SlideShare a Scribd company logo
1 of 212
Download to read offline
แแนนวเเชชืื่่อมตต่่อรระะบบนนิิเเววศใในนปรระะเเททศไไททย 
Ecological Corridor in Thailand 
สถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง 
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 1 
สำนักอุทยานแห่งชาติ 
กรมออุุทยยาานแแหห่่งชชาาตติิ สสััตวว์์ปป่่าา แแลละะพพัันธธุุ์์พพืืช
แแนนวเเชชāā่่อมตต่่อรระะบบนนิิเเววศใในนปรระะเเททศไไททย 
พพิิมพพ์์ครรัั้้งททีี่่ 1 
พพุุทธศศัักรราาช 2557 
ISBN 978-616-316-163-5 
จจํำานวน 1,000 เเลล่่ม 
¼ÙOEàÃÕºàÃÕ§ 
ทรงธรรม สสุุขสวว่่าาง 
ธรรมนนููญ เเตต็็มไไชชย 
¾ÔÊÙ¨¹ÍÑ¡ÉÃ/¢OEÍOEÍÁÙÅÙÅ 
หททััยรรััตนน์์ นนุุกกููล มยยุุรรีี แแสสงสวว่่าาง ปรระะททุุมพร ธรรมลลัังกกาา บรริิววััฒนน์์ รราาชปปัักษษีี 
ดดํำารงศศัักดดิิ์์ เเฮฮงสวว่่าาง พพิิททัักพงษษ์์ จจัันทรร์์ดดีี ออ้้อมฤททััย ออุุปลละะ 
เเบบญจมมาาพร ตตะะวงษษ์์ ปปิิยธธิิดดาา สองแแคคว สสัันต ์ตตัันจจํำารรััส 
á¼¹·Õè»ÃСͺ 
พพัันธธุุ์์ททิิพพาา ใใจจแแกก้้ว 
ÀÒ¾»ÃСͺ 
ทรงธรรม สสุุขสวว่่าาง ธรรมนนููญ เเตต็็มไไชชย 
ตฤณ ศศัักดดิิ์์มมัังกร เเจจ้า้าหนน้า้าทที่อี่อุทุทยยาานแแหห่ง่งชชาาตติทิที่เี่เกกี่ยี่ยวขข้อ้อง 
พิมพ์ที่ โโรรงพพิิมพพ์์ดอกเเบบีี้้ย จจํำากกััด 
1032/203-208 ซ.รร่่วมศศิิรริิมมิิตร ถนนพหลโโยยธธิิน 
แแขขวงจอมพล เเขขตจตตุุจจัักร กรรุุงเเททพมหหาานคร 10900 
2 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
Í·Ò§Ãкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐàÈä·Â
á¹Çàª×èÍÁμμ‹‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 3 
ภภาาพโโดดย : เเขขตรรัักษษาาพพัันธธุุ์์สสััตวว์์ปป่่าาเเขขาาออ่่าางฤฤาไน
¤íÒ¹íÒ 
ในปัจจุบันพบว่าพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ 
ในรูปแบบของพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และยังพบอีกว่า 
พื้นที่คุ้มครองทางบกเกือบทุกพื้นที่ทำให้มีการบุกรุกเพื่อตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร ทำให้ 
มกีารแตกกระจายเปน็หยอ่มปา่ไมต่ดิตอ่เปน็ผืนเดียวกัน ดงันนั้การแกไ้ขปญัหาพนื้ทคี่มุ้ครอง 
ที่ถูกแบ่งแยกนั้น จำเป็นต้องหาวิธีสร้างแนวเชื่อมต่อ (corridor) เพื่อให้สัตว์ป่าและพืชป่า 
สามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันได้ สนับสนุนให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศ และสามารถ 
เสริมสรา้งความเขม้แข็งของความหลากหลายทางชีวภาพของพนื้ทคี่มุ้ครองมากขนึ้ นอกจาก 
นผี้ลจากการวิจยัทวั่โลกพบวา่การอนุรกัษพ์นื้ทคี่มุ้ครองทมี่ขีนาดเล็กเกินไปไมเ่ปน็สงิ่ดี เพราะ 
จะทำให้เกิดการผสมพันธุ์ในหมู่เครือญาติ (Inbreeding) ของพืชและสัตว์ในพื้นที่ ทำให้ 
สงิ่มีชวีติเหลา่นมี้พีนัธุกรรมออ่นแอลง และอาจสูญพันธุไ์ดใ้นอนาคต นาํไปสูก่ารสูญเสียความ 
หลากหลายทางชีวภาพได้ นอกจากนี้การที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบนิเวศที่หลากหลาย 
และต่อเนื่องสมบูรณ์จะสามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
แต่ถ้าพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันกับระบบนิเวศพื้นที่คุ้มครองถูกรบกวนหรือ 
ถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อเนื่องถึงระบบนิเวศของพื้นที่คุ้มครองนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 
ด้วย ดังนั้น ความพยายามในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง โดย 
นักวิชาการของสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ 
สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มองภาพรวมของแผนกลยุทธ์ในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองที่เหลือ 
อยู่ในอนาคต โดยการจัดการอนุรักษ์พื้นที่เชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Management) 
ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ผืนป่าขนาดใหญ่และผืนป่าขนาดเล็กที่ถูกตัดขาดโดยถนนหรือถูกบุกรุก 
ทำลายในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ห่างกันกับพื้นที่คุ้มครองหลัก (Core Area) ไม่มากนัก 
4 á¹Çàª×èÍ×èÍÁμμ‹×èÍÁμ‹Í‹ÍÃкº¹ÔàÔàÇÈãÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกและอยู่ห่างกันก็จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการสร้างแนวเชื่อมต่อเพื่อให้ 
สัตว์ป่าและพันธุ์พืชมีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างกันให้ได้ เมื่อพื้นที่คุ้มครองดังกล่าว 
มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์และมั่นคง (Integrity) จะส่งผลที่ดีต่อการดำรงชีวิต 
ของประชาชนรอบผืนป่าที่เป็นพื้นที่คุ้มครองและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม 
ดังนั้น แนวความคิดในการเชื่อมต่อระบบนิเวศ (Ecological Corridor) จึงเป็นประเด็นที่ถูก 
หยิบยกขนึ้มาพิจารณา เพราะเห็นวา่เปน็หนทางหนงึ่ทจี่ะชว่ยใหร้ะบบนิเวศของพนื้ทคี่มุ้ครอง 
ทกี่ระจัดกระจายอยูใ่นกลุม่ปา่ตา่งๆทวั่ประเทศกลับคืนสูค่วามอุดมสมบูรณแ์ละคงไวซ้งึ่นิเวศ 
บริการ (Ecosystem Service) ที่ดี รวมทั้งยังเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ 
โดยทางสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า 
และพันธุพ์ชื ไดใ้หค้วามสำคัญในการศึกษาเกยี่วกับหนทางในการเชอื่มตอ่ระบบนิเวศของพนื้ที่ 
คมุ้ครองมาเปน็เวลาหลายป ีและยังคงดำเนินการสนับสนุนใหแ้นวความคิดเหลา่นเี้ปน็จริงขนึ้ 
มาโดยอาศัยกลไกต่างๆ ของการจัดการเชิงระบบนิเวศเข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดการพื้นที่ 
คุ้มครองและใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดการจัดทำแนว 
เชื่อมต่อทางนิเวศวิทยาของกลุ่มป่าในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จให้ได้ 
ดังนั้น เอกสารเล่มนี้จึงได้เรียบเรียงจากงานวิจัยของสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ 
และพื้นที่คุ้มครองรวมทั้งได้หาข้อมูลจากคู่มือและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำแนว 
เชื่อมต่อระบบนิเวศในต่างประเทศ รวมทั้งงานศึกษาอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการในประเทศไทย 
โดยคาดหวังว่าจะได้ช่วยเผยแพร่แนวความคิดการเชื่อมต่อระบบนิเวศนี้ให้แพร่หลายและเป็น 
ที่เข้าใจ รวมทั้งได้รับความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่คุ้มครอง 
ของประเทศไทยต่อไป 
á¹Çàª×èÍ×èÍÁμμμ‹Í‹‹ÍÃкº¹ÔàÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 5
สารบัญ 
บทนำ 8 
การจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ : ประสบการณ์จากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (GMS - BCI) 12 
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 16 
ความหมายและความสำคัญ 16 
การแตกกระจายของผืนป่า 19 
กระบวนการเกิดการแตกกระจายของผืนป่า 21 
ความสำคัญและรูปแบบการจัดสร้างแนวเชื่อมต่อ 22 
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแนวเชื่อมต่อ 27 
แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 30 
แนวคิดการจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในประเทศไทย 30 
เป้าหมายของการจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 32 
การจัดทำแนวเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่า 34 
การออกแบบแนวเชื่อมต่อสัตว์ป่า 36 
รูปแบบและแนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 38 
ยุทธศาสตร์การวางแผนจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 
และการอนุรักษ์เชิงบูรณาการ 46 
ยุทธศาสตร์การวางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์แนวเชื่อมต่อ 46 
วิธีการแก้ไขผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในพื้นที่แนวเชื่อมต่อ 48 
ข้อจำกัดในการวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 49 
การวางแผนเชิงพื้นที่ในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเชิงระบบนิเวศ 53 
หลักการป้องกันพื้นที่หลักของถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่า 53 
หลักการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เป็นลำดับแรกสุด 53 
หลักความเชื่อมโยงของการอนุรักษ์และการฟื้นฟูแบบเชิงระบบนิเวศ 53 
หลักการจัดการเชิงระบบนิเวศระหว่างพื้นที่อนุรักษ์และบริเวณโดยรอบ 54 
หลักการพิจารณาจัดทำแนวเชื่อมต่อที่มีความสำคัญที่สุด 55 
ขนาดของแนวเชื่อมต่อที่สามารถคงไว้ของกระบวนการทางนิเวศวิทยา 57 
ระดับความสำคัญของแนวเชื่อมต่อกับถิ่นที่อยู่อาศัย 57 
ระดับของภัยคุกคามที่มีผลต่อชนิดพันธ์ุหรือนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ในพื้นที่ที่จะจัดทำแนวเชื่อมต่อ 58 
ชนิดสัตว์ป่าเป้าหมายที่ได้ประโยชน์จากแนวเชื่อมต่อ 58 
ความสามารถของแนวเชื่อมต่อในการอำนวยประโยชน์ทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม 59 
6 á¹Çàª×èÍèÍÁμμ‹Í‹ÍÃкº¹àÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
กลุ่มป่าของประเทศไทยกับแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศภายในกลุ่มป่า 60 
กลุ่มป่าลุ่มนํ้าปาย – สาละวิน 63 
กลุ่มป่าศรีลานนา - ขุนตาล 69 
กลุ่มป่าดอยภูคา - แม่ยม 78 
กลุ่มแม่ปิง - อมก๋อย 83 
กลุ่มป่าภูเมี่ยง - ภูทอง 87 
กลุ่มป่าภูเขียว - นํ้าหนาว 94 
กลุ่มป่าภูพาน 100 
กลุ่มป่าพนมดงรัก - ผาแต้ม 104 
กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ 108 
กลุ่มป่าตะวันออก หรือป่ารอยต่อ 5 จังหวัด 114 
กลุ่มป่าตะวันตก 120 
กลุ่มป่าแก่งกระจาน 128 
กลุ่มป่าชุมพร 134 
กลุ่มป่าคลองแสง - เขาสก 139 
กลุ่มป่าเขาหลวง 145 
กลุ่มป่าเขาบรรทัด 150 
กลุ่มป่าฮาลา - บาลา 155 
หมู่เกาะอ่างทอง อ่าวไทย 159 
หมู่เกาะทะเลตะวันออก 161 
หมู่เกาะทะเลอันดามัน 163 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างกลุ่มป่า 165 
พนื้ทคี่มุ้ครองเชอื่มตอ่ระหวา่งประเทศ (Transboundary Protected Area) 169 
กรณีศึกษาแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ เพื่อใช้ในการวางแผน 
การใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุรักษ์ 184 
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้และสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน 185 
โครงการการประเมินสถานภาพสัตว์ป่าและถิ่นอาศัยในพื้นที่แนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรี 193 
โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกบนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี – ปักธงชัย 196 
การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้และสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 
ระหวา่งเขตรักษาพันธุส์ตัวป์า่เขาอา่งฤาไนและอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง 199 
เอกสารและสิ่งอ้างอิง 208 
á¹Çàª×èÍèÍÁμμ‹Í‹ÍÃкº¹àÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 7
º·¹íÒ 
1.1 º·¹íÒ 
การจัดการพื้นที่คุ้มครองมีความสำคัญยิ่งต่อการ 
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการศึกษา 
วิจัยหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่า พื้นที่คุ้มครองขนาด 
ใหญ่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 
ไดอ้ยา่งมีประสิทธิภาพมากกวา่พนื้ทคี่มุ้ครองขนาด 
เล็ก (Harris, 1984) เพราะพื้นที่คุ้มครองขนาดใหญ่ 
มีแนวโน้มในการรองรับจำนวนชนิดและปริมาณ 
ของสัตว์ป่าได้มากขึ้น รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบางชนิดจะ 
ไม่สามารถอยู่รอดได้ถ้าอาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครอง 
ขนาดเล็กและพื้นที่นั้นแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว 
เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยตั้ง 
อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศและหลายแห่งแยก 
พื้นที่อย่างโดดเดี่ยวไม่ต่อเนื่องกับป่าผืนใหญ่ การ 
อนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพสูง 
และสามารถรองรับความหลากหลายทางชีวภาพได้ 
มากขนึ้ จงึจำเปน็ตอ้งมีการจัดการพนื้ทคี่มุ้ครองใน 
เชิงระบบนิเวศในพื้นที่ขนาดใหญ่ 
เนอื่งจากประเทศไทยตงั้อยูใ่นเขตภูมศิาสตรท์ี่ 
มีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์ต่อสัตว์ป่าและพืชพรรณ 
8 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
ยงัผลใหเ้กิดความหลากหลายของถนิ่ทอี่ยูอ่าศัยของ 
สิ่งมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ แต่จากสถานการณ์ 
ด้านป่าไม้ของประเทศไทยในอดีตที่ลดลงอย่าง 
ต่อเนื่องโดยมีสาเหตุมาจากนโยบายการพัฒนาด้าน 
เศรษฐกิจและสังคม และความต้องการที่ดินของ 
ราษฎร ได้ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ถูกตัดขาดกลายเป็น 
หย่อมป่าที่แยกส่วนกัน (Habitat fragmentation) 
และมีขนาดเล็กลง (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2) ที่ตั้งบ้าน 
เรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม 
เข้ามากีดขวางเส้นทางการเดินตามธรรมชาติของ 
สัตว์ป่าส่งผลต่อสัตว์ป่าบางชนิดที่ไม่สามารถข้าม 
ผ่านพื้นที่หากินและผสมพันธุ์ ซึ่งในทางนิเวศวิทยา 
จะทำให้สัดส่วนความสมบูรณ์ของปัจจัยการดำรง 
ชีพของสัตว์ป่า เกิดการตัดขาดของประชากรสัตว์ป่า 
เดิมออกเป็นประชากรย่อยๆ (Metapopulation) 
และไม่มีการแลกเปลี่ยนหรือการไหลผ่านของยีน 
(Gene flow) เกิดขึ้น ส่งผลต่อความหลากหลายทาง 
พันธุกรรมให้ลดลง ทำให้ประชากรย่อยในแต่กลุ่ม 
ง่ายต่อการถูกทำลายให้หมดไปในอนาคต ในขณะ 
ที่สัตว์ป่าบางชนิดที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 
การหากินให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่น 
ช้างป่า สามารถปรับตัวเองให้คุ้นเคยกับการหากิน
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 9 
ในพื้นที่เกษตรกรรม เรียนรู้วิธีข้ามถนนและสิ่ง 
กีดขวาง จึงสามารถหากินและข้ามไปมาระหว่าง 
หย่อมพื้นที่ป่าที่ถูกตัดขาดออกจากกันไปแล้วได้ 
แต่สิ่งที่ตามมาคือพืชผลทางการเกษตรกลายเป็น 
อาหารของสัตว์ป่าบางชนิด ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหา 
ความขัดแยง้ระหวา่งคนกับสัตวป์า่อยูเ่สมอ ยงัความ 
เสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร ชีวิต และทรัพย์สิน 
ของราษฎร โดยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี 
นอกจากนี้ยังมีรายงานการเสียชีวิตของสัตว์ป่าที่ 
พยายามข้ามผ่านสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ถนน 
ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรสัตว์ป่า 
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 
ได้จัดพื้นที่คุ้มครองในประเทศไทยออกเป็น 20 
กลุม่ปา่ โดยใชห้ลักเกณฑพ์นื้ฐานตา่งๆ เชน่ ลกัษณะ 
ภูมิประเทศ สภาพป่า ลุ่มนํ้า การกระจายของ 
พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วย 
นมขนาดใหญ่มีการจัดการพื้นที่คุ้มครองภายใน 
กลุ่มป่าอย่างบูรณาการ เพื่อมุ่งให้เกิดการจัดการ 
เชิงระบบนิเวศ ให้เกิดผืนป่าขนาดใหญ่ที่สามารถ 
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมี 
ประสิทธิภาพ แต่ก็ยังพบว่ากลุ่มป่าทางบกเกือบ 
ทุกกลุ่มยังมีการแตกกระจายเป็นหย่อมป่าไม่ 
ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ 
พัฒนาด้านสาธารณูปโภค หรือการทำการเกษตร 
การแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าที่ถูกแบ่งแยกนั้น จำเป็น 
ต้องหาวิธีสร้างแนวเชื่อมต่อความหลากหลายทาง 
ชีวภาพ (Biodiversity Corridor) เพื่อให้สัตว์ป่า 
และพืชป่าสามารถแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่าง 
ระบบนิเวศที่อยู่ห่างกัน และสนับสนุนให้เกิดความ 
หลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของระบบนิเวศ 
มากขึ้น นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับโปรแกรมงาน 
พื้นที่คุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก 
หลายทางชีวภาพที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก 
และตอบสนองต่อเป้าหมายการลดอัตราการสูญเสีย 
ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2010 ที่ได้รับ 
การรับรองในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนา 
อย่างยั่งยืนที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในปี ค.ศ. 2002 
การจัดการพื้นที่ให้เป็นแนวเชื่อมต่อระบบ 
นิเวศหรือ Ecological corridor area เป็นแนวความ 
คิดหนึ่งในกระบวนการจัดการกลุ่มป่าในเชิงระบบ 
นิเวศมีการเชื่อมต่อกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้ 
กระบวนการทางระบบนิเวศป่าไม้มีความสมบูรณ์ 
ส่งเสริมให้มีการแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์ป่า 
และพืชพรรณทเี่ปน็อาหารสัตวป์า่มีโอกาสแพรพ่นัธุ์ 
ผ่านไปยังพื้นที่ป่าที่ห่างไกล 
การเกิดปัญหาการข้ามผ่านไปมาของสัตว์ป่า 
และปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า 
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้พื้นที่ป่าบางส่วน 
เป็นชีวภูมิศาสตร์แบบเกาะ (Island Biogeography) 
ทสี่่งผลใหจ้าํนวนชนิดพันธุใ์นพนื้ทนี่นั้ลดจำนวนลง 
และแนวความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง 
ระหว่างคนกับสัตว์ป่า (Wildlife - Human conflict) 
ได้สนับสนุนให้แนวความคิดในการจัดทำแนวเชื่อม 
ต่อระบบนิเวศ (Ecological Corridor หรือ Wildlife 
Corridor) มีบทบาทสำคัญในการรักษาความ 
เชื่อมโยงทางธรรมชาติของระบบนิเวศ เอื้อให้กลุ่ม 
ประชากรสัตว์ป่าสามารถเคลื่อนย้ายกระจายพันธุ์ 
เกิดการถ่ายเททางพันธุกรรม ลดการผสมเลือดชิด 
ในหมู่เครือญาติ (Inbreeding) สร้างความมั่นคง 
แข็งแรงให้สังคมสัตว์ป่าโดยรวม และที่สำคัญคือ 
มีส่วนในการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับ 
สัตว์ป่าให้เบาบางลง แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการภายใต้ 
การวางแผนการจัดการที่รัดกุมรอบคอบ ภายใต้ฐาน 
ข้อมูลทางวิชาการและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ 
และสังคมของพื้นที่นั้นๆ ด้วย
ภาพที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ที่เหลือในปี พ.ศ. 2551 กระจายเป็นหย่อมป่า ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ 
เช่น การเกษตรกรรม และการตัดเส้นทางคมนาคมผ่านพื้นที่ป่าไม้ 
ที่มา : ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรมป่าไม้ 
10 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2519 
พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 
ภาพที่ 2 ภาพถ่ายสีผสมของดาวเทียม Landsat แสดงความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของพื้นที่ 
อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พื้นที่สีแดงคือพื้นที่ป่าไม้ สีเหลืองและสีฟ้า 
เปน็พนื้ทเี่กษตรกรรมและทอี่ยูอ่าศัย ความเปลยี่นแปลงในลักษณะนเี้กิดขนึ้ทวั่ประเทศไทย มผีลใหผ้นืปา่ถูกแบง่แยกออก 
เป็นหย่อมป่าที่มีขนาดเล็กลง 
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 11 
ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดเพชรบุรี (2556)
1.2 ¡ÒèѴ·íÒá¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈ : 
»ÃÐʺ¡Òó¨Ò¡»ÃÐà·È͹ØÀÙÁÔÀÒ¤ÅØ‹Á¹íéÒ⢧ (GMS - BCI) 
พื้นที่ป่าในแถบภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (ไทย เมียนมาร์ 
ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้) หรือที่เรียก 
กันในชื่อสากลว่า Greater Mekong Subregion 
(GMS) เปน็แหลง่ทอี่ยูอ่าศัยของคนในพนื้ทที่มี่คีวาม 
หลากหลายทางชีวภาพสูง และมีการบริการทาง 
ระบบนิเวศ (ecosystem services) ถึงแม้ว่าในหลาย 
พื้นที่จะมีการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์เป็น 
จำนวนมาก แต่พื้นที่อนุรักษ์และระบบนิเวศเหล่านี้ 
ยังมีการแยกส่วน แตกออกเป็นหย่อมป่า ซึ่งส่งผลต่อ 
ความเสี่ยงในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของระบบ 
นิเวศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 
ด้วยการสร้างแนวเชื่อมต่อ (The Biodiversity 
Conservation Corridors) จึงเป็นแนวทางใน 
การเชื่อมระบบนิเวศที่แยกส่วนกันเข้าไว้ด้วยกัน 
เพื่อคงสภาพที่อยู่อาศัยสำหรับการเคลื่อนย้าย 
ชนิดพันธุ์ (species movement) และคงไว้ซึ่ง 
จำนวนประชากร เพื่อเพิ่มศักยภาพและคงไว้ซึ่ง 
การบริการทางนิเวศและส่งเสริมและสนับสนุนให้ 
ชุมชนท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ที่ดีไปพร้อมๆ กับการ 
อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากร 
อย่างยั่งยืน 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศอาจเป็นเกราะป้องกัน 
และสร้างความสมดุลในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 
ในกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (GMS) ที่มีความ 
หลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งทรัพยากร 
ทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศ คือ 
เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่เอื้อต่อการพัฒนา 
ประเทศ ทั้งนี้ความเป็นอยู่ที่ดีไม่ได้หมายถึงการ 
12 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross 
Domestic Product: GDP) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น 
แต่ความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรได้หมายรวมถึง 
การมีบริการทางระบบนิเวศที่ดีด้วย 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศมีส่วนทำให้เกิดการ 
พัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการ 
ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อ 
ความยั่งยืนของคนในพื้นที่และประชากรอีกหลาย 
ล้านคนในพื้นที่ที่ต้องพึ่งพาแหล่งทรัพยากรพื้นฐาน 
เพื่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้การสร้างแนวเชื่อมต่อ 
ระบบนิเวศยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ 
การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง 
รัฐบาลในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง 
ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนา 
แห่งเอเชีย (The Asian Development Bank : 
ADB) และกลุ่มองคก์รเอกชน (Non Government 
Organizations : NGOs) ได้ทำการจำแนกพื้นที่ที่ 
มีความสำคัญในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ 
และเห็นควรให้มีการสร้างแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 
โดยมีพื้นที่นำร่อง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ 
ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีนตอนใต้ (ยูนนาน) 
ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน 6 หลักเกณฑ์ คือ 
เป็นพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจร่วมอยู่ในกลุ่ม 
ประเทศ GMS หรือได้รับอิทธิพลจากกลุ่มประเทศ 
ดังกล่าว 
ลดระบบนิเวศที่เป็นลักษณะแบบหย่อมป่า 
ด้วยการเชื่อมต่อพื้นที่อนุรักษ์ตั้งแต่ 2 พื้นที่ขึ้นไป 
เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านความ 
หลากหลายทางชีวภาพ
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 13 
เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดและความ 
ยากจนสูง (มีการเพิ่มขึ้นของประชากร) 
เป็นพื้นที่ธรรมชาติระหว่างพรมแดน 
มีสถาบัน/องค์กร (ทั้งที่เป็นของรัฐบาล 
และไม่ใช่ของรัฐบาล) ที่มีขีดความสามารถ 
ขั้นพื้นฐานในการทำโครงการตั้งแต่ 1 โครงการหรือ 
มากกว่าให้บรรลุผลสำเร็จได้ 
ในโครงการดังกล่าว พื้นที่นำร่องในประเทศ 
กัมพูชา คือ The Cardamom and Elephant 
Mountains เป็นพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ 
ในจังหวัด Koh Kong โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมเขต 
พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (protected forest) กับพื้นที่เขต 
รักษาพันธุ์สัตว์ป่า (wildlife sanctuary) ทำแนว 
เชื่อมต่อในเขตพื้นที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลน รวมถึง 
มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แนวเชื่อมต่ออย่างยั่งยืน 
พื้นที่นำร่องในประเทศจีนตอนใต้ (ยูนนาน) คือ 
สิบสองปันนา (Xishuangbanna) เป็นพื้นที่ป่า 
ฝนเขตร้อน ซึ่งมีพื้นที่ติดกับประเทศลาวพื้นที่ 
ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่สร้างแนวเชื่อมต่อในพื้นที่ย่อย 9 
พนื้ที่พนื้ทนี่าํรอ่งในประเทศลาว มกีารพัฒนารูปแบบ 
การใช้ประโยชน์แนวเชื่อมต่อในพื้นที่อนุรักษ์ 
ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (National 
Biodiversity Conservation Area : NBCA) ระหว่าง 
แขวงจำปาศักดิ์ แขวงอัตปือ และ แขวงเซกอง 
พื้นที่นำร่องในประเทศเวียดนาม เป็นพื้นที่ที่อยู่ใน 
จงัหวัดกวังนำ (Quang Nam) ตงั้อยูบ่ริเวณสว่นกลาง 
ของประเทศ โดยมุ่งการแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่มีความ 
เสี่ยงต่อการสูญเสียป่าเป็นลำดับแรก และทำการ 
เชื่อมต่อพื้นที่ป่า 3 แหล่ง คือ ฮอกลิน (Ngoc Linh) 
ซองทาน (Song Thanh) และ บานา (Ba Na) 
และพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ 
แห่งชาติเซซับ (Xe Sap) ของประเทศลาว สำหรับ 
พื้นที่นำร่องในประเทศไทย คือ พื้นที่แนวเชื่อม 
ต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาค 
ตะวันตกของประเทศไทย เป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่า 
ตะวันตกกับผืนป่าแก่งกระจาน มีการสร้างแนวเชื่อม 
ต่อระบบนิเวศระหว่าง 2 พื้นที่ป่า ด้วยการรวมพื้นที่ 
อนุรักษ์ 19 แห่ง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอีก 
แห่งหนึ่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
ประสบการณจ์ากประเทศอนุภมูภิาคลุม่นา้ํโขง 
ดังกล่าว ให้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะนำไปสู่การจัดทำ 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศไว้ 5 ประการที่น่าสนใจ คือ 
มุ่งสู่การอนุรักษ์ความหลากหลายทาง 
ชีวภาพของระบบนิเวศในระดับภูมิภาพ (landscape) 
และระดับภูมิภาค (regional scale) 
ให้ความสำคัญกับการรักษาหรือเพิ่ม 
ศักยภาพการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ ตั้งแต่เริ่มแรก 
กระทั่งการจัดหาแนวทางการสร้างแนวเชื่อมต่อ 
ระบบนิเวศ 
เพิ่มแนวกันชนในพื้นที่วิกฤติที่ได้รับ 
ผลกระทบจากกิจกรรมภายนอก 
ฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายด้วยวิธีการที่ 
เหมาะสม 
สร้างความสมดุลในการส่งเสริมการใช้ 
ประโยชน์ที่ดินและวัตถุประสงค์ในการรักษาความ 
หลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่า 
ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ขนาดย่อม
ภาพที่ 3 พื้นที่นำร่องในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง 
ที่มา : Asian Development Bank (2005) 
14 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
ภาพที่ 4 พื้นที่นำร่องโครงการสร้างแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในประเทศไทยพื้นที่แนวเชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี 
ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่าตะวันตกกับผืนป่าแก่งกระจาน 
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 15 
ที่มา : สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (ไม่ปรากฏปี)
¤ÇÒÁÃÙOEàº×éͧμOE¹à¡ÕèÂǡѺ 
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈ 
2.1 ¤ÇÒÁËÁÒÂáÅФÇÒÁÊíÒ¤ÑÞ 
แม้ว่าคำว่า “ทางเชื่อมต่อหรือแนวเชื่อมต่อ 
(corridor)” จะมีการใช้กันอย่างมากในหลากหลาย 
สาขาวิชา แต่นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ความ 
หลากหลายทางชีวภาพที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร 
วิจัยระดับนานาชาติโดยส่วนใหญ่ได้ให้คำจำกัด 
ความของคำว่า “ทางเชื่อม” ที่ค่อนข้างใกล้เคียง 
กัน ตัวอย่างเช่น Corridor: “narrow strips 
of land which differ from the matrix on 
either side or maybe isolated strips, but are 
usually attached to a patch of somewhat 
similar vegetation” (Forman & Gordon, 1986) 
Corridor: “a linear landscape element that 
provides for movement between habitat 
patches, but not necessarily reproduction. 
Thus, not all life history requirements of a 
species may be met in a corridor” (Rosen-berg 
et al. 1997). 
16 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
Corridor: “a swath of land that is best 
expected to serve movement needs of an 
individual species after the remaining matrix 
has been converted to other uses” (Beier 
et al. 2005). 
จากคำจำกัดความดังกล่าว ในบทความนี้จึง 
ขอให้คำจำกัดความของคำว่าทางเชื่อมต่อไว้ว่า 
“ทางเชื่อมต่อ หมายถึง พื้นที่ขนาดเล็กโดยมาก 
มักมีรูปร่างเป็นแถบยาวช่วยทำหน้าที่ตอบสนอง 
ความต้องการของชนิดเฉพาะนั้นๆ ที่ต้องการ 
เคลื่อนที่ระหว่างหย่อมป่าที่แตกต่างกันได้ โดย 
แนวเชื่อมต่อมักมีพืชพรรณใกล้เคียงกับถิ่นที่ 
อาศัยหลักที่อยู่ใกล้เคียง” เห็นได้ว่าคำจำกัด 
ความดังกล่าวนี้ได้เน้นยํ้าถึงความสำคัญของความ 
สามารถในการเคลื่อนที่ของชนิดพันธุ์ จากหย่อม 
ถิ่นที่อาศัยแห่งหนึ่งผ่านแนวเชื่อมต่อไปยังหย่อม 
ถิ่นที่อาศัยที่อยู่ไกลออกไป โดยแนวเชื่อมต่อนี้ 
อาจเป็นที่ต้องการของชนิดพันธุ์เฉพาะในบางช่วง 
เวลาหนึ่งหรือทุกช่วงเวลาของวงจรชีวิต ขณะที่ 
ความหมายของคำว่า “ถิ่นที่อาศัย (habitat) 
หมายถึงบริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งในแง่ของ 
การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในการดำรงชีวิต
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 17 
เชน่ แหลง่อาหาร แหลง่หลบภัย แหลง่นา้ํและอยูใ่น 
สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ชนิดพันธุ์สามารถ 
อยูร่อดจากการตายและสืบพันธุอ์อกลูกหลานตอ่ไปได” 
ดังนั้น แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ หรือ Ecological 
corridor จึงหมายถึง เส้นทางสำหรับการเคลื่อน 
ย้ายที่ของชนิดพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า และระบบ 
นิเวศอื่นๆ ระหว่างพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งเพื่อ 
สร้างความเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งการเชื่อมโยงดังกล่าว 
จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก (ภาพที่ 5) คือ 
เขตพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ 
(core areas) 
แนวเชื่อมต่อผืนป่าแบบหย่อม (stepping 
stones) 
พื้นที่กันชน (buffer zones) 
พื้นที่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (sustain 
able use areas) 
นอกจากนี้ Tischendorf & Fahrig (2000, 
อ้างโดย ทรงธรรม และคณะ, 2554) ได้อธิบาย 
ความหมายของคำว่า landscape connectivity 
ไว้ว่า “คือความสามารถของพื้นที่ที่สามารถ 
ส่งเสริมหรือขัดขวางการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตที่ 
ผ่านไปมาระหว่างหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อการเป็น 
ถิ่นที่อาศัยและการสืบต่อพันธุ์” สัตว์ป่าในเขตร้อน 
เช่น ประเทศไทย โดยมากมักเป็นสัตว์ป่าที่มี 
ความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ค่อนข้าง 
เฉพาะเจาะจง (specialist) และมักไม่สามารถ 
ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ถูกเปลี่ยนแปลง 
ไปเพื่อกิจกรรมของมนุษย์ สัตว์ป่าเหล่านี้มีการ 
ตอบสนองต่อการเลือกใช้ถิ่นที่อาศัยแตกต่างกัน 
ไปตามระดับความเหมาะสมของถิ่นที่อาศัยนั้นๆ 
เนื่องจากมีสัตว์ป่าต่างตัวและ/หรือต่างชนิดกัน 
จะมีระดับความทนทาน (amplitude of tolerance) 
ที่ไม่เท่ากัน หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการ 
เปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่ามีอิทธิพล 
อย่างยิ่งต่อการรับรู้ของสัตว์ป่าและความทนทาน 
ที่ไม่เท่ากันของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ส่งผลทำให้ความ 
สามารถในการเคลื่อนที่ไปตามหย่อมป่าที่เหลืออยู่ 
นั้นไม่เท่ากันในแต่ละชนิดบางชนิดมีการปรับตัวได้ 
ดีกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ 
มีความสามารถในการเสาะหาหย่อมป่าที่มีความ 
อุดมสมบูรณ์กว่าได้ไม่ยากนัก ขณะที่สัตว์ป่าอีก 
หลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่มีสถานภาพถูกคุกคาม 
ส่วนใหญ่มักพบว่าด้อยความสามารถ หรือไม่มีความ 
สามารถในการปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่อาศัยที่ 
เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมได้ ทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้น 
ไม่สามารถเดินทางผ่านพื้นที่ข้างเคียงที่มีกิจกรรม 
ของมนุษย์รบกวนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้ 
ในกรณีนี้พบว่าการรักษาไว้ซึ่งรูปแบบการกระจาย 
ภาพที่ 5 แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในรูปแบบต่างๆ 
ที่มา : ดัดแปลงจาก Sicirec Group (http://www.sicirec.org)
18 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
ของหย่อมป่า รวมถึงการจัดเรียงตัวของหย่อมป่า 
มีผลกระทบโดยตรงต่อระดับของความสามารถในการ 
เชื่อมต่อกันของภูมิภาพโดยรวม 
การจัดการพื้นที่ให้เป็นแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 
หรือ Ecological corridor area เป็นแนวความคิดหนึ่ง 
ทตี่อ้งการใหก้ระบวนการจัดการกลุม่ปา่ในเชิงนิเวศมีการ 
เชื่อมต่อกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้กระบวนการทาง 
ระบบนิเวศป่าไม้มีความสมบูรณ์ ส่งเสริมให้มีการแพร่ 
กระจายพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชพรรณ ที่เป็นอาหาร 
สัตว์ป่ามีโอกาสแพร่พันธุ์ผ่านไปยังพื้นที่ป่าที่ห่างไกล 
ออกไป 
ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากที่สุดสำหรับนิยามของคำว่า 
“แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ” เช่น เส้นทางของกิ่งก้านสาขา 
ต้นไม้ที่กระรอกใช้วิ่งจากบริเวณหนึ่งผ่านไปหากินยังอีก 
บริเวณหนึ่ง หรือหากจะกว้างไกลไปอีกในระดับทวีป เช่น 
เส้นทางที่นกอพยพหนีความหนาวเย็นจากซีกโลกเหนือ 
ลงมายังซีกโลกใต้และอพยพกลับเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น 
โดยแวะพักและหากินในจุดต่างๆ ตามเส้นทาง เป็นต้น 
แนวความคิดเรื่องการใช้แนวเชื่อมต่อเพื่อการ 
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ถูกออกแบบขึ้น 
มาเพื่อเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ที่มีความหลากหลายทาง 
ชีวภาพในแต่ละระบบนิเวศ รวมถึงลดการสูญเสียความ 
สัมพันธ์ของหน้าที่และการบริการของระบบนิเวศที่จะ 
ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ซึ่งผลลัพธ์ 
ที่ได้จากการดำเนินการตามแนวความคิดนี้ คือ 
ปรับปรุงแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิด 
พันธุ์และหน้าที่ในระบบนิเวศเพื่อการรักษา 
ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้แนวเชื่อม 
ต่อระบบนิเวศเพื่อการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ให้ 
เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย 
เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ชายขอบ 
ของพื้นที่อนุรักษ์ 
Í·Ò§Ãкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐàÈä·Â
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 19 
2.2 ¡ÒÃáμ¡¡ÃШÒ¢ͧ¼×¹»†Ò 
(Forest Fragmentation) 
การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และการเปลี่ยนแปลง 
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถาวรประมาณ 
ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ระบบนิเวศบนบกของโลก ในช่วง 
ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นสาเหตุของภัย 
คุกคามหลักต่อความความหลากหลายทางชีวภาพ 
(SCBD, 2001) การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ 
กลายเป็นประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ เช่น 
พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกและปศุสัตว์ พื้นที่เพื่อการ 
อุตสาหกรรม แหล่งนํ้าถาวรขนาดใหญ่ ตลอดจน 
พนื้ทเี่พอื่การอยูอ่าศัยของมนุษย ์ถอืไดว้า่เปน็ปญัหา 
สำคัญต่อการสูญเสียถิ่นที่อาศัยของพืชพรรณและ 
สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก 
ในปัจจุบัน การสูญเสียถิ่นที่อาศัย (habitat loss) 
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ป่าหรือ 
พื้นที่ธรรมชาติที่อดีตเคยเป็นพื้นที่ใหญ่ต่อเนื่อง 
เป็นผืนเดียวกัน กลับกลายเป็นผืนป่าที่มีการ 
แตกกระจาย (fragmentation) เกิดเป็นหย่อมป่า 
(patches) ที่มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง กระจายตัว 
อยู่ท่ามกลางสภาพพื้นที่โดยรอบที่มีการพัฒนา 
จากกิจกรรมของมนุษย์ ผลจากการเปลี่ยนแปลง 
ดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบ 
ของภูมิทัศน์ (landscape pattern) ของระบบ 
นิเวศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของ 
พื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติและการเพิ่มขึ้นของระยะห่าง 
ระหว่างหย่อมป่า Bennett (2003) ได้ชี้ให้เห็นถึง 
กระบวนการการเกิดการแตกกระจายของผืนป่า 
ว่าเป็นพลวัตการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบถิ่นที่ 
อาศัยตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป การแตก 
กระจายของผืนป่าเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึง 
ภาวะของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ 
ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณจากการทำ ลาย 
ที่ยังไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดการเหลือหย่อมพื้นที่ 
พืชพรรณขนาดเล็กๆ ที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน 
ฉะนั้นการแตกกระจายของผืนป่าจึงหมาย 
ถึงการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อาศัยที่อดีตเคย 
ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน กลายเป็นหย่อมที่ 
อาศัยที่มีความผันแปรทั้งทางด้านขนาด 
และรูปลักษณ์ทางภูมิทัศน์ (landscape 
configuration) สำหรับการศึกษาผลกระทบ 
ที่เกิดจากการแตกกระจายของถิ่นที่อาศัยต่อความ 
หลากหลายทางชีวภาพหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก 
งานของ Fahrig (2003) 
เมื่อพิจารณาการลดลงของพื้นที่โดยรวมของ 
ถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ที่มีการใช้ 
ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์อย่างเข้มข้นมักเป็นพื้นที่ 
ที่มีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าใน 
อดีตด้วยเช่นกัน พื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ 
ราบลุ่มหรือหุบเขาขนาดใหญ่ ที่มีความลาดชัน 
ไม่มาก และมักไม่ไกลจากแหล่งนํ้า มักจะถูกบุกรุก 
และยึดครองโดยชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าไม้ 
การลดลงของขนาดหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อการ 
เป็นถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า และการเพิ่มพื้นที่ 
บริเวณขอบป่า (edge) ที่อยู่ต่อเนื่องกับพื้นที่การ 
ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นๆ โดยรอบ พบว่า 
ในระยะยาวแล้วพื้นที่หย่อมป่าที่เหลือมีแนวโน้ม 
จะลดขนาดลงอีก และอาจหายไปในที่สุด 
การเปลี่ยนแปลงทางด้านองค์ประกอบทางด้าน 
นิเวศของถิ่นที่อาศัย เกิดจากความกดดันจากการ 
ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรม 
ของมนุษย์ การบุกรุกดังกล่าวมิได้เกิดโดยบังเอิญ 
แต่เป็นความตั้งใจของมนุษย์ที่ต้องการเปลี่ยน 
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเลือกพื้นที่
การเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง 
ทำให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงกับพื้นที่ 
หย่อมป่าอีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ 
หย่อมป่า เนื่องจากแรงกดดันจากการใช้ประโยชน์ 
ของมนุษย์โดยรอบพื้นที่ พบว่าหย่อมป่าที่มีรูปร่าง 
ไม่สมํ่าเสมอย่อมมีเส้นรอบรูปยาวกว่าหย่อมป่าที่มี 
รูปร่างกลมหรือสี่เหลี่ยม และพื้นที่หย่อมป่าดังกล่าว 
มักมีความเสี่ยงต่อการคุกคามสูงขึ้นเนื่องจากความ 
ขัดแย้งระหว่างหย่อมป่าและพื้นที่ขอบโดยรอบ 
(edge contrast) มีมากขึ้นตามช่วงเวลาที่ผ่านไป 
(Forman, 1995; Bennett, 2003; Fahrig, 2003) 
จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแตกกระจาย 
ของผืนป่า หย่อมป่าที่กระจัดกระจายตัวอยู่ 
ทั่วไปมักมีความใกล้เคียงกันของหย่อมป่า 
(proximity) ในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละ 
พื้นที่ และยังผันแปรไปตามแรงกดดันจากความ 
ต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบของชุมชน 
เมื่อหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อถิ่นที่อาศัยของ 
พืชพรรณหรือสัตว์ป่าอยู่ห่างกันมากขึ้นและ/หรือ 
หย่อมป่าเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง ประชากรของ 
20 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่มักมีอัตราเสี่ยงต่อการ 
สูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี 
ชีวภูมิศาสตร์ของเกาะ (island biogeography 
theory) ที่เสนอโดย McArthur and Willis 
(1967) และทฤษฎีการเกิดประชากรย่อย 
(metapopulation) ที่เสนอโดย Levins 
(1969) ภายหลังจากการเกิดหย่อมป่า 
สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าไม่ 
สามารถเคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระระหว่าง 
ถิ่นที่อาศัยได้เช่นในอดีต ประชากร 
สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มถูกกักให้อาศัยอยู่ใน 
เฉพาะหย่อมป่านั้นๆ ก่อให้เกิดปัญหา 
การผสมเลือดชิด (inbreeding) หรือการ 
ผสมพันธุ์ภายในประชากรที่มีลักษณะทาง 
พันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน เป็นเหตุให้พันธุกรรม 
ของประชากรย่อยนั้นๆ ขาดความหลากหลายและ 
อ่อนแอ และมีจำนวนลดลงในที่สุด (ศึกษาผลกระทบ 
ของการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าได้เพิ่มเติม 
จาก Saunders et al., 1991) ความหลากหลาย 
ทางชีวภาพทฤษฎีทั้งสองดังกล่าวนี้เป็นแรง 
ขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ 
(conservation biodiversity) หันมาให้ความสนใจ 
ในการออกแบบและจัดทำทางเชื่อมต่อระหว่าง 
หย่อมป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ให้ 
นํ้าหนักไปกับการออกแบบทางเชื่อมต่อสำหรับ 
สัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากกว่า 
สิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ ดังตัวอย่างงานวิจัยที่ 
เกี่ยวข้องได้แก่ Beier (1993); Laurance and 
Laurance (1999); Meegan and Maehr 
(2002) ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์ป่าบางชนิดมีการ 
เคลื่อนไหว ย้ายถิ่นตลอดเวลา จะเกิดผลกระทบ 
จากการแตกกระจายของหย่อมป่าอย่างเห็นได้ชัด
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 21 
จากความต้องการของสิ่งมีชีวิตในการ 
เคลื่อนที่หาแหล่งถิ่นที่อาศัยในระบบนิเวศบนพื้น 
ดินนั้น พบว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะสัตว์ป่า 
ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่มีความ 
สามารถในการเคลื่อนที่สูงเพื่อเสาะแสวงหาอาหาร 
ได้แสดงให้เห็นว่าประสบปัญหาในการเคลื่อนที่ 
อย่างเห็นได้ชัดในสภาวการณ์ปัจจุบัน สัตว์เลี้ยง 
ลูกด้วยนมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มักถูกจำกัด 
ให้หากินอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปพื้นที่ 
หย่อมป่าขนาดเล็กดังกล่าวไม่สามารถตอบสนอง 
ความต้องการขั้นพื้นฐานต่อการดำ รงชีวิต 
(basic needs) ของประชากรของสัตว์ป่าเหล่า 
นั้นได้ ฉะนั้นจึงถือได้ว่าสภาพการแตกกระจาย 
ของผืนป่าที่พบในปัจจุบันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อ 
การเคลื่อนที่ของสัตว์ป่าในธรรมชาติ และจัดเป็น 
ภัยคุกคามที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งต่อความ 
หลากหลายทางชีวภาพทั้งสามระดับ ได้แก่ ระดับ 
พันธุกรรรม ระดับชนิดพันธุ์ และระดับระบบนิเวศ 
ของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก 
ตามการศึกษาของ Bennett (2003) 
พบว่าการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าประกอบ 
ไปด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 
การเกิดการสูญเสียถิ่นที่อาศัย (habitat 
loss) ได้แก่ การลดลงของขนาดพื้นที่ถิ่นที่อาศัย 
ภายหลังจากเกิดการแบ่งแยกพื้นที่และการทำลาย 
พื้นที่บางส่วนออกไป (habitat reduction) 
การเพิ่มระดับของความโดดเดี่ยวของถิ่น 
ที่อาศัย โดยการเพิ่มขึ้นของระยะทางระหว่าง 
หยอ่มปา่ทเี่หลืออยู ่ขณะทกี่ารใชป้ระโยชนพ์นื้ทดี่นิ 
ประเภทอื่นๆ เกิดขึ้นมาแทนที่ระหว่างหย่อมป่า 
(habitat isolation) 
การแตกกระจายของกลุ่มป่า ถือได้ว่ามี 
ผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่น 
(local landscape) และระดับภูมิภาค (regional 
landscape) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทั้งในระดับ 
โครงสร้าง (structure) และหน้าที่ (function) ของ 
ระบบนิเวศด้วย สำหรับกระบวนการเกิดการแตก 
กระจายของผืนป่ามีกระบวนการเกิดหลายแบบ 
ซึ่ง Hunter (2002) ได้สรุปขั้นตอนการเกิดการ 
แตกกระจายของหย่อมป่าเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ 
ดังต่อไปนี้ 
1) การตัดผ่าน (dissection) ขั้นแรกของ 
การเริ่มต้นการเกิดการแตกกระจายของหย่อมป่า 
ต้องมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมประเภทต่างๆ 
ได้แก่ ถนน ทางเกวียน ทางเดินเท้า หรือทางรถไฟ 
เป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ได้ 
ของมนุษย์ กล่าวได้ว่าการเข้ามาของเส้นทาง 
คมนาคมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดการสูญเสียถิ่น 
ที่อาศัย 
2) การเป็นรูทะลุของผืนป่า (perforation) 
กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นตัวการทำลายพื้นที่ 
ธรรมชาติ โดยการทำลายได้เริ่มจากพื้นที่ขนาดเล็กๆ 
เสมือนเป็นการเจาะรูทะลุไปบนพื้นที่ธรรมชาติ 
อัตราการสูญเสียถิ่นที่อาศัยจะเร็วหรือช้าผัน 
แปรไปตามระดับความเข้มข้นของกิจกรรมของ 
มนุษย์ 
3) การแตกกระจายของผืนป่า (fragmentation) 
เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การขยายพื้นที่เขต 
2.3 ¡Ãкǹ¡ÒÃà¡Ô´¡ÒÃáμ¡ÃШÒ 
¢Í§¼×¹»†Ò (Fragentation Process)
เมืองและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว 
ทำให้พื้นที่ธรรมชาติเริ่มแยกตัวห่างออกจากกัน 
และท้ายที่สุดเกิดเป็นหย่อมป่าขนาดใหญ่ อย่างไร 
ก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่โดยรอบ (matrix) ยังคงมี 
สภาพเป็นป่าธรรมชาติอยู่ 
4) การลดจำนวนพื้นที่ป่า (attrition) เวลา 
เพียงไม่กี่ชั่วคน การขยายพื้นที่ทำกินทำให้พื้นที่ 
หย่อมป่าขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหย่อมป่า 
ขนาดเล็ก ขณะที่พื้นที่โดยรอบมีการเปลี่ยนสภาพ 
ไปเป็นพื้นที่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ประเภทอื่นๆ 
มากยิ่งขึ้น เช่น พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ปศุสัตว์ 
และเขตเมือง เป็นต้น กล่าวคือพื้นที่ป่าธรรมชาติ 
ส่วนใหญ่ในที่สุดแล้วจะถูกพัฒนากลายเป็นพื้นที่ 
สำหรับการอยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมต่างๆ 
สำหรับมนุษย์นั่นเอง 
2.4 ¤ÇÒÁÊíÒ¤ÑÞáÅÐÃٻẺ¡ÒèѴ 
ÊÃOEÒ§á¹Çàª×èÍÁμ‹Í 
2.4.1 ความสำคัญของแนวเชื่อมต่อ 
จากคำจำกัดความทั้งหมดดังกล่าว พบว่าแนว 
เชื่อมต่อมีความสำคัญ 2 มุมมอง ได้แก่ 
1) มุมมองทางด้านโครงสร้าง (structural 
perspective) เป็นการพิจารณาแนวเชื่อมต่อโดย 
เน้นไปที่ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกที่ทำการ 
เชื่อมต่อ เช่น ความยาว ความแคบ ความกว้าง หรือ 
ความโค้ง ของทางเช่อืมต่อ หรืออีกนัยหนึ่งคือการ 
พิจารณาถึงการมีการเชื่อมต่อทางด้านโครงสร้าง 
เท่านั้น (structural connectedness) 
2) มุมมองทางด้านหน้าที่ (functional 
perspective) เป็นการพิจารณาทางเชื่อมต่อใน 
22 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 
ฐานะของความสามารถที่ทำให้มีการเชื่อมต่อกันได้ 
(connectivity) โดยความสามารถในการเชื่อมต่อ 
นั้นเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าพืชหรือสัตว์สามารถเคลื่อน 
ย้ายผ่านระหว่างหย่อมป่าหรือหมู่เกาะไปได้ด้วย 
ความยากง่ายเพียงใด (Hess and Fischer, 2001) 
ฉะนั้นเพื่อให้การออกแบบทางเชื่อมต่อเป็นไปอย่าง 
มปีระสิทธิภาพ นกัวิจยัและนักจัดการพนื้ทคี่มุ้ครอง 
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความสามารถใน 
การเคลื่อนที่ของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ 
ที่จะผ่านไปตามทางเชื่อมต่อที่ได้ออกแบบไว้ 
สิ่งมีชีวิตต่างชนิดพันธุ์กันย่อมมีความสามารถ 
ในการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็น 
ที่จะต้องออกแบบทางเชื่อมต่อให้เหมาะสมกับ 
พฤติกรรมของชนิดพันธุน์นั้ๆ อยา่งเฉพาะเจาะจง 
Bennett (2003) ยังได้ยํ้าให้เห็นถึงความสำคัญ 
ของการส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการเชื่อม 
ต่อกันทางด้านหน้าที่ (functional connectivity) 
มากกว่าที่จะมุ่งเน้นการเชื่อมต่อเฉพาะทางด้าน 
กายภาพเท่านั้น (physical connectivity) และ 
ยังให้รวมพิจารณาถึงคุณภาพและสภาพแวดล้อม 
ของแนวเชื่อมต่อที่ชนิดพันธุ์นั้นๆ จะสามารถผ่าน 
ไปได้หรือไม่และอย่างไร กล่าวได้ว่าการเข้าใจ 
องค์ประกอบทางด้านพฤติกรรมของแต่ละชนิด 
พันธุ์ที่เป็นเป้าหมายในการอนุรักษ์ เป็นสิ่งสำคัญ 
เบื้องต้นที่จะรับประกันถึงความสำเร็จของการ 
ใช้แนวเชื่อมต่อระหว่างผืนป่าเพื่อการอนุรักษ์ 
ความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับหน้าที่ทาง 
ด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ พบว่าบทบาท 
ของแนวเชื่อมต่อที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการส่ง 
เสริมให้สิ่งมีชีวิตสามารถกระจายและเคลื่อนตัวไป 
ตามหย่อมที่อาศัยที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ อย่างไร 
ก็ตาม Forman and Gordon (1986) ได้กล่าวถึง
á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 23 
บทบาทหน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ 
ซึ่งมีอยู่หลายประการ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อาศัย 
(habitat) การเป็นทางเชื่อมผ่าน (conduit) 
การเป็นตัวกรอง (filter) การเป็นตัวขัดขวาง (barrier) 
การเป็นแหล่งผลิต (source) และการเป็นแหล่ง 
กำจัด (sink) 
นอกจากนี้ Hess and Fischer (2001) ไดเ้นน้ยา้ํ 
ให้เห็นถึงบทบาทของทางเชื่อมต่อที่มีความสำคัญ 
2 ด้าน ที่นักจัดการพื้นที่คุ้มครองต้องการ ได้แก่ 
1) บทบาทของแนวเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ 
ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ของชนิดเพียงอย่างเดียว 
2) บทบาทของทางเชื่อมต่อที่ช่วยเหลือ 
ชนิดในแงก่ารเปน็แหลง่อาหารและแหลง่สืบพันธุด์ว้ย 
โดยจะเรียกกลุ่มของสัตว์ป่าเหล่านี้ว่าเป็น 
ผู้อาศัยในทางเชื่อมต่อ (corridor dwellers) ซึ่ง 
ชนิดพันธุเ์หลา่นอี้าจมีความสามารถในการเคลอื่นที่ 
ต่างจำเป็นต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุเพื่อการขยาย 
พันธุ์และย้ายถิ่นฐานออกไปจากถิ่นที่อาศัยดั้งเดิม 
ในบางสถานการณ์แนวเชื่อมต่อที่มีความกว้างมากๆ 
อาจช่วยให้สังคมแห่งชีวิตและระบบนิเวศสามารถ 
อยูไ่ดอ้ยา่งมนั่คง สตัวป์า่และพืชพรรณทเี่ปน็อาหาร 
ของสัตว์ป่าสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างพื้นที่ 
คุ้มครองที่มีขนาดใหญ่ได้ในช่วงหลายชั่วอายุของ 
สิ่งมีชีวิต ทางเชื่อมต่อที่มีคุณลักษณะเช่นนี้รู้จักกัน 
ในนาม “landscape linkage” ตามแนวคิดของ 
Bennett (2003) 
ในทางตรงกันข้าม บทบาทการเป็นตัวกรอง 
และตัวขัดขวางของทางเชื่อมต่อเป็นการพิจารณา 
บทบาทของบริเวณพื้นที่ด้านนอกที่มีแนวเชื่อม 
ต่อคั่นกลาง พื้นที่ที่อยู่ตรงข้ามกันของสองฝั่งทาง 
เชื่อมถูกแบ่งแยกออกจากกัน ฉะนั้น แนวทางเชื่อม 
ต่อทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปสรรคไม่ให้สิ่งมีชีวิต 
บางประเภทข้ามผ่านไปมาได้โดยง่าย อาจมีการ 
ยอมให้สิ่งมีชีวิตบางประเภทหรือสิ่งมีชีวิตที่มีบาง 
คุณลักษณะที่เฉพาะสามารถข้ามผ่านไปได้เท่านั้น 
หรืออาจไม่ยอมให้สิ่งมีชีวิตใดๆ ผ่านไปเลยก็ได้ 
ตัวอย่างเช่น การใช้ลำนํ้าเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่าง 
ทะเลสาบสองแห่งอาจทำให้สัตว์บกขนาดเล็กไม่ 
สามารถข้ามผ่านไปได้ เป็นต้น 
ขณะที่บทบาทของการเป็นแหล่งผลิตและ 
แหล่งกำจัดสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความ 
สนใจนักต่อการพิจารณาการออกแบบแนวเชื่อมต่อ 
เนื่องจากบทบาทของแนวเชื่อมต่อที่มีอิทธิพลต่อ 
ด้านนี้มีไม่มากนัก แหล่งผลิตเป็นการอธิบายถึง 
ถิ่นที่อาศัยที่มีภาวการณ์การส่งเสริมการเพิ่มของ 
ประชากรมากกว่าภาวการณ์ในการลดจำนวน 
ของประชากร โดยที่แหล่งกำจัดหมายถึงถิ่นที่ 
อาศัยที่พบภาวการณ์ลดลงของประชากรมากกว่า 
ภาวการณ์เพิ่มของประชากร 
2.4.2 รูปแบบการสร้างแนวเชื่อมต่อ 
Bennett (2003) อ้างโดย กรมอุทยานแห่งชาติ 
สตัวป์า่ และพันธุพ์ชื (2555) ไดเ้สนอแนวทางในการ 
สร้างทางเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 
1). การเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยแบบโมเสค 
(Habitat mosaics) ในการเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่อาศัย 
แบบโมเสค (Habitat mosaics or Landscape 
corridor) ในสภาพพื้นที่บางแห่งซึ่งมีการ 
เปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติเดิมไม่มากนัก 
ทำให้ถิ่นที่อาศัยที่เป็นธรรมชาติกับพื้นที่ที่ได้ 
เปลี่ยนแปลงไปนั้นค่อนข้างไม่แตกต่างกันมากนัก 
การแยกแยะระหว่างถิ่นที่อาศัยที่เหมาะสมกับที่ไม่ 
เหมาะสมจึงอาจทำได้ยาก แต่สัตว์บางชนิดสามารถ 
ใช้ถิ่นที่อาศัยเหล่านั้นได้ แม้จะถูกเปลี่ยนแปลงไป
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand
Ecological Corridor in Thailand

More Related Content

What's hot

CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551Thorsang Chayovan
 
เรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติเรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติPalm Teenakul
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ Thorsang Chayovan
 
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติCarrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติUNDP
 
ข อสอบว ชาช_วว_ทยา
ข อสอบว ชาช_วว_ทยาข อสอบว ชาช_วว_ทยา
ข อสอบว ชาช_วว_ทยาPorna Saow
 
PES book
PES bookPES book
PES bookUNDP
 
Ch 01 โครงสร้างอะตอม
Ch 01 โครงสร้างอะตอมCh 01 โครงสร้างอะตอม
Ch 01 โครงสร้างอะตอมkruannchem
 
ประวัติว่ายน้ำสากล
ประวัติว่ายน้ำสากลประวัติว่ายน้ำสากล
ประวัติว่ายน้ำสากลnookkiss123
 
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system kasidid20309
 
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรม
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรมบทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรม
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรมJirathorn Buenglee
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจKrongdai Unhasuta
 
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม  การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม Parinya Damrongpokkapun
 
Wildlife ecology and environment
Wildlife ecology and environmentWildlife ecology and environment
Wildlife ecology and environmentsaraharshad10
 
Checklist chest drain version 2
Checklist chest drain version 2Checklist chest drain version 2
Checklist chest drain version 2Weerawan Ueng-aram
 

What's hot (20)

CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
CPG Thai hemorrhagic stroke 2551
 
เรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติเรขาคณิตสามมิติ
เรขาคณิตสามมิติ
 
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่ CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
CPG มะเร็งเม็ดเลือดขาวและต่อมน้ำเหลืองในผู้ใหญ่
 
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติCarrying  Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
Carrying Capacity ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ
 
ข อสอบว ชาช_วว_ทยา
ข อสอบว ชาช_วว_ทยาข อสอบว ชาช_วว_ทยา
ข อสอบว ชาช_วว_ทยา
 
3
33
3
 
PES book
PES bookPES book
PES book
 
Ch 01 โครงสร้างอะตอม
Ch 01 โครงสร้างอะตอมCh 01 โครงสร้างอะตอม
Ch 01 โครงสร้างอะตอม
 
Protected areas
Protected areasProtected areas
Protected areas
 
บทที่ 6 ระบบทรายกรองเร็ว (Rapid Sand Filtration)
บทที่ 6 ระบบทรายกรองเร็ว (Rapid Sand Filtration)บทที่ 6 ระบบทรายกรองเร็ว (Rapid Sand Filtration)
บทที่ 6 ระบบทรายกรองเร็ว (Rapid Sand Filtration)
 
ประวัติว่ายน้ำสากล
ประวัติว่ายน้ำสากลประวัติว่ายน้ำสากล
ประวัติว่ายน้ำสากล
 
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
ชีววิทยาเรื่องการหายใจ respiration system
 
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรม
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรมบทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรม
บทคัดย่อวิจัยการใช้นวัตกรรม
 
การจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจการจัดการทางเดินหายใจ
การจัดการทางเดินหายใจ
 
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม  การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านม
 
Wildlife ecology and environment
Wildlife ecology and environmentWildlife ecology and environment
Wildlife ecology and environment
 
VAP
VAPVAP
VAP
 
Bio3 62 photosyn_1
Bio3 62 photosyn_1Bio3 62 photosyn_1
Bio3 62 photosyn_1
 
คู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการคู่มือนักโภชนาการ
คู่มือนักโภชนาการ
 
Checklist chest drain version 2
Checklist chest drain version 2Checklist chest drain version 2
Checklist chest drain version 2
 

Viewers also liked

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศUNDP
 
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติการจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติyah2527
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศUNDP
 
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์UNDP
 
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าAuraphin Phetraksa
 
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยUNDP
 
T-FERN มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง
T-FERN  มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม  สุขสว่างT-FERN  มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม  สุขสว่าง
T-FERN มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม สุขสว่างAuraphin Phetraksa
 
นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗Auraphin Phetraksa
 
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...UNDP
 
FSS book
FSS bookFSS book
FSS bookUNDP
 
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินคู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินUNDP
 
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ UNDP
 
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...UNDP
 

Viewers also liked (18)

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศ
การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มป่าเชิงระบบนิเวศ
 
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติการจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ
การจัดการอุทยานแห่งชาติอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติ
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
ข้อเสนอแนะแนวทางการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการดำเนินงานแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
แนวทางการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
 
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อการจัดการพื้นที่คุ้มครอง
 
การศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่าการศึกษาสัตว์ป่า
การศึกษาสัตว์ป่า
 
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทยการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่คุ้มครองไทย
 
T-FERN มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง
T-FERN  มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม  สุขสว่างT-FERN  มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม  สุขสว่าง
T-FERN มูลค่านันทนาการป่าตะวันออก โดย ดร.ทรงธรรม สุขสว่าง
 
นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗นันทนาการ ๕๗
นันทนาการ ๕๗
 
Carrying Capacity
Carrying CapacityCarrying Capacity
Carrying Capacity
 
Cc 3 ส.ค. 58
Cc 3 ส.ค. 58Cc 3 ส.ค. 58
Cc 3 ส.ค. 58
 
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
แนวทางการประเมิน เพื่อการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและองค์กร เพื่อการจัดการพื้นที...
 
FSS book
FSS bookFSS book
FSS book
 
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงินคู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
คู่มือการฝึกอบรมการประเมินความยั่งยืนด้านการเงิน
 
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์ แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
แนวทางในการจัดตั้งและการบริหารกองทุนเพื่อการอนุรักษ์
 
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครองแนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
แนวทางในการจัดทำแผนธุรกิจพื้นที่คุ้มครอง
 
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
การเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรและบุคคล เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นในการจัดการ...
 
The Value of Nature
The Value of NatureThe Value of Nature
The Value of Nature
 

Similar to Ecological Corridor in Thailand

แนวเชื่อมต่อ
แนวเชื่อมต่อแนวเชื่อมต่อ
แนวเชื่อมต่อAuraphin Phetraksa
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศAuraphin Phetraksa
 
แปลงตัวอย่างถาวร
แปลงตัวอย่างถาวรแปลงตัวอย่างถาวร
แปลงตัวอย่างถาวรAuraphin Phetraksa
 
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งโครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งTaweesak Poochai
 
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติแนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติUNDP
 
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิต
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิตอุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิต
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิตyah2527
 
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์Taweesak Poochai
 
Marine smart patrol 2
Marine smart patrol 2Marine smart patrol 2
Marine smart patrol 2yah2527
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหารายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหาWichai Likitponrak
 
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPA
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPAรายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPA
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPAyah2527
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศUNDP
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56krupornpana55
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56krupornpana55
 
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตาแผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตาyah2527
 
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมือง
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมืองPPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมือง
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมืองFURD_RSU
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) UNDP
 
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติอุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติyah2527
 
การออกแบบ หน่วยที่ ๔ วิทย์
การออกแบบ  หน่วยที่  ๔ วิทย์การออกแบบ  หน่วยที่  ๔ วิทย์
การออกแบบ หน่วยที่ ๔ วิทย์srkschool
 

Similar to Ecological Corridor in Thailand (20)

แนวเชื่อมต่อ
แนวเชื่อมต่อแนวเชื่อมต่อ
แนวเชื่อมต่อ
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
แปลงตัวอย่างถาวร
แปลงตัวอย่างถาวรแปลงตัวอย่างถาวร
แปลงตัวอย่างถาวร
 
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่งโครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
 
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติแนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ
แนวทางการศึกษาและวิจัยอุทยานแห่งชาติ
 
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิต
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิตอุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิต
อุทยานแห่งชาติ ขุมทรัพย์เพื่อชีวิต
 
แปลงถาวร
แปลงถาวร แปลงถาวร
แปลงถาวร
 
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
คู่มือ การสำรวจความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่าอนุรักษ์
 
Marine smart patrol 2
Marine smart patrol 2Marine smart patrol 2
Marine smart patrol 2
 
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหารายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
รายงานนวัตกรรมการจัดกิจกรรมด้านการแสวงหาความรู้เพื่อการแก้ปัญหา
 
NTFP
NTFPNTFP
NTFP
 
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPA
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPAรายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPA
รายงานการประชุมปิดโครงการ CATSPA
 
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
หน่วยที่ 5 ร่วมสร้างสรรค์ 12 มี.ค.56
 
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตาแผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
แผนยุทธศาสตร์ระบบนิเวศทางทะเล อุทยานแห่งชาติตะรุเตา
 
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมือง
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมืองPPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมือง
PPT มองเมืองจากมุมมองนักผังเมือง
 
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE) นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
นำเสนอต่อผู้ประเมินโครงการ (TE)
 
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติอุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
อุทยานแห่งชาติของไทยกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ
 
การออกแบบ หน่วยที่ ๔ วิทย์
การออกแบบ  หน่วยที่  ๔ วิทย์การออกแบบ  หน่วยที่  ๔ วิทย์
การออกแบบ หน่วยที่ ๔ วิทย์
 

More from UNDP

Dance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfDance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfUNDP
 
Good personality
Good personalityGood personality
Good personalityUNDP
 
Self Massage#1
Self Massage#1Self Massage#1
Self Massage#1UNDP
 
Protected Area book
Protected Area bookProtected Area book
Protected Area bookUNDP
 
METT book
METT bookMETT book
METT bookUNDP
 
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองUNDP
 
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งUNDP
 
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม UNDP
 
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศแนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศUNDP
 
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการแนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการUNDP
 
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศการวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศUNDP
 
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายUNDP
 
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณแนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณUNDP
 
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนการวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนUNDP
 
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรUNDP
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกUNDP
 
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม UNDP
 

More from UNDP (17)

Dance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdfDance for Peace.pdf
Dance for Peace.pdf
 
Good personality
Good personalityGood personality
Good personality
 
Self Massage#1
Self Massage#1Self Massage#1
Self Massage#1
 
Protected Area book
Protected Area bookProtected Area book
Protected Area book
 
METT book
METT bookMETT book
METT book
 
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครองการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่คุ้มครอง
 
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็งเทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
เทคนิคในการเสริมสร้างความเข้มแข็ง
 
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
เทคนิคแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วม
 
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศแนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
แนวทางการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศ
 
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการแนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
แนวทางในการดำเนินงานค่าแทนคุณระบบนิเวศอย่างบูรณาการ
 
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศการวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
การวิเคราะห์ทางเลือกในการดูงานต้นแบบกองทุนค่าแทนคุณระบบนิเวศ
 
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมายข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
ข้อเสนอแนะการบังคับใช้กฎหมาย
 
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณแนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
แนวทางการประเมินเงินงบประมาณ
 
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุนการวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
การวิเคราะห์แหล่งเงินทุน
 
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรเทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
เทคนิคแนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กร
 
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออกข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในกลุ่มป่าตะวันออก
 
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
คู่มือการฝึกอบรม เครื่องมือติดตาม
 

Ecological Corridor in Thailand

  • 1.
  • 2. แแนนวเเชชืื่่อมตต่่อรระะบบนนิิเเววศใในนปรระะเเททศไไททย Ecological Corridor in Thailand สถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 1 สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมออุุทยยาานแแหห่่งชชาาตติิ สสััตวว์์ปป่่าา แแลละะพพัันธธุุ์์พพืืช
  • 3. แแนนวเเชชāā่่อมตต่่อรระะบบนนิิเเววศใในนปรระะเเททศไไททย พพิิมพพ์์ครรัั้้งททีี่่ 1 พพุุทธศศัักรราาช 2557 ISBN 978-616-316-163-5 จจํำานวน 1,000 เเลล่่ม ¼ÙOEàÃÕºàÃÕ§ ทรงธรรม สสุุขสวว่่าาง ธรรมนนููญ เเตต็็มไไชชย ¾ÔÊÙ¨¹ÍÑ¡ÉÃ/¢OEÍOEÍÁÙÅÙÅ หททััยรรััตนน์์ นนุุกกููล มยยุุรรีี แแสสงสวว่่าาง ปรระะททุุมพร ธรรมลลัังกกาา บรริิววััฒนน์์ รราาชปปัักษษีี ดดํำารงศศัักดดิิ์์ เเฮฮงสวว่่าาง พพิิททัักพงษษ์์ จจัันทรร์์ดดีี ออ้้อมฤททััย ออุุปลละะ เเบบญจมมาาพร ตตะะวงษษ์์ ปปิิยธธิิดดาา สองแแคคว สสัันต ์ตตัันจจํำารรััส á¼¹·Õè»ÃСͺ พพัันธธุุ์์ททิิพพาา ใใจจแแกก้้ว ÀÒ¾»ÃСͺ ทรงธรรม สสุุขสวว่่าาง ธรรมนนููญ เเตต็็มไไชชย ตฤณ ศศัักดดิิ์์มมัังกร เเจจ้า้าหนน้า้าทที่อี่อุทุทยยาานแแหห่ง่งชชาาตติทิที่เี่เกกี่ยี่ยวขข้อ้อง พิมพ์ที่ โโรรงพพิิมพพ์์ดอกเเบบีี้้ย จจํำากกััด 1032/203-208 ซ.รร่่วมศศิิรริิมมิิตร ถนนพหลโโยยธธิิน แแขขวงจอมพล เเขขตจตตุุจจัักร กรรุุงเเททพมหหาานคร 10900 2 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â Í·Ò§Ãкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐàÈä·Â
  • 4. á¹Çàª×èÍÁμμ‹‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 3 ภภาาพโโดดย : เเขขตรรัักษษาาพพัันธธุุ์์สสััตวว์์ปป่่าาเเขขาาออ่่าางฤฤาไน
  • 5. ¤íÒ¹íÒ ในปัจจุบันพบว่าพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยที่ได้ประกาศเป็นพื้นที่คุ้มครองแห่งชาติ ในรูปแบบของพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และยังพบอีกว่า พื้นที่คุ้มครองทางบกเกือบทุกพื้นที่ทำให้มีการบุกรุกเพื่อตั้งถิ่นฐานและทำการเกษตร ทำให้ มกีารแตกกระจายเปน็หยอ่มปา่ไมต่ดิตอ่เปน็ผืนเดียวกัน ดงันนั้การแกไ้ขปญัหาพนื้ทคี่มุ้ครอง ที่ถูกแบ่งแยกนั้น จำเป็นต้องหาวิธีสร้างแนวเชื่อมต่อ (corridor) เพื่อให้สัตว์ป่าและพืชป่า สามารถเคลื่อนย้ายไปมาระหว่างกันได้ สนับสนุนให้เกิดสมดุลของระบบนิเวศ และสามารถ เสริมสรา้งความเขม้แข็งของความหลากหลายทางชีวภาพของพนื้ทคี่มุ้ครองมากขนึ้ นอกจาก นผี้ลจากการวิจยัทวั่โลกพบวา่การอนุรกัษพ์นื้ทคี่มุ้ครองทมี่ขีนาดเล็กเกินไปไมเ่ปน็สงิ่ดี เพราะ จะทำให้เกิดการผสมพันธุ์ในหมู่เครือญาติ (Inbreeding) ของพืชและสัตว์ในพื้นที่ ทำให้ สงิ่มีชวีติเหลา่นมี้พีนัธุกรรมออ่นแอลง และอาจสูญพันธุไ์ดใ้นอนาคต นาํไปสูก่ารสูญเสียความ หลากหลายทางชีวภาพได้ นอกจากนี้การที่มีผืนป่าขนาดใหญ่ซึ่งมีระบบนิเวศที่หลากหลาย และต่อเนื่องสมบูรณ์จะสามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าพื้นที่ส่วนใดส่วนหนึ่งที่อยู่ใกล้เคียงกันกับระบบนิเวศพื้นที่คุ้มครองถูกรบกวนหรือ ถูกทำลายจะมีผลกระทบต่อเนื่องถึงระบบนิเวศของพื้นที่คุ้มครองนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วย ดังนั้น ความพยายามในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่คุ้มครอง โดย นักวิชาการของสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มองภาพรวมของแผนกลยุทธ์ในการป้องกันพื้นที่คุ้มครองที่เหลือ อยู่ในอนาคต โดยการจัดการอนุรักษ์พื้นที่เชิงระบบนิเวศ (Ecosystem Management) ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ผืนป่าขนาดใหญ่และผืนป่าขนาดเล็กที่ถูกตัดขาดโดยถนนหรือถูกบุกรุก ทำลายในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ห่างกันกับพื้นที่คุ้มครองหลัก (Core Area) ไม่มากนัก 4 á¹Çàª×èÍ×èÍÁμμ‹×èÍÁμ‹Í‹ÍÃкº¹ÔàÔàÇÈãÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
  • 6. แต่ปัจจุบันถูกแบ่งแยกและอยู่ห่างกันก็จำเป็นที่จะต้องหาวิธีการสร้างแนวเชื่อมต่อเพื่อให้ สัตว์ป่าและพันธุ์พืชมีการแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างกันให้ได้ เมื่อพื้นที่คุ้มครองดังกล่าว มีความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์และมั่นคง (Integrity) จะส่งผลที่ดีต่อการดำรงชีวิต ของประชาชนรอบผืนป่าที่เป็นพื้นที่คุ้มครองและส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ดังนั้น แนวความคิดในการเชื่อมต่อระบบนิเวศ (Ecological Corridor) จึงเป็นประเด็นที่ถูก หยิบยกขนึ้มาพิจารณา เพราะเห็นวา่เปน็หนทางหนงึ่ทจี่ะชว่ยใหร้ะบบนิเวศของพนื้ทคี่มุ้ครอง ทกี่ระจัดกระจายอยูใ่นกลุม่ปา่ตา่งๆทวั่ประเทศกลับคืนสูค่วามอุดมสมบูรณแ์ละคงไวซ้งึ่นิเวศ บริการ (Ecosystem Service) ที่ดี รวมทั้งยังเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นได้ โดยทางสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุพ์ชื ไดใ้หค้วามสำคัญในการศึกษาเกยี่วกับหนทางในการเชอื่มตอ่ระบบนิเวศของพนื้ที่ คมุ้ครองมาเปน็เวลาหลายป ีและยังคงดำเนินการสนับสนุนใหแ้นวความคิดเหลา่นเี้ปน็จริงขนึ้ มาโดยอาศัยกลไกต่างๆ ของการจัดการเชิงระบบนิเวศเข้ามาเป็นเครื่องมือในการจัดการพื้นที่ คุ้มครองและใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะผลักดันให้เกิดการจัดทำแนว เชื่อมต่อทางนิเวศวิทยาของกลุ่มป่าในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จให้ได้ ดังนั้น เอกสารเล่มนี้จึงได้เรียบเรียงจากงานวิจัยของสถาบันนวัตกรรมอุทยานแห่งชาติ และพื้นที่คุ้มครองรวมทั้งได้หาข้อมูลจากคู่มือและประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำแนว เชื่อมต่อระบบนิเวศในต่างประเทศ รวมทั้งงานศึกษาอื่นๆ ที่ได้ดำเนินการในประเทศไทย โดยคาดหวังว่าจะได้ช่วยเผยแพร่แนวความคิดการเชื่อมต่อระบบนิเวศนี้ให้แพร่หลายและเป็น ที่เข้าใจ รวมทั้งได้รับความสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการพื้นที่คุ้มครอง ของประเทศไทยต่อไป á¹Çàª×èÍ×èÍÁμμμ‹Í‹‹ÍÃкº¹ÔàÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 5
  • 7. สารบัญ บทนำ 8 การจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ : ประสบการณ์จากประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (GMS - BCI) 12 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 16 ความหมายและความสำคัญ 16 การแตกกระจายของผืนป่า 19 กระบวนการเกิดการแตกกระจายของผืนป่า 21 ความสำคัญและรูปแบบการจัดสร้างแนวเชื่อมต่อ 22 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแนวเชื่อมต่อ 27 แนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 30 แนวคิดการจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในประเทศไทย 30 เป้าหมายของการจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 32 การจัดทำแนวเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่า 34 การออกแบบแนวเชื่อมต่อสัตว์ป่า 36 รูปแบบและแนวทางการจัดการแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง 38 ยุทธศาสตร์การวางแผนจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ และการอนุรักษ์เชิงบูรณาการ 46 ยุทธศาสตร์การวางแผนการจัดทำยุทธศาสตร์แนวเชื่อมต่อ 46 วิธีการแก้ไขผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในพื้นที่แนวเชื่อมต่อ 48 ข้อจำกัดในการวางแผนยุทธศาสตร์ การจัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ 49 การวางแผนเชิงพื้นที่ในการจัดการพื้นที่คุ้มครองเชิงระบบนิเวศ 53 หลักการป้องกันพื้นที่หลักของถิ่นอาศัยตามธรรมชาติของสัตว์ป่า 53 หลักการให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์เป็นลำดับแรกสุด 53 หลักความเชื่อมโยงของการอนุรักษ์และการฟื้นฟูแบบเชิงระบบนิเวศ 53 หลักการจัดการเชิงระบบนิเวศระหว่างพื้นที่อนุรักษ์และบริเวณโดยรอบ 54 หลักการพิจารณาจัดทำแนวเชื่อมต่อที่มีความสำคัญที่สุด 55 ขนาดของแนวเชื่อมต่อที่สามารถคงไว้ของกระบวนการทางนิเวศวิทยา 57 ระดับความสำคัญของแนวเชื่อมต่อกับถิ่นที่อยู่อาศัย 57 ระดับของภัยคุกคามที่มีผลต่อชนิดพันธ์ุหรือนิเวศวิทยาของพืชและสัตว์ในพื้นที่ที่จะจัดทำแนวเชื่อมต่อ 58 ชนิดสัตว์ป่าเป้าหมายที่ได้ประโยชน์จากแนวเชื่อมต่อ 58 ความสามารถของแนวเชื่อมต่อในการอำนวยประโยชน์ทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม 59 6 á¹Çàª×èÍèÍÁμμ‹Í‹ÍÃкº¹àÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
  • 8. กลุ่มป่าของประเทศไทยกับแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศภายในกลุ่มป่า 60 กลุ่มป่าลุ่มนํ้าปาย – สาละวิน 63 กลุ่มป่าศรีลานนา - ขุนตาล 69 กลุ่มป่าดอยภูคา - แม่ยม 78 กลุ่มแม่ปิง - อมก๋อย 83 กลุ่มป่าภูเมี่ยง - ภูทอง 87 กลุ่มป่าภูเขียว - นํ้าหนาว 94 กลุ่มป่าภูพาน 100 กลุ่มป่าพนมดงรัก - ผาแต้ม 104 กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ 108 กลุ่มป่าตะวันออก หรือป่ารอยต่อ 5 จังหวัด 114 กลุ่มป่าตะวันตก 120 กลุ่มป่าแก่งกระจาน 128 กลุ่มป่าชุมพร 134 กลุ่มป่าคลองแสง - เขาสก 139 กลุ่มป่าเขาหลวง 145 กลุ่มป่าเขาบรรทัด 150 กลุ่มป่าฮาลา - บาลา 155 หมู่เกาะอ่างทอง อ่าวไทย 159 หมู่เกาะทะเลตะวันออก 161 หมู่เกาะทะเลอันดามัน 163 แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศระหว่างกลุ่มป่า 165 พนื้ทคี่มุ้ครองเชอื่มตอ่ระหวา่งประเทศ (Transboundary Protected Area) 169 กรณีศึกษาแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ เพื่อใช้ในการวางแผน การใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุรักษ์ 184 การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้และสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของกลุ่มป่าแก่งกระจาน 185 โครงการการประเมินสถานภาพสัตว์ป่าและถิ่นอาศัยในพื้นที่แนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรี 193 โครงการทางเชื่อมผืนป่ามรดกโลกบนทางหลวงหมายเลข 304 สาย อ.กบินทร์บุรี – ปักธงชัย 196 การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของป่าไม้และสัตว์ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ ระหวา่งเขตรักษาพันธุส์ตัวป์า่เขาอา่งฤาไนและอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา – เขาวง 199 เอกสารและสิ่งอ้างอิง 208 á¹Çàª×èÍèÍÁμμ‹Í‹ÍÃкº¹àÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 7
  • 9. º·¹íÒ 1.1 º·¹íÒ การจัดการพื้นที่คุ้มครองมีความสำคัญยิ่งต่อการ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ผลการศึกษา วิจัยหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่า พื้นที่คุ้มครองขนาด ใหญ่สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ไดอ้ยา่งมีประสิทธิภาพมากกวา่พนื้ทคี่มุ้ครองขนาด เล็ก (Harris, 1984) เพราะพื้นที่คุ้มครองขนาดใหญ่ มีแนวโน้มในการรองรับจำนวนชนิดและปริมาณ ของสัตว์ป่าได้มากขึ้น รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบางชนิดจะ ไม่สามารถอยู่รอดได้ถ้าอาศัยอยู่ในพื้นที่คุ้มครอง ขนาดเล็กและพื้นที่นั้นแยกตัวอย่างโดดเดี่ยว เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่คุ้มครองของประเทศไทยตั้ง อยู่กระจัดกระจายทั่วประเทศและหลายแห่งแยก พื้นที่อย่างโดดเดี่ยวไม่ต่อเนื่องกับป่าผืนใหญ่ การ อนุรักษ์พื้นที่คุ้มครองเหล่านี้ให้มีประสิทธิภาพสูง และสามารถรองรับความหลากหลายทางชีวภาพได้ มากขนึ้ จงึจำเปน็ตอ้งมีการจัดการพนื้ทคี่มุ้ครองใน เชิงระบบนิเวศในพื้นที่ขนาดใหญ่ เนอื่งจากประเทศไทยตงั้อยูใ่นเขตภูมศิาสตรท์ี่ มีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์ต่อสัตว์ป่าและพืชพรรณ 8 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â ยงัผลใหเ้กิดความหลากหลายของถนิ่ทอี่ยูอ่าศัยของ สิ่งมีชีวิตหลากหลายรูปแบบ แต่จากสถานการณ์ ด้านป่าไม้ของประเทศไทยในอดีตที่ลดลงอย่าง ต่อเนื่องโดยมีสาเหตุมาจากนโยบายการพัฒนาด้าน เศรษฐกิจและสังคม และความต้องการที่ดินของ ราษฎร ได้ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ถูกตัดขาดกลายเป็น หย่อมป่าที่แยกส่วนกัน (Habitat fragmentation) และมีขนาดเล็กลง (ภาพที่ 1 และภาพที่ 2) ที่ตั้งบ้าน เรือนและสิ่งก่อสร้างอื่นๆ กลายเป็นสิ่งแปลกปลอม เข้ามากีดขวางเส้นทางการเดินตามธรรมชาติของ สัตว์ป่าส่งผลต่อสัตว์ป่าบางชนิดที่ไม่สามารถข้าม ผ่านพื้นที่หากินและผสมพันธุ์ ซึ่งในทางนิเวศวิทยา จะทำให้สัดส่วนความสมบูรณ์ของปัจจัยการดำรง ชีพของสัตว์ป่า เกิดการตัดขาดของประชากรสัตว์ป่า เดิมออกเป็นประชากรย่อยๆ (Metapopulation) และไม่มีการแลกเปลี่ยนหรือการไหลผ่านของยีน (Gene flow) เกิดขึ้น ส่งผลต่อความหลากหลายทาง พันธุกรรมให้ลดลง ทำให้ประชากรย่อยในแต่กลุ่ม ง่ายต่อการถูกทำลายให้หมดไปในอนาคต ในขณะ ที่สัตว์ป่าบางชนิดที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การหากินให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ เช่น ช้างป่า สามารถปรับตัวเองให้คุ้นเคยกับการหากิน
  • 10. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 9 ในพื้นที่เกษตรกรรม เรียนรู้วิธีข้ามถนนและสิ่ง กีดขวาง จึงสามารถหากินและข้ามไปมาระหว่าง หย่อมพื้นที่ป่าที่ถูกตัดขาดออกจากกันไปแล้วได้ แต่สิ่งที่ตามมาคือพืชผลทางการเกษตรกลายเป็น อาหารของสัตว์ป่าบางชนิด ซึ่งมักทำให้เกิดปัญหา ความขัดแยง้ระหวา่งคนกับสัตวป์า่อยูเ่สมอ ยงัความ เสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร ชีวิต และทรัพย์สิน ของราษฎร โดยมีแนวโน้มความรุนแรงเพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังมีรายงานการเสียชีวิตของสัตว์ป่าที่ พยายามข้ามผ่านสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ถนน ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดพื้นที่คุ้มครองในประเทศไทยออกเป็น 20 กลุม่ปา่ โดยใชห้ลักเกณฑพ์นื้ฐานตา่งๆ เชน่ ลกัษณะ ภูมิประเทศ สภาพป่า ลุ่มนํ้า การกระจายของ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงลูกด้วย นมขนาดใหญ่มีการจัดการพื้นที่คุ้มครองภายใน กลุ่มป่าอย่างบูรณาการ เพื่อมุ่งให้เกิดการจัดการ เชิงระบบนิเวศ ให้เกิดผืนป่าขนาดใหญ่ที่สามารถ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ แต่ก็ยังพบว่ากลุ่มป่าทางบกเกือบ ทุกกลุ่มยังมีการแตกกระจายเป็นหย่อมป่าไม่ ติดต่อเป็นผืนเดียวกัน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการ พัฒนาด้านสาธารณูปโภค หรือการทำการเกษตร การแก้ไขปัญหาพื้นที่ป่าที่ถูกแบ่งแยกนั้น จำเป็น ต้องหาวิธีสร้างแนวเชื่อมต่อความหลากหลายทาง ชีวภาพ (Biodiversity Corridor) เพื่อให้สัตว์ป่า และพืชป่าสามารถแลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่าง ระบบนิเวศที่อยู่ห่างกัน และสนับสนุนให้เกิดความ หลากหลายทางชีวภาพและสมดุลของระบบนิเวศ มากขึ้น นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับโปรแกรมงาน พื้นที่คุ้มครองตามอนุสัญญาว่าด้วยความหลาก หลายทางชีวภาพที่ประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิก และตอบสนองต่อเป้าหมายการลดอัตราการสูญเสีย ความหลากหลายทางชีวภาพ ค.ศ. 2010 ที่ได้รับ การรับรองในการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนา อย่างยั่งยืนที่สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ในปี ค.ศ. 2002 การจัดการพื้นที่ให้เป็นแนวเชื่อมต่อระบบ นิเวศหรือ Ecological corridor area เป็นแนวความ คิดหนึ่งในกระบวนการจัดการกลุ่มป่าในเชิงระบบ นิเวศมีการเชื่อมต่อกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้ กระบวนการทางระบบนิเวศป่าไม้มีความสมบูรณ์ ส่งเสริมให้มีการแพร่กระจายพันธุ์ของสัตว์ป่า และพืชพรรณทเี่ปน็อาหารสัตวป์า่มีโอกาสแพรพ่นัธุ์ ผ่านไปยังพื้นที่ป่าที่ห่างไกล การเกิดปัญหาการข้ามผ่านไปมาของสัตว์ป่า และปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้พื้นที่ป่าบางส่วน เป็นชีวภูมิศาสตร์แบบเกาะ (Island Biogeography) ทสี่่งผลใหจ้าํนวนชนิดพันธุใ์นพนื้ทนี่นั้ลดจำนวนลง และแนวความคิดเพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างคนกับสัตว์ป่า (Wildlife - Human conflict) ได้สนับสนุนให้แนวความคิดในการจัดทำแนวเชื่อม ต่อระบบนิเวศ (Ecological Corridor หรือ Wildlife Corridor) มีบทบาทสำคัญในการรักษาความ เชื่อมโยงทางธรรมชาติของระบบนิเวศ เอื้อให้กลุ่ม ประชากรสัตว์ป่าสามารถเคลื่อนย้ายกระจายพันธุ์ เกิดการถ่ายเททางพันธุกรรม ลดการผสมเลือดชิด ในหมู่เครือญาติ (Inbreeding) สร้างความมั่นคง แข็งแรงให้สังคมสัตว์ป่าโดยรวม และที่สำคัญคือ มีส่วนในการลดปัญหาความขัดแย้งระหว่างคนกับ สัตว์ป่าให้เบาบางลง แต่ทั้งนี้ต้องดำเนินการภายใต้ การวางแผนการจัดการที่รัดกุมรอบคอบ ภายใต้ฐาน ข้อมูลทางวิชาการและความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ และสังคมของพื้นที่นั้นๆ ด้วย
  • 11. ภาพที่ 1 พื้นที่ป่าไม้ที่เหลือในปี พ.ศ. 2551 กระจายเป็นหย่อมป่า ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ เช่น การเกษตรกรรม และการตัดเส้นทางคมนาคมผ่านพื้นที่ป่าไม้ ที่มา : ข้อมูลพื้นที่ป่าไม้จากระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ กรมป่าไม้ 10 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
  • 12. พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2519 พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2544 ภาพที่ 2 ภาพถ่ายสีผสมของดาวเทียม Landsat แสดงความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าบริเวณแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศของพื้นที่ อุทยานแห่งชาติเขาชะเมา - เขาวง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน พื้นที่สีแดงคือพื้นที่ป่าไม้ สีเหลืองและสีฟ้า เปน็พนื้ทเี่กษตรกรรมและทอี่ยูอ่าศัย ความเปลยี่นแปลงในลักษณะนเี้กิดขนึ้ทวั่ประเทศไทย มผีลใหผ้นืปา่ถูกแบง่แยกออก เป็นหย่อมป่าที่มีขนาดเล็กลง á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 11 ที่มา : ศูนย์นวัตกรรมอุทยานแห่งชาติและพื้นที่คุ้มครอง จังหวัดเพชรบุรี (2556)
  • 13. 1.2 ¡ÒèѴ·íÒá¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈ : »ÃÐʺ¡Òó¨Ò¡»ÃÐà·È͹ØÀÙÁÔÀÒ¤ÅØ‹Á¹íéÒ⢧ (GMS - BCI) พื้นที่ป่าในแถบภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีนตอนใต้) หรือที่เรียก กันในชื่อสากลว่า Greater Mekong Subregion (GMS) เปน็แหลง่ทอี่ยูอ่าศัยของคนในพนื้ทที่มี่คีวาม หลากหลายทางชีวภาพสูง และมีการบริการทาง ระบบนิเวศ (ecosystem services) ถึงแม้ว่าในหลาย พื้นที่จะมีการประกาศให้เป็นเขตพื้นที่อนุรักษ์เป็น จำนวนมาก แต่พื้นที่อนุรักษ์และระบบนิเวศเหล่านี้ ยังมีการแยกส่วน แตกออกเป็นหย่อมป่า ซึ่งส่งผลต่อ ความเสี่ยงในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนของระบบ นิเวศ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยการสร้างแนวเชื่อมต่อ (The Biodiversity Conservation Corridors) จึงเป็นแนวทางใน การเชื่อมระบบนิเวศที่แยกส่วนกันเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อคงสภาพที่อยู่อาศัยสำหรับการเคลื่อนย้าย ชนิดพันธุ์ (species movement) และคงไว้ซึ่ง จำนวนประชากร เพื่อเพิ่มศักยภาพและคงไว้ซึ่ง การบริการทางนิเวศและส่งเสริมและสนับสนุนให้ ชุมชนท้องถิ่นมีความเป็นอยู่ที่ดีไปพร้อมๆ กับการ อนุรักษ์และการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากร อย่างยั่งยืน แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศอาจเป็นเกราะป้องกัน และสร้างความสมดุลในการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในกลุ่มประเทศภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง (GMS) ที่มีความ หลากหลายทางชีวภาพและเป็นแหล่งทรัพยากร ทางธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศ คือ เป็นแหล่งพลังงานเชื้อเพลิงที่เอื้อต่อการพัฒนา ประเทศ ทั้งนี้ความเป็นอยู่ที่ดีไม่ได้หมายถึงการ 12 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â เพิ่มขึ้นของผลิตภัณฑ์มวลรวมประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ความเป็นอยู่ที่ดีของประชากรได้หมายรวมถึง การมีบริการทางระบบนิเวศที่ดีด้วย แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศมีส่วนทำให้เกิดการ พัฒนาทางสังคมและเศรษฐกิจ โดยการส่งเสริมการ ใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน เพื่อ ความยั่งยืนของคนในพื้นที่และประชากรอีกหลาย ล้านคนในพื้นที่ที่ต้องพึ่งพาแหล่งทรัพยากรพื้นฐาน เพื่อการดำรงชีวิต นอกจากนี้การสร้างแนวเชื่อมต่อ ระบบนิเวศยังเป็นการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศและเชิงวัฒนธรรมอีกทางหนึ่ง รัฐบาลในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ที่ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารเพื่อการพัฒนา แห่งเอเชีย (The Asian Development Bank : ADB) และกลุ่มองคก์รเอกชน (Non Government Organizations : NGOs) ได้ทำการจำแนกพื้นที่ที่ มีความสำคัญในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และเห็นควรให้มีการสร้างแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ โดยมีพื้นที่นำร่อง 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย เมียนมาร์ ลาว กัมพูชา เวียดนามและจีนตอนใต้ (ยูนนาน) ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน 6 หลักเกณฑ์ คือ เป็นพื้นที่ที่มีเศรษฐกิจร่วมอยู่ในกลุ่ม ประเทศ GMS หรือได้รับอิทธิพลจากกลุ่มประเทศ ดังกล่าว ลดระบบนิเวศที่เป็นลักษณะแบบหย่อมป่า ด้วยการเชื่อมต่อพื้นที่อนุรักษ์ตั้งแต่ 2 พื้นที่ขึ้นไป เป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญทางด้านความ หลากหลายทางชีวภาพ
  • 14. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 13 เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการเกิดและความ ยากจนสูง (มีการเพิ่มขึ้นของประชากร) เป็นพื้นที่ธรรมชาติระหว่างพรมแดน มีสถาบัน/องค์กร (ทั้งที่เป็นของรัฐบาล และไม่ใช่ของรัฐบาล) ที่มีขีดความสามารถ ขั้นพื้นฐานในการทำโครงการตั้งแต่ 1 โครงการหรือ มากกว่าให้บรรลุผลสำเร็จได้ ในโครงการดังกล่าว พื้นที่นำร่องในประเทศ กัมพูชา คือ The Cardamom and Elephant Mountains เป็นพื้นที่ชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ ในจังหวัด Koh Kong โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมเขต พื้นที่ป่าอนุรักษ์ (protected forest) กับพื้นที่เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่า (wildlife sanctuary) ทำแนว เชื่อมต่อในเขตพื้นที่ชายฝั่งหรือป่าชายเลน รวมถึง มีการใช้ประโยชน์ในพื้นที่แนวเชื่อมต่ออย่างยั่งยืน พื้นที่นำร่องในประเทศจีนตอนใต้ (ยูนนาน) คือ สิบสองปันนา (Xishuangbanna) เป็นพื้นที่ป่า ฝนเขตร้อน ซึ่งมีพื้นที่ติดกับประเทศลาวพื้นที่ ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่สร้างแนวเชื่อมต่อในพื้นที่ย่อย 9 พนื้ที่พนื้ทนี่าํรอ่งในประเทศลาว มกีารพัฒนารูปแบบ การใช้ประโยชน์แนวเชื่อมต่อในพื้นที่อนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ (National Biodiversity Conservation Area : NBCA) ระหว่าง แขวงจำปาศักดิ์ แขวงอัตปือ และ แขวงเซกอง พื้นที่นำร่องในประเทศเวียดนาม เป็นพื้นที่ที่อยู่ใน จงัหวัดกวังนำ (Quang Nam) ตงั้อยูบ่ริเวณสว่นกลาง ของประเทศ โดยมุ่งการแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่มีความ เสี่ยงต่อการสูญเสียป่าเป็นลำดับแรก และทำการ เชื่อมต่อพื้นที่ป่า 3 แหล่ง คือ ฮอกลิน (Ngoc Linh) ซองทาน (Song Thanh) และ บานา (Ba Na) และพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ แห่งชาติเซซับ (Xe Sap) ของประเทศลาว สำหรับ พื้นที่นำร่องในประเทศไทย คือ พื้นที่แนวเชื่อม ต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาค ตะวันตกของประเทศไทย เป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่า ตะวันตกกับผืนป่าแก่งกระจาน มีการสร้างแนวเชื่อม ต่อระบบนิเวศระหว่าง 2 พื้นที่ป่า ด้วยการรวมพื้นที่ อนุรักษ์ 19 แห่ง จึงเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญอีก แห่งหนึ่งในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประสบการณจ์ากประเทศอนุภมูภิาคลุม่นา้ํโขง ดังกล่าว ให้ข้อสรุปถึงวิธีการที่จะนำไปสู่การจัดทำ แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศไว้ 5 ประการที่น่าสนใจ คือ มุ่งสู่การอนุรักษ์ความหลากหลายทาง ชีวภาพของระบบนิเวศในระดับภูมิภาพ (landscape) และระดับภูมิภาค (regional scale) ให้ความสำคัญกับการรักษาหรือเพิ่ม ศักยภาพการเชื่อมต่อของระบบนิเวศ ตั้งแต่เริ่มแรก กระทั่งการจัดหาแนวทางการสร้างแนวเชื่อมต่อ ระบบนิเวศ เพิ่มแนวกันชนในพื้นที่วิกฤติที่ได้รับ ผลกระทบจากกิจกรรมภายนอก ฟื้นฟูระบบนิเวศที่ถูกทำลายด้วยวิธีการที่ เหมาะสม สร้างความสมดุลในการส่งเสริมการใช้ ประโยชน์ที่ดินและวัตถุประสงค์ในการรักษาความ หลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะการเพิ่มมูลค่า ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ขนาดย่อม
  • 15. ภาพที่ 3 พื้นที่นำร่องในกลุ่มประเทศอนุภูมิภาคลุ่มนํ้าโขง ที่มา : Asian Development Bank (2005) 14 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â
  • 16. ภาพที่ 4 พื้นที่นำร่องโครงการสร้างแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในประเทศไทยพื้นที่แนวเชื่อมต่อผืนป่าตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ทางภาคตะวันตกของประเทศไทย เป็นแนวเชื่อมต่อผืนป่าตะวันตกกับผืนป่าแก่งกระจาน á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 15 ที่มา : สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (ไม่ปรากฏปี)
  • 17. ¤ÇÒÁÃÙOEàº×éͧμOE¹à¡ÕèÂǡѺ á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈ 2.1 ¤ÇÒÁËÁÒÂáÅФÇÒÁÊíÒ¤ÑÞ แม้ว่าคำว่า “ทางเชื่อมต่อหรือแนวเชื่อมต่อ (corridor)” จะมีการใช้กันอย่างมากในหลากหลาย สาขาวิชา แต่นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ความ หลากหลายทางชีวภาพที่มีผลงานตีพิมพ์ในวารสาร วิจัยระดับนานาชาติโดยส่วนใหญ่ได้ให้คำจำกัด ความของคำว่า “ทางเชื่อม” ที่ค่อนข้างใกล้เคียง กัน ตัวอย่างเช่น Corridor: “narrow strips of land which differ from the matrix on either side or maybe isolated strips, but are usually attached to a patch of somewhat similar vegetation” (Forman & Gordon, 1986) Corridor: “a linear landscape element that provides for movement between habitat patches, but not necessarily reproduction. Thus, not all life history requirements of a species may be met in a corridor” (Rosen-berg et al. 1997). 16 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â Corridor: “a swath of land that is best expected to serve movement needs of an individual species after the remaining matrix has been converted to other uses” (Beier et al. 2005). จากคำจำกัดความดังกล่าว ในบทความนี้จึง ขอให้คำจำกัดความของคำว่าทางเชื่อมต่อไว้ว่า “ทางเชื่อมต่อ หมายถึง พื้นที่ขนาดเล็กโดยมาก มักมีรูปร่างเป็นแถบยาวช่วยทำหน้าที่ตอบสนอง ความต้องการของชนิดเฉพาะนั้นๆ ที่ต้องการ เคลื่อนที่ระหว่างหย่อมป่าที่แตกต่างกันได้ โดย แนวเชื่อมต่อมักมีพืชพรรณใกล้เคียงกับถิ่นที่ อาศัยหลักที่อยู่ใกล้เคียง” เห็นได้ว่าคำจำกัด ความดังกล่าวนี้ได้เน้นยํ้าถึงความสำคัญของความ สามารถในการเคลื่อนที่ของชนิดพันธุ์ จากหย่อม ถิ่นที่อาศัยแห่งหนึ่งผ่านแนวเชื่อมต่อไปยังหย่อม ถิ่นที่อาศัยที่อยู่ไกลออกไป โดยแนวเชื่อมต่อนี้ อาจเป็นที่ต้องการของชนิดพันธุ์เฉพาะในบางช่วง เวลาหนึ่งหรือทุกช่วงเวลาของวงจรชีวิต ขณะที่ ความหมายของคำว่า “ถิ่นที่อาศัย (habitat) หมายถึงบริเวณพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งในแง่ของ การสนับสนุนปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ในการดำรงชีวิต
  • 18. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 17 เชน่ แหลง่อาหาร แหลง่หลบภัย แหลง่นา้ํและอยูใ่น สภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้ชนิดพันธุ์สามารถ อยูร่อดจากการตายและสืบพันธุอ์อกลูกหลานตอ่ไปได” ดังนั้น แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ หรือ Ecological corridor จึงหมายถึง เส้นทางสำหรับการเคลื่อน ย้ายที่ของชนิดพันธุ์ โดยเฉพาะสัตว์ป่า และระบบ นิเวศอื่นๆ ระหว่างพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งเพื่อ สร้างความเชื่อมโยงต่อกัน ซึ่งการเชื่อมโยงดังกล่าว จะประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก (ภาพที่ 5) คือ เขตพื้นที่อนุรักษ์ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ (core areas) แนวเชื่อมต่อผืนป่าแบบหย่อม (stepping stones) พื้นที่กันชน (buffer zones) พื้นที่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (sustain able use areas) นอกจากนี้ Tischendorf & Fahrig (2000, อ้างโดย ทรงธรรม และคณะ, 2554) ได้อธิบาย ความหมายของคำว่า landscape connectivity ไว้ว่า “คือความสามารถของพื้นที่ที่สามารถ ส่งเสริมหรือขัดขวางการเคลื่อนที่ของสิ่งมีชีวิตที่ ผ่านไปมาระหว่างหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อการเป็น ถิ่นที่อาศัยและการสืบต่อพันธุ์” สัตว์ป่าในเขตร้อน เช่น ประเทศไทย โดยมากมักเป็นสัตว์ป่าที่มี ความต้องการปัจจัยในการดำรงชีวิตที่ค่อนข้าง เฉพาะเจาะจง (specialist) และมักไม่สามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่ถูกเปลี่ยนแปลง ไปเพื่อกิจกรรมของมนุษย์ สัตว์ป่าเหล่านี้มีการ ตอบสนองต่อการเลือกใช้ถิ่นที่อาศัยแตกต่างกัน ไปตามระดับความเหมาะสมของถิ่นที่อาศัยนั้นๆ เนื่องจากมีสัตว์ป่าต่างตัวและ/หรือต่างชนิดกัน จะมีระดับความทนทาน (amplitude of tolerance) ที่ไม่เท่ากัน หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าการ เปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่ามีอิทธิพล อย่างยิ่งต่อการรับรู้ของสัตว์ป่าและความทนทาน ที่ไม่เท่ากันของสัตว์ป่าแต่ละชนิด ส่งผลทำให้ความ สามารถในการเคลื่อนที่ไปตามหย่อมป่าที่เหลืออยู่ นั้นไม่เท่ากันในแต่ละชนิดบางชนิดมีการปรับตัวได้ ดีกับสภาพแวดล้อมใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ทำให้ มีความสามารถในการเสาะหาหย่อมป่าที่มีความ อุดมสมบูรณ์กว่าได้ไม่ยากนัก ขณะที่สัตว์ป่าอีก หลายชนิด โดยเฉพาะชนิดที่มีสถานภาพถูกคุกคาม ส่วนใหญ่มักพบว่าด้อยความสามารถ หรือไม่มีความ สามารถในการปรับตัวให้เข้ากับถิ่นที่อยู่อาศัยที่ เปลี่ยนสภาพไปจากเดิมได้ ทำให้สัตว์ป่าเหล่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านพื้นที่ข้างเคียงที่มีกิจกรรม ของมนุษย์รบกวนอย่างรุนแรงและต่อเนื่องได้ ในกรณีนี้พบว่าการรักษาไว้ซึ่งรูปแบบการกระจาย ภาพที่ 5 แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศในรูปแบบต่างๆ ที่มา : ดัดแปลงจาก Sicirec Group (http://www.sicirec.org)
  • 19. 18 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â ของหย่อมป่า รวมถึงการจัดเรียงตัวของหย่อมป่า มีผลกระทบโดยตรงต่อระดับของความสามารถในการ เชื่อมต่อกันของภูมิภาพโดยรวม การจัดการพื้นที่ให้เป็นแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ หรือ Ecological corridor area เป็นแนวความคิดหนึ่ง ทตี่อ้งการใหก้ระบวนการจัดการกลุม่ปา่ในเชิงนิเวศมีการ เชื่อมต่อกัน มีเป้าหมายหลักเพื่อช่วยให้กระบวนการทาง ระบบนิเวศป่าไม้มีความสมบูรณ์ ส่งเสริมให้มีการแพร่ กระจายพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชพรรณ ที่เป็นอาหาร สัตว์ป่ามีโอกาสแพร่พันธุ์ผ่านไปยังพื้นที่ป่าที่ห่างไกล ออกไป ตัวอย่างที่ใกล้ตัวมากที่สุดสำหรับนิยามของคำว่า “แนวเชื่อมต่อระบบนิเวศ” เช่น เส้นทางของกิ่งก้านสาขา ต้นไม้ที่กระรอกใช้วิ่งจากบริเวณหนึ่งผ่านไปหากินยังอีก บริเวณหนึ่ง หรือหากจะกว้างไกลไปอีกในระดับทวีป เช่น เส้นทางที่นกอพยพหนีความหนาวเย็นจากซีกโลกเหนือ ลงมายังซีกโลกใต้และอพยพกลับเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น โดยแวะพักและหากินในจุดต่างๆ ตามเส้นทาง เป็นต้น แนวความคิดเรื่องการใช้แนวเชื่อมต่อเพื่อการ อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้ถูกออกแบบขึ้น มาเพื่อเชื่อมต่อระหว่างพื้นที่ที่มีความหลากหลายทาง ชีวภาพในแต่ละระบบนิเวศ รวมถึงลดการสูญเสียความ สัมพันธ์ของหน้าที่และการบริการของระบบนิเวศที่จะ ส่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ ซึ่งผลลัพธ์ ที่ได้จากการดำเนินการตามแนวความคิดนี้ คือ ปรับปรุงแนวเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิด พันธุ์และหน้าที่ในระบบนิเวศเพื่อการรักษา ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้แนวเชื่อม ต่อระบบนิเวศเพื่อการปกป้องพื้นที่อนุรักษ์ให้ เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ชายขอบ ของพื้นที่อนุรักษ์ Í·Ò§Ãкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐàÈä·Â
  • 20. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 19 2.2 ¡ÒÃáμ¡¡ÃШÒ¢ͧ¼×¹»†Ò (Forest Fragmentation) การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และการเปลี่ยนแปลง สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างถาวรประมาณ ครึ่งหนึ่งของพื้นที่ระบบนิเวศบนบกของโลก ในช่วง ครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นสาเหตุของภัย คุกคามหลักต่อความความหลากหลายทางชีวภาพ (SCBD, 2001) การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ป่าไม้ กลายเป็นประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินอื่นๆ เช่น พื้นที่เพื่อการเพาะปลูกและปศุสัตว์ พื้นที่เพื่อการ อุตสาหกรรม แหล่งนํ้าถาวรขนาดใหญ่ ตลอดจน พนื้ทเี่พอื่การอยูอ่าศัยของมนุษย ์ถอืไดว้า่เปน็ปญัหา สำคัญต่อการสูญเสียถิ่นที่อาศัยของพืชพรรณและ สัตว์ป่าที่สามารถพบเห็นได้ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ในปัจจุบัน การสูญเสียถิ่นที่อาศัย (habitat loss) ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของขนาดพื้นที่ป่าหรือ พื้นที่ธรรมชาติที่อดีตเคยเป็นพื้นที่ใหญ่ต่อเนื่อง เป็นผืนเดียวกัน กลับกลายเป็นผืนป่าที่มีการ แตกกระจาย (fragmentation) เกิดเป็นหย่อมป่า (patches) ที่มีขนาดใหญ่บ้าง เล็กบ้าง กระจายตัว อยู่ท่ามกลางสภาพพื้นที่โดยรอบที่มีการพัฒนา จากกิจกรรมของมนุษย์ ผลจากการเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อรูปแบบ ของภูมิทัศน์ (landscape pattern) ของระบบ นิเวศโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดลงของ พื้นที่ป่าไม้ธรรมชาติและการเพิ่มขึ้นของระยะห่าง ระหว่างหย่อมป่า Bennett (2003) ได้ชี้ให้เห็นถึง กระบวนการการเกิดการแตกกระจายของผืนป่า ว่าเป็นพลวัตการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบถิ่นที่ อาศัยตามระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป การแตก กระจายของผืนป่าเป็นคำที่ใช้ในการอธิบายถึง ภาวะของการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ที่มีขนาดใหญ่ ที่ถูกปกคลุมด้วยพืชพรรณจากการทำ ลาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ก่อให้เกิดการเหลือหย่อมพื้นที่ พืชพรรณขนาดเล็กๆ ที่ถูกแบ่งแยกออกจากกัน ฉะนั้นการแตกกระจายของผืนป่าจึงหมาย ถึงการเปลี่ยนแปลงของถิ่นที่อาศัยที่อดีตเคย ต่อเนื่องเป็นผืนเดียวกัน กลายเป็นหย่อมที่ อาศัยที่มีความผันแปรทั้งทางด้านขนาด และรูปลักษณ์ทางภูมิทัศน์ (landscape configuration) สำหรับการศึกษาผลกระทบ ที่เกิดจากการแตกกระจายของถิ่นที่อาศัยต่อความ หลากหลายทางชีวภาพหาอ่านเพิ่มเติมได้จาก งานของ Fahrig (2003) เมื่อพิจารณาการลดลงของพื้นที่โดยรวมของ ถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า โดยทั่วไปแล้วพื้นที่ที่มีการใช้ ประโยชน์ที่ดินของมนุษย์อย่างเข้มข้นมักเป็นพื้นที่ ที่มีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์ป่าใน อดีตด้วยเช่นกัน พื้นที่ที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นพื้นที่ ราบลุ่มหรือหุบเขาขนาดใหญ่ ที่มีความลาดชัน ไม่มาก และมักไม่ไกลจากแหล่งนํ้า มักจะถูกบุกรุก และยึดครองโดยชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงกับพื้นที่ป่าไม้ การลดลงของขนาดหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อการ เป็นถิ่นที่อาศัยของสัตว์ป่า และการเพิ่มพื้นที่ บริเวณขอบป่า (edge) ที่อยู่ต่อเนื่องกับพื้นที่การ ใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นๆ โดยรอบ พบว่า ในระยะยาวแล้วพื้นที่หย่อมป่าที่เหลือมีแนวโน้ม จะลดขนาดลงอีก และอาจหายไปในที่สุด การเปลี่ยนแปลงทางด้านองค์ประกอบทางด้าน นิเวศของถิ่นที่อาศัย เกิดจากความกดดันจากการ ใช้ประโยชน์ที่ดินด้านต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรม ของมนุษย์ การบุกรุกดังกล่าวมิได้เกิดโดยบังเอิญ แต่เป็นความตั้งใจของมนุษย์ที่ต้องการเปลี่ยน สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่น การเลือกพื้นที่
  • 21. การเกษตรกรรมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ทำให้เกิดพื้นที่เกษตรกรรมใกล้เคียงกับพื้นที่ หย่อมป่าอีกทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ หย่อมป่า เนื่องจากแรงกดดันจากการใช้ประโยชน์ ของมนุษย์โดยรอบพื้นที่ พบว่าหย่อมป่าที่มีรูปร่าง ไม่สมํ่าเสมอย่อมมีเส้นรอบรูปยาวกว่าหย่อมป่าที่มี รูปร่างกลมหรือสี่เหลี่ยม และพื้นที่หย่อมป่าดังกล่าว มักมีความเสี่ยงต่อการคุกคามสูงขึ้นเนื่องจากความ ขัดแย้งระหว่างหย่อมป่าและพื้นที่ขอบโดยรอบ (edge contrast) มีมากขึ้นตามช่วงเวลาที่ผ่านไป (Forman, 1995; Bennett, 2003; Fahrig, 2003) จากผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแตกกระจาย ของผืนป่า หย่อมป่าที่กระจัดกระจายตัวอยู่ ทั่วไปมักมีความใกล้เคียงกันของหย่อมป่า (proximity) ในระดับที่แตกต่างกันไปในแต่ละ พื้นที่ และยังผันแปรไปตามแรงกดดันจากความ ต้องการการใช้ประโยชน์ที่ดินโดยรอบของชุมชน เมื่อหย่อมป่าที่เหมาะสมต่อถิ่นที่อาศัยของ พืชพรรณหรือสัตว์ป่าอยู่ห่างกันมากขึ้นและ/หรือ หย่อมป่าเหล่านั้นมีขนาดเล็กลง ประชากรของ 20 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่มักมีอัตราเสี่ยงต่อการ สูญพันธุ์เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎี ชีวภูมิศาสตร์ของเกาะ (island biogeography theory) ที่เสนอโดย McArthur and Willis (1967) และทฤษฎีการเกิดประชากรย่อย (metapopulation) ที่เสนอโดย Levins (1969) ภายหลังจากการเกิดหย่อมป่า สิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งสัตว์ป่าไม่ สามารถเคลื่อนที่ไปมาอย่างอิสระระหว่าง ถิ่นที่อาศัยได้เช่นในอดีต ประชากร สิ่งมีชีวิตมีแนวโน้มถูกกักให้อาศัยอยู่ใน เฉพาะหย่อมป่านั้นๆ ก่อให้เกิดปัญหา การผสมเลือดชิด (inbreeding) หรือการ ผสมพันธุ์ภายในประชากรที่มีลักษณะทาง พันธุกรรมที่ใกล้เคียงกัน เป็นเหตุให้พันธุกรรม ของประชากรย่อยนั้นๆ ขาดความหลากหลายและ อ่อนแอ และมีจำนวนลดลงในที่สุด (ศึกษาผลกระทบ ของการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าได้เพิ่มเติม จาก Saunders et al., 1991) ความหลากหลาย ทางชีวภาพทฤษฎีทั้งสองดังกล่าวนี้เป็นแรง ขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้นักวิจัยทางด้านการอนุรักษ์ (conservation biodiversity) หันมาให้ความสนใจ ในการออกแบบและจัดทำทางเชื่อมต่อระหว่าง หย่อมป่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยส่วนใหญ่ให้ นํ้าหนักไปกับการออกแบบทางเชื่อมต่อสำหรับ สัตว์ป่าที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มากกว่า สิ่งมีชีวิตประเภทอื่นๆ ดังตัวอย่างงานวิจัยที่ เกี่ยวข้องได้แก่ Beier (1993); Laurance and Laurance (1999); Meegan and Maehr (2002) ทั้งนี้เนื่องจากสัตว์ป่าบางชนิดมีการ เคลื่อนไหว ย้ายถิ่นตลอดเวลา จะเกิดผลกระทบ จากการแตกกระจายของหย่อมป่าอย่างเห็นได้ชัด
  • 22. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 21 จากความต้องการของสิ่งมีชีวิตในการ เคลื่อนที่หาแหล่งถิ่นที่อาศัยในระบบนิเวศบนพื้น ดินนั้น พบว่าสิ่งมีชีวิตต่างๆ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ที่เป็นสิ่งมีชีวิตที่สร้างอาหารเองไม่ได้ แต่มีความ สามารถในการเคลื่อนที่สูงเพื่อเสาะแสวงหาอาหาร ได้แสดงให้เห็นว่าประสบปัญหาในการเคลื่อนที่ อย่างเห็นได้ชัดในสภาวการณ์ปัจจุบัน สัตว์เลี้ยง ลูกด้วยนมขนาดกลางถึงขนาดใหญ่มักถูกจำกัด ให้หากินอยู่ในพื้นที่ที่มีขนาดเล็ก โดยทั่วไปพื้นที่ หย่อมป่าขนาดเล็กดังกล่าวไม่สามารถตอบสนอง ความต้องการขั้นพื้นฐานต่อการดำ รงชีวิต (basic needs) ของประชากรของสัตว์ป่าเหล่า นั้นได้ ฉะนั้นจึงถือได้ว่าสภาพการแตกกระจาย ของผืนป่าที่พบในปัจจุบันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อ การเคลื่อนที่ของสัตว์ป่าในธรรมชาติ และจัดเป็น ภัยคุกคามที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งต่อความ หลากหลายทางชีวภาพทั้งสามระดับ ได้แก่ ระดับ พันธุกรรรม ระดับชนิดพันธุ์ และระดับระบบนิเวศ ของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ทั่วโลก ตามการศึกษาของ Bennett (2003) พบว่าการเกิดการแตกกระจายของผืนป่าประกอบ ไปด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ การเกิดการสูญเสียถิ่นที่อาศัย (habitat loss) ได้แก่ การลดลงของขนาดพื้นที่ถิ่นที่อาศัย ภายหลังจากเกิดการแบ่งแยกพื้นที่และการทำลาย พื้นที่บางส่วนออกไป (habitat reduction) การเพิ่มระดับของความโดดเดี่ยวของถิ่น ที่อาศัย โดยการเพิ่มขึ้นของระยะทางระหว่าง หยอ่มปา่ทเี่หลืออยู ่ขณะทกี่ารใชป้ระโยชนพ์นื้ทดี่นิ ประเภทอื่นๆ เกิดขึ้นมาแทนที่ระหว่างหย่อมป่า (habitat isolation) การแตกกระจายของกลุ่มป่า ถือได้ว่ามี ผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งในระดับท้องถิ่น (local landscape) และระดับภูมิภาค (regional landscape) อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อทั้งในระดับ โครงสร้าง (structure) และหน้าที่ (function) ของ ระบบนิเวศด้วย สำหรับกระบวนการเกิดการแตก กระจายของผืนป่ามีกระบวนการเกิดหลายแบบ ซึ่ง Hunter (2002) ได้สรุปขั้นตอนการเกิดการ แตกกระจายของหย่อมป่าเป็นขั้นตอนต่างๆ ได้ ดังต่อไปนี้ 1) การตัดผ่าน (dissection) ขั้นแรกของ การเริ่มต้นการเกิดการแตกกระจายของหย่อมป่า ต้องมีการพัฒนาเส้นทางคมนาคมประเภทต่างๆ ได้แก่ ถนน ทางเกวียน ทางเดินเท้า หรือทางรถไฟ เป็นการเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่ได้ ของมนุษย์ กล่าวได้ว่าการเข้ามาของเส้นทาง คมนาคมเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดการสูญเสียถิ่น ที่อาศัย 2) การเป็นรูทะลุของผืนป่า (perforation) กิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์เป็นตัวการทำลายพื้นที่ ธรรมชาติ โดยการทำลายได้เริ่มจากพื้นที่ขนาดเล็กๆ เสมือนเป็นการเจาะรูทะลุไปบนพื้นที่ธรรมชาติ อัตราการสูญเสียถิ่นที่อาศัยจะเร็วหรือช้าผัน แปรไปตามระดับความเข้มข้นของกิจกรรมของ มนุษย์ 3) การแตกกระจายของผืนป่า (fragmentation) เมื่อมีการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ การขยายพื้นที่เขต 2.3 ¡Ãкǹ¡ÒÃà¡Ô´¡ÒÃáμ¡ÃШÒ ¢Í§¼×¹»†Ò (Fragentation Process)
  • 23. เมืองและพื้นที่เกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้พื้นที่ธรรมชาติเริ่มแยกตัวห่างออกจากกัน และท้ายที่สุดเกิดเป็นหย่อมป่าขนาดใหญ่ อย่างไร ก็ตามพื้นที่ส่วนใหญ่ที่อยู่โดยรอบ (matrix) ยังคงมี สภาพเป็นป่าธรรมชาติอยู่ 4) การลดจำนวนพื้นที่ป่า (attrition) เวลา เพียงไม่กี่ชั่วคน การขยายพื้นที่ทำกินทำให้พื้นที่ หย่อมป่าขนาดใหญ่เปลี่ยนแปลงไปเป็นหย่อมป่า ขนาดเล็ก ขณะที่พื้นที่โดยรอบมีการเปลี่ยนสภาพ ไปเป็นพื้นที่การใช้ประโยชน์ของมนุษย์ประเภทอื่นๆ มากยิ่งขึ้น เช่น พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม ปศุสัตว์ และเขตเมือง เป็นต้น กล่าวคือพื้นที่ป่าธรรมชาติ ส่วนใหญ่ในที่สุดแล้วจะถูกพัฒนากลายเป็นพื้นที่ สำหรับการอยู่อาศัยและประกอบกิจกรรมต่างๆ สำหรับมนุษย์นั่นเอง 2.4 ¤ÇÒÁÊíÒ¤ÑÞáÅÐÃٻẺ¡ÒèѴ ÊÃOEÒ§á¹Çàª×èÍÁμ‹Í 2.4.1 ความสำคัญของแนวเชื่อมต่อ จากคำจำกัดความทั้งหมดดังกล่าว พบว่าแนว เชื่อมต่อมีความสำคัญ 2 มุมมอง ได้แก่ 1) มุมมองทางด้านโครงสร้าง (structural perspective) เป็นการพิจารณาแนวเชื่อมต่อโดย เน้นไปที่ลักษณะหรือรูปลักษณ์ภายนอกที่ทำการ เชื่อมต่อ เช่น ความยาว ความแคบ ความกว้าง หรือ ความโค้ง ของทางเช่อืมต่อ หรืออีกนัยหนึ่งคือการ พิจารณาถึงการมีการเชื่อมต่อทางด้านโครงสร้าง เท่านั้น (structural connectedness) 2) มุมมองทางด้านหน้าที่ (functional perspective) เป็นการพิจารณาทางเชื่อมต่อใน 22 á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â ฐานะของความสามารถที่ทำให้มีการเชื่อมต่อกันได้ (connectivity) โดยความสามารถในการเชื่อมต่อ นั้นเป็นสิ่งที่บอกได้ว่าพืชหรือสัตว์สามารถเคลื่อน ย้ายผ่านระหว่างหย่อมป่าหรือหมู่เกาะไปได้ด้วย ความยากง่ายเพียงใด (Hess and Fischer, 2001) ฉะนั้นเพื่อให้การออกแบบทางเชื่อมต่อเป็นไปอย่าง มปีระสิทธิภาพ นกัวิจยัและนักจัดการพนื้ทคี่มุ้ครอง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงความสามารถใน การเคลื่อนที่ของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ที่จะผ่านไปตามทางเชื่อมต่อที่ได้ออกแบบไว้ สิ่งมีชีวิตต่างชนิดพันธุ์กันย่อมมีความสามารถ ในการเคลื่อนที่ที่แตกต่างกัน จึงมีความจำเป็น ที่จะต้องออกแบบทางเชื่อมต่อให้เหมาะสมกับ พฤติกรรมของชนิดพันธุน์นั้ๆ อยา่งเฉพาะเจาะจง Bennett (2003) ยังได้ยํ้าให้เห็นถึงความสำคัญ ของการส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการเชื่อม ต่อกันทางด้านหน้าที่ (functional connectivity) มากกว่าที่จะมุ่งเน้นการเชื่อมต่อเฉพาะทางด้าน กายภาพเท่านั้น (physical connectivity) และ ยังให้รวมพิจารณาถึงคุณภาพและสภาพแวดล้อม ของแนวเชื่อมต่อที่ชนิดพันธุ์นั้นๆ จะสามารถผ่าน ไปได้หรือไม่และอย่างไร กล่าวได้ว่าการเข้าใจ องค์ประกอบทางด้านพฤติกรรมของแต่ละชนิด พันธุ์ที่เป็นเป้าหมายในการอนุรักษ์ เป็นสิ่งสำคัญ เบื้องต้นที่จะรับประกันถึงความสำเร็จของการ ใช้แนวเชื่อมต่อระหว่างผืนป่าเพื่อการอนุรักษ์ ความหลากหลายทางชีวภาพ สำหรับหน้าที่ทาง ด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ พบว่าบทบาท ของแนวเชื่อมต่อที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือการส่ง เสริมให้สิ่งมีชีวิตสามารถกระจายและเคลื่อนตัวไป ตามหย่อมที่อาศัยที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ อย่างไร ก็ตาม Forman and Gordon (1986) ได้กล่าวถึง
  • 24. á¹Çàª×èÍÁμ‹ÍÃкº¹ÔàÇÈã¹»ÃÐà·Èä·Â 23 บทบาทหน้าที่ทางด้านนิเวศวิทยาของแนวเชื่อมต่อ ซึ่งมีอยู่หลายประการ ได้แก่ การเป็นถิ่นที่อาศัย (habitat) การเป็นทางเชื่อมผ่าน (conduit) การเป็นตัวกรอง (filter) การเป็นตัวขัดขวาง (barrier) การเป็นแหล่งผลิต (source) และการเป็นแหล่ง กำจัด (sink) นอกจากนี้ Hess and Fischer (2001) ไดเ้นน้ยา้ํ ให้เห็นถึงบทบาทของทางเชื่อมต่อที่มีความสำคัญ 2 ด้าน ที่นักจัดการพื้นที่คุ้มครองต้องการ ได้แก่ 1) บทบาทของแนวเชื่อมต่อที่ทำหน้าที่ ช่วยเหลือการเคลื่อนที่ของชนิดเพียงอย่างเดียว 2) บทบาทของทางเชื่อมต่อที่ช่วยเหลือ ชนิดในแงก่ารเปน็แหลง่อาหารและแหลง่สืบพันธุด์ว้ย โดยจะเรียกกลุ่มของสัตว์ป่าเหล่านี้ว่าเป็น ผู้อาศัยในทางเชื่อมต่อ (corridor dwellers) ซึ่ง ชนิดพันธุเ์หลา่นอี้าจมีความสามารถในการเคลอื่นที่ ต่างจำเป็นต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุเพื่อการขยาย พันธุ์และย้ายถิ่นฐานออกไปจากถิ่นที่อาศัยดั้งเดิม ในบางสถานการณ์แนวเชื่อมต่อที่มีความกว้างมากๆ อาจช่วยให้สังคมแห่งชีวิตและระบบนิเวศสามารถ อยูไ่ดอ้ยา่งมนั่คง สตัวป์า่และพืชพรรณทเี่ปน็อาหาร ของสัตว์ป่าสามารถเคลื่อนที่ไปมาระหว่างพื้นที่ คุ้มครองที่มีขนาดใหญ่ได้ในช่วงหลายชั่วอายุของ สิ่งมีชีวิต ทางเชื่อมต่อที่มีคุณลักษณะเช่นนี้รู้จักกัน ในนาม “landscape linkage” ตามแนวคิดของ Bennett (2003) ในทางตรงกันข้าม บทบาทการเป็นตัวกรอง และตัวขัดขวางของทางเชื่อมต่อเป็นการพิจารณา บทบาทของบริเวณพื้นที่ด้านนอกที่มีแนวเชื่อม ต่อคั่นกลาง พื้นที่ที่อยู่ตรงข้ามกันของสองฝั่งทาง เชื่อมถูกแบ่งแยกออกจากกัน ฉะนั้น แนวทางเชื่อม ต่อทำหน้าที่เสมือนเป็นอุปสรรคไม่ให้สิ่งมีชีวิต บางประเภทข้ามผ่านไปมาได้โดยง่าย อาจมีการ ยอมให้สิ่งมีชีวิตบางประเภทหรือสิ่งมีชีวิตที่มีบาง คุณลักษณะที่เฉพาะสามารถข้ามผ่านไปได้เท่านั้น หรืออาจไม่ยอมให้สิ่งมีชีวิตใดๆ ผ่านไปเลยก็ได้ ตัวอย่างเช่น การใช้ลำนํ้าเป็นแนวเชื่อมต่อระหว่าง ทะเลสาบสองแห่งอาจทำให้สัตว์บกขนาดเล็กไม่ สามารถข้ามผ่านไปได้ เป็นต้น ขณะที่บทบาทของการเป็นแหล่งผลิตและ แหล่งกำจัดสิ่งมีชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้รับความ สนใจนักต่อการพิจารณาการออกแบบแนวเชื่อมต่อ เนื่องจากบทบาทของแนวเชื่อมต่อที่มีอิทธิพลต่อ ด้านนี้มีไม่มากนัก แหล่งผลิตเป็นการอธิบายถึง ถิ่นที่อาศัยที่มีภาวการณ์การส่งเสริมการเพิ่มของ ประชากรมากกว่าภาวการณ์ในการลดจำนวน ของประชากร โดยที่แหล่งกำจัดหมายถึงถิ่นที่ อาศัยที่พบภาวการณ์ลดลงของประชากรมากกว่า ภาวการณ์เพิ่มของประชากร 2.4.2 รูปแบบการสร้างแนวเชื่อมต่อ Bennett (2003) อ้างโดย กรมอุทยานแห่งชาติ สตัวป์า่ และพันธุพ์ชื (2555) ไดเ้สนอแนวทางในการ สร้างทางเชื่อมต่อสำหรับสัตว์ป่าไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ 1). การเชื่อมต่อถิ่นที่อาศัยแบบโมเสค (Habitat mosaics) ในการเชื่อมต่อถิ่นที่อยู่อาศัย แบบโมเสค (Habitat mosaics or Landscape corridor) ในสภาพพื้นที่บางแห่งซึ่งมีการ เปลี่ยนแปลงจากสภาพธรรมชาติเดิมไม่มากนัก ทำให้ถิ่นที่อาศัยที่เป็นธรรมชาติกับพื้นที่ที่ได้ เปลี่ยนแปลงไปนั้นค่อนข้างไม่แตกต่างกันมากนัก การแยกแยะระหว่างถิ่นที่อาศัยที่เหมาะสมกับที่ไม่ เหมาะสมจึงอาจทำได้ยาก แต่สัตว์บางชนิดสามารถ ใช้ถิ่นที่อาศัยเหล่านั้นได้ แม้จะถูกเปลี่ยนแปลงไป