SlideShare a Scribd company logo
1 of 15
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2560
ชื่อโครงงาน โรคอ้วน
ชื่อผู้ทาโครงงาน
นายศุภฤกษ์ คาชมพู ม.6/13 เลขที่ 5
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) โรคอ้วน
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Overweight and obesity
ประเภทโครงงาน โครงงานตามสาระการเรียนรู้ (โครงงานเชิงวิชาการ)
ชื่อผู้ทาโครงงาน นายศุภฤกษ์ คาชมพู
ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 2
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน (อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน)
ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป มีการยอมรับวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร
ตะวันตกมากขึ้น การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น โดยเน้นความ
สะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารปรุง
สาเร็จรูป อาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
ฟาสต์ฟู้ดจากตะวันตก ซึ่งมีระดับของพลังงานที่สูง อีกทั้งยังขาดการออกกาลังกายที่เพียงพอ ซึ่งมีส่วนทา
ให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย และนามาซึ่งสาเหตุ การเพิ่มจานวนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งจานวนเด็ก และวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น
คนไทยกาลังประสบปัญหาทางสุขภาพสาคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม
(metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่เหมาะสม และการ
ไม่ออกกาลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดาเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนลง
พุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และน้าตาลสูง แต่มีใย
อาหารต่า มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่
มาก และไม่ได้ออกกาลังกาย ทาให้มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตในเชิงลบ นาไปสู่การเจ็บป่วยและการ
ตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข
ของประเทศในขณะนี้
3
วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ)
1. สามารถเรียนรู้และเข้าใจโรคอ้วน
2. สามารถดูแลตัวเองให้ไม่เป็นโรคอ้วน
3. สามารถเลือกรับประทานอาหารและออกกาลังกายที่ถูกวิธี
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน)
1. บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องโรคอ้วน
2. บุคคลที่มีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคอ้วน
3. บุคคลที่อยากป้องกันตัวเองจากโรคอ้วน
4
หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน)
โรคอ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในร่างกายมากเกิน เนื่องมาจากได้รับพลังงาน จากอาหาร
มากเกินกว่าที่ใช้ พลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน จึงทําให้ร่างกาย มีนํ้าหนัก
มากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค
ความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม รวมถึงโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้มีปัญหาโรคอ้วนยังประสบ ปัญหา
ทางด้านจิต สังคม และหน้าที่การงานร่วมด้วย สร้างปัญหาทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ได้อีกทาง
หนึ่ง
คนไทยกําลังประสบปัญหาทางสุขภาพสําคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม
(metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่
เหมาะสม และการไม่ออกกําลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดําเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลัก
ของการเกิดโรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน
โปรตีน และน้ําตาลสูง แต่มีใยอาหารต่ํา มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก
ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่มาก และไม่ได้ออกกําลังกาย ทําให้มีผลกระทบต่อภาวะ
สุขภาพจิตในเชิงลบ นําไปสู่การเจ็บป่วยและการตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศในขณะนี้
ทิศทางการป้องกันโรคอ้วนลงพุง หรือ เมตาโบลิกซินโดรม ในปัจจุบันได้หันมาให้ความสําคัญของ
การปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต ที่รวมถึงการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย เป็นหลัก
คําแนะนําต่างๆ จะเน้นที่รูปแบบการกินอาหาร โดยให้ความสําคัญของรูปแบบการกินอาหารที่มา
จากพืชเป็นหลัก เช่น การบริโภคผัก ผลไม้ และธัญชาติที่ขัดสีแต่น้อย เป็นประจําเพื่อให้มีโอกาส
ได้รับใยอาหารในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว เน้นการบริโภคเนี้อสัตว์ใน
ปริมาณน้อย เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ได้จากปลา ส่วนไขมันที่แนะนําจะเน้นที่คุณภาพไขมัน โดยแนะนําให้
บริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวทั้งชนิดที่เป็น mono – และ
polyunsaturated fat ในปริมาณที่เหมาะสม กินผักมากขึ้น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม
และกิน อาหารให้หลากหลาย
1. เป้าหมายของการลด,นํ้าหนัก การป้องกันการเพิ่มและการรักษานํ้าหนักตัว
ปกติการตั้งเป้าหมายของการลดนํ้าหนักคือ 10% ของนํ้าหนักตัว มีความเป็นไปได้ที่ทําอย่าง
จริงจังและต่อเนื่อง อัตราการลดนํ้าหนักไม่ควรเกิน 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ (ปริมาณ พลังงานใน
การเผาผลาญไขมัน 7700 กิโลแคลอรี่/ก.ก.) ดังนั้นในเวลา 6 เดือน การเผาผลาญ ไขมันจะทํา
ให้นํ้าหนักลด 2-3 กิโลกรัม หลังจากนั้นมักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักมากนัก หลังจากมี
การใช้พลังงานของร่างกายลดลงเมื่อน้ําหนักลด
5
การที่จะลดนํ้าหนัก 10% ในช่วง 6 เดือน มีข้อแนะนําว่า
คนที่นํ้าหนักเกิน ควรลด 300-500 กิโลแคลอรี/วัน
คนที่อ้วนควรลด 500-1000 กิโลแคลอรี/วัน
การลดน้ําหนักทําได้ในหลายลักษณะ คือลดการบริโภคอาหาร เพิ่มการใช้พลังงาน ด้วยการ
เคลื่อนไหวร่างกายและออกกําลังกาย รวมทั้งการปรับพฤติกรรม
2. ลดการบริโภคอาหาร
การลดปริมาณไขมันและลดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน การบริโภคอาหารที่มี Isocaloric
diet) โดยการลดไขมันและทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้ปริมาณพลังงานเท่าเดิมนั้น ช่วยลด
ปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับ แต่ไม่ได้ช่วยลดน้ําหนัก เนื่องจาก ปริมาณพลังงานยังเท่าเดิมดังนั้น
การปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่บริโภคนั้นยังไม่พอควรลดการบริโภคอาหารลงด้วย
3. เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย
การลดนั้าหนัก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ร่วมกับการเพิ่ม
การเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ําหนักที่ลดนั้นเพิ่มกลับมาอีก เเละยังช่วยระบบหัวใจ
หลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งดีกว่าการลดการบริโภค อาหารเพียงอย่าง
เดียว การเคลื่อนไหวและออกกําลังกายควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทําประจําและสม่ําเสมอ
การออกกําลังกายจะทําต่อเนื่องกัน หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้น ซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้ว ได้ผลลัพธ์ไม่
ต่างกัน (หรือที่เรียกกันว่าออกกําลังกายสะสม) ซึ่งงานวิจัยโดยอาสาสมัครที่ออกกําลังกายวันละ
30 นาที 3วัน/สัปดาห์เทียบกับอาสาสมัครที่ออกกําลังกาย 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาทีรวมเป็น
30 นาทีต่อวัน 3 วัน/สัปดาห์ ให้ผลไม่ต่างกัน รวมทั้งการออกกําลังกาย แบบต้านแรง ผลที่ได้
เมื่อเทียบการฝึก 1 เซ็ท กับ 3 เซ็ท พบว่าเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและ เป็นประโยชน์ต่อ
สมรรถภาพร่างกาย กล่าวโดยสรุปการออกกําลังกายแบบสะสม (accumulated
physical activity) ช่วยได้เช่นกัน และยังมีความเป็นไปได้ในการที่จะแนะนําสําหรับผู้ที่ไม่มี
เวลา ซึ่งสามารถแบ่งทําเป็นช่วงสั้นๆ
4. ปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นมีประสบการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทําให้เห็น
ผลที่ดีขึ้น (self experience approach) ทําให้มีความมั่นใจว่าตัวเองทําได้ และเมื่อ
6
ได้รับความชื่นชมจากผู้คนและสังคมรอบด้าน การเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น รวมทั้งการตอกยํ้า
(reinforcement) และการให้รางวัล (reward) จะสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น การ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจําเป็นต้องเป็นการดูแลตนเอง (self monitoring) ทั้งเรื่องการ
ดําเนินชีวิต การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
อาหารตามกระแส ะ อาหารจานด่วน (fast food)
ในสังคมอันเร่งรีบและความเป็นโลกาภิวัตน์ ทําให้วัฒนธรรมการบริโภคอาหารมีความ คล้ายคลึง
กันแทบจะทั่วโลก เราจะเห็นร้านอาหารจานด่วนจากประเทศตะวันตก หรือแม้แต่แถบเอเชียเองที่มี
สาขาทั่วไปในประเทศไทย หรือแม้แต่อาหารจานเดียวของไทยก็เป็นอาหารจานด่วนมากมาย
ในฐานะผู้บริโภคจําเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการเลือกอาหารบริโภค แน่นอน ที่การเลือก
อาหารมีปัจจัยหลายอย่าง นอกเหนือจากคุณค่าอาหารว่าคุ้มกับเงินที่จ่าย ยังรวมถึง ความสะดวก
รสชาติ การส่งเสริมการขายด้วยการลดแลกแจกแถม การตลาดและการประชาสัมพันธ์
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการที่สอบถามถึงการเลือกอาหารของเด็ก นักเรียนชาย/
หญิง อายุ 7-12 ปี ในโรงเรียนระดับกลางของกรุงเทพมหานคร พบความแตกต่าง ของ
เด็กหญิง/เด็กชายในการเลือกอาหาร เด็กชาย 60% ชอบขนมกรุบกรอบเป็นถุงมากกว่าเด็กหญิง
(48%)19% ของเด็กชายจะชอบขนมปังและเบเกอรี่ ขณะที่เด็กหญิงชอบขนมประเภทนี้ถึง
(34%)18% ของเด็กชายชอบขนมหวาน ขณะที่เด็กหญิงให้ความสําคัญกับผลไม้ถึง 23%
การเลือกอาหารจะไม่มีความแตกต่างของหญิง/ชาย โดยที่ 22% เลือกอาหารปลอดภัย 21%
อาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพ 16% เลือกรสขาติที่ดี และส่วนที่เหลือจะเป็นเรื่องของราคา 3%
ความสะดวก 2% และความชอบ 5%
อย่างไรก็ดีการคํานึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหาร จําเป็นต้องมีข้อมูลโภชนาการ เพื่อให้
ผู้บริโภคได้ตัดสินใจ แต่เนื่องจากอาหารไทยมักจะไม่มีสัดส่วนที่แน่นอน ขึ้นกับความพึงพอใจ ใน
รสชาติที่ชอบ ข้อมูลคุณค่าอาหารจึงขึ้นกับชนิด การปรุง รวมทั้งปริมาณอาหาร
อาหารจานด่วนของต่างชาติมักจะมีสัดส่วนที่แน่นอน ซี่งสะดวกในการได้ข้อมูลคุณค่า อย่างไรก็ดี
อาหารจานด่วนที่มาจากทางตะวันตก นอกจากจะมีโปรตีนสูงมักไขมันสูงด้วย รวมทั้งการมีปริมาณ
โซเดียมสูง ดังนั้นปริมาณพลังงานของอาหาร (energy ensity) จึงมักสูงตามไปด้วย ดัง
แสดงในตารางที่ 5 แสดงตัวอย่างคุณค่าอาหารจานเดียว ของไทย เทียบกับอาหารจานด่วนของ
ทางตะวันตก
7
ปัญหาของการเลือกอาหารของคนในสังคมเมืองนั้นมักจะเลือกตามความสะดวก หาง่าย ประหยัด
และตามกระแสสังคม การเลือกอาหารจานด่วนของคนทางตะวันตกมักจะมีสัดส่วน ไขมันค่อนข้าง
สูง ซึ่งปกติการแนะนําอาหารที่ดีไม่ควรมีสัดส่วนที่มาจากไขมันเกิน 30% ของพลังงาน ทั้งหมด
(ซึ่งไม่ควรทานประจํา) การเลือกอาหารดังกล่าวควรควบคู่ไปกับการเพิ่มผัก / ผลไม้ และ ลด
อาหารที่มีไขมันสูงในมื้อถัดๆ ไป ก็พอช่วยได้บ้าง เพราะการได้รับอาหารพลังงานสูงและพลังงาน
ส่วนใหญ่มาจากไขมัน ทําให้ร่างกายสร้างไขมันเก็บสะสมในร่างกาย ถ้าสมดุลพลังงาน การใช้
มากกว่าการได้รับจะทําให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย
นิยาม
น้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วน (Overweight and obesity) โดยองค์การอนามัยโลก ให้
นิยามว่า น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของ
ร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็น
สาเหตุให้เสียชีวิตได้
โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย/ดรรชนีมวลกาย (Body mass index หรือ เรียกย่อว่า BMI/
บีเอ็มไอ) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า น้ําหนักตัวเกิน
แต่ถ้ามีค่าดรรชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า เป็นโรคอ้วน
น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน มีสาเหตุ วิธีวินิจฉัย การดูแลรักษา และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ
เช่นเดียวกันทุกประการ แตกต่างกันที่ความรุนแรงของปัญหาทางสุขภาพ ในคนน้ําหนักตัวเกินจะ
รุนแรงน้อยกว่าในคนเป็นโรคอ้วน ดังนั้นในทางการแพทย์ ทั้งน้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วนจึงมัก
กล่าวถึงควบคู่กันไปเสมอ
ดัชนีมวลกาย คือ ค่าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างน้ําหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นตัววินิจ ฉัยว่า
ใครน้ําหนักเกิน หรือใครเป็นโรคอ้วน โดยหน่วยของน้ําหนักคิดเป็นกิโลกรัม และหน่วยของความสูง
คิดเป็นเมตร โดยค่าดัชนีมวลกายของแต่ละคน จะมีค่าเท่ากับ น้ําหนักของคนๆนั้น หารด้วยความ
สูงยกกําลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกายจึงเป็น กิโลกรัม/เมตร2 แต่โดยทั่ว ไปไม่นิยมใส่
หน่วยของดัชนีมวลกาย
ซึ่งค่าดัชนีมวลกายของคนปกติ และคนผอมตามนิยามขององค์การอนามัยโลกคือ 18.5-24.9 และ
ต่ํากว่า 18.5 ตามลําดับ
อย่างไรก็ตาม บางการศึกษา แนะนําว่า นิยามโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินในคนเอเชีย ควร
แตกต่างจากที่องค์การอนามัยโลกกําหนด เพราะคนเอเชียมีรูปร่างเล็กกว่าคนอเมริกัน ยุโรป
และอัฟริกัน โดย กําหนดให้คนผอม และคนปกติของชาวเอเชีย มีค่าดรรชนีมวลกาย น้อยกว่า
18.5 และ 18.5-22.9 ตามลําดับ ส่วนโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกิน มีค่าดรรชนีมวลกาย ตั้งแต่
23 ขึ้นไป และ ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป ตามลําดับ
องค์การอนามัยโลก และกลุ่มแพทย์ชาวเอเชีย ยังแบ่งโรคอ้วนออกเป็น 3 ระดับ เพื่อบอกความ
รุนแรงของภาวะ หรือ ของโรค ว่า ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก โดยระดับความรุนแรงมาก
คือ ค่าดรรชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป (องค์การอนามัยโลก) หรือ ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปในคนเอเชีย
อนึ่ง ค่าดรรชนีมวลกายในผู้ใหญ่และในเด็กต่างกัน เพราะเด็กอยู่ในวัยเจริญเติบโต และมีความ
แตกต่างกันในการเจริญเติบโตระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย ดังนั้นในการคํานวณค่าบี เอ็มไอ จึง
8
ต้องใช้อายุและเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรียกว่า ค่า BMI-for-Age percentile ซึ่งบท
ความนี้จะไม่กล่าวถึง เรื่องของน้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็ก (เด็กโรคอ้วน) จะครอบคลุมเรื่อง
น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น
อัตราส่วนระหว่างเอวกับสะโพก (Waist-hip ratio หรือ เรียกย่อว่า WHR/ดับเบิลยู
เอชอาร์): เพื่อให้ง่ายขึ้น บางการศึกษาแนะนําให้วินิจฉัยว่า การมีไขมันเกินจนเป็นปัญหาต่อสุขภาพ
ให้วัดรอบเอวและหารด้วยรอบสะโพก ในผู้ชายค่ามากกว่า 1 และในผู้หญิงค่ามากกว่า 0.8 แสดง
ว่า มีปัญหาจากร่างกายสะสมไขมันเกินแล้ว ทั้งนี้การวัด
รอบเอวให้วัดในตําแหน่งกึ่งกลางระหว่าง ซี่โครงซี่สุดท้ายที่คลําได้และสันกระดูกปีกสะโพก
(Iliac crest)
ส่วนรอบสะโพกให้วัดในตําแหน่งระดับที่โคนขาทั้งสองข้างชนกัน
หรือรอบเอววัดจากรอยคอดระหว่างช่วงอกต่อกับช่วงท้อง
ส่วนรอบสะโพกวัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพกหรือของก้น
รู้ได้อย่างไรว่า น้ําหนักตัวเกิน หรือ เป็นโรคอ้วน?
แพทย์วินิจฉัยว่ามี น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน ได้จากการหาค่าดัชนีมวลกายด้วยวิธีคํา นวณ
ดังกล่าวแล้ว (บรรณานุกรมที่ 1) ส่วนตัวเราเองสังเกตได้ง่ายๆว่าอ้วนขึ้น จากการที่เสื้อผ้าเดิมๆใส่
คับขึ้น หรือ น้ําหนักขึ้นเสมอจากการชั่งน้ําหนัก หรือ รู้สึกอึดอัด และเหนื่อยง่ายกว่าเดิม
ผลการค้นหารูปภาพสําหรับ โรคอ้วน
ทําไมโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินถึงเป็นปัญหาทางการแพทย์?
น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนในปัจจุบัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก
รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ําหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งน้ําหนักตัว
เกินและโรคอ้วน เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุสําคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นปัญ หาต่อสุขภาพ
และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก แต่อัตราเสียชีวิตก็ยังคงสูงต่อ เนื่อง
โรคที่มี น้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุ คือ
- โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต)
- โรคเบาหวาน
- โรคความดันโลหิตสูง
- โรคไขมันในเลือดสูง
- โรคนิ่วในถุงน้ําดี เพราะการมีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้น้ําดีจากตับมีไขมันสูงตามไปด้วย ซึ่งไขมัน
จะตกตะกอนเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ําดีได้ง่ายย
- มีปัญหาในการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea)
เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะ เร็งลําไส้
ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร
- มีปัญหาทางด้านสังคม ทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว และมักเป็นโรคซึมเศร้า
ผลการค้นหารูปภาพสําหรับ โรคอ้วน
9
สาเหตุจากโรคอ้วน
คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความ
ต้องการ ร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน
ดังนั้นคนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆไม่ทราบ
แน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้
การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจํา จะให้น้ําหนักเกิน
โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน
ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ําตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส
sugars, fructose,น้ําหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว
และทําให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน
ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงาน
ได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ําหนักยาก
โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมธัยรอยด์ทํางานน้อยจะมีน้ําหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหาร
น้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทําให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน
ฮอร์โมนนี้อาจ จะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือ ร่างกาย
สร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต
จากยา ยาบางชนิดทําให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกําเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic
antidepressant,phenothiazine ยาลด ความดัน beta-block ยารักษา
เบาหวาน ยาคุมกําเนิด ยาsteroid
กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก
พันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยัง
สมองทําให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจาก
วัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่
วัฒนธรรมการดํารงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ําหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้น
นิยมอาหารมันๆ
ความผิดปกติทางจิตใจทําให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทาน
อาหารเก่ง
การดําเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอํานวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกําลังกาย มี
รถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ําหวาน น้ําอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัย
เสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก
การดื่มสุรา
การสูบบุหรี่
โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกําลังกาย รับประทานอาหารไม่จํากัดเวลา ไม่
จํากัดประเภท และไม่จํากัดปริมาณเหล่านี้ทําให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทําให้ออกกําลังได้ไม่เต็มที่
10
พบว่าวัยรุ่นหรือเด็กที่มีน้ําหนักเกินมักจะเกิดโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ น้ําหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่
เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ําหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี
โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือ วัยเด็กและวัยรุ่น
กรรมพันธุ์เป็นตัวกําหนอให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนใน
เด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทําให้ลดน้ําหนักยาก สานโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมี
ขนาดใหญ่
การคํานวนโรคอ้วนในเด็ก
ปัจจัยเสี่ยงของคนไทยต่อการมีโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินมีอะไรบ้าง?
จากการศึกษาของ Jitnarin, N. และคณะ ซึ่งรายงานผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบ ว่า
ปัจจัยเสี่ยงของผู้ใหญ่ไทยต่อการมีน้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน
- สําหรับผู้ชาย คือ สูงอายุ อยู่อาศัยในเมือง มีฐานทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี และไม่สูบบุหรี่
- ส่วนในผู้หญิง คือ สูงอายุ มีการศึกษา โสด ทํางานวิชาชีพ หรือ กึ่งวิชาชีพ
พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคความอ้วน
- ไม่มีเวลากินข้าวเช้า
- ชอบกินอาหารบุฟเฟ่ต์
- กินข้าวไม่เป็นเวลา
- ชอบกินจุบกินจิบ
- กินเหล้าเมายาเป็นกิจวัตร
- กินข้าวเส็จเร็ว จนเคี้ยวไม่ละเอียด
- ชอบกินอาหารสําเร็จรูป
- ชอบกินอาหารรสจัด
- เวลาเครียด สิ่งแรกที่นึกถึงคือของกิน
- ชอบเสียดายของเหลือๆ
- ชอบนอนดึกตื่นสาย
- กินข้าวเยอะ แต่กินผักน้อย
- กินมื้อเย็นดึกๆ
- กินมื้อเช้าน้อย
- ชอบกินขนมหวานหลังอาหาร
- มีขนมเก็บในตู้เย็นมาก
- มักจะใช้เครื่องทุ่นแรง
- ขี้เกียจขยับตัวทําอะไร
11
- ชอบกินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน
- ชอบครีม น้ําตาล และของหวาน
- ดื่มเหล้าก่อนนอน
โรคที่มาพร้อมความอ้วน
1 ไขมันในเลือดสูง ซึ่งนําไปสู่ความผิดปกติของระบบอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเจ้า
เม็ดไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ยิ่งหนามากขึ้นๆ ถนนของเจ้าเลือดก็เดินไม่สะดวกตามไป ก็
เลือดต้องไปหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย และเราก็ขาดเลือดไม่ได้ แน่นอนจะมีปัญหาต่อ
สุขภาพตามมาอีกมาก ทั้งโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ มึนงงบ่อยๆ เป็นลม เมื่อ
เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่ดี เซลล์ก็เสื่อมโทรมลง อนุมูลอิสระก็เกิดเร็วขึ้น ทีนี้แหละ แก่
เร็วอย่างเห็นได้ชัด
2 ความดันโลหิตสูง เมื่อไขมันเคลือบผนังหลอดเลือด บางจุดอาจตีบมาก
หัวใจมีหน้าที่เหมือนปั๊มน้ํา ก็ต้องขับดันเลือดวิ่งไปให้ทั่วร่างกายทุกซอกทุกมุม เมื่อบางจุดโดนบีบให้
แคบ แต่ร่างกายต้องการเลือด มันอาจออกแรงผลักดันเลือด อาจทําให้เส้นเลือดในสมองแตก ถึง
แก่ชีวิต หรือพิการเป็น
อัมพฤกษ์ อัมพาตได้
3 โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ
อุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทําให้เกิดภาวะ
หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หัวใจทํางานเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทําให้เกิด
โรคหัวใจขาดเลือด และหัวใจวาย
4 โรคเบาหวาน พบว่าคนไทยเป็นเบาหวานกันประมาณ 3 ล้านคน ลองคิด
ดูว่าไม่น้อย วันหน้าถ้ายังใช้ชีวิตเผอเรอ มีหวังได้เป็นเบาหวานด้วยอีกคน โรคนี้เป็นเพื่อนคู่ซี้กับโรค
อ้วน ที่มักพบควบคู่กันเสมอ เบาหวานนั้นเพราะระบบควบคุมระดับน้ําตาลในร่างกายผิดปกติ เมื่อ
12
เป็นเบาหวานแล้ว ถ้าเกิดเป็นแผลก็มักรักษาไม่หาย กลายเป็นแผลเรื้อรัง บางทีก็เป็นแผลกดทับ
ประกอบกับเสี่ยงต่อการติดเชื้อราง่ายขึ้น เพราะมีการอับชื้นของซอกแขน และซอกขามากกว่าปกติ
5 โรคข้อกระดูกเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้า เนื่องจากต้องรับน้ําหนักตัว
มากเกินพิกัด บางคนที่อ้วนมากๆ อาจจะยืนหรือเดินไม่ได้เลย เพราะข้อเท้าไม่สามารถรับน้ําหนักได้
คนอ้วนมากๆ จะเดินก็ลําบาก โยกเยกซ้ายขวา เดินไปเหนื่อยหอบไป
6 โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากในคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ชอบนั่ง
หรือนอน ปอดจึงขยายตัวไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้มากขึ้น บางครั้ง
ถึงกับมีภาวะการหายใจลดลง หายใจติดขัด ทําให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด คนอ้วนมาก
เหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา อาจพบภาวะของโรคอารมณ์เศร้าหมองร่วมไปด้วยก็กิน ซึ่งอาจจะ
ช่วยให้อารมณ์ช่วงนั้นดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทําร้ายตัวเองมากยิ่งขึ้น
7 โรคมะเร็งบางชนิด คนอ้วนมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ รวมทั้ง
โรคมะเร็งได้
8 โรคนิ่วในถุงน้ําดี และไขมันแทรกในตับ เมื่อมีไขมันมาก การทํางานของตับก็ลดลง
เพราะไขมันเข้าไปแทรกอยู่ จนทําให้เกิดนิ่วในถุงน้ําดี
จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าวถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึง
มีการศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่าคนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคนรูปร่าง
ปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง 2-12 เท่า
ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้ากลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ําหนักเกินสามารถลด น้ําหนักได้เพียง
5-10 % ของน้ําหนักตัวเริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และอัตราการตาย
(morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมีความพอดี
การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ําหนัก"
13
ก็เช่นกัน ถ้ามากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความมาก
เกินไปลงมาให้ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วคนที่มี "น้ําหนักเกิน"
หรือ "อ้วน"สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความมากเกินไปนี้ได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน"
มีหลายสาเหตุบางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อน้ําหนักตัวเกินหรือ เป็นโรคอ้วน? ควรพบแพทย์เมื่อไร?
การดูแลตนเองเมื่อปล่อยให้อ้วนแล้ว มักเป็นการยากที่จะควบคุมน้ําหนักได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่ม
ควบคุมน้ําหนักตั้งแต่เมื่อเริ่มมีน้ําหนักเกิน เช่น รู้สึกเสื้อผ้าคับ หรือ เมื่อชั่งน้ําหนักแล้วน้ําหนักขึ้น
ต่อเนื่องทุกอาทิตย์ ซึ่งการดูแลตนเองที่สําคัญ คือ ต้องตระหนักถึงความสําคัญของโทษของโรค
อ้วน และ น้ําหนักตัวเกิน และมีอุตสาหะในการควบคุมน้ําหนัก โดย
- กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆทยอยลด เพราะถ้าลดฮวบฮาบ จะทนหิวไม่ได้ ไม่กินจุบจิบ
และเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ท่องเที่ยว ประชุม ก็ยังควรต้องจํากัดอาหารเสมอ
- จํากัดอาหารแป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้
- ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย เช่น ลดการดูทีวี โดยทํางานบ้าน
ทดแทน
- พยายามหาทางให้ร่างกายใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อนถึงป้ายที่ทํางาน 1 ป้าย หรือ ใช้ลิฟต์
เฉพาะเมื่อจําเป็น
- พยายามออกกําลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที
- ชั่งน้ําหนักทุกสัปดาห์
- การควบคุมน้ําหนัก ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดย เฉพาะในเรื่องอาหาร
เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน
- ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผล
ต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น เบื่ออาหารมากจนกินได้น้อย ขาดอาหาร การรับ
รสชาติผิดปกติ ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง
ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ กังวล หงุด หงิดง่าย และสับสน
- ควรพบแพทย์ เมื่อดูแลตนเองแล้ว น้ําหนักยังขึ้นต่อเนื่อง หรือเมื่อกังวลในเรื่องน้ําหนัก
14
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ
3. ศึกษา จากเอกสารและเว็บไซด์ต่างๆ
4. จัดทาโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน
5. ปฏิบัติการจัดทาโครงงาน
6. จัดทาเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์
7. นาเสนองาน
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
1. คอมพิวเตอร์
2. โปรแกรม Microsoft Word
3. โปรแกรม Adobe Photoshop CS6
4. Internet
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
3 จัดทาโครงร่างงาน
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5 ปรับปรุงทดสอบ
6 การทาเอกสารรายงาน
7 ประเมินผลงาน
8 นาเสนอโครงงาน
15
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน)
1. ทาให้บุคคลที่มีความสนใจต่อโรคอ้วนได้รับความรู้
2. ทาให้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น
สถานที่ดาเนินการ
1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่
2. CAMP ห้างสรรพสินค้าเมญ่า เชียงใหม่
3. WAKE UP (สาขาไอคอน)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
1.ภาษาไทย
2.การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์)
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นามาใช้การทาโครงงาน)
1. http://obesity0120.blogspot.com/
2.http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9%
89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B
9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0
%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99/
3. http://obesityeau.blogspot.com/2012/09/blog-post_9626.html

More Related Content

Similar to โครงงานคอมคิว

โครงงานร่าง
โครงงานร่างโครงงานร่าง
โครงงานร่างAom Nachanok
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาBream Mie
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์ธัญญลักษณ์ นาคคำ
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Sarita Witesd
 
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานแบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานDduang07
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมjetaimej_
 
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนัก
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนักโครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนัก
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนักPao Pro
 
เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่Jah Jadeite
 
2562 final-project 40
2562 final-project 402562 final-project 40
2562 final-project 40ssuserceb50d
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer projectMaryW6
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Phimwaree
 
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์Guy Prp
 
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautiful
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautifulTrick how to lose weight, make the body perfectly beautiful
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautifulpattarapornboonsom
 
ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6Krc Jeffrey Carr
 

Similar to โครงงานคอมคิว (20)

โครงงานร่าง
โครงงานร่างโครงงานร่าง
โครงงานร่าง
 
โครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษาโครงงานเพื่อการศึกษา
โครงงานเพื่อการศึกษา
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์สมบูรณ์
 
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวานแบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
แบบโครงร่าง โรคเบาหวาน
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนัก
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนักโครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนัก
โครงงานโปรตีนกับการลดน้ำหนัก
 
เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่เค้าโครงร่างงานคู่
เค้าโครงร่างงานคู่
 
2562 final-project 40
2562 final-project 402562 final-project 40
2562 final-project 40
 
Computer project
Computer projectComputer project
Computer project
 
com
comcom
com
 
2562 final-project 03
2562 final-project 032562 final-project 03
2562 final-project 03
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่5 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2560 project -1
2560 project -12560 project -1
2560 project -1
 
Work1
Work1Work1
Work1
 
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautiful
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautifulTrick how to lose weight, make the body perfectly beautiful
Trick how to lose weight, make the body perfectly beautiful
 
รูปเล่ม
รูปเล่มรูปเล่ม
รูปเล่ม
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6ใบงานที่ 6
ใบงานที่ 6
 

โครงงานคอมคิว

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2560 ชื่อโครงงาน โรคอ้วน ชื่อผู้ทาโครงงาน นายศุภฤกษ์ คาชมพู ม.6/13 เลขที่ 5 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) โรคอ้วน ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Overweight and obesity ประเภทโครงงาน โครงงานตามสาระการเรียนรู้ (โครงงานเชิงวิชาการ) ชื่อผู้ทาโครงงาน นายศุภฤกษ์ คาชมพู ชื่อที่ปรึกษา ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 2 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน (อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน) ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป มีการยอมรับวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ตะวันตกมากขึ้น การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น โดยเน้นความ สะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารปรุง สาเร็จรูป อาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ฟาสต์ฟู้ดจากตะวันตก ซึ่งมีระดับของพลังงานที่สูง อีกทั้งยังขาดการออกกาลังกายที่เพียงพอ ซึ่งมีส่วนทา ให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย และนามาซึ่งสาเหตุ การเพิ่มจานวนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจานวนเด็ก และวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น คนไทยกาลังประสบปัญหาทางสุขภาพสาคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่เหมาะสม และการ ไม่ออกกาลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดาเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนลง พุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และน้าตาลสูง แต่มีใย อาหารต่า มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่ มาก และไม่ได้ออกกาลังกาย ทาให้มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตในเชิงลบ นาไปสู่การเจ็บป่วยและการ ตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุข ของประเทศในขณะนี้
  • 3. 3 วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ) 1. สามารถเรียนรู้และเข้าใจโรคอ้วน 2. สามารถดูแลตัวเองให้ไม่เป็นโรคอ้วน 3. สามารถเลือกรับประทานอาหารและออกกาลังกายที่ถูกวิธี ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน) 1. บุคคลทั่วไปที่สนใจเรื่องโรคอ้วน 2. บุคคลที่มีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคอ้วน 3. บุคคลที่อยากป้องกันตัวเองจากโรคอ้วน
  • 4. 4 หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน) โรคอ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในร่างกายมากเกิน เนื่องมาจากได้รับพลังงาน จากอาหาร มากเกินกว่าที่ใช้ พลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน จึงทําให้ร่างกาย มีนํ้าหนัก มากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรค ความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม รวมถึงโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้มีปัญหาโรคอ้วนยังประสบ ปัญหา ทางด้านจิต สังคม และหน้าที่การงานร่วมด้วย สร้างปัญหาทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ได้อีกทาง หนึ่ง คนไทยกําลังประสบปัญหาทางสุขภาพสําคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่ เหมาะสม และการไม่ออกกําลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดําเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลัก ของการเกิดโรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และน้ําตาลสูง แต่มีใยอาหารต่ํา มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่มาก และไม่ได้ออกกําลังกาย ทําให้มีผลกระทบต่อภาวะ สุขภาพจิตในเชิงลบ นําไปสู่การเจ็บป่วยและการตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศในขณะนี้ ทิศทางการป้องกันโรคอ้วนลงพุง หรือ เมตาโบลิกซินโดรม ในปัจจุบันได้หันมาให้ความสําคัญของ การปรับเปลี่ยนวิถีการดําเนินชีวิต ที่รวมถึงการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย เป็นหลัก คําแนะนําต่างๆ จะเน้นที่รูปแบบการกินอาหาร โดยให้ความสําคัญของรูปแบบการกินอาหารที่มา จากพืชเป็นหลัก เช่น การบริโภคผัก ผลไม้ และธัญชาติที่ขัดสีแต่น้อย เป็นประจําเพื่อให้มีโอกาส ได้รับใยอาหารในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว เน้นการบริโภคเนี้อสัตว์ใน ปริมาณน้อย เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ได้จากปลา ส่วนไขมันที่แนะนําจะเน้นที่คุณภาพไขมัน โดยแนะนําให้ บริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวทั้งชนิดที่เป็น mono – และ polyunsaturated fat ในปริมาณที่เหมาะสม กินผักมากขึ้น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม และกิน อาหารให้หลากหลาย 1. เป้าหมายของการลด,นํ้าหนัก การป้องกันการเพิ่มและการรักษานํ้าหนักตัว ปกติการตั้งเป้าหมายของการลดนํ้าหนักคือ 10% ของนํ้าหนักตัว มีความเป็นไปได้ที่ทําอย่าง จริงจังและต่อเนื่อง อัตราการลดนํ้าหนักไม่ควรเกิน 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ (ปริมาณ พลังงานใน การเผาผลาญไขมัน 7700 กิโลแคลอรี่/ก.ก.) ดังนั้นในเวลา 6 เดือน การเผาผลาญ ไขมันจะทํา ให้นํ้าหนักลด 2-3 กิโลกรัม หลังจากนั้นมักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักมากนัก หลังจากมี การใช้พลังงานของร่างกายลดลงเมื่อน้ําหนักลด
  • 5. 5 การที่จะลดนํ้าหนัก 10% ในช่วง 6 เดือน มีข้อแนะนําว่า คนที่นํ้าหนักเกิน ควรลด 300-500 กิโลแคลอรี/วัน คนที่อ้วนควรลด 500-1000 กิโลแคลอรี/วัน การลดน้ําหนักทําได้ในหลายลักษณะ คือลดการบริโภคอาหาร เพิ่มการใช้พลังงาน ด้วยการ เคลื่อนไหวร่างกายและออกกําลังกาย รวมทั้งการปรับพฤติกรรม 2. ลดการบริโภคอาหาร การลดปริมาณไขมันและลดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน การบริโภคอาหารที่มี Isocaloric diet) โดยการลดไขมันและทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้ปริมาณพลังงานเท่าเดิมนั้น ช่วยลด ปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับ แต่ไม่ได้ช่วยลดน้ําหนัก เนื่องจาก ปริมาณพลังงานยังเท่าเดิมดังนั้น การปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่บริโภคนั้นยังไม่พอควรลดการบริโภคอาหารลงด้วย 3. เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย การลดนั้าหนัก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ร่วมกับการเพิ่ม การเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ําหนักที่ลดนั้นเพิ่มกลับมาอีก เเละยังช่วยระบบหัวใจ หลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งดีกว่าการลดการบริโภค อาหารเพียงอย่าง เดียว การเคลื่อนไหวและออกกําลังกายควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทําประจําและสม่ําเสมอ การออกกําลังกายจะทําต่อเนื่องกัน หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้น ซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้ว ได้ผลลัพธ์ไม่ ต่างกัน (หรือที่เรียกกันว่าออกกําลังกายสะสม) ซึ่งงานวิจัยโดยอาสาสมัครที่ออกกําลังกายวันละ 30 นาที 3วัน/สัปดาห์เทียบกับอาสาสมัครที่ออกกําลังกาย 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาทีรวมเป็น 30 นาทีต่อวัน 3 วัน/สัปดาห์ ให้ผลไม่ต่างกัน รวมทั้งการออกกําลังกาย แบบต้านแรง ผลที่ได้ เมื่อเทียบการฝึก 1 เซ็ท กับ 3 เซ็ท พบว่าเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและ เป็นประโยชน์ต่อ สมรรถภาพร่างกาย กล่าวโดยสรุปการออกกําลังกายแบบสะสม (accumulated physical activity) ช่วยได้เช่นกัน และยังมีความเป็นไปได้ในการที่จะแนะนําสําหรับผู้ที่ไม่มี เวลา ซึ่งสามารถแบ่งทําเป็นช่วงสั้นๆ 4. ปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นมีประสบการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทําให้เห็น ผลที่ดีขึ้น (self experience approach) ทําให้มีความมั่นใจว่าตัวเองทําได้ และเมื่อ
  • 6. 6 ได้รับความชื่นชมจากผู้คนและสังคมรอบด้าน การเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น รวมทั้งการตอกยํ้า (reinforcement) และการให้รางวัล (reward) จะสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น การ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจําเป็นต้องเป็นการดูแลตนเอง (self monitoring) ทั้งเรื่องการ ดําเนินชีวิต การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวและออกกําลังกาย ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ อาหารตามกระแส ะ อาหารจานด่วน (fast food) ในสังคมอันเร่งรีบและความเป็นโลกาภิวัตน์ ทําให้วัฒนธรรมการบริโภคอาหารมีความ คล้ายคลึง กันแทบจะทั่วโลก เราจะเห็นร้านอาหารจานด่วนจากประเทศตะวันตก หรือแม้แต่แถบเอเชียเองที่มี สาขาทั่วไปในประเทศไทย หรือแม้แต่อาหารจานเดียวของไทยก็เป็นอาหารจานด่วนมากมาย ในฐานะผู้บริโภคจําเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการเลือกอาหารบริโภค แน่นอน ที่การเลือก อาหารมีปัจจัยหลายอย่าง นอกเหนือจากคุณค่าอาหารว่าคุ้มกับเงินที่จ่าย ยังรวมถึง ความสะดวก รสชาติ การส่งเสริมการขายด้วยการลดแลกแจกแถม การตลาดและการประชาสัมพันธ์ จากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการที่สอบถามถึงการเลือกอาหารของเด็ก นักเรียนชาย/ หญิง อายุ 7-12 ปี ในโรงเรียนระดับกลางของกรุงเทพมหานคร พบความแตกต่าง ของ เด็กหญิง/เด็กชายในการเลือกอาหาร เด็กชาย 60% ชอบขนมกรุบกรอบเป็นถุงมากกว่าเด็กหญิง (48%)19% ของเด็กชายจะชอบขนมปังและเบเกอรี่ ขณะที่เด็กหญิงชอบขนมประเภทนี้ถึง (34%)18% ของเด็กชายชอบขนมหวาน ขณะที่เด็กหญิงให้ความสําคัญกับผลไม้ถึง 23% การเลือกอาหารจะไม่มีความแตกต่างของหญิง/ชาย โดยที่ 22% เลือกอาหารปลอดภัย 21% อาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพ 16% เลือกรสขาติที่ดี และส่วนที่เหลือจะเป็นเรื่องของราคา 3% ความสะดวก 2% และความชอบ 5% อย่างไรก็ดีการคํานึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหาร จําเป็นต้องมีข้อมูลโภชนาการ เพื่อให้ ผู้บริโภคได้ตัดสินใจ แต่เนื่องจากอาหารไทยมักจะไม่มีสัดส่วนที่แน่นอน ขึ้นกับความพึงพอใจ ใน รสชาติที่ชอบ ข้อมูลคุณค่าอาหารจึงขึ้นกับชนิด การปรุง รวมทั้งปริมาณอาหาร อาหารจานด่วนของต่างชาติมักจะมีสัดส่วนที่แน่นอน ซี่งสะดวกในการได้ข้อมูลคุณค่า อย่างไรก็ดี อาหารจานด่วนที่มาจากทางตะวันตก นอกจากจะมีโปรตีนสูงมักไขมันสูงด้วย รวมทั้งการมีปริมาณ โซเดียมสูง ดังนั้นปริมาณพลังงานของอาหาร (energy ensity) จึงมักสูงตามไปด้วย ดัง แสดงในตารางที่ 5 แสดงตัวอย่างคุณค่าอาหารจานเดียว ของไทย เทียบกับอาหารจานด่วนของ ทางตะวันตก
  • 7. 7 ปัญหาของการเลือกอาหารของคนในสังคมเมืองนั้นมักจะเลือกตามความสะดวก หาง่าย ประหยัด และตามกระแสสังคม การเลือกอาหารจานด่วนของคนทางตะวันตกมักจะมีสัดส่วน ไขมันค่อนข้าง สูง ซึ่งปกติการแนะนําอาหารที่ดีไม่ควรมีสัดส่วนที่มาจากไขมันเกิน 30% ของพลังงาน ทั้งหมด (ซึ่งไม่ควรทานประจํา) การเลือกอาหารดังกล่าวควรควบคู่ไปกับการเพิ่มผัก / ผลไม้ และ ลด อาหารที่มีไขมันสูงในมื้อถัดๆ ไป ก็พอช่วยได้บ้าง เพราะการได้รับอาหารพลังงานสูงและพลังงาน ส่วนใหญ่มาจากไขมัน ทําให้ร่างกายสร้างไขมันเก็บสะสมในร่างกาย ถ้าสมดุลพลังงาน การใช้ มากกว่าการได้รับจะทําให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย นิยาม น้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วน (Overweight and obesity) โดยองค์การอนามัยโลก ให้ นิยามว่า น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน หมายถึง ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของ ร่างกายเกินปกติ จนเป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุให้เกิดโรคต่างๆที่ส่งผลถึงสุขภาพ จนอาจเป็น สาเหตุให้เสียชีวิตได้ โดยเมื่อมีค่าดัชนีมวลกาย/ดรรชนีมวลกาย (Body mass index หรือ เรียกย่อว่า BMI/ บีเอ็มไอ) ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป เรียกว่า น้ําหนักตัวเกิน แต่ถ้ามีค่าดรรชนีมวลกาย ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เรียกว่า เป็นโรคอ้วน น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน มีสาเหตุ วิธีวินิจฉัย การดูแลรักษา และปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ เช่นเดียวกันทุกประการ แตกต่างกันที่ความรุนแรงของปัญหาทางสุขภาพ ในคนน้ําหนักตัวเกินจะ รุนแรงน้อยกว่าในคนเป็นโรคอ้วน ดังนั้นในทางการแพทย์ ทั้งน้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วนจึงมัก กล่าวถึงควบคู่กันไปเสมอ ดัชนีมวลกาย คือ ค่าซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างน้ําหนักตัวกับส่วนสูง ซึ่งนิยมใช้เป็นตัววินิจ ฉัยว่า ใครน้ําหนักเกิน หรือใครเป็นโรคอ้วน โดยหน่วยของน้ําหนักคิดเป็นกิโลกรัม และหน่วยของความสูง คิดเป็นเมตร โดยค่าดัชนีมวลกายของแต่ละคน จะมีค่าเท่ากับ น้ําหนักของคนๆนั้น หารด้วยความ สูงยกกําลังสอง ดังนั้นหน่วยของดัชนีมวลกายจึงเป็น กิโลกรัม/เมตร2 แต่โดยทั่ว ไปไม่นิยมใส่ หน่วยของดัชนีมวลกาย ซึ่งค่าดัชนีมวลกายของคนปกติ และคนผอมตามนิยามขององค์การอนามัยโลกคือ 18.5-24.9 และ ต่ํากว่า 18.5 ตามลําดับ อย่างไรก็ตาม บางการศึกษา แนะนําว่า นิยามโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินในคนเอเชีย ควร แตกต่างจากที่องค์การอนามัยโลกกําหนด เพราะคนเอเชียมีรูปร่างเล็กกว่าคนอเมริกัน ยุโรป และอัฟริกัน โดย กําหนดให้คนผอม และคนปกติของชาวเอเชีย มีค่าดรรชนีมวลกาย น้อยกว่า 18.5 และ 18.5-22.9 ตามลําดับ ส่วนโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกิน มีค่าดรรชนีมวลกาย ตั้งแต่ 23 ขึ้นไป และ ตั้งแต่ 25 ขึ้นไป ตามลําดับ องค์การอนามัยโลก และกลุ่มแพทย์ชาวเอเชีย ยังแบ่งโรคอ้วนออกเป็น 3 ระดับ เพื่อบอกความ รุนแรงของภาวะ หรือ ของโรค ว่า ปานกลาง รุนแรง และรุนแรงมาก โดยระดับความรุนแรงมาก คือ ค่าดรรชนีมวลกายตั้งแต่ 40 ขึ้นไป (องค์การอนามัยโลก) หรือ ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปในคนเอเชีย อนึ่ง ค่าดรรชนีมวลกายในผู้ใหญ่และในเด็กต่างกัน เพราะเด็กอยู่ในวัยเจริญเติบโต และมีความ แตกต่างกันในการเจริญเติบโตระหว่างเด็กหญิงและเด็กชาย ดังนั้นในการคํานวณค่าบี เอ็มไอ จึง
  • 8. 8 ต้องใช้อายุและเพศเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เรียกว่า ค่า BMI-for-Age percentile ซึ่งบท ความนี้จะไม่กล่าวถึง เรื่องของน้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนในเด็ก (เด็กโรคอ้วน) จะครอบคลุมเรื่อง น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนเฉพาะในผู้ใหญ่เท่านั้น อัตราส่วนระหว่างเอวกับสะโพก (Waist-hip ratio หรือ เรียกย่อว่า WHR/ดับเบิลยู เอชอาร์): เพื่อให้ง่ายขึ้น บางการศึกษาแนะนําให้วินิจฉัยว่า การมีไขมันเกินจนเป็นปัญหาต่อสุขภาพ ให้วัดรอบเอวและหารด้วยรอบสะโพก ในผู้ชายค่ามากกว่า 1 และในผู้หญิงค่ามากกว่า 0.8 แสดง ว่า มีปัญหาจากร่างกายสะสมไขมันเกินแล้ว ทั้งนี้การวัด รอบเอวให้วัดในตําแหน่งกึ่งกลางระหว่าง ซี่โครงซี่สุดท้ายที่คลําได้และสันกระดูกปีกสะโพก (Iliac crest) ส่วนรอบสะโพกให้วัดในตําแหน่งระดับที่โคนขาทั้งสองข้างชนกัน หรือรอบเอววัดจากรอยคอดระหว่างช่วงอกต่อกับช่วงท้อง ส่วนรอบสะโพกวัดจากส่วนที่กว้างที่สุดของสะโพกหรือของก้น รู้ได้อย่างไรว่า น้ําหนักตัวเกิน หรือ เป็นโรคอ้วน? แพทย์วินิจฉัยว่ามี น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน ได้จากการหาค่าดัชนีมวลกายด้วยวิธีคํา นวณ ดังกล่าวแล้ว (บรรณานุกรมที่ 1) ส่วนตัวเราเองสังเกตได้ง่ายๆว่าอ้วนขึ้น จากการที่เสื้อผ้าเดิมๆใส่ คับขึ้น หรือ น้ําหนักขึ้นเสมอจากการชั่งน้ําหนัก หรือ รู้สึกอึดอัด และเหนื่อยง่ายกว่าเดิม ผลการค้นหารูปภาพสําหรับ โรคอ้วน ทําไมโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินถึงเป็นปัญหาทางการแพทย์? น้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วนในปัจจุบัน จัดเป็นปัญหาทางสาธารณสุข เพราะประชากรทั่วโลก รวมทั้งในคนไทย มีปัญหาน้ําหนักตัวเกินและเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทั้งน้ําหนักตัว เกินและโรคอ้วน เป็นทั้งปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุสําคัญของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่เป็นปัญ หาต่อสุขภาพ และเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงมาก แต่อัตราเสียชีวิตก็ยังคงสูงต่อ เนื่อง โรคที่มี น้ําหนักตัวเกิน และโรคอ้วน เป็นปัจจัยเสี่ยง หรือ เป็นสาเหตุ คือ - โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต) - โรคเบาหวาน - โรคความดันโลหิตสูง - โรคไขมันในเลือดสูง - โรคนิ่วในถุงน้ําดี เพราะการมีไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้น้ําดีจากตับมีไขมันสูงตามไปด้วย ซึ่งไขมัน จะตกตะกอนเกิดเป็นนิ่วในถุงน้ําดีได้ง่ายย - มีปัญหาในการหายใจ มักเป็นโรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ (Sleep apnea) เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งหลายโรค เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งเยื่อบุมดลูก มะ เร็งลําไส้ ใหญ่ มะเร็งหลอดอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหาร - มีปัญหาทางด้านสังคม ทั้งกับตัวผู้ป่วยเองและครอบครัว และมักเป็นโรคซึมเศร้า ผลการค้นหารูปภาพสําหรับ โรคอ้วน
  • 9. 9 สาเหตุจากโรคอ้วน คนเรารับประทานอาหารเข้าไปไม่ว่าจะเป็นประเภทแป้ง หรือโปรตีนหากพลังงานที่ได้รับเกินความ ต้องการ ร่างกายก็จะสะสมอาหารส่วนเกินเหล่านั้นในรูปไขมัน สะสมมากขึ้นจนกลายเป็นโรคอ้วน ดังนั้นคนที่อ้วนเกิดจากเรารับอาหารที่มีพลังงานมากกว่าพลังงานที่เราใช้ไป สาเหตุจริงๆไม่ทราบ แน่ชัด โรคอ้วนมักจะมีสาเหตุต่างๆดังนี้ การรับประทานอาหาร หากรับประทานอาหารที่ให้พลังงานสูงเป็นประจํา จะให้น้ําหนักเกิน โดยเฉพาะอาหารที่มีไขมัน และแป้งสูงซึ่งมักจะพบในอาหารจานด่วน ประเภทของอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีน้ําตาล ไม่ว่าจะเป็นกลูโคส sugars, fructose,น้ําหวาน เครื่องดื่ม ไวน์ เบียร์ อาหารเหล่านี้จะดูดซึมอย่างรวดเร็ว และทําให้ร่างกายหลั่งอินซูลินเป็นปริมาณมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นสาเหตุของโรคอ้วน ภาวะที่ร่างกายเผาพลาญพลังงานน้อย ผู้ชายจะมีกล้ามเนื้อมากว่าผู้หญิง กล้ามเนื้อจะเผาพลังงาน ได้มากดังนั้นผู้หญิงจึงอ้วนง่ายกว่าผู้ชายและลดน้ําหนักยาก โรคต่อมไร้ท่อ เช่นต่อมธัยรอยด์ทํางานน้อยจะมีน้ําหนักเกินเนื่องจากร่างกายเผาผลาญอาหาร น้อยลง โรค cushing ร่างกายสร้างฮอร์โมน cortisol มากทําให้ร่างกายมีการสะสมไขมัน ฮอร์โมนนี้อาจ จะมาจากร่างกายสร้างเอง หรือจากลูกกลอน ยาแก้หอบ ยาชุด หรือ ร่างกาย สร้างขึ้นเนื่องจากเนื้องอกต่อมหมวกไต จากยา ยาบางชนิดทําให้ความอยากอาหารเพิ่ม เช่นยาคุมกําเนิด ยาแก้โรคซึมเศร้า tricyclic antidepressant,phenothiazine ยาลด ความดัน beta-block ยารักษา เบาหวาน ยาคุมกําเนิด ยาsteroid กรรมพันธุ์ จะพบว่าบางครอบครัวจะอ้วนทั้งหมดซึ่งส่วนหนึ่งเกิดจาก พันธุกรรม เช่นคนที่เป็นโรคขาด leptin ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ส่งไปยัง สมองทําให้เรารับอาหารน้อยลง แต่อีกส่วนหนึ่งอาจจะเกิดจาก วัฒนธรรมการรับประทานอาหารและความเป็นอยู่ วัฒนธรรมการดํารงชีวิตและอาหารซึ่งเห็นได้ว่าบางชาติจะมีน้ําหนักเกินเนื่องจากอาหารของชาตินั้น นิยมอาหารมันๆ ความผิดปกติทางจิตใจทําให้รับประทานอาหารมาก เช่นบางคนเศร้า เครียด แล้วรับประทาน อาหารเก่ง การดําเนินชีวิตอย่างสบาย มีเครื่องอํานวยความสะดวดมากมาย และขาดการออกกําลังกาย มี รถยนต์ มีเครื่องทุ่นแรง มีทีวีรายการดีๆให้ดู มีสื่อโฆษณาถึงน้ําหวาน น้ําอัดลม เหล่านี้เป็นปัจจัย เสี่ยงโรคอ้วนตั้งแต่ในวัยเด็ก การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ โรคอ้วนในวัยรุ่น ชีวิตที่มีความสบาย ขาดการออกกําลังกาย รับประทานอาหารไม่จํากัดเวลา ไม่ จํากัดประเภท และไม่จํากัดปริมาณเหล่านี้ทําให้เกิดโรคอ้วน เมื่ออ้วนก็ทําให้ออกกําลังได้ไม่เต็มที่
  • 10. 10 พบว่าวัยรุ่นหรือเด็กที่มีน้ําหนักเกินมักจะเกิดโรคอ้วนเมื่อเป็นผู้ใหญ่ น้ําหนักของผู้ชายจะเพิ่มจนคงที่ เมื่ออายุประมาณ 50 ปี ส่วนผู้หญิงน้ําหนักจะเพิ่มจนอายุประมาณ 70 ปี โรคอ้วนในเด็ก เซลล์ไขมันในร่างกายจะมีช่วงที่เจริญเติบโตอยู่สองช่วงคือ วัยเด็กและวัยรุ่น กรรมพันธุ์เป็นตัวกําหนอให้แต่ละคนมีเซลล์ไขมันไม่เท่ากัน คนอ้วนจะมีเซลล์ไขมันมาก การอ้วนใน เด็กจะมีปริมาณเซลล์ไขมันมากทําให้ลดน้ําหนักยาก สานโรคอ้วนในผู้ใหญ่เกิดจากเซลล์ไขมันมี ขนาดใหญ่ การคํานวนโรคอ้วนในเด็ก ปัจจัยเสี่ยงของคนไทยต่อการมีโรคอ้วน และ น้ําหนักตัวเกินมีอะไรบ้าง? จากการศึกษาของ Jitnarin, N. และคณะ ซึ่งรายงานผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2009 พบ ว่า ปัจจัยเสี่ยงของผู้ใหญ่ไทยต่อการมีน้ําหนักตัวเกินและโรคอ้วน - สําหรับผู้ชาย คือ สูงอายุ อยู่อาศัยในเมือง มีฐานทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี และไม่สูบบุหรี่ - ส่วนในผู้หญิง คือ สูงอายุ มีการศึกษา โสด ทํางานวิชาชีพ หรือ กึ่งวิชาชีพ พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อโรคความอ้วน - ไม่มีเวลากินข้าวเช้า - ชอบกินอาหารบุฟเฟ่ต์ - กินข้าวไม่เป็นเวลา - ชอบกินจุบกินจิบ - กินเหล้าเมายาเป็นกิจวัตร - กินข้าวเส็จเร็ว จนเคี้ยวไม่ละเอียด - ชอบกินอาหารสําเร็จรูป - ชอบกินอาหารรสจัด - เวลาเครียด สิ่งแรกที่นึกถึงคือของกิน - ชอบเสียดายของเหลือๆ - ชอบนอนดึกตื่นสาย - กินข้าวเยอะ แต่กินผักน้อย - กินมื้อเย็นดึกๆ - กินมื้อเช้าน้อย - ชอบกินขนมหวานหลังอาหาร - มีขนมเก็บในตู้เย็นมาก - มักจะใช้เครื่องทุ่นแรง - ขี้เกียจขยับตัวทําอะไร
  • 11. 11 - ชอบกินเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ติดมัน - ชอบครีม น้ําตาล และของหวาน - ดื่มเหล้าก่อนนอน โรคที่มาพร้อมความอ้วน 1 ไขมันในเลือดสูง ซึ่งนําไปสู่ความผิดปกติของระบบอื่นๆ โดยเฉพาะเมื่อเจ้า เม็ดไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ยิ่งหนามากขึ้นๆ ถนนของเจ้าเลือดก็เดินไม่สะดวกตามไป ก็ เลือดต้องไปหล่อเลี้ยงเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย และเราก็ขาดเลือดไม่ได้ แน่นอนจะมีปัญหาต่อ สุขภาพตามมาอีกมาก ทั้งโรคหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง เหนื่อยหอบ มึนงงบ่อยๆ เป็นลม เมื่อ เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายไม่ดี เซลล์ก็เสื่อมโทรมลง อนุมูลอิสระก็เกิดเร็วขึ้น ทีนี้แหละ แก่ เร็วอย่างเห็นได้ชัด 2 ความดันโลหิตสูง เมื่อไขมันเคลือบผนังหลอดเลือด บางจุดอาจตีบมาก หัวใจมีหน้าที่เหมือนปั๊มน้ํา ก็ต้องขับดันเลือดวิ่งไปให้ทั่วร่างกายทุกซอกทุกมุม เมื่อบางจุดโดนบีบให้ แคบ แต่ร่างกายต้องการเลือด มันอาจออกแรงผลักดันเลือด อาจทําให้เส้นเลือดในสมองแตก ถึง แก่ชีวิต หรือพิการเป็น อัมพฤกษ์ อัมพาตได้ 3 โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศ อุตสาหกรรม รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่องจากไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทําให้เกิดภาวะ หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน หัวใจทํางานเพิ่มมากขึ้น ถ้าเป็นกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจก็ทําให้เกิด โรคหัวใจขาดเลือด และหัวใจวาย 4 โรคเบาหวาน พบว่าคนไทยเป็นเบาหวานกันประมาณ 3 ล้านคน ลองคิด ดูว่าไม่น้อย วันหน้าถ้ายังใช้ชีวิตเผอเรอ มีหวังได้เป็นเบาหวานด้วยอีกคน โรคนี้เป็นเพื่อนคู่ซี้กับโรค อ้วน ที่มักพบควบคู่กันเสมอ เบาหวานนั้นเพราะระบบควบคุมระดับน้ําตาลในร่างกายผิดปกติ เมื่อ
  • 12. 12 เป็นเบาหวานแล้ว ถ้าเกิดเป็นแผลก็มักรักษาไม่หาย กลายเป็นแผลเรื้อรัง บางทีก็เป็นแผลกดทับ ประกอบกับเสี่ยงต่อการติดเชื้อราง่ายขึ้น เพราะมีการอับชื้นของซอกแขน และซอกขามากกว่าปกติ 5 โรคข้อกระดูกเสื่อม โดยเฉพาะข้อเข่าและข้อเท้า เนื่องจากต้องรับน้ําหนักตัว มากเกินพิกัด บางคนที่อ้วนมากๆ อาจจะยืนหรือเดินไม่ได้เลย เพราะข้อเท้าไม่สามารถรับน้ําหนักได้ คนอ้วนมากๆ จะเดินก็ลําบาก โยกเยกซ้ายขวา เดินไปเหนื่อยหอบไป 6 โรคระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากในคนอ้วนมักมีการเคลื่อนไหวน้อย ชอบนั่ง หรือนอน ปอดจึงขยายตัวไม่เต็มที่ ทําให้เกิดการติดเชื้อของทางเดินหายใจได้มากขึ้น บางครั้ง ถึงกับมีภาวะการหายใจลดลง หายใจติดขัด ทําให้มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในปอด คนอ้วนมาก เหนื่อยง่าย ง่วงนอนตลอดเวลา อาจพบภาวะของโรคอารมณ์เศร้าหมองร่วมไปด้วยก็กิน ซึ่งอาจจะ ช่วยให้อารมณ์ช่วงนั้นดีขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการทําร้ายตัวเองมากยิ่งขึ้น 7 โรคมะเร็งบางชนิด คนอ้วนมีอัตราการเสี่ยงต่อการเป็นโรคต่างๆ รวมทั้ง โรคมะเร็งได้ 8 โรคนิ่วในถุงน้ําดี และไขมันแทรกในตับ เมื่อมีไขมันมาก การทํางานของตับก็ลดลง เพราะไขมันเข้าไปแทรกอยู่ จนทําให้เกิดนิ่วในถุงน้ําดี จากการเสี่ยงต่อสุขภาพของโรคอ้วนที่กล่าวถึงข้างต้นอันมีมากมายหลายประการ จึง มีการศึกษาถึงอันตรายของโรคอ้วนถึงขนาดว่าคนอ้วนมีอัตราการเสียชีวิตแตกต่างจากคนรูปร่าง ปกติหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่าอัตราการเสียชีวิตของคนที่อ้วนมากมีสูงขึ้นถึง 2-12 เท่า ขึ้นกับอายุของแต่ละบุคคลแต่ถ้ากลุ่มประชากรที่อ้วนหรือน้ําหนักเกินสามารถลด น้ําหนักได้เพียง 5-10 % ของน้ําหนักตัวเริ่มต้นก็จะสามารถลดอัตราการพิการ และอัตราการตาย (morbidity and mortality rate) ได้ระดับหนึ่งทุกสิ่งทุกอย่างย่อมต้องมีความพอดี การมากหรือน้อยเกินไปอาจเกิดผลเสียได้มากกว่าผลดี "น้ําหนัก"
  • 13. 13 ก็เช่นกัน ถ้ามากเกินไป "อ้วน" ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ มากมาย แต่ถ้าสามารถลดความมาก เกินไปลงมาให้ใกล้พอดีได้ก็จะเกิดการลดอัตราการเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ แล้วคนที่มี "น้ําหนักเกิน" หรือ "อ้วน"สามารถรู้สาเหตุว่าเพราะอะไรจึงเกิดความมากเกินไปนี้ได้ โดยทั่วไปสาเหตุของ "อ้วน" มีหลายสาเหตุบางคนอาจเกิดจากสาเหตุเดียวหรือหลายสาเหตุประกอบกันก็ได้ ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อน้ําหนักตัวเกินหรือ เป็นโรคอ้วน? ควรพบแพทย์เมื่อไร? การดูแลตนเองเมื่อปล่อยให้อ้วนแล้ว มักเป็นการยากที่จะควบคุมน้ําหนักได้ ดังนั้นจึงต้องเริ่ม ควบคุมน้ําหนักตั้งแต่เมื่อเริ่มมีน้ําหนักเกิน เช่น รู้สึกเสื้อผ้าคับ หรือ เมื่อชั่งน้ําหนักแล้วน้ําหนักขึ้น ต่อเนื่องทุกอาทิตย์ ซึ่งการดูแลตนเองที่สําคัญ คือ ต้องตระหนักถึงความสําคัญของโทษของโรค อ้วน และ น้ําหนักตัวเกิน และมีอุตสาหะในการควบคุมน้ําหนัก โดย - กินอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง ค่อยๆทยอยลด เพราะถ้าลดฮวบฮาบ จะทนหิวไม่ได้ ไม่กินจุบจิบ และเมื่อมีกิจกรรมต่างๆ เช่น ท่องเที่ยว ประชุม ก็ยังควรต้องจํากัดอาหารเสมอ - จํากัดอาหารแป้ง หวาน และไขมัน เพิ่ม ผักและผลไม้ - ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เคลื่อนไหว/เคลื่อนไหวน้อย เช่น ลดการดูทีวี โดยทํางานบ้าน ทดแทน - พยายามหาทางให้ร่างกายใช้พลังงาน เช่น ลงรถเมล์ก่อนถึงป้ายที่ทํางาน 1 ป้าย หรือ ใช้ลิฟต์ เฉพาะเมื่อจําเป็น - พยายามออกกําลังกายให้ได้อย่างน้อยวันละ 30 นาที - ชั่งน้ําหนักทุกสัปดาห์ - การควบคุมน้ําหนัก ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกคนในครอบครัว โดย เฉพาะในเรื่องอาหาร เช่น ไม่ซื้อขนมเข้าบ้าน - ไม่ซื้อยาลดความอ้วนกินเอง โดยไม่ปรึกษาแพทย์ เพราะยามีผลข้างเคียงหลายอย่างที่อาจส่งผล ต่อสุขภาพ และอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ เช่น เบื่ออาหารมากจนกินได้น้อย ขาดอาหาร การรับ รสชาติผิดปกติ ท้องผูก ปากแห้ง เหงื่อออกมาก นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง ใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปวดศีรษะ กังวล หงุด หงิดง่าย และสับสน - ควรพบแพทย์ เมื่อดูแลตนเองแล้ว น้ําหนักยังขึ้นต่อเนื่อง หรือเมื่อกังวลในเรื่องน้ําหนัก
  • 14. 14 วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน 1. คิดหัวข้อโครงงานเพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 2. ศึกษาและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่สนใจ 3. ศึกษา จากเอกสารและเว็บไซด์ต่างๆ 4. จัดทาโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์เพื่อนาเสนอครูที่ปรึกษาโครงงาน 5. ปฏิบัติการจัดทาโครงงาน 6. จัดทาเอกสารรายงานโครงงานคอมพิวเตอร์ 7. นาเสนองาน เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ 1. คอมพิวเตอร์ 2. โปรแกรม Microsoft Word 3. โปรแกรม Adobe Photoshop CS6 4. Internet ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 3 จัดทาโครงร่างงาน 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 5 ปรับปรุงทดสอบ 6 การทาเอกสารรายงาน 7 ประเมินผลงาน 8 นาเสนอโครงงาน
  • 15. 15 ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน) 1. ทาให้บุคคลที่มีความสนใจต่อโรคอ้วนได้รับความรู้ 2. ทาให้คนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น สถานที่ดาเนินการ 1. ห้องสมุดโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย เชียงใหม่ 2. CAMP ห้างสรรพสินค้าเมญ่า เชียงใหม่ 3. WAKE UP (สาขาไอคอน) กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง 1.ภาษาไทย 2.การงานอาชีพและเทคโนโลยี (คอมพิวเตอร์) แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นามาใช้การทาโครงงาน) 1. http://obesity0120.blogspot.com/ 2.http://haamor.com/th/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B9% 89%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B 9%89%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%95%E0 %B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99/ 3. http://obesityeau.blogspot.com/2012/09/blog-post_9626.html