SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
คู่มือการตรวจร่างกายกระดูกสันหลังและระบบ
ประสาทสาหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4
การตรวจร่างกาย
การสังเกต
ท่าเดิน (Gait analysis)
ท่าทาง (Posture)
ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (Spinal curvatures)
แนวกระดูกสันหลัง (Spinal alignment)
การคลา
การเคาะ-ฟัง
การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ
Schober’s test
Modified Schober’s test
การตรวจระบบประสาท
การตรวจกล้ามเนื้อ
Muscle tone
Motor power
การตรวจการรับความรู้สึก
Pinprick sensation
Temperature
Touch
Propioception
Vibration
การตรวจรีเฟล็กซ์
Deep tendon reflex
Superficial reflexes
Pathologic reflexes
Beevor’s sign
Inverted radial reflex
Hoffmann’s reflex
Babinski’s reflex
Scapulohumeral reflex
Finger escape sign
2
Grip and release sign
Myelopathic hand signs
Lhermitte’s sign
Clonus
การตรวจพิเศษ (Special test)
การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอ
Cervical compression test
Cervical distraction test
Spurling’s test
การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนเอว
Straight leg raising test (SLRT)
Lasegue test
Well (Contralateral) leg raising test
Cross over test
Femoral stretch test
Stoop test
การตรวจข้อ sacroiliac
Patrick or FABER test or Sign of 4
การตรวจร่างกาย
มีจุดประสงค์เพื่อตรวจหาอาการแสดงต่างๆที่ผิดปกติเพื่อนาไปแปลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ
เพื่อให้ได้การวินิจฉัยเบื้องต้นหรือการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ตรวจต้องมีความรู้และทักษะในการตรวจและแปลผลการตรวจ
พบได้ การตรวจร่างกายของกระดูกสันหลังประกอบด้วยการสังเกต การคลา เคาะ-ฟัง ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ
ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ความมั่นคงของกระดูกสันหลัง ตรวจระบบประสาท และการตรวจพิเศษต่างๆ
การสังเกต
ความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการสังเกตได้แก่ ท่าเดิน ผิวหนัง แนวกระดูกสันหลังและก้อน
ท่าเดิน สังเกตว่าผู้ป่วยเดินได้เองหรือไม่หรือต้องใช้เครื่องช่วยเดิน ต้องนั่งหรือนอนบนรถเข็นซึ่งอาจ
หมายความว่าไม่สามารถเดินได้หรือไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ถ้าผู้ป่วยเดินได้เอง ให้สังเกตว่าท่าเดินปกติหรือไม่
ท่าเดินปกติ แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (stance phase) และระยะแกว่งเท้าซึ่งเป็นระยะที่เท้าไม่สัมผัส
พื้น (swing phase) ระยะที่เท้าสัมผัสพื้นใช้เวลาร้อยละ 60 ของระยะเดินทั้งหมด แบ่งเป็น 4 ระยะย่อย เริ่มจาก ส้นเท้า
สัมผัสพื้น (heel strike) เท้าราบติดพื้น (foot flat) กึ่งกลางระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (mid-stance) และดันเท้าพ้นพื้น (push
3
off) ระยะแกว่งเท้า ใช้เวลาร้อยละ 40 ของระยะเดินทั้งหมด แบ่งเป็น 3 ระยะย่อย เริ่มจากต้นระยะแกว่งเท้า (initial
swing) กึ่งกลางระยะแกว่งเท้า (mid swing) และปลายระยะแกว่งเท้า (terminal swing) (ภาพที่ 3.2)
ช่วงระยะการเดินที่เท้าทั้ง 2 ข้างสัมผัสพื้นเรียกว่า double support ช่วงระยะที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นจนถึงช่วง
ที่ส้นเท้าขวาสัมผัสพื้นเรียกว่า step length ช่วงระยะที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นจนถึงช่วงที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นอีกครั้ง
เรียกว่า stride length จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่กึ่งกลางลาตัว และอยู่ด้านหน้าต่อกระดูกสันหลังระดับ S1 ประมาณ 1
เซนติเมตร เท้า 2 ข้างห่างกัน 2-4 นิ้ว ระยะก้าว 12-15 นิ้ว ความเร็วในการก้าวเดินปกติประมาณ 90-120 ก้าวต่อนาที
ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (Stance phase)
Heel strike Foot flat Mid stance Push off
ระยะแกว่งเท้า (Swing phase)
Initial swing Mid swing Terminal swing
ภาพที่ 3.2 ท่าเดินปกติแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (stance phase) และระยะแกว่งเท้า (swing
phase)
ในช่วงระยะเดิน จะมีการเคลื่อนไหวของเชิงกราน ข้อเข่า และข้อเท้า ดังนี้
เชิงกรานเอียงขึ้นลง 5 องศา ในขาข้างที่อยู่ในระยะแกว่ง
เชิงกรานหมุนไปด้านหน้าและหลัง 8 องศา ในขาข้างที่อยู่ในระยะแกว่ง
ข้อสะโพกงอประมาณ 35 องศา ในช่วงส้นเท้าสัมผัสพื้น
เข่างอ 20 องศา ในช่วงแรกที่เท้าสัมผัสพื้น
ข้อเท้ากระดกขึ้น 15 องศา ในช่วงแรกที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น
ข้อเท้ากระดกขึ้น 20 องศา ก่อนที่นิ้วเท้าจะพ้นพื้นในช่วง push off
ท่าเดินที่ผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง ทาให้มีอาการเดินเกร็ง (spastic gait)
เดินขาถ่าง (wide-based gait) เดินเซ (ataxic gait) นอกจากนี้ท่าเดินที่ผิดปกติยังเกิดได้จากอาการปวด (antalgic
gait) กล้ามเนื้อของข้อสะโพก ข้อเข่าหรือข้อเท้าอ่อนแรง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ข้อเข่า หรือข้อเท้าผิดปกติ
เช่น ข้อติด กล้ามเนื้อหดรั้ง และการที่ขายาวไม่เท่ากัน
4
ท่าเดินที่ผิดปกติที่พบได้บ่อยเมื่อมีความผิดปกติของไขสันหลังและรากประสาทได้แก่ เดินเกร็ง เดินขาถ่าง
และเดินเท้าตก (foot drop gait, steppage gait) เดินเกร็งพบในกรณีที่มีการกดเบียดไขสันหลัง ทาให้กล้ามเนื้อเกร็ง
เท้าของผู้ป่วยทั้ง 2 ข้างจะแยกจากกันมากกว่าปกติเพื่อป้องกันการล้ม การเดินขาถ่างยังพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ
ของการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) หรือสมองน้อย (cerebellum) ส่วนเดินเท้าตก พบในผู้ป่วยที่มีการอ่อนแรง
ของกล้ามเนื้อ tibialis anterior จากการที่รากประสาทระดับ L4 ถูกกดทับ ทาให้ไม่สามารถกระดกข้อเท้าขึ้นในช่วง
แกว่งเท้าจนถึงช่วงแรกที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น ผู้ป่วยจะแก้ไขด้วยการงอเข่าและสะโพกมากขึ้นเพื่อให้ปลายเท้าพ้นพื้น
ในขณะเดิน
ท่าเดินที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขา วงจรการเดินจะผิดปกติโดยขาข้างที่มีอาการปวดจะมีช่วงระยะที่
เท้าสัมผัสพื้นสั้นเรียกท่าเดินนี้ว่า antalgic gait
ผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อ gluteus medius อ่อนแรง ในขณะเดินเมื่อขาข้างที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงสัมผัสพื้น เชิงกราน
ด้านตรงข้ามจะตกลง ผู้ป่วยจะเอียงส่วนบนของร่างกายไปทางด้านที่กล้ามเนื้อ gluteus medius อ่อนแรงเพื่อชดเชยให้
ร่างกายอยู่ในสมดุลเรียกว่า Trendelenburg gait สังเกตการเดินจะพบว่าลาตัวผู้ป่วยจะเอียงไปทางด้านซ้ายและขวา
ของลาตัว
ผู้ป่วยที่ขาทั้ง 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน เมื่อผู้ป่วยเดินจะพบว่าผู้ป่วยจะต้องงอเข่าขาข้างที่ยาวเพื่อให้เท้าพ้น
พื้นในช่วงระยะแกว่งเท้า ระยะทางจากศีรษะถึงพื้นของผู้ป่วยจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงของการเดิน
ท่าทาง (Posture) สังเกตว่าส่วนของร่างกายด้านซ้ายและขวาสมมาตรกันหรือไม่โดยให้ผู้ป่วยยืนถอดเสื้อผ้า
ออกเหลือเฉพาะที่จาเป็น สังเกตระดับไหล่ ระดับเชิงกรานเท่ากันหรือไม่
ผิวหนัง สังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง รอยพับ รอยแผลผ่าตัด แผลเป็น การอักเสบ
ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (Spinal curvatures) มี 4 ส่วนคือระดับคอแอ่น 20-40 องศา ระดับอกโก่ง 20-45
องศา และระดับเอวแอ่น 40-60 องศา ส่วนโค้งนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แก่ ส่วนโค้งระดับคอและเอวแอ่นลดลงอาจมี
สาเหตุจากกล้ามเนื้อเกร็ง หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหักยุบ ส่วนโค้งระดับเอวแอ่นเพิ่มขึ้นอาจเกิด
จากอ้วนลงพุงมาก ตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกมีการหดรั้ง ส่วนโค้งระดับอกโก่งเพิ่มขึ้นอาจเกิดจากกระดูกสัน
หลังหักยุบจากกระดูกสันหลังพรุน การติดเชื้อวัณโรคกระดูกสันหลังทาให้กระดูกสันหลังยุบและโก่งเรียกว่า gibbus
deformity
แนวกระดูกสันหลัง (Spinal alignment) เริ่มจากดูแนวของศีรษะ ถ้าแนวศีรษะเอียงผิดปกติ อาจเกิดจาก
กระดูกสันหลังคด congenital muscular torticollis, หรือ C1- C2 rotatory subluxation สังเกตระดับไหล่ทั้ง 2 ข้าง แนว
กระดูกสะบักและเชิงกรานว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าแนวกระดูกสันหลังผิดปกติ อาจเกิดจากกระดูกสันหลังคด
การคลา
คลาหาตาแหน่งจุดกาหนดกายวิภาคต่างๆ แนว spinous processโดยเฉพาะ C7, T1 คลาหาจุดกดเจ็บ คลา
ว่ามีต่อมน้าเหลืองหรือก้อนผิดปกติหรือไม่ คลาว่ามีกระดูกสันหลังเลื่อนหรือคดหรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนของกระดูกสัน
หลัง จะคลา spinous process ได้ต่างระดับกันเรียกว่า step-off ตรวจกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังว่ามีจุดกดเจ็บหรือมี
การหดเกร็งหรือไม่ ตาแหน่งของสันกระดูกปีกสะโพก (iliac crest) ตรงกับระดับ L4-L5 และ posterior superior iliac
spine จะอยู่ที่อยู่ที่ระดับ S2 กดบริเวณ sciatic notch ถ้ากดเจ็บแสดงว่าน่าจะมีการระคายเคืองต่อเส้นประสาท
สัมผัสอุณหภูมิของผิวหนังว่าร้อนผิดปกติหรือไม่
การเคาะ-ฟัง
ใช้อุปกรณ์ตรวจรีเฟล็กซ์เคาะตามแนวกระดูกสันหลังว่ามีอาการเจ็บที่ตาแหน่งใดหรือไม่ และฟังว่ามีเสียงลั่น
ผิดปกติหรือไม่ขณะที่ให้ผู้ป่วยก้มเงย เอียงซ้ายขวา และหมุนซ้ายขวา
5
การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ
ตรวจการเคลื่อนไหวทั้งการก้มเงย เอียงซ้ายขวา และหมุนซ้ายขวา ในระดับคอการก้มเงยได้ประมาณ 50
องศา เอียงซ้ายขวาข้างละ 40 องศาและหมุนซ้ายขวาข้างละ 70 องศา การวัดพิสัยการเคลื่อนไหว อาจวัดเป็นขนาดมุม
โดยใช้ inclinometer หรือ goniometer (ภาพที่ 3.3 ก,ข) ประมาณร้อยละ 50 ของการก้มเงยเกิดขึ้นที่ระดับ occiput-
C1 และร้อยละ 50 ของการหมุนเกิดขึ้นที่ระดับ C1 - C2
พิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับอกและเอวต้องทาไปพร้อมกันไม่สามารถแยกตรวจแต่ละส่วนได้
การก้ม อาจวัดเป็นขนาดมุมด้วย goniometer หรือให้ผู้ป่วยก้มเต็มที่ให้ปลายนิ้วใกล้พื้นมากที่สุดเท่าที่ทาได้โดยที่เข่า
เหยียด วัดระยะห่างจากปลายนิ้วกลางถึงพื้นว่าเป็นเท่าใด (finger to floor test) (ภาพที่ 3.3 ค) แต่การวัดโดยวิธีนี้เป็น
การวัดคร่าวๆเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของเชิงกราน รวมทั้งอาจมีการตึงของกล้ามเนื้อ hamstring มาเกี่ยวข้อง การ
เอียงซ้ายขวาวัดโดยวิธี finger to floor ได้เช่นเดียวกันโดยให้ศีรษะและสะโพกชิดผนังแล้วเอียงตัวเต็มที่ วัดระยะห่าง
จากปลายนิ้วกลางถึงพื้นว่าเป็นระยะทางเท่าใด ส่วนการหมุนซ้ายขวา ควรตรวจขณะที่ผู้ป่วยนั่งเพื่อให้เชิงกรานอยู่นิ่ง
(ก) (ข) (ค)
ภาพที่ 3.3 การตรวจพิสัยการเคลื่อนไหว (ก, ข) ด้วย goniometer (ค) Finger to floor test
Schober’s test เป็นการตรวจเพื่อวัดการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนกระดูกสันหลังระดับเอว เริ่มจากให้ผู้ป่วยยืน
ตรง คลาหา spinous process ของ S1 แล้วทาเครื่องหมายไว้ วัดระยะห่างจาก spinous process ของ S1 ขึ้นไป 10
เซนติเมตร ทาเครื่องหมายอีก 1 แห่ง จากนั้นให้ผู้ป่วยก้มหลังเต็มที่ วัดระยะที่ทาเครื่องหมายทั้ง 2 จุดว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด
ในคนปกติระยะระหว่าง 2 จุดจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4-5 เซนติเมตร
Modified Schober’s test ตรวจโดยให้ผู้ตรวจลากเส้นที่เชื่อมต่อระหว่าง posterior superior iliac spine ขณะที่
ผู้ป่วยยืนตรง จากจุดกึ่งกลางเส้นนี้ลากเส้นตั้งฉากขึ้นไป10 เซนติเมตร และลงล่าง 5 เซนติเมตร และทาเครื่องหมายไว้
ทั้ง 2 จุด จากนั้นให้ผู้ป่วยก้มหลังเต็มที่ วัดระยะที่ทาเครื่องหมายทั้ง 2 จุดว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด ในคนปกติระยะระหว่าง 2
จุดจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร
ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อ costovertebral เช่น ankylosing spondylitis ต้องตรวจการขยายของทรวงอก
โดยวัดเส้นรอบวงของทรวงอกที่ระดับ T4 ในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก ในคนปกติการขยายของทรวงอกควรจะ
มากกว่า 1 นิ้ว
6
(ก) (ข)
ภาพที่ 3.4 การตรวจ (ก) plumb line และ (ข) forward bending test ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด
ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด ต้องตรวจว่าแนวกระดูกสันหลังอยู่ในสมดุลหรือไม่โดยตรวจ plumb line ถ้าแนว
กระดูกสันหลังอยู่ในสมดุล แนว plumb line จะเป็นเส้นตรงจาก spinous process ของ C7 ผ่านร่องก้นพอดี แต่ถ้าไม่
สมดุลแนวเส้นจะไม่ผ่านร่องก้น (ภาพที่ 3.4) ตรวจดูว่ามีการหมุนผิดรูปของกระดูกสันหลังหรือไม่ด้วย forward
bending test โดยให้ผู้ป่วยก้มหลังถ้าแนวซี่โครงทั้ง 2 ข้างไม่อยู่ในระดับเดียวกันแสดงว่ามีการหมุนผิดรูปของกระดูก
สันหลัง
การตรวจระบบประสาท
เป็นการตรวจที่มีความสาคัญอย่างยิ่งเนื่องจากถ้าสามารถตรวจได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะทาให้แพทย์
สามารถระบุตาแหน่งของพยาธิสภาพของไขสันหลังหรือรากประสาทได้อย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการ
ตรวจทางรังสีเช่นการตรวจเอ็มอาร์ ซึ่งมีผลบวกปลอมสูง การตรวจระบบประสาทประกอบด้วยการตรวจกาลังกล้ามเนื้อ
การรับความรู้สึก และรีเฟล็กซ์
ไขสันหลังประกอบด้วยส่วนของเซลล์ประสาทที่อยู่แกนกลางเรียกว่า gray matter และส่วนที่ล้อมรอบเรียกว่า
white matter ซึ่งประกอบด้วยแกนของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทางานของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึก ภายใน
white matter มีลาใยประสาทต่างๆที่นาการรับความรู้สึกต่างๆเข้าสู่สมองและนาคาสั่งจากสมองไปควบคุมการทางาน
ของกล้ามเนื้อ
Lateral spinothalamic tract เป็นส่วนที่นาความรู้สึกเจ็บปวดและการรับรู้อุณหภูมิ เมื่อใยประสาทที่นา
ความรู้สึกเข้าสู่ไขสันหลังจะทอดข้ามไปด้านตรงข้ามทันทีและขึ้นสู่สมอง ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย ผู้ป่วยจะสูญเสีย
การรับความรู้สึกเจ็บปวดและการรับรู้อุณหภูมิของร่างกายด้านตรงข้ามตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป
Dorsal column เป็นส่วนที่นาการรับรู้การสั่นสะเทือน การจาแนก 2 จุด สัมผัส และการรับรู้อากัปกิริยา
(proprioception) เส้นทางเดินของ dorsal column เมื่อใยประสาทที่นาความรู้สึกเหล่านี้เข้าสู่ไขสันหลังจะขึ้นสู่สมอง
ด้านเดียวกัน ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย ผู้ป่วจะสูญเสียการรับรู้การสั่นสะเทือน การจาแนก 2 จุดสัมผัส และการรับรู้
อากัปกิริยาของร่างกายด้านเดียวกันตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป
Lateral corticospinal tract เป็นส่วนที่นาประสาทสั่งการกล้ามเนื้อจากสมองทอดข้ามไปด้านตรงข้ามในระดับ
ก้านสมองลงสู่ไขสันหลังด้านตรงข้ามกับสมอง แต่อยู่ด้านเดียวกับกล้ามเนื้อที่ไปสั่งการ ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย
ผู้ป่วจะสูญเสียการทางานของกล้ามเนื้อด้านเดียวกันตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป
พยาธิสภาพที่ทาให้ผู้ป่วยที่สูญเสียกาลังกล้ามเนื้อและการรับรู้ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นที่สมอง ไขสันหลัง ราก
ประสาท ข่ายประสาท และเส้นประสาทส่วนปลาย ดังนั้นการตรวจกาลังกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึก จึงมีการตรวจ 2
รูปแบบคือ
1. ตรวจเรียงตามลาดับการเลี้ยงของไขสันหลังหรือรากประสาท เนื่องจากรากประสาทและไขสันหลังแต่ละ
ระดับตั้งแต่ C1 จนถึง S5 จะมีรูปแบบการเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ชัดเจนเรียกว่า myotome และมีการรับความรู้สึกจากพื้นที่
Plumb linePlumb line
7
ผิวหนังเป็นบริเวณเฉพาะเรียกว่า dermatome การตรวจในลักษณะนี้ทาให้สามารถทราบระดับพยาธิสภาพของไขสัน
หลังหรือรากประสาทได้
2. ตรวจตามการเลี้ยงของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่นเส้นประสาท median, radial, ulnar, tibial, และ
peroneal เป็นต้น ผู้ตรวจต้องทราบว่าเส้นประสาทเหล่านี้มีแขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดใดบ้าง และรับความรู้สึกจาก
ผิวหนังส่วนใด
ถ้าผู้ตรวจคิดว่าพยาธิสภาพของผู้ป่วยน่าจะอยู่ที่ไขสันหลังหรือรากประสาทก็ทาการตรวจเรียงตามลาดับการ
เลี้ยงของไขสันหลังหรือรากประสาท แต่ถ้าคิดว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ข่ายประสาท และเส้นประสาทส่วนปลายก็ทาการ
ตรวจตามการเลี้ยงของเส้นประสาทส่วนปลาย
การตรวจกล้ามเนื้อ ทาการตรวจขนาด ความตึง (tone) และกาลังกล้ามเนื้อเพื่อหาตาแหน่งพยาธิสภาพที่
ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงว่าอยู่ตาแหน่งใด (สมอง ไขสันหลัง รากประสาท ข่ายประสาท เส้นประสาทส่วนปลาย และ
กล้ามเนื้อ) เป็นการตรวจที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการตรวจการรับความรู้สึกและการตรวจรีเฟล็กซ์ การตรวจเริ่มจาก
การดูขนาดของกล้ามเนื้อว่าฝ่อลีบกว่าปกติหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับอีกข้างหนึ่ง ตรวจดูว่ามีการหดรั้ง, fasciculation,
tremor และ cogwheel rigidity หรือไม่ ตรวจความตึงของกล้ามเนื้อขณะพัก ถ้ามากผิดปกติ (hypertonicity) พบในผู้ที่
มีพยาธิสภาพสูงกว่า anterior horn cell (สมอง ก้านสมอง และไขสันหลัง) ถ้าน้อยกว่าปกติ (hypotonicity) พบในผู้ที่มี
พยาธิสภาพต่ากว่า anterior horn cell (รากประสาท ข่ายประสาท เส้นประสาทส่วนปลาย neuromuscular junction
และกล้ามเนื้อ)
ตารางที่ 3.4 การตรวจกาลังกล้ามเนื้อ
ระดับกาลังกล้ามเนื้อ การตรวจพบ
0 ไม่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ
1 มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหว
2 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ แต่ไม่สามารถต้านแรงโน้มถ่วง
3 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่และต้านแรงโน้มถ่วงได้
4 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ ต้านแรงโน้มถ่วงได้ และต้านแรงผู้ตรวจได้บ้าง
5 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ ต้านแรงโน้มถ่วงได้ และต้านแรงผู้ตรวจได้เต็มที่
ตารางที่ 3.5 โรคที่ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง
พยาธิสภาพ ตาแหน่งพยาธิ
สภาพ
โรค
Upper motor
neuron lesion
สมอง โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือลิ่มเลือดอุดตัน เนื้องอก หนองในสมอง บาดเจ็บศีรษะ
Amyotrophic lateral sclerosis (พบได้ทั้ง upper และ lower motor neuron lesion)
ไขสันหลัง กระดูกสันหลังเสื่อม บาดเจ็บ การติดเชื้อเช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง มะเร็งกระดูกสันหลัง เนื้อ
งอก (neurilemmoma, meningioma), transverse myelitis, demyelination (multiple
sclerosis)
Lower motor
neuron lesion
รากประสาท โรครากประสาท (Radiculopathy)
ข่ายประสาท Brachial plexus injury
เส้นประสาทส่วน
ปลาย
Mononeuropathy เช่น carpal tunnel syndrome, tarsal tunnel syndrome
Neuritis เช่น โรคเรื้อน
Neuropathy เช่น การได้รับบาดเจ็บ เนื้องอก
Polyneuropathy เช่น เบาหวาน ขาดวิตามินบี 1, Guillian-barre syndrome
Anterior horn Motor neuron disease (amyotrophic lateral sclerosis, progressive muscular atrophy,
8
cell spinal muscular atrophy), poliomyelitis
Neuromuscular
junction
Myasthenia gravis, ยาฆ่าแมลง พิษงูเห่า
กล้ามเนื้อ Polymyositis, dermatomyositis, muscular dystrophy, periodic paralysis
ตรวจกาลังกล้ามเนื้อโดยเริ่มจากแขนไปขา จากส่วนต้นไปส่วนปลายตามลาดับ กาลังกล้ามเนื้อแบ่งเป็น 6
ระดับ (ตารางที่ 3.4) ตัวอย่างโรคที่ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงแสดงในตารางที่ 3.5 (โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ
anterior horn cell, neuromuscular junction, และกล้ามเนื้อ จะมีเฉพาะอาการอ่อนแรงโดยไม่มีการสูญเสียความรู้สึก)
กล้ามเนื้อที่ใช้ในตรวจเพื่อหาระดับพยาธิสภาพของรากประสาทและไขสันหลังแสดงในตารางที่ 3.6 กล้ามเนื้อ levator
scapulae เลี้ยงด้วย C3-C4 กล้ามเนื้อกะบังลมเลี้ยงด้วย C3-C5 การตรวจกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทาโดยการตรวจ
ทวารหนักและรายงานผลว่าปกติ ลดลงหรือทาไม่ได้
การตรวจการรับความรู้สึก ประกอบด้วยการรับความรู้สึกเจ็บปวด การรับรู้สัมผัส การรับรู้อุณหภูมิ การ
รับรู้ตาแหน่งข้อ การรับรู้การสั่นสะเทือน ต้องตรวจโดยเปรียบเทียบกับบริเวณที่ปกติและเปรียบเทียบผลการตรวจทั้ง
ข้างซ้ายและขวาว่าแตกต่างกันหรือไม่ ขณะตรวจควรให้ผู้ป่วยหลับตา รายงานผลการตรวจว่าปกติ ลดลง หรือไม่
สามารถรับรู้ได้
(ก) (ข) (ค)
ภาพที่ 3.5 การตรวจ (ก) การรับความรู้สึกเจ็บปวด (ข) การรับรู้สัมผัสและ (ค) การรับรู้ตาแหน่งข้อ
ตารางที่ 3.6 การตรวจระบบประสาทเพื่อหาระดับพยาธิสภาพของรากประสาทและไขสันหลัง
ระดับพยาธิสภาพ กล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก รีเฟล็กซ์
C5 Deltoid บริเวณ deltoid Biceps
C6 Wrist extensors นิ้วหัวแม่มือ Brachioradialis
C7 Triceps, finger extensors นิ้วกลาง Triceps
C8 Finger flexors นิ้วก้อย
T1 Intrinsic hand muscles ด้านในต้นแขน
T2-T12 Intercostal muscles T2 บริเวณไหปลาร้า T3 บริเวณรักแร้
T6-T12 Rectus abdominis T7 ลิ้นปี่ T10 สะดือ Beevor’s sign
L1,L2 Iliopsoas L1 ขาหนีบ
L3-L4 Quadriceps L2 ต้นขาด้านบน L3 ต้นขาด้านล่าง Patella
L4 Tibialis anterior หน้าแข้งด้านใน
L5 Extensor hallucis longus หน้าแข้งด้านนอก ง่ามนิ้วหัวแม่เท้า
S1 Flexor hallucis longus,
gastrosoleus
ด้านข้างของเท้า Achilles
S2-S5 Anal sphincter รอบทวารหนัก Bulbocavernosus
9
การรับความรู้สึกเจ็บปวด (Pinprick sensation) ตรวจโดยใช้วัตถุปลายแหลมเช่นเข็มหรือไม้จิ้มฟันจิ้มเบาๆที่
ผิวหนังตาม dermatome ที่ต้องการตรวจ (ภาพที่ 3.5)
การรับรู้สัมผัส ตรวจโดยใช้สาลีสัมผัสบริเวณที่ต้องการตรวจ
การรับรู้อุณหภูมิ ตรวจโดยใช้น้าแข็งหรือสาลีชุบแอลกอฮอล์วางในตาแหน่งที่ต้องการตรวจ
การรับรู้ตาแหน่งข้อ ตรวจโดยขยับข้อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าขึ้นและลงสลับกันแล้วถามผู้ป่วยเพื่อทดสอบว่าตอบได้
ถูกต้องหรือไม่
การรับรู้การสั่นสะเทือน ตรวจโดยใช้ tuning fork เคาะแล้ววางที่ผิวหนัง
การตรวจรีเฟล็กซ์ ช่วยบอกตาแหน่งพยาธิสภาพว่าอยู่ที่สมองหรือไขสันหลังหรือตั้งแต่รากประสาทลงมา
รีเฟล็กซ์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ deep tendon reflex และ superficial reflex
การตรวจ deep tendon reflex โดยปกติเซลล์ประสาทสมองและไขสันหลังทาหน้าที่ยับยั้งสัญญาณรีเฟล็กซ์
แต่ถ้ามีพยาธิสภาพของสมองหรือไขสันหลัง การยับยั้งสัญญาณรีเฟล็กซ์สูญเสียไป รีเฟล็กซ์จึงไวหรือแรงกว่าปกติ การ
ตรวจรีเฟล็กซ์ตรวจได้เพียงบางระดับของไขสันหลังเท่านั้น (ตารางที่ 10.7) โดยใช้อุปกรณ์การตรวจเคาะเอ็นกล้ามเนื้อ
ที่ต้องการตรวจ การตรวจรีเฟล็กซ์ของขา อาจทาได้ง่ายขึ้น ถ้าให้ผู้ป่วยนั่งห้อยเท้า 2 ข้าง งอโดยให้มือหนึ่งคว่าและอีก
มือหนึ่งหงายและให้ผู้ป่วยดึงนิ้วมือออกจากกัน การรายงานผลการตรวจรีเฟล็กซ์แบ่งเป็น 4 ระดับ (ตารางที่ 3.7)
ตารางที่ 3.7 การตรวจและรายงานผล deep tendon reflex
ระดับรีเฟล็กซ์ การตรวจพบ
0 ไม่พบรีเฟล็กซ์
1 น้อยกว่าปกติ
2 ปกติ
3 ไวกว่าปกติ
4 ตรวจพบ clonus
Superficial reflexes ได้แก่ abdominal, cremasteric, anal wink, bulbocavernosus และ Babinski’s
reflexes เป็นรีเฟล็กซ์ของ upper motor neuron การตรวจจะต้องกระตุ้นผ่านผิวหนัง ต่างกับ deep tendon reflex ซึ่ง
กระตุ้นผ่านเอ็นกล้ามเนื้อ ถ้าตรวจพบ superficial reflexes เหล่านี้ถือว่าปกติ แต่ถ้าตรวจไม่พบแสดงว่ามีพยาธิสภาพ
ของ corticospinal tract ด้านเดียวกัน
Superficial abdominal reflex (T6-L1) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์
เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิวหนังแต่ละส่วนรอบสะดือ สังเกตว่ามีการเคลื่อนของสะดือเข้าหาตาแหน่งที่มีการขูด
ผิวหนังหรือไม่ ถ้ามีถือว่าการตรวจให้ผลบวก กล้ามเนื้อ rectus abdominis ส่วนบนเลี้ยงด้วยรากประสาทระดับ T6-T9
และส่วนล่างเลี้ยงด้วย T10-L1
Superficial cremasteric reflex (L1-L2) เป็นการตรวจเฉพาะเพศชายเท่านั้น ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบน
เตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิวหนังบริเวณด้านในต้นขาใกล้กับลูกอัณฑะ ถ้าการ
ตรวจให้ผลบวกจะพบว่าลูกอัณฑะข้างนั้นจะเลื่อนขึ้นบนสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง
Superficial anal wink reflex (S2-S4) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ งอเข่าและสะโพกทั้ง 2 ข้าง
และการงขาออก ใช้เข็มจิ้มเบาๆที่ผิวหนังรอบทวารหนัก ถ้าการตรวจให้ผลบวกจะเห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูด
ทวารหนัก
Bulbocavernosus reflex ตรวจโดยผู้ตรวจใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในทวารหนักผู้ป่วย จากนั้นบีบที่หัวอวัยวะเพศ
ชายหรือกระตุ้น clitorisในเพศหญิง ถ้าพบว่าหูรูดทวารหนักมีการหดรัดตัวรอบนิ้วมือ แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
10
รีเฟล็กซ์พยาธิสภาพ (Pathologic reflexes) เป็น superficial reflex เช่นเดียวกัน แต่การแปลผลต่างจาก
superficial reflexes ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วคือถ้าการตรวจให้ผลบวก แสดงว่ามีพยาธิสภาพของสมองหรือไขสันหลัง
โดยเฉพาะถ้าพบร่วมกับ deep tendon reflex ไวกว่าปกติ ตัวอย่าง pathologic reflexes ได้แก่ Beevor’s sign,
inverse radial reflex, Hoffmann’s reflex, Babinski’s reflex, และOppenheim’s sign
Beevor’s sign (T6-L1) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ประสานมือทั้ง 2 ข้างไว้ใต้ศีรษะ จากนั้น
ให้ผู้ป่วยยกศีรษะขึ้นเล็กน้อย สังเกตว่าสะดืออยู่นิ่ง หรือมีการเคลื่อนขึ้นด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวาหรือไม่ ถ้าสะดือ
อยู่นิ่งแปลผลได้ 2 กรณีคือ 1) ปกติ ไม่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ rectus abdominis หรือ 2) กล้ามเนื้อ rectus
abdominis อ่อนแรงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นสูงกว่าระดับ T6 แต่ถ้าสะดือเคลื่อนขึ้นบน แสดงว่า
กล้ามเนื้อ rectus abdominis ส่วนล่าง (T10-L1) มีการอ่อนแรง ถ้าสะดือเคลื่อนไปด้านซ้าย แสดงว่ากล้ามเนื้อ rectus
abdominis ด้านขวาอ่อนแรง หรือถ้าเคลื่อนไปด้านขวา แสดงว่ากล้ามเนื้อ rectus abdominis ด้านซ้ายอ่อนแรง
Inverted radial reflex ตรวจโดยทาการตรวจ brachioradialis reflex ถ้าพบว่าข้อมือกระดกขึ้นพร้อมกับนิ้วมือ
งอเข้าหากัน แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
Hoffmann’s reflex ตรวจโดยผู้ตรวจใช้มือหนึ่งจับข้อปลายนิ้วของนิ้วกลางของผู้ป่วยให้อยู่นิ่ง ใช้นิ้วดีดปลาย
นิ้วกลางของผู้ป่วยขึ้นหรือลง ถ้านิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของผู้ป่วยขยับงอเข้าหากันแสดงว่าการตรวจให้ผลบวก แสดงว่า
มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นในสมองหรือไขสันหลังสูงกว่าระดับ T1 (ภาพที่ 3.6) ความไวในการตรวจ Hoffman’s sign จะ
เพิ่มขึ้นเมื่อตรวจขณะที่ให้ผู้ป่วยก้มและเงยเต็มที่หลายๆครั้ง (dynamic Hoffman’s sign)
ภาพที่ 3.6 การตรวจ Hoffmann’s reflex
Babinski’s reflex ตรวจโดยใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์ขูดที่ฝ่าเท้าจากด้านนอกเข้าหาด้านใน
บริเวณนิ้วหัวแม้เท้า ถ้าพบว่านิ้วเท้างองุ้ม แสดงว่าการตรวจให้ผลลบ แต่ถ้านิ้วเท้าแยกออกจากกันและนิ้วหัวแม่เท้า
กระดกขึ้น แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
Scapulohumeral reflex ตรวจโดยใช้อุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์เคาะที่ scapular spine ถ้าพบว่ามีการยกตัวของ
กระดูกสะบักหรือแขนกางออก แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก เป็นการทดสอบเส้นประสาท suprascapular ซึ่งเลี้ยง
infraspinatus และ teres minor เป็นการทดสอบไขสันหลังระดับ C4
Finger escape sign ตรวจโดยให้ผู้ป่วยเหยียดแขนตรงออกไปข้างหน้าให้แขนขนานกับพื้นกระดกข้อมือและ
หันฝ่ามือไปทางด้านหน้าให้นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน ถ้าพบว่านิ้วนางและนิ้วก้อยค่อยๆกางออกหรืองอลง แสดงว่าการ
ตรวจให้ผลบวก
Grip and release sign ตรวจโดยให้ผู้ป่วยกางและหุบนิ้วมือเร็วๆ นับจานวนครั้งของการกางและหุบนิ้วมือใน
เวลา 10 วินาที ในคนปกติจะสามารถทาได้มากกว่า 20 ครั้ง ถ้าทาได้ไม่ถึง 20 ครั้ง แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
Myelopathic hand signs พบในผู้ป่วยที่โรคไขสันหลังจากกระดูกต้นคอเสื่อม ผู้ป่วยจะไม่สามารถใช้มือได้
อย่างถนัดแคล่วคล่องเหมือนปกติ (loss of manual dexterity, clumsy hands) เช่นเขียนหนังสือแย่ลงหรือเขียนไม่เป็น
11
ตัว กลัดกระดุมเสื้อลาบาก รวมทั้งมีอาการชา ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ
การตรวจ grip and release test และfinger escape sign ให้ผลบวก
Lhermitte’s sign เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีการระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มไขสันหลังหรือไม่และอาจพบใน
ผู้ป่วยที่มีโรคไขสันหลังส่วนคอ (cervical myelopathy) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนั่งก้มศีรษะหรือกดศีรษะผู้ป่วยให้ก้มลงคาง
ชิดอก ถ้าผู้ป่วยมีความรู้สึกเสียวแปล๊บคล้ายไฟฟ้าช๊อตวิ่งลงไปตามแนวกระดูกสันหลังหรือลงไปตามแขนหรือขาแสดง
ว่าการตรวจให้ผลบวก
Clonus ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนงอเข่าแบะเท้า 2 ข้างออกหรือนั่งห้อยขา ผู้ตรวจใช้มือดันฝ่าเท้าผู้ป่วยขึ้น ถ้า
พบว่าข้อเท้ากระดกขึ้นลงต่อเนื่องกันหลายครั้ง แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
โรครากประสาท (Radiculopathy) เมื่อเกิดโรครากประสาทจะตรวจพบลักษณะของ lower motor neuron
signs ของรากประสาทที่เกิดพยาธิสภาพได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกลดลงหรือสูญเสียไปและรีเฟล็กซ์ลด
ลงหรือหายไป ถ้าพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับรากประสาทเพียงเส้นเดียว การตรวจเพื่อดูว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับราก
ประสาทระดับใดก็ทาได้โดยง่าย แต่ถ้าเกิดพยาธิสภาพขึ้นกับรากประสาทหลายเส้น การตรวจและแปลผลจะยุ่งยาก
มากขึ้น เช่นผู้ป่วยช่องกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบระดับ L3-L5 อาจมีการกดเบียดรากประสาทตั้งแต่ระดับ L3, L4,
L5 รวมทั้ง S2-S4 ทาให้ผู้ป่วยมีการอ่อนแรงของขาทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระดับเข่าลงไป รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการ
ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้เป็นปกติ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า cauda equina syndrome
Tandem stenosis ผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมบางราย จะพบการกดเบียดของไขสันหลังที่ระดับคอจาก
กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมและการกดเบียดรากประสาทที่ระดับเอวจากช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ กรณีนี้การตรวจ
ร่างกายจะพบว่าพยาธิสภาพของแขน ลาตัว และต้นขาเป็นชนิด upper motor neuron lesion และพยาธิสภาพของส่วน
ที่อยู่ใต้เข่าเป็นชนิด lower motor neuron lesion
ตารางที่ 3.8 อาการแสดงของโรคไขสันหลังส่วนคอและส่วนอก
Cervical myelopathy Thoracic myelopathy
Scapulohumeral reflex
Pectoralis muscle reflex
Hoffmann’s sign
Inverted radial reflex
Myelopathic hand signs (finger escape sign,
grip and release sign, ชา กล้ามเนื้อฝ่อลีบ)
Lhermitte’s sign Beevor’s sign
Hyperreflexia Hyperreflexia
Cross adductor sign Cross adductor sign
Babinski’s reflex, และ Oppenheim’s sign Babinski’s reflex, และ Oppenheim’s sign
Clonus Clonus
โรคไขสันหลัง (Myelopathy) เนื่องจากไขสันหลังสิ้นสุดที่กระดูกสันหลังระดับ L1-L2 การที่จะเกิดโรคไขสัน
หลังได้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะตาแหน่งของกระดูกสันหลังตั้งแต่ C1 จนถึง L2 เท่านั้น เมื่อเกิดพยาธิสภาพของสมองหรือ
ไขสันหลัง จะตรวจพบ upper motor neuron signs หรือ long tract signs (ยกเว้นการบาดเจ็บของไขสันหลังที่เกิดขึ้น
เฉียบพลันในระยะประมาณ 3 สัปดาห์แรก ไขสันหลังจะอยู่ในสภาวะ spinal shock ซึ่งจะยังไม่มีอาการแสดงของ
upper motor neuron) ทั้งนี้ขึ้นกับว่าพยาธิสภาพของไขสันหลังเกิดขึ้นที่ระดับใด อาการแสดงของโรคไขสันหลังส่วนคอ
(cervical myelopathy) และส่วนอก (thoracic myelopathy) แสดงในตารางที่ 3.8
12
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรครากประสาทระดับคอร่วมกับโรคไขสันหลังระดับคอจากกระดูกสันหลังเสื่อม
พร้อมๆกัน (radiculomyelopathy) การตรวจร่างกายทางระบบประสาทจะพบว่าผู้ป่วยมี lower motor neuron signs ใน
ระดับที่มีพยาธิสภาพของรากประสาทร่วมกับ upper motor neuron signs ในระดับที่ต่าลงไป
ในกรณีที่การตรวจร่างกายทางระบบประสาทพบว่าขาทั้ง 2 ข้างมี upper motor neuron signs แต่ไม่พบ
ความผิดปกติของระบบสาทของแขนทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าพยาธิสภาพน่าจะเกิดขึ้นที่ไขสันหลังระดับอก
การตรวจการทางานประสานกัน (Coordination) เป็นการตรวจเพื่อทดสอบการทางานของสมองน้อย
(cerebellum) โดยสมองน้อยมีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว การทางานประสานกันและระดับการหดตัวของกล้ามเนื้อใน
อานาจจิตใจ ทั้งนี้เนื่องจากการกดเบียดไขสันหลังอาจทาให้เกิดพยาธิสภาพของ spinocerebellar tract ผู้ป่วยจึงอาจ
สูญเสียการทาหน้าที่ของสมองน้อย การตรวจ coordination ได้แก่
Finger to nose ตรวจโดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง เหยียดแขนข้างที่ไม่ถนัดไปข้างหน้า ให้ผู้ป่วยใช้นิ้วชี้ของแขน
อีกข้างหนึ่งสัมผัสที่จมูก จากนั้นผู้ตรวจบอกให้ผู้ป่วยใช้นิ้วชี้ของแขนข้างสัมผัสจมูกไปสัมผัสกับนิ้วชี้ของแขนข้างที่
เหยียด ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แสดงว่าน่าจะมีพยาธิสภาพของสมองน้อย
การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ การตรวจระบบประสาท sympathetic และ parasympathetic เช่น
Horner’s syndrome เหงื่อออก ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ความดันลดหรือเพิ่ม ปัสสาวะลาบาก อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือ
แข็งตัวไม่นานหรือหลั่งน้ากามย้อนทาง
การตรวจพิเศษ
การตรวจพิเศษ (Special tests) เป็นการตรวจร่างกายเฉพาะเพื่อวินิจฉัยโรคหรือเพื่อหาตาแหน่งพยาธิสภาพ
หรือเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากพยาธิสภาพที่เกิดจากส่วนอื่นๆของร่างกายนอกเหนือจากกระดูกสันหลัง มีการตรวจพิเศษ
หลายการตรวจที่ทาให้รากประสาทถูกกดเบียดมากขึ้นเรียกว่า nerve root tension signs การตรวจพิเศษแยกเป็นการ
ตรวจสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนเอวดังนี้
(ก) (ข) (ค) (ง)
ภาพที่ 3.7 การตรวจ (ก) Cervical compression test (ข) Cervical distraction test (ค, ง) Spurling’s test
การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอ ประกอบด้วยการตรวจรีเฟล็กซ์พยาธิสภาพ ต่างๆซึ่งแสดง
ถึงโรคไขสันหลังระดับคอและการตรวจที่แสดงถึงการกดเบียดรากประสาทได้แก่
Cervical compression test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีการระคายเคืองต่อรากประสาทหรือไม่ ตรวจโดย
การวางมือบนศีรษะผู้ป่วยแล้วออกแรงกดลงตามแนวของกระดูกสันหลัง ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดคอร้าวลงไปตามแขน
แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก มักพบในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นหรือกระดูกต้นคอเสื่อม (ภาพที่ 3.7 ก)
Cervical distraction test ตรวจโดยใช้มือประคองศีรษะและคางของผู้ป่วยแล้วออกแรงยกขึ้นพร้อมๆกันซึ่งจะ
ทาให้ช่องทางออกของรากประสาทกว้างขึ้น ทาให้รากประสาทซึ่งเดิมถูกกดอยู่ไม่ถูกกดขณะที่ดึง ทาให้อาการปวดร้าว
มาที่แขนลดลง (ภาพที่ 3.7 ข)
13
Spurling’s test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีโรคของรากประสาทระดับคอหรือไม่เช่นเดียวกับ cervical
compression test ตรวจโดยให้ผู้ป่วยเอียงคอไปทางด้านที่มีอาการปวดร้าวไปแขน ผู้ตรวจออกแรงกดศีรษะ ถ้าผู้ป่วยมี
อาการปวดคอร้าวลงไปตามแขน แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก (ภาพที่ 3.7 ค, ง) การตรวจ Spurling’s test ช่วยแยก
ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของรากประสาทระดับคอออกจากพยาธิสภาพบริเวณไหล่
การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนเอวได้แก่
Straight leg raising test (SLRT) เป็นการตรวจที่ทาให้เส้นประสาท sciatic และรากประสาท (L4, L5, S1)
รวมทั้งถุงหุ้มไขสันหลังใกล้เคียงที่อักเสบถูกดึงยืด การตรวจให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ตรวจจับข้อเท้าของผู้ป่วยข้างที่มี
อาการ ค่อย ๆ ยกขาขึ้นโดยให้ข้อเข่าอยู่ในท่าเหยียด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงมาทางด้านหลังของต้นขาลง
ไปถึงบริเวณน่องหรือข้อเท้า แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก วัดมุมที่แนวขาทามุมกับพื้นเตียงตรวจ ในกรณีที่การตรวจ
ให้ผลบวกจะวัดมุมได้ในช่วง 30-70 องศา ถ้ามุมที่วัดได้เกิน 70 องศาสาเหตุของอาการปวดอาจเกิดจากการตึงของ
กล้ามเนื้อ hamstring ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงบริเวณด้านหลังของต้นขา แต่ไม่ร้าวลงมาบริเวณน่อง การยกขา
ในช่วง 30 องศาแรก ไม่ควรจะเกิดอาการปวดเนื่องจากมุมที่ยกขึ้นไม่ทาให้เกิดการดึงรั้งต่อถุงหุ้มไขสันหลัง (ภาพที่
3.8)
ภาพที่ 3.8 การตรวจ Straight leg raising test (ดัดแปลงจาก Wong, Transfeldt ,2007)
การตรวจ straight leg raising มีความไวร้อยละ 92 ในการวินิจฉัยอาการอาการกดเบียดเส้นประสาท sciatic
จากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น แต่มีความจาเพาะเพียงร้อยละ 28 ขณะที่ cross leg test มีความจาเพาะสูงร้อยละ
90 แต่ความไวต่าร้อยละ 28 (van der Windt et al., 2010)
Lasegue test เป็นการตรวจที่ทาหลังการตรวจ SLRT จนผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวมาที่ขาแล้วจึงลดระดับของ
ขาลงจนผู้ป่วยหายปวดแล้วจึงกระดกข้อเท้าผู้ป่วยขึ้นเต็มที่ ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาอีกแสดงว่าการตรวจ
ให้ผลบวก หรือตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงข้อสะโพกและข้อเข่างอ 90 องศา ค่อยๆเหยียดเข่าออกจนกระทั่ง
ผู้ป่วยเกิดอาการปวด แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
Cross over test ตรวจโดยการยกขาข้างที่มีอาการปวดชนิด sciatica แล้วผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขา
อีกข้างหนึ่งที่ไม่มีอาการปวด ซึ่งชี้ว่าสาเหตุของ sciatica อาจเกิดจาก central disc herniation หรือขนาดใหญ่
Bilateral SLRT ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ผู้ตรวจยกขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยขึ้นพร้อมๆกัน
การยกขาทาให้เชิงกรานเอียงขึ้นเป็นการลดแรงดึงต่อเส้นประสาท sciatic มุมของการยกจนกว่าจะเกิดอาการปวดจะ
มากกว่าการยกขาข้างเดียว ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดก่อน 70 องศา อาการปวดอาจเกิดจากข้อ sacroiliac ถ้ามุมเกินกว่า
70 องศา อาการปวดจึงจะเกิดจากกระดูกสันหลังระดับเอว
Femoral stretch test เป็นการตรวจที่ทาให้เส้นประสาท femoral ถูกดึงยืด ตรวจโดยใหัผู้ป่วยนอนคว่าหรือ
ตะแคงโดยให้ขาข้างที่จะทาการตรวจอยู่ด้านบนจากนั้นจึงทาการเหยียดขา โดยที่เข่างอเล็กน้อย ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวด
ทางด้านหน้าหรือด้านข้างของต้นขา แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีการกดเส้นประสาทระดับ L2-L3
30O
-70O
14
Stoop test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่าผู้ป่วยมี intermittent neurogenic claudication หรือไม่ ตรวจโดยให้
ผู้ป่วยเดินจนกระทั่งมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา จากนั้นให้ผู้ป่วยนั่งก้มตัวไปข้างหน้า ถ้าอาการปวดลดลงหรือหายไป
แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก การตรวจรีเฟล็กซ์ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาอาจลดลงหรือหายไป แต่
เมื่อนั่งพักสักครู่ อาจตรวจพบรีเฟล็กซ์ได้ใหม่
การตรวจข้อ sacroiliac
Patrick หรือ FABER test หรือ Sign of 4 ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย จัดให้ข้อสะโพกข้างหนึ่งอยู่ในท่า
งอ กางออก และหมุนออกด้านนอก โดยวางข้อเท้าอยู่บนเข่าของขาข้างที่เหยียด มือหนึ่งกดที่บริเวณข้อเข่า อีกมือหนึ่ง
กดที่บริเวณสันปีกสะโพกซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับข้อ sacroiliac ของขาข้างที่เหยียด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวด
แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก การตรวจนี้ข้อสะโพกของผู้ป่วยต้องไม่มีความผิดปกติ (ภาพที่ 3.9 )
ภาพที่ 3.9 การตรวจข้อ sacroiliac โดย Patrick’s FABER test หรือ Sign of 4 test

More Related Content

What's hot

Clinical practice guidelines mild head injury
Clinical practice guidelines mild head injuryClinical practice guidelines mild head injury
Clinical practice guidelines mild head injurySiwaporn Khureerung
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)piyarat wongnai
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นSutthiluck Kaewboonrurn
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalfreelance
 
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560Aphisit Aunbusdumberdor
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuipiyarat wongnai
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็กRofus Yakoh
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationNarenthorn EMS Center
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักAiman Sadeeyamu
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกPatamaporn Seajoho
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee GuidelineAiman Sadeeyamu
 
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)Teacher Sophonnawit
 
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็กแนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็กUtai Sukviwatsirikul
 
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017Aphisit Aunbusdumberdor
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

Clinical practice guidelines mild head injury
Clinical practice guidelines mild head injuryClinical practice guidelines mild head injury
Clinical practice guidelines mild head injury
 
Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)Central venous pressure (cvp)
Central venous pressure (cvp)
 
การจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้นการจัดการความปวดเบื้องต้น
การจัดการความปวดเบื้องต้น
 
Case study : dengue fever
Case study : dengue feverCase study : dengue fever
Case study : dengue fever
 
Week 9 emergency medical
Week 9 emergency medicalWeek 9 emergency medical
Week 9 emergency medical
 
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560
Non-infectious orthopedic problem for nursing students 2560
 
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yuiการวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
การวัดความดันในหลอดเลือดดำกลาง Yui
 
ติวเด็ก
 ติวเด็ก ติวเด็ก
ติวเด็ก
 
Trauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and ResuscitationTrauma Initial assessment and Resuscitation
Trauma Initial assessment and Resuscitation
 
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนักPediatric dosage table   ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
Pediatric dosage table ขนาดการใช้ในเด็กแบ่งตามอายุ+น้ำหนัก
 
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุสมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
สมุดบันทึกสุขภาพผู้สูงอายุ
 
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอกการดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
การดูแลผู้บาดเจ็บที่ทรวงอก
 
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guidelineการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม OA knee Guideline
 
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)
คู่มือฝึกระเบียบแถว (การใช้ไม้ถือของผู้บังคับบัญชาลูกเสือ)
 
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็กแนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก
แนวทางการบำบัดรักษาทางระบบหายใจในเด็ก
 
ภาวะซีด
ภาวะซีดภาวะซีด
ภาวะซีด
 
Guideline for management of gout
Guideline for management of goutGuideline for management of gout
Guideline for management of gout
 
คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
Inflammatory & Infection orthopaedics disease for nursing students 2017
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 

Viewers also liked

ระบบประสาท 2
ระบบประสาท 2ระบบประสาท 2
ระบบประสาท 2poonwork
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4ss
 
พฤติกรรม
พฤติกรรมพฤติกรรม
พฤติกรรมsukanya petin
 
9789740332961
97897403329619789740332961
9789740332961CUPress
 
ระบบประสาทPart1blank
ระบบประสาทPart1blankระบบประสาทPart1blank
ระบบประสาทPart1blankThanyamon Chat.
 
Инвестируйте в себя! Avtomeenkoff
Инвестируйте в себя!  AvtomeenkoffИнвестируйте в себя!  Avtomeenkoff
Инвестируйте в себя! AvtomeenkoffAvtomeenkoff & Co
 
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigations
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigationsCloud computing pros and cons for computer forensic investigations
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigationspoojagupta010
 
Vl plantocut 22-sr
Vl plantocut 22-srVl plantocut 22-sr
Vl plantocut 22-srtkxkd19
 
RIGEA GeoLiteracy
RIGEA GeoLiteracyRIGEA GeoLiteracy
RIGEA GeoLiteracySeth Dixon
 
RIGEA Latin America
RIGEA Latin AmericaRIGEA Latin America
RIGEA Latin AmericaSeth Dixon
 
แบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาแบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาCotton On
 
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)Natthaya Khaothong
 

Viewers also liked (20)

ระบบประสาท 2
ระบบประสาท 2ระบบประสาท 2
ระบบประสาท 2
 
Spinal disc herniation
Spinal disc herniationSpinal disc herniation
Spinal disc herniation
 
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว4
 
พฤติกรรม
พฤติกรรมพฤติกรรม
พฤติกรรม
 
9789740332961
97897403329619789740332961
9789740332961
 
ระบบประสาทPart1blank
ระบบประสาทPart1blankระบบประสาทPart1blank
ระบบประสาทPart1blank
 
Jscd cpresiwhite
Jscd cpresiwhiteJscd cpresiwhite
Jscd cpresiwhite
 
Neuro ex
Neuro exNeuro ex
Neuro ex
 
Gump
GumpGump
Gump
 
Инвестируйте в себя! Avtomeenkoff
Инвестируйте в себя!  AvtomeenkoffИнвестируйте в себя!  Avtomeenkoff
Инвестируйте в себя! Avtomeenkoff
 
Peru ley27314
Peru ley27314Peru ley27314
Peru ley27314
 
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigations
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigationsCloud computing pros and cons for computer forensic investigations
Cloud computing pros and cons for computer forensic investigations
 
Juegos paraolimpicos2016
Juegos paraolimpicos2016Juegos paraolimpicos2016
Juegos paraolimpicos2016
 
Vl plantocut 22-sr
Vl plantocut 22-srVl plantocut 22-sr
Vl plantocut 22-sr
 
RIGEA GeoLiteracy
RIGEA GeoLiteracyRIGEA GeoLiteracy
RIGEA GeoLiteracy
 
Yop
YopYop
Yop
 
RIGEA Latin America
RIGEA Latin AmericaRIGEA Latin America
RIGEA Latin America
 
แบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลาแบบบันทึกเคส ยะลา
แบบบันทึกเคส ยะลา
 
Jscd cpresi
Jscd cpresiJscd cpresi
Jscd cpresi
 
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)
ศ นย ควบค_มระประสาท (ต_อ)
 

Hand out of_pe_spine_edit2012 ระบบประสาท

  • 1. คู่มือการตรวจร่างกายกระดูกสันหลังและระบบ ประสาทสาหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 การตรวจร่างกาย การสังเกต ท่าเดิน (Gait analysis) ท่าทาง (Posture) ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (Spinal curvatures) แนวกระดูกสันหลัง (Spinal alignment) การคลา การเคาะ-ฟัง การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ Schober’s test Modified Schober’s test การตรวจระบบประสาท การตรวจกล้ามเนื้อ Muscle tone Motor power การตรวจการรับความรู้สึก Pinprick sensation Temperature Touch Propioception Vibration การตรวจรีเฟล็กซ์ Deep tendon reflex Superficial reflexes Pathologic reflexes Beevor’s sign Inverted radial reflex Hoffmann’s reflex Babinski’s reflex Scapulohumeral reflex Finger escape sign
  • 2. 2 Grip and release sign Myelopathic hand signs Lhermitte’s sign Clonus การตรวจพิเศษ (Special test) การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอ Cervical compression test Cervical distraction test Spurling’s test การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนเอว Straight leg raising test (SLRT) Lasegue test Well (Contralateral) leg raising test Cross over test Femoral stretch test Stoop test การตรวจข้อ sacroiliac Patrick or FABER test or Sign of 4 การตรวจร่างกาย มีจุดประสงค์เพื่อตรวจหาอาการแสดงต่างๆที่ผิดปกติเพื่อนาไปแปลผลร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ เพื่อให้ได้การวินิจฉัยเบื้องต้นหรือการวินิจฉัยแยกโรค ผู้ตรวจต้องมีความรู้และทักษะในการตรวจและแปลผลการตรวจ พบได้ การตรวจร่างกายของกระดูกสันหลังประกอบด้วยการสังเกต การคลา เคาะ-ฟัง ตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ ความมั่นคงของกระดูกสันหลัง ตรวจระบบประสาท และการตรวจพิเศษต่างๆ การสังเกต ความผิดปกติที่ตรวจพบได้จากการสังเกตได้แก่ ท่าเดิน ผิวหนัง แนวกระดูกสันหลังและก้อน ท่าเดิน สังเกตว่าผู้ป่วยเดินได้เองหรือไม่หรือต้องใช้เครื่องช่วยเดิน ต้องนั่งหรือนอนบนรถเข็นซึ่งอาจ หมายความว่าไม่สามารถเดินได้หรือไม่สามารถเดินได้อย่างปกติ ถ้าผู้ป่วยเดินได้เอง ให้สังเกตว่าท่าเดินปกติหรือไม่ ท่าเดินปกติ แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (stance phase) และระยะแกว่งเท้าซึ่งเป็นระยะที่เท้าไม่สัมผัส พื้น (swing phase) ระยะที่เท้าสัมผัสพื้นใช้เวลาร้อยละ 60 ของระยะเดินทั้งหมด แบ่งเป็น 4 ระยะย่อย เริ่มจาก ส้นเท้า สัมผัสพื้น (heel strike) เท้าราบติดพื้น (foot flat) กึ่งกลางระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (mid-stance) และดันเท้าพ้นพื้น (push
  • 3. 3 off) ระยะแกว่งเท้า ใช้เวลาร้อยละ 40 ของระยะเดินทั้งหมด แบ่งเป็น 3 ระยะย่อย เริ่มจากต้นระยะแกว่งเท้า (initial swing) กึ่งกลางระยะแกว่งเท้า (mid swing) และปลายระยะแกว่งเท้า (terminal swing) (ภาพที่ 3.2) ช่วงระยะการเดินที่เท้าทั้ง 2 ข้างสัมผัสพื้นเรียกว่า double support ช่วงระยะที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นจนถึงช่วง ที่ส้นเท้าขวาสัมผัสพื้นเรียกว่า step length ช่วงระยะที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นจนถึงช่วงที่ส้นเท้าซ้ายสัมผัสพื้นอีกครั้ง เรียกว่า stride length จุดศูนย์ถ่วงจะอยู่กึ่งกลางลาตัว และอยู่ด้านหน้าต่อกระดูกสันหลังระดับ S1 ประมาณ 1 เซนติเมตร เท้า 2 ข้างห่างกัน 2-4 นิ้ว ระยะก้าว 12-15 นิ้ว ความเร็วในการก้าวเดินปกติประมาณ 90-120 ก้าวต่อนาที ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (Stance phase) Heel strike Foot flat Mid stance Push off ระยะแกว่งเท้า (Swing phase) Initial swing Mid swing Terminal swing ภาพที่ 3.2 ท่าเดินปกติแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่เท้าสัมผัสพื้น (stance phase) และระยะแกว่งเท้า (swing phase) ในช่วงระยะเดิน จะมีการเคลื่อนไหวของเชิงกราน ข้อเข่า และข้อเท้า ดังนี้ เชิงกรานเอียงขึ้นลง 5 องศา ในขาข้างที่อยู่ในระยะแกว่ง เชิงกรานหมุนไปด้านหน้าและหลัง 8 องศา ในขาข้างที่อยู่ในระยะแกว่ง ข้อสะโพกงอประมาณ 35 องศา ในช่วงส้นเท้าสัมผัสพื้น เข่างอ 20 องศา ในช่วงแรกที่เท้าสัมผัสพื้น ข้อเท้ากระดกขึ้น 15 องศา ในช่วงแรกที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น ข้อเท้ากระดกขึ้น 20 องศา ก่อนที่นิ้วเท้าจะพ้นพื้นในช่วง push off ท่าเดินที่ผิดปกติ อาจเกิดจากความผิดปกติของสมองและไขสันหลัง ทาให้มีอาการเดินเกร็ง (spastic gait) เดินขาถ่าง (wide-based gait) เดินเซ (ataxic gait) นอกจากนี้ท่าเดินที่ผิดปกติยังเกิดได้จากอาการปวด (antalgic gait) กล้ามเนื้อของข้อสะโพก ข้อเข่าหรือข้อเท้าอ่อนแรง พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ข้อเข่า หรือข้อเท้าผิดปกติ เช่น ข้อติด กล้ามเนื้อหดรั้ง และการที่ขายาวไม่เท่ากัน
  • 4. 4 ท่าเดินที่ผิดปกติที่พบได้บ่อยเมื่อมีความผิดปกติของไขสันหลังและรากประสาทได้แก่ เดินเกร็ง เดินขาถ่าง และเดินเท้าตก (foot drop gait, steppage gait) เดินเกร็งพบในกรณีที่มีการกดเบียดไขสันหลัง ทาให้กล้ามเนื้อเกร็ง เท้าของผู้ป่วยทั้ง 2 ข้างจะแยกจากกันมากกว่าปกติเพื่อป้องกันการล้ม การเดินขาถ่างยังพบในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติ ของการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) หรือสมองน้อย (cerebellum) ส่วนเดินเท้าตก พบในผู้ป่วยที่มีการอ่อนแรง ของกล้ามเนื้อ tibialis anterior จากการที่รากประสาทระดับ L4 ถูกกดทับ ทาให้ไม่สามารถกระดกข้อเท้าขึ้นในช่วง แกว่งเท้าจนถึงช่วงแรกที่ส้นเท้าสัมผัสพื้น ผู้ป่วยจะแก้ไขด้วยการงอเข่าและสะโพกมากขึ้นเพื่อให้ปลายเท้าพ้นพื้น ในขณะเดิน ท่าเดินที่ผิดปกติในผู้ป่วยที่มีอาการปวดขา วงจรการเดินจะผิดปกติโดยขาข้างที่มีอาการปวดจะมีช่วงระยะที่ เท้าสัมผัสพื้นสั้นเรียกท่าเดินนี้ว่า antalgic gait ผู้ป่วยที่กล้ามเนื้อ gluteus medius อ่อนแรง ในขณะเดินเมื่อขาข้างที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงสัมผัสพื้น เชิงกราน ด้านตรงข้ามจะตกลง ผู้ป่วยจะเอียงส่วนบนของร่างกายไปทางด้านที่กล้ามเนื้อ gluteus medius อ่อนแรงเพื่อชดเชยให้ ร่างกายอยู่ในสมดุลเรียกว่า Trendelenburg gait สังเกตการเดินจะพบว่าลาตัวผู้ป่วยจะเอียงไปทางด้านซ้ายและขวา ของลาตัว ผู้ป่วยที่ขาทั้ง 2 ข้างสั้นยาวไม่เท่ากัน เมื่อผู้ป่วยเดินจะพบว่าผู้ป่วยจะต้องงอเข่าขาข้างที่ยาวเพื่อให้เท้าพ้น พื้นในช่วงระยะแกว่งเท้า ระยะทางจากศีรษะถึงพื้นของผู้ป่วยจะไม่เท่ากันในแต่ละช่วงของการเดิน ท่าทาง (Posture) สังเกตว่าส่วนของร่างกายด้านซ้ายและขวาสมมาตรกันหรือไม่โดยให้ผู้ป่วยยืนถอดเสื้อผ้า ออกเหลือเฉพาะที่จาเป็น สังเกตระดับไหล่ ระดับเชิงกรานเท่ากันหรือไม่ ผิวหนัง สังเกตสีผิวที่เปลี่ยนแปลง รอยพับ รอยแผลผ่าตัด แผลเป็น การอักเสบ ส่วนโค้งกระดูกสันหลัง (Spinal curvatures) มี 4 ส่วนคือระดับคอแอ่น 20-40 องศา ระดับอกโก่ง 20-45 องศา และระดับเอวแอ่น 40-60 องศา ส่วนโค้งนี้อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้แก่ ส่วนโค้งระดับคอและเอวแอ่นลดลงอาจมี สาเหตุจากกล้ามเนื้อเกร็ง หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหักยุบ ส่วนโค้งระดับเอวแอ่นเพิ่มขึ้นอาจเกิด จากอ้วนลงพุงมาก ตั้งครรภ์ กล้ามเนื้อบริเวณข้อสะโพกมีการหดรั้ง ส่วนโค้งระดับอกโก่งเพิ่มขึ้นอาจเกิดจากกระดูกสัน หลังหักยุบจากกระดูกสันหลังพรุน การติดเชื้อวัณโรคกระดูกสันหลังทาให้กระดูกสันหลังยุบและโก่งเรียกว่า gibbus deformity แนวกระดูกสันหลัง (Spinal alignment) เริ่มจากดูแนวของศีรษะ ถ้าแนวศีรษะเอียงผิดปกติ อาจเกิดจาก กระดูกสันหลังคด congenital muscular torticollis, หรือ C1- C2 rotatory subluxation สังเกตระดับไหล่ทั้ง 2 ข้าง แนว กระดูกสะบักและเชิงกรานว่าเท่ากันหรือไม่ ถ้าแนวกระดูกสันหลังผิดปกติ อาจเกิดจากกระดูกสันหลังคด การคลา คลาหาตาแหน่งจุดกาหนดกายวิภาคต่างๆ แนว spinous processโดยเฉพาะ C7, T1 คลาหาจุดกดเจ็บ คลา ว่ามีต่อมน้าเหลืองหรือก้อนผิดปกติหรือไม่ คลาว่ามีกระดูกสันหลังเลื่อนหรือคดหรือไม่ ถ้ามีการเลื่อนของกระดูกสัน หลัง จะคลา spinous process ได้ต่างระดับกันเรียกว่า step-off ตรวจกล้ามเนื้อข้างกระดูกสันหลังว่ามีจุดกดเจ็บหรือมี การหดเกร็งหรือไม่ ตาแหน่งของสันกระดูกปีกสะโพก (iliac crest) ตรงกับระดับ L4-L5 และ posterior superior iliac spine จะอยู่ที่อยู่ที่ระดับ S2 กดบริเวณ sciatic notch ถ้ากดเจ็บแสดงว่าน่าจะมีการระคายเคืองต่อเส้นประสาท สัมผัสอุณหภูมิของผิวหนังว่าร้อนผิดปกติหรือไม่ การเคาะ-ฟัง ใช้อุปกรณ์ตรวจรีเฟล็กซ์เคาะตามแนวกระดูกสันหลังว่ามีอาการเจ็บที่ตาแหน่งใดหรือไม่ และฟังว่ามีเสียงลั่น ผิดปกติหรือไม่ขณะที่ให้ผู้ป่วยก้มเงย เอียงซ้ายขวา และหมุนซ้ายขวา
  • 5. 5 การตรวจวัดการเคลื่อนไหวของข้อ ตรวจการเคลื่อนไหวทั้งการก้มเงย เอียงซ้ายขวา และหมุนซ้ายขวา ในระดับคอการก้มเงยได้ประมาณ 50 องศา เอียงซ้ายขวาข้างละ 40 องศาและหมุนซ้ายขวาข้างละ 70 องศา การวัดพิสัยการเคลื่อนไหว อาจวัดเป็นขนาดมุม โดยใช้ inclinometer หรือ goniometer (ภาพที่ 3.3 ก,ข) ประมาณร้อยละ 50 ของการก้มเงยเกิดขึ้นที่ระดับ occiput- C1 และร้อยละ 50 ของการหมุนเกิดขึ้นที่ระดับ C1 - C2 พิสัยการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังระดับอกและเอวต้องทาไปพร้อมกันไม่สามารถแยกตรวจแต่ละส่วนได้ การก้ม อาจวัดเป็นขนาดมุมด้วย goniometer หรือให้ผู้ป่วยก้มเต็มที่ให้ปลายนิ้วใกล้พื้นมากที่สุดเท่าที่ทาได้โดยที่เข่า เหยียด วัดระยะห่างจากปลายนิ้วกลางถึงพื้นว่าเป็นเท่าใด (finger to floor test) (ภาพที่ 3.3 ค) แต่การวัดโดยวิธีนี้เป็น การวัดคร่าวๆเนื่องจากมีการเคลื่อนไหวของเชิงกราน รวมทั้งอาจมีการตึงของกล้ามเนื้อ hamstring มาเกี่ยวข้อง การ เอียงซ้ายขวาวัดโดยวิธี finger to floor ได้เช่นเดียวกันโดยให้ศีรษะและสะโพกชิดผนังแล้วเอียงตัวเต็มที่ วัดระยะห่าง จากปลายนิ้วกลางถึงพื้นว่าเป็นระยะทางเท่าใด ส่วนการหมุนซ้ายขวา ควรตรวจขณะที่ผู้ป่วยนั่งเพื่อให้เชิงกรานอยู่นิ่ง (ก) (ข) (ค) ภาพที่ 3.3 การตรวจพิสัยการเคลื่อนไหว (ก, ข) ด้วย goniometer (ค) Finger to floor test Schober’s test เป็นการตรวจเพื่อวัดการเคลื่อนไหวเฉพาะส่วนกระดูกสันหลังระดับเอว เริ่มจากให้ผู้ป่วยยืน ตรง คลาหา spinous process ของ S1 แล้วทาเครื่องหมายไว้ วัดระยะห่างจาก spinous process ของ S1 ขึ้นไป 10 เซนติเมตร ทาเครื่องหมายอีก 1 แห่ง จากนั้นให้ผู้ป่วยก้มหลังเต็มที่ วัดระยะที่ทาเครื่องหมายทั้ง 2 จุดว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด ในคนปกติระยะระหว่าง 2 จุดจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 4-5 เซนติเมตร Modified Schober’s test ตรวจโดยให้ผู้ตรวจลากเส้นที่เชื่อมต่อระหว่าง posterior superior iliac spine ขณะที่ ผู้ป่วยยืนตรง จากจุดกึ่งกลางเส้นนี้ลากเส้นตั้งฉากขึ้นไป10 เซนติเมตร และลงล่าง 5 เซนติเมตร และทาเครื่องหมายไว้ ทั้ง 2 จุด จากนั้นให้ผู้ป่วยก้มหลังเต็มที่ วัดระยะที่ทาเครื่องหมายทั้ง 2 จุดว่าเพิ่มขึ้นเท่าใด ในคนปกติระยะระหว่าง 2 จุดจะเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของข้อ costovertebral เช่น ankylosing spondylitis ต้องตรวจการขยายของทรวงอก โดยวัดเส้นรอบวงของทรวงอกที่ระดับ T4 ในขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก ในคนปกติการขยายของทรวงอกควรจะ มากกว่า 1 นิ้ว
  • 6. 6 (ก) (ข) ภาพที่ 3.4 การตรวจ (ก) plumb line และ (ข) forward bending test ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด ต้องตรวจว่าแนวกระดูกสันหลังอยู่ในสมดุลหรือไม่โดยตรวจ plumb line ถ้าแนว กระดูกสันหลังอยู่ในสมดุล แนว plumb line จะเป็นเส้นตรงจาก spinous process ของ C7 ผ่านร่องก้นพอดี แต่ถ้าไม่ สมดุลแนวเส้นจะไม่ผ่านร่องก้น (ภาพที่ 3.4) ตรวจดูว่ามีการหมุนผิดรูปของกระดูกสันหลังหรือไม่ด้วย forward bending test โดยให้ผู้ป่วยก้มหลังถ้าแนวซี่โครงทั้ง 2 ข้างไม่อยู่ในระดับเดียวกันแสดงว่ามีการหมุนผิดรูปของกระดูก สันหลัง การตรวจระบบประสาท เป็นการตรวจที่มีความสาคัญอย่างยิ่งเนื่องจากถ้าสามารถตรวจได้อย่างละเอียดถูกต้อง จะทาให้แพทย์ สามารถระบุตาแหน่งของพยาธิสภาพของไขสันหลังหรือรากประสาทได้อย่างถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการ ตรวจทางรังสีเช่นการตรวจเอ็มอาร์ ซึ่งมีผลบวกปลอมสูง การตรวจระบบประสาทประกอบด้วยการตรวจกาลังกล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก และรีเฟล็กซ์ ไขสันหลังประกอบด้วยส่วนของเซลล์ประสาทที่อยู่แกนกลางเรียกว่า gray matter และส่วนที่ล้อมรอบเรียกว่า white matter ซึ่งประกอบด้วยแกนของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทางานของกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึก ภายใน white matter มีลาใยประสาทต่างๆที่นาการรับความรู้สึกต่างๆเข้าสู่สมองและนาคาสั่งจากสมองไปควบคุมการทางาน ของกล้ามเนื้อ Lateral spinothalamic tract เป็นส่วนที่นาความรู้สึกเจ็บปวดและการรับรู้อุณหภูมิ เมื่อใยประสาทที่นา ความรู้สึกเข้าสู่ไขสันหลังจะทอดข้ามไปด้านตรงข้ามทันทีและขึ้นสู่สมอง ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย ผู้ป่วยจะสูญเสีย การรับความรู้สึกเจ็บปวดและการรับรู้อุณหภูมิของร่างกายด้านตรงข้ามตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป Dorsal column เป็นส่วนที่นาการรับรู้การสั่นสะเทือน การจาแนก 2 จุด สัมผัส และการรับรู้อากัปกิริยา (proprioception) เส้นทางเดินของ dorsal column เมื่อใยประสาทที่นาความรู้สึกเหล่านี้เข้าสู่ไขสันหลังจะขึ้นสู่สมอง ด้านเดียวกัน ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย ผู้ป่วจะสูญเสียการรับรู้การสั่นสะเทือน การจาแนก 2 จุดสัมผัส และการรับรู้ อากัปกิริยาของร่างกายด้านเดียวกันตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป Lateral corticospinal tract เป็นส่วนที่นาประสาทสั่งการกล้ามเนื้อจากสมองทอดข้ามไปด้านตรงข้ามในระดับ ก้านสมองลงสู่ไขสันหลังด้านตรงข้ามกับสมอง แต่อยู่ด้านเดียวกับกล้ามเนื้อที่ไปสั่งการ ถ้าเส้นทางประสาทนี้เสียหาย ผู้ป่วจะสูญเสียการทางานของกล้ามเนื้อด้านเดียวกันตั้งแต่ระดับที่มีพยาธิสภาพลงไป พยาธิสภาพที่ทาให้ผู้ป่วยที่สูญเสียกาลังกล้ามเนื้อและการรับรู้ความรู้สึกอาจเกิดขึ้นที่สมอง ไขสันหลัง ราก ประสาท ข่ายประสาท และเส้นประสาทส่วนปลาย ดังนั้นการตรวจกาลังกล้ามเนื้อและการรับความรู้สึก จึงมีการตรวจ 2 รูปแบบคือ 1. ตรวจเรียงตามลาดับการเลี้ยงของไขสันหลังหรือรากประสาท เนื่องจากรากประสาทและไขสันหลังแต่ละ ระดับตั้งแต่ C1 จนถึง S5 จะมีรูปแบบการเลี้ยงกล้ามเนื้อที่ชัดเจนเรียกว่า myotome และมีการรับความรู้สึกจากพื้นที่ Plumb linePlumb line
  • 7. 7 ผิวหนังเป็นบริเวณเฉพาะเรียกว่า dermatome การตรวจในลักษณะนี้ทาให้สามารถทราบระดับพยาธิสภาพของไขสัน หลังหรือรากประสาทได้ 2. ตรวจตามการเลี้ยงของเส้นประสาทส่วนปลาย เช่นเส้นประสาท median, radial, ulnar, tibial, และ peroneal เป็นต้น ผู้ตรวจต้องทราบว่าเส้นประสาทเหล่านี้มีแขนงไปเลี้ยงกล้ามเนื้อมัดใดบ้าง และรับความรู้สึกจาก ผิวหนังส่วนใด ถ้าผู้ตรวจคิดว่าพยาธิสภาพของผู้ป่วยน่าจะอยู่ที่ไขสันหลังหรือรากประสาทก็ทาการตรวจเรียงตามลาดับการ เลี้ยงของไขสันหลังหรือรากประสาท แต่ถ้าคิดว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นที่ข่ายประสาท และเส้นประสาทส่วนปลายก็ทาการ ตรวจตามการเลี้ยงของเส้นประสาทส่วนปลาย การตรวจกล้ามเนื้อ ทาการตรวจขนาด ความตึง (tone) และกาลังกล้ามเนื้อเพื่อหาตาแหน่งพยาธิสภาพที่ ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงว่าอยู่ตาแหน่งใด (สมอง ไขสันหลัง รากประสาท ข่ายประสาท เส้นประสาทส่วนปลาย และ กล้ามเนื้อ) เป็นการตรวจที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าการตรวจการรับความรู้สึกและการตรวจรีเฟล็กซ์ การตรวจเริ่มจาก การดูขนาดของกล้ามเนื้อว่าฝ่อลีบกว่าปกติหรือไม่โดยเปรียบเทียบกับอีกข้างหนึ่ง ตรวจดูว่ามีการหดรั้ง, fasciculation, tremor และ cogwheel rigidity หรือไม่ ตรวจความตึงของกล้ามเนื้อขณะพัก ถ้ามากผิดปกติ (hypertonicity) พบในผู้ที่ มีพยาธิสภาพสูงกว่า anterior horn cell (สมอง ก้านสมอง และไขสันหลัง) ถ้าน้อยกว่าปกติ (hypotonicity) พบในผู้ที่มี พยาธิสภาพต่ากว่า anterior horn cell (รากประสาท ข่ายประสาท เส้นประสาทส่วนปลาย neuromuscular junction และกล้ามเนื้อ) ตารางที่ 3.4 การตรวจกาลังกล้ามเนื้อ ระดับกาลังกล้ามเนื้อ การตรวจพบ 0 ไม่มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ 1 มีการหดตัวของกล้ามเนื้อ แต่ไม่มีการเคลื่อนไหว 2 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ แต่ไม่สามารถต้านแรงโน้มถ่วง 3 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่และต้านแรงโน้มถ่วงได้ 4 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ ต้านแรงโน้มถ่วงได้ และต้านแรงผู้ตรวจได้บ้าง 5 เคลื่อนไหวแนวราบได้เต็มที่ ต้านแรงโน้มถ่วงได้ และต้านแรงผู้ตรวจได้เต็มที่ ตารางที่ 3.5 โรคที่ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง พยาธิสภาพ ตาแหน่งพยาธิ สภาพ โรค Upper motor neuron lesion สมอง โรคหลอดเลือดสมองแตกหรือลิ่มเลือดอุดตัน เนื้องอก หนองในสมอง บาดเจ็บศีรษะ Amyotrophic lateral sclerosis (พบได้ทั้ง upper และ lower motor neuron lesion) ไขสันหลัง กระดูกสันหลังเสื่อม บาดเจ็บ การติดเชื้อเช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง มะเร็งกระดูกสันหลัง เนื้อ งอก (neurilemmoma, meningioma), transverse myelitis, demyelination (multiple sclerosis) Lower motor neuron lesion รากประสาท โรครากประสาท (Radiculopathy) ข่ายประสาท Brachial plexus injury เส้นประสาทส่วน ปลาย Mononeuropathy เช่น carpal tunnel syndrome, tarsal tunnel syndrome Neuritis เช่น โรคเรื้อน Neuropathy เช่น การได้รับบาดเจ็บ เนื้องอก Polyneuropathy เช่น เบาหวาน ขาดวิตามินบี 1, Guillian-barre syndrome Anterior horn Motor neuron disease (amyotrophic lateral sclerosis, progressive muscular atrophy,
  • 8. 8 cell spinal muscular atrophy), poliomyelitis Neuromuscular junction Myasthenia gravis, ยาฆ่าแมลง พิษงูเห่า กล้ามเนื้อ Polymyositis, dermatomyositis, muscular dystrophy, periodic paralysis ตรวจกาลังกล้ามเนื้อโดยเริ่มจากแขนไปขา จากส่วนต้นไปส่วนปลายตามลาดับ กาลังกล้ามเนื้อแบ่งเป็น 6 ระดับ (ตารางที่ 3.4) ตัวอย่างโรคที่ทาให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงแสดงในตารางที่ 3.5 (โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ anterior horn cell, neuromuscular junction, และกล้ามเนื้อ จะมีเฉพาะอาการอ่อนแรงโดยไม่มีการสูญเสียความรู้สึก) กล้ามเนื้อที่ใช้ในตรวจเพื่อหาระดับพยาธิสภาพของรากประสาทและไขสันหลังแสดงในตารางที่ 3.6 กล้ามเนื้อ levator scapulae เลี้ยงด้วย C3-C4 กล้ามเนื้อกะบังลมเลี้ยงด้วย C3-C5 การตรวจกล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทาโดยการตรวจ ทวารหนักและรายงานผลว่าปกติ ลดลงหรือทาไม่ได้ การตรวจการรับความรู้สึก ประกอบด้วยการรับความรู้สึกเจ็บปวด การรับรู้สัมผัส การรับรู้อุณหภูมิ การ รับรู้ตาแหน่งข้อ การรับรู้การสั่นสะเทือน ต้องตรวจโดยเปรียบเทียบกับบริเวณที่ปกติและเปรียบเทียบผลการตรวจทั้ง ข้างซ้ายและขวาว่าแตกต่างกันหรือไม่ ขณะตรวจควรให้ผู้ป่วยหลับตา รายงานผลการตรวจว่าปกติ ลดลง หรือไม่ สามารถรับรู้ได้ (ก) (ข) (ค) ภาพที่ 3.5 การตรวจ (ก) การรับความรู้สึกเจ็บปวด (ข) การรับรู้สัมผัสและ (ค) การรับรู้ตาแหน่งข้อ ตารางที่ 3.6 การตรวจระบบประสาทเพื่อหาระดับพยาธิสภาพของรากประสาทและไขสันหลัง ระดับพยาธิสภาพ กล้ามเนื้อ การรับความรู้สึก รีเฟล็กซ์ C5 Deltoid บริเวณ deltoid Biceps C6 Wrist extensors นิ้วหัวแม่มือ Brachioradialis C7 Triceps, finger extensors นิ้วกลาง Triceps C8 Finger flexors นิ้วก้อย T1 Intrinsic hand muscles ด้านในต้นแขน T2-T12 Intercostal muscles T2 บริเวณไหปลาร้า T3 บริเวณรักแร้ T6-T12 Rectus abdominis T7 ลิ้นปี่ T10 สะดือ Beevor’s sign L1,L2 Iliopsoas L1 ขาหนีบ L3-L4 Quadriceps L2 ต้นขาด้านบน L3 ต้นขาด้านล่าง Patella L4 Tibialis anterior หน้าแข้งด้านใน L5 Extensor hallucis longus หน้าแข้งด้านนอก ง่ามนิ้วหัวแม่เท้า S1 Flexor hallucis longus, gastrosoleus ด้านข้างของเท้า Achilles S2-S5 Anal sphincter รอบทวารหนัก Bulbocavernosus
  • 9. 9 การรับความรู้สึกเจ็บปวด (Pinprick sensation) ตรวจโดยใช้วัตถุปลายแหลมเช่นเข็มหรือไม้จิ้มฟันจิ้มเบาๆที่ ผิวหนังตาม dermatome ที่ต้องการตรวจ (ภาพที่ 3.5) การรับรู้สัมผัส ตรวจโดยใช้สาลีสัมผัสบริเวณที่ต้องการตรวจ การรับรู้อุณหภูมิ ตรวจโดยใช้น้าแข็งหรือสาลีชุบแอลกอฮอล์วางในตาแหน่งที่ต้องการตรวจ การรับรู้ตาแหน่งข้อ ตรวจโดยขยับข้อนิ้วมือหรือนิ้วเท้าขึ้นและลงสลับกันแล้วถามผู้ป่วยเพื่อทดสอบว่าตอบได้ ถูกต้องหรือไม่ การรับรู้การสั่นสะเทือน ตรวจโดยใช้ tuning fork เคาะแล้ววางที่ผิวหนัง การตรวจรีเฟล็กซ์ ช่วยบอกตาแหน่งพยาธิสภาพว่าอยู่ที่สมองหรือไขสันหลังหรือตั้งแต่รากประสาทลงมา รีเฟล็กซ์แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ deep tendon reflex และ superficial reflex การตรวจ deep tendon reflex โดยปกติเซลล์ประสาทสมองและไขสันหลังทาหน้าที่ยับยั้งสัญญาณรีเฟล็กซ์ แต่ถ้ามีพยาธิสภาพของสมองหรือไขสันหลัง การยับยั้งสัญญาณรีเฟล็กซ์สูญเสียไป รีเฟล็กซ์จึงไวหรือแรงกว่าปกติ การ ตรวจรีเฟล็กซ์ตรวจได้เพียงบางระดับของไขสันหลังเท่านั้น (ตารางที่ 10.7) โดยใช้อุปกรณ์การตรวจเคาะเอ็นกล้ามเนื้อ ที่ต้องการตรวจ การตรวจรีเฟล็กซ์ของขา อาจทาได้ง่ายขึ้น ถ้าให้ผู้ป่วยนั่งห้อยเท้า 2 ข้าง งอโดยให้มือหนึ่งคว่าและอีก มือหนึ่งหงายและให้ผู้ป่วยดึงนิ้วมือออกจากกัน การรายงานผลการตรวจรีเฟล็กซ์แบ่งเป็น 4 ระดับ (ตารางที่ 3.7) ตารางที่ 3.7 การตรวจและรายงานผล deep tendon reflex ระดับรีเฟล็กซ์ การตรวจพบ 0 ไม่พบรีเฟล็กซ์ 1 น้อยกว่าปกติ 2 ปกติ 3 ไวกว่าปกติ 4 ตรวจพบ clonus Superficial reflexes ได้แก่ abdominal, cremasteric, anal wink, bulbocavernosus และ Babinski’s reflexes เป็นรีเฟล็กซ์ของ upper motor neuron การตรวจจะต้องกระตุ้นผ่านผิวหนัง ต่างกับ deep tendon reflex ซึ่ง กระตุ้นผ่านเอ็นกล้ามเนื้อ ถ้าตรวจพบ superficial reflexes เหล่านี้ถือว่าปกติ แต่ถ้าตรวจไม่พบแสดงว่ามีพยาธิสภาพ ของ corticospinal tract ด้านเดียวกัน Superficial abdominal reflex (T6-L1) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์ เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิวหนังแต่ละส่วนรอบสะดือ สังเกตว่ามีการเคลื่อนของสะดือเข้าหาตาแหน่งที่มีการขูด ผิวหนังหรือไม่ ถ้ามีถือว่าการตรวจให้ผลบวก กล้ามเนื้อ rectus abdominis ส่วนบนเลี้ยงด้วยรากประสาทระดับ T6-T9 และส่วนล่างเลี้ยงด้วย T10-L1 Superficial cremasteric reflex (L1-L2) เป็นการตรวจเฉพาะเพศชายเท่านั้น ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบน เตียงตรวจ ใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์หรือเล็บขูดที่ผิวหนังบริเวณด้านในต้นขาใกล้กับลูกอัณฑะ ถ้าการ ตรวจให้ผลบวกจะพบว่าลูกอัณฑะข้างนั้นจะเลื่อนขึ้นบนสูงกว่าอีกข้างหนึ่ง Superficial anal wink reflex (S2-S4) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ งอเข่าและสะโพกทั้ง 2 ข้าง และการงขาออก ใช้เข็มจิ้มเบาๆที่ผิวหนังรอบทวารหนัก ถ้าการตรวจให้ผลบวกจะเห็นการหดตัวของกล้ามเนื้อหูรูด ทวารหนัก Bulbocavernosus reflex ตรวจโดยผู้ตรวจใช้นิ้วมือสอดเข้าไปในทวารหนักผู้ป่วย จากนั้นบีบที่หัวอวัยวะเพศ ชายหรือกระตุ้น clitorisในเพศหญิง ถ้าพบว่าหูรูดทวารหนักมีการหดรัดตัวรอบนิ้วมือ แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก
  • 10. 10 รีเฟล็กซ์พยาธิสภาพ (Pathologic reflexes) เป็น superficial reflex เช่นเดียวกัน แต่การแปลผลต่างจาก superficial reflexes ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้วคือถ้าการตรวจให้ผลบวก แสดงว่ามีพยาธิสภาพของสมองหรือไขสันหลัง โดยเฉพาะถ้าพบร่วมกับ deep tendon reflex ไวกว่าปกติ ตัวอย่าง pathologic reflexes ได้แก่ Beevor’s sign, inverse radial reflex, Hoffmann’s reflex, Babinski’s reflex, และOppenheim’s sign Beevor’s sign (T6-L1) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ประสานมือทั้ง 2 ข้างไว้ใต้ศีรษะ จากนั้น ให้ผู้ป่วยยกศีรษะขึ้นเล็กน้อย สังเกตว่าสะดืออยู่นิ่ง หรือมีการเคลื่อนขึ้นด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวาหรือไม่ ถ้าสะดือ อยู่นิ่งแปลผลได้ 2 กรณีคือ 1) ปกติ ไม่มีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ rectus abdominis หรือ 2) กล้ามเนื้อ rectus abdominis อ่อนแรงทั้งหมด ซึ่งหมายความว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นสูงกว่าระดับ T6 แต่ถ้าสะดือเคลื่อนขึ้นบน แสดงว่า กล้ามเนื้อ rectus abdominis ส่วนล่าง (T10-L1) มีการอ่อนแรง ถ้าสะดือเคลื่อนไปด้านซ้าย แสดงว่ากล้ามเนื้อ rectus abdominis ด้านขวาอ่อนแรง หรือถ้าเคลื่อนไปด้านขวา แสดงว่ากล้ามเนื้อ rectus abdominis ด้านซ้ายอ่อนแรง Inverted radial reflex ตรวจโดยทาการตรวจ brachioradialis reflex ถ้าพบว่าข้อมือกระดกขึ้นพร้อมกับนิ้วมือ งอเข้าหากัน แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก Hoffmann’s reflex ตรวจโดยผู้ตรวจใช้มือหนึ่งจับข้อปลายนิ้วของนิ้วกลางของผู้ป่วยให้อยู่นิ่ง ใช้นิ้วดีดปลาย นิ้วกลางของผู้ป่วยขึ้นหรือลง ถ้านิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ของผู้ป่วยขยับงอเข้าหากันแสดงว่าการตรวจให้ผลบวก แสดงว่า มีพยาธิสภาพเกิดขึ้นในสมองหรือไขสันหลังสูงกว่าระดับ T1 (ภาพที่ 3.6) ความไวในการตรวจ Hoffman’s sign จะ เพิ่มขึ้นเมื่อตรวจขณะที่ให้ผู้ป่วยก้มและเงยเต็มที่หลายๆครั้ง (dynamic Hoffman’s sign) ภาพที่ 3.6 การตรวจ Hoffmann’s reflex Babinski’s reflex ตรวจโดยใช้ด้ามโลหะของอุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์ขูดที่ฝ่าเท้าจากด้านนอกเข้าหาด้านใน บริเวณนิ้วหัวแม้เท้า ถ้าพบว่านิ้วเท้างองุ้ม แสดงว่าการตรวจให้ผลลบ แต่ถ้านิ้วเท้าแยกออกจากกันและนิ้วหัวแม่เท้า กระดกขึ้น แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก Scapulohumeral reflex ตรวจโดยใช้อุปกรณ์เคาะรีเฟล็กซ์เคาะที่ scapular spine ถ้าพบว่ามีการยกตัวของ กระดูกสะบักหรือแขนกางออก แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก เป็นการทดสอบเส้นประสาท suprascapular ซึ่งเลี้ยง infraspinatus และ teres minor เป็นการทดสอบไขสันหลังระดับ C4 Finger escape sign ตรวจโดยให้ผู้ป่วยเหยียดแขนตรงออกไปข้างหน้าให้แขนขนานกับพื้นกระดกข้อมือและ หันฝ่ามือไปทางด้านหน้าให้นิ้วทั้ง 5 เรียงชิดติดกัน ถ้าพบว่านิ้วนางและนิ้วก้อยค่อยๆกางออกหรืองอลง แสดงว่าการ ตรวจให้ผลบวก Grip and release sign ตรวจโดยให้ผู้ป่วยกางและหุบนิ้วมือเร็วๆ นับจานวนครั้งของการกางและหุบนิ้วมือใน เวลา 10 วินาที ในคนปกติจะสามารถทาได้มากกว่า 20 ครั้ง ถ้าทาได้ไม่ถึง 20 ครั้ง แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก Myelopathic hand signs พบในผู้ป่วยที่โรคไขสันหลังจากกระดูกต้นคอเสื่อม ผู้ป่วยจะไม่สามารถใช้มือได้ อย่างถนัดแคล่วคล่องเหมือนปกติ (loss of manual dexterity, clumsy hands) เช่นเขียนหนังสือแย่ลงหรือเขียนไม่เป็น
  • 11. 11 ตัว กลัดกระดุมเสื้อลาบาก รวมทั้งมีอาการชา ความรู้สึกสัมผัสเพี้ยน และอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อในมือฝ่อลีบ การตรวจ grip and release test และfinger escape sign ให้ผลบวก Lhermitte’s sign เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีการระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มไขสันหลังหรือไม่และอาจพบใน ผู้ป่วยที่มีโรคไขสันหลังส่วนคอ (cervical myelopathy) ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนั่งก้มศีรษะหรือกดศีรษะผู้ป่วยให้ก้มลงคาง ชิดอก ถ้าผู้ป่วยมีความรู้สึกเสียวแปล๊บคล้ายไฟฟ้าช๊อตวิ่งลงไปตามแนวกระดูกสันหลังหรือลงไปตามแขนหรือขาแสดง ว่าการตรวจให้ผลบวก Clonus ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนงอเข่าแบะเท้า 2 ข้างออกหรือนั่งห้อยขา ผู้ตรวจใช้มือดันฝ่าเท้าผู้ป่วยขึ้น ถ้า พบว่าข้อเท้ากระดกขึ้นลงต่อเนื่องกันหลายครั้ง แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก โรครากประสาท (Radiculopathy) เมื่อเกิดโรครากประสาทจะตรวจพบลักษณะของ lower motor neuron signs ของรากประสาทที่เกิดพยาธิสภาพได้แก่ กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรับความรู้สึกลดลงหรือสูญเสียไปและรีเฟล็กซ์ลด ลงหรือหายไป ถ้าพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับรากประสาทเพียงเส้นเดียว การตรวจเพื่อดูว่าพยาธิสภาพเกิดขึ้นกับราก ประสาทระดับใดก็ทาได้โดยง่าย แต่ถ้าเกิดพยาธิสภาพขึ้นกับรากประสาทหลายเส้น การตรวจและแปลผลจะยุ่งยาก มากขึ้น เช่นผู้ป่วยช่องกระดูกสันหลังระดับเอวตีบแคบระดับ L3-L5 อาจมีการกดเบียดรากประสาทตั้งแต่ระดับ L3, L4, L5 รวมทั้ง S2-S4 ทาให้ผู้ป่วยมีการอ่อนแรงของขาทั้ง 2 ข้างตั้งแต่ระดับเข่าลงไป รวมทั้งไม่สามารถควบคุมการ ขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระได้เป็นปกติ เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า cauda equina syndrome Tandem stenosis ผู้ป่วยกระดูกสันหลังเสื่อมบางราย จะพบการกดเบียดของไขสันหลังที่ระดับคอจาก กระดูกสันหลังส่วนคอเสื่อมและการกดเบียดรากประสาทที่ระดับเอวจากช่องกระดูกสันหลังตีบแคบ กรณีนี้การตรวจ ร่างกายจะพบว่าพยาธิสภาพของแขน ลาตัว และต้นขาเป็นชนิด upper motor neuron lesion และพยาธิสภาพของส่วน ที่อยู่ใต้เข่าเป็นชนิด lower motor neuron lesion ตารางที่ 3.8 อาการแสดงของโรคไขสันหลังส่วนคอและส่วนอก Cervical myelopathy Thoracic myelopathy Scapulohumeral reflex Pectoralis muscle reflex Hoffmann’s sign Inverted radial reflex Myelopathic hand signs (finger escape sign, grip and release sign, ชา กล้ามเนื้อฝ่อลีบ) Lhermitte’s sign Beevor’s sign Hyperreflexia Hyperreflexia Cross adductor sign Cross adductor sign Babinski’s reflex, และ Oppenheim’s sign Babinski’s reflex, และ Oppenheim’s sign Clonus Clonus โรคไขสันหลัง (Myelopathy) เนื่องจากไขสันหลังสิ้นสุดที่กระดูกสันหลังระดับ L1-L2 การที่จะเกิดโรคไขสัน หลังได้ จะเกิดขึ้นได้เฉพาะตาแหน่งของกระดูกสันหลังตั้งแต่ C1 จนถึง L2 เท่านั้น เมื่อเกิดพยาธิสภาพของสมองหรือ ไขสันหลัง จะตรวจพบ upper motor neuron signs หรือ long tract signs (ยกเว้นการบาดเจ็บของไขสันหลังที่เกิดขึ้น เฉียบพลันในระยะประมาณ 3 สัปดาห์แรก ไขสันหลังจะอยู่ในสภาวะ spinal shock ซึ่งจะยังไม่มีอาการแสดงของ upper motor neuron) ทั้งนี้ขึ้นกับว่าพยาธิสภาพของไขสันหลังเกิดขึ้นที่ระดับใด อาการแสดงของโรคไขสันหลังส่วนคอ (cervical myelopathy) และส่วนอก (thoracic myelopathy) แสดงในตารางที่ 3.8
  • 12. 12 ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของโรครากประสาทระดับคอร่วมกับโรคไขสันหลังระดับคอจากกระดูกสันหลังเสื่อม พร้อมๆกัน (radiculomyelopathy) การตรวจร่างกายทางระบบประสาทจะพบว่าผู้ป่วยมี lower motor neuron signs ใน ระดับที่มีพยาธิสภาพของรากประสาทร่วมกับ upper motor neuron signs ในระดับที่ต่าลงไป ในกรณีที่การตรวจร่างกายทางระบบประสาทพบว่าขาทั้ง 2 ข้างมี upper motor neuron signs แต่ไม่พบ ความผิดปกติของระบบสาทของแขนทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าพยาธิสภาพน่าจะเกิดขึ้นที่ไขสันหลังระดับอก การตรวจการทางานประสานกัน (Coordination) เป็นการตรวจเพื่อทดสอบการทางานของสมองน้อย (cerebellum) โดยสมองน้อยมีหน้าที่ควบคุมการทรงตัว การทางานประสานกันและระดับการหดตัวของกล้ามเนื้อใน อานาจจิตใจ ทั้งนี้เนื่องจากการกดเบียดไขสันหลังอาจทาให้เกิดพยาธิสภาพของ spinocerebellar tract ผู้ป่วยจึงอาจ สูญเสียการทาหน้าที่ของสมองน้อย การตรวจ coordination ได้แก่ Finger to nose ตรวจโดยให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง เหยียดแขนข้างที่ไม่ถนัดไปข้างหน้า ให้ผู้ป่วยใช้นิ้วชี้ของแขน อีกข้างหนึ่งสัมผัสที่จมูก จากนั้นผู้ตรวจบอกให้ผู้ป่วยใช้นิ้วชี้ของแขนข้างสัมผัสจมูกไปสัมผัสกับนิ้วชี้ของแขนข้างที่ เหยียด ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถทาได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว แสดงว่าน่าจะมีพยาธิสภาพของสมองน้อย การตรวจระบบประสาทอัตโนมัติ การตรวจระบบประสาท sympathetic และ parasympathetic เช่น Horner’s syndrome เหงื่อออก ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน ความดันลดหรือเพิ่ม ปัสสาวะลาบาก อวัยวะเพศไม่แข็งตัวหรือ แข็งตัวไม่นานหรือหลั่งน้ากามย้อนทาง การตรวจพิเศษ การตรวจพิเศษ (Special tests) เป็นการตรวจร่างกายเฉพาะเพื่อวินิจฉัยโรคหรือเพื่อหาตาแหน่งพยาธิสภาพ หรือเพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากพยาธิสภาพที่เกิดจากส่วนอื่นๆของร่างกายนอกเหนือจากกระดูกสันหลัง มีการตรวจพิเศษ หลายการตรวจที่ทาให้รากประสาทถูกกดเบียดมากขึ้นเรียกว่า nerve root tension signs การตรวจพิเศษแยกเป็นการ ตรวจสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอและส่วนเอวดังนี้ (ก) (ข) (ค) (ง) ภาพที่ 3.7 การตรวจ (ก) Cervical compression test (ข) Cervical distraction test (ค, ง) Spurling’s test การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนคอ ประกอบด้วยการตรวจรีเฟล็กซ์พยาธิสภาพ ต่างๆซึ่งแสดง ถึงโรคไขสันหลังระดับคอและการตรวจที่แสดงถึงการกดเบียดรากประสาทได้แก่ Cervical compression test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีการระคายเคืองต่อรากประสาทหรือไม่ ตรวจโดย การวางมือบนศีรษะผู้ป่วยแล้วออกแรงกดลงตามแนวของกระดูกสันหลัง ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดคอร้าวลงไปตามแขน แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก มักพบในผู้ป่วยหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้นหรือกระดูกต้นคอเสื่อม (ภาพที่ 3.7 ก) Cervical distraction test ตรวจโดยใช้มือประคองศีรษะและคางของผู้ป่วยแล้วออกแรงยกขึ้นพร้อมๆกันซึ่งจะ ทาให้ช่องทางออกของรากประสาทกว้างขึ้น ทาให้รากประสาทซึ่งเดิมถูกกดอยู่ไม่ถูกกดขณะที่ดึง ทาให้อาการปวดร้าว มาที่แขนลดลง (ภาพที่ 3.7 ข)
  • 13. 13 Spurling’s test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่ามีโรคของรากประสาทระดับคอหรือไม่เช่นเดียวกับ cervical compression test ตรวจโดยให้ผู้ป่วยเอียงคอไปทางด้านที่มีอาการปวดร้าวไปแขน ผู้ตรวจออกแรงกดศีรษะ ถ้าผู้ป่วยมี อาการปวดคอร้าวลงไปตามแขน แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก (ภาพที่ 3.7 ค, ง) การตรวจ Spurling’s test ช่วยแยก ผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพของรากประสาทระดับคอออกจากพยาธิสภาพบริเวณไหล่ การตรวจพิเศษสาหรับกระดูกสันหลังส่วนเอวได้แก่ Straight leg raising test (SLRT) เป็นการตรวจที่ทาให้เส้นประสาท sciatic และรากประสาท (L4, L5, S1) รวมทั้งถุงหุ้มไขสันหลังใกล้เคียงที่อักเสบถูกดึงยืด การตรวจให้ผู้ป่วยนอนหงาย ผู้ตรวจจับข้อเท้าของผู้ป่วยข้างที่มี อาการ ค่อย ๆ ยกขาขึ้นโดยให้ข้อเข่าอยู่ในท่าเหยียด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงมาทางด้านหลังของต้นขาลง ไปถึงบริเวณน่องหรือข้อเท้า แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก วัดมุมที่แนวขาทามุมกับพื้นเตียงตรวจ ในกรณีที่การตรวจ ให้ผลบวกจะวัดมุมได้ในช่วง 30-70 องศา ถ้ามุมที่วัดได้เกิน 70 องศาสาเหตุของอาการปวดอาจเกิดจากการตึงของ กล้ามเนื้อ hamstring ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาการปวดตึงบริเวณด้านหลังของต้นขา แต่ไม่ร้าวลงมาบริเวณน่อง การยกขา ในช่วง 30 องศาแรก ไม่ควรจะเกิดอาการปวดเนื่องจากมุมที่ยกขึ้นไม่ทาให้เกิดการดึงรั้งต่อถุงหุ้มไขสันหลัง (ภาพที่ 3.8) ภาพที่ 3.8 การตรวจ Straight leg raising test (ดัดแปลงจาก Wong, Transfeldt ,2007) การตรวจ straight leg raising มีความไวร้อยละ 92 ในการวินิจฉัยอาการอาการกดเบียดเส้นประสาท sciatic จากหมอนรองกระดูกสันหลังปลิ้น แต่มีความจาเพาะเพียงร้อยละ 28 ขณะที่ cross leg test มีความจาเพาะสูงร้อยละ 90 แต่ความไวต่าร้อยละ 28 (van der Windt et al., 2010) Lasegue test เป็นการตรวจที่ทาหลังการตรวจ SLRT จนผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวมาที่ขาแล้วจึงลดระดับของ ขาลงจนผู้ป่วยหายปวดแล้วจึงกระดกข้อเท้าผู้ป่วยขึ้นเต็มที่ ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงมาที่ขาอีกแสดงว่าการตรวจ ให้ผลบวก หรือตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงข้อสะโพกและข้อเข่างอ 90 องศา ค่อยๆเหยียดเข่าออกจนกระทั่ง ผู้ป่วยเกิดอาการปวด แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก Cross over test ตรวจโดยการยกขาข้างที่มีอาการปวดชนิด sciatica แล้วผู้ป่วยมีอาการปวดร้าวลงไปที่ขา อีกข้างหนึ่งที่ไม่มีอาการปวด ซึ่งชี้ว่าสาเหตุของ sciatica อาจเกิดจาก central disc herniation หรือขนาดใหญ่ Bilateral SLRT ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียงตรวจ ผู้ตรวจยกขาทั้ง 2 ข้างของผู้ป่วยขึ้นพร้อมๆกัน การยกขาทาให้เชิงกรานเอียงขึ้นเป็นการลดแรงดึงต่อเส้นประสาท sciatic มุมของการยกจนกว่าจะเกิดอาการปวดจะ มากกว่าการยกขาข้างเดียว ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดก่อน 70 องศา อาการปวดอาจเกิดจากข้อ sacroiliac ถ้ามุมเกินกว่า 70 องศา อาการปวดจึงจะเกิดจากกระดูกสันหลังระดับเอว Femoral stretch test เป็นการตรวจที่ทาให้เส้นประสาท femoral ถูกดึงยืด ตรวจโดยใหัผู้ป่วยนอนคว่าหรือ ตะแคงโดยให้ขาข้างที่จะทาการตรวจอยู่ด้านบนจากนั้นจึงทาการเหยียดขา โดยที่เข่างอเล็กน้อย ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวด ทางด้านหน้าหรือด้านข้างของต้นขา แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก ซึ่งบ่งชี้ว่าน่าจะมีการกดเส้นประสาทระดับ L2-L3 30O -70O
  • 14. 14 Stoop test เป็นการตรวจเพื่อทดสอบว่าผู้ป่วยมี intermittent neurogenic claudication หรือไม่ ตรวจโดยให้ ผู้ป่วยเดินจนกระทั่งมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขา จากนั้นให้ผู้ป่วยนั่งก้มตัวไปข้างหน้า ถ้าอาการปวดลดลงหรือหายไป แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก การตรวจรีเฟล็กซ์ในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดสะโพกร้าวลงขาอาจลดลงหรือหายไป แต่ เมื่อนั่งพักสักครู่ อาจตรวจพบรีเฟล็กซ์ได้ใหม่ การตรวจข้อ sacroiliac Patrick หรือ FABER test หรือ Sign of 4 ตรวจโดยให้ผู้ป่วยนอนหงาย จัดให้ข้อสะโพกข้างหนึ่งอยู่ในท่า งอ กางออก และหมุนออกด้านนอก โดยวางข้อเท้าอยู่บนเข่าของขาข้างที่เหยียด มือหนึ่งกดที่บริเวณข้อเข่า อีกมือหนึ่ง กดที่บริเวณสันปีกสะโพกซึ่งจะเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับข้อ sacroiliac ของขาข้างที่เหยียด ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวด แสดงว่าการตรวจให้ผลบวก การตรวจนี้ข้อสะโพกของผู้ป่วยต้องไม่มีความผิดปกติ (ภาพที่ 3.9 ) ภาพที่ 3.9 การตรวจข้อ sacroiliac โดย Patrick’s FABER test หรือ Sign of 4 test