SlideShare a Scribd company logo
1 of 51
1




      ปัญ หาการทำา เมาลิด
                                          โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย

                       ِ ِْ َ ْ ِ َ َ ْ ِ ِ ِ ْ َ ْ ُ ْ ُ
                        ‫ح س ن ا ل م ق ص د ف ى ع م ل ا ل م و لـ د‬

     นี่   คือ ชือหนังสือที่ท่านอัส-สะยูฏีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ.
                 ่
911) นักวิชาการผู้ได้ชื่อว่าเป็น “มุจญตะฮิด” ท่าน
สุดท้ายได้เขียนขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวคิดการทำาเมาลิด
หรือพิธีกรรมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านศาสดามุหัม
มัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่าเป็นเรื่องดีงามควร
ปฏิบัติหรืออีกนัยหนึ่ง เป็น “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ...
       หนังสือนี้ ถูกบรรจุอยู่ในเล่มที่ 1 หน้า 292-305
ของหนังสือชุดรวมเล่มการตอบปัญหาของท่านอัส-สะยูฏีย์
ที่มชื่อว่า “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” ...
    ี
       เช่นเดียวกันกับท่านเช็คมุหัมมัด บิน อะละวีย์ อัล-มัก
กีย์ นักวิชาการชาวอฺรับยุคหลังท่านหนึ่งที่ได้เขียนหนังสือ
ขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีความหนาประมาณ 40 หน้า, ในหนังสือ
เล่มนี้ ท่านเช็คมุหัมมัด บิน อะละวีย์ ได้อ้าง “เหตุผ ล” รวม
21 ประการเพื่อยืนยันว่า การจัดงานฉลองวันเกิดของท่าน
ศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นสิ่งที่ชอบและควร
ปฏิบัติ ...
       เช่นเดียวกับท่านหัจญีซิรอญุดดีน อับบาส แห่ง
อินโดนีเซีย ที่ได้เขียนหนังสือรวมเล่มชื่อ “มัสอะละฮ์ อู
กามา” ซึงในหนังสือดังกล่าว ท่านหัจญีซิรอญุดดีน ก็ได้
            ่
อ้าง “เหตุผ ล” มากมายหลายประการมาสนับสนุนการทำา
เมาลิด ซึงเราจะหาอ่านได้จากฉบับคำาแปลที่ชื่อว่า “ข้อโต้
              ่
แย้งปัญหาศาสนา” ของท่านอาจารย์อับดุลการีม วันแอ
เลาะ .. เล่มที่ 1 หน้า 98-125 ...
                              .....ฯลฯ .....
       แต่, จากหนังสือที่ได้เอ่ยชื่อมาเหล่านี้ ที่ผมเห็นว่า
“เข้าท่า” ที่สุด และเป็น “วิชาการ” ที่สุดก็คือ หนังสือ “
2


‫ ” حسن المقصد فى عمل المولد‬ของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่ผม
ระบุชื่อมาข้างต้น ...
       ส่วนหนังสืออีก 2 เล่มที่เหลือ หรือหนังสืออื่นๆที่
เขียนขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการทำาเมาลิด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น
เรื่องของการอ้าง “เหตุผ ล” (มิใช่หลักฐาน) มาสนับสนุน
เรื่องนี้ .. ซึงแน่ละ, จะไปค้นหา “หลักฐาน” เรื่องการทำา
               ่
เมาลิดที่ไหนมาอ้างอิงได้ ?, .. ในเมื่อพิธีกรรมเมาลิดนี้
ถูกก่อกำาเนิดขึ้นมาในประเทศอียิปต์ประมาณปี ฮ.ศ. 362
.. (คือหลังจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้
ตายไปแล้วตั้ง 352 ปี) .. โดยสุลฏอนอัล-มุอิซ ลิดีนิลลาฮ์
แห่งวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งเป็น “กษัตริย์ชีอะฮ์” ที่ปกครอง
ประเทศอียิปต์ในยุคนั้นเป็นผู้ริเริ่มขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่นัก
ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เพื่อ “หวัง ผลแห่ง การ
ปกครอง” .. อันเป็นเรื่องของการเมือง ...
       สำาหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาหาความเข้าใจ --- ด้วยใจ
เป็นธรรม --- เกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรมเมาลิดว่า เป็นเรื่องที่
ควรปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ? นั้น .. ก่อนอื่น ก็ให้ท่านลอง
ถามตัวเองดูก่อนว่า เรื่องการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลอง
วันเกิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่นิยมจัด
กันเป็นพิเศษในประเทศไทยนั้น เป็น ปัญ หาขัด แย้ง ใช่
หรือ ไม่ ? ...
       ถ้าท่านตอบว่าใช่, ผมก็มองไม่เห็นประโยชน์ใดๆเลย
ที่ท่านจะไปยึดติดกับ “เหตุผ ล” อันมากมายที่ผู้เขียน
หนังสือส่งเสริมให้ทำาเมาลิดบางคน (หรือแทบจะทุกคน)
อ้างขึ้นมา เพื่อสนับสนุนเรื่องการทำาเมาลิด .. ตราบใด
ก็ตามที่ท่านผู้เขียนหนังสือเหล่านั้น ยังไม่สามารถหาสิ่งที่
เรียกกันว่า “หลัก ฐาน”มายืนยันแนวคิดของตนได้ ...
       ทั้งนี้ ก็เพราะในมุมตรงข้ามกับผู้ส่งเสริมการทำาเมาลิด
เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีนักวิชาการ --- ทั้งในอดีตและปัจจุบัน
--- จำานวนมากที่คัดค้านเรื่องการทำาเมาลิด ! และพวกเขา
ก็มี “เหตุผ ล” ของพวกเขา มาหักล้างเหตุผลของฝ่าย
สนับสนุนได้เช่นเดียวกัน ...
3




       การ “หัก ล้า ง” กัน ด้ว ยเหตุแ ละผล มิใ ช่เ ป็น
“ทางออกที่ถ ูก ต้อ ง” ของการแก้ไ ขปัญ หาขัด แย้ง
ตามหลัก การและบทบัญ ญัต ิศ าสนา ..ไม่ว ่า ในเรื่อ ง
การทำา เมาลิด หรือ เรื่อ งอะไรก็ต าม ...
       ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้
? ...
       แน่นอน, คำาตอบก็คือ การกลับไปหากิตาบุลลอฮ์ และ
ซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม
--- ดังคำาบัญชาของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. --- คือสิ่งเดียวที่
จะแก้ปัญหาขัดแย้งของศาสนาได้ สำาหรับผู้ที่ “มีอ ีห ม่า น
ต่อ อัล ลออ์ และวัน อาคิเ ราะฮ์” .. ดังคำากล่าวของพระ
องค์อัลลอฮ์ ซ.บ. อีกเช่นกัน ...
       ประวัติศาสตร์อิสลามเคยบันทึกไว้ (แม้จะด้วยสาย
รายงานที่ค่อนข้างอ่อน) ว่า เมื่อตอนที่ท่านศาสดาสิ้นชีพ
นั้น บรรดาเศาะหาบะฮ์ต่างก็ขัดแย้งกันในเรื่องสถานที่ฝัง
ศพของท่าน, บางคนบอกว่า ให้นำาท่านไปฝังที่นครมัก
กะฮ์, บางคนบอกว่า ให้ฝังท่านที่กุบูรฺบะเกี๊ยะอฺในนครมะดี
นะฮ์ร่วมกับบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บางคนบอกว่า
ให้นำาท่านไปฝังที่บัยตุ้ลมักดิซที่นครเยรูซาเล็ม -- (จาก
หนังสือ “ตั๊วะห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 4 หน้า 98) --
โดยแต่ล ะฝ่า ยต่า งก็อ ้า ง “เหตุผ ล” ที่น ่า เชื่อ ถือ
มาสนับ สนุน ทัศ นะของตนด้ว ยกัน ทั้ง สิ้น ...
       แน่ละ หากจะตัดสินข้อขัดแย้งในครั้งนั้นตาม
“เหตุผล” ของแต่ละฝ่าย ก็ยากที่จะหาข้อยุติให้เป็นที่
ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ...
       จนกระทั่งเมื่อท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้อ้าง “ซุน นะฮ์”
ในเรื่องนี้ .. อันได้แก่คำาสั่งของท่านศาสดาเองที่ว่า ...
ُ‫“ ... ما ق ب ضَ ن ب ى إ ِ ل ّ د ف ن ح ي ث ي ق ب ض‬ผู้เป็นนบีย์นั้น ตาย
    َْ ُ ُ َْ َ ِ ُ          ّ َِ     ُِ َ
ที่ไหนให้ฝังที่นั่น” .. (ดังการบันทึกของท่านอัต-ติรฺมีซย์              ี
จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. หะดีษที่ 1018, และท่านอิบนุ
มาญะฮ์ จากท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. หะดีษที่ 1628 ซึ่ง
4


สำานวนข้างต้นเป็นสำานวนจากการบันทึกของท่านอิบนุ
มาญะฮ์) ข้อ ขัด แย้ง ต่า งๆในเรื่อ งนี้จ ึง ยุต ิล งด้ว ยดี
เพราะ “ซุน นะฮ์” ของท่า นนบีย ์ ที่พวกเขา – บร
รดาเศาะหาบะฮ์ – ต่างก็เคารพเทิดทูนและพร้อมที่จะปฏิบัติ
ตามอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา ...
     แล้วพวกเราล่ะ ! พร้อมที่จะปฏิบัติตามและยอมรับซุน
นะฮ์เป็นตัวตัดสินปัญหาขัดแย้ง .. เหมือนบรรดาเศาะหาบ
ะฮ์เหล่านั้นแล้วหรือยัง ? ...

     ถ้าเราจะพิจารณาพฤติการณ์ของมุสลิมเราในส่วน
ที่เกี่ยวข้องกับท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ---
ในแง่ของการให้ความสำาคัญ, ให้ความรัก, ให้เกียรติต่อ
ท่าน --- ในทางปฏิบัติเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็จะแบ่งออก
เป็น 2 ลักษณะคือ ...
        (1). การให้ให้ความสำาคัญ, ความรัก, และให้เกียรติ
ใน “ตัว” ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, และ
“วิธีการ” แสดงความรักและการให้เกียรติใน ตัวท่าน ...
        (2). การให้ความสำาคัญกับ “วันเกิด” .. และ “วิธี
การ” แสดงการให้เกียรติวันเกิดของท่าน ...
        ทั้ง 2 ประการนี้ ตามหลักการแล้วไม่เหมือนกัน, แต่
คนส่วนใหญ่กลับมองเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” ...
        สำาหรับข้อแรก คือความรักใน “ตัว” ท่านนบีย์นั้น
ข้อนี้ไม่มีความขัดแย้งใดๆไม่ว่าจากมุสลิมกลุ่มซุนหนี่,
ชีอะฮ์, หรือกลุ่มไหนว่า เป็นเป็นบทบัญญัติที่จำาเป็น
สำาหรับมุสลิมผู้มีอีหม่านทุกคน จะต้องรักและให้เกียรติใน
ตัวท่าน, ใช่เพียงแต่แค่นั้น แต่จะต้องรักท่านให้มากกว่า
รักตัวเอง, มากกว่ารักพ่อแม่หรือลูกๆของตัวเอง, และ
มากกว่ารักมนุษย์ทุกคนในโลกด้วยซำ้าไป ...
              ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้
        กล่าวว่า ...
5


          ِ ِ ََ َ ِ ِ ِ
           ‫ل َي ؤ م ن أ ح د ك م حَ تى أَ ك و ن أَ ح ب إ ل ي ه مِ نْ وَا ل د ه و و ل د ه‬
                                     ِ َِْ ّ َ َ ْ ُ          ّ ْ ُ ُ َ َ ُ ِ ْ ُ
                                                                 َ ِْ َ ْ َ ِ
                                                                  ‫وَال نا س أ ج م ع ي ن‬
                                                                                 ّ

     “คนใดจากพวกท่านจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าฉัน
(หมายถึงท่านนบีย์) จะเป็นที่รักของเขายิ่งกว่าพ่อแม่ของ
เขา, ลูกๆของเขา, และยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งมวล” ..
     (บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 15, และท่านมุสลิม
หะดีษที่ 70/44)

     ประเด็นต่อมาก็คือ เมื่อเรารักท่านนบีย์แล้ว       “วิธ ี
การ” ที่จะแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติในตัวท่าน
ตามบทบัญญัติล่ะ เราจะต้องปฏิบัติอย่างไร ? ...
       เรื่องนี้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงกำาชับไว้ในอัล-
กุรฺอ่านหลายต่อหลายโองการ อาทิเช่น ...
                                       ‫م ن ي ط ع ال ر س و ل ف ق د أ َ طا ع ال لـ ه‬
                                      َ ّ َ َ ْ َ َ َ ْ ُ ّ ِ ِ ّ ْ َ

     “ผู้ใดที่เคารพเชื่อฟังรอซู้ล แน่นอน เขาเคารพเชื่อ
ฟังอัลลอฮ์ด้วย”
                 (จากซูเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ อายะฮ์ที่ 80)
                     หรือจากโองการที่ว่า ...

                                 ‫ومآ أ َ تا ك م ال ر س و ل ف خ ذ و ه و ما ن ها ك م‬
                                ْ ُ َ َ َ َ ُ ْ ُ ُ َ ُ ْ ُ ّ ُ ُ َ               َ
                                                                  ‫ع ن ه فا ن ت ه وا‬
                                                                   ْ ُ َْ َ ُ َْ

     “และสิ่งใดที่รอซู้ลนำามาให้พวกสูเจ้า ก็จงรับไป
ปฏิบัติ, และสิ่งใดที่รอซู้ลห้ามพวกสูเจ้า ก็จงยุติ” ..
                (จากซูเราะฮ์ อัล-หัชร์ โองการที่ 7)
                     หรือจากโองการที่ว่า ...

               ُ ‫ق ل إ ِ ن ك ن ت م ت ح ب و ن ال لـ ه فا ت ب ع و ن ى ي حْ ب ب ك م اللّـ ه‬
                         ُ ُ ِْ ُ ْ ِْ ُ ِّ َ َ ّ َ ْ ِّ ُ ْ ُُْ ْ ْ ُ
                                                           ْ َْ ُُ ْ ُ َْ ِ ْ ََ
                                                            ‫و ي غ ف ر ل ك م ذ ن و ب كُ م‬
6


     “จงบอกเถิด (โอ้ มุหัมมัด) ว่า หากพวกสูเจ้ารักอัลลอฮ์
ก็จ งปฏิบ ัต ิต ามฉัน แล้วอัลลอฮ์ก็จะรักพวกสูเจ้า และ
พระองค์จะอภัยโทษแก่พวกสูเจ้า” ..
                 (จากซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน โองการที่ 30)
                     หรือจากโองการที่ว่า ...

               ‫ف ل ي ح ذ را ل ذ ي ن ي خا ل ف و ن ع ن أ َ م ر ه أ َ ن ت ص ي ب ه م ف ت ن ة أ َ و‬
              ْ ٌ َِْ ْ ُ َِْ ُ ْ ِ ِ ْ ْ َ َ ْ ُ ِ َ ُ َ ِْ ّ ِ َ ْ ََْ
                                                                  ‫ي ص ي ب ه م ع ذا ب أ َ ل ي م‬
                                                                 ٌ ِْ ٌ َ َ ْ ُ َِْ ُ

     “ดังนั้น บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำาสั่งของเขา (มุหัมมัด) พึง
ระวังเคราะห์ร้ายจะบังเกิดกับพวกเขา, หรือการลงโทษ
ทัณฑ์อันเจ็บปวดจะประสบต่อพวกเขา” ...
               (จากซูเราะฮ์ อัน-นูรฺ โองการที่ 63)
                   หรือจากโองการที่ว่า ...

    ْ ُُْ ْ ِ ْ ُ ّ َ ِ ّ
     ‫ف إ ن ت نا ز ع ت م ف ى ش ي ء ف ر د و ه إ ِ لى ال لـ ه وال ر س و ل إ ِ ن ك ن ت م‬
                                               َ ُ ْ ّ ُ َ ٍ ْ َ ْ ِ ْ ُْ َ ََ ْ َِ
                 ً ‫ت ؤ م ن و ن بال لـ ه وا ل ي و م ال خ ر ذ ل ك خ ي ر وَ أ َ ح س ن ت أ و ي ل‬
                     ِْ َْ ُ َ ْ          ٌ َْ َ َِ ِ ِ ْ ِ ْ َْ َ ِ ّ ِ َ ْ ُِ ْ ُ

       “แล้วเมื่อพวกสูเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ดังนั้น จงนำา
มันกลับไปหาอัลลอฮ์ (คือคัมภีร์อัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (คือ
ตัวท่านศาสดาเองหรือซุนนะฮ์ของท่าน) หากพวกสูเ จ้า
ศรัท ธาต่อ อัล ลอฮ์แ ละวัน อาคิเ ราะฮ์จ ริง , นั่นคือ สิ่งที่
ดีที่สุด และเป็นการกลับ (คือทางออก)ทีดีที่สุดด้วย” ...
                                         ่
            (จากซูเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ โองการที่ 59) ...
       หรือจากหะดีษของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัย
ฮิวะซัลลัมเองที่กล่าวว่า ..

               ْ ُِّ ِ ْ ُ ََْ
                ‫م ن ي ع ش م ن كُ م ف س ي رى ا خ ت لفا ك ث ي را ف ع ل ي ك م ب س ن ت ى‬
                                       ً َِْ     َ ِْ     َ ََ َ ْ ِْ ْ ِ َ ْ َ
     ‫و س ن ة ا ل خ ل فا ء ال را ش د ي ن ا ل م ه د ي ي ن م نْ ب ع د ى ع ض وا عَ لَ يْ ها‬
      َ            ْ ّ َ ْ ِ ْ َ ِ َ ِّْ ْ َ ْ َ ِْ ِ ّ ِ َ َُ ْ ِ ُّ َ
                                                                       ِ ِ َ ّ ِ
                                                                        ‫.... بال ن وا ج ذ‬

    “พวกท่านคนใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อไปเขาก็จะได้เห็น
ความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น หน้าที่ของพวก
7


ท่านก็คือ การปฏิบ ัต ิต ามซุน นะฮ์ข องฉัน , และซุนนะฮ์
ของคอลีฟะฮ์ผู้ปราดเปรื่องและทรงคุณธรรมหลังจากฉัน,
จงกัด มัน (ซุนนะฮ์ของฉันและซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ของ
ฉัน) ให้แ น่น ด้ว ยฟัน กราม ..... ”
      มีไหม .. หลักฐานที่ว่า ให้เราปฏิบัติตามทัศนะของใคร
ก็ได้เมื่อเกิดขัดแย้ง ? .. หลักฐานต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่หลัก
ฐานเรื่องความรักและให้เกียรติ “วัน เกิด ” ท่านศาสดา
แต่เป็นหลักฐานเรื่องความรักและการให้เกียรติ “ตัว ”
ท่านศาสดาเองโดยปราศจากข้อขัดแย้งจากนักวิชาการ
ท่านใดทั้งสิ้น ...

     สำาหรับ “วิธีการ” แสดงความรักและให้เกียรติ
“ตัว” ท่านศาสดาดังหลักฐานข้างต้นนั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุด
ของสิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ก็คือพฤติการณ์ของบร
รดาเศาะหาบะฮ์ของท่านศาสดาเองในอดีต ...
       การแสดงออกถึงความรักที่มีต่อ “ตัว” ท่านศาสดา
ตามแบบฉบับของบรรดาเศาะหาบะฮ์ก็คือ การปฏิบัติตาม
ท่าน, เชือฟังท่าน, กระทำาตามคำาสั่งของท่าน, ละเว้นข้อ
          ่
ห้ามของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านทั้งที่ลับและที่แจ้ง,
เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อท่านและเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้ง
กาย วาจา และใจ, และหันกลับไปหา “ซุนนะฮ์” ของ
ท่านเมื่อยามเกิดความขัดแย้งในระหว่างพวกเขา และ
ต้องการจะยุติมัน... ซึงการกระทำาสิ่งต่างๆดังกล่าวข้างต้น
                        ่
นี้ได้ พวกท่านจะปฏิบัติมัน เท่าที่พวกท่านสามารถและ
โอกาสอำานวยให้ โดยไม่ไ ด้จ ำา กัด เวลา , ไม่จ ำา กัด
สถานที่, และไม่ไ ด้ก ำา หนดรูป แบบใดๆขึ้น มาเอง
โดยพลการ ...
      ส่วนวิธีการแสดงความรักหรือให้เกียรติท่านด้วยรูป
แบบ “ประจบสอพลอ” ดังที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน ..
อย่างเช่น การยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ...
ปรากฏว่า ในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจจนบร
8


รดาเศาะหาบะฮ์ “แหยง” และไม่กล้าปฏิบัติต่อท่าน ดัง
รายละเอียดที่ผมจะเขียนชี้แจงในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์
       ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความ
รักในตัวท่านศาสดามากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่
เคยปรากฏว่า จะมีเศาะหาบะฮ์ท่านใดแสดงออกถึงความ
รักและให้เกียรติท่าน ด้วยการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้
แก่ท่านเสียใหญ่โตอย่างที่เรียกกันว่า “การทำาเมาลิด”
เหมือนพวกเราบางคนในปัจจุบัน ...
       ส่วนการให้ความสำาคัญต่อ “วัน เกิด ” ของท่าน
ศาสดา ด้วยการจัด งานเมาลิด หรือพิธีกรรมเฉลิมฉลอง
วันเกิดของท่าน, เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทั้ง “เป้า
หมาย” และ “วิธีการ” ของมัน แตกต่างกับ “เป้าหมาย”
และ “วิธีการ” แสดงความรักใน “ตัว ” ท่านดังที่กล่าวมา
แล้ว ...
       ทั้งนี้ เพราะการจัดงานเมาลิด ถือเป็นพิธีกรรม
“ใหม่” ที่ถูกริเริ่มขึ้นมาหลังจากปี ฮ.ศ. 362, โดยมี
“เป้าหมาย” เพื่อให้ความสำาคัญและให้เกียรติกับกับ “วัน
เกิด ” ของท่านนบีย์, .. แถมยังมี “วิธ ีก าร” และ “รูป
แบบ” การให้เกียรติเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งเท่า
ที่เห็นทำากันมาก็คือหากมีการจัดกันที่บ้าน ก็จะมีการร่วม
กันอ่านหนังสือ “บัรฺซันญีย์” หรือ “บุรฺดะฮ์” .. อันเป็นบท
ร้อยกรองบรรยายถึงชีวประวัติของท่าน .. และเมื่อถึงตอน
ที่กล่าวถึงการกำาเนิดของท่านนบีย์ ทุกคนก็จะลุกขึ้นยืน
พร้อมๆกัน นัยว่าเพื่อให้เกียรติท่าน (แถมบางคนยังเชื่อว่า
ท่านนบีย์จะมาร่วมปรากฏตัวและสัมผัสมือกับพวกเขาใน
ขณะนั้นด้วย หลายคนจึงยืนในลักษณะแบมือออกเพื่อรับ
การ “สัมผัสมือ” กับท่านนบีย์) ... และหลังจากการอ่านดุ
อาที่ถูกรัอยกรองขึ้นอย่างไพเราะเพราะพริ้งและยืดยาวจบ
ลง ก็จะมีการร่วมรับประทานอาหารกันเป็นการส่งท้าย, ...
แถมในบางท้องที่เมื่อเสร็จพิธีเมาลิดแล้ว ยังมีการแจก “จา
ด” คือของชำาร่วยอันเป็นขนมต่างๆที่ถูกใส่ในหม้อหรือถัง
นำ้าใบเล็กๆหุ้มด้วยกระดาษแก้วสวยงาม ให้ผู้มาร่วมงาน
9


เมาลิดได้ถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากลูกหลานที่บ้านอีกต่าง
หาก ..
      ต่อมา การทำาเมาลิดด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ก็ได้ขยายตัวออกไปในบางท้องที่ด้วยการจัดให้มีพิธีกรรม
เมาลิดและอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์ใน “ทุก ๆงานเลี้ย ง” ที่
จัดขึ้น .. ไม่ใช่เฉพาะในวันเกิดท่านนบีย์เพียงอย่างเดียว
แต่ยังแพร่ระบาดและครอบคลุมไปถึงงานแต่งงาน, การ
ทำาอะกีเกาะฮ์, การขึ้นบ้านใหม่ และไม่เว้นแม้แต่ในการ
ทำาบุญ (??) บ้านคนตาย โดยที่นอกจากจะไม่มีเสียงคัด
ค้านใดๆแล้ว ยังได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ที่
ได้ชื่อว่าเป็น “ท่านผู้รู้” ในท้องที่เป็นอย่างดีอีกด้วย ...
      ที่กล่าวมานี้ คือรูปแบบการทำาเมาลิด ที่จัดขึ้นใน
ประเทศไทย, --- โดยเฉพาะในภาคใต้ --- เข้าใจว่า ใน
ต่างประเทศ แม้แต่ประเทศอียิปต์อันเป็นต้นกำาเนิดของงาน
เมาลิดเอง ก็คงจะไม่มีการอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์, หรือการ
แจกจาด, หรือการเดิน “กิน” งานเมาลิดวันละ 4-5 บ้าน
หรือมากกว่านั้น .. อย่างในประเทศไทยแน่ๆ ...
      การให้เกียรติและให้ความสำาคัญกับ “วัน เกิด ” ของ
ท่านนบีย์ด้วยวิธีการ ดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบที่มุสลิมยุค
แรกอันถือว่าเป็นยุคที่เลอเลิศที่สุด คือ ยุคของท่านศาสดา
เอง, ยุคของเศาะหาบะฮ์, ยุคของตาบิอีน, ยุคของตาบิอิต
ตาบิอีน หรือยุคหลังจากนั้นมาอีกร่วมร้อยกว่าปี ไม่เคยมี
ใครรู้จัก “วิธ ีก าร” แสดงความรักต่อตัวท่านนบีย์หรือต่อ
วันเกิดของท่านนบีย์ ในรูปแบบนี้มาก่อนเลย .. ด้วยมติ
เอกฉันท์ของนักวิชาการ ...
      ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกที่มีนักวิชาการจำานวน
มากคัดค้านพิธีกรรมเมาลิดและมองว่า การทำาเมาลิด ถือว่า
เป็น “อุตริกรรม” หรือเป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม” ..
      การคัดค้านดังกล่าว มิใช่เพิ่งจะมีขึ้นในยุคหลังๆนี้
เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีขึ้นตั้งแต่มีการริเริ่มพิธีกรรมเมาลิด
ในประเทศอียิปต์ยุคแรกด้วยซำ้าไป ... ดังที่ผู้เขียนประวัติ
งานเมาลิดแทบทุกท่าน ต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรม
10


เมาลิดในประเทศอียิปต์อันเป็นแหล่งกำาเนิด ต้องล้มลุก
คลุกคลานอยู่หลายครั้ง กว่าผู้ที่นิยมในพิธีกรรมดังกล่าวนี้
จะพยายามอนุรักษ์มันไว้อย่างสุดความสามารถ แล้ว
สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในที่สุด ...

     หากจะมีการอ้างว่า ... งานเมาลิดที่จัดขึ้นมิใช่มี
เป้าหมายเพื่อให้เกียรติวันเกิดของท่านศาสดาเป็นการ
เฉพาะหรอก แต่เป้าหมายจริงๆก็เพื่อเป็นการแสดงความ
รักและให้เกียรติตัวท่านศาสดานั่นแหละ .. เพีย งแต่ม า
“กำา หนด” จัด งานแสดงความรัก ขึ้น ในวัน ที่ต รงกับ
วัน เกิด ของท่า นเท่า นั้น เพราะถือว่า วันเกิดของท่าน
เป็นวันที่มุสลิมทุกคนควรจะปลาบปลื้มยินดีในความ
โปรดปรานที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงให้ท่านศาสดาถือ
กำาเนิดมาในวันนั้น .. และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมา
ลิด ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมทั้งสิ้น อาทิเช่น การเลี้ยง
อาหาร, การอ่านหนังสือชีวประวัติของท่าน, การอ่านอัล-
กุรฺอ่าน, การซิกรุ้ลลอฮ์ เป็นต้น ...
       ก็ขอเรียนว่า ข้ออ้างดังกล่าวนี้แหละ จะยิ่ง
“ตอกยำ้า ” ความเป็น “บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” อันเป็น
เรื่องต้องห้ามของงานเมาลิดให้เด่นชัดยิงขึ้น ...
                                           ่

      จริงอยู่, ความรักและการให้เกียรติท่านนบีย์ เป็นสิ่งที่
ดี และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมาลิดดังที่กล่าวมานั้น
โดยหลักการทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่ดีและเป็นเรื่องที่ศาสนาส่ง
เสริม แต่เราต้องไม่ลืมว่า สิ่ง “ดี” ใดๆที่จะถือว่าป็นสิ่งที่ดี
ก็ต่อเมื่อเราปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเทศะของมันด้วย ...
      หากปฏิบัติให้ผิดกาลเทศะเมื่อไร สิ่ง “ดีๆ” ก็อาจจะ
กลายเป็น “สิ่งไม่ดี” ได้เช่นเดียวกัน ...
      และดังได้กล่าวมาแล้วในหน้าที่ 6 ว่า การแสดงออก
ถึงความรักและการให้เกียรติท่านศาสดาตามแบบฉบับที่ถูก
ต้องของบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้น หลัก ใหญ่ข องมัน ก็ค ือ
การ “ปฏิบ ัต ิต ามและฟื้น ฟูซ ุน นะฮ์ข องท่า น ” อย่า ง
11


เคร่ง ครัด เท่า ที่ส ามารถและโอกาสอำา นวยให้ โดย
พวกท่านจะไม่เคยไปกำาหนดเวลา, กำาหนดสถานที่, หรือ
กำาหนดรูปแบบใดๆเพื่อแสดงความรักท่านศาสดาขึ้นมาเอง
โดยพลการอย่างพวกเราเลย ...
     ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิ
บดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” ของท่าน หน้าที่ 281 ว่า
...

           ْ ٍ ْ ِ ِْ ْ َ ً َ
            ‫فَ إ ن السّ ل ف الصّا ل ح ل م يَ ك ن ل ه م عَا د ة بِ ت خ ص ي ص يَ و م أَ و‬
                                             ْ ُ َ ْ ُ ْ َ َ ِ             َ َ          ّ ِ
َ‫ل ي ل ة بِا ل ع با دا ت إ ل ّ إِ ذا ثَ ب ت ذَ ل ك عَ ن النّ ب ى ع ل ي ه ال ص ل َة وَال سّ ل َم‬
                 ُ ّ       ِ ََْ ّ ِ       ِ    َ ِ َ َ َ             ِ ِ َ َِ ْ ٍ ََْ
          َ َ ْ
           ‫.... و ص حا ب ت ه الْ ك را م فَ جا ء ب ع د ه م ه ؤ ل َء وَ ع ك سواا ل حا ل‬
                        ُ َ َ ِ ُ َ ْ ُ َ ْ َ َ َ              ِ َ ِ      ِ َِ َ َ َ

       “บรรดาบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆนั้น ปกติ
แล้วพวกเขาจะไม่เคยไป “กำาหนด” วันไหนหรือคืนไหน
เพื่อทำาอิบาดะฮ์ใดๆเป็นพิเศษเลย นอกจากจะมีหลักฐาน
“กำาหนด” ชัดเจนมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะ
ลัยฮิวะซัลลัมหรือจากเศาะหาบะฮ์ผู้ทรงเกียรติของท่าน
เท่านั้น .. แล้วต่อมา ชนยุคหลังจากพวกท่านก็ได้มา
เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ดังกล่าว (โดยการกำาหนดวัน
เวลา, สถานที่ หรือรูปแบบในการทำาอิบาดะฮ์หรือทำาความ
ดีใดๆกันเองโดยพลการ) ...
       สรุปแล้ว การทำา “สิ่งดี” ตามหลักการศาสนา จึงตั้ง
อยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ...
       1. ทำาสิ่งดีนั้นให้ถูกกาลเทศะของมัน ...
       2. อย่าไปกำาหนดเวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการ
ทำาความดีใดๆเอาเองโดยพลการ หากศาสนามิได้กำาหนด
สิ่งดังกล่าวเอาไว้ในการทำาความดีนั้นๆ ...
       หากขาดพื้นฐานประการใดประการหนึ่งจาก 2
ประการนี้ การกระทำาสิ่งดีนั้นก็อาจจะส่ง “ผลลัพธ์” ใน
ด้านตรงข้ามไปก็ได้ ....
       ความจริง “ตัว อย่า งเปรีย บเทีย บ ” เกี่ยวกับเรื่องนี้
ก็เคยมีให้เห็นมากมาย ... แม้กระทั่งหลักฐานที่มาจากตัว
ท่านศาสดาเอง ...
12



     ตัวอย่างเช่น ...
     1. วันศุกร์ คือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบสัปดาห์, การ
ถือศีลอด ก็เป็นอิบาดะฮ์ที่สำาคัญและเป็นหนึ่งจากรุก่น
อิสลามทั้งห้า ...
     แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ
“ห้าม” จากการ “กำาหนด” เอาวันศุกร์ โดยเฉพาะ เป็นวัน
ถือศีลอด ? ...
     การทำาสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ทำาไมจึงเป็นเรื่องต้อง
ห้ามด้วย ? ...

     2. การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นงานที่ดีที่สุด, การรุกั๊วะอฺ
และการสุญูดในการนมาซ ก็เป็นอิริยาบถที่ดีที่สุดในขณะ
นมาซ ...
     แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ
“ห้าม” จากการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ไม่ว่าซูเราะฮ์ใด .. ใน
ขณะรุกั๊วะอฺและขณะสุญูด ? ...
     การทำาสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ในอิริยาบถที่ดี ทำาไมจึง
เป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ...

     3. มัสญิดทุกๆมัสญิดในโลกนี้ เป็นสถานที่ดีเลิศที่ถูก
สร้างขึ้นมาเพื่อทำาอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และ
การทำาอิบาดะฮ์ก็เป็นเรื่องดีที่ไม่มีข้อขัดแย้ง ...
     แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ
“ห้าม” เดินทางโดยมี “เป้าหมาย” เพื่อไปทำาอิบาดะฮ์ใน
มัสญิดใดๆเป็นการเฉพาะ .. ยกเว้น 3 มัสญิด คือมัสญิด
หะรอมที่มักกะฮ์, มัสญิดนะบะวีย์ที่มะดีนะฮ์, และ
มัสญิดอัล-อักซอที่เยรูซาเล็ม ? ...
     การทำาสิ่งดี คือไปนมาซในมัสญิด ทำาไมจึงเป็นเรื่อง
ต้องห้ามด้วย ? ...
13


      4. การกล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ
วะซัลลัม เป็นบทบัญญัติที่มุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติเสมอเท่าที่
โอกาสจะอำานวยให้โดยไม่จำากัดเวลาและสถานที่ ..
      แล้วเหตุใด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. จึงกล่าวห้ามปราม
ชายผู้หนึ่งที่กล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ เพียงเพราะเขาไป
“กำาหนด” การให้สล่ามดังกล่าวร่วมกับการกล่าวสรรเสริญ
พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. หลังจากการจาม ...
      ชายผู้นั้น มิได้ละทิ้งการกล่าว ‫ ا ل ح م د ل لـ ه‬หลังจาก
                                       ِ ِّ ُ ْ َ َْ
การจามแต่อย่างใด เขาเพียงแต่เพิ่ม “สิ่งดี” คือ การกล่าว
สล่ามให้แก่ท่านนบีย์เข้าไปด้วยเท่านั้น ...
      การกล่าวสล่ามแก่ท่านนบีย์ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยหรือ
? ...

       5. การร่วมกันกล่าว “ซิกรุ้ลลอฮ์” ในมัสญิดหรือใน
สถานที่เหมาะสมใดๆ เป็นสิ่งดีที่ท่านศาสดากล่าวสนับสนุน
และท่านกล่าวรับรองว่า ผู้ที่ร่วมกันซิกรุ้ลลอฮ์ดังกล่าวจะ
ได้รับความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ...
       แต่ทำาไม ท่านอิบนุ มัสอูด ร.ฎ. จึงได้กล่าว “ตำาหนิ”
และประณามกลุ่มชนที่ “ร่วมกัน” กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ใน
มัสญิดแห่งหนึ่ง ว่า เป็น พวกที่ท ำา อุต ริก รรมของ
ศาสนา ดังการบันทึกของท่าน อัด-ดาริมย์ในหนังสือ
                                            ี
“อัส-สุนัน” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 79 หรือหะดีษที่ 204,
...
       กลุ่มชนเหล่านั้น ทำาผิดอะไรหรือในเมื่อสิ่งที่พวกเขา
กระทำาก็เป็นสิ่งดี คือ การร่วมกันซิกรุลลอฮ์ในมัสญิด ..
ตามที่ท่านนบีย์ส่งเสริมให้ทำา, เพียงแต่พวกเขาได้
“กำาหนด” รูปแบบการซิกรุ้ลลอฮ์ของพวกเขาให้แตกต่าง
จากผู้อื่นไปบ้างเท่านั้น ? ...
       ตัวอย่างต่างๆที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า การทำา
“สิ่ง ดี” ที่ศาสนาอนุญาตให้เราทำาได้โดยทั่วๆไปนั้น ถ้า
เรามา “กำาหนด” เวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำาสิ่งดี
เหล่านั้นเอาเองโดยพลการก็ดี, .. หรือทำาสิ่งดีผิด
14


กาลเทศะก็ดี ถือว่า เป็นเรื่องต้องห้ามหรืออย่างน้อยก็เป็น
เรื่อง “ไม่สมควร” ในมุมมองของเศาะหาบะฮ์และบรรพชน
ยุคแรกของอิสลาม ...

     ดังนั้น การ “กำาหนด” เอาวันที่ตรงกับวันเกิดของ
ท่านนบีย์ เพื่อเป็นวันแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติ
ท่านเป็นพิเศษเฉพาะวัน, ทั้งๆทีศาสนามิได้กำาหนดให้มี
                                ่
การแสดงความรักท่านนบีย์เป็นพิเศษ “เฉพาะ” ในวันนี้
เอาไว้, .. ( และตามปกติ ในวันที่อื่นจากวันนี้ เราเคยรัก
และให้เกียรติท่านด้วยการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านบ้าง
หรือเปล่าก็ไม่ทราบ ?) .. จึงน่าจะจัดเป็นเรื่อง “ต้องห้าม”
หรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกต้องตามหลักการ ในลักษณะ
เดียวกันกับตัวอย่างข้างต้นเหล่านั้น ...

     ก็มาถึงประเด็นที่สอง คือ การให้ความสำาคัญกับ
“วัน เกิด ” ของท่านศาสดา และ “วิธ ีก าร” แสดงออกถึง
ความรักท่านในวันคล้ายวันเกิดของท่านด้วยการทำาพิธีเมา
ลิดนั้น เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐานหรือไม่อย่างไร ? ....
      สมมุติว่า ถ้าการให้ความสำาคัญกับวันเกิดของท่าน
เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐาน ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า
แล้ว “วิธ ีก าร” ให้ความสำาคัญกับวันเกิดของท่านนบีย์นั้น
เคยมี “แบบอย่าง” จากซุนนะฮ์มาหรือไม่ ? ...

          นี่คือ สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาและใคร่ครวญด้วย
     ใจเป็นธรรม ...

     ถ้าปรากฏว่า เคยมีหลักฐานและแบบอย่างจากท่าน
นบีย์มาว่า ท่านเคยปฏิบัติอย่างไรเป็นพิเศษในการให้
ความสำาคัญและให้เกียรติกับวันที่ตรงกับวันเกิดของท่าน
ก็แสดงว่า “ซุนนะฮ์” ที่เรา -- มุสลิมที่มีอีหม่าน – ทุกคน
สมควรจะยึดถือและนำามาปฏิบัติในวันตรงกับวันเกิดของ
15


ท่านนบีย์ก็คือ แบบอย่างดังที่ปรากฏเป็น “ซุนนะฮ์” จาก
หลักฐานนั้น ...
     นี่ค ือ การกลับ ไปหา “ซุน นะฮ์” เมื่อ เกิด ความ
ขัด แย้ง .. ตามที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาไว้ ...

       สำาหรับหนังสือ    “‫” حسن المقصد فى عمل المولد‬
ของท่านอัส-สะยูฏีย์ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้น นอกเหนือไป
จากการอ้างเหตุผลที่สนับสนุนให้มีการทำาเมาลิดเหมือนกับ
หนังสืออื่นๆในแนวเดียวกันนี้แล้ว ท่านยังได้รวบรวม
ทัศนะที่ “อิง” หลักวิชาการของนักวิชาการบางท่าน อาทิ
เช่น ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์, ท่านอบูอับดุลลาฮ์
อิบนุล หาจญ์, รวมทั้งทัศนะส่วนตัวของท่านเอง เป็นต้น
มาสนับสนุนเรื่องการทำาเมาลิด ซึงจากการสรุปเนื้อหาเชิง
                                  ่
วิชาการทั้งหมดจากหนังสือดังกล่าว ก็พอจะได้ข้อสรุปว่า
....
     1. การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (การอุตริที่ดี)
...
     2. การทำาเมาลิด มี ‫ أ َ ص ل‬คือ ที่มาอันเป็นพื้นฐาน
                          ٌ ْ
หรือหลักฐานที่อ้างอิงได้ตามหลักการศาสนา ...
           ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับ 2 ประเด็นข้าง
     ต้น ...

          (1). การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ หะสะ
       นะฮ์
      ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล
ฟะตาวีย” เล่มที่ 1 หน้า 292 ในการตอบคำาถามเกี่ยวกับ
เรื่องการทำาเมาลิดว่า ...

   ُ َ ِ
    ‫وَا ل ج وا ب ع ن د ى : أَ ن أَ ص ل عَ م ل ال م و ل د الّ ذ ى هُ و اجْ ت ما ع‬
                 َ   ْ ِ ِ ِْ َ ْ ِ َ            َ ْ ّ           ْ ِ ِْ ُ َ َ ْ
 ْ‫النّا س وَ ق را ء ة مَا ت ي س ر م ن الْ ق رآ ن و ر وا ي ة ا ل َخ با را ل وا ر د ة فِ ى‬
          ِ َ ِ َ ْ ِ َْ ْ ُ َ َ ِ َ ِ ْ ُ              َ ِ َ ّ ََ    ُ َ َ ِ ِ
َ‫مَ ب د أ أَ م ر النّ ب ى ص لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل مَ وَ ما و ق عَ فِ ى م و ل دِ ه مِ ن‬
         ِ ِْ َ ْ          َ َ َ         َّ َ ِ ََْ ُ               َّ ّ ِ       ِ ْ َِ ْ
  ٍ َ َِ ِ ْ ْ
   ‫اْل يا ت، ثُ م ي م د ل ه م سِ ما ط يَ أ ك ل و ن ه وَ ي ن ص ر ف و ن مِ ن غَ ي ر ز يا د ة‬
                        َ ْ ُ ِ َ َْ ُ َْ ُُ ْ ٌ َ              ْ ُ َ ّ َ ُ ّ       ِ َ
16


‫ع لى ذَ ل ك هُ و مِ ن ال ب د ع ال ح س ن ة الّ ت ى يُ ثا ب ع ل ي ها صا ح ب ها، لِ ما‬
  َ         َ ُِ َ      َ ََْ ُ َ ْ ِ ِ ََ َ ْ ِ َ ِْ َ             َ   َ ِ      ََ
ِ َ ْ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ
 ‫ف ي ه مِ ن ت ع ظ ي م ق د ر النّ ب ى صَ لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل م، و إ ِ ظ ها ر‬
                                         ّ ّ ِ         ِ ْ َ ِ ِْ ْ َ ْ     ِ ِْ
 ِ ِْ
  ‫... الْ ف ر ح و ال س ت ب شا ر ب م و ل د ه الشّ ر ي ف‬
                ِ ِ ِْ َ ِ ِ َ ِْْ َْ ِ َ َ

       “คำาตอบตามทัศนะของฉันก็คือ : พื้นฐานของงานเมา
ลิด อันได้แก่การที่ประชาชนมาชุมนุมกัน, มีการอ่านอัล-
กุรฺอ่าน, มีการอ่านชีวประวัติที่รายงานมาของท่านนบีย์
ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น
ในวันถือกำาเนิดของท่าน หลังจากนั้น ก็มีการเลี้ยงอาหาร
กันแล้วแยกย้ายกันกลับ โดยไม่ม ีอ ะไรเกิน เลยไปกว่า
นั้น ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่ดี ซึงผู้กระทำาจะได้รับผล
                                                ่
บุญ ทั้งนี้เพราะงานเมาลิดเป็นการยกย่องให้เกียรติต่อ
สถานภาพของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และ
เป็นการแสดงออกถึงความปลาบปลื้มยินดีต่อวันเกิดของ
ท่าน” ...
       ท่านอบู ชามะฮ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามนะวะ
วีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 599-665) ก็ได้กล่าวไว้ใน
หนังสือ ‫ .. ا ل با ع ث ع لى إِ ن كا را ل ب د ع وا ل ح وا د ث‬หน้า 95 ว่า
           ِ ِ َ َ ْ َ ِ َ ِْ ِ َ ْ       ََ ُ ِ ََْ
การทำาเมาลิดเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คล้ายๆกับคำาพูดของ
ท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีหนังสือของท่านอบู ชา
มะฮ์ ก็สามารถจะหาดูคำากล่าวของท่านได้จากหนังสือ “อิ
อานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 3 หน้า 364 ในตอนที่กล่าว
ถึงงานวะลีมะฮ์ ...

       ข้อโต้แย้ง
      คำากล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์และท่านอบู ชามะฮ์ที่ว่า
“การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์” ... ถ้าหากหมายถึง
ความหมายบิดอะฮ์ ตามหลัก ภาษา (ٌ‫) ب د ع ة ل غ و ية‬
                                        ّْ َ ُ ٌ َ ْ ِ
ประเด็นนี้ คงไม่มีความขัดแย้งใดๆ เพราะเป็นความหมาย
ที่ตรงต่อความเป็นจริงตามหลักภาษาที่ว่า การทำาเมาลิด
เป็น บิด อะฮ์    เนื่องจากมันเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งจะบังเกิดขึ้น
หลังจากปี ฮ.ศ. 362 มาแล้ว, .. และที่เรียกว่า หะสะนะฮ์
17


(ดี) ก็เพราะมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำาและ
บุคคลทั่วๆไป (แม้กระทั่งผมเอง) เนื่องจากเป็นการ
แสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม , .. ซึงเมื่อรวมความแล้วจึงเรียกการทำาเมา
                          ่
ลิด ตามหลัก ภาษา ว่า เป็น “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์” หรือ
การริเ ริ่ม กระทำา สิ่ง ใหม่ท ี่ด ี (ตามความรู้สึกของผู้กระทำา
และประชาชนทั่วๆไป) ...
         แต่ถ้าความหมายของคำาว่า “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ของ
ท่านในที่นี้ หมายถึง “บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” (‫ب د ع ة‬
                                                      ٌ َ ْ ِ
 ‫ .. ش ر ع ي ة‬ซึงดูแนวโน้มก็น่าจะเป็นอย่างนี้ เพราะท่านกล่าว
ٌ ِّ ْ َ        ่
ว่า ผู้ที่กระทำาเมาลิดจะได้รับผลบุญตอบแทน) ... ประเด็นนี้
มิใช่เพียงผมเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย แต่นักวิชาการจำานวน
มาก ก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน ...

      ทั้งนี้ เพราะความเชื่อที่ว่า “มี บิด อะฮ์ หะสะนะฮ์
ในบทบัญ ญัต ิ” จะไปค้านและขัดแย้งกับหลายๆอย่างดัง
ต่อไปนี้ ...
      1. ค้านกับความหมายของ “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือ
บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ตามคำานิยามของนักวิชาการอุศูลุล
ฟิกฮ์ (ซึงผมยังไม่เคยเจอนักวิชาการท่านใดคัดค้านคำา
          ่
นิยามของบิดอะฮ์ที่จะถึงต่อไปว่า ไม่ถูกต้อง) ...
      2. ค้านกับคำาอธิบายความหมายบิดอะฮ์ของท่านอิบนุ
หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์
สองนักวิชาการหะดีษและฟิกฮ์ซึ่งได้รับการยอมรับที่สุดแห่
งมัษฮับชาฟิอีย์ ...
      3. ค้านกับคำากล่าวของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อุมัรฺ ร.ฎ.
      4. ค้านกับหะดีษที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ
อะลัยฮิวะซัลลัม ...
              รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น มีคำา
อธิบายดังต่อไปนี้ ...
      (1). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี
ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำานิยามและความหมายของ “บิด
18


อะฮ์ตามบทบัญญัติ หรืออุตริกรรมอันเป็นเรื่องต้องห้าม” ที่
นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ ได้กำาหนดเอาไว้ว่า หมายถึง ...

                      ِ َِ
                       ‫ما ت ر ك ه رَ س و ل اللّـ ه صَ لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل م مَ عَ ق يا م‬
                                    َ َّ َ ِ ََْ ُ            ّ ِ         ُ ْ ُ       ُ َ َ َ َ
  َ‫الْ م ق ت ض ى وَا ن ت فا ء ال ما ن ع ف ف ع ل ه ب ع د ه ه و ا ل ب د عَ ة وَ تَ رْ كُ هُ هٌ و‬
                        ُ ْ ِْ َ ُ ُ َ ْ َ ُ ُْ ِ َ ِ ِ َ ْ ِ َ ِْ               ْ ِ َْ ُ
                                                                                   ُ ّّ
                                                                                    ‫... ال س ن ة‬

       “สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดาไม่ไ ด้ก ระทำา ทั้งๆที่ .. 1.
มีประเด็นส่งเสริมแล้วว่าควรทำา (ตั้งแต่ในสมัยของท่านมา
แล้ว), และ .. 2. ไม่มีอุปสรรคใดๆจะมาขัดขวางท่านจาก
การกระทำาสิ่งนั้น ...
       ดัง นั้น การกระทำา สิ่ง นั้น ในภายหลัง ถือ ว่า เป็น
บิด อะฮ์, และการไม่ก ระทำา สิ่ง นั้น ก็ค ือ ซุน นะฮ์” ...
       คำานิยามดังกล่าวนี้ ไม่ใช่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์นั่ง
เทียนเขียน ! แต่เป็นคำานิยามที่ได้ผ่านการกลั่นกรองและ
วิเคราะห์มาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมจาก “เหตุการณ์
จริง” ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะ
ลัยฮิวะซัลลัม และสมัยเศาะหาบะฮ์ของท่าน ... ซึงถือว่าเป็น
                                                  ่
คำานิยามของคำาว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตาม
บทบัญญัติ ที่ตรงประเด็นที่สุด และได้รับการยอมรับมาก
ที่สุด ...
       ซึ่งเมือเราพิจารณาดูที่มาที่ไปของพิธีกรรมเมาลิดแล้ว
              ่
ก็จะเห็นได้ว่า จัดอยูในความหมายของ “บิดอะฮ์ตาม
                        ่
บทบัญญัติ” ตามคำานิยามข้างต้นทุกประการ คือ เป็นสิ่ง
ที่ท่านศาสดาหรือบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน --- หรือ
แม้แต่ตาบิอีน หรืออิหม่ามทั้งสี่ หรือประชาชนในยุคที่ท่าน
ศาสดารับรองว่า เป็นยุคที่ดีเลิศที่สุด --- ไม่เ คยกระทำา ..
ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม คือเป็นการแสดงออกถึง
ความรักและการให้เกียรติต่อท่านศาสดาซึ่งตรงกับความ
รู้สึกของมุสลิมที่มีอหม่านทุกคน ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆ
                      ี
จะมาขัดขวางพวกท่านเหล่านั้นจากการจัดงานเฉลิมฉลอง
วันเกิดให้ท่านศาสดาด้วยในยุคนั้น ...
19


      โดยนัยนี้ การไม่อุตริจัดงานเมาลิดขึ้นมา จึงถือว่า
เป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์, ส่วนผู้ที่อุตริจัดงานเมาลิด จึง
เป็นผู้ทำาบิดอะฮ์ เพราะไม่รักษากติกาของรัฐธรรมนูญ
เอ๊ย, กติกาของความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่นัก
วิชาการได้ร่างคำานิยามของมันขึ้นมาเอง .. (แหม ! พูด
เหมือนท่านนายกทักษิณเปี๊ยบเลย) ...

       เอาเถิด, ท่านศาสดาไม่ส่งเสริมหรือชีแนะให้มีการจัด
                                             ้
งานเมาลิดเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน เหตุผลข้อนี้ เราพอ
จะมองออก, แต่ หลังจากท่านสิ้นชีพไปแล้วและสมมุต ิ
ว่า หากว่า การทำา เมาลิด คือ สิ่ง ดีท ี่ถ ูก ท่า นศาสดา
ปล่อ ยวางไว้เ พราะมีอ ุป สรรค (คือความถ่อมตัวจึงไม่ส่ง
เสริมให้ใครจัดงานวันเกิดเพื่อท่าน)) .. เสมือ นการที่
ท่า นต้อ งปล่อ ยวางการรวบรวมอัล -กุร ฺอ ่า นเป็น เล่ม
เพราะมีอ ุป สรรค (คือ การประทานวะห์ยุยังไม่สิ้นสุด
จนกว่าท่านจะสิ้นชีวิต) .. และท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ก็มาจัดการ
รวบรวมขึ้นหลังจากท่านตายไปแล้ว, .. หรือ การที่ท ่า น
ต้อ งปล่อ ยวางการนมาซตะรอเวี๊ย ะห์ใ นลัก ษณะญะ
มาอะฮ์ไ ว้ เพราะมีอ ุป สรรค (คือกลัวมันจะกลายเป็น
ฟัรฺฎู) .. จนท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ต้องมารวมประชาชนให้นมาซ
ญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์หลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน
เป็นต้น ..
       ในเรื่องของการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิด
ให้ท่านก็เช่นเดียวกัน ..
       เมื่อท่านศาสดาตายไปแล้ว อุปสรรคขัดขวางการจัด
งานเมาลิด (คือเกรงว่าความถ่อมตัวจะทำาให้ท่านศาสดาขัด
ขวางมัน) ก็ย่อมหมดสิ้นตามไปด้วย ...
        แล้วทำาไม บรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บรรดาตาบิ
อีน, หรือแม้กระทั่งบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ท่านในยุคหลังๆ จึง
ไม่มีผู้ใดคิด “ริเริ่ม” การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่าน
ศาสดา ... เหมือนดังที่ท่านอบู บัก ร.ฎ. ได้ริเริ่มรวบรวม
อัล-กุรฺอ่านให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ขึ้นมา, หรือดังที่ท่า
20


นอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้รื้อฟื้นให้ประชาชนกลับมา
ทำานมาซตะรอเวี๊ยะฮ์ร่วมกันอีก หลังจากการสิ้นชีวิตของ
ท่านศาสดา ? ...
                 นี่คือ ปริศนาที่เราจะต้องตีให้แตก ....
          ประชาชนในยุคที่ดีเลิศเหล่านั้น รักและให้
           เกียรติท่านศาสดาน้อ ยกว่า พวกเราอย่างนั้น
           หรือ ?
          พวกเขาจำาวันเกิดท่านศาสดาไม่ได้ หรือไม่
           อยากจะให้เกียรติต่อวันเกิดของท่านเลยหรือ ?
          พวกเขามีภารกิจมากเกินไปจนไม่มีเวลา “แม้
           เพียงแค่วันเดียว” ที่จะสละมันเพื่อจะให้เกียรติ
           ท่านศาสดาในวันนั้นเชียวหรือ ?
          พวกเขาขี้เกียจที่จะจัดงานฉลองวันเกิดให้ท่าน
           หรือ ?
         พวกเขายากจนและไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จัด
           งานฉลองวันเกิดของท่านอย่างพวกเราหรือ ?
                            .....ฯลฯ .....

      แน่นอน, ผมเชือว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน คงจะให้คำา
                     ่
ตอบได้ตรงกันว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะ
เป็นอุปสรรคต่อการจัดงานเมาลิดของประชาชนในยุคที่ดี
เลิศเหล่านั้น (ถ้าพวกท่านเห็นว่ามันเป็นเรื่องดีเหมือนมุม
มองของพวกเราในปัจจุบัน) ..
      ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “เหตุผลที่แท้จริง” ที่ขัด
ขวางพวกท่านจากการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้
แก่ท่านศาสดาเยี่ยงการจัดของพวกเรา ? ..
      ตามทัศนะส่วนตัวของผม (ไม่ได้พูดลอยๆ แต่ผมมี
หลักฐาน) มองว่า สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และ
ประชาชนยุคหลังที่ถูกรับรองจากท่านศาสดาว่า เป็นผู้ที่มี
คุณธรรมเลอเลิศที่สุด ไม่เคยคิดจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวัน
เกิดให้ท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการด้วยกัน
คือ ...
21


     1. เพราะพวกท่านเห็นว่าการจัดงานเมาลิด เป็นการ
“ลอกเลีย นแบบ” การจัดงานวันคริสต์มาสของพวก
คริสเตียน ซึงเป็นเรื่องที่ท่านศาสดาที่พวกเขารัก ห้าม
            ่
ปราม ..
                 ท่านศาสดา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ...

                                             ْ ُ ِْ َ ُ َ ٍ ْ َ ِ َ َّ َ ْ َ
                                              ‫من تشبه بقوم فهو منهم‬

     “ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของ
ชนกลุ่มนั้นด้วย”
     (บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่า
นอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, และท่านอิบนุ อบียชัยบะฮ์
                                                 ์
เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.)
     2. เพราะพวกท่านเห็นว่า “ซุนนะฮ์” ของท่านศาสดา
ในการ “ให้ความสำาคัญ”กับวันเกิดของท่านก็คือ การ “อด
อาหาร” ด้วยการ “ถือศีลอด” ในวันนั้น .. (หมายถึง
“วันจันทร์” ซึงถือว่าเป็นวันเกิดตัวจริงเสียงจริงของท่าน
                ่
นบีย์) ...
           ท่านอบู เกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ...

         ‫أ َ ن ر س و ل ال لـ ه ص لى ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م س ئ ل ع ن ص و م‬
        ِ ْ َ ْ َ َ ُِ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ               َّ ِ ّ َ ْ ُ َ ّ
                  ّ ََ َ ِ ُْ ِ ِْ َ ُ ْ ُِ ِ ِْ
                   ‫... ا لِ ث ن ي ن ف قا ل : ف ي ه و ل د ت و ف ي ه ا ن ز ل ع ل ى‬
                                                         َ َ َ ِ َْْ ْ

      “ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคย
ถูกถามถึงเรื่องการ “ถือ ศีล อด” ในวันจันทร์ ท่านตอบ
ว่า .. วัน จัน ทร์ คือ วัน เกิด ของฉัน , และวันจันทร์ คือ
วันที่อัล-กุรฺอ่านถูกประทานมาให้แก่ฉัน” ...
                  (บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่
198/1162) .
      3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา “รังเกียจ”
พฤติกรรมการให้เกียรติท่านในลักษณะฉาบฉวย คล้ายๆ
การประจบสอพลอ แทนการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน ...
22


    ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดท่าน
ศาสดาที่สุดท่านหนึ่งกล่าวว่า

         ‫ما كا ن فى ال د ن يا ش خص أ َ حبّ إ ِ ل ي ه م ر ؤ ي ة م ن ر س و ل ال لـ ه‬
        ِ ّ ِ ْ ُ َ ْ ِ ً َْ ُ ْ ِ َْ                  َ ّ ْ َ َّْ               ِ َ َ َ
‫ص لى ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م، و كا ن وا إ ِ ذا ر أ َ و ه ل م ي ق و م وا ل ه ل ما كا نُ وا‬
 ْ َ َ ِ ُ َ ْ ُ ْ ُ َ ْ َ ُ ْ َ َ ْ ُ َ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ                              َّ
                                                      َ َِ ِ ِ َِِ َ َ ْ ِ َ ْ ُ َْ َ
                                                       ‫.. ي ع ل م و ن م ن ك را ه ي ت ه ل ذ ل ك‬

      “ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ บุคคลที่พวกเขา (เศาะหาบะฮ์)
อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะ
ลัยฮิวะซัลลัม, แต่เ มื่อ พวกเขาเจอท่า น พวกเขาไม่
เคยยืน ขึ้น เพื่อ ให้เ กีย รติท ่า นเลย เนื่องจากพวกเขารู้
ว่า ท่านรังเกียจพฤติการณ์อย่างนี้” ..”
      (บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล-
มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรมีซีย์ หะดีษที่ 2754,
                                       ฺ
ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษ
ที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132) ...

       แค่การยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติ ท่านนบีย์ก็ยัง
“รังเกียจ” จนบรรดาเศาะหาบะฮ์ไม่กล้าปฏิบัติ, แล้วการ
จัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่าน ซึ่งมัน “เว่อร์”
และเอิกเกริกกว่าการยืนให้เกียรติหลายร้อยเท่า คิดหรือ
ว่า หากเศาะหาบะฮ์ท่านใดคิดจัดมันขึ้นมาในขณะนั้น
ท่านนบีย์จะปลื้มใจและภูมิใจสุดๆกับความรักความภักดีที่มี
ผู้หยิบยื่นให้ท่านในลักษณะนั้น ? ...
      สิ่งใดที่ท่านศาสดารังเกียจ (ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใด
ก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่มุสลิมที่อ้างว่า “รักและให้
เกียรติ” ท่าน จะดึงดันกระทำาสิ่งนั้น เพียงเพราะยึดมั่นอยู่
กับความคิดของตนเองฝ่ายเดียวว่ามัน “เป็นเรื่องดี”.. โดย
ไม่คำานึงถึงความรู้สึกของตัวท่านนบีย์เอง ? ...
      การเฉลิมฉลองวันเกิดท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิด
ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ดี, .. เหมือนๆกับการยืนขึ้น
เพื่อให้เกียรติท่านศาสดา ไม่มีเศาะหาบะฮ์ท่านใดมองว่า
เป็นเรื่องไม่ดี ...
23


      แต่ปัญหามิได้อยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ! .. ทว่า,
เมื่อมันเป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจ พวกเขาจึงงดเว้นที่จะ
ยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่าน .. ทั้งๆที่ตามเนื้อหาของหะดีษ
แล้ว บ่งบอกความรู้สึกว่า พวกเขาต้องการยืนขึ้นเพื่อให้
เกียรติเมื่อเห็นท่าน ...

       ผมเคยคิด, และจะยังยืนยันความคิดตามประสาคนโง่
อย่างผมอยู่เสมอและตลอดไปว่า มุสลิมที่มีอหม่านจริงๆ
                                             ี
นั้น จะต้องรักในสิ่งที่ท่านนบีย์รัก และจะต้องรังเกียจใน
สิ่งที่ท่านนบีย์รังเกียจ ...
       อ่านหะดีษของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ข้างต้น ซำ้ากัน
หลายๆเที่ยว .. พร้อมกับใช้สมองของท่านใคร่ครวญไป
ด้วย แล้วบางที ท่านอาจจะมีดวงตาเห็นธรรมก็ได้ ..
       (สำาหรับข้ออ้างของนักวิชาการหลายท่านที่อ้างว่า มี
หลักฐานว่าท่านศาสดาเคยใช้ให้เศาะหาบะฮ์กลุ่มหนึ่งของ
ท่าน “ยืน ให้เ กีย รติ” แก่ท่าน สะอฺด์ (สะอัด) บิน มุอาซ
ร.ฎ. นั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเจตนารมณ์ของ
หลักฐาน ดังที่ผมจะอธิบายข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในตอน
หลัง อินชาอัลลอฮ์) ...

     (2). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี
ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำาอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-
อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยษะมีย์ สองนัก
วิชาการดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ...

    ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวใน
หนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 ว่า ..

    ّ ُ ّ َِ ِ َ ّ ِ
     ‫فا ل ب د ع ة ف ى ع ر ف ال ش ر ع م ذ م و م ة ! ب خ ل َف ال ل غ ة ف إ ن ك ل‬
                             ِ ِ   ٌ َ ْ ُ ْ َ ِ ْ ّ      ِ ْ ُ ْ ِ ُ َ ْ ِْ َ
   َ‫ش ى ء أ ُ ح د ث ع لى غ ي ر م ثا ل سا ب ق ي س مى ب د ع ة، س وا ء كا ن‬
        َ ٌ َ َ     ً َ ْ ِ ّ َ ُ ٍ ِ َ ٍ َِ ِ َْ             ََ َ ِ ْ ٍ ْ َ
                                                     ‫... م ح م و دا أ َ و م ذ م و ما‬
                                                      ً ْ ُ ْ َ ْ ً ْ ُ ْ َ
24


      “ดังนั้น ความหมายของบิดอะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ
(ทั้งหมด) จึง เป็น สิ่ง ที่ถ ูก ประณาม , ต่างกับความหมาย
บิดอะฮ์ต ามหลัก ภาษา, .. เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมา
โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน จะถูก เรีย กว่า บิด อะฮ์ (ตาม
หลัก ภาษา) ทั้ง สิ้น ไม่ว ่า มัน จะเป็น เรื่อ งดีห รือ เรื่อ ง
เลว” ...
      คำาอธิบายนี้ ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆ
เพิ่มเติมอีกแล้ว ...

     ส่วนท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ก็ได้กล่าวอธิบาย
ไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่าน ดังการอ้างอิงใน
หนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” หน้า 39 ว่า
...

             ‫ف إ ن ا ل ب د ع ة ال ش ر ع ي ة ض ل َل ة ! ك ما قا ل ر س و ل ال لـ ه ص لى‬
                َّ ِ ّ ُ ْ ُ َ َ َ َ َ              ٌ َ َ َ ِّ ْ ّ          َ َ ْ ِْ ّ َِ
              ٍ َ َ
               ‫ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م، و م ن ق س م ها م ن ا ل ع ل ما ء إ ِ لى ح س ن‬
                        َ ِ َ َُ ْ َ ِ َ َ ّ َ ْ َ َ                 َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ
 ٍ‫و غ ي ر ح س ن ف إ ن ما ق س م ا ل ب د ع ة ال ل غ و ي ة، و م ن قا ل : ك لّ ب دْ عَ ة‬
          ِ ُ َ َ ْ َ َ            َ ِّ َ ّ َ َ ْ ِْ َ ّ َ َ َِّ ٍ َ َ ِ َْ َ
                                        ُ ِّ ْ ّ
                                         ‫... ض ل َلةٌ .. ف م ع نا ه ا ل ب د ع ة ال ش ر ع ي ة‬
                                                      ُ َ ْ ِْ ُ َْ َ َ           َ َ

      “แน่นอน สิ่ง บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ (ทุก อย่า ง)
เป็น ความหลงผิด ! ดังคำากล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์
ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. นักวิชาการท่านใดที่แบ่ง
มันออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็
เป็นเพียงการแบ่งมันตามหลัก ภาษาเท่า นั้น .. และผู้ใด
ที่กล่าวว่า ทุกๆบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิด ความหมายของ
เขาก็คือ หมายถึง บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” ...
      จะต้องให้อธิบายซำ้าอีกไหมครับ กับคำากล่าวของท่า
นอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมียข้างต้นนี้ ? ...
                           ์
      คำากล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ถือว่า
เป็นคำาอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำาแนกความเข้าใจ
อันสับสน -- แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ --
ระหว่าง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลัก
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid
Pramote maolid

More Related Content

What's hot

บทความการคิดแก้ปัญหา ลงสไรแชร์
บทความการคิดแก้ปัญหา  ลงสไรแชร์บทความการคิดแก้ปัญหา  ลงสไรแชร์
บทความการคิดแก้ปัญหา ลงสไรแชร์bussaba_pupa
 
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพ
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพเทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพ
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพณัฐพล บัวพันธ์
 
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานี
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานีฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานี
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานีCAPD AngThong
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพUtai Sukviwatsirikul
 
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาโครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาZiwapohn Peecharoensap
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51Suwanan Nonsrikham
 
Nadcisnienie w ciazy
Nadcisnienie w ciazyNadcisnienie w ciazy
Nadcisnienie w ciazyPolanest
 
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)1707253417072534
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมNattha Namm
 
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina Novaša
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina NovašaAntifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina Novaša
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina NovašaМихаил Павлович
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1nakaenoi
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesUtai Sukviwatsirikul
 
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558Utai Sukviwatsirikul
 
Dostosowanie wymagań edukacyjnych do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...
Dostosowanie wymagań edukacyjnych  do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...Dostosowanie wymagań edukacyjnych  do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...
Dostosowanie wymagań edukacyjnych do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...Aga Szajda
 
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุUtai Sukviwatsirikul
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์Utai Sukviwatsirikul
 

What's hot (20)

บทความการคิดแก้ปัญหา ลงสไรแชร์
บทความการคิดแก้ปัญหา  ลงสไรแชร์บทความการคิดแก้ปัญหา  ลงสไรแชร์
บทความการคิดแก้ปัญหา ลงสไรแชร์
 
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหารรวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
รวมแนวข้อสอบเจาะข้อสอบบริหาร
 
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพ
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพเทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพ
เทคนิคการตัดต่อและลำดับภาพ
 
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานี
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานีฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานี
ฺการดำเนินการCKD Clinic ในจังหวัดปทุมธานี
 
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพคู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
คู่มือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในคลินิก NCD คุณภาพ
 
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยาโครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
โครงการบริการงานส่งเสริมสุขภาพในร้านยา
 
หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51หลักสูตรแกนกลาง 51
หลักสูตรแกนกลาง 51
 
Nadcisnienie w ciazy
Nadcisnienie w ciazyNadcisnienie w ciazy
Nadcisnienie w ciazy
 
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)
เด็กพิการซ้ำซ้อน (ใหม่)
 
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อมแผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
แผ่นพับ ข้อเข่าเสื่อม
 
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina Novaša
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina NovašaAntifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina Novaša
Antifosfolipīdu sindroms. Arnita Baklašova un Arina Novaša
 
วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1วิจัย 29 ม.ค 1
วิจัย 29 ม.ค 1
 
Clinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptivesClinical case emergency contraceptives
Clinical case emergency contraceptives
 
ppt 2-8
ppt 2-8ppt 2-8
ppt 2-8
 
Cpg menopause
Cpg menopauseCpg menopause
Cpg menopause
 
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
แนวทางการรักษาไข้มาลาเรีย ประเทศไทย 2558
 
Dostosowanie wymagań edukacyjnych do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...
Dostosowanie wymagań edukacyjnych  do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...Dostosowanie wymagań edukacyjnych  do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...
Dostosowanie wymagań edukacyjnych do potrzeb psychofizycznych i edukacyjnych...
 
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
ยากันลืม: คู่มือป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
 
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
ยารักษาโรคจิตเวช รพ. สหัสขันธ์
 
Drugs used in lactation
Drugs used in lactationDrugs used in lactation
Drugs used in lactation
 

Viewers also liked

ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือ
ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือ
ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือMuttakeen Che-leah
 
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลาม
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลามการทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลาม
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลามMuttakeen Che-leah
 
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่Muttakeen Che-leah
 
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...Muttakeen Che-leah
 
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผย
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผยเหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผย
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผยMuttakeen Che-leah
 
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอมเดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอมMuttakeen Che-leah
 
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่Muttakeen Che-leah
 
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็น
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็นพระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็น
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็นMuttakeen Che-leah
 
วิเคราะห์ความโอ้อวด
วิเคราะห์ความโอ้อวดวิเคราะห์ความโอ้อวด
วิเคราะห์ความโอ้อวดMuttakeen Che-leah
 
การลงของอัลลอฮฺ
การลงของอัลลอฮฺการลงของอัลลอฮฺ
การลงของอัลลอฮฺMuttakeen Che-leah
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงMuttakeen Che-leah
 
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc  เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc Muttakeen Che-leah
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ CompleteMuttakeen Che-leah
 
การเวียนว่ายตายเกิด
การเวียนว่ายตายเกิดการเวียนว่ายตายเกิด
การเวียนว่ายตายเกิดMuttakeen Che-leah
 

Viewers also liked (19)

ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือ
ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือ
ผู้ก่อการร้ายจะต้องเป็นมุสลิมเท่านั้นหรือ
 
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลาม
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลามการทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลาม
การทำงานศาสนาด้านต่างๆ ในแง่ของการให้ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับอิสลาม
 
Bidah
BidahBidah
Bidah
 
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่
บันทึกย่อที่ไม่ได้จัดหมวดหมู่
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...
ในการสนทนากับชาวต่างศาสนิกนั้น มีหลายครั้งด้วยกันที่อีกฝ่ายจะยกข้อความมายาว ซ...
 
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผย
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผยเหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผย
เหตุผลหรือข้ออ้างลับที่ไม่ถูกเปิดเผย
 
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอมเดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม
 
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่
คิดถึงอิสลามยามมาร์กไม่อยู่
 
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็น
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็นพระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็น
พระเยซูเป็นพระเจ้าไม่ได้อย่างแน่นอน ด้วยเงื่อนไขบังคับและเงื่อนไขจำเป็น
 
ทาส1
ทาส1ทาส1
ทาส1
 
วิเคราะห์ความโอ้อวด
วิเคราะห์ความโอ้อวดวิเคราะห์ความโอ้อวด
วิเคราะห์ความโอ้อวด
 
การลงของอัลลอฮฺ
การลงของอัลลอฮฺการลงของอัลลอฮฺ
การลงของอัลลอฮฺ
 
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริงแนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
แนวทางศึกษาอิสลามให้ได้ซึ่งคำสอนที่แท้จริง
 
Radd qardjed
Radd qardjedRadd qardjed
Radd qardjed
 
ค็อฏฏ๊อบ.Doc
 ค็อฏฏ๊อบ.Doc  ค็อฏฏ๊อบ.Doc
ค็อฏฏ๊อบ.Doc
 
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc  เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Completeถามให้คิดสะกิดใจ Complete
ถามให้คิดสะกิดใจ Complete
 
การเวียนว่ายตายเกิด
การเวียนว่ายตายเกิดการเวียนว่ายตายเกิด
การเวียนว่ายตายเกิด
 

Similar to Pramote maolid

หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺMuttakeen Che-leah
 
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมาน
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมานละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมาน
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมานsunnahstudent
 
เล่ห์ชัยฏอน
เล่ห์ชัยฏอนเล่ห์ชัยฏอน
เล่ห์ชัยฏอนMuttakeen Che-leah
 
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมานsunnahstudent
 
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจ
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจแนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจ
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจKumobarick Achiroki
 
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับบทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับsunnahstudent
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชKumobarick Achiroki
 
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์Om Muktar
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...Om Muktar
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมWarakorn Pradabyat
 
Th twaijiriy fadhail_alsiyam
Th twaijiriy fadhail_alsiyamTh twaijiriy fadhail_alsiyam
Th twaijiriy fadhail_alsiyamLoveofpeople
 

Similar to Pramote maolid (16)

หนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺหนทางสสะลาฟียฺ
หนทางสสะลาฟียฺ
 
รับน้อง
รับน้องรับน้อง
รับน้อง
 
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมาน
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมานละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมาน
ละหมาดตะรอวีหฺ เขียนโดย อารีฟีน แสงวิมาน
 
เล่ห์ชัยฏอน
เล่ห์ชัยฏอนเล่ห์ชัยฏอน
เล่ห์ชัยฏอน
 
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
(ล่าสุดฉบับแก้ไขครั้งที่ 2) ละหมาดตะรอวีห์ โดย อาริฟีน แสงวิมาน
 
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจ
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจแนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจ
แนะนำอิสลามสำหรับผู้สนใจ
 
Mazhab
MazhabMazhab
Mazhab
 
Pramote tarorveah
Pramote tarorveahPramote tarorveah
Pramote tarorveah
 
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับบทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ
บทสนทนากับผู้ไม่มีมัซฮับ
 
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัชผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
ผู้ที่ได้รับอภิสิทธิ์จากอัลลอฮให้อยู่ใต้ร่มเงาของอรัช
 
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
รายอแน-ออกอีดบวช 6, ละหมาดตัสบีห์
 
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
คำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรี : การบริจาคอวัยวะและการใช้ประโยชน์จากอวัยวะขอ...
 
Mawlid nabi
Mawlid nabiMawlid nabi
Mawlid nabi
 
สะพานนรก
สะพานนรกสะพานนรก
สะพานนรก
 
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีมตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
ตัฟซีร ซูเราะฮ์อัตตะฮ์รีม
 
Th twaijiriy fadhail_alsiyam
Th twaijiriy fadhail_alsiyamTh twaijiriy fadhail_alsiyam
Th twaijiriy fadhail_alsiyam
 

More from Muttakeen Che-leah

เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc  เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc Muttakeen Che-leah
 
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกด
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกดวิจารณ์เวียนว่ายตายเิกด
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกดMuttakeen Che-leah
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษMuttakeen Che-leah
 
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัย
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัยลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัย
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัยMuttakeen Che-leah
 
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์Muttakeen Che-leah
 
แผนที่ตรรกะ
แผนที่ตรรกะแผนที่ตรรกะ
แผนที่ตรรกะMuttakeen Che-leah
 
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรม
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรมตรรกเอาความเป็นรูปธรรม
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรมMuttakeen Che-leah
 
ตรรก และ เหตุผลวิบัติ
ตรรก และ เหตุผลวิบัติตรรก และ เหตุผลวิบัติ
ตรรก และ เหตุผลวิบัติMuttakeen Che-leah
 
ถลกหนังไซออนนีส
ถลกหนังไซออนนีสถลกหนังไซออนนีส
ถลกหนังไซออนนีสMuttakeen Che-leah
 
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษแนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษMuttakeen Che-leah
 

More from Muttakeen Che-leah (14)

ทุกศาสนา
ทุกศาสนาทุกศาสนา
ทุกศาสนา
 
Al kafi
Al kafiAl kafi
Al kafi
 
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc  เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
เดินทางโดยไม่มีมะฮฺรอม.Doc
 
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกด
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกดวิจารณ์เวียนว่ายตายเิกด
วิจารณ์เวียนว่ายตายเิกด
 
วิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษวิเคราะห์ฮะดีษ
วิเคราะห์ฮะดีษ
 
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัย
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัยลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัย
ลัทธิภาคีนิยมในรั้วมหาวิทยาลัย
 
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์
มาตรวจสอบอารมณ์กันก่อนที่จะวิเคราะห์
 
แผนที่ตรรกะ
แผนที่ตรรกะแผนที่ตรรกะ
แผนที่ตรรกะ
 
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรม
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรมตรรกเอาความเป็นรูปธรรม
ตรรกเอาความเป็นรูปธรรม
 
ตรรก และ เหตุผลวิบัติ
ตรรก และ เหตุผลวิบัติตรรก และ เหตุผลวิบัติ
ตรรก และ เหตุผลวิบัติ
 
Names list of_logical_fallacy
Names list of_logical_fallacyNames list of_logical_fallacy
Names list of_logical_fallacy
 
Guide of association
Guide of associationGuide of association
Guide of association
 
ถลกหนังไซออนนีส
ถลกหนังไซออนนีสถลกหนังไซออนนีส
ถลกหนังไซออนนีส
 
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษแนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
แนวทางของนักปราชญ์ในการพิจารณาตัวบทฮะดีษ
 

Pramote maolid

  • 1. 1 ปัญ หาการทำา เมาลิด โดย อ.ปราโมทย์ ศรีอุทัย ِ ِْ َ ْ ِ َ َ ْ ِ ِ ِ ْ َ ْ ُ ْ ُ ‫ح س ن ا ل م ق ص د ف ى ع م ل ا ل م و لـ د‬ นี่ คือ ชือหนังสือที่ท่านอัส-สะยูฏีย์ (สิ้นชีวิตปี ฮ.ศ. ่ 911) นักวิชาการผู้ได้ชื่อว่าเป็น “มุจญตะฮิด” ท่าน สุดท้ายได้เขียนขึ้น เพื่อสนับสนุนแนวคิดการทำาเมาลิด หรือพิธีกรรมเฉลิมฉลองวันคล้ายวันเกิดท่านศาสดามุหัม มัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่าเป็นเรื่องดีงามควร ปฏิบัติหรืออีกนัยหนึ่ง เป็น “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ... หนังสือนี้ ถูกบรรจุอยู่ในเล่มที่ 1 หน้า 292-305 ของหนังสือชุดรวมเล่มการตอบปัญหาของท่านอัส-สะยูฏีย์ ที่มชื่อว่า “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย์” ... ี เช่นเดียวกันกับท่านเช็คมุหัมมัด บิน อะละวีย์ อัล-มัก กีย์ นักวิชาการชาวอฺรับยุคหลังท่านหนึ่งที่ได้เขียนหนังสือ ขึ้นมาเล่มหนึ่ง มีความหนาประมาณ 40 หน้า, ในหนังสือ เล่มนี้ ท่านเช็คมุหัมมัด บิน อะละวีย์ ได้อ้าง “เหตุผ ล” รวม 21 ประการเพื่อยืนยันว่า การจัดงานฉลองวันเกิดของท่าน ศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เป็นสิ่งที่ชอบและควร ปฏิบัติ ... เช่นเดียวกับท่านหัจญีซิรอญุดดีน อับบาส แห่ง อินโดนีเซีย ที่ได้เขียนหนังสือรวมเล่มชื่อ “มัสอะละฮ์ อู กามา” ซึงในหนังสือดังกล่าว ท่านหัจญีซิรอญุดดีน ก็ได้ ่ อ้าง “เหตุผ ล” มากมายหลายประการมาสนับสนุนการทำา เมาลิด ซึงเราจะหาอ่านได้จากฉบับคำาแปลที่ชื่อว่า “ข้อโต้ ่ แย้งปัญหาศาสนา” ของท่านอาจารย์อับดุลการีม วันแอ เลาะ .. เล่มที่ 1 หน้า 98-125 ... .....ฯลฯ ..... แต่, จากหนังสือที่ได้เอ่ยชื่อมาเหล่านี้ ที่ผมเห็นว่า “เข้าท่า” ที่สุด และเป็น “วิชาการ” ที่สุดก็คือ หนังสือ “
  • 2. 2 ‫ ” حسن المقصد فى عمل المولد‬ของท่านอัส-สะยูฏีย์ที่ผม ระบุชื่อมาข้างต้น ... ส่วนหนังสืออีก 2 เล่มที่เหลือ หรือหนังสืออื่นๆที่ เขียนขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการทำาเมาลิด ส่วนใหญ่แล้วจะเป็น เรื่องของการอ้าง “เหตุผ ล” (มิใช่หลักฐาน) มาสนับสนุน เรื่องนี้ .. ซึงแน่ละ, จะไปค้นหา “หลักฐาน” เรื่องการทำา ่ เมาลิดที่ไหนมาอ้างอิงได้ ?, .. ในเมื่อพิธีกรรมเมาลิดนี้ ถูกก่อกำาเนิดขึ้นมาในประเทศอียิปต์ประมาณปี ฮ.ศ. 362 .. (คือหลังจากท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ ตายไปแล้วตั้ง 352 ปี) .. โดยสุลฏอนอัล-มุอิซ ลิดีนิลลาฮ์ แห่งวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ ซึ่งเป็น “กษัตริย์ชีอะฮ์” ที่ปกครอง ประเทศอียิปต์ในยุคนั้นเป็นผู้ริเริ่มขึ้นมา ด้วยเหตุผลที่นัก ประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่า เพื่อ “หวัง ผลแห่ง การ ปกครอง” .. อันเป็นเรื่องของการเมือง ... สำาหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาหาความเข้าใจ --- ด้วยใจ เป็นธรรม --- เกี่ยวกับเรื่องพิธีกรรมเมาลิดว่า เป็นเรื่องที่ ควรปฏิบัติหรือไม่อย่างไร ? นั้น .. ก่อนอื่น ก็ให้ท่านลอง ถามตัวเองดูก่อนว่า เรื่องการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลอง วันเกิดของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ที่นิยมจัด กันเป็นพิเศษในประเทศไทยนั้น เป็น ปัญ หาขัด แย้ง ใช่ หรือ ไม่ ? ... ถ้าท่านตอบว่าใช่, ผมก็มองไม่เห็นประโยชน์ใดๆเลย ที่ท่านจะไปยึดติดกับ “เหตุผ ล” อันมากมายที่ผู้เขียน หนังสือส่งเสริมให้ทำาเมาลิดบางคน (หรือแทบจะทุกคน) อ้างขึ้นมา เพื่อสนับสนุนเรื่องการทำาเมาลิด .. ตราบใด ก็ตามที่ท่านผู้เขียนหนังสือเหล่านั้น ยังไม่สามารถหาสิ่งที่ เรียกกันว่า “หลัก ฐาน”มายืนยันแนวคิดของตนได้ ... ทั้งนี้ ก็เพราะในมุมตรงข้ามกับผู้ส่งเสริมการทำาเมาลิด เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีนักวิชาการ --- ทั้งในอดีตและปัจจุบัน --- จำานวนมากที่คัดค้านเรื่องการทำาเมาลิด ! และพวกเขา ก็มี “เหตุผ ล” ของพวกเขา มาหักล้างเหตุผลของฝ่าย สนับสนุนได้เช่นเดียวกัน ...
  • 3. 3 การ “หัก ล้า ง” กัน ด้ว ยเหตุแ ละผล มิใ ช่เ ป็น “ทางออกที่ถ ูก ต้อ ง” ของการแก้ไ ขปัญ หาขัด แย้ง ตามหลัก การและบทบัญ ญัต ิศ าสนา ..ไม่ว ่า ในเรื่อ ง การทำา เมาลิด หรือ เรื่อ งอะไรก็ต าม ... ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “ทางออกที่ถูกต้องในเรื่องนี้ ? ... แน่นอน, คำาตอบก็คือ การกลับไปหากิตาบุลลอฮ์ และ ซุนนะฮ์ของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม --- ดังคำาบัญชาของพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. --- คือสิ่งเดียวที่ จะแก้ปัญหาขัดแย้งของศาสนาได้ สำาหรับผู้ที่ “มีอ ีห ม่า น ต่อ อัล ลออ์ และวัน อาคิเ ราะฮ์” .. ดังคำากล่าวของพระ องค์อัลลอฮ์ ซ.บ. อีกเช่นกัน ... ประวัติศาสตร์อิสลามเคยบันทึกไว้ (แม้จะด้วยสาย รายงานที่ค่อนข้างอ่อน) ว่า เมื่อตอนที่ท่านศาสดาสิ้นชีพ นั้น บรรดาเศาะหาบะฮ์ต่างก็ขัดแย้งกันในเรื่องสถานที่ฝัง ศพของท่าน, บางคนบอกว่า ให้นำาท่านไปฝังที่นครมัก กะฮ์, บางคนบอกว่า ให้ฝังท่านที่กุบูรฺบะเกี๊ยะอฺในนครมะดี นะฮ์ร่วมกับบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บางคนบอกว่า ให้นำาท่านไปฝังที่บัยตุ้ลมักดิซที่นครเยรูซาเล็ม -- (จาก หนังสือ “ตั๊วะห์ฟะตุ้ล อะห์วะซีย์” เล่มที่ 4 หน้า 98) -- โดยแต่ล ะฝ่า ยต่า งก็อ ้า ง “เหตุผ ล” ที่น ่า เชื่อ ถือ มาสนับ สนุน ทัศ นะของตนด้ว ยกัน ทั้ง สิ้น ... แน่ละ หากจะตัดสินข้อขัดแย้งในครั้งนั้นตาม “เหตุผล” ของแต่ละฝ่าย ก็ยากที่จะหาข้อยุติให้เป็นที่ ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ... จนกระทั่งเมื่อท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ได้อ้าง “ซุน นะฮ์” ในเรื่องนี้ .. อันได้แก่คำาสั่งของท่านศาสดาเองที่ว่า ... ُ‫“ ... ما ق ب ضَ ن ب ى إ ِ ل ّ د ف ن ح ي ث ي ق ب ض‬ผู้เป็นนบีย์นั้น ตาย َْ ُ ُ َْ َ ِ ُ ّ َِ ُِ َ ที่ไหนให้ฝังที่นั่น” .. (ดังการบันทึกของท่านอัต-ติรฺมีซย์ ี จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร.ฎ. หะดีษที่ 1018, และท่านอิบนุ มาญะฮ์ จากท่านอิบนุ อับบาส ร.ฎ. หะดีษที่ 1628 ซึ่ง
  • 4. 4 สำานวนข้างต้นเป็นสำานวนจากการบันทึกของท่านอิบนุ มาญะฮ์) ข้อ ขัด แย้ง ต่า งๆในเรื่อ งนี้จ ึง ยุต ิล งด้ว ยดี เพราะ “ซุน นะฮ์” ของท่า นนบีย ์ ที่พวกเขา – บร รดาเศาะหาบะฮ์ – ต่างก็เคารพเทิดทูนและพร้อมที่จะปฏิบัติ ตามอย่างเคร่งครัดตลอดเวลา ... แล้วพวกเราล่ะ ! พร้อมที่จะปฏิบัติตามและยอมรับซุน นะฮ์เป็นตัวตัดสินปัญหาขัดแย้ง .. เหมือนบรรดาเศาะหาบ ะฮ์เหล่านั้นแล้วหรือยัง ? ... ถ้าเราจะพิจารณาพฤติการณ์ของมุสลิมเราในส่วน ที่เกี่ยวข้องกับท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม --- ในแง่ของการให้ความสำาคัญ, ให้ความรัก, ให้เกียรติต่อ ท่าน --- ในทางปฏิบัติเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ก็จะแบ่งออก เป็น 2 ลักษณะคือ ... (1). การให้ให้ความสำาคัญ, ความรัก, และให้เกียรติ ใน “ตัว” ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, และ “วิธีการ” แสดงความรักและการให้เกียรติใน ตัวท่าน ... (2). การให้ความสำาคัญกับ “วันเกิด” .. และ “วิธี การ” แสดงการให้เกียรติวันเกิดของท่าน ... ทั้ง 2 ประการนี้ ตามหลักการแล้วไม่เหมือนกัน, แต่ คนส่วนใหญ่กลับมองเป็น “คนละเรื่องเดียวกัน” ... สำาหรับข้อแรก คือความรักใน “ตัว” ท่านนบีย์นั้น ข้อนี้ไม่มีความขัดแย้งใดๆไม่ว่าจากมุสลิมกลุ่มซุนหนี่, ชีอะฮ์, หรือกลุ่มไหนว่า เป็นเป็นบทบัญญัติที่จำาเป็น สำาหรับมุสลิมผู้มีอีหม่านทุกคน จะต้องรักและให้เกียรติใน ตัวท่าน, ใช่เพียงแต่แค่นั้น แต่จะต้องรักท่านให้มากกว่า รักตัวเอง, มากกว่ารักพ่อแม่หรือลูกๆของตัวเอง, และ มากกว่ารักมนุษย์ทุกคนในโลกด้วยซำ้าไป ... ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ได้ กล่าวว่า ...
  • 5. 5 ِ ِ ََ َ ِ ِ ِ ‫ل َي ؤ م ن أ ح د ك م حَ تى أَ ك و ن أَ ح ب إ ل ي ه مِ نْ وَا ل د ه و و ل د ه‬ ِ َِْ ّ َ َ ْ ُ ّ ْ ُ ُ َ َ ُ ِ ْ ُ َ ِْ َ ْ َ ِ ‫وَال نا س أ ج م ع ي ن‬ ّ “คนใดจากพวกท่านจะยังไม่ศรัทธา จนกว่าฉัน (หมายถึงท่านนบีย์) จะเป็นที่รักของเขายิ่งกว่าพ่อแม่ของ เขา, ลูกๆของเขา, และยิ่งกว่ามนุษย์ทั้งมวล” .. (บันทึกโดยท่านบุคอรีย์ หะดีษที่ 15, และท่านมุสลิม หะดีษที่ 70/44) ประเด็นต่อมาก็คือ เมื่อเรารักท่านนบีย์แล้ว “วิธ ี การ” ที่จะแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติในตัวท่าน ตามบทบัญญัติล่ะ เราจะต้องปฏิบัติอย่างไร ? ... เรื่องนี้ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงกำาชับไว้ในอัล- กุรฺอ่านหลายต่อหลายโองการ อาทิเช่น ... ‫م ن ي ط ع ال ر س و ل ف ق د أ َ طا ع ال لـ ه‬ َ ّ َ َ ْ َ َ َ ْ ُ ّ ِ ِ ّ ْ َ “ผู้ใดที่เคารพเชื่อฟังรอซู้ล แน่นอน เขาเคารพเชื่อ ฟังอัลลอฮ์ด้วย” (จากซูเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ อายะฮ์ที่ 80) หรือจากโองการที่ว่า ... ‫ومآ أ َ تا ك م ال ر س و ل ف خ ذ و ه و ما ن ها ك م‬ ْ ُ َ َ َ َ ُ ْ ُ ُ َ ُ ْ ُ ّ ُ ُ َ َ ‫ع ن ه فا ن ت ه وا‬ ْ ُ َْ َ ُ َْ “และสิ่งใดที่รอซู้ลนำามาให้พวกสูเจ้า ก็จงรับไป ปฏิบัติ, และสิ่งใดที่รอซู้ลห้ามพวกสูเจ้า ก็จงยุติ” .. (จากซูเราะฮ์ อัล-หัชร์ โองการที่ 7) หรือจากโองการที่ว่า ... ُ ‫ق ل إ ِ ن ك ن ت م ت ح ب و ن ال لـ ه فا ت ب ع و ن ى ي حْ ب ب ك م اللّـ ه‬ ُ ُ ِْ ُ ْ ِْ ُ ِّ َ َ ّ َ ْ ِّ ُ ْ ُُْ ْ ْ ُ ْ َْ ُُ ْ ُ َْ ِ ْ ََ ‫و ي غ ف ر ل ك م ذ ن و ب كُ م‬
  • 6. 6 “จงบอกเถิด (โอ้ มุหัมมัด) ว่า หากพวกสูเจ้ารักอัลลอฮ์ ก็จ งปฏิบ ัต ิต ามฉัน แล้วอัลลอฮ์ก็จะรักพวกสูเจ้า และ พระองค์จะอภัยโทษแก่พวกสูเจ้า” .. (จากซูเราะฮ์ อาลิ อิมรอน โองการที่ 30) หรือจากโองการที่ว่า ... ‫ف ل ي ح ذ را ل ذ ي ن ي خا ل ف و ن ع ن أ َ م ر ه أ َ ن ت ص ي ب ه م ف ت ن ة أ َ و‬ ْ ٌ َِْ ْ ُ َِْ ُ ْ ِ ِ ْ ْ َ َ ْ ُ ِ َ ُ َ ِْ ّ ِ َ ْ ََْ ‫ي ص ي ب ه م ع ذا ب أ َ ل ي م‬ ٌ ِْ ٌ َ َ ْ ُ َِْ ُ “ดังนั้น บรรดาผู้ที่ฝ่าฝืนคำาสั่งของเขา (มุหัมมัด) พึง ระวังเคราะห์ร้ายจะบังเกิดกับพวกเขา, หรือการลงโทษ ทัณฑ์อันเจ็บปวดจะประสบต่อพวกเขา” ... (จากซูเราะฮ์ อัน-นูรฺ โองการที่ 63) หรือจากโองการที่ว่า ... ْ ُُْ ْ ِ ْ ُ ّ َ ِ ّ ‫ف إ ن ت نا ز ع ت م ف ى ش ي ء ف ر د و ه إ ِ لى ال لـ ه وال ر س و ل إ ِ ن ك ن ت م‬ َ ُ ْ ّ ُ َ ٍ ْ َ ْ ِ ْ ُْ َ ََ ْ َِ ً ‫ت ؤ م ن و ن بال لـ ه وا ل ي و م ال خ ر ذ ل ك خ ي ر وَ أ َ ح س ن ت أ و ي ل‬ ِْ َْ ُ َ ْ ٌ َْ َ َِ ِ ِ ْ ِ ْ َْ َ ِ ّ ِ َ ْ ُِ ْ ُ “แล้วเมื่อพวกสูเจ้าขัดแย้งกันในสิ่งใด ดังนั้น จงนำา มันกลับไปหาอัลลอฮ์ (คือคัมภีร์อัล-กุรฺอ่าน) และรอซู้ล (คือ ตัวท่านศาสดาเองหรือซุนนะฮ์ของท่าน) หากพวกสูเ จ้า ศรัท ธาต่อ อัล ลอฮ์แ ละวัน อาคิเ ราะฮ์จ ริง , นั่นคือ สิ่งที่ ดีที่สุด และเป็นการกลับ (คือทางออก)ทีดีที่สุดด้วย” ... ่ (จากซูเราะฮ์ อัน-นิซาอ์ โองการที่ 59) ... หรือจากหะดีษของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัย ฮิวะซัลลัมเองที่กล่าวว่า .. ْ ُِّ ِ ْ ُ ََْ ‫م ن ي ع ش م ن كُ م ف س ي رى ا خ ت لفا ك ث ي را ف ع ل ي ك م ب س ن ت ى‬ ً َِْ َ ِْ َ ََ َ ْ ِْ ْ ِ َ ْ َ ‫و س ن ة ا ل خ ل فا ء ال را ش د ي ن ا ل م ه د ي ي ن م نْ ب ع د ى ع ض وا عَ لَ يْ ها‬ َ ْ ّ َ ْ ِ ْ َ ِ َ ِّْ ْ َ ْ َ ِْ ِ ّ ِ َ َُ ْ ِ ُّ َ ِ ِ َ ّ ِ ‫.... بال ن وا ج ذ‬ “พวกท่านคนใดที่ยังมีชีวิตอยู่ ต่อไปเขาก็จะได้เห็น ความขัดแย้งเกิดขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้น หน้าที่ของพวก
  • 7. 7 ท่านก็คือ การปฏิบ ัต ิต ามซุน นะฮ์ข องฉัน , และซุนนะฮ์ ของคอลีฟะฮ์ผู้ปราดเปรื่องและทรงคุณธรรมหลังจากฉัน, จงกัด มัน (ซุนนะฮ์ของฉันและซุนนะฮ์ของคอลีฟะฮ์ของ ฉัน) ให้แ น่น ด้ว ยฟัน กราม ..... ” มีไหม .. หลักฐานที่ว่า ให้เราปฏิบัติตามทัศนะของใคร ก็ได้เมื่อเกิดขัดแย้ง ? .. หลักฐานต่างๆเหล่านี้ ไม่ใช่หลัก ฐานเรื่องความรักและให้เกียรติ “วัน เกิด ” ท่านศาสดา แต่เป็นหลักฐานเรื่องความรักและการให้เกียรติ “ตัว ” ท่านศาสดาเองโดยปราศจากข้อขัดแย้งจากนักวิชาการ ท่านใดทั้งสิ้น ... สำาหรับ “วิธีการ” แสดงความรักและให้เกียรติ “ตัว” ท่านศาสดาดังหลักฐานข้างต้นนั้น ตัวอย่างที่ดีที่สุด ของสิ่งที่กล่าวมานี้ทั้งหมด ก็คือพฤติการณ์ของบร รดาเศาะหาบะฮ์ของท่านศาสดาเองในอดีต ... การแสดงออกถึงความรักที่มีต่อ “ตัว” ท่านศาสดา ตามแบบฉบับของบรรดาเศาะหาบะฮ์ก็คือ การปฏิบัติตาม ท่าน, เชือฟังท่าน, กระทำาตามคำาสั่งของท่าน, ละเว้นข้อ ่ ห้ามของท่าน, ฟื้นฟูซุนนะฮ์ของท่านทั้งที่ลับและที่แจ้ง, เผยแผ่สารของท่าน, เสียสละเพื่อท่านและเพื่อสิ่งเหล่านี้ทั้ง กาย วาจา และใจ, และหันกลับไปหา “ซุนนะฮ์” ของ ท่านเมื่อยามเกิดความขัดแย้งในระหว่างพวกเขา และ ต้องการจะยุติมัน... ซึงการกระทำาสิ่งต่างๆดังกล่าวข้างต้น ่ นี้ได้ พวกท่านจะปฏิบัติมัน เท่าที่พวกท่านสามารถและ โอกาสอำานวยให้ โดยไม่ไ ด้จ ำา กัด เวลา , ไม่จ ำา กัด สถานที่, และไม่ไ ด้ก ำา หนดรูป แบบใดๆขึ้น มาเอง โดยพลการ ... ส่วนวิธีการแสดงความรักหรือให้เกียรติท่านด้วยรูป แบบ “ประจบสอพลอ” ดังที่นิยมปฏิบัติกันในปัจจุบัน .. อย่างเช่น การยืนขึ้นเพื่อเป็นการให้เกียรติเมื่อเห็นท่าน ... ปรากฏว่า ในกรณีนี้ เป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจจนบร
  • 8. 8 รดาเศาะหาบะฮ์ “แหยง” และไม่กล้าปฏิบัติต่อท่าน ดัง รายละเอียดที่ผมจะเขียนชี้แจงในตอนหลัง อินชาอัลลอฮ์ ที่น่าสังเกตอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ว่าพวกเขาจะมีความ รักในตัวท่านศาสดามากมายสักเพียงใดก็ตาม แต่ก็ไม่ เคยปรากฏว่า จะมีเศาะหาบะฮ์ท่านใดแสดงออกถึงความ รักและให้เกียรติท่าน ด้วยการจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ แก่ท่านเสียใหญ่โตอย่างที่เรียกกันว่า “การทำาเมาลิด” เหมือนพวกเราบางคนในปัจจุบัน ... ส่วนการให้ความสำาคัญต่อ “วัน เกิด ” ของท่าน ศาสดา ด้วยการจัด งานเมาลิด หรือพิธีกรรมเฉลิมฉลอง วันเกิดของท่าน, เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า ทั้ง “เป้า หมาย” และ “วิธีการ” ของมัน แตกต่างกับ “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” แสดงความรักใน “ตัว ” ท่านดังที่กล่าวมา แล้ว ... ทั้งนี้ เพราะการจัดงานเมาลิด ถือเป็นพิธีกรรม “ใหม่” ที่ถูกริเริ่มขึ้นมาหลังจากปี ฮ.ศ. 362, โดยมี “เป้าหมาย” เพื่อให้ความสำาคัญและให้เกียรติกับกับ “วัน เกิด ” ของท่านนบีย์, .. แถมยังมี “วิธ ีก าร” และ “รูป แบบ” การให้เกียรติเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัว ซึ่งเท่า ที่เห็นทำากันมาก็คือหากมีการจัดกันที่บ้าน ก็จะมีการร่วม กันอ่านหนังสือ “บัรฺซันญีย์” หรือ “บุรฺดะฮ์” .. อันเป็นบท ร้อยกรองบรรยายถึงชีวประวัติของท่าน .. และเมื่อถึงตอน ที่กล่าวถึงการกำาเนิดของท่านนบีย์ ทุกคนก็จะลุกขึ้นยืน พร้อมๆกัน นัยว่าเพื่อให้เกียรติท่าน (แถมบางคนยังเชื่อว่า ท่านนบีย์จะมาร่วมปรากฏตัวและสัมผัสมือกับพวกเขาใน ขณะนั้นด้วย หลายคนจึงยืนในลักษณะแบมือออกเพื่อรับ การ “สัมผัสมือ” กับท่านนบีย์) ... และหลังจากการอ่านดุ อาที่ถูกรัอยกรองขึ้นอย่างไพเราะเพราะพริ้งและยืดยาวจบ ลง ก็จะมีการร่วมรับประทานอาหารกันเป็นการส่งท้าย, ... แถมในบางท้องที่เมื่อเสร็จพิธีเมาลิดแล้ว ยังมีการแจก “จา ด” คือของชำาร่วยอันเป็นขนมต่างๆที่ถูกใส่ในหม้อหรือถัง นำ้าใบเล็กๆหุ้มด้วยกระดาษแก้วสวยงาม ให้ผู้มาร่วมงาน
  • 9. 9 เมาลิดได้ถือติดไม้ติดมือกลับไปฝากลูกหลานที่บ้านอีกต่าง หาก .. ต่อมา การทำาเมาลิดด้วยวิธีการดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็ได้ขยายตัวออกไปในบางท้องที่ด้วยการจัดให้มีพิธีกรรม เมาลิดและอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์ใน “ทุก ๆงานเลี้ย ง” ที่ จัดขึ้น .. ไม่ใช่เฉพาะในวันเกิดท่านนบีย์เพียงอย่างเดียว แต่ยังแพร่ระบาดและครอบคลุมไปถึงงานแต่งงาน, การ ทำาอะกีเกาะฮ์, การขึ้นบ้านใหม่ และไม่เว้นแม้แต่ในการ ทำาบุญ (??) บ้านคนตาย โดยที่นอกจากจะไม่มีเสียงคัด ค้านใดๆแล้ว ยังได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากผู้ที่ ได้ชื่อว่าเป็น “ท่านผู้รู้” ในท้องที่เป็นอย่างดีอีกด้วย ... ที่กล่าวมานี้ คือรูปแบบการทำาเมาลิด ที่จัดขึ้นใน ประเทศไทย, --- โดยเฉพาะในภาคใต้ --- เข้าใจว่า ใน ต่างประเทศ แม้แต่ประเทศอียิปต์อันเป็นต้นกำาเนิดของงาน เมาลิดเอง ก็คงจะไม่มีการอ่านหนังสือบัรฺซันญีย์, หรือการ แจกจาด, หรือการเดิน “กิน” งานเมาลิดวันละ 4-5 บ้าน หรือมากกว่านั้น .. อย่างในประเทศไทยแน่ๆ ... การให้เกียรติและให้ความสำาคัญกับ “วัน เกิด ” ของ ท่านนบีย์ด้วยวิธีการ ดังกล่าว ถือเป็นรูปแบบที่มุสลิมยุค แรกอันถือว่าเป็นยุคที่เลอเลิศที่สุด คือ ยุคของท่านศาสดา เอง, ยุคของเศาะหาบะฮ์, ยุคของตาบิอีน, ยุคของตาบิอิต ตาบิอีน หรือยุคหลังจากนั้นมาอีกร่วมร้อยกว่าปี ไม่เคยมี ใครรู้จัก “วิธ ีก าร” แสดงความรักต่อตัวท่านนบีย์หรือต่อ วันเกิดของท่านนบีย์ ในรูปแบบนี้มาก่อนเลย .. ด้วยมติ เอกฉันท์ของนักวิชาการ ... ด้วยเหตุนี้ จึงมิใช่เรื่องแปลกที่มีนักวิชาการจำานวน มากคัดค้านพิธีกรรมเมาลิดและมองว่า การทำาเมาลิด ถือว่า เป็น “อุตริกรรม” หรือเป็น “บิดอะฮ์ที่ต้องห้าม” .. การคัดค้านดังกล่าว มิใช่เพิ่งจะมีขึ้นในยุคหลังๆนี้ เท่านั้น แต่ปรากฏว่ามีขึ้นตั้งแต่มีการริเริ่มพิธีกรรมเมาลิด ในประเทศอียิปต์ยุคแรกด้วยซำ้าไป ... ดังที่ผู้เขียนประวัติ งานเมาลิดแทบทุกท่าน ต่างก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า พิธีกรรม
  • 10. 10 เมาลิดในประเทศอียิปต์อันเป็นแหล่งกำาเนิด ต้องล้มลุก คลุกคลานอยู่หลายครั้ง กว่าผู้ที่นิยมในพิธีกรรมดังกล่าวนี้ จะพยายามอนุรักษ์มันไว้อย่างสุดความสามารถ แล้ว สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันในที่สุด ... หากจะมีการอ้างว่า ... งานเมาลิดที่จัดขึ้นมิใช่มี เป้าหมายเพื่อให้เกียรติวันเกิดของท่านศาสดาเป็นการ เฉพาะหรอก แต่เป้าหมายจริงๆก็เพื่อเป็นการแสดงความ รักและให้เกียรติตัวท่านศาสดานั่นแหละ .. เพีย งแต่ม า “กำา หนด” จัด งานแสดงความรัก ขึ้น ในวัน ที่ต รงกับ วัน เกิด ของท่า นเท่า นั้น เพราะถือว่า วันเกิดของท่าน เป็นวันที่มุสลิมทุกคนควรจะปลาบปลื้มยินดีในความ โปรดปรานที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ทรงให้ท่านศาสดาถือ กำาเนิดมาในวันนั้น .. และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมา ลิด ก็ล้วนเป็นสิ่งที่ศาสนาส่งเสริมทั้งสิ้น อาทิเช่น การเลี้ยง อาหาร, การอ่านหนังสือชีวประวัติของท่าน, การอ่านอัล- กุรฺอ่าน, การซิกรุ้ลลอฮ์ เป็นต้น ... ก็ขอเรียนว่า ข้ออ้างดังกล่าวนี้แหละ จะยิ่ง “ตอกยำ้า ” ความเป็น “บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” อันเป็น เรื่องต้องห้ามของงานเมาลิดให้เด่นชัดยิงขึ้น ... ่ จริงอยู่, ความรักและการให้เกียรติท่านนบีย์ เป็นสิ่งที่ ดี และสิ่งที่มีการปฏิบัติกันในงานเมาลิดดังที่กล่าวมานั้น โดยหลักการทั่วไป ก็เป็นสิ่งที่ดีและเป็นเรื่องที่ศาสนาส่ง เสริม แต่เราต้องไม่ลืมว่า สิ่ง “ดี” ใดๆที่จะถือว่าป็นสิ่งที่ดี ก็ต่อเมื่อเราปฏิบัติให้ถูกต้องตามกาลเทศะของมันด้วย ... หากปฏิบัติให้ผิดกาลเทศะเมื่อไร สิ่ง “ดีๆ” ก็อาจจะ กลายเป็น “สิ่งไม่ดี” ได้เช่นเดียวกัน ... และดังได้กล่าวมาแล้วในหน้าที่ 6 ว่า การแสดงออก ถึงความรักและการให้เกียรติท่านศาสดาตามแบบฉบับที่ถูก ต้องของบรรดาเศาะหาบะฮ์นั้น หลัก ใหญ่ข องมัน ก็ค ือ การ “ปฏิบ ัต ิต ามและฟื้น ฟูซ ุน นะฮ์ข องท่า น ” อย่า ง
  • 11. 11 เคร่ง ครัด เท่า ที่ส ามารถและโอกาสอำา นวยให้ โดย พวกท่านจะไม่เคยไปกำาหนดเวลา, กำาหนดสถานที่, หรือ กำาหนดรูปแบบใดๆเพื่อแสดงความรักท่านศาสดาขึ้นมาเอง โดยพลการอย่างพวกเราเลย ... ท่านเช็คอะลีย์ มะห์ฟูศ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-อิ บดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” ของท่าน หน้าที่ 281 ว่า ... ْ ٍ ْ ِ ِْ ْ َ ً َ ‫فَ إ ن السّ ل ف الصّا ل ح ل م يَ ك ن ل ه م عَا د ة بِ ت خ ص ي ص يَ و م أَ و‬ ْ ُ َ ْ ُ ْ َ َ ِ َ َ ّ ِ َ‫ل ي ل ة بِا ل ع با دا ت إ ل ّ إِ ذا ثَ ب ت ذَ ل ك عَ ن النّ ب ى ع ل ي ه ال ص ل َة وَال سّ ل َم‬ ُ ّ ِ ََْ ّ ِ ِ َ ِ َ َ َ ِ ِ َ َِ ْ ٍ ََْ َ َ ْ ‫.... و ص حا ب ت ه الْ ك را م فَ جا ء ب ع د ه م ه ؤ ل َء وَ ع ك سواا ل حا ل‬ ُ َ َ ِ ُ َ ْ ُ َ ْ َ َ َ ِ َ ِ ِ َِ َ َ َ “บรรดาบรรพชนผู้ทรงคุณธรรมยุคแรกๆนั้น ปกติ แล้วพวกเขาจะไม่เคยไป “กำาหนด” วันไหนหรือคืนไหน เพื่อทำาอิบาดะฮ์ใดๆเป็นพิเศษเลย นอกจากจะมีหลักฐาน “กำาหนด” ชัดเจนมาจากท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะ ลัยฮิวะซัลลัมหรือจากเศาะหาบะฮ์ผู้ทรงเกียรติของท่าน เท่านั้น .. แล้วต่อมา ชนยุคหลังจากพวกท่านก็ได้มา เปลี่ยนแปลงสภาพการณ์ดังกล่าว (โดยการกำาหนดวัน เวลา, สถานที่ หรือรูปแบบในการทำาอิบาดะฮ์หรือทำาความ ดีใดๆกันเองโดยพลการ) ... สรุปแล้ว การทำา “สิ่งดี” ตามหลักการศาสนา จึงตั้ง อยู่บนพื้นฐาน 2 ประการคือ ... 1. ทำาสิ่งดีนั้นให้ถูกกาลเทศะของมัน ... 2. อย่าไปกำาหนดเวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการ ทำาความดีใดๆเอาเองโดยพลการ หากศาสนามิได้กำาหนด สิ่งดังกล่าวเอาไว้ในการทำาความดีนั้นๆ ... หากขาดพื้นฐานประการใดประการหนึ่งจาก 2 ประการนี้ การกระทำาสิ่งดีนั้นก็อาจจะส่ง “ผลลัพธ์” ใน ด้านตรงข้ามไปก็ได้ .... ความจริง “ตัว อย่า งเปรีย บเทีย บ ” เกี่ยวกับเรื่องนี้ ก็เคยมีให้เห็นมากมาย ... แม้กระทั่งหลักฐานที่มาจากตัว ท่านศาสดาเอง ...
  • 12. 12 ตัวอย่างเช่น ... 1. วันศุกร์ คือวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบสัปดาห์, การ ถือศีลอด ก็เป็นอิบาดะฮ์ที่สำาคัญและเป็นหนึ่งจากรุก่น อิสลามทั้งห้า ... แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการ “กำาหนด” เอาวันศุกร์ โดยเฉพาะ เป็นวัน ถือศีลอด ? ... การทำาสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ทำาไมจึงเป็นเรื่องต้อง ห้ามด้วย ? ... 2. การอ่านอัล-กุรฺอ่าน เป็นงานที่ดีที่สุด, การรุกั๊วะอฺ และการสุญูดในการนมาซ ก็เป็นอิริยาบถที่ดีที่สุดในขณะ นมาซ ... แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” จากการอ่านอัล-กุรฺอ่าน ไม่ว่าซูเราะฮ์ใด .. ใน ขณะรุกั๊วะอฺและขณะสุญูด ? ... การทำาสิ่งดี .. ในเวลาที่ดี .. ในอิริยาบถที่ดี ทำาไมจึง เป็นเรื่องต้องห้ามด้วย ? ... 3. มัสญิดทุกๆมัสญิดในโลกนี้ เป็นสถานที่ดีเลิศที่ถูก สร้างขึ้นมาเพื่อทำาอิบาดะฮ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. และ การทำาอิบาดะฮ์ก็เป็นเรื่องดีที่ไม่มีข้อขัดแย้ง ... แต่ท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม กลับ “ห้าม” เดินทางโดยมี “เป้าหมาย” เพื่อไปทำาอิบาดะฮ์ใน มัสญิดใดๆเป็นการเฉพาะ .. ยกเว้น 3 มัสญิด คือมัสญิด หะรอมที่มักกะฮ์, มัสญิดนะบะวีย์ที่มะดีนะฮ์, และ มัสญิดอัล-อักซอที่เยรูซาเล็ม ? ... การทำาสิ่งดี คือไปนมาซในมัสญิด ทำาไมจึงเป็นเรื่อง ต้องห้ามด้วย ? ...
  • 13. 13 4. การกล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม เป็นบทบัญญัติที่มุสลิมทุกคนพึงปฏิบัติเสมอเท่าที่ โอกาสจะอำานวยให้โดยไม่จำากัดเวลาและสถานที่ .. แล้วเหตุใด ท่านอิบนุ อุมัรฺ ร.ฎ. จึงกล่าวห้ามปราม ชายผู้หนึ่งที่กล่าวสล่ามให้แก่ท่านนบีย์ เพียงเพราะเขาไป “กำาหนด” การให้สล่ามดังกล่าวร่วมกับการกล่าวสรรเสริญ พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. หลังจากการจาม ... ชายผู้นั้น มิได้ละทิ้งการกล่าว ‫ ا ل ح م د ل لـ ه‬หลังจาก ِ ِّ ُ ْ َ َْ การจามแต่อย่างใด เขาเพียงแต่เพิ่ม “สิ่งดี” คือ การกล่าว สล่ามให้แก่ท่านนบีย์เข้าไปด้วยเท่านั้น ... การกล่าวสล่ามแก่ท่านนบีย์ เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยหรือ ? ... 5. การร่วมกันกล่าว “ซิกรุ้ลลอฮ์” ในมัสญิดหรือใน สถานที่เหมาะสมใดๆ เป็นสิ่งดีที่ท่านศาสดากล่าวสนับสนุน และท่านกล่าวรับรองว่า ผู้ที่ร่วมกันซิกรุ้ลลอฮ์ดังกล่าวจะ ได้รับความเมตตาจากพระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ... แต่ทำาไม ท่านอิบนุ มัสอูด ร.ฎ. จึงได้กล่าว “ตำาหนิ” และประณามกลุ่มชนที่ “ร่วมกัน” กล่าวซิกรุ้ลลอฮ์ใน มัสญิดแห่งหนึ่ง ว่า เป็น พวกที่ท ำา อุต ริก รรมของ ศาสนา ดังการบันทึกของท่าน อัด-ดาริมย์ในหนังสือ ี “อัส-สุนัน” ของท่าน เล่มที่ 1 หน้า 79 หรือหะดีษที่ 204, ... กลุ่มชนเหล่านั้น ทำาผิดอะไรหรือในเมื่อสิ่งที่พวกเขา กระทำาก็เป็นสิ่งดี คือ การร่วมกันซิกรุลลอฮ์ในมัสญิด .. ตามที่ท่านนบีย์ส่งเสริมให้ทำา, เพียงแต่พวกเขาได้ “กำาหนด” รูปแบบการซิกรุ้ลลอฮ์ของพวกเขาให้แตกต่าง จากผู้อื่นไปบ้างเท่านั้น ? ... ตัวอย่างต่างๆที่กล่าวมานี้ แสดงให้เห็นว่า การทำา “สิ่ง ดี” ที่ศาสนาอนุญาตให้เราทำาได้โดยทั่วๆไปนั้น ถ้า เรามา “กำาหนด” เวลา, สถานที่, หรือรูปแบบการทำาสิ่งดี เหล่านั้นเอาเองโดยพลการก็ดี, .. หรือทำาสิ่งดีผิด
  • 14. 14 กาลเทศะก็ดี ถือว่า เป็นเรื่องต้องห้ามหรืออย่างน้อยก็เป็น เรื่อง “ไม่สมควร” ในมุมมองของเศาะหาบะฮ์และบรรพชน ยุคแรกของอิสลาม ... ดังนั้น การ “กำาหนด” เอาวันที่ตรงกับวันเกิดของ ท่านนบีย์ เพื่อเป็นวันแสดงออกถึงความรักและให้เกียรติ ท่านเป็นพิเศษเฉพาะวัน, ทั้งๆทีศาสนามิได้กำาหนดให้มี ่ การแสดงความรักท่านนบีย์เป็นพิเศษ “เฉพาะ” ในวันนี้ เอาไว้, .. ( และตามปกติ ในวันที่อื่นจากวันนี้ เราเคยรัก และให้เกียรติท่านด้วยการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่านบ้าง หรือเปล่าก็ไม่ทราบ ?) .. จึงน่าจะจัดเป็นเรื่อง “ต้องห้าม” หรืออย่างน้อยก็ไม่ถูกต้องตามหลักการ ในลักษณะ เดียวกันกับตัวอย่างข้างต้นเหล่านั้น ... ก็มาถึงประเด็นที่สอง คือ การให้ความสำาคัญกับ “วัน เกิด ” ของท่านศาสดา และ “วิธ ีก าร” แสดงออกถึง ความรักท่านในวันคล้ายวันเกิดของท่านด้วยการทำาพิธีเมา ลิดนั้น เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐานหรือไม่อย่างไร ? .... สมมุติว่า ถ้าการให้ความสำาคัญกับวันเกิดของท่าน เป็นบทบัญญัติและมีหลักฐาน ก็ต้องพิจารณาต่อไปว่า แล้ว “วิธ ีก าร” ให้ความสำาคัญกับวันเกิดของท่านนบีย์นั้น เคยมี “แบบอย่าง” จากซุนนะฮ์มาหรือไม่ ? ... นี่คือ สิ่งที่เราจะต้องพิจารณาและใคร่ครวญด้วย ใจเป็นธรรม ... ถ้าปรากฏว่า เคยมีหลักฐานและแบบอย่างจากท่าน นบีย์มาว่า ท่านเคยปฏิบัติอย่างไรเป็นพิเศษในการให้ ความสำาคัญและให้เกียรติกับวันที่ตรงกับวันเกิดของท่าน ก็แสดงว่า “ซุนนะฮ์” ที่เรา -- มุสลิมที่มีอีหม่าน – ทุกคน สมควรจะยึดถือและนำามาปฏิบัติในวันตรงกับวันเกิดของ
  • 15. 15 ท่านนบีย์ก็คือ แบบอย่างดังที่ปรากฏเป็น “ซุนนะฮ์” จาก หลักฐานนั้น ... นี่ค ือ การกลับ ไปหา “ซุน นะฮ์” เมื่อ เกิด ความ ขัด แย้ง .. ตามที่พระองค์อัลลอฮ์ ซ.บ. ได้ทรงบัญชาไว้ ... สำาหรับหนังสือ “‫” حسن المقصد فى عمل المولد‬ ของท่านอัส-สะยูฏีย์ ที่ผมกล่าวถึงข้างต้นนั้น นอกเหนือไป จากการอ้างเหตุผลที่สนับสนุนให้มีการทำาเมาลิดเหมือนกับ หนังสืออื่นๆในแนวเดียวกันนี้แล้ว ท่านยังได้รวบรวม ทัศนะที่ “อิง” หลักวิชาการของนักวิชาการบางท่าน อาทิ เช่น ท่านอิบนุหะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์, ท่านอบูอับดุลลาฮ์ อิบนุล หาจญ์, รวมทั้งทัศนะส่วนตัวของท่านเอง เป็นต้น มาสนับสนุนเรื่องการทำาเมาลิด ซึงจากการสรุปเนื้อหาเชิง ่ วิชาการทั้งหมดจากหนังสือดังกล่าว ก็พอจะได้ข้อสรุปว่า .... 1. การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ (การอุตริที่ดี) ... 2. การทำาเมาลิด มี ‫ أ َ ص ل‬คือ ที่มาอันเป็นพื้นฐาน ٌ ْ หรือหลักฐานที่อ้างอิงได้ตามหลักการศาสนา ... ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับ 2 ประเด็นข้าง ต้น ... (1). การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์ หะสะ นะฮ์ ท่านอัส-สะยูฏีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ “อัล-หาวีย์ ลิ้ล ฟะตาวีย” เล่มที่ 1 หน้า 292 ในการตอบคำาถามเกี่ยวกับ เรื่องการทำาเมาลิดว่า ... ُ َ ِ ‫وَا ل ج وا ب ع ن د ى : أَ ن أَ ص ل عَ م ل ال م و ل د الّ ذ ى هُ و اجْ ت ما ع‬ َ ْ ِ ِ ِْ َ ْ ِ َ َ ْ ّ ْ ِ ِْ ُ َ َ ْ ْ‫النّا س وَ ق را ء ة مَا ت ي س ر م ن الْ ق رآ ن و ر وا ي ة ا ل َخ با را ل وا ر د ة فِ ى‬ ِ َ ِ َ ْ ِ َْ ْ ُ َ َ ِ َ ِ ْ ُ َ ِ َ ّ ََ ُ َ َ ِ ِ َ‫مَ ب د أ أَ م ر النّ ب ى ص لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل مَ وَ ما و ق عَ فِ ى م و ل دِ ه مِ ن‬ ِ ِْ َ ْ َ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ َّ ّ ِ ِ ْ َِ ْ ٍ َ َِ ِ ْ ْ ‫اْل يا ت، ثُ م ي م د ل ه م سِ ما ط يَ أ ك ل و ن ه وَ ي ن ص ر ف و ن مِ ن غَ ي ر ز يا د ة‬ َ ْ ُ ِ َ َْ ُ َْ ُُ ْ ٌ َ ْ ُ َ ّ َ ُ ّ ِ َ
  • 16. 16 ‫ع لى ذَ ل ك هُ و مِ ن ال ب د ع ال ح س ن ة الّ ت ى يُ ثا ب ع ل ي ها صا ح ب ها، لِ ما‬ َ َ ُِ َ َ ََْ ُ َ ْ ِ ِ ََ َ ْ ِ َ ِْ َ َ َ ِ ََ ِ َ ْ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ ‫ف ي ه مِ ن ت ع ظ ي م ق د ر النّ ب ى صَ لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل م، و إ ِ ظ ها ر‬ ّ ّ ِ ِ ْ َ ِ ِْ ْ َ ْ ِ ِْ ِ ِْ ‫... الْ ف ر ح و ال س ت ب شا ر ب م و ل د ه الشّ ر ي ف‬ ِ ِ ِْ َ ِ ِ َ ِْْ َْ ِ َ َ “คำาตอบตามทัศนะของฉันก็คือ : พื้นฐานของงานเมา ลิด อันได้แก่การที่ประชาชนมาชุมนุมกัน, มีการอ่านอัล- กุรฺอ่าน, มีการอ่านชีวประวัติที่รายงานมาของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัมและเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ในวันถือกำาเนิดของท่าน หลังจากนั้น ก็มีการเลี้ยงอาหาร กันแล้วแยกย้ายกันกลับ โดยไม่ม ีอ ะไรเกิน เลยไปกว่า นั้น ถือว่า เป็นหนึ่งจากบิดอะฮ์ที่ดี ซึงผู้กระทำาจะได้รับผล ่ บุญ ทั้งนี้เพราะงานเมาลิดเป็นการยกย่องให้เกียรติต่อ สถานภาพของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม และ เป็นการแสดงออกถึงความปลาบปลื้มยินดีต่อวันเกิดของ ท่าน” ... ท่านอบู ชามะฮ์ ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านอิหม่ามนะวะ วีย์ (มีชีวิตระหว่างปี ฮ.ศ. 599-665) ก็ได้กล่าวไว้ใน หนังสือ ‫ .. ا ل با ع ث ع لى إِ ن كا را ل ب د ع وا ل ح وا د ث‬หน้า 95 ว่า ِ ِ َ َ ْ َ ِ َ ِْ ِ َ ْ ََ ُ ِ ََْ การทำาเมาลิดเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์ คล้ายๆกับคำาพูดของ ท่านอัส-สะยูฏีย์ข้างต้น ซึ่งผู้ที่ไม่มีหนังสือของท่านอบู ชา มะฮ์ ก็สามารถจะหาดูคำากล่าวของท่านได้จากหนังสือ “อิ อานะฮ์ อัฏ-ฏอลิบีน” เล่มที่ 3 หน้า 364 ในตอนที่กล่าว ถึงงานวะลีมะฮ์ ... ข้อโต้แย้ง คำากล่าวของท่านอัส-สะยูฏีย์และท่านอบู ชามะฮ์ที่ว่า “การทำาเมาลิด เป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์” ... ถ้าหากหมายถึง ความหมายบิดอะฮ์ ตามหลัก ภาษา (ٌ‫) ب د ع ة ل غ و ية‬ ّْ َ ُ ٌ َ ْ ِ ประเด็นนี้ คงไม่มีความขัดแย้งใดๆ เพราะเป็นความหมาย ที่ตรงต่อความเป็นจริงตามหลักภาษาที่ว่า การทำาเมาลิด เป็น บิด อะฮ์ เนื่องจากมันเป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งจะบังเกิดขึ้น หลังจากปี ฮ.ศ. 362 มาแล้ว, .. และที่เรียกว่า หะสะนะฮ์
  • 17. 17 (ดี) ก็เพราะมันเป็นเรื่องดีในความรู้สึกของผู้กระทำาและ บุคคลทั่วๆไป (แม้กระทั่งผมเอง) เนื่องจากเป็นการ แสดงออกถึงความรักและให้เกียรติท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม , .. ซึงเมื่อรวมความแล้วจึงเรียกการทำาเมา ่ ลิด ตามหลัก ภาษา ว่า เป็น “บิดอะฮ์หะสะนะฮ์” หรือ การริเ ริ่ม กระทำา สิ่ง ใหม่ท ี่ด ี (ตามความรู้สึกของผู้กระทำา และประชาชนทั่วๆไป) ... แต่ถ้าความหมายของคำาว่า “บิดอะฮ์ หะสะนะฮ์” ของ ท่านในที่นี้ หมายถึง “บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” (‫ب د ع ة‬ ٌ َ ْ ِ ‫ .. ش ر ع ي ة‬ซึงดูแนวโน้มก็น่าจะเป็นอย่างนี้ เพราะท่านกล่าว ٌ ِّ ْ َ ่ ว่า ผู้ที่กระทำาเมาลิดจะได้รับผลบุญตอบแทน) ... ประเด็นนี้ มิใช่เพียงผมเท่านั้นที่ไม่เห็นด้วย แต่นักวิชาการจำานวน มาก ก็ไม่เห็นด้วยเช่นเดียวกัน ... ทั้งนี้ เพราะความเชื่อที่ว่า “มี บิด อะฮ์ หะสะนะฮ์ ในบทบัญ ญัต ิ” จะไปค้านและขัดแย้งกับหลายๆอย่างดัง ต่อไปนี้ ... 1. ค้านกับความหมายของ “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือ บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ตามคำานิยามของนักวิชาการอุศูลุล ฟิกฮ์ (ซึงผมยังไม่เคยเจอนักวิชาการท่านใดคัดค้านคำา ่ นิยามของบิดอะฮ์ที่จะถึงต่อไปว่า ไม่ถูกต้อง) ... 2. ค้านกับคำาอธิบายความหมายบิดอะฮ์ของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ สองนักวิชาการหะดีษและฟิกฮ์ซึ่งได้รับการยอมรับที่สุดแห่ งมัษฮับชาฟิอีย์ ... 3. ค้านกับคำากล่าวของท่านอับดุลลอฮ์ บิน อุมัรฺ ร.ฎ. 4. ค้านกับหะดีษที่ถูกต้องของท่านนบีย์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ... รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องราวข้างต้น มีคำา อธิบายดังต่อไปนี้ ... (1). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำานิยามและความหมายของ “บิด
  • 18. 18 อะฮ์ตามบทบัญญัติ หรืออุตริกรรมอันเป็นเรื่องต้องห้าม” ที่ นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์ ได้กำาหนดเอาไว้ว่า หมายถึง ... ِ َِ ‫ما ت ر ك ه رَ س و ل اللّـ ه صَ لى اللّـ ه ع ل ي ه و س ل م مَ عَ ق يا م‬ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ ِ ُ ْ ُ ُ َ َ َ َ َ‫الْ م ق ت ض ى وَا ن ت فا ء ال ما ن ع ف ف ع ل ه ب ع د ه ه و ا ل ب د عَ ة وَ تَ رْ كُ هُ هٌ و‬ ُ ْ ِْ َ ُ ُ َ ْ َ ُ ُْ ِ َ ِ ِ َ ْ ِ َ ِْ ْ ِ َْ ُ ُ ّّ ‫... ال س ن ة‬ “สิ่งใดก็ตามที่ท่านศาสดาไม่ไ ด้ก ระทำา ทั้งๆที่ .. 1. มีประเด็นส่งเสริมแล้วว่าควรทำา (ตั้งแต่ในสมัยของท่านมา แล้ว), และ .. 2. ไม่มีอุปสรรคใดๆจะมาขัดขวางท่านจาก การกระทำาสิ่งนั้น ... ดัง นั้น การกระทำา สิ่ง นั้น ในภายหลัง ถือ ว่า เป็น บิด อะฮ์, และการไม่ก ระทำา สิ่ง นั้น ก็ค ือ ซุน นะฮ์” ... คำานิยามดังกล่าวนี้ ไม่ใช่นักวิชาการอุศูลุลฟิกฮ์นั่ง เทียนเขียน ! แต่เป็นคำานิยามที่ได้ผ่านการกลั่นกรองและ วิเคราะห์มาอย่างละเอียดในทุกแง่ทุกมุมจาก “เหตุการณ์ จริง” ที่เคยเกิดขึ้นในสมัยของท่านศาสดา ศ็อลลัลลอฮุ อะ ลัยฮิวะซัลลัม และสมัยเศาะหาบะฮ์ของท่าน ... ซึงถือว่าเป็น ่ คำานิยามของคำาว่า “บิดอะฮ์ ชัรฺอียะฮ์” หรือบิดอะฮ์ตาม บทบัญญัติ ที่ตรงประเด็นที่สุด และได้รับการยอมรับมาก ที่สุด ... ซึ่งเมือเราพิจารณาดูที่มาที่ไปของพิธีกรรมเมาลิดแล้ว ่ ก็จะเห็นได้ว่า จัดอยูในความหมายของ “บิดอะฮ์ตาม ่ บทบัญญัติ” ตามคำานิยามข้างต้นทุกประการ คือ เป็นสิ่ง ที่ท่านศาสดาหรือบรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน --- หรือ แม้แต่ตาบิอีน หรืออิหม่ามทั้งสี่ หรือประชาชนในยุคที่ท่าน ศาสดารับรองว่า เป็นยุคที่ดีเลิศที่สุด --- ไม่เ คยกระทำา .. ทั้งๆที่มีประเด็นส่งเสริมเต็มเปี่ยม คือเป็นการแสดงออกถึง ความรักและการให้เกียรติต่อท่านศาสดาซึ่งตรงกับความ รู้สึกของมุสลิมที่มีอหม่านทุกคน ... และก็ไม่มีอุปสรรคใดๆ ี จะมาขัดขวางพวกท่านเหล่านั้นจากการจัดงานเฉลิมฉลอง วันเกิดให้ท่านศาสดาด้วยในยุคนั้น ...
  • 19. 19 โดยนัยนี้ การไม่อุตริจัดงานเมาลิดขึ้นมา จึงถือว่า เป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮ์, ส่วนผู้ที่อุตริจัดงานเมาลิด จึง เป็นผู้ทำาบิดอะฮ์ เพราะไม่รักษากติกาของรัฐธรรมนูญ เอ๊ย, กติกาของความหมายบิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ ที่นัก วิชาการได้ร่างคำานิยามของมันขึ้นมาเอง .. (แหม ! พูด เหมือนท่านนายกทักษิณเปี๊ยบเลย) ... เอาเถิด, ท่านศาสดาไม่ส่งเสริมหรือชีแนะให้มีการจัด ้ งานเมาลิดเฉลิมฉลองวันเกิดของท่าน เหตุผลข้อนี้ เราพอ จะมองออก, แต่ หลังจากท่านสิ้นชีพไปแล้วและสมมุต ิ ว่า หากว่า การทำา เมาลิด คือ สิ่ง ดีท ี่ถ ูก ท่า นศาสดา ปล่อ ยวางไว้เ พราะมีอ ุป สรรค (คือความถ่อมตัวจึงไม่ส่ง เสริมให้ใครจัดงานวันเกิดเพื่อท่าน)) .. เสมือ นการที่ ท่า นต้อ งปล่อ ยวางการรวบรวมอัล -กุร ฺอ ่า นเป็น เล่ม เพราะมีอ ุป สรรค (คือ การประทานวะห์ยุยังไม่สิ้นสุด จนกว่าท่านจะสิ้นชีวิต) .. และท่านอบูบักรฺ ร.ฎ. ก็มาจัดการ รวบรวมขึ้นหลังจากท่านตายไปแล้ว, .. หรือ การที่ท ่า น ต้อ งปล่อ ยวางการนมาซตะรอเวี๊ย ะห์ใ นลัก ษณะญะ มาอะฮ์ไ ว้ เพราะมีอ ุป สรรค (คือกลัวมันจะกลายเป็น ฟัรฺฎู) .. จนท่านอุมัรฺ ร.ฎ. ต้องมารวมประชาชนให้นมาซ ญะมาอะฮ์ตะรอเวี๊ยะห์หลังจากการสิ้นชีวิตของท่าน เป็นต้น .. ในเรื่องของการจัดงานเมาลิดเพื่อเฉลิมฉลองวันเกิด ให้ท่านก็เช่นเดียวกัน .. เมื่อท่านศาสดาตายไปแล้ว อุปสรรคขัดขวางการจัด งานเมาลิด (คือเกรงว่าความถ่อมตัวจะทำาให้ท่านศาสดาขัด ขวางมัน) ก็ย่อมหมดสิ้นตามไปด้วย ... แล้วทำาไม บรรดาเศาะหาบะฮ์ของท่าน, บรรดาตาบิ อีน, หรือแม้กระทั่งบรรดาอิหม่ามทั้งสี่ท่านในยุคหลังๆ จึง ไม่มีผู้ใดคิด “ริเริ่ม” การจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดให้ท่าน ศาสดา ... เหมือนดังที่ท่านอบู บัก ร.ฎ. ได้ริเริ่มรวบรวม อัล-กุรฺอ่านให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์ขึ้นมา, หรือดังที่ท่า
  • 20. 20 นอุมัรฺ อิบนุล ค็อฏฏอบ ร.ฎ. ได้รื้อฟื้นให้ประชาชนกลับมา ทำานมาซตะรอเวี๊ยะฮ์ร่วมกันอีก หลังจากการสิ้นชีวิตของ ท่านศาสดา ? ... นี่คือ ปริศนาที่เราจะต้องตีให้แตก ....  ประชาชนในยุคที่ดีเลิศเหล่านั้น รักและให้ เกียรติท่านศาสดาน้อ ยกว่า พวกเราอย่างนั้น หรือ ?  พวกเขาจำาวันเกิดท่านศาสดาไม่ได้ หรือไม่ อยากจะให้เกียรติต่อวันเกิดของท่านเลยหรือ ?  พวกเขามีภารกิจมากเกินไปจนไม่มีเวลา “แม้ เพียงแค่วันเดียว” ที่จะสละมันเพื่อจะให้เกียรติ ท่านศาสดาในวันนั้นเชียวหรือ ?  พวกเขาขี้เกียจที่จะจัดงานฉลองวันเกิดให้ท่าน หรือ ? พวกเขายากจนและไม่มีทุนทรัพย์มากพอที่จัด งานฉลองวันเกิดของท่านอย่างพวกเราหรือ ? .....ฯลฯ ..... แน่นอน, ผมเชือว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน คงจะให้คำา ่ ตอบได้ตรงกันว่า ทั้งหมดที่กล่าวมานั้น ไม่ใช่เหตุผลที่จะ เป็นอุปสรรคต่อการจัดงานเมาลิดของประชาชนในยุคที่ดี เลิศเหล่านั้น (ถ้าพวกท่านเห็นว่ามันเป็นเรื่องดีเหมือนมุม มองของพวกเราในปัจจุบัน) .. ถ้าอย่างนั้น อะไรเล่าคือ “เหตุผลที่แท้จริง” ที่ขัด ขวางพวกท่านจากการจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้ แก่ท่านศาสดาเยี่ยงการจัดของพวกเรา ? .. ตามทัศนะส่วนตัวของผม (ไม่ได้พูดลอยๆ แต่ผมมี หลักฐาน) มองว่า สาเหตุที่บรรดาเศาะหาบะฮ์และ ประชาชนยุคหลังที่ถูกรับรองจากท่านศาสดาว่า เป็นผู้ที่มี คุณธรรมเลอเลิศที่สุด ไม่เคยคิดจัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวัน เกิดให้ท่านศาสดา น่าจะมาจากสาเหตุ 3 ประการด้วยกัน คือ ...
  • 21. 21 1. เพราะพวกท่านเห็นว่าการจัดงานเมาลิด เป็นการ “ลอกเลีย นแบบ” การจัดงานวันคริสต์มาสของพวก คริสเตียน ซึงเป็นเรื่องที่ท่านศาสดาที่พวกเขารัก ห้าม ่ ปราม .. ท่านศาสดา ได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า ... ْ ُ ِْ َ ُ َ ٍ ْ َ ِ َ َّ َ ْ َ ‫من تشبه بقوم فهو منهم‬ “ผู้ใดที่เลียนแบบชนกลุ่มใด เขาก็เป็นส่วนหนึ่งของ ชนกลุ่มนั้นด้วย” (บันทึกโดย ท่านอบู ดาวูด หะดีษที่ 4031, ท่า นอะห์มัด เล่มที่ 2 หน้า 50, และท่านอิบนุ อบียชัยบะฮ์ ์ เล่มที่ 4 หน้า 575 โดยรายงานมาจากท่านอิบนุอุมัรฺ ร.ฎ.) 2. เพราะพวกท่านเห็นว่า “ซุนนะฮ์” ของท่านศาสดา ในการ “ให้ความสำาคัญ”กับวันเกิดของท่านก็คือ การ “อด อาหาร” ด้วยการ “ถือศีลอด” ในวันนั้น .. (หมายถึง “วันจันทร์” ซึงถือว่าเป็นวันเกิดตัวจริงเสียงจริงของท่าน ่ นบีย์) ... ท่านอบู เกาะตาดะฮ์ ร.ฎ. ได้รายงานมาว่า ... ‫أ َ ن ر س و ل ال لـ ه ص لى ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م س ئ ل ع ن ص و م‬ ِ ْ َ ْ َ َ ُِ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ َّ ِ ّ َ ْ ُ َ ّ ّ ََ َ ِ ُْ ِ ِْ َ ُ ْ ُِ ِ ِْ ‫... ا لِ ث ن ي ن ف قا ل : ف ي ه و ل د ت و ف ي ه ا ن ز ل ع ل ى‬ َ َ َ ِ َْْ ْ “ท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม เคย ถูกถามถึงเรื่องการ “ถือ ศีล อด” ในวันจันทร์ ท่านตอบ ว่า .. วัน จัน ทร์ คือ วัน เกิด ของฉัน , และวันจันทร์ คือ วันที่อัล-กุรฺอ่านถูกประทานมาให้แก่ฉัน” ... (บันทึกโดย ท่านมุสลิม หะดีษที่ 198/1162) . 3. เพราะพวกท่านรู้ดีว่า ท่านศาสดา “รังเกียจ” พฤติกรรมการให้เกียรติท่านในลักษณะฉาบฉวย คล้ายๆ การประจบสอพลอ แทนการปฏิบัติตามซุนนะฮ์ของท่าน ...
  • 22. 22 ท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. เศาะหาบะฮ์ผู้ใกล้ชิดท่าน ศาสดาที่สุดท่านหนึ่งกล่าวว่า ‫ما كا ن فى ال د ن يا ش خص أ َ حبّ إ ِ ل ي ه م ر ؤ ي ة م ن ر س و ل ال لـ ه‬ ِ ّ ِ ْ ُ َ ْ ِ ً َْ ُ ْ ِ َْ َ ّ ْ َ َّْ ِ َ َ َ ‫ص لى ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م، و كا ن وا إ ِ ذا ر أ َ و ه ل م ي ق و م وا ل ه ل ما كا نُ وا‬ ْ َ َ ِ ُ َ ْ ُ ْ ُ َ ْ َ ُ ْ َ َ ْ ُ َ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ َّ َ َِ ِ ِ َِِ َ َ ْ ِ َ ْ ُ َْ َ ‫.. ي ع ل م و ن م ن ك را ه ي ت ه ل ذ ل ك‬ “ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้ บุคคลที่พวกเขา (เศาะหาบะฮ์) อยากจะเจอหน้ายิ่งไปกว่าท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะ ลัยฮิวะซัลลัม, แต่เ มื่อ พวกเขาเจอท่า น พวกเขาไม่ เคยยืน ขึ้น เพื่อ ให้เ กีย รติท ่า นเลย เนื่องจากพวกเขารู้ ว่า ท่านรังเกียจพฤติการณ์อย่างนี้” ..” (บันทึกโดย ท่านบุคอรีย์ในหนังสือ “อัล-อะดับ อัล- มุฟร็อด” หะดีษที่ 946, ท่านอัต-ติรมีซีย์ หะดีษที่ 2754, ฺ ท่านอัฏ-เฏาะหาวีย์ในหนังสือ “มุชกิล อัล-อาษารฺ” หะดีษ ที่ 1276, ท่านอะห์มัด เล่มที่ 3 หน้า 132) ... แค่การยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติ ท่านนบีย์ก็ยัง “รังเกียจ” จนบรรดาเศาะหาบะฮ์ไม่กล้าปฏิบัติ, แล้วการ จัดงานเมาลิดเพื่อฉลองวันเกิดให้แก่ท่าน ซึ่งมัน “เว่อร์” และเอิกเกริกกว่าการยืนให้เกียรติหลายร้อยเท่า คิดหรือ ว่า หากเศาะหาบะฮ์ท่านใดคิดจัดมันขึ้นมาในขณะนั้น ท่านนบีย์จะปลื้มใจและภูมิใจสุดๆกับความรักความภักดีที่มี ผู้หยิบยื่นให้ท่านในลักษณะนั้น ? ... สิ่งใดที่ท่านศาสดารังเกียจ (ไม่ว่าจะเพราะเหตุผลใด ก็ตาม) สมควรแล้วหรือที่มุสลิมที่อ้างว่า “รักและให้ เกียรติ” ท่าน จะดึงดันกระทำาสิ่งนั้น เพียงเพราะยึดมั่นอยู่ กับความคิดของตนเองฝ่ายเดียวว่ามัน “เป็นเรื่องดี”.. โดย ไม่คำานึงถึงความรู้สึกของตัวท่านนบีย์เอง ? ... การเฉลิมฉลองวันเกิดท่านนบีย์ด้วยการจัดงานเมาลิด ไม่มีผู้ใดกล่าวว่าเป็นเรื่องไม่ดี, .. เหมือนๆกับการยืนขึ้น เพื่อให้เกียรติท่านศาสดา ไม่มีเศาะหาบะฮ์ท่านใดมองว่า เป็นเรื่องไม่ดี ...
  • 23. 23 แต่ปัญหามิได้อยู่ที่ว่า มันเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี ! .. ทว่า, เมื่อมันเป็นสิ่งที่ท่านศาสดารังเกียจ พวกเขาจึงงดเว้นที่จะ ยืนขึ้นเพื่อให้เกียรติท่าน .. ทั้งๆที่ตามเนื้อหาของหะดีษ แล้ว บ่งบอกความรู้สึกว่า พวกเขาต้องการยืนขึ้นเพื่อให้ เกียรติเมื่อเห็นท่าน ... ผมเคยคิด, และจะยังยืนยันความคิดตามประสาคนโง่ อย่างผมอยู่เสมอและตลอดไปว่า มุสลิมที่มีอหม่านจริงๆ ี นั้น จะต้องรักในสิ่งที่ท่านนบีย์รัก และจะต้องรังเกียจใน สิ่งที่ท่านนบีย์รังเกียจ ... อ่านหะดีษของท่านอนัส บิน มาลิก ร.ฎ. ข้างต้น ซำ้ากัน หลายๆเที่ยว .. พร้อมกับใช้สมองของท่านใคร่ครวญไป ด้วย แล้วบางที ท่านอาจจะมีดวงตาเห็นธรรมก็ได้ .. (สำาหรับข้ออ้างของนักวิชาการหลายท่านที่อ้างว่า มี หลักฐานว่าท่านศาสดาเคยใช้ให้เศาะหาบะฮ์กลุ่มหนึ่งของ ท่าน “ยืน ให้เ กีย รติ” แก่ท่าน สะอฺด์ (สะอัด) บิน มุอาซ ร.ฎ. นั้น เป็นเรื่องของความเข้าใจผิดในเจตนารมณ์ของ หลักฐาน ดังที่ผมจะอธิบายข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ในตอน หลัง อินชาอัลลอฮ์) ... (2). ความเชื่อที่ว่า “มีบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือบิดอะฮ์ดี ในบทบัญญัติ” ค้านกับคำาอธิบายของท่านอิบนุหะญัรฺ อัล- อัสเกาะลานีย์ และท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยษะมีย์ สองนัก วิชาการดังแห่งมัษฮับชาฟิอีย์ ... ท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-อัสเกาะลานีย์ ได้กล่าวใน หนังสือ “ฟัตหุ้ลบารีย์” เล่มที่ 13 หน้า 253 ว่า .. ّ ُ ّ َِ ِ َ ّ ِ ‫فا ل ب د ع ة ف ى ع ر ف ال ش ر ع م ذ م و م ة ! ب خ ل َف ال ل غ ة ف إ ن ك ل‬ ِ ِ ٌ َ ْ ُ ْ َ ِ ْ ّ ِ ْ ُ ْ ِ ُ َ ْ ِْ َ َ‫ش ى ء أ ُ ح د ث ع لى غ ي ر م ثا ل سا ب ق ي س مى ب د ع ة، س وا ء كا ن‬ َ ٌ َ َ ً َ ْ ِ ّ َ ُ ٍ ِ َ ٍ َِ ِ َْ ََ َ ِ ْ ٍ ْ َ ‫... م ح م و دا أ َ و م ذ م و ما‬ ً ْ ُ ْ َ ْ ً ْ ُ ْ َ
  • 24. 24 “ดังนั้น ความหมายของบิดอะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ (ทั้งหมด) จึง เป็น สิ่ง ที่ถ ูก ประณาม , ต่างกับความหมาย บิดอะฮ์ต ามหลัก ภาษา, .. เพราะทุกๆสิ่งที่ถูกริเริ่มขึ้นมา โดยไม่มีแบบอย่างมาก่อน จะถูก เรีย กว่า บิด อะฮ์ (ตาม หลัก ภาษา) ทั้ง สิ้น ไม่ว ่า มัน จะเป็น เรื่อ งดีห รือ เรื่อ ง เลว” ... คำาอธิบายนี้ ชัดเจนจนแทบจะไม่ต้องขยายความใดๆ เพิ่มเติมอีกแล้ว ... ส่วนท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ก็ได้กล่าวอธิบาย ไว้ในหนังสือ “อัล-ฟะตาวีย์” ของท่าน ดังการอ้างอิงใน หนังสือ “อัล-อิบดาอฺ ฟี มะฎอรฺ อัล-อิบติดาอฺ” หน้า 39 ว่า ... ‫ف إ ن ا ل ب د ع ة ال ش ر ع ي ة ض ل َل ة ! ك ما قا ل ر س و ل ال لـ ه ص لى‬ َّ ِ ّ ُ ْ ُ َ َ َ َ َ ٌ َ َ َ ِّ ْ ّ َ َ ْ ِْ ّ َِ ٍ َ َ ‫ال لـ ه ع ل ي ه و س ل م، و م ن ق س م ها م ن ا ل ع ل ما ء إ ِ لى ح س ن‬ َ ِ َ َُ ْ َ ِ َ َ ّ َ ْ َ َ َ َّ َ ِ ََْ ُ ّ ٍ‫و غ ي ر ح س ن ف إ ن ما ق س م ا ل ب د ع ة ال ل غ و ي ة، و م ن قا ل : ك لّ ب دْ عَ ة‬ ِ ُ َ َ ْ َ َ َ ِّ َ ّ َ َ ْ ِْ َ ّ َ َ َِّ ٍ َ َ ِ َْ َ ُ ِّ ْ ّ ‫... ض ل َلةٌ .. ف م ع نا ه ا ل ب د ع ة ال ش ر ع ي ة‬ ُ َ ْ ِْ ُ َْ َ َ َ َ “แน่นอน สิ่ง บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ (ทุก อย่า ง) เป็น ความหลงผิด ! ดังคำากล่าวของท่านรอซู้ลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม, .. นักวิชาการท่านใดที่แบ่ง มันออกเป็นบิดอะฮ์หะสะนะฮ์หรือไม่ใช่บิดอะฮ์หะสะนะฮ์ ก็ เป็นเพียงการแบ่งมันตามหลัก ภาษาเท่า นั้น .. และผู้ใด ที่กล่าวว่า ทุกๆบิดอะฮ์ เป็นความหลงผิด ความหมายของ เขาก็คือ หมายถึง บิด อะฮ์ต ามบทบัญ ญัต ิ” ... จะต้องให้อธิบายซำ้าอีกไหมครับ กับคำากล่าวของท่า นอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมียข้างต้นนี้ ? ... ์ คำากล่าวของท่านอิบนุ หะญัรฺ อัล-ฮัยตะมีย์ ถือว่า เป็นคำาอธิบายที่ตรงประเด็นที่สุดในการจำาแนกความเข้าใจ อันสับสน -- แม้กระทั่งจากผู้ที่ได้ชื่อว่า เป็นนักวิชาการ -- ระหว่าง “บิดอะฮ์ตามบทบัญญัติ และบิดอะฮ์ตามหลัก