SlideShare a Scribd company logo
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ ๔
ครูกิ่งกาญจน์ สมจิตต์
ผู้แต่ง
รัชกาลที่๒
พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย
ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครใน
และละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรง
นามาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้
เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนา
นี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์
ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของ
พระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่อง
ให้เป็นยอดบทละครราที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้ง
เนื้อความ ทานองกลอนและกระบวนการเล่นทั้ง
ร้องและรา นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกร
ทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์
ศิลป์ ชัย
รัชกาลที่ ๖
• พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้า
เจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหา
วชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาล
ที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวัน
เสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่า ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.
2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระ
จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
• นามปากกา ประมาณ 37 นาม เช่น ศรีอยุธยา พระขรรค์เพชร
อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ พันแหลม รามกิตติ สุครีพ พาลี
น้อยลา
• ได้รับพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
น.ม.ส.
• พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรม
หมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือนามปากกว่า น.ม.ส. (10
มกราคม พ.ศ. 2419 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ทรง
เป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดา
แห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี"
สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.
2488 ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริ
พระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน
• ผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สามกรุง กนกนคร ประมวล
นิทาน น.ม.ส.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี
• ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ พลเอกหญิง พลเรือเอก
หญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้า
มหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (2
เมษายน พ.ศ. 2498)
• พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระ
เยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและ
ต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราช
นิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม
• นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรงใช้
นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่
"ก้อนหินก้อนกรวด“"แว่นแก้ว“"หนูน้อย“และ "บันดาล"
พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร)
• พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ.
2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับ
สมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตาราเรียนชุดแรกของ
ไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตาหนัก
สวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งาน
ชิ้นสาคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่กองตรวจโคลง
บรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระ
อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์
ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่าน
หนึ่ง
• ท่านได้คิดแบบสอนอ่านหนังสือไทย รวม 6 เล่ม ได้แก่ มูลบท
บรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาล
การันต์ ไวพจน์พิจารณ์ (ไวพจน์พิจารณ์แต่งในปี พ.ศ. 2425)
นายนรินทรธิเบศร์
 นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ ายพระราชวัง
บวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มี
บรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน)
คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย
 นายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคาโคลง ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตาม
ชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก
ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น
ยุคสมัยของวรรณคดี
 การแบ่งสมัยของวรรณคดีไทยนิยมแบ่งตามช่วงระยะเวลาที่เกิด
วรรณคดี โดยยึดราชธานีเป็นหลัก
 1. สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1800 -1920 เป็นเวลา 120 ปี ตั้งแต่การสร้าง
กรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1920 มีหลักฐานทาง
วรรณคดีปรากฏอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช และ
สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)
 2. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
 2.1 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระ
เจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 1893 – 2072
เป็นระยะเวลา 179 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป 90 ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติ
สุข มีสงครามกับพม่า
 2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2153 – 2231 เป็นเวลา 78 ปี
จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก 44ปี
 2.3 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275 – 2310 เป็นเวลา 35 ปี
3. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325 เป็นเวลา 15 ปี
 4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
 4.1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า
เจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2394 เป็นระยะเวลา 69 ปี
 4.2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัย
ที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง
ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
ไตรภูมิพระร่วง
ทศชาติ
๑. เตมียชาดก (เนกขัมมะ) ๒. มหาชนกชาดก (วิริยะ)

๓. สุวรรณสามชาดก (เมตตา) ๔ . เนมิราชชาดก (อธิษฐาน)

๕ . มโหสถชาดก (ปัญญา) ๖ . ภูริทัต (ศีล)
๗ . จันทกุมารชาดก (ขันติ) ๘ . นารทชาดก (อุเบกขา)
๙ . วิฑูรชาดก (สัจจะ) ๑๐ . เวสสันดรชาดก (ทาน)
เทพเจ้า
พระพรหม และ นางสุรัสวดี (เทพีแห่งปัญญาความรู้)
พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุก
สิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สาคัญ และเป็นผู้
กาหนดโชคชะตาของมนุษย์
พระพรหมมี ๔ พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี ๔ กร ถือ หนังสือ แจกัน
หม้อ และช้อน
มเหสีของพระพรหม:พระสุรัสวดี สาวิตรี คายตรี (คือองค์เดียวกัน
หมด)
วันประจาพระองค์คือ วันพฤหัสบดี พาหนะบริวารคือ สุวรรณหงส์
เครื่องบวงสรวง: อาหารมังสวิรัติ นมสด มะพร้าวอ่อน ผลไม้มงคล
ต่างๆ พวงมาลัย ดอกมะลิ-ดอกกุหลาบ
พระนารายณ์ และ นางลักษมี (เทพีแห่งความร่ารวย อุดมสมบูรณ์)
 (ภาษาอังกฤษ : Vishnu , อักษรเทวนาครี : विष्णु) หรือเรียกอีกอย่างว่า พระ
นารายณ์
เป็น1 ใน 3 มหาเทพ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาว
ฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์
รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มี
มงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง
มี 4 กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วน
อีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง(โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร
โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะทรงบรรทมอยู่
บนหลังอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือ พระลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนนิบัติ
อยู่ข้างๆเสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ
พระอิศวร และ นางอุมา (เทพธิดาแห่งพลังอานาจ วาสนา)
 พระอิศวร หรือ พระศิวะ (ภาษาฮินดี: विि) มีพาหนะ คือ โคเผือก ชื่อว่า
อุศุภราช พระอิศวรเป็นมหาเทพแห่งการทาลาย มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสี
ดาเพราะเมื่อตอนที่พระนารายณ์และเหล่าเทวดา อสูร ทาพิธีกวนสมุทรโดยใช้
พญานาคเป็นตัวฉุดเขาพระสุเมรุนั้น ใช้เวลากวนนานมาก พญานาคจึงคลาย
พิษออกมาปกคลุมไปทั่วโลก พระศิวะ จึงว่าเกรงจะเป็นภัยต่อมนุษย์และ
สิ่งมีชีวิตในโลกจึงได้สูบเอาพิษเหล่านั้นไว้จึงทาให้ คอของพระศิวะเป็นสีดา
นั้นเอง มีพระเนตรถึง ๓ ดวง ดวงที่ ๓ อยู่กลางพระนลาฎ ซึ่งตามปกติจะหลับ
อยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ ๓ นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะ
เผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ ประทับอยู่ ณเขาไกรลาส มีมเหสีคือ พระแม่อุมา
รูปลักษณ์ของพระอิศวร โดยมากจะปรากฏให้เห็นเป็นชายผมยาว มีพระจันทร์
เป็นปิ่นปักผม มีลูกประคาหรือกะโหลกมนุษย์เป็นสังวาล มีงูเห่าพันรอบพระ
ศอ นุ่งห่มหนังเสืออันเป็นเครื่องนุ่งห่มของฤๅษี การบูชาพระอิศวรจะกระทาได้
โดยการบูชาต่อศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์แทนตัวพระองค์นั่นเอง
วรรณคดี และ วรรณกรรม
 คาว่า “วรรณคดี” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็น
ทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่ง
เป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตาราแบบเรียน ความเรียง เรื่อง
ประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็น
ประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี
 ส่วนคาว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ใน
พระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่
เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นว
นิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตารา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา
เป็นต้น
ความหมายของวรรณคดี
ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย
เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคา “วรรณคดี”
ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า
วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณศิลป์
กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคาภาษาและเด่นในการ
ประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้
เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้
ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย
1.นิยมด้วยคาประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว
2.เน้นความประณีตของคาและสานวนโวหาร
3.เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จากการราพัน
ความรู้สึก
4.มีขนบการแต่ง กล่าวคือ มีวิธีแต่งที่นิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมา
แต่โบราณ ได้แก่ ขึ้นต้นเรื่องด้วยการกล่าวคาไหว้ครู คือ ไหว้
เทวดา ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์ สรรเสริญพระเกียรติ
คุณของพระหมากษัตริย์ หรือกล่าวชมบ้านเมือง
5. วรรณคดีไทยมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชนชั้นสูงมากกว่าคนสามัญ
6. แนวคิดสาคัญที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเป็นแนวคิดแบบ
พุทธปรัชญาง่ายๆ
7. เนื้อเรื่องที่รับมาจากวรรณกรรมต่างชาติจะได้รับการดัดแปลง
ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย
8. ในวรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นวรรณคดีสาหรับอ่าน
9. ในวรรณคดีไทยมักมีบทอัศจรรย์แทรกอยู่ด้วย
10. วรรณคดีไทยมักแทรกความเชื่อและค่านิยมของไทยไว้ด้วย
เสมอ
ความเชื่อในวรรณคดีไทย
ความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนา
 บาป บุญ ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว กรรม เวร การเวียนว่ายตาย
เกิด(สังสารวัฏ)
ความเชื่อในไสยศาสตร์
 ความฝัน ผี เครื่องรางของขลัง
ค่านิยม
 ค่านิยม(values) หมายถึง ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมี
ความหมาย หรือมีความสาคัญต่อตน หรือกลุ่มของตน ค่านิยมจึงเป็นตัวกาหนดพฤติ
กรราของบุคคลในการเลือกกระทาสิ่งหนึ่ง เว้นกระทาอีกสิ่งหนึ่ง ค่านิยมอาจถ่ายทอด
ให้กันได้ เมื่อได้รักการปลูกฝัง หรือได้เห็นแบบอย่าง และอาจถ่ายทอดในระหว่างคน
รุ่นเดียวกัน หรือจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งก็ได้ค่านิยมยังคลุมไปถึงความเชื่อถือ
อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว สังคม การเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ ค่านิยม
ทางด้านวัฒนธรรม เช่น
 1.ค่านิยมเกี่ยวกับความงาม (เบญจลักษณ์ คือมี ฟันงาม ผมงาม ผิวงาม วัยงาม
และเนื้องาม)
 2.ค่านิยมเกี่ยวกับการรักนวลสงวนตัวของผู้หญิง(ในอดีต)
 3. ยึดมั่นในจารีตประเพณี
แนวคิด
แนวคิด หมายถึง ความคิดสาคัญซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องหรือ
ความคิดอื่น ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องก็ได้ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับ
เรื่องบุญกรรม แนวคิดเกี่ยวกับความรัก ความยุติธรรม ความตาย
แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หรือแนวคิดที่เป็นความรู้ในด้านต่าง ๆ
แนวคิดเรื่อง ความดี ความชั่ว มักปรากฏอยู่ในวรรณกรรมต่าง ๆ
อาทิ ในคาฉันท์เรื่อง กฤษณาสอนน้อง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในกลอนสุภาพเรื่อง “มนุษย์เรามีดีที่
ตรงไหน” ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
ลักษณะคาประพันธ์
๑. คาหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรง
แต่ง หรือทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จากัดรูปแบบคาประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่
ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฎชื่อในวงวรรณคดีมีอยู่ ๔
เรื่อง คือ มหาชาติคาหลวง นันโทปนันทสูตรคา-หลวงพระมาลัยคาหลวง และ
พระนลคาหลวง
 ๒. คาฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่างๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่
ด้วย เช่น สมุทรโฆษคาฉันท์ อนิรุทธคาฉันท์ ปุณโณวาทคาฉันท์ อิลราชคาฉันท์
สามัคคีเภทคาฉันท์ เป็นต้น
 ๓. คากลอน เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นคากลอนชนิดต่างๆได้แก่ กลอนสุภาพ
กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้าง
ขุนแผน บทละครเรื่องอิเหนา กนกนคร กลอนเพลงยาวต่างๆ เป็นต้น
 ๔. คาโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็น โคลงดั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลง
กาสรวล (เดิมชื่อว่า กาสรวลศรีปราชญ์) โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น
 ๕. คากาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์
เช่น กาพย์เรื่องพระสุบิน ก กา กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น
 ๖. ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาวเช่น กาพย์มหาชาติ ร่ายยาวมหา
เวสสันดร-ชาดก เป็นต้น
 ๗. กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น
กาพย์ห่อ-โคลงประพาสธารทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
 ๘. ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสท้ายคา
แบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น
 ๙. เบ็ดเตล็ด ได้แก่ วรรณคดีที่เขียนเป็นบทสั้นๆ โดยมากเป็นบทขับร้อง
เช่น บทดอกสร้อยสักวาและเพลงขับร้องต่างๆเช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงไทย
เดิม เพลงสากล เป็นต้น
 ๑๐. กวีวัจนะ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยคาประพันธ์หลายชนิดรวมกัน คือ
มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย โดยเลือกตามลีลาของความ เช่น สาม
กรุง พระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นต้น
ประเภทของวรรณกรรม
1.) แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี 2 ประเภท คือ
 1. วรรณกรรมร้อยแก้ว คือ วรรณกรรมที่ไม่กาหนดบังคับคาหรือฉันทลักษณ์ เป็น
ความเรียงทั่ว ไป การเขียนในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น
 1.1 บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการ
สาคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังที่ ม.ล. บุญ
เหลือ เทพยสุวรรณ (2518 : 9) กล่าวว่า บันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมที่ผู้ประพันธ์มี
จุดประสงค์ที่ให้ความเพลิดเพลิน แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบันเทิงคดีเป็นวรรณกรรม
ที่ไร้สาระ บันเทิงคดีอาจมีสาระในด้านปรัชญา ด้านความเข้าใจการเมือง หรือ
ประวัติศาสตร์ดีกว่าหนังสือสารคดีบางเรื่องก็ได้ วรรณกรรม ประเภทนี้ผู้ประพันธ์มุ่ง
หมายให้ความบันเทิง ต้องกระทบอารมณ์ผู้อ่าน มิใช่สาหรับให้ผู้อ่านได้ความรู้หรือ
ความคิดเห็น บันเทิงคดีสามารถจาแนกย่อยได้ดังนี้
 1.1.1 นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรม
ร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะจาลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหนึ่ง
ส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านเกิดสะเทือน
อารมณ์ไปกับเนื้อเรื่องอย่างมีศิลปะ
 1.1.2 เรื่องสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจาลองสภาพชีวิตในช่วง
สั้น คือมุมหนึ่งของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของ
ชีวิต เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน หรือ นิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า
เรื่องสั้น คือ วิกฤตการณ์ชุดหนึ่ง มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน และ
นาไปสู่จุดยอดหนึ่ง (Climax) ( ธวัช บุณโณทก 2537 : 12)
 1.1.3 บทละคร (Drama) คือการเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความ
บันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพูด และบทละครโทรทัศน์ เป็นต้น
 1.2 สารคดี (Non-Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความรู้ หรือ ความคิด เป็น
คุณประโยชน์สาคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบายเชิงวิจารณ์ เชิงพรรณนาสั่งสอน
โดยอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีระบบมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อมุ่ง
ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้อ่าน และก่อให้เกิดคุณค่าทางปัญญาแก่
ผู้อ่าน ซึ่ง ธวัช ปุณโณทก ( 2527 : 11 ) ได้แบ่งย่อยดังนี้
 1.2.1 ความเรียง (Essay) คือ การถ่ายทอดความรู้ อาจจะได้มาจากการประสบ
หรือตาราวิชาการ มาเป็นถ้อยความตามลาดับขั้นตอนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตาม
ความรู้ ความคิดที่ผู้เขียนเสนอมา บางครั้งมีผู้เรียกว่า "สารคดีวิชาการ"
 1.2.2 บทความ ( Article) คือความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเรื่องราวที่
ประสบมาหรือต่อข้อเขียนของผู้อื่น หรือต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่าง
ใด ในการเขียนบทความผู้เขียนมุ่งที่จะบอกถึงความเห็น ความรู้สึกนึก
คิดมากกว่าที่จะถ่ายถอดความรู้เหมือนความเรียง
 12.3. สารคดีท่องเที่ยว ( Travelogue) คือ การบันทึกการท่องเที่ยวและเรื่องราว
ต่าง ๆ ที่ประสบพบเห็นขณะที่ท่องเที่ยวไป โดยมุ่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านและให้
ความเพลิดเพลินด้วย
 1.2.4. สารคดีชีวประวัติ (Biography) คือ การบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของ
บุคลิกภาพหนึ่งมุ่งที่จะให้เห็นสภาพชีวิตประสบการณ์ของบุคลิกภาพนั้นทุกแง่
ทุกมุม แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ และนิยาย
 1.2.5. อนุทิน (Diary) คือการบันทึกประจาวันที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง จะ
เป็นการบันทึกความรู้สึกนึกคิดของตนเองในประจาวัน หรืออาจจะ
บันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน หรือบันทึกเหตุการณ์ใน
ชีวิตประจาวัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนความจา
 1.2.6. จดหมายเหตุ ( Archive) คือ การบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของ
ทางราชการ หรือบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของสถาบัน หน่วยงานหรือ
ตระกูล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเชิงประวัติ
เหตุการณ์ของชาติ หรือของสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ หรือของ
ตระกูล
 2. วรรณกรรม ร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วย
ฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคา และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ
บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คาประพันธ์ เช่น โคลง
ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น
 2.1. วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ วรรณกรรมร้อยกรองที่มีโครง
เรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้าง
ขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น
 2.2. วรรณกรรมประเภทพรรณนา หรือ ราพึงราพัน ( Descriptive or
Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใด
อย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาว เป็นต้น (ประทีป
เหมือนนิล . 2519 : 22-23.)
 2.3. วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสาหรับ
การอ่านและใช้เป็นบทสาหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละคร
ร้อง บทละครรา เป็นต้น
2 ประเภทของวรรณกรรม แบ่งตาม ลักษณะเนื้อเรื่อง
 1. วรรณกรรมบริสุทธิ์ (Pure Literature) หมายถึง วรรณกรรมที่แต่งขึ้นจาก
อารมณ์สะเทือนใจต่าง ๆ ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้วรรณกรรมนั้น ทรงคุณค่า
ในทางใดเป็นพิเศษ แต่วรรณกรรมนั้นอาจจะล้าค่า ในสายตาของนักอ่านรุ่น
หลังๆ ก็เป็นได้ แต่มิได้เป็นเจตจานงแท้จริงของผู้แต่ง ผู้แต่งเพียงแต่จะแต่งขึ้น
ตามความปรารถนาในอารมณ์ของตนเองเป็นสาคัญ
 2. วรรณกรรมประยุกต์ (Applied Literature) หมายถึงวรรณกรรมที่แต่งขึ้น
โดยมีเจตจานงที่สนองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเกิดความบันดาลใจที่จะสืบทอด
เรื่องราวความชื่นชมในวีรกรรมของผู้ใดผู้หนึ่งนั่นหมายถึงว่า มีเจตนาจะเขียน
เรื่องราวขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง หรือมีจุดมุ่งหมายในการเขียนชัดเจน มิใช่
เพื่อสนองอารมณ์อย่างเดียว เช่น วรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมการ
ละคร และอาจหมายรวมถึงพงศาวดารต่าง ๆ ด้วย
3. ประเภทของวรรณกรรม แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด
 1. วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการบอก การเล่า
และการขับร้อง ไม่ว่าจะเป็นในโอกาสหรือในวาระใด เช่น ในการนอน การเต้น
การรา หรือพิธีกรรมต่าง ๆ
วรรณกรรมมุขปาฐะมีปรากฏมานาน จึงมีอยู่ทุกภูมิภาคของโลก การที่เป็น
เช่นนี้ก็เพราะวรรณกรรมประเภทนี้เป็นผลสืบเนื่องจากภาษาของมนุษย์ เมื่อ
มนุษย์มีภาษาพูดก็ย่อมมีโอกาสถ่ายทอดจิตนาการและอารมณ์ได้มากขึ้น
ประกอบกับภาษาพูดสามารถทาความเข้าใจได้ง่ายและเร็วกว่าภาษาเขียน ดังนั้น
วรรณกรรมมุขปาฐะจึงมีมาก และมีมานานกว่าวรรณกรรมประเภทอื่น
 2. วรรณกรรมลายลักษณ์ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการเขียน การจาร
และการจารึก ไม่ว่าจะเป็นการกระทาลงบนวัสดุใด ๆ เช่น กระดาษ เยื่อไม้ ใบไม้
แผ่นดินเผา หรือ ศิลา
ประเภทของกวี
 จินตกวี หมายถึง กวีที่แต่งโดยความคิดของตนได้แก่ วรรณคดีประเภทที่เกิด
จากจินตนาการของผู้แต่งหรือกวีเอง เช่น เรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เรื่อง
มัทนะพาธา ของรัชกาลที่ 6 เรื่องเห็นแก่ลูกของ "พระขรรค์เพชร" เป็นต้น
 สุตกวี หมายถึง กวีที่แต่งโดยได้ฟังมา ได้แก่ เรื่องที่แต่งตามที่เล่าสืบกันมา อาทิ
เสือโคคาฉันท์ และ สมุทรโฆษคาฉันท์ เป็นต้น
 อรรถกวี คือ กวีที่แต่งตามความจริง ได้แก่ เรื่องที่แต่งตามเหตุการณ์หรือหลัก
ความเป็นจริง เช่น เรื่อง ลิลิตยวนพ่ายและลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น
 ปฏิภาณกวี คือ กวีที่แต่งบทกวีได้สดๆ ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมมาก่อนได้แก่
เรื่องที่แต่งด้วยไหวพริบที่คิดขึ้นเองโดยทันทีทันใด เช่น โคลงที่ศรีปราชญ์พูด
กับนายประตู เป็นต้น
วรรณคดี
วรรณคดี

More Related Content

What's hot

กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗Milky' __
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานีkhorntee
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาขนิษฐา ทวีศรี
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
Santichon Islamic School
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยพัน พัน
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
Santichon Islamic School
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองkanchana13
 
เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์Pannaray Kaewmarueang
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ssuser456899
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดThiranan Suphiphongsakorn
 
โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ
Chulalongkorn University
 
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
Surapong Klamboot
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนkrubuatoom
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
Chainarong Maharak
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
chatsawat265
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
Pracha Wongsrida
 

What's hot (20)

กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗กัณฑ์มัทรี2๕๗
กัณฑ์มัทรี2๕๗
 
กาพย์ยานี
กาพย์ยานีกาพย์ยานี
กาพย์ยานี
 
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษาหน่วยที่ 2  โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
หน่วยที่ 2 โครงสร้างและการเรียบเรียงประโยคและการใช้สำนวนภาษา
 
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมารงานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
งานนำเสนอ มหาเวสสันดรชาดก กันฑ์กุมาร
 
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาไทย
 
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีการวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
การวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดี
 
คำสันธาน
คำสันธานคำสันธาน
คำสันธาน
 
สรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทองสรุปนิราศภูเขาทอง
สรุปนิราศภูเขาทอง
 
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยาพัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
พัฒนาการอาณาจักรอยุธยา
 
เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์เอเชียไมเนอร์
เอเชียไมเนอร์
 
ใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทยใบงานเสียงในภาษาไทย
ใบงานเสียงในภาษาไทย
 
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
ลิลิตตะเลงพ่าย (สอน Ppt)[1]
 
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัดวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
วรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน พร้อมแบบฝึกหัด
 
โคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติโคลงโลกนิติ
โคลงโลกนิติ
 
นิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลงนิราศนรินทร์คำโคลง
นิราศนรินทร์คำโคลง
 
โวหารในการเขียน
โวหารในการเขียนโวหารในการเขียน
โวหารในการเขียน
 
พุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายานพุทธศาสนานิกายมหายาน
พุทธศาสนานิกายมหายาน
 
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัยประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประวัติศาสตร์สุโขทัย
 
Key of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56xKey of sheet 8 56x
Key of sheet 8 56x
 
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
ใบงาน เครื่องมือภูมิศาสตร์
 

Similar to วรรณคดี

วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมmayavee16
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมOrapan Chamnan
 
โบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสานโบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสาน
Benjawan Hengkrathok
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมDos Zaa
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัยsangworn
 
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทยภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
CUPress
 
อิเหนาและโวหาร
อิเหนาและโวหารอิเหนาและโวหาร
อิเหนาและโวหาร
ณรงค์ศักดิ์ กาหลง
 
ศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ยศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ย
กมลวรรณ เกตุดำ
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางNattha Namm
 
Khone
KhoneKhone
Khone
Chanikan
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนSRINAKARIN MOTHER PRINCESS SCHOOL
 
Conceptของสุโขทัย
ConceptของสุโขทัยConceptของสุโขทัย
Conceptของสุโขทัยsangworn
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
Ruangrat Watthanasaowalak
 
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
kruthai40
 

Similar to วรรณคดี (20)

วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
Ppt1
Ppt1Ppt1
Ppt1
 
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคมวรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
วรรณคดีไทยกับบริบททางสังคม
 
โบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสานโบราณคดีอีสาน
โบราณคดีอีสาน
 
ประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรมประเพณีและวัฒนธรรม
ประเพณีและวัฒนธรรม
 
สุโขทัย
สุโขทัยสุโขทัย
สุโขทัย
 
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทยภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
ภาพตัวแทนของสมเด็จพระมหาธรรมราชาในวรรณกรรมไทย
 
อิเหนาและโวหาร
อิเหนาและโวหารอิเหนาและโวหาร
อิเหนาและโวหาร
 
ศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ยศ ลปะอ นเด_ย
ศ ลปะอ นเด_ย
 
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลางวรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
วรรณคดีสมัยอยุธยาตอนกลาง
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
Khone
KhoneKhone
Khone
 
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีนงานนำเสนอ อารยธรรมจีน
งานนำเสนอ อารยธรรมจีน
 
Conceptของสุโขทัย
ConceptของสุโขทัยConceptของสุโขทัย
Conceptของสุโขทัย
 
ประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดีประวัติของวรรณคดี
ประวัติของวรรณคดี
 
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
 
สุนทรภู่
สุนทรภู่สุนทรภู่
สุนทรภู่
 

More from kingkarn somchit

คำคน คำคม
คำคน คำคมคำคน คำคม
คำคน คำคม
kingkarn somchit
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
kingkarn somchit
 
การสื่อสารเพื่อกิจธุระ
การสื่อสารเพื่อกิจธุระการสื่อสารเพื่อกิจธุระ
การสื่อสารเพื่อกิจธุระ
kingkarn somchit
 
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
kingkarn somchit
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
kingkarn somchit
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
kingkarn somchit
 
คำ
คำคำ
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
kingkarn somchit
 
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
kingkarn somchit
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
kingkarn somchit
 

More from kingkarn somchit (10)

คำคน คำคม
คำคน คำคมคำคน คำคม
คำคน คำคม
 
วรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดีวรรคทองในวรรณคดี
วรรคทองในวรรณคดี
 
การสื่อสารเพื่อกิจธุระ
การสื่อสารเพื่อกิจธุระการสื่อสารเพื่อกิจธุระ
การสื่อสารเพื่อกิจธุระ
 
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
การเขียนที่บรรลุวัตถุประสงค์
 
สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์สามัคคีเภทคำฉันท์
สามัคคีเภทคำฉันท์
 
การโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจการโน้มน้าวใจ
การโน้มน้าวใจ
 
คำ
คำคำ
คำ
 
เสียงในภาษา
เสียงในภาษาเสียงในภาษา
เสียงในภาษา
 
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษาข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
ข้อบกพร่องของการใช้ภาษา
 
ธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษาธรรมชาติของภาษา
ธรรมชาติของภาษา
 

วรรณคดี

  • 2.
  • 4. รัชกาลที่๒ พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครใน และละครนอก มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรง นามาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนา นี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก ได้ทรงพระราชนิพนธ์ ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของ พระองค์ วรรณคดีสโมสรในรัชกาลที่ 6 ได้ยกย่อง ให้เป็นยอดบทละครราที่แต่งดี ยอดเยี่ยมทั้ง เนื้อความ ทานองกลอนและกระบวนการเล่นทั้ง ร้องและรา นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกร ทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย สังข์ ศิลป์ ชัย
  • 5. รัชกาลที่ ๖ • พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว หรือ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหา วชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาล ที่ 6 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวัน เสาร์ เดือนยี่ ขึ้น 2 ค่า ปีมะโรง ตรงกับวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2423 เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 29 ในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว • นามปากกา ประมาณ 37 นาม เช่น ศรีอยุธยา พระขรรค์เพชร อัศวพาหุ นายแก้วนายขวัญ พันแหลม รามกิตติ สุครีพ พาลี น้อยลา • ได้รับพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า”
  • 6. น.ม.ส. • พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรม หมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือนามปากกว่า น.ม.ส. (10 มกราคม พ.ศ. 2419 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488) ทรง เป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดา แห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล "รัชนี" สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2488 ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริ พระชนมายุ 68 ปี 6 เดือน 13 วัน • ผลงานที่มีชื่อเสียง ได้แก่ สามกรุง กนกนคร ประมวล นิทาน น.ม.ส.
  • 7. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี • ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ ดอกเตอร์ พลเอกหญิง พลเรือเอก หญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาเจ้าฟ้า มหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี (2 เมษายน พ.ศ. 2498) • พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระ เยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและ ต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราช นิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม • นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรงใช้ นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่ "ก้อนหินก้อนกรวด“"แว่นแก้ว“"หนูน้อย“และ "บันดาล"
  • 8. พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) • พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) (5 กรกฎาคม พ.ศ. 2365-16 ตุลาคม พ.ศ. 2434) เป็นชาวฉะเชิงเทรา ท่านได้รับ สมญาว่าเป็นศาลฎีกาภาษาไทย เป็นผู้แต่งตาราเรียนชุดแรกของ ไทย เรียกว่า "แบบเรียนหลวง" ใช้สอนในโรงเรียนพระตาหนัก สวนกุหลาบ และหนังสือกวีนิพนธ์ที่มีคุณค่าอีกหลายเรื่อง งาน ชิ้นสาคัญชิ้นหนึ่ง คือท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่กองตรวจโคลง บรรยายประกอบรูปภาพเรื่อง "รามเกียรติ์" รอบระเบียงพระ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 100 ปี และตัวท่านเองก็ได้รับหน้าที่เป็นผู้แต่งด้วยท่าน หนึ่ง • ท่านได้คิดแบบสอนอ่านหนังสือไทย รวม 6 เล่ม ได้แก่ มูลบท บรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน พิศาล การันต์ ไวพจน์พิจารณ์ (ไวพจน์พิจารณ์แต่งในปี พ.ศ. 2425)
  • 9. นายนรินทรธิเบศร์  นายนรินทรธิเบศร์ เดิมชื่อ อิน ได้รับราชการเป็น มหาดเล็ก ฝ่ ายพระราชวัง บวร (วังหน้า) ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้รับพระราชทานยศเป็นหุ้มแพร มี บรรดาศักดิ์ที่ นายนรินทรธิเบศร์ จึงมักเรียกกันว่า นายนรินทรธิเบศร์ (อิน) คือใส่ชื่อเดิมเข้าไปด้วย  นายนรินทรธิเบศร์เป็นผู้แต่งนิราศคาโคลง ที่เรียกกันว่านิราศนรินทร์ตาม ชื่อผู้แต่ง ทว่าประวัติของนายนรินทรธิเบศร์ไม่ปรากฏรายละเอียดมากนัก ทราบแต่ว่ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ 2 เท่านั้น
  • 11.  1. สมัยกรุงสุโขทัย ประมาณ พ.ศ. 1800 -1920 เป็นเวลา 120 ปี ตั้งแต่การสร้าง กรุงสุโขทัยจนถึงเสียอิสรภาพแก่กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 1920 มีหลักฐานทาง วรรณคดีปรากฏอยู่เพียง 2 รัชสมัย คือ สมัยพ่อขุนรามคาแหงมหาราช และ สมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)
  • 12.  2. สมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ  2.1 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระ เจ้าอู่ทอง) จนถึงสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐา) พ.ศ. 1893 – 2072 เป็นระยะเวลา 179 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไป 90 ปี เพราะบ้านเมืองไม่ปกติ สุข มีสงครามกับพม่า  2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2153 – 2231 เป็นเวลา 78 ปี จากนั้นวรรณคดีว่างเว้นไปอีก 44ปี  2.3 สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ จนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2275 – 2310 เป็นเวลา 35 ปี
  • 13. 3. สมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2310 – 2325 เป็นเวลา 15 ปี  4. สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ  4.1 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2325 – 2394 เป็นระยะเวลา 69 ปี  4.2 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ปัจจุบัน หรือสมัยรับอิทธิพลตะวันตก ตั้งแต่ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2394 ถึงปัจจุบัน เป็นสมัย ที่วรรณคดีไทยได้รับอิทธิพลจากตะวันตก รูปแบบของวรรณคดี เนื้อเรื่อง ตลอดจนความคิดในการเขียนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง
  • 15.
  • 17. ๑. เตมียชาดก (เนกขัมมะ) ๒. มหาชนกชาดก (วิริยะ) 
  • 18. ๓. สุวรรณสามชาดก (เมตตา) ๔ . เนมิราชชาดก (อธิษฐาน) 
  • 19. ๕ . มโหสถชาดก (ปัญญา) ๖ . ภูริทัต (ศีล)
  • 20. ๗ . จันทกุมารชาดก (ขันติ) ๘ . นารทชาดก (อุเบกขา)
  • 21. ๙ . วิฑูรชาดก (สัจจะ) ๑๐ . เวสสันดรชาดก (ทาน)
  • 23. พระพรหม และ นางสุรัสวดี (เทพีแห่งปัญญาความรู้)
  • 24. พระพรหมได้รับการนับถือบูชาในฐานะที่พระองค์เป็นผู้สร้างของทุก สิ่งทุกอย่างให้เกิดขึ้นบนโลก พระองค์ทรงเป็นผู้ให้ที่สาคัญ และเป็นผู้ กาหนดโชคชะตาของมนุษย์ พระพรหมมี ๔ พักตร์ พระเกศามุ่นขมวด มี ๔ กร ถือ หนังสือ แจกัน หม้อ และช้อน มเหสีของพระพรหม:พระสุรัสวดี สาวิตรี คายตรี (คือองค์เดียวกัน หมด) วันประจาพระองค์คือ วันพฤหัสบดี พาหนะบริวารคือ สุวรรณหงส์ เครื่องบวงสรวง: อาหารมังสวิรัติ นมสด มะพร้าวอ่อน ผลไม้มงคล ต่างๆ พวงมาลัย ดอกมะลิ-ดอกกุหลาบ
  • 25. พระนารายณ์ และ นางลักษมี (เทพีแห่งความร่ารวย อุดมสมบูรณ์)
  • 26.  (ภาษาอังกฤษ : Vishnu , อักษรเทวนาครี : विष्णु) หรือเรียกอีกอย่างว่า พระ นารายณ์ เป็น1 ใน 3 มหาเทพ มีหน้าที่คุ้มครองแลดูแลรักษาทั้ง 3 โลกตามความเชื่อของชาว ฮินดู จากคัมภีร์พราหมณ์ รูปร่างลักษณะมีพระวรกายจะมีสีที่เปลี่ยนไปตามยุค ฉลองพระองค์ดั่งกษัตริย์ มี มงกุฎทอง อาภรณ์สีเหลือง มี 4 กร ถือ สังข์ จักร ตรี คทา แต่ที่จะพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือถือ จักร์ สังข์ คทา ส่วน อีกกรจะถือ ดอกบัวบ้าง หรือ ไม่ถืออะไรเลยบ้าง(โดยจะอยู่ในลักษณะ"ประทานพร โดยปรกติ พระวิษณุ จะทรงประทับอยู่ที่เกษียรสมุทร โดยส่วนมากจะทรงบรรทมอยู่ บนหลังอนันตนาคราช โดยมีพระชายาคือ พระลักษมีมหาเทวี คอยฝ้าดูแลปรนนิบัติ อยู่ข้างๆเสมอ พาหนะของพระวิษณุคือ พญาครุฑ
  • 27. พระอิศวร และ นางอุมา (เทพธิดาแห่งพลังอานาจ วาสนา)
  • 28.  พระอิศวร หรือ พระศิวะ (ภาษาฮินดี: विि) มีพาหนะ คือ โคเผือก ชื่อว่า อุศุภราช พระอิศวรเป็นมหาเทพแห่งการทาลาย มีกายสีขาว แต่พระศอเป็นสี ดาเพราะเมื่อตอนที่พระนารายณ์และเหล่าเทวดา อสูร ทาพิธีกวนสมุทรโดยใช้ พญานาคเป็นตัวฉุดเขาพระสุเมรุนั้น ใช้เวลากวนนานมาก พญานาคจึงคลาย พิษออกมาปกคลุมไปทั่วโลก พระศิวะ จึงว่าเกรงจะเป็นภัยต่อมนุษย์และ สิ่งมีชีวิตในโลกจึงได้สูบเอาพิษเหล่านั้นไว้จึงทาให้ คอของพระศิวะเป็นสีดา นั้นเอง มีพระเนตรถึง ๓ ดวง ดวงที่ ๓ อยู่กลางพระนลาฎ ซึ่งตามปกติจะหลับ อยู่ เนื่องจากพระเนตรดวงที่ ๓ นี้ มีอานุภาพร้ายแรงมาก หากลืมขึ้นเมื่อใดจะ เผาผลาญทุกอย่างให้มอดไหม้ ประทับอยู่ ณเขาไกรลาส มีมเหสีคือ พระแม่อุมา รูปลักษณ์ของพระอิศวร โดยมากจะปรากฏให้เห็นเป็นชายผมยาว มีพระจันทร์ เป็นปิ่นปักผม มีลูกประคาหรือกะโหลกมนุษย์เป็นสังวาล มีงูเห่าพันรอบพระ ศอ นุ่งห่มหนังเสืออันเป็นเครื่องนุ่งห่มของฤๅษี การบูชาพระอิศวรจะกระทาได้ โดยการบูชาต่อศิวลึงค์อันเป็นสัญลักษณ์แทนตัวพระองค์นั่นเอง
  • 29. วรรณคดี และ วรรณกรรม  คาว่า “วรรณคดี” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 แค่เริ่มใช้เป็น ทางการในสมัยรัชกาลที่ 6 หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นในสมัยใดก็ได้ที่แต่ง เป็นร้อยกรองหรือร้อยแก้วก็ได้ ยกเว้นตาราแบบเรียน ความเรียง เรื่อง ประวัติศาสตร์และโบราณคดี วรรณคดีเป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระที่เป็น ประโยชน์ และใช้ภาษาได้ดี  ส่วนคาว่า “วรรณกรรม” ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 7 ใน พระราชบัญญัติคุ้มครองศิลปะและวรรณกรรม พ.ศ.2475 หมายถึง สิ่งที่ เขียนขึ้นจะใช้รูปแบบใดก็ได้หรือเพื่อความมุ้งหมายอย่างใดก็ได้ เช่น นว นิยาย เรื่องสั้น สารคดี บทความ ตารา ข่าว ประกาศแจ้งความ และฉลากยา เป็นต้น
  • 30. ความหมายของวรรณคดี ต่อมาเกิดมีผู้ตั้งข้อสงสัยว่างานเขียนซึ่งแต่งขึ้นใหม่ เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น จะนับเป็นวรรณคดีหรือไม่ จึงมีการแยกคา “วรรณคดี” ออกจาก “วรรณกรรม” วรรณคดี จึงใช้ในความหมายว่า วรรณกรรมหรือหนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคาภาษาและเด่นในการ ประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้ เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้
  • 31. ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย 1.นิยมด้วยคาประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว 2.เน้นความประณีตของคาและสานวนโวหาร 3.เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จากการราพัน ความรู้สึก 4.มีขนบการแต่ง กล่าวคือ มีวิธีแต่งที่นิยมปฏิบัติแนวเดียวกันมา แต่โบราณ ได้แก่ ขึ้นต้นเรื่องด้วยการกล่าวคาไหว้ครู คือ ไหว้ เทวดา ไหว้พระรัตนตรัย ไหว้ครูบาอาจารย์ สรรเสริญพระเกียรติ คุณของพระหมากษัตริย์ หรือกล่าวชมบ้านเมือง
  • 32. 5. วรรณคดีไทยมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชนชั้นสูงมากกว่าคนสามัญ 6. แนวคิดสาคัญที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเป็นแนวคิดแบบ พุทธปรัชญาง่ายๆ 7. เนื้อเรื่องที่รับมาจากวรรณกรรมต่างชาติจะได้รับการดัดแปลง ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย 8. ในวรรณคดีไทยมีลักษณะเป็นวรรณคดีสาหรับอ่าน 9. ในวรรณคดีไทยมักมีบทอัศจรรย์แทรกอยู่ด้วย 10. วรรณคดีไทยมักแทรกความเชื่อและค่านิยมของไทยไว้ด้วย เสมอ
  • 33. ความเชื่อในวรรณคดีไทย ความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนา  บาป บุญ ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว กรรม เวร การเวียนว่ายตาย เกิด(สังสารวัฏ) ความเชื่อในไสยศาสตร์  ความฝัน ผี เครื่องรางของขลัง
  • 34. ค่านิยม  ค่านิยม(values) หมายถึง ความรู้สึก ความคิดหรือความเชื่อของมนุษย์ว่าสิ่งใดมี ความหมาย หรือมีความสาคัญต่อตน หรือกลุ่มของตน ค่านิยมจึงเป็นตัวกาหนดพฤติ กรราของบุคคลในการเลือกกระทาสิ่งหนึ่ง เว้นกระทาอีกสิ่งหนึ่ง ค่านิยมอาจถ่ายทอด ให้กันได้ เมื่อได้รักการปลูกฝัง หรือได้เห็นแบบอย่าง และอาจถ่ายทอดในระหว่างคน รุ่นเดียวกัน หรือจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่งก็ได้ค่านิยมยังคลุมไปถึงความเชื่อถือ อาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว สังคม การเมือง การศึกษา เศรษฐกิจ ค่านิยม ทางด้านวัฒนธรรม เช่น  1.ค่านิยมเกี่ยวกับความงาม (เบญจลักษณ์ คือมี ฟันงาม ผมงาม ผิวงาม วัยงาม และเนื้องาม)  2.ค่านิยมเกี่ยวกับการรักนวลสงวนตัวของผู้หญิง(ในอดีต)  3. ยึดมั่นในจารีตประเพณี
  • 35. แนวคิด แนวคิด หมายถึง ความคิดสาคัญซึ่งเป็นแนวในการผูกเรื่องหรือ ความคิดอื่น ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในเรื่องก็ได้ เช่น แนวคิดเกี่ยวกับ เรื่องบุญกรรม แนวคิดเกี่ยวกับความรัก ความยุติธรรม ความตาย แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ หรือแนวคิดที่เป็นความรู้ในด้านต่าง ๆ แนวคิดเรื่อง ความดี ความชั่ว มักปรากฏอยู่ในวรรณกรรมต่าง ๆ อาทิ ในคาฉันท์เรื่อง กฤษณาสอนน้อง ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในกลอนสุภาพเรื่อง “มนุษย์เรามีดีที่ ตรงไหน” ของพระยาอุปกิตศิลปสาร
  • 36. ลักษณะคาประพันธ์ ๑. คาหลวง เป็นเรื่องที่พระมหากษัตริย์หรือเจ้านายชั้นสูงในพระราชวงศ์ทรง แต่ง หรือทรงเกี่ยวข้องในการแต่ง ไม่จากัดรูปแบบคาประพันธ์ แต่ต้องเป็นเรื่องที่ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยา เท่าที่ปรากฎชื่อในวงวรรณคดีมีอยู่ ๔ เรื่อง คือ มหาชาติคาหลวง นันโทปนันทสูตรคา-หลวงพระมาลัยคาหลวง และ พระนลคาหลวง  ๒. คาฉันท์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นฉันท์ชนิดต่างๆ มักมีกาพย์บางชนิดปนอยู่ ด้วย เช่น สมุทรโฆษคาฉันท์ อนิรุทธคาฉันท์ ปุณโณวาทคาฉันท์ อิลราชคาฉันท์ สามัคคีเภทคาฉันท์ เป็นต้น  ๓. คากลอน เป็นวรรณคดีที่แต่งเป็นคากลอนชนิดต่างๆได้แก่ กลอนสุภาพ กลอนเสภา กลอนบทละคร กลอนหก เช่น พระอภัยมณี เสภาเรื่องขุนช้าง ขุนแผน บทละครเรื่องอิเหนา กนกนคร กลอนเพลงยาวต่างๆ เป็นต้น
  • 37.  ๔. คาโคลง ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็น โคลงดั้นหรือโคลงสี่สุภาพ เช่น โคลง กาสรวล (เดิมชื่อว่า กาสรวลศรีปราชญ์) โคลงนิราศนรินทร์ เป็นต้น  ๕. คากาพย์ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง กาพย์สุรางคนางค์ เช่น กาพย์เรื่องพระสุบิน ก กา กาพย์เรื่องพระไชยสุริยา เป็นต้น  ๖. ร่ายยาว ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งเป็นร่ายยาวเช่น กาพย์มหาชาติ ร่ายยาวมหา เวสสันดร-ชาดก เป็นต้น  ๗. กาพย์ห่อโคลง กาพย์เห่เรือ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยโคลงและกาพย์ เช่น กาพย์ห่อ-โคลงประพาสธารทองแดง กาพย์เห่เรือเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร เป็นต้น
  • 38.  ๘. ลิลิต ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งโดยใช้โคลงและร่ายปนกัน รับสัมผัสท้ายคา แบบลิลิต เช่น ลิลิตพระลอ ลิลิตตะเลงพ่าย ลิลิตนิทราชาคริต เป็นต้น  ๙. เบ็ดเตล็ด ได้แก่ วรรณคดีที่เขียนเป็นบทสั้นๆ โดยมากเป็นบทขับร้อง เช่น บทดอกสร้อยสักวาและเพลงขับร้องต่างๆเช่น เพลงพื้นบ้าน เพลงไทย เดิม เพลงสากล เป็นต้น  ๑๐. กวีวัจนะ ได้แก่ วรรณคดีที่แต่งด้วยคาประพันธ์หลายชนิดรวมกัน คือ มีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย โดยเลือกตามลีลาของความ เช่น สาม กรุง พระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เป็นต้น
  • 39. ประเภทของวรรณกรรม 1.) แบ่งตามลักษณะการประพันธ์ มี 2 ประเภท คือ  1. วรรณกรรมร้อยแก้ว คือ วรรณกรรมที่ไม่กาหนดบังคับคาหรือฉันทลักษณ์ เป็น ความเรียงทั่ว ไป การเขียนในลักษณะนี้ยังแบ่งย่อยออกเป็น  1.1 บันเทิงคดี (Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านเป็นประการ สาคัญ และให้ข้อคิด คตินิยม หรือ สอนใจ แก่ผู้อ่านเป็นวัตถุประสงค์รอง ดังที่ ม.ล. บุญ เหลือ เทพยสุวรรณ (2518 : 9) กล่าวว่า บันเทิงคดี เป็นวรรณกรรมที่ผู้ประพันธ์มี จุดประสงค์ที่ให้ความเพลิดเพลิน แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าบันเทิงคดีเป็นวรรณกรรม ที่ไร้สาระ บันเทิงคดีอาจมีสาระในด้านปรัชญา ด้านความเข้าใจการเมือง หรือ ประวัติศาสตร์ดีกว่าหนังสือสารคดีบางเรื่องก็ได้ วรรณกรรม ประเภทนี้ผู้ประพันธ์มุ่ง หมายให้ความบันเทิง ต้องกระทบอารมณ์ผู้อ่าน มิใช่สาหรับให้ผู้อ่านได้ความรู้หรือ ความคิดเห็น บันเทิงคดีสามารถจาแนกย่อยได้ดังนี้
  • 40.  1.1.1 นวนิยาย (Novel) คือ การเขียนผูกเรื่องราวของชีวิตอันมีพฤติกรรม ร่วมกัน มีความสัมพันธ์กัน ในลักษณะจาลองสภาพชีวิตของสังคมส่วนหนึ่ง ส่วนใด โดยมีความมุ่งหมายให้ความบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน คือให้ผู้อ่านเกิดสะเทือน อารมณ์ไปกับเนื้อเรื่องอย่างมีศิลปะ  1.1.2 เรื่องสั้น (Short Story) คือ การเขียนเรื่องจาลองสภาพชีวิตในช่วง สั้น คือมุมหนึ่งของชีวิต หรือเหตุการณ์หนึ่ง หรือช่วงระยะหนึ่งของ ชีวิต เพื่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจผู้อ่าน หรือ นิยามอีกอย่างหนึ่ง ว่า เรื่องสั้น คือ วิกฤตการณ์ชุดหนึ่ง มีความสัมพันธ์สืบเนื่องกัน และ นาไปสู่จุดยอดหนึ่ง (Climax) ( ธวัช บุณโณทก 2537 : 12)  1.1.3 บทละคร (Drama) คือการเขียนที่ใช้ประกอบการแสดงเพื่อให้เกิดความ บันเทิง เช่น บทละครวิทยุ บทละครพูด และบทละครโทรทัศน์ เป็นต้น
  • 41.  1.2 สารคดี (Non-Fiction) คือ วรรณกรรมที่มุ่งให้ความรู้ หรือ ความคิด เป็น คุณประโยชน์สาคัญ อาจจะเขียนเชิงอธิบายเชิงวิจารณ์ เชิงพรรณนาสั่งสอน โดยอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างมีระบบมีศิลปะในการถ่ายทอดความรู้ เพื่อมุ่ง ตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นให้แก่ผู้อ่าน และก่อให้เกิดคุณค่าทางปัญญาแก่ ผู้อ่าน ซึ่ง ธวัช ปุณโณทก ( 2527 : 11 ) ได้แบ่งย่อยดังนี้  1.2.1 ความเรียง (Essay) คือ การถ่ายทอดความรู้ อาจจะได้มาจากการประสบ หรือตาราวิชาการ มาเป็นถ้อยความตามลาดับขั้นตอนเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจตาม ความรู้ ความคิดที่ผู้เขียนเสนอมา บางครั้งมีผู้เรียกว่า "สารคดีวิชาการ"  1.2.2 บทความ ( Article) คือความคิดเห็นของผู้เขียนต่อเรื่องราวที่ ประสบมาหรือต่อข้อเขียนของผู้อื่น หรือต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่าง ใด ในการเขียนบทความผู้เขียนมุ่งที่จะบอกถึงความเห็น ความรู้สึกนึก คิดมากกว่าที่จะถ่ายถอดความรู้เหมือนความเรียง
  • 42.  12.3. สารคดีท่องเที่ยว ( Travelogue) คือ การบันทึกการท่องเที่ยวและเรื่องราว ต่าง ๆ ที่ประสบพบเห็นขณะที่ท่องเที่ยวไป โดยมุ่งที่จะให้ความรู้แก่ผู้อ่านและให้ ความเพลิดเพลินด้วย  1.2.4. สารคดีชีวประวัติ (Biography) คือ การบันทึกพฤติกรรมต่าง ๆ ของ บุคลิกภาพหนึ่งมุ่งที่จะให้เห็นสภาพชีวิตประสบการณ์ของบุคลิกภาพนั้นทุกแง่ ทุกมุม แต่ไม่ใช่ประวัติศาสตร์ และนิยาย  1.2.5. อนุทิน (Diary) คือการบันทึกประจาวันที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง จะ เป็นการบันทึกความรู้สึกนึกคิดของตนเองในประจาวัน หรืออาจจะ บันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจาวัน หรือบันทึกเหตุการณ์ใน ชีวิตประจาวัน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตือนความจา
  • 43.  1.2.6. จดหมายเหตุ ( Archive) คือ การบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของ ทางราชการ หรือบันทึกเหตุการณ์สาคัญ ๆ ของสถาบัน หน่วยงานหรือ ตระกูล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานเชิงประวัติ เหตุการณ์ของชาติ หรือของสถาบัน หรือหน่วยงานราชการ หรือของ ตระกูล
  • 44.  2. วรรณกรรม ร้อยกรอง คือ วรรณกรรมที่การเขียนมีการบังคับรูปแบบด้วย ฉันทลักษณ์ต่างๆ เช่น บังคับคณะ บังคับคา และแบบแผนการส่งสัมผัสต่าง ๆ บางครั้งเรียกงานเขียนประเภทนี้ว่า กวีนิพนธ์ หรือ คาประพันธ์ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต เป็นต้น  2.1. วรรณกรรมประเภทบรรยาย (Narrative) คือ วรรณกรรมร้อยกรองที่มีโครง เรื่อง ตัวละคร และเหตุการณ์ต่าง ๆ ผูกเป็นเรื่องราวต่อเนื่องกันไป เช่น ขุนช้าง ขุนแผน พระอภัยมณี อิเหนา เป็นต้น  2.2. วรรณกรรมประเภทพรรณนา หรือ ราพึงราพัน ( Descriptive or Lyrical) มักเป็นบทร้อยกรองที่ผู้แต่งมุ่งแสดงอารมณ์ส่วนตัวอย่างใด อย่างหนึ่ง ไม่มีโครงเรื่อง เช่น นิราศ และเพลงยาว เป็นต้น (ประทีป เหมือนนิล . 2519 : 22-23.)  2.3. วรรณกรรมประเภทบทละคร (Dramatic) เป็นบทร้อยกรองสาหรับ การอ่านและใช้เป็นบทสาหรับการแสดงด้วย เช่น บทพากย์โขน บทละคร ร้อง บทละครรา เป็นต้น
  • 45. 2 ประเภทของวรรณกรรม แบ่งตาม ลักษณะเนื้อเรื่อง  1. วรรณกรรมบริสุทธิ์ (Pure Literature) หมายถึง วรรณกรรมที่แต่งขึ้นจาก อารมณ์สะเทือนใจต่าง ๆ ไม่มีจุดมุ่งหมายที่จะให้วรรณกรรมนั้น ทรงคุณค่า ในทางใดเป็นพิเศษ แต่วรรณกรรมนั้นอาจจะล้าค่า ในสายตาของนักอ่านรุ่น หลังๆ ก็เป็นได้ แต่มิได้เป็นเจตจานงแท้จริงของผู้แต่ง ผู้แต่งเพียงแต่จะแต่งขึ้น ตามความปรารถนาในอารมณ์ของตนเองเป็นสาคัญ  2. วรรณกรรมประยุกต์ (Applied Literature) หมายถึงวรรณกรรมที่แต่งขึ้น โดยมีเจตจานงที่สนองสิ่งใดสิ่งหนึ่งอาจเกิดความบันดาลใจที่จะสืบทอด เรื่องราวความชื่นชมในวีรกรรมของผู้ใดผู้หนึ่งนั่นหมายถึงว่า มีเจตนาจะเขียน เรื่องราวขึ้นเพื่อประโยชน์อย่างหนึ่ง หรือมีจุดมุ่งหมายในการเขียนชัดเจน มิใช่ เพื่อสนองอารมณ์อย่างเดียว เช่น วรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมการ ละคร และอาจหมายรวมถึงพงศาวดารต่าง ๆ ด้วย
  • 46. 3. ประเภทของวรรณกรรม แบ่งตามลักษณะการถ่ายทอด  1. วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการบอก การเล่า และการขับร้อง ไม่ว่าจะเป็นในโอกาสหรือในวาระใด เช่น ในการนอน การเต้น การรา หรือพิธีกรรมต่าง ๆ วรรณกรรมมุขปาฐะมีปรากฏมานาน จึงมีอยู่ทุกภูมิภาคของโลก การที่เป็น เช่นนี้ก็เพราะวรรณกรรมประเภทนี้เป็นผลสืบเนื่องจากภาษาของมนุษย์ เมื่อ มนุษย์มีภาษาพูดก็ย่อมมีโอกาสถ่ายทอดจิตนาการและอารมณ์ได้มากขึ้น ประกอบกับภาษาพูดสามารถทาความเข้าใจได้ง่ายและเร็วกว่าภาษาเขียน ดังนั้น วรรณกรรมมุขปาฐะจึงมีมาก และมีมานานกว่าวรรณกรรมประเภทอื่น  2. วรรณกรรมลายลักษณ์ หมายถึง วรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยการเขียน การจาร และการจารึก ไม่ว่าจะเป็นการกระทาลงบนวัสดุใด ๆ เช่น กระดาษ เยื่อไม้ ใบไม้ แผ่นดินเผา หรือ ศิลา
  • 47. ประเภทของกวี  จินตกวี หมายถึง กวีที่แต่งโดยความคิดของตนได้แก่ วรรณคดีประเภทที่เกิด จากจินตนาการของผู้แต่งหรือกวีเอง เช่น เรื่องพระอภัยมณี ของสุนทรภู่ เรื่อง มัทนะพาธา ของรัชกาลที่ 6 เรื่องเห็นแก่ลูกของ "พระขรรค์เพชร" เป็นต้น  สุตกวี หมายถึง กวีที่แต่งโดยได้ฟังมา ได้แก่ เรื่องที่แต่งตามที่เล่าสืบกันมา อาทิ เสือโคคาฉันท์ และ สมุทรโฆษคาฉันท์ เป็นต้น  อรรถกวี คือ กวีที่แต่งตามความจริง ได้แก่ เรื่องที่แต่งตามเหตุการณ์หรือหลัก ความเป็นจริง เช่น เรื่อง ลิลิตยวนพ่ายและลิลิตตะเลงพ่าย เป็นต้น  ปฏิภาณกวี คือ กวีที่แต่งบทกวีได้สดๆ ทันทีโดยไม่ต้องเตรียมมาก่อนได้แก่ เรื่องที่แต่งด้วยไหวพริบที่คิดขึ้นเองโดยทันทีทันใด เช่น โคลงที่ศรีปราชญ์พูด กับนายประตู เป็นต้น