SlideShare a Scribd company logo
1 of 55
Download to read offline
ก
กรณีความขัดแย้งประเทศศรีลังกา
กิตติกรรมประกาศ
รายงานการศึกษาดูงานประเทศศรีลังกา ฉบับนี้จัดทาขึ้น เพื่อประมวล นาเสนอข้อมูลองค์
ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานประเทศศรีลังกาที่สถาบันพระปกเกล้าจัดให้กับนักศึกษาใน
หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสังคมสันติสุข รุ่น 5 ในระหว่างวันที่ 3-9 สิงหาคม 2557
ด้วยความใส่ใจ ดูแลด้วยเมตตา ตลอดจนให้ความคิด มุมมอง คาแนะนา ข้อมูล องค์ความรู้
และการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากท่านผู้บริหาร และ อาจารย์ที่ปรึกษา คือ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
และ ดร. นายแพทย์ บรรพต ต้นธีรวงศ์ ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษาในหลักสูตรทุกท่าน และทีมงาน
ของสถาบันพระปกเกล้า ทาให้นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ที่ประทับใจ ยากที่จะลืม ทั้งใน
เชิงวิชาการ เชิงความสัมพันธ์ และการเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิต จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
มา ณ โอกาสนี้
นอกจากนี้ก่อนการศึกษา ดูงาน นักศึกษาได้รับการปูพื้นฐานความรู้ แนวคิด และมุมมอง
ในมิติใหม่ จากท่านฑูตพลเดช วรฉัตร Dr.Norbert Reberts และอาจารย์เมธัส อนุวัตรอุดม ซึ่งทา
ให้การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีความหมายมากขึ้น และเกิดความปิติ อิ่มเอม ยิ่งขึ้น จึงใคร่ขอกราบ
ขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างสูง
การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีกิจกรรมต่อเนื่องคือการนาเสนอผลการศึกษาดูงานเพื่อการเติม
เต็ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(ดังกาหนดการที่แนบในภาคผนวก) ซึ่ง
นักศึกษามีความตั้งใจเป็นอย่างสูงในการทางานเพื่อการนาเสนอข้อมูลโดยเน้นหลักการทางานอย่าง
มีส่วนร่วม การสะท้อนข้อมูลผ่านวิธีการ กิจกรรม และสื่อหลากหลายที่ทาให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้เรียนรู้
อย่างลึกซึ้ง สนุกสนาน และตระหนักในแง่มุมสาคัญ ที่สามารถนามาใช้ในบริบทของสังคมไทย
การจัดกิจกรรมดังกล่าวประสบความสาเร็จอย่างดีโดยการให้คาแนะนาของ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
และ ดร. นายแพทย์ บรรพต ต้นธีรวงศ์ ตลอดจนความร่วมแรงร่วมใจ ร่วมให้ความคิด ความเห็น
ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะผ่านกิจกรรมสรุปบทเรียนการศึกษาดูงานที่จัดขึ้นที่ศรีลังกาในวัน
สุดท้ายของการศึกษาดูงาน จึงขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง
เอกสารฉบับนี้สาเร็จโดยการประมวลข้อมูลจากเอกสาร และสมาชิกที่ร่วมเดินทาง การรับ
ฟังความคิด มุมมอง บทเรียนและประสบการณ์ และการร้อยเรียงข้อมูลของทีมวิชาการ จึง
ขอขอบคุณทีมวิชาการทุกท่านเป็นอย่างสูง
บทคัดย่อ
ข
ชื่อผู้จัดทา : นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง
การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5
ชื่อหัวข้อเอกสาร : การศึกษาดูงานต่างประเทศ - ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยม
ประชาธิปไตยศรีลังกา
อาจารย์ที่ปรึกษา : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
ดร. นายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์
ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย มี
ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีความโดดเด่นและมีภูมิรู้ด้านวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งทั้งเกี่ยวกับความเชื่อ
ศิลปะ วิถีชีวิต และศาสนา มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 21 ล้านคน ประชากรของศรีลังกามีหลาย
เชื้อชาติประกอบด้วยชาวสิงหลที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ถึง ร้อยละ 74 ชาว
ทมิฬ ชาวมุสลิม และอื่น ๆ ความแตกต่างกัน และความรู้สึกถึงไม่เป็นธรรมที่ถูกตอกย้าอย่าง
ต่อเนื่องทั้งในเชิงนโยบาย การกาหนดระเบียบกฎเกณฑ์และการเลือกปฏิบัติ เป็นสาเหตุสาคัญให้
เกิดความขัดแย้งต่อเนื่องลุกลามเป็นการ สู้รบแย่งชิงอานาจระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่มี
ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย มหาศาล ทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ที่สาคัญคือ
ความเสียหายยังต่อเนื่องยาวนานจนปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ามาก อีกทั้งการสูญเสีย
โอกาสในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้หลังจากการยุติความรุนแรงในการต่อสู้ก็ยังคงมีเรื่องราวที่
ต้องสะสางอีกหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ในปัจจุบันนี้ ทั้งรัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศศรีลังกา อาทิ สภาสันติภาพ
แห่งชาติ (National Peace Council of Sri Lanka) ศูนย์นโยบายทางเลือก ( Centre for Policy
Alternatives - CPA) กลุ่มเคลื่อนไหวซาร์โวดายา ( Sarvodaya) และองค์กรต่าง ๆ ล้วนตระหนักใน
ความสาคัญของการสร้างสันติภาพ ที่แท้จริง และพยายามหาแนวทางในการ สร้างสันติภาพให้
เกิดขึ้น แต่ยังขาดการประสานความคิด และหลอมรวมแนวทางในการทางาน ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัย
สาคัญที่ทาให้สันติภาพอย่างถาวร และความสงบสุขที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อีกทั้งอาจจะ
เป็นปัจจัยหลักในการก่อตัวของความขัดแย้ง และต่อเนื่องถึงการใช้ความรุนแรงในอนาคต สาหรับ
แนวทางสาคัญ 4 แนวทางในการสร้างสันติภาพในประเทศศรีลังกา มีดังนี้ 1) การเยียวยาผู้สูญเสีย
และสร้างวิสัยทัศน์ในการอยู่ร่วมกันแบบ One Nation One Country บนพื้นฐานการยอมรับในความ
แตกต่างในเชื้อชาติ ศาสนาและสังคม 2) การสร้างสันติภาพเชิงบวกในระยะยาว (Positive Peace)
สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมศักยภาพโดยการเรียนรู้ให้ชุมชนและภาคประชาสังคม (Civil
Society) พัฒนาไปสู่วัฒนธรรมสันติภาพ (the Culture of Peace) 3) การใช้กลไกด้านการเมือง
15
(Political System) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและการเปิดเผยความเป็นจริงเพื่อสร้างกระบวนการ
สันติภาพที่สร้างความเป็นธรรมให้ผู้สูญเสีย 4) การสร้างความตื่นรู้ (Awakening All)ในระดับ
ปัจเจกจนถึงระดับชุมชนและสังคมในรูปแบบวิถีพุทธ เพื่อแก้ปัญหาสังคมระดับรากหญ้าจนถึง
สังคมระดับประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ “ National Awakening Movement” เพื่อ
ขับเคลื่อนเรื่องการสมานฉันท์ โดยปลุกการตื่นรู้รอบด้านของประชาชน โดยใช้หลักศาสนาพุทธมา
ปรับใช้ได้กับทุกเชื้อชาติและศาสนา เพื่อบรรลุเป้าหมายไว้ 3 เรื่องคือ การสร้างมนุษย์ใหม่ ที่เน้น
การทางานกับมารดาที่เพิ่งตั้งครรภ์ การสร้างครอบครัวใหม่ ที่เน้นการทางานกับสมาชิกใน
ครอบครัวทั้งหมด การสร้างชุมชนใหม่ ที่เน้นการทางานกับสมาชิกในชุมชน โดยการสร้างชุมชน
ให้เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งหลาย อีกทั้งการสร้างกลไกในการพัฒนาชุมชน
ในส่วนของปัจจัยและข้อจากัดในการสร้างความสมานฉันท์ภายหลังความขัดแย้ง ( Post
Conflict Situation) นั้นมีปัจจัยแห่งความสาเร็จ 3 ประการ ดังนี้ 1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 2)การแก้ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นการไม่ไว้วางใจ ( Mistrust) ความ
ลาเอียงโดยมีอคติ (Prejudice) และ3 ) การขาดอหิงสา (Intolerance) และ การสร้างความตระหนัก
ถึงความเสมอภาค (Equalities and Inequalities) ปัจเจก และความแตกต่างหลากหลาย สาหรับ
ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์ มี 4 ประการ คือ 1) เงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม 2) ความล้มเหลวในการแสดงเจตจานงทางการเมือง (Political Will)
ในการเจรจาสันติภาพอย่างจริงจัง 3) รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในด้านการ
แสวงหาความจริงให้ปรากฏ และได้รับโอกาสในการหาความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย และ 4) การ
แบ่งอานาจ (Power Sharing) หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่าไม่มีส่วนร่วมและไม่สามารถเข้าถึงการใช้
อานาจทางการเมืองตามกติกาที่ยอมรับร่วมกัน และรู้สึกถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อของกัน
และกัน
ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ มีประสบการณ์สาคัญ และบทเรียนที่ได้รับหลายประการ
โดยเฉพาะบทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในศรีลังกา 10 ประเด็น ซึ่งเป็นปัจจัย ทาให้
สันติภาพเกิดช้า สามารถนามาใช้กับสังคมไทยได้ทั้งการแก้ปัญหาที่ชายแดนใต้ 6 ลักษณะเกี่ยวกับ
การผ่อนปรนของคู่ขัดแย้งในบางเรื่อง การสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
และการดาเนินกระบวนการสันติภาพด้วยองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด การสร้างความ
ไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพหลังความขัดแย้งที่รุนแรง การจัดตั้ง
คณะกรรมการที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับให้เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และตรวจสอบข้อตกลงหยุดยิง การ
เปิดโอกาสให้ต่างชาติมีบทบาทของ ต่อกระบวนการสันติภาพ และการจัดขบวนการเคลื่อนไหว
เพื่อสันติภาพที่ทรงพลังเปิดกว้าง และประสานผู้มีส่วนร่วมทุกระดับ และสามารถนามาใช้
เปรียบเทียบและประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ใจกลางประเทศไทย โดยสถานการณ์มี
16
ความแตกต่างกัน ใน ลักษณะของความขัดแย้ง และ การให้ความสาคัญกับจัดกลไกที่เป็นทางการ
ในการทางานด้านการแก้ไขความขัดแย้งเป็นการเฉพาะ และมีความคล้ายกันในลักษณะการทางาน
ของกองทัพ 4 ประการ คือการใช้กาลังเข้าทาการรัฐประหารเพื่อยุติสถานการณ์เกิดรุนแรงและเร่ง
ดาเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การสร้างความเข้มแข็ง มีการ
ผูกขาด ระบบถ่วงดุลตรวจสอบ มุมมองทางลบในเรื่องการกระจายอานาจ/แนวคิดการจัดการตนเอง
ด้วยเกรงว่าการแบ่งปันอานาจดังกล่าวจะนาไปสู่การแบ่งแยกดินแดน และการที่มีองค์กรระหว่าง
ประเทศ จับตาเฝ้าระวังสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน
17
บทที่ 1
บทนา
1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของการศึกษา
ประเทศศรีลังกา เป็นเกาะตั้งอยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย มีประชากรประมาณ 21 ล้าน
คน ประกอบด้วยชาวสิงหลซึ่งนับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ถึงร้อยละ 74 ชาวทมิฬ
ชาวมุสลิม และอื่น ๆ ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความสาคัญ ตั้งแต่อดีต ทั้งในลักษณะ
การเป็นเมืองท่า ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ความหลากหลายของของศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
และวิถีความเป็นอยู่ของคนหลากหลายเชื้อชาติ
ปัญหาสาคัญของศรีลังกา คือการแย่งชิงอานาจระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่มีมา
ต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีต ส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมาย ภายหลังการพยายามใช้กระบวนการ
สันติภาพของฝ่ายต่าง ๆ จนเกิดการตกลงยุติความรุนแรง ก็ยังมีการเรียกร้องจากนานาชาติให้ชาระ
สะสาง และสอบสวนหาข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การใช้ความ
รุนแรงเข้าปราบปรามฝ่ายตรงกันข้าม การให้ความเป็นธรรมต่อผู้สูญเสีย และการหาข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับคนที่สูญหาย
ในปัจจุบันทุกฝ่ายตระหนักในความสาคัญของการสร้างสันติภาพ และการสร้างความ
มั่นคง แต่การทางานยังขาดการประสานแนวทางการทางานร่วมกัน การเปิดใจรับฟังกันและกัน
สาหรับรัฐบาลได้เน้นการพัฒนา ฟื้นฟูประเทศด้านต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ มีการ
พัฒนาความเข้มแข็งของกองทัพและสร้างกาลังรบทหาร มีการสร้างฐานอานาจให้ผู้นา โดยวิธีการ
ต่าง ๆ ทั้งผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ประธานาธิบดีดารงตาแหน่งได้อย่างไม่มีกาหนด
ยกเลิกการใช้คณะกรรมาธิการอิสระในการกากับดูแล ตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ รัฐบาลไม่เห็น
ความสาคัญและละเลยการจัดพื้นที่ และช่องทางสาหรับการเปิดใจ การแสดง ความคิดเห็นของ
ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีความพิเศษกว่า ประเทศอื่น ๆ คือเป็นสังคมพหุลักษณ์ที่มีหลากเชื้อชาติ
หลายศาสนา จึงมุ่งทุ่มเทสร้างกาลังรบทางทหาร การพัฒนาประเทศเน้นสร้างความเจริญทางวัตถุ
มากกว่าการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในสังคมข้อมูลดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ความ
ขัดแย้งอาจจะยังไม่หมดไปจากศรีลังกา สันติภาพที่แท้จริงอย่างถาวรยังไม่เกิดขึ้นและ การทางาน
อย่างไม่ประสานกัน การละเลยการเปิดพื้นที่ การไม่สร้างความไว้วางใจ อาจค่อย ๆ ก่อตัวเป็นความ
ขัดแย้งครั้งใหม่ในประเทศอีกครั้ง ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น มีประเด็นที่น่าสนใจทั้งในเชิงสาเหตุที่มา
ของความขัดแย้ง กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง การยุติความรุนแรงในอดีตที่ดาเนินการโดย
ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยก็มีส่วนร่วมในการดาเนินการ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีประเด็น
บรรยากาศ ปัจจัย เรื่องราว ที่กาลังก่อตัวขึ้นเป็นความขัดแย้ง พร้อมยกระดับเป็นความรุนแรงใน
18
อนาคตอีกทั้งปรากฏการณ์มีความคล้ายคลึงกับความขัดแย้งที่เกิดในประเทศไทยทั้งในส่วนสาม
จังหวัดภาคใต้ และความขัดแย้งอื่นๆ ที่กาลังเกิดขึ้นในประเทศไทย
หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข มีความมุ่งหมายที่จะให้นักศึกษา มีความรอบรู้
ความเข้าใจ มีความร่วมมือประสานงานและมีประสบการณ์ในการจัดการความขัดแย้ง เน้นการ
เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างสันติสุขในสังคม ในมิติของการป้องกัน จัดการ และแก้ปัญหาความ
ขัดแย้ง โดยจัดกิจกรรม และประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย
ต่าง ๆ ทั้งการบรรยายของนักวิชาการในสาระต่าง ๆ การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มี
ประสบการณ์ในพื้นที่ การฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานทั้งในประเทศ และการศึกษาดูงานทั้ง
ต่างประเทศ และเพื่อให้นักศึกษาได้ เรียนรู้ข้อมูลสาคัญดังกล่าวทั้งบริบทที่มีความหลากหลาย
ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของความขัดแย้ง สถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจจะอยู่ในระยะก่อตัว ซึ่ง
สามารถใช้เทียบเคียง ประยุกต์สู่การแก้ปัญหาในบริบทสังคมไทย สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้
นักศึกษาในหลักสูตรนี้ได้ศึกษาดูงานในประเทศศรีลังกา ในระหว่างวันที่ 3- 9 สิงหาคม 2557 โดย
คาดหวังว่านักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดความขัดแย้งทั้งในด้านการเมือง สังคม
วัฒนธรรมและ เศรษฐกิจ สภาพ สาเหตุปัญหาความขัดแย้ง แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของ
คนในชาติ และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ ปัจจัยแห่งความสาเร็จและ
ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์ ที่สาคัญ คือการเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่าง
หลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อีกทั้งสามารถถอด
บทเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กาลังเกิดขึ้น อันจะนาความสันติภาพ ความสงบสุข มา
สู่สังคมไทย
1.2 วัตถุประสงค์
1.2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและ
เศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม
1.2.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และ วิเคราะห์ สภาพ สาเหตุปัญหาความขัดแย้ง แนว
ทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้าง
สันติภาพของประเทศศรีลังกา
1.2.3 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และ วิเคราะห์ ปัจจัยแห่งความสาเร็จและข้อจากัดของ
การสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งของชาติด้วยพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม
วัฒนธรรม
1.2.4 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ วิเคราะห์ สะท้อนประสบการณ์และบทเรียนการสร้าง
ความสมานฉันท์ของประเทศศรีลังกาเพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมไทย
19
1.2.5 นักศึกษาเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความ
แตกต่าง หลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
1.3 ประเด็นการศึกษา
1.3.1 สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการ
เกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม
1.3.2 แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ
1.3.3 ปัจจัยแห่งความสาเร็จและข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์และความ
เข้มแข็งของชาติด้วยพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
1.3.4 การสะท้อนประสบการณ์และบทเรียนจากกรณีศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้กับ
สังคมไทย
1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ
1.4.1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรม
และ เศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม
สภาพ สาเหตุ ปัญหาความขัดแย้ง แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในประเทศศรีลังกา
และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพของประเทศศรีลังกา ปัจจัยแห่ง
ความสาเร็จและ ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งของชาติด้วยพลังทาง
การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม
1.4.2 นักศึกษาสามารถนาประสบการณ์และบทเรียนการสร้างความสมานฉันท์ของ
ประเทศศรีลังกาเพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมไทย
1.4.3 เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมีความเข้าใจความแตกต่าง หลากหลายของ
เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีมุมมอง ทัศนคติที่ดีและเห็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
20
บทที่ 2
สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ
ที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสังคมสันติสุขในสังคม
เกริ่นนา
ศรีลังกา เป็นประเทศหนึ่งในเอเ ชียใต้ เป็นเกาะใหญ่อยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย
ปัจจุบันมีประชากร 21.5 ล้านคน (ตุลาคม 2556) ประกอบด้วยชาวสิงหล (ส่วนใหญ่นับถือศาสนา
พุทธ) ร้อยละ 74 ชาวทมิฬ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู) ร้อยละ 18 ชาวมุสลิม (แขกมัวร์และชาว
มาเลย์) ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการและภาษาประจาชาติ (ร้อยละ
74) ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการเช่นกัน (ร้อยละ 18) ภาษาอังกฤษใช้ติดต่อสื่อสารทั่วไปในภาครัฐ
และประชากรประมาณร้อยละ 10 สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประชากรส่วนใหญ่นับถือ
ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ร้อยละ 70 ศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 8 และศาสนา
อิสลาม ร้อยละ 71
ที่มาของชาวสิงหลดั้งเดิมยังไม่ปรากฏชัด แต่มีความเชื่อว่าย้ายมาจากทางตอน
เหนือของประเทศอินเดีย เมื่ออาณาจักรสิงหลเสื่อมถอยลง จึงมีการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ และ
ชาวสิงหลก็ได้ถอยร่นไปตั้งรกรากในบริเวณภาคใต้ของศรีลังกา การแย่งชิงอานาจระหว่างชาว
สิงหลและชาวทมิฬในอดีตมีมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 อิทธิพลของประเทศตะวันตก
ได้แพร่ขยายเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากประเทศโปรตุเกสในปี 2048 ซึ่งต่อมาทาให้ชาว
สิงหลต้องย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองแคนดี้ Kandy และต่อมาฮอลันดาเริ่มเข้ามาแผ่ขยายอานาจและ
ยึดเกือบทั้งเกาะได้ยกเว้นเมืองแคนดี้ในปี 2203 และในที่สุดทั้งเกาะลังกาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของส
หราชอาณาจักรในปี 2358 ช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครอง ได้สร้างสิ่งอานวยความสะดวกให้บริเวณที่
อยู่อาศัยของชาวทมิฬ (เมือง Jaffna) ซึ่งทาให้ชาวสิงหลซึ่งอยู่พื้นที่ส่วนอื่นของเกาะไม่พอใจ และ
กล่าวหาว่า ชาวทมิฬได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่า เพราะมิชชันนารี่ได้สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล
และเมืองทางตะวันออกที่มี ชาวทมิฬอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ได้รับความนิยมเป็นสถานที่พักผ่อน
ของชาวอังกฤษ จึงทาให้ ชาวทมิฬได้รับประโยชน์ไปด้วย อังกฤษนาชาวทมิฬจากอินเดียมาเป็น
คนงานในไร่ชา ซึ่งเป็นผลผลิตทางเกษตรที่สาคัญของลังกา ทาให้จานวนประชากรชาวทมิฬในภาค
กลางของลังกาขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ชาวทมิฬจากอินเดียมีความเป็นอยู่ที่ยากจน ทาให้มีความ
แตกต่างระหว่าง ชาวทมิฬเชื้อสายลังกาที่อยู่ทางเหนือ กับกลุ่มชาวทมิฬจากอินเดียที่มาใหม่ที่อยู่
ทางตะวันออก2
1
กรมเอเชียใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://sameaf.mfa.go.th/th/country/south-asia
2
Sri Lanka http://www.infoplease.com/country/sri-lanka.html
21
สภาพบริบททางการเมือง
ลังกา หรือ ศรีลังกาในปัจจุบัน ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 หลังจากได้รับเอกราชมี
เพียงสองพรรคการเมืองหลักของชาวสิงหลที่สลับกันอยู่ในอานาจ คือ พรรค United National Party
(UNP) และพรรค the Sri Lanka Federal Party (SLFP) โดยมีลาดับดังนี้3
ปี 2491 - 2499 พรรค UNP ภายใต้การนาของ D.S. Senanayake ต่อมาเป็นลูกชาย และผู้นา
ในช่วงปลาย คือ Sir John Kotelawala
ปี 2499 – 2508 พรรค SLFP เข้ามามีอานาจภายใต้การนาของ S.W.R.D. Bandaranaike และ
หลังจาก S.W.R.D. Bandaranaike ถูกลอบสังหารในปี 2502 ภรรยาหม้าย นาง Srimavo
Bandaranaike เข้ามารับตาแหน่งผู้นาแทน
ปี 2508 นาย Dudley Senanayake และพรรค UNP กลับคืนสู่อานาจอีกครั้งหนึ่ง
ปี 2513 นาง Sirimavo Bandaranaike กลับคืนสู่ตาแหน่งผู้นาอีกครั้ง
ปี 2514 มีการก่อความไม่สงบของกลุ่มคอมมิวนิสต์ Janatha Vimukthi Peramuna (JVP
หรือ People’s Liberation Front) พรรค SLFP ปราบการจราจล และประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีผล
บังคับใช้อยู่ถึง 6 ปี
ปี 2515 รัฐบาลของนาง Sirimavo Bandaranaike ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนชื่อ
ประเทศจาก Ceylon เป็น ศรีลังกา และใช้รูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ และยกให้
ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของประเทศ และให้มีการแต่งตั้งประธานาธิบดี ดาเนินนโยบาบด้าน
เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและใช้นโยบายชาตินิยมในการปกครอง
ปี 2520 พรรค UNP กลับสู่อานาจอีกครั้งภายใต้การนาของ J.R. Jayewardene และเปลี่ยน
นโยบายจากสังคมนิยมมาเป็นเสรีนิยม เศรษฐกิจเสรี และในปี 2521 แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้
อานาจการบริหารรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดี J.R. Jayewardene ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาให้
เป็นประธานาธิบดีในปี 2521 และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2525
ปี 2525 มีการลงประชามติให้ต่ออายุรัฐสภาเป็น 6 ปี
ปี 2531 นายกรัฐมนตรี Ranasingke Premadasa สามารถเอาชนะ นาง Sirimavo
Bandaranaike ของพรรค SLFP ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พรรค UNP ได้รับชัยชนะในการ
เลือกตั้งทั่วไปอย่างท่วมท้นในปี 2532
3
US Department of States – Background Notes http://www.state.gov/outofdate/bgn/srilanka/index.htm
22
ปี 2536 นาย Premadasa ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬ นาย Dingiri Banda
Wijetunga เข้ามารับตาแหน่งแทน และแต่งตั้ง นาย Ranil Wickremesinghe เป็นนายกรัฐมนตรี
ปี 2537 พรรค SLFP ภายใต้รัฐบาลผสมของ People’s Alliance (PA) กลับคืนสู่อานาจเป็น
ครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยมี Chandrika Bandaranaike Kumaratunga เป็นนายกรัฐมนตรี นาก
รัฐมนตรี นาง Kumaratunga ลงชิงตาแหน่งประธานาธิบดีและชนะการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน
2537 และหลังจากนั้นแต่งตั้งมารดาของตัวเอง (นาง Sirimavo Bandaranaike)เข้ารับตาแหน่ง
นายกรัฐมนตรีแทน ประธานาธิบดี Kumaratunga ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2542
ปี 2543 นาง Sirimavo Bandaranaike ลาออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง
Ratnasiri Wickramanayaka มารับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน
ปี 2544 พรรค UNP กลับสู่อานาจอีกครั้ง ภายใต้การนาของนายกรัฐมนตรี Ranil
Wicknemasinghe โดยนาง Chandrika Kumaratunga ยังคงดารงตาแหน่งประธานาธิบดี
ปี 2546 ประธานาธิบดี Kumaratungka ดูแลกระทรวงเพิ่มเติมอีก 3 กระทรวงซึ่งนับเป็นการ
รวบอานาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ปะธานาธิบดี
ปี 2547 พรรค SLFP และกลุ่ม JVP ก่อตั้งกลุ่มการเมืองขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม the United
People’s Freedom Alliance (UPFA) ซึ่งต่อมาประธานาธิบดี Kumaratunga ประกาศยุบสภา และ
จัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรค UPFA ได้คะแนน 45% และพรรค UNP ได้
37% ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เสียงข้างมากในสภา แต่พรรค UPFA สามารถร่วมกับพรรคอื่นๆในการจัดตั้ง
รัฐบาล และแต่งตั้งนาย Mahindra Rajapaksa เป็นนายกรัฐมนตรี
ปี 2548 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี นาย Mahindra Rajapaksa ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น
ประธานาธิบดี โดยมีนาย Ratsiri Wickramanayake เป็นนายกรัฐมนตรี
ปี 2553 นาย Mahindra Rajapaksa ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้ดารงตาแหน่ง
ประธานาธิบดี จนถึงปัจจุบัน
ความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์
ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬศรีลังกา เป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่มี
ผลสืบเนื่องมาจากยุคอาณานิคม เช่นเดียวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติในอีกหลายๆ ประเทศในเอซีย
ใต้ อันเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม โดยในยุค
ที่อังกฤษปกครองชาวทมิฬซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยมีสถานะทางสังคมสูงกว่าชาวสิงหลที่เป็น
ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวสิงหลได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล
ปกครองประเทศ และเลือกที่จะดาเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อชาวสิงหลซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่
ของประเทศ แทนที่จะดาเนินนโยบายที่ให้ความเป็นธรรมกับคนส่วนน้อยอย่างชาวทมิฬ โดยเฉพาะ
23
เรื่องการศึกษาและภาษา ส่งผลให้ชาวทมิฬรู้สึกถึงการเลือกปฏิบัติและการกีดกันการเข้าถึงโอกาส
ทางสังคมและเศรษฐกิจ ชาวทมิฬที่ได้รับการศึกษาสูงและยังมีอายุน้อยแต่ต้องเผชิญกับปัญหาการ
ว่างงานอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม จึงนาไปสู่การก่อจลาจลและในที่สุดก็เข้า
ร่วมกับฝ่ายทหารชาวทมิฬเพื่อสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเพื่อทาการแบ่งแยกดินแดน ภายใต้การนาของ
นายกรัฐมนตรี D.S. Senaanyake นายกรัฐมนตรีคนแรกของลังกา ออกกฎหมายขับไล่ชาวทมิฬที่ไร้
สัญชาติ ความรู้สึกไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นเมื่อ S.W.R.D. Bandaranaike ชนะการเลือกตั้งในปี 2499
และดาเนินนโยบายชาตินิยมสิงหลรัฐบาลได้เสนอกฎหมาย Sinhala Only Act of 24994
ซึ่งให้ใช้
ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการแทนจากเดิมที่ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้โดยอ้างว่า มีประชากรชาวสิงหล
เป็นชนส่วนใหญ่ถึง 74% ของจานวนประชากรทั้งหมด แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกประท้วงโดยชาว
ทมิฬ เพราะแต่เดิมชาวทมิฬที่ได้รับการศึกษาดีจะใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการ การออก
กฎหมายดังกล่าวทาให้ชาวทมิฬรู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ เพราะหากกฎหมายฉบับนี้ออกมาเท่ากับทุกคน
ตกงาน การออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของชาวสิงหลเท่านั้นในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของ
เหตุการณ์ต่างๆ ในภายหลัง ชาวทมิฬประท้วงต่อต้านนโยบายด้านการศึกษา และด้านการเกษตร
ของรัฐบาล ซึ่งส่งเสริมให้ชาวนาชาวสิงหลทางตอนใต้ย้ายไปทาการเกษตรในภาคตะวันออก การ
ออกกนโยบายเพื่อสิงหลเท่านั้น หรือ Sinhala Only Act of 2499 นาไปสู่การก่อการจราจล และการ
ประท้วงของชาวทมิฬ แนวคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระจึงเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2513 นักการเมืองชาว
ทมิฬ หรือ กลุ่มทมิฬอีแลม (Tamil Eelam) เปลี่ยนการเรียกร้องจากเดิมให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการ
ปกครองจากรัฐเดี่ยวเป็นสาธารณรัฐ เป็นการเรียกร้องที่จะแยกตัวเป็นอิสระ หรือ การแบ่งแยก
ดินแดนของชาวทมิฬในทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นที่ๆชาวทมิฬดั้งเดิมอาศัย
อยู่เป็นส่วนใหญ่ พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2519 โดยเน้น
การเคลื่อนไหวด้วยแนวทางทางการเมืองไ ด้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในเขตพื่นที่ทมิฬภายใต้
นโยบายการแบ่งแยกดินแดน แต่การเคลื่อนไหวในแนวทางการเมืองถูกต่อต้านจากชาวสิงหลที่มีที่
นั่งมากกว่าในสภาส่วนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะ the Libertion Tigers of Tamil Eelam (LTTE หรือ
Tamil Tigers) ใช้กองกาลังติดอาวุธเป็นแนวทางเคลื่อนไหวข้อเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน ขบวนการ
ปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) มีหัวหน้าคือ นาย Velupillai Prabhakaran และมีจุดมุ่งหมาย
ในการแบ่งแยกดินแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นมาตุภูมิของทมิฬ เพื่อจัดตั้งเป็น
รัฐเอกราชทมิฬ ดังนั้นวิธีการการต่อสู้ของชาวทมิฬ มี 2 รูปแบบ คือ วิธีการทางการเมือง ด้วยการ
จัดตั้งพรรคการเมืองชาวทมิฬ และวิธีการใช้ความรุนแรง โดยการจัดตั้งกองกาลังติดอาวุธต่อสู้กับ
4
Dharmadasa, K.N.O. 1996. "Language Policy in a Multi-Ethnic Society: The Case of Sri Lanka.". In Gunasekera, Olcott R.G.G.,
Samarasinghe, S.G., and Vamadevan, V. 1996. National Language Policy in Sri Lanka: 1956 to 1996 Three Studies in its
Implementation. Ed. K.N.O.Dharmadasa. International Centre for Ethnic Studies, Kandy, Sri Lanka
24
รัฐบาลศรีลังกา กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือ LTTE มีชื่อเสียงอย่างมากในการใช้ระเบิดพลีชีพโจมตี
เป้าหมาย การระบิดพลีชีพที่สาคัญที่สุดคือ การสังหารประธานาธิบดี Premadsa และอดีต
นายกรัฐมนตรี ราจีพ คานธี แห่งอินเดีย สามารถก่อวินาศกรรมทาลายอาคารและสิ่งอานวยความ
สะดวกของรัฐบาล อาทิ การใช้รถบรรทุกพุ่งชนธนาคารชาติศรีลังกา เป็นต้น การก่อการร้ายทาง
ทะเล โดยการโจมตีเรือสินค้าในน่านน้าศรีลังกา รวมทั้งเรือสินค้าระหว่างประเทศ5
การทาสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานมีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ
ประเทศสงครามกลางเมืองสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทาให้การจัดตั้งเขตการค้าเสรี
เพื่อดูดซับการลงทุนจากต่างประเทศไม่ประสบความสาเร็จ ประชาชนชาวทมิฬก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับ
สภาพความลาบากทางเศรษฐกิจจากการตัดขาดจากส่วนอื่นๆของประเทศ เนื่องจากการปิดล้อมทาง
เศรษฐกิจโดยฝ่ายรัฐบาลส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะเชื้อเพลิง การขาดแคลนสินค้ามี
ขึ้นทั่วไป
บทบาทของอินเดีย
แม้ศรีลังกาเป็นประเทศเกาะ แต่การที่มีพรมแดนใกล้กับพื้นที่ส่วนล่างของอินเดีย
โดยเฉพาะรัฐทมิฬนาดู ที่มีประชากรชาวทมิฬเป็นจานวนมากด้วยเช่นกัน ชาวอินเดียเชื้อสายทมิฬ
ในรัฐทมิฬนาดู มีความเห็นอกเห็นใจกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬในศรีลังกา ซึ่งทาให้พื้นที่นี้เป็นเขต
หลบซ่อนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทมิฬ
ในปี 2530 อินเดียเข้ามามีบทบาทในความขัดแย้งด้านเชื้อชาติในศรีลังกา โดยการลาเลียง
อาหารทางอากาศเพื่อบรรเทาความอดอยากของชาวทมิฬ ซึ่งเป็นผลมาจากการปิดกั้นทางเศรษฐกิจ
ของรัฐบาลศรีลังกาต่อพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออก ภายใต้ข้อตกลงระหว่างอินเดียและศรี
ลังกาในปี 2530 โดย นายกรัฐมนตรี นายราจีฟ คานธี และ ประธานาธิบดี Jayardene ยอมรับ
ข้อเสนอของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬหลายข้อ ซึ่งรวมถึง การกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น การ
ควบรวมพื้นที่ตอนเหนือและตะวันออก และให้ใช้ภาษาทมิฬเป็นภาษาทางการในพื้นที่ดังกล่าว
อินเดียตกลงส่งหน่วยส่งเสริมสันติภาพเข้าไปในศรีลังกาและหยุดให้การช่วยเหลือกลุ่มแบ่งแยก
ดินแดนทมิฬ ในช่วงเวลาสั้นๆถึงแม้ว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬจะลังเลใจแต่ก็ตกลงยอมวางอาวุธ
อย่างไรก็ตาม กลุ่ม LTTE กลับมาจับอาวุธอีกครั้งตามข้อเรียกร้องเดิม คือ การแบ่งแยกดินแดน และ
ปฏิเสธที่จะวางอาวุธ หน่วยส่งเสริมสันติภาพของอินเดียต้องเผชิญกับการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม
LTTE เหตุการณ์ความรุนแรงยิ่งทวีคูณขึ้นเมื่อชาวสิงหลทางตอนใต้ก่อการจราจล กลุ่มนิยม
คอมมิวนิสต์ JVP ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของชาวสิงหลต่อข้อตกลงระหว่างอินเดียและศรี
5
Jayshree Bajoria, The Sri Lankan Conflict, Council on Foreign Relations 18 May 2009: http://www.cfr.org/terrorist-
organizations-and-networks/sri-lankan-conflict/p11407
25
ลังกา รณรงค์ให้ต่อต้านข้อตกลงนี้ นักการเมืองพรรค UNP และเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกลอบสังหาร
จานวนมาก ทาให้รัฐบาลต้องเพิ่มกาลังในการปราบจราจลทางตอนใต้ ซึ่งทาให้เกิดการสูญเสีย
จานวนมาก อินเดียถอนกาลังออกจากศรีลังกาในปี 25336
ด้วยความที่เป็นเพื่อนบ้านที่ขนาดต่างกันมาก ทาให้ศรีลังกาหวาดระแวงอินเดีย โดยเฉพาะ
ชาวทมิฬจากแคว้นทมิฬนาฑูซึ่งมีจานวนมากกว่าชาวทมิฬในศรีลังกา ศรีลังกาเชื่อมความสัมพันธ์
กับจีนเพื่อหวังให้เข้ามาถ่วงดุลอิทธิพลอินเดีย ถึงแม้จะเป็นการท้าทายอินเดีย แต่ก็ทาให้ศรีลังกามี
ความสาคัญทางยุทธศาสตร์มากขึ้น
กระบวนการสร้างสันติภาพ
สงครามระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ดาเนินมาถึงขั้นรุนแรงที่สุดในปี 2534 จากนั้นทั้งฝ่ายรัฐบาล
และฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬก็ได้เริ่มมองหาช่องทางที่จะเจรจา ในเดือนธันวาคม 2544 พรรค UNP ชนะการ
เลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล นาไปสู่การลงนามครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกันระหว่างประธานาธิบดี
Chadrika Kumaratunga กับ นาย Velupillai Prabhakaran ผู้นาฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในข้อตกลงหยุด
ยิงระหว่างฝ่ายรัฐบาลศรีลังกากับฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในปี 2545 ซึงการหยุดยิงครั้งนี้มี นอร์เวย์
เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬ หรือ LTTE ยุติการเจรจาในปี 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายตนไม่ได้รับ
ความสาคัญ และในปีถัดมา ฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬใช้ระเบิดพลีชีพแกครั้งนับจากที่มีข้อตกลงหยุดยิง
ร่วมกันกับรัฐบาลศรีลังกา ในปี 2547 กลุ่มทมิฬที่อยู่ด้านตะวันออกนาโดยนาย Karuna แยกตัวออก
จากกลุ่ม LTTE และต่อมาในปี 2549 จัดตั้งพรรคการเมือง Tamil People’s Liberation Tigers ซึ่งทั้ง
สองฝ่ายมีการใช้กาลังในการต่อสู้กันเป็นระยะๆ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลศรี
ลังกาและกลุ่ม LTTE
ในขณะที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2548 กลุ่ม LTTE ชักชวนให้ชาวทมิฬไม่
ออกไปเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับเป็นการปฎิเสธพรรค UNP ซึ่งเชื่อเรื่องการยุติความขัดแย้งด้วยการเจรจา
จึงส่งผลให้พรรค SLFP โดยการนาของ Mahindra Rajapaksa ชนะการเลือกตั้ง และยังส่งผลให้การ
ต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและ LTTE มีความรุนแรงมากขึ้น ประธานาธิบดี Rajapaksa มีนโยบาย
ปราบปรามกลุ่ม LTTE อย่างเด็ดขาด รัฐบาลศรีลังกาได้ยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงเมื่อเดือนมกราคม
2551 และเปลี่ยนมาใช้มาตรการทางทหารจัดการกับกลุ่ม LTTE โดยตั้งเป้าหมายปราบปรามกลุ่ม
LTTE ให้หมดสิ้นภายในกลางปี 2552 ส่งผลให้กลุ่ม LTTE อ่อนกาลังลงอย่างมาก แต่ระหว่างนั้นก็
ยังคงใช้การก่อการร้ายตอบโต้รัฐบาลศรีลังกาอยู่บ่อยครั้ง เช่น การวางระเบิดบริเวณชุมชนใจกลาง
กรุงโคลัมโบหลายครั้ง ทั้งที่สถานีรถไฟ สวนสัตว์ รถประจาทาง และห้างสรรพสินค้า การลอบ
6
Vernon Marston Hewitt, The International Politics of South Asia, Manchester University Press, 1992
26
สังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล อาทิ นาย D.M. Dassanayake รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ
สร้างชาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 และนาย J. Fernandopulle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทางหลวง
และการพัฒนาถนน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2551 เป็นต้น
สืบเนื่องจากเดือน กรกฎาคม 2550 ที่รัฐบาลศรีลังกาสามารถยึดเมือง Thoppigala (ห่างจาก
กรุงโคลัมโบประมาณ 320 ก.ม. ทางทิศตะวันออก) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของ LTTE ในภาค
ตะวันออกของประเทศ รัฐบาลพยายามช่วงชิง โอกาสที่กลุ่ม LTTE กาลังอยู่ในสถานะเสียเปรียบ
ใช้กาลังเข้าปราบปรามกลุ่ม LTTE ให้ราบคาบ โดยเริ่มแผนปฏิบัติการทางทหารครั้งใหม่ตั้งแต่
เดือนกันยายน 2551 รัฐบาลศรีลังกาสามารถยึดคืนเมืองสาคัญต่าง ๆ ที่เป็นฐานปฏิบัติการของกลุ่ม
LTTE ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมือง Kilinochchi ซึ่งเปรียบเสมือนเมือง
หลวงของกลุ่ม LTTE และเมือง Mullaitivu ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอถึงช่วงต้นเดือน
พฤษภาคม 2552 กลุ่ม LTTE จาเป็นต้องถอยร่นไปอยู่ในบริเวณแนวชายฝั่งทาง
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และตกเป็นฝ่ายตั้งรับ7
ภายหลัง จากการโจมตีอย่างหนักหน่วงของกองทัพศรีลังกา กลุ่ม LTTE ประกาศหยุดยิง
ฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2552 ต่อมา รัฐบาลศรีลังกาประกาศชัยชนะเหนือกลุ่ม LTTE เมื่อ
วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 หลังจากที่กองทัพศรีลังกาสามารถสังหารนาย Velupillai Prabhakaran
ผู้นาของกลุ่ม LTTE ได้สาเร็จ ถือเป็นการสิ้นสุดการสู้รบภายในประเทศ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทางเชื้อ
ชาติระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่ดาเนินมาเกือบ 30 ปี
ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการการเจรจาสันติภาพที่มีการประชุมมาทั้งหมด 8 ครั้ง โดย
การเจรจาฯ จัดขึ้นที่ไทย 3 ครั้ง (กันยายน/ตุลาคม 2545 และมกราคม 2546) การเจรจาฯ ครั้งสุดท้าย
จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2549 ที่นครเจนีวา ก็ไม่ปรากฏผลที่สาคัญใดๆ อาจกล่าวได้ว่า การ
เจรจาฯ ที่ผ่านไม่สามารถบรรลุผลใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายขาดความไว้วางใจ
ซึ่งกันและกัน ตลอดจนความจริงใจที่จะยุติปัญหาทาการเมืองอย่างถาวร แม้จะได้รับแรงกดดันอย่าง
ต่อเนื่องจากประเทศตะวันตก ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายต่างละเมิดความตกลงการ
หยุดยิงอยู่เนือง ๆ
เงื่อนไขทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการสร้างสันติภาพและ/หรือความขัดแย้ง
การรวบอานาจเบ็ดเสร็จ
7
International IDEA, Democratization of the Peace Process: Sri Lanka
www.idea.int/publications/dchs/upload/dchs_vol2_sec5_4.pdf
27
รัฐบาลไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรในการสร้างความปรองดอง ตลอดจนให้ความยุติธรรม
และเอาผิดผู้กระทาผิดในกรณีซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็น อาชญากรรมสงคราม ปัญหาร้ายแรงด้านสิทธิ
มนุษยชนที่ยังคงเกิดขึ้นรวมถึงการหายสาบสูญและการที่รัฐบาลไม่ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับผู้คนหลาย
พันคนที่หายสาบสูญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งการยกเว้นโทษในหลายกรณีสาหรับการละเมิด
สิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตารวจและการโจมตีสถาบันสื่อและ
ตุลาการ การโจมตีและคุกคามนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมและชนกลุ่มน้อยทางศาสนามีส่วน
ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ตกอยู่ในความหวาดกลัวและมีการเซ็นเซอร์ตัวเอง
รัฐบาลศรีลังกายังคงกุมอานาจอย่างแน่นหนาในปี พ.ศ. 2555 มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่
สาคัญเกิดขึ้นในช่วงปี และรัฐบาลได้ดาเนินความพยายามที่สาคัญเพียงเล็กน้อยในการสร้างความ
ปรองดอง กับชุมชนชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ ประธานาธิบดีใช้อานาจภายใต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ
ครั้งที่ 18 ควบคุมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐที่เคยเป็นองค์กรอิสระดูแลด้าน ตุลาการ
ตารวจ และการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การปฏิเสธการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยและเป็นธรรมยังคง
เป็นปัญหา และในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดาเนินขั้นตอนเพื่อถอดถอนประธานศาลสูงสุด เมื่อถึง
สิ้นปี ศาลอุทธรณ์กาลังเตรียมการพิจารณาข้อโต้แย้งว่า การที่รัฐสภาเข้าควบคุมดูแลฝ่ายตุลาการ
นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลโจมตีและคุกคามผู้ปฏิบัติงานใน
ภาค ประชาสังคม นักหนังสือพิมพ์ และผู้ที่ถูกมองว่าเห็นอกเห็นใจกลุ่ม LTTE ยังคงมีการหาย
สาบสูญโดยไม่สมัครใจ และรัฐบาลไม่ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับผู้คนหลายพันคนที่หายสาบสูญในช่วง
หลายปี ที่ผ่านมา การยกเว้นโทษจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เป็นไปอย่าง
กว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตารวจ การโจมตีสถาบันสื่อและตุลา
การ และความรุนแรงทางเพศ ยังคงเป็นปัญหาร้ายแรง ฝ่ายความมั่นคงและกลุ่มกองกาลังติดอาวุธที่
เข้าพวกกับรัฐบาลก่อเหตุสังหาร โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยเฉพาะในพื้นที่ชาวทมิฬ การเลือก
ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬยังคงดาเนินอยู่ และจานวนเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นชาว
ทมิฬอยู่ในสัดส่วนที่ไม่สมควร ความพยายามในการปรองดองของศรีลังกานั้นยังไม่เพียงพอและ
ประเทศกาลังจะเข้าสู่การเป็นรัฐอานาจนิยม การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจทาให้ประเทศมีความเสี่ยงที่
จะกลับไปสู่ภาวะความขัดแย้งอีกครั้ง8
ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ
ศรีลังกา ได้รับการจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้ ต่า – ปานกลาง ล่าสุดมีอัตราการเติบโต
ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2556) อยู่ที่ ร้อยละ 7.6% รายได้ประชากรโดยเฉลี่ยต่อหัว
อยู่ที่ 5,384.26 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี ประชากรส่วนใหญ่ยังมีความยากจน ความขัดแย้งอย่าง
8
Interview Dr Rajiva Wijesinha, Member of Parliament, 4 August 2014
28
รุนแรงที่ผ่านมาส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่มีโอกาสให้
การสร้างรายได้ และไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในพื้นที่สงครามทางตอนเหนือและ
ตะวันออก ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญที่ทาให้ประชากรในพื้นที่เหล่านั้นมีความยากจน
หลังจากการวางอาวุธ และการปฎิรูปเศรษฐกิจในปี 2545 ส่งผลอัตราการเติบโตของ
เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว อัตราการเติบโตอยู่ที่ 6.0% ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น5.4%
ในปี 2547 และเพิ่มขึ้นเป็น 6% ในปี 2548 และมีเสถียรภาพมากขึ้นในปีถัดมา โดยมีอัตรเติบโตอยู่ที่
7.4% ในปี2549
ประธานาธิบดี Rajapaksa ดาเนินนโยบายเศรษฐกิจและสังคมโดยอาศัยหลักการ Mahinda
Chintana (Mahinda Vision) หรือวิสัยทัศน์แห่งมาฮินดา ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่มี
ระยะเวลาดาเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ 2549 - 2559 โดยเน้นการพัฒนาสถาบันครอบครัวเป็นแกนหลัก
ของสังคม ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การขจัดความยากจนแบบยั่งยืน และมีแนวทางปฏิบัติ คือ การ
สร้างสังคมที่มีวินัย โดยการรักษาวัฒนธรรมและศีลธรรม ประชาชนทุกคนและทุกหน่วยงานต้อง
ให้ความเคารพกฎหมาย มีธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ รัฐบาลจะดาเนินนโยบายที่
สามารถเข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยให้ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและปฏิบัติ
ศาสนกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมของประเทศให้เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชน สร้างองค์ความรู้ ทักษะ
ความเข้มแข็ง และสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชน รัฐบาลศรีลังกาได้จัดสรรงบประมาณ 2.15 แสนล้าน
รูปี (ประมาณ1600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูจังหวัดต่าง ๆ
ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า น้าดื่มและการศึกษาคือความสาคัญอันดับต้น ๆ
ศรีลังกาได้เปิดทางด่วนสายแรกของประเทศในปี พ.ศ. 2555 และทางด่วนสนามบินที่เชื่อมระหว่าง
ศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศในเมืองคาตูนายาเกะกับกรุงโคลัมโบซึ่งเป็นเมืองหลวงของ
ประเทศเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 อย่างไรก็ตาม อนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา
ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมือง การกลับคืนสู่ความสงบสุข และนโยบายที่มีความต่อเนื่อง
การชาระอดีต
การตรวจสอบเรื่องที่ผ่านมาเพื่อค้นหาความจริงและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นขั้นตอน
สาคัญในการก้าวต่อไปข้างหน้า ของประเทศที่ผ่านศึกของความขัดแย้งรุนแรง โดยเฉพาะการใช้
กาลังทางการทหารในการยุติสงครามเชื้อชาติอย่างเช่นประเทศศรีลังกา ศรีลังกาถูกประเทศ
ตะวันตกประณามและโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วงที่กองทัพศรีลังกา
ดาเนินการปราบปรามกลุ่ม LTTE ประเทศตะวันตกหลายประเทศพยายามเรียกร้องให้มีการ
สอบสวนการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยกองทัพ
และรัฐบาลศรีลังกา นานาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลศรีลังกานาตัวผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม
สงครามมาลงโทษ และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูสันติภาพ รัฐบาลศรีลังกา ยืนกรานปฏิเสธเรื่อง
29
กองทัพละเมิดสิทธิชนกลุ่มน้อย และยืนยันว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนกรณีคนหาย ซึ่งส่วน
ใหญ่เป็นชาวทมิฬ และยืนยันว่าไม่ได้ก่ออาชญากรรมสงครามและแย้งว่าการสืบสวนเต็มไปด้วย
อคติ
สหประชาชาติออกรายงานฉบับหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ชาวทมิฬประมาณ 40,000
คนเสียชีวิตในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายของความขัดแย้ง โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะถูกกระสุน
ปืนของฝ่ายรัฐบาล ประธานาธิบดี Mhindra Rajapaksa ได้จัดตั้งคณะทางานขึ้นในเดือนสิงหาคม
พ.ศ. 2556 ตามคาขอของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ
ตรวจสอบข้อกล่าวหากรณีอาชญากรรมสงคราม แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการนาเสนอความคืบหน้าใดๆ
นาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง
คณะกรรมการไต่สวนอิสระจากนานาชาติ เกี่ยวกับการกระทาที่เข้าข่าย “อาชญากรสงคราม ” ที่
เกิดขึ้น ระหว่างสงครามกลางเมืองในศรีลังกา ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น เชื่อว่า มี
ความจาเป็นที่ต้องจัดตั้งกลไกที่เป็นอิสระจากนานาชาติในการสืบสวนหาความจริงต่อการละเมิด
สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองศรีลังกา เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบภายใน
ของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนาของ ประธานาธิบดีมหินทา ราชปักษา ขาดความน่าเชื่อถือ และ
ปราศจากความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม9
การเรียกร้องของนานาชาติให้มีการไต่สวน เกี่ยวกับการกระทาที่เข้าข่าย “อาชญากร
สงคราม” ที่เกิดขึ้น ระหว่างสงครามกลางเมืองในศรีลังกา ได้ปลุกกระแสชาตินิยมในประเทศศรี
ลังกา ความไม่พอใจประเทศตะวันตกมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความนิยมในตัวประธานาธิบดี
ต่อการปฏิเสธที่จะทาตามการเรียกร้องดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ยังคงต้องดูกันต่อไปว่ารัฐบาล
ศรีลังกาจะดาเนินการต่อไปอย่างไรต่อการเรรียกร้อง จากนานาชาติในการสืบสวนหาความจริงต่อ
การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองศรีลังกา
การกระจายอานาจ
ในปี พ.ศ. 2556 ศรีลังกาได้จัดการเลือกตั้งระดับจังหวัด (Provincial Council) ขึ้นเป็นครั้ง
แรกในรอบ 25 ปี ทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวทมิฬอยู่เป็นส่วนใหญ่ การเลือกตั้ง
สภาปกครองจังหวัดในภาคเหนือ อาจจะเป็นตัวชี้วัดถึงสถานะความปรองดองทางชาติพันธุ์และ
ความก้าวหน้าทางการเมืองในศรีลังกา ผู้สมัครจากพรรคพันธมิตรทมิฬแห่งชาติ Tamil National
Alliance (ทีเอ็นเอ TNA) ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นตามความคาดหมาย โดยได้รับคะแนนเสียง
มากกว่าผู้สมัครจากพรรคพันธมิตรเสรีภาพประชาชนรวม United People’s Freedom Alliance (ยูพี
9
Reuters, U.N. chief says access not a must for Sri Lanka war crimes probe By Nita Bhalla 11 August 2014
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา
ศรีลังกา

More Related Content

What's hot

แบบทดสอบหน่วย4
แบบทดสอบหน่วย4แบบทดสอบหน่วย4
แบบทดสอบหน่วย4
Rattana Wongphu-nga
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัน พัน
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
พัน พัน
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
sutima piboon
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
Akkradet Keawyoo
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
Paew Tongpanya
 

What's hot (20)

แบบทดสอบหน่วย4
แบบทดสอบหน่วย4แบบทดสอบหน่วย4
แบบทดสอบหน่วย4
 
ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์ศาสนาคริสต์
ศาสนาคริสต์
 
Casestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณีCasestudy การศึกษารายกรณี
Casestudy การศึกษารายกรณี
 
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร4 6
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร4 6วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร4 6
วิวัฒนาการของศิลปะไทย ร4 6
 
งานนำเสนอโครงงานจิตอาสา
งานนำเสนอโครงงานจิตอาสางานนำเสนอโครงงานจิตอาสา
งานนำเสนอโครงงานจิตอาสา
 
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรีพัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
พัฒนาการของอาณาจักรธนบุรี
 
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรงการศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
การศึกษารายกรณี ครูธัญญา ซื่อตรง
 
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
ใบความรู้+แผนการสอนและใบกิจกรรม ประถม4-6 เรื่อง วรจรไฟฟ้า+ป.6+290+dltvscip6+P...
 
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัดโครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
โครงการจิตอาสาพัฒนาวัด
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
 
หนังสือการ์ตูนวิถีธรรมตามรอยพ่อ
หนังสือการ์ตูนวิถีธรรมตามรอยพ่อหนังสือการ์ตูนวิถีธรรมตามรอยพ่อ
หนังสือการ์ตูนวิถีธรรมตามรอยพ่อ
 
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
โครงงาน เรื่อง การศึกษาปัญหาการอ่านหนังสือของคนไทย
 
กิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศกิตติกรรมประกาศ
กิตติกรรมประกาศ
 
ความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็นความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
 
ความหมายและประเภทของศาสนา
ความหมายและประเภทของศาสนาความหมายและประเภทของศาสนา
ความหมายและประเภทของศาสนา
 
หัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่มหัวใจชายหนุ่ม
หัวใจชายหนุ่ม
 
ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์ศาสนาซิกข์
ศาสนาซิกข์
 
โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์โครงงานคอมพิวเตอร์
โครงงานคอมพิวเตอร์
 
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยหน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
หน่วยที่ 3 เศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
 

Viewers also liked

ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกันยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
Taraya Srivilas
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
Taraya Srivilas
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Taraya Srivilas
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
Taraya Srivilas
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Taraya Srivilas
 

Viewers also liked (20)

Part 2 ปัญหาความขัดแย้งในศรีลังกา
Part 2 ปัญหาความขัดแย้งในศรีลังกาPart 2 ปัญหาความขัดแย้งในศรีลังกา
Part 2 ปัญหาความขัดแย้งในศรีลังกา
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
การสร้างความปรองดองแห่งชาติการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ
 
ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกันยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
ยุทธศาสตร์การวางกำลังกองทัพอเมริกัน
 
Framework 4ส6
Framework 4ส6Framework 4ส6
Framework 4ส6
 
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
1สรุปโครงการดรีม ไทยแลนด์
 
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุงฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
ฐานข้อมูลสตรีเครือข่าย ปรับปรุง
 
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
Final paper bosnia, ja aui collected, 15.03.13, 06.39 am.
 
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-599. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
9. รศ.ดร.ฉันทนา (รัฐศาสตร์ ๖๐ สำรวจขันติธรรม) 1 07-59
 
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองการศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง
 
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือจากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
จากสงครามสู่สมานฉันท์ ลองฟังประสบการณ์จากไอร์แลนด์เหนือ
 
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคมส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
ส่งเสริมความเข้มแข็งของสถาบันศาสนา เพื่อให้เป็นสถาบันหลักของสังคม
 
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
3. อ.เมธัส อนุวัตรอุดม 27 05-59 รายงานสนทนาชายแดนใต้-ปาตานี
 
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนีบทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
บทเรียนประชาธิปไตยจากประเทศเยอรมนี
 
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบันรายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
รายงานสันติสุขเกิดได้ภายใต้ความแตกต่าง ส่งสถาบัน
 
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยพุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
พุทธบูรณาการสมานฉันท์และลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
 
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
สรุปถอดบทเรียน 4ส6 เข้ากรรมการ 1
 
เนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-Newเนื้อใน สันติสุข-New
เนื้อใน สันติสุข-New
 
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
Peace processes as joint learning processes of stakeholders and insider peace...
 
iร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญiร่างรัฐธรรมนูญ
iร่างรัฐธรรมนูญ
 
Thai civic org
Thai civic orgThai civic org
Thai civic org
 

Similar to ศรีลังกา

ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
Taraya Srivilas
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
jirapom
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
benty2443
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
omsnooo
 

Similar to ศรีลังกา (20)

Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอนMicrosoft word   แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
Microsoft word แผนบริหารการจัดการเรียนการสอน
 
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
โครงการสืบสานพระราชปณิธาน รัชกาลที่ 10
 
ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1ถอดเทปสันติธานี 1
ถอดเทปสันติธานี 1
 
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมสิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อม
 
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพแนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
แนวข้อสอบ ความรู้ทั่วไป และมาตรฐานวิชาชีพ
 
รายงานปรองดอง สปช ปรับปรุง
รายงานปรองดอง สปช ปรับปรุงรายงานปรองดอง สปช ปรับปรุง
รายงานปรองดอง สปช ปรับปรุง
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
5 170819173404
5 1708191734045 170819173404
5 170819173404
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
บทที่ 5
บทที่ 5บทที่ 5
บทที่ 5
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 

More from Taraya Srivilas

More from Taraya Srivilas (20)

การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจกการบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
การบริหารความขัดแย้ง บยส แจก
 
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจกนโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
นโยบายการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี วทอ แจก
 
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคมโปสเตอร์สัญญาประชาคม
โปสเตอร์สัญญาประชาคม
 
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
จริยธรรมทางการแพทย์ 75 ปธพ.6
 
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงานการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาท การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในการทำงาน
 
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชนแนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
แนวทางในการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อลดความขัดแย้งในการจัดการป่าม้ระดับชุมชน
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจกสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว  แจก
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง สจว แจก
 
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
ค้นหาตัวเอง อุซะ usa 69
 
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจสันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
สันติวิธีในการจัดการความขัดแย้ง วิทยาลัยตำรวจ
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 webสถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 web
 
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8 สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
สถานการณ์ความขัดแย้งจากสังคมโลกสู่รากหญ้า สสสส8
 
American first muslim
American first muslimAmerican first muslim
American first muslim
 
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทยการสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
การสร้างความสามัคคีปรองดอง ปยป. และ ความสมานฉันท์ในสังคมไทย
 
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิงสถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
สถิติเกี่ยวกับผู้หญิง
 
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
บทบาทสตรีสันติภาพชายแดนใต้
 
บทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคตบทบาทสตรีในอนาคต
บทบาทสตรีในอนาคต
 
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุขบทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
บทบาทสตรีกับการสร้างสรรค์สังคมสันติสุข
 
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
การจัดการความขัดแย้งในพื้นที่
 
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้าการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
การสร้างความปรองดองแห่งชาติ สถาบันพระปกเกล้า
 

ศรีลังกา

  • 1. ก กรณีความขัดแย้งประเทศศรีลังกา กิตติกรรมประกาศ รายงานการศึกษาดูงานประเทศศรีลังกา ฉบับนี้จัดทาขึ้น เพื่อประมวล นาเสนอข้อมูลองค์ ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานประเทศศรีลังกาที่สถาบันพระปกเกล้าจัดให้กับนักศึกษาใน หลักสูตรเสริมสร้างสังคมสังคมสันติสุข รุ่น 5 ในระหว่างวันที่ 3-9 สิงหาคม 2557 ด้วยความใส่ใจ ดูแลด้วยเมตตา ตลอดจนให้ความคิด มุมมอง คาแนะนา ข้อมูล องค์ความรู้ และการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากท่านผู้บริหาร และ อาจารย์ที่ปรึกษา คือ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ และ ดร. นายแพทย์ บรรพต ต้นธีรวงศ์ ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษาในหลักสูตรทุกท่าน และทีมงาน ของสถาบันพระปกเกล้า ทาให้นักศึกษาได้รับความรู้ ประสบการณ์ที่ประทับใจ ยากที่จะลืม ทั้งใน เชิงวิชาการ เชิงความสัมพันธ์ และการเรียนรู้วัฒนธรรมวิถีชีวิต จึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง มา ณ โอกาสนี้ นอกจากนี้ก่อนการศึกษา ดูงาน นักศึกษาได้รับการปูพื้นฐานความรู้ แนวคิด และมุมมอง ในมิติใหม่ จากท่านฑูตพลเดช วรฉัตร Dr.Norbert Reberts และอาจารย์เมธัส อนุวัตรอุดม ซึ่งทา ให้การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีความหมายมากขึ้น และเกิดความปิติ อิ่มเอม ยิ่งขึ้น จึงใคร่ขอกราบ ขอบพระคุณวิทยากรทุกท่านเป็นอย่างสูง การศึกษาดูงานในครั้งนี้มีกิจกรรมต่อเนื่องคือการนาเสนอผลการศึกษาดูงานเพื่อการเติม เต็ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(ดังกาหนดการที่แนบในภาคผนวก) ซึ่ง นักศึกษามีความตั้งใจเป็นอย่างสูงในการทางานเพื่อการนาเสนอข้อมูลโดยเน้นหลักการทางานอย่าง มีส่วนร่วม การสะท้อนข้อมูลผ่านวิธีการ กิจกรรม และสื่อหลากหลายที่ทาให้ผู้ร่วมเรียนรู้ได้เรียนรู้ อย่างลึกซึ้ง สนุกสนาน และตระหนักในแง่มุมสาคัญ ที่สามารถนามาใช้ในบริบทของสังคมไทย การจัดกิจกรรมดังกล่าวประสบความสาเร็จอย่างดีโดยการให้คาแนะนาของ พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ และ ดร. นายแพทย์ บรรพต ต้นธีรวงศ์ ตลอดจนความร่วมแรงร่วมใจ ร่วมให้ความคิด ความเห็น ผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะผ่านกิจกรรมสรุปบทเรียนการศึกษาดูงานที่จัดขึ้นที่ศรีลังกาในวัน สุดท้ายของการศึกษาดูงาน จึงขอขอบคุณทุกท่านเป็นอย่างสูง เอกสารฉบับนี้สาเร็จโดยการประมวลข้อมูลจากเอกสาร และสมาชิกที่ร่วมเดินทาง การรับ ฟังความคิด มุมมอง บทเรียนและประสบการณ์ และการร้อยเรียงข้อมูลของทีมวิชาการ จึง ขอขอบคุณทีมวิชาการทุกท่านเป็นอย่างสูง บทคัดย่อ
  • 2. ข ชื่อผู้จัดทา : นักศึกษาสถาบันพระปกเกล้า หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเสริมสร้างสังคมสันติสุข รุ่นที่ 5 ชื่อหัวข้อเอกสาร : การศึกษาดูงานต่างประเทศ - ประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยม ประชาธิปไตยศรีลังกา อาจารย์ที่ปรึกษา : พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ ดร. นายแพทย์บรรพต ต้นธีรวงศ์ ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่เป็นเกาะตั้งอยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย มี ทรัพยากรธรรมชาติมากมาย มีความโดดเด่นและมีภูมิรู้ด้านวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งทั้งเกี่ยวกับความเชื่อ ศิลปะ วิถีชีวิต และศาสนา มีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 21 ล้านคน ประชากรของศรีลังกามีหลาย เชื้อชาติประกอบด้วยชาวสิงหลที่นับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ถึง ร้อยละ 74 ชาว ทมิฬ ชาวมุสลิม และอื่น ๆ ความแตกต่างกัน และความรู้สึกถึงไม่เป็นธรรมที่ถูกตอกย้าอย่าง ต่อเนื่องทั้งในเชิงนโยบาย การกาหนดระเบียบกฎเกณฑ์และการเลือกปฏิบัติ เป็นสาเหตุสาคัญให้ เกิดความขัดแย้งต่อเนื่องลุกลามเป็นการ สู้รบแย่งชิงอานาจระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่มี ต่อเนื่องยาวนาน ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายมากมาย มหาศาล ทั้งชีวิต และทรัพย์สิน ที่สาคัญคือ ความเสียหายยังต่อเนื่องยาวนานจนปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจที่ตกต่ามาก อีกทั้งการสูญเสีย โอกาสในการพัฒนาประเทศ นอกจากนี้หลังจากการยุติความรุนแรงในการต่อสู้ก็ยังคงมีเรื่องราวที่ ต้องสะสางอีกหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบันนี้ ทั้งรัฐบาล และองค์กรที่เกี่ยวข้องในประเทศศรีลังกา อาทิ สภาสันติภาพ แห่งชาติ (National Peace Council of Sri Lanka) ศูนย์นโยบายทางเลือก ( Centre for Policy Alternatives - CPA) กลุ่มเคลื่อนไหวซาร์โวดายา ( Sarvodaya) และองค์กรต่าง ๆ ล้วนตระหนักใน ความสาคัญของการสร้างสันติภาพ ที่แท้จริง และพยายามหาแนวทางในการ สร้างสันติภาพให้ เกิดขึ้น แต่ยังขาดการประสานความคิด และหลอมรวมแนวทางในการทางาน ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัย สาคัญที่ทาให้สันติภาพอย่างถาวร และความสงบสุขที่แท้จริงไม่สามารถเกิดขึ้นได้ อีกทั้งอาจจะ เป็นปัจจัยหลักในการก่อตัวของความขัดแย้ง และต่อเนื่องถึงการใช้ความรุนแรงในอนาคต สาหรับ แนวทางสาคัญ 4 แนวทางในการสร้างสันติภาพในประเทศศรีลังกา มีดังนี้ 1) การเยียวยาผู้สูญเสีย และสร้างวิสัยทัศน์ในการอยู่ร่วมกันแบบ One Nation One Country บนพื้นฐานการยอมรับในความ แตกต่างในเชื้อชาติ ศาสนาและสังคม 2) การสร้างสันติภาพเชิงบวกในระยะยาว (Positive Peace) สร้างความเข้มแข็งและส่งเสริมศักยภาพโดยการเรียนรู้ให้ชุมชนและภาคประชาสังคม (Civil Society) พัฒนาไปสู่วัฒนธรรมสันติภาพ (the Culture of Peace) 3) การใช้กลไกด้านการเมือง
  • 3. 15 (Political System) เพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งและการเปิดเผยความเป็นจริงเพื่อสร้างกระบวนการ สันติภาพที่สร้างความเป็นธรรมให้ผู้สูญเสีย 4) การสร้างความตื่นรู้ (Awakening All)ในระดับ ปัจเจกจนถึงระดับชุมชนและสังคมในรูปแบบวิถีพุทธ เพื่อแก้ปัญหาสังคมระดับรากหญ้าจนถึง สังคมระดับประเทศ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ “ National Awakening Movement” เพื่อ ขับเคลื่อนเรื่องการสมานฉันท์ โดยปลุกการตื่นรู้รอบด้านของประชาชน โดยใช้หลักศาสนาพุทธมา ปรับใช้ได้กับทุกเชื้อชาติและศาสนา เพื่อบรรลุเป้าหมายไว้ 3 เรื่องคือ การสร้างมนุษย์ใหม่ ที่เน้น การทางานกับมารดาที่เพิ่งตั้งครรภ์ การสร้างครอบครัวใหม่ ที่เน้นการทางานกับสมาชิกใน ครอบครัวทั้งหมด การสร้างชุมชนใหม่ ที่เน้นการทางานกับสมาชิกในชุมชน โดยการสร้างชุมชน ให้เข้มแข็ง ปลอดจากยาเสพติดและอบายมุขทั้งหลาย อีกทั้งการสร้างกลไกในการพัฒนาชุมชน ในส่วนของปัจจัยและข้อจากัดในการสร้างความสมานฉันท์ภายหลังความขัดแย้ง ( Post Conflict Situation) นั้นมีปัจจัยแห่งความสาเร็จ 3 ประการ ดังนี้ 1) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ 2)การแก้ปัญหาเกี่ยวกับประเด็นการไม่ไว้วางใจ ( Mistrust) ความ ลาเอียงโดยมีอคติ (Prejudice) และ3 ) การขาดอหิงสา (Intolerance) และ การสร้างความตระหนัก ถึงความเสมอภาค (Equalities and Inequalities) ปัจเจก และความแตกต่างหลากหลาย สาหรับ ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์ มี 4 ประการ คือ 1) เงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ ทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม 2) ความล้มเหลวในการแสดงเจตจานงทางการเมือง (Political Will) ในการเจรจาสันติภาพอย่างจริงจัง 3) รัฐบาลไม่ได้มีนโยบายหรือแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในด้านการ แสวงหาความจริงให้ปรากฏ และได้รับโอกาสในการหาความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย และ 4) การ แบ่งอานาจ (Power Sharing) หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดรู้สึกว่าไม่มีส่วนร่วมและไม่สามารถเข้าถึงการใช้ อานาจทางการเมืองตามกติกาที่ยอมรับร่วมกัน และรู้สึกถูกบีบบังคับให้เปลี่ยนความเชื่อของกัน และกัน ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ มีประสบการณ์สาคัญ และบทเรียนที่ได้รับหลายประการ โดยเฉพาะบทเรียนเกี่ยวกับกระบวนการสร้างสันติภาพในศรีลังกา 10 ประเด็น ซึ่งเป็นปัจจัย ทาให้ สันติภาพเกิดช้า สามารถนามาใช้กับสังคมไทยได้ทั้งการแก้ปัญหาที่ชายแดนใต้ 6 ลักษณะเกี่ยวกับ การผ่อนปรนของคู่ขัดแย้งในบางเรื่อง การสร้างความเป็นเอกภาพระหว่างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน และการดาเนินกระบวนการสันติภาพด้วยองค์กร และผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด การสร้างความ ไว้วางใจและความเชื่อมั่นต่อกระบวนการสันติภาพหลังความขัดแย้งที่รุนแรง การจัดตั้ง คณะกรรมการที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับให้เข้ามาเป็นผู้สังเกตการณ์ และตรวจสอบข้อตกลงหยุดยิง การ เปิดโอกาสให้ต่างชาติมีบทบาทของ ต่อกระบวนการสันติภาพ และการจัดขบวนการเคลื่อนไหว เพื่อสันติภาพที่ทรงพลังเปิดกว้าง และประสานผู้มีส่วนร่วมทุกระดับ และสามารถนามาใช้ เปรียบเทียบและประยุกต์ใช้กับการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ใจกลางประเทศไทย โดยสถานการณ์มี
  • 4. 16 ความแตกต่างกัน ใน ลักษณะของความขัดแย้ง และ การให้ความสาคัญกับจัดกลไกที่เป็นทางการ ในการทางานด้านการแก้ไขความขัดแย้งเป็นการเฉพาะ และมีความคล้ายกันในลักษณะการทางาน ของกองทัพ 4 ประการ คือการใช้กาลังเข้าทาการรัฐประหารเพื่อยุติสถานการณ์เกิดรุนแรงและเร่ง ดาเนินนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ การสร้างความเข้มแข็ง มีการ ผูกขาด ระบบถ่วงดุลตรวจสอบ มุมมองทางลบในเรื่องการกระจายอานาจ/แนวคิดการจัดการตนเอง ด้วยเกรงว่าการแบ่งปันอานาจดังกล่าวจะนาไปสู่การแบ่งแยกดินแดน และการที่มีองค์กรระหว่าง ประเทศ จับตาเฝ้าระวังสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • 5. 17 บทที่ 1 บทนา 1.1 ความเป็นมาและความสาคัญของการศึกษา ประเทศศรีลังกา เป็นเกาะตั้งอยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย มีประชากรประมาณ 21 ล้าน คน ประกอบด้วยชาวสิงหลซึ่งนับถือศาสนาพุทธซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ถึงร้อยละ 74 ชาวทมิฬ ชาวมุสลิม และอื่น ๆ ประเทศศรีลังกาเป็นประเทศที่มีความสาคัญ ตั้งแต่อดีต ทั้งในลักษณะ การเป็นเมืองท่า ความสมบูรณ์ของทรัพยากร ความหลากหลายของของศาสนา ศิลปวัฒนธรรม และวิถีความเป็นอยู่ของคนหลากหลายเชื้อชาติ ปัญหาสาคัญของศรีลังกา คือการแย่งชิงอานาจระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่มีมา ต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่อดีต ส่งผลให้เกิดความสูญเสียมากมาย ภายหลังการพยายามใช้กระบวนการ สันติภาพของฝ่ายต่าง ๆ จนเกิดการตกลงยุติความรุนแรง ก็ยังมีการเรียกร้องจากนานาชาติให้ชาระ สะสาง และสอบสวนหาข้อเท็จจริงในประเด็นเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน การใช้ความ รุนแรงเข้าปราบปรามฝ่ายตรงกันข้าม การให้ความเป็นธรรมต่อผู้สูญเสีย และการหาข้อเท็จจริง เกี่ยวกับคนที่สูญหาย ในปัจจุบันทุกฝ่ายตระหนักในความสาคัญของการสร้างสันติภาพ และการสร้างความ มั่นคง แต่การทางานยังขาดการประสานแนวทางการทางานร่วมกัน การเปิดใจรับฟังกันและกัน สาหรับรัฐบาลได้เน้นการพัฒนา ฟื้นฟูประเทศด้านต่าง ๆ มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบต่างๆ มีการ พัฒนาความเข้มแข็งของกองทัพและสร้างกาลังรบทหาร มีการสร้างฐานอานาจให้ผู้นา โดยวิธีการ ต่าง ๆ ทั้งผ่านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อนุญาตให้ประธานาธิบดีดารงตาแหน่งได้อย่างไม่มีกาหนด ยกเลิกการใช้คณะกรรมาธิการอิสระในการกากับดูแล ตรวจสอบและถ่วงดุลอานาจ รัฐบาลไม่เห็น ความสาคัญและละเลยการจัดพื้นที่ และช่องทางสาหรับการเปิดใจ การแสดง ความคิดเห็นของ ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งมีความพิเศษกว่า ประเทศอื่น ๆ คือเป็นสังคมพหุลักษณ์ที่มีหลากเชื้อชาติ หลายศาสนา จึงมุ่งทุ่มเทสร้างกาลังรบทางทหาร การพัฒนาประเทศเน้นสร้างความเจริญทางวัตถุ มากกว่าการสร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้นในสังคมข้อมูลดังกล่าวเป็นสัญญาณบอกเหตุว่า ความ ขัดแย้งอาจจะยังไม่หมดไปจากศรีลังกา สันติภาพที่แท้จริงอย่างถาวรยังไม่เกิดขึ้นและ การทางาน อย่างไม่ประสานกัน การละเลยการเปิดพื้นที่ การไม่สร้างความไว้วางใจ อาจค่อย ๆ ก่อตัวเป็นความ ขัดแย้งครั้งใหม่ในประเทศอีกครั้ง ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น มีประเด็นที่น่าสนใจทั้งในเชิงสาเหตุที่มา ของความขัดแย้ง กระบวนการแก้ไขความขัดแย้ง การยุติความรุนแรงในอดีตที่ดาเนินการโดย ประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทยก็มีส่วนร่วมในการดาเนินการ อีกทั้งในปัจจุบันยังมีประเด็น บรรยากาศ ปัจจัย เรื่องราว ที่กาลังก่อตัวขึ้นเป็นความขัดแย้ง พร้อมยกระดับเป็นความรุนแรงใน
  • 6. 18 อนาคตอีกทั้งปรากฏการณ์มีความคล้ายคลึงกับความขัดแย้งที่เกิดในประเทศไทยทั้งในส่วนสาม จังหวัดภาคใต้ และความขัดแย้งอื่นๆ ที่กาลังเกิดขึ้นในประเทศไทย หลักสูตรการเสริมสร้างสังคมสันติสุข มีความมุ่งหมายที่จะให้นักศึกษา มีความรอบรู้ ความเข้าใจ มีความร่วมมือประสานงานและมีประสบการณ์ในการจัดการความขัดแย้ง เน้นการ เรียนรู้เนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างสันติสุขในสังคม ในมิติของการป้องกัน จัดการ และแก้ปัญหาความ ขัดแย้ง โดยจัดกิจกรรม และประสบการณ์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้โดยวิธีการต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ต่าง ๆ ทั้งการบรรยายของนักวิชาการในสาระต่าง ๆ การอภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้มี ประสบการณ์ในพื้นที่ การฝึกปฏิบัติการ การศึกษาดูงานทั้งในประเทศ และการศึกษาดูงานทั้ง ต่างประเทศ และเพื่อให้นักศึกษาได้ เรียนรู้ข้อมูลสาคัญดังกล่าวทั้งบริบทที่มีความหลากหลาย ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของความขัดแย้ง สถานการณ์ความขัดแย้งที่อาจจะอยู่ในระยะก่อตัว ซึ่ง สามารถใช้เทียบเคียง ประยุกต์สู่การแก้ปัญหาในบริบทสังคมไทย สถาบันพระปกเกล้า จึงได้จัดให้ นักศึกษาในหลักสูตรนี้ได้ศึกษาดูงานในประเทศศรีลังกา ในระหว่างวันที่ 3- 9 สิงหาคม 2557 โดย คาดหวังว่านักศึกษาจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับเงื่อนไขการเกิดความขัดแย้งทั้งในด้านการเมือง สังคม วัฒนธรรมและ เศรษฐกิจ สภาพ สาเหตุปัญหาความขัดแย้ง แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของ คนในชาติ และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพ ปัจจัยแห่งความสาเร็จและ ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์ ที่สาคัญ คือการเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่าง หลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ อีกทั้งสามารถถอด บทเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่กาลังเกิดขึ้น อันจะนาความสันติภาพ ความสงบสุข มา สู่สังคมไทย 1.2 วัตถุประสงค์ 1.2.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและ เศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม 1.2.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และ วิเคราะห์ สภาพ สาเหตุปัญหาความขัดแย้ง แนว ทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้าง สันติภาพของประเทศศรีลังกา 1.2.3 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ และ วิเคราะห์ ปัจจัยแห่งความสาเร็จและข้อจากัดของ การสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งของชาติด้วยพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม วัฒนธรรม 1.2.4 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ วิเคราะห์ สะท้อนประสบการณ์และบทเรียนการสร้าง ความสมานฉันท์ของประเทศศรีลังกาเพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมไทย
  • 7. 19 1.2.5 นักศึกษาเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันและมีความเข้าใจเกี่ยวกับความ แตกต่าง หลากหลายของเชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม และการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 1.3 ประเด็นการศึกษา 1.3.1 สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการ เกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม 1.3.2 แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในชาติ 1.3.3 ปัจจัยแห่งความสาเร็จและข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์และความ เข้มแข็งของชาติด้วยพลังทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม 1.3.4 การสะท้อนประสบการณ์และบทเรียนจากกรณีศึกษาเพื่อประยุกต์ใช้กับ สังคมไทย 1.4 ประโยชน์ที่ได้รับ 1.4.1 นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรม และ เศรษฐกิจที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสันติสุขในสังคม สภาพ สาเหตุ ปัญหาความขัดแย้ง แนวทางการสร้างความสมานฉันท์ของคนในประเทศศรีลังกา และผลการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างสันติภาพของประเทศศรีลังกา ปัจจัยแห่ง ความสาเร็จและ ข้อจากัดของการสร้างความสมานฉันท์และความเข้มแข็งของชาติด้วยพลังทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม 1.4.2 นักศึกษาสามารถนาประสบการณ์และบทเรียนการสร้างความสมานฉันท์ของ ประเทศศรีลังกาเพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมไทย 1.4.3 เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกันมีความเข้าใจความแตกต่าง หลากหลายของ เชื้อชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม มีมุมมอง ทัศนคติที่ดีและเห็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
  • 8. 20 บทที่ 2 สภาพบริบททางการเมือง สังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ ที่เป็นเงื่อนไขต่อการเกิดความขัดแย้งและ/หรือที่เอื้อต่อการเกิดสังคมสันติสุขในสังคม เกริ่นนา ศรีลังกา เป็นประเทศหนึ่งในเอเ ชียใต้ เป็นเกาะใหญ่อยู่ปลายสุดของประเทศอินเดีย ปัจจุบันมีประชากร 21.5 ล้านคน (ตุลาคม 2556) ประกอบด้วยชาวสิงหล (ส่วนใหญ่นับถือศาสนา พุทธ) ร้อยละ 74 ชาวทมิฬ (ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู) ร้อยละ 18 ชาวมุสลิม (แขกมัวร์และชาว มาเลย์) ร้อยละ 7 และอื่น ๆ ร้อยละ 1 ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการและภาษาประจาชาติ (ร้อยละ 74) ภาษาทมิฬเป็นภาษาราชการเช่นกัน (ร้อยละ 18) ภาษาอังกฤษใช้ติดต่อสื่อสารทั่วไปในภาครัฐ และประชากรประมาณร้อยละ 10 สามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ประชากรส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ร้อยละ 70 ศาสนาฮินดู ร้อยละ 15 ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 8 และศาสนา อิสลาม ร้อยละ 71 ที่มาของชาวสิงหลดั้งเดิมยังไม่ปรากฏชัด แต่มีความเชื่อว่าย้ายมาจากทางตอน เหนือของประเทศอินเดีย เมื่ออาณาจักรสิงหลเสื่อมถอยลง จึงมีการเกิดขึ้นของอาณาจักรทมิฬ และ ชาวสิงหลก็ได้ถอยร่นไปตั้งรกรากในบริเวณภาคใต้ของศรีลังกา การแย่งชิงอานาจระหว่างชาว สิงหลและชาวทมิฬในอดีตมีมาอย่างต่อเนื่อง เริ่มตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 อิทธิพลของประเทศตะวันตก ได้แพร่ขยายเข้ามามีบทบาทในศรีลังกา เริ่มจากประเทศโปรตุเกสในปี 2048 ซึ่งต่อมาทาให้ชาว สิงหลต้องย้ายเมืองหลวงไปยังเมืองแคนดี้ Kandy และต่อมาฮอลันดาเริ่มเข้ามาแผ่ขยายอานาจและ ยึดเกือบทั้งเกาะได้ยกเว้นเมืองแคนดี้ในปี 2203 และในที่สุดทั้งเกาะลังกาได้ตกเป็นเมืองขึ้นของส หราชอาณาจักรในปี 2358 ช่วงที่อังกฤษเข้ามาปกครอง ได้สร้างสิ่งอานวยความสะดวกให้บริเวณที่ อยู่อาศัยของชาวทมิฬ (เมือง Jaffna) ซึ่งทาให้ชาวสิงหลซึ่งอยู่พื้นที่ส่วนอื่นของเกาะไม่พอใจ และ กล่าวหาว่า ชาวทมิฬได้รับสิทธิประโยชน์ที่ดีกว่า เพราะมิชชันนารี่ได้สร้างโรงเรียน โรงพยาบาล และเมืองทางตะวันออกที่มี ชาวทมิฬอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ได้รับความนิยมเป็นสถานที่พักผ่อน ของชาวอังกฤษ จึงทาให้ ชาวทมิฬได้รับประโยชน์ไปด้วย อังกฤษนาชาวทมิฬจากอินเดียมาเป็น คนงานในไร่ชา ซึ่งเป็นผลผลิตทางเกษตรที่สาคัญของลังกา ทาให้จานวนประชากรชาวทมิฬในภาค กลางของลังกาขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ชาวทมิฬจากอินเดียมีความเป็นอยู่ที่ยากจน ทาให้มีความ แตกต่างระหว่าง ชาวทมิฬเชื้อสายลังกาที่อยู่ทางเหนือ กับกลุ่มชาวทมิฬจากอินเดียที่มาใหม่ที่อยู่ ทางตะวันออก2 1 กรมเอเชียใต้ กระทรวงการต่างประเทศ http://sameaf.mfa.go.th/th/country/south-asia 2 Sri Lanka http://www.infoplease.com/country/sri-lanka.html
  • 9. 21 สภาพบริบททางการเมือง ลังกา หรือ ศรีลังกาในปัจจุบัน ได้รับเอกราชจากอังกฤษในปี 2491 หลังจากได้รับเอกราชมี เพียงสองพรรคการเมืองหลักของชาวสิงหลที่สลับกันอยู่ในอานาจ คือ พรรค United National Party (UNP) และพรรค the Sri Lanka Federal Party (SLFP) โดยมีลาดับดังนี้3 ปี 2491 - 2499 พรรค UNP ภายใต้การนาของ D.S. Senanayake ต่อมาเป็นลูกชาย และผู้นา ในช่วงปลาย คือ Sir John Kotelawala ปี 2499 – 2508 พรรค SLFP เข้ามามีอานาจภายใต้การนาของ S.W.R.D. Bandaranaike และ หลังจาก S.W.R.D. Bandaranaike ถูกลอบสังหารในปี 2502 ภรรยาหม้าย นาง Srimavo Bandaranaike เข้ามารับตาแหน่งผู้นาแทน ปี 2508 นาย Dudley Senanayake และพรรค UNP กลับคืนสู่อานาจอีกครั้งหนึ่ง ปี 2513 นาง Sirimavo Bandaranaike กลับคืนสู่ตาแหน่งผู้นาอีกครั้ง ปี 2514 มีการก่อความไม่สงบของกลุ่มคอมมิวนิสต์ Janatha Vimukthi Peramuna (JVP หรือ People’s Liberation Front) พรรค SLFP ปราบการจราจล และประกาศภาวะฉุกเฉิน ซึ่งมีผล บังคับใช้อยู่ถึง 6 ปี ปี 2515 รัฐบาลของนาง Sirimavo Bandaranaike ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนชื่อ ประเทศจาก Ceylon เป็น ศรีลังกา และใช้รูปแบบการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ และยกให้ ศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักของประเทศ และให้มีการแต่งตั้งประธานาธิบดี ดาเนินนโยบาบด้าน เศรษฐกิจแบบสังคมนิยมและใช้นโยบายชาตินิยมในการปกครอง ปี 2520 พรรค UNP กลับสู่อานาจอีกครั้งภายใต้การนาของ J.R. Jayewardene และเปลี่ยน นโยบายจากสังคมนิยมมาเป็นเสรีนิยม เศรษฐกิจเสรี และในปี 2521 แก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยให้ อานาจการบริหารรวมศูนย์อยู่ที่ประธานาธิบดี J.R. Jayewardene ได้รับการเลือกตั้งจากรัฐสภาให้ เป็นประธานาธิบดีในปี 2521 และชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2525 ปี 2525 มีการลงประชามติให้ต่ออายุรัฐสภาเป็น 6 ปี ปี 2531 นายกรัฐมนตรี Ranasingke Premadasa สามารถเอาชนะ นาง Sirimavo Bandaranaike ของพรรค SLFP ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี พรรค UNP ได้รับชัยชนะในการ เลือกตั้งทั่วไปอย่างท่วมท้นในปี 2532 3 US Department of States – Background Notes http://www.state.gov/outofdate/bgn/srilanka/index.htm
  • 10. 22 ปี 2536 นาย Premadasa ถูกลอบสังหารโดยกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬ นาย Dingiri Banda Wijetunga เข้ามารับตาแหน่งแทน และแต่งตั้ง นาย Ranil Wickremesinghe เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2537 พรรค SLFP ภายใต้รัฐบาลผสมของ People’s Alliance (PA) กลับคืนสู่อานาจเป็น ครั้งแรกในรอบ 17 ปี โดยมี Chandrika Bandaranaike Kumaratunga เป็นนายกรัฐมนตรี นาก รัฐมนตรี นาง Kumaratunga ลงชิงตาแหน่งประธานาธิบดีและชนะการเลือกตั้งในเดือนพฤศจิกายน 2537 และหลังจากนั้นแต่งตั้งมารดาของตัวเอง (นาง Sirimavo Bandaranaike)เข้ารับตาแหน่ง นายกรัฐมนตรีแทน ประธานาธิบดี Kumaratunga ชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2542 ปี 2543 นาง Sirimavo Bandaranaike ลาออกจากตาแหน่งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้ง Ratnasiri Wickramanayaka มารับตาแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน ปี 2544 พรรค UNP กลับสู่อานาจอีกครั้ง ภายใต้การนาของนายกรัฐมนตรี Ranil Wicknemasinghe โดยนาง Chandrika Kumaratunga ยังคงดารงตาแหน่งประธานาธิบดี ปี 2546 ประธานาธิบดี Kumaratungka ดูแลกระทรวงเพิ่มเติมอีก 3 กระทรวงซึ่งนับเป็นการ รวบอานาจเบ็ดเสร็จไว้ที่ปะธานาธิบดี ปี 2547 พรรค SLFP และกลุ่ม JVP ก่อตั้งกลุ่มการเมืองขึ้น ซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม the United People’s Freedom Alliance (UPFA) ซึ่งต่อมาประธานาธิบดี Kumaratunga ประกาศยุบสภา และ จัดการเลือกตั้งใหม่ ซึ่งผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรค UPFA ได้คะแนน 45% และพรรค UNP ได้ 37% ถึงแม้ว่าจะไม่ได้เสียงข้างมากในสภา แต่พรรค UPFA สามารถร่วมกับพรรคอื่นๆในการจัดตั้ง รัฐบาล และแต่งตั้งนาย Mahindra Rajapaksa เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2548 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดี นาย Mahindra Rajapaksa ได้รับการเลือกตั้งให้เป็น ประธานาธิบดี โดยมีนาย Ratsiri Wickramanayake เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2553 นาย Mahindra Rajapaksa ได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นให้ดารงตาแหน่ง ประธานาธิบดี จนถึงปัจจุบัน ความขัดแย้งด้านชาติพันธุ์ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาวสิงหลกับชาวทมิฬศรีลังกา เป็นความขัดแย้งทางเชื้อชาติที่มี ผลสืบเนื่องมาจากยุคอาณานิคม เช่นเดียวกับความขัดแย้งทางเชื้อชาติในอีกหลายๆ ประเทศในเอซีย ใต้ อันเป็นผลมาจากความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมและการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม โดยในยุค ที่อังกฤษปกครองชาวทมิฬซึ่งเป็นประชากรส่วนน้อยมีสถานะทางสังคมสูงกว่าชาวสิงหลที่เป็น ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ แต่เมื่อได้รับเอกราชจากอังกฤษ ชาวสิงหลได้เข้ามาจัดตั้งรัฐบาล ปกครองประเทศ และเลือกที่จะดาเนินนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อชาวสิงหลซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ของประเทศ แทนที่จะดาเนินนโยบายที่ให้ความเป็นธรรมกับคนส่วนน้อยอย่างชาวทมิฬ โดยเฉพาะ
  • 11. 23 เรื่องการศึกษาและภาษา ส่งผลให้ชาวทมิฬรู้สึกถึงการเลือกปฏิบัติและการกีดกันการเข้าถึงโอกาส ทางสังคมและเศรษฐกิจ ชาวทมิฬที่ได้รับการศึกษาสูงและยังมีอายุน้อยแต่ต้องเผชิญกับปัญหาการ ว่างงานอันเนื่องมาจากการบริหารจัดการที่ไม่เป็นธรรม จึงนาไปสู่การก่อจลาจลและในที่สุดก็เข้า ร่วมกับฝ่ายทหารชาวทมิฬเพื่อสู้รบกับฝ่ายรัฐบาลเพื่อทาการแบ่งแยกดินแดน ภายใต้การนาของ นายกรัฐมนตรี D.S. Senaanyake นายกรัฐมนตรีคนแรกของลังกา ออกกฎหมายขับไล่ชาวทมิฬที่ไร้ สัญชาติ ความรู้สึกไม่พอใจเพิ่มมากขึ้นเมื่อ S.W.R.D. Bandaranaike ชนะการเลือกตั้งในปี 2499 และดาเนินนโยบายชาตินิยมสิงหลรัฐบาลได้เสนอกฎหมาย Sinhala Only Act of 24994 ซึ่งให้ใช้ ภาษาสิงหลเป็นภาษาราชการแทนจากเดิมที่ใช้ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้โดยอ้างว่า มีประชากรชาวสิงหล เป็นชนส่วนใหญ่ถึง 74% ของจานวนประชากรทั้งหมด แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวถูกประท้วงโดยชาว ทมิฬ เพราะแต่เดิมชาวทมิฬที่ได้รับการศึกษาดีจะใช้ภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการ การออก กฎหมายดังกล่าวทาให้ชาวทมิฬรู้สึกถูกเลือกปฏิบัติ เพราะหากกฎหมายฉบับนี้ออกมาเท่ากับทุกคน ตกงาน การออกกฎหมายเพื่อผลประโยชน์ของชาวสิงหลเท่านั้นในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของ เหตุการณ์ต่างๆ ในภายหลัง ชาวทมิฬประท้วงต่อต้านนโยบายด้านการศึกษา และด้านการเกษตร ของรัฐบาล ซึ่งส่งเสริมให้ชาวนาชาวสิงหลทางตอนใต้ย้ายไปทาการเกษตรในภาคตะวันออก การ ออกกนโยบายเพื่อสิงหลเท่านั้น หรือ Sinhala Only Act of 2499 นาไปสู่การก่อการจราจล และการ ประท้วงของชาวทมิฬ แนวคิดที่จะแยกตัวเป็นอิสระจึงเกิดขึ้นในช่วงกลางปี 2513 นักการเมืองชาว ทมิฬ หรือ กลุ่มทมิฬอีแลม (Tamil Eelam) เปลี่ยนการเรียกร้องจากเดิมให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการ ปกครองจากรัฐเดี่ยวเป็นสาธารณรัฐ เป็นการเรียกร้องที่จะแยกตัวเป็นอิสระ หรือ การแบ่งแยก ดินแดนของชาวทมิฬในทางตอนเหนือและตะวันออกของประเทศ ซึ่งเป็นที่ๆชาวทมิฬดั้งเดิมอาศัย อยู่เป็นส่วนใหญ่ พรรค Tamil United Liberation Front (TULF) ที่ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2519 โดยเน้น การเคลื่อนไหวด้วยแนวทางทางการเมืองไ ด้รับชัยชนะอย่างท่วมท้นในเขตพื่นที่ทมิฬภายใต้ นโยบายการแบ่งแยกดินแดน แต่การเคลื่อนไหวในแนวทางการเมืองถูกต่อต้านจากชาวสิงหลที่มีที่ นั่งมากกว่าในสภาส่วนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะ the Libertion Tigers of Tamil Eelam (LTTE หรือ Tamil Tigers) ใช้กองกาลังติดอาวุธเป็นแนวทางเคลื่อนไหวข้อเรียกร้องแบ่งแยกดินแดน ขบวนการ ปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (LTTE) มีหัวหน้าคือ นาย Velupillai Prabhakaran และมีจุดมุ่งหมาย ในการแบ่งแยกดินแดนภาคเหนือ และภาคตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นมาตุภูมิของทมิฬ เพื่อจัดตั้งเป็น รัฐเอกราชทมิฬ ดังนั้นวิธีการการต่อสู้ของชาวทมิฬ มี 2 รูปแบบ คือ วิธีการทางการเมือง ด้วยการ จัดตั้งพรรคการเมืองชาวทมิฬ และวิธีการใช้ความรุนแรง โดยการจัดตั้งกองกาลังติดอาวุธต่อสู้กับ 4 Dharmadasa, K.N.O. 1996. "Language Policy in a Multi-Ethnic Society: The Case of Sri Lanka.". In Gunasekera, Olcott R.G.G., Samarasinghe, S.G., and Vamadevan, V. 1996. National Language Policy in Sri Lanka: 1956 to 1996 Three Studies in its Implementation. Ed. K.N.O.Dharmadasa. International Centre for Ethnic Studies, Kandy, Sri Lanka
  • 12. 24 รัฐบาลศรีลังกา กลุ่มพยัคฆ์ทมิฬอีแลม หรือ LTTE มีชื่อเสียงอย่างมากในการใช้ระเบิดพลีชีพโจมตี เป้าหมาย การระบิดพลีชีพที่สาคัญที่สุดคือ การสังหารประธานาธิบดี Premadsa และอดีต นายกรัฐมนตรี ราจีพ คานธี แห่งอินเดีย สามารถก่อวินาศกรรมทาลายอาคารและสิ่งอานวยความ สะดวกของรัฐบาล อาทิ การใช้รถบรรทุกพุ่งชนธนาคารชาติศรีลังกา เป็นต้น การก่อการร้ายทาง ทะเล โดยการโจมตีเรือสินค้าในน่านน้าศรีลังกา รวมทั้งเรือสินค้าระหว่างประเทศ5 การทาสงครามที่ยืดเยื้อยาวนานมีผลกระทบอย่างมากต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของ ประเทศสงครามกลางเมืองสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนต่างชาติ ทาให้การจัดตั้งเขตการค้าเสรี เพื่อดูดซับการลงทุนจากต่างประเทศไม่ประสบความสาเร็จ ประชาชนชาวทมิฬก็รู้สึกเบื่อหน่ายกับ สภาพความลาบากทางเศรษฐกิจจากการตัดขาดจากส่วนอื่นๆของประเทศ เนื่องจากการปิดล้อมทาง เศรษฐกิจโดยฝ่ายรัฐบาลส่งผลให้สินค้ามีราคาแพงมาก โดยเฉพาะเชื้อเพลิง การขาดแคลนสินค้ามี ขึ้นทั่วไป บทบาทของอินเดีย แม้ศรีลังกาเป็นประเทศเกาะ แต่การที่มีพรมแดนใกล้กับพื้นที่ส่วนล่างของอินเดีย โดยเฉพาะรัฐทมิฬนาดู ที่มีประชากรชาวทมิฬเป็นจานวนมากด้วยเช่นกัน ชาวอินเดียเชื้อสายทมิฬ ในรัฐทมิฬนาดู มีความเห็นอกเห็นใจกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬในศรีลังกา ซึ่งทาให้พื้นที่นี้เป็นเขต หลบซ่อนของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวทมิฬ ในปี 2530 อินเดียเข้ามามีบทบาทในความขัดแย้งด้านเชื้อชาติในศรีลังกา โดยการลาเลียง อาหารทางอากาศเพื่อบรรเทาความอดอยากของชาวทมิฬ ซึ่งเป็นผลมาจากการปิดกั้นทางเศรษฐกิจ ของรัฐบาลศรีลังกาต่อพื้นที่ทางตอนเหนือและตะวันออก ภายใต้ข้อตกลงระหว่างอินเดียและศรี ลังกาในปี 2530 โดย นายกรัฐมนตรี นายราจีฟ คานธี และ ประธานาธิบดี Jayardene ยอมรับ ข้อเสนอของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬหลายข้อ ซึ่งรวมถึง การกระจายอานาจไปสู่ท้องถิ่น การ ควบรวมพื้นที่ตอนเหนือและตะวันออก และให้ใช้ภาษาทมิฬเป็นภาษาทางการในพื้นที่ดังกล่าว อินเดียตกลงส่งหน่วยส่งเสริมสันติภาพเข้าไปในศรีลังกาและหยุดให้การช่วยเหลือกลุ่มแบ่งแยก ดินแดนทมิฬ ในช่วงเวลาสั้นๆถึงแม้ว่ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนทมิฬจะลังเลใจแต่ก็ตกลงยอมวางอาวุธ อย่างไรก็ตาม กลุ่ม LTTE กลับมาจับอาวุธอีกครั้งตามข้อเรียกร้องเดิม คือ การแบ่งแยกดินแดน และ ปฏิเสธที่จะวางอาวุธ หน่วยส่งเสริมสันติภาพของอินเดียต้องเผชิญกับการต่อสู้อย่างรุนแรงกับกลุ่ม LTTE เหตุการณ์ความรุนแรงยิ่งทวีคูณขึ้นเมื่อชาวสิงหลทางตอนใต้ก่อการจราจล กลุ่มนิยม คอมมิวนิสต์ JVP ใช้ประโยชน์จากความไม่พอใจของชาวสิงหลต่อข้อตกลงระหว่างอินเดียและศรี 5 Jayshree Bajoria, The Sri Lankan Conflict, Council on Foreign Relations 18 May 2009: http://www.cfr.org/terrorist- organizations-and-networks/sri-lankan-conflict/p11407
  • 13. 25 ลังกา รณรงค์ให้ต่อต้านข้อตกลงนี้ นักการเมืองพรรค UNP และเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกลอบสังหาร จานวนมาก ทาให้รัฐบาลต้องเพิ่มกาลังในการปราบจราจลทางตอนใต้ ซึ่งทาให้เกิดการสูญเสีย จานวนมาก อินเดียถอนกาลังออกจากศรีลังกาในปี 25336 ด้วยความที่เป็นเพื่อนบ้านที่ขนาดต่างกันมาก ทาให้ศรีลังกาหวาดระแวงอินเดีย โดยเฉพาะ ชาวทมิฬจากแคว้นทมิฬนาฑูซึ่งมีจานวนมากกว่าชาวทมิฬในศรีลังกา ศรีลังกาเชื่อมความสัมพันธ์ กับจีนเพื่อหวังให้เข้ามาถ่วงดุลอิทธิพลอินเดีย ถึงแม้จะเป็นการท้าทายอินเดีย แต่ก็ทาให้ศรีลังกามี ความสาคัญทางยุทธศาสตร์มากขึ้น กระบวนการสร้างสันติภาพ สงครามระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ดาเนินมาถึงขั้นรุนแรงที่สุดในปี 2534 จากนั้นทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬก็ได้เริ่มมองหาช่องทางที่จะเจรจา ในเดือนธันวาคม 2544 พรรค UNP ชนะการ เลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาล นาไปสู่การลงนามครั้งประวัติศาสตร์ร่วมกันระหว่างประธานาธิบดี Chadrika Kumaratunga กับ นาย Velupillai Prabhakaran ผู้นาฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในข้อตกลงหยุด ยิงระหว่างฝ่ายรัฐบาลศรีลังกากับฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬอีแลมในปี 2545 ซึงการหยุดยิงครั้งนี้มี นอร์เวย์ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย ฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬ หรือ LTTE ยุติการเจรจาในปี 2546 โดยอ้างว่าฝ่ายตนไม่ได้รับ ความสาคัญ และในปีถัดมา ฝ่ายพยัคฆ์ทมิฬใช้ระเบิดพลีชีพแกครั้งนับจากที่มีข้อตกลงหยุดยิง ร่วมกันกับรัฐบาลศรีลังกา ในปี 2547 กลุ่มทมิฬที่อยู่ด้านตะวันออกนาโดยนาย Karuna แยกตัวออก จากกลุ่ม LTTE และต่อมาในปี 2549 จัดตั้งพรรคการเมือง Tamil People’s Liberation Tigers ซึ่งทั้ง สองฝ่ายมีการใช้กาลังในการต่อสู้กันเป็นระยะๆ แต่ไม่รุนแรงเท่ากับการต่อสู้ระหว่างรัฐบาลศรี ลังกาและกลุ่ม LTTE ในขณะที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2548 กลุ่ม LTTE ชักชวนให้ชาวทมิฬไม่ ออกไปเลือกตั้ง ซึ่งเท่ากับเป็นการปฎิเสธพรรค UNP ซึ่งเชื่อเรื่องการยุติความขัดแย้งด้วยการเจรจา จึงส่งผลให้พรรค SLFP โดยการนาของ Mahindra Rajapaksa ชนะการเลือกตั้ง และยังส่งผลให้การ ต่อสู้ระหว่างรัฐบาลและ LTTE มีความรุนแรงมากขึ้น ประธานาธิบดี Rajapaksa มีนโยบาย ปราบปรามกลุ่ม LTTE อย่างเด็ดขาด รัฐบาลศรีลังกาได้ยกเลิกข้อตกลงหยุดยิงเมื่อเดือนมกราคม 2551 และเปลี่ยนมาใช้มาตรการทางทหารจัดการกับกลุ่ม LTTE โดยตั้งเป้าหมายปราบปรามกลุ่ม LTTE ให้หมดสิ้นภายในกลางปี 2552 ส่งผลให้กลุ่ม LTTE อ่อนกาลังลงอย่างมาก แต่ระหว่างนั้นก็ ยังคงใช้การก่อการร้ายตอบโต้รัฐบาลศรีลังกาอยู่บ่อยครั้ง เช่น การวางระเบิดบริเวณชุมชนใจกลาง กรุงโคลัมโบหลายครั้ง ทั้งที่สถานีรถไฟ สวนสัตว์ รถประจาทาง และห้างสรรพสินค้า การลอบ 6 Vernon Marston Hewitt, The International Politics of South Asia, Manchester University Press, 1992
  • 14. 26 สังหารเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาล อาทิ นาย D.M. Dassanayake รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการ สร้างชาติ เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2551 และนาย J. Fernandopulle รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทางหลวง และการพัฒนาถนน เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2551 เป็นต้น สืบเนื่องจากเดือน กรกฎาคม 2550 ที่รัฐบาลศรีลังกาสามารถยึดเมือง Thoppigala (ห่างจาก กรุงโคลัมโบประมาณ 320 ก.ม. ทางทิศตะวันออก) ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของ LTTE ในภาค ตะวันออกของประเทศ รัฐบาลพยายามช่วงชิง โอกาสที่กลุ่ม LTTE กาลังอยู่ในสถานะเสียเปรียบ ใช้กาลังเข้าปราบปรามกลุ่ม LTTE ให้ราบคาบ โดยเริ่มแผนปฏิบัติการทางทหารครั้งใหม่ตั้งแต่ เดือนกันยายน 2551 รัฐบาลศรีลังกาสามารถยึดคืนเมืองสาคัญต่าง ๆ ที่เป็นฐานปฏิบัติการของกลุ่ม LTTE ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เมือง Kilinochchi ซึ่งเปรียบเสมือนเมือง หลวงของกลุ่ม LTTE และเมือง Mullaitivu ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พอถึงช่วงต้นเดือน พฤษภาคม 2552 กลุ่ม LTTE จาเป็นต้องถอยร่นไปอยู่ในบริเวณแนวชายฝั่งทาง ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ และตกเป็นฝ่ายตั้งรับ7 ภายหลัง จากการโจมตีอย่างหนักหน่วงของกองทัพศรีลังกา กลุ่ม LTTE ประกาศหยุดยิง ฝ่ายเดียวเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2552 ต่อมา รัฐบาลศรีลังกาประกาศชัยชนะเหนือกลุ่ม LTTE เมื่อ วันที่ 19 พฤษภาคม 2552 หลังจากที่กองทัพศรีลังกาสามารถสังหารนาย Velupillai Prabhakaran ผู้นาของกลุ่ม LTTE ได้สาเร็จ ถือเป็นการสิ้นสุดการสู้รบภายในประเทศ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากทางเชื้อ ชาติระหว่างชาวสิงหลและชาวทมิฬที่ดาเนินมาเกือบ 30 ปี ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามในการการเจรจาสันติภาพที่มีการประชุมมาทั้งหมด 8 ครั้ง โดย การเจรจาฯ จัดขึ้นที่ไทย 3 ครั้ง (กันยายน/ตุลาคม 2545 และมกราคม 2546) การเจรจาฯ ครั้งสุดท้าย จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 - 29 ตุลาคม 2549 ที่นครเจนีวา ก็ไม่ปรากฏผลที่สาคัญใดๆ อาจกล่าวได้ว่า การ เจรจาฯ ที่ผ่านไม่สามารถบรรลุผลใด ๆ ที่เป็นรูปธรรมได้ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายขาดความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน ตลอดจนความจริงใจที่จะยุติปัญหาทาการเมืองอย่างถาวร แม้จะได้รับแรงกดดันอย่าง ต่อเนื่องจากประเทศตะวันตก ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา ทั้งสองฝ่ายต่างละเมิดความตกลงการ หยุดยิงอยู่เนือง ๆ เงื่อนไขทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ ที่มีผลต่อการสร้างสันติภาพและ/หรือความขัดแย้ง การรวบอานาจเบ็ดเสร็จ 7 International IDEA, Democratization of the Peace Process: Sri Lanka www.idea.int/publications/dchs/upload/dchs_vol2_sec5_4.pdf
  • 15. 27 รัฐบาลไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควรในการสร้างความปรองดอง ตลอดจนให้ความยุติธรรม และเอาผิดผู้กระทาผิดในกรณีซึ่งถูกกล่าวหาว่าเป็น อาชญากรรมสงคราม ปัญหาร้ายแรงด้านสิทธิ มนุษยชนที่ยังคงเกิดขึ้นรวมถึงการหายสาบสูญและการที่รัฐบาลไม่ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับผู้คนหลาย พันคนที่หายสาบสูญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งการยกเว้นโทษในหลายกรณีสาหรับการละเมิด สิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เช่น การทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตารวจและการโจมตีสถาบันสื่อและ ตุลาการ การโจมตีและคุกคามนักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคมและชนกลุ่มน้อยทางศาสนามีส่วน ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ตกอยู่ในความหวาดกลัวและมีการเซ็นเซอร์ตัวเอง รัฐบาลศรีลังกายังคงกุมอานาจอย่างแน่นหนาในปี พ.ศ. 2555 มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ สาคัญเกิดขึ้นในช่วงปี และรัฐบาลได้ดาเนินความพยายามที่สาคัญเพียงเล็กน้อยในการสร้างความ ปรองดอง กับชุมชนชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬ ประธานาธิบดีใช้อานาจภายใต้การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 18 ควบคุมการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในองค์กรของรัฐที่เคยเป็นองค์กรอิสระดูแลด้าน ตุลาการ ตารวจ และการพิทักษ์สิทธิมนุษยชน การปฏิเสธการพิจารณาคดีโดยเปิดเผยและเป็นธรรมยังคง เป็นปัญหา และในช่วงปีที่ผ่านมา รัฐบาลได้ดาเนินขั้นตอนเพื่อถอดถอนประธานศาลสูงสุด เมื่อถึง สิ้นปี ศาลอุทธรณ์กาลังเตรียมการพิจารณาข้อโต้แย้งว่า การที่รัฐสภาเข้าควบคุมดูแลฝ่ายตุลาการ นั้นขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ผู้ที่คาดว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลโจมตีและคุกคามผู้ปฏิบัติงานใน ภาค ประชาสังคม นักหนังสือพิมพ์ และผู้ที่ถูกมองว่าเห็นอกเห็นใจกลุ่ม LTTE ยังคงมีการหาย สาบสูญโดยไม่สมัครใจ และรัฐบาลไม่ออกมาชี้แจงเกี่ยวกับผู้คนหลายพันคนที่หายสาบสูญในช่วง หลายปี ที่ผ่านมา การยกเว้นโทษจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบต่างๆ เป็นไปอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะกรณีที่เกี่ยวกับการทรมานโดยเจ้าหน้าที่ตารวจ การโจมตีสถาบันสื่อและตุลา การ และความรุนแรงทางเพศ ยังคงเป็นปัญหาร้ายแรง ฝ่ายความมั่นคงและกลุ่มกองกาลังติดอาวุธที่ เข้าพวกกับรัฐบาลก่อเหตุสังหาร โดยมิชอบด้วยกฎหมายโดยเฉพาะในพื้นที่ชาวทมิฬ การเลือก ปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยชาวทมิฬยังคงดาเนินอยู่ และจานวนเหยื่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เป็นชาว ทมิฬอยู่ในสัดส่วนที่ไม่สมควร ความพยายามในการปรองดองของศรีลังกานั้นยังไม่เพียงพอและ ประเทศกาลังจะเข้าสู่การเป็นรัฐอานาจนิยม การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้อาจทาให้ประเทศมีความเสี่ยงที่ จะกลับไปสู่ภาวะความขัดแย้งอีกครั้ง8 ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ ศรีลังกา ได้รับการจัดให้เป็นประเทศที่มีรายได้ ต่า – ปานกลาง ล่าสุดมีอัตราการเติบโต ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2556) อยู่ที่ ร้อยละ 7.6% รายได้ประชากรโดยเฉลี่ยต่อหัว อยู่ที่ 5,384.26 ดอลล่าร์สหรัฐ ต่อคนต่อปี ประชากรส่วนใหญ่ยังมีความยากจน ความขัดแย้งอย่าง 8 Interview Dr Rajiva Wijesinha, Member of Parliament, 4 August 2014
  • 16. 28 รุนแรงที่ผ่านมาส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่า ประชากรที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่มีโอกาสให้ การสร้างรายได้ และไม่มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ดีในพื้นที่สงครามทางตอนเหนือและ ตะวันออก ซึ่งเป็นเงื่อนไขสาคัญที่ทาให้ประชากรในพื้นที่เหล่านั้นมีความยากจน หลังจากการวางอาวุธ และการปฎิรูปเศรษฐกิจในปี 2545 ส่งผลอัตราการเติบโตของ เศรษฐกิจดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว อัตราการเติบโตอยู่ที่ 6.0% ในปี 2546 และเพิ่มขึ้นเป็น5.4% ในปี 2547 และเพิ่มขึ้นเป็น 6% ในปี 2548 และมีเสถียรภาพมากขึ้นในปีถัดมา โดยมีอัตรเติบโตอยู่ที่ 7.4% ในปี2549 ประธานาธิบดี Rajapaksa ดาเนินนโยบายเศรษฐกิจและสังคมโดยอาศัยหลักการ Mahinda Chintana (Mahinda Vision) หรือวิสัยทัศน์แห่งมาฮินดา ซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาประเทศที่มี ระยะเวลาดาเนินการ 10 ปี ตั้งแต่ 2549 - 2559 โดยเน้นการพัฒนาสถาบันครอบครัวเป็นแกนหลัก ของสังคม ซึ่งมีเป้าหมายหลัก คือ การขจัดความยากจนแบบยั่งยืน และมีแนวทางปฏิบัติ คือ การ สร้างสังคมที่มีวินัย โดยการรักษาวัฒนธรรมและศีลธรรม ประชาชนทุกคนและทุกหน่วยงานต้อง ให้ความเคารพกฎหมาย มีธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ รัฐบาลจะดาเนินนโยบายที่ สามารถเข้าถึงประชาชนมากขึ้น โดยให้ประชาชนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนาและปฏิบัติ ศาสนกิจ และสร้างสภาพแวดล้อมของประเทศให้เอื้อต่อการพัฒนาเยาวชน สร้างองค์ความรู้ ทักษะ ความเข้มแข็ง และสุขภาพที่ดีให้แก่ประชาชน รัฐบาลศรีลังกาได้จัดสรรงบประมาณ 2.15 แสนล้าน รูปี (ประมาณ1600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 5.1 หมื่นล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูจังหวัดต่าง ๆ ทางภาคเหนือและภาคตะวันออก ที่อยู่อาศัย ไฟฟ้า น้าดื่มและการศึกษาคือความสาคัญอันดับต้น ๆ ศรีลังกาได้เปิดทางด่วนสายแรกของประเทศในปี พ.ศ. 2555 และทางด่วนสนามบินที่เชื่อมระหว่าง ศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศในเมืองคาตูนายาเกะกับกรุงโคลัมโบซึ่งเป็นเมืองหลวงของ ประเทศเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2556 อย่างไรก็ตาม อนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศศรีลังกา ขึ้นอยู่กับเสถียรภาพทางการเมือง การกลับคืนสู่ความสงบสุข และนโยบายที่มีความต่อเนื่อง การชาระอดีต การตรวจสอบเรื่องที่ผ่านมาเพื่อค้นหาความจริงและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นถือว่าเป็นขั้นตอน สาคัญในการก้าวต่อไปข้างหน้า ของประเทศที่ผ่านศึกของความขัดแย้งรุนแรง โดยเฉพาะการใช้ กาลังทางการทหารในการยุติสงครามเชื้อชาติอย่างเช่นประเทศศรีลังกา ศรีลังกาถูกประเทศ ตะวันตกประณามและโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ในช่วงที่กองทัพศรีลังกา ดาเนินการปราบปรามกลุ่ม LTTE ประเทศตะวันตกหลายประเทศพยายามเรียกร้องให้มีการ สอบสวนการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนและกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศโดยกองทัพ และรัฐบาลศรีลังกา นานาชาติเรียกร้องให้รัฐบาลศรีลังกานาตัวผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าก่ออาชญากรรม สงครามมาลงโทษ และเริ่มกระบวนการฟื้นฟูสันติภาพ รัฐบาลศรีลังกา ยืนกรานปฏิเสธเรื่อง
  • 17. 29 กองทัพละเมิดสิทธิชนกลุ่มน้อย และยืนยันว่าจะจัดตั้งคณะกรรมการสืบสวนกรณีคนหาย ซึ่งส่วน ใหญ่เป็นชาวทมิฬ และยืนยันว่าไม่ได้ก่ออาชญากรรมสงครามและแย้งว่าการสืบสวนเต็มไปด้วย อคติ สหประชาชาติออกรายงานฉบับหนึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2554 ระบุว่า ชาวทมิฬประมาณ 40,000 คนเสียชีวิตในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์สุดท้ายของความขัดแย้ง โดยส่วนใหญ่เสียชีวิตเพราะถูกกระสุน ปืนของฝ่ายรัฐบาล ประธานาธิบดี Mhindra Rajapaksa ได้จัดตั้งคณะทางานขึ้นในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2556 ตามคาขอของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ ตรวจสอบข้อกล่าวหากรณีอาชญากรรมสงคราม แต่ปรากฏว่ายังไม่มีการนาเสนอความคืบหน้าใดๆ นาวี พิลเลย์ ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง คณะกรรมการไต่สวนอิสระจากนานาชาติ เกี่ยวกับการกระทาที่เข้าข่าย “อาชญากรสงคราม ” ที่ เกิดขึ้น ระหว่างสงครามกลางเมืองในศรีลังกา ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็น เชื่อว่า มี ความจาเป็นที่ต้องจัดตั้งกลไกที่เป็นอิสระจากนานาชาติในการสืบสวนหาความจริงต่อการละเมิด สิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองศรีลังกา เนื่องจากกระบวนการตรวจสอบภายใน ของรัฐบาลศรีลังกาภายใต้การนาของ ประธานาธิบดีมหินทา ราชปักษา ขาดความน่าเชื่อถือ และ ปราศจากความคืบหน้าที่เป็นรูปธรรม9 การเรียกร้องของนานาชาติให้มีการไต่สวน เกี่ยวกับการกระทาที่เข้าข่าย “อาชญากร สงคราม” ที่เกิดขึ้น ระหว่างสงครามกลางเมืองในศรีลังกา ได้ปลุกกระแสชาตินิยมในประเทศศรี ลังกา ความไม่พอใจประเทศตะวันตกมีเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกัน ความนิยมในตัวประธานาธิบดี ต่อการปฏิเสธที่จะทาตามการเรียกร้องดังกล่าวก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ยังคงต้องดูกันต่อไปว่ารัฐบาล ศรีลังกาจะดาเนินการต่อไปอย่างไรต่อการเรรียกร้อง จากนานาชาติในการสืบสวนหาความจริงต่อ การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามกลางเมืองศรีลังกา การกระจายอานาจ ในปี พ.ศ. 2556 ศรีลังกาได้จัดการเลือกตั้งระดับจังหวัด (Provincial Council) ขึ้นเป็นครั้ง แรกในรอบ 25 ปี ทางภาคเหนือของประเทศ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีชาวทมิฬอยู่เป็นส่วนใหญ่ การเลือกตั้ง สภาปกครองจังหวัดในภาคเหนือ อาจจะเป็นตัวชี้วัดถึงสถานะความปรองดองทางชาติพันธุ์และ ความก้าวหน้าทางการเมืองในศรีลังกา ผู้สมัครจากพรรคพันธมิตรทมิฬแห่งชาติ Tamil National Alliance (ทีเอ็นเอ TNA) ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นตามความคาดหมาย โดยได้รับคะแนนเสียง มากกว่าผู้สมัครจากพรรคพันธมิตรเสรีภาพประชาชนรวม United People’s Freedom Alliance (ยูพี 9 Reuters, U.N. chief says access not a must for Sri Lanka war crimes probe By Nita Bhalla 11 August 2014