าวว่า คนเรามีปฏิสัมพันธ์ (interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัวเราอยู่เสมอการเรียนรู้เกิด จาก ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่ง แวดล้อมมีอิทธิพลต่อกันและกัน พฤติกรรมของคนเราส่วนมากจะ เป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (observational learning) หรือ การเลียนแบบจากตัวแบบ (modeling) สำาหรับตัวแบบไม่จำาเป็น ต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะเป็นตัวสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ หรือภาพยนตร์หรืออาจจะเป็นรูปภาพ การ์ตูนหนังสือก็ได้ นอกจากนี้ คำาบอกเล่าด้วยคำาพูดหรือข้อมูลที่ เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรก็เป็นตัวแบบได้ การเรียนรู้โดยการ สังเกตไม่ใช่การลอกแบบจากสิ่งที่สังเกตโดยผู้เรียนไม่คิด คุณสมบัติของผู้เรียนมีความสำาคัญ เช่น ผู้เรียนจะต้องมีความ สามารถที่จะรับรู้สิ่งเร้า และสามารถสร้างรหัสหรือกำาหนด สัญลักษณ์ของสิ่งที่สังเกตเก็บไว้ในความจำาระยะยาว และสามารถ เรียกใช้ในขณะที่ผู้สังเกตต้องการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ แบนดูราได้เริ่มทำาการวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการ สังเกต หรือการเลียนแบบ ตั้งแต่ปี ค.ศ. ๑๙๖๐ เป็นต้นมา ได้ ทำาการวิจัยเป็นโครงการระยะยาว และได้ทำาการพิสูจน์สมมติฐาน A. Bandura, J. E. Grusex, and F. L. Menlove, “Observational Learning as a Function of Symbolization and Incentive Set”, Child Development, vol. 37 no. 3 (1966) : 499-506. 29
  • 20. ที่ตั้งไว้ทีละอย่าง โดยใช้กลุ่มทดลองและควบคุมอย่างละเอียดและ เป็นขั้นตอน การเรียนรู้โดยการสังเกต สามารถประยุกต์ใช้ในการ สอนได้ เช่น การเรียนรู้ที่จะเล่นฟุตบอล วิธีการเล่นฟุตบอลส่วน ใหญ่เรียนรู้โดยการสังเกต และแม้แต่เด็กที่กลัวที่จะไปพบ ทันตแพทย์ เพื่อที่จะถอนฟันที่กำาลังปวด นักจิตวิทยาชื่อ เครก (Craig) ใช้การเรียนรู้โดยการสังเกตช่วยเด็กที่กลัวการไปพบ ทันตแพทย์ โดยแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลอง ให้ดูภาพยนตร์ ที่ตัวแบบกลัวทันตแพทย์ แต่พยายามควบคุม ความกลัวไม่แสดงออก หลังจากทันตแพทย์ถอนฟันแล้วได้รับคำา ชมเชย และได้ของเล่น หลังจากดูภาพยนตร์เด็กกลุ่มที่หนึ่งจะวิก ตกกังวล และกลัวการไปพบทันตแพทย์น้อยกว่าเด็กกลุ่มที่สอง ซึ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ดูภาพยนตร์ การทดลองของแบนดูราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการ สังเกตหรือเลียนแบบมีผู้นำาไปทำาซำ้า ปรากฏผลการทดลองเหมือน กับแบนดูราได้รับ นอกจากนี้มีนักจิตวิทยาหลายท่านได้ใช้แบบ การเรียนรู้ โดยวิธีการสังเกตในการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ๒.๔.๑.๔ ขั้นของการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือ เลียนแบบ แบนดูรากล่าวว่า การเรียนรู้ทางสังคมด้วยการรู้คิดจาก การเลียนแบบมี ๒ ขั้น คือ ขั้นแรกเป็นขั้นการได้รับมาซึ่งการ เรียนรู้ (acquisition) ทำาให้สามารถแสดงพฤติกรรมได้ ขั้นที่ ๒ เรียกว่าขั้นการกระทำา (performance) ซึ่งอาจจะกระทำาหรือไม่ กระทำาก็ได้ การแบ่งขั้นของการเรียนรู้แบบนี้ทำาให้ทฤษฎีการ เรียนรู้ของแบนดูราแตกต่างจากทฤษฎีพฤติกรรมนิยมชนิดอื่นๆ การเรียนรู้ที่แบ่งออกเป็น ๒ ขั้น อาจจะแสดงด้วยแผนผังที่ ๒.๒ เช่น A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Transmission of aggressive Through imitation of aggressive models”, pp. 575-582, A. Bandura, D. Ross, and S. A. Ross, “Imitation of film-mediated aggressive models”, pp. 3-11. จิราภา เต็งไตรรัตน์ และคณะ, จิตวิทยาทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๖, (กรุงเทพมหานคร : สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๒), หน้า ๑๓๗. 30
  • 21. และขั้นการรับมาซึ่งการเรียนรู้ ประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำาคัญ เป็นลำาดับ ๓ ลำาดับ ดังแสดงในแผนผังที่ ๒.๓ จากแผนผังนี้เห็นว่า ส่วนประกอบทั้ง ๓ อย่าง ของการ รับมาซึ่งการเรียนรู้เป็นกระบวนการรู้คิด (cognitive สิ่งเร้า หรือ การรับ เข้า (Input ) บุคคล (Pers on) พฤติกรรม สนองตอบ หรือการส่ง ออก (output)ขั้นที่ ๑ ขั้นที่ ๒ ขั้นการรับมาซึ่ง ความรู้ (Acquisition) ขั้นการกระทำา (Performance ) ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 79. รูปภาพที่ ๒.๒ แผนผังขั้นของการเรียนรู้โดยการ เลียนแบบ ความใส่ใจเลือก สิ่งเร้า Selective Attention การเข้า รหัส (Codin g) การ จดจำา (Reten tion) ตัว แบบ inp ut mo del ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 38. รูปภาพที่ ๒.๓ แผนผังส่วนประกอบของการเรียนรู้ ขึ้นกับการรับมาซึ่งการเรียนรู้ 31
  • 22. processes) ความใส่ใจที่เลือกสิ่งเร้ามีบทบาทสำาคัญในการเลือก ตัวแบบ สำาหรับขั้นการกระทำา (performance) นั้นขึ้นอยู่กับผู้ เรียน เช่น ความสามารถทางด้านร่างกาย ทักษะต่างๆ รวมทั้ง ความคาดหวังที่จะได้รับแรงเสริมซึ่งเป็นแรงจูงใจ ๒.๔.๑.๕ กระบวนการที่สำาคัญในการเรียนรู้โดย การสังเกต แบนดูราได้อธิบายว่ากระบวนการที่สำาคัญในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือการเรียนรู้โดยตัวแบบมีทั้งหมด ๔ อย่างคือ ก. กระบวนการความเอาใจใส่ (attention) ข. กระบวนการจดจำา (retention) ค. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวอย่าง (reproduction) ง. กระบวนการการจูงใจ (motivation) A. Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory, (Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey 1986), pp. 51-70, A. Bandura, A Social learning theory, (Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey 1976), pp. 23-28, A. Bandura, Principles of Behavior Modification, (Holt, Rinehart and Winston, Inc, New York, 1969), pp. 136-143, A. Bandura, Aggression : a social learning analysis, (Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey 1973), pp. 68-72. 32
  • 23. ในตอนเริ่มแรกของการวิจัย ที่แบนดูร่าใช้ชื่อว่าทฤษฎี การเรียนรู้ทางสังคม (social learning theory) แล้วเปลี่ยนชื่อ เป็น การเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (social cognitive theory) รูปภาพที่ ๒.๔ แผนผังกระบวนการในการเรียนรู้โดย การสังเกต กระบวนการตั้งใจ เหตุการณ์ของตัวแบบ เด่นชัด ก่อให้เกิดความพึง พอใจ ความซับซ้อน ดึงดูดจิตใจ มีคุณค่า ผู้สังเกต ความสามารถในการ รับรู้ ชุดของการรับรู้ ความสามารถทาง ปัญญา ระดับของการตื่นตัว ความชอบจากการ เรียนรู้มาก่อน กระบวนการเก็บจำา การเก็บรหัสเป็น สัญลักษณ์ การจัดระบบโครงสร้าง ทางปัญญา การซักซ้อมทางปัญญา การซักซ้อมด้วยการก ระทำา ผู้สังเกต ทักษะทางปัญญา โครงสร้างทางปัญญา กระบวนการกระทำา สิ่งที่จำาได้ในปัญญา การสังเกตการกระทำา การได้ข้อมูลป้อนกลับ การเทียบเคียงการกระ ทำากับภาพในปัญญา ผู้สังเกต ความสามารถทาง ร่างกาย ทักษะในพฤติกรรม ย่อย ๆ กระบวนการจูงใจ สิ่งล่อใจภายนอก การรับรู้ วัตถุสิ่งของ สังคม ควบคุม สิ่งล่อใจที่เห็นผู้อื่นได้ รับ สิ่งล่อใจตนเอง วัตถุสิ่งของ การประเมินตนเอง ผู้สังเกต ความพึงพอใจในสิ่งล่อ ใจ ความลำาเอียงจากการ เปรียบเทียบ ทางสังคม มาตรฐานภายในของ ตนเอง ที่มา : A. Bandura, Social Learning Theory, (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc., 1976), p. 23. ความใส่ใจ attention การจดจำา retention การแสดง พฤติกรรม เหมือนตัวอย่าง reproduction แรงจูงใจ motivation ที่มา. A, Bandura, Social Foundations of Thought and Action : A Social cognitive theory, (Englewood Cliffs, New Jersey, Prentice-Hall, Inc., 1997), p. 23. รูปภาพที่ ๒.๕ แผนผังกระบวนการในการเรียนรู้โดย การสังเกต 33
  • 24. ก. กระบวนการความใส่ใจ ( attentional processes ) ความใส่ใจของผู้เรียนเป็นสิ่งสำาคัญมาก ถ้าผู้เรียนไม่มี ความใส่ใจในการเรียนรู้ โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบก็จะไม่ เกิดขึ้น ดังนั้น การเรียนรู้แบบนี้ความใส่ใจจึงเป็นสิ่งแรกที่ผู้เรียน จะต้องมี แบนดูรากล่าวว่าผู้เรียนจะต้องรับรู้ส่วนประกอบที่สำาคัญ ของพฤติกรรมของผู้ที่เป็นตัวแบบ องค์ประกอบที่สำาคัญของตัว แบบที่มีอิทธิพลต่อความใส่ใจของผู้เรียนมีหลายอย่าง เช่น เป็นผู้ ที่มีเกียรติสูง (High Status) มีความสามารถสูง (High Competence) หน้าตาดี รวมทั้งการแต่งตัว การมีอำานาจที่จะให้ รางวัลหรือลงโทษ คุณลักษณะของผู้เรียนก็มีความสัมพันธ์กับกระบวนการ ใส่ใจ ตัวอย่างเช่น วัยของผู้เรียน ความสามารถทางด้านพุทธิ ปัญญา ทักษะทางการใช้มือและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย รวมทั้ง ตัวแปรทางบุคลิกภาพของผู้เรียน เช่น ความรู้สึกว่าตนนั้นมีค่า (Self-Esteem) ความต้องการและทัศนคติของผู้เรียน ตัวแปร เหล่านี้มักจะเป็นสิ่งจำากัดขอบเขตของการเรียนรู้โดยการสังเกต ตัวอย่างเช่น ถ้าครูต้องการให้เด็กวัยอนุบาลเขียนพยัญชนะไทยที่ ยาก ๆ เช่น ฆ ม โดยพยายามแสดงการเขียนให้ดูเป็นตัวอย่าง ทักษะการใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวของเด็กวัยอนุบาลยังไม่ พร้อมฉะนั้นเด็กวัยอนุบาลบางคนจะเขียนหนังสือตามที่ครูคาด หวังไม่ได้ A. Bandura, Social Learning Theory, p. 24-25. 34
  • 25. ข. กระบวนการจดจำา (Retention Process) แบนดูรา อธิบายว่า การที่ผู้เรียนหรือผู้สังเกตสามารถที่จะ เลียนแบบหรือแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบได้ก็เป็นเพราะผู้ เรียนบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไว้ในความจำาระยะยาว แบน ดูรา พบว่าผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรม หรือการกระทำา ของตัวแบบด้วยคำาพูด หรือสามารถมีภาพพจน์สิ่งที่ตนสังเกตไว้ ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำาสิ่งที่เรียนรู้โดยการสังเกตได้ดีกว่าผู้ ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำางานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุป แล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำาพูดหรือถ้อยคำา (Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบ จากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน ๆ และนอกจากนี้ถ้าผู้ สังเกตหรือ ผู้เรียนมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้อง เรียนรู้ซำ้าก็จะเป็นการช่วยความจำาให้ดียิ่งขึ้น ค. กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ (Motor Reproduction Process) กระบวนการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเป็นกระบวน การที่ผู้เรียน แปรสภาพ (Transform) ภาพพจน์ (Visual Image) หรือสิ่งที่จำาไว้เป็นการเข้ารหัสเป็นถ้อยคำา (Verbal Coding) ในที่สุดแสดงออกมาเป็นการกระทำาหรือแสดง พฤติกรรมเหมือนกับตัวแบบ ปัจจัยที่สำาคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำาเป็นจะต้องใช้ในการ เลียนแบบของผู้เรียน ถ้าหากผู้เรียนไม่มีความพร้อมก็จะไม่สามารถ ที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้ แบนดูรา กล่าวว่าการเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียน แบบ ไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียน รู้โดยการสังเกตประกอบด้วยกระบวนการทางพุทธิปัญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้ เรียน ฉะนั้นในขั้นการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบ (Reproduction) ของแต่ละบุคคลจึงแตกต่างกันไปผู้เรียนบาง คนก็อาจจะทำาได้ดีกว่าตัวแบบที่ตนสังเกตหรือบางคนก็สามารถ A. Bandura, Social Learning Theory, pp.25-26. 35