SlideShare a Scribd company logo
1 of 31
Download to read offline
เรื่องหัวใจชายหนุ่ม
พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จ
พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่า ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม
พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และ
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45
พรรษา เสด็จดารงราชสมบัติรวม 15 ปี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบาเพ็ญ
พระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การ
สาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สาคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรง
พระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราช
สมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน
พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจารัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียน
มหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดาริว่าพระอาราม
นั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบารุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึง
ทรงพระราชดาริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้ว
เสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ที่พระราชทาน
ไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้ง
แรก เพื่อบารุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน)
และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อน
ใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จพระราชดาเนินไปทรงวางพวงมาลา
ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงาน
เอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจานวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรง
พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บาเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย
ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้
ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสาคัญของ
โลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่ง
บทละครไว้เป็นจานวนมาก
ความเป็นมา
หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ
เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ ลักษณะการพระราชนิพนธ์
เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจานวน ๑๘ ฉบับระยะเวลาในจดหมาย ๑ ปี๗
เดือน เป็นผู้ที่ถ่ายทอดสังคมแบบไทยกับตะวันตกที่ผสมผสานกัน และทาให้ผู้
ที่อ่านได้ข้อคิดและความบันเทิง
ลักษณะคาประพันธ์
หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบจดหมาย
เนื้อเรื่องย่อ
นายประพันธ์ได้กลับมาจากเมืองนอกและได้ถูกจับแต่งงานกับนางกิม
เน้ย แต่ประพันธ์ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ต่อมาประพันธ์ได้มา
เจอกับนางอุไรและได้ชอบคอกันจนนางอุไรตั้งท้อง ทั้งสองแต่งงานกันแต่ไปไม่
รอดและได้แท้งลูก นางอุไรเป็นคนชอบเที่ยว คบชู้ประพันธ์จึงขอแยกทาง แต่ไม่
นานนางอุไรก็มาขอประพันธ์คืนดีแต่ประพันธ์ไม่ดีด้วย นางอุไรจึงไปหาคนใหม่
และได้แต่งงานกับคนดีคนหนึ่ง ส่วนนายประพันธ์ก็ได้พบนางศรีสมานและทั้งสอง
รักกันแต่ชีวิตคู่ครั้งนี้จะเป็นรักชั่วนิรันดร์ของนายประพันธ์
วิเคราะห์โลกทัศน์ในพระราชนิพนธ์หัวใจชายหนุ่ม
การศึกษาวิเคราะห์โลกทัศน์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องหัวใจชายหนุ่ม สามารถจาแนก
ออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. โลกทัศน์ที่มีต่อสังคม
2. โลกทัศน์ที่มีต่อการศึกษา
3. โลกทัศน์ที่มีต่อการเมืองการปกครอง
4. โลกทัศน์ที่มีต่อความรัก
1. โลกทัศน์ที่มีต่อสังคม
1.1 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทย
1. โลกทัศน์ที่มีต่อชนชั้นในสังคมไทย
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...นอกจากขุนนางกรมซ้าย. ทั้งกว่าจะ
ได้เป็นหลวงก็อีกหลายปี, แล้วอาจจะเป็นหลวงอยู่จนหัวหงอกหรือจนตายก็ได้.
ข้อนี้ก็จริงอยู่บ้าง, เช่นตัวคุณพ่อเองได้เป็นหลวงตั้งแต่อายุ 30 เมื่ออายุ 45 จึ่งได้
เป็นพระ, แล้วก็ยังเป็นพระอยู่จนทุกวันนี้, และไม่แลเห็นทางที่จะได้เป็นพระยา
ด้วย...” (น. 25)
ในรัชสมัยนี้แม้จะเลิกทาสแล้วแต่ยังคงมีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการแบ่งชน
ชั้นได้อย่างชัดเจน คือ ระบบเจ้านายและบ่าวซึ่งแสดงถึงระบบชนชั้นและความ
เลื่อมล้าทางสังคม
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 17 ความว่า “...ค่าวันนั้นฉันนั่งอ่านหนังสืออยู่ คน
ใช้มาบอกว่าแม่อุไรมาหา, ในชั้นต้นฉันไม่เชื่อ ; ฉันถามมันไปว่า : “อุไรไหน ?”
คนใช้มันทาหน้าเลิกลั้กแล้วตอบว่า : “คุณอุไรน่ะสิขอรับ”(น.61)
1.2 การแบ่งชนชั้นของคนต่างชาติในสังคมไทย
การแบ่งชนชั้นในคนต่างชาติจะเห็นได้ว่ามีการยกย่องประเทศในแถบตะวันตก
และดูหมิ่นชนชาติจีนและแขกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งที่คนไทย
มีเชื้อสายจีนเป็นจานวนมาก
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...เมื่อเราได้เห็นของดี ๆ ในยุโรปเสีย
แล้ว,มาเห็นสิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองฝรั่งเก๊ ๆ ก็ต้องเบื่ออยู่เอง. ฉันช่างนึกขันจริง ๆ
ว่าเมื่อแต่ก่อนนี้, คือเมื่อยังอยู่ในเมืองไทย,ได้เคยนึกว่าสิงคโปร์เป็นเมืองฝรั่ง
เสียจริง ๆ . ที่แท้มันเป็นฝรั่งน้อยเต็มที. และเที่ยวในเมืองนี้พบแขกกับเจ๊กเสีย
มากกว่าฝรั่ง. แล้วก็ฝรั่งที่นี่ทาตัวพิลึก, คือเขาไม่คบแขกกับเจ๊กเลย...หนังแรด
หนังช้างที่เดียวละกระมัง ? ฉันมาเห็นเจ๊กมาก ๆ ที่สิงคโปร์นี้ทาให้นึกถึง
กรุงเทพฯแล้วเลยทาให้นึกดีใจที่เผอิญจาเป็นต้องมาพักอยู่ที่สิงคโปร์นี้ก่อน. ได้
มีโอกาสชินกับเจ๊กเสียก่อนที่จะเข้าไปถึงกรุงเทพฯ...”(น.20-21)
2. โลกทัศน์ที่มีต่อสภาพของสังคมไทย
2.1 ด้านการคมนาคม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่
ทอดพระเนตรเห็นว่า ความเจริญและการพัฒนาได้เข้ามาสู่ประเทศไทยควบคู่
ไปกับการดาเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง คือ มีการคมนาคมที่สะดวกมากยิ่งขึ้นทั้ง
ทางบกและทางน้า มีเรือจ้าง และรถยนต์จ้าง
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...เมื่อเรือไปถึงปากน้าฉันพบกับพ่อ
ประภา,ซึ่งลงไปรับฉัน”, “...ท่านพาฉันขึ้นรถยนต์มาบ้านทีเดียว, และคุณแม่
ต้อนรับอย่างกี๊วก๊าวสนุกใหญ่” (น.22)
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...เมื่อคืนวันที่ 2 เดือนนี้ ประไพได้
จัดการเชิญแม่อาไรให้ไปดูการแต่งไฟทางลาน้า, เพราะฉะนั้นเราจึ่งได้มีโอกาส
ได้นั่งไปด้วยกันนานในเรือยนต์ ในที่มืด...” (น.30)
2.2 ด้านการติดต่อสื่อสาร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิยมติดต่อกันทางจดหมายและ
ความมีเสรีภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ ดังเห็นได้จากรูปแบบการประพันธ์ คือ ร้อยแก้วโดยการ
เขียนจดหมายส่วนตัวและการประกาศทางหนังสือพิมพ์
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...ฉันก็นึกว่าคงจะเป็นสิ้นเรื่องราคาญไปพัก
หนึ่ง, ที่ไหนเล่า, ต่อนั้นมาไม่อีกกี่วันเห็นแจ้งความลงในหนังสือพิมพ์, ความว่า ฉันไม่
ขอรับผิดชอบหนี้สินของภรรยาอีกต่อไป...” (น.46)
2.3 ด้านสถาปัตยกรรม
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตรเห็น
ว่า ความเจริญด้านสถาปัตยกรรม ส่วนมากเป็นโฮเต็ลของคนจีน มีการเปลี่ยนแปลงและ
พัฒนาตามกระแสนิยมทางตะวันตกบ้างแต่มีไม่มากในเบื้องต้น ซึ่งเป็นความเจริญด้าน
วัตถุนิยม เช่น มีโรงละคร โรงภาพยนตร์ โฮเต็ลฝรั่ง ออฟฟิศ สโมสร
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 16 ความว่า “...ทาให้มีโอกาสได้รู้อกรู้ใจรู้ความคิด
ความเห็นของคนมากได้กว้างขวางขึ้น กว่าที่จะมีโอกาสในเวลาอยู่โดยปรก ; เพราะใน
เวลาอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างคนต่างมีราชการไปทาที่ออฟฟิศ...”(น.58-59)
2.4 ด้านการเลี้ยงสัตว์ คือ มีการเลี้ยงห่านเป็นอาชีพ มีโรงเลี้ยงห่าน
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...แต่เสียใจที่ต้องบอกว่าเหม็นกลิ่น
ห่านพิลึก ! ฉันบ่นขึ้นในเรื่องนี้คุณพ่อกลับพูดว่า : “อ้ายโรงเลี้ยงห่านมันก็เคย
อยู่ข้างบ้านเรามานานแล้ว, ไม่เคยได้ยินลูกบ่นว่าเหม็นเลย, นี่ไปชุบตัวมาจาก
เมืองนอก จมูกจึ่งกลายเป็นฝรั่งไป !...”(น.22)
3. โลกทัศน์ที่มีต่อบุคคลในสังคมไทย
3.1 โลกทัศน์ที่มีต่อผู้หญิงในสังคมไทย
3.1.1 โลกทัศน์ที่มีต่อลักษณะของผู้หญิงไทยในสังคม
1. อยู่ในความดูแลของพ่อแม่ คือ พ่อแม่จะเป็นผู้ดูแลลูกผู้หญิงตั้งแต่เด็ก
จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด เป็นผู้ตัดสินใจ กาหนดวิถีชีวิตของผู้หญิง
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 1 ความว่า “...อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึ
เหลืออยู่มากที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย, เพราะฉะนั้นดูออกจะหา
โอกาสได้ชื่นใจยากอยู่สักหน่อย...”(น.18)
2. รักษาความลับไม่ได้ คือ ผู้หญิงมักมีนิสัยช่างพูด ชอบการเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น
เรื่องที่ผู้หญิงรู้จึงไม่เป็นความลับและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า “...จนในเมื่อถึงเวลาแม่อุไรได้ไปอยู่
กับเขานั้น พระยาตระเวนมีนางบาเรอประจาบ้านอยู่แล้วถึงเจ็ดนาง ! เก่งไหม ?
แน่ทีเดียวเขาปิดข้อนี้, ปิดให้สนิทยากที่สุด, เพราะมันเป็นเรื่องสาหรับผู้หญิงชอบ
รู้ชอบเล่าสู่กันฟัง ; คนหนึ่งเล่าให้เพื่อนรัก, สั่งว่าอย่าพูดไปนะ, แล้วเพื่อนคนนั้นก็
ไปเล่าให้เพื่อนรักของตัวอีกคนหนึ่ง, และต่อ ๆ กันไปเช่นนี้เป็นแถวไป, และ
ความลับออกจากปากผู้หญิงคนเดียวอาจที่จะรู้ถึง 20 คน ภายในอาทิตย์เดียว
...”(น.50-51)
3. พึ่งพาผู้ชาย คือ ผู้หญิงเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ก็จะหาผู้ชายมาเป็นผู้ดูแล ค้าจุน เกื้อหนุนใน
ทุก ๆ ด้าน
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...แต่ในไม่ช้าฉันก็จาเป็นต้องพูดเตือนเรื่อง
เที่ยวของหล่อน, เพราะห้างและร้านต่าง ๆ เริ่มส่งใบทวงเงินมามาก, ในเดือนหนึ่งแม่
อุไรเที่ยวทาหนี้ไว้ตั้งพันบาท, แต่เงินเดือนของฉันก็เพียง 200 บาทเท่านั้น...”(น.46)
3.1.2 โลกทัศน์ที่มีต่อค่านิยมของผู้หญิงไทยในสังคม
1. ด้านการแต่งกาย คือ ผู้หญิงเริ่มนุ่งซิ่น และนิยมใส่เพชรเป็นเครื่องประดับ
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 4ความว่า “...นี่ก็ยังคงมีอีกขั้น 1 ที่จะเดินขึ้นต่อไป, คือ
การนุ่งผ้าให้ผิดกับผู้ชาย, ในเวลานี้ก็มีผู้หญิงนุ่งซิ่นอยู่กับบ้านบ้างแล้ว, แต่ยังไม่กล้านุ่ง
ไปไหนมาไหน, เพราะยังไม่มีใครเป็นหัวหน้านา “แฟแช่น” นุ่งซิ่นขึ้น...”(น.26)
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 6ความว่า “...รู้จักใช้เครื่องเพชรต่อพอสมควรไม่รุงรัง
เป็นต้นไม้คริสต์มาส...”(น.31)
2. ด้านทรงผม คือ ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาว ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4
ความว่า “...ความจริงมีอยู่อย่างหนึ่ง คือในเวลานี้เห็นผู้หญิงไทยไว้ผม
ยาวมากกว่าเมื่อก่อนเราไปเมืองนอกเป็นอันมาก ; คนไว้ผมสั้นเกือบจะ
มีเหลือแต่คนแก่กับไพร่ ๆ เท่านั้นแล้ว. ข้อนี้เป็นข้อควรยินดีอยู่, เพราะ
การไว้ผมยาวทาให้ผู้หญิงสวยขึ้นมากเป็นแน่นอน...” (น.26)
3.2 โลกทัศน์ที่มีต่อผู้หญิงตะวันตกในสังคม
1. มีเสน่ห์ มีความดึงดูดน่าสนใจ
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...จริงอยู่ผู้หญิงฝรั่งนั้น ถ้าเราดูในเมืองของ
เขาก็ช่างน่ารักเสียจริง ๆ ; ผิวพรรณ ผุดผ่อง เจริญตาเจริญใจ, ทั้งจริตกริยาก็ยั่วยวน
เสน่ห์มาก...”(น.33)
2. เอาแต่ใจตัวเอง คือ หากมีเรื่องไม่เป็นไปตามใจที่หล่อนปรารถนา หล่อนก็
จะไม่เก็บอาการหรือควบคุมอารมณ์ จึงไม่เหมาะกับการเป็นภรรยา
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...แต่เมียฝรั่งยังไม่อาละวาดก็คงจะยังไม่
เป็นไรดอก, เพราะอย่างไร ๆ ก็ยังคงต้องมีความละอายแก่ใจอยู่, ต่อเมื่อไหร่เมียฝรั่ง
นั้นเหนี่ยวใจของตัวไว้ไม่อยู่, แสดงความไม่พอใจต่าง ๆ ออกมา, ผัวจึงสาแดงให้เมีย
รู้สึกบ้างว่าตนก็เบื่อเหมือนกัน, ต่อนั้นไปถึงจะคงอยู่ด้วยกันไปก็ไม่มีความสุข
...”(น.34)
3. ใช้ชีวิตอย่างอิสระ คือ ใช้ชีวิตตามใจปรารถนา เที่ยวในยามวิกาลได้อย่างผู้ชาย
เต้นรา กินข้าวต้มราชวงศ์และอาหารรอบดึก กลับบ้านในเวลาที่ต้องการ
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับ 6 ความว่า “ฉะนั้นในระหว่างเวลางานฤดูหนาว ฉันจึงได้
พาแม่อุไรเที่ยวได้ทุกคืนจนตลอดงาน, หรือมิฉะนั้นก็ไปหาที่บ้านของหล่อนทุก ๆ วัน.
บางวันก็ขึ้นรถยนต์เที่ยวเล่น, บางวันก็เล่นแบดมินตัน ; และบางคืนพากันไปดู
ภาพยนตร์แล้วไปกินข้าวต้มราชวงศ์. นอกจากนี้มีได้พากันกินข้าวตามโฮเต็ลบ้าง, ไป
ตามบ้านมิตรสหายกินข้าวบ้าง. เต้นรา, นับว่าได้พบกันทุกวัน, และแถมกลางคืนแทบ
จะทุกคืนด้วย. บางคืนไปบ้านมิตรสหายด้วยกันและอยู่จนดึก ๆ กว่าจะกลับ, และบาง
คืนฉันก็ไปคุยอยู่ที่บ้านพระพินิฐจนดึก ๆ . ทั้งคุณพระและภรรยาของท่าน “ศิริไลซ์”
มาก, ไม่กีดขวางกันท่าเราเลย...” (น.35)
3.3 โลกทัศน์ที่มีต่อความเชื่อของบุคคลในสังคมไทย
1. เชื่อเรื่องกรรม คือ เชื่อเรื่องผลของการกระทาในกาลก่อนจะส่งผลถึง
ปัจจุบัน
ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...ทั้งนี้ก็เพราะฉันเป็นคนที่กลัวคน
นินทาเสียจริง ๆ, จึ่งตั้งใจว่าเมื่อเป็นกรรมของฉันแล้วก็จะก้มหน้าทนกรรมไปจนถึง
ที่สุด, นึกเสียว่าเท่ากับอุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์เสียชาติหนึ่งทีเดียว...”(น.45)
2. เชื่อเรื่องโลกหลังความตาย คือ เชื่อในเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ เรื่องเหนือ
ธรรมชาติ อันได้แก่เรื่องสวรรค์ คือ เชื่อว่าสวรรค์อยู่เบื้องบนและเป็นที่อยู่ของ
นางฟ้า และ เชื่อเรื่องการทาบุญ เซ่นผี การไหว้เจ้า
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...แหละฉันราคาญไม่หายเลยที่ท่านยัง
พอใจทาบุญไหว้เจ้าเซ่นผีอะไรต่าง ๆ ในเวลาตรุษจีนเสมอ...”(น.21)
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ทั้งคุณพ่อคุณแม่สรรเสริญเยินยอมากว่า
เป็นคนดีนัก, วิเศษต่าง ๆ ราวกับนางฟ้าตกลงมาจากสวรรค์...”(น.25)
1.2 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทยในด้านที่ดี
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตร
เห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีงามควรที่จะรักษาไว้ดังนี้
1. ความกตัญญู คือ การเคารพบรรพบุรุษ ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2
ความว่า “...และฉันราคาญไม่หายเลยที่ท่านยังพอใจทาบุญไหว้เจ้าเซ่นผีอะไรต่าง ๆ
ในเวลาตรุษจีนเสมอ ! ฉันได้เคยเขียนจดหมายไปแนะนาหลายหนแล้วว่าให้งด
ประพฤติตามประเพณีเจ๊กเสียที. แต่ท่านกลับตอบมาว่า : “เมื่อลูกไม่รู้จักความกตัญญู
ต่อปู่ย่าตาทวดก็ตามเถิด. แต่จะมาบังคับให้พ่องดความกตัญญูด้วยไม่ได้...””(น.21)
2. ความอ่อนน้อม ถ่อมตน คือ มารยาทที่ดีที่ผู้น้อยพึงกระทาต่อผู้ใหญ่
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ตั้งแต่ฉันกลับเข้ามาถึง ฉันได้ถูกคุณพ่อพา
ไปหาใครต่อมิใครแทบไม่เว้นในแต่ละวัน, และฉันต้องไหว้คนมาเสียมากต่อมากจน
นับหนไม่ถ้วน, จนฉันแทบจะลงรอยเป็นท่าประนมอยู่เสมอแล้ว, และหลังก็เกือบโค้ง
เสียแล้ว เพราะคานับคนไม่ได้หยุด”(น.25)
3. การรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงไทย คือ ผู้หญิงไทยส่วนมากมักจะเก็บตัวอยู่แต่ใน
บ้าน ไม่ออกไปในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในยามวิกาล
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...และที่ดีที่สุดคือหล่อนไม่ทาตัวเป็นหอย
จุ๊บแจงอย่างผู้หญิงไทย ๆ โดยมาก...”(น.31)
1.2.4 การปฏิบัติตามประเพณี คือ ประเพณีการแต่งงาน
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 9 ความว่า “...แล้วเลยตกลงรีบไปจัดการขอแม่อุไรและ
พระพินิฐก็ยกให้โดยทันทีเทียว-ท่าทางจะได้รู้แล้วเหมือนกันว่ามีความจาเป็นอยู่.
เมื่อการสู่ขอเป็นอันตกลงกันแล้ว...”(น.38-39)
1.3 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทยที่ควรแก้ไข ปรับปรุง
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตรเห็น
ว่า เป็นสิ่งที่ควรแก้ไข ปรับปรุง เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมกับประเทศใน
แทบตะวันตกทั้งด้านทัศนคติการดาเนินชีวิตและสิทธิตลอดจนเสรีภาพที่บุคคลควร
ได้รับ ดังนี้
1. การดูหมิ่นชนชาติจีนและแขก คือ การดูหมิ่นว่าอีกฝ่ายต้อยต่า ด้อยค่ากว่าตน
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...หนังเจ๊กเห็นจะหนาเป็นหนังแรดหนังช้างที่
เดียวละกระมัง ? ฉันมาเห็นเจ๊กมาก ๆ ที่สิงคโปร์นี้ทาให้นึกถึงกรุงเทพฯแล้วเลยทาให้
นึกดีใจที่เผอิญจาเป็นต้องมาพักอยู่ที่สิงคโปร์นี้ก่อน. ได้มีโอกาสชินกับเจ๊กเสียก่อนที่
จะเข้าไปถึงกรุงเทพฯ. พ่อประเสริฐก็รู้อยู่แล้วว่า ฉันได้เคยคร้ามอยู่ปานใดในการที่
จะต้องสมาคมกับเจ๊ก”(น.21)
2. การใช้อานาจ ความเป็นพวกพ้องเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง ดัง
ปรากฏในจดหมายฉบับที่ 5 ความว่า“...ฉันมีข่าวที่จาจะต้องรีบบอกมาให้ทราบ, คือฉัน
ได้ตกลงเข้ารับราชการแล้ว . คุณหลวงพิพัฒน์ไปจัดการอย่างไรไม่ทราบ, แต่ในที่สุด
ฉันเป็นอันได้รับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์...”(น.28)
3. สิทธิและเสรีภาพเรื่องคู่ครอง คือ สิทธิและเสรีภาพในเรื่องการเลือกหรือมีคู่ครอง
ในสังคมไทยเป็นเรื่องความเห็นชอบของผู้ใหญ่ และขึ้นอยู่กับความพึงใจของผู้ชาย
เป็นหลัก ดังนี้
3.1 การแต่งงานแบบการคลุมถุงชน คือ การแต่งงานกันโดยความเห็นชอบ
จากผู้ใหญ่ทั้ง 2 ฝ่าย
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...พอฉันกลับถึงบ้านได้สัก 7 วัน คุณพ่อก็
บอกว่าได้หาเมียไว้ให้คนหนึ่งแล้ว ! ฉันหมายว่าท่านพูดเล่นจึ่งหัวเราะ, แต่พูดกัน
ไปพูดกันมาจึ่งรู้ว่าท่านพูดจริง ๆ ไม่ใช่พูดเล่น, ผู้หญิงนั้นคือแม่กิมเน้ย ลูกสาวอากร
เพ้ง...” (น.25)
3.2 การมีภรรยาเป็นจานวนมาก คือ สังคมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นการที่ผู้ชายมีภรรยาเป็นจานวนมากถือเป็นเรื่องปกติ
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า“...เขาตกลงหาบ้านให้แม่อุไรอีกบ้าน 1 ที่
ถนนราชประสงค์. เขาได้เงินเดือน 700 บาท, มีบ้าน 2 บ้าน, เมีย 8 คน,ม้า 4 ตัว,และ
เล่นกีฬาต่าง ๆ เสมอ ๆ, และเลี้ยงเพื่อนฝูงบ่อย ๆ ด้วย, เก่งไหม ?...”(น.51)
3.3 การห้ามไม่ให้ชายหญิงพบกันโดยปกติ คือ ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะไม่ยอมให้
พบฝ่ายชายได้โดยง่าย ซึ่งการห้ามนี้กลับได้ผลตรงกันข้าม ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ซึ่งอาจ
ทาให้ผู้หญิงขาดทักษะการปฏิเสธ หรือไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้ชายแต่ก็ควรอยู่ใน
ขอบเขตที่เหมาะสม
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 16 ความว่า “...ตามประเพณีเดิมผู้ชายกับผู้หญิงเขาไม่ให้
พบปะสมาคมกันเลยตามที่พ่อประเสริฐรู้อยู่แล้ว, และผลของการห้ามเช่นนั้นก็คือทา
ให้ผู้หญิงนึกว่าผู้ชายเป็นเทวดาเสียหมด, จึ่งยอมเสียตัวแก่ผู้ชายง่ายเกินไปจนเป็นของ
น่าเกลียด”(น. 59)
3.4 การหย่าเป็นเรื่องเสียหาย ไม่เป็นที่ยอมรับ คือ ในรัชสมัยของ
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หากผู้ที่มีคู่ครองแล้วไม่พึงใจในคู่ครองของ
ตนมักไม่หย่าหากแต่นิยมมีเพิ่ม เพื่อป้องกันการติฉินนินทา ดังปรากฏในจดหมายฉบับ
ที่ 13 ความว่า “...ตั้งแต่ฉันได้กลับเป็นคนโสดอีกแล้ว ฉันรู้สึกว่ามีความสุขกายสุขใจ
มากขึ้น. จริงอยู่การที่ฉันหย่ากับแม่อุไรนั้น ได้ถูกคนบางคนนินทาติโทษ, แต่ฉันถือคติ
ว่าการแต่งงานเป็นกิจส่วนตัวของฉันโดยเฉพาะ, ไม่มีผู้ใดจะมารับสุขรับทุกข์แทนฉัน
ได้...”(น.49)
2.1 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมตะวันตกในด้านที่ดี
1. สถานะในสังคมตะวันตกมีความเท่าเทียมกัน คือ สถานะของคนใน
สังคมตามแบบสังคมตะวันตกจะมีความทัดเทียมเสมอกัน
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...นึก ๆ ก็ออกจะขันนะเพื่อน ในการที่
ฉันจะต้องไปเฝ้าท่านชาย, ซึ่งเคยเป็นเพื่อนนักเรียนอยู่ด้วยกันที่เมืองนอกและที่
เคยยืมเงินฉันไปใช้หลายครั้ง. อยู่ที่เมืองนอกท่านชายเป็นคน ๆ เรานี่เอง, แต่กลับ
เข้ามาเมืองไทยเป็นตัวแมลงอะไรบ้าร่าพิลึก. จาได้ไหมเพื่อน, เมื่อท่านชายกาลัง
ติดวินนี่ ; เคยกราบมือกราบตีนฉันขอให้ช่วยจัดการให้ได้พบกับวินนี่ มาเดี๋ยวนี้
ฉันจะต้องไปกราบมือกราบตีนท่านชายขอให้ช่วยฉันได้พบกับน้องสาวของฉัน
เอง !...”(น.23)
2. การใช้ความสามารถของตนเองในการแสวงหาความก้าวหน้า คือ การทางานหรือ
การประกอบอาชีพต่าง ๆ ในสังคมตะวันตกนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกอาชีพและ
ความสามารถของตนเอง
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ท่านยังแลเห็นไม่ได้เลยว่าคนเราอาจจะได้ดี
หรือมีชื่อเสียงได้โดยอาศัยความสามารถของตนเอง นึก ๆ ไปที่จริงที่น่าขันเราได้
อุตส่าห์ออกไปหาวิชาถึงเมืองนอก, แล้วกลับมาถึงบ้านต้องมาเดินเข้าท้ายครัวเท่ากัน
ๆ กับคนที่ไม่ได้ไปเมืองนอกเสียเลยนั่นเอง”(น.24) , “...ฉันก็เที่ยวระเหระหนหางาน
ทาอยู่หลายวัน, พบแต่ที่เต็ม ๆ เสียแทบทุกแห่ง ฉะนั้นจนบัดนี้ฉันก็ยังไม่ได้รับ
ราชการ. ฉันได้บอกคุณพ่อว่า ฉันจะลองประกอบอาชีพทางค้าขายดูบ้าง, แต่ท่านไม่
ยอมที่จะให้ฉันทาเช่นนั้น. ท่านว่าค้าขายไม่มีทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตต่อไปได้
...”(น.25)
3. การมีภรรยาคนเดียว คือ ในสังคมที่เจริญแล้วเมื่อมีคู่จะมีคู่เพียงคนเดียว
เพื่อแสดงความมีอารยธรรม และลดการเกิดปัญหาในครอบครัว
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 15 ความว่า “...มีผู้พูดกันอยู่หลายคนว่าถึงเวลาแล้วที่ไทย
เราควรจะใช้ธรรมเนียมมีเมียคนเดียว
4. เคารพสิทธิส่วนบุคคล
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 15 ความว่า “...ทั้งนี้เป็นเพราะฝรั่งเขาถือว่า การเช่นนี้เป็น
การส่วนตัวภายในบ้าน, ซึ่งที่จริงก็ถูกอยู่, เพราะถ้าเราไปใส่ใจมองดูการในบ้านของ
ฝรั่งเขาบ้าง...”(น.56)
2.2 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมตะวันตกในด้านที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย
1. สิทธิและเสรีภาพที่มากเกินควร
1.1 การแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกันในที่สาธารณะ คือ การจูบกันในสังคมของ
ชาวตะวันตกนับเป็นเรื่องปกติ แต่ในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ขัดต่อประเพณีที่ดีงาม
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...ต่อมานั้น, ในระหว่างงานฤดูหนาว, ก็ได้
พบปะกันมาก,โดยประไพได้เอื้อเฟื้อมากจริง ๆ จนฉันบอกแก่ประไพตรง ๆ ว่า ถ้าเรา
เป็นฝรั่งฉันจะจูบหล่อนให้ถึงใจที่เดียว เพื่อแสดงความขอบใจในการที่ช่วยอุดหนุนให้
สมประสงค์. นึก ๆ ก็น่าประหลาดอยู่ ที่ในเมืองเรานี้พี่น้องจูบกันไม่ได้เหมือนอย่าง
ฝรั่ง ; แต่นึกไปอีกทีก็เห็นว่าห้ามไว้ดีกว่า, เพราะประเพณีของเรากับของเขาผิดกันอยู่
...”(น.30)
1.2 การมีอิสระทางความคิด เสรีภาพทางการแสดงออกที่มากเกินควร เช่น การ
แสดงความเป็นตนเองของสตรีในสังคมตะวันตกอย่างเสรีโดยไม่คานึงถึงสังคม
รอบข้าง
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...นึกเทียบกับเมียฝรั่งของตัวเข้า จึ่งจะเริ่ม
รู้สึกแล้วว่าเมียฝรั่งนั้นไม่ประเสริฐไปทุกอย่างเลย. ความรู้สึกเช่นนี้ถึงหากว่าจะเกิด
มีขึ้นแล้ว, แต่เมียฝรั่งยังไม่อาละวาดก็คงจะไม่เป็นไรดอก, เพราะอย่างไร ๆ ก็คงยัง
ต้องมีความละอายแก่ใจอยู่, ต่อเมื่อไหร่เมียฝรั่งนั้นเหนี่ยวใจของตัวไว้มิอยู่, แสดง
ความไม่พอใจต่าง ๆ ออกมา, ผัวจึงสาแดงให้เมียรู้สึกบ้างว่าตนก็เบื่อเหมือนกัน
...”(น.34)
1.3 การทาตามใจตนเองโดยไม่คานึงถึงผลที่ตามมา
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 8 ความว่า “...มันเป็นเพราะฉันกับแม่อุไรได้ไปอยู่ด้วยกันในที่
ซึ่งทาให้ใจมันป่วนผิดธรรมดา, คือภูมิประเทศและทะเลยวนตาทาให้สบายใจ, ทั้งอากาศดีทา
ให้รู้สึกฮึกเหิมและรวบรัดตัดความก็เป็นอันตรงตามภาษิตว่า “น้าตาลใกล้มด”...”(น.37)
2. โลกทัศน์ที่มีต่อการศึกษา
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อการศึกษา ดังนี้
1. การศึกษาพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การศึกษาจะมีส่วนช่วยให้บุคคลนั้น ๆ มี
ความคิด ความเชื่อมั่นในตนเอง และมีรสนิยม
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...พูดกันสั้น ๆ หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้
หญิงไทย, และนับว่ามี “เอดูเคชั่น”ดีพอใช้; เขียนหนังสือไทยเก่ง,อ่านและพูดภาษาอังกฤษ
ได้บ้าง, เต้นราเป็น,และแต่งตัวดี, รู้จักใช้เครื่องเพชรต่อพอควรไม่รุงรังเป็นต้นไม้คริสต์มาส
...”(น.31)
2. การศึกษาทาให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้า คือ การศึกษามีความจาเป็นสาหรับผู้ที่
ต้องการพัฒนาตนเองในด้านหน้าที่การงาน เพราะในบางหน้าที่จาเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมี
ความรอบรู้ ความรู้เฉพาะทางในงานที่ตนปฏิบัติ
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า “...ครั้นเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ฉันได้
ย้ายตาแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์, นับว่าเป็นของถูกใจ
ของฉันทีเดียว, เพราะฉันแลเห็นหนทางที่อาจจะได้ทาการตรงตามทางที่ฉันได้เล่าเรียน
และชอบอยู่แล้ว...”(น.51)
3. การศึกษาช่วยแก้ไขปัญหาได้ คือ การศึกษามีส่วนช่วยให้บุคคลมีความคิด มีมุมมองที่
หลากหลาย และสามารถเลือกใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ประกอบการตัดสินใจ
เช่น เมื่อเกิดปัญหาในด้านการใช้ชีวิตคู่ และทาให้เกิดความทุกข์
เมื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ได้ จึงใช้ความรู้ทางด้านกฎหมายในการ
แก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า
“...และในที่สุดหลวงเทพฯ ชี้แจงว่า ถ้าไม่ยอมหย่า
ฝ่ายฉันก็ไม่มีทางอื่นนอกจากฟ้องชายชู้. หล่อนไป
ปรึกษาหารือกับพระยาตระเวนแล้ว
จึ่งบอกหลวงเทพฯ ว่าเป็นอันยอมหย่า...”(น.48)
4. การศึกษาสะท้อนค่านิยม คือ คนในสังคมต้องการให้บุตรหลานของตนเข้ารับ
ราชการในพระราชสานัก เพราะการรับราชการสามารถทาให้บุคคล
เจริญก้าวหน้าได้อย่างภาคภูมิใจในสังคม
ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ
ก็คือ อยากให้ฉันได้เข้าไปรับราชการในพระราชสานัก. แต่ผู้ที่ต้องการเข้าไปรับ
ราชการในพระราชสานักสมัยนี้มันมีมากมายจนเหลือตาแหน่ง...”(น.24)
จบการนาเสนอ

More Related Content

What's hot

ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
chaipalat
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
Rawinnipha Joy
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
Kittichai Pinlert
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
dnavaroj
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
พัน พัน
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
ssuser858855
 

What's hot (20)

โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
โครงงานสิ่งประดิษฐ์เหลือใช้
 
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บทตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
ตัวอย่างการเขียนโครงงาน 5 บท
 
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
การฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)
 
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
เอกสารประกอบการเรียนเล่ม1
 
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
1 ธรรมชาติและพลังของภาษาไทย(5-34)
 
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออนขนาดอะตอมและขนาดไอออน
ขนาดอะตอมและขนาดไอออน
 
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทานโครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
โครงงานภาษาไทยเรื่องนิทาน
 
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องบทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
 
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
โครงงานวิชาไอเอส เรื่องความพึงพอใจในการใช้ห้องน้ำของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีท...
 
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
แผ่นพับโครงงานการงานอาชีพ 1
 
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิดโครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
โครงงานภาษาไทย เรื่อง คำไทยที่มักเขียนผิด
 
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
วิทยาศาสตร์พื้นฐาน ม1เทอม2
 
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียนโครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
โครงงานเรื่อง การศึกษาต้นไม้ในโรงเรียน
 
บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ
บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ
บทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในการพัฒนาประเทศ
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เรื่อง การทดลองการเจริญเติบโตของยีสต์ในน้ำหมักช...
 
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงานที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
 
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
คัมภีร์ฉันทศาสตร์ Ppt[1]
 
คำประสม
คำประสมคำประสม
คำประสม
 
คำนำ
คำนำคำนำ
คำนำ
 
การสำรวจทางทะเล
การสำรวจทางทะเลการสำรวจทางทะเล
การสำรวจทางทะเล
 

More from kkrunuch

สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559
kkrunuch
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
kkrunuch
 
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือนเรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
kkrunuch
 
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา  คำประชาการวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา  คำประชา
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา
kkrunuch
 

More from kkrunuch (10)

เอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟเอกสารโคมไฟ
เอกสารโคมไฟ
 
สื่อการสอน Internet 2559
สื่อการสอน Internet  2559สื่อการสอน Internet  2559
สื่อการสอน Internet 2559
 
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคนใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
ใบความรู้ เรื่อง แอลเคน
 
เซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิกเซลล์กัลวานิก
เซลล์กัลวานิก
 
กัมมันตรังสี
กัมมันตรังสีกัมมันตรังสี
กัมมันตรังสี
 
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie albumส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
ส่วนประกอบของโปรแกรม Flie album
 
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือนเรื่องสารรอบตัว  ครูเจริญ  มีเหมือน
เรื่องสารรอบตัว ครูเจริญ มีเหมือน
 
Microbiology4.5
Microbiology4.5Microbiology4.5
Microbiology4.5
 
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
ความหมายของระบบนิเวศ (Ecosystem) m3
 
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา  คำประชาการวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา  คำประชา
การวิจารย์งานศิลปะและศิลปะตะวันออก ครูรัตติยา คำประชา
 

หัวใจชายหนุ่ม

  • 2. พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จ พระราชสมภพเมื่อวันเสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่า ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า เจ้าอยู่หัว เสวยราชสมบัติเมื่อวันเสาร์ที่ 23 ตุลาคม ปีจอ พุทธศักราช 2453 และ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 รวมพระชนมพรรษา 45 พรรษา เสด็จดารงราชสมบัติรวม 15 ปี
  • 3. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชอัจฉริยภาพและทรงบาเพ็ญ พระราชกรณียกิจในหลายสาขา ทั้งด้านการเมืองการปกครอง การทหาร การศึกษา การ สาธารณสุข การต่างประเทศ และที่สาคัญที่สุดคือด้านวรรณกรรมและอักษรศาสตร์ ได้ทรง พระราชนิพนธ์บทร้อยแก้วและร้อยกรองไว้นับพันเรื่อง กระทั่งทรงได้รับการถวายพระราช สมัญญาเมื่อเสด็จสวรรคตแล้วว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ใน พระราชวงศ์จักรีพระองค์แรกที่ไม่มีวัดประจารัชกาล แต่ได้ทรงมีการการสถาปนาโรงเรียน มหาดเล็กหลวง หรือวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน ขึ้นแทน ด้วยทรงพระราชดาริว่าพระอาราม นั้นมีมากแล้ว และการสร้างอารามในสมัยก่อนนั้นก็เพื่อบารุงการศึกษาของเยาวชนของชาติ จึง ทรงพระราชดาริให้สร้างโรงเรียนขึ้นแทน
  • 4. พระบรมราชานุสาวรีย์แห่งแรกของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างแล้ว เสร็จเมื่อพ.ศ. 2485 ประดิษฐาน ณ สวนลุมพินี ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินส่วนพระองค์ที่พระราชทาน ไว้เป็นสมบัติของประชาชน เพื่อจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์แสดงสินค้าไทยแก่ชาวโลกเป็นครั้ง แรก เพื่อบารุงเศรษฐกิจและพาณิชยกรรมของประเทศ (แต่มิทันได้จัดก็เสด็จสวรรคตเสียก่อน) และทรงตั้งพระราชหฤทัยว่าเมื่อเสร็จงานแล้ว จะพระราชทานเป็นสวนสาธารณะพักผ่อนหย่อน ใจแห่งแรกในกรุงเทพฯ ทั้งนี้ ในวันคล้ายวันสวรรคตของทุกปี วันที่ 25 พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือผู้แทนพระองค์จะเสด็จพระราชดาเนินไปทรงวางพวงมาลา ถวายบังคมพระบรมราชานุสรณ์ ณ สวนลุมพินีแห่งนี้ ในวันนั้นมีหน่วยราชการ หน่วยงาน เอกชน นิสิตนักศึกษา พ่อค้าประชาชนจานวนมากไปวางพวงมาลาถวายราชสักการะ และยังทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บาเพ็ญพระราชกุศลอุทิศถวาย ณ วชิราวุธวิทยาลัย ใน พ.ศ. 2524 องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ ยกย่องพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ว่าทรงเป็นบุคคลสาคัญของ โลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในฐานะที่ทรงเป็นนักปราชญ์ นักประพันธ์ กวี และนักแต่ง บทละครไว้เป็นจานวนมาก
  • 5. ความเป็นมา หัวใจชายหนุ่มเป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎ เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้พระนามแฝงว่า รามจิตติ ลักษณะการพระราชนิพนธ์ เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจานวน ๑๘ ฉบับระยะเวลาในจดหมาย ๑ ปี๗ เดือน เป็นผู้ที่ถ่ายทอดสังคมแบบไทยกับตะวันตกที่ผสมผสานกัน และทาให้ผู้ ที่อ่านได้ข้อคิดและความบันเทิง
  • 6. ลักษณะคาประพันธ์ หัวใจชายหนุ่ม เป็นนวนิยายร้อยแก้วในรูปแบบจดหมาย เนื้อเรื่องย่อ นายประพันธ์ได้กลับมาจากเมืองนอกและได้ถูกจับแต่งงานกับนางกิม เน้ย แต่ประพันธ์ไม่เห็นด้วยกับการแต่งงานแบบคลุมถุงชน ต่อมาประพันธ์ได้มา เจอกับนางอุไรและได้ชอบคอกันจนนางอุไรตั้งท้อง ทั้งสองแต่งงานกันแต่ไปไม่ รอดและได้แท้งลูก นางอุไรเป็นคนชอบเที่ยว คบชู้ประพันธ์จึงขอแยกทาง แต่ไม่ นานนางอุไรก็มาขอประพันธ์คืนดีแต่ประพันธ์ไม่ดีด้วย นางอุไรจึงไปหาคนใหม่ และได้แต่งงานกับคนดีคนหนึ่ง ส่วนนายประพันธ์ก็ได้พบนางศรีสมานและทั้งสอง รักกันแต่ชีวิตคู่ครั้งนี้จะเป็นรักชั่วนิรันดร์ของนายประพันธ์
  • 7. วิเคราะห์โลกทัศน์ในพระราชนิพนธ์หัวใจชายหนุ่ม การศึกษาวิเคราะห์โลกทัศน์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์เรื่องหัวใจชายหนุ่ม สามารถจาแนก ออกเป็นด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. โลกทัศน์ที่มีต่อสังคม 2. โลกทัศน์ที่มีต่อการศึกษา 3. โลกทัศน์ที่มีต่อการเมืองการปกครอง 4. โลกทัศน์ที่มีต่อความรัก
  • 8. 1. โลกทัศน์ที่มีต่อสังคม 1.1 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทย 1. โลกทัศน์ที่มีต่อชนชั้นในสังคมไทย ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...นอกจากขุนนางกรมซ้าย. ทั้งกว่าจะ ได้เป็นหลวงก็อีกหลายปี, แล้วอาจจะเป็นหลวงอยู่จนหัวหงอกหรือจนตายก็ได้. ข้อนี้ก็จริงอยู่บ้าง, เช่นตัวคุณพ่อเองได้เป็นหลวงตั้งแต่อายุ 30 เมื่ออายุ 45 จึ่งได้ เป็นพระ, แล้วก็ยังเป็นพระอยู่จนทุกวันนี้, และไม่แลเห็นทางที่จะได้เป็นพระยา ด้วย...” (น. 25) ในรัชสมัยนี้แม้จะเลิกทาสแล้วแต่ยังคงมีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงการแบ่งชน ชั้นได้อย่างชัดเจน คือ ระบบเจ้านายและบ่าวซึ่งแสดงถึงระบบชนชั้นและความ เลื่อมล้าทางสังคม ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 17 ความว่า “...ค่าวันนั้นฉันนั่งอ่านหนังสืออยู่ คน ใช้มาบอกว่าแม่อุไรมาหา, ในชั้นต้นฉันไม่เชื่อ ; ฉันถามมันไปว่า : “อุไรไหน ?” คนใช้มันทาหน้าเลิกลั้กแล้วตอบว่า : “คุณอุไรน่ะสิขอรับ”(น.61)
  • 9. 1.2 การแบ่งชนชั้นของคนต่างชาติในสังคมไทย การแบ่งชนชั้นในคนต่างชาติจะเห็นได้ว่ามีการยกย่องประเทศในแถบตะวันตก และดูหมิ่นชนชาติจีนและแขกทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งที่คนไทย มีเชื้อสายจีนเป็นจานวนมาก ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...เมื่อเราได้เห็นของดี ๆ ในยุโรปเสีย แล้ว,มาเห็นสิงคโปร์ซึ่งเป็นเมืองฝรั่งเก๊ ๆ ก็ต้องเบื่ออยู่เอง. ฉันช่างนึกขันจริง ๆ ว่าเมื่อแต่ก่อนนี้, คือเมื่อยังอยู่ในเมืองไทย,ได้เคยนึกว่าสิงคโปร์เป็นเมืองฝรั่ง เสียจริง ๆ . ที่แท้มันเป็นฝรั่งน้อยเต็มที. และเที่ยวในเมืองนี้พบแขกกับเจ๊กเสีย มากกว่าฝรั่ง. แล้วก็ฝรั่งที่นี่ทาตัวพิลึก, คือเขาไม่คบแขกกับเจ๊กเลย...หนังแรด หนังช้างที่เดียวละกระมัง ? ฉันมาเห็นเจ๊กมาก ๆ ที่สิงคโปร์นี้ทาให้นึกถึง กรุงเทพฯแล้วเลยทาให้นึกดีใจที่เผอิญจาเป็นต้องมาพักอยู่ที่สิงคโปร์นี้ก่อน. ได้ มีโอกาสชินกับเจ๊กเสียก่อนที่จะเข้าไปถึงกรุงเทพฯ...”(น.20-21)
  • 10. 2. โลกทัศน์ที่มีต่อสภาพของสังคมไทย 2.1 ด้านการคมนาคม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ ทอดพระเนตรเห็นว่า ความเจริญและการพัฒนาได้เข้ามาสู่ประเทศไทยควบคู่ ไปกับการดาเนินชีวิตอย่างต่อเนื่อง คือ มีการคมนาคมที่สะดวกมากยิ่งขึ้นทั้ง ทางบกและทางน้า มีเรือจ้าง และรถยนต์จ้าง ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...เมื่อเรือไปถึงปากน้าฉันพบกับพ่อ ประภา,ซึ่งลงไปรับฉัน”, “...ท่านพาฉันขึ้นรถยนต์มาบ้านทีเดียว, และคุณแม่ ต้อนรับอย่างกี๊วก๊าวสนุกใหญ่” (น.22) ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...เมื่อคืนวันที่ 2 เดือนนี้ ประไพได้ จัดการเชิญแม่อาไรให้ไปดูการแต่งไฟทางลาน้า, เพราะฉะนั้นเราจึ่งได้มีโอกาส ได้นั่งไปด้วยกันนานในเรือยนต์ ในที่มืด...” (น.30)
  • 11. 2.2 ด้านการติดต่อสื่อสาร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิยมติดต่อกันทางจดหมายและ ความมีเสรีภาพในสื่อสิ่งพิมพ์ ดังเห็นได้จากรูปแบบการประพันธ์ คือ ร้อยแก้วโดยการ เขียนจดหมายส่วนตัวและการประกาศทางหนังสือพิมพ์ ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...ฉันก็นึกว่าคงจะเป็นสิ้นเรื่องราคาญไปพัก หนึ่ง, ที่ไหนเล่า, ต่อนั้นมาไม่อีกกี่วันเห็นแจ้งความลงในหนังสือพิมพ์, ความว่า ฉันไม่ ขอรับผิดชอบหนี้สินของภรรยาอีกต่อไป...” (น.46) 2.3 ด้านสถาปัตยกรรม พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตรเห็น ว่า ความเจริญด้านสถาปัตยกรรม ส่วนมากเป็นโฮเต็ลของคนจีน มีการเปลี่ยนแปลงและ พัฒนาตามกระแสนิยมทางตะวันตกบ้างแต่มีไม่มากในเบื้องต้น ซึ่งเป็นความเจริญด้าน วัตถุนิยม เช่น มีโรงละคร โรงภาพยนตร์ โฮเต็ลฝรั่ง ออฟฟิศ สโมสร ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 16 ความว่า “...ทาให้มีโอกาสได้รู้อกรู้ใจรู้ความคิด ความเห็นของคนมากได้กว้างขวางขึ้น กว่าที่จะมีโอกาสในเวลาอยู่โดยปรก ; เพราะใน เวลาอยู่ในกรุงเทพฯ ต่างคนต่างมีราชการไปทาที่ออฟฟิศ...”(น.58-59)
  • 12. 2.4 ด้านการเลี้ยงสัตว์ คือ มีการเลี้ยงห่านเป็นอาชีพ มีโรงเลี้ยงห่าน ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...แต่เสียใจที่ต้องบอกว่าเหม็นกลิ่น ห่านพิลึก ! ฉันบ่นขึ้นในเรื่องนี้คุณพ่อกลับพูดว่า : “อ้ายโรงเลี้ยงห่านมันก็เคย อยู่ข้างบ้านเรามานานแล้ว, ไม่เคยได้ยินลูกบ่นว่าเหม็นเลย, นี่ไปชุบตัวมาจาก เมืองนอก จมูกจึ่งกลายเป็นฝรั่งไป !...”(น.22) 3. โลกทัศน์ที่มีต่อบุคคลในสังคมไทย 3.1 โลกทัศน์ที่มีต่อผู้หญิงในสังคมไทย 3.1.1 โลกทัศน์ที่มีต่อลักษณะของผู้หญิงไทยในสังคม 1. อยู่ในความดูแลของพ่อแม่ คือ พ่อแม่จะเป็นผู้ดูแลลูกผู้หญิงตั้งแต่เด็ก จนกระทั่งเป็นผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด เป็นผู้ตัดสินใจ กาหนดวิถีชีวิตของผู้หญิง ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 1 ความว่า “...อีกอย่างหนึ่งในเมืองไทยยังมีคนครึ เหลืออยู่มากที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย, เพราะฉะนั้นดูออกจะหา โอกาสได้ชื่นใจยากอยู่สักหน่อย...”(น.18)
  • 13. 2. รักษาความลับไม่ได้ คือ ผู้หญิงมักมีนิสัยช่างพูด ชอบการเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น เรื่องที่ผู้หญิงรู้จึงไม่เป็นความลับและแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า “...จนในเมื่อถึงเวลาแม่อุไรได้ไปอยู่ กับเขานั้น พระยาตระเวนมีนางบาเรอประจาบ้านอยู่แล้วถึงเจ็ดนาง ! เก่งไหม ? แน่ทีเดียวเขาปิดข้อนี้, ปิดให้สนิทยากที่สุด, เพราะมันเป็นเรื่องสาหรับผู้หญิงชอบ รู้ชอบเล่าสู่กันฟัง ; คนหนึ่งเล่าให้เพื่อนรัก, สั่งว่าอย่าพูดไปนะ, แล้วเพื่อนคนนั้นก็ ไปเล่าให้เพื่อนรักของตัวอีกคนหนึ่ง, และต่อ ๆ กันไปเช่นนี้เป็นแถวไป, และ ความลับออกจากปากผู้หญิงคนเดียวอาจที่จะรู้ถึง 20 คน ภายในอาทิตย์เดียว ...”(น.50-51)
  • 14. 3. พึ่งพาผู้ชาย คือ ผู้หญิงเมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ก็จะหาผู้ชายมาเป็นผู้ดูแล ค้าจุน เกื้อหนุนใน ทุก ๆ ด้าน ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...แต่ในไม่ช้าฉันก็จาเป็นต้องพูดเตือนเรื่อง เที่ยวของหล่อน, เพราะห้างและร้านต่าง ๆ เริ่มส่งใบทวงเงินมามาก, ในเดือนหนึ่งแม่ อุไรเที่ยวทาหนี้ไว้ตั้งพันบาท, แต่เงินเดือนของฉันก็เพียง 200 บาทเท่านั้น...”(น.46) 3.1.2 โลกทัศน์ที่มีต่อค่านิยมของผู้หญิงไทยในสังคม 1. ด้านการแต่งกาย คือ ผู้หญิงเริ่มนุ่งซิ่น และนิยมใส่เพชรเป็นเครื่องประดับ ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 4ความว่า “...นี่ก็ยังคงมีอีกขั้น 1 ที่จะเดินขึ้นต่อไป, คือ การนุ่งผ้าให้ผิดกับผู้ชาย, ในเวลานี้ก็มีผู้หญิงนุ่งซิ่นอยู่กับบ้านบ้างแล้ว, แต่ยังไม่กล้านุ่ง ไปไหนมาไหน, เพราะยังไม่มีใครเป็นหัวหน้านา “แฟแช่น” นุ่งซิ่นขึ้น...”(น.26) ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 6ความว่า “...รู้จักใช้เครื่องเพชรต่อพอสมควรไม่รุงรัง เป็นต้นไม้คริสต์มาส...”(น.31)
  • 15. 2. ด้านทรงผม คือ ผู้หญิงนิยมไว้ผมยาว ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ความจริงมีอยู่อย่างหนึ่ง คือในเวลานี้เห็นผู้หญิงไทยไว้ผม ยาวมากกว่าเมื่อก่อนเราไปเมืองนอกเป็นอันมาก ; คนไว้ผมสั้นเกือบจะ มีเหลือแต่คนแก่กับไพร่ ๆ เท่านั้นแล้ว. ข้อนี้เป็นข้อควรยินดีอยู่, เพราะ การไว้ผมยาวทาให้ผู้หญิงสวยขึ้นมากเป็นแน่นอน...” (น.26)
  • 16. 3.2 โลกทัศน์ที่มีต่อผู้หญิงตะวันตกในสังคม 1. มีเสน่ห์ มีความดึงดูดน่าสนใจ ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...จริงอยู่ผู้หญิงฝรั่งนั้น ถ้าเราดูในเมืองของ เขาก็ช่างน่ารักเสียจริง ๆ ; ผิวพรรณ ผุดผ่อง เจริญตาเจริญใจ, ทั้งจริตกริยาก็ยั่วยวน เสน่ห์มาก...”(น.33) 2. เอาแต่ใจตัวเอง คือ หากมีเรื่องไม่เป็นไปตามใจที่หล่อนปรารถนา หล่อนก็ จะไม่เก็บอาการหรือควบคุมอารมณ์ จึงไม่เหมาะกับการเป็นภรรยา ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...แต่เมียฝรั่งยังไม่อาละวาดก็คงจะยังไม่ เป็นไรดอก, เพราะอย่างไร ๆ ก็ยังคงต้องมีความละอายแก่ใจอยู่, ต่อเมื่อไหร่เมียฝรั่ง นั้นเหนี่ยวใจของตัวไว้ไม่อยู่, แสดงความไม่พอใจต่าง ๆ ออกมา, ผัวจึงสาแดงให้เมีย รู้สึกบ้างว่าตนก็เบื่อเหมือนกัน, ต่อนั้นไปถึงจะคงอยู่ด้วยกันไปก็ไม่มีความสุข ...”(น.34)
  • 17. 3. ใช้ชีวิตอย่างอิสระ คือ ใช้ชีวิตตามใจปรารถนา เที่ยวในยามวิกาลได้อย่างผู้ชาย เต้นรา กินข้าวต้มราชวงศ์และอาหารรอบดึก กลับบ้านในเวลาที่ต้องการ ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับ 6 ความว่า “ฉะนั้นในระหว่างเวลางานฤดูหนาว ฉันจึงได้ พาแม่อุไรเที่ยวได้ทุกคืนจนตลอดงาน, หรือมิฉะนั้นก็ไปหาที่บ้านของหล่อนทุก ๆ วัน. บางวันก็ขึ้นรถยนต์เที่ยวเล่น, บางวันก็เล่นแบดมินตัน ; และบางคืนพากันไปดู ภาพยนตร์แล้วไปกินข้าวต้มราชวงศ์. นอกจากนี้มีได้พากันกินข้าวตามโฮเต็ลบ้าง, ไป ตามบ้านมิตรสหายกินข้าวบ้าง. เต้นรา, นับว่าได้พบกันทุกวัน, และแถมกลางคืนแทบ จะทุกคืนด้วย. บางคืนไปบ้านมิตรสหายด้วยกันและอยู่จนดึก ๆ กว่าจะกลับ, และบาง คืนฉันก็ไปคุยอยู่ที่บ้านพระพินิฐจนดึก ๆ . ทั้งคุณพระและภรรยาของท่าน “ศิริไลซ์” มาก, ไม่กีดขวางกันท่าเราเลย...” (น.35)
  • 18. 3.3 โลกทัศน์ที่มีต่อความเชื่อของบุคคลในสังคมไทย 1. เชื่อเรื่องกรรม คือ เชื่อเรื่องผลของการกระทาในกาลก่อนจะส่งผลถึง ปัจจุบัน ดังปรากฏในจดจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...ทั้งนี้ก็เพราะฉันเป็นคนที่กลัวคน นินทาเสียจริง ๆ, จึ่งตั้งใจว่าเมื่อเป็นกรรมของฉันแล้วก็จะก้มหน้าทนกรรมไปจนถึง ที่สุด, นึกเสียว่าเท่ากับอุทิศตัวเป็นพรหมจรรย์เสียชาติหนึ่งทีเดียว...”(น.45) 2. เชื่อเรื่องโลกหลังความตาย คือ เชื่อในเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ เรื่องเหนือ ธรรมชาติ อันได้แก่เรื่องสวรรค์ คือ เชื่อว่าสวรรค์อยู่เบื้องบนและเป็นที่อยู่ของ นางฟ้า และ เชื่อเรื่องการทาบุญ เซ่นผี การไหว้เจ้า ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...แหละฉันราคาญไม่หายเลยที่ท่านยัง พอใจทาบุญไหว้เจ้าเซ่นผีอะไรต่าง ๆ ในเวลาตรุษจีนเสมอ...”(น.21) ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ทั้งคุณพ่อคุณแม่สรรเสริญเยินยอมากว่า เป็นคนดีนัก, วิเศษต่าง ๆ ราวกับนางฟ้าตกลงมาจากสวรรค์...”(น.25)
  • 19. 1.2 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทยในด้านที่ดี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตร เห็นว่า เป็นสิ่งที่ดีงามควรที่จะรักษาไว้ดังนี้ 1. ความกตัญญู คือ การเคารพบรรพบุรุษ ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...และฉันราคาญไม่หายเลยที่ท่านยังพอใจทาบุญไหว้เจ้าเซ่นผีอะไรต่าง ๆ ในเวลาตรุษจีนเสมอ ! ฉันได้เคยเขียนจดหมายไปแนะนาหลายหนแล้วว่าให้งด ประพฤติตามประเพณีเจ๊กเสียที. แต่ท่านกลับตอบมาว่า : “เมื่อลูกไม่รู้จักความกตัญญู ต่อปู่ย่าตาทวดก็ตามเถิด. แต่จะมาบังคับให้พ่องดความกตัญญูด้วยไม่ได้...””(น.21) 2. ความอ่อนน้อม ถ่อมตน คือ มารยาทที่ดีที่ผู้น้อยพึงกระทาต่อผู้ใหญ่ ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ตั้งแต่ฉันกลับเข้ามาถึง ฉันได้ถูกคุณพ่อพา ไปหาใครต่อมิใครแทบไม่เว้นในแต่ละวัน, และฉันต้องไหว้คนมาเสียมากต่อมากจน นับหนไม่ถ้วน, จนฉันแทบจะลงรอยเป็นท่าประนมอยู่เสมอแล้ว, และหลังก็เกือบโค้ง เสียแล้ว เพราะคานับคนไม่ได้หยุด”(น.25)
  • 20. 3. การรักนวลสงวนตัวของผู้หญิงไทย คือ ผู้หญิงไทยส่วนมากมักจะเก็บตัวอยู่แต่ใน บ้าน ไม่ออกไปในที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะในยามวิกาล ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...และที่ดีที่สุดคือหล่อนไม่ทาตัวเป็นหอย จุ๊บแจงอย่างผู้หญิงไทย ๆ โดยมาก...”(น.31) 1.2.4 การปฏิบัติตามประเพณี คือ ประเพณีการแต่งงาน ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 9 ความว่า “...แล้วเลยตกลงรีบไปจัดการขอแม่อุไรและ พระพินิฐก็ยกให้โดยทันทีเทียว-ท่าทางจะได้รู้แล้วเหมือนกันว่ามีความจาเป็นอยู่. เมื่อการสู่ขอเป็นอันตกลงกันแล้ว...”(น.38-39)
  • 21. 1.3 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมไทยที่ควรแก้ไข ปรับปรุง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อสังคมไทยที่ทอดพระเนตรเห็น ว่า เป็นสิ่งที่ควรแก้ไข ปรับปรุง เพื่อการพัฒนาประเทศให้เจริญทัดเทียมกับประเทศใน แทบตะวันตกทั้งด้านทัศนคติการดาเนินชีวิตและสิทธิตลอดจนเสรีภาพที่บุคคลควร ได้รับ ดังนี้ 1. การดูหมิ่นชนชาติจีนและแขก คือ การดูหมิ่นว่าอีกฝ่ายต้อยต่า ด้อยค่ากว่าตน ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 2 ความว่า “...หนังเจ๊กเห็นจะหนาเป็นหนังแรดหนังช้างที่ เดียวละกระมัง ? ฉันมาเห็นเจ๊กมาก ๆ ที่สิงคโปร์นี้ทาให้นึกถึงกรุงเทพฯแล้วเลยทาให้ นึกดีใจที่เผอิญจาเป็นต้องมาพักอยู่ที่สิงคโปร์นี้ก่อน. ได้มีโอกาสชินกับเจ๊กเสียก่อนที่ จะเข้าไปถึงกรุงเทพฯ. พ่อประเสริฐก็รู้อยู่แล้วว่า ฉันได้เคยคร้ามอยู่ปานใดในการที่ จะต้องสมาคมกับเจ๊ก”(น.21) 2. การใช้อานาจ ความเป็นพวกพ้องเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง ดัง ปรากฏในจดหมายฉบับที่ 5 ความว่า“...ฉันมีข่าวที่จาจะต้องรีบบอกมาให้ทราบ, คือฉัน ได้ตกลงเข้ารับราชการแล้ว . คุณหลวงพิพัฒน์ไปจัดการอย่างไรไม่ทราบ, แต่ในที่สุด ฉันเป็นอันได้รับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์...”(น.28)
  • 22. 3. สิทธิและเสรีภาพเรื่องคู่ครอง คือ สิทธิและเสรีภาพในเรื่องการเลือกหรือมีคู่ครอง ในสังคมไทยเป็นเรื่องความเห็นชอบของผู้ใหญ่ และขึ้นอยู่กับความพึงใจของผู้ชาย เป็นหลัก ดังนี้ 3.1 การแต่งงานแบบการคลุมถุงชน คือ การแต่งงานกันโดยความเห็นชอบ จากผู้ใหญ่ทั้ง 2 ฝ่าย ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...พอฉันกลับถึงบ้านได้สัก 7 วัน คุณพ่อก็ บอกว่าได้หาเมียไว้ให้คนหนึ่งแล้ว ! ฉันหมายว่าท่านพูดเล่นจึ่งหัวเราะ, แต่พูดกัน ไปพูดกันมาจึ่งรู้ว่าท่านพูดจริง ๆ ไม่ใช่พูดเล่น, ผู้หญิงนั้นคือแม่กิมเน้ย ลูกสาวอากร เพ้ง...” (น.25) 3.2 การมีภรรยาเป็นจานวนมาก คือ สังคมในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นการที่ผู้ชายมีภรรยาเป็นจานวนมากถือเป็นเรื่องปกติ ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า“...เขาตกลงหาบ้านให้แม่อุไรอีกบ้าน 1 ที่ ถนนราชประสงค์. เขาได้เงินเดือน 700 บาท, มีบ้าน 2 บ้าน, เมีย 8 คน,ม้า 4 ตัว,และ เล่นกีฬาต่าง ๆ เสมอ ๆ, และเลี้ยงเพื่อนฝูงบ่อย ๆ ด้วย, เก่งไหม ?...”(น.51)
  • 23. 3.3 การห้ามไม่ให้ชายหญิงพบกันโดยปกติ คือ ผู้ใหญ่ฝ่ายหญิงจะไม่ยอมให้ พบฝ่ายชายได้โดยง่าย ซึ่งการห้ามนี้กลับได้ผลตรงกันข้าม ยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ ซึ่งอาจ ทาให้ผู้หญิงขาดทักษะการปฏิเสธ หรือไม่รู้เท่าทันเล่ห์เหลี่ยมของผู้ชายแต่ก็ควรอยู่ใน ขอบเขตที่เหมาะสม ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 16 ความว่า “...ตามประเพณีเดิมผู้ชายกับผู้หญิงเขาไม่ให้ พบปะสมาคมกันเลยตามที่พ่อประเสริฐรู้อยู่แล้ว, และผลของการห้ามเช่นนั้นก็คือทา ให้ผู้หญิงนึกว่าผู้ชายเป็นเทวดาเสียหมด, จึ่งยอมเสียตัวแก่ผู้ชายง่ายเกินไปจนเป็นของ น่าเกลียด”(น. 59) 3.4 การหย่าเป็นเรื่องเสียหาย ไม่เป็นที่ยอมรับ คือ ในรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว หากผู้ที่มีคู่ครองแล้วไม่พึงใจในคู่ครองของ ตนมักไม่หย่าหากแต่นิยมมีเพิ่ม เพื่อป้องกันการติฉินนินทา ดังปรากฏในจดหมายฉบับ ที่ 13 ความว่า “...ตั้งแต่ฉันได้กลับเป็นคนโสดอีกแล้ว ฉันรู้สึกว่ามีความสุขกายสุขใจ มากขึ้น. จริงอยู่การที่ฉันหย่ากับแม่อุไรนั้น ได้ถูกคนบางคนนินทาติโทษ, แต่ฉันถือคติ ว่าการแต่งงานเป็นกิจส่วนตัวของฉันโดยเฉพาะ, ไม่มีผู้ใดจะมารับสุขรับทุกข์แทนฉัน ได้...”(น.49)
  • 24. 2.1 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมตะวันตกในด้านที่ดี 1. สถานะในสังคมตะวันตกมีความเท่าเทียมกัน คือ สถานะของคนใน สังคมตามแบบสังคมตะวันตกจะมีความทัดเทียมเสมอกัน ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 3 ความว่า “...นึก ๆ ก็ออกจะขันนะเพื่อน ในการที่ ฉันจะต้องไปเฝ้าท่านชาย, ซึ่งเคยเป็นเพื่อนนักเรียนอยู่ด้วยกันที่เมืองนอกและที่ เคยยืมเงินฉันไปใช้หลายครั้ง. อยู่ที่เมืองนอกท่านชายเป็นคน ๆ เรานี่เอง, แต่กลับ เข้ามาเมืองไทยเป็นตัวแมลงอะไรบ้าร่าพิลึก. จาได้ไหมเพื่อน, เมื่อท่านชายกาลัง ติดวินนี่ ; เคยกราบมือกราบตีนฉันขอให้ช่วยจัดการให้ได้พบกับวินนี่ มาเดี๋ยวนี้ ฉันจะต้องไปกราบมือกราบตีนท่านชายขอให้ช่วยฉันได้พบกับน้องสาวของฉัน เอง !...”(น.23)
  • 25. 2. การใช้ความสามารถของตนเองในการแสวงหาความก้าวหน้า คือ การทางานหรือ การประกอบอาชีพต่าง ๆ ในสังคมตะวันตกนั้นขึ้นอยู่กับการตัดสินใจเลือกอาชีพและ ความสามารถของตนเอง ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ท่านยังแลเห็นไม่ได้เลยว่าคนเราอาจจะได้ดี หรือมีชื่อเสียงได้โดยอาศัยความสามารถของตนเอง นึก ๆ ไปที่จริงที่น่าขันเราได้ อุตส่าห์ออกไปหาวิชาถึงเมืองนอก, แล้วกลับมาถึงบ้านต้องมาเดินเข้าท้ายครัวเท่ากัน ๆ กับคนที่ไม่ได้ไปเมืองนอกเสียเลยนั่นเอง”(น.24) , “...ฉันก็เที่ยวระเหระหนหางาน ทาอยู่หลายวัน, พบแต่ที่เต็ม ๆ เสียแทบทุกแห่ง ฉะนั้นจนบัดนี้ฉันก็ยังไม่ได้รับ ราชการ. ฉันได้บอกคุณพ่อว่า ฉันจะลองประกอบอาชีพทางค้าขายดูบ้าง, แต่ท่านไม่ ยอมที่จะให้ฉันทาเช่นนั้น. ท่านว่าค้าขายไม่มีทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตต่อไปได้ ...”(น.25) 3. การมีภรรยาคนเดียว คือ ในสังคมที่เจริญแล้วเมื่อมีคู่จะมีคู่เพียงคนเดียว เพื่อแสดงความมีอารยธรรม และลดการเกิดปัญหาในครอบครัว ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 15 ความว่า “...มีผู้พูดกันอยู่หลายคนว่าถึงเวลาแล้วที่ไทย เราควรจะใช้ธรรมเนียมมีเมียคนเดียว
  • 26. 4. เคารพสิทธิส่วนบุคคล ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 15 ความว่า “...ทั้งนี้เป็นเพราะฝรั่งเขาถือว่า การเช่นนี้เป็น การส่วนตัวภายในบ้าน, ซึ่งที่จริงก็ถูกอยู่, เพราะถ้าเราไปใส่ใจมองดูการในบ้านของ ฝรั่งเขาบ้าง...”(น.56) 2.2 โลกทัศน์ที่มีต่อสังคมตะวันตกในด้านที่ไม่เหมาะสมกับสังคมไทย 1. สิทธิและเสรีภาพที่มากเกินควร 1.1 การแสดงความรู้สึกที่ดีต่อกันในที่สาธารณะ คือ การจูบกันในสังคมของ ชาวตะวันตกนับเป็นเรื่องปกติ แต่ในสังคมไทยเป็นเรื่องที่ขัดต่อประเพณีที่ดีงาม ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...ต่อมานั้น, ในระหว่างงานฤดูหนาว, ก็ได้ พบปะกันมาก,โดยประไพได้เอื้อเฟื้อมากจริง ๆ จนฉันบอกแก่ประไพตรง ๆ ว่า ถ้าเรา เป็นฝรั่งฉันจะจูบหล่อนให้ถึงใจที่เดียว เพื่อแสดงความขอบใจในการที่ช่วยอุดหนุนให้ สมประสงค์. นึก ๆ ก็น่าประหลาดอยู่ ที่ในเมืองเรานี้พี่น้องจูบกันไม่ได้เหมือนอย่าง ฝรั่ง ; แต่นึกไปอีกทีก็เห็นว่าห้ามไว้ดีกว่า, เพราะประเพณีของเรากับของเขาผิดกันอยู่ ...”(น.30)
  • 27. 1.2 การมีอิสระทางความคิด เสรีภาพทางการแสดงออกที่มากเกินควร เช่น การ แสดงความเป็นตนเองของสตรีในสังคมตะวันตกอย่างเสรีโดยไม่คานึงถึงสังคม รอบข้าง ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 7 ความว่า “...นึกเทียบกับเมียฝรั่งของตัวเข้า จึ่งจะเริ่ม รู้สึกแล้วว่าเมียฝรั่งนั้นไม่ประเสริฐไปทุกอย่างเลย. ความรู้สึกเช่นนี้ถึงหากว่าจะเกิด มีขึ้นแล้ว, แต่เมียฝรั่งยังไม่อาละวาดก็คงจะไม่เป็นไรดอก, เพราะอย่างไร ๆ ก็คงยัง ต้องมีความละอายแก่ใจอยู่, ต่อเมื่อไหร่เมียฝรั่งนั้นเหนี่ยวใจของตัวไว้มิอยู่, แสดง ความไม่พอใจต่าง ๆ ออกมา, ผัวจึงสาแดงให้เมียรู้สึกบ้างว่าตนก็เบื่อเหมือนกัน ...”(น.34)
  • 28. 1.3 การทาตามใจตนเองโดยไม่คานึงถึงผลที่ตามมา ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 8 ความว่า “...มันเป็นเพราะฉันกับแม่อุไรได้ไปอยู่ด้วยกันในที่ ซึ่งทาให้ใจมันป่วนผิดธรรมดา, คือภูมิประเทศและทะเลยวนตาทาให้สบายใจ, ทั้งอากาศดีทา ให้รู้สึกฮึกเหิมและรวบรัดตัดความก็เป็นอันตรงตามภาษิตว่า “น้าตาลใกล้มด”...”(น.37) 2. โลกทัศน์ที่มีต่อการศึกษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีทัศนะต่อการศึกษา ดังนี้ 1. การศึกษาพัฒนาบุคลิกภาพ คือ การศึกษาจะมีส่วนช่วยให้บุคคลนั้น ๆ มี ความคิด ความเชื่อมั่นในตนเอง และมีรสนิยม ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 6 ความว่า “...พูดกันสั้น ๆ หล่อนคล้ายผู้หญิงฝรั่งมากกว่าผู้ หญิงไทย, และนับว่ามี “เอดูเคชั่น”ดีพอใช้; เขียนหนังสือไทยเก่ง,อ่านและพูดภาษาอังกฤษ ได้บ้าง, เต้นราเป็น,และแต่งตัวดี, รู้จักใช้เครื่องเพชรต่อพอควรไม่รุงรังเป็นต้นไม้คริสต์มาส ...”(น.31) 2. การศึกษาทาให้บุคคลมีความเจริญก้าวหน้า คือ การศึกษามีความจาเป็นสาหรับผู้ที่ ต้องการพัฒนาตนเองในด้านหน้าที่การงาน เพราะในบางหน้าที่จาเป็นที่ผู้ปฏิบัติงานต้องมี ความรอบรู้ ความรู้เฉพาะทางในงานที่ตนปฏิบัติ
  • 29. ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 13 ความว่า “...ครั้นเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ฉันได้ ย้ายตาแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์, นับว่าเป็นของถูกใจ ของฉันทีเดียว, เพราะฉันแลเห็นหนทางที่อาจจะได้ทาการตรงตามทางที่ฉันได้เล่าเรียน และชอบอยู่แล้ว...”(น.51) 3. การศึกษาช่วยแก้ไขปัญหาได้ คือ การศึกษามีส่วนช่วยให้บุคคลมีความคิด มีมุมมองที่ หลากหลาย และสามารถเลือกใช้ความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์ใช้ประกอบการตัดสินใจ เช่น เมื่อเกิดปัญหาในด้านการใช้ชีวิตคู่ และทาให้เกิดความทุกข์ เมื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวไม่ได้ จึงใช้ความรู้ทางด้านกฎหมายในการ แก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 12 ความว่า “...และในที่สุดหลวงเทพฯ ชี้แจงว่า ถ้าไม่ยอมหย่า ฝ่ายฉันก็ไม่มีทางอื่นนอกจากฟ้องชายชู้. หล่อนไป ปรึกษาหารือกับพระยาตระเวนแล้ว จึ่งบอกหลวงเทพฯ ว่าเป็นอันยอมหย่า...”(น.48)
  • 30. 4. การศึกษาสะท้อนค่านิยม คือ คนในสังคมต้องการให้บุตรหลานของตนเข้ารับ ราชการในพระราชสานัก เพราะการรับราชการสามารถทาให้บุคคล เจริญก้าวหน้าได้อย่างภาคภูมิใจในสังคม ดังปรากฏในจดหมายฉบับที่ 4 ความว่า “...ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ ก็คือ อยากให้ฉันได้เข้าไปรับราชการในพระราชสานัก. แต่ผู้ที่ต้องการเข้าไปรับ ราชการในพระราชสานักสมัยนี้มันมีมากมายจนเหลือตาแหน่ง...”(น.24)