SlideShare a Scribd company logo
1 of 30
Download to read offline
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง
ศูนยศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
ณัฐธิดา เย็นบารุง
อรุณ สถิตพงศ์สถาพร
ผู้ช่วยนักวิจัย
2
เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร
ระนองเป็นเมืองที่มีศักยภาพที่ชัดเจน มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบก ทางน้าที่อุดมสมบูรณ์ มี
น้าแร่ธรรมชาติ แต่ที่ผ่านมาขาดการประชาสัมพันธ์ และนาเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยว ทาให้ยังไม่เป็นที่
รู้จักมากนัก เมื่อช่องทางการสื่อสารได้เปิดกว้าง ทาให้การแบ่งปันข้อมูลมีมากขึ้น จุดเด่นด้านทรัพยากร
และทุนในพื้นที่ระนองจึงเป็นที่น่าสนใจ และทาให้ระนองกลายเมืองใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง
ปัจจุบันระนองเป็นเมืองที่มีความคึกคักและเป็นกระแสในสื่อ Social Media กลายเป็นหมุดหมาย
การท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศไทย บรรยากาศการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองในปี 2558 มี
นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวจานวน 880,989 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2557
กว่า 8 หมื่นคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 8.91% การที่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากการเกิดขึ้น
ของฟาร์มสเตย์ “บ้านไร่ไออรุณ” ในอาเภอกะเปอร์ และวิสาหกิจชุมชนกาแฟ ก้องวัลเลย์ในอาเภอ
กระบุรี
เมื่อได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของเมืองระนอง ทาให้เห็นว่าระนองเป็นเมืองที่มีทุนในเมืองสูง
มาก โดยเฉพาะทุนทรัพยากร ที่เกิดจากภูมิศาสตร์ของเมือง จากทุนเหล่านี้ทาให้เมืองระนอง ได้พัฒนา
เศรษฐกิจของเมืองบนฐานทรัพยากรเหล่านี้ เช่น การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ และการพัฒนาเป็น
เมืองท่องเที่ยวจากแหล่งทรัพยากร นอกจากนี้ ยังค้นพบทุนเรื่องอื่นๆ ของเมืองที่ผู้บริหารเมือง หรือ
ภาคประชาสังคมเมือง สามารถต่อยอดและพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองมานาเสนอในบทความด้วย
บทความนี้ได้แบ่งเนื้อหาของเป็น 4 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ
ตอนที่ 2 ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมือง
ตอนที่ 3 ระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจค้าชายแดน
ตอนที่ 3 ข้อท้าทายเมืองระนอง
ตอนที่ 4 ภาคผนวก
3
ตอนที่ 1
ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ
4
ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ
การปลูกกาแฟในเมืองระนอง
ในภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่มีการปลูกกาแฟมากที่สุด คือ ระนอง และชุมพร ส่วนใหญ่
เกษตรกรที่ปลูกนั้นเป็นคนอีสานที่อพยพย้ายมาทางานปลูกกาแฟที่ภาคใต้กันเป็นจานวนมาก ตั้งแต่
บริเวณที่ติดชายแดนพม่า ไล่เข้ามาถึงดินแดนตอนใน เข้าไปในป่าดงดิบ นับเป็นจานวนหลายแสน
ไร่ โดยมีคนใต้เป็นนายทุน แต่เมื่อมีการปลูกจานวนมาก และราคาตลาดโลกตกต่า ทาให้ราคากาแฟใน
ภาคใต้ตกลง
ทั้งระนอง และชุมชน เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) ราวร้อยละ 80 ของ
กาแฟที่ปลูกในประเทศ (อีกร้อยละ 20 คือกาแฟสายพันธุ์อราบิก้า (Arabica) ซึ่งปลูกกันในที่สูง
ภาคเหนือของไทย) พื้นที่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้นี้เป็นพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์และภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะ
กับการปลูกกาแฟโรบัสต้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร ที่กาแฟ
จะเติบโตได้ดี ซึ่งบริเวณที่ระนอง และชุมชน คล้ายๆ อเมริกาใต้ และแอฟริกา อันเป็นแหล่งปลูกกาแฟ
ของโลก
Gong Coffee แบรนด์กาแฟท้องถิ่นของเมืองระนอง
การพัฒนาเมือง ใช่ว่าจะต้องเกิดจากรัฐส่วนกลางหรือรัฐท้องถิ่นเท่านั้น แต่การพัฒนาเมือง
สามารถพัฒนาจากภาคส่วนอื่นๆ ของเมืองได้ เช่น กรณีการเกิดแบรนด์กาแฟ Gong coffee ในระนอง
โดยคุณก้อง” แห่ง “ก้อง วัลเลย์” ผู้เรียกตนเองว่า เกษตรกรอินดี้ เกษตรกรสมัยใหม่ ที่เป็นผู้นาในการใช้
กาแฟโรบัสต้าคั่วสดบดมือจากเมล็ดกาแฟแถบระนอง-ชุมพร ให้เป็นกาแฟโรบัสต้าพรีเมียม จากเดิมที่
กาแฟโรบัสต้าเป็นเพียงเมล็ดกาแฟราคาต่าที่ใช้ผลิตกาแฟซองเท่านั้น
ปัจจุบัน Gong Coffee ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เป็นวิสาหกิจชุมชนกาแฟ สามารถ
ขายกาแฟได้ ราวสิบตันต่อปี โดยมีตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนโรงคั่วกาแฟในนามก้อง วัลเลย์ ที่ อ.
กระบุรี จ.ระนอง มีผู้สนใจทั้งแนวคิดและกาแฟเข้ามาศึกษาดูงาน เยี่ยมชม มากมาย โดยเฉลี่ยปีละ
50,000 คน ซึ่งไม่เพียงช่วยจับจ่ายซื้อกาแฟคนระนอง แต่ยังแวะเวียนท่องเที่ยว จับจ่ายซื้อของ ในเมือง
เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเมืองระนอง
5
จุดเด่นกาแฟ : แนวคิดแบบ"ก้อง"
ส่วนใหญ่ผู้คนมักมีมายาคติถึงอาชีพเกษตรกรว่าเป็นอาชีพที่ไม่สามารถสร้างรายได้สูงและใช้
กาลังแรงกายมาก ทาให้คนรุ่นใหม่น้อยคนที่จะสืบทอดหรือประกอบอาชีพเกษตรกร แต่วิธีคิด
ของ "ก้อง" คือ เกษตรกรต้องกาหนดราคาเองได้ โดยไม่ขึ้นต่อราคาของนายทุน ที่สาคัญเกษตรกรต้อง
ไม่ใช่เพียงแค่คนผลิต แต่จะต้องทาทั้งกระบวนการ คือ เกษตรกรสามารถทาต่อให้ครบวงจรเองได้ ตั้งแต่
ปลูก คัดสรรผลผลิต เก็บเกี่ยว แปรรูป ทาบรรจุภัณฑ์ ทาตลาด ขายถึงมือผู้บริโภค ซึ่ง คือสิ่งที่ Gong
Coffee ทา ด้วยวิธีนี้ เกษตรกรสามารถสร้างทางเดินที่เป็นอิสระของตนเอง คู่ขนานไปกับนายทุนใหญ่
ได้
หลักการนี้ “ก้อง” บอกว่าทาได้ง่ายที่สุด เป็นเรื่องง่ายๆ คิดตามเหตุผลปกติ และที่สาคัญคือปรับ
ใช้ได้ทั่วไปไม่เฉพาะกับกาแฟ แต่จะเป็นสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ลองกอง ทุเรียน กล้วย หรือแม้แต่
“ของ” อะไรก็ได้ ที่ต้องการขายและขายให้ได้ราคาดี หัวใจสาคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบ
ความสาเร็จในยุคนี้คือ ทาสินค้าเน้นคุณภาพ ไม่ใช่เน้นที่ปริมาณ เจาะตลาดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทาสินค้า
ให้ดีได้ตามที่สัญญากับลูกค้า แล้วลูกค้าก็จะยอมจ่ายตามราคาที่เรากาหนดเอง โดยสรุป “เกษตรกร” ก็
สามารถเป็น “ผู้ประกอบการ” อย่างที่กล่าวมาได้เช่นกัน
ภาพที่ 1 ภาพกาแฟ Gong coffee
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนา
อนาคตของเมือง (2559)
6
แบรนด์ Gong coffee ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเมืองระนอง
ด้วยวิธิคิดแบบใหม่ เกษตรกรไม่จาเป็นต้องทาเองทุกส่วน เกษตรกรที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจเลือก
เข้ามาทาการเกษตร ในส่วนที่ตนถนัด เช่น การตลาดหรือมาร์เกตติ้ง คุณก้องเองนั้นก็ไม่ได้เป็นคนปลูก
กาแฟเอง ไม่ได้เป็นคนเก็บเกี่ยว แต่รับซื้อเมล็ดกาแฟ จากคนปลูกแถบละแวกบ้านคือระนอง-ชุมพร มา
คั่วเองด้วยกระทะธรรมดา บดด้วยเครื่องบดง่ายๆ
สาหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยนั้นไม่สามารถกาหนดราคาเองได้ ทาให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ
โรบัสต้าจึงขายกาแฟตามราคาที่นายทุน โดยาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งต่างชาติและไทยมักอ้างว่าราคาเป็นไป
ตามราคกาแฟในตลาดโลก คนปลูกกาแฟในแถบระนอง-ชุมพร ปลูกมาหลายสิบปียังต้องขายให้โรงงาน
ตามราคาที่แล้วแต่เขาจะให้อย่างเดิม ความเป็นอยู่ก็เท่าเดิมหรือปีไหนถูกอ้างว่าราคาตกต่า ราคารับซื้อ
ต่าลง นอกจากนี้ คนปลูกกาแฟแถบนี้ที่ปลูกเมล็ดดิบส่งบริษัทกาแฟเอาไปแปรรูปขายแก้วละเป็นร้อย
ไม่เคยมีใครเคยคั่วกาแฟของตนเอง ไม่เคยมีใครได้ลิ้มรสกาแฟคั่วสดของตน คนเหล่านี้ยังคงดื่มกาแฟ
ซองสาเร็จรูปราคาถูกจากโรงงาน ส่วนกาแฟคั่วสดที่ตัวเองปลูกกลับเป็นเรื่องของคนมีเงินในเมืองดื่ม
กัน
ก้อง จึงเข้าเปลี่ยนวิธีคิดเกษตรกรในเมืองระนองใหม่ โดยให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในระนองได้
กาหนดราคากาแฟของตัวเอง โดยสามารถกาหนดได้มากกว่าราคาตลาด เช่นราคา
ตลาด 50 บาท เกษตรกรสามารถกาหนดราคาขายกาแฟตัวเอง 60-100 บาท ได้ แต่ต้องทาเมล็ดกาแฟ
มีคุณภาพมากกว่าเดิม มาขายให้กับก้อง ซึ่งบทบาทของก้องคือแปรรูปและจัดการตลาด
นอกจากนี้ คุณก้องไม่ได้จากัดว่า เกษตรกรเหล่านี้ต้องปลูกส่งขายให้เขาเท่านั้น จะแบ่งขาย
เมล็ดดิบแบบคัดคุณภาพตามที่เขาเจาะจงมา และส่วนที่เหลือจะยังขายให้โรงงานก็ได้ หรือเกษตรกรคน
ไหน -เมื่อรู้แล้วว่ากาแฟคั่วเองบดเองง่ายๆ ก็ได้ -จะลุกขึ้นมาคั่วบดขายเอง ทาตลาดเอง ก็ไม่ว่ากัน หรือ
มีบางรายก็รับซื้อกาแฟที่คุณก้องคั่วบดแล้วไปขายต่อ อาจขายในแบรนด์ก้อง วัลเลย์หรือจะไปบรรจุใหม่
ขายในแบรนด์ตัวเองก็มี
ภาพที่ 2 คุณก้อง (คนซ้าย)
บรรยายเรื่องกาแฟ
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการ
พัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
7
ปัจจุบัน เกษตรกรที่เป็น supplier เมล็ดดิบกาแฟขายแก่คุณก้องมีอยู่ราว 10 กลุ่ม ทั้งหมดอยู่ใน
แถบระนอง-ชุมพร ปัจจุบันคุณก้องแปรรูปกาแฟแบบคั่วบดด้วยมือและขายได้ปีละราว 10 ตันและมีแผน
จะขยายออกไปเป็น 50 ตันต่อปี ด้วยวิธีคิดของก้อง ทาให้กาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรระนอง ซึ่งเดิม
เป็นเพียงเมล็ดกาแฟที่ส่งไปผลิตกาแฟซองในโรงงาน กลับกลายเป็นกาแฟสดชั้นพรีเมี่ยม ที่พิถิพิถัน
ตั้งแต่การปลูก คั่ว จนถึงการขาย ทาให้กาแฟระนอง ที่เริ่มจากแบรนด์ Gong กลายเป็นกาแฟที่มี
ชื่อเสียงในวงการกาแฟ กาแฟแบรนด์ Gong จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจของเมืองจากผลผลิต
เกษตรกรรม ยกระดับคุณภาพสินค้าและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเมือง ด้วยความสาเร็จแบรนด์
กาแฟที่ใช้ผลผลิตท้องถิ่นเช่นนี้ หากภาครัฐเข้ามายกระดับ อาจต่อยอดให้กลายเป็นแบรนด์ "ระนอง" ที่
แท้จริงได้
8
วิเคราะห์ “Gong coffee” : การสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ตลาดโลก
เกษตรกรรมกับเมืองดูเหมือนจะเป็นขั้วตรงข้าม ที่ไหนยิ่งมีความเป็นเมืองมาก ที่นั่นยิ่งยากที่จะ
มีพื้นที่ทางเกษตร เมืองใหญ่หลายแห่งจึงต้องอาศัยการนาเข้าพืชผักผลไม้จากเมืองที่ยังคงมี
เกษตรกรรมอยู่ เมืองระนองก็เป็นหนึ่งในเมืองเกษตรที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงาน
เพื่อแปรรูปเป็นกาแฟสาเร็จรูปและป้อนเข้าสู่เมือง เส้นทางกาแฟเป็นแบบนี้มาหลายสิบปี จนกระทั่งก้อง
คอฟฟี่ (Gong Coffee) เข้ามาในตลาด จึงเกิดเส้นทางที่เชื่อมระหว่างมือเกษตรกรสู่มือคนเมืองใน
แนวทางใหม่ ซึ่งสามารถอธิบายตามหลักห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และเศรษฐกิจขาย
ประสบการณ์ (Experience Economy) ได้ดังต่อไปนี้
กระบวนการจากมือผู้ปลูกสู่มือผู้บริโภค
กระบวนการผลิตของ Gong coffee จากต้นกาแฟสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟจนถึงมือผู้บริโภค สามารถ
อธิบายเป็นห่วงโซ่อุปทาน (แผนภาพที่ 1) ได้ดังนี้
1) ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ (Raw Material) ในที่นี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าในจังหวัดระนอง
และชุมพร ซึ่งรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ มีหน้าที่ปลูกต้นกาแฟ เก็บเกี่ยวผลกาแฟ และร่วมมือกับ Gong
coffee ในการส่งวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการแปรรูป โดยที่ก้องคอฟฟี่มีการควบคุมการผลิตกาแฟแต่ละ
กลุ่มเพื่อวิจัยและพัฒนากาแฟโรบัสต้า พร้อมทั้งมีการอบรมเกษตรกรให้เข้าใจกระบวนการผลิตกาแฟ
ด้วย
2) ผู้ผลิต (Manufacturers) ในที่นี้คือ Gong coffee ซึ่งเป็นผู้แปรรูปเม็ดกาแฟโดยวิธีการคั่ว
และบด พร้อมบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับทั้งลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคและลูกค้าที่
เป็นเจ้าของร้านกาแฟ
3) ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/Distributors) ในที่นี้คือ Gong coffee เช่นเดียวกัน
เพราะ Gong coffee ได้ทาการตลาดโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการช่วยกระจายสินค้าไปทั่วโลก
ทาให้มีคนรู้จักและเข้าถึงผลิตภัณฑ์กาแฟได้ง่ายขึ้น โดยมีวิสาหกิจชุมชนนาม “ก้องวัลเลย์ (Gong
Valley)” เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า ตั้งอยู่ในอาเภอกระบุรี จังหวัดระนอง
4) ผู้ค้าปลีก (Retailers) ในที่นี้คือ ร้านกาแฟสด และร้านค้าออนไลน์ ที่นาผลิตภัณฑ์ก้องคอฟ
ฟี่ไปจาหน่ายเป็นกาแฟสดและกาแฟคั่ว ด้วยการซื้อขายผ่านก้องวัลเลย์
5) ผู้บริโภค (Customer) คือ ลูกค้าที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ Gong coffee ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ดื่มกาแฟที่
ร้านกาแฟสดที่ใช้กาแฟแบรนด์ก้องคอฟฟี่ ผู้ที่มาเยี่ยมชมก้องวัลเลย์ ตลอดจนผู้ที่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่าน
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
9
แผนภาพที่ 1 ห่วงโซ่อุปทานของก้องคอฟฟี่
ที่มา: แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
ด้วยกระบวนการผลิตในลักษณะนี้ ก้องคอฟฟี่จึงสามารถควบคุมคุณภาพเม็ดกาแฟภายใต้
แบรนด์ของตนได้ ต่างจากผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมกาแฟที่เน้นปริมาณ เกษตรกร
ไม่มีอานาจต่อรอง ไม่เคยดื่มกาแฟที่ตัวเองปลูก ไม่เคยทราบวิธีคั่ว ไม่เคยตั้งราคาเอง อีกทั้งเกษตรกร
บางส่วนก็มีกระบวนการผลิตที่แย่ เช่น เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งละมาก ๆ ไม่สนใจอายุพืชผล กระสอบ
กาแฟโดนฝน ค้างคืน รสชาติเสีย เป็นต้น เพราะเกษตรกรไม่ทราบว่าเม็ดกาแฟที่มีคุณภาพ ช่วยเพิ่ม
มูลค่าและนาไปขายให้กับตลาดเฉพาะกลุ่มที่นิยมบริโภคกาแฟสดได้
ดื่มกาแฟพร้อมดื่มประสบการณ์
ตลาดกาแฟประกอบด้วย ตลาดทั่วไป (Mass Market) เช่น กาแฟซองสาเร็จรูป เป็นต้น และ
ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เช่น กาแฟสด เป็นต้น โดยก้องคอฟฟี่เน้นขายตลาดเฉพาะกลุ่มหรือ
ตลาดพรีเมียมที่เน้นคุณภาพ ซึ่งส่วนมากจะเป็นกาแฟอาราบิก้า เพราะกาแฟโรบัสต้าจะถูกมองเป็น
กาแฟระดับล่าง เน้นปริมาณ และขายให้เฉพาะนายทุนอุตสาหกรรมกาแฟ แต่ก้องคอฟฟี่ได้เปลี่ยน
ความคิดหันมาผลักดันกาแฟโรบัสต้าให้ก้าวสู่ตลาดพรีเมียม
อาชีพเกษตรกรในความหมายของก้องคอฟฟี่ รวมถึงคนปลูก คนเก็บเกี่ยว คนแปรรูป ตลอดจน
คนขาย ซึ่งริเริ่มด้วยแนวคิดสามประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง เกษตรกรต้องไม่เปลี่ยนพฤติกรรมไปตาม
ราคาจนทาให้คุณภาพสินค้าตกต่า เกษตรกรต้องตั้งราคาสินค้าเองได้ และเกษตรกรต้องรวมตัวกันเป็น
วิสาหกิจชุมชน ประการที่สอง เกษตรกรไม่จาเป็นต้องลงทุนด้วยเงินจานวนมาก เพียงแต่ต้องพยายาม
สร้างภาพลักษณ์ให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น หาวิธีการลดต้นทุนอย่างง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืน และ
ประการที่สาม ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรต้องดีขึ้น อาจกล่าวได้ว่า คุณก้องดาเนินวิสาหกิจตาม
แนวเศรษฐกิจขายประสบการณ์
10
กล่องที่ 1 นิยามของเศรษฐกิจขายประสบการณ์ (Experience Economy)
ที่มา: Jo Swinnen & Kristine Van Herck & Thijs Vandemoortele, 2012.
แผนภาพที่ 2 เศรษฐกิจขายประสบการณ์ภายใต้แบรนด์ก้องคอฟฟี่
ที่มา: แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
จากการตั้งวิสาหกิจชุมชนก้องวัลเลย์และการพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์กาแฟโรบัสต้าให้เป็น
กาแฟที่มีคุณภาพ สามารถตั้งราคาสูงเทียบเท่ากาแฟอาราบิก้าได้ ก้องคอฟฟี่ทาเพียงแค่เพิ่มเรื่องราว
ที่มาของโรบัสต้าและฟื้นฟูวัฒนธรรมการคั่ว การบด การดื่มที่มีมาช้านานให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค
กอปรกับใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการทาตลาด ส่งผลให้กาแฟโรบัสต้าที่เคยถูกมองว่า
เป็นกาแฟที่ไม่มีคุณภาพ กลับกลายเป็นสินค้า (Goods) ในรูปกาแฟคั่วและกาแฟบดบรรจุใส่ถุงกระดาษ
ในแบรนด์ “ก้องคอฟฟี่” หลังจากนั้นไม่นาน ร้านกาแฟสดก็เริ่มนากาแฟแบรนด์ก้องคอฟฟี่เข้าไปจัด
จาหน่ายและบริการชงเป็นแก้วพร้อมดื่ม (Services) จนกระทั่งผู้บริโภครับรู้เรื่องราวและจดจาแบรนด์
เศรษฐกิจขายประสบการณ์ (Experience Economy) เป็นเศรษฐกิจที่มุ่งให้ความสาคัญกับคุณภาพของการ
บริการ พร้อมทั้งหวังให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ทาให้ผู้บริโภค
สามารถสนุกไปกับกิจกรรมหรือการบริโภคสินค้าได้ แม้ประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ก็ตาม ธุรกิจในยุค
เศรษฐกิจขายประสบการณ์ต้องเพิ่มความเป็นเนื้อแท้ (Authenticity) ความรู้สึก (Feelings) และอารมณ์
(Emotions) เข้าไปในตัวสินค้าและบริการด้วย เพื่อให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มหันไปให้ความสนใจกับ
เรื่องราวจากสินค้าและบริการที่เขารู้สึกได้ ไม่ใช่เพียงแค่คุณภาพของวัตถุดิบ
11
ของก้องคอฟฟี่ได้ ก้องคอฟฟี่จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างประสบการณ์ที่ดี (Experiences) ให้กับลูกค้าควบคู่
ไปกับการดื่มกาแฟได้
บทสรุป
ก้องคอฟฟี่ เป็นแบรนด์กาแฟโรบัสต้าพรีเมียมแบรนด์หนึ่งในจังหวัดระนองที่ประสบความสาเร็จ
และได้รับความนิยมชมชอบจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถือเป็นแบรนด์ท้องถิ่นตัวอย่างที่สามารถ
เชื่อมโยงสู่ตลาดโลกได้ ผ่านเครื่องมือสาคัญคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้ซื้อกับ
ผู้ขาย ทาให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นาพาเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่เมืองระนอง สร้าง
เศรษฐกิจเมืองให้เติบโตได้
เมืองหลาย ๆ แห่งที่กาลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจึงอาจนาความรู้จากวิสาหกิจชุมชน “ก้อง
วัลเลย์” ไปฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ โดยอาจเริ่มจากตัวชุมชนหรือภาครัฐในการสร้างผลิตภัณฑ์และ
สร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง จากนั้นค่อยพัฒนาแบรนด์ให้มีชื่อเสียงด้วยการส่งเสริมการตลาด พยายาม
ทาให้สินค้าแตกต่าง แปลกใหม่ และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค เมื่อเมืองมีแบรนด์ท้องถิ่นที่
จับใจผู้บริโภคได้ มีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจากที่ไหนไม่ได้ เมืองย่อมดึงดูดผู้คนให้เข้ามาท่องเที่ยว เข้า
มาสัมผัส เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในเมือง การสร้างแบรนด์ของเมืองจึงเป็นแนวทางใหม่แนวหนึ่งในการ
กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองที่คุ้มค่าแก่การลงทุน
เอกสารอ้างอิง
Jo Swinnen & Kristine Van Herck & Thijs Vandemoortele, 2012. "The Experience Economy as
the Future for European Agriculture and Food?," LICOS Discussion Papers 31312,
LICOS - Centre for Institutions and Economic Performance, KU Leuven.
12
ตอนที่ 2
ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว
13
ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว
ปัจจุบันเมืองระนองเริ่มรู้จักในฐานะเมืองท่องเที่ยว คนต่างชาติรู้จักระนองมากขึ้น จากปัจจัย
หลายอย่าง เช่น ประเทศพม่าได้ทาการเปิดประเทศ คนสามารถข้ามไปเที่ยวเกาะสอง โดยผ่านเมือง
ระนอง อีกทั้งระนองมีเกาะพยาม เกาะที่ยังสวยและยังไม่มีคนเข้าถึงมากนัก และแนวโน้มการท่องเที่ยว
แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับระนอง เช่น การท่องเที่ยวบ่อน้าร้อน การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ทาให้เมือง
ระนอง ณ เวลานี้ มีความน่าสนใจในฐานะเมืองท่องเที่ยวแห่งใหม่ของไทย ระนองได้พัฒนาการท่องเที่ยว
จากทุนทรัพยากรของตนเองทั้งสิ้น
1. ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีประโยชน์สามารถ
สนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้า
ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน เมืองระนองมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย อันเป็น
ต้นทุนที่นาไปสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว ได้ดังนี้
1.1. ทรัพยากรเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism resources)
ย้อนกลับไปในสมัยอดีต พระยาดารงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ได้ให้ ป๋าโฮ้ย ซึ่งเป็นชาว
ไทยมุสลิม ไปก่อตั้งหมู่บ้านที่ เกาะพยาม เพื่อป้องกันการบุกรุกของอังกฤษซึ่งครอบครองพม่าอยู่ใน
สมัยนั้น ทาให้หมู่เกาะระนอง ปรากฎว่าเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในแผ่นที่ประเทศไทย ในจังหวัดระนอง
หมู่เกาะระนอง หรือเรียกอีกอย่างว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง ปี 2553 ได้เปลี่ยนชื่อ
เป็น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ติดอยู่กับชายฝั่งทะเลอันดามัน และติดกับชายแดนประเทศพม่า
อุทยานดังกล่าว ประกอบด้วยทรัพยากรทั้งทางบก ชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเล จะมีเกาะที่
หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดา เกาะสน และพื้นที่ห่างจากชายฝั่ง มี
อีกหลายเกาะ เช่น บริเวณเกาะช้าง เกาะพยาม เกาะทะลุ เป็นต้น
ด้วยความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทาให้ผู้บริหารเมืองระนองเตรียมงบประมาณ
กว่า 20 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม โดยเตรียมการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค
ไฟฟ้าให้ดีขึ้น เกาะพยามยังมีชาวเลเผ่ามอแกน มาอาศัยอยู่บนเกาะกว่า 30 ครัวเรือน จึงมีแผน
จัดสร้างสะพานคอนกรีตเชื่อมระหว่างอ่าวใหญ่-หมู่บ้านมอแกน รวมระยะทางกว่า 500 เมตร
เนื่องจากเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชนชาวเลเผ่ามอแกนและเกาะพยามยังค่อนข้างลาบาก หากมี
การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จ ชาวเลเผ่ามอแกนจะเดินทางได้สะดวกขึ้น นักท่องเที่ยว
สามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวเลเผ่ามอแกนที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะพยามแห่งนี้ ทั้งยังเป็นการ
เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะพยามอีกด้วย
14
ภาพที่ 1 หมู่บ้านชาวเลเผ่ามอแกน ในเกาะพยาม
ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/
1.2. ทรัพยากรเชิงนิเวศสิ่งแวดล้อม (ecological resources)
เมืองระนองเป็นเมืองที่มีความพิเศษเชิงพื้นที่ เป็นเมืองที่มีพื้นที่สาหรับการพัฒนาเมือง
เพียงแค่ 14 % ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ มี
ป่าชายเลน ป่าสวงนเป็นส่วนใหญ่ ความพิเศษเชิงพื้นที่นี้เป็นข้อที่ดีมาก แต่ในขณะเดียวกันทา
ให้ระนองมีข้อจากัดด้านพื้นที่การพัฒนาเมืองด้วยเช่นกัน
ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของระนองมีความสมบูรณ์และหลากหลายมาก
ระนองมีพื้นที่สาคัญทางธรรมชาติหลายแห่ง มีป่าทั้งหมด 13 แห่ง มีพื้นที่ชุ่มน้า (Ramsar
Convention) ระดับประเทศ โดยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแหลมสน อาเภอกระบุรี และปากคลองใน
อาเภอกะเปอร์ ยาวตั้งแต่จดใต้จังหวัดระนอง และมีพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่มีความอุดม
สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รัฐบาลไทยจึงได้จัดทาโครงการร่วมกับประเทศ
สมาชิกยูเนสโก้ประกาศพื้นที่ชายฝั่งบริเวณนี้เป็น เขตสงวนชีวมลฑลโลก (International
Coastal and Marine Biosphere Reserve) ซึ่งเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์
หลักเพื่อเป็นที่สงวนความหลากหลายทางธรรมชาติ
ด้วยความสมบูรณ์ของนิเวศเมืองเช่นนี้ ระนองสามารถสร้างตัวเองให้กลายเป็นแหล่ง
ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สาคัญเมืองหนึ่งของไทยได้ แม้ยังไม่ได้จัดการการท่องเทียวด้านนี้มากนัก
แต่ผู้คนได้เข้ามาเที่ยวเชิงนิเวศแล้ว ส่วนใหญ่มักเดินทางไปตามอุทยานและศูนย์วิจัยในพื้นที่
เช่น ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว ซึ่งได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้นาชมธรรมชาติ ทั้งพรรณไม้ป่าและสัตว์ป่า
มีการจัดพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ มีการสร้างสะพานศึกษาธรรมชาติ
ยาวถึง 850 เมตร ให้เดินชมป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตในผืนป่าชายเลนได้ มีแผ่นป้ายให้ ความรู้
เกี่ยวกับ ระบบนิเวศของป่าชายเลนโดยอธิบายไว้ตลอดเส้นทาง
15
ภาพที่ 2 ป่าชายเลนในศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว จังหวัดระนอง
ที่มา ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
1.3. ทรัพยากรน้าแร่ธรรมชาติ (mineral water resources)
เมืองระนองเป็นเมืองที่มีความพิเศษ คือ มีบ่อน้าร้อนคุณภาพดี มีปริมาณมากกระจาย
ตัวอยู่หลายแห่ง ซึ่งเปิดให้คนระนอง และคนนอกได้เข้าไปใช้บริการ เป็นสถานที่แห่งการแช่น้า
ร้อน ช่วยผ่อนคลาย และช่วยให้เลือดไหวเวียนต่อร่างกายได้ดีมาก บ่อน้าพุร้อนของระนอง
สาคัญมีดังนี้
- บ่อน้าร้อนสวนสาธารณะรักษะวาริน (เทศบาลเมือง) มีบ่อน้าร้อน 3 บ่อ คือ บ่อพ่อ บ่อแม่
และบ่อลูกสาว
- บ่อน้าร้อนพรรั้ง หมู่ที่ 3 ต.บางริ้น อ.เมือง มีบ่อน้าร้อน 3 บ่อ ความร้อนอยู่ระหว่าง 45 –
54 องศา อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้าตกหงาว
- บ่อน้าร้อนพุรหลุมพี หมู่ที่ 3 ต.บางริ้น อ.เมือง มีบ่อน้าร้อน 1 บ่อ ความร้อนอยู่
ระหว่าง 44 องศา อยู่ในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 19 ไร่
น้าแร่ร้อนของระนอง เป็นน้าแร่ร้อนที่มีคุณภาพสูง มีกามะถันน้อย จึงเหมาะแก่การ
รักษาบาบัดโรคหลายชนิด ทาให้คนระนอง ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุในเมืองระนอง
สนใจเข้าแช่น้าร้อนตลอด นอกจากคนระนองแล้ว บ่อน้าร้อนยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ
ชาวต่างชาติ เข้ามาใช้บริการและท่องเที่ยวที่บ่อน้าร้อนวันละไม่ต่ากว่า 300 คน
16
ภาพที่ 3 ผู้คนแช่น้าร้อนในสวนสาธารณะรักษะวาริน
ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/
ด้วยศักยภาพของทรัพยากรบ่อน้าร้อน ซึ่งน้าแร่เมืองระนองนั้นถือเป็นน้าแร่คุณภาพดี
แห่งหนึ่ง ทาให้นโยบายของจังหวัดระนองมุ่งสร้างให้ระนองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
(health tourism) ปัจจุบัน จังหวัดและโรงพยาบาลระนองร่วมดาเนินโครงการศูนย์สุขภาพด้วย
น้าแร่ฝั่งอันดามัน หรือ ศูนย์วารีบาบัดโดยน้าแร่ร้อน หากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทาให้ศูนย์
สุขภาพด้วยน้าแร่ฝั่งอันดามันเป็นศูนย์การแพทย์ทางเลือกด้วยวารีบาบัดน้าแร่ใหญ่ที่สุดใน
ภาคใต้ สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจการท่องเที่ยวในลักษณะเป็น Medical Hub ซึ่งถือเป็นความ
โดดเด่นของการท่องเที่ยวระนองที่แตกต่างจากเมืองอื่นๆ
2. ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made resources) ทรัพยากรประเภทนี้มนุษย์อาจสร้างขึ้น
โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ มีทั้งสิ่งที่มองเห็นได้ จับต้องได้ และสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้หรือไม่
สามารถจับต้องได้ เป็นทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง ตามความ
เหมาะสมของพื้นที่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม ในเมืองระนอง ไม่ได้มีเพียง
แค่ทุนทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมีทุนทรัพยากรที่คนระนองสร้างขึ้นด้วย และกลายเป็นทุน
ต่อยอดในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบใหม่ มีทั้งในเชิงธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ดังนี้
2.1. การพัฒนาทรัพยากรการเกษตร สู่การเป็นฟาร์มสเตย์ (farm stay) “บ้านไร่ไออรุณ”
ฟาร์มสเตย์ใน อ.กะเปอร์ ที่ปรับปรุงจากสวนผักและผลไม้ ได้กลายเป็นกระแสในสื่อ
social media ดึงผู้คนให้เข้ามาเยี่ยมเยียน ทาให้ระนองเป็นเมืองที่ถูกพูดถึงในด้านการท่องเที่ยว
มากขึ้น ความน่าสนใจของ บ้านไร่ไออรุณ คือ วิธีคิดของเจ้าของ ที่ตัดสินใจลาออกงานจาก
กรุงเทพ เมืองใหญ่ กลับบ้านเกิด สร้างฟาร์มเป็นของตนเอง โดยอาศัยทุนเดิมของครอบครัวที่
17
ทาเกษตรกรรม และความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เปลี่ยนบ้านของตนเองให้กลายเป็นแหล่งปลูกผัก
ออแกนิกส์ จากความคิดที่แค่จะปลูกไว้กินเอง กลับกลายเป็นผลผลิตที่ดี จนสามารถขายเป็น
การนารายได้สู่ครอบครัว จากนั้นได้สร้างที่พักจานวน 2 หลัง เปิดให้นักท่องเที่ยวให้เข้ามา
พักผ่อนที่สนใจท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์
การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ กลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าสนใจของเมืองระนอง
หลังจากมีกระแสการแชร์ภาพของ บ้านไร่ไออรุณ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาติดต่อ ทั้งเยี่ยมชมและ
เข้าพักที่ฟาร์มสเตย์แห่งนี้จานวนมาก นับได้ว่าบ้านไร่ไออรุณ เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว
แบบฟาร์มสเตย์ การท่องเที่ยวแบบใหม่ในระนอง
การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีจุดเด่นคือ ทาให้
นักท่องเที่ยวที่ต้องการใช้ชีวิตแบบท้องถิ่น ได้เรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่นที่มีความเรียบง่าย อยู่กับ
ธรรมชาติ และมีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ทาให้ได้รับ
ประสบการณ์ในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งฟาร์มสเตย์บ้านไร่ไออรุณ สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยว
ดังกล่าวได้ดี คือ การบริหารจัดการฟาร์มสเตย์แห่งนี้ใช้บริการคนในครอบครัวทั้งหมด ทาให้เกิด
ความรู้สึกที่เรียบง่าย รู้สึกเหมือนได้อาศัยอยู่กับบ้านที่ติดกับธรรมชาติ และฟาร์มสเตย์แห่งนี้ไม่
มีสิ่งอานวยความสะดวกใดๆ เช่น ทีวี แอร์ และที่สาคัญ Wi-fi เพื่อให้นักท่องเที่ยวสนใจอยู่กับ
ธรรมชาติมากขึ้น
อาเภอกะเปอร์ ของระนอง ซึ่งมีบ้านไร่ไออรุณตั้งอยู่ กลายเป็นจุดหมายปลายทางจุด
ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งผู้บริหารเมืองควรใช้ประโยชน์จากฟาร์มสเตย์แห่งนี้ สร้างจุดเด่นเพิ่มเติม
ให้กับเมืองระนอง ในฐานะเมืองท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ที่สร้างจากวิถีของคนระนอง ที่สาคัญ
หากมีการถ่ายทอดความคิด และสร้างฟาร์มสเตย์ที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากเป็นโอกาสที่ดี
ในการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ยังทาให้ความภาคภูมิใจจากคนท้องถิ่นในระนอง ถ่ายทอด
ไปถึงนักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ และใช้เครื่องมือจาก Social media แบ่งปันเรื่องราวทั้งหมด จุด
ประกายความคิดให้คนกลับไปพัฒนาเมืองของตนเองได้อีกด้วย
ภาพที่ 4 สวนผักออร์แกนิก ณ บ้านไร่ไออรุณ
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
18
ภาพที่ 5 โฮมสเตย์หลังเล็กสาหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพัก ณ บ้านไร่ไออรุณ
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
2.2. ทรัพยากรเชิงประวัติศาสตร์ (historicall recourse)
เมืองระนองเป็นเมืองที่ประวัติศาสตร์ ที่อายุมากกว่า 100 ปี ระนองในอดีตมีฐานะเป็น
เมืองขึ้นของเมืองชุมพรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครอง
ออกเป็น 2 เมือง คือ เมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองเมืองชุมพร” ครั้นต้นสมัย
กรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยนชื่อ “ คอซู้เจียง” ภายหลังคือพระยาดารงสุจริตมหิศรภักดี
ปกครองเมืองระนอง ความเจริญก้าวหน้าหลายเมืองทางตอนใต้นั้น เกิดจากบุคคลสาคัญใน
ตระกูล ณ ระนอง เป็นส่วนใหญ่ จวนของเจ้าเมืองระนอง ซึ่งเก็บรูปถ่าย บันทึกต่างๆ ไว้ ปัจจุบัน
เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ระนองยังมีศิลาสลักพระปรมาภิไธย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจารึกไว้ และวัดวารีบรรพต วัดที่
จาลองเจดีย์ของพม่า
19
ภาพที่ 6 จวนเจ้าเมือง ณ ระนอง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองระนอง
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
จากแหล่งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ระนองมีศักยภาพที่จะแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี
และประวัติศาสตร์ เพื่อนักท่องเที่ยวได้ชื่นชม และได้รับความรู้ มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์
และโบราณคดี ในท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ จากข้อมูลของคุณโกศล ณ ระนอง เมืองระนองยังให้
ความสาคัญการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์น้อย แต่คนนอกเมืองกลับให้ความสนใจประวัติ
ศาสต่ร์เมืองระนองมากกว่า ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัททัวร์ จัดแผนการท่องเที่ยวให้คนจีนมาเที่ยว
เมืองระนอง มาคาระวะคนจีน ที่มาจากเมืองจีน และได้มาเป็นเจ้าเมืองของไทย เพราะมีการทา
วิจัยแล้วว่า คนจีนที่ออกจากเมืองจีน ซึ่งได้มาเป็นเจ้าเมืองระนองมีเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่
ข้อมูลเหล่านี้องค์กรท้องถิ่นเมืองระนองยังไม่ทราบ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยใช้จ่ายใน
ระนองจานวนมาก
20
กล่องที่ 1 พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวของระนอง
จากข้อมูลของสมาคมท่องเที่ยวในระนอง ได้ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวระนอง
นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวระนองนั้นมีพฤติกรรมในการเที่ยว คือ Slow life คือเน้นพักผ่อน แช่น้าร้อน
เพราะระนองมีชื่อเสียงเรื่องบ่อน้าพุร้อน ยิ่งปัจจุบันมีกระแส Slow life จาก Social media ทาให้คน
ยิ่งมาระนองมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีคนจุดประกายเรื่องทะเล เกาะสองของพม่า คนก็เริ่มให้
ความสนใจมากขึ้น คนใช้ระนองเป็นทางผ่านข้ามไปพม่าด้วย
นอกจากนี้พฤติกรรมนักท่องเที่ยวระนอง มักเป็น one day trip โดยอยู่มากสุด
ประมาณ 3 วัน 2 คืน ซึ่งจะอยู่อยู่ระนองประมาณแค่ 1 คืน ชาวสแกนดิเนเวียที่จะไปเกาะพยามเป็น
ส่วนใหญ่ ไม่นิยมแช่น้าพุร้อน แต่จะเป็นคนไทยที่นิยมน้าพุร้อน นอกจากเที่ยวในเมืองแล้ว
นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นชมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ชุมชนกาแฟ ก้องวัลเลย์ เป็นต้น
21
ตอนที่ 3
ระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจค้าชายแดน
22
การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน
จากภูมิศาสตร์เมืองระนอง ซึ่งเป็นเมืองชายแดน ใกล้กับเกาะสอง ประเทศพม่า ทาให้เมือง
ระนองกับเกาะสอง เสมือนเป็นเมืองพี่เมืองน้อง ที่ทั้งคนระนองและคนเกาะสองต่างข้ามฟากค้าขายกัน
มานาน และคนเกาะสองมักจะข้ามเข้ามาใช้บริการการแพทย์ของระนองด้วย รวมทั้งช่วงปีที่ผ่านมา คน
ไทยนิยมข้ามฝั่งจากระนองไปเที่ยวที่เกาะสอง ด้วยเหตุนี้ด่านทั้งสองฝั่ง จึงมีความคึกคัก มีการเข้าออก
ของผู้คนและสินค้าอยู่เสมอ โดยระนองมีด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นจุดตรวจไว้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.ท่า
เทียบเรือสะพานปลา 2.ปากน้าระนอง และ 3.ท่าเทียบเรือ บ้านอันดามันคลับ จากัด ท่าทั้งสามแห่งล้วน
แต่อยู่ในอาเภอเมืองระนองทั้งสิ้น
ภาวะการค้าชายแดนไทยพม่า ปี 2557 มีมูลค่ารวม 19,998.27 ล้านบาท มูลค่าส่งออก 18,495
ล้านบาท มูลค่านาเข้า 1,503 ล้านบาท โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
การประมง เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ห้องเย็น ปลาบ่น โรงงานน้าแข็ง ปัจจุบันมีโรงงาน
อุตสาหกรรม 273 โรง จานวนคนงาน 8,689 คน เงินลงทุน 2,294,577,920 ล้านบาท
ภาพที่ 7 มูลค่าและสถิติ สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของจังหวัดระนอง ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ที่มา: http://www.ranongcustomshouse.com/default.aspx?headmenu=true&id=M000000002
23
ภาพที่ 8 มูลค่าและสถิติ สินค้านาเข้า 10 อันดับแรกของจังหวัดระนอง ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557
ภาวะการค้าชายแดนระนอง มีมูลค่ารวมอยู่ในอันดับ 3 ของด่านการค้าไทย – พม่า
ทั้งหมด 11 ด่าน ทาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และภาคส่วนต่างๆ มีแผนการพัฒนาด้านโลจิ
สติกส์ระนอง โดยจะผลักดันให้ท่าเทียบเรือระนองเป็นท่าเรือนานาชาติในการส่งออกสินค้าไปยัง
ต่างประเทศและในกลุ่มบิมสเทค (BIMSTEC)
กล่องที่ 2 คนพม่าในเมืองระนอง
ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เมืองระนองเป็นเมืองที่มีกลมกลืนกับคนพม่ามายาวนาน มีคนพม่าใหม่ๆ
เข้ามาในเมืองทุกวัน เพราะระนองอยู่ใกล้กับเกาะสอง ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในพม่า เกาะสองเป็นเสมือน
เมืองบ้านพี่บ้านนองกับระนองมานาน เพราะทั้งสองฝั่งค้าขาย เดินทางหากันตลอด อีกทั้งระนองเป็นจุด
ผ่านแดน ให้แรงงานพม่าผ่าน ไปจังหวัดที่สาม สมุทรสาคร มหาชัย เป็นต้น ปัจจุบันจานวนพม่าใน
ระนอง มีจานวนมาก เรียกได้ว่า มีจานวนเท่ากับจานวนคนระนอง คือ หนึ่งครัวเรือนจะมีคนพม่า 2 คน
คนพม่าส่วนใหญ่ที่เข้ามาระนอง มาจากทวาย เมืองหลวง รัฐตะนาวศรี เป็นหลัก สมัยก่อน
ทวายจะเชื่อมไทยด้วยเส้นทางบก เข้าไทยทางสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันมีการเดินทางทางเรือ
จึงเข้าทางระนองแทน คนพม่าจากทวาย ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ ฉะนั้น เรื่องภาษา และสาเนียง
แตกต่างจากพม่าทั่วไป ภาษาส่วนใหญ่ที่ใช้ในระนองมักจะเป็นภาษาถิ่นของทวายเอง แต่หากเป็นพม่า
จากเกาะสอง จะได้รับการศึกษา และสามารถสื่อสารกับพม่าในย่างกุ้งได้
ปัญหาแรงงานพม่า โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา การสื่อสาร และที่สาคัญปัญหาสุขอนามัย
โรคติดต่อ นโยบายจากทางส่วนกลางในการแก้ปัญหาแรงงานพม่า ยังคงไม่สามารถจัดการปัญหาใน
พื้นที่ได้1
ที่มา: http://www.ranongcustomshouse.com/default.aspx?headmenu=true&id=M000000002
24
ตอนที่ 3
ข้อท้าทายเมืองระนอง
25
ข้อท้าทายเมืองระนอง
1. ปัญหาขยะ ระนองในวันนี้มีปัญหาขยะเป็นปัญหาหลัก ทั้งในพื้นที่ป่า เขตชุมชน เนื่องจาก
นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเกาะพยามมากขึ้น โดยปริมาณขยะเฉพาะในเขตเทศบาล
ประมาณ 100 กว่าตัน และยังมีอีกใน 4 อาเภอ ขณะนี้การจัดการเทศบาลฯ แต่ละแห่งรับผิดชอบ
พื้นที่ของตัวเอง ที่ผ่านมาทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง พยายามให้ความรู้เรื่องการแยก
ขยะ มีการแยกขยะไปทาปุ๋ยชีวภาพ และนาไปรีไซเคิล อีกทั้งได้บริหารจัดการขยะอันตรายแล้ว
แต่ยังไม่สามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ภาคเอกชนพยายามจะลงทุน
เรื่องเตาเผาขยะ บ่อฝังกลบ แต่ประชาชนในพื้นที่ยังไม่เห็นด้วย และไม่คุ้มค่ากับการ
ลงทุน นอกจากปริมาณขยะจานวนมากแล้ว เมืองระนองยังมีปัญหาการกาจัดขยะ ณ วันนี้ ไม่มี
พื้นที่ทิ้งขยะด้วย และที่สาคัญการขาดจิตสานึกของผู้คนในการทิ้งขยะด้วย
2. พืชธรรมชาติถูกทาลาย ที่ผ่านมาเมืองระนองมีการขุดลอกคูคลอง ทาให้วัฏจักรของการเกิด
ของพลับพลึงทางที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งพลับพลึงทางช่วยชะลอเรื่องน้าท่วม ช่วยให้น้าไม่
ไหลเร็ว แต่คนมักเข้าใจผิด คิดว่าการขุดลอกคูคลองช่วยให้น้าไม่ท่วม ซึ่งแท้จริงแล้วเมืองระนอง
เป็นเมืองฝนแดดแปดสี่ เมื่อมีน้าท่วมขัง จะใช้ระยะเวลาไม่มาก น้าจะไหลลงทะเลแล้ว แต่ความ
เข้าใจผิดเช่นนี้ ทาให้เกิดโครงการขุดลอกคูคลองจานวนมาก
3. สิทธิที่ดินที่อยู่อาศัย พื้นที่การพัฒนาเมืองของจังหวัดระนอง โดยภาครวมจังหวัดระนองมีสิทธิ
ที่จะครอบครองพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมืองประมาณ 14 ไร่ โดยพื้นที่ที่เหลือเป็นป่าสงวน พื้นที่
อุทยานประมาณ 242 ไร่ ทาให้เมืองระนองเป็นเมืองที่มีพื้นที่จากัดในการพัฒนาเมือง องค์การ
บริหารส่วนถิ่นจังหวัดระนองจึงขอเช่าพื้นที่ป่าชายเลน ในอดีตเป็นเหมืองแร่เก่า ให้ผู้คนได้อาศัย
และทามาหากินอยู่ โดยทาสัญญาเช่าพื้นที่เป็นเวลา 10 ปี สัญญากาลังจะหมดลงในเดือน
เมษายน ปี 2559 แต่ยังไม่สามารถต่อสัญญาได้ เนื่องจาก ปี 2534 มติระเบียบของ ครม. ห้าม
ส่วนราชการเข้าใช้พื้นที่ป่าชายเลนเด็ดขาด เมื่อสัญญาหมดทาให้ไม่ให้ต่อสัญญา ซึ่งกระทบต่อ
ประชาชนที่อาศัยและประกอบธุรกิจในพื้นที่นั้น
4. การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เมืองระนองก้าวเข้าสู่เมืองท่องเที่ยว แม้จะมีการบริหารจัดการ
บางส่วน แต่ยังมีข้อท้าทายเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบไม่ทาลาย
ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องมีการปลูกฝังจิตสานึกทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการให้
คานึงถึงผลเสียในอนาคต ทาอย่างไรให้มีการท่องเที่ยว โดยคนไม่ทาลาย
ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าวันนี้ระนองได้สร้างราคาโรงแรมและราคา อาหารอย่างสมเหตุสมผล
และมีคุณภาพ แต่ยังไม่สามารถทาให้คนเห็นคุณค่าได้ เช่น คุณค่าของน้าแร่ หรือป่า เป็นต้น ซึ่ง
เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั้งภาครัฐทัองถิ่น เอกชน และประชาชนต้องช่วยกัน
26
สรุป
การพัฒนาเมืองระนองในปัจจุบัน เรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาเมืองที่เกิดจากความพิเศษด้าน
ภูมิศาสตร์ของตัวเอง และได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวเป็นทุนพัฒนาสร้างเศรษฐกิจของเมือง
โดยเฉพาะการพัฒนาผลผลิตด้านกาแฟ และการท่องเที่ยว ซึ่งระนองได้สร้างภาพลักษณ์และปรับตัวเอง
ให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว ทั้งเที่ยวแบบสิ่งแวดล้อม เที่ยวเมืองชายแดน หรือการท่องเที่ยวแบบใหม่
อย่างการเที่ยวแบบโฮมสเตย์ แต่ทั้งนี้ระนองเองก็เผชิญปัญหาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปัญหาขยะ
และถ้าไม่ควบคุมและจัดการ ย่อมเสี่ยงที่จะไม่สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ได้นาน หาก
ระนองสามารถปรับเชิงรุก สร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีการควบคุม มีราคาแพง จะสามารถคัดกรอง
นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้ และจะช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติของเมืองได้นานมากขึ้น หากเราจะพูด
ถึงเมืองที่มีความพิเศษของภูมิศาสตร์ เมืองที่มีการพัฒนาจากทรัพยากรของตัวเอง และเมืองที่ซ่อน
“ทุน” เอาไว้อย่างดี ระนองจะต้องเป็นหนึ่งเมืองนั้นอย่างแน่นอน
27
ตอนที่ 4
ภาคผนวก
28
ภาคผนวก
ภูมิศาสตร์เมืองระนอง
ระนองเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ตั้งอยู่ริมสุดทะเลอันดามัน ห่างจากกรุงเทพ ประมาณ 568
กิโลเมตร (ภาพที่ 1) มีพื้นที่ 3,298,045 ตารางกิโลเมตร (2,061,278 ไร่) มีพื้นที่ร้อยละ 0.63 ของพื้นที่
ทั้งประเทศ ขนาดพื้นที่ของเมืองระนองอยู่ในอันดับที่ 60 ของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา
สลับซับซ้อน พื้นราบร้อยละ 14 ของพื้นที่ทั้งหมด มีเกาะใหญ่น้อยในทะเลอันดามันประมาณ 62 เกาะ ที่
สาคัญเมืองระนองเป็นเมืองชายแดน ทางทะเลอันดามัน ติดกับเกาะสองของประเทศพม่า (ภาพที่ 2)
ลักษณะพื้นที่เมืองระนองมีลักษณะเรียวยาว ทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 169 กิโลเมตร ส่วนที่แคบ
ที่สุดในแหลมมลายู คือ คอคอดกระ มีความกว้างเพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา
86 % มีเกาะใหญ่น้อยในทะเลอันดามัน จานวน 62 เกาะ ภูมิประเทศประกอบด้วย ทิวเขา หุบเขา
สลับซับซ้อน และเป็นป่าปกคลุมทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเล อันดามันทางทิศ
ตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง สูง 1,700 ฟุต
สภาพภูมิอากาศ ระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือ มีฝนตก 8 เดือน และฝน
แล้งเพียง 4 เดือนต่อปี นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ติดกับ
ทะเลอันดามันจึงทาให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างมาก
เมืองระนอง มี 5 อาเภอ คือ อาเภอละอุ่น อาเภอกระบุรี อาเภอเมือง อาเภอกะเปอร์ อาเภอ
สาราญ (ภาพที่ 3) ทั้งหมดประกอบด้วย 30 ตาบล 167 หมู่บ้าน ประชากรทั้งจังหวัดระนองมีอัตราการ
เพิ่มของประชากรร้อยละ 5.29 จาก พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558 (ภาพที่ 4)
ภาพที่ 1 แผนที่ประเทศไทย ที่ตั้งเมืองระนอง
ที่มา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระนอง
29
ภาพที่ 2 แผนที่เมืองระนองและเกาะสอง
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ,2559
ภาพที่ 3 แผนที่จังหวัดระนอง
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
เมืองระนอง
เกาะสอง
30
ภาพที่ 4 แผนที่ความหนาแน่นประชากรจังหวัดระนอง พ.ศ. 2558
ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
สถานศึกษา
สถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่
การศึกษา รวม 114 แห่ง ครูต่อนักเรียน 1:21 (ครู/ อาจารย์ 1,728 คน นักเรียน นักศึกษา 35,683 คน)
โรงพยาบาลมี 5 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล 46 แห่ง สัดส่วนแพทย์ : ประชากร 1 : 2845
เศรษฐกิจ
ภาพรวมเศรษฐกิจสาขาหลักของระนองคือ การประมง ซึ่งเป็นสาขานาในโครงสร้างการผลิตของ
จังหวัด มีมูลค่าการผลิตประมาณ 2,887 ล้านบาท รองลงมา คือ สาขาการขายส่งการขายปลีก และสาขา
การเกษตร การล่าสัตว์ฯ ซึ่งมีมูลค่าการผลิตประมาณ 1,809 ล้านบาท และ 1,794 ล้านบาท ตามลาดับ
ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระนองคือ 21,295 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว 84,964 บาท/ปี ภาค
การเกษตรถือเป็นรายได้หลัก มีมูลค่าการผลิต 8,683 ล้านบาท มีพื้นที่ทาการเพาะปลูก 595,950 ไร่
พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ 487,439 ไร่ พื้นที่ทาการเพาะปลูก 595,950 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชเศรษบกิจ
487,439 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สาคัญได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ามัน กาแฟ มังคุด และมะม่วงหิมพานต์
ปี ชาย หญิง รวม ครัวเรือน
2548 93,335 84,787 178,122 61,349
2558 94,726 92,810 187,536 85,417
ประชากรระนองปี 2548 และ 2558

More Related Content

What's hot

ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
sa_jaimun
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
คนสวย ฉัน
 
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
Sky Aloha'
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
พัน พัน
 
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา  เสนอ ครูนิตยายุวธิดา  เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
Nong Ple Chuaytanee
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
Noonnu Ka-noon
 
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการแบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
Kittiphat Chitsawang
 
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
jobasketball
 

What's hot (20)

โครงการออมวันนี้มีวันหน้า
โครงการออมวันนี้มีวันหน้าโครงการออมวันนี้มีวันหน้า
โครงการออมวันนี้มีวันหน้า
 
แบบคุณลักษณะผลงาน
แบบคุณลักษณะผลงานแบบคุณลักษณะผลงาน
แบบคุณลักษณะผลงาน
 
รายงานการวิจัยประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร
รายงานการวิจัยประเพณีแห่หลวงพ่อโสธรรายงานการวิจัยประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร
รายงานการวิจัยประเพณีแห่หลวงพ่อโสธร
 
ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
ใบความรู้ 1.1ความหมายและคุณค่าของโครงงานคอมพิวเตอร์
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
พริกกะเหรี่ยง 2
พริกกะเหรี่ยง 2พริกกะเหรี่ยง 2
พริกกะเหรี่ยง 2
 
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญหลักการอ่านจับใจความสำคัญ
หลักการอ่านจับใจความสำคัญ
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
แบบเสนอโครงร่าง โครงงานคอมพิวเตอร์
 
ลักษณะข้อดีและข้อเสียของอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ลักษณะข้อดีและข้อเสียของอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ลักษณะข้อดีและข้อเสียของอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ลักษณะข้อดีและข้อเสียของอุปกรณ์เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
 
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiapชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
 
การปฏิรูปการเกษตรภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่
การปฏิรูปการเกษตรภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่การปฏิรูปการเกษตรภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่
การปฏิรูปการเกษตรภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่
 
แบบร่างโครงงานพลาสติก
แบบร่างโครงงานพลาสติกแบบร่างโครงงานพลาสติก
แบบร่างโครงงานพลาสติก
 
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
โครงการ “การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book) เพื่อการศึกษา”
 
แบบเสนอโครงงานร่างโครงงานต้นกระบองเพชรจิ๋ว
แบบเสนอโครงงานร่างโครงงานต้นกระบองเพชรจิ๋วแบบเสนอโครงงานร่างโครงงานต้นกระบองเพชรจิ๋ว
แบบเสนอโครงงานร่างโครงงานต้นกระบองเพชรจิ๋ว
 
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลกโครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
โครงงานเรื่องปลูกป่าเพื่อรักษาโลก
 
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา  เสนอ ครูนิตยายุวธิดา  เสนอ ครูนิตยา
ยุวธิดา เสนอ ครูนิตยา
 
ตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงานตัวอย่างโครงงาน
ตัวอย่างโครงงาน
 
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการแบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
แบบฟอร์มบันทึกการรายงานผลการดำเนินโครงการ
 
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตจริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
จริยธรรมและคุณธรรมในการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
 

Viewers also liked

เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
FURD_RSU
 
บ้านไร่กาแฟ
บ้านไร่กาแฟบ้านไร่กาแฟ
บ้านไร่กาแฟ
glenferry
 
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
FURD_RSU
 
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
FURD_RSU
 
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
FURD_RSU
 

Viewers also liked (13)

เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
เบตง :การปรับตัวของเมืองชายแดนท่ามกลางกระแสบูรพาภิวัตน์
 
เศรษฐกิจแบ่งปัน กับ Uber
เศรษฐกิจแบ่งปัน กับ Uberเศรษฐกิจแบ่งปัน กับ Uber
เศรษฐกิจแบ่งปัน กับ Uber
 
Sixth Sense Seminar ppt
Sixth Sense Seminar pptSixth Sense Seminar ppt
Sixth Sense Seminar ppt
 
Black canyon
Black canyonBlack canyon
Black canyon
 
Black Canyon
Black CanyonBlack Canyon
Black Canyon
 
Presentation2
Presentation2Presentation2
Presentation2
 
บ้านไร่กาแฟ
บ้านไร่กาแฟบ้านไร่กาแฟ
บ้านไร่กาแฟ
 
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
การอนุรักษ์มรดกเมือง : มุมมองด้านเศรษฐกิจ
 
Uber's Business Model _ Abii-Ndoh, Godwin
Uber's Business Model _ Abii-Ndoh, GodwinUber's Business Model _ Abii-Ndoh, Godwin
Uber's Business Model _ Abii-Ndoh, Godwin
 
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
INFOGRAPHIC "อนุรักษ์วัฒนธรรม ช่วยสร้างเศรษฐกิจอย่างไร"
 
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัลบทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
บทบาทใหม่ของเมืองในยุคดิจิทัล
 
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
INFOGRAPHIC "Placemaking นวัตกรรมเพื่อสุขภาพคนเมือง"
 
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 201510 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
10 นวัตกรรมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนประจำปี 2015
 

More from FURD_RSU

เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
FURD_RSU
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
FURD_RSU
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
FURD_RSU
 

More from FURD_RSU (20)

เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็กเมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
เมืองตะโหมด ต้นแบบการสร้างสุขภาวะเด็กเล็ก
 
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะFURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
FURD SUMMIT 2019 นวัตกรรมสร้างสรรค์เมืองสุขภาวะ
 
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูลเมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
เมืองบางคูรัด การสร้างสุขภาวะเมืองด้วยนวัตกรรมชุมชนเกื้อกูล
 
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคมเมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
เมืองหนองป่าครั่ง: การสร้างเมืองสุขภาวะด้วยแนวคิดการจัดสวัสดิการสังคม
 
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วมเมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
เมืองป่าตอง: การสร้างสุขภาวะเมืองท่องเที่ยวระดับโลก อย่างมีส่วนร่วม
 
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
นครเชียงราย: มหาวิทยาลัยวัยที่สาม : การพัฒนาผู้สูงอายุ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและ...
 
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
FURD Cities Monitor ฉบับที่ 15
 
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อมเมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
เมืองหางโจว (杭州) ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ และการพัฒนาสิ่งแวดล้อม
 
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลกอี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
อี้อู (义乌) เมืองการค้าโลก การพัฒนาเมืองตอนใน สู่เมืองการค้าโลก
 
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุขInfo graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
Info graphic ยะลาโมเดล การจัดการเมืองเพื่อสันติสุข
 
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมืองinfo graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
info graphic เชียงใหม่โมเดล พลังพลเมือง
 
info graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมืองinfo graphic นิยามของมรดกเมือง
info graphic นิยามของมรดกเมือง
 
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทยInfo graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
Info graphic ความเป็นเมืองของประเทศไทย
 
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรังวิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
วิจัย สุมหัวกันในที่ที่สาม กระบวนการตามหาชุมชนทางวัฒนธรรมของคนรุ่นใหม่ในนครตรัง
 
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคมเมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
เมืองแม่มอก การสร้าง Care Giver ดูแลผู้สูงอายุโดยภาคประชาสังคม
 
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
FURD CITIES MONITOR VOL.14 (JANUARY 2019)
 
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรีโมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
โมเดลการดูแลสุขภาพในเขตเมือง เมืองรอบพื้นที่อุตสาหกรรม แหลมฉบัง จ.ชลบุรี
 
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
FURD CITIES MONITOR VOL.13 (DECEMBER 2018)
 
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
Trang hackathon รายงานผลกิจกรรมเชิงปฏิบัติการด้านนวัตกรรมทางสังคมเพื่อการพัฒน...
 
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
เมืองปราจีนบุรี สร้างเมืองสมุนไพร ด้วยแนวคิดธุรกิจเพื่อสังคม (Social Business)
 

เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร

  • 1. เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง ศูนยศึกษามหานครและเมือง วิทยาลัยรัฐกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต ณัฐธิดา เย็นบารุง อรุณ สถิตพงศ์สถาพร ผู้ช่วยนักวิจัย
  • 2. 2 เมืองระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทรัพยากร ระนองเป็นเมืองที่มีศักยภาพที่ชัดเจน มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางบก ทางน้าที่อุดมสมบูรณ์ มี น้าแร่ธรรมชาติ แต่ที่ผ่านมาขาดการประชาสัมพันธ์ และนาเสนอกิจกรรมการท่องเที่ยว ทาให้ยังไม่เป็นที่ รู้จักมากนัก เมื่อช่องทางการสื่อสารได้เปิดกว้าง ทาให้การแบ่งปันข้อมูลมีมากขึ้น จุดเด่นด้านทรัพยากร และทุนในพื้นที่ระนองจึงเป็นที่น่าสนใจ และทาให้ระนองกลายเมืองใหม่ที่น่าจับตามองเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบันระนองเป็นเมืองที่มีความคึกคักและเป็นกระแสในสื่อ Social Media กลายเป็นหมุดหมาย การท่องเที่ยวแห่งใหม่ของประเทศไทย บรรยากาศการท่องเที่ยวของจังหวัดระนองในปี 2558 มี นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวจานวน 880,989 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2557 กว่า 8 หมื่นคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 8.91% การที่นักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น สืบเนื่องจากการเกิดขึ้น ของฟาร์มสเตย์ “บ้านไร่ไออรุณ” ในอาเภอกะเปอร์ และวิสาหกิจชุมชนกาแฟ ก้องวัลเลย์ในอาเภอ กระบุรี เมื่อได้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลของเมืองระนอง ทาให้เห็นว่าระนองเป็นเมืองที่มีทุนในเมืองสูง มาก โดยเฉพาะทุนทรัพยากร ที่เกิดจากภูมิศาสตร์ของเมือง จากทุนเหล่านี้ทาให้เมืองระนอง ได้พัฒนา เศรษฐกิจของเมืองบนฐานทรัพยากรเหล่านี้ เช่น การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ และการพัฒนาเป็น เมืองท่องเที่ยวจากแหล่งทรัพยากร นอกจากนี้ ยังค้นพบทุนเรื่องอื่นๆ ของเมืองที่ผู้บริหารเมือง หรือ ภาคประชาสังคมเมือง สามารถต่อยอดและพัฒนาเศรษฐกิจของเมืองมานาเสนอในบทความด้วย บทความนี้ได้แบ่งเนื้อหาของเป็น 4 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ ตอนที่ 2 ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวเมือง ตอนที่ 3 ระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจค้าชายแดน ตอนที่ 3 ข้อท้าทายเมืองระนอง ตอนที่ 4 ภาคผนวก
  • 3. 3 ตอนที่ 1 ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ
  • 4. 4 ระนอง : การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนกาแฟ การปลูกกาแฟในเมืองระนอง ในภาคใต้ของประเทศไทย จังหวัดที่มีการปลูกกาแฟมากที่สุด คือ ระนอง และชุมพร ส่วนใหญ่ เกษตรกรที่ปลูกนั้นเป็นคนอีสานที่อพยพย้ายมาทางานปลูกกาแฟที่ภาคใต้กันเป็นจานวนมาก ตั้งแต่ บริเวณที่ติดชายแดนพม่า ไล่เข้ามาถึงดินแดนตอนใน เข้าไปในป่าดงดิบ นับเป็นจานวนหลายแสน ไร่ โดยมีคนใต้เป็นนายทุน แต่เมื่อมีการปลูกจานวนมาก และราคาตลาดโลกตกต่า ทาให้ราคากาแฟใน ภาคใต้ตกลง ทั้งระนอง และชุมชน เป็นพื้นที่ปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้า (Robusta) ราวร้อยละ 80 ของ กาแฟที่ปลูกในประเทศ (อีกร้อยละ 20 คือกาแฟสายพันธุ์อราบิก้า (Arabica) ซึ่งปลูกกันในที่สูง ภาคเหนือของไทย) พื้นที่บริเวณคาบสมุทรภาคใต้นี้เป็นพื้นที่ที่มีภูมิศาสตร์และภูมิอากาศร้อนชื้นเหมาะ กับการปลูกกาแฟโรบัสต้ามากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากเป็นพื้นที่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตร ที่กาแฟ จะเติบโตได้ดี ซึ่งบริเวณที่ระนอง และชุมชน คล้ายๆ อเมริกาใต้ และแอฟริกา อันเป็นแหล่งปลูกกาแฟ ของโลก Gong Coffee แบรนด์กาแฟท้องถิ่นของเมืองระนอง การพัฒนาเมือง ใช่ว่าจะต้องเกิดจากรัฐส่วนกลางหรือรัฐท้องถิ่นเท่านั้น แต่การพัฒนาเมือง สามารถพัฒนาจากภาคส่วนอื่นๆ ของเมืองได้ เช่น กรณีการเกิดแบรนด์กาแฟ Gong coffee ในระนอง โดยคุณก้อง” แห่ง “ก้อง วัลเลย์” ผู้เรียกตนเองว่า เกษตรกรอินดี้ เกษตรกรสมัยใหม่ ที่เป็นผู้นาในการใช้ กาแฟโรบัสต้าคั่วสดบดมือจากเมล็ดกาแฟแถบระนอง-ชุมพร ให้เป็นกาแฟโรบัสต้าพรีเมียม จากเดิมที่ กาแฟโรบัสต้าเป็นเพียงเมล็ดกาแฟราคาต่าที่ใช้ผลิตกาแฟซองเท่านั้น ปัจจุบัน Gong Coffee ได้รวมกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เป็นวิสาหกิจชุมชนกาแฟ สามารถ ขายกาแฟได้ ราวสิบตันต่อปี โดยมีตลาดทั้งในและต่างประเทศ ส่วนโรงคั่วกาแฟในนามก้อง วัลเลย์ ที่ อ. กระบุรี จ.ระนอง มีผู้สนใจทั้งแนวคิดและกาแฟเข้ามาศึกษาดูงาน เยี่ยมชม มากมาย โดยเฉลี่ยปีละ 50,000 คน ซึ่งไม่เพียงช่วยจับจ่ายซื้อกาแฟคนระนอง แต่ยังแวะเวียนท่องเที่ยว จับจ่ายซื้อของ ในเมือง เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจเมืองระนอง
  • 5. 5 จุดเด่นกาแฟ : แนวคิดแบบ"ก้อง" ส่วนใหญ่ผู้คนมักมีมายาคติถึงอาชีพเกษตรกรว่าเป็นอาชีพที่ไม่สามารถสร้างรายได้สูงและใช้ กาลังแรงกายมาก ทาให้คนรุ่นใหม่น้อยคนที่จะสืบทอดหรือประกอบอาชีพเกษตรกร แต่วิธีคิด ของ "ก้อง" คือ เกษตรกรต้องกาหนดราคาเองได้ โดยไม่ขึ้นต่อราคาของนายทุน ที่สาคัญเกษตรกรต้อง ไม่ใช่เพียงแค่คนผลิต แต่จะต้องทาทั้งกระบวนการ คือ เกษตรกรสามารถทาต่อให้ครบวงจรเองได้ ตั้งแต่ ปลูก คัดสรรผลผลิต เก็บเกี่ยว แปรรูป ทาบรรจุภัณฑ์ ทาตลาด ขายถึงมือผู้บริโภค ซึ่ง คือสิ่งที่ Gong Coffee ทา ด้วยวิธีนี้ เกษตรกรสามารถสร้างทางเดินที่เป็นอิสระของตนเอง คู่ขนานไปกับนายทุนใหญ่ ได้ หลักการนี้ “ก้อง” บอกว่าทาได้ง่ายที่สุด เป็นเรื่องง่ายๆ คิดตามเหตุผลปกติ และที่สาคัญคือปรับ ใช้ได้ทั่วไปไม่เฉพาะกับกาแฟ แต่จะเป็นสินค้าเกษตรอื่นๆ เช่น ข้าว ลองกอง ทุเรียน กล้วย หรือแม้แต่ “ของ” อะไรก็ได้ ที่ต้องการขายและขายให้ได้ราคาดี หัวใจสาคัญของผู้ประกอบการที่จะประสบ ความสาเร็จในยุคนี้คือ ทาสินค้าเน้นคุณภาพ ไม่ใช่เน้นที่ปริมาณ เจาะตลาดลูกค้าเฉพาะกลุ่ม ทาสินค้า ให้ดีได้ตามที่สัญญากับลูกค้า แล้วลูกค้าก็จะยอมจ่ายตามราคาที่เรากาหนดเอง โดยสรุป “เกษตรกร” ก็ สามารถเป็น “ผู้ประกอบการ” อย่างที่กล่าวมาได้เช่นกัน ภาพที่ 1 ภาพกาแฟ Gong coffee ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนา อนาคตของเมือง (2559)
  • 6. 6 แบรนด์ Gong coffee ยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรเมืองระนอง ด้วยวิธิคิดแบบใหม่ เกษตรกรไม่จาเป็นต้องทาเองทุกส่วน เกษตรกรที่เป็นคนรุ่นใหม่อาจเลือก เข้ามาทาการเกษตร ในส่วนที่ตนถนัด เช่น การตลาดหรือมาร์เกตติ้ง คุณก้องเองนั้นก็ไม่ได้เป็นคนปลูก กาแฟเอง ไม่ได้เป็นคนเก็บเกี่ยว แต่รับซื้อเมล็ดกาแฟ จากคนปลูกแถบละแวกบ้านคือระนอง-ชุมพร มา คั่วเองด้วยกระทะธรรมดา บดด้วยเครื่องบดง่ายๆ สาหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟไทยนั้นไม่สามารถกาหนดราคาเองได้ ทาให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ โรบัสต้าจึงขายกาแฟตามราคาที่นายทุน โดยาบริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งต่างชาติและไทยมักอ้างว่าราคาเป็นไป ตามราคกาแฟในตลาดโลก คนปลูกกาแฟในแถบระนอง-ชุมพร ปลูกมาหลายสิบปียังต้องขายให้โรงงาน ตามราคาที่แล้วแต่เขาจะให้อย่างเดิม ความเป็นอยู่ก็เท่าเดิมหรือปีไหนถูกอ้างว่าราคาตกต่า ราคารับซื้อ ต่าลง นอกจากนี้ คนปลูกกาแฟแถบนี้ที่ปลูกเมล็ดดิบส่งบริษัทกาแฟเอาไปแปรรูปขายแก้วละเป็นร้อย ไม่เคยมีใครเคยคั่วกาแฟของตนเอง ไม่เคยมีใครได้ลิ้มรสกาแฟคั่วสดของตน คนเหล่านี้ยังคงดื่มกาแฟ ซองสาเร็จรูปราคาถูกจากโรงงาน ส่วนกาแฟคั่วสดที่ตัวเองปลูกกลับเป็นเรื่องของคนมีเงินในเมืองดื่ม กัน ก้อง จึงเข้าเปลี่ยนวิธีคิดเกษตรกรในเมืองระนองใหม่ โดยให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในระนองได้ กาหนดราคากาแฟของตัวเอง โดยสามารถกาหนดได้มากกว่าราคาตลาด เช่นราคา ตลาด 50 บาท เกษตรกรสามารถกาหนดราคาขายกาแฟตัวเอง 60-100 บาท ได้ แต่ต้องทาเมล็ดกาแฟ มีคุณภาพมากกว่าเดิม มาขายให้กับก้อง ซึ่งบทบาทของก้องคือแปรรูปและจัดการตลาด นอกจากนี้ คุณก้องไม่ได้จากัดว่า เกษตรกรเหล่านี้ต้องปลูกส่งขายให้เขาเท่านั้น จะแบ่งขาย เมล็ดดิบแบบคัดคุณภาพตามที่เขาเจาะจงมา และส่วนที่เหลือจะยังขายให้โรงงานก็ได้ หรือเกษตรกรคน ไหน -เมื่อรู้แล้วว่ากาแฟคั่วเองบดเองง่ายๆ ก็ได้ -จะลุกขึ้นมาคั่วบดขายเอง ทาตลาดเอง ก็ไม่ว่ากัน หรือ มีบางรายก็รับซื้อกาแฟที่คุณก้องคั่วบดแล้วไปขายต่อ อาจขายในแบรนด์ก้อง วัลเลย์หรือจะไปบรรจุใหม่ ขายในแบรนด์ตัวเองก็มี ภาพที่ 2 คุณก้อง (คนซ้าย) บรรยายเรื่องกาแฟ ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการ พัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
  • 7. 7 ปัจจุบัน เกษตรกรที่เป็น supplier เมล็ดดิบกาแฟขายแก่คุณก้องมีอยู่ราว 10 กลุ่ม ทั้งหมดอยู่ใน แถบระนอง-ชุมพร ปัจจุบันคุณก้องแปรรูปกาแฟแบบคั่วบดด้วยมือและขายได้ปีละราว 10 ตันและมีแผน จะขยายออกไปเป็น 50 ตันต่อปี ด้วยวิธีคิดของก้อง ทาให้กาแฟโรบัสต้าของเกษตรกรระนอง ซึ่งเดิม เป็นเพียงเมล็ดกาแฟที่ส่งไปผลิตกาแฟซองในโรงงาน กลับกลายเป็นกาแฟสดชั้นพรีเมี่ยม ที่พิถิพิถัน ตั้งแต่การปลูก คั่ว จนถึงการขาย ทาให้กาแฟระนอง ที่เริ่มจากแบรนด์ Gong กลายเป็นกาแฟที่มี ชื่อเสียงในวงการกาแฟ กาแฟแบรนด์ Gong จึงถือได้ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจของเมืองจากผลผลิต เกษตรกรรม ยกระดับคุณภาพสินค้าและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรในเมือง ด้วยความสาเร็จแบรนด์ กาแฟที่ใช้ผลผลิตท้องถิ่นเช่นนี้ หากภาครัฐเข้ามายกระดับ อาจต่อยอดให้กลายเป็นแบรนด์ "ระนอง" ที่ แท้จริงได้
  • 8. 8 วิเคราะห์ “Gong coffee” : การสร้างเศรษฐกิจท้องถิ่นสู่ตลาดโลก เกษตรกรรมกับเมืองดูเหมือนจะเป็นขั้วตรงข้าม ที่ไหนยิ่งมีความเป็นเมืองมาก ที่นั่นยิ่งยากที่จะ มีพื้นที่ทางเกษตร เมืองใหญ่หลายแห่งจึงต้องอาศัยการนาเข้าพืชผักผลไม้จากเมืองที่ยังคงมี เกษตรกรรมอยู่ เมืองระนองก็เป็นหนึ่งในเมืองเกษตรที่ปลูกกาแฟโรบัสต้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงาน เพื่อแปรรูปเป็นกาแฟสาเร็จรูปและป้อนเข้าสู่เมือง เส้นทางกาแฟเป็นแบบนี้มาหลายสิบปี จนกระทั่งก้อง คอฟฟี่ (Gong Coffee) เข้ามาในตลาด จึงเกิดเส้นทางที่เชื่อมระหว่างมือเกษตรกรสู่มือคนเมืองใน แนวทางใหม่ ซึ่งสามารถอธิบายตามหลักห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) และเศรษฐกิจขาย ประสบการณ์ (Experience Economy) ได้ดังต่อไปนี้ กระบวนการจากมือผู้ปลูกสู่มือผู้บริโภค กระบวนการผลิตของ Gong coffee จากต้นกาแฟสู่ผลิตภัณฑ์กาแฟจนถึงมือผู้บริโภค สามารถ อธิบายเป็นห่วงโซ่อุปทาน (แผนภาพที่ 1) ได้ดังนี้ 1) ผู้จัดจ่ายวัตถุดิบ (Raw Material) ในที่นี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้าในจังหวัดระนอง และชุมพร ซึ่งรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ มีหน้าที่ปลูกต้นกาแฟ เก็บเกี่ยวผลกาแฟ และร่วมมือกับ Gong coffee ในการส่งวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการแปรรูป โดยที่ก้องคอฟฟี่มีการควบคุมการผลิตกาแฟแต่ละ กลุ่มเพื่อวิจัยและพัฒนากาแฟโรบัสต้า พร้อมทั้งมีการอบรมเกษตรกรให้เข้าใจกระบวนการผลิตกาแฟ ด้วย 2) ผู้ผลิต (Manufacturers) ในที่นี้คือ Gong coffee ซึ่งเป็นผู้แปรรูปเม็ดกาแฟโดยวิธีการคั่ว และบด พร้อมบรรจุใส่บรรจุภัณฑ์ในหลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับทั้งลูกค้าที่เป็นผู้บริโภคและลูกค้าที่ เป็นเจ้าของร้านกาแฟ 3) ผู้ค้าส่ง/ผู้กระจายสินค้า (Wholesalers/Distributors) ในที่นี้คือ Gong coffee เช่นเดียวกัน เพราะ Gong coffee ได้ทาการตลาดโดยอาศัยเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการช่วยกระจายสินค้าไปทั่วโลก ทาให้มีคนรู้จักและเข้าถึงผลิตภัณฑ์กาแฟได้ง่ายขึ้น โดยมีวิสาหกิจชุมชนนาม “ก้องวัลเลย์ (Gong Valley)” เป็นศูนย์กลางกระจายสินค้า ตั้งอยู่ในอาเภอกระบุรี จังหวัดระนอง 4) ผู้ค้าปลีก (Retailers) ในที่นี้คือ ร้านกาแฟสด และร้านค้าออนไลน์ ที่นาผลิตภัณฑ์ก้องคอฟ ฟี่ไปจาหน่ายเป็นกาแฟสดและกาแฟคั่ว ด้วยการซื้อขายผ่านก้องวัลเลย์ 5) ผู้บริโภค (Customer) คือ ลูกค้าที่ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ Gong coffee ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ดื่มกาแฟที่ ร้านกาแฟสดที่ใช้กาแฟแบรนด์ก้องคอฟฟี่ ผู้ที่มาเยี่ยมชมก้องวัลเลย์ ตลอดจนผู้ที่สั่งซื้อผลิตภัณฑ์ผ่าน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
  • 9. 9 แผนภาพที่ 1 ห่วงโซ่อุปทานของก้องคอฟฟี่ ที่มา: แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) ด้วยกระบวนการผลิตในลักษณะนี้ ก้องคอฟฟี่จึงสามารถควบคุมคุณภาพเม็ดกาแฟภายใต้ แบรนด์ของตนได้ ต่างจากผลิตภัณฑ์กาแฟของกลุ่มนายทุนอุตสาหกรรมกาแฟที่เน้นปริมาณ เกษตรกร ไม่มีอานาจต่อรอง ไม่เคยดื่มกาแฟที่ตัวเองปลูก ไม่เคยทราบวิธีคั่ว ไม่เคยตั้งราคาเอง อีกทั้งเกษตรกร บางส่วนก็มีกระบวนการผลิตที่แย่ เช่น เก็บเกี่ยวผลผลิตครั้งละมาก ๆ ไม่สนใจอายุพืชผล กระสอบ กาแฟโดนฝน ค้างคืน รสชาติเสีย เป็นต้น เพราะเกษตรกรไม่ทราบว่าเม็ดกาแฟที่มีคุณภาพ ช่วยเพิ่ม มูลค่าและนาไปขายให้กับตลาดเฉพาะกลุ่มที่นิยมบริโภคกาแฟสดได้ ดื่มกาแฟพร้อมดื่มประสบการณ์ ตลาดกาแฟประกอบด้วย ตลาดทั่วไป (Mass Market) เช่น กาแฟซองสาเร็จรูป เป็นต้น และ ตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เช่น กาแฟสด เป็นต้น โดยก้องคอฟฟี่เน้นขายตลาดเฉพาะกลุ่มหรือ ตลาดพรีเมียมที่เน้นคุณภาพ ซึ่งส่วนมากจะเป็นกาแฟอาราบิก้า เพราะกาแฟโรบัสต้าจะถูกมองเป็น กาแฟระดับล่าง เน้นปริมาณ และขายให้เฉพาะนายทุนอุตสาหกรรมกาแฟ แต่ก้องคอฟฟี่ได้เปลี่ยน ความคิดหันมาผลักดันกาแฟโรบัสต้าให้ก้าวสู่ตลาดพรีเมียม อาชีพเกษตรกรในความหมายของก้องคอฟฟี่ รวมถึงคนปลูก คนเก็บเกี่ยว คนแปรรูป ตลอดจน คนขาย ซึ่งริเริ่มด้วยแนวคิดสามประการ ได้แก่ ประการที่หนึ่ง เกษตรกรต้องไม่เปลี่ยนพฤติกรรมไปตาม ราคาจนทาให้คุณภาพสินค้าตกต่า เกษตรกรต้องตั้งราคาสินค้าเองได้ และเกษตรกรต้องรวมตัวกันเป็น วิสาหกิจชุมชน ประการที่สอง เกษตรกรไม่จาเป็นต้องลงทุนด้วยเงินจานวนมาก เพียงแต่ต้องพยายาม สร้างภาพลักษณ์ให้สินค้ามีมูลค่าเพิ่มขึ้น หาวิธีการลดต้นทุนอย่างง่าย เพื่อสร้างความยั่งยืน และ ประการที่สาม ชีวิตและความเป็นอยู่ของเกษตรกรต้องดีขึ้น อาจกล่าวได้ว่า คุณก้องดาเนินวิสาหกิจตาม แนวเศรษฐกิจขายประสบการณ์
  • 10. 10 กล่องที่ 1 นิยามของเศรษฐกิจขายประสบการณ์ (Experience Economy) ที่มา: Jo Swinnen & Kristine Van Herck & Thijs Vandemoortele, 2012. แผนภาพที่ 2 เศรษฐกิจขายประสบการณ์ภายใต้แบรนด์ก้องคอฟฟี่ ที่มา: แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) จากการตั้งวิสาหกิจชุมชนก้องวัลเลย์และการพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์กาแฟโรบัสต้าให้เป็น กาแฟที่มีคุณภาพ สามารถตั้งราคาสูงเทียบเท่ากาแฟอาราบิก้าได้ ก้องคอฟฟี่ทาเพียงแค่เพิ่มเรื่องราว ที่มาของโรบัสต้าและฟื้นฟูวัฒนธรรมการคั่ว การบด การดื่มที่มีมาช้านานให้กับเกษตรกรและผู้บริโภค กอปรกับใช้สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ในการทาตลาด ส่งผลให้กาแฟโรบัสต้าที่เคยถูกมองว่า เป็นกาแฟที่ไม่มีคุณภาพ กลับกลายเป็นสินค้า (Goods) ในรูปกาแฟคั่วและกาแฟบดบรรจุใส่ถุงกระดาษ ในแบรนด์ “ก้องคอฟฟี่” หลังจากนั้นไม่นาน ร้านกาแฟสดก็เริ่มนากาแฟแบรนด์ก้องคอฟฟี่เข้าไปจัด จาหน่ายและบริการชงเป็นแก้วพร้อมดื่ม (Services) จนกระทั่งผู้บริโภครับรู้เรื่องราวและจดจาแบรนด์ เศรษฐกิจขายประสบการณ์ (Experience Economy) เป็นเศรษฐกิจที่มุ่งให้ความสาคัญกับคุณภาพของการ บริการ พร้อมทั้งหวังให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่น่าจดจาจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ทาให้ผู้บริโภค สามารถสนุกไปกับกิจกรรมหรือการบริโภคสินค้าได้ แม้ประสบการณ์จะเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ก็ตาม ธุรกิจในยุค เศรษฐกิจขายประสบการณ์ต้องเพิ่มความเป็นเนื้อแท้ (Authenticity) ความรู้สึก (Feelings) และอารมณ์ (Emotions) เข้าไปในตัวสินค้าและบริการด้วย เพื่อให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคที่เริ่มหันไปให้ความสนใจกับ เรื่องราวจากสินค้าและบริการที่เขารู้สึกได้ ไม่ใช่เพียงแค่คุณภาพของวัตถุดิบ
  • 11. 11 ของก้องคอฟฟี่ได้ ก้องคอฟฟี่จึงเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างประสบการณ์ที่ดี (Experiences) ให้กับลูกค้าควบคู่ ไปกับการดื่มกาแฟได้ บทสรุป ก้องคอฟฟี่ เป็นแบรนด์กาแฟโรบัสต้าพรีเมียมแบรนด์หนึ่งในจังหวัดระนองที่ประสบความสาเร็จ และได้รับความนิยมชมชอบจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถือเป็นแบรนด์ท้องถิ่นตัวอย่างที่สามารถ เชื่อมโยงสู่ตลาดโลกได้ ผ่านเครื่องมือสาคัญคือ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ช่วยลดช่องว่างระหว่างผู้ซื้อกับ ผู้ขาย ทาให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง นาพาเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยวเข้ามาสู่เมืองระนอง สร้าง เศรษฐกิจเมืองให้เติบโตได้ เมืองหลาย ๆ แห่งที่กาลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจจึงอาจนาความรู้จากวิสาหกิจชุมชน “ก้อง วัลเลย์” ไปฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ โดยอาจเริ่มจากตัวชุมชนหรือภาครัฐในการสร้างผลิตภัณฑ์และ สร้างแบรนด์เป็นของตัวเอง จากนั้นค่อยพัฒนาแบรนด์ให้มีชื่อเสียงด้วยการส่งเสริมการตลาด พยายาม ทาให้สินค้าแตกต่าง แปลกใหม่ และสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับผู้บริโภค เมื่อเมืองมีแบรนด์ท้องถิ่นที่ จับใจผู้บริโภคได้ มีผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจากที่ไหนไม่ได้ เมืองย่อมดึงดูดผู้คนให้เข้ามาท่องเที่ยว เข้า มาสัมผัส เข้ามาจับจ่ายใช้สอยในเมือง การสร้างแบรนด์ของเมืองจึงเป็นแนวทางใหม่แนวหนึ่งในการ กระตุ้นเศรษฐกิจเมืองที่คุ้มค่าแก่การลงทุน เอกสารอ้างอิง Jo Swinnen & Kristine Van Herck & Thijs Vandemoortele, 2012. "The Experience Economy as the Future for European Agriculture and Food?," LICOS Discussion Papers 31312, LICOS - Centre for Institutions and Economic Performance, KU Leuven.
  • 12. 12 ตอนที่ 2 ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว
  • 13. 13 ระนอง : ศักยภาพทรัพยากร สู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว ปัจจุบันเมืองระนองเริ่มรู้จักในฐานะเมืองท่องเที่ยว คนต่างชาติรู้จักระนองมากขึ้น จากปัจจัย หลายอย่าง เช่น ประเทศพม่าได้ทาการเปิดประเทศ คนสามารถข้ามไปเที่ยวเกาะสอง โดยผ่านเมือง ระนอง อีกทั้งระนองมีเกาะพยาม เกาะที่ยังสวยและยังไม่มีคนเข้าถึงมากนัก และแนวโน้มการท่องเที่ยว แบบใหม่ที่เกิดขึ้นกับระนอง เช่น การท่องเที่ยวบ่อน้าร้อน การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ทาให้เมือง ระนอง ณ เวลานี้ มีความน่าสนใจในฐานะเมืองท่องเที่ยวแห่งใหม่ของไทย ระนองได้พัฒนาการท่องเที่ยว จากทุนทรัพยากรของตนเองทั้งสิ้น 1. ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) คือ สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีประโยชน์สามารถ สนองความต้องการของมนุษย์ได้ หรือมนุษย์สามารถนามาใช้ประโยชน์ได้ เช่น บรรยากาศ ดิน น้า ป่าไม้ ทุ่งหญ้า สัตว์ป่า แร่ธาตุ พลังงาน เมืองระนองมีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติหลากหลาย อันเป็น ต้นทุนที่นาไปสู่การเป็นเมืองท่องเที่ยว ได้ดังนี้ 1.1. ทรัพยากรเชิงนิเวศทางทะเล (marine ecotourism resources) ย้อนกลับไปในสมัยอดีต พระยาดารงสุจริตมหิศรภักดี (คอซู้เจียง) ได้ให้ ป๋าโฮ้ย ซึ่งเป็นชาว ไทยมุสลิม ไปก่อตั้งหมู่บ้านที่ เกาะพยาม เพื่อป้องกันการบุกรุกของอังกฤษซึ่งครอบครองพม่าอยู่ใน สมัยนั้น ทาให้หมู่เกาะระนอง ปรากฎว่าเป็นกรรมสิทธิ์อยู่ในแผ่นที่ประเทศไทย ในจังหวัดระนอง หมู่เกาะระนอง หรือเรียกอีกอย่างว่า อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะระนอง ปี 2553 ได้เปลี่ยนชื่อ เป็น อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะพยาม ติดอยู่กับชายฝั่งทะเลอันดามัน และติดกับชายแดนประเทศพม่า อุทยานดังกล่าว ประกอบด้วยทรัพยากรทั้งทางบก ชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่ชายฝั่งทะเล จะมีเกาะที่ หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เกาะบางจาก เกาะยิว เกาะทรายดา เกาะสน และพื้นที่ห่างจากชายฝั่ง มี อีกหลายเกาะ เช่น บริเวณเกาะช้าง เกาะพยาม เกาะทะลุ เป็นต้น ด้วยความสมบูรณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ทาให้ผู้บริหารเมืองระนองเตรียมงบประมาณ กว่า 20 ล้านบาท เพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม โดยเตรียมการพัฒนาด้านสาธารณูปโภค ไฟฟ้าให้ดีขึ้น เกาะพยามยังมีชาวเลเผ่ามอแกน มาอาศัยอยู่บนเกาะกว่า 30 ครัวเรือน จึงมีแผน จัดสร้างสะพานคอนกรีตเชื่อมระหว่างอ่าวใหญ่-หมู่บ้านมอแกน รวมระยะทางกว่า 500 เมตร เนื่องจากเส้นทางสัญจรระหว่างชุมชนชาวเลเผ่ามอแกนและเกาะพยามยังค่อนข้างลาบาก หากมี การพัฒนาเส้นทางดังกล่าวแล้วเสร็จ ชาวเลเผ่ามอแกนจะเดินทางได้สะดวกขึ้น นักท่องเที่ยว สามารถเยี่ยมชมวิถีชีวิตของชาวเลเผ่ามอแกนที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่เกาะพยามแห่งนี้ ทั้งยังเป็นการ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของการท่องเที่ยวในพื้นที่เกาะพยามอีกด้วย
  • 14. 14 ภาพที่ 1 หมู่บ้านชาวเลเผ่ามอแกน ในเกาะพยาม ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ 1.2. ทรัพยากรเชิงนิเวศสิ่งแวดล้อม (ecological resources) เมืองระนองเป็นเมืองที่มีความพิเศษเชิงพื้นที่ เป็นเมืองที่มีพื้นที่สาหรับการพัฒนาเมือง เพียงแค่ 14 % ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทรัพยากรธรรมชาติ มี ป่าชายเลน ป่าสวงนเป็นส่วนใหญ่ ความพิเศษเชิงพื้นที่นี้เป็นข้อที่ดีมาก แต่ในขณะเดียวกันทา ให้ระนองมีข้อจากัดด้านพื้นที่การพัฒนาเมืองด้วยเช่นกัน ความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติของระนองมีความสมบูรณ์และหลากหลายมาก ระนองมีพื้นที่สาคัญทางธรรมชาติหลายแห่ง มีป่าทั้งหมด 13 แห่ง มีพื้นที่ชุ่มน้า (Ramsar Convention) ระดับประเทศ โดยอยู่ในอุทยานแห่งชาติแหลมสน อาเภอกระบุรี และปากคลองใน อาเภอกะเปอร์ ยาวตั้งแต่จดใต้จังหวัดระนอง และมีพื้นที่ป่าชายเลนผืนใหญ่ที่มีความอุดม สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง รัฐบาลไทยจึงได้จัดทาโครงการร่วมกับประเทศ สมาชิกยูเนสโก้ประกาศพื้นที่ชายฝั่งบริเวณนี้เป็น เขตสงวนชีวมลฑลโลก (International Coastal and Marine Biosphere Reserve) ซึ่งเป็นแห่งที่ 4 ของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ หลักเพื่อเป็นที่สงวนความหลากหลายทางธรรมชาติ ด้วยความสมบูรณ์ของนิเวศเมืองเช่นนี้ ระนองสามารถสร้างตัวเองให้กลายเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สาคัญเมืองหนึ่งของไทยได้ แม้ยังไม่ได้จัดการการท่องเทียวด้านนี้มากนัก แต่ผู้คนได้เข้ามาเที่ยวเชิงนิเวศแล้ว ส่วนใหญ่มักเดินทางไปตามอุทยานและศูนย์วิจัยในพื้นที่ เช่น ศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว ซึ่งได้จัดเจ้าหน้าที่ไว้นาชมธรรมชาติ ทั้งพรรณไม้ป่าและสัตว์ป่า มีการจัดพื้นที่ท่องเที่ยวเพื่อการศึกษาเนื้อที่ประมาณ 150 ไร่ มีการสร้างสะพานศึกษาธรรมชาติ ยาวถึง 850 เมตร ให้เดินชมป่าชายเลน สิ่งมีชีวิตในผืนป่าชายเลนได้ มีแผ่นป้ายให้ ความรู้ เกี่ยวกับ ระบบนิเวศของป่าชายเลนโดยอธิบายไว้ตลอดเส้นทาง
  • 15. 15 ภาพที่ 2 ป่าชายเลนในศูนย์วิจัยป่าชายเลนหงาว จังหวัดระนอง ที่มา ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) 1.3. ทรัพยากรน้าแร่ธรรมชาติ (mineral water resources) เมืองระนองเป็นเมืองที่มีความพิเศษ คือ มีบ่อน้าร้อนคุณภาพดี มีปริมาณมากกระจาย ตัวอยู่หลายแห่ง ซึ่งเปิดให้คนระนอง และคนนอกได้เข้าไปใช้บริการ เป็นสถานที่แห่งการแช่น้า ร้อน ช่วยผ่อนคลาย และช่วยให้เลือดไหวเวียนต่อร่างกายได้ดีมาก บ่อน้าพุร้อนของระนอง สาคัญมีดังนี้ - บ่อน้าร้อนสวนสาธารณะรักษะวาริน (เทศบาลเมือง) มีบ่อน้าร้อน 3 บ่อ คือ บ่อพ่อ บ่อแม่ และบ่อลูกสาว - บ่อน้าร้อนพรรั้ง หมู่ที่ 3 ต.บางริ้น อ.เมือง มีบ่อน้าร้อน 3 บ่อ ความร้อนอยู่ระหว่าง 45 – 54 องศา อยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติน้าตกหงาว - บ่อน้าร้อนพุรหลุมพี หมู่ที่ 3 ต.บางริ้น อ.เมือง มีบ่อน้าร้อน 1 บ่อ ความร้อนอยู่ ระหว่าง 44 องศา อยู่ในพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้าน มีบริเวณพื้นที่ทั้งหมด 19 ไร่ น้าแร่ร้อนของระนอง เป็นน้าแร่ร้อนที่มีคุณภาพสูง มีกามะถันน้อย จึงเหมาะแก่การ รักษาบาบัดโรคหลายชนิด ทาให้คนระนอง ไม่ว่าจะเป็น เด็ก ผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุในเมืองระนอง สนใจเข้าแช่น้าร้อนตลอด นอกจากคนระนองแล้ว บ่อน้าร้อนยังมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและ ชาวต่างชาติ เข้ามาใช้บริการและท่องเที่ยวที่บ่อน้าร้อนวันละไม่ต่ากว่า 300 คน
  • 16. 16 ภาพที่ 3 ผู้คนแช่น้าร้อนในสวนสาธารณะรักษะวาริน ที่มา : http://www.manager.co.th/Travel/ ด้วยศักยภาพของทรัพยากรบ่อน้าร้อน ซึ่งน้าแร่เมืองระนองนั้นถือเป็นน้าแร่คุณภาพดี แห่งหนึ่ง ทาให้นโยบายของจังหวัดระนองมุ่งสร้างให้ระนองเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (health tourism) ปัจจุบัน จังหวัดและโรงพยาบาลระนองร่วมดาเนินโครงการศูนย์สุขภาพด้วย น้าแร่ฝั่งอันดามัน หรือ ศูนย์วารีบาบัดโดยน้าแร่ร้อน หากการก่อสร้างแล้วเสร็จจะทาให้ศูนย์ สุขภาพด้วยน้าแร่ฝั่งอันดามันเป็นศูนย์การแพทย์ทางเลือกด้วยวารีบาบัดน้าแร่ใหญ่ที่สุดใน ภาคใต้ สามารถเชื่อมโยงกับธุรกิจการท่องเที่ยวในลักษณะเป็น Medical Hub ซึ่งถือเป็นความ โดดเด่นของการท่องเที่ยวระนองที่แตกต่างจากเมืองอื่นๆ 2. ทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้น (man-made resources) ทรัพยากรประเภทนี้มนุษย์อาจสร้างขึ้น โดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้ มีทั้งสิ่งที่มองเห็นได้ จับต้องได้ และสิ่งที่ไม่สามารถมองเห็นได้หรือไม่ สามารถจับต้องได้ เป็นทรัพยากรที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของตนเอง ตามความ เหมาะสมของพื้นที่ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา และวัฒนธรรม ในเมืองระนอง ไม่ได้มีเพียง แค่ทุนทรัพยากรธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังมีทุนทรัพยากรที่คนระนองสร้างขึ้นด้วย และกลายเป็นทุน ต่อยอดในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบใหม่ มีทั้งในเชิงธรรมชาติและประวัติศาสตร์ ดังนี้ 2.1. การพัฒนาทรัพยากรการเกษตร สู่การเป็นฟาร์มสเตย์ (farm stay) “บ้านไร่ไออรุณ” ฟาร์มสเตย์ใน อ.กะเปอร์ ที่ปรับปรุงจากสวนผักและผลไม้ ได้กลายเป็นกระแสในสื่อ social media ดึงผู้คนให้เข้ามาเยี่ยมเยียน ทาให้ระนองเป็นเมืองที่ถูกพูดถึงในด้านการท่องเที่ยว มากขึ้น ความน่าสนใจของ บ้านไร่ไออรุณ คือ วิธีคิดของเจ้าของ ที่ตัดสินใจลาออกงานจาก กรุงเทพ เมืองใหญ่ กลับบ้านเกิด สร้างฟาร์มเป็นของตนเอง โดยอาศัยทุนเดิมของครอบครัวที่
  • 17. 17 ทาเกษตรกรรม และความรู้ด้านสถาปัตยกรรม เปลี่ยนบ้านของตนเองให้กลายเป็นแหล่งปลูกผัก ออแกนิกส์ จากความคิดที่แค่จะปลูกไว้กินเอง กลับกลายเป็นผลผลิตที่ดี จนสามารถขายเป็น การนารายได้สู่ครอบครัว จากนั้นได้สร้างที่พักจานวน 2 หลัง เปิดให้นักท่องเที่ยวให้เข้ามา พักผ่อนที่สนใจท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ กลายเป็นแนวโน้มใหม่ที่น่าสนใจของเมืองระนอง หลังจากมีกระแสการแชร์ภาพของ บ้านไร่ไออรุณ มีนักท่องเที่ยวเข้ามาติดต่อ ทั้งเยี่ยมชมและ เข้าพักที่ฟาร์มสเตย์แห่งนี้จานวนมาก นับได้ว่าบ้านไร่ไออรุณ เป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยว แบบฟาร์มสเตย์ การท่องเที่ยวแบบใหม่ในระนอง การท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น เนื่องจากมีจุดเด่นคือ ทาให้ นักท่องเที่ยวที่ต้องการใช้ชีวิตแบบท้องถิ่น ได้เรียนรู้วิถีชีวิตท้องถิ่นที่มีความเรียบง่าย อยู่กับ ธรรมชาติ และมีโอกาสได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมท้องถิ่นด้วย ทาให้ได้รับ ประสบการณ์ในชีวิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งฟาร์มสเตย์บ้านไร่ไออรุณ สามารถตอบโจทย์นักท่องเที่ยว ดังกล่าวได้ดี คือ การบริหารจัดการฟาร์มสเตย์แห่งนี้ใช้บริการคนในครอบครัวทั้งหมด ทาให้เกิด ความรู้สึกที่เรียบง่าย รู้สึกเหมือนได้อาศัยอยู่กับบ้านที่ติดกับธรรมชาติ และฟาร์มสเตย์แห่งนี้ไม่ มีสิ่งอานวยความสะดวกใดๆ เช่น ทีวี แอร์ และที่สาคัญ Wi-fi เพื่อให้นักท่องเที่ยวสนใจอยู่กับ ธรรมชาติมากขึ้น อาเภอกะเปอร์ ของระนอง ซึ่งมีบ้านไร่ไออรุณตั้งอยู่ กลายเป็นจุดหมายปลายทางจุด ท่องเที่ยวแห่งใหม่ ซึ่งผู้บริหารเมืองควรใช้ประโยชน์จากฟาร์มสเตย์แห่งนี้ สร้างจุดเด่นเพิ่มเติม ให้กับเมืองระนอง ในฐานะเมืองท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ ที่สร้างจากวิถีของคนระนอง ที่สาคัญ หากมีการถ่ายทอดความคิด และสร้างฟาร์มสเตย์ที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากเป็นโอกาสที่ดี ในการสร้างสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ ยังทาให้ความภาคภูมิใจจากคนท้องถิ่นในระนอง ถ่ายทอด ไปถึงนักท่องเที่ยว ได้เรียนรู้ และใช้เครื่องมือจาก Social media แบ่งปันเรื่องราวทั้งหมด จุด ประกายความคิดให้คนกลับไปพัฒนาเมืองของตนเองได้อีกด้วย ภาพที่ 4 สวนผักออร์แกนิก ณ บ้านไร่ไออรุณ ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559)
  • 18. 18 ภาพที่ 5 โฮมสเตย์หลังเล็กสาหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการพัก ณ บ้านไร่ไออรุณ ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) 2.2. ทรัพยากรเชิงประวัติศาสตร์ (historicall recourse) เมืองระนองเป็นเมืองที่ประวัติศาสตร์ ที่อายุมากกว่า 100 ปี ระนองในอดีตมีฐานะเป็น เมืองขึ้นของเมืองชุมพรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของไทย โดยแบ่งการปกครอง ออกเป็น 2 เมือง คือ เมืองระนองและเมืองตระ ซึ่งอยู่ในการปกครองเมืองชุมพร” ครั้นต้นสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ มีชาวจีนฮกเกี้ยนชื่อ “ คอซู้เจียง” ภายหลังคือพระยาดารงสุจริตมหิศรภักดี ปกครองเมืองระนอง ความเจริญก้าวหน้าหลายเมืองทางตอนใต้นั้น เกิดจากบุคคลสาคัญใน ตระกูล ณ ระนอง เป็นส่วนใหญ่ จวนของเจ้าเมืองระนอง ซึ่งเก็บรูปถ่าย บันทึกต่างๆ ไว้ ปัจจุบัน เปิดเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ระนองยังมีศิลาสลักพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้ทรงจารึกไว้ และวัดวารีบรรพต วัดที่ จาลองเจดีย์ของพม่า
  • 19. 19 ภาพที่ 6 จวนเจ้าเมือง ณ ระนอง แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองระนอง ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อการพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) จากแหล่งประวัติศาสตร์ดังกล่าว ระนองมีศักยภาพที่จะแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี และประวัติศาสตร์ เพื่อนักท่องเที่ยวได้ชื่นชม และได้รับความรู้ มีความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ในท้องถิ่น แต่ทั้งนี้ จากข้อมูลของคุณโกศล ณ ระนอง เมืองระนองยังให้ ความสาคัญการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์น้อย แต่คนนอกเมืองกลับให้ความสนใจประวัติ ศาสต่ร์เมืองระนองมากกว่า ปัจจุบันมีกลุ่มบริษัททัวร์ จัดแผนการท่องเที่ยวให้คนจีนมาเที่ยว เมืองระนอง มาคาระวะคนจีน ที่มาจากเมืองจีน และได้มาเป็นเจ้าเมืองของไทย เพราะมีการทา วิจัยแล้วว่า คนจีนที่ออกจากเมืองจีน ซึ่งได้มาเป็นเจ้าเมืองระนองมีเพียงคนเดียวเท่านั้น แต่ ข้อมูลเหล่านี้องค์กรท้องถิ่นเมืองระนองยังไม่ทราบ โดยกลุ่มคนเหล่านี้ได้เข้ามาช่วยใช้จ่ายใน ระนองจานวนมาก
  • 20. 20 กล่องที่ 1 พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวของระนอง จากข้อมูลของสมาคมท่องเที่ยวในระนอง ได้ศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวระนอง นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวระนองนั้นมีพฤติกรรมในการเที่ยว คือ Slow life คือเน้นพักผ่อน แช่น้าร้อน เพราะระนองมีชื่อเสียงเรื่องบ่อน้าพุร้อน ยิ่งปัจจุบันมีกระแส Slow life จาก Social media ทาให้คน ยิ่งมาระนองมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีคนจุดประกายเรื่องทะเล เกาะสองของพม่า คนก็เริ่มให้ ความสนใจมากขึ้น คนใช้ระนองเป็นทางผ่านข้ามไปพม่าด้วย นอกจากนี้พฤติกรรมนักท่องเที่ยวระนอง มักเป็น one day trip โดยอยู่มากสุด ประมาณ 3 วัน 2 คืน ซึ่งจะอยู่อยู่ระนองประมาณแค่ 1 คืน ชาวสแกนดิเนเวียที่จะไปเกาะพยามเป็น ส่วนใหญ่ ไม่นิยมแช่น้าพุร้อน แต่จะเป็นคนไทยที่นิยมน้าพุร้อน นอกจากเที่ยวในเมืองแล้ว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เน้นชมธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นป่าชายเลน ชุมชนกาแฟ ก้องวัลเลย์ เป็นต้น
  • 21. 21 ตอนที่ 3 ระนอง : การพัฒนาเศรษฐกิจค้าชายแดน
  • 22. 22 การพัฒนาเศรษฐกิจการค้าชายแดน จากภูมิศาสตร์เมืองระนอง ซึ่งเป็นเมืองชายแดน ใกล้กับเกาะสอง ประเทศพม่า ทาให้เมือง ระนองกับเกาะสอง เสมือนเป็นเมืองพี่เมืองน้อง ที่ทั้งคนระนองและคนเกาะสองต่างข้ามฟากค้าขายกัน มานาน และคนเกาะสองมักจะข้ามเข้ามาใช้บริการการแพทย์ของระนองด้วย รวมทั้งช่วงปีที่ผ่านมา คน ไทยนิยมข้ามฝั่งจากระนองไปเที่ยวที่เกาะสอง ด้วยเหตุนี้ด่านทั้งสองฝั่ง จึงมีความคึกคัก มีการเข้าออก ของผู้คนและสินค้าอยู่เสมอ โดยระนองมีด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นจุดตรวจไว้ 3 ช่องทาง ได้แก่ 1.ท่า เทียบเรือสะพานปลา 2.ปากน้าระนอง และ 3.ท่าเทียบเรือ บ้านอันดามันคลับ จากัด ท่าทั้งสามแห่งล้วน แต่อยู่ในอาเภอเมืองระนองทั้งสิ้น ภาวะการค้าชายแดนไทยพม่า ปี 2557 มีมูลค่ารวม 19,998.27 ล้านบาท มูลค่าส่งออก 18,495 ล้านบาท มูลค่านาเข้า 1,503 ล้านบาท โรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่อเนื่อง การประมง เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารทะเล ห้องเย็น ปลาบ่น โรงงานน้าแข็ง ปัจจุบันมีโรงงาน อุตสาหกรรม 273 โรง จานวนคนงาน 8,689 คน เงินลงทุน 2,294,577,920 ล้านบาท ภาพที่ 7 มูลค่าและสถิติ สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของจังหวัดระนอง ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ที่มา: http://www.ranongcustomshouse.com/default.aspx?headmenu=true&id=M000000002
  • 23. 23 ภาพที่ 8 มูลค่าและสถิติ สินค้านาเข้า 10 อันดับแรกของจังหวัดระนอง ณ เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2557 ภาวะการค้าชายแดนระนอง มีมูลค่ารวมอยู่ในอันดับ 3 ของด่านการค้าไทย – พม่า ทั้งหมด 11 ด่าน ทาให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง และภาคส่วนต่างๆ มีแผนการพัฒนาด้านโลจิ สติกส์ระนอง โดยจะผลักดันให้ท่าเทียบเรือระนองเป็นท่าเรือนานาชาติในการส่งออกสินค้าไปยัง ต่างประเทศและในกลุ่มบิมสเทค (BIMSTEC) กล่องที่ 2 คนพม่าในเมืองระนอง ช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา เมืองระนองเป็นเมืองที่มีกลมกลืนกับคนพม่ามายาวนาน มีคนพม่าใหม่ๆ เข้ามาในเมืองทุกวัน เพราะระนองอยู่ใกล้กับเกาะสอง ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งในพม่า เกาะสองเป็นเสมือน เมืองบ้านพี่บ้านนองกับระนองมานาน เพราะทั้งสองฝั่งค้าขาย เดินทางหากันตลอด อีกทั้งระนองเป็นจุด ผ่านแดน ให้แรงงานพม่าผ่าน ไปจังหวัดที่สาม สมุทรสาคร มหาชัย เป็นต้น ปัจจุบันจานวนพม่าใน ระนอง มีจานวนมาก เรียกได้ว่า มีจานวนเท่ากับจานวนคนระนอง คือ หนึ่งครัวเรือนจะมีคนพม่า 2 คน คนพม่าส่วนใหญ่ที่เข้ามาระนอง มาจากทวาย เมืองหลวง รัฐตะนาวศรี เป็นหลัก สมัยก่อน ทวายจะเชื่อมไทยด้วยเส้นทางบก เข้าไทยทางสังขละ จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันมีการเดินทางทางเรือ จึงเข้าทางระนองแทน คนพม่าจากทวาย ส่วนใหญ่ไม่ได้เรียนหนังสือ ฉะนั้น เรื่องภาษา และสาเนียง แตกต่างจากพม่าทั่วไป ภาษาส่วนใหญ่ที่ใช้ในระนองมักจะเป็นภาษาถิ่นของทวายเอง แต่หากเป็นพม่า จากเกาะสอง จะได้รับการศึกษา และสามารถสื่อสารกับพม่าในย่างกุ้งได้ ปัญหาแรงงานพม่า โดยเฉพาะเรื่องการศึกษา การสื่อสาร และที่สาคัญปัญหาสุขอนามัย โรคติดต่อ นโยบายจากทางส่วนกลางในการแก้ปัญหาแรงงานพม่า ยังคงไม่สามารถจัดการปัญหาใน พื้นที่ได้1 ที่มา: http://www.ranongcustomshouse.com/default.aspx?headmenu=true&id=M000000002
  • 25. 25 ข้อท้าทายเมืองระนอง 1. ปัญหาขยะ ระนองในวันนี้มีปัญหาขยะเป็นปัญหาหลัก ทั้งในพื้นที่ป่า เขตชุมชน เนื่องจาก นักท่องเที่ยวมาเที่ยวเกาะพยามมากขึ้น โดยปริมาณขยะเฉพาะในเขตเทศบาล ประมาณ 100 กว่าตัน และยังมีอีกใน 4 อาเภอ ขณะนี้การจัดการเทศบาลฯ แต่ละแห่งรับผิดชอบ พื้นที่ของตัวเอง ที่ผ่านมาทางองค์การบริหารส่วนจังหวัดระนอง พยายามให้ความรู้เรื่องการแยก ขยะ มีการแยกขยะไปทาปุ๋ยชีวภาพ และนาไปรีไซเคิล อีกทั้งได้บริหารจัดการขยะอันตรายแล้ว แต่ยังไม่สามารถจัดการขยะอินทรีย์ได้ เช่น ขยะเปียก ขยะแห้ง ภาคเอกชนพยายามจะลงทุน เรื่องเตาเผาขยะ บ่อฝังกลบ แต่ประชาชนในพื้นที่ยังไม่เห็นด้วย และไม่คุ้มค่ากับการ ลงทุน นอกจากปริมาณขยะจานวนมากแล้ว เมืองระนองยังมีปัญหาการกาจัดขยะ ณ วันนี้ ไม่มี พื้นที่ทิ้งขยะด้วย และที่สาคัญการขาดจิตสานึกของผู้คนในการทิ้งขยะด้วย 2. พืชธรรมชาติถูกทาลาย ที่ผ่านมาเมืองระนองมีการขุดลอกคูคลอง ทาให้วัฏจักรของการเกิด ของพลับพลึงทางที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งพลับพลึงทางช่วยชะลอเรื่องน้าท่วม ช่วยให้น้าไม่ ไหลเร็ว แต่คนมักเข้าใจผิด คิดว่าการขุดลอกคูคลองช่วยให้น้าไม่ท่วม ซึ่งแท้จริงแล้วเมืองระนอง เป็นเมืองฝนแดดแปดสี่ เมื่อมีน้าท่วมขัง จะใช้ระยะเวลาไม่มาก น้าจะไหลลงทะเลแล้ว แต่ความ เข้าใจผิดเช่นนี้ ทาให้เกิดโครงการขุดลอกคูคลองจานวนมาก 3. สิทธิที่ดินที่อยู่อาศัย พื้นที่การพัฒนาเมืองของจังหวัดระนอง โดยภาครวมจังหวัดระนองมีสิทธิ ที่จะครอบครองพื้นที่เพื่อการพัฒนาเมืองประมาณ 14 ไร่ โดยพื้นที่ที่เหลือเป็นป่าสงวน พื้นที่ อุทยานประมาณ 242 ไร่ ทาให้เมืองระนองเป็นเมืองที่มีพื้นที่จากัดในการพัฒนาเมือง องค์การ บริหารส่วนถิ่นจังหวัดระนองจึงขอเช่าพื้นที่ป่าชายเลน ในอดีตเป็นเหมืองแร่เก่า ให้ผู้คนได้อาศัย และทามาหากินอยู่ โดยทาสัญญาเช่าพื้นที่เป็นเวลา 10 ปี สัญญากาลังจะหมดลงในเดือน เมษายน ปี 2559 แต่ยังไม่สามารถต่อสัญญาได้ เนื่องจาก ปี 2534 มติระเบียบของ ครม. ห้าม ส่วนราชการเข้าใช้พื้นที่ป่าชายเลนเด็ดขาด เมื่อสัญญาหมดทาให้ไม่ให้ต่อสัญญา ซึ่งกระทบต่อ ประชาชนที่อาศัยและประกอบธุรกิจในพื้นที่นั้น 4. การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน เมืองระนองก้าวเข้าสู่เมืองท่องเที่ยว แม้จะมีการบริหารจัดการ บางส่วน แต่ยังมีข้อท้าทายเรื่องการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน การท่องเที่ยวแบบไม่ทาลาย ทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งจะต้องมีการปลูกฝังจิตสานึกทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการให้ คานึงถึงผลเสียในอนาคต ทาอย่างไรให้มีการท่องเที่ยว โดยคนไม่ทาลาย ทรัพยากรธรรมชาติ แม้ว่าวันนี้ระนองได้สร้างราคาโรงแรมและราคา อาหารอย่างสมเหตุสมผล และมีคุณภาพ แต่ยังไม่สามารถทาให้คนเห็นคุณค่าได้ เช่น คุณค่าของน้าแร่ หรือป่า เป็นต้น ซึ่ง เป็นโจทย์ใหญ่ที่ทั้งภาครัฐทัองถิ่น เอกชน และประชาชนต้องช่วยกัน
  • 26. 26 สรุป การพัฒนาเมืองระนองในปัจจุบัน เรียกได้ว่า เป็นการพัฒนาเมืองที่เกิดจากความพิเศษด้าน ภูมิศาสตร์ของตัวเอง และได้ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวเป็นทุนพัฒนาสร้างเศรษฐกิจของเมือง โดยเฉพาะการพัฒนาผลผลิตด้านกาแฟ และการท่องเที่ยว ซึ่งระนองได้สร้างภาพลักษณ์และปรับตัวเอง ให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว ทั้งเที่ยวแบบสิ่งแวดล้อม เที่ยวเมืองชายแดน หรือการท่องเที่ยวแบบใหม่ อย่างการเที่ยวแบบโฮมสเตย์ แต่ทั้งนี้ระนองเองก็เผชิญปัญหาจากการท่องเที่ยว โดยเฉพาะปัญหาขยะ และถ้าไม่ควบคุมและจัดการ ย่อมเสี่ยงที่จะไม่สามารถรักษาทรัพยากรธรรมชาติเอาไว้ได้นาน หาก ระนองสามารถปรับเชิงรุก สร้างการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีการควบคุม มีราคาแพง จะสามารถคัดกรอง นักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพได้ และจะช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติของเมืองได้นานมากขึ้น หากเราจะพูด ถึงเมืองที่มีความพิเศษของภูมิศาสตร์ เมืองที่มีการพัฒนาจากทรัพยากรของตัวเอง และเมืองที่ซ่อน “ทุน” เอาไว้อย่างดี ระนองจะต้องเป็นหนึ่งเมืองนั้นอย่างแน่นอน
  • 28. 28 ภาคผนวก ภูมิศาสตร์เมืองระนอง ระนองเป็นจังหวัดแรกของภาคใต้ที่ตั้งอยู่ริมสุดทะเลอันดามัน ห่างจากกรุงเทพ ประมาณ 568 กิโลเมตร (ภาพที่ 1) มีพื้นที่ 3,298,045 ตารางกิโลเมตร (2,061,278 ไร่) มีพื้นที่ร้อยละ 0.63 ของพื้นที่ ทั้งประเทศ ขนาดพื้นที่ของเมืองระนองอยู่ในอันดับที่ 60 ของประเทศ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา สลับซับซ้อน พื้นราบร้อยละ 14 ของพื้นที่ทั้งหมด มีเกาะใหญ่น้อยในทะเลอันดามันประมาณ 62 เกาะ ที่ สาคัญเมืองระนองเป็นเมืองชายแดน ทางทะเลอันดามัน ติดกับเกาะสองของประเทศพม่า (ภาพที่ 2) ลักษณะพื้นที่เมืองระนองมีลักษณะเรียวยาว ทิศเหนือจดทิศใต้ยาว 169 กิโลเมตร ส่วนที่แคบ ที่สุดในแหลมมลายู คือ คอคอดกระ มีความกว้างเพียง 9 กิโลเมตร ระนองเป็นพื้นที่ราบ 14% และภูเขา 86 % มีเกาะใหญ่น้อยในทะเลอันดามัน จานวน 62 เกาะ ภูมิประเทศประกอบด้วย ทิวเขา หุบเขา สลับซับซ้อน และเป็นป่าปกคลุมทางทิศตะวันออกของจังหวัด พื้นที่ลาดเอียงลงสู่ทะเล อันดามันทางทิศ ตะวันตก ภูเขาที่สูงที่สุดของจังหวัด คือ ภูเขาพ่อตาโชงโดง สูง 1,700 ฟุต สภาพภูมิอากาศ ระนองได้ชื่อว่าเป็นเมือง "ฝนแปด แดดสี่" นั่นคือ มีฝนตก 8 เดือน และฝน แล้งเพียง 4 เดือนต่อปี นับว่าเป็นจังหวัดที่ฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากมีที่ตั้งอยู่ติดกับ ทะเลอันดามันจึงทาให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ค่อนข้างมาก เมืองระนอง มี 5 อาเภอ คือ อาเภอละอุ่น อาเภอกระบุรี อาเภอเมือง อาเภอกะเปอร์ อาเภอ สาราญ (ภาพที่ 3) ทั้งหมดประกอบด้วย 30 ตาบล 167 หมู่บ้าน ประชากรทั้งจังหวัดระนองมีอัตราการ เพิ่มของประชากรร้อยละ 5.29 จาก พ.ศ. 2548 ถึง พ.ศ. 2558 (ภาพที่ 4) ภาพที่ 1 แผนที่ประเทศไทย ที่ตั้งเมืองระนอง ที่มา องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นระนอง
  • 29. 29 ภาพที่ 2 แผนที่เมืองระนองและเกาะสอง ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง ,2559 ภาพที่ 3 แผนที่จังหวัดระนอง ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) เมืองระนอง เกาะสอง
  • 30. 30 ภาพที่ 4 แผนที่ความหนาแน่นประชากรจังหวัดระนอง พ.ศ. 2558 ที่มา แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาอนาคตของเมือง (2559) สถานศึกษา สถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาในสังกัดสานักงานเขตพื้นที่ การศึกษา รวม 114 แห่ง ครูต่อนักเรียน 1:21 (ครู/ อาจารย์ 1,728 คน นักเรียน นักศึกษา 35,683 คน) โรงพยาบาลมี 5 แห่ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตาบล 46 แห่ง สัดส่วนแพทย์ : ประชากร 1 : 2845 เศรษฐกิจ ภาพรวมเศรษฐกิจสาขาหลักของระนองคือ การประมง ซึ่งเป็นสาขานาในโครงสร้างการผลิตของ จังหวัด มีมูลค่าการผลิตประมาณ 2,887 ล้านบาท รองลงมา คือ สาขาการขายส่งการขายปลีก และสาขา การเกษตร การล่าสัตว์ฯ ซึ่งมีมูลค่าการผลิตประมาณ 1,809 ล้านบาท และ 1,794 ล้านบาท ตามลาดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดระนองคือ 21,295 ล้านบาท รายได้เฉลี่ยต่อหัว 84,964 บาท/ปี ภาค การเกษตรถือเป็นรายได้หลัก มีมูลค่าการผลิต 8,683 ล้านบาท มีพื้นที่ทาการเพาะปลูก 595,950 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจ 487,439 ไร่ พื้นที่ทาการเพาะปลูก 595,950 ไร่ พื้นที่ปลูกพืชเศรษบกิจ 487,439 ไร่ พืชเศรษฐกิจที่สาคัญได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ามัน กาแฟ มังคุด และมะม่วงหิมพานต์ ปี ชาย หญิง รวม ครัวเรือน 2548 93,335 84,787 178,122 61,349 2558 94,726 92,810 187,536 85,417 ประชากรระนองปี 2548 และ 2558