SlideShare a Scribd company logo
1 of 47
Download to read offline
การบรรยายเรื่อง “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร”
วันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ อาคารโดม ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
โดยมีผู้อภิปรายดังรายชื่อต่อไปนี้
• ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
• ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ และอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐
• ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และมีบทบาทสําคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ
พ.ศ. ๒๕๔๐
• คุณคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
• คุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง
ดําเนินรายการโดย ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล อาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผศ.ดร. นพพร ลีปริชานนท์
รองประธาน ปอมท. ท่านที่ ๒ และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านสู่การสัมมนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่น
ไร” ซึ่งสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ โดยได้รับความอนุเคราะห์
จากท่านอธิการบดีให้ใช้สถานที่ การสัมมนาครั้งนี้เป็นการริเริ่มของที่ประชุมประธานสภา
อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ด้วยประสงค์ให้มีเวทีในการที่จะมาพูดคุยกันในเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับ
รัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดคุยกันค่อนข้างมากในหลายๆ เวที แต่ยังหาข้อยุติได้ยาก เพราะฉะนั้นในวันนี้หัวข้อที่เราพูด
กันก็จึงเป็นเรื่องว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรจะเป็นเช่นไร พวกเราจะต้องร่วมกันหาคําตอบ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของ
ประชาชนทุกคน
--- ๒ ---
วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราก็ได้รับเกียรติจากผู้ที่อยู่ในแวดวงกฎหมาย แวดวงการเมือง ทั้งที่เป็นทั้งนักวิชาการ
ที่มีประสบการณ์ทางภาคการเมือง ที่เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ที่เคยเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มาเป็นวิทยากร
พูดคุยถกปัญหาจับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ วันนี้อาจจะยังไม่ได้ข้อยุติว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรเป็นอย่างไร
แต่อย่างน้อยวันนี้ก็คงจะเป็นก้าวแรกในการที่จะทําให้ประชาชนคนไทยได้คิดว่าเราจะมีวิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ดี
ได้อย่างไร เราคงไม่บอกว่าแบบไหนสีอะไร แต่เราคนไทยด้วยกันมาร่วมกันคิดว่าเราจะสร้างบ้านของเราด้วยแบบแปลน
อย่างไร เรามาร่วมกันเป็นสถาปนิค ร่วมกันเป็นวิศวกร ตรงนี้ต่างหากครับที่ผมคิดว่าเป็นบทบาทหนึ่งของประชาชน
ชาวไทย และก็ได้รับเกียรติจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในทางการเมืองทางกฎหมายและกฎหมาย
มหาชนมาอยู่ตรงนี้กันครบถ้วน
ก่อนอื่น ขอขอบคุณท่านวิทยากร และกล่าวต้อนรับคุณผู้ฟัง คุณผู้ชม สื่อมวลชนและประชาชนทุกท่าน ที่
ให้ความสนใจกับการสัมมนาในวันนี้ ขอบพระคุณครับ
ผศ. ปฐม ปฐมธนพงศ์
ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย (ประธาน ปอมท.)
สวัสดีครับ ผมในนามของ ปอมท. หรือที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย
แห่งประเทศไทย ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่เสียสละเวลาให้เกียรติมาให้ความรู้
ต่างๆ เกี่ยวกับว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร อย่างที่ท่านเลขาธิการ ปอมท. ท่าน
อาจารย์สุรพลได้เรียนแล้วว่า ปอมท. นั้น เป็นองค์กรที่รวมของประธานสภาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย
๒๒ แห่ง คล้ายๆ กับองค์กร ทปอ. ซึ่งเป็นที่ประชุมของอธิการบดีแห่งประเทศไทยและมีบทบาทชัดเจนในเรื่องแอด
มิชชั่น
ปอมท. เป็นอีกองค์กรหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ที่มีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมด้วยนอกจากด้านการศึกษา เรา
ได้มีการแถลงเจตนารมณ์ต่างๆ สู่สังคมหลายครั้ง และครั้งนี้ก็เป็นอีกบทบาทอีกหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์การจัด
สัมมนาครั้งนี้ มีอยู่ในเอกสารที่แจกทุกท่านแล้วนะครับ ปอมท. เราคิดว่าปัญหาของประเทศเป็นสิ่งที่เราต้อง
ช่วยกัน วันนี้ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีว่าเราได้มีวิทยากรผู้ทรงความรู้ที่สามารถแสดงความคิดของแต่ละท่าน ว่า
รัฐธรรมนูญที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไร เพื่อพวกเราจะได้ช่วยกันสานต่อ ในแนวความคิดอันนั้น
เพราะฉะนั้นในนามของปอมท. ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่าน และผมขอมอบให้กับท่านเลขาธิการ
กล่าวต่อว่าจะดําเนินในการอภิปรายต่อไปอย่างไร ขอบคุณมากครับ
รศ. สุรพล ศรีบุญทรง
เลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย (เลขาธิการ ปอมท.)
ผมขออนุญาตเสริมเรื่องวัตถุประสงค์สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ปีนี้เป็นปีครบรอบ ๗๗ ปี
ของการเปลี่ยนการปกครองในประเทศไทย โดยการพระราชทานรัฐธรรมนูญของพระบาทสมเด็จ
พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เพราะฉะนั้นเหมือนกับมีเลขเจ็ดอยู่สามตัว ต่อไปขอแนะนํา
ท่านผู้ดําเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล อาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
--- ๓ ---
ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล
ผู้ดําเนินรายการ
ขอบคุณมากค่ะ อย่างที่ทางปอมท. ได้เรียนแล้วนะคะว่า การจัดการสัมมนาวิชาการใน
หัวข้อว่า ที่ว่าด้วยรัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ครั้งนี้ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง ที่
ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประไทย และสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เป็นฉลองครบรอบ ๗๗ ปี ที่เรามีประชาธิปไตยในเมืองไทย แต่ในทางกลับกันประชาธิปไตยของเรา
ก็ตกตะกอนมา ๗๗ ปี โดยเฉพาะภายในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเราต้องประสบกับวิกฤตการทางการเมือง ซึ่งหลาย
ภาคส่วนจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยในฐานะของสถาบันซึ่งให้ความรู้กับคนทั้งประเทศ
คงจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบตรงนี้ด้วย และเป็นวัตถุประสงค์ที่ทางมหาวิทยาลัยอยากจะจัดสัมมนาวิชาการนี้
ขึ้นมา
วันนี้เราโชคดีมากค่ะ เราได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ผู้มีความรู้เกี่ยวกับ
กฎหมายและรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมาก ดิฉันขออนุญาตแนะนําวิทยากร โดยเริ่มจากทางฝั่งขวามือของดิฉัน
ก่อนนะคะ จากขวาสุด ท่านแรกเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอดีตสมาชิดสภาร่าง
รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ เป็นอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ และนอกจากนี้ท่านก็เป็น
สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ปี ๔๐ ด้วยนะคะ ท่าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ถัดมาอีกท่าน ซึ่งอาจจะอยู่
พูดคุยกับเราได้แค่รอบเดียว ท่านเป็นอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศ.ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ และ
ท่านที่นั่งติดกับดิฉันนี้ เป็นผู้ที่ทุกท่านๆ ก็ให้ความเคารพยําเกรงมานะคะ ท่านเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
มีบทบาทสําคัญมากในการร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ และท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใน
หลายๆ ฉบับด้วยนะคะ ท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
แล้วก็มาทางซ้ายของดิฉันนะคะ ดิฉันขออนุญาตแนะนํา คุณคณิน บุญสุวรรณ ท่านเป็นอดีตสมาชิกสภา
ร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ตาย
แล้ว ส่วนอีกท่านที่ยังมาไม่ถึง แต่เดี๋ยวจะมาร่วมพูดคุยกับเรา คือ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เราไม่ได้เรียงตามอาวุโสนะคะ ท่านคณินว่าขอพูดเป็นคนสุดท้าย ส่วนท่านอาจารย์
สมบัติมีภารกิจที่จะต้องไปพูดที่คณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ด้วย ก็เลยขออนุญาตที่จะให้ท่านอาจารย์สมบัติได้พูด
ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก่อนนะคะ โดยท่านจะอยู่กับเราแค่รอบเดียวเท่านั้นค่ะ ขอเรียนเชิญท่านอาจารย์สมบัติ
เลยค่ะ
--- ๔ ---
ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์
อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
ท่านประธาน ปอมธ. และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ต้องขอโทษเรื่องความ
คลาดเคลื่อน รับงานสองงานพร้อมกัน โดยความเข้าใจผิด แต่ว่าอยู่ที่ธรรมศาสตร์ด้วยกันทั้งคู่
ก็คงจะไปทั้งสองงานนะครับ ขออนุญาตเริ่มต้นคนแรกก่อนนะครับ
สําหรับเรื่องรัฐธรรมนูญที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร ถ้าใครสนใจเรื่องรัฐธรรมนูญอ่าน
กันมาทุกฉบับ หรือสนใจรัฐธรรมนูญต่างประเทศด้วย รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง เป็นผลจากความรู้
และสิ่งแวดล้อมของคนในสมัยนั้น (ความรู้และสิ่งแวดล้อม) เป็นตัวกําหนดสําคัญที่จะทําให้รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร
ถ้าหากเราไปดูในประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่ามีการร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี ๑๗๘๗, ๑๗๗๘, ๑๗๗๖, ๑๗๘๗
มาถึงวันนี้ก็ต้องแก้ไข ๒๗ ฉบับนะครับ จะบอกว่าร่างไว้แค่นั้น เอาตรงนั้นพอ คงไม่ได้ มันต้องมีการปรับตัว มีการ
แก้ไขอยู่เสมอ
การปกครองในระบบประชาธิปไตยเราบอกว่า มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่จะกําหนด
โครงสร้างการเมืองการปกครอง เพื่อจะบอกว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้าง ของเราก็มีปัญหามาโดยตลอด เพราะเราคิดว่า
ปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ก็เลยฉีกรัฐธรรมนูญกันทิ้งเป็นว่าเล่น ฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๑๘ และกําลังจะมีฉบับที่ ๑๙ เร็วๆ นี้
ความจริงถ้าไปดูในเนื้อหาสาระต่างๆ จะพบว่าปัญหามันไม่ใช่ปัญหาที่รัฐธรรมนูญ มันเป็นปัญหาที่คนใช้ ถ้าคนใช้
เป็นคนดี คนใช้นั้นเป็นนักประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับเดียวก็คงจะพอแล้ว ตรงไหนที่สิ่งแวดล้อมมันเปลี่ยนแปลง
ไป บริบทมันเปลี่ยนแปลงไปก็ปรับแก้กันไป เป็นระยะๆ รัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย เขียนเสร็จ
แล้วต้องเอาขึ้นหิ้งไว้กราบไหว้บูชา ไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ มันมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของสังคม ซึ่งสังคมมัน
เปลี่ยนแปลงไปเร็ว มันก็อาจจะมีหลายอย่างที่มีการเปลี่ยนแปลงและต้องการดําเนินการ
ทีนี้ปัญหารัฐธรรมนูญของไทย ทําไมมีปัญหา ถ้าหากศึกษาติดตามกันมาโดยตลอด ปัญหาใหญ่ของการ
เมืองไทยในทุกวันนี้ ก็คือปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง เราก็เลยอยากร่างรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง
ได้ โดยยึดหลักอุดมคติ มันจะเป็นไปได้ไหม โดยที่ไม่เข้าใจบริบทของสังคมเลย เท่าที่ผมสอนการเมืองอยู่นี้ ผมต้อง
วิเคราะห์บริบทสังคมให้นักศึกษาฟังว่า บริบทสังคมในโลกนี้มันแตกต่างกัน มองกว้างๆ ง่ายๆ สังคมด้อยพัฒนา
โครงสร้างฐานะประชากร มันจะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีคนรวยน้อย คนจนเยอะ คนจนนี้บวกไว้ด้วยว่าการศึกษา
น้อย ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว โครงสร้างของฐานะประชากรจะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีคนรวยน้อย มีคนจน
น้อย แต่คนชั้นกลางเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ
เวลาที่จะไปพูดถึงการเลือกตั้งเราก็จะพบครับในประเทศที่มันมีบริบทของคนจนมาก นักการเมืองก็อยาก
เอาชนะ จะทําอย่างไร ก็ต้องใช้ทุกวิธีทางที่จะเอาชนะ หลายครั้งหลายหนที่ผู้เลือกตั้งก็กลายเป็นเหยื่อของ
นักการเมือง เพราะนักการเมืองที่ต้องการเอาชนะมักทําสําเร็จโดยการใช้อามิสสินจ้าง เมื่อไม่กี่วันมานี้ประชุมกันอยู่ใน
คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ นักการเมืองท่านหนึ่งก็พูดว่า พูดกันตรงๆ ดีกว่า นักการเมืองอย่ามาโกหก อย่ามา
หลอกคนอื่น ซื้อเสียงกันมาทั้งนั้น ท่านว่าแบบนี้ อันนี้ผมต้องขออนุญาตนะครับ ท่านคณินก็ได้ยินได้ฟัง
เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งที่นักการเมืองเขาว่ากันเอง แต่ว่าลักษณะแบบนี้เองที่มันทําให้การเลือกตั้งมันไม่สุจริต ไม่เที่ยง
--- ๕ ---
ธรรม ไม่โปร่งใส เพราะคนที่ตัดสินใจในการเลือกตั้งไม่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ แต่ตัดสินใจภายใต้อามิส
สินจ้าง
ตรงนี้ก็มีส่วนในการบิดเบือนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน
มันก็มีหลักอยู่สั้นๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนจะดีได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการเลือกตั้งตัวแทนนั้นมันสุจริตเที่ยง
ธรรมและโปร่งใส ถ้ามันไม่สุจริตมันไม่เที่ยงธรรมมันไม่โปร่งใส มันก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยมันมาคู่กัน แต่บริบท
อย่างนี้ หลีกเลี่ยงยากมาก และยิ่งถ้ามีสิ่งจูงใจอื่น เดี๋ยวผมจะพูดว่าสิ่งจูงใจอะไรที่ทําให้การใช้อามิสสินจ้างมันอิทธิพล
มาก
ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว โครงสร้างประชากรมันเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เวลาคนไปเลือกตั้งคนชั้นกลาง
ขึ้นไปก็เป็นคนมีการศึกษา การศึกษาเฉลี่ยของเขาอย่างต่ําก็ไฮสคูล (มัธยมปลาย) ขึ้นไป พอคนมีการศึกษาดี สิ่งที่
ตามมาก็คือฐานะทางเศรษฐกิจพึ่งพาตนเองได้ พอมีทั้งสองอย่างการตัดสินใจไปเลือกตั้งก็มีความเป็นอิสระไม่ต้องตก
อยู่ใต้อามิสสินจ้างใดๆ โอกาสที่จะเลือกได้ผู้แทนที่ดีเป็นส่วน
ใหญ่ก็มีมาก เพราะฉะนั้นปัญหาในการเลือกตั้งของประเทศที่
เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมันถึงมีน้อย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ
การโกงเลือกตั้งและต้องมาจัดเลือกตั้งกันหลายครั้ง ต้องมา
แจกใบแดงใบเหลืองกันหลายครั้ง มันก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น
เหมือนในสังคมของเรา มันขึ้นอยู่กับบริบทด้วยเหมือนกันนะ
ครับ
อันนั้นเป็นประเด็นแรก การปกครองในระบอบ
ประชาธิปไตยของไทย ภายใต้บริบทที่โครงสร้างประชากรยัง
เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วอยู่แบบนี้ มันยังมีเงื่อนไขที่จะทําให้
ประชาชนเป็นเหยื่อของการเลือกตั้งได้เยอะ มันมีเหตุจูงใจ
หลายอย่างที่ทําให้คนใช้เงินเยอะมากเลยในการเลือกตั้ง คน
ที่มีประสบการณ์ได้พูดคุยกับบรรดานักการเมืองทั้งหลายจะรู้
มันมีเหตุจูงใจอะไร ถ้าเราวิเคราะห์เหตุจูงใจที่ทําให้มีการใช้
เงินซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากก็คืออํานาจ การได้มาซึ่งอํานาจ
และเมื่อมีอํานาจในการบริหารประเทศ มันก็จะรวมถึง
ประโยชน์ที่จะตามมาจากอํานาจนั้นด้วย แล้วของจริงมันก็
บอกชัดว่าใครที่มีอํานาจ มีโอกาสใช้อํานาจนั้นหาประโยชน์มิ
ชอบได้มากทีเดียว
ระบบการเมืองของเรา ประยุกต์มาจากระบบรัฐสภาของอังกฤษ คนจะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหัวหน้า
พรรคใหญ่ พรรคที่มีเสียงข้างมากเกินครึ่งหรือมีเสียงอันดับหนึ่งเพื่อที่จะได้เป็นแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาล คําถามก็คือ
ทําอย่างไรมันถึงจะมีเสียงได้อันดับหนึ่ง ทําอย่างไรมันถึงจะได้เสียงเกินครึ่งจะได้เป็นพรรครัฐบาลพรรคเดียว ต้องมี
สส.มาก คําถามต่อมาว่าทําไมถึงจะมี สส.มาก นี่เรื่องใหญ่ เมื่อการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมันจะทําให้มี สส.มาก มันก็เป็น
ที่มาของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพราะมันเป็นทางหนึ่งที่จะทําให้มี สส.มาก เพื่อจะได้มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี มี
ปัญหามันไม่ใช่ปัญหาทีรัฐธรรมนูญ
มันเป็นปัญหาทีคนใช้
ถ้าคนใช้เป็นคนดี
คนใช้เป็นนักประชาธิปไตย
รัฐธรรมนูญฉบับเดียวก็คงจะพอแล้ว
……………………………
ลักษณะของรัฐธรรมนูญทีดี
คือทําอย่างไรจะให้คนดีเข้ามาสู่การเมือง
เป็นผู้นําทางการเมืองได้โดยทีไม่ต้องเป็นหนี
บุญคุณนายทุน หรือเปิดช่องทางให้นายทุนมี
โอกาสเข้ามาเป็นใหญ่เป็นโตในทางการเมือง
สองจะต้องทําให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ
โดยขึนอยู่กับกลไกการตรวจสอบ……
ต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีความเป็นอิสระ
ในการตรวจสอบ
ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีนิด้า
--- ๖ ---
โอกาสเป็นรัฐบาล ส่วนคนจะเป็นรัฐมนตรีก็ ถ้าหากว่าคุณว่าอยากเป็นรัฐมนตรีถึงคุณจะอยู่พรรคเดียวกันคุณก็ต้องให้
แน่ใจว่าคุณมีเสียงสนับสนุนพอนะ เก้าอี้รัฐมนตรีคุณถึงจะมั่นคง ถ้าคุณแค่เก่งอย่างเดียวแล้วคุณไม่มี สส.ในพรรค
สนับสนุน เก้าอี้คุณก็สั่นคลอน คนเป็นนายกรัฐมนตรีอาจจะปลดคุณเมื่อไรก็ได้
เพราะฉะนั้นคนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มในพรรค ก็ต้องพยายามให้มี สส.สนับสนุน ต้องไปสนับสนุนให้ สส.ได้รับ
การเลือกตั้ง สิ่งนี้ล่ะครับเป็นมูลเหตุจูงใจที่สําคัญมากที่ทําให้มีการใช้เงินในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจํานวนมาก และที่มัน
ใช้ได้ดีก็เพราะว่า ใช้แล้วสําเร็จ ถ้าใช้แล้วไม่สําเร็จมันก็จะไม่ค่อยมีคนใช้ พรรคใดมีปัจจัยเงินทุนมาก ภาพลักษณ์ไม่
ค่อยดีก็ไม่เป็นไร ขอให้มีเงินทุนมากก็แล้วกัน มี สส.พร้อมที่จะเข้าไปสังกัดด้วย เพราะเชื่อว่าเงินนี้เป็นปัจจัยที่จะทํา
ให้เขาได้รับชัยชนะ ระยะหลังอาจจะบอกมีเรื่องนโยบายเข้าไปด้วย นี่เป็นตัวประกอบอีกส่วนหนึ่ง แต่ปัจจัยเงินก็ยัง
ไม่หมด ยังเป็นปัจจัยรากฐานใหญ่ เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราไม่ตัดสิ่งจูงใจตัวนี้ มันก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเกาะอยู่ใน
สังคมตลอดไป
โอกาสเป็นว่า คนจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงจํานวนมากในสภาสนับสนุน และก็
ถ้าเป็นรัฐมนตรีที่มั่นคง ก็ต้องมีเสียง สส.สนับสนุน ในที่สุดก็เป็นเรื่องของการใช้เงิน พอเมื่อพูดถึงเรื่องการใช้เงิน มี
คําถามต่อมาว่าคุณเอาเงินมาจากไหน ถ้าเอาเงินจากกระเป๋าตัวเองมาทุน แล้วคราวต่อไปล่ะจะเอาเงินจากที่ไหน มัน
ก็เป็นเรื่องที่เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปนะครับ ก็คือการประพฤติทุจริตหรือประพฤติมิชอบเพื่อจะให้ได้มาซึ่งเงินแล้วก็มีวิธีการ
มากมาย การออกโครงการต่างๆ ทําอะไรต่างๆ มากมาย คนที่อยู่ในภาครัฐ คนอยู่ในวงการเมืองคงเข้าใจดี ว่า
โครงการต่างๆ เหล่านี้มันเป็นที่มาของผลประโยชน์
เพราะฉะนั้นการที่เราตั้งเป้าหมายว่า อยากได้นักการเมืองดี สุจริต เป็นคนที่ไม่คดไม่โกง ภายใต้บริบทที่
เป็นอยู่จริง ถามว่าคนดีๆ มีโอกาสที่จะประสบความสําเร็จทางการเมืองได้อย่างไร มีคนบางคนอาจจะบอกว่า คุณ
อภิสิทธิ์ไม่รวย คุณอภิสิทธิ์ไม่รวยแต่หากไม่มีคนรวยในพรรคประชาธิปัตย์ช่วยสนับสนุน ถามว่าคุณอภิสิทธิ์จะทําได้
ไหม มันต้องมีองค์ประกอบที่ทําให้มันทําได้ ยากมากเลยที่คนจะเป็นใหญ่เป็นโตในประเทศไทยจะไม่ต้องคลุกคลีกับ
คนไม่ดี เพราะต้องอาศัยคนที่เขาไม่ค่อยดียกมือสนับสนุนให้เป็นใหญ่เป็นโต จะทําตัวเป็นมิสเตอร์คลีน ไม่ยุ่งไม่
เกี่ยวกับคนไม่ดีเลยนั้น เป็นเรื่องของความเพ้อฝัน ไม่ใช่สภาพความเป็นจริง
ทีนี้จะทําอย่างไรล่ะ เราจะร่างรัฐธรรมนูญให้คนดีมาเป็นผู้นําประเทศโดยไม่ต้องเกลือกกลั้วกับคนไม่ดีได้
ไหม อันนี้เป็นคําถามใหญ่ จะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรที่จะทําให้คนดีมาเป็นผู้นําประเทศ มาเป็นผู้นําพรรค โดยไม่ต้อง
เกลือกกลั้วกับคนไม่ดีจะทําได้ไหม อันนี้คําถามหนึ่งนะครับ ถ้าใช้รูปแบบที่เป็นอยู่ คุณไม่มีทางทําได้ เคยมีเพื่อน
นักวิชาการที่ วิชาร้อน ร้อนวิชา กระโดดไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แล้วเลยได้คําสรุปชัดเจนว่า คนที่มีอํานาจที่สุด
ในพรรคคือคนที่ถือเงินไม่ใช่หัวหน้า ถ้าหัวหน้าจะมีอํานาจมากที่สุดหัวหน้าต้องมีเงินและถือเงิน แต่ถ้าเป็นคนอื่นถือ
เงินล่ะก็มันกระโดดข้ามหัวหน้าไปเลย หัวของหัวหน้าคล้ายๆ หัวสุนัข นั้นคือของจริงสภาพเป็นจริง
ด้วยสภาพจริงมันเป็นอย่างนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญจะออกแบบอย่างไร ที่จะทําให้คนมาเป็น
นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ไม่ต้องไปพึ่งพาเสียง สส.ในสภา อย่างนี้ทําได้ไหม มีคนบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็
เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงสิ ความจริงการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงหมดแล้ว
นะครับ ไม่ว่าจะเป็น กทม. เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล อบต. ทั้งหมดนี้เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง แต่พอถึง
ระดับชาติ กลับบอกว่า เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง เป็นการคิดล้มล้างทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ กําลังจะเอา
ระบบประธานาธิบดีมาใช้ ตรงนี้ก็เลยไม่มีคนกล้าพูดกันอีก
--- ๗ ---
แต่ถึงจะบอกว่าเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงก็ยังจะมีปัญหาอีก ว่าเลือกตั้งทั้งประเทศจะเอาเงินที่ไหนมา
เลือกตั้ง จะช่วยได้อย่างไร ท่านทราบไหมครับว่าประเทศที่ร่ํารวยอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เขามุ่งมั่นในเรื่องนี้ เขา
บอกว่าเขาต้องการได้คนดีมาเป็นผู้ประเทศและเขาไม่ต้องการให้ผู้นําของเขาไปเป็นหนี้บุญคุณพวกนายทุน
นักการเมือง แล้วก็ต้องการให้ผู้นําของเขาเป็นคนสะอาจจริงๆ เขารู้ว่าการเลือกตั้งนั้นมันใช้เงินและใช้เงินมาก การ
เลือกตั้งรอบสุดท้าย การเลือกตั้งทั่วไปในระหว่างตัวแทนพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันนั้น รัฐบาลกลางจะ
รับผิดชอบจ่ายเงินค่าเลือกตั้ง
การเลือกตั้งสหรัฐฯ รอบสุดท้ายที่เพิ่งเลือกตั้งไปเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลกลางให้เงินคู่แข่งขันคนละแปดสิบกว่า
ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหาเลือกตั้ง ประเทศรวยขนาดนั้นนะครับ เขายังไม่คาดหวังว่านักการเมืองรวย
จะต้องเอาเงินมาจ่ายเอง รัฐบาลกลางจ่ายให้ แต่โอบามาบอกว่าไม่รับเงินของรัฐ เพราะได้รับบริจาคเยอะ นั่นเป็น
ความนิยมส่วนตัวที่มีประชาชนบริจาคให้จํานวนมากจนกระทั่งบอกไม่จําเป็นต้องรับเงินจากส่วนกลาง แต่ของเราจะมี
ใครบริจาคให้นักการเมืองขนาดนั้น ขนาดที่จะทําให้นักการเมืองสามารถมาขันอาสาบริหารประเทศโดยที่ไม่ต้อง
พึ่งพาการช่วยเหลือจากผู้อื่น ถามว่ามันทําได้ไหม อันนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมาดูว่าถ้าจะให้การเมืองดี รัฐธรรมนูญดี
มันจะออกแบบอย่างไร ทําให้ผู้ที่เขามาสู่การเมืองโดยมีโอกาสที่จะประสพความสําเร็จ ไม่ใช่เฟ้อฝัน แล้วไม่ต้องเป็นหนี้
บุญคุณคนอื่น คนไทยบอกอยากได้คนดีมาเป็นนักการเมือง แต่ไม่ดูดําดูดีเลย ไม่เอาใจใส่ไม่ดูแลเลยมันจะเกิดขึ้นได้
อย่างไร อันนี้คือสิ่งที่เราต้องการ กับความเป็นจริงมันไม่สอดคล้องกัน
ประการที่ ๒ นะครับ รัฐธรรมนูญที่ดีควรจะออกแบบให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ ยิ่งในประเทศที่ด้อย
พัฒนาหรือกําลังพัฒนาด้วยแล้ว ถ้าฝ่ายบริหารไม่มีเสถียรภาพจะเป็นอุปสรรคมาก อย่างที่เราได้พบได้เห็น คือ
รัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวก็ล้ม เดี๋ยวก็เปลี่ยนรัฐบาล แล้วยังมีปัญหาความต้องการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น
ต้องออกแบบให้รัฐบาลมีโอกาสที่จะมีเสถียรภาพ แต่ระบบรัฐสภาที่เราเอามาจากอังกฤษนี้นะครับ ถ้าหากรัฐบาลมี
เสถียรภาพมาก มันจะกลายเป็นเผด็จการจากการเลือกตั้ง (Election dictator) เช่น ที่สิงคโปร์ อันนี้ก็คือพรรค
รัฐบาลเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เลย แล้วรัฐบาลพรรคเดียวสั่งการเด็จขาดเฉียบขาดหมดทุกอย่าง หรือสมัยมหาเธร์ของ
มาเลเซีย ที่มีเสียงพรรคอัมโนอยู่ในสภาสองในสาม ทําให้มหาเธร์เป็นนายกรัฐมนตรีผูกขาดอยู่ ๒๒ ปี แล้วก็ปรากฏใน
ขณะนี้ว่ามาเลเซียนั้นถึงจะดูว่าก้าวหน้า แต่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นระดับสถาบันสูงขึ้น เพราะมีลักษณะเบ็ดเสร็จเด็จ
ขาดตรวจสอบยาก
การทุจริตคอร์รัปชั่นมันก็จะนําไปสู่การปฏิวัติได้เหมือนกัน เพราะฉนั้นการออกแบบรัฐธรรมนูญให้มีรัฐบาล
หรือฝ่ายบริหารที่เสถียรสภาพมาก ก็ต้องออกแบบรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งด้วย นั่นหมายถึงว่าการถ่วงดุล
ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติต้องสมดุล ต้องถ่วงดุลกันได้ดี ฝ่ายบริหารต้องไม่มีอํานาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ
คือไปครอบงําจนกระทั่งนิติบัญญัติไม่มีอิสระ ระบบรัฐสภานี้มีจุดอ่อนใหญ่มากอยู่ คือพรรครัฐบาลเป็นพรรคที่มีเสียง
ข้างมากในสภา เมื่อไปทําหน้าที่เป็นรัฐบาลหัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกพรรคเสียงข้างมากเป็นของรัฐบาล
รัฐบาลสั่งได้ ก็เลยทําให้รัฐบาลนี้สามารถบงการสภาได้ ผู้ที่จะเป็นทําหน้าที่ตรวจสอบมีอยู่พวกเดียวคือฝ่ายค้าน ทั้งนี้
หากฝ่ายค้านมีเสียงน้อย การตรวจสอบอ่อนแอทันที
เพราะฉะนั้นการออกแบบอย่างนี้ ออกแบบอย่างไรที่จะทําให้ฝ่าย ให้ฝ่ายนิติบัญญัติอิสระ มีความเข้มแข็ง
และสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้นผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่าง แต่เท่าที่ติดตามดูรู้
ว่าเขาออกแบบมาให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ แล้วผู้ร่างก็คงรู้ว่าแบบนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจะอ่อนแอ เขาเลยไปออกแบบ
--- ๘ ---
องค์กรอิสระขึ้นมา เพื่อมาทําหน้าที่ในการตรวจสอบ บังเอิญว่าฝ่ายบริหารเข็มแข็งเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนสามารถบงการ
สว. และสามารถแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ก็เลยเป็นอัมพาตไปเลยในเรื่องการตรวจสอบ แทนที่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี
ก็กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาทําให้มีลักษณะเผด็จการจากการเลือกตั้งมากขึ้น
เพราะฉนั้น ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี ส่วนที่สําคัญมากอย่างหนึ่ง คือทําอย่างไรจะให้คนดีเข้ามาสู่
การเมือง เป็นผู้นําทางการเมืองได้โดยที่ไม่ต้องเป็นหนี้บุญคุณนายทุน หรือเปิดช่องทางให้นายทุนมีโอกาสเข้ามาเป็น
ใหญ่เป็นโตในทางการเมือง สองจะต้องทําให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ โดยขึ้นอยู่กับกลไกการตรวจสอบ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งการถ่วงดุลจากฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัตินี้มีความเป็นอิสระในการตรวจสอบ ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติ
เป็นทาสของรัฐบาล อยู่ภายใต้อุ้งมือ อุ้งเท้าของรัฐบาล รัฐบาลจะสั่งการบงการอะไรก็ได้ ดังที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย
และถ้าจะมีองค์กรอิสระ ก็ต้องมีความเป็นอิสระพอที่สามารถตรวจสอบและทําหน้าที่แทนประชาชนได้
จริงๆ วันนี้ก็มีข้อกังขามากขึ้น มีการพูดกันเยอะเลย ว่าองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ตรวจสอบนี้ มันเหมือนมีดาบอาญา
สิทธิ แล้วก็ใช้ดาบนั้นไปหาผลประโยชน์มิชอบเหมือนกัน ทําให้เกิดปัญหาซ้ําขึ้นไปอีกในระบบการเมืองของเรา ความ
จริงผมสนใจเรื่องนี้อยู่มาก ผมกําลังศึกษาเรื่องกรอบการปฏิรูปการเมืองภายใต้บุคคลของสังคมไทย เข้าใจว่าปลาย
เดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า น่าจะเผยแพร่ได้ ไม่ใช่บอกอาจารย์สมบัติมาพูดวันนี้ พูดแล้วก็ทิ้งเป็นปริศนา คงไม่คิดอะไร
ต่อ ไม่ใช่นะครับ คิดอยู่ และกําลังทําการบ้านอยู่ ถ้าเสร็จจะเอามานําเผยแพร่ให้ท่านได้วิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็น
อย่างไร เข้าใจว่าคงได้ตามเวลาที่กําหนดแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ
ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล
ผู้ดําเนินรายการ
ขอขอบคุณอาจารย์สมบัติค่ะ ท่านได้ให้แง่คิดทั้งในเรื่องของการมอง รัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็น มองในเรื่อง
เสถียรภาพของฝ่ายบริหาร การที่ทําให้เมืองไทยมิใช่การเมืองที่ซื้อได้ด้วยเงิน (Money politics) หรือว่าทําให้การ
เลือกตั้งเป็นช่องทางในการซื้อขายเสียงอะไรต่างๆ นะคะ การเมืองในบ้านเรานั้นก็คงจะมองพรรคการเมืองหรือการ
เมืองไทยในแง่ลบอยู่นิดหนึ่งนะคะ เราก็คงจะต้องดูว่ารัฐธรรมนูญจะช่วยตรงนี้ได้หรือเปล่า สําหรับในเวทีนี้เดี๋ยว
อาจารย์คงจะไม่ได้อยู่กับเราแล้วนะคะ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ด้วยค่ะ ลําดับถัดไปนะคะ ก็คงจะเป็นความเห็นจาก
นักวิชาการซึ่งนั่งข้างๆ ดิฉัน ซึ่งท่านจะบอกพวกเราว่า รัฐธรรมนูญที่ดีตามหลักวิชาหรือหลักที่หลายๆ ประเทศทั่ว
โลกเขาใช้กัน มันจะเป็นแบบไหน ขออนุญาตเชิญท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ค่ะ
--- ๙ ---
ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ
เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า
ท่านประธาน ปอมท. ท่านเลขาธิการ และท่านผู้เกียรติครับ ผมอยากจะยกประเด็น
ว่า ผู้จัดสัมนาตั้งหัวข้อเรื่องว่า “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร” ซึ่งคําว่ารัฐธรรมนูญที่ดี
ควรมีลักษณะอย่างไรนั้นนะ เห็นชัดว่ามันบอกเป็นนัยว่าในมีรัฐธรรมนูญที่ไม่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้
เมื่อเป็นการตัดสินเชิงคุณค่าของคนที่มาพูด อาจจะพูดได้ว่ารัฐธรรมนูญที่ดีในทัศนะของ
อาจารย์บวรศักดิ์เป็นอย่างไร ของท่านจตุรนต์เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตัดสินเชิงคุณค่าเฉพาะบุคคลของคนพูดแต่ละคน
(Value judgment) โดยแท้ ใครไม่เชื่อก็เข้าไปดูที่เว็บไซท์กูเกิ้ลในอินเทอร์เน็ตดูนะครับ ค้นคําว่า Good
Constitution ดูนะครับ ท่านจะพบ ๑๖ ล้านรายการที่แสดงผลค้นหา
มีอีกอันหนึ่งนะครับ ท่านเลขาธิการ ปอมท. แจกในเอกสารประกอบการสัมนา กระดาษสีเหลืองนี้ อาจารย์
เธียรวิทย์ให้คํานิยามรัฐธรรมนูญที่ดีของท่านไว้ ๘ ประการ ซึ่งก็แปลว่าเราจะมาหาความเห็นเราแต่ละคน ใช่หรือไม่
ถ้าใช่ก็โอเคครับ คือ รัฐธรรมนูญที่ดีของอาจารย์สมบัติ ของท่านจาตุรนต์ ของคุณคณิน ของผม ของอาจารย์สมคิด
แต่ความจริงที่ผมอยากพูดก่อนไปถึงรัฐธรรมนูญที่ดีในทัศนะของผมนะครับ มันมีอะไรเป็นกลางๆ อยู่บ้างแหล่ะที่
ปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ ที่มันเป็นเกณฑ์ที่เขาเชื่อกันว่ามันน่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี เป็นกลางๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไป
เปิดดูในคําประกาศสิทธิมนุษย์และพลเมืองฝรั่งเศสปี ๑๗๘๙ ในข้อ ๑๖ ของคําประกาศฉบับนี้ซึ่งสําคัญนะครับ เพราะ
เป็นบรรพบุรุษของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนและเป็นหลักกฎหมายมหาชนที่สอนกันมาทั้งในฝรั่งเศสใน
เยอรมันและในประเทศไทยจนถึงวันนี้
ในข้อ ๑๖ ของคําประกาศ เขาบอกว่าสังคมใดไม่มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และไม่มีการแบ่งแยกการใช้
อํานาจอธิปไตย สังคมนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ ก็แปลว่าในทัศนะของผู้ปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างน้อยก็ในเวลานั้นเขามองว่า
รัฐธรรมนูญที่ดีจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน แล้วเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ผล ก็ต้องมี
การตรวจสอบถ่วงดุลของอํานาจสูงสุด ตามหลักการแบ่งแยกการใช้อํานาจอธิปไตย ซึ่งอันนี้มันก็เป็นตัวอย่างให้เห็น
ว่ามีอะไรของมันอยู่เหมือนกันที่จะเป็นเกณฑ์วัดได้ในทางสากลหรือทางวิชาการ ยังมีอีกอันหนึ่งซึ่งเรามักจะได้ยินกัน
เสมอๆ ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Constitutionism ที่ผมแปลว่ารัฐธรรมนูญนิยมนี้
ความจริงแล้วเรื่องรัฐธรรมนูญนิยมเอง ก็เป็นกระแสความคิดซึ่งมีบทบาทในการจัดทํารัฐธรรมนูญทั่วโลกจน
มาถึงวันนี้พอสมควรที่เดียว เสียดายวันนี้อาจารย์อมร (จันทรสมบูรณ์) ไม่มา ท่านเขียนเรื่องนี้เอาไว้ แต่ท่านใช้ทับ
ศัพท์ว่า Constitutionism ทางออกของประเทศไทย หนังสือท่านเขียนอย่างนั้น ที่นี้เรามาดูว่ารัฐธรรมนูญนิยมมัน
เป็นอะไร และมันเกี่ยวกับความรัฐธรรมนูญที่ดีอย่างไร เราก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญนิยมมันมองได้ ๒ ระยะนะครับ
ในทางวิชาการเขาบอกว่าอันหนึ่งเป็น Descriptive Constitutionism คือเป็นรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนา แปลว่า
อันนี้เป็นกระแสความคิดนะครับ ที่เกิดขึ้นในตะวันตก เป็นการอธิบายปรากฎการเชิงประวัติศาสตร์ ในการทําหน้าที่
ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหัวใจสําคัญอยู่ตรงที่จะต้องเป็นกฎหมายที่จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง
เพราะฉะนั้น ในยุคที่รัฐธรรมนูญนิยมรุ่งเรืองที่สุด ที่เขาถือว่าเป็นช่วงศตวรรคที่ ๑๘ คือเมื่อปรัชญา
ประชาธิปไตย ถูกแปลมาเป็นกฎหมายมาเป็นรัฐธรรมนูญอเมริกัน ๑๗๘๗ เป็นรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส แล้วก็มาขยายไป
ทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถ้าเราดูรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนาให้ดี ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือ
ในยุคแรกศตวรรคที่ ๑๘, ๑๙ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจํากัดอํานาจผู้ปกครองโดยกฎหมาย มันจะเน้นเลยว่าการ
--- ๑๐ ---
ปกครองสังคมนั้นจะทําโดยอําเภอใจของผู้ปกครองไม่ได้ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ต้องมีหลักนิติ
ธรรม หลักนิติรัฐ แล้วก็รับรองว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นสิ่งจําเป็น เป็นหัวใจสําคัญพื้นฐาน
ประการที่ ๒
อีกประการหนึ่ง คือประการที่ ๓ กําหนดว่ารัฐบาลต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน ก็คือเป็น
ประชาธิปไตย อันนี้ก็คือรัฐธรรมนูญเชิงพรรณนายุคแรก ต่อมาก็มีการใช้รัฐธรรมนูญไปสร้างความเป็นธรรมในสังคม
ใครไปดูคําปรารภในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี ๑๙๔๖ จะเห็นได้ชัดเลยว่ารัฐธรรมนูญ ก้าวจากการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ
ทางการเมืองของประชาชนไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ให้กรรมกรมี
อํานาจจัดตั้งสหภาพคุ้มครองสตรี คุ้มครองเด็ก คุ้มครองคนชรา อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ไปอีกขั้นหนึ่งแล้วนะครับ คือ
นอกจากรัฐธรรมนูญจะจัดโครงสร้างการปกครองรับรองสิทธิเสรีภาพทางการเมืองแล้ว ยังใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ
ในการสร้างรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นในยุโรป
แล้วก็มาถึงรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนาในช่วงท้าย ที่ใช้รัฐธรรมนูญไปสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้
รัฐบาล เพราะเหตุว่าระบบรัฐสภาที่ออกมาใช้นอกอังกฤษนั้นมันเกิดปัญหา อย่างรัฐบาลฝรั่งเศสนั้นถึงขนาดว่า ในช่วง
๘๐ ปี ของสาธารณรัฐที่สาม มีถึง ๑๒๐ รัฐบาล ทําให้เสื่อมจากการเป็นมหาอํานาจโลกที่เคยยึดครองยุโรปทั้งยุโรปลง
มาแพ้เยอรมัน เพราะฉะนั้น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา
การเมืองของประเทศ และมีกลไกประหลาดๆ ที่ไม่พบในระบบการเมืองของอย่างอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น ในเยอรมัน
มันมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแบบสร้างสรรค์ คือเมื่อก่อนฮิตเลอร์ยึดอํานาจก็เพราะว่ายุบสภาทีเดียว ๔ ครั้ง
จากที่มี สส. ไม่ถึง ๑๐๐ กลายเป็น สส. ๔๐๐ คน
เพราะฉะนั้น (เยอรมัน) ก็บอกกันว่าไม่เอาแล้ว รัฐบาลที่ไม่เสถียรภาพเกิดจากที่พรรคฝ่ายค้านได้ร่วมมือกัน
ล้มรัฐบาลที่มีอยู่ แต่ไม่รู้จะตั้งรัฐบาลได้อย่างไร เพราะฉะนั้นต้องหารัฐบาลให้ได้ก่อน ก็เลยมีมาตรา ๖๗ ของ
รัฐธรรมนูญเยอรมันว่า จะเอารัฐบาลออกด้วยการไม่ไว้วางใจรัฐบาลก็ได้ แต่ต้องมีชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่เสนอขึ้นมา
แทน แล้วลงมติทันที ไม่อย่างนั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไม่ได้ แล้วเยอรมันไปไกลมากครับ ยกตัวอย่างเรื่องการไม่
ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ปรกติเราจะเห็นแต่ระบบที่ไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่เยอรมันบอกว่ารัฐบาลขอความไม่ไว้วางใจจาก
สภาได้ ถ้ารัฐบาลเห็นว่าตัวเองทําถ้าไม่ดี สส.ในสภาพรรครัฐบาลผสมชักแกว่งแล้ว ขอความไว้วางใจเลย พอขอปั๊บถ้า
สภาลงมติให้ความไว้วางใจรัฐบาลไม่ถึงครึ่ง รัฐธรรมนูญเยอรมันบอกว่าไม่ต้องออกนะรัฐบาลมีทางเลือก ๒ ทาง ทางที่
๑ คือภายใน ๔๘ ชั่วโมงนี้ รัฐบาลต้องเลือกว่า ๑ จะยุบสภาหรือเปล่า ถ้ายุบสภารัฐบาลต้องยุบสภาใน ๒๑ วัน
ถ้ารัฐบาลไม่เลือกทางยุบสภา จะเลือกบริหารแต่รัฐบาลเสียงข้างน้อยก็ทําได้ รัฐธรรมนูญเยอรมันบอกว่า
ด้วยความเห็นชอบของท่านรัฐมนตรีและประธานาธิบดี สามารถประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิติบัญญัติ ว่านับแต่นี้ต่อไป
กฎหมายสําคัญของรัฐบาลเข้าบุนเด็นทาส คือสภาผู้แทนแล้วไม่ผ่าน ก็จะเอากฎหมายนั้นออกมาแล้วเข้าบุนเด็นรัส
วุฒิสภา และออกไปใช้ได้ แต่รัฐธรรมนูญก็กลัวว่าจะเกิดเผด็จการรัฐบาลเสียงข้างน้อย เขาก็บอกว่า ในหนึ่งอายุ
รัฐบาลใช้ได้ ๑ ครั้ง แล้ว ๑ ครั้งนั้นไม่เกิน ๖ เดือน เพื่อที่จะจัดการกับความรวนเรของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็น สส.
แล้วไปเข้ากับฝ่ายค้านล้มรัฐบาล ล้มรัฐบาลไม่ได้และให้เวลารัฐบาล ๖ เดือนที่จะไปหาเสียงข้างมากมาหนุนให้เข้มแข็ง
นี่ก็เป็นรัฐธรรมนูญนิยมช่วงที่ ๓ ที่ต้องการ สร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพรัฐบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญของไทย
ปี ๔๐ ก็เอานะครับ เอาจากเยอรมันบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง เพราะเราเห็นว่าก่อนหน้านั้นรัฐบาลไทยมันล้มลุกคุกคลาน ๖๐
ปี ประชาธิปไตยไทยมีรัฐบาล ๕๒ ชุด เฉลี่ยแล้วมีรัฐบาลชุดละปีสองเดือน อันนี้หมายถึงนับรวมรัฐบาลของจอมพล
--- ๑๑ ---
ถนอม จอมพลสฤษดิ์ จอมพล ป. พิลูลย์สงครามเข้าไปด้วย ถ้าไม่นับจอมพล ป. จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ ก็จะ
เหลืออายุรัฐบาลเพียง ๖ เดือน ๘ เดือน ทําอะไรก็ไม่ได้
ก็เขียนรัฐธรรมนูญปี ๔๐ อย่างนั้น แต่ว่ามันก็เกิดผลขึ้นมาอย่างที่เห็นเป็นรัฐบาลทักษิณ ๑ ทักษิณ ๒ พอมา
รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็เลยตรารัฐธรรมนูญปี ๕๐ แบบ
ตรงกันข้าม ทําอย่างไรให้ได้รัฐบาลที่ไม่เข้มแข็ง เพราะ
ต้องการ การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐมากกว่า นี่คือ
รัฐธรรมนูญนิยมในแบบที่เขาว่าใช้รัฐธรรมนูญเป็น
เครื่องมือในการทําอะไร ส่วนรัฐธรรมนูญนิยมในอีก
ความหมายหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละ
ประเทศ เขาเรียกว่า รัฐธรรมนูญเชิงกฎเกณฑ์ ภาษาฝรั่ง
เรียกว่า Prescriptive Constitutionism อันนี้เป็นการใช้
รัฐธรรมนูญเพื่อสร้างให้บางอย่างเกิดขึ้นในรัฐนั้นๆ ใน
สังคมนั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาของรัฐนั้นๆ
เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญเชิงกฎเกณฑ์นี้ จะ
กําหนดว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น
ม็องเตสกิเออ ที่ไปศึกษารัฐธรรมนูญตั้งแต่กรีซโบราณมา
จนถึงกระทั่งถึงยุคที่ตนเองมีชีวิตอยู่ ประมาณศษตวรรษ
ที่ ๑๗, ๑๘ นะครับ และก็บอกว่ารัฐธรรมนูญที่ดีนั้น
หนึ่ง ต้องมีการแบ่งแยกการใช้อํานาจ อันนี้ก็เป็นที่มาของ
ทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อํานาจประชาธิปไตย สอง
ต้องเอากลุ่มต่างๆ ของสังคมทั้งหมดเข้ามาอยู่ในโครงสร้างการเมืองแล้วก็ยกตัวอย่างว่า อังกฤษนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ดี
มากเพราะว่า มันมีการมี ๓ สถาบันอยู่ในโครงสร้างทางการเมืองหมด มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีขุนนาง ทั้งพระ
และขุนนางสามัญอยู่ในสภาขุนนาง แล้วก็มีไพร่ไปนั่งอยู่ในสภาสามัญ ที่เรียกว่า Commoners
ม็องเตสกิเออร์ ก็บอกว่าให้เอากลุ่มต่างๆ ทั้งหมดที่เป็นพลังอํานาจ เรียกว่าตรีญาณุภาพทางการเมืองของ
อังกฤษคือ กับขุนนางและไพร่มาผนวกรวมไว้ในองค์กรทางการเมือง เป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสภาขุนนาง
เป็นสภาสามัญ นี่ก็คือทฤษฎีของม็องเตสกิเออร์ ถ้าไปถามเลนินกับเหมา เจ๋อ ตุง รัฐธรรมนูญที่ดีของเลนินกับเหมา
เจ๋อ ตุง จะไม่เหมือนกับม็องเตสกิเออร์เลย เขาไม่สนใจเรื่องการแบ่งแยกการใช้อํานาจ สังคมนิยมเขาบอกว่าอะไรก็ได้
ที่มันสะท้อนอุดมการณ์ของสังคมนิยมหรือเผด็จการกรรมชีพ อย่างกรณีรัสเซียหรือเผด็จการชาวนาของจีน ผมเข้าใจ
ว่า การอภิปรายวันนี้ผู้อภิปรายต้องการให้เป็น Prescriptive Constitutionism แบบนี้ ทํานองว่าอาจารย์สมคิดคิด
ว่าดีอย่างไร ผมคิดว่าดีอย่างไร ท่านสมบัติคิดว่าดีอย่างไร
ปัญหาอีกข้อหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญที่ดีคืออะไร สังเกตให้ดีนะครับ ผู้จัดสัมนาฯ ใช้คําว่ารัฐธรรมนูญที่ดี ไม่ได้ใช้
คําว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ดี เพราะรัฐธรรมนูญนั้นโดยนัยมันมีความหมายกว้างกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ
กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นหมายถึง สิ่งที่เป็นกฎหมาย เป็นตัวบทบัญญัติ แต่พอพูดรัฐธรรมนูญแล้ว มันจะมีสิ่งซึ่งไม่ใช้ตัว
บทบัญญัติ แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่าประเพณีการปกครอง ซึ่งไม่ได้เป็นตัวบทกฎหมาย ไม่เป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษร
ผู้จัดสัมนาฯ ใช้คําว่ารัฐธรรมนูญทีดี
ไม่ได้ใช้คําว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญทีดี
เพราะรัฐธรรมนูญนันโดยนัย
มันมีความหมายกว้างกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ
.....สิงทีเรียกว่าประเพณีการปกครอง
……รัฐธรรมนูญและอํานาจในแก้รัฐธรรมนูญ
ไม่ใช่อํานาจนิติบัญญัติ
ไม่ใช่อํานาจของสภาทีถูกรัฐธรรมนูญก่อตังขึน
แต่มันเป็นอํานาจของประชาชน
เพราะมันเป็นอํานาจในการก่อตังรัฐสภา
ดังนันผู้แทนทีราษฎรเลือกมาจะมาแก้
สิงทีราษฎรเป็นคนให้ฉันทามติไม่ได้
ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ ส. พระปกเกล้า
--- ๑๒ ---
คนที่พูดเรื่องนี้คนแรกคือ เอบีไดร์ซี ไดร์ซีซึ่งเป็นนักกฎหมายชาวอังกฤษ มีหน้าที่สอน The Law of Constitution
เพราะฉะนั้นแกจะไม่สอน The Convention of Constitution คือสอนรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายศาลบังคับ
ไม่ใช่ประเพณีการปกครองที่ฝ่ายการเมืองปฏิบัติกัน แต่ไม่ฟ้องศาลไม่ได้
ถามว่ารัฐธรรมนูญในความเป็นจริงของทุกประเทศทั่วโลก มันมีส่วนที่เรียกว่าตัวหนังสืออยู่ เป็นกฎหมาย แต่
อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กฎหมายคือประเพณี ประเพณีการปกครอง ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่าเมื่อประเพณีการปกครองมันมี
อยู่ ศัพท์ในรัฐธรรมนูญอังกฤษ ในรัฐธรรมนูญแคนนาดา ในรัฐธรรมนูญประเทศเหล่านี้ทั้งหลายเขาก็บอกว่า บางอย่าง
การกระทําบางอย่างนี้มันชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่มันไม่ชอบด้วยประเพณีการปกครอง มีตัวอย่างเยอะเลย
เช่น สมเด็จพระบรมราชินีนาถของอังกฤษจะไม่ทรงยับยั้งร่างกฎหมายที่สภาฯ ผ่าน ถามว่าเป็นกฎหมายไหม ตอบว่า
ไม่ใช่ เพราะถ้าตามกฎหมายพระบรมราชินีนาถอังกฤษมีสิทธิยับยั้งกฎหมาย ถามว่าถ้าทรงยับยั้ง ทรงทําได้ไหม ตาม
กฎหมายได้ (legal) แต่ว่าถ้าทรงทําเช่นนั้น นักกฎหมายรัฐธรรมนูญบอกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถอังกฤษก็จะ
ทําสิ่งที่ Unconstitutional คือขัดต่อประเพณีปกครอง
ที่นี้พอมาพูดถึงประเพณีการปกครอง ตัวนี้คือตัวสําคัญที่มีปัญหาแล้วเราไม่ค่อยพูดกัน คณะกรรมการ
สมานฉันท์ฯ ที่ตั้งขึ้นมาวันนี้ก็ไม่ได้พูดกันเท่าไร ตอนทํารัฐธรรมนูญปี ๔๐ ก็ไม่ได้พูด รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็ไม่ได้พูด
คือสิ่งที่อาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมหรือประเพณี ปัญหามันคือ สังคมไทยเมื่อเอา
กฎหมายฝรั่ง เอาระบอบประชาธิปไตยแบบฝรั่งมาสวมลง มันคงไม่ใช่ ผลมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ใน
เยอรมัน ในฝรั่งเศส ในออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งในญี่ปุ่น เพราะมันมีวัฒนธรรมการเมืองมันมีประเพณีการปกครอง
ของมันแบบหนึ่ง จะดีหรือไม่ดีเราตัดสินได้นะครับ
ปัญหาคือ มันก็เกิดการสู้กัน ๒ สํานักในเวลานี้ ระหว่างประชาธิปไตยแบบสากล ที่เลี่ยงคําว่าประชาธิปไตย
แบบตะวันตก กับประชาธิปไตยแบบไทยๆ คําว่า แบบไทยๆ ประชดกันหนักเข้า คนที่นิยมประชาธิปไตยแบบสากลก็
บอกประชาธิปไตยแบบไทยๆ จริงๆ แล้วมันก็คือ Guided Democracy คือเธอต้องทําตามที่ฉันต้องการ ก็พูดกันได้จะ
เรียกว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้นะครับ แล้วพูดกันถ้าพูดกันเป็นกลางๆ ไม่ตัดสิน ผม
ยกตัวอย่างอันหนึ่ง ตอนที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ น่าสนใจมากที่นักวิชาการอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นแพรรี่
หรือใครต่อใครมานั่งเถียงกันว่า ทําไมในระบอบการปกครองของอังกฤษ พระเจ้าแผ่นดินรบกับสภา พระเจ้าแผ่นดิน
แพ้เกิดอํานาจอธิปไตยของสภา แต่ทําไมพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยังปกครองได้
ในความเป็นจริง พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษมีอํานาจมาก สมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรีย ไม่ทรงมีพระราชอํานาจ
ทางกฎหมาย แต่ทางการเมืองมีอํานาจมากเหลือเกิน คําตอบก็คือเพราะอังกฤษในศตวรรคที่ ๑๘ ปกครองโดยระบบ
อุปถัมภ์ กษัตริย์อังกฤษอุปถัมภ์ลอร์ด ลอร์ดก็ไปอุปถัมภ์ไพร่คือ สามัญชน โดยผ่านกระบวนการทางการเมืองของ
ระบบอุปถัมภ์ พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษซึ่งหมดอํานาจทางกฎหมายแล้ว กลับมีอํานาจทางการเมืองเด่นชัดคือคุมสภาขุน
นางได้ แล้วขุนนางก็ไปคุม สส.เป็นมุ้งต่างๆ ได้ และแพรรี่ หรือใครต่อใครก็สรุปเลยว่า ที่ประเทศอเมริกาประกาศเอก
ราชสําเร็จก็เพราะว่า พระราชินีนาถอังกฤษและพระเจ้าแผ่นอังกฤษคือพระจอร์จที่ ๓ ไม่สามารถมีระบบอุปถัมภ์
เหนืออาญานิคมทั้ง ๑๓ แห่ง
นี่คือข้อสรุปทางนักวิชาการที่ตรงกัน คําถามคือ เขาเสนอแก้อย่างไร ตอนนั้นนักวิชาการทั้งหลายในอังกฤษ
ช่วงเสียอเมริกาในปลายศตวรรคที่ ๑๘ ขึ้นศตวรรคที่ ๑๙ ต่างบอกว่ามีทางเดียวเท่านั้น คือเมื่อกษัตริย์อังกฤษไม่
สามารถไปใช้ระบบอุปถัมภ์ซื้อคนในอาณานิคม หากจะเอาอาณานิคมไว้ก็ต้องจําลองรูปแบบการปกครองอังกฤษลง
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร
รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร

More Related Content

What's hot

อำนาจและการเมืองในองค์การ
อำนาจและการเมืองในองค์การอำนาจและการเมืองในองค์การ
อำนาจและการเมืองในองค์การParinya Thawichan
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้Thunyalak Thumphila
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมPadvee Academy
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์Phattarawan Wai
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]Sansanee Tooksoon
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์Padvee Academy
 
วังสัฏ ฉันท์ ๑๒
วังสัฏ  ฉันท์ ๑๒วังสัฏ  ฉันท์ ๑๒
วังสัฏ ฉันท์ ๑๒Jiraprapa Noinoo
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2Wichai Likitponrak
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาวัดดอนทอง กาฬสินธุ์
 
แบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานแบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานRattana Wongphu-nga
 
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialismความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม ExistentialismPadvee Academy
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์Padvee Academy
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ vanichar
 
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)Padvee Academy
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดSani Satjachaliao
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กGed Gis
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญPongpob Srisaman
 

What's hot (20)

อำนาจและการเมืองในองค์การ
อำนาจและการเมืองในองค์การอำนาจและการเมืองในองค์การ
อำนาจและการเมืองในองค์การ
 
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้
 
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อมปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
ปรัชญาตะวันตก บทที่ ๖ ปรัชญากรีกสมัยเสื่อม
 
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
เฉลยแบบทดสอบย่อยครั้งที่ 1 เรื่องกล้องและเซลล์
 
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
หน่วยที่ ๓ ความเป็นพลเมืองดี [Autosaved]
 
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
ปรัชญาเบื้องต้น บทที่ ๒ ความสัมพันธ์ระหว่างปรัชญา ศาสนา วิทยาศาสตร์
 
วังสัฏ ฉันท์ ๑๒
วังสัฏ  ฉันท์ ๑๒วังสัฏ  ฉันท์ ๑๒
วังสัฏ ฉันท์ ๑๒
 
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdfแบบตั้งฉายาพระ.pdf
แบบตั้งฉายาพระ.pdf
 
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน211.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
11.โครงสรา้งและหน้าที่ของราก ลำต้น ใบ ตอน2
 
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนาการบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
การบริหารงานตามหลักอธิปปไตยในพระพุทธศาสนา
 
แบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงานแบบทดสอบโครงงาน
แบบทดสอบโครงงาน
 
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialismความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
ความรู้ทั่วไปของปรัชญาอัตถิภาวนิยม Existentialism
 
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
อภิปรัชญา ความจริงของโลก และ มนุษย์
 
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์ ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
ประวัติวรรณคดี สมัยรัตนโกสินทร์
 
อิเหนา
อิเหนาอิเหนา
อิเหนา
 
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
อริยสัจ ๔ (ตอน ๒)
 
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิดสัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
สัปดาห์ที่ 5 6 ทฤษฎีสังคมวิทยา แนวคิด
 
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล12.  บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
12. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
 
สมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็กสมุดเล่มเล็ก
สมุดเล่มเล็ก
 
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
2.ส่วนคำนำ และสารบัญ
 

Similar to รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร

ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520Pandit Chan
 
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรนักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรThongkum Virut
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยสำนักงาน กกต. แพร่
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...สุรพล ศรีบุญทรง
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Kasem S. Mcu
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย
 

Similar to รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร (9)

ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
ชีวประวัติรัฐธรรมนูญ2475 2520
 
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไรนักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
นักวิชาการที่แท้จริงเป็นอย่างไร
 
กรรมการบริหาร ปอมท. 2551
กรรมการบริหาร ปอมท. 2551กรรมการบริหาร ปอมท. 2551
กรรมการบริหาร ปอมท. 2551
 
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
เหตุแห่งการถวายสมัญญา
เหตุแห่งการถวายสมัญญาเหตุแห่งการถวายสมัญญา
เหตุแห่งการถวายสมัญญา
 
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
หนังสือสรุปผลการดำเนินงานที่ประชุมประธาน สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (...
 
Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09Ebook semina 2 jul 09
Ebook semina 2 jul 09
 
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทยทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
ทิศทางการกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในยุคปฏิรูปประเทศไทย
 
Abc
AbcAbc
Abc
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoสุรพล ศรีบุญทรง
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสุรพล ศรีบุญทรง
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์สุรพล ศรีบุญทรง
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยสุรพล ศรีบุญทรง
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังสุรพล ศรีบุญทรง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)สุรพล ศรีบุญทรง
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2สุรพล ศรีบุญทรง
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)สุรพล ศรีบุญทรง
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)สุรพล ศรีบุญทรง
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550สุรพล ศรีบุญทรง
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...สุรพล ศรีบุญทรง
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)สุรพล ศรีบุญทรง
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)สุรพล ศรีบุญทรง
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)สุรพล ศรีบุญทรง
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียสุรพล ศรีบุญทรง
 

More from สุรพล ศรีบุญทรง (20)

เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWhoเรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
เรียนรู้หลักการศึกษาผ่านคำถามWho
 
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัยแบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
แบบทดสอบธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย
 
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 Hสร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
สร้างการเรียนรู้สากลได้ง่ายๆ ด้วยคำถาม 5 H
 
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550  ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
หนังสือประชุมวิชาการ ปอมท. ปี 2550 ณ โรงแรมรามา การ์เดนส์
 
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยกระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
กระบวนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย
 
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลังภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
ภาคผนวก (หน้า299 317),ปกหลังด้านในและปกหลัง
 
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
ประวัติและผลงานอาจารย์ดีเด่น (หน้า20 32)
 
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
บทความสถานภาพองค์กรและบุคลากร (หน้า197 225)
 
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
National Identity in Education Policy บทความรับเชิญ (หน้า115 172)
 
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550  (หน้า249 274) 2
บทความวิชาการ ประชุม ปอมท. 2550 (หน้า249 274) 2
 
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  .....บทความเกียรติยศ (หน้า32   40)
หลักการทรงงาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .....บทความเกียรติยศ (หน้า32 40)
 
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
บทความการสรรหาผู้บริหารมหาวิทยาลัย (หน้า226 248)
 
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
ข่าวกิจกรรม ปอมท.(หน้า275 298)
 
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
โครงการประชุมวิชาการประจำปี 2550
 
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
บทความวิชาการ  ปอมท.  2550บทความวิชาการ  ปอมท.  2550
บทความวิชาการ ปอมท. 2550
 
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
5.เรื่องทิศทางข้างหน้าของข้าราชการไทยการบริหารราชการยุคใหม่โดยนายโอภาส เขียวว...
 
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
4.เรื่องการบริหารราชการยุคใหม่โดยดร.สมโภชน์ นพคุณ (หน้า83 99)
 
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
3.เรื่องระบบ admission,o netและa-net โดยศ.ดร.อุทุมพร (หน้า 71-82)
 
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
2.เรื่องการวิจัยสภาสถาบันอุดมศึกษา โดยศ.ดร.สมหวัง(หน้า 63 70)
 
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลียการศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
การศึกษาเปรียบเทียบกลไกธรรมาภิบาลในอุดมศึกษาไทยและออสเตรเลีย
 

รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร

  • 1. การบรรยายเรื่อง “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร” วันจันทร์ที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสัญญา ธรรมศักดิ์ อาคารโดม ชั้น ๒ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยมีผู้อภิปรายดังรายชื่อต่อไปนี้ • ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) • ศ. ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตสมาชิกสภาร่าง รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ และอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ • ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และมีบทบาทสําคัญในการร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ • คุณคณิน บุญสุวรรณ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร • คุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง ดําเนินรายการโดย ผศ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล อาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผศ.ดร. นพพร ลีปริชานนท์ รองประธาน ปอมท. ท่านที่ ๒ และประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สวัสดีครับ ขอต้อนรับทุกท่านสู่การสัมมนาเรื่อง “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่น ไร” ซึ่งสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพ โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากท่านอธิการบดีให้ใช้สถานที่ การสัมมนาครั้งนี้เป็นการริเริ่มของที่ประชุมประธานสภา อาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ด้วยประสงค์ให้มีเวทีในการที่จะมาพูดคุยกันในเรื่องที่เกี่ยวกับข้องกับ รัฐธรรมนูญ ที่มีการพูดคุยกันค่อนข้างมากในหลายๆ เวที แต่ยังหาข้อยุติได้ยาก เพราะฉะนั้นในวันนี้หัวข้อที่เราพูด กันก็จึงเป็นเรื่องว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรจะเป็นเช่นไร พวกเราจะต้องร่วมกันหาคําตอบ เพราะรัฐธรรมนูญเป็นของ ประชาชนทุกคน
  • 2. --- ๒ --- วันนี้เป็นโอกาสดีที่เราก็ได้รับเกียรติจากผู้ที่อยู่ในแวดวงกฎหมาย แวดวงการเมือง ทั้งที่เป็นทั้งนักวิชาการ ที่มีประสบการณ์ทางภาคการเมือง ที่เคยเป็นผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ที่เคยเป็นผู้ร่างรัฐธรรมนูญ มาเป็นวิทยากร พูดคุยถกปัญหาจับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ วันนี้อาจจะยังไม่ได้ข้อยุติว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรเป็นอย่างไร แต่อย่างน้อยวันนี้ก็คงจะเป็นก้าวแรกในการที่จะทําให้ประชาชนคนไทยได้คิดว่าเราจะมีวิธีการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญที่ดี ได้อย่างไร เราคงไม่บอกว่าแบบไหนสีอะไร แต่เราคนไทยด้วยกันมาร่วมกันคิดว่าเราจะสร้างบ้านของเราด้วยแบบแปลน อย่างไร เรามาร่วมกันเป็นสถาปนิค ร่วมกันเป็นวิศวกร ตรงนี้ต่างหากครับที่ผมคิดว่าเป็นบทบาทหนึ่งของประชาชน ชาวไทย และก็ได้รับเกียรติจากผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญในทางการเมืองทางกฎหมายและกฎหมาย มหาชนมาอยู่ตรงนี้กันครบถ้วน ก่อนอื่น ขอขอบคุณท่านวิทยากร และกล่าวต้อนรับคุณผู้ฟัง คุณผู้ชม สื่อมวลชนและประชาชนทุกท่าน ที่ ให้ความสนใจกับการสัมมนาในวันนี้ ขอบพระคุณครับ ผศ. ปฐม ปฐมธนพงศ์ ประธานที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย (ประธาน ปอมท.) สวัสดีครับ ผมในนามของ ปอมท. หรือที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่านที่เสียสละเวลาให้เกียรติมาให้ความรู้ ต่างๆ เกี่ยวกับว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร อย่างที่ท่านเลขาธิการ ปอมท. ท่าน อาจารย์สุรพลได้เรียนแล้วว่า ปอมท. นั้น เป็นองค์กรที่รวมของประธานสภาคณาจารย์จากมหาวิทยาลัย ๒๒ แห่ง คล้ายๆ กับองค์กร ทปอ. ซึ่งเป็นที่ประชุมของอธิการบดีแห่งประเทศไทยและมีบทบาทชัดเจนในเรื่องแอด มิชชั่น ปอมท. เป็นอีกองค์กรหนึ่งของกลุ่มอาจารย์ที่มีบทบาทรับผิดชอบต่อสังคมด้วยนอกจากด้านการศึกษา เรา ได้มีการแถลงเจตนารมณ์ต่างๆ สู่สังคมหลายครั้ง และครั้งนี้ก็เป็นอีกบทบาทอีกหนึ่ง โดยวัตถุประสงค์การจัด สัมมนาครั้งนี้ มีอยู่ในเอกสารที่แจกทุกท่านแล้วนะครับ ปอมท. เราคิดว่าปัญหาของประเทศเป็นสิ่งที่เราต้อง ช่วยกัน วันนี้ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีว่าเราได้มีวิทยากรผู้ทรงความรู้ที่สามารถแสดงความคิดของแต่ละท่าน ว่า รัฐธรรมนูญที่ดีควรจะมีลักษณะอย่างไร เพื่อพวกเราจะได้ช่วยกันสานต่อ ในแนวความคิดอันนั้น เพราะฉะนั้นในนามของปอมท. ขอกราบขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่าน และผมขอมอบให้กับท่านเลขาธิการ กล่าวต่อว่าจะดําเนินในการอภิปรายต่อไปอย่างไร ขอบคุณมากครับ รศ. สุรพล ศรีบุญทรง เลขาธิการที่ประชุมประธานสภาอาจารยมหาวิทยาลัย (เลขาธิการ ปอมท.) ผมขออนุญาตเสริมเรื่องวัตถุประสงค์สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ปีนี้เป็นปีครบรอบ ๗๗ ปี ของการเปลี่ยนการปกครองในประเทศไทย โดยการพระราชทานรัฐธรรมนูญของพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เพราะฉะนั้นเหมือนกับมีเลขเจ็ดอยู่สามตัว ต่อไปขอแนะนํา ท่านผู้ดําเนินรายการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล อาจารย์ประจําคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 3. --- ๓ --- ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้ดําเนินรายการ ขอบคุณมากค่ะ อย่างที่ทางปอมท. ได้เรียนแล้วนะคะว่า การจัดการสัมมนาวิชาการใน หัวข้อว่า ที่ว่าด้วยรัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร ครั้งนี้ เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่าง ที่ ประชุมประธานสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยแห่งประไทย และสภาอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นฉลองครบรอบ ๗๗ ปี ที่เรามีประชาธิปไตยในเมืองไทย แต่ในทางกลับกันประชาธิปไตยของเรา ก็ตกตะกอนมา ๗๗ ปี โดยเฉพาะภายในช่วงสองสามปีที่ผ่านมาเราต้องประสบกับวิกฤตการทางการเมือง ซึ่งหลาย ภาคส่วนจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยในฐานะของสถาบันซึ่งให้ความรู้กับคนทั้งประเทศ คงจะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบตรงนี้ด้วย และเป็นวัตถุประสงค์ที่ทางมหาวิทยาลัยอยากจะจัดสัมมนาวิชาการนี้ ขึ้นมา วันนี้เราโชคดีมากค่ะ เราได้วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ ผู้มีความรู้เกี่ยวกับ กฎหมายและรัฐธรรมนูญของประเทศไทยมาก ดิฉันขออนุญาตแนะนําวิทยากร โดยเริ่มจากทางฝั่งขวามือของดิฉัน ก่อนนะคะ จากขวาสุด ท่านแรกเป็นคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นอดีตสมาชิดสภาร่าง รัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ เป็นอดีตเลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ และนอกจากนี้ท่านก็เป็น สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ปี ๔๐ ด้วยนะคะ ท่าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ถัดมาอีกท่าน ซึ่งอาจจะอยู่ พูดคุยกับเราได้แค่รอบเดียว ท่านเป็นอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ศ.ดร.สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ และ ท่านที่นั่งติดกับดิฉันนี้ เป็นผู้ที่ทุกท่านๆ ก็ให้ความเคารพยําเกรงมานะคะ ท่านเป็นเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า มีบทบาทสําคัญมากในการร่างรัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ และท่านได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญใน หลายๆ ฉบับด้วยนะคะ ท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ แล้วก็มาทางซ้ายของดิฉันนะคะ ดิฉันขออนุญาตแนะนํา คุณคณิน บุญสุวรรณ ท่านเป็นอดีตสมาชิกสภา ร่างรัฐธรรมนูญ และอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเคยวิพากษ์วิจารณ์รัฐธรรมนูญ ปี ๔๐ ว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่ตาย แล้ว ส่วนอีกท่านที่ยังมาไม่ถึง แต่เดี๋ยวจะมาร่วมพูดคุยกับเรา คือ คุณจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีหลายกระทรวง เราไม่ได้เรียงตามอาวุโสนะคะ ท่านคณินว่าขอพูดเป็นคนสุดท้าย ส่วนท่านอาจารย์ สมบัติมีภารกิจที่จะต้องไปพูดที่คณะนิติศาสตร์ธรรมศาสตร์ด้วย ก็เลยขออนุญาตที่จะให้ท่านอาจารย์สมบัติได้พูด ประเด็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญก่อนนะคะ โดยท่านจะอยู่กับเราแค่รอบเดียวเท่านั้นค่ะ ขอเรียนเชิญท่านอาจารย์สมบัติ เลยค่ะ
  • 4. --- ๔ --- ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ท่านประธาน ปอมธ. และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน วันนี้ต้องขอโทษเรื่องความ คลาดเคลื่อน รับงานสองงานพร้อมกัน โดยความเข้าใจผิด แต่ว่าอยู่ที่ธรรมศาสตร์ด้วยกันทั้งคู่ ก็คงจะไปทั้งสองงานนะครับ ขออนุญาตเริ่มต้นคนแรกก่อนนะครับ สําหรับเรื่องรัฐธรรมนูญที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไร ถ้าใครสนใจเรื่องรัฐธรรมนูญอ่าน กันมาทุกฉบับ หรือสนใจรัฐธรรมนูญต่างประเทศด้วย รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นในยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง เป็นผลจากความรู้ และสิ่งแวดล้อมของคนในสมัยนั้น (ความรู้และสิ่งแวดล้อม) เป็นตัวกําหนดสําคัญที่จะทําให้รัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร ถ้าหากเราไปดูในประเทศสหรัฐอเมริกา จะพบว่ามีการร่างรัฐธรรมนูญมาตั้งแต่ปี ๑๗๘๗, ๑๗๗๘, ๑๗๗๖, ๑๗๘๗ มาถึงวันนี้ก็ต้องแก้ไข ๒๗ ฉบับนะครับ จะบอกว่าร่างไว้แค่นั้น เอาตรงนั้นพอ คงไม่ได้ มันต้องมีการปรับตัว มีการ แก้ไขอยู่เสมอ การปกครองในระบบประชาธิปไตยเราบอกว่า มีกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่จะกําหนด โครงสร้างการเมืองการปกครอง เพื่อจะบอกว่ามันจะเป็นอย่างไรบ้าง ของเราก็มีปัญหามาโดยตลอด เพราะเราคิดว่า ปัญหาอยู่ที่รัฐธรรมนูญ ก็เลยฉีกรัฐธรรมนูญกันทิ้งเป็นว่าเล่น ฉบับนี้เป็นฉบับที่ ๑๘ และกําลังจะมีฉบับที่ ๑๙ เร็วๆ นี้ ความจริงถ้าไปดูในเนื้อหาสาระต่างๆ จะพบว่าปัญหามันไม่ใช่ปัญหาที่รัฐธรรมนูญ มันเป็นปัญหาที่คนใช้ ถ้าคนใช้ เป็นคนดี คนใช้นั้นเป็นนักประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับเดียวก็คงจะพอแล้ว ตรงไหนที่สิ่งแวดล้อมมันเปลี่ยนแปลง ไป บริบทมันเปลี่ยนแปลงไปก็ปรับแก้กันไป เป็นระยะๆ รัฐธรรมนูญไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่แก้ไขอะไรไม่ได้เลย เขียนเสร็จ แล้วต้องเอาขึ้นหิ้งไว้กราบไหว้บูชา ไม่ใช่อย่างนั้นนะครับ มันมีความเกี่ยวข้องกับบริบทของสังคม ซึ่งสังคมมัน เปลี่ยนแปลงไปเร็ว มันก็อาจจะมีหลายอย่างที่มีการเปลี่ยนแปลงและต้องการดําเนินการ ทีนี้ปัญหารัฐธรรมนูญของไทย ทําไมมีปัญหา ถ้าหากศึกษาติดตามกันมาโดยตลอด ปัญหาใหญ่ของการ เมืองไทยในทุกวันนี้ ก็คือปัญหาเรื่องการซื้อสิทธิขายเสียง เราก็เลยอยากร่างรัฐธรรมนูญที่ป้องกันการซื้อสิทธิขายเสียง ได้ โดยยึดหลักอุดมคติ มันจะเป็นไปได้ไหม โดยที่ไม่เข้าใจบริบทของสังคมเลย เท่าที่ผมสอนการเมืองอยู่นี้ ผมต้อง วิเคราะห์บริบทสังคมให้นักศึกษาฟังว่า บริบทสังคมในโลกนี้มันแตกต่างกัน มองกว้างๆ ง่ายๆ สังคมด้อยพัฒนา โครงสร้างฐานะประชากร มันจะเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีคนรวยน้อย คนจนเยอะ คนจนนี้บวกไว้ด้วยว่าการศึกษา น้อย ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว โครงสร้างของฐานะประชากรจะเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด มีคนรวยน้อย มีคนจน น้อย แต่คนชั้นกลางเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เวลาที่จะไปพูดถึงการเลือกตั้งเราก็จะพบครับในประเทศที่มันมีบริบทของคนจนมาก นักการเมืองก็อยาก เอาชนะ จะทําอย่างไร ก็ต้องใช้ทุกวิธีทางที่จะเอาชนะ หลายครั้งหลายหนที่ผู้เลือกตั้งก็กลายเป็นเหยื่อของ นักการเมือง เพราะนักการเมืองที่ต้องการเอาชนะมักทําสําเร็จโดยการใช้อามิสสินจ้าง เมื่อไม่กี่วันมานี้ประชุมกันอยู่ใน คณะกรรมการสมานฉันท์ฯ นักการเมืองท่านหนึ่งก็พูดว่า พูดกันตรงๆ ดีกว่า นักการเมืองอย่ามาโกหก อย่ามา หลอกคนอื่น ซื้อเสียงกันมาทั้งนั้น ท่านว่าแบบนี้ อันนี้ผมต้องขออนุญาตนะครับ ท่านคณินก็ได้ยินได้ฟัง เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งที่นักการเมืองเขาว่ากันเอง แต่ว่าลักษณะแบบนี้เองที่มันทําให้การเลือกตั้งมันไม่สุจริต ไม่เที่ยง
  • 5. --- ๕ --- ธรรม ไม่โปร่งใส เพราะคนที่ตัดสินใจในการเลือกตั้งไม่มีความเป็นอิสระในการตัดสินใจ แต่ตัดสินใจภายใต้อามิส สินจ้าง ตรงนี้ก็มีส่วนในการบิดเบือนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทน มันก็มีหลักอยู่สั้นๆ ว่าระบอบประชาธิปไตยโดยตัวแทนจะดีได้ก็ต่อเมื่อกระบวนการเลือกตั้งตัวแทนนั้นมันสุจริตเที่ยง ธรรมและโปร่งใส ถ้ามันไม่สุจริตมันไม่เที่ยงธรรมมันไม่โปร่งใส มันก็ไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตยมันมาคู่กัน แต่บริบท อย่างนี้ หลีกเลี่ยงยากมาก และยิ่งถ้ามีสิ่งจูงใจอื่น เดี๋ยวผมจะพูดว่าสิ่งจูงใจอะไรที่ทําให้การใช้อามิสสินจ้างมันอิทธิพล มาก ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว โครงสร้างประชากรมันเป็นสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เวลาคนไปเลือกตั้งคนชั้นกลาง ขึ้นไปก็เป็นคนมีการศึกษา การศึกษาเฉลี่ยของเขาอย่างต่ําก็ไฮสคูล (มัธยมปลาย) ขึ้นไป พอคนมีการศึกษาดี สิ่งที่ ตามมาก็คือฐานะทางเศรษฐกิจพึ่งพาตนเองได้ พอมีทั้งสองอย่างการตัดสินใจไปเลือกตั้งก็มีความเป็นอิสระไม่ต้องตก อยู่ใต้อามิสสินจ้างใดๆ โอกาสที่จะเลือกได้ผู้แทนที่ดีเป็นส่วน ใหญ่ก็มีมาก เพราะฉะนั้นปัญหาในการเลือกตั้งของประเทศที่ เป็นประเทศที่พัฒนาแล้วมันถึงมีน้อย ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ การโกงเลือกตั้งและต้องมาจัดเลือกตั้งกันหลายครั้ง ต้องมา แจกใบแดงใบเหลืองกันหลายครั้ง มันก็จะไม่ค่อยเกิดขึ้น เหมือนในสังคมของเรา มันขึ้นอยู่กับบริบทด้วยเหมือนกันนะ ครับ อันนั้นเป็นประเด็นแรก การปกครองในระบอบ ประชาธิปไตยของไทย ภายใต้บริบทที่โครงสร้างประชากรยัง เป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วอยู่แบบนี้ มันยังมีเงื่อนไขที่จะทําให้ ประชาชนเป็นเหยื่อของการเลือกตั้งได้เยอะ มันมีเหตุจูงใจ หลายอย่างที่ทําให้คนใช้เงินเยอะมากเลยในการเลือกตั้ง คน ที่มีประสบการณ์ได้พูดคุยกับบรรดานักการเมืองทั้งหลายจะรู้ มันมีเหตุจูงใจอะไร ถ้าเราวิเคราะห์เหตุจูงใจที่ทําให้มีการใช้ เงินซื้อสิทธิ์ขายเสียงมากก็คืออํานาจ การได้มาซึ่งอํานาจ และเมื่อมีอํานาจในการบริหารประเทศ มันก็จะรวมถึง ประโยชน์ที่จะตามมาจากอํานาจนั้นด้วย แล้วของจริงมันก็ บอกชัดว่าใครที่มีอํานาจ มีโอกาสใช้อํานาจนั้นหาประโยชน์มิ ชอบได้มากทีเดียว ระบบการเมืองของเรา ประยุกต์มาจากระบบรัฐสภาของอังกฤษ คนจะเป็นนายกรัฐมนตรี ต้องเป็นหัวหน้า พรรคใหญ่ พรรคที่มีเสียงข้างมากเกินครึ่งหรือมีเสียงอันดับหนึ่งเพื่อที่จะได้เป็นแกนนําในการจัดตั้งรัฐบาล คําถามก็คือ ทําอย่างไรมันถึงจะมีเสียงได้อันดับหนึ่ง ทําอย่างไรมันถึงจะได้เสียงเกินครึ่งจะได้เป็นพรรครัฐบาลพรรคเดียว ต้องมี สส.มาก คําถามต่อมาว่าทําไมถึงจะมี สส.มาก นี่เรื่องใหญ่ เมื่อการซื้อสิทธิ์ขายเสียงมันจะทําให้มี สส.มาก มันก็เป็น ที่มาของการซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพราะมันเป็นทางหนึ่งที่จะทําให้มี สส.มาก เพื่อจะได้มีโอกาสเป็นนายกรัฐมนตรี มี ปัญหามันไม่ใช่ปัญหาทีรัฐธรรมนูญ มันเป็นปัญหาทีคนใช้ ถ้าคนใช้เป็นคนดี คนใช้เป็นนักประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญฉบับเดียวก็คงจะพอแล้ว …………………………… ลักษณะของรัฐธรรมนูญทีดี คือทําอย่างไรจะให้คนดีเข้ามาสู่การเมือง เป็นผู้นําทางการเมืองได้โดยทีไม่ต้องเป็นหนี บุญคุณนายทุน หรือเปิดช่องทางให้นายทุนมี โอกาสเข้ามาเป็นใหญ่เป็นโตในทางการเมือง สองจะต้องทําให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ โดยขึนอยู่กับกลไกการตรวจสอบ…… ต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัติมีความเป็นอิสระ ในการตรวจสอบ ศ.ดร. สมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อธิการบดีนิด้า
  • 6. --- ๖ --- โอกาสเป็นรัฐบาล ส่วนคนจะเป็นรัฐมนตรีก็ ถ้าหากว่าคุณว่าอยากเป็นรัฐมนตรีถึงคุณจะอยู่พรรคเดียวกันคุณก็ต้องให้ แน่ใจว่าคุณมีเสียงสนับสนุนพอนะ เก้าอี้รัฐมนตรีคุณถึงจะมั่นคง ถ้าคุณแค่เก่งอย่างเดียวแล้วคุณไม่มี สส.ในพรรค สนับสนุน เก้าอี้คุณก็สั่นคลอน คนเป็นนายกรัฐมนตรีอาจจะปลดคุณเมื่อไรก็ได้ เพราะฉะนั้นคนที่เป็นหัวหน้ากลุ่มในพรรค ก็ต้องพยายามให้มี สส.สนับสนุน ต้องไปสนับสนุนให้ สส.ได้รับ การเลือกตั้ง สิ่งนี้ล่ะครับเป็นมูลเหตุจูงใจที่สําคัญมากที่ทําให้มีการใช้เงินในการซื้อสิทธิ์ขายเสียงจํานวนมาก และที่มัน ใช้ได้ดีก็เพราะว่า ใช้แล้วสําเร็จ ถ้าใช้แล้วไม่สําเร็จมันก็จะไม่ค่อยมีคนใช้ พรรคใดมีปัจจัยเงินทุนมาก ภาพลักษณ์ไม่ ค่อยดีก็ไม่เป็นไร ขอให้มีเงินทุนมากก็แล้วกัน มี สส.พร้อมที่จะเข้าไปสังกัดด้วย เพราะเชื่อว่าเงินนี้เป็นปัจจัยที่จะทํา ให้เขาได้รับชัยชนะ ระยะหลังอาจจะบอกมีเรื่องนโยบายเข้าไปด้วย นี่เป็นตัวประกอบอีกส่วนหนึ่ง แต่ปัจจัยเงินก็ยัง ไม่หมด ยังเป็นปัจจัยรากฐานใหญ่ เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราไม่ตัดสิ่งจูงใจตัวนี้ มันก็จะเป็นเหมือนมะเร็งเกาะอยู่ใน สังคมตลอดไป โอกาสเป็นว่า คนจะมาเป็นนายกรัฐมนตรีต้องเป็นหัวหน้าพรรคที่มีเสียงจํานวนมากในสภาสนับสนุน และก็ ถ้าเป็นรัฐมนตรีที่มั่นคง ก็ต้องมีเสียง สส.สนับสนุน ในที่สุดก็เป็นเรื่องของการใช้เงิน พอเมื่อพูดถึงเรื่องการใช้เงิน มี คําถามต่อมาว่าคุณเอาเงินมาจากไหน ถ้าเอาเงินจากกระเป๋าตัวเองมาทุน แล้วคราวต่อไปล่ะจะเอาเงินจากที่ไหน มัน ก็เป็นเรื่องที่เป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปนะครับ ก็คือการประพฤติทุจริตหรือประพฤติมิชอบเพื่อจะให้ได้มาซึ่งเงินแล้วก็มีวิธีการ มากมาย การออกโครงการต่างๆ ทําอะไรต่างๆ มากมาย คนที่อยู่ในภาครัฐ คนอยู่ในวงการเมืองคงเข้าใจดี ว่า โครงการต่างๆ เหล่านี้มันเป็นที่มาของผลประโยชน์ เพราะฉะนั้นการที่เราตั้งเป้าหมายว่า อยากได้นักการเมืองดี สุจริต เป็นคนที่ไม่คดไม่โกง ภายใต้บริบทที่ เป็นอยู่จริง ถามว่าคนดีๆ มีโอกาสที่จะประสบความสําเร็จทางการเมืองได้อย่างไร มีคนบางคนอาจจะบอกว่า คุณ อภิสิทธิ์ไม่รวย คุณอภิสิทธิ์ไม่รวยแต่หากไม่มีคนรวยในพรรคประชาธิปัตย์ช่วยสนับสนุน ถามว่าคุณอภิสิทธิ์จะทําได้ ไหม มันต้องมีองค์ประกอบที่ทําให้มันทําได้ ยากมากเลยที่คนจะเป็นใหญ่เป็นโตในประเทศไทยจะไม่ต้องคลุกคลีกับ คนไม่ดี เพราะต้องอาศัยคนที่เขาไม่ค่อยดียกมือสนับสนุนให้เป็นใหญ่เป็นโต จะทําตัวเป็นมิสเตอร์คลีน ไม่ยุ่งไม่ เกี่ยวกับคนไม่ดีเลยนั้น เป็นเรื่องของความเพ้อฝัน ไม่ใช่สภาพความเป็นจริง ทีนี้จะทําอย่างไรล่ะ เราจะร่างรัฐธรรมนูญให้คนดีมาเป็นผู้นําประเทศโดยไม่ต้องเกลือกกลั้วกับคนไม่ดีได้ ไหม อันนี้เป็นคําถามใหญ่ จะร่างรัฐธรรมนูญอย่างไรที่จะทําให้คนดีมาเป็นผู้นําประเทศ มาเป็นผู้นําพรรค โดยไม่ต้อง เกลือกกลั้วกับคนไม่ดีจะทําได้ไหม อันนี้คําถามหนึ่งนะครับ ถ้าใช้รูปแบบที่เป็นอยู่ คุณไม่มีทางทําได้ เคยมีเพื่อน นักวิชาการที่ วิชาร้อน ร้อนวิชา กระโดดไปเป็นหัวหน้าพรรคการเมือง แล้วเลยได้คําสรุปชัดเจนว่า คนที่มีอํานาจที่สุด ในพรรคคือคนที่ถือเงินไม่ใช่หัวหน้า ถ้าหัวหน้าจะมีอํานาจมากที่สุดหัวหน้าต้องมีเงินและถือเงิน แต่ถ้าเป็นคนอื่นถือ เงินล่ะก็มันกระโดดข้ามหัวหน้าไปเลย หัวของหัวหน้าคล้ายๆ หัวสุนัข นั้นคือของจริงสภาพเป็นจริง ด้วยสภาพจริงมันเป็นอย่างนั้น การออกแบบรัฐธรรมนูญจะออกแบบอย่างไร ที่จะทําให้คนมาเป็น นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ไม่ต้องไปพึ่งพาเสียง สส.ในสภา อย่างนี้ทําได้ไหม มีคนบอกว่า ถ้าอย่างนั้นก็ เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงสิ ความจริงการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยมีการเลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรงหมดแล้ว นะครับ ไม่ว่าจะเป็น กทม. เมืองพัทยา อบจ. เทศบาล อบต. ทั้งหมดนี้เลือกตั้งฝ่ายบริหารโดยตรง แต่พอถึง ระดับชาติ กลับบอกว่า เลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรง เป็นการคิดล้มล้างทําลายสถาบันพระมหากษัตริย์ กําลังจะเอา ระบบประธานาธิบดีมาใช้ ตรงนี้ก็เลยไม่มีคนกล้าพูดกันอีก
  • 7. --- ๗ --- แต่ถึงจะบอกว่าเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีโดยตรงก็ยังจะมีปัญหาอีก ว่าเลือกตั้งทั้งประเทศจะเอาเงินที่ไหนมา เลือกตั้ง จะช่วยได้อย่างไร ท่านทราบไหมครับว่าประเทศที่ร่ํารวยอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เขามุ่งมั่นในเรื่องนี้ เขา บอกว่าเขาต้องการได้คนดีมาเป็นผู้ประเทศและเขาไม่ต้องการให้ผู้นําของเขาไปเป็นหนี้บุญคุณพวกนายทุน นักการเมือง แล้วก็ต้องการให้ผู้นําของเขาเป็นคนสะอาจจริงๆ เขารู้ว่าการเลือกตั้งนั้นมันใช้เงินและใช้เงินมาก การ เลือกตั้งรอบสุดท้าย การเลือกตั้งทั่วไปในระหว่างตัวแทนพรรคเดโมแครตกับพรรครีพับลิกันนั้น รัฐบาลกลางจะ รับผิดชอบจ่ายเงินค่าเลือกตั้ง การเลือกตั้งสหรัฐฯ รอบสุดท้ายที่เพิ่งเลือกตั้งไปเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลกลางให้เงินคู่แข่งขันคนละแปดสิบกว่า ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในหาเลือกตั้ง ประเทศรวยขนาดนั้นนะครับ เขายังไม่คาดหวังว่านักการเมืองรวย จะต้องเอาเงินมาจ่ายเอง รัฐบาลกลางจ่ายให้ แต่โอบามาบอกว่าไม่รับเงินของรัฐ เพราะได้รับบริจาคเยอะ นั่นเป็น ความนิยมส่วนตัวที่มีประชาชนบริจาคให้จํานวนมากจนกระทั่งบอกไม่จําเป็นต้องรับเงินจากส่วนกลาง แต่ของเราจะมี ใครบริจาคให้นักการเมืองขนาดนั้น ขนาดที่จะทําให้นักการเมืองสามารถมาขันอาสาบริหารประเทศโดยที่ไม่ต้อง พึ่งพาการช่วยเหลือจากผู้อื่น ถามว่ามันทําได้ไหม อันนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะมาดูว่าถ้าจะให้การเมืองดี รัฐธรรมนูญดี มันจะออกแบบอย่างไร ทําให้ผู้ที่เขามาสู่การเมืองโดยมีโอกาสที่จะประสพความสําเร็จ ไม่ใช่เฟ้อฝัน แล้วไม่ต้องเป็นหนี้ บุญคุณคนอื่น คนไทยบอกอยากได้คนดีมาเป็นนักการเมือง แต่ไม่ดูดําดูดีเลย ไม่เอาใจใส่ไม่ดูแลเลยมันจะเกิดขึ้นได้ อย่างไร อันนี้คือสิ่งที่เราต้องการ กับความเป็นจริงมันไม่สอดคล้องกัน ประการที่ ๒ นะครับ รัฐธรรมนูญที่ดีควรจะออกแบบให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ ยิ่งในประเทศที่ด้อย พัฒนาหรือกําลังพัฒนาด้วยแล้ว ถ้าฝ่ายบริหารไม่มีเสถียรภาพจะเป็นอุปสรรคมาก อย่างที่เราได้พบได้เห็น คือ รัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย เดี๋ยวก็ล้ม เดี๋ยวก็เปลี่ยนรัฐบาล แล้วยังมีปัญหาความต้องการพัฒนาประเทศ เพราะฉะนั้น ต้องออกแบบให้รัฐบาลมีโอกาสที่จะมีเสถียรภาพ แต่ระบบรัฐสภาที่เราเอามาจากอังกฤษนี้นะครับ ถ้าหากรัฐบาลมี เสถียรภาพมาก มันจะกลายเป็นเผด็จการจากการเลือกตั้ง (Election dictator) เช่น ที่สิงคโปร์ อันนี้ก็คือพรรค รัฐบาลเก้าสิบกว่าเปอร์เซ็นต์เลย แล้วรัฐบาลพรรคเดียวสั่งการเด็จขาดเฉียบขาดหมดทุกอย่าง หรือสมัยมหาเธร์ของ มาเลเซีย ที่มีเสียงพรรคอัมโนอยู่ในสภาสองในสาม ทําให้มหาเธร์เป็นนายกรัฐมนตรีผูกขาดอยู่ ๒๒ ปี แล้วก็ปรากฏใน ขณะนี้ว่ามาเลเซียนั้นถึงจะดูว่าก้าวหน้า แต่มีการทุจริตคอร์รัปชั่นระดับสถาบันสูงขึ้น เพราะมีลักษณะเบ็ดเสร็จเด็จ ขาดตรวจสอบยาก การทุจริตคอร์รัปชั่นมันก็จะนําไปสู่การปฏิวัติได้เหมือนกัน เพราะฉนั้นการออกแบบรัฐธรรมนูญให้มีรัฐบาล หรือฝ่ายบริหารที่เสถียรสภาพมาก ก็ต้องออกแบบรัฐธรรมนูญให้ฝ่ายตรวจสอบเข้มแข็งด้วย นั่นหมายถึงว่าการถ่วงดุล ระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติต้องสมดุล ต้องถ่วงดุลกันได้ดี ฝ่ายบริหารต้องไม่มีอํานาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติ คือไปครอบงําจนกระทั่งนิติบัญญัติไม่มีอิสระ ระบบรัฐสภานี้มีจุดอ่อนใหญ่มากอยู่ คือพรรครัฐบาลเป็นพรรคที่มีเสียง ข้างมากในสภา เมื่อไปทําหน้าที่เป็นรัฐบาลหัวหน้าพรรคเป็นนายกรัฐมนตรี สมาชิกพรรคเสียงข้างมากเป็นของรัฐบาล รัฐบาลสั่งได้ ก็เลยทําให้รัฐบาลนี้สามารถบงการสภาได้ ผู้ที่จะเป็นทําหน้าที่ตรวจสอบมีอยู่พวกเดียวคือฝ่ายค้าน ทั้งนี้ หากฝ่ายค้านมีเสียงน้อย การตรวจสอบอ่อนแอทันที เพราะฉะนั้นการออกแบบอย่างนี้ ออกแบบอย่างไรที่จะทําให้ฝ่าย ให้ฝ่ายนิติบัญญัติอิสระ มีความเข้มแข็ง และสามารถตรวจสอบฝ่ายบริหารได้ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ นั้นผมไม่ได้เกี่ยวข้องกับการร่าง แต่เท่าที่ติดตามดูรู้ ว่าเขาออกแบบมาให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ แล้วผู้ร่างก็คงรู้ว่าแบบนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจะอ่อนแอ เขาเลยไปออกแบบ
  • 8. --- ๘ --- องค์กรอิสระขึ้นมา เพื่อมาทําหน้าที่ในการตรวจสอบ บังเอิญว่าฝ่ายบริหารเข็มแข็งเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนสามารถบงการ สว. และสามารถแทรกแซงองค์กรอิสระได้ ก็เลยเป็นอัมพาตไปเลยในเรื่องการตรวจสอบ แทนที่จะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี ก็กลายเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหาทําให้มีลักษณะเผด็จการจากการเลือกตั้งมากขึ้น เพราะฉนั้น ลักษณะของรัฐธรรมนูญที่ดี ส่วนที่สําคัญมากอย่างหนึ่ง คือทําอย่างไรจะให้คนดีเข้ามาสู่ การเมือง เป็นผู้นําทางการเมืองได้โดยที่ไม่ต้องเป็นหนี้บุญคุณนายทุน หรือเปิดช่องทางให้นายทุนมีโอกาสเข้ามาเป็น ใหญ่เป็นโตในทางการเมือง สองจะต้องทําให้ฝ่ายบริหารมีเสถียรภาพ โดยขึ้นอยู่กับกลไกการตรวจสอบ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการถ่วงดุลจากฝ่ายนิติบัญญัติ ต้องให้ฝ่ายนิติบัญญัตินี้มีความเป็นอิสระในการตรวจสอบ ไม่ใช่ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นทาสของรัฐบาล อยู่ภายใต้อุ้งมือ อุ้งเท้าของรัฐบาล รัฐบาลจะสั่งการบงการอะไรก็ได้ ดังที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทย และถ้าจะมีองค์กรอิสระ ก็ต้องมีความเป็นอิสระพอที่สามารถตรวจสอบและทําหน้าที่แทนประชาชนได้ จริงๆ วันนี้ก็มีข้อกังขามากขึ้น มีการพูดกันเยอะเลย ว่าองค์กรอิสระที่ทําหน้าที่ตรวจสอบนี้ มันเหมือนมีดาบอาญา สิทธิ แล้วก็ใช้ดาบนั้นไปหาผลประโยชน์มิชอบเหมือนกัน ทําให้เกิดปัญหาซ้ําขึ้นไปอีกในระบบการเมืองของเรา ความ จริงผมสนใจเรื่องนี้อยู่มาก ผมกําลังศึกษาเรื่องกรอบการปฏิรูปการเมืองภายใต้บุคคลของสังคมไทย เข้าใจว่าปลาย เดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า น่าจะเผยแพร่ได้ ไม่ใช่บอกอาจารย์สมบัติมาพูดวันนี้ พูดแล้วก็ทิ้งเป็นปริศนา คงไม่คิดอะไร ต่อ ไม่ใช่นะครับ คิดอยู่ และกําลังทําการบ้านอยู่ ถ้าเสร็จจะเอามานําเผยแพร่ให้ท่านได้วิพากษ์วิจารณ์กันว่าเป็น อย่างไร เข้าใจว่าคงได้ตามเวลาที่กําหนดแล้วนะครับ ขอบคุณมากครับ สวัสดีครับ ผศ. พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้ดําเนินรายการ ขอขอบคุณอาจารย์สมบัติค่ะ ท่านได้ให้แง่คิดทั้งในเรื่องของการมอง รัฐธรรมนูญที่น่าจะเป็น มองในเรื่อง เสถียรภาพของฝ่ายบริหาร การที่ทําให้เมืองไทยมิใช่การเมืองที่ซื้อได้ด้วยเงิน (Money politics) หรือว่าทําให้การ เลือกตั้งเป็นช่องทางในการซื้อขายเสียงอะไรต่างๆ นะคะ การเมืองในบ้านเรานั้นก็คงจะมองพรรคการเมืองหรือการ เมืองไทยในแง่ลบอยู่นิดหนึ่งนะคะ เราก็คงจะต้องดูว่ารัฐธรรมนูญจะช่วยตรงนี้ได้หรือเปล่า สําหรับในเวทีนี้เดี๋ยว อาจารย์คงจะไม่ได้อยู่กับเราแล้วนะคะ ต้องขอขอบคุณอาจารย์ด้วยค่ะ ลําดับถัดไปนะคะ ก็คงจะเป็นความเห็นจาก นักวิชาการซึ่งนั่งข้างๆ ดิฉัน ซึ่งท่านจะบอกพวกเราว่า รัฐธรรมนูญที่ดีตามหลักวิชาหรือหลักที่หลายๆ ประเทศทั่ว โลกเขาใช้กัน มันจะเป็นแบบไหน ขออนุญาตเชิญท่าน ศ.ดร.บวรศักดิ์ค่ะ
  • 9. --- ๙ --- ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า ท่านประธาน ปอมท. ท่านเลขาธิการ และท่านผู้เกียรติครับ ผมอยากจะยกประเด็น ว่า ผู้จัดสัมนาตั้งหัวข้อเรื่องว่า “รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีลักษณะเช่นไร” ซึ่งคําว่ารัฐธรรมนูญที่ดี ควรมีลักษณะอย่างไรนั้นนะ เห็นชัดว่ามันบอกเป็นนัยว่าในมีรัฐธรรมนูญที่ไม่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้ เมื่อเป็นการตัดสินเชิงคุณค่าของคนที่มาพูด อาจจะพูดได้ว่ารัฐธรรมนูญที่ดีในทัศนะของ อาจารย์บวรศักดิ์เป็นอย่างไร ของท่านจตุรนต์เป็นอย่างไร ซึ่งเป็นตัดสินเชิงคุณค่าเฉพาะบุคคลของคนพูดแต่ละคน (Value judgment) โดยแท้ ใครไม่เชื่อก็เข้าไปดูที่เว็บไซท์กูเกิ้ลในอินเทอร์เน็ตดูนะครับ ค้นคําว่า Good Constitution ดูนะครับ ท่านจะพบ ๑๖ ล้านรายการที่แสดงผลค้นหา มีอีกอันหนึ่งนะครับ ท่านเลขาธิการ ปอมท. แจกในเอกสารประกอบการสัมนา กระดาษสีเหลืองนี้ อาจารย์ เธียรวิทย์ให้คํานิยามรัฐธรรมนูญที่ดีของท่านไว้ ๘ ประการ ซึ่งก็แปลว่าเราจะมาหาความเห็นเราแต่ละคน ใช่หรือไม่ ถ้าใช่ก็โอเคครับ คือ รัฐธรรมนูญที่ดีของอาจารย์สมบัติ ของท่านจาตุรนต์ ของคุณคณิน ของผม ของอาจารย์สมคิด แต่ความจริงที่ผมอยากพูดก่อนไปถึงรัฐธรรมนูญที่ดีในทัศนะของผมนะครับ มันมีอะไรเป็นกลางๆ อยู่บ้างแหล่ะที่ ปรากฏอยู่ในที่ต่างๆ ที่มันเป็นเกณฑ์ที่เขาเชื่อกันว่ามันน่าจะเป็นรัฐธรรมนูญที่ดี เป็นกลางๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราไป เปิดดูในคําประกาศสิทธิมนุษย์และพลเมืองฝรั่งเศสปี ๑๗๘๙ ในข้อ ๑๖ ของคําประกาศฉบับนี้ซึ่งสําคัญนะครับ เพราะ เป็นบรรพบุรุษของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของมนุษยชนและเป็นหลักกฎหมายมหาชนที่สอนกันมาทั้งในฝรั่งเศสใน เยอรมันและในประเทศไทยจนถึงวันนี้ ในข้อ ๑๖ ของคําประกาศ เขาบอกว่าสังคมใดไม่มีการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และไม่มีการแบ่งแยกการใช้ อํานาจอธิปไตย สังคมนั้นไม่มีรัฐธรรมนูญ ก็แปลว่าในทัศนะของผู้ปฏิวัติฝรั่งเศสอย่างน้อยก็ในเวลานั้นเขามองว่า รัฐธรรมนูญที่ดีจะต้องคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน แล้วเพื่อให้การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชนได้ผล ก็ต้องมี การตรวจสอบถ่วงดุลของอํานาจสูงสุด ตามหลักการแบ่งแยกการใช้อํานาจอธิปไตย ซึ่งอันนี้มันก็เป็นตัวอย่างให้เห็น ว่ามีอะไรของมันอยู่เหมือนกันที่จะเป็นเกณฑ์วัดได้ในทางสากลหรือทางวิชาการ ยังมีอีกอันหนึ่งซึ่งเรามักจะได้ยินกัน เสมอๆ ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า Constitutionism ที่ผมแปลว่ารัฐธรรมนูญนิยมนี้ ความจริงแล้วเรื่องรัฐธรรมนูญนิยมเอง ก็เป็นกระแสความคิดซึ่งมีบทบาทในการจัดทํารัฐธรรมนูญทั่วโลกจน มาถึงวันนี้พอสมควรที่เดียว เสียดายวันนี้อาจารย์อมร (จันทรสมบูรณ์) ไม่มา ท่านเขียนเรื่องนี้เอาไว้ แต่ท่านใช้ทับ ศัพท์ว่า Constitutionism ทางออกของประเทศไทย หนังสือท่านเขียนอย่างนั้น ที่นี้เรามาดูว่ารัฐธรรมนูญนิยมมัน เป็นอะไร และมันเกี่ยวกับความรัฐธรรมนูญที่ดีอย่างไร เราก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญนิยมมันมองได้ ๒ ระยะนะครับ ในทางวิชาการเขาบอกว่าอันหนึ่งเป็น Descriptive Constitutionism คือเป็นรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนา แปลว่า อันนี้เป็นกระแสความคิดนะครับ ที่เกิดขึ้นในตะวันตก เป็นการอธิบายปรากฎการเชิงประวัติศาสตร์ ในการทําหน้าที่ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีหัวใจสําคัญอยู่ตรงที่จะต้องเป็นกฎหมายที่จํากัดอํานาจของผู้ปกครอง เพราะฉะนั้น ในยุคที่รัฐธรรมนูญนิยมรุ่งเรืองที่สุด ที่เขาถือว่าเป็นช่วงศตวรรคที่ ๑๘ คือเมื่อปรัชญา ประชาธิปไตย ถูกแปลมาเป็นกฎหมายมาเป็นรัฐธรรมนูญอเมริกัน ๑๗๘๗ เป็นรัฐธรรมนูญฝรั่งเศส แล้วก็มาขยายไป ทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ถ้าเราดูรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนาให้ดี ก็จะพบว่ารัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในยุคแรกศตวรรคที่ ๑๘, ๑๙ เพื่อวัตถุประสงค์ในการจํากัดอํานาจผู้ปกครองโดยกฎหมาย มันจะเน้นเลยว่าการ
  • 10. --- ๑๐ --- ปกครองสังคมนั้นจะทําโดยอําเภอใจของผู้ปกครองไม่ได้ ต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายสูงสุด ต้องมีหลักนิติ ธรรม หลักนิติรัฐ แล้วก็รับรองว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลนั้นเป็นสิ่งจําเป็น เป็นหัวใจสําคัญพื้นฐาน ประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง คือประการที่ ๓ กําหนดว่ารัฐบาลต้องมาจากความยินยอมพร้อมใจของประชาชน ก็คือเป็น ประชาธิปไตย อันนี้ก็คือรัฐธรรมนูญเชิงพรรณนายุคแรก ต่อมาก็มีการใช้รัฐธรรมนูญไปสร้างความเป็นธรรมในสังคม ใครไปดูคําปรารภในรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี ๑๙๔๖ จะเห็นได้ชัดเลยว่ารัฐธรรมนูญ ก้าวจากการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ทางการเมืองของประชาชนไปสู่สิ่งที่เรียกว่า การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น ให้กรรมกรมี อํานาจจัดตั้งสหภาพคุ้มครองสตรี คุ้มครองเด็ก คุ้มครองคนชรา อย่างนี้เป็นต้น อันนี้ไปอีกขั้นหนึ่งแล้วนะครับ คือ นอกจากรัฐธรรมนูญจะจัดโครงสร้างการปกครองรับรองสิทธิเสรีภาพทางการเมืองแล้ว ยังใช้รัฐธรรมนูญเป็นเครื่องมือ ในการสร้างรัฐสวัสดิการให้เกิดขึ้นในยุโรป แล้วก็มาถึงรัฐธรรมนูญนิยมเชิงพรรณนาในช่วงท้าย ที่ใช้รัฐธรรมนูญไปสร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพให้ รัฐบาล เพราะเหตุว่าระบบรัฐสภาที่ออกมาใช้นอกอังกฤษนั้นมันเกิดปัญหา อย่างรัฐบาลฝรั่งเศสนั้นถึงขนาดว่า ในช่วง ๘๐ ปี ของสาธารณรัฐที่สาม มีถึง ๑๒๐ รัฐบาล ทําให้เสื่อมจากการเป็นมหาอํานาจโลกที่เคยยึดครองยุโรปทั้งยุโรปลง มาแพ้เยอรมัน เพราะฉะนั้น ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ รัฐธรรมนูญถูกใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา การเมืองของประเทศ และมีกลไกประหลาดๆ ที่ไม่พบในระบบการเมืองของอย่างอังกฤษ ยกตัวอย่างเช่น ในเยอรมัน มันมีการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลแบบสร้างสรรค์ คือเมื่อก่อนฮิตเลอร์ยึดอํานาจก็เพราะว่ายุบสภาทีเดียว ๔ ครั้ง จากที่มี สส. ไม่ถึง ๑๐๐ กลายเป็น สส. ๔๐๐ คน เพราะฉะนั้น (เยอรมัน) ก็บอกกันว่าไม่เอาแล้ว รัฐบาลที่ไม่เสถียรภาพเกิดจากที่พรรคฝ่ายค้านได้ร่วมมือกัน ล้มรัฐบาลที่มีอยู่ แต่ไม่รู้จะตั้งรัฐบาลได้อย่างไร เพราะฉะนั้นต้องหารัฐบาลให้ได้ก่อน ก็เลยมีมาตรา ๖๗ ของ รัฐธรรมนูญเยอรมันว่า จะเอารัฐบาลออกด้วยการไม่ไว้วางใจรัฐบาลก็ได้ แต่ต้องมีชื่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่เสนอขึ้นมา แทน แล้วลงมติทันที ไม่อย่างนั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลไม่ได้ แล้วเยอรมันไปไกลมากครับ ยกตัวอย่างเรื่องการไม่ ไว้วางใจรัฐบาลนั้น ปรกติเราจะเห็นแต่ระบบที่ไม่ไว้วางใจรัฐบาล แต่เยอรมันบอกว่ารัฐบาลขอความไม่ไว้วางใจจาก สภาได้ ถ้ารัฐบาลเห็นว่าตัวเองทําถ้าไม่ดี สส.ในสภาพรรครัฐบาลผสมชักแกว่งแล้ว ขอความไว้วางใจเลย พอขอปั๊บถ้า สภาลงมติให้ความไว้วางใจรัฐบาลไม่ถึงครึ่ง รัฐธรรมนูญเยอรมันบอกว่าไม่ต้องออกนะรัฐบาลมีทางเลือก ๒ ทาง ทางที่ ๑ คือภายใน ๔๘ ชั่วโมงนี้ รัฐบาลต้องเลือกว่า ๑ จะยุบสภาหรือเปล่า ถ้ายุบสภารัฐบาลต้องยุบสภาใน ๒๑ วัน ถ้ารัฐบาลไม่เลือกทางยุบสภา จะเลือกบริหารแต่รัฐบาลเสียงข้างน้อยก็ทําได้ รัฐธรรมนูญเยอรมันบอกว่า ด้วยความเห็นชอบของท่านรัฐมนตรีและประธานาธิบดี สามารถประกาศภาวะฉุกเฉินทางนิติบัญญัติ ว่านับแต่นี้ต่อไป กฎหมายสําคัญของรัฐบาลเข้าบุนเด็นทาส คือสภาผู้แทนแล้วไม่ผ่าน ก็จะเอากฎหมายนั้นออกมาแล้วเข้าบุนเด็นรัส วุฒิสภา และออกไปใช้ได้ แต่รัฐธรรมนูญก็กลัวว่าจะเกิดเผด็จการรัฐบาลเสียงข้างน้อย เขาก็บอกว่า ในหนึ่งอายุ รัฐบาลใช้ได้ ๑ ครั้ง แล้ว ๑ ครั้งนั้นไม่เกิน ๖ เดือน เพื่อที่จะจัดการกับความรวนเรของพรรคร่วมรัฐบาลที่เป็น สส. แล้วไปเข้ากับฝ่ายค้านล้มรัฐบาล ล้มรัฐบาลไม่ได้และให้เวลารัฐบาล ๖ เดือนที่จะไปหาเสียงข้างมากมาหนุนให้เข้มแข็ง นี่ก็เป็นรัฐธรรมนูญนิยมช่วงที่ ๓ ที่ต้องการ สร้างเสถียรภาพและประสิทธิภาพรัฐบาล ซึ่งรัฐธรรมนูญของไทย ปี ๔๐ ก็เอานะครับ เอาจากเยอรมันบ้าง ฝรั่งเศสบ้าง เพราะเราเห็นว่าก่อนหน้านั้นรัฐบาลไทยมันล้มลุกคุกคลาน ๖๐ ปี ประชาธิปไตยไทยมีรัฐบาล ๕๒ ชุด เฉลี่ยแล้วมีรัฐบาลชุดละปีสองเดือน อันนี้หมายถึงนับรวมรัฐบาลของจอมพล
  • 11. --- ๑๑ --- ถนอม จอมพลสฤษดิ์ จอมพล ป. พิลูลย์สงครามเข้าไปด้วย ถ้าไม่นับจอมพล ป. จอมพลถนอม จอมพลสฤษดิ์ ก็จะ เหลืออายุรัฐบาลเพียง ๖ เดือน ๘ เดือน ทําอะไรก็ไม่ได้ ก็เขียนรัฐธรรมนูญปี ๔๐ อย่างนั้น แต่ว่ามันก็เกิดผลขึ้นมาอย่างที่เห็นเป็นรัฐบาลทักษิณ ๑ ทักษิณ ๒ พอมา รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็เลยตรารัฐธรรมนูญปี ๕๐ แบบ ตรงกันข้าม ทําอย่างไรให้ได้รัฐบาลที่ไม่เข้มแข็ง เพราะ ต้องการ การตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐมากกว่า นี่คือ รัฐธรรมนูญนิยมในแบบที่เขาว่าใช้รัฐธรรมนูญเป็น เครื่องมือในการทําอะไร ส่วนรัฐธรรมนูญนิยมในอีก ความหมายหนึ่งซึ่งค่อนข้างจะแตกต่างกันไปในแต่ละ ประเทศ เขาเรียกว่า รัฐธรรมนูญเชิงกฎเกณฑ์ ภาษาฝรั่ง เรียกว่า Prescriptive Constitutionism อันนี้เป็นการใช้ รัฐธรรมนูญเพื่อสร้างให้บางอย่างเกิดขึ้นในรัฐนั้นๆ ใน สังคมนั้นๆ เพื่อแก้ปัญหาของรัฐนั้นๆ เพราะฉะนั้นรัฐธรรมนูญเชิงกฎเกณฑ์นี้ จะ กําหนดว่ารัฐธรรมนูญที่ดีควรจะเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น ม็องเตสกิเออ ที่ไปศึกษารัฐธรรมนูญตั้งแต่กรีซโบราณมา จนถึงกระทั่งถึงยุคที่ตนเองมีชีวิตอยู่ ประมาณศษตวรรษ ที่ ๑๗, ๑๘ นะครับ และก็บอกว่ารัฐธรรมนูญที่ดีนั้น หนึ่ง ต้องมีการแบ่งแยกการใช้อํานาจ อันนี้ก็เป็นที่มาของ ทฤษฎีการแบ่งแยกการใช้อํานาจประชาธิปไตย สอง ต้องเอากลุ่มต่างๆ ของสังคมทั้งหมดเข้ามาอยู่ในโครงสร้างการเมืองแล้วก็ยกตัวอย่างว่า อังกฤษนี้เป็นรัฐธรรมนูญที่ดี มากเพราะว่า มันมีการมี ๓ สถาบันอยู่ในโครงสร้างทางการเมืองหมด มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข มีขุนนาง ทั้งพระ และขุนนางสามัญอยู่ในสภาขุนนาง แล้วก็มีไพร่ไปนั่งอยู่ในสภาสามัญ ที่เรียกว่า Commoners ม็องเตสกิเออร์ ก็บอกว่าให้เอากลุ่มต่างๆ ทั้งหมดที่เป็นพลังอํานาจ เรียกว่าตรีญาณุภาพทางการเมืองของ อังกฤษคือ กับขุนนางและไพร่มาผนวกรวมไว้ในองค์กรทางการเมือง เป็นสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นสภาขุนนาง เป็นสภาสามัญ นี่ก็คือทฤษฎีของม็องเตสกิเออร์ ถ้าไปถามเลนินกับเหมา เจ๋อ ตุง รัฐธรรมนูญที่ดีของเลนินกับเหมา เจ๋อ ตุง จะไม่เหมือนกับม็องเตสกิเออร์เลย เขาไม่สนใจเรื่องการแบ่งแยกการใช้อํานาจ สังคมนิยมเขาบอกว่าอะไรก็ได้ ที่มันสะท้อนอุดมการณ์ของสังคมนิยมหรือเผด็จการกรรมชีพ อย่างกรณีรัสเซียหรือเผด็จการชาวนาของจีน ผมเข้าใจ ว่า การอภิปรายวันนี้ผู้อภิปรายต้องการให้เป็น Prescriptive Constitutionism แบบนี้ ทํานองว่าอาจารย์สมคิดคิด ว่าดีอย่างไร ผมคิดว่าดีอย่างไร ท่านสมบัติคิดว่าดีอย่างไร ปัญหาอีกข้อหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญที่ดีคืออะไร สังเกตให้ดีนะครับ ผู้จัดสัมนาฯ ใช้คําว่ารัฐธรรมนูญที่ดี ไม่ได้ใช้ คําว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ดี เพราะรัฐธรรมนูญนั้นโดยนัยมันมีความหมายกว้างกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะ กฎหมายรัฐธรรมนูญนั้นหมายถึง สิ่งที่เป็นกฎหมาย เป็นตัวบทบัญญัติ แต่พอพูดรัฐธรรมนูญแล้ว มันจะมีสิ่งซึ่งไม่ใช้ตัว บทบัญญัติ แต่เป็นสิ่งที่เรียกว่าประเพณีการปกครอง ซึ่งไม่ได้เป็นตัวบทกฎหมาย ไม่เป็นบทบัญญัติลายลักษณ์อักษร ผู้จัดสัมนาฯ ใช้คําว่ารัฐธรรมนูญทีดี ไม่ได้ใช้คําว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญทีดี เพราะรัฐธรรมนูญนันโดยนัย มันมีความหมายกว้างกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญ .....สิงทีเรียกว่าประเพณีการปกครอง ……รัฐธรรมนูญและอํานาจในแก้รัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อํานาจนิติบัญญัติ ไม่ใช่อํานาจของสภาทีถูกรัฐธรรมนูญก่อตังขึน แต่มันเป็นอํานาจของประชาชน เพราะมันเป็นอํานาจในการก่อตังรัฐสภา ดังนันผู้แทนทีราษฎรเลือกมาจะมาแก้ สิงทีราษฎรเป็นคนให้ฉันทามติไม่ได้ ศ.ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการ ส. พระปกเกล้า
  • 12. --- ๑๒ --- คนที่พูดเรื่องนี้คนแรกคือ เอบีไดร์ซี ไดร์ซีซึ่งเป็นนักกฎหมายชาวอังกฤษ มีหน้าที่สอน The Law of Constitution เพราะฉะนั้นแกจะไม่สอน The Convention of Constitution คือสอนรัฐธรรมนูญที่เป็นกฎหมายศาลบังคับ ไม่ใช่ประเพณีการปกครองที่ฝ่ายการเมืองปฏิบัติกัน แต่ไม่ฟ้องศาลไม่ได้ ถามว่ารัฐธรรมนูญในความเป็นจริงของทุกประเทศทั่วโลก มันมีส่วนที่เรียกว่าตัวหนังสืออยู่ เป็นกฎหมาย แต่ อีกส่วนหนึ่งซึ่งไม่ใช่กฎหมายคือประเพณี ประเพณีการปกครอง ตรงนี้เราจะเห็นได้ว่าเมื่อประเพณีการปกครองมันมี อยู่ ศัพท์ในรัฐธรรมนูญอังกฤษ ในรัฐธรรมนูญแคนนาดา ในรัฐธรรมนูญประเทศเหล่านี้ทั้งหลายเขาก็บอกว่า บางอย่าง การกระทําบางอย่างนี้มันชอบด้วยกฎหมายรัฐธรรมนูญ แต่มันไม่ชอบด้วยประเพณีการปกครอง มีตัวอย่างเยอะเลย เช่น สมเด็จพระบรมราชินีนาถของอังกฤษจะไม่ทรงยับยั้งร่างกฎหมายที่สภาฯ ผ่าน ถามว่าเป็นกฎหมายไหม ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะถ้าตามกฎหมายพระบรมราชินีนาถอังกฤษมีสิทธิยับยั้งกฎหมาย ถามว่าถ้าทรงยับยั้ง ทรงทําได้ไหม ตาม กฎหมายได้ (legal) แต่ว่าถ้าทรงทําเช่นนั้น นักกฎหมายรัฐธรรมนูญบอกว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถอังกฤษก็จะ ทําสิ่งที่ Unconstitutional คือขัดต่อประเพณีปกครอง ที่นี้พอมาพูดถึงประเพณีการปกครอง ตัวนี้คือตัวสําคัญที่มีปัญหาแล้วเราไม่ค่อยพูดกัน คณะกรรมการ สมานฉันท์ฯ ที่ตั้งขึ้นมาวันนี้ก็ไม่ได้พูดกันเท่าไร ตอนทํารัฐธรรมนูญปี ๔๐ ก็ไม่ได้พูด รัฐธรรมนูญปี ๕๐ ก็ไม่ได้พูด คือสิ่งที่อาจารย์นิธิ (เอียวศรีวงศ์) เรียกว่ารัฐธรรมนูญฉบับวัฒนธรรมหรือประเพณี ปัญหามันคือ สังคมไทยเมื่อเอา กฎหมายฝรั่ง เอาระบอบประชาธิปไตยแบบฝรั่งมาสวมลง มันคงไม่ใช่ ผลมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่เกิดขึ้นในอังกฤษ ใน เยอรมัน ในฝรั่งเศส ในออสเตรเลีย หรือแม้กระทั่งในญี่ปุ่น เพราะมันมีวัฒนธรรมการเมืองมันมีประเพณีการปกครอง ของมันแบบหนึ่ง จะดีหรือไม่ดีเราตัดสินได้นะครับ ปัญหาคือ มันก็เกิดการสู้กัน ๒ สํานักในเวลานี้ ระหว่างประชาธิปไตยแบบสากล ที่เลี่ยงคําว่าประชาธิปไตย แบบตะวันตก กับประชาธิปไตยแบบไทยๆ คําว่า แบบไทยๆ ประชดกันหนักเข้า คนที่นิยมประชาธิปไตยแบบสากลก็ บอกประชาธิปไตยแบบไทยๆ จริงๆ แล้วมันก็คือ Guided Democracy คือเธอต้องทําตามที่ฉันต้องการ ก็พูดกันได้จะ เรียกว่า เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ได้นะครับ แล้วพูดกันถ้าพูดกันเป็นกลางๆ ไม่ตัดสิน ผม ยกตัวอย่างอันหนึ่ง ตอนที่อเมริกาประกาศเอกราชจากอังกฤษ น่าสนใจมากที่นักวิชาการอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นแพรรี่ หรือใครต่อใครมานั่งเถียงกันว่า ทําไมในระบอบการปกครองของอังกฤษ พระเจ้าแผ่นดินรบกับสภา พระเจ้าแผ่นดิน แพ้เกิดอํานาจอธิปไตยของสภา แต่ทําไมพระเจ้าแผ่นดินอังกฤษยังปกครองได้ ในความเป็นจริง พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษมีอํานาจมาก สมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรีย ไม่ทรงมีพระราชอํานาจ ทางกฎหมาย แต่ทางการเมืองมีอํานาจมากเหลือเกิน คําตอบก็คือเพราะอังกฤษในศตวรรคที่ ๑๘ ปกครองโดยระบบ อุปถัมภ์ กษัตริย์อังกฤษอุปถัมภ์ลอร์ด ลอร์ดก็ไปอุปถัมภ์ไพร่คือ สามัญชน โดยผ่านกระบวนการทางการเมืองของ ระบบอุปถัมภ์ พระเจ้าแผ่นดินอังกฤษซึ่งหมดอํานาจทางกฎหมายแล้ว กลับมีอํานาจทางการเมืองเด่นชัดคือคุมสภาขุน นางได้ แล้วขุนนางก็ไปคุม สส.เป็นมุ้งต่างๆ ได้ และแพรรี่ หรือใครต่อใครก็สรุปเลยว่า ที่ประเทศอเมริกาประกาศเอก ราชสําเร็จก็เพราะว่า พระราชินีนาถอังกฤษและพระเจ้าแผ่นอังกฤษคือพระจอร์จที่ ๓ ไม่สามารถมีระบบอุปถัมภ์ เหนืออาญานิคมทั้ง ๑๓ แห่ง นี่คือข้อสรุปทางนักวิชาการที่ตรงกัน คําถามคือ เขาเสนอแก้อย่างไร ตอนนั้นนักวิชาการทั้งหลายในอังกฤษ ช่วงเสียอเมริกาในปลายศตวรรคที่ ๑๘ ขึ้นศตวรรคที่ ๑๙ ต่างบอกว่ามีทางเดียวเท่านั้น คือเมื่อกษัตริย์อังกฤษไม่ สามารถไปใช้ระบบอุปถัมภ์ซื้อคนในอาณานิคม หากจะเอาอาณานิคมไว้ก็ต้องจําลองรูปแบบการปกครองอังกฤษลง