SlideShare a Scribd company logo
129
ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จําเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางการบริหารจัดการเพื่อใช้
เป็นกรอบแนวคิดในการบริหารสถานศึกษา สรุปแนวคิดทางการบริหารจัดการ ดังนี้
ความหมายของการบริหารจัดการ
จากแนวคิดเกี่ยวกับคําว่า “การบริหาร” (Administration) กับ “การจัดการ”
(Management) พบว่า คําสองคํานี้มีความหมายคล้ายคลึงกันซึ่งใช้แทนกันได้โดยคําว่า
การบริหาร มักใช้กับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง เช่น
การบริหารการศึกษา (Educational Administration) ผู้นําในหน่วยงานราชการจึงมักถูก
เรียกว่า “ผู้บริหาร”ส่วนคําว่า การจัดการมักใช้ในวงการธุรกิจ เช่น การบริหารธุรกิจ
(Business Management) ผู้นําในองค์กรธุรกิจจึงมักถูกเรียกว่า “ผู้จัดการ” ในปัจจุบันมัก
พบว่า คําสองคํานี้ถูกนํามาผนวกรวมกันเป็นคําว่า “การบริหารจัดการ” มีผู้ให้ความหมาย
ของ การบริหาร ไว้มากมายดังนี้
การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมมือกันดําเนินการ
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างหนึ่งหรืออย่างใดหรือหลายอย่าง ที่บุคคลร่วมกันกําหนด โดย
ใช้กระบวนการและใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างเหมาะสม
การบริหาร หมายถึง กระบวนการทํางานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตาม
เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
การบริหาร หมายถึง ศาสตร์ที่ต้องใช้ศิลปะและเทคนิคอย่างสูงเพื่อการวินิจฉัย
ตัดสินใจในกระบวนการวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพต่องานนั้น
การบริหาร คือ กระบวนการวางแผนการจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุม
กําลังความพยายามของสมาชิกองค์การและใช้ทรัพยากรอื่นๆเพื่อความสําเร็จในเป้าหมาย
ที่กําหนดไว้
กล่าวโดยสรุป การบริหาร หมายถึง กระบวนการดําเนินงานของผู้บริหารหรือผู้นํา
ในองค์กรโดยอาศัยบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย
ขององค์กร การบริหารจัดการจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารต้องมีความรู้ในเชิงการ
บริหารจัดการในขณะเดียวกันต้องมีประสบการณ์และศิลปะในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย
หน่วยที่ 7
หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการ
135
ที่สําคัญได้แก่ 1) บุคคลแต่ละคน(individual) 2) กลุ่มรูปนัย (formal group) และ3)
กลุ่มอรูปนัย(informal group)กลุ่มอรูปนัยนี้มีความสําคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรม
การบริหารการศึกษาของฮอลพินและและครอฟท์เกี่ยวกับบรรยากาศของโรงเรียน โดยผู้ศึกษา
ได้พัฒนาแบบสอบถามขึ้น(organizational climate description-OCDQ)โดยมีข้อสอบถาม
เกี่ยวกับกลุ่มอรูปนัยด้วย เช่น คําถามเกี่ยวคําขวัญและความสนิทสนม
กระบวนการบริหารงาน
นักวิชาการได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการบริหารงาน ไว้หลายแนวคิด ในที่นี้ขอ
ยกตัวอย่างขั้นตอนของกระบวนการบริหารที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ดังนี้
1. แนวคิดของฟาโย (Henri Fayol) แบ่งขั้นตอนการบริหารออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ
(1) การวางแผน (Planning)
(2) การจัดองค์การ (Organizing)
(3) การบังคับบัญชา (Commanding)
(4) การประสานงาน (Communicating)
(5) การควบคุมงาน (Controlling)
2. แนวคิดของลูเธอร์ กูลิค (Gullick, 1937) ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหารที่ขยาย
แนวคิดของ Fayol โดยพบว่าผู้บริหารต้องทําหน้าที่ 7 อย่าง เรียกย่อๆ ว่า POSDCoRB ดังนี้
(1) การวางแผน (Planning)
(2) การจัดองค์การ (Organizing)
(3) การบริงานบุคคล (Staffing)
(4) การนํา หรือ สั่งการ (Directing)
(5) การประสานงาน (Coordinating)
(6) การเสนอรายงาน (Reporting)
(7) การจัดทํางบประมาณการเงิน (Budgeting)
136
3. แนวคิดของสมาคมผู้บริหารโรงเรียนแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association
of School Administrators-AASA. 1955) กําหนดไว้ 5 ขั้นตอน
(1) การวางแผน (Planning)
(2) การจัดสรรทรัพยากร (Allocating Resources)
(3) การกระตุ้น (Stimulating)
(4) การประสานงาน (Coordinating)
(5) การประเมินผล (Evaluating)
4. แนวคิดการบริหารคุณภาพของเดมมิง การบริหารกลุ่มสร้างคุณภาพมาจากคําว่า
Quality Control circle หรือเรียกย่อว่า QC หมายถึง การบริหารงานของกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน
องค์กรเดียวกัน เพื่อทํากิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร ในระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้นํา
แนวคิดการบริหารรูปแบบนี้มาใช้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ครบวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก
ที่เรียกว่า วงจร PDCA ได้แก่
(1) ร่วมกันวางแผน (Planning)
(2) ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing)
(3) ร่วมกันตรวจสอบ (Checking)
(4) ร่วมกันปรับปรุง (Action)
5. แนวคิดกระบวนการของหน้าที่ นักทฤษฎีการบริหารหลายคน ได้ให้แนวคิดว่าการ
บริหารเป็นกระบวนการของหน้าที่ (Functions) ดังนี้
5.1 การวางแผน (Planning) เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย
และพัฒนาแผนไปสู่การปฏิบัติ
5.2 การจัดองค์การ (Organizing) เกี่ยวข้องกับการจัดบุคลากร งบประมาณ และ
ทรัพยากรอื่นๆ มารวมกันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย
5.3 การควบคุม (Controlling) เกี่ยวข้องกับการติดตาม ประเมินผล ทบทวนการ
ทํางาน การออกระเบียบ ข้อบังคับ ให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อดูแลมาตรฐานของการปฏิบัติงาน
5.4 การนํา (leading) เกี่ยวข้องกับการนําทาง การกํากับ นิเทศติดตาม การจูงใจ
การติดต่อสื่อสาร
137
การบริหารเชิงระบบ เป็นแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มระบบ (System View) ที่ได้รับ
ความนิยมมากอีกแนวคิดหนึ่งในปัจจุบัน โดยหลักการแนวคิดทฤษฎีระบบ ประกอบด้วย
1. ปัจจัยนําเข้า (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการศึกษาทุกๆอย่าง ได้แก่ บุคคล
(Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) การบริหารจัดการ (Management)
และแรงจูงใจ (Motivations) ที่เป็นส่วนนําเข้าในการบริหารองค์การ
2. กระบวนการ (Process) หมายถึง การดําเนินการโดยนําปัจจัยหรือทรัพยากรต่างๆ
มาใช้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจมีระบบย่อยๆที่จะดําเนินการร่วมกันจนกลายเป็นวงจรทาง
การศึกษา ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ การนิเทศ การวัดและประเมินผล ตลอดจนการ
ตรวจสอบและติดตาม ทั้งนี้เพื่อให้ปัจจัยนําเข้าทั้งหลายเข้าสู่กระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ
3. ผลผลิต (Output/Product) หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการนําของปัจจัย
ต่างๆมาปฏิบัติ ทําให้เกิดผลตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
4. ผลลัพธ์ (Outcome/Impact) หมายถึง ผลที่เกิดจากผลผลิตที่เกิดจาก
กระบวนการระบบ หรือ ผลกระทบที่ได้จากผลผลิต
5. สภาพแวดล้อม (Context/Environment) ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อม
ภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก
ปัจจัย
( )
กระบวนการ
( )
ผลผลิต
( )
ผลลัพธ์
( )
ข้อมูลย้อนกลับ
(Feedback)
การบริหารเชิงระบบ
138
ความหมายของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management) เป็นวิธีการบริหารที่
มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยตัวชี้วัด
อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทําให้ผู้บริหารทราบผลความก้าวหน้าของ
การดําเนินงานเป็นระยะๆและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เป็นการควบคุมทิศทางการ
ดําเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ฯ ของหน่วยงาน พิจารณาได้จากผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง
ตามเป้าหมายที่กําหนด
ผลผลิต (Output) หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการทํางานหลังจากปฏิบัติงานเสร็จ เป็น
ผลในเชิงรูปธรรม เช่น การผลิตผลงานต่างๆ ย่อมได้ชิ้นงาน เป็นต้น
ผลลัพธ์ (Outcome) หมายถึง ผลที่เกิดจากผลผลิตซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ
ผู้รับบริการ เช่น ผลผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดความสะดวกสบาย ความประทับใจ พึงพอใจ
ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ คือ งาน บริการ หรือกิจกรรมที่เกิดจากการทํางานได้ผลผลิต
(Outputs) ตาม เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ
ผลผลิตสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงหรือเป็นที่พึงพอใจ
แนวคิดของการบริหารมุ่งเน้นการให้ความสําคัญ ดังนี้
1.ความประหยัด (Economy) การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม
และมีความคุ้มค่าที่สุด
2. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานในระดับที่สูง
กว่าปัจจัยนําเข้า
3. ประสิทธิผล (Effectiveness)ประสิทธิผลการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
Objectives
ปัจจัยนําเข้า
Input
กิจกรรม
Processes
ผลสัมฤทธิ์ Results
ผลผลิต
Output
ผลลัพธ์
Outcomes
การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
141
ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์
มาสโลว์ กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด
แบ่งเป็นลําดับขั้น เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว จะมีความต้องการ
ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้
1. ต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อ
ความอยู่รอดของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัยความต้องการทางเพศ
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่า
ความต้องการอยู่รอด เช่น ต้องการความมั่นคงในการทํางาน ความปลอดภัยจากอันตราย
3.ความต้องการด้านสังคม (Social needs) ความต้องการความรัก ความเป็น
เจ้าของ (Love and belongingness needs)
4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) หมายถึง ความต้องการได้รับการ
ยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น อยากมีชื่อเสียง เกียรติยศ
5. ความต้องการประสบความสําเร็จสูงสุดในชีวิต(Self-actualization
needs) เป็นความต้องการสูงสุดแต่ล่ะคน ที่จะทําทุกสิ่งทุกอย่างให้สําเร็จตามเป้าหมายของ
ชีวิต เช่น อยากเป็นดารานักร้องซุปเปอร์สตาร์ อยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ อยากเป็นนักวิชาการ
ระดับโลก เป็นต้น
144
ทฤษฎี X,Y ของ McGregor (Theory X และ Theory Y)
จําแนกมนุษย์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
X พนักงานโดยพื้นฐานแล้วเกียจคร้าน ไม่ชอบทํางาน ต้องการให้มีการแนะนํา ข่มขู่
และมีการจูงใจทางลบ ผู้บริหารแบบ x จะใช้วิธีการออกคําสั่งบังคับ โดยเชื่อดังนี้
1. มนุษย์มักเกียจคร้าน
2. มนุษย์ชอบหลีกเลี่ยงงาน
3. มนุษย์ชอบทํางานตามคําสั่งและต้องการให้มีผู้ควบคุม
4. ต้องใช้วินัยของหมู่คณะบังคับ
5. มนุษย์มักหลีกเลี่ยงไม่อยากรับผิดชอบ
6. มนุษย์ไม่เฉลียวฉลาดขาดความรับผิดชอบ
Y พนักงานโดยพื้นฐานมีความรับผิดชอบ มีความพยายามในการทํางาน เกิดแรงจูงใจ
ในการทํางานด้วยตนเอง ควรให้การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจทางบวก ผู้บริหารแบบ Y จะใช้
การบริหารแบบให้เกียรติ เคารพในศักดิ์ความเป็นมนุษย์ และมีความเชื่อพื้นฐาน ดังนี้
1. มนุษย์จะขยันขันแข็ง
2. การทํางานของมนุษย์ก็เหมือนกับการเล่น การพักผ่อนตามธรรมชาติ
3. มนุษย์รู้จักกระตุ้นตนเองให้อยากทํางาน
4. มนุษย์มีวินัยในตนเอง
5. มนุษย์มักแสวงหาความรับผิดชอบ
6. มนุษย์มีสมรรถภาพในการทํางานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
ทฤษฎี Z ของ William G. Ouchi.
ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y เข้าด้วยกัน คือ องค์การต้องมี
หลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการ หน้าที่ของ
ผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลใน
องค์การ กําหนดมาตรฐาน ภาระงานและเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ต้องให้ความไว้วางใจ
ผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกระจายอํานาจ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทํางาน และ
มีการประเมินมาตรฐานการทํางาน
147
3. การศึกษาภาวะผู้นําจากการใช้อํานาจหน้าที่ (Leadership Based On The Use
of Authority) การศึกษาพฤติกรรมการใช้อํานาจหน้าที่ของผู้นํา ซึ่งสามารถทําให้แบ่งผู้นําออก
ได้เป็น 3 แบบ
1. ผู้นําแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) หมายถึงผู้นําที่เน้นถึงการบังคับ
บัญชาและการออกคําสั่ง (commanding and order giving) เป็นสําคัญ ผู้นําชนิดนี้มักจะทําการ
ตัดสินใจด้วยตนเองเป็นส่วนมาก และจะไม่ค่อยมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
มาก นัก สถานภาพของผู้นําชนิดนี้จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นเจ้านาย (boss) อย่างเด่นชัด ใน
การบังคับบัญชาหรือควบคุมงานของผู้นําชนิดนี้ ผู้นําดังกล่าวจะกระทําโดยมีการใช้อํานาจเป็น
อย่างมากและจะสร้างบรรยากาศของความเกรงกลัวต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้นํา
นิยมใช้การให้รางวัลและลงโทษ สรุปได้ว่าผู้นําแบบเผด็จการจะมีอํานาจสูงสุดที่ตัวผู้นํา ผู้นําจะ
สั่งการและตัดสินใจโดยยึดถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ นิยมการให้รางวัลและลงโทษ
2. ผู้นําแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) ผู้นําชนิดนี้จะมีลักษณะ
ตรงกันข้ามกับผู้นําชนิดแรก ผู้นําแบบประชาธิปไตยจะให้ความสําคัญกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา
มากกว่า และจะไม่เน้นถึงการใช้อํานาจหน้าที่ หรือก่อให้เกิดความเกรงกลัวในตัวผู้บังคับบัญชา
หากแต่จะเปิดโอกาสให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นและพูดคุยด้วย ในการ
ปฏิบัติงานบริหารของผู้นําชนิดนี้มักจะเป็นไปในทํานองที่ว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ
ทุกคน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงมักให้โอกาสทุกฝ่ายเข้ามาร่วมพิจารณา ซึ่งอาจจะกระทํา
โดยมีการประชุมหรือจัดตั้งคณะกรรมการ เป็นต้น
3. ผู้นําแบบเสรีนิยม หรือ ผู้นําตามสบาย (Laissez-faire or Free-rein Leader)
ผู้นําชนิดนี้จะแตกต่างจากผู้นําแบประชาธิปไตยที่ว่าจะมีการปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามี
อิสรเสรีเต็มที่ หรือปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีอํานาจกระทําการใด ๆ ตามใจชอบได้ ปัญหา
ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จะถูกมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจอย่างเต็มที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา
อาจจะได้รับสิทธิในการจัดทําแผนงานต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ สรุปว่าผู้นําแบบนี้จะเป็นเพียงผู้ผ่าน
เรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่ค่อยให้ความสนใจและ
เห็นความสําคัญของผู้นําที่ปฏิบัติตามแบบนี้ ทั้งนี้เพราะการกระทําดังกล่าวย่อมจะเป็นการปิด
โอกาสไม่ให้ผู้บริหารมีสิทธิใช้อํานาจ
151
ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1.ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge)
เช่น ทักษะการทํางาน ความคิด
2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)
สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม
เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คู่มือ สื่อต่างๆ
การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย
มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้
พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
โมเดลปลาทู
เป็นโมเดลอย่างง่ายที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนปลาทู 3 ส่วน
1.หัวปลา KV (Knowledge Vision) หมายถึง เป้าหมาย วิสัยทัศน์
2.ตัวปลา KS (Knowledge Sharing) หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3.หางปลา KA (Knowledge Assets) หมายถึง คลังความรู้ ที่เก็บสะสมความรู้
การจัดการความรู้
152
“องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้
ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์
สําคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนําไปสู่การ
พัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการ
เปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้
1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics)
2.องค์การ(Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization
Transformation) ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมองค์การ กลยุทธ์ โครงสร้าง
3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People
Empowerment)
4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนําเทคโนโลยีไปใช้ (Technology
Application)
แนวคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
ปีเตอร์ เชงเก่ Peter Senge ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้
ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์กรการเรียนรู้ให้
เกิดขึ้น ประกอบด้วย
1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery)
2. ความมีสติ (Mental Model)
3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision)
4. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning )
5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking)
องค์กรแห่งการเรียนรู้( Learning Organization)
153
ธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ( Good Governance) คือ
การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม
นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนําไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่
ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรม
ทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง
ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจาก
การแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น
สํานักงาน ก.พ. ได้กําหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่า
หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ
1. นิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้
ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจ
และถือปฏิบัติ
2. คุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นถือมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน
3. ความโปร่งใส หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สามารถตรวจสอบ
ความถูกต้องได้ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบที่ดี
4. ความมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และการ
ตัดสินใจสําคัญๆ และขจัดการผูกขาดโดยกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
5. ความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้บริหาร ข้าราชการ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ
มอบหมายอย่างเต็มที่ อํานวยความสะดวกต่อประชาชนผู้รับบริการ และมีความรับผิดชอบต่อ
ความบกพร่องในหน้าที่
6. ความคุ้มค่า หมายถึง ผู้บริหารต้องตระหนักเสมอว่าทรัพยากรทางการบริหารมีอยู่
จํากัด การใช้ทรัพยากรต้องยึดหลักประหยัด ทําให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุน และเกิดประโยชน์ต่อ
ประชาชนส่วนรวมมากที่สุด
ธรรมาภิบาล( Good Governance)
154
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือ การบริหารฐานโรงเรียน คือ แนวคิด
ทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา
อย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กําหนด โดยมีการกระจายอํานาจการตัดสินใจ
ที่จะพัฒนานโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษาและร่วมมือดําเนินการ
ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป มุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และ
ผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสําคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้
ส่วนเสีย ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนจะมีบทบาทสําคัญ ในกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ
สถานศึกษา ครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ในการตัดสินใจบริหารและจัด
การศึกษาของโรงเรียนไปสู่ทิศทางเป้าหมายที่ต้องการ คือ คุณภาพของผู้เรียนเป็นสําคัญ
หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยทั่วไป ได้แก่
1. หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization)
2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement)
3. หลักการคืนอํานาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People)
4. หลักการบริหารตนเอง (Self-managing)
5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance)
รูปแบบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
1. แบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก
2. แบบที่มีครูเป็นหลัก
3. แบบที่มีชุมชนเป็นหลัก
4. แบบที่มีครูและชุมชนมีบทบาทหลัก
สําหรับประเทศไทยในปัจจุบันเป็นแบบที่มีชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากมีสัดส่วนตัวแทนของ
คณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากชุมชนมากกว่าผู้บริหารและครู
การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
(School – Based Management : SBM)
159
1. ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กควรสื่อสารกับครูด้วยวิธีการใด
ก. ขอความร่วมมือ
ข. การออกคําสั่ง
ค. การนิเทศ
ง. การเจรจา
2. ผู้บริหารในข้อใดใช้วิธีการบริหารแบบ X
ก. ออกคําสั่งให้ครูไปราชการ่างจังหวัด
ข. ออกคําสั่งให้ส่งแผนการสอนทุกสัปดาห์
ค. ขอวามร่วมมือครูให้มาอยู่เวรยามทุกสัปดาห์
ง. เดินตรวจตราความเรียบร้อยในโรงเรียนเสมอ
3. ข้อใดเป็นปัจจัยทางสุขวิทยาสําหรับการทํางานของครูในสถานศึกษา
ก. เงินเดือนค่าตอบแทน
ข. วิทยฐานะที่เพิ่มขึ้น
ค. เกียรติยศชื่อเสียง
ง. ความรักความผูกพนต่อโรงเรียน
4. ข้อใดคือการเสริมแรงให้แก่ผู้ร่วมงานได้ดีที่สุด
ก. มอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงานยอดเยี่ยม
ข. กล่าวชมเชยครูผู้มีผลงานดีเด่นในที่ประชุมคณะครู
ค. จัดกิจกรรมเลี้ยงสังสรรค์คณะครูในวันปีใหม่
ง. จัดทําโครงการทัศนศึกษาต่างประเทศเป็นการตอบแทน
5. ข้อใดกล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ได้ถูกต้อง
ก. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประหยัด
ข. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ผลลัพธ์
ค. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประสิทธิภาพ
ง. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประหยัด + ประสิทธิภาพ
ทบทวนความรู้ชุดที่ 7
160
6. โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ สิ่งใดสําคัญที่สุดในองค์กร
ก. เป้าหมาย
ข. คลังความรู้
ค. การเก็บสะสมความรู้
ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
7. โมเดลปลาทู KV หมายถึงอะไร
ก. คลังความรู้
ข. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ค. วิสัยทัศน์ร่วม
ง. การเก็บสะสมความรู้
8. โมเดลปลาทู KS หมายถึงอะไร
ก. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ข. เป้าหมาย
ค. คลังความรู้
ง. การเก็บสะสมความรู้
9. โมเดลปลาทู KA หมายถึงอะไร
ก. คลังความรู้
ข. เป้าหมาย
ค. วิสัยทัศน์
ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
10. จุดมุ่งหมายของการกระจายอํานาจไปยังสถานศึกษาคือข้อใด
ก. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
ข. พัฒนาการบริหารจัดการในสถานศึกษา
ค. พัฒนาครูและผู้บริหารให้เป็นมืออาชีพ
ง. พัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
177
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์
บทบาทของสถานศึกษาจะต้องมีการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดังนี้
1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือแผนกลยุทธ์เป็นแผนแม่บทในการจัดการศึกษา
ของสถานศึกษา ปกติจะมีการวางแผนระยะปานกลางประมาณ 3 – 5 ปี
2. แผนปฏิบัติการประจําปี เป็นแผนที่ระบุรายละเอียดของโครงการ กิจกรรม เพื่อขอ
ใช้งบประมาณในการดําเนินงานในรอบปีงบประมาณ หรือ ปีการศึกษาแล้วแต่กรณี
แนวคิดของการบริหารเชิงกลยุทธ์
การบริหารเชิงกลยุทธ์ หรือ การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategy Management)
มีแนวคิดว่าองค์กรอยู่ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรต้อง
กําหนดจุดยืนของตัวเองภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความ
เกี่ยวข้องกับ การวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนด
เป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการ
ทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการะบบการทํางานที่ล่องตัวต้องการ
ดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใน
อนาคต เพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนใน
อนาคต สิ่งที่เป็นวิธีการในการดําเนินงานเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย โดยสามารถทํา
ความเข้าใจจากการตอบคําถาม 4 คําถาม สําคัญ ดังนี้
1. ในอนาคตเราต้องการไปสู่จุดไหน (Where do we want to be?)
2. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?)
3. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?)
4. เราจะต้องทําหรือปรับเปลี่ยนอะไรบ้างเพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have
to do or change in oder to get there?)
หน่วยที่ 9
การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษา
178
ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษา
ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาของ
กระทรวงศึกษาธิการ (2550) ดังนี้
1. การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission Analysis)
2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต (Environmental Analysis)
3. การวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis)
4. การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision)
5. การค้นหาอุปสรรคและปัญหาในการดําเนินงาน (Obstacles)
6. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy Decision)
7. การกําหนดนโยบาย (Policy Decision)
8. การกําหนดกิจกรรมสําคัญตามกลยุทธ์และนโยบาย
9. การจัดทําเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)
กล่าวโดยสรุป การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการบริหารจัดการยุคใหม่
อีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนํามาใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยปกติทฤษฎีทาง การบริหารการศึกษา
ส่วนใหญ่ จะกล่าวถึง ขั้นตอนแรกของการวางแผนกลยุทธ์จะเริ่มต้นด้วย การวิเคราะห์
สภาพแวดล้อมขององค์การ (ข้อสอบ)
กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย
1. การวางแผนกลยุทธ์
2. การนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ
3. การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์
SWOT analysis ประกอบด้วย
1. Strengths (จุดแข็ง)
2. Weaknesses (จุดอ่อน)
3. Opportunities (โอกาส)
4. Threats (อุปสรรค)
สภาพแวดล้อมภายใน
สภาพแวดล้อมภายนอก
179
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environment Analysis) ประกอบไปด้วยการประเมิน
สภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบ
จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะใช้การวิเคราะห์แบบสว็อท (SWOT
Analysis) และในแต่ละองค์ประกอบจะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ จําแนกได้ดังนี้
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis)
เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ทําได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะ
นําไปสู่ความสําเร็จ (Critical success factor) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core
business process)ซึ่งจะทําให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency)
โดยปกตินิยมใช้ตัวแบบ McKinney 7-S Framework หรือ 2S4M ในการวิเคราะห์ ดังนี้
1. กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy)
2. โครงสร้างองค์การ (Structure)
3. ระบบการปฏิบัติงาน (System)
4. บุคลากร (Staff)
5. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill)
6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style)
7. ค่านิยมร่วม (Shared values)
1.โครงสร้าง (Structure)
2.ผลผลิตและบริการ (Service)
3. บุคลากร (Man)
4. การเงิน (Money)
5. วัสดุอุปกรณ์ (Materials)
6. การบริหารจัดการ (Management)
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis)
ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อม
ในการดําเนินงานโดยปกติจะมีตัวแบบในการพิจารณาคือ C- PETS หรือ STEP Analysis
1. สังคม (Sociological Environment)
2. เทคโนโลยี (Technology Environment)
3. เศรษฐกิจ (Economic Environment)
4. การเมือง (Political Environment)
5. ลูกค้า (Customer)
180
ผลการวิเคราะห์โดยใช้ BCG Matrix
BCG Matrix เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกคิดค้นโดยกลุ่ม Boston Consulting ในปี
1986 โดยใช้สําหรับวิเคราะห์ด้านการเงินการลงทุนเกี่ยวกับการตลาดจากการในรูปแบบของ
Matrix 2x2 เพื่อช่วยให้เราสามารถวางแผนการขายสินค้า วางกลยุทธ์ทางการตลาด และการ
สร้างแบรนด์ได้ดีขึ้น โดย BCG Matrix นั้น จะพิจารณาจาก 2 เกณฑ์ก็คือ อัตราการเติบโตของ
ตลาด (Marketing Growth Rate) และส่วนแบ่งทางการตลาดสัมพันธ์ (Relative Market
Share) นิยมนํามาใช้ในการวิเคราะห์องค์กรโดยทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 2 นี้ก็จะถูกใช้เป็นเส้น
แบ่งแกนในการทํา BCG Matrix และเมื่อแบ่งออกมาแล้ว เราก็จะได้รูปแบบ 4 ช่อง
ประกอบด้วย Stars, Question Marks, Cash Cows และ Dogs
1.Stars คือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศ
2.Cash Cows คือ องค์กรที่มีความอิ่มตัว อยู่ได้
3. Question Marks คือ องค์กรที่มีปัญหา
4. Dogs คือ องค์กรที่ตกต่ํา
181
การกําหนดเป้าหมายต้อง SMART (ข้อสอบปี 2558)
ภายหลังการวิเคราะห์องค์กรแล้วต้องมีการกําหนดเป้าหมายให้ SMART หมายถึง
หลักการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ประสบความสําเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
1. Specific คือ มีความชัดเจน การกําหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในเชิงปริมาณ
2. Measurable คือ สามารถวัดไว้ เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องวัดผลได้
3. Attainable คือ สามารถบรรลุได้ หรือไม่เกินความสามารถจนเกินไป
4. Realistic คือ การตั้งเป้าหมายโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
5. Timely คือการกําหนดระยะเวลาที่แน่นอน
วิสัยทัศน์ (Vision)
หมายถึง ภาพในอนาคตเป็นความคาดหวังในอนาคตที่ต้องการจะเป็น หรือ ข้อความ
ที่บอกว่าอยากเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไรในอนาคต ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี มีดังนี้
1. สั้น จดจําง่าย ท้าทาย
2. มองเห็นภาพที่ต้องการของทุกคน
3. มีความเป็นไปได้ ยืดหยุ่น ชัดเจนสื่อสารได้
4. บอกทิศทาง กระตุ้น เหมาะสมกับสถานภาพขององค์กร
5. เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง
6. ควรมีช่วงเวลากําหนดที่ชัดเจน
พันธกิจ (Mission)
เป็นแนวทางหรือวิธีการที่ต้องกระทําเพื่อให้เกิดผลตามวิสัยทัศน์ ควรแสดงถึง
องค์ประกอบด้านค่านิยม จุดมุ่งหมายหลักของโรงเรียนที่ต้องบรรลุให้ถึง บ่งบอกทิศทาง
ในอนาคตของโรงเรียน และขอบเขตของการปฏิบัติงานของ โรงเรียน หากเปรียบการเดินทาง
ไปบนภูเขา พันธกิจ คือ เส้นทางที่จะเดินไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง (ข้อสอบปี 2555)
182
เป้าประสงค์(CORPORATE OBJECTIVES/GOALS)
เป้าประสงค์ หมายถึง ความคาดหวังสําคัญที่ ต้องการให้เกิดขึ้น โดยสอดคล้องกับ
พันธกิจและวิสัยทัศน์ เพื่อใช้เป็นกรอบชี้นําการกําหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งเป็น
พื้นฐานสําหรับการประเมินผลความสําเร็จของ โรงเรียนและกระบวนการดําเนินงาน
กลยุทธ์ (Strategies)
หมายถึง วิธีการ หรือ แนวทางการดําเนินงานที่แยบยลเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ โดย
ปกติกลยุทธ์อาจแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้
1. กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา
2. กลยุทธ์ระดับแผนงาน
3. กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ หรือ กลยุทธ์ระดับโครงการ
แผนที่กลยุทธ์ (Strategy map)
หมายถึง วิธีการในการสื่อสารกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่หน่วยงานต่างๆ รวมถึงบุคลากร
ในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยเชื่อมโยงการดําเนินการของ
หน่วยงานเข้ากับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ใช้ในการตรวจประเมินความสําเร็จของการ
ดําเนินงานตามกลยุทธ์ องค์ประกอบของแผนที่กลยุทธ์ประกอบด้วย
1. มุมมอง โดยปกติการจัดทําแผนที่กลยุทธ์จะใช้แนวคิดการบริหารจัดการสมดุล
(Balanced Scorecard) มองใน 4 มุมมอง ได้แก่ งบประมาณ ลูกค้า กระบวนการ
การเรียนรู้และการพัฒนา
2. ประเด็นกลยุทธ์ คือ ข้อความที่แสดงถึงประเด็นที่องค์กรจะให้ความสําคัญ
เพื่อทําให้กลยุทธ์ที่กําหนดขึ้นประสบผลสําเร็จ
3. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ สิ่งที่องค์กรต้องดําเนินการเพื่อให้กลยุทธ์ของ
องค์กรประสบผลสําเร็จ
187
ความหมายของหลักสูตร
หลักสูตร (Curriculum) คือ มวลประสบการณ์ แผนงานหรือโครงการ ที่จัดให้แก่
ผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ
องค์ประกอบของหลักสูตร
เคอ (Kerr. 1976 ) ได้นําเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ส่วน ได้แก่
1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
2) เนื้อหาสาระ
3) ประสบการณ์การเรียน
4) การประเมินผล
ทาบา (Taba. 1962) ได้เสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ประกอบด้วยส่วน
1) จุดมุ่งหมาย
2) เนื้อหาสาระ
3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน
4) การประเมินผล
สรุปองค์ประกอบของหลักสูตร
การพัฒนาหลักสูตร
1.จุดมุ่งหมายหรือ
วัตถุประสงค์
2.เนื้อหาสาระ
3.กิจกรรมกระบวนการ
จัดการเรียนรู้
4.การประเมินผล
หลักสูตร
188
ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษามาแล้วหลายครั้ง ดังนี้
พุทธศักราช 2503
1. หลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503 ( ใช้เวลาเรียน 4 ปี )
2. หลักสูตรประถมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2503 ( ใช้เวลาเรียน 3 ปี )
3. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.ศ. 1- 2 - 3 ใช้เวลาเรียน 3 ปี )
4. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.ศ. 4 – 5 - 6 ใช้เวลาเรียน 3 ปี )
พุทธศักราช 2521
1.หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521
2.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521
3.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524
พุทธศักราช 2533
1.หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)
2.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)
3.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533)
พุทธศักราช 2544
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
พุทธศักราช 2551
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
กําหนดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ปีการศึกษา 2552 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ป.1 – 6 , ม.1 และ ม.4
ปีการศึกษา 2553 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ป.1 – 6 , ม.1,ม.2, ม.4 และ ม.5
โรงเรียนทั่วไป ป.1 – 6 , ม.1 และ ม.4
ปีการศึกษา 2554 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ทุกระดับชั้น
โรงเรียนทั่วไป ป.1 – 6 , ม.1, ม.2, ม.4, ม.5
ปีการศึกษา 2555 ใช้ในโรงเรียนทุกระดับชั้น
หลักสูตรการศึกษาในประเทศไทย
189
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
จัดเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน
วิสัยทัศน์
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติ
ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมือง
ไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จําเป็นต่อการศึกษาต่อ
การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญบนพื้นฐานความเชื่อ
ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ
หลักการ
1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน
การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสําหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ
คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่าง
เสมอภาคและมีคุณภาพ
3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอํานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด
การศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และ
การจัดการเรียนรู้
5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
6. เป็นหลักสูตรการศึกษา สําหรับ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
190
จุดมุ่งหมาย
1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย
และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง
2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และ
มีทักษะชีวิต
3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกําลังกาย
4. มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต
และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา
สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทําประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันใน
สังคมอย่างมีความสุข
สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2. ความสามารถในการคิด
3. ความสามารถในการแก้ปัญหา
4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ออกข้อสอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555)
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 5. อยู่อย่างพอเพียง
2. ซื่อสัตย์สุจริต 6. มุ่งมั่นในการทํางาน
3. มีวินัย 7. รักความเป็นไทย
4. ใฝ่เรียนรู้ 8. มีจิตสาธารณะ
203
1. ข้อใดคือการกําหนดวิสัยทัศน์ที่ดีของโรงเรียนขนาดเล็ก
ก. เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ
ข. ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความรู้เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน
ค. เป็นโรงเรียนดีของชุมชน ดํารงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ง. เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ครูมืออาชีพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ
2. จากเรื่องสามก๊กตัวละครใดได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวางแผนกลยุทธ์
ก. กวนอู
ข. เตียวหุย
ค. ขงเบ้ง
ง. เล่าปี่
3. ในบทบาทที่ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันท่านควร
ให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นอันดับแรก
ก. วิสัยทัศน์ (Vision)
ข. วัฒนธรรมองค์กร (Competency)
ค. โครงสร้าง (Structure)
ง. กลยุทธ์ (Strategy)
4. ขั้นตอนแรกสุดของการวางแผนกลยุทธ์คือข้อใด
ก. กําหนดวิสัยทัศน์
ข. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม
ค. กําหนดเป้าประสงค์
ง. กําหนดพันธกิจ
5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร
ก. P : การวางแผน
ข. E : เศรษฐกิจ
ค. S : สภาพสังคม
ง. T : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
ทบทวนความรู้ชุดที่ 9
204
6. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา
ก. SWOT
ข. 2S 4M
ค. C- PEST
ง. Balance scorecard
7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ SWOT Analysis
ก. S ใช้วิเคราะห์จุดแข็งของสภาพแวดล้อมภายนอก
ข. W ใช้วิเคราะห์จุดอ่อนของสภาพแวดล้อมภายนอก
ค. O ใช้วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากภายใน
ง. T ใช้วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากภายนอก
8. โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนทั้งคน วัสดุ อุปกรณ์ ภายหลังจากวิเคราะห์ด้วย SWOT
ผลการวิเคราะห์น่าจะออกมาในรูปแบบใดตาม BCG Matrix
ก. คําถามข้อสงสัย
ข. ดาว
ค. แม่วัว
ง. สุนัข
9. โรงเรียนที่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดีสอดคล้องกับข้อใด
ก. Strengths
ก. Weaknesses
ข. Opportunities
ค. Threats
10. ปัจจัยแห่งความสําเร็จคือข้อใด
ก. CSF
ข. KPI
ค. KAP
ง. GOAL
205
11. การใช้ Balance scorecard อยู่ในขั้นตอนใดของการบริหารเชิงกลยุทธ์
ก. การวางแผนกลยุทธ์
ข. การจัดทําแผนที่กลยุทธ์
ค. การกําหนดวิสัยทัศน์
ง. การควบคุมกลยุทธ์
12. ถ้าจะเปรียบการวางแผนเหมือนการปีนเขาข้อใดหมายถึงเส้นทางในการเดินขึ้นเขา
ก. Vision
ข. Mission
ค. Goal
ง. SWOT
13. ข้อใดเรียงลําดับแผลกลยุทธ์ได้ถูกต้อง
ก. เป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์
ข. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์
ค. วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ พันธกิจ กลยุทธ์
ง. เป้าประสงค์ พันธกิจ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์
14. หลักสูตร หมายถึง อะไร
ก. การจัดทําแผนการสอน
ข. มวลประสบการณ์การเรียนรู้
ค. เอกสารประกอบการสอน
ง. กําหนดการสอนของครู
15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ก. วิสัยทัศน์ สมรรถนะ ของผู้เรียน หลักการจุดหมาย
ข. วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะของผู้เรียน
ค. หลักการ จุดหมาย วิสัยทัศน์ สมรรถนะของผู้เรียน
ง. หลักการ วิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะของผู้เรียน
206
16. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน
ก. ความสามารถในการคิด
ข. ความสามารถในการสื่อสาร
ค. ความสามารถในการแก้ปัญหา
ง. ความสามารถในการดํารงชีวิต
17. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ก. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ข. รักความเป็นไทย
ค. มีคุณธรรม
ง. มีจิตสาธารณะ
18. ข้อใดเป็นการแบ่งระดับการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
ก. อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ข. ประถมศึกษา มัธยมศึกษา
ค. ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย
ง. ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น มัธยมปลาย
19. ข้อใดกล่าวถูกต้อง
ก. ประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค
ข. ประถมศึกษามีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง
ค. มัธยมศึกษาตอนต้นให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี
ง. มัธยมศึกษาตอนปลายมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง
20. ตัวชี้วัดช่วงชั้นจัดไว้ในระดับใด
ก. ประถมศึกษา
ข. มัธยมศึกษาตอนต้น
ค. มัธยมศึกษาตอนปลาย
ง. จัดไว้ในทุกระดับ
1.ค 2.ค 3.ก 4.ข 5.ก 6.ง 7.ง 8.ง 9.ข 10.ก
11.ข 12.ข 13.ข 14.ข 15.ข 16.ง 17.ค 18.ค 19.ง 20.ค
208
การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ
คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของ
สถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กํากับดูแลสถานศึกษานั้น
โดยสถานศึกษาตรวจประเมินทํา รายงานการประเมินตนเอง (SAR :Self Assessment
Report) ส่งหน่วยงานต้นสังกัดทุกปี และหน่วยงานต้นสังกัดเข้าตรวจประเมินอย่างน้อย
3 ปีต่อครั้ง เป็นผู้บริหารลําดับแรกที่จะทราบบริบทของสถานศึกษาให้พิจารณาจาก
SAR (ข้อสอบปี 2558)
ระบบประกันคุณภาพภายในประกอบด้วย
1. การประเมินคุณภาพภายใน
2. การติดตามตรวจสอบคุณภาพ
3. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา
หลักเกณฑ์และวิธีพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
1. กําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา**(ข้อสอบปี 2555)
2. จัดทําแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน
ของสถานศึกษา
3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
4. ดําเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
7. จัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน
8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เริ่มใช้ปีการศึกษา
2554 เป็นต้นมา แบ่งเป็น 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้
1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน (มาตรฐานที่ 1 – 6 )
2. มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา (มาตรฐานที่ 7 – 12)
3. มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (มาตรฐานที่ 13)
4. มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา (มาตรฐานที่ 14)
5. มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม (มาตรฐานที่ 15)
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
213
สภาพปัจจุบันสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินการในการบริหารงบประมาณที่ได้รับมี 3 ประเภท ดังนี้
1. เงินงบประมาณ
2. เงินนอกงบประมาณ
3. เงินรายได้แผ่นดิน
เงินงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับตามพระราชบัญญัติ งบประมาณ
รายจ่ายประจําปี หรือ เบิกจ่ายในรายจ่ายงบกลาง
1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ
1.1 งบบุคลากร
1.2 งบดําเนินงาน
1.3 งบลงทุน
1.4 งบเงินอุดหนุน
1.5 งบรายจ่ายอื่น
2. รายจ่ายงบกลาง
2.1 เงินเบี้ยหวัดบําเหน็จบํานาญ
2.2 เงินเลื่อนขั้นเลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ
2.3 เงินสํารอง เงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ
2.4 เงินสมทบของลูกจ้างประจํา
2.5 ค่าใช้จ่ายสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้าง
การบริหารการเงิน งบประมาณ สินทรัพย์
218
การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กํากับดูแลฝ่ายบริหารและบุคลากร
ทุกระดับของหน่วยรับตรวจ กําหนดให้มีขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการ
ดําเนินงานจะบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้
(1) การดําเนินงาน (Operation : O) หมายถึง การบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือ
ลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริตของหน่วยรับตรวจ
(2) การรายงานทางการเงิน (Financial : F) หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทํา
ขึ้นเพื่อใช้ภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจ เป็นไปอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา
(3) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Compliance : C)
ได้แก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการ
ดําเนินงานของหน่วยรับตรวจรวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย และวิธีการปฏิบัติงานที่องค์กรได้
กําหนดขึ้น
แนวคิดของการควบคุมภายใน
(1) การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน
ตามปกติ การควบคุมภายในมิใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และมิใช่ผลสุดท้ายของการ
กระทําแต่เป็นกระบวนการ (Process) ที่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกําหนดไว้ใน
กระบวนการปฏิบัติงาน (Built in) ประจําวันตามปกติของหน่วยรับตรวจ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึง
ควรนําการควบคุมภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารงาน ซึ่งได้แก่
การวางแผน (Planning) การดําเนินการ (Executing) และการติดตามผล (Monitoring)
(2) การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของหน่วยรับตรวจ บุคลากรทุกระดับ
เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการให้ความสนับสนุนระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจให้มี
ประสิทธิผล ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกําหนดและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มี
ประสิทธิผลด้วยการสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมการควบคุม กําหนดทิศทาง กลไกการ
ควบคุมและกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามผลการควบคุมภายใน ส่วนบุคลากรอื่นของ
หน่วยรับตรวจมีหน้าที่รับผิดชอบโดยการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหาร
กําหนดขึ้น
การควบคุมภายใน
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2
ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2

More Related Content

What's hot

การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลักการบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
Teetut Tresirichod
 
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิตบทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
Rungnapa Rungnapa
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
Twatchai Tangutairuang
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
Wichai Likitponrak
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...omsnooo
 
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
pop Jaturong
 
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
098108120511
 
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
การบริหารจัดการสินค้าคงคลังการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
Utai Sukviwatsirikul
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกพัน พัน
 
การจัดการคุณภาพ(Quality management)
การจัดการคุณภาพ(Quality management)การจัดการคุณภาพ(Quality management)
การจัดการคุณภาพ(Quality management)
tumetr1
 
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่าการยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
dnavaroj
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
tumetr1
 
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
Dr.Krisada [Hua] RMUTT
 
การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1
Prachyanun Nilsook
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำissareening
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
Nontaporn Pilawut
 

What's hot (20)

การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลักการบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
การบทที่ 4 การวางแผนและการจัดตารางการผลิตหลัก
 
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิตบทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
บทที่ 4 การวางแผนกำลังการผลิต
 
การบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการการบริหารงานวิชาการ
การบริหารงานวิชาการ
 
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัยบันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
บันทึกข้อความประเมินทัศนศึกษา2565_ครูวิชัย
 
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
รายงานผลประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงเรียนวัดโพธิ์ทอง(วิศิษฐ์ประชา...
 
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
6กำหนดตารางเวลาโครงการ+เขียนข่ายงาน
 
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์แนะนำตัวเอง10 สไลด์
แนะนำตัวเอง10 สไลด์
 
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
การบริหารจัดการสินค้าคงคลังการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
 
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมุนไพรกำจัดปลวก
 
ERP
ERPERP
ERP
 
การจัดการคุณภาพ(Quality management)
การจัดการคุณภาพ(Quality management)การจัดการคุณภาพ(Quality management)
การจัดการคุณภาพ(Quality management)
 
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่าการยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
การยับยั้งเชื้อราด้วยสารสกัดจากข่า
 
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็คตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
ตัวอย่างบทที่1 บทนำ เล่มโปรเจ็ค
 
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลังบทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
บทที่ 12 การจัดการสินค้าคงคลัง
 
สารบัญ.
สารบัญ.สารบัญ.
สารบัญ.
 
Ictoutdoor2012
Ictoutdoor2012Ictoutdoor2012
Ictoutdoor2012
 
การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1การเขียนบทความวิจัย2559 1
การเขียนบทความวิจัย2559 1
 
โครงงาน
โครงงานโครงงาน
โครงงาน
 
ภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำภาวะผู้นำ
ภาวะผู้นำ
 
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
แบบรายงานการอบรมออนไลน์รองโอ๋
 

Similar to ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2

Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Mahasarakham Business School, Mahasarakham University
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3praphol
 
20120245 t13 internal_control
20120245 t13 internal_control20120245 t13 internal_control
20120245 t13 internal_controlLumi Doll
 
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตากfantayuya
 
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตากfantayuya
 
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงวิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงstjohnbatch753
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
teerayut123
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
benty2443
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
gam030
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
fernfielook
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
poppai041507094142
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
wanneemayss
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
Piyapong Chaichana
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
wanitchaya001
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
nattawad147
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
Theerayut Ponman
 

Similar to ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2 (20)

บรรยายพิเ..
บรรยายพิเ..บรรยายพิเ..
บรรยายพิเ..
 
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)Organization and Management (OM) overview (ch.1)
Organization and Management (OM) overview (ch.1)
 
Moodle
MoodleMoodle
Moodle
 
บทที่3
บทที่3บทที่3
บทที่3
 
20120245 t13 internal_control
20120245 t13 internal_control20120245 t13 internal_control
20120245 t13 internal_control
 
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
 
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
804501คณะวิศวกรรมศาสตร์มทร.ล้านนาตาก
 
Moodle
MoodleMoodle
Moodle
 
Lib2.0
Lib2.0Lib2.0
Lib2.0
 
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลงวิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
วิเคราะ์ห์การบริหารการเปลี่ยนแปลง
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
9 170819173701
9 1708191737019 170819173701
9 170819173701
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 
บทที่ 9
บทที่ 9บทที่ 9
บทที่ 9
 

More from Kuntoonbut Wissanu

___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
Kuntoonbut Wissanu
 
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
Kuntoonbut Wissanu
 
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.1 ___ 01-10
  ___ facebook.com_123_grade4---  _________ 3.1 ___ 01-10  ___ facebook.com_123_grade4---  _________ 3.1 ___ 01-10
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.1 ___ 01-10
Kuntoonbut Wissanu
 
News 1496310262 plan60_n (1)
News 1496310262 plan60_n (1)News 1496310262 plan60_n (1)
News 1496310262 plan60_n (1)
Kuntoonbut Wissanu
 
News 1496310262 plan60_n
News 1496310262 plan60_nNews 1496310262 plan60_n
News 1496310262 plan60_n
Kuntoonbut Wissanu
 
5 3 iqa(2560)
5 3 iqa(2560)5 3 iqa(2560)
5 3 iqa(2560)
Kuntoonbut Wissanu
 
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
Kuntoonbut Wissanu
 
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
Kuntoonbut Wissanu
 
1ครูนักวิจัย
1ครูนักวิจัย1ครูนักวิจัย
1ครูนักวิจัย
Kuntoonbut Wissanu
 
3.parabola
3.parabola3.parabola
3.parabola
Kuntoonbut Wissanu
 
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตโจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
Kuntoonbut Wissanu
 
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนามเนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
Kuntoonbut Wissanu
 
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรมบันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
Kuntoonbut Wissanu
 
แผนแบบรูป
แผนแบบรูปแผนแบบรูป
แผนแบบรูป
Kuntoonbut Wissanu
 

More from Kuntoonbut Wissanu (16)

___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (___________________) ___ 01-06
 
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05  ___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.2 _ (_________) ___ 01-05
 
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.1 ___ 01-10
  ___ facebook.com_123_grade4---  _________ 3.1 ___ 01-10  ___ facebook.com_123_grade4---  _________ 3.1 ___ 01-10
___ facebook.com_123_grade4--- _________ 3.1 ___ 01-10
 
News 1496310262 plan60_n (1)
News 1496310262 plan60_n (1)News 1496310262 plan60_n (1)
News 1496310262 plan60_n (1)
 
News 1496310262 plan60_n
News 1496310262 plan60_nNews 1496310262 plan60_n
News 1496310262 plan60_n
 
Id plan
Id planId plan
Id plan
 
5 3 iqa(2560)
5 3 iqa(2560)5 3 iqa(2560)
5 3 iqa(2560)
 
Csa1
Csa1Csa1
Csa1
 
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
Pp พรบ.จ ดซ _อจ_ดจ_าง พ.ศ.2560
 
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
002.คัดกรองเยี่ยมบ้าน
 
1ครูนักวิจัย
1ครูนักวิจัย1ครูนักวิจัย
1ครูนักวิจัย
 
3.parabola
3.parabola3.parabola
3.parabola
 
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตโจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
โจทย์ปัญหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต
 
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนามเนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
เนื้อหาคณิตศาสตร์ม.3เทอม1เรื่องการแยกตัวประกอบพหุนาม
 
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรมบันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
บันทึกข้อความ ขออนุญาตขอนำนักเรียนเข้าค่ายปรับพฤติกรรม
 
แผนแบบรูป
แผนแบบรูปแผนแบบรูป
แผนแบบรูป
 

ตัวอย่างหนังสือผู้บริหาร2

  • 1. 129 ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่จําเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานทางการบริหารจัดการเพื่อใช้ เป็นกรอบแนวคิดในการบริหารสถานศึกษา สรุปแนวคิดทางการบริหารจัดการ ดังนี้ ความหมายของการบริหารจัดการ จากแนวคิดเกี่ยวกับคําว่า “การบริหาร” (Administration) กับ “การจัดการ” (Management) พบว่า คําสองคํานี้มีความหมายคล้ายคลึงกันซึ่งใช้แทนกันได้โดยคําว่า การบริหาร มักใช้กับหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปกครอง เช่น การบริหารการศึกษา (Educational Administration) ผู้นําในหน่วยงานราชการจึงมักถูก เรียกว่า “ผู้บริหาร”ส่วนคําว่า การจัดการมักใช้ในวงการธุรกิจ เช่น การบริหารธุรกิจ (Business Management) ผู้นําในองค์กรธุรกิจจึงมักถูกเรียกว่า “ผู้จัดการ” ในปัจจุบันมัก พบว่า คําสองคํานี้ถูกนํามาผนวกรวมกันเป็นคําว่า “การบริหารจัดการ” มีผู้ให้ความหมาย ของ การบริหาร ไว้มากมายดังนี้ การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป ร่วมมือกันดําเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ อย่างหนึ่งหรืออย่างใดหรือหลายอย่าง ที่บุคคลร่วมกันกําหนด โดย ใช้กระบวนการและใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างเหมาะสม การบริหาร หมายถึง กระบวนการทํางานร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลตาม เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ การบริหาร หมายถึง ศาสตร์ที่ต้องใช้ศิลปะและเทคนิคอย่างสูงเพื่อการวินิจฉัย ตัดสินใจในกระบวนการวางแผนและการควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพต่องานนั้น การบริหาร คือ กระบวนการวางแผนการจัดองค์การ การสั่งการ และการควบคุม กําลังความพยายามของสมาชิกองค์การและใช้ทรัพยากรอื่นๆเพื่อความสําเร็จในเป้าหมาย ที่กําหนดไว้ กล่าวโดยสรุป การบริหาร หมายถึง กระบวนการดําเนินงานของผู้บริหารหรือผู้นํา ในองค์กรโดยอาศัยบุคลากรและทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย ขององค์กร การบริหารจัดการจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ผู้บริหารต้องมีความรู้ในเชิงการ บริหารจัดการในขณะเดียวกันต้องมีประสบการณ์และศิลปะในการบริหารทรัพยากรบุคคลด้วย หน่วยที่ 7 หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารจัดการ
  • 2. 135 ที่สําคัญได้แก่ 1) บุคคลแต่ละคน(individual) 2) กลุ่มรูปนัย (formal group) และ3) กลุ่มอรูปนัย(informal group)กลุ่มอรูปนัยนี้มีความสําคัญในการวิเคราะห์พฤติกรรม การบริหารการศึกษาของฮอลพินและและครอฟท์เกี่ยวกับบรรยากาศของโรงเรียน โดยผู้ศึกษา ได้พัฒนาแบบสอบถามขึ้น(organizational climate description-OCDQ)โดยมีข้อสอบถาม เกี่ยวกับกลุ่มอรูปนัยด้วย เช่น คําถามเกี่ยวคําขวัญและความสนิทสนม กระบวนการบริหารงาน นักวิชาการได้แบ่งขั้นตอนของกระบวนการบริหารงาน ไว้หลายแนวคิด ในที่นี้ขอ ยกตัวอย่างขั้นตอนของกระบวนการบริหารที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ดังนี้ 1. แนวคิดของฟาโย (Henri Fayol) แบ่งขั้นตอนการบริหารออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) การวางแผน (Planning) (2) การจัดองค์การ (Organizing) (3) การบังคับบัญชา (Commanding) (4) การประสานงาน (Communicating) (5) การควบคุมงาน (Controlling) 2. แนวคิดของลูเธอร์ กูลิค (Gullick, 1937) ได้กล่าวถึงกระบวนการบริหารที่ขยาย แนวคิดของ Fayol โดยพบว่าผู้บริหารต้องทําหน้าที่ 7 อย่าง เรียกย่อๆ ว่า POSDCoRB ดังนี้ (1) การวางแผน (Planning) (2) การจัดองค์การ (Organizing) (3) การบริงานบุคคล (Staffing) (4) การนํา หรือ สั่งการ (Directing) (5) การประสานงาน (Coordinating) (6) การเสนอรายงาน (Reporting) (7) การจัดทํางบประมาณการเงิน (Budgeting)
  • 3. 136 3. แนวคิดของสมาคมผู้บริหารโรงเรียนแห่งสหรัฐอเมริกา (American Association of School Administrators-AASA. 1955) กําหนดไว้ 5 ขั้นตอน (1) การวางแผน (Planning) (2) การจัดสรรทรัพยากร (Allocating Resources) (3) การกระตุ้น (Stimulating) (4) การประสานงาน (Coordinating) (5) การประเมินผล (Evaluating) 4. แนวคิดการบริหารคุณภาพของเดมมิง การบริหารกลุ่มสร้างคุณภาพมาจากคําว่า Quality Control circle หรือเรียกย่อว่า QC หมายถึง การบริหารงานของกลุ่มบุคคลที่อยู่ใน องค์กรเดียวกัน เพื่อทํากิจกรรมร่วมกันเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนาองค์กร ในระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาได้นํา แนวคิดการบริหารรูปแบบนี้มาใช้ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ครบวงจรประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก ที่เรียกว่า วงจร PDCA ได้แก่ (1) ร่วมกันวางแผน (Planning) (2) ร่วมกันปฏิบัติตามแผน (Doing) (3) ร่วมกันตรวจสอบ (Checking) (4) ร่วมกันปรับปรุง (Action) 5. แนวคิดกระบวนการของหน้าที่ นักทฤษฎีการบริหารหลายคน ได้ให้แนวคิดว่าการ บริหารเป็นกระบวนการของหน้าที่ (Functions) ดังนี้ 5.1 การวางแผน (Planning) เกี่ยวข้องกับการกําหนดเป้าหมายและจุดมุ่งหมาย และพัฒนาแผนไปสู่การปฏิบัติ 5.2 การจัดองค์การ (Organizing) เกี่ยวข้องกับการจัดบุคลากร งบประมาณ และ ทรัพยากรอื่นๆ มารวมกันเพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย 5.3 การควบคุม (Controlling) เกี่ยวข้องกับการติดตาม ประเมินผล ทบทวนการ ทํางาน การออกระเบียบ ข้อบังคับ ให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อดูแลมาตรฐานของการปฏิบัติงาน 5.4 การนํา (leading) เกี่ยวข้องกับการนําทาง การกํากับ นิเทศติดตาม การจูงใจ การติดต่อสื่อสาร
  • 4. 137 การบริหารเชิงระบบ เป็นแนวคิดของนักวิชาการกลุ่มระบบ (System View) ที่ได้รับ ความนิยมมากอีกแนวคิดหนึ่งในปัจจุบัน โดยหลักการแนวคิดทฤษฎีระบบ ประกอบด้วย 1. ปัจจัยนําเข้า (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการศึกษาทุกๆอย่าง ได้แก่ บุคคล (Man) งบประมาณ (Money) วัสดุอุปกรณ์ (Materials) การบริหารจัดการ (Management) และแรงจูงใจ (Motivations) ที่เป็นส่วนนําเข้าในการบริหารองค์การ 2. กระบวนการ (Process) หมายถึง การดําเนินการโดยนําปัจจัยหรือทรัพยากรต่างๆ มาใช้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจมีระบบย่อยๆที่จะดําเนินการร่วมกันจนกลายเป็นวงจรทาง การศึกษา ได้แก่ กระบวนการบริหารจัดการ การนิเทศ การวัดและประเมินผล ตลอดจนการ ตรวจสอบและติดตาม ทั้งนี้เพื่อให้ปัจจัยนําเข้าทั้งหลายเข้าสู่กระบวนการอย่างมีประสิทธิภาพ 3. ผลผลิต (Output/Product) หมายถึง ผลที่เกิดจากกระบวนการนําของปัจจัย ต่างๆมาปฏิบัติ ทําให้เกิดผลตามเป้าหมายที่กําหนดไว้ 4. ผลลัพธ์ (Outcome/Impact) หมายถึง ผลที่เกิดจากผลผลิตที่เกิดจาก กระบวนการระบบ หรือ ผลกระทบที่ได้จากผลผลิต 5. สภาพแวดล้อม (Context/Environment) ประกอบไปด้วยสภาพแวดล้อม ภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก ปัจจัย ( ) กระบวนการ ( ) ผลผลิต ( ) ผลลัพธ์ ( ) ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) การบริหารเชิงระบบ
  • 5. 138 ความหมายของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management) เป็นวิธีการบริหารที่ มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์หรือผลการปฏิบัติงานเป็นหลัก โดยมีการวัดผลการปฏิบัติงานด้วยตัวชี้วัด อย่างเป็นรูปธรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ทําให้ผู้บริหารทราบผลความก้าวหน้าของ การดําเนินงานเป็นระยะๆและสามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เป็นการควบคุมทิศทางการ ดําเนินงานให้มุ่งสู่วิสัยทัศน์ฯ ของหน่วยงาน พิจารณาได้จากผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง ตามเป้าหมายที่กําหนด ผลผลิต (Output) หมายถึง ผลงานที่เกิดจากการทํางานหลังจากปฏิบัติงานเสร็จ เป็น ผลในเชิงรูปธรรม เช่น การผลิตผลงานต่างๆ ย่อมได้ชิ้นงาน เป็นต้น ผลลัพธ์ (Outcome) หมายถึง ผลที่เกิดจากผลผลิตซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ ผู้รับบริการ เช่น ผลผลิตภัณฑ์ที่สร้างขึ้นก่อให้เกิดความสะดวกสบาย ความประทับใจ พึงพอใจ ดังนั้น ผลสัมฤทธิ์ คือ งาน บริการ หรือกิจกรรมที่เกิดจากการทํางานได้ผลผลิต (Outputs) ตาม เป้าหมาย และเกิดผลลัพธ์ (Outcomes) ตรงตามวัตถุประสงค์ กล่าวคือ ผลผลิตสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงหรือเป็นที่พึงพอใจ แนวคิดของการบริหารมุ่งเน้นการให้ความสําคัญ ดังนี้ 1.ความประหยัด (Economy) การใช้ต้นทุนหรือทรัพยากรการผลิตอย่างเหมาะสม และมีความคุ้มค่าที่สุด 2. ประสิทธิภาพ (Efficiency) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้ได้ผลงานในระดับที่สูง กว่าปัจจัยนําเข้า 3. ประสิทธิผล (Effectiveness)ประสิทธิผลการปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ความประหยัด ความมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ Objectives ปัจจัยนําเข้า Input กิจกรรม Processes ผลสัมฤทธิ์ Results ผลผลิต Output ผลลัพธ์ Outcomes การบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์
  • 6. 141 ทฤษฎีแรงจูงใจของมาสโลว์ มาสโลว์ กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ ว่ามนุษย์มีความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด แบ่งเป็นลําดับขั้น เมื่อได้รับการตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานแล้ว จะมีความต้องการ ในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ ลําดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ แบ่งเป็น 5 ขั้น ดังนี้ 1. ต้องการของร่างกาย (Physiological needs) เป็นความต้องการพื้นฐานเพื่อ ความอยู่รอดของชีวิต เช่น อาหาร เครื่องแต่งกาย ที่อยู่อาศัยความต้องการทางเพศ 2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety needs) เป็นความต้องการที่เหนือกว่า ความต้องการอยู่รอด เช่น ต้องการความมั่นคงในการทํางาน ความปลอดภัยจากอันตราย 3.ความต้องการด้านสังคม (Social needs) ความต้องการความรัก ความเป็น เจ้าของ (Love and belongingness needs) 4. ความต้องการการยกย่อง (Esteem needs) หมายถึง ความต้องการได้รับการ ยอมรับนับถือจากบุคคลอื่น อยากมีชื่อเสียง เกียรติยศ 5. ความต้องการประสบความสําเร็จสูงสุดในชีวิต(Self-actualization needs) เป็นความต้องการสูงสุดแต่ล่ะคน ที่จะทําทุกสิ่งทุกอย่างให้สําเร็จตามเป้าหมายของ ชีวิต เช่น อยากเป็นดารานักร้องซุปเปอร์สตาร์ อยากเป็นนักกีฬาทีมชาติ อยากเป็นนักวิชาการ ระดับโลก เป็นต้น
  • 7. 144 ทฤษฎี X,Y ของ McGregor (Theory X และ Theory Y) จําแนกมนุษย์ออกเป็น 2 ลักษณะ คือ X พนักงานโดยพื้นฐานแล้วเกียจคร้าน ไม่ชอบทํางาน ต้องการให้มีการแนะนํา ข่มขู่ และมีการจูงใจทางลบ ผู้บริหารแบบ x จะใช้วิธีการออกคําสั่งบังคับ โดยเชื่อดังนี้ 1. มนุษย์มักเกียจคร้าน 2. มนุษย์ชอบหลีกเลี่ยงงาน 3. มนุษย์ชอบทํางานตามคําสั่งและต้องการให้มีผู้ควบคุม 4. ต้องใช้วินัยของหมู่คณะบังคับ 5. มนุษย์มักหลีกเลี่ยงไม่อยากรับผิดชอบ 6. มนุษย์ไม่เฉลียวฉลาดขาดความรับผิดชอบ Y พนักงานโดยพื้นฐานมีความรับผิดชอบ มีความพยายามในการทํางาน เกิดแรงจูงใจ ในการทํางานด้วยตนเอง ควรให้การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจทางบวก ผู้บริหารแบบ Y จะใช้ การบริหารแบบให้เกียรติ เคารพในศักดิ์ความเป็นมนุษย์ และมีความเชื่อพื้นฐาน ดังนี้ 1. มนุษย์จะขยันขันแข็ง 2. การทํางานของมนุษย์ก็เหมือนกับการเล่น การพักผ่อนตามธรรมชาติ 3. มนุษย์รู้จักกระตุ้นตนเองให้อยากทํางาน 4. มนุษย์มีวินัยในตนเอง 5. มนุษย์มักแสวงหาความรับผิดชอบ 6. มนุษย์มีสมรรถภาพในการทํางานและมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทฤษฎี Z ของ William G. Ouchi. ทฤษฎีนี้รวมเอาหลักการของทฤษฎี X และ Y เข้าด้วยกัน คือ องค์การต้องมี หลักเกณฑ์ที่ควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระ และมีความต้องการ หน้าที่ของ ผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคคลใน องค์การ กําหนดมาตรฐาน ภาระงานและเป้าหมายที่ชัดเจน แต่ต้องให้ความไว้วางใจ ผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกระจายอํานาจ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการทํางาน และ มีการประเมินมาตรฐานการทํางาน
  • 8. 147 3. การศึกษาภาวะผู้นําจากการใช้อํานาจหน้าที่ (Leadership Based On The Use of Authority) การศึกษาพฤติกรรมการใช้อํานาจหน้าที่ของผู้นํา ซึ่งสามารถทําให้แบ่งผู้นําออก ได้เป็น 3 แบบ 1. ผู้นําแบบเผด็จการ (Autocratic Leader) หมายถึงผู้นําที่เน้นถึงการบังคับ บัญชาและการออกคําสั่ง (commanding and order giving) เป็นสําคัญ ผู้นําชนิดนี้มักจะทําการ ตัดสินใจด้วยตนเองเป็นส่วนมาก และจะไม่ค่อยมอบหมายอํานาจหน้าที่ให้แก่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มาก นัก สถานภาพของผู้นําชนิดนี้จะเป็นไปในลักษณะที่ว่าเป็นเจ้านาย (boss) อย่างเด่นชัด ใน การบังคับบัญชาหรือควบคุมงานของผู้นําชนิดนี้ ผู้นําดังกล่าวจะกระทําโดยมีการใช้อํานาจเป็น อย่างมากและจะสร้างบรรยากาศของความเกรงกลัวต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาเสมอ ทั้งนี้เพราะผู้นํา นิยมใช้การให้รางวัลและลงโทษ สรุปได้ว่าผู้นําแบบเผด็จการจะมีอํานาจสูงสุดที่ตัวผู้นํา ผู้นําจะ สั่งการและตัดสินใจโดยยึดถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ นิยมการให้รางวัลและลงโทษ 2. ผู้นําแบบประชาธิปไตย (Democratic Leader) ผู้นําชนิดนี้จะมีลักษณะ ตรงกันข้ามกับผู้นําชนิดแรก ผู้นําแบบประชาธิปไตยจะให้ความสําคัญกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา มากกว่า และจะไม่เน้นถึงการใช้อํานาจหน้าที่ หรือก่อให้เกิดความเกรงกลัวในตัวผู้บังคับบัญชา หากแต่จะเปิดโอกาสให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีโอกาสแสดงความคิดเห็นและพูดคุยด้วย ในการ ปฏิบัติงานบริหารของผู้นําชนิดนี้มักจะเป็นไปในทํานองที่ว่า สิ่งต่าง ๆ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ทุกคน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ จึงมักให้โอกาสทุกฝ่ายเข้ามาร่วมพิจารณา ซึ่งอาจจะกระทํา โดยมีการประชุมหรือจัดตั้งคณะกรรมการ เป็นต้น 3. ผู้นําแบบเสรีนิยม หรือ ผู้นําตามสบาย (Laissez-faire or Free-rein Leader) ผู้นําชนิดนี้จะแตกต่างจากผู้นําแบประชาธิปไตยที่ว่าจะมีการปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามี อิสรเสรีเต็มที่ หรือปล่อยให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชามีอํานาจกระทําการใด ๆ ตามใจชอบได้ ปัญหา ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้จะถูกมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตัดสินใจอย่างเต็มที่ ผู้ใต้บังคับบัญชา อาจจะได้รับสิทธิในการจัดทําแผนงานต่าง ๆ ได้ตามใจชอบ สรุปว่าผู้นําแบบนี้จะเป็นเพียงผู้ผ่าน เรื่องราวต่าง ๆ ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น ดังนั้น ผู้ใต้บังคับบัญชาจะไม่ค่อยให้ความสนใจและ เห็นความสําคัญของผู้นําที่ปฏิบัติตามแบบนี้ ทั้งนี้เพราะการกระทําดังกล่าวย่อมจะเป็นการปิด โอกาสไม่ให้ผู้บริหารมีสิทธิใช้อํานาจ
  • 9. 151 ความรู้ของมนุษย์แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1.ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน (Tacit Knowledge) เช่น ทักษะการทํางาน ความคิด 2.ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) สามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร คู่มือ สื่อต่างๆ การจัดการความรู้ หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่อย่างกระจัดกระจาย มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ พัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โมเดลปลาทู เป็นโมเดลอย่างง่ายที่เปรียบการจัดการความรู้ เหมือนปลาทู 3 ส่วน 1.หัวปลา KV (Knowledge Vision) หมายถึง เป้าหมาย วิสัยทัศน์ 2.ตัวปลา KS (Knowledge Sharing) หมายถึง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3.หางปลา KA (Knowledge Assets) หมายถึง คลังความรู้ ที่เก็บสะสมความรู้ การจัดการความรู้
  • 10. 152 “องค์กรแห่งการเรียนรู้” เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก เป้าประสงค์ สําคัญ คือ เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวปฏิบัติที่ดีที่สุด (Best Practices) เพื่อนําไปสู่การ พัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง(Core competence) ขององค์กร เพื่อให้ทันต่อการ เปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา องค์ประกอบขององค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1. การเรียนรู้ (Learning) หรือพลวัตการเรียนรู้ (Learning Dynamics) 2.องค์การ(Organization) หรือการปรับเปลี่ยนองค์การ (Organization Transformation) ประกอบด้วย วิสัยทัศน์ วัฒนธรรมองค์การ กลยุทธ์ โครงสร้าง 3. สมาชิกในองค์การ (People) หรือการเสริมความรู้แก่บุคคล (People Empowerment) 4. ความรู้ (Knowledge) หรือการจัดการความรู้ (Knowledge Management) 5. เทคโนโลยี (Technology) หรือการนําเทคโนโลยีไปใช้ (Technology Application) แนวคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ปีเตอร์ เชงเก่ Peter Senge ได้เสนอแนวความคิดของการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่เรียกว่า The five disciplines ซึ่งจะเป็นแนวทางหลักในการสร้างองค์กรการเรียนรู้ให้ เกิดขึ้น ประกอบด้วย 1. การเรียนรู้ของสมาชิกในองค์กร (Personal Mastery) 2. ความมีสติ (Mental Model) 3. การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันของคนในองค์การ (Shared Vision) 4. การเรียนรู้เป็นทีม ( Team Learning ) 5. ระบบการคิดของคนในองค์การ (Systems Thinking) องค์กรแห่งการเรียนรู้( Learning Organization)
  • 11. 153 ธรรมาภิบาล หรือ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ( Good Governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการการควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนําไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรม ทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจาก การแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น สํานักงาน ก.พ. ได้กําหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสํานักนายกรัฐมนตรีว่า หลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ 1. นิติธรรม หมายถึง การตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกติกาต่าง ๆ ให้ ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและสมาชิก โดยมีการยินยอมพร้อมใจ และถือปฏิบัติ 2. คุณธรรม หมายถึง การยึดมั่นถือมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ สุจริต อดทน 3. ความโปร่งใส หมายถึง การเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา สามารถตรวจสอบ ความถูกต้องได้ ให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก ตลอดจนมีระบบการตรวจสอบที่ดี 4. ความมีส่วนร่วม หมายถึง การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และการ ตัดสินใจสําคัญๆ และขจัดการผูกขาดโดยกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง 5. ความรับผิดชอบ หมายถึง ผู้บริหาร ข้าราชการ ต้องตั้งใจปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ มอบหมายอย่างเต็มที่ อํานวยความสะดวกต่อประชาชนผู้รับบริการ และมีความรับผิดชอบต่อ ความบกพร่องในหน้าที่ 6. ความคุ้มค่า หมายถึง ผู้บริหารต้องตระหนักเสมอว่าทรัพยากรทางการบริหารมีอยู่ จํากัด การใช้ทรัพยากรต้องยึดหลักประหยัด ทําให้เกิดความคุ้มค่าคุ้มทุน และเกิดประโยชน์ต่อ ประชาชนส่วนรวมมากที่สุด ธรรมาภิบาล( Good Governance)
  • 12. 154 การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน หรือ การบริหารฐานโรงเรียน คือ แนวคิด ทางการบริหารและการจัดการศึกษาที่มุ่งให้สถานศึกษาเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษา อย่างมีคุณภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายที่กําหนด โดยมีการกระจายอํานาจการตัดสินใจ ที่จะพัฒนานโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าประสงค์ของสถานศึกษาและร่วมมือดําเนินการ ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากร และบริหารทั่วไป มุ่งเน้นผลผลิต ผลลัพธ์ และ ผลกระทบที่เกิดกับผู้เรียนเป็นสําคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบของผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย ซึ่งผู้บริหารโรงเรียนจะมีบทบาทสําคัญ ในกระบวนการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการ สถานศึกษา ครู บุคลากร นักเรียนและผู้ปกครอง ชุมชน ในการตัดสินใจบริหารและจัด การศึกษาของโรงเรียนไปสู่ทิศทางเป้าหมายที่ต้องการ คือ คุณภาพของผู้เรียนเป็นสําคัญ หลักการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โดยทั่วไป ได้แก่ 1. หลักการกระจายอํานาจ (Decentralization) 2. หลักการมีส่วนร่วม (Participation or Collaboration or Involvement) 3. หลักการคืนอํานาจจัดการศึกษาให้ประชาชน (Return Power to People) 4. หลักการบริหารตนเอง (Self-managing) 5. หลักการตรวจสอบและถ่วงดุล (Check and Balance) รูปแบบของการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน 1. แบบที่มีผู้บริหารโรงเรียนเป็นหลัก 2. แบบที่มีครูเป็นหลัก 3. แบบที่มีชุมชนเป็นหลัก 4. แบบที่มีครูและชุมชนมีบทบาทหลัก สําหรับประเทศไทยในปัจจุบันเป็นแบบที่มีชุมชนเป็นหลัก เนื่องจากมีสัดส่วนตัวแทนของ คณะกรรมการสถานศึกษาที่มาจากชุมชนมากกว่าผู้บริหารและครู การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School – Based Management : SBM)
  • 13. 159 1. ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็กควรสื่อสารกับครูด้วยวิธีการใด ก. ขอความร่วมมือ ข. การออกคําสั่ง ค. การนิเทศ ง. การเจรจา 2. ผู้บริหารในข้อใดใช้วิธีการบริหารแบบ X ก. ออกคําสั่งให้ครูไปราชการ่างจังหวัด ข. ออกคําสั่งให้ส่งแผนการสอนทุกสัปดาห์ ค. ขอวามร่วมมือครูให้มาอยู่เวรยามทุกสัปดาห์ ง. เดินตรวจตราความเรียบร้อยในโรงเรียนเสมอ 3. ข้อใดเป็นปัจจัยทางสุขวิทยาสําหรับการทํางานของครูในสถานศึกษา ก. เงินเดือนค่าตอบแทน ข. วิทยฐานะที่เพิ่มขึ้น ค. เกียรติยศชื่อเสียง ง. ความรักความผูกพนต่อโรงเรียน 4. ข้อใดคือการเสริมแรงให้แก่ผู้ร่วมงานได้ดีที่สุด ก. มอบเกียรติบัตรยกย่องชมเชยผู้ปฏิบัติงานยอดเยี่ยม ข. กล่าวชมเชยครูผู้มีผลงานดีเด่นในที่ประชุมคณะครู ค. จัดกิจกรรมเลี้ยงสังสรรค์คณะครูในวันปีใหม่ ง. จัดทําโครงการทัศนศึกษาต่างประเทศเป็นการตอบแทน 5. ข้อใดกล่าวถึงผลสัมฤทธิ์ได้ถูกต้อง ก. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประหยัด ข. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ผลลัพธ์ ค. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประสิทธิภาพ ง. ผลสัมฤทธิ์ = ผลผลิต + ประหยัด + ประสิทธิภาพ ทบทวนความรู้ชุดที่ 7
  • 14. 160 6. โมเดลปลาทูในการจัดการความรู้ สิ่งใดสําคัญที่สุดในองค์กร ก. เป้าหมาย ข. คลังความรู้ ค. การเก็บสะสมความรู้ ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 7. โมเดลปลาทู KV หมายถึงอะไร ก. คลังความรู้ ข. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ค. วิสัยทัศน์ร่วม ง. การเก็บสะสมความรู้ 8. โมเดลปลาทู KS หมายถึงอะไร ก. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข. เป้าหมาย ค. คลังความรู้ ง. การเก็บสะสมความรู้ 9. โมเดลปลาทู KA หมายถึงอะไร ก. คลังความรู้ ข. เป้าหมาย ค. วิสัยทัศน์ ง. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 10. จุดมุ่งหมายของการกระจายอํานาจไปยังสถานศึกษาคือข้อใด ก. พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน ข. พัฒนาการบริหารจัดการในสถานศึกษา ค. พัฒนาครูและผู้บริหารให้เป็นมืออาชีพ ง. พัฒนาความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
  • 15. 177 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาในยุคปัจจุบัน มุ่งเน้นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ บทบาทของสถานศึกษาจะต้องมีการจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษา ดังนี้ 1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา หรือแผนกลยุทธ์เป็นแผนแม่บทในการจัดการศึกษา ของสถานศึกษา ปกติจะมีการวางแผนระยะปานกลางประมาณ 3 – 5 ปี 2. แผนปฏิบัติการประจําปี เป็นแผนที่ระบุรายละเอียดของโครงการ กิจกรรม เพื่อขอ ใช้งบประมาณในการดําเนินงานในรอบปีงบประมาณ หรือ ปีการศึกษาแล้วแต่กรณี แนวคิดของการบริหารเชิงกลยุทธ์ การบริหารเชิงกลยุทธ์ หรือ การบริหารเชิงยุทธศาสตร์ (Strategy Management) มีแนวคิดว่าองค์กรอยู่ภายใต้บริบทของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา องค์กรต้อง กําหนดจุดยืนของตัวเองภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง การบริหารเชิงกลยุทธ์จะมีความ เกี่ยวข้องกับ การวางแผนกลยุทธ์ ซึ่งเป็นการวางแผนที่มีการกําหนดวิสัยทัศน์ มีการกําหนด เป้าหมายระยะยาวที่แน่ชัด มีการวิเคราะห์อนาคตและคิดเชิงการแข่งขัน ที่ต้องการระบบการ ทํางานที่มีความสามารถในการปรับตัวสูง สําหรับการทํางานในสิ่งแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต้องการะบบการทํางานที่ล่องตัวต้องการ ดําเนินงานมีประสิทธิภาพสูงในการนําสู่เป้าหมายในอนาคต สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงใน อนาคต เพื่อความอยู่รอดและความก้าวหน้าขององค์การ ของหน่วยงาน หรือของธุรกิจของตนใน อนาคต สิ่งที่เป็นวิธีการในการดําเนินงานเพื่อนําไปสู่ความสําเร็จตามเป้าหมาย โดยสามารถทํา ความเข้าใจจากการตอบคําถาม 4 คําถาม สําคัญ ดังนี้ 1. ในอนาคตเราต้องการไปสู่จุดไหน (Where do we want to be?) 2. ปัจจุบัน เราอยู่ ณ จุดไหน (Where are we now?) 3. เราจะไปสู่จุดนั้นได้อย่างไร (How do we get there?) 4. เราจะต้องทําหรือปรับเปลี่ยนอะไรบ้างเพื่อไปถึงจุดนั้น (What do we have to do or change in oder to get there?) หน่วยที่ 9 การวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และนวัตกรรมทางการศึกษา
  • 16. 178 ขั้นตอนของการวางแผนกลยุทธ์ในสถานศึกษา ขั้นตอนการบริหารเชิงกลยุทธ์ตามแนวคิดการบริหารสถานศึกษาของ กระทรวงศึกษาธิการ (2550) ดังนี้ 1. การวิเคราะห์ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission Analysis) 2. การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในอนาคต (Environmental Analysis) 3. การวิเคราะห์องค์การ (SWOT Analysis) 4. การกําหนดวิสัยทัศน์ (Vision) 5. การค้นหาอุปสรรคและปัญหาในการดําเนินงาน (Obstacles) 6. การกําหนดกลยุทธ์ (Strategy Decision) 7. การกําหนดนโยบาย (Policy Decision) 8. การกําหนดกิจกรรมสําคัญตามกลยุทธ์และนโยบาย 9. การจัดทําเป็นแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning) กล่าวโดยสรุป การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นรูปแบบการบริหารจัดการยุคใหม่ อีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมนํามาใช้ในการพัฒนาองค์กร โดยปกติทฤษฎีทาง การบริหารการศึกษา ส่วนใหญ่ จะกล่าวถึง ขั้นตอนแรกของการวางแผนกลยุทธ์จะเริ่มต้นด้วย การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมขององค์การ (ข้อสอบ) กระบวนการบริหารเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย 1. การวางแผนกลยุทธ์ 2. การนํากลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ 3. การควบคุมและประเมินผลกลยุทธ์ SWOT analysis ประกอบด้วย 1. Strengths (จุดแข็ง) 2. Weaknesses (จุดอ่อน) 3. Opportunities (โอกาส) 4. Threats (อุปสรรค) สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก
  • 17. 179 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (Environment Analysis) ประกอบไปด้วยการประเมิน สภาพแวดล้อมภายนอก และการประเมินสภาพแวดล้อมภายในมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ทราบ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค หรือโดยทั่วไปจะใช้การวิเคราะห์แบบสว็อท (SWOT Analysis) และในแต่ละองค์ประกอบจะใช้เทคนิคการวิเคราะห์ จําแนกได้ดังนี้ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในขององค์การ (Internal Analysis) เป็นการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งขององค์การ ทําได้โดยการวิเคราะห์ปัจจัยที่จะ นําไปสู่ความสําเร็จ (Critical success factor) และวิเคราะห์กระบวนการหลัก (Core business process)ซึ่งจะทําให้องค์การมีความสามารถหลักที่โดดเด่น (Core competency) โดยปกตินิยมใช้ตัวแบบ McKinney 7-S Framework หรือ 2S4M ในการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. กลยุทธ์ขององค์กร (Strategy) 2. โครงสร้างองค์การ (Structure) 3. ระบบการปฏิบัติงาน (System) 4. บุคลากร (Staff) 5. ทักษะ ความรู้ ความสามารถ (Skill) 6. รูปแบบการบริหารจัดการ (Style) 7. ค่านิยมร่วม (Shared values) 1.โครงสร้าง (Structure) 2.ผลผลิตและบริการ (Service) 3. บุคลากร (Man) 4. การเงิน (Money) 5. วัสดุอุปกรณ์ (Materials) 6. การบริหารจัดการ (Management) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกองค์การ (External Analysis) ประกอบด้วยสภาพแวดล้อมทั่วไป(General Environment) และสภาพแวดล้อม ในการดําเนินงานโดยปกติจะมีตัวแบบในการพิจารณาคือ C- PETS หรือ STEP Analysis 1. สังคม (Sociological Environment) 2. เทคโนโลยี (Technology Environment) 3. เศรษฐกิจ (Economic Environment) 4. การเมือง (Political Environment) 5. ลูกค้า (Customer)
  • 18. 180 ผลการวิเคราะห์โดยใช้ BCG Matrix BCG Matrix เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ถูกคิดค้นโดยกลุ่ม Boston Consulting ในปี 1986 โดยใช้สําหรับวิเคราะห์ด้านการเงินการลงทุนเกี่ยวกับการตลาดจากการในรูปแบบของ Matrix 2x2 เพื่อช่วยให้เราสามารถวางแผนการขายสินค้า วางกลยุทธ์ทางการตลาด และการ สร้างแบรนด์ได้ดีขึ้น โดย BCG Matrix นั้น จะพิจารณาจาก 2 เกณฑ์ก็คือ อัตราการเติบโตของ ตลาด (Marketing Growth Rate) และส่วนแบ่งทางการตลาดสัมพันธ์ (Relative Market Share) นิยมนํามาใช้ในการวิเคราะห์องค์กรโดยทั่วไป ซึ่งหลักเกณฑ์ทั้ง 2 นี้ก็จะถูกใช้เป็นเส้น แบ่งแกนในการทํา BCG Matrix และเมื่อแบ่งออกมาแล้ว เราก็จะได้รูปแบบ 4 ช่อง ประกอบด้วย Stars, Question Marks, Cash Cows และ Dogs 1.Stars คือ องค์กรที่มีความเป็นเลิศ 2.Cash Cows คือ องค์กรที่มีความอิ่มตัว อยู่ได้ 3. Question Marks คือ องค์กรที่มีปัญหา 4. Dogs คือ องค์กรที่ตกต่ํา
  • 19. 181 การกําหนดเป้าหมายต้อง SMART (ข้อสอบปี 2558) ภายหลังการวิเคราะห์องค์กรแล้วต้องมีการกําหนดเป้าหมายให้ SMART หมายถึง หลักการตั้งเป้าหมายเพื่อให้ประสบความสําเร็จในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย 1. Specific คือ มีความชัดเจน การกําหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนในเชิงปริมาณ 2. Measurable คือ สามารถวัดไว้ เป้าหมายที่ตั้งไว้ต้องวัดผลได้ 3. Attainable คือ สามารถบรรลุได้ หรือไม่เกินความสามารถจนเกินไป 4. Realistic คือ การตั้งเป้าหมายโดยอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง 5. Timely คือการกําหนดระยะเวลาที่แน่นอน วิสัยทัศน์ (Vision) หมายถึง ภาพในอนาคตเป็นความคาดหวังในอนาคตที่ต้องการจะเป็น หรือ ข้อความ ที่บอกว่าอยากเห็นองค์กรเราเป็นอย่างไรในอนาคต ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี มีดังนี้ 1. สั้น จดจําง่าย ท้าทาย 2. มองเห็นภาพที่ต้องการของทุกคน 3. มีความเป็นไปได้ ยืดหยุ่น ชัดเจนสื่อสารได้ 4. บอกทิศทาง กระตุ้น เหมาะสมกับสถานภาพขององค์กร 5. เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายอย่างแท้จริง 6. ควรมีช่วงเวลากําหนดที่ชัดเจน พันธกิจ (Mission) เป็นแนวทางหรือวิธีการที่ต้องกระทําเพื่อให้เกิดผลตามวิสัยทัศน์ ควรแสดงถึง องค์ประกอบด้านค่านิยม จุดมุ่งหมายหลักของโรงเรียนที่ต้องบรรลุให้ถึง บ่งบอกทิศทาง ในอนาคตของโรงเรียน และขอบเขตของการปฏิบัติงานของ โรงเรียน หากเปรียบการเดินทาง ไปบนภูเขา พันธกิจ คือ เส้นทางที่จะเดินไปถึงจุดมุ่งหมายปลายทาง (ข้อสอบปี 2555)
  • 20. 182 เป้าประสงค์(CORPORATE OBJECTIVES/GOALS) เป้าประสงค์ หมายถึง ความคาดหวังสําคัญที่ ต้องการให้เกิดขึ้น โดยสอดคล้องกับ พันธกิจและวิสัยทัศน์ เพื่อใช้เป็นกรอบชี้นําการกําหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งเป็น พื้นฐานสําหรับการประเมินผลความสําเร็จของ โรงเรียนและกระบวนการดําเนินงาน กลยุทธ์ (Strategies) หมายถึง วิธีการ หรือ แนวทางการดําเนินงานที่แยบยลเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ โดย ปกติกลยุทธ์อาจแบ่งได้ 3 ระดับ ดังนี้ 1. กลยุทธ์ระดับองค์กร หรือ กลยุทธ์ระดับสถานศึกษา 2. กลยุทธ์ระดับแผนงาน 3. กลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ หรือ กลยุทธ์ระดับโครงการ แผนที่กลยุทธ์ (Strategy map) หมายถึง วิธีการในการสื่อสารกลยุทธ์ขององค์กรไปสู่หน่วยงานต่างๆ รวมถึงบุคลากร ในองค์กรเพื่อให้เกิดความเข้าใจในการขับเคลื่อนกลยุทธ์โดยเชื่อมโยงการดําเนินการของ หน่วยงานเข้ากับวัตถุประสงค์หลักขององค์กร ใช้ในการตรวจประเมินความสําเร็จของการ ดําเนินงานตามกลยุทธ์ องค์ประกอบของแผนที่กลยุทธ์ประกอบด้วย 1. มุมมอง โดยปกติการจัดทําแผนที่กลยุทธ์จะใช้แนวคิดการบริหารจัดการสมดุล (Balanced Scorecard) มองใน 4 มุมมอง ได้แก่ งบประมาณ ลูกค้า กระบวนการ การเรียนรู้และการพัฒนา 2. ประเด็นกลยุทธ์ คือ ข้อความที่แสดงถึงประเด็นที่องค์กรจะให้ความสําคัญ เพื่อทําให้กลยุทธ์ที่กําหนดขึ้นประสบผลสําเร็จ 3. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ คือ สิ่งที่องค์กรต้องดําเนินการเพื่อให้กลยุทธ์ของ องค์กรประสบผลสําเร็จ
  • 21. 187 ความหมายของหลักสูตร หลักสูตร (Curriculum) คือ มวลประสบการณ์ แผนงานหรือโครงการ ที่จัดให้แก่ ผู้เรียน เพื่อเป็นแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต้องการ องค์ประกอบของหลักสูตร เคอ (Kerr. 1976 ) ได้นําเสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ 4 ส่วน ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 2) เนื้อหาสาระ 3) ประสบการณ์การเรียน 4) การประเมินผล ทาบา (Taba. 1962) ได้เสนอองค์ประกอบของหลักสูตรไว้ว่า ประกอบด้วยส่วน 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหาสาระ 3) กิจกรรมและรูปแบบการเรียนการสอน 4) การประเมินผล สรุปองค์ประกอบของหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตร 1.จุดมุ่งหมายหรือ วัตถุประสงค์ 2.เนื้อหาสาระ 3.กิจกรรมกระบวนการ จัดการเรียนรู้ 4.การประเมินผล หลักสูตร
  • 22. 188 ประเทศไทยได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการศึกษามาแล้วหลายครั้ง ดังนี้ พุทธศักราช 2503 1. หลักสูตรประถมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2503 ( ใช้เวลาเรียน 4 ปี ) 2. หลักสูตรประถมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2503 ( ใช้เวลาเรียน 3 ปี ) 3. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ( ม.ศ. 1- 2 - 3 ใช้เวลาเรียน 3 ปี ) 4. หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย ( ม.ศ. 4 – 5 - 6 ใช้เวลาเรียน 3 ปี ) พุทธศักราช 2521 1.หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 2.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 3.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 พุทธศักราช 2533 1.หลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) 2.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น พุทธศักราช 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) 3.หลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2524 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2533) พุทธศักราช 2544 หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 พุทธศักราช 2551 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กําหนดการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ปีการศึกษา 2552 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ป.1 – 6 , ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2553 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ป.1 – 6 , ม.1,ม.2, ม.4 และ ม.5 โรงเรียนทั่วไป ป.1 – 6 , ม.1 และ ม.4 ปีการศึกษา 2554 ใช้ในโรงเรียนต้นแบบ ทุกระดับชั้น โรงเรียนทั่วไป ป.1 – 6 , ม.1, ม.2, ม.4, ม.5 ปีการศึกษา 2555 ใช้ในโรงเรียนทุกระดับชั้น หลักสูตรการศึกษาในประเทศไทย
  • 23. 189 หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จัดเป็นหลักสูตรอิงมาตรฐาน วิสัยทัศน์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกําลังของชาติ ให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมือง ไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติที่จําเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญบนพื้นฐานความเชื่อ ว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ หลักการ 1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติ มีจุดหมายและมาตรฐาน การเรียนรู้เป็นเป้าหมายสําหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และ คุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล 2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่าง เสมอภาคและมีคุณภาพ 3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอํานาจ ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัด การศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น 4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลา และ การจัดการเรียนรู้ 5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ 6. เป็นหลักสูตรการศึกษา สําหรับ การศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
  • 24. 190 จุดมุ่งหมาย 1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัย และปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง 2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และ มีทักษะชีวิต 3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกําลังกาย 4. มีความรักชาติ มีจิตสํานึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิต และการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5. มีจิตสํานึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนา สิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทําประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันใน สังคมอย่างมีความสุข สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน 1. ความสามารถในการสื่อสาร 2. ความสามารถในการคิด 3. ความสามารถในการแก้ปัญหา 4. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต 5. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี คุณลักษณะอันพึงประสงค์ (ออกข้อสอบผู้บริหารสถานศึกษา ปี 2555) 1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 5. อยู่อย่างพอเพียง 2. ซื่อสัตย์สุจริต 6. มุ่งมั่นในการทํางาน 3. มีวินัย 7. รักความเป็นไทย 4. ใฝ่เรียนรู้ 8. มีจิตสาธารณะ
  • 25. 203 1. ข้อใดคือการกําหนดวิสัยทัศน์ที่ดีของโรงเรียนขนาดเล็ก ก. เป็นโรงเรียนมาตรฐานสากล มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพ ข. ผู้เรียนเป็นคนเก่ง คนดี มีความรู้เตรียมพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน ค. เป็นโรงเรียนดีของชุมชน ดํารงตนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ง. เป็นโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ ครูมืออาชีพ มีความเป็นเลิศทางวิชาการ 2. จากเรื่องสามก๊กตัวละครใดได้รับการยกย่องว่าเป็นนักวางแผนกลยุทธ์ ก. กวนอู ข. เตียวหุย ค. ขงเบ้ง ง. เล่าปี่ 3. ในบทบาทที่ท่านเป็นผู้บริหารสถานศึกษา การพัฒนาคุณภาพการศึกษาในปัจจุบันท่านควร ให้ความสําคัญกับสิ่งใดเป็นอันดับแรก ก. วิสัยทัศน์ (Vision) ข. วัฒนธรรมองค์กร (Competency) ค. โครงสร้าง (Structure) ง. กลยุทธ์ (Strategy) 4. ขั้นตอนแรกสุดของการวางแผนกลยุทธ์คือข้อใด ก. กําหนดวิสัยทัศน์ ข. วิเคราะห์สภาพแวดล้อม ค. กําหนดเป้าประสงค์ ง. กําหนดพันธกิจ 5. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร ก. P : การวางแผน ข. E : เศรษฐกิจ ค. S : สภาพสังคม ง. T : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทบทวนความรู้ชุดที่ 9
  • 26. 204 6. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของสถานศึกษา ก. SWOT ข. 2S 4M ค. C- PEST ง. Balance scorecard 7. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับ SWOT Analysis ก. S ใช้วิเคราะห์จุดแข็งของสภาพแวดล้อมภายนอก ข. W ใช้วิเคราะห์จุดอ่อนของสภาพแวดล้อมภายนอก ค. O ใช้วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากภายใน ง. T ใช้วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคจากภายนอก 8. โรงเรียนขนาดเล็กที่ขาดแคลนทั้งคน วัสดุ อุปกรณ์ ภายหลังจากวิเคราะห์ด้วย SWOT ผลการวิเคราะห์น่าจะออกมาในรูปแบบใดตาม BCG Matrix ก. คําถามข้อสงสัย ข. ดาว ค. แม่วัว ง. สุนัข 9. โรงเรียนที่ได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดีสอดคล้องกับข้อใด ก. Strengths ก. Weaknesses ข. Opportunities ค. Threats 10. ปัจจัยแห่งความสําเร็จคือข้อใด ก. CSF ข. KPI ค. KAP ง. GOAL
  • 27. 205 11. การใช้ Balance scorecard อยู่ในขั้นตอนใดของการบริหารเชิงกลยุทธ์ ก. การวางแผนกลยุทธ์ ข. การจัดทําแผนที่กลยุทธ์ ค. การกําหนดวิสัยทัศน์ ง. การควบคุมกลยุทธ์ 12. ถ้าจะเปรียบการวางแผนเหมือนการปีนเขาข้อใดหมายถึงเส้นทางในการเดินขึ้นเขา ก. Vision ข. Mission ค. Goal ง. SWOT 13. ข้อใดเรียงลําดับแผลกลยุทธ์ได้ถูกต้อง ก. เป้าประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ กลยุทธ์ ข. วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ ค. วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ พันธกิจ กลยุทธ์ ง. เป้าประสงค์ พันธกิจ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ 14. หลักสูตร หมายถึง อะไร ก. การจัดทําแผนการสอน ข. มวลประสบการณ์การเรียนรู้ ค. เอกสารประกอบการสอน ง. กําหนดการสอนของครู 15. ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ก. วิสัยทัศน์ สมรรถนะ ของผู้เรียน หลักการจุดหมาย ข. วิสัยทัศน์ หลักการ จุดหมาย สมรรถนะของผู้เรียน ค. หลักการ จุดหมาย วิสัยทัศน์ สมรรถนะของผู้เรียน ง. หลักการ วิสัยทัศน์ จุดหมาย สมรรถนะของผู้เรียน
  • 28. 206 16. ข้อใดไม่ใช่สมรรถนะสําคัญของผู้เรียน ก. ความสามารถในการคิด ข. ความสามารถในการสื่อสาร ค. ความสามารถในการแก้ปัญหา ง. ความสามารถในการดํารงชีวิต 17. ข้อใดไม่ใช่คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ข. รักความเป็นไทย ค. มีคุณธรรม ง. มีจิตสาธารณะ 18. ข้อใดเป็นการแบ่งระดับการศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551 ก. อนุบาล ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ข. ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ค. ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ง. ประถมต้น ประถมปลาย มัธยมต้น มัธยมปลาย 19. ข้อใดกล่าวถูกต้อง ก. ประถมศึกษา ให้จัดเวลาเรียนเป็นรายภาค ข. ประถมศึกษามีเวลาเรียนไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง ค. มัธยมศึกษาตอนต้นให้จัดเวลาเรียนเป็นรายปี ง. มัธยมศึกษาตอนปลายมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าวันละ 6 ชั่วโมง 20. ตัวชี้วัดช่วงชั้นจัดไว้ในระดับใด ก. ประถมศึกษา ข. มัธยมศึกษาตอนต้น ค. มัธยมศึกษาตอนปลาย ง. จัดไว้ในทุกระดับ 1.ค 2.ค 3.ก 4.ข 5.ก 6.ง 7.ง 8.ง 9.ข 10.ก 11.ข 12.ข 13.ข 14.ข 15.ข 16.ง 17.ค 18.ค 19.ง 20.ค
  • 29. 208 การประกันคุณภาพภายใน หมายถึง การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบ คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของ สถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กํากับดูแลสถานศึกษานั้น โดยสถานศึกษาตรวจประเมินทํา รายงานการประเมินตนเอง (SAR :Self Assessment Report) ส่งหน่วยงานต้นสังกัดทุกปี และหน่วยงานต้นสังกัดเข้าตรวจประเมินอย่างน้อย 3 ปีต่อครั้ง เป็นผู้บริหารลําดับแรกที่จะทราบบริบทของสถานศึกษาให้พิจารณาจาก SAR (ข้อสอบปี 2558) ระบบประกันคุณภาพภายในประกอบด้วย 1. การประเมินคุณภาพภายใน 2. การติดตามตรวจสอบคุณภาพ 3. การพัฒนาคุณภาพการศึกษา หลักเกณฑ์และวิธีพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน 1. กําหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา**(ข้อสอบปี 2555) 2. จัดทําแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐาน ของสถานศึกษา 3. จัดระบบบริหารและสารสนเทศ 4. ดําเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา 5. จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา 6. จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 7. จัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน 8. จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เริ่มใช้ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นมา แบ่งเป็น 5 ด้าน 15 มาตรฐาน 65 ตัวบ่งชี้ 1. มาตรฐานด้านคุณภาพผู้เรียน (มาตรฐานที่ 1 – 6 ) 2. มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา (มาตรฐานที่ 7 – 12) 3. มาตรฐานด้านการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ (มาตรฐานที่ 13) 4. มาตรฐานด้านอัตลักษณ์ของสถานศึกษา (มาตรฐานที่ 14) 5. มาตรฐานด้านมาตรการส่งเสริม (มาตรฐานที่ 15) การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
  • 30. 213 สภาพปัจจุบันสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดําเนินการในการบริหารงบประมาณที่ได้รับมี 3 ประเภท ดังนี้ 1. เงินงบประมาณ 2. เงินนอกงบประมาณ 3. เงินรายได้แผ่นดิน เงินงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับตามพระราชบัญญัติ งบประมาณ รายจ่ายประจําปี หรือ เบิกจ่ายในรายจ่ายงบกลาง 1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ 1.1 งบบุคลากร 1.2 งบดําเนินงาน 1.3 งบลงทุน 1.4 งบเงินอุดหนุน 1.5 งบรายจ่ายอื่น 2. รายจ่ายงบกลาง 2.1 เงินเบี้ยหวัดบําเหน็จบํานาญ 2.2 เงินเลื่อนขั้นเลื่อนอันดับเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ 2.3 เงินสํารอง เงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ 2.4 เงินสมทบของลูกจ้างประจํา 2.5 ค่าใช้จ่ายสวัสดิการของข้าราชการและลูกจ้าง การบริหารการเงิน งบประมาณ สินทรัพย์
  • 31. 218 การควบคุมภายใน หมายถึง กระบวนการที่ผู้กํากับดูแลฝ่ายบริหารและบุคลากร ทุกระดับของหน่วยรับตรวจ กําหนดให้มีขึ้นเพื่อให้มีความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าการ ดําเนินงานจะบรรลุผลสําเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) การดําเนินงาน (Operation : O) หมายถึง การบริหารจัดการ การใช้ทรัพยากร ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมถึงการดูแลรักษาทรัพย์สิน การป้องกันหรือ ลดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล การสิ้นเปลืองหรือการทุจริตของหน่วยรับตรวจ (2) การรายงานทางการเงิน (Financial : F) หมายถึง รายงานทางการเงินที่จัดทํา ขึ้นเพื่อใช้ภายในและภายนอกหน่วยรับตรวจ เป็นไปอย่างถูกต้อง เชื่อถือได้ และทันเวลา (3) การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง (Compliance : C) ได้แก่การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการ ดําเนินงานของหน่วยรับตรวจรวมทั้งการปฏิบัติตามนโยบาย และวิธีการปฏิบัติงานที่องค์กรได้ กําหนดขึ้น แนวคิดของการควบคุมภายใน (1) การควบคุมภายในเป็นกระบวนการที่รวมไว้หรือเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิบัติงาน ตามปกติ การควบคุมภายในมิใช่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง และมิใช่ผลสุดท้ายของการ กระทําแต่เป็นกระบวนการ (Process) ที่มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกําหนดไว้ใน กระบวนการปฏิบัติงาน (Built in) ประจําวันตามปกติของหน่วยรับตรวจ ดังนั้นฝ่ายบริหารจึง ควรนําการควบคุมภายในมาใช้โดยรวมเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารงาน ซึ่งได้แก่ การวางแผน (Planning) การดําเนินการ (Executing) และการติดตามผล (Monitoring) (2) การควบคุมภายในเกิดขึ้นได้โดยบุคลากรของหน่วยรับตรวจ บุคลากรทุกระดับ เป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการให้ความสนับสนุนระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจให้มี ประสิทธิผล ผู้บริหารเป็นผู้รับผิดชอบในการกําหนดและจัดให้มีระบบการควบคุมภายในที่มี ประสิทธิผลด้วยการสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมการควบคุม กําหนดทิศทาง กลไกการ ควบคุมและกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการติดตามผลการควบคุมภายใน ส่วนบุคลากรอื่นของ หน่วยรับตรวจมีหน้าที่รับผิดชอบโดยการปฏิบัติตามระบบการควบคุมภายในที่ฝ่ายบริหาร กําหนดขึ้น การควบคุมภายใน