SlideShare a Scribd company logo
1 of 80
Download to read offline
1ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ปาฐกถาเนื่องในวาระครบ ๑๐ ปี
ของส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
๑๙ กันยายน ๒๕๖๐
สุขภาพไทย
ในทศวรรษ
ระบบ
โดย
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี
กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าท่านใด
แสดงภาวะผู้น�านโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพของคนไทยทั้งมวล
ประเวศ วะสี2
ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี
จัดพิมพ์เผยแพร่โดย
ชั้น ๓ อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ ๘๘/๓๙ ติวานนท์ ๑๔
ถนนติวานนท์ อ�าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐
โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๑-๒
www.nationalhealth.or.th
พิมพ์ครั้งที่ ๑ ก้ันายน พ.ศ. ๒๕๖๐ จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม
ออกแบบ/พิมพ์โดย
สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน โทรศัพท์ ๐-๒๖๑๘-๔๗๑๐
3ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ไม่ใช่องค์กรอ�านาจ แต่เป็นองค์กรทางปัญญา
การสังเคราะห์และตัดสินใจทางนโยบาย
ต้องใช้สติปัญญาสูงยิ่ง
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คือ
กระบวนการนโยบายสาธารณะที่บุคคลและองค์กร
ในสังคมมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เป็นกระบวนการ
ทางสังคมและปัญญาที่ใหญ่ที่สุด
ในประวัติศาสตร์ชาติไทย
ในเกือบทศวรรษที่ผ่านมา
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สะสมข้อมตินโยบายสาธารณะ
ที่มีประโยชน์ไว้เป็นอันมาก
นายกรัฐมนตรีในฐานะ
ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
น่าจะใช้กระบวนการและข้อมติ
จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
เป็นโอกาสแห่งการแสดงภาวะผู้น�านโยบายสาธารณะ
เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
ประเวศ วะสี4
สารบัญ
ก.
ความเป็นมาและพันธกิจของ สช....................................................................๗
ข.
๑๔ ประเด็นในระบบสุขภาพ..........................................................................๑๓
๑. โรงพยาบาลแน่นเกิน คุณภาพไม่ดีพอ
ผู้ให้บริการรับภาระหนักเกิน...............................................................๑๖
๒. ระบบสร้างสุขภาพดี (สร้างน�าซ่อม)................................................๑๘
๓. ฐานของระบบบริการสุขภาพ : ระบบสุขภาพชุมชน
และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคน
มีหมอประจ�าครอบครัว.........................................................................๒๒
๔. โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. :
ทรัพยากรอันมีค่าที่สุดเพื่อพัฒนาบุคลากรสุขภาพ..................๒๖
๕. บทบาทแพทย์ผู้ช�านาญเฉพาะทาง (Specialists)
ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพ.................................................................๒๘
๖. ระบบการใช้เทคโนโลยีที่ให้ผลคุ้มค่า...............................................๓๐
๗. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารกับระบบสุขภาพ..........................๓๓
5ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๘. นโยบายเกี่ยวกับโรงพยาบาลเอกชน...............................................๓๕
๙. นโยบายเกี่ยวกับบริการผู้อพยพและการช่วยประเทศ
เพื่อนบ้าน.....................................................................................................๓๗
๑๐. ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ.....................................................................๓๙
๑๑. บทบาทของมหาวิทยาลัยเชิงระบบ..................................................๔๑
๑๒. กระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นองค์กรเชิงนโยบาย.....................๔๓
๑๓. สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล............๔๕
๑๔. กลไกทางสมองเพื่อระบบสุขภาพ....................................................๔๗
ค.
สรุปบทบาทของ สช. ในทศวรรษนี้..............................................................๕๑
ง.
ภาคผนวก ...........................................................................................................๕๕
- นวัตกรรมระบบสุขภาพต�าบล : พยาบาลชุมชน
๑ คนต่อ ๒ หมู่บ้าน ผู้ช่วยพยาบาลหมู่บ้านละคน..................๕๖
- ต�าบล คือ จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย...........๖๗
ประเวศ วะสี6
7ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ความเป็นมา
และพันธกิจของ สช.
ประเวศ วะสี8
สช. เกิดมาจาก สปรส.
เมื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ท�างานสร้าง
ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพไปพอสมควร คณะกรรมการสถาบันได้
มีมติว่า ได้เวลาที่จะมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกร ทัพพะรังสี ในฐานะประธาน
คณะกรรมการ สวรส. ได้เสนอ ครม. ให้มีการตั้งคณะกรรมปฏิรูประบบ
สุขภาพ (คปรส.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีส�านัก
คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) เป็นฝ่ายเลขานุการ
สปรส. ได้ระดมความคิดจากทุกภาคส่วนของสังคมว่า ระบบ
สุขภาพที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร โดยใช้เวลาหลายปี น่าจะเป็นกระบวน
การระดมความคิดเกี่ยวกับระบบสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ชาติไทย กว่าจะออกมาเป็นกฎหมาย คือ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ในปี
พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ก�าหนดให้มีคณะกรรมการและส�านักงานคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติ (สช.)
สช. จึงมีฐานจากกระบวนการทางสังคมและกระบวนการทาง
ปัญญาอย่างกว้างขวาง
สช. ถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรทางปัญญา ไม่ใช่องค์กรทาง
อ�านาจ ข้อนี้ควรจะตรากันไว้ให้ดี
สุขภาพไม่ใช่เรื่องของหมอ หยูกยา และโรงพยาบาลเท่านั้น
แต่บูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทั้งหมด จึงมีค�ากล่าว
ว่า “Health is the whole” - สุขภาพคือทั้งหมด
9ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพกว่าร้อยละ ๘๐ อยู่นอกแวดวงสิ่งที่
เรียกว่า การสาธารณสุข ฉะนั้น ระบบสุขภาพจึงกว้างไกลกว่าระบบ
สาธารณสุขมาก
ส�านักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งเกิดขึ้นตาม
พรบ.สุขภาพแห่งชาติถูกออกแบบมาให้เป็นกลไกทางสมองในเรื่อง
ระบบสุขภาพ ไม่ใช่กลไกทางอ�านาจ
เรื่องนี้ยังเข้าใจกันน้อย เพราะประเทศไทยเต็มไปด้วย
โครงสร้างอ�านาจ แต่ขาดแคลนกลไกทางสมอง จึงล�าบาก เหมือน
ระบบร่างกายของเรา แม้จะมีหัวใจ ตับ ปอด ไต ที่ดีเท่าใด ก็ต้องมี
สมอง
ในประเทศจีนในยุคซุนชิว-จ้านกั๋ว ซึ่งกินเวลากว่า ๕๐๐ ปี เจ้า
ผู้ครองแค้วนต่างๆ คือ อ�านาจ สิ่งที่เจ้าผู้ครองแคว้นแสวงหามากที่สุด
คือ ที่ปรึกษาเก่งๆ ถ้าไม่มีที่ปรึกษา แคว้นนั้นๆ ก็จะอยู่ไม่ได้ จะ
แตกดับล่มสลายไป ที่ปรึกษาไม่มีอ�านาจ แต่เป็นกลไกทางสมอง
กลไกทางสมองไม่มีอ�านาจ ถ้ามีอ�านาจก็เป็นกลไกทางสมอง
ไม่ได้ เพราะต้องยุ่งกับการบริหารอ�านาจ แต่อ�านาจที่จะได้ผลต้องมี
กลไกทางสมองสนับสนุน
ประเทศไทยเต็มไปด้วยโครงสร้างอ�านาจ เกือบไม่มีที่อยู่ของ
กลไกทางสมองเลย เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งสภาวิจัยแห่งชาติ
ใช้ค�าพูดว่า “เพื่อให้เป็นสมองของประเทศ” การวิจัยและการศึกษาจะ
เป็นสมองของประเทศได้หรือไม่ สุดแต่ว่าเอาสถานการณ์จริง หรือ
เอาวิชาเป็นตัวตั้ง
ประเวศ วะสี10
สมองช่วยให้อยู่รอด และอยู่ได้ดี
สมองทำาหน้าที่รับรู้ความจริงหรือสถานการณ์จริง ซึ่งอาจ
เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว วิเคราะห์สังเคราะห์ให้เข้าใจความจริงที่ลึกและรอบ
ด้าน แล้วนำาไปสู่การตัดสินใจอย่างทันเวลา
เราต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะท�าหรือไม่ท�าอะไร และ
ท�าอย่างไร
ถ้าตัดสินใจผิดก็เสียหาย ถ้าตัดสินใจถูกก็ได้ประโยชน์
การตัดสินใจจึงเป็นการใช้สมองสูงสุด มีฐานมาจากการรับรู้
ความจริงเฉพาะหน้า และต้องทันกาล (timely)
การศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาสถานการณ์จริงเป็น
ตัวตั้ง และการวิจัยที่เอาเทคนิคที่ผู้วิจัยมีเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอา
สถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง ไม่ช่วยให้เข้าใจความจริงเฉพาะหน้าและ
ตัดสินใจได้ทันกาล อาจมีประโยชน์บางอย่าง แต่ไม่ใช่กลไกทางสมอง
แบบที่ก�าลังกล่าวถึง
ถ้าชาติไม่มีกลไกทางสมองที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์จริงและ
ตัดสินใจได้ถูกต้องก็จะล�าบาก การตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบมาก
เรียกว่า การตัดสินใจทางนโยบาย องค์กรทางนโยบายจึงต้องมีกลไก
ทางสมอง
คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นองค์กรทางนโยบาย จึงควร
เป็นกลไกทางสมอง และโดยที่นโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อสุข
ภาวะของคนทั้งมวล สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ สช. จัดเป็นประจ�าทุก
ปี เป็นกระบวนการสังเคราะห์นโยบายสาธารณะที่ทุกภาคส่วนมีส่วน
ร่วม เป็นกระบวนการทางปัญญาของสังคมที่ใหญ่ที่สุด
11ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
สช. ควรจะหาวิธีการที่ข้อมติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้
รับการน�าไปปฏิบัติเป็นผลส�าเร็จ การที่นโยบายดีๆ จะได้รับการน�า
ไปสู่การปฏิบัติจนเป็นผลส�าเร็จยังเป็นเรื่องยาก
สช. ควรจะสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิด (Think tank) ส�าหรับ
แต่ละกลุ่มนโยบาย เพื่อหาทางน�าไปสู่การปฏิบัติ และควรหาทางให้
นายกรัฐมนตรีตระหนักรู้ว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ สช. จัด
ให้มีขึ้นเป็นทุนอันยิ่งใหญ่ส�าหรับนายกรัฐมนตรีใช้ เพื่อเป็นผู้น�าในการ
ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
ประเวศ วะสี12
13ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ข๑๔ ประเด็น
ในระบบสุขภาพ
ประเวศ วะสี14
แม้ประเทศไทยจะพัฒนาโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุข
และงานทางสาธารณสุขมาอย่างดียิ่ง โดยมีโรงพยาบาลศูนย์โรง
พยาบาลทั่วไปครบทุกจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนครบทุกอ�าเภอ สถานี
อนามัยหรือโรงพยาบาลสุขภาพต�าบล (รพ.สต.) ครบทุกต�าบล มีอาสา
สมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) หมู่บ้านละ ๑๐ คน อีกทั้งมี
ความส�าเร็จในการควบคุมโรคติดต่อที่ส�าคัญๆ เช่น อหิวาตกโรค
กาฬโรค ฝีดาษ โรคเรื้อน โรคคุดทะราด คอตีบ ไอกรน โปลิโอ รวม
ทั้งควบคุมจ�านวนประชากร และควบคุมการบริโภคยาสูบ
และมีการปฏิรูประบบสุขภาพโดยมีการออกกฎหมายหลาย
ฉบับ สร้างเครื่องมือการปฏิรูปหลายองค์กร เช่น สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุข (สวรส.) ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
(สสส.) ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส�านักงานคณะ
กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
แต่ระบบสุขภาพที่ดีที่สุดหรือระบบสุขภาพในอุดมคติ อันพึง
ปรารถนายังเป็นเรื่องห่างไกล และมีปัจจัยต่างๆ มากมายที่เข้ามามี
ผลกระทบต่อระบบสุขภาพตลอดเวลา และบางเรื่องก็รวดเร็วมาก
รวมทั้งเรื่องเชิงนโยบายที่ยากและสลับซับซ้อน จึงเป็นการสมควรที่
จะต้องมีพินิจพิเคราะห์หรือเฝ้าระวังระบบสุขภาพตลอดเวลา เพื่อลด
ปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยอันเป็นคุณ ให้ระบบสุขภาพสามารถปรับตัว
มิให้เกิดความเสื่อมทรุด แต่ไปในทางตรงกันข้ามคือ เข้าใกล้การเป็น
ระบบสุขภาพในอุดมคติมากขึ้นเรื่อยๆ
15ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
สช. เป็นองค์กรนโยบายระบบสุขภาพ จึงมีหน้าที่ที่จะให้มีการ
พินิจพิเคราะห์หรือเฝ้าระวังระบบสุขภาพ และพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น
ตลอดเวลา
ในที่นี้จะพูดถึงระบบสุขภาพ โดยยกประเด็นเชิงระบบขึ้นมา
กล่าวเป็นประเด็นๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นช่องว่าง กับการที่จะ
ต้องลดช่องว่างให้แคบลงดังต่อไปนี้
ประเวศ วะสี16
๑
โรงพยาบาลแน่นเกิน
คุณภาพไม่ดีพอ ผู้ให้บริการ
รับภาระหนักเกิน
ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรง
พยาบาลมีจ�านวนมาก ท�าให้แออัดยัดเยียด ผู้ป่วยไม่ได้รับการ
ตรวจอย่างละเอียด ท�าให้คุณภาพไม่ดีพอ
แพทย์และพยาบาลต้องรับภาระหนักเกินตัว จนมีข่าวว่า
แพทย์เหนื่อยตาย หรือทนท�างานหนักไม่ไหวลาออกไปอยู่ภาค
เอกชน
รวมทั้งเป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยที่ต้องการ
คุณภาพบริการที่ดีกว่านี้ กับแพทย์ซึ่งก็เหนื่อยเกินอยู่แล้ว
เรื่องนี้ต้องการการแก้ไขเชิงระบบ เช่น
(๑) ต้องสร้างสุขภาพดีให้ดีกว่านี้ เพื่อลดปริมาณความเจ็บ
ป่วย
(๒) ท�าให้คนเป็นหวัดเจ็บคอ (URI) ไม่ต้องมาโรงพยาบาล
ทุกโรงพยาบาลคนไข้ที่มากที่สุด คือ เป็นหวัดเจ็บคอ
17ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ที่ประเทศอังกฤษคนเป็นหวัดเจ็บคอจะไม่ไปหาหมอ
แต่ในประเทศไทยคนที่เป็นหวัดเจ็บคอนิยมไปหาหมอ
และเป็นคนไข้ที่แน่นคลินิกผู้ป่วยนอกมากที่สุด
ประเทศไทยต้องรณรงค์อย่างจริงจังให้ประชาชนที่เป็น
หวัดเจ็บคอมีความรู้ความเข้าใจพอที่จะดูแลตัวเองได้
โดยไม่ต้องไปหาหมอ
(๓) พัฒนาระบบบริการใกล้บ้านใกล้ใจที่ประชาชนได้รับ
บริการถึงบ้านหรือในชุมชนอย่างใกล้ชิดทั่วถึง ด้วย
คุณภาพที่ดีกว่าระบบบริการที่แออัดยัดเยียดที่โรง
พยาบาล ระบบนี้จะท�าให้ลดการต้องไปพึ่งพิงโรง
พยาบาล ท�าให้โรงพยาบาลมีเวลาที่จะรักษาโรคยากๆ
ด้วยความประณีตขึ้น
ประเวศ วะสี18
๒
ระบบสร้างสุขภาพดี
(สร้างน�าซ่อม)
ระบบบริการสุขภาพ ถ้าเป็นระบบตั้งรับ คือ ปล่อยให้เจ็บ
ป่วยแล้วสร้างโรงพยาบาลรองรับจะตั้งรับไม่ไหวและแพงมาก เช่น
ขณะนี้โรงพยาบาลใหญ่ๆ สร้างตึกผู้ป่วยใหญ่หลังหนึ่งอาจใช้งบ
ประมาณกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท
เพราะฉะนั้นระบบสุขภาพที่ดีต้องเน้นการสร้างสุขภาพดี
หรือสร้างน�าซ่อมให้ประชาชนสามารถด�ารงสุขภาพดีมากที่สุด ไม่
เจ็บป่วยโดยไม่จ�าเป็น
การสร้างสุขภาพดีจะมีก�าไรมากกว่าระบบตั้งรับทุกๆ ด้าน
รวมทั้งด้านเศรษฐกิจและการลดรายจ่ายเรื่องค่ารักษาพยาบาลทั้ง
ของประชาชนและของรัฐ
สสส. เป็นเครื่องมือสร้างสุขภาพดี
ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพดี โดย Ottawa Charter มี ๕ จ�าพวก
คือ
(๑) พฤติกรรมสุขภาพ เช่น อาหาร ออกก�าลังกาย เว้นการ
เสพของให้โทษ การเจริญสติ
19ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
(๒) ชุมชนเข้มแข็ง
(๓) สิ่งแวดล้อมดี
(๔) ระบบบริการดี
(๕) นโยบายสาธารณะที่ดี (Healthy public policies) ค�าว่า
นโยบายสาธารณะ ต่างจากค�าว่านโยบายสาธารณสุข
โดยที่ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่
นอกแวดวงสาธารณสุข เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา
สิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรม สันติภาพ การสื่อสารที่ดี
ความยากคนจน และความเหลื่อมล�้ามีผลต่อสุขภาพ
มาก
เรื่องปัจจัยก�าหนดสุขภาพมีความเข้าใจที่กว้างแคบต่างกัน
มาก เช่น เมื่อรัฐบาลทหารให้ คตร. เข้ามาตรวจสอบการท�างาน
ของ สสส. เห็นไปว่างานหลายอย่างอยู่นอกเหนือเรื่องสุขภาพ (ใน
ความหมายแคบ)
นโยบายสาธารณะมีผลต่อสุขภาพมาก แต่ขับเคลื่อนได้ยาก
ที่สุด เพราะมีผู้ได้ประโยชน์จากการท�าให้สุขภาพเสียมีจ�านวนมาก
และกลไกขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะยังไม่เข้มแข็ง
สช. ได้จัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นประจ�าปีมา
หลายปี กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการสร้าง
นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่เรียกว่า 4 P (Participatory
Public Policies Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความ
พยายามอย่างมากในการใช้หลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์
เป็นประเด็นนโยบาย ซึ่งที่ประชุมสมัชชามีมติเห็นพ้องเป็น
เอกฉันท์
ประเวศ วะสี20
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สะสมมติ ข้อเสนอแนะ นโยบาย
สาธารณะที่ดีๆ ไว้หลายสิบประการ แต่เกือบทั้งหมดไม่นำาไปสู่การ
ปฏิบัติ เพราะการเมืองระดับสูงขาดความสนใจและทักษะใน
การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการสุขภาพ
แห่งชาติ (คสช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน
เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่าง ในสหรัฐอเมริกาก่อนค
ลินตันเป็นประธานาธิบดี คนอเมริกันประมาณ ๔๐ ล้านคนไม่มี
ประกันสุขภาพ
คลินตันได้ประกาศว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะปฏิรูประบบบริการ
สุขภาพ เมื่อเป็นประธานาธิบดีได้ตั้ง ฮิลลารี คลินตัน เป็นประธาน
คณะกรรมการปฏิรูป มีรัฐมนตรีสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ
เป็นกรรมการ แต่ปฏิรูปไม่ส�าเร็จตลอดวาระ ๘ ปีที่เป็น
ประธานาธิบดี ๒ สมัย
ต่อมาประธานาธิบดีโอบามา ประสบความส�าเร็จในการ
ออกกฎหมายเพื่อขยายความครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพ
ที่เรียกว่า Obamacare ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการล้ม
Obamacare แต่ท�าไม่ส�าเร็จทั้งๆ ที่พรรคริพับลิกันครองเสียงข้าง
มากทั้ง ๒ สภา เพราะคอลัมนิสต์ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ
เขียนบทความคัดค้าน การล้ม Obamacare กันเป็นแถว
วุฒิสมาชิกพรรคริพับลิกันกลัวว่าถ้าโหวตล้ม Obamacare
ประชาชนจะไม่พอใจและไม่เลือกตนกลับเข้ามาอีก
นี้แสดงว่า ประธานาธิบดีเองเป็นผู้น�าในนโยบายสุขภาพ มี
คอลัมนิสต์ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ และการออกเสียงของ
21ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ประชาชนมีผลต่อการตัดสินใจทางนโยบายของนักการเมือง
ของเรา พรบ.สุขภาพแห่งชาติได้วางตัวนายกรัฐมนตรีให้เป็น
ประธานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้น�า
ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
แต่ก็ยังไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดใช้โอกาสที่ สช. โดย
กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สร้างข้อนโยบายสาธารณะ
ที่ดีๆ ไว้เป็นอันมาก เป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และ
ไม่มีคอลัมนิสต์ที่เข้าใจนโยบายสาธารณะมาช่วยให้ความเข้าใจ
ประชาชน ให้เป็นพลังขับเคลื่อนนโยบาย
ฉะนั้น ภายในทศวรรษนี้ สช. น่าจะพยายามท�ากลไกขับ
เคลื่อนนโยบายสาธารณะ ๓ อย่างนี้ คือ นายกรัฐมนตรี – การ
สื่อสาร – พลังประชาชนที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้
เนื่องจาก Health is the whole การสร้างสุขภาพดีจึงอยู่ใน
เรื่องต่างๆ ทั้งหมด มีการชูค�าว่า Health in all policies หรือ
“สุขภาพในนโยบายทั้งปวง”
เพราะเหตุนี้ หลักประกันสุขภาพ ซึ่งขณะนี้มี ๓ ระบบ จึง
ไม่ควรประกันแต่การรักษาความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการตั้งรับเท่านั้น
แต่ควรใช้หลักสร้างน�าซ่อมด้วย โดยสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน
ดูแลสร้างสุขภาพดีให้ตนเองมากที่สุด ถ้าท�าได้จะลดจ�านวนผู้ป่วย
ลดภาระในการดูแลรักษา และประหยัดงบประมาณได้มาก ทั้ง
ของประชาชนและของรัฐ นี่ก็เป็นประเด็นนโยบายอีกอย่างหนึ่ง
ประเวศ วะสี22
๓.
ฐานของระบบบริกาสุขภาพ
ระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้
ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว
โครงสร้างใดๆ จะมั่งคง ฐานต้องกว้างและแข็งแรง
พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน สร้างจากยอดไม่ได้
ที่ผ่านมาปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างหนึ่ง คือ การรวมศูนย์อยู่
ข้างบน
ปัญหาของระบบบริการสุขภาพข้อ ๑ ที่ว่าโรงพยาบาลแน่น
และให้บริการเหนื่อยเกินนั้น มาจากฐานของระบบบริการยังไม่
กว้างและแข็งแรงพอ
หัวใจของการแก้ปัญหานี้คือ สร้างฐานของระบบบริการ
สุขภาพให้กว้างและแข็งแรง ที่อาจเรียกว่า ระบบสุขภาพชุมชน
บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว
เรื่องนี้ถ้าใช้ความคิด อยู่ในวิสัยจะท�าได้ไม่ยากนัก เมื่อท�า
ส�าเร็จจะเข้าใกล้เป้าหมายสุขภาพของคนทั้งมวล (Health for All)
ในการสร้างสุขภาพดี ดูแลผู้ป่วยเจ็บทั้งหมด รวมทั้งผู้สูงอายุ ด้วย
คุณภาพสูงและประสิทธิภาพ ฐานของระบบบริการสุขภาพจะลด
23ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
จ�านวนผู้ป่วยที่มาแน่นที่โรงพยาบาลใหญ่ลง เปิดโอกาสให้ท�างาน
ยากๆ ด้วยคุณภาพที่สูงขึ้น ลดภาระงานหนักของแพทย์และ
พยาบาลลง
การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คน
ไทยทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว จึงเป็นยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพที่
สำาคัญที่สุดในทศวรรษนี้
ระบบสุขภาพชุมชน หมายรวมถึง การดูแลรักษาตัวเอง การ
ดูแลที่บ้าน และการดูแลในชุมชน ใช้หลัก “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
ในระดับพื้นที่ โดยความร่วมมือของภาควิชาการ ภาคประชาชน
และภาครัฐ
ภาควิชาการ = รพ.สต. และ รพช.
ภาคประชาชน = องค์กรชุมชน
ภาครัฐ = อบต. หรือเทศบาล
บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว
ท�าได้โดยการมีพยาบาลของชุมชน ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน และผู้
ช่วยพยาบาล ๑ คนต่อหมู่บ้าน* พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ท�า
หน้าที่หมอประจ�าครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดคุ้นเคยกับทุกครอบครัว
ประดุจญาติ
* ดูบทความ “นวัตกรรมระบบสุขภาพต�าบล : พยาบาล ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน ผู้ช่วยพยาบาล
หมู่บ้านละคน” ในภาคผนวก
ประเวศ วะสี24
การมีหมอประจ�าครอบครัวประดุจญาติดูแลโดยใกล้ชิดจึง
เรียกว่า บริการใกล้บ้านใกล้ใจ ผู้สูงอายุก็จะมีหมอไปเยี่ยมถึงบ้าน
พยาบาลของชุมชนจะสามารถตรวจวินิจฉัยและควบคุมโรค
ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ทั้งหมด ท�าให้ลดภาระโรค
ไม่ติดต่อ (NCD) ลงได้ทั้งประเทศ
พยาบาลของชุมชนนี้ไม่บรรจุและกินเงินเดือนของกระทรวง
สาธารณสุข แต่กินเงินเดือนของ อบต. และมีนวัตกรรมทางการ
เงินของชุมชนได้หลายอย่าง รวมทั้งชุมชนอาจจัดให้มีระบบประกัน
สุขภาพของชุมชน การขาดแคลนงบประมาณจะไม่เป็นข้อจ�ากัด
ของระบบสุขภาพชุมชน นวัตกรรมการเงินเพื่อสุขภาพชุมชนจะ
ก้าวข้ามข้อจ�ากัดนี้
เป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชน ๘ ประการ
(๑) พัฒนาอย่างบูรณาการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
การพัฒนาอย่างบูรณาการเป็นปัจจัยส�าคัญของการมี
สุขภาพดี
(๒) ดูแลรักษาโรคที่พบบ่อยทั้งหมด
(๓) ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชน
ทั้งหมด
(๔) ดูแลผู้สูงอายุและคนพิการทั้งหมด
(๕) จัดการปัญหาเจ็บป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นได้
(๖) สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
25ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
(๗) ควบคุมโรคติดต่อที่ส�าคัญๆ
(๘) สร้างเสริมสุขภาพดีอย่างเต็มที่
ทั้งหมดนี้เมื่อเกิดขึ้นในทุกต�าบลและหมู่บ้าน** ประชาชน
จะมีความสุขสักเพียงใด
ในเมื่อ “ระบบสุขภาพชุมชน - บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทย
ทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว” เป็นฐานของระบบบริการสุขภาพ
ระบบต่างๆ ก็ต้องพุ่งมาประสานกับฐาน เพื่อให้ทั้งหมดแข็งแกร่ง
และมั่นคงไปด้วยกัน ดังสรุปในรูปข้างล่าง และจะพูดถึงในตอน
ต่อๆ ไป
** ดูบทความ “ต�าบล คือ จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย” ในภาคผนวก
ระบบสุขภาพชุมชน
-	บริการใกล้บ้านใกล้ใจ
	 คนไทยทุกคนมีหมอ
	 ประจ�าครอบครัว
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
รพ.ศูนย์/
รพ.ทั่วไป
การผลิตบุคลากร
ที่เอาระบบ
เป็นตัวตั้ง
พัฒนาเทคโนโลยี
ที่เหมาะสม
องค์กรวิชาชีพ
ประเวศ วะสี26
๔.
โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต.
ทรัพยากรอันมีค่าที่สุด เพื่อพัฒนาบุคลากร
สุขภาพ
โรงพยาบาลชุมชนประมาณ ๘๐๐ แห่ง และ รพ.สต.
ประมาณ ๑๐,๐๐๐ แห่ง คือทรัพยากรอันมีค่าที่สุดเพื่อพัฒนา
บุคลากรสุขภาพ เป็นสถานบริการที่อยู่ที่ฐานความเป็นจริงของ
ประเทศ
ในข้อเสนอระดับโลกเรื่อง 21st
Century Health Profes-
sions Education ให้ปรับเปลี่ยนการศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งไป
เป็นเอาระบบเป็นตัวตั้ง คือเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในระบบ
ระบบโรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ควรเป็นฐานการเรียน
รู้แบบใหม่ของบุคลากรสุขภาพ
กระทรวงสาธารณสุขอาจเรียนรู้การจัดการสถาบันปัญญา
ภิวัฒน์ของบริษัท ซีพีออลล์ ที่จัดการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เอา
ฐานของบริการเป็นที่ผลิตบุคลากร โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต.
รวมกันทั้งประเทศเป็น สถาบันปัญญาภิวัฒน์ระบบสุขภาพแห่งชาติ
เป็นของกระทรวงสาธารณสุข แต่มีการบริหารที่คล่องตัวแบบ
เอกชน
27ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
มีสภาสถาบันเป็นผู้ก�ากับ มีอธิการบดีรับผิดชอบในการ
บริหารจัดการ ถ้ากระทรวงสาธารณสุขตีประเด็นนวัตกรรมการ
จัดการได้ โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. จะเป็นขุมทรัพย์ในการ
พัฒนาที่ส�าคัญยิ่งของประเทศ
อนึ่ง องค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล ฯลฯ
ควรเข้ามาท�าความเข้าใจ 21st
Century Health Professions
Education ที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ
สุขภาพให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด
ประเวศ วะสี28
๕.
บทบาทของแพทย์ผู้ช�านาญ
เฉพาะทาง (Specialists)
ต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล
ทั่วไป และโรงพยาบาลเอกชน มีแพทย์ผู้ช�านาญเฉพาะทางสาขา
ต่างๆ เป็นจ�านวนมาก ผู้ช�านาญเฉพาะทางเหล่านี้ นอกเหนือไป
จากให้บริการประเภทเป็นรายๆ (one to one care) สามารถ
เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เรื่อย
ลงไปถึงระบบสุขภาพชุมชน โดยตั้งค�าถามว่า
“ทำาอย่างไร ความเชี่ยวชาญของเราจะเป็นประโยชน์ต่อคนทั้ง
มวล”
แล้วก็ถามต่อไปว่า คนทั้งมวลนั้นมีใครบ้าง ป่วยเป็นโรคใน
ระบบที่เราเชี่ยวชาญมากน้อยเพียงใด ได้รับการดูแลที่ไหนโดยใคร
เช่น รักษาตัวเองที่ รพ.สต. ที่โรงพยาบาลชุมชน ที่โรงพยาบาล
จังหวัด บุคลากรที่ท�าการรักษาต้องมีความรู้และทักษะอย่างใด ใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างไร
29ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
การตอบค�าถามเหล่านี้จะท�าให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่างๆ
เข้าใจเชิงระบบเกี่ยวกับโรคที่ตนช�านาญ สามารถให้การฝึกอบรม
บุคลากรระดับต่างๆ เรื่อยลงไปถึงการดูแลรักษาตัวเองของ
ประชาชน รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมแต่ละ
ระดับ
ถ้าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทุกสาขาสามารถคิดเชิง
ระบบดังกล่าวข้างต้น ความเชี่ยวชาญก็จะไปเป็นประโยชน์ต่อคน
ทั้งมวล แทนที่จะจ�ากัดอยู่กับการดูแลเป็นรายๆ (one to one
care) เฉพาะคนไข้ไม่กี่รายที่เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
นอกจากนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจำานวนมากเหล่านี้
ล้วนมีสติปัญญาสูง และมีบารมีมาก เมื่อเข้าใจระบบสุขภาพ จะเป็น
พลังมหาศาลในการพัฒนาระบบสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขน่า
จะถือเรื่องนี้เป็นนโยบายส�าคัญอีกเรื่องหนึ่ง
ประเวศ วะสี30
๖.
ระบบการใช้เทคโนโลยี
ที่ให้ผลคุ้มค่า
ประมาณ ๑ ใน ๓ ของค่าใช้จ่ายในบริการสุขภาพใช้ไปใน
การรักษาที่ไม่ได้ผล (ineffective treatment) เช่น ในสหรัฐอเมริกา
เมื่อ ๓ ปีก่อนประเมินกันว่ามีค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพประมาณ
๒.๕ ล้านล้านดอลลาร์ ในจ�านวนนี้อย่างน้อย ๘๐๐,๐๐๐ ล้าน
ดอลลาร์ ใช้ไปในการรักษาที่ไม่ได้ผล ในทางการแพทย์ การใช้
เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่ให้ผลคุ้มค่า (cost-effective)
ท�าให้ค่าใช้จ่ายสูงจนถึงขั้นวิกฤตระบบบริการ
บริษัทจะผลิตเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งรวมถึงยา ออกมาอยู่เรื่อยๆ
และสามารถท�าการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยาก
มากที่แพทย์และผู้ป่วยจะไม่อยากใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้
มีข้อมูลชุดหนึ่งเก็บอยู่ที่ Technology Assessment Board
ของวุฒิสภาอเมริกันที่บอกว่า การหายจากโรคโดยเฉลี่ยมีไม่ถึง
ร้อยละ ๒๐ ที่หายเพราะการวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยี นอก
นั้นหายเพราะเหตุอื่น
31ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
เราต้องมีการวิจัยว่า ในบริบทของเราโรคหายเพราะอะไร
บ้าง และท�าการตรวจรักษาตามเหตุตามผลนั้น โรงเรียนแพทย์
ทั้งหมดซึ่งเป็นต้นทางการใช้เทคโนโลยีของแพทย์ ต้องท�าการวิจัย
ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีที่ใช้ทุกตัว
ในกระทรวงสาธารณสุขมีแผนงานประเมินเทคโนโลยีทาง
สุขภาพ (Health Intervention Technology Assessment Pro-
gram = HITAP) ซึ่งมีผู้เชียวชาญที่มีคุณภาพสูง ที่สามารถร่วม
มือกับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ในการพัฒนาความสามารถประเมิน
เทคโนโลยีที่ใช้ แต่ทางโรงเรียนแพทย์ยังไม่กัมมันตะในเรื่องนี้
ระบบยา เป็นอนุระบบที่ใหญ่มากในระบบสุขภาพ เป็นระบบ
ที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก
มหาวิทยาลัยมีคณะเภสัชศาสตร์ และนักเภสัชศาสตร์ที่ได้
รับปริญญาเอกจ�านวนมาก แต่ความเชี่ยวชาญทั้งหมดเป็นความ
เชี่ยวชาญทางเทคนิค เกือบไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบยา เลย
เมื่อไม่เข้าใจความซับซ้อนของระบบยา ระบบก็เหมือนอยู่
ในที่มืด อะไรที่อยู่ในที่มืดก็เกิดความไม่ถูกต้องได้ง่าย ในเมื่อยามี
มูลค่ามหาศาล บริษัทยาข้ามชาติย่อมมีพลังอ�านาจมหาศาลที่จะ
รักษาและเพิ่มประโยชน์ของตน และท�าร้ายผู้ที่รักษาผลประโยชน์
ของประชาชนและประเทศชาติ แต่กระทบต่อผลประโยชน์ของ
บริษัทยาข้ามชาติ
ประเวศ วะสี32
สงครามฝิ่น - สงครามบุหรี่ - สงครามยารักษาโรค เป็นเรื่อง
ท�านองเดียวกัน
มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเป็นอิสระและความเป็นวิชาการ
ควรจะวิจัย คลี่ความซับซ้อนของระบบยาออกมาให้สาธารณะ
เข้าใจได้ง่าย จะได้เป็นพลังผลักดันนโยบาย และพลังปกป้อง
บุคคลและองค์กรที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศ
ชาติ
เรื่องเทคโนโลยีที่ให้ผลคุ้มค่า รวมถึงความรู้เท่าทันระบบยา
เป็นนโยบายอีกเรื่องหนึ่งส�าหรับกระทรวงสาธารณสุข
33ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๗.
ข้อมูลข่าวสารและการ
สื่อสารกับระบบสุขภาพ
ระบบข้อมูลข่าวสารกับการสื่อสารเพื่อสุขภาพ เป็นองค์กร
ประกอบที่ส�าคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยี
การสื่อสารสมัยใหม่สามารถสร้างระบบข้อมูลข่าวสารและการ
สื่อสารเพื่อสุขภาพได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น
• มีข้อมูลสุขภาพของประชาชนทุกคนในเฟซบุ๊กของหมอ
ครอบครัวตามที่กล่าวถึงในตอน ๓ ข้างต้น
• บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมถึงกันทั้งประเทศ ไม่
ว่าผู้ป่วยคนหนึ่งคนใดไปตรวจที่โรงพยาบาลใด หรือ
คลินิกเอกชน ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจรักษาของผู้ป่วย
คนนั้นทั้งหมด เรียกดูได้บนจอคอมพิวเตอร์
• ใช้ในการตรวจรักษาทางไกล และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
ท�าให้ลดการเดินทาง และความแออัดยัดเยียดที่โรง
พยาบาล เพิ่มคุณภาพ และลดค่าใช้จ่าย
ประเวศ วะสี34
• เป็นประโยชน์ในการรักษาตนเองด้วย interactive com-
puter system ท�าให้เสมือนประชาชนทุกคนสามารถเข้า
ถึงผู้เชี่ยวชาญ
• ใช้ในการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพอย่างเต็มที่
• ใช้ในการสร้างความเข้าใจมิติต่างๆ ของระบบสุขภาพต่อ
สาธารณะ เพื่อเป็นพลังทางนโยบาย ที่แล้วมาสาธารณะ
และผู้ก�าหนดนโยบายยังไม่เป็นพลังรักษาความถูกต้อง
และปกป้องบุคคลและองค์กรที่ถูกท�าร้ายจากกลุ่มผล
ประโยชน์
• การที่จะท�าดังกล่าวได้ต้องสร้างนักสื่อสาร (rewriter) ที่
เก่งๆ ที่เข้าใจประเด็นสุขภาพอย่างทะลุปุโปร่ง ฯลฯ
ระบบข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพื่อสุขภาพที่ดีจะเป็น
พลังมหาศาลของการพัฒนาระบบสุขภาพ ในการนี้ควรมีการรวม
กลุ่มของผู้ที่เหมาะสมเป็นกลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการ
สื่อสารเพื่อสุขภาพที่ท�างานอย่างเข้มแข็ง
35ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๘.
นโยบายเกี่ยวกับโรง
พยาบาลเอกชน
เรื่องโรงพยาบาลเอกชนกับคนต่างชาติที่นิยมเข้ามารับ
บริการ เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนและยากอย่างหนึ่งของระบบ
สุขภาพ
ด้านหนึ่งมีคนส่วนหนึ่งที่พอใจเพราะเป็นชื่อเสียงและดึงราย
ได้เข้าประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล�้าในประเทศ
โดยดึงแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการ
คนจน เพราะให้ค่าตอบแทนสูงกว่ามากและมีความสะดวกสบาย
มากกว่า
ขณะเดียวกันจากการที่ชาวต่างชาติ ซึ่งมีฐานะดี เข้ามารับ
บริการที่โรงพยาบาลเอกชนจ�านวนมาก ท�าให้ค่าบริการในโรง
พยาบาลเอกชนราคาสูงลิบ ผลักให้คนไทยชั้นกลางที่เคยไปรับ
บริการที่โรงพยาบาลเอกชนย้ายไปใช้บริการบัตรทองที่โรง
พยาบาลของรัฐ ไปเบียดกับคนจน ซึ่งก็แน่นโรงพยาบาลอยู่แล้ว
ทำาให้โรงพยาบาลของรัฐทั้งถูกแย่งบุคลากรไปพร้อมๆ กับถูกผลักให้
รับภาระเพิ่มขึ้น
ประเวศ วะสี36
นี่คือสภาพความเหลื่อมล�้าที่เกิดขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอีก หาก
จ�านวนชาวต่างชาติเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น
รัฐบาลยังไม่เคยมีนโยบายอย่างจริงจัง ว่าจะลดความ
เหลื่อมล�้าที่เกิดจากชาวต่างชาตินิยมมารับบริการที่โรงพยาบาล
เอกชน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อน มาตรการต่างๆ
ต้องได้รับการวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ เช่น
• ให้โรงพยาบาลเอกชนผลิตแพทย์ให้พอใช้
• ให้โรงพยาบาลของรัฐมีการบริหารจัดการแบบเอกชน
• เพิ่มการผลิตแพทย์และพยาบาลให้มากจนไม่มีปัญหา
การขาดแคลนแบบมาเลเซีย
• ให้โรงพยาบาลเอกชนร่วมรับผิดชอบว่า จะลดความ
เหลื่อมล�้าได้อย่างไร
เริ่มต้น กระทรวงสาธารณสุขควรเผยแพร่ข้อมูลผลกระทบ
จากชาวต่างชาติเข้ามารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนใน
ประเทศไทย ให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ให้หลายฝ่ายช่วยคิดว่า นโยบาย
ลดความเหลื่อมล�้าในเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไร
37ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๙.
นโยบายเกี่ยวกับบริการ
ผู้อพยพและการช่วย
ประเทศเพื่อนบ้าน
การที่มีแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาท�างาน
ในประเทศไทยด้วยจ�านวนมาก เป็นล้านๆ คน เพราะปัญหาทาง
เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และความต้องการแรงงานราคา
ถูกในประเทศไทย
แรงงานต่างชาติเป็นล้านๆ คน ย่อมเพิ่มภาระให้ระบบ
บริการสุขภาพไทย ซึ่งรับภาระหนักไม่พอเพียงอยู่แล้ว และมี
ปัญหาด้านขาดแคลนงบประมาณ ควรมีการคิดถึงระบบหลัก
ประกันสุขภาพของแรงงานอพยพ แม้ในที่สุดจะคิดออกว่า ใครจะ
จ่ายเท่าใดระหว่างนายจ้างกับผู้ใช้แรงงาน แต่ปัญหาเพิ่มภาระ
หนักต่อระบบบริการสุขภาพไทยจะยังไม่หมดไป
ประเวศ วะสี38
ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งจะพัฒนาไปท่ามกลางความ
ยากจนของประเทศเพื่อนบ้าน จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
match in คือ คนจากประเทศเพื่อนบ้านจะเดินเข้ามา ก่อให้เกิด
ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และบางครั้งรวมทั้งปัญหาทางการ
เมือง
นอกจากนั้น เวลาเกิดโรคระบาด ประเทศที่ยากจนมี
สมรรถนะในการควบคุมโรคต�่า จะท�าให้โรคระบาดอย่างไร้
พรมแดน
ความเหลื่อมล�้าในประเทศก่อให้เกิดปัญหาฉันใด ความ
เหลื่อมล�้าระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน
ประเทศไทยควรช่วยประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาระบบสุขภาพ
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องการนโยบายจากรัฐบาล วิธีการจัดการ
ซึ่งรวมถึงแหล่งงบประมาณจ�านวนมาก แต่ก็มีองค์กรระหว่าง
ประเทศที่อยู่ในฐานะจะสนับสนุน
39ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๑๐.
ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ
เกี่ยวกับเงินมักจะคิดกันเชิงอ�านาจ ว่าใครจะเป็นเจ้าของเงิน
หรือมีอ�านาจสั่งจ่ายเงิน แล้วก็ทะเลาะกันเรื่องนี้เป็นอันมาก
ในสังคมที่สลับซับซ้อนแคะยาก อ�านาจได้ผลน้อยลงๆ แต่
เราจะต้องไปถึงจิตส�านึกใหม่ อันเป็นจิตส�านึกใหญ่ ที่คิดถึง
ทั้งหมด หรือคิดถึงองค์รวมและใช้ปัญญาอย่างสูง
ชีวิตคนประดุจฟ้า คือมีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็น
มนุษย์ ในสมัยที่ความเหลื่อมล�้าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นอุปสรรค
ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนในระบบสุขภาพควรถือเป็นภารกิจ
อันยิ่งใหญ่ ที่จะใช้ระบบสุขภาพเชิดชูศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
การจ่ายเงินเป็นเครื่องมือสำาคัญในการพัฒนาพฤติกรรม ทั้งของ
ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ
Dr. John Evans อดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยโทรอนโต
และอดีตประธานคณะกรรมการมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เคยกล่าว
ว่า การสั่งสอน (ให้แพทย์ไปเป็นแพทย์ชนิดใด) ไม่ได้ผล ต้องใช้
ระบบการจ่ายเงิน ที่เป็นรูปธรรม ก็คือ ในสหรัฐอเมริกาเลยมีอัตรา
แพทย์เฉพาะทาง : แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป = ๘๐ : ๒๐ โดยหลัก
การนั้นควรกลับกัน คือ ๒๐ : ๘๐
ประเวศ วะสี40
ถึงโรงเรียนแพทย์จะสอนอย่างไรก็ไม่ได้ผล แต่มีอาจารย์ที่
มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดท่านหนึ่งชื่อ William Hsiao ที่คิดระบบการ
จ่ายเงินที่ท�าให้แพทย์หันไปเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมากขึ้น
ระบบการจ่ายเงินสามารถท�าให้แพทย์ปฏิบัติงานที่ห้อง
ฉุกเฉินมากขึ้น มีการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากขึ้น
แพทย์คนเดียวกันที่คลินิกส่วนตัวกับที่โรงพยาบาลของรัฐ
โอภาปราศรัยกับคนไข้ต่างกัน ก็เพราะระบบการจ่ายเงินต่างกัน
นั่นเอง ระบบการจ่ายเงินที่ดีท�าให้ประชาชนมีแรงจูงใจที่จะดูแล
รักษาสุขภาพตนเองอย่างสูงสุดก็ได้
จึงควรร่วมกันคิดอย่างละเอียดรอบคอบว่า จะใช้ระบบการ
เงินเพื่อสุขภาพพัฒนาระบบและพฤติกรรมของบุคคลและองค์กร
ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นระบบสุขภาพที่ดีที่สุดได้อย่างไร โดย
เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน
โดยเข้าใจว่าคนจนเขาถูกท�าให้จนเพราะระบบที่สร้างความเหลื่อม
ล�้า และที่จริงเขาเป็นเจ้าของงบประมาณของประเทศ เพราะภาษี
ส่วนใหญ่ได้มาจากภาษีทางอ้อมที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้จ่าย
เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของชีวิตของทุกคน ตั้งแต่ครรภ์มารดา
จนถึงเชิงตะกอน เราต้องสร้างระบบสุขภาพที่ดีที่สุดส�าหรับทุกคน
ในการนี้ต้องใช้สิ่งสูงสุดของความเป็นมนุษย์ โดยไปพ้นโลภะ
โทสะ โมหะ
41ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๑๑.
บทบาทของมหาวิทยาลัยเชิง
ระบบ
มหาวิทยาลัยมีอิสระและเป็นขุมก�าลังทางปัญญาอัน
มหาศาล
ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจ�ากัดขอบเขตการศึกษาวิจัยอยู่ที่
ความรู้เชิงเทคนิค ขาดบทบาทความรู้เชิงระบบ
ที่กล่าวเรื่องระบบสุขภาพมาตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่าเรื่อง
สุขภาพไม่ได้มีแต่มิติทางเทคนิคเท่านั้น แต่มีมิติเชิงระบบอีกด้วย
ซึ่งถ้าปราศจากความเข้าใจและการพัฒนาเชิงระบบ เราจะไม่
สามารถสร้างสุขภาพส�าหรับคนทั้งมวลได้
ที่เราพูดมาตั้งแต่ต้น ก็เช่น ระบบการสร้างสุขภาพดี ระบบ
สุขภาพชุมชน ระบบการผลิตบุคคลากรที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง
ระบบประเมินเทคโนโลยี ระบบการเงินสุขภาพ เป็นต้น
ประเวศ วะสี42
ในทศวรรษนี้ มหาวิทยาลัยควรจะเข้ามาศึกษาวิจัยให้เกิด
ปัญญาเชิงระบบ ให้ข้อมูลเชิงระบบต่อสาธารณะ ต่อผู้ปฏิบัติ ต่อ
การพัฒนานโยบาย และตรวจสอบนโยบายว่ามีความถูกต้องหรือ
ไม่
รัฐบาลต้องท�านโยบายให้มหาวิทยาลัยสร้างปัญญาเชิง
ระบบ หากมหาวิทยาลัยเป็นพลังปัญญาเชิงระบบจะช่วยให้ระบบ
สุขภาพพัฒนาไปสู่ความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเร็วขึ้น
43ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๑๒.
กระทรวงสาธารณสุขต้อง
เป็นองค์กรนโยบาย
การที่จะมีระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ตามที่กล่าวมา ๑๑ ข้อข้าง
ต้น ล้วนต้องการการท�างานเชิงนโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรี
ว่าการกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นผู้น�าเชิงนโยบาย
ที่ผ่านมา ระบบราชการรวมศูนย์อ�านาจเข้าสู่ส่วนกลาง
ท�าให้กระทรวงต่างๆ ไปท�าหน้าที่บริหารองค์กรในสังกัดจนหมด
ก�าลัง ไม่มีเวลาใช้ความคิดเพื่องานเชิงนโยบาย
บัดนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ควรมีการกระจา
ยอ�านาจไปสู่องค์กรปฏิบัติ ส่วนกระทรวงต่างๆ ปรับตัวไปท�างาน
เชิงนโยบายและวิชาการ
กระทรวงแทนที่จะควบคุมผู้ปฏิบัติ แต่ท�าหน้าที่สนับสนุน
เชิงนโยบายและวิชาการ จะเกิดประโยชน์มากกว่าเดิมหลายเท่า
ตัว
ที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่งานเชิงนโยบาย แต่เป็นการประสาน
การปฏิบัติ
ประเวศ วะสี44
ผู้บริหาร คือ ผู้มีอ�านาจ แต่ไม่มีเวลาคิด ผู้คิดนโยบายไม่ใช้
ผู้มีอ�านาจ
รัฐมนตรีอยู่ในฐานะจะมีนักคิดเชิงนโยบายที่เก่งที่สุดกลุ่ม
หนึ่งเป็นที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาเชิงนโยบายไม่มีอ�านาจสั่งการ
ไม่มีอะไรจะขัดแย้งกับผู้บริหาร
อย่างไรก็ดี งานนโยบายมีหลายระดับ ผู้บริหารกระทรวงทุก
ระดับ ควรมีความสามารถเชิงนโยบาย การที่กระทรวงสาธารณสุข
จะเป็นองค์กรนโยบายได้มีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นบุคคล
ก็ดี องค์กรต่างๆ ก็ดี ควรสนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขมี
สมรรถนะทางนโยบาย
45ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๑๓.
สถาบันนโยบายสุขภาพ
แห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
นโยบายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ เรื่องนโยบายและระบบ
สุขภาพจึงเชื่อมโยงกันใกล้ชิด จะพัฒนานโยบายได้ก็ต้องเข้าใจ
ระบบ
ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าความสามารถเชิงระบบและ
นโยบายเป็นเรื่องส�าคัญยิ่ง
แต่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเกือบทั้งหมดคุ้น
เคยกับการคิดเชิงเทคนิค ขาดความช�านาญในมิติระบบและ
นโยบาย
หากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย มี
การคิดเชิงนโยบายได้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะท�าประโยชน์ให้
ระบบสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล
ท�านองเดียวกันถ้าผู้บริหารระดับต่างๆ ในกระทรวง
สาธารณสุขมีสมรรถนะเชิงนโยบาย ก็จะสามารถพัฒนานโยบาย
ให้ระบบสุขภาพมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประเวศ วะสี46
กระทรวงสาธารณสุขควรจะร่วมกับมหาวิทยาลัยตั้งสถาบัน
นโยบายสุขภาพแห่งชาติ ที่มีการบริหารจัดการได้คล่องตัวและมี
คุณภาพสูง
กระทรวงสาธารณสุขก็เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณรายใหญ่
ที่สุดในการจัดประชุม Prince Mahidol Award Conference
PMAC ประจ�าปี ซึ่งบัดนี้เป็นการประชุมที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่า
เป็นการประชุมผู้น�าทางนโยบายสุขภาพระดับโลกที่มีคุณภาพสูง
ยิ่ง PMAC ได้ท�าให้ผู้น�าทางนโยบายสุขภาพระดับโลกมี
ความสัมพันธ์กับประเทศไทย สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติ
ควรใช้ประโยชน์จากสัมพันธภาพนี้
กระทรวงสาธารณสุขอาจขอพระราชทานนามสถาบันนี้ว่า
“สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล”
ควรเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริม ให้ข้าราชการ
กระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในมหาวิทยาลัย
นิยมเข้าเรียนในสถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้า
มหิดล เพื่อสร้างสมรรถนะเชิงนโยบาย ท�านองเดียวกัน การเข้า
เรียน วปอ. ถ้าพูดไปสถาบันแห่งนี้ก็เป็นเสมือน วปอ. ทางสุขภาพ
สถาบันแห่งนี้ควรพัฒนานักเขียนระบบสุขภาพที่เก่งๆ ด้วย
เพื่อการสื่อสารเรื่องระบบสุขภาพให้เป็นที่เข้าใจในวงกว้าง ความ
เข้าใจเรื่องระบบสุขภาพโดยสาธารณะอย่างกว้างขวาง จะเป็นพลัง
พัฒนานโยบายและเป็นภูมิคุ้มกันให้ระบบสุขภาพ
47ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
๑๔.
กลไกทางสมอง
เพื่อระบบสุขภาพ
ที่กล่าวมาทั้ง ๑๓ ตอนข้างต้นจะเห็นว่า ระบบสุขภาพมีองค์
ประกอบที่หลากหลายซับซ้อน และหลายเรื่องที่ผลกระทบต่อ
สุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เรื่องแรงงานต่างชาติ
เรื่องชาวต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศ เรื่องเทคโนโลยีและ
ยาที่เกิดใหม่อย่างรวดเร็ว
ระบบที่ซับซ้อนอย่างนี้ต้องการกลไกทางสมอง ที่เข้าใจ
ความซับซ้อน คลี่ความซับซ้อนออกมาให้สาธารณะเข้าใจง่ายเพื่อ
เป็นพลังทางนโยบาย
ถ้ามีแต่องค์กรปฏิบัติแต่ไม่มีกลไกทางสมอง จะมองไม่เห็น
ภาพทั้งหมดของระบบว่า ขาดตกบกพร่องอะไร มีภัยคุกคามหรือ
ปัจจัยอะไรที่เข้ามามีผลกระทบต่อระบบ เพราะผู้ท�างานในองค์กร
ปฏิบัติจะมีภาระท่วมท้นมากในองค์กรของตน ไม่มีเวลาจะมามอง
หรือคิดว่าระบบก�าลังเป็นอย่างไร และมีอะไรก�าลังจะเกิดขึ้น
กลไกทางสมองไม่มีอ�านาจ และไม่ควรท�างานเชิงอ�านาจ
และไม่ใช่องค์กรปฏิบัติ จะได้ไม่เสียศูนย์ มีอิสระที่จะมองเห็นตาม
ความเป็นจริง
ประเวศ วะสี48
สช. ไม่ใช่องค์กรปฏิบัติ ไม่มีอ�านาจจะไปสั่งการใคร แต่เป็น
องค์กรพัฒนานโยบาย การพัฒนานโยบายต้องใช้กลไกทางสมอง
เนื่องจากประเทศไทยขาดแคลนกลไกทางสมองในเรื่องต่างๆ
สช. น่าจะมีพันธกิจที่สำาคัญในการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มความ
คิด (Think Tank) ในเรื่องระบบสุขภาพและนโยบายสาธารณะ
ต่างๆ
มหาวิทยาลัยจ�าเป็นต้องมีกลุ่มความคิดเรื่องระบบสุขภาพ
เพื่อเป็นพลังพัฒนานโยบาย และตรวจสอบนโยบายที่อาจมีปัญหา
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ด�าเนินมาหลายปี ได้มีมตินโยบาย
สาธารณะเรื่องต่างๆ ไว้จ�านวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ได้น�าไปสู่การ
ปฏิบัติ
สช. ควรสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิดตามกลุ่มนโยบาย
สาธารณะ ให้คิดโดยละเอียดว่า นโยบายสาธารณะเหล่านี้จะน�า
ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์กรอะไรบ้าง
ท�าอย่างไรสาธารณะจะเข้ามาเป็นพลังขับเคลื่อนให้ฝ่ายนโยบาย
สนใจและเห็นคุณค่าในนโยบายสาธารณะนั้นๆ
ที่ส�าคัญ สช. ควรจะหาทางให้นายกรัฐมนตรีเข้าใจว่า
กระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participa-
tory Public Process) ที่กระบวนการสมัชชาสุขภาพสร้างขึ้น มี
ประโยชน์ต่อประเทศเป็นอันมาก และเป็นเครื่องมืออันหาค่ามิได้
ในการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีในการเป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบาย
สาธารณะ
49ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ถ้านายกรัฐมนตรีเป็นผู้น�าในการขับเคลื่อนนโยบาย
สาธารณะ โดยมีฐานอยู่ในบทบาทของสาธารณะอย่างกว้างขวาง
ในการสังเคราะห์นโยบายสาธารณะ อย่างที่ท�าในสมัชชาสุขภาพ
ประเทศไทยจะก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด
ประเวศ วะสี50
51ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
คของส�านักงานคณะกรรมการ
สุขภาพแห่งชาติในทศวรรษนี้
สรุปบทบาท
ประเวศ วะสี52
สช. ควรสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิด (Think tank) ระบบ
สุขภาพที่เข้มแข็ง หลายกลุ่ม ซึ่งรวมทั้งกลุ่มในมหาวิทยาลัย
เพื่อเป็นพลังพัฒนาระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ และตรวจสอบ
นโยบายที่อาจมีปัญหา
สร้างนักสื่อสารระบบสุขภาพ และการสื่อสารสาธารณะเรื่อง
ระบบสุขภาพให้สาธารณะเข้าใจอย่างกว้างขวาง พลัง
สาธารณะที่เข้าใจระบบสุขภาพจะเข้าไปก�ากับบทบาทของฝ่าย
ต่างๆ ในการพัฒนาระบบสุขภาพ ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่าย
วิชาการ และฝ่ายปฏิบัติ
โดยที่ระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทย
ทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว เป็นหัวใจของการแก้ปัญหา
วิกฤตระบบบริการสุขภาพ สช. ควรหาเครื่องมือทาง
ยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ อาจจ�าเป็นต้องมีพระราช
บัญญัติเป็นเครื่องมือ
โดยมีการพัฒนาระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ การท�าหน้าที่เชิง
นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องส�าคัญ สช. ควรส่ง
เสริมความเข้าใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาสนับสนุนกระ
ทรวงในหน้าที่ที่ส�าคัญนี้
มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพ
โดยมีกลุ่มความคิด (Think tank) เรื่องระบบสุขภาพ ปฏิรูป
การพัฒนาบุคลากรสุขภาพตามข้อเสนอของ 21st
Century
Health Professions Education ที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง และ
๑.
๒.
๓.
๔.
๕.
53ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ
ท�าการประเมินเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบบริการสุขภาพให้ได้ผล
คุ้มค่า ยังเป็นการยากที่มหาวิทยาลัยจะมีบทบาทเหล่านี้
นอกจากนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาผลักดันนโยบาย
โรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ทั่วประเทศเป็นขุมทรัพย์เพื่อ
พัฒนาบุคลากรสุขภาพที่ส�าคัญ กระทรวงสาธารณสุขควรมีน
วัตกรรมในการบริหารจัดการขุมทรัพย์ทางปัญญาอันโพศาลนี้
ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ องค์กรวิชาชีพต่างๆ ต้องเข้ามา
ท�าความเข้าใจและสนับสนุนการผลิตบุคลากรสุขภาพแบบ
ใหม่ที่ใช้ระบบบริการสุขภาพชุมชนเป็นฐาน
สช. ควรรีบสร้างความเข้าใจกับนายกรัฐมนตรีและกับ
พรรคการเมืองต่างๆ ว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่าง
มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เป็นทรัพยากรทางสังคม
ปัญญาที่มีค่ายิ่งที่นายกรัฐมนตรี ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
จะใช้ในการแสดงความเป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
เมื่อนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นผู้น�าในการขับเคลื่อนนโยบาย
สาธารณะ ก็เป็นโอกาสที่จะสร้างเครื่องมือทางนโยบาย เพื่อ
พัฒนาระบบสุขภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในการนี้อาจจ�าเป็นต้องออก พรบ.ส่งเสริมระบบสุขภาพ หรือ
ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีเป็นเครื่องมือ
๖.
๗.
๘.
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย
ระบบสุขภาพไทย

More Related Content

What's hot

ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียPannipa Saetan
 
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติ
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติโครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติ
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติbeauntp
 
การรับรู้และตอบสนอง
การรับรู้และตอบสนอง การรับรู้และตอบสนอง
การรับรู้และตอบสนอง Thitaree Samphao
 
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถม
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถมสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถม
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถมTa Lattapol
 
บทบาทของผู้ผลิต
บทบาทของผู้ผลิตบทบาทของผู้ผลิต
บทบาทของผู้ผลิตThanawut Rattanadon
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนรากdnavaroj
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมkrusuparat01
 
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรปัญหาท้องก่อนวัยอันควร
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรSasithon Charoenchai
 
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะ
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะการศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะ
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะnomnim14
 
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557เทวัญ ภูพานทอง
 
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดPinutchaya Nakchumroon
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3Khunnawang Khunnawang
 
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชนWatcharin Chongkonsatit
 
การใช้เครื่องใช้สำนักงาน
การใช้เครื่องใช้สำนักงานการใช้เครื่องใช้สำนักงาน
การใช้เครื่องใช้สำนักงานPrapisee Nilawongse
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจPariwanButsat
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์จตุรพล ชานันโท
 
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docx
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docxSlแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docx
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docxkrupornpana55
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชnokbiology
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชdnavaroj
 

What's hot (20)

ปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสียปัญหาน้ำเน่าเสีย
ปัญหาน้ำเน่าเสีย
 
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติ
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติโครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติ
โครงงานแผ่นซับเสียงจากเส้นใยธรรมชาติ
 
การรับรู้และตอบสนอง
การรับรู้และตอบสนอง การรับรู้และตอบสนอง
การรับรู้และตอบสนอง
 
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถม
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถมสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถม
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ประถม
 
บทบาทของผู้ผลิต
บทบาทของผู้ผลิตบทบาทของผู้ผลิต
บทบาทของผู้ผลิต
 
ขนราก
ขนรากขนราก
ขนราก
 
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคมวิเคราะห์หลักสูตรสังคม
วิเคราะห์หลักสูตรสังคม
 
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควรปัญหาท้องก่อนวัยอันควร
ปัญหาท้องก่อนวัยอันควร
 
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะ
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะการศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะ
การศึกษาพฤติกรรมสาเหตุการทะเลาะวิวาทของเด็กนักเรียนอาชีวะ
 
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
รายงานเยี่ยมบ้านนักเรียน ปีการศึกษา 2557
 
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือดบทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
บทที่ 1 พันธุกรรมกับหมู่เลือด
 
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
แบบทดสอบ วิทยาศาสตร์ ป.3
 
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
2 แนวคิดเกี่ยวกับชุมชน
 
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrixการวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
การวิเคราะห์ SWOT & TOWS Matrix
 
การใช้เครื่องใช้สำนักงาน
การใช้เครื่องใช้สำนักงานการใช้เครื่องใช้สำนักงาน
การใช้เครื่องใช้สำนักงาน
 
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจตลาดในระบบเศรษฐกิจ
ตลาดในระบบเศรษฐกิจ
 
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
 
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docx
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docxSlแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docx
Slแบบทดสอบรายตัวชี้วัด หน่วยที่ 1 แรงและการเคลื่อนที่. 12 เม.ย.56docx
 
การลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืชการลำเลียงน้ำของพืช
การลำเลียงน้ำของพืช
 
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืช
 

Similar to ระบบสุขภาพไทย

ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว Chuchai Sornchumni
 
บาลี 64 80
บาลี 64 80บาลี 64 80
บาลี 64 80Rose Banioki
 
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)Wataustin Austin
 
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)Tongsamut vorasan
 
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ Klangpanya
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfVorawut Wongumpornpinit
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงKruwaw-ru Kan
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงWongduean Phumnoi
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกKlangpanya
 
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdom
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdomWish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdom
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdomPoukeaw
 
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจWisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจPanda Jing
 
ต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนDinhin Rakpong-Asoke
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิตTongsamut vorasan
 
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
 ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น  ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น Utai Sukviwatsirikul
 
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุ
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุอยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุ
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุVorawut Wongumpornpinit
 
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรนักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรThongkum Virut
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdfmaruay songtanin
 

Similar to ระบบสุขภาพไทย (20)

ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว ระบบประกันการดูแลระยะยาว
ระบบประกันการดูแลระยะยาว
 
บาลี 64 80
บาลี 64 80บาลี 64 80
บาลี 64 80
 
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
 
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
8 64+วิสุทธิมคฺคสฺส+นาม+ปกรณวิเสสสฺล+(ปฐโม+ภาโค)
 
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ
กระตุกกลไกสมอง กระตุ้นคลังสมองชาติ
 
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdfตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
ตำรับยาจีนที่ใช้บ่อยในประเทศไทย เล่ม 3.pdf
 
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
NSTDA Newsletter ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนกันยายน 2564
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
 
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตกอธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
อธิบายสังคมเสียใหม่ให้พ้นไปจากกรอบคิดตะวันตก
 
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdom
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdomWish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdom
Wish eruuengelaaephuuekhwaamhwangaelaphlangaicch chud_wisdom
 
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจWisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
Wisdom เรื่องเล่าเพื่อความหวังและพลังใจ
 
ต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจนต้องทำแบบคนจน
ต้องทำแบบคนจน
 
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิตสุทธิวัสส์ คำภา   นาฬิกาชีวิต
สุทธิวัสส์ คำภา นาฬิกาชีวิต
 
In side-100 story-001-248[1][19]
In side-100 story-001-248[1][19]In side-100 story-001-248[1][19]
In side-100 story-001-248[1][19]
 
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
 ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น  ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
ศาสตร์การแพทย์แผนจีนเบื้องต้น
 
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุ
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุอยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุ
อยากสุขภาพดีต้องมี 3อ. สำหรับวัยสูงอายุ
 
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรนักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
 
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf๑๙  มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
๑๙ มหาสติปัฏฐานสูตร มจร.pdf
 

More from Pattie Pattie

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567Pattie Pattie
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินPattie Pattie
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรPattie Pattie
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชPattie Pattie
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...Pattie Pattie
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationPattie Pattie
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีPattie Pattie
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Pattie Pattie
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfPattie Pattie
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPattie Pattie
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxPattie Pattie
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxPattie Pattie
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdfPattie Pattie
 

More from Pattie Pattie (20)

สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
สรุป Schools That Matter วันที่ 10 เมษายน 2567
 
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉินรูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
รูปแบบการขยายผลการจัดการเรียนรู้การแพทย์ฉุกเฉิน
 
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิรAIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
AIforTeaching โดย รศ. ดร. สิริวุฒิ บูรณพิร
 
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิชการบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
การบริหารวิชาการและหลักสูตร บรรยายโดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
 
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
The Lancet Commission on peaceful societies through health equity and gender ...
 
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganizationคณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
คณะพยาบาลศาสตร์ สบช KMSharingforLearningOrganization
 
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสีการประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
การประชุมกลุ่มสามพราน ตระกูล ส โดย ศ.นพ.ประเวศ วะสี
 
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
Transformative Education——Pearls in Medical Education 2567
 
ResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdfResearchfoundationPro.pdf
ResearchfoundationPro.pdf
 
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdfPMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
PMAYP2024_Opening speech (Prof. Vicharn).pdf
 
670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf670111_PDF.pdf
670111_PDF.pdf
 
NoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdfNoteMemoCare.pdf
NoteMemoCare.pdf
 
KrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptxKrungthepThaonUniv.pptx
KrungthepThaonUniv.pptx
 
จาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptxจาก KM สู่ SLC.pptx
จาก KM สู่ SLC.pptx
 
Udom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdfUdom_Pdf.pdf
Udom_Pdf.pdf
 
Kregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdfKregrit_Pdf.pdf
Kregrit_Pdf.pdf
 
Phuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdfPhuket_sandbox.pdf
Phuket_sandbox.pdf
 
Surin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptxSurin_ppt.pptx
Surin_ppt.pptx
 
Nakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdfNakornsawan.pdf
Nakornsawan.pdf
 
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
20230119-ar-พุทธวิธีตอนที่11.pdf
 

ระบบสุขภาพไทย

  • 1. 1ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ปาฐกถาเนื่องในวาระครบ ๑๐ ปี ของส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ๑๙ กันยายน ๒๕๖๐ สุขภาพไทย ในทศวรรษ ระบบ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เปิดโอกาสให้นายกรัฐมนตรี ไม่ว่าท่านใด แสดงภาวะผู้น�านโยบายสาธารณะ เพื่อสุขภาพของคนไทยทั้งมวล
  • 2. ประเวศ วะสี2 ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี จัดพิมพ์เผยแพร่โดย ชั้น ๓ อาคารสุขภาพแห่งชาติ เลขที่ ๘๘/๓๙ ติวานนท์ ๑๔ ถนนติวานนท์ อ�าเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ๑๑๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๐ โทรสาร ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๑-๒ www.nationalhealth.or.th พิมพ์ครั้งที่ ๑ ก้ันายน พ.ศ. ๒๕๖๐ จ�านวน ๑,๐๐๐ เล่ม ออกแบบ/พิมพ์โดย สำานักพิมพ์หมอชาวบ้าน โทรศัพท์ ๐-๒๖๑๘-๔๗๑๐
  • 3. 3ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ส�านักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ไม่ใช่องค์กรอ�านาจ แต่เป็นองค์กรทางปัญญา การสังเคราะห์และตัดสินใจทางนโยบาย ต้องใช้สติปัญญาสูงยิ่ง สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ คือ กระบวนการนโยบายสาธารณะที่บุคคลและองค์กร ในสังคมมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวาง เป็นกระบวนการ ทางสังคมและปัญญาที่ใหญ่ที่สุด ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ในเกือบทศวรรษที่ผ่านมา สมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สะสมข้อมตินโยบายสาธารณะ ที่มีประโยชน์ไว้เป็นอันมาก นายกรัฐมนตรีในฐานะ ประธานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ น่าจะใช้กระบวนการและข้อมติ จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นโอกาสแห่งการแสดงภาวะผู้น�านโยบายสาธารณะ เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
  • 4. ประเวศ วะสี4 สารบัญ ก. ความเป็นมาและพันธกิจของ สช....................................................................๗ ข. ๑๔ ประเด็นในระบบสุขภาพ..........................................................................๑๓ ๑. โรงพยาบาลแน่นเกิน คุณภาพไม่ดีพอ ผู้ให้บริการรับภาระหนักเกิน...............................................................๑๖ ๒. ระบบสร้างสุขภาพดี (สร้างน�าซ่อม)................................................๑๘ ๓. ฐานของระบบบริการสุขภาพ : ระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคน มีหมอประจ�าครอบครัว.........................................................................๒๒ ๔. โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. : ทรัพยากรอันมีค่าที่สุดเพื่อพัฒนาบุคลากรสุขภาพ..................๒๖ ๕. บทบาทแพทย์ผู้ช�านาญเฉพาะทาง (Specialists) ต่อการพัฒนาระบบสุขภาพ.................................................................๒๘ ๖. ระบบการใช้เทคโนโลยีที่ให้ผลคุ้มค่า...............................................๓๐ ๗. ข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารกับระบบสุขภาพ..........................๓๓
  • 5. 5ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๘. นโยบายเกี่ยวกับโรงพยาบาลเอกชน...............................................๓๕ ๙. นโยบายเกี่ยวกับบริการผู้อพยพและการช่วยประเทศ เพื่อนบ้าน.....................................................................................................๓๗ ๑๐. ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ.....................................................................๓๙ ๑๑. บทบาทของมหาวิทยาลัยเชิงระบบ..................................................๔๑ ๑๒. กระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นองค์กรเชิงนโยบาย.....................๔๓ ๑๓. สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล............๔๕ ๑๔. กลไกทางสมองเพื่อระบบสุขภาพ....................................................๔๗ ค. สรุปบทบาทของ สช. ในทศวรรษนี้..............................................................๕๑ ง. ภาคผนวก ...........................................................................................................๕๕ - นวัตกรรมระบบสุขภาพต�าบล : พยาบาลชุมชน ๑ คนต่อ ๒ หมู่บ้าน ผู้ช่วยพยาบาลหมู่บ้านละคน..................๕๖ - ต�าบล คือ จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย...........๖๗
  • 8. ประเวศ วะสี8 สช. เกิดมาจาก สปรส. เมื่อสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ได้ท�างานสร้าง ความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพไปพอสมควร คณะกรรมการสถาบันได้ มีมติว่า ได้เวลาที่จะมีการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายกร ทัพพะรังสี ในฐานะประธาน คณะกรรมการ สวรส. ได้เสนอ ครม. ให้มีการตั้งคณะกรรมปฏิรูประบบ สุขภาพ (คปรส.) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีส�านัก คณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพ (สปรส.) เป็นฝ่ายเลขานุการ สปรส. ได้ระดมความคิดจากทุกภาคส่วนของสังคมว่า ระบบ สุขภาพที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไร โดยใช้เวลาหลายปี น่าจะเป็นกระบวน การระดมความคิดเกี่ยวกับระบบสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ชาติไทย กว่าจะออกมาเป็นกฎหมาย คือ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ที่ก�าหนดให้มีคณะกรรมการและส�านักงานคณะกรรมการ สุขภาพแห่งชาติ (สช.) สช. จึงมีฐานจากกระบวนการทางสังคมและกระบวนการทาง ปัญญาอย่างกว้างขวาง สช. ถูกออกแบบมาให้เป็นองค์กรทางปัญญา ไม่ใช่องค์กรทาง อ�านาจ ข้อนี้ควรจะตรากันไว้ให้ดี สุขภาพไม่ใช่เรื่องของหมอ หยูกยา และโรงพยาบาลเท่านั้น แต่บูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคมทั้งหมด จึงมีค�ากล่าว ว่า “Health is the whole” - สุขภาพคือทั้งหมด
  • 9. 9ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพกว่าร้อยละ ๘๐ อยู่นอกแวดวงสิ่งที่ เรียกว่า การสาธารณสุข ฉะนั้น ระบบสุขภาพจึงกว้างไกลกว่าระบบ สาธารณสุขมาก ส�านักงานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งเกิดขึ้นตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติถูกออกแบบมาให้เป็นกลไกทางสมองในเรื่อง ระบบสุขภาพ ไม่ใช่กลไกทางอ�านาจ เรื่องนี้ยังเข้าใจกันน้อย เพราะประเทศไทยเต็มไปด้วย โครงสร้างอ�านาจ แต่ขาดแคลนกลไกทางสมอง จึงล�าบาก เหมือน ระบบร่างกายของเรา แม้จะมีหัวใจ ตับ ปอด ไต ที่ดีเท่าใด ก็ต้องมี สมอง ในประเทศจีนในยุคซุนชิว-จ้านกั๋ว ซึ่งกินเวลากว่า ๕๐๐ ปี เจ้า ผู้ครองแค้วนต่างๆ คือ อ�านาจ สิ่งที่เจ้าผู้ครองแคว้นแสวงหามากที่สุด คือ ที่ปรึกษาเก่งๆ ถ้าไม่มีที่ปรึกษา แคว้นนั้นๆ ก็จะอยู่ไม่ได้ จะ แตกดับล่มสลายไป ที่ปรึกษาไม่มีอ�านาจ แต่เป็นกลไกทางสมอง กลไกทางสมองไม่มีอ�านาจ ถ้ามีอ�านาจก็เป็นกลไกทางสมอง ไม่ได้ เพราะต้องยุ่งกับการบริหารอ�านาจ แต่อ�านาจที่จะได้ผลต้องมี กลไกทางสมองสนับสนุน ประเทศไทยเต็มไปด้วยโครงสร้างอ�านาจ เกือบไม่มีที่อยู่ของ กลไกทางสมองเลย เมื่อจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งสภาวิจัยแห่งชาติ ใช้ค�าพูดว่า “เพื่อให้เป็นสมองของประเทศ” การวิจัยและการศึกษาจะ เป็นสมองของประเทศได้หรือไม่ สุดแต่ว่าเอาสถานการณ์จริง หรือ เอาวิชาเป็นตัวตั้ง
  • 10. ประเวศ วะสี10 สมองช่วยให้อยู่รอด และอยู่ได้ดี สมองทำาหน้าที่รับรู้ความจริงหรือสถานการณ์จริง ซึ่งอาจ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว วิเคราะห์สังเคราะห์ให้เข้าใจความจริงที่ลึกและรอบ ด้าน แล้วนำาไปสู่การตัดสินใจอย่างทันเวลา เราต้องตัดสินใจอยู่ตลอดเวลาว่าจะท�าหรือไม่ท�าอะไร และ ท�าอย่างไร ถ้าตัดสินใจผิดก็เสียหาย ถ้าตัดสินใจถูกก็ได้ประโยชน์ การตัดสินใจจึงเป็นการใช้สมองสูงสุด มีฐานมาจากการรับรู้ ความจริงเฉพาะหน้า และต้องทันกาล (timely) การศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาสถานการณ์จริงเป็น ตัวตั้ง และการวิจัยที่เอาเทคนิคที่ผู้วิจัยมีเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอา สถานการณ์จริงเป็นตัวตั้ง ไม่ช่วยให้เข้าใจความจริงเฉพาะหน้าและ ตัดสินใจได้ทันกาล อาจมีประโยชน์บางอย่าง แต่ไม่ใช่กลไกทางสมอง แบบที่ก�าลังกล่าวถึง ถ้าชาติไม่มีกลไกทางสมองที่ช่วยให้เข้าใจสถานการณ์จริงและ ตัดสินใจได้ถูกต้องก็จะล�าบาก การตัดสินใจในเรื่องที่มีผลกระทบมาก เรียกว่า การตัดสินใจทางนโยบาย องค์กรทางนโยบายจึงต้องมีกลไก ทางสมอง คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเป็นองค์กรทางนโยบาย จึงควร เป็นกลไกทางสมอง และโดยที่นโยบายสาธารณะมีผลกระทบต่อสุข ภาวะของคนทั้งมวล สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ สช. จัดเป็นประจ�าทุก ปี เป็นกระบวนการสังเคราะห์นโยบายสาธารณะที่ทุกภาคส่วนมีส่วน ร่วม เป็นกระบวนการทางปัญญาของสังคมที่ใหญ่ที่สุด
  • 11. 11ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ สช. ควรจะหาวิธีการที่ข้อมติจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้ รับการน�าไปปฏิบัติเป็นผลส�าเร็จ การที่นโยบายดีๆ จะได้รับการน�า ไปสู่การปฏิบัติจนเป็นผลส�าเร็จยังเป็นเรื่องยาก สช. ควรจะสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิด (Think tank) ส�าหรับ แต่ละกลุ่มนโยบาย เพื่อหาทางน�าไปสู่การปฏิบัติ และควรหาทางให้ นายกรัฐมนตรีตระหนักรู้ว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะที่ สช. จัด ให้มีขึ้นเป็นทุนอันยิ่งใหญ่ส�าหรับนายกรัฐมนตรีใช้ เพื่อเป็นผู้น�าในการ ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ
  • 14. ประเวศ วะสี14 แม้ประเทศไทยจะพัฒนาโครงสร้างระบบบริการสาธารณสุข และงานทางสาธารณสุขมาอย่างดียิ่ง โดยมีโรงพยาบาลศูนย์โรง พยาบาลทั่วไปครบทุกจังหวัด โรงพยาบาลชุมชนครบทุกอ�าเภอ สถานี อนามัยหรือโรงพยาบาลสุขภาพต�าบล (รพ.สต.) ครบทุกต�าบล มีอาสา สมัครสาธารณสุขประจ�าหมู่บ้าน (อสม.) หมู่บ้านละ ๑๐ คน อีกทั้งมี ความส�าเร็จในการควบคุมโรคติดต่อที่ส�าคัญๆ เช่น อหิวาตกโรค กาฬโรค ฝีดาษ โรคเรื้อน โรคคุดทะราด คอตีบ ไอกรน โปลิโอ รวม ทั้งควบคุมจ�านวนประชากร และควบคุมการบริโภคยาสูบ และมีการปฏิรูประบบสุขภาพโดยมีการออกกฎหมายหลาย ฉบับ สร้างเครื่องมือการปฏิรูปหลายองค์กร เช่น สถาบันวิจัยระบบ สาธารณสุข (สวรส.) ส�านักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ส�านักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ส�านักงานคณะ กรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) แต่ระบบสุขภาพที่ดีที่สุดหรือระบบสุขภาพในอุดมคติ อันพึง ปรารถนายังเป็นเรื่องห่างไกล และมีปัจจัยต่างๆ มากมายที่เข้ามามี ผลกระทบต่อระบบสุขภาพตลอดเวลา และบางเรื่องก็รวดเร็วมาก รวมทั้งเรื่องเชิงนโยบายที่ยากและสลับซับซ้อน จึงเป็นการสมควรที่ จะต้องมีพินิจพิเคราะห์หรือเฝ้าระวังระบบสุขภาพตลอดเวลา เพื่อลด ปัจจัยเสี่ยงและเพิ่มปัจจัยอันเป็นคุณ ให้ระบบสุขภาพสามารถปรับตัว มิให้เกิดความเสื่อมทรุด แต่ไปในทางตรงกันข้ามคือ เข้าใกล้การเป็น ระบบสุขภาพในอุดมคติมากขึ้นเรื่อยๆ
  • 15. 15ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ สช. เป็นองค์กรนโยบายระบบสุขภาพ จึงมีหน้าที่ที่จะให้มีการ พินิจพิเคราะห์หรือเฝ้าระวังระบบสุขภาพ และพัฒนาให้สมบูรณ์ขึ้น ตลอดเวลา ในที่นี้จะพูดถึงระบบสุขภาพ โดยยกประเด็นเชิงระบบขึ้นมา กล่าวเป็นประเด็นๆ เพื่อให้เข้าใจง่าย และเห็นช่องว่าง กับการที่จะ ต้องลดช่องว่างให้แคบลงดังต่อไปนี้
  • 16. ประเวศ วะสี16 ๑ โรงพยาบาลแน่นเกิน คุณภาพไม่ดีพอ ผู้ให้บริการ รับภาระหนักเกิน ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้ คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรง พยาบาลมีจ�านวนมาก ท�าให้แออัดยัดเยียด ผู้ป่วยไม่ได้รับการ ตรวจอย่างละเอียด ท�าให้คุณภาพไม่ดีพอ แพทย์และพยาบาลต้องรับภาระหนักเกินตัว จนมีข่าวว่า แพทย์เหนื่อยตาย หรือทนท�างานหนักไม่ไหวลาออกไปอยู่ภาค เอกชน รวมทั้งเป็นสาเหตุความขัดแย้งระหว่างญาติผู้ป่วยที่ต้องการ คุณภาพบริการที่ดีกว่านี้ กับแพทย์ซึ่งก็เหนื่อยเกินอยู่แล้ว เรื่องนี้ต้องการการแก้ไขเชิงระบบ เช่น (๑) ต้องสร้างสุขภาพดีให้ดีกว่านี้ เพื่อลดปริมาณความเจ็บ ป่วย (๒) ท�าให้คนเป็นหวัดเจ็บคอ (URI) ไม่ต้องมาโรงพยาบาล ทุกโรงพยาบาลคนไข้ที่มากที่สุด คือ เป็นหวัดเจ็บคอ
  • 17. 17ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ที่ประเทศอังกฤษคนเป็นหวัดเจ็บคอจะไม่ไปหาหมอ แต่ในประเทศไทยคนที่เป็นหวัดเจ็บคอนิยมไปหาหมอ และเป็นคนไข้ที่แน่นคลินิกผู้ป่วยนอกมากที่สุด ประเทศไทยต้องรณรงค์อย่างจริงจังให้ประชาชนที่เป็น หวัดเจ็บคอมีความรู้ความเข้าใจพอที่จะดูแลตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปหาหมอ (๓) พัฒนาระบบบริการใกล้บ้านใกล้ใจที่ประชาชนได้รับ บริการถึงบ้านหรือในชุมชนอย่างใกล้ชิดทั่วถึง ด้วย คุณภาพที่ดีกว่าระบบบริการที่แออัดยัดเยียดที่โรง พยาบาล ระบบนี้จะท�าให้ลดการต้องไปพึ่งพิงโรง พยาบาล ท�าให้โรงพยาบาลมีเวลาที่จะรักษาโรคยากๆ ด้วยความประณีตขึ้น
  • 18. ประเวศ วะสี18 ๒ ระบบสร้างสุขภาพดี (สร้างน�าซ่อม) ระบบบริการสุขภาพ ถ้าเป็นระบบตั้งรับ คือ ปล่อยให้เจ็บ ป่วยแล้วสร้างโรงพยาบาลรองรับจะตั้งรับไม่ไหวและแพงมาก เช่น ขณะนี้โรงพยาบาลใหญ่ๆ สร้างตึกผู้ป่วยใหญ่หลังหนึ่งอาจใช้งบ ประมาณกว่า ๑๐,๐๐๐ ล้านบาท เพราะฉะนั้นระบบสุขภาพที่ดีต้องเน้นการสร้างสุขภาพดี หรือสร้างน�าซ่อมให้ประชาชนสามารถด�ารงสุขภาพดีมากที่สุด ไม่ เจ็บป่วยโดยไม่จ�าเป็น การสร้างสุขภาพดีจะมีก�าไรมากกว่าระบบตั้งรับทุกๆ ด้าน รวมทั้งด้านเศรษฐกิจและการลดรายจ่ายเรื่องค่ารักษาพยาบาลทั้ง ของประชาชนและของรัฐ สสส. เป็นเครื่องมือสร้างสุขภาพดี ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพดี โดย Ottawa Charter มี ๕ จ�าพวก คือ (๑) พฤติกรรมสุขภาพ เช่น อาหาร ออกก�าลังกาย เว้นการ เสพของให้โทษ การเจริญสติ
  • 19. 19ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ (๒) ชุมชนเข้มแข็ง (๓) สิ่งแวดล้อมดี (๔) ระบบบริการดี (๕) นโยบายสาธารณะที่ดี (Healthy public policies) ค�าว่า นโยบายสาธารณะ ต่างจากค�าว่านโยบายสาธารณสุข โดยที่ปัจจัยที่ก�าหนดสุขภาพกว่า ๘๐ เปอร์เซ็นต์ อยู่ นอกแวดวงสาธารณสุข เช่น เศรษฐกิจ การศึกษา สิ่งแวดล้อม ความเป็นธรรม สันติภาพ การสื่อสารที่ดี ความยากคนจน และความเหลื่อมล�้ามีผลต่อสุขภาพ มาก เรื่องปัจจัยก�าหนดสุขภาพมีความเข้าใจที่กว้างแคบต่างกัน มาก เช่น เมื่อรัฐบาลทหารให้ คตร. เข้ามาตรวจสอบการท�างาน ของ สสส. เห็นไปว่างานหลายอย่างอยู่นอกเหนือเรื่องสุขภาพ (ใน ความหมายแคบ) นโยบายสาธารณะมีผลต่อสุขภาพมาก แต่ขับเคลื่อนได้ยาก ที่สุด เพราะมีผู้ได้ประโยชน์จากการท�าให้สุขภาพเสียมีจ�านวนมาก และกลไกขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะยังไม่เข้มแข็ง สช. ได้จัดประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นประจ�าปีมา หลายปี กระบวนการสมัชชาสุขภาพเป็นกระบวนการสร้าง นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่เรียกว่า 4 P (Participatory Public Policies Process) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ความ พยายามอย่างมากในการใช้หลักฐานข้อมูลมาวิเคราะห์สังเคราะห์ เป็นประเด็นนโยบาย ซึ่งที่ประชุมสมัชชามีมติเห็นพ้องเป็น เอกฉันท์
  • 20. ประเวศ วะสี20 สมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สะสมมติ ข้อเสนอแนะ นโยบาย สาธารณะที่ดีๆ ไว้หลายสิบประการ แต่เกือบทั้งหมดไม่นำาไปสู่การ ปฏิบัติ เพราะการเมืองระดับสูงขาดความสนใจและทักษะใน การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ทั้งๆ ที่คณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ (คสช.) มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นข้อแตกต่าง ในสหรัฐอเมริกาก่อนค ลินตันเป็นประธานาธิบดี คนอเมริกันประมาณ ๔๐ ล้านคนไม่มี ประกันสุขภาพ คลินตันได้ประกาศว่าถ้าได้รับเลือกตั้งจะปฏิรูประบบบริการ สุขภาพ เมื่อเป็นประธานาธิบดีได้ตั้ง ฮิลลารี คลินตัน เป็นประธาน คณะกรรมการปฏิรูป มีรัฐมนตรีสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญต่างๆ เป็นกรรมการ แต่ปฏิรูปไม่ส�าเร็จตลอดวาระ ๘ ปีที่เป็น ประธานาธิบดี ๒ สมัย ต่อมาประธานาธิบดีโอบามา ประสบความส�าเร็จในการ ออกกฎหมายเพื่อขยายความครอบคลุมของหลักประกันสุขภาพ ที่เรียกว่า Obamacare ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการล้ม Obamacare แต่ท�าไม่ส�าเร็จทั้งๆ ที่พรรคริพับลิกันครองเสียงข้าง มากทั้ง ๒ สภา เพราะคอลัมนิสต์ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ เขียนบทความคัดค้าน การล้ม Obamacare กันเป็นแถว วุฒิสมาชิกพรรคริพับลิกันกลัวว่าถ้าโหวตล้ม Obamacare ประชาชนจะไม่พอใจและไม่เลือกตนกลับเข้ามาอีก นี้แสดงว่า ประธานาธิบดีเองเป็นผู้น�าในนโยบายสุขภาพ มี คอลัมนิสต์ที่มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ และการออกเสียงของ
  • 21. 21ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ประชาชนมีผลต่อการตัดสินใจทางนโยบายของนักการเมือง ของเรา พรบ.สุขภาพแห่งชาติได้วางตัวนายกรัฐมนตรีให้เป็น ประธานคณะกรรมสุขภาพแห่งชาติ เพื่อให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้น�า ในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ แต่ก็ยังไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีคนใดใช้โอกาสที่ สช. โดย กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติได้สร้างข้อนโยบายสาธารณะ ที่ดีๆ ไว้เป็นอันมาก เป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ และ ไม่มีคอลัมนิสต์ที่เข้าใจนโยบายสาธารณะมาช่วยให้ความเข้าใจ ประชาชน ให้เป็นพลังขับเคลื่อนนโยบาย ฉะนั้น ภายในทศวรรษนี้ สช. น่าจะพยายามท�ากลไกขับ เคลื่อนนโยบายสาธารณะ ๓ อย่างนี้ คือ นายกรัฐมนตรี – การ สื่อสาร – พลังประชาชนที่ขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะได้ เนื่องจาก Health is the whole การสร้างสุขภาพดีจึงอยู่ใน เรื่องต่างๆ ทั้งหมด มีการชูค�าว่า Health in all policies หรือ “สุขภาพในนโยบายทั้งปวง” เพราะเหตุนี้ หลักประกันสุขภาพ ซึ่งขณะนี้มี ๓ ระบบ จึง ไม่ควรประกันแต่การรักษาความเจ็บป่วย ซึ่งเป็นการตั้งรับเท่านั้น แต่ควรใช้หลักสร้างน�าซ่อมด้วย โดยสร้างแรงจูงใจให้ประชาชน ดูแลสร้างสุขภาพดีให้ตนเองมากที่สุด ถ้าท�าได้จะลดจ�านวนผู้ป่วย ลดภาระในการดูแลรักษา และประหยัดงบประมาณได้มาก ทั้ง ของประชาชนและของรัฐ นี่ก็เป็นประเด็นนโยบายอีกอย่างหนึ่ง
  • 22. ประเวศ วะสี22 ๓. ฐานของระบบบริกาสุขภาพ ระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว โครงสร้างใดๆ จะมั่งคง ฐานต้องกว้างและแข็งแรง พระเจดีย์ต้องสร้างจากฐาน สร้างจากยอดไม่ได้ ที่ผ่านมาปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างหนึ่ง คือ การรวมศูนย์อยู่ ข้างบน ปัญหาของระบบบริการสุขภาพข้อ ๑ ที่ว่าโรงพยาบาลแน่น และให้บริการเหนื่อยเกินนั้น มาจากฐานของระบบบริการยังไม่ กว้างและแข็งแรงพอ หัวใจของการแก้ปัญหานี้คือ สร้างฐานของระบบบริการ สุขภาพให้กว้างและแข็งแรง ที่อาจเรียกว่า ระบบสุขภาพชุมชน บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว เรื่องนี้ถ้าใช้ความคิด อยู่ในวิสัยจะท�าได้ไม่ยากนัก เมื่อท�า ส�าเร็จจะเข้าใกล้เป้าหมายสุขภาพของคนทั้งมวล (Health for All) ในการสร้างสุขภาพดี ดูแลผู้ป่วยเจ็บทั้งหมด รวมทั้งผู้สูงอายุ ด้วย คุณภาพสูงและประสิทธิภาพ ฐานของระบบบริการสุขภาพจะลด
  • 23. 23ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ จ�านวนผู้ป่วยที่มาแน่นที่โรงพยาบาลใหญ่ลง เปิดโอกาสให้ท�างาน ยากๆ ด้วยคุณภาพที่สูงขึ้น ลดภาระงานหนักของแพทย์และ พยาบาลลง การพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คน ไทยทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว จึงเป็นยุทธศาสตร์ระบบสุขภาพที่ สำาคัญที่สุดในทศวรรษนี้ ระบบสุขภาพชุมชน หมายรวมถึง การดูแลรักษาตัวเอง การ ดูแลที่บ้าน และการดูแลในชุมชน ใช้หลัก “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” ในระดับพื้นที่ โดยความร่วมมือของภาควิชาการ ภาคประชาชน และภาครัฐ ภาควิชาการ = รพ.สต. และ รพช. ภาคประชาชน = องค์กรชุมชน ภาครัฐ = อบต. หรือเทศบาล บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว ท�าได้โดยการมีพยาบาลของชุมชน ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน และผู้ ช่วยพยาบาล ๑ คนต่อหมู่บ้าน* พยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล ท�า หน้าที่หมอประจ�าครอบครัวที่อยู่ใกล้ชิดคุ้นเคยกับทุกครอบครัว ประดุจญาติ * ดูบทความ “นวัตกรรมระบบสุขภาพต�าบล : พยาบาล ๑ คน ต่อ ๒ หมู่บ้าน ผู้ช่วยพยาบาล หมู่บ้านละคน” ในภาคผนวก
  • 24. ประเวศ วะสี24 การมีหมอประจ�าครอบครัวประดุจญาติดูแลโดยใกล้ชิดจึง เรียกว่า บริการใกล้บ้านใกล้ใจ ผู้สูงอายุก็จะมีหมอไปเยี่ยมถึงบ้าน พยาบาลของชุมชนจะสามารถตรวจวินิจฉัยและควบคุมโรค ความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้ทั้งหมด ท�าให้ลดภาระโรค ไม่ติดต่อ (NCD) ลงได้ทั้งประเทศ พยาบาลของชุมชนนี้ไม่บรรจุและกินเงินเดือนของกระทรวง สาธารณสุข แต่กินเงินเดือนของ อบต. และมีนวัตกรรมทางการ เงินของชุมชนได้หลายอย่าง รวมทั้งชุมชนอาจจัดให้มีระบบประกัน สุขภาพของชุมชน การขาดแคลนงบประมาณจะไม่เป็นข้อจ�ากัด ของระบบสุขภาพชุมชน นวัตกรรมการเงินเพื่อสุขภาพชุมชนจะ ก้าวข้ามข้อจ�ากัดนี้ เป้าหมายของระบบสุขภาพชุมชน ๘ ประการ (๑) พัฒนาอย่างบูรณาการ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนาอย่างบูรณาการเป็นปัจจัยส�าคัญของการมี สุขภาพดี (๒) ดูแลรักษาโรคที่พบบ่อยทั้งหมด (๓) ควบคุมโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชน ทั้งหมด (๔) ดูแลผู้สูงอายุและคนพิการทั้งหมด (๕) จัดการปัญหาเจ็บป่วยฉุกเฉินเบื้องต้นได้ (๖) สามารถส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาได้อย่างมี ประสิทธิภาพ
  • 25. 25ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ (๗) ควบคุมโรคติดต่อที่ส�าคัญๆ (๘) สร้างเสริมสุขภาพดีอย่างเต็มที่ ทั้งหมดนี้เมื่อเกิดขึ้นในทุกต�าบลและหมู่บ้าน** ประชาชน จะมีความสุขสักเพียงใด ในเมื่อ “ระบบสุขภาพชุมชน - บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทย ทุกคนมีหมอประจำาครอบครัว” เป็นฐานของระบบบริการสุขภาพ ระบบต่างๆ ก็ต้องพุ่งมาประสานกับฐาน เพื่อให้ทั้งหมดแข็งแกร่ง และมั่นคงไปด้วยกัน ดังสรุปในรูปข้างล่าง และจะพูดถึงในตอน ต่อๆ ไป ** ดูบทความ “ต�าบล คือ จุดยุทธศาสตร์ของการพัฒนาประเทศไทย” ในภาคผนวก ระบบสุขภาพชุมชน - บริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทยทุกคนมีหมอ ประจ�าครอบครัว โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย รพ.ศูนย์/ รพ.ทั่วไป การผลิตบุคลากร ที่เอาระบบ เป็นตัวตั้ง พัฒนาเทคโนโลยี ที่เหมาะสม องค์กรวิชาชีพ
  • 26. ประเวศ วะสี26 ๔. โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. ทรัพยากรอันมีค่าที่สุด เพื่อพัฒนาบุคลากร สุขภาพ โรงพยาบาลชุมชนประมาณ ๘๐๐ แห่ง และ รพ.สต. ประมาณ ๑๐,๐๐๐ แห่ง คือทรัพยากรอันมีค่าที่สุดเพื่อพัฒนา บุคลากรสุขภาพ เป็นสถานบริการที่อยู่ที่ฐานความเป็นจริงของ ประเทศ ในข้อเสนอระดับโลกเรื่อง 21st Century Health Profes- sions Education ให้ปรับเปลี่ยนการศึกษาที่เอาวิชาเป็นตัวตั้งไป เป็นเอาระบบเป็นตัวตั้ง คือเรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในระบบ ระบบโรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ควรเป็นฐานการเรียน รู้แบบใหม่ของบุคลากรสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขอาจเรียนรู้การจัดการสถาบันปัญญา ภิวัฒน์ของบริษัท ซีพีออลล์ ที่จัดการร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ที่เอา ฐานของบริการเป็นที่ผลิตบุคลากร โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. รวมกันทั้งประเทศเป็น สถาบันปัญญาภิวัฒน์ระบบสุขภาพแห่งชาติ เป็นของกระทรวงสาธารณสุข แต่มีการบริหารที่คล่องตัวแบบ เอกชน
  • 27. 27ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ มีสภาสถาบันเป็นผู้ก�ากับ มีอธิการบดีรับผิดชอบในการ บริหารจัดการ ถ้ากระทรวงสาธารณสุขตีประเด็นนวัตกรรมการ จัดการได้ โรงพยาบาลชุมชน - รพ.สต. จะเป็นขุมทรัพย์ในการ พัฒนาที่ส�าคัญยิ่งของประเทศ อนึ่ง องค์กรวิชาชีพ เช่น แพทยสภา สภาการพยาบาล ฯลฯ ควรเข้ามาท�าความเข้าใจ 21st Century Health Professions Education ที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ สุขภาพให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมากที่สุด
  • 28. ประเวศ วะสี28 ๕. บทบาทของแพทย์ผู้ช�านาญ เฉพาะทาง (Specialists) ต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาล ทั่วไป และโรงพยาบาลเอกชน มีแพทย์ผู้ช�านาญเฉพาะทางสาขา ต่างๆ เป็นจ�านวนมาก ผู้ช�านาญเฉพาะทางเหล่านี้ นอกเหนือไป จากให้บริการประเภทเป็นรายๆ (one to one care) สามารถ เป็นประโยชน์อย่างมากต่อการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เรื่อย ลงไปถึงระบบสุขภาพชุมชน โดยตั้งค�าถามว่า “ทำาอย่างไร ความเชี่ยวชาญของเราจะเป็นประโยชน์ต่อคนทั้ง มวล” แล้วก็ถามต่อไปว่า คนทั้งมวลนั้นมีใครบ้าง ป่วยเป็นโรคใน ระบบที่เราเชี่ยวชาญมากน้อยเพียงใด ได้รับการดูแลที่ไหนโดยใคร เช่น รักษาตัวเองที่ รพ.สต. ที่โรงพยาบาลชุมชน ที่โรงพยาบาล จังหวัด บุคลากรที่ท�าการรักษาต้องมีความรู้และทักษะอย่างใด ใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมอย่างไร
  • 29. 29ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ การตอบค�าถามเหล่านี้จะท�าให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางต่างๆ เข้าใจเชิงระบบเกี่ยวกับโรคที่ตนช�านาญ สามารถให้การฝึกอบรม บุคลากรระดับต่างๆ เรื่อยลงไปถึงการดูแลรักษาตัวเองของ ประชาชน รวมทั้งวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมแต่ละ ระดับ ถ้าแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทุกสาขาสามารถคิดเชิง ระบบดังกล่าวข้างต้น ความเชี่ยวชาญก็จะไปเป็นประโยชน์ต่อคน ทั้งมวล แทนที่จะจ�ากัดอยู่กับการดูแลเป็นรายๆ (one to one care) เฉพาะคนไข้ไม่กี่รายที่เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง นอกจากนั้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจำานวนมากเหล่านี้ ล้วนมีสติปัญญาสูง และมีบารมีมาก เมื่อเข้าใจระบบสุขภาพ จะเป็น พลังมหาศาลในการพัฒนาระบบสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุขน่า จะถือเรื่องนี้เป็นนโยบายส�าคัญอีกเรื่องหนึ่ง
  • 30. ประเวศ วะสี30 ๖. ระบบการใช้เทคโนโลยี ที่ให้ผลคุ้มค่า ประมาณ ๑ ใน ๓ ของค่าใช้จ่ายในบริการสุขภาพใช้ไปใน การรักษาที่ไม่ได้ผล (ineffective treatment) เช่น ในสหรัฐอเมริกา เมื่อ ๓ ปีก่อนประเมินกันว่ามีค่าใช้จ่ายบริการสุขภาพประมาณ ๒.๕ ล้านล้านดอลลาร์ ในจ�านวนนี้อย่างน้อย ๘๐๐,๐๐๐ ล้าน ดอลลาร์ ใช้ไปในการรักษาที่ไม่ได้ผล ในทางการแพทย์ การใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ซึ่งรวมถึงยาที่ไม่ให้ผลคุ้มค่า (cost-effective) ท�าให้ค่าใช้จ่ายสูงจนถึงขั้นวิกฤตระบบบริการ บริษัทจะผลิตเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งรวมถึงยา ออกมาอยู่เรื่อยๆ และสามารถท�าการตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการยาก มากที่แพทย์และผู้ป่วยจะไม่อยากใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ มีข้อมูลชุดหนึ่งเก็บอยู่ที่ Technology Assessment Board ของวุฒิสภาอเมริกันที่บอกว่า การหายจากโรคโดยเฉลี่ยมีไม่ถึง ร้อยละ ๒๐ ที่หายเพราะการวินิจฉัยและรักษาด้วยเทคโนโลยี นอก นั้นหายเพราะเหตุอื่น
  • 31. 31ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ เราต้องมีการวิจัยว่า ในบริบทของเราโรคหายเพราะอะไร บ้าง และท�าการตรวจรักษาตามเหตุตามผลนั้น โรงเรียนแพทย์ ทั้งหมดซึ่งเป็นต้นทางการใช้เทคโนโลยีของแพทย์ ต้องท�าการวิจัย ความคุ้มค่าของเทคโนโลยีที่ใช้ทุกตัว ในกระทรวงสาธารณสุขมีแผนงานประเมินเทคโนโลยีทาง สุขภาพ (Health Intervention Technology Assessment Pro- gram = HITAP) ซึ่งมีผู้เชียวชาญที่มีคุณภาพสูง ที่สามารถร่วม มือกับโรงเรียนแพทย์ต่างๆ ในการพัฒนาความสามารถประเมิน เทคโนโลยีที่ใช้ แต่ทางโรงเรียนแพทย์ยังไม่กัมมันตะในเรื่องนี้ ระบบยา เป็นอนุระบบที่ใหญ่มากในระบบสุขภาพ เป็นระบบ ที่ซับซ้อนและเข้าใจยาก มหาวิทยาลัยมีคณะเภสัชศาสตร์ และนักเภสัชศาสตร์ที่ได้ รับปริญญาเอกจ�านวนมาก แต่ความเชี่ยวชาญทั้งหมดเป็นความ เชี่ยวชาญทางเทคนิค เกือบไม่มีใครเป็นผู้เชี่ยวชาญในระบบยา เลย เมื่อไม่เข้าใจความซับซ้อนของระบบยา ระบบก็เหมือนอยู่ ในที่มืด อะไรที่อยู่ในที่มืดก็เกิดความไม่ถูกต้องได้ง่าย ในเมื่อยามี มูลค่ามหาศาล บริษัทยาข้ามชาติย่อมมีพลังอ�านาจมหาศาลที่จะ รักษาและเพิ่มประโยชน์ของตน และท�าร้ายผู้ที่รักษาผลประโยชน์ ของประชาชนและประเทศชาติ แต่กระทบต่อผลประโยชน์ของ บริษัทยาข้ามชาติ
  • 32. ประเวศ วะสี32 สงครามฝิ่น - สงครามบุหรี่ - สงครามยารักษาโรค เป็นเรื่อง ท�านองเดียวกัน มหาวิทยาลัย ซึ่งมีความเป็นอิสระและความเป็นวิชาการ ควรจะวิจัย คลี่ความซับซ้อนของระบบยาออกมาให้สาธารณะ เข้าใจได้ง่าย จะได้เป็นพลังผลักดันนโยบาย และพลังปกป้อง บุคคลและองค์กรที่รักษาผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศ ชาติ เรื่องเทคโนโลยีที่ให้ผลคุ้มค่า รวมถึงความรู้เท่าทันระบบยา เป็นนโยบายอีกเรื่องหนึ่งส�าหรับกระทรวงสาธารณสุข
  • 33. 33ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๗. ข้อมูลข่าวสารและการ สื่อสารกับระบบสุขภาพ ระบบข้อมูลข่าวสารกับการสื่อสารเพื่อสุขภาพ เป็นองค์กร ประกอบที่ส�าคัญอีกอย่างหนึ่งของระบบสุขภาพ ด้วยเทคโนโลยี การสื่อสารสมัยใหม่สามารถสร้างระบบข้อมูลข่าวสารและการ สื่อสารเพื่อสุขภาพได้อย่างค่อนข้างสมบูรณ์ เช่น • มีข้อมูลสุขภาพของประชาชนทุกคนในเฟซบุ๊กของหมอ ครอบครัวตามที่กล่าวถึงในตอน ๓ ข้างต้น • บริการระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมถึงกันทั้งประเทศ ไม่ ว่าผู้ป่วยคนหนึ่งคนใดไปตรวจที่โรงพยาบาลใด หรือ คลินิกเอกชน ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจรักษาของผู้ป่วย คนนั้นทั้งหมด เรียกดูได้บนจอคอมพิวเตอร์ • ใช้ในการตรวจรักษาทางไกล และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ท�าให้ลดการเดินทาง และความแออัดยัดเยียดที่โรง พยาบาล เพิ่มคุณภาพ และลดค่าใช้จ่าย
  • 34. ประเวศ วะสี34 • เป็นประโยชน์ในการรักษาตนเองด้วย interactive com- puter system ท�าให้เสมือนประชาชนทุกคนสามารถเข้า ถึงผู้เชี่ยวชาญ • ใช้ในการป้องกันโรคและส่งเสริมสุขภาพอย่างเต็มที่ • ใช้ในการสร้างความเข้าใจมิติต่างๆ ของระบบสุขภาพต่อ สาธารณะ เพื่อเป็นพลังทางนโยบาย ที่แล้วมาสาธารณะ และผู้ก�าหนดนโยบายยังไม่เป็นพลังรักษาความถูกต้อง และปกป้องบุคคลและองค์กรที่ถูกท�าร้ายจากกลุ่มผล ประโยชน์ • การที่จะท�าดังกล่าวได้ต้องสร้างนักสื่อสาร (rewriter) ที่ เก่งๆ ที่เข้าใจประเด็นสุขภาพอย่างทะลุปุโปร่ง ฯลฯ ระบบข้อมูลข่าวสารและการสื่อสารเพื่อสุขภาพที่ดีจะเป็น พลังมหาศาลของการพัฒนาระบบสุขภาพ ในการนี้ควรมีการรวม กลุ่มของผู้ที่เหมาะสมเป็นกลุ่มพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารและการ สื่อสารเพื่อสุขภาพที่ท�างานอย่างเข้มแข็ง
  • 35. 35ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๘. นโยบายเกี่ยวกับโรง พยาบาลเอกชน เรื่องโรงพยาบาลเอกชนกับคนต่างชาติที่นิยมเข้ามารับ บริการ เป็นประเด็นที่มีความซับซ้อนและยากอย่างหนึ่งของระบบ สุขภาพ ด้านหนึ่งมีคนส่วนหนึ่งที่พอใจเพราะเป็นชื่อเสียงและดึงราย ได้เข้าประเทศ แต่อีกด้านหนึ่งก่อให้เกิดความเหลื่อมล�้าในประเทศ โดยดึงแพทย์และพยาบาลจากโรงพยาบาลของรัฐที่ให้บริการ คนจน เพราะให้ค่าตอบแทนสูงกว่ามากและมีความสะดวกสบาย มากกว่า ขณะเดียวกันจากการที่ชาวต่างชาติ ซึ่งมีฐานะดี เข้ามารับ บริการที่โรงพยาบาลเอกชนจ�านวนมาก ท�าให้ค่าบริการในโรง พยาบาลเอกชนราคาสูงลิบ ผลักให้คนไทยชั้นกลางที่เคยไปรับ บริการที่โรงพยาบาลเอกชนย้ายไปใช้บริการบัตรทองที่โรง พยาบาลของรัฐ ไปเบียดกับคนจน ซึ่งก็แน่นโรงพยาบาลอยู่แล้ว ทำาให้โรงพยาบาลของรัฐทั้งถูกแย่งบุคลากรไปพร้อมๆ กับถูกผลักให้ รับภาระเพิ่มขึ้น
  • 36. ประเวศ วะสี36 นี่คือสภาพความเหลื่อมล�้าที่เกิดขึ้น และจะเพิ่มขึ้นอีก หาก จ�านวนชาวต่างชาติเข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้น รัฐบาลยังไม่เคยมีนโยบายอย่างจริงจัง ว่าจะลดความ เหลื่อมล�้าที่เกิดจากชาวต่างชาตินิยมมารับบริการที่โรงพยาบาล เอกชน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ยากและสลับซับซ้อน มาตรการต่างๆ ต้องได้รับการวิเคราะห์ถึงผลดีผลเสียอย่างรอบคอบ เช่น • ให้โรงพยาบาลเอกชนผลิตแพทย์ให้พอใช้ • ให้โรงพยาบาลของรัฐมีการบริหารจัดการแบบเอกชน • เพิ่มการผลิตแพทย์และพยาบาลให้มากจนไม่มีปัญหา การขาดแคลนแบบมาเลเซีย • ให้โรงพยาบาลเอกชนร่วมรับผิดชอบว่า จะลดความ เหลื่อมล�้าได้อย่างไร เริ่มต้น กระทรวงสาธารณสุขควรเผยแพร่ข้อมูลผลกระทบ จากชาวต่างชาติเข้ามารับบริการจากโรงพยาบาลเอกชนใน ประเทศไทย ให้เป็นที่ทราบทั่วกัน ให้หลายฝ่ายช่วยคิดว่า นโยบาย ลดความเหลื่อมล�้าในเรื่องนี้ควรเป็นอย่างไร
  • 37. 37ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๙. นโยบายเกี่ยวกับบริการ ผู้อพยพและการช่วย ประเทศเพื่อนบ้าน การที่มีแรงงานอพยพจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาท�างาน ในประเทศไทยด้วยจ�านวนมาก เป็นล้านๆ คน เพราะปัญหาทาง เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน และความต้องการแรงงานราคา ถูกในประเทศไทย แรงงานต่างชาติเป็นล้านๆ คน ย่อมเพิ่มภาระให้ระบบ บริการสุขภาพไทย ซึ่งรับภาระหนักไม่พอเพียงอยู่แล้ว และมี ปัญหาด้านขาดแคลนงบประมาณ ควรมีการคิดถึงระบบหลัก ประกันสุขภาพของแรงงานอพยพ แม้ในที่สุดจะคิดออกว่า ใครจะ จ่ายเท่าใดระหว่างนายจ้างกับผู้ใช้แรงงาน แต่ปัญหาเพิ่มภาระ หนักต่อระบบบริการสุขภาพไทยจะยังไม่หมดไป
  • 38. ประเวศ วะสี38 ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งจะพัฒนาไปท่ามกลางความ ยากจนของประเทศเพื่อนบ้าน จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า match in คือ คนจากประเทศเพื่อนบ้านจะเดินเข้ามา ก่อให้เกิด ปัญหาสังคม เศรษฐกิจ สุขภาพ และบางครั้งรวมทั้งปัญหาทางการ เมือง นอกจากนั้น เวลาเกิดโรคระบาด ประเทศที่ยากจนมี สมรรถนะในการควบคุมโรคต�่า จะท�าให้โรคระบาดอย่างไร้ พรมแดน ความเหลื่อมล�้าในประเทศก่อให้เกิดปัญหาฉันใด ความ เหลื่อมล�้าระหว่างประเทศก็เช่นเดียวกัน ประเทศไทยควรช่วยประเทศเพื่อนบ้านพัฒนาระบบสุขภาพ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ต้องการนโยบายจากรัฐบาล วิธีการจัดการ ซึ่งรวมถึงแหล่งงบประมาณจ�านวนมาก แต่ก็มีองค์กรระหว่าง ประเทศที่อยู่ในฐานะจะสนับสนุน
  • 39. 39ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๑๐. ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ เกี่ยวกับเงินมักจะคิดกันเชิงอ�านาจ ว่าใครจะเป็นเจ้าของเงิน หรือมีอ�านาจสั่งจ่ายเงิน แล้วก็ทะเลาะกันเรื่องนี้เป็นอันมาก ในสังคมที่สลับซับซ้อนแคะยาก อ�านาจได้ผลน้อยลงๆ แต่ เราจะต้องไปถึงจิตส�านึกใหม่ อันเป็นจิตส�านึกใหญ่ ที่คิดถึง ทั้งหมด หรือคิดถึงองค์รวมและใช้ปัญญาอย่างสูง ชีวิตคนประดุจฟ้า คือมีเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์ ในสมัยที่ความเหลื่อมล�้าเป็นปัญหาใหญ่และเป็นอุปสรรค ต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ คนในระบบสุขภาพควรถือเป็นภารกิจ อันยิ่งใหญ่ ที่จะใช้ระบบสุขภาพเชิดชูศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การจ่ายเงินเป็นเครื่องมือสำาคัญในการพัฒนาพฤติกรรม ทั้งของ ผู้ให้บริการและผู้รับบริการ Dr. John Evans อดีตอธิการบดีของมหาวิทยาลัยโทรอนโต และอดีตประธานคณะกรรมการมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ เคยกล่าว ว่า การสั่งสอน (ให้แพทย์ไปเป็นแพทย์ชนิดใด) ไม่ได้ผล ต้องใช้ ระบบการจ่ายเงิน ที่เป็นรูปธรรม ก็คือ ในสหรัฐอเมริกาเลยมีอัตรา แพทย์เฉพาะทาง : แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป = ๘๐ : ๒๐ โดยหลัก การนั้นควรกลับกัน คือ ๒๐ : ๘๐
  • 40. ประเวศ วะสี40 ถึงโรงเรียนแพทย์จะสอนอย่างไรก็ไม่ได้ผล แต่มีอาจารย์ที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดท่านหนึ่งชื่อ William Hsiao ที่คิดระบบการ จ่ายเงินที่ท�าให้แพทย์หันไปเป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปมากขึ้น ระบบการจ่ายเงินสามารถท�าให้แพทย์ปฏิบัติงานที่ห้อง ฉุกเฉินมากขึ้น มีการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบทมากขึ้น แพทย์คนเดียวกันที่คลินิกส่วนตัวกับที่โรงพยาบาลของรัฐ โอภาปราศรัยกับคนไข้ต่างกัน ก็เพราะระบบการจ่ายเงินต่างกัน นั่นเอง ระบบการจ่ายเงินที่ดีท�าให้ประชาชนมีแรงจูงใจที่จะดูแล รักษาสุขภาพตนเองอย่างสูงสุดก็ได้ จึงควรร่วมกันคิดอย่างละเอียดรอบคอบว่า จะใช้ระบบการ เงินเพื่อสุขภาพพัฒนาระบบและพฤติกรรมของบุคคลและองค์กร ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นระบบสุขภาพที่ดีที่สุดได้อย่างไร โดย เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน โดยเข้าใจว่าคนจนเขาถูกท�าให้จนเพราะระบบที่สร้างความเหลื่อม ล�้า และที่จริงเขาเป็นเจ้าของงบประมาณของประเทศ เพราะภาษี ส่วนใหญ่ได้มาจากภาษีทางอ้อมที่ประชาชนทุกคนเป็นผู้จ่าย เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องของชีวิตของทุกคน ตั้งแต่ครรภ์มารดา จนถึงเชิงตะกอน เราต้องสร้างระบบสุขภาพที่ดีที่สุดส�าหรับทุกคน ในการนี้ต้องใช้สิ่งสูงสุดของความเป็นมนุษย์ โดยไปพ้นโลภะ โทสะ โมหะ
  • 41. 41ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๑๑. บทบาทของมหาวิทยาลัยเชิง ระบบ มหาวิทยาลัยมีอิสระและเป็นขุมก�าลังทางปัญญาอัน มหาศาล ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยจ�ากัดขอบเขตการศึกษาวิจัยอยู่ที่ ความรู้เชิงเทคนิค ขาดบทบาทความรู้เชิงระบบ ที่กล่าวเรื่องระบบสุขภาพมาตั้งแต่ต้น จะเห็นได้ว่าเรื่อง สุขภาพไม่ได้มีแต่มิติทางเทคนิคเท่านั้น แต่มีมิติเชิงระบบอีกด้วย ซึ่งถ้าปราศจากความเข้าใจและการพัฒนาเชิงระบบ เราจะไม่ สามารถสร้างสุขภาพส�าหรับคนทั้งมวลได้ ที่เราพูดมาตั้งแต่ต้น ก็เช่น ระบบการสร้างสุขภาพดี ระบบ สุขภาพชุมชน ระบบการผลิตบุคคลากรที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง ระบบประเมินเทคโนโลยี ระบบการเงินสุขภาพ เป็นต้น
  • 42. ประเวศ วะสี42 ในทศวรรษนี้ มหาวิทยาลัยควรจะเข้ามาศึกษาวิจัยให้เกิด ปัญญาเชิงระบบ ให้ข้อมูลเชิงระบบต่อสาธารณะ ต่อผู้ปฏิบัติ ต่อ การพัฒนานโยบาย และตรวจสอบนโยบายว่ามีความถูกต้องหรือ ไม่ รัฐบาลต้องท�านโยบายให้มหาวิทยาลัยสร้างปัญญาเชิง ระบบ หากมหาวิทยาลัยเป็นพลังปัญญาเชิงระบบจะช่วยให้ระบบ สุขภาพพัฒนาไปสู่ความถูกต้องสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นและเร็วขึ้น
  • 43. 43ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๑๒. กระทรวงสาธารณสุขต้อง เป็นองค์กรนโยบาย การที่จะมีระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ตามที่กล่าวมา ๑๑ ข้อข้าง ต้น ล้วนต้องการการท�างานเชิงนโยบายของรัฐบาล รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุขต้องเป็นผู้น�าเชิงนโยบาย ที่ผ่านมา ระบบราชการรวมศูนย์อ�านาจเข้าสู่ส่วนกลาง ท�าให้กระทรวงต่างๆ ไปท�าหน้าที่บริหารองค์กรในสังกัดจนหมด ก�าลัง ไม่มีเวลาใช้ความคิดเพื่องานเชิงนโยบาย บัดนี้บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ควรมีการกระจา ยอ�านาจไปสู่องค์กรปฏิบัติ ส่วนกระทรวงต่างๆ ปรับตัวไปท�างาน เชิงนโยบายและวิชาการ กระทรวงแทนที่จะควบคุมผู้ปฏิบัติ แต่ท�าหน้าที่สนับสนุน เชิงนโยบายและวิชาการ จะเกิดประโยชน์มากกว่าเดิมหลายเท่า ตัว ที่ประชุมผู้บริหารไม่ใช่งานเชิงนโยบาย แต่เป็นการประสาน การปฏิบัติ
  • 44. ประเวศ วะสี44 ผู้บริหาร คือ ผู้มีอ�านาจ แต่ไม่มีเวลาคิด ผู้คิดนโยบายไม่ใช้ ผู้มีอ�านาจ รัฐมนตรีอยู่ในฐานะจะมีนักคิดเชิงนโยบายที่เก่งที่สุดกลุ่ม หนึ่งเป็นที่ปรึกษา คณะที่ปรึกษาเชิงนโยบายไม่มีอ�านาจสั่งการ ไม่มีอะไรจะขัดแย้งกับผู้บริหาร อย่างไรก็ดี งานนโยบายมีหลายระดับ ผู้บริหารกระทรวงทุก ระดับ ควรมีความสามารถเชิงนโยบาย การที่กระทรวงสาธารณสุข จะเป็นองค์กรนโยบายได้มีความส�าคัญเป็นอย่างยิ่ง ฉะนั้นบุคคล ก็ดี องค์กรต่างๆ ก็ดี ควรสนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุขมี สมรรถนะทางนโยบาย
  • 45. 45ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๑๓. สถาบันนโยบายสุขภาพ แห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล นโยบายเป็นส่วนหนึ่งของระบบ เรื่องนโยบายและระบบ สุขภาพจึงเชื่อมโยงกันใกล้ชิด จะพัฒนานโยบายได้ก็ต้องเข้าใจ ระบบ ที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นว่าความสามารถเชิงระบบและ นโยบายเป็นเรื่องส�าคัญยิ่ง แต่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเกือบทั้งหมดคุ้น เคยกับการคิดเชิงเทคนิค ขาดความช�านาญในมิติระบบและ นโยบาย หากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ในมหาวิทยาลัย มี การคิดเชิงนโยบายได้ด้วย ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้จะท�าประโยชน์ให้ ระบบสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ท�านองเดียวกันถ้าผู้บริหารระดับต่างๆ ในกระทรวง สาธารณสุขมีสมรรถนะเชิงนโยบาย ก็จะสามารถพัฒนานโยบาย ให้ระบบสุขภาพมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
  • 46. ประเวศ วะสี46 กระทรวงสาธารณสุขควรจะร่วมกับมหาวิทยาลัยตั้งสถาบัน นโยบายสุขภาพแห่งชาติ ที่มีการบริหารจัดการได้คล่องตัวและมี คุณภาพสูง กระทรวงสาธารณสุขก็เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณรายใหญ่ ที่สุดในการจัดประชุม Prince Mahidol Award Conference PMAC ประจ�าปี ซึ่งบัดนี้เป็นการประชุมที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกว่า เป็นการประชุมผู้น�าทางนโยบายสุขภาพระดับโลกที่มีคุณภาพสูง ยิ่ง PMAC ได้ท�าให้ผู้น�าทางนโยบายสุขภาพระดับโลกมี ความสัมพันธ์กับประเทศไทย สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติ ควรใช้ประโยชน์จากสัมพันธภาพนี้ กระทรวงสาธารณสุขอาจขอพระราชทานนามสถาบันนี้ว่า “สถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล” ควรเป็นนโยบายของรัฐบาลที่จะส่งเสริม ให้ข้าราชการ กระทรวงสาธารณสุขและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในมหาวิทยาลัย นิยมเข้าเรียนในสถาบันนโยบายสุขภาพแห่งชาติสมเด็จเจ้าฟ้า มหิดล เพื่อสร้างสมรรถนะเชิงนโยบาย ท�านองเดียวกัน การเข้า เรียน วปอ. ถ้าพูดไปสถาบันแห่งนี้ก็เป็นเสมือน วปอ. ทางสุขภาพ สถาบันแห่งนี้ควรพัฒนานักเขียนระบบสุขภาพที่เก่งๆ ด้วย เพื่อการสื่อสารเรื่องระบบสุขภาพให้เป็นที่เข้าใจในวงกว้าง ความ เข้าใจเรื่องระบบสุขภาพโดยสาธารณะอย่างกว้างขวาง จะเป็นพลัง พัฒนานโยบายและเป็นภูมิคุ้มกันให้ระบบสุขภาพ
  • 47. 47ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ๑๔. กลไกทางสมอง เพื่อระบบสุขภาพ ที่กล่าวมาทั้ง ๑๓ ตอนข้างต้นจะเห็นว่า ระบบสุขภาพมีองค์ ประกอบที่หลากหลายซับซ้อน และหลายเรื่องที่ผลกระทบต่อ สุขภาพมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น เรื่องแรงงานต่างชาติ เรื่องชาวต่างชาติเข้ามารับบริการในประเทศ เรื่องเทคโนโลยีและ ยาที่เกิดใหม่อย่างรวดเร็ว ระบบที่ซับซ้อนอย่างนี้ต้องการกลไกทางสมอง ที่เข้าใจ ความซับซ้อน คลี่ความซับซ้อนออกมาให้สาธารณะเข้าใจง่ายเพื่อ เป็นพลังทางนโยบาย ถ้ามีแต่องค์กรปฏิบัติแต่ไม่มีกลไกทางสมอง จะมองไม่เห็น ภาพทั้งหมดของระบบว่า ขาดตกบกพร่องอะไร มีภัยคุกคามหรือ ปัจจัยอะไรที่เข้ามามีผลกระทบต่อระบบ เพราะผู้ท�างานในองค์กร ปฏิบัติจะมีภาระท่วมท้นมากในองค์กรของตน ไม่มีเวลาจะมามอง หรือคิดว่าระบบก�าลังเป็นอย่างไร และมีอะไรก�าลังจะเกิดขึ้น กลไกทางสมองไม่มีอ�านาจ และไม่ควรท�างานเชิงอ�านาจ และไม่ใช่องค์กรปฏิบัติ จะได้ไม่เสียศูนย์ มีอิสระที่จะมองเห็นตาม ความเป็นจริง
  • 48. ประเวศ วะสี48 สช. ไม่ใช่องค์กรปฏิบัติ ไม่มีอ�านาจจะไปสั่งการใคร แต่เป็น องค์กรพัฒนานโยบาย การพัฒนานโยบายต้องใช้กลไกทางสมอง เนื่องจากประเทศไทยขาดแคลนกลไกทางสมองในเรื่องต่างๆ สช. น่าจะมีพันธกิจที่สำาคัญในการส่งเสริมสนับสนุนกลุ่มความ คิด (Think Tank) ในเรื่องระบบสุขภาพและนโยบายสาธารณะ ต่างๆ มหาวิทยาลัยจ�าเป็นต้องมีกลุ่มความคิดเรื่องระบบสุขภาพ เพื่อเป็นพลังพัฒนานโยบาย และตรวจสอบนโยบายที่อาจมีปัญหา สมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ด�าเนินมาหลายปี ได้มีมตินโยบาย สาธารณะเรื่องต่างๆ ไว้จ�านวนมาก ส่วนใหญ่ไม่ได้น�าไปสู่การ ปฏิบัติ สช. ควรสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิดตามกลุ่มนโยบาย สาธารณะ ให้คิดโดยละเอียดว่า นโยบายสาธารณะเหล่านี้จะน�า ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับบุคคลหรือองค์กรอะไรบ้าง ท�าอย่างไรสาธารณะจะเข้ามาเป็นพลังขับเคลื่อนให้ฝ่ายนโยบาย สนใจและเห็นคุณค่าในนโยบายสาธารณะนั้นๆ ที่ส�าคัญ สช. ควรจะหาทางให้นายกรัฐมนตรีเข้าใจว่า กระบวนการสร้างนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม (Participa- tory Public Process) ที่กระบวนการสมัชชาสุขภาพสร้างขึ้น มี ประโยชน์ต่อประเทศเป็นอันมาก และเป็นเครื่องมืออันหาค่ามิได้ ในการสนับสนุนนายกรัฐมนตรีในการเป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะ
  • 52. ประเวศ วะสี52 สช. ควรสนับสนุนให้มีกลุ่มความคิด (Think tank) ระบบ สุขภาพที่เข้มแข็ง หลายกลุ่ม ซึ่งรวมทั้งกลุ่มในมหาวิทยาลัย เพื่อเป็นพลังพัฒนาระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ และตรวจสอบ นโยบายที่อาจมีปัญหา สร้างนักสื่อสารระบบสุขภาพ และการสื่อสารสาธารณะเรื่อง ระบบสุขภาพให้สาธารณะเข้าใจอย่างกว้างขวาง พลัง สาธารณะที่เข้าใจระบบสุขภาพจะเข้าไปก�ากับบทบาทของฝ่าย ต่างๆ ในการพัฒนาระบบสุขภาพ ทั้งฝ่ายการเมือง ฝ่าย วิชาการ และฝ่ายปฏิบัติ โดยที่ระบบสุขภาพชุมชน และบริการใกล้บ้านใกล้ใจ คนไทย ทุกคนมีหมอประจ�าครอบครัว เป็นหัวใจของการแก้ปัญหา วิกฤตระบบบริการสุขภาพ สช. ควรหาเครื่องมือทาง ยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้ อาจจ�าเป็นต้องมีพระราช บัญญัติเป็นเครื่องมือ โดยมีการพัฒนาระบบสุขภาพที่สมบูรณ์ การท�าหน้าที่เชิง นโยบายของกระทรวงสาธารณสุขเป็นเรื่องส�าคัญ สช. ควรส่ง เสริมความเข้าใจให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาสนับสนุนกระ ทรวงในหน้าที่ที่ส�าคัญนี้ มหาวิทยาลัยต้องมีบทบาทใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพ โดยมีกลุ่มความคิด (Think tank) เรื่องระบบสุขภาพ ปฏิรูป การพัฒนาบุคลากรสุขภาพตามข้อเสนอของ 21st Century Health Professions Education ที่เอาระบบเป็นตัวตั้ง และ ๑. ๒. ๓. ๔. ๕.
  • 53. 53ระบบสุขภาพไทยในทศวรรษ ท�าการประเมินเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบบริการสุขภาพให้ได้ผล คุ้มค่า ยังเป็นการยากที่มหาวิทยาลัยจะมีบทบาทเหล่านี้ นอกจากนายกรัฐมนตรีจะเข้ามาผลักดันนโยบาย โรงพยาบาลชุมชน และ รพ.สต. ทั่วประเทศเป็นขุมทรัพย์เพื่อ พัฒนาบุคลากรสุขภาพที่ส�าคัญ กระทรวงสาธารณสุขควรมีน วัตกรรมในการบริหารจัดการขุมทรัพย์ทางปัญญาอันโพศาลนี้ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ องค์กรวิชาชีพต่างๆ ต้องเข้ามา ท�าความเข้าใจและสนับสนุนการผลิตบุคลากรสุขภาพแบบ ใหม่ที่ใช้ระบบบริการสุขภาพชุมชนเป็นฐาน สช. ควรรีบสร้างความเข้าใจกับนายกรัฐมนตรีและกับ พรรคการเมืองต่างๆ ว่า กระบวนการนโยบายสาธารณะอย่าง มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เป็นทรัพยากรทางสังคม ปัญญาที่มีค่ายิ่งที่นายกรัฐมนตรี ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จะใช้ในการแสดงความเป็นผู้น�าขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ เมื่อนายกรัฐมนตรีเข้ามาเป็นผู้น�าในการขับเคลื่อนนโยบาย สาธารณะ ก็เป็นโอกาสที่จะสร้างเครื่องมือทางนโยบาย เพื่อ พัฒนาระบบสุขภาพให้มีความสมบูรณ์ยิ่งๆ ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในการนี้อาจจ�าเป็นต้องออก พรบ.ส่งเสริมระบบสุขภาพ หรือ ระเบียบส�านักนายกรัฐมนตรีเป็นเครื่องมือ ๖. ๗. ๘.