SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
350
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
School Administration by Technology Leadership
 สุนันทา สมใจ
นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Sununta Somjai
Ph.D. Candidate in Applied Behavioral Secience Reserch Institue
Srinakharinwirot University, E-mail: sununtas@g.swu.ac.th
 วิชุดา กิจธรธรรม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
Wichuda Kijthorntham
Assistant Professor, Ph.D., Educational and Phychological Test Bureau
Srinakharinwirot University, E-mail: Kijtorntham@hotmail.com
Abstract
This article would like to present the management of the institute by technology
leadership, including the benefits of technology and the integration of technology into
education as part of the curriculum, to eliminate obstacles effectively, and better manage
educational change, as well as the way to develop the technological leadership of the to
manage effectively and most beneficial to the school.
Keywords: School Administration, Technology Leadership
บทคัดย่อ
บทความนี้ต้องการนาเสนอการบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี (Technology Leadership)
รวมถึงการเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีและนาเทคโนโลยีไปบูรณาการให้เข้ากับการจัดการศึกษาโดยเป็น
ส่วนหนึ่งของหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการ
ความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของ
ผู้บริหารเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา
คาสาคัญ : การบริหารสถานศึกษา ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
351
บทนา
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี ผู้บริหารเป็นบุคคลที่สร้างความผูกพันระหว่างกลุ่ม
บุคคลในองค์การเข้าด้วยกันและกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อนาเสนอ
ผลงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ประสบความสาเร็จด้วยดี อาจกล่าว
ได้ว่าความสาเร็จของการบริหารเป็นผลงานมาจากความร่วมมือระหว่างบุคลากรในองค์กรภายใต้การนาของ
ผู้บริหาร ผู้บริหารจะทาหน้าที่บริหารงานต่าง ๆ ให้ดาเนินไปด้วยความมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว ความ
เรียบร้อย การประหยัดกาลังคน กาลังทรัพย์และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารองค์กรให้
เจริญก้าวหน้าย่อมขึ้นอยู่กับภาวะผู้นาของผู้บริหาร เพราะผู้บริหารเป็นผู้แสดงพฤติกรรมที่จะทาให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนยอมรับความสามารถด้วยความพึงพอใจ มีความสุขกับหมู่คณะและอาชีพของตน
ผู้บริหารจึงเป็นบุคคลที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรและผู้ใต้บังคับบัญชา (เบญจพร แก้วมีศรี, 2545)
การนาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงานนั้น เป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นมากคือ ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นาที่มีวิสัยทัศน์
มีความรู้ ความชานาญในการบูรณาการเทคโนโลยีและนาไปใช้โดยสามารถดาเนินผ่านสภาวะความ
เปลี่ยนแปลงได้ (Alan, 2004) ผู้บริหารสถานศึกษาจาเป็นต้องตระหนักและยึดถือเป็นภารกิจสาคัญ เนื่องจาก
ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสอิทธิพลของเทคโนโลยีได้ ตลอดจนการสร้างภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นเพื่อ
การนาที่มีประสิทธิผล ประกอบกับวิสัยทัศน์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดไว้ใน
แผนแม่บทเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 - 2554 ไว้ว่า “ผู้เรียน ผู้สอน
บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มตามศักยภาพ
อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทางเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล” ดังนั้นความจาเป็นของผู้บริหารโรงเรียนต้อง
มีภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุผลสาคัญดังต่อไปนี้ 1) ความจาเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศสาหรับ
การเรียนของนักเรียน รวมทั้งการใช้ข้อมูลในสังคมอินเทอร์เน็ต 2) ความจาเป็นต้องให้นักเรียนใช้เทคโนโลยี
เพื่อเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า ค้นพบในภาระงานด้านการเรียนเป็นส่วนใหญ่ 3) ความจาเป็นต้องทางานให้มี
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ดังนั้นภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาจาเป็นต้องช่วยเหลือครู
นักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการใช้เทคโนโลยี (Valdez, 2005) ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร
เป็นบทบาทที่มองดูเหมือนผิวเผิน แต่ความสาคัญของภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีกลับเป็นปัจจัยสาคัญที่มี
อิทธิพลต่อทัศนคติการปฏิบัติงานของครู และยังส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย(Stegall,
1998) โดยในที่นี้ได้นาเสนอประเด็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 3 ประเด็น
ได้แก่ ความสาคัญ แนวคิดทฤษฎี การวัด และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษาอันจะเป็นแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษาเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
352
ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีมีความสาคัญอย่างไร
การเป็นผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดของ (Flanagan and Jacobsen, 2003) มีความคิดเห็น
ว่า ผู้นาทางเทคโนโลยีควรต้องตระหนักเห็นความสาคัญของสิ่งต่อไปนี้ 1) ความเสมอภาค โดยต้องลดช่องว่าง
ทางเทคโนโลยีในความแตกต่างระหว่างฐานะเศรษฐกิจ เพศ ระดับผลความสาเร็จทางการเรียนของผู้เรียน
ระยะทาง และวัฒนธรรม 2) การพัฒนาผู้ชานาญด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งสร้างโอกาส ความต้องการของครูให้รู้
เข้าใจ และนาเทคโนโลยีไปบูรณาการ ออกแบบร่วมกับหลักสูตรอย่างมีความหมาย ท้าทาย และมุ่งสนับสนุน
ครูให้ค้นพบและมีประสบการณ์ คิดสร้างสรรค์แนวทางการสอนอย่างหลากหลายท้าทายและประเมินอย่างเป็น
รูปธรรม 3) สร้างบทบาทใหม่ของผู้บริหารในด้านผู้นาทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาบุคลากร
และทรัพยากรด้านเทคโนโลยี เข้าใจการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมายมีวิสัยทัศน์ ประสบการณ์สามารถจะ
ชี้แนะ สนับสนุนครู วางแผนเทคโนโลยี เปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์การโดยใช้เทคโนโลยีในระบบงาน ตลอดจน
เสริมศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยอาศัยเทคโนโลยีได้ ดังนั้น ผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาอาจเป็นบุคคล
คนเดียวกันหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้สาหรับในโรงเรียนแล้ว หากผู้นามีความสามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยี มีวิสัยทัศน์ในการนาเทคโนโลยีไปใช้โดยบูรณาการกับหลักสูตร สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และส่งเสริม
พัฒนาให้ครูและนักเรียนมีการเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรมของสถานศึกษา และ
สามารถลดช่องว่างทางเทคโนโลยี ผู้นานั้นก็จะเรียกได้ว่าเป็น “ผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษา” (Educational
Technology Leadership) ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นเชิงสนับสนุนต่อแนวคิดเรื่องการศึกษาเรียนรู้จาก
ประสบการณ์ตรงเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งต่อการนาไปสู่ภาวะผู้นาที่มีประสิทธิผล ประกอบกับผลการวิเคราะห์ที่
พบว่า 2 ใน 3 ของผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเรื่องยาก หากไม่เคยผ่านการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา
มาก่อน และสัดส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาที่เห็นว่าควรต้องเป็นครูผู้สอนมาก่อนก็จะอยู่ในระดับสูงด้วย
(Farkas et al, 2001:5) ในทางตรงกันข้ามก็เกิดข้อโต้แย้งว่า บุคคลที่มีทักษะในการบริหารจัดการในระดับสูง
แม้จะปราศจากประสบการณ์ในการจัดการศึกษา แต่อาจจะประสบความสาเร็จในเป็นผู้นาทางการศึกษาก็ได้
และการนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในสถานศึกษา จะทาให้เกิดความสาเร็จในการจัดการเรียนการสอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี จะมีความตั้งใจที่จะแสดง
สมรรถนะด้านเทคโนโลยี
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีมีความจาเป็นและมีความสาคัญมากขึ้นในยุคปัจจุบันเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีมี
การขยายตัวอย่างกว้างขวาง และใกล้ชิดกับการทางานของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในส่วนของฝ่ายการสอนและ
ฝ่ายสนับสนุนมากขึ้น ภาวะผู้นาของผู้บริหารจึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและผู้นาจะต้องทาความ
เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ดังแนวคิดของ นิคม นาคอ้าย (2549: 47) กล่าวว่า ลักษณะของผู้นา
ยุคใหม่ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมองเห็นความสาคัญของเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นผู้นา
ยุคใหม่ต้องสามารถนาเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาทรัพยากรและบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้อง
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
353
กับศูนยพัฒนาภาวะผูนาทางเทคโนโลยี (Center for Advance Study of Technology Leadership in
Education: CASTLE) ไดพัฒนากรอบแนวคิดของภาวะผูนาทางเทคโนโลยีขึ้นมาประกอบดวย 6 ดาน ดังนี้
(CASTLE. 2009)
1) ความเป็นผู้นาและวิสัยทัศน์ (Leadershipand Vision) องค์ประกอบที่ใช้ในการกาหนดคุณลักษณะ
ผู้นาทางเทคโนโลยีสาหรับผู้บริหาร ด้านความเป็นผู้นาและวิสัยทัศน์นั้น ผู้นาต้องมีลักษณะของการกระตุ้นให้
เกิดการผสานวิสัยทัศน์ สาหรับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศ
และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการนาวิสัยทัศน์สู่ความเป็นจริงการเชื่อมต่อวิสัยทัศน์สู่ความสาเร็จต้อง
อาศัยการรับรู้ของผู้ร่วมงานเกี่ยวกับความสาคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย โดยเมื่อ
วิสัยทัศน์ของผู้นาถูกแสดงออกมาในทิศทางที่ถูกมองว่ามีความสาคัญ บุคคลอื่น ๆ ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมใน
วิสัยทัศน์นั้นด้วย (The Knowledge Loom, 2011: online) ส่วนแอนเดอร์สันและเด็กเตอร์ (Anderson &
Dexter.2003: 3) ซึ่งทาการวิจัยในเรื่อง School Technology Incidencd and Impact ก็มีความเห็นใน
ทานองเดียวกันว่าการผสานวิสัยทัศน์เป็นจุดเน้นสาคัญในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา
ผลจากการวิจัยของแอนเดอร์สัน และเด็กซ์เตอร์ ยืนยันว่า การบรรลุผลสาเร็จในการนาเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ
ขึ้นอยู่กับการผสานเป้าหมายที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันภายในองค์การในการผสานวิสัยทัศน์สู่การ
ปฏิบัติ ศูนย์วางแผนทางเทคโนโลยีระดับชาติ (National Center for Technology Planning) ได้จาแนกการ
ผสานวิสัยทัศน์ออกเป็นลาดับขั้น และถูกกาหนดไว้เป็นคุณลักษณะของผู้นามาตรฐานระดับชาติทาง
เทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหารประกอบด้วย (American Institude for Research, 2004: 18) ดังนี้
1.1) ผู้นาต้องตระหนักถึงความสาคัญของวิสัยทัศน์ (Realizes the Importance of Vision) เป็นผู้มีบทบาท
หลักในการสร้างให้เกิดขึ้น 1.2) ผู้นาต้องมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Sell that Vision) ผู้นาต้องเขียนข้อความ
วิสัยทัศน์เพื่อกาหนดเป็นสัญญาณที่ต้องทา ซึ่งในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์นั้น ผู้นาต้องสามารถอธิบายให้เกิด
ความกระจ่างแจ้ง ทั้งแก่ผู้ร่วมงาน สมาชิกในชุมชนโดยการประกาศวิสัยทัศน์สู่สาธารณะ 1.3) ผู้นาต้องพัฒนา
วิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติที่เป็นจริง (Make the Vision Reality) โดยการแปลงวิสัยทัศน์สู่แผนยุทธศาสตร์การ
บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4) ผู้นาต้องมีการประเมินวิสัยทัศน์ว่า สามารถบรรลุถึงได้มาก
น้อยเพียงใด 1.5) ผู้นาต้องมุ่งมั่นในวิสัยทัศน์ว่าหากเกิดการบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ผู้นาอาจอาศัยชุมชน
รอบโรงเรียนมาเป็นเครื่องช่วยธารงวิสัยทัศน์ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน (Sustain its Momentum within the
Community) ทั้งนี้ฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 137) ได้กล่าวถึงผู้นา
ลักษณะดังกล่าวว่า เป็นผู้นาแห่งการสร้างความสามารถ (Leader of Capacity Building) หรือสร้างผลสาเร็จ
ให้เกิดขึ้นได้จากวิสัยทัศน์ของตน และได้กาหนดเป้าหมาย ภาระงาน และตัวชี้วัดความสาเร็จ ตามบทบาทผู้นา
แห่งการสร้างความสามารถ และแนวคิดของ ของฮอวคคินส์และมาร์คัม (Kawkins;& Marcum, 2002: 130) ที่
กล่าวว่าการเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Artculate Vision) เป็นคุณลักษณะสาคัญประการหนึ่งของผู้บริหารในการ
จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิผล ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ แนนซ์ (Nance, 2003: 434-467)
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
354
ที่ทาการวิจัยเรื่องผู้บริหารโรงเรียนของรัฐกับการสร้างนโยบายทางเทคโนโลยี (Public School Administrators
and Technology Policy Making) ซึ่งแนนซ์ให้เหตุผลสามประการในการอธิบายถึงความสาคัญของการนา
วิสัยทัศน์สู่การสร้างนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนประกอบด้วย เหตุผลที่หนึ่ง ผู้บริหาร
โรงเรียนสามารถเข้าถึงผลที่เกิดจากวิสัยทัศน์ได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เหตุผลที่สอง เทคโนโลยี
สารสนเทศทางการศึกษา มีความสาคัญและเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโอกาสที่ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเชิง
นโยบายได้อย่างถูกต้อง เหตุผลที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทาให้ผู้บริหารมองเห็นการเชื่อมโยงวิสัยทัศน์สู่
นโยบายได้กว้างขวาง (Windespread) มากขึ้น สาหรับองค์ประกอบของวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีตามทัศนะของ
(ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2553) ได้อธิบายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ ต้องมี
ความสามารถในการกาหนดเป้าหมาย กาหนดสาระตามเป้าหมาย และกาหนดวิธีการตามเป้าหมายและสาระ
นั้น ผู้นาเชิงวิสัยทัศน์จึงต้องมีความเก่ง รอบรู้ มีวิธีการพร้อมกันไป ไม่ใช่ชานาญเฉพาะวิธีการบริหารแต่ขาด
ความรู้ในทิศทางหรือวิสัยทัศน์ สามารถแยกเป็นองค์ประกอบของภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ที่สาคัญ
ประกอบด้วย 1) มีการสร้างวิสัยทัศน์ (Formulating) 2) มีการเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulating) 3) มีการ
ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Implementing) และ 4) การเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model)
สรุปว่าผู้บริหารต้องมีความสามารถกาหนดเป้าหมาย สามารถกระตุ้นให้เกิดการผสานวิสัยทัศน์ และ
สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนให้ธารงไว้อย่างยั่งยืน เพื่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศและ
สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการนาวิสัยทัศน์สู่ความเป็นจริง
2) การเรียนรู้และการสอน (Learning and Teaching) แนวคิดของเธลเบิร์ต แอล แดรค และวิลเลียม
เอช โร (Drake; & Roe, 1986; อ้างถึงในเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2543: 2 - 6) ที่ขยายทักษะของผู้นาออกเป็น
5ทักษะ ประกอบด้วยทักษะทางความคิดรวบยอด ทักษะทางมนุษย์ ทักษะทางเทคนิค และทักษะทางความรู้
ความคิด โดยทักษะที่สะท้อนคุณลักษณะด้านการเรียนรู้และการสอน คือ ทักษะการศึกษาและการสอน
(Educational and instruction skills) นั่นเอง เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, (2543) ได้เสนอว่า ทักษะด้าน
การศึกษาและการสอนนั้น เป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจการศึกษา
แล้วย่อมจะบริหารให้มีประสิทธิผลได้โดยยากตลอดจนผู้บริหารต้องเป็นผู้นาทางการสอน (Instructional
Leader) ด้วย ดังงานวิจัยของ กมลวรรณ ชัยวาณิชศิริ, (2536) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่
สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นาทางวิชาการซึ่งเกี่ยวข้องการเรียนรู้
และการสอน เป็นตัวแปรที่สามารถทานายประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนได้ และแนวคิดของฟลานาเก็นและ
จาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 135) ที่สะท้อนแนวคิดหลักของผู้นาเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการ
เรียนรู้และการสอน ตลอดจนแนวคิดของนักวิชาการอื่น ๆ ที่นาเสนอไปข้างต้นแล้ว คุณลักษณะของผู้นาด้าน
การเรียนรู้และการสอน สามารถพิจารณาได้จากบริบทของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น งานวิจัยของยี (Yee. 2000 :
287 - 302) ซึ่งทาวิจัยเรื่อง Image of School Principals’Informationand Communications Technology
Leadership ลักษณะงานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์
ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนนักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วน
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
355
เกี่ยวข้อง ของประเทศแคนาดา นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยใช้ผลจากการสัมภาษณ์มาจัดหมวดหมู่
คุณลักษณะผู้นาได้หลายหมวดหมู่ โดยคุณลักษณะในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนนั้น ยังได้
จาแนกออกเป็น 3 คุณลักษณะหลัก ดังนี้ (Yee. 2000: 293 - 294) 1) คุณลักษณะแห่งการมุ่งการเรียนรู้สู่การ
สร้างวิสัยทัศน์ (Learning - focussed Envisioning) คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายคุณลักษณะของผู้บริหารที่
ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อกาหนดวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาบุคลากร นักเรียน และ
ผู้ปกครองโดยให้ความสาคัญกับผู้นาว่าเป็นบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนทางความคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ
เรียนการสอนและการเรียนรู้ 2) คุณลักษณะแห่งการเรียนรู้ในสิ่งที่ท้าทาย (Adventurous Learning)
คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายความสาคัญของผู้บริหารว่า ต้องเป็นผู้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ร่วมงาน
และเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จานวนหนึ่งระบุว่า ผู้บริหารถูก
คาดหวังว่า ต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับหนึ่งเนื่องจากหากผู้บริหารไม่เรียนรู้ที่สร้าง
ทักษะด้วยตนเอง จะเกิดความไม่เข้าใจในการบูรณาการสู่การเรียนการสอน 3) คุณลักษณะแห่งการถ่ายทอด
ความรู้อย่างอดทน คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายลักษณะผู้บริหารว่า ต้องอยู่ใกล้ชิดกับห้องเรียน และเป็น
แบบอย่างในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนภายใต้ความร่วมมือของบุคลากรผู้มีองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี
สารสนเทศ (ICT Literacy)
สรุปว่า การเรียนรู้และการสอน ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และสร้างทักษะด้าน
เทคโนโลยี และการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ มีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออย่างเหมาะสม และเกิด
ประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนของครู
3) ผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ (Productivity and Professional Practice) มาตรฐาน
ระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology Standard for
Administrators: NETS-A) พบว่า ได้มีการกาหนดให้ผู้นาสถานศึกษา ควรมีการดาเนินการดังนี้ (International
Society for Technology in Education : 2002: online) 1) การกาหนดให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เป็นกิจวัตรปกติ 2) การสร้างทีมงานและกลุ่มการเรียนรู้ในองค์กรเพื่อนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการ
พัฒนางานที่ปฏิบัติ เพื่อสร้างผลิตภาพของงาน 3) การให้การช่วยเหลือทีมงานและกลุ่มการเรียนรู้ โดยการ
สร้างโอกาสการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ แก่ผู้ที่นาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนการสอน 4) การเข้ามา
มีส่วนร่วม (Take part in) ในการพัฒนาแหล่งทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืน (Sustained
Professional Development) ทั้งนี้ ฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 314) ได้
กล่าวว่า เป็นผู้นาแห่งการสร้างเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาชีพ และได้กาหนด เป้าหมาย ภาระงาน
และตัวชี้วัดความสาเร็จ ตามบทบาทผู้นาแห่งการสร้างเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาชีพ แนวคิดหลัก
ตามมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology
Standardfor Administrators: NETS-A) และแนวคิดของฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen;& Jacobsen,
2003: 134) ที่สะท้อนแนวคิดหลักของด้านผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพตลอดจนแนวคิดของ
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
356
นักวิชาการอื่น ๆ ผู้นาควรต้องสร้างความมั่นใจว่าได้มีการนากระบวนการฝึกอบรมการนาเทคโนโลยีสู่การ
ปฏิบัติ และการจัดสรรทรัพยากรที่จาเป็น (เช่นการจัดสรรระยะเวลาและงบประมาณสาหรับการฝึกอบรม) เข้า
มาในแผนปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพด้วย (The Knowledge Loom, 1999: online) ทั้งนี้ ในประเด็นที่พบว่า
มาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีทางการศึกษา สาหรับผู้บริหาร ด้านผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ
เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มตัวอย่างว่ามีความสาคัญประมาณร้อยละ 30 โดยความต้องการ
ดังกล่าว มุ่งให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ในการพัฒนา
วิชาชีพ อันนาไปสู่การสร้างผลิตภาพเชิงบวกนั่นเอง (American Institute for Research, 2004: 22)
สรุปว่า ผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยี
ในการเพิ่มขยายขีดความสามารถเชิงวิชาชีพและสร้างโอกาสการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ อันนาไปสู่
การเพิ่มผลิตภาพ ความเป็นองค์กรวิชาชีพต้นแบบในการนาเทคโนโลยีมาใช้ในสถานศึกษา
4) การสนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัติ (Support Management and Operation) การ
สนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัตินั้น มุ่งเน้นความสามารถในการชักนา โน้มน้าว และส่งเสริม
บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้การบริหารจัดการของผู้บริหาร สู่ระบบบริหารงาน โรงเรียนที่เชื่อมโยง
ไปสู่การจัดการเรียนรู้ ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถจัดการให้เกิดความเข้ากันได้
หรือผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบาย ตลอดจนการกระจายงบประมาณและทรัพยากร
ต่าง ๆ ในการดาเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ผู้นาต้องสร้างระบบสนับสนุน
ส่งเสริมที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการผลิตชิ้นงานที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น และคอยใส่ใจดูแลให้
ความต้องการนั้นดารงอยู่ตลอด โดยในการสนับสนุนให้ครูพยายามนาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียน ต้อง
พิจารณาถึงความพยายามชักนาโน้มน้าวผู้ที่ไม่เต็มใจหรือลังเล ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย (The
Knowledge Loom, 2011) ทั้งนี้องค์ประกอบที่ใช้กาหนดคุณลักษณะภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีสาหรับ
ผู้บริหารด้านการสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการและการปฏิบัติ ตามมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีทางการ
ศึกษาสาหรับผู้บริหารประกอบด้วย (International Society for Technology in Education, 2002) 1) การ
จัดการให้เกิดความเข้ากันได้หรือผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบาย 2)การกระจาย
งบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ
3) การบูรณาการแผนเทคโนโลยีสู่แผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาอื่น ๆ ของโรงเรียนโดยความตระหนักถึงอาจ
และพลังจากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ 4) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบและ
ต่อเนื่อง และสนับสนุนการนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนมาใช้แทนระบบเดิม
ทันทีที่มีความต้องการ ดังผลงานวิจัยของ AIR (American Institude for Research, 2004: 23) ที่ระบุว่า การ
สนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัติ เป็นองค์ประกอบสาคัญของผู้บริหารโรงเรียนถึงร้อยละ 22 ตาม
ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง หากการบูรณาการเทคโนโลยีได้รับการส่งเสริม มีการจัดระบบบริหารจัดการและ
สนับสนุนด้านทรัพยากรจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนสามารถนาสู่การปฏิบัติอย่างเพียงพอ (Availability)
ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปในทางบวก
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
357
สรุปว่า การสนับสนุนการจัดการและการปฏิบัติ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการชักนา โน้มน้าว
และส่งเสริมบูรณาการเทคโนโลยีในการบริหารงานโรงเรียน และการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความร่วมมือของทุก
ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถจัดการให้เกิดความเข้ากันได้หรือผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีและนโยบาย
5) การวัดผลและการประเมินผล (Assessment and Evaluation) International Society for
Technology in Education: ISTE.(2009) ได้กาหนดมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีสาหรับผู้บริหารด้าน
การวัดผลและการประเมินผล ไว้ดังนี้ 1)ใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล แปลผลการวิเคราะห์
และเชื่อมโยงสู่การสร้างข้อสรุปเพื่อนาไปใช้ในการบริหาร การพัฒนาการสอนและการเรียนรู้ 2)ใช้เทคโนโลยี
ในการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูเป็นรายบุคคล 3)ใช้เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและประเมินระบบ
การบริหารจัดการภายในสถานศึกษา American Institute for Research: AIR (2009) ที่ระบุว่า มาตรฐาน
ระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหารด้านการวัดและการประเมินผล ไว้ดังนี้ 1) ใช้เทคโนโลยีใน
การเก็บรวบรวมข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ 2) ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของ
นักเรียน 3) ใช้เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและประเมินระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา และ
4)ประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในสถานศึกษา ส่วนนิคม นาคอ้าย (2549) แสดงทัศนะว่า ภาวะผู้นาเชิง
อิเล็กทรอนิกส์ด้านการวัดผลและการประเมินผล ผู้นาต้องสามารถพัฒนาระบบการประเมินการบริหารจัดการ
และการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแปลผลการวิเคราะห์
ตลอดจนการประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะนาไปสู่การบริหาร
และจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้ สาหรับ คอซโลสกี (Kozloski, 2006) แสดงทัศนะว่า ภาวะ
ผู้นาเชิงเทคโนโลยีด้านการวัดผลและการประเมินผล ผู้นาต้องสามารถใช้เทคโนโลยีในการเก็บ รวบรวมข้อมูล
และแปลผลการวิเคราะห์ ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ใช้เทคโนโลยีในการ
วินิจฉัยและประเมินระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาและประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ใน
สถานศึกษา สาหรับการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีมีความแตกต่างจาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ
ประเมิน แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกประการหนึ่งของคุณลักษณะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร
เนื่องจากเป็นการย้อนกลับไปประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประเมินอีกครั้งหนึ่ง
(Anderson & Dexler, 2000: 26) โดยวีระ สุภากิจ (2539: 331 - 332) ได้กล่าวถึงการประเมินสารสนเทศว่า
ประกอบด้วย การประเมินการจัดระบบสารสนเทศ ดังงานวิจัยของ ดอนเลวี (Donlevy, 2004: 213 - 217) ที่
ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับอนาคตของผู้นา ที่ต้องการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายใน
สถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (Nets-A) ทั้ง 6
มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่ 5 มุ่งเน้นความสามารถของผู้บริหารในการใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมินการ
ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลผลนาเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งที่ดอนเลวีได้
เสนอแนะเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับอนาคตคือ การประสานความร่วมมือกับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่
มีความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดโปรแกรมเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีของผู้นาโดยต้องมีการ
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
358
ประเมินทักษะการริเริ่มด้านเทคโนโลยีของผู้นา ซึ่งไม่ได้มุ่งไปที่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีของ
ผู้บริหาร แต่มุ่งสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นก่อนเป็นเบื้องต้น
สรุปว่า การวัดผลและการประเมินผล ผู้บริหารต้องมีความสามารถนาเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดผล
และการประเมินผล เพื่อมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น
6) สังคม กฎหมาย และจริยธรรม (Social, Legal and Ethics Issues) ประเด็นด้านสังคม กฎหมายและ
จริยธรรม นับเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ทวีความสาคัญเพิ่มมากขึ้นสาหรับผู้นาเชิงอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา
เนื่องจากโลกยุคข้อมูลข่าวสารและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องอาศัยนวัตกรรมในการคุ้มครองข้อมูลและ
ข้อตกลงรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้
อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิผล (The Knowledge Loom, 1999: online) สิ่งที่ผู้นาต้องใส่ใจจึง
ประกอบด้วย การกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานและตัวผู้นาเอง ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม
คานึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ การคุ้มครองข้อมูลสารสนเทศ และทรัพย์สิน
ทางปัญญา (American Institute for Research, 2004: 24) แนวคิดหลักตามมาตรฐานระดับชาติทาง
เทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology Standard for Administrators:
NETS-A) และแนวคิดของฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 137) ที่สะท้อน
แนวคิดหลักของด้านสังคม กฎหมาย และจริยธรรมตลอดจนแนวคิดทางวิชาการอื่น ๆ ประเด็นทางกฎหมายที่
เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ผู้นาต้องศึกษาและทาความเข้าใจ ในบริบทของไทย
สรุปว่า สังคม กฎหมาย และจริยธรรม ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี การ
ส่งเสริมและบังคับใช้มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยการสนับสนุนและจัดให้เกิดสภาพแวดล้อมในการ
ปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา
แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ของการทางานความสามารถในการ
ควบคุมเทคโนโลยีให้สนองนโยบายและความต้องของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ท้าทายนักบริหารในปัจจุบันเป็นอย่าง
มาก ในระยะเริ่มต้นการใช้เทคโนโลยีผู้บริหารบางท่านต่อต้านและชะลอการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยี
เพื่อให้องค์การและตนเองมีการปรับตัว แต่ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการทางานในทุกระดับ
ตั้งแต่ระดับแรงงานจนถึงระดับวิชาชีพชั้นสูง การขยายตัวการใช้เทคโนโลยีไปสู่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ
ผู้บริหารจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ของการทางานในสิ่งแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร การปรับตัวให้ทันเพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา รวมทั้ง
แบบแผน วิธีการและกระบวนทัศน์ในการทางานที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจาเป็นต้องมีความรู้ ทักษะและ
วิสัยทัศน์ เพื่อจะสามารถทางานได้ในสังคมยุคเทคโนโลยี (กฤษมันต์ วัฒนณรงค์, 2549: 67)
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
359
1. ความรู้เรื่องเทคโนโลยีของผู้บริหาร คาว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง สาระความรู้ ความ
จริงที่สามารถนาไปใช้ถ่ายทอดสื่อสาร นาไปใช้ศึกษาเพื่อเรียนรู้หรือเก็บรวบรวมได้ การบริหารจัดการ
เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจะประสบความสาเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขีดความสามารถด้าน
เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งต้องแน่ใจว่ามีการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนประสบความสาเร็จได้อย่าง
ต่อเนื่องได้แก่ ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้ข้อมูลเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การสร้าง
สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้งานเดินต่อ การปรับปรุงระบบอย่าง
ต่อเนื่องและวัฎจักรการทดแทน การติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี
2. ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ขีดความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษา
เกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานในโรงเรียน มีข้อควร
พิจารณา 4 ประการดังนี้
2.1 ขีดความสามารถในการจัดหาทรัพยากร ได้แก่ ความสามารถเสาะหา เปรียบเทียบ ต่อรองเลือก
เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการ
2.2 ขีดความสามารถในการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพขึ้น วัดได้จากวิธี
ปฏิบัติในการบริหารจัดการว่าสามารถใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารงานได้เต็ม
ศักยภาพก่อนที่จะล้าสมัยหรือไม่ การสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ได้แก่ การบารุงรักษาการพัฒนาทักษะ
ของครูและเจ้าหน้าที่การจัดตารางการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ตลอดจนการจัดหาเจ้าหน้าที่
คอยอานวยความสะดวกให้กับครูและนักเรียน ส่วนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล
การปรับปรุงข้อมูลให้เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และการเปลี่ยนแปลง
กระบวนการทางานแบบเดิมของครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนให้สามารถทางานร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
2.3 ขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูในโรงเรียน หมายถึง ความสามารถในการ
สนับสนุน พัฒนาหรือส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้
ดัดแปลง ปรับแต่ง หรือค้นหาวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ที่ดีกว่า
2.4 ขีดความสามารถในการติดตาม ประเมินและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพิจารณาจากกระบวนการ
ติดตามตรวจสอบผลการดาเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กาหนดขึ้น
หรือไม่
3. การจัดการเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน สถานศึกษาในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง
สภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก อิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทาให้
สภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนและสถานการณ์ของการเรียนการสอนแตกต่างไปจากเดิม การ
เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการบริการและการจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียน ซึ่งจาเป็นต้อง
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
360
เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยสภาพแวดล้อมทางการเรียนในสถานศึกษาปัจจุบันถูกกาหนดด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการ
พิจารณานาเข้ามาใช้ การนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสถานศึกษาอย่างน้อย 3
ประการ ได้แก่
3.1 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Technology Alters Orientation) สถานศึกษา สภาพของ
ผู้เรียนและผู้สอนได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี มีลักษณะของการใช้ชีวิตในฐานะผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป วิถี
ชีวิตของทั้งผู้เรียนและผู้สอนผูกพันและขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น
3.2 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิธีการ(Technology Alters Techniques) วิธีการเรียนการสอนใน
สถานศึกษาปัจจุบันมีหลายรูปแบบหลายลักษณะ และในจานวนรูปแบบต่าง ๆ ของการเรียนเหล่านั้น
จาเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี
3.3 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของการเรียน(Technology Alters Situations of Learning)
การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของการเรียนในสถานศึกษาเป็นสภาพใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับนาเทคโนโลยีใหม่
เข้ามาใช้
บทสรุป
ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี เป็นทักษะที่จาเป็นสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ
สถานศึกษา รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสัยทัศน์การใช้เทคโนโลยีและ
เผยแพร่วิสัยทัศน์อย่างกว้างขวาง และมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มีความรู้ในการใช้
เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการยกระดับการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร เพื่อนาไปสู่ผลสัมฤทธิ์
สูงสุดของนักเรียน ดังงานวิจัยของ Anderson & Dexter, (2005: 60) ได้วิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะ
ผู้นาและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล ข้อค้นพบที่มีความสาคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งคือ แม้
โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีจะมีความสาคัญต่อประสิทธิผลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการ
เรียนการสอน แต่คุณลักษณะผู้นาของผู้บริหารยิ่งมีความจาเป็นมากกว่า จึงบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะ
ผู้นาที่ส่งผลต่อผลลัพท์ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีในสถานศึกษามากกว่าการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเพียงพอและความพร้อม
ของอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย ที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน
ของผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีแม้จะมีความ
ซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากตัวแปรต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา แต่เป็นกระบวนการที่มี
ระยะเวลาชัดเจนและให้ผลการพัฒนาที่คุ้มค่า ซึ่งหากนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นตัวแปรที่
ใช้ทานายประสิทธิผลภาวะผู้นาเชิงเทคโนโลยีจะทาให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ
ภายในองค์กรได้ดียิ่งขึ้น
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
361
References
Alan, Seay D. (2004). A Study of the Technology Leadership of Texas high School Principals.
Retrieved 28, 2005 from http://proquest.umi.com/pqdweb?did=
765816391&sid=1&Fmt=2&clientId=47903&RQT=309&VName=PQD
American Institute for Research.(2004). Evaluation of the School Technology Leadership
Initiative: External Evaluation Report#1. University of Minnesota.
Anderson, R. E., & Dexter, S. L. (2000). School technology leadership: Incidence and impact.
Retrieved from ERIC database. (ED449786)
Suviriyasan
Chaiyanitsiri, Kamolwan (1993). Factors related to management related to performance.
Private school. for the Doctor of Education Degree in Educational Administration at
Srinakharinwirot University.
Castle. (2009). Principal Technology Leadership Assessment. Retrieved Jun, 2014, from
http://schooltechleadership.org/wordpress/wpcontent/uploads/2010/02/ptla_info_
packet.pdf.
Creighton, t. (2003). The principal as technology leader. Thousand Oaks, CA: Corwin Press.
Donlevy,J.(2004, March). Preparing Future Educational Leader: Technology Standards for
School Administrators. Journal of Instructional media. 31(3): 213-217
Dede, C. (1994). Leadership without followers. In G. Kearsley, & W. Lynch (Eds.), Educational
technology leadership perspectives. (pp.19-28). New Jersey: educational Technology
Publications.
Dexter, S. & Anderson R.E. (2003 March). Preparing new teachers for schools where
technology improves learning: Video cases from a national study. Presentation at the
Education Technology conference sponsored by ArtsConnectedEd and the University
of Minnesota, Minneapolis, Minnesota.
Farkas, S. et al. (2001). Trying to stay ahead of the game: Superintendents and principals
talk about school leadership. New York: Public Agenda.
Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2003). Technology leadership for the twenty-first century
principal. Journal of Educational Administration, 41(2), 124-142.
Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018
School Administration by Technology Leadership
362
International Society for Technology in Education.(2002). National educational Technology
standards for administrators. Retrieved September 14,2011, form
http://www.iste.org/stabdards/nets-for-administrators.ospx.
Kaewmesri, Benjaporn. (2002). Presentation of leadership development characteristics of
executive leadership College of Nursing Under the Ministry of Public Health for
Doctor of Philosophy thesis,Chulalongkorn University.
kawkins,B.L.;&Marcum,D.B.(2002).Leadership Challenges for the Campus and the Profession.
San Francisco: Jossey-Bass.
Ministry of Information and Communication Technology.(2009) Master Plan for Information
and Communication Technology (No. 2), Thailand, 2009-2013.
Nakai, Nikom. (2006)The Factor of E-Leadership Characteristics and Factors Affecting
E-leadership Effectiveness for Basic Education Principals. Prsesented in Partial
Fulfillment of Requirements for the Doctor of Education Degree in Educational
Administration at Srinakharinwirot University.
Nance,J.P. (2003). Educational Administration Quarterly. Public school administrators.
And Technology Policy Making
Pulley, M., Sessa, V., & Malloy, M. (2002). E-leadership. Retrieved June 27, 2003, from
http://www.scotland.gov.uk/library5 /education/cpd_leader.pdf
Sinararat, Paitoon. (2010). Creative Leaders and Producers. : New paradigms and new
leaders in education Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Stegall, Patricia. (1998). The Pricipal-Key to Technology Implementation. Retrieved
January 28, 2006 from
http://eric.ed.gov/ERICDocs/data/ericdocs2/content_storage_01/0000000b
/80/11/26/af.pdf
Supakit, Vira. (1996). Management Information System: School Behavior.Bangkok: Suviriyasan
The Knowledge Loom. (1999). Leadership Principles in Technology. Retrieved September
11,2011, fromhttp://knowledgeloom.
Org/practices3.jsp?t=1&bpinterid=1050&sportinghtid=1050&testflag=yes
Valdez, Gilbert. (2005). Technology Leadership: Enhanceing Positive Educational Change.
Retrieved December 13, 2005 from http://www.ncrel.org/ sdrs/areas/issues/ educatrs/
leadership/le700.htm
วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561
การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
363
Visalaporn, Sermsak. (2000) Leadership in theoretical series, theory and practice in
management. Unit 5, Pages 96-97, Nonthaburi, Sukhothai Thammathirat Open
University Education
Whatananarong, Krismant . (2006). Vocational Education Technology. Bangkok:
Sinthavee Press.
Yee, D. L. (2000). Images of school principals’ information and communications technology
leadership. Journal of Information Technology for Teacher Education, 9(3), 287–302
Sununta somjai, Master of Education degree in Education Research and
Measurement at Srinakharinwirot University, Ph.D. Candidate in Applied
Behavioral Secience Reserch Institue, Srinakharinwirot University
Position Personnel Educational and Phychological Test Bureau,
Srinakharinwirot University
Assistant Professor Dr.Wichuda Kijthorntham Ph.D., Degree of Doctor of
Philosophy Faculty of Education, Educational Research Methodology
Chulalongkorn University
Position Director Educational and Phychological Test Bureau,
Srinakharinwirot University.

More Related Content

What's hot

Introduction to technologies and educational media
Introduction to technologies  and educational mediaIntroduction to technologies  and educational media
Introduction to technologies and educational mediaAnna Wongpattanakit
 
Introduction to technologies and educational media 1
Introduction to technologies  and educational media 1Introduction to technologies  and educational media 1
Introduction to technologies and educational media 1Anna Wongpattanakit
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...Nattapon
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2Prachyanun Nilsook
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาโครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาKUSMP
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1Uraiwan Chankan
 
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาNisachol Poljorhor
 
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3Prachyanun Nilsook
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Kittipun Udomseth
 
A look forward etc research_new
A look forward etc research_newA look forward etc research_new
A look forward etc research_newTar Bt
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้Natcha Wannakot
 
Innovative learning environment
Innovative learning environmentInnovative learning environment
Innovative learning environmentTar Bt
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้panisa thepthawat
 

What's hot (18)

ตัวอย่าง Addie ok
ตัวอย่าง Addie ok ตัวอย่าง Addie ok
ตัวอย่าง Addie ok
 
Introduction to technologies and educational media
Introduction to technologies  and educational mediaIntroduction to technologies  and educational media
Introduction to technologies and educational media
 
Introduction to technologies and educational media 1
Introduction to technologies  and educational media 1Introduction to technologies  and educational media 1
Introduction to technologies and educational media 1
 
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
ผลของการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้เครื่องมือทางปัญญาเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์...
 
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...
การจัดเรียนเรียนรู้โดยใช้ Social Media ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ (Construct...
 
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
การจัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา2
 
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตาโครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
โครงร่างวิทยานิพนธ์ นายปรัชญา จันตา
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา..Week 1
 
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย พัฒนาการ และขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
 
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3เทคนิคการสอนตาม Tqf3
เทคนิคการสอนตาม Tqf3
 
Chapter1
Chapter1 Chapter1
Chapter1
 
Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3Media&tech2learn 003 - Part 3
Media&tech2learn 003 - Part 3
 
A look forward etc research_new
A look forward etc research_newA look forward etc research_new
A look forward etc research_new
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 
นวัตกรรม Chapter 2
นวัตกรรม Chapter 2นวัตกรรม Chapter 2
นวัตกรรม Chapter 2
 
Innovative learning environment
Innovative learning environmentInnovative learning environment
Innovative learning environment
 
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
บทที่ 3 การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม สื่อ และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้
 

Similar to 1

Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...สอบครูดอทคอม เว็บเตรียมสอบ
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาChacrit Onbao
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนNatmol Thedsanabun
 
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ Panita Wannapiroon Kmutnb
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์keeree samerpark
 
Introduction to technologies and educational media 1
Introduction to technologies  and educational media 1Introduction to technologies  and educational media 1
Introduction to technologies and educational media 1Anna Wongpattanakit
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Sattakamol mind mapping
Sattakamol mind mappingSattakamol mind mapping
Sattakamol mind mappingSattakamon
 
Sattakamon mind mapping
Sattakamon mind mappingSattakamon mind mapping
Sattakamon mind mappingSattakamon
 
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำcharintip0204
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5kruwaeo
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...Nakhon Phanom University
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7Tar Bt
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์JeeraJaree Srithai
 

Similar to 1 (20)

Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
Stem แนวทางการเรียนการสอนที่มีลักษณะของการบูรณาการการเรียนการสอนสาขา science,...
 
201700 slide3 3
201700 slide3 3201700 slide3 3
201700 slide3 3
 
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษาความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
ความหมาย ขอบข่ายและพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา
 
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอนรายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
รายงานผลการพัฒนาการเรียนการสอนด้วยสื่อรคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
 
Teacher
Teacher Teacher
Teacher
 
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการแบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
 
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ
 
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
งานโครงการเรื่องหลักการสอนวิชาคณิตศาสตร์
 
Introduction to technologies and educational media 1
Introduction to technologies  and educational media 1Introduction to technologies  and educational media 1
Introduction to technologies and educational media 1
 
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instruc...
 
Sattakamon
SattakamonSattakamon
Sattakamon
 
Sattakamol mind mapping
Sattakamol mind mappingSattakamol mind mapping
Sattakamol mind mapping
 
Mind mapping
Mind mappingMind mapping
Mind mapping
 
Sattakamon mind mapping
Sattakamon mind mappingSattakamon mind mapping
Sattakamon mind mapping
 
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ
2560 project .pdf พิจิตรา สิทธิคำ
 
Report1 5
Report1 5Report1 5
Report1 5
 
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการแบบนำเสนอผลงานวิชาการ
แบบนำเสนอผลงานวิชาการ
 
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
การพัฒนาผลการเรียนรู้วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาโดยใช้รูปแบบซ...
 
Unit 7
Unit 7Unit 7
Unit 7
 
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
บทความวิจัยของจีราศรีไทย ม.ราชภัฏสุรินทร์
 

More from โนริ สาหร่าย (8)

10.1186%2 fs40723 017-0033-y
10.1186%2 fs40723 017-0033-y10.1186%2 fs40723 017-0033-y
10.1186%2 fs40723 017-0033-y
 
10.1186%2 f2048 7010-1-7
10.1186%2 f2048 7010-1-710.1186%2 f2048 7010-1-7
10.1186%2 f2048 7010-1-7
 
10.1057%2 fjdg.2013.26
10.1057%2 fjdg.2013.2610.1057%2 fjdg.2013.26
10.1057%2 fjdg.2013.26
 
10.1007%2 fs40299 015-0237-2
10.1007%2 fs40299 015-0237-210.1007%2 fs40299 015-0237-2
10.1007%2 fs40299 015-0237-2
 
10.1007%2 fs10490 007-9049-0
10.1007%2 fs10490 007-9049-010.1007%2 fs10490 007-9049-0
10.1007%2 fs10490 007-9049-0
 
3
33
3
 
2
22
2
 
Orawan
OrawanOrawan
Orawan
 

1

  • 1. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 350 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี School Administration by Technology Leadership  สุนันทา สมใจ นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Sununta Somjai Ph.D. Candidate in Applied Behavioral Secience Reserch Institue Srinakharinwirot University, E-mail: sununtas@g.swu.ac.th  วิชุดา กิจธรธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สานักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ Wichuda Kijthorntham Assistant Professor, Ph.D., Educational and Phychological Test Bureau Srinakharinwirot University, E-mail: Kijtorntham@hotmail.com Abstract This article would like to present the management of the institute by technology leadership, including the benefits of technology and the integration of technology into education as part of the curriculum, to eliminate obstacles effectively, and better manage educational change, as well as the way to develop the technological leadership of the to manage effectively and most beneficial to the school. Keywords: School Administration, Technology Leadership บทคัดย่อ บทความนี้ต้องการนาเสนอการบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี (Technology Leadership) รวมถึงการเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยีและนาเทคโนโลยีไปบูรณาการให้เข้ากับการจัดการศึกษาโดยเป็น ส่วนหนึ่งของหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจัดการ ความเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของ ผู้บริหารเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา คาสาคัญ : การบริหารสถานศึกษา ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี
  • 2. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 351 บทนา การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี ผู้บริหารเป็นบุคคลที่สร้างความผูกพันระหว่างกลุ่ม บุคคลในองค์การเข้าด้วยกันและกระตุ้นให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความสามารถด้านเทคโนโลยี เพื่อนาเสนอ ผลงานที่มีประสิทธิภาพและเป็นผู้รับผิดชอบดูแลการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้ประสบความสาเร็จด้วยดี อาจกล่าว ได้ว่าความสาเร็จของการบริหารเป็นผลงานมาจากความร่วมมือระหว่างบุคลากรในองค์กรภายใต้การนาของ ผู้บริหาร ผู้บริหารจะทาหน้าที่บริหารงานต่าง ๆ ให้ดาเนินไปด้วยความมีประสิทธิภาพ ความรวดเร็ว ความ เรียบร้อย การประหยัดกาลังคน กาลังทรัพย์และบรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ การบริหารองค์กรให้ เจริญก้าวหน้าย่อมขึ้นอยู่กับภาวะผู้นาของผู้บริหาร เพราะผู้บริหารเป็นผู้แสดงพฤติกรรมที่จะทาให้ ผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคนยอมรับความสามารถด้วยความพึงพอใจ มีความสุขกับหมู่คณะและอาชีพของตน ผู้บริหารจึงเป็นบุคคลที่มีความสาคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรและผู้ใต้บังคับบัญชา (เบญจพร แก้วมีศรี, 2545) การนาเทคโนโลยีมาใช้ในหน่วยงานนั้น เป็นสิ่งสาคัญและจาเป็นมากคือ ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นาที่มีวิสัยทัศน์ มีความรู้ ความชานาญในการบูรณาการเทคโนโลยีและนาไปใช้โดยสามารถดาเนินผ่านสภาวะความ เปลี่ยนแปลงได้ (Alan, 2004) ผู้บริหารสถานศึกษาจาเป็นต้องตระหนักและยึดถือเป็นภารกิจสาคัญ เนื่องจาก ไม่สามารถหลีกเลี่ยงกระแสอิทธิพลของเทคโนโลยีได้ ตลอดจนการสร้างภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีให้เกิดขึ้นเพื่อ การนาที่มีประสิทธิผล ประกอบกับวิสัยทัศน์เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการได้กาหนดไว้ใน แผนแม่บทเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2550 - 2554 ไว้ว่า “ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชน ใช้เทคโนโลยีในการเข้าถึงบริการทางการศึกษาได้เต็มตามศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทางเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล” ดังนั้นความจาเป็นของผู้บริหารโรงเรียนต้อง มีภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี ด้วยเหตุผลสาคัญดังต่อไปนี้ 1) ความจาเป็นต้องใช้ฐานข้อมูลสารสนเทศสาหรับ การเรียนของนักเรียน รวมทั้งการใช้ข้อมูลในสังคมอินเทอร์เน็ต 2) ความจาเป็นต้องให้นักเรียนใช้เทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการค้นคว้า ค้นพบในภาระงานด้านการเรียนเป็นส่วนใหญ่ 3) ความจาเป็นต้องทางานให้มี ประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ดังนั้นภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาจาเป็นต้องช่วยเหลือครู นักเรียนให้มีความรู้ความเข้าใจด้านการใช้เทคโนโลยี (Valdez, 2005) ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร เป็นบทบาทที่มองดูเหมือนผิวเผิน แต่ความสาคัญของภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีกลับเป็นปัจจัยสาคัญที่มี อิทธิพลต่อทัศนคติการปฏิบัติงานของครู และยังส่งผลต่อคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอีกด้วย(Stegall, 1998) โดยในที่นี้ได้นาเสนอประเด็นเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 3 ประเด็น ได้แก่ ความสาคัญ แนวคิดทฤษฎี การวัด และแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร สถานศึกษาอันจะเป็นแนวคิดและแนวทางในการพัฒนาทักษะภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร สถานศึกษาเพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสถานศึกษา
  • 3. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 352 ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีมีความสาคัญอย่างไร การเป็นผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาตามแนวคิดของ (Flanagan and Jacobsen, 2003) มีความคิดเห็น ว่า ผู้นาทางเทคโนโลยีควรต้องตระหนักเห็นความสาคัญของสิ่งต่อไปนี้ 1) ความเสมอภาค โดยต้องลดช่องว่าง ทางเทคโนโลยีในความแตกต่างระหว่างฐานะเศรษฐกิจ เพศ ระดับผลความสาเร็จทางการเรียนของผู้เรียน ระยะทาง และวัฒนธรรม 2) การพัฒนาผู้ชานาญด้านเทคโนโลยี โดยมุ่งสร้างโอกาส ความต้องการของครูให้รู้ เข้าใจ และนาเทคโนโลยีไปบูรณาการ ออกแบบร่วมกับหลักสูตรอย่างมีความหมาย ท้าทาย และมุ่งสนับสนุน ครูให้ค้นพบและมีประสบการณ์ คิดสร้างสรรค์แนวทางการสอนอย่างหลากหลายท้าทายและประเมินอย่างเป็น รูปธรรม 3) สร้างบทบาทใหม่ของผู้บริหารในด้านผู้นาทางเทคโนโลยีเพื่อเป็นกาลังสาคัญในการพัฒนาบุคลากร และทรัพยากรด้านเทคโนโลยี เข้าใจการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความหมายมีวิสัยทัศน์ ประสบการณ์สามารถจะ ชี้แนะ สนับสนุนครู วางแผนเทคโนโลยี เปลี่ยนวัฒนธรรมขององค์การโดยใช้เทคโนโลยีในระบบงาน ตลอดจน เสริมศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยอาศัยเทคโนโลยีได้ ดังนั้น ผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษาอาจเป็นบุคคล คนเดียวกันหรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้สาหรับในโรงเรียนแล้ว หากผู้นามีความสามารถก้าวทันความเปลี่ยนแปลงทาง เทคโนโลยี มีวิสัยทัศน์ในการนาเทคโนโลยีไปใช้โดยบูรณาการกับหลักสูตร สร้างสรรค์สิ่งใหม่ และส่งเสริม พัฒนาให้ครูและนักเรียนมีการเรียนรู้โดยอาศัยเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นจนกลายเป็นวัฒนธรรมของสถานศึกษา และ สามารถลดช่องว่างทางเทคโนโลยี ผู้นานั้นก็จะเรียกได้ว่าเป็น “ผู้นาทางเทคโนโลยีการศึกษา” (Educational Technology Leadership) ผู้บริหารสถานศึกษามีความเห็นเชิงสนับสนุนต่อแนวคิดเรื่องการศึกษาเรียนรู้จาก ประสบการณ์ตรงเป็นปัจจัยสาคัญอย่างยิ่งต่อการนาไปสู่ภาวะผู้นาที่มีประสิทธิผล ประกอบกับผลการวิเคราะห์ที่ พบว่า 2 ใน 3 ของผู้อานวยการเขตพื้นที่การศึกษาเป็นเรื่องยาก หากไม่เคยผ่านการเป็นผู้บริหารสถานศึกษา มาก่อน และสัดส่วนของผู้บริหารสถานศึกษาที่เห็นว่าควรต้องเป็นครูผู้สอนมาก่อนก็จะอยู่ในระดับสูงด้วย (Farkas et al, 2001:5) ในทางตรงกันข้ามก็เกิดข้อโต้แย้งว่า บุคคลที่มีทักษะในการบริหารจัดการในระดับสูง แม้จะปราศจากประสบการณ์ในการจัดการศึกษา แต่อาจจะประสบความสาเร็จในเป็นผู้นาทางการศึกษาก็ได้ และการนาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในสถานศึกษา จะทาให้เกิดความสาเร็จในการจัดการเรียนการสอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงเรียนที่ผู้บริหารโรงเรียนมีภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี จะมีความตั้งใจที่จะแสดง สมรรถนะด้านเทคโนโลยี แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีมีความจาเป็นและมีความสาคัญมากขึ้นในยุคปัจจุบันเนื่องจากการใช้เทคโนโลยีมี การขยายตัวอย่างกว้างขวาง และใกล้ชิดกับการทางานของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ทั้งในส่วนของฝ่ายการสอนและ ฝ่ายสนับสนุนมากขึ้น ภาวะผู้นาของผู้บริหารจึงได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและผู้นาจะต้องทาความ เข้าใจในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวด้วย ดังแนวคิดของ นิคม นาคอ้าย (2549: 47) กล่าวว่า ลักษณะของผู้นา ยุคใหม่ต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมองเห็นความสาคัญของเทคโนโลยีทั้งในปัจจุบันและอนาคต ดังนั้นผู้นา ยุคใหม่ต้องสามารถนาเอาเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาทรัพยากรและบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสอดคล้อง
  • 4. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 353 กับศูนยพัฒนาภาวะผูนาทางเทคโนโลยี (Center for Advance Study of Technology Leadership in Education: CASTLE) ไดพัฒนากรอบแนวคิดของภาวะผูนาทางเทคโนโลยีขึ้นมาประกอบดวย 6 ดาน ดังนี้ (CASTLE. 2009) 1) ความเป็นผู้นาและวิสัยทัศน์ (Leadershipand Vision) องค์ประกอบที่ใช้ในการกาหนดคุณลักษณะ ผู้นาทางเทคโนโลยีสาหรับผู้บริหาร ด้านความเป็นผู้นาและวิสัยทัศน์นั้น ผู้นาต้องมีลักษณะของการกระตุ้นให้ เกิดการผสานวิสัยทัศน์ สาหรับการใช้งานเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้และสนับสนุนส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศ และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการนาวิสัยทัศน์สู่ความเป็นจริงการเชื่อมต่อวิสัยทัศน์สู่ความสาเร็จต้อง อาศัยการรับรู้ของผู้ร่วมงานเกี่ยวกับความสาคัญและผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศด้วย โดยเมื่อ วิสัยทัศน์ของผู้นาถูกแสดงออกมาในทิศทางที่ถูกมองว่ามีความสาคัญ บุคคลอื่น ๆ ก็จะเข้ามามีส่วนร่วมใน วิสัยทัศน์นั้นด้วย (The Knowledge Loom, 2011: online) ส่วนแอนเดอร์สันและเด็กเตอร์ (Anderson & Dexter.2003: 3) ซึ่งทาการวิจัยในเรื่อง School Technology Incidencd and Impact ก็มีความเห็นใน ทานองเดียวกันว่าการผสานวิสัยทัศน์เป็นจุดเน้นสาคัญในการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษา ผลจากการวิจัยของแอนเดอร์สัน และเด็กซ์เตอร์ ยืนยันว่า การบรรลุผลสาเร็จในการนาเทคโนโลยีสู่การปฏิบัติ ขึ้นอยู่กับการผสานเป้าหมายที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันภายในองค์การในการผสานวิสัยทัศน์สู่การ ปฏิบัติ ศูนย์วางแผนทางเทคโนโลยีระดับชาติ (National Center for Technology Planning) ได้จาแนกการ ผสานวิสัยทัศน์ออกเป็นลาดับขั้น และถูกกาหนดไว้เป็นคุณลักษณะของผู้นามาตรฐานระดับชาติทาง เทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหารประกอบด้วย (American Institude for Research, 2004: 18) ดังนี้ 1.1) ผู้นาต้องตระหนักถึงความสาคัญของวิสัยทัศน์ (Realizes the Importance of Vision) เป็นผู้มีบทบาท หลักในการสร้างให้เกิดขึ้น 1.2) ผู้นาต้องมีการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Sell that Vision) ผู้นาต้องเขียนข้อความ วิสัยทัศน์เพื่อกาหนดเป็นสัญญาณที่ต้องทา ซึ่งในการถ่ายทอดวิสัยทัศน์นั้น ผู้นาต้องสามารถอธิบายให้เกิด ความกระจ่างแจ้ง ทั้งแก่ผู้ร่วมงาน สมาชิกในชุมชนโดยการประกาศวิสัยทัศน์สู่สาธารณะ 1.3) ผู้นาต้องพัฒนา วิสัยทัศน์ สู่การปฏิบัติที่เป็นจริง (Make the Vision Reality) โดยการแปลงวิสัยทัศน์สู่แผนยุทธศาสตร์การ บริหารจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 1.4) ผู้นาต้องมีการประเมินวิสัยทัศน์ว่า สามารถบรรลุถึงได้มาก น้อยเพียงใด 1.5) ผู้นาต้องมุ่งมั่นในวิสัยทัศน์ว่าหากเกิดการบรรลุผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ ผู้นาอาจอาศัยชุมชน รอบโรงเรียนมาเป็นเครื่องช่วยธารงวิสัยทัศน์ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน (Sustain its Momentum within the Community) ทั้งนี้ฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 137) ได้กล่าวถึงผู้นา ลักษณะดังกล่าวว่า เป็นผู้นาแห่งการสร้างความสามารถ (Leader of Capacity Building) หรือสร้างผลสาเร็จ ให้เกิดขึ้นได้จากวิสัยทัศน์ของตน และได้กาหนดเป้าหมาย ภาระงาน และตัวชี้วัดความสาเร็จ ตามบทบาทผู้นา แห่งการสร้างความสามารถ และแนวคิดของ ของฮอวคคินส์และมาร์คัม (Kawkins;& Marcum, 2002: 130) ที่ กล่าวว่าการเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Artculate Vision) เป็นคุณลักษณะสาคัญประการหนึ่งของผู้บริหารในการ จัดการเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิผล ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ แนนซ์ (Nance, 2003: 434-467)
  • 5. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 354 ที่ทาการวิจัยเรื่องผู้บริหารโรงเรียนของรัฐกับการสร้างนโยบายทางเทคโนโลยี (Public School Administrators and Technology Policy Making) ซึ่งแนนซ์ให้เหตุผลสามประการในการอธิบายถึงความสาคัญของการนา วิสัยทัศน์สู่การสร้างนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนประกอบด้วย เหตุผลที่หนึ่ง ผู้บริหาร โรงเรียนสามารถเข้าถึงผลที่เกิดจากวิสัยทัศน์ได้อย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เหตุผลที่สอง เทคโนโลยี สารสนเทศทางการศึกษา มีความสาคัญและเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโอกาสที่ผู้บริหารสามารถตัดสินใจเชิง นโยบายได้อย่างถูกต้อง เหตุผลที่สาม เทคโนโลยีสารสนเทศทาให้ผู้บริหารมองเห็นการเชื่อมโยงวิสัยทัศน์สู่ นโยบายได้กว้างขวาง (Windespread) มากขึ้น สาหรับองค์ประกอบของวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีตามทัศนะของ (ไพฑูรย์ สินลารัตน์, 2553) ได้อธิบายถึงคุณลักษณะและพฤติกรรมของภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ ต้องมี ความสามารถในการกาหนดเป้าหมาย กาหนดสาระตามเป้าหมาย และกาหนดวิธีการตามเป้าหมายและสาระ นั้น ผู้นาเชิงวิสัยทัศน์จึงต้องมีความเก่ง รอบรู้ มีวิธีการพร้อมกันไป ไม่ใช่ชานาญเฉพาะวิธีการบริหารแต่ขาด ความรู้ในทิศทางหรือวิสัยทัศน์ สามารถแยกเป็นองค์ประกอบของภาวะผู้นาเชิงวิสัยทัศน์ที่สาคัญ ประกอบด้วย 1) มีการสร้างวิสัยทัศน์ (Formulating) 2) มีการเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulating) 3) มีการ ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Implementing) และ 4) การเป็นแบบอย่างที่ดี (Role Model) สรุปว่าผู้บริหารต้องมีความสามารถกาหนดเป้าหมาย สามารถกระตุ้นให้เกิดการผสานวิสัยทัศน์ และ สามารถสร้างเครือข่ายชุมชนให้ธารงไว้อย่างยั่งยืน เพื่อการเรียนรู้และส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศและ สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาที่เอื้อต่อการนาวิสัยทัศน์สู่ความเป็นจริง 2) การเรียนรู้และการสอน (Learning and Teaching) แนวคิดของเธลเบิร์ต แอล แดรค และวิลเลียม เอช โร (Drake; & Roe, 1986; อ้างถึงในเสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, 2543: 2 - 6) ที่ขยายทักษะของผู้นาออกเป็น 5ทักษะ ประกอบด้วยทักษะทางความคิดรวบยอด ทักษะทางมนุษย์ ทักษะทางเทคนิค และทักษะทางความรู้ ความคิด โดยทักษะที่สะท้อนคุณลักษณะด้านการเรียนรู้และการสอน คือ ทักษะการศึกษาและการสอน (Educational and instruction skills) นั่นเอง เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์, (2543) ได้เสนอว่า ทักษะด้าน การศึกษาและการสอนนั้น เป็นสิ่งจาเป็นอย่างยิ่งสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา ถ้าผู้บริหารไม่เข้าใจการศึกษา แล้วย่อมจะบริหารให้มีประสิทธิผลได้โดยยากตลอดจนผู้บริหารต้องเป็นผู้นาทางการสอน (Instructional Leader) ด้วย ดังงานวิจัยของ กมลวรรณ ชัยวาณิชศิริ, (2536) ที่ศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหารที่ สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นาทางวิชาการซึ่งเกี่ยวข้องการเรียนรู้ และการสอน เป็นตัวแปรที่สามารถทานายประสิทธิผลโรงเรียนเอกชนได้ และแนวคิดของฟลานาเก็นและ จาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 135) ที่สะท้อนแนวคิดหลักของผู้นาเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ด้านการ เรียนรู้และการสอน ตลอดจนแนวคิดของนักวิชาการอื่น ๆ ที่นาเสนอไปข้างต้นแล้ว คุณลักษณะของผู้นาด้าน การเรียนรู้และการสอน สามารถพิจารณาได้จากบริบทของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น งานวิจัยของยี (Yee. 2000 : 287 - 302) ซึ่งทาวิจัยเรื่อง Image of School Principals’Informationand Communications Technology Leadership ลักษณะงานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ อาศัยการสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนที่มีประสบการณ์ ในการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนนักเรียนและผู้ปกครองที่มีส่วน
  • 6. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 355 เกี่ยวข้อง ของประเทศแคนาดา นิวซีแลนด์และสหรัฐอเมริกา ผู้วิจัยใช้ผลจากการสัมภาษณ์มาจัดหมวดหมู่ คุณลักษณะผู้นาได้หลายหมวดหมู่ โดยคุณลักษณะในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และการสอนนั้น ยังได้ จาแนกออกเป็น 3 คุณลักษณะหลัก ดังนี้ (Yee. 2000: 293 - 294) 1) คุณลักษณะแห่งการมุ่งการเรียนรู้สู่การ สร้างวิสัยทัศน์ (Learning - focussed Envisioning) คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายคุณลักษณะของผู้บริหารที่ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้เพื่อกาหนดวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาบุคลากร นักเรียน และ ผู้ปกครองโดยให้ความสาคัญกับผู้นาว่าเป็นบุคคลที่เป็นผู้ลงทุนทางความคิดในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ เรียนการสอนและการเรียนรู้ 2) คุณลักษณะแห่งการเรียนรู้ในสิ่งที่ท้าทาย (Adventurous Learning) คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายความสาคัญของผู้บริหารว่า ต้องเป็นผู้เรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศจากผู้ร่วมงาน และเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยกลุ่มตัวอย่างผู้บริหารที่ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์จานวนหนึ่งระบุว่า ผู้บริหารถูก คาดหวังว่า ต้องมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในระดับหนึ่งเนื่องจากหากผู้บริหารไม่เรียนรู้ที่สร้าง ทักษะด้วยตนเอง จะเกิดความไม่เข้าใจในการบูรณาการสู่การเรียนการสอน 3) คุณลักษณะแห่งการถ่ายทอด ความรู้อย่างอดทน คุณลักษณะดังกล่าว อธิบายลักษณะผู้บริหารว่า ต้องอยู่ใกล้ชิดกับห้องเรียน และเป็น แบบอย่างในการถ่ายทอดความรู้สู่ผู้เรียนภายใต้ความร่วมมือของบุคลากรผู้มีองค์ความรู้ทางเทคโนโลยี สารสนเทศ (ICT Literacy) สรุปว่า การเรียนรู้และการสอน ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างของการเรียนรู้และสร้างทักษะด้าน เทคโนโลยี และการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ มีการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมืออย่างเหมาะสม และเกิด ประโยชน์สูงสุดต่อการเรียนการสอนของครู 3) ผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ (Productivity and Professional Practice) มาตรฐาน ระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology Standard for Administrators: NETS-A) พบว่า ได้มีการกาหนดให้ผู้นาสถานศึกษา ควรมีการดาเนินการดังนี้ (International Society for Technology in Education : 2002: online) 1) การกาหนดให้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นกิจวัตรปกติ 2) การสร้างทีมงานและกลุ่มการเรียนรู้ในองค์กรเพื่อนาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการ พัฒนางานที่ปฏิบัติ เพื่อสร้างผลิตภาพของงาน 3) การให้การช่วยเหลือทีมงานและกลุ่มการเรียนรู้ โดยการ สร้างโอกาสการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ แก่ผู้ที่นาเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนการสอน 4) การเข้ามา มีส่วนร่วม (Take part in) ในการพัฒนาแหล่งทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาวิชาชีพอย่างยั่งยืน (Sustained Professional Development) ทั้งนี้ ฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 314) ได้ กล่าวว่า เป็นผู้นาแห่งการสร้างเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาชีพ และได้กาหนด เป้าหมาย ภาระงาน และตัวชี้วัดความสาเร็จ ตามบทบาทผู้นาแห่งการสร้างเสริมความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาชีพ แนวคิดหลัก ตามมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology Standardfor Administrators: NETS-A) และแนวคิดของฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen;& Jacobsen, 2003: 134) ที่สะท้อนแนวคิดหลักของด้านผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพตลอดจนแนวคิดของ
  • 7. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 356 นักวิชาการอื่น ๆ ผู้นาควรต้องสร้างความมั่นใจว่าได้มีการนากระบวนการฝึกอบรมการนาเทคโนโลยีสู่การ ปฏิบัติ และการจัดสรรทรัพยากรที่จาเป็น (เช่นการจัดสรรระยะเวลาและงบประมาณสาหรับการฝึกอบรม) เข้า มาในแผนปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพด้วย (The Knowledge Loom, 1999: online) ทั้งนี้ ในประเด็นที่พบว่า มาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีทางการศึกษา สาหรับผู้บริหาร ด้านผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ เป็นมาตรฐานที่ได้รับการตอบรับจากกลุ่มตัวอย่างว่ามีความสาคัญประมาณร้อยละ 30 โดยความต้องการ ดังกล่าว มุ่งให้ครูและบุคลากรในสถานศึกษา ใช้ประโยชน์จากศักยภาพของเทคโนโลยีอย่างเต็มที่ในการพัฒนา วิชาชีพ อันนาไปสู่การสร้างผลิตภาพเชิงบวกนั่นเอง (American Institute for Research, 2004: 22) สรุปว่า ผลิตภาพและความชานาญเชิงวิชาชีพ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการประยุกต์เทคโนโลยี ในการเพิ่มขยายขีดความสามารถเชิงวิชาชีพและสร้างโอกาสการพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาชีพ อันนาไปสู่ การเพิ่มผลิตภาพ ความเป็นองค์กรวิชาชีพต้นแบบในการนาเทคโนโลยีมาใช้ในสถานศึกษา 4) การสนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัติ (Support Management and Operation) การ สนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัตินั้น มุ่งเน้นความสามารถในการชักนา โน้มน้าว และส่งเสริม บูรณาการเทคโนโลยีสารสนเทศภายใต้การบริหารจัดการของผู้บริหาร สู่ระบบบริหารงาน โรงเรียนที่เชื่อมโยง ไปสู่การจัดการเรียนรู้ ภายใต้ความร่วมมือของทุกฝ่ายที่มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถจัดการให้เกิดความเข้ากันได้ หรือผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบาย ตลอดจนการกระจายงบประมาณและทรัพยากร ต่าง ๆ ในการดาเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ ผู้นาต้องสร้างระบบสนับสนุน ส่งเสริมที่กระตุ้นให้เกิดความต้องการผลิตชิ้นงานที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น และคอยใส่ใจดูแลให้ ความต้องการนั้นดารงอยู่ตลอด โดยในการสนับสนุนให้ครูพยายามนาเทคโนโลยีมาใช้ในห้องเรียน ต้อง พิจารณาถึงความพยายามชักนาโน้มน้าวผู้ที่ไม่เต็มใจหรือลังเล ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศด้วย (The Knowledge Loom, 2011) ทั้งนี้องค์ประกอบที่ใช้กาหนดคุณลักษณะภาวะผู้นาทางเทคโนโลยีสาหรับ ผู้บริหารด้านการสนับสนุน ส่งเสริมการจัดการและการปฏิบัติ ตามมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีทางการ ศึกษาสาหรับผู้บริหารประกอบด้วย (International Society for Technology in Education, 2002) 1) การ จัดการให้เกิดความเข้ากันได้หรือผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศและนโยบาย 2)การกระจาย งบประมาณและทรัพยากรต่าง ๆ ในการปฏิบัติตามแผนเทคโนโลยีสารสนเทศของโรงเรียนอย่างเป็นระบบ 3) การบูรณาการแผนเทคโนโลยีสู่แผนยุทธศาสตร์และแผนพัฒนาอื่น ๆ ของโรงเรียนโดยความตระหนักถึงอาจ และพลังจากการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีใหม่ 4) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเป็นระบบและ ต่อเนื่อง และสนับสนุนการนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียนมาใช้แทนระบบเดิม ทันทีที่มีความต้องการ ดังผลงานวิจัยของ AIR (American Institude for Research, 2004: 23) ที่ระบุว่า การ สนับสนุน ส่งเสริม การจัดการและการปฏิบัติ เป็นองค์ประกอบสาคัญของผู้บริหารโรงเรียนถึงร้อยละ 22 ตาม ความเห็นของกลุ่มตัวอย่าง หากการบูรณาการเทคโนโลยีได้รับการส่งเสริม มีการจัดระบบบริหารจัดการและ สนับสนุนด้านทรัพยากรจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องจนสามารถนาสู่การปฏิบัติอย่างเพียงพอ (Availability) ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นไปในทางบวก
  • 8. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 357 สรุปว่า การสนับสนุนการจัดการและการปฏิบัติ ผู้บริหารต้องมีความสามารถในการชักนา โน้มน้าว และส่งเสริมบูรณาการเทคโนโลยีในการบริหารงานโรงเรียน และการจัดการเรียนรู้ภายใต้ความร่วมมือของทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถจัดการให้เกิดความเข้ากันได้หรือผสมกลมกลืนระหว่างเทคโนโลยีและนโยบาย 5) การวัดผลและการประเมินผล (Assessment and Evaluation) International Society for Technology in Education: ISTE.(2009) ได้กาหนดมาตรฐานระดับชาติทางเทคโนโลยีสาหรับผู้บริหารด้าน การวัดผลและการประเมินผล ไว้ดังนี้ 1)ใช้เทคโนโลยีในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล แปลผลการวิเคราะห์ และเชื่อมโยงสู่การสร้างข้อสรุปเพื่อนาไปใช้ในการบริหาร การพัฒนาการสอนและการเรียนรู้ 2)ใช้เทคโนโลยี ในการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาวิชาชีพครูเป็นรายบุคคล 3)ใช้เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและประเมินระบบ การบริหารจัดการภายในสถานศึกษา American Institute for Research: AIR (2009) ที่ระบุว่า มาตรฐาน ระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหารด้านการวัดและการประเมินผล ไว้ดังนี้ 1) ใช้เทคโนโลยีใน การเก็บรวบรวมข้อมูลและแปลผลการวิเคราะห์ 2) ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของ นักเรียน 3) ใช้เทคโนโลยีในการวินิจฉัยและประเมินระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา และ 4)ประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในสถานศึกษา ส่วนนิคม นาคอ้าย (2549) แสดงทัศนะว่า ภาวะผู้นาเชิง อิเล็กทรอนิกส์ด้านการวัดผลและการประเมินผล ผู้นาต้องสามารถพัฒนาระบบการประเมินการบริหารจัดการ และการปฏิบัติงานรูปแบบใหม่โดยอาศัยเทคโนโลยีในการเก็บรวบรวม วิเคราะห์และแปลผลการวิเคราะห์ ตลอดจนการประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ในสถานศึกษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะนาไปสู่การบริหาร และจัดการเรียนการสอนให้บรรลุผลตามที่ตั้งไว้ สาหรับ คอซโลสกี (Kozloski, 2006) แสดงทัศนะว่า ภาวะ ผู้นาเชิงเทคโนโลยีด้านการวัดผลและการประเมินผล ผู้นาต้องสามารถใช้เทคโนโลยีในการเก็บ รวบรวมข้อมูล และแปลผลการวิเคราะห์ ใช้เทคโนโลยีในการวัดผลและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ใช้เทคโนโลยีในการ วินิจฉัยและประเมินระบบการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาและประเมินคุณภาพของเทคโนโลยีที่ใช้ใน สถานศึกษา สาหรับการประเมินผลการใช้เทคโนโลยีมีความแตกต่างจาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการ ประเมิน แต่ก็เป็นองค์ประกอบที่สาคัญอีกประการหนึ่งของคุณลักษณะผู้นาทางเทคโนโลยีของผู้บริหาร เนื่องจากเป็นการย้อนกลับไปประเมินการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประเมินอีกครั้งหนึ่ง (Anderson & Dexler, 2000: 26) โดยวีระ สุภากิจ (2539: 331 - 332) ได้กล่าวถึงการประเมินสารสนเทศว่า ประกอบด้วย การประเมินการจัดระบบสารสนเทศ ดังงานวิจัยของ ดอนเลวี (Donlevy, 2004: 213 - 217) ที่ ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเตรียมตัวรับอนาคตของผู้นา ที่ต้องการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศภายใน สถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติทางเทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (Nets-A) ทั้ง 6 มาตรฐาน ซึ่งมาตรฐานที่ 5 มุ่งเน้นความสามารถของผู้บริหารในการใช้วิธีการที่หลากหลายในการประเมินการ ใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลผลนาเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สิ่งที่ดอนเลวีได้ เสนอแนะเป็นแนวทางในการเตรียมตัวรับอนาคตคือ การประสานความร่วมมือกับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยที่ มีความพร้อมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการจัดโปรแกรมเสริมทักษะด้านเทคโนโลยีของผู้นาโดยต้องมีการ
  • 9. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 358 ประเมินทักษะการริเริ่มด้านเทคโนโลยีของผู้นา ซึ่งไม่ได้มุ่งไปที่ความเป็นผู้เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยีของ ผู้บริหาร แต่มุ่งสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นก่อนเป็นเบื้องต้น สรุปว่า การวัดผลและการประเมินผล ผู้บริหารต้องมีความสามารถนาเทคโนโลยีมาใช้ในการวัดผล และการประเมินผล เพื่อมาบูรณาการจัดการเรียนการสอนของครูผู้สอน ในสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งขึ้น 6) สังคม กฎหมาย และจริยธรรม (Social, Legal and Ethics Issues) ประเด็นด้านสังคม กฎหมายและ จริยธรรม นับเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ทวีความสาคัญเพิ่มมากขึ้นสาหรับผู้นาเชิงอิเล็กทรอนิกส์ในสถานศึกษา เนื่องจากโลกยุคข้อมูลข่าวสารและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ต้องอาศัยนวัตกรรมในการคุ้มครองข้อมูลและ ข้อตกลงรูปแบบใหม่ในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างหลักประกันว่าจะสามารถใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงานได้ อย่างเหมาะสม ปลอดภัย และมีประสิทธิผล (The Knowledge Loom, 1999: online) สิ่งที่ผู้นาต้องใส่ใจจึง ประกอบด้วย การกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานและตัวผู้นาเอง ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลที่เหมาะสม คานึงถึงความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ การคุ้มครองข้อมูลสารสนเทศ และทรัพย์สิน ทางปัญญา (American Institute for Research, 2004: 24) แนวคิดหลักตามมาตรฐานระดับชาติทาง เทคโนโลยีการศึกษาสาหรับผู้บริหาร (National Educational Technology Standard for Administrators: NETS-A) และแนวคิดของฟลานาเก็นและจาคอบเซ็น (Flanagen; & Jacobsen, 2003: 137) ที่สะท้อน แนวคิดหลักของด้านสังคม กฎหมาย และจริยธรรมตลอดจนแนวคิดทางวิชาการอื่น ๆ ประเด็นทางกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ผู้นาต้องศึกษาและทาความเข้าใจ ในบริบทของไทย สรุปว่า สังคม กฎหมาย และจริยธรรม ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยี การ ส่งเสริมและบังคับใช้มาตรการเกี่ยวกับความปลอดภัยการสนับสนุนและจัดให้เกิดสภาพแวดล้อมในการ ปฏิบัติงานที่ปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีในสถานศึกษา แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี การพัฒนาการของเทคโนโลยีที่ทาให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ของการทางานความสามารถในการ ควบคุมเทคโนโลยีให้สนองนโยบายและความต้องของผู้บริหารเป็นสิ่งที่ท้าทายนักบริหารในปัจจุบันเป็นอย่าง มาก ในระยะเริ่มต้นการใช้เทคโนโลยีผู้บริหารบางท่านต่อต้านและชะลอการขยายตัวของการใช้เทคโนโลยี เพื่อให้องค์การและตนเองมีการปรับตัว แต่ในปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของการทางานในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับแรงงานจนถึงระดับวิชาชีพชั้นสูง การขยายตัวการใช้เทคโนโลยีไปสู่ผู้ปฏิบัติงานในระดับต่าง ๆ ผู้บริหารจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ของการทางานในสิ่งแวดล้อมที่ใช้เทคโนโลยีมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงกระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร การปรับตัวให้ทันเพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา รวมทั้ง แบบแผน วิธีการและกระบวนทัศน์ในการทางานที่เปลี่ยนไปเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจาเป็นต้องมีความรู้ ทักษะและ วิสัยทัศน์ เพื่อจะสามารถทางานได้ในสังคมยุคเทคโนโลยี (กฤษมันต์ วัฒนณรงค์, 2549: 67)
  • 10. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 359 1. ความรู้เรื่องเทคโนโลยีของผู้บริหาร คาว่า สารสนเทศ (Information) หมายถึง สาระความรู้ ความ จริงที่สามารถนาไปใช้ถ่ายทอดสื่อสาร นาไปใช้ศึกษาเพื่อเรียนรู้หรือเก็บรวบรวมได้ การบริหารจัดการ เทคโนโลยีในการเรียนการสอนจะประสบความสาเร็จมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับขีดความสามารถด้าน เทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งต้องแน่ใจว่ามีการบูรณาการเทคโนโลยีในการเรียนการสอนได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ปัจจัยที่จะต้องพิจารณาเพื่อให้การใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอนประสบความสาเร็จได้อย่าง ต่อเนื่องได้แก่ ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ต่าง ๆ การใช้ข้อมูลเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน การสร้าง สภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยี การจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้งานเดินต่อ การปรับปรุงระบบอย่าง ต่อเนื่องและวัฎจักรการทดแทน การติดตามและประเมินผลการใช้เทคโนโลยี 2. ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ขีดความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการบริหารจัดการเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนและการบริหารงานในโรงเรียน มีข้อควร พิจารณา 4 ประการดังนี้ 2.1 ขีดความสามารถในการจัดหาทรัพยากร ได้แก่ ความสามารถเสาะหา เปรียบเทียบ ต่อรองเลือก เทคโนโลยีที่ตรงกับความต้องการ 2.2 ขีดความสามารถในการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพขึ้น วัดได้จากวิธี ปฏิบัติในการบริหารจัดการว่าสามารถใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการเรียนการสอน และการบริหารงานได้เต็ม ศักยภาพก่อนที่จะล้าสมัยหรือไม่ การสนับสนุนด้านการเรียนการสอน ได้แก่ การบารุงรักษาการพัฒนาทักษะ ของครูและเจ้าหน้าที่การจัดตารางการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ตลอดจนการจัดหาเจ้าหน้าที่ คอยอานวยความสะดวกให้กับครูและนักเรียน ส่วนการใช้เทคโนโลยีในการบริหารงาน ได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล การปรับปรุงข้อมูลให้เชื่อถือได้และเป็นปัจจุบัน การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ และการเปลี่ยนแปลง กระบวนการทางานแบบเดิมของครูและเจ้าหน้าที่ในโรงเรียนให้สามารถทางานร่วมกับเทคโนโลยีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ 2.3 ขีดความสามารถในการเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนของครูในโรงเรียน หมายถึง ความสามารถในการ สนับสนุน พัฒนาหรือส่งเสริมให้ครูในโรงเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ในการนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ ดัดแปลง ปรับแต่ง หรือค้นหาวิธีการประยุกต์ใช้นวัตกรรมใหม่ที่ดีกว่า 2.4 ขีดความสามารถในการติดตาม ประเมินและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพิจารณาจากกระบวนการ ติดตามตรวจสอบผลการดาเนินงานเพื่อให้แน่ใจว่าการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่กาหนดขึ้น หรือไม่ 3. การจัดการเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมทางการเรียน สถานศึกษาในยุคปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก อิทธิพลของความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทาให้ สภาพแวดล้อมทางการเรียนการสอนและสถานการณ์ของการเรียนการสอนแตกต่างไปจากเดิม การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อการบริการและการจัดการสภาพแวดล้อมทางการเรียน ซึ่งจาเป็นต้อง
  • 11. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 360 เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยสภาพแวดล้อมทางการเรียนในสถานศึกษาปัจจุบันถูกกาหนดด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการ พิจารณานาเข้ามาใช้ การนาเทคโนโลยีเข้ามาใช้ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อสถานศึกษาอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ 3.1 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต (Technology Alters Orientation) สถานศึกษา สภาพของ ผู้เรียนและผู้สอนได้รับอิทธิพลจากเทคโนโลยี มีลักษณะของการใช้ชีวิตในฐานะผู้เรียนและผู้สอนเปลี่ยนไป วิถี ชีวิตของทั้งผู้เรียนและผู้สอนผูกพันและขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีมากขึ้น 3.2 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงวิธีการ(Technology Alters Techniques) วิธีการเรียนการสอนใน สถานศึกษาปัจจุบันมีหลายรูปแบบหลายลักษณะ และในจานวนรูปแบบต่าง ๆ ของการเรียนเหล่านั้น จาเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยี 3.3 เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของการเรียน(Technology Alters Situations of Learning) การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ของการเรียนในสถานศึกษาเป็นสภาพใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับนาเทคโนโลยีใหม่ เข้ามาใช้ บทสรุป ภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี เป็นทักษะที่จาเป็นสาหรับผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของ สถานศึกษา รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิสัยทัศน์การใช้เทคโนโลยีและ เผยแพร่วิสัยทัศน์อย่างกว้างขวาง และมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน มีความรู้ในการใช้ เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการยกระดับการเรียนการสอนให้เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร เพื่อนาไปสู่ผลสัมฤทธิ์ สูงสุดของนักเรียน ดังงานวิจัยของ Anderson & Dexter, (2005: 60) ได้วิเคราะห์อิทธิพลของคุณลักษณะ ผู้นาและโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่มีประสิทธิผล ข้อค้นพบที่มีความสาคัญอย่างยิ่งประการหนึ่งคือ แม้ โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีจะมีความสาคัญต่อประสิทธิผลการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในการจัดการ เรียนการสอน แต่คุณลักษณะผู้นาของผู้บริหารยิ่งมีความจาเป็นมากกว่า จึงบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงคุณลักษณะ ผู้นาที่ส่งผลต่อผลลัพท์ในการบริหารจัดการเทคโนโลยีในสถานศึกษามากกว่าการลงทุนทางโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความเพียงพอและความพร้อม ของอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบเครือข่าย ที่สนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน ของผู้บริหารสถานศึกษาร่วมกับคณะกรรมการเทคโนโลยี การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีแม้จะมีความ ซับซ้อนและได้รับอิทธิพลจากตัวแปรต่าง ๆ ทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษา แต่เป็นกระบวนการที่มี ระยะเวลาชัดเจนและให้ผลการพัฒนาที่คุ้มค่า ซึ่งหากนาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีเป็นตัวแปรที่ ใช้ทานายประสิทธิผลภาวะผู้นาเชิงเทคโนโลยีจะทาให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการ ภายในองค์กรได้ดียิ่งขึ้น
  • 12. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 361 References Alan, Seay D. (2004). A Study of the Technology Leadership of Texas high School Principals. Retrieved 28, 2005 from http://proquest.umi.com/pqdweb?did= 765816391&sid=1&Fmt=2&clientId=47903&RQT=309&VName=PQD American Institute for Research.(2004). Evaluation of the School Technology Leadership Initiative: External Evaluation Report#1. University of Minnesota. Anderson, R. E., & Dexter, S. L. (2000). School technology leadership: Incidence and impact. Retrieved from ERIC database. (ED449786) Suviriyasan Chaiyanitsiri, Kamolwan (1993). Factors related to management related to performance. Private school. for the Doctor of Education Degree in Educational Administration at Srinakharinwirot University. Castle. (2009). Principal Technology Leadership Assessment. Retrieved Jun, 2014, from http://schooltechleadership.org/wordpress/wpcontent/uploads/2010/02/ptla_info_ packet.pdf. Creighton, t. (2003). The principal as technology leader. Thousand Oaks, CA: Corwin Press. Donlevy,J.(2004, March). Preparing Future Educational Leader: Technology Standards for School Administrators. Journal of Instructional media. 31(3): 213-217 Dede, C. (1994). Leadership without followers. In G. Kearsley, & W. Lynch (Eds.), Educational technology leadership perspectives. (pp.19-28). New Jersey: educational Technology Publications. Dexter, S. & Anderson R.E. (2003 March). Preparing new teachers for schools where technology improves learning: Video cases from a national study. Presentation at the Education Technology conference sponsored by ArtsConnectedEd and the University of Minnesota, Minneapolis, Minnesota. Farkas, S. et al. (2001). Trying to stay ahead of the game: Superintendents and principals talk about school leadership. New York: Public Agenda. Flanagan, L., & Jacobsen, M. (2003). Technology leadership for the twenty-first century principal. Journal of Educational Administration, 41(2), 124-142.
  • 13. Dusit Thani College Journal Vol. 12 No. 1 January - April 2018 School Administration by Technology Leadership 362 International Society for Technology in Education.(2002). National educational Technology standards for administrators. Retrieved September 14,2011, form http://www.iste.org/stabdards/nets-for-administrators.ospx. Kaewmesri, Benjaporn. (2002). Presentation of leadership development characteristics of executive leadership College of Nursing Under the Ministry of Public Health for Doctor of Philosophy thesis,Chulalongkorn University. kawkins,B.L.;&Marcum,D.B.(2002).Leadership Challenges for the Campus and the Profession. San Francisco: Jossey-Bass. Ministry of Information and Communication Technology.(2009) Master Plan for Information and Communication Technology (No. 2), Thailand, 2009-2013. Nakai, Nikom. (2006)The Factor of E-Leadership Characteristics and Factors Affecting E-leadership Effectiveness for Basic Education Principals. Prsesented in Partial Fulfillment of Requirements for the Doctor of Education Degree in Educational Administration at Srinakharinwirot University. Nance,J.P. (2003). Educational Administration Quarterly. Public school administrators. And Technology Policy Making Pulley, M., Sessa, V., & Malloy, M. (2002). E-leadership. Retrieved June 27, 2003, from http://www.scotland.gov.uk/library5 /education/cpd_leader.pdf Sinararat, Paitoon. (2010). Creative Leaders and Producers. : New paradigms and new leaders in education Bangkok: Chulalongkorn University Press. Stegall, Patricia. (1998). The Pricipal-Key to Technology Implementation. Retrieved January 28, 2006 from http://eric.ed.gov/ERICDocs/data/ericdocs2/content_storage_01/0000000b /80/11/26/af.pdf Supakit, Vira. (1996). Management Information System: School Behavior.Bangkok: Suviriyasan The Knowledge Loom. (1999). Leadership Principles in Technology. Retrieved September 11,2011, fromhttp://knowledgeloom. Org/practices3.jsp?t=1&bpinterid=1050&sportinghtid=1050&testflag=yes Valdez, Gilbert. (2005). Technology Leadership: Enhanceing Positive Educational Change. Retrieved December 13, 2005 from http://www.ncrel.org/ sdrs/areas/issues/ educatrs/ leadership/le700.htm
  • 14. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2561 การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นาทางเทคโนโลยี 363 Visalaporn, Sermsak. (2000) Leadership in theoretical series, theory and practice in management. Unit 5, Pages 96-97, Nonthaburi, Sukhothai Thammathirat Open University Education Whatananarong, Krismant . (2006). Vocational Education Technology. Bangkok: Sinthavee Press. Yee, D. L. (2000). Images of school principals’ information and communications technology leadership. Journal of Information Technology for Teacher Education, 9(3), 287–302 Sununta somjai, Master of Education degree in Education Research and Measurement at Srinakharinwirot University, Ph.D. Candidate in Applied Behavioral Secience Reserch Institue, Srinakharinwirot University Position Personnel Educational and Phychological Test Bureau, Srinakharinwirot University Assistant Professor Dr.Wichuda Kijthorntham Ph.D., Degree of Doctor of Philosophy Faculty of Education, Educational Research Methodology Chulalongkorn University Position Director Educational and Phychological Test Bureau, Srinakharinwirot University.