SlideShare a Scribd company logo
1 of 147
Download to read offline
บทที่ 3 การเจริญเติบโตของพืช
(Plant Growth and Development)
รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
ครูผู้สอน
 นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 เอกวิชาชีววิทยา
ประวัติการศึกษา :
◦ พ.ศ. 2549 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกรียตินิยมอันดับ 2) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล
◦ พ.ศ. 2551 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
◦ พ.ศ. 2552 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
◦ พ.ศ. 2555 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เอกสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
◦ พ.ศ. 2558 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยทางการศึกษา
เอกวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
การเจริญเติบโตของพืช
 การเจริญเติบโตของพืช หมายถึง การที่พืชมีการเพิ่มความสูง เพิ่มขนาด และมีการเปลี่ยนแปลง
อวัยวะต่างๆ ไปตามขั้นตอนของพืชนั้นๆ การเจริญเติบโตของพืชมี 3 กระบวนการต่างๆ
เกิดขึ้นคือ
1.1 การแบ่งเซลล์ (cell division) ทาให้มีจานวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะ
มีลักษณะเหมือนเดิมแต่มีขนาดเล็กกว่า
1.2 การเพิ่มขนาดของเซลล์ (cell enlargement) เป็นการสร้างสะสมสารทาให้เซลล์มี
ขนาดใหญ่ขึ้นโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการแบ่งเซลล์แล้วก็จะเพิ่มขนาดของเซลล์ด้วยเสมอ
1.3 การเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่เฉพาะ
อย่างของแต่ละส่วนประกอบ
การเจริญเติบโตของพืช
 ลักษณะที่แสดงว่าพืชมีการเจริญเติบโต มีดังนี้
(1) รากจะยาวและใหญ่ขึ้น มีรากงอกเพิ่มขึ้น มีการแตกแขนงของรากมากขึ้น
(2) ลาต้นจะสูงและใหญ่ขึ้น มีการผลิตทั้งตากิ่ง ตาใบ และตาดอก
(3) ใบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จานวนใบเพิ่มขึ้น
(4) ดอกจะใหญ่ขึ้น หรือดอกเปลี่ยนแปลงเป็นผล
(5) เมล็ดจะมีการงอกต้นอ่อน
ภายหลังการสืบพันธ์ของพืชดอก
 การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้น 2 ครั้ง ระหว่างเซลล์ไข่กับสเปิร์มนิวเคลียส และสเปิร์ม
นิวเคลียสอีกอันหนึ่งกับโพลาร์นิวเคลียส เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
หลังจากการปฏิสนธิแล้วออวุลแต่ละอันเปลี่ยนแปลงไป เป็นเมล็ด (seed) เนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์ม
จะกลายเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหาร แต่ในพืชบางชนิดเอนโดสเปิร์มสลายไปจึงมีการสะสมอาหาร
ไว้ใน ใบเลี้ยงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอมบริโอ และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (fruit) ส่วนไซโก
ตจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ (embryo) สรุปได้ว่า
1. การเกิดการปฏิสนธิ 2 ครั้ง (double fertilization )
1.1 sperm nucleus (n) + egg nucleus (n) Zygote (2n)  embryo (2n)
1.2 sperm nucleus (n) + 2polar nucleus (2n)  endosperm (3n)
2. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อน
2.1 ออวุล (ovule) จะเปลี่ยนแปลงเป็นเมล็ด (seed )
2.2 รังไข่ (ovary) จะเปลี่ยนแปลงเป็นผล (fruit)
Double fertilization
การเปลี่ยนแปลงภายหลังกระบวนการปฏิสนธิ
หลังจากการปฏิสนธิ ยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหยี่ยวลง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสร
ตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป ส่วนรังไข่ และ ออวุล หรือไข่ จะเจริญเติบโตต่อไปโดย รังไข่ จะเจริญ
กลายเป็น ผล ส่วน ออวุล หรือไข่ จะเจริญไปเป็น เมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และอาหารสะสมไว้
ภายใน เพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ เมื่อ เมล็ดพืชแพร่กระจายไปในที่ต่าง และไปตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่
เหมาะสมกับการงอกของเมล็ด เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป วิธีนี้ทาให้พืชดอกที่อยู่ตามธรรมชาติ
สามารถแพร่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป
สรุป : หลังจากปฏิสนธิแล้วออวุล (ovule) จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผล
ไซโกตเจริญไปเป็นเอมบริโอ เอนโดสเปิร์มเจริญไปเป็นอาหารสาหรับเลี้ยงเอมบริโอ ในพืชบางชนิด
เอนโดสเปิร์มจะสลายไปก่อนที่เมล็ดจะเจริญ ดังนั้น อาหารสะสมจึงอยู่ภายในใบเลี้ยงของเอมบริโอ การ
ปฏิสนธิซ้อนของพืชดอกมีความสาคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ
เช่น ผลไม้ที่เรารับประทานก็เกิดตามมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกข้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโด
สเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอ
พืชพวก Gymnosperm จะเกิดการผสมเพียงครั้งเดียว (single fertilization) เท่านั้น
การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อนในพืชดอกโดยทั่วไป คือ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญ
ไปเป็นต้นอ่อนและโพลาร์นิวคลีไอที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะเจริญไป
เป็นเมล็ด โดยที่ผนังออวุลเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด และรังไข่จะพัฒนาต่อไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดย
ผนังรังไข่เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล แต่ในผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง
ชมพู่ แอปเปิล จะเจริญมาจากฐานรองดอก จึงเรียกผลชนิดนี้ว่า ผลเทียม (pseudo fruit) แต่ถ้ารังไข่
สามารถพัฒนาเป็นผลได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิโดยใช้ฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลง เราจะเรียกผลรูปแบบนี้ว่า ผลลม (parthenocarpic fruit) เช่น กล้วยไร้เมล็ด ฝรั่งไร้เมล็ด
เป็นต้น
 ผลบางชนิดที่เจริญเติบโตขึ้นมาจากรังไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ เรียกการเกิดผลแบบนี้ว่า การเกิดผล
ลม (parthenocarpy) ผลแบบนี้อาจมีเมล็ดหรือไม่มีเมล็ดก็ได้ เป็นการยากที่จะทราบได้ว่าผลใดเป็นผลที่
เกิดจาก parthenocarpy ทั้งนี้ เพราะในกรณีที่ผลนั้นเกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ แต่เผอิญออวุล
ในรังไข่นั้นไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ผลนั้นจึงเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด จากเหตุการณ์นี้เราจะคิดเอาเองว่าผลที่
ไม่มีเมล็ดนั้นเป็นผลแบบผลลม (parthenocarpic fruit) ก็ไม่ได้ แท้จริงแล้วผลที่เกิดแบบ
parthenocarpy นั้นมีเกิดขึ้นในธรรมชาติอยู่เสมอ เช่น กล้วย มะเขือยาว เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีผู้นิยมทาให้
เกิด parthenocarpic fruit กับผลที่มีเมล็ดมาก ๆ เช่น มะเขือเทศ องุ่น เป็นต้น โดยใช้ฮอร์โมนที่เร่งการ
เจริญเติบโต เช่น ออกซิน (auxin) ฉีดพ่นไปที่ดอกให้ถูกรังไข่ และป้องกันมิได้ดอกนั้นได้รับการผสม
พันธุ์ก็จะได้ผลที่ไม่มีเมล็ด
ผลลมหรือผลแบบไร้เมล็ด (Parthenocarpy)
Parthenocarpy
ผลลม (Parthenocarpic fruit)
 พืชไม้ดอกบางชนิดเอ็มบริโออาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ก็ได้ แต่ต้องมีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการ
สืบพันธุ์แบบมีเพศมาเกี่ยวข้องด้วย เช่นนี้เรียก apomixis ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า เซลล์ไข่จะเปลี่ยนเป็นไซโกต
ไม่ได้ถ้าไม่มีการผสม ดังนั้น ไซโกตที่ได้จากผลของการผสมพันธุ์จะมีจานวน 2n โครโมโซม อย่างไรก็ตามมี
ปรากฎการณ์บางอย่างเกิดขึ้นซึ่งน้อยมาก โดยจะมีไซโกตหรือเอ็มบริโอเกิดขึ้นจากเซลล์ไข่ที่มิได้รับการผสม
เรียกว่า parthenogenesis ซึ่งมี 2 แบบ
1. แบบที่เอ็มบริโอเจริญเติบโตมาจากเซลล์ไข่ที่มี n โครโมโซม หรือ haploid
2. แบบที่เอ็มบริโอเจริญเติบโตมาจากเซลล์ไข่ที่มี 2n โครโมโซม หรือ diploid โดยขณะที่มีการเจริญเป็น
megagametophyte นั้นไม่มีการแบ่งตัวแบบไมโอซิสเกิดขึ้น เซลล์ไข่จึงยังคงมี 2n โครโมโซม
 Apomoxis อีกชนิดหนึ่งได้แก่การเกิดเอ็มบริโอที่เจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อภายในออวุลที่อยู่รอบๆ embryo sac
เรียก เอ็บริโอที่เกิดแบบนี้ว่า adventitious embryo ซึ่งเป็น diploid พบมากในพืชพวก ส้ม เป็นต้น
ควรรู้เพิ่มเติม
เนื้อผลแบบ Aril
ซึ่งเจริญมาจากก้านออวุล (funiculus) แล้วคลุมเมล็ดหรือบางส่วนของเมล็ดไว้ aril
จึงไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกเมล็ด (seed coat) เพราะไม่ได้เจริญมาจาก integument
ตัวอย่างพืชที่มี aril คลุมเมล็ด เช่น เนื้อของลาใย ลิ้นจี่ ทุเรียน และเยื่อที่คลุมเมล็ดเสาวรส ซึ่ง
ถ้าสังเกตเนื้อเหล่านี้จะล่อนออกจากตัวเปลือกเมล็ดที่แข็งได้ง่าย และสุดท้ายจะม้วนไปติดอยู่ที่
ขั้วเมล็ด นอกจากนี้ยังมี โครงสร้างอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Sarcotesta ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เจริญ
และพัฒนามาจากส่วนของอินเทกกิวเมนต์ (integument) เนื้อหุ้มเมล็ด ดังนั้น sarcotestaจึง
จัดเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) เช่นกัน เช่น เนื้อของเงาะ มังคุด ลองกอง ซึ่งจะเห็นว่าเนื้อ
เหล่านี้มักจะหลุดล่อนออกจากเปลือกเมล็ดที่แข็งกว่าซึ่งอยู่ติดกันได้ยาก เพราะทั้งสองส่วน
เจริญมาจาก integument เช่นกันนั่นเอง
ควรรู้เพิ่มเติม
การเกิดผลและเมล็ด (seed and fruit formation)
 หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันเจริญเปลี่ยนไปเป็นเมล็ด
(seed) ซึ่งส่วนใหญ่มีอาหารสะสมอยู่และรังไข่ เจริญไปเป็นผล (fruit)
ผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล
เจริญมาจากฐานรองดอกจึง เรียกว่า ผลเทียม (pseudocarp) ดอกไม้มี
ทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ และรังไข่ของดอกแต่ละชนิดมีจานวนที่
แตกต่างกัน ทาให้ผลที่เจริญมาจากรังไข่มีความแตกต่างกันไปด้วย
เมื่อรังไข่เจริญเป็นผล ผนังรังไข่เจริญเป็นเนอผล เรียกผนังรังไข่ที่
เปลี่ยนแปลงว่า เพอริคาร์ป (pericarp) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้นดังนี้
1. เอพิคาร์ป (epicarp หรือ exocarp) เนื้อเยื่อชั้นนอก เจริญ
เป็นเปลือกชั้นนอกสุด
2. มีโซคาร์ป (mesocarp) เนื้อเยื่อชั้นกลางของเปลือกอาจจะ
บางหรือเป็นเนื้อเยื่อหนานมกลายเป็นเนื้อผลก็ได้
3. เอนโดคาร์ป (endocarp) เนื้อเยื่อชั้นในสุด มีการ
เปลี่ยนแปลงต่างกันแล้วแต่ชนิดของผลไม้ อาจเปลี่ยนเป็น เนื้อผลไม้ หรือ
เปลือกแข็งหุ้มเมล็ดก็ได้
ควรทราบเพิ่มเติม
 เนื้อผลชั้นนอก (exocarp or epicarp) เป็นชั้นผิวนอกสุด ผลบางชนิดมีเปลือกบางหรืออ่อน เช่น ผล
ของมะปราง มะม่วง องุ่น แต่ผลบางชนิดผิวชั้นนอกแข็งและเหนียว เช่น ผลของมะขวิด มะตูม
กระเบา ฟักทอง
 ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ผนังชั้นนี้มักนุ่ม เช่น มะม่วง มะละกอ ผลบางชนิดมีผนังชั้นกลางเป็นเส้น
ใยเหนียว เช่น มะพร้าว ตาล จาก
 ผนังชั้นใน (Endocarp) ผนังชั้นใน มีทั้งอ่อนนุ่มเช่น ส้ม และมีลักษณะแข็งเช่น มะม่วง มะพร้าว
 ในกรณีที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเปลือกผลและเนื้อชั้นกลางได้ นิยมเรียกบริเวณทั้ง
สองนี้รวมกันว่า อีพิคาร์ป (epicarp) เช่นมะเขือเทศ ส้ม เป็นต้น หรือถ้าแยกความแตกต่าง ของทั้ง
สามชั้นไม่ได้ นิยมเรียกรวมกันว่าเพอริคาร์ป (pericarp) เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว เป็นต้น
ก่อนปฎิสนธิ หลังปฏิสนธิ
Ovule Seed
Ovary Fruit
Integument Seed coat
Egg + sperm nucleus Zygote
Polar nuclei + sperm nucleus Endosperm
Sepal ,petal ,stamen
,synergids และ antipodal
สลายตัว
ชนิดของผล (Kinds of fruits)
 ผลมีรูปร่างลักษณะหลายชนิดที่แตกต่างกันใน
การศึกษาจัดจาพวกพืช ผลมีบทบาทสาคัญช่วยในการ
จาแนกพืชเหมือนกัน ดังนั้น เพื่อสะดวกในการศึกษา
จึงแบ่งผลออกเป็นชนิดต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ใช้
พิจารณา ดังนี้
1. โครงสร้างของดอก
2 . จานวนและชนิดของรังไข่
3. จานวนคาร์เพลภายในรังไข่
4. ลักษณะของ pericarp เมื่อผลนั้นแก่
5. เมื่อผลนั้นแก่ pericarp จะแตกออกได้เอง
ตามธรรมชาติหรือไม่
6. ลักษณะการแตกของ pericarp
7. กลีบเลี้ยง กลีบดอก หรือ ฐานดอก เกี่ยวข้องกับการ
เปลี่ยนแปลงเป็นผลโดยอาจเป็นส่วนประกอบของผลด้วย
ชนิดของผล (Type of fruit)
 1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดมาจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน อาจเป็นดอกเดี่ยว
หรือดอกช่อก็ได้ เช่น ส้ม มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงชนิดต่างๆ มะม่วง มะปราง มะกอก ลาไย
เป็นต้น
 2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอก
เดี่ยว รัง ไข่แต่ละอันจะกลายเป็นผลย่อย เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ ลูกจาก จาปี กระดังงา การเวก
นมแมว กุหลาบ เป็นต้น
 3. ผลรวม (multiple fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซงเชื่อมรวมกันแน่น
รังไข่ เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น สับปะรด ขนุน สาเก ยอ
มะเดื่อ เป็นต้น
ผลเดี่ยว (Simple Fruit)
ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกที่มีเกสรตัวเมียหนึ่งอัน
อาจเมล็ดเดียวหรือหลายเมล็ดก็ได้
(ผลมะม่วง มะละกอ)
ผลกลุ่ม (Aggregate Fruit)
ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกที่มีเกสรตัวเมีย
หลายอันแยกจากกันเมื่อเจริญเติบโตเป็นผลอาจมี
ลักษณะคล้ายผลเดี่ยวหนึ่งผล(ผลน้อยหน่าผล
การเวก ผลลาดวน)
ผลรวม (Multiple Fruit)
ผลที่เกิดจากดอกหลายดอกที่เรียงชิดติดกัน
แน่นบนก้านดอกขนาดใหญ่ดูคล้ายผลเดียว
ขนาดใหญ่ (ผลสับปะรด ขนุน)
สรุป : การจาแนกประเภทของผล
ประเภทของผลที่ใช้เกณฑ์จาแนกตามจานวนรังไข่ และชนิดของดอกไม้ ได้ดังต่อไปนี้ คือ
1. ผลเดี่ยว (simple fruit) ผลเดี่ยวเป็นผลที่เกิดจากรังไข่เดียวในดอกดอกเดียว โดยถ้าในรังไข่นั้นมี
ออวุลเดียวก็จะเจริญเป็นผลเดี่ยวที่มีเมล็ดเดียว เช่น พุทรา มะม่วง มะพร้าว แต่ถ้ารังไข่นั้นมีหลาย
ออวุล ก็จะเจริญเป็นผลเดี่ยวที่มีหลายเมล็ด เช่น แตงโม แตงกวา ตาลึง มะเขือ มะเขือเทศ ฯลฯ
2. ผลกลุ่ม (Aggregate fruit) ผลกลุ่มเป็นผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่ที่เจริญอยู่ในดอกเดียว เช่น
น้อยหน่า จาปี จาปา กระดังงา การะเวก สตรอเบอรี่ ลูกจาก ฝักบัว ลูกหวาย ผลกุหลาบ เป็นต้น
3. ผลรวม (Multiple fruit) ผลรวมเป็นผลที่เกิดจากดกหลาย ๆ ดอกที่อยู่ชิดกัน เช่น ลูกยอ สับปะรด
สาเก มะเดื่อ ลูกหม่อน ขนุน ผลบีท เป็นต้น
ควรรู้เพิ่มเติม
 ผลแบบมะเดื่อ (syconium) ผลรวมที่ข้างในผลกลวง ซึ่งเป็นผลที่เจริญมาจากช่อดอกที่มี
ฐานรองดอกรูปถ้วย (hypanthium) ภายในประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก และ
แยกเพศ ภายในช่อดอกมีช่องเปิดขนาดเล็ก (ostiolum) ให้แมลงขนาดเล็กเข้าไปช่วยการผสม
เกสร ได้แก่ ไทร มะเดื่อ กร่าง
ผลแบบมะเดื่อ (syconium)
 ผลมีเนื้อสด (Fleshy Fruit) คือผลที่แก่แล้วมีผนังผลสดไม่แห้ง แบ่งออกเป็น
1. ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่ม ผนัง
ชั้นในแข็งมาก ได้แก่ พุทรา มะม่วง
2. ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอก
ที่เป็นเปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่มเช่นเดียวกัน ได้แก่ มะละกอ มะเขือเทศ
3. ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลาง
อ่อนนุ่มคล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมีบางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุง
น้าเพื่อสะสมน้าตาลและกรดมะนาว ได้แก่ ส้ม มะนาว
4. ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนังชั้น
กลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม ได้แก่ แตงโม แตงกวา น้าเต้า
5. ผลแบบแอปเปิล (Pome) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบเนื้อส่วนที่รับประทานเป็นส่วน
ของฐานรองดอก เช่น แอปเปิล ฝรั่ง
ประเภทของผล : Type of fruit
ผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง (Drupe)
ผลสดที่มีเมล็ดเดียว
ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่มผนังชั้นแข็งมาก
(พุทรา มะม่วง)
ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry)
ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด
เนื้อผลอ่อนนุ่มผนังชั้นนอกที่เป็นเปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่ม
(มะละกอ มะเขือเทศ)
ผลแบบแอปเปิล (Pome)
ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ
เนื้อส่วนที่รับประทานเป็นส่วนของฐานรองดอก
(แอปเปิล ฝรั่ง)
ชนิดของผล (Types of Fruit) ผลสด (Fleshy Fruit)
ผลแบบส้ม (Hesperidium)
ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่ม
คล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง
และมีบางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุงเพื่อสะสม
น้าตาลและกรดมะนาว
(ส้ม, มะนาว,ส้มโอ,มะกรูด)
ผลแบบแตง (Pepo)
ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา
ผนังชั้นกลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม
(แตงโม,น้าเต้า)
ชนิดของผล (Types of Fruit) ผลสด (Fleshy Fruit)
 ผลแห้ง (Dry Fruit) คือผลที่แก่แล้วผนังผลแข็งและแห้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
ผลแห้งแก่ไม่แตก (dry indehiscent fruit) และผลแห้งแก่แตก (dry dehiscent fruit)
 ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit) แบ่งออกเป็น
1. ผลแห้งเมล็ดติดหรือผลแบบธัญพืช (Caryopsis or Grain) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด
เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือกเมล็ดหุ้ม เช่น ข้าว
2. ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn) ผลคล้ายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แต่มีกาบ
หุ้มผล (cupule) ทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น ผลเกาลัด ก่อชนิดต่างๆ
3. ผลแห้งเมล็ดอ่อน (Achene) ผลขนาดเล็ก ผนังผลแห้งและบาง มี 1 เมล็ด ผนังผล
กับเปลือกหุ้มเมล็ดแยกกัน ส่วนมากมีฐานรองดอกขนาดใหญ่ เช่น บัวหลวง ถ้าผลเกิดจาก
รังไข่ใต้วงกลีบ และมีขนที่ปลายเมล็ด เรียกว่าผลแห้งเมล็ดล่อนปลายมีขน (cypsela) เช่น
ผลของทานตะวัน
ประเภทของผล : Type of fruit
4. ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็งและผิวมัน เป็นผลที่เกิดจากรัง
ไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกันแต่มีเมล็ดเดียว เช่น ผลมะพร้าว กระจับ มะม่วงหิมพานต์
5. ผลแบบปีกเดียว (Samara) ผลที่มีผนังผลชั้นนอกเจริญยื่นออกมาเป็นปีก อาจมี
ปีกเดียวหรือมากกว่า เช่น ผลประดู่ ก่วม หรือผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) มีกลีบเลี้ยง
เจริญไปเป็นปีก เช่น ผลยางนา เหียง พะยอม
6. ผลแยกแล้วแตก (Schizocarp) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน
เมื่อรังไข่เจริญเต็มที่แล้วคาร์เพลจะแยกกัน แต่ละคาร์เพลเรียก ซีกผลแบบผักชี (mericarp)
ซึ่งภายในมี 1 เมล็ด เช่น ครอบจักรวาล
ประเภทของผล : Type of fruit
ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่แล้วไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)
ผลธัญพืช (Grain)
ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับ
เปลือกหุ้มเมล็ด
(ข้าว)
ผลแห้งเมล็ดล่อน (Achene)
ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกผลบางและแยกจากเปลือกหุ้มเมล็ด
แต่ละผลอยู่บนฐานรองดอกที่มีขนาดใหญ่
(ทานตะวัน,บัว)
ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดี่ยว (Nut)
ผลที่มีเปลือกแข็ง หนาเป็นมันเมล็ดอยู่หลวมๆ ภายใน
(เกาลัด)
ผลปีกเดียว (Samara)
เปลือกแผ่ออกเป็นปีกอันเดียวหรือหลายอัน ภายในมีเมล็ดเดียว
(ประดู่,ทองกาว)
ผลปีกเดียวแฝด (Double Samara)
ผลปีกเดียว 2 อันเชื่อมติดกัน แต่ละผลมีเมล็ดเดียว
(ชาด, พะยอม,สะแบง)
ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย(Acorn)
ผลเปลือกแข็งที่มีกาบรูปถ้วยหุ้ม
(ก่อหิน)
ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่แล้วไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)
ผลแตกสองครั้ง (Schizocarp)
ผลแก่จะแยกจากกันโดยยังมีก้านยึดผลอยู่แต่ละอันเรียก
ซีกผล ในแต่ละซีกผลจะมีเมล็ด
(ยี่หร่า)
ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่แล้วไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)
 ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit) แบ่งเป็น
1. ฝักแตกแนวเดียว (Follicle) ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลที่
แยกกัน เมื่อผลแก่จะแตกเพียงตะเข็บเดียวเช่น ผลจาปี จาปา
2. ผลแตกแบบผักกาด (Silicle) ผลที่เกิดจากรังไข่ที่มี 2 คาร์เพล เมื่อผลแก่ผนังผลแตก
ตามยาวจากด้านล่างไปยังด้านบนแบ่งออกเป็นสองซีก เมล็ดติดอยู่แนวกลางของผล (central
false septum) เช่นผลผักกาดนก ผักเสี้ยน
3. ฝักแบบถั่ว Legume ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียว เมื่อผลแก่จะแตกออกตาม
แนวตะเข็บ 2 ข้างของผล ได้แก่ ผลของพืชวงศ์ถั่ว
4. ผลแบบฝักหักข้อ (loment, lomentum) ผลคล้ายผลแบบถั่วแต่มีรอยคอดรอบฝัก
เป็นช่วงๆหรือเว้าเป็นข้อๆ เมื่อผลแก่จะหักบริเวณนี้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เช่น ผลไมยราพ คูน
5. ผลแบบผักชี (cremocarp) ผลขนาดเล็กมี 2 เมล็ด เมื่อผลแก่และแตกออก เมล็ดจะ
แยกจากกันโดยมีคาร์โพฟอร์ (carpophores) เส้นเล็กๆ ยึดไว้
ประเภทของผล : Type of fruit
 ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit) แบ่งเป็น
6. ผลแห้งแตก (capsule) ผลที่เกิดจากดอกที่รังไข่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน และเมื่อผล
แก่จะแตก แบ่งออกเป็น
◦ ผลแห้งแตกตามรอยประสาน (septicidal capsule) ผลแห้งแตกตามแนวยาวของผนัง
คาร์เพล เช่น ผลกระเช้าสีดา
◦ ผลแห้งแตกกลางพู (loculicidal capsule) ผลแห้งแตกตรงกลางพูของแต่ละช่อง เช่น
ผลทุเรียน ตะแบก
◦ ผลแห้งแตกเป็นช่อง (poricidal capsule) ผลแห้งที่เปิดเป็นช่องหรือรูใกล้ยอดผล เช่น
ผลฝิ่น
◦ ผลแห้งแตกแบบฝาเปิด (circumscissile capsule, pyxis) ผลแห้งแล้วแตกตามขวาง
รอบผลลักษณะเป็นฝาเปิด มีเมล็ดจานวนมาก เช่น ผลหงอนไก่
ประเภทของผล : Type of fruit
ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่จะแตก (Dry Dehiscent Fruit)
ฝักแตกแนวเดียว(Follicle)
ผลที่มีหลายเมล็ด เมื่อแก่ผลแตกตามแนวตะเข็มเพียงด้านเดี่ยว
(มะค่าแต้)
ผลแตกแบบฝัก (Silique)
ผลที่มีแนวแบ่งเป็นสองส่วนตามยาวเมื่อแตกเป็นสองซีกมี
ผนังบางกันกลางเหลืออยู่
(ผักกาด,ผักเสี้ยน)
ฝักแบบถั่ว (Legume)
ผลแก่ที่แตกออกตามตะเข็บทั้งสองด้าน
(พืชตระกูลถั่ว)
ผลแห้งแตก (Capsule)
ผลที่เกิดจากเกสรตัวเมียที่มีหลายรังไข่เชื่อติดกัน เปลือกผล
เมื่อแห้งแตกออก
(อินทนิล, ทุเรียน,กระเจี๊ยบแดง)
ผลแตกตามช่อง (Poricidal capsule)
ผลแก่แตกเป็นช่องขนาดเล็กหลายช่องที่ปลายผล
(ฝิ่น)
ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่จะแตก (Dry Dehiscent Fruit)
ผลแห้ง (Dry Fruit)
หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันก็จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด
(Seed) ซึ่งมีสารอาหารผสมอยู่ด้วย และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ด
ไว้ภายในและช่วยในการกระจายพันธุ์ ผลพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบ
เลี้ยงติดมาด้วย ได้แก่ ผลฝรั่ง ทับทิม มังคุด สับปะรด แอปเปิล หรือส่วนของฐานรองดอก
หุ้มรังไข่แบบ อินฟีเรียร์เจริญมาด้วย ได้แก่ ผลชมพู่ ทับทิม มะเขือ และแอปเปิล ดังนั้น
ความหมายของผลที่สมบูรณ์คือ รังไข่ที่สุกแล้วอาจมีส่วนอื่นของดอกหรือฐานรองดอก
เจริญตามมาด้วย ยังมีผลบางชนิด ซึ่งเจริญมาโดยไม่มีการผสมเกสรเรียกแบบนี้ว่า ผล
เทียม หรือผลแบบ พาร์ทีโนคาฟิก (Parthonocarpic) และเรียกวิธีการเกิดผลแบบนี้ว่า พาร์
ทีโนคาฟี (Parthenocarpy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระตุ้นโดย
การใช้ฮอร์โมนพวกออกซิน จิเบอเรลลีน ฉีดพ่นทาให้รังไข่เจริญเป็นผลได้ และผลที่ได้โดย
วิธีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนนี้จะไม่มีเมล็ด คาว่าผลในแง่ของพฤกษศาสตร์ นอกจากจะ
หมายถึงผลไม้ที่รับประทานได้แล้ว เช่น องุ่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน ลาไย เงาะ แอปเปิล ชมพู่
แล้วยังรวมไปถึงผลที่เรียกว่าผักต่างๆ เช่น ถั่ว มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบ และผลที่เรียกว่า
เมล็ดด้วย เช่น ข้าว ข้าวโพด และธัญพืชทั้งหลายด้วย
การเกิดเมล็ด (Seed formation)
 ภายหลังการปฏิสนธิของพืชมีดอก ซึ่งเกิดขึ้นภายในรังไข่ ทาให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ทั้ง
ไซโกตและเอนโดสเปิร์มจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ด โดยที่ไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่ม
จานวนเซลล์เจริญพัฒนาเป็นเอ็มบริโอ หลังจากนั้นเอ็มบริโอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทาให้เกิด
การพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ราก ลาต้น กิ่ง ก้าน และใบ โครงสร้างภายในเมล็ด
 เมล็ดแต่ละชนิดอาจมีรูปร่าง ลักษณะ ขนาด ที่แตกต่างกัน แต่มีส่วนประกอบหลักเหมือนกัน คือ
เปลือกหุ้มเมล็ด เอ็มบริโอ และเอนโดสเปิร์ม
1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังของ
ออวุล และมีลักษณะเป็นเยื่อ 2 ชั้น
- ชั้นนอก (testa) เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังชั้นนอกของออวุลปกติจะหนา แข็ง และ
เหนียว เป็น ผลให้น้าในเมล็ดระเหยออกไปได้ยาก ป้องกันอันตรายจากแมลงและจุลินทรีย์
- ชั้นใน (tegmen) เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังชั้นในของออวุล มักเป็นเยื่อสีขาวบางๆ
2. เอมบริโอ (embryo) เจริญมาจากไซโกต เกิดจากเซลล์ไข่ผสมกับสเปิร์ม และเจริญต่อไปเป็นต้นพืช
ประกอบด้วยส่วนสาคัญดังนี้
 ใบเลี้ยง (cotyledon) อยู่ติดกับเอมบริโอในเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยง เดี่ยว
มี 1 ใบ ใบเลี้ยงบางชนิดจะดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยงอวบและมีขนาดใหญ่ขึ้น
เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดถั่วดา มะขาม เป็นต้น ใบเลี้ยงบางชนิดไม่สามารถดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์ม
มาเก็บไว้ทาให้มีลักษณะแบนบาง เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดละหุ่ง ใบเลี้ยงมีหน้าที่เก็บสะสมอาหารสาหรับ
การเจริญของเอมบริโอคุ้มกันเอมบริโอระหว่าง การงอกและใบเลี้ยงที่เจริญอยู่เหนือดินสามารถ
สังเคราะห์แสงได้
 เอพิคอทิล (epicotyle) อยู่เหนือตาแหน่งที่ติดกับ ใบเลี้ยง เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเจริญเป็นลาต้น ใบ
และดอก ของพืชส่วนยอดของเอพิคอทิลในเมล็ดเป็นใบเล็กๆ 2 ใบและยอดอ่อน เรียกวา พลูมูล
(plumule) หรือยอดอ่อนประกอบ ด้วยเนื้อเยื่อเจริญซึ่งจะเจริญเป็นใบและยอดอ่อนต่อไป
 ไฮโพคอทิล (hypocotyle) อยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงและตาแหน่งที่จะเจริญไปเป็นราก (อยู่
ใต้ใบเลี้ยง) เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น
 แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโอต่อจาก ส่วนไฮโพคอทิลลงมา ส่วนปลายสุดของแรดิ
เคิลจะอยู่ ตรงกับไมโครไพล์ของเมล็ด เป็นส่วนแรกของเอ็มบริโอที่งอกออกมาจากเมล็ด และจะเจริญ
เป็นรากแก้ว ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้วจะเจริญอยู่ระยะหนึ่งหลังจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญ
ขึ้นมาแทน
 เอมบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว และหญ้า จะมีเยื่อหุ้มหนาหุ้มอยู่ตอนบน เรียกว่า คอลี
ออบทิล (coleoptile) และมีเยื่อหุ้มแรดิเคิล เรียกว่า คอลีโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้งสองชนิดจะ
ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ เอ็มบริโอส่วนของยอดอ่อนและส่วนของแรดิเคิล เมื่อมีการงอกเกิดขึ้น
 3. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เกิดจากการผสมระหว่างสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวเคลียส
เป็นเนื้อเยื่อที่ สะสมอาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแป้ง โปรตีน ไขมัน และอื่นๆไว้สาหรับการ
เจริญเติบโตของเอมบริโอ และแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช
ภาพการเจริญและโครงสร้างของเมล็ด
เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
 เมื่อออวุลได้รับการผสมและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ดนั้น อินเทกิวเมนต์ (integuments) ซึ่งเป็น
ส่วนที่ห่อหุ้มออวุลไว้ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) ทาหน้าที่ห่อหุ้ม
โครงสร้างต่างๆ ของเมล็ดไว้ เปลือกเมล็ดของพืชแต่ละชนิดมีการเจริญและพัฒนาการที่แตกต่าง
กันออกไป เปลือกเมล็ดของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงมาจาก outer integument เท่านั้น ส่วน
inner integument สลายตัวไป แต่ในพืชบางชนิด อินเทกิวเมนต์ทั้งสองชั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็น
เปลือกเมล็ดได้ ในพืชบางชนิดมีชั้นเซลล์ผิวของเปลือกเมล็ดเปลี่ยนไปเป็นขนเช่น ฝ้าย และ
มะเขือเทศ เป็นต้น
เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
 เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่ ผนังเซลล์ของเปลือกเมล็ดหนา
ขึ้น โดยมีสารเพกทิน เซลลูโลส คิวทิน ลิกนิน หรือซูเบอ
ริน มาสะสมอผนังเซลล์เพิ่มมากขึ้นก็ทาให้เปลือกเมล็ดมี
ความหนา ความแข็งเพิ่มขึ้น ในเ มล็ดพืชบางชนิดผนัง
เซลล์มีสารซูเบอรินนี้มาสะสมอยู่ด้วยมากเกินไปก็อาจเป็น
สาเหตุให้เกิดลักษณะเมล็ด แข็ง (hard seed) ขึ้นได้ สีของ
เมล็ดเมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวไปเป็นสีต่างๆ แล้วแต่รงค
วัตถุที่สะสมอยู่ในเซลล์ของเปลือกเมล็ด บนเปลือกหุ้ม
เมล็ด มีรอยแผลเป็นซึ่งเกิดจาก funiculus หลุดร่วงไป
เรียกรอยแผลเป็น นี้ว่า ขั้วเมล็ด (hilum) ใกล้ๆกับขั้วเมล็ดมี
รูเปิดเล็กๆ เรียกว่า micropyle ด้านตรงข้ามกับไมโค รไพล์
จะเห็นเปลือกนูนเป็นสันขึ้นมาเล็กน้อย เรียกบริเวณนี้ว่า
สันขั้วเมล็ด (raphe) เกิดขึ้นจากก้านออวุลพาด ผ่าน ปลาย
สุดของขั้วเมล็ดจรดกับบริเวณฐานออวุล (chalaza)
เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)
 ท่อลาเลียงจากก้านชูออวุลผ่านเข้าสู่เปลือกเมล็ดทอดยาวไปตามสันขั้วเมล็ดแล้วไปสิ้นสุด
บริเวณฐานออวุล เมื่อเมล็ดแก่บริเวณนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ผนังหนามากเรียกเซลล์สโตน
(stone cell)ทาหน้าที่ปิดทางลาเลียงเข้าออกจากเมล็ด และทาให้ขั้วเมล็ดด้านนี้มีสีเข้มด้วย เช่น
ในเมล็ดส้ม และข้าวโพด เป็นต้น (จุกขั้ว : caruncle เป็นส่วนที่เจริญออกมาของผนังออวุลอยู่
ใกล้ไมโครไพล์หรือขั้วเมล็ด มีหน้าที่ดูดความชื้นเพื่อช่วยในการงอก เช่น ละหุ่ง )
สัณฐานวิทยาภายนอกของเมล็ด โดยทั่วไปเป็นดังนี้
1. ไมโครไพล์ (micropyle) เป็นส่วนเดียวที่พัฒนามาจากออวุลโดยไม่ถูกเปลี่ยนชื่อเหมือนส่วน
อื่นๆ อาจจะยังคงเห็นเป็นรูเล็กๆที่ปิดสนิทบนเปลือกเมล็ด จะสังเกตเห็นได้ในเมล็ดถั่ว หรืออาจจะหายไปก็
ได้ โดยมากมักจะเห็นร่วมกับขั้วเมล็ด (hilum) ไมโครไพล์นี้มีบทบาทมากในการดูดซึมน้าของเมล็ด
2. ขั้วเมล็ด (hilum) เช่นในถั่ว หรือ ชั้นเนื้อเยื่อสีดา (black layer) เช่นในข้าวโพด เป็นรอย
แผลเป็นบนเมล็ด เกิดจากการแยกตัวออกของฐานก้านออวุล เมล็ดที่มีขั้วเมล็ดเกิดจากออวุลตั้งตรงและออวุล
แนวนอน
3. สันขั้วเมล็ด (raphe) ในออวุลคว่าที่โค้งกลับ 180 องศา เช่นลิลี่ ส่วนที่เหลือของก้านออวุลที่ติด
กับออวุลยังคงเหลือร่องรอยอยู่เป็นสันตามยาวบนด้านหนึ่งของเมล็ด
พืชดอกส่วนมากที่มีเปลือกเมล็ดแห้ง จัดเป็นลักษณะที่ก้าวหน้าทางวิวัฒนาการ ในขณะที่ พืช
ดอกบางชนิดมีเปลือกเมล็ดเป็นเนื้อ ซึ่งพบได้ทั่วไปในพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) จัดเป็นลักษณะดึกดา
บรรพ์ เช่นเปลือกเมล็ดที่กินได้ (sarcotesta) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นผิวชั้นนอกของทับทิม ส่วนเมล็ดของพืชดอก
บางชนิดมีรยางค์เป็นเนื้อ จัดเป็นลักษณะปานกลางทางวิวัฒนาการ ระยางค์เหล่านี้เป็นอาหารของสัตว์บาง
ชนิดได้ ดังนั้น จึงมีบทบาทช่วยในการช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ เช่น
ระยางค์ช่วยในการช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์
1. ปุยหุ้มเมล็ด (aril) หรือรกหุ้มเมล็ดหรือเยื่อรก เป็นรยางค์หรือเนื้อที่เจริญมาจากก้าน
ออวุล และมักจะเจริญออกมาจากบริเวณฐานของออวุลมาห่อหุ้มเมล็ดพบมากในพืชวงศ์ส้าน
(Dilleniaceae) เช่น ส้าน มะตาด และรสสุคนธ์ นอกจากนี้ยังพบในจันทน์เทศ katemfe และยูว์ที่เป็นพืช
เมล็ดเปลือย (gymnosperm) เมล็ดจันทน์เทศมีปุยหุ้มเมล็ดสีแดงสดและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้้าตาล
เมื่อแห้ง ปุยหุ้มเมล็ดที่แห้งแล้วนี้เรียกว่าดอกจันทน์หรือดอกจันทน์เทศ (mace) ส่วนเมล็ดที่แก่จัดมีสี
น้้าตาลเข้มเรียกว่าลูกจันทน์ (nutmeg) ใช้ทั้งสองส่วนนี้เป็นเครื่องเทศและยาได้ ส่วนในปุยหุ้มเมล็ดของ
ต้น katemfe ซึ่งเป็นพืชในแอฟริกาตะวันตกมีสาร talin ที่มีความหวานมากที่สุดในโลกถึงกว่า 6,000 เท่า
ของน้้าตาลทราย
2. จุกขั้ว (caruncle) เป็นส่วนที่เจริญออกมาของผนังออวุล อยู่ใกล้ไมโครไพล์หรือขั้วเมล็ด
มีหน้าที่ดูดความชื้นเพื่อช่วยในการงอก เช่น ละหุ่ง
3. จุกขั้ว (strophiole) เป็นส่วนที่เจริญออกมาของสันขั้วเมล็ด (raphe) ที่มาจากออวุลคว่้า
เช่น ถั่วลิมา
4. อีไลโอโซม(elaiosome) เป็นรยางค์ที่มีลักษณะเป็นมันเนื่องจากมีน้้ามันสะสมบนเมล็ด
หรือผล มีบทบาทช่วยในการแพร่กระจายเมล็ด เนื่องจากมดกินเป็นอาหารได้ จึงคาบเมล็ดไปเก็บไว้ใน
รังที่อยู่ห่างออกไปจากต้นเดิม เช่น ป๊อปปี้แคลิฟอร์เนีย (California bushy poppy)
เมล็ดจันทน์เทศ เมล็ดละหุ่ง
ถั่วลิมา California bushy poppy seed
โครงสร้างพิเศษบนเปลือกเมล็ด
 ภายหลังจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น นอกเหนือจากมีการ
สร้างเปลือกเมล็ดขึ้นแล้วเมล็ดยังสร้าง อริลลอยด์
(arilloid) ขึ้นอีก
 อริลลอยด์ คือ โครงสร้างที่เจริญอยู่ด้านนอกเปลือก
เมล็ดพบได้ใน 4 บริเวณคือ
1. ถ้าเกิดอยู่บริเวณสันขั้วเมล็ด (raphe) เรียก
สโตรฟิโอล (strophiole)
2 . ถ้าเกิดอยู่บริเวณใกล้ไมโครไพล์ เรียก คา
รันเคิล (caruncle)
3 . ถ้าเกิดขึ้นรอบไมโครไพล์ เรียก ปุยหุ้ม
เมล็ดเทียม (false aril)
4 . ถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณโคนของก้านออวุล เรียก
ปุยหุ้มเมล็ดแท้ (true aril)
Strophiole
การเจริญของเมล็ด (Seed development)
 การเจริญของเมล็ดก็คือการเจริญของพืชดอกระยะสปอร์โรไฟต์โดยอาศัยกระบวนการแบ่งเซลล์(cell
division) การขยายขนาดของเซลล์ (cell elongation) และเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (Cell
differentiation)
 การเจริญของเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระยะ ได้แก่
1. Zygote stage : หลังการปฏิสนธิจะพบไซโกตและเอ็นโดสเปิร์ม
2. Proembryo stage : ไซโกตแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสกลายเป็นเอ็มบริโอและมีกลุ่มเซลล์
ด้านล่างเรียกว่าซัสเพนเซอร์ (Suspensor) ทาหน้าที่ส่งอาหารจากเอ็นโดสเปิร์มเข้าสู่เอ็มบริโอ
3. Globular stage : เอ็มบริโอมีลักษณะกลมและแยกได้ว่าด้านไหนจะเจริญไปเป็นยอดหรือราก
โดยดูจากด้านที่ติดกับ suspensor จะกลายเป็นราก ส่วนด้านที่มีลักษณะกลมจะกลายเป็นยอด
4. Heart stage : เอ็มบริโอมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและเริ่มพบใบเลี้ยง (cotyledon)
5. Torpedo stage : เอ็มบริโอมีลักษณะยืดยาวคล้ายทอร์ปิโด พบส่วนยอดและส่วนรากที่แยกกัน
ชัดเจน
6. Mature embryo stage : ระยะนี้เอ็มบริโอเจริญเป็นตัวเต็มวัยซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน
คือ ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งปลายยอดและใบเลี้ยง และส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ซึ่ง
ประกอบรากแรกเกิด (radicle) ซึ่งภายในมีเนื้อเยื่อเจริญปลายราก
พืชใบเลี้ยงเดี่ยวแตกต่างจากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงที่จานวนใบเลี้ยง นอกจากนี้เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวจะ
ได้รับอาหารจากใบเลี้ยงและเอ็นโดสเปิร์ม แต่เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงคู่จะได้อาหารทั้งหมดจากใบเลี้ยง ส่วน
เอ็นโดสเปิร์มจะค่อยๆ หายไป
Comparison of Seed Structure
เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแตกต่างจากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงจานวนของใบเลี้ยง ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยง
เดี่ยวก็มีใบเลี้ยงเพียง 1 ใบ เท่านั้น ในขณะที่พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง2 ใบ สาหรับพืชวงศ์หญ้ามี
เอ็มบริโอรูปร่างแตกต่างจากพืชอื่นๆ ใบเลี้ยงที่มีอยู่ 1 ใบ นั้นเรียกว่า สคิวเทลลัม (scutellum)
สรุป : โครงสร้างเมล็ดพืช (Seed structure)
1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมักมีลักษณะหนาและเหนียวหรือแข็งเพื่อ
ป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เกิดการสูญเสียน้าภายใน
เมล็ดออกไปด้วย เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอก เรียกว่า เทกเมน (tegmen) เป็นชั้น
เยื่อบางๆ ที่ผิวของเปลือกมักมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ซึ่งเกิดจากก้านเมล็ดหลุด ออกไป เรียกรอย
แผล นี้ว่า ไฮลัม (hilum) ใกล้ๆไฮลัมมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไฟล์ (micropyle)ซึ่งเป็นทางเข้า
ของหลอดละอองเรณูนั่นเอง
2. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เกิดจากการผสมของสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอทา
หน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง น้าตาล โปรตีน ไขมันให้แก่เอมบริโอ เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ถั่ว
แขก ถั่วลันเตา นุ่น จะไม่พบเอนโดสเปิร์มเลย เนื่องจากใบเลี้ยงย่อยและดูดอาหารจากเอนโด
สเปิร์มไปเก็บไว้ ทาให้ใบเลี้ยงหนามาก ในบางชนิด เช่น มะพร้าว ตาล จะมีเอนโดสเปิร์มที่
เป็นน้าและเป็นเนื้อส่วนที่เป็นน้า เรียกว่า ลิควิดเอนโดสเปิร์ม (liquid endosperm) ส่วนที่เป็น
เนื้อ เรียกว่า เฟลชีย์เอนโดสเปิร์ม (fleshy endosperm)
3. เอมบริโอ (embryo) เป็นส่วนของเมล็ดที่เจริญมาจากไซโกตการเจริญของเอมบริโอ
เริ่มต้นด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสครั้งแรกได้ 2 เซลล์ คือ เซลล์ที่อยู่ด้านล่างอยู่ติดกับรูไมโคร
ไพล์ (micropyle)เรียกว่า เบซัลเซลล์ (basal cell) และเซลล์ที่อยู่ด้านบนเรียกว่า แอพิคัลเซลล์
(apical cell) เซลล์ที่อยู่ด้านล่างจะแบ่งเซลล์เพิ่มจานวนเซลล์ขึ้น เรียกว่า ซัสเพนเซอร์
(suspensor) ทาหน้าที่ยึดเอนบริโอ ส่วนเซลล์ที่อยู่ด้านบนจะแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วและอยู่
ทางด้านบนของซัสเพนเซอร์ ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงของเอมบริโอเซลล์ไปเป็นเนื้อเยื่อและ
ส่วนต่างของเอมบริโอ ดังนี้
3.1 ใบเลี้ยง (cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยงสองใบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยงใบ
เดียว และมักจะเรียกกว่า สคิวเทลลัม (scutellum) ใบเลี้ยงมีหน้าที่ในการย่อยและดูดซึม
สารอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยงมีขนาดหนาและใหญ่ และไม่มีเอนโดสเปิร์ม แต่
ในพืชบางชนิดอาหารถูกสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เนื่องจากใบเลี้ยงไม่ได้ย่อยมาเก็บไว้ ใบเลี้ยงจึง
มีลักษณะแบนและบาง ใบเลี้ยงนอกจากจะช่วยในการสะสมและให้อาหารแก่เอมบริโอแล้วใบเลี้ยง
ยังช่วยป้องกันไม่ให้เอนบริโอที่อยู่ข้างในบุบสลายเมื่อมีการงอกของเมล็ดเกิดขึ้น
3.2 ลาตันอ่อน (caulicle) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
3.2.1 เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอมบริโอที่อยู่เหลือใบเลี้ยงขึ้นไปที่ส่วนปลาย
ของเอพิคอทิลจะมียอดอ่อน (plumule) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem)
เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดนี้จะแบ่งตัวและเจริญต่อไปเป็นยอด ใบ ดอก และลาต้นของพืช
3.2.2 ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนของเอมบริโอที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงลงมา
3.2.3 แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของไฮโพคอทิล ส่วนปลายของแรดิเคิล
จะอยู่ที่รูไมโครไพล์ เมื่อเมล็ดงอกแรดิเคิลจะเจริญไปเป็นรากแก้ว (tap root) หรือรากสามัญ
(primary root)
ประเภทของเมล็ด (Seed type)
 เมล็ดอาจแบ่งเป็นประเภทหรือชนิดต่างๆได้หลายแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือเกณฑ์ที่นามาใช้เป็น
หลักในการจาแนกในที่นี้จะอธิบายถึงประเภทต่างๆของเมล็ดโดยใช้เกณฑ์ต่างๆกันดังนี้คือ
1 ตาแหน่งของอาหารสะสมภายในเมล็ดแบ่งเมล็ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
 1.1. เมล็ดอัลบูมินัส(albuminous seed)
 1.2. เมล็ดเอกซ์อัลบูมินัส(exalbuminous seed)
2 ตาแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเอ็มบริโอภายในเมล็ดแบ่งเมล็ดออกได้เป็น 3 ดิวิชัน คือ
 2.1. เบซอลดิวิชัน (basal division)
 2.2. เพอริเฟอรัลดิวิชัน (peripheral division)
 2.3. แอกไซล์ดิวิชัน (axile division)
3 โครงสร้างของเปลือกเมล็ด
 3.1 เมล็ดเทสทัล(testal seed)
 3.2 เมล็ดเทกมิก(tegmic seed)
ประเภทเมล็ดจาแนกโดยตาแหน่งของอาหารสะสมภายในเมล็ด
 การจาแนกเมล็ดตามลักษณะการมีหรือไม่มีเอนโดสเปิร์มได้ดังนี้
1. เมล็ดที่มีเอนโดสเปิร์ม(albuminous seed) เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเอ็นโด
สเปิร์ม หรือในบางกรณี บางส่วนของเอนโดสเปิร์มถูกใบเลี้ยงดูดไปเก็บไว้เช่น พืชในวงศ์ Poaceae
(ธัญพืชหรือ หญ้า)และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด หอม และปาล์มและพืชใบ
เลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ละหุ่ง เมล็ดพวกนี้อาจมีหรือไม่มีเพอริสเปิร์ม(เนื้อเยื่อที่เจริญมาจากนิวเซลลัส
ที่ยังคงอยู่ในเมล็ด)ก็ได้
2. เมล็ดไร้เอนโดสเปิร์ม (exalbuminous seed) ถึงแม้จะมีเอ็นโดสเปิร์มในช่วงแรกแต่
เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะหายไปเพราะว่าถูกใบเลี้ยงดูดไปเก็บไว้หมดในระยะที่กาลังเกิด
เอ็มบริโอลักษณะของใบเลี้ยงพวกนี้จะอวบหนาเช่น พืชในวงศ์ Fabaceae (ถั่ว) Asteraceae
(ทานตะวัน) และ Cucurbitaceae (แตง)
 สารอาหารที่เก็บไว้ในเอ็นโดสเปิร์มในเมล็ดประกอบด้วยเม็ดแป้งโปรตีน ลิพิด เมล็ดพืชบาง
ชนิดที่อาจจะมีหรือไม่มีเฮมิเซลลูโลสเซลล์เอนโดสเปิร์มมีผนังชั้นแรกหนามากเช่น
หน่อไม้ฝรั่ง และ Diospyros sp. ดังนั้น ในช่วงการงอกเฮมิเซลลูโลสจะถูกย่อยสลายเป็นแมน
โนส (mannose) และมอโนแซ็กคาไรค์(monosaccharide) อื่นๆ
เอนโดสเปิร์ม (endosperm)
 กลุ่มเนื้อเยื่อซึ่งจะเป็นอาหารสาหรับเอ็มบริโอใช้การเจริญเติบโต เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิ มีจานวน
โครโมโซมเป็นทริพลอยด์ ในพืชพวกแองจิโอสเปิร์ม มีอยู่เพียง 3 วงศ์เท่านั้นที่ไม่พบว่ามีการสร้างเอน
โดสเปิร์ม ได้แก่ วงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) Podostemaceae และ Trapaceae บางพืชมีการสร้าง เอน
โดสเปิร์ม แต่ถูกเอ็มบริโอใช้หมดไปในระหว่างการเจริญเติบโต เช่น ถั่ว มะขาม สะเดา เป็นต้น เมล็ด
ของพืชพวกนี้จึงเป็นเมล็ดที่ไม่มีเอนโดสเปิร์ม (non-endospermous seed) แต่บางชนิดเมล็ดมีเอนโด
สเปิร์ม (endospermous seed) เพื่อใช้ในระหว่างที่เมล็ดงอก เช่น ธัญพืช ละหุ่ง มะพร้าวและมะละกอ
เป็นต้น
 เอนโดสเปิร์มทาหน้าที่สะสมอาหารไว้เพื่อ (1) การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ หลังจากกระบวนการ
ปฏิสนธิพบว่า ไซโกตไม่แบ่งเซลล์จนกว่าเอนโดสเปิร์มเติบโตเต็มที่แล้ว หรือจนกว่าจะได้รับอาหาร
สะสมจากเอนโดสเปิร์มถ้าเอนโดสเปิร์มไม่เจริญหรือฝ่อไปมีผลให้เอ็มบริโอไม่เจริญด้วย ในขณะที่
เอ็มบริโอเจริญเติบโตใช้อาหารจากเนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์มที่อยู่ล้อมรอบเอ็มบริโอนั้นหมดไป ยกเว้นใน
บางพืช พืชตระกูลถั่วหรือแตง เอ็มบริโอดูดดึงอาหารจากเอนโอสเปิร์มาใช้จนหมดก่อนเอ็มบริโอเติบโต
เต็มที่ (2) เป็นอาหารสะสมสาหรับต้นอ่อนใช้ในขณะที่มีกระบวนการงอกเกิดขึ้น จนกว่าต้นอ่อนจะ
สังเคราะห์แสงได้เอง เอนโดสเปิร์มก็หมดหน้าที่ไป
เอนโดสเปิร์ม (endosperm)
 เอนโดสเปิร์มของพืชหนึ่งสามารถนาไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของพืชต่าง
ชนิดกันได้ ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง (specificity) และเอนโดสเปิร์มจากผลหรือเมล็ดที่
มีอายุน้อยมีคุณค่าของอาหารสะสมสูงกว่าเอนโดสเปิร์มจากผลหรือเมล็ดแก่ นอกจากนี้ยัง
พบว่าปริมาณของฮอร์โมน เช่น ออกซิน ไซโทไคนินและจิบเบอเรลลินลดลงตามอายุของ
เอนโดสเปิร์มที่เพิ่มขึ้น ซีทิน (zeatin) ซึ่งเป็นไซโทไคนินชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดีก็สกัดมาก
จากเอนโดสเปิร์มอ่อนๆ ของข้าวโพด
 อาหารสะสมในส่วนของเมล็ด นอกจากจะอยู่ในส่วนของเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยงแล้วยัง
อาจอยู่ในเนื้อเยื่อเพอริสเปิร์ม (perisperm) ได้อีก โดยทั่วไปเนื้อเยื่อนิวเซลลัสซึ่งอยู่
ล้อมรอบถุงเอ็มบริโอถูกใช้หมดไปขณะที่มีการเจริญสร้างเอนโดสเปิร์มขึ้นมา แต่ในพืช บาง
วงศ์ เช่น Amaranthaceae Cannaceae Capparidaceae Piperaceae Portulaceae
Zingiberaceae นั้นเนื้อเยื่อนิวเซลลัสรอบๆ ถุงเอ็มบริโอยังคงอยู่จนกระทั่งออวุลเจริญเป็น
เมล็ด เรียกเนื้อเยื่อที่เจริญมาจากนิวเซลลัสที่ยังคงอยู่ในเมล็ดว่า "เพอริสเปิร์ม"
ประเภทเมล็ดจาแนกโดยตาแหน่ง ขนาด
และรูปร่างของเอ็มบริโอภายในเมล็ด
เมื่อใช้เกณฑ์นี้จะแบ่งเมล็ดออกได้เป็น3 ดิวิชัน คือ
 2.1. เบซอล ดิวิชัน (basal division) เมล็ดในดิวิชันนี้มีเอ็มบริโอขนาดเล็กตาแหน่งของเอ็มบริโอ
ในเมล็ดอยู่ส่วนครึ่งล่างของเมล็ด เนื้อที่ส่วนใหญ่ภายในเมล็ดเป็นที่อยู่ของเอนโดสเปิร์ม เมล็ด
มักมีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่
 2.2. เพอริเฟอรัล ดิวิชัน (peripheral division) เมล็ดในกลุ่มนี้ประกอบด้วยเอ็มบริโอขนาดใหญ่
ยาว วางตัวในลักษณะโค้งงอไปตามเปลือกเมล็ด มีเอนโดสเปิร์มเห็นเด่นชัด
 2.3. แอกไซล์ ดิวิชัน (axile division) เมล็ดในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยเอ็มบริโออยู่ตรงกลางของ
เมล็ด อาจมีลักษณะตั้งตรง โค้งงอ ขดหรือพับอยู่ อาจมีหรือไม่มีเอนโดสเปิร์ม แบบนี้เป็นแบบที่
พบมากที่สุดทั้งในพืชพวกจิมโนสเปิร์มและแองจิโอสเปิร์ม
ประเภทของเมล็ดจาแนกโดยใช้โครงสร้างของเปลือกเมล็ด
 เปลือกเมล็ดโดยทั่วๆ ไปมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกเจริญมาจากอินเทกิวเมนต์ชั้นนอก เรียกว่า
เทสตา (testa) เปลือกชั้นในเจริญมาจากอินเทกิวเมนต์ชั้นใน เรียกว่า เทกเมน (tegmen) ในพืช
แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเปลือกเมล็ดทั้งสองชั้นนี้แตกต่างกันไปเมล็ด
พืชที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างล้าหลัง (primitive) มักมีเปลือกเมล็ดหนาและมีโครงสร้างซับซ้อน
กว่าเมล็ดพืชที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้า (advance) ซึ่ง เมล็ดพวกที่ก้าวหน้ากว่ากลับมีโครงสร้าง
ของเปลือกเมล็ดอย่างง่ายๆ และมีเปลือกที่บางกว่า เมล็ดที่มีส่วนของเทสตาเปลี่ยนแปลง
ซับซ้อน เรียก เมล็ดเทสทัล (testal seed) ส่วนเมล็ดที่มีโครงสร้างซับซ้อนอยู่ในชั้นเทกเมน
เรียก เมล็ดเทกมิก (tegmic seed)
การงอกของเมล็ด (Seed germination)
ปัจจัยในการงอกของเมล็ด
1. น้าหรือความชื้น เมื่อเมล็ดพันธุ์จะงอก น้าเป็นปัจจัยแรกที่จะกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์ตื่นตัว
กระตุ้นการ เกิดปฏิกิริยาเคมีและขบวนการเมแทบอลิซึมในเบื้องต้น เมล็ดพันธุ์ดูดน้าเข้าไปทาให้เปลือกเมล็ด
อ่อนนุ่ม ทาให้เมล็ดพอง โตขึ้น เนื่องจากการขยายของผนังเซลล์และโพรโทพลาสต์ เมื่อเปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม
ทาให้รากแทงผ่านเปลือกได้สะดวกมากขึ้น เมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดต้องการน้าสาหรับการงอกแตกต่างกัน
บางชนิดหากได้รับน้ามากเกินไปจะทาให้เมล็ด ขาดออกซิเจนที่ใช้สาหรับหายใจและทาให้เมล็ดเน่า ในบาง
ชนิด การที่เมล็ดพันธุ์ได้รับน้ามากๆอาจจะทาให้เมล็ดเข้าสู่ สภาวะพักตัวใหม่ สาหรับปัจจัยที่มีผลต่อการดูด
น้าของเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ ความหนาของเปลือก สารที่เคลือบอยู่ที่ผิวเปลือก ความเข้มข้นของน้า อุณหภูมิ และ
การสุกแก่ของเมล็ดที่ต่างกัน เป็นต้น
2. ออกซิเจน มีความสาคัญต่อขบวนการหายใจของเมล็ดพันธุ์ที่กาลังงอก เมล็ดพันธุ์ที่กาลังงอก
ต้องการ พลังงาน และพลังงานนั้นได้จากขบวนการ oxidation โดยใช้ออกซิเจน คือ ขบวนการหายใจ เมล็ด
พันธุ์ที่กาลังงอกจะมี อัตราการหายใจสูง เมื่อเทียบกับการหายใจในช่วงอื่นๆ และ จะมีกิจกรรมการสลายและ
เผาผลาญอาหารที่เก็บสะสมไว เมล็ดพันธุ์โดยทั่วไปจะงอกในสภาพบรรยากาศปกติที่มีออกซิเจน ประมาณ
20 เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 0.03 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีเมล็ดพันธุ์พืชหลายชนิดที่งอกได้ใน
สภาพที่มีออกซิเจนต่ากว่าปกติ เช่น พืชที่งอกได้ในน้า
3. อุณหภูมิ มีความสาคัญต่อการควบคุมและอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีขณะเมล็ดกาลังงอก
เนื่องจาก อัตราการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีจาเป็นต้องอาศัยการทางานของเอนไซม์ ซึ่งมีความจาเพาะเจาะจงกับระดับ
อุณหภูมิ นอกจากปัจจัย 3 ชนิดข้างต้นที่จาเป็นในการงอกของเมล็ดพันธุ์โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเมล็ดพันธุ์บางชนิดที่
ต้องการ แสง สาหรับการงอก เช่น ปอกระเจา ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม และพริก เป็นต้น เมล็ดพันธุ์บางชนิดอาจจะ
ต้องการ แสงเพียงพอกระตุ้นการงอกในระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น สาหรับเมล็ดพันธุ์บางชนิด แสงจะเป็นตัวยับยั้งการ
งอก มีพืชบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถงอกได้ในที่ที่ไม่มีแสง เช่น พืชตระกูลหอม หรือไม้หัว และพืชในกลุ่มไม้ดอกบาง
ชนิด เช่น ฟล็อก พืชในกลุ่มนี้เมื่อได้รับแสงจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลง
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561
Lesson3 plamtreproduce2561

More Related Content

What's hot

ขนราก
ขนรากขนราก
ขนรากdnavaroj
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดWan Ngamwongwan
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2Wichai Likitponrak
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะKodchaporn Siriket
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะกมลรัตน์ ฉิมพาลี
 
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำAnana Anana
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)Thitaree Samphao
 
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารพัน พัน
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชAnana Anana
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากThanyamon Chat.
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)Thitaree Samphao
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stemThanyamon Chat.
 
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respiration
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respirationการหายใจระดับเซลล์ Cellular respiration
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respirationPat Pataranutaporn
 

What's hot (20)

8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
8. ชุดที่ 5 การลำเลียง
 
ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)ระบบประสาท (Nervous System)
ระบบประสาท (Nervous System)
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนราก
 
ระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือดระบบหมุนเวียนเลือด
ระบบหมุนเวียนเลือด
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
 
ข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะข้อสอบอัจฉริยะ
ข้อสอบอัจฉริยะ
 
การเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคนการเคลื่อนที่ของคน
การเคลื่อนที่ของคน
 
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
ใบงานการย่อยอาหาร Version นักเรียนค่ะ
 
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
ระบบย่อยอาหาร (Digestive System)
 
ส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอกส่วนประกอบของดอก
ส่วนประกอบของดอก
 
สรุปเซลล์
สรุปเซลล์สรุปเซลล์
สรุปเซลล์
 
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
การแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำ
 
เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)เนื้อเยื่อพืช (T)
เนื้อเยื่อพืช (T)
 
ระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหารระบบย่อยอาหาร
ระบบย่อยอาหาร
 
การลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืชการลำเลียงอาหารของพืช
การลำเลียงอาหารของพืช
 
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของรากโครงสร้างและหน้าที่ของราก
โครงสร้างและหน้าที่ของราก
 
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
การสืบพันธุ์ของพืชดอก (T)
 
structure and function of the stem
structure and function of the stemstructure and function of the stem
structure and function of the stem
 
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respiration
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respirationการหายใจระดับเซลล์ Cellular respiration
การหายใจระดับเซลล์ Cellular respiration
 
Kingdom plantae
Kingdom plantaeKingdom plantae
Kingdom plantae
 

Similar to Lesson3 plamtreproduce2561

บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกWichai Likitponrak
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งWichai Likitponrak
 
Lesson3 plantgrowth wichaitu62
Lesson3 plantgrowth wichaitu62Lesson3 plantgrowth wichaitu62
Lesson3 plantgrowth wichaitu62Wichai Likitponrak
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)Thitaree Samphao
 
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้Anana Anana
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยาDarika Kanhala
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกWichai Likitponrak
 
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Wichai Likitponrak
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช AnnanetAnana Anana
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชWichai Likitponrak
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตsupreechafkk
 
ผล.pptx
ผล.pptxผล.pptx
ผล.pptxBewwyKh1
 
16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืชWichai Likitponrak
 

Similar to Lesson3 plamtreproduce2561 (20)

บท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอกบท3การเจริญดอก
บท3การเจริญดอก
 
Plant tissue
Plant tissuePlant tissue
Plant tissue
 
Biocontest2014 kitty
Biocontest2014 kittyBiocontest2014 kitty
Biocontest2014 kitty
 
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้งBiomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
Biomapcontest2014 กะหล่ำปุ้ง
 
Lesson3 plantgrowth wichaitu62
Lesson3 plantgrowth wichaitu62Lesson3 plantgrowth wichaitu62
Lesson3 plantgrowth wichaitu62
 
Lesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowthLesson5animalgrowth
Lesson5animalgrowth
 
การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)การถ่ายละอองเรณู (T)
การถ่ายละอองเรณู (T)
 
1
11
1
 
ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้ผลและเมล็ดแก้
ผลและเมล็ดแก้
 
ชีววิทยา
ชีววิทยาชีววิทยา
ชีววิทยา
 
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอกบทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
บทที่1โครงสร้างและหน้าที่พืชดอก
 
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62Lesson5animalgrowth kr uwichai62
Lesson5animalgrowth kr uwichai62
 
Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62Lesson4animalrepro kr uwichai62
Lesson4animalrepro kr uwichai62
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
เนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanetเนื้อเยื่อพืช Annanet
เนื้อเยื่อพืช Annanet
 
บท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืชบท4ตอบสนองพืช
บท4ตอบสนองพืช
 
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต
 
ผล.pptx
ผล.pptxผล.pptx
ผล.pptx
 
Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561Lesson4 animalrepro2561
Lesson4 animalrepro2561
 
16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช16.ฮอร์โมนพืช
16.ฮอร์โมนพืช
 

More from Wichai Likitponrak

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยWichai Likitponrak
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfWichai Likitponrak
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64Wichai Likitponrak
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64Wichai Likitponrak
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564Wichai Likitponrak
 

More from Wichai Likitponrak (20)

บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินรับสมัครGS2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินดับเพลิง2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินสอวนชีวะ2565_ครูวิชัย
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdfSAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
SAR64-วิชัย(ชีววิทยา).pdf
 
การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64การสำรวจพืช Globe tu64
การสำรวจพืช Globe tu64
 
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
การสำรวจบรรยากาศ Globe tu64
 
การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64การสำรวจน้ำ Globe tu64
การสำรวจน้ำ Globe tu64
 
การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64การสำรวจดิน Globe tu64
การสำรวจดิน Globe tu64
 
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
แนวข้อสอบสามัญชีวะ2564
 
Biotest kku60
Biotest kku60Biotest kku60
Biotest kku60
 
Key biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaituKey biotestku60 kruwichaitu
Key biotestku60 kruwichaitu
 
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichaiBi opat2 onet2564_kru_wichai
Bi opat2 onet2564_kru_wichai
 
BiOsaman2564
BiOsaman2564BiOsaman2564
BiOsaman2564
 
Biosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichaiBiosaman63 kruwichai
Biosaman63 kruwichai
 
Ijs obio62 testing
Ijs obio62 testingIjs obio62 testing
Ijs obio62 testing
 
Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62Pptgst uprojectplant62
Pptgst uprojectplant62
 
Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62Pptgst uprojectpaper62
Pptgst uprojectpaper62
 
Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61Pptgst uprojectnickle61
Pptgst uprojectnickle61
 
Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61Pptgst uprojectflower61
Pptgst uprojectflower61
 

Lesson3 plamtreproduce2561

  • 1. บทที่ 3 การเจริญเติบโตของพืช (Plant Growth and Development) รายวิชาชีววิทยา 4 (ว30244) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
  • 2. ครูผู้สอน  นายวิชัย ลิขิตพรรักษ์ ตาแหน่งครู คศ.1 เอกวิชาชีววิทยา ประวัติการศึกษา : ◦ พ.ศ. 2549 วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกรียตินิยมอันดับ 2) สาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ◦ พ.ศ. 2551 ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ เอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ◦ พ.ศ. 2552 ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ◦ พ.ศ. 2555 สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เอกสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ◦ พ.ศ. 2558 ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประเมินและการวิจัยทางการศึกษา เอกวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคาแหง
  • 3. การเจริญเติบโตของพืช  การเจริญเติบโตของพืช หมายถึง การที่พืชมีการเพิ่มความสูง เพิ่มขนาด และมีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะต่างๆ ไปตามขั้นตอนของพืชนั้นๆ การเจริญเติบโตของพืชมี 3 กระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นคือ 1.1 การแบ่งเซลล์ (cell division) ทาให้มีจานวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น เซลล์ที่เกิดขึ้นใหม่จะ มีลักษณะเหมือนเดิมแต่มีขนาดเล็กกว่า 1.2 การเพิ่มขนาดของเซลล์ (cell enlargement) เป็นการสร้างสะสมสารทาให้เซลล์มี ขนาดใหญ่ขึ้นโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีการแบ่งเซลล์แล้วก็จะเพิ่มขนาดของเซลล์ด้วยเสมอ 1.3 การเปลี่ยนรูปร่างของเซลล์ (cell differentiation) เพื่อให้เหมาะสมกับหน้าที่เฉพาะ อย่างของแต่ละส่วนประกอบ
  • 4.
  • 5. การเจริญเติบโตของพืช  ลักษณะที่แสดงว่าพืชมีการเจริญเติบโต มีดังนี้ (1) รากจะยาวและใหญ่ขึ้น มีรากงอกเพิ่มขึ้น มีการแตกแขนงของรากมากขึ้น (2) ลาต้นจะสูงและใหญ่ขึ้น มีการผลิตทั้งตากิ่ง ตาใบ และตาดอก (3) ใบจะมีขนาดใหญ่ขึ้น จานวนใบเพิ่มขึ้น (4) ดอกจะใหญ่ขึ้น หรือดอกเปลี่ยนแปลงเป็นผล (5) เมล็ดจะมีการงอกต้นอ่อน
  • 6. ภายหลังการสืบพันธ์ของพืชดอก  การปฏิสนธิของพืชดอกเกิดขึ้น 2 ครั้ง ระหว่างเซลล์ไข่กับสเปิร์มนิวเคลียส และสเปิร์ม นิวเคลียสอีกอันหนึ่งกับโพลาร์นิวเคลียส เรียกว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization) หลังจากการปฏิสนธิแล้วออวุลแต่ละอันเปลี่ยนแปลงไป เป็นเมล็ด (seed) เนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์ม จะกลายเป็นเนื้อเยื่อสะสมอาหาร แต่ในพืชบางชนิดเอนโดสเปิร์มสลายไปจึงมีการสะสมอาหาร ไว้ใน ใบเลี้ยงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเอมบริโอ และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (fruit) ส่วนไซโก ตจะเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ (embryo) สรุปได้ว่า 1. การเกิดการปฏิสนธิ 2 ครั้ง (double fertilization ) 1.1 sperm nucleus (n) + egg nucleus (n) Zygote (2n)  embryo (2n) 1.2 sperm nucleus (n) + 2polar nucleus (2n)  endosperm (3n) 2. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อน 2.1 ออวุล (ovule) จะเปลี่ยนแปลงเป็นเมล็ด (seed ) 2.2 รังไข่ (ovary) จะเปลี่ยนแปลงเป็นผล (fruit)
  • 8.
  • 9. การเปลี่ยนแปลงภายหลังกระบวนการปฏิสนธิ หลังจากการปฏิสนธิ ยอดและก้านชูเกสรตัวเมียจะเหยี่ยวลง กลีบเลี้ยง กลีบดอก เกสรตัวผู้ และเกสร ตัวเมียก็จะแห้งแล้วร่วงหลุดไป ส่วนรังไข่ และ ออวุล หรือไข่ จะเจริญเติบโตต่อไปโดย รังไข่ จะเจริญ กลายเป็น ผล ส่วน ออวุล หรือไข่ จะเจริญไปเป็น เมล็ด ซึ่งภายในเมล็ดจะเก็บต้นอ่อน และอาหารสะสมไว้ ภายใน เพื่อเกิดเป็นต้นใหม่ เมื่อ เมล็ดพืชแพร่กระจายไปในที่ต่าง และไปตกในที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมกับการงอกของเมล็ด เมล็ดก็จะงอกเป็นต้นใหม่ต่อไป วิธีนี้ทาให้พืชดอกที่อยู่ตามธรรมชาติ สามารถแพร่ได้โดยไม่สูญพันธุ์ไป
  • 10.
  • 11.
  • 12.
  • 13.
  • 14. สรุป : หลังจากปฏิสนธิแล้วออวุล (ovule) จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด ส่วนรังไข่จะเจริญไปเป็นผล ไซโกตเจริญไปเป็นเอมบริโอ เอนโดสเปิร์มเจริญไปเป็นอาหารสาหรับเลี้ยงเอมบริโอ ในพืชบางชนิด เอนโดสเปิร์มจะสลายไปก่อนที่เมล็ดจะเจริญ ดังนั้น อาหารสะสมจึงอยู่ภายในใบเลี้ยงของเอมบริโอ การ ปฏิสนธิซ้อนของพืชดอกมีความสาคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างอาหารให้แก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ เช่น ผลไม้ที่เรารับประทานก็เกิดตามมาจากการปฏิสนธิ อาหารพวกข้าว ข้าวโพด ก็เป็นส่วนของเอนโด สเปิร์ม อาหารในเมล็ดถั่วหลายชนิดก็เป็นอาหารที่สะสมอยู่ในใบเลี้ยงของเอมบริโอ พืชพวก Gymnosperm จะเกิดการผสมเพียงครั้งเดียว (single fertilization) เท่านั้น
  • 15.
  • 16. การเปลี่ยนแปลงหลังการปฏิสนธิซ้อนในพืชดอกโดยทั่วไป คือ ไข่ที่ได้รับการผสมจะเจริญ ไปเป็นต้นอ่อนและโพลาร์นิวคลีไอที่ได้รับการผสมจะเจริญไปเป็นเอนโดสเปิร์ม ส่วนออวุลจะเจริญไป เป็นเมล็ด โดยที่ผนังออวุลเจริญไปเป็นเปลือกหุ้มเมล็ด และรังไข่จะพัฒนาต่อไปเป็นผลห่อหุ้มเมล็ด โดย ผนังรังไข่เจริญไปเป็นเปลือกและเนื้อของผล แต่ในผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล จะเจริญมาจากฐานรองดอก จึงเรียกผลชนิดนี้ว่า ผลเทียม (pseudo fruit) แต่ถ้ารังไข่ สามารถพัฒนาเป็นผลได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสนธิโดยใช้ฮอร์โมนพืชเป็นตัวเร่งให้เกิดการ เปลี่ยนแปลง เราจะเรียกผลรูปแบบนี้ว่า ผลลม (parthenocarpic fruit) เช่น กล้วยไร้เมล็ด ฝรั่งไร้เมล็ด เป็นต้น
  • 17.
  • 18.
  • 19.
  • 20.  ผลบางชนิดที่เจริญเติบโตขึ้นมาจากรังไข่ที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์ เรียกการเกิดผลแบบนี้ว่า การเกิดผล ลม (parthenocarpy) ผลแบบนี้อาจมีเมล็ดหรือไม่มีเมล็ดก็ได้ เป็นการยากที่จะทราบได้ว่าผลใดเป็นผลที่ เกิดจาก parthenocarpy ทั้งนี้ เพราะในกรณีที่ผลนั้นเกิดจากรังไข่ที่ได้รับการผสมพันธุ์ แต่เผอิญออวุล ในรังไข่นั้นไม่เจริญเติบโตเป็นเมล็ด ผลนั้นจึงเป็นผลที่ไม่มีเมล็ด จากเหตุการณ์นี้เราจะคิดเอาเองว่าผลที่ ไม่มีเมล็ดนั้นเป็นผลแบบผลลม (parthenocarpic fruit) ก็ไม่ได้ แท้จริงแล้วผลที่เกิดแบบ parthenocarpy นั้นมีเกิดขึ้นในธรรมชาติอยู่เสมอ เช่น กล้วย มะเขือยาว เป็นต้น ปัจจุบันนี้มีผู้นิยมทาให้ เกิด parthenocarpic fruit กับผลที่มีเมล็ดมาก ๆ เช่น มะเขือเทศ องุ่น เป็นต้น โดยใช้ฮอร์โมนที่เร่งการ เจริญเติบโต เช่น ออกซิน (auxin) ฉีดพ่นไปที่ดอกให้ถูกรังไข่ และป้องกันมิได้ดอกนั้นได้รับการผสม พันธุ์ก็จะได้ผลที่ไม่มีเมล็ด ผลลมหรือผลแบบไร้เมล็ด (Parthenocarpy)
  • 23.  พืชไม้ดอกบางชนิดเอ็มบริโออาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องมีการผสมพันธุ์ก็ได้ แต่ต้องมีโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับการ สืบพันธุ์แบบมีเพศมาเกี่ยวข้องด้วย เช่นนี้เรียก apomixis ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า เซลล์ไข่จะเปลี่ยนเป็นไซโกต ไม่ได้ถ้าไม่มีการผสม ดังนั้น ไซโกตที่ได้จากผลของการผสมพันธุ์จะมีจานวน 2n โครโมโซม อย่างไรก็ตามมี ปรากฎการณ์บางอย่างเกิดขึ้นซึ่งน้อยมาก โดยจะมีไซโกตหรือเอ็มบริโอเกิดขึ้นจากเซลล์ไข่ที่มิได้รับการผสม เรียกว่า parthenogenesis ซึ่งมี 2 แบบ 1. แบบที่เอ็มบริโอเจริญเติบโตมาจากเซลล์ไข่ที่มี n โครโมโซม หรือ haploid 2. แบบที่เอ็มบริโอเจริญเติบโตมาจากเซลล์ไข่ที่มี 2n โครโมโซม หรือ diploid โดยขณะที่มีการเจริญเป็น megagametophyte นั้นไม่มีการแบ่งตัวแบบไมโอซิสเกิดขึ้น เซลล์ไข่จึงยังคงมี 2n โครโมโซม  Apomoxis อีกชนิดหนึ่งได้แก่การเกิดเอ็มบริโอที่เจริญเติบโตมาจากเนื้อเยื่อภายในออวุลที่อยู่รอบๆ embryo sac เรียก เอ็บริโอที่เกิดแบบนี้ว่า adventitious embryo ซึ่งเป็น diploid พบมากในพืชพวก ส้ม เป็นต้น ควรรู้เพิ่มเติม
  • 24.
  • 25. เนื้อผลแบบ Aril ซึ่งเจริญมาจากก้านออวุล (funiculus) แล้วคลุมเมล็ดหรือบางส่วนของเมล็ดไว้ aril จึงไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของเปลือกเมล็ด (seed coat) เพราะไม่ได้เจริญมาจาก integument ตัวอย่างพืชที่มี aril คลุมเมล็ด เช่น เนื้อของลาใย ลิ้นจี่ ทุเรียน และเยื่อที่คลุมเมล็ดเสาวรส ซึ่ง ถ้าสังเกตเนื้อเหล่านี้จะล่อนออกจากตัวเปลือกเมล็ดที่แข็งได้ง่าย และสุดท้ายจะม้วนไปติดอยู่ที่ ขั้วเมล็ด นอกจากนี้ยังมี โครงสร้างอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า Sarcotesta ซึ่งเป็นโครงสร้างที่เจริญ และพัฒนามาจากส่วนของอินเทกกิวเมนต์ (integument) เนื้อหุ้มเมล็ด ดังนั้น sarcotestaจึง จัดเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) เช่นกัน เช่น เนื้อของเงาะ มังคุด ลองกอง ซึ่งจะเห็นว่าเนื้อ เหล่านี้มักจะหลุดล่อนออกจากเปลือกเมล็ดที่แข็งกว่าซึ่งอยู่ติดกันได้ยาก เพราะทั้งสองส่วน เจริญมาจาก integument เช่นกันนั่นเอง ควรรู้เพิ่มเติม
  • 26.
  • 27. การเกิดผลและเมล็ด (seed and fruit formation)  หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันเจริญเปลี่ยนไปเป็นเมล็ด (seed) ซึ่งส่วนใหญ่มีอาหารสะสมอยู่และรังไข่ เจริญไปเป็นผล (fruit) ผลไม้บางชนิดเจริญมาจากส่วนอื่นของดอก เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล เจริญมาจากฐานรองดอกจึง เรียกว่า ผลเทียม (pseudocarp) ดอกไม้มี ทั้งดอกเดี่ยวและดอกช่อ และรังไข่ของดอกแต่ละชนิดมีจานวนที่ แตกต่างกัน ทาให้ผลที่เจริญมาจากรังไข่มีความแตกต่างกันไปด้วย เมื่อรังไข่เจริญเป็นผล ผนังรังไข่เจริญเป็นเนอผล เรียกผนังรังไข่ที่ เปลี่ยนแปลงว่า เพอริคาร์ป (pericarp) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 ชั้นดังนี้ 1. เอพิคาร์ป (epicarp หรือ exocarp) เนื้อเยื่อชั้นนอก เจริญ เป็นเปลือกชั้นนอกสุด 2. มีโซคาร์ป (mesocarp) เนื้อเยื่อชั้นกลางของเปลือกอาจจะ บางหรือเป็นเนื้อเยื่อหนานมกลายเป็นเนื้อผลก็ได้ 3. เอนโดคาร์ป (endocarp) เนื้อเยื่อชั้นในสุด มีการ เปลี่ยนแปลงต่างกันแล้วแต่ชนิดของผลไม้ อาจเปลี่ยนเป็น เนื้อผลไม้ หรือ เปลือกแข็งหุ้มเมล็ดก็ได้
  • 28. ควรทราบเพิ่มเติม  เนื้อผลชั้นนอก (exocarp or epicarp) เป็นชั้นผิวนอกสุด ผลบางชนิดมีเปลือกบางหรืออ่อน เช่น ผล ของมะปราง มะม่วง องุ่น แต่ผลบางชนิดผิวชั้นนอกแข็งและเหนียว เช่น ผลของมะขวิด มะตูม กระเบา ฟักทอง  ผนังชั้นกลาง (Mesocarp) ผนังชั้นนี้มักนุ่ม เช่น มะม่วง มะละกอ ผลบางชนิดมีผนังชั้นกลางเป็นเส้น ใยเหนียว เช่น มะพร้าว ตาล จาก  ผนังชั้นใน (Endocarp) ผนังชั้นใน มีทั้งอ่อนนุ่มเช่น ส้ม และมีลักษณะแข็งเช่น มะม่วง มะพร้าว
  • 29.  ในกรณีที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเปลือกผลและเนื้อชั้นกลางได้ นิยมเรียกบริเวณทั้ง สองนี้รวมกันว่า อีพิคาร์ป (epicarp) เช่นมะเขือเทศ ส้ม เป็นต้น หรือถ้าแยกความแตกต่าง ของทั้ง สามชั้นไม่ได้ นิยมเรียกรวมกันว่าเพอริคาร์ป (pericarp) เช่น ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ถั่วฝักยาว เป็นต้น
  • 30. ก่อนปฎิสนธิ หลังปฏิสนธิ Ovule Seed Ovary Fruit Integument Seed coat Egg + sperm nucleus Zygote Polar nuclei + sperm nucleus Endosperm Sepal ,petal ,stamen ,synergids และ antipodal สลายตัว
  • 31. ชนิดของผล (Kinds of fruits)  ผลมีรูปร่างลักษณะหลายชนิดที่แตกต่างกันใน การศึกษาจัดจาพวกพืช ผลมีบทบาทสาคัญช่วยในการ จาแนกพืชเหมือนกัน ดังนั้น เพื่อสะดวกในการศึกษา จึงแบ่งผลออกเป็นชนิดต่างๆ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ใช้ พิจารณา ดังนี้ 1. โครงสร้างของดอก 2 . จานวนและชนิดของรังไข่ 3. จานวนคาร์เพลภายในรังไข่ 4. ลักษณะของ pericarp เมื่อผลนั้นแก่ 5. เมื่อผลนั้นแก่ pericarp จะแตกออกได้เอง ตามธรรมชาติหรือไม่ 6. ลักษณะการแตกของ pericarp 7. กลีบเลี้ยง กลีบดอก หรือ ฐานดอก เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงเป็นผลโดยอาจเป็นส่วนประกอบของผลด้วย
  • 32.
  • 33.
  • 34.
  • 35.
  • 36. ชนิดของผล (Type of fruit)  1. ผลเดี่ยว (simple fruit) คือ ผลที่เกิดมาจากรังไข่อันเดียวในดอกเดียวกัน อาจเป็นดอกเดี่ยว หรือดอกช่อก็ได้ เช่น ส้ม มะเขือ ฟักทอง มะระ แตงชนิดต่างๆ มะม่วง มะปราง มะกอก ลาไย เป็นต้น
  • 37.  2. ผลกลุ่ม (aggregate fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่หรือกลุ่มของรังไข่ในดอกเดียวกันของดอก เดี่ยว รัง ไข่แต่ละอันจะกลายเป็นผลย่อย เช่น น้อยหน่า สตรอเบอรี่ ลูกจาก จาปี กระดังงา การเวก นมแมว กุหลาบ เป็นต้น  3. ผลรวม (multiple fruit) คือ ผลที่เกิดจากรังไข่ของดอกแต่ละดอกของดอกช่อซงเชื่อมรวมกันแน่น รังไข่ เหล่านี้จะกลายเป็นผลย่อยๆ เชื่อมรวมกันแน่นจนคล้ายเป็นผลเดี่ยว เช่น สับปะรด ขนุน สาเก ยอ มะเดื่อ เป็นต้น
  • 39. ผลกลุ่ม (Aggregate Fruit) ผลที่เกิดจากดอกหนึ่งดอกที่มีเกสรตัวเมีย หลายอันแยกจากกันเมื่อเจริญเติบโตเป็นผลอาจมี ลักษณะคล้ายผลเดี่ยวหนึ่งผล(ผลน้อยหน่าผล การเวก ผลลาดวน) ผลรวม (Multiple Fruit) ผลที่เกิดจากดอกหลายดอกที่เรียงชิดติดกัน แน่นบนก้านดอกขนาดใหญ่ดูคล้ายผลเดียว ขนาดใหญ่ (ผลสับปะรด ขนุน)
  • 40. สรุป : การจาแนกประเภทของผล ประเภทของผลที่ใช้เกณฑ์จาแนกตามจานวนรังไข่ และชนิดของดอกไม้ ได้ดังต่อไปนี้ คือ 1. ผลเดี่ยว (simple fruit) ผลเดี่ยวเป็นผลที่เกิดจากรังไข่เดียวในดอกดอกเดียว โดยถ้าในรังไข่นั้นมี ออวุลเดียวก็จะเจริญเป็นผลเดี่ยวที่มีเมล็ดเดียว เช่น พุทรา มะม่วง มะพร้าว แต่ถ้ารังไข่นั้นมีหลาย ออวุล ก็จะเจริญเป็นผลเดี่ยวที่มีหลายเมล็ด เช่น แตงโม แตงกวา ตาลึง มะเขือ มะเขือเทศ ฯลฯ 2. ผลกลุ่ม (Aggregate fruit) ผลกลุ่มเป็นผลที่เกิดจากรังไข่หลายรังไข่ที่เจริญอยู่ในดอกเดียว เช่น น้อยหน่า จาปี จาปา กระดังงา การะเวก สตรอเบอรี่ ลูกจาก ฝักบัว ลูกหวาย ผลกุหลาบ เป็นต้น 3. ผลรวม (Multiple fruit) ผลรวมเป็นผลที่เกิดจากดกหลาย ๆ ดอกที่อยู่ชิดกัน เช่น ลูกยอ สับปะรด สาเก มะเดื่อ ลูกหม่อน ขนุน ผลบีท เป็นต้น
  • 41.
  • 42. ควรรู้เพิ่มเติม  ผลแบบมะเดื่อ (syconium) ผลรวมที่ข้างในผลกลวง ซึ่งเป็นผลที่เจริญมาจากช่อดอกที่มี ฐานรองดอกรูปถ้วย (hypanthium) ภายในประกอบด้วยดอกย่อยมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบดอก และ แยกเพศ ภายในช่อดอกมีช่องเปิดขนาดเล็ก (ostiolum) ให้แมลงขนาดเล็กเข้าไปช่วยการผสม เกสร ได้แก่ ไทร มะเดื่อ กร่าง
  • 44.
  • 45.
  • 46.
  • 47.  ผลมีเนื้อสด (Fleshy Fruit) คือผลที่แก่แล้วมีผนังผลสดไม่แห้ง แบ่งออกเป็น 1. ผลเมล็ดเดียวแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่ม ผนัง ชั้นในแข็งมาก ได้แก่ พุทรา มะม่วง 2. ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่ม ผนังชั้นนอก ที่เป็นเปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่มเช่นเดียวกัน ได้แก่ มะละกอ มะเขือเทศ 3. ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลาง อ่อนนุ่มคล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมีบางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุง น้าเพื่อสะสมน้าตาลและกรดมะนาว ได้แก่ ส้ม มะนาว 4. ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนังชั้น กลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม ได้แก่ แตงโม แตงกวา น้าเต้า 5. ผลแบบแอปเปิล (Pome) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบเนื้อส่วนที่รับประทานเป็นส่วน ของฐานรองดอก เช่น แอปเปิล ฝรั่ง ประเภทของผล : Type of fruit
  • 48.
  • 49. ผลเมล็ดเดี่ยวแข็ง (Drupe) ผลสดที่มีเมล็ดเดียว ผนังชั้นกลางเป็นเนื้อหนาอ่อนนุ่มผนังชั้นแข็งมาก (พุทรา มะม่วง) ผลแบบมีเนื้อหลายเมล็ด (Berry) ผลสดที่มีเมล็ดหลายเมล็ด เนื้อผลอ่อนนุ่มผนังชั้นนอกที่เป็นเปลือกมีลักษณะอ่อนนุ่ม (มะละกอ มะเขือเทศ) ผลแบบแอปเปิล (Pome) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ เนื้อส่วนที่รับประทานเป็นส่วนของฐานรองดอก (แอปเปิล ฝรั่ง) ชนิดของผล (Types of Fruit) ผลสด (Fleshy Fruit)
  • 50. ผลแบบส้ม (Hesperidium) ผลที่ผนังชั้นนอกมีต่อมน้ามันจานวนมาก ผนังชั้นกลางอ่อนนุ่ม คล้ายฟองน้าสีขาว ผนังชั้นในมีลักษณะเป็นเยื่อบาง และมีบางส่วนของชั้นนี้แปรรูปเป็นถุงเพื่อสะสม น้าตาลและกรดมะนาว (ส้ม, มะนาว,ส้มโอ,มะกรูด) ผลแบบแตง (Pepo) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ใต้วงกลีบ ผนังชั้นนอกแข็งและหนา ผนังชั้นกลางและผนังชั้นในหนาอ่อนนุ่ม (แตงโม,น้าเต้า) ชนิดของผล (Types of Fruit) ผลสด (Fleshy Fruit)
  • 51.
  • 52.  ผลแห้ง (Dry Fruit) คือผลที่แก่แล้วผนังผลแข็งและแห้ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ ผลแห้งแก่ไม่แตก (dry indehiscent fruit) และผลแห้งแก่แตก (dry dehiscent fruit)  ผลแห้งแก่ไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit) แบ่งออกเป็น 1. ผลแห้งเมล็ดติดหรือผลแบบธัญพืช (Caryopsis or Grain) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับเปลือกเมล็ดหุ้ม เช่น ข้าว 2. ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย (Acorn) ผลคล้ายผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว แต่มีกาบ หุ้มผล (cupule) ทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น ผลเกาลัด ก่อชนิดต่างๆ 3. ผลแห้งเมล็ดอ่อน (Achene) ผลขนาดเล็ก ผนังผลแห้งและบาง มี 1 เมล็ด ผนังผล กับเปลือกหุ้มเมล็ดแยกกัน ส่วนมากมีฐานรองดอกขนาดใหญ่ เช่น บัวหลวง ถ้าผลเกิดจาก รังไข่ใต้วงกลีบ และมีขนที่ปลายเมล็ด เรียกว่าผลแห้งเมล็ดล่อนปลายมีขน (cypsela) เช่น ผลของทานตะวัน ประเภทของผล : Type of fruit
  • 53. 4. ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดียว (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็งและผิวมัน เป็นผลที่เกิดจากรัง ไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกันแต่มีเมล็ดเดียว เช่น ผลมะพร้าว กระจับ มะม่วงหิมพานต์ 5. ผลแบบปีกเดียว (Samara) ผลที่มีผนังผลชั้นนอกเจริญยื่นออกมาเป็นปีก อาจมี ปีกเดียวหรือมากกว่า เช่น ผลประดู่ ก่วม หรือผลคล้ายผลปีกเดียว (samaroid) มีกลีบเลี้ยง เจริญไปเป็นปีก เช่น ผลยางนา เหียง พะยอม 6. ผลแยกแล้วแตก (Schizocarp) ผลที่เจริญมาจากรังไข่ที่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน เมื่อรังไข่เจริญเต็มที่แล้วคาร์เพลจะแยกกัน แต่ละคาร์เพลเรียก ซีกผลแบบผักชี (mericarp) ซึ่งภายในมี 1 เมล็ด เช่น ครอบจักรวาล ประเภทของผล : Type of fruit
  • 54.
  • 55.
  • 56. ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่แล้วไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit) ผลธัญพืช (Grain) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกแข็งและเชื่อมติดแน่นกับ เปลือกหุ้มเมล็ด (ข้าว) ผลแห้งเมล็ดล่อน (Achene) ผลเดี่ยวหนึ่งเมล็ด เปลือกผลบางและแยกจากเปลือกหุ้มเมล็ด แต่ละผลอยู่บนฐานรองดอกที่มีขนาดใหญ่ (ทานตะวัน,บัว) ผลเปลือกแห้งเมล็ดเดี่ยว (Nut) ผลที่มีเปลือกแข็ง หนาเป็นมันเมล็ดอยู่หลวมๆ ภายใน (เกาลัด)
  • 57. ผลปีกเดียว (Samara) เปลือกแผ่ออกเป็นปีกอันเดียวหรือหลายอัน ภายในมีเมล็ดเดียว (ประดู่,ทองกาว) ผลปีกเดียวแฝด (Double Samara) ผลปีกเดียว 2 อันเชื่อมติดกัน แต่ละผลมีเมล็ดเดียว (ชาด, พะยอม,สะแบง) ผลเปลือกแข็งมีกาบรูปถ้วย(Acorn) ผลเปลือกแข็งที่มีกาบรูปถ้วยหุ้ม (ก่อหิน) ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่แล้วไม่แตก (Dry Indehiscent Fruit)
  • 59.
  • 60.
  • 61.  ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit) แบ่งเป็น 1. ฝักแตกแนวเดียว (Follicle) ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียวหรือหลายคาร์เพลที่ แยกกัน เมื่อผลแก่จะแตกเพียงตะเข็บเดียวเช่น ผลจาปี จาปา 2. ผลแตกแบบผักกาด (Silicle) ผลที่เกิดจากรังไข่ที่มี 2 คาร์เพล เมื่อผลแก่ผนังผลแตก ตามยาวจากด้านล่างไปยังด้านบนแบ่งออกเป็นสองซีก เมล็ดติดอยู่แนวกลางของผล (central false septum) เช่นผลผักกาดนก ผักเสี้ยน 3. ฝักแบบถั่ว Legume ผลที่เกิดจากดอกที่มีคาร์เพลเดียว เมื่อผลแก่จะแตกออกตาม แนวตะเข็บ 2 ข้างของผล ได้แก่ ผลของพืชวงศ์ถั่ว 4. ผลแบบฝักหักข้อ (loment, lomentum) ผลคล้ายผลแบบถั่วแต่มีรอยคอดรอบฝัก เป็นช่วงๆหรือเว้าเป็นข้อๆ เมื่อผลแก่จะหักบริเวณนี้ แต่ละข้อมี 1 เมล็ด เช่น ผลไมยราพ คูน 5. ผลแบบผักชี (cremocarp) ผลขนาดเล็กมี 2 เมล็ด เมื่อผลแก่และแตกออก เมล็ดจะ แยกจากกันโดยมีคาร์โพฟอร์ (carpophores) เส้นเล็กๆ ยึดไว้ ประเภทของผล : Type of fruit
  • 62.  ผลแห้งแก่แตก (Dry Dehiscent Fruit) แบ่งเป็น 6. ผลแห้งแตก (capsule) ผลที่เกิดจากดอกที่รังไข่มีหลายคาร์เพลเชื่อมกัน และเมื่อผล แก่จะแตก แบ่งออกเป็น ◦ ผลแห้งแตกตามรอยประสาน (septicidal capsule) ผลแห้งแตกตามแนวยาวของผนัง คาร์เพล เช่น ผลกระเช้าสีดา ◦ ผลแห้งแตกกลางพู (loculicidal capsule) ผลแห้งแตกตรงกลางพูของแต่ละช่อง เช่น ผลทุเรียน ตะแบก ◦ ผลแห้งแตกเป็นช่อง (poricidal capsule) ผลแห้งที่เปิดเป็นช่องหรือรูใกล้ยอดผล เช่น ผลฝิ่น ◦ ผลแห้งแตกแบบฝาเปิด (circumscissile capsule, pyxis) ผลแห้งแล้วแตกตามขวาง รอบผลลักษณะเป็นฝาเปิด มีเมล็ดจานวนมาก เช่น ผลหงอนไก่ ประเภทของผล : Type of fruit
  • 63.
  • 64.
  • 65. ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่จะแตก (Dry Dehiscent Fruit) ฝักแตกแนวเดียว(Follicle) ผลที่มีหลายเมล็ด เมื่อแก่ผลแตกตามแนวตะเข็มเพียงด้านเดี่ยว (มะค่าแต้) ผลแตกแบบฝัก (Silique) ผลที่มีแนวแบ่งเป็นสองส่วนตามยาวเมื่อแตกเป็นสองซีกมี ผนังบางกันกลางเหลืออยู่ (ผักกาด,ผักเสี้ยน) ฝักแบบถั่ว (Legume) ผลแก่ที่แตกออกตามตะเข็บทั้งสองด้าน (พืชตระกูลถั่ว)
  • 66. ผลแห้งแตก (Capsule) ผลที่เกิดจากเกสรตัวเมียที่มีหลายรังไข่เชื่อติดกัน เปลือกผล เมื่อแห้งแตกออก (อินทนิล, ทุเรียน,กระเจี๊ยบแดง) ผลแตกตามช่อง (Poricidal capsule) ผลแก่แตกเป็นช่องขนาดเล็กหลายช่องที่ปลายผล (ฝิ่น) ผลแห้ง (Dry Fruit) : ผลแห้งเมื่อแก่จะแตก (Dry Dehiscent Fruit)
  • 67.
  • 68.
  • 70.
  • 71. หลังจากการปฏิสนธิแล้ว ออวุลแต่ละอันก็จะเจริญเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ด (Seed) ซึ่งมีสารอาหารผสมอยู่ด้วย และรังไข่ก็จะเจริญไปเป็นผล (Fruit) เพื่อห่อหุ้มเมล็ด ไว้ภายในและช่วยในการกระจายพันธุ์ ผลพืชบางชนิดอาจมีส่วนอื่นๆ ของดอก เช่น กลีบ เลี้ยงติดมาด้วย ได้แก่ ผลฝรั่ง ทับทิม มังคุด สับปะรด แอปเปิล หรือส่วนของฐานรองดอก หุ้มรังไข่แบบ อินฟีเรียร์เจริญมาด้วย ได้แก่ ผลชมพู่ ทับทิม มะเขือ และแอปเปิล ดังนั้น ความหมายของผลที่สมบูรณ์คือ รังไข่ที่สุกแล้วอาจมีส่วนอื่นของดอกหรือฐานรองดอก เจริญตามมาด้วย ยังมีผลบางชนิด ซึ่งเจริญมาโดยไม่มีการผสมเกสรเรียกแบบนี้ว่า ผล เทียม หรือผลแบบ พาร์ทีโนคาฟิก (Parthonocarpic) และเรียกวิธีการเกิดผลแบบนี้ว่า พาร์ ทีโนคาฟี (Parthenocarpy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระตุ้นโดย การใช้ฮอร์โมนพวกออกซิน จิเบอเรลลีน ฉีดพ่นทาให้รังไข่เจริญเป็นผลได้ และผลที่ได้โดย วิธีการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนนี้จะไม่มีเมล็ด คาว่าผลในแง่ของพฤกษศาสตร์ นอกจากจะ หมายถึงผลไม้ที่รับประทานได้แล้ว เช่น องุ่น ส้ม มะม่วง ทุเรียน ลาไย เงาะ แอปเปิล ชมพู่ แล้วยังรวมไปถึงผลที่เรียกว่าผักต่างๆ เช่น ถั่ว มะเขือ แตงกวา กระเจี๊ยบ และผลที่เรียกว่า เมล็ดด้วย เช่น ข้าว ข้าวโพด และธัญพืชทั้งหลายด้วย
  • 72.
  • 73.
  • 74. การเกิดเมล็ด (Seed formation)  ภายหลังการปฏิสนธิของพืชมีดอก ซึ่งเกิดขึ้นภายในรังไข่ ทาให้เกิดไซโกตและเอนโดสเปิร์ม ทั้ง ไซโกตและเอนโดสเปิร์มจะเจริญเติบโตอยู่ภายในเมล็ด โดยที่ไซโกตจะมีการแบ่งเซลล์เพิ่ม จานวนเซลล์เจริญพัฒนาเป็นเอ็มบริโอ หลังจากนั้นเอ็มบริโอก็จะมีการเปลี่ยนแปลงทาให้เกิด การพัฒนาเป็นอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ราก ลาต้น กิ่ง ก้าน และใบ โครงสร้างภายในเมล็ด  เมล็ดแต่ละชนิดอาจมีรูปร่าง ลักษณะ ขนาด ที่แตกต่างกัน แต่มีส่วนประกอบหลักเหมือนกัน คือ เปลือกหุ้มเมล็ด เอ็มบริโอ และเอนโดสเปิร์ม 1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุด เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังของ ออวุล และมีลักษณะเป็นเยื่อ 2 ชั้น - ชั้นนอก (testa) เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังชั้นนอกของออวุลปกติจะหนา แข็ง และ เหนียว เป็น ผลให้น้าในเมล็ดระเหยออกไปได้ยาก ป้องกันอันตรายจากแมลงและจุลินทรีย์ - ชั้นใน (tegmen) เจริญเปลี่ยนแปลงมาจากผนังชั้นในของออวุล มักเป็นเยื่อสีขาวบางๆ
  • 75.
  • 76. 2. เอมบริโอ (embryo) เจริญมาจากไซโกต เกิดจากเซลล์ไข่ผสมกับสเปิร์ม และเจริญต่อไปเป็นต้นพืช ประกอบด้วยส่วนสาคัญดังนี้  ใบเลี้ยง (cotyledon) อยู่ติดกับเอมบริโอในเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง 2 ใบ ส่วนเมล็ดพืชใบเลี้ยง เดี่ยว มี 1 ใบ ใบเลี้ยงบางชนิดจะดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยงอวบและมีขนาดใหญ่ขึ้น เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดถั่วดา มะขาม เป็นต้น ใบเลี้ยงบางชนิดไม่สามารถดูดอาหารจากเอนโดสเปิร์ม มาเก็บไว้ทาให้มีลักษณะแบนบาง เช่น ใบเลี้ยงของเมล็ดละหุ่ง ใบเลี้ยงมีหน้าที่เก็บสะสมอาหารสาหรับ การเจริญของเอมบริโอคุ้มกันเอมบริโอระหว่าง การงอกและใบเลี้ยงที่เจริญอยู่เหนือดินสามารถ สังเคราะห์แสงได้  เอพิคอทิล (epicotyle) อยู่เหนือตาแหน่งที่ติดกับ ใบเลี้ยง เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเจริญเป็นลาต้น ใบ และดอก ของพืชส่วนยอดของเอพิคอทิลในเมล็ดเป็นใบเล็กๆ 2 ใบและยอดอ่อน เรียกวา พลูมูล (plumule) หรือยอดอ่อนประกอบ ด้วยเนื้อเยื่อเจริญซึ่งจะเจริญเป็นใบและยอดอ่อนต่อไป
  • 77.  ไฮโพคอทิล (hypocotyle) อยู่ระหว่างตาแหน่งที่ติดกับใบเลี้ยงและตาแหน่งที่จะเจริญไปเป็นราก (อยู่ ใต้ใบเลี้ยง) เมื่อเจริญเติบโตต่อไปจะเป็นส่วนหนึ่งของลาต้น  แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนล่างสุดของเอ็มบริโอต่อจาก ส่วนไฮโพคอทิลลงมา ส่วนปลายสุดของแรดิ เคิลจะอยู่ ตรงกับไมโครไพล์ของเมล็ด เป็นส่วนแรกของเอ็มบริโอที่งอกออกมาจากเมล็ด และจะเจริญ เป็นรากแก้ว ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้วจะเจริญอยู่ระยะหนึ่งหลังจากนั้นจะมีรากฝอยเจริญ ขึ้นมาแทน  เอมบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยว เช่น พวกข้าว และหญ้า จะมีเยื่อหุ้มหนาหุ้มอยู่ตอนบน เรียกว่า คอลี ออบทิล (coleoptile) และมีเยื่อหุ้มแรดิเคิล เรียกว่า คอลีโอไรซา (coleorhiza) เยื่อหุ้มทั้งสองชนิดจะ ช่วยป้องกันอันตรายให้แก่ เอ็มบริโอส่วนของยอดอ่อนและส่วนของแรดิเคิล เมื่อมีการงอกเกิดขึ้น
  • 78.  3. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เกิดจากการผสมระหว่างสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวเคลียส เป็นเนื้อเยื่อที่ สะสมอาหารส่วนใหญ่เป็นพวกแป้ง โปรตีน ไขมัน และอื่นๆไว้สาหรับการ เจริญเติบโตของเอมบริโอ และแตกต่างกันไปตามชนิดของพืช ภาพการเจริญและโครงสร้างของเมล็ด
  • 79.
  • 80.
  • 81.
  • 82. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)  เมื่อออวุลได้รับการผสมและเปลี่ยนแปลงไปเป็นเมล็ดนั้น อินเทกิวเมนต์ (integuments) ซึ่งเป็น ส่วนที่ห่อหุ้มออวุลไว้ ก็จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเปลือกเมล็ด (seed coat) ทาหน้าที่ห่อหุ้ม โครงสร้างต่างๆ ของเมล็ดไว้ เปลือกเมล็ดของพืชแต่ละชนิดมีการเจริญและพัฒนาการที่แตกต่าง กันออกไป เปลือกเมล็ดของพืชบางชนิดอาจเปลี่ยนแปลงมาจาก outer integument เท่านั้น ส่วน inner integument สลายตัวไป แต่ในพืชบางชนิด อินเทกิวเมนต์ทั้งสองชั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็น เปลือกเมล็ดได้ ในพืชบางชนิดมีชั้นเซลล์ผิวของเปลือกเมล็ดเปลี่ยนไปเป็นขนเช่น ฝ้าย และ มะเขือเทศ เป็นต้น
  • 83. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)  เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่ ผนังเซลล์ของเปลือกเมล็ดหนา ขึ้น โดยมีสารเพกทิน เซลลูโลส คิวทิน ลิกนิน หรือซูเบอ ริน มาสะสมอผนังเซลล์เพิ่มมากขึ้นก็ทาให้เปลือกเมล็ดมี ความหนา ความแข็งเพิ่มขึ้น ในเ มล็ดพืชบางชนิดผนัง เซลล์มีสารซูเบอรินนี้มาสะสมอยู่ด้วยมากเกินไปก็อาจเป็น สาเหตุให้เกิดลักษณะเมล็ด แข็ง (hard seed) ขึ้นได้ สีของ เมล็ดเมื่อแก่จะเปลี่ยนจากสีเขียวไปเป็นสีต่างๆ แล้วแต่รงค วัตถุที่สะสมอยู่ในเซลล์ของเปลือกเมล็ด บนเปลือกหุ้ม เมล็ด มีรอยแผลเป็นซึ่งเกิดจาก funiculus หลุดร่วงไป เรียกรอยแผลเป็น นี้ว่า ขั้วเมล็ด (hilum) ใกล้ๆกับขั้วเมล็ดมี รูเปิดเล็กๆ เรียกว่า micropyle ด้านตรงข้ามกับไมโค รไพล์ จะเห็นเปลือกนูนเป็นสันขึ้นมาเล็กน้อย เรียกบริเวณนี้ว่า สันขั้วเมล็ด (raphe) เกิดขึ้นจากก้านออวุลพาด ผ่าน ปลาย สุดของขั้วเมล็ดจรดกับบริเวณฐานออวุล (chalaza)
  • 84. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat)  ท่อลาเลียงจากก้านชูออวุลผ่านเข้าสู่เปลือกเมล็ดทอดยาวไปตามสันขั้วเมล็ดแล้วไปสิ้นสุด บริเวณฐานออวุล เมื่อเมล็ดแก่บริเวณนี้ประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์ผนังหนามากเรียกเซลล์สโตน (stone cell)ทาหน้าที่ปิดทางลาเลียงเข้าออกจากเมล็ด และทาให้ขั้วเมล็ดด้านนี้มีสีเข้มด้วย เช่น ในเมล็ดส้ม และข้าวโพด เป็นต้น (จุกขั้ว : caruncle เป็นส่วนที่เจริญออกมาของผนังออวุลอยู่ ใกล้ไมโครไพล์หรือขั้วเมล็ด มีหน้าที่ดูดความชื้นเพื่อช่วยในการงอก เช่น ละหุ่ง )
  • 85. สัณฐานวิทยาภายนอกของเมล็ด โดยทั่วไปเป็นดังนี้ 1. ไมโครไพล์ (micropyle) เป็นส่วนเดียวที่พัฒนามาจากออวุลโดยไม่ถูกเปลี่ยนชื่อเหมือนส่วน อื่นๆ อาจจะยังคงเห็นเป็นรูเล็กๆที่ปิดสนิทบนเปลือกเมล็ด จะสังเกตเห็นได้ในเมล็ดถั่ว หรืออาจจะหายไปก็ ได้ โดยมากมักจะเห็นร่วมกับขั้วเมล็ด (hilum) ไมโครไพล์นี้มีบทบาทมากในการดูดซึมน้าของเมล็ด 2. ขั้วเมล็ด (hilum) เช่นในถั่ว หรือ ชั้นเนื้อเยื่อสีดา (black layer) เช่นในข้าวโพด เป็นรอย แผลเป็นบนเมล็ด เกิดจากการแยกตัวออกของฐานก้านออวุล เมล็ดที่มีขั้วเมล็ดเกิดจากออวุลตั้งตรงและออวุล แนวนอน 3. สันขั้วเมล็ด (raphe) ในออวุลคว่าที่โค้งกลับ 180 องศา เช่นลิลี่ ส่วนที่เหลือของก้านออวุลที่ติด กับออวุลยังคงเหลือร่องรอยอยู่เป็นสันตามยาวบนด้านหนึ่งของเมล็ด พืชดอกส่วนมากที่มีเปลือกเมล็ดแห้ง จัดเป็นลักษณะที่ก้าวหน้าทางวิวัฒนาการ ในขณะที่ พืช ดอกบางชนิดมีเปลือกเมล็ดเป็นเนื้อ ซึ่งพบได้ทั่วไปในพืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) จัดเป็นลักษณะดึกดา บรรพ์ เช่นเปลือกเมล็ดที่กินได้ (sarcotesta) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อชั้นผิวชั้นนอกของทับทิม ส่วนเมล็ดของพืชดอก บางชนิดมีรยางค์เป็นเนื้อ จัดเป็นลักษณะปานกลางทางวิวัฒนาการ ระยางค์เหล่านี้เป็นอาหารของสัตว์บาง ชนิดได้ ดังนั้น จึงมีบทบาทช่วยในการช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ เช่น
  • 86. ระยางค์ช่วยในการช่วยแพร่กระจายเมล็ดพันธุ์ 1. ปุยหุ้มเมล็ด (aril) หรือรกหุ้มเมล็ดหรือเยื่อรก เป็นรยางค์หรือเนื้อที่เจริญมาจากก้าน ออวุล และมักจะเจริญออกมาจากบริเวณฐานของออวุลมาห่อหุ้มเมล็ดพบมากในพืชวงศ์ส้าน (Dilleniaceae) เช่น ส้าน มะตาด และรสสุคนธ์ นอกจากนี้ยังพบในจันทน์เทศ katemfe และยูว์ที่เป็นพืช เมล็ดเปลือย (gymnosperm) เมล็ดจันทน์เทศมีปุยหุ้มเมล็ดสีแดงสดและจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมน้้าตาล เมื่อแห้ง ปุยหุ้มเมล็ดที่แห้งแล้วนี้เรียกว่าดอกจันทน์หรือดอกจันทน์เทศ (mace) ส่วนเมล็ดที่แก่จัดมีสี น้้าตาลเข้มเรียกว่าลูกจันทน์ (nutmeg) ใช้ทั้งสองส่วนนี้เป็นเครื่องเทศและยาได้ ส่วนในปุยหุ้มเมล็ดของ ต้น katemfe ซึ่งเป็นพืชในแอฟริกาตะวันตกมีสาร talin ที่มีความหวานมากที่สุดในโลกถึงกว่า 6,000 เท่า ของน้้าตาลทราย 2. จุกขั้ว (caruncle) เป็นส่วนที่เจริญออกมาของผนังออวุล อยู่ใกล้ไมโครไพล์หรือขั้วเมล็ด มีหน้าที่ดูดความชื้นเพื่อช่วยในการงอก เช่น ละหุ่ง 3. จุกขั้ว (strophiole) เป็นส่วนที่เจริญออกมาของสันขั้วเมล็ด (raphe) ที่มาจากออวุลคว่้า เช่น ถั่วลิมา 4. อีไลโอโซม(elaiosome) เป็นรยางค์ที่มีลักษณะเป็นมันเนื่องจากมีน้้ามันสะสมบนเมล็ด หรือผล มีบทบาทช่วยในการแพร่กระจายเมล็ด เนื่องจากมดกินเป็นอาหารได้ จึงคาบเมล็ดไปเก็บไว้ใน รังที่อยู่ห่างออกไปจากต้นเดิม เช่น ป๊อปปี้แคลิฟอร์เนีย (California bushy poppy)
  • 88. โครงสร้างพิเศษบนเปลือกเมล็ด  ภายหลังจากมีการปฏิสนธิเกิดขึ้น นอกเหนือจากมีการ สร้างเปลือกเมล็ดขึ้นแล้วเมล็ดยังสร้าง อริลลอยด์ (arilloid) ขึ้นอีก  อริลลอยด์ คือ โครงสร้างที่เจริญอยู่ด้านนอกเปลือก เมล็ดพบได้ใน 4 บริเวณคือ 1. ถ้าเกิดอยู่บริเวณสันขั้วเมล็ด (raphe) เรียก สโตรฟิโอล (strophiole) 2 . ถ้าเกิดอยู่บริเวณใกล้ไมโครไพล์ เรียก คา รันเคิล (caruncle) 3 . ถ้าเกิดขึ้นรอบไมโครไพล์ เรียก ปุยหุ้ม เมล็ดเทียม (false aril) 4 . ถ้าเกิดขึ้นที่บริเวณโคนของก้านออวุล เรียก ปุยหุ้มเมล็ดแท้ (true aril)
  • 90. การเจริญของเมล็ด (Seed development)  การเจริญของเมล็ดก็คือการเจริญของพืชดอกระยะสปอร์โรไฟต์โดยอาศัยกระบวนการแบ่งเซลล์(cell division) การขยายขนาดของเซลล์ (cell elongation) และเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเซลล์ (Cell differentiation)  การเจริญของเมล็ดพืชใบเลี้ยงคู่สามารถแบ่งออกเป็น 6 ระยะ ได้แก่ 1. Zygote stage : หลังการปฏิสนธิจะพบไซโกตและเอ็นโดสเปิร์ม 2. Proembryo stage : ไซโกตแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสกลายเป็นเอ็มบริโอและมีกลุ่มเซลล์ ด้านล่างเรียกว่าซัสเพนเซอร์ (Suspensor) ทาหน้าที่ส่งอาหารจากเอ็นโดสเปิร์มเข้าสู่เอ็มบริโอ 3. Globular stage : เอ็มบริโอมีลักษณะกลมและแยกได้ว่าด้านไหนจะเจริญไปเป็นยอดหรือราก โดยดูจากด้านที่ติดกับ suspensor จะกลายเป็นราก ส่วนด้านที่มีลักษณะกลมจะกลายเป็นยอด 4. Heart stage : เอ็มบริโอมีลักษณะเป็นรูปหัวใจและเริ่มพบใบเลี้ยง (cotyledon) 5. Torpedo stage : เอ็มบริโอมีลักษณะยืดยาวคล้ายทอร์ปิโด พบส่วนยอดและส่วนรากที่แยกกัน ชัดเจน 6. Mature embryo stage : ระยะนี้เอ็มบริโอเจริญเป็นตัวเต็มวัยซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่เหนือใบเลี้ยง (epicotyl) ซึ่งปลายยอดและใบเลี้ยง และส่วนที่อยู่ใต้ใบเลี้ยง (hypocotyl) ซึ่ง ประกอบรากแรกเกิด (radicle) ซึ่งภายในมีเนื้อเยื่อเจริญปลายราก
  • 91.
  • 93.
  • 94. Comparison of Seed Structure เอ็มบริโอของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแตกต่างจากพืชใบเลี้ยงคู่ตรงจานวนของใบเลี้ยง ถ้าเป็นพืชใบเลี้ยง เดี่ยวก็มีใบเลี้ยงเพียง 1 ใบ เท่านั้น ในขณะที่พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยง2 ใบ สาหรับพืชวงศ์หญ้ามี เอ็มบริโอรูปร่างแตกต่างจากพืชอื่นๆ ใบเลี้ยงที่มีอยู่ 1 ใบ นั้นเรียกว่า สคิวเทลลัม (scutellum)
  • 95. สรุป : โครงสร้างเมล็ดพืช (Seed structure) 1. เปลือกหุ้มเมล็ด (seed coat) เป็นส่วนที่อยู่นอกสุดมักมีลักษณะหนาและเหนียวหรือแข็งเพื่อ ป้องกันอันตรายให้แก่ส่วนต่างๆ ที่อยู่ภายใน นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เกิดการสูญเสียน้าภายใน เมล็ดออกไปด้วย เปลือกหุ้มเมล็ดมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอก เรียกว่า เทกเมน (tegmen) เป็นชั้น เยื่อบางๆ ที่ผิวของเปลือกมักมีรอยแผลเป็นเล็กๆ ซึ่งเกิดจากก้านเมล็ดหลุด ออกไป เรียกรอย แผล นี้ว่า ไฮลัม (hilum) ใกล้ๆไฮลัมมีรูเล็กๆ เรียกว่า ไมโครไฟล์ (micropyle)ซึ่งเป็นทางเข้า ของหลอดละอองเรณูนั่นเอง 2. เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เกิดจากการผสมของสเปิร์มนิวเคลียสกับโพลาร์นิวคลีไอทา หน้าที่สะสมอาหารพวกแป้ง น้าตาล โปรตีน ไขมันให้แก่เอมบริโอ เมล็ดพืชบางชนิด เช่น ถั่ว แขก ถั่วลันเตา นุ่น จะไม่พบเอนโดสเปิร์มเลย เนื่องจากใบเลี้ยงย่อยและดูดอาหารจากเอนโด สเปิร์มไปเก็บไว้ ทาให้ใบเลี้ยงหนามาก ในบางชนิด เช่น มะพร้าว ตาล จะมีเอนโดสเปิร์มที่ เป็นน้าและเป็นเนื้อส่วนที่เป็นน้า เรียกว่า ลิควิดเอนโดสเปิร์ม (liquid endosperm) ส่วนที่เป็น เนื้อ เรียกว่า เฟลชีย์เอนโดสเปิร์ม (fleshy endosperm)
  • 96. 3. เอมบริโอ (embryo) เป็นส่วนของเมล็ดที่เจริญมาจากไซโกตการเจริญของเอมบริโอ เริ่มต้นด้วยการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสครั้งแรกได้ 2 เซลล์ คือ เซลล์ที่อยู่ด้านล่างอยู่ติดกับรูไมโคร ไพล์ (micropyle)เรียกว่า เบซัลเซลล์ (basal cell) และเซลล์ที่อยู่ด้านบนเรียกว่า แอพิคัลเซลล์ (apical cell) เซลล์ที่อยู่ด้านล่างจะแบ่งเซลล์เพิ่มจานวนเซลล์ขึ้น เรียกว่า ซัสเพนเซอร์ (suspensor) ทาหน้าที่ยึดเอนบริโอ ส่วนเซลล์ที่อยู่ด้านบนจะแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็วและอยู่ ทางด้านบนของซัสเพนเซอร์ ต่อมาจะมีการเปลี่ยนแปลงของเอมบริโอเซลล์ไปเป็นเนื้อเยื่อและ ส่วนต่างของเอมบริโอ ดังนี้ 3.1 ใบเลี้ยง (cotyledon) พืชใบเลี้ยงคู่มีใบเลี้ยงสองใบ ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีใบเลี้ยงใบ เดียว และมักจะเรียกกว่า สคิวเทลลัม (scutellum) ใบเลี้ยงมีหน้าที่ในการย่อยและดูดซึม สารอาหารจากเอนโดสเปิร์มมาเก็บไว้ทาให้ใบเลี้ยงมีขนาดหนาและใหญ่ และไม่มีเอนโดสเปิร์ม แต่ ในพืชบางชนิดอาหารถูกสะสมอยู่ในเอนโดสเปิร์ม เนื่องจากใบเลี้ยงไม่ได้ย่อยมาเก็บไว้ ใบเลี้ยงจึง มีลักษณะแบนและบาง ใบเลี้ยงนอกจากจะช่วยในการสะสมและให้อาหารแก่เอมบริโอแล้วใบเลี้ยง ยังช่วยป้องกันไม่ให้เอนบริโอที่อยู่ข้างในบุบสลายเมื่อมีการงอกของเมล็ดเกิดขึ้น
  • 97. 3.2 ลาตันอ่อน (caulicle) ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 3.2.1 เอพิคอทิล (epicotyl) เป็นส่วนของเอมบริโอที่อยู่เหลือใบเลี้ยงขึ้นไปที่ส่วนปลาย ของเอพิคอทิลจะมียอดอ่อน (plumule) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical meristem) เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดนี้จะแบ่งตัวและเจริญต่อไปเป็นยอด ใบ ดอก และลาต้นของพืช 3.2.2 ไฮโพคอทิล (hypocotyl) เป็นส่วนของเอมบริโอที่อยู่ใต้ใบเลี้ยงลงมา 3.2.3 แรดิเคิล (radicle) เป็นส่วนที่อยู่ปลายสุดของไฮโพคอทิล ส่วนปลายของแรดิเคิล จะอยู่ที่รูไมโครไพล์ เมื่อเมล็ดงอกแรดิเคิลจะเจริญไปเป็นรากแก้ว (tap root) หรือรากสามัญ (primary root)
  • 98.
  • 99. ประเภทของเมล็ด (Seed type)  เมล็ดอาจแบ่งเป็นประเภทหรือชนิดต่างๆได้หลายแบบทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหรือเกณฑ์ที่นามาใช้เป็น หลักในการจาแนกในที่นี้จะอธิบายถึงประเภทต่างๆของเมล็ดโดยใช้เกณฑ์ต่างๆกันดังนี้คือ 1 ตาแหน่งของอาหารสะสมภายในเมล็ดแบ่งเมล็ดออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ  1.1. เมล็ดอัลบูมินัส(albuminous seed)  1.2. เมล็ดเอกซ์อัลบูมินัส(exalbuminous seed) 2 ตาแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเอ็มบริโอภายในเมล็ดแบ่งเมล็ดออกได้เป็น 3 ดิวิชัน คือ  2.1. เบซอลดิวิชัน (basal division)  2.2. เพอริเฟอรัลดิวิชัน (peripheral division)  2.3. แอกไซล์ดิวิชัน (axile division) 3 โครงสร้างของเปลือกเมล็ด  3.1 เมล็ดเทสทัล(testal seed)  3.2 เมล็ดเทกมิก(tegmic seed)
  • 100. ประเภทเมล็ดจาแนกโดยตาแหน่งของอาหารสะสมภายในเมล็ด  การจาแนกเมล็ดตามลักษณะการมีหรือไม่มีเอนโดสเปิร์มได้ดังนี้ 1. เมล็ดที่มีเอนโดสเปิร์ม(albuminous seed) เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะมีเอ็นโด สเปิร์ม หรือในบางกรณี บางส่วนของเอนโดสเปิร์มถูกใบเลี้ยงดูดไปเก็บไว้เช่น พืชในวงศ์ Poaceae (ธัญพืชหรือ หญ้า)และพืชใบเลี้ยงเดี่ยวส่วนใหญ่ตัวอย่างเช่น ข้าวโพด หอม และปาล์มและพืชใบ เลี้ยงคู่บางชนิด เช่น ละหุ่ง เมล็ดพวกนี้อาจมีหรือไม่มีเพอริสเปิร์ม(เนื้อเยื่อที่เจริญมาจากนิวเซลลัส ที่ยังคงอยู่ในเมล็ด)ก็ได้ 2. เมล็ดไร้เอนโดสเปิร์ม (exalbuminous seed) ถึงแม้จะมีเอ็นโดสเปิร์มในช่วงแรกแต่ เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเต็มที่จะหายไปเพราะว่าถูกใบเลี้ยงดูดไปเก็บไว้หมดในระยะที่กาลังเกิด เอ็มบริโอลักษณะของใบเลี้ยงพวกนี้จะอวบหนาเช่น พืชในวงศ์ Fabaceae (ถั่ว) Asteraceae (ทานตะวัน) และ Cucurbitaceae (แตง)  สารอาหารที่เก็บไว้ในเอ็นโดสเปิร์มในเมล็ดประกอบด้วยเม็ดแป้งโปรตีน ลิพิด เมล็ดพืชบาง ชนิดที่อาจจะมีหรือไม่มีเฮมิเซลลูโลสเซลล์เอนโดสเปิร์มมีผนังชั้นแรกหนามากเช่น หน่อไม้ฝรั่ง และ Diospyros sp. ดังนั้น ในช่วงการงอกเฮมิเซลลูโลสจะถูกย่อยสลายเป็นแมน โนส (mannose) และมอโนแซ็กคาไรค์(monosaccharide) อื่นๆ
  • 101.
  • 102.
  • 103.
  • 104. เอนโดสเปิร์ม (endosperm)  กลุ่มเนื้อเยื่อซึ่งจะเป็นอาหารสาหรับเอ็มบริโอใช้การเจริญเติบโต เกิดขึ้นจากการปฏิสนธิ มีจานวน โครโมโซมเป็นทริพลอยด์ ในพืชพวกแองจิโอสเปิร์ม มีอยู่เพียง 3 วงศ์เท่านั้นที่ไม่พบว่ามีการสร้างเอน โดสเปิร์ม ได้แก่ วงศ์กล้วยไม้ (Orchidaceae) Podostemaceae และ Trapaceae บางพืชมีการสร้าง เอน โดสเปิร์ม แต่ถูกเอ็มบริโอใช้หมดไปในระหว่างการเจริญเติบโต เช่น ถั่ว มะขาม สะเดา เป็นต้น เมล็ด ของพืชพวกนี้จึงเป็นเมล็ดที่ไม่มีเอนโดสเปิร์ม (non-endospermous seed) แต่บางชนิดเมล็ดมีเอนโด สเปิร์ม (endospermous seed) เพื่อใช้ในระหว่างที่เมล็ดงอก เช่น ธัญพืช ละหุ่ง มะพร้าวและมะละกอ เป็นต้น  เอนโดสเปิร์มทาหน้าที่สะสมอาหารไว้เพื่อ (1) การเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ หลังจากกระบวนการ ปฏิสนธิพบว่า ไซโกตไม่แบ่งเซลล์จนกว่าเอนโดสเปิร์มเติบโตเต็มที่แล้ว หรือจนกว่าจะได้รับอาหาร สะสมจากเอนโดสเปิร์มถ้าเอนโดสเปิร์มไม่เจริญหรือฝ่อไปมีผลให้เอ็มบริโอไม่เจริญด้วย ในขณะที่ เอ็มบริโอเจริญเติบโตใช้อาหารจากเนื้อเยื่อเอนโดสเปิร์มที่อยู่ล้อมรอบเอ็มบริโอนั้นหมดไป ยกเว้นใน บางพืช พืชตระกูลถั่วหรือแตง เอ็มบริโอดูดดึงอาหารจากเอนโอสเปิร์มาใช้จนหมดก่อนเอ็มบริโอเติบโต เต็มที่ (2) เป็นอาหารสะสมสาหรับต้นอ่อนใช้ในขณะที่มีกระบวนการงอกเกิดขึ้น จนกว่าต้นอ่อนจะ สังเคราะห์แสงได้เอง เอนโดสเปิร์มก็หมดหน้าที่ไป
  • 105. เอนโดสเปิร์ม (endosperm)  เอนโดสเปิร์มของพืชหนึ่งสามารถนาไปใช้เพื่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอของพืชต่าง ชนิดกันได้ ไม่มีคุณสมบัติเฉพาะเจาะจง (specificity) และเอนโดสเปิร์มจากผลหรือเมล็ดที่ มีอายุน้อยมีคุณค่าของอาหารสะสมสูงกว่าเอนโดสเปิร์มจากผลหรือเมล็ดแก่ นอกจากนี้ยัง พบว่าปริมาณของฮอร์โมน เช่น ออกซิน ไซโทไคนินและจิบเบอเรลลินลดลงตามอายุของ เอนโดสเปิร์มที่เพิ่มขึ้น ซีทิน (zeatin) ซึ่งเป็นไซโทไคนินชนิดหนึ่งที่รู้จักกันดีก็สกัดมาก จากเอนโดสเปิร์มอ่อนๆ ของข้าวโพด  อาหารสะสมในส่วนของเมล็ด นอกจากจะอยู่ในส่วนของเอนโดสเปิร์มหรือใบเลี้ยงแล้วยัง อาจอยู่ในเนื้อเยื่อเพอริสเปิร์ม (perisperm) ได้อีก โดยทั่วไปเนื้อเยื่อนิวเซลลัสซึ่งอยู่ ล้อมรอบถุงเอ็มบริโอถูกใช้หมดไปขณะที่มีการเจริญสร้างเอนโดสเปิร์มขึ้นมา แต่ในพืช บาง วงศ์ เช่น Amaranthaceae Cannaceae Capparidaceae Piperaceae Portulaceae Zingiberaceae นั้นเนื้อเยื่อนิวเซลลัสรอบๆ ถุงเอ็มบริโอยังคงอยู่จนกระทั่งออวุลเจริญเป็น เมล็ด เรียกเนื้อเยื่อที่เจริญมาจากนิวเซลลัสที่ยังคงอยู่ในเมล็ดว่า "เพอริสเปิร์ม"
  • 106.
  • 107. ประเภทเมล็ดจาแนกโดยตาแหน่ง ขนาด และรูปร่างของเอ็มบริโอภายในเมล็ด เมื่อใช้เกณฑ์นี้จะแบ่งเมล็ดออกได้เป็น3 ดิวิชัน คือ  2.1. เบซอล ดิวิชัน (basal division) เมล็ดในดิวิชันนี้มีเอ็มบริโอขนาดเล็กตาแหน่งของเอ็มบริโอ ในเมล็ดอยู่ส่วนครึ่งล่างของเมล็ด เนื้อที่ส่วนใหญ่ภายในเมล็ดเป็นที่อยู่ของเอนโดสเปิร์ม เมล็ด มักมีขนาดปานกลางจนถึงขนาดใหญ่  2.2. เพอริเฟอรัล ดิวิชัน (peripheral division) เมล็ดในกลุ่มนี้ประกอบด้วยเอ็มบริโอขนาดใหญ่ ยาว วางตัวในลักษณะโค้งงอไปตามเปลือกเมล็ด มีเอนโดสเปิร์มเห็นเด่นชัด  2.3. แอกไซล์ ดิวิชัน (axile division) เมล็ดในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยเอ็มบริโออยู่ตรงกลางของ เมล็ด อาจมีลักษณะตั้งตรง โค้งงอ ขดหรือพับอยู่ อาจมีหรือไม่มีเอนโดสเปิร์ม แบบนี้เป็นแบบที่ พบมากที่สุดทั้งในพืชพวกจิมโนสเปิร์มและแองจิโอสเปิร์ม
  • 108.
  • 109. ประเภทของเมล็ดจาแนกโดยใช้โครงสร้างของเปลือกเมล็ด  เปลือกเมล็ดโดยทั่วๆ ไปมี 2 ชั้น เปลือกชั้นนอกเจริญมาจากอินเทกิวเมนต์ชั้นนอก เรียกว่า เทสตา (testa) เปลือกชั้นในเจริญมาจากอินเทกิวเมนต์ชั้นใน เรียกว่า เทกเมน (tegmen) ในพืช แต่ละชนิดมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเปลือกเมล็ดทั้งสองชั้นนี้แตกต่างกันไปเมล็ด พืชที่มีวิวัฒนาการค่อนข้างล้าหลัง (primitive) มักมีเปลือกเมล็ดหนาและมีโครงสร้างซับซ้อน กว่าเมล็ดพืชที่มีวิวัฒนาการก้าวหน้า (advance) ซึ่ง เมล็ดพวกที่ก้าวหน้ากว่ากลับมีโครงสร้าง ของเปลือกเมล็ดอย่างง่ายๆ และมีเปลือกที่บางกว่า เมล็ดที่มีส่วนของเทสตาเปลี่ยนแปลง ซับซ้อน เรียก เมล็ดเทสทัล (testal seed) ส่วนเมล็ดที่มีโครงสร้างซับซ้อนอยู่ในชั้นเทกเมน เรียก เมล็ดเทกมิก (tegmic seed)
  • 110. การงอกของเมล็ด (Seed germination) ปัจจัยในการงอกของเมล็ด 1. น้าหรือความชื้น เมื่อเมล็ดพันธุ์จะงอก น้าเป็นปัจจัยแรกที่จะกระตุ้นให้เมล็ดพันธุ์ตื่นตัว กระตุ้นการ เกิดปฏิกิริยาเคมีและขบวนการเมแทบอลิซึมในเบื้องต้น เมล็ดพันธุ์ดูดน้าเข้าไปทาให้เปลือกเมล็ด อ่อนนุ่ม ทาให้เมล็ดพอง โตขึ้น เนื่องจากการขยายของผนังเซลล์และโพรโทพลาสต์ เมื่อเปลือกเมล็ดอ่อนนุ่ม ทาให้รากแทงผ่านเปลือกได้สะดวกมากขึ้น เมล็ดพันธุ์พืชแต่ละชนิดต้องการน้าสาหรับการงอกแตกต่างกัน บางชนิดหากได้รับน้ามากเกินไปจะทาให้เมล็ด ขาดออกซิเจนที่ใช้สาหรับหายใจและทาให้เมล็ดเน่า ในบาง ชนิด การที่เมล็ดพันธุ์ได้รับน้ามากๆอาจจะทาให้เมล็ดเข้าสู่ สภาวะพักตัวใหม่ สาหรับปัจจัยที่มีผลต่อการดูด น้าของเมล็ดพันธุ์ ได้แก่ ความหนาของเปลือก สารที่เคลือบอยู่ที่ผิวเปลือก ความเข้มข้นของน้า อุณหภูมิ และ การสุกแก่ของเมล็ดที่ต่างกัน เป็นต้น 2. ออกซิเจน มีความสาคัญต่อขบวนการหายใจของเมล็ดพันธุ์ที่กาลังงอก เมล็ดพันธุ์ที่กาลังงอก ต้องการ พลังงาน และพลังงานนั้นได้จากขบวนการ oxidation โดยใช้ออกซิเจน คือ ขบวนการหายใจ เมล็ด พันธุ์ที่กาลังงอกจะมี อัตราการหายใจสูง เมื่อเทียบกับการหายใจในช่วงอื่นๆ และ จะมีกิจกรรมการสลายและ เผาผลาญอาหารที่เก็บสะสมไว เมล็ดพันธุ์โดยทั่วไปจะงอกในสภาพบรรยากาศปกติที่มีออกซิเจน ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 0.03 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็มีเมล็ดพันธุ์พืชหลายชนิดที่งอกได้ใน สภาพที่มีออกซิเจนต่ากว่าปกติ เช่น พืชที่งอกได้ในน้า
  • 111. 3. อุณหภูมิ มีความสาคัญต่อการควบคุมและอัตราการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีขณะเมล็ดกาลังงอก เนื่องจาก อัตราการเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีจาเป็นต้องอาศัยการทางานของเอนไซม์ ซึ่งมีความจาเพาะเจาะจงกับระดับ อุณหภูมิ นอกจากปัจจัย 3 ชนิดข้างต้นที่จาเป็นในการงอกของเมล็ดพันธุ์โดยทั่วไปแล้ว ยังมีเมล็ดพันธุ์บางชนิดที่ ต้องการ แสง สาหรับการงอก เช่น ปอกระเจา ผักกาดเขียวปลี ผักกาดหอม และพริก เป็นต้น เมล็ดพันธุ์บางชนิดอาจจะ ต้องการ แสงเพียงพอกระตุ้นการงอกในระยะใดระยะหนึ่งเท่านั้น สาหรับเมล็ดพันธุ์บางชนิด แสงจะเป็นตัวยับยั้งการ งอก มีพืชบางกลุ่มเท่านั้นที่สามารถงอกได้ในที่ที่ไม่มีแสง เช่น พืชตระกูลหอม หรือไม้หัว และพืชในกลุ่มไม้ดอกบาง ชนิด เช่น ฟล็อก พืชในกลุ่มนี้เมื่อได้รับแสงจะมีเปอร์เซ็นต์การงอกลดลง