SlideShare a Scribd company logo
1 of 42
แมลงวันบ้าน และผองเพื่อนแมลงวันหัวเขียวและผลไม้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร Animalia  ไฟลัม Arthropoda  ชั้น Insecta  ชั้นย่อย Pterygota  ชั้นฐาน Neoptera  อันดับใหญ่ Endopterygota  อันดับ Diptera Linnaeus, 1758  Suborders Nematocera (includes Eudiptera)  Brachycera
แมลงวัน ข้อมูลทั่วไป แมลงวัน  ( Fly )  เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วมมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ  3   กิโลเมตร แมลงวันออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ  8-10   วัน
โทษ แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์ ประโยชน์ แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้
แมลงวันคืออะไร แมลงวันเป็นแมลงที่ลำตัวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีปีก  2   ปีก โดยทั่วไปคนจะรู้จักแมลงวันที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของคน คือ แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว แต่ความจริงยังมีแมลงวันอีกมากมายหลายชนิดเช่น แมลงวันหลังลาย ริ้นดำ ริ้นน้ำเค็ม ริ้นฝอยทราย เหลือบม้า และเหลือบกวาง
แมลงวัน ถูกจัดอยู่ในอันดับ  ORDER DIPTERA  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่อันดับ  4   ของแมลงเป็นแมลงขนาดเล็ก มีปีก  1   คู่ มีลำตัวอ่อนนุ่ม และเป็นแมลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เราสามารถพบแมลงวันได้ทุกแห่งในโลก หลายชนิดพบว่าสามารถดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และหลายชนิดสามารถกัดกินหรือทำลายพืชที่ปลูกทำให้ผลผลิตเสียหาย หลายชนิดสวยงาม บางชนิดมีลวดลายแปลกตา บางชนิดเป็นตัวห้ำ หรือผสมเกสร ดังนั้น แมลงวันจึงมีความสำคัญทางเกษตรและทางการแพทย์  แมลงวัน มีหลายชนิด เช่น แมลงวันบ้าน แมลงวันหลังลาย แมลงวันหัวเขียว แมลงวันทอง แมลงวันสี แมลงวันกระโดด แมลงวันผึ้ง แมลงวันฉก แมลงวันลาย แมลงวันดอกไม้ แมลงวันหัวหนา แมลงวันก้นขน แมลงวันเขาวัว แมลงวันปากดำ แมลงวันตอมตา ฯลฯ  แมลงวันบ้าน ลักษณะสำคัญ   :  ตัวเต็มวัยสีเทา มีแถบสีดำ  4   เส้น พาดอยู่ส่วนอกด้านบน หรือ กลางลำตัว ลำตัวยาวตัวประมาณ  1/8-1/4   นิ้ว ตัวหนอนสีขาวครีม หัวแหลมท้ายป้าน ไม่มีขา ไข่มีขนาดเรียวยาว  1   มม .  สีขาว อาหาร   :  กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งของเสีย ตัวเมียวางไข่ ได้ครั้งละ  100-150   ฟอง และสามารถวางไข่ได้สูงถึง  600   ฟองโดยชอบวางไข่ตามกองขยะที่มีความชื้นสูง หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ  6   ชั่วโมง ตัวหนอนลอกคราบประมาณ  3   ครั้ง จากนั้นจะเข้าดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย ในระยะเวลา  1-2   สัปดาห์ แมลงวันหัวเขียว เป็นแมลงวันที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัว  8-12   มิลลิเมตร ลำตัวสีน้าเงินแกมเขียว เป็นมัน แมลงวันชนิดนี้ชอบอยู่นอกบ้าน บางครั้งอาจตอมอาหารหรือแหล่งที่มีเชื้อโรค ตัวเต็มวัยจะหากินตามแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เล้าเป็ด ไก่ กองขยะ ตลาด ซากเน่าเปื่อย มูลสัตว์ ก่อให้เกิดความรำคาญกับสัตว์และอาจนำโรคมาสู่สัตว์ อาหาร   :  กินอาหารได้หลายชนิด ของเหลวจากสารอินทรีย์วัตถุ น้ำหวานจากพืช แมลงวันหัวเขียว  ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโต  ตั้งแต่ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย เป็นเวลา อย่างน้อย  10   วัน ตัวเมียวางไข่และ ตัวหนอนอาศัยเจริญเติบโตตามมูลสัตว์
แมลงวันผลไม้  ( Oriental fruit fly ) ชื่อวิทยาศาสตร์  Bactrocera dorsalis Hendel รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ เป็นแมลงขนาดเล็ก ส่วนหัว อก และท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ที่สันหลังอกมีแถบสีเหลืองทองเป็นแห่ง ๆ ส่วนอกกว้าง  2   มม .  ส่วนท้องกว้าง  3   มม .  ปีกใสจากปลายปีก ข้างหนึ่งไปยังปลายปีกอีกข้างหนึ่ง กว้าง  15   มม .  หลังการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่โดย ใช้อวัยวะวางไข่แทงลงใต้ผิวผลไม้ ไข่มีลักษณะยาวรี ระยะไข่  2  -  4   วัน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวหนอนมีสีขาวใสเมื่อโตเต็มที่มีขนาด  8  -  10   มม .  ระยะหนอน  7  -  8   วัน เมื่อเข้าดักแด้เริ่มแรกมีสีนวลหรือเหลืองอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะดักแด้  7  -  9   วัน แล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยอายุประมาณ  12  -  14   วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ และวางไข่  ( รุจินี , 2523 )  ตัวเมียมีการผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายครั้ง ตัวเมียตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้ประมาณ  1,300   ฟอง วงจรชีวิตใช้เวลา ประมาณ  3  -  4   สัปดาห์
การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ ตามข้อมูล แมลงวันมีการเจริญเติบโตเหมือนยุงคือ ระยะ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวแก่ สามารถวางไข่ได้ครั้งละ  100-150   ฟอง  ปากมี   2   แบบ คือ  แบบที่ใช้ดูด  ได้แก่ แมลงวันคอก และ แบบที่ใช้ขูด ได้แก่แมลงวันบ้าน   แต่ แมลงวันที่เป็นปัญหาต่อการสาธารณสุขคือแมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว   แมลงวันบ้านเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกยกเว้นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาด บิด นำเชื้อโรคมาสู่คนได้โดย การสำรอกน้ำย่อยและน้ำลายออกมาปนเปื้อนอาหารของมนุษย์ ส่วนแมลงวันหัวเขียวจะวางไข่บนสิ่งสกปรกเน่าเหม็น เช่น ซากสัตว์ สามารถวางไข่ได้ประมาณ  1,000-3,000   ฟอง โดยวางไข่ครั้งละ  50-150   ฟอง มีการแพร่พันธุ์ได้  9-10   ครั้ง  ตัวแก่มีอายุประมาณ  1   เดือน
แมลงวัน พาหะนำโรคตัวฉกาจ  แขกผู้ไม่มีใครอยากเชื้อเชิญ ซึ่งมักมาเยือนในทุกที่ที่มีอาหาร เลือด และกลิ่นคาวปลา ตามร้านอาหารและตลาดสดจึงเป็นแหล่งที่แมลงวันมารวมตัวกัน รุมตอมและกินเศษเลือดอย่างชุกชุม แม้แต่ในบ้านเรือน ก็มีแมลงวันให้เห็นอยู่เป็นประจำ หลากหลายวิธีที่เรางัดออกมาใช้ จัดการกับแมลงวัน ไม่ว่าจะเป็นการโบกมือไล่ การฉีดยาฆ่าแมลง การใช้ที่ตีแมลงวันตี การใช้ถุงพลาสติกดักจับ และการใช้กาวลักษณะคล้ายก้านธูปดัก ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง  แต่ในระยะหลังๆ นี้ถ้าใครสังเกตจะเห็นว่า ตามแผงขายของสดเนื้อสัตว์ในตลาดและตามร้านอาหาร จะมีถุงพลาสติกใสบรรจุน้ำจนเต็ม มัดให้ตึง ผูกเชือกแขวนไว้สูงเหนืออาหารหรือวางไว้บนโต๊ะอาหาร สอบถามพ่อค้าแม่ค้าก็ได้ความว่าเขาห้อยถุงพลาสติกเหล่านี้ไว้ เพื่อไล่แมลงวันพร้อมทั้งยืนยันว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดี ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมถุงพลาสติกธรรมดาๆ จึงช่วยขับไล่แมลงวันได้  ร . ศ . ดร . เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์ อาจารย์และนักวิจัย ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ ผู้ริเริ่มถุงน้ำไล่แมลงวันที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้   โดยเริ่มจากงานทดลองที่ทำให้อาจารย์เห็นว่า แมลงวันเป็นพาหะและสื่อนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์และสัตว์ พร้อมทั้งก่อความรำคาญ ทำให้สูญเสียสุขภาพอนามัยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านปศุสัตว์ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป ต้องสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ สาเหตุจากการที่สัตว์เศรษฐกิจถูกแมลงวันดูดกินเลือด และทำให้เกิดโรคล้มตายมากมาย โรคร้ายแรงต่างๆ ที่แมลงวันนำมาสู่คนและสัตว์นั้น ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โปลิโอ คุดทะราด แอนแทรกซ์ การติดเชื้อโปรโตซัวชนิดต่างๆ โรคพยาธิแส้ม้า โรคเซอร์ร่า โรคลาวเอียซีส ฯลฯ รวมทั้งการติดเชื้อโดยทางบาดแผล เป็นต้น อาจารย์จึงได้ทำการศึกษาแมลงวันในเชิงการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ในแหล่งที่มีแมลงวันเพาะขยายพันธุ์ ทั้งด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาของแมลงวัน มาเป็นเวลานานกว่า  10   ปี เพื่อค้นหาวิธีควบคุมและปราบแมลงวันที่ให้ผลดีที่สุด แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และไม่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติ
หลักการใช้ถุงน้ำพลาสติกใสใส่น้ำมัดให้ตึง  ผูกห้อยแขวนไว้ไล่แมลงวันนี้ ใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และการใช้ประสาทรับภาพในการมองเห็นของตาแมลงวันมาผสมผสานกัน  ตาของแมลงวันมีอยู่  2   ชนิด คือ ตารวม  2   ตา และตาเดี่ยวอีก  3   ตา   ตาเดี่ยวจะอยู่เหนือตารวมตรงหัวส่วนบนระหว่างตารวม  2   ตา เรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัวลง ตาเดี่ยวสามตานี้ จะช่วยให้แมลงวันสามารถมองเห็นในระยะที่ไกล  ส่วนตารวม  2   ตาที่นูนออก  2   ข้าง   ใหญ่กว่าหัวและลำตัวของแมลงวัน เป็นตารวมพิเศษ ซึ่งแต่ละข้างของตารวมประกอบด้วยตาเล็กๆ รูปหกเหลี่ยมหลายหมื่นแสนตาเรียงต่อเนื่องกันเต็มลูกตาทั้ง  2   ข้าง และตาเล็กๆ รูปหกเหลี่ยมของตารวมนี้ สามารถที่จะรับแสงสว่างได้ทุกมุมมอง ผ่านเสนส์และผลึกรูปกรวยรองรับแสง ซึ่งสามารถที่จะยืดและหดได้เพื่อปรับจอรับภาพที่มองเห็นทั้งในที่มืดและสว่าง ตารวมทำให้แมลงวันสามารถมองเห็นภาพได้กว้างกว่า  180   องศา   จากจุดนี้เอง หากเรานำถุงพลาสติกใสใส่น้ำเปล่า ไปไว้ในบริเวณแสงแดด หรือแสงไฟที่มีลำแสงกระทบ ถุงพลาสติกที่บรรจุน้ำก็จะเสมือนหนึ่งงลำแสงหักมุมสะท้อนออกเข้าตาแมลงวัน  เลนส์รับภาพของตาแมลงวันเมื่อได้รับแสงก็จะสะท้อนแสง กลับมาที่ถุงน้ำพลาสติกนั้นเกิดเป็นแสงมุมตก มุมสะท้อนกับเลนส์รับภาพของตาแมลงวันสะท้อนกลับไปกลับมา ทำให้การปรับจุดรวมแสงที่จะส่งให้เกิดภาพบนจอรับภาพ  ( retina )  ไม่ชัดเจน จะทำให้เกิดตาพร่ามัวแมลงวันจึงบินเข้าหาอาหารไม่ถูก ในระยะห่างประมาณ  100   เซนติเมตรขึ้นไป แม้ว่ามันจะได้กลิ่นอาหารก็ตาม   ถุงน้ำไล่แมลงวันนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าใช้ถุงร้อนซึ่งเป็นพลาสติกใส น้ำที่บรรจุในถุงควรเป็นน้ำที่ใสสะอาดหรือน้ำฝน น้ำยิ่งใสจะยิ่งสะท้อนแสงได้ดี และต้องมัดถุงน้ำให้ตึงแน่น และแขวนถุงนั้นให้รับมุมแสงรอบทิศทางกับดวงไฟหรือดวงอาทิตย์ ถ้ามีการแก่วงถุงพลาสติกหมุนเป็นลำแสงเบนไปมา แถบแสงที่เบนไปมาจะกระทบเลนส์ถูกลูกตาของแมลงวันมากยิ่งขึ้น ทำให้ตาพร่ามัว เข้าตอมอาหารไม่ถูกจึงบินหนีไปให้พ้นรัศมีลำแสงสะท้อน  ถุงน้ำไล่แมลงวันนี้ยังใช้ได้ผลดีในการไล่แมลงชนิดอื่นๆ ที่มีตารวม เช่น ผึ้ง และแมลงวันทองที่กัดกินผลไม้ซึ่งทำให้ผลไม้เน่าเสียหาย ฯลฯ อีกด้วย   ปัจจุบันถุงน้ำไล่แมลงวันเป็นวิธีที่นิยมใช้ทั่วไป ตามตลาดสดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งยังแพร่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เพราะเป็นวิธีที่ใช้ง่าย สะดวกปลอดภัย และขณะนี้อาจารย์เนาวรัตน์ กำลังทดสอบหาอุปกรณ์ภาชนะที่จะนำมาใช้บรรจุน้ำแทนถุงพลาสติก เพื่อให้มั่นคงถาวรและสวยงาม สามารถไล่แมลงวันภายในบ้าน และเป็นเครื่องประดับบ้านในเวลาเดียวกันได้
การป้องกันกำจัด 1 .  การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก แมลงวันผลไม้สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วในขณะที่มีพืชอาศัยอยู่มาก โดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสีย อันเนื่องมาจากถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย สามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็วของแมลงได้ 2 .  การห่อผลไม้ เป็นการป้องกันการเข้าไปวางไข่ในผลไม้ที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่งอีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยจากการใช้สารฆ่าแมลง การห่อผลไม้นี้ควรจะห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรูหรือรอยฉีกขาดเกิดขึ้น มิฉะนั้นแมลงจะเข้าไปวางไข่ได้ 3 .  การควบคุมโดยชีววิธี ในธรรมชาติแล้ว แมลงวันผลไม้มีแปลงศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว มีอัตราการทำลายตั้งแต่  15  -  53   เปอร์เซนต์ เนื่องจากแมลงวันผลไม้มีความเสียหายโดยตรงกับผลิตผลการใช้วิธีนี้จึงน่าจะใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ในการลดจำนวนประชากรในแปลง 4 .  การฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลงนั้นเป็นการลดปริมาณประชากรของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันแมลงก็มีการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเข้าทำลายอีก และต้องพ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าทำลายซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสารพิษตกค้างและการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ
แมลงวันผลไม้  ( Oriental fruit fly ) ลักษณะการทำลาย  ความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อ เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่  ( ovipositor )  แทงเข้าไปในผลไม้ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะอาศัยและชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้ที่ใกล้สุกและมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลไม้ที่ถูกทำลายนี้มัก จะมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับผลผลิตโดยตรงนี้จึงมีมูลค่ามหาศาล ก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจในระดับชาติเป็นอันมาก การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด แมลงวันผลไม้ระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก ไต้หวัน ญี่ปุ่น ปาปัวนิวกินี ฮาวาย ฯลฯ ในประเทศไทยพบการระบาดทั่วทุกภาค ทั้งในเขตป่าและในบ้าน และสามารถอยู่ได้แม้มีระดับความสูงถึง  2,760   เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังพบตลอดทั้งปี เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย แต่จะมีปริมาณแมลงวันผลไม้สูงสุดในช่วงเดือนที่มีผลไม้สุกคือ ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง  25  -  28   องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ  70  -  80   เปอร์เซ็นต์ ศัตรูธรรมชาติ มีแตนเบียนหนอนแมลงวันผลไม้วางไข่ตามรอยแผลบนผลไม้ตรงที่แมลงวันวางไข่ไว้ที่พบในประเทศไทย  ( โกศล , 2533 )  ได้แก่  Biosteres arisanus  ( Sonan ) , Biosteres longicaudatus Ashmead, Opius makii Sonan,  ตัวห้ำแมลงวันผลไม้ ได้แก่ มดคัน  ( Pheidologeton diversus ) 5 .  การใช้สารล่อ ก .  การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารเคมีที่ใช้เป็นสารล่อนี้จะสามารถดึงดูดได้เฉพาะแมลงวันผลไม้ตัวผู้เท่านั้น และการใช้สารล่อนั้นจะต้องคำนึงถึงแมลงที่ต้องการให้เข้ามาในกับดักด้วย เพราะว่าแมลงวันผลไม้จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสารล่อแต่ละชนิด เช่น เมทธิล ยูจินอล  ( Methyl Eugenol )  ใช้ล่อ  Dacus dorsalis, D . umbrosus  คิว - ลัวร์  ( Cue  -  Lure )  ใช้ล่อ  D . cucurbitae, D . tau  ลาติ  -  ลัวร์  ( Lati  -  Lure )  ใช้ล่อ  D .  latifromn เมด  -  ลัวร์  ( Med  -  Lure )  ใช้ล่อ  Ceratitis capitata ข .  การใช้เหยื่อโปรตีน โดยการนำเอาโปรตีน ไฮโดรไลเสท  ( Protein Hydrolysate )  ผสมกับสารฆ่าแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้ โดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเสท  200   ซีซี ผสมสารฆ่าแมลง  malathion 83   เปอร์เซ็นต์ จำนวน  70   ซีซี ผสมน้ำ  5   ลิตร พ่นเป็นจุด ๆ เท่านั้น วิธีการนี้ให้ผลที่ดีมาก นอกจากจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงและแรงงานแล้ว ยังเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม แมลงผสมเกสร รวมทั้งตัวห้ำ ตัวเบียนน้อยลง ที่สำคัญคือสารนี้สามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้ตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ได้อย่างดี
6 .  การทำหมันแมลง จุดมุ่งหมายของวิธีการนี้คือ การกำจัดแมลงให้หมดไปจากพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องมีการเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก แล้วทำหมันแมลงเหล่านี้โดยการฉายรังสีแกมมา จากนั้นจึงนำแมลงที่เป็นหมันนี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณแมลงในธรรมชาติจนหมดไป แต่การกระทำด้วยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมากและก็ยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ อีกที่จะต้องคำนึงถึง เช่นการป้องกันการแพร่ระบาดเข้ามาใหม่ของแมลงและการที่แมลงศัตรูชนิดอื่น จะเพิ่มความสำคัญขึ้นมา 7 .  การกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ในผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว ส่วนมากระยะของผลไม้ที่เราเก็บเกี่ยวนั้นอยู่ในระยะแก่จัด ซึ่งอาจมีแมลงวันผลไม้วางไข่อยู่ หรือมีหนอนในวัยต้น ๆ ที่ยังไม่เห็นการทำลายอย่างเด่นชัดแฝงตัวอยู่ ฉะนั้นเพื่อเป็นการกำจัดไข่หรือหนอนที่ติดมาในผลไม้ จึงมีวิธีการกำจัดดังนี้ 7.1   การรมยา โดยการใช้สารรม  ( Fumigant )  บางตัวเข้ามารมแมลง เช่น เมทธิลโบรไมด์  ( Methyl Bromide )  เป็นต้น 7.2   การใช้รังสี โดยการให้ผลไม้นั้นได้รับการฉายรังสีแกมมา 7.3   การใช้วิธีการอบไอน้ำร้อน เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เป็นการค้าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ฮาวาย ไต้หวัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
แมลงวันกินอะไรที่หลากหลาย ... จากข้อคำถามดังกล่าวจึงทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมาย ... ครั้นถามหลายคนก็ได้รับคำตอบที่หลากหลายเช่นกัน บ้างก็บอกว่าชอบกินของคาว เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า ปลาร้า เกลือ น้ำปลาหรือหากเป็นของหวานได้แก่ มะม่วงสุก ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า เป็นต้น จากแนวทางดังกล่าวจึงทำให้เราได้ครุ่นคิด และไต่ตรองเพื่อที่จะหาคำตอบว่าจริงๆแล้วแมลงวันชอบกินอะไรกันแน่ จึงได้ออกแบบใน การศึกษาการกินและเข้ามาตอมของแมลงวันโดยเปรียบเทียบการกิน และตอมอาหาร  4   ชนิดคือ 1 .  น้ำปลา 2 .  ปลาร้า 3 .  มะม่วงสุก 4 .  ขนุน  จากการศึกษาในเบื้องต้นทำให้เราสามารถที่จะวางแผนในการศึกษาพฤติกรรมการกินของแมลงวันได้ในระดับหนึ่ง  อย่างไรก็ตามในการศึกษาที่ผ่านมาแล้วหนึ่งวันนั้น ก็ยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า แมลงวันชอบกินอะไรมากที่สุด แต่จากการเฝ้ามองพบว่าแมลงวัน ณ มหาชีวาลัยอีสาน  ชอบกินมะม่วงสุก มากเป็นอันดับหนึ่ง  สำหรับอาหารตัวอื่นๆ ก็มีแมลงวันเข้าเช่นกันแต่น้อย จากแนวทางดังกล่าวเป็นหลักเบื้องต้นในการที่จะหาคำตอบให้กับตนเอง อันจะได้มาซึ่งความรู้สำหรับการแก้ปัญหาของตนเองอย่างแท้จริง  อันจะเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ประณีตต่อไป หรือท่านเห็นว่าเป็นอย่างไรครับ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

More Related Content

What's hot

งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2chirapa
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อSircom Smarnbua
 
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้นsombat nirund
 
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)sombat nirund
 
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)pitsanu duangkartok
 
ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok
  ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok  ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok
ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartokpitsanu duangkartok
 
12.การดูแลก้อนเห็ด
12.การดูแลก้อนเห็ด12.การดูแลก้อนเห็ด
12.การดูแลก้อนเห็ดsombat nirund
 
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...pitsanu duangkartok
 
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ดsombat nirund
 
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดันsombat nirund
 
ระบบนิเวศ 1
ระบบนิเวศ 1ระบบนิเวศ 1
ระบบนิเวศ 1Bios Logos
 
9.การเปิดดอก
9.การเปิดดอก9.การเปิดดอก
9.การเปิดดอกsombat nirund
 
Ipmแมลงศัตรูผัก
IpmแมลงศัตรูผักIpmแมลงศัตรูผัก
IpmแมลงศัตรูผักKaemkaem Kanyamas
 
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่างsombat nirund
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์supornp13
 
ไล่ยุง
ไล่ยุงไล่ยุง
ไล่ยุงStamp Tamp
 

What's hot (20)

bug
bugbug
bug
 
Insect
InsectInsect
Insect
 
งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2งานนำเสนอ2
งานนำเสนอ2
 
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
3ภาคผนวก ค ผลการศึกษา รายชื่อผีเสื้อ
 
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น
3.การต่อเชื้อวุ้นสู่วุ้น
 
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)
1.การเขี่ยเนื้อเยื่อเห็ดดอเห็ดเพื่อทำพันธุ์(ดอกสู่วุ้น)
 
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)
โรคที่เกิดจากเชื้อปรสิต (Parasites that cause disease in humans)
 
ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok
  ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok  ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok
ความหลากหลายของปรสิต ก่อให้เกิดโรคในคน by Pitsanu Duangkartok
 
29 08-56
29 08-5629 08-56
29 08-56
 
12.การดูแลก้อนเห็ด
12.การดูแลก้อนเห็ด12.การดูแลก้อนเห็ด
12.การดูแลก้อนเห็ด
 
11111
1111111111
11111
 
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...  ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
ชีววิทยาของจุลินทรีย์และความรู้เบื้องต้นทางเภสัชจุลชีววิทยา by pitsanu duan...
 
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด
8.ถ่ายเชื้อข้างฟ่างลงก้อนเห็ด
 
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน
11.การนึ่งแบบไม่ใช้หม้อแรงดัน
 
ระบบนิเวศ 1
ระบบนิเวศ 1ระบบนิเวศ 1
ระบบนิเวศ 1
 
9.การเปิดดอก
9.การเปิดดอก9.การเปิดดอก
9.การเปิดดอก
 
Ipmแมลงศัตรูผัก
IpmแมลงศัตรูผักIpmแมลงศัตรูผัก
Ipmแมลงศัตรูผัก
 
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง
6.การต่อเชื้อข้าวฟ่างสู่ข้าวฟ่าง
 
วิทย์
วิทย์วิทย์
วิทย์
 
ไล่ยุง
ไล่ยุงไล่ยุง
ไล่ยุง
 

Viewers also liked

Viewers also liked (11)

ประเภทของแหล่งน้ำ
ประเภทของแหล่งน้ำประเภทของแหล่งน้ำ
ประเภทของแหล่งน้ำ
 
South East Asia -Global Presentation-
South East Asia -Global Presentation-South East Asia -Global Presentation-
South East Asia -Global Presentation-
 
กำจัดบ้านของแมลงวันเสร็จ
กำจัดบ้านของแมลงวันเสร็จกำจัดบ้านของแมลงวันเสร็จ
กำจัดบ้านของแมลงวันเสร็จ
 
Insects 4
Insects 4Insects 4
Insects 4
 
Diptera
DipteraDiptera
Diptera
 
พฤติกรรมสัตว์
พฤติกรรมสัตว์พฤติกรรมสัตว์
พฤติกรรมสัตว์
 
House Flies Musca
House Flies   MuscaHouse Flies   Musca
House Flies Musca
 
Mosquito presentation, Md Abdul Alim, Chittagong Veterinary and Animal Scienc...
Mosquito presentation, Md Abdul Alim, Chittagong Veterinary and Animal Scienc...Mosquito presentation, Md Abdul Alim, Chittagong Veterinary and Animal Scienc...
Mosquito presentation, Md Abdul Alim, Chittagong Veterinary and Animal Scienc...
 
Dipteros
DipterosDipteros
Dipteros
 
Order Diptera
Order DipteraOrder Diptera
Order Diptera
 
Kru.nok
Kru.nokKru.nok
Kru.nok
 

Similar to เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒

2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพSubaidah Yunuh
 
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืชหน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืชvarut
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...Sircom Smarnbua
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้citylong117
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptx
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptxวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptx
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptxTinnakritWarisson
 
บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงkasetpcc
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชdnavaroj
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชWichai Likitponrak
 
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2Naddanai Sumranbumrung
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดSircom Smarnbua
 
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...MukMik Melody
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยWasan Yodsanit
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์feeonameray
 

Similar to เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒ (20)

2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
2. ความหลากหลายทางชีวภาพ
 
เห็ดพิษ
เห็ดพิษเห็ดพิษ
เห็ดพิษ
 
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืชหน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
หน่วยที่5การป้องกันกำจัดศัตรูพืช
 
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ความหลากหลายและความสัมพันธ์ของเห็ดในดอนปู่ตา2...
 
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้
 
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptx
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptxวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptx
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ป.4 หน่วยที่ 1.pptx
 
บทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุงบทที่ 1ปรับปรุง
บทที่ 1ปรับปรุง
 
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืชเทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
เทคโนโลยีชีวภาพที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช
 
โครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ดโครงงาน54เห็ด
โครงงาน54เห็ด
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
ออกแบบและการวางแผนการทำโครงงาน2
 
Bacillus anthracis
Bacillus anthracis Bacillus anthracis
Bacillus anthracis
 
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุดรายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
รายงานโครงการผีเสื้อมากมายสีสันสานสัมพันธ์ในดอนปู่ตา2558ศพว ล่าสุด
 
Flora improvement
Flora improvementFlora improvement
Flora improvement
 
Genetic
GeneticGenetic
Genetic
 
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
E0b982e0b884e0b8a3e0b887e0b887e0b8b2e0b899e0b980e0b884e0b8a3e0b8b7e0b988e0b8a...
 
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทยพันธ์ุบุกในประเทศไทย
พันธ์ุบุกในประเทศไทย
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
อนุกรมวิธาน+อาณาจักรสัตว์
 
Pest control
Pest controlPest control
Pest control
 

More from cherdpr1

เรื่องราวของปลาเสือตอ
เรื่องราวของปลาเสือตอเรื่องราวของปลาเสือตอ
เรื่องราวของปลาเสือตอcherdpr1
 
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2cherdpr1
 
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1cherdpr1
 
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551cherdpr1
 
Ywckts 10 Dec2008 Browse
Ywckts 10 Dec2008 BrowseYwckts 10 Dec2008 Browse
Ywckts 10 Dec2008 Browsecherdpr1
 
Thec Rfamilydec2007
Thec Rfamilydec2007Thec Rfamilydec2007
Thec Rfamilydec2007cherdpr1
 
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)cherdpr1
 
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]cherdpr1
 
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)cherdpr1
 

More from cherdpr1 (9)

เรื่องราวของปลาเสือตอ
เรื่องราวของปลาเสือตอเรื่องราวของปลาเสือตอ
เรื่องราวของปลาเสือตอ
 
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#2
 
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1
bird watch & nature view at nam nhao 19-21 Dec, 2008 - Presentation#1
 
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551
ภาพถ่ายเด็กๆ ในสตูดิโอ เทพนิยายดิสนีย์ในพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพฯ พ.ค. 2551
 
Ywckts 10 Dec2008 Browse
Ywckts 10 Dec2008 BrowseYwckts 10 Dec2008 Browse
Ywckts 10 Dec2008 Browse
 
Thec Rfamilydec2007
Thec Rfamilydec2007Thec Rfamilydec2007
Thec Rfamilydec2007
 
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)
Nina Family Chart 1 08 Sept2007 ( P P Tminimizer)
 
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]
My Kids Emerald Temple Sep 2007 [Optmz]
 
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)
My Kids Emerald Temple Sep 2007 (Pp Tminimizer)
 

เรื่องราวของแมลงวันบ้าน ฯลฯ ๒๘ พ.ย. ๒๕๕๒

  • 2. จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ อาณาจักร Animalia ไฟลัม Arthropoda ชั้น Insecta ชั้นย่อย Pterygota ชั้นฐาน Neoptera อันดับใหญ่ Endopterygota อันดับ Diptera Linnaeus, 1758 Suborders Nematocera (includes Eudiptera) Brachycera
  • 3. แมลงวัน ข้อมูลทั่วไป แมลงวัน ( Fly ) เป็นแมลงที่อาศัยอยู่กับชุมชนมนุษย์ชนิดหนึ่ง ส่วมมากคนจะรู้จักบางชนิด เช่น แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว มักจะกินอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์และเศษอาหาร ตามกองขยะ และชอบหากินเวลากลางวัน ไม่ชอบแสงแดดจัด รัศมีการหากินอยู่ในวงประมาณ 3 กิโลเมตร แมลงวันออกลูกเป็นไข่ และฟักเป็นหนอนแมลงวัน และระยะดักแด้ จนกลายเป็นตัวเต็มวัย วงจรชีวิตของแมลงวันตั้งแต่ไข่จนเป็นตัวเต็มวัยกินเวลาประมาณ 8-10 วัน
  • 4. โทษ แมลงวันจัดเป็นสัตว์พาหะนำโรค เนื่องจากการ ตอมตามสิ่งสกปรกทำให้มีเชื้อโรคติดตามขาและมาติดต่อสู่มนุษย์ ประโยชน์ แมลงวันมีประโยชน์ต่อมนุษย์ เช่น ในบางท้องที่พบว่าแมลงวันสามารถช่วยผสมเกสรดอกไม้ แพทย์บางแห่งใช้หนอนแมลงวันช่วยในการรักษาแผลเน่าเปื่อยในคน โดยให้หนอนแมลงวันขนาดเล็กกัดกินเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว ทำให้แผลหายเร็วขึ้น การพบตัวอ่อนของแมลงวันในศพสามารถช่วยในการชันสูตรศพ ซึ่งช่วยประมาณระยะเวลาตาย หรือการหาสาเหตุของการตายในบางกรณีได้
  • 5. แมลงวันคืออะไร แมลงวันเป็นแมลงที่ลำตัวขนาดเล็กถึงปานกลาง มีปีก 2 ปีก โดยทั่วไปคนจะรู้จักแมลงวันที่อยู่ใกล้ชิดในชีวิตประจำวันของคน คือ แมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว แต่ความจริงยังมีแมลงวันอีกมากมายหลายชนิดเช่น แมลงวันหลังลาย ริ้นดำ ริ้นน้ำเค็ม ริ้นฝอยทราย เหลือบม้า และเหลือบกวาง
  • 6. แมลงวัน ถูกจัดอยู่ในอันดับ ORDER DIPTERA ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่อันดับ 4 ของแมลงเป็นแมลงขนาดเล็ก มีปีก 1 คู่ มีลำตัวอ่อนนุ่ม และเป็นแมลงที่สำคัญทางเศรษฐกิจ เราสามารถพบแมลงวันได้ทุกแห่งในโลก หลายชนิดพบว่าสามารถดูดเลือดสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และหลายชนิดสามารถกัดกินหรือทำลายพืชที่ปลูกทำให้ผลผลิตเสียหาย หลายชนิดสวยงาม บางชนิดมีลวดลายแปลกตา บางชนิดเป็นตัวห้ำ หรือผสมเกสร ดังนั้น แมลงวันจึงมีความสำคัญทางเกษตรและทางการแพทย์ แมลงวัน มีหลายชนิด เช่น แมลงวันบ้าน แมลงวันหลังลาย แมลงวันหัวเขียว แมลงวันทอง แมลงวันสี แมลงวันกระโดด แมลงวันผึ้ง แมลงวันฉก แมลงวันลาย แมลงวันดอกไม้ แมลงวันหัวหนา แมลงวันก้นขน แมลงวันเขาวัว แมลงวันปากดำ แมลงวันตอมตา ฯลฯ แมลงวันบ้าน ลักษณะสำคัญ : ตัวเต็มวัยสีเทา มีแถบสีดำ 4 เส้น พาดอยู่ส่วนอกด้านบน หรือ กลางลำตัว ลำตัวยาวตัวประมาณ 1/8-1/4 นิ้ว ตัวหนอนสีขาวครีม หัวแหลมท้ายป้าน ไม่มีขา ไข่มีขนาดเรียวยาว 1 มม . สีขาว อาหาร : กินอาหารได้หลายชนิด รวมทั้งของเสีย ตัวเมียวางไข่ ได้ครั้งละ 100-150 ฟอง และสามารถวางไข่ได้สูงถึง 600 ฟองโดยชอบวางไข่ตามกองขยะที่มีความชื้นสูง หรือสิ่งปฏิกูลต่างๆ ไข่ใช้เวลาฟักตัวประมาณ 6 ชั่วโมง ตัวหนอนลอกคราบประมาณ 3 ครั้ง จากนั้นจะเข้าดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย ในระยะเวลา 1-2 สัปดาห์ แมลงวันหัวเขียว เป็นแมลงวันที่มีขนาดใหญ่ มีขนาดลำตัว 8-12 มิลลิเมตร ลำตัวสีน้าเงินแกมเขียว เป็นมัน แมลงวันชนิดนี้ชอบอยู่นอกบ้าน บางครั้งอาจตอมอาหารหรือแหล่งที่มีเชื้อโรค ตัวเต็มวัยจะหากินตามแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เล้าเป็ด ไก่ กองขยะ ตลาด ซากเน่าเปื่อย มูลสัตว์ ก่อให้เกิดความรำคาญกับสัตว์และอาจนำโรคมาสู่สัตว์ อาหาร : กินอาหารได้หลายชนิด ของเหลวจากสารอินทรีย์วัตถุ น้ำหวานจากพืช แมลงวันหัวเขียว ใช้ระยะเวลาในการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะไข่ ตัวหนอน ดักแด้ และฟักเป็นตัวเต็มวัย เป็นเวลา อย่างน้อย 10 วัน ตัวเมียวางไข่และ ตัวหนอนอาศัยเจริญเติบโตตามมูลสัตว์
  • 7. แมลงวันผลไม้ ( Oriental fruit fly ) ชื่อวิทยาศาสตร์ Bactrocera dorsalis Hendel รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ เป็นแมลงขนาดเล็ก ส่วนหัว อก และท้องมีสีน้ำตาลอ่อน ที่สันหลังอกมีแถบสีเหลืองทองเป็นแห่ง ๆ ส่วนอกกว้าง 2 มม . ส่วนท้องกว้าง 3 มม . ปีกใสจากปลายปีก ข้างหนึ่งไปยังปลายปีกอีกข้างหนึ่ง กว้าง 15 มม . หลังการผสมพันธุ์ ตัวเมียจะวางไข่โดย ใช้อวัยวะวางไข่แทงลงใต้ผิวผลไม้ ไข่มีลักษณะยาวรี ระยะไข่ 2 - 4 วัน เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ ตัวหนอนมีสีขาวใสเมื่อโตเต็มที่มีขนาด 8 - 10 มม . ระยะหนอน 7 - 8 วัน เมื่อเข้าดักแด้เริ่มแรกมีสีนวลหรือเหลืองอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ระยะดักแด้ 7 - 9 วัน แล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย เมื่อตัวเต็มวัยอายุประมาณ 12 - 14 วัน จะเริ่มผสมพันธุ์ และวางไข่ ( รุจินี , 2523 ) ตัวเมียมีการผสมพันธุ์กับตัวผู้หลายครั้ง ตัวเมียตัวหนึ่ง ๆ สามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,300 ฟอง วงจรชีวิตใช้เวลา ประมาณ 3 - 4 สัปดาห์
  • 8. การเจริญเติบโตและการแพร่พันธุ์ ตามข้อมูล แมลงวันมีการเจริญเติบโตเหมือนยุงคือ ระยะ ไข่ ตัวอ่อน ดักแด้ และตัวแก่ สามารถวางไข่ได้ครั้งละ 100-150 ฟอง ปากมี 2 แบบ คือ แบบที่ใช้ดูด ได้แก่ แมลงวันคอก และ แบบที่ใช้ขูด ได้แก่แมลงวันบ้าน แต่ แมลงวันที่เป็นปัญหาต่อการสาธารณสุขคือแมลงวันบ้าน และแมลงวันหัวเขียว แมลงวันบ้านเป็นแมลงที่พบได้ทั่วโลกยกเว้นบริเวณที่มีอากาศหนาวจัด ซึ่งเป็นพาหะนำโรคหลายชนิด ได้แก่ อหิวาตกโรค ไข้รากสาด บิด นำเชื้อโรคมาสู่คนได้โดย การสำรอกน้ำย่อยและน้ำลายออกมาปนเปื้อนอาหารของมนุษย์ ส่วนแมลงวันหัวเขียวจะวางไข่บนสิ่งสกปรกเน่าเหม็น เช่น ซากสัตว์ สามารถวางไข่ได้ประมาณ 1,000-3,000 ฟอง โดยวางไข่ครั้งละ 50-150 ฟอง มีการแพร่พันธุ์ได้ 9-10 ครั้ง ตัวแก่มีอายุประมาณ 1 เดือน
  • 9. แมลงวัน พาหะนำโรคตัวฉกาจ แขกผู้ไม่มีใครอยากเชื้อเชิญ ซึ่งมักมาเยือนในทุกที่ที่มีอาหาร เลือด และกลิ่นคาวปลา ตามร้านอาหารและตลาดสดจึงเป็นแหล่งที่แมลงวันมารวมตัวกัน รุมตอมและกินเศษเลือดอย่างชุกชุม แม้แต่ในบ้านเรือน ก็มีแมลงวันให้เห็นอยู่เป็นประจำ หลากหลายวิธีที่เรางัดออกมาใช้ จัดการกับแมลงวัน ไม่ว่าจะเป็นการโบกมือไล่ การฉีดยาฆ่าแมลง การใช้ที่ตีแมลงวันตี การใช้ถุงพลาสติกดักจับ และการใช้กาวลักษณะคล้ายก้านธูปดัก ก็ได้ผลบ้างไม่ได้ผลบ้าง แต่ในระยะหลังๆ นี้ถ้าใครสังเกตจะเห็นว่า ตามแผงขายของสดเนื้อสัตว์ในตลาดและตามร้านอาหาร จะมีถุงพลาสติกใสบรรจุน้ำจนเต็ม มัดให้ตึง ผูกเชือกแขวนไว้สูงเหนืออาหารหรือวางไว้บนโต๊ะอาหาร สอบถามพ่อค้าแม่ค้าก็ได้ความว่าเขาห้อยถุงพลาสติกเหล่านี้ไว้ เพื่อไล่แมลงวันพร้อมทั้งยืนยันว่าเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลดี ซึ่งเป็นที่น่าแปลกใจว่าทำไมถุงพลาสติกธรรมดาๆ จึงช่วยขับไล่แมลงวันได้ ร . ศ . ดร . เนาวรัตน์ ศุขะพันธุ์ อาจารย์และนักวิจัย ของภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คือ ผู้ริเริ่มถุงน้ำไล่แมลงวันที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้ โดยเริ่มจากงานทดลองที่ทำให้อาจารย์เห็นว่า แมลงวันเป็นพาหะและสื่อนำโรคร้ายมาสู่มนุษย์และสัตว์ พร้อมทั้งก่อความรำคาญ ทำให้สูญเสียสุขภาพอนามัยทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านปศุสัตว์ ซึ่งในสหรัฐอเมริกาและในยุโรป ต้องสูญเสียรายได้ทางเศรษฐกิจเป็นจำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์ สาเหตุจากการที่สัตว์เศรษฐกิจถูกแมลงวันดูดกินเลือด และทำให้เกิดโรคล้มตายมากมาย โรคร้ายแรงต่างๆ ที่แมลงวันนำมาสู่คนและสัตว์นั้น ได้แก่ โรคอหิวาตกโรค โปลิโอ คุดทะราด แอนแทรกซ์ การติดเชื้อโปรโตซัวชนิดต่างๆ โรคพยาธิแส้ม้า โรคเซอร์ร่า โรคลาวเอียซีส ฯลฯ รวมทั้งการติดเชื้อโดยทางบาดแผล เป็นต้น อาจารย์จึงได้ทำการศึกษาแมลงวันในเชิงการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ในแหล่งที่มีแมลงวันเพาะขยายพันธุ์ ทั้งด้านกายวิภาคและสรีรวิทยาของแมลงวัน มาเป็นเวลานานกว่า 10 ปี เพื่อค้นหาวิธีควบคุมและปราบแมลงวันที่ให้ผลดีที่สุด แต่เสียค่าใช้จ่ายน้อย และไม่มีผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมของธรรมชาติ
  • 10. หลักการใช้ถุงน้ำพลาสติกใสใส่น้ำมัดให้ตึง ผูกห้อยแขวนไว้ไล่แมลงวันนี้ ใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และการใช้ประสาทรับภาพในการมองเห็นของตาแมลงวันมาผสมผสานกัน ตาของแมลงวันมีอยู่ 2 ชนิด คือ ตารวม 2 ตา และตาเดี่ยวอีก 3 ตา ตาเดี่ยวจะอยู่เหนือตารวมตรงหัวส่วนบนระหว่างตารวม 2 ตา เรียงตัวกันเป็นรูปสามเหลี่ยมกลับหัวลง ตาเดี่ยวสามตานี้ จะช่วยให้แมลงวันสามารถมองเห็นในระยะที่ไกล ส่วนตารวม 2 ตาที่นูนออก 2 ข้าง ใหญ่กว่าหัวและลำตัวของแมลงวัน เป็นตารวมพิเศษ ซึ่งแต่ละข้างของตารวมประกอบด้วยตาเล็กๆ รูปหกเหลี่ยมหลายหมื่นแสนตาเรียงต่อเนื่องกันเต็มลูกตาทั้ง 2 ข้าง และตาเล็กๆ รูปหกเหลี่ยมของตารวมนี้ สามารถที่จะรับแสงสว่างได้ทุกมุมมอง ผ่านเสนส์และผลึกรูปกรวยรองรับแสง ซึ่งสามารถที่จะยืดและหดได้เพื่อปรับจอรับภาพที่มองเห็นทั้งในที่มืดและสว่าง ตารวมทำให้แมลงวันสามารถมองเห็นภาพได้กว้างกว่า 180 องศา จากจุดนี้เอง หากเรานำถุงพลาสติกใสใส่น้ำเปล่า ไปไว้ในบริเวณแสงแดด หรือแสงไฟที่มีลำแสงกระทบ ถุงพลาสติกที่บรรจุน้ำก็จะเสมือนหนึ่งงลำแสงหักมุมสะท้อนออกเข้าตาแมลงวัน เลนส์รับภาพของตาแมลงวันเมื่อได้รับแสงก็จะสะท้อนแสง กลับมาที่ถุงน้ำพลาสติกนั้นเกิดเป็นแสงมุมตก มุมสะท้อนกับเลนส์รับภาพของตาแมลงวันสะท้อนกลับไปกลับมา ทำให้การปรับจุดรวมแสงที่จะส่งให้เกิดภาพบนจอรับภาพ ( retina ) ไม่ชัดเจน จะทำให้เกิดตาพร่ามัวแมลงวันจึงบินเข้าหาอาหารไม่ถูก ในระยะห่างประมาณ 100 เซนติเมตรขึ้นไป แม้ว่ามันจะได้กลิ่นอาหารก็ตาม ถุงน้ำไล่แมลงวันนี้ได้ผลดียิ่งขึ้น ถ้าใช้ถุงร้อนซึ่งเป็นพลาสติกใส น้ำที่บรรจุในถุงควรเป็นน้ำที่ใสสะอาดหรือน้ำฝน น้ำยิ่งใสจะยิ่งสะท้อนแสงได้ดี และต้องมัดถุงน้ำให้ตึงแน่น และแขวนถุงนั้นให้รับมุมแสงรอบทิศทางกับดวงไฟหรือดวงอาทิตย์ ถ้ามีการแก่วงถุงพลาสติกหมุนเป็นลำแสงเบนไปมา แถบแสงที่เบนไปมาจะกระทบเลนส์ถูกลูกตาของแมลงวันมากยิ่งขึ้น ทำให้ตาพร่ามัว เข้าตอมอาหารไม่ถูกจึงบินหนีไปให้พ้นรัศมีลำแสงสะท้อน ถุงน้ำไล่แมลงวันนี้ยังใช้ได้ผลดีในการไล่แมลงชนิดอื่นๆ ที่มีตารวม เช่น ผึ้ง และแมลงวันทองที่กัดกินผลไม้ซึ่งทำให้ผลไม้เน่าเสียหาย ฯลฯ อีกด้วย ปัจจุบันถุงน้ำไล่แมลงวันเป็นวิธีที่นิยมใช้ทั่วไป ตามตลาดสดในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ทั้งยังแพร่ไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย เพราะเป็นวิธีที่ใช้ง่าย สะดวกปลอดภัย และขณะนี้อาจารย์เนาวรัตน์ กำลังทดสอบหาอุปกรณ์ภาชนะที่จะนำมาใช้บรรจุน้ำแทนถุงพลาสติก เพื่อให้มั่นคงถาวรและสวยงาม สามารถไล่แมลงวันภายในบ้าน และเป็นเครื่องประดับบ้านในเวลาเดียวกันได้
  • 11. การป้องกันกำจัด 1 . การทำความสะอาดบริเวณแปลงเพาะปลูก แมลงวันผลไม้สามารถเพิ่มจำนวนประชากรได้อย่างรวดเร็วในขณะที่มีพืชอาศัยอยู่มาก โดยการรวบรวมทำลายผลไม้ที่เน่าเสีย อันเนื่องมาจากถูกแมลงวันผลไม้เข้าทำลาย สามารถหยุดยั้งการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็วของแมลงได้ 2 . การห่อผลไม้ เป็นการป้องกันการเข้าไปวางไข่ในผลไม้ที่ง่ายและได้ผลดีที่สุดวิธีหนึ่งอีกทั้งยังเป็นวิธีการที่ปลอดภัยจากการใช้สารฆ่าแมลง การห่อผลไม้นี้ควรจะห่อให้มิดชิดไม่ให้มีรูหรือรอยฉีกขาดเกิดขึ้น มิฉะนั้นแมลงจะเข้าไปวางไข่ได้ 3 . การควบคุมโดยชีววิธี ในธรรมชาติแล้ว แมลงวันผลไม้มีแปลงศัตรูธรรมชาติอยู่แล้ว มีอัตราการทำลายตั้งแต่ 15 - 53 เปอร์เซนต์ เนื่องจากแมลงวันผลไม้มีความเสียหายโดยตรงกับผลิตผลการใช้วิธีนี้จึงน่าจะใช้ร่วมกับวิธีอื่น ๆ ในการลดจำนวนประชากรในแปลง 4 . การฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลงนั้นเป็นการลดปริมาณประชากรของแมลงวันผลไม้ในธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วและเห็นผลได้ชัด แต่ในขณะเดียวกันแมลงก็มีการเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่ไม่ได้ฉีดพ่นสารฆ่าแมลงเข้าทำลายอีก และต้องพ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อป้องกันไม่ให้แมลงเข้าทำลายซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาเรื่องสารพิษตกค้างและการทำลายแมลงศัตรูธรรมชาติ
  • 12. แมลงวันผลไม้ ( Oriental fruit fly ) ลักษณะการทำลาย ความเสียหายของแมลงวันผลไม้มักจะเกิดขึ้นเมื่อ เพศเมียใช้อวัยวะวางไข่ ( ovipositor ) แทงเข้าไปในผลไม้ ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะอาศัยและชอนไชอยู่ภายใน ทำให้ผลเน่าเสียและร่วงหล่นลงพื้น ตัวหนอนจะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ในดินแล้วจึงออกเป็นตัวเต็มวัย แมลงวันผลไม้วางไข่ในผลไม้ที่ใกล้สุกและมีเปลือกบาง ในระยะเริ่มแรกจะสังเกตได้ยากอาจพบอาการช้ำบริเวณใต้ผิวเปลือกเมื่อหนอนโตขึ้นเรื่อย ๆ จะทำให้ผลเน่าเละและมีน้ำไหลเยิ้มออกทางรูที่หนอนเจาะออกมาเพื่อเข้าดักแด้ ผลไม้ที่ถูกทำลายนี้มัก จะมีโรคและแมลงชนิดอื่น ๆ เข้าทำลายซ้ำ ดังนั้นความเสียหายที่เกิดกับผลผลิตโดยตรงนี้จึงมีมูลค่ามหาศาล ก่อให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจในระดับชาติเป็นอันมาก การแพร่กระจายและฤดูกาลระบาด แมลงวันผลไม้ระบาดในทวีปอเมริกา ยุโรป เอเชีย หมู่เกาะแปซิฟิก ไต้หวัน ญี่ปุ่น ปาปัวนิวกินี ฮาวาย ฯลฯ ในประเทศไทยพบการระบาดทั่วทุกภาค ทั้งในเขตป่าและในบ้าน และสามารถอยู่ได้แม้มีระดับความสูงถึง 2,760 เมตร จากระดับน้ำทะเล และยังพบตลอดทั้งปี เนื่องจากมีพืชอาหารมากมาย แต่จะมีปริมาณแมลงวันผลไม้สูงสุดในช่วงเดือนที่มีผลไม้สุกคือ ในช่วงเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 25 - 28 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ประมาณ 70 - 80 เปอร์เซ็นต์ ศัตรูธรรมชาติ มีแตนเบียนหนอนแมลงวันผลไม้วางไข่ตามรอยแผลบนผลไม้ตรงที่แมลงวันวางไข่ไว้ที่พบในประเทศไทย ( โกศล , 2533 ) ได้แก่ Biosteres arisanus ( Sonan ) , Biosteres longicaudatus Ashmead, Opius makii Sonan, ตัวห้ำแมลงวันผลไม้ ได้แก่ มดคัน ( Pheidologeton diversus ) 5 . การใช้สารล่อ ก . การใช้สารล่อแมลงวันผลไม้ตัวผู้ สารเคมีที่ใช้เป็นสารล่อนี้จะสามารถดึงดูดได้เฉพาะแมลงวันผลไม้ตัวผู้เท่านั้น และการใช้สารล่อนั้นจะต้องคำนึงถึงแมลงที่ต้องการให้เข้ามาในกับดักด้วย เพราะว่าแมลงวันผลไม้จะมีความเฉพาะเจาะจงกับสารล่อแต่ละชนิด เช่น เมทธิล ยูจินอล ( Methyl Eugenol ) ใช้ล่อ Dacus dorsalis, D . umbrosus คิว - ลัวร์ ( Cue - Lure ) ใช้ล่อ D . cucurbitae, D . tau ลาติ - ลัวร์ ( Lati - Lure ) ใช้ล่อ D . latifromn เมด - ลัวร์ ( Med - Lure ) ใช้ล่อ Ceratitis capitata ข . การใช้เหยื่อโปรตีน โดยการนำเอาโปรตีน ไฮโดรไลเสท ( Protein Hydrolysate ) ผสมกับสารฆ่าแมลงมาเป็นเหยื่อล่อแมลงวันผลไม้ โดยใช้โปรตีนไฮโดรไลเสท 200 ซีซี ผสมสารฆ่าแมลง malathion 83 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 70 ซีซี ผสมน้ำ 5 ลิตร พ่นเป็นจุด ๆ เท่านั้น วิธีการนี้ให้ผลที่ดีมาก นอกจากจะประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายในการใช้สารฆ่าแมลงและแรงงานแล้ว ยังเป็นพิษต่อสภาพแวดล้อม แมลงผสมเกสร รวมทั้งตัวห้ำ ตัวเบียนน้อยลง ที่สำคัญคือสารนี้สามารถดึงดูดได้ทั้งแมลงวันผลไม้ตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งจะช่วยลดอัตราการเข้าทำลายของแมลงวันผลไม้ได้อย่างดี
  • 13. 6 . การทำหมันแมลง จุดมุ่งหมายของวิธีการนี้คือ การกำจัดแมลงให้หมดไปจากพื้นที่ที่ต้องการ ซึ่งจะต้องมีการเลี้ยงแมลงวันผลไม้ให้มีปริมาณมาก แล้วทำหมันแมลงเหล่านี้โดยการฉายรังสีแกมมา จากนั้นจึงนำแมลงที่เป็นหมันนี้ไปปล่อยในธรรมชาติ เพื่อลดปริมาณแมลงในธรรมชาติจนหมดไป แต่การกระทำด้วยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงมากและก็ยังมีข้อจำกัดอื่น ๆ อีกที่จะต้องคำนึงถึง เช่นการป้องกันการแพร่ระบาดเข้ามาใหม่ของแมลงและการที่แมลงศัตรูชนิดอื่น จะเพิ่มความสำคัญขึ้นมา 7 . การกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ในผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว ส่วนมากระยะของผลไม้ที่เราเก็บเกี่ยวนั้นอยู่ในระยะแก่จัด ซึ่งอาจมีแมลงวันผลไม้วางไข่อยู่ หรือมีหนอนในวัยต้น ๆ ที่ยังไม่เห็นการทำลายอย่างเด่นชัดแฝงตัวอยู่ ฉะนั้นเพื่อเป็นการกำจัดไข่หรือหนอนที่ติดมาในผลไม้ จึงมีวิธีการกำจัดดังนี้ 7.1 การรมยา โดยการใช้สารรม ( Fumigant ) บางตัวเข้ามารมแมลง เช่น เมทธิลโบรไมด์ ( Methyl Bromide ) เป็นต้น 7.2 การใช้รังสี โดยการให้ผลไม้นั้นได้รับการฉายรังสีแกมมา 7.3 การใช้วิธีการอบไอน้ำร้อน เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เป็นการค้าในหลาย ๆ ประเทศ เช่น ฮาวาย ไต้หวัน สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ และประเทศไทย
  • 14. แมลงวันกินอะไรที่หลากหลาย ... จากข้อคำถามดังกล่าวจึงทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างมากมาย ... ครั้นถามหลายคนก็ได้รับคำตอบที่หลากหลายเช่นกัน บ้างก็บอกว่าชอบกินของคาว เช่น ปลาเน่า เนื้อเน่า ปลาร้า เกลือ น้ำปลาหรือหากเป็นของหวานได้แก่ มะม่วงสุก ขนุน ทุเรียน น้อยหน่า เป็นต้น จากแนวทางดังกล่าวจึงทำให้เราได้ครุ่นคิด และไต่ตรองเพื่อที่จะหาคำตอบว่าจริงๆแล้วแมลงวันชอบกินอะไรกันแน่ จึงได้ออกแบบใน การศึกษาการกินและเข้ามาตอมของแมลงวันโดยเปรียบเทียบการกิน และตอมอาหาร 4 ชนิดคือ 1 . น้ำปลา 2 . ปลาร้า 3 . มะม่วงสุก 4 . ขนุน จากการศึกษาในเบื้องต้นทำให้เราสามารถที่จะวางแผนในการศึกษาพฤติกรรมการกินของแมลงวันได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตามในการศึกษาที่ผ่านมาแล้วหนึ่งวันนั้น ก็ยังไม่สามารถบอกได้อย่างชัดเจนว่า แมลงวันชอบกินอะไรมากที่สุด แต่จากการเฝ้ามองพบว่าแมลงวัน ณ มหาชีวาลัยอีสาน ชอบกินมะม่วงสุก มากเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับอาหารตัวอื่นๆ ก็มีแมลงวันเข้าเช่นกันแต่น้อย จากแนวทางดังกล่าวเป็นหลักเบื้องต้นในการที่จะหาคำตอบให้กับตนเอง อันจะได้มาซึ่งความรู้สำหรับการแก้ปัญหาของตนเองอย่างแท้จริง อันจะเชื่อมโยงไปสู่กิจกรรมอื่นๆ ที่ประณีตต่อไป หรือท่านเห็นว่าเป็นอย่างไรครับ
  • 16.  
  • 17.  
  • 18.  
  • 19.  
  • 20.  
  • 21.  
  • 22.  
  • 23.  
  • 24.  
  • 25.  
  • 26.  
  • 27.  
  • 28.  
  • 29.  
  • 30.  
  • 31.  
  • 32.  
  • 33.  
  • 34.  
  • 35.  
  • 36.  
  • 37.  
  • 38.  
  • 39.  
  • 40.  
  • 41.  
  • 42.