SlideShare a Scribd company logo
การใช้น้ำหมักชีวภาพในกระบวนการGAPข้าว โครงการชุมชนบ้านทุ่งน่าอยู่
1. การปลูก
การย่อยสลายฟางข้าว การย่อยสลายฟางข้าว  น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยช่วยเร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่ หลังหมักตอซัง
การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย ส่วนผสม -หน่อกล้วยสับละเอียด 30 กิโลกรัม -กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม -สารเร่ง พด.2 1 ซอง -น้ำ 100 ลิตร วิธีการทำ หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ เอาทั้งเหง้าต้น นำหน่อกล้วยสับละเอียดใส่ถังพลาสติกทึบแสงขนาดจุ 150- 200 ลิตร คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม ละลายสารเร่ง พด.2 คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไผ่หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่ น้ำ สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน
การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำหมัก การแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำหมักจะช่วยให้ข้าวมีเปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น และสม่ำเสมอ ข้าวรากมากเจริญเติบโตดี ข้าวแตกกอมากต้นเขียว สูตรน้ำหมักแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว 1. จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร 2. ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี 3. ไข่ไก่ทั้งเปลือก 3 ฟอง 4. น้ำซาวข้าว 3 ลิตร 5. น้ำ 200 ลิตร 6. เมล็ดพันธุ์ข้าว 6 ถัง
ขั้นตอนในการทำ และใช้ประโยชน์ 1. นำส่วนผสมทุกอย่างลงในน้ำ 200 ลิตร 2. เทเมล็ดพันธุ์แช่ไว้ 1 คืน 3. ซาวข้าวออกจากกระสอบมัดปากเก็บไว้ในที่ร่ม 1 วัน 1 คืน ก่อนนำไปหว่านในแปลงนา
2. โรค และศัตรูของข้าวและการป้องกันกำจัด
โรคข้าวที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคไหม้ สาเหตุ	เชื้อรา ลักษณะอาการ 	ระยะกล้า	ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตา กลางแผลมีสีเทา กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 10-15 มิลลิเมตร ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย
ระยะแตกกอพบอาการของโรคบนใบ ข้อต่อใบ (คอใบ) และข้อของลำต้น แผลบนใบมีขนาดใหญ่กว่าระยะกล้าลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำทำให้ใบหลุด ระยะออกรวงถ้าเป็นโรคในระยะต้นข้าวเริ่มออกรวง เมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคหลังต้นข้าวออกรวงแล้ว คอรวงจะปรากฏแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้รวงข้าวหักง่าย และหลุดร่องอาการลักษณะนี้เรียกว่า โรคเน่าคอรวง
ช่วงเวลาระบาด อากาศเย็น มีน้ำค้างบนใบข้าวจนถึงเวลาสาย หรือมีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน การป้องกันกำจัด ๑. ใช้พันธุ์ต้านทาน ได้แก่ สุพรรณบุรี60  สุพรรณบุรี90  สุพรรณบุรี1  ชัยนาท1  ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1  พิษณุโลก2  สุรินทร์1  แพร่1  และสันป่าตอง1 ๒. กำจัดพืชอาศัยรอบคันนา เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าไซ เป็นต้น
สูตรปรามโรคไหม้ข้าว ขั้นตอนที่ 1 ส่วนผสม 1. ขมิ้นชัน 1 ขีด 2. เปลือกมังคุดแห้ง 1 ขีด 3. แอลกอฮอล์ 70 % ขนาด 450 CC วิธีทำ นำขมิ้นชัน และเปลือกมังคุดไปบดให้ละเอียด แล้วนำไปหมักกับแอลกอฮอล์ แยกกันหมักไว้ 7 วัน เมือครบกำหนดแล้วกรองเอาแต่น้ำ
โรคกาบใบแห้ง สาเหตุ	เชื้อรา ลักษณะอาการ พบตั้งแต่ระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยวแผลเกิดที่กาบใบใกล้ระดับน้ำมีสีเขียวปนเทาขอบแผลมีสีน้ำตาลขนาด 1-4x2-10 มิลลิเมตรแผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปตามกาบใบใบข้าวและกาบใบธงใบและกาบใบเหี่ยวและแห้งตายถ้าข้าวแตกกอมากต้นเบียดกันแน่นโรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น
ช่วงเวลาระบาด 		เมื่อความชื้นและอุณหภูมิสูง การป้องกันกำจัด ๑. ในแปลงที่เป็นโรครุนแรงควรเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยว เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา ๒. กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำเพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อโรค ๓. เมื่อเริ่มพบแผลบนกาบใบที่ 5 นับจากยอด ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราตามคำแนะนำ
โรคเมล็ดด่าง สาเหตุ	เชื้อราหลายชนิด ลักษณะอาการ อาการที่เด่นชัดคือ รวงข้าวด่างดำ เมล็ดมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ลายสีน้ำตาล สีเทา หรือทั้งเมล็ดคลุมด้วยเส้นใยสีชมพู บางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำ ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวเสียหายมาก
ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูการปลูกข้าว ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน การป้องกันกำจัด ๑. ในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ เช่น กข9  สุพรรณบุรี60  สุพรรณบุรี90 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1 ๒. ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หากไม่มีทางเลือก ควรคลุมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
การทำน้ำหมักไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา สูตรที่ ๑ ส่วนผสม1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด2. ใบน้อยหน่า3. ใบฝรั่ง4. ใบกระเพรา5. หัวข่าแก่6. หัวตะไคร้หอม7. เปลือกต้นแค8. เปลือกลูกมังคุด9. กากน้ำตาล วิธีทำนำส่วนผสมที่ 1 – 8 จำนวนพอสมควรเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน (3 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน (1 กิโลกรัม) ใส่ถังพลาสติกหมักไว้ 7 – 10 วัน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็นหรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7 – 10 วัน / ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา
การทำสารสกัดไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา สูตรที่ ๒ สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา: ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด ½ กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด(750ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช โรคเกิดจากเชื้อราเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆ
โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ	เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการ 		ระยะกล้ามีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากน้ำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำ ต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็ว
ลักษณะอาการ 		ระยะกล้ามีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากน้ำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำ ต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็ว
		ระยะปักดำโดยทั่วไปต้นข้าวแสดงอาการหลังปักดำแล้ว 4-6 สัปดาห์ ขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางครั้งพบหยดแบคทีเรียบริเวณแผล แผลมักขยายอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ ถ้าแผลขยายไปตามกว้าง ขอบแผลด้านในจะไม่เรียบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเทาและแห้ง ช่วงเวลาระบาด 		เมื่อฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูงหรือเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม
สูตรน้ำหมักสมุนไพรป้องกันโรคขอบใบแห้ง ขั้นที่ 1 ส่วนผสม 1. ขมิ้นชัน 1 ขีด 2. เปลือกมังคุดแห้ง 1 ขีด 3. แอลกอฮอล์ 70% ขนาด 450 CC 2ขวด วิธีการทำ - นำขมิ้นชันไปบดให้ละเอียด หมักกับแอลกอฮอล์ 450 CC - นำเปลือกมังคุดไปบดให้ละเอียด หมักกับแอลกอฮอล์ 450 CC - หมักไว้นาน 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วกรองเอาแต่น้ำก็จะได้หัวเชื่อเข้มข้น
ขั้นตอนที่ 2 1. ขี้เถ้าจากไม้เนื้อแข็ง 2. น้ำเปล่า วิธีการทำ นำขี้เถา หมักในน้ำ 1 ลิตรเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ใช้แต่น้ำใสๆที่อยู่ด้านบนเท่านั้น วิธีใช้ 1. สารขมิ้น 10 ซี.ซี. 2. สารเปลือกมังคุด 10 ซี.ซี. 3. น้ำด่าง 20 ซี.ซี. นำส่วนผสมทั้งหมดผสมน้ำ1  ลิตร แล้วนำไปขยายต่ออีก 20 ลิตร เติมน้ำยาล้างจานเล็กน้อย นำไปฉีดข้าวในช่วงเย็น เป็นสูตรป้องกัน และรักษาโรค
การป้องกันกำจัด 		 ในแปลงที่เป็นโรค ไถกลบตอซังข้าวทันทีหลังเก็บเกี่ยว 		 ทำลายพืชอาศัย เช่น ข้าวป่า และหญ้าไซ เป็นต้น 		 ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน ได้แก่ กข7  กข23  สุพรรณบุรี60  สุพรรณบุรี1  สุพรรณบุรี2  ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1  ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี  ปทุมธานี1 สุรินทร์  แพร่1  และสันป่าตอง1 		 ไม่ระบายน้ำจากแปลงนาที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง
โรคใบหงิก	 สาเหตุ	เชื้อไวรัส ลักษณะอาการ 		ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบสีเขียวเข้ม ใบแคบและสั้นกว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว อาจพบอาการขอบใบแหว่งวิ่น และเส้นใบบวมที่หลังใบและกาบใบข้าว ต้นที่เป็นโรคจะออกรวงช้า รวงไม่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูง คุณภาพข้าวต่ำ
ช่วงเวลาระบาด 		เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะนำโรค มักระบาดหลังจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง และมีพืชอาศัยของโรคที่สำคัญ คือ ข้าวป่า ขาเขียด หญ้าข้าวนก หญ้ารังนก และหญ้าไม้หวาดการ ป้องกันกำจัด ๑. ไถกลบตอซังที่เป็นโรค ๒. ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข23 ชัยนาท1  สุพรรณบุรี90   สุพรรณบุรี1  สุพรรณบุรี2 และ ไม่ปลูกข้าวพันธุ์เดียวในพื้นที่กว้างขวางต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๓. ทำลายพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น ข้าวป่า ขาเขียด หญ้าข้าวนก หญ้ารังแก และหญ้าไม้กวาด
สูตรน้ำหมักกำจัดโรคใบหงิก ยา สูบ ยาฉุน : (1) ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร … (2) ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ … (3) ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ฉีดพ่นสารสกัดยาสูบยาฉุนในตอนเช้าอากาศปลอดโปร่งหรือตอนกลางวันอากาศขมุกขมัวไม่มีแสงแดด ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นตอนกลางวันแดดร้อนจัดหรือตอนเย็น
แมลงศัตรูข้าว
แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าว หมายถึง แมลงที่สร้างความเสียหายให้กับต้นข้าวในด้านปริมาณและคุณภาพ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวกใหญ่ๆ คือ         ๑. แมลงจำพวกปากดูด  เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่วเป็นต้น 	         ๒. แมลงจำพวกปากกัด  เช่น หนอนกระทู้กล้า หนอนกอ หนอนม้วนใบ  หนอนกระทู้คอรวง 	เป็นต้น
ชนิดของแมลงศัตรูข้าวที่มักพบทำลายข้าวที่ช่วงอายุต่าง ๆ ในข้าวนาชลประทาน (ข้าวอายุ 120 วัน)
แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ เพลี้ยไฟ ลักษณะการทำลาย	เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ยาว 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีดำ ทำลายข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว ทำให้ปลายใบแห้ง ขอบใบม้วนเข้าหากัน ถ้าระบาดมากทำให้ข้าวตายทั้งแปลง
การใช้ ''กลอย'' กำจัดเพลี้ยไฟ การใช้ ''กลอย'' กำจัดเพลี้ยไฟ  นำหัวกลอยจำนวน 1 กก. มาโขลกให้ละเอียด แล้วนำไปหมักกับน้ำเปล่าจำนวน 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 คืน จากนั้นนำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพ่นฆ่าแมลง
เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “อาการไหม้”       นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย  มาสู่ต้นข้าว
การป้องกันกำจัด ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และควรปลูกข้าวหลาย ๆ พันธุ์สลับกัน ช่วงที่ระบาด ใช้แสงไฟล่อแมลง และทำลาย สูตรน้ำหมักกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ส่วนผสมในการทำหัวเชื้อ  น้ำส้มสายชูกลั่น (อสร.) จำนวน 2 ขวดใหญ่ เหล้าขาว จำนวน 2 ขวด บอระเพ็ด,สาบเสือ,เปลือกสะเดา ทุบ หรือสับละเอียด จำนวน 3 กก. หัวเชื้ออีเอ็มจำนวน 1 แก้ว
วิธีการ -นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกัน ใส่ถังพลาสติกปิดฝาให้สนิท โดยไม่ต้องเติมน้ำ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จะได้หัวเชื้อเข้มข้นสำหรับใช้ในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้ผล การนำไปใช้ -ใช้น้ำหมัก 1 แก้ว + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงนาตอนเย็นหรือตอนเช้ามืดที่ไม่มีแสงแดด แล้วเว้นไว้ 7 วัน เพื่อดูอาการของต้นข้าว หากการระบาดยังไม่หยุด ให้เพิ่มปริมาณน้ำหมักเป็น 2 แก้ว + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนที่ไม่มีแสงแดดทุก 3 วัน-น้ำหมักสูตรนี้จะมีผลต่อตัวเพลี้ยโดยตรง เพราะจะไปชะงักการเจริญเติบโต กลับ
แมลงสิง       ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าวระยะเป็นน้ำนมทำให้เมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์ และผลผลิตข้าวลดลง          ข้อสังเกต ถ้ามีแมลงสิงระบาดในนาข้าวจะได้กลิ่นเหม็นฉุน
สูตรน้ำหมักกำจัดแมลงสิง ส่วนผสม 1.ใบกระเพรา 2 กก.   2.ตะไคร้หอม 1 กก.  3.ถังหมักหรือโอ่ง 1 ใบ  4.น้ำเปล่า 20 ลิตร วิธีทำ :  1.นำใบกระเพราและตะไคร้หอม (ใช้ทั้งใบและต้น) มาสับพอหยาบ  2.นำส่วนผสมทั้งหมดโขลกให้เข้ากัน  3.นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงไปในโอ่งหรือถังหมักเติมน้ำลงไป 20 ลิตร  4.หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้วิธีการนำไปใช้ : นำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพ่นในช่วงที่ข้าวตั้งท้องและช่วงที่ข้าวเริ่มออกรวง โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา (โดยอัตราการฉีดคือน้ำหมัก 5 ลิตร ต่อพื้นที่นาข้าว 1 ไร่) ระยะห่างของการฉีดคือ 7 วัน/ครั้ง
หนอนห่อใบข้าว       ตัวหนอนจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว หนอนจะใช้ใยเหนียวดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวไว้ จะพบการทำลายใบข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง       พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง
สูตรน้ำหมักกำจัดหนอนห่อใบข้าว สูตรน้ำหมักสแยก ใช้ลำต้นของแสยกประมาณ  2 กิโลกรัม นำมาบดหรือทุบให้พอแตก  ยาฉุน   1  กิโลกรัม  จากนั้นนำไปแช่ในถังเทเหล้าขาว จนท่วม  ( ใช้ประมาณ 4 - 6 ขวด )   ทิ้งไว้นาน 7  คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำหมักที่ได้ นำไปฉีดพ่นในนาข้าว จะช่วยป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่างๆ (เช่นหนอนกระทู้  หนอนห่อใบข้าว  หนอนกอ เป็นต้น)   วิธีใช้ น้ำหมัก  2  ช้อนโต๊ะ  + น้ำ  20  ลิตร +สารจับใบ 5 -10 ซีซี   ฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น
ผกากรอง เป็นไม้กิ่งพุ่มสูง 1-2 เมตร มีกลิ่นรุนแรง  ใบออกตรงกันข้าม  กลีบดอกย่อยสีชมพู แดง เหลือง ขาวและส้มติดกันเป็นหลอด  กลีบเลี้ยงมีสีเขียว  ลกลม  เมื่อลูกมีสีดำภายในมี 2 เมล็ด  ออกดอกตลอดปี กากรองนั้นมีสาร lantadene A ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทของแมลง วิธีสกัด  ใช้ดอกและใบ 50 กรัมบดกับน้ำกลั่น 400 ซีซี หรือใช้เมล็ดบดละเอียดอัตรา 1 ต่อ 2 ส่วนแช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วกรองแต่น้ำไปฉีดแมลง ศัตรูเป้าหมาย  กำจัดหนอนห่อใบข้าววัยที่ 2
หนอนกอข้าว หนอนจะเจาะเข้าทำลายกาบใบ ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก”
สูตรปุ๋ยน้ำสกัดสมุนไพร กำจัดหนอนกอในนาข้าวส่วนผสม- ใบสะเดา  ใบยูคาลิปตัส  หัวข่าแก่  บอระเพ็ด  ตะไคร้หอม  อย่างละ  2 กิโลกรัม(รวม 10 กิโลกรัม)- น้ำเปล่า จำนวน  20  ลิตร- น้ำจุลินทรีย์อีเอ็มแบบขยาย  จำนวน  2  ช้อนโต๊ะ- กากน้ำตาล จำนวน 1 ลิตรวิธีการ1. สับวัตถุดิบส่วนผสมทุกอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ2.เทน้ำเปล่า + กากน้ำตาล + น้ำจุลินทรีย์อีเอ็ม ลงใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันให้กากน้ำตาลละลายทั้งหมด จากนั้นนำส่วนผสมวัตถุดิบใส่ตามลงไป ปิดฝาถังให้สนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม หมักนาน 15-30 วัน จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้- สำหรับนาข้าว ใช้ในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร + พริกแกง 1 ขีด + น้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อช่วยป้องกันและกำจัดเพลี้ย หนอนกอได้ จะส่งผลให้หนอนกอลอกคราบและตายภายใน 7 วัน สามารถตัดวงจรการเจริญเติบโตของหนอนกอได้เป็นอย่างดี
หนอนกระทู้คอรวง หนอนกระทู้กล้า หรือ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะสุกทำให้คอรวงขาด สามารถเข้าทำลายรวงข้าวได้ถึง 80% โดยลักษณะทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า จะเข้าทำลายต้นข้าวช่วงเวลากลางคืน พลบค่ำหรือ    เช้าตรู
น้ำหมักสาบเสือฆ่าหนอนกระทู้คอรวง ส่วนผสม ใบสาบเสือ น้ำ วิธีการใช้งาน นำต้นใบมาตากแห้งมาบดตำโขลกให้ละเอียด 400 กรัม ผสมน้ำ 8 ลิตร กรณีใช้ใบสดใช้ 1 กก. ต่อน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง การใช้งานผสมสารจับใบพวกผงซักฟอกหรือแชมพูหรือน้ำสบู่ซัลไลต์ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 8 ลิตร กรณีใช้ใบสดใช้ 0.5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน ช่วงเวลาเย็น
แมลงบั่ว ตัวเต็มวัยจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ข้าวระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัว หนอนจะคลานลงสู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้าทำลายยอดที่กำลังเจริญ ทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอกแล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย
สมุนไพรไล่แมลงบั่ว (1)นำกระเทียม2ขีด พริกไทยดำ1ขีดบดแล้วหมักกับแอลกอฮอล์70% 450; ข้าว(2)ทิ้งไว้7วัน นำน้ำหมัก20 cc/น้ำ20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันแมลงบั่วได้ดีสมุนไพรกำจัดบั่วแมลงร้ายในนาข้าว ส่วนผสม  1. กระเทียม 2 ขีด 2. พริกไทยดำ 1 ขีด  3. แอลกอฮอล์ 70 % ขวดขนาด450 cc. จำนวน 1 ขวด ขั้นตอน กระเทียม และพริกไทยดำ นำมาบดให้ละเอียด แล้วเทแอลกอฮอล์ลงไป คนให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วันเมื่อครบกำหนดแล้ว นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง  อัตราส่วนในการใช้  นำน้ำหมักที่ได้20 cc.ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ในระยะต้นกล้า โดยฉีดได้ทุกๆ 7-10 วันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของบั่วในนาข้าว
แมลงหล่า ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้       การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง       การทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยวตายได้
น้ำหมักกำจัดแมลงหล่า  ส่วนผสม -น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำยาล้างจาน 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำเปล่า 20 ลิตร วิธีทำ - เอาส่วนประกอบทั้ง 3 อย่างมาผสมให้เข้ากัน - แล้วนำไปฉีดพ่นในนาข้าวช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลาย หรือฉีดป้องกัน 15 วัน/ครั้ง
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัย ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเขียวปลายปีกมีสีดำข้างละจุด ชอบบินมาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน เป็นแมลงปากดูด ทำลายข้าว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวทางอ้อม คือ เป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว แมลงชนิดนี้มักพบในนาข้าวอยู่เสมอ พบในฤดูนาปีมากกว่าฤดูนาปรัง  ช่วงเวลาระบาด ต้นข้าวอายุไม่เกิน 45 วันหลังปลูก
การป้องกันกำจัด ๑. ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยในนาข้าวที่พบระบาดและนำมาทำลาย 	๒. เต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า นำเนื้อเน่าแขวนไว้ตามแปลงนาและจับมาทำลาย 	๓.  หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการแพร่พันธุ์
สูตรน้ำหมักน้อยหน่า วิธีทำ ใช้เมล็ดน้อยหน่า 1 กก. ตำละเอียด แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 12-24ชั่วโมง กรองน้ำมาใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะเป็นสารจับใบใช้ฉีดพ่นทุกๆ 6-10 วัน ช่วงเวลาเย็นใช้ใบสด 2 กก. ตำละเอียดแช่น้ำ 10 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง กรองน้ำมาใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะฉีดพ้นทุกๆ 6-10 วัน ช่วงเวลาเย็น
มด พริก พริกไทย ดีปลี : พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส(ใบด่าง/ใบลาย)
พวกแมลงศัตรูในโรงเก็บ ด้วงงวงข้าว มอดข้าว ผีเสื้อข้าวเปลือก
การป้องกันกำจัด ,[object Object]
สารสกัดดอกดีปลีแห้งใช้ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) คลุกเมล็ดข้าว
น้ำคั้นจากใบสะเดาใช้ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) คลุกเมล็ดข้าว
ว่านน้ำผงแห้งคลุกเมล็ดอัตรา 200 กรัมต่อเมล็ดข้าว 5 กิโลกรัม,[object Object]
จากนั้นก็นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ลงไป คนให้เข้ากัน แล้วปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 30 – 40 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ วิธีใช้ - ฉีดพ่นบำรุงต้นข้าวหลักปักดำตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปจนกระทั้งข้าวเริ่มตั้งท้องก็หยุด ในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร
น้ำหมักสูตรบำรุงข้าวช่วงตั้งท้อง ส่วนผสม - กากมะพร้าวที่คันกะทิออกหมดแล้ว จำนวน 5 กิโลกรัม - มะเขือพวง และมะเขือเทศรวมกัน จำนวน 5 กิโลกรัม - ลูกตาลสุก จำนวน 30 กิโลกรัม - กากน้ำตาล จำนวน 10 ลิตร - น้ำสะอาดพอดีท่วม
วิธีทำ - นำลูกตาลสุข มะเขือพวง และมะเขือเทศมาทุบให้พอแตก เตรียมไว้ - ละลายกากน้ำตาลจำนวน 10 ลิตร ใส่ในภาชนะพลาสติกปิดฝาให้สนิท - นำลูกตาล มะเขือพวง มะเขือเทศ และมะพร้าวใส่ลงในภาชนะที่ละลายกากน้ำตาลแล้ว คนให้เข้ากันเติมน้ำลงไปพอดีท่วมส่วนผสมทั้งหมด - นำถังหมักตั้งไว้ในที่ร่ม ปิดฝาให้สนิทหมักนาน 40 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การนำไปใช้ประโยชน์ - ฉีดพ่นบำรุงต้นข้าวช่วงเริ่มตั้งท้อง ช่วงเดือนกันยายนครั้งเดียวเท่านั้นโดยใช้น้ำหมัก 30 ลิตร /ไร่ หยดให้ทั่วแปลง เพื่อให้ละลายตามน้ำซึ่งแปลงควรมีระดับน้ำประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร
ฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์  ส่วนผสม ไข่สด 5 กก. สารเร่งพ.ด.3
ลูกแป้งข้าวหมาก 2 ลูก กากน้ำตาล
ไคโตซาน 10 ลิตร(ถ้ามี) แอคทีฟพลัส2 กิโลกรัม(ถ้ามี)
นำไข่มาปันในเครื่องปันทั้งเปลือก ใส่ยพ.ด.ผสมให้เข้ากัน
นำมาใส่ภาชนะสำหรับที่ใส่กากน้ำตาลไว้แล้ว บี้ลูกแป้งข้าวหมากก่อนจึงใส่ลงไป  จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันหาฝาปิดให้เหลือช่องอากาศแต่น้อย  เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก  คนทุกเช้าและเย็นวันละ  2  ครั้ง  จนครบ  14  วัน  กรองเอาเฉพาะน้ำเก็บไว้ในที่ร่ม    ในกรณีที่เก็บฮอร์โมนไข่ไว้นานเกินจับตัวแข็งให้เติมน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปคนพอเหลว
การนำไปใช้    ผสมฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์  5-10  ซีซี  ต่อน้ำ   20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ทั้งบนใบและใต้ใบให้เปียกชุ่ม  ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนหรือราดลงดินรอบทรงพุ่มอัตรา  20-40  ซีซี  ต่อน้ำ  20  ลิตร  ทุก 5-7  วัน  ต้นไม้จะเจริญสมบูรณ์แข็งแรงดี  ให้ดอกออกผลรวดเร็วเกินคาด  ดินร่วนซุย  อุ้มน้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก  กรณีที่นำจุลินทรีย์หน่อกล้วยร่วมกับฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์กำจัดข้าวดีด               

More Related Content

Viewers also liked

Pbe 3.0 final presentation 2011
Pbe 3.0 final presentation 2011Pbe 3.0 final presentation 2011
Pbe 3.0 final presentation 2011kylekeller
 
Linked Data in Action
Linked Data in ActionLinked Data in Action
Linked Data in Action
Talis Consulting
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
Prakash Menon
 
Population project keynote
Population project keynotePopulation project keynote
Population project keynotekylekeller
 
Personal hygiene istirahat & tidur
Personal hygiene istirahat & tidurPersonal hygiene istirahat & tidur
Personal hygiene istirahat & tidur
Idha Chan
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
Prakash Menon
 
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About UsabilityCats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
Meredith Patterson
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
Prakash Menon
 
Sociala medier och effektivitet enabling final ver01
Sociala medier och effektivitet   enabling final ver01Sociala medier och effektivitet   enabling final ver01
Sociala medier och effektivitet enabling final ver01Charles Limerius
 
SolTec Presentation
SolTec PresentationSolTec Presentation
SolTec Presentationtcmg
 
Linked data our experience
Linked data our experienceLinked data our experience
Linked data our experience
Talis Consulting
 
Powerful presentation
Powerful presentationPowerful presentation
Powerful presentationkimkuboom
 
Linked data your journey
Linked data your journeyLinked data your journey
Linked data your journey
Talis Consulting
 
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon PassMonitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
bwebb_usouthal
 
Mumias the kiangoi report
Mumias the kiangoi reportMumias the kiangoi report
Mumias the kiangoi report
Chweya Kiangoi
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
Prakash Menon
 
Shopss
ShopssShopss
Shopss
GiziAfkir
 
R.O.G.E.R Games for health 2011
R.O.G.E.R Games for health 2011R.O.G.E.R Games for health 2011
R.O.G.E.R Games for health 2011
Laurent Grumiaux
 
Conversionboost 2015 tlb
Conversionboost 2015 tlbConversionboost 2015 tlb
Conversionboost 2015 tlb
Tim Leighton-Boyce
 

Viewers also liked (20)

Pbe 3.0 final presentation 2011
Pbe 3.0 final presentation 2011Pbe 3.0 final presentation 2011
Pbe 3.0 final presentation 2011
 
Linked Data in Action
Linked Data in ActionLinked Data in Action
Linked Data in Action
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
 
Population project keynote
Population project keynotePopulation project keynote
Population project keynote
 
Personal hygiene istirahat & tidur
Personal hygiene istirahat & tidurPersonal hygiene istirahat & tidur
Personal hygiene istirahat & tidur
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
 
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About UsabilityCats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
Cats And Dogs Living Together: Langsec Is Also About Usability
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
 
Sociala medier och effektivitet enabling final ver01
Sociala medier och effektivitet   enabling final ver01Sociala medier och effektivitet   enabling final ver01
Sociala medier och effektivitet enabling final ver01
 
SolTec Presentation
SolTec PresentationSolTec Presentation
SolTec Presentation
 
Youth council
Youth councilYouth council
Youth council
 
Linked data our experience
Linked data our experienceLinked data our experience
Linked data our experience
 
Powerful presentation
Powerful presentationPowerful presentation
Powerful presentation
 
Linked data your journey
Linked data your journeyLinked data your journey
Linked data your journey
 
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon PassMonitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
Monitoring the Coastal Processes in the Vicinity of Little Lagoon Pass
 
Mumias the kiangoi report
Mumias the kiangoi reportMumias the kiangoi report
Mumias the kiangoi report
 
Black Belt In Retail
Black Belt In Retail Black Belt In Retail
Black Belt In Retail
 
Shopss
ShopssShopss
Shopss
 
R.O.G.E.R Games for health 2011
R.O.G.E.R Games for health 2011R.O.G.E.R Games for health 2011
R.O.G.E.R Games for health 2011
 
Conversionboost 2015 tlb
Conversionboost 2015 tlbConversionboost 2015 tlb
Conversionboost 2015 tlb
 

Similar to The use of biological materials in the production of rice

8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์
Sathit Seethaphon
 
การเลี้ยงหมูหลุม2554
การเลี้ยงหมูหลุม2554การเลี้ยงหมูหลุม2554
การเลี้ยงหมูหลุม2554
Lsilapakean
 
โครงงานเพคติน Power Point
โครงงานเพคติน Power Pointโครงงานเพคติน Power Point
โครงงานเพคติน Power Pointampornchai
 
การเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุมการเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุมTonggii Ozaka
 
หญ้าปักกิ่ง
หญ้าปักกิ่งหญ้าปักกิ่ง
หญ้าปักกิ่งPranom Chai7
 
เทคนิคการปลูกขนุน
เทคนิคการปลูกขนุนเทคนิคการปลูกขนุน
เทคนิคการปลูกขนุน
V'View Piyarach
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Napalai Jaibaneum
 
130115 cassava fk-by_prim
130115 cassava fk-by_prim130115 cassava fk-by_prim
130115 cassava fk-by_prim
Farmkaset
 
สตรอเบอร์รี่
สตรอเบอร์รี่สตรอเบอร์รี่
สตรอเบอร์รี่
Lilly Phattharasaya
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
Chok Ke
 
1นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค25561นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค2556gdowdeaw R
 
1นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค25561นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค2556gdowdeaw R
 
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
sekzazo
 
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทย
Waree01
 
ชุดประจำชาติอาเวียน
ชุดประจำชาติอาเวียนชุดประจำชาติอาเวียน
ชุดประจำชาติอาเวียนpolykamon15
 
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียนสอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
duangkaew
 
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรคหญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง จตุกา
 
HERB
HERBHERB
HERB
onio2499
 

Similar to The use of biological materials in the production of rice (20)

8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์8.ผลิตภัณฑ์
8.ผลิตภัณฑ์
 
การเลี้ยงหมูหลุม2554
การเลี้ยงหมูหลุม2554การเลี้ยงหมูหลุม2554
การเลี้ยงหมูหลุม2554
 
โครงงานเพคติน Power Point
โครงงานเพคติน Power Pointโครงงานเพคติน Power Point
โครงงานเพคติน Power Point
 
การเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุมการเลี้ยงหมูหลุม
การเลี้ยงหมูหลุม
 
โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์
 
หญ้าปักกิ่ง
หญ้าปักกิ่งหญ้าปักกิ่ง
หญ้าปักกิ่ง
 
เทคนิคการปลูกขนุน
เทคนิคการปลูกขนุนเทคนิคการปลูกขนุน
เทคนิคการปลูกขนุน
 
Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2Landscape maintenance and management2
Landscape maintenance and management2
 
130115 cassava fk-by_prim
130115 cassava fk-by_prim130115 cassava fk-by_prim
130115 cassava fk-by_prim
 
สตรอเบอร์รี่
สตรอเบอร์รี่สตรอเบอร์รี่
สตรอเบอร์รี่
 
โครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผงโครงงานใบย่านางผง
โครงงานใบย่านางผง
 
1นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค25561นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค2556
 
1นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค25561นำเสนอ 21 มค2556
1นำเสนอ 21 มค2556
 
Herb
HerbHerb
Herb
 
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
ยาสีฟันสมุนไพรสูตรโบราณ
 
สมุนไพรไทย
สมุนไพรไทยสมุนไพรไทย
สมุนไพรไทย
 
ชุดประจำชาติอาเวียน
ชุดประจำชาติอาเวียนชุดประจำชาติอาเวียน
ชุดประจำชาติอาเวียน
 
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียนสอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
สอนการใช้สมุนไพรสำหรับนักเรียน
 
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรคหญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
หญ้าปักกิ่ง สมุนไพรรักษาสารพัดโรค
 
HERB
HERBHERB
HERB
 

Recently uploaded

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
Bangkok, Thailand
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
สุเมธี​​​​ ตี่พนมโอรัล / សុមេធី ទីភ្នំឱរ៉ាល់ (Sumedhi TyPhnomAoral)
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
Faculty of BuddhismMahachulalongkornrajavidyalaya Roi Et Buddhist College
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
Prachyanun Nilsook
 

Recently uploaded (10)

1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-2 (2511-2567).pdf
 
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
1-2_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค 1-2 (2510-2567).pdf
 
atwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtxatwordfamily words with Thai translationtx
atwordfamily words with Thai translationtx
 
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdfงานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
งานนำเสนอ ภาษากับการสื่อสาร เพื่อการพัฒนา.pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา สัมพันธ์ไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
3_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลมคธเป็นไทย ประโยค ป.ธ.3 (2500-2567).pdf
 
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
4_ปัญหาและเฉลยข้อสอบบาลีสนามหลวง วิชา แปลไทยเป็นมคธ ประโยค ป.ธ.4 (2505-2567).pdf
 
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdfแนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
แนวความเชื่อ วิธีการปฎิบัติ พระพุทธศาสนามหายาน.pdf
 
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนาภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
ภาษาอังกฤษเพื่อการปฏิบัติกรรมฐานในพระพุทธศาสนา
 
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัย (Research Proposal)
 

The use of biological materials in the production of rice

  • 3. การย่อยสลายฟางข้าว การย่อยสลายฟางข้าว น้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วยช่วยเร่งการย่อยสลายเศษซากอินทรีย์วัตถุ หรือดับกลิ่นขยะของเน่าเสีย ฉีดพ่นด้วย จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตรต่อน้ำ 100 ลิตร กรณีหมักฟางในนาข้าว ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย 10 ลิตร ต่อ พื้นนา 1 ไร่ หลังหมักตอซัง
  • 4. การผลิตน้ำหมักจุลินทรีย์หน่อกล้วย ส่วนผสม -หน่อกล้วยสับละเอียด 30 กิโลกรัม -กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม -สารเร่ง พด.2 1 ซอง -น้ำ 100 ลิตร วิธีการทำ หน่อกล้วยอ่อนความสูงจากพื้นดิน 1 เมตร ขุดเหง้าสลัดเอาดินออกไม่ต้องล้างน้ำ เอาทั้งเหง้าต้น นำหน่อกล้วยสับละเอียดใส่ถังพลาสติกทึบแสงขนาดจุ 150- 200 ลิตร คลุกเคล้ากับกากน้ำตาล เติมน้ำสะอาดลงถังเกือบเต็ม ละลายสารเร่ง พด.2 คนติดต่อกัน 5 – 10 นาที ก่อนใส่ถังคนให้เข้ากัน(ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องใส่ก็ได้) ปิดฝาให้สนิท 2 วัน 2 คืน (48 ชั่วโมง) ไม่ให้อากาศเข้า (ไม่ให้จุลินทรีย์ภายนอกเข้าไป) หลัง 48 ชั่วโมงแล้ว ให้เปิดฝาถังคนทุกวัน และคอยกดวัสดุให้จมน้ำอยู่เสมอ หมักไว้ในร่มนาน 7 วัน (จนหมดฟอง) นำกากกล้วยออกจากถังไปใส่โคนต้นไผ่หรือในแปลงนาเพื่อเป็นปุ๋ยให้หมดเหลือแต่ น้ำ สามารถเก็บได้นานถึง 6 เดือน
  • 5. การแช่เมล็ดพันธุ์ข้าวด้วยน้ำหมัก การแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำหมักจะช่วยให้ข้าวมีเปอร์เซ็นต์การงอกดีขึ้น และสม่ำเสมอ ข้าวรากมากเจริญเติบโตดี ข้าวแตกกอมากต้นเขียว สูตรน้ำหมักแช่เมล็ดพันธุ์ข้าว 1. จุลินทรีย์หน่อกล้วย 1 ลิตร 2. ฮอร์โมนไข่ 50 ซีซี 3. ไข่ไก่ทั้งเปลือก 3 ฟอง 4. น้ำซาวข้าว 3 ลิตร 5. น้ำ 200 ลิตร 6. เมล็ดพันธุ์ข้าว 6 ถัง
  • 6. ขั้นตอนในการทำ และใช้ประโยชน์ 1. นำส่วนผสมทุกอย่างลงในน้ำ 200 ลิตร 2. เทเมล็ดพันธุ์แช่ไว้ 1 คืน 3. ซาวข้าวออกจากกระสอบมัดปากเก็บไว้ในที่ร่ม 1 วัน 1 คืน ก่อนนำไปหว่านในแปลงนา
  • 8. โรคข้าวที่สำคัญและการป้องกันกำจัด โรคไหม้ สาเหตุ เชื้อรา ลักษณะอาการ ระยะกล้า ใบมีแผลจุดสีน้ำตาลลักษณะคล้ายรูปตา กลางแผลมีสีเทา กว้าง 2-5 มิลลิเมตร ยาว 10-15 มิลลิเมตร ถ้าระบาดรุนแรงต้นกล้าข้าวจะแห้งและฟุบตาย
  • 9. ระยะแตกกอพบอาการของโรคบนใบ ข้อต่อใบ (คอใบ) และข้อของลำต้น แผลบนใบมีขนาดใหญ่กว่าระยะกล้าลุกลามติดต่อกันได้ ที่บริเวณข้อต่อใบมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำทำให้ใบหลุด ระยะออกรวงถ้าเป็นโรคในระยะต้นข้าวเริ่มออกรวง เมล็ดจะลีบ แต่ถ้าเป็นโรคหลังต้นข้าวออกรวงแล้ว คอรวงจะปรากฏแผลช้ำสีน้ำตาล ทำให้รวงข้าวหักง่าย และหลุดร่องอาการลักษณะนี้เรียกว่า โรคเน่าคอรวง
  • 10. ช่วงเวลาระบาด อากาศเย็น มีน้ำค้างบนใบข้าวจนถึงเวลาสาย หรือมีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน การป้องกันกำจัด ๑. ใช้พันธุ์ต้านทาน ได้แก่ สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 สุพรรณบุรี1 ชัยนาท1 ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1 พิษณุโลก2 สุรินทร์1 แพร่1 และสันป่าตอง1 ๒. กำจัดพืชอาศัยรอบคันนา เช่น หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าไซ เป็นต้น
  • 11. สูตรปรามโรคไหม้ข้าว ขั้นตอนที่ 1 ส่วนผสม 1. ขมิ้นชัน 1 ขีด 2. เปลือกมังคุดแห้ง 1 ขีด 3. แอลกอฮอล์ 70 % ขนาด 450 CC วิธีทำ นำขมิ้นชัน และเปลือกมังคุดไปบดให้ละเอียด แล้วนำไปหมักกับแอลกอฮอล์ แยกกันหมักไว้ 7 วัน เมือครบกำหนดแล้วกรองเอาแต่น้ำ
  • 12. โรคกาบใบแห้ง สาเหตุ เชื้อรา ลักษณะอาการ พบตั้งแต่ระยะแตกกอถึงเก็บเกี่ยวแผลเกิดที่กาบใบใกล้ระดับน้ำมีสีเขียวปนเทาขอบแผลมีสีน้ำตาลขนาด 1-4x2-10 มิลลิเมตรแผลอาจขยายใหญ่มากขึ้นและลุกลามขึ้นไปตามกาบใบใบข้าวและกาบใบธงใบและกาบใบเหี่ยวและแห้งตายถ้าข้าวแตกกอมากต้นเบียดกันแน่นโรคจะระบาดรุนแรงมากขึ้น
  • 13. ช่วงเวลาระบาด เมื่อความชื้นและอุณหภูมิสูง การป้องกันกำจัด ๑. ในแปลงที่เป็นโรครุนแรงควรเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยว เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา ๒. กำจัดวัชพืชตามคันนาและแหล่งน้ำเพื่อลดแหล่งสะสมของเชื้อโรค ๓. เมื่อเริ่มพบแผลบนกาบใบที่ 5 นับจากยอด ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราตามคำแนะนำ
  • 14. โรคเมล็ดด่าง สาเหตุ เชื้อราหลายชนิด ลักษณะอาการ อาการที่เด่นชัดคือ รวงข้าวด่างดำ เมล็ดมีรอยแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำ ลายสีน้ำตาล สีเทา หรือทั้งเมล็ดคลุมด้วยเส้นใยสีชมพู บางเมล็ดลีบ และมีสีน้ำตาลดำ ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของข้าวเสียหายมาก
  • 15. ช่วงเวลาระบาด ทุกฤดูการปลูกข้าว ฝนตกชุก ความชื้นในอากาศสูง มีหมอกจัดติดต่อกันหลายวัน การป้องกันกำจัด ๑. ในแหล่งที่มีโรคนี้ระบาดเป็นประจำ ควรหลีกเลี่ยงการปลูกข้าวพันธุ์อ่อนแอ เช่น กข9 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 และข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1 ๒. ใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หากไม่มีทางเลือก ควรคลุมเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช
  • 16. การทำน้ำหมักไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา สูตรที่ ๑ ส่วนผสม1. ใบสะเดาแก่หรือเมล็ดสะเดาบด2. ใบน้อยหน่า3. ใบฝรั่ง4. ใบกระเพรา5. หัวข่าแก่6. หัวตะไคร้หอม7. เปลือกต้นแค8. เปลือกลูกมังคุด9. กากน้ำตาล วิธีทำนำส่วนผสมที่ 1 – 8 จำนวนพอสมควรเท่าๆ กัน สับหรือหั่นรวมกันในอัตรา 3 ส่วน (3 กิโลกรัม) ผสมคลุกเคล้ากับกากน้ำตาล 1 ส่วน (1 กิโลกรัม) ใส่ถังพลาสติกหมักไว้ 7 – 10 วัน กรองเอาน้ำหมักไปใช้ในอัตรา 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 20 ลิตร นำไปฉีดพ่นต้นพืชในช่วงเย็นหรือเช้าที่ยังไม่มีแสงแดด ทุก 7 – 10 วัน / ครั้ง เพื่อไล่แมลงและป้องกันกำจัดเชื้อรา
  • 17. การทำสารสกัดไล่แมลงและป้องกันเชื้อรา สูตรที่ ๒ สาบเสือ แค กระเทียม ตะไคร้หอม ข่า สะเดา: ใบสาบเสือแก่สด 1 กก. + เปลือกต้นแคสด 1 กก. + กระเทียมสด ½ กก. + ตะไคร้หอม 1 กก. + ใบสะเดาแก่สด 5 กก. บดปั่น + เหล้าขาว 1 ขวด(750ซีซี.) + หัวน้ำส้มสายชู 750 ซีซี. + น้ำ 40-60 ลิตร หมักนาน 3-5 วันได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 30-50 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช โรคเกิดจากเชื้อราเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนต่างๆ
  • 18. โรคขอบใบแห้ง สาเหตุ เชื้อแบคทีเรีย ลักษณะอาการ ระยะกล้ามีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากน้ำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำ ต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็ว
  • 19. ลักษณะอาการ ระยะกล้ามีจุดเล็กลักษณะฉ่ำน้ำที่ขอบใบล่าง ต่อมา 7-10 วัน จุดขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบ ใบแห้งเร็ว ส่วนที่ยังมีสีเขียวเปลี่ยนเป็นสีเทา ถ้าอาการรุนแรงต้นข้าวอาจเหี่ยวตายทั้งต้น หากน้ำต้นกล้าที่ได้รับเชื้อไปปักดำ ต้นกล้าจะเหี่ยวตายในเวลารวดเร็ว
  • 20. ระยะปักดำโดยทั่วไปต้นข้าวแสดงอาการหลังปักดำแล้ว 4-6 สัปดาห์ ขอบใบมีรอยขีดช้ำ ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีเหลือง บางครั้งพบหยดแบคทีเรียบริเวณแผล แผลมักขยายอย่างรวดเร็วไปตามความยาวของใบ ถ้าแผลขยายไปตามกว้าง ขอบแผลด้านในจะไม่เรียบ ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเทาและแห้ง ช่วงเวลาระบาด เมื่อฝนตกพรำติดต่อกันหลายวัน ระดับน้ำในนาสูงหรือเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม
  • 21. สูตรน้ำหมักสมุนไพรป้องกันโรคขอบใบแห้ง ขั้นที่ 1 ส่วนผสม 1. ขมิ้นชัน 1 ขีด 2. เปลือกมังคุดแห้ง 1 ขีด 3. แอลกอฮอล์ 70% ขนาด 450 CC 2ขวด วิธีการทำ - นำขมิ้นชันไปบดให้ละเอียด หมักกับแอลกอฮอล์ 450 CC - นำเปลือกมังคุดไปบดให้ละเอียด หมักกับแอลกอฮอล์ 450 CC - หมักไว้นาน 7 วัน เมื่อครบกำหนดแล้วกรองเอาแต่น้ำก็จะได้หัวเชื่อเข้มข้น
  • 22. ขั้นตอนที่ 2 1. ขี้เถ้าจากไม้เนื้อแข็ง 2. น้ำเปล่า วิธีการทำ นำขี้เถา หมักในน้ำ 1 ลิตรเป็นเวลา 24 ชั่วโมง ใช้แต่น้ำใสๆที่อยู่ด้านบนเท่านั้น วิธีใช้ 1. สารขมิ้น 10 ซี.ซี. 2. สารเปลือกมังคุด 10 ซี.ซี. 3. น้ำด่าง 20 ซี.ซี. นำส่วนผสมทั้งหมดผสมน้ำ1 ลิตร แล้วนำไปขยายต่ออีก 20 ลิตร เติมน้ำยาล้างจานเล็กน้อย นำไปฉีดข้าวในช่วงเย็น เป็นสูตรป้องกัน และรักษาโรค
  • 23. การป้องกันกำจัด ในแปลงที่เป็นโรค ไถกลบตอซังข้าวทันทีหลังเก็บเกี่ยว ทำลายพืชอาศัย เช่น ข้าวป่า และหญ้าไซ เป็นต้น ใช้พันธุ์ข้าวต้านทาน ได้แก่ กข7 กข23 สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 ข้าวเจ้าหอมคลองหลวง1 ข้าวเจ้าหอมสุพรรณบุรี ปทุมธานี1 สุรินทร์ แพร่1 และสันป่าตอง1 ไม่ระบายน้ำจากแปลงนาที่เป็นโรคสู่แปลงข้างเคียง
  • 24. โรคใบหงิก สาเหตุ เชื้อไวรัส ลักษณะอาการ ต้นเตี้ยแคระแกร็น ใบสีเขียวเข้ม ใบแคบและสั้นกว่าปกติ ปลายใบบิดเป็นเกลียว อาจพบอาการขอบใบแหว่งวิ่น และเส้นใบบวมที่หลังใบและกาบใบข้าว ต้นที่เป็นโรคจะออกรวงช้า รวงไม่สมบูรณ์ เปอร์เซ็นต์เมล็ดลีบสูง คุณภาพข้าวต่ำ
  • 25. ช่วงเวลาระบาด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเป็นพาหะนำโรค มักระบาดหลังจากเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดรุนแรง และมีพืชอาศัยของโรคที่สำคัญ คือ ข้าวป่า ขาเขียด หญ้าข้าวนก หญ้ารังนก และหญ้าไม้หวาดการ ป้องกันกำจัด ๑. ไถกลบตอซังที่เป็นโรค ๒. ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น กข23 ชัยนาท1 สุพรรณบุรี90 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 และ ไม่ปลูกข้าวพันธุ์เดียวในพื้นที่กว้างขวางต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ๓. ทำลายพืชอาศัยของเชื้อไวรัส เช่น ข้าวป่า ขาเขียด หญ้าข้าวนก หญ้ารังแก และหญ้าไม้กวาด
  • 26. สูตรน้ำหมักกำจัดโรคใบหงิก ยา สูบ ยาฉุน : (1) ใช้ส่วนต้นสดแก่จัด(แกนกลางมีสารมากที่สุด) และใบสดแก่ บดละเอียดหรือสับเล็ก 1 กก. แช่น้ำ 20 ลิตร นาน 48 ชม. หรือต้มพอเดือดแล้วปล่อยให้เย็น ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 1 ลิตร/น้ำ 20 ลิตร … (2) ใช้ยาเส้นหรือยาฉุน 2 กก. ผสมน้ำ 100 ลิตร คนบ่อยๆ จนน้ำเป็นสีน้ำตาลไหม้ ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อล้วนๆ ไม่ต้องเจือจางน้ำ … (3) ยาฉุนหรือยาเส้น 1 กก. ผสมน้ำ 2 ลิตร ต้มจนเดือดนาน 30-60 นาที ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อที่ได้เจือจางน้ำ 60 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ฉีดพ่นสารสกัดยาสูบยาฉุนในตอนเช้าอากาศปลอดโปร่งหรือตอนกลางวันอากาศขมุกขมัวไม่มีแสงแดด ได้ผลดีกว่าฉีดพ่นตอนกลางวันแดดร้อนจัดหรือตอนเย็น
  • 28. แมลงศัตรูข้าว แมลงศัตรูข้าว หมายถึง แมลงที่สร้างความเสียหายให้กับต้นข้าวในด้านปริมาณและคุณภาพ แบ่งออกเป็น ๒ จำพวกใหญ่ๆ คือ ๑. แมลงจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่นสีเขียว แมลงบั่วเป็นต้น  ๒. แมลงจำพวกปากกัด เช่น หนอนกระทู้กล้า หนอนกอ หนอนม้วนใบ หนอนกระทู้คอรวง เป็นต้น
  • 30. แมลงศัตรูข้าวที่สำคัญ เพลี้ยไฟ ลักษณะการทำลาย เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ยาว 1-2 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีสีดำ ทำลายข้าวโดยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าว ทำให้ปลายใบแห้ง ขอบใบม้วนเข้าหากัน ถ้าระบาดมากทำให้ข้าวตายทั้งแปลง
  • 31. การใช้ ''กลอย'' กำจัดเพลี้ยไฟ การใช้ ''กลอย'' กำจัดเพลี้ยไฟ นำหัวกลอยจำนวน 1 กก. มาโขลกให้ละเอียด แล้วนำไปหมักกับน้ำเปล่าจำนวน 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ 1-2 คืน จากนั้นนำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพ่นฆ่าแมลง
  • 32. เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “อาการไหม้” นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก โรคเขียวเตี้ย มาสู่ต้นข้าว
  • 33. การป้องกันกำจัด ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และควรปลูกข้าวหลาย ๆ พันธุ์สลับกัน ช่วงที่ระบาด ใช้แสงไฟล่อแมลง และทำลาย สูตรน้ำหมักกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ส่วนผสมในการทำหัวเชื้อ น้ำส้มสายชูกลั่น (อสร.) จำนวน 2 ขวดใหญ่ เหล้าขาว จำนวน 2 ขวด บอระเพ็ด,สาบเสือ,เปลือกสะเดา ทุบ หรือสับละเอียด จำนวน 3 กก. หัวเชื้ออีเอ็มจำนวน 1 แก้ว
  • 34. วิธีการ -นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมรวมกัน ใส่ถังพลาสติกปิดฝาให้สนิท โดยไม่ต้องเติมน้ำ เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จะได้หัวเชื้อเข้มข้นสำหรับใช้ในการกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าวได้ผล การนำไปใช้ -ใช้น้ำหมัก 1 แก้ว + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงนาตอนเย็นหรือตอนเช้ามืดที่ไม่มีแสงแดด แล้วเว้นไว้ 7 วัน เพื่อดูอาการของต้นข้าว หากการระบาดยังไม่หยุด ให้เพิ่มปริมาณน้ำหมักเป็น 2 แก้ว + น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนที่ไม่มีแสงแดดทุก 3 วัน-น้ำหมักสูตรนี้จะมีผลต่อตัวเพลี้ยโดยตรง เพราะจะไปชะงักการเจริญเติบโต กลับ
  • 35. แมลงสิง ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยใช้ปากแทงดูดกินน้ำเลี้ยงจากเมล็ดข้าวระยะเป็นน้ำนมทำให้เมล็ดลีบหรือเมล็ดไม่สมบูรณ์ และผลผลิตข้าวลดลง ข้อสังเกต ถ้ามีแมลงสิงระบาดในนาข้าวจะได้กลิ่นเหม็นฉุน
  • 36. สูตรน้ำหมักกำจัดแมลงสิง ส่วนผสม 1.ใบกระเพรา 2 กก. 2.ตะไคร้หอม 1 กก. 3.ถังหมักหรือโอ่ง 1 ใบ 4.น้ำเปล่า 20 ลิตร วิธีทำ : 1.นำใบกระเพราและตะไคร้หอม (ใช้ทั้งใบและต้น) มาสับพอหยาบ 2.นำส่วนผสมทั้งหมดโขลกให้เข้ากัน 3.นำส่วนผสมที่ได้ใส่ลงไปในโอ่งหรือถังหมักเติมน้ำลงไป 20 ลิตร 4.หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน ก็สามารถนำไปใช้ได้วิธีการนำไปใช้ : นำน้ำหมักที่ได้ไปฉีดพ่นในช่วงที่ข้าวตั้งท้องและช่วงที่ข้าวเริ่มออกรวง โดยการฉีดพ่นให้ทั่วแปลงนา (โดยอัตราการฉีดคือน้ำหมัก 5 ลิตร ต่อพื้นที่นาข้าว 1 ไร่) ระยะห่างของการฉีดคือ 7 วัน/ครั้ง
  • 37. หนอนห่อใบข้าว ตัวหนอนจะแทะผิวใบข้าวส่วนที่เป็นสีเขียว ทำให้เห็นเป็นแถบยาวสีขาว หนอนจะใช้ใยเหนียวดึงขอบใบข้าวทั้งสองด้านเข้าหากันเพื่อห่อหุ้มตัวไว้ จะพบการทำลายใบข้าวทุกระยะการเจริญเติบโตของข้าว ในระยะข้าวออกรวงหนอนจะทำลายใบธงซึ่งมีผลต่อผลผลิตเพราะทำให้ข้าวมีเมล็ดลีบ น้ำหนักลดลง พบระบาดในนาเขตชลประทาน โดยเฉพาะแปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยอัตราสูง
  • 38. สูตรน้ำหมักกำจัดหนอนห่อใบข้าว สูตรน้ำหมักสแยก ใช้ลำต้นของแสยกประมาณ 2 กิโลกรัม นำมาบดหรือทุบให้พอแตก ยาฉุน 1 กิโลกรัม จากนั้นนำไปแช่ในถังเทเหล้าขาว จนท่วม ( ใช้ประมาณ 4 - 6 ขวด ) ทิ้งไว้นาน 7 คืน จากนั้นกรองเอาแต่น้ำหมักที่ได้ นำไปฉีดพ่นในนาข้าว จะช่วยป้องกันกำจัดหนอนชนิดต่างๆ (เช่นหนอนกระทู้ หนอนห่อใบข้าว หนอนกอ เป็นต้น)   วิธีใช้ น้ำหมัก 2 ช้อนโต๊ะ + น้ำ 20 ลิตร +สารจับใบ 5 -10 ซีซี ฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น
  • 39. ผกากรอง เป็นไม้กิ่งพุ่มสูง 1-2 เมตร มีกลิ่นรุนแรง ใบออกตรงกันข้าม กลีบดอกย่อยสีชมพู แดง เหลือง ขาวและส้มติดกันเป็นหลอด กลีบเลี้ยงมีสีเขียว ลกลม เมื่อลูกมีสีดำภายในมี 2 เมล็ด ออกดอกตลอดปี กากรองนั้นมีสาร lantadene A ซึ่งมีพิษต่อระบบประสาทของแมลง วิธีสกัด ใช้ดอกและใบ 50 กรัมบดกับน้ำกลั่น 400 ซีซี หรือใช้เมล็ดบดละเอียดอัตรา 1 ต่อ 2 ส่วนแช่ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงแล้วกรองแต่น้ำไปฉีดแมลง ศัตรูเป้าหมาย กำจัดหนอนห่อใบข้าววัยที่ 2
  • 40. หนอนกอข้าว หนอนจะเจาะเข้าทำลายกาบใบ ทำให้กาบใบมีสีเหลืองหรือน้ำตาล ซึ่งจะเห็นเป็นอาการช้ำๆ เมื่อฉีกกาบใบดูจะพบตัวหนอน เมื่อหนอนโตขึ้นจะเข้ากัดกินส่วนของลำต้น ทำให้เกิดอาการใบเหี่ยวในระยะแรก ใบและยอดที่ถูกทำลายจะเหลืองในระยะต่อมา ซึ่งการทำลายในระยะข้าวแตกกอนี้ทำให้เกิดอาการ “ยอดเหี่ยว” ถ้าหนอนเข้าทำลายในระยะข้าวตั้งท้องหรือหลังจากข้าวออกรวงจะทำให้เมล็ดข้าวลีบทั้งรวง รวงข้าวมีสีขาวเรียกอาการนี้ว่า“ข้าวหัวหงอก”
  • 41. สูตรปุ๋ยน้ำสกัดสมุนไพร กำจัดหนอนกอในนาข้าวส่วนผสม- ใบสะเดา  ใบยูคาลิปตัส  หัวข่าแก่  บอระเพ็ด  ตะไคร้หอม  อย่างละ  2 กิโลกรัม(รวม 10 กิโลกรัม)- น้ำเปล่า จำนวน  20  ลิตร- น้ำจุลินทรีย์อีเอ็มแบบขยาย  จำนวน  2  ช้อนโต๊ะ- กากน้ำตาล จำนวน 1 ลิตรวิธีการ1. สับวัตถุดิบส่วนผสมทุกอย่างให้เป็นชิ้นเล็กๆ2.เทน้ำเปล่า + กากน้ำตาล + น้ำจุลินทรีย์อีเอ็ม ลงใส่ถังพลาสติก คนให้เข้ากันให้กากน้ำตาลละลายทั้งหมด จากนั้นนำส่วนผสมวัตถุดิบใส่ตามลงไป ปิดฝาถังให้สนิท ตั้งไว้ในที่ร่ม หมักนาน 15-30 วัน จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้- สำหรับนาข้าว ใช้ในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร + พริกแกง 1 ขีด + น้ำเปล่า 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อช่วยป้องกันและกำจัดเพลี้ย หนอนกอได้ จะส่งผลให้หนอนกอลอกคราบและตายภายใน 7 วัน สามารถตัดวงจรการเจริญเติบโตของหนอนกอได้เป็นอย่างดี
  • 42. หนอนกระทู้คอรวง หนอนกระทู้กล้า หรือ หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ ชอบกัดกินส่วนคอรวงหรือระแง้ของรวงข้าวที่กำลังจะสุกทำให้คอรวงขาด สามารถเข้าทำลายรวงข้าวได้ถึง 80% โดยลักษณะทำลายคล้ายหนอนกระทู้กล้า จะเข้าทำลายต้นข้าวช่วงเวลากลางคืน พลบค่ำหรือ เช้าตรู
  • 43. น้ำหมักสาบเสือฆ่าหนอนกระทู้คอรวง ส่วนผสม ใบสาบเสือ น้ำ วิธีการใช้งาน นำต้นใบมาตากแห้งมาบดตำโขลกให้ละเอียด 400 กรัม ผสมน้ำ 8 ลิตร กรณีใช้ใบสดใช้ 1 กก. ต่อน้ำ 5 ลิตร คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง การใช้งานผสมสารจับใบพวกผงซักฟอกหรือแชมพูหรือน้ำสบู่ซัลไลต์ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 8 ลิตร กรณีใช้ใบสดใช้ 0.5 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร ใช้ฉีดพ่นทุก 7 วัน ช่วงเวลาเย็น
  • 44. แมลงบั่ว ตัวเต็มวัยจะเข้าแปลงนาตั้งแต่ข้าวระยะเวลา 25-30 วัน เพื่อวางไข่หลังจากฟักออกตัว หนอนจะคลานลงสู่ซอกของใบยอดและกาบใบเพื่อเข้าทำลายยอดที่กำลังเจริญ ทำให้เกิดเป็นหลอดลักษณะคล้ายหลอดหอม ต้นข้าวและกอข้าวที่ถูกทำลายจะมีอาการแคระแกร็น เตี้ย ลำต้นกลม มีสีเขียวเข้ม ยอดที่ถูกทำลายไม่สามารถออกรวงได้ ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงมาก ระยะข้าวแตกกอจะเป็นระยะที่บั่วเข้าทำลายมาก เมื่อข้าวเกิดช่อดอกแล้วจะไม่ถูกหนอนบั่วทำลาย
  • 45. สมุนไพรไล่แมลงบั่ว (1)นำกระเทียม2ขีด พริกไทยดำ1ขีดบดแล้วหมักกับแอลกอฮอล์70% 450; ข้าว(2)ทิ้งไว้7วัน นำน้ำหมัก20 cc/น้ำ20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันแมลงบั่วได้ดีสมุนไพรกำจัดบั่วแมลงร้ายในนาข้าว ส่วนผสม 1. กระเทียม 2 ขีด 2. พริกไทยดำ 1 ขีด 3. แอลกอฮอล์ 70 % ขวดขนาด450 cc. จำนวน 1 ขวด ขั้นตอน กระเทียม และพริกไทยดำ นำมาบดให้ละเอียด แล้วเทแอลกอฮอล์ลงไป คนให้เข้ากัน หมักไว้ 7 วันเมื่อครบกำหนดแล้ว นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง อัตราส่วนในการใช้ นำน้ำหมักที่ได้20 cc.ผสมน้ำเปล่า 20 ลิตร เริ่มฉีดได้ตั้งแต่ในระยะต้นกล้า โดยฉีดได้ทุกๆ 7-10 วันเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของบั่วในนาข้าว
  • 46. แมลงหล่า ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากกาบใบข้าวบริเวณโคนต้นข้าว ทำให้บริเวณที่ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาลแดงหรือเหลือง ขอบใบข้าวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำคล้ายข้าวเป็นโรคไหม้ การทำลายในระยะข้าวแตกกอทำให้ต้นข้าวที่อยู่กลางๆ กอข้าวมีอาการแคระแกร็น มีสีเหลืองหรือเหลืองแกมน้ำตาล และการแตกกอลดลง การทำลายหลังระยะข้าวตั้งท้องทำให้รวงข้าวแกร็น ออกรวงไม่สม่ำเสมอและรวงข้าวมีเมล็ดลีบ ต้นข้าวอาจเหี่ยวตายได้
  • 47. น้ำหมักกำจัดแมลงหล่า ส่วนผสม -น้ำส้มสายชู 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำยาล้างจาน 2 ช้อนโต๊ะ - น้ำเปล่า 20 ลิตร วิธีทำ - เอาส่วนประกอบทั้ง 3 อย่างมาผสมให้เข้ากัน - แล้วนำไปฉีดพ่นในนาข้าวช่วงที่มีแมลงศัตรูพืชเข้ามาทำลาย หรือฉีดป้องกัน 15 วัน/ครั้ง
  • 48. เพลี้ยจักจั่นสีเขียว ลักษณะการทำลาย ตัวเต็มวัย ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร มีสีเขียวปลายปีกมีสีดำข้างละจุด ชอบบินมาเล่นแสงไฟในเวลากลางคืน เป็นแมลงปากดูด ทำลายข้าว ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทางตรง คือ ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบข้าวทางอ้อม คือ เป็นแมลงพาหะนำโรคใบสีส้มมาสู่ข้าว แมลงชนิดนี้มักพบในนาข้าวอยู่เสมอ พบในฤดูนาปีมากกว่าฤดูนาปรัง ช่วงเวลาระบาด ต้นข้าวอายุไม่เกิน 45 วันหลังปลูก
  • 49. การป้องกันกำจัด ๑. ใช้สวิงโฉบจับตัวอ่อนและตัวเต็มวัยในนาข้าวที่พบระบาดและนำมาทำลาย ๒. เต็มวัยชอบกินเนื้อเน่า นำเนื้อเน่าแขวนไว้ตามแปลงนาและจับมาทำลาย ๓. หลีกเลี่ยงการปลูกข้าวอย่างต่อเนื่องเพื่อลดการแพร่พันธุ์
  • 50. สูตรน้ำหมักน้อยหน่า วิธีทำ ใช้เมล็ดน้อยหน่า 1 กก. ตำละเอียด แช่น้ำ 10 ลิตร นาน 12-24ชั่วโมง กรองน้ำมาใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะเป็นสารจับใบใช้ฉีดพ่นทุกๆ 6-10 วัน ช่วงเวลาเย็นใช้ใบสด 2 กก. ตำละเอียดแช่น้ำ 10 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง กรองน้ำมาใช้ผสมน้ำสบู่ 1 ช้อนโต๊ะฉีดพ้นทุกๆ 6-10 วัน ช่วงเวลาเย็น
  • 51. มด พริก พริกไทย ดีปลี : พริกสดเผ็ดจัด 1 กก. + พริกไทยผลสด 1 กก. + ดีปลีสด 1 กก. บดละเอียดแช่น้ำ 20 ลิตร นาน 24 ชม. ได้หัวเชื้อ อัตราใช้ หัวเชื้อ 200-500 ซีซี./น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วทรงพุ่มทุก 3-5 วัน ศัตรูพืช มด เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ หนอนคืบ หนอนใย ไล่แมลงผีเสื้อ ไวรัส(ใบด่าง/ใบลาย)
  • 53.
  • 54. สารสกัดดอกดีปลีแห้งใช้ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) คลุกเมล็ดข้าว
  • 55. น้ำคั้นจากใบสะเดาใช้ความเข้มข้น 10 เปอร์เซ็นต์ (น้ำหนักต่อปริมาตรน้ำ) คลุกเมล็ดข้าว
  • 56.
  • 57. จากนั้นก็นำวัตถุดิบทั้งหมดใส่ลงไป คนให้เข้ากัน แล้วปิดฝาให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม ประมาณ 30 – 40 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ วิธีใช้ - ฉีดพ่นบำรุงต้นข้าวหลักปักดำตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไปจนกระทั้งข้าวเริ่มตั้งท้องก็หยุด ในอัตรา น้ำหมัก 1 ลิตร ต่อน้ำเปล่า 20 ลิตร
  • 58. น้ำหมักสูตรบำรุงข้าวช่วงตั้งท้อง ส่วนผสม - กากมะพร้าวที่คันกะทิออกหมดแล้ว จำนวน 5 กิโลกรัม - มะเขือพวง และมะเขือเทศรวมกัน จำนวน 5 กิโลกรัม - ลูกตาลสุก จำนวน 30 กิโลกรัม - กากน้ำตาล จำนวน 10 ลิตร - น้ำสะอาดพอดีท่วม
  • 59. วิธีทำ - นำลูกตาลสุข มะเขือพวง และมะเขือเทศมาทุบให้พอแตก เตรียมไว้ - ละลายกากน้ำตาลจำนวน 10 ลิตร ใส่ในภาชนะพลาสติกปิดฝาให้สนิท - นำลูกตาล มะเขือพวง มะเขือเทศ และมะพร้าวใส่ลงในภาชนะที่ละลายกากน้ำตาลแล้ว คนให้เข้ากันเติมน้ำลงไปพอดีท่วมส่วนผสมทั้งหมด - นำถังหมักตั้งไว้ในที่ร่ม ปิดฝาให้สนิทหมักนาน 40 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ การนำไปใช้ประโยชน์ - ฉีดพ่นบำรุงต้นข้าวช่วงเริ่มตั้งท้อง ช่วงเดือนกันยายนครั้งเดียวเท่านั้นโดยใช้น้ำหมัก 30 ลิตร /ไร่ หยดให้ทั่วแปลง เพื่อให้ละลายตามน้ำซึ่งแปลงควรมีระดับน้ำประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร
  • 60. ฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์ ส่วนผสม ไข่สด 5 กก. สารเร่งพ.ด.3
  • 62. ไคโตซาน 10 ลิตร(ถ้ามี) แอคทีฟพลัส2 กิโลกรัม(ถ้ามี)
  • 64. นำมาใส่ภาชนะสำหรับที่ใส่กากน้ำตาลไว้แล้ว บี้ลูกแป้งข้าวหมากก่อนจึงใส่ลงไป  จากนั้นคนส่วนผสมทั้งหมดให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันหาฝาปิดให้เหลือช่องอากาศแต่น้อย  เก็บไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก  คนทุกเช้าและเย็นวันละ  2  ครั้ง  จนครบ  14  วัน  กรองเอาเฉพาะน้ำเก็บไว้ในที่ร่ม    ในกรณีที่เก็บฮอร์โมนไข่ไว้นานเกินจับตัวแข็งให้เติมน้ำมะพร้าวอ่อนลงไปคนพอเหลว
  • 65. การนำไปใช้    ผสมฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์  5-10  ซีซี  ต่อน้ำ   20  ลิตร  ฉีดพ่นให้ทั่วต้นพืช  ทั้งบนใบและใต้ใบให้เปียกชุ่ม  ช่วงตอนเย็นแดดอ่อนหรือราดลงดินรอบทรงพุ่มอัตรา  20-40  ซีซี  ต่อน้ำ  20  ลิตร  ทุก 5-7  วัน  ต้นไม้จะเจริญสมบูรณ์แข็งแรงดี  ให้ดอกออกผลรวดเร็วเกินคาด  ดินร่วนซุย  อุ้มน้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก  กรณีที่นำจุลินทรีย์หน่อกล้วยร่วมกับฮอร์โมนไข่สูตรซุปเปอร์กำจัดข้าวดีด               
  • 66. ข้อควรระวังสำหรับการใช้ปุ๋ยน้ำหมักทุกชนิด น้ำหมักชีวภาพเป็นของเหลวที่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายสิ่งต่างๆภายในเซลล์ มีความเข้มข้นของสารละลายอยู่มาก เมื่อนำไปฉีดพ่นต้นไม้ต้องเจือจางมาก พืชแต่ละชนิดจะตอบสนองคล้ายกับได้ฮอร์โมน ซึ่งฮอร์โมนที่ส่งเสริมการเติบโต ถ้าใช้ความเข้มข้นสูงจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต หรือตายได้