SlideShare a Scribd company logo
1
บทความเรื่อง ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง
นางสาวพฤกษา สินลือนาม
นิสิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
sln.phruksa@gmail.com
ขอให้เทอมนี้ได้เกรดเอทุกวิชา ขอให้สอบประมวลความรู้ผ่าน ขอให้เรียนจบในสามปีด้วย
เทอญ ... สาธุ ทุกครั้งที่ไหว้พระ นิสิตส่วนใหญ่มักขอพรด้วยประโยคที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่หารู้ไม่
ว่าพรเหล่านี้จะประสบความสําเร็จได้อยู่เพียงแค่เอื้อม การทําตนเองให้ประสบความสําเร็จในด้าน
การเรียน และด้านอื่นๆ ของนิสิตในปัจจุบันนี้(อลิสา ทองหนูนุ้ย, 2555) องค์ประกอบที่สําคัญ
หลายประการ เช่น การมองโลกในแง่ดี มองวิกฤตให้เป็นโอกาส มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์
มีความรับผิดชอบสูง และที่สําคัญที่สุด คือ การรัก และการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)
1. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) คืออะไร
คําว่า “Self Esteem” เป็นคํา มาจากภาษาต่างประเทศ ตามความหมายของ Oxford
advanced learner’s dictionary ปี 1995 ได้ให้ความหมายว่า A good opinion of one’s own
character and ability ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติเป็นภาษาไทยที่ชัดเจน นักวิชาการหลายท่านใช้คํา
ต่างกัน เช่น ความสํานึกในคุณค่าตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง
เกียรติภูมิแห่งตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความนับถือตนเอง การยอมรับตนเอง หรือ
ภาพลักษณ์ของตนเอง การเห็นพ้องด้วยตนเอง เป็นต้น สําหรับบทความนี้ใช้คําว่า “การเห็น
คุณค่าในตนเอง”
มีผู้ให้ความหมายของคําว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง ไว้มากมายซึ่งสามารถสรุปได้ 2 กลุ่ม
ดังนี้
1. 1 กลุ่มที่มีแนวคิดที่เกิดจากการประเมินตนเอง โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐาน
ที่ตนเองตั้งไว้ ได้แก่
Branden (Joshi and Srivastava, 2009 อ้างถึง Branden, 1992) การเห็นคุณค่าใน
ตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่สามารถทําได้ และพื้นฐานของความรู้สึกมีคุณค่า ที่ส่งผลให้การ
2
กระทําประสบความสําเร็จอย่างมีคุณค่า หรือเป็นการประเมินภาวะจิตใจ สติสัมปชัญญะ และ
ความรู้สึกส่วนลึกภายในจิตใจของแต่ละบุคคล
Rosenberg (Joshi and Srivastava, 2009 อ้างถึง Rosenberg, 1990) การเห็นคุณค่า
ในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในตนเอง เกี่ยวกับการยอมรับตนเอง นับถือตนเอง เป็น
การประเมินตนเองทั้งทางบวก และทางลบ
Wolfolk (Vialle, Heaven, and Ciarrochi, n.d อ้างถึง Wolfolk, 2005) การเห็นคุณค่าใน
ตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองว่ามีคุณค่าเพียงใด เป็นไปได้ทั้งทางบวก และทางลบ
Sheehan (Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง Sheehan, 2004) การเห็น
คุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเอง และทัศนคติที่มี
Coopersmith (ชีวัน บุญตั๋น, 2546; Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง
Coopersmith, 1967) การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเอง และ
ทัศนคติที่มีต่อตนเองในด้านการยอมรับ หรือไม่ยอมรับเกี่ยวกับตนเอง ทําให้บุคคลนั้นรู้ สึกว่า
ตนเองมีความสามารถ ความสําคัญ ประสบความสําเร็จ และมีคุณค่า
Craig (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง Craig, 1969) การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การที่
บุคคลประเมินตนเองว่าเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณค่า
Pope et al. (Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง Pope et al., 1989) การ
เห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองในด้านต่างๆ ได้แก่ สังคม การศึกษา ครอบครัว
ภาพลักษณ์ และมุมมองรวม
ธีระ ชัยยุทธยรรยง (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง ธีระ ชัยยุทธยรรยง, 2542) การเห็นคุณค่า
ในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองในทางที่ดี มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับตนเอง มี
ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ มีคุณค่า สามารถทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสําเร็จดังที่
ตั้งเป้ าหมายไว้ได้
1.2 กลุ่มที่มีแนวคิดที่เกิดจากการประเมินตนเอง โดยเปรียบเทียบกับคนอื่น
Maslow (จิรพัฒน์ ศรีสุข, 2546 อ้างถึง Maslow, 1970) การเห็นคุณค่าในตนเอง
หมายถึง ความนับถือตนเองเกิดจากการยอมรับของคนอื่น โดยดูจากการตอบสนองจากคนรอบ
ข้าง หรือจากการประเมินคุณค่าความสามารถ และการประสบความสําเร็จ หากการประเมิน
เป็นไปในด้านบวกก็จะเกิดความเชื่อมั่นในคุณค่าแห่งตนมีความเข้มแข็งมีความสามารถ แต่ถ้าการ
ประเมินเป็นไปในด้านลบจะทําให้รู้สึกว่ามีปมด้อย อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้
3
สุจิตรา เผื่อนอารีย์ (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง สุจิตรา เผื่อนอารีย์, 2533) การเห็นคุณค่า
ในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเองในเรื่องของการประสบความสําเร็จ การยอมรับ
ตนเอง และยอมรับจากผู้อื่น การมีความสามารถเพียงพอในการกระทําสิ่งต่างๆ รวมทั้งการมี
คุณค่าและมีความสําคัญต่อสังคม
ศศิกานต์ ธนะโสธร (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง ศศิกานต์ ธนะโสธร, 2529) การเห็น
คุณค่าในตนเอง หมายถึง เป็นความรู้สึกที่ว่าตนเองเป็นที่ยอมรับ และต้องการของผู้อื่น มีเกียรติ มี
คุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีประโยชน์ต่อสังคม
จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่
บุคคลรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า นําไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเอง และการยอมรับนับถือตนเอง ซึ่งเป็นผล
จากการประเมินตนเองโดยภาพรวมในด้านความสามารถ ความสําคัญ และความสําเร็จของ
ตนเอง และแสดงออกมาในรูปแบบของทัศนคติในแง่บวกที่มีต่อตนเอง
จึงไม่น่าแปลกใจหากบุคคลรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองทางบวกก็จะมุ่งมั่นทําตามเป้ าหมาย
ที่วางไว้ให้สําเร็จได้ แต่ในทางกลับกันหากบุคคลรู้สึกเห็นคุณค่าตนเองในทางลบโลกทั้งโลกก็
อาจจะดูมืดมิด หดหู่ ดูไม่น่าอยู่
2. การเห็นคุณค่าในตนเอง สาคัญต่อการดาเนินชีวิตจริงหรือ
สิ่งที่เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นกับมนุษย์เราได้ คือการคิดแต่เรื่องเลวร้ายเกี่ยวกับตนเอง นั่น
หมายความว่าคนเราควรมีความคิดดีๆ กับตนเอง (สุวรรณี พุทธิศรี, ม.ป.ป.) การเห็นคุณค่าของ
ตนเอง ชื่นชมตนเอง ภาคภูมิใจในตนเอง โดยทั้งหมดมาจากการมองตนเองแต่ในทางดีเป็นหลัก
มิใช่มาจากการตัดสินใจหรือการประเมินของผู้อื่นเสียทั้งหมด ถ้าเป็นไปได้อย่างนี้ชีวิตเราจะมี
อิสระมากขึ้น หลุดพ้นจากพันธนาการของสายตาและความเห็นของคนรอบข้าง เมื่อเราสามารถ
สร้างความรู้สึกที่ดีอย่างนี้ได้ เราก็พร้อมที่จะปรับอารมณ์ ปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสังคมได้อย่างดี เรา
ก็จะมองโลกในแง่ดี เพราะเราฝึกมองตนเองในแง่ดีมาจนชํานาญแล้ว และเราก็พร้อมที่จะเผชิญ
กับปัญหาข้างหน้าได้อย่างมั่นคง แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีโดยไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว หรือประสาทกับ
เรื่องไม่เป็นเรื่อง การมีความสุขกับชีวิตที่มีอยู่ จะทําให้เรามีพลังพอที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป
ซึ่งสอดคล้องกับ (ปิยะดา ดําแก้ว, 2550 อ้างถึง ธีระ ชัยยุทธยรรยง, 2544) การเห็นคุณค่าใน
ตนเองเป็นความจําเป็นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ ซึ่งสามารถทําให้มนุษย์มีการพัฒนา หรือดําเนินชีวิต
อยู่อย่างมีคุณค่า การที่มนุษย์จะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับการเห็นคุณค่าในตนเอง
4
การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสําคัญยิ่งในการที่บุคคลจะสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมี
ความสุข แต่หากบุคคลไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจในตนเองแล้ว บุคคลนั้นก็จะไม่
มีความมั่นใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของตนและก่อให้เกิดปัญหา
สุขภาพจิตตามมาได้
ชื่นทิพย์ อารีสมาน (สุธนี ลิกขะไชย, 2555 อ้างถึง ชื่นทิพย์ อารีสมาน, 2545) การเห็น
คุณค่าในตนเอง มีความสําคัญต่อบุคคลในการดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถกระทําสิ่ง
ต่างๆ ได้อย่างประสบผลสําเร็จ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตน สามารถเผชิญ
ปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนได้ มีความกระตือรือร้นเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ยอมรับความจริง สามารถ
พูดถึงความล้มเหลวหรือข้อบกพร่องต่างๆ ของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา ยอมรับฟังคําวิจารณ์
คุณลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตของตนเองได้อย่างมีความสุข
จากที่กล่าวมาชี้ให้เห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิต
เนื่องจากเป็นการรับรู้คุณค่าของตนเองตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเป็นพื้นฐานการมอง
ชีวิตให้ดํารงอยู่อย่างมีคุณค่า เสริมสร้างให้บุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ (วรวุฒิ
เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Coopersmith, 1967) บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองจะสามารถเผชิญ
อุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ หาแนวทางแก้ปัญหาให้ผ่านไปได้ด้วยดี ดังนั้นการเห็นคุณค่าใน
ตนเองจะเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่ทุกคนควรจะมี
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง
3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองของ Coopersmith
Coopersmith (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Coopersmith, 1981) กล่าวว่า การ
เห็นคุณค่าในตนเองเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองเป็นการแสดงความรู้สึกหรือการประเมิน
ตนเองในการยอมรับหรือไม่ยอมรับตนเอง ชี้ให้เห็นถึงขอบเขตของความเชื่อที่บุคคลมีเกี่ยวกับ
ตนเอง ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินความสําเร็จที่ถือเป็นแหล่งกําเนิดของการเห็นคุณค่าในตนเองมี 4
ประการ ดังนี้
1) การมีความสําคัญ (Significance) เป็นความสามารถของบุคคลที่ได้รับการ
ยอมรับ ความสนใจ ความห่วงใย การดูแล การแสดงออกถึงความรักจากบุคคลอื่น และการเป็นที่
ชื่นชอบของบุคคลอื่นตามสภาพที่ตนเป็นอยู่ ตลอดจนได้รับการสนับสนุน และกระตุ้นเตือนในยาม
ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือภาวะวิกฤต
5
2) การมีอํานาจ (Power) เป็นความสามารถของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการควบคุม
การกระทําของตนเองและผู้อื่น ซึ่งในบางสถานการณ์ของอํานาจนั้นอาจแสดงให้เห็นโดยการที่
บุคคลได้รับความเคารพนับถือจากบุคคลอื่น และการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นโดยที่บุคคลสามารถ
แสดงความคิดเห็นของตนได้
3) การมีความสามารถ (Competence) เป็นการพิจารณาความสามารถในการ
กระทําสิ่งต่างๆ ได้ประสบความสําเร็จตามความมุ่งหวัง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับ
วัย กิจกรรมที่ทํา ความสามารถ ค่านิยม และความปรารถนาของบุคคลนั้น
4) การมีคุณความดี (Virtue) เป็นการยึดมั่นในหลักของศีลธรรมจริยธรรม และ
ศาสนาซึ่งบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตัวที่พึงละเว้น หรือควรกระทําตามหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับ
ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมตลอดจนค่านิยมของสังคม โดยคาดว่าผู้ที่ยึดมั่นหรือ
ปฏิบัติตามจะได้รับการยอมรับ และส่งผลต่อทัศนคติของตนเองในทางบวก
นอกจากนี้Coopersmith ยังกล่าวว่า การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลเริ่มจากการมี
พัฒนาการมาตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่ได้คงอยู่เช่นนั้นตลอดไป โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้จาก
ประสบการณ์ การได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลจะแสดงระดับการเห็น
คุณค่าในตนเองออกมาในลักษณะของการสื่อสารทั้งที่เป็นคําพูดและพฤติกรรมอื่นๆ ทําให้เห็นได้
อย่างชัดเจนว่าการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลสามารถวัดและประเมินได้จากการตัดสินให้
คุณค่าตลอดจนพิจารณาจากการประเมินตนเองของบุคคลแต่ละคนซึ่งแสดงออกในรูปของ
ความรู้สึกของการยอมรับและการไม่ยอมรับตนเอง และแสดงถึงขอบเขตความเชื่อของบุคคล
เกี่ยวกับความสําคัญ อํานาจ ความสามารถ และการมีคุณความดีในตนเอง
Coopersmith (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Coopersmith, 1981) ได้กล่าวว่า
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองสามารถแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ ปัจจัย
ภายในตัวบุคคล และปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนี้
1) ปัจจัยภายในตัวบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีผลให้บุคคล
มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองด้านต่างๆ ของบุคคลแตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย
1.1) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Appearance) เช่น ความสูง นํ้าหนัก
ลักษณะรูปร่าง หน้าตา ความแข็งแรง บุคลิกภาพ รวมทั้งเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือคุณสมบัติอื่นที่
ปรากฏให้เห็นได้ เป็นสิ่งที่เอื้อต่อความสําเร็จในการทํากิจกรรมที่บุคคลนั้นให้ความสําคัญ มีส่วน
ช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเอง ชื่นชมตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับข้อมูล
6
ย้อนกลับจากบุคคลอื่นที่กล่าวถึงตนเอง ข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับเป็นที่พึงพอใจจะทําให้บุคคลเกิด
ความรู้สึกที่ดีกับตนเองมากขึ้น
1.2) เพศ (Sex) สังคม และวัฒนธรรมส่วนใหญ่มักจะให้ความสําคัญกับเพศ
ชายมากกว่าเพศหญิง โดยที่เพศชายมักได้รับมอบหมายตําแหน่งที่มีอํานาจทางสังคม ซึ่งน่าจะ
เป็นส่วนที่ทําให้เพศชายมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงหว่าเพศหญิง
1.3) ความสามารถ สมรรถภาพ และผลงาน (Capacities, Competences and
Performance) การเห็นคุณค่าในตนเองจะเกี่ยวข้องกับการประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน
เช่น มีตําแหน่งหน้าที่การงานในระดับสูง มีอํานาจ ประกอบอาชีพที่มีเกียรติ มีรายได้สูง เป็นต้น
ความสําเร็จในหน้าที่การงานมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง กล่าวคือ บุคคลที่จะ
ประสบความสําเร็จในการทํางานสูงจะมองว่าตนเองเป็นผู้มีความสามารถ รับรู้ตนเองในด้านดี มี
ความพอใจในตนเอง มีการประเมินคุณค่าในตนเองสูง ส่วนบุคคลที่ประสบความสําเร็จในการ
ทํางานตํ่าจะมีความรู้สึกตรงข้ามกับที่กล่าวมา
1.4) ภาวะอารมณ์ (Affective States) ความรู้สึก ภาวะอารมณ์ เป็นภาพ
สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกพึงพอใจ ความวิตกกังวล ความรู้สึกเป็นสุขหรือภาวะอื่นๆ ที่มีอยู่ในตัว
บุคคลทั้งที่แสดงออก และไม่แสดงออก ส่วนใหญ่มีผลสืบเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล
อื่นแล้วส่งผลต่อการประเมินตนเองความรู้สึกของบุคคลมีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง
เช่น บุคคลที่คิดว่าตนเป็นคนที่มีความสามารถ มีความชื่นชมในตนเอง มีความพึงพอใจในตนเอง
บุคคลนั้นจะประเมินตนเองไปในทางที่ดี จะแสดงความรู้สึกและสื่อความพึงพอใจตลอดจนภาวะ
อารมณ์ทางด้านบวกออกมา ในขณะที่บุคคลที่ประเมินตนเองไปในทางลบ จะมีความรู้สึกไม่พึง
พอใจในภาวะปัจจุบันของตน มองตนเองไม่มีความสามารถ ไร้สมรรถภาพ มีความรู้สึกด้อย รู้สึก
วิตกกังวล และไม่สามารถประสบความสําเร็จในอนาคตอันใกล้ได้ ซึ่งส่งผลให้การเห็นคุณค่าใน
ตนเองลดลง
1.5) ค่านิยมส่วนบุคคล (Self Values) บุคคลจะประเมินตนเองจากสิ่งที่ตนให้
คุณค่า และให้ความสําคัญ โดยสอดคล้องกับอุดมคติและค่านิยมทางสังคม หากค่านิยมส่วนตนมี
ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลก็จะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกัน
ข้ามหากค่านิยมส่วนตนไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม บุคคลก็จะมีการเห็นคุณค่าในตนเอง
ตํ่าลง และการเห็นคุณค่าในตนเองของแต่ละบุคคลจะผันแปรตามค่านิยม และการให้คุณค่าตาม
ความนึกคิดที่บุคคลมีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งเขาจะให้ความสําคัญแตกต่างกัน เช่น บุคคลที่ให้ความสําคัญ
ต่อความสําเร็จในการทํางานแต่กลับล้มเหลวเขาจะประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าลง ส่วน
7
บุคคลที่เห็นคุณค่าของการทํางาน และประสบความสําเร็จในการทํางานเขาจะรู้สึกภาคภูมิใจใน
ตนเอง
1.6) ระดับความมุ่งหวัง (Aspirations) การตัดสินคุณค่าของบุคคลส่วนหนึ่ง
เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน และความสามารถของตนกับระดับเกณฑ์มาตรฐาน
ของตน ประสบการณ์ที่ได้รับ ความสําเร็จจะนําไปสู่การคาดหวังต่อความสําเร็จในครั้งต่อไป
บุคคลที่มีความสามารถ หรือผลงานตรงตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้จะนําไปสู่การมองตนเองว่ามี
คุณค่า ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นมีระดับความมุ่งหวังสูงเกินไป ก็จะเกิดการเห็นคุณค่าใน
ตนเองตํ่าลง
2) ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์
ด้วยซึ่งส่งผลให้บุคคลเกิดการเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย
2.1) สัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับครอบครัว (Family Relationship) ภูมิหลัง
หรือประสบการณ์ทางครอบครัว เป็นสิ่งที่มีส่วนในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคล
เพราะหากสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นไปด้วยดี พ่อแม่มีความรัก ความผูกพันให้ความใกล้ชิด
ความอบอุ่น ให้กําลังซึ่งกันและกัน เคารพในสิทธิ และความคิดเห็นยอมรับในตัวลูกๆ อย่างมี
เหตุผล รวมทั้งวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ชัดเจน จะมีส่วนในการทําให้ลูกเป็นคนยืดหยุ่น อารมณ์มั่นคง
ทําอะไรแน่นอน ไม่ลังเล และเห็นคุณค่าในตนเองสูง ในทางตรงกันข้ามพ่อแม่ที่ไม่แสดงออกซึ่ง
ความรัก ไม่แนะแนวทางให้เด็กและนิยมการลงโทษจะทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองตํ่า
2.2) สถานภาพทางสังคมหรือระดับชั้นทางสังคม (Social Status) หมายถึง
องค์ประกอบต่างๆ ภายนอกที่ชี้บอกระดับทางสังคมของบุคคล เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ เช่น
ตําแหน่งหน้าที่การงาน บทบาททางสังคม วงศ์ตระกูล สถานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยทั่วไปมัก
เน้นที่สถานะทางเศรษฐกิจของบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่พิจารณาจากอาชีพ รายได้ และที่พักอาศัย
เนื่องจากเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกได้ถึงการประสบความสําเร็จ และความมีเกียรติ การมีสถานภาพทาง
สังคมที่แตกต่างกันจะส่งผลให้บุคคลได้รับการปฏิบัติทางสังคมจากคนรอบข้างแตกต่างกัน ใน
บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมที่สูงกว่าจะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่า ทําให้เกิดความรู้สึกเห็นคุณค่า
ในตนเองสูง
2.3) งาน (Job) เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถนํามาพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าใน
ตนเองได้ การที่บุคคลได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการทํางาน เช่น มีสัมพันธภาพที่ดีกับ
ผู้บังคับบัญชา มีเงินเดือนสูง มีอิสระในการทํางาน ได้ทํางานที่ท้าทาย จะส่งผลให้บุคคลมี
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูง
8
2.4) มิตรภาพ และสังคม (Friendship and Social) การเห็นคุณค่าในตนเอง
ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการรับรู้ในการมองตนเองที่เป็นอยู่ แล้วนําไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ที่
คล้ายคลึงกันกับตนทางด้านทักษะ ความสามารถ ความถนัด การเห็นคุณค่าในตนเองจึงเป็นสิ่งที่
เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม บุคคลที่ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ไม่เป็นที่ประทับใจ
หรือไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าหรือไม่นับถือตนเอง
3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg
Rosenberg (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Rosenberg, 1979) ถือว่าการเห็น
คุณค่าในตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอัตมโนทัศน์ (Self – Concept) โดยแยกพิจารณาเป็น
2 มิติ ดังนี้
1) การตระหนักรู้ในตนเอง (Cognitive Self) เป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจที่
บุคคลมีต่อตนเอง จากการเป็นเจ้าของตําแหน่ง สถานภาพภายในสังคมที่บุคคลนั้นอาศัย หรือเป็น
สมาชิกอยู่ ทําให้แต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น พ่อ แม่ ครู ลูก เป็นต้น เอกลักษณ์ที่
บุคคลได้จากสังคมนี้สามารถทําให้บุคคลรู้ว่าตนคือใคร บุคคลอื่นเป็นใคร และมีความแตกต่างกัน
อย่างไร การรับรู้นี้นําไปสู่อัตมโนทัศน์ของบุคคล โดยความคิดเกี่ยวกับตนเองที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้อง
กับการประเมินของบุคคล
2) การประเมินตนเอง (Evaluative Self) เป็นการอธิบายตนเองของบุคคล ซึ่งได้มา
จากการที่บุคคลได้นําตนเองไปประเมินกับสิ่งอื่น หรือบุคคลอื่น เพื่อที่จะทําให้บุคคลรู้ว่าเขามี
คุณค่า หรือมีความภูมิใจในตนเองสูงหรือตํ่าอย่างไร การประเมินตนเองของบุคคลในแนวสังคม
วิทยาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยจะพบว่าการที่บุคคลจะรู้สึกต่อ
ตนเองในเรื่องของความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองอย่างไร ก็จะนําไปสู่พฤติกรรมเช่นนั้น ตามแนวคิด
ของ Rosenberg สามารถแสดงภาพได้ดังนี้
ภาพที่ 1 โครงสร้างอัตมโนทัศน์ และการเห็นคุณค่าในตนเอง
ที่มา: จารุพรรธน์ จวนสาง (2545) อ้างถึง Rosenberg (1979)
อัตมโนทัศน์ (Self Concept)
อัตตะในด้านความรู้ความเข้าใจ
(Cognitive Self)
อัตตะในด้านการประเมิน (Evaluative Self)
การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)
9
นอกจากนี้(อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Rosenberg, 1979) ได้แยกพิจารณา
การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคล เป็น 2 บริบท ดังนี้
1) การเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global Self Esteem) เป็นการที่บุคคลมี
ทัศนคติที่บุคคลพิจารณาตนเองโดยรวม (Self as a Whole) ไม่แยกพิจารณาในด้านใดด้านหนึ่ง
หรือเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่ง แต่จะมองในลักษณะคนหนึ่ง (Whole Person)
2) การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้าน (Specific Self Esteem) เป็นการที่บุคคลมี
ทัศนคติต่อตนเองในด้านใดด้านหนึ่งหรือเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่ง โดยปกติแล้วเมื่อบุคคลมี
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วจะส่งผลให้บุคคลนั้นมองตนเองในภาพรวม
ว่ามีคุณค่า ในทางตรงกันข้ามหากบุคคลมองตนเองว่าด้อยคุณค่าหรือลดความรู้สึกเห็นคุณค่าใน
ตนเองด้านใดด้านหนึ่งลง การประเมินคุณค่าของตนเองในบริบทรวมจะมีระดับตํ่าลงด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม และการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะ
ด้านนั้น Rosenberg ได้อธิบายโดยใช้มโนทัศน์ในเรื่องเอกลักษณ์ของการให้คุณค่าตนเอง
(Psychological Centrality) ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ใช้เกณฑ์ในการตัดสินความเป็นตัวตน เช่น หาก
บุคคลหนึ่งคิดว่าตนเป็นคนฉลาด มีเสน่ห์ และเป็นคนที่มีคุณธรรม บุคคลนั้นจะมองตนเองว่าเป็น
คนที่มีคุณค่า หรือเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมสูง ส่วนบุคคลที่มีฐานะยากจน ประสบความ
ล้มเหลวทางการเรียน มีอาการเจ็บป่วย บุคคลเหล่านี้จะมีการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมตํ่า การ
พิจารณาเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่งที่เป็นศูนย์กลางโดยปกติบุคคลมักจะเลือกจากเอกลักษณ์ที่
สําคัญ หรือเด่นในสถานการณ์ทางสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ มาเป็นหลักในการประเมิน
คุณค่าของตน ดังนั้นการที่บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านอยู่มาก มิได้หมายความว่า
การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านทั้งหมดจะมีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม แต่จะมี
เพียงการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่เป็นลักษณะที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินความเป็นตน
(Psychological Centrality) หรือการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่ได้จากเอกลักษณ์เด่น
(Salient Identities) เท่านั้นที่จะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม ดังนั้นถ้า
บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่ได้จากเอกลักษณ์เด่นไปในทิศทางใดก็
ย่อมทําให้เขามุ่งมั่นที่จะมีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น
10
ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับพฤติกรรมของบุคคล
ที่มา: จารุพรรธน์ จวนสาง (2545) อ้างถึง Rosenberg (1979)
แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าแหล่งที่มาของการรับรู้
การเห็นคุณค่าในตนเองเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ คือ การรับรู้ตนเองจากการเปรียบเทียบกับ
สิ่งที่มุ่งหวังว่าควรจะเป็นไปตามมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ ซึ่งการรับรู้นี้จะนําไปสู่การประเมินคุณค่า
ในตนเอง หรือทําให้บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับที่แตกต่างกัน ทั้ง Coopersmith และ
Rosenberg แสดงให้เห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีความสําคัญต่อตนเอง จะส่งผลให้เกิดการ
รับรู้ การเห็นคุณค่าในตนเอง
4. สารวจการเห็นคุณค่าในตนเองว่าอยู่ในระดับใด โลกสดใส หรือว่าเริ่มมืดมิด
หลายๆ คนคงเริ่มอยากรู้แล้วว่าตนเองมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับใด
ผู้เขียนบทความได้รวบรวมลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง และตํ่า จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
(อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ, 2542; ชีวัน บุญตั๋น, 2546; ธนารัฐ มีสวย, อ้อมเดือน สดมณี และสุภาพร
ธนะชานันท์, 2553; Vialle, Heaven, and Ciarrochi, n.d; Lavoie, 2002; Pelish, 2006;
Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012) โดยในเบื้องต้นสามารถสํารวจจากการแสดงออก
การคิด และความรู้สึกของตนเอง ดังตารางที่ 1
การเห็นคุณค่าในตนเอง
(Self Esteem)
การเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม
(Global Self Esteem)
การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้าน
(Specific Self Esteem)
พฤติกรรม + พฤติกรรม - พฤติกรรม + พฤติกรรม -
11
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง และตํ่า
ลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง ลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองต่า
 รู้สึกว่าความสามารถของตนเองมีอิทธิพล
ต่อการแสดงความเห็น หรือพฤติกรรมเชิงบวก
 สามารถแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์
ได้ในหลายๆ สถานการณ์
 สามารถปฏิบัติตนในสถานการณ์ใหม่ๆ ใน
ทางบวก ได้อย่างมั่นใจ
 มีความอดทนต่อความผิดหวัง
 มีความรับผิดชอบ
 มีการสื่อสารในทางบวกกับตนเอง
 มีสติควบคุมสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในทางบวก หรือลบ
 มีความเชื่อมั่นในตนเอง
 ร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างสมํ่าเสมอ
 มีใบหน้ า ท่าทาง วิธีพูด และการ
เคลื่อนไหวแฝงไปด้วยความแจ่มใส ร่าเริง มี
ชีวิตชีวา
 สามารถพูดถึงความสําเร็จหรือข้อบกพร่อง
ของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมาและมีความ
จริงใจ
 มีสุขภาพกายที่แข็งแรง
 วางแผนชีวิต และตั้งเป้ าหมายในการ
ดําเนินชีวิต
 พยายามพิสูจน์ความสามารถของตนเมื่อ
ถูกตําหนิ
 สามารถประนีประนอมเอาความต้องการ
ของผู้อื่นและของตนเองไว้ร่วมกันได้
 มีการสื่อสารกับตนเองในทางลบ
 แสดงให้เห็นถึงความหดหู่ หมดหนทาง
เรียนรู้
 มีความอดทนตํ่า
 ไม่มีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ
 ไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ ที่เป็ นสาธารณะ
ประโยชน์
 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า
 คิดว่าตนเองไม่ใช่คนสําคัญ คิดว่าไม่มีใคร
สนใจตนเอง
 ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทําสิ่งใหม่ๆ
 หมกมุ่นกับความคิดของตนเองไม่ยอมรับ
ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
 ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
 คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ
 ขี้อาย หลีกหนีปัญหา
 สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด
 มีพฤติกรรมก้าวร้าว
 ไม่มีการวางแผนชีวิต
 มีปัญหาด้านสุขภาพ
12
จากตารางสรุปได้ว่าบุคคลที่มีลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูงจะมีความเชื่อมั่นใน
ตนเอง เห็นว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นผู้นํา
มากกว่าผู้ตาม กล้าแสดงออก และสามารถปรับตัวได้ดีกว่าผู้ที่มีลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเอง
ตํ่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางไม่ดี มีความวิตกกังวลสูง ขาดความเชื่อมั่นใจตนเอง
ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการวางแผนชีวิต
หลังจากที่สํารวจการเห็นคุณค่าในตนเองเรียบแล้ว หลายคนอาจกังวลว่าตัวเองมีระดับ
การเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าไปหรือไม่ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะการเห็นคุณค่าในตนเองจาก
ภายนอกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังต่อบทบาททางสังคม และความสามารถ
ในการเผชิญหน้ากับปัญหา (สุธนี ลิกขะไชย, 2555 อ้างถึง Taft, 1985)
5. แนวทางการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง
การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลมีรากฐานมาจากการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก เกิดจาก
ประสบการณ์ความต้องการเป็นที่รักของบุคคลใกล้ชิดในช่วงของวัยทารก ลักษณะความคาดหวัง
บุคลิกภาพ การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมความเข้าใจ และการยอมรับในความแตกต่างตาม
ธรรมชาติในตัวเด็กของผู้เลี้ยงดูเป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองสูง หรือตํ่าได้ใน
อนาคต ต่อมาการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กจะขยายจากความรัก ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้
เลี้ยงดูมาสู่บุคคลอื่นในครอบครัว และขยายกว้างออกสู่เพื่อน เด็กอายุ 7 – 8 ปี จะมีการเห็นคุณค่า
ในตนเองตามองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Berk, 1994) ด้าน
การศึกษา ด้านร่างกาย และด้านสังคม ช่วงนี้การยอมรับในตนเองจะเกิดขึ้นจากการได้รับ
ความสําเร็จตามเป้ าหมาย เด็กจะปฏิบัติตนเพื่อให้พ่อแม่เกิดความพอใจ ต่อมาเป้ าหมายจะ
ขยายตัวอยู่บนมาตรฐานของสังคมภายนอกครอบครัว โครงสร้างทางสังคมของวัยเด็กตอนกลาง
จะครอบคลุมกลุ่มเพื่อน สถานะทางสังคม ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก
วัยนี้คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Harter, 1993) ลักษณะทางกาย อารมณ์ ระดับ
สติปัญญา ความสามารถของตนเองตลอดจนทักษะทางสังคม ลักษณะครอบครัว ความสัมพันธ์
ของบุคคลในครอบครัว สังคมวัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ เด็กจะมีความต้องการการเห็น
คุณค่าในตนเองตามวิถีทางที่เด็กเรียนรู้เอง เด็กเริ่มพัฒนาสติปัญญา ทักษะสังคม และสร้างความ
มั่นใจในตนเองให้สูงขึ้น
ในช่วงของวัยรุ่น เป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
อย่างมากทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ เป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาการเห็นคุณค่า
13
ในตนเองมากที่สุด (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Berk, 1994) Berk พบว่าวัยรุ่นเกิดการ
รับรู้ลักษณะความเป็นตนเอง 2 ประการ คือ
1) รับรู้ว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของความสนใจ (Imaginary Audience) ความเชื่อนี้
ทําให้วัยรุ่นมีความเอาใจใส่ดูแลรูปร่างหน้าตาตนเองให้ดีอยู่เสมอ
2) รับรู้ว่าตนเองแตกต่างจากบุคคลอื่น (Personal Fable) ความเชื่อนี้จะทําให้เขา
รู้สึกว่าตนเองมีความแตกต่างจากบุคคลอื่นโดยสิ้นเชิง ทําให้เขาเกิดความกล้าที่จะเสี่ยง ไม่เกรงกลัว
สิ่งใด
วัยรุ่นมีความต้องการในสิ่งใหม่เกิดขึ้น คือความต้องการตําแหน่งทางสังคม ซึ่งครอบครัว
ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อตนสูง พฤติกรรมของวัยรุ่น
จะเปลี่ยนไปตามเพื่อนวัยเดียวกัน การได้รับการยอมรับ และวิพากษ์วิจารณ์จากเพื่อนเกี่ยวกับตัว
เขาจะเป็นผลให้วัยรุ่นเกิดทัศนคติต่อตนเองขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการรับรู้ของบุคคลต่อ
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองมี 2 ขั้นตอน คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Taft, 1985)
1) ความรู้สึกที่ได้รับจากภายนอกต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (Outer Self Esteem)
การประเมินทัศนคติ และการกระทําของสังคมที่มีต่อตน บุคคลสามารถรับรู้ความเป็นตัวตนโดย
อาศัยการประเมิน และการยอมรับของบุคคลอื่น
2) ความรู้สึกภายในต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (Inner Self Esteem) เป็นความรู้สึก
ของบุคคลที่มีต่อความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติเพื่อควบคุมสิ่ง
ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง
หากบุคคลเกิดความรับรู้เกี่ยวกับตนเองในทางบวก ได้รับการสนับสนุนเสริมแรงจากกลุ่มที่
เขาชื่นชอบ จะเป็นผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองของเขาพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันอาจ
พบว่าบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอันธพาล แสดงออกซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวมากเพียงใด กลุ่มจะให้
ความสําคัญกับเขามากขึ้น ความต้องการการเห็นคุณค่าในตนเองจึงสามารถผลักดันให้บุคคล
แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา ทั้งทางบวกและทางลบ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง
Craig, 1976) ดังนั้นครอบครัวและโรงเรียนจึงต้องให้ความสําคัญ และเอาใจใส่เป็นพิเศษ
เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วุฒิภาวะที่เพิ่มขึ้นทําให้บุคคลรับรู้ความเป็นตนได้อย่างชัดเจน ระดับ
ความเพ้อฝันน้อยลงกว่าช่วงวัยรุ่น สามารถรับรู้ และเรียนรู้ที่จะเผชิญกับสิ่งที่ตนขาดไป
ขณะเดียวกันก็พยายามเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลวัยนี้มี
การเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
14
ในวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่เกิดการสูญเสียสิ่งต่างๆ ในชีวิตหลายอย่าง เช่น ด้านสุขภาพ
ความสามารถพื้นฐานทางร่างกาย การเกษียณอายุการทํางาน การสูญเสียคู่ครอง เป็นผลให้การ
เห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลในช่วงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับลดลง (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา,
2546 อ้างถึง Driever, 1984)
จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่าการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองมีความต่อเนื่องมาจาก
ประสบการณ์ในวัยเด็ก ประสบการณ์ที่ได้รับมีผลต่อการเสริมสร้าง และบั่นทอนการเห็นคุณค่าใน
ตนเองได้ Burnside พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองจะเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวัยกลางคนจึง
จะมีความคงที่และเสื่อมถอยลงเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลจึง
เปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ
ความรู้สึกของบุคคลและประสบการณ์ที่ได้รับ (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Barry, 1989)
การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนถึงวัยกลางคนจึง
คงที่ (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Burnside, n.d.) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Wiggin
(พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Wiggin and Giles, 1984) ที่พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง
สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นได้ การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้เกิดกับบุคคลจะช่วย
ให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นักจิตวิทยาหลายได้เสนอแนวทางการเสริมสร้างการ
เห็นคุณค่าในตนเอง ดังต่อไปนี้
Sasse (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Sasse, 1978) เสนอวิธีเสริมสร้างการเห็น
คุณค่าในตนเอง ดังนี้
1) สร้างความมั่นใจในตนเองโดยคํานึงถึงความสําเร็จในวันข้างหน้าของชีวิต
2) ให้รางวัลตนเองเมื่อทํางานสําเร็จ อาจเป็นคําชมเชยหรือให้สิ่งของที่มีความหมาย
ต่อตนเอง
3) สะสมบันทึกความสําเร็จ โดยเขียนลงสมุดบันทึกถึงสิ่งที่ตนเองทําได้ดี หรือทํา
สําเร็จเป็นเวลาติดต่อกันหลายๆ สัปดาห์หรือหลายๆ เดือน
Johnson (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Johnson, 1979) เสนอแบบแผนของการ
ปฏิสัมพันธ์ของการเข้าร่วมกลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้
1) ให้การยอมรับในตัวบุคคลอย่างไม่มีเงื่อนไข
2) ให้การสนับสนุนช่วยเหลือบุคคลทั้งในด้านการเรียน หรือเรื่องส่วนตัว
3) เข้าใจความรู้สึกของบุคคลนั้น
4) ช่วยให้บุคคลได้รับความสําเร็จในสถานการณ์ที่ต้องการ
15
5) ให้การตอบสนองทางจิตใจ
6) ช่วยให้บุคคลสามารถสร้างกําลังใจให้กับตนเองได้
7) ให้มองความผิดพลาดหรือความล้มเหลวเป็นตัวเร้า ทําให้เกิดความวิตกอยู่ใน
ระดับปานกลางซึ่งจะทําให้เกิดความกระตือรือร้น
Gerdano และ Every (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Gerdano and Every, 1979)
ได้เสนอกลวิธีในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างได้ผล 3 ประการ ดังนี้
1) การใช้ภาษาทางบวก (Positive Verbalization) หมายถึง กระบวนการที่บุคคล
เสริมภาพเกี่ยวกับตนเอง (Self Image) โดยชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะทางบวกของตนเองโดยใช้ภาษา
เป็นสื่อ
2) การยอมรับคํายกย่องชมเชย (Accepting Compliment) เมื่อมีใครมายกย่อง
ชมเชยเรา เราก็ยอมรับโดยปราศจากท่าทีหรือคําตอบที่ถ่อมตน แต่ใช้ประโยคแสดงความยินดีแทน
วิธีนี้จะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งจะทําให้บุคคลประทับใจ และมองตนเองในแง่บอก
ยิ่งขึ้น
3) การฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness) เป็นวิธีการที่มี
ประสิทธิภาพที่ทําให้บุคคลมีพฤติกรรมทางบวก กล้าแสดงออกในทางที่เหมาะสม และมีการรับรู้ที่
มีประสิทธิภาพ
Coopersmith (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Coopersmith, 1984) ได้สรุปองค์ประกอบ
ของการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้
1) การได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลรอบข้างที่มีความสําคัญในชีวิต การ
สนับสนุนให้กําลังใจกัน แสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน การสื่อสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ
2) การประสบความสําเร็จตามเป้ าหมาย การบรรลุถึงผลสําเร็จในงานส่งผลต่อการ
เห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงการชมเชยตนเอง การส่งเสริมความพยายามในการสร้างความสําเร็จ
แก่ตนเอง
3) การได้ทําสิ่งที่สอดคล้องกับค่านิยม และความปรารถนาของตน ทําให้รู้สึกว่า
ตนเองมีคุณค่า เมื่อสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่ตนเองให้คุณค่าไว้
4) การปกป้ องความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง โดยการลดความสนใจต่อสิ่งที่จะทําให้
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าลง เช่น คําวิจารณ์ การตั้งความหวัง
Coopersmith (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Coopersmith, 1984) ยังได้เสนอวิธีการ
เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสําหรับนักเรียนว่า มีหลายวิธีการที่สามารถช่วยให้เด็กวัยรุ่นที่
16
เห็นคุณค่าในตนเองตํ่า โดยโรงเรียนควรผสมผสานโปรแกรมการส่งเสริมความรู้สึกเห็นคุณค่าใน
ตนเองในทุกๆ ชั้นเรียน เพื่อเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสําหรับนักเรียนบางคน และคง
ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง โดย
Coopersmith ได้เสนอวิธีการ ดังนี้
1) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน โรงเรียนสามารถช่วยให้นักเรียน
ตระหนักถึงพลัง และความสามารถที่มีอยู่ภายในตนเอง รวมถึงความสามารถที่นอกเหนือจากการ
ทํากิจวัตรประจําวันทั่วไป ตามที่ MacAfee and Meier, 1969 (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง
MacAfee and Meier, 1969) ได้พัฒนาการตอบสนองทางสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมความรู้สึก
เห็นคุณค่าในตนเอง เช่น สภาพแวดล้อมช่วยให้เด็กรับรู้ว่า “การรู้ว่าตนเองต้องการอะไร” เป็นสิ่ง
สําคัญที่สุด สภาพแวดล้อมช่วยจัดเตรียมการให้ข้อมูลย้อนกลับ และช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีค้นหา
และใช้ข้อมูลย้อนกลับ การส่งเสริมความเป็นอิสระ และการสร้างสรรค์มีพื้นฐานในการให้ข้อมูล
และการตอบสนองทางสภาพแวดล้อม ดังนี้
1.1) ให้เด็กมีการสํารวจสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระท่ามกลางกิจกรรมที่มีความ
หลากหลาย
1.2) ให้ข้อมูลแก่เด็กทันทีทุกครั้งที่มีการทําพฤติกรรมต่างๆ
1.3) ให้เด็กประเมินการกระทํา และความก้าวหน้าของตนเอง
1.4) ให้เด็กมีอิสระในการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทําให้เด็กสามารถค้นพบว่าสิ่ง
ต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร
ในสภาพแวดล้อมแบบนี้เด็กจะเรียนรู้ที่จะฟังตนเอง รวมถึงความรู้สึก และการตัดสินใจ มี
การประเมินความก้าวหน้าด้วยตนเองมากกว่าจะมองหาการยืนยันจากผู้อื่น
2) ความคาดหวัง และความเชื่อ เมื่อนักเรียนมีแนวโน้มที่จะแสดงออกอย่างมั่นใจ
ด้วยทัศนคติ และความเชื่อที่เขาได้สัมผัสเกี่ยวกับตนเอง การฝึกฝนในห้องเรียน การสนับสนุน
ทางบวก และการก่อตัวอย่างสร้างสรรค์ของความเชื่อทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมา
โดยแรงผลักดันที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวัง และความเชื่อของนักเรียนเกี่ยวกับศักยภาพในตนเอง
นั้น คือ ความเชื่อของครูที่มีต่อตัวเด็ก การฝึกฝนในห้องเรียน และความคาดหวังของผู้ปกครอง มี
หลักฐานยืนยันที่ชัดเจนว่าหากครูมีความคาดหวังให้นักเรียนเรียนรู้ และเชื่อว่านักเรียนมีศักยภาพ
ในการทํางานให้ประสบความสําเร็จ จะทําให้นักเรียนมีการกระทํา มีการปฏิบัติสิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
17
เทคนิคเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง
1) การยอมรับความรู้สึก และสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน สิ่งสําคัญที่ครู
ต้องคํานึงถึง คือ ความรู้สึกกลัว ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีอิทธิพลมากสําหรับเด็ก แม้จะดูเป็นเรื่อง
เล็กน้อยหรือผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องเหลวไหล แต่ครูสามารถช่วยให้เด็กตระหนักรู้ในตนเองโดยการ
ยอมรับความรู้สึกทางลบที่ตนเคยปฏิเสธมาก่อน ผู้ใหญ่สามารถยอมรับความรู้สึกกลัว ความคับ
ข้องใจ และการปฏิเสธได้ สําหรับเด็กต้องใช้วิธีที่ง่ายกว่านั้น เพื่อช่วยให้เด็กสามารถแสดงออก
เกี่ยวกับตนเองอย่างเปิดเผย เด็กและครูสามารถยอมรับความจริงที่ว่าบางครั้งบุคคลก็ต้องเคยมี
ประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกในทํานองเดียวกัน
2) ตระหนักถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการแก้ปัญหา เด็กมีวิธีที่แตกต่างกัน
ไปในการจัดการกับเรื่องร้ายๆ ที่ตนเองประสบ รวมถึงระยะเวลา และความถี่ในการจัดการ เด็ก
บางคนก็มีแนวโน้มที่ถอยหนีก่อน และกลับมาจัดการกับปัญหาอย่างเข้มแข็ง ครูและผู้ปกครองควร
ช่วยกันสังเกตว่าเด็กมีธรรมชาติ และกระบวนการในการแก้ไขปัญหาอย่างไร ถึงแม้ว่าเด็กจะมี
วิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสมเท่ากับผู้ใหญ่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่มีความสามารถ
ความหนักแน่น และความมั่นคงในการจัดการกับปัญหา นอกจากนี้ครูสามารถช่วยเด็กได้ด้วยการ
แนะนํา สนับสนุน เสนอ และสอนวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่มีความหลากหลาย
อาจเปิดโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์การเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง
3) หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่กะทันหัน ทางหนึ่งที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่มั่นคง คือ
การจัดสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างชัดเจน แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา และสามารถคาดเดาได้
ครูสามารถทําได้ด้วยการประกาศหรือแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นลงในตาราง หรือการแจ้งให้
ทราบเป็นรายบุคคล หรือประกาศในห้องเรียนด้วยความชัดเจน โดยต้องแจ้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะ
เป็นไปได้ และทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป
4) การมีตัวแบบ หากครูมีลักษณะหรือบุคลิกภาพที่ไม่มั่นคง หวั่นไหว มีความรู้สึก
กลัว สิ่งเหล่านี้จะสื่อไปถึงเด็กในห้องเรียนได้ ในทางกลับกันหากครูมีลักษณะหรือบุคลิกภาพที่มี
ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และสามารถจัดการกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้เป็นอย่าง
ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับนักเรียน และช่วยให้นักเรียนตระหนักว่าปัญหาทุก
ปัญหามีทางแก้ และในที่สุดจะคลี่คลายลง นอกจากนี้การที่ครูแสดงถึงการหาทางแก้ไขปัญหา
มากกว่าการยอมโดยที่ไม่ได้ลงมือทําอะไรเลย จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และช่วยให้
นักเรียนนําพลังที่มีอยู่ในตัวเองออกมาใช้
18
5) การช่วยพัฒนาวิธีการจัดการกับเรื่องยุ่งยากต่างๆ นักเรียนหรือแม้แต่ผู้ใหญ่ต่างมี
กระบวนการ และวิธีแก้ปัญหาที่จํากัด สิ่งสําคัญที่ช่วยนักเรียนได้คือการขยายขอบเขตของ
กระบวนการในการแก้ปัญหาให้กว้างขึ้น รวมถึงเพิ่มความหนักแน่นเพื่อให้นักเรียนสามารถอดทน
ต่อปัญหาได้ ครูสามารถให้คําแนะนํานักเรียนได้ เช่น การให้ปลดปล่อยความรู้สึก ความตึงเครียด
ออกมา อาจเล่าให้คนใกล้ชิดฟัง หรือการให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมติ จําลองสถานการณ์
เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการจัดการกับปัญหา
6) การคงความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และเพิ่มความหนักแน่นในการแก้ไขปัญหา
ครูและผู้ปกครองควรระลึกไว้เสมอว่าเด็กได้พยายามแก้ไขปัญหาเต็มความสามารถของตนเองแล้ว
ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามที่ครู และผู้ปกครองคาดหวัง หากครู และผู้ปกครองอยากช่วยเหลือให้
คําแนะนําเด็กควรจะทําเป็นการส่วนตัว เพื่อเสริมความมั่นใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
7) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง บางครั้งผู้ปกครองมีความดาดหวังในตัวเด็กสูงเกินไป
และขาดการสนับสนุนกําลังใจ ทําให้เด็กเกิดความตึงเครียด และบางครั้งเด็กไม่ได้รับคําแนะนําใน
การจัดการกับปัญหาที่โรงเรียน จึงต้องมีการจัดอบรมให้แก่ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนและให้กําลังใจ
ในการแก้ไขปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อม
เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้เขียนจึงแบ่ง
หลักการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองเป็น 3 กลุ่มได้แก่
5.1 การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เรียน
การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน หากตนเองไม่เห็น
คุณค่าแล้ว ต่อให้คนอื่นอีกเป็นร้อยเป็นพันคนมาชี้นําเราก็ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง (อลิสา ทองหนูนุ้ย,
2555; พรทิพย์ วชิรดิลก, ม.ป.ป.) ได้แนะนําวิธีการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้
1) คิดแก้ปัญหาในทางบวก สร้างความตระหนักในตนเอง รู้ทันความคิดที่มีผลให้
เรารู้สึกดีขึ้น หรือทําให้เรารู้สึกแย่ลง เลือกความคิดที่ช่วยสร้างพลังใจ เช่น เมื่อต้องทํางาน หรือ
เรียนในวิชาที่เราไม่ชอบ แต่เราก็จําเป็นต้องทําในสิ่งนั้น หากเราคิดทางลบว่า “แย่จัง ฉันทําไม่ได้
หรอก” เราก็ยิ่งรู้สึกท้อแท้ ไม่มีกําลังใจที่จะพยายามทําสิ่งนั้น แต่หากเราคิดว่า “ฉันจะพยายาม ถ้า
คนอื่นเขาเรียนได้ฉันก็ต้องทําได้” เลือกคําพูดบอกตัวเองในการสร้างพลังเสมอๆ เช่น “ฉันทําได้”
“ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอก ถ้าเรามีความพยายามเรียนรู้” เราก็จะมีกําลังใจที่จะสามารถฟันฝ่า
อุปสรรคต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ บางครั้งเมื่อรู้สึกว่างานชิ้นใดเป็นเรื่องยาก ให้ค่อยๆ คิด แก้ปัญหา
ให้นึกถึงความสําเร็จไปทีละขั้นตอน มากกว่ากังวลแต่ผลลัพธ์ที่ต้องสําเร็จปลายทาง แต่ให้ทําอย่าง
ต่อเนื่อง ทุกสิ่งก็จะสําเร็จได้ เช่น ทํารายงานให้เสร็จทีละบท จากบทที่ 1 ไปบทที่ 2 และ 3 ทําไป
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem
ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem

More Related Content

What's hot

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
DuangdenSandee
 
วิทย์ ป.2
วิทย์ ป.2วิทย์ ป.2
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษาความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
Pitchayakarn Nitisahakul
 
งานธุรการโรงเรียน
งานธุรการโรงเรียนงานธุรการโรงเรียน
งานธุรการโรงเรียนSukanya Polratanamonkol
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
ญาณิศา ไหลพึ่งทอง
 
ฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมkrookay2012
 
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความการอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
Surapong Klamboot
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศthnaporn999
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก Jeerapob Seangboonme
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
Wichai Likitponrak
 
บริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคลบริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคล
Chainarong Maharak
 
กระดาษเส้น
กระดาษเส้นกระดาษเส้น
กระดาษเส้นTik Msr
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
SAKANAN ANANTASOOK
 
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาPrincess Chulabhorn's College, Chiang Rai Thailand
 
กลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักรราศี
netissfs
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
Kruthai Kidsdee
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีmaethaya
 
4.ใบงาน
4.ใบงาน4.ใบงาน
4.ใบงานparichat441
 

What's hot (20)

การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
วิทย์ ป.2
วิทย์ ป.2วิทย์ ป.2
วิทย์ ป.2
 
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษาความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
ความหมายและทฤษฏีการบริหารสถานศึกษา
 
ค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐานค่ามาตรฐาน
ค่ามาตรฐาน
 
งานธุรการโรงเรียน
งานธุรการโรงเรียนงานธุรการโรงเรียน
งานธุรการโรงเรียน
 
จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้จิตวิทยาการเรียนรู้
จิตวิทยาการเรียนรู้
 
ฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรมฮิสโทแกรม
ฮิสโทแกรม
 
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความการอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
การอ่านแปลความ ตีความและขยายความ
 
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศเข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
เข็มทิศและการใช้เข็มทิศ
 
ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก ค่าอำนาจจำแนก
ค่าอำนาจจำแนก
 
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียนกิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
กิจกรรมการคิดเกมค่ายนักเรียน
 
บริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคลบริการจัดวางตัวบุคคล
บริการจัดวางตัวบุคคล
 
กระดาษเส้น
กระดาษเส้นกระดาษเส้น
กระดาษเส้น
 
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
ชุดการสอน เรื่อง ภูมิศาสตร์ทวีปอเมริกาเหนือ
 
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชาคำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
คำอธิบายรายวิชาและโครงสร้างรายวิชา
 
กลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักรราศีกลุ่มดาวจักรราศี
กลุ่มดาวจักรราศี
 
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
แบบสอบถาม โครงการบันทึกรักการอ่าน2013
 
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดีแบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
แบบประเมินโครงการแสดงความยินดี
 
ใบงานที่ 1
ใบงานที่ 1ใบงานที่ 1
ใบงานที่ 1
 
4.ใบงาน
4.ใบงาน4.ใบงาน
4.ใบงาน
 

Viewers also liked

อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
Washirasak Poosit
 
instruction_ self esteem
instruction_ self esteeminstruction_ self esteem
instruction_ self esteem
Phruksa Sinluenam
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้waraporny
 
Self esteem
Self esteemSelf esteem
Self esteem
PAF-KIET
 
จริยศาสตร์ คุณค่า
จริยศาสตร์ คุณค่า จริยศาสตร์ คุณค่า
จริยศาสตร์ คุณค่า chonlataz
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
ถูกต้อง ไม่จำเป็นต้องถูกใจ
 
Self Esteem
Self   EsteemSelf   Esteem
Self Esteem
Rdonnovan
 
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
Nattayaporn Dokbua
 
ความหมายของบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพความหมายของบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพMringMring She Zaa
 
Models of teaching
Models of teachingModels of teaching
Models of teaching
ucte vaikom_dipu arayankavu
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้สุเทพ สอนนิล
 
Model of Teaching
Model of TeachingModel of Teaching
Model of Teaching
Deepty Gupta
 

Viewers also liked (14)

อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
อบรมข้าราชการ ๖ (Self Esteem)
 
instruction_ self esteem
instruction_ self esteeminstruction_ self esteem
instruction_ self esteem
 
Self esteem
Self esteemSelf esteem
Self esteem
 
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้สารคดีเล่าประสบการณ์  ความสุขของการเป็นผู้ให้
สารคดีเล่าประสบการณ์ ความสุขของการเป็นผู้ให้
 
Self esteem
Self esteemSelf esteem
Self esteem
 
จริยศาสตร์ คุณค่า
จริยศาสตร์ คุณค่า จริยศาสตร์ คุณค่า
จริยศาสตร์ คุณค่า
 
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ  โรงเรียน...
คุรุมุทิตาหนังสือที่ระลึกเนื่องในงานเกษียณอายุราชการครูศริพร นาหอคำ โรงเรียน...
 
Self Esteem
Self   EsteemSelf   Esteem
Self Esteem
 
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
งานนำเสนอ Bandura (ใหม่)
 
ความหมายของบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพความหมายของบุคลิกภาพ
ความหมายของบุคลิกภาพ
 
Models of teaching
Models of teachingModels of teaching
Models of teaching
 
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้
 
Model of Teaching
Model of TeachingModel of Teaching
Model of Teaching
 
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้
 

Similar to ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
moohhack
 
9789740331278
97897403312789789740331278
9789740331278CUPress
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
nattawad147
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
gam030
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
wanneemayss
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
fernfielook
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
nattawad147
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
nattapong147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
nattawad147
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
teerayut123
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
wanitchaya001
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
Piyapong Chaichana
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
poppai041507094142
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1khuwawa
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
wanichaya kingchaikerd
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
nattawad147
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
Theerayut Ponman
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
benty2443
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
kanwan0429
 

Similar to ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem (20)

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องบทที่  2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
 
9789740331278
97897403312789789740331278
9789740331278
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
1 170819173012
1 1708191730121 170819173012
1 170819173012
 
R บทที่ 1
R บทที่  1R บทที่  1
R บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 
บทที่ 1
บทที่ 1บทที่ 1
บทที่ 1
 

ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง: Self esteem

  • 1. 1 บทความเรื่อง ขอให้ ... เห็นคุณค่าในตนเอง นางสาวพฤกษา สินลือนาม นิสิตสาขาวิชาการศึกษานอกระบบเพื่อพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ sln.phruksa@gmail.com ขอให้เทอมนี้ได้เกรดเอทุกวิชา ขอให้สอบประมวลความรู้ผ่าน ขอให้เรียนจบในสามปีด้วย เทอญ ... สาธุ ทุกครั้งที่ไหว้พระ นิสิตส่วนใหญ่มักขอพรด้วยประโยคที่ไม่ต่างกันมากนัก แต่หารู้ไม่ ว่าพรเหล่านี้จะประสบความสําเร็จได้อยู่เพียงแค่เอื้อม การทําตนเองให้ประสบความสําเร็จในด้าน การเรียน และด้านอื่นๆ ของนิสิตในปัจจุบันนี้(อลิสา ทองหนูนุ้ย, 2555) องค์ประกอบที่สําคัญ หลายประการ เช่น การมองโลกในแง่ดี มองวิกฤตให้เป็นโอกาส มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบสูง และที่สําคัญที่สุด คือ การรัก และการเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) 1. การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) คืออะไร คําว่า “Self Esteem” เป็นคํา มาจากภาษาต่างประเทศ ตามความหมายของ Oxford advanced learner’s dictionary ปี 1995 ได้ให้ความหมายว่า A good opinion of one’s own character and ability ซึ่งยังไม่มีการบัญญัติเป็นภาษาไทยที่ชัดเจน นักวิชาการหลายท่านใช้คํา ต่างกัน เช่น ความสํานึกในคุณค่าตนเอง ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเอง เกียรติภูมิแห่งตน ความภาคภูมิใจในตนเอง ความนับถือตนเอง การยอมรับตนเอง หรือ ภาพลักษณ์ของตนเอง การเห็นพ้องด้วยตนเอง เป็นต้น สําหรับบทความนี้ใช้คําว่า “การเห็น คุณค่าในตนเอง” มีผู้ให้ความหมายของคําว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง ไว้มากมายซึ่งสามารถสรุปได้ 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. 1 กลุ่มที่มีแนวคิดที่เกิดจากการประเมินตนเอง โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐาน ที่ตนเองตั้งไว้ ได้แก่ Branden (Joshi and Srivastava, 2009 อ้างถึง Branden, 1992) การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่สามารถทําได้ และพื้นฐานของความรู้สึกมีคุณค่า ที่ส่งผลให้การ
  • 2. 2 กระทําประสบความสําเร็จอย่างมีคุณค่า หรือเป็นการประเมินภาวะจิตใจ สติสัมปชัญญะ และ ความรู้สึกส่วนลึกภายในจิตใจของแต่ละบุคคล Rosenberg (Joshi and Srivastava, 2009 อ้างถึง Rosenberg, 1990) การเห็นคุณค่า ในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในตนเอง เกี่ยวกับการยอมรับตนเอง นับถือตนเอง เป็น การประเมินตนเองทั้งทางบวก และทางลบ Wolfolk (Vialle, Heaven, and Ciarrochi, n.d อ้างถึง Wolfolk, 2005) การเห็นคุณค่าใน ตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองว่ามีคุณค่าเพียงใด เป็นไปได้ทั้งทางบวก และทางลบ Sheehan (Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง Sheehan, 2004) การเห็น คุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเอง และทัศนคติที่มี Coopersmith (ชีวัน บุญตั๋น, 2546; Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง Coopersmith, 1967) การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเอง และ ทัศนคติที่มีต่อตนเองในด้านการยอมรับ หรือไม่ยอมรับเกี่ยวกับตนเอง ทําให้บุคคลนั้นรู้ สึกว่า ตนเองมีความสามารถ ความสําคัญ ประสบความสําเร็จ และมีคุณค่า Craig (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง Craig, 1969) การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การที่ บุคคลประเมินตนเองว่าเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพ และมีคุณค่า Pope et al. (Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012 อ้างถึง Pope et al., 1989) การ เห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง การประเมินตนเองในด้านต่างๆ ได้แก่ สังคม การศึกษา ครอบครัว ภาพลักษณ์ และมุมมองรวม ธีระ ชัยยุทธยรรยง (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง ธีระ ชัยยุทธยรรยง, 2542) การเห็นคุณค่า ในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองในทางที่ดี มีความเข้าใจตนเอง ยอมรับตนเอง มี ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถ มีคุณค่า สามารถทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสําเร็จดังที่ ตั้งเป้ าหมายไว้ได้ 1.2 กลุ่มที่มีแนวคิดที่เกิดจากการประเมินตนเอง โดยเปรียบเทียบกับคนอื่น Maslow (จิรพัฒน์ ศรีสุข, 2546 อ้างถึง Maslow, 1970) การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความนับถือตนเองเกิดจากการยอมรับของคนอื่น โดยดูจากการตอบสนองจากคนรอบ ข้าง หรือจากการประเมินคุณค่าความสามารถ และการประสบความสําเร็จ หากการประเมิน เป็นไปในด้านบวกก็จะเกิดความเชื่อมั่นในคุณค่าแห่งตนมีความเข้มแข็งมีความสามารถ แต่ถ้าการ ประเมินเป็นไปในด้านลบจะทําให้รู้สึกว่ามีปมด้อย อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้
  • 3. 3 สุจิตรา เผื่อนอารีย์ (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง สุจิตรา เผื่อนอารีย์, 2533) การเห็นคุณค่า ในตนเอง หมายถึง การประเมินคุณค่าของตนเองในเรื่องของการประสบความสําเร็จ การยอมรับ ตนเอง และยอมรับจากผู้อื่น การมีความสามารถเพียงพอในการกระทําสิ่งต่างๆ รวมทั้งการมี คุณค่าและมีความสําคัญต่อสังคม ศศิกานต์ ธนะโสธร (ชีวัน บุญตั๋น, 2546 อ้างถึง ศศิกานต์ ธนะโสธร, 2529) การเห็น คุณค่าในตนเอง หมายถึง เป็นความรู้สึกที่ว่าตนเองเป็นที่ยอมรับ และต้องการของผู้อื่น มีเกียรติ มี คุณค่า มีศักดิ์ศรี และมีประโยชน์ต่อสังคม จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า การเห็นคุณค่าในตนเอง หมายถึง ความรู้สึกที่ บุคคลรับรู้ว่าตนเองมีคุณค่า นําไปสู่ความเชื่อมั่นในตนเอง และการยอมรับนับถือตนเอง ซึ่งเป็นผล จากการประเมินตนเองโดยภาพรวมในด้านความสามารถ ความสําคัญ และความสําเร็จของ ตนเอง และแสดงออกมาในรูปแบบของทัศนคติในแง่บวกที่มีต่อตนเอง จึงไม่น่าแปลกใจหากบุคคลรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองทางบวกก็จะมุ่งมั่นทําตามเป้ าหมาย ที่วางไว้ให้สําเร็จได้ แต่ในทางกลับกันหากบุคคลรู้สึกเห็นคุณค่าตนเองในทางลบโลกทั้งโลกก็ อาจจะดูมืดมิด หดหู่ ดูไม่น่าอยู่ 2. การเห็นคุณค่าในตนเอง สาคัญต่อการดาเนินชีวิตจริงหรือ สิ่งที่เลวร้ายที่สุดอาจเกิดขึ้นกับมนุษย์เราได้ คือการคิดแต่เรื่องเลวร้ายเกี่ยวกับตนเอง นั่น หมายความว่าคนเราควรมีความคิดดีๆ กับตนเอง (สุวรรณี พุทธิศรี, ม.ป.ป.) การเห็นคุณค่าของ ตนเอง ชื่นชมตนเอง ภาคภูมิใจในตนเอง โดยทั้งหมดมาจากการมองตนเองแต่ในทางดีเป็นหลัก มิใช่มาจากการตัดสินใจหรือการประเมินของผู้อื่นเสียทั้งหมด ถ้าเป็นไปได้อย่างนี้ชีวิตเราจะมี อิสระมากขึ้น หลุดพ้นจากพันธนาการของสายตาและความเห็นของคนรอบข้าง เมื่อเราสามารถ สร้างความรู้สึกที่ดีอย่างนี้ได้ เราก็พร้อมที่จะปรับอารมณ์ ปรับตัว เพื่อให้เข้ากับสังคมได้อย่างดี เรา ก็จะมองโลกในแง่ดี เพราะเราฝึกมองตนเองในแง่ดีมาจนชํานาญแล้ว และเราก็พร้อมที่จะเผชิญ กับปัญหาข้างหน้าได้อย่างมั่นคง แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีโดยไม่มีอารมณ์ขุ่นมัว หรือประสาทกับ เรื่องไม่เป็นเรื่อง การมีความสุขกับชีวิตที่มีอยู่ จะทําให้เรามีพลังพอที่จะก้าวไปสู่สิ่งที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับ (ปิยะดา ดําแก้ว, 2550 อ้างถึง ธีระ ชัยยุทธยรรยง, 2544) การเห็นคุณค่าใน ตนเองเป็นความจําเป็นพื้นฐานสําหรับมนุษย์ ซึ่งสามารถทําให้มนุษย์มีการพัฒนา หรือดําเนินชีวิต อยู่อย่างมีคุณค่า การที่มนุษย์จะประสบความสําเร็จหรือล้มเหลวขึ้นอยู่กับการเห็นคุณค่าในตนเอง
  • 4. 4 การเห็นคุณค่าในตนเองมีความสําคัญยิ่งในการที่บุคคลจะสามารถดํารงชีวิตได้อย่างมี ความสุข แต่หากบุคคลไม่เห็นคุณค่าในตนเอง ไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจในตนเองแล้ว บุคคลนั้นก็จะไม่ มีความมั่นใจต่อสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันของตนและก่อให้เกิดปัญหา สุขภาพจิตตามมาได้ ชื่นทิพย์ อารีสมาน (สุธนี ลิกขะไชย, 2555 อ้างถึง ชื่นทิพย์ อารีสมาน, 2545) การเห็น คุณค่าในตนเอง มีความสําคัญต่อบุคคลในการดําเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถกระทําสิ่ง ต่างๆ ได้อย่างประสบผลสําเร็จ เนื่องจากมีความเชื่อมั่นในความสามารถของตน สามารถเผชิญ ปัญหาที่ยุ่งยาก ซับซ้อนได้ มีความกระตือรือร้นเพื่อไปให้ถึงจุดหมาย ยอมรับความจริง สามารถ พูดถึงความล้มเหลวหรือข้อบกพร่องต่างๆ ของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมา ยอมรับฟังคําวิจารณ์ คุณลักษณะดังกล่าวจะส่งผลให้บุคคลสามารถดํารงชีวิตของตนเองได้อย่างมีความสุข จากที่กล่าวมาชี้ให้เห็นว่าการเห็นคุณค่าในตนเองมีความสําคัญต่อการดําเนินชีวิต เนื่องจากเป็นการรับรู้คุณค่าของตนเองตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเป็นพื้นฐานการมอง ชีวิตให้ดํารงอยู่อย่างมีคุณค่า เสริมสร้างให้บุคคลแสดงออกซึ่งพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Coopersmith, 1967) บุคคลที่เห็นคุณค่าในตนเองจะสามารถเผชิญ อุปสรรคที่เกิดขึ้นได้อย่างมั่นใจ หาแนวทางแก้ปัญหาให้ผ่านไปได้ด้วยดี ดังนั้นการเห็นคุณค่าใน ตนเองจะเป็นองค์ประกอบที่สําคัญที่ทุกคนควรจะมี 3. แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเอง 3.1 แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองของ Coopersmith Coopersmith (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Coopersmith, 1981) กล่าวว่า การ เห็นคุณค่าในตนเองเป็นความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองเป็นการแสดงความรู้สึกหรือการประเมิน ตนเองในการยอมรับหรือไม่ยอมรับตนเอง ชี้ให้เห็นถึงขอบเขตของความเชื่อที่บุคคลมีเกี่ยวกับ ตนเอง ซึ่งเกณฑ์ในการประเมินความสําเร็จที่ถือเป็นแหล่งกําเนิดของการเห็นคุณค่าในตนเองมี 4 ประการ ดังนี้ 1) การมีความสําคัญ (Significance) เป็นความสามารถของบุคคลที่ได้รับการ ยอมรับ ความสนใจ ความห่วงใย การดูแล การแสดงออกถึงความรักจากบุคคลอื่น และการเป็นที่ ชื่นชอบของบุคคลอื่นตามสภาพที่ตนเป็นอยู่ ตลอดจนได้รับการสนับสนุน และกระตุ้นเตือนในยาม ที่ต้องการความช่วยเหลือหรือภาวะวิกฤต
  • 5. 5 2) การมีอํานาจ (Power) เป็นความสามารถของบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการควบคุม การกระทําของตนเองและผู้อื่น ซึ่งในบางสถานการณ์ของอํานาจนั้นอาจแสดงให้เห็นโดยการที่ บุคคลได้รับความเคารพนับถือจากบุคคลอื่น และการมีอิทธิพลต่อบุคคลอื่นโดยที่บุคคลสามารถ แสดงความคิดเห็นของตนได้ 3) การมีความสามารถ (Competence) เป็นการพิจารณาความสามารถในการ กระทําสิ่งต่างๆ ได้ประสบความสําเร็จตามความมุ่งหวัง ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับ วัย กิจกรรมที่ทํา ความสามารถ ค่านิยม และความปรารถนาของบุคคลนั้น 4) การมีคุณความดี (Virtue) เป็นการยึดมั่นในหลักของศีลธรรมจริยธรรม และ ศาสนาซึ่งบ่งชี้ถึงการปฏิบัติตัวที่พึงละเว้น หรือควรกระทําตามหน้าที่ ซึ่งสอดคล้องกับ ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมตลอดจนค่านิยมของสังคม โดยคาดว่าผู้ที่ยึดมั่นหรือ ปฏิบัติตามจะได้รับการยอมรับ และส่งผลต่อทัศนคติของตนเองในทางบวก นอกจากนี้Coopersmith ยังกล่าวว่า การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลเริ่มจากการมี พัฒนาการมาตั้งแต่แรกเกิดแต่ไม่ได้คงอยู่เช่นนั้นตลอดไป โดยสามารถเปลี่ยนแปลงได้จาก ประสบการณ์ การได้มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลจะแสดงระดับการเห็น คุณค่าในตนเองออกมาในลักษณะของการสื่อสารทั้งที่เป็นคําพูดและพฤติกรรมอื่นๆ ทําให้เห็นได้ อย่างชัดเจนว่าการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลสามารถวัดและประเมินได้จากการตัดสินให้ คุณค่าตลอดจนพิจารณาจากการประเมินตนเองของบุคคลแต่ละคนซึ่งแสดงออกในรูปของ ความรู้สึกของการยอมรับและการไม่ยอมรับตนเอง และแสดงถึงขอบเขตความเชื่อของบุคคล เกี่ยวกับความสําคัญ อํานาจ ความสามารถ และการมีคุณความดีในตนเอง Coopersmith (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Coopersmith, 1981) ได้กล่าวว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองสามารถแบ่งออกเป็น 2 องค์ประกอบ คือ ปัจจัย ภายในตัวบุคคล และปัจจัยภายนอกตัวบุคคล ดังนี้ 1) ปัจจัยภายในตัวบุคคล หมายถึง ลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคลที่มีผลให้บุคคล มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองด้านต่างๆ ของบุคคลแตกต่างกันออกไป ประกอบด้วย 1.1) ลักษณะทางกายภาพ (Physical Appearance) เช่น ความสูง นํ้าหนัก ลักษณะรูปร่าง หน้าตา ความแข็งแรง บุคลิกภาพ รวมทั้งเสื้อผ้าที่สวมใส่ หรือคุณสมบัติอื่นที่ ปรากฏให้เห็นได้ เป็นสิ่งที่เอื้อต่อความสําเร็จในการทํากิจกรรมที่บุคคลนั้นให้ความสําคัญ มีส่วน ช่วยส่งเสริมให้บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเอง ชื่นชมตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับข้อมูล
  • 6. 6 ย้อนกลับจากบุคคลอื่นที่กล่าวถึงตนเอง ข้อมูลย้อนกลับที่ได้รับเป็นที่พึงพอใจจะทําให้บุคคลเกิด ความรู้สึกที่ดีกับตนเองมากขึ้น 1.2) เพศ (Sex) สังคม และวัฒนธรรมส่วนใหญ่มักจะให้ความสําคัญกับเพศ ชายมากกว่าเพศหญิง โดยที่เพศชายมักได้รับมอบหมายตําแหน่งที่มีอํานาจทางสังคม ซึ่งน่าจะ เป็นส่วนที่ทําให้เพศชายมีการเห็นคุณค่าในตนเองสูงหว่าเพศหญิง 1.3) ความสามารถ สมรรถภาพ และผลงาน (Capacities, Competences and Performance) การเห็นคุณค่าในตนเองจะเกี่ยวข้องกับการประสบความสําเร็จในหน้าที่การงาน เช่น มีตําแหน่งหน้าที่การงานในระดับสูง มีอํานาจ ประกอบอาชีพที่มีเกียรติ มีรายได้สูง เป็นต้น ความสําเร็จในหน้าที่การงานมีความสัมพันธ์กับความรู้สึกที่ดีต่อตนเอง กล่าวคือ บุคคลที่จะ ประสบความสําเร็จในการทํางานสูงจะมองว่าตนเองเป็นผู้มีความสามารถ รับรู้ตนเองในด้านดี มี ความพอใจในตนเอง มีการประเมินคุณค่าในตนเองสูง ส่วนบุคคลที่ประสบความสําเร็จในการ ทํางานตํ่าจะมีความรู้สึกตรงข้ามกับที่กล่าวมา 1.4) ภาวะอารมณ์ (Affective States) ความรู้สึก ภาวะอารมณ์ เป็นภาพ สะท้อนให้เห็นถึงความรู้สึกพึงพอใจ ความวิตกกังวล ความรู้สึกเป็นสุขหรือภาวะอื่นๆ ที่มีอยู่ในตัว บุคคลทั้งที่แสดงออก และไม่แสดงออก ส่วนใหญ่มีผลสืบเนื่องมาจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคล อื่นแล้วส่งผลต่อการประเมินตนเองความรู้สึกของบุคคลมีความสัมพันธ์กับการเห็นคุณค่าในตนเอง เช่น บุคคลที่คิดว่าตนเป็นคนที่มีความสามารถ มีความชื่นชมในตนเอง มีความพึงพอใจในตนเอง บุคคลนั้นจะประเมินตนเองไปในทางที่ดี จะแสดงความรู้สึกและสื่อความพึงพอใจตลอดจนภาวะ อารมณ์ทางด้านบวกออกมา ในขณะที่บุคคลที่ประเมินตนเองไปในทางลบ จะมีความรู้สึกไม่พึง พอใจในภาวะปัจจุบันของตน มองตนเองไม่มีความสามารถ ไร้สมรรถภาพ มีความรู้สึกด้อย รู้สึก วิตกกังวล และไม่สามารถประสบความสําเร็จในอนาคตอันใกล้ได้ ซึ่งส่งผลให้การเห็นคุณค่าใน ตนเองลดลง 1.5) ค่านิยมส่วนบุคคล (Self Values) บุคคลจะประเมินตนเองจากสิ่งที่ตนให้ คุณค่า และให้ความสําคัญ โดยสอดคล้องกับอุดมคติและค่านิยมทางสังคม หากค่านิยมส่วนตนมี ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคมการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลก็จะเพิ่มขึ้น ในทางตรงกัน ข้ามหากค่านิยมส่วนตนไม่สอดคล้องกับค่านิยมของสังคม บุคคลก็จะมีการเห็นคุณค่าในตนเอง ตํ่าลง และการเห็นคุณค่าในตนเองของแต่ละบุคคลจะผันแปรตามค่านิยม และการให้คุณค่าตาม ความนึกคิดที่บุคคลมีต่อสิ่งต่างๆ ซึ่งเขาจะให้ความสําคัญแตกต่างกัน เช่น บุคคลที่ให้ความสําคัญ ต่อความสําเร็จในการทํางานแต่กลับล้มเหลวเขาจะประเมินการเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าลง ส่วน
  • 7. 7 บุคคลที่เห็นคุณค่าของการทํางาน และประสบความสําเร็จในการทํางานเขาจะรู้สึกภาคภูมิใจใน ตนเอง 1.6) ระดับความมุ่งหวัง (Aspirations) การตัดสินคุณค่าของบุคคลส่วนหนึ่ง เกิดขึ้นจากการเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงาน และความสามารถของตนกับระดับเกณฑ์มาตรฐาน ของตน ประสบการณ์ที่ได้รับ ความสําเร็จจะนําไปสู่การคาดหวังต่อความสําเร็จในครั้งต่อไป บุคคลที่มีความสามารถ หรือผลงานตรงตามเกณฑ์ที่กําหนดไว้จะนําไปสู่การมองตนเองว่ามี คุณค่า ในทางตรงกันข้ามถ้าบุคคลนั้นมีระดับความมุ่งหวังสูงเกินไป ก็จะเกิดการเห็นคุณค่าใน ตนเองตํ่าลง 2) ปัจจัยภายนอกตัวบุคคล หมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่บุคคลมีปฏิสัมพันธ์ ด้วยซึ่งส่งผลให้บุคคลเกิดการเห็นคุณค่าในตนเองที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย 2.1) สัมพันธภาพระหว่างบุคคลกับครอบครัว (Family Relationship) ภูมิหลัง หรือประสบการณ์ทางครอบครัว เป็นสิ่งที่มีส่วนในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคล เพราะหากสัมพันธภาพในครอบครัวเป็นไปด้วยดี พ่อแม่มีความรัก ความผูกพันให้ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ให้กําลังซึ่งกันและกัน เคารพในสิทธิ และความคิดเห็นยอมรับในตัวลูกๆ อย่างมี เหตุผล รวมทั้งวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ชัดเจน จะมีส่วนในการทําให้ลูกเป็นคนยืดหยุ่น อารมณ์มั่นคง ทําอะไรแน่นอน ไม่ลังเล และเห็นคุณค่าในตนเองสูง ในทางตรงกันข้ามพ่อแม่ที่ไม่แสดงออกซึ่ง ความรัก ไม่แนะแนวทางให้เด็กและนิยมการลงโทษจะทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองตํ่า 2.2) สถานภาพทางสังคมหรือระดับชั้นทางสังคม (Social Status) หมายถึง องค์ประกอบต่างๆ ภายนอกที่ชี้บอกระดับทางสังคมของบุคคล เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ เช่น ตําแหน่งหน้าที่การงาน บทบาททางสังคม วงศ์ตระกูล สถานะทางเศรษฐกิจ เป็นต้น โดยทั่วไปมัก เน้นที่สถานะทางเศรษฐกิจของบุคคล ซึ่งส่วนใหญ่พิจารณาจากอาชีพ รายได้ และที่พักอาศัย เนื่องจากเป็นสิ่งหนึ่งที่บอกได้ถึงการประสบความสําเร็จ และความมีเกียรติ การมีสถานภาพทาง สังคมที่แตกต่างกันจะส่งผลให้บุคคลได้รับการปฏิบัติทางสังคมจากคนรอบข้างแตกต่างกัน ใน บุคคลที่มีสถานภาพทางสังคมที่สูงกว่าจะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่า ทําให้เกิดความรู้สึกเห็นคุณค่า ในตนเองสูง 2.3) งาน (Job) เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถนํามาพัฒนาความรู้สึกเห็นคุณค่าใน ตนเองได้ การที่บุคคลได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการทํางาน เช่น มีสัมพันธภาพที่ดีกับ ผู้บังคับบัญชา มีเงินเดือนสูง มีอิสระในการทํางาน ได้ทํางานที่ท้าทาย จะส่งผลให้บุคคลมี ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสูง
  • 8. 8 2.4) มิตรภาพ และสังคม (Friendship and Social) การเห็นคุณค่าในตนเอง ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากการรับรู้ในการมองตนเองที่เป็นอยู่ แล้วนําไปเปรียบเทียบกับคนอื่นๆ ที่ คล้ายคลึงกันกับตนทางด้านทักษะ ความสามารถ ความถนัด การเห็นคุณค่าในตนเองจึงเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นจากการเป็นสมาชิกของกลุ่ม บุคคลที่ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน ไม่เป็นที่ประทับใจ หรือไม่อยู่ในความสนใจของเพื่อนจะเกิดความรู้สึกว่าตนเองไม่มีคุณค่าหรือไม่นับถือตนเอง 3.2 แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองของ Rosenberg Rosenberg (อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Rosenberg, 1979) ถือว่าการเห็น คุณค่าในตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอัตมโนทัศน์ (Self – Concept) โดยแยกพิจารณาเป็น 2 มิติ ดังนี้ 1) การตระหนักรู้ในตนเอง (Cognitive Self) เป็นเรื่องของความรู้ความเข้าใจที่ บุคคลมีต่อตนเอง จากการเป็นเจ้าของตําแหน่ง สถานภาพภายในสังคมที่บุคคลนั้นอาศัย หรือเป็น สมาชิกอยู่ ทําให้แต่ละบุคคลมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น พ่อ แม่ ครู ลูก เป็นต้น เอกลักษณ์ที่ บุคคลได้จากสังคมนี้สามารถทําให้บุคคลรู้ว่าตนคือใคร บุคคลอื่นเป็นใคร และมีความแตกต่างกัน อย่างไร การรับรู้นี้นําไปสู่อัตมโนทัศน์ของบุคคล โดยความคิดเกี่ยวกับตนเองที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวข้อง กับการประเมินของบุคคล 2) การประเมินตนเอง (Evaluative Self) เป็นการอธิบายตนเองของบุคคล ซึ่งได้มา จากการที่บุคคลได้นําตนเองไปประเมินกับสิ่งอื่น หรือบุคคลอื่น เพื่อที่จะทําให้บุคคลรู้ว่าเขามี คุณค่า หรือมีความภูมิใจในตนเองสูงหรือตํ่าอย่างไร การประเมินตนเองของบุคคลในแนวสังคม วิทยาส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยจะพบว่าการที่บุคคลจะรู้สึกต่อ ตนเองในเรื่องของความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองอย่างไร ก็จะนําไปสู่พฤติกรรมเช่นนั้น ตามแนวคิด ของ Rosenberg สามารถแสดงภาพได้ดังนี้ ภาพที่ 1 โครงสร้างอัตมโนทัศน์ และการเห็นคุณค่าในตนเอง ที่มา: จารุพรรธน์ จวนสาง (2545) อ้างถึง Rosenberg (1979) อัตมโนทัศน์ (Self Concept) อัตตะในด้านความรู้ความเข้าใจ (Cognitive Self) อัตตะในด้านการประเมิน (Evaluative Self) การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem)
  • 9. 9 นอกจากนี้(อภิญญา อภิสิทธิ์วณิช, 2553 อ้างถึง Rosenberg, 1979) ได้แยกพิจารณา การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคล เป็น 2 บริบท ดังนี้ 1) การเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global Self Esteem) เป็นการที่บุคคลมี ทัศนคติที่บุคคลพิจารณาตนเองโดยรวม (Self as a Whole) ไม่แยกพิจารณาในด้านใดด้านหนึ่ง หรือเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่ง แต่จะมองในลักษณะคนหนึ่ง (Whole Person) 2) การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้าน (Specific Self Esteem) เป็นการที่บุคคลมี ทัศนคติต่อตนเองในด้านใดด้านหนึ่งหรือเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่ง โดยปกติแล้วเมื่อบุคคลมี ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองในเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วจะส่งผลให้บุคคลนั้นมองตนเองในภาพรวม ว่ามีคุณค่า ในทางตรงกันข้ามหากบุคคลมองตนเองว่าด้อยคุณค่าหรือลดความรู้สึกเห็นคุณค่าใน ตนเองด้านใดด้านหนึ่งลง การประเมินคุณค่าของตนเองในบริบทรวมจะมีระดับตํ่าลงด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม และการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะ ด้านนั้น Rosenberg ได้อธิบายโดยใช้มโนทัศน์ในเรื่องเอกลักษณ์ของการให้คุณค่าตนเอง (Psychological Centrality) ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่ใช้เกณฑ์ในการตัดสินความเป็นตัวตน เช่น หาก บุคคลหนึ่งคิดว่าตนเป็นคนฉลาด มีเสน่ห์ และเป็นคนที่มีคุณธรรม บุคคลนั้นจะมองตนเองว่าเป็น คนที่มีคุณค่า หรือเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมสูง ส่วนบุคคลที่มีฐานะยากจน ประสบความ ล้มเหลวทางการเรียน มีอาการเจ็บป่วย บุคคลเหล่านี้จะมีการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวมตํ่า การ พิจารณาเอกลักษณ์ใดเอกลักษณ์หนึ่งที่เป็นศูนย์กลางโดยปกติบุคคลมักจะเลือกจากเอกลักษณ์ที่ สําคัญ หรือเด่นในสถานการณ์ทางสังคมที่บุคคลนั้นเป็นสมาชิกอยู่ มาเป็นหลักในการประเมิน คุณค่าของตน ดังนั้นการที่บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านอยู่มาก มิได้หมายความว่า การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านทั้งหมดจะมีผลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม แต่จะมี เพียงการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่เป็นลักษณะที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินความเป็นตน (Psychological Centrality) หรือการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่ได้จากเอกลักษณ์เด่น (Salient Identities) เท่านั้นที่จะส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม ดังนั้นถ้า บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีการเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้านที่ได้จากเอกลักษณ์เด่นไปในทิศทางใดก็ ย่อมทําให้เขามุ่งมั่นที่จะมีพฤติกรรมไปในทิศทางนั้น
  • 10. 10 ภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างการเห็นคุณค่าในตนเองกับพฤติกรรมของบุคคล ที่มา: จารุพรรธน์ จวนสาง (2545) อ้างถึง Rosenberg (1979) แนวคิดเกี่ยวกับการเห็นคุณค่าในตนเองข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าแหล่งที่มาของการรับรู้ การเห็นคุณค่าในตนเองเกี่ยวข้องกับกระบวนการรับรู้ คือ การรับรู้ตนเองจากการเปรียบเทียบกับ สิ่งที่มุ่งหวังว่าควรจะเป็นไปตามมาตรฐานที่ตนเองตั้งไว้ ซึ่งการรับรู้นี้จะนําไปสู่การประเมินคุณค่า ในตนเอง หรือทําให้บุคคลมีการเห็นคุณค่าในตนเองในระดับที่แตกต่างกัน ทั้ง Coopersmith และ Rosenberg แสดงให้เห็นว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นที่มีความสําคัญต่อตนเอง จะส่งผลให้เกิดการ รับรู้ การเห็นคุณค่าในตนเอง 4. สารวจการเห็นคุณค่าในตนเองว่าอยู่ในระดับใด โลกสดใส หรือว่าเริ่มมืดมิด หลายๆ คนคงเริ่มอยากรู้แล้วว่าตนเองมีระดับการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับใด ผู้เขียนบทความได้รวบรวมลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง และตํ่า จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (อนุรักษ์ บัณฑิตย์ชาติ, 2542; ชีวัน บุญตั๋น, 2546; ธนารัฐ มีสวย, อ้อมเดือน สดมณี และสุภาพร ธนะชานันท์, 2553; Vialle, Heaven, and Ciarrochi, n.d; Lavoie, 2002; Pelish, 2006; Khadivi, Adib, and Farhanghpour, 2012) โดยในเบื้องต้นสามารถสํารวจจากการแสดงออก การคิด และความรู้สึกของตนเอง ดังตารางที่ 1 การเห็นคุณค่าในตนเอง (Self Esteem) การเห็นคุณค่าในตนเองโดยรวม (Global Self Esteem) การเห็นคุณค่าในตนเองเฉพาะด้าน (Specific Self Esteem) พฤติกรรม + พฤติกรรม - พฤติกรรม + พฤติกรรม -
  • 11. 11 ตารางที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง และตํ่า ลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูง ลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองต่า  รู้สึกว่าความสามารถของตนเองมีอิทธิพล ต่อการแสดงความเห็น หรือพฤติกรรมเชิงบวก  สามารถแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ ได้ในหลายๆ สถานการณ์  สามารถปฏิบัติตนในสถานการณ์ใหม่ๆ ใน ทางบวก ได้อย่างมั่นใจ  มีความอดทนต่อความผิดหวัง  มีความรับผิดชอบ  มีการสื่อสารในทางบวกกับตนเอง  มีสติควบคุมสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ในทางบวก หรือลบ  มีความเชื่อมั่นในตนเอง  ร่วมกิจกรรมต่างๆ อย่างสมํ่าเสมอ  มีใบหน้ า ท่าทาง วิธีพูด และการ เคลื่อนไหวแฝงไปด้วยความแจ่มใส ร่าเริง มี ชีวิตชีวา  สามารถพูดถึงความสําเร็จหรือข้อบกพร่อง ของตนเองได้อย่างตรงไปตรงมาและมีความ จริงใจ  มีสุขภาพกายที่แข็งแรง  วางแผนชีวิต และตั้งเป้ าหมายในการ ดําเนินชีวิต  พยายามพิสูจน์ความสามารถของตนเมื่อ ถูกตําหนิ  สามารถประนีประนอมเอาความต้องการ ของผู้อื่นและของตนเองไว้ร่วมกันได้  มีการสื่อสารกับตนเองในทางลบ  แสดงให้เห็นถึงความหดหู่ หมดหนทาง เรียนรู้  มีความอดทนตํ่า  ไม่มีความเชื่อมั่นในการตัดสินใจ  ไม่ร่วมกิจกรรมใดๆ ที่เป็ นสาธารณะ ประโยชน์  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตํ่า  คิดว่าตนเองไม่ใช่คนสําคัญ คิดว่าไม่มีใคร สนใจตนเอง  ไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทําสิ่งใหม่ๆ  หมกมุ่นกับความคิดของตนเองไม่ยอมรับ ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น  คิดว่าตนเองไม่มีความสามารถ  ขี้อาย หลีกหนีปัญหา  สูบบุหรี่ และใช้สารเสพติด  มีพฤติกรรมก้าวร้าว  ไม่มีการวางแผนชีวิต  มีปัญหาด้านสุขภาพ
  • 12. 12 จากตารางสรุปได้ว่าบุคคลที่มีลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเองสูงจะมีความเชื่อมั่นใน ตนเอง เห็นว่าตนเองมีคุณค่า มีความสามารถ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีลักษณะเป็นผู้นํา มากกว่าผู้ตาม กล้าแสดงออก และสามารถปรับตัวได้ดีกว่าผู้ที่มีลักษณะการเห็นคุณค่าในตนเอง ตํ่า ซึ่งเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปในทางไม่ดี มีความวิตกกังวลสูง ขาดความเชื่อมั่นใจตนเอง ขาดความรับผิดชอบ ไม่มีการวางแผนชีวิต หลังจากที่สํารวจการเห็นคุณค่าในตนเองเรียบแล้ว หลายคนอาจกังวลว่าตัวเองมีระดับ การเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าไปหรือไม่ แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาเพราะการเห็นคุณค่าในตนเองจาก ภายนอกสามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับความคาดหวังต่อบทบาททางสังคม และความสามารถ ในการเผชิญหน้ากับปัญหา (สุธนี ลิกขะไชย, 2555 อ้างถึง Taft, 1985) 5. แนวทางการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลมีรากฐานมาจากการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก เกิดจาก ประสบการณ์ความต้องการเป็นที่รักของบุคคลใกล้ชิดในช่วงของวัยทารก ลักษณะความคาดหวัง บุคลิกภาพ การแสดงออกซึ่งพฤติกรรมความเข้าใจ และการยอมรับในความแตกต่างตาม ธรรมชาติในตัวเด็กของผู้เลี้ยงดูเป็นพื้นฐานสําคัญที่ทําให้เด็กเห็นคุณค่าในตนเองสูง หรือตํ่าได้ใน อนาคต ต่อมาการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็กจะขยายจากความรัก ความเอาใจใส่ของพ่อแม่ผู้ เลี้ยงดูมาสู่บุคคลอื่นในครอบครัว และขยายกว้างออกสู่เพื่อน เด็กอายุ 7 – 8 ปี จะมีการเห็นคุณค่า ในตนเองตามองค์ประกอบ 3 ด้าน คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Berk, 1994) ด้าน การศึกษา ด้านร่างกาย และด้านสังคม ช่วงนี้การยอมรับในตนเองจะเกิดขึ้นจากการได้รับ ความสําเร็จตามเป้ าหมาย เด็กจะปฏิบัติตนเพื่อให้พ่อแม่เกิดความพอใจ ต่อมาเป้ าหมายจะ ขยายตัวอยู่บนมาตรฐานของสังคมภายนอกครอบครัว โครงสร้างทางสังคมของวัยเด็กตอนกลาง จะครอบคลุมกลุ่มเพื่อน สถานะทางสังคม ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของเด็ก วัยนี้คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Harter, 1993) ลักษณะทางกาย อารมณ์ ระดับ สติปัญญา ความสามารถของตนเองตลอดจนทักษะทางสังคม ลักษณะครอบครัว ความสัมพันธ์ ของบุคคลในครอบครัว สังคมวัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ เด็กจะมีความต้องการการเห็น คุณค่าในตนเองตามวิถีทางที่เด็กเรียนรู้เอง เด็กเริ่มพัฒนาสติปัญญา ทักษะสังคม และสร้างความ มั่นใจในตนเองให้สูงขึ้น ในช่วงของวัยรุ่น เป็นวัยที่เชื่อมต่อระหว่างวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น อย่างมากทั้งด้านร่างกาย และด้านจิตใจ เป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาการเห็นคุณค่า
  • 13. 13 ในตนเองมากที่สุด (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Berk, 1994) Berk พบว่าวัยรุ่นเกิดการ รับรู้ลักษณะความเป็นตนเอง 2 ประการ คือ 1) รับรู้ว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของความสนใจ (Imaginary Audience) ความเชื่อนี้ ทําให้วัยรุ่นมีความเอาใจใส่ดูแลรูปร่างหน้าตาตนเองให้ดีอยู่เสมอ 2) รับรู้ว่าตนเองแตกต่างจากบุคคลอื่น (Personal Fable) ความเชื่อนี้จะทําให้เขา รู้สึกว่าตนเองมีความแตกต่างจากบุคคลอื่นโดยสิ้นเชิง ทําให้เขาเกิดความกล้าที่จะเสี่ยง ไม่เกรงกลัว สิ่งใด วัยรุ่นมีความต้องการในสิ่งใหม่เกิดขึ้น คือความต้องการตําแหน่งทางสังคม ซึ่งครอบครัว ไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านี้ได้ กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อตนสูง พฤติกรรมของวัยรุ่น จะเปลี่ยนไปตามเพื่อนวัยเดียวกัน การได้รับการยอมรับ และวิพากษ์วิจารณ์จากเพื่อนเกี่ยวกับตัว เขาจะเป็นผลให้วัยรุ่นเกิดทัศนคติต่อตนเองขึ้นมา โดยผ่านกระบวนการรับรู้ของบุคคลต่อ ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองมี 2 ขั้นตอน คือ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Taft, 1985) 1) ความรู้สึกที่ได้รับจากภายนอกต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (Outer Self Esteem) การประเมินทัศนคติ และการกระทําของสังคมที่มีต่อตน บุคคลสามารถรับรู้ความเป็นตัวตนโดย อาศัยการประเมิน และการยอมรับของบุคคลอื่น 2) ความรู้สึกภายในต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง (Inner Self Esteem) เป็นความรู้สึก ของบุคคลที่มีต่อความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติเพื่อควบคุมสิ่ง ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับตนเอง หากบุคคลเกิดความรับรู้เกี่ยวกับตนเองในทางบวก ได้รับการสนับสนุนเสริมแรงจากกลุ่มที่ เขาชื่นชอบ จะเป็นผลให้การเห็นคุณค่าในตนเองของเขาพัฒนาเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันอาจ พบว่าบุคคลที่อยู่ในกลุ่มอันธพาล แสดงออกซึ่งพฤติกรรมก้าวร้าวมากเพียงใด กลุ่มจะให้ ความสําคัญกับเขามากขึ้น ความต้องการการเห็นคุณค่าในตนเองจึงสามารถผลักดันให้บุคคล แสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา ทั้งทางบวกและทางลบ (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Craig, 1976) ดังนั้นครอบครัวและโรงเรียนจึงต้องให้ความสําคัญ และเอาใจใส่เป็นพิเศษ เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ วุฒิภาวะที่เพิ่มขึ้นทําให้บุคคลรับรู้ความเป็นตนได้อย่างชัดเจน ระดับ ความเพ้อฝันน้อยลงกว่าช่วงวัยรุ่น สามารถรับรู้ และเรียนรู้ที่จะเผชิญกับสิ่งที่ตนขาดไป ขณะเดียวกันก็พยายามเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่ตนเอง การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลวัยนี้มี การเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
  • 14. 14 ในวัยผู้สูงอายุเป็นช่วงวัยที่เกิดการสูญเสียสิ่งต่างๆ ในชีวิตหลายอย่าง เช่น ด้านสุขภาพ ความสามารถพื้นฐานทางร่างกาย การเกษียณอายุการทํางาน การสูญเสียคู่ครอง เป็นผลให้การ เห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลในช่วงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับลดลง (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Driever, 1984) จากแนวคิดข้างต้นสรุปได้ว่าการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองมีความต่อเนื่องมาจาก ประสบการณ์ในวัยเด็ก ประสบการณ์ที่ได้รับมีผลต่อการเสริมสร้าง และบั่นทอนการเห็นคุณค่าใน ตนเองได้ Burnside พบว่า การเห็นคุณค่าในตนเองจะเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ จนกระทั่งถึงวัยกลางคนจึง จะมีความคงที่และเสื่อมถอยลงเมื่อถึงวัยผู้สูงอายุ ดังนั้นการเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลจึง เปลี่ยนแปลงได้ตลอดทุกช่วงวัยของชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่คงที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกของบุคคลและประสบการณ์ที่ได้รับ (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Barry, 1989) การเห็นคุณค่าในตนเองของบุคคลจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนถึงวัยกลางคนจึง คงที่ (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Burnside, n.d.) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Wiggin (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Wiggin and Giles, 1984) ที่พบว่าการเห็นคุณค่าในตนเอง สามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มมากขึ้นได้ การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองให้เกิดกับบุคคลจะช่วย ให้เขาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นักจิตวิทยาหลายได้เสนอแนวทางการเสริมสร้างการ เห็นคุณค่าในตนเอง ดังต่อไปนี้ Sasse (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Sasse, 1978) เสนอวิธีเสริมสร้างการเห็น คุณค่าในตนเอง ดังนี้ 1) สร้างความมั่นใจในตนเองโดยคํานึงถึงความสําเร็จในวันข้างหน้าของชีวิต 2) ให้รางวัลตนเองเมื่อทํางานสําเร็จ อาจเป็นคําชมเชยหรือให้สิ่งของที่มีความหมาย ต่อตนเอง 3) สะสมบันทึกความสําเร็จ โดยเขียนลงสมุดบันทึกถึงสิ่งที่ตนเองทําได้ดี หรือทํา สําเร็จเป็นเวลาติดต่อกันหลายๆ สัปดาห์หรือหลายๆ เดือน Johnson (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Johnson, 1979) เสนอแบบแผนของการ ปฏิสัมพันธ์ของการเข้าร่วมกลุ่มที่ช่วยเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้ 1) ให้การยอมรับในตัวบุคคลอย่างไม่มีเงื่อนไข 2) ให้การสนับสนุนช่วยเหลือบุคคลทั้งในด้านการเรียน หรือเรื่องส่วนตัว 3) เข้าใจความรู้สึกของบุคคลนั้น 4) ช่วยให้บุคคลได้รับความสําเร็จในสถานการณ์ที่ต้องการ
  • 15. 15 5) ให้การตอบสนองทางจิตใจ 6) ช่วยให้บุคคลสามารถสร้างกําลังใจให้กับตนเองได้ 7) ให้มองความผิดพลาดหรือความล้มเหลวเป็นตัวเร้า ทําให้เกิดความวิตกอยู่ใน ระดับปานกลางซึ่งจะทําให้เกิดความกระตือรือร้น Gerdano และ Every (วรวุฒิ เจริญวุฒิวิทยา, 2546 อ้างถึง Gerdano and Every, 1979) ได้เสนอกลวิธีในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองอย่างได้ผล 3 ประการ ดังนี้ 1) การใช้ภาษาทางบวก (Positive Verbalization) หมายถึง กระบวนการที่บุคคล เสริมภาพเกี่ยวกับตนเอง (Self Image) โดยชี้ให้เห็นถึงคุณลักษณะทางบวกของตนเองโดยใช้ภาษา เป็นสื่อ 2) การยอมรับคํายกย่องชมเชย (Accepting Compliment) เมื่อมีใครมายกย่อง ชมเชยเรา เราก็ยอมรับโดยปราศจากท่าทีหรือคําตอบที่ถ่อมตน แต่ใช้ประโยคแสดงความยินดีแทน วิธีนี้จะเป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่เหมาะสมซึ่งจะทําให้บุคคลประทับใจ และมองตนเองในแง่บอก ยิ่งขึ้น 3) การฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness) เป็นวิธีการที่มี ประสิทธิภาพที่ทําให้บุคคลมีพฤติกรรมทางบวก กล้าแสดงออกในทางที่เหมาะสม และมีการรับรู้ที่ มีประสิทธิภาพ Coopersmith (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Coopersmith, 1984) ได้สรุปองค์ประกอบ ของการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้ 1) การได้รับการยอมรับนับถือจากบุคคลรอบข้างที่มีความสําคัญในชีวิต การ สนับสนุนให้กําลังใจกัน แสดงออกโดยการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน การสื่อสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ 2) การประสบความสําเร็จตามเป้ าหมาย การบรรลุถึงผลสําเร็จในงานส่งผลต่อการ เห็นคุณค่าในตนเอง รวมถึงการชมเชยตนเอง การส่งเสริมความพยายามในการสร้างความสําเร็จ แก่ตนเอง 3) การได้ทําสิ่งที่สอดคล้องกับค่านิยม และความปรารถนาของตน ทําให้รู้สึกว่า ตนเองมีคุณค่า เมื่อสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่ตนเองให้คุณค่าไว้ 4) การปกป้ องความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง โดยการลดความสนใจต่อสิ่งที่จะทําให้ ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองตํ่าลง เช่น คําวิจารณ์ การตั้งความหวัง Coopersmith (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง Coopersmith, 1984) ยังได้เสนอวิธีการ เสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองสําหรับนักเรียนว่า มีหลายวิธีการที่สามารถช่วยให้เด็กวัยรุ่นที่
  • 16. 16 เห็นคุณค่าในตนเองตํ่า โดยโรงเรียนควรผสมผสานโปรแกรมการส่งเสริมความรู้สึกเห็นคุณค่าใน ตนเองในทุกๆ ชั้นเรียน เพื่อเพิ่มความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองสําหรับนักเรียนบางคน และคง ความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนที่มีความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเองระดับสูง โดย Coopersmith ได้เสนอวิธีการ ดังนี้ 1) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมภายในชั้นเรียน โรงเรียนสามารถช่วยให้นักเรียน ตระหนักถึงพลัง และความสามารถที่มีอยู่ภายในตนเอง รวมถึงความสามารถที่นอกเหนือจากการ ทํากิจวัตรประจําวันทั่วไป ตามที่ MacAfee and Meier, 1969 (พิลาสินี วงษ์นุช, 2549 อ้างถึง MacAfee and Meier, 1969) ได้พัฒนาการตอบสนองทางสภาพแวดล้อมในการส่งเสริมความรู้สึก เห็นคุณค่าในตนเอง เช่น สภาพแวดล้อมช่วยให้เด็กรับรู้ว่า “การรู้ว่าตนเองต้องการอะไร” เป็นสิ่ง สําคัญที่สุด สภาพแวดล้อมช่วยจัดเตรียมการให้ข้อมูลย้อนกลับ และช่วยให้เด็กเรียนรู้วิธีค้นหา และใช้ข้อมูลย้อนกลับ การส่งเสริมความเป็นอิสระ และการสร้างสรรค์มีพื้นฐานในการให้ข้อมูล และการตอบสนองทางสภาพแวดล้อม ดังนี้ 1.1) ให้เด็กมีการสํารวจสิ่งต่างๆ อย่างมีอิสระท่ามกลางกิจกรรมที่มีความ หลากหลาย 1.2) ให้ข้อมูลแก่เด็กทันทีทุกครั้งที่มีการทําพฤติกรรมต่างๆ 1.3) ให้เด็กประเมินการกระทํา และความก้าวหน้าของตนเอง 1.4) ให้เด็กมีอิสระในการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งทําให้เด็กสามารถค้นพบว่าสิ่ง ต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ในสภาพแวดล้อมแบบนี้เด็กจะเรียนรู้ที่จะฟังตนเอง รวมถึงความรู้สึก และการตัดสินใจ มี การประเมินความก้าวหน้าด้วยตนเองมากกว่าจะมองหาการยืนยันจากผู้อื่น 2) ความคาดหวัง และความเชื่อ เมื่อนักเรียนมีแนวโน้มที่จะแสดงออกอย่างมั่นใจ ด้วยทัศนคติ และความเชื่อที่เขาได้สัมผัสเกี่ยวกับตนเอง การฝึกฝนในห้องเรียน การสนับสนุน ทางบวก และการก่อตัวอย่างสร้างสรรค์ของความเชื่อทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีตามมา โดยแรงผลักดันที่มีอิทธิพลต่อความคาดหวัง และความเชื่อของนักเรียนเกี่ยวกับศักยภาพในตนเอง นั้น คือ ความเชื่อของครูที่มีต่อตัวเด็ก การฝึกฝนในห้องเรียน และความคาดหวังของผู้ปกครอง มี หลักฐานยืนยันที่ชัดเจนว่าหากครูมีความคาดหวังให้นักเรียนเรียนรู้ และเชื่อว่านักเรียนมีศักยภาพ ในการทํางานให้ประสบความสําเร็จ จะทําให้นักเรียนมีการกระทํา มีการปฏิบัติสิ่งต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
  • 17. 17 เทคนิคเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง 1) การยอมรับความรู้สึก และสนับสนุนการแสดงออกของนักเรียน สิ่งสําคัญที่ครู ต้องคํานึงถึง คือ ความรู้สึกกลัว ซึ่งเป็นความรู้สึกที่มีอิทธิพลมากสําหรับเด็ก แม้จะดูเป็นเรื่อง เล็กน้อยหรือผู้ใหญ่มองว่าเป็นเรื่องเหลวไหล แต่ครูสามารถช่วยให้เด็กตระหนักรู้ในตนเองโดยการ ยอมรับความรู้สึกทางลบที่ตนเคยปฏิเสธมาก่อน ผู้ใหญ่สามารถยอมรับความรู้สึกกลัว ความคับ ข้องใจ และการปฏิเสธได้ สําหรับเด็กต้องใช้วิธีที่ง่ายกว่านั้น เพื่อช่วยให้เด็กสามารถแสดงออก เกี่ยวกับตนเองอย่างเปิดเผย เด็กและครูสามารถยอมรับความจริงที่ว่าบางครั้งบุคคลก็ต้องเคยมี ประสบการณ์เกี่ยวกับความรู้สึกในทํานองเดียวกัน 2) ตระหนักถึงความแตกต่างของแต่ละบุคคลในการแก้ปัญหา เด็กมีวิธีที่แตกต่างกัน ไปในการจัดการกับเรื่องร้ายๆ ที่ตนเองประสบ รวมถึงระยะเวลา และความถี่ในการจัดการ เด็ก บางคนก็มีแนวโน้มที่ถอยหนีก่อน และกลับมาจัดการกับปัญหาอย่างเข้มแข็ง ครูและผู้ปกครองควร ช่วยกันสังเกตว่าเด็กมีธรรมชาติ และกระบวนการในการแก้ไขปัญหาอย่างไร ถึงแม้ว่าเด็กจะมี วิธีการแก้ไขปัญหาที่ไม่เหมาะสมเท่ากับผู้ใหญ่ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่มีความสามารถ ความหนักแน่น และความมั่นคงในการจัดการกับปัญหา นอกจากนี้ครูสามารถช่วยเด็กได้ด้วยการ แนะนํา สนับสนุน เสนอ และสอนวิธีการหรือทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่มีความหลากหลาย อาจเปิดโอกาสให้นักเรียนมีประสบการณ์การเผชิญหน้ากับปัญหาโดยตรง 3) หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่กะทันหัน ทางหนึ่งที่จะช่วยลดความรู้สึกไม่มั่นคง คือ การจัดสภาพแวดล้อมที่มีโครงสร้างชัดเจน แน่นอน ไม่เปลี่ยนแปลงไปมา และสามารถคาดเดาได้ ครูสามารถทําได้ด้วยการประกาศหรือแจ้งถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นลงในตาราง หรือการแจ้งให้ ทราบเป็นรายบุคคล หรือประกาศในห้องเรียนด้วยความชัดเจน โดยต้องแจ้งให้เร็วที่สุดเท่าที่จะ เป็นไปได้ และทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป 4) การมีตัวแบบ หากครูมีลักษณะหรือบุคลิกภาพที่ไม่มั่นคง หวั่นไหว มีความรู้สึก กลัว สิ่งเหล่านี้จะสื่อไปถึงเด็กในห้องเรียนได้ ในทางกลับกันหากครูมีลักษณะหรือบุคลิกภาพที่มี ความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และสามารถจัดการกับเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตได้เป็นอย่าง ดี สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับนักเรียน และช่วยให้นักเรียนตระหนักว่าปัญหาทุก ปัญหามีทางแก้ และในที่สุดจะคลี่คลายลง นอกจากนี้การที่ครูแสดงถึงการหาทางแก้ไขปัญหา มากกว่าการยอมโดยที่ไม่ได้ลงมือทําอะไรเลย จะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียน และช่วยให้ นักเรียนนําพลังที่มีอยู่ในตัวเองออกมาใช้
  • 18. 18 5) การช่วยพัฒนาวิธีการจัดการกับเรื่องยุ่งยากต่างๆ นักเรียนหรือแม้แต่ผู้ใหญ่ต่างมี กระบวนการ และวิธีแก้ปัญหาที่จํากัด สิ่งสําคัญที่ช่วยนักเรียนได้คือการขยายขอบเขตของ กระบวนการในการแก้ปัญหาให้กว้างขึ้น รวมถึงเพิ่มความหนักแน่นเพื่อให้นักเรียนสามารถอดทน ต่อปัญหาได้ ครูสามารถให้คําแนะนํานักเรียนได้ เช่น การให้ปลดปล่อยความรู้สึก ความตึงเครียด ออกมา อาจเล่าให้คนใกล้ชิดฟัง หรือการให้นักเรียนแสดงบทบาทสมมติ จําลองสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนมีประสบการณ์ในการจัดการกับปัญหา 6) การคงความรู้สึกเห็นคุณค่าในตนเอง และเพิ่มความหนักแน่นในการแก้ไขปัญหา ครูและผู้ปกครองควรระลึกไว้เสมอว่าเด็กได้พยายามแก้ไขปัญหาเต็มความสามารถของตนเองแล้ว ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามที่ครู และผู้ปกครองคาดหวัง หากครู และผู้ปกครองอยากช่วยเหลือให้ คําแนะนําเด็กควรจะทําเป็นการส่วนตัว เพื่อเสริมความมั่นใจให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 7) การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง บางครั้งผู้ปกครองมีความดาดหวังในตัวเด็กสูงเกินไป และขาดการสนับสนุนกําลังใจ ทําให้เด็กเกิดความตึงเครียด และบางครั้งเด็กไม่ได้รับคําแนะนําใน การจัดการกับปัญหาที่โรงเรียน จึงต้องมีการจัดอบรมให้แก่ผู้ปกครองช่วยสนับสนุนและให้กําลังใจ ในการแก้ไขปัญหาทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้ง่ายต่อการทําความเข้าใจในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ผู้เขียนจึงแบ่ง หลักการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองเป็น 3 กลุ่มได้แก่ 5.1 การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองของผู้เรียน การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเองควรเริ่มต้นจากตัวเราเองก่อน หากตนเองไม่เห็น คุณค่าแล้ว ต่อให้คนอื่นอีกเป็นร้อยเป็นพันคนมาชี้นําเราก็ไม่เห็นคุณค่าในตนเอง (อลิสา ทองหนูนุ้ย, 2555; พรทิพย์ วชิรดิลก, ม.ป.ป.) ได้แนะนําวิธีการเสริมสร้างการเห็นคุณค่าในตนเอง ดังนี้ 1) คิดแก้ปัญหาในทางบวก สร้างความตระหนักในตนเอง รู้ทันความคิดที่มีผลให้ เรารู้สึกดีขึ้น หรือทําให้เรารู้สึกแย่ลง เลือกความคิดที่ช่วยสร้างพลังใจ เช่น เมื่อต้องทํางาน หรือ เรียนในวิชาที่เราไม่ชอบ แต่เราก็จําเป็นต้องทําในสิ่งนั้น หากเราคิดทางลบว่า “แย่จัง ฉันทําไม่ได้ หรอก” เราก็ยิ่งรู้สึกท้อแท้ ไม่มีกําลังใจที่จะพยายามทําสิ่งนั้น แต่หากเราคิดว่า “ฉันจะพยายาม ถ้า คนอื่นเขาเรียนได้ฉันก็ต้องทําได้” เลือกคําพูดบอกตัวเองในการสร้างพลังเสมอๆ เช่น “ฉันทําได้” “ไม่มีอะไรยากเกินไปหรอก ถ้าเรามีความพยายามเรียนรู้” เราก็จะมีกําลังใจที่จะสามารถฟันฝ่า อุปสรรคต่างๆ ที่ต้องเผชิญได้ บางครั้งเมื่อรู้สึกว่างานชิ้นใดเป็นเรื่องยาก ให้ค่อยๆ คิด แก้ปัญหา ให้นึกถึงความสําเร็จไปทีละขั้นตอน มากกว่ากังวลแต่ผลลัพธ์ที่ต้องสําเร็จปลายทาง แต่ให้ทําอย่าง ต่อเนื่อง ทุกสิ่งก็จะสําเร็จได้ เช่น ทํารายงานให้เสร็จทีละบท จากบทที่ 1 ไปบทที่ 2 และ 3 ทําไป