SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
1
มาคัณฑิยสูตร
พลตรี มารวย ส่งทานินทร์
๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖
เกริ่นนา
พระสูตรเรื่อง มาคัณฑิยสูตร เป็นเรื่องราวของปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ กล่าวหาว่า ‘พระสมณโค
ดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชี้แจงธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน
บุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี
จักเห็นรูปได้’ มาคัณฑิยปริพาชกจึงได้ขอบรรพชาอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาค แล้วได้เป็นพระ
อรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้ แล
มาคัณฑิยสูตร
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์
๕. มาคัณฑิยสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ
[๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทาด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภาร
ทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือ
บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อกัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จ
กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน
กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลาดับนั้น ปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่น
อยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็นเครื่องปูลาดทาด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของ
พราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า
“สหาย เครื่องปูลาดที่ทาด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใคร ดู
เหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง”
ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรออกผนวช
จากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ
ภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น
พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ ปูลาดไว้สาหรับท่านพระโคดมนั้น”
“ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทาลายความเจริญนั้น นับว่าได้
เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล”
2
“ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ ไว้ ความจริง
กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจานวน
มาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนาแต่
ธรรมที่ทาให้คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ”
“ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้าท่านพระโคดมว่า
‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาพูดอย่างนี้ อยู่ในสูตรของเรา”
“ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคานั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็ ข้าพเจ้าจักกราบ
ทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ”
“ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณโคดมนั้นเถิด”
[๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคาสนทนานี้ ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมาคัณฑิยปริพาชก
ด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น (ที่หลีกเร้น ใน
ที่นี้ หมายถึงผลสมาบัติ) เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่ง
ทาด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลาดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับ
พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาดซึ่งทาด้วย
หญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึงขนลุก ได้กราบทูลพระผู้
มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้ แก่ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัส
ถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล”
เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น มาคัณฑิยปริพาชกผู้กาลัง
เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัย
พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิย
ปริพาชกว่า
ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสารวมอินทรีย์
[๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว ตานั้นตถาคตฝึกดี
แล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สารวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสารวมตานั้น
มาคันฑิยะ คาที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นั้น ท่านคงจะหมายถึง
ความข้อนี้ กระมัง”
มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คาที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้
ทาลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาที่พูดอย่างนี้ อยู่ใน
สูตรของข้าพระองค์”
3
“มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรสเป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมี
การสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว
ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สารวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสารวมใจ
นั้น
มาคัณฑิยะ คาที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นั้น ท่านคงจะหมายถึง
ความข้อนี้ กระมัง”
“ท่านพระโคดม คาที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์
หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาที่พูดอย่างนี้ อยู่ในสูตรของข้าพระองค์”
[๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับการ
บาเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัย
ต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาใน
รูปได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่
มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้ เล่า”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับการบาเรอด้วย
เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่
พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัยต่อมา เขารู้
ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา
ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบใน
ภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้ เล่า”
“ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว”
[๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕
ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ
ให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วย
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ
๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว
๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน
เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบาเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน
ตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย
4
สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้
ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจาก
ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัด ถูกกามตัณหา
เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่
ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย (ความยินดีที่เว้นจาก
กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงความยินดีในผลสมาบัติ อันเกิดจากจตุตถฌาน) อันเข้าถึงความสุขที่
เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า (ความสุขขั้นต่า หมายถึงความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ ประการ
อันเป็นของมนุษย์ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)) และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น
เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์
[๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก
เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก
ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่ง
พร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า
พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะ
พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ใน
สวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์บาเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้
เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสรแวดล้อม อยู่ใน
สวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของ
คหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม”
“ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่ ยิ่งกว่าและประณีต
ยิ่งกว่ากามของมนุษย์”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกาม
คุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่
พาใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทาง
ลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ด้วย
โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้
ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความ
5
กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูก
กามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่กระหยิ่มต่อสัตว์
เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็น
ทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น
เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน
[๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอย
บ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์
ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้นพึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หาย
จากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็นบุรุษผู้เป็นโรค
เรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้
ร้อน
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคน
โน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ากลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่”
“ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับการใช้ยาก็ต้องมี เมื่อ
หายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกาม
คุณ ๕ ประการ บาเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พา
ใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น
ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะ
ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด
สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้
ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความ
กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูก
กามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่กระหยิ่มต่อสัตว์
เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็น
ทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น
[๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอย
บ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์
6
ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้นพึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หาย
จากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่แข็งแรง ๒ คน
ช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้ และข้างโน้น ใช่ไหม”
“ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความ
เร่าร้อนมาก”
“มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมี
ความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้ เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก
มีความเร่าร้อนมากเหมือนกัน”
“ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมากทั้งในบัดนี้ และ
แม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน
มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรคคอยบ่อนทาลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย
กลับเข้าใจ ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข”
“มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก
และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน
มาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้
เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผด
เผาอยู่ มีอินทรีย์ (อินทรีย์ ในที่นี้ หมายถึงปัญญินทรีย์) ถูกกามกาจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น
ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป
[๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทาลายอยู่ ใช้
เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อน
ทาลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้เป็น
โรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้นด้วยประการนั้นๆ แต่เขาจะมี
เพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการเกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะ
กามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่
ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์
เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้นๆ และเขาเหล่านั้น
จะมีความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ‘พระราชาหรือ
มหาอามาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้
ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว
กาลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
7
“ไม่ ท่านพระโคดม”
“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้ แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือมหาอามาตย์ของ
พระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กาลังอยู่ หรือว่า
จักอยู่’
มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบ
ในภายในอยู่แล้ว กาลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความ
ดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้
บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กาลัง
อยู่ หรือว่าจักอยู่”
ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมต
ธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม”
[๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความข้อนั้นจึงสมกัน”
“มาคันทิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้
กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร
นิพพานนั้น เป็นอย่างไร”
เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวเองแล้วกล่าว
ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มี
ความสุข โรคอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพระองค์”
เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด
[๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้
เห็นรูปสีดา รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็น
ดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่อง
งดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’
เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันมาลวงคนตาบอดมาแต่กาเนิด
นั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’
8
เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก
สะอาดสะอ้านจริงๆ’
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ จึงรับเอา
ผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่
สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”
มาคัณฑิยปริพาชกทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้น ไม่รู้ ไม่เห็นรับเอาผ้า
เนื้ อหยาบที่เปื้ อนน้ามันมาห่มพลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก
สะอาดสะอ้าน’ เปล่งวาจาแสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี”
“มาคัณฑิยะ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้
ความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ ได้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมต
ธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม’
[๒๑๘] บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลาดับ มาคัณฑิยะ กายนี้ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี
เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน ท่านนั้นกล่าวกายนี้ ซึ่งเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร
เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียนว่า ‘ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ท่านไม่
มีอริยจักขุ (อริยจักขุ ในที่นี้ หมายถึงวิปัสสนาญาณและมรรคญาณอันบริสุทธิ์) ที่เป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค
ที่เป็นเครื่องเห็นนิพพานได้”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรคและเห็นพระนิพพานได้”
เปรียบการแสดงธรรมกับการรักษาคนตาบอด
[๒๑๙] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดา รูปสีขาว รูปสี
เขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา ได้เชิญแพทย์ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้
ชานาญนั้นได้ประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยานั้นแต่ก็เห็นไม่ได้ ทาตาให้ใสไม่ได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า
อย่างไร แพทย์ผู้นั้นต้องมีส่วนแห่งความลาบาก ความคับแค้นมิใช่หรือ”
“ใช่ ท่านพระโคดม”
“มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้
นิพพานนั้นคืออันนี้ ’ ท่านนั้นยังไม่รู้ความไม่มีโรค ยังไม่เห็นนิพพาน มีแต่ทาให้เราเหน็ดเหนื่อยเปล่า
ลาบากเปล่า”
9
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรค และเห็นพระนิพพานได้”
[๒๒๐] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดา รูปสีขาว รูปสี
เขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์
และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังจากคนตาดีผู้กล่าวว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด
สะอ้าน’
คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้นเที่ยวแสวงหาผ้าขาว ชายคนหนึ่งเอาผ้าเนื้ อหยาบ เปื้ อนน้ามันมาลวง
เขาว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’
เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชานาญ การผ่าตัดมารักษา
แพทย์ผู้ชานาญนั้นทายาถอนให้ ทายาถ่าย ยาหยอด ยาป้าย และยานัตถุ์ให้ เขาอาศัยยานั้นจึงเห็นได้ ทาตา
ให้ใสได้ พร้อมกับมีตาดีขึ้น เขาย่อมละความพอใจและความยินดีในผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันผืนโน้น เขาจะ
พึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรูเป็นข้าศึก และจะพึงสาคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษที่ลวงตน
นั้นด้วยความแค้นว่า ‘เราถูกบุรุษผู้นี้ ล่อลวงให้หลงผิดด้วยผ้าเนื้ อหยาบ เปื้ อนน้ามันว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ ขาว
ผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’ แม้ฉันใด
มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้
นิพพานนั้นคือนี้ ’ ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ท่านก็จะละความพอใจและความยินดี
ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้
เจริญ เราถูกจิตนี้ ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะเวทนา เฉพาะสัญญา
เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ
จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์
ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ”
“ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะไม่เป็นคนตาบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ได้”
[๒๒๑] “มาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจะได้
ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านก็จักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นท่านก็จักรู้เอง เห็นเองว่า ‘โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี
ลูกศร จะดับไปได้โดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ
เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี
ด้วยประการอย่างนี้ ”
มาคัณฑิยะได้บรรพชาอุปสมบท
[๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
10
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระ
ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ
เหมือนบุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คน
มีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์
พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสานักของท่านพระโคดมเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาคัณฑิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรม
วินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชา
อุปสมบทเป็นภิกษุได้ แต่เราทราบความแตกต่างของบุคคลในเรื่องนี้ ”
มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะ
บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป
แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุเถิด”
มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระมาคัณฑิยะ
อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็
ทาให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทา
กิจที่ควรทาเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป”
ท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้ แล
มาคัณฑิยสูตรที่ ๕ จบ
-----------------------
คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถามาคัณฑิยสูตร
อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค
มาคัณฑิยสูตร
มาคัณฑิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ .
มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน ลุงและหลาน. ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มี
อุปนิสัยบวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของมาคัณฑิยปริพาชกนั้น ทรงละพระคันธกุฎีเช่น
กับเทวสถาน ทรงให้ปูเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้า ที่โรงบูชาไฟนั้นสกปรกไปด้วยเถ้าหญ้าและหยากเยื่อ เสด็จ
ประทับอยู่ ๒-๓ วัน เพื่อทรงทาการสงเคราะห์ผู้อื่น.
แต่เพราะโรงบูชาไฟนั้นมิได้อยู่ใกล้บ้านอย่างเดียว ตอนกลางวันเท่านั้น พวกเด็กชายและ
เด็กหญิงพากันลงไปเล่น ไม่มีความสงบ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ตอนกลางวันผ่านพ้นไปในไพร
11
สณฑ์ตลอดกาลเป็นนิตย์. ในตอนเย็นจึงเสด็จเข้าไปในโรงบูชาไฟนั้นเพื่อประทับอยู่.
มาคัณฑิยปริพาชกได้เห็นเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้าปูไว้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปรุง
เครื่องลาดทาด้วยหญ้าในวันอื่น แล้วทรงทาเครื่องหมายตั้งไว้เสด็จกลับไป. ในวันนั้นนั่นเองได้ทรงให้ปูแล้ว
เสด็จไป.
เพราะเหตุไร.
เพราะในกาลนั้นตอนใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นแล้วว่า วันนี้ มาคัณฑิยะจะมาใน
ที่นี้ ครั้นเห็นเครื่องลาดทาด้วยหญ้านี้ แล้วจักสนทนาปรารภเครื่องลาดทาด้วยหญ้ากับภารทวาชพราหมณ์.
แต่นั้น เราจักมาแสดงธรรม มาคัณฑิยพราหมณ์ฟังธรรมแล้วจักบวชในสานักของเราแล้วบรรลุอรหัต. จริง
อยู่ เราบาเพ็ญบารมีมาก็เพื่อทาการสงเคราะห์ผู้อื่น จึงทรงให้ปูเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้าแล้วเสด็จไป.
อนึ่ง เครื่องลาดนี้ มิใช่ที่อยู่ของสมณะผู้ไม่สารวมแล้ว. เป็นความจริงอย่างนั้น ที่เครื่องลาดนี้ มิได้
ปรากฏที่ถูกเขี่ยด้วยมือ ที่ถูกกระทบด้วยศีรษะ หรือที่ถูกเขี่ยด้วยเท้า. เครื่องลาดนี้ ไม่เลอะเทอะ ไม่ถูกเสียด
สี ไม่ถูกทาลายดุจช่างระบายสีผู้ฉลาดเอาดินสอพองระบาย ปูไว้คงเป็นที่อยู่ของสมณะผู้สารวมแล้ว.
มาคัณฑิยพราหมณ์จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของใคร.
ผู้กาจัดความเจริญ คือผู้สร้างมารยาท. เพราะเหตุไร มาคัณฑิยะจึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเขามี
ลัทธิ คือทาให้ความเจริญปรากฏในทวาร ๖.
นี้ เป็นลัทธิของเขา คือควรให้จักษุงอกงามเจริญ ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น รูปที่เห็นแล้วควรผ่าน
ไป. ควรให้โสตะงอกงามเจริญ ควรฟังเสียงที่ไม่เคยฟัง เสียงที่ฟังแล้วควรผ่านไป. ควรให้ฆานะงอกงามเจริญ
ควรดมกลิ่นที่ไม่เคยดม กลิ่นที่ดมแล้วควรผ่านไป. ควรให้ชิวหางอกงามเจริญ ควรลิ้มรสที่ไม่เคยลิ้ม รสที่ลิ้ม
แล้วควรผ่านไป. ควรให้กายงอกงามเจริญ ควรสัมผัสโผฏฐัพพะที่ยังไม่เคยสัมผัส โผฏฐัพพะที่สัมผัสแล้วควร
ผ่านไป. ควรให้มนะงอกงามเจริญ ควรรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ ธรรมที่รู้แล้วควรผ่านไป.
มาคัณฑิยะบัญญัติความเจริญในทวาร ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้ .
แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติความสารวมในทวาร ๖ ไว้ว่า ความสารวมจักษุ โสตะ ฆานะ
ชิวหา กาย วาจา ใจ เป็นความดี. ความสารวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี. ภิกษุสารวมในทวารทั้งปวง ย่อม
พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.
เพราะฉะนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์สาคัญว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้กาจัดความเจริญ เป็น
ผู้สร้างมารยาท จึงกล่าวว่า เป็นผู้กาจัดความเจริญ.
อันผู้จะกล่าววาจาแก่ผู้มียศมีความสูงส่ง เป็นที่รู้จักกันทั่วเห็นปานนี้ ควรพิจารณาไตร่ตรอง ไม่
ควรพูดโดยไม่ระวังปาก. เพราะฉะนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรจึงแสดงว่า ท่านอย่าพูดพร่า ท่านจงระวัง
ปาก.
ความว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เราได้กล่าวไว้แล้ว แม้ไม่ถามก็ตั้งคาพูดได้ ถือเอามะม่วงและ
หว้าเป็นต้นแล้วยังไม่ครบ ก็พึงกล่าวกะพระสมณโคดม โดยทานองที่เรากล่าวแล้วเถิด.
ความว่า พระศาสดาทรงเจริญอาโลกกสิณได้ทรงเห็นมาคัณฑิยพราหมณ์ซึ่งมา ณ ที่นั้นด้วย
ทิพยจักษุ ได้ทรงสดับแม้เสียงของชนทั้งสองสนทนากันด้วยทิพโสต.
12
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ.
ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ หวั่นไหว ด้วยกาลังแห่งปีติ.
นัยว่า ภารทวาชพราหมณ์นั้นได้มีความดาริว่า มาคัณฑิยะและเราก็มิได้พูดกับพระสมณโคดม
คนอื่นนอกจากเราสองคนในที่นี้ ไม่มีคนที่ ๓. บุรุษผู้มีโสตไวจักได้ยินเสียงของเราทั้งสองเป็นแน่.
ลาดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์บังเกิดปีติภายในขุมขนเก้าหมื่นได้ชูชัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า ภารทวาชพราหมณ์ตกใจโลมชาติชูชัน.
ลาดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกทั้งๆ ที่มีญาณแก่กล้าดุจเมล็ดพืชที่มีปากอ้าแล้ว ไม่สามารถนั่ง
สงบอยู่ได้เดินไปมา มาเฝ้าพระศาสดาอีก แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสมบัติของ
พระองค์เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์จึงตรัส.
ความสุขย่อมมีในที่อยู่ในฤดูฝนนี้ คือปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน.
ในบทนั้น ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่าเกินไป. แม้ประตูและหน้าต่างของ
ปราสาทนั้น ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป เครื่องลาดพื้นของเคี้ยวของบริโภคในปราสาทนี้ มีเหลือเฟือ.
ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่ต่า. ประตูและหน้าต่างมีน้อยมีช่องเล็ก. เอา
ช่องฝาออกเพื่อต้องการให้ความอุ่นเข้าไป.
อนึ่ง ในปราสาทนี้ เครื่องลาดพื้น เครื่องปู เครื่องนุ่งห่มควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้นที่ช่วยให้อบอุ่น
ได้. ของเคี้ยวของบริโภคละเอียดอ่อนและมีรสเข้มข้น.
ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่สูง. ประตูและหน้าต่างในปราสาทนี้ มีมาก
มีแสงสว่างไปทั่ว. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรเป็นผ้าเนื้ อดี. ของเคี้ยวของบริโภคมีรสหวานทาให้ได้รับความ
เย็น.
อนึ่ง ในที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ ตั้งตุ่มน้าไว้ ๙ ตุ่มเต็มด้วยน้าปลูกบัวเขียวเป็นต้นไว้. ในที่
นั้นทาน้าพุไว้ สายน้าจะพุ่งดุจเมื่อฝนตก.
แต่ของพระโพธิสัตว์เขาปลูกกอบัวเขียวไว้ในหม้อทองคา และหม้อเงินอย่างละ ๑๐๘ หม้อ เต็ม
ไปด้วยน้าหอม ตั้งล้อมห้องนอน. เขาใส่เปือกตมหอมให้เต็มในกระถางโลหะใหญ่ ปลูกบัวเขียว บัวแดง บัว
ขาวเป็นต้นตั้งไว้ในที่นั้นๆ เพื่อถือเอาอุตุ. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบานด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์. หมู่ภมรนานา
ชนิดบินเข้าไปยังปราสาทเที่ยวสูดรสในดอกไม้ทั้งหลาย. ปราสาทมีกลิ่นหอมชวนดมยิ่งนัก. ในระหว่างฝาคู่
ได้ตั้งทะนานโลหะแล้วตามไฟอ่อนๆ ไว้ที่สุดมณฑปแก้ว บนเนินอากาศเบื้องบนปราสาทเก้าชั้น. ลาดหนัง
กระบือแห้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง.
ในเวลาพระโพธิสัตว์เล่นน้าเขาทอดลูกหินไปที่หนังกระบือ. เครื่องยนต์หมุนไปข้างล่าง ดุจเสียง
เมฆคาราม. น้าพุ่งขึ้นแล้วตกไปที่เปลวไฟ. เป็นดุจน้าฝนตก.
ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งผ้าเขียวห่มผ้าเขียวทรงประดับเครื่องประดับสีเขียว. แม้พวกบริวาร
ของพระโพธิสัตว์มีนักฟ้อนราสี่หมื่น ประดับด้วยสีเขียว แต่งตัวสีเขียวแวดล้อมพระมหาบุรุษไปสู่มณฑปแก้ว.
พระโพธิสัตว์ทรงเล่นกีฬาในน้าตลอดวัน เสวยความสุขในฤดูแห่งความเย็นฉ่า.
13
ในทิศ ๔ ของปราสาทมีสระอยู่ ๔ สระ. ในตอนกลางวันฝูงนกนานาชนิด ออกจากสระด้านทิศ
ตะวันออกร้องเสียงระงม บินไปสู่สระด้านทิศตะวันตกทางยอดของปราสาท. ออกจากสระด้านทิศตะวันตก
บินไปสู่สระด้านทิศตะวันออก. ออกจากสระด้านทิศเหนือบินไปสู่สระด้านทิศใต้. ออกจากสระด้านทิศใต้บิน
ไปสู่สระด้านทิศเหนือ เป็นดุจสมัยในระหว่างฤดูฝน. แต่ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวมี ๕ ชั้น. ปราสาทเป็น
ที่อยู่ในฤดูฝนมี ๗ ชั้น.
อนึ่ง มิใช่ดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษเจือปน แม้ที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็
เป็นผู้หญิง. แม้ผู้ทาบริการมีอาบน้าให้เป็นต้นก็เป็นผู้หญิง.
กาลแห่งความยินดีในท่ามกลางหญิง ๔ หมื่นในปราสาท ๓ หลังของพระโพธิสัตว์ ดุจกาลแห่ง
ความเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ของคหบดีฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์ทรงผนวชแล้วแทงตลอดพระ
สัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ดุจกาลที่คหบดีนั้นบาเพ็ญสุจริตแล้วบังเกิดในสวรรค์ฉะนั้น. กาลที่พระ
ตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่คหบดีนั้นเสวยสมบัติ
ในนันทวันฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ไม่
ทรงปรารถนาความสุขของชนเลวอันเป็นของมนุษย์ ดุจกาลที่คหบดีนั้นไม่ปรารถนากามคุณ ๕ อันเป็นของ
มนุษย์ฉะนั้น.
ในบทนี้ มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ .
กาลที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางปราสาท ดุจกาลที่บุรุษเป็นโรคเรื้อนฉะนั้น. กาม
วัตถุอย่างหนึ่งดุจกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กามวัตถุ ๒ อย่างดุจกระเบื้อง ๒ แผ่น. นักฟ้อน ๓ โกฏิครึ่งดุจ
กระเบื้องใส่ถ่านไฟ ๓ โกฏิครึ่งของท้าวสักกเทวราชฉะนั้น. การเสพวัตถุกามดุจเอาเล็บเกาปากแผลแล้วเอา
ไปลนบนกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์เห็นโทษในกามเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสด็จ
ออกบวชได้เป็นพระพุทธเจ้า. และกาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไป
ในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่บุรุษโรคเรื้อนอาศัยยาแล้วหายโรคฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วย
ความยินดีนั้นไม่ทรงปรารถนาด้วยความยินดีในชนเลว ดุจกาลเห็นบุรุษเป็นโรคเรื้อนอื่นแล้วไม่ปรารถนาจะ
เห็นอีกฉะนั้น.
สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเพราะปัญญินทรีย์ถูกกาจัด กลับได้ความสาคัญผิดในกามทั้งหลายอันมี
สัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เหมือนอย่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นมีกายินทรีย์ถูกโรคกาจัด กลับได้ความสาคัญผิดใน
ไฟอันมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฉะนั้น.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า อาโรคฺยา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่งดังต่อไปนี้ .
การได้ทรัพย์ก็ดี การได้ยศก็ดี การได้บุตรก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง ความไม่มีโรคเป็นลาภอัน
สูงสุดกว่าลาภเหล่านั้น. ลาภยิ่งกว่าความไม่มีโรคนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิ่ง.
สุขเกิดแต่ฌานก็ดี สุขเกิดแต่มรรคก็ดี สุขเกิดแต่ผลก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. บรรดาสุข
เหล่านั้น นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. สุขยิ่งกว่านิพพานนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง.
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมด้วยการไปอันเป็นส่วนเบื้องต้น สู่มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหลาย
มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม. ทางอื่นเกษมยิ่งกว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้นไม่มี.
14
ในบทนี้ มีความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวคัดค้านเป็นอันมาก ถือเอาด้วยลัทธิว่าทางอันเป็นทาง
เกษม และทางอันให้ถึงอมตธรรม มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอย่างยิ่งคือสูงสุดกว่ามรรคทั้งหลายอันเป็นทาง
เกษมและเป็นทางอมตะเหล่านั้นทั้งหมด.
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีบ้าง ฯลฯ พระนามว่ากัสสปะบ้าง ประทับนั่ง
ท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ตรัสพระคาถานี้ . คาถาอาศัยประโยชน์ เพราะเหตุนั้น มหาชนจึงได้เรียน.
ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ภายหลังคาถาทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสู่ระหว่างพวก
ปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้นจดไว้ในใบลานรักษาไว้ ๒ บทเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส
ว่า คาถานั้น บัดนี้ เป็นคาถาของปุถุชนตามลาดับ.
จบอรรถกถามาคัณฑิยสูตรที่ ๕.
-----------------------------------------------------

More Related Content

Similar to ๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf

อมรา สินทวีวงศ์ ธรรมะดัดสันดาน
อมรา สินทวีวงศ์   ธรรมะดัดสันดานอมรา สินทวีวงศ์   ธรรมะดัดสันดาน
อมรา สินทวีวงศ์ ธรรมะดัดสันดาน
Tongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
Tongsamut vorasan
 
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
AY'z Felon
 
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Jatupol Yothakote
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Chutima Tongnork
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Nid Noy Kaowkong
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
Jariya Huangjing
 
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโตประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
spk-2551
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
maruay songtanin
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
gueste13f2b
 

Similar to ๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf (20)

(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
(๗) พระปุณณมันตานีปุตตเถราปทาน มจร.pdf
 
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์มนุษย์กับการสร้างสรรค์
มนุษย์กับการสร้างสรรค์
 
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
๒๐ มหาปรินิพพานสูตร มจร ตอนที่ ๕.pdf
 
อมรา สินทวีวงศ์ ธรรมะดัดสันดาน
อมรา สินทวีวงศ์   ธรรมะดัดสันดานอมรา สินทวีวงศ์   ธรรมะดัดสันดาน
อมรา สินทวีวงศ์ ธรรมะดัดสันดาน
 
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
๐๒ เตวิชชสูตร มจร.pdf
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail3 ตามรอยธรรม dhamatrail
3 ตามรอยธรรม dhamatrail
 
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
 
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
Ppt1767.pptm [บันทึกอัตโนมัติ]
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโตประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
ประวัติ หลวงปู่มั่น ภูริทติโต
 
มหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดกมหาเวสสันดรชาดก
มหาเวสสันดรชาดก
 
Ppt 1
Ppt 1Ppt 1
Ppt 1
 
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
๑๖ มูลปริยายสูตร มจร.pdf
 
พุทธประวัติ
พุทธประวัติพุทธประวัติ
พุทธประวัติ
 
อนุตตรีย์ วัชรภา
อนุตตรีย์  วัชรภาอนุตตรีย์  วัชรภา
อนุตตรีย์ วัชรภา
 

More from maruay songtanin

400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
maruay songtanin
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
maruay songtanin
 
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
maruay songtanin
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
maruay songtanin
 
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
maruay songtanin
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
maruay songtanin
 

More from maruay songtanin (20)

400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
400 ทัพภปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
399 มาตุโปสกคิชฌชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
398 สุตนชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
397 มโนชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
395 มณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
394 วัฏฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
393 วิฆาสาทชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
392 อุปสิงฆปุปผชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬ...
 
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
391 ปัพพชิตวิเหฐกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจ...
 
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
390 มัยหกสกุณชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ...
 
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
389 สุวัณณกักกฏกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
388 ตุณฑิลชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
386 ขรปุตตชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
385 นันทิยมิคราชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
384 ธัมมัทธชชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]...
 
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
383 กุกกุฏชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
382 สิริกาฬกัณณิชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุ...
 
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
381 มิคาโลปชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]....
 
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
380 อาสังกชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
379 เนรุชาดก พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ].docx
 

๑๑ มาคัณฑิยสูตร มจร.pdf

  • 1. 1 มาคัณฑิยสูตร พลตรี มารวย ส่งทานินทร์ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เกริ่นนา พระสูตรเรื่อง มาคัณฑิยสูตร เป็นเรื่องราวของปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ กล่าวหาว่า ‘พระสมณโค ดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ชี้แจงธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบเหมือน บุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดี จักเห็นรูปได้’ มาคัณฑิยปริพาชกจึงได้ขอบรรพชาอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาค แล้วได้เป็นพระ อรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้ แล มาคัณฑิยสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ๕. มาคัณฑิยสูตร ว่าด้วยปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะ [๒๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับบนเครื่องปูลาดซึ่งทาด้วยหญ้า ในโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภาร ทวาชโคตร นิคมของชาวกุรุชื่อกัมมาสธัมมะ แคว้นกุรุ ครั้นเวลาเช้าพระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกถือ บาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังนิคมชื่อกัมมาสธัมมะ ทรงเที่ยวบิณฑบาตในกัมมาสธัมมนิคมแล้ว เสด็จ กลับจากบิณฑบาต ภายหลังเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จเข้าไปยังราวป่าแห่งหนึ่งเพื่อประทับพักผ่อน กลางวัน ได้ประทับนั่งพักผ่อนกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง ลาดับนั้น ปริพาชกชื่อมาคัณฑิยะเดินเที่ยวเล่น อยู่ เข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้เห็นเครื่องปูลาดทาด้วยหญ้าในโรงบูชาไฟของ พราหมณ์ภารทวาชโคตร จึงถามว่า “สหาย เครื่องปูลาดที่ทาด้วยหญ้าซึ่งปูลาดไว้ในโรงบูชาไฟของท่านภารทวาชะนี้ เป็นของใคร ดู เหมือนจะเป็นที่นอนของสมณะกระมัง” ภารทวาชโคตรพราหมณ์ตอบว่า “ใช่ ท่านมาคัณฑิยะ พระสมณโคดมผู้เป็นศากยบุตรออกผนวช จากศากยะตระกูล ท่านพระโคดมนั้นมีกิตติศัพท์อันงามขจรไปแล้วอย่างนี้ ว่า ‘แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระ ภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึกได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็น พระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มีพระภาค’ ที่นอนนี้ ปูลาดไว้สาหรับท่านพระโคดมนั้น” “ท่านภารทวาชะ พวกเราผู้ที่ได้เห็นที่นอนของท่านพระโคดมผู้ทาลายความเจริญนั้น นับว่าได้ เห็นสิ่งที่ไม่เป็นมงคล”
  • 2. 2 “ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ ไว้ ท่านมาคัณฑิยะ ท่านจงรักษาวาจานี้ ไว้ ความจริง กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี สมณะผู้เป็นบัณฑิตก็ดี มีจานวน มาก พากันเลื่อมใสท่านพระสมณโคดมพระองค์นั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะท่านพระสมณโคดมทรงแนะนาแต่ ธรรมที่ทาให้คนฉลาด รอบรู้ และเป็นอริยะ” “ท่านภารทวาชะ ถ้าเราเผชิญหน้ากับท่านพระโคดมนั้น เราก็กล้าพูดต่อหน้าท่านพระโคดมว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาพูดอย่างนี้ อยู่ในสูตรของเรา” “ท่านมาคัณฑิยะ ถ้าการกล่าวคานั้น ไม่เป็นการหนักใจแก่ท่านมาคัณฑิยะละก็ ข้าพเจ้าจักกราบ ทูลพระสมณโคดมพระองค์นั้นให้ทรงทราบ” “ท่านภารทวาชะ อย่ากังวลเลย เราได้พูดไว้แล้ว เชิญท่านพูดกับพระสมณโคดมนั้นเถิด” [๒๐๘] พระผู้มีพระภาคทรงสดับคาสนทนานี้ ของพราหมณ์ภารทวาชโคตรกับมาคัณฑิยปริพาชก ด้วยทิพพโสตอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค ทรงออกจากที่หลีกเร้น (ที่หลีกเร้น ใน ที่นี้ หมายถึงผลสมาบัติ) เสด็จเข้าไปยังโรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ประทับนั่งบนเครื่องปูลาดซึ่ง ทาด้วยหญ้าที่ปูลาดไว้แล้ว ลาดับนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับได้ สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคตรัสกับ พราหมณ์ภารทวาชโคตรนั้นว่า “ภารทวาชะ ท่านกับมาคัณฑิยปริพาชกปรารภถึงเครื่องปูลาดซึ่งทาด้วย หญ้านี้ ได้เจรจาโต้ตอบกันอย่างไรบ้าง” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ภารทวาชโคตรพราหมณ์ถึงกับตะลึงขนลุก ได้กราบทูลพระผู้ มีพระภาคว่า “ข้าพระองค์ปรารถนาที่จะกราบทูลเรื่องนี้ แก่ท่านพระโคดมอยู่แล้ว แต่ท่านพระโคดมได้ตรัส ถามก่อนที่ข้าพระองค์จะได้กราบทูล” เมื่อพระผู้มีพระภาคกับพราหมณ์ภารทวาชโคตรสนทนากันค้างอยู่นั้น มาคัณฑิยปริพาชกผู้กาลัง เดินเที่ยวเล่นอยู่ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคที่โรงบูชาไฟของพราหมณ์ภารทวาชโคตร ได้สนทนาปราศรัย พอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วจึงนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับมาคัณฑิย ปริพาชกว่า ตรัสถามมาคัณฑิยปริพาชกเรื่องการสารวมอินทรีย์ [๒๐๙] “มาคัณฑิยะ ตามีรูปเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในรูป อันรูปให้บันเทิงแล้ว ตานั้นตถาคตฝึกดี แล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สารวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสารวมตานั้น มาคันฑิยะ คาที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นั้น ท่านคงจะหมายถึง ความข้อนี้ กระมัง” มาคัณฑิยปริพาชกกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม คาที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ ทาลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาที่พูดอย่างนี้ อยู่ใน สูตรของข้าพระองค์”
  • 3. 3 “มาคัณฑิยะ หูมีเสียงเป็นที่ยินดี ฯลฯ จมูกมีกลิ่นเป็นที่ยินดี ฯลฯ ลิ้นมีรสเป็นที่ยินดี ฯลฯ กายมี การสัมผัสเป็นที่ยินดี ฯลฯ ใจมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในธรรมารมณ์ อันธรรมารมณ์ให้บันเทิงแล้ว ใจนั้นตถาคตฝึกดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว รักษาดีแล้ว สารวมดีแล้ว อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสารวมใจ นั้น มาคัณฑิยะ คาที่ท่านกล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นั้น ท่านคงจะหมายถึง ความข้อนี้ กระมัง” “ท่านพระโคดม คาที่ข้าพระองค์กล่าวว่า ‘พระสมณโคดมเป็นผู้ทาลายความเจริญ’ นี้ ข้าพระองค์ หมายถึงความข้อนั้นแล ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะคาที่พูดอย่างนี้ อยู่ในสูตรของข้าพระองค์” [๒๑๐] “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับการ บาเรอด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัย ต่อมา เขารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาใน รูปได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะรูปได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้ เล่า” “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว” “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เคยได้รับการบาเรอด้วย เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ ด้วยโผฏฐัพพะที่ พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัยต่อมา เขารู้ ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดโผฏฐัพพะให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหา ในโผฏฐัพพะได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะโผฏฐัพพะได้ เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบใน ภายในอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านมีอะไรที่จะกล่าวกับท่านผู้นี้ เล่า” “ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ไม่มีอะไรที่จะกล่าว” [๒๑๑] “มาคัณฑิยะ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิ่บอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจ ให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์ครองเรือน เป็นผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วย โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด ปราสาทของเรานั้นมีอยู่ถึง ๓ หลัง คือ ๑. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ๒. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว ๓. ปราสาทหลังหนึ่งเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เรานั้นไม่มีบุรุษเจือปน มีแต่สตรีคอยบาเรอขับกล่อมดนตรี อยู่ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ตลอด ๔ เดือน ไม่ได้ลงจากปราสาทเลย
  • 4. 4 สมัยต่อมา เรานั้นรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจาก ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เราเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัด ถูกกามตัณหา เกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราก็ไม่กระหยิ่มต่อสัตว์เหล่านั้น ทั้งไม่ ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย (ความยินดีที่เว้นจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย หมายถึงความยินดีในผลสมาบัติ อันเกิดจากจตุตถฌาน) อันเข้าถึงความสุขที่ เป็นทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า (ความสุขขั้นต่า หมายถึงความสุขที่เกิดจากกามคุณ ๕ ประการ อันเป็นของมนุษย์ (คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ)) และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น เปรียบเทียบกามของมนุษย์กับกามทิพย์ [๒๑๒] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ คหบดีหรือบุตรคหบดี เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก เอิบอิ่มพรั่ง พร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า พอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด เขาประพฤติกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต หลังจากตายแล้วจะ พึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ จะพึงไปเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสรแวดล้อมอยู่ใน สวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณที่เป็นทิพย์บาเรอตนอยู่ในดาวดึงส์เทวโลกนั้น เทพบุตรนั้นได้ เห็นคหบดีหรือบุตรของคหบดีผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เทพบุตรนั้นมีหมู่นางอัปสรแวดล้อม อยู่ใน สวนนันทวัน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ จะพึงกระหยิ่มต่อคหบดีหรือบุตรของ คหบดีโน้น หรือต่อกามคุณ ๕ ประการของมนุษย์ หรือจะเวียนกลับมาหากามของมนุษย์ไหม” “ไม่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะกามที่เป็นทิพย์เป็นสิ่งที่น่าใคร่ ยิ่งกว่าและประณีต ยิ่งกว่ากามของมนุษย์” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกาม คุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตาที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทาง ลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ด้วย โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความ
  • 5. 5 กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูก กามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่กระหยิ่มต่อสัตว์ เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็น ทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนเป็นโรคเรื้อน [๒๑๓] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอย บ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้นพึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หาย จากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ บุรุษนั้นเห็นบุรุษผู้เป็นโรค เรื้อนคนอื่น มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ ร้อน มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นจะพึงกระหยิ่มต่อบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อนคน โน้น ต่อหลุมถ่านเพลิง หรือต่อการกล้ากลืนฝืนใช้ยา ใช่หรือไม่” “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อยังมีโรค กิจที่เกี่ยวกับการใช้ยาก็ต้องมี เมื่อ หายโรค กิจที่เกี่ยวกับยาก็หมดไป” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกาม คุณ ๕ ประการ บาเรอตนด้วยรูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พา ใจให้กาหนัด ฯลฯ ด้วยเสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ฯลฯ ด้วยกลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ฯลฯ ด้วยรสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ฯลฯ เมื่อยังครองเรือนอยู่ในกาลก่อน เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ด้วยโผฏฐัพพะ ที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กาหนัด สมัยต่อมา เรารู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ ตามความเป็นจริง ละตัณหาในกามได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ เป็นผู้ปราศจากความ กระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่ เรานั้นเห็นหมู่สัตว์เหล่าอื่นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูก กามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ เราจึงไม่กระหยิ่มต่อสัตว์ เหล่านั้น ทั้งไม่ยินดีในกามนั้นด้วย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราเมื่อยินดีด้วยความยินดีที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย อันเข้าถึงความสุขที่เป็น ทิพย์ จึงไม่กระหยิ่มต่อความสุขขั้นต่า และไม่ยินดีในความสุขขั้นต่านั้น [๒๑๔] มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนบุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอย บ่อนทาลาย ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์
  • 6. 6 ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้นั้นพึงประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยาแล้วจึงหายจากโรคเรื้อน หาย จากโรคร้าย มีความสบายขึ้น ลุกเดินได้เอง ไปไหนมาไหนได้เองตามความพอใจ ทีนั้น คนที่แข็งแรง ๒ คน ช่วยกันจับเขาที่แขนคนละข้าง ฉุดเขาให้เข้าไปที่หลุมถ่านเพลิง มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษนั้นต้องดิ้นรนไปมาข้างนี้ และข้างโน้น ใช่ไหม” “ใช่ ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะไฟมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความ เร่าร้อนมาก” “มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมี ความเร่าร้อนมาก เฉพาะในบัดนี้ เท่านั้นหรือ หรือว่าแม้เมื่อก่อน ไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมากเหมือนกัน” “ท่านพระโคดม ไฟนั้นมีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมากทั้งในบัดนี้ และ แม้เมื่อก่อนไฟนั้นก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก มีความเร่าร้อนมากเหมือนกัน แต่บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง ถูกเชื้อโรคคอยบ่อนทาลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ถูกโรคเรื้อนเบียดเบียนร่างกาย กลับเข้าใจ ไฟซึ่งมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นความสุข” “มาคัณฑิยะ กามทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในอดีตก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก ในอนาคต กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อน มาก แม้ในปัจจุบัน กามทั้งหลายก็มีสัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผด เผาอยู่ มีอินทรีย์ (อินทรีย์ ในที่นี้ หมายถึงปัญญินทรีย์) ถูกกามกาจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป [๒๑๕] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทาลายอยู่ ใช้ เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อน ทาลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใดๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้เป็น โรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้นด้วยประการนั้นๆ แต่เขาจะมี เพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการเกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้น เหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะ กามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกาหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ด้วยประการใดๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์ เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้นๆ และเขาเหล่านั้น จะมีความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ ๕ ประการนั่นเอง มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้างไหมว่า ‘พระราชาหรือ มหาอามาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กาลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
  • 7. 7 “ไม่ ท่านพระโคดม” “ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้ แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือมหาอามาตย์ของ พระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ประการ บาเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กาลังอยู่ หรือว่า จักอยู่’ มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบ ในภายในอยู่แล้ว กาลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความ ดับ คุณ โทษ และอุบายเป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กาลัง อยู่ หรือว่าจักอยู่” ลาดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมต ธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม” [๒๑๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระโคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้กล่าวว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความข้อนั้นจึงสมกัน” “มาคันทิยะ ข้อที่เธอได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลาย ในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็นปาจารย์ผู้ กล่าวว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ ความไม่มีโรคนั้น เป็นอย่างไร นิพพานนั้น เป็นอย่างไร” เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว ได้ทราบว่า มาคัณฑิยปริพาชกเอาฝ่ามือลูบตัวเองแล้วกล่าว ว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ บัดนี้ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่มีโรค มี ความสุข โรคอะไรๆ มิได้เบียดเบียนข้าพระองค์” เปรียบผู้บริโภคกามเหมือนคนตาบอด [๒๑๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้ เห็นรูปสีดา รูปสีขาว รูปสีเขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็น ดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เขาได้ฟังจากคนมีตาดีผู้กล่าวว่า ‘ท่านผู้เจริญ ผ้าขาวผ่อง งดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เขาจึงเที่ยวแสวงหาผ้าขาว บุรุษผู้หนึ่งเอาผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันมาลวงคนตาบอดมาแต่กาเนิด นั้นว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ เป็นผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’
  • 8. 8 เขารับเอาผ้านั้นมาห่ม พูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้านจริงๆ’ มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้น รู้อยู่ เห็นอยู่ จึงรับเอา ผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันนั้นมาห่ม พลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่ สกปรก สะอาดสะอ้าน’ หรือว่าเปล่งวาจาแสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี” มาคัณฑิยปริพาชกทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้น ไม่รู้ ไม่เห็นรับเอาผ้า เนื้ อหยาบที่เปื้ อนน้ามันมาห่มพลางพูดออกมาด้วยความดีใจว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน’ เปล่งวาจาแสดงความดีใจอย่างนั้นเพราะเชื่อคนมีตาดี” “มาคัณฑิยะ อัญเดียรถีย์ปริพาชกทั้งหลายก็อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้ ความไม่มีโรค ไม่เห็นนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนั้น ยังกล่าวคาถานี้ ได้ว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ได้ตรัสพระคาถาไว้ว่า ‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมต ธรรม ทางมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม’ [๒๑๘] บัดนี้ คาถานั้นเป็นคาถาของปุถุชนไปโดยลาดับ มาคัณฑิยะ กายนี้ เป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียน ท่านนั้นกล่าวกายนี้ ซึ่งเป็นดุจโรค เป็นดุจหัวฝี เป็นดุจลูกศร เป็นสิ่งคับแค้น เป็นสิ่งเบียดเบียนว่า ‘ท่านพระโคดม ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ท่านไม่ มีอริยจักขุ (อริยจักขุ ในที่นี้ หมายถึงวิปัสสนาญาณและมรรคญาณอันบริสุทธิ์) ที่เป็นเครื่องรู้ความไม่มีโรค ที่เป็นเครื่องเห็นนิพพานได้” “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรคและเห็นพระนิพพานได้” เปรียบการแสดงธรรมกับการรักษาคนตาบอด [๒๑๙] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดา รูปสีขาว รูปสี เขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขา ได้เชิญแพทย์ผู้ชานาญการผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ ชานาญนั้นได้ประกอบยารักษาให้ เขาอาศัยยานั้นแต่ก็เห็นไม่ได้ ทาตาให้ใสไม่ได้ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่า อย่างไร แพทย์ผู้นั้นต้องมีส่วนแห่งความลาบาก ความคับแค้นมิใช่หรือ” “ใช่ ท่านพระโคดม” “มาคัณฑิยะ เราก็อย่างนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคืออันนี้ ’ ท่านนั้นยังไม่รู้ความไม่มีโรค ยังไม่เห็นนิพพาน มีแต่ทาให้เราเหน็ดเหนื่อยเปล่า ลาบากเปล่า”
  • 9. 9 “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะรู้ความไม่มีโรค และเห็นพระนิพพานได้” [๒๒๐] “มาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนคนตาบอดมาแต่กาเนิด เขาไม่ได้เห็นรูป สีดา รูปสีขาว รูปสี เขียว รูปสีเหลือง รูปสีแดง รูปสีแสด ไม่ได้เห็นที่อันเสมอและไม่เสมอ ไม่ได้เห็นดวงดาว ไม่ได้เห็นดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ แต่เขาได้ฟังจากคนตาดีผู้กล่าวว่า ‘พ่อคุณ ผ้าขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาด สะอ้าน’ คนตาบอดมาแต่กาเนิดนั้นเที่ยวแสวงหาผ้าขาว ชายคนหนึ่งเอาผ้าเนื้ อหยาบ เปื้ อนน้ามันมาลวง เขาว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ ขาวผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’ เขารับผ้านั้นมาห่ม มิตร อามาตย์ ญาติสาโลหิตของเขาเชิญแพทย์ผู้ชานาญ การผ่าตัดมารักษา แพทย์ผู้ชานาญนั้นทายาถอนให้ ทายาถ่าย ยาหยอด ยาป้าย และยานัตถุ์ให้ เขาอาศัยยานั้นจึงเห็นได้ ทาตา ให้ใสได้ พร้อมกับมีตาดีขึ้น เขาย่อมละความพอใจและความยินดีในผ้าเนื้ อหยาบเปื้ อนน้ามันผืนโน้น เขาจะ พึงเบียดเบียนบุรุษที่ลวงตนนั้น โดยความเป็นศัตรูเป็นข้าศึก และจะพึงสาคัญว่าควรปลงชีวิตบุรุษที่ลวงตน นั้นด้วยความแค้นว่า ‘เราถูกบุรุษผู้นี้ ล่อลวงให้หลงผิดด้วยผ้าเนื้ อหยาบ เปื้ อนน้ามันว่า ‘พ่อคุณ ผ้าผืนนี้ ขาว ผ่องงดงามยิ่งนัก ไม่สกปรก สะอาดสะอ้าน เป็นของท่าน’ แม้ฉันใด มาคัณฑิยะ เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน หากจะพึงแสดงธรรมแก่ท่านว่า ‘ความไม่มีโรคนั้นคืออันนี้ นิพพานนั้นคือนี้ ’ ท่านนั้นจะพึงรู้ความไม่มีโรค จะพึงเห็นนิพพานได้ ท่านก็จะละความพอใจและความยินดี ในอุปาทานขันธ์ ๕ ประการ พร้อมกับเกิดดวงตาคือปัญญาขึ้น อนึ่ง ท่านจะพึงมีความคิดอย่างนี้ ว่า ‘ท่านผู้ เจริญ เราถูกจิตนี้ ล่อลวงให้หลงผิดมานานแล้ว เราเมื่อยึดมั่นก็ยึดมั่นเฉพาะรูป เฉพาะเวทนา เฉพาะสัญญา เฉพาะสังขาร และเฉพาะวิญญาณเท่านั้น เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีแก่เรา เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติ จึงมี เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงมี ความเกิดแห่งกองทุกข์ ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ” “ข้าพระองค์เลื่อมใสท่านพระโคดมอย่างนี้ ท่านพระโคดมทรงสามารถแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยวิธีที่ข้าพระองค์จะไม่เป็นคนตาบอดลุกขึ้นจากอาสนะนี้ ได้” [๒๒๑] “มาคัณฑิยะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงคบสัตบุรุษ เพราะเมื่อใดท่านคบสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านจะได้ ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อใดท่านได้ฟังธรรมของสัตบุรุษ เมื่อนั้นท่านก็จักปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อใดท่านปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เมื่อนั้นท่านก็จักรู้เอง เห็นเองว่า ‘โรค ฝี ลูกศร คืออันนี้ โรค ฝี ลูกศร จะดับไปได้โดยไม่เหลือในที่นี้ เพราะอุปาทานของเรานั้นดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมี ด้วยประการอย่างนี้ ” มาคัณฑิยะได้บรรพชาอุปสมบท [๒๒๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้ แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
  • 10. 10 “ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม พระ ภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่างๆ เปรียบ เหมือนบุคคลหงายของที่คว่า เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คน มีตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ ขอถึงท่านพระโคดมพร้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นสรณะ ข้าพระองค์ พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสานักของท่านพระโคดมเถิด” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาคัณฑิยะ ผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ประสงค์จะบรรพชาอุปสมบทในธรรม วินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชา อุปสมบทเป็นภิกษุได้ แต่เราทราบความแตกต่างของบุคคลในเรื่องนี้ ” มาคัณฑิยปริพาชก ได้กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าผู้เคยเป็นอัญเดียรถีย์ ประสงค์จะ บรรพชาอุปสมบทในพระธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน หลังจาก ๔ เดือนล่วงไปแล้ว เมื่อภิกษุ ทั้งหลายเต็มใจจึงจะให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุได้ ข้าพระองค์จักขออยู่ปริวาส ๔ ปี หลังจาก ๔ ปีล่วงไป แล้ว เมื่อภิกษุทั้งหลายเต็มใจก็จงให้บรรพชาอุปสมบทเป็นภิกษุเถิด” มาคัณฑิยปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสานักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ท่านพระมาคัณฑิยะ อุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร อุทิศกายและใจอยู่ ไม่นานนักก็ ทาให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน รู้ชัดว่า “ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทา กิจที่ควรทาเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ อีกต่อไป” ท่านพระมาคัณฑิยะได้เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้ แล มาคัณฑิยสูตรที่ ๕ จบ ----------------------- คาอธิบายนี้ นามาจากบางส่วนของอรรถกถามาคัณฑิยสูตร อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ ปริพพาชกวรรค มาคัณฑิยสูตร มาคัณฑิยสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ . มาคัณฑิยปริพาชก ๒ คน ลุงและหลาน. ใน ๒ คนนั้นลุงบวชได้บรรลุพระอรหัต. แม้หลานก็มี อุปนิสัยบวชไม่นานนักจักบรรลุอรหัต. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นอุปนิสัยของมาคัณฑิยปริพาชกนั้น ทรงละพระคันธกุฎีเช่น กับเทวสถาน ทรงให้ปูเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้า ที่โรงบูชาไฟนั้นสกปรกไปด้วยเถ้าหญ้าและหยากเยื่อ เสด็จ ประทับอยู่ ๒-๓ วัน เพื่อทรงทาการสงเคราะห์ผู้อื่น. แต่เพราะโรงบูชาไฟนั้นมิได้อยู่ใกล้บ้านอย่างเดียว ตอนกลางวันเท่านั้น พวกเด็กชายและ เด็กหญิงพากันลงไปเล่น ไม่มีความสงบ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ตอนกลางวันผ่านพ้นไปในไพร
  • 11. 11 สณฑ์ตลอดกาลเป็นนิตย์. ในตอนเย็นจึงเสด็จเข้าไปในโรงบูชาไฟนั้นเพื่อประทับอยู่. มาคัณฑิยปริพาชกได้เห็นเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้าปูไว้ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรับปรุง เครื่องลาดทาด้วยหญ้าในวันอื่น แล้วทรงทาเครื่องหมายตั้งไว้เสด็จกลับไป. ในวันนั้นนั่นเองได้ทรงให้ปูแล้ว เสด็จไป. เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้นตอนใกล้รุ่งพระองค์ทรงตรวจดูโลกได้ทรงเห็นแล้วว่า วันนี้ มาคัณฑิยะจะมาใน ที่นี้ ครั้นเห็นเครื่องลาดทาด้วยหญ้านี้ แล้วจักสนทนาปรารภเครื่องลาดทาด้วยหญ้ากับภารทวาชพราหมณ์. แต่นั้น เราจักมาแสดงธรรม มาคัณฑิยพราหมณ์ฟังธรรมแล้วจักบวชในสานักของเราแล้วบรรลุอรหัต. จริง อยู่ เราบาเพ็ญบารมีมาก็เพื่อทาการสงเคราะห์ผู้อื่น จึงทรงให้ปูเครื่องลาดอันทาด้วยหญ้าแล้วเสด็จไป. อนึ่ง เครื่องลาดนี้ มิใช่ที่อยู่ของสมณะผู้ไม่สารวมแล้ว. เป็นความจริงอย่างนั้น ที่เครื่องลาดนี้ มิได้ ปรากฏที่ถูกเขี่ยด้วยมือ ที่ถูกกระทบด้วยศีรษะ หรือที่ถูกเขี่ยด้วยเท้า. เครื่องลาดนี้ ไม่เลอะเทอะ ไม่ถูกเสียด สี ไม่ถูกทาลายดุจช่างระบายสีผู้ฉลาดเอาดินสอพองระบาย ปูไว้คงเป็นที่อยู่ของสมณะผู้สารวมแล้ว. มาคัณฑิยพราหมณ์จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของใคร. ผู้กาจัดความเจริญ คือผู้สร้างมารยาท. เพราะเหตุไร มาคัณฑิยะจึงกล่าวอย่างนั้น. เพราะเขามี ลัทธิ คือทาให้ความเจริญปรากฏในทวาร ๖. นี้ เป็นลัทธิของเขา คือควรให้จักษุงอกงามเจริญ ควรเห็นรูปที่ไม่เคยเห็น รูปที่เห็นแล้วควรผ่าน ไป. ควรให้โสตะงอกงามเจริญ ควรฟังเสียงที่ไม่เคยฟัง เสียงที่ฟังแล้วควรผ่านไป. ควรให้ฆานะงอกงามเจริญ ควรดมกลิ่นที่ไม่เคยดม กลิ่นที่ดมแล้วควรผ่านไป. ควรให้ชิวหางอกงามเจริญ ควรลิ้มรสที่ไม่เคยลิ้ม รสที่ลิ้ม แล้วควรผ่านไป. ควรให้กายงอกงามเจริญ ควรสัมผัสโผฏฐัพพะที่ยังไม่เคยสัมผัส โผฏฐัพพะที่สัมผัสแล้วควร ผ่านไป. ควรให้มนะงอกงามเจริญ ควรรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้ ธรรมที่รู้แล้วควรผ่านไป. มาคัณฑิยะบัญญัติความเจริญในทวาร ๖ ไว้ด้วยประการฉะนี้ . แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติความสารวมในทวาร ๖ ไว้ว่า ความสารวมจักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย วาจา ใจ เป็นความดี. ความสารวมในทวารทั้งปวงเป็นความดี. ภิกษุสารวมในทวารทั้งปวง ย่อม พ้นจากทุกข์ทั้งปวง. เพราะฉะนั้น มาคัณฑิยพราหมณ์สาคัญว่า พระสมณโคดมนั้นเป็นผู้กาจัดความเจริญ เป็น ผู้สร้างมารยาท จึงกล่าวว่า เป็นผู้กาจัดความเจริญ. อันผู้จะกล่าววาจาแก่ผู้มียศมีความสูงส่ง เป็นที่รู้จักกันทั่วเห็นปานนี้ ควรพิจารณาไตร่ตรอง ไม่ ควรพูดโดยไม่ระวังปาก. เพราะฉะนั้น พราหมณ์ภารทวาชโคตรจึงแสดงว่า ท่านอย่าพูดพร่า ท่านจงระวัง ปาก. ความว่า ท่านภารทวาชะผู้เจริญ เราได้กล่าวไว้แล้ว แม้ไม่ถามก็ตั้งคาพูดได้ ถือเอามะม่วงและ หว้าเป็นต้นแล้วยังไม่ครบ ก็พึงกล่าวกะพระสมณโคดม โดยทานองที่เรากล่าวแล้วเถิด. ความว่า พระศาสดาทรงเจริญอาโลกกสิณได้ทรงเห็นมาคัณฑิยพราหมณ์ซึ่งมา ณ ที่นั้นด้วย ทิพยจักษุ ได้ทรงสดับแม้เสียงของชนทั้งสองสนทนากันด้วยทิพโสต.
  • 12. 12 พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น คือ เสด็จออกจากผลสมาบัติ. ภารทวาชพราหมณ์ตกใจ หวั่นไหว ด้วยกาลังแห่งปีติ. นัยว่า ภารทวาชพราหมณ์นั้นได้มีความดาริว่า มาคัณฑิยะและเราก็มิได้พูดกับพระสมณโคดม คนอื่นนอกจากเราสองคนในที่นี้ ไม่มีคนที่ ๓. บุรุษผู้มีโสตไวจักได้ยินเสียงของเราทั้งสองเป็นแน่. ลาดับนั้น ภารทวาชพราหมณ์บังเกิดปีติภายในขุมขนเก้าหมื่นได้ชูชัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง กล่าวว่า ภารทวาชพราหมณ์ตกใจโลมชาติชูชัน. ลาดับนั้น มาคัณฑิยปริพาชกทั้งๆ ที่มีญาณแก่กล้าดุจเมล็ดพืชที่มีปากอ้าแล้ว ไม่สามารถนั่ง สงบอยู่ได้เดินไปมา มาเฝ้าพระศาสดาอีก แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ดูก่อนมาคัณฑิยะ ปราสาทของเรานั้น คือพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงสมบัติของ พระองค์เมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์จึงตรัส. ความสุขย่อมมีในที่อยู่ในฤดูฝนนี้ คือปราสาทที่อยู่ในฤดูฝน. ในบทนั้น ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูฝน ไม่สูงเกินไป ไม่ต่าเกินไป. แม้ประตูและหน้าต่างของ ปราสาทนั้น ก็ไม่น้อยเกินไป ไม่มากเกินไป เครื่องลาดพื้นของเคี้ยวของบริโภคในปราสาทนี้ มีเหลือเฟือ. ในปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาว เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่ต่า. ประตูและหน้าต่างมีน้อยมีช่องเล็ก. เอา ช่องฝาออกเพื่อต้องการให้ความอุ่นเข้าไป. อนึ่ง ในปราสาทนี้ เครื่องลาดพื้น เครื่องปู เครื่องนุ่งห่มควรเป็นผ้ากัมพลเป็นต้นที่ช่วยให้อบอุ่น ได้. ของเคี้ยวของบริโภคละเอียดอ่อนและมีรสเข้มข้น. ในปราสาทอันเป็นที่อยู่ในฤดูร้อน เสาก็ดี ฝาก็ดี อยู่สูง. ประตูและหน้าต่างในปราสาทนี้ มีมาก มีแสงสว่างไปทั่ว. เครื่องลาดพื้นเป็นต้นควรเป็นผ้าเนื้ อดี. ของเคี้ยวของบริโภคมีรสหวานทาให้ได้รับความ เย็น. อนึ่ง ในที่ใกล้หน้าต่างในปราสาทนี้ ตั้งตุ่มน้าไว้ ๙ ตุ่มเต็มด้วยน้าปลูกบัวเขียวเป็นต้นไว้. ในที่ นั้นทาน้าพุไว้ สายน้าจะพุ่งดุจเมื่อฝนตก. แต่ของพระโพธิสัตว์เขาปลูกกอบัวเขียวไว้ในหม้อทองคา และหม้อเงินอย่างละ ๑๐๘ หม้อ เต็ม ไปด้วยน้าหอม ตั้งล้อมห้องนอน. เขาใส่เปือกตมหอมให้เต็มในกระถางโลหะใหญ่ ปลูกบัวเขียว บัวแดง บัว ขาวเป็นต้นตั้งไว้ในที่นั้นๆ เพื่อถือเอาอุตุ. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบานด้วยรัศมีของดวงอาทิตย์. หมู่ภมรนานา ชนิดบินเข้าไปยังปราสาทเที่ยวสูดรสในดอกไม้ทั้งหลาย. ปราสาทมีกลิ่นหอมชวนดมยิ่งนัก. ในระหว่างฝาคู่ ได้ตั้งทะนานโลหะแล้วตามไฟอ่อนๆ ไว้ที่สุดมณฑปแก้ว บนเนินอากาศเบื้องบนปราสาทเก้าชั้น. ลาดหนัง กระบือแห้งไว้ในที่แห่งหนึ่ง. ในเวลาพระโพธิสัตว์เล่นน้าเขาทอดลูกหินไปที่หนังกระบือ. เครื่องยนต์หมุนไปข้างล่าง ดุจเสียง เมฆคาราม. น้าพุ่งขึ้นแล้วตกไปที่เปลวไฟ. เป็นดุจน้าฝนตก. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งผ้าเขียวห่มผ้าเขียวทรงประดับเครื่องประดับสีเขียว. แม้พวกบริวาร ของพระโพธิสัตว์มีนักฟ้อนราสี่หมื่น ประดับด้วยสีเขียว แต่งตัวสีเขียวแวดล้อมพระมหาบุรุษไปสู่มณฑปแก้ว. พระโพธิสัตว์ทรงเล่นกีฬาในน้าตลอดวัน เสวยความสุขในฤดูแห่งความเย็นฉ่า.
  • 13. 13 ในทิศ ๔ ของปราสาทมีสระอยู่ ๔ สระ. ในตอนกลางวันฝูงนกนานาชนิด ออกจากสระด้านทิศ ตะวันออกร้องเสียงระงม บินไปสู่สระด้านทิศตะวันตกทางยอดของปราสาท. ออกจากสระด้านทิศตะวันตก บินไปสู่สระด้านทิศตะวันออก. ออกจากสระด้านทิศเหนือบินไปสู่สระด้านทิศใต้. ออกจากสระด้านทิศใต้บิน ไปสู่สระด้านทิศเหนือ เป็นดุจสมัยในระหว่างฤดูฝน. แต่ปราสาทเป็นที่อยู่ในฤดูหนาวมี ๕ ชั้น. ปราสาทเป็น ที่อยู่ในฤดูฝนมี ๗ ชั้น. อนึ่ง มิใช่ดนตรีเท่านั้นที่ไม่มีบุรุษเจือปน แม้ที่ทุกแห่งก็ไม่มีบุรุษเหมือนกัน. แม้คนเฝ้าประตูก็ เป็นผู้หญิง. แม้ผู้ทาบริการมีอาบน้าให้เป็นต้นก็เป็นผู้หญิง. กาลแห่งความยินดีในท่ามกลางหญิง ๔ หมื่นในปราสาท ๓ หลังของพระโพธิสัตว์ ดุจกาลแห่ง ความเพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ ของคหบดีฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์ทรงผนวชแล้วแทงตลอดพระ สัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์ ดุจกาลที่คหบดีนั้นบาเพ็ญสุจริตแล้วบังเกิดในสวรรค์ฉะนั้น. กาลที่พระ ตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่คหบดีนั้นเสวยสมบัติ ในนันทวันฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไปในฌานที่ ๔ ไม่ ทรงปรารถนาความสุขของชนเลวอันเป็นของมนุษย์ ดุจกาลที่คหบดีนั้นไม่ปรารถนากามคุณ ๕ อันเป็นของ มนุษย์ฉะนั้น. ในบทนี้ มีข้อเปรียบเทียบดังต่อไปนี้ . กาลที่พระโพธิสัตว์ประทับอยู่ ณ ท่ามกลางปราสาท ดุจกาลที่บุรุษเป็นโรคเรื้อนฉะนั้น. กาม วัตถุอย่างหนึ่งดุจกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กามวัตถุ ๒ อย่างดุจกระเบื้อง ๒ แผ่น. นักฟ้อน ๓ โกฏิครึ่งดุจ กระเบื้องใส่ถ่านไฟ ๓ โกฏิครึ่งของท้าวสักกเทวราชฉะนั้น. การเสพวัตถุกามดุจเอาเล็บเกาปากแผลแล้วเอา ไปลนบนกระเบื้องใส่ถ่านไฟฉะนั้น. กาลที่พระโพธิสัตว์เห็นโทษในกามเห็นอานิสงส์ในเนกขัมมะแล้วเสด็จ ออกบวชได้เป็นพระพุทธเจ้า. และกาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วยความยินดีในผลสมาบัติอันเป็นไป ในฌานที่ ๔ ดุจกาลที่บุรุษโรคเรื้อนอาศัยยาแล้วหายโรคฉะนั้น. กาลที่พระตถาคตยังเวลาให้ล่วงไปด้วย ความยินดีนั้นไม่ทรงปรารถนาด้วยความยินดีในชนเลว ดุจกาลเห็นบุรุษเป็นโรคเรื้อนอื่นแล้วไม่ปรารถนาจะ เห็นอีกฉะนั้น. สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นเพราะปัญญินทรีย์ถูกกาจัด กลับได้ความสาคัญผิดในกามทั้งหลายอันมี สัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เหมือนอย่างบุรุษโรคเรื้อนนั้นมีกายินทรีย์ถูกโรคกาจัด กลับได้ความสาคัญผิดใน ไฟอันมีสัมผัสเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ฉะนั้น. พึงทราบวินิจฉัยในคาถาว่า อาโรคฺยา ปรมา ลาภา ความไม่มีโรคเป็นลาภอย่างยิ่งดังต่อไปนี้ . การได้ทรัพย์ก็ดี การได้ยศก็ดี การได้บุตรก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่ง ความไม่มีโรคเป็นลาภอัน สูงสุดกว่าลาภเหล่านั้น. ลาภยิ่งกว่าความไม่มีโรคนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น ความไม่มีโรคจึงเป็นลาภอย่างยิ่ง. สุขเกิดแต่ฌานก็ดี สุขเกิดแต่มรรคก็ดี สุขเกิดแต่ผลก็ดี อย่างใดอย่างหนึ่งมีอยู่. บรรดาสุข เหล่านั้น นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. สุขยิ่งกว่านิพพานนั้นไม่มี เพราะเหตุนั้น นิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง. บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรมด้วยการไปอันเป็นส่วนเบื้องต้น สู่มรรคอันเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหลาย มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอันเกษม. ทางอื่นเกษมยิ่งกว่ามรรคมีองค์ ๘ นั้นไม่มี.
  • 14. 14 ในบทนี้ มีความว่า สมณพราหมณ์ผู้กล่าวคัดค้านเป็นอันมาก ถือเอาด้วยลัทธิว่าทางอันเป็นทาง เกษม และทางอันให้ถึงอมตธรรม มรรคมีองค์ ๘ เป็นทางอย่างยิ่งคือสูงสุดกว่ามรรคทั้งหลายอันเป็นทาง เกษมและเป็นทางอมตะเหล่านั้นทั้งหมด. ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสีบ้าง ฯลฯ พระนามว่ากัสสปะบ้าง ประทับนั่ง ท่ามกลางบริษัท ๔ ได้ตรัสพระคาถานี้ . คาถาอาศัยประโยชน์ เพราะเหตุนั้น มหาชนจึงได้เรียน. ครั้นเมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ภายหลังคาถาทั้งหลายจึงพากันเข้าไปสู่ระหว่างพวก ปริพาชก. ปริพาชกเหล่านั้นจดไว้ในใบลานรักษาไว้ ๒ บทเท่านั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า คาถานั้น บัดนี้ เป็นคาถาของปุถุชนตามลาดับ. จบอรรถกถามาคัณฑิยสูตรที่ ๕. -----------------------------------------------------