SlideShare a Scribd company logo
ความรู้ อานาจ และภาษา : มายาคติของผู้บริหาร
ศิริพร มณีชูเกตุ
บทคัดย่อ
การมีความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนและจากการสั่งสมประสบการณ์รวมถึงการมีความรู้ในการใช้ภาษามี
ความจําเป็นและเพิ่มพลังอํานาจให้กับคนหลายๆคน แต่สําหรับผู้บริหารแล้ว สามสิ่งนี้ดูเหมือนไม่มีความจําเป็น
และไม่เพิ่มพลังอํานาจให้แก่ผู้บริหารมากไปกว่าอํานาจหน้าที่ที่มาพร้อมกับตําแหน่งทางการบริหาร ซึ่งอํานาจ
หน้าที่นี้ต่างหากที่เป็นช่องทางให้ผู้บริหารมีพลังอํานาจขึ้นมาได้ แต่ผู้บริหารอาจลืมตระหนักไปว่า ความรู้ อํานาจ
และภาษา เป็นมายาคติ ที่มีลักษณะผกผัน ทําให้มีสภาพกลับไปกลับมาระหว่าง ผู้กระทําและผู้ถูกกระทําได้ทุก
เมื่อทุกยาม
Abstract
Having explicit knowledge, tacit knowledge and being competent in language use are
necessary and increase the power of many people. This, however, may not be the case for
administrators. In fact authority is a way to increase administrators’ power. Many administrators tend
to ignore the fact that knowledge, power and languages are the mythologies which force the
alternations between the agent and the object at all times.
บทนา
“ความรู้” “อํานาจ” และ “ภาษา” ทั้ง 3 สิ่งนี้มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น นั่นคือ เมื่อมี
ความรู้ ภาษาจะเป็นเครื่องมือส่งผ่านให้เห็นอํานาจจากความรู้นั้นได้ ขณะเดียวกันภาษาและการใช้ภาษาก็อาจ
เป็นตัวชี้วัดระดับความรู้ของผู้พูดหรือผู้เขียนนั้นได้เช่นกัน แต่หากบุคคลมีอํานาจอันมิได้เกิดจากความรู้และการใช้
ภาษาโดยตรง ก็อาจส่งผลให้ความรู้และการใช้ภาษาที่แสดงออกนั้นมีอํานาจขึ้นมาได้ ความรู้ อํานาจ และ
ภาษาจึงเปรียบประดุจดังเงาของกันและกันซึ่งพร้อมและสามารถแปรผันหรือผกผันให้เป็นบวกหรือลบก็ได้หากเมื่อ
ตําแหน่งแห่งที่ของทั้ง 3 สิ่งนี้เปลี่ยนไป ณ ตําแหน่งหนึ่ง ความรู้ อํานาจและภาษาที่บุคคลครอบครองอยู่อาจดูไร้
ค่า ไร้คนแยแส ในทางกลับกัน ณ ตําแหน่งหนึ่ง 3 สิ่งนี้กลับขึ้นแท่นอันทรงเกียรติและก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้
ในทันที โดยเฉพาะเมื่อตําแหน่งแห่งที่นั้นตกเป็นของฝ่ายผู้บริหาร และนี่คือความจริงของมายาคติที่เกิดขึ้นกับ
ความรู้ อํานาจและภาษา
ความรู้
วิจารณ์ พานิช (2547 : 7) ได้กล่าวถึงความรู้และแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันดังนี้
ความรู้ยุคที่1 เริ่มเมื่อ 500-600 ปีก่อน เมื่อเริ่มมีแท่นพิมพ์ ทาให้สามารถตีพิมพ์ความรู้ออกเผยแพร่ได้
อย่างกว้างขวาง ความรู้เหล่านี้มักสร้างโดยนักวิชาการ เป็นความรู้ที่เน้นเหตุ-ผล พิสูจน์ตามหลักวิชาการ เน้น
ความรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขา อยู่ในรูปของความรู้ที่เข้ารหัสเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ แผนผัง หรือในรูปของ
รหัสทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า Explicit knowledge หรือ Codified knowledge (วิจารณ์ พานิช เรียก ความรู้
ประเภทนี้ว่า ความรู้ในกระดาษ หรือความรู้ชัดแจ้ง)
ความรู้ยุคที่ 2 เป็นความรู้ที่มีอยู่ในผู้ปฏิบัติ เกิดจากประสบการณ์ตรง พิสูจน์ได้จากการที่งานประสบ
ผลสาเร็จ ยิ่งถ้าผลงานสูงส่งยอดเยี่ยม ยิ่งแสดงว่ามีความรู้พิเศษ เป็นความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน และอยู่ในคน
หรือกลุ่มคนร่วมกัน เป็นความรู้บูรณาการ ไม่จาแนกเป็นสาขาวิชา เรียกความรู้ชนิดนี้ว่า ความรู้ในคน หรือ Tacit
knowledge
ที่จริงความรู้ยุคที่ 2 นี้ คือความรู้ยุคที่ 0 (ศูนย์) คือมนุษย์เราใช้ความรู้แบบนี้มาช้านานก่อนเกิดความรู้ใน
ยุคที่ 1 จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ ความเคยชินต่อความรู้ยุคที่ 1 ทาให้มนุษย์ละเลยความรู้ยุคที่ 0
ไป จนเพิ่งมาค้นพบใหม่เมื่อประมาณ 15 ปีมานี้
การมีความรู้และประสบการณ์จึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทําประโยชน์ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อส่วนรวม ในยุค
โบราณนั้น นักปราชญ์ผู้แสวงหาคําตอบของคําถามที่ผุดขึ้นมาในความคิดของพวกเขาอย่างไม่ขาดสาย ต่างได้รับ
ความศรัทธา เชิดชูเกียรติ ทั้งในขณะเวลาที่พวกเขามีชีวิตอยู่หรือหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว หรือเหล่านักวิทยาศาสตร์
ที่ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆเพื่อประโยชน์ของสังคมมนุษย์โลกก็ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์เช่นกัน
โดยปริยายแล้ว คนที่ศึกษาศาสตร์ด้านใดหรือชํานาญการทางด้านใดมักมีความชอบธรรมในการปฏิบัติหรือเอ่ยถึง
ด้านนั้นๆ และอํานาจย่อมติดตามมา
กล่าวคือความรู้ในศาสตร์ต่างๆไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งความรู้ในเรื่องนั้นแต่แท้จริงแล้วเป็นตัวกําหนด
อํานาจแฝงเร้นและความสัมพันธ์ต่างๆในสังคมด้วย เช่นศาสตร์การแพทย์เป็นตัวกําหนดให้มีผู้ที่มีความรู้ดีในเรื่อง
สุขภาพที่จะสามารถประกอบอาชีพแพทย์ได้ และกําหนดให้เป็นผู้ที่มีอํานาจมากกว่าผู้อื่นในเรื่องนี้ (วิโรจน์ อรุณ
มานะกุล,2547 : 11)
สังคมไทยสมัยก่อนผู้ชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือโดยการบวชเรียน ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ได้เรียนหนังสือ การมี
ความรู้จากการเรียนหนังสือจึงมีข้อได้เปรียบมากมาย เพราะการได้เรียนหนังสือย่อมทําให้สามารถอ่านออกเขียน
ได้ เมื่ออ่านออกเขียนได้ นั่นย่อมเป็นเครื่องมือที่จะนําพาไปสู่โลกแห่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งมีโอกาสติดต่อสื่อสารมาก
ขึ้น ผู้ชายมีบทบาทแทบทุกเรื่องมากกว่าผู้หญิง ดังนั้นผู้ชายอันหมายรวมถึงผู้รู้หนังสือจึงมีอํานาจแห่งการกดขี่เพื่อ
กีดกันความเป็นใหญ่ของผู้หญิง เรื่องราวของอําแดงเหมือนจึงเป็นตัวอย่างที่ช่วยยืนยันถึงผลของการรู้หนังสือของ
ผู้หญิง นั่นคืออําแดงเหมือนสามารถเขียนฎีกาทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
ซึ่งปรากฏในประกาศพระราชบัญญัติลักษณะลักพา พ.ศ.2408 (ดู ธม ธาตรีและจันนิภา, 2521 : 199-201) และ
ได้รับชัยชนะในที่สุด
ตัวอย่างของความหายนะอันมีสาเหตุจากการไม่รู้หนังสือที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มคนนั้นเห็นได้จากเรื่องราว
ทางประวัติศาสตร์ของชาวอินคา ชาวอินคาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิอะตาอวลปา ต้องพบกับความ
หายนะอันใหญ่หลวง ด้วยความที่ชาวอินคาไม่มีภาษาเขียนจึงไม่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารใดๆได้ จะรู้ก็เพียง
ลักษณะปากต่อปาก ที่สําคัญกว่านั้น ในเขตโลกใหม่ 1
นั้นผู้ที่เขียนหนังสือเป็น จํากัดอยู่เฉพาะผู้นํากลุ่มเล็กๆ แต่
จักรพรรดิอะตาอวลปาไม่ได้เป็นหนึ่งในนั้น !
อะตาอวลปาที่แวดล้อมด้วยทหารและข้าราชบริพาร 80,000 คน กลับต้องพ่ายแพ้ทหารชาวสเปนชั้นเลว
เพียง 168 นายที่นําโดยฟรานซิสโก ปิซาร์โร 2
และท้ายที่สุด หลังจากได้ค่าไถ่ตัวที่เป็นทองคําเต็มห้อง ปิซาร์โรก็
ตระบัดสัตย์ที่ตนให้ไว้แก่อะตาอวลปาว่าจะปล่อยตัวพระองค์โดยการสังหารพระองค์เสีย
ปัจจัยหนึ่งที่นอกเหนือจากการไม่รู้หนังสือของจักรพรรดิอะตาอวลปา แต่อาจเป็นผลพวงจากการไม่รู้
หนังสือคือการไม่มีข้อมูลหรือประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศและประชาชนชาวสเปนเลย อันที่จริงปิซาร์โรเองก็ไม่รู้
หนังสือ(คือไม่มีความรู้ในกระดาษ) เช่นเดียวกับจักรพรรดิอะตาอวลปา แต่เขากลับได้เปรียบจักรพรรดิอะตาอวล
ปา เพราะเขาอาศัยอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านการเขียน หนังสือเท่าที่เผยแพร่อยู่ในยุโรปช่วยให้ชาวสเปนรู้
เรื่องประวัติศาสตร์ยุโรปเมื่อหลายพันปีก่อน และเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมร่วมสมัยหลายวัฒนธรรม(จาเร็ด ได
มอนด์, 2547 :97)และด้วยเหตุนี้ปิซาร์โรจึงอาศัยประโยชน์จากการนี้โดยการนํายุทธวิธีการซุ่มโจมตีของคอร์เตช 3
มาใช้กับอะตาอวลปา (จาเร็ด ไดมอนด์, 2547 : 97)
เราคงสรุปไม่ได้ว่าไอคิวของชาวอินคาตํ่ากว่าชาวสเปน แต่สิ่งที่ทําให้ชาวสเปนเหนือกว่าก็เพราะการรู้
และมีข้อมูลที่มากกว่า มีประสบการณ์ที่มากกว่า ประสบการณ์ในที่นี้ไม่จําเป็นต้องเกิดคู่กับมโนธรรม หรือการมี
วัฒนธรรมการรู้หนังสือก็อาจเป็นเชิงการรู้เหลี่ยมรู้คมเพื่อการเอาเปรียบ ไม่เช่นนั้นทหารสเปน 168 คน คงไม่ถึงกับ
1
โลกใหม่ หมายถึงทวีปอเมเริกาในปัจจุบัน
2
ฟรานซิสโก ปิซาร์โร (Francisco Pizarro) เป็นชาวสเปนซึ่งมีชีวิตระหว่างปีค.ศ.1475 – 1541 เป็นลูกพี่ลูกน้อง
กับแม่ของคอร์เตส ปิซาร์โรเป็นหนึ่งในชาวสเปนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เขาพิชิตจักรวรรดิอินคาแห่งเปรูในปี ค.ศ.
1532
3
เฮอร์นัน คอร์เตส(Hernán Cortés) เป็นชาวสเปนซึ่งมีชีวิตระหว่างปีค.ศ.1485 – 1547 คอร์เตส ได้รับการศึกษา
ในระดับมหาวิทยาลัย เขาพิชิตจักรวรรดิอัซเต็ก แห่งเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1521 และได้บันทึกเหตุการณ์การสู้รบของ
ตนในครั้งนั้นด้วย
ต้องฆ่าชาวอินคาจํานวน 7,000 คน เหมือนผักปลาโดยที่ฝ่ายทหารสเปนไม่ต้องเสียเลือดเนื้อของฝ่ายตนแม้แต่คน
เดียว
โดยสรุปวัฒนธรรมการรู้หนังสือทําให้ชาวสเปนมีองค์ความรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมและประวัติศาสตร์มนุษย์
เป็นอย่างดี แต่ในทางตรงกันข้ามไม่เพียงแต่อะตาอวลปาจะไม่รู้เรื่องราวใดๆเกี่ยวกับคนสเปนเท่านั้น แต่ยังไม่เคย
รับรู้หรือเคยได้ยิน(หรืออ่าน) เรื่องราวเกี่ยวกับการรุกรานใดๆของผู้คนจากโพ้นทะเลมาก่อนเลย ความรู้และ
ประสบการณ์ที่สั่งสมมานี้เองที่ช่วยให้ปิซาร์โรวางแผนจับตัวอะตาอวลปาได้สําเร็จ ในขณะที่อะตาอวลปาก็ตก
หลุมพรางที่วางไว้อย่างง่ายดาย(จาเร็ด ไดมอนด์, 2547 : 97) นี่เป็นเพราะผลแห่งการไม่พบพานพฤติกรรมมนุษย์
ซึ่งมีความหลากหลายโดยแท้เทียว
สําหรับในประเทศไทย ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายระดับประเทศ คือเหตุการณ์ ร.ศ.112
ซึ่งแม้ว่าในสมัยนั้นได้มีการส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรปก็ตาม แต่ปัจจัยหนึ่งที่ วิลาส นิรันดร์สุขศิริ
(ศิลปวัฒนธรรม, 2548, เว็บไซต์)ได้สรุปประเด็นว่า เหตุที่สยามต้องสูญเสียดินแดนให้กับประเทศฝรั่งเศสนั้น คือ
ความไม่ชํ่าชองในวิธีการทูตและการใช้ภาษาของฝ่ายสยามซึ่งย่อมหมายถึงความรู้และประสบการณ์ด้านภาษา
ต่างประเทศนั่นเอง รวมทั้งการขาดประสบการณ์และความชํานาญในการใช้อาวุธด้วย ดังข้อความต่อไปนี้
ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือวิธีการทูตที่ใช้ใน
ครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน๑๐ ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม
ความว่า "ผมสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่าชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป"
ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่ง
ถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทาให้ฝ่ายศัตรูโกรธ" ส่วนนายเฮนรี นอร์แมน นั้นกล่าวไว้ใน
หนังสือของเขาว่า ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป"
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว กองกาลังของสยามเป็นสิ่งที่มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่ง
ต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ด้วย หากมองในแง่อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเดียวแล้ว โอกาสที่สยามจะเป็นฝ่ายชนะฝรั่งเศส
ในการต่อสู้ที่ปากน้ามีความเป็นไปได้ แต่ถ้ามองด้านความสามารถ และมองถึงการศึกระยะยาวแล้ว โอกาส
ดังกล่าวมีไม่สูงนัก
เราอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหนือกว่าย่อมได้เปรียบกว่า และในด้านการบริหาร
งาน ข้อได้เปรียบเหล่านี้จึงตกอยู่ในแวดวงของผู้บริหาร เพราะหลายครั้งที่เราพบว่าผู้บริหารไม่ได้แตกต่างจาก
บุคลากรทั่วไปในแง่ของความรู้เลย แต่ผู้บริหารมีช่องทางของการรู้ข้อมูลมากกว่า, เข้าถึงข้อมูลได้ก่อนกว่าหรือ
แม้กระทั่งการสร้างกฎกติกาขึ้นมากันเองไม่ว่าจะเป็นระเบียบข้อบังคับใดๆ และมีโอกาสที่จะปิดบังซ่อนเร้นหรือ
หน่วงเหนี่ยวเวลาการแจ้งข้อมูลบางอย่างได้ นอกเหนือจากความไม่แตกต่างจากบุคลากรทั่วไปในแง่ของความรู้
แล้ว สองฝ่ายนี้อาจไม่แตกต่างกันในแง่ของคุณสมบัติที่พึงประสงค์ เพราะคุณสมบัติที่ควรจะมีของผู้บริหาร อาทิ
เรื่องภาวะความเป็นผู้นํา การมีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรมจริยธรรม เที่ยงธรรม โปร่งใส รับผิดรับชอบ รู้กฎระเบียบต่างๆ
ฯลฯ นั้น หากเมื่อสํารวจแล้วเราจะพบผู้บริหารแบบนี้สักกี่ราย
อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้บริหารบางคนมีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการ(ซึ่งไม่สามารถ
รับรองได้ว่าจะมีความรับผิดรับชอบ และรู้ผิดรู้ชั่วเสมอไป) แต่ด้วยค่านิยมของสังคมโดยเฉพาะค่านิยมของสังคม
ผู้บริหารหน่วยงานราชการทั้งหลายที่มักให้นํ้าหนักของอํานาจและความเชื่อถือไปกับคํานําหน้าชื่อไม่ว่าจะเป็น
คุณวุฒิ ยศศักดิ์หรือตําแหน่งทางวิชาการ ดังนั้นจึงอาจเกิดกรณีที่ผู้บริหารบางคนไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งคุณวุฒิ
ทางการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตแม้ว่าจะเรียนเพียง 1 เดือนก็ตาม ทั้งนี้เพียงเพื่อว่าคุณวุฒินั้นจะสามารถยกระดับ
ฐานอํานาจตนเองและให้ผู้คนยอมรับ ส่วนจะมีความรู้ทางด้านที่เรียนมาโดยแท้จริงหรือไม่นั้นไม่สําคัญ เพราะ
ตราบใดที่ยังไม่มีใคร “รู้ทัน” กับการได้มาของความรู้จอมปลอมนั้น ผู้บริหารคนนั้นก็ยังคงอาศัย “คุณวุฒิ” สร้าง
ฐานอํานาจได้ต่อไป ถึงกระนั้นก็ตาม หากจะมีใครสักคน “รู้ทัน” ก็ไม่แน่ใจว่าอํานาจของผู้บริหารจะลดลงไปหรือ
ไม่ เพราะตําแหน่งทางการบริหารดูจะเป็นเกราะป้ องกันและมีอํานาจที่เหนือกว่า
ความเชื่อที่ว่าความรู้จากการรํ่าเรียนศึกษาสามารถสร้างอํานาจแห่งความรู้นั้นๆได้นั้น สําหรับตําแหน่ง
ทางการบริหารแล้วอาจไม่มีความจําเป็นเสมอไป ไม่เช่นนั้นคงไม่มีกรณีการซื้อปริญญาของผู้บริหารเกิดขึ้นเป็นแน่
แท้
อานาจ
ผู้มีความรู้หรือผู้รู้ข้อมูล(ผู้มีประสบการณ์) โดยทั่วไปย่อมมีอํานาจและมีอิทธิพลต่อผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตาม
ผู้มีความรู้หรือผู้รู้ข้อมูลไม่ใช่คําตอบสุดท้ายของการมีอํานาจ ทุกวันนี้นักวิชาการผู้มีความรู้และมีข้อมูลยังต้องพ่าย
แพ้ต่ออํานาจที่เกิดจากตําแหน่งบริหาร
อํานาจจากความรู้กับอํานาจจากตําแหน่งบริหารแตกต่างกันอย่างไร
ประชุม โพธิกุล (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549, เว็บไซต์) ได้กล่าวถึงคํา 2 คํา คือ อํานาจหน้าที่
(Authority) กับ อํานาจ (Power) โดยแยกความหมายของ 2 คํานี้ออกมาในรูปของตารางและอธิบายรายละเอียด
นอกตาราง ซึ่งสรุปรวมดังนี้
พื้นฐานของคานิยาม อานาจหน้าที่ (Authority) อานาจ (Power)
คานิยาม สิทธิ
มีสิทธิที่จะขอร้องให้ใครทําบางสิ่งบางอย่างให้
ความสามารถ
ความสามารถที่จะใช้คนอื่นให้ทําอะไร
แหล่งที่มา ตาแหน่ง
เกิดจากตําแหน่งที่ครองอยู่
ลักษณะของปัจเจกบุคคล
เกิดจากลักษณะเฉพาะของบุคคล
เป้ าหมาย ผลประโยชน์ของส่วนรวม
ทําเพื่อส่วนรวม
ผลประโยชน์ของบุคคลหรือส่วนรวม
อาจเพื่อส่วนตัวหรือส่วนรวม
ผู้ใช้ ผู้บริหาร
เกี่ยวกับการบริหาร
ผู้นา
เกี่ยวกับภาวะผู้นํา
วิธีการเชิงพฤติกรรม การยินยอม การยอมให้การเชื่อฟัง
ผู้บริหารมีสิทธิที่จะกําหนดขอบเขตพฤติกรรมของ
ผู้ร่วมงานตามที่กฎหมายระบุไว้
การพึ่งพา
ผู้นําไม่มีสิทธิทางกฎหมายแต่สามารถทําให้
บุคคลอื่นกระทําตามได้
ส่วนวิโรจน์ อรุณมานะกุล(2547 : 10-11)ได้กล่าวถึงความหมายของอํานาจไว้ 3 ประการด้วยกัน
1. สิทธิความชอบธรรมที่จะทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Official right)
2. ความสามารถที่จะทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้ (Ability)
3. ความสามารถที่ฝ่ายหนึ่งสามารถทําให้อีกฝ่ายทําในสิ่งที่ตนต้องการได้ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่
(Control)
เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าความหมายแรกนั้นหมายถึงอํานาจหน้าที่ (Authority) ส่วนความหมาย
ที่ 2 และ 3 หมายถึงอํานาจ (Power) นั่นเอง ตัวอย่างของความแตกต่างระหว่างอํานาจหน้าที่กับอํานาจ เช่น ผู้ที่
มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์ซึ่งถือเป็นอํานาจจากความรู้แต่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะย่อมไม่มีอํานาจ
หน้าที่ในการรักษาคนไข้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ตําแหน่งของผู้บริหารมาพร้อมกับอํานาจหน้าที่และผู้บริหารมักอาศัยอํานาจหน้าที่ที่ตนครองอยู่มาสร้าง
ฐานอํานาจให้กับตนเอง ดังนั้นผู้บริหารส่วนใหญ่จึงมีทั้งอํานาจหน้าที่และอํานาจในการบริหาร (ยกเว้นบางกรณีที่
ผู้บริหารมีอํานาจหน้าที่แต่ไม่มีอํานาจ) เมื่อมีอํานาจแล้วย่อมแผ่อํานาจในการสร้างพวกพ้องของตนได้ ประเด็นที่
น่าสนใจคือพวกพ้องที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการบริหาร
การบริหารงานในรูปของคณะกรรมการนั้นดูเหมือนว่าเป็นการสร้างความชอบธรรมภายในองค์กร แสดง
ถึงการกระจายอํานาจและมีภาพลักษณ์ของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานรวมถึงการร่วมกันรับผิดชอบที่สามารถ
ตรวจสอบได้เพราะคณะกรรมการบริหารนั้นประกอบไปด้วยตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ อย่างไรก็ตามในวาระการ
ประชุมแต่ละครั้งมักมีผู้นําเกม ให้เกมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง และผู้บริหารสูงสุดมักได้สิทธิแห่งอํานาจนั้น
ในขณะที่มติที่ออกมากลับเป็นมติของที่ประชุมคณะกรรมการ
กร ทัพพะรังสี( ผู้จัดการออนไลน์, 2549, เว็บไซต์) ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและผ่านการ
“คลุกวงใน” ในรูปของคณะกรรมการบริหารได้พูดเกี่ยวกับวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีดังนี้
ตนเห็นว่า นายกฯ ทักษิณ จะมีนโยบายของตนเอง มีนโยบายของตนเองในเรื่องต่างๆ ที่ไม่อยู่ในแฟ้ ม
วาระ แต่ในที่สุดแล้วนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการฯ ครม. ก็จะสรุปเรื่องออกมาว่า ถือเป็นมติของ
คณะรัฐมนตรี เมื่อออกจากที่ประชุมครม. ก็ถือว่าคณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว ก็ต้องนาไปปฏิบัติ คือ มันเป็น
นโยบาย แต่เริ่มต้นออกจากตัวนายกฯ ทักษิณ ซึ่งลงรายละเอียดสูงมาก
กรกล่าวว่า นายกฯ ทักษิณไม่ได้ดูความถนัดของรัฐมนตรีเป็นตัวตั้งว่า จะให้เขาอยู่ที่ไหน อยู่กระทรวง
ไหน เพราะยังไง นายกฯ ทักษิณก็จะเป็นผู้มอบนโยบายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ฉันจะเอาเธอไปนั่งอยู่ที่ไหน เธอก็อยู่
แล้วกัน พูดง่ายๆ ว่า เอาคนที่สามารถจะทาตามที่ตนเองมอบนโยบายได้เป็นหลัก นายกฯทักษิณรู้จักทุกคนว่า
ถนัดตรงไหน-ไม่ได้ถนัดตรงนี้ เช่นการนาคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ไปอยู่กระทรวงเกษตรฯ ตนก็ถามว่าทาไม
เอาไปอยู่กระทรวงเกษตรฯ ดูไม่ค่อยตรงเลย แต่เหตุผลที่ได้รับก็คือว่า “มันเป็นเรื่องของการเมือง” อย่างนี้ก็ต้อง
หยุดถาม และในความเป็นนักการเมือง นายกฯ ทักษิณก็มีคนที่ไว้ใจ คนที่สบตาแล้วสนิทใจ แล้วคนพวกนี้ก็เป็น
คณะรัฐมนตรีอยู่รอบๆ ตลอด แต่ไม่จาเป็นว่าจะต้องอยู่กระทรวงไหน เพราะการไปอยู่กระทรวงตามความถนัดของ
คนพวกนี้ไม่ใช่ประเด็น คนที่นายกฯทักษิณสนิทด้วยมากๆ เคยบอกตนว่า “อันนี้ผมก็ไม่ถนัดนะ นายให้มาอยู่นี้ผม
ก็อยู่” พูดง่ายๆ ว่า นายกฯ ทักษิณสนิทใจใคร ก็จะให้อยู่รับใช้ อยู่ในแวดวงของคณะรัฐมนตรีตลอดโดยไม่เกี่ยวกับ
ว่าคนนี้ถนัดกระทรวงไหน
นอกจากนี้ผู้บริหารมักใช้อํานาจมาพิจารณาตัดสินวาระการประชุมเรื่องต่างๆในลักษณะที่หาเหตุผล
เสมอต้นเสมอปลายไม่ได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการยึดหลักสองมาตรฐาน การยึดหลักสองมาตรฐานหรือการ
เลือกปฏิบัติอันมีเหตุแห่งความอคตินี้ เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ใครๆสามารถถือสิทธินี้ได้ แต่ตราบใดที่อยู่ภายใต้
นโยบายเพื่อส่วนรวม การเลือกปฏิบัติดูเป็นกลที่แยบยล แต่ปราศจากความสง่างาม
การปิดบังข้อมูลข่าวสารถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและมี
กระบวนการตรวจสอบแต่เราอาจพบว่าการปิดบังซ่อนเร้นข้อมูลบางอย่างยังมีอํานาจหรือนํามาซึ่งการดํารงเรื่อง
อํานาจของคณะกรรมการบริหาร เราอาจพบเห็นบางหน่วยงานที่คณะกรรมการบริหารได้ปิดบังซ่อนเร้นข้อมูล
บางอย่างอันมีสาเหตุมาจาก ความไม่โปร่งใส ขาดหลักการและหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผล เช่นกรณีการพิจารณา
ความดีความชอบ, เกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าทํางานหรือการจัดสรรงบประมาณต่างๆ
ตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนให้เห็นถึงการใช้อํานาจที่มีนโยบายกับการปฏิบัติเป็นไปในลักษณะ
สวนทางกัน เช่น
นโยบาย : กระจายอํานาจและการมีส่วนร่วม ≠ ปฏิบัติ : รวมศูนย์และเผด็จการ
นโยบาย : เสมอภาคและเสมอต้นเสมอปลาย ≠ ปฏิบัติ : เลือกปฏิบัติ
นโยบาย : ตรวจสอบได้ ≠ ปฏิบัติ : ปิดบังช่องทางและปิดโอกาสการตรวจสอบ
วัฒนธรรมการใช้อํานาจโดยอาศัยอํานาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการอันมิชอบของผู้บริหารเช่นนี้มีให้เห็นอยู่
ทั่วไปและหลายคนคงได้สัมผัสโดยไม่มีความจําเป็นต้องหาข้อมูลทางสถิติมาสนับสนุน ในส่วนของผู้บริหารเอง
อาจไม่ได้ตระหนักว่า ตําแหน่งและอํานาจที่ตนครองอยู่นั้นก็ไม่ได้จงรักภักดีเสมอไป สักวันหนึ่งอํานาจที่ใช้อยู่นั้น
อาจกลายเป็นอาวุธที่กลับมาทิ่มแทงตนและพวกพ้องก็เป็นได้ ดังที่ มิแช็ล ฟูโกต์(2547 : 23)กล่าวว่า
อานาจกลายเป็นเหมือน “โครงสร้าง” อย่างหนึ่งที่เปิดประตูให้ผู้คนอันหลากหลายเข้าไป “สวมบทบาท”
เป็นผู้กระทาและผู้ถูกกระทาวนเวียนสลับกันไป
ภาษา
ภาษาจัดเป็นเครื่องมือที่สามารถชุบชีวิตคนหรือทําลายล้างคนให้ย่อยยับไปได้ ทั้งนี้มิได้หมายถึงตัว
ภาษาเอง แต่หมายถึงผู้คนหรือสังคมที่เป็นผู้ใช้ภาษาและกําหนดภาษาต่างหาก ที่กําหนดว่าถ้อยคําใดมี
ความหมายดีหรือความหมายเลว ภาษาใดเป็นภาษาสูง(High Variety) หรือภาษาใดเป็นภาษาตํ่า(Low Variety) 4
ตัวอย่างยอดนิยมที่คนกล่าวถึงอยู่เสมอ ที่นางเอกได้ดีเพราะภาษา คือเรื่อง My Fair Lady
(wikipedia,2006, website) ในเนื้อเรื่อง เอไลซ่า เป็นหญิงสาวที่พักอาศัยอยู่ในย่านคนจนกลางกรุงลอนดอนที่พูด
ภาษาอังกฤษสําเนียงคอกนีย์(Cockney) ซึ่งถือว่าเป็นสําเนียงของคนชั้นตํ่า เมื่อศาสตราจารย์เฮนรี่ ฮิกกินส์
ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงไปพบและพาเธอไปฝึกพูดภาษาอังกฤษสําเนียงมาตรฐาน (Received
Pronunciation หรือ RP) จนคล่องแคล่วจึงทําให้เธอมีสถานะเป็นคุณผู้หญิง (Lady) ขึ้นมาทันที นี่คือตัวอย่างของ
การเลือกใช้ภาษาแล้วมีผลทําให้สถานภาพทางสังคมของคนคนนั้นดีขึ้น
ตัวอย่างที่ทําให้ชีวิตผู้คนอับปางเพราะภาษา เช่นในกรณีของประเทศเอลซัลวาดอร์ ในปีค.ศ.1932 ชาว
พื้นเมืองอินเดียนเป็นพันๆคนถูกสังหาร ทําให้ชาวพื้นเมืองคนอื่นๆต้องหยุดพูดสื่อสารภาษาของตนเพื่อเอาชีวิตรอด
ผลพวงนี้ทําให้ภาษาคาคาโอเปรา และภาษาเลนซากลายเป็นภาษาตาย และภาษาพิพิล5
ตกอยู่ในภาวะใกล้สาบ
สูญ (Campbell, 1998 : 435)
4
ในภาษาศาสตร์เชิงสังคม ภาษาสูงหมายถึงภาษาที่ใช้ในวงราชการ, การศึกษา ส่วนภาษาตํ่า หมายถึง ภาษาที่
ใช้ ในครอบครัว,ในหมู่เพื่อนฝูงคนสนิท เป็นต้น (Richards, 1985 : 81)
5
ในปีค.ศ.1987 มีคนพูดภาษาพิพิล ประมาณ 20 คน (wikipedia,2006, website)
อีกกรณีหนึ่งคือในยุคของการล่าอาณานิคม ชาวแอฟริกันจํานวนมากได้ตกเป็นทาสของกลุ่มประเทศ
ตะวันตก เนื่องจากเหล่าทาสแอฟริกันนั้นมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา ประกอบกับนโยบายห้าม
ไม่ให้เหล่าทาสที่พูดภาษาเดียวกันรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการป้ องกันการก่อกบฏ ทําให้เหล่าทาสจําเป็นต้องสื่อสาร
กันโดยใช้คําศัพท์ของตนและใช้ไวยากรณ์ภาษาของนาย จึงกลายเป็นภาษาใหม่ขึ้นมาคือภาษาพิดจินและครีโอล
แต่ทั้งสองภาษายังตกอยู่ในสถานภาพตํ่าอยู่ดี(ดู พรภัทร อมรศุภศาสตร์, 2539 : 48-52 และวิไลวรรณ ขนิษฐา
นันท์, 2527 : 32-33)
ในประเทศไทย ภาษาท้องถิ่นและภาษาชนกลุ่มน้อยก็ถูกจัดลําดับให้อยู่ในสถานภาพตํ่าเช่นกัน เช่น
ภาษามลายู ซึ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (มติชน, 2548, เว็บไซต์)ได้กล่าวถึงไว้ว่า ภาษามลายูปัตตานีก็เหมือนภาษา
โบราณอีกหลายภาษา นั่นคือขาดโอกาสที่จะพัฒนาเข้าสู่โลกสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ขณะที่
ภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจ จึงทําหน้าที่เป็นภาษากลางของคนไทยทั้งชาติอีกด้วย ด้วย
เหตุที่ภาษานี้ทําหน้าที่สําคัญทั้งหมด ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด และยังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษาที่มีศักดิ์ศรี
(prestige) จึงจัดไว้ในลําดับสูงสุด (อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ 2542 : 55)
ตัวอย่างชาวพื้นเมืองอินเดียนที่รอดชีวิตได้เพราะสามารถหรือยอมพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาของตน
รวมทั้งตัวอย่างอื่นๆ คงทําให้เราเห็นประโยชน์ของการมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารได้หลายๆภาษาแล้ว
ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ความสามารถดังกล่าวโดยเฉพาะในภาษาที่ได้รับการยอมรับในสังคมย่อมมีอํานาจในการต่อ
รองสูง นอกจากนี้การมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษา คือมีวาทศิลป์ ทั้งการพูดและการเขียน ย่อมสามารถ
เลือกใช้คําได้อย่างเหมาะสม และโน้มน้าวใจผู้คนได้เช่นกัน
อย่างไรก็ตามในบางกรณีผู้บริหารสามารถพูดโดยไม่จําเป็นต้องใช้วาทศิลป์ ไม่จําเป็นต้องใช้ถ้อยคําที่
แสดงพลัง 6
ก็สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ ดังตัวอย่างที่ผู้บริหารพูดกับคนสวนของหน่วยงานในประโยคต่อไปนี้
“เที่ยงวันนี้ฉันอยากกินก๋วยเตี๋ยวผัดไทย”
ประโยคข้างต้นไม่มีถ้อยคําที่แสดงเป็นคําสั่งแม้แต่น้อย แต่กลับมีนัยของคําสั่งและคนสวนเข้าใจนัยนั้นพร้อมนําไป
ปฏิบัติ ส่วนคนสวนจะรู้ว่านัยจากถ้อยคํานั้นเกี่ยวข้องกับอานาจหน้าที่ของผู้บริหารหรือไม่ ไม่ใช่สาระ
สําคัญ สําคัญที่เขารู้ว่าผู้บริหารมีอานาจที่จะหาทางใช้อํานาจหน้าที่พิจารณาผลงานของเขา หากเขาไม่นํานัยนั้น
ไปปฏิบัติ ในทางกลับกันการใช้ถ้อยคําที่เป็นพลังแต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ ดังเช่นคนสวนสั่งผู้บริหารว่า
“ผมสั่งให้คุณไปชงกาแฟและไปซื้อข้าวกลางวันให้ผมเดี๋ยวนี้”
ประโยคเช่นนี้จะมีผลในทางปฏิบัติได้คงมีให้เห็นในภาพยนตร์ตลกเท่านั้น และหากวันหนึ่งวันใดผู้บริหารคนนั้น
หมดวาระทางการบริหาร คําพูดที่เคยส่งผลในทางปฏิบัติอาจไม่มีค่าใดๆเลยย่อมเป็นได้
ตัวอย่างอีกลักษณะหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าถ้อยคํา 2 ประโยคที่ดูเหมือนมีความแตกต่างกันในแง่ของการ
ตีความหมายแต่สุดท้ายกลับสื่อความหมายบางอย่างที่ไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งมิแช็ล ฟูโกต์ ( 2547 : 11-12)ได้
ยกตัวอย่างประเด็นของ “โสเภณี” ดังนี้
องค์กรสตรีแห่งหนึ่งประกาศว่า “ที่นี่ไม่ต้อนรับโสเภณี” ขณะที่องค์กรสตรีอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า “ที่นี่ เรา
ต้อนรับทุกคนแม้แต่โสเภณี” ในแง่เนื้อหาของคาพูด เราอาจจะเห็นว่าองค์กรหลังมีความเป็นเสรีนิยมและเคารพ
6
ในวจนปฏิบัติศาสตร์เรียกถ้อยคําที่แสดงพลังว่า พลังวจนปฏิบัติศาสตร์ (Illocutionary Force) หมายถึงถ้อยคําที่
มีคําบ่งการกระทําปรากฏ เช่น ผมขอสั่งให้คุณนํารถยนต์ของบริษัทไปตรวจสภาพในวันพรุ่งนี้
หรือ ดิฉันขอประกาศลาออกจากตําแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทนับแต่วันนี้เป็นต้นไป
สิทธิมนุษยชนมากกว่าองค์กรแรก ทว่าการใช้คาว่า “แม้แต่” ก็แสดงถึงการยอมรับทั้งๆที่ถือว่าไม่คู่ควร คาพูดทั้ง
สองที่ขัดแย้งกันในระดับพื้นผิวจึง “แชร์” วาทกรรมเดียวกันเกี่ยวกับโสเภณีเมื่อพิจารณาในระดับลึก นั่นคือ
“โสเภณีเป็นผู้หญิงไม่ดี”
ดังนั้นหากผู้บริหารจะให้เหตุผลของการไม่รับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าร่วมทีมบริหารด้วยคําพูดที่ว่า “คุณ
มีความรู้ความสามารถด้านวิจัยเป็นอย่างดี จึงควรทุ่มเทเวลาให้กับงานวิจัยมากกว่า” ซึ่งดูเหมือนว่าถ้อยคํานี้
แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีและเอื้ออาทรของผู้พูด แต่แท้จริงแล้วอาจมีความหมายเช่นเดียวกับ “ฉันไม่
ต้องการให้คุณเข้าร่วมทํางานกับฉัน เพราะแนวคิดของคุณกับฉันไม่ตรงกัน”
แม้ว่าตําแหน่งทางการบริหารทําให้ผู้บริหารมีอํานาจในการพูด แต่ถ้อยคําที่ผู้บริหารคิดว่าน่าจะทําให้
อํานาจ ,ฐานอํานาจรวมถึงภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นําของตนลดลงไปกลับได้แก่คําว่า ขอโทษ, ขอรับผิด ดังที่
เปลวสีเงิน (ไทยโพสต์,2547, เว็บไซต์)พูดถึงคํา “ขอโทษ” ไว้ว่า
เพราะเหตุไรคาว่า "ขอโทษ" จึงกลายเป็น "คาต้องห้าม" ในหมู่ผู้นาทางการเมือง อันนี้ผมก็ไม่ทราบว่า
มี "ธรรมนูญผู้นา" สาหรับรู้-สาหรับปฏิบัติเฉพาะตัวคนที่ขึ้นมากุมอานาจฝ่ายบริหารกิจการบ้านเมืองโดยเฉพาะ
หรืออย่างไร? แต่เห็นเขาพูดกันว่าถ้า "ขอโทษ" ก็เท่ากับ "ยอมรับผิด" ในสิ่งที่เกิดขึ้น! ตรงนี้กระมัง คนเป็นผู้นา
รัฐบาลจึงไม่ยอมเอ่ยคาว่าขอโทษ ถึงแม้ตัวเองจะเป็นผู้กาหนดแผน กาหนดนโยบาย และเป็นผู้ออกคาสั่งให้ปฏิบัติ
จนเกิดเหตุนั้นๆ ขึ้นก็ตาม
เช่นเดียวกับที่ผู้ช่วยศาตราจารย์ชิดชนก ราฮิมมูลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี(อ้างถึงใน ศูนย์ข่าวอิศรา, 2549,เว็บไซต์) มองว่าคํา “ขอโทษ” ไม่เคยหลุดออกจากปากของผู้นํา
คาขอโทษมีความสาคัญมาก เพราะการตัดสินใจในนโยบายที่ผิดพลาด แล้วยอมรับว่าทาผิดพลาด ย่อม
ดีกว่าทาผิดโดยไม่รู้สึกว่าตัวเองผิดด้วยซ้า ถ้า พ.ต.ท . ทักษิณ กล่าวขอโทษ ทุกคนก็พร้อมให้อภัย สาหรับการ
สานึกผิด แต่ถ้ายังคิดว่าสิ่งต่างๆ นโยบายที่ได้ทาไปแล้วนั้น ตัวเองไม่ได้ทาอะไรผิดเลย ก็ย่อมจะได้รับการต่อต้าน
อย่างที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ถ้ายังคงดื้อดึงไม่ขอโทษ ก็จะได้รับการปฏิเสธ ซึ่งต้นเหตุมาจากความเชื่อมั่นและไม่
อ่อนน้อม
สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารที่มีอํานาจในการพูด, สั่งการและนําเกมในวาระการประชุม กลับขลาด
เขลาและไม่ยอมกล่าวคํา “ขอโทษ” ในยามที่ตนรู้ว่าการกําหนดนโยบายและแผนงานที่เกิดจากตนนั้นเกิดข้อผิด
พลาด หรือนี่เป็นเพราะผู้บริหารหวั่นเกรงว่า ฐานอํานาจที่ตนครอบครองนั้นจะสั่นคลอนและหลุดลอยไปในที่สุด
มายาคติ : บทสรุปของความรู้ อานาจ และภาษา
ทั้งความรู้ อํานาจและภาษา ต่างเป็นมายาคติทั้งสิ้น แต่เป็นมายาคติที่เราทั้งหลายต้องยอมรับเพราะนี่
คือสภาพจริงที่เกิดขึ้น สภาพจริงที่รู้ทั้งรู้ว่าทั้ง 3 สิ่งนั้นลื่นไหล ไม่มั่นคง วันนี้คุณมีความรู้ ณ สถานการณ์หนึ่ง ไฉน
อีกวัน ณ สถานการณ์หนึ่ง ความรู้ของคุณไม่เป็นที่ยอมรับไปเสียแล้ว วันนี้คุณเป็นจักรพรรดิอะตาอวลปาผู้มี
อํานาจเบ็ดเสร็จ อีกวันคุณกลายเป็นเชลยที่ไม่เหลืออํานาจหรือแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง วันนี้ถ้อยคําคําสั่งของคุณ
บ่งบอกถึงอํานาจ แต่อีกวันถ้อยคํานั้นอาจไม่ได้รับการแยแสจากใครเลย ข้อยืนยันนี้เชื่อมโยงกับคําพูดของ โรล็
องด์ บาร์ตส์ (2547 : 7)ที่พูดถึงมายาคติไว้ดังนี้
จริงหรือที่ว่าทุกอย่างกลายเป็นมายาคติได้หมดสิ้น ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนั้น เพราะจักรวาลมีศักยภาพที่จะ
กระตุ้นให้มนุษย์สร้างความหมายขึ้นมาได้อย่างไม่สิ้นสุด ทุกสิ่งในโลกนี้สามารถจะถูกสังคมเข้าไปล้วงควักออก
จากที่ที่มันอยู่ของมันเงียบๆ แล้วทาให้มันกลายเป็นเหยื่อของวาทะได้ทั้งสิ้น ด้วยว่าไม่มีกฎธรรมชาติหรือระเบียบ
ข้อใดที่ห้ามมนุษย์มิให้พูดถึงสิ่งต่างๆ ต้นไม้มันอาจจะอยู่ของมันดีๆ แต่ทันทีที่มันถูกมินู ดรูเอต์7
เอ่ยถึง มันก็เริ่มที่
จะไม่ใช่ต้นไม้ธรรมดาเสียแล้ว แต่กลายเป็นต้นไม้ที่ถูกประดับประดา ถูกปรับแปรเพื่อการบริโภค ถูกแต่งแต้มให้
ชวนเคลิบเคลิ้มด้วยความเป็นวรรณกรรม ความเป็นขบถ และจินตภาพ กล่าวสั้นๆคือ การใช้งานทางสังคมได้เข้า
ไปสวมทับลงบนวัตถุสสารที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่
ดังนั้น ความรู้ อํานาจ และภาษา ที่บุคคลใดได้ใช้เป็นเครื่องมือในยามอยู่ในตําแหน่งของผู้บริหารแล้ว
ย่อมผกผันได้ตลอดเวลา ผู้บริหารจึงพึงสังวรต่อสภาพการเหล่านี้ หากนําอํานาจมาใช้อย่างหลงระเริงและใน
แนวทางอันมิชอบอาจต้องเจ็บปวดเมื่อคราที่ตนต้องกลายเป็นฝ่ายถูกกระทําบ้าง และเหนืออื่นใด องค์กรหรือ
ประเทศชาติต้องพลอยรับเคราะห์กรรมซึ่งเป็นผลแห่งการใช้อํานาจนี้ด้วย อย่างไรก็ตามยังมีเงื่อนไขหนึ่งที่น่าจะ
สามารถเป็นตัวกําหนดมายาคติทั้งสามของผู้บริหารได้ นั่นคือ พลังมวลชน เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์
มากมายเป็นข้อยืนยันได้ว่าพลังมวลชนสามารถคานอํานาจผู้บริหารได้ แต่หากผู้บริหารจะนํามายาคติเหล่านี้มา
บริหารองค์กรภายใต้ปรัชญาเพื่อส่วนรวมมิใช่เพื่อตนเองและพวกพ้องแล้ว เราคงต้องยกย่องเชิดชูเกียรติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่
พสกนิกรชาวไทยว่า
เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม
7
Minou Drouet เป็นเด็กหญิงอายุแปดขวบที่เขียนบทกวีตีพิมพ์เผยแพร่ กลายเป็นเรื่องโด่งดังไปทั่วประเทศในช่วง
สมัยนั้น บทกวีหวานๆของเธอได้รับการชื่นชมด้วยรสนิยมแบบกระฎุมพีว่า มีความสดใสอันเกิดจากความเป็น
“ธรรมชาติ” ของเด็ก (โรล็องด์ บาร์ตส์ , 2547 : 7)
เอกสารอ้างอิง
จาเร็ด ไดมอนด์ . 2547. ปืน เชื้อโรคและเหล็กกล้ากับชะตากรรมของสังคมมนุษย์. กรุงเทพฯ : โครงการ
จัดพิมพ์คบไฟ. อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ แปล.
ธม ธาตรีและจันนิภา(นามแฝง). 2521. อาแดงเหมือกับนายริด. กรุงเทพฯ :เจริญวิทย์การพิมพ์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2548. การเมืองเรื่องภาษา. มติชนรายวัน วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10033.
บาร์ตส์, โรล็องด์ . 2547. มายาคติ Mythologies. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, วรรณพิมล อังคศิริสรรพ
แปล.
ประชุม โพธิกุล. 2549. ยุทธวิธีการใช้อานาจในองค์การอย่างมีประสิทธิผล. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.
2549. จาก : http://www.moe.go.th/wijai/empower.htm.
เปลวสีเงิน(นามแฝง). 2547. หลงทางที่ 'ท่าพระจันทร์'. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก :
http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=9/Nov/2547&news_id=97656&
cat_id=200.
ผู้จัดการออนไลน์. 2549. เปิดเนื้อหา ‚รู้ทันทักษิณ 4‛ อดีตคนใกล้ชิดรุมลากไส้ ‚แม้ว‛. สืบค้นเมื่อวันที่ 5
มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก :
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000050896
พรภัทร อมรศุภศาสตร์. 2539.”พิดจิ้นและคลีโอล” ภาษาและวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม –
ธันวาคม 2539) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฟูโกต์, มิแช็ล. 2547. ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอานาจในวิถีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบ
ไฟ. ทองกร โภคธรรม แปล.
วิจาณ์ พานิช. 2547. “การจัดการความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม”. ภาษา
และวัฒนธรรม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2547) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ
พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิโรจน์ อรุณมานะกุล.2547.“ภาษา อํานาจ และการเมือง” รู้ทันภาษารู้ทันการเมือง. กรุงเทพฯ : ฃอคิดด้วยฅน .
วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. 2548. ๑๑๒ ปีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ สยามกาสรวล ฝรั่งเศสกาทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่
5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก :
http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0601011048&srcday=2005/10/01&search=no.
วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. 2527. ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศูนย์ข่าวอิศรา. 2549. ‚ไฟใต้‛ ฤๅสายเกินไป ? …เมื่อ‘ผู้นา’ไม่ยอมรับความผิดพลาด . สืบค้นเมื่อวันที่ 5
มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก :
http://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=671&Itemid=47.
อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2542. ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา.
กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Campbell, Lyle. 1998. “Language Death”. Concise Encyclopedia of Pragmatics. Great Britain.
Richards J. C.and friends.1985. Dictionary of Applied Linguistics. Great Britain.
Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Francisco Pizarro. Retrieved June 5, 2006. from :
http://en.wikipedia.org/wiki/Francisco_Pizarro.
Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Hernán Cortés. Retrieved June 5, 2006. from :
http://en.wikipedia.org/wiki/Hern%C3%A1n_Cort%C3%A9s.
Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. List of endangered languages. Retrieved June 5, 2006. from :
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_endangered_languages.
Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. My Fair Lady. Retrieved June 5, 2006. from :
http://en.wikipedia.org/wiki/My_Fair_Lady.
Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Spanish conquest of Mexico. Retrieved June 5, 2006. from :
http://en.wikipedia.org/wiki/Spanish_Conquest_of_Mexico.

More Related Content

What's hot

การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพการพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
NoTe Tumrong
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
โทโต๊ะ บินไกล
 
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
Wichai Likitponrak
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Khunakon Thanatee
 
02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน
Phanuwat Somvongs
 
พลังงานน้ำ
พลังงานน้ำพลังงานน้ำ
พลังงานน้ำ
อะลิ้ตเติ้ล นก
 
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]Worrachet Boonyong
 
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
sarawut chaicharoen
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทKannika Kerdsiri
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสสำเร็จ นางสีคุณ
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
renusaowiang
 
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfแผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
JiruttiPommeChuaikho
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
Napadon Yingyongsakul
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1Sumarin Sanguanwong
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดBio Beau
 
สรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผลสรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผล
TupPee Zhouyongfang
 
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsสำเร็จ นางสีคุณ
 

What's hot (20)

การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพการพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
การพิมพ์ข้อสอบให้สวยงาม ดูดีแบบมืออาชีพ
 
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
เค้าโครงโครงงานวิทยาศาสตร์
 
กิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศกิติกรรมประกาศ
กิติกรรมประกาศ
 
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
8.ดาวในท้องฟ้าgs บอกตำแหน่งวัตถุท้องฟ้า
 
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
Construct 2 Manual (คู่มือ Construct 2 ฉบับภาษาไทย)
 
02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน02แบบฝึกพลังงาน
02แบบฝึกพลังงาน
 
พลังงานน้ำ
พลังงานน้ำพลังงานน้ำ
พลังงานน้ำ
 
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]
การเคลื่อนที่ (motion) [Physics O - NET]
 
การพูดอภิปราย
การพูดอภิปรายการพูดอภิปราย
การพูดอภิปราย
 
หน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญหน้าปกคำนำสารบัญ
หน้าปกคำนำสารบัญ
 
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
วิจัยในชั้นเรียนวิจัยในชั้นเรียนชั้นม.2
 
รูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บทรูปแบบวิจัย 5 บท
รูปแบบวิจัย 5 บท
 
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสแบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
แบบสอบถาม “แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
 
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์  58
กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ โครงงานทดลองวิทยาศาสตร์ 58
 
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdfแผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
แผนวิทยาการคำนวณ ป.6.pdf
 
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
ข้อสอบวิทยาศาสตร์ (PISA)
 
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
ใบความรู้เรื่องเซลล์ของสิ่งมีชีวิต1
 
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูดโครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
โครงงานวิทยาศาสตร์แชมพูสระผมมะกรูด
 
สรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผลสรุปการวัดประเมินผล
สรุปการวัดประเมินผล
 
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า btsแบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
แบบสอบถาม การตัดสินใจซื้อโทรศัพท์มือถือ I phone ของผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า bts
 

Viewers also liked

การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะการพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
Thanaporn Prommas
 
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1Beebe Benjamast
 
68141 สงครามโลกครั้งที่ 2
68141 สงครามโลกครั้งที่ 268141 สงครามโลกครั้งที่ 2
68141 สงครามโลกครั้งที่ 2supasit2702
 
ศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรมศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรมsonsukda
 
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์supaporn2516mw
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์Sp'z Puifai
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
kingkarn somchit
 
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พrootssk_123456
 

Viewers also liked (9)

การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะการพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
การพูดโน้มน้าวใจ เรื่อง ช็อกโกแลตก็มีดีเหมือนกันนะ
 
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1
พระราชกรณียกิจ พระราชนิพนธ์ และผลงานอื่น1
 
68141 สงครามโลกครั้งที่ 2
68141 สงครามโลกครั้งที่ 268141 สงครามโลกครั้งที่ 2
68141 สงครามโลกครั้งที่ 2
 
ศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรมศาสนา ทศพิธราชธรรม
ศาสนา ทศพิธราชธรรม
 
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์
โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ
155061602 เทคนิคการทำข้อสอบ-ก-พ
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 

Similar to ตัวอย่างบทความ ความรู้-อำนาจ-และภาษา-มายาคติของผู้บริหาร

knowledge, power and languages
knowledge, power and languagesknowledge, power and languages
knowledge, power and languages
Siriporn Maneechukate
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตjd18122505
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพnunaka
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยjirapom
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
niralai
 
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาpentanino
 
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
ประพันธ์ เวารัมย์
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349CUPress
 
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
maruay songtanin
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
kanwan0429
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
kanwan0429
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
Nona Khet
 
ตัวแปร
ตัวแปรตัวแปร
ตัวแปรguest2b872f
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน0872191189
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่T Ton Ton
 
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูดถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
pyopyo
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 

Similar to ตัวอย่างบทความ ความรู้-อำนาจ-และภาษา-มายาคติของผู้บริหาร (20)

knowledge, power and languages
knowledge, power and languagesknowledge, power and languages
knowledge, power and languages
 
นำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขตนำเสนอ Hl ของเขต
นำเสนอ Hl ของเขต
 
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพสรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
สรุปทักษะการสื่อสารและการประสานงานอย่างมืออาชีพ
 
ประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยประชาธิปไตย
ประชาธิปไตย
 
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
พุทธวิธีในการสอน พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
 
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนาศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
ศึกษาการพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวพระพุทธศาสนา
 
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
สรุปคำบรรยายก่อนเรียน (ผศ.พิมล)
 
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
แผนการจัดการเรียนรู้ที่๙
 
9789740330349
97897403303499789740330349
9789740330349
 
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
คำพูดที่ได้ผล Words That Work.pptx
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
บทที่ 11
บทที่ 11บทที่ 11
บทที่ 11
 
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้
 
ตัวแปร
ตัวแปรตัวแปร
ตัวแปร
 
ทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่านทักษะการอ่าน
ทักษะการอ่าน
 
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
บทที่ 2-แก้ใหม่ครั้งที่
 
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูดถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
ถอดเทปโครงการศิลปะการพูด
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
12
1212
12
 

More from justymew

ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
justymew
 
แบบฟอร์มหนังสือภายนอก
แบบฟอร์มหนังสือภายนอกแบบฟอร์มหนังสือภายนอก
แบบฟอร์มหนังสือภายนอก
justymew
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการ
justymew
 
ข้อกำหนดในการเขียนบทความ
ข้อกำหนดในการเขียนบทความข้อกำหนดในการเขียนบทความ
ข้อกำหนดในการเขียนบทความ
justymew
 
แบบฟอร์มหนังสือภายใน
แบบฟอร์มหนังสือภายในแบบฟอร์มหนังสือภายใน
แบบฟอร์มหนังสือภายใน
justymew
 
โครงเรื่อง
โครงเรื่องโครงเรื่อง
โครงเรื่อง
justymew
 
โครงเรื่อง
โครงเรื่องโครงเรื่อง
โครงเรื่องjustymew
 

More from justymew (9)

ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
ภาษาทั่วไป ภาษาราชการ
 
แบบฟอร์มหนังสือภายนอก
แบบฟอร์มหนังสือภายนอกแบบฟอร์มหนังสือภายนอก
แบบฟอร์มหนังสือภายนอก
 
ตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการตัวอย่างหนังสือราชการ
ตัวอย่างหนังสือราชการ
 
ข้อกำหนดในการเขียนบทความ
ข้อกำหนดในการเขียนบทความข้อกำหนดในการเขียนบทความ
ข้อกำหนดในการเขียนบทความ
 
แบบฟอร์มหนังสือภายใน
แบบฟอร์มหนังสือภายในแบบฟอร์มหนังสือภายใน
แบบฟอร์มหนังสือภายใน
 
โครงเรื่อง
โครงเรื่องโครงเรื่อง
โครงเรื่อง
 
Reference
ReferenceReference
Reference
 
โครงเรื่อง
โครงเรื่องโครงเรื่อง
โครงเรื่อง
 
Reference
ReferenceReference
Reference
 

ตัวอย่างบทความ ความรู้-อำนาจ-และภาษา-มายาคติของผู้บริหาร

  • 1. ความรู้ อานาจ และภาษา : มายาคติของผู้บริหาร ศิริพร มณีชูเกตุ บทคัดย่อ การมีความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนและจากการสั่งสมประสบการณ์รวมถึงการมีความรู้ในการใช้ภาษามี ความจําเป็นและเพิ่มพลังอํานาจให้กับคนหลายๆคน แต่สําหรับผู้บริหารแล้ว สามสิ่งนี้ดูเหมือนไม่มีความจําเป็น และไม่เพิ่มพลังอํานาจให้แก่ผู้บริหารมากไปกว่าอํานาจหน้าที่ที่มาพร้อมกับตําแหน่งทางการบริหาร ซึ่งอํานาจ หน้าที่นี้ต่างหากที่เป็นช่องทางให้ผู้บริหารมีพลังอํานาจขึ้นมาได้ แต่ผู้บริหารอาจลืมตระหนักไปว่า ความรู้ อํานาจ และภาษา เป็นมายาคติ ที่มีลักษณะผกผัน ทําให้มีสภาพกลับไปกลับมาระหว่าง ผู้กระทําและผู้ถูกกระทําได้ทุก เมื่อทุกยาม Abstract Having explicit knowledge, tacit knowledge and being competent in language use are necessary and increase the power of many people. This, however, may not be the case for administrators. In fact authority is a way to increase administrators’ power. Many administrators tend to ignore the fact that knowledge, power and languages are the mythologies which force the alternations between the agent and the object at all times.
  • 2. บทนา “ความรู้” “อํานาจ” และ “ภาษา” ทั้ง 3 สิ่งนี้มีความเกี่ยวพันเชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่น นั่นคือ เมื่อมี ความรู้ ภาษาจะเป็นเครื่องมือส่งผ่านให้เห็นอํานาจจากความรู้นั้นได้ ขณะเดียวกันภาษาและการใช้ภาษาก็อาจ เป็นตัวชี้วัดระดับความรู้ของผู้พูดหรือผู้เขียนนั้นได้เช่นกัน แต่หากบุคคลมีอํานาจอันมิได้เกิดจากความรู้และการใช้ ภาษาโดยตรง ก็อาจส่งผลให้ความรู้และการใช้ภาษาที่แสดงออกนั้นมีอํานาจขึ้นมาได้ ความรู้ อํานาจ และ ภาษาจึงเปรียบประดุจดังเงาของกันและกันซึ่งพร้อมและสามารถแปรผันหรือผกผันให้เป็นบวกหรือลบก็ได้หากเมื่อ ตําแหน่งแห่งที่ของทั้ง 3 สิ่งนี้เปลี่ยนไป ณ ตําแหน่งหนึ่ง ความรู้ อํานาจและภาษาที่บุคคลครอบครองอยู่อาจดูไร้ ค่า ไร้คนแยแส ในทางกลับกัน ณ ตําแหน่งหนึ่ง 3 สิ่งนี้กลับขึ้นแท่นอันทรงเกียรติและก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติได้ ในทันที โดยเฉพาะเมื่อตําแหน่งแห่งที่นั้นตกเป็นของฝ่ายผู้บริหาร และนี่คือความจริงของมายาคติที่เกิดขึ้นกับ ความรู้ อํานาจและภาษา ความรู้ วิจารณ์ พานิช (2547 : 7) ได้กล่าวถึงความรู้และแบ่งความรู้ออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันดังนี้ ความรู้ยุคที่1 เริ่มเมื่อ 500-600 ปีก่อน เมื่อเริ่มมีแท่นพิมพ์ ทาให้สามารถตีพิมพ์ความรู้ออกเผยแพร่ได้ อย่างกว้างขวาง ความรู้เหล่านี้มักสร้างโดยนักวิชาการ เป็นความรู้ที่เน้นเหตุ-ผล พิสูจน์ตามหลักวิชาการ เน้น ความรู้เฉพาะด้านหรือเฉพาะสาขา อยู่ในรูปของความรู้ที่เข้ารหัสเป็นตัวหนังสือ รูปภาพ แผนผัง หรือในรูปของ รหัสทางอิเล็กทรอนิกส์ เรียกว่า Explicit knowledge หรือ Codified knowledge (วิจารณ์ พานิช เรียก ความรู้ ประเภทนี้ว่า ความรู้ในกระดาษ หรือความรู้ชัดแจ้ง) ความรู้ยุคที่ 2 เป็นความรู้ที่มีอยู่ในผู้ปฏิบัติ เกิดจากประสบการณ์ตรง พิสูจน์ได้จากการที่งานประสบ ผลสาเร็จ ยิ่งถ้าผลงานสูงส่งยอดเยี่ยม ยิ่งแสดงว่ามีความรู้พิเศษ เป็นความรู้ที่แนบแน่นอยู่กับงาน และอยู่ในคน หรือกลุ่มคนร่วมกัน เป็นความรู้บูรณาการ ไม่จาแนกเป็นสาขาวิชา เรียกความรู้ชนิดนี้ว่า ความรู้ในคน หรือ Tacit knowledge ที่จริงความรู้ยุคที่ 2 นี้ คือความรู้ยุคที่ 0 (ศูนย์) คือมนุษย์เราใช้ความรู้แบบนี้มาช้านานก่อนเกิดความรู้ใน ยุคที่ 1 จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์ ความเคยชินต่อความรู้ยุคที่ 1 ทาให้มนุษย์ละเลยความรู้ยุคที่ 0 ไป จนเพิ่งมาค้นพบใหม่เมื่อประมาณ 15 ปีมานี้ การมีความรู้และประสบการณ์จึงเปิดโอกาสให้ผู้คนได้ทําประโยชน์ทั้งเพื่อตนเองและเพื่อส่วนรวม ในยุค โบราณนั้น นักปราชญ์ผู้แสวงหาคําตอบของคําถามที่ผุดขึ้นมาในความคิดของพวกเขาอย่างไม่ขาดสาย ต่างได้รับ ความศรัทธา เชิดชูเกียรติ ทั้งในขณะเวลาที่พวกเขามีชีวิตอยู่หรือหลังจากที่เสียชีวิตแล้ว หรือเหล่านักวิทยาศาสตร์ ที่ค้นพบและประดิษฐ์สิ่งต่างๆเพื่อประโยชน์ของสังคมมนุษย์โลกก็ได้รับการบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์เช่นกัน โดยปริยายแล้ว คนที่ศึกษาศาสตร์ด้านใดหรือชํานาญการทางด้านใดมักมีความชอบธรรมในการปฏิบัติหรือเอ่ยถึง ด้านนั้นๆ และอํานาจย่อมติดตามมา กล่าวคือความรู้ในศาสตร์ต่างๆไม่ได้เป็นเพียงแค่แหล่งความรู้ในเรื่องนั้นแต่แท้จริงแล้วเป็นตัวกําหนด อํานาจแฝงเร้นและความสัมพันธ์ต่างๆในสังคมด้วย เช่นศาสตร์การแพทย์เป็นตัวกําหนดให้มีผู้ที่มีความรู้ดีในเรื่อง สุขภาพที่จะสามารถประกอบอาชีพแพทย์ได้ และกําหนดให้เป็นผู้ที่มีอํานาจมากกว่าผู้อื่นในเรื่องนี้ (วิโรจน์ อรุณ มานะกุล,2547 : 11)
  • 3. สังคมไทยสมัยก่อนผู้ชายเท่านั้นที่ได้เรียนหนังสือโดยการบวชเรียน ผู้หญิงไม่มีสิทธิ์ได้เรียนหนังสือ การมี ความรู้จากการเรียนหนังสือจึงมีข้อได้เปรียบมากมาย เพราะการได้เรียนหนังสือย่อมทําให้สามารถอ่านออกเขียน ได้ เมื่ออ่านออกเขียนได้ นั่นย่อมเป็นเครื่องมือที่จะนําพาไปสู่โลกแห่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งมีโอกาสติดต่อสื่อสารมาก ขึ้น ผู้ชายมีบทบาทแทบทุกเรื่องมากกว่าผู้หญิง ดังนั้นผู้ชายอันหมายรวมถึงผู้รู้หนังสือจึงมีอํานาจแห่งการกดขี่เพื่อ กีดกันความเป็นใหญ่ของผู้หญิง เรื่องราวของอําแดงเหมือนจึงเป็นตัวอย่างที่ช่วยยืนยันถึงผลของการรู้หนังสือของ ผู้หญิง นั่นคืออําแดงเหมือนสามารถเขียนฎีกาทูลเกล้าฯถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ซึ่งปรากฏในประกาศพระราชบัญญัติลักษณะลักพา พ.ศ.2408 (ดู ธม ธาตรีและจันนิภา, 2521 : 199-201) และ ได้รับชัยชนะในที่สุด ตัวอย่างของความหายนะอันมีสาเหตุจากการไม่รู้หนังสือที่เกิดขึ้นในระดับกลุ่มคนนั้นเห็นได้จากเรื่องราว ทางประวัติศาสตร์ของชาวอินคา ชาวอินคาซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของจักรพรรดิอะตาอวลปา ต้องพบกับความ หายนะอันใหญ่หลวง ด้วยความที่ชาวอินคาไม่มีภาษาเขียนจึงไม่สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารใดๆได้ จะรู้ก็เพียง ลักษณะปากต่อปาก ที่สําคัญกว่านั้น ในเขตโลกใหม่ 1 นั้นผู้ที่เขียนหนังสือเป็น จํากัดอยู่เฉพาะผู้นํากลุ่มเล็กๆ แต่ จักรพรรดิอะตาอวลปาไม่ได้เป็นหนึ่งในนั้น ! อะตาอวลปาที่แวดล้อมด้วยทหารและข้าราชบริพาร 80,000 คน กลับต้องพ่ายแพ้ทหารชาวสเปนชั้นเลว เพียง 168 นายที่นําโดยฟรานซิสโก ปิซาร์โร 2 และท้ายที่สุด หลังจากได้ค่าไถ่ตัวที่เป็นทองคําเต็มห้อง ปิซาร์โรก็ ตระบัดสัตย์ที่ตนให้ไว้แก่อะตาอวลปาว่าจะปล่อยตัวพระองค์โดยการสังหารพระองค์เสีย ปัจจัยหนึ่งที่นอกเหนือจากการไม่รู้หนังสือของจักรพรรดิอะตาอวลปา แต่อาจเป็นผลพวงจากการไม่รู้ หนังสือคือการไม่มีข้อมูลหรือประสบการณ์เกี่ยวกับประเทศและประชาชนชาวสเปนเลย อันที่จริงปิซาร์โรเองก็ไม่รู้ หนังสือ(คือไม่มีความรู้ในกระดาษ) เช่นเดียวกับจักรพรรดิอะตาอวลปา แต่เขากลับได้เปรียบจักรพรรดิอะตาอวล ปา เพราะเขาอาศัยอยู่ในสังคมที่มีวัฒนธรรมการอ่านการเขียน หนังสือเท่าที่เผยแพร่อยู่ในยุโรปช่วยให้ชาวสเปนรู้ เรื่องประวัติศาสตร์ยุโรปเมื่อหลายพันปีก่อน และเรื่องราวเกี่ยวกับอารยธรรมร่วมสมัยหลายวัฒนธรรม(จาเร็ด ได มอนด์, 2547 :97)และด้วยเหตุนี้ปิซาร์โรจึงอาศัยประโยชน์จากการนี้โดยการนํายุทธวิธีการซุ่มโจมตีของคอร์เตช 3 มาใช้กับอะตาอวลปา (จาเร็ด ไดมอนด์, 2547 : 97) เราคงสรุปไม่ได้ว่าไอคิวของชาวอินคาตํ่ากว่าชาวสเปน แต่สิ่งที่ทําให้ชาวสเปนเหนือกว่าก็เพราะการรู้ และมีข้อมูลที่มากกว่า มีประสบการณ์ที่มากกว่า ประสบการณ์ในที่นี้ไม่จําเป็นต้องเกิดคู่กับมโนธรรม หรือการมี วัฒนธรรมการรู้หนังสือก็อาจเป็นเชิงการรู้เหลี่ยมรู้คมเพื่อการเอาเปรียบ ไม่เช่นนั้นทหารสเปน 168 คน คงไม่ถึงกับ 1 โลกใหม่ หมายถึงทวีปอเมเริกาในปัจจุบัน 2 ฟรานซิสโก ปิซาร์โร (Francisco Pizarro) เป็นชาวสเปนซึ่งมีชีวิตระหว่างปีค.ศ.1475 – 1541 เป็นลูกพี่ลูกน้อง กับแม่ของคอร์เตส ปิซาร์โรเป็นหนึ่งในชาวสเปนที่ไม่ได้เรียนหนังสือ เขาพิชิตจักรวรรดิอินคาแห่งเปรูในปี ค.ศ. 1532 3 เฮอร์นัน คอร์เตส(Hernán Cortés) เป็นชาวสเปนซึ่งมีชีวิตระหว่างปีค.ศ.1485 – 1547 คอร์เตส ได้รับการศึกษา ในระดับมหาวิทยาลัย เขาพิชิตจักรวรรดิอัซเต็ก แห่งเม็กซิโกในปี ค.ศ. 1521 และได้บันทึกเหตุการณ์การสู้รบของ ตนในครั้งนั้นด้วย
  • 4. ต้องฆ่าชาวอินคาจํานวน 7,000 คน เหมือนผักปลาโดยที่ฝ่ายทหารสเปนไม่ต้องเสียเลือดเนื้อของฝ่ายตนแม้แต่คน เดียว โดยสรุปวัฒนธรรมการรู้หนังสือทําให้ชาวสเปนมีองค์ความรู้ เกี่ยวกับพฤติกรรมและประวัติศาสตร์มนุษย์ เป็นอย่างดี แต่ในทางตรงกันข้ามไม่เพียงแต่อะตาอวลปาจะไม่รู้เรื่องราวใดๆเกี่ยวกับคนสเปนเท่านั้น แต่ยังไม่เคย รับรู้หรือเคยได้ยิน(หรืออ่าน) เรื่องราวเกี่ยวกับการรุกรานใดๆของผู้คนจากโพ้นทะเลมาก่อนเลย ความรู้และ ประสบการณ์ที่สั่งสมมานี้เองที่ช่วยให้ปิซาร์โรวางแผนจับตัวอะตาอวลปาได้สําเร็จ ในขณะที่อะตาอวลปาก็ตก หลุมพรางที่วางไว้อย่างง่ายดาย(จาเร็ด ไดมอนด์, 2547 : 97) นี่เป็นเพราะผลแห่งการไม่พบพานพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งมีความหลากหลายโดยแท้เทียว สําหรับในประเทศไทย ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายระดับประเทศ คือเหตุการณ์ ร.ศ.112 ซึ่งแม้ว่าในสมัยนั้นได้มีการส่งนักเรียนไปศึกษาวิชาทหารในยุโรปก็ตาม แต่ปัจจัยหนึ่งที่ วิลาส นิรันดร์สุขศิริ (ศิลปวัฒนธรรม, 2548, เว็บไซต์)ได้สรุปประเด็นว่า เหตุที่สยามต้องสูญเสียดินแดนให้กับประเทศฝรั่งเศสนั้น คือ ความไม่ชํ่าชองในวิธีการทูตและการใช้ภาษาของฝ่ายสยามซึ่งย่อมหมายถึงความรู้และประสบการณ์ด้านภาษา ต่างประเทศนั่นเอง รวมทั้งการขาดประสบการณ์และความชํานาญในการใช้อาวุธด้วย ดังข้อความต่อไปนี้ ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ผู้บันทึกหลายคนระบุไว้ว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งของสยาม คือวิธีการทูตที่ใช้ใน ครั้งนั้น ดังเช่นข้อความในโทรเลขที่มาร์คีส์แห่งดัฟเฟอริน๑๐ ส่งถึงเอิร์ลแห่งโรสเบอรี ลงวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ความว่า "ผมสังเกตเห็นว่า ฝ่ายสยามขาดความช่าชองในการใช้ภาษาอันแยบยลทางการทูตอย่างชาวยุโรป" ข้อความนี้ตรงกับความเห็นของนายสมิธที่ว่า "ท่าทีและภาษาที่ฝ่ายสยามใช้ตอบข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสนั้น ปั้นปึ่ง ถือดีเกินขีดการแสดงออกถึงศักดิ์ศรีจนเกินไป และทาให้ฝ่ายศัตรูโกรธ" ส่วนนายเฮนรี นอร์แมน นั้นกล่าวไว้ใน หนังสือของเขาว่า ข้อเสียอย่างหนึ่งของฝ่ายสยามคือ "ความรู้สึกต่อต้านอิทธิพลของยุโรปในสยามที่รุนแรงเกินไป" เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว กองกาลังของสยามเป็นสิ่งที่มีบทบาทสาคัญอย่างยิ่ง ต่อวิกฤตการณ์ในครั้งนี้ด้วย หากมองในแง่อาวุธยุทโธปกรณ์อย่างเดียวแล้ว โอกาสที่สยามจะเป็นฝ่ายชนะฝรั่งเศส ในการต่อสู้ที่ปากน้ามีความเป็นไปได้ แต่ถ้ามองด้านความสามารถ และมองถึงการศึกระยะยาวแล้ว โอกาส ดังกล่าวมีไม่สูงนัก เราอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เหนือกว่าย่อมได้เปรียบกว่า และในด้านการบริหาร งาน ข้อได้เปรียบเหล่านี้จึงตกอยู่ในแวดวงของผู้บริหาร เพราะหลายครั้งที่เราพบว่าผู้บริหารไม่ได้แตกต่างจาก บุคลากรทั่วไปในแง่ของความรู้เลย แต่ผู้บริหารมีช่องทางของการรู้ข้อมูลมากกว่า, เข้าถึงข้อมูลได้ก่อนกว่าหรือ แม้กระทั่งการสร้างกฎกติกาขึ้นมากันเองไม่ว่าจะเป็นระเบียบข้อบังคับใดๆ และมีโอกาสที่จะปิดบังซ่อนเร้นหรือ หน่วงเหนี่ยวเวลาการแจ้งข้อมูลบางอย่างได้ นอกเหนือจากความไม่แตกต่างจากบุคลากรทั่วไปในแง่ของความรู้ แล้ว สองฝ่ายนี้อาจไม่แตกต่างกันในแง่ของคุณสมบัติที่พึงประสงค์ เพราะคุณสมบัติที่ควรจะมีของผู้บริหาร อาทิ เรื่องภาวะความเป็นผู้นํา การมีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรมจริยธรรม เที่ยงธรรม โปร่งใส รับผิดรับชอบ รู้กฎระเบียบต่างๆ ฯลฯ นั้น หากเมื่อสํารวจแล้วเราจะพบผู้บริหารแบบนี้สักกี่ราย อย่างไรก็ตามแม้ว่าผู้บริหารบางคนมีประสบการณ์และความสามารถในการบริหารจัดการ(ซึ่งไม่สามารถ รับรองได้ว่าจะมีความรับผิดรับชอบ และรู้ผิดรู้ชั่วเสมอไป) แต่ด้วยค่านิยมของสังคมโดยเฉพาะค่านิยมของสังคม ผู้บริหารหน่วยงานราชการทั้งหลายที่มักให้นํ้าหนักของอํานาจและความเชื่อถือไปกับคํานําหน้าชื่อไม่ว่าจะเป็น คุณวุฒิ ยศศักดิ์หรือตําแหน่งทางวิชาการ ดังนั้นจึงอาจเกิดกรณีที่ผู้บริหารบางคนไขว่คว้าให้ได้มาซึ่งคุณวุฒิ ทางการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตแม้ว่าจะเรียนเพียง 1 เดือนก็ตาม ทั้งนี้เพียงเพื่อว่าคุณวุฒินั้นจะสามารถยกระดับ
  • 5. ฐานอํานาจตนเองและให้ผู้คนยอมรับ ส่วนจะมีความรู้ทางด้านที่เรียนมาโดยแท้จริงหรือไม่นั้นไม่สําคัญ เพราะ ตราบใดที่ยังไม่มีใคร “รู้ทัน” กับการได้มาของความรู้จอมปลอมนั้น ผู้บริหารคนนั้นก็ยังคงอาศัย “คุณวุฒิ” สร้าง ฐานอํานาจได้ต่อไป ถึงกระนั้นก็ตาม หากจะมีใครสักคน “รู้ทัน” ก็ไม่แน่ใจว่าอํานาจของผู้บริหารจะลดลงไปหรือ ไม่ เพราะตําแหน่งทางการบริหารดูจะเป็นเกราะป้ องกันและมีอํานาจที่เหนือกว่า ความเชื่อที่ว่าความรู้จากการรํ่าเรียนศึกษาสามารถสร้างอํานาจแห่งความรู้นั้นๆได้นั้น สําหรับตําแหน่ง ทางการบริหารแล้วอาจไม่มีความจําเป็นเสมอไป ไม่เช่นนั้นคงไม่มีกรณีการซื้อปริญญาของผู้บริหารเกิดขึ้นเป็นแน่ แท้ อานาจ ผู้มีความรู้หรือผู้รู้ข้อมูล(ผู้มีประสบการณ์) โดยทั่วไปย่อมมีอํานาจและมีอิทธิพลต่อผู้อื่น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้มีความรู้หรือผู้รู้ข้อมูลไม่ใช่คําตอบสุดท้ายของการมีอํานาจ ทุกวันนี้นักวิชาการผู้มีความรู้และมีข้อมูลยังต้องพ่าย แพ้ต่ออํานาจที่เกิดจากตําแหน่งบริหาร อํานาจจากความรู้กับอํานาจจากตําแหน่งบริหารแตกต่างกันอย่างไร ประชุม โพธิกุล (กระทรวงศึกษาธิการ, 2549, เว็บไซต์) ได้กล่าวถึงคํา 2 คํา คือ อํานาจหน้าที่ (Authority) กับ อํานาจ (Power) โดยแยกความหมายของ 2 คํานี้ออกมาในรูปของตารางและอธิบายรายละเอียด นอกตาราง ซึ่งสรุปรวมดังนี้ พื้นฐานของคานิยาม อานาจหน้าที่ (Authority) อานาจ (Power) คานิยาม สิทธิ มีสิทธิที่จะขอร้องให้ใครทําบางสิ่งบางอย่างให้ ความสามารถ ความสามารถที่จะใช้คนอื่นให้ทําอะไร แหล่งที่มา ตาแหน่ง เกิดจากตําแหน่งที่ครองอยู่ ลักษณะของปัจเจกบุคคล เกิดจากลักษณะเฉพาะของบุคคล เป้ าหมาย ผลประโยชน์ของส่วนรวม ทําเพื่อส่วนรวม ผลประโยชน์ของบุคคลหรือส่วนรวม อาจเพื่อส่วนตัวหรือส่วนรวม ผู้ใช้ ผู้บริหาร เกี่ยวกับการบริหาร ผู้นา เกี่ยวกับภาวะผู้นํา วิธีการเชิงพฤติกรรม การยินยอม การยอมให้การเชื่อฟัง ผู้บริหารมีสิทธิที่จะกําหนดขอบเขตพฤติกรรมของ ผู้ร่วมงานตามที่กฎหมายระบุไว้ การพึ่งพา ผู้นําไม่มีสิทธิทางกฎหมายแต่สามารถทําให้ บุคคลอื่นกระทําตามได้ ส่วนวิโรจน์ อรุณมานะกุล(2547 : 10-11)ได้กล่าวถึงความหมายของอํานาจไว้ 3 ประการด้วยกัน 1. สิทธิความชอบธรรมที่จะทําสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (Official right) 2. ความสามารถที่จะทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นได้ (Ability)
  • 6. 3. ความสามารถที่ฝ่ายหนึ่งสามารถทําให้อีกฝ่ายทําในสิ่งที่ตนต้องการได้ไม่ว่าจะเต็มใจหรือไม่ (Control) เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่าความหมายแรกนั้นหมายถึงอํานาจหน้าที่ (Authority) ส่วนความหมาย ที่ 2 และ 3 หมายถึงอํานาจ (Power) นั่นเอง ตัวอย่างของความแตกต่างระหว่างอํานาจหน้าที่กับอํานาจ เช่น ผู้ที่ มีความรู้ความสามารถด้านการแพทย์ซึ่งถือเป็นอํานาจจากความรู้แต่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะย่อมไม่มีอํานาจ หน้าที่ในการรักษาคนไข้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ตําแหน่งของผู้บริหารมาพร้อมกับอํานาจหน้าที่และผู้บริหารมักอาศัยอํานาจหน้าที่ที่ตนครองอยู่มาสร้าง ฐานอํานาจให้กับตนเอง ดังนั้นผู้บริหารส่วนใหญ่จึงมีทั้งอํานาจหน้าที่และอํานาจในการบริหาร (ยกเว้นบางกรณีที่ ผู้บริหารมีอํานาจหน้าที่แต่ไม่มีอํานาจ) เมื่อมีอํานาจแล้วย่อมแผ่อํานาจในการสร้างพวกพ้องของตนได้ ประเด็นที่ น่าสนใจคือพวกพ้องที่อยู่ในรูปของคณะกรรมการบริหาร การบริหารงานในรูปของคณะกรรมการนั้นดูเหมือนว่าเป็นการสร้างความชอบธรรมภายในองค์กร แสดง ถึงการกระจายอํานาจและมีภาพลักษณ์ของการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานรวมถึงการร่วมกันรับผิดชอบที่สามารถ ตรวจสอบได้เพราะคณะกรรมการบริหารนั้นประกอบไปด้วยตัวแทนจากฝ่ายต่างๆ อย่างไรก็ตามในวาระการ ประชุมแต่ละครั้งมักมีผู้นําเกม ให้เกมไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง และผู้บริหารสูงสุดมักได้สิทธิแห่งอํานาจนั้น ในขณะที่มติที่ออกมากลับเป็นมติของที่ประชุมคณะกรรมการ กร ทัพพะรังสี( ผู้จัดการออนไลน์, 2549, เว็บไซต์) ซึ่งเคยดํารงตําแหน่งรองนายกรัฐมนตรีและผ่านการ “คลุกวงใน” ในรูปของคณะกรรมการบริหารได้พูดเกี่ยวกับวาระการประชุมคณะรัฐมนตรีดังนี้ ตนเห็นว่า นายกฯ ทักษิณ จะมีนโยบายของตนเอง มีนโยบายของตนเองในเรื่องต่างๆ ที่ไม่อยู่ในแฟ้ ม วาระ แต่ในที่สุดแล้วนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการฯ ครม. ก็จะสรุปเรื่องออกมาว่า ถือเป็นมติของ คณะรัฐมนตรี เมื่อออกจากที่ประชุมครม. ก็ถือว่าคณะรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว ก็ต้องนาไปปฏิบัติ คือ มันเป็น นโยบาย แต่เริ่มต้นออกจากตัวนายกฯ ทักษิณ ซึ่งลงรายละเอียดสูงมาก กรกล่าวว่า นายกฯ ทักษิณไม่ได้ดูความถนัดของรัฐมนตรีเป็นตัวตั้งว่า จะให้เขาอยู่ที่ไหน อยู่กระทรวง ไหน เพราะยังไง นายกฯ ทักษิณก็จะเป็นผู้มอบนโยบายอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ฉันจะเอาเธอไปนั่งอยู่ที่ไหน เธอก็อยู่ แล้วกัน พูดง่ายๆ ว่า เอาคนที่สามารถจะทาตามที่ตนเองมอบนโยบายได้เป็นหลัก นายกฯทักษิณรู้จักทุกคนว่า ถนัดตรงไหน-ไม่ได้ถนัดตรงนี้ เช่นการนาคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ไปอยู่กระทรวงเกษตรฯ ตนก็ถามว่าทาไม เอาไปอยู่กระทรวงเกษตรฯ ดูไม่ค่อยตรงเลย แต่เหตุผลที่ได้รับก็คือว่า “มันเป็นเรื่องของการเมือง” อย่างนี้ก็ต้อง หยุดถาม และในความเป็นนักการเมือง นายกฯ ทักษิณก็มีคนที่ไว้ใจ คนที่สบตาแล้วสนิทใจ แล้วคนพวกนี้ก็เป็น คณะรัฐมนตรีอยู่รอบๆ ตลอด แต่ไม่จาเป็นว่าจะต้องอยู่กระทรวงไหน เพราะการไปอยู่กระทรวงตามความถนัดของ คนพวกนี้ไม่ใช่ประเด็น คนที่นายกฯทักษิณสนิทด้วยมากๆ เคยบอกตนว่า “อันนี้ผมก็ไม่ถนัดนะ นายให้มาอยู่นี้ผม ก็อยู่” พูดง่ายๆ ว่า นายกฯ ทักษิณสนิทใจใคร ก็จะให้อยู่รับใช้ อยู่ในแวดวงของคณะรัฐมนตรีตลอดโดยไม่เกี่ยวกับ ว่าคนนี้ถนัดกระทรวงไหน นอกจากนี้ผู้บริหารมักใช้อํานาจมาพิจารณาตัดสินวาระการประชุมเรื่องต่างๆในลักษณะที่หาเหตุผล เสมอต้นเสมอปลายไม่ได้หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการยึดหลักสองมาตรฐาน การยึดหลักสองมาตรฐานหรือการ เลือกปฏิบัติอันมีเหตุแห่งความอคตินี้ เป็นสิทธิส่วนบุคคลที่ใครๆสามารถถือสิทธินี้ได้ แต่ตราบใดที่อยู่ภายใต้ นโยบายเพื่อส่วนรวม การเลือกปฏิบัติดูเป็นกลที่แยบยล แต่ปราศจากความสง่างาม
  • 7. การปิดบังข้อมูลข่าวสารถือเป็นการเลือกปฏิบัติอย่างหนึ่ง แม้ว่าปัจจุบันเป็นยุคข้อมูลข่าวสารและมี กระบวนการตรวจสอบแต่เราอาจพบว่าการปิดบังซ่อนเร้นข้อมูลบางอย่างยังมีอํานาจหรือนํามาซึ่งการดํารงเรื่อง อํานาจของคณะกรรมการบริหาร เราอาจพบเห็นบางหน่วยงานที่คณะกรรมการบริหารได้ปิดบังซ่อนเร้นข้อมูล บางอย่างอันมีสาเหตุมาจาก ความไม่โปร่งใส ขาดหลักการและหลักเกณฑ์ที่สมเหตุสมผล เช่นกรณีการพิจารณา ความดีความชอบ, เกณฑ์การคัดเลือกบุคคลเข้าทํางานหรือการจัดสรรงบประมาณต่างๆ ตัวอย่างข้างต้นนี้เป็นข้อมูลสนับสนุนให้เห็นถึงการใช้อํานาจที่มีนโยบายกับการปฏิบัติเป็นไปในลักษณะ สวนทางกัน เช่น นโยบาย : กระจายอํานาจและการมีส่วนร่วม ≠ ปฏิบัติ : รวมศูนย์และเผด็จการ นโยบาย : เสมอภาคและเสมอต้นเสมอปลาย ≠ ปฏิบัติ : เลือกปฏิบัติ นโยบาย : ตรวจสอบได้ ≠ ปฏิบัติ : ปิดบังช่องทางและปิดโอกาสการตรวจสอบ วัฒนธรรมการใช้อํานาจโดยอาศัยอํานาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการอันมิชอบของผู้บริหารเช่นนี้มีให้เห็นอยู่ ทั่วไปและหลายคนคงได้สัมผัสโดยไม่มีความจําเป็นต้องหาข้อมูลทางสถิติมาสนับสนุน ในส่วนของผู้บริหารเอง อาจไม่ได้ตระหนักว่า ตําแหน่งและอํานาจที่ตนครองอยู่นั้นก็ไม่ได้จงรักภักดีเสมอไป สักวันหนึ่งอํานาจที่ใช้อยู่นั้น อาจกลายเป็นอาวุธที่กลับมาทิ่มแทงตนและพวกพ้องก็เป็นได้ ดังที่ มิแช็ล ฟูโกต์(2547 : 23)กล่าวว่า อานาจกลายเป็นเหมือน “โครงสร้าง” อย่างหนึ่งที่เปิดประตูให้ผู้คนอันหลากหลายเข้าไป “สวมบทบาท” เป็นผู้กระทาและผู้ถูกกระทาวนเวียนสลับกันไป ภาษา ภาษาจัดเป็นเครื่องมือที่สามารถชุบชีวิตคนหรือทําลายล้างคนให้ย่อยยับไปได้ ทั้งนี้มิได้หมายถึงตัว ภาษาเอง แต่หมายถึงผู้คนหรือสังคมที่เป็นผู้ใช้ภาษาและกําหนดภาษาต่างหาก ที่กําหนดว่าถ้อยคําใดมี ความหมายดีหรือความหมายเลว ภาษาใดเป็นภาษาสูง(High Variety) หรือภาษาใดเป็นภาษาตํ่า(Low Variety) 4 ตัวอย่างยอดนิยมที่คนกล่าวถึงอยู่เสมอ ที่นางเอกได้ดีเพราะภาษา คือเรื่อง My Fair Lady (wikipedia,2006, website) ในเนื้อเรื่อง เอไลซ่า เป็นหญิงสาวที่พักอาศัยอยู่ในย่านคนจนกลางกรุงลอนดอนที่พูด ภาษาอังกฤษสําเนียงคอกนีย์(Cockney) ซึ่งถือว่าเป็นสําเนียงของคนชั้นตํ่า เมื่อศาสตราจารย์เฮนรี่ ฮิกกินส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกเสียงไปพบและพาเธอไปฝึกพูดภาษาอังกฤษสําเนียงมาตรฐาน (Received Pronunciation หรือ RP) จนคล่องแคล่วจึงทําให้เธอมีสถานะเป็นคุณผู้หญิง (Lady) ขึ้นมาทันที นี่คือตัวอย่างของ การเลือกใช้ภาษาแล้วมีผลทําให้สถานภาพทางสังคมของคนคนนั้นดีขึ้น ตัวอย่างที่ทําให้ชีวิตผู้คนอับปางเพราะภาษา เช่นในกรณีของประเทศเอลซัลวาดอร์ ในปีค.ศ.1932 ชาว พื้นเมืองอินเดียนเป็นพันๆคนถูกสังหาร ทําให้ชาวพื้นเมืองคนอื่นๆต้องหยุดพูดสื่อสารภาษาของตนเพื่อเอาชีวิตรอด ผลพวงนี้ทําให้ภาษาคาคาโอเปรา และภาษาเลนซากลายเป็นภาษาตาย และภาษาพิพิล5 ตกอยู่ในภาวะใกล้สาบ สูญ (Campbell, 1998 : 435) 4 ในภาษาศาสตร์เชิงสังคม ภาษาสูงหมายถึงภาษาที่ใช้ในวงราชการ, การศึกษา ส่วนภาษาตํ่า หมายถึง ภาษาที่ ใช้ ในครอบครัว,ในหมู่เพื่อนฝูงคนสนิท เป็นต้น (Richards, 1985 : 81) 5 ในปีค.ศ.1987 มีคนพูดภาษาพิพิล ประมาณ 20 คน (wikipedia,2006, website)
  • 8. อีกกรณีหนึ่งคือในยุคของการล่าอาณานิคม ชาวแอฟริกันจํานวนมากได้ตกเป็นทาสของกลุ่มประเทศ ตะวันตก เนื่องจากเหล่าทาสแอฟริกันนั้นมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และภาษา ประกอบกับนโยบายห้าม ไม่ให้เหล่าทาสที่พูดภาษาเดียวกันรวมกลุ่มกันเพื่อเป็นการป้ องกันการก่อกบฏ ทําให้เหล่าทาสจําเป็นต้องสื่อสาร กันโดยใช้คําศัพท์ของตนและใช้ไวยากรณ์ภาษาของนาย จึงกลายเป็นภาษาใหม่ขึ้นมาคือภาษาพิดจินและครีโอล แต่ทั้งสองภาษายังตกอยู่ในสถานภาพตํ่าอยู่ดี(ดู พรภัทร อมรศุภศาสตร์, 2539 : 48-52 และวิไลวรรณ ขนิษฐา นันท์, 2527 : 32-33) ในประเทศไทย ภาษาท้องถิ่นและภาษาชนกลุ่มน้อยก็ถูกจัดลําดับให้อยู่ในสถานภาพตํ่าเช่นกัน เช่น ภาษามลายู ซึ่ง นิธิ เอียวศรีวงศ์ (มติชน, 2548, เว็บไซต์)ได้กล่าวถึงไว้ว่า ภาษามลายูปัตตานีก็เหมือนภาษา โบราณอีกหลายภาษา นั่นคือขาดโอกาสที่จะพัฒนาเข้าสู่โลกสมัยใหม่ซึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ทัน ขณะที่ ภาษาไทยมาตรฐานเป็นภาษาที่คนไทยส่วนใหญ่เข้าใจ จึงทําหน้าที่เป็นภาษากลางของคนไทยทั้งชาติอีกด้วย ด้วย เหตุที่ภาษานี้ทําหน้าที่สําคัญทั้งหมด ใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด และยังเป็นที่ยอมรับว่าเป็นภาษาที่มีศักดิ์ศรี (prestige) จึงจัดไว้ในลําดับสูงสุด (อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ 2542 : 55) ตัวอย่างชาวพื้นเมืองอินเดียนที่รอดชีวิตได้เพราะสามารถหรือยอมพูดภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาของตน รวมทั้งตัวอย่างอื่นๆ คงทําให้เราเห็นประโยชน์ของการมีความรู้ความสามารถในการสื่อสารได้หลายๆภาษาแล้ว ดังนั้นผู้ที่มีความรู้ความสามารถดังกล่าวโดยเฉพาะในภาษาที่ได้รับการยอมรับในสังคมย่อมมีอํานาจในการต่อ รองสูง นอกจากนี้การมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษา คือมีวาทศิลป์ ทั้งการพูดและการเขียน ย่อมสามารถ เลือกใช้คําได้อย่างเหมาะสม และโน้มน้าวใจผู้คนได้เช่นกัน อย่างไรก็ตามในบางกรณีผู้บริหารสามารถพูดโดยไม่จําเป็นต้องใช้วาทศิลป์ ไม่จําเป็นต้องใช้ถ้อยคําที่ แสดงพลัง 6 ก็สามารถมีผลในทางปฏิบัติได้ ดังตัวอย่างที่ผู้บริหารพูดกับคนสวนของหน่วยงานในประโยคต่อไปนี้ “เที่ยงวันนี้ฉันอยากกินก๋วยเตี๋ยวผัดไทย” ประโยคข้างต้นไม่มีถ้อยคําที่แสดงเป็นคําสั่งแม้แต่น้อย แต่กลับมีนัยของคําสั่งและคนสวนเข้าใจนัยนั้นพร้อมนําไป ปฏิบัติ ส่วนคนสวนจะรู้ว่านัยจากถ้อยคํานั้นเกี่ยวข้องกับอานาจหน้าที่ของผู้บริหารหรือไม่ ไม่ใช่สาระ สําคัญ สําคัญที่เขารู้ว่าผู้บริหารมีอานาจที่จะหาทางใช้อํานาจหน้าที่พิจารณาผลงานของเขา หากเขาไม่นํานัยนั้น ไปปฏิบัติ ในทางกลับกันการใช้ถ้อยคําที่เป็นพลังแต่ไม่มีผลในทางปฏิบัติ ดังเช่นคนสวนสั่งผู้บริหารว่า “ผมสั่งให้คุณไปชงกาแฟและไปซื้อข้าวกลางวันให้ผมเดี๋ยวนี้” ประโยคเช่นนี้จะมีผลในทางปฏิบัติได้คงมีให้เห็นในภาพยนตร์ตลกเท่านั้น และหากวันหนึ่งวันใดผู้บริหารคนนั้น หมดวาระทางการบริหาร คําพูดที่เคยส่งผลในทางปฏิบัติอาจไม่มีค่าใดๆเลยย่อมเป็นได้ ตัวอย่างอีกลักษณะหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าถ้อยคํา 2 ประโยคที่ดูเหมือนมีความแตกต่างกันในแง่ของการ ตีความหมายแต่สุดท้ายกลับสื่อความหมายบางอย่างที่ไม่แตกต่างกันเลย ซึ่งมิแช็ล ฟูโกต์ ( 2547 : 11-12)ได้ ยกตัวอย่างประเด็นของ “โสเภณี” ดังนี้ องค์กรสตรีแห่งหนึ่งประกาศว่า “ที่นี่ไม่ต้อนรับโสเภณี” ขณะที่องค์กรสตรีอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า “ที่นี่ เรา ต้อนรับทุกคนแม้แต่โสเภณี” ในแง่เนื้อหาของคาพูด เราอาจจะเห็นว่าองค์กรหลังมีความเป็นเสรีนิยมและเคารพ 6 ในวจนปฏิบัติศาสตร์เรียกถ้อยคําที่แสดงพลังว่า พลังวจนปฏิบัติศาสตร์ (Illocutionary Force) หมายถึงถ้อยคําที่ มีคําบ่งการกระทําปรากฏ เช่น ผมขอสั่งให้คุณนํารถยนต์ของบริษัทไปตรวจสภาพในวันพรุ่งนี้ หรือ ดิฉันขอประกาศลาออกจากตําแหน่งประธานกรรมการบริหารของบริษัทนับแต่วันนี้เป็นต้นไป
  • 9. สิทธิมนุษยชนมากกว่าองค์กรแรก ทว่าการใช้คาว่า “แม้แต่” ก็แสดงถึงการยอมรับทั้งๆที่ถือว่าไม่คู่ควร คาพูดทั้ง สองที่ขัดแย้งกันในระดับพื้นผิวจึง “แชร์” วาทกรรมเดียวกันเกี่ยวกับโสเภณีเมื่อพิจารณาในระดับลึก นั่นคือ “โสเภณีเป็นผู้หญิงไม่ดี” ดังนั้นหากผู้บริหารจะให้เหตุผลของการไม่รับบุคคลใดบุคคลหนึ่งเข้าร่วมทีมบริหารด้วยคําพูดที่ว่า “คุณ มีความรู้ความสามารถด้านวิจัยเป็นอย่างดี จึงควรทุ่มเทเวลาให้กับงานวิจัยมากกว่า” ซึ่งดูเหมือนว่าถ้อยคํานี้ แสดงให้เห็นถึงความปรารถนาดีและเอื้ออาทรของผู้พูด แต่แท้จริงแล้วอาจมีความหมายเช่นเดียวกับ “ฉันไม่ ต้องการให้คุณเข้าร่วมทํางานกับฉัน เพราะแนวคิดของคุณกับฉันไม่ตรงกัน” แม้ว่าตําแหน่งทางการบริหารทําให้ผู้บริหารมีอํานาจในการพูด แต่ถ้อยคําที่ผู้บริหารคิดว่าน่าจะทําให้ อํานาจ ,ฐานอํานาจรวมถึงภาพลักษณ์ของการเป็นผู้นําของตนลดลงไปกลับได้แก่คําว่า ขอโทษ, ขอรับผิด ดังที่ เปลวสีเงิน (ไทยโพสต์,2547, เว็บไซต์)พูดถึงคํา “ขอโทษ” ไว้ว่า เพราะเหตุไรคาว่า "ขอโทษ" จึงกลายเป็น "คาต้องห้าม" ในหมู่ผู้นาทางการเมือง อันนี้ผมก็ไม่ทราบว่า มี "ธรรมนูญผู้นา" สาหรับรู้-สาหรับปฏิบัติเฉพาะตัวคนที่ขึ้นมากุมอานาจฝ่ายบริหารกิจการบ้านเมืองโดยเฉพาะ หรืออย่างไร? แต่เห็นเขาพูดกันว่าถ้า "ขอโทษ" ก็เท่ากับ "ยอมรับผิด" ในสิ่งที่เกิดขึ้น! ตรงนี้กระมัง คนเป็นผู้นา รัฐบาลจึงไม่ยอมเอ่ยคาว่าขอโทษ ถึงแม้ตัวเองจะเป็นผู้กาหนดแผน กาหนดนโยบาย และเป็นผู้ออกคาสั่งให้ปฏิบัติ จนเกิดเหตุนั้นๆ ขึ้นก็ตาม เช่นเดียวกับที่ผู้ช่วยศาตราจารย์ชิดชนก ราฮิมมูลา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี(อ้างถึงใน ศูนย์ข่าวอิศรา, 2549,เว็บไซต์) มองว่าคํา “ขอโทษ” ไม่เคยหลุดออกจากปากของผู้นํา คาขอโทษมีความสาคัญมาก เพราะการตัดสินใจในนโยบายที่ผิดพลาด แล้วยอมรับว่าทาผิดพลาด ย่อม ดีกว่าทาผิดโดยไม่รู้สึกว่าตัวเองผิดด้วยซ้า ถ้า พ.ต.ท . ทักษิณ กล่าวขอโทษ ทุกคนก็พร้อมให้อภัย สาหรับการ สานึกผิด แต่ถ้ายังคิดว่าสิ่งต่างๆ นโยบายที่ได้ทาไปแล้วนั้น ตัวเองไม่ได้ทาอะไรผิดเลย ก็ย่อมจะได้รับการต่อต้าน อย่างที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ถ้ายังคงดื้อดึงไม่ขอโทษ ก็จะได้รับการปฏิเสธ ซึ่งต้นเหตุมาจากความเชื่อมั่นและไม่ อ่อนน้อม สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารที่มีอํานาจในการพูด, สั่งการและนําเกมในวาระการประชุม กลับขลาด เขลาและไม่ยอมกล่าวคํา “ขอโทษ” ในยามที่ตนรู้ว่าการกําหนดนโยบายและแผนงานที่เกิดจากตนนั้นเกิดข้อผิด พลาด หรือนี่เป็นเพราะผู้บริหารหวั่นเกรงว่า ฐานอํานาจที่ตนครอบครองนั้นจะสั่นคลอนและหลุดลอยไปในที่สุด มายาคติ : บทสรุปของความรู้ อานาจ และภาษา ทั้งความรู้ อํานาจและภาษา ต่างเป็นมายาคติทั้งสิ้น แต่เป็นมายาคติที่เราทั้งหลายต้องยอมรับเพราะนี่ คือสภาพจริงที่เกิดขึ้น สภาพจริงที่รู้ทั้งรู้ว่าทั้ง 3 สิ่งนั้นลื่นไหล ไม่มั่นคง วันนี้คุณมีความรู้ ณ สถานการณ์หนึ่ง ไฉน อีกวัน ณ สถานการณ์หนึ่ง ความรู้ของคุณไม่เป็นที่ยอมรับไปเสียแล้ว วันนี้คุณเป็นจักรพรรดิอะตาอวลปาผู้มี อํานาจเบ็ดเสร็จ อีกวันคุณกลายเป็นเชลยที่ไม่เหลืออํานาจหรือแม้กระทั่งชีวิตของตนเอง วันนี้ถ้อยคําคําสั่งของคุณ บ่งบอกถึงอํานาจ แต่อีกวันถ้อยคํานั้นอาจไม่ได้รับการแยแสจากใครเลย ข้อยืนยันนี้เชื่อมโยงกับคําพูดของ โรล็ องด์ บาร์ตส์ (2547 : 7)ที่พูดถึงมายาคติไว้ดังนี้ จริงหรือที่ว่าทุกอย่างกลายเป็นมายาคติได้หมดสิ้น ข้าพเจ้าเชื่ออย่างนั้น เพราะจักรวาลมีศักยภาพที่จะ กระตุ้นให้มนุษย์สร้างความหมายขึ้นมาได้อย่างไม่สิ้นสุด ทุกสิ่งในโลกนี้สามารถจะถูกสังคมเข้าไปล้วงควักออก
  • 10. จากที่ที่มันอยู่ของมันเงียบๆ แล้วทาให้มันกลายเป็นเหยื่อของวาทะได้ทั้งสิ้น ด้วยว่าไม่มีกฎธรรมชาติหรือระเบียบ ข้อใดที่ห้ามมนุษย์มิให้พูดถึงสิ่งต่างๆ ต้นไม้มันอาจจะอยู่ของมันดีๆ แต่ทันทีที่มันถูกมินู ดรูเอต์7 เอ่ยถึง มันก็เริ่มที่ จะไม่ใช่ต้นไม้ธรรมดาเสียแล้ว แต่กลายเป็นต้นไม้ที่ถูกประดับประดา ถูกปรับแปรเพื่อการบริโภค ถูกแต่งแต้มให้ ชวนเคลิบเคลิ้มด้วยความเป็นวรรณกรรม ความเป็นขบถ และจินตภาพ กล่าวสั้นๆคือ การใช้งานทางสังคมได้เข้า ไปสวมทับลงบนวัตถุสสารที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ ดังนั้น ความรู้ อํานาจ และภาษา ที่บุคคลใดได้ใช้เป็นเครื่องมือในยามอยู่ในตําแหน่งของผู้บริหารแล้ว ย่อมผกผันได้ตลอดเวลา ผู้บริหารจึงพึงสังวรต่อสภาพการเหล่านี้ หากนําอํานาจมาใช้อย่างหลงระเริงและใน แนวทางอันมิชอบอาจต้องเจ็บปวดเมื่อคราที่ตนต้องกลายเป็นฝ่ายถูกกระทําบ้าง และเหนืออื่นใด องค์กรหรือ ประเทศชาติต้องพลอยรับเคราะห์กรรมซึ่งเป็นผลแห่งการใช้อํานาจนี้ด้วย อย่างไรก็ตามยังมีเงื่อนไขหนึ่งที่น่าจะ สามารถเป็นตัวกําหนดมายาคติทั้งสามของผู้บริหารได้ นั่นคือ พลังมวลชน เพราะเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ มากมายเป็นข้อยืนยันได้ว่าพลังมวลชนสามารถคานอํานาจผู้บริหารได้ แต่หากผู้บริหารจะนํามายาคติเหล่านี้มา บริหารองค์กรภายใต้ปรัชญาเพื่อส่วนรวมมิใช่เพื่อตนเองและพวกพ้องแล้ว เราคงต้องยกย่องเชิดชูเกียรติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารที่เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทตามที่ได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการแก่ พสกนิกรชาวไทยว่า เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม 7 Minou Drouet เป็นเด็กหญิงอายุแปดขวบที่เขียนบทกวีตีพิมพ์เผยแพร่ กลายเป็นเรื่องโด่งดังไปทั่วประเทศในช่วง สมัยนั้น บทกวีหวานๆของเธอได้รับการชื่นชมด้วยรสนิยมแบบกระฎุมพีว่า มีความสดใสอันเกิดจากความเป็น “ธรรมชาติ” ของเด็ก (โรล็องด์ บาร์ตส์ , 2547 : 7)
  • 11. เอกสารอ้างอิง จาเร็ด ไดมอนด์ . 2547. ปืน เชื้อโรคและเหล็กกล้ากับชะตากรรมของสังคมมนุษย์. กรุงเทพฯ : โครงการ จัดพิมพ์คบไฟ. อรวรรณ คูหเจริญ นาวายุทธ แปล. ธม ธาตรีและจันนิภา(นามแฝง). 2521. อาแดงเหมือกับนายริด. กรุงเทพฯ :เจริญวิทย์การพิมพ์. นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2548. การเมืองเรื่องภาษา. มติชนรายวัน วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 28 ฉบับที่ 10033. บาร์ตส์, โรล็องด์ . 2547. มายาคติ Mythologies. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, วรรณพิมล อังคศิริสรรพ แปล. ประชุม โพธิกุล. 2549. ยุทธวิธีการใช้อานาจในองค์การอย่างมีประสิทธิผล. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก : http://www.moe.go.th/wijai/empower.htm. เปลวสีเงิน(นามแฝง). 2547. หลงทางที่ 'ท่าพระจันทร์'. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก : http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=9/Nov/2547&news_id=97656& cat_id=200. ผู้จัดการออนไลน์. 2549. เปิดเนื้อหา ‚รู้ทันทักษิณ 4‛ อดีตคนใกล้ชิดรุมลากไส้ ‚แม้ว‛. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก : http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9490000050896 พรภัทร อมรศุภศาสตร์. 2539.”พิดจิ้นและคลีโอล” ภาษาและวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2539) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. ฟูโกต์, มิแช็ล. 2547. ร่างกายใต้บงการ ปฐมบทแห่งอานาจในวิถีสมัยใหม่. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบ ไฟ. ทองกร โภคธรรม แปล. วิจาณ์ พานิช. 2547. “การจัดการความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคม”. ภาษา และวัฒนธรรม. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2547) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อ พัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล. วิโรจน์ อรุณมานะกุล.2547.“ภาษา อํานาจ และการเมือง” รู้ทันภาษารู้ทันการเมือง. กรุงเทพฯ : ฃอคิดด้วยฅน . วิลาส นิรันดร์สุขศิริ. 2548. ๑๑๒ ปีวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ สยามกาสรวล ฝรั่งเศสกาทรัพย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก : http://www.matichon.co.th/art/art.php?srctag=0601011048&srcday=2005/10/01&search=no. วิไลวรรณ ขนิษฐานันท์. 2527. ภาษาและภาษาศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ศูนย์ข่าวอิศรา. 2549. ‚ไฟใต้‛ ฤๅสายเกินไป ? …เมื่อ‘ผู้นา’ไม่ยอมรับความผิดพลาด . สืบค้นเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2549. จาก : http://www.tjanews.org/cms/index.php?option=com_content&task=view&id=671&Itemid=47. อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2542. ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Campbell, Lyle. 1998. “Language Death”. Concise Encyclopedia of Pragmatics. Great Britain. Richards J. C.and friends.1985. Dictionary of Applied Linguistics. Great Britain. Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Francisco Pizarro. Retrieved June 5, 2006. from :
  • 12. http://en.wikipedia.org/wiki/Francisco_Pizarro. Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Hernán Cortés. Retrieved June 5, 2006. from : http://en.wikipedia.org/wiki/Hern%C3%A1n_Cort%C3%A9s. Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. List of endangered languages. Retrieved June 5, 2006. from : http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_endangered_languages. Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. My Fair Lady. Retrieved June 5, 2006. from : http://en.wikipedia.org/wiki/My_Fair_Lady. Wikipedia, the free encyclopedia. 2006. Spanish conquest of Mexico. Retrieved June 5, 2006. from : http://en.wikipedia.org/wiki/Spanish_Conquest_of_Mexico.