SlideShare a Scribd company logo
1
ทกรักขสชาดก
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๗. ทกรักขสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๗)
ว่าด้วยผีเสื้อน้า
(เภรีปริพาชิกากล่าวปัญหาของรากษสว่า)
[๒๒๔] ถ้าว่ามหาบพิตรทั้ง ๗ พระองค์กาลังลอยเรืออยู่ในห้วงน้า
ผีเสื้อน้าผู้แสวงหามนุษย์เป็นพลีกรรมยึดเรือไว้
มหาบพิตรจะทรงสละให้ผีเสื้อน้าตามลาดับอย่างไร
(พระราชาสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า)
[๒๒๕] โยมจะให้พระมารดาเป็ นอันดับ ๑ ให้พระมเหสีแล้วให้อนุชา
แต่นั้นจะให้พระสหาย แล้วจะให้ปุโรหิตพราหมณ์เป็นอันดับที่ ๕
จะให้ตนเองเป็นอันดับที่ ๖ แต่จะไม่ให้มโหสธบัณฑิต
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของมารดาว่า)
[๒๒๖] พระราชชนนีของมหาบพิตร ทรงบารุงเลี้ยง ให้กาเนิด
และทรงเอ็นดูช่วยเหลือตลอดกาลนาน
เมื่อมหาบพิตรถูกฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้าย
พระนางทรงเป็ นบัณฑิตคิดเห็นประโยชน์ จึงทรงกระทาสิ่งอื่นแทนมหาบพิตร
ปลดเปลื้องมหาบพิตรจากการถูกลอบปลงพระชนม์
[๒๒๗] พระราชมารดานั้นทรงประทานพระชนม์ชีพ
ทรงครรภ์พระโอรสเช่นนั้น เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้ผีเสื้อน้า
(พระราชาตรัสโทษของพระมารดาว่า)
[๒๒๘] พระมารดาของโยมประดับเครื่องอลังการที่ไม่ควรประดับ
เหมือนเด็กสาวกระซิกกระซี้กับคนเฝ้ าประตู และคนชั้นต่าเกินขอบเขต
[๒๒๙] อนึ่ง ทรงส่งทูตไปยังพระราชาฝ่ายอื่นเสียเอง เพราะโทษนั้น
โยมจะพึงให้พระมารดาแก่รากษส
(เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีว่า)
[๒๓๐] พระนางนันทาเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี
มีพระเสาวนีย์น่ารัก ทรงอนุวัตรตามมหาบพิตร เป็นผู้ทรงศีล
มิได้ทรงเหินห่างมหาบพิตร ประดุจพระฉายาโดยส่วนเดียว
[๒๓๑] ปราศจากความกริ้วโกรธ ทรงมีบุญ ฉลาด ทรงเล็งเห็นประโยชน์
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจะประทานมเหสีให้ผีเสื้อน้า
(พระราชาตรัสโทษของนางนันทาเทวีว่า)
2
[๒๓๒] พระนางนันทาเทวีนั้นชอบขอทรัพย์ที่ไม่ควรขอกับโยม
ผู้ถึงความร่าเริงยินดี ผู้ตกอยู่ในอานาจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์
เพื่อโอรสและธิดาของตน
[๒๓๓] โยมนั้นมีความกาหนัด จึงยอมให้ทรัพย์
ทั้งมีค่ามากและมีค่าน้อยเป็นจานวนมาก ครั้นยอมให้ทรัพย์ยากที่จะสละได้แล้ว
ภายหลังจึงเศร้าโศกเสียใจ เพราะโทษนั้นแหละ โยมจะพึงให้มเหสีแก่ผีเสื้อน้า
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปว่า)
[๒๓๔] พระกนิษฐภาดาพระองค์ใดทรงยังชนบทให้เจริญ
เชิญเสด็จมหาบพิตรกลับพระราชมณเฑียรและทรงครอบงา
นาทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาถวายเป็นจานวนมาก
[๒๓๕] พระกนิษฐภาดาพระองค์นั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
ทรงกล้าหาญ มีพระปรีชาเฉียบแหลม เพราะโทษอะไร
มหาบพิตรจึงจะประทานให้แก่ผีเสื้อน้าเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระกนิษฐาภาดาว่า)
[๒๓๖] อนุชาใดของโยมผู้ยังชนบทให้เจริญ
นาโยมกลับพระราชมณเฑียรและครอบงา
นาทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาให้เป็นจานวนมาก
[๒๓๗] อนุชานั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญ
และมีปัญญาเฉียบแหลม ยังเป็ นเด็ก แต่ดูหมิ่นโยมว่า
พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นสุขเพราะเรา
[๒๓๘] พระแม่เจ้า เขาไม่มาแม้สู่ที่บารุงของโยมเหมือนก่อน
เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้อนุชาแก่ผีเสื้อน้า
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของพระสหายนั้นว่า)
[๒๓๙] มหาบพิตรและธนุเสขกุมาร ทั้ง ๒ กาเนิดราตรีเดียวกัน ทั้ง ๒
เกิดในพระนครนี้ เป็ นชาวปัญจาลนคร เป็นสหายกันมีวัยเสมอกัน
[๒๔๐] กุมารนั้นติดตามมหาบพิตรท่องเที่ยวไป
ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมหาบพิตร
มีความขยันขวนขวายในราชกิจทุกอย่างของมหาบพิตร ทั้งกลางวันและกลางคืน
เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานสหายให้ผีเสื้อน้าเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของพระสหายว่า)
[๒๔๑] พระแม่เจ้า ธนุเสขกุมารนี้หัวเราะดังกับโยม
เมื่อท่องเที่ยวไปกับโยม แม้วันนี้เขาก็ยังหัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น
[๒๔๒] พระแม่เจ้า โยมแม้กาลังปรึกษากับพระเทวีอยู่ในที่รโหฐาน
ธนุเสขกุมารยังมิทันบอกกล่าว ยังมิทันให้โยมรู้ตัวก่อน ก็พรวดพราดเข้าไป
3
[๒๔๓] เขาได้ช่อง ได้โอกาส เพราะโทษนั้น
โยมจึงจะให้สหายผู้ไม่มีความละอาย ไม่เอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้า
(เภรีปริพาชิกาบอกคุณของเกวัฏฏปุโรหิตว่า)
[๒๔๔] ท่านเกวัฏฏปุโรหิตเป็ นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง
รู้สาเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท
เชี่ยวชาญในเรื่องลางบอกเหตุ ในความฝัน ชานาญในการหาฤกษ์ยาม
ในการเคลื่อนพลและเข้าประชิด
[๒๔๕] สามารถรู้โทษและคุณทั้งในภาคพื้นดินและอากาศ
เป็นผู้ฉลาดในคลองแห่งนักษัตร เพราะโทษอะไร
มหาบพิตรจึงจะประทานปุโรหิตพราหมณ์ ให้แก่ผีเสื้อน้าเสียเล่า
(พระราชาตรัสโทษของปุโรหิตพราหมณ์ว่า)
[๒๔๖] พระแม่เจ้า แม้ท่ามกลางบริษัท
ปุโรหิตพราหมณ์ก็ลืมตาจ้องมองโยม เพราะเหตุนั้น โยมจะให้ปุโรหิตผู้หยาบช้า
คล้ายกับเลิกคิ้วมองดูโยมแก่ผีเสื้อน้าเสีย
(เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปอีกว่า)
[๒๔๗] พระองค์ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรเป็ นขอบเขต
มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู ทรงมีหมู่อามาตย์แวดล้อม
[๒๔๘] ทรงมีแคว้นกว้างใหญ่ไพศาล มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต
ทรงพิชิตสงคราม มีพลานุภาพมาก ทรงเป็นเอกราชเหนือพื้นปฐพี
มหาบพิตรทรงมีพระอิสริยยศอันไพบูลย์
[๒๔๙] ทรงมีเหล่านารีจากชนบทต่างๆ ถึง ๑๖,๐๐๐ นาง
ล้วนประดับด้วยแก้วมุกดาและต่างหูแก้วมณี งามเปรียบได้กับเทพกัญญา
[๒๕๐] ขอถวายพระพรพระบรมกษัตริย์
ชีวิตยืนยาวที่เพียบพร้อมด้วยองค์สมบัติทุกอย่างนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า
เป็นที่รักของคนที่มีความสุข ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ที่น่าปรารถนาทุกอย่าง
[๒๕๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องอะไรหรือเหตุไฉน
มหาบพิตรจึงทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้ องกันบัณฑิตเล่า
(พระราชาตรัสบอกคุณของมโหสธบัณฑิตว่า)
[๒๕๒] พระแม่เจ้า เพราะท่านมโหสธแม้มาสู่เงื้อมมือโยมแล้ว
โยมยังไม่ทราบถึงความชั่วของท่านปราชญ์แม้สักเพียงอณูหนึ่ง
[๒๕๓] ถึงแม้ว่าโยมจะต้องตายไปก่อนในกาลไรๆ ก็ตาม
ท่านมโหสธก็จะพึงช่วยลูกและหลานของโยมให้มีความสุข
[๒๕๔] ท่านมโหสธเห็นแจ่มแจ้งประโยชน์ทุกประการ
ทั้งอนาคตและปัจจุบัน โยมจะไม่ยอมให้ท่านมโหสธ
ผู้ไม่เคยทาความผิดแก่ผีเสื้อน้า
4
(เภรีปริพาชิกาเชิญชาวพระนครมากล่าวว่า)
[๒๕๕] ชาวปัญจาละทั้งหลาย
ท่านทั้งหลายจงสดับพระดารัสของพระเจ้าจูฬนีนี้
พระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้ องกันบัณฑิต
[๒๕๖] พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี
พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์ปุโรหิต
และแม้ของพระองค์เองรวมเป็ น ๖ คน
[๒๕๗] ปัญญาให้สาเร็จประโยชน์ใหญ่หลวง เป็นธรรมชาติละเอียดอ่อน
เป็นเหตุให้เกิดแต่สิ่งที่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน
และเพื่อความสุขในสัมปรายภพด้วยประการฉะนี้
ทกรักขสชาดกที่ ๗ จบ
-----------------------------
คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา
ทกรักขสชาดก
ว่าด้วย ผีเสื้อน้า
ทกรักขสชาดก ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก.
จบอรรถกถาทกรักขสชาดกที่ ๗
------------------------
มหาอุมมังคชาดก.
พระนางปัญจาลจันทีได้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราช.
ในปีที่ ๒ พระนางเจ้านั้นประสูติพระโอรส ครั้นพระราชโอรสนั้นมีพรรษาได้ ๑๐
ปี พระเจ้าวิเทหราชผู้พระชนกสวรรคต.
มโหสถโพธิสัตว์ได้ถวายราชสมบัติแด่พระกุมารนั้น แล้วทูลลาว่า ข้าแต่เทพเจ้า
ข้าพระองค์จักไปอยู่ราชสานักพระเจ้าจุลนีพระอัยกาของพระองค์.
พระราชานั้นตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ท่านอย่าทิ้งข้าพเจ้าผู้ยังเด็กไปเสีย
ข้าพเจ้าตั้งท่านไว้ในที่บิดา จักทาสักการบูชา
แม้พระนางเจ้าปัญจาลจันทีผู้พระชนนี ก็ตรัสวิงวอนพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะบัณฑิต
ในกาลเมื่อท่านไปเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี ขอท่านอย่าไปเลย.
มโหสถทูลว่า ข้าพระองค์ได้ถวายปฏิญาณไว้แด่พระเจ้าจุลนี
ข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะไม่ไป. เมื่อมหาชนคร่าครวญอยู่อย่างน่าสงสาร
มโหสถก็พาพวกอุปัฏฐากของตนออกจากพระนคร ไปถึงอุตตรปัญจาลราชธานี.
5
พระเจ้าจุลนีทรงทราบว่า มโหสถมาถึง
ก็เสด็จต้อนรับให้มโหสถเข้าพระนครด้วยบริวารเป็ นอันมาก
ประทานเคหสถานใหญ่ให้มโหสถอยู่ แล้วประทานบ้าน ๘๐
บ้านที่ประทานแล้วแต่แรก และโภคสมบัติอื่นๆ มโหสถก็รับราชการ ณ
ราชสานักนั้น.
ในกาลนั้น
มีปริพาชิกาคนหนึ่งชื่อเภรี เคยเข้าไปฉันในพระราชนิเวศน์
นางเป็ นบัณฑิตฉลาด นางยังไม่เคยเห็นมโหสถ ได้สดับกิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า
มโหสถบารุงพระราชา. แม้มโหสถก็ยังไม่เคยเห็นปริพาชิกา
ได้ยินแต่กิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า ปริพาชิกาชื่อเภรี ฉันในราชสถาน.
ฝ่ายพระนางนันทาเทวีไม่ชอบพระหฤทัยในพระโพธิสัตว์ว่า
มโหสถทาปิยวิปโยคให้เราลาบาก. พระนางจึงตรัสสั่งเหล่าสตรีที่สนิทราว ๕๐๐
คนว่า เจ้าทั้งหลายจงพยายามหาโทษของมโหสถ สักอย่างหนึ่ง.
แล้วทูลยุยงระหว่างพระราชาให้แตกกัน.
สตรีเหล่านั้นเที่ยวมองหาโทษของมโหสถอยู่.
วันหนึ่ง ปริพาชิกานั้นฉันแล้วออกไป
ได้เห็นพระโพธิสัตว์มาสู่ราชุปัฏฐาน ณ พระลาน. พระโพธิสัตว์ไหว้ปริพาชิกา
แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ปริพาชิกาคิดว่า ได้ยินว่า มโหสถนี้เป็ นบัณฑิต
เราจักรู้ความที่เธอเป็นบัณฑิต หรือไม่ใช่บัณฑิตก่อน.
เมื่อจะถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ จึงแลดูมโหสถ แล้วแบมือออก
ได้ยินว่า นางถามปัญหาด้วยใจว่า พระเจ้าจุลนีนามโหสถมาแต่ประเทศอื่น
เดี๋ยวนี้ทรงบารุงเช่นไร หรือไม่ได้ทรงบารุง. พระโพธิสัตว์รู้ว่า
นางเภรีปริพาชิกาถามปัญหาเราด้วยเครื่องหมายแห่งมือ. เมื่อจะแก้ปัญหา
จึงกามือ ได้ยินว่า มโหสถแก้ปัญหาด้วยใจว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า
พระราชาทรงรับปฏิญาณของข้าพเจ้าแล้วให้เรียกมา
เดี๋ยวนี้เป็นผู้เหมือนกับกาพระหัตถ์ไว้มั่น ยังไม่พระราชทานอะไรๆ
ที่พระองค์ยังไม่เคยพระราชทานแก่ข้าพเจ้า. นางเภรีรู้ถ้อยคาของมโหสถ
จึงยกมือขึ้นลูบศีรษะของตน นางแสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า แน่ะบัณฑิต
ถ้าท่านลาบาก เหตุไร ท่านจึงไม่บวชเหมือนอาตมาเล่า. พระมหาสัตว์รู้ความนั้น
จึงลูบท้องของตน แสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า
บุตรและภรรยา ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมาก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้ายังไม่บวช.
นางเภรีถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ แล้วไปสู่อาวาสของตน.
ฝ่ายมโหสถไหว้นาง แล้วไปสู่ราชุปัฏฐาน.
6
พวกสตรีคนสนิทที่พระนางนันทาเทวีประกอบ ยืนอยู่ที่หน้าต่าง
เห็นกิริยานั้น. จึงไปเฝ้ าพระเจ้าจุลนี ทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ
มโหสถอยู่ในที่เดียวกับนางเภรีปริพาชิกา เป็นผู้ใคร่จะชิงราชสมบัติ
ย่อมเป็นศัตรูของพระองค์. พระราชาได้ทรงสดับคานั้น
จึงตรัสว่าพวกเจ้าได้เห็นหรือได้ฟังอะไร. สตรีเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช
ปริพาชิกาฉันแล้วลงจากปราสาท เห็นมโหสถ
แล้วเหยียดมือออกหมายให้รู้ความว่า ท่านสามารถจะทาพระราชาให้เป็นดังฝ่ามือ
หรือให้เป็นดังลานนวดข้าวให้เสมอ แล้วทาราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน.
ฝ่ายมโหสถเมื่อแสดงอาการจับดาบ ได้กามือเข้า หมายให้รู้ว่า
เราจะตัดศีรษะพระราชาโดยวันล่วงไปเล็กน้อยแล้ว
ทาราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน. ปริพาชิกายกมือของตนขึ้นลูบศีรษะ หมายให้รู้ว่า
ท่านจะตัดศีรษะพระราชาเท่านั้นหรือ. มโหสถลูบท้อง หมายให้รู้ว่า
เราจะตัดกลางตัวเสียด้วย. ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงไม่ประมาท
ควรที่พระองค์จะฆ่ามโหสถเสียก่อน.
พระเจ้าจุลนีได้ทรงฟังถ้อยคาของสตรีเหล่านั้น จึงทรงดาริว่า
มโหสถไม่อาจจะประทุษร้ายในเรา. เราจักถามปริพาชิกา ก็จักรู้ความ.
อีกวันหนึ่ง ในกาลเมื่อปริพาชิกาฉันแล้ว
พระองค์เข้าไปหานางตรัสถามว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นเจ้าพบมโหสถบ้างหรือ.
นางทูลว่า เมื่อวานนี้ อาตมะฉันแล้วออกไป จากที่นี้ได้พบเธอ. ตรัสถามว่า
ได้เจรจาสนทนาอะไรกันบ้าง. นางทูลว่า หาได้พูดอะไรกันไม่
เป็นแต่อาตมะได้ยินว่า เธอเป็นนักปราชญ์
จึงถามปัญหาเธอด้วยเครื่องหมายแห่งมือ ด้วยมนสิการว่า ถ้าเธอเป็นนักปราชญ์
เธอจักรู้ปัญหานี้ จึงได้แบมือออก ให้สาคัญรู้ว่า
พระราชาของท่านเป็ นผู้มีพระหัตถ์แบหรือมีพระหัตถ์กา
คือได้ทรงสงเคราะห์อะไรท่านบ้างหรือมิได้ทรงสงเคราะห์.
มโหสถได้กามือให้หมายรู้ว่า พระราชารับปฏิญาณของข้าพเจ้าไว้
แล้วตรัสเรียกมา เดี๋ยวนี้ยังไม่ได้พระราชทานอะไร. ทีนั้น อาตมะจึงลูบศีรษะ
ให้หมายความว่า ถ้าท่านลาบาก ทาไมท่านไม่บวชดังอาตมะเล่า.
ฝ่ายมโหสถลูบท้องของตนให้ทราบว่า บุตรภรรยาอันข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมีมากเกิน
จะต้องให้เต็มท้องกันมิใช่น้อย เหตุนี้จึงยังบวชไม่ได้.
พระราชาจึงตรัสถามต่อไปว่า ข้าแต่ผู้เป็ นเจ้า มโหสถเป็นนักปราชญ์หรือ.
นางเภรีทูลว่า บุคคลอื่นชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เช่นมโหสถย่อมไม่มีในพื้นแผ่นดิน.
พระราชาได้ทรงฟังถ้อยคาแห่งนางเภรีแล้ว ทรงนมัสการแล้วอาราธนาให้กลับ.
7
ในกาลเมื่อนางเภรีไปแล้ว มโหสถได้เข้าไปสู่ราชุปัฏฐาน.
ว่าด้วย ปัญหาทกรักขสะ (ผีเสื้อน้า)
ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนบัณฑิต
เจ้าได้พบนางเภรีปริพาชิกาบ้างหรือ.
มโหสถกราบทูลโดยนิยมแห่งข้อความที่นางทูลแล้วว่า เมื่อวานนี้
นางออกไปจากพระราชนิเวศน์ ข้าพระองค์ได้พบนาง.
นางถามปัญหาข้าพระองค์ด้วยเครื่องหมายแห่งมืออย่างนั้น
แม้ข้าพระองค์ก็ได้แก้ปัญหาของนางอย่างนั้น. พระราชาทรงเลื่อมใส
พระราชทานที่เสนาบดีแก่มโหสถในวันนั้น ให้มโหสถรับราชกิจทั้งปวง.
มโหสถก็มีเกียรติยศใหญ่ ในระหว่างอิสริยยศที่ได้รับพระราชทาน. มโหสถคิดว่า
พระราชาพระราชทานอิสริยยศยิ่งใหญ่ในคราวเดียว ก็แต่พระราชาทั้งหลาย
แม้ทรงใคร่จะยังเราให้ตาย ก็ย่อมทรงทาอย่างนี้เอง. ไฉนหนอ
เราจะทดลองพระราชาว่า เป็นผู้มีพระหฤทัยดีต่อเราหรือหาไม่
ก็แต่บุคคลอื่นไม่สามารถจะรู้ได้
นางเภรีปริพาชิกาผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้นแหละ จักรู้ได้โดยอุบาย.
ครั้นคิดฉะนี้ แล้วจึงถือของหอม
มีดอกไม้เป็นต้นเป็ นอันมากไปสู่อาวาสปริพาชิกา บูชาไหว้นาง แล้วจึงกล่าวว่า
ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่วันที่ท่านกล่าวคุณกถาของข้าพเจ้าแด่พระราชา
พระราชาพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่ข้าพเจ้า ราวกะว่าจะทับถม
แต่ข้าพเจ้าหาทราบยศที่พระราชทานนั้นไม่ว่า
พระราชทานโดยปกติหรือโดยพิเศษ ดีแล้ว
ท่านพึงรู้ความที่พระราชาโปรดปรานข้าพเจ้าละหรือ โดยอุบายอันหนึ่ง.
นางเภรีรับคา.
อีกวันหนึ่ง เมื่อไปสู่พระราชนิเวศน์
ได้คิดปัญหาชื่อว่าทกรักขสปัญหา.
ดังได้สดับมา ความปริวิตกอย่างนี้ได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า
เราเป็นเหมือนคนสอดแนม จักทูลถามพระราชาโดยอุบาย ก็จักรู้ว่า
พระองค์มีพระหฤทัยดีต่อมโหสถ หรือหาไม่. นางไปทาภัตกิจ แล้วนั่งอยู่.
ฝ่ายพระราชาทรงนมัสการนางเภรี แล้วก็ประทับนั่งอยู่
ความปริวิตกได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า ถ้าพระราชาจักเป็นผู้มีพระหฤทัยร้ายต่อ
มโหสถ. เราทูลถามปัญหา
จักตรัสความที่พระองค์มีพระหฤทัยร้ายในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นจะไม่สมควร.
เราจักต้องทูลถามพระองค์ในที่ควรแห่งหนึ่ง. นางจึงทูลว่า อาตมะปรารถนาที่ลับ
8
พระราชาจึงให้ชนทั้งหลายกลับไปเสีย. ลาดับนั้น
นางเภรีจึงทูลขอวโรกาสแด่พระราชาว่า อาตมะจักทูลถามปัญหากะพระองค์.
พระราชาตรัสอนุญาตว่า ถามเถิดผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ารู้ ก็จักกล่าวแก้.
ลาดับนั้น นางเภรีปริพาชิกา
เมื่อจะทูลถามทกรักขสปัญหา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า
ถ้าว่า ผีเสื้อน้าผู้แสวงหาเครื่องเส้นมนุษย์
จับเรือของพระนางสลากเทวีพระราชชนนี พระนางนันทาเทวีพระมเหสี
พระติขิณมนตรีกุมารพระอนุชา ธนุเสขกุมารพระสหาย
เกวัฏพราหมณ์ราชปุโรหิตาจารย์ มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวม ๗
ซึ่งแล่นอยู่ในทะเล. พระองค์จะประทานใครอย่างไร ให้เป็ นลาดับแก่ผีเสื้อน้า.
พระเจ้าจุลนีทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงสาแดงตามพระราชอัธยาศัย
จึงตรัสคาถานี้ว่า
ข้าพเจ้าจักให้พระมารดาก่อน ให้มเหสี กนิษฐภาดา. แต่นั้น ให้สหาย
ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่ ๕ ให้ตนเองเป็ นที่ ๖ ไม่ให้มโหสถแท้ทีเดียว.
ปัญหานี้จบด้วยกถามรรคเท่านี้
ความที่พระราชามีพระหฤทัยดีในพระมหาสัตว์ อันปริพาชิการู้แล้ว
ด้วยประการฉะนี้.
แต่คุณของมโหสถบัณฑิตได้ปรากฏด้วยกถามรรคเพียงนี้เท่านั้น ก็หาไม่.
เพราะเหตุนั้น ความปริวิตกได้มีแก่นางเภรีว่า เราจะกล่าวคุณของเขานั้นๆ
ในท่ามกลางมหาชน พระราชาจักแสดงโทษของเขาเหล่านั้น
แล้วทรงสรรเสริญคุณของมโหสถบัณฑิต. คุณของมโหสถบัณฑิตก็จักปรากฏ
ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นในท้องฟ้ าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
นางจึงยังมหาชนในเมืองทั้งหมดให้ประชุมกัน
แล้วทูลถามปัญหานั้นนั่นแหละกะพระราชาอีก. จาเดิมแต่เบื้องต้น
ครั้นพระราชาทรงแสดงอย่างนั้นแล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งว่า
จักประทานพระชนนีก่อน. ก็ธรรมดาว่า มารดามีคุณูปการมาก
พระราชมารดาของพระองค์เช่นกับมารดาของชนเหล่าอื่น ก็หาไม่.
พระราชมารดาของพระองค์มีพระอุปการะมาก
เมื่อจะแสดงพระคุณแห่งพระราชมารดา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า
พระราชชนนีของพระองค์เป็นผู้บารุงเลี้ยง และให้ประสูติ
เป็นผู้อนุเคราะห์ ตลอดราตรีนาน. พราหมณ์ชื่อฉัพภิ ประทุษร้ายในพระองค์.
พระราชมารดาเป็ นผู้ฉลาด เห็นประโยชน์เป็นปกติ. ทารูปเปรียบอื่นปลดเปลื้อง
พระองค์จากการปลงพระชนม์. พระองค์จะประทานพระชนนี ผู้มีพระมนัสคงที่
9
ประทานพระชนมชีพ ผู้ให้ทรงเจริญระหว่างพระทรวง
ทรงไว้ซึ่งพระครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร.
ดังได้สดับมาว่า พระชนกของพระเจ้าจุลนี
มีพระนามว่ามหาจุลนี พระนางสลากเทวีเป็นพระมเหสีได้ทาชู้กับพราหมณ์อันมีชื่
อว่าฉัพภินั้น ได้ปลงพระชนม์พระเจ้ามหาจุลนี ยกราชสมบัติให้พราหมณ์
เป็ นมเหสีแห่งพราหมณ์นั้น. ในกาลเมื่อพระเจ้าจุลนียังทรงพระเยาว์ วันหนึ่ง
จุลนีราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระมารดา หม่อมฉันหิว. จึงให้ของควรเคี้ยว
พร้อมกับน้าอ้อยแก่พระโอรส แมลงวันทั้งหลายตอมล้อมพระกุมารนั้น.
พระกุมารนั้นทรงคิดว่า เราจักเคี้ยวกินของควรเคี้ยวนี้ไม่ให้มีแมลงวัน
จึงเลี่ยงไปหน่อยหนึ่งแล้ว ยังหยาดแห่งน้าอ้อยให้ตกลงยังพื้น
แล้วไล่แมลงวันที่สานักตนให้หนีไป
แมลงวันเหล่านั้นก็พากันไปตอมน้าอ้อยที่พื้นนั้น.
ราชกุมารเสวยของควรเคี้ยวไม่ให้มีแมลงวันแล้ว
ล้างพระหัตถ์ทั้งสองบ้วนพระโอฐ แล้วหลีกไป.
พราหมณ์ได้เห็นกิริยาแห่งราชกุมารนั้น จึงคิดว่า
กุมารนี้กินน้าอ้อยไม่มีแมลงวันในบัดนี้ เจริญวัยแล้วจักไม่ให้ราชสมบัติแก่เรา
เราจักยังกุมารนั้นให้ตายเสียในเดี๋ยวนี้ทีเดียว.
พราหมณ์จึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่พระนางสลากเทวี พระนางตรัสตอบว่า ดีแล้ว
เทพเจ้า ข้าพระเจ้ายังพระภัสดาของตนให้สิ้นพระชนม์ ด้วยความรักในพระองค์
ต้องการอะไรด้วยกุมารนี้แก่ข้าพระเจ้า ณ บัดนี้. ข้าพระเจ้าจักมิให้มหาชนรู้
ยังกุมารให้ตายโดยความลับ. ตรัสฉะนี้ แล้วลวงพราหมณ์ว่า อุบายนี้ มีอยู่.
พระนางสลากเทวีเป็นผู้มีปรีชาฉลาดในอุบาย
จึงให้เรียกพ่อครัวมาตรัสว่า บุตรของข้าจุลนีกุมารกับบุตรของเจ้าชื่อธนุเสขกุมาร
เกิดวันเดียวกัน เจริญด้วยกุมารแวดล้อม เป็นสหายที่รักแห่งกัน
เดี๋ยวนี้ฉัพภิพราหมณ์ใคร่จะยังบุตรของข้าให้ตาย เจ้าจงให้ชีวิตแก่บุตรของข้า.
ครั้นพ่อครัวทูลว่า ดีแล้ว พระเทวี แต่ข้าพระองค์จักทาอย่างไร. จึงรับสั่งว่า
บุตรของข้าจงอยู่ในเรือนของเจ้าทุกวัน
เจ้าและบุตรของข้าและบุตรของเจ้าจงนอนในห้องเครื่อง เพื่อมิให้ใครสงสัย
สิ้นวันเล็กน้อย. แต่นั้น รู้ว่าไม่มีใครสงสัยแล้ว
วางกระดูกแพะไว้ในที่นอนของเจ้าทั้งสาม
แล้วจุดไฟที่ห้องเครื่องในเวลามหาชนหลับ. แล้วอย่าให้ใครรู้
พาบุตรของข้าและบุตรของเจ้า ออกจากประตูน้อยไปนอกแคว้น
อย่าบอกความที่บุตรของข้าเป็นพระราชโอรส แล้วตามรักษาชีวิตบุตรของข้าไว้.
10
พ่อครัวรับพระเสาวนีย์ว่า สาธุ.
ลาดับนั้น พระนางประทานธนสารแก่พ่อครัวนั้น
พ่อครัวได้ทาอย่างนั้น พาบุตรของตนและพระราชกุมารไปสู่สากลนครในมัททรัฐ
แล้วบารุงพระเจ้ามัททราช. พระเจ้ามัททราชให้พ่อครัวคนเก่าออก
ประทานตาแหน่งนั้นแก่พ่อครัวใหม่นั้น.
แม้กุมารทั้งสองนี้ก็ไปสู่พระราชนิเวศกับพ่อครัวนั้น พระราชาตรัสถามว่า
กุมารทั้งสองนี้บุตรใคร. พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์.
พระเจ้ากรุงสากลนครตรัสว่า หน้าตาไม่เหมือนกัน ไม่ใช่หรือ. พ่อครัวทูลว่า
คนละแม่ พระเจ้าข้า.
ครั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ
จุลนีราชกุมารแลธนุเสขกุมารบุตรพ่อครัวทั้งสอง
เป็นผู้คุ้นเคยเล่นด้วยกันกับพระธิดาของพระราชาในพระราชนิเวศน์นั่นเอง.
ลาดับนั้น
จุลนีราชกุมารกับนันทาราชธิดาของพระเจ้ามัททราชได้เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์กันและ
กัน เพราะเห็นกันทุกวัน
จุลนีราชกุมารให้ราชธิดานาลูกข่างและเชือกบ่วงมาในสถานที่เล่น
ราชกุมารตีเศียรราชธิดาผู้ไม่นามา ราชธิดาก็กันแสง.
ลาดับนั้น พระราชาได้ทรงฟังเสียงพระธิดา จึงตรัสถามว่า
ใครตีธิดาของข้า นางนมทั้งหลายมาถามว่า ใครตีแม่เจ้า. นางกุมาริกาคิดว่า
ถ้าเราจักบอกว่า ราชกุมารนี้ตีฉัน พระบิดาของเราจักลงราชทัณฑ์แก่เธอ.
คิดฉะนี้ จึงไม่ตรัสว่าราชกุมารตี ด้วยความเสนหาในราชกุมารนั้น จึงตรัสว่า
ใครไม่ได้ดีฉันดอก. ลาดับนั้น
พระเจ้ามัททราชได้ทอดพระเนตรเห็นจุลนีราชกุมารตี
ก็เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นเอง ความปริวิตกได้มีแด่พระราชา
กุมารนี้ไม่เหมือนพ่อครัว เป็ นผู้มีรูปงามน่าเลื่อมใส เป็นผู้ไม่สะดุ้งกลัวเกินเปรียบ
กุมารนี้ไม่ใช่บุตรพ่อครัว.
จาเดิมแต่นั้นมา พระราชาก็ทรงสังเกตกุมารนั้น
นางนมทั้งหลายนาของควรเคี้ยวมาในที่เล่นถวายราชธิดา
ราชธิดาก็ประทานแก่เด็กอื่นๆ เด็กเหล่านั้นคุกเข่าน้อมตัวลงรับ
ฝ่ายจุลนีราชกุมารยืนแย่งเอาจากพระหัตถ์แห่งราชกุมารี
แม้พระราชาก็ได้ทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น. ครั้งนั้นในวันหนึ่ง
ลูกข่างของจุลนีราชกุมารเข้าไปภายใต้ที่บรรทมน้อยของพระราชา
จุลนีราชกุมารเมื่อจะหยิบลูกข่างนั้น เอาไม้เขี่ยออกมาถือเอา ด้วยคิดว่า
11
เราจักไม่เข้าภายใต้ที่บรรทมแห่งพระราชาในปัจจันตประเทศนี้.
ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้นเข้าพระหฤทัยว่า
กุมารนี้ไม่ใช่บุตรแห่งพ่อครัวแน่ จึงให้เรียกพ่อครัวมา ตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้
บุตรใคร. พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ทั้งสองคน พระเจ้าข้า.
พระราชาตรัสคุกคามว่า ข้ารู้ว่าบุตรของเจ้า หรือไม่ใช่บุตรของเจ้า
เจ้าจงบอกแต่ความเป็นจริง ถ้าเจ้าไม่บอกความจริง ชีวิตของเจ้าจักไม่มี.
ตรัสฉะนี้แล้วเงื้อพระแสงขรรค์ พ่อครัวกลัวแต่มรณภัย จึงทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า
ข้าพระองค์ต้องการที่ลับ.
ครั้นพระราชาประทานโอกาสแล้วจึงขอพระราชทานอภัย
แล้วทูลตามความเป็นจริง. พระราชาทรงทราบตามจริงแล้ว
จึงให้แต่งพระธิดาของพระองค์ประทานให้เป็นบาทบริจาริกาแก่จุลนีราชกุมาร.
ก็ในวันที่พ่อครัว
จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัวหนีโกลาหลเป็นอันเดียว
ได้มีในพระนครอุตตรปัญจาละทั้งสิ้นว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัว
เมื่อไฟไหม้ห้องเครื่อง ได้ไหม้เสียแล้วในภายในด้วยกัน.
พระนางสลากเทวีทรงทราบประพฤติเหตุนั้น จึงแจ้งแก่พราหมณ์ว่า ข้าแต่เทพเจ้า
ความปรารถนาของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ได้ยินว่า พ่อครัว
จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัวทั้ง ๓ คนไฟไหม้แล้วในห้องเครื่องนั่นเอง.
พราหมณ์ยินดีร่าเริง.
ฝ่ายพระนางสลากเทวีให้นากระดูกแพะมาแสดงแก่พราหมณ์ว่า
อัฐิแห่งจุลนีกุมาร แล้วให้ทิ้งเสีย. นางเภรีปริพาชิกาหมายเอาเนื้อความนี้
กล่าวในคาถาว่า พระราชมารดาทรงทารูปเปรียบอื่น
ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์
ก็พระราชมารดานั้นทรงแสดงกระดูกแพะว่ากระดูกมนุษย์
ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์.
พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับคานางเภรีปริพาชิกาดังนั้นแล้ว
ตรัสว่า ข้าแต่ผู้เป็ นเจ้า คุณของพระชนนีของข้าพเจ้ามีมาก
และข้าพเจ้าก็รู้ความที่พระชนนีมีอุปการะแก่ข้าพเจ้า
แต่คุณของข้าพเจ้านี่แหละมีมากกว่านั้น.
เมื่อจะทรงพรรณนาโทษของพระมารดา จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า
พระมารดาทรงชราแล้วก็ทาเป็ นสาว
ทรงเครื่องประดับซึ่งไม่ควรประดับ ตรัสซิกซี้สรวลเสเฮฮา
กะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้าจนเกินเวลา ยิ่งกว่านั้น
12
พระมารดายังสั่งทูตถึงพวกเจ้าผู้ครองนครเสียเอง ข้าพเจ้าจึงให้พระชนนี
แก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น.
นางเภรีได้ฟังพระราชดารัสแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช
พระองค์จะประทานพระราชมารดาด้วยโทษนี้ก็สมควร.
แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นผู้มีพระคุณ
เมื่อจะพรรณนาคุณของพระนางนันทาเทวีมเหสีนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า
พระนางนันทาเทวีเป็นพระมเหสี ผู้ประเสริฐกว่าหมู่บริจาริกานารี
มีพระเสาวนีย์เป็ นที่รักเหลือเกิน เป็ นผู้ประพฤติตามที่ชอบ เป็นผู้มีศีล
เป็นผู้ตามเสด็จ ประดุจพระฉายา ไม่ทรงพิโรธง่ายๆ เป็ นผู้มีบุญ เป็นบัณฑิต
เห็นประโยชน์ พระองค์จักประทานพระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร.
พระเจ้าจุลนี เมื่อจะทรงแสดงโทษของพระนางนันทาเทวีผู้มเหสีนั้น
ได้ตรัสคาถานี้ว่า
พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ว่า ข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วยความยินดีในการเล่น
ตกอยู่ในอานาจแห่งกิเลสผู้ทาความพินาศ ก็ขอทรัพย์
คือเครื่องประดับที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาและชายาอื่นๆ ซึ่งไม่ควรขอกะข้าพเจ้า.
ข้าพเจ้านั้นมีความกาหนัดนักแล้ว ก็ให้ทรัพย์
คือเครื่องประดับทั้งประณีตทั้งทราม เป็นอันมาก. ครั้นสละสิ่งที่ไม่ควรสละแล้ว
ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ. ข้าพเจ้าให้พระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น.
ลาดับนั้น ปริพาชิกาเภรีเมื่อจะทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า
พระองค์จะประทานพระมเหสีด้วยโทษนี้ก็สมควร
แต่ติขิณกุมารพระกนิษฐภาดามีอุปการะแด่พระองค์
พระองค์จักประทานเขาด้วยโทษอะไร ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า
พระกนิษฐภาดาผู้มีพระนามว่าติขิณราชกุมาร ยังชนบทให้เจริญ
เชิญเสด็จพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้
ทรงอนุเคราะห์พระองค์ครอบงาพระราชาทั้งหลายเสีย
นาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้งหลาย
พระองค์จักประทานพระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร.
ได้ยินว่า ติขิณราชกุมารนั้นประสูติ
ในกาลเมื่อพระราชมารดาอยู่ร่วมกับพราหมณ์. เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญแล้ว
พราหมณ์ได้ให้พระแสงขรรค์สั่งว่า เจ้าจงถือพระแสงขรรค์นี้เข้าหาข้าได้
พระราชกุมารนั้นก็บารุงพราหมณ์ ด้วยสาคัญว่าเป็นพระชนกของตน. ลาดับนั้น
อมาตย์คนหนึ่งได้ทูลพระราชกุมารว่า ข้าแต่พระราชกุมาร
13
พระองค์มิใช่เป็นพระโอรสแห่งพราหมณ์นี้
ในเวลาเมื่อพระองค์ยังอยู่ในพระครรภ์ พระนางสลากเทวีผู้เป็ นพระราชมารดา
ให้ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย แล้วมอบราชสมบัติแก่พราหมณ์นี้.
พระองค์เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาจุลนี.
พระราชกุมารได้สดับประพฤติเหตุนั้น ก็กริ้วดาริว่า ช่างเถิด
เราจักฆ่าพราหมณ์นั้นเสียด้วยอุบายอย่างหนึ่ง. แล้วเข้าไปสู่ราชสานัก
ประทานพระแสงขรรค์แก่มหาดเล็กใกล้ชิดคนหนึ่ง
แล้วตรัสกะมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่า เจ้าจงยืนอยู่แทบประตูพระราชนิเวศน์.
กล่าวกะมหาดเล็กที่ถือพระขรรค์นั้นว่า นั่นพระขรรค์ของเรา
แล้วพึงก่อวิวาทกับมหาดเล็กคนนั้น. ตรัสสั่งฉะนี้ แล้วเสด็จเข้าข้างใน.
มหาดเล็กทั้งสองนั้นได้ทะเลาะกัน พระราชกุมารส่งบุรุษคนหนึ่งไปเพื่อให้รู้ว่า
นั่นทะเลาะอะไรกัน. บุรุษนั้นมาทูลว่า ทะเลาะกันด้วยต้องการพระขรรค์.
ลาดับนั้น พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงถามพระราชกุมารว่า
เรื่องเป็ นอย่างไร. พระราชกุมารกล่าวว่า ได้ยินว่า
พระขรรค์ที่พระองค์ประทานแก่หม่อมฉัน เป็ นของคนอื่น. พราหมณ์กล่าวว่า
พูดอะไรพ่อ ถ้าอย่างนั้น จงให้เขานามา ฉันจาพระขรรค์นั้นได้.
พระราชกุมารให้นาพระขรรค์นั้นมา แล้วชักออกจากฝัก ทาเป็นให้จาได้
ด้วยคาว่า เชิญทอดพระเนตรเถิด เข้าไปใกล้พราหมณ์นั้น
แล้วตัดศีรษะพราหมณ์นั้น
ให้ตกลงแทบพระบาทของตนด้วยการฟันฉับเดียวเท่านั้น. ต่อแต่นั้น
เมื่อนาศพพราหมณ์ออกจากพระราชนิเวศน์
แล้วได้จัดแต่งพระราชนิเวศน์ตกแต่งพระนครอภิเษกพระราชกุมารนั้น.
พระชนนีแจ้งว่า จุลนีราชกุมารอยู่ในมัททรัฐ พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น
แวดล้อมด้วยเสนางคนิกรเสด็จมัททรัฐ นาพระเชษฐาธิราชมาให้ครองราชสมบัติ.
จาเดิมแต่นั้นมา ชนทั้งหลายก็รู้จักพระองค์ว่า ติขิณมนตรี. ปริพาชิกาทูลถามว่า
พระองค์จะประทานพระกนิษฐภาดาเห็นปานนี้ นั้นแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษอะไร.
พระราชา เมื่อจะตรัสโทษของติขิณกุมารนั้น ตรัสว่า
ติขิณราชกุมารยังชนบทให้เจริญ เชิญเราผู้อยู่
ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ อนุเคราะห์เรา ครอบงาพระราชาทั้งหลายเสีย.
นาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย
กล้าหาญ มีความคิดหลักแหลม.
แต่เธอคุยเสมอว่า พระราชาองค์นี้มีความสุขเพราะข้าพเจ้า
เธอสาคัญว่าฉันเป็ นเด็กไป ในคราวที่มาเฝ้ าเล่า นะพระแม่เจ้า
14
เธอไม่มาเหมือนแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงให้พระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น.
ปริพาชิกาทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
โทษของพระกนิษฐภาดาจงยกไว้ก่อน. แต่ธนุเสขกุมารประกอบด้วยคุณ
มีความเสน่หาในพระองค์ เป็นผู้มีอุปการะมาก. เมื่อจะกล่าวคุณของธนุเสขกุมาร
จึงทูลว่า
พระองค์และธนุเสขเกิดในราตรีเดียวกัน ทั้งสองเป็ นชาวปัญจาละ
เกิดในพระนครนี้ เป็ นสหายมีวัยเสมอกัน มีจริยางามติดตามพระองค์ไป
ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพระองค์
ขยันขันแข็งในกิจทั้งปวงของพระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน จงรักภักดี.
พระองค์จะให้พระสหายแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษอะไร.
ลาดับนั้น พระเจ้าจุลนี เมื่อจะกล่าวโทษของธนุเสขกุมารนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า ธนูเสขนี้ประพฤติกระซิกกระซี้ ตีเสมอข้าพเจ้า
แม้วันนี้ก็หัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น. ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าอยู่ในที่รโหฐาน
ปรึกษากับพระเทวีของข้าพเจ้าอยู่
ไม่ได้เรียกหาก็เข้าไปและไม่แจ้งให้ทราบก่อน.
เขาได้พรจากข้าพเจ้าให้เข้าพบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่สหายไม่มีความยาเกรง
ไม่มีความเอื้อเฟื้อเลย. ข้าพเจ้าให้แก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น.
ลาดับนั้น ปริพาชิกาทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
โทษของพระสหายธนุเสขนี้ยกไว้ก่อน.
แต่ปุโรหิตเกวัฏเป็นผู้มีอุปการะแก่พระองค์มาก เมื่อจะกล่าวคุณของปุโรหิตนั้น
ทูลว่า
ท่านเกวัฏปุโรหิตาจารย์เป็ นผู้ฉลาดในนิมิตทั้งปวง
รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งหลาย เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท รอบรู้ในเรื่องอุบาท
เรื่องสุบิน มีความชานาญในการหาฤกษ์ยกทัพ และการเข้ารบ
เป็นผู้บอกฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์.
พระองค์ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร.
พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของเกวัฏปุโรหิตนั้น ตรัสว่า
ข้าแต่แม่เจ้า เกวัฏปุโรหิต แม้ในที่ประชุมก็เลิกคิ้วแลดูข้าพเจ้า
เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นายพรานผู้เลิกคิ้วแก่ผีเสื้อน้าเสีย.
เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ปุโรหิตเกวัฏนี้
เมื่อแลดูข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัท ก็ลืมตาแลดูเหมือนคนโกรธ. เพราะฉะนั้น
ข้าพเจ้าจึงให้นายพราน คือนักล่าสัตว์ผู้ทาเป็นเลิกคิ้ว
เพราะโทษที่เลิกคิ้วนั้นแก่ผีเสื้อน้า.
15
ต่อนั้น ปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า
พระองค์ตรัสว่าจักให้ชน ๕ คนเหล่านี้ มีพระราชมารดาเป็ นต้นแก่ผีเสื้อน้า
และตรัสว่า จักประทานชีวิตของพระองค์แก่มโหสถบัณฑิต
โดยไม่คานึงถึงสิริราชสมบัติ เห็นปานนี้.
พระองค์ทรงเห็นคุณของมโหสถบัณฑิตนั้นอย่างไร ดังนี้.
พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลมีสมุทรเป็นขอบเขตทุก
ด้าน พสุธาที่เป็ นพระราชอาณาเขต เป็ นประหนึ่งกุณฑลที่อยู่ในสาคร
ทรงมีอมาตย์แวดล้อมเป็นที่เฉลิมพระราชอิสริยยศ
ทรงมีบ้านเมืองแว่นแคว้นใหญ่จดสี่คาบสมุทร ทรงพิชิตชมพูทวีปได้แล้ว
ทั้งรี้พลของพระองค์เล่า ก็มากถึง ๑๘ กองทัพ.
พระองค์ทรงเป็ นพระราชาเอกแห่งปฐพี
พระราชอิสริยยศของพระองค์ถึงความไพบูลย์ เหล่านารีของพระองค์ก็มีถึง
๑๖,๐๐๐ นาง ล้วนสาอางแต่งองค์ทรงเครื่องเรืองระยับ มาจากชนบทต่างๆ
ทั่วชมพูทวีป ทรงสิริโสภาคย์เปรียบด้วยเทพกัญญา.
พระชนมชีพของพระองค์
เพรียบพร้อมด้วยองค์ประกอบแห่งความสุขอย่างครบครัน.
ทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นดิน แม้พระองค์มีพระราชประสงค์
ก็จะสาเร็จสมพระหฤทัยปรารถนาทุกประการ. น่าที่พระองค์จะตรัสว่า
ต้องการจะมีพระชนม์อยู่ยาวนาน ตามคติชีวิตที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า
คนที่มีความสุขทั่วๆ ไป ล้วนต้องการจะมีชีวิตอยู่นานๆ
ชีวิตเป็นที่รักยิ่งนักของคนที่มีความสุข. เมื่อเป็นเช่นนี้
พระองค์ทรงป้ องกันมโหสถบัณฑิตไว้
ทรงสละพระชนม์ของพระองค์ซึ่งเป็ นสิ่งสละได้ยาก ด้วยเหตุอันใด.
ข้าแต่แม่เจ้า มโหสถบัณฑิต แม้จะมาจากบ้านเมืองอื่น
ก็มาด้วยมุ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังไม่ทราบถึงความชั่ว
แม้สักน้อยของมโหสถผู้เป็นปราชญ์เลย. ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อน
ในกาลไหนๆ ก็ตามเถิด มโหสถก็พึงยังลูกและหลานของข้าพเจ้าให้มีความสุข.
มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้ง ซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน.
ข้าพเจ้าไม่ยอมให้มโหสถบัณฑิตผู้ไม่มีความผิดเลย แก่ผีเสื้อน้า.
พระเจ้าจุลนีทรงยกเกียรติคุณของพระมหาสัตว์ขึ้นประกาศ
ประหนึ่งทรงยกดวงจันทร์ขึ้นฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.
ชาดกนี้มีเนื้อความติดต่อกัน ด้วยประการฉะนี้.
16
ลาดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาคิดว่า
เกียรติคุณของมโหสถบัณฑิตปรากฏเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอ
เราจักกระทาเกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต
ให้ปรากฏในท่ามกลางชาวเมืองทั้งสิ้นทีเดียว ให้เป็ นประหนึ่งว่า
รดน้ามันลงบนผิวแม่น้าแผ่ขยายไป ฉะนั้น.
คิดฉะนี้แล้วจึงเชิญพระเจ้าจุลนีลงจากปราสาท
ให้ปูลาดอาสนะที่พระลานหลวงนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว
ประกาศให้ชาวเมืองมาประชุมกัน แล้วทูลถามพระเจ้าจุลนีถึงปัญหาผีเสื้อน้า
ตั้งแต่ต้นอีกในเวลาที่พระเจ้าจุลนีตรัส โดยนัยที่ตรัสแล้วในหนหลัง.
นางเภรีปริพาชิกาได้กล่าวประกาศแก่ชาวเมืองว่า
ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังพระดารัสของพระเจ้าจุลนีนี้
พระองค์ทรงปกป้ องมโหสถบัณฑิต สละพระชนม์ซึ่งสละได้ยาก.
พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย
และพราหมณ์เกวัฏ และแม้ของพระองค์เองเป็น ๖ คนด้วยกัน.
ปัญญามีประโยชน์ใหญ่หลวง เป็ นสิ่งละเอียด
เป็นเหตุให้คนเรามีความคิดในทางที่ดี
ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อความสุขในภายหน้า
ด้วยประการฉะนี้.
นางเภรีปริพาชิกาถือเอายอดธรรมเทศนา
ด้วยคุณทั้งหลายของพระมหาสัตว์ ดุจถือเอายอดเรือนแก้วด้วยดวงแก้วมณี
ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ ปัญหาผีเสื้อน้า
จบ อรรถกถามหาอุมมังคชาดกโดยประการทั้งปวง
พระศาสดา
ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยประการฉะนี้แล้ว เมื่อทรงประกาศอริ
ยสัจ ๔ ประชุมชาดก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น
ที่ตถาคตมีปัญญาย่ายีวาทะของผู้อื่น แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า
ตถาคตยังบาเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์โพธิญาณอยู่ ก็มีปัญญาเหมือนกัน ตรัสฉะนี้
แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า
พระนางสลากเทวี คือ ถุลลนันทิกาภิกษุณี
พราหมณ์อนุเกวัฏ คือ โมคคัลลานภิกษุ
นางเภรีปริพาชิกา คือ อุบลวรรณาภิกษุณี
17
ติขิณกุมาร คือ ฉันนภิกษุ
ธนุเสข คือ ราหุลภิกษุ
พระเจ้าจุลนี คือ สารีบุตรภิกษุ
มโหสถบัณฑิต คือ เราผู้โลกนาถ
เธอทั้งหลายจงทรงจาชาดกไว้ อย่างนี้แล.
----------------------------------------

More Related Content

Similar to 517 ทกรักขสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
maruay songtanin
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 

Similar to 517 ทกรักขสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx (20)

128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
128 พิฬารวตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
046 อารามทูสกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
075 มัจฉชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
208 สุงสุมารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
089 กุหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
145 ราธชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
048 เวทัพพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
484 สาลิเกทารชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
006 เทวธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
125 กฏาหกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
06 มหาโควินทจริยา มจร.pdf
 
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
503 สัตติคุมพชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
115 อนุสาสิกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
346 เกสวชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
276 กุรุธัมมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
039 นันทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
023 โภชาชานียชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
329 กาฬพาหุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
187 จตุมัฏฐชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 

More from maruay songtanin

๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
maruay songtanin
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
maruay songtanin
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
maruay songtanin
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
maruay songtanin
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
maruay songtanin
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
maruay songtanin
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
maruay songtanin
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
๑๗. มัฏฐกุณฑลีเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหา...
 
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๖. นันทาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑๕. มัตตาเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
๑๔. สารีปุตตเถรมาตุเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉ...
 
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
๑๓. สังสารโมจกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมห...
 
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๑๒. อุรคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
๑๑. นาคเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๑๐. ขัลลาฏิยเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๙. มหาเปสการเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
๘. โคณเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๗. สัตตปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
๖. ปัญจปุตตขาทิกเปติวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับ...
 
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
๕. ติโรกุฑฑเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬ...
 
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
๔. ปิฏฐธีตลิกเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจ...
 
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๓. ปูติมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๒. สูกรมุขเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
๑. เขตตูปมเปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬา...
 
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
๐. คำนำ เปตวัตถุ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๖ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๘ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdfผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
ผู้นำที่มีความเห็นอกเห็นใจ Compassionate leadership.pdf
 
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
537 มหาสุตโสมชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๘ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๐ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 

517 ทกรักขสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx

  • 1. 1 ทกรักขสชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑ ๗. ทกรักขสชาดก (จากพระไตรปิฎก ลาดับเรื่องที่ ๕๑๗) ว่าด้วยผีเสื้อน้า (เภรีปริพาชิกากล่าวปัญหาของรากษสว่า) [๒๒๔] ถ้าว่ามหาบพิตรทั้ง ๗ พระองค์กาลังลอยเรืออยู่ในห้วงน้า ผีเสื้อน้าผู้แสวงหามนุษย์เป็นพลีกรรมยึดเรือไว้ มหาบพิตรจะทรงสละให้ผีเสื้อน้าตามลาดับอย่างไร (พระราชาสดับดังนั้นแล้ว จึงตรัสว่า) [๒๒๕] โยมจะให้พระมารดาเป็ นอันดับ ๑ ให้พระมเหสีแล้วให้อนุชา แต่นั้นจะให้พระสหาย แล้วจะให้ปุโรหิตพราหมณ์เป็นอันดับที่ ๕ จะให้ตนเองเป็นอันดับที่ ๖ แต่จะไม่ให้มโหสธบัณฑิต (เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของมารดาว่า) [๒๒๖] พระราชชนนีของมหาบพิตร ทรงบารุงเลี้ยง ให้กาเนิด และทรงเอ็นดูช่วยเหลือตลอดกาลนาน เมื่อมหาบพิตรถูกฉัพภิพราหมณ์ประทุษร้าย พระนางทรงเป็ นบัณฑิตคิดเห็นประโยชน์ จึงทรงกระทาสิ่งอื่นแทนมหาบพิตร ปลดเปลื้องมหาบพิตรจากการถูกลอบปลงพระชนม์ [๒๒๗] พระราชมารดานั้นทรงประทานพระชนม์ชีพ ทรงครรภ์พระโอรสเช่นนั้น เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้ผีเสื้อน้า (พระราชาตรัสโทษของพระมารดาว่า) [๒๒๘] พระมารดาของโยมประดับเครื่องอลังการที่ไม่ควรประดับ เหมือนเด็กสาวกระซิกกระซี้กับคนเฝ้ าประตู และคนชั้นต่าเกินขอบเขต [๒๒๙] อนึ่ง ทรงส่งทูตไปยังพระราชาฝ่ายอื่นเสียเอง เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้พระมารดาแก่รากษส (เภรีปริพาชิกากล่าวคุณของพระนางนันทาเทวีว่า) [๒๓๐] พระนางนันทาเทวีผู้ประเสริฐกว่าหมู่สนมนารี มีพระเสาวนีย์น่ารัก ทรงอนุวัตรตามมหาบพิตร เป็นผู้ทรงศีล มิได้ทรงเหินห่างมหาบพิตร ประดุจพระฉายาโดยส่วนเดียว [๒๓๑] ปราศจากความกริ้วโกรธ ทรงมีบุญ ฉลาด ทรงเล็งเห็นประโยชน์ เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจะประทานมเหสีให้ผีเสื้อน้า (พระราชาตรัสโทษของนางนันทาเทวีว่า)
  • 2. 2 [๒๓๒] พระนางนันทาเทวีนั้นชอบขอทรัพย์ที่ไม่ควรขอกับโยม ผู้ถึงความร่าเริงยินดี ผู้ตกอยู่ในอานาจสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ เพื่อโอรสและธิดาของตน [๒๓๓] โยมนั้นมีความกาหนัด จึงยอมให้ทรัพย์ ทั้งมีค่ามากและมีค่าน้อยเป็นจานวนมาก ครั้นยอมให้ทรัพย์ยากที่จะสละได้แล้ว ภายหลังจึงเศร้าโศกเสียใจ เพราะโทษนั้นแหละ โยมจะพึงให้มเหสีแก่ผีเสื้อน้า (เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปว่า) [๒๓๔] พระกนิษฐภาดาพระองค์ใดทรงยังชนบทให้เจริญ เชิญเสด็จมหาบพิตรกลับพระราชมณเฑียรและทรงครอบงา นาทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาถวายเป็นจานวนมาก [๒๓๕] พระกนิษฐภาดาพระองค์นั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญ มีพระปรีชาเฉียบแหลม เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานให้แก่ผีเสื้อน้าเล่า (พระราชาตรัสโทษของพระกนิษฐาภาดาว่า) [๒๓๖] อนุชาใดของโยมผู้ยังชนบทให้เจริญ นาโยมกลับพระราชมณเฑียรและครอบงา นาทรัพย์จากราชสมบัติอื่นมาให้เป็นจานวนมาก [๒๓๗] อนุชานั้นประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญ และมีปัญญาเฉียบแหลม ยังเป็ นเด็ก แต่ดูหมิ่นโยมว่า พระราชาพระองค์นี้ทรงเป็นสุขเพราะเรา [๒๓๘] พระแม่เจ้า เขาไม่มาแม้สู่ที่บารุงของโยมเหมือนก่อน เพราะโทษนั้น โยมจะพึงให้อนุชาแก่ผีเสื้อน้า (เภรีปริพาชิกาบอกคุณของพระสหายนั้นว่า) [๒๓๙] มหาบพิตรและธนุเสขกุมาร ทั้ง ๒ กาเนิดราตรีเดียวกัน ทั้ง ๒ เกิดในพระนครนี้ เป็ นชาวปัญจาลนคร เป็นสหายกันมีวัยเสมอกัน [๒๔๐] กุมารนั้นติดตามมหาบพิตรท่องเที่ยวไป ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับมหาบพิตร มีความขยันขวนขวายในราชกิจทุกอย่างของมหาบพิตร ทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานสหายให้ผีเสื้อน้าเสียเล่า (พระราชาตรัสโทษของพระสหายว่า) [๒๔๑] พระแม่เจ้า ธนุเสขกุมารนี้หัวเราะดังกับโยม เมื่อท่องเที่ยวไปกับโยม แม้วันนี้เขาก็ยังหัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น [๒๔๒] พระแม่เจ้า โยมแม้กาลังปรึกษากับพระเทวีอยู่ในที่รโหฐาน ธนุเสขกุมารยังมิทันบอกกล่าว ยังมิทันให้โยมรู้ตัวก่อน ก็พรวดพราดเข้าไป
  • 3. 3 [๒๔๓] เขาได้ช่อง ได้โอกาส เพราะโทษนั้น โยมจึงจะให้สหายผู้ไม่มีความละอาย ไม่เอื้อเฟื้อแก่ผีเสื้อน้า (เภรีปริพาชิกาบอกคุณของเกวัฏฏปุโรหิตว่า) [๒๔๔] ท่านเกวัฏฏปุโรหิตเป็ นผู้ฉลาดในนิมิตทุกอย่าง รู้สาเนียงเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท เชี่ยวชาญในเรื่องลางบอกเหตุ ในความฝัน ชานาญในการหาฤกษ์ยาม ในการเคลื่อนพลและเข้าประชิด [๒๔๕] สามารถรู้โทษและคุณทั้งในภาคพื้นดินและอากาศ เป็นผู้ฉลาดในคลองแห่งนักษัตร เพราะโทษอะไร มหาบพิตรจึงจะประทานปุโรหิตพราหมณ์ ให้แก่ผีเสื้อน้าเสียเล่า (พระราชาตรัสโทษของปุโรหิตพราหมณ์ว่า) [๒๔๖] พระแม่เจ้า แม้ท่ามกลางบริษัท ปุโรหิตพราหมณ์ก็ลืมตาจ้องมองโยม เพราะเหตุนั้น โยมจะให้ปุโรหิตผู้หยาบช้า คล้ายกับเลิกคิ้วมองดูโยมแก่ผีเสื้อน้าเสีย (เภรีปริพาชิกาทูลถามต่อไปอีกว่า) [๒๔๗] พระองค์ทรงครอบครองแผ่นดินมีสมุทรเป็ นขอบเขต มีสาครล้อมรอบประดุจต่างหู ทรงมีหมู่อามาตย์แวดล้อม [๒๔๘] ทรงมีแคว้นกว้างใหญ่ไพศาล มีมหาสมุทรทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ทรงพิชิตสงคราม มีพลานุภาพมาก ทรงเป็นเอกราชเหนือพื้นปฐพี มหาบพิตรทรงมีพระอิสริยยศอันไพบูลย์ [๒๔๙] ทรงมีเหล่านารีจากชนบทต่างๆ ถึง ๑๖,๐๐๐ นาง ล้วนประดับด้วยแก้วมุกดาและต่างหูแก้วมณี งามเปรียบได้กับเทพกัญญา [๒๕๐] ขอถวายพระพรพระบรมกษัตริย์ ชีวิตยืนยาวที่เพียบพร้อมด้วยองค์สมบัติทุกอย่างนี้ นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวว่า เป็นที่รักของคนที่มีความสุข ผู้เพียบพร้อมด้วยสมบัติ ที่น่าปรารถนาทุกอย่าง [๒๕๑] เมื่อเป็นเช่นนั้น เรื่องอะไรหรือเหตุไฉน มหาบพิตรจึงทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้ องกันบัณฑิตเล่า (พระราชาตรัสบอกคุณของมโหสธบัณฑิตว่า) [๒๕๒] พระแม่เจ้า เพราะท่านมโหสธแม้มาสู่เงื้อมมือโยมแล้ว โยมยังไม่ทราบถึงความชั่วของท่านปราชญ์แม้สักเพียงอณูหนึ่ง [๒๕๓] ถึงแม้ว่าโยมจะต้องตายไปก่อนในกาลไรๆ ก็ตาม ท่านมโหสธก็จะพึงช่วยลูกและหลานของโยมให้มีความสุข [๒๕๔] ท่านมโหสธเห็นแจ่มแจ้งประโยชน์ทุกประการ ทั้งอนาคตและปัจจุบัน โยมจะไม่ยอมให้ท่านมโหสธ ผู้ไม่เคยทาความผิดแก่ผีเสื้อน้า
  • 4. 4 (เภรีปริพาชิกาเชิญชาวพระนครมากล่าวว่า) [๒๕๕] ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงสดับพระดารัสของพระเจ้าจูฬนีนี้ พระองค์ทรงสละพระชนม์ชีพที่สละได้ยาก คอยตามป้ องกันบัณฑิต [๒๕๖] พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์ปุโรหิต และแม้ของพระองค์เองรวมเป็ น ๖ คน [๒๕๗] ปัญญาให้สาเร็จประโยชน์ใหญ่หลวง เป็นธรรมชาติละเอียดอ่อน เป็นเหตุให้เกิดแต่สิ่งที่ดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบัน และเพื่อความสุขในสัมปรายภพด้วยประการฉะนี้ ทกรักขสชาดกที่ ๗ จบ ----------------------------- คาอธิบายเพิ่มเติมนามาจากบางส่วนของอรรถกถา ทกรักขสชาดก ว่าด้วย ผีเสื้อน้า ทกรักขสชาดก ทั้งหมดนั้น จักมีแจ้งใน มหาอุมมังคชาดก. จบอรรถกถาทกรักขสชาดกที่ ๗ ------------------------ มหาอุมมังคชาดก. พระนางปัญจาลจันทีได้เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าวิเทหราช. ในปีที่ ๒ พระนางเจ้านั้นประสูติพระโอรส ครั้นพระราชโอรสนั้นมีพรรษาได้ ๑๐ ปี พระเจ้าวิเทหราชผู้พระชนกสวรรคต. มโหสถโพธิสัตว์ได้ถวายราชสมบัติแด่พระกุมารนั้น แล้วทูลลาว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์จักไปอยู่ราชสานักพระเจ้าจุลนีพระอัยกาของพระองค์. พระราชานั้นตรัสว่า แน่ะบัณฑิต ท่านอย่าทิ้งข้าพเจ้าผู้ยังเด็กไปเสีย ข้าพเจ้าตั้งท่านไว้ในที่บิดา จักทาสักการบูชา แม้พระนางเจ้าปัญจาลจันทีผู้พระชนนี ก็ตรัสวิงวอนพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะบัณฑิต ในกาลเมื่อท่านไปเสียแล้ว ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี ขอท่านอย่าไปเลย. มโหสถทูลว่า ข้าพระองค์ได้ถวายปฏิญาณไว้แด่พระเจ้าจุลนี ข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะไม่ไป. เมื่อมหาชนคร่าครวญอยู่อย่างน่าสงสาร มโหสถก็พาพวกอุปัฏฐากของตนออกจากพระนคร ไปถึงอุตตรปัญจาลราชธานี.
  • 5. 5 พระเจ้าจุลนีทรงทราบว่า มโหสถมาถึง ก็เสด็จต้อนรับให้มโหสถเข้าพระนครด้วยบริวารเป็ นอันมาก ประทานเคหสถานใหญ่ให้มโหสถอยู่ แล้วประทานบ้าน ๘๐ บ้านที่ประทานแล้วแต่แรก และโภคสมบัติอื่นๆ มโหสถก็รับราชการ ณ ราชสานักนั้น. ในกาลนั้น มีปริพาชิกาคนหนึ่งชื่อเภรี เคยเข้าไปฉันในพระราชนิเวศน์ นางเป็ นบัณฑิตฉลาด นางยังไม่เคยเห็นมโหสถ ได้สดับกิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า มโหสถบารุงพระราชา. แม้มโหสถก็ยังไม่เคยเห็นปริพาชิกา ได้ยินแต่กิตติศัพท์ว่า ได้ยินว่า ปริพาชิกาชื่อเภรี ฉันในราชสถาน. ฝ่ายพระนางนันทาเทวีไม่ชอบพระหฤทัยในพระโพธิสัตว์ว่า มโหสถทาปิยวิปโยคให้เราลาบาก. พระนางจึงตรัสสั่งเหล่าสตรีที่สนิทราว ๕๐๐ คนว่า เจ้าทั้งหลายจงพยายามหาโทษของมโหสถ สักอย่างหนึ่ง. แล้วทูลยุยงระหว่างพระราชาให้แตกกัน. สตรีเหล่านั้นเที่ยวมองหาโทษของมโหสถอยู่. วันหนึ่ง ปริพาชิกานั้นฉันแล้วออกไป ได้เห็นพระโพธิสัตว์มาสู่ราชุปัฏฐาน ณ พระลาน. พระโพธิสัตว์ไหว้ปริพาชิกา แล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง. ปริพาชิกาคิดว่า ได้ยินว่า มโหสถนี้เป็ นบัณฑิต เราจักรู้ความที่เธอเป็นบัณฑิต หรือไม่ใช่บัณฑิตก่อน. เมื่อจะถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ จึงแลดูมโหสถ แล้วแบมือออก ได้ยินว่า นางถามปัญหาด้วยใจว่า พระเจ้าจุลนีนามโหสถมาแต่ประเทศอื่น เดี๋ยวนี้ทรงบารุงเช่นไร หรือไม่ได้ทรงบารุง. พระโพธิสัตว์รู้ว่า นางเภรีปริพาชิกาถามปัญหาเราด้วยเครื่องหมายแห่งมือ. เมื่อจะแก้ปัญหา จึงกามือ ได้ยินว่า มโหสถแก้ปัญหาด้วยใจว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า พระราชาทรงรับปฏิญาณของข้าพเจ้าแล้วให้เรียกมา เดี๋ยวนี้เป็นผู้เหมือนกับกาพระหัตถ์ไว้มั่น ยังไม่พระราชทานอะไรๆ ที่พระองค์ยังไม่เคยพระราชทานแก่ข้าพเจ้า. นางเภรีรู้ถ้อยคาของมโหสถ จึงยกมือขึ้นลูบศีรษะของตน นางแสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า แน่ะบัณฑิต ถ้าท่านลาบาก เหตุไร ท่านจึงไม่บวชเหมือนอาตมาเล่า. พระมหาสัตว์รู้ความนั้น จึงลูบท้องของตน แสดงข้อความนี้ด้วยกิริยานั้นว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า บุตรและภรรยา ข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมาก เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้ายังไม่บวช. นางเภรีถามปัญหาด้วยเครื่องหมายแห่งมือ แล้วไปสู่อาวาสของตน. ฝ่ายมโหสถไหว้นาง แล้วไปสู่ราชุปัฏฐาน.
  • 6. 6 พวกสตรีคนสนิทที่พระนางนันทาเทวีประกอบ ยืนอยู่ที่หน้าต่าง เห็นกิริยานั้น. จึงไปเฝ้ าพระเจ้าจุลนี ทูลยุยงว่า ข้าแต่สมมติเทพ มโหสถอยู่ในที่เดียวกับนางเภรีปริพาชิกา เป็นผู้ใคร่จะชิงราชสมบัติ ย่อมเป็นศัตรูของพระองค์. พระราชาได้ทรงสดับคานั้น จึงตรัสว่าพวกเจ้าได้เห็นหรือได้ฟังอะไร. สตรีเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช ปริพาชิกาฉันแล้วลงจากปราสาท เห็นมโหสถ แล้วเหยียดมือออกหมายให้รู้ความว่า ท่านสามารถจะทาพระราชาให้เป็นดังฝ่ามือ หรือให้เป็นดังลานนวดข้าวให้เสมอ แล้วทาราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน. ฝ่ายมโหสถเมื่อแสดงอาการจับดาบ ได้กามือเข้า หมายให้รู้ว่า เราจะตัดศีรษะพระราชาโดยวันล่วงไปเล็กน้อยแล้ว ทาราชสมบัติให้ถึงเงื้อมมือตน. ปริพาชิกายกมือของตนขึ้นลูบศีรษะ หมายให้รู้ว่า ท่านจะตัดศีรษะพระราชาเท่านั้นหรือ. มโหสถลูบท้อง หมายให้รู้ว่า เราจะตัดกลางตัวเสียด้วย. ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงไม่ประมาท ควรที่พระองค์จะฆ่ามโหสถเสียก่อน. พระเจ้าจุลนีได้ทรงฟังถ้อยคาของสตรีเหล่านั้น จึงทรงดาริว่า มโหสถไม่อาจจะประทุษร้ายในเรา. เราจักถามปริพาชิกา ก็จักรู้ความ. อีกวันหนึ่ง ในกาลเมื่อปริพาชิกาฉันแล้ว พระองค์เข้าไปหานางตรัสถามว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นเจ้าพบมโหสถบ้างหรือ. นางทูลว่า เมื่อวานนี้ อาตมะฉันแล้วออกไป จากที่นี้ได้พบเธอ. ตรัสถามว่า ได้เจรจาสนทนาอะไรกันบ้าง. นางทูลว่า หาได้พูดอะไรกันไม่ เป็นแต่อาตมะได้ยินว่า เธอเป็นนักปราชญ์ จึงถามปัญหาเธอด้วยเครื่องหมายแห่งมือ ด้วยมนสิการว่า ถ้าเธอเป็นนักปราชญ์ เธอจักรู้ปัญหานี้ จึงได้แบมือออก ให้สาคัญรู้ว่า พระราชาของท่านเป็ นผู้มีพระหัตถ์แบหรือมีพระหัตถ์กา คือได้ทรงสงเคราะห์อะไรท่านบ้างหรือมิได้ทรงสงเคราะห์. มโหสถได้กามือให้หมายรู้ว่า พระราชารับปฏิญาณของข้าพเจ้าไว้ แล้วตรัสเรียกมา เดี๋ยวนี้ยังไม่ได้พระราชทานอะไร. ทีนั้น อาตมะจึงลูบศีรษะ ให้หมายความว่า ถ้าท่านลาบาก ทาไมท่านไม่บวชดังอาตมะเล่า. ฝ่ายมโหสถลูบท้องของตนให้ทราบว่า บุตรภรรยาอันข้าพเจ้าต้องเลี้ยงดูมีมากเกิน จะต้องให้เต็มท้องกันมิใช่น้อย เหตุนี้จึงยังบวชไม่ได้. พระราชาจึงตรัสถามต่อไปว่า ข้าแต่ผู้เป็ นเจ้า มโหสถเป็นนักปราชญ์หรือ. นางเภรีทูลว่า บุคคลอื่นชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เช่นมโหสถย่อมไม่มีในพื้นแผ่นดิน. พระราชาได้ทรงฟังถ้อยคาแห่งนางเภรีแล้ว ทรงนมัสการแล้วอาราธนาให้กลับ.
  • 7. 7 ในกาลเมื่อนางเภรีไปแล้ว มโหสถได้เข้าไปสู่ราชุปัฏฐาน. ว่าด้วย ปัญหาทกรักขสะ (ผีเสื้อน้า) ลาดับนั้น พระราชาจึงตรัสถามมโหสถว่า ดูก่อนบัณฑิต เจ้าได้พบนางเภรีปริพาชิกาบ้างหรือ. มโหสถกราบทูลโดยนิยมแห่งข้อความที่นางทูลแล้วว่า เมื่อวานนี้ นางออกไปจากพระราชนิเวศน์ ข้าพระองค์ได้พบนาง. นางถามปัญหาข้าพระองค์ด้วยเครื่องหมายแห่งมืออย่างนั้น แม้ข้าพระองค์ก็ได้แก้ปัญหาของนางอย่างนั้น. พระราชาทรงเลื่อมใส พระราชทานที่เสนาบดีแก่มโหสถในวันนั้น ให้มโหสถรับราชกิจทั้งปวง. มโหสถก็มีเกียรติยศใหญ่ ในระหว่างอิสริยยศที่ได้รับพระราชทาน. มโหสถคิดว่า พระราชาพระราชทานอิสริยยศยิ่งใหญ่ในคราวเดียว ก็แต่พระราชาทั้งหลาย แม้ทรงใคร่จะยังเราให้ตาย ก็ย่อมทรงทาอย่างนี้เอง. ไฉนหนอ เราจะทดลองพระราชาว่า เป็นผู้มีพระหฤทัยดีต่อเราหรือหาไม่ ก็แต่บุคคลอื่นไม่สามารถจะรู้ได้ นางเภรีปริพาชิกาผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญานั้นแหละ จักรู้ได้โดยอุบาย. ครั้นคิดฉะนี้ แล้วจึงถือของหอม มีดอกไม้เป็นต้นเป็ นอันมากไปสู่อาวาสปริพาชิกา บูชาไหว้นาง แล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า ตั้งแต่วันที่ท่านกล่าวคุณกถาของข้าพเจ้าแด่พระราชา พระราชาพระราชทานยศยิ่งใหญ่แก่ข้าพเจ้า ราวกะว่าจะทับถม แต่ข้าพเจ้าหาทราบยศที่พระราชทานนั้นไม่ว่า พระราชทานโดยปกติหรือโดยพิเศษ ดีแล้ว ท่านพึงรู้ความที่พระราชาโปรดปรานข้าพเจ้าละหรือ โดยอุบายอันหนึ่ง. นางเภรีรับคา. อีกวันหนึ่ง เมื่อไปสู่พระราชนิเวศน์ ได้คิดปัญหาชื่อว่าทกรักขสปัญหา. ดังได้สดับมา ความปริวิตกอย่างนี้ได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า เราเป็นเหมือนคนสอดแนม จักทูลถามพระราชาโดยอุบาย ก็จักรู้ว่า พระองค์มีพระหฤทัยดีต่อมโหสถ หรือหาไม่. นางไปทาภัตกิจ แล้วนั่งอยู่. ฝ่ายพระราชาทรงนมัสการนางเภรี แล้วก็ประทับนั่งอยู่ ความปริวิตกได้เกิดมีแก่นางเภรีว่า ถ้าพระราชาจักเป็นผู้มีพระหฤทัยร้ายต่อ มโหสถ. เราทูลถามปัญหา จักตรัสความที่พระองค์มีพระหฤทัยร้ายในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นจะไม่สมควร. เราจักต้องทูลถามพระองค์ในที่ควรแห่งหนึ่ง. นางจึงทูลว่า อาตมะปรารถนาที่ลับ
  • 8. 8 พระราชาจึงให้ชนทั้งหลายกลับไปเสีย. ลาดับนั้น นางเภรีจึงทูลขอวโรกาสแด่พระราชาว่า อาตมะจักทูลถามปัญหากะพระองค์. พระราชาตรัสอนุญาตว่า ถามเถิดผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้ารู้ ก็จักกล่าวแก้. ลาดับนั้น นางเภรีปริพาชิกา เมื่อจะทูลถามทกรักขสปัญหา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่งว่า ถ้าว่า ผีเสื้อน้าผู้แสวงหาเครื่องเส้นมนุษย์ จับเรือของพระนางสลากเทวีพระราชชนนี พระนางนันทาเทวีพระมเหสี พระติขิณมนตรีกุมารพระอนุชา ธนุเสขกุมารพระสหาย เกวัฏพราหมณ์ราชปุโรหิตาจารย์ มโหสถบัณฑิต และพระองค์รวม ๗ ซึ่งแล่นอยู่ในทะเล. พระองค์จะประทานใครอย่างไร ให้เป็ นลาดับแก่ผีเสื้อน้า. พระเจ้าจุลนีทรงสดับดังนั้น เมื่อจะทรงสาแดงตามพระราชอัธยาศัย จึงตรัสคาถานี้ว่า ข้าพเจ้าจักให้พระมารดาก่อน ให้มเหสี กนิษฐภาดา. แต่นั้น ให้สหาย ให้พราหมณ์ปุโรหิตเป็นที่ ๕ ให้ตนเองเป็ นที่ ๖ ไม่ให้มโหสถแท้ทีเดียว. ปัญหานี้จบด้วยกถามรรคเท่านี้ ความที่พระราชามีพระหฤทัยดีในพระมหาสัตว์ อันปริพาชิการู้แล้ว ด้วยประการฉะนี้. แต่คุณของมโหสถบัณฑิตได้ปรากฏด้วยกถามรรคเพียงนี้เท่านั้น ก็หาไม่. เพราะเหตุนั้น ความปริวิตกได้มีแก่นางเภรีว่า เราจะกล่าวคุณของเขานั้นๆ ในท่ามกลางมหาชน พระราชาจักแสดงโทษของเขาเหล่านั้น แล้วทรงสรรเสริญคุณของมโหสถบัณฑิต. คุณของมโหสถบัณฑิตก็จักปรากฏ ดุจดวงจันทร์ในวันเพ็ญลอยเด่นในท้องฟ้ าฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. นางจึงยังมหาชนในเมืองทั้งหมดให้ประชุมกัน แล้วทูลถามปัญหานั้นนั่นแหละกะพระราชาอีก. จาเดิมแต่เบื้องต้น ครั้นพระราชาทรงแสดงอย่างนั้นแล้ว จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์รับสั่งว่า จักประทานพระชนนีก่อน. ก็ธรรมดาว่า มารดามีคุณูปการมาก พระราชมารดาของพระองค์เช่นกับมารดาของชนเหล่าอื่น ก็หาไม่. พระราชมารดาของพระองค์มีพระอุปการะมาก เมื่อจะแสดงพระคุณแห่งพระราชมารดา จึงได้กล่าวสองคาถาว่า พระราชชนนีของพระองค์เป็นผู้บารุงเลี้ยง และให้ประสูติ เป็นผู้อนุเคราะห์ ตลอดราตรีนาน. พราหมณ์ชื่อฉัพภิ ประทุษร้ายในพระองค์. พระราชมารดาเป็ นผู้ฉลาด เห็นประโยชน์เป็นปกติ. ทารูปเปรียบอื่นปลดเปลื้อง พระองค์จากการปลงพระชนม์. พระองค์จะประทานพระชนนี ผู้มีพระมนัสคงที่
  • 9. 9 ประทานพระชนมชีพ ผู้ให้ทรงเจริญระหว่างพระทรวง ทรงไว้ซึ่งพระครรภ์นั้นแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร. ดังได้สดับมาว่า พระชนกของพระเจ้าจุลนี มีพระนามว่ามหาจุลนี พระนางสลากเทวีเป็นพระมเหสีได้ทาชู้กับพราหมณ์อันมีชื่ อว่าฉัพภินั้น ได้ปลงพระชนม์พระเจ้ามหาจุลนี ยกราชสมบัติให้พราหมณ์ เป็ นมเหสีแห่งพราหมณ์นั้น. ในกาลเมื่อพระเจ้าจุลนียังทรงพระเยาว์ วันหนึ่ง จุลนีราชกุมารทูลว่า ข้าแต่พระมารดา หม่อมฉันหิว. จึงให้ของควรเคี้ยว พร้อมกับน้าอ้อยแก่พระโอรส แมลงวันทั้งหลายตอมล้อมพระกุมารนั้น. พระกุมารนั้นทรงคิดว่า เราจักเคี้ยวกินของควรเคี้ยวนี้ไม่ให้มีแมลงวัน จึงเลี่ยงไปหน่อยหนึ่งแล้ว ยังหยาดแห่งน้าอ้อยให้ตกลงยังพื้น แล้วไล่แมลงวันที่สานักตนให้หนีไป แมลงวันเหล่านั้นก็พากันไปตอมน้าอ้อยที่พื้นนั้น. ราชกุมารเสวยของควรเคี้ยวไม่ให้มีแมลงวันแล้ว ล้างพระหัตถ์ทั้งสองบ้วนพระโอฐ แล้วหลีกไป. พราหมณ์ได้เห็นกิริยาแห่งราชกุมารนั้น จึงคิดว่า กุมารนี้กินน้าอ้อยไม่มีแมลงวันในบัดนี้ เจริญวัยแล้วจักไม่ให้ราชสมบัติแก่เรา เราจักยังกุมารนั้นให้ตายเสียในเดี๋ยวนี้ทีเดียว. พราหมณ์จึงแจ้งเนื้อความนั้นแก่พระนางสลากเทวี พระนางตรัสตอบว่า ดีแล้ว เทพเจ้า ข้าพระเจ้ายังพระภัสดาของตนให้สิ้นพระชนม์ ด้วยความรักในพระองค์ ต้องการอะไรด้วยกุมารนี้แก่ข้าพระเจ้า ณ บัดนี้. ข้าพระเจ้าจักมิให้มหาชนรู้ ยังกุมารให้ตายโดยความลับ. ตรัสฉะนี้ แล้วลวงพราหมณ์ว่า อุบายนี้ มีอยู่. พระนางสลากเทวีเป็นผู้มีปรีชาฉลาดในอุบาย จึงให้เรียกพ่อครัวมาตรัสว่า บุตรของข้าจุลนีกุมารกับบุตรของเจ้าชื่อธนุเสขกุมาร เกิดวันเดียวกัน เจริญด้วยกุมารแวดล้อม เป็นสหายที่รักแห่งกัน เดี๋ยวนี้ฉัพภิพราหมณ์ใคร่จะยังบุตรของข้าให้ตาย เจ้าจงให้ชีวิตแก่บุตรของข้า. ครั้นพ่อครัวทูลว่า ดีแล้ว พระเทวี แต่ข้าพระองค์จักทาอย่างไร. จึงรับสั่งว่า บุตรของข้าจงอยู่ในเรือนของเจ้าทุกวัน เจ้าและบุตรของข้าและบุตรของเจ้าจงนอนในห้องเครื่อง เพื่อมิให้ใครสงสัย สิ้นวันเล็กน้อย. แต่นั้น รู้ว่าไม่มีใครสงสัยแล้ว วางกระดูกแพะไว้ในที่นอนของเจ้าทั้งสาม แล้วจุดไฟที่ห้องเครื่องในเวลามหาชนหลับ. แล้วอย่าให้ใครรู้ พาบุตรของข้าและบุตรของเจ้า ออกจากประตูน้อยไปนอกแคว้น อย่าบอกความที่บุตรของข้าเป็นพระราชโอรส แล้วตามรักษาชีวิตบุตรของข้าไว้.
  • 10. 10 พ่อครัวรับพระเสาวนีย์ว่า สาธุ. ลาดับนั้น พระนางประทานธนสารแก่พ่อครัวนั้น พ่อครัวได้ทาอย่างนั้น พาบุตรของตนและพระราชกุมารไปสู่สากลนครในมัททรัฐ แล้วบารุงพระเจ้ามัททราช. พระเจ้ามัททราชให้พ่อครัวคนเก่าออก ประทานตาแหน่งนั้นแก่พ่อครัวใหม่นั้น. แม้กุมารทั้งสองนี้ก็ไปสู่พระราชนิเวศกับพ่อครัวนั้น พระราชาตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้บุตรใคร. พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์. พระเจ้ากรุงสากลนครตรัสว่า หน้าตาไม่เหมือนกัน ไม่ใช่หรือ. พ่อครัวทูลว่า คนละแม่ พระเจ้าข้า. ครั้นเมื่อกาลล่วงไปๆ จุลนีราชกุมารแลธนุเสขกุมารบุตรพ่อครัวทั้งสอง เป็นผู้คุ้นเคยเล่นด้วยกันกับพระธิดาของพระราชาในพระราชนิเวศน์นั่นเอง. ลาดับนั้น จุลนีราชกุมารกับนันทาราชธิดาของพระเจ้ามัททราชได้เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์กันและ กัน เพราะเห็นกันทุกวัน จุลนีราชกุมารให้ราชธิดานาลูกข่างและเชือกบ่วงมาในสถานที่เล่น ราชกุมารตีเศียรราชธิดาผู้ไม่นามา ราชธิดาก็กันแสง. ลาดับนั้น พระราชาได้ทรงฟังเสียงพระธิดา จึงตรัสถามว่า ใครตีธิดาของข้า นางนมทั้งหลายมาถามว่า ใครตีแม่เจ้า. นางกุมาริกาคิดว่า ถ้าเราจักบอกว่า ราชกุมารนี้ตีฉัน พระบิดาของเราจักลงราชทัณฑ์แก่เธอ. คิดฉะนี้ จึงไม่ตรัสว่าราชกุมารตี ด้วยความเสนหาในราชกุมารนั้น จึงตรัสว่า ใครไม่ได้ดีฉันดอก. ลาดับนั้น พระเจ้ามัททราชได้ทอดพระเนตรเห็นจุลนีราชกุมารตี ก็เพราะได้ทอดพระเนตรเห็นเอง ความปริวิตกได้มีแด่พระราชา กุมารนี้ไม่เหมือนพ่อครัว เป็ นผู้มีรูปงามน่าเลื่อมใส เป็นผู้ไม่สะดุ้งกลัวเกินเปรียบ กุมารนี้ไม่ใช่บุตรพ่อครัว. จาเดิมแต่นั้นมา พระราชาก็ทรงสังเกตกุมารนั้น นางนมทั้งหลายนาของควรเคี้ยวมาในที่เล่นถวายราชธิดา ราชธิดาก็ประทานแก่เด็กอื่นๆ เด็กเหล่านั้นคุกเข่าน้อมตัวลงรับ ฝ่ายจุลนีราชกุมารยืนแย่งเอาจากพระหัตถ์แห่งราชกุมารี แม้พระราชาก็ได้ทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้น. ครั้งนั้นในวันหนึ่ง ลูกข่างของจุลนีราชกุมารเข้าไปภายใต้ที่บรรทมน้อยของพระราชา จุลนีราชกุมารเมื่อจะหยิบลูกข่างนั้น เอาไม้เขี่ยออกมาถือเอา ด้วยคิดว่า
  • 11. 11 เราจักไม่เข้าภายใต้ที่บรรทมแห่งพระราชาในปัจจันตประเทศนี้. ฝ่ายพระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยานั้นเข้าพระหฤทัยว่า กุมารนี้ไม่ใช่บุตรแห่งพ่อครัวแน่ จึงให้เรียกพ่อครัวมา ตรัสถามว่า กุมารทั้งสองนี้ บุตรใคร. พ่อครัวทูลว่า บุตรของข้าพระองค์ทั้งสองคน พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสคุกคามว่า ข้ารู้ว่าบุตรของเจ้า หรือไม่ใช่บุตรของเจ้า เจ้าจงบอกแต่ความเป็นจริง ถ้าเจ้าไม่บอกความจริง ชีวิตของเจ้าจักไม่มี. ตรัสฉะนี้แล้วเงื้อพระแสงขรรค์ พ่อครัวกลัวแต่มรณภัย จึงทูลว่า ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ต้องการที่ลับ. ครั้นพระราชาประทานโอกาสแล้วจึงขอพระราชทานอภัย แล้วทูลตามความเป็นจริง. พระราชาทรงทราบตามจริงแล้ว จึงให้แต่งพระธิดาของพระองค์ประทานให้เป็นบาทบริจาริกาแก่จุลนีราชกุมาร. ก็ในวันที่พ่อครัว จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัวหนีโกลาหลเป็นอันเดียว ได้มีในพระนครอุตตรปัญจาละทั้งสิ้นว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัว เมื่อไฟไหม้ห้องเครื่อง ได้ไหม้เสียแล้วในภายในด้วยกัน. พระนางสลากเทวีทรงทราบประพฤติเหตุนั้น จึงแจ้งแก่พราหมณ์ว่า ข้าแต่เทพเจ้า ความปรารถนาของพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ได้ยินว่า พ่อครัว จุลนีราชกุมารและบุตรพ่อครัวทั้ง ๓ คนไฟไหม้แล้วในห้องเครื่องนั่นเอง. พราหมณ์ยินดีร่าเริง. ฝ่ายพระนางสลากเทวีให้นากระดูกแพะมาแสดงแก่พราหมณ์ว่า อัฐิแห่งจุลนีกุมาร แล้วให้ทิ้งเสีย. นางเภรีปริพาชิกาหมายเอาเนื้อความนี้ กล่าวในคาถาว่า พระราชมารดาทรงทารูปเปรียบอื่น ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์ ก็พระราชมารดานั้นทรงแสดงกระดูกแพะว่ากระดูกมนุษย์ ปลดเปลื้องพระองค์จากการปลงพระชนม์. พระเจ้าจุลนีพรหมทัตได้ทรงสดับคานางเภรีปริพาชิกาดังนั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่ผู้เป็ นเจ้า คุณของพระชนนีของข้าพเจ้ามีมาก และข้าพเจ้าก็รู้ความที่พระชนนีมีอุปการะแก่ข้าพเจ้า แต่คุณของข้าพเจ้านี่แหละมีมากกว่านั้น. เมื่อจะทรงพรรณนาโทษของพระมารดา จึงตรัสคาถา ๒ คาถาว่า พระมารดาทรงชราแล้วก็ทาเป็ นสาว ทรงเครื่องประดับซึ่งไม่ควรประดับ ตรัสซิกซี้สรวลเสเฮฮา กะพวกรักษาประตูและพวกฝึกหัดม้าจนเกินเวลา ยิ่งกว่านั้น
  • 12. 12 พระมารดายังสั่งทูตถึงพวกเจ้าผู้ครองนครเสียเอง ข้าพเจ้าจึงให้พระชนนี แก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น. นางเภรีได้ฟังพระราชดารัสแล้วจึงทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จะประทานพระราชมารดาด้วยโทษนี้ก็สมควร. แต่พระมเหสีของพระองค์เป็นผู้มีพระคุณ เมื่อจะพรรณนาคุณของพระนางนันทาเทวีมเหสีนั้น ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า พระนางนันทาเทวีเป็นพระมเหสี ผู้ประเสริฐกว่าหมู่บริจาริกานารี มีพระเสาวนีย์เป็ นที่รักเหลือเกิน เป็ นผู้ประพฤติตามที่ชอบ เป็นผู้มีศีล เป็นผู้ตามเสด็จ ประดุจพระฉายา ไม่ทรงพิโรธง่ายๆ เป็ นผู้มีบุญ เป็นบัณฑิต เห็นประโยชน์ พระองค์จักประทานพระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร. พระเจ้าจุลนี เมื่อจะทรงแสดงโทษของพระนางนันทาเทวีผู้มเหสีนั้น ได้ตรัสคาถานี้ว่า พระนางนันทาเทวีนั้นรู้ว่า ข้าพเจ้าถึงพร้อมด้วยความยินดีในการเล่น ตกอยู่ในอานาจแห่งกิเลสผู้ทาความพินาศ ก็ขอทรัพย์ คือเครื่องประดับที่ข้าพเจ้าให้แก่บุตรธิดาและชายาอื่นๆ ซึ่งไม่ควรขอกะข้าพเจ้า. ข้าพเจ้านั้นมีความกาหนัดนักแล้ว ก็ให้ทรัพย์ คือเครื่องประดับทั้งประณีตทั้งทราม เป็นอันมาก. ครั้นสละสิ่งที่ไม่ควรสละแล้ว ภายหลังก็เศร้าโศกเสียใจ. ข้าพเจ้าให้พระราชเทวีแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น. ลาดับนั้น ปริพาชิกาเภรีเมื่อจะทูลถามพระเจ้าจุลนีว่า พระองค์จะประทานพระมเหสีด้วยโทษนี้ก็สมควร แต่ติขิณกุมารพระกนิษฐภาดามีอุปการะแด่พระองค์ พระองค์จักประทานเขาด้วยโทษอะไร ดังนี้ จึงกล่าวคาถาว่า พระกนิษฐภาดาผู้มีพระนามว่าติขิณราชกุมาร ยังชนบทให้เจริญ เชิญเสด็จพระองค์ผู้ประทับอยู่ ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ ทรงอนุเคราะห์พระองค์ครอบงาพระราชาทั้งหลายเสีย นาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย ทรงกล้าหาญกว่าผู้มีความคิดหลักแหลมทั้งหลาย พระองค์จักประทานพระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร. ได้ยินว่า ติขิณราชกุมารนั้นประสูติ ในกาลเมื่อพระราชมารดาอยู่ร่วมกับพราหมณ์. เมื่อพระราชกุมารทรงเจริญแล้ว พราหมณ์ได้ให้พระแสงขรรค์สั่งว่า เจ้าจงถือพระแสงขรรค์นี้เข้าหาข้าได้ พระราชกุมารนั้นก็บารุงพราหมณ์ ด้วยสาคัญว่าเป็นพระชนกของตน. ลาดับนั้น อมาตย์คนหนึ่งได้ทูลพระราชกุมารว่า ข้าแต่พระราชกุมาร
  • 13. 13 พระองค์มิใช่เป็นพระโอรสแห่งพราหมณ์นี้ ในเวลาเมื่อพระองค์ยังอยู่ในพระครรภ์ พระนางสลากเทวีผู้เป็ นพระราชมารดา ให้ปลงพระชนม์พระราชบิดาเสีย แล้วมอบราชสมบัติแก่พราหมณ์นี้. พระองค์เป็นพระราชโอรสแห่งพระเจ้ามหาจุลนี. พระราชกุมารได้สดับประพฤติเหตุนั้น ก็กริ้วดาริว่า ช่างเถิด เราจักฆ่าพราหมณ์นั้นเสียด้วยอุบายอย่างหนึ่ง. แล้วเข้าไปสู่ราชสานัก ประทานพระแสงขรรค์แก่มหาดเล็กใกล้ชิดคนหนึ่ง แล้วตรัสกะมหาดเล็กอีกคนหนึ่งว่า เจ้าจงยืนอยู่แทบประตูพระราชนิเวศน์. กล่าวกะมหาดเล็กที่ถือพระขรรค์นั้นว่า นั่นพระขรรค์ของเรา แล้วพึงก่อวิวาทกับมหาดเล็กคนนั้น. ตรัสสั่งฉะนี้ แล้วเสด็จเข้าข้างใน. มหาดเล็กทั้งสองนั้นได้ทะเลาะกัน พระราชกุมารส่งบุรุษคนหนึ่งไปเพื่อให้รู้ว่า นั่นทะเลาะอะไรกัน. บุรุษนั้นมาทูลว่า ทะเลาะกันด้วยต้องการพระขรรค์. ลาดับนั้น พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงถามพระราชกุมารว่า เรื่องเป็ นอย่างไร. พระราชกุมารกล่าวว่า ได้ยินว่า พระขรรค์ที่พระองค์ประทานแก่หม่อมฉัน เป็ นของคนอื่น. พราหมณ์กล่าวว่า พูดอะไรพ่อ ถ้าอย่างนั้น จงให้เขานามา ฉันจาพระขรรค์นั้นได้. พระราชกุมารให้นาพระขรรค์นั้นมา แล้วชักออกจากฝัก ทาเป็นให้จาได้ ด้วยคาว่า เชิญทอดพระเนตรเถิด เข้าไปใกล้พราหมณ์นั้น แล้วตัดศีรษะพราหมณ์นั้น ให้ตกลงแทบพระบาทของตนด้วยการฟันฉับเดียวเท่านั้น. ต่อแต่นั้น เมื่อนาศพพราหมณ์ออกจากพระราชนิเวศน์ แล้วได้จัดแต่งพระราชนิเวศน์ตกแต่งพระนครอภิเษกพระราชกุมารนั้น. พระชนนีแจ้งว่า จุลนีราชกุมารอยู่ในมัททรัฐ พระราชกุมารทรงสดับดังนั้น แวดล้อมด้วยเสนางคนิกรเสด็จมัททรัฐ นาพระเชษฐาธิราชมาให้ครองราชสมบัติ. จาเดิมแต่นั้นมา ชนทั้งหลายก็รู้จักพระองค์ว่า ติขิณมนตรี. ปริพาชิกาทูลถามว่า พระองค์จะประทานพระกนิษฐภาดาเห็นปานนี้ นั้นแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษอะไร. พระราชา เมื่อจะตรัสโทษของติขิณกุมารนั้น ตรัสว่า ติขิณราชกุมารยังชนบทให้เจริญ เชิญเราผู้อยู่ ณ สากลนครให้กลับมาสู่ราชธานีนี้ อนุเคราะห์เรา ครอบงาพระราชาทั้งหลายเสีย. นาทรัพย์เป็นอันมากมาแต่ราชสมบัติอื่น เป็นผู้ประเสริฐกว่านายขมังธนูทั้งหลาย กล้าหาญ มีความคิดหลักแหลม. แต่เธอคุยเสมอว่า พระราชาองค์นี้มีความสุขเพราะข้าพเจ้า เธอสาคัญว่าฉันเป็ นเด็กไป ในคราวที่มาเฝ้ าเล่า นะพระแม่เจ้า
  • 14. 14 เธอไม่มาเหมือนแต่ก่อน ข้าพเจ้าจึงให้พระกนิษฐภาดาแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น. ปริพาชิกาทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษของพระกนิษฐภาดาจงยกไว้ก่อน. แต่ธนุเสขกุมารประกอบด้วยคุณ มีความเสน่หาในพระองค์ เป็นผู้มีอุปการะมาก. เมื่อจะกล่าวคุณของธนุเสขกุมาร จึงทูลว่า พระองค์และธนุเสขเกิดในราตรีเดียวกัน ทั้งสองเป็ นชาวปัญจาละ เกิดในพระนครนี้ เป็ นสหายมีวัยเสมอกัน มีจริยางามติดตามพระองค์ไป ร่วมสุขร่วมทุกข์กับพระองค์ ขยันขันแข็งในกิจทั้งปวงของพระองค์ทั้งกลางวันและกลางคืน จงรักภักดี. พระองค์จะให้พระสหายแก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษอะไร. ลาดับนั้น พระเจ้าจุลนี เมื่อจะกล่าวโทษของธนุเสขกุมารนั้น ตรัสว่า ข้าแต่แม่เจ้า ธนูเสขนี้ประพฤติกระซิกกระซี้ ตีเสมอข้าพเจ้า แม้วันนี้ก็หัวเราะดังเกินขอบเขตแบบนั้น. ข้าแต่แม่เจ้า ข้าพเจ้าอยู่ในที่รโหฐาน ปรึกษากับพระเทวีของข้าพเจ้าอยู่ ไม่ได้เรียกหาก็เข้าไปและไม่แจ้งให้ทราบก่อน. เขาได้พรจากข้าพเจ้าให้เข้าพบได้ทุกที่ทุกเวลา แต่สหายไม่มีความยาเกรง ไม่มีความเอื้อเฟื้อเลย. ข้าพเจ้าให้แก่ผีเสื้อน้าด้วยโทษนั้น. ลาดับนั้น ปริพาชิกาทูลพระเจ้าจุลนีว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า โทษของพระสหายธนุเสขนี้ยกไว้ก่อน. แต่ปุโรหิตเกวัฏเป็นผู้มีอุปการะแก่พระองค์มาก เมื่อจะกล่าวคุณของปุโรหิตนั้น ทูลว่า ท่านเกวัฏปุโรหิตาจารย์เป็ นผู้ฉลาดในนิมิตทั้งปวง รู้เสียงร้องของสัตว์ทั้งหลาย เชี่ยวชาญในคัมภีร์พระเวท รอบรู้ในเรื่องอุบาท เรื่องสุบิน มีความชานาญในการหาฤกษ์ยกทัพ และการเข้ารบ เป็นผู้บอกฤกษ์ล่างฤกษ์บน ฉลาดในทางแห่งดาวฤกษ์. พระองค์ให้พราหมณ์ปุโรหิตแก่ผีเสื้อน้า ด้วยโทษอะไร. พระราชาเมื่อจะตรัสโทษของเกวัฏปุโรหิตนั้น ตรัสว่า ข้าแต่แม่เจ้า เกวัฏปุโรหิต แม้ในที่ประชุมก็เลิกคิ้วแลดูข้าพเจ้า เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นายพรานผู้เลิกคิ้วแก่ผีเสื้อน้าเสีย. เนื้อความของคาถานั้นว่า ข้าแต่แม่เจ้า ปุโรหิตเกวัฏนี้ เมื่อแลดูข้าพเจ้าในท่ามกลางบริษัท ก็ลืมตาแลดูเหมือนคนโกรธ. เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงให้นายพราน คือนักล่าสัตว์ผู้ทาเป็นเลิกคิ้ว เพราะโทษที่เลิกคิ้วนั้นแก่ผีเสื้อน้า.
  • 15. 15 ต่อนั้น ปริพาชิกาเมื่อจะทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์ตรัสว่าจักให้ชน ๕ คนเหล่านี้ มีพระราชมารดาเป็ นต้นแก่ผีเสื้อน้า และตรัสว่า จักประทานชีวิตของพระองค์แก่มโหสถบัณฑิต โดยไม่คานึงถึงสิริราชสมบัติ เห็นปานนี้. พระองค์ทรงเห็นคุณของมโหสถบัณฑิตนั้นอย่างไร ดังนี้. พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินอันกว้างใหญ่ไพศาลมีสมุทรเป็นขอบเขตทุก ด้าน พสุธาที่เป็ นพระราชอาณาเขต เป็ นประหนึ่งกุณฑลที่อยู่ในสาคร ทรงมีอมาตย์แวดล้อมเป็นที่เฉลิมพระราชอิสริยยศ ทรงมีบ้านเมืองแว่นแคว้นใหญ่จดสี่คาบสมุทร ทรงพิชิตชมพูทวีปได้แล้ว ทั้งรี้พลของพระองค์เล่า ก็มากถึง ๑๘ กองทัพ. พระองค์ทรงเป็ นพระราชาเอกแห่งปฐพี พระราชอิสริยยศของพระองค์ถึงความไพบูลย์ เหล่านารีของพระองค์ก็มีถึง ๑๖,๐๐๐ นาง ล้วนสาอางแต่งองค์ทรงเครื่องเรืองระยับ มาจากชนบทต่างๆ ทั่วชมพูทวีป ทรงสิริโสภาคย์เปรียบด้วยเทพกัญญา. พระชนมชีพของพระองค์ เพรียบพร้อมด้วยองค์ประกอบแห่งความสุขอย่างครบครัน. ทุกสิ่งทุกอย่างในแผ่นดิน แม้พระองค์มีพระราชประสงค์ ก็จะสาเร็จสมพระหฤทัยปรารถนาทุกประการ. น่าที่พระองค์จะตรัสว่า ต้องการจะมีพระชนม์อยู่ยาวนาน ตามคติชีวิตที่นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า คนที่มีความสุขทั่วๆ ไป ล้วนต้องการจะมีชีวิตอยู่นานๆ ชีวิตเป็นที่รักยิ่งนักของคนที่มีความสุข. เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์ทรงป้ องกันมโหสถบัณฑิตไว้ ทรงสละพระชนม์ของพระองค์ซึ่งเป็ นสิ่งสละได้ยาก ด้วยเหตุอันใด. ข้าแต่แม่เจ้า มโหสถบัณฑิต แม้จะมาจากบ้านเมืองอื่น ก็มาด้วยมุ่งประโยชน์แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ายังไม่ทราบถึงความชั่ว แม้สักน้อยของมโหสถผู้เป็นปราชญ์เลย. ถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะต้องตายไปก่อน ในกาลไหนๆ ก็ตามเถิด มโหสถก็พึงยังลูกและหลานของข้าพเจ้าให้มีความสุข. มโหสถย่อมเห็นแจ่มแจ้ง ซึ่งความเจริญทุกอย่างทั้งอนาคตและปัจจุบัน. ข้าพเจ้าไม่ยอมให้มโหสถบัณฑิตผู้ไม่มีความผิดเลย แก่ผีเสื้อน้า. พระเจ้าจุลนีทรงยกเกียรติคุณของพระมหาสัตว์ขึ้นประกาศ ประหนึ่งทรงยกดวงจันทร์ขึ้นฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้. ชาดกนี้มีเนื้อความติดต่อกัน ด้วยประการฉะนี้.
  • 16. 16 ลาดับนั้น นางเภรีปริพาชิกาคิดว่า เกียรติคุณของมโหสถบัณฑิตปรากฏเพียงเท่านี้ ยังไม่เพียงพอ เราจักกระทาเกียรติคุณของมโหสถบัณฑิต ให้ปรากฏในท่ามกลางชาวเมืองทั้งสิ้นทีเดียว ให้เป็ นประหนึ่งว่า รดน้ามันลงบนผิวแม่น้าแผ่ขยายไป ฉะนั้น. คิดฉะนี้แล้วจึงเชิญพระเจ้าจุลนีลงจากปราสาท ให้ปูลาดอาสนะที่พระลานหลวงนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ประกาศให้ชาวเมืองมาประชุมกัน แล้วทูลถามพระเจ้าจุลนีถึงปัญหาผีเสื้อน้า ตั้งแต่ต้นอีกในเวลาที่พระเจ้าจุลนีตรัส โดยนัยที่ตรัสแล้วในหนหลัง. นางเภรีปริพาชิกาได้กล่าวประกาศแก่ชาวเมืองว่า ชาวปัญจาละทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟังพระดารัสของพระเจ้าจุลนีนี้ พระองค์ทรงปกป้ องมโหสถบัณฑิต สละพระชนม์ซึ่งสละได้ยาก. พระเจ้าปัญจาละทรงสละชีวิตของพระชนนี พระมเหสี พระกนิษฐภาดา พระสหาย และพราหมณ์เกวัฏ และแม้ของพระองค์เองเป็น ๖ คนด้วยกัน. ปัญญามีประโยชน์ใหญ่หลวง เป็ นสิ่งละเอียด เป็นเหตุให้คนเรามีความคิดในทางที่ดี ย่อมมีเพื่อประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันและเพื่อความสุขในภายหน้า ด้วยประการฉะนี้. นางเภรีปริพาชิกาถือเอายอดธรรมเทศนา ด้วยคุณทั้งหลายของพระมหาสัตว์ ดุจถือเอายอดเรือนแก้วด้วยดวงแก้วมณี ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้แล. จบ ปัญหาผีเสื้อน้า จบ อรรถกถามหาอุมมังคชาดกโดยประการทั้งปวง พระศาสดา ครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแสดงด้วยประการฉะนี้แล้ว เมื่อทรงประกาศอริ ยสัจ ๔ ประชุมชาดก ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น ที่ตถาคตมีปัญญาย่ายีวาทะของผู้อื่น แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ตถาคตยังบาเพ็ญจริยาเพื่อประโยชน์โพธิญาณอยู่ ก็มีปัญญาเหมือนกัน ตรัสฉะนี้ แล้วได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า พระนางสลากเทวี คือ ถุลลนันทิกาภิกษุณี พราหมณ์อนุเกวัฏ คือ โมคคัลลานภิกษุ นางเภรีปริพาชิกา คือ อุบลวรรณาภิกษุณี
  • 17. 17 ติขิณกุมาร คือ ฉันนภิกษุ ธนุเสข คือ ราหุลภิกษุ พระเจ้าจุลนี คือ สารีบุตรภิกษุ มโหสถบัณฑิต คือ เราผู้โลกนาถ เธอทั้งหลายจงทรงจาชาดกไว้ อย่างนี้แล. ----------------------------------------