SlideShare a Scribd company logo
1 of 9
Download to read offline
1
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6
ปีการศึกษา 2560
ชื่อโครงงาน หยุดไข้เลือดออก หยุดภัยใกล้ตัว
ชื่อผู้ทาโครงงาน
นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี ชั้น ม.6/7 เลขที่ 16
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560
โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
2
ใบงาน
การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์
สมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี ชั้น ม.6/7 เลขที่ 16
คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้
ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย)
หยุดไข้เลือดออก หยุดภัยใกล้ตัว
ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ)
Prevent dengue fever
ประเภทโครงงาน เพื่อการศึกษา
ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี
ชื่อที่ปรึกษา ครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์
ชื่อที่ปรึกษาร่วม -
ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560
ที่มาและความสาคัญของโครงงาน (อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน)
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้าง
ความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุ
หนึ่งที่ทาให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก
ทาให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากอาการของโรคมีความ
คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทาให้ไม่ได้รับ
การรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการ
เล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ดังนั้น ผู้จัดทาจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรค
ไข้เลือดออก เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่ศึกษาและสนใจในโรคไข้เลือดออก โดยเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนได้
ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะช่วยทาให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ)
1. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากยิ่งขึ้น
2. เพื่อสามารถนาความรู้มาใช้ป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้
3. เพื่อสามารถนาความรู้ที่ศึกษาไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
4. เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3
ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน)
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและบุคคลที่มีความสนใจจะศึกษาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก
หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน)
ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของ
ประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อ
ผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ากว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า
ผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย
โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน
ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของ โรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกัน
ตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากาจัดลูกน้ายุงลายบริเวณรอบๆ บ้านได้จะยิ่งดี
ยุงลายชอบกัดตอนไหน
ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทาให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการ
โปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็น
ช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหนๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะ
ปลอดภัยกว่า
1. ออกกาลังกายจนเหงื่อโทรม
สิ่งที่ดึงดูดให้ยุงมาตอมเรามากกว่าปกติ ไม่ใช่เม็ดเหงื่อที่ร่างกายขับออกมา แต่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผ่าน
ออกมาทางลมหายใจของเราต่างหาก เพราะเวลาที่ร่างกายได้ออกกาลัง มากๆ จนมีเหงื่อไหลโทรมกาย เราก็จะหายใจ
แรงขึ้นโดยอัตโนมัติ ทาให้คาร์บอนไดออกไซด์มีโอกาสได้ออกมาจากร่างกายของเรามากขึ้น ซึ่งเป็นอะไรที่ยุงโปรด
ปรานมากๆ
2. ดื่มแอลกอฮอล์
เวลาที่ร่างกายเราได้รับแอลกอฮอล์ เคมีที่อยู่ใต้ผิวหนังเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทาง
เคมีของผิวหนังนี่ล่ะ ที่ช่างยั่วยวนน้าลายยุงสุดๆ จนต้องพุ่งตรงมาหาเราโดยทันที และไม่รอช้าที่จะจัดการดูดเลือด
ผสมแอลกอฮอล์ของเราอย่างรวดเร็ว ไม่เชื่อลองสังเกตดูตอนที่คุณกาลังนั่งดื่มดู อยากจะแอบบอกว่ายุงกินเลือดผสม
แอลกอฮอล์แล้วไม่เมาเหมือนคนด้วย
3. กลิ่นเท้า
นักวิทยาศาสตร์ได้เผยว่า ยุงชอบกลิ่นเท้าของมนุษย์มากกว่าการที่มนุษย์ชอบดมกลิ่นอาหารหอมๆ เป็นสิบ
เท่า ดังนั้นเมื่อเท้าเรามีกลิ่นอับ ก็จะสังเกตเห็นได้ว่ายุงมาตอมวนเวียนอยู่ที่เรามากกว่าปกติ และมีโอกาสที่เราจะโดน
ยุงกัดมากขึ้นด้วย รู้อย่างนี้แล้วก็หมั่นดูแลเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ต้องทนมีกลิ่นเท้าเหม็นๆ และเพื่อเลี่ยงไม่ให้ยุงมา
กัดด้วย
4. กลุ่มคนเยอะๆ
เมื่อเกิดการรวมตัวของคนมากหน้าหลายตา ก็เท่ากับว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจลอยฟุ้งอยู่ใน
อากาศมากขึ้นเท่านั้น เป็นเหตุให้ฝูงยุงบินตรงมาหาเราเหมือนผีเสื้อเจอมวลดอกไม้ และเป็นเสมือนโอกาสทองที่จะ
เลือกกินเลือดจากคนไหนก็ได้ ดังนั้นหากไม่อยากต้องโดนยุงกัด พยายามอย่ายืนรวมกลุ่มกันเยอะๆ
4
5. สวนรกร้าง
หากที่บ้านมีสวนหรือแอ่งน้า แต่ไม่เคยได้ดูแลจัดการ ปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นจนรก มีน้าสกปรกขังและอับชื้นอยู่
ตลอดละก็ เตรียมตัวรับมือกับฝูงยุงได้เลย เพราะสภาพแวดล้อมอย่างที่บอกไป เปรียบเสมือนคอนโดหรูของยุงเลยก็ว่า
ได้ ดังนั้นหากไม่อยากให้สวนหลังบ้านกลายเป็นฐานทัพของฝูงยุง ก็จัดการตัดแต่งกิ่ง ถอนหญ้า กาจัดแอ่งน้า และทา
สวนให้สวยงามกันดีกว่า
6. ตั้งครรภ์
ยุงจะสนใจคนท้องมากกว่าคนปกติ แต่ก็ต้องยอมรับเพราะคนท้องจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาใน
ปริมาณมาก และท้องป่องๆ ที่มีทารกน้อยอาศัยอยู่ก็จะมีอุณหภูมิสูง พอเหมาะพอดีกับอุณหภูมิที่ยุงต้องการ จึงดึงดูด
ให้ยุงมาวนเวียนและกัดคนท้องมากกว่านั่นเอง
วิธีป้องกันยุงกัด
1. ทายากันยุง
ไม่ว่าจะเป็นยาทากันยุงชนิด DEET, Picaridin, น้ามันยูคาลิปตัส หรือตะไคร้หอม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นยากันยุงที่
สามารถป้องกันยุงได้ชะงัด เพราะสารที่มีอยู่ในยากันยุงแต่ละชนิด เป็นสารที่ยุงแสนจะเกลียด ทาให้ยุงไม่มาวอแวกับ
เรา
2. เครื่องดักยุง
เครื่องดักยุงได้ถูกออกแบบมาให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโปรดของยุง ทาให้สามารถล่อยุงให้เข้าไป
ติดกับดักโดยง่าย และภายในก็จะมีหลอดไฟสลัวๆ และกลไกทางไฟฟ้าที่จะกาจัดยุงด้วย เหมาะจะนาไปใช้ในพื้นที่ที่มี
ยุงชุม
ชนิดของยุงที่มาพร้อมกับโรคต่างๆ
- ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะของโรคมาลาเรียและโรคเท้าช้าง
- ยุงราคาญ เป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง
- ยุงลาย เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา และโรคเท้าช้าง
- ยุงเสือ เป็นพาหะของโรคเท้าช้าง
นอกจากนี้ หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ยุงชอบกัดคนบางคนมากกว่าผู้ที่นั่งอยู่ใกล้ๆ และจากผลการวิจัยพบข้อมูล
ที่น่าสนใจ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยุงชอบกัดคนบางประเภทเป็นพิเศษ ดังนี้
- ยุงชอบกัดคนที่มีเหงื่อออกมาก
- ยุงชอบกัดคนที่ตัวร้อน (อุณหภูมิบริเวณผิวหนังสูง)
- ยุงชอบกัดคนที่หายใจแรง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมากับลมหายใจเป็นตัวดึงดูดยุง
- ยุงชอบกัดเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะกลิ่นและลักษณะผิวหนัง
- ยุงชอบกัดผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะฮอร์โมนแตกต่างกัน
- ยุงชอบกัดคนที่ใส่เสื้อผ้าสีเข้ม เช่น สีดา กรมท่า แดง เขียว มากกว่าสีขาว
อาการหลังจากถูกยุงกัด
สาหรับสาเหตุของอาการคัน ดร.อุษาวดี เผยข้อมูลว่า เกิดจากการที่ยุงฉีดน้าลายลงไปในบริเวณที่เจาะดูด
เลือด เพื่อทาให้เลือดเจือจางลง จะได้ดูดเลือดได้ง่าย ซึ่งน้าลายของยุงส่งผลให้มนุษย์เกิดอาการแพ้ที่แตกต่างกัน
ออกไป บางรายแค่มีอาการคัน ขณะที่บางรายอาจมีอาการแพ้รุนแรง จนเป็นแผลลุกลาม และติดเชื้อได้ง่าย
5
นอกจากนี้ในน้าลายของยุงก็มีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ปะปนอยู่ เช่น เชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสเจ
อี หรือแม้กระทั่งหนอนพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคมาลาเรีย โรค
เท้าช้าง ฯลฯ
การป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด
วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้ยุงกัด คือการดูแลสภาพแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้ปราศจากยุง หรือให้มี
ปริมาณยุงน้อยที่สุด โดยเบื้องต้นสามารถทาได้ ดังนี้
- จัดสภาพบ้านให้เรียบร้อย ไม่เป็นแหล่งอาศัยของยุง และป้องกันไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบริเวณบ้าน
- เปลี่ยนน้าในภาชนะที่ไม่มีฝาปิด เช่น แจกัน ทุก 7 วัน
- นอนในมุ้ง หรือติดมุ้งลวด หรือใช้พัดลมเป่าไม่ให้ยุงเข้าใกล้
- ใช้สารไล่แมลงหรือสารป้องกันแมลง ซึ่งผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้นชัน
มะกรูด ยูคาลิปตัส ฯลฯ
- ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงซึ่งผสมสารเคมีสังเคราะห์ที่ไม่เป็นอันตราย โดยนามาทาบริเวณแขน ขา ซึ่งจะช่วย
ป้องกันยุงได้ประมาณ 2-8 ชั่วโมง
- ใช้ยาจุดกันยุง เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า
- ใช้ไม้ตียุงไฟฟ้า หรือใช้น้ายาล้างจาน 1 ส่วนผสมน้า 4 ส่วน ใส่กระบอกเพื่อฉีดพ่นบริเวณที่มียุงเยอะ
- ใช้ผลิตภัณฑ์กาจัดยุงกระป๋อง ฉีดเฉพาะบริเวณมุมอับ ใต้เตียง ใต้โต๊ะ ทิ้งไว้ 15-30 นาที ก่อนเข้าไปใน
ห้อง
อาการของไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออก ไม่จาเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น
ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็นโรค
ไข้เลือดออก อาจจะทาให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สาคัญของไข้เลือดออก มีอาการสาคัญ 4
ประการคือ
1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ามูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมี
อาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน
2. อาการเลือดออก : เลือดกาเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็น
เลือด หรือถ่ายดา มีจุดเลือดออกตามตัว
3. ตับโต
4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการ
กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่า
ตับอักเสบจากไข้เลือดออก อีกหนึ่งอาการที่ต้องระวัง
อาการตับอักเสบอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เชื้อไวรัสเข้าไป
ทาลายตับ หรือเกิดจากการที่ตับถูกทาลายเพราะการทางานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นหากมีอาการไข้เลือดออกแล้วก็
ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหากเกิดอาการตับอักเสบจะได้ทาการรักษาได้ทันท่วงที
ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก
ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็น
6
ไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ามูกไหล และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด และ
เวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา ควร
รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน
ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ
ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ได้แก่
ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง
ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับ
อาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว
และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัดๆ
ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก
อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความ
รุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้อง
บ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความ
ดันต่า ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทาให้เสียชีวิตได้
นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้าเขียวพรายย้าขึ้น) เลือดกาเดาไหล อาเจียนเป็น
เลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่
ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่
ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก
ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว
ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่
สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลาดับภายในช่วงระยะ 7-10 วัน
หลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค
การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่ายๆ
ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลาชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาที และลองเอา
เหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตาแหน่งที่ใช้
เหรียญกดทับเป็นจานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความ
เสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว
เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที
- เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้า กระหายน้าตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย
- เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง
แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวัง
ภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้าอย่างเหมาะสมก็จะทาให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วย
โรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
7
1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจาพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทา
ให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร
2. ให้สารน้าชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้า เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน
ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้าเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ามาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็น
เลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้าทางเส้นเลือด
3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้า
เย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนาส่งโรงพยาบาลทันที
4. ตรวจนับจานวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้า
ชดเชย
จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว
ผู้ป่วยไข้เลือดออก หากมีอาการไข้ลดลง ภายใน 24-48 ชั่วโมง แล้วเริ่มกินอะไรได้ รู้สึกตัวดี ไม่ซึม แสดงว่า
อาการพ้นขีดอันตรายแล้ว
การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก
เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็น
ไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอก
ควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สารวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้าน
ว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทาลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก
นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะ
เป็น ไข้เลือดออกได้
เป็นไข้เลือดออกแล้วมีสิทธิ์เป็นซ้าอีกได้ไหม
เนื่องจากไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสาย
พันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดไปแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น
ตลอดชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์อื่นได้ระยะหนึ่ง ก่อนภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์อื่นจะหายไป
ดังนั้น ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกในสายพันธุ์ที่ต่างจากที่เคยเป็น แต่ทว่า การติดเชื้อ
ครั้งที่ 2 มักจะมีอาการรุนแรงกว่าการป่วยครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักติดเชื้อไม่เกิน 2 ครั้ง
การระบาดของไข้เลือดออก
ช่วงเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือน
พฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี
วิธีดาเนินงาน
แนวทางการดาเนินงาน
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
8
งบประมาณ
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
___________________________________________________________________
__________________________________________________________________
___________________________________________________________________
ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน
ลาดับ
ที่
ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ
1 2 3 4 5 6 7 8 9
1
0
1
1
12
1
3
1
4
1
5
16 17
1 คิดหัวข้อโครงงาน
2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล
3 จัดทาโครงร่างงาน
4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน
5 ปรับปรุงทดสอบ
6 การทาเอกสารรายงาน
7 ประเมินผลงาน
8 นาเสนอโครงงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน)
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
สถานที่ดาเนินการ
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
9
แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นามาใช้การทาโครงงาน)
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________
_________________________________________________________________________

More Related Content

What's hot

โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกFrench Natthawut
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์panita aom
 
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์kanyaluk dornsanoi
 
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์Pack Matapong
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ Pukkad Kcn
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)Thanarak Karunyarat
 
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อย
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อยสืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อย
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อยphotnew
 
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตsombut
 
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตpatchu0625
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์tangkwakamonwan
 
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตHaprem HAprem
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610ssuser015151
 
2560 project 2
2560 project  22560 project  2
2560 project 2Dduang07
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์BooBoo ChillChill
 

What's hot (19)

Work1
Work1Work1
Work1
 
โรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกโรคไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์
กิจกรรมที่5 หลักทรัพย์
 
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์
โรคติดต่อทางเพสสัมพันธุ์
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
Kk
KkKk
Kk
 
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
โครงงานคอมพิวเตอร์ (1)
 
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อย
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อยสืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อย
สืบค้นหนังสือราชการ 6 เมนูย่อย
 
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ตความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
 
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการอินเทอร์เน็ต
 
2560 project
2560 project 2560 project
2560 project
 
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่1 โครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 
2560 project -1-1
2560 project -1-12560 project -1-1
2560 project -1-1
 
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ตความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
ความหมายและพัฒนาการของอินเทอร์เน็ต
 
2562 final-project 14-610
2562 final-project 14-6102562 final-project 14-610
2562 final-project 14-610
 
2561 project
2561 project 2561 project
2561 project
 
2560 project 2
2560 project  22560 project  2
2560 project 2
 
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์
 

Similar to King 16

การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.bamhattamanee
 
ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5aye_supawan
 
Thipwana
ThipwanaThipwana
ThipwanaNeayne
 
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงานใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงานKnooknickk Pinpukvan
 
2562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat012562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat01TeerapatSrilom
 
2560 project กิจกรรที่ 5
2560 project กิจกรรที่ 52560 project กิจกรรที่ 5
2560 project กิจกรรที่ 5kanyaluk dornsanoi
 
2562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat012562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat01TeerapatSrilom
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอมDduang07
 
อภิสิทธิ์ ดวงแสง
อภิสิทธิ์ ดวงแสงอภิสิทธิ์ ดวงแสง
อภิสิทธิ์ ดวงแสงapisitpai
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอมmind jirapan
 
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์bamhattamanee
 
ใบงานที่5
ใบงานที่5ใบงานที่5
ใบงานที่5Kittinan42
 
2562 final-project 20-areeya
2562 final-project 20-areeya2562 final-project 20-areeya
2562 final-project 20-areeyassusera60940
 

Similar to King 16 (20)

Thipwana1
Thipwana1Thipwana1
Thipwana1
 
Cat of Siam
Cat of SiamCat of Siam
Cat of Siam
 
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์2.
 
ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5ใบงานที่ 5
ใบงานที่ 5
 
Thipwana
ThipwanaThipwana
Thipwana
 
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงานใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงาน
ใบงานที่ 5 โครงร่างโครงงาน
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
 
2559 project 612-04_08
2559 project 612-04_082559 project 612-04_08
2559 project 612-04_08
 
2562 final-project
2562 final-project 2562 final-project
2562 final-project
 
2562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat012562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat01
 
2560 project กิจกรรที่ 5
2560 project กิจกรรที่ 52560 project กิจกรรที่ 5
2560 project กิจกรรที่ 5
 
2562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat012562 final-project teerapat01
2562 final-project teerapat01
 
งานคอม
งานคอมงานคอม
งานคอม
 
อภิสิทธิ์ ดวงแสง
อภิสิทธิ์ ดวงแสงอภิสิทธิ์ ดวงแสง
อภิสิทธิ์ ดวงแสง
 
18
1818
18
 
2557 โครงงาน คอม
2557 โครงงาน คอม 2557 โครงงาน คอม
2557 โครงงาน คอม
 
โครงงานคอม
โครงงานคอมโครงงานคอม
โครงงานคอม
 
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
การทำงานของสมองและกรควบคุมอารมณ์
 
ใบงานที่5
ใบงานที่5ใบงานที่5
ใบงานที่5
 
2562 final-project 20-areeya
2562 final-project 20-areeya2562 final-project 20-areeya
2562 final-project 20-areeya
 

King 16

  • 1. 1 แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์ รหัสวิชา ง33201-33202 ชื่อวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 6 ปีการศึกษา 2560 ชื่อโครงงาน หยุดไข้เลือดออก หยุดภัยใกล้ตัว ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี ชั้น ม.6/7 เลขที่ 16 ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน ครูเขื่อนทอง มูลวรรณ์ ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่ สานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 34
  • 2. 2 ใบงาน การจัดทาข้อเสนอโครงงานคอมพิวเตอร์ สมาชิกในกลุ่ม 1. นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี ชั้น ม.6/7 เลขที่ 16 คาชี้แจง ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเขียนข้อเสนอโครงงานตามหัวข้อต่อไปนี้ ชื่อโครงงาน (ภาษาไทย) หยุดไข้เลือดออก หยุดภัยใกล้ตัว ชื่อโครงงาน (ภาษาอังกฤษ) Prevent dengue fever ประเภทโครงงาน เพื่อการศึกษา ชื่อผู้ทาโครงงาน นางสาว กิ่งฉัตร เลาลี ชื่อที่ปรึกษา ครู เขื่อนทอง มูลวรรณ์ ชื่อที่ปรึกษาร่วม - ระยะเวลาดาเนินงาน ภาคเรียนที่ 1-2 ปีการศึกษา 2560 ที่มาและความสาคัญของโครงงาน (อธิบายถึงที่มา แนวคิด และเหตุผล ของการทาโครงงาน) โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้าง ความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ สาเหตุ หนึ่งที่ทาให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตคือ การขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออก ทาให้ไม่มีการตื่นตัวในการร่วมกันป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ทั้งนี้ อาจเนื่องจากอาการของโรคมีความ คล้ายคลึงกับโรคไข้หวัดในช่วงแรก จึงทาให้ผู้ป่วยเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าตนเป็นเพียงโรคไข้หวัด และทาให้ไม่ได้รับ การรักษาที่ถูกต้องในทันที โรคไข้เลือดออกมีอาการและความรุนแรงของโรคหลายระดับตั้งแต่ไม่มีอาการหรือมีอาการ เล็กน้อยไปจนถึงเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นสาเหตุที่ทาให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ดังนั้น ผู้จัดทาจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรค ไข้เลือดออก เพื่อเป็นความรู้แก่ผู้ที่ศึกษาและสนใจในโรคไข้เลือดออก โดยเป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจให้ทุกคนได้ ตระหนักถึงอันตรายของโรคไข้เลือดออก ซึ่งจะช่วยทาให้การควบคุมและป้องกันโรคมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ (สิ่งที่ต้องการในการทาโครงงาน ระบุเป็นข้อ) 1. เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกมากยิ่งขึ้น 2. เพื่อสามารถนาความรู้มาใช้ป้องกันตนเองจากโรคไข้เลือดออกได้ 3. เพื่อสามารถนาความรู้ที่ศึกษาไปเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้ 4. เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • 3. 3 ขอบเขตโครงงาน (คุณลักษณะ ขอบเขต เงื่อนไขและข้อจากัดของการทาโครงงาน) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนยุพราชวิทยาลัยและบุคคลที่มีความสนใจจะศึกษาเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก หลักการและทฤษฎี (ความรู้ หลักการ หรือทฤษฎีที่สนับสนุนการทาโครงงาน) ไข้เลือดออก เป็นโรคที่เกิดจากยุงซึ่งเป็นพาหะของโรค ไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณสุขของ ประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศในเขตร้อนชื้น และก่อให้เกิดความกังวลต่อ ผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และมักพบบ่อยในเด็กต่ากว่า 15 ปี โดยเฉพาะช่วงอายุ 2-8 ขวบ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ใหญ่จะไม่มีโอกาสเป็นโรคไข้เลือดออกได้ โดยเฉพาะต้องอาศัยอยู่ในแหล่งที่ชุกชุมไปด้วยยุงตัวร้าย โรคไข้เลือดออกต้องระวังยุงชนิดไหน ยุงลายเป็นพาหะตัวร้ายของ โรคไข้เลือดออก ทางที่ดีที่จะป้องกันโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้น คือการป้องกัน ตัวเองและคนรอบข้างไม่ให้โดนยุงกัด โดยเฉพาะยุงลาย ถ้ากาจัดลูกน้ายุงลายบริเวณรอบๆ บ้านได้จะยิ่งดี ยุงลายชอบกัดตอนไหน ยุงลายที่กัดเราแล้วจะทาให้เป็นโรคไข้เลือดออกมีเฉพาะยุงลายตัวเมียเท่านั้น เพราะยุงลายตัวเมียต้องการ โปรตีนจากเลือดเพื่อสร้างไข่ และมักจะออกหาเหยื่อในช่วงกลางวันมากกว่ากลางคืน ฉะนั้นช่วงกลางวันจึงเป็น ช่วงเวลาอันตรายที่ต้องเลี่ยงไม่ให้ถูกยุงกัดมากที่สุด แต่ทั้งนี้ช่วงเวลาไหนๆ ก็อย่ายอมให้ยุงมาดูดเลือดเลยน่าจะ ปลอดภัยกว่า 1. ออกกาลังกายจนเหงื่อโทรม สิ่งที่ดึงดูดให้ยุงมาตอมเรามากกว่าปกติ ไม่ใช่เม็ดเหงื่อที่ร่างกายขับออกมา แต่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่ผ่าน ออกมาทางลมหายใจของเราต่างหาก เพราะเวลาที่ร่างกายได้ออกกาลัง มากๆ จนมีเหงื่อไหลโทรมกาย เราก็จะหายใจ แรงขึ้นโดยอัตโนมัติ ทาให้คาร์บอนไดออกไซด์มีโอกาสได้ออกมาจากร่างกายของเรามากขึ้น ซึ่งเป็นอะไรที่ยุงโปรด ปรานมากๆ 2. ดื่มแอลกอฮอล์ เวลาที่ร่างกายเราได้รับแอลกอฮอล์ เคมีที่อยู่ใต้ผิวหนังเราจะเกิดการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงทาง เคมีของผิวหนังนี่ล่ะ ที่ช่างยั่วยวนน้าลายยุงสุดๆ จนต้องพุ่งตรงมาหาเราโดยทันที และไม่รอช้าที่จะจัดการดูดเลือด ผสมแอลกอฮอล์ของเราอย่างรวดเร็ว ไม่เชื่อลองสังเกตดูตอนที่คุณกาลังนั่งดื่มดู อยากจะแอบบอกว่ายุงกินเลือดผสม แอลกอฮอล์แล้วไม่เมาเหมือนคนด้วย 3. กลิ่นเท้า นักวิทยาศาสตร์ได้เผยว่า ยุงชอบกลิ่นเท้าของมนุษย์มากกว่าการที่มนุษย์ชอบดมกลิ่นอาหารหอมๆ เป็นสิบ เท่า ดังนั้นเมื่อเท้าเรามีกลิ่นอับ ก็จะสังเกตเห็นได้ว่ายุงมาตอมวนเวียนอยู่ที่เรามากกว่าปกติ และมีโอกาสที่เราจะโดน ยุงกัดมากขึ้นด้วย รู้อย่างนี้แล้วก็หมั่นดูแลเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ต้องทนมีกลิ่นเท้าเหม็นๆ และเพื่อเลี่ยงไม่ให้ยุงมา กัดด้วย 4. กลุ่มคนเยอะๆ เมื่อเกิดการรวมตัวของคนมากหน้าหลายตา ก็เท่ากับว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์จากลมหายใจลอยฟุ้งอยู่ใน อากาศมากขึ้นเท่านั้น เป็นเหตุให้ฝูงยุงบินตรงมาหาเราเหมือนผีเสื้อเจอมวลดอกไม้ และเป็นเสมือนโอกาสทองที่จะ เลือกกินเลือดจากคนไหนก็ได้ ดังนั้นหากไม่อยากต้องโดนยุงกัด พยายามอย่ายืนรวมกลุ่มกันเยอะๆ
  • 4. 4 5. สวนรกร้าง หากที่บ้านมีสวนหรือแอ่งน้า แต่ไม่เคยได้ดูแลจัดการ ปล่อยให้ต้นไม้ขึ้นจนรก มีน้าสกปรกขังและอับชื้นอยู่ ตลอดละก็ เตรียมตัวรับมือกับฝูงยุงได้เลย เพราะสภาพแวดล้อมอย่างที่บอกไป เปรียบเสมือนคอนโดหรูของยุงเลยก็ว่า ได้ ดังนั้นหากไม่อยากให้สวนหลังบ้านกลายเป็นฐานทัพของฝูงยุง ก็จัดการตัดแต่งกิ่ง ถอนหญ้า กาจัดแอ่งน้า และทา สวนให้สวยงามกันดีกว่า 6. ตั้งครรภ์ ยุงจะสนใจคนท้องมากกว่าคนปกติ แต่ก็ต้องยอมรับเพราะคนท้องจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาใน ปริมาณมาก และท้องป่องๆ ที่มีทารกน้อยอาศัยอยู่ก็จะมีอุณหภูมิสูง พอเหมาะพอดีกับอุณหภูมิที่ยุงต้องการ จึงดึงดูด ให้ยุงมาวนเวียนและกัดคนท้องมากกว่านั่นเอง วิธีป้องกันยุงกัด 1. ทายากันยุง ไม่ว่าจะเป็นยาทากันยุงชนิด DEET, Picaridin, น้ามันยูคาลิปตัส หรือตะไคร้หอม ก็ล้วนแล้วแต่เป็นยากันยุงที่ สามารถป้องกันยุงได้ชะงัด เพราะสารที่มีอยู่ในยากันยุงแต่ละชนิด เป็นสารที่ยุงแสนจะเกลียด ทาให้ยุงไม่มาวอแวกับ เรา 2. เครื่องดักยุง เครื่องดักยุงได้ถูกออกแบบมาให้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของโปรดของยุง ทาให้สามารถล่อยุงให้เข้าไป ติดกับดักโดยง่าย และภายในก็จะมีหลอดไฟสลัวๆ และกลไกทางไฟฟ้าที่จะกาจัดยุงด้วย เหมาะจะนาไปใช้ในพื้นที่ที่มี ยุงชุม ชนิดของยุงที่มาพร้อมกับโรคต่างๆ - ยุงก้นปล่อง เป็นพาหะของโรคมาลาเรียและโรคเท้าช้าง - ยุงราคาญ เป็นพาหะของโรคไข้สมองอักเสบและโรคเท้าช้าง - ยุงลาย เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก ไข้ชิคุนกุนยา และโรคเท้าช้าง - ยุงเสือ เป็นพาหะของโรคเท้าช้าง นอกจากนี้ หากสังเกตให้ดีจะพบว่า ยุงชอบกัดคนบางคนมากกว่าผู้ที่นั่งอยู่ใกล้ๆ และจากผลการวิจัยพบข้อมูล ที่น่าสนใจ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ยุงชอบกัดคนบางประเภทเป็นพิเศษ ดังนี้ - ยุงชอบกัดคนที่มีเหงื่อออกมาก - ยุงชอบกัดคนที่ตัวร้อน (อุณหภูมิบริเวณผิวหนังสูง) - ยุงชอบกัดคนที่หายใจแรง เพราะคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมากับลมหายใจเป็นตัวดึงดูดยุง - ยุงชอบกัดเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ เพราะกลิ่นและลักษณะผิวหนัง - ยุงชอบกัดผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะฮอร์โมนแตกต่างกัน - ยุงชอบกัดคนที่ใส่เสื้อผ้าสีเข้ม เช่น สีดา กรมท่า แดง เขียว มากกว่าสีขาว อาการหลังจากถูกยุงกัด สาหรับสาเหตุของอาการคัน ดร.อุษาวดี เผยข้อมูลว่า เกิดจากการที่ยุงฉีดน้าลายลงไปในบริเวณที่เจาะดูด เลือด เพื่อทาให้เลือดเจือจางลง จะได้ดูดเลือดได้ง่าย ซึ่งน้าลายของยุงส่งผลให้มนุษย์เกิดอาการแพ้ที่แตกต่างกัน ออกไป บางรายแค่มีอาการคัน ขณะที่บางรายอาจมีอาการแพ้รุนแรง จนเป็นแผลลุกลาม และติดเชื้อได้ง่าย
  • 5. 5 นอกจากนี้ในน้าลายของยุงก็มีเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ปะปนอยู่ เช่น เชื้อไวรัสเดงกี เชื้อไวรัสเจ อี หรือแม้กระทั่งหนอนพยาธิที่ก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคไข้เลือดออก โรคไข้สมองอักเสบเจอี โรคมาลาเรีย โรค เท้าช้าง ฯลฯ การป้องกันไม่ให้ถูกยุงกัด วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้ยุงกัด คือการดูแลสภาพแวดล้อมที่ตนเองอาศัยอยู่ให้ปราศจากยุง หรือให้มี ปริมาณยุงน้อยที่สุด โดยเบื้องต้นสามารถทาได้ ดังนี้ - จัดสภาพบ้านให้เรียบร้อย ไม่เป็นแหล่งอาศัยของยุง และป้องกันไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงบริเวณบ้าน - เปลี่ยนน้าในภาชนะที่ไม่มีฝาปิด เช่น แจกัน ทุก 7 วัน - นอนในมุ้ง หรือติดมุ้งลวด หรือใช้พัดลมเป่าไม่ให้ยุงเข้าใกล้ - ใช้สารไล่แมลงหรือสารป้องกันแมลง ซึ่งผลิตจากส่วนผสมธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม ไพล ขมิ้นชัน มะกรูด ยูคาลิปตัส ฯลฯ - ใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันยุงซึ่งผสมสารเคมีสังเคราะห์ที่ไม่เป็นอันตราย โดยนามาทาบริเวณแขน ขา ซึ่งจะช่วย ป้องกันยุงได้ประมาณ 2-8 ชั่วโมง - ใช้ยาจุดกันยุง เครื่องไล่ยุงไฟฟ้า - ใช้ไม้ตียุงไฟฟ้า หรือใช้น้ายาล้างจาน 1 ส่วนผสมน้า 4 ส่วน ใส่กระบอกเพื่อฉีดพ่นบริเวณที่มียุงเยอะ - ใช้ผลิตภัณฑ์กาจัดยุงกระป๋อง ฉีดเฉพาะบริเวณมุมอับ ใต้เตียง ใต้โต๊ะ ทิ้งไว้ 15-30 นาที ก่อนเข้าไปใน ห้อง อาการของไข้เลือดออก อาการของไข้เลือดออก ไม่จาเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็นโรค ไข้เลือดออก อาจจะทาให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต ทั้งนี้ลักษณะที่สาคัญของไข้เลือดออก มีอาการสาคัญ 4 ประการคือ 1. ไข้สูงลอย : ไข้ 39-40 องศาเซลเซียส มักมีหน้าแดง โดยมากไม่ค่อยมีอาการน้ามูกไหลหรือไอ เด็กโตอาจมี อาการปวดเมื่อยตามตัว และปวดศีรษะ อาการไข้สูงมักมีระยะ 4-5 วัน 2. อาการเลือดออก : เลือดกาเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน เลือดออกในกระเพาะ โดยจะมีอาการอาเจียนเป็น เลือด หรือถ่ายดา มีจุดเลือดออกตามตัว 3. ตับโต 4. ความผิดปกติของระบบไหลเวียนเลือด หรือช็อก : มักจะเกิดช่วงไข้จะลด โดยผู้ป่วยจะมีอาการ กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น รอบปากเขียว อาจมีอาการปวดท้องมาก ก่อนจะมีอาการช็อก ชีพจรเบาเร็ว ความดันต่า ตับอักเสบจากไข้เลือดออก อีกหนึ่งอาการที่ต้องระวัง อาการตับอักเสบอย่างรุนแรง สามารถพบได้ในผู้ป่วยไข้เลือดออกเช่นกัน โดยจะเกิดขึ้นกรณีที่เชื้อไวรัสเข้าไป ทาลายตับ หรือเกิดจากการที่ตับถูกทาลายเพราะการทางานของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้นหากมีอาการไข้เลือดออกแล้วก็ ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดหากเกิดอาการตับอักเสบจะได้ทาการรักษาได้ทันท่วงที ลักษณะตุ่มไข้เลือดออก ตุ่มโรคไข้เลือดออกจะคล้ายกับตุ่มยุงกัดทั่วตัว และใกล้เคียงกับผื่นจากโรคหัด แต่จะสังเกตได้ว่า ถ้าเป็น
  • 6. 6 ไข้เลือดออกจะไม่มีอาการไอหรือน้ามูกไหล และจุดเลือดออกของโรคไข้เลือดออกจะไม่รู้สึกสากมือเหมือนโรคหัด และ เวลากดดึงผิวหนังให้ตึงจะไม่จางหายไปเหมือนจุดถูกยุงกัดธรรมดา ซึ่งถ้ามีอาการตามนี้ร่วมกับมีไข้สูงตลอดเวลา ควร รีบพาผู้ป่วยไปพบแพทย์โดยด่วน ไข้เลือดออกมีกี่ระยะ ระยะฟักตัวของไข้เลือดออกจะอยู่ในช่วง 3-5 วัน และอาการไข้เลือดออกสามารถแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะไข้สูง ผู้ป่วยจะมีไข้สูงฉับพลัน ไข้จะสูงค้างอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา โดยที่กินยาลดไข้ก็ยังบรรเทาไข้ไม่ได้ ร่วมกับ อาการหน้าแดง ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และบางรายมีอาการอาเจียนเป็นพัก ๆ หรืออาจมีอาการท้องผูกหรือถ่ายเหลว และบางคนอาจมีอาการเจ็บคอ ไอเล็กน้อย ทว่าในระยะ 3 วันที่ป่วยตุ่มอาจยังไม่ขึ้นให้เห็นชัดๆ ระยะที่ 2 ระยะช็อกและมีเลือดออก อาการนี้จะพบในช่วงระหว่างวันที่ 3-7 ของการป่วย และมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่ป่วยจากเชื้อเด็งกีที่มีความ รุนแรงขั้นที่ 3 และ 4 ซึ่งระยะนี้ถือเป็นช่วงวิกฤตของโรค อาการไข้ของผู้ป่วยจะเริ่มลดลง แต่กลับอาเจียน ปวดท้อง บ่อยขึ้น ซึมมากขึ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น กระสับกระส่าย เหงื่อแตก ปัสสาวะออกน้อย ชีพจรเต้นแผ่วแต่เร็ว และความ ดันต่า ซึ่งเป็นภาวะช็อก และหากไม่ได้รับการรักษาภายใน 1-2 วัน อาจทาให้เสียชีวิตได้ นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจมีอาการเลือดออกตามผิวหนัง (มีจ้าเขียวพรายย้าขึ้น) เลือดกาเดาไหล อาเจียนเป็น เลือดหรือสีกาแฟ ถ่ายเป็นเลือด ซึ่งหากอยู่ในภาวะนี้อาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น โดยหากไม่ได้รับการรักษาที่ ถูกต้อง อาจเสียชีวิตภายใน 24-27 ชั่วโมง แต่หากผู้ป่วยสามารถประคองอาการให้ผ่านพ้นระยะนี้มาได้ ก็จะเข้าสู่ ระยะที่ 3 ของโรคไข้เลือดออก ระยะที่ 3 ระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการช็อก หรือช็อกไม่รุนแรง และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที อาการของผู้ป่วยจะฟื้นตัวสู่ สภาพปกติ โดยผู้ป่วยจะรู้สึกตัวและร่าเริงขึ้น เริ่มกินอาหารได้ โดยอาการจะดีขึ้นตามลาดับภายในช่วงระยะ 7-10 วัน หลังจากผ่านพ้นระยะที่ 2 ของโรค การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกในเบื้องต้นอย่างง่ายๆ ใช้ยางหนังสติ๊กรัดเหนือข้อศอกให้แน่นเล็กน้อย ให้พอคลาชีพจรที่ข้อมือได้ รัดอยู่อย่างนั้นนาน 5 นาที และลองเอา เหรียญบาทกดทับที่บริเวณท้องแขน หากพบว่ามีจุดเลือดออก (จุดแดง) เกิดขึ้นที่บริเวณท้องแขนในตาแหน่งที่ใช้ เหรียญกดทับเป็นจานวนมากกว่า 10 จุด ก็นับว่าเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกสูงมาก ยิ่งถ้าหากมีไข้มาแล้ว 2 วัน ความ เสี่ยงของโรคจะอยู่ประมาณ 80% เลยทีเดียว เมื่อใดต้องรีบส่งโรงพยาบาลทันที - เมื่อมีเลือดออกผิดปกติ อาเจียนมาก ปวดท้อง ซึม ไม่ดื่มน้า กระหายน้าตลอดเวลา มีปัสสาวะออกน้อย - เมื่อความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง กระสับกระส่าย มือเท้าเย็น ตัวลาย เหงื่อออกโดยเฉพาะในช่วงไข้ลง แนวทางการรักษาโรค ไข้เลือดออก โรคไข้เลือดออก ไม่มีการรักษาเฉพาะ การรักษาเป็นเพียงการประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวัง ภาวะช็อก และเลือดออก และการให้สารน้าอย่างเหมาะสมก็จะทาให้อัตราการเสียชีวิตลดลง โดยทั่วไปการดูแลผู้ป่วย โรค ไข้เลือดออก มีแนวทางการดูแลอย่างใกล้ชิด ดังนี้
  • 7. 7 1. ให้ยาลดไข้ เช็ดตัวลดไข้ ยาลดไข้ที่ควรใช้คือ พาราเซตามอล ไม่ควรใช้ยาจาพวกแอสไพริน เนื่องจากจะทา ให้เกล็ดเลือดผิดปกติ และระคายกระเพาะอาหาร 2. ให้สารน้าชดเชย เนื่องจากผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีภาวะขาดน้า เนื่องจากไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ในรายที่พอทานได้ให้ดื่มน้าเกลือแร่บ่อย ๆ ในรายที่ขาดน้ามาก หรือมีภาวะเลือดออก เช่น อาเจียน หรือถ่ายเป็น เลือดต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สารน้าทางเส้นเลือด 3. ติดตามดูอาการใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยไข้เลือดออกมีอาการปวดท้อง ปัสสาวะน้อยลง กระสับกระส่าย มือเท้า เย็น โดยเฉพาะในช่วงไข้ลด ต้องรีบนาส่งโรงพยาบาลทันที 4. ตรวจนับจานวนเกล็ดเลือดและความเข้มข้นของเลือดเป็นระยะ เพื่อใช้พิจารณาปริมาณการให้สารน้า ชดเชย จะทราบได้อย่างไรว่าผู้ป่วยพ้นขีดอันตรายแล้ว ผู้ป่วยไข้เลือดออก หากมีอาการไข้ลดลง ภายใน 24-48 ชั่วโมง แล้วเริ่มกินอะไรได้ รู้สึกตัวดี ไม่ซึม แสดงว่า อาการพ้นขีดอันตรายแล้ว การปฏิบัติเมื่อมีคนในบ้าน/ข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก เนื่องจากไข้เลือดออกระบาดโดยมียุงเป็นตัวแพร่พันธุ์ ดังนั้นเมื่อมีคนในบ้านหรือข้างบ้านเป็น ไข้เลือดออก ควรจะบอกคนในบ้านหรือข้างบ้านว่า มีคนเป็นไข้เลือดออกด้วย และแจ้งสาธารณสุขให้มาฉีดยาหมอก ควันเพื่อฆ่ายุง รวมถึงดูแลให้สมาชิกในครอบครัวป้องกันการถูกยุงกัด สารวจภายในบ้าน รอบบ้าน รวมทั้งเพื่อนบ้าน ว่ามีแหล่งแพร่พันธุ์ยุงหรือไม่ หากมีให้รีบจัดการและทาลายแหล่งแพร่พันธุ์นั้น เพื่อป้องกันการเป็นไข้เลือดออก นอกจากนี้ต้องคอยระวังเฝ้าดูอาการของสมาชิกในบ้านหรือข้างบ้านว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ให้ระวังว่าอาจจะ เป็น ไข้เลือดออกได้ เป็นไข้เลือดออกแล้วมีสิทธิ์เป็นซ้าอีกได้ไหม เนื่องจากไข้เลือดออกมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์ที่ 1, 2, 3 และ 4 ซึ่งในแต่ละปีจะมีการระบาดของสาย พันธุ์ต่าง ๆ สลับกันไป หากผู้ป่วยติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ใดไปแล้ว ร่างกายก็จะสร้างภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์นั้น ตลอดชีวิต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันข้ามไปยังสายพันธุ์อื่นได้ระยะหนึ่ง ก่อนภูมิคุ้มกันในสายพันธุ์อื่นจะหายไป ดังนั้น ผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกแล้วก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกในสายพันธุ์ที่ต่างจากที่เคยเป็น แต่ทว่า การติดเชื้อ ครั้งที่ 2 มักจะมีอาการรุนแรงกว่าการป่วยครั้งแรก แต่โดยส่วนใหญ่แล้วคนเรามักติดเชื้อไม่เกิน 2 ครั้ง การระบาดของไข้เลือดออก ช่วงเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกสามารถพบได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคมถึงตุลาคมของทุกปี วิธีดาเนินงาน แนวทางการดาเนินงาน ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________
  • 8. 8 งบประมาณ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ __________________________________________________________________ ___________________________________________________________________ ขั้นตอนและแผนดาเนินงาน ลาดับ ที่ ขั้นตอน สัปดาห์ที่ ผู้รับผิดชอบ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 0 1 1 12 1 3 1 4 1 5 16 17 1 คิดหัวข้อโครงงาน 2 ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล 3 จัดทาโครงร่างงาน 4 ปฏิบัติการสร้างโครงงาน 5 ปรับปรุงทดสอบ 6 การทาเอกสารรายงาน 7 ประเมินผลงาน 8 นาเสนอโครงงาน ผลที่คาดว่าจะได้รับ (ผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทาโครงงาน) _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ สถานที่ดาเนินการ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ กลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________
  • 9. 9 แหล่งอ้างอิง (เอกสาร หรือแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่นามาใช้การทาโครงงาน) _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________ _________________________________________________________________________