SlideShare a Scribd company logo
1 of 14
Download to read offline
การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
  และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
          The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for
 Instructor and Supporting Staff of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

                                                                   ดร.ปณิตา วรรณพิรณ*ุ
                                                               ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข**

 บทคัดย่อ
         การวิจยครังนีมวตถุประสงค์เพือพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย
               ั ้ ้ ีั             ่
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุมตัวอย่าง
                                                                               ่
คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 80 คน แบ่งเป็น
สายวิชาการ 40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน เครืองมือทีใช้ในการวิจย คือ เว็บฝึกอบรม
                                                      ่      ่       ั
สมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการและคู่มือ แบบวัดผล
สัมฤทธิ์การฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ t-Test Dependent
       ่
         ผลการวิจย พบว่า
                  ั
         1. เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ประกอบด้วยเนือหา 5
                                                                                 ้
ตอน เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ประกอบด้วยเนือหา ้
5 ตอน
         2. รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของ
รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ 2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) วิธการและกิจกรรมฝึกอบรม
                                                                ี
และ 4) การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรมบนเว็บ แบ่งเป็น 3 ขันตอน คือ
                                                                             ้
1) ขันก่อนการฝึกอบรม 2) ขันการฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบกิจกรรม
     ้                       ้                                             ู
การเรียนการสอนแบบ MIAP 4 ขันตอน คือ ขันสนใจปัญหา ขันศึกษาข้อมูล ขันพยายาม และ
                                ้              ้           ้             ้
ขันสำเร็จผล และ3) ขันสรุปผลการฝึกอบรม
  ้                   ้

* อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเพือการศึกษา คณะครุศาสตร์อตสาหกรรม
                                               ่      ่                      ุ
       มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
**ผูชวยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเพือการศึกษา คณะครุศาสตร์
    ้่                                                  ่      ่
       อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
116
วารสารวิทยบริการ                                         การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕               ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                      ุ


         3. พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรม
                                                                         ์
สมรรถนะวิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 และมีความพึงพอใจ
                                           ั              ิ ่ี
ในใช้เว็บฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ: เว็บฝึกอบรม, สมรรถนะวิชาชีพ, MIAP, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
         พระนครเหนือ

 Abstract
          The purpose of the research study was to develop web-based training for developing job
competencies of instructors and supporting staffs of King Mongkut’s University of Technology
North Bangkok (KMUTNB). The sample groups of the study were 40 instructors and 40 staffs
of KMUTNB. The research tools were the web-based training for developing job competencies
and manual of instructors and staffs, the training achievement test, and the instructors and staffs
satisfaction questionnaire. The data were analyzed using the arithmetic mean, the standard deviation,
and t-Test for dependence.
The results of the study revealed those:
          1. The web-based training for developing job competencies of instructors consisted of
five units.
          2. The e-training model consisted of four components were: 1) principles, 2) objectives,
3) instructional process and 4) evaluation. The e-training process was divided into three stages:1)
the preparation before e-training, 2) the e-training with MIAP learning process which was
divided into four stages: Motivation, Information, Application, and Progress, and 3) the summarizing
of the results of training
          3. The instructors and staffs trained with the web-based training for developing instructors’
job competencies had statistically significant difference of the training achievement posttest scores
over the pretest scores at .01 level. The instructors and staffs agreed that learning with the
web-based training was appropriate in a high level.

Keywords: Web-Based Training, Job Competencies, MIAP, King Mongkut’s University of
          Technology North Bangkok
117
วารสารวิทยบริการ                                            การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕                 ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                         ุ


1. บทนำ
           มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา
สมรรถนะวิชาชีพของบุคลากรทีเข้ามาปฏิบตราชการซึงเป็นกลไกสำคัญยิงในการสนับสนุนการปฏิบติ
                                            ่          ั ิ             ่           ่                        ั
งานและช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต โดยจัดให้มีฝึกอบรมเพื่อพัฒนาให้พนักงาน
มหาวิทยาลัยสายวิชาการได้ตระหนักถึงบทบาท หน้าทีความรับผิดชอบของตนเองและเข้าใจถึงวิธการสอน
                                                                     ่                                ี
องค์ประกอบของการจัดการศึกษา กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
และพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมีความรู้ ความสามารถและมีทกษะในการคิด             ั
วิเคราะห์งาน สามารถจัดทำคูมอการปฏิบตงานในตำแหน่งของตนเอง อันจะส่งผลดีตอการปฏิบติ
                                           ่ ื          ั ิ                                       ่       ั
งานและมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต
           เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) เป็นเครืองมือในการพัฒนาการฝึกอบรมได้
                                                                             ่
อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมบนเว็บเพือสนับสนุนการเรียนรูทกระตือรือร้น เนืองจาก
                                                                           ่           ้ ่ี             ่
เว็บเอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษา กระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดงความคิดเห็นได้ตลอดเวลา
เป็นมิตใหม่ของเครืองมือและกระบวนการในการฝึกอบรม [1]
         ิ              ่
           วิธสอนแบบ MIAP คือ กระบวนการทีผสอนจัดประสบการณ์การเรียนรูโดยผ่านขันตอนสำคัญ
              ี                                             ่ ู้                         ้      ้
4 ขันตอน คือ 1) ขันสนใจปัญหา (Motivation) 2) ขันศึกษาข้อมูล (Information) 3) ขันพยายาม
    ้                     ้                                              ้                          ้
หรือขั้นของการนำมาใช้ (Application) และ 4) ขั้นสำเร็จผล (Progress) เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุ
วัตถุประสงค์การเรียนรูทกำหนดไว้ และสามารถพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพได้ [2]
                              ้ ่ี
           พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
เกล้าพระนครเหนือ เป็นกลุมบุคคลทีมทกษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างดี มีความพร้อม
                                   ่             ่ ี ั
ทีจะปรับวิธเรียนรู้ เปลียนวิธสอนและต้องการอบรมพัฒนาความรูอยูเสมอ เพือตอบสนองต่อความ
  ่             ี           ่        ี                                         ้ ่          ่
ต้องการในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงดำเนินการ
พัฒนาเว็บฝึกอบรมเรื่องสมรรถนะวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรมพนักงานมหาวิทยาลัยสาย
วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสำหรับการพัฒนา
บุคลากรต่อไป
                  1.1 วัตถุประสงค์การวิจย            ั
                       1.1.1 เพือศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาฝึกอบรมสมรรถนะพนักงามหาวิทยาลัย
                                       ่
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ.
                       1.1.2 เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ
สายสนับสนุนวิชาการ มจพ.
                       1.1.3 เพือศึกษาผลสัมฤทธิกอนและหลังการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงาน
                                         ่                       ์ ่
มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ.
                       1.1.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในใช้เว็บฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสาย
วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ.
                  1.2 สมมติฐานการวิจย          ั
                       1.2.1 พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรมสมรรถนะ
                                                                                     ์
วิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
118
วารสารวิทยบริการ                                              การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕                   ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                          ุ

                1.2.2 พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรม
                                                                      ์
สมรรถนะวิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
          1.3 ขอบเขตการวิจย    ั
                1.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
                ประชากร คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
พระนครเหนือ ทีอยูระหว่างการทดลองปฏิบตราชการ อายุราชการไม่เกิน 3 ปี 154 คน แบ่งเป็น
              ่ ่                       ั ิ
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 94 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 60 คน
                กลุมตัวอย่าง คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
                   ่
พระนครเหนือ ทีอยูระหว่างการทดลองปฏิบตราชการ อายุราชการไม่เกิน 3 ปี 80 คน แบ่งเป็น
               ่ ่                       ั ิ
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน โดยการสุมอย่างง่าย
                                                                          ่
                1.3.2 ตัวแปรในการวิจัย
                ตัวแปรอิสระ คือ เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
                ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิการฝึกอบรม และความพึงพอใจ
                                             ์
          1.4 กรอบแนวคิดการวิจย     ั

                              เว็บฝกอบรม                           สมรรถนะวิชาชีพ
                        (Horton, [3]; Driscoll, [4])          (Mitrani, Dalziel and Fitt, [5];
                                                               Spencer and Spencer,[6])
                   -   การออกแบบเว็บฝกอบรม                   - สมรรถนะวิชาชีพพนักงาน
                   -   รูปแบบของเว็บฝกอบรม                     มหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                   -   องคประกอบของเว็บฝกอบรม               - สมรรถนะวิชาชีพพนักงาน
                                                                มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน
                   -   วิธีการใชเว็บฝกอบรม                    วิชาการ

                       รูปแบบการฝกอบรมบนเว็บ                  การเรียนการสอนรูปแบบ
                         (Horton, [3]; Driscoll, [4])                    MIAP
                                                                (สชาติ ศิริสขไพบลย [2])
                   1. องคประกอบรูปแบบการฝกอบรม
                      บนเว็บ                                  1. ขั้นสนใจปญหา (Motivation)
                   2. ขั้นตอนการฝกอบรมบนเว็บ                 2. ขั้นศึกษาขอมูล (Information)
                       2.1 ขั้นกอนการฝกอบรม                 3. ขั้นพยายาม (Application)
                       2.2 ขั้นการฝกอบรม (MIAP)              4. ขั้นสําเร็จผล (Progress)
                       2.3 ขั้นสรุปผลการฝกอบรม
                   3. การวัดและประเมินผลการฝกอบรม


                        เว็บฝกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                   และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ
รูปที่ 1 กรอบแนวคิดการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
         และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
119
วารสารวิทยบริการ                                  การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕        ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                ุ


2. วิธดำเนินการวิจย
       ี               ั
           การวิจยครังนีเป็นการวิจยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งการวิจยเป็น 3
                  ั ้ ้            ั                                                 ั
ระยะ คือ
           ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิดของเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
           1. สังเคราะห์เอกสารและงานวิจยทีเกียวข้องกับการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ
                                           ั ่ ่
(e-Training) ในประเด็นองค์ประกอบ ขันตอน กิจกรรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม
                                            ้
           2. ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ดังนี้
                2.1 สังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้องกับสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                                       ่ ่
เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์เชิงลึก
                2.2 สร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
(In-depth interview Form) ตรวจสอบความตรงเชิงเนือหาและความตรงเชิงโครงสร้างโดยผูเชียวชาญ
                                                      ้                             ้ ่
ด้านเนือหา จำนวน 5 ท่าน
         ้
                2.3 สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview: IDI) พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
จำนวน 15 ท่าน ในประเด็น “การจัดการความรูสมรรถนะวิชาชีพทีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                                                 ้              ่
ต้องการรู” โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
            ้
                2.4 สรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                2.5 สรุปกรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จากข้อมูล
ผลการสังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้อง และผลการสัมภาษณ์เชิงลึก
                            ่ ่
           3. ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสนับสนุนวิชาการ ดังนี้
                3.1 สังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้องกับสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                                      ่ ่
และสายสนับสนุนวิชาการ เพือกำหนดกรอบแนวคิดในการประชุมระดมสมอง
                                ่
                3.2 จัดประชุมระดมสมอง (Focus group discussion: FGD) หัวหน้างานบุคลากร
ทุกคณะ และกองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 46 ท่าน ในประเด็น “การจัดการ
ความรู้สมรรถนะวิชาชีพที่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการจำเป็นต้องรู้”
กำหนดวิธการวัดผลสัมฤทธิการฝึกอบรมและเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิการฝึกอบรมภายใต้โครงการ
              ี              ์                                      ์
จัดการความรู้ฝ่ายพัฒนาบุคลากรผ่าน e-Training แผนงานการจัดการความรู้ด้านผลิตบัณฑิต
ที่พึงประสงค์
                3.3 สรุปผลการประชุมระดมสมอง สมรรถนะวิชาชีพทีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
                                                                  ่
และสายสนับสนุนวิชาการ
                3.4 สรุปกรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสาย
สนับสนุนวิชาการ จากข้อมูลผลการสังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้อง และผลการประชุมระดมสมอง
                                                        ่ ่
120
วารสารวิทยบริการ                                 การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕        ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                               ุ


         4. สรุปกรอบแนวคิดในการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ.
         ระยะที่ 2 การพัฒนาของเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ
สายสนับสนุนวิชาการด้วยกระบวนการเรียนรูแบบ MIAP
                                           ้
         พัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ตามขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Design: ISD) [7] 5 ขันตอน ดังนี้
                                             ้
         1. ขันการวิเคราะห์ (Analysis)
                ้
         วิเคราะห์เนื้อหาการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสาย
สนับสนุนวิชาการ จัดทำแผนภาพมโนทัศน์ของเนือหา กำหนดหัวข้อของหน่วยเรียน หัวข้อหลักหัวข้อรอง
                                               ้
สร้างแผนภาพมโนทัศน์เป็นการเริ่มต้นขอบเขตเนื้อหา
         2. ขันการออกแบบ (Design)
              ้
             2.1 ออกแบบจุดประสงค์การฝึกอบรม เพือกำหนดวัตถุประสงค์ในแต่ละหัวข้อหลัก
                                                    ่
หัวข้อรอง และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
             2.2 ออกแบบโครงข่ายเนือหา (Content Network) แสดงการเชือมโยงและลำดับชันตอน
                                     ้                            ่                ้
เนื้อหา
             2.3 ออกแบบโมดูลของเนื้อหา (Module) เพื่อแสดงเนื้อหาแต่ละหน่วยในการอบรม
ประกอบด้วยหัวข้อหลักและหัวข้อรอง
             2.4 ออกแบบสตอรี่บอร์ดของเว็บฝึกอบรม
             2.5 ออกแบบยุทธศาสตร์การฝึกอบรมผ่านเว็บสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
และสายสนับสนุนวิชาการ ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ MIAP แบ่งออกเป็น 4 ขัน          ้
ตอน คือ
                    2.5.1 ขันสนใจปัญหา (Motivation)
                                  ้
                    2.5.2 ขันศึกษาข้อมูล (Information)
                            ้
                    2.5.3 ขันพยายาม (Application)
                                ้
                    2.5.4 ขันสำเร็จผล (Progress)
                              ้
         3. ขันการพัฒนา (Development)
                  ้
             3.1 พัฒนาเว็บฝึกอบรมด้วยโดยการจัดการเนื้อหาและกิจกรรมในระบบบริหารจัดการ
เรียนรู้
             3.2 พัฒนาคู่มือการใช้งานเว็บฝึกอบรมสำหรับผู้ดูแลระบบ และคู่มือการใช้งานเว็บ
ฝึกอบรม
             3.3 พัฒนาแบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงาน
มหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ
121
วารสารวิทยบริการ                                     การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕          ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                  ุ


          4. ขันการนำไปทดลองใช้ (Implementation)
                  ้
                 4.1 การทดสอบแบบหนึงต่อหนึง (One-to-one testing) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัย
                                       ่       ่
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 3 คน ใช้เว็บฝึกอบรมที่
                                           ่         ่           ่
พัฒนาขึน สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้งาน จากนันนำข้อมูลมาปรับปรุง
        ้                                                                   ้
แก้ไขข้อบกพร่องของเว็บฝึกอบรม
                 4.2 การทดสอบกับกลุ่มเล็ก (Small group testing) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัย
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 5 คน ใช้เว็บฝึกอบรมที่
                                         ่         ่           ่
ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้
งาน จากนันนำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของเว็บฝึกอบรม
             ้
                 4.3 การทดลองนำร่อง (Field trial) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ
สายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 15 คน ใช้เว็บฝึกอบรมทีปรับปรุงจากการ
                          ่        ่             ่                             ่
ทดสอบแบบกลุ่มเล็ก
                 4.4 หาคุ ณ ภาพของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ ์ ก ารฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน
มหาวิทยาลัยสายวิชาการ โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 15 คน ทำแบบวัดเพือหาคุณภาพ ่
ของแบบวัดโดยหาค่าความเทียง (Reliability) ด้วยสูตรการหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค
                                 ่                                        ์
(Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 หาค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง
 0.36-0.72
                 4.5 หาคุ ณ ภาพของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ ์ ก ารฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน
มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ 15 คน
ทำแบบวัดเพื่อหาคุณภาพของแบบวัดโดยหาค่าความเที่ยงด้วยสูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ
ครอนบาค ได้คาความเทียงเท่ากับ 0.86 หาค่าความยากง่ายอยูระหว่าง 0.45-0.75
                    ่          ่                                   ่
          5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation)
                 5.1 ประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา โดยนำเว็บฝึกอบรมและคูมอ ทีพฒนาขึน
                                                            ้                    ่ ื ่ ั       ้
เสนอให้ผเู้ ชียวชาญด้านเนือหา 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา
               ่             ้                                                               ้
และปรับปรุงตามเว็บฝึกอบรมและคูมอ ตามข้อเสนอแนะ
                                     ่ ื
                 5.2 ประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและด้านเทคนิค
โดยนำเว็บฝึกอบรมและคูมอ ทีพฒนาขึนเสนอให้ผเชียวชาญด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและ
                            ่ ื ่ ั          ้         ู้ ่
ด้านเทคนิค 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเว็บฝึกอบรมด้านการออกแบบระบบ
การฝึกอบรมและด้านเทคนิค และปรับปรุงตามเว็บฝึกอบรมและคูมอ ตามข้อเสนอแนะ
                                                                     ่ ื
122
วารสารวิทยบริการ                                    การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕          ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                 ุ


          ระยะที่ 3 การศึกษาผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสาย
วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
          การศึกษาผลของการใช้เว็บฝึกอบรมใช้แบบแผนการวิจยแบบ One Group Pretest-Posttest
                                                           ั
Design [8] ซึงมีขนตอนการดำเนินการดังนี้
                 ่ ้ั
          1. การเตรียมการก่อนการฝึกอบรม
               1.1 การเตรียมความพร้อมของสถานทีหอง ปฏิบตการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครืองคอมพิวเตอร์
                                              ่้      ัิ                         ่
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง
               1.2 เตรียมความพร้อมของแผนการจัดการฝึกอบรม ระบบบริหารจัดการเว็บฝึกอบรม
คูมอปฏิบตสำหรับผูเรียนและผูสอน และเครืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
  ่ ื      ั ิ         ้          ้         ่
          1.3ชี้แจงวัตถุประสงค์การฝึกอบรม ขั้นตอน การและกิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและ
ประเมินผล และฝึกปฏิบตการใช้ระบบบริหารจัดการเว็บฝึกอบรม
                            ั ิ
          2. การฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ทีพฒนาขึน
                                                             ่ ั   ้
               2.1 วัดคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรม
               2.2 ดำเนินการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ทีพฒนาขึน
                                                                      ่ ั      ้
               2.3 วัดคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการอบรม
               2.4 สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะ
          3. สรุปผลการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
               3.1 สรุปผลและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการ
ฝึกอบรม ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ด้วย t-test Dependent
               3.2 วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีต่อการฝึกอบรมโดย
ใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ โดยใช้คาเฉลียและส่วนเบียงเบนมาตรฐาน
                                         ่ ่             ่
          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
          1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพ
          2. แบบบันทึกการประชุมระดมสมองสมรรถนะวิชาชีพ
          3. แบบประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา ด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและ
                                                  ้
ด้านเทคนิค
          4. เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ
และคู่มือ
          5. แบบวัดผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม
          6. แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม
123
วารสารวิทยบริการ                                       การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕            ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                    ุ


3. สรุปผลการวิจย   ั
          ตอนที่ 1 สรุปกรอบแนวคิดเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย
             1.1 รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ
                     1.1.1 องค์ประกอบรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ประกอบด้วย 1) หลักการ
แนวคิด และทฤษฎีพนฐาน 2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) วิธการและกิจกรรมฝึกอบรม
                        ้ื                                             ี
และ 4) การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม
                     1.1.2 ขันตอนการฝึกอบรมบนเว็บ 3 ขันตอน คือ
                                ้                              ้
                     1) ขั้นก่อนการฝึกอบรม
                     2) ขันการฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบกิจกรรม
                            ้                                            ู
การเรียนการสอนแบบ MIAP แบ่งออกเป็น 4 ขันตอน คือ       ้
                           ช่วงที่ 1 ขันสนใจปัญหา (Motivation)
                                      ้
                           ช่วงที่ 2 ขันศึกษาข้อมูล (Information)
                                        ้
                           ช่วงที่ 3 ขันพยายาม (Application)
                                          ้
                           ช่วงที่ 4 ขันสำเร็จผล (Progress)
                                            ้
                     3) ขั้นสรุปผลการฝึกอบรม
                     1.1.3 การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม
             1.2 กรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน
วิชาการ ประกอบด้วย ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับ มจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ. และ
ประกาศ ก.พ.อ.
          ตอนที่ 2 สรุปผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
             2.1 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน
วิชาการ มจพ.
                     2.1.1 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จัดการ
เนื ้ อ หาและกิ จ กรรมด้ ว ยระบบบริ ห ารจั ด การเรี ย นรู ้ ข อง MOODLE เข้ า ถึ ง ได้ ท ี ่ http://
www.etraining.kmutnb.ac.th ประกอบด้วย 11 หัวข้อ คือ คำอธิบายเนือหาการอบรม วัตถุประสงค์
                                                                     ้
การอบรม หัวข้อหลัก หัวข้อรอง กระดานข่าว ห้องสนทนา กระดานเสวนา อภิธานศัพท์ แบบทดสอบ
ก่อนการอบรม แบบทดสอบหลังการอบรม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม
สมรรถนะวิชาชีพ เนือหาทีใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ แบ่งออก
                      ้ ่
เป็น 5 ตอน คือ ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับมจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ. และประกาศ
ก.พ.อ.
                     2.1.2 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ
จัดการเนือหาและกิจกรรมด้วยระบบบริหารจัดการเรียนรูของ MOODLE เข้าถึงได้ท่ี http://
           ้                                                ้
124
วารสารวิทยบริการ                                การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕      ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                             ุ


www.etraining.kmutnb.ac.th ประกอบด้วย 11 หัวข้อ คือ คำอธิบายเนือหาการอบรม วัตถุประสงค์
                                                               ้
การอบรม หัวข้อหลัก หัวข้อรอง กระดานข่าว ห้องสนทนา กระดานเสวนา อภิธานศัพท์ แบบทดสอบ
ก่อนการอบรม แบบทดสอบหลังการอบรม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม
สมรรถนะวิชาชีพ เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับมจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ.
และประกาศ ก.พ.อ.
                2.1.3 ผลการประเมิ น คุ ณ ภาพเว็ บ ฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน
มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ โดยผูเชียวชาญ แสดงดังตารางที่ 1
                                                   ้ ่

ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ

       การประเมินคุณภาพ            X         S.D.        ความเหมาะสม
       - ด้านเนื้อหา              4.78       0.42        มากที่สุด
       - ด้านการออกแบบ
          ระบบการฝึกอบรม          4.65       0.48        มากที่สุด
       - ด้านการออกแบบหน้าจอ      4.44       0.51        มาก
       - ด้านเทคนิค               4.75       0.44        มากที่สุด

       จากตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ พบว่า คุณภาพเว็บ
ฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพมีดานเนือหา ด้านเทคนิค และด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรม มีความ
                        ้ ้
เหมาะสมมากทีสด และด้านการออกแบบหน้าจอ มีความเหมาะสมมาก
            ุ่




รูปที่ 2 หน้าหลักเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน
         วิชาการ
125
วารสารวิทยบริการ                                 การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕     ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                             ุ




รูปที่ 3 หน้าหลักเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ

ตอนที่ 3 สรุปผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
           3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ
40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะ
วิชาชีพ แสดงดังตารางที่ 2-3 ดังนี้

ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิการฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการก่อนและ
                                    ์
หลังการอบรม
         ผลสัมฤทธิ์
         การฝึกอบรม คะแนนเต็ม            X          S.D.         t-test  Sig.
         ก่อนฝึกอบรม         40          23.20      4.02         20.04** .00
         หลังฝึกอบรม         40          32.54      2.71
**p < .01
         จากตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม
สมรรถนะวิชาชีพ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์การ
ฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01
                                               ั            ิ ่ี
126
วารสารวิทยบริการ                                    การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕          ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                 ุ


ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิการฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ
                                    ์
ก่อนและหลังการอบรม

        ผลสัมฤทธิ์
        การฝึกอบรม คะแนนเต็ม           X            S.D.      t-test    Sig.
        ก่อนฝึกอบรม         40         20.44        6.14      14.60** .00
        หลังฝึกอบรม         40         30.35        2.95
**p < .01
        จากตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม
สมรรถนะวิชาชีพ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมีคาเฉลียของคะแนนผลสัมฤทธิ์
                                                            ่ ่
การฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01
                                                  ั            ิ ่ี
            3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน
วิชาการ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมีความพึงพอใจต่อการ
ฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.56,
S.D. = 0.57)

          4. อภิปรายผล
               4.1 ผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
          เว็ บ ฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ 11 หั ว ข้ อ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ Kilby [9]
ทีกล่าวว่าเว็บฝึกอบรมควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) สือสำหรับนำเสนอ ได้แก่
     ่                                                                  ่
ข้อความ กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง 2) การปฏิสัมพันธ์ 3) การจัดการ
ฐานข้อมูล 4) ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์บอร์ด เช่น BBS, Web Board
จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ และการสนทนาผ่านเครือข่าย เนือหาที่ใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
                                                        ้
พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ 5 ตอน สอดคล้องกับแนวคิดสมรรถนะ
วิชาชีพของ เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ [10] แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) สมรรถนะหลัก 2)
สมรรถนะวิชาชีพ และ 3) สมรรถนะเชิงเทคนิค
          องค์ประกอบรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ขั้นตอนการฝึกอบรมบนเว็บ และการดำเนิน
กิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบ MIAP สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิสมรรถนะวิชาชีพได้ และ
                                ู                                     ์
ผูเข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจมาก สอดคล้องกับการวิจยของชลอ พลนิล [11] ทีพบว่า การ
   ้                                                        ั                       ่
จัดการเรียนรู้ MIAP เป็นวิธทเี่ หมาะสมสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูดานวิชาชีพ และอัครวุฒิ
                            ี                                             ้ ้
จินดานุรักษ์ [12] ที่พบว่า กระบวนการ MIAP 5 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาวิเคราะห์และออกแบบ
ขั้นเตรียมการสอน ขั้นปฏิบัติการสอน ขั้นบ่มเพาะ และ ขั้นประเมินผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนได้ และผูเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนมาก
                         ้
127
วารสารวิทยบริการ                                  การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
 ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕        ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                                ุ


           4.2 ผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ
        พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การฝึก
อบรมหลังฝึกอบรม สูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าเว็บ
                                           ั             ิ ่ี
ฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถด้านสมรรถนะวิชาชีพของพนักงานมหาวิทยาลัย
สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการได้ สอดคล้องกับ Piriyasurawong and Nilsook [13] ทีพบว่า
                                                                                  ่
เว็บฝึกอบรมสามารถผลสัมฤทธิการฝึกอบรม พฤติกรรมการเรียนรู้ การมีสวนร่วมในการฝึกอบรม
                            ์                                      ่
และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมได้

        5. กิตติกรรมประกาศ
        ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ณมน จีรงสุวรรณ ผศ.ดร.พัลลภ พิรยะสุระวงศ์ และ ศ.ดร.ชัยยงค์
                                    ั                       ิ
พรหมวงศ์ สำหรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ ขอขอบพระคุณ ผศ.คันธรส แสนวงศ์ คุณปราณี
เข็มวงศ์ทอง คุณวรรณวิภา จินดาพันธ์ไพศาล และกองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ พนักงาน
มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทุกท่านทีสละเวลาอันมีคาเข้าร่วมโครงการวิจยเพือ
                                                   ่            ่                  ั ่
ศึกษาผลการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ขอขอบคุณ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำหรับทุนสนับสนุนนักวิจยทัวไป ประจำปี 2552
                                                                   ั ่

        6. เอกสารอ้างอิง
[1] Rosenberg, M.J. (2006). Beyond e-learning: Approaches and technologies to enhance
             organizational Knowledge , learning, and performance. San Francisco: John Wiley
             & Sons.
[2] สุชาติ ศิรสขไพบูลย์. (2527). เทคนิคและวิธการสอนวิชาชีพ MIAP. กรุงเทพฯ: สถาบัน
              ิุ                                 ี
              เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[3] Horton, W. (2000). Designing web-based training: How to teach anyone anything any
             where anytime. New York: John Wiley & Sons.
[4] Driscoll, M. (2005). Advanced web-based training strategies: Unlocking instructionally
             sound online learning. San Francisco, CA: Pfeiffer.
[5] Mitrani, A., Dalziel, M., & Fitt, D. (1992). Competency based human resource
             management: Value driven strategies for recruitment, development, and reward.
             London: McGraw-Hill.
[6] Spencer, M., & Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for superiors
             performance. New York: John Wiley & Sons.
128
วารสารวิทยบริการ                                การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ
ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕       ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข
                                                              ุ


[7] ณมน จีรงสุวรรณ. (2549). หลักการออกแบบและประเมิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน
              ั
            สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
[8] William, W. & Stephen G. J. (2009). Research methods in education: An introduction.
            (9th ed.). Boston: Pearson.
[9] Kilby, T. (1998). Web-Based learning. Ca: WBI Training Information Center.
[10] เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. (2548). การจัดการทางการพยาบาลสูการเรียนรู.้ ่
            กรุงเทพฯ: สุขมวิทการพิมพ์.
                           ุ
[11] ชลอ พลนิล. (2551). ปฏิบตการพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชือเพลิงอิเล็กทรอนิกส์
                                  ั ิ                                 ้
            วิชางานระบบฉีดเชือเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
                              ้
            หลักสูตรพุทธศักราช 2545 สาขางานยานยนต์ คณะวิชาเครืองกล วิทยาลัยสารพัดช่าง
                                                                    ่
            อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
[12] อัครวุฒิ จินดานุรกษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ดวยกระบวนการ MIAP.
                      ั                                                 ้
            วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
                                                  ั
            พระนครเหนือ.
[13] Piriyasurawong, P. & Nilsook, P. (2010). Web-based training on knowledge
            management for vocational teachers in Thailand. Asian Journal of Distance
            Education, 8(2), 65–71.

                   ************************************************

More Related Content

What's hot

01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...
01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...
01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...Prachoom Rangkasikorn
 
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯการจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯTeaching & Learning Support and Development Center
 
Mooc infographics-gamification-infographics
Mooc infographics-gamification-infographicsMooc infographics-gamification-infographics
Mooc infographics-gamification-infographicsiyabest
 
โครงการE learning2559
โครงการE learning2559โครงการE learning2559
โครงการE learning2559Pa'rig Prig
 
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57สมใจ จันสุกสี
 
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอน
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอนการนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอน
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอนPrachyanun Nilsook
 
1332 20210713 nichakarn_kaewchan
1332 20210713 nichakarn_kaewchan1332 20210713 nichakarn_kaewchan
1332 20210713 nichakarn_kaewchanssuserea9dad1
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลdtschool
 
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกการจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกSireetorn Buanak
 
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมPrachoom Rangkasikorn
 
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...Noppakhun Suebloei
 
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้jamrat
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรมNon HobBit
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลssuserea9dad1
 

What's hot (20)

01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...
01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...
01.คู่มือรูปแบบการจัดการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ท...
 
13นิตยา
13นิตยา13นิตยา
13นิตยา
 
การจัดทำเอกสาร มคอ 3 - 7
การจัดทำเอกสาร มคอ 3 - 7การจัดทำเอกสาร มคอ 3 - 7
การจัดทำเอกสาร มคอ 3 - 7
 
Top child (best ศูนย์ปี 57)
Top child (best ศูนย์ปี 57)Top child (best ศูนย์ปี 57)
Top child (best ศูนย์ปี 57)
 
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯการจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
การจัดทำ มคอ.3-4, 5-6 ตามแนวทางปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
 
Mooc infographics-gamification-infographics
Mooc infographics-gamification-infographicsMooc infographics-gamification-infographics
Mooc infographics-gamification-infographics
 
โครงการE learning2559
โครงการE learning2559โครงการE learning2559
โครงการE learning2559
 
cai
cai cai
cai
 
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57
โครงการ พัฒนาสื่อและระบบสารสนเทศในโรงเรียน ปี 57
 
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอน
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอนการนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอน
การนำผลการประเมินมาปรับปรุงเทคนิคการสอน
 
1332 20210713 nichakarn_kaewchan
1332 20210713 nichakarn_kaewchan1332 20210713 nichakarn_kaewchan
1332 20210713 nichakarn_kaewchan
 
การศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกลการศึกษาทางไกล
การศึกษาทางไกล
 
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโกการจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
การจัดทำแผนกลยุทธ์ กรณีศึกษา วท.ดอนบอสโก
 
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
06.การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
 
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...
รายงานโปรแกรมสื่อบทเรียนสำหรับระบบการเรียนรู้ออนไลน์ เรื่อง โครงสร้างข้อมูลแบ...
 
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
Pptการนำ dlit ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
 
ICT MOE Master Plan 2554 – 2556
ICT MOE Master Plan 2554 – 2556ICT MOE Master Plan 2554 – 2556
ICT MOE Master Plan 2554 – 2556
 
นวัตกรรม
นวัตกรรมนวัตกรรม
นวัตกรรม
 
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัลการจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
การจัดการเรียนรู้ทางออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล
 
2
22
2
 

Viewers also liked

สื่อการออกแบบ
สื่อการออกแบบสื่อการออกแบบ
สื่อการออกแบบWorapon Masee
 
สารคดี Intro
สารคดี Introสารคดี Intro
สารคดี IntroBlackRider Asa
 
นิตยสาร
นิตยสารนิตยสาร
นิตยสารWorapon Masee
 
ประเภทของสื่อ
ประเภทของสื่อประเภทของสื่อ
ประเภทของสื่อWorapon Masee
 
การวิเคราะห์ Scene, Shot
การวิเคราะห์ Scene, Shotการวิเคราะห์ Scene, Shot
การวิเคราะห์ Scene, ShotApida Runvat
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสารwasamon2531
 
9789740331513
97897403315139789740331513
9789740331513CUPress
 
How to write a dissertation proposal .. part 1
How to write a dissertation proposal .. part 1How to write a dissertation proposal .. part 1
How to write a dissertation proposal .. part 1DrDanai Thienphut
 
แบบเสนอโครงร่าง
แบบเสนอโครงร่างแบบเสนอโครงร่าง
แบบเสนอโครงร่างKanistha Chudchum
 
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)code453
 
Actionscript
ActionscriptActionscript
Actionscriptsaysam
 
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...Atita Rmutsv
 
Actionscript
ActionscriptActionscript
Actionscriptyyurany
 
Documentary script (voice over version)
Documentary script (voice over version)Documentary script (voice over version)
Documentary script (voice over version)06whidon
 

Viewers also liked (20)

สื่อการออกแบบ
สื่อการออกแบบสื่อการออกแบบ
สื่อการออกแบบ
 
Java intro
Java introJava intro
Java intro
 
สารคดี Intro
สารคดี Introสารคดี Intro
สารคดี Intro
 
Emacgazine
EmacgazineEmacgazine
Emacgazine
 
นิตยสาร
นิตยสารนิตยสาร
นิตยสาร
 
ประเภทของสื่อ
ประเภทของสื่อประเภทของสื่อ
ประเภทของสื่อ
 
การวิเคราะห์ Scene, Shot
การวิเคราะห์ Scene, Shotการวิเคราะห์ Scene, Shot
การวิเคราะห์ Scene, Shot
 
การสื่อสาร
การสื่อสารการสื่อสาร
การสื่อสาร
 
9789740331513
97897403315139789740331513
9789740331513
 
How to write a dissertation proposal .. part 1
How to write a dissertation proposal .. part 1How to write a dissertation proposal .. part 1
How to write a dissertation proposal .. part 1
 
Adobe encoredvd
Adobe encoredvdAdobe encoredvd
Adobe encoredvd
 
แบบเสนอโครงร่าง
แบบเสนอโครงร่างแบบเสนอโครงร่าง
แบบเสนอโครงร่าง
 
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)
Ns2 Tutorial by NECTEC (Thai)
 
Ywc11 Sponsor Proposal
Ywc11 Sponsor ProposalYwc11 Sponsor Proposal
Ywc11 Sponsor Proposal
 
Actionscript
ActionscriptActionscript
Actionscript
 
Scripts 1
Scripts 1Scripts 1
Scripts 1
 
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน  อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...
ความหมาย เทคโนโลยีสื่อสารมวลชน อาจารย์อทิตา เหลืองอ่อน สาขาเทคโนโลยีสื่อสารม...
 
Camera technique
Camera techniqueCamera technique
Camera technique
 
Actionscript
ActionscriptActionscript
Actionscript
 
Documentary script (voice over version)
Documentary script (voice over version)Documentary script (voice over version)
Documentary script (voice over version)
 

Similar to Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instructor and Supporting Staff of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqf
การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqfการประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqf
การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน TqfPrachyanun Nilsook
 
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษาแนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษาK S
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรpaween
 
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอนบทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอนPrachyanun Nilsook
 
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556ToTo Yorct
 
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...Mnr Prn
 
E trainingของศน.อายัด
E trainingของศน.อายัดE trainingของศน.อายัด
E trainingของศน.อายัดarisara
 
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษา
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษาสื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษา
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษาPrachyanun Nilsook
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาPrachyanun Nilsook
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพkoyrattanasri
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
การศึกษามุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) #2
การศึกษามุ่งผลลัพธ์  (Outcome-based Education : OBE) #2การศึกษามุ่งผลลัพธ์  (Outcome-based Education : OBE) #2
การศึกษามุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) #2Prachyanun Nilsook
 
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศDenpong Soodphakdee
 
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)Denpong Soodphakdee
 
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013Mnr Prn
 

Similar to Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instructor and Supporting Staff of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (20)

การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqf
การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqfการประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqf
การประเมินผู้เรียนตามมาตรฐาน Tqf
 
เอกสารทางวิชาการ
เอกสารทางวิชาการเอกสารทางวิชาการ
เอกสารทางวิชาการ
 
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษาแนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติทีดีในการประกันคุณภาพการศึกษา
 
ประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตรประเมินหลักสูตร
ประเมินหลักสูตร
 
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอนบทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
บทบาทของอาจารย์ด้านการเรียนการสอน
 
คู่มือวิชาการ
คู่มือวิชาการคู่มือวิชาการ
คู่มือวิชาการ
 
Etrainingbpcd
EtrainingbpcdEtrainingbpcd
Etrainingbpcd
 
Organization intelligence2
Organization intelligence2Organization intelligence2
Organization intelligence2
 
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
แผนโครงการกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ๕ด้าน ปีการศึกษา 2556
 
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...
ตัวอย่างการเขียน มคอ.3 รายละเอียดรายวิชา ที่ถูกต้องสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที...
 
E trainingของศน.อายัด
E trainingของศน.อายัดE trainingของศน.อายัด
E trainingของศน.อายัด
 
Etrainingbpcd
EtrainingbpcdEtrainingbpcd
Etrainingbpcd
 
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษา
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษาสื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษา
สื่อการเรียนรู้ไอซีทีเพื่ออาชีวศึกษา
 
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษาการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับอุดมศึกษา
 
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพการพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
การพัฒนาทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
 
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
Effect of Collaborative Web-based Learning by Using WebQuest for developing l...
 
การศึกษามุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) #2
การศึกษามุ่งผลลัพธ์  (Outcome-based Education : OBE) #2การศึกษามุ่งผลลัพธ์  (Outcome-based Education : OBE) #2
การศึกษามุ่งผลลัพธ์ (Outcome-based Education : OBE) #2
 
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศการบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารด้านวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)
Faculty And Curriculum Development (For Net Generation)
 
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013
แบบรายงานการ ประชุมวิชาการ uninet2013
 

More from Panita Wannapiroon Kmutnb

Emerging Trends and Technologies in Education
Emerging Trends and Technologies in EducationEmerging Trends and Technologies in Education
Emerging Trends and Technologies in EducationPanita Wannapiroon Kmutnb
 
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningStrategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningPanita Wannapiroon Kmutnb
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could Learning
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could LearningEducation 3.0: Interactive e-Learning and Could Learning
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could LearningPanita Wannapiroon Kmutnb
 
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETING
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETINGUSING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETING
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETINGPanita Wannapiroon Kmutnb
 
มหาวิทยาลัยธนบุรี
มหาวิทยาลัยธนบุรีมหาวิทยาลัยธนบุรี
มหาวิทยาลัยธนบุรีPanita Wannapiroon Kmutnb
 
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรม
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรม
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมPanita Wannapiroon Kmutnb
 
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiapชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiapPanita Wannapiroon Kmutnb
 
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอน
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอนเทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอน
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอนPanita Wannapiroon Kmutnb
 
เทคนิคการสอน ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรม
เทคนิคการสอน  ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรมเทคนิคการสอน  ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรม
เทคนิคการสอน ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรมPanita Wannapiroon Kmutnb
 
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...Development of total quality management information system (tqmis) for model ...
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...Panita Wannapiroon Kmutnb
 
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...Development of an edutainment instructional model using learning object for e...
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...Panita Wannapiroon Kmutnb
 

More from Panita Wannapiroon Kmutnb (20)

Emerging Trends and Technologies in Education
Emerging Trends and Technologies in EducationEmerging Trends and Technologies in Education
Emerging Trends and Technologies in Education
 
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-LearningStrategy for designing and developing Interactive e-Learning
Strategy for designing and developing Interactive e-Learning
 
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
Collaborative Learning Model through Social Media for Supporting Communicatio...
 
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could Learning
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could LearningEducation 3.0: Interactive e-Learning and Could Learning
Education 3.0: Interactive e-Learning and Could Learning
 
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETING
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETINGUSING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETING
USING WEB CONFERENCING FOR INTERNATIONAL MEETING
 
มหาวิทยาลัยธนบุรี
มหาวิทยาลัยธนบุรีมหาวิทยาลัยธนบุรี
มหาวิทยาลัยธนบุรี
 
Interactive e learning_etech
Interactive e learning_etechInteractive e learning_etech
Interactive e learning_etech
 
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรม
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรมชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรม
ชุดที่3 การเรียนรู้และระดับพฤติกรรม
 
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiapชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
ชุดที่4 การเรียนการสอนรูปแบบmiap
 
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอน
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอนเทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอน
เทคนิคการสอนชุดที่2 ส่วนประกอบของเอกสารการสอน
 
เทคนิคการสอน ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรม
เทคนิคการสอน  ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรมเทคนิคการสอน  ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรม
เทคนิคการสอน ชุดที่1 แนะนำโปรแกรมและกิจกรรม
 
Ctu 1 intro_analyze_the_issue
Ctu 1 intro_analyze_the_issueCtu 1 intro_analyze_the_issue
Ctu 1 intro_analyze_the_issue
 
Interactive e leraning_ctu
Interactive e leraning_ctuInteractive e leraning_ctu
Interactive e leraning_ctu
 
Interactive e leraning_vec5
Interactive e leraning_vec5Interactive e leraning_vec5
Interactive e leraning_vec5
 
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]
Interactive e-Learning & cloud learning @ VEC [13-17/08/13]
 
Interactive e leraning_vec2
Interactive e leraning_vec2Interactive e leraning_vec2
Interactive e leraning_vec2
 
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...
Educational innovation for enhancing student in the 21st century to the asean...
 
Interactive e leraning
Interactive e leraningInteractive e leraning
Interactive e leraning
 
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...Development of total quality management information system (tqmis) for model ...
Development of total quality management information system (tqmis) for model ...
 
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...Development of an edutainment instructional model using learning object for e...
Development of an edutainment instructional model using learning object for e...
 

Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instructor and Supporting Staff of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok

  • 1. การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ The Development of Web-based Training to Develop Job Competencies for Instructor and Supporting Staff of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok ดร.ปณิตา วรรณพิรณ*ุ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข** บทคัดย่อ การวิจยครังนีมวตถุประสงค์เพือพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย ั ้ ้ ีั ่ สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กลุมตัวอย่าง ่ คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 80 คน แบ่งเป็น สายวิชาการ 40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน เครืองมือทีใช้ในการวิจย คือ เว็บฝึกอบรม ่ ่ ั สมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการและคู่มือ แบบวัดผล สัมฤทธิ์การฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และ t-Test Dependent ่ ผลการวิจย พบว่า ั 1. เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ประกอบด้วยเนือหา 5 ้ ตอน เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ประกอบด้วยเนือหา ้ 5 ตอน 2. รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของ รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ 2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) วิธการและกิจกรรมฝึกอบรม ี และ 4) การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม กิจกรรมการฝึกอบรมบนเว็บ แบ่งเป็น 3 ขันตอน คือ ้ 1) ขันก่อนการฝึกอบรม 2) ขันการฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบกิจกรรม ้ ้ ู การเรียนการสอนแบบ MIAP 4 ขันตอน คือ ขันสนใจปัญหา ขันศึกษาข้อมูล ขันพยายาม และ ้ ้ ้ ้ ขันสำเร็จผล และ3) ขันสรุปผลการฝึกอบรม ้ ้ * อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเพือการศึกษา คณะครุศาสตร์อตสาหกรรม ่ ่ ุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ **ผูชวยศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสารเพือการศึกษา คณะครุศาสตร์ ้่ ่ ่ อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 2. 116 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 3. พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรม ์ สมรรถนะวิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 และมีความพึงพอใจ ั ิ ่ี ในใช้เว็บฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการอยู่ในระดับมาก คำสำคัญ: เว็บฝึกอบรม, สมรรถนะวิชาชีพ, MIAP, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ Abstract The purpose of the research study was to develop web-based training for developing job competencies of instructors and supporting staffs of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok (KMUTNB). The sample groups of the study were 40 instructors and 40 staffs of KMUTNB. The research tools were the web-based training for developing job competencies and manual of instructors and staffs, the training achievement test, and the instructors and staffs satisfaction questionnaire. The data were analyzed using the arithmetic mean, the standard deviation, and t-Test for dependence. The results of the study revealed those: 1. The web-based training for developing job competencies of instructors consisted of five units. 2. The e-training model consisted of four components were: 1) principles, 2) objectives, 3) instructional process and 4) evaluation. The e-training process was divided into three stages:1) the preparation before e-training, 2) the e-training with MIAP learning process which was divided into four stages: Motivation, Information, Application, and Progress, and 3) the summarizing of the results of training 3. The instructors and staffs trained with the web-based training for developing instructors’ job competencies had statistically significant difference of the training achievement posttest scores over the pretest scores at .01 level. The instructors and staffs agreed that learning with the web-based training was appropriate in a high level. Keywords: Web-Based Training, Job Competencies, MIAP, King Mongkut’s University of Technology North Bangkok
  • 3. 117 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 1. บทนำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนา สมรรถนะวิชาชีพของบุคลากรทีเข้ามาปฏิบตราชการซึงเป็นกลไกสำคัญยิงในการสนับสนุนการปฏิบติ ่ ั ิ ่ ่ ั งานและช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต โดยจัดให้มีฝึกอบรมเพื่อพัฒนาให้พนักงาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการได้ตระหนักถึงบทบาท หน้าทีความรับผิดชอบของตนเองและเข้าใจถึงวิธการสอน ่ ี องค์ประกอบของการจัดการศึกษา กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมีความรู้ ความสามารถและมีทกษะในการคิด ั วิเคราะห์งาน สามารถจัดทำคูมอการปฏิบตงานในตำแหน่งของตนเอง อันจะส่งผลดีตอการปฏิบติ ่ ื ั ิ ่ ั งานและมหาวิทยาลัยต่อไปในอนาคต เว็บฝึกอบรม (Web-Based Training : WBT) เป็นเครืองมือในการพัฒนาการฝึกอบรมได้ ่ อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้กระบวนการฝึกอบรมบนเว็บเพือสนับสนุนการเรียนรูทกระตือรือร้น เนืองจาก ่ ้ ่ี ่ เว็บเอื้ออำนวยให้เกิดการศึกษา กระตุ้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแสดงความคิดเห็นได้ตลอดเวลา เป็นมิตใหม่ของเครืองมือและกระบวนการในการฝึกอบรม [1] ิ ่ วิธสอนแบบ MIAP คือ กระบวนการทีผสอนจัดประสบการณ์การเรียนรูโดยผ่านขันตอนสำคัญ ี ่ ู้ ้ ้ 4 ขันตอน คือ 1) ขันสนใจปัญหา (Motivation) 2) ขันศึกษาข้อมูล (Information) 3) ขันพยายาม ้ ้ ้ ้ หรือขั้นของการนำมาใช้ (Application) และ 4) ขั้นสำเร็จผล (Progress) เพื่อให้ผู้เรียนได้บรรลุ วัตถุประสงค์การเรียนรูทกำหนดไว้ และสามารถพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพได้ [2] ้ ่ี พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม เกล้าพระนครเหนือ เป็นกลุมบุคคลทีมทกษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอย่างดี มีความพร้อม ่ ่ ี ั ทีจะปรับวิธเรียนรู้ เปลียนวิธสอนและต้องการอบรมพัฒนาความรูอยูเสมอ เพือตอบสนองต่อความ ่ ี ่ ี ้ ่ ่ ต้องการในการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จึงดำเนินการ พัฒนาเว็บฝึกอบรมเรื่องสมรรถนะวิชาชีพเพื่อประโยชน์ในการฝึกอบรมพนักงานมหาวิทยาลัยสาย วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสำหรับการพัฒนา บุคลากรต่อไป 1.1 วัตถุประสงค์การวิจย ั 1.1.1 เพือศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาฝึกอบรมสมรรถนะพนักงามหาวิทยาลัย ่ สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ. 1.1.2 เพื่อพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ สายสนับสนุนวิชาการ มจพ. 1.1.3 เพือศึกษาผลสัมฤทธิกอนและหลังการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงาน ่ ์ ่ มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ. 1.1.4 เพื่อศึกษาความพึงพอใจในใช้เว็บฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสาย วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ. 1.2 สมมติฐานการวิจย ั 1.2.1 พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรมสมรรถนะ ์ วิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
  • 4. 118 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 1.2.2 พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มีผลสัมฤทธิหลังการฝึกอบรม ์ สมรรถนะวิชาชีพสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 1.3 ขอบเขตการวิจย ั 1.3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ ทีอยูระหว่างการทดลองปฏิบตราชการ อายุราชการไม่เกิน 3 ปี 154 คน แบ่งเป็น ่ ่ ั ิ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 94 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 60 คน กลุมตัวอย่าง คือ พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ่ พระนครเหนือ ทีอยูระหว่างการทดลองปฏิบตราชการ อายุราชการไม่เกิน 3 ปี 80 คน แบ่งเป็น ่ ่ ั ิ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน โดยการสุมอย่างง่าย ่ 1.3.2 ตัวแปรในการวิจัย ตัวแปรอิสระ คือ เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิการฝึกอบรม และความพึงพอใจ ์ 1.4 กรอบแนวคิดการวิจย ั เว็บฝกอบรม สมรรถนะวิชาชีพ (Horton, [3]; Driscoll, [4]) (Mitrani, Dalziel and Fitt, [5]; Spencer and Spencer,[6]) - การออกแบบเว็บฝกอบรม - สมรรถนะวิชาชีพพนักงาน - รูปแบบของเว็บฝกอบรม มหาวิทยาลัยสายวิชาการ - องคประกอบของเว็บฝกอบรม - สมรรถนะวิชาชีพพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน - วิธีการใชเว็บฝกอบรม วิชาการ รูปแบบการฝกอบรมบนเว็บ การเรียนการสอนรูปแบบ (Horton, [3]; Driscoll, [4]) MIAP (สชาติ ศิริสขไพบลย [2]) 1. องคประกอบรูปแบบการฝกอบรม บนเว็บ 1. ขั้นสนใจปญหา (Motivation) 2. ขั้นตอนการฝกอบรมบนเว็บ 2. ขั้นศึกษาขอมูล (Information) 2.1 ขั้นกอนการฝกอบรม 3. ขั้นพยายาม (Application) 2.2 ขั้นการฝกอบรม (MIAP) 4. ขั้นสําเร็จผล (Progress) 2.3 ขั้นสรุปผลการฝกอบรม 3. การวัดและประเมินผลการฝกอบรม เว็บฝกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ รูปที่ 1 กรอบแนวคิดการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  • 5. 119 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 2. วิธดำเนินการวิจย ี ั การวิจยครังนีเป็นการวิจยและพัฒนา (Research and Development) แบ่งการวิจยเป็น 3 ั ้ ้ ั ั ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบแนวคิดของเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ 1. สังเคราะห์เอกสารและงานวิจยทีเกียวข้องกับการฝึกอบรม รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ั ่ ่ (e-Training) ในประเด็นองค์ประกอบ ขันตอน กิจกรรม การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม ้ 2. ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ดังนี้ 2.1 สังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้องกับสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ่ ่ เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการสัมภาษณ์เชิงลึก 2.2 สร้างแบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ (In-depth interview Form) ตรวจสอบความตรงเชิงเนือหาและความตรงเชิงโครงสร้างโดยผูเชียวชาญ ้ ้ ่ ด้านเนือหา จำนวน 5 ท่าน ้ 2.3 สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview: IDI) พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จำนวน 15 ท่าน ในประเด็น “การจัดการความรูสมรรถนะวิชาชีพทีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ้ ่ ต้องการรู” โดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ้ 2.4 สรุปผลการสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 2.5 สรุปกรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จากข้อมูล ผลการสังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้อง และผลการสัมภาษณ์เชิงลึก ่ ่ 3. ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสนับสนุนวิชาการ ดังนี้ 3.1 สังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้องกับสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ่ ่ และสายสนับสนุนวิชาการ เพือกำหนดกรอบแนวคิดในการประชุมระดมสมอง ่ 3.2 จัดประชุมระดมสมอง (Focus group discussion: FGD) หัวหน้างานบุคลากร ทุกคณะ และกองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 46 ท่าน ในประเด็น “การจัดการ ความรู้สมรรถนะวิชาชีพที่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการจำเป็นต้องรู้” กำหนดวิธการวัดผลสัมฤทธิการฝึกอบรมและเกณฑ์การประเมินผลสัมฤทธิการฝึกอบรมภายใต้โครงการ ี ์ ์ จัดการความรู้ฝ่ายพัฒนาบุคลากรผ่าน e-Training แผนงานการจัดการความรู้ด้านผลิตบัณฑิต ที่พึงประสงค์ 3.3 สรุปผลการประชุมระดมสมอง สมรรถนะวิชาชีพทีพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ่ และสายสนับสนุนวิชาการ 3.4 สรุปกรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสาย สนับสนุนวิชาการ จากข้อมูลผลการสังเคราะห์เอกสารทีเกียวข้อง และผลการประชุมระดมสมอง ่ ่
  • 6. 120 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 4. สรุปกรอบแนวคิดในการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ มจพ. ระยะที่ 2 การพัฒนาของเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ สายสนับสนุนวิชาการด้วยกระบวนการเรียนรูแบบ MIAP ้ พัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ตามขั้นตอนการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System Design: ISD) [7] 5 ขันตอน ดังนี้ ้ 1. ขันการวิเคราะห์ (Analysis) ้ วิเคราะห์เนื้อหาการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสาย สนับสนุนวิชาการ จัดทำแผนภาพมโนทัศน์ของเนือหา กำหนดหัวข้อของหน่วยเรียน หัวข้อหลักหัวข้อรอง ้ สร้างแผนภาพมโนทัศน์เป็นการเริ่มต้นขอบเขตเนื้อหา 2. ขันการออกแบบ (Design) ้ 2.1 ออกแบบจุดประสงค์การฝึกอบรม เพือกำหนดวัตถุประสงค์ในแต่ละหัวข้อหลัก ่ หัวข้อรอง และวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม 2.2 ออกแบบโครงข่ายเนือหา (Content Network) แสดงการเชือมโยงและลำดับชันตอน ้ ่ ้ เนื้อหา 2.3 ออกแบบโมดูลของเนื้อหา (Module) เพื่อแสดงเนื้อหาแต่ละหน่วยในการอบรม ประกอบด้วยหัวข้อหลักและหัวข้อรอง 2.4 ออกแบบสตอรี่บอร์ดของเว็บฝึกอบรม 2.5 ออกแบบยุทธศาสตร์การฝึกอบรมผ่านเว็บสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ ตามรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนแบบ MIAP แบ่งออกเป็น 4 ขัน ้ ตอน คือ 2.5.1 ขันสนใจปัญหา (Motivation) ้ 2.5.2 ขันศึกษาข้อมูล (Information) ้ 2.5.3 ขันพยายาม (Application) ้ 2.5.4 ขันสำเร็จผล (Progress) ้ 3. ขันการพัฒนา (Development) ้ 3.1 พัฒนาเว็บฝึกอบรมด้วยโดยการจัดการเนื้อหาและกิจกรรมในระบบบริหารจัดการ เรียนรู้ 3.2 พัฒนาคู่มือการใช้งานเว็บฝึกอบรมสำหรับผู้ดูแลระบบ และคู่มือการใช้งานเว็บ ฝึกอบรม 3.3 พัฒนาแบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการ และสายสนับสนุนวิชาการ
  • 7. 121 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 4. ขันการนำไปทดลองใช้ (Implementation) ้ 4.1 การทดสอบแบบหนึงต่อหนึง (One-to-one testing) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัย ่ ่ สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 3 คน ใช้เว็บฝึกอบรมที่ ่ ่ ่ พัฒนาขึน สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้งาน จากนันนำข้อมูลมาปรับปรุง ้ ้ แก้ไขข้อบกพร่องของเว็บฝึกอบรม 4.2 การทดสอบกับกลุ่มเล็ก (Small group testing) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 5 คน ใช้เว็บฝึกอบรมที่ ่ ่ ่ ปรับปรุงจากการทดสอบแบบหนึ่งต่อหนึ่ง สังเกตและการสัมภาษณ์ ปัญหาและข้อเสนอแนะการใช้ งาน จากนันนำข้อมูลมาปรับปรุง แก้ไขข้อบกพร่องของเว็บฝึกอบรม ้ 4.3 การทดลองนำร่อง (Field trial) โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและ สายสนับสนุนวิชาการทีไม่ใช่กลุมตัวอย่าง กลุมละจำนวน 15 คน ใช้เว็บฝึกอบรมทีปรับปรุงจากการ ่ ่ ่ ่ ทดสอบแบบกลุ่มเล็ก 4.4 หาคุ ณ ภาพของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ ์ ก ารฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการ โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 15 คน ทำแบบวัดเพือหาคุณภาพ ่ ของแบบวัดโดยหาค่าความเทียง (Reliability) ด้วยสูตรการหาค่าสัมประสิทธิแอลฟ่าของครอนบาค ่ ์ (Cronbach’s Alpha Coefficient) ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 หาค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.36-0.72 4.5 หาคุ ณ ภาพของแบบวั ด ผลสั ม ฤทธิ ์ ก ารฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ โดยให้พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ 15 คน ทำแบบวัดเพื่อหาคุณภาพของแบบวัดโดยหาค่าความเที่ยงด้วยสูตรการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค ได้คาความเทียงเท่ากับ 0.86 หาค่าความยากง่ายอยูระหว่าง 0.45-0.75 ่ ่ ่ 5. ขั้นการประเมินผล (Evaluation) 5.1 ประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา โดยนำเว็บฝึกอบรมและคูมอ ทีพฒนาขึน ้ ่ ื ่ ั ้ เสนอให้ผเู้ ชียวชาญด้านเนือหา 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา ่ ้ ้ และปรับปรุงตามเว็บฝึกอบรมและคูมอ ตามข้อเสนอแนะ ่ ื 5.2 ประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและด้านเทคนิค โดยนำเว็บฝึกอบรมและคูมอ ทีพฒนาขึนเสนอให้ผเชียวชาญด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและ ่ ื ่ ั ้ ู้ ่ ด้านเทคนิค 5 ท่าน ประเมินคุณภาพและความเหมาะสมของเว็บฝึกอบรมด้านการออกแบบระบบ การฝึกอบรมและด้านเทคนิค และปรับปรุงตามเว็บฝึกอบรมและคูมอ ตามข้อเสนอแนะ ่ ื
  • 8. 122 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ ระยะที่ 3 การศึกษาผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสาย วิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ การศึกษาผลของการใช้เว็บฝึกอบรมใช้แบบแผนการวิจยแบบ One Group Pretest-Posttest ั Design [8] ซึงมีขนตอนการดำเนินการดังนี้ ่ ้ั 1. การเตรียมการก่อนการฝึกอบรม 1.1 การเตรียมความพร้อมของสถานทีหอง ปฏิบตการคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครืองคอมพิวเตอร์ ่้ ัิ ่ ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง 1.2 เตรียมความพร้อมของแผนการจัดการฝึกอบรม ระบบบริหารจัดการเว็บฝึกอบรม คูมอปฏิบตสำหรับผูเรียนและผูสอน และเครืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ่ ื ั ิ ้ ้ ่ 1.3ชี้แจงวัตถุประสงค์การฝึกอบรม ขั้นตอน การและกิจกรรมการฝึกอบรม การวัดและ ประเมินผล และฝึกปฏิบตการใช้ระบบบริหารจัดการเว็บฝึกอบรม ั ิ 2. การฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ทีพฒนาขึน ่ ั ้ 2.1 วัดคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนการอบรม 2.2 ดำเนินการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ทีพฒนาขึน ่ ั ้ 2.3 วัดคะแนนผลสัมฤทธิ์หลังการอบรม 2.4 สอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะ 3. สรุปผลการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ 3.1 สรุปผลและเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างคะแนนผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการ ฝึกอบรม ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ด้วย t-test Dependent 3.2 วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีต่อการฝึกอบรมโดย ใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ โดยใช้คาเฉลียและส่วนเบียงเบนมาตรฐาน ่ ่ ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1. แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสมรรถนะวิชาชีพ 2. แบบบันทึกการประชุมระดมสมองสมรรถนะวิชาชีพ 3. แบบประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมด้านเนือหา ด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรมและ ้ ด้านเทคนิค 4. เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ และคู่มือ 5. แบบวัดผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม 6. แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม
  • 9. 123 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 3. สรุปผลการวิจย ั ตอนที่ 1 สรุปกรอบแนวคิดเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัย 1.1 รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ 1.1.1 องค์ประกอบรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ประกอบด้วย 1) หลักการ แนวคิด และทฤษฎีพนฐาน 2) วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม 3) วิธการและกิจกรรมฝึกอบรม ้ื ี และ 4) การวัดและการประเมินผลการฝึกอบรม 1.1.2 ขันตอนการฝึกอบรมบนเว็บ 3 ขันตอน คือ ้ ้ 1) ขั้นก่อนการฝึกอบรม 2) ขันการฝึกอบรม ดำเนินกิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบกิจกรรม ้ ู การเรียนการสอนแบบ MIAP แบ่งออกเป็น 4 ขันตอน คือ ้ ช่วงที่ 1 ขันสนใจปัญหา (Motivation) ้ ช่วงที่ 2 ขันศึกษาข้อมูล (Information) ้ ช่วงที่ 3 ขันพยายาม (Application) ้ ช่วงที่ 4 ขันสำเร็จผล (Progress) ้ 3) ขั้นสรุปผลการฝึกอบรม 1.1.3 การวัดและประเมินผลการฝึกอบรม 1.2 กรอบแนวคิดสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน วิชาการ ประกอบด้วย ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับ มจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ. และ ประกาศ ก.พ.อ. ตอนที่ 2 สรุปผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ 2.1 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน วิชาการ มจพ. 2.1.1 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ จัดการ เนื ้ อ หาและกิ จ กรรมด้ ว ยระบบบริ ห ารจั ด การเรี ย นรู ้ ข อง MOODLE เข้ า ถึ ง ได้ ท ี ่ http:// www.etraining.kmutnb.ac.th ประกอบด้วย 11 หัวข้อ คือ คำอธิบายเนือหาการอบรม วัตถุประสงค์ ้ การอบรม หัวข้อหลัก หัวข้อรอง กระดานข่าว ห้องสนทนา กระดานเสวนา อภิธานศัพท์ แบบทดสอบ ก่อนการอบรม แบบทดสอบหลังการอบรม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม สมรรถนะวิชาชีพ เนือหาทีใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ แบ่งออก ้ ่ เป็น 5 ตอน คือ ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับมจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ. และประกาศ ก.พ.อ. 2.1.2 เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ จัดการเนือหาและกิจกรรมด้วยระบบบริหารจัดการเรียนรูของ MOODLE เข้าถึงได้ท่ี http:// ้ ้
  • 10. 124 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ www.etraining.kmutnb.ac.th ประกอบด้วย 11 หัวข้อ คือ คำอธิบายเนือหาการอบรม วัตถุประสงค์ ้ การอบรม หัวข้อหลัก หัวข้อรอง กระดานข่าว ห้องสนทนา กระดานเสวนา อภิธานศัพท์ แบบทดสอบ ก่อนการอบรม แบบทดสอบหลังการอบรม และแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้เว็บฝึกอบรม สมรรถนะวิชาชีพ เนื้อหาที่ใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ระเบียบ มจพ. ข้อบังคับมจพ. ประกาศ ก.บ.ม. มจพ. ประกาศ มจพ. และประกาศ ก.พ.อ. 2.1.3 ผลการประเมิ น คุ ณ ภาพเว็ บ ฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ พนั ก งาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ โดยผูเชียวชาญ แสดงดังตารางที่ 1 ้ ่ ตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ การประเมินคุณภาพ X S.D. ความเหมาะสม - ด้านเนื้อหา 4.78 0.42 มากที่สุด - ด้านการออกแบบ ระบบการฝึกอบรม 4.65 0.48 มากที่สุด - ด้านการออกแบบหน้าจอ 4.44 0.51 มาก - ด้านเทคนิค 4.75 0.44 มากที่สุด จากตารางที่ 1 ผลการประเมินคุณภาพเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ พบว่า คุณภาพเว็บ ฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพมีดานเนือหา ด้านเทคนิค และด้านการออกแบบระบบการฝึกอบรม มีความ ้ ้ เหมาะสมมากทีสด และด้านการออกแบบหน้าจอ มีความเหมาะสมมาก ุ่ รูปที่ 2 หน้าหลักเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน วิชาการ
  • 11. 125 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ รูปที่ 3 หน้าหลักเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ ตอนที่ 3 สรุปผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ 3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ 40 คน และสายสนับสนุนวิชาการ 40 คน ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะ วิชาชีพ แสดงดังตารางที่ 2-3 ดังนี้ ตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิการฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการก่อนและ ์ หลังการอบรม ผลสัมฤทธิ์ การฝึกอบรม คะแนนเต็ม X S.D. t-test Sig. ก่อนฝึกอบรม 40 23.20 4.02 20.04** .00 หลังฝึกอบรม 40 32.54 2.71 **p < .01 จากตารางที่ 2 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม สมรรถนะวิชาชีพ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์การ ฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 ั ิ ่ี
  • 12. 126 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ ตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิการฝึกอบรมของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ ์ ก่อนและหลังการอบรม ผลสัมฤทธิ์ การฝึกอบรม คะแนนเต็ม X S.D. t-test Sig. ก่อนฝึกอบรม 40 20.44 6.14 14.60** .00 หลังฝึกอบรม 40 30.35 2.95 **p < .01 จากตารางที่ 3 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรม สมรรถนะวิชาชีพ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการมีคาเฉลียของคะแนนผลสัมฤทธิ์ ่ ่ การฝึกอบรมหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 ั ิ ่ี 3.2 ผลการศึกษาความพึงพอใจของพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุน วิชาการ พบว่า พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมีความพึงพอใจต่อการ ฝึกอบรมโดยใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 4.56, S.D. = 0.57) 4. อภิปรายผล 4.1 ผลการพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ เว็ บ ฝึ ก อบรมสมรรถนะวิ ช าชี พ 11 หั ว ข้ อ สอดคล้ อ งกั บ แนวคิ ด ของ Kilby [9] ทีกล่าวว่าเว็บฝึกอบรมควรประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) สือสำหรับนำเสนอ ได้แก่ ่ ่ ข้อความ กราฟิก และภาพเคลื่อนไหว วีดิทัศน์และเสียง 2) การปฏิสัมพันธ์ 3) การจัดการ ฐานข้อมูล 4) ส่วนสนับสนุนการเรียนการสอน ได้แก่ อิเล็คทรอนิกส์บอร์ด เช่น BBS, Web Board จดหมายอิเล็คทรอนิกส์ และการสนทนาผ่านเครือข่าย เนือหาที่ใช้ในการฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ้ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ 5 ตอน สอดคล้องกับแนวคิดสมรรถนะ วิชาชีพของ เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ [10] แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ 1) สมรรถนะหลัก 2) สมรรถนะวิชาชีพ และ 3) สมรรถนะเชิงเทคนิค องค์ประกอบรูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บ ขั้นตอนการฝึกอบรมบนเว็บ และการดำเนิน กิจกรรมการฝึกอบรม โดยใช้รปแบบ MIAP สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิสมรรถนะวิชาชีพได้ และ ู ์ ผูเข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจมาก สอดคล้องกับการวิจยของชลอ พลนิล [11] ทีพบว่า การ ้ ั ่ จัดการเรียนรู้ MIAP เป็นวิธทเี่ หมาะสมสำหรับใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรูดานวิชาชีพ และอัครวุฒิ ี ้ ้ จินดานุรักษ์ [12] ที่พบว่า กระบวนการ MIAP 5 ขั้นตอน คือ ขั้นศึกษาวิเคราะห์และออกแบบ ขั้นเตรียมการสอน ขั้นปฏิบัติการสอน ขั้นบ่มเพาะ และ ขั้นประเมินผล สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนได้ และผูเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนมาก ้
  • 13. 127 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ 4.2 ผลของการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการมีค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์การฝึก อบรมหลังฝึกอบรม สูงกว่าก่อนฝึกอบรม อย่างมีนยสำคัญทางสถิตทระดับ .01 แสดงให้เห็นว่าเว็บ ั ิ ่ี ฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น สามารถพัฒนาความสามารถด้านสมรรถนะวิชาชีพของพนักงานมหาวิทยาลัย สายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการได้ สอดคล้องกับ Piriyasurawong and Nilsook [13] ทีพบว่า ่ เว็บฝึกอบรมสามารถผลสัมฤทธิการฝึกอบรม พฤติกรรมการเรียนรู้ การมีสวนร่วมในการฝึกอบรม ์ ่ และความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมได้ 5. กิตติกรรมประกาศ ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.ณมน จีรงสุวรรณ ผศ.ดร.พัลลภ พิรยะสุระวงศ์ และ ศ.ดร.ชัยยงค์ ั ิ พรหมวงศ์ สำหรับคำแนะนำอันเป็นประโยชน์ ขอขอบพระคุณ ผศ.คันธรส แสนวงศ์ คุณปราณี เข็มวงศ์ทอง คุณวรรณวิภา จินดาพันธ์ไพศาล และกองบริหารและจัดการทรัพยากรมนุษย์ พนักงาน มหาวิทยาลัยสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการทุกท่านทีสละเวลาอันมีคาเข้าร่วมโครงการวิจยเพือ ่ ่ ั ่ ศึกษาผลการใช้เว็บฝึกอบรมสมรรถนะวิชาชีพ ขอขอบคุณ สำนักวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สำหรับทุนสนับสนุนนักวิจยทัวไป ประจำปี 2552 ั ่ 6. เอกสารอ้างอิง [1] Rosenberg, M.J. (2006). Beyond e-learning: Approaches and technologies to enhance organizational Knowledge , learning, and performance. San Francisco: John Wiley & Sons. [2] สุชาติ ศิรสขไพบูลย์. (2527). เทคนิคและวิธการสอนวิชาชีพ MIAP. กรุงเทพฯ: สถาบัน ิุ ี เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [3] Horton, W. (2000). Designing web-based training: How to teach anyone anything any where anytime. New York: John Wiley & Sons. [4] Driscoll, M. (2005). Advanced web-based training strategies: Unlocking instructionally sound online learning. San Francisco, CA: Pfeiffer. [5] Mitrani, A., Dalziel, M., & Fitt, D. (1992). Competency based human resource management: Value driven strategies for recruitment, development, and reward. London: McGraw-Hill. [6] Spencer, M., & Spencer, M.S. (1993). Competence at work: Models for superiors performance. New York: John Wiley & Sons.
  • 14. 128 วารสารวิทยบริการ การพัฒนาเว็บฝึกอบรมสมรรถนะพนักงานฯ ปีท่ี ๒๓ ฉบับที่ ๒ พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๕๕ ดร.ปณิตา วรรณพิรณ ผศ.ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ุ [7] ณมน จีรงสุวรรณ. (2549). หลักการออกแบบและประเมิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน ั สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. [8] William, W. & Stephen G. J. (2009). Research methods in education: An introduction. (9th ed.). Boston: Pearson. [9] Kilby, T. (1998). Web-Based learning. Ca: WBI Training Information Center. [10] เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และคณะ. (2548). การจัดการทางการพยาบาลสูการเรียนรู.้ ่ กรุงเทพฯ: สุขมวิทการพิมพ์. ุ [11] ชลอ พลนิล. (2551). ปฏิบตการพัฒนาทักษะการซ่อมระบบฉีดเชือเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ ั ิ ้ วิชางานระบบฉีดเชือเพลิงอิเล็กทรอนิกส์ของนักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ้ หลักสูตรพุทธศักราช 2545 สาขางานยานยนต์ คณะวิชาเครืองกล วิทยาลัยสารพัดช่าง ่ อุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. [12] อัครวุฒิ จินดานุรกษ์. (2553). การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ดวยกระบวนการ MIAP. ั ้ วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมดุษฎีบณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ั พระนครเหนือ. [13] Piriyasurawong, P. & Nilsook, P. (2010). Web-based training on knowledge management for vocational teachers in Thailand. Asian Journal of Distance Education, 8(2), 65–71. ************************************************