SlideShare a Scribd company logo
1 of 50
Download to read offline
1
อริยสัจ ๔ จากพระอภิธรรมปิฎก
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
พุทธศาสนิกชนชาวไทยโดยมากจะตอบได้ว่า พระธรรมคาสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ว่าอริยสัจสี่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในบทความนี้ จึงได้นารายละเอียดของอริยสัจสี่จาก
พระไตรปิฎกที่มีอยู่ในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก ที่แจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จน
ชัดเจน มาแสดงให้ท่านที่สนใจได้เรียนรู้เพิ่มเติม โดยมิได้ตัดต่อหรือเติมแต่งแต่ประการใด
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
วิภังคปกรณ์
๔. สัจจวิภังค์
๑. สุตตันตภาชนีย์
[๑๘๙] อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทาให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่
พระอริยะพึงรู้) คือ
๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์)
๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์)
๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์)
๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
๑. ทุกขสัจ
[๑๙๐] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน
ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสเป็นทุกข์ การ
ประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่
ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
[๑๙๑] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้
อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้ เรียกว่า ชาติ
[๑๙๒] ชรา เป็นไฉน
ความแก่ ความคร่าคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้ เรียกว่า ชรา
2
[๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน
ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทาลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือมฤตยู การทากาละ
ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ
นี้ เรียกว่า มรณะ
[๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน
ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน
ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความ
เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่าง
หนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า โสกะ
[๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่าครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่าครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่าครวญ
ความบ่นถึง ความพร่าเพ้อ ความร่าไห้ ความพิไรราพัน กิริยาที่พิไรราพัน ภาวะที่พิไรราพัน ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของ
ผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า
ปริเทวะ
[๑๙๖] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สาราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่
กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้ เรียกว่า ทุกข์
[๑๙๗] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สาราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโต
สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้ เรียกว่า โทมนัส
[๑๙๘] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภค
ทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อม
อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า อุปายาส
[๑๙๙] การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รัก
ใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่
มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะ
ของเขา นี้ เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์
[๒๐๐] การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน
การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อันเป็นที่ปรารถนาเป็น
ที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความ
3
เกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง
มิตร อามาตย์ ญาติ หรือสายโลหิต นี้ เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์
[๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน
เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ ว่า ไฉนหนอขอเราอย่าได้มี
ความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ ไม่พึงสาเร็จได้ตามความปรารถนา นี้
เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็น
ธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความ
ทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ ว่า ไฉนหนอ ขอเรา
อย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย
ขอความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้
ไม่พึงสาเร็จได้ตามความต้องการ นี้ เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์
[๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน
รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กองเวทนาที่เป็นอารมณ์
ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่
เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้
เรียกว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์
นี้ เรียกว่า ทุกขอริยสัจ
๒. สมุทยสัจ
[๒๐๓] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน
ตัณหานี้ เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกาหนัดยินดี เป็นเหตุเพลิดเพลินในอารมณ์
นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา
ก็ตัณหานี้ แหละเมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน
ปิยรูปสาตรูป (ปิยรูปสาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด
ตัณหา) เป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูป
นี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักษุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนี้ โสตะ
ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด
ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ เสียง ฯลฯ ใน
โลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็
เกิดที่ธรรมนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธรรมนี้
4
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ...ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ...
ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่
มโนวิญญาณนี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุ
สัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโน
สัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุ
สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิด
แต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่
เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็
ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อ
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพ
พสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็
ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูป
สัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รส
สัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อ
เกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้
รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปตัณหานี้ เมื่อ
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพ
ตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็
ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่
ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก
ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อ
ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ...ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ...
ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมม
วิจารนี้
นี้ เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
5
๓. นิโรธสัจ
[๒๐๔] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน
ความสารอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน ความพ้น
ความไม่ติดอยู่
ก็ตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน
ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้
ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก
จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ใน
โลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่
มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้
รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก
กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่
ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้
จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุ
วิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ใน
โลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณ
นี้
จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้
โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก ชิวหาสัมผัส... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิย
รูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้
เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุ
สัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่
ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่
เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่
เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้
รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้
สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้
รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูป
สัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ...ในโลก รสสัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพ
สัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อ
ดับ ก็ดับที่ธัมมสัญเจตนานี้
6
รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้
สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ...ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหา
เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้
รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิ
ตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูป
ในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้
รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิ
จาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาต
รูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้
นี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ
๔. มัคคสัจ
[๒๐๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน
อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ นั่นแล คือ
๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดาริชอบ)
๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทาชอบ)
๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ)
๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ)
บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน
ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ
(ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ
(๑)
สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน
ความดาริในการออกจากกาม ความดาริในการไม่พยาบาท ความดาริในการไม่เบียดเบียน นี้
เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒)
สัมมาวาจา เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุ
งดเว้นจากการพูดคาหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้ เรียกว่า สัมมาวาจา (๓)
สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน
เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงด
เว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔)
สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
7
ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สาเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้
เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕)
สัมมาวายามะ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน
บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทาบาปอกุศล
ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ
ดารงอยู่ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ
(๖)
สัมมาสติ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึง
กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ
เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
นี้ เรียกว่าสัมมาสติ (๗)
สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มี
ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มี
ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิต
เป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย
กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ (๘)
นี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ
-------------------
อรรถกถา วิภังคปกรณ์
สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
๔. สัจจวิภังคนิเทศ
วรรณนาสุตตันตภาชนีย์
ว่าด้วยอุเทศวาร
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลาดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป.
บทว่า จตฺตาริ (๔) เป็นคากาหนดจานวน.
8
บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ) เป็นคาแสดงไขธรรมที่กาหนดไว้.
ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคาว่า ทุกฺข อริยสจฺจ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น.
วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต
อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา
กมโต อริยสจฺเจสุ ย ญาณ ตสฺส กิจฺจโต
อนฺโตคธาน ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต
สุญฺญเตกวิธาทีหิ สภาควิสภาคโต
วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม
บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในลาดับคาสอน โดยวิภาค ๑ โดยวิเคราะห์ศัพท์ ๑ โดยประเภทมี
ลักษณะเป็นต้น ๑ โดยอรรถ ๑ โดยถอดความ ๑ โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง ๑ โดยลาดับ ๑ โดยกิจแห่งญาณใน
อริยสัจ ๑ โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ๑ โดยอุปมา ๑ โดยจตุกะ (หมวด ๔) ๑ โดยสุญญตา
(ว่าง) ๑ โดยเป็นธรรมอย่างเดียวกันเป็นต้น ๑ โดยสภาคะและวิสภาคะ ๑.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค
บรรดาอุเทศเหล่านั้น คาว่า โดยวิภาค ได้แก่ อรรถแห่งอริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น พระองค์ทรง
จาแนกไว้สัจจะละ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่นที่กุลบุตรผู้จะตรัสรู้ทุกข์เป็นต้น พึง
ตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร
อรรถ ๔ แห่งทุกข์นี้ เป็นอรรถของทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น. สมุทัยมีอรรถว่าประมวล
มา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่าเป็นเครื่องกังวล ฯลฯ นิโรธมีอรรถว่า
สลัดออก มีอรรถว่าสงัด มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ ฯลฯ มรรคมีอรรถว่าการนา
ออก มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัสสนะ (เห็น) มีอรรถว่าเป็นอธิบดี อรรถ ๔ แห่งมรรคนี้ เป็นอรรถ
ของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้ .
อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ ว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่า
ร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควรตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอานาจแห่งอรรถ
สัจจะอย่างละ ๔ ตามที่ทรงจาแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล.
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้ โดยวิภาคก่อน.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์
ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้นนี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์
ก่อน.
ในบทว่า ทุกฺข นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ ย่อมแสดงความน่าเกลียด.
จริงอยู่ ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ข ย่อมปรากฏใน
9
ความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ข ก็สัจจะที่หนึ่งนี้ ชื่อว่า กุจฺฉิต (น่าเกลียด) เพราะเป็น
ที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย
ชื่อว่า ตุจฺฉ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและเป็นอัตตาที่ชนพาล
คิดกัน (คนพาลคิดเห็นว่า ... เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุขและเป็นอัตตา.) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค
เจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺข (ทุกข์) (คาว่า ทุกข นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้าและขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ
สาเร็จรูปตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺข แปลว่า ทนได้ยาก.) เพราะเป็นของน่าเกลียดและเป็นของว่างเปล่า.
คนพาลคิดเห็นว่า... เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา
ศัพท์ว่า ส นี้ ในคาว่า สมุทย นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม เช่นในคาเป็นต้นว่า สมาคโม
สเมต (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า อุท นี้ ย่อมแสดงความเกิดขึ้น เช่นในคาเป็นต้นว่า อุปฺปนฺน
อุทิต (เกิดขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว). แต่ศัพท์ว่า อย ย่อมแสดงถึงเหตุ (สมุทย ในที่นี้ ก็คือ ส + อุท + อย สาเร็จรูป
เป็น สมุทย.) ก็เมื่อมีการประกอบด้วยปัจจัยที่คงอยู่ สัจจะที่สองนี้ ก็เป็นเหตุคือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขสมุทย (ทุกขสมุทัย) เพราะสัจจะที่สองนี้ เป็นเหตุเกิดทุกข์.
อนึ่ง สัจจะที่สาม เพราะศัพท์ว่า นิ ย่อมแสดงความไม่มี และศัพท์ว่า โรธ ย่อมแสดงถึงผู้
ท่องเที่ยว (ศัพท์นิโรธ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า นิ หมายถึงความไม่มี ศัพท์ว่า โรธ หมายถึงเรือนจา
สังสาร นิโรธ จึงแปลได้อีกว่า ไม่มีเรือนจาในสังสาร.) เพราะฉะนั้น ในสัจจะที่สาม (นิโรธ) นี้ จึงได้แก่ความ
ไม่มีความท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสารเพราะว่างจากคติทั้งปวง.
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรบรรลุสัจจะที่สามนั้นแล้ว ความไม่มีการท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์
กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺขนิโรธ (ทุกขนิโรธ) เพราะเป็นปฏิปักษ์
ต่อการท่องเที่ยวไปนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าทุกขนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแก่ความไม่เกิด คือความดับสนิทแห่งทุกข์.
อนึ่ง สัจจะที่ ๔ นี้ ย่อมดาเนินไปสู่ความดับทุกข์ เพราะมุ่งหน้าต่อพระนิพพานนั้นด้วยอานาจ
แห่งอารมณ์ และเป็นปฏิปทาเพื่อถึงความดับทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
ก็เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้น ฉะนั้น สัจจะเหล่านั้นจึง
ตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดารัสที่ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ กตมานิ ฯเปฯ อิ
มานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้ แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้
เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจ ดังนี้ .)
อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอริยสัจ เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะของพระอริยะดังนี้ บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัส
ไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัจจะของพระอริยะ.)
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระอริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะ
10
ความสาเร็จโดยความเป็นอริยะบ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต
อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต
สัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้ แลตามความจริง.)
อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่าอริยสัจ เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะอันประเสริฐ คาว่า อริยะนี้ มีอธิบายว่า
เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ
อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔
เหล่านี้ แลเป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้ .)
พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้ โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น
พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร.
จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อนเป็นรส
มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะมีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธ
เป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะมีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏ
ฐาน. มรรคสัจจะมีการนาออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ (คือการออก) เป็นปัจจุ
ปัฏฐาน.
อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๔ นี้ มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความ
กลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะโดยลาดับ (คาว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึง
สมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ หมายถึงมรรค) และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มี
ตัณหา มีอสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตามลาดับ
เหมือนกันแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ
ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถก่อน หากมีคาถามว่า อะไรเป็น
อรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคาตอบอย่างพิสดารว่า
ภาวะใด เมื่อบุคคลเพ่งอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ย่อมไม่วิปริตเหมือนมายากล ไม่ลวงตาเหมือนพยับ
แดด ไม่เป็นสภาวะที่ใครๆ หาไม่ได้เหมือนอัตตาของพวกเดียรถีย์ โดยที่แท้เป็นโคจร (อารมณ์) ของอริย
ญาณโดยประการมีการเบียดเบียน (ทุกขสัจ) มีเหตุเป็นแดนเกิด (สมุทัยสัจ) มีความสงบ (นิโรธสัจ) มีการ
นาออก (มรรคสัจ) ซึ่งเป็นของแท้ไม่วิปริต เป็นของจริงทีเดียว ภาวะที่สัจจะเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของ
จริง เป็นดังลักษณะไฟและเป็นดังธรรมดาของสัตว์โลก (ต้องเกิดแก่เจ็บตาย) นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น
อรรถของสัจจะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
อิท ทุกฺขนฺติ โข ภิกฺขเว ตถเมต อวิตถเมต อนญฺญถเมต (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คาว่า นี้ ทุกข์ดังนี้
11
แล นั่นเป็นของแท้จริง นั่นเป็นของไม่ผิด นั่นไม่เป็นไปโดยประการอื่นเป็นต้น.)
อีกอย่างหนึ่ง
นาพาธก ยโต ทุกฺข ทุกฺขา อญฺญ น พาธก
พาธกตฺตนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต
(นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อมไม่มี ตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น
ทุกข์นี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะโดยกาหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียดเบียน.)
ต วินา นาญฺญโต ทุกฺข น โหติ น จ ต ตโต
ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจ วิสตฺติกา
(เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มีแต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหานั้นก็หาไม่
เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะโดยกาหนดอรรถว่าเป็นเหตุ
แห่งทุกข์.)
นาญฺญา นิพฺพานโต สนฺติ สนฺต น จ น ต ยโต
สนฺตภาวนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต
(ความสงบอื่นนอกจากพระนิพพานแล้วย่อมไม่มี และพระนิพพานนั้นเว้นจากความสงบก็หามีไม่
เพราะฉะนั้น พระนิพพานนี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดยกาหนดอรรถว่าเป็นความสงบ.)
มคฺคา อญฺญ น นิยฺยาน อนิยฺยาโน น จาปิ โส
ตจฺฉนิยฺยานภาวตฺตา อิติ โส สจฺจสมฺมโต
(นอกจากมรรคแล้ว เครื่องนาออกอย่างอื่นย่อมไม่มี แม้มรรคนั้นมิใช่เครื่องนาออกก็หาไม่
เพราะฉะนั้น มรรคนั้นบัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนาออกอย่างแท้จริง.)
อิติ ตจฺฉาวิปลฺลาส ภูตภาว จตูสุปิ
ทุกฺขาทีสฺววิเสเสน สจฺจตฺถ อาหุ ปณฺฑิตา
(บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์เป็นต้น โดยไม่แปลก
กันว่า เป็นอรรถแห่งสัจจะด้วยประการฉะนี้ แล.)
พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ
พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร?
สัจจศัพท์ในอธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร?
คือสัจจศัพท์ย่อมปรากฏในวาจาสัจจะ (พูดจริง) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจ ภเณ น กุชฺ
เฌยฺย (บุคคลพึงกล่าวคาสัตย์ ไม่พึงโกรธ.)
ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ฐิตา สมณพฺ
ราหฺมณา (สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ.)
ที่ปรากฏในทิฏฐิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นา
12
นาปวาทิยาเส กุสลาวทานา (เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือเป็นผู้อ้างตน
ว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง.)
ที่ปรากฏในปรมัตถสัจจะ คือนิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอก หิ สจฺจ น
ทุติยมตฺถิ (สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง.) ที่ปรากฏในอริยสัจจะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า จตุนฺน สจฺ
จาน กติ กุสลา (บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะที่เป็นกุศลมีเท่าไร.)
แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้ นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้ .
พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง
ในข้อว่า ไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ หากมีคาถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจไว้
๔ เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง.
ตอบว่า เพราะไม่มีสัจจะอย่างอื่น และนาออกข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้.
จริงอยู่ สัจจะอื่นยิ่งกว่าสัจจะ ๔ เหล่านี้ หรือว่าบรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ จะพึงนาออกไปสักข้อหนึ่ง
หาได้ไม่. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ พึงเอ่ยอ้างว่า
ทุกข์ที่พระสมณโคดมแสดงไว้นี้ ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่น เราจักเว้นทุกขอริยสัจนี้ แล้ว
บัญญัติทุกขอริยสัจอื่น ข้อนี้ ไม่ใช่ฐานะที่เป็นได้ ดังนี้ .
และดังที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึง
กล่าวอย่างนี้ ว่า นั่นมิใช่ทุกขอริยสัจ ข้อที่หนึ่งที่สมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่ง
นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งอย่างอื่นใหม่ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้ .
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกความเป็นไปแห่งทุกข์ ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งเหตุ
และเมื่อจะตรัสบอกความไม่เป็นไป ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งอุบาย (เป็นเครื่องสลัดออก) เพราะฉะนั้น จึงตรัส
อริยสัจไว้ ๔ เท่านั้น เพราะความที่สัจจะเหล่านั้นมีความเป็นไป (ปวัตติ) ความไม่เป็นไป (นิวัตติ) และเหตุ
แห่งความเป็นไป ความไม่เป็นไปทั้งสองอันมีสัจจะ ๔ นี้ เป็นอย่างยิ่ง.
อนึ่ง พระองค์ตรัสอริยสัจ ๔ เท่านั้น แม้ด้วยอานาจแห่งปริญเญยธรรม (ธรรมที่ควรกาหนด
รู้) ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ) สัจฉิกาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทาให้แจ้ง) ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่
ควรเจริญ) และตรัสไว้ ๔ ด้วยด้วยอานาจแห่งตัณหา วัตถุที่อาศัยเกิดของตัณหา ความดับตัณหาและอุบาย
เป็นเครื่องดับตัณหา และตรัสไว้ ๔ แม้ด้วยอานาจแห่งความอาลัย เหตุที่ยินดีในอาลัย การถอนขึ้นซึ่งอาลัย
และอุบายเป็นเหตุถอนขึ้นซึ่งอาลัย.
พึงทราบวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลาดับ
ข้อว่า โดยลาดับ แม้นี้ ได้แก่ลาดับแห่งเทศนานั่นเอง ก็ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะเป็นสัจจะ
ที่รู้ได้ง่าย เพราะเป็นของหยาบและเพราะเป็นของทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหมด ฉะนั้นจึงตรัสไว้ก่อน สมุทัยสัจจะ
13
ตรัสไว้ในลาดับแห่งทุกขสัจจะนั้นเพื่อแสดงเหตุของทุกขสัจจะนั้นเอง นิโรธสัจจะตรัสไว้โดยลาดับสมุทัยสัจจะ
นั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่า เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ มรรคสัจจะตรัสไว้ในที่สุด เพื่อแสดงอุบายเครื่องบรรลุนิโรธ
สัจจะนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุกข์ก่อน เพื่อให้เกิดความสังเวชแก่พวกสัตว์ผู้ยินดีและ
ปรารถนาความสุขในภพ ตรัสสมุทัยในลาดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อให้รู้ว่า ทุกข์นั้นตัณหามิได้สร้างแล้วย่อมไม่มา
มันย่อมมีเพราะเหตุภายนอกมีพระอิศวรบันดาลก็หาไม่ ที่แท้มันย่อมมีเพราะตัณหานี้ ต่อจากนั้นก็ตรัส
นิโรธ เพื่อให้เกิดความโล่งใจ ด้วยการเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแก่สัตว์ผู้มีใจสลดซึ่งแสวงหาอุบายเป็น
เครื่องออกจากทุกข์ เพราะความเป็นผู้ถูกทุกข์พร้อมทั้งเหตุ (ตัณหา) ครอบงาแล้ว ต่อจากนั้นก็ตรัสมรรค
อันเป็นธรรมให้ถึงนิโรธ เพื่อบรรลุนิโรธ.
พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลาดับในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ
ข้อว่า โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ นี้ อธิบายว่า พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยกิจแห่งสัจจญาณ.
จริงอยู่ สัจจญาณมี ๒ อย่าง คือ
อนุโพธญาณ (ญาณที่รู้โดยลาดับ)
ปฏิเวธญาณ (ญาณที่แทงตลอด).
บรรดาญาณทั้ง ๒ นั้น อนุโพธญาณเป็นโลกิยะย่อมดาเนินไปในนิโรธและมรรค ด้วยอานาจแห่ง
การสดับฟังเป็นต้น. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ ทานิโรธให้เป็นอารมณ์แล้วแทงตลอดสัจจะแม้ทั้ง ๔ โดยกิจ
เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โย โกจิ ภิกฺขเว ทุกฺข ปสฺสติ ทุกฺขสมุทยมฺปิ โส ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธมฺปิ ปสฺสติ ทุกฺขนิ
โรธคามินีปฏิปทมฺปิ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ย่อมเห็นแม้
ทุกขนิโรธ ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.)
พึงกล่าวพุทธวจนะ (ในสูตรนี้ ) แม้ทั้งหมด.
อนึ่ง ญาณที่เป็นโลกิยะในสัจจญาณ ๔ เหล่านี้ ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์) ย่อมห้ามสักกายทิฏฐิ
ที่กาลังเป็นไปด้วยอานาจแห่งความครอบงาโดยปริยุฏฐาน. สมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) ย่อมห้ามอุจเฉท
ทิฏฐิ. นิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ) ย่อมห้ามสัสสตทิฏฐิ. มรรคญาณ (ญาณในมรรค) ย่อมห้ามอกิริยทิฏฐิ.
อีกอย่างหนึ่ง ทุกขญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในผลกล่าวคือความสาคัญในเบญจขันธ์ซึ่ง
ปราศจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและอัตตาว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุขและมีอัตตา สมุทย
ญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดให้เหตุ ที่เป็นไปในการนับถืออย่างยิ่งคือในสิ่งที่มิใช่เหตุว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจ
ว่าโลก ย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธ
ญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็นพระ
นิพพาน (พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลกถูปิกา)
ว่าเป็นนิพพาน.) มรรคญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วยความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์
14
อันต่างโดยกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึง
ประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า
โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย
สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ
(นรชน ยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลาย ตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ในเหตุเกิดของโลก
(สมุทัย) ในพระนิพพานอันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.)
พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน
ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยกเว้นตัณหาและอนาสวธรรม
(ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่าหยั่งลงภายใน ในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต ๓๖ หยั่งลง
ภายใน ในสมุทยสัจ. นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน. ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละและธรรม
วิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ในมรรคสัจ. วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตก
เป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน วจีสุจริต ๔ โดยอิงอาศัยสัมมาวาจาเป็นธรรม
หยั่งลงภายใน กายสุจริต ๓ โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ความมักน้อยและความ
สันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน นับเข้าในมรรคสัจ.
อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอริยกันตศีล
เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้น
เหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์ สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นชาติหยั่งลงในภายใน. สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิ
บาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน สติปัฏฐาน ๔
สตินทรีย์ สติพละและสติสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาสติ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน สมาธิอย่างละ ๓ คือ
สมาธิมีวิตกและมีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์
สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน คือนับเข้าในมรรคสัจ.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา
ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทัยสัจเหมือนการถือของหนัก นิโรธ
สัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบายเป็นเครื่องวางของหนัก.
อนึ่ง ทุกขสัจเป็นดังโรค สมุทยสัจเป็นดังสมุฏฐานของโรค นิโรธสัจเป็นดังความสงบของโรค
มรรคสัจเป็นดังเภสัช.
อีกอย่างหนึ่ง ทุกขสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้โดยยาก สมุทยสัจเปรียบเหมือนฝนไม่ดี นิโรธ
สัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้ง่าย มรรคสัจเปรียบเหมือนฝนดี.
อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้ โดยอุปมาประกอบด้วยคนมีเวร มูลเหตุแห่งเวร การถอนขึ้น
15
ซึ่งเวร อุบายการถอนขึ้นซึ่งเวร และพึงทราบด้วยต้นไม้มีพิษ รากเหง้าของต้นไม้มีพิษ การโค้นตัดต้นไม้มี
พิษ อุบายโค้นตัดต้นไม้มีพิษ และพึงทราบด้วยมีภัย เหตุที่มีภัย ความปลอดภัย อุบายให้ปลอดภัย และพึง
ทราบด้วยฝั่งนี้ ห้วงน้าใหญ่ของฝั่งนี้ ฝั่งโน้น และผู้พยายามให้ถึงฝั่งโน้นนั้นแล.
พึงทราบวินิจฉัยโดยอุปมาในอริยสัจนี้ ด้วยประการฉะนี้ .
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกะ (หมวด ๔)
ข้อว่า โดยจตุกะ ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ ธรรมที่เป็นทุกข์แต่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจก็มี
ธรรมที่เป็นอริยสัจไม่เป็นทุกข์ก็มี ธรรมที่เป็นทุกข์ด้วยเป็นอริยสัจด้วยก็มี ธรรมที่ไม่เป็นทุกข์และไม่ใช่
อริยสัจก็มี.
ในสมุทัยเป็นต้นก็นัยนี้ .
ในจตุกะนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็น
สังขารทุกข์ โดยพระบาลีว่า ยทนิจฺจ ต ทุกฺข (สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์) แต่ไม่ใช่อริยสัจ นิโรธเป็น
อริยสัจแต่ไม่เป็นทุกข์. ส่วนอริยสัจทั้ง ๒ นอกนี้ (สมุทัยและมรรค) พึงเป็นทุกข์ เพราะความไม่เที่ยง แต่
ไม่ใช่ทุกข์โดยที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้ากาหนดรู้ ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ เว้น
ตัณหาแล้วเป็นทั้งทุกข์ เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลาย
ไม่ใช่ทุกข์โดยสภาวะที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกาหนดรู้ ทั้งไม่ใช่อริยสัจ.
พึงทราบการประกอบแม้ในสมุทัยเป็นต้น (ในข้อสมุทัยเป็นต้น กิเลสที่เป็นสมุทัย (นอกจาก
ตัณหา) เป็นสมุทัย เพราะอรรถว่าทาให้เกิดทุกข์ แต่ไม่ใช่อริยสัจที่เป็นสมุทัย นิโรธเป็นอริยสัจ แต่ไม่เป็น
สมุทัย ทุกข์และมรรครวม ๒ พึงเป็นสมุทัยก็ได้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของตน แต่ไม่เป็นสมุทัยที่เป็นป
หาตัพพธรรม ตัณหาเป็นทั้งสมุทัยเป็นทั้งอริยสัจ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นสมุทัยที่
จะต้องละ และไม่เป็นอริยสัจ (เป็นสัจจวิมุตติ). ในนิโรธ สังขารนิโรธและนิโรธสมาบัติเป็นนิโรธแต่ไม่เป็น
นิโรธอริยสัจ สมุทัยเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นนิโรธ ทุกข์และมรรคทั้ง ๒ เป็นนิโรธก็ได้เพราะเป็นขณนิโรธ แต่
ไม่ใช่นิโรธสัจจะ อสังขตะเป็นทั้งนิโรธเป็นทั้งอริยสัจธรรม ที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นนิโรธและ
ไม่ใช่อริยสัจ. องค์มรรคอื่นจากอริยมรรคเป็นมรรคแต่ไม่ใช่อริยมรรค นิโรธเป็นอริยสัจ แต่ไม่เป็นมรรค
ทุกข์และสมุทัยทั้ง ๒ เป็นมรรคก็ได้เพราะเป็นทางไปสู่ภพ แต่มิใช่อริยมรรคที่ควรเจริญเพื่อนิโรธ นิโรธคา
มินีปฏิปทาเป็นทั้งมรรค เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็น
มรรคและไม่เป็นอริยสัจ.) ตามสมควรแล้ววินิจฉัยในอริยสัจนี้ โดยจตุกะ ด้วยประการฉะนี้ แล.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง)
ในข้อว่า โดยสุญญตาและโดยเป็นธรรมอันเดียวกันเป็นต้น นี้ พึงทราบโดยสภาพว่างก่อน.
จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดทีเดียว พึงทราบว่า เป็นสภาพว่าง เพราะไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทา
ไม่มีผู้ดับ ไม่มีผู้เดิน ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า
ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น กิริยาว วิชฺชติ
16
อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ
(ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่บุคคลไรๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทามีอยู่ แต่ผู้ทาหามีไม่ ความดับ
มีอยู่ แต่บุคคลผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินหามีไม่. (ทุกข์เป็นสัจจะ ส่วนบุคคลเป็นบัญญัติ สัจจะ
เป็นของมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีโดยปรมัตถ์ การกระทามีอยู่ ท่านหมายเอาตัณหาเป็นเหตุกระทา มิได้
หมายเอาบุคคลซึ่งเป็นบัญญัติ. ความดับหมายถึงนิพพาน ไม่ใช่บุคคลเป็นผู้ดับ. ทางหมายถึงมรรค ๘ มีอยู่
จริง ส่วนบุคคลผู้เดินไม่มี เพราะมิใช่บุคคล.))
อีกอย่างหนึ่ง
ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ สัจจะ ๒ บทแรกว่างจากความเที่ยง ความ
งาม ความสุข และอัตตา อมตบทคือพระนิพพานว่างจากอัตตา มรรค ว่างจากความยั่งยืน ความสุข และ
อัตตา.
อีกอย่างหนึ่ง
สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ และนิโรธก็ว่างจากสัจจะ ๓ ที่เหลือ.
อีกอย่างหนึ่ง
ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ เหตุว่างจากผล เพราะไม่มีทุกข์ในสมุทัย และไม่มีนิโรธในมรรค เหตุไม่
ร่วมกับผล เหมือนดังปกติ (ประพฤติ) (ลัทธิภายนอกชื่อว่าปกติวาที มีความเห็นว่า ปกติเดิมเหตุรวมอยู่กับ
ผล ต่อมาจึงแยกออกเป็นคนละอย่าง ลัทธิสมวายวาทีก็ทานองเดียวกัน.) ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็น
ต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้
เป็นอย่างเดียวกับเหตุ เป็นเหตุผล เหมือนอณูทั้ง ๒ ของลัทธิทั้งหลายมีสมวายวาทีเป็นต้น เพราะเหตุนั้น
นักปราชญ์จึงประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า
ตยมิธ นิโรธสุญฺญ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺญา
สุญฺโญ ผเลน เหตุ ผลปิ ต เหตุนา สุญฺญ
(บรรดาอริยสัจจะ ๔ นี้ สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจากสัจจะ ๓ แม้นั้น สัจจะที่
เป็นเหตุว่างจากสัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้ .)
พึงทราบวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ ก่อน.
ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น
ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว
ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็นธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น ๒ อย่างโดยเป็นนามและรูป. เป็น
๓ อย่างโดยแยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ. เป็น ๔ อย่างโดยประเภทแห่งอาหาร ๔. เป็น
๕ อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ ๕.
แม้สมุทัยชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น ๒ อย่างโดยเป็นธรรม
สัมปยุตด้วยทิฏฐิและไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น ๓ อย่างโดยแยกเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. เป็น
๔ อย่างเพราะเป็นโทษอันมรรค ๔ พึงละ. เป็น ๕ อย่างโดยแยกอารมณ์ มีความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น. เป็น
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf
๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf

More Related Content

Similar to ๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf

สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Jariya Huangjing
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Sp'z Puifai
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
อิ่' เฉิ่ม
 
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธรคำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
Nhui Srr
 
บทที่ 1 นิพพิทา
บทที่ 1 นิพพิทาบทที่ 1 นิพพิทา
บทที่ 1 นิพพิทา
Onpa Akaradech
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
Tongsamut vorasan
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย
Maha Duangthip Dhamma
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tongsamut vorasan
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
Chinnakorn Pawannay
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
Taweedham Dhamtawee
 

Similar to ๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf (20)

สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธรคำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
คำขอแก้บน ศีลข้อ ๔ สัจจะอธิษฐาน กับพระพุทธโสธร
 
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาทวิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
วิเคราะห์ปฏิจจสมุปบาท
 
นวโกวาท
นวโกวาทนวโกวาท
นวโกวาท
 
บทที่ 1 นิพพิทา
บทที่ 1 นิพพิทาบทที่ 1 นิพพิทา
บทที่ 1 นิพพิทา
 
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปดสำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน   มงคลสามสิบแปด
สำนักปฏิบัติธรรมสุธัมมสถาน มงคลสามสิบแปด
 
๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdf๐๘ เหมกปัญหา.pdf
๐๘ เหมกปัญหา.pdf
 
แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย แรงบันดาลใจจากความตาย
แรงบันดาลใจจากความตาย
 
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
Tri91 29+สังยุตตนิกาย+สฬายตนวรรค+เล่ม+๔+ภาค+๒
 
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
๐๒ ติสสเมตเตยยปัญหา.pdf
 
กิจกรรมหน้าเสาธง
กิจกรรมหน้าเสาธงกิจกรรมหน้าเสาธง
กิจกรรมหน้าเสาธง
 
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
๐๘ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มจร.pdf
 
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วงสัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
สัพพัญญุตญาณ พื้นที่ความรู้แจ้งในไตรภูมิพระร่วง
 
๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf๐๗ นันทปัญหา.pdf
๐๗ นันทปัญหา.pdf
 
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
ธรรมะเสวนา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
 
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
๐๖ อุปสีวปัญหา.pdf
 

More from maruay songtanin

400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

๐๒ อริยสัจสี่ พระอภิธรรม มจร.pdf

  • 1. 1 อริยสัจ ๔ จากพระอภิธรรมปิฎก พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา พุทธศาสนิกชนชาวไทยโดยมากจะตอบได้ว่า พระธรรมคาสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าอริยสัจสี่ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ในบทความนี้ จึงได้นารายละเอียดของอริยสัจสี่จาก พระไตรปิฎกที่มีอยู่ในส่วนของพระอภิธรรมปิฎก ที่แจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จน ชัดเจน มาแสดงให้ท่านที่สนใจได้เรียนรู้เพิ่มเติม โดยมิได้ตัดต่อหรือเติมแต่งแต่ประการใด พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] วิภังคปกรณ์ ๔. สัจจวิภังค์ ๑. สุตตันตภาชนีย์ [๑๘๙] อริยสัจ ๔ (ความจริงของพระอริยะ, ความจริงที่ทาให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นพระอริยะ, สัจจะที่ พระอริยะพึงรู้) คือ ๑. ทุกขอริยสัจ (อริยสัจคือทุกข์) ๒. ทุกขสมุทยอริยสัจ (อริยสัจคือเหตุเกิดแห่งทุกข์) ๓. ทุกขนิโรธอริยสัจ (อริยสัจคือความดับทุกข์) ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ (อริยสัจคือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) ๑. ทุกขสัจ [๑๙๐] บรรดาอริยสัจ ๔ นั้น ทุกขอริยสัจ เป็นไฉน ชาติเป็นทุกข์ ชราเป็นทุกข์ มรณะเป็นทุกข์ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสเป็นทุกข์ การ ประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ การไม่ได้สิ่งที่ ต้องการเป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ [๑๙๑] บรรดาทุกขอริยสัจนั้น ชาติ เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความบังเกิดเฉพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้ อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้ เรียกว่า ชาติ [๑๙๒] ชรา เป็นไฉน ความแก่ ความคร่าคร่า ความมีฟันหลุด ความมีผมหงอก ความมีหนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ นี้ เรียกว่า ชรา
  • 2. 2 [๑๙๓] มรณะ เป็นไฉน ความจุติ ความเคลื่อนไป ความทาลายไป ความหายไป ความตายกล่าวคือมฤตยู การทากาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งร่างกาย ความขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ จากหมู่สัตว์นั้นๆ นี้ เรียกว่า มรณะ [๑๙๔] โสกะ เป็นไฉน ความเศร้าโศก กิริยาที่เศร้าโศก ภาวะที่เศร้าโศก ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศก ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความ เสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่าง หนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า โสกะ [๑๙๕] ปริเทวะ เป็นไฉน ความร้องไห้ ความคร่าครวญ กิริยาที่ร้องไห้ กิริยาที่คร่าครวญ ภาวะที่ร้องไห้ ภาวะที่คร่าครวญ ความบ่นถึง ความพร่าเพ้อ ความร่าไห้ ความพิไรราพัน กิริยาที่พิไรราพัน ภาวะที่พิไรราพัน ของผู้ที่ถูกความ เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของ ผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า ปริเทวะ [๑๙๖] ทุกข์ เป็นไฉน ความไม่สาราญทางกาย ความทุกข์ทางกาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่ กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่กายสัมผัส นี้ เรียกว่า ทุกข์ [๑๙๗] โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สาราญทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโต สัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สาราญเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส นี้ เรียกว่า โทมนัส [๑๙๘] อุปายาส เป็นไฉน ความแค้น ความคับแค้น ภาวะที่แค้น ภาวะที่คับแค้น ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภค ทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิกระทบ ของผู้ที่ประกอบด้วยความเสื่อม อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ (หรือ)ผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบ นี้ เรียกว่า อุปายาส [๑๙๙] การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน การไปร่วม การมาร่วม การประชุมร่วม การอยู่ร่วมกับอารมณ์อันไม่เป็นที่ปรารถนา ไม่เป็นที่รัก ใคร่ ไม่เป็นที่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ปรารถนาแต่สิ่งที่ มิใช่ประโยชน์ ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาแต่สิ่งที่ไม่ผาสุก ไม่ปรารถนาความหลุดพ้นจากโยคะ ของเขา นี้ เรียกว่า การประสบกับอารมณ์อันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ [๒๐๐] การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ เป็นไฉน การไม่ไปร่วม การไม่มาร่วม การไม่ประชุมร่วม การไม่อยู่ร่วมกับอารมณ์อันเป็นที่ปรารถนาเป็น ที่รักใคร่ชอบใจของเขาในโลกนี้ เช่น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ หรือจากบุคคลผู้ที่มุ่งประโยชน์ มุ่งความ
  • 3. 3 เกื้อกูล มุ่งความผาสุก มุ่งความเกษมจากโยคะของเขา เช่น มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อามาตย์ ญาติ หรือสายโลหิต นี้ เรียกว่า การพลัดพรากจากอารมณ์อันเป็นที่รักเป็นทุกข์ [๒๐๑] การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เป็นไฉน เหล่าสัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ ว่า ไฉนหนอขอเราอย่าได้มี ความเกิดเป็นธรรมดา หรือขอความเกิดอย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ ไม่พึงสาเร็จได้ตามความปรารถนา นี้ เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ เหล่าสัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเจ็บเป็น ธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ฯลฯ เหล่าสัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความ ทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดา ต่างก็เกิดความปรารถนาขึ้นอย่างนี้ ว่า ไฉนหนอ ขอเรา อย่าได้เป็นผู้มีความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นเป็นธรรมดาเลย ขอความเศร้าโศก ความพิไรราพัน ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้น อย่าได้มาถึงเราเลยนะ ข้อนี้ ไม่พึงสาเร็จได้ตามความต้องการ นี้ เรียกว่า การไม่ได้สิ่งที่ต้องการเป็นทุกข์ [๒๐๒] โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ เป็นไฉน รูปูปาทานขันธ์ (กองรูปที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เวทนูปาทานขันธ์ (กองเวทนาที่เป็นอารมณ์ ของอุปาทาน) สัญญูปาทานขันธ์ (กองสัญญาที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) สังขารูปาทานขันธ์ (กองสังขารที่ เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) และ วิญญาณูปาทานขันธ์ (กองวิญญาณที่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน) เหล่านี้ เรียกว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ นี้ เรียกว่า ทุกขอริยสัจ ๒. สมุทยสัจ [๒๐๓] ทุกขสมุทยอริยสัจ เป็นไฉน ตัณหานี้ เป็นเหตุเกิดในภพใหม่ สหรคตด้วยความกาหนัดยินดี เป็นเหตุเพลิดเพลินในอารมณ์ นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา ก็ตัณหานี้ แหละเมื่อเกิด เกิดที่ไหน เมื่อตั้งอยู่ ตั้งอยู่ที่ไหน ปิยรูปสาตรูป (ปิยรูปสาตรูป สภาวะที่น่ารักน่าชื่นใจ ส่วนที่เป็นอิฏฐารมณ์ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด ตัณหา) เป็นสภาวะที่มีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ปิยรูปสาตรูป นี้ ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักษุนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ในโลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนนี้ รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปนี้ เสียง ฯลฯ ใน โลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็ เกิดที่ธรรมนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธรรมนี้
  • 4. 4 จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ จักขุวิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ...ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ในโลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ มโนวิญญาณนี้ จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่จักขุ สัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก ชิวหาสัมผัส ... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโน สัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่มโนสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุ สัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิด แต่ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่ เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ ตั้งอยู่ที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปสัญญานี้ เมื่อ ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา ... ในโลก โผฏฐัพ พสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนา (ความคิดอ่านในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูป สัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปสัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ... ในโลก รส สัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพสัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อ เกิด ก็เกิดที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมสัญเจตนานี้ รูปตัณหา (ความติดใจในรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปตัณหานี้ เมื่อ ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ... ในโลก โผฏฐัพพ ตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ ตั้งอยู่ที่ธัมมตัณหานี้ รูปวิตก (ความตรึกถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิตกนี้ สัททวิตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตก เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจาร (ความตรองถึงรูป) เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่รูปวิจารนี้ เมื่อ ตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่รูปวิจารนี้ สัททวิจาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ...ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อเกิด ก็เกิดที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อตั้งอยู่ ก็ตั้งอยู่ที่ธัมม วิจารนี้ นี้ เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ
  • 5. 5 ๓. นิโรธสัจ [๒๐๔] ทุกขนิโรธอริยสัจ เป็นไฉน ความสารอกและความดับตัณหานั้นนั่นแลโดยไม่เหลือ ความปล่อยวาง ความส่งคืน ความพ้น ความไม่ติดอยู่ ก็ตัณหานี้ เมื่อละ ละที่ไหน เมื่อดับ ดับที่ไหน ปิยรูปสาตรูปใดมีอยู่ในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ปิยรูปสาตรูปนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ปิยรูปสาตรูปนี้ ก็อะไรเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก จักษุเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักษุนี้ เมื่อดับก็ดับที่จักษุนี้ โสตะ ฯลฯ ใน โลก ฆานะ ... ในโลก ชิวหา ... ในโลก กาย ... ในโลก มโนเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ มโนนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนนี้ รูปเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปนี้ เสียง ฯลฯ ในโลก กลิ่น ... ในโลก รส ... ในโลก โผฏฐัพพะ ... ในโลก ธรรมเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ ธรรมนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธรรมนี้ จักขุวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุ วิญญาณนี้ โสตวิญญาณ ฯลฯ ในโลก ฆานวิญญาณ ... ในโลก ชิวหาวิญญาณ ... ในโลก กายวิญญาณ ... ใน โลก มโนวิญญาณเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่มโนวิญญาณนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนวิญญาณ นี้ จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่จักขุสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่จักขุสัมผัสนี้ โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก ฆานสัมผัส ... ในโลก ชิวหาสัมผัส... ในโลก กายสัมผัส ... ในโลก มโนสัมผัสเป็นปิย รูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่มโนสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุ สัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่เวทนาที่เกิดแต่จักขุสัมผัสนี้ เวทนาที่เกิดแต่โสตสัมผัส ฯลฯ ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ ฆานสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่ชิวหาสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่เกิดแต่กายสัมผัส ... ในโลก เวทนาที่ เกิดแต่มโนสัมผัสเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ เวทนาที่เกิดแต่มโนสัมผัสนี้ รูปสัญญาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปสัญญานี้ สัททสัญญา ฯลฯ ในโลก คันธสัญญา ... ในโลก รสสัญญา... ในโลก โผฏฐัพพสัญญา ... ในโลก ธัมมสัญญา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญญานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมสัญญานี้ รูปสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปสัญเจตนานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูป สัญเจตนานี้ สัททสัญเจตนา ฯลฯ ในโลก คันธสัญเจตนา ...ในโลก รสสัญเจตนา ... ในโลก โผฏฐัพพ สัญเจตนา ... ในโลก ธัมมสัญเจตนาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมสัญเจตนานี้ เมื่อ ดับ ก็ดับที่ธัมมสัญเจตนานี้
  • 6. 6 รูปตัณหาเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปตัณหานี้ สัททตัณหา ฯลฯ ในโลก คันธตัณหา ... ในโลก รสตัณหา ...ในโลก โผฏฐัพพตัณหา ... ในโลก ธัมมตัณหา เป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมตัณหานี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมตัณหานี้ รูปวิตกเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่รูปวิตกนี้ สัททวิ ตก ฯลฯ ในโลก คันธวิตก ... ในโลก รสวิตก ... ในโลก โผฏฐัพพวิตก ... ในโลก ธัมมวิตกเป็นปิยรูปสาตรูป ในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิตกนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิตกนี้ รูปวิจารเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่รูปวิจารนี้ เมื่อดับก็ดับที่รูปวิจารนี้ สัททวิ จาร ฯลฯ ในโลก คันธวิจาร ... ในโลก รสวิจาร ... ในโลก โผฏฐัพพวิจาร ... ในโลก ธัมมวิจารเป็นปิยรูปสาต รูปในโลก ตัณหานี้ เมื่อละ ก็ละที่ธัมมวิจารนี้ เมื่อดับ ก็ดับที่ธัมมวิจารนี้ นี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ ๔. มัคคสัจ [๒๐๕] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ นั่นแล คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) ๒. สัมมาสังกัปปะ (ดาริชอบ) ๓. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) ๔. สัมมากัมมันตะ (กระทาชอบ) ๕. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ) ๖. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) ๗. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) ๘. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) บรรดาอริยมรรคมีองค์ ๘ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ความรู้ในทุกข์ (ความทุกข์) ความรู้ในทุกขสมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธ (ความดับทุกข์) ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์) นี้ เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ (๑) สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความดาริในการออกจากกาม ความดาริในการไม่พยาบาท ความดาริในการไม่เบียดเบียน นี้ เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ (๒) สัมมาวาจา เป็นไฉน เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเท็จ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเหตุ งดเว้นจากการพูดคาหยาบ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ นี้ เรียกว่า สัมมาวาจา (๓) สัมมากัมมันตะ เป็นไฉน เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ เจตนาเป็นเหตุงดเว้นจากการลักทรัพย์ เจตนาเป็นเหตุงด เว้นจากการประพฤติผิดในกาม นี้ เรียกว่า สัมมากัมมันตะ (๔) สัมมาอาชีวะ เป็นไฉน
  • 7. 7 ข้อที่พระอริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ละมิจฉาอาชีวะแล้ว สาเร็จการเลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ นี้ เรียกว่า สัมมาอาชีวะ (๕) สัมมาวายามะ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อป้องกัน บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ฯลฯ เพื่อทาบาปอกุศล ธรรมที่ยังไม่เกิดขึ้นมิให้เกิดขึ้น ฯลฯ สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อความ ดารงอยู่ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว นี้ เรียกว่า สัมมาวายามะ (๖) สัมมาสติ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พึง กาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯลฯ เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ พึงกาจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้ นี้ เรียกว่าสัมมาสติ (๗) สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ข้อที่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก มีวิจาร มี ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไปแล้ว บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสภายใน มี ภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป มีจิต เป็นอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่และเสวยสุขด้วยกาย (นามกาย) บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลาย กล่าวสรรเสริญว่า ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่ นี้ เรียกว่า สัมมาสมาธิ (๘) นี้ เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ สุตตันตภาชนีย์ จบ ------------------- อรรถกถา วิภังคปกรณ์ สัจจวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ ๔. สัจจวิภังคนิเทศ วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ ว่าด้วยอุเทศวาร บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในสัจจวิภังค์ในลาดับแห่งธาตุวิภังค์ต่อไป. บทว่า จตฺตาริ (๔) เป็นคากาหนดจานวน.
  • 8. 8 บทว่า อริยสจฺจานิ (อริยสัจ) เป็นคาแสดงไขธรรมที่กาหนดไว้. ก็พึงทราบวินิจฉัยในอุเทศวารมีคาว่า ทุกฺข อริยสจฺจ (ทุกขอริยสัจ) เป็นต้น. วิภาคโต นิพฺพจน ลกฺขณาทิปฺปเภทโต อตฺถตฺถุทฺธารโต เจว อนูนาธิกโต ตถา กมโต อริยสจฺเจสุ ย ญาณ ตสฺส กิจฺจโต อนฺโตคธาน ปเภทา อุปมาโต จตุกฺกโต สุญฺญเตกวิธาทีหิ สภาควิสภาคโต วินิจฺฉโย เวทิตพฺโพ วิญฺญุนา สาสนกฺกเม บัณฑิตผู้รู้แจ้ง พึงทราบวินิจฉัยในลาดับคาสอน โดยวิภาค ๑ โดยวิเคราะห์ศัพท์ ๑ โดยประเภทมี ลักษณะเป็นต้น ๑ โดยอรรถ ๑ โดยถอดความ ๑ โดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง ๑ โดยลาดับ ๑ โดยกิจแห่งญาณใน อริยสัจ ๑ โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ๑ โดยอุปมา ๑ โดยจตุกะ (หมวด ๔) ๑ โดยสุญญตา (ว่าง) ๑ โดยเป็นธรรมอย่างเดียวกันเป็นต้น ๑ โดยสภาคะและวิสภาคะ ๑. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิภาค บรรดาอุเทศเหล่านั้น คาว่า โดยวิภาค ได้แก่ อรรถแห่งอริยสัจ ๔ มีทุกข์เป็นต้น พระองค์ทรง จาแนกไว้สัจจะละ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่นที่กุลบุตรผู้จะตรัสรู้ทุกข์เป็นต้น พึง ตรัสรู้ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่าร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร อรรถ ๔ แห่งทุกข์นี้ เป็นอรรถของทุกข์ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น. สมุทัยมีอรรถว่าประมวล มา มีอรรถว่าเป็นเหตุมอบให้ซึ่งผล มีอรรถว่าประกอบไว้ มีอรรถว่าเป็นเครื่องกังวล ฯลฯ นิโรธมีอรรถว่า สลัดออก มีอรรถว่าสงัด มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ ฯลฯ มรรคมีอรรถว่าการนา ออก มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัสสนะ (เห็น) มีอรรถว่าเป็นอธิบดี อรรถ ๔ แห่งมรรคนี้ เป็นอรรถ ของมรรค เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดังนี้ . อนึ่ง พระบาลีมีอาทิอย่างนี้ ว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าอันปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าให้เร่า ร้อน มีอรรถว่าปรวนแปร เป็นอรรถที่ควรตรัสรู้ ดังนี้ พึงทราบสัจจะมีทุกข์เป็นต้น ด้วยอานาจแห่งอรรถ สัจจะอย่างละ ๔ ตามที่ทรงจาแนกไว้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ แล. พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้ โดยวิภาคก่อน. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยวิเคราะห์ศัพท์ ก็ในข้อว่า โดยวิเคราะห์ศัพท์ และประเภทมีลักษณะเป็นต้นนี้ พึงทราบสัจจะโดยวิเคราะห์ศัพท์ ก่อน. ในบทว่า ทุกฺข นี้ ศัพท์ว่า ทุ นี้ ย่อมแสดงความน่าเกลียด. จริงอยู่ ชาวโลกเรียกบุตรที่น่าเกลียดว่า ทุปุตฺโต (บุตรน่าเกลียด) ส่วนศัพท์ว่า ข ย่อมปรากฏใน
  • 9. 9 ความว่างเปล่า เพราะอากาศที่ว่างเปล่าเรียกกันว่า ข ก็สัจจะที่หนึ่งนี้ ชื่อว่า กุจฺฉิต (น่าเกลียด) เพราะเป็น ที่ตั้งแห่งอุปัทวะมิใช่น้อย ชื่อว่า ตุจฺฉ (ว่างเปล่า) เพราะเว้นจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและเป็นอัตตาที่ชนพาล คิดกัน (คนพาลคิดเห็นว่า ... เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุขและเป็นอัตตา.) เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค เจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺข (ทุกข์) (คาว่า ทุกข นี้ อีกนัยหนึ่งแยกศัพท์เป็น ทุ บทหน้าและขมธาตุ ลบที่สุดธาตุ สาเร็จรูปตามไวยากรณ์เป็น ทุกฺข แปลว่า ทนได้ยาก.) เพราะเป็นของน่าเกลียดและเป็นของว่างเปล่า. คนพาลคิดเห็นว่า... เป็นของเที่ยง สวยงาม เป็นสุข และเป็นอัตตา ศัพท์ว่า ส นี้ ในคาว่า สมุทย นี้ ย่อมแสดงการประกอบพร้อม เช่นในคาเป็นต้นว่า สมาคโม สเมต (การประชุมกัน รวมกัน) ศัพท์ว่า อุท นี้ ย่อมแสดงความเกิดขึ้น เช่นในคาเป็นต้นว่า อุปฺปนฺน อุทิต (เกิดขึ้นแล้ว ตั้งขึ้นแล้ว). แต่ศัพท์ว่า อย ย่อมแสดงถึงเหตุ (สมุทย ในที่นี้ ก็คือ ส + อุท + อย สาเร็จรูป เป็น สมุทย.) ก็เมื่อมีการประกอบด้วยปัจจัยที่คงอยู่ สัจจะที่สองนี้ ก็เป็นเหตุคือการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ทุกฺขสมุทย (ทุกขสมุทัย) เพราะสัจจะที่สองนี้ เป็นเหตุเกิดทุกข์. อนึ่ง สัจจะที่สาม เพราะศัพท์ว่า นิ ย่อมแสดงความไม่มี และศัพท์ว่า โรธ ย่อมแสดงถึงผู้ ท่องเที่ยว (ศัพท์นิโรธ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า นิ หมายถึงความไม่มี ศัพท์ว่า โรธ หมายถึงเรือนจา สังสาร นิโรธ จึงแปลได้อีกว่า ไม่มีเรือนจาในสังสาร.) เพราะฉะนั้น ในสัจจะที่สาม (นิโรธ) นี้ จึงได้แก่ความ ไม่มีความท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสารเพราะว่างจากคติทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระโยคาวจรบรรลุสัจจะที่สามนั้นแล้ว ความไม่มีการท่องเที่ยวไปแห่งทุกข์ กล่าวคือการท่องเที่ยวไปในสังสาร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ทุกฺขนิโรธ (ทุกขนิโรธ) เพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อการท่องเที่ยวไปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง เรียกว่าทุกขนิโรธ เพราะเป็นปัจจัยแก่ความไม่เกิด คือความดับสนิทแห่งทุกข์. อนึ่ง สัจจะที่ ๔ นี้ ย่อมดาเนินไปสู่ความดับทุกข์ เพราะมุ่งหน้าต่อพระนิพพานนั้นด้วยอานาจ แห่งอารมณ์ และเป็นปฏิปทาเพื่อถึงความดับทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. ก็เพราะพระอริยะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นย่อมแทงตลอดสัจจะเหล่านั้น ฉะนั้น สัจจะเหล่านั้นจึง ตรัสเรียกว่า อริยสัจจะ เหมือนอย่างพระดารัสที่ตรัสไว้ว่า จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว อริยสจฺจานิ กตมานิ ฯเปฯ อิ มานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ อริยา อิมานิ ปฏิวิชฺฌนฺติ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้ แล พระอริยะทั้งหลายย่อมแทงตลอดอริยสัจเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อริยสัจ ดังนี้ .) อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่าอริยสัจ เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะของพระอริยะดังนี้ บ้าง เหมือนอย่างที่ตรัส ไว้ว่า สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าสัจจะของพระอริยะ.) อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอริยสัจ เพราะความที่อริยสัจเหล่านั้นอันพระอริยะตรัสรู้แล้วบ้าง เพราะ
  • 10. 10 ความสาเร็จโดยความเป็นอริยะบ้าง เหมือนอย่างที่ตรัสว่า อิเมส โข ภิกฺขเว จตุนฺน อริยสจฺจาน ยถาภูต อภิสมฺพุทฺธตฺตา ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ อริโยติ วุจฺจติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกว่า อริยะ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้ แลตามความจริง.) อีกอย่างหนึ่งแล ชื่อว่าอริยสัจ เพราะอรรถว่าเป็นสัจจะอันประเสริฐ คาว่า อริยะนี้ มีอธิบายว่า เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นของคลาดเคลื่อน เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อริยสจฺจานิ ตถานิ อวิตถานิ อนญฺญกานิ ตสฺมา อริยสจฺจานีติ วุจฺจนฺติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ แลเป็นของแท้ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้ .) พึงทราบวินิจฉัยในสัจจะนี้ โดยวิเคราะห์เพียงเท่านี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นอย่างไร. จริงอยู่ ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะมีการเบียดเบียนเป็นลักษณะ มีความให้เร่าร้อนเป็นรส มีปวัตติเป็นปัจจุปัฏฐาน. สมุทยสัจจะมีเหตุเป็นแดนเกิดเป็นลักษณะ มีการไม่เข้าไปตัดเป็นรส มีปลิโพธ เป็นปัจจุปัฏฐาน. นิโรธสัจจะมีความสงบเป็นลักษณะ มีการไม่จุติเป็นรส มีการไม่มีนิมิตเป็นปัจจุปัฏ ฐาน. มรรคสัจจะมีการนาออกเป็นลักษณะ มีการประหาณกิเลสเป็นรส มีวุฏฐานะ (คือการออก) เป็นปัจจุ ปัฏฐาน. อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๔ นี้ มีปวัตติ (การเป็นไป) มีปวัตตนะ (เหตุให้เป็นไป) มีนิวัตติ (ความ กลับ) มีนิวัตตนะ (เหตุให้กลับ) เป็นลักษณะโดยลาดับ (คาว่า ประวัติหมายถึงทุกขสัจจะ ปวัตตนะหมายถึง สมุทัย นิวัตติหมายถึงนิโรธ นิวัตตนะ หมายถึงมรรค) และมีสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยปรุงแต่ง) มี ตัณหา มีอสังขตะ (คือธรรมชาติอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง) มีทัสสนะ (การเห็น) เป็นลักษณะตามลาดับ เหมือนกันแล. พึงทราบวินิจฉัยโดยประเภทมีลักษณะเป็นต้นในที่นี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอรรถ ก็ในข้อว่า โดยอรรถและโดยถอดความ นี้ พึงทราบโดยอรรถก่อน หากมีคาถามว่า อะไรเป็น อรรถของสัจจะ ก็จะพึงมีคาตอบอย่างพิสดารว่า ภาวะใด เมื่อบุคคลเพ่งอยู่ด้วยปัญญาจักษุ ย่อมไม่วิปริตเหมือนมายากล ไม่ลวงตาเหมือนพยับ แดด ไม่เป็นสภาวะที่ใครๆ หาไม่ได้เหมือนอัตตาของพวกเดียรถีย์ โดยที่แท้เป็นโคจร (อารมณ์) ของอริย ญาณโดยประการมีการเบียดเบียน (ทุกขสัจ) มีเหตุเป็นแดนเกิด (สมุทัยสัจ) มีความสงบ (นิโรธสัจ) มีการ นาออก (มรรคสัจ) ซึ่งเป็นของแท้ไม่วิปริต เป็นของจริงทีเดียว ภาวะที่สัจจะเป็นของแท้ ไม่วิปริต เป็นของ จริง เป็นดังลักษณะไฟและเป็นดังธรรมดาของสัตว์โลก (ต้องเกิดแก่เจ็บตาย) นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็น อรรถของสัจจะ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า อิท ทุกฺขนฺติ โข ภิกฺขเว ตถเมต อวิตถเมต อนญฺญถเมต (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คาว่า นี้ ทุกข์ดังนี้
  • 11. 11 แล นั่นเป็นของแท้จริง นั่นเป็นของไม่ผิด นั่นไม่เป็นไปโดยประการอื่นเป็นต้น.) อีกอย่างหนึ่ง นาพาธก ยโต ทุกฺข ทุกฺขา อญฺญ น พาธก พาธกตฺตนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต (นอกจากทุกข์แล้ว ตัวเบียดเบียนย่อมไม่มี ตัวเบียดเบียนอื่นนอกจากทุกข์ก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น ทุกข์นี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะโดยกาหนดอรรถว่าเป็นตัวเบียดเบียน.) ต วินา นาญฺญโต ทุกฺข น โหติ น จ ต ตโต ทุกฺขเหตุนิยาเมน อิติ สจฺจ วิสตฺติกา (เว้นจากตัณหานั้นแล้วทุกข์ย่อมไม่มีแต่เหตุอื่น และทุกข์นั้นย่อมไม่มีจากตัณหานั้นก็หาไม่ เพราะฉะนั้น ตัณหาตัวซัดส่ายไปในอารมณ์ต่างๆ นั้น บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะโดยกาหนดอรรถว่าเป็นเหตุ แห่งทุกข์.) นาญฺญา นิพฺพานโต สนฺติ สนฺต น จ น ต ยโต สนฺตภาวนิยาเมน ตโต สจฺจมิท มต (ความสงบอื่นนอกจากพระนิพพานแล้วย่อมไม่มี และพระนิพพานนั้นเว้นจากความสงบก็หามีไม่ เพราะฉะนั้น พระนิพพานนี้ บัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ โดยกาหนดอรรถว่าเป็นความสงบ.) มคฺคา อญฺญ น นิยฺยาน อนิยฺยาโน น จาปิ โส ตจฺฉนิยฺยานภาวตฺตา อิติ โส สจฺจสมฺมโต (นอกจากมรรคแล้ว เครื่องนาออกอย่างอื่นย่อมไม่มี แม้มรรคนั้นมิใช่เครื่องนาออกก็หาไม่ เพราะฉะนั้น มรรคนั้นบัณฑิตจึงรู้ว่าเป็นสัจจะ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องนาออกอย่างแท้จริง.) อิติ ตจฺฉาวิปลฺลาส ภูตภาว จตูสุปิ ทุกฺขาทีสฺววิเสเสน สจฺจตฺถ อาหุ ปณฺฑิตา (บัณฑิตทั้งหลายกล่าวภาวะอันแท้ไม่แปรผัน เป็นของจริงในสัจจะทั้ง ๔ มีทุกข์เป็นต้น โดยไม่แปลก กันว่า เป็นอรรถแห่งสัจจะด้วยประการฉะนี้ แล.) พึงทราบวินิจฉัยสัจจะโดยอรรถ ดังพรรณนามาฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยถอดความ พึงทราบวินิจฉัย โดยถอดเอาความ อย่างไร? สัจจศัพท์ในอธิการนี้ ย่อมปรากฏในอรรถมิใช่น้อย อย่างไร? คือสัจจศัพท์ย่อมปรากฏในวาจาสัจจะ (พูดจริง) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺจ ภเณ น กุชฺ เฌยฺย (บุคคลพึงกล่าวคาสัตย์ ไม่พึงโกรธ.) ที่ปรากฏในวิรติสัจจะ (มุสาวาทวิรัติ) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า สจฺเจ ฐิตา สมณพฺ ราหฺมณา (สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ.) ที่ปรากฏในทิฏฐิสัจจะ (จริงโดยทิฏฐิ) เหมือนในประโยคมีอาทิว่า กสฺมา นุ สจฺจานิ วทนฺติ นา
  • 12. 12 นาปวาทิยาเส กุสลาวทานา (เพราะเหตุไรหนอ พวกสมณพราหมณ์จึงกล่าวสัจจะไปต่างๆ คือเป็นผู้อ้างตน ว่าเป็นผู้ฉลาดกล่าวยืนยันสัจจะหลายอย่าง.) ที่ปรากฏในปรมัตถสัจจะ คือนิพพานและมรรค เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอก หิ สจฺจ น ทุติยมตฺถิ (สัจจะมีอย่างเดียวไม่มีอย่างที่สอง.) ที่ปรากฏในอริยสัจจะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า จตุนฺน สจฺ จาน กติ กุสลา (บรรดาสัจจะ ๔ สัจจะที่เป็นกุศลมีเท่าไร.) แม้ในที่นี้ สัจจศัพท์นี้ นั้นย่อมเป็นไปในอริยสัจจะ (สัจจะอันประเสริฐ) ดังนี้ . พึงทราบวินิจฉัยโดยถอดความในสัจจะนี้ ฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่ง ในข้อว่า ไม่หย่อนไม่ยิ่ง นี้ หากมีคาถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอริยสัจไว้ ๔ เท่านั้นไม่หย่อนไม่ยิ่ง. ตอบว่า เพราะไม่มีสัจจะอย่างอื่น และนาออกข้อใดข้อหนึ่งก็ไม่ได้. จริงอยู่ สัจจะอื่นยิ่งกว่าสัจจะ ๔ เหล่านี้ หรือว่าบรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ จะพึงนาออกไปสักข้อหนึ่ง หาได้ไม่. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ในโลกนี้ พึงเอ่ยอ้างว่า ทุกข์ที่พระสมณโคดมแสดงไว้นี้ ไม่ใช่ทุกขอริยสัจ ทุกขอริยสัจเป็นอย่างอื่น เราจักเว้นทุกขอริยสัจนี้ แล้ว บัญญัติทุกขอริยสัจอื่น ข้อนี้ ไม่ใช่ฐานะที่เป็นได้ ดังนี้ . และดังที่ตรัสไว้มีอาทิอย่างนี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึง กล่าวอย่างนี้ ว่า นั่นมิใช่ทุกขอริยสัจ ข้อที่หนึ่งที่สมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่ง นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่หนึ่งอย่างอื่นใหม่ ข้อนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้ดังนี้ . อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะตรัสบอกความเป็นไปแห่งทุกข์ ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งเหตุ และเมื่อจะตรัสบอกความไม่เป็นไป ก็ตรัสบอกพร้อมทั้งอุบาย (เป็นเครื่องสลัดออก) เพราะฉะนั้น จึงตรัส อริยสัจไว้ ๔ เท่านั้น เพราะความที่สัจจะเหล่านั้นมีความเป็นไป (ปวัตติ) ความไม่เป็นไป (นิวัตติ) และเหตุ แห่งความเป็นไป ความไม่เป็นไปทั้งสองอันมีสัจจะ ๔ นี้ เป็นอย่างยิ่ง. อนึ่ง พระองค์ตรัสอริยสัจ ๔ เท่านั้น แม้ด้วยอานาจแห่งปริญเญยธรรม (ธรรมที่ควรกาหนด รู้) ปหาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรละ) สัจฉิกาตัพพธรรม (ธรรมที่ควรทาให้แจ้ง) ภาเวตัพพธรรม (ธรรมที่ ควรเจริญ) และตรัสไว้ ๔ ด้วยด้วยอานาจแห่งตัณหา วัตถุที่อาศัยเกิดของตัณหา ความดับตัณหาและอุบาย เป็นเครื่องดับตัณหา และตรัสไว้ ๔ แม้ด้วยอานาจแห่งความอาลัย เหตุที่ยินดีในอาลัย การถอนขึ้นซึ่งอาลัย และอุบายเป็นเหตุถอนขึ้นซึ่งอาลัย. พึงทราบวินิจฉัยโดยไม่หย่อนไม่ยิ่งในอธิการนี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยลาดับ ข้อว่า โดยลาดับ แม้นี้ ได้แก่ลาดับแห่งเทศนานั่นเอง ก็ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ ทุกขสัจจะเป็นสัจจะ ที่รู้ได้ง่าย เพราะเป็นของหยาบและเพราะเป็นของทั่วไปแก่สัตว์ทั้งหมด ฉะนั้นจึงตรัสไว้ก่อน สมุทัยสัจจะ
  • 13. 13 ตรัสไว้ในลาดับแห่งทุกขสัจจะนั้นเพื่อแสดงเหตุของทุกขสัจจะนั้นเอง นิโรธสัจจะตรัสไว้โดยลาดับสมุทัยสัจจะ นั้น เพื่อแสดงให้รู้ว่า เพราะเหตุดับ ผลจึงดับ มรรคสัจจะตรัสไว้ในที่สุด เพื่อแสดงอุบายเครื่องบรรลุนิโรธ สัจจะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุกข์ก่อน เพื่อให้เกิดความสังเวชแก่พวกสัตว์ผู้ยินดีและ ปรารถนาความสุขในภพ ตรัสสมุทัยในลาดับแห่งทุกข์นั้น เพื่อให้รู้ว่า ทุกข์นั้นตัณหามิได้สร้างแล้วย่อมไม่มา มันย่อมมีเพราะเหตุภายนอกมีพระอิศวรบันดาลก็หาไม่ ที่แท้มันย่อมมีเพราะตัณหานี้ ต่อจากนั้นก็ตรัส นิโรธ เพื่อให้เกิดความโล่งใจ ด้วยการเห็นอุบายเป็นเครื่องสลัดออกแก่สัตว์ผู้มีใจสลดซึ่งแสวงหาอุบายเป็น เครื่องออกจากทุกข์ เพราะความเป็นผู้ถูกทุกข์พร้อมทั้งเหตุ (ตัณหา) ครอบงาแล้ว ต่อจากนั้นก็ตรัสมรรค อันเป็นธรรมให้ถึงนิโรธ เพื่อบรรลุนิโรธ. พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยลาดับในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ ข้อว่า โดยกิจแห่งญาณในอริยสัจ นี้ อธิบายว่า พึงทราบวินิจฉัยแม้โดยกิจแห่งสัจจญาณ. จริงอยู่ สัจจญาณมี ๒ อย่าง คือ อนุโพธญาณ (ญาณที่รู้โดยลาดับ) ปฏิเวธญาณ (ญาณที่แทงตลอด). บรรดาญาณทั้ง ๒ นั้น อนุโพธญาณเป็นโลกิยะย่อมดาเนินไปในนิโรธและมรรค ด้วยอานาจแห่ง การสดับฟังเป็นต้น. ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ ทานิโรธให้เป็นอารมณ์แล้วแทงตลอดสัจจะแม้ทั้ง ๔ โดยกิจ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า โย โกจิ ภิกฺขเว ทุกฺข ปสฺสติ ทุกฺขสมุทยมฺปิ โส ปสฺสติ ทุกฺขนิโรธมฺปิ ปสฺสติ ทุกฺขนิ โรธคามินีปฏิปทมฺปิ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่งเห็นทุกข์ ผู้นั้นย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย ย่อมเห็นแม้ ทุกขนิโรธ ย่อมเห็นแม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.) พึงกล่าวพุทธวจนะ (ในสูตรนี้ ) แม้ทั้งหมด. อนึ่ง ญาณที่เป็นโลกิยะในสัจจญาณ ๔ เหล่านี้ ทุกขญาณ (ญาณในทุกข์) ย่อมห้ามสักกายทิฏฐิ ที่กาลังเป็นไปด้วยอานาจแห่งความครอบงาโดยปริยุฏฐาน. สมุทยญาณ (ญาณในสมุทัย) ย่อมห้ามอุจเฉท ทิฏฐิ. นิโรธญาณ (ญาณในนิโรธ) ย่อมห้ามสัสสตทิฏฐิ. มรรคญาณ (ญาณในมรรค) ย่อมห้ามอกิริยทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในผลกล่าวคือความสาคัญในเบญจขันธ์ซึ่ง ปราศจากความยั่งยืน ความงาม ความสุขและอัตตาว่ามีความยั่งยืน มีความงาม มีสุขและมีอัตตา สมุทย ญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดให้เหตุ ที่เป็นไปในการนับถืออย่างยิ่งคือในสิ่งที่มิใช่เหตุว่าเป็นเหตุ โดยเข้าใจ ว่าโลก ย่อมเป็นไปโดยพระอิศวรโดยพระผู้เป็นประธาน โดยพระกาฬ และโดยภาวะของตนเองเป็นต้น นิโรธ ญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในนิโรธที่ยึดถือในอรูปโลก และในภูมิที่เป็นยอดโลกเป็นต้น ว่าเป็นพระ นิพพาน (พวกอุทกดาบสและอาฬารดาบส ถืออรูปโลกว่าเป็นนิพพาน พวกนิครนถ์ถือยอดภูมิ (โลกถูปิกา) ว่าเป็นนิพพาน.) มรรคญาณย่อมห้ามความปฏิบัติผิดในอุบายที่เป็นไปด้วยความยึดถือในมรรคที่ไม่บริสุทธิ์
  • 14. 14 อันต่างโดยกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยคว่าเป็นมรรคอันบริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น บัณฑิตจึง ประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า โลเก โลกปฺปภเว โลกตฺถคเม สิเว จ ตทุปาเย สมฺมุยฺหติ ตาว นโร น วิชานาติ ยาว สจฺจานิ (นรชน ยังไม่รู้แจ้งสัจจะทั้งหลาย ตราบใด เขาก็ย่อมลุ่มหลงในโลก (ทุกข์) ในเหตุเกิดของโลก (สมุทัย) ในพระนิพพานอันเป็นที่ดับไปแห่งโลก และในอุบายของความดับโลกนั้น (มรรค) อยู่ตราบนั้น.) พึงทราบวินิจฉัยโดยกิจแห่งญาณในอริยสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ข้อว่า โดยประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายใน ความว่า จริงอยู่ ยกเว้นตัณหาและอนาสวธรรม (ธรรมที่ไม่มีอาสวะ) แล้วธรรมทั้งหมดที่เหลือนับว่าหยั่งลงภายใน ในทุกขสัจ. ตัณหาวิจริต ๓๖ หยั่งลง ภายใน ในสมุทยสัจ. นิโรธสัจไม่มีอะไรเจือปน. ธรรมมีวิมังสิทธิบาท ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละและธรรม วิจยสัมโพชฌงค์ โดยมีสัมมาทิฏฐิเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ในมรรคสัจ. วิตก ๓ มีเนกขัมมวิตก เป็นต้นโดยอิงอาศัยสัมมาสังกัปปะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน วจีสุจริต ๔ โดยอิงอาศัยสัมมาวาจาเป็นธรรม หยั่งลงภายใน กายสุจริต ๓ โดยอิงอาศัยสัมมากัมมันตะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน ความมักน้อยและความ สันโดษโดยมีสัมมาอาชีวะเป็นประมุขเป็นธรรมหยั่งลงภายใน นับเข้าในมรรคสัจ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะทั้งหมดเหล่านี้ เป็นอริยกันตศีล เพราะศีลอันบุคคลพึงรับด้วยมือคือศรัทธา และเพราะความที่ศีลจะมีอยู่ก็เพราะความที่สัมมาวาจาเป็นต้น เหล่านั้นมีอยู่ สัทธินทรีย์ สัทธา พละ ฉันทิทธิบาท จึงเป็นชาติหยั่งลงในภายใน. สัมมัปปธาน ๔ วิริยิทธิ บาท วิริยินทรีย์ วิริยพละ วิริยสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาวายามะเป็นธรรมหยั่งลงภายใน สติปัฏฐาน ๔ สตินทรีย์ สติพละและสติสัมโพชฌงค์ โดยอิงอาศัยสัมมาสติ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน สมาธิอย่างละ ๓ คือ สมาธิมีวิตกและมีวิจารเป็นต้น จิตตสมาธิ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ ปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิ สัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรมหยั่งลงภายใน คือนับเข้าในมรรคสัจ. พึงทราบวินิจฉัยแม้ประเภทแห่งธรรมที่หยั่งลงภายในสัจจะนี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยอุปมา ก็ในข้อว่า โดยอุปมา นี้ พึงเห็นทุกขสัจเหมือนของหนัก สมุทัยสัจเหมือนการถือของหนัก นิโรธ สัจเหมือนวางของหนัก มรรคสัจเหมือนอุบายเป็นเครื่องวางของหนัก. อนึ่ง ทุกขสัจเป็นดังโรค สมุทยสัจเป็นดังสมุฏฐานของโรค นิโรธสัจเป็นดังความสงบของโรค มรรคสัจเป็นดังเภสัช. อีกอย่างหนึ่ง ทุกขสัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้โดยยาก สมุทยสัจเปรียบเหมือนฝนไม่ดี นิโรธ สัจเปรียบเหมือนมีภิกษาหาได้ง่าย มรรคสัจเปรียบเหมือนฝนดี. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบสัจจะเหล่านี้ โดยอุปมาประกอบด้วยคนมีเวร มูลเหตุแห่งเวร การถอนขึ้น
  • 15. 15 ซึ่งเวร อุบายการถอนขึ้นซึ่งเวร และพึงทราบด้วยต้นไม้มีพิษ รากเหง้าของต้นไม้มีพิษ การโค้นตัดต้นไม้มี พิษ อุบายโค้นตัดต้นไม้มีพิษ และพึงทราบด้วยมีภัย เหตุที่มีภัย ความปลอดภัย อุบายให้ปลอดภัย และพึง ทราบด้วยฝั่งนี้ ห้วงน้าใหญ่ของฝั่งนี้ ฝั่งโน้น และผู้พยายามให้ถึงฝั่งโน้นนั้นแล. พึงทราบวินิจฉัยโดยอุปมาในอริยสัจนี้ ด้วยประการฉะนี้ . ว่าด้วยวินิจฉัยโดยจตุกะ (หมวด ๔) ข้อว่า โดยจตุกะ ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านี้ ธรรมที่เป็นทุกข์แต่ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจก็มี ธรรมที่เป็นอริยสัจไม่เป็นทุกข์ก็มี ธรรมที่เป็นทุกข์ด้วยเป็นอริยสัจด้วยก็มี ธรรมที่ไม่เป็นทุกข์และไม่ใช่ อริยสัจก็มี. ในสมุทัยเป็นต้นก็นัยนี้ . ในจตุกะนั้น ธรรมทั้งหลายที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็น สังขารทุกข์ โดยพระบาลีว่า ยทนิจฺจ ต ทุกฺข (สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์) แต่ไม่ใช่อริยสัจ นิโรธเป็น อริยสัจแต่ไม่เป็นทุกข์. ส่วนอริยสัจทั้ง ๒ นอกนี้ (สมุทัยและมรรค) พึงเป็นทุกข์ เพราะความไม่เที่ยง แต่ ไม่ใช่ทุกข์โดยที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้ากาหนดรู้ ส่วนอุปาทานขันธ์ ๕ เว้น ตัณหาแล้วเป็นทั้งทุกข์ เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลทั้งหลาย ไม่ใช่ทุกข์โดยสภาวะที่กุลบุตรผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อกาหนดรู้ ทั้งไม่ใช่อริยสัจ. พึงทราบการประกอบแม้ในสมุทัยเป็นต้น (ในข้อสมุทัยเป็นต้น กิเลสที่เป็นสมุทัย (นอกจาก ตัณหา) เป็นสมุทัย เพราะอรรถว่าทาให้เกิดทุกข์ แต่ไม่ใช่อริยสัจที่เป็นสมุทัย นิโรธเป็นอริยสัจ แต่ไม่เป็น สมุทัย ทุกข์และมรรครวม ๒ พึงเป็นสมุทัยก็ได้เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดผลของตน แต่ไม่เป็นสมุทัยที่เป็นป หาตัพพธรรม ตัณหาเป็นทั้งสมุทัยเป็นทั้งอริยสัจ ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นสมุทัยที่ จะต้องละ และไม่เป็นอริยสัจ (เป็นสัจจวิมุตติ). ในนิโรธ สังขารนิโรธและนิโรธสมาบัติเป็นนิโรธแต่ไม่เป็น นิโรธอริยสัจ สมุทัยเป็นอริยสัจแต่ไม่เป็นนิโรธ ทุกข์และมรรคทั้ง ๒ เป็นนิโรธก็ได้เพราะเป็นขณนิโรธ แต่ ไม่ใช่นิโรธสัจจะ อสังขตะเป็นทั้งนิโรธเป็นทั้งอริยสัจธรรม ที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็นนิโรธและ ไม่ใช่อริยสัจ. องค์มรรคอื่นจากอริยมรรคเป็นมรรคแต่ไม่ใช่อริยมรรค นิโรธเป็นอริยสัจ แต่ไม่เป็นมรรค ทุกข์และสมุทัยทั้ง ๒ เป็นมรรคก็ได้เพราะเป็นทางไปสู่ภพ แต่มิใช่อริยมรรคที่ควรเจริญเพื่อนิโรธ นิโรธคา มินีปฏิปทาเป็นทั้งมรรค เป็นทั้งอริยสัจโดยประการทั้งปวง ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและสามัญผลไม่เป็น มรรคและไม่เป็นอริยสัจ.) ตามสมควรแล้ววินิจฉัยในอริยสัจนี้ โดยจตุกะ ด้วยประการฉะนี้ แล. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง) ในข้อว่า โดยสุญญตาและโดยเป็นธรรมอันเดียวกันเป็นต้น นี้ พึงทราบโดยสภาพว่างก่อน. จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ สัจจะทั้งหมดทีเดียว พึงทราบว่า เป็นสภาพว่าง เพราะไม่มีผู้เสวย ไม่มีผู้ทา ไม่มีผู้ดับ ไม่มีผู้เดิน ด้วยเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า ทุกฺขเมว หิ น โกจิ ทุกฺขิโต การโก น กิริยาว วิชฺชติ
  • 16. 16 อตฺถิ นิพฺพุติ น นิพฺพุโต ปุมา มคฺคมตฺถิ คมโก น วิชฺชติ (ความจริง ทุกข์เท่านั้นมีอยู่ แต่บุคคลไรๆ ผู้เป็นทุกข์หามีไม่ การทามีอยู่ แต่ผู้ทาหามีไม่ ความดับ มีอยู่ แต่บุคคลผู้ดับหามีไม่ ทางมีอยู่ แต่บุคคลผู้เดินหามีไม่. (ทุกข์เป็นสัจจะ ส่วนบุคคลเป็นบัญญัติ สัจจะ เป็นของมีอยู่โดยปรมัตถ์ บัญญัติไม่มีโดยปรมัตถ์ การกระทามีอยู่ ท่านหมายเอาตัณหาเป็นเหตุกระทา มิได้ หมายเอาบุคคลซึ่งเป็นบัญญัติ. ความดับหมายถึงนิพพาน ไม่ใช่บุคคลเป็นผู้ดับ. ทางหมายถึงมรรค ๘ มีอยู่ จริง ส่วนบุคคลผู้เดินไม่มี เพราะมิใช่บุคคล.)) อีกอย่างหนึ่ง ความว่างในสัจจะ ๔ เหล่านั้น พึงทราบอย่างนี้ คือ สัจจะ ๒ บทแรกว่างจากความเที่ยง ความ งาม ความสุข และอัตตา อมตบทคือพระนิพพานว่างจากอัตตา มรรค ว่างจากความยั่งยืน ความสุข และ อัตตา. อีกอย่างหนึ่ง สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ และนิโรธก็ว่างจากสัจจะ ๓ ที่เหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ในสัจจะ ๔ เหล่านี้ เหตุว่างจากผล เพราะไม่มีทุกข์ในสมุทัย และไม่มีนิโรธในมรรค เหตุไม่ ร่วมกับผล เหมือนดังปกติ (ประพฤติ) (ลัทธิภายนอกชื่อว่าปกติวาที มีความเห็นว่า ปกติเดิมเหตุรวมอยู่กับ ผล ต่อมาจึงแยกออกเป็นคนละอย่าง ลัทธิสมวายวาทีก็ทานองเดียวกัน.) ของลัทธิทั้งหลายมีปกติวาทีเป็น ต้น. และผลเล่าก็ว่างจากเหตุ เพราะความทุกข์กับสมุทัย และนิโรธกับมรรคมิได้เป็นอันเดียวกัน ผลนั้นมิได้ เป็นอย่างเดียวกับเหตุ เป็นเหตุผล เหมือนอณูทั้ง ๒ ของลัทธิทั้งหลายมีสมวายวาทีเป็นต้น เพราะเหตุนั้น นักปราชญ์จึงประพันธ์คาคาถานี้ ไว้ว่า ตยมิธ นิโรธสุญฺญ ตเยน เตนาปิ นิพฺพุติ สุญฺญา สุญฺโญ ผเลน เหตุ ผลปิ ต เหตุนา สุญฺญ (บรรดาอริยสัจจะ ๔ นี้ สัจจะ ๓ ว่างจากนิโรธ นิโรธ (นิพฺพุติ) เล่าก็ว่างจากสัจจะ ๓ แม้นั้น สัจจะที่ เป็นเหตุว่างจากสัจจะที่เป็นผล แม้สัจจะที่เป็นผลนั้นเล่าก็ว่างจากสัจจะที่เป็นเหตุ ดังนี้ .) พึงทราบวินิจฉัยโดยสุญญตา (ว่าง) อย่างนี้ ก่อน. ว่าด้วยวินิจฉัยโดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ข้อว่า โดยเป็นธรรมอย่างเดียวเป็นต้น ความว่า ก็บรรดาสัจจะ ๔ เหล่านั้น ทุกข์ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่ามีอย่างเดียวเพราะเป็นปวัตติ (คือเป็นธรรมหมุนไปในวัฏฏะ) เป็น ๒ อย่างโดยเป็นนามและรูป. เป็น ๓ อย่างโดยแยกเป็นอุปปัตติภพ คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ. เป็น ๔ อย่างโดยประเภทแห่งอาหาร ๔. เป็น ๕ อย่างโดยประเภทแห่งอุปาทานขันธ์ ๕. แม้สมุทัยชื่อว่ามีอย่างเดียว เพราะเป็นสภาพให้วัฏฏะหมุนไป เป็น ๒ อย่างโดยเป็นธรรม สัมปยุตด้วยทิฏฐิและไม่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ เป็น ๓ อย่างโดยแยกเป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. เป็น ๔ อย่างเพราะเป็นโทษอันมรรค ๔ พึงละ. เป็น ๕ อย่างโดยแยกอารมณ์ มีความยินดียิ่งในรูปเป็นต้น. เป็น